You are on page 1of 60

คู่มือดูฝนดาวตก ปี 2562


โดย พงศธร กิจเวช (อัฐ) 



Facebook: คนดูดาว Stargazer https://www.facebook.com/khondudao/ 

1 ตุลาคม 2561 ปรับปรุงทุกปี เริ่มพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ 10 ธันวาคม 2555

ภาพพายุฝนดาวตกสิงโต ค.ศ. 1833 ประเทศสหรัฐอเมริกา (ภาพทำขึ้นภายหลังเมื่อปี ค.ศ. 1889 ลงในหนังสือ Bible Readings for
the Home Circle) เป็นเหตุการณ์สำคัญทำให้มีผู้ศึกษาเรื่องฝนดาวตก ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Leonids

The picture is for education only. Thanks.


!1
สารบัญ

หน้า

4 คำนำ 

5 ภาพรวม 

6 ตารางฝนดาวตกปี 2562

11 รายละเอียดฝนดาวตกแต่ละกลุ่ม (ดูสารบัญย่อยในหน้าถัดไป) 

25 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดาวตกและฝนดาวตก 

25 ดาวตก 

30 ความเร็วของดาวตก

31 ความสว่างของดาวตก

32 สีดาวตก

33 เสียงดาวตก 

34 ฝนดาวตก 

38 ประวัติการสังเกตฝนดาวตก 

43 ประเภทฝนดาวตก 

44 วันเวลา

45 ดวงจันทร์

47 สถานที่

48 การดูฝนดาวตก

50 อุปกรณ์ 

51 การถ่ายภาพฝนดาวตก

53 กลุ่มดาว

56 แอปดูฝนดาวตก 

57 อ้างอิง 

59 หนังสือและบทความของผู้เขียน

!2
สารบัญย่อย

ฝนดาวตก 

12 ควอดแดรนต์ (Quadrantids) 

13 แอลฟาคนครึ่งม้า (α–Centaurids หรือ Alpha Centaurids)

14 พิณ (Lyrids)

15 เอตาคนแบกหม้อน้ำ (η-Aquariids หรือ Eta Aquariids)

16 เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern δ-Aquariids หรือ Southern Delta Aquariids)

17 เพอร์เซียส (Perseids) 

18 มังกร (Dragonids) 

19 นายพราน (Orionids)

20 สิงโต (Leonids) 

21 แอลฟายูนิคอร์น (Alpha Monocerotids)

22 ท้ายเรือ-ใบเรือ (Puppid-Velids) 

23 คนคู่ (Geminids)

24 หมีเล็ก (Ursids)

!3
คำนำ

ฝนดาวตกเป็นความอัศจรรย์อย่างหนึ่งของธรรมชาติ หากใครได้เห็นสักครั้งหนึ่งมักจะติดใจอยากชมอีก

ผมไปดูฝนดาวตกครั้งแรกในชีวิตที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2541เป็นฝนดาวตกสิงโต (Leonids)


ตอนนั้นเป็นข่าวใหญ่ มีคนไปดูกันมาก แม้จะเห็นดาวตกจำนวนไม่มากเนื่องจากมีเมฆบังฟ้าปิดเป็นช่วง ๆ แต่ก็ยังเห็นดาวตกเป็นลูกไฟ
(fireball) ขนาดใหญ่สว่างจ้า ทิ้งรอยควันเป็นทางยาว เป็นที่ตื่นตาตื่นใจ คนที่ไปชมต่างส่งเสียงเชียร์กันเหมือนไปชมการแข่งกีฬา

ปี 2550 ผมไปดูฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) ที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เชียงใหม่ เป็นครั้งแรกที่ได้ยินเสียงดาวตก 



รู้สึกประทับใจมาก หลังจากนั้นก็หาโอกาสออกไปชมฝนดาวตกอยู่เสมอ

เราจำเป็นต้องเดินทางห่างจากแสงไฟในเมือง เข้าสู่ธรรมชาติที่เงียบสงบ มืดสนิท และโล่งกว้าง จึงจะได้เห็นฝนดาวตก

การชมฝนดาวตกเป็นความสุขที่ได้สัมผัสความงามของธรรมชาติ ช่วยให้เรารู้จัก เข้าใจ และรักธรรมชาติมากยิ่งขึ้น 



นำไปสู่การรักตัวเองและรักผู้อื่น เกิดความรู้สึกอยากรักษาสิ่งแวดล้อม อยากทำอะไรดี ๆ เพื่อสังคมและโลกใบนี้ 

นอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ในด้านธรรมะ การเฝ้ามองท้องฟ้าที่ยิ่งใหญ่และเห็นสิ่งที่อยู่สูง ทำให้ตัวเราดูเล็กและต่ำลง 

ช่วยลดอัตตาหรือ “ตัวกูของกู” ได้เป็นอย่างดี

โชคดีที่มีฝนดาวตกเกิดขึ้นทุกปี และทั้งปี เพียงแต่บางครั้งอาจไม่เห็นหรือเห็นไม่มาก เนื่องจากมีแสงจันทร์รบกวน, เกิดใน


หน้าฝน, มีเมฆบัง ฯลฯ

โชคไม่ดีที่หนังสือหรือเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับฝนดาวตกมีไม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาไทย ด้วยเหตุนี้ผมจึงเขียนคู่มือ


นี้ขึ้นเพื่อช่วยให้ชมฝนดาวตกได้อย่างมีความสุขและได้ความรู้ตามสมควร อย่างไรก็ตามขอออกตัวว่าผมเป็นเพียงผู้สนใจ มีความรู้ทาง
ดาราศาสตร์เพียงเล็กน้อย หากท่านพบว่ามีเนื้อหาขาดตกบกพร่องผิดพลาด หรือมีคำแนะนำใด ขอความกรุณาแจ้งให้ผมทราบ 

เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นในการพิมพ์ครั้งต่อไป (ปรับปรุงทุกปี) ขอบคุณมากครับ

ขอให้มีความสุขกับการชมฝนดาวตกนะครับ (^___^)

พงศธร กิจเวช (อัฐ)

!4
ภาพรวม
ฝนดาวตกที่น่าสนใจในปี 2562 เริ่มตั้งแต่ต้นปีเลยคือ ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (มากที่สุดวันที่ 4 มกราคม 2562 อัตราตก

สูงสุด 60-200 ดวงต่อชั่วโมง) ปีนี้ไม่มีแสงจันทร์รบกวน และเกิดในหน้าหนาว มีโอกาสที่ท้องฟ้าเปิดมาก (เมฆน้อย หรือไม่มีเมฆบัง)
ฝนดาวตกควอดแดรนต์จึงเป็นฝนดาวตกที่น่าดูที่สุดของปี 2562

ช่วงกลางปีมีฝนดาวตกเอตาคนแบกหม้อน้ำ (มากที่สุด 6 พฤษภาคม 2562 อัตราตกสูงสุด 40-85 ดวงต่อชั่วโมง)

ปลายปีลุ้นฝนดาวตกแอลฟายูนิคอร์น (มากที่สุด 22 พฤศจิกายน 2562) ว่าจะมีดาวตกมากถึง 400 ดวงต่อชั่วโมงหรือไม่?

น่าเสียดายที่ฝนดาวตกที่มีดาวตกมากเกิน 100 ดวงต่อชั่วโมงคือ ฝนดาวตกเพอร์เซียส และ ฝนดาวตกคนคู่ ปี 2562 มีแสง


จันทร์สว่างรบกวนตลอดคืน ต้องรอปีถัดไป (2563) จะไม่มีแสงจันทร์รบกวนมากเหมือนปี 2562


!5
ฝนดาวตกปี 2562 เฉพาะฝนดาวตกหลัก (major showers) ที่มีดาวตกมากตั้งแต่ 10 ดวงต่อชั่วโมงขึ้นไป หรือที่น่าสนใจ

อัตราตกสูงสุด ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์


ฝนดาวตก วันที่ วันมากที่สุด เวลา (ดวง/ชั่วโมง) ข้าง ขึ้น ตก ขึ้น ตก
ควอดแดรนต์ 
 28 ธ.ค. 61
 ศ. 4 ม.ค. 09:20 120 (60-200) แรม 13 ค่ำ 
 05:14 16:39 06:57 18:00
Quadrantids (QUA) - 12 ม.ค. 62 4%

แอลฟาคนครึ่งม้า 
 31 ม.ค. 
 ศ. 8 ก.พ. 20:00 6-25+ ขึ้น 4 ค่ำ 09:05 21:10 06:55 18:21
α–Centaurids (ACE) - 20 ก.พ. 10%
พิณ 
 14-30 เม.ย. อ. 23 เม.ย. 18-90 แรม 4 ค่ำ 
 22:32 09:03 06:01 18:43
Lyrids (LYR) 80%
เอตาคนแบกหม้อน้ำ 
 19 เม.ย. 
 จ. 6 พ.ค. 21:00 40-85 ขึ้น 3 ค่ำ
 06:54 20:07 05:54 18:47
η-Aquariids (ETA) - 28 พ.ค. 2%
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ 
 12 ก.ค. 
 อ. 30 ก.ค. 25 แรม 14 ค่ำ
 03:47 17:23 06:00 19:00
Southern δ-Aquariids (SDA) - 23 ส.ค. 7%
เพอร์เซียส 
 17 ก.ค. 
 อ. 13 ส.ค.
 09:00 110 ขึ้น 13 ค่ำ
 17:27 03:56 06:04 18:53
Perseids (PER) – 24 ส.ค. -22:00 96%
มังกร 6-10 ต.ค. พ. 9 ต.ค. 13:00 10 ขึ้น 11 ค่ำ 15:35 02:22 06:16 18:06
Droconids (DRA) 83%
นายพราน 
 2 ต.ค. 
 อ. 22 ต.ค. 20 แรม 9 ค่ำ
 00:05 13:35 06:19 17:56
Orionids (ORI) - 7 พ.ย. 47%

สิงโต 
 6-30 พ.ย. จ. 18 พ.ย. 05:30 10-20 แรม 7 ค่ำ
 23:00 11:32 06:32 17:45
Leonids (LEO) 63%
แอลฟายูนิคอร์น 15-25 พ.ย. ศ. 22 พ.ย. 13:00 5-400 แรม 11 ค่ำ 02:00 14:40 06:34 17:45
Alpha Monocerotids (AMO) 28%
ท้ายเรือ-ใบเรือ 
 1-15 ธ.ค. ส. 7 ธ.ค. 10 ขึ้น 11 ค่ำ
 14:31 02:13 06:43 17:46
Puppid-Velids (PUP) 78%
คนคู่ 
 4-17 ธ.ค. ส. 14 ธ.ค. 140 แรม 3 ค่ำ
 19:52 08:31 06:47 17:48
Geminids (GEM) 93%
หมีเล็ก 
 17-26 ธ.ค. จ. 23 ธ.ค. 10:00 10-50 แรม 12 ค่ำ
 03:48 15:30 06:52 17:52
Ursids (URS) 13%

ที่มา: 

ปฏิทินฝนดาวตก ค.ศ. 2019 ขององค์การอุกกาบาตสากล (IMO) https://www.imo.net/files/meteor-shower/cal2019.pdf 

ปฏิทิน พ.ศ. 2562 มายโหรา https://www.myhora.com 

เวลาขึ้น-ตกของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จากแอป Celestron SkyPortal 3.0.1.2 ระบบ iOS 12.0 

เรียบเรียงโดย พงศธร กิจเวช (อัฐ) Facebook: คนดูดาว Stargazer https://www.facebook.com/khondudao
!6
หมายเหตุ

