You are on page 1of 18

การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์

ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation :
Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen
ธเนศ นาระคล* และ สักการ ราษีสุทธิ์*

บทคัดย่อ
ปัจจุบนั ลักษณะอาคารพาณิชย์ได้รบั ความนิยมเพิม่ มากขึน้ เนือ่ งจากขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเขตเมืองทีม่ ปี ระชากร
อาศัยอยู่หนาแน่น เนื่องจากอาคารพาณิชย์มีการก่อสร้างในแต่ละห้องติดกันท�ำให้เกิดปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติไม่ดีเท่าที่
ควร งานวิจัยจึงได้มีการน�ำโปรแกรมจ�ำลองกระแสลมเข้ามาช่วยวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการระบายอากาศที่เกิดขึ้น
โดยน�ำกรณีศึกษาอาคารพาณิชย์ที่มีความสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่มาปรับปรุงลักษณะช่องเปิด จากนั้นจึงน�ำไป
จ�ำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ข้อมูลกระแสลมเฉลี่ยในเวลากลางวัน ที่ความเร็ว 1 เมตร ต่อ วินาที และในเวลากลางคืน
ที่ความเร็ว 0.2 เมตร ต่อวินาที โดยได้ก�ำหนดทิศทางของกระแสลมเข้ามาทางด้านหน้าและด้านหลังอาคาร และท�ำมุมเอียง 45 องศา
ด้วย ผลการทดลองงานวิจัยดังกล่าว พบว่าควรยกระดับใต้หลังคาขึ้นอย่างน้อย 0.30 เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่ระบายอากาศภายใต้หลังคา
และลักษณะบานเกล็ดปรับมุมนัน้ จะกระจายกระแสลมภายในอาคารได้ดกี ว่าบานกระทุง้ ส่วนของห้องนอนนัน้ ควรติดตัง้ บานเกล็ดปรับ
มุม เพือ่ ให้เกิดสภาวะสบายรับรูว้ า่ มีลม และบานกระทุง้ นัน้ กระแสลมจะเข้าและออกจากอาคารด้วยความเร็วมากกว่าบานเกล็ดปรับมุม
จึงควรใช้ในบริเวณที่ต้องการระบายออกจากอาคารด้วยความรวดเร็วยกตัวอย่างเช่น ช่องบันไดเป็นต้น ส่วนการเพิ่มช่องระบายอากาศ
ภายในห้องน�้ำโดยใช้ช่องท่อภายในอาคารก็จะช่วยให้เกิดการระบายอากาศเพิ่มมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน

Abstract
At present, the commercial buildings are gaining in popularity due to economic expansion. Especially
in densely populated urban areas. Since the commercial buildings are constructed in each adjoining room,
the natural ventilation problem is not as good as it should be.Research has been conducted to simulate airflow
analysis to find solutions to problems caused Ventilation. The case study of 3 storey commercial buildings was
developed to improve the openings. Then simulated with a computer program. The average daytime airflow data
is entered at a speed of 1 meter per second and at night. That’s at a speed of 0.2 meters per second in the
direction of the airstream coming in front and back of the building. And a 45 degree angle of inclination. It should
be vented under the roof, which has a lot of heat to get out as soon as possible. Raise under the roof at least
0.30 meters to increase Ventilation space under the roof. And the angle of the louver adjusts the airflow in the
building better than the ram. The bedroom should be equipped with adjustable shutters, to make it comfortable
to recognize that there is wind, and the protruding baffle will flow in and out of the building at a speed greater
than the shutter angle. It should be used in the area to drain out of the building quickly such as: staircase,
etc. The addition of air vents in the bathroom using the internal duct of the building will also help to increase the
airflow even more.

ค�ำส�ำคัญ: สภาวน่าสบาย, การระบายอากาศ, โปรแกรมจ�ำลองกระแสลม


Keyword: Thermalcomfort, Ventilation, Computer Simulation
* คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

บทน�ำ
ปัจจุบันในประเทศไทยการขยายตัวทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ส่งผลให้ความต้องการที่พักอาศัยในด้านต่างๆ ก็ขยายตัวมาก
ขึ้นเช่นกัน ซึ่งลักษณะอาคารที่พักอาศัยที่เป็นอาคารพาณิชย์ก็ได้รับความนิยมในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถ
ท�ำการพาณิชย์ได้และขณะเดียวกันก็ยังสามารถพักอาศัยได้อีกด้วย โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ยกตัวอย่าง
เช่นจังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้ถูกประเมิณราคาที่ดินระหว่างปี พ.ศ.2555 – 2558 จัด
อยู่ในอันดับที่ 1 ของภาคจะวันออกเฉียงเหนือ คือราคาที่ดินที่ประเมิณนั้นมีราคา 200,000 บาท ต่อ ตารางวา (กรมธนารัษ์, 2555)
เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นจังหวัดที่ก�ำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องปัจจุบันราคาที่ดินในจังหวัดขอนแก่นมีราคาสูงขึ้น
เป็นอย่างมาก อาคารพาณิชย์จงึ ได้เข้ามามีบทบาทตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในจังหวัด เป็นเหตุให้ตอ้ งออกแบบพืน้ ทีอ่ าคารให้
รองรับประโยชน์ใช้สอยให้ได้มากที่สุด
การระบายอากาศภายในอาคารเป็นอีกปัจจัยที่ท�ำให้เกิดสภาวะน่าสบายแก่ผู้อยู่อาศัย หากมีการระบายอากาศที่เหมาะสม
แล้ว ก็จะท�ำให้ผอู้ ยูอ่ าศัยนัน้ รูส้ กึ สบายขึน้ นัน่ เอง จากลักษณะรูปแบบของอาคารพาณิชย์ทมี่ กี ารจัดวางต�ำแหน่งในแต่ละห้องติดกัน หรือ
แม้กระทั่งการจัดรูปแบบห้องภายในอาคารดังกล่าว จะปิดกั้นกระแสลมซึ่งไม่สามารถระบายอากาศได้ หรือระบายอากาศได้ไม่ดีเท่าที่
ควร ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ทั้งก่อนและหลังการก่อสร้าง ซึ่งสามารถน�ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยวิเคราะห์และ
ออกแบบอาคารดังกล่าวได้ จะช่วยส่งผลให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของบทความ
1. ศึกษาปัญหาการระบายอากาศภายในอาคารพาณิชย์
2. เสนอแนวทางการออกแบบอาคารประเภทอาคารพาณิชย์ เพื่อการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ

