You are on page 1of 30

เกษียร เตชะพีระ, แปล about Number words

คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เสรี นิยม: ความรู ้ฉบับพกพา

โดย

ไมเคิล ฟรี เดน


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 2

แด่ อามีเลีย, ออร์ ล,ี เลโอนี, เธโอ, และ ไลลา


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 3
สารบัญ

รายการภาพประกอบ

1) คฤหาสน์หลายคูหา

2) เรื่ องเล่าเสรี นิยม

3) ช่วงชั้นของเสรี นิยม

4) สัณฐานวิทยาแห่งเสรี นิยม

5) เอตทัคคะเสรี นิยม

6) เสรี นิยมทางปรัชญา: ชูความยุติธรรมเป็ นอุดมคติ

7) ชุบมือเปิ บ, ดูแคลน, และเลินเล่อ

อ้างอิง

บทอ่านต่อ

ดรรชนี
ฟรี เดน / เสรี นิยม / 4
รายการภาพประกอบ

1. ภาพเมฆศัพท์ (word cloud) แสดงความถี่ของคาศัพท์เกี่ยวกับเสรี นิยม (www.BeingLiberal.org)

2. การลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ (The Granger Collection/TopFoto)

3. หอการค้าเสรี , เมืองแมนเชสเตอร์ (Classic image/Alamy)

4. การปฏิรูปสังคมด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลเสรี นิยม (@The British Library Board)

5. วาสลาฟ ฮาเวล โบกมือให้แก่ฝงู ชนในกรุ งปราก (@CTK/Alamy)


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 5
บทที่ ๑ คฤหาสน์ หลายคูหา

เมื่อผูค้ นเริ่ มใช้คาว่า “เสรี นิยม” (liberal) ในความหมายว่าใจกว้างหรื ออุดมสมบูรณ์น้ นั

พวกเขาคิดไม่ถึงดอกว่าลัทธิเสรี นิยมกาลังจะปลดปล่อยกระแสอันทรงมหิทธานุภาพปานใดออกมา

สิ่ งบ่งชี้ชีวติ ในภายภาคหน้าของมันเริ่ มปรากฏให้เห็นเมื่อ “เสรี นิยม” ถูกผูกโยงเข้ากับนัยเรื่ องการ

เปิ ดใจและอดกลั้น ทว่านับแต่ศพั ท์คาว่า “liberales” ถูกบัญญัติข้ ึนในสเปนเมื่อสองร้อยปี ก่อนเพื่อ

แทนตนพรรคการเมืองพรรคหนึ่งนั้น เสรี นิยมก็ได้ต้ งั ตระหง่านอยูบ่ นเวทีสาธารณะเรื่ อยมา: ในฐาน

ที่เป็ นคาป่ าวร้องเรี ยกระดมสาหรับบรรดาปัจเจกบุคคลผูป้ รารถนาพื้นที่อนั ปลอดจากการจากัด

เหนี่ยวรั้งอันมิอาจให้เหตุผลได้โดยชอบทั้งหลาย และในฐานที่เป็ นชุดการจัดระเบียบสถาบันขั้นมูล

ฐานซึ่งมุ่งหมายที่จะทาให้การปฏิบตั ิทางการเมืองมีความชอบธรรมและเป็ นอารยะ เหนืออื่นใด เสรี

นิยมได้กลายเป็ นสิ่ งบ่งชี้ความคิดและนโยบายที่มุ่งจะปฏิรูป ปลดปล่อย และเปิ ดกว้างความเป็ นไป

ได้ให้แก่บรรดาปัจเจกบุคคลทั้งหลายผูป้ รารถนาจะดาเนินชีวติ ตามความเข้าใจต่าง ๆ นานาของ

ตนเอง เหมือนดังอุดมการณ์และระบบความเชื่อรวมหมู่ท้ งั ปวง เสรี นิยมต้องเข้าแข่งขันช่วงชิงให้

ได้มาซึ่งการตระหนักรู ้และนาไปปฏิบตั ิของสาธารณชน และขณะเดียวกัน มันก็ถูกประณามจาก

หลายภาคส่ วนเหมือนอุดมการณ์และระบบความเช่าเหล่านั้นทั้งมวลด้วย

ทว่าปัญหาอยูต่ รงนี้ กล่าวคือ มันไม่มีอะไรหนึ่งเดียวอันไม่คลุมเครื อที่เรี ยกว่าเสรี นิยม

บรรดาลัทธิเสรี นิยมทั้งหลายทั้งปวงที่ได้เคยดารงอยูแ่ ละดารงอยูต่ อนนี้ลว้ นแล้วแต่เลือกสรร – ทั้ง


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 6
โดยจงใจและไร้สานึก – เอาบางอย่างบางรายการจากคลังความคิดเสรี นิยมที่สั่งสมกันมาจนแน่น

ขนัดและละทิ้งอย่างอื่นรายการอื่นไป ทั้งด้วยเหตุผลที่วา่ เชื้อมูลความคิดบางอย่างเข้ากันไม่ได้กบั

อย่างอื่น และด้วยเหตุผลที่วา่ แฟชัน่ และการปฏิบตั ิทางภูมิปัญญาก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นเอง

ระบบความเชื่อและทฤษฎีอนั หลายหลากมากมายจึงมากองสุ มกันอยูภ่ ายใต้ฉายานามเสรี นิยม โดยที่

ไม่มีระบบความเชื่อและทฤษฎีดงั กล่าวอันหนึ่งอันใดสามารถครอบคลุมความเป็ นไปได้ท้ งั หมดไม่

ว่าในแง่ความคิดและการจัดระเบียบทางการเมือง – ซึ่งเสรี นิยมในความหมายเต็มสมบูรณ์สุดยอด

