You are on page 1of 7

แก้ปัญหางานด้วยอริยสัจ

สมหวัง วิทยาปัญญานนท์

14 กุมภาพันธ์ 2545
Font : CordiaUPC

สรุปประเด็น
การแก้ปัญหางานนั้นมีหลายวิธีการ แต่ในที่สุดแล้วก็มีหลักการเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้วิธี สืบสาว
หาสาเหตุปัญหา (QC Story) หรือวิธีแบบเก๋า KKD หรือการแก้โดยวิธีความสามารถในการบรรลุผลสาเร็จ (TA) และ
สุดท้าย การแก้ปัญหางานด้วยอริยสัจ (4NT)

บทคัดย่อ
การแก้ปัญหางานด้วยอริยสัจนี้ มีหลักคือทาความรู้จักปัญหา (ทุกข์) การไล่หาสาเหตุ (สมุทัย) การกาหนดเปูาหมาย
ที่จะบรรลุ (นิโรธ) และสุดท้ายคือ การปฏิบัติตอบโต้ปัญหาที่เหตุปัจจัย (มรรค)
เริ่มจากนิยามปัญหา สิ่งคาดหวัง สิ่งที่เบี่ยงเบนไปจากสิ่งคาดหวัง ที่สาคัญว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหาจริงหรือ หรือเราเป็น
คนประเภทวิตกจริตมากเกินไป การตั้งเปูาหมายที่จะบรรลุเพื่อที่จะหาสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาในงาน ตั้งแต่
คุณภาพ ปริมาณต้นทุนการส่งของ ความปลอดภัย ขวัญกาลังใจ สิ่งแวดล้อม จริยธรรม เหตุแห่งปัญหาหรือเหตุ
ปัจจัยที่ทาให้เกิดปัญหาซึ่งเราจะพบอาการแสดงออกมาให้เห็นหรือสัมผัสได้ วิธีการไล่หาเหตุก็มีหลายอย่าง ใช้
หลักสถิติ ผังวิเคราะห์เหตุผล การใช้ปฎิจจสมุปบาท ก็ได้ เมื่อรู้เหตุก็สามารถแก้ปัญหาได้ไม่ยาก พฤติกรรมการ
แก้ปัญหาของมนุษย์มี 3 อย่าง คือ แก้ที่อาการ แก้ด้วยความกลัว และแก้ด้วยปัญญาที่สาเหตุ วิธีการแก้ปัญหาเชิง
พุทธ หรือด้วยอริยมรรค แบ่งออกเป็น 3 ทาง คือ ทางปัญญา ทางกาย และทางใจ เทียบเป็น ทัพเรือ ทัพบก และ
ทัพอากาศ ควรใช้ทั้ง 3 ทางในการแก้ปัญหาหนึ่งๆ สุดท้ายจะเป็นการตรวจสอบผลเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาหมดไป
เหตุปัจจัยถูกควบคุมได้หมดทุกปัจจัย เพื่อที่จะพิจารณาว่าสมควรจะรักษาวิธีการปฏิบัติเช่นเดิม หรือต้องพัฒนา
ปรับปรุงต่อไปจนกว่าจะพบภาวะไร้ปัญหา

