You are on page 1of 8

การเรียนกระตุ้นความคิด นิพนธ์ ทรายเพชร • ราชบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท.

ดาวเคราะห์ใกล้โลกที่สุดในปี ค.ศ. 2018

ดาวเคราะห์ 2 พวก
ดาวเคราะห์ 8 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ อาจแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner planets)
และดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer planets) ดาวเคราะห์ชั้นใน คือ พวกที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก
และดาวอังคาร ดาวเคราะห์ชั้นนอก คือ พวกที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ดาวพฤหัสบดีออกไป ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ค�ำอื่นที่ใช้เรียกดาวเคราะห์ชั้นใน คือ ดาวเคราะห์แบบโลก (Terrestrial planets)
หรือ ดาวเคราะห์หิน (Rocky planets) และค�ำที่ใช้เรียกดาวเคราะห์ชั้นนอก คือ ดาวเคราะห์ยักษ์ (Giant planets) หรือ
ดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดี (Jovian planets) หรือดาวเคราะห์แก๊ส (Gaseous planets)
การแบ่งดาวเคราะห์ในลักษณะอื่น คือ การแบ่งตามขนาดของวงโคจร กล่าวคือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรเล็กกว่า
วงโคจรของโลก 2 ดวง ได้แก่ ดาวพุธกับดาวศุกร์ เรียกว่า ดาวเคราะห์วงใน (Inferior planets) ส่วนดาวเคราะห์ที่มีวงโคจร
ใหญ่กว่าวงโคจรของโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน เรียกว่า ดาวเคราะห์วงนอก
(Exterior planets) ถ้าแบ่งดาวเคราะห์แบบนี้ท�ำให้โลกไม่อยู่ในพวกใดพวกหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวัดคาบการโคจร
ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์

ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน

ภาพ 1 ดาวเคราะห์ 8 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

นิตยสาร สสวท
38
คาบการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์วงนอก 3 ดวงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
และอยู ่ใกล้โลกที่สุด
ดาวเคราะห์ทุกดวงจะเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์
ไปทางเดียวกันคือ จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก เรียงล�ำดับตามเวลาใน ค.ศ.2018 คือดาวพฤหัสบดี
ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ดาวเคราะห์วงใน ดาวเสาร์ และดาวอังคาร
เคลือ่ นทีเ่ ร็วกว่าโลก และดาวเคราะห์วงนอกเคลือ่ นทีช่ า้ กว่า
โลก เวลาทีด่ าวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเทียบกับ
ดาวฤกษ์ เรียกว่า คาบดาราคติ (Siderial period) หรือ คาบ
ที่เวลามองจากอวกาศจะเห็นดาวเคราะห์กลับมาถึงที่เดิม ดาวพฤหัสบดี

ในวงโคจร คาบเหล่านี้สามารถค�ำนวณได้ โดยใช้กฎเคพ 1.ดาวพฤหัสบดี อยู่ในต�ำแหน่งตรงข้ามกับดวง


