You are on page 1of 25

Volume Spread Analysis for Dummies (rev.

A)
เทคนิคการเล่นหุ้นตามผู้เล่นรายใหญ่ โดยใช้ VSA

มุ่งความสนใจไปที่รอยเท้าของรายใหญ่

by SEHJU 22/06/2555
เกริ่น
นอกจากแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า Value Investor ที่กาลังมีอิทธิพลอย่างสูงในตลาดหุ้น
ไทยในขณะนี้ ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กัน นั่นคือ Volume Investor !?!%#@ หลายๆ
คนอาจจะไม่เคยได้ยินแนวทางนี้... แน่นอน ผมพึ่งคิดของผมขึ้นมาเอง 5555+ เพราะด้วยความสนใจที่
ได้ไปศึกษาเรื่องนี้มาเพิ่มเติม เนื่องจากว่า เสี่ยยักษ์ไอดอลของผมคนหนึ่งได้พูดไว้ว่า "ผู้ที่จะก้าวมา
เป็นรายใหญ่ในตลาดต้องอ่านวอลุ่มให้ออก" !!! หูพึ่งทันที o_O*

ลองดูโจทย์นี้ก่อน : จงวิเคราะห์วอลุ่มต่อไปนี้ โดยไม่ดูราคา ว่าหุ้นเหล่านี้ ขึ้น หรือ ลง ????

พอจะบอกกันได้ไหมเอ่ย ?? บอกได้ยากทีเดียว... ผมคนหนึ่งแหละที่บอกไม่ได้... วอลุ่มนั้นเป็น


เสมือน "พลังงาน" ของหุ้น แต่การไม่ดูราคาประกอบมันจึงเหมือนมีอะไรขาดหายไป เพราะเราไม่รู้เลย
ว่าพลังงานนั้นมันออกแรงไปในทิศทางไหน และในทางกลับกันการดูแต่เพียง "ราคา"ไม่ดู"วอลุ่ม" เรา
ก็จะไม่รู้เลยว่ามันออกแรง จริง หรือ หลอก... ราคากับวอลุ่มมันจึงเป็นอะไรที่ไม่ควรแยกออกจากกัน

เหตุใดหนอคนที่เป็นรายใหญ่อย่างเสี่ยยักษ์ถึงได้พูดให้ความสาคัญกับ "volume" เช่นนั้น ?? นั่นก็


เพราะว่า วอลุ่มคือปริมาณ ปริมาณของ supply & demand ซึ่งคือจานวนหุ้นที่มีการแลกเปลี่ยนกัน
เกิดขึ้น รายใหญ่เองนั้นเขาคือ major player ในตลาด ซึ่งคาว่าตลาดในที่นี้อาจจะเป็นตัวหุ้นหรือ
ตลาดรวมก็ได้ที่มีการซื้อขายกัน เขาคือบุคคลที่เป็นส่วนน้อยที่เป็นเจ้าของเงินส่วนใหญ่ พวกเขา
พยายามเสมอๆในการ "ทามาหากิน" กับ "รายย่อย" ผู้ที่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของเงินส่วน
น้อยนั่นเอง... รายย่อยมักจะถูกเอาชนะได้ง่ายเสมอ
เพราะฉะนั้น “การอ่านวอลุ่มก็คือการอ่านรายใหญ่ ” เพราะรายใหญ่มักมีของเยอะ เราวิเคราะห์แต่
เพียง "ตัวหุ้น" ยังไม่พอ เพราะตัวหุ้นก็มีคนเข้ามาถือหุ้นอยู่ด้วย เราจึงต้องมีการวิเคราะห์ "คนที่ถือ
หุ้น" ไปด้วย ถ้าเราวิเคราะห์ได้เราก็ควรจะวิเคราะห์ อ่านกราฟได้บ้างก็ยังดีกว่าอ่านไม่เป็นเลย... ซึ่งการ
อ่านกราฟนั้นมันก็คือ การอ่านการดาเนินมาและดาเนินไปของ "เรื่องราว" นั่นเอง แต่เราจะโฟกัสไปที่ผู้
ที่มีนัยยะสาคัญที่สุด นั่นคือ "รายใหญ่" นั่นเอง....

รายใหญ่นอกจากพวกเขามีเงินทุนที่เข้มแข็งกว่ารายย่อยทั่วไปยังไม่พอ พวกเขายังมีกลยุทธ์ในการ
ลงทุนที่ชัดเจน ที่ทาให้การ "ออกแรง" ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างเป็นระบบและสามัคคี ซึ่ง
แตกต่างจากรายย่อยที่ต่างคนต่างเล่นไม่มีกลยุทธ์ร่วมกันที่ชัดเจน มันจึงยากหรือมีโอกาสน้อยที่ราย
ย่อยจะไป "dominate" ทิศทางตลาดได้แบบรายใหญ่นั่นเอง และที่มากกว่านั้นคือ คนเหล่านี้มีความ
ใกล้ชิดแหล่งข้อมูลต่างๆมากมาย อีกทั้งก็มีทีมส์งานที่คอยให้ความช่วยเหลือ พวกเขาจึงมี "อะไรๆ" ที่
ดูจะเหนือกว่ารายย่อยไปซะหมด...