วิธีการวิจัย
ขั้นตอนและวิธีการที่ใช้ด�ำเนินการวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. การศึกษารูปแบบอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่น
การเก็บข้อมูลอาคารพาณิชย์ได้ใช้อาคารทีข่ ออนุญาตในปี พ.ศ. 2556-2559 ซึง่ เป็นการศึกษาย้อนหลังไป 4 ปี ซึง่ ได้จาก
ข้อมูลใบอนุญาต อ.1 บริเวณที่ได้ท�ำการเก็บข้อมูลดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ต�ำบลศิลา ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
จากภาพที่ 1 จากการส�ำรวจการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ตามจ�ำนวนชัน้ ของอาคารในพืน้ ทีเ่ ขตเทศบาลต�ำบล
ศิลา สามารถสรุปข้อมูลที่ได้ดังนี้คือ อาคาร 1 ชั้น ร้อยละ 8 อาคาร 2 ชั้น ร้อยละ 28 อาคาร 3 ชั้น ร้อยละ 60 และอาคาร 4 ชั้น
ร้อยละ 4 พบว่าอาคารที่มีความสูง 3 ชั้น มีจ�ำนวนที่มากที่สุด และอาคารดังกล่าวสามารถแยกรูปแบบตามลักษณะแบบแปลนได้ตาม
ภาพที่ 1 (2) โดยรูปแบบที่ 2 จะมีจ�ำนวนมากที่สุด คือร้อยละ 90 (เทศบาลต�ำบลศิลา, 2559) โดยรูปแบบดังกล่าว ส่วนบันไดที่ขึ้นจาก
ชั้น 2 ไปชั้น 3 นั้นจะย้ายต�ำแหน่งมาบริเวณกลางอาคาร แตกต่างจากรูปแบบที่ 1 ที่ บันไดทางขึ้นจะอยู่ต�ำแหน่งหลังสุดอาคารโดยขึ้น
จากชัน้ 1 จนถึงชัน้ 3 โดยการย้ายต�ำแหน่งบันไดมาอยูช่ ว่ งกลางอาคารจะท�ำให้ได้พนื้ ทีห่ อ้ งนอนชัน้ 3 กว้างกว่ารูปแบบที่ 1 ซึง่ จะท�ำให้
ได้พื้นที่ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า

ภาพที่ 1 (1) จ�ำนวนร้อยละของอาคารพาณิชย์ และรูปแบบอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น (2)

240 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

2. การศึกษาช่องเปิดระบายอากาศในรูปแบบต่างๆ
จากการศึกษารูปแบบอาคารพาณิชย์ดงั กล่าว ท�ำให้พบปัญหาการระบายอากาศของตัวอาคารซึง่ ส่วนใหญ่ไม่มชี อ่ งระบาย
อากาศที่เหมาะสมท�ำให้การระบายอากาศไม่ดีเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น การที่ต้องก่อสร้างอาคารติดกันเป็นห้องๆ ท�ำให้ไม่สามารถท�ำ
ช่องเปิดด้านข้างอาคารได้ ซึ่งส่งผลให้กระแสลมไม่สามารถระบายออกสู่ภายนอกได้ ดังที่แสดงตามภาพที่ 2 ตามรูปแบบแปลนพื้นชั้น
ล่าง กระแสลมจะเข้าปะทะอาคารตามทิศทางลูกศร โดยจะเข้าจากทางด้านหน้าอาคารและระบายออกสู่ภายนอกอาคารได้หากมีการ
ท�ำช่องเปิดด้านหลังอาคารบริเวณโถงบันได ส่วนชั้นบนในส่วนห้องนอนนั้น เมื่อเปิดหน้าต่างทั้งด้านหน้าและด้านหลังอาคาร โดยทั่วไป
แล้วบริเวณดังกล่าวจะเป็นส่วนของห้องนอน กระแสลมนั้นจะเข้ามาภายในห้องแต่ไม่สามารถระบายออกสู่ภายนอกได้ จึงท�ำให้การ
ระบายอากาศไม่ดเี ท่าทีค่ วร ซึง่ สามารถดูได้จากการทดสอบโดยโปรแกรม ตามภาพที่ 3 (1) แสดงผลการจ�ำลองกระแสลมเข้าปะทะด้าน
หน้าอาคาร ส่วนภาพที่ 3 (2) (3) เป็นการจ�ำลองกระแสลมเข้าปะทะด้านหลังอาคาร ผลการจ�ำลองจะพบว่า ชั้นบนในส่วนที่เป็นห้อง
นอน แนวกระแสลมจะม้วนตัวภายในห้องท�ำให้เกิดความกดอากาศต�่ำขึ้น โดยที่กระแสลมดังกล่าวไม่สามารถระบายออกสู่ภายนอกได้
ต่างจากกระแสในส่วนของชัน้ ล่างนัน้ มีชอ่ งเปิดทางด้านหน้าและทางด้านหลังอาคาร ท�ำกระแสลมเข้าและออกจากตัวอาคารได้ จึงเกิด
การระบายอากาศขึ้น

ภาพที่ 2 ตัวอย่างแปลนพื้นอาคารพาณิชย์

ภาพที่ 3 รูปตัดอาคารแสดงถึงปัญหาการระบายอากาศ

จากการศึกษารูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการระบายอากาศภายในอาคารพาณิชย์นั้น สามารถสรุปได้ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
2.1 ช่องเปิดที่เป็นประตู ประตูหน้าอาคารเป็นบานเหล็กม้วน D1 และบางหลังอาจจะมีบานเลื่อน D4 D5 ซ้อนอยู่ถัด
จากบานเหล็กม้วนอีกที ส่วนบานประตูภายในห้องจะเป็นบานเปิดเดี่ยว D2 D3 (ดูภาพที่ 4 ประกอบ)