1. ยังมีฝนดาวตกอื่น ๆ นอกจากในตารางนี้ เลือกมาเฉพาะที่มีดาวตกมากตั้งแต่ 10 ดวงต่อชั่วโมงขึ้นไป

2. ปรับเป็นเวลาประเทศไทย (เวลามาตรฐานสากล UT + 7 ชั่วโมง)

3. วันและเวลาที่มีดาวตกมากที่สุดแต่ละปีอาจแตกต่างกัน

4. เวลาที่มีดาวตกมากที่สุดบางครั้งตรงกับเวลากลางวันในประเทศไทย ซึ่งไม่สามารถมองเห็นดาวตกได้ 

จึงจำเป็นต้องดูเวลากลางคืนที่ใกล้เคียงแทน อาจเป็นช่วงเช้ามืด หรือหัวค่ำของวันนั้น

5. เวลาดาวตกมากที่สุดที่เป็นช่องว่าง เนื่องจาก IMO ไม่ได้ระบุเวลา

6. อาจเผื่อเวลาก่อนเวลาดังกล่าว 3 ชั่วโมง และหลังอีก 3 ชั่วโมง รวมเป็น 6 ชั่วโมง หรืออาจดูทั้งคืน

7. อาจลองดูในวันก่อนหน้าหรือวันถัดไป หรือวันอื่น ๆ ด้วย ฝนดาวตกมีหลายวัน แต่ตกมากที่สุดวันเดียว

8. อัตราตกสูงสุด (Zenithal Hourly Rate ย่อว่า ZHR) เป็นจำนวนดาวตกในภาวะอุดมคติ คือท้องฟ้าใสกระจ่าง 



และมืดสนิทไม่มีแสงรบกวน สามารถมองเห็นดาวที่มีอันดับความสว่างหรือโชติมาตร (magnitude) +6.5 

และสมมุติว่าจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ตรงเหนือศีรษะ จำนวนดาวตกที่เห็นจริงอาจมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ 

เช่น ดวงจันทร์, เมฆ, หมอก, ฝุ่น, แสงไฟรบกวน, ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ

9. ขนาดดวงจันทร์ (%) ใช้เวลาดวงจันทร์ขึ้น

10. ฝนดาวตกบางกลุ่มจะมีมากเป็นบางปี เช่น ฝนดาวตกสิงโต, มังกร, นกฟีนิกซ์ ฯลฯ 



ฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่างฝนดาวตกสิงโตจะมีมากทุก 33 ปี ครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2542 ครั้งต่อไปคือปี พ.ศ. 2575

11. เวลาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้น-ตกเป็นเวลาที่เชียงใหม่ ละติจูด 18°47'00"N, ลองจิจูด 98°59'00"E 



หรือ 18.7833°N, 98.9833°E เป็นพิกัดที่ใช้โดยกรมอุทกศาสตร์ และสมาคมดาราศาสตร์ไทย 

จังหวัดอื่น ๆ ในประเทศไทย เวลาอาจแตกต่างจากนี้บ้างเล็กน้อย

!7
!8

!9
คำอธิบายตัวย่อในตารางปฏิทินฝนดาวตกของ IMO

α right ascension (RA) เป็นพิกัดท้องฟ้า คล้ายลองจิจูด เปรียบเหมือนเราขยายเส้นลองจิจูดจากบนโลกไปบนท้องฟ้า



δ declination (dec) เป็นพิกัดท้องฟ้า คล้ายละติจูด เปรียบเหมือนเราขยายเส้นละติจูดบนโลกไปบนท้องฟ้า

λ⊙ solar longitude เป็นพิกัดท้องฟ้าอีกแบบหนึ่ง คล้ายลองจิจูด โดยใช้เส้นสุริยวิถี (ecliptic) เป็นหลัก

V∞ ความเร็วของดาวตก เป็นกิโลเมตรต่อวินาที 

r ดัชนีความสว่างของดาวตกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปกติ 2.0-2.5 แสดงว่าสว่างกว่าค่าเฉลี่ย ถ้ามากกว่า 3 จะสว่างน้อยกว่า

ZHR (Zenithal Hourly Rate) อัตราตกสูงสุด (ดวงต่อชั่วโมง)

ที่มาภาพ http://en.wikipedia.org/wiki/Right_ascension

!10
รายละเอียดฝนดาวตกแต่ละกลุ่ม
เรียงลำดับตามวันเวลาที่เกิดฝนดาวตก ตัวเลขในภาพคือวันที่ 

ข้อมูลใช้ขององค์การอุกกาบาตสากล (IMO) https://www.imo.net/ เป็นหลัก 

และเว็บ NASA SKYCAL (Sky Events Calendar) https://eclipse.gsfc.nasa.gov/SKYCAL/SKYCAL.html มาเสริม

เวลาขึ้น-ตกของจุดกระจายใช้จากแอป Celestron SkyPortal ถ้าไม่มีข้อมูลจะใช้เวลาขึ้น-ตกของกลุ่มดาวแทน

ขนาดดวงจันทร์ 

0% ไม่เห็นดวงจันทร์ 

50% ดวงจันทร์ครึ่งดวง 

100% ดวงจันทร์เต็มดวง

!11

ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids ชื่อย่อ QUA) ลำดับที่ 010

วันที่ 28 ธันวาคม 2561 – 12 มกราคม 2562 

มากที่สุด IMO วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 09:20 น. อัตราตกสูงสุด 120 (60-200) ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 09:28 น. อัตราตกสูงสุด 120 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2018 พบดาวตก 69 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 230◦ , δ = +49◦ กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) 

4 มกราคม 2562 จุดกระจายขึ้น 01:14 น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มุมทิศ 36 องศา จุดกระจายตก 16:27 น. 

ดวงจันทร์ข้างแรม 13 ค่ำ ขนาด 4% ดวงจันทร์ขึ้น 05:14 น. ดวงจันทร์ตก 16:39 น.

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:57 น. ดวงอาทิตย์ตก 18:00 น.

ความเร็ว 41 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.1 เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1

ได้ชื่อจากกลุ่มดาวโบราณ Quadrans Muralis (เครื่องวัดมุม) ปัจจุบันกลุ่มดาวนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
(Boötes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco)


กราฟฝนดาวตกควอดแดรนต์ ค.ศ. 2018 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=QUA&year=2018

!12

ฝนดาวตกแอลฟาคนครึ่งม้า (α–Centaurids หรือ Alpha Centaurids ชื่อย่อ ACE) ลำดับที่ 102

วันที่ 31 มกราคม – 20 กุมภาพันธ์ 2562 

มากที่สุด IMO วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20:00 น. อัตราตกสูงสุด 6-25+ ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL ไม่มีข้อมูล

จุดกระจาย α = 210◦ , δ = −59◦ ใกล้ดาว Alpha Centauri กลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Centaurus) 

8 กุมภาพันธ์ 2562 กลุ่มดาวคนครึ่งม้าขึ้น 23:22 น. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มุมทิศ 138 องศา กลุ่มดาวคนครึ่งม้าตก 08:52 น.

ดวงจันทร์ข้างขึ้น 4 ค่ำ ขนาด 10% ดวงจันทร์ขึ้น 09:05 น. ดวงจันทร์ตก 21:10 น.

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:55 น. ดวงอาทิตย์ตก 18:21 น.

ความเร็ว 58 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.0 ยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร

ค.ศ. 1974 และ 1980 เคยมีดาวตก 20-30 ดวงต่อชั่วโมง ในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง 

ไม่มีกราฟข้อมูลดาวตก

!13

ฝนดาวตกพิณ (Lyrids หรือ April Lyrids ชื่อย่อ LYR) ลำดับที่ 006

วันที่ 14-30 เมษายน 2561 

มากที่สุด IMO วันอังคารที่ 23 เมษายน 2562 ไม่ระบุเวลา อัตราตกสูงสุด 18-90 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันอังคารที่ 23 เมษายน 2562 เวลา 06:58 น. อัตราตกสูงสุด 20 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2018 พบดาวตก 17 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 271◦ , δ = +34◦ ใกล้ดาววีกา (Vega) กลุ่มดาวพิณ (Lyra) 

23 เมษายน 2562 จุดกระจายขึ้น 21:32 น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มุมทิศ 54 องศา จุดกระจายตก 11:23 น. 

ดวงจันทร์ข้างแรม 4 ค่ำ ขนาด 80% ดวงจันทร์ขึ้น 22:32 น. ดวงจันทร์ตก 09:03 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:01 น. ดวงอาทิตย์ตก 18:43 น.

ความเร็ว 49 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.1 เกิดจากดาวหาง C/1861 G1 (Thatcher) 

ค.ศ. 1982 มีดาวตก 90 ดวงต่อชั่วโมง

กราฟฝนดาวตกพิณ ค.ศ. 2018 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=LYR&year=2018

!14

ฝนดาวตกเอตาคนแบกหม้อน้ำ (η-Aquariids หรือ Eta Aquariids ชื่อย่อ ETA) ลำดับที่ 031

วันที่ 19 เมษายน – 28 พฤษภาคม 2562 

มากที่สุด IMO วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2562 เวลา 21:00 น. อัตราตกสูงสุด 40-85 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562 เวลา 20:12 น. อัตราตกสูงสุด 60 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2018 พบดาวตก 58 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 338◦ , δ = −1◦ ใกล้ดาวเอตา กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) 

6 พฤษภาคม 2562 จุดกระจายขึ้น 01:58 น. ทิศตะวันออก มุมทิศ 91 องศา จุดกระจายตก 13:57 น.

ดวงจันทร์ 6 พฤษภาคม 2562 ข้างขึ้น 3 ค่ำ ขนาด 2% ดวงจันทร์ขึ้น 06:54 น. ดวงจันทร์ตก 20:07 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 05:54 น. ดวงอาทิตย์ตก 18:47 น.

ความเร็ว 66 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.4 เกิดจากดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley)

กราฟฝนดาวตกเอตาคนแบกหม้อน้ำ ค.ศ. 2018 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=ETA&year=2018

!15

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern δ-Aquariids หรือ Southern Delta Aquariids ชื่อย่อ SDA) ลำดับที่ 005

วันที่ 12 กรกฎาคม – 23 สิงหาคม 2562 

มากที่สุด IMO วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2562 ไม่ระบุเวลา อัตราตกสูงสุด 25 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2562 เวลา 21:59 น. อัตราตกสูงสุด 20 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2018 พบดาวตก 16 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 340◦ , δ = −16◦ ใกล้ดาวเดลตา กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) 

30 กรกฎาคม 2562 จุดกระจายขึ้น 21:00 น. ทิศตะวันออก มุมทิศ 106 องศา จุดกระจายตก 08:25 น.

ดวงจันทร์ 30 กรกฎาคม 2562 ข้างแรม 14 ค่ำ ขนาด 7% ดวงจันทร์ขึ้น 03:47 น. ดวงจันทร์ตก 17:23 น.

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:00 น. ดวงอาทิตย์ตก 19:00 น.

ความเร็ว 41 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.5 เกิดจากดาวหางในกลุ่ม Marsden

กราฟฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ ค.ศ. 2018 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=SDA&year=2018 


!16

ฝนดาวตกเพอร์เซียส (Perseids ชื่อย่อ PER) ลำดับที่ 007

วันที่ 17 กรกฎาคม – 24 สิงหาคม 2562

มากที่สุด IMO วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00-22:00 อัตราตกสูงสุด 110 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2562 เวลา 13:53 น. อัตราตกสูงสุด 90 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2018 พบดาวตก 89 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 48◦ , δ = +58◦ กลุ่มดาวเพอร์เซียส (Perseus) 

13 สิงหาคม 2562 จุดกระจายขึ้น 21:54 น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มุมทิศ 26 องศา จุดกระจายตก 14:30 น. 

