You are on page 1of 50

การท่องเที่ยวดาราศาสตร์ (astronomical tourism)

พงศธร กิจเวช (อัฐ)


Facebook: คนดูดาว Stargazer https://www.facebook.com/khondudao/
16 ตุลาคม 2561

ภาพทางช้างเผือก (Milky Way) ที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง


จังหวัดเชียงใหม่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 โดย วชิระ โธมัส ภาพนี้ได้รางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2560
ประเภทภาพถ่ายวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ จัดโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพนี้ยังส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตำบลออนใต้อีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จมาทรงเปิดอ่างเก็บน้ำแห่่งนี้เมื่อปี 2526
ขออนุญาตเจ้าของภาพเรียบร้อยแล้ว ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
ที่มา https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.1559204477476494/1559207980809477/?type=3&theater

ภาพประกอบทั้งหมดในบทความนี้เพื่อการศึกษาเท่านั้น ขอขอบพระคุณเจ้าของภาพทุกท่าน
All pictures are for education only. Thanks.

1
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าให้ รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์
แห่งชาติ เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเคยรับสั่งว่า ถ้าท่านไม่เป็นพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยากจะเป็น
นักดาราศาสตร์ และมีหอดูดาวที่เชียงใหม่ ในคลิปวีดิโอรายการ “ที่นี่ Thai PBS” นาทีที่ 2:00-3:00
https://www.youtube.com/watch?v=XaKWFkmmd2Q

ภาพ “ในหลวงและดวงดาว” โดย Lovecumentary


ภาพวาดเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติออนไลน์ www.king9moment.com
ขออนุญาตเจ้าของภาพเรียบร้อยแล้ว ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
ที่มา https://www.facebook.com/Lovecumentary/photos/a.436092426592840/604917076377040/?type=3&theater

2
ภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตรดาวศุกร์ในเวลากลางวันด้วยกล้องโทรทรรศน์
ที่หอดูดาว ตึกฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2501
ที่มา หนังสือ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยุคทองของดาราศาสตร์ไทย โดย บุญรักษา สุนทรธรรม และ
ไพรัช ธัชยพงษ์ จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชุด พระมหากษัตริย์กับดาราศาสตร์ไทย 2555
ISBN 978-974-7622-72-0 หน้า 19

3
ภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเปิดท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
18 สิงหาคม 2507
ที่มา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ - Bangkok Planetarium
https://www.facebook.com/bkkplanetarium/photos/a.716587221708343/2158519470848437/?type=3&theater

4
ภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงถ่ายภาพดาวอังคารและดาวหางลิเนียร์ เอ 2 ที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2544
ที่มา หนังสือ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยุคทองของดาราศาสตร์ไทย โดย บุญรักษา สุนทรธรรม และ
ไพรัช ธัชยพงษ์ จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชุด พระมหากษัตริย์กับดาราศาสตร์ไทย 2555
ISBN 978-974-7622-72-0 หน้า 15

5
เพลงพระราชนิพนธ์ที่เกี่ยวกับดาว ทำนองโดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวบรวมโดย พงศธร กิจเวช (อัฐ)

ลำดับ เพลง ผู้แต่งคำร้อง ปี ชื่อ เนื้อ คำที่ใช้

3 ยามเย็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2489 / ทินกร

4 Love at Sundown ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา 2489 / / sundown, sunlight, sunbeam, Sun

6 Falling Rain พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2489 / sunlight


และ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา

7 ใกล้รุ่ง ประเสริฐ ณ นคร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2489 / ตะวัน

8 Near Dawn ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา 2489 / Moon, stars

10 ชะตาชีวิต ประเสริฐ ณ นคร 2490 / ตะวัน

12 ดวงใจกับความรัก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2490 / ดารา, แสงดาว, แสงดวงจันทรา, ดวงดารา, จันทร์, เดือน,
ดวงดาว, แสงดวงตะวัน, แสงเดือน, แสงดาว, ดวงเดือน,
แสงตะวัน, ตะวัน, ดาวล้อมเดือน, ดวงตะวัน

14 Blue Day พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2492 / sunshine, Sun, Moon

15 อาทิตย์อับแสง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2492 / / อาทิตย์, สุริยา

17 เทวาพาคู่ฝัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2492 / ตะวัน, ดวงจันทร์, เดือน

21 Lovelight in My Heart พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2492 / stars, sunshine

25 รักคืนเรือน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2495 / จันทร์, จันทร์แรม, เดือน. ดวงจันทร์

26 Twilight พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2495 / Sun, Moon, moonlight, sunbeam, moonbeam

27 ยามค่ำ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2495 / แสงเดือน, หมู่ดาว

31 I Never Dream พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2497 / Sun, Moon

32 เมื่อโสมส่อง ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา 2497 / / โสม, ดารา, แสงจันทร์

33 Love in Spring พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2497 / Moon

40 Lullaby พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2498 / Moon, stars, sunbeams


และ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา

41 ค่ำแล้ว ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา 2498 / สุริยา, จันทร์, ดารา

44 When Raul Manglapus 2500 / Stars

47 Magic Beams พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2501 / Moon

48 แสงเดือน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ 2501 / / แสงเดือน, แสงจันทรา, เดือน, แสงจันทร์เพ็ญ

51 เพลินภูพิงค์ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (2509) 2502 / แสงดวงสุริยา, เดือนเคียงดาว

63 ในดวงใจนิรันดร์ ประเสริฐ ณ นคร 2508 / อาทิตย์

65 เตือนใจ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ 2508 / แสงเดือน

66 No Moon พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 2508 / / Moon, moonlight, stars, starlight

67 ไร้จันทร์ อาจินต์ ปัญจพรรค์ 2508 / / จันทร์, แสงโสม, ดาว, ดารา

68 ไร้เดือน ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ 2508 / / เดือน, ดาว

70 เกาะในฝัน ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ 2508 / แสงจันทร์, หมู่ดาว

72 แว่ว ประเสริฐ ณ นคร 2508 / จันทรา

78 รัก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2537 / ดารา

เพลงพระราชนิพนธ์ 31 เพลง คิดเป็น 43% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีเนื้อร้อง มีชื่อหรือเนื้อเพลงเกี่ยวกับดาว

6
เพลงพระราชนิพนธ์ No Moon และ ไร้จันทร์
ที่มา หนังสือ ดนตรีจากพระราชหฤทัย ศูนย์รวมใจแห่งปวงชน จัดทำโดย คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือ
รวมเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2539 ISBN 974-7773-55-4 หน้า 166-167

7
ภาพปกหนังสือ เจ้าฟ้านักดาราศาสตร์ โดย บุญรักษา สุนทรธรรม จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 2559
ISBN 978-616-12-0455-6
เป็นหนังสือรวบรวมพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในภาพทรงกำลังถ่ายภาพสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เมืองเตอร์นาเต ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559
ที่มา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/1242080799188865/?type=3&theater

ในหนังสือ “ดุจดวงตะวัน” พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับ


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตอนหนึ่งว่า
“ในการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานโดยทางรถยนต์ เมื่อข้าพเจ้ามีอายุได้ประมาณ 7-8 ปี และได้โดยเสด็จ
ในรถด้วย ก็มักจะทรงสอนข้าพเจ้าและพี่ ๆ ให้รู้จักวิธีการคำนวณเวลาจากระยะทางและความเร็ว สภาพภูมิประเทศที่เห็น
ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะทรงสอนให้รู้จักดาวต่าง ๆ ในท้องฟ้า”
ที่มา หนังสือ ดุจดวงตะวัน พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พิมพ์ครั้งที่ 11 จัดพิมพ์โดย นานมีบุ๊คส์ 2559 ISBN 974-472-300-9 หน้า 46
8
การท่องเที่ยวดาราศาสตร์ (astronomical tourism)
ความหมาย
คือการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับวิชาดาราศาสตร์

ประวัติความเป็นมา
การท่องเที่ยวดาราศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและได้สาระความรู้ แต่ยังคงเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย แม้ว่าจะมีองค์กรเคยจัดงาน
เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดโครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน เมื่อปี 2552 ได้ทำคลิปวีดิโอประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์
โดยมีเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ นักร้องนักแสดงชื่อดัง มาชวนไปดูดาวที่มอหินขาว จังหวัดชัยภูมิ
สมาคมดาราศาสตร์ไทยจัดกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจรทุกปี และยังมีกลุ่มอื่น ๆ จัดบ้าง แต่กิจกรรมท่องเที่ยวดาราศาสตร์ยัง
ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายไปเท่าที่ควร
ดาราศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ โลก และจักรวาล เป็นวิชาที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญ
จึงได้บรรจุวิชาดาราศาสตร์ไว้ในหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยให้เรียนวิชาดาราศาสตร์ตั้งแต่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หมายความว่าเด็กในประเทศไทยทุกคนควรมีความรู้ดาราศาสตร์ แต่จนถึงปัจจุบัน
หนังสือ วารสาร เว็บไซต์ สื่อความรู้อื่น ๆ และบุคลากรด้านดาราศาสตร์ของไทยยังมีอยู่ไม่มาก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทั้งสองพระองค์ทรงสนพระทัยวิชาดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่เสด็จทอดพระเนตรหรือทรงถ่ายภาพ
ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เสด็จไปหอดูดาว ท้องฟ้าจำลอง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่น่าสนใจมากอย่างหนึ่งคือเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจำนวนมากถึง 31 เพลง
คิดเป็น 43% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีเนื้อร้อง มีชื่อหรือเนื้อเพลงเกี่ยวกับดาว
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานชื่อหอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2539
เป็นหอดูดาวในภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย และอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อำเภอแม่ริม
จังหวัดเชียงใหม่
นับตั้งแต่ปี 2541 ที่มีข่าวแพร่หลายเรื่องปรากฏการณ์พายุฝนดาวตกสิงโต (Leonid meteor storm) ทำให้คนไทยเริ่ม
สนใจปรากฏการณ์ดาราศาสตร์มากขึ้น จนถึงปัจจุบันก็มักมีข่าวปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ทางสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์, วารสาร,
โทรทัศน์, เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook, LINE, Twitter, YouTube ฯลฯ จึงเป็นโอกาสดีที่จะมีการจัด
กิจกรรมท่องเที่ยวดาราศาสตร์