โชคร้ายไม่ได้อยู่เคียงข้างรายย่อยเสมอไป ด้วยความได้เปรียบของรายใหญ่ในเรื่องขนาดที่ใหญ่
เหมือน "ช้าง" ก็นามาซึ่งความเสียเปรียบในเรื่องความ "เชื่องช้า" เมือเรารู้จุดเด่นจุดด้อยของเขา
เช่นนี้แล้ว เราจึงรู้ว่าเราจะใช้ "กลยุทธ์" ใดไปรับมือ แต่เราก็ต้องเข้าใจไว้ด้วยว่าการอ่านกราฟหรือวอ
ลุ่มนี้ บางเคสก็ดูยาก บางเคสก็ดูง่าย เราต้องฝึกฝนจนผ่านเคสมากๆเราจึงจะพัฒนาฝีมือขึ้นไปได้

ด้วยปริมาณของวอลุ่มในมือที่มาก การเคลื่อนไหวเข้าออกแต่ละครั้งก็หาทาได้ง่ายๆไม่ จุดนี้เองที่เราจะ


นามาสังเกตเพื่อหา "footprint" ฝึกฝนแล้วนามาใช้ให้ชานาญเพื่อจะกลับไปชนะและก้าวข้ามจุดอ่อน
ของตัวเราเอง...
รายใหญ่ คืออะไร ?

เสี่ยในรูปข้างบน เราได้ทาการ sensor ใบหน้าเขาไว้บางส่วน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นกับตัวเขานั่นเอง... เราคิด


ว่านี่คือลักษณะของ “รายใหญ่ตัวจริง” เพราะ “ตัวเขาใหญ่จริงๆ” 555+ (อภัยที่นามาล้อเล่นนะครับเสี่ย)

รายใหญ่ คือ player ที่ส่งผลต่อตัวหุ้นเป็นอย่างมากอีกทั้งมีอิทธิพลในการชี้นาทิศทางตลาด เขามีอะไรหลายๆ


อย่างที่ได้เปรียบคนเล่นหุ้นทั่วๆไป เขาอาจจะเป็น บุคคล กลุ่มบุคคล หรือกองทุน ซึ่งจะมีปริมาณงานทุนที่
แข็งแกร่ง มีกลยุทธ์การเล่นที่ชัดเจน มีข้อมูลและเครื่องไม้เครื่องมือที่ได้เปรียบคนเล่นหุ้นทั่วไปเป็นอย่างมาก

นอกจากขนาดของความ “ใหญ่” ยังไม่พอพวกเขายังมีมืออาชีพที่เชี่ยวชาญเป็นคนปฏิบัติการณ์ต่างๆแทน พวก


เขามีความเข้าใจดีถึง “จิตวิทยาการเทรด” ซึ่งเขารู้ว่าจุดไหนที่จะส่งผลต่อ emotions ของเหล่ารายย่อย
ทั่วๆไป ซึ่งเมื่อเขาเข้าใจก็ทาให้สามารถ “drive” ให้รายย่อยแสดงพฤติกรรมออกมาในแบบที่พวกเขาต้องการ

เนื่องด้วยขนาดเงินทุนที่ใหญ่ทาให้ในการซื้อหรือขายต้องทาโดยมีขนาด deal ที่ใหญ่ เพราะไม่เช่นนั้น


ผลตอบแทนที่เขาได้ก็จะไม่น่าดึงดูดพอต่อนัยยะสาคัญสาหรับพอร์ตพวกเขา แนวทางการเทรดของพวกเขาจึง
ก่อให้เกิด bullish หรือ bearish ซึ่งมีขนาดใหญ่พอจนสามารถเปลี่ยน trend การเคลื่อนไหวของตลาดได้ ซึ่ง
เมื่อพวกเขาจะทาการเปิดหรือปิดดีล อาจจะต้องใช้เวลาหลายวันหรือช่วงเวลาที่ยาวนานกว่านั้น(หรือสั้นๆก็ได้)
จนก่อให้เกิด phase ขึ้นที่ตัวหุ้น ในจุดนี้เราสามารถทาการศึกษาและสามารถสังเกตได้

พูดไปพูดมา มันจะได้เปรียบรายย่อยอะไรนักหนาเว่ยเฮ้ยยย เราจะชนะได้บ้างมั้ยหนิ...

