You are on page 1of 4

ความหมายของคาว่า “วิจัย”

วิจัยเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนรู้สึกเบื่อหน่าย เอือมระอา และแลดูเป็น คาที่แสลงหู อาจจะเนื่องด้วยปัจจัย


หลายอย่างหรือสาเหตุหลายสาเหตุ กระนั้นแล้ วการวิจัยก็ยังคงมีอยู่ตลอดทุกวัน มีตาราทั้งโดยสาหนักพิมพ์
ไทยและต่างประเทศออกมาให้ข้อมูล ต่าง ๆ อยู่เสมอ แม้จะเป็นสิ่งที่หลายคนไม่พึงใจจะทานัก แต่เราก็ปฏิเสธ
ไม่ได้เลยว่าวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อเราจริง ๆ เพียงแต่ว่าใครจะได้รับประโยชน์จากเรื่องนั้นมากหรือน้อย รวมถึง
คนส่วนใหญ่นั้นมักเชื่อในข้อมูลที่ผ่านการวิจัยมาแล้ว หรือกล่าวสรุปได้ว่าคนส่วนใหญ่เชื่อผลการวิจัยมากกว่า
ชอบลงมือวิจัย
ประเด็นที่น่าขบคิดก็คือเหตุใดเราจึงเชื่อมั่นในผลการวิจัยแต่กลับไม่ชอบวิธีการวิจัย ? เราก็ต้องมา
เข้าใจในเรื่องความหมายของคาว่า “วิจัย” เสียก่อนว่าวิจัยนั้นคืออะไร ? ซึ่งอย่างที่ได้เกิร่นนาไว้แล้วว่ามีหลาย
สานักพิมพ์ได้ให้ข้อมูล ไว้ แต่หากสืบค้ นจริ ง ๆ ก็จะพบว่าแม่แต่ในสั งคมออนไลน์ กระทู้ออนไลน์ หรือสื่ อ
ออนไลน์ ก็มีการให้ความหมายของคาว่าวิจัยในมุมมองของต้นเองไว้แล้วมากมาย บางแหล่งข้อมูลมีจุดที่แย้ง
กันบ้าง ในขณะที่บางแหล่งมีความเห็นสอดคล้องกัน
สานักงานราชบันฑิตยสภา (18 ธันวาคม 2551) ได้ให้ความหมายของคาว่าวิจัยโดยมีบันทึกบทวิทยุ
รายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม
พ.ศ. 2551 เวลา 7.00-7.30 น. ไว้ว่า วิจัย เป็นศัพท์บัญญัติ ตรงกับคาภาษาอังกฤษว่า research หมายถึง
กระบวนการค้นหาความรู้ เป็นวิธีหาความรู้อย่างมีระเบียบและหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ซึ่งมีการกาหนดแนวคิด
หรือทฤษฎี การใช้ข้อมูล การแปลความหมายและอธิบายข้อมูลเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ รวมทั้งการสร้าง
ความรู้ใหม่ขึ้นจากความรู้เดิมร่วมกับข้อมูลใหม่
ตลาดออนไลน์ iM2Market. (23 สิ ง หาคม 2560 ) ได้ อ้ า งถึ ง ค าอธิ บ ายของคณะท างานยกร่ า ง
จรรยาบรรณนักวิจัยสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2540) โดยอธิบายความหมายของคาว่าวิจัยไว้ว่า
การวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบเพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็น
ที่ยอมรับในศาสตร์แต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
เอกนฤน บาท่าไม้, ดร. (ม.ป.ป.) ได้สรุปความหมายของการวิจัยไว้ว่า การวิจัยหมายถึง กระบวน
การศึกษาหาความรู อยางเปนระบบ ขอเท็จจริงของปรากฎการตาง ๆ ประยุกตกระบวนการทางวิทยาศาสตร
เพื่ อ ใหไดมาซึ่ ง ค าตอบโดยใช หลั ก ของเหตุ ผ ล อางอิ ง หลั ก การเพื่ อ หาข อสรุ ป และน าไปใช อยางเป น
ประโยชนในการดาเนินการตาง ๆ
อานนท์ แย้มตรี. รศ. (ม.ป.ป.) ได้กล่าวไว้ในเอกสารประกอบคาบรรยายเรื่องการวิจัยเบื้องต้นไว้ว่า
การวิจัยคือวิธีทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีที่มีแบบแผน มีความละเอียดในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการต่าง ๆ