241
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

ข้อจ�ำกัดของการเปิดประตูบานเลื่อนสามารถรับกระแสลมได้เต็มทีร้อยละ 50 (ตามภาพที่ 4 sim-1) ของตัวบาน


เอง ส่วนประตูบานเปิดเดี่ยว D2 นั้นสามารถรับกระแสลมได้เต็มร้อยละ 100 ขึ้นอยู่กับทิศทางการเปิดของบาน (ตามภาพที่ 4 sim-2
และ sim-3)

ภาพที่ 4 ลักษณะช่องเปิดประตูที่พบในอาคารพาณิชย์

2.2 ช่องเปิดที่เป็นหน้าต่าง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผนังด้านหน้า และด้านหลังของอาคาร และมีลักษณะเป็นบานเลื่อนอลูมิ


เนียม-กระจกใส W2 W3 มีบางอาคารที่ด้านหลังเป็นบานเกล็ดปรับมุม W4 บานเปิดเดี่ยว W1 บางส่วน ยังพบว่าบางส่วนของโถงบันได
เป็นบานเกล็ดซ้อนและบานกระทุ้ง W5 W6 (ดูภาพที่ 5 ประกอบ)
ข้อจ�ำกัดของการเปิดหน้าต่างบานเลือ่ นก็เหมือนกับประตูบานเลือ่ นคือสามารถรับกระแสลมได้เต็มทีร่ อ้ ยละ 50 ของ
ตัวบานเอง ส่วนหน้าต่างบานเปิดเดี่ยว D1 นั้นสามารถรับกระแสลมได้เต็มร้อยละ 100 ขึ้นอยู่กับทิศทางการเปิดของบาน (ตามภาพที่
5 sim-3) ส่วนบานเกล็ดปรับมุม W4 (ตามภาพที่ 5 sim-1) การรับกระแสลมจะสามารถรับได้ 100% และยังสามารถปรับทิศทางของ
กระแสลมได้ด้วยและหน้าต่างบานเกล็ดซ้อน W5 เหมือนกันกับหน้าต่างบานเกล็ดปรับมุมเพียงแต่ไม่สามารถปรับทิศทางได้ นอกจาก
นั้นยังพบเห็นหน้าต่างบานกระทุ้ง W6 (ตามภาพที่ 5 sim-2) ซึ่งมีความสามารถรับกระแสลมขึ้นกับการเปิดของบานโดยหากกระทุ้งขึ้น
จนสุดก็สามารถรับกระแสลมได้ 100% เช่นเดียวกัน

242 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

ภาพที่ 5 ลักษณะช่องเปิดหน้าต่างที่พบในอาคารพาณิชย์

2.3 ช่องเปิดระบายอากาศส่วนที่อยู่ใต้หลังคา อาคารบางหลังได้ท�ำช่องระบายอากาศที่มีลักษณะเกล็ดซ้อนด้านหน้า


อาคาร ส่วนที่เป็นเกล็ดใช้วัสดุประเภทไม้เทียมเป็นส่วนใหญ่ การระบายอากาศจะเกิดขึ้นโดยที่กระแสลมจะเข้าตามช่องเกล็ดซ้อนด้าน
หน้าอาคาร และไหลออกทางด้านหลังอาคารได้โดยผ่านช่องระบายอากาศบริเวณฝ้าชายคาด้านหลังอาคาร หากอาคารนั้นไม่ได้ท�ำฝ้า
เพดานบริเวณชายคาทีส่ ามารถระบายอากาศได้ กระแสลมทีผ่ า่ นเข้ามานัน้ ก็จะไม่สามารถระบายออกจากบริเวณใต้หลังคาได้ ซึง่ อธิบาย
ได้ตามภาพที่ 6 กระแสลมจะพัดเข้าปะทะอาคารตามทิศทางลูกศร แล้วระบายออกจากพืน้ ทีใ่ ต้หลังคาโดยช่องระบายอากาศใต้ฝา้ เพดาน
บริเวณชายคา

ภาพที่ 6 ส่วนโล่งใต้หลังคาระบายอากาศได้
2.4 ช่องเปิดโล่งส่วนโถงบันได ท�ำให้เกิดช่องโล่งทะลุจนถึงส่วนใต้หลังคา ซึง่ สามารถพิจารณาการระบายอากาศเพิม่ เติม
ได้ ดังภาพที่ 7 หากกระแสลมที่พัดเข้ามาภายในอาคารแล้วไม่สามารถพัดออกสู่ภายนอกได้ ก็จะไปสะสม บริเวณใต้ฝ้าเพดาน ซึ่งจะ
เป็นการสะสมอากาศร้อน ตามภาพที่ 7 บริเวณดังกล่าวนัน้ จะอยูต่ รงกลางอาคาร โดยธรรมชาติแล้วอากาศทีร่ อ้ นจะลอยตัวขึน้ ทีส่ งู ส่วน
อากาศเย็นจะลอยลงต�่ำ

243
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

ภาพที่ 7 การระบายอากาศส่วนโถงบันได

3. รูปแบบการปรับปรุงช่องเปิด
จากการพิจารณารูปแบบช่องเปิดในลักษณะต่างๆทีผ่ า่ นมา สามารถน�ำข้อดีและข้อเสียของแต่ละลักษณะมาปรับปรุงเพือ่
ช่วยระบายอากาศ โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
3.1 การปรับปรุงช่องเปิดประตูภายในอาคาร เพือ่ เพิม่ การระบายอากาศภายในห้องนอนได้ปรับปรุงช่องเปิดเหนือประตู
โดยใช้บานการทุ้ง ตามภาพที่ 8
3.2 การปรับปรุงช่องเปิดหน้าต่าง จากการศึกษาข้อมูลช่องเปิดชนิดต่างๆทีผ่ า่ นมา ได้นำ� ข้อดีของช่องเปิดชนิดบานเกล็ด
และบานกระทุ้ง น�ำมาปรับปรุงจากบานเลื่อนเดิม
3.3 ปรับปรุงช่องโถงบันไดโดยใช้ฝ้าส�ำเร็จรูปชนิดระบายอากาศ เนื่องจากอากาศบริเวณโถงบันไดจะลอยสะสมบริเวณ
ส่วนบนสุดของอาคาร หากไม่มีช่องเปิดเพื่อระบายอากาศออกสู่ภายนอกอาคาร ความร้อนจะสะสมภายในอาคาร จึงปรับปรุงโดยใช้ฝ้า
เพดานชนิดระบายอากาศได้ เพื่อระบายอากาศออกสู่ภายนอกต่อไป