1. บทนา
ในการทางานทุกอย่างทุกประเภท ย่อมมีเปูาหมายที่ต้องการตามความคาดหวังของเรา ซึ่งความ
คาดหวังนั้นอาจมาจากลูกค้า ผู้บังคับบัญชา คนรอบข้าง ลูกน้อง คนในครอบครัวและตัวเราเอง เมื่อเรามีสิ่งคาดหวัง
เราก็มีเปูาหมายเมื่อเราทางานเพื่อที่จะให้ได้บรรลุสิ่งคาดหมาย ถ้าเราบรรลุผลสาเร็จ เราก็มีความสุขจากการได้รบ ั
ผลจากสิ่งที่เราต้องการ สารสุขหลั่งไปทั่วร่างกาย แต่ถ้าเราพบปัญหาที่เป็นอุปสรรค ขัดขวางเปูาหมาย ทาให้
เปูาหมายพลาดไป หรือไม่ได้ผลสาเร็จหรือได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เราก็จะรู้สึกว่า เจ้าปัญหาอุปสรรคนั้นเป็นสิ่งที่เรา
เกลียด เรารู้สึกเป็นทุกข์ จากสารเครียดหลั่งกระจายไปทั่วสรรพางค์กาย เมื่อเรารู้สึกทุกข์จากปัญหาที่มีปัญหาเป็นสิ่ง
ภายนอกแต่ทุกข์เป็นใจของเราที่กังวลกับปัญหา ตามการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิต ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาให้พ้นไป
จากสภาพนั้น มีอยู่ 3 ทางคือ ดับปัญหานั้นโดยแก้ที่สาเหตุ เฉยๆทาใจให้ทนไม่รู้หนาวรู้ร้อน ไม่คิดถึงมัน และการ
หนีปัญหาหลบไปเสีย บางครั้งแก้ปัญหาโดยการดับอาการ มีปัญหาก็ไปกินเหล้าให้ลืม พอหายเมาก็คิดถึงปัญหาอีก
ตกเย็นก็เลยไปกินเหล้าอีก ทาบ่อยๆ ก็กลายเป็นคนติดเหล้าติดยา บางคนหันไปกินยาอี เสพยาเค เป็นการหา
ความสุขผิดวิธี เป็นการทาร้ายตนเองและทาลายสังคม
การแก้ปัญหานั้น หากทาเป็นเรื่องเป็นราวก็มีของญี่ปุน เรียกชื่อโก้ๆ ว่าวิธี QC Story ใช้สาหรับงานที่มีข้อมูลในอดีต
หรือทาซ้าๆ กันอยู่ทุกวัน แต่พอเป็นโครงการเป็น Project เป็นของใหม่ๆ ก็เรียกชื่อโก้ๆ อีกอย่างหนึ่งว่า Task
Achieving แล้วก็ส่งผู้เชี่ยวชาญมาสอนเราคิดค่าตัววันหนึ่งเป็นแสน พอข้าพเจ้าบอกว่าฉันก็มีวิธีเก่า ๆ ใช้มานานแล้ว
กว่า 2,500 ปี โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ คนฟังหันหน้ากลับหลังหันไม่อยากฟัง แถมยังบอกว่า ไม่อยากฟัง
พระเทศน์ จะเอา QCC เป็นศาสนาแล้วหรือไง ข้าพเจ้าจะสอนให้ฟัง สอนฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงิน คนก็ยังหนีอยู่ดี หรือว่า
ข้าพเจ้าเปลี่ยนวิธีคิดค่าตัววันละแสนจะฟังไหม
เนื้อหาที่จะเล่าสู่กันฟังก็มี
- หลักการแก้ปัญหาแบบ QC Story แบบ Task Achieving และแบบอริยสัจ
- ปัญหาคืออะไร เราได้อะไรจากปัญหา
- เหตุแห่งปัญหาคืออะไร วิธีไล่หาเหตุตามหลักสถิติ ผังก้างปลา ตามหลักการหยั่งรู้เหตุผลหรือ
ปฏิจจสมุปบาท
- พฤติกรรมการแก้ปัญหาของมนุษย์ การแก้ปัญหาที่อาการ (Corrective) และที่เหตุรากเหง้า(Prevention)
- การตอบโต้ปัญหา 3 ทางมีทางกาย ทางใจ และทางปัญญา
- การตรวจสอบผลว่าบรรลุความสาเร็จหรือต้องปรับปรุงต่อไป
2. หลักการแก้ปัญหา
2.1 วิธีการสืบสาวหาสาเหตุปัญหา (QC Story)
วิธีสืบสาวหาสาเหตุ (QC Story) เป็นที่นิยมกันมากในการใช้แก้ปัญหาแบบกระบานการกลุ่ม
คุณภาพ ที่เป็นการบริหารแบบคุณภาพโดยรวม (TQM) มี 8 ขั้นตอน บางคนบอกว่า 8 ฉาก เป็นเรื่องรวม
เป็นการดูหนังภาพยนต์ที่เป็นฉากๆ ตอน ต่อเนื่องเชื่อมโยงเหตุการณ์ ตั้งแต่ฉากแรกถึงฉากสุดท้าย
ดร. Kano ได้นิยาม Problem Solving QC Story ไว้ 8 ฉากดังนี้
1. นิยามปัญหา (Set Up the theme)
2. สังเกตการ ค้นหาอาการแห่งปัญหา (Grasp the current status and focus the symptom to be solved)
3. วิเคราะห์อาการหาสาเหตุ (Analyze the symptom to find its can ses)
4. หามาตรการแก้ไขเพื่อขจัดสาเหตุ (Prepare the Countermeasure to eliminate the causes)
5. ปฏิบัติตามมาตรการแก้ไข (Implement the countermeasure)
6. ยืนยันผลมาตรการแก้ไข (Confirm the effects of the countermeasure)
7. ตั้งมาตรฐานงานเพื่อควบคุมผลลัพธ์ (Fix the effects by standardizing the process)
8. ประเมินกิจกรรมแก้ปัญหาและกาหนดแผนในอนาคต (Evaluation of the problem solving activities and
make a future plan)

ขั้นตอน วางแผน (Plan) คือข้อ 1-4 และ 8


ขั้นตอน ปฏิบัติ (DO) คือข้อ 5
ขั้นตอนตรวจสอบผล (Check) คือข้อ 6
ขั้นตอนควบคุมผล (Action) คือข้อ 7

2.2 วิธีการความจริงอันประเสริฐ : อริยสัจ (The Four Noble Truth)


วิธีอริยสัจ วิธีการนี้พระพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อ 2500 ปีมาแล้ว มีทั้งหมด 4 อย่าง แต่ละอย่าง มี
การเจาะลึกเข้าไปเรื่อยๆ อย่างพิสดาร เช่นกลุ่มสติปฏิฐาน 4 กลุ่มสมาธิวิปัสสนา ที่อยู่ในอริยมรรค 8
อริยสัจ 4 มีดังนี้
1) ปัญหา หรือทุกข์ (Suffering)
2) เหตุแห่งปัญหาหรือสมุทัย (Cause of Suffering)
3) เปูาหมายความดับแห่งปัญหาหรือ นิโรธ (Cessation)
4) วิธีการดับปัญหาหรืออริยมรรค 8 (The Eight Fold Paths )