ดวงจันทร์ข้างขึ้น 13 ค่ำ ขนาด 96% ดวงจันทร์ขึ้น 17:27 น. ดวงจันทร์ตก 03:56 น.

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:04 น. ดวงอาทิตย์ตก 18:53 น.

ความเร็ว 59 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.2 เกิดจากดาวหาง Swift–Tuttle

กราฟฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ค.ศ. 2018 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=PER&year=2018

!17

ฝนดาวตกมังกร (Draconids ชื่อย่อ DRA) ลำดับที่ 009

วันที่ 6-10 ตุลาคม 2562 

มากที่สุด IMO วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 13:00 น. อัตราตกสูงสุด 10 ดวงต่อชั่วโมง 

NASA SKYCAL ไม่มีข้อมูล

ล่าสุด ค.ศ. 2011 พบดาวตก 259 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 263◦ , δ = +56◦ กลุ่มดาวมังกร (Draco) 

9 ตุลาคม 2562 กลุ่มดาวมังกรขึ้น 07:43 น. ทิศเหนือ มุมทิศ 16 องศา กลุ่มดาวมังกรตก 02:16 น.

ดวงจันทร์ข้างขึ้น 11 ค่ำ ขนาด 83% ดวงจันทร์ขึ้น 15:35 น. ดวงจันทร์ตก 02:22 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:16 น. ดวงอาทิตย์ตก 18:06 น.

ความเร็ว 21 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.6 เกิดจากดาวหาง 21P/Giacobini–Zinner 

เคยเกิดพายุฝนดาวตกเมื่อปี ค.ศ. 1933 และ 1946

กราฟฝนดาวตกมังกร ค.ศ. 2011 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=DRA&year=2011

!18

ฝนดาวตกนายพราน (Orionids ชื่อย่อ ORI) ลำดับที่ 008

วันที่ 2 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน 2562 

มากที่สุด IMO วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2562 ไม่ระบุเวลา อัตราตกสูงสุด 20 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2562 เวลา 06:12 น. อัตราตกสูงสุด 20 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2017 พบดาวตก 30 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 95◦ , δ = +16◦ กลุ่มดาวนายพราน (Orion) 

22 ตุลาคม 2562 จุดกระจายขึ้น 22:18 น. ทิศตะวันออก มุมทิศ 73 องศา จุดกระจายตก 11:10 น. 

ดวงจันทร์ข้างแรม 9 ค่ำ ขนาด 47% ดวงจันทร์ขึ้น 00:05 น. ดวงจันทร์ตก 13:35 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:19 น. ดวงอาทิตย์ตก 17:56 น.

ความเร็ว 66 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.5 เกิดจากดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley)

ค.ศ. 2007 เคยมีดาวตกมากถึง 90 ดวงต่อชั่วโมง

กราฟฝนดาวตกนายพราน ค.ศ. 2017 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=ORI&year=2017

!19

ฝนดาวตกสิงโต (Leonids ชื่อย่อ LEO) ลำดับที่ 013

วันที่ 6-30 พฤศจิกายน 2562 

มากที่สุด IMO วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เวลา 05:30 น. อัตราตกสูงสุด 10-20 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เวลา 12:15 น. อัตราตกสูงสุด 15 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2017 พบดาวตก 22 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 152◦ , δ = +22◦ กลุ่มดาวสิงโต (Leo) 

18 พฤศจิกายน 2562 จุดกระจายขึ้น 00:17 น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มุมทิศ 67 องศา จุดกระจายตก 13:23 น.

ดวงจันทร์ข้างแรม 7 ค่ำ ขนาด 63% ดวงจันทร์ขึ้น 23:00 น. ดวงจันทร์ตก 11:32 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:32 น. ดวงอาทิตย์ตก 17:45 น.

ความเร็ว 71 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.5 เกิดจากดาวหาง 55P/Tempel–Tuttle

เคยเกิดพายุฝนดาวตกสิงโตเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1833 ประมาณว่ามีอัตราดาวตกมากกว่า 34,640 ดวงต่อชั่วโมง เป็นเหตุ
การณ์ที่ทำให้คนหันมาสนใจฝนดาวตก ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) มีข่าวเรื่องพายุฝนดาวตกสิงโต ทำให้คนไทยเริ่มรู้จักฝนดาวตก พายุ
ฝนดาวตกสิงโตจะเกิดทุก 33 ปี โดยประมาณ ครั้งสุดท้าย ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) และ 2001 มีดาวตก 3,000 ดวงต่อชั่วโมง

กราฟฝนดาวตกสิงโต ค.ศ. 2017 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=LEO&year=2017

!20

ฝนดาวตกแอลฟายูนิคอร์น (α-Monocerotids หรือ Alpha Monocerotids ชื่อย่อ AMO) ลำดับที่ 246 

วันที่ 15-25 พฤศจิกายน 2562 

มากที่สุด IMO วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13:00 น. อัตราตกสูงสุด 5-400 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL ไม่มีข้อมูล

ล่าสุด ค.ศ. 2017 พบดาวตก 7 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 117◦ , δ = +01◦ กลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) 

22 พฤศจิกายน 2562 กลุ่มดาวยูนิคอร์นขึ้น 21:10 น. ทิศตะวันออก มุมทิศ 92 องศา กลุ่มดาวยูนิคอร์นตก 09:11 น. 

ดวงจันทร์ข้างแรม 11 ค่ำ ขนาด 28% ดวงจันทร์ขึ้น 02:00 น. ดวงจันทร์ตก 14:40 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:34 น. ดวงอาทิตย์ตก 17:45 น.

ความเร็ว 65 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.4 ยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร

ปกติมีดาวตกน้อย 5 ดวงต่อชั่วโมง แต่บางปีจะมากและมีลักษณะพิเศษคือ เกิดดาวตกมากอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ เหมือนการ
ระเบิดหรือพุ่งทะลักออกมา (outburst) ในปี ค.ศ. 1995 มีอัตราดาวตกมากถึง 420 ดวงต่อชั่วโมง ติดต่อกัน 5 นาที

กราฟฝนดาวตกแอลฟายูนิคอร์น ค.ศ. 2017 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=AMO&year=2017

!21

ฝนดาวตกท้ายเรือ-ใบเรือ (Puppid-Velids ชื่อย่อ PUP) ลำดับที่ 301

วันที่ 1-15 ธันวาคม 2562 

มากที่สุด IMO วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2562 เวลาไม่ระบุ อัตราตกสูงสุด 10 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL ไม่มีข้อมูล

ล่าสุด ค.ศ. 2017 พบดาวตก 20 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 123◦ , δ = −45◦ ระหว่างกลุ่มดาวท้ายเรือ (Puppis) และกลุ่มดาวใบเรือ (Vela) 

7 ธันวาคม 2562 กลุ่มดาวใบเรือขึ้น 00:29 น. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มุมทิศ 141 องศา กลุ่มดาวใบเรือตก 09:37 น. 

ดวงจันทร์ข้างขึ้น 11 ค่ำ ขนาด 78% ดวงจันทร์ขึ้น 14:31 น. ดวงจันทร์ตก 02:13 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:43 น. ดวงอาทิตย์ตก 17:46 น.

ความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.9 ยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร

กราฟฝนดาวตกท้ายเรือ-ใบเรือ ค.ศ. 2017 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=PUP&year=2017

!22

ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids ชื่อย่อ GEM) ลำดับที่ 004

วันที่ 4-17 ธันวาคม 2562 

มากที่สุด IMO วันเสาร์ที่ 14 เวลา 09:00 น. - วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2562 เวลา 06:00 น. อัตราตกสูงสุด 140 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2562 เวลา 01:25 น. อัตราตกสูงสุด 120 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2017 พบดาวตก 136 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 112◦ , δ = +33◦ กลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) 

14 ธันวาคม 2562 จุดกระจายขึ้น 19:33 น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มุมทิศ 55 องศา จุดกระจายตก 09:21 น.

ดวงจันทร์ 14 ธันวาคม 2562 ข้างแรม 3 ค่ำ ขนาด 93% ดวงจันทร์ขึ้น 19:52 น. ดวงจันทร์ตก 08:31 น.

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:47 น. ดวงอาทิตย์ตก 17:48 น.

ความเร็ว 35 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.6 เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaethon

กราฟฝนดาวตกคนคู่ ค.ศ. 2017 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=GEM&year=2017

!23

ฝนดาวตกหมีเล็ก (Ursids ชื่อย่อ URS) ลำดับที่ 015 

วันที่ 17-26 ธันวาคม 2562 

มากที่สุด IMO วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 เวลา 10:00 น. อัตราตกสูงสุด 10-50 ดวงต่อชั่วโมง

NASA SKYCAL วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 เวลา 10:00 น. อัตราตกสูงสุด 10 ดวงต่อชั่วโมง

ล่าสุด ค.ศ. 2017 พบดาวตก 26 ดวงต่อชั่วโมง

จุดกระจาย α = 217◦ , δ = +76◦ กลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa Minor) 

23 ธันวาคม 2562 จุดกระจายอยู่บนท้องฟ้าทิศเหนือตลอดเวลา 

ดวงจันทร์ข้างแรม 12 ค่ำ ขนาด 13% ดวงจันทร์ขึ้น 03:48 น. ดวงจันทร์ตก 15:30 น. 

ดวงอาทิตย์ขึ้น 06:52 น. ดวงอาทิตย์ตก 17:52 น.

ความเร็ว 33 กิโลเมตรต่อวินาที ดัชนีความสว่าง 2.8 เกิดจากดาวหาง 8P/Tuttle 

ค.ศ. 1945 เคยมีดาวตกมากถึง 169 ดวงต่อชั่วโมง และปี 1986 มีถึง 171 ดวงต่อชั่วโมง


กราฟฝนดาวตกหมีเล็ก ค.ศ. 2017 http://www.imo.net/members/imo_live_shower?shower=URS&year=2017 


!24
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดาวตกและฝนดาวตก

ดาวตก (meteor บางครั้งเรียกว่า falling star หรือ shooting star) 



คือแสงสว่างวาบบนท้องฟ้าช่วงสั้น ๆ คล้ายดาวเคลื่อนที่ตกลงมาจากท้องฟ้า (ไม่ใช่ดาวจริง ๆ ตกลงมา) บางครั้งเรียกว่า
“ผีพุ่งไต้” (“ไต้” คือของใช้จุดไฟ) เกิดจากสะเก็ดดาว (meteoroid) เป็นก้อนหิน ก้อนกรวด หรือวัตถุเล็ก ๆ ในอวกาศ เสียดสีกับ
บรรยากาศโลกชั้นเมโซสเฟียร์ (mesosphere) ที่ความสูงประมาณ 76-100 กิโลเมตรจากพื้นดิน เกิดเป็นแสงสว่าง ส่วนใหญ่จะไหม้
หมดจนไม่เหลือซาก แต่บางครั้งไหม้ไม่หมดตกลงมาบนพื้นเรียกว่า “อุกกาบาต (meteorite)” ถ้ามีขนาดใหญ่มากอาจทำให้เกิด

หลุมอุกกาบาต (meteor crater)

คำว่า “อุกกา” แปลว่า คบเพลิง, “บาต” แปลว่า ตก (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หน้า 668 และ
1421) เมื่อรวมกัน “อุกกาบาต” แปลว่า คบเพลิงตก คือ แสงสว่างที่ตกลงมาจากอากาศ ดังนั้น “อุกกาบาต” จึงมีความหมายเดียวกับ
“ดาวตก” และ “ผีพุ่งไต้” สำหรับภาษาอังกฤษคำว่า meteor มาจากภาษากรีก meteōros แปลว่าแขวนอยู่ในอากาศ

ดาวตกบางลูกสว่างมาก (magnitude โชติมาตร หรืออันดับความสว่างมากกว่า -3) เรียกว่า “ลูกไฟ (fireball)” บางครั้งอาจ


เห็นควันเป็นทางยาว หรือได้ยินเสียงดาวตกด้วย สำหรับดาวตกที่ระเบิดกลางอากาศมีแสงสว่างจ้ามาก (magnitude มากกว่า -14)
จะเรียกว่า “ดาวตกชนิดระเบิด (bolide)” ถ้า magnitude มากกว่า -17 เรียกว่า superbolide เป็นดาวตกที่สว่างมากอาจเห็นได้

แม้ในเวลากลางวัน!