9
“ถ้าเบิร์ดเลือกได้
เบิร์ดจะเลือกเที่ยวที่แปลก ๆ
ให้เหมือนหลุดเข้าไปในเทพนิยาย
ที่ที่มีดาวทั้งจักรวาลอยู่รอบ ๆ ตัวเรา
แล้วมันจะมีไหมที่แบบนี้?”

“แล้วเบิร์ดก็รู้ว่าที่แบบนี้มีอยู่จริงในเมืองไทยของเรา”

“ร้อยล้านดาวกับมหัศจรรย์แห่งหิน หนึ่งในมหัศจรรย์เมืองไทย ต้องไปสัมผัส 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ชวนดูดาวที่มอหินขาว จังหวัดชัยภูมิ ในคลิปวีดิโอประชาสัมพันธ์โครงการ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน


ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2552
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=WVN9xqiQtDU

10
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
ที่มา http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75
จะเห็นได้ว่าเด็กไทยจะได้เรียนดาราศาสตร์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

11
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสถานที่ที่น่าสนใจทางดาราศาสตร์ในประเทศไทย
2. เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิชาดาราศาสตร์
3. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ
4. เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหามลภาวะแสง (light pollution)
5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจตัวเอง เข้าใจธรรมชาติ โลกและจักรวาล
6. เพื่อส่งเสริมธรรมะของศาสนาต่าง ๆ เช่น ความไม่เที่ยง ความรัก ความเมตตา ความถ่อมตน ฯลฯ

ประเภท
1. การท่องเที่ยวสถานที่เกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เช่น แสงอาทิตย์ส่องลอดประตูปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
2. การท่องเที่ยวสถานที่ปฏิบัติงานดาราศาสตร์ เช่น หอดูดาว
3. การท่องเที่ยวสถานที่ให้ความรู้ทางดาราศาสตร์ เช่น ท้องฟ้าจำลอง
4. การท่องเที่ยวสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ เช่น บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา (ปัจจุบันเป็น
“อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์”)
5. การท่องเที่ยวสถานที่ที่ปรากฏในวรรณกรรม, ภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์, บทเพลง หรือศิลปะสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ดาราศาสตร์ เช่น พระที่นั่งไกรสรสีหราช (หรือ พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักทะเลชุบศร) ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ทอดพระเนตรจันทรุปราคาในเรื่องบุพเพสันนิวาส
6. การท่องเที่ยวสถานที่จัดกิจกรรมดูดาว (star party)
7. การท่องเที่ยวเพื่อถ่ายภาพดาราศาสตร์ (astrophotography)

12
ตัวอย่างวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ (ทั้งหมดนี้เห็นได้ด้วยตาเปล่า)
• ดวงอาทิตย์ (Sun) และสุริยุปราคา (solar eclipse)
• ดวงจันทร์ (Moon) และจันทรุปราคา (lunar eclipse)
• ดาวเคราะห์ที่เป็นชื่อวันคือ ดาวอังคาร (Mars), ดาวพุธ (Mercury), ดาวพฤหัสบดี (Jupiter), ดาวศุกร์ (Venus)
และดาวเสาร์ (Saturn)
• ดาวเหนือ (Polaris)
• ดาวโจร (Sirius)
• ดาวเต่า
• ดาวไถ
• ดาวจระเข้
• กระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades)
• กลุ่มดาวจักรราศี (zodiac) 12 กลุ่ม
• ทางช้างเผือก (Milky Way)
• ดาราจักรหรือกาแล็กซีแอนดรอเมดา (Andromeda Galaxy)
• เนบิวลานายพราน (Orion Nebula)
• ดาวตก และฝนดาวตก (meteor shower)
• ดาวหาง (comet)
• สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station ย่อว่า ISS)
• กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope ย่อว่า HST)
• ดาวเทียม (satellite)
• ปรากฏการณ์ดาวเทียมสว่างวาบ (Iridium flare)
• ฯลฯ

13
ภาพดาวเสาร์ (Saturn) ถ่ายจากยานอวกาศ Cassini เราสามารถเห็นดาวเสาร์ด้วยตาเปล่า แต่จะไม่เห็นวงแหวน ต้องใช้กล้องดูดาวที่
มีกำลังขยายมากกว่า 30 เท่าขึ้นไปจึงจะเห็นวงแหวนได้ ภาพที่เห็นจากกล้องดูดาวอาจไม่เห็นรายละเอียดเท่าภาพที่ถ่ายจาก
ยานอวกาศนี้
ที่มาภาพ
https://solarsystem.nasa.gov/resources/210/saturn-approaching-northern-summer/?category=planets_saturn

14
ภาพกระจุกดาวลูกไก่ (Pleiades) หรือ M45 ในกลุ่มดาววัว (Taurus) ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space
Telescope ย่อว่า HST) เมื่อมองด้วยตาเปล่าอาจเห็น 6-7 ดวง แต่เมื่อมองด้วยกล้องดูดาวจะเห็นดาวเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ที่มาภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Pleiades
ต้นฉบับ http://hubblesite.org/image/1562/news_release/2004-20

15
ภาพเนบิวลานายพราน (Orion Nebula) หรือ M42 ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope ย่อว่า
HST) สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน (Orion) หรือคนไทยเรียกว่า ดาวเต่า
ที่มา http://hubblesite.org/image/1826/news_release/2006-01

16
ภาพดาราจักรหรือกาแล็กซีแอนดรอเมดา (Andromeda Galaxy) หรือ M31 ถ่ายโดย Robert Gendler
สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา (Andromeda)
ที่มา https://apod.nasa.gov/apod/ap150830.html

17
ภาพสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station ย่อว่า ISS) ถ่ายเมื่อ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2010
ที่มาภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/International_Space_Station
ต้นฉบับ https://spaceflight.nasa.gov/gallery/images/shuttle/sts-132/html/s132e012208.html

นอกจากดาวต่าง ๆ แล้ว เรายังมีโอกาสเห็นสถานีอวกาศและดาวเทียมบางดวงได้ด้วยตาเปล่า รวมทั้งปรากฏการณ์ดาวเทียม


สว่างวาบ (Iridium flare) ที่เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนแผงดาวเทียมเกิดแสงสว่างจ้าวาบขึ้นบนท้องฟ้า น่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่ง และ
เห็นได้แม้ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ
เราสามารถใช้แอปมือถือหรือเว็บไซต์ Heavens-Above https://www.heavens-above.com/ คำนวณได้ว่าจะผ่านมาให้
เห็นวันเวลาใด? ทิศทางไหน? ความสว่างมากน้อยแค่ไหน? เนื่องจากดาวเทียมและสถานีอวกาศอาจปรับเปลี่ยนวงโคจรได้ ดังนั้นจึงควร
ตรวจสอบบ่อย ๆ

18
ภาพการพยากรณ์ว่าสถานีอวกาศ ISS จะผ่านเชียงใหม่ วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2018
ที่มา Heavens-Above https://www.heavens-above.com/

19
ภาพประชาสัมพันธ์งาน “รฦกนารายณ์มหาราช ย้อนอรุณรุ่งแห่งดาราศาสตร์ 330 ปี” 30 เมษายน 2561 พระนารายณ์ราชนิเวศน์
จังหวัดลพบุรี จัดโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/1803330553063884/?type=3&theater

การท่องเที่ยวดาราศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเฉพาะวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว สามารถเชื่อมโยงประวัติศาสตร์
วรรณกรรม ละครโทรทัศน์ ดนตรี วัฒนธรรมการแต่งกาย ไว้ด้วยกัน อย่างงานนี้

20
ภาพกิจกรรมดูดาวในงาน “รฦกนารายณ์มหาราช ย้อนอรุณรุ่งแห่งดาราศาสตร์ 330 ปี” 30 เมษายน 2561 พระนารายณ์ราชนิเวศน์
จังหวัดลพบุรี จัดโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/pg/NARITpage/photos/?tab=album&album_id=1805919382805001
และ https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.1805919382805001/1805919832804956/?type=3&theater

21
ภาพหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือหอดูดาวแห่งชาติ (Thai National Observatory ย่อว่า TNO)
เปิด 22 มกราคม 2556 ตั้งอยู่ที่ดอยอินทนท์ จังหวัดเชียงใหม่ มีกล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.4 เมตร ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.1032762160120731/1032765450120402/?type=3&theater