ขั้นตอนวางแผน (Plan) คือข้อ 1 และ 2 (ปริยัติ)


ขั้นตอนปฏิบัติ (Do) คือ ข้อ 4 ปฏิบัติตามมรรค (ปฏิบัติ)
ขั้นตอนตรวจสอบผล (Check) คือข้อ 3 ตรวจสอบผลของมรรค (ปฏิเวธ)
ขั้นตอนควบคุมผล (Active) คือ ข้อ 4 ศึกษาความรู้เรื่องมรรค (ปริยัติ)

2.3 วิธีการความสามารถในการบรรลุผลสาเร็จ (Task Achieving)


วิธีนี้เหมาะสาหรับงานที่เป็นงานใหม่ งานโครงการ
ดร. Kano ได้ กาหนดTask Achieving QC Story ไว้ 8 ฉากเช่นกัน ดังนี้
1) ทาความเข้าใจนโยบายความต้องการของนาย (Understanding the polices of the seniors)
2) กาหนดงานนี้จะต้องทา (Set up the task )
3) พัฒนาวิธีการที่จะทางานนั้น (Develop the methods to perform the task)
4) ค้นหาเหตุการณ์ที่จะทาให้งานสาเร็จ (Explore a successful scenario)
5) ปฏิบัติตามเหตุการณ์นั้น (Implement the scenario)
6) ยืนยันผล (Confirm the effects)
7) แปลงวิธีการเป็นงานประจา (Transfer to the daily operation)
8) วางแผนในอนาคต (Future Plan)

ขั้นตอนวางแผน (Plan) คือ ข้อ 1 - 4 และ 8


ขั้นตอนปฏิบัติ (Do) คือ ข้อ 5
ขั้นตอนตรวจสอบผล (Check) คือ ข้อ 6
ขั้นตอนควบคุมผล (Action) กับ ข้อ 7

2.4 วิธีใช้ประสบการณ์ (KKD)


วิธีนี้จะใช้ประสบการณ์แก้ปัญหา เหมาะสาหรับผู้ตัดสินใจมีความรู้ความสามารถสูง เคยแก้
ปัญหาสาเร็จ โดยใช้วิธี QC Story มาก่อนเป็นคนรู้โลกรู้ธรรม เหมาะสาหรับงานที่เป็นการฉุกเฉินเร่งด่วน ไม่มีเวลา
ตัดสินใจมากนัก หรือเป็นงานที่มอิ าจทดลองดูผลได้ เช่น ทดลองกระโดด จากตึกสูงๆ ลงมาจะตายหรือไม่ ผู้ใหญ่
ระดับสูงๆ หรือผู้บริหารระดับสูงมักนิยมใช้วิธีการนี้ วิธีการ KKD ควรมีแผนรองรับเป็นแผน 2 แผน 3 ไว้ด้วย เพราะมี
ความเสี่ยงสูงต่อการล้มเหลว การตัดสนใจบางอย่างต้องประมวล ความรู้หลายๆ ทาง แล้วมาต่อจิกซอดู ไม่มีทางที่
จะรู้ข้อเท็จจริงได้ เพราะเป็นข้อมูลของคู่แข่งหรือศัตรู งานการผลิตไม่ควรใช้วิธีการนี้มากนัก เว้นแต่จาเป็นจริงๆ ควร
ใช้วิธี QC Story มากกว่า คนที่จะใช้วิธี KKD ควรที่จะรู้หลักในเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาท เรื่องของไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) จึงจะไม่ค่อยพลาด

3. ปัญหาคืออะไร
ในการแก้ปัญหา สิ่งแรกที่เราจะต้องรู้จักก็คือ "ปัญหา" ให้ถามตัวเองว่าปัญหาคืออะไร "เราต้องรู้จักปัญหาก่อนจึงจะ
แก้ปัญหาได้" เหมือนการทางานทั่วๆ ไป เช่นเราต้องรู้จักเครื่องยนต์ กลไก เราจึงจะแก้หรือซ่อมเครื่องยนต์กลไกได้
การรู้อาจแบ่งเป็น 3 ระดับ มิเช่นนั้นอาจมีคนเถียงว่า เครื่องยนต์ ผมรู้จักแต่ไม่ยักเห็นจะซ่อมได้เลย การรู้หรือความรู้
(Knowledge) มี 3 ระดับคือ รู้จัก รู้จริง และรู้แจ้ง
รู้จัก : รู้เพียงแค่ชื่อ รู้รายละเอียดแบบงูๆ ปลาๆ พอทาได้แต่ไม่มีคนชมว่าแก่ง (Just Know) รู้จริง : รู้รายละเอียด
จนสามารถแก้ไขซ่อมแซมควบคุมได้บ้างเพียงแค่อาการ อาจเรียกว่าเป็น
การรู้แค่รักษาอาการ (Corrective knowledge)
รู้แจ้ง : รู้ทั้งหมด รู้แจ้งแทงตลอด สามารถหยั่งรู้อนาคต หยั่งรู้อดีต สามารถปูองกันปัญหาได้
100% เรียกว่าเป็นการปูองกันโดยสมบูรณ์ (Prevention Knowledge)
หากในชีวิตประจาวัน เรารู้จักเพื่อน รู้จักก็แค่รู้จักชื่อ เรียกว่าเพื่อนทั่วๆ ไป รู้จริงก็เริ่มเป็นมิตรแท้ รู้ใจบ้าง ไม่รู้บ้าง รู้
แจ้ง เป็นกัลยาณมิตร รู้เรื่องจิตใจของเขา หยั่งรู้รากลึกแห่งจิตใจเขา แม้แต่ตัวเขาเองก็ยังไม่รู้ อ่านใจเขาได้หมด ถ้า
เราทากับเขาอย่างนี้ ภายใต้เงื่อนไขภาวะการณ์อย่างนี้ เขาจะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร บอกได้หมด