ภาพที่ 8 การปรับปรุงประตูภายในอาคาร ส่วนที่เป็นห้องนอน


3.4 การทดลองช่องระบายอากาศใต้หลังคา จากการยกระดับหลังคาให้มีความสูงมากขึ้น พบว่าหากยกเริ่มจาก 0.10 ม.
จนกระทั่งสูง 0.80 ม. สามารถเพิ่มความสามารถการระบายอากาศได้เพิ่มขึ้นตามความสูงที่เพิ่มขึ้น

244 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

ภาพที่ 9 การยกหลังคาเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ

3.5 ช่องท่อของอาคารพักอาศัยโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย ท่อโสโครก (S-4”) ท่ออากาศ (V-1”) ท่อระบายน�้ำทิ้ง


(W-2”) ท่อน�้ำประปา (CW-3/4”) รวมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อทั้งหมดที่อยู่ในช่องท่อแล้ว ประมาณ 25 ซม. เพราะฉนั้นเพื่อ
ความสะดวกในการติดตั้งระบบท่อ จึงควรท�ำช่องท่อให้ได้ขนาดช่องภายในไม่น้อยกว่า 30x30 ซม. การปรับปรุงช่องท่อในส่วนของชั้น
ที่ 1 ได้ท�ำช่องเปิดบานหน้าต่างชนิดเกล็ด ขนาดบาน 0.30x1.20 ม. เพื่อระบายอากาศเข้าไปในช่องท่อ ส่วนที่ต่อเนื่องในห้องน�้ำได้ท�ำ
ช่องเปิดเช่นเดียวกันเพือ่ น�ำอากาศออกสูอ่ าคารต่อเนือ่ ง (ตามทิศทางลูกศรแทนกระแสลม ภาพที่ 10 (1) ) จนกระทัง่ ถึงส่วนโล่งใต้หลังคา
ได้ใช้ทอ่ แนวนอนตามขนาดของช่องท่อแนวตัง้ คือขนาดช่อง 30x30 ซม. ยาวตลอดแนวอาคาร เพือ่ น�ำกระแสลมเข้าและออกจากอาคาร
โดยภาพที่ 10 (2) แสดงการจ�ำลองด้วยโปรแกรมพบว่ามีการระบายอากาศภายในห้องน�้ำซึ่งไม่สามารถท�ำช่องเปิด เนื่องจากต�ำแหน่ง
อยู่กลางอาคาร

ภาพที่ 10 การใช้ช่องท่อภายในอาคารน�ำมาใช้ระบายอากาศ

4. ข้อมูลและวิธีการป้อนข้อมูลให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่จ�ำเป็นให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อน�ำไปวิเคราะห์ แบ่งตามหัวข้อๆด้ดังนี้
4.1 จากการศึกษาความเร็วกระแสลมภายนอกฤดูการของจังหวัดขอนแก่น (มาลินี ศรีสุวรรณ, 2543: หน้าที่ 48)
ความเร็วกระแสลมเวลากลางวัน 1.0 เมตร/วินาที ตัวแทนเวลากลางวัน
ความเร็วกระแสลมเวลากลางคืน 0.2 เมตร/วินาที ตัวแทนเวลาพักผ่อน
จากภาพที่ 10 (1) แสดงทิศทางกระแสลมของจังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่จะพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลม
ประจ�ำถิ่น และบางเดือนกระแสลมจะพัดจากตะวันออกเฉียงเหนือ
4.2 ทิศทางกระแสลมได้กำ� หนดใน 2 ทิศทางคือทิศทางลมเข้าทางด้านหน้าอาคารและด้านหลังอาคารโดยท�ำมุมตัง้ ฉาก
กับอาคารและท�ำมุมเอียง 45 องศากับอาคารใน 2 ทิศทางนั้นด้วย ตามภาพที่ 11 (2) และในแต่ละทิศทางก็ท�ำการป้อนความเร็ว 2 ค่า
คือ ความเร็ว 0.20 เมตร ต่อ วินาที และ 1.0 เมตร ต่อ วินาที เพื่อเปรียบเทียบผล

245
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

ภาพที่ 11 (1) ทิศทางกระแสลมในจังหวัดขอนแก่น (มาลินี ศรีสุวรรณ, 2543: หน้าที่ 47) และรูปแบบกระแสลมที่ใช้ป้อนให้โปรแกรม


คอมพิวเตอร์ (2)

5. รูปแบบอาคารพาณิชย์กรณีศึกษา
จาการศึกษารูปแบบอาคารพาณิชย์ 3 ชัน้ รูปแบบทีพ่ บเห็นมากทีส่ ดุ ตามภาพที่ 1 (2) คือรูปแบบที่ 2 ลักษณะแบบแปลน
อาคารแตกต่างกับรูปแบบที่ 1 คือ บันไดขึ้นจากชั้นที่ 2 ไปยังชั้นที่ 3 ต�ำแหน่งบันไดได้ย้ายมาอยู่ช่วงกลางอาคาร ส่วนสถานที่ปลูกสร้าง
อาคารก็อยู่ในเขตเทศบาลต�ำบลศิลา อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดังแสดงในภาพที่ 11