ภาพกล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.4 เมตร ในหอดูดาวแห่งชาติ จากกิจกรรมเปิดบ้านหอดูดาวแห่งชาติ 6 มกราคม 2561


ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/pg/NARITpage/photos/?tab=album&album_id=1688328687897405
และ https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.1688328687897405/1688329384564002/?type=3&theater
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอดูดาวแห่งชาติ http://www.narit.or.th/index.php/tno ทุกปีจะมีกิจกรรมเปิดบ้าน (Open House)
ให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปดูดาวตอนกลางคืนที่หอดูดาวแห่งชาติ (ปกติสามารถเข้าดูได้เฉพาะตอนกลางวัน) ครั้งต่อไปคือ 5 มกราคม
2562 และ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ฟรี รับจำนวนจำกัด ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.narit.or.th/index.php/public/openhouse
22
ภาพประชาสัมพันธ์ขอเชิญเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ
7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561
ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.343305565733064/1694576547272619/?type=3&theater

หอดูดาวที่ฉะเชิงเทราเป็นหอดูดาวที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เดินทางสะดวก มีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร


ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ (รองจากหอดูดาวแห่งชาติ บนดอยอินทนนท์ เชียงใหม่) มีท้องฟ้าจำลอง นิทรรศการ
สถานที่กว้างขวาง สามารถพักค้างแรม (มีเต็นท์บริการฟรี) ทุกคืนวันเสาร์ 18:00-22:00 น. จัดกิจกรรมดูดาวฟรี

23
รายละเอียดการให้บริการของหอดูดาวที่นครราชสีมาและฉะเชิงเทรา ข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2561
ที่มาภาพ: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/2034756843254586/?type=3&theater

24
วันเวลา
การท่องเที่ยวดาราศาสตร์สามารถจัดได้ทุกวันเวลาตลอดปี ช่วงฤดูหนาว ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
(กำหนดโดยกรมอุตุนิยมวิทยา) มีโอกาสเห็นดาวบนท้องฟ้ามากที่สุด เนื่องจากมักมีเมฆน้อย อากาศเย็นช่วยทำให้ท้องฟ้าแจ่มใสหรือ
ท้องฟ้าโปร่ง นอกจากนี้ในฤดูหนาวกลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน นานที่สุดวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม (แล้วแต่ปี) ตัวอย่างเช่น
ปี 2562 จะนานที่สุดวันที่ 22 ธันวาคม กลางวัน 11 ชั่วโมง กลางคืนนาน 13 ชั่วโมง (รวมช่วงสนธยา)
ฤดูร้อนประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ท้องฟ้ามักมีฝุ่นละอองในอากาศมากกว่าในฤดูหนาว ทำให้
ท้องฟ้าไม่ใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมในภาคเหนือจะมีมลพิษหมอกควันซึ่งเกิดจากการเผาพิืชไร่นาเป็นหลัก
ในบางวันปริมาณมลพิษหมอกควันอาจมีค่าฝุ่นละอองสูงกว่าค่ามาตรฐาน มีผลกระทบต่อสุขภาพ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมจึงอาจ
ไม่เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมท่องเที่ยวดาราศาสตร์ในภาคเหนือ
ฤดูฝนประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ท้องฟ้ามักมีเมฆมาก บางครั้งเมฆอาจเต็มท้องฟ้า ไม่เห็นแม้แต่
ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ยิ่งกว่านั้นอาจมีฝนตก จึงอาจไม่เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
อย่างไรก็ตามสภาพอากาศปัจจุบันมีความแปรปรวนมากขึ้น ฤดูหนาวก็อาจมีฝนตกไม่เห็นดาว ฤดูฝนก็อาจมีคืนที่เมฆน้อย
ท้องฟ้าโปร่ง และหากท้องฟ้าเปิดหลังฝนตก ท้องฟ้าจะใสเป็นพิเศษ เนื่องจากน้ำฝนได้ช่วยชะล้างฝุ่นละอองในอากาศลงมา
มีคำกล่าวว่า “คนคำนวณมิสู้ฟ้าลิขิต” แม้จะวางแผนเตรียมการเป็นอย่างดี แต่สภาพท้องฟ้าอาจไม่เป็นใจ ดังนั้นกิจกรรม
ท่องเที่ยวดาราศาสตร์จะช่วยให้เตรียมใจเผื่อใจไว้สำหรับสิ่งที่คาดไม่ถึง

กราฟปริมาณน้ำฝนแต่ละเดือน ในช่วง 30 ปี ค.ศ. 1981-2010 (พ.ศ. 2524-2553) จะเห็นว่ามีโอกาสที่ฝนจะตกได้ทุกเดือน


เดือนที่ฝนตกมากที่สุดคือเดือนกันยายน
ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th/climate/climate.php?FileID=7

25
เนื่องจากแกนโลกเอียง 23.5 องศา และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ และทำให้เวลาขึ้นและตก
ของดวงอาทิตย์แต่ละวันอาจแตกต่างกัน ระยะเวลากลางวันและกลางคืนอาจนานไม่เท่ากัน มีผลต่อการกำหนดเวลากิจกรรมด้วย
หลังจากดวงอาทิตย์เพิ่งตกจะเห็นว่าท้องฟ้ายังไม่มืดสนิททันที เราเรียกว่าช่วงสนธยา (twilight) หรือบางทีก็เรียกว่า
โพล้เพล้ หรือ พลบค่ำ ช่วงสนธยานี้อาจเริ่มเห็นดาวบางดวงที่สว่างมาก ๆ เช่น ดาวศุกร์ (Venus) ท้องฟ้าจะค่อย ๆ มืดลง และค่อย ๆ
เห็นดาวมากขึ้นเรื่อย ๆ ท้องฟ้าจะมืดสนิทเข้าสู่กลางคืนอย่างแท้จริงเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้ามากกว่า 18 องศา หรือสิ้นสุด
สนธยาดาราศาสตร์ (astronomical twilight) ประมาณชั่วโมงกว่าหลังดวงอาทิตย์ตก จึงจะได้เห็นดาวเต็มที่
ในทางกลับกัน ช่วงเช้าจะเริ่มเข้าสู่สนธยาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ท้องฟ้าจะค่อย ๆ สว่างขึ้น และดาวก็ค่อย ๆ หายไปจนหมด

ตัวอย่างเวลาขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ปี 2562 ที่เชียงใหม่ (จังหวัดอื่น ๆ อาจแตกต่างจากนี้ ดูตารางถัดไป)


วันที่ สนธยาเริ่ม ดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงอาทิตย์ตก สนธยาสิ้นสุด กลางวันนาน หมายเหตุ
21 มีนาคม 2562 05:15 06:28 18:35 19:48 12:07 วันวสันตวิษุวัต (vernal equinox)
กลางวันและกลางคืนนานใกล้เคียงกัน
21 มิถุนายน 2562 04:05 05:48 19:04 20:27 13:16 วันครีษมายัน (summer solstice)
กลางวันนานกว่ากลางคืน
23 กันยายน 2562 05:00 06:13 18:20 19:33 12:07 วันศารทวิษุวัต (autumnal equinox)
กลางวันและกลางคืนนานใกล้เคียงกัน
22 ธันวาคม 2562 05:34 06:52 17:52 19:11 11:00 วันเหมายัน (winter solstice)
กลางคืนนานกว่ากลางวัน

ข้อมูลจาก Heavens-Above https://www.heavens-above.com/


นอกจากนี้ยังสามารถดูเวลาขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้จากเว็บสมาคมดาราศาสตร์ไทย (แยกตามจังหวัด)
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/sunmoon/riseset.html
หรือกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ http://www.hydro.navy.mi.th/servicesSun_Moon.html หรือดูจากแอปดูดาว

ตัวอย่างเปรียบเทียบเวลาขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ จังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี กรุงเทพฯ และยะลา วันที่ 22 ธันวาคม 2562


จังหวัด ดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงอาทิตย์ตก กลางวันนาน หมายเหตุ
เชียงราย 06:51 17:47 10:56 ภาคเหนือสุด
อุบลราชธานี 06:22 17:36 11:14 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตะวันออกสุด)
กรุงเทพฯ 06:37 17:56 11:19 ภาคกลาง
ยะลา 06:21 18:06 11:35 ภาคใต้สุด
ข้อมูลจาก Heavens-Above https://www.heavens-above.com/

26
สิ่งสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับการจัดกิจกรรมดูดาวเวลากลางคืนนั่นคือดวงจันทร์ หากดวงจันทร์ยิ่งมีขนาดใหญ่
จะยิ่งสว่าง และจะยิ่งเห็นดาวน้อยลง แม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเป็นเสี้ยวแต่แสงจันทร์ก็อาจข่มแสงดาว จากตารางและภาพด้านล่าง
จะเห็นว่าวันที่ 5 ไม่เห็นดวงจันทร์ จากนั้นดวงจันทร์ค่อย ๆ ปรากฏเป็นเสี้ยวหนาขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มดวงวันที่ 19 หลังจากนั้น
ดวงจันทร์จะค่อย ๆ แหว่งมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมองไม่เห็นอีกครั้ง เป็นวัฏจักรเช่นนี้ไป ดังนั้นการวางแผนดูดาวจำเป็นต้องดูขนาดและ
เวลาขึ้น-ตกของดวงจันทร์