“รายย่อยจะได้เปรียบรายใหญ่ ในกรณีที่ ความรู้ เท่ากัน....” เสี่ยยักษ์

Price movement
Price movement คือ การเคลื่อนไหวของราคา มันจะไปแสดงออกที่ price spread หรือความยาวความสั้นของ
แท่งราคาหุ้น ซึ่ง candlestick ก็เป็นตัวบอกอาการดังกล่าวได้ดี Price spread จะเป็นตัวที่บอก price
movement ของตัวหุ้นได้ดี โดยเราจะนามาสังเกตร่วมกับ volume activity ที่จะเป็นตัวบอกว่า activity ต่างๆ
ยังคงดาเนินไปอยู่หรือไม่...
เอามาให้ดูเฉยๆ แต่ในเอกสารฉบับนี้ไม่ได้เน้นเรื่อง price activity นะจ้ะ...
Volume pattern

รูปแบบเหล่านี้ผมได้มาจากหนังสือรวมเข้ากับที่ได้พบเจอมาจากประสบการณ์ส่วนตัว แล้วก็นามาวาดเป็นตาราง
เพื่อที่จะได้ระลึกถึง เมื่อนาไปใช้จริงก็ใช้ได้โดยง่าย โดยการอ่านวอลุ่มนั้นมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เราคงไม่
สามารถที่จะ บอกมันได้เปฺะๆเหมือนสูตรทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ใช่ว่าจะคาดการณ์อะไรไม่ได้เลย หากเรา
ทาการศึกษาย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ เราก็จะพบว่า มันก็เกิดซ้าแล้วซ้าอีกจริงๆ

คาเตือน : ตารางนี้เน้นแสดงเพียง volume activity นะครับ ไม่ได้พูดถึง price movement การนาไปใช้ต้องเกิดจากความรู้ความเข้าใจ

แพตเทิร์นต่อไป จะมีตัวอย่างประกอบ ซึ่งลองไปหาเหตุผลในแต่ละตัวอย่างกันเองนะครับ ระบบที่ใช้ประกบการดู


กราฟไปคือ Orange Index ของพี่ เอ BMW2681 ซึ่งเป็นระบบที่บ่งบอกสภาวะเป็น phase ของหุ้นได้เป็นอย่าง
ดี ลองเข้าไปสืบค้นที่ blog ของพี่เขาได้เลย..

แต่สาหรับใครที่ไม่มีระบบนี้ใช้ ซึ่งต้องมี Keltner’s channel มาเป็น Upper line ที่เคลื่อนที่ตามไป ก็ให้ใช้วิธีดู


ดังนี้ คือ ให้ set RSI เป็น period 300 วัน U4=70, U3=65, U2=60, U1=55 เราก็จะต้องระมัดระวังเมื่อ
หุ้นดาเนินเข้าไปใกล้ในแต่ละ upper line

ป.ล. การนาไปใช้ต้องมีความเข้าใจระบบ Orange Index เป็นอย่างดี ซึ่งผมไม่ได้อธิบายไว้ในเอกสารฉบับนี้ครับ