ปัญหาหรือทุกข์ คืออะไร
TQM นิยามปัญหาคือ สิ่งที่เบี่ยงเบนไปจากสิ่งคาดหวัง
พุทธศาสตร์ก็นิยามเหมือนกันแต่พูดไปอีกอย่าง ปัญหาก็คือทุกข์ พอมีปัญหาไม่เห็นใครมีความสุข หัวร่อ ฉลองชัย
ที่เห็นมีแต่หน้านิ่วคิ้วขมวด ปัญหาหรือทุกข์ทางพุทธศาสตร์ จึงหมายถึง ความไม่สามารถตอบสนองต่อตัณหาได้ ฟัง
แล้วงง เลยต้องขยายความ ตัณหาคือความทะยานอยาก ทุกข์เกิดเมื่ออยากได้แต่ไม่ได้เป็นกรณีที่หนึ่ง ทุกข์เกิดเมื่อ
ไม่อยากได้แต่หน่อยๆ กลับได้มา เป็นกรณีที่สอง และสุดท้ายทุกข์เกิดเมื่ออยากให้มันอยู่กับเรานานๆ จนชั่วฟูาดิน
สลาย หน่อยๆ มาจากพรากออกไปเสีย ซึ่งก็ตีความแล้วก็เหมือนกับ TQM นิยามนั่นแหละ คือสิ่งที่เบี่ยงเบนไปจาก
สิ่งคาดหวังหรือคาดหมายไว้
สิ่งคาดหวังคือ สิ่งที่ตั้งเปูาไว้ สิง่ ที่อยากให้ได้ สิ่งที่อยากมี สิ่งที่อยากเป็น สิ่งที่อยากบรรลุ หรือให้เกิดผลสาเร็จ
สิ่งที่เบี่ยงเบนคือ สิ่งที่ต่างไปจากเปูาหมาย เช่นอยากได้เงิน 100 บาท แต่ได้เพียง 90 บาท ปัญหาก็คือได้เงินน้อย
ไป ขาดทุน 10 บาท ผลของปัญหาก็คือทุกข์ใจ และหากได้ถึง 120 บาท ปัญหาคือกาไร ได้เงินมากเกินเปูาไป 20
บาท ผลของปัญหาคือ สุขใจ ในทาง TQM และพุทธศาสตร์ กาไรหรือขาดทุน ทุกข์ใจหรือสุขใจ เหมือนขึ้นสวรรค์
ลงนรก เป็นปัญหาทั้งนั้น ตามเปูาหมาย อุเบกขาแบบกลางๆ หรือมุ่งสู่นิพพาน นี่เป็นความสุขที่แท้จริง
จงนิยามปัญหาแบบ 5W1H ปัญหาเรื่องอะไร (What) เป็นเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน การส่งมอบ ความปลอดภัย
ขวัญกาลังใจ สิ่งแวดล้อม จริยธรรม (QQCDSMEE) ปัญหานั้นอยู่ที่ไหน (Where) อยู่ที่เครื่องจักรตัวไหน อาคาร
สถานที่ที่เกิดปัญหา เกิดปัญหานั้นเมื่อไร (When) เช่นกะไหน เวลาไหน ช่วงฤดูกาลอะไร วันทางานหรือวันหยุด
ก่อนจัดงานหรือ หลังจัดงานบันเทิง ขณะทางานอะไร เกิดปัญหากับใคร (Who) เช่น พนักงาน ผู้รับเหมา ผู้จัดการ
แผนกไหน และทาไมจึงเกิดปัญหาขึ้น (Why) เช่นฝุาฝืนกฎกติกา สภาพเครื่องจักรอุปกรณ์ และเกิดขึ้นได้อย่างไร
(How) อธิบายเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงก่อนเกิดเหตุ จนถึงเกิดอุบัติเหตุ ที่แสดงถึง ตัวละคร และสภาพแวดล้อมที่เป็น
ปัจจัยก่อให้เกิดเหตุ