แผนที่แสดงดาวตกลูกไฟที่ตรวจจับได้โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ 15 เมษายน 1988 – 25 กันยายน 2018 

ที่มา Center for Near Earth Object Studies (CNEOS) https://cneos.jpl.nasa.gov/fireballs/

!25
บางครั้งเราอาจโชคดีได้เห็น “ขบวนดาวตก (meteor procession)” เห็นดาวตกต่อกันเป็นขบวนยาว เกิดจากดาวตกที่เป็น 

“ลูกไฟเฉี่ยวโลก (Earth-grazing fireball หรือ Earth-grazer)” แตกออกเป็นหลาย ๆ ชิ้น เป็นปรากฏการณ์พิเศษที่นาน ๆ จะเกิดขึ้น
สักครั้ง ตัวอย่างเช่น ขบวนดาวตกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1783 เห็นในประเทศอังกฤษ, วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1860 เห็นใน
สหรัฐอเมริกา และวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 เห็นในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา นอกจากขบวนดาวตกนี้แล้วอาจมีดาวตกที่ลงมา
เป็นฝูง (swarm) อีกด้วย โดยเฉพาะจากฝนดาวตกวัว (Taurids)


ภาพดาวตกที่เป็นลูกไฟ (fireball) ของฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) ทะเลทราย Mojave, California สหรัฐอเมริกา 

โดย Wally Pacholka ที่มา : http://apod.nasa.gov/apod/ap091217.html


ดาวตกที่เมือง Chelyabinsk ประเทศรัสเซีย วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เวลาท้องถิ่น 09:20 น. ตรงกับเวลาประเทศไทย 

10:20 น. เป็นดาวตกชนิดระเบิด (bolide) เห็นแสงสว่างจ้าในเวลากลางวัน และมีเสียงระเบิดดังมาก

NASA คำนวณว่าอุกกาบาตนี้มีขนาดประมาณ 15-17 เมตร น้ำหนัก 7,000 – 10,000 ตัน ความแรงของการระเบิดมากถึงเกือบ 500
กิโลตัน (ประมาณ 30 เท่าของระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1945) 

เหตุการณ์นี้มีผู้บาดเจ็บมากถึง 1,158 คน ส่วนใหญ่เกิดจากเศษกระจกหน้าต่างที่แตกเพราะแรงอัดอากาศกระแทก 

ที่มาภาพ จากวีดิโอ โดย fed potapow https://www.youtube.com/watch?v=PPltv-9Tfvg 

!26
มีผู้พบดาวตกชนิดระเบิดในประเทศไทย บริเวณกรุงเทพฯ และหลายจังหวัด 

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2558 เวลา 08:40 น. และวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 20:40 น. ไม่มีผู้บาดเจ็บ


ภาพดาวตกชนิดระเบิด วันที่ 7 กันยายน 2558 เวลาในภาพ 08:57:42 น. (?) ทางด่วน แยกบางนา กรุงเทพฯ 

ที่มาภาพ จากวีดิโอ โดย Tee aka Keng https://www.youtube.com/watch?v=odG_VDqwEXA 

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ http://www.narit.or.th/index.php/pr-news/2236-fireball-september-2558-narit


ภาพดาวตกชนิดระเบิด วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 20:40 น. นนทบุรี 

ที่มาภาพ จากวีดิโอ โดย voravud santiraveewan https://www.youtube.com/watch?v=tx7K1JtyBwQ 

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ http://www.narit.or.th/index.php/pr-news/2306-fireball-2-november-2558

ภาพอุกกาบาตบ้านร่องดู่ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2536 เวลาประมาณ 20:45 น. บ้านร่องดู่


ต.ลานบ่า อ.หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กว้าง 7.5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว หนา 4.5 นิ้ว น้ำหนัก
16.7 กิโลกรัม ในภาพมีเหรียญ 5 บาท วางบนก้อนอุกกาบาตเพื่อเปรียบเทียบขนาด

ที่มา : นิตยสารอัพเดท กรกฎาคม 2536 

http://thaiastro.nectec.or.th/library/thaimeteorite/thaimeteorite.html

!27

ภาพหลุมอุกกาบาตบาริงเจอร์ (Barringer Crater) ในรัฐ Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร

เกิดจากการชนของอุกกาบาตเมื่อประมาณ 49,000 ปีก่อน

ที่มา : http://apod.nasa.gov/apod/ap971117.html


ภาพดวงจันทร์ ด้านใกล้โลก (ซ้าย) และไกลโลก (ขวา) ถ่ายจากยานอวกาศ Lunar Reconnaissance Orbiter (LRO) 

ภาพซ้าย ธันวาคม 2010, ภาพขวา ช่วงปี 2009-2011 จะเห็นหลุมอุกกาบาตมากมาย โดยเฉพาะด้านไกล ที่ไม่สามารถมองจากโลกได้ 

ที่มา ภาพซ้าย http://photojournal.jpl.nasa.gov/catalog/PIA14011 

ภาพขวา http://photojournal.jpl.nasa.gov/catalog/PIA14021

!28

ภาพขบวนดาวตก คืนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 เมือง Toronto ประเทศแคนาดา วาดโดย Gustav Hahn

ที่มา : The Royal Astronomical Society of Canada 

http://www.rasc.ca/meteor-procession-1913

!29
ความเร็วของดาวตก 

องค์การอุกกาบาตสากล (IMO) ได้แบ่งความเร็วของดาวตกไว้ดังนี้

• ช้ามาก 11 กิโลเมตรต่อวินาที

• ปานกลาง 40 กิโลเมตรต่อวินาที

• เร็วมาก 72 กิโลเมตรต่อวินาที

!30
ความสว่างของดาวตก

ใช้เกณฑ์เดียวกับค่าความสว่างของดาวคือใช้โชติมาตรหรืออันดับความสว่าง (magnitude) โดยใช้โชติมาตรปรากฏ
(apparent magnitude) คือความสว่างที่ปรากฏให้เราเห็น การแบ่งโชติมาตรนั้นเริ่มโดยฮิปพาร์คัส (Hipparchus) นักดาราศาสตร์
ชาวกรีก เมื่อประมาณ 2 พันกว่าปีก่อน ต่อมาภายหลังมีผู้ปรับปรุงให้ละเอียดขึ้น ตัวเลขโชติมาตรนั้นยิ่งน้อยยิ่งสว่างมาก 

ตัวอย่างเช่น โชติมาตร 1 สว่างกว่าโชติมาตร 2 โชติมาตรยิ่งติดลบยิ่งสว่าง 

ตัวอย่างเช่น โชติมาตร -2 สว่างกว่าโชติมาตร -1 ในแผนที่ดาวนิยมบอกความสว่างหรือโชติมาตรด้วยขนาดของดาว

ภาพกลุ่มดาวนายพราน (Orion) ที่มา สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union หรือย่อว่า IAU) 



http://www.iau.org/public/themes/constellations/ กลุ่มดาวนายพรานหรือคนไทยเรียกว่า ดาวเต่า-ดาวไถ เป็นกลุ่มดาวที่
สังเกตได้ง่าย เพราะมีดาวสว่าง 3 ดวง เรียงใกล้ ๆ กันอยู่ตรงกลาง (ดาวไถ) ด้านล่างของภาพมีการอธิบายสัญลักษณ์คือ วงกลมใหญ่
สุดทางซ้ายมือคือโชติมาตร -2 แล้วลดลงมาตามลำดับจนถึง 6 (โชติมาตร 6 เป็นความสว่างน้อยที่สุดที่คนเราสามารถมองเห็นได้ด้วย
ตาเปล่า) ตัวอย่างโชติมาตรเช่น ดาว Rigel มีโชติมาตรประมาณ 0, ดาว Saiph มีโชติมาตร 2 ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น ดวงอาทิตย์ -27,
ดวงจันทร์เต็มดวง -13, ดาวศุกร์สว่างที่สุด -5 ฯลฯ 

ดูตัวอย่างและคำอธิบายเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Magnitude_(astronomy)

!31
สีดาวตก 

นอกจากสีขาวแล้ว ดาวตกมีสีอื่น ๆ ได้ด้วย ขึ้นกับส่วนประกอบของดาวตกนั้น

• สีม่วงเกิดจากโพแทสเซียม (potassium)

• สีน้ำเงินหรือสีเขียวเกิดจากทองแดง (copper)

• สีเหลืองเกิดจากเหล็ก (iron)

• สีแสดหรือสีเหลืองเกิดจากโซเดียม (sodium)

• สีแดงเกิดจากซิลิเกต (silicate)

!32
เสียงดาวตก 

บางครั้งเราอาจได้ยินเสียงของดาวตกด้วย โดยเฉพาะดาวตกขนาดใหญ่ที่เป็นลูกไฟ (fireball) เป็นเสียงหวีด ฟังดูน่ากลัว
หน่อย (อาจเพราะเหตุนี้คนโบราณเลยเรียกดาวตกว่า “ผีพุ่งไต้) ตัวผมเองเคยได้ยินเสียงดาวตกฝนดาวคู่ เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม
2550 บนดอยปุย เชียงใหม่


Thomas Ashcraft จากหอดูดาว New Mexico สหรัฐอเมริกา ถ่ายวีดิโอที่มีเสียงดาวตกของฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) 

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2013 เวลาสากล (UT) 05:22:24 หรือตรงกับเวลาประเทศไทย 12:22:24 น. ชมและฟังได้ที่
www.spaceweather.com/images2013/14dec13/FBsDec142013_052224utGEM61_Ashcraft.mp4?
PHPSESSID=q5gd6l6jlovsbk9cannmli0hf4

!33
ฝนดาวตก (meteor shower)

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดดาวตกในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ละดวงเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันบนท้องฟ้า เรียกว่า “จุดกระจาย
(radiant)” บางครั้งดาวตกมากกว่า 1,000 ดวงต่อชั่วโมง เรียกว่า “พายุดาวตก (meteor storm)” ฝนดาวตกเกิดจากการที่โลกผ่าน
ธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) ซึ่งเกิดจากซากดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่เคยผ่านมา ฝนดาวตกแต่ละกลุ่มมีช่วงเวลาการ
เกิดประจำปี จึงมีการตั้งชื่อฝนดาวตก โดยใช้ชื่อกลุ่มดาวหรือดาวสว่างบริเวณจุดกระจายเป็นชื่อฝนดาวตก ภาษาอังกฤษถ้าเป็นคำนาม
จะใช้ “ids” คำคุณศัพท์ใช้ “id” ต่อท้าย เช่น ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids หรือ Geminid shower ใช้ตัวอักษรย่อ GEM) 

มีจุดกระจายในกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini)


ภาพฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ 

14-15 ธันวาคม 2558 เวลา 21:26 – 04:37 น. โดยคุณกีรติ คำคงอยู่ (Antares StarExplorer) ที่มา: https://www.facebook.com/
AStarexplorer/photos/a.1432676640365461.1073741828.1432619180371207/1518929131740211/?type=3&theater