ตัวอย่างเวลาขึ้น-ตกของดวงจันทร์ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่เชียงใหม่ (จังหวัดอื่น ๆ อาจแตกต่างจากนี้)


วันที่ ดวงจันทร์ขึ้น ดวงจันทร์ตก ข้าง ขนาดดวงจันทร์ (เวลา) หมายเหตุ
5 กุมภาพันธ์ 2562 07:11 18:44 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 0% (04:04) วันตรุษจีน ไม่เห็นดวงจันทร์ (new moon)
13 กุมภาพันธ์ 2562 12:17 00:33 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 50% (05:26) ดวงจันทร์ครึ่งดวง (first quater)
19 กุมภาพันธ์ 2562 18:11 06:26 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 100% (22:53) วันมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวง (full moon)
26 กุมภาพันธ์ 2562 00:11 11:48 แรม 7 ค่ำ เดือน 3 50% (18:28) ดวงจันทร์ครึ่งดวง (last quater)

ข้อมูลจาก Heavens-Above https://www.heavens-above.com/


และ ปฏิทิน มายโหรา https://www.myhora.com/

ภาพดวงจันทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562)


ที่มา http://www.moonconnection.com/moon_phases_calendar.phtml

27
ภาพดวงจันทร์วันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2018 ทุกปี NASA จะทำคลิปวีดิโอแสดงลักษณะของดวงจันทร์ในแต่ละวัน
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=FBWeSN66z9M

ดวงจันทร์อาจเป็นอุปสรรคสำหรับการดูดาว แต่ดวงจันทร์เองก็น่าสนใจ และสามารถเห็นได้ทุกแห่ง แม้ในเมืองที่มี


มลพิษแสงมากอย่างกรุงเทพฯ (ขอเพียงเมฆไม่บัง) เมื่อใช้กล้องดูดาวส่องดวงจันทร์จะเห็นหลุมและภูมิประเทศน่าตื่นตาตื่นใจ
(ทุกหลุมและภูมิประเทศบนดวงจันทร์นั้นมีการตั้งชื่อไว้หมดแล้ว)
ถ้าดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเล็กกว่าครึ่งดวงจะเห็นหลุมชัดเจนกว่าดวงจันทร์เต็มดวง เนื่องจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมาที่ดวงจันทร์
จะเป็นแสงที่ส่องมาทางด้านข้างของดวงจันทร์ ตอนดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเงาปากหลุมจึงทอดไปยาวไกล แต่เมื่อดวงจันทร์เต็มดวง
แสงอาทิตย์ส่องตรง ๆ มาที่ดวงจันทร์ เงาหลุมจึงสั้นหรือไม่มีเงา ลองดูคลิปวีดิโอข้างต้นแล้วลองสังเกตเงาหลุมต่าง ๆ (แสงจันทร์ก็คือ
แสงอาทิตย์ที่สะท้อนดวงจันทร์มาเข้าตาเรานั่นเอง ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์แล้วดวงจันทร์ก็จะกลายเป็นเพียงลูกหินมืด ๆ)
ยังมีปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงจันทร์คือ สุริยุปราคาหรือสุริยคราส (solar eclipse) และจันทรุปราคาหรือจันทรคราส
(lunar eclipse) ในทางวิชาการนิยมเรียกว่า สุริยุปราคาและจันทรุปราคา มากกว่าสุริยคราสและจันทรคราส รากศัพท์ “สุริยะ
(solar)” แปลว่า ดวงอาทิตย์ “จันทร- (lunar)” คือ ดวงจันทร์ “อุปราคา (eclipse)” แปลว่า การทำให้ดำ, การทำให้มีมลทิน
“คราส” แปลว่า กิน
สุริยุปราคาเกิดจากดวงจันทร์ไปบังดวงอาทิตย์ อาจบังบางส่วน (เห็นดวงอาทิตย์แหว่ง) เรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน (partial
solar eclipse) หรืออาจบังทั้งหมด (ไม่เห็นดวงอาทิตย์) เรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง (total solar eclipse) หรืออาจบังไม่มิดเห็น
ดวงอาทิตย์เหมือนแหวน เรียกว่า สุริยุปราคาวงแหวน (annular solar eclipse) หรืออาจเป็นแบบผสม (hybrid solar eclipse) คือ
บางที่เห็นแบบเต็มดวง บางที่เห็นแบบวงแหวน หาดูยากที่สุด สุริยุปราคาเต็มดวงมักเกิดไม่นาน คือไม่เกิน 7 นาที 32 วินาที
จันทรุปราคาเกิดจากดวงจันทร์เข้าไปในเงาของโลก (หากเราไปอยู่บนดวงจันทร์ขณะนั้นจะเห็นโลกมาบังดวงอาทิตย์)
ขณะเกิดจันทรุปราคาดวงจันทร์จะไม่มืดสนิทหรือไม่แหว่งเหมือนดวงอาทิตย์ตอนเกิดสุริยุปราคา แต่จะเห็นดวงจันทร์สีคล้ำขึ้นหรือ
ดวงจันทร์เป็นสีแดง หากดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวของโลก (เงามัวคือเงาที่ไม่มืดสนิท) ดวงจันทร์คล้ำลงเล็กน้อย เรียกว่า
จันทรุปราคาเงามัว (penumbral lunar eclipse) หากดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลกบางส่วน เรียกว่า จันทรุปราคาบางส่วน
(partial lunar eclipse) หากดวงจันทร์ทั้งดวงเข้าไปในเงามืดของโลกเรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง (total lunar eclipse)
ดวงจันทร์กลายเป็นสีแดงทั้งดวง จันทรุปราคาเต็มดวงอาจเกิดได้นานถึงชั่วโมงกว่า

28
ภาพลำดับการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง (total solar eclipse) 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)
ที่เมืองเตอร์นาเต ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน (partial solar eclipse)
ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/1063339257063021/?type=3&theater

เริ่มจากดวงอาทิตย์ค่อย ๆ แหว่ง เกิดเป็นสุริยุปราคาบางส่วน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะแสงอาทิตย์ยังคง


สว่างจ้า อาจทำให้ตาบอดได้ ต้องใช้แว่นดูดวงอาทิตย์ (solar viewer) โดยเฉพาะ ก่อนที่ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์จนเต็มดวงนั้น
จะเห็นปรากฏการณ์ลูกปัดเบลี (Baily’s beads) เกิดจากแสงอาทิตย์ส่องลอดผ่านภูเขา หุบเขา หรือหลุม ที่อยู่ตรงขอบดวงจันทร์
ทำให้เห็นเป็นเหมือนลูกปัด และจะได้เห็นปรากฏการณ์แหวนเพชร (diamond ring) แสงอาทิตย์ลำสุดท้ายส่องมาเป็นประกายคล้าย
แหวนเพชร ปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีและปรากฏการณ์แหวนเพชรเกิดขึ้นเพียงชั่วพริบตาไม่กี่วินาทีเท่านั้น เกิดได้ 2 ช่วงคือ ก่อนและ
หลังดวงอาทิตย์ถูกบังมิด หรือก่อนและหลังสุริยุปราคาเต็มดวง สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า สวยงามมาก
เมื่อดวงอาทิตย์ถูกบังมิดเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง จะเห็นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า คอโรนา (corona)
เป็นแสงสีขาวเงินอยู่รอบดวงอาทิตย์ ผมเคยเห็นของจริง 2 ครั้ง สวยงามน่าอัศจรรย์สุด ๆ สุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเห็นลักษณะ
คอโรนาไม่ซ้ำกันเลย เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ในภาพนี้ยังได้เห็นเปลวสุริยะ (prominence) เป็นเปลวไฟสีแดงลุกขึ้นจากดวงอาทิตย์
เราจะดูสุริยุปราคาเต็มดวงด้วยตาเปล่าเท่านั้น (ตอนนี้ห้ามใช้แว่น solar viewer) และไม่จำเป็นต้องใช้กล้องดูดาว ที่น่าสนใจอีกอย่าง
คือขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงมองไปบนท้องฟ้ารอบ ๆ จะสามารถมองเห็นดาวสว่างตอนกลางวันได้ด้วย และเห็นนกบินกลับรัง
ข้อควรระวังอีกอย่างคือ ช่วงเปลี่ยนจากสุริยุปราคาบางส่วนเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง ต้องดูเวลาให้ดี และรีบถอดแว่น
solar viewer มิเช่นนั้นจะไม่ได้เห็นปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีและปรากฏการณ์แหวนเพชร และช่วงเปลี่ยนจากสุริยุปราคาเต็มดวงเป็น
สุริยุปราคาบางส่วน เมื่อเห็นปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีและปรากฏการณ์แหวนเพชรแล้ว ต้องรีบกลับมาใส่แว่น solar viewer
ควรหาโอกาสดูสุริยุปราคาเต็มดวงให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ในประเทศไทยสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งล่าสุดเกิดเมื่อวันที่
24 ตุลาคม 2538 หรือ 23 ปีก่อน ครั้งต่อไป 11 เมษายน 2613 หรืออีก 52 ปี ถ้าไม่รอ ก็ต้องไปดูที่ประเทศอื่นแทน