จงชี้บ่งปัญหาของท่านเป็นแบบไหน จงเลือกพิจารณาดู
1. รู้สึกมีปัญหา เช่น รู้สึกดวงไม่ดี ไม่ชอบสีดา
2. ปัญหานี้หายได้เอง เช่นเป็นหวัด
3. ปัญหาโลกแตก แก้ไม่ได้ เช่นต้นไม้มีใบเป็นสีเขียว
4. ปัญหาสังคม หมู่เหล่า เรามีอานาจไม่พอที่จะเปลี่ยนแปลง
5. ปัญหากลุ่มของเรา คนอื่นไม่เดือดร้อน แต่เราเดือดร้อนที่สุด
6. ปัญหาตัวเอง จากการหลงผิดคิดผิด ความสามารถไม่ถึง
7. ปัญหางานที่แก้ได้ หากเรารู้สาเหตุ
8. ปัญหางานที่แก้ได้ แต่เราไม่รู้สาเหตุ
9. ปัญหางานที่แก้ไม่ได้ แต่เรารู้สาเหตุ
10. ปัญหางานที่แก้ไม่ได้ และเราไม่รู้สาเหตุ
บางคนหรือส่วนใหญ่ มักมองปัญหาเป็นผู้ร้าย หรือเป็นตัวโรคร้าย ถ้าคิดดูให้ดี ผู้นาไม่ได้มาจากหนทางแห่งกลีบ
กุหลาบ หนทางที่สะดวกสบายไร้อุปสรรคเป็นการทาลายคนไปหลายคนแล้ว เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูลูกที่ดีเกินไป
จนเป็นแบบ Over Protection รับรองได้เลยว่าลูกไม่เก่ง และเป็นลูกเกเรแน่เลย ประโยชน์จากปัญหามีดังนี้
1. ทาให้ได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น เหมือนทาโจทย์แบบฝึกหัดมากๆ ก็จะไม่กลัวโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ดูตัวอย่าง
เด็กนักเรียน
2. ได้ความสุขจากการชนะ
3. ได้ฝึกจิตใจว่าสามารถอดทนต่อการเป็นผู้แพ้ได้อย่างไร
4. ได้ลดความแตกต่างระหว่างเปูาหมายความอยากกับความเป็นจริง
5. ได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
6. ทาให้เห็นจิตใจมนุษย์ เช่น เวลาทุกข์เพื่อนหาย เวลาสบายเพื่อนเข้าหา

4. ปัญหาคืออะไร
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดมาจากเหตุ ไม่ใช่มาจากพระเจ้าบันดาล คนส่วนใหญ่จะรับรู้อาการของปัญหา และ
มักจะแก้อาการแต่ไม่ได้แก้ที่เหตุ เช่นเห็นลูกเดินเตะขันน้า ก็จะเฆี่ยนตีลูก โดยที่ไม่ได้ถามถึงเหตุ ว่าขันน้าอยู่ในที่
เหมาะสมหรือเปล่า หรือลูกเดินซุ่มซ่ามกันแน่ เวลาปวดหัวก็กินยาแก้ปวดหัว แต่ไม่ได้ค้นหาสาเหตุ แห่งการปวดหัว
แล้วไปแก้ที่สาเหตุด้วย
วิธีการไล่หาสาเหตุแห่งปัญหา มีหลายวิธี เช่น ตามหลักสถิติ โดยการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่นสมมติว่าใช่
แล้วก็เก็บข้อมูลมาพิสูจน์ แล้วดูผลว่าสอดคล้องหรือเปล่า บางคนเขาก็ใช้วิธีการแปรค่าตัวเหตุปัจจัย และวัดผลว่า
แปรเปลี่ยนไปแค่ไหน เมื่อพลอตกราฟออกมา มันก็มีอยู่ 3 ลักษณะคือ
1) เมื่อเหตุปัจจัยเพิ่มขึ้นผลก็คงที่เสมอ เช่น ความเร็วเพิ่มขึ้น เวลาในการถึงจุดหมายก็เร็วขึ้นด้วย
2) เมื่อเหตุปัจจัยเพิ่มขึ้นผลก็คงที่เสมอ เช่น สต๊อกหินระเบิดที่เพิม่ ขึ้น กับยอดขายปูนแต่ละวัน
3) เมื่อเหตุปัจจัยเพิ่มขึ้น แต่ผลกลับลดลง เป็นความสัมพันธ์แบบผกผัน เช่น
จานวนน้าหนักที่บรรทุกในกระบะรถยนต์ กับความเร็วสูงสุดของรถ
วิธีที่เรานิยมใช้กันคือ การวิเคราะห์ผังแผนภูมิเหตุและผลที่นิยมเรียกกันว่า ผังก้างปลา บางคนนึกว่าผังก้างปลาเป็น
ความจริงทุกอย่าง แท้จริงแล้ว ผังก้างปลามีหลายระดับ ดังนี้
1) ผังก้างปลา จากการระดมสมองครั้งแรก มักจะมีทั้งจริง และความรู้สึก หรือบางครั้งมีเงื่อนไขการเกิดผลลัพธ์อยู่
ด้วย คืออาจส่งผลหนึ่งครั้ง แล้วก็จาได้มาพูดต่อๆ กันมา
2) ผังก้างปลา ที่บอกจานวนเปอร์เซ็นต์ การเกิดขึ้นที่ก้างปลา หรือผลกระทบที่มีต่อหัวปลา
3) ผังก้างปลา ที่มีการพิสูจน์ก้างทางสถิติแล้วว่าส่งผลต่อหัวปลาจริง