วอลุ่มเปรียบเสมือน “พลังงานของหุ้น” ราคาหุ้นจะไปในทิศทางนั้นๆได้ดีต้องมี “แรงส่ง” จาก
วอลุ่มมาช่วยยืนยัน การดูเพียงแค่ price movement อาจไม่เพียงพอเพราะเราไม่ได้วิเคราะห์
demand-supply ที่เข้ามาในตัวหุ้นนั่นเอง รูปแบบแรกนี้คือลักษณะทั่วๆไปของ volume ที่ดี
นั่นคือ เมื่อหุ้นวิ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้วมีปริมาณวอลุ่มเข้ามาสนับสนุน การเคลื่อน
ตัวของราคาต้องมาพร้อมวอลุ่มนั่นเอง มันสื่อได้ว่าหุ้นได้รับความนิยมจากตลาดเกิดการซื้อ
ขายแลกเปลี่ยนกันคึกคัก บรรดาเทรดเดอร์จะชอบมากเป็นพิเศษเพราะมีสภาพคล่องในการ
ซื้อขายสูง วอลุ่มที่เกิดขึ้นนั้นไม่จาเป็นที่จะต้องมากขึ้นเรื่อยๆตามการขยับขึ้นหรือลงของราคา
แต่เมื่อหุ้นมันได้เลือกทิศทางใดทิศทางหนึ่งแล้วควรจะมีวอลุ่ม “โปุง” ขึ้นมาเพื่อยืนยันอย่าง
ต่อเนื่อง รวมถึงการ BO ออกจากเบสด้วย high vol. ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นขาขึ้นหรือขาลง
ของหุ้นนั่นเอง หรือแม้กระทั่งการพักตัวของหุ้นแบบไม่มีวอลุ่มก็เช่นกัน…
หุ้นขึ้นวอลุ่มหายคือคาพูดติดหูคนเล่นหุ้นเป็นอย่างมาก แต่หลายๆคนยังมีความสงสัยกัน
อยู่ หัวใจของการเกิดกรณีนี้มักจะเกิดในระยะเวลาหลายเดือนจนถึงปีหรือตลอดการเป็น
major bull mkt. ลักษณะของมันคือ ราคาหุ้นยิ่งขยับสูงขึ้นไปๆแต่วอลุ่มเฉลี่ยที่เทรดกัน
ต่อวันกลับมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ แน่นอนนั่นหมายความว่าวอลุ่มของวันล่าสุดจะมี
แนวโน้มที่น้อยกว่าวันก่อนหน้าลงไปเรื่อยๆ หากสังเกตดูก็จะเห็นว่าวอลุ่มทางซ้ายมือสุด
ของการเริ่มเหตุการณ์นี้จะสูงที่สุด นั่นก็เพราะว่ามันมักจะมีอาการของการเกิด Selling
Climax ก่อนการเกิดกรณีนี้ แล้วหุ้นก็ค่อยๆไต่ขึ้นไปๆ ซัพพลาย(ปริมาณหุ้น)ถูกดูดออกไป
จากตลาดเรื่อยๆ หรือฝั่ง buyer นั้นทั้งดูดทั้งสะสมหุ้นไปเก็บเข้าปี๊บอย่างที่เสี่ยยักษ์ว่าไว้
การที่ผู้ที่ทาการสะสมหุ้นไปจานวนมหาศาลแล้วไม่ปล่อยหุ้นออกมาหมุนเวียนในตลาด
เลย สันนิษฐานได้ว่า 1.เขามีมุมมองที่ bullish เป็นอย่างมากต่อหุ้นตัวนั้น 2. เขาเป็น
major player ที่มีอานาจในการซื้อสูง ความสุดยอดของการเกิดเหตุการณ์นี้คือ หุ้นจะ
สามารถค่อยๆขยับขึ้นไปได้อย่างมาก สร้างผลตอบแทนได้ดีสุดๆ แต่ความน่าสะพรึงกลัว
ของแพตเทิร์นนี้คือ ? ลองคิดดูสิว่ามันคืออะไร ซึ่งเสี่ยยักษ์ไม่ได้พูดไว้ในบทสัมภาษณ์
นี่ไม่มีอะไรมากไปกว่า “ความอ่อนแรง” ของ demand ที่มีต่อตัวหุ้นที่กาลังอยู่ในช่วงที่
เป็นขาขึ้น จากหลักการพื้นฐานของวอลุ่มทั่วไปคือ 1. วอลุ่มกระทิง(Bullish volume)
คือ ราคาขยับขึ้นวอลุ่มเพิ่ม ราคาขยับลงวอลุ่มลด 2. วอลุ่มหมี(Bearish volume) อาการ
ก็จะสลับกันกับกรณีแรกนั่นเอง หากราคาหุ้นมันขยับขึ้นไปเรื่อยๆอาจก่อให้เกิดภาวะหุ้น
ขึ้นวอลุ่มหายได้ แต่ในกรณีนั้นมันคือการเกิดใน period ที่จะยาวนานกว่าจนเรา
สังเกตเห็นการแสดงตนออกมาชัดเจนแล้ว แต่ในกรณีจะแตกต่างกันตรงที่เรามองใน
ช่วงเวลาที่สั้นกว่า... เราพยายามฟังเสียง “ฝีเท้า” รายใหญ่ที่สามารถชี้นาทิศทางตลาด
ได้มากกว่าพวกนักวิเคราะห์เสียอีก เมื่อมองไปยังกราฟเทคนิควอลุ่มจึงเป็นคาตอบ