ภาพที่ 12 สถานที่ปลูกสร้างอาคาร กรณีศึกษาอาคารพาณิชย์

จากแปลนอาคารที่ปรับปรุงนั้นได้เพิ่มช่องเปิดเหนือประตูทางเข้าชั้นล่างซึ่งมีลักษณะบานเกล็ดปรับมุมและบานกระทุ้ง
เพือ่ เปรียบเทียบกัน (ดังภาพที่ 12 ส่วนบริเวณโถงชัน้ 3 ช่วงกลางอาคารนัน้ ได้เพิม่ ฝ้าระบายอากาศตามต�ำแหน่งทีร่ ะบุหมายเลข 2 และ
ในส่วนของการระบายอากาศในห้องน�้ำนั้นได้ท�ำช่องท่อจากชั้นที่ 1 จนถึงบริเวณใต้หลังคาเพื่อเชื่อมต่อท่อระบายอากาศตามแนวนอน
ขนาด 0.30x0.30 เมตร เพื่อระบายอากาสออกสู่ภายนอก ตามที่ระบุหมายเลข 1 ในแปลนหลังคาและตามรูด้านใต้ชายคา ดูภาพที่ 13
ประกอบ

246 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

ภาพที่ 13 แปลนพื้นอาคาร ก่อนและหลังปรับปรุง

247
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

ภาพที่ 14 รูปด้านหน้าและด้านหลังอาคาร ก่อนและหลังปรับปรุง

การปรับปรุงรูปแบบช่องเปิดได้แบ่งออกเป็นช่องเปิดระตู และหน้าต่าง ส่วนของประตูได้ปรับปรุงโดยเพิ่มช่องระบาย


อากาศด้านบน ซึ่งใช้ช่องเปิดชนิดบานเกล็ด และบานกระทุ้ง เพื่อท�ำการเปรียบเทียบผลการทดลอง ส่วนของหน้าต่างได้ใช้ช่องหน้าต่า
งชนิดบานเกล็ด และบานกระทุ้งเพื่อน�ำไปเปรียบเทียบผลการทดลองเช่นเดียวกัน ดูภาพที่ 14 ประกอบ

ภาพที่ 15 การปรับปรุงช่องเปิดประตู และหน้าต่างของอาคาร

จากภาพที่ 16 คือรูปแบบของหุ่นจ�ำลองที่ใช้เป็นข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยแสดงบริเวณช่องเปิดอาคาร 3 ชั้น


ในส่วนที่ระบุหมายเลข 1 คือช่องเปิดของอาคารเดิมก่อนที่จะมีการปรับปรุง และส่วนที่ระบุหมายเลข 2 คือ รูปแบบที่มีการปรับปรุง
ช่องเปิดอาคารแล้ว

248 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

ภาพที่ 16 รูปแบบการป้อนข้อมูลให้กับโปรแกรมเพื่อน�ำไปวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย
ผลการทดลองเปรียบเทียบกระแสลมที่ผ่านเข้าภายในแบบจ�ำลอง พบว่ากระแสลมภายในอาคาร 3 ชั้น รูปแบบที่ยังไม่มีการ
ปรับปรุงนัน้ กระแสลมจะผ่านเข้าและออกได้เฉพาะชัน้ ที่ 1 เท่านัน้ เนือ่ งจากทิศทางกระแสลมสามาถเข้าและออกได้จากตัวอาคาร ส่วน
ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ในส่วนของห้องนอน และบริเวณโถงบันไดกระแสลมไม่สามารถระบายออกจากตัวอาคารได้ เนื่องจากไม่มีช่องเปิด
ให้กระแสลมพัดออกสู่ภายนอกอาคารได้
อธิบายค�ำย่อของทิศทางช่องในตารางช่อง (1) ยกตัวอย่างเช่น F-1-0 อักษรตัวแรกหมายถึงทิศทางกระแสลมเข้า F คือด้าน
หน้าอาคาร ส่วนอักษร B คือด้านหลังอาคาร ถัดมาคือตัวอักษรที่อยู่ตรงกลางหมายถึงความเร็วกระแสลมที่ป้อนให้โปรแกรม หมายเลข
1 หมายถึงความเร็ว 1 เมตร ต่อ วินาที ส่วนหมายเลข 02 หมายถึงความเร็ว 0.2 เมตร ต่อ วินาที ส่วนหมายเลขที่แสดงท้ายสุด 0 หมาย
ถึงทิศทางกระแสลมเข้าโดยตรงกับตัวอาคาร และหมายเลข 45 หมายถึง ทิศทางกระแสลมท�ำมุมเอียง 45 องศากับตัวอาคาร

ตารางที่ 1 ผลการจ�ำลองอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น จากกรณีศึกษา


อาคาร 3 ชั้น
ทิศทาง ความเร็วกระแสลมเฉลี่ย (เมตร ต่อ ความเร็วกระแสลมเฉลี่ย(เมตร ต่อ ผลต่างความเร็วกระแสลม
(1) วินาที) วินาที) บานกระทุ้ง-บานเกล็ด
บานกระทุ้ง บานเกล็ด (เมตร ต่อ วินาที)
F-1-0 0.40-3.10 0.40-2.80 0.30
F-1-45 0.16-1.20 0.08-0.75 0.37
F-02-0 0.15-0.85 0.10-0.55 0.25
F-02-45 0.08-0.20 0.05-0.18 0.01
B-1-0 1.50-1.80 0.90-2.30 1.10
B-1-45 0.30-0.60 0.20-0.60 0.10
B-02-0 0.15-0.55 0.08-0.50 0.02
B-02-45 0.08-0.20 0.05-0.20 0.03

ส่วนทิศทางกระแสลมที่ปะทะอาคารในทิศทางท�ำมุม 0 องศา และเอียง 45 องศา ผลการทดลองจะเห็นได้ว่า ทิศทางของ


กระแสลมที่เข้ามาโดยตรงหรือท�ำมุม 0 องศานั้นมีค่ามากกว่าทิศทางที่เอียง 45 องศา ทั้งทางด้านหน้าและด้านหลังอาคาร และชายคา
ส่วนที่ยื่นทั้งทางหน้าและหลังคาอาคาร สามารถดักกระแสลมที่เข้ามาปะทะอาคารได้

249
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

จากการเปรียบเทียบความเร็วกระแสลมเฉลีย่ ของอาคารทีจ่ ำ� ลองในลักษณะช่องเปิดชนิดบานกระทุง้ และช่องเปิดชนิดบานเกล็ด