เป็นวิธีที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ จากการวิเคราห์สมมติที่ฐานและหาเหตุผลที่มีความสัมพันธ์กัน สามารถ
ทดสอบได้ ตั้งเป็นทฤษฎีได้ เพื่อนามาทานายผลและควมคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ
อนันต์ ศรีโสภา, ดร. (2521) ได้อธิบายความหมายของคาว่าวิจัยไว้ว่า การวิจัยเป็นขบวนการเสาะ
แสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจน มีระบบ มีการทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเรื่องนัน้ เพื่อนาผลมาพยากรณ์หรือควบคุมสิ่งนั้นให้คงที่
วิสุทธิ์ ใบไม้, ศ. ดร. (2553) ให้ทัศนคติไว้ว่า การวิจัยเป็นการสร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาบุคลากร ได้
องค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ บังเกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ
สุรชัย พิศาลบุตร. (กันยายน 2547) ได้ให้ความหมายว่า วิจัยคือการค้นคว้า หาความรู้ด้วยวิธีที่เป็น
ระบบ และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิขานั้น ๆ ได้ความรู้ที่ได้อาจจะเป็นความรู้ใหม่หรือเป็นความรู้ที่นามาใช้
แก้ปัญหาได้
วีรยา ภัทรอาชาชัย, ผศ. (พฤศจิกายน 2539) ได้ให้ความหมายไว้เพียงสั้น ๆ ว่า การวิจัยคือการ
ค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วทาซ้าจนได้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการรู้
จากข้ อ มู ล ต่ า ง ๆ ที่ ไ ด้ ก ล่ า วมาจะพบว่ า เป็ น การให้ ค วามหมายที่ เ น้ น หนั ก ในกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ การทดลอง การค้นคว้า การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งหากมองเป็นกระบวนทางวิทยาศาสตร์เพียง
อย่างเดียว ก็ดูจะไม่เป็นธรรมการทางศิลปะนัก เพราะกรณีที่ศิลปินต้องการแสดงภูมิความรู้ทางวิชาการก็ต้อง
อ้างอิงตามกระบวนการนี้เพียงอย่างเดียวนั้นหรือ ? มันแลดูไม่เหมาะสมและไม่ยุติธรรมนัก จึงมีการวิจัยอีก
รูปแบบที่เรียกว่า “การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ” ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่ถนัดการสร้างสรรค์ผลงานได้สามารถแสดงองค์
ความรู้ของตนเองได้
วิโชค มุกดามณี, ศ. (3 กุมภาพันธ์ 2558) ได้แสดงทัศนคติเกี่ยวกับวิจัยเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า การวิจัย
เชิงสร้างสรรค์นั้ นมีกระบวนการในตัวของมันอยู่ แล้ว เพราะมีการกล่าวอ้างถึงแนวคิด ทฤษฎี ปรัช ญาต่าง ๆ
รวมถึงมีการอธิบายแนวคิดต่าง ๆ ของศิลปินได้จริง เพียงแต่นาเสนอผ่านกระบวนการเชิงสร้างสรรค์หรือ
ผลงานศิลปะซึ่งทาหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งผู้วิจัยเองไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ของมันได้
จากคากล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า การเรียนศิลปะก็สามารถทาวิจัยได้ มิจาเป็นต้องมาจากการทดลอง แต่
จะต้ อ งมี แ นวคิ ด มี ก ระบวนการในการสร้ า งสรรค์ ผ ลงานอั น เกิ ด จากการออกแบบและวิ เคราะห์ ม าแล้ ว
เช่นเดียวกับกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สามารถทดลองสิ่งต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้ ซึ่งอาจจะ