สาหรับเรา การที่หุ้นพยายามขยับขึ้นไปแบบชั่วคราวด้วยวอลุ่มเบาบางนั้น นั่นก็อาจเป็น
เพราะว่าการขึ้นที่ว่านี้นั้น “major player” ไม่แสดงความสนใจในการเข้าร่วมวงด้วยใน
higher price level นั่นเอง ซึ่งพวกเขาอาจจะเห็นว่าเป็น weak market อยู่ก็เป็นได้...
Wedging up pattern นี้ ส่อเจตนาร้ายคล้ายๆ V-shape ที่มักเป็นได้แค่การ price recovery
to new-high รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นหลังจากหุ้นได้ทา peak ไปแล้ว โดยมากจะเกิดขึ้นหลังจาก
ที่หุ้นได้เกิดลักษณะของ Climax Top ซึ่งหุ้นจะจบแรงจบหนัก การเกิดอาการนี้เกิดได้บ่อย
ทีเดียว มันมักถูก “ออกแบบ” มาเพื่อเป็น “trap” ของการให้ความหวังผู้ที่ติดหุ้นอยู่ที่ peak
ล่าสุด แต่แล้วความหวังนั้นก็เดินจากไป.. หากสังเกตดูจาก shape ของพวกมันจะพบว่า ฝั่ง
ซ้ายของ bottom นั้นจะลงเร็วกว่าฝั่งขวาของ bottom ซึ่งเป็นการ slow recovery ของราคา
หุ้น แต่ทุกๆการขยับขึ้นของมัน วอลุ่มจะค่อยๆลดลงๆ.. เราสามารถอนุมานได้ว่าอุปสงค์ในตัว
หุ้นนั้นมันน้อยมากหรือไม่มีนั่นเอง ถ้ามีก็เป็นแค่เพียงมาจากผู้เล่นรายย่อยเท่านั้น แม้มันดู
เหมือนจะไม่มีพิษสงอะไรมากมายแต่เมื่อมันเกิดขึ้นมันจะทาให้คนมีหุ้นอยู่นั้นรู้สึก “ลังเล” ไม่
กล้าที่จะขายหุ้นออกมาเพราะยังคงคิดว่า “อะไรๆก็ยังดูดี” การพยายามฟื้นตัวขึ้นไปด้วยวอลุ่มที่
เบาบาง มักจะไปได้อย่างมากแค่ prev. high เท่านั้น เพราะหุ้นยัง weakness อยู่มากนั่นเอง
“ข่าวดี” มักจะเป็น “ตัวเร่ง” สาคัญในการเกิด pattern นี้ เมื่อคนตื่นตระหนกใน “great
fundamental” จนเกิดความบ้าคลั่งวิ่งเข้ามาซื้อไล่หุ้นแบบ “panic buy” ด้วยความกลัวการตกรถ
(missing out) หรือแม้กระทั่งการจงใจออก over activity ของรายใหญ่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้ามา
“รับหุ้น” จากคนที่ยังไม่มีของ เมื่อ “demand” จานวนมหาศาลถูกล่อเข้ามาให้ติดกับ มันก็ทาให้ทาง
ฝั่งที่ตุนหุ้นไว้มหาศาลนั้นสามารถ “จบ” ได้ใน “ดาบ(แท่ง)เดียว” เลยก็ว่าได้ ถ้าเรา exit ไม่ทันใน
ระหว่างวันของการเกิดสัญญาณนี้โดยพึ่งมาเห็นตอนจบวัน อย่าคิดสิ่งใดอีก นอกจาก “ถอนตัว
ออกมา” แน่นอนมีบ้างที่หุ้นมันมีโอกาสขึ้นไปอีก แต่นั่นก็เป็นส่วนน้อยมาก.. โอกาสขึ้น 5% โอกาส
ลง 90% คือความน่าจะเป็นหลังเหตุการณ์นี้ เราควรจะทาการ good bet ให้เคยชินเมื่อเราเห็น
สัญญาณนี้ ว่ากันว่า ณ ระดับราคาหุ้นที่ all time high นั้น หลายคน “เสพย์ติด” ความเขียวของ
ราคาหุ้น ก็แน่นอนล่ะก่อนเกิดสัญญาณนี้หุ้นจะบวกวันแล้ววันเล่าติดต่อกันหลายวัน จนทาให้ผู้ที่
เสพย์หุ้นตัวนั้นอยู่ก็จะมีอาการเคลิบเคลิ้มเป็นสุข(Euphoria) ยิ่งกว่าเสพย์โคเคนเสียอีก.. ความวิตก
กังวลลดลง และนั่นเองก็จะทาให้เค้าหลงลืมไม่ทันระวังตัว แต่ทันใดนั้นเอง... huge supply ได้
ปรากฏตัวเข้ามาในตลาด มันถูกโยนกระแทกสวนเข้ามาจนทาให้ราคาหุ้นร่วงลงอย่างมาก เมื่อเกิด
การ major transfer จาก major player เช่นนี้แล้ว มันก็คงยากที่หุ้นจะขึ้นไปต่อ ตลาดเปลี่ยน
สถานะเป็นหมีทันที...
ในการที่จะทาให้ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นไปเป็นกระทิงรอบใหญ่นั้น (major bull) มันควรที่จะต้อง