29
ภาพจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งล่าสุดที่เห็นได้ในประเทศไทย 28 กรกฎาคม 2561 ถ่ายที่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ
พระชนมพรรษา สงขลา จะเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดง บางครั้งเรียกว่า ดวงจันทร์สีเลือด (blood moon)
ที่มา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396/1920845841312354/?type=3&theater

30
สุริยุปราคาในประเทศไทย
1. เต็มดวง
ครั้งล่าสุด 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) หรือ 23 ปีก่อน (เทียบกับปี 2561)
ครั้งต่อไป 11 เมษายน พ.ศ. 2613 (ค.ศ. 2070) หรืออีก 52 ปี

2. บางส่วน
ครั้งล่าสุด 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) หรือ 2 ปีก่อน
ครั้งต่อไป 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) หรือปีหน้า

3. วงแหวน
ครั้งล่าสุด 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) หรือ 53 ปีก่อน
ครั้งต่อไป 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2574 (ค.ศ. 2031) หรืออีก 13 ปี

จันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย
ครั้งล่าสุด 28 กรกฎาคม 2561 (ค.ศ. 2018) หรือปีนี้
ครั้งต่อไป 8 พฤศจิกายน 2565 (ค.ศ. 2022) หรืออีก 4 ปี

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาทั่วโลกอาจเกิดได้ปีละ 2-5 ครั้ง สำหรับประเทศไทยบางปีไม่เห็นสุริยุปราคาเลย


บางปีไม่เห็นจันทรุปราคาเต็มดวง ดังนั้นเมื่อเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาควรหาโอกาสชม

สุริยุปราคาและจันทรุปราคาจะเกิดเป็นคู่กัน ห่างกันประมาณ 15 วัน ตัวอย่างในปี 2561-2562


31 มกราคม 2561 จันทรุปราคาเต็มดวง เห็นได้ในประเทศไทย
16 กุมภาพันธ์ 2561 สุริยุปราคาบางส่วน ไม่เห็นในประเทศไทย
13 กรกฎาคม 2561 สุริยุปราคาบางส่วน ไม่เห็นในประเทศไทย
28 กรกฎาคม 2561 จันทรุปราคาเต็มดวง เห็นได้ในประเทศไทย
11 สิงหาคม 2561 สุริยุปราคาบางส่วน ไม่เห็นในประเทศไทย

6 มกราคม 2562 สุริยุปราคาบางส่วน ไม่เห็นในประเทศไทย


21 มกราคม 2562 จันทรุปราคาเต็มดวง ไม่เห็นในประเทศไทย
3 กรกฎาคม 2562 สุริยุปราคาเต็มดวง ไม่เห็นในประเทศไทย
17 กรกฎาคม 2562 จันทรุปราคาบางส่วน เห็นได้ในประเทศไทย
26 ธันวาคม 2562 สุริยุปราคาวงแหวน ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน

ข้อมูลจาก NASA Eclipse https://eclipse.gsfc.nasa.gov/eclipse.html


และ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ปรากฏการณ์ท้องฟ้า http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/index.php

31
ภาพแผนที่การเกิดสุริยุปราคาที่เกิดทั่วโลกช่วง 20 ปี ค.ศ. 2001-2020 (พ.ศ. 2544-2563) จะเห็นว่าไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวง,
สุริยุปราคาวงแหวน หรือสุริยุปราคาผสม เกิดในประเทศไทยเลย แต่ยังเห็นสุริยุปราคาบางส่วนรวม 10 ครั้ง คือ 11 มิถุนายน 2545,
19 มีนาคม 2550, 1 สิงหาคม 2551, 26 มกราคม 2552, 22 กรกฎาคม 2552, 15 มกราคม 2553, 21 พฤษภาคม 2555,
9 มีนาคม 2559, 26 ธันวาคม 2562 และ 21 มิถุนายน 2563
ที่มาภาพ NASA Eclipse https://eclipse.gsfc.nasa.gov/solar.html
และ https://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEatlas/SEatlas3/SEatlas2001.GIF

32
ภาพแผนที่การเกิดสุริยุปราคาวงแหวน (annular solar eclipse) วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562)
ประเทศไทยอยู่นอกแนวกึ่งกลางเงาจึงเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน (partial solar eclipse)
เวลาในภาพเป็นเวลาสากล (Universal Time ย่อว่า UT) ทำเป็นเวลาประเทศไทยโดยบวก 7 ชั่วโมง
ตัวอย่างเช่น เวลาเกิดสุริยุปราคามากที่สุด (greatest eclipse)
05:17:36.0 UT + 7 ชั่วโมง = 12:17:36.0 น. หรือเพื่อให้ง่ายอาจปัดเป็น 12:18 น. ตามเวลาประเทศไทย
U1 เริ่มสุริยุปราคาบางส่วน 03:34:24.2 UT หรือ 10:34 น. ตามเวลาประเทศไทย
U2 เริ่มสุริยุปราคาวงแหวน (ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน) 03:37:28.3 UT หรือ 10:37 น. ตามเวลาประเทศไทย
U3 สิ้นสุดสุริยุปราคาวงแหวน 06:56:43.4 UT หรือ 13:57 น. ตามเวลาประเทศไทย
U4 สิ้นสุดสุริยุปราคาบางส่วน 07:00:53.6 UT หรือ 14:01 น. ตามเวลาประเทศไทย
ที่มาภาพ NASA Eclipse https://eclipse.gsfc.nasa.gov/solar.html
และ https://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEplot/SEplot2001/SE2019Dec26A.GIF

33
ภาพจำลองการเกิดสุริยุปราคาบางส่วน (partial solar eclipse) วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 เวลา 12:17 น. ที่กรุงเทพฯ
ปรากฏการณ์นี้สามารถเห็นได้ทั่วประเทศไทย แต่สำหรับจังหวัดอื่น ๆ อาจแตกต่างไป จังหวัดที่ยิ่งอยู่ลงไปทางใต้ ดวงอาทิตย์จะยิ่ง
แหว่งมากกว่า จังหวัดที่ยิ่งอยู่เหนือ ดวงอาทิตย์จะยิ่งแหว่งน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น ยะลาจะแหว่งมากกว่าเชียงราย
ข้อควรระวังคือ ห้ามมองสุริยุปราคาบางส่วนด้วยตาเปล่า เพราะดวงอาทิตย์แม้จะถูกบังบางส่วน แต่ยังมีแสงสว่างจ้า
อาจทำให้ตาบอด ต้องใช้แว่นดูดวงอาทิตย์ (solar viewer) ที่ทำมาโดยเฉพาะ และได้มาตรฐาน ISO 12312-2 จึงจะปลอดภัย
ไม่สามารถใช้แว่นกันแดด แผ่นฟิล์ม หรือแผ่น CD และถึงแม้จะใช้แว่น solar viewer แล้ว แต่ก็ไม่ควรจ้องนาน และไม่ใช้แว่นที่เก่่าเกิน
3 ปี อาจต้องสั่งซื้อแว่นนี้จากต่างประเทศ (เช่นจาก Amazon) หรือตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย (เช่น TMK Trading จำหน่ายแว่น
ของ Celestron บริษัทผู้ผลิตกล้องดูดาวชื่อดัง) ถ้าไม่มีแว่นอาจดูทางอ้อม เช่น ดูเงาใต้ต้นไม้จะเห็นเป็นเสี้ยวดวงอาทิตย์แหว่ง หรือใช้
กระดาษเจาะรูแล้วดูเงาบนพื้น

ภาพจำลองโดยแอป Celestron Skyportal version 3.0.1.2, iPad 5th generation (2017), iOS 12.0.1

34
ภาพแสดงการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (partial lunar eclipse) 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) เห็นได้ในประเทศไทย
เวลาในภาพเป็นเวลาสากล (Universal Time ย่อว่า UT) ทำเป็นเวลาประเทศไทยโดยบวก 7 ชั่วโมง
ตัวอย่างเช่น เวลาเกิดจันทรุปราคามากที่สุด (greatest eclipse) หรือเข้าไปในเงามากที่สุด
21:30:43.5 UT + 7 ชั่วโมง = 28:30:43.5 น. เนื่องจากเกิน 24 นาฬิกา จึงต้องลบด้วย 24 อีกที
28:30:43.5 - 24 = 04:30:43.5 หรือเพื่อให้ง่ายอาจปัดเป็น 04:31 น. ตามเวลาประเทศไทย
และวันที่ 16 UT ก็ต้องบวก 1 วัน เป็นวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562)
P1 เริ่มจันทรุปราคาเงามัว 18:43:53 UT หรือ 01:44 น. ตามเวลาประเทศไทย
U1 เริ่มจันทรุปราคาบางส่วน 20:01:43 UT หรือ 03:02 น. ตามเวลาประเทศไทย
U4 สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 22:59:39 UT หรือ 06:00 น. ตามเวลาประเทศไทย
P4 สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว 00:17:36 UT หรือ 07:18 น. ตามเวลาประเทศไทย
ที่มาภาพ NASA Eclipse https://eclipse.gsfc.nasa.gov/lunar.html
และ https://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEplot/LEplot2001/LE2019Jul16P.pdf

35
เราอาจจัดกิจกรรมท่องเที่ยวดาราศาสตร์ให้ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า

ตัวอย่างปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในปี 2562
• วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids) 60-200 ดวงต่อชั่วโมง
• วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 supermoon ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุด ขนาดใหญ่มากที่สุด และสว่างมากที่สุดในรอบปี
• วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2562 ฝนดาวตกเอตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids) 40-85 ดวงต่อชั่วโมง มากที่สุดเวลา 21:00 น.
• วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562 ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก (Jupiter opposition) สว่างที่สุดในรอบปี เห็นได้ด้วยตาเปล่า
• วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2562 ดาวเสาร์ใกล้โลก (Saturn opposition) สว่างที่สุดในรอบปี เห็นได้ด้วยตาเปล่า
• วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2562 จันทรุปราคาบางส่วน (partial lunar eclipse) มากที่สุดเวลา 04:32 น.
• วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2562 ฝนดาวตกเพอร์เซียส (Perseids) 110 ดวงต่อชั่วโมง
• วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids) 140 ดวงต่อชั่วโมง
• วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 สุริยุปราคาบางส่วน (partial solar eclipse) มากที่สุดเวลา 12:18 น.