เลอร์ หากทราบระยะห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์ อาทิตย์และอยูใ่ กล้โลกทีส่ ดุ ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2018
ส่วนช่วงเวลาระหว่างการเห็นดาวเคราะห์อยู่ โดยเริม่ ปรากฏถอยหลังเมือ่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2018 และสิน้ สุด
ณ ต�ำแหน่งเดิม เทียบกับดวงอาทิตย์ครั้งแรกถึงครั้งถัดไป การปรากฏถอยหลังในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 รวม
เรียกว่า คาบซินอดิก (Synodic period) เช่น เวลาระหว่าง ปรากฏถอยหลังนาน 4 เดือน 23 วัน กลุม่ ดาวทีด่ าวพฤหัสบดี
การเห็นดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ต�ำแหน่ง ปรากฏถอยหลังคือ กลุ่มดาวคันชั่ง
Opposition) ครัง้ แรกถึงครัง้ ถัดไป เรียกว่า คาบซินอดิกของ
ดาวอังคาร ในทางปฏิบัติ นักดาราศาสตร์สามารถวัดคาบ
ซินอดิกของดาวเคราะห์ได้จากโลก แล้วน�ำไปค�ำนวณ
หาคาบดาราคติของดาวเคราะห์ดวงนั้นได้ ความสัมพันธ์ ดาวเสาร์
ระหว่างคาบดาราคติ (P) และคาบซินอดิก (S) ของดาวเคราะห์วงใน 2. ดาวเสาร์ อยูใ่ นต�ำแหนงตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
คือ 1/P – 1/S = 1 และของดาวเคราะห์วงนอก คือ 1/P + 1/S และอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2018 เริ่ม
= 1 เช่น ดาวอังคารมีคาบซินอดิกเท่ากับ 780 วัน หรือ ปรากฏถอยหลังเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2018 และสิ้นสุด
780/365.25 ปี = 2.13 ปี จึงค�ำนวณได้ว่า ดาวอังคาร การปรากฏถอยหลังในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2018 รวม
มีคาบดาราคติ (P) = 1.88 ปี เป็นต้น ปรากฏถอยหลังนาน 4 เดือน 20 วัน กลุ่มดาวที่ดาวเสาร์
ปรากฏถอยหลังคือ กลุ่มดาวคนยิงธนู
ดาวเคราะห์ท่ีเห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวง
มีดาวเคราะห์ทมี่ องเห็นได้ดว้ ยตาเปล่า 5 ดวง คือ
ดาวอังคาร
ดาวพุธกับดาวศุกร์ ซึง่ เป็นดาวเคราะห์วงใน และดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ซึง่ เป็นดาวเคราะห์วงนอก ดาวเคราะห์ 3. ดาวอังคาร อยู่ในต�ำแหน่งตรงข้ามกับดวง
วงนอกจะอยู่ใกล้โลกที่สุดปีละ 1 ครั้งทุกดวง ยกเว้นดาว อาทิตย์ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 และอยู่ใกล้โลก
อังคาร ซึง่ จะอยูใ่ กล้โลกทีส่ ดุ ทุกๆ 2 ปีกบั 50 วัน และทุกครัง้ ที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เริ่มปรากฏถอยหลัง
ที่ อ ยู ่ ใ กล้ กั น ที่ สุ ด ก็ มี ร ะยะใกล้ ที่ สุ ด แตกต่ า งกั น ด้ ว ย ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2018 และสิ้นสุดการปรากฏถอย
ดาวอังคารจึงเป็นดาวเคราะห์ทผี่ คู้ นให้ความสนใจ ติดตาม หลังในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2018 รวมปรากฏถอยหลัง 2
เฝ้าสังเกตในช่วงที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด เดือน 1 วัน กลุ่มดาวที่ดาวอังคารปรากฏอยู่ในขณะถอยหลัง
คือ กลุ่มดาวมกร

39 ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561


เกิดปรากฎการณ์อะไรบ้างขณะดาวเคราะห์อยู ่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และอยู ่ใกล้โลกที่สุด

โลก ดาวอังคาร

ดวงอาทิตย์

ภาพ 2 ต�ำแหน่งดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

เมื่อดาวเคราะห์วงนอกอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์ดังต่อไปนี้ คือ


ก. ดาวเคราะห์ขนึ้ ขณะดวงอาทิตย์ตก และตกขณะดวงอาทิตย์ขนึ้ จึงมีโอกาสสังเกตดาวเคราะห์ได้นาน
ที่สุดตลอดทั้งคืน โดยจุดที่ดีที่สุดคือ เมื่อดาวเคราะห์ผ่านเมริเดียนในเวลาเที่ยงคืน

ดาวอังคาร

50 ํ
S N

ภาพ 3 รูปท้องฟ้าแสดงดาวอังคารขณะผ่านเมริเดียนเมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018


โดยอยู่ที่มุมเงย 50 องศา ทางทิศใต้

ข. ดาวเคราะห์ปรากฏมีขนาดเชิงมุมใหญ่ทสี่ ดุ จึงเห็นรายละเอียดของพืน้ ผิว หรือ รายละเอียดของเมฆ