เกิดภาวะที่ extreme มากๆเสียก่อน ซึ่งเหตุการณ์การเกิดอาการนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงปลาย
ตลาดหมี มันจะเป็นช่วงของการ major transfer ของหุ้นจานวนมาก bear transfer to
bull ราคาหุ้นที่มักจะร่วงลงอย่างรุนแรงรวดเร็วจนเกิด widely spread หรือ gap-down ด้วย
วอลุ่มที่สูงมากตอน down move นั้น มันง่ายมากที่จะทาให้เกิด “panic selling” ซึ่งมันเป็น
อาหารอันโอชะของคนที่พร้อมจะรับหุ้นไปตุนไว้ โดยที่ไม่ต้องออกแรงอะไรมากมายเลย
แถมยังได้ราคาดีอีกต่างหาก ในกรณีนี้มันมักเกิดในตลาดที่แสดงตัวเป็น bear market มา
อย่างเต็มที่แล้ว หุ้นจานวนมากในมือของผู้เล่นรายใหญ่ได้ถูกปล่อยออกมาตลอดทาง
นับตั้งแต่ช่วงต้นของการเป็นตลาดหมี จนกระทั่งเกิดการ last down-move คือการจงใจ
dumping หุ้นล็อตสุดท้ายที่มีอยู่ของพวกเขาให้ออกมาทั้งหมด ซึ่งก็เป็นเพียงสัดส่วนที่น้อย
แล้วจึงสามารถขายออกมาได้ทุกราคา จังหวะนี้หุ้นจะรูดลงแบบหา lows ไม่เจอ และเมื่อ
แรงขายเริ่มหมดลง เขาก็จะใช้ process ต่างๆที่เขามีมาเก็บหุ้นกลับไป ราคาจะเริ่มออกข้าง
ราคาปิดจะเริ่มไปปิดโซนไฮของแท่งราคา เมื่อการสะสมเสร็จสมบูรณ์ก็จะเกิดการ
imbalance ระหว่าง supply&demand เป็นอย่างมาก และนั่นเองสภาวะ bull move ก็จะ
เริ่มต้นขึ้น...
แพตเทิร์นนี้คือสัญญาณสาคัญมากของการมี strength in the BG มันมักเกิดขึ้นในปลาย
ตลาดขาลง หรือเป็นการพักตัวในรูปแบบ double-bottom pattern ในระหว่างขาขึ้นก็ได้
(แต่สัญญาณจะเบากว่ากรณีแรก) การเกิดสัญญาณนี้บ่งชี้ว่า ตลาดไม่น่าจะตกลงไป
มากกว่านี้อีกแล้ว ซึ่ง key ของแพตเทิร์นนี้คือ วอลุ่มที่ควรจะน้อยลงๆ ณ bottom ถัดมาที่
เป็นโซนราคาเดียวกันกับ prev. high vol. level เดิมนั่นเอง มันอาจจะมีการ test ได้หลาย
ครั้งหากตลาดยังมีความอ่อนแรงอยู่มากโดยเฉพาะในตลาดหมี หากในช่วงของปลาย
ตลาดหมีนั้นเกิดสัญญาณ Selling Climax ด้วยแล้วจะยิ่งเป็นสิ่งยืนยันว่า supply จานวน
มหาศาลได้ถูกปลดปล่อยออกมาแล้ว แม้ว่าในสภาวะนั้นข่าวร้ายที่ดูเหมือนแย่ที่สุดยังปก
คลุมตลาดอยู่ก็ตามแต่ฝั่ง potential buyer ก็จะเริ่มเข้ามาตลาดหากพวกเขามีมุมมองเป็น
กระทิง และกระบวนการของการ testing supply ที่ยังมีเหลืออยู่ในตลาดก็จะค่อยๆเริ่มขึ้น
การเกิดรูปแบบ low vol. on test นี้บ่งบอกถึงว่า supply ในตลาดนั้นได้อ่อนแรงลง
(successful test)และหุ้นได้มีแรง support เอาไว้ มันคงจะเป็นการดีกว่าที่ค่อยๆสะสมหุ้น
ที่ระดับราคาต่าๆดีกว่าการรวบราคาขึ้นไปในทันที แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่าตลาดไม่ได้อ่อนแรง
ลงแล้วแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะขึ้นไปในทันที(ไม่อ่อนแอแล้ว แต่ก็ใช่ว่าแข็งแรง)
Bearish volume คือ หุ้นลงด้วยวอลุ่มที่เพิ่มมากขึ้น หุ้นขึ้นด้วยวอลุ่มที่ลดลง การเกิดกรณีนี้
มันคือแสดงการเป็นขาลงที่รุนแรง การขยับตัวลงของหุ้นที่โผล่มาพร้อมกับวอลุ่มจานวน
มหาศาล นี่คือขาลงจริงๆเป็นการแสดงการขายออกมาอย่างจริงๆ วอลุ่มจานวนมากมันก็
ออกมาจากคนที่มีหุ้นจานวนมากนั่นเอง ใครกันล่ะ? มันอีกแล้ว รายใหญ่... การฝึกฝนการอ่าน
price movement & volume activity อันเป็นการสังเกตพฤติกรรมของ big player นั้น เป็น