ปรับมุมนั้น พบว่าช่องเปิดชนิดบานกระทุ้งจะมีความเร็วกระแสลมเข้ามาภายในอาคารโดยเฉี่ยมากกว่าช่องเปิดชนิดเกล็ดปรับมุม (ตาม
ตารางที่ 1) แต่ชว่ งของข้อมูลช่องเปิดทีเ่ ป็นเกล็ดปรับมุมจะมากกว่า กล่าวคือ กระแสลมของช่องเปิดชนิดบานเกล็ดจะเริม่ จากค่าทีน่ อ้ ย
แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นและจะมีการกระจายตัวของกระแสลมได้ดีกว่าช่องเปิดชนิดบานกระทุ้ง
เมือ่ พิจารณาช่องระบายอากาศใต้หลังคาแล้ว การระบายอากาศสามารถระบายอากาศได้ดยี งิ่ ขึน้ เมือ่ มีการยกระดับหลังคาให้
สูงขึ้นตามการทดลอง
เนือ่ งจากห้องน�ำ้ อยูใ่ นต�ำแหน่งกลางอาคารจึงไม่อาจจะท�ำช่องเปิดเพือ่ ระบายอากาศได้ จึงได้ทดลองการระบายโดยอาศัยช่อง
ท่อ จากผลการทดลองสามารถช่วยให้ห้องน�้ำเกิดการหมุนเวียนของอากาศได้ดีชึ้น โดยความเร็วกระแสลมภายในท่อและกระจายตัวใน
ห้องน�้ำจะอยู่ที่ความเร็ว ประมาณ 0.01-0.9 เมตร ต่อ วินาที

ภาพที่ 17 ผลการจ�ำลองกระแสลมเข้าทางด้านหน้าอาคาร ท�ำมุม 0 องศา และ45 องศา

ภาพที่ 17 ด้านซ้าย คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 1.0 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหน้าอาคารท�ำมุม 0 องศา ภาพบนคืออาคาร
ยังไม่ได้ปรับปรุง รูปกลางคืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานกระทุง้ ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานเกล็ดภาพที่ 17 ด้านขวา
คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 1.0 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหน้าอาคารท�ำมุม 45 องศา ภาพบนคืออาคารที่ยังไม่ได้ปรับปรุง รูปกลาง
คืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานกระทุง้ ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานเกล็ด จะสังเกตได้วา่ เส้นแทนแนวกระแสลมมีการ
ม้วนตัวภายในห้องที่มีการปรับปรุงช่องเปิด โดยที่กระแสลมที่ปะทะอาคารโดยตรงจะมีค่ามากกว่ากระแสลมที่ท�ำมุมเอียงกับอาคาร
ดูจากเส้นแทนแนวกระแสลมที่น้อยกว่าซึ่งแสดงว่ากระแสลมที่พัดเข้ามาจะมีค่าความเร็วน้อยกว่าและมีปริมาณที่น้อยกว่าอีกด้วย

250 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

ภาพที่ 18 ผลการจ�ำลองกระแสลมเข้าทางด้านหน้าอาคาร ท�ำมุม 0 องศา และ45 องศา

ภาพที่ 18 ด้านซ้าย คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 0.2 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหน้าอาคารท�ำมุม 0 องศา ภาพบนคืออาคาร
ยังไม่ได้ปรับปรุง รูปกลางคืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานกระทุ้ง ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานเกล็ด ภาพที่ 18 ด้าน
ขวา คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 0.2 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหน้าอาคารท�ำมุม 45 องศา ภาพบนคืออาคารยังไม่ได้ปรับปรุง รูป
กลางคืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานกระทุ้ง ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานเกล็ด รูปแบบกระแสลมก็คล้ายกับผลการ
ทดลองที่ผ่านมาเพียงแต่ความเร็วที่ลดลงท�ำให้ปริมาณกระแสลมที่เข้ามาภายในอาคารน้อยลงตามไปด้วย

251
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

ภาพที่ 19 ผลการจ�ำลองกระแสลมเข้าทางด้านหน้าอาคาร ท�ำมุม 0 องศา และ45 องศา

ภาพที่ 19 ด้านซ้าย คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 1.0 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหลังอาคารท�ำมุม 0 องศา ภาพบนคืออาคาร
ยังไม่ได้ปรับปรุง รูปกลางคืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานกระทุง้ ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานเกล็ดภาพที่ 19 ด้านขวา
คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 1.0 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหลังอาคารท�ำมุม 45 องศา ภาพบนคืออาคารยังไม่ได้ปรับปรุง รูปกลาง
คืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานกระทุ้ง ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานเกล็ด กระแสลมที่ผ่านเข้าทางด้านหลังอาคารจะ
พบเส้นแทนแนวกระแสลมจะม้วนตัวเข้าสู่งอาคาร โดยกระทบกับกันสาดอาคาร และบริเวณชายคา ซึ่งระยะที่ยื่นยาวต่างกันของแนว
กันสาด จะเป็นตัวช่วยดักกระแสลมให้เข้ามาภายในอาคารเพิ่มมากยิ่งขึ้น