วิธีการไล่หาสาเหตุทางพุทธศาสตร์ มีวิธีปฏิจจสมุปบาท มี 2 วิธี คือวิธีไล่จากผลไปหาเหตุ (หยั่งรู้


อดีต) และวิธีไล่จากเหตุไปหาผล (หยั่งรู้อนาคต) แต่ส่วนใหญ่เรามักนิยมไล่จากผลไปหาเหตุมากกว่า

ตัวอย่างการชารุดของอุปกรณ์เครื่องจักร อาการที่พบคือสายพานลาเลียงขาด มากจากเหตุ 1 คือมีเศษเหล็กมากรีด


ซึ่งมาจากเหตุ 2 เกิดเศษเหล็กหลุดเข้ามาในกระบวนการ ซึ่งมาจากเหตุ 3 เหล็กจากการก่อสร้างปนมากับวัตถุดิบ
ซึ่งมาจากเหตุ 3 เหล็กจากการก่อสร้าง ปนมากับวัตถุดิบ ซึ่งมาจากเหตุ 4 การซ่อมที่เก็บอาคารวัตถุดิบ แล้วไม่เก็บ
เศษเหล็กให้เรียบร้อย ซึ่งมาจากเหตุ 5 ไม่ได้สนใจทาความสะอาด ซึ่งมาจากเหตุ 6 ไม่มีกฎเกณฑ์ในการทางาน ซึ่ง
มาจากเหตุ 7 ไม่รู้ว่ามันจะเป็นเหตุได้ถึงขนาดนี้

จากภาพแรกจะพบว่า ผลที่เกิดมีเหตุปัจจัย 2 สายมาประชุมกัน (ประจวบเหมาะพบกันทาให้เกิดผล) ซึ่งแต่ละสายก็


มีเหตุปัจจัยต่าง ๆ มาประชุมกันมาโดยตลอด แบบสายการผลิตในโรงงาน ซึ่งสามารถใช้ ปฏิจจสมุปบาท แบบไล่
ย้อนกลับจากผลไปหาเเหตุรากเหง้าได้ ในทางปฏิบัติเหตุปจ ั จัยอาจมีปัจจัยเดียว หรือมากกว่า 2 ก็ได้ เป็น พหุเหตุ
ปัจจัย จากภาพที่ 2 เป็นปฏิจจสมุปบาท แบบไล่เดินหน้าจากเหตุไปหาผลในอนาคตได้ ซึ่งในสัปปุริสธรรม 7 ก็ได้
กล่าวถึง รู้จักเหตุ (ข้อ 1) และ รู้จักผล (ข้อ 2) อีกด้วย
5. ตั้งเป้าหมาย เพื่อหาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหา
นิพพาน : ตั้งเปูากิเลสลดลงเป็น 0% จากเดิม 100%
งาน : ตั้งเปูาที่บรรลุผลความสาเร็จ
โดยมีการเบี่ยงเบนจากเปูาหมายน้อยที่สุด
ชีวิตปถุชน : ความสุข การบรรลุผลความต้องการ ตามหลักมาสโลว์ บันได 5 ขั้น
6. วิธีการแก้ปัญหา
6.1 พฤติกรรมแก้ปัญหาของมนุษย์
เมื่อพบปัญหา บางคนก็หนี บางคนก็ทนให้มันชิน และบางคนก็ทนไม่ได้มันต้องแก้ไข
วิธีการแก้ปัญหา
1) แก้ที่อาการ (แก้ด้วยความไม่ร)ู้ เป็นแค่ดับอาการ แต่เหตุยังอยู่ พร้อมจะเกิดปัญหาอีก เรียกว่า
การแก้ดับอาการ (Corrective)
2) แก้ด้วยความกลัว เป็นการแก้เกินจริง แก้ด้วยความวิตกจริต (Over Protection)
3) แก้ด้วยปัญญา เป็นการแก้ที่เหตุ แก้ด้วยความรู้ทุกข์ รู้ปัญหา เป็นการแก้แบบปูองกัน (Preventive)

ตัวอย่างการแก้ปัญหาของมนุษย์ ตัวอย่างแรกเห็นแสงสว่างจากโคมไฟไม่เพียงพอ เลยใช้วิธีเพิ่ม