ภาพ perspective ถ่ายโดย June Ruivivar เมื่อปี 2004 การที่เราเห็นฝนดาวตกมีลักษณะเหมือนพุ่งกระจายออกมาจุด ๆ หนึ่งนั้น 

เป็นผลจากมุมมองแบบ perspective (ทัศนมิติ) สิ่งที่อยู่ใกล้เหมือนพุ่งกระจายออกมาจากจุดที่อยู่ไกล 

ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Perspective_(graphical)
!34

ภาพวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟตัน (3200 Phaeton) ที่ทำให้เกิดฝนดาวตกคนคู
่
ที่มา : http://ssd.jpl.nasa.gov/sbdb.cgi?sstr=3200;orb=1;cov=0;log=0;cad=0#orb


ภาพจำลองการเกิดฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) ค.ศ. 2012 จากเว็บไซต์ Sky & Telescope 

ที่มา : https://www.skyandtelescope.com/astronomy-news/observing-news/geminid-meteors-to-peak-the-night-of-
dec-13th/

บางครั้งมีดาวตกจำนวนมากในช่วงเวลาสั้น เรียกว่า การระเบิด (outburst) ของฝนดาวตก 



ตัวอย่างเช่น ฝนดาวตกแอลฟายูนิคอร์น (Alpha Monocerotids) ในปี ค.ศ. 1995 มีดาวตก 420 ดวง ใน 5 นาที

!35

ภาพจำลองการเกิดฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) ปี 2550 โดย วรเชษฐ์ บุญปลอด สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จะเห็นดาวตกพุ่งออกจากจุดกระจาย (radiant) บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) ไปทั่วท้องฟ้า 

ผมเติมลูกศรและคำบรรยายเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างดาวตกของฝนดาวตกคนคู่ กับดาวตกทั่วไป 

ลูกศรสีน้ำเงิน ด้านบนของภาพแสดงดาวตกของฝนดาวตกคนคู่ พุ่งออกจากจุดกระจาย (จุดศูนย์กลางหรือจุดแผ่รัศมี) กลุ่มดาวคนคู่ 

ลูกศรสีแดง ด้านล่างขวา แสดงดาวตกอื่นทั่วไป มาจากทิศตะวันตกไปทิศใต้ (ดาวตกทั่วไปมาจากทิศไหนก็ได้)

ที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/meteors/2007geminids.html

!36
ข้อมูลล่าสุด 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ศูนย์ข้อมูลอุกกาบาต สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล International Astronomical
Union (IAU) Meteor Data Center (MDC) มีรายชื่อฝนดาวตกทั้งหมด 957 กลุ่ม ได้รับการยืนยันแล้ว (established) 112 กลุ่ม


รายชื่อฝนดาวตก เฉพาะที่ได้รับการยืนยันแล้ว (established) 112 กลุ่ม 

ที่มา http://pallas.astro.amu.edu.pl/~jopek/MDC2007/Roje/roje_lista.php?corobic_roje=1&sort_roje=0

ดูรายชื่อฝนดาวตกทั้งหมด 957 กลุ่ม ได้ที่ 



http://pallas.astro.amu.edu.pl/~jopek/MDC2007/Roje/roje_lista.php?corobic_roje=0&sort_roje=0

!37
ประวัติการสังเกตฝนดาวตก

ฝนดาวตกนั้นมีมานานแล้ว แต่ฝนดาวตกครั้งสำคัญที่ทำให้คนหันมาสนใจศึกษาฝนดาวตกอย่างจริงจังคือ ฝนดาวตกสิงโต


(Leonids) ที่เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1833 ประมาณว่ามีอัตราดาวตกจำนวนมากกว่า 34,640 ดวงต่อชั่วโมง มีคนจำนวน
มากเห็นเหตุการณ์นี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีข่าวลงหนังสือพิมพ์และวารสารในสมัยนั้น


ภาพพายุฝนดาวตกสิงโต ค.ศ. 1833 ประเทศสหรัฐอเมริกา (ภาพทำขึ้นภายหลังเมื่อปี ค.ศ. 1889 ลงในหนังสือ Bible Readings for
the Home Circle) เป็นเหตุการณ์สำคัญทำให้มีผู้ศึกษาเรื่องฝนดาวตก ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Leonids

ที่สำคัญที่สุดคือบทความเรื่อง "Observations on the Meteors of November 13th, 1833 (การสังเกตดาวตกวันที่ 



13 พฤศจิกายน 1833)" โดยศาสตราจารย์เดนิสัน โอล์มสเตด (Denison Olmsted) มหาวิทยาลัยเยล (Yale College) ลงพิมพ์ใน
วารสาร The American journal of science and arts เล่มที่ 25 ปี 1833-1834 หน้า 363-411 และเล่มที่ 26 ปี 1834 หน้า
132-174 สามารถอ่านได้ที่ http://www.biodiversitylibrary.org/page/30964366#page/383/mode/1up และ http://
www.biodiversitylibrary.org/page/30988911

บทความดังกล่าวได้รวบรวมข่าวและข้อมูลต่าง ๆ จากผู้พบเห็น มาสรุปและหาคำอธิบาย ที่น่าสนใจมากคือ เรื่อง


จุดศูนย์กลางของฝนดาวตกและฝนดาวตกอาจมีความสัมพันธ์กับดาวหาง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาฝนเรื่องดาวตกอย่างจริงจัง

!38

ภาพ Denison Olmsted (ค.ศ. 1791-1859) ที่มา Smithsonian Libraries 

http://www.sil.si.edu/DigitalCollections/hst/scientific-identity/cf/display_results.cfm?alpha_sort=O


ภาพบทความเรื่อง "Observations on the Meteors of November 13th, 1833 ของ Denison Olmsted 

ในวารสาร The American journal of science and arts เล่มที่ 26 ปี 1834 หน้า 164 

ที่มา https://www.biodiversitylibrary.org/page/30988943#page/186/mode/1up

!39
ในปี ค.ศ. 1866 โจวานนี สกาปาเรลี (Giovanni Schiaparelli) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน ได้แสดงให้เห็นว่า

ดาวหางเทมเพล-ทัตเติล (55P/Tempel–Tuttle) ที่เพิ่งถูกค้นพบไม่นานในตอนนั้น เป็นที่มาของฝนดาวตกสิงโต


ภาพ Giovanni Schiaparelli (ค.ศ. 1835-1910) ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Giovanni_Schiaparelli

จากนั้นมาก็มีการศึกษาเรื่องฝนดาวตกมากขึ้น มีการจัดตั้งองค์กรเช่น

• สมาคมอุกกาบาตอเมริกัน (American Meteor Society ย่อว่า AMS) ในปี ค.ศ. 1911 https://www.amsmeteors.org/

• องค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization ย่อว่า IMO) ในปี ค.ศ. 1988 https://www.imo.net/ 

มีปฏิทินฝนดาวตกประจำปี ข้อมูลและกราฟจำนวนฝนดาวตกต่าง ๆ

• เครือข่ายลูกไฟทั่วฟ้า (NASA All-sky Fireball Network) https://fireballs.ndc.nasa.gov/

• สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union ย่อว่า IAU) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอุกกาบาต (IAU Meteor


Data Center ย่อว่า MDC) http://pallas.astro.amu.edu.pl/~jopek/MDC2007/index.php

เว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฝนดาวตก เช่น

• Space Weather ข่าวสารและรายงานภาพถ่ายฝนดาวตกจากทั่วโลก http://www.spaceweather.com

!40
สำหรับประเทศไทย ผู้คนเริ่มรู้จักและให้ความสนใจฝนดาวตกเมื่อปี พ.ศ. 2541 เมื่อมีข่าวการกลับมาของพายุฝนดาวตก
สิงโตในปีนั้น ปัจจุบันเรามักได้ยินข่าวทางสื่อมวลชนต่าง ๆ ทั้งหนังสือพิมพ์, โทรทัศน์ ฯลฯ กันมากขึ้น แม้ประเทศไทยไม่มีองค์กรหรือ
หน่วยงานที่ศึกษาฝนดาวตกโดยเฉพาะ แต่ยังมีเว็บไซต์ที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับฝนดาวตก เช่น

• สมาคมดาราศาสตร์ไทย (The Thai Astronomical Society) 



ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2523 

http://thaiastro.nectec.or.th 

Facebook: https://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety 

และ https://www.facebook.com/groups/thaiastro

• สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (National Astronomical Research Institute of Thailand ย่อว่า NARIT) 



ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2552 

http://www.narit.or.th 

Facebook: https://www.facebook.com/NARITpage

ผมทำ Facebook คนดูดาว Stargazer มีข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับฝนดาวตก 



https://www.facebook.com/khondudao

!41

ภาพปกหนังสือ พายุฝนดาวตก จัดพิมพ์โดย ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนตุลาคม 2541 เป็นปีที่มีกระแสข่าวฝนดาวตกสิงโตครึกโครม และทำให้คนไทยเริ่มรู้จัก

ฝนดาวตกกันแพร่หลายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

!42
ประเภทฝนดาวตก

เราอาจแบ่งฝนดาวตกเป็น 2 ประเภท ตามจำนวนดาวตกคือ

1. ฝนดาวตกหลัก (major showers) มีจำนวนดาวตกมากตั้งแต่ 10 ดวงต่อชั่วโมงขึ้นไป

2. ฝนดาวตกรอง (minor showers) มีจำนวนดาวตกน้อยกว่า 10 ดวงต่อชั่วโมง

Antihelion Source (ANT) เป็นพื้นที่ฝั่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ประมาณ α = 30° x δ = 15° ห่างจากจุดตรงข้ามดวงอาทิต


ย์ประมาณ 12 องศาทางตะวันออก เชื่อว่าอาจเป็นจุดกระจายของฝนดาวตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนดาวตกรอง (minor showers)
อย่างไรก็ตามยังต้องมีการเก็บข้อมูลมากขึ้นต่อไป

!43
วันเวลา

เราสามารถเห็นดาวตกได้ตลอดคืนตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเช้ามืด ควรตรวจสอบเวลาจากเว็บไซต์ IMO ก่อน ภาพด้านล่างเป็น


ข้อมูลฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) ปี 2017 เวลาในภาพเป็น 06h30m UT (Universal Time เวลาสากล ทำเป็นเวลาประเทศไทยได้
โดย บวก 7 ชั่วโมง ได้ 13:30 น.) จะเห็นว่าเป็นเวลากลางวัน จึงต้องดูเวลาอื่นตอนกลางคืนแทน เช่น หัวค่ำ หรือเช้ามืด 

ที่มา http://www.imo.net/files/meteor-shower/cal2017.pdf

บางครั้งเราอาจพบว่า องค์กรต่าง ๆ บอกวันเวลาของฝนดาวตกแตกต่างกัน ให้ใช้ของ IMO เป็นหลัก 



ผมได้เขียนบทความชื่อ “เวลาไม่ตรงกัน จะเชื่อใครดี? ถ้าจะดูฝนดาวตก” โดย พงศธร กิจเวช (อัฐ) 19 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 

13 หน้า อ่านหรือดาวน์โหลด (ฟรี) ได้ที่ Microsoft OneDrive https://1drv.ms/b/s!AqZMZTCy63wqjSRjNL-CScmyT7Me

!44
ดวงจันทร์
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเห็นดาวตกได้มากหรือน้อยคือดวงจันทร์ หากเป็นวันจันทร์เพ็ญหรือวันเดือนเพ็ญ (full moon) 

ขึ้น 15 ค่ำ (บางครั้งอาจเป็นวันแรม 1 ค่ำ) ดวงจันทร์เต็มดวงส่องแสงสว่างรบกวนการดูดาวตกตลอดทั้งคืน

จากนั้นดวงจันทร์จะแหว่งลงเป็นวันข้างแรม วันแรม 1 ค่ำ ดวงจันทร์แหว่งเล็กน้อย พออีกวันเป็นวันแรม 2 ค่ำ ดวงจันทร์


จะแหว่งลงอีก จนถึง วันแรม 8 ค่ำ (บางครั้งเป็นวันแรม 7 ค่ำ) ดวงจันทร์จะเหลือครึ่งดวง (last quarter)

พอถึงวันจันทร์ดับหรือวันเดือนดับ (new moon) วันแรม 14 หรือ 15 ค่ำ หรือขึ้น 1 ค่ำ จะมองไม่เห็นดวงจันทร์ หรือไม่มี
แสงจันทร์รบกวนเลย

จากนั้นจะเป็นวันข้างขึ้น วันขึ้น 1 ค่ำ ดวงจันทร์จะเป็นเสี้ยวบางมาก พอวันถัดไป วันขึ้น 2 ค่ำ เสี้ยวก็จะหนาขึ้น พอถึงวัน


ขึ้น 8 ค่ำ (บางครั้งเป็นวันขึ้น 7 ค่ำ) ดวงจันทร์ก็จะสว่างครึ่งดวง (first quarter) จากนั้นก็จะสว่างมากขึ้น จนถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ
ก็จะสว่างเต็มดวงอีกครั้ง

เวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์แต่ละวันจะต่างกัน โดยจะช้าลงวันละประมาณ 50 นาที ตัวอย่างเช่น 



วันที่ 1 มกราคม 2557 ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 06:24 น. ตก 17:59 น. 