252 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

ภาพที่ 20 ผลการจ�ำลองกระแสลมเข้าทางด้านหน้าอาคาร ท�ำมุม 0 องศา และ45 องศา

ภาพที่ 20 ด้านซ้าย คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 0.2 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหลังอาคารท�ำมุม 0 องศา ภาพบนคืออาคาร
ยังไม่ได้ปรับปรุง รูปกลางคืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานกระทุง้ ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารทีป่ รับปรุงชนิดบานเกล็ดภาพที่ 20 ด้านขวา
คือการจ�ำลองทิศทางกระแสลม 0.2 เมตร ต่อ วินาที เข้าด้านหลังอาคารท�ำมุม 45 องศา ภาพบนคืออาคารยังไม่ได้ปรับปรุง รูปกลาง
คืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานกระทุ้ง ส่วนภาพด้านล่าง คืออาคารที่ปรับปรุงชนิดบานเกล็ด ผลการทดลองในภาพนี้ก็เช่นกันเพียงแต่
ความเร็วที่ลดลงท�ำให้ปริมาณกระแสลมที่เข้ามาภายในอาคารลดลงตามไปด้วย
จากผลการทดลองในแต่ละกรณีต่างๆที่ผ่านมา พบข้อสังเกตและประเด็นหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้ คือ
1. ส่วนยืน่ อาคารทัง้ ทางด้านหน้า และด้านหลังอาคาร ยกตัวอย่างเช่น ส่วนยืน่ หลังคา กันสาด หรือระเบียง จะช่วยดักกระแส
ลมให้เข้าสู่อาคารได้เพิ่มมากขึ้น
2. การเพิม่ พืน้ ทีใ่ ต้หลังคาจะช่วยระบายอากาศทีป่ ะทะกับตัวอาคาร และการน�ำฝ้าเพดานชนิดรูระบายเพือ่ ช่วยระบายอากาศ
ส่วนโถงบันไดจะช่วยระบายที่สะสมบริเวณใต้ฝ้าเพดานและไหลไปรวมในส่วนช่องระบายอากาศใต้หลังคา เพื่อระบายอากาศออกจาก
ตัวอาคารได้
3. ส่วนของช่องท่องานระบบสุขาภิบาลทีน่ ำ� มาประยุกต์ใช้เป็นช่องระบายอากาศภายในห้องน�ำ้ นัน้ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียน
ของอากาศภายในห้องได้
4. ช่องเปิดที่เป็นบานกระทุ้ง ความเร็วกระแสลมที่พัดผ่าน จะมากกว่าช่องเปิดบานเกล็ด และบานเกล็ดจะกระจายกระแส
ลมได้ดีกว่าบานกระทุ้ง

253
การศึกษาปัญหาการระบายอากาศโดยธรรมชาติของอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบช่องเปิดของอาคาร
ธเนศ นาระคล และ สักการ ราษีสุทธิ์

5. กระแสลมที่เข้ามาปะทะกับอาคารในทิศทางโดยตรง คือ 0 องศา กับ ทิศทางที่เอียงท�ำมุม 45 องศา มีผลกับกระแสลม


ที่พัดเข้ามายังตัวอาคาร กล่าวคือ กระแสลมที่เข้ามาปะทะโดยตรงจะมีค่าความเร็วกระแสลมเฉลี่ย ที่มากกว่านั่นเอง

อภิปรายผลและสรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลองท�ำให้ทราบว่าช่องเปิดชนิดบานเกล็ดปรับมุมจะมีความสามารถปรับทิศทางของกระแสลมได้ จึงส่งผลให้การ
กระจายตัวของกระแสลมภายในอาคารดีกว่าช่องเปิดชนิดบานกระทุ้ง ซึ่งให้ความเร็วลมที่มากกว่า ดังนั้นต�ำแหน่งห้องนอนควรใช้ช่อง
เปิดชนิดบานเกล็ดปรับมุมเพื่อท�ำให้เกิดความสบายแก่ผู้อาศัย โดยที่กระแสลมไม่รบกวนกับผู้อยู่อาศัย ซึ่งความเร็วกระแสลมที่เหมาะ
สมจะอยูท่ ี่ 0.50 - 0.80 เมตร ต่อ วินาที จะอยูใ่ นเกณฑ์รสู้ กึ สบายโดยรับรูว้ า่ มีลม (Victor Olgyay, 1969) ส่วนช่องเปิดชนิดบานกระทุง้
ควรจัดวางในต�ำแหน่งที่ต้องการระบายอากาศออกสู่ภายนอกโดยรวดเร็วเพื่อน�ำอากาศร้อนออกสู่ภายนอกอาคาร ยกตัวอย่างเช่นควร
น�ำไปวางต�ำแหน่งช่องบันไดเป็นต้น
การเลือกใช้ช่องเปิดชนิดไหนนั้น อาจจะต้องค�ำนึงถึงความสะดวกในการเปิด-ปิดของบานด้วย ยกตัวอย่างเช่นหากเลือกใช้
บานกระทุ้ง ก็ต้องมีพื้นที่ในการเปิดหรือปิดบานเนื่องจากมีการเปิดหรือปิดบานลักษณะกระดกขึ้นและลง และค่าใช้จ่ายในการท�ำบาน
กระทุ้งอาจจะสูงกว่าบานชนิดอื่นๆซึ่งราคา ต่อพื้นที่ของบานจะอยู่ที่ 1,500 – 2,000 บาท ต่อ ตารางเมตร ซึ่งได้จากการส�ำรวจร้านค้า
ทั่วไปภายในจังหวัดขอนแก่น
จากผลการทดลองในส่วนทีย่ นื่ อาคารทัง้ ทางด้านหน้า และด้านหลังอาคาร ยกตัวอย่างเช่น ส่วนยืน่ หลังคา กันสาด หรือระเบียง
จะช่วยดักกระแสลมให้เข้าสู่อาคารได้เพิ่มมากขึ้น โดยที่ส่วนที่ยื่นของอาคาร 3 ชั้นในชั้นที่ 3นั้นจะไม่ช่วยดักกระแสลมเข้าสู่ตัวอาคาร
โดยจะไหลผ่านไปยังชัน้ ต่อไป หรือไปยังส่วนทีเ่ ป็นชายคา เนือ่ งจากความยาวส่วนทีย่ นื่ ของระเบียง และชายคาด้านหน้าจะมีระยะทีเ่ ท่า
กัน จึงสรุปได้วา่ หากต้องการใช้สว่ นทีย่ นื่ ของอาคารช่วยดักกระแสลมนัน้ ส่วนยืน่ ดังกล่าวควรมีความยาวทีแ่ ตกต่างกันเพือ่ ช่วยดักกระแส
ลม ยกตัวอย่างเช่น หากกันสาดบริเวณพื้นชั้น 2 มีความยาว 1 เมตร ดังนั้นกันสาดชั้นที่ 3 ควรจะมีความยาวมากกว่า 1 เมตร หรือน้อย
กว่า 1 เมตร เป็นต้น ซึง่ สังเกตได้จากการยืน่ ของกันสาดด้านหลังอาคารทีม่ คี วามยาวต่างกัน เมือ่ เปรียบเทียบกับส่วนยืน่ ของชายคาด้าน
หลัง ซึ่งส่วนยื่นของชายคาจะยื่นยาวกว่ากันสาดของชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3
การเพิ่มพื้นที่ใต้หลังคาขึ้นมาที่ความสูง 0.30 ม. โดยท�ำช่องระบายอากาศชนิดเกล็ดซ้อน เป็นการเพิ่มพื้นที่ใต้หลังคาจะช่วย
ระบายอากาศทีป่ ะทะกับตัวอาคาร และการน�ำฝ้าเพดานชนิดรูระบายเพือ่ ช่วยระบายอากาศส่วนโถงบันไดจะช่วยระบายทีส่ ะสมบริเวณ
ใต้ฝา้ เพดาน และไหลไปรวมในส่วนช่องระบายอากาศใต้หลังคา เพือ่ ระบายอากาศออกจากตัวอาคารได้ และส่วนทีต่ อ้ งการระบายอากาศ
บริเวณใต้หลังคาก็คอื การน�ำส่วนของช่องท่องานระบบสุขาภิบาลมาประยุกต์ใช้เป็นช่องระบายอากาศภายในห้องน�ำ้ นัน้ ช่วยให้เกิดการ
หมุนเวียนของอากาศภายในห้องได้
ส่วนทิศทางกระแสลมที่เข้ามาปะทะกับอาคารในทิศทางโดยตรง คือ 0 องศา กับ ทิศทางที่เอียงท�ำมุม 45 องศา นั้นจะมีผล
กับกระแสลมทีพ่ ดั เข้ามายังตัวอาคาร กล่าวคือ กระแสลมทีเ่ ข้ามาปะทะโดยตรงจะมีคา่ ความเร็วกระแสลมเฉลีย่ และความหนาแน่นของ
กระแสลม ที่มากกว่านั่นเอง
จากผลการทดลองระบายอากาศโดยใช้ช่องท่อนั้น สามารถช่วยให้ห้องน�้ำเกิดการหมุนเวียนของอากาศได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถน�ำ
ไปประยุกต์ใช้ในห้องอืน่ ๆได้อกี ด้วย แต่กค็ วรทีจ่ ะค�ำนึงถึงหากเกิดอัคคีภยั ท่อนัน้ ต้องสามารถป้องกันการลามของเปลวไฟไปยังห้องอืน่ ๆ
ด้วย จึงอาจจะต้องท�ำบานป้องกันไฟโดยจะปิดอัตโนมัติหากเกิดเพลิงให้ จึงอาจจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติม จะพบว่าอาคารพาณิชย์
ส่วนใหญ่จะก่อสร้างจ�ำนวน 3 ชั้น เนื่องจาก ราคาที่ดินที่มีราคาแพง ท�ำให้ราคาต้นทุนการก่อสร้างสูงตามไปด้วย ซึ่งหากท�ำอาคารที่มี
ต้นทุนสูง หรือราคาขายที่สูงนั้นจะท�ำให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อยากกว่า ซึ่งหากท�ำอาคารสูงก็จะราคาสูงตามไปด้วย จากการส�ำรวจอาคาร
พาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่ราคาที่ขายในปัจจุบัน จะอยู่ที่ 1,500,000 - 3,000,000 บาท ต่อ 1 คูหา จะเป็นราคาที่ขายได้ง่าย
และดีที่สุด