หลอดไฟเข้าไป แต่หารู้ไม่ว่าถ้าใช้ผ้าสะอาดเช็ดโคมไฟให้สะอาดแสงก็จะสว่างขึ้นมาเอง
อีกตัวอย่างหนึ่ง แม่บ้านทักกับสามีว่า บ้านโน้นซักผ้าไม่สะอาดเลย อีกวันผ่านมาแม่บ้านบอกว่า วันนี้บ้านโน้นซักผ้า
ด้วยผงซักฟอกอะไร ทาไมจึงสะอาดขาวสดใสเช่นนี้ สามีเลยบอกว่า พี่เอาน้ายาล้างกระจกไปเช็ดกระจกบ้านเราเอง
เขาก็ยังเหมือนเดิมอยู่ ซึ่งจะเห็นว่า ตัวเรามีจิตเช่นไร ก็จะมองเห็นคนอื่นเป็นแบบนั้น อย่างนี้ปัญหาอยูท
่ ี่ตัวเราไม่ใช่
ใครอื่น
บางคนแก้ปัญหาโดยวิธี No Think No Problems เมื่อไม่คิดก็เลยไม่มีปัญหา บางคนไม่อยากมองเห็นภาพ เกิดเป็น
ปัญหาฝังใจ เกิดตาบอดขึ้นมาเอง ก็เคยมี แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่สร้างสรรค์และทาร้ายตนเอง
6.2 การแก้ปัญหางานด้วยอริยมรรค
การแก้ปัญหางานด้วยอริยมรรค แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือทางปัญญา (Wisdom) ทางกาย
(Physical) และทางใจ (Mentality)
6.2.1 การแก้ปัญหางานด้วยปัญญา (รู้ดี คิดเป็น)
ทางปัญญาจะประกอบด้วย รู้ดี (Knowledge) และคิดเป็น (Thought)
รู้ดี คือ ต้องรู้จักปัญหาเป็นอย่างดี รู้ว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี รู้วิธีไล่ปฏิจจสมุปบาท ในการไล่
ล่าหาสาเหตุ รู้เรื่องความเป็นไปของธรรมชาติ ทั้งทางฟิสิกส์ เคมี จิตใจ คุณธรรม เป็นต้น
คิดเป็น คือ คิดถึงตัววัดด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คิดถึงความพึงพอใจลูกค้า คิดพัฒนาปรับปรุง
พัฒนาแก้ไข คิดแสวงหาโอกาส คิดแก้ปัญหาที่เหตุรากเหง้า ไม่คิดว่าปัญหาเกิดจากพระเจ้าหรือดวงชะตาเป็นผู้
ลิขิต หรือบันดาล สามารถนาความรู้ ประสบการณ์มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหางานได้ สามารถนาวิชาการความรู้มาใช้
อธิบายเหตุได้ คิดพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ไม่คิดแต่จะขออย่างเดียว คิดในทางทาให้เกิดประโยชน์

6.2.2 การแก้ปัญหางานด้วยทางกาย (สื่อดี สุจริต ทาดี)


การแก้ปัญหาด้วยทางกายประกอบด้วย สื่อสารดี (Communication) เลี้ยงชีพสุจริต
(Integrity) และปฏิบัติดี (Implement)
การสื่อสารดี คือ พูด เขียน แสดงท่าทาง ใช้เอกสารที่จะสื่อความหมายให้ถูกเรื่อง ถูกคน ถูก
สถานที่ ถูกเวลา และเร้าใจให้เกิดความอยากที่จะทาความดี
เลี้ยงชีพสุจริต คือไม่ทุจริต ซื่อตรง มีจริยธรรม เว้นอาชีพต้องห้าม
ปฏิบัติดี คือไม่เบียดเบียน ทาตามแผน ทาอย่างมีประสิทธิภาพ ทาแล้วไม่รั่วไหลสูญเสีย ทาแล้วมีความยืดหยุ่น
เพียงพอ เพื่อปรับให้เข้ากับสถานะการณ์

6.2.3 การแก้ปัญหาด้วยทางใจ (เพียรดี สติชอบ มุ่งเป้า)


การแก้ปัญหางานด้วยทางใจ มี เพียรดี (Monitoring) สติดี (Warning) และมุ่งเปูา (Focus)
เพียรดี มีดังนี้ (RIMP)
1) ลดสิ่งไม่ดี (Reduction) เช่น ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ข้อบกพร่อง
2) เพิ่มสิ่งดีไว้ ให้มากขึ้น (Improvement) เช่นคุณภาพดีขึ้น ส่งมอบเร็วขึ้น
3) รักษาสิ่งดีไว้(Maintain) เช่น มาตรฐานคุณภาพ ความดี ชื่อเสียง ทัศนียภาพสิ่งแวดล้อมที่งดงาม
4) ปูองกันสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น (Prevention) เช่น Breakdown
ความเพียรดีนี้ จะมีหลักการคล้ายๆ กับการดูแล (Monitoring) ใน Daily Management ใน TQM
สติดีในการทางานนั้น สามารถใช้หลักสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม มาประยุกต์ใช้งานได้ ควรใช้สติ
ทุกขณะจิตที่ทางาน ถ้าขาดสติอาจทาให้ผลิตภัณฑ์บกพร่อง หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การเตือนใจทาได้หลาย
ทาง เช่นเตือนตนด้วยตนเอง การใช้ปูายประชาสัมพันธ์ การทา KYT และควรเตือนเมื่อกระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลง
เมื่อเข้าทางานในบริเวณอันตราย เมื่อมีคนใหม่มาทางาน ในการทางานหากมีการเตือนสติในขณะจ่ายงานในตอนเช้า
หรือตอนมอบหมายงานให้ทา ควรเตือนทั้ง 3 ระบบ คือคุณภาพที่ต้องการ ความปลอดภัยที่ต้องคานึง และการดูแล
สิ่งแวดล้อมด้วย คนส่วนใหญ่มักจะลืม และสั่งเฉพาะให้ทาแต่งานเท่านั้น