เรียบเรียงจาก NASA SKYCAL (Sky Events Calendar) https://eclipse.gsfc.nasa.gov/SKYCAL/SKYCAL.html


และองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization ย่อว่า IMO) https://www.imo.net/

36
สถานที่
กิจกรรมท่องเที่ยวดาราศาสตร์สามารถจัดได้ทุกสถานที่แม้แต่ในเมืองใหญ่ที่มีมลพิษแสง (light pollution) แสงไฟรบกวน
มากอย่างกรุงเทพฯ ก็ยังสามารถเห็นดวงอาทิตย์ (Sun), ดวงจันทร์ (Moon) และดาวที่สว่างมากบางดวงได้ เช่น ดาวศุกร์ (Venus),
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter), ดาวโจร (Sirius) ฯลฯ แต่อาจเห็นดาวทั้งหมดได้ไม่เกิน 50 ดวง
ถ้าต้องการเห็นดาวจำนวนมากจำเป็นต้องออกไปในที่ที่ไม่มีมลพิษแสงรบกวนมาก ในอุดมคติเราสามารถเห็นดาวด้วยตาเปล่า
ได้มากถึง 9,100 ดวง (อันดับความสว่าง, โชติมาตร หรือ magnitude 6.5)

ภาพแผนที่มลพิษแสง (light pollution) บริเวณกรุงเทพฯ และจังหวัดข้างเคียง บริเวณที่มืดคือที่เหมาะสำหรับดูดาว


ที่มา Blue Marble Navigator – Night lights 2012 https://blue-marble.de/nightlights/2012

ในบางประเทศมีการกำหนดเขตอนุรักษ์ฟ้ามืด (dark-sky preserve) ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์สำหรับการดูดาวแล้ว ยังเป็น


ประโยชน์ทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติ ลดผลกระทบของแสงไฟที่มีต่อระบบนิเวศ พืช สัตว์ แมลง ลดการใช้พลังงานที่เกินจำเป็น และเป็น
ผลดีต่อสุขภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ International Dark-Sky Association http://darksky.org/ สำหรับประเทศไทยทาง
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เริ่มให้ความสำคัญโดยกำลังเริ่มที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

สถานที่ที่เหมาะสำหรับดูดาวคือ มืด กว้าง โล่ง เงียบ สูง และปลอดภัย


ความเงียบสงบสงัดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการสร้างความรู้สึกดื่มด่ำกับธรรมชาติ และสำหรับบางปรากฏการณ์เช่น
ฝนดาวตกอาจช่วยให้ได้ยินเสียงดาวตกบางดวงที่เป็นลูกไฟ (fireball) ขนาดใหญ่ได้
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 2,000 เมตร ขึ้นไป ท้องฟ้าจะใส เนื่องจากฝุ่นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความสูงไม่เกิน 2,000
เมตร เมื่อขึ้นไปบนภูเขาที่สูงกว่า 2,000 เมตร เมื่อมองไปที่ขอบฟ้า อาจจะเห็นเส้นแนวฝุ่นเหนือเส้นขอบฟ้า อย่างไรก็ตามบนภูเขาสูง
บางครั้งอาจมีเมฆผ่าน (ตัวเราเข้าไปอยู่ในเมฆ) หรือมีหมอกเนื่องจากความชื้น อากาศหนาวเย็น บางแห่งอาจมีลมแรง อากาศเบาบาง
อาจมีบางคนมีอาการแพ้ที่สูง (altitude sickness) เช่น ปวดหัว เวียนหัวเหมือนจะเป็นลม หายใจไม่ทัน เหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ
ต้องระวังเรื่องสุขภาพ

37
ภูเขาในประเทศไทย ที่สูงเกิน 2,000 เมตร เรียงลำดับตามความสูง
1. ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ 2,565 เมตร
2. ดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ 2,285 เมตร
3. ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2,195 เมตร
4. ภูสอยดาว จังหวัดพิษณุโลก 2,102 เมตร
5. ดอยลังกาหลวง จังหวัดเชียงราย 2,031 เมตร

ตัวอย่างสถานที่ที่น่าสนใจ
• ยอดดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดดูดาวที่สูงที่สุดในประเทศไทย
• หอดูดาวแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
• อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
• หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
• หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
• มอหินขาว อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ
• ปราสาทหินพนมรุ้ง (อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
• พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักทะเลชุบศร) จังหวัดลพบุรี เป็นที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอด
พระเนตรจันทรุปราคาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 เป็นจุดเริ่มต้นของดาราศาสตร์สมัยใหม่ในประเทศไทย
• หอดูดาววัดสันเปาโล จังหวัดลพบุรี สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 เป็นหอดูดาวมาตรฐานสากลแห่งแรก
ในประเทศไทย เป็นหอดูดาวที่ทันสมัยที่สุดในโลกแห่งหนึ่งในสมัยนั้นเทียบเท่าหอดูดาวกรุงปารีส ปัจจุบันยังมีซากอาคารให้เห็น
• ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เอกมัย กรุงเทพฯ
• อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ที่ทรงทำนายไว้อย่างแม่นยำล่วงหน้า 2 ปี
ได้รับการยกย่องว่าเป็น “King of Siam’s eclipse” เหตุการณ์นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งทางด้านดาราศาสตร์ ประวัติศาสตร์
และการเมืองระหว่างประเทศ (รัชกาลที่ 4 ทรงเชิญชาวต่างประเทศจำนวนหนึ่งไปชมด้วย) เมื่อเสด็จกลับก็ประชวรเป็นไข้ป่าและ
สวรรคตในอีกเดือนกว่า ปัจจุบันวันที่ 18 สิงหาคม ได้เป็น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
• แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต เป็นจุดชมดวงอาทิตย์ตกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
• ฯลฯ

38
ภาพพระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักทะเลชุบศร) จังหวัดลพบุรี ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตร
จันทรุปราคาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 เป็นจุดเริ่มต้นของดาราศาสตร์สมัยใหม่ในประเทศไทย
ที่มาภาพ http://www.lopburitravel.com/page-50

ภาพวาดสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุปราคาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 ที่พระที่นั่งไกรสรสีหราช


ที่มาภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Narai

39
ภาพวาดหอดูดาววัดสันเปาโล จังหวัดลพบุรี สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 เป็นหอดูดาวมาตรฐานสากล
แห่งแรกในประเทศไทย เป็นหอดูดาวที่ทันสมัยที่สุดในโลกแห่งหนึ่งในสมัยนั้นเทียบเท่าหอดูดาวกรุงปารีส วาดโดยบาทหลวง
ชาวฝรั่งเศสในสมัยนั้น ปัจจุบันยังมีซากอาคารให้เห็น
ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/pcb.1804454989618107/1804454326284840/?type=3&theater

ภาพซากอาคารหอดูดาววัดสันเปาโล
ที่มาภาพ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
https://www.facebook.com/NARITpage/photos/pcb.1804454989618107/1804454629618143/?type=3&theater
40
ภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2411
ที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงทำนายไว้อย่างแม่นยำล่วงหน้า 2 ปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น “King of Siam’s eclipse”
เหตุการณ์นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งทางด้านดาราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการเมืองระหว่างประเทศ (รัชกาลที่ 4 ทรงเชิญ
ชาวต่างประเทศจำนวนหนึ่งไปชมด้วยดังที่เห็นในภาพ) เมื่อเสด็จกลับก็ประชวรเป็นไข้ป่าและสวรรคตในอีกเดือนกว่า
ปัจจุบันวันที่ 18 สิงหาคม ได้เป็น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พลับพลาที่ประทับในภาพไม่เหลืออยู่แล้ว แต่ยังเหลือสิ่งก่อสร้าง
บางอย่างอยู่บ้าง และเป็นที่ตั้งของอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ที่มาภาพ วิกิพีเดีย
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/44/King_Mongkut_Solar_Eclipse_Expedition.jpg
และ https://bit.ly/2P0qNh5

41
ภาพแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต เป็นจุดชมดวงอาทิตย์ตกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ที่มาภาพ คนเดินทางดอทคอม https://www.konderntang.com/ และ https://bit.ly/2IZcZOK