เป็นไปตามคาดหรือไม่รู้ผลลัพธ์ของมันก็ได้เช่นเดียวกับวิจัยในสาขาอื่น ๆ เช่นกัน
ย้อนกลับไปที่คาถามทิว่าทาไมเราจึงเชื่อมั่นในผลการวิจัย นั่นก็เพราการวิจัยนั้นมีเป็นวิธีที่มีระบบ
สามารถออกแบบวิธีการได้ คาตอบที่ได้จึงมีความน่าเชื่อถือ แต่คนส่วนใหญ่ กลับไม่ชอบที่จะทาวิจัยเพราะการ
จะได้มาซึ่งคาตอบที่ชัดเจนนั้น ก็ต้องผ่านการรวบรวมข้อมูล ผารกระบวนการต่าง ๆ ผ่านการคิดวิเคราะห์หรือ
สร้างสรรค์ ซึ่งหากเป็นคนที่ไม่ชอบการคิด การลงมือทา หรือไม่สนุกกับกระบวนการในลักษณะนี้ ก็อาจจะมอง
ว่าจุกจิกวุ่นวาย ไม่รวดเร็วทันใจ ยุ่งยาก เสียเวลา นั่นเป็นทัศนคติของบุคคล แต่เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า
เพราะการวิจัยนี่เองที่ทาให้เราสามารถควบคุม สร้างสรรค์ พยากรณ์ พัฒนา หรือแก้ปัญหาสิ่งต่าง ๆ ได้
ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าขึงขอสรุปว่า วิ จัยคือกระบวนการที่เป็นระบบ สามารถออกแบบวิธีการได้มาซึ่ง
ผลลัพธ์จากแนวคิด ทฤษฎี หรือเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ผลลัพธ์ที่ได้บางครั้งเป็นไปตามสมมติฐาน บางครั้งไม่เป็น
แต่ผลลัพธ์นั้นจะบอกวิธีการแก้ไข วิธีควบคุม วิธีพัฒนา สะท้อนบางอย่างออกมา หรือเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ก็
ได้ ส่วนเรื่องของประโยชน์ที่จะได้รับขึ้นอยู่กับมุมมองและผู้ที่ใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเองก็ควรทาวิจัย
ขึ้นมาโดยคานึงของประโยชน์ที่ได้รับเป็นสาคัญ และปลายทางของงานวิจัยนั้น หากไร้ซึ่งประโยชน์แล้ว มันก็จะ
เป็นเพียง “วิจัยขึ้นหิ้ง” อันหาประโยชน์ใด ๆ มิได้เช่นกัน
อ้างอิง
ตลาดออนไลน์ iM2Market. (27 สิงหาคม 2560). การวิจัย หมายถึง (Research)?. สืบค้นจาก
https://www.im2market.com/2017/08/23/4534
วีรยา ภัทรอาชาชัย, ผศ. (พฤศจิกายน 2539). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์-เทค พริ้นติ้ง
จากัด
วิสุทธิ์ ใบไม้, ศ. ดร. (2553). ทาไมต้องทาวิจัยพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จากัด.
สรชัย พิศาลบุตร. (กันยายน 2547). วิจัย...ใครว่ายาก. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จากัด
สานักงานราชบัณฑิตยสภา. (18 ธันวาคม 2551). วิจัย. ใน รู้ รัก ภาษาไทย [บทวิทยุ], กรุงเทพมหานคร.
สืบค้นจาก
http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8
%B1%E0%B8%A2-%E0%B9%91%E0%B9%98-%E0%B8%98%E0% B8% B1%E0%B8%99
%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%
B9%95%E0%B9%91
อนันต์ ศรีโสภา, ดร. (2521). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ วัฒนาพานิช จากัด
อานนท์ แย้มตรี, รศ. (ไม่ปรากฏปี). การวิจัยเบื้องต้น. [เอกสารประกอบการบรรยาย]. ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอกนฤน บางท่าไม้, ดร. (ไม่ปรากฏปี). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย [เอกสารประกอบการบรรยาย]. สืบค้น
จาก http://www.sc.su.ac.th/knowledge/research.pdf

You might also like