ดาวเคราะห์ได้อย่างชัดเจน

ดาวพฤหัสบดี (J)

ดาวศุกร์ (V)

ดาวเสาร์ (S)
W

ดาวอังคาร (M)
S N
จันทร์เพ็ญ (L)

ภาพ 4 ท้องฟ้าเวลาหัวค�่ำของวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 แสดงสร้อยเพชรบนฟ้า (LMSJV)

นิตยสาร สสวท
40
ค. ดาวเคราะห์ปรากฏสว่างทีส่ ดุ เช่น โดยปกติดาวอังคารจะปรากฏริบหรีม่ ากเมือ่ เทียบกับดาวพฤหัสบดี แต่ขณะอยู่
ใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 – 17 ปี ดาวอังคารจะปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี โดยปรากฏมีสีแดงสุกใสท่ามกลางดาวฤกษ์ที่ให้
แสงริบหรีจ่ �ำนวนมาก โชติมาตรปรากฏของดาวอังคารขณะสว่างที่สุดเท่ากับ -2.8 (วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ดาวอังคาร
มีขนาดเชิงมุม 24.2 พิลิปดา คิดเป็น 94 % ของขนาดใหญ่ที่สุด)
ง. ดาวเคราะห์ปรากฏถอยหลัง การปรากฏถอยหลังหมายถึง การเห็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก
เป็นเวลานานต่างๆ กัน เช่น ดาวพฤหัสบดีปรากฏถอยหลังครั้งละประมาณ 4 เดือน 23 วัน ดาวเสาร์ปรากฏถอยหลังครั้งละ
ประมาณ 4 เดือน 20 วัน และดาวอังคารปรากฏถอยหลังครัง้ ละประมาณ 2 เดือน 1 วัน สาเหตุทเี่ ห็นดาวเคราะห์เดินถอยหลัง
เพราะทัง้ โลกและดาวเคราะห์ทกุ ดวงต่างเคลือ่ นทีร่ อบดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกด้วยกัน แต่โลกเคลือ่ นทีเ่ ร็วกว่า ดังนัน้
คนบนโลกจึงเห็นดาวเคราะห์เคลือ่ นทีไ่ ปในทิศตรงข้ามคือตะวันตก คล้ายๆ กับการเห็นรถยนต์ทวี่ งิ่ ตามรถของเราด้วยความเร็ว
ที่น้อยกว่า เราย่อมเห็นรถคันนั้นวิ่งถอยหลัง ปรากฏการณ์ถอยหลังของดาวเคราะห์ไม่ได้เริ่มเมื่อดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับ
ดวงอาทิตย์ แต่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่โลกเคลื่อนที่ไปก่อนใกล้กันที่สุดเป็นเวลานับเดือน ดังได้กล่าวแล้ว

ระยะใกล้กันที่สุดของโลกกับดาวเคราะห์
ระยะใกล้โลกทีส่ ุดของดาวอังคารขณะทีอ่ ยูต่ รงข้ามกับดวงอาทิตย์แต่ละครัง้ จะไม่เท่ากัน ทัง้ นีเ้ พราะความรีของวง
โคจรของดาวอังคารมีค่ามากกว่าของโลกประมาณ 10 เท่า ท�ำให้ระยะใกล้กันที่สุด มีค่าอยู่ระหว่าง 0.37 หน่วยดาราศาสตร์
ถึง 0.67 หน่วยดาราศาสตร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะเกิดขึ้นทุก 15 – 17 ปี ดังตาราง

ตารางวันที่ดาวอังคารอยู ่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และอยู ่ใกล้โลกที่สุด รวมทัง้ ระยะใกล้โลกที่สุดระหว่างปี ค.ศ. 1995 ถึง 2037