42
รูปแบบ
• ดูดาวภาคสนามในเวลากลางคืน
• เล่านิทานดาว
• ดูดวงอาทิตย์ขึ้นและตก
• สังเกตการเปลี่ยนแปลงของท้องฟ้าช่วงก่อนและหลังดวงอาทิตย์ขึ้นและตก
• ดูดวงจันทร์
• สังเกตระดับน้ำขึ้นลง เป็นผลมาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์
• แนะนำความรู้พื้นฐานดาราศาสตร์ เช่น การเคลื่อนที่ของโลก และดาวต่่าง ๆ การหาทิศ กลุ่มดาว ฯลฯ
• แนะนำดาวหรือวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ที่น่าสนใจและอาจจะได้เห็นในคืนนั้น
• แนะนำการใช้แผนที่ดาว (planisphere) แบบหมุน
• แนะนำการใช้แอปดูดาว (astronomy app) สำหรับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต
• แนะนำการใช้กล้องดูดาว (กล้องโทรทรรศน์ หรือ telescope)
• สร้างกล้องดูดาวเอง
• แนะนำการหาข้อมูลเกี่ยวกับพยากรณ์อากาศ
• แนะนำการดูเมฆเพื่อการดูดาว
• ฟังเพลง หรือร้องเพลงเกี่ยวกับดาว
• ชมภาพยนตร์เกี่ยวกับดวงดาวและอวกาศ
• วาดรูปดาวที่เห็นด้วยตาเปล่า หรือเห็นผ่านกล้องดูดาว
• ถ่ายภาพดาราศาสตร์ (astrophotography)
• ชมสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์
• ชมสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ แต่เป็นสถานที่น่าสนใจ อยู่ใกล้เคียง หรือเป็นทางผ่าน
• ฯลฯ

43
ตัวอย่างกิจกรรมใน 1 วัน (สมมุติว่าเป็นวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2562 ที่เชียงใหม่)
06:55 น. ชมดวงอาทิตย์ขึ้น
07:30 น. รับประทานอาหารเช้า
08:30 น. พักผ่อน
08:34 น. ดวงจันทร์ขึ้น (เสี้ยวบางมาก 4% อาจไม่เห็นในเวลากลางวัน)
09:00 น. แนะนำความรู้พื้นฐานดาราศาสตร์ การใช้แผนที่ดาว แอปดูดาว กล้องดูดาว ฯลฯ
12:00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13:00 น. ชมหอดูดาว (หรือท้องฟ้าจำลอง หรือสถานที่ที่น่าสนใจอื่น ๆ)
16:00 น. พักผ่อน
17:00 น. รับประทานอาหารเย็น
17:56 น. ชมดวงอาทิตย์ตก
19:00 น. ดูดาวที่ปรากฏบนท้องฟ้าตอนนั้น เช่น ดาวศุกร์, ดาวเต่า, ดาวไถ, กระจุกดาวลูกไก่ ฯลฯ
19:53 น. ชมดวงจันทร์ตก (เสี้ยวบางมาก 6%)
21:00 น. จบกิจกรรม

44
อุปกรณ์
เราสามารถดูดาวได้ด้วยตาเปล่าได้ แต่ถ้ามีอุปกรณ์ช่วยอย่างกล้องดูดาว (กล้องโทรทรรศน์ หรือ telescope), กล้องดูนก
(spotting scope) หรือกล้องสองตา (binoculars) อาจช่วยให้รายละเอียดของพื้นผิวดวงจันทร์ วงแหวนดาวเสาร์ ดวงจันทร์และ
เข็มขัดของดาวพฤหัสบดี และเห็นดาวหลายดวงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ ดาวส่วนใหญ่แม้จะใช้กล้องส่องแล้วจะไม่เห็นขนาดใหญ่
ขึ้นหรือเห็นรายละเอียดมากขึ้น เนื่องจากอยู่ไกลมาก ข้อควรระวังคือห้ามใช้กล้องส่องดวงอาทิตย์ เพราะอาจทำให้ตาบอด (ยกเว้นมี
แว่นกรองแสง solar filter ที่ทำมาโดยเฉพาะ)
อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่งคือ ปากกาเลเซอร์ชี้ดาว (laser pointer) นิยมใช้เป็นแสงสีเขียว มีจำหน่ายทั่วไปหรืออาจ
สั่งซื้อจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย ข้อควรระวังคือห้ามส่องเข้าตาเพราะอาจทำให้ตาบอด ห้ามชี้เครื่องบิน เพราะแสงเลเซอร์สามารถ
ไปได้ไกลหลายกิโลเมตร อาจรบกวนการมองเห็นของนักบิน เคยมีกรณีนักบินโดนแสงเลเซอร์เข้าตาจนต้องนำเครื่องบินบินกลับสนาม
บิน
อาจใช้ไฟฉายสีแดง เพื่อลดการรบกวนสายตา อาจซื้อไฟฉายสีแดงสำหรับดูดาวโดยเฉพาะ หรืออาจใช้กระดาษแก้วสีแดงมา
หุ้มไฟฉาย หรืออาจดาวน์โหลดไฟล์ภาพสีแดงที่ผมทำขึ้นนี้เปิดมือถือหรือแท็บเล็ตแทนไฟฉาย https://bit.ly/2pSxZ0I และแม้ว่าจะมี
ไฟฉายสีแดงแล้วก็ควรเปิดเท่าที่จำเป็นจริง ๆ อาจใช้กระดาษแก้วสีแดงหุ้มไฟในห้องน้ำ หรือปิดไฟห้องน้ำเวลาไม่ได้ใช้ ปิดไฟถนน
ไฟตามอาคารทั้งหมด ไม่จุดเทียน ตะเกียง หรือก่อไฟ เพราะแสงที่อาจดูเหมือนน้อยนิดนี้สามารถรบกวนการดูดาวได้เป็นอย่างมาก
พยายามให้มืดสนิทมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่ควรใช้แฟลชถ่ายภาพ
การดูดาวกลางแจ้งอาจเจอน้ำค้าง ควรเตรียมหมวก หรืออาจใช้เสื้อกันฝนมากันน้ำค้าง บางแห่งอาจมีอากาศหนาวเย็น ควร
เตรียมเสื้อกันหนาว ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าพันคอ ผ้าห่ม ถุงนอน
นอนดูดาวสบายที่สุด และเห็นท้องฟ้าได้กว้างที่สุด อาจเตรียมเสื่อ ผ้าปูนอน หรือเก้าอี้ผ้าใบ
เครื่องดนตรีอย่างกีตาร์อาจช่วยสร้างบรรยากาศได้เป็นอย่างดี
กรณีที่มีคนมากอาจจำเป็นต้องใช้ลำโพงหรือเครื่องขยายเสียง สถานที่บางแห่งอาจไม่มีปลั๊กไฟ อาจใช้ลำโพงแบบพกพาที่มี
แบตเตอรีในตัว ก่อนบรรยายอาจเปิดเพลงสร้างบรรยากาศ ถ้าเป็นเพลงเกี่ยวกับดาวด้วยจะดีมาก
ถ้าพักเต็นท์และต้องการเต็นท์เองควรไปถึงสถานที่เวลากลางวัน
บางกิจกรรมเช่นดูฝนดาวตกอาจไม่นอนทั้งคืน ควรเตรียมอาหารและเครื่องดื่มไว้เผื่อหิว
ถ้าอากาศหนาวแล้วนำกล้องถ่ายรูปไปด้วย หากนำกล้องออกมาทันที อาจเกิดฝ้าไอน้ำเกาะเลนส์หรือฟิลเตอร์ เนื่องจาก
กล้องอุ่นกว่าอากาศทำให้ไอน้ำกลั่นตัว สำหรับบางคนใช้ที่เป่าผมหรือพัดลมเป่าหน้าเลนส์ป้องกันไอน้ำเกาะ หรือใช้อุปกรณ์ป้องกัน
น้ำค้างเกาะหน้าเลนส์โดยเฉพาะ หรือให้กล้องค่อย ๆ ปรับลดอุณหภูมิเองก่อน โดยนำกล้องออกมาตั้งแต่ช่วงที่อากาศยังไม่หนาว
ช่วยกันรักษาความสะอาด ดูแลเรื่องขยะ
ก่อนเริ่มดูดาวอาจหลับตาสักพัก เพื่อให้ดวงตาปรับตัวให้ชินกับความมืด หรือกรณีที่มีแสงสว่างจ้ารบกวนขึ้นมากะทันหัน ก็ให้
หลับตาลงสักพักแล้วค่อย ๆ ลืมตา

45
ภาพแผนที่ดาวจากแอปดูดาว Celestron SkyPortal ดาวน์โหลดฟรี มีทั้งระบบ Android และ iOS ใช้งานง่าย ถ้าอยากทราบว่าดาว
ที่เห็นบนท้องฟ้าคือดาวอะไร? เพียงเลือกเมนู Compass (เข็มทิศ) แล้วหันมือถือหรือแท็บเล็ตไปที่ดาวนั้นจะมีชื่อขึ้นมาเอง
ภาพนี้ตั้งวันเวลาเป็น 28 ธันวาคม 2019 สถานที่เชียงใหม่ แถบโค้งเป็นฝ้านั้นคือทางช้างเผือก (Milky Way)
Celestron Skyportal version 3.0.1.2, iPad 5th generation (2017), iOS 12.0.1