การทาให้เรา focus ไปที่ “facts” มากกว่าที่จะเป็น “news” ซึ่งข่าวที่โผล่เข้ามาในตลาด
เป็นสิ่งสุดท้ายด้วยซ้าที่เราจะให้ความสนใจ... เมื่อหุ้นได้มี selling pressure กดหุ้นให้รูดลง
มา(widely spread) พร้อมกับปริมาณวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นมหาศาลนั้น ยิ่งเป็นสิ่งยืนยันซึ่งกันและ
กัน มันมีสาเหตุมาจากการ exit ออกมาอย่างเร็วของผู้ที่มีหุ้นจานวนมาก พวกเขาไม่ได้
ประคองหุ้นไว้แล้วหรือก็มีมุมมองต่อหุ้นเป็น bearish views อย่างมาก รายย่อยเมื่อเห็น
สัญญาณดังกล่าวในตอนนั้น ควรที่จะให้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก และควรจะปูองกัน
ตัวเองจากการเข้าไป “ต่อกร” กับพลังงานอันมหาศาล ซึ่งมันอาจจะโผล่ออกมาได้อีก !!!
ลักษณะวอลุ่มเช่นนี้คือช่วงเวลาของการ “กระจายจ่ายแจก” หุ้นจานวนมากออกมาจากผู้เล่นราย
ใหญ่มาสู่ผู้เล่นรายย่อยในตลาด การกระจายเป็นอะไรที่ต้องใช้ “ฝีมือ” มากกว่าการขายเพราะมัน
ต้องค่อยๆเป็นไปและไม่สามารถจะทาให้เสร็จภารกิจได้อย่างรวดเร็ว หุ้นทุกตัวไม่สามารถที่จะมี
“ข่าวดี” มา “drive” ให้เกิด “huge demand” ได้ตลอดไป เมื่อไม่มี มันก็ไม่สามารถจะ “ปิดดีล”
ได้อย่างรวดเร็ว หากพวกเขาขายหุ้นที่มีทั้งหมดออกมาในคราวเดียวก็จะต้องเกิดการ ขายหนัก
ไม้ใหญ่ แน่นอนมันเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง จะดีกว่ามั้ยหากเขาค่อยๆกระจายหุ้นออกมาโดยที่
ราคาหุ้นไม่ได้ตกลงไปมากนัก อาการที่โผล่ออกมาคือ หุ้นเหวี่ยงตัวไปมาอยู่หลายวัน ดูเหมือน
มันจะขึ้นและก็ดูเหมือนมันจะลง... แล้ววอลุ่มก็เกิดอย่างแน่นหนา อาจเกิดในช่วงไม่เกินสัปดาห์
หรือเกิดเป็นเดือนก็แล้วแต่ว่าหุ้นตัวนั้นๆวิ่งเป็นกระทิงมายาวนานแค่ไหน ช่วงต้นของการกระจาย
หุ้นหากมีแรงขายหนักๆออกมาจนทาให้ราคาหุ้นทรุดลงเร็วเกินไป การทาการกระจายหุ้นดังกล่าว
นี้จะต้องหยุดไว้ชั่วคราวก่อนและทีมส์กระจายหุ้นของพวกเขาจะต้องทาการ “support” ราคา
เอาไว้หรือไม่ก็ทาให้ราคาขึ้นมาก่อนแล้วค่อยทาการขายรอบต่อไป เมื่อหุ้นในมือส่วนใหญ่ของ
พวกเขาได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว ราคาหุ้นก็จะไม่ถูกประคองไว้อีกต่อไป หุ้นจานวนมากของคน
จานวนน้อยถูกปลดปล่อยไปสู่คนจานวนมากที่มีหุ้นจานวนน้อย ก็เป็นเช่นเดิม หมีมาเยือน...
นี่คือโคตรสัญญาณของการมี strength in the BG ผู้ซื้อที่แข็งแกร่งได้มีมุมมองในอนาคตที่
เป็น bullish อย่างมากต่อตัวหุ้น และจะเริ่มเข้าสะสมเมื่อได้คาดการณ์ว่าราคาหุ้นจะไม่ต่าไป
กว่านี้อีกแล้ว เหตุการณ์นี้จะดาเนินไปในสภาวะปลายตลาดหมี เขาจะทาการสะสมหุ้นให้ได้
จานวนมากที่สุดวันแล้ววันเล่าในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานในระยะเดือนหรือหลายเดือน
ความหมายของการ “สะสมหุ้น” จะแตกต่างจากการซื้อหุ้น การสะสมจะค่อยๆดาเนินไป
เพราะพวกเขาไม่สามารถที่จะเก็บหุ้นได้จานวนมหาศาลในระยะเวลาสั้นๆ เพราะนั่นอาจเป็น
การทุบหม้อข้าวตัวเองหากเร่งเข้าไปซื้อหุ้น การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นจะไม่ค่อยขยับขึ้น
ไปจนโดดเด่นนัก เค้าไม่อยากให้ใครสังเกตเห็น แต่หากดูในระยะเดือนก็จะพบว่าวอลุ่ม