ระยะใกล้โลกที่สุดของดาวอังคารในรอบ 2 ปี 50 วัน และรอบ 15 - 17 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 2001 - 2037
วันที่ ณ ต�ำแหน่งตรง ระยะใกล้โลกที่สุด
ข้ามกับดวงอาทิตย์ วันที่อยู่ใกล้โลกที่สุด (หน่วยดาราศาสตร์) โชติมาตรปรากฏ ขนาดเชิงมุม (“)

12 ก.พ. 1995 11 ก.พ. 1995 0.67569 -1.2 13.9


17 มี.ค. 1997 20 มี.ค. 1997 0.65938 -1.3 14.2
24 เม.ย. 1999 1 พ.ค. 1999 0.57846 -1.7 16.2
13 มิ.ย. 2001 21 มิ.ย. 2001 0.45017 -204 20.8
28 ส.ค. 2003 27 ส.ค. 2003 0.37272 -2.9 25.1
7 พ.ย. 2005 30 ก.ค. 2005 0.46406 -2.3 20.2
24 ธ.ค. 2007 18 ธ.ค. 2007 0.58935 -1.6 15.9
29 ม.ค. 2010 27 ม.ค. 2010 0.66398 -1.3 14.1
3 มี.ค. 2012 5 มี.ค. 2012 0.67368 -1.2 13.9
8 เม.ย. 2014 14 เม.ย. 2014 0.61756 -1.5 15.1
22 พ.ค. 2016 30 พ.ค. 2016 0.50321 -2.0 18.4
27 ก.ค. 2018 31 ก.ค. 2018 0.38496 -2.8 24.2

41 ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561


ตารางวันที่ดาวอังคารอยู ต่ รงข้ามกับดวงอาทิตย์และอยู ใ่ กล้โลกที่สดุ รวมทัง้ ระยะใกล้โลกที่สดุ ระหว่างปี ค.ศ. 1995 ถึง 2037 (ต่อ)

วันที่ ณ ต�ำแหน่งตรง ระยะใกล้โลกที่สุด


ข้ามกับดวงอาทิตย์ วันที่อยู่ใกล้โลกที่สุด (หน่วยดาราศาสตร์) โชติมาตรปรากฏ ขนาดเชิงมุม (“)

13 ต.ค. 2020 6 ต.ค. 2020 0.41492 -2.6 22.4


8 ธ.ค. 2022 1 ธ.ค. 2022 0.54447 -1.8 17.0
16 ธ.ค. 2025 12 ธ.ค. 2025 0.64228 -1.4 14.5
19 ก.พ. 2027 20 ก.พ. 2027 0.67792 -1.2 13.8
25 มี.ค. 2029 29 มี.ค. 2029 0.64722 -1.3 14.5
4 พ.ค. 2031 12 พ.ค. 2031 0.55336 -1.8 16.9
27 มิ.ย. 2033 5 ก.ค. 2033 0.42302 -2.5 22.1
15 ก.ย. 2035 11 ก.ย. 2035 0.38041 -2.8 24.6
19 พ.ย. 2037 11 พ.ย. 2037 0.49358 -2.2 19.00

ตารางดาวพฤหัสบดีเมื่ออยู ่ใกล้โลกที่สุด ระหว่างปี ค.ศ. 2005 - 2020

วันที่อยู่ตรงข้ามกับ ระยะห่างจากโลก เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมในแนว


ดวงอาทิตย์ ศูนย์สูตร(พิลิปดา) โชติมาตรปรากฏ
(ล้านกม.)
5 เม.ย. 2005 666.7 44.2 -2.5
4 พ.ค. 2006 660.1 44.7 -2.5
5 มิ.ย. 2007 644.0 45.8 -2.6
9 ก.ค. 2008 622.5 47.4 -2.7
14 ส.ค. 2009 602.6 48.9 -2.9
21 ก.ย. 2010 591.5 49.9 -2.9
29 ต.ค. 2011 594.3 49.6 -2.9
3 ธ.ค. 2012 609.0 48.4 -2.8
5 ม.ค. 2014 630.0 46.8 -2.7
6 ก.พ. 2015 650.1 45.4 -2.6
8 มี.ค. 2016 663.4 44.5 -2.5