วันถัดไปคือวันที่ 2 มกราคม ดวงจันทร์ขึ้น 07:24 น. ตก 19:04 น.

!45

ภาพซ้ายแสดงดวงจันทร์ในเดือนมกราคม 2557 ที่มา https://stardate.org/nightsky/moon 

ภาพขวาเป็นปฏิทินเดือนเดียวกัน ที่มา https://www.myhora.com/home.aspx

เดือนมกราคม 2557 เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการศึกษาเรื่องข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากวันที่ 1 มกราคม ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ


เดือนยี่ วันที่ 2 ก็เป็นวันขึ้น 2 ค่ำ เป็นเช่นนี้ไปจนถึงวันที่ 15 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หลังจากนั้นวันที่ 16 ก็เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่, วันที่
30 เป็นวันแรม 15 ค่ำ วันที่ 31 เป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนสาม (เดือนที่เป็นเลขคี่จะไม่มีวันแรม 15 ค่ำ เดือนคี่จึงมี 29 วัน ส่วนเดือนคู่มี
30 วัน)

วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นวันจันทร์ดับ (new moon) , วันที่ 8 จันทร์ครึ่งดวง (first quarter) , วันที่ 16 เป็นวัน
จันทร์เพ็ญ (full moon) , วันที่ 24 จันทร์ครึ่งดวง (last quarter) และวันที่ 31 เป็นวันจันทร์ดับ อีกครั้ง

!46
สถานที่
1. มืด ไม่มีแสงไฟรบกวน ยิ่งมืดก็ยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกจำนวนมากขึ้น เพราะดาวตกบางดวงอาจสว่างไม่มาก

2. กว้าง โล่ง ไม่มีต้นไม้ใหญ่, อาคาร, ฯลฯ บังสายตา

3. เงียบ เพราะอาจได้ยินเสียงดาวตก

สามารถเลือกสถานที่โดยดูแผนที่แสงไฟจากเมืองเวลากลางคืนที่ Blue Marble Navigator – Night lights 2012 



https://blue-marble.de/nightlights/2012 

เป็นภาพจากดาวเทียม Suomi NPP ที่ถ่ายไว้ในช่วงเดือนเมษายนและตุลาคม ค.ศ. 2012 โดย NASA และ NOAA

สามารถค้นหาโดยพิมพ์ชื่อสถานที่เป็นภาษาไทยได้ บริเวณที่มืดคือที่ที่เหมาะสำหรับการดูฝนดาวตก


ภาพแสงไฟจากเมืองบริเวณรอบกรุงเทพฯ ปี 2555 เป็นมลภาวะทางแสง (light pollution) รบกวนการดูดาวตก

ที่มา Blue Marble Navigator – Night lights 2012 https://blue-marble.de/nightlights/2012

หรืออาจดู NASA Worldview - Black Marble 2016 แสงไฟบริเวณประเทศไทย 8 ธันวาคม 2016 



https://goo.gl/Mkvvy5

!47
การดูฝนดาวตก
1. มองด้วยตาเปล่าดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น กล้องดูดาว, กล้องดูนก (กล้องสายตา) ฯลฯ

2. ก่อนเริ่มดูอาจหลับตาสักพัก เพื่อปรับสายตาให้คุ้นเคยกับความมืด

3. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ที่มีแสงสว่างโดยไม่จำเป็น เช่น ไฟฉาย, โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

4. สำหรับไฟฉายอาจใช้กระดาษแก้วสีแดงปิดไว้เพื่อลดแสงรบกวน (สีแดงรบกวนสายตาน้อยกว่าสีอื่น)

5. อาจลงแอปมือถือประเภทไฟฉาย (torch หรือ flashlight) ที่มีแสงสีแดง

6. อาจดัดแปลงมือถือหรือแท็บเล็ตให้เป็นไฟฉายสีแดงได้โดยเปิดภาพที่มีแต่สีแดง ผมได้ทำภาพสีแดงไว้ให้ 

สามารถดาวน์โหลด (ฟรี) ได้ที่ Microsoft OneDrive https://1drv.ms/u/s!AqZMZTCy63wqqQD2C0RU3iVsfsbt

7. ไม่ควรใช้แฟลชถ่ายภาพ

8. ไม่ควรก่อกองไฟ เพราะจะมีแสงและควันรบกวน

9. การนอนนั้นสบายกว่าการยืนหรือนั่งดู (ไม่เมื่อยคอ) อาจใช้เก้าอี้ผ้าใบหรือนอนราบบนเสื่อ (อาจใช้ผ้าพลาสติกปูรองก่อน)

10. มองมุมกว้างเพื่อให้เห็นท้องฟ้ามากที่สุด อาจมองไปที่กลางท้องฟ้า

11. ไม่จำเป็นต้องจ้องมองที่จุดกระจายหรือจุดศูนย์กลางของฝนดาวตก เพราะจะเห็นดาวตกสั้นกว่าและสว่างน้อยกว่าดาวตกที่


ห่างออกไป อาจมองให้เห็นจุดกระจายอยู่ในสายตาด้วยก็ได้ (ขึ้นกับตำแหน่งดาวในขณะนั้น) 

IMO แนะนำให้มองห่างจากจุดกระจายประมาณ 20-40 องศา อย่างไรก็ตามดาวตกสามารถเกิดได้ทั่วท้องฟ้า 

https://www.imo.net/observations/methods/visual-observation/major/

12. ควรรู้จักทิศต่าง ๆ ถ้าไม่มีเข็มทิศอาจหันหน้าไปทางทิศที่ดวงอาทิตย์ตก นั่นคือทิศตะวันตก ข้างหลังคือทิศตะวันออก ข้างขวา


คือทิศเหนือ ข้างซ้ายคือทิศใต้ ดังนั้นก่อนมืดควรสังเกตตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ตกให้ดี เพราะเพียงรู้ทิศเดียว เราก็สามารถไล่
หาทิศอื่น ๆ ได้ การรู้ทิศนี้มีประโยชน์มากทั้งการหาตำแหน่งดาว และการบอกทิศทางของดาวตกว่าเคลื่อนที่จากทิศไหนไป
ทิศไหน ช่วยในการตรวจสอบกับผู้อื่นว่าเห็นดาวตกดวงเดียวกันไหม

13. ถ้านอนกันหลายคนและหันศีรษะไปทางเดียวกัน อาจใช้วิธีบอกตำแหน่งดาวตกโดยใช้แบบหน้าปัดนาฬิกา 



คือบนศีรษะเป็น 12 นาฬิกา, ปลายเท้าเป็น 6 นาฬิกา, ทางขวาเป็น 3 นาฬิกา และทางซ้ายเป็น 9 นาฬิกา 

ตัวอย่างเช่น เห็นดาวตกเคลื่อนที่จากบนศีรษะไปทางปลายเท้าเฉียงไปทางขวาเล็กน้อย 

อาจบอกว่า จาก 12 นาฬิกา ไป 5 นาฬิกา

14. ควรรู้จักกลุ่มดาวหรือดาวสว่างที่สำคัญ อย่างน้อยคือกลุ่มดาวที่เป็นจุดกระจายของฝนดาวตกนั้น การรู้จักดาวต่าง ๆ จะช่วย


ให้ดูดาวตกได้สนุกขึ้น อาจมีแอปมือถือหรือแท็บเล็ตสำหรับดูฝนดาวตก หรืออาจมีแผนที่ดาวไปด้วย

!48
15. ดาวต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่เหมือนดวงอาทิตย์คือ ขึ้นทางฝั่งทิศตะวันออก และตกทางฝั่งทิศตะวันตก 

เราจะเห็นดาวเคลื่อนที่ตลอดเวลาทั้งคืน จุดกระจายฝนดาวตกก็เคลื่อนที่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน 

ดาวดวงเดียวที่เห็นอยู่กับที่คือดาวเหนือ (Polaris) เนื่องจากแกนโลกชี้ไปดาวเหนือ จะเห็นดาวต่าง ๆ 

ทางฝั่งทิศเหนือเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบดาวเหนือ

16. บางครั้งอาจเห็นเครื่องบิน, ดาวเทียม, สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station ย่อว่า ISS) 



หรือกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope ย่อว่า HST) เคลื่อนผ่านไปคล้ายดาวตก แต่ช้ากว่า

17. ไม่ควรคุยกันมาก หรือคุยเสียงดัง เพราะอาจไม่ได้ยินเสียงดาวตกแล้ว ยังอาจรบกวนผู้อื่นด้วย

18. ไม่ควรดื่มสุรา เพราะ อาจทำให้เสียชีวิตเนื่องจากอากาศหนาว เนื่องจากไม่ได้ใส่เสื้อกันหนาวหรือห่มผ้าให้อบอุ่นพอ

19. เพื่อไม่ให้เผลอหลับยาว อาจตั้งนาฬิกาปลุกเป็นช่วง ๆ

20. ที่ที่มีอากาศหนาวเย็นควรใส่เสื้อกันหนาว หมวกไอ้โม่ง (ปิดจมูกกันหวัด) ถุงมือ ถุงเท้า ถุงนอน หรือผ้าห่ม

21. อาจใช้ผ้าพลาสติกผืนใหญ่คลุมตัวเพื่อป้องกันน้ำค้าง

22. เสื้อกันฝนสามารถกันหนาวและกันน้ำค้างด้วย

23. ควรรับประทานอาหารมื้อเย็นให้เพียงพอ เพราะอาจหิวตอนดึก อาจเตรียมอาหารเผื่อไว้

24. วิธีช่วยไม่ให้ดวงตาเมื่อยล้าคือ กะพริบตาถี่ ๆ บ่อย ๆ, หลับตาพักเป็นระยะ, ไม่ควรเพ่งมอง แต่ให้ลืมตาเพียงครึ่งหนึ่ง มอง


เบลอ ๆ บริหารดวงตาด้วยการกลอกตาเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกาแล้วทวนเข็มนาฬิกาช้า ๆ นอกจากนี้อาจใช้น้ำเย็นล้างตา
โดยปิดตาแล้ววักน้ำใส่เปลือกตาหลาย ๆ ครั้ง อาจบริหารคอด้วยการก้ม-เงย-เอียงซ้าย-ขวา-หมุนไปมา รวมทั้งการนวดบ่าก็
ช่วยได้