หนาแน่นอย่างมาก เมื่อ supply ในตลาดถูกดูดของไป ณ low price level เป็นจานวน
มหาศาลแล้ว มันง่ายมากๆที่หุ้นจะขยับขึ้นไปโดยไร้ “สิ่งกีดขวาง” สิ่งดีของการเกิด
เหตุการณ์นี้คือ ราคาหุ้นมักจะโดน limit ไม่ให้ลงต่าลงไปอีก เนื่องจากทุนของหุ้นจานวน
มหาศาลที่พวกเขาได้เก็บไปแล้วอยู่ในระดับนั้นนั่นเอง ซึ่งหุ้นจานวนมหาศาลถูกคาดมาแล้ว
ว่าราคาต้องขึ้นไปจากระดับนี้เป็นอย่างมาก ในระดับราคาที่สูงพอจึงจะสามารถปล่อยหุ้น
จานวนมากมายขนาดนั้นออกมาได้ทั้งหมด
กรณีนี้คืออยู่ๆก็มีวอลุ่มพุ่งขึ้นมา วอลุ่มแบบนี้นั้นมันมัก “ทาท่าจะดีขึ้นมาชั่วคราว” แต่แล้ว
ก็ไปไม่รอด ทาให้ดูเหมือนเป็นการ Vol BO หรือ มีวอลุ่มที่พุ่งขึ้นค่าเฉลี่ยเป็นอย่างมาก
มันจึงน่าดึงดูดให้คนนอกเข้าไปไล่ซื้อตามหรือคนที่มีหุ้นอยู่ได้ขายหุ้นจานวนมากสวน
ออกมา มันสามารถเกิดในหุ้นที่ทา flat base ได้บ่อยหรือในแพตเทิร์นอื่นๆที่ไม่มี
strength in the BG ซึ่งอาจเป็นแรงซื้อของผู้ซื้อทั่วไปที่วิ่งเข้ามาซื้อหุ้นโดยปราศจาก
การทาการสะสมหุ้นเพื่อ absorb แรงขายที่ level ต่างๆก่อนที่จะปล่อยให้หุ้นขึ้นไป ซึ่ง
การที่จะ identify ว่า วอลุ่มที่พุ่งขึ้นมานั้นเป็น temporary หรือไม่นั้นก็ต้องตามดูไปที่
following sign ของมันที่จะเกิดตามมา หาก demand ในตัวหุ้นนั้นมีอยู่จริง เป็นแรงซื้อ
จริงๆ การแสดงออกต่อมาของตัวหุ้นก็ควรจะเป็นไปในทางที่ดี เช่น ราคาหุ้นขึ้นต่อไป
พร้อมวอลุ่มก็ตามมา การพักตัวออกข้างหรือหย่อนตัวลงมาด้วยวอลุ่มที่บางเฉียบ นั่น
หมายความว่า มีแรง support หุ้นไว้ หรือไม่มีการเทขายหุ้นออกมา การเกิดเหตุการณ์นี้
มักจะเป็น noise ไปเพราะว่าตลาดได้เทสแรงขายที่มีอยู่ในตัวหุ้นนั้นไม่ผ่าน เนื่องจากว่า
หุ้นตัวนั้นเต็มไปด้วย more supply level นั่นเอง ผู้ซื้อที่ “ทะเล่อทะล่า” เข้ามาเพื่อ
ต้องการ “ buy low” หรือกรณีอื่นเมื่อเจอแรงขายดังกล่าวจึงต้อง “ถอดใจ” ลงกลางคัน
...
เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งของการเคลื่อนตัวขึ้นไปของราคาหุ้น แล้วตามมา
ด้วยสัญญาณที่รุนแรงของการแสดงตัวเป็นขาลงของหุ้นที่เกิดขึ้นตามมา จากหลักการ
พื้นฐานของเราคือ 1. Bullish vol. และ 2. Bearish vol. หลักการของวอลุ่มหมีนั่นคือ หุ้นลง
วอลุ่มเพิ่มแล้วหุ้นขึ้นวอลุ่มลด... ในกรณีนี้คือการครบองค์ประกอบสองอย่างที่ชัดเจน มันเป็น
การเกิดสัญญาณ “เตือน” แล้วก็ตามมาด้วยสัญญาณ “ยืนยัน” มันจะเกิดในช่วงของการจบ
รอบของภาวะกระทิง การพุ่งขึ้นไปนิวไฮของตัวหุ้นด้วยวอลุ่มที่น้อยเกินไปนั้นช่างไม่น่า
ประทับใจ มันคือสัญญาณที่แสดงความอ่อนแรงออกมาของผู้ซื้อ แล้วหุ้นก็ดูเหมือนจะขึ้นไป
ไม่ไหว แรงขายปรากฏตัวเข้ามาในตลาด หุ้นหล่นตุบลงมาด้วยวอลุ่มที่เพิ่มขึ้น หาก
ตรวจสอบโดยใช้ indicator ก็มักจะพบว่าเกิดการทา “bearish divergence” ณ จุดนิวไฮ
ใหม่นั้น อาจเป็นไปได้ที่หุ้นจะถูกทาให้กลับขึ้นไปได้อีกแต่มันก็ยากเหลือเกิน หากเราตรวจ
พบสัญญาณนี้ของตัวหุ้นที่ได้เกิดขึ้น หรือที่พึ่งได้เกิดขึ้นผ่านไปได้ไม่นาน แม้หุ้นจะทา
สัญญาณให้เข้าซื้อ เราก็ควรจะมองในทาง “หลีกเลี่ยง” ไว้ก่อนที่จะเข้าไปในหุ้นดังกล่าว

You might also like