46
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ในประเทศไทย
• สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) http://www.narit.or.th/
• สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) https://www.gistda.or.th/
• ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) http://sciplanet.org/
• ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต (ท้องฟ้าจำลองรังสิต) http://www.rscience.go.th/
• สมาคมดาราศาสตร์ไทย http://thaiastro.nectec.or.th/

47
อ้างอิง
หนังสือ
• เจ้าฟ้านักดาราศาสตร์ โดย บุญรักษา สุนทรธรรม จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 2559
ISBN 978-616-12-0455-6
• ดนตรีจากพระราชหฤทัย ศูนย์รวมใจแห่งปวงชน จัดทำโดย คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือรวมเพลงพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2539
ISBN 974-7773-55-4
• ดุจดวงตะวัน พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พิมพ์ครั้งที่ 11 จัดพิมพ์โดย นานมีบุ๊คส์ 2559
ISBN 974-472-300-9
• พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 พิมพ์ครั้งที่ 2 จัดพิมพ์โดย ราชบัณฑิตยสถาน 2556
ISBN 978-616-7073-80-4
• พจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์อังกฤษ-ไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี
มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 จัดพิมพ์โดย สมาคมดาราศาสตร์ไทย 2548
ISBN 974-93621-6-0
• รอบรู้ดูดาว คู่มือชมฟ้าสำหรับคนไทย จัดพิมพ์โดย สมาคมดาราศาสตร์ไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2558 ISBN 974-93656-7-4
• รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยุคทองของดาราศาสตร์ไทย โดย บุญรักษา สุนทรธรรม และ
ไพรัช ธัชยพงษ์ จัดพิมพ์โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชุด พระมหากษัตริย์กับดาราศาสตร์ไทย 2555
ISBN 978-974-7622-72-0

เว็บไซต์
• Astronomical Tourism (Chile) https://www.astronomictourism.com/
• Blue Marble Navigator – Night lights 2012 https://blue-marble.de/nightlights/2012
• Heavens-Above https://www.heavens-above.com/
• International Dark-Sky Association http://darksky.org/
• International Meteor Organization https://www.imo.net/
• NASA Eclipse https://eclipse.gsfc.nasa.gov/eclipse.html
• NASA SKYCAL (Sky Events Calendar) https://eclipse.gsfc.nasa.gov/SKYCAL/SKYCAL.html
• Wikipedia https://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page
• Wikivoyage: Astronomy https://en.wikivoyage.org/wiki/Astronomy
• กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th/
• กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ http://www.hydro.navy.mi.th/
• มายโหรา https://www.myhora.com/
• ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) http://sciplanet.org/
• ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต (ท้องฟ้าจำลองรังสิต) http://www.rscience.go.th/
• สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ http://www.narit.or.th/
• สมาคมดาราศาสตร์ไทย http://thaiastro.nectec.or.th/
• สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) https://www.gistda.or.th/
• อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ http://www.waghor.go.th/

48
หนังสือ โดย พงศธร กิจเวช (อัฐ) เรียงตามลำดับเวลาที่พิมพ์ครั้งแรก

1. เมฆที่มองไม่เห็น พิมพ์ 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 154 หน้า รวมบทความเกี่ยวกับเมฆและปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้า


2. ดาวบนธงชาติบราซิล พิมพ์ 3 กรกฎาคม 2557 จำนวน 97 หน้า
3. ท้องฟ้าจำลองและหอดูดาวในประเทศไทย ปี 2557 พิมพ์ 1 ธันวาคม 2557 จำนวน 88 หน้า
4. แอปดูดาว พิมพ์ 19 พฤศจิกายน 2558 จำนวน 237 หน้า
5. คู่มือการเขียนชื่อดาวเป็นภาษาไทย บทความ พิมพ์ครั้งแรก 26 พฤษภาคม 2560, หนังสือ พิมพ์ครั้งแรก (ปรับปรุงเพิ่มเติม
จากบทความ) 2 ตุลาคม 2560 จำนวน 89 หน้า
6. คู่มือดูฝนดาวตก ปี 2562 พิมพ์ 1 ตุลาคม 2561 จำนวน 60 หน้า ปรับปรุงทุกปี เริ่มพิมพ์ครั้งแรก 10 ธันวาคม 2555

บทความ

1. เมฆเศวตฉัตรในก้านกล้วย พิมพ์ครั้งแรก 19 กันยายน 2553, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงและเพิ่มเติม 24 มิถุนายน 2555


จำนวน 10 หน้า
2. เมฆในพระไตรปิฎก พระคริสตธรรมคัมภีร์ และพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พิมพ์ครั้งแรก 31 ตุลาคม 2553,
พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 24 หน้า
3. เมฆในตำราพิชัยสงคราม พิมพ์ครั้งแรก 14 พฤศจิกายน 2553, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 6 หน้า
4. เมฆบ้า อิกคิวซัง พิมพ์ครั้งแรก 15 พฤศจิกายน 2553, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 7 หน้า
5. การทับศัพท์ชื่อเมฆเป็นภาษาไทย พิมพ์ครั้งแรก 28 มกราคม 2554, พิมพ์ครั้งที่ 11 ปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติม
24 มิถุนายน 2555 จำนวน 20 หน้า
6. ความคิดเห็นเรื่อง คำศัพท์เกี่ยวกับเมฆในหนังสือพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พิมพ์ครั้งแรก 29 มกราคม 2554, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 28 หน้า
7. การใช้โปรแกรม Google Earth หาตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ 2554, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง
25 มิถุนายน 2555 จำนวน 9 หน้า
8. การใช้โปรแกรม HaloSim จำลองการเกิด halo (วงแสง, ทรงกลด) เบื้องต้น พิมพ์ครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ 2554,
พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 19 หน้า
9. การใช้โปรแกรม Stellarium หาความสูงของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ พิมพ์ครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ 2554,
พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 11 หน้า
10. ศัพท์อุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับเมฆ พิมพ์ครั้งแรก 22 เมษายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 17 พฤษภาคม 2554
จำนวน 29 หน้า
11. ลัดดาแลนด์ (สถานที่จริง) : เวลาและความเปลี่ยนแปลง พิมพ์ครั้งแรก 2 มิถุนายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง
23 มิถุนายน 2554 จำนวน 39 หน้า

49
12. การทับศัพท์ halo แบบต่าง ๆ เป็นภาษาไทย พิมพ์ครั้งแรก 22 มิถุนายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 7 ปรับปรุง 24 มิถุนายน
2555 จำนวน 11 หน้า
13. การแก้ปัญหาภาษาไทยในโปรแกรม Stellarium พิมพ์ครั้งแรก 10 กรกฎาคม 2554, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงและเพิ่มเติม
14 กุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 25 หน้า
14. การดูเมฆเบื้องต้น พิมพ์ครั้งแรก 9 กันยายน 2554, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุง 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 57 หน้า
15. อาทิตย์ทรงกลดในภาพยนตร์เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” พิมพ์ครั้งแรก 14 สิงหาคม 2554,
พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุงเพิ่มเติม 30 พฤษภาคม 2557 จำนวน 30 หน้า
16. เมฆในหนังสือเรียน พิมพ์ครั้งแรก 28 กุมภาพันธ์ 2555, พิมพ์ครั้งที่ 2 เพิ่มเติม 24 มิถุนายน 2555 จำนวน 28 หน้า
17. การดูทรงกลดเบื้องต้น พิมพ์ครั้งแรก 20 มีนาคม 2555, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงและเพิ่มเติม 24 มิถุนายน 2555
จำนวน 31 หน้า
18. ความคิดเห็นเรื่อง การใช้วรรณยุกต์ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษของราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535
พิมพ์ครั้งแรก 4 ตุลาคม 2555 จำนวน 5 หน้า
19. 27 สิงหาคม วันดาวอังคารหลอก (Mars Hoax Day) พิมพ์ครั้งแรก 27 สิงหาคม 2557 จำนวน 16 หน้า
20. จะเขียนชื่อดาว Charon เป็นภาษาไทยอย่างไรดี? 18 กรกฎาคม 2558 จำนวน 7 หน้า
21. Hunter’s moon ดวงจันทร์สว่างจนเหมือนมีดวงอาทิตย์สองดวงจริงหรือ? 1 เมษายน 2560 จำนวน 24 หน้า
22. เวลาไม่ตรงกัน จะเชื่อใครดี? ถ้าจะดูฝนดาวตก พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุง 20 พฤศจิกายน 2560, พิมพ์ครั้งแรก
19 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 13 หน้า
23. การเลือกซื้อกล้องดูดาวสำหรับมือใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง 28 กันยายน 2561, พิมพ์ครั้งแรก 27 กันยายน 2561
จำนวน 31 หน้า
24. การท่องเที่ยวดาราศาสตร์ (astronomical tourism) พิมพ์ครั้งแรก 16 ตุลาคม 2561 จำนวน 50 หน้า

สามารถอ่านหรือดาวน์โหลด (ฟรี) ได้ที่ Microsoft OneDrive


หนังสือ https://1drv.ms/f/s!AqZMZTCy63wqqDdYyPIOO3QBdajs
บทความ https://1drv.ms/f/s!AqZMZTCy63wqp16DDTXdIiHjDZB-

50

You might also like