การใช้สติปัฏฐาน 4 ในการทางาน มี
1) กาย : ให้พิจารณาความเป็นไปของปัญหาของงาน กระบวนการทางานของคน เครื่องจักร
ระบบ วิธีการ
2) เวทนา : พิจารณาว่างานนั้น ดีขึ้น หรือเลวลง หรือ ทรงๆ กลางๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นผู้กาหนดและที่มา
ของการกาหนด ส่งผลอย่างไรจากงานดี ไม่ดี
3) จิต : พิจารณาว่า งานไม่ดีนั้นมาจากเหตุปัจจัยอะไร งานนั้นดี มาจากเหตุปัจจัยอะไร
4) ธรรม : พิจารณาว่าธรรมต่างๆ ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งกลางๆ ที่ผ่านเข้ามาในวันหนึ่งๆ ที่ได้รับจากการทางาน เช่นทาไม
คนจึงไม่ชอบสวมหมวกนิรภัย เรามีอะไรเป็นกุญแจในการทางานให้สาเร็จ
ตัวอย่างในการใช้กาย เวทนา จิต และธรรม ในการทางานเชื่อมโลหะ กายก็คือต้องรู้กระบวนการทา
งาน รู้กลไกการเชื่อม เวทนา คือ รู้ว่าเชื่อมดีหรือไม่ดี จิตคือรู้ว่าเหตุปัจจัยเชื่อมดีหรือไม่ดีมาจากอะไร และ ธรรมคือ
ต้องรู้ว่าทาไมจึงเป็นเช่นนั้น

การใช้หลักการมุ่งเปูาหรือสมาธิในการแก้ปัญหางานนั้น สามารถทาได้โดยการเน้นจุด ไม่กระจาย ทาหลายอย่าง


โดยการเรียงลาดับความสาคัญ เลือกน้อยชิ้น แต่ส่งผลมาก ทางานด้วยความไม่ท้อแท้ ทุ่มเท
ในการแก้ปัญหางานนัน ้ คนส่วนใหญ่มักจะเน้นการแก้ที่ทางกายเป็นส่วนใหญ่ ถ้าไม่ตอบโต้ปัญหาทั้ง 3 ทาง คือ
ทางกาย ทางใจ และทางปัญญา แล้วผลจากการแก้ปัญหาจะไม่มีพลัง จะดับเหตุไม่สนิท ซึ่งยังคงมีเชื้อไฟอยู่ รอ
วันที่จะปะทุขึ้นมาอีก เกิดปัญหาขึ้นมาอีก

7. การตรวจสอบสถานะผล
ภาวะนิโรธ คือปัญหาหมดไป เหตุปัจจัยที่จะก่อให้เกิดปัญหาถูกควบคุมได้หมดทุกปัจจัย ไม่เกิด
ปัญหาซ้าๆ ซากๆ ขึ้นมาอีกแล้ว ดับสนิท ไม่มีเหลือ
เหตุที่ปัญหาหมดไป เนื่องจากเหตุรากเหง้าแห่งปัญหาได้ถูกขุดรากถอนโคนออกไปทั้งหมดแล้ว เหมือนการขุดเหง้า
กล้วยออกไป
บางคนดีใจ นึกว่าปัญหาหมดไปแล้ว เช่นปวดฟันเป็นอาการ กินยาแก้ปวด เป็นการแก้ที่อาการ ฟันผุเป็นสาเหตุแห่ง
การปวดฟัน แต่ยังไม่เป็นเหตุรากเหง้า การไม่แปรงฟัน หรือแปรงไม่ถูกวิธีเป็นเหตุทาให้ฟันผุ ซึ่งนี่แหละเป็นเหตุ
รากเหง้า
หากปัญหาหมดไปแล้ว เราก็ต้องนาวิธีการเหล่านี้มาเป็นมาตรฐานการทางานจนเป็นนิสัย จนอยู่ในสายเลือด หาก
สภาวะนิโรธยังไม่ไม่ถึง ก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขปัญหากันต่อไป

8. บทส่งท้าย
การแก้ปัญหางานด้วยอริยสัจ เป็นส่วนหนึ่งของพุทธวิธีบริหารที่จะนาเสนอวิธีการบริหารเชิงพุทธ ซึ่ง
เป็นหลักความจริงอันประเสริฐ หรือเป็นรูปแบบการบริหารด้วยความจริง (Management by Facts) ก็ได้ การ
แก้ปัญหางานในยุคปัจจุบันต้องแก้ด้วยวิชาการ ด้วยความรู้ความความสามารถ ด้วยปัญญา และต้องใช้หลักความจริง
อริยสัจในมุมมองของโลกุตตรธรรม นั้นมุ่งไปสู่การบรรลุนิพพาน แต่ในมุมมองของโลกียธรรมนั้น เอาแค่นาหลักการ
ของโลกุตตรธรรม มาประยุกต์ใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาแบบไหน ก็มีหลักการคล้ายๆ กัน

หวังว่าคงมีประโยชน์ในการแก้ปัญหางานและปัญหาชีวิตได้อย่างเป็นอย่างดี

พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management

You might also like