25. ปกติทุกคืนก็จะมีดาวตก แต่ไม่ใช่ทุกคืนที่มีฝนดาวตก เพื่อความสนุกสนาน แก้ง่วง และอาจเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์



เราอาจนับจำนวนดาวตกที่เห็นด้วย โดยแยกเป็น 2 ประเภทคือ ดาวตกของฝนดาวตกนั้น และดาวตกอื่น ๆ โดยสังเกตได้
จากทิศทางว่า พุ่งออกมาจากจุดกระจายฝนดาวตกหรือไม่

26. อ่านคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ https://www.imo.net/observations/methods/visual-observation/

!49
อุปกรณ์
1. นาฬิกา อาจใช้โทรศัพท์มือถือแทน

2. ไฟฉาย อาจใช้โทรศัพท์มือถือแทน

3. ถ่านไฟฉาย

4. กระดาษแก้วสีแดง สำหรับลดแสงไฟฉาย

5. เสื่อ หรือเก้าอี้ผ้าใบ

6. ผ้าพลาสติก ปูรองพื้น หรือใช้คลุมกันน้ำค้าง

7. หมอน

8. เสื้อกันหนาว อาจใช้เสื้อกันฝน กันหนาว และกันน้ำค้าง

9. หมวกไอ้โม่ง ถ้าไม่มีอาจใช้หมวกอย่างอื่น และหาผ้าปิดจมูกกันหวัด

10. ผ้าพันคอ

11. ถุงมือ

12. ถุงเท้า

13. ผ้าห่ม

14. ถุงนอน

15. อาหาร และเครื่องดื่ม

16. กระดาษ หรือสมุดสำหรับจดบันทึก

17. ปากกา หรือดินสอ

18. เข็มทิศ อาจใช้แอปมือถือหรือแท็บเล็ต

19. แผนที่ดาว อาจใช้แอปมือถือหรือแท็บเล็ต

!50
การถ่ายภาพฝนดาวตก
1. ไม่ควรหมกมุ่นกับการถ่ายภาพมากเกินไป ควรหาโอกาสรื่นรมย์กับการชมฝนดาวตกด้วย

2. ใช้กล้องที่มีโหมด Manual สามารถปรับขนาดรูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์ และความไวแสงหรือ ISO

3. ถ้ามีอากาศหนาว หากนำกล้องออกมาทันที อาจเกิดฝ้าไอน้ำเกาะเลนส์หรือฟิลเตอร์ เนื่องจากกล้องอุ่นกว่าอากาศทำให้ไอน้ำ


กลั่นตัว สำหรับบางคนใช้ที่เป่าผมหรือพัดลมเป่าหน้าเลนส์ป้องกันไอน้ำเกาะ หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันน้ำค้างเกาะหน้าเลนส์
โดยเฉพาะ หรือให้กล้องค่อย ๆ ปรับลดอุณหภูมิเองก่อน โดยนำกล้องออกมาตั้งแต่ช่วงเวลาที่อากาศยังไม่หนาว

4. ควรหาถุงพลาสติกคลุมกล้อง เพื่อป้องกันน้ำค้างตกใส่กล้อง (คลุมตั้งแต่ตอนเย็น)

5. ใช้ขาตั้งกล้อง

6. ไม่จำเป็นต้องให้จุดกระจายฝนดาวตกอยู่กลางภาพ อย่างไรก็ตามอาจถ่ายให้เห็นจุดกระจายดาวตกด้วย เพื่อตรวจสอบได้ง่าย


ว่าเป็นดาวตกของฝนดาวตกนั้นหรือไม่ อาจถ่ายกลุ่มดาวที่สังเกตง่าย 

ตัวอย่างเช่น ฝนดาวตกคนคู่อาจมองไปกลุ่มดาวนายพราน (ดาวเต่า ดาวไถ) ที่อยู่ไม่ไกลกัน

7. ถ้าถ่ายแต่ท้องฟ้าก็มีโอกาสเห็นดาวตกได้มาก แต่ถ้าถ่ายให้เห็นพื้นดิน ต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เป็นฉากหน้า ก็อาจช่วย


เพิ่มเรื่องราวเนื้อหาของภาพได้มากขึ้น

8. ใช้เลนส์มุมกว้าง

9. อาจเปิดรูรับแสงกว้างสุด

10. ใช้ความไวแสง (ISO) สูง

11. อาจตั้งเวลาถ่ายอัตโนมัติต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ทุก 30 วินาที หรืออาจเปิดหน้ากล้องไว้ หรือใช้ชัตเตอร์ B แล้วกดชัตเตอร์


ตอนที่มีดาวตกผ่านเข้ามาในมุมกล้อง

12. การเปิดหน้ากล้องไว้นานจะทำให้เห็นดาวเป็นเส้น เนื่องจากดาวเคลื่อนที่ ถ้าจะให้เห็นดาวเป็นจุดแสงต้องใช้มอเตอร์ตามดาว

13. ปรับโฟกัสที่ระยะไกลสุด (infinity)

14. อาจเลือกรูปแบบไฟล์เป็นทั้ง JPEG และ RAW เผื่อมีการปรับแก้ไข

15. ใช้สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมต หรือถ้าไม่มีให้ใช้ตั้งเวลาถ่าย

16. อาจทดลองเปลี่ยนค่า White Balance จากปกติ Auto เป็นอย่างอื่นเช่น Day Light หรือ Tungsten

17. เตรียมแบตเตอรี่และการ์ดความจำสำรอง

18. เพื่อไม่ให้แสงจากจอ LCD รบกวนผู้อื่น เวลาถ่ายภาพควรใช้ผ้าพลาสติกหรือผ้าอื่นๆ คลุมเป็นกระโจมป้องกันแสงลอดออกไป


!51
19. ควรปิดเสียงการทำงานของกล้อง เพื่อประหยัดแบตเตอรี่ และไม่รบกวนผู้อื่น

20. อาจถ่ายวีดิโอไว้ด้วย

21. ควรทดลองถ่ายภาพท้องฟ้ากลางคืนช่วงหัวค่ำหรือก่อนเวลาที่มีฝนดาวตกมากที่สุด เพื่อดูว่าจะตั้งค่ากล้องอย่างไรดี

22. อาจเป็นไปได้ที่ไม่สามารถถ่ายภาพดาวตกได้เลย แม้จะถ่ายเป็นหลายร้อยภาพ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพท้องฟ้า,


จำนวนดาวตก, มุมกล้อง, จังหวะ, โชค ฯลฯ ควรทำใจไว้ล่วงหน้า

23. แนะนำบทความ เตรียมพร้อมถ่ายภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) ในแบบฉบับนัก


ดาราศาสตร์ โดย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 9 ธันวาคม 2558 

http://www.narit.or.th/index.php/astro-photo-article/2350-geminids-meteor-shower-astronomy

ดูบทความการถ่ายภาพฝนดาวตกอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.narit.or.th/index.php/astro-photo-article

!52
กลุ่มดาว (constellation) 

ดาวบนท้องฟ้ามีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษา จึงมีผู้แบ่งดาวเป็นกลุ่มต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ ชนชาติต่าง ๆ
อาจแบ่งและเรียกชื่อแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น คนไทยภาคกลางเรียกว่ากลุ่มดาว “จระเข้” คนไทยภาคเหนือ, ภาคอีสาน 

และคนลาวเรียกว่า “ช้าง” คนอินเดียเรียกว่า “ฤษีเจ็ดตน” คนจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี และเวียดนาม เรียกว่า “ทัพพี” คนอเมริกันเรียกว่า
“กระบวยตักน้ำ” คนอังกฤษเรียกว่า “คันไถ” (คนละกลุ่มกับดาวไถของไทย) หรือ “เกวียน” คนกรีกโบราณเรียกว่า “หมีใหญ่” ฯลฯ

ภาพจากโปรแกรม Stellarium

บางครั้งคนไทยก็เรียก “กลุ่มดาว” สั้น ๆ ว่า “ดาว” แต่ไม่ได้หมายความว่า เป็นดาวดวงเดียวโดด ๆ ตัวอย่างเช่นเรียกว่า


“ดาวจระเข้” ก็จะมีดาวหลายดวงประกอบกัน และคำว่า “กลุ่มดาว” ใช้กับดาวฤกษ์ (ดาวที่มีแสงในตัวเองเหมือนดวงอาทิตย์) ไม่ใช่
กับดาวเคราะห์ เช่น ดาวอังคาร, ดาวพุธ ฯลฯ เนื่องจากดาวเคราะห์อยู่ใกล้โลกทำให้เห็นการโคจรเปลี่ยนที่ ไม่ประจำตำแหน่ง จึงไม่
สามารถกำหนดเป็นกลุ่มดาว

เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union หรือย่อว่า IAU) ได้แบ่ง


กลุ่มดาวบนท้องฟ้าทั้งหมดเป็น 88 กลุ่ม เมื่อปี ค.ศ. 1922 และกลายเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป โดยมาจากการแบ่งกลุ่มดาว 48 กลุ่มของ
ทอเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์ชาวกรีก เมื่อประมาณ 1,800 ปีก่อน กลุ่มดาวจระเข้ของไทยจึงมีชื่อสากลว่า กลุ่มดาวหมีใหญ่
(Ursa Major) ดูรายละเอียดของกลุ่มดาวทั้ง 88 กลุ่มได้ที https://www.iau.org/public/themes/constellations/

สำหรับชื่อกลุ่มดาว 88 กลุ่ม ภาษาไทย อ่านได้จากหนังสือของผมชื่อ “คู่มือการเขียนชื่อดาวเป็นภาษาไทย” โดย พงศธร


กิจเวช (อัฐ) จำนวน 89 หน้า 2 ตุลาคม 2560 อ่านหรือดาวน์โหลด (ฟรี) ได้ที่ Microsoft OneDrive 

https://1drv.ms/f/s!AqZMZTCy63wqp16DDTXdIiHjDZB-

!53
เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปตะวันออก เราจึงเห็นดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่สวนทางมาในทิศตรงกันข้าม
(คล้ายเวลานั่งรถแล้วเห็นต้นไม้หรืออาคารต่าง ๆ เคลื่อนที่เข้ามา ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เราเป็นฝ่ายเคลื่อนที่ต่างหาก) เห็นดาวต่าง ๆ เคลื่อน
ที่จากทิศตะวันออกไปตะวันตก เราเห็นดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์ และดาวอื่น ๆ ขึ้นจากด้านทิศตะวันออกไปตะวันตก 

จากภาพตัวอย่างด้านล่างเป็นท้องฟ้าในคืนวันที่ 1 มกราคม 2557 ตั้งแต่เวลา 20:00 – 23:00 น. จะเห็นดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่จาก

ทิศตะวันออกไปตะวันตก หรือจากซ้ายไปขวา ลูกศรสีแดงแสดงการเคลื่อนที่ของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) และกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini)


ภาพดัดแปลงจาก http://www.heavens-above.com

!54
ในขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง โลกก็จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย ทำให้แต่ละคืนในเวลาเดียวกัน เราจะเห็นดาวเคลื่อนจาก
ตำแหน่งเดิม โดยดาวฤกษ์จะขึ้นเร็วขึ้นประมาณคืนละ 1 องศา หรือ 4 นาที และทำให้เราเห็นกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในเวลาเดียวกันของ
แต่ละเดือนแตกต่างกันไป เมื่อครบรอบ 1 ปี โลกโคจรกลับมาตำแหน่งเดิม เราก็จะเห็นกลุ่มดาวบนท้องฟ้าเหมือนเดิมอีกครั้ง ตัวอย่าง
เช่น วันที่ 1 มกราคม 2557 เวลา 20:00 น. (ภาพซ้ายบน) จะเห็นกลุ่มดาวบนท้องฟ้าเหมือนวันที่ 1 มกราคม 2558 เวลา 20:00 น.
(ซ้ายล่าง) และต่างจากท้องฟ้าวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:00 น. (ขวาบน) ดวงจันทร์ (Moon) และดาวเคราะห์ต่าง ๆ เช่น
ดาวอังคาร (Mars), ดาวพฤหัสบดี (Jupiter), ดาวศุกร์ (Venus), ดาวเสาร์ (Saturn) ฯลฯ จะไม่อยู่ประจำที่เหมือนกลุ่มดาวฤกษ์


ภาพดัดแปลงจาก http://www.heavens-above.com

!55
แอปดูฝนดาวตก 

ปัจจุบันมีแอปมือถือและแท็บเล็ตสำหรับดูดาวและดูฝนดาวตกหลายแอป ในที่นี้ขอยกแอปที่ผมใช้ประจำคือ 

Celestron SkyPortal (ดาวน์โหลดฟรี) โดย บริษัท Celestron ผู้ผลิตกล้องโทรทรรศน์ (กล้องดูดาว) ที่มีชื่อเสียงระดับโลก


Celestron SkyPortal 3.0.1.2 ใน iPad 5th generation (2017) จำลองการเกิดฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids) 

วันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2019 เวลา 04:00 น.

