You are on page 1of 11

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky


Way) มีองค์ประกอบเป็ นดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และส่วนประกอบต่างๆ
ในระบบ โดยมีดาวฤกษ์อยู่ศูนย์กลาง พร้อมทั้งดาวเคราะห์ 8 ดวงล้อม
รอบ
ระบบสุริยะของเรานั้นมีดาวฤกษ์คือ ดวงอาทิตย์ เป็ นศูนย์กลางของ
ระบบ และมีดาวเคราะห์เป็ นบริวารล้อมรอบทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ ดาว
พุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ
ดาวเนปจูน
ส่วนประกอบของระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์
มีอุณหภูมิประมาณ ๕,๕๐๐ องศาเซลเซียส แต่บริเวณใจกลางร้อน
มากกว่า สามารถสร้างพลังงานได้ด้วยตัวเอง พลังงานจากดวงอาทิตย์ให้
ความร้อน แสงสว่าง และความอบอุ่นแก่โลกของเรา

ดาวเคราะห์ เรามองเห็นดาวเคราะห์ได้ในท้องฟ้ าเหมือนจุดของแสง


ที่เคลื่อนที่ในหมู่ดาวฤกษ์ จึงทำให้ดูคล้ายกับว่าดาวเคราะห์ขึ้นและตกเช่น
เดียวกับดวงจันทร์ที่เป็ นบริวารของโลก ดาวเคราะห์จะสะท้อนแสงจาก
ดวงอาทิตย์

1. ดาวพุธ
โคจรรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ ใช้เวลาเพียง
๘๘ วัน และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา ๕๙ วัน ไม่มี
ดาวบริวาร ดาวพุธเป็ นดาวที่ได้รับความร้อนจาก
ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มพื้น
ผิว จึงร้อนและแห้งแล้ง อุณหภูมิของด้านสว่างและ
ด้านมืดแตกต่างกันมาก จึงทำให้เราเรียกดาวพุธว่า
2. ดาวศุกร์ มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็ น
ฝาแฝดของโลก โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา ๒๕๕
วัน และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา ๒๔๓ วัน โดยมี
ทิศทางการหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปทิศ
ตะวันตก ซึ่งตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ไม่มี
ดาวบริวาร มีอุณหภูมิสูงที่สุดเพราะบรรยากาศ
ปกคลุมไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาทึบจึง

3. โลก โลกเป็ นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะพิเศษ เพราะบน


โลกมีอากาศและน้ำซึ่งจำเป็ นสำหรับการดำรงชีวิต
ของสิ่งมีชีวิต และเป็ นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่พื้นผิว
ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยน้ำ
โลกมีดวงจันทร์เป็ นบริวาร ๑ ดวง จะหมุนรอบ
โลกและหมุนรอบตัวเอง ๑ รอบ ใช้เวลา ๒๗ วัน ๗
ชั่วโมง ๔๓ นาที เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบเร็วคน
4. ดาวอังคาร
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑/๒ ของ
โลก โคจรรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ ใช้เวลา ๖๘๗ วัน
และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา ๒๔ ชั่วโมง ๓๗ นาที มี
แกนเอียงเช่นเดียวกับโลก จึงทำให้บนดาวอังคารมี
ฤดูกาลคล้ายกับบนโลก มีดาวบริวาร ๒ ดวง ชื่อ โฟ
บอสและไดมอส ทั้ง ๒ ดวงไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม

5. ดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดีเป็ นดาวเคราะห์แก๊สที่ใหญ่ที่สุด


ในระบบสุริยะ เป็ นดาวที่มีเนื้อสารมากที่สุดและ
มากกว่าดาวเคราะห์ทุกดวงที่เหลือรวมกัน ใช้เวลา
หมุนรอบตัวเอง ๑ รอบเร็วที่สุด ประมาณ ๙ ชั่วโมง
๕๕ นาที แต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ ใช้เวลา
นานถึง ๑๒ ปี พื้นผิวปกคลุมด้วยแก๊สมองเห็นเป็ น
แถบสีของเมฆหนา มีพื้นที่ที่เป็ นพายุซึ่งจะมีจุดแดง
ขนาดใหญ่ แต่ใจกลางมีขนาดเล็กและเป็ นหินแข็ง มี
วงแหวนบาง ๆ ๑ วง มีดาวขนาดเล็กเป็ นบริวารอย่าง
น้อย ๔๐ ดวง และดาวขนาดใหญ่เป็ นบริวาร ๔ ดวง
6. ดาวเสาร์

มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัสบดี คือ มีพื้นผิวสีเหลืองซึ่งเป็ นแก๊สที่


เบามาก มีความหนาแน่นน้อยกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรรอบดวง
อาทิตย์ ๑ รอบ ใช้เวลา ๒๙.๕ ปี หมุนรอบตัวเอง ๑ รอบ ใช้เวลา ๑๐
ชั่วโมง ๓๙ นาที มีดาวบริวารมากกว่า ๓๐ ดวง ดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีชื่อว่า ไตตัน
7. ยูเรนัส
ดาวยูเรนัสหรือดาวมฤตยูเป็ นดาวเคราะห์แก๊สที่
มีขนาดใหญ่เป็ นลำดับที่ ๓ โคจรรอบดวงอาทิตย์ ๑
รอบ ใช้เวลา ๘๔ ปี และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา ๑๗
ชั่วโมง
มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวนล้อมรอบ
คล้ายดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ วงแหวนประกอบ

8. ดาวเนปจูน ดาวสมุทร หรือดาวเกตุ

ดาวเนปจูนเป็ นดาวเคราะห์แก๊สดวงที่ ๔ โคจร


รอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ จึงใช้เวลาถึง ๑๖๕ ปี และ
หมุนรอบตัวเอง ๑ รอบ ใช้เวลา ๑๕ ชั่วโมง มีดาว
ดาวเคราะห์น้อย

เป็ นเศษหินหรือส่วนผสมของหินกับโลหะชิ้นใหญ่ ๆ มีจำนวนมากใน


ระบบสุริยะ เป็ นบริวารของดวงอาทิตย์ มีแถบการโคจรอยู่ระหว่างดาว
อังคารและดาวพฤหัสบดีซึ่งเรียกว่า แถบดาวเคราะห์น้อย
ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกและใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อยซี
เรส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๗๖๘ กิโลเมตร ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามี
ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งโคจรเข้าชนโลก จนทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
ดาวหาง

เป็ นก้อนน้ำแข็งสกปรกที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง มีวงโคจรรอบดวง


อาทิตย์เป็ นวงรีมาก รูปร่างและความสว่างจะแตกต่างกันไปตามระยะทาง
ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ขณะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะไม่มีหางและแสง
สว่าง เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นและสว่างมากขึ้น
ดาวหางเฮลบอพพ์ได้ชื่อว่าเป็ นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสว่าง
ที่สุด เข้ามาใกล้โลกที่สุดระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือน
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
อุกาบาต

เป็ นก้อนหินหรือวัตถุนอกโลกที่โคจรอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ โดยมัก


อยู่เป็ นแถบ โคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า แกนอุกกาบาต เมื่อเข้ามาอยู่
ในบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วประมาณ ๑๒–๗๒ กิโลเมตร/วินาที ที่
ความสูงประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร มันจะเสียดสีกับอากาศ ทำให้ก้อน
อุกกาบาตร้อนมากจนลุกสว่าง และเมื่อลงมาถึงความสูง ๖๐ กิโลเมตร
อุกกาบาตส่วนใหญ่จะไหม้จนหมดทำให้เกิดแสงเรืองเป็ นทางสว่างใน
ท้องฟ้ า ชาวบ้านเรียกว่า ดาวตกหรือผีพุ่งไต้ แต่ถ้าอุกกาบาตมีขนาดใหญ่
มากเหลือจากการเสียดสีกับบรรยากาศก็จะตกลงมาบนโลกเกิดเป็ นลูก
อุกกาบาตและหลุมอุกกาบาตขึ้น

You might also like