นิตยสาร สสวท
42
ตารางดาวพฤหัสบดีเมื่ออยู ่ใกล้โลกที่สุด ระหว่างปี ค.ศ. 2005 - 2020 (ต่อ)

วันที่อยู่ตรงข้ามกับ ระยะห่างจากโลก เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมในแนว


ดวงอาทิตย์ ศูนย์สูตร(พิลิปดา) โชติมาตรปรากฏ
(ล้านกม.)
7 เม.ย. 2017 666.3 44.3 -2.5
9 พ.ค. 2018 658.1 44.8 -2.5
10 มิ.ย. 2019 640.9 46.0 -2.6
14 ก.ค. 2020 619.4 47.6 -2.7
ที่มา: http://www.ianridpath.com/jupiter.html
ตารางดาวเสาร์เมื่ออยู ่ใกล้โลกที่สุด ระหว่างปี ค.ศ. 2005 – 2020
วันที่อยู่ตรงข้ามกับ ระยะห่างจากโลก เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมในแนว
ดวงอาทิตย์ ศูนย์สูตร(พิลิปดา) โชติมาตรปรากฏ
(ล้านกม.)
13 ม.ค. 2005 1208 20.6 -0.4
27 ม.ค. 2006 1216 20.5 -0.2
10 ก.พ. 2007 1227 20.3 0.0
24 ก.พ. 2008 1240 20.1 0.2
8 มี.ค. 2009 1256 19.8 0.5
22 มี.ค. 2010 1272 19.6 0.5
4 เม.ย. 2011 1288 19.3 0.4
15 เม.ย. 2012 1304 19.1 0.2
28 เม.ย. 2013 1319 18.9 0.1
10 พ.ค. 2014 1332 18.7 0.1
23 พ.ค. 2015 1342 18.5 0.0
3 มิ.ย. 2016 1349 18.4 0.0
15 มิ.ย. 2017 1353 18.4 0.0
27 มิ.ย. 2018 1354 18.4 0.0
9 ก.ค. 2019 1351 18.4 0.1
20 ก.ค. 2020 1346 18.5 0.1
ที่มา: http:// www.ianridpath.com/saturn.html

43 ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561


ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดใน 59,619 ปี
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลก 0.37272 หน่วยดาราศาสตร์หรือ 55.7 ล้านกิโลเมตร
เป็นระยะทีด่ าวอังคารอยูใ่ กล้โลกทีส่ ดุ ในเวลา 59,619 ปีหรือเกือบ 60,000 ปี ในครัง้ ก่อนเกิดขึน้ เมือ่ 57,617 ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช
ดาวอังคารจะปรากฏใกล้โลกทีส่ ดุ ทีร่ ะยะใกล้เคียงกันนีอ้ กี ครัง้ ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2287 หรือในเวลาอีก 269 ปีขา้ งหน้า
ถ้าพิจารณาวงโคจรของดาวอังคารและวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์จะพบว่า เมื่อดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับ
ดวงอาทิตย์ในขณะทีด่ าวอังคารอยูใ่ นต�ำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากทีส่ ดุ (P) แล้ว ระยะระหว่างดาวอังคารกับโลกจะเป็นระยะ
ใกล้กันที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 55.7 ล้านกิโลเมตร ดังเช่นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ดังกล่าวข้างต้น ระยะใกล้โลก
ที่สุดของดาวอังคารในต�ำแหน่งอื่นจะไกลกว่าระยะ 55.7 ล้านกิโลเมตร และระยะใกล้โลกมากที่สุดของดาวอังคารจะเกิดขึ้น
ได้ทุกเดือนในรอบปี โดยเกิดขึ้นทุกประมาณ 2 ปีกับ 50 วัน ดังนั้นจึงวนกลับมาใกล้กันที่สุดในทุกๆ ประมาณ 15 – 17 ปี
และต�ำแหน่งโลกขณะใกล้กันที่สุดในรอบ 15 – 17 ปี จะเป็นต�ำแหน่งในปลายเดือนสิงหาคมเสมอ
ดาวอังคารจะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 นี้ คืออยู่ห่างโลก 0.38496 หน่วยดาราศาสตร์
ท�ำให้เชิงมุมมีขนาด 24.2 พิลิปดา และมีโชติมาตรปรากฏ -2.8 ดาวอังคารในช่วงนั้นจึงปรากฏสว่างยิ่งกว่าดาวพฤหัสบดี
แต่สว่างน้อยกว่าดาวศุกร์ ซึ่งเป็นดาวประจ�ำเมือง ที่เห็นอยู่ทางทิศตะวันตกในเวลาพลบค�่ำ ขณะเดียวกันดาวอังคารจะมี
สีแดงสุกสว่างทางตะวันออก

เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018


นอกจากในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 จะเห็นดาวอังคารสว่างสุกใสแล้ว ยังเห็นปรากฏการณ์จนั ทรุปราคา
เต็มดวงด้วย โดยจะเห็นในเวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 จึงตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018
เวลาของการเกิดจันทรุปราคาที่เห็นได้ทั่วประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
ก. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน : วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 01:24:27 น.
ข. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง : วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 02:30:15 น.
ค. กึ่งกลางของการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง : วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 03:21:44 น.
ง. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง : วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 04:13:11 น.
จ. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน : วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 05:19:00 น.

ที่มา https://danspace77.com/2018/01/28/total-lunar- ภาพ 5 การจ�ำลองการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง


eclipse-this-week/ ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018
ที่มา http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/2214/

นิตยสาร สสวท
44
ดาวเคราะห์บนท้องฟ้าเวลาหัวค�่ำของวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018
วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค�่ำเดือน 8 ครั้งที่ 2 ตรงกับวันอาสาฬหบูชา บนท้องฟ้าเวลาค�่ำ
เป็นท้องฟ้าที่สวยงาม มีดวงจันทร์และดาวเคราะห์ดวงสว่างเรียงกันเป็นเส้นโค้งตามแนวสุริยวิถี จากทิศตะวันตกมาทาง
ทิศตะวันออก คือ
ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.2) เป็นดาวประจ�ำเมืองที่โดดเด่นอยู่ทางทิศตะวันตก
ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.3) เป็นดาวที่อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศใต้มีมุมเงยประมาณ 60 องศา ในกลุ่มดาวคันชั่ง
ดาวเสาร์ (โชติมาตร 0.2) อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู เส้นโค้งขีดผ่านดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะผ่านดาวเสาร์
โดยดาวเสาร์จะอยู่ห่างดาวพฤหัสบดีไปทางตะวันออกประมาณ 30 องศา
ดาวอังคาร (โชติมาตร -2.8) อยูใ่ นกลุม่ ดาวมกร ปรากฏมีสแี ดง สว่างอยูใ่ กล้ๆ ดวงจันทร์ ซึง่ อยูใ่ กล้ขอบฟ้าตะวันออก
ดาวอังคารสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แต่สว่างน้อยกว่าดาวศุกร์และดวงจันทร์
ดวงจันทร์ เป็นจันทร์เพ็ญอยู่ใกล้ดาวอังคาร อยู่บนเส้นโค้งที่ลากผ่านดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์
ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์เรียงกันคล้ายเป็นสร้อยเพชรบนฟ้าเช่นนี้จึงดูสวยงามยิ่ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://bit.ly/211-v3

บรรณานุกรม
จันทรุปราคาเต็มดวง. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561, จาก http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/2214/.
ดาวเสาร์อยู่ใกล้โลกที่สุด. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561, จาก https://www.ianridpath.com/saturn.html.
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561, จาก https://danspace77.com/2018/01/28/total-lunar-eclipse-this-week/.
ระยะใกล้กันที่สุดของโลกกับดาวเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561, จาก https://www.ianridpath.com/jupiter.html.

45 ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561

You might also like