เลือก Search > Meteor Showers > Geminids > Center 



สำหรับฝนดาวตกอื่น ๆ ที่ไม่มีรายชื่อสามารถค้นหาจาก Constellations (กลุ่มดาว)

เลือก Compass (เข็มทิศ) เพื่อให้แสดงภาพดาวอัตโนมัติ ตามทิศทางที่หันมือถือหรือแท็บเล็ต

SkyPortal เป็นแอปที่ใช้ง่าย และดาวน์โหลดฟรี มีทั้งระบบ Android และ iOS ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 



Android https://play.google.com/store/apps/details?id=com.celestron.skyportal&hl=en 

iOS https://itunes.apple.com/us/app/celestron-skyportal/id877780544

!56
อ้างอิง
หนังสือ

1. การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เบื้องต้น : astrophotography / ศุภฤกษ์ คฤหานนท์. เชียงใหม่ : 



สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, [255-].

2. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 



ISBN 978-616-7073-80-4.

3. พจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์อังกฤษ-ไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี


เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ : สมาคมดาราศาสตร์ไทย, 2548. 

ISBN 974-93621-6-0.

4. พายุฝนดาวตก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา, 2541.

5. รอบรู้ดูดาว คู่มือชมฟ้าสำหรับคนไทย. [พิมพ์ครั้งที่ 2]. กรุงเทพฯ : สมาคมดาราศาสตร์ไทย, [2558]. 



ISBN 974-93656-7-4.

เว็บไซต์

1. มายโหรา ปฏิทิน https://www.myhora.com/home.aspx

2. ศุภฤกษ์ คฤหานนท์. เตรียมพร้อมถ่ายภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) ในแบบ


ฉบับนักดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 9 ธันวาคม 2558 

http://www.narit.or.th/index.php/astro-photo-article/2350-geminids-meteor-shower-astronomy

3. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ http://www.narit.or.th

4. สมาคมดาราศาสตร์ไทย http://thaiastro.nectec.or.th

5. American Meteor Society (AMS) https://www.amsmeteors.org/

6. Blue Marble Navigator – Night Lights 2012 https://blue-marble.de/nightlights/2012

7. Center for Near Earth Object Studies (CNEOS) – Fireballs https://cneos.jpl.nasa.gov/fireballs/

8. Heavens-Above http://www.heavens-above.com

!57
9. International Astronomical Union (IAU) Meteor Data Center (MDC) 

http://pallas.astro.amu.edu.pl/~jopek/MDC2007/index.php

10. International Astronomical Union: The Constellations 



https://www.iau.org/public/themes/constellations/

11. International Meteor Organization (IMO) https://www.imo.net/

12. National Aeronautics and Space Administration (NASA) https://www.nasa.gov

13. NASA All-sky Fireball Network https://fireballs.ndc.nasa.gov/

14. NASA SKYCAL (Sky Events Calendar) https://eclipse.gsfc.nasa.gov/SKYCAL/SKYCAL.html

15. NASA Worldview - Black Marble 2016 แสงไฟบริเวณประเทศไทย 8 ธันวาคม 2016 https://goo.gl/Mkvvy5

16. Olmsted, Denison. "Observations on the Meteors of November 13th, 1833". The American journal of
science and arts v.25, 1833-1834. p.363–411. 

https://www.biodiversitylibrary.org/page/30964366#page/383/mode/1up

17. Olmsted, Denison. "Observations on the Meteors of November 13th, 1833" (continued). The American
journal of science and arts v.26, 1834. p.132-174. 

https://www.biodiversitylibrary.org/page/30988911#page/154/mode/1up

18. Smithsonian Libraries 



http://www.sil.si.edu/DigitalCollections/hst/scientific-identity/cf/display_results.cfm?alpha_sort=O

19. Space Weather http://www.spaceweather.com

20. The Royal Astronomical Society of Canada: Meteor Procession 1913 



http://www.rasc.ca/meteor-procession-1913

21. Wikipedia https://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page

22. YouTube https://www.youtube.com

!58
หนังสือ โดย พงศธร กิจเวช (อัฐ) เรียงตามลำดับเวลาที่พิมพ์ครั้งแรก

1. เมฆที่มองไม่เห็น พิมพ์ 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 154 หน้า รวมบทความเกี่ยวกับเมฆและปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้า


2. ดาวบนธงชาติบราซิล พิมพ์ 3 กรกฎาคม 2557 จำนวน 97 หน้า
3. ท้องฟ้าจำลองและหอดูดาวในประเทศไทย ปี 2557 พิมพ์ 1 ธันวาคม 2557 จำนวน 88 หน้า

4. แอปดูดาว พิมพ์ 19 พฤศจิกายน 2558 จำนวน 237 หน้า


5. คู่มือการเขียนชื่อดาวเป็นภาษาไทย บทความ พิมพ์ครั้งแรก 26 พฤษภาคม 2560, หนังสือ พิมพ์ครั้งแรก (ปรับปรุงเพิ่มเติม
จากบทความ) 2 ตุลาคม 2560 จำนวน 89 หน้า

6. คู่มือดูฝนดาวตก ปี 2562 พิมพ์ 1 ตุลาคม 2561 จำนวน 60 หน้า ปรับปรุงทุกปี เริ่มพิมพ์ครั้งแรก 10 ธันวาคม 2555

บทความ

1. เมฆเศวตฉัตรในก้านกล้วย พิมพ์ครั้งแรก 19 กันยายน 2553, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงและเพิ่มเติม 24 มิถุนายน 2555


จำนวน 10 หน้า
2. เมฆในพระไตรปิฎก พระคริสตธรรมคัมภีร์ และพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พิมพ์ครั้งแรก 31 ตุลาคม 2553, 

พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 24 หน้า
3. เมฆในตำราพิชัยสงคราม พิมพ์ครั้งแรก 14 พฤศจิกายน 2553, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 6 หน้า
4. เมฆบ้า อิกคิวซัง พิมพ์ครั้งแรก 15 พฤศจิกายน 2553, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 7 หน้า

5. การทับศัพท์ชื่อเมฆเป็นภาษาไทย พิมพ์ครั้งแรก 28 มกราคม 2554, พิมพ์ครั้งที่ 11 ปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติม 



24 มิถุนายน 2555 จำนวน 20 หน้า

6. ความคิดเห็นเรื่อง คำศัพท์เกี่ยวกับเมฆในหนังสือพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 



พิมพ์ครั้งแรก 29 มกราคม 2554, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 28 หน้า
7. การใช้โปรแกรม Google Earth หาตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ 2554, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง
25 มิถุนายน 2555 จำนวน 9 หน้า
8. การใช้โปรแกรม HaloSim จำลองการเกิด halo (วงแสง, ทรงกลด) เบื้องต้น พิมพ์ครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ 2554, 

พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 19 หน้า
9. การใช้โปรแกรม Stellarium หาความสูงของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ พิมพ์ครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ 2554, 

พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 11 หน้า

10. ศัพท์อุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับเมฆ พิมพ์ครั้งแรก 22 เมษายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 17 พฤษภาคม 2554 



จำนวน 29 หน้า

!59
11. ลัดดาแลนด์ (สถานที่จริง) : เวลาและความเปลี่ยนแปลง พิมพ์ครั้งแรก 2 มิถุนายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง 

23 มิถุนายน 2554 จำนวน 39 หน้า

12. การทับศัพท์ halo แบบต่าง ๆ เป็นภาษาไทย พิมพ์ครั้งแรก 22 มิถุนายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 7 ปรับปรุง 24 มิถุนายน
2555 จำนวน 11 หน้า
13. การแก้ปัญหาภาษาไทยในโปรแกรม Stellarium พิมพ์ครั้งแรก 10 กรกฎาคม 2554, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงและเพิ่มเติม 

14 กุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 25 หน้า
14. การดูเมฆเบื้องต้น พิมพ์ครั้งแรก 9 กันยายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 57 หน้า

15. อาทิตย์ทรงกลดในภาพยนตร์เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” พิมพ์ครั้งแรก 14 สิงหาคม 2554, 



พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุงเพิ่มเติม 30 พฤษภาคม 2557 จำนวน 30 หน้า
16. เมฆในหนังสือเรียน พิมพ์ครั้งแรก 28 กุมภาพันธ์ 2555, พิมพ์ครั้งที่ 2 เพิ่มเติม 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 28 หน้า

17. การดูทรงกลดเบื้องต้น พิมพ์ครั้งแรก 20 มีนาคม 2555, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงและเพิ่มเติม 24 มิถุนายน 2555 



จำนวน 31 หน้า

18. ความคิดเห็นเรื่อง การใช้วรรณยุกต์ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษของราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535 



พิมพ์ครั้งแรก 4 ตุลาคม 2555 จำนวน 5 หน้า
19. 27 สิงหาคม วันดาวอังคารหลอก (Mars Hoax Day) พิมพ์ครั้งแรก 27 สิงหาคม 2557 จำนวน 16 หน้า

20. จะเขียนชื่อดาว Charon เป็นภาษาไทยอย่างไรดี? 18 กรกฎาคม 2558 จำนวน 7 หน้า


21. Hunter’s moon ดวงจันทร์สว่างจนเหมือนมีดวงอาทิตย์สองดวงจริงหรือ? 1 เมษายน 2560 จำนวน 24 หน้า

22. เวลาไม่ตรงกัน จะเชื่อใครดี? ถ้าจะดูฝนดาวตก พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 20 พฤศจิกายน 2560, พิมพ์ครั้งแรก 



19 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 13 หน้า
23. การเลือกซื้อกล้องดูดาวสำหรับมือใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง 28 กันยายน 2561, พิมพ์ครั้งแรก 27 กันยายน 2561
จำนวน 31 หน้า

สามารถอ่านหรือดาวน์โหลด (ฟรี) ได้ที่ Microsoft OneDrive 



หนังสือ https://1drv.ms/f/s!AqZMZTCy63wqqDdYyPIOO3QBdajs 

บทความ https://1drv.ms/f/s!AqZMZTCy63wqp16DDTXdIiHjDZB-

!60

You might also like