ข้อเสนอแนะงานวิจัย
เนื่องจากงานวิจัยได้ค�ำนึงเฉพาะปัจจัยในด้านความเร็วของกระแสลมในการจ�ำลองโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งงาน
วิจัยได้ใช้องค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาวะน่าสบาย โดยคุณสมบัติของสภาวะน่าสบายยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย เช่น

254 การประชุ มวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 - 16 มิถุนายน 2560
A Study of Commercial Building’s Natural Ventilation : Problems and Design of Opening Guideline in Khon Kaen

ปัจจัยทางด้านความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิเป็นต้น หากต้องการความสมบูรณ์ของการทดลองจึงควรน�ำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาใน
การน�ำไปทดลองโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวด้วย
ช่องเปิดโดยทั่วไปนั้นนิยมที่จะติดตั้งมุ้งลวดและเหล็กดัดเพื่อป้องกันแมลงต่างๆและป้องกันขโมยด้วย ท�ำให้กระแสลมที่เขา
มาภายในอาคารอาจจะไม่เป็นไปตามความเร็วกระแสลมที่ป้อนค่าให้กับโปรแกรม เพราะฉนั้นการศึกษาปัจจัยในเรื่องมุ้งลวดและเหล็ก
ดัดจึงมีผลต่อความเร็วกระแสลมอีกด้วย ซึ่งหากมีการวิจัยในประเด็นนี้จะท�ำให้ผลการทดลองตรงตามสภาพความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
เดช พุทธเจริญทอง. (2548). การวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนท์เอลิเมนต์. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ
ตรึงใจ บูรณสมภพ. (2539). การออกแบบอาคารทีม่ ปี ระสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริน้ ติง้ พับลิชชิง่ จ�ำกัด
(มหาชน)
ปราโมทย์ เดชะอ�ำไพ. (2559). พลศาสตร์ของไหลเชิงค�ำนวณด้วยวิธีระเบียบไฟไนท์เอลิเมนต์และไฟไนต์วอลลุม. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาลินี ศรีสวุ รรณ. (2543). การศึกษาความสัมพันธ์ของทิศทางกระแสลมกับการเจาะช่องเปิดทีผ่ นังอาคารส�ำหรับภูมอิ ากาศร้อนชืน้
ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: J Print
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2554). สถานภาพผลงานวิชาการสาขาสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ทีซีจี พริ้นติ้ง จ�ำกัด
สุนทร บุญญาธิการ. (2543). เทคนิคการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์จุราลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
สุดสวาสดิ์ ศรีสถาปัตย์. (2545). การออกแบบวัสดุพืชพันธุ์และการประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์

255
การประชุมวิชาการระดับชาติ
“โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”

You might also like