เชิงสมมุติของมันอาจครอบคลุมถึง หรื อการปฏิบตั ิทางการเมืองแบบเสรี นิยมได้ครอบคลุมถึงข้าม

กาละเทศะต่าง ๆ – เอาไว้ได้เลย ขอให้ลองพิจารณาดูวลีอย่าง เสรี นิยมคลาสสิ ก (classical

liberalism) เสรี นิยมทางสังคม (social liberalism) หรื อเสรี นิยมใหม่ (neoliberalism) เป็ นตัวอย่าง

อันเป็ นเสรี นิยมต่าง ๆ กันสามแบบที่ยงั ร่ วมสมัยอยูท่ ุกวันนี้ เสรี นิยมคลาสสิ กนั้นโคจรรอบแนวคิด

เรื่ องเสรี ภาพของปั จเจกบุคคล (อันเป็ นญาติสนิททางศัพทมูลวิทยาของเสรี นิยม) อิสรภาพของ

มนุษย์ และหลักนิติธรรม อีกทั้งมันยังจากัดสิ่ งที่รัฐและรัฐบาลมีสิทธิ์กระทาต่อปัจเจกบุคคลได้ลง

ไปอย่างมีนยั สาคัญ ส่ วนเสรี นิยมทางสังคมและเสรี นิยมแนวใหม่ (new liberalism) ที่ปรากฏขึ้นใน

อังกฤษราวหนึ่งศตวรรษเศษมาแล้วพร้อมเพรี ยงกับลัทธิสังคมประชาธิปไตยของกลุ่มประเทศ

สแกนดิเนเวียบางกระแสนั้นก็มุ่งสารวจหาสภาพเงื่อนไขที่เอื้อให้ปัจเจกบุคคลพัฒนาเติบโตขึ้นซึ่ง

ค้ าจุนโดยเครื อข่ายช่วยเหลือและพึ่งพากันและกัน รัฐสวัสดิการสมัยใหม่กก็ าเนิดมาจากเสรี นิยม

สาขานั้นแหละ อย่างไรก็ตาม เสรี นิยม “ใหม่” กับเสรี นิยม “แนวใหม่” กลับโน้มดึงไปสู่ ทิศทาง
ฟรี เดน / เสรี นิยม / 7
แตกต่างกันอย่างสับสนเป็ นพิเศษ เสรี นิยมใหม่ซ่ ึงด้านหลักแล้วเป็ นผลผลิตของครึ่ งหลังแห่ง

คริ สต์ศตวรรษที่ ๒๐ นั้นเน้นย้าประโยชน์โพดผลของตลาดที่มีการแข่งขันและความก้าวหน้าส่ วน

บุคคลยิง่ กว่าการทานุบารุ งสวัสดิการมนุษย์โดยทัว่ ไปเป็ นอันมาก คุณสมบัติความเป็ นมาของเสรี

นิยมใหม่ที่วา่ เชื่อมโยงกับกระแสเสรี นิยมนั้นก็เป็ นที่โต้แย้งกันหนัก ดังจะได้ถกเถียงกันต่อไปใน

บทที่ ๗ บรรดาพวกที่คิดว่าส่ วนใหญ่แล้วเสรี นิยมเป็ นเรื่ องของกิจกรรมส่ วนตัวที่ไม่ถูกจากัด

เหนี่ยวรั้งใด ๆ กับพวกที่เชื่อว่าเสรี นิยมเป็ นเรื่ องของการพัฒนาปัจเจกบุคคลโดยชอบด้วยเหตุผลใน

สังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลและทาโครงการร่ วมกันนั้น ก็หาได้มีจุดร่ วมกันมากมายสักเท่าไรไม่

สิ่ งที่น่าแปลกตาตื่นใจไม่นอ้ ยไปกว่ากันก็คือมักมีความเห็นต่างว่าลักษณะด้านใดของเสรี

นิยมสาคัญที่สุดอันปรากฏให้เห็นประจักษ์ท้ งั ในหมู่นกั เสรี นิยมด้วยกันและพวกที่วจิ ารณ์นกั เสรี

นิยม ตกลงเสรี นิยมมันเป็ นเรื่ องของการเพิ่มเสรี ภาพปัจเจกบุคคลหรื อปฏิบตั ิต่อทุกคนด้วยความ

เคารพอย่างเสมอหน้ากันแน่? มันเป็ นเรื่ องของการจากัดภยันตรายต่อคนอื่นหรื อทาให้มนุษย์เรา

สามารถเจริ ญงอกงามกัน? มันเป็ นเรื่ องของการมีมนุษยธรรมมากขึ้นหรื อผลิตภาพสู งขึ้น? มันมี

หรื อเปล่าไอ้เสรี นิยมของแท้หนึ่งเดียวซึ่งแวดล้อมด้วยเสรี นิยมทาเทียมเลียนแบบคลุม ๆ เครื อ ๆ

ทั้งหลายแหล่? อุดมการณ์อื่น ๆ ได้พากันมารุ มแทะทึ้งเสรี นิยมเหมือนฝูงแร้ง จิกเอาแต่เนื้อส่ วนดีที่

คัดสรรไป แล้วทิ้งซากที่เหลือไว้ให้แห้งฝ่ อหรื อเปล่า? สิ่ งท้าทายผูศ้ ึกษาเสรี นิยมก็คือการหยัง่ รู ้

ความหมายนัยยะของการเข้าใจเสรี นิยมอันแตกต่างกันเหล่านี้ มากกว่าจะมาแสดงความนิยมชมชอบ

การเข้าใจมันแบบหนึ่งแบบใดอย่างแข็งทื่อตายตัว ฉะนั้นมันจึงอาจจะถูกต้องแม่นยากว่าที่จะพูดถึง
ฟรี เดน / เสรี นิยม / 8
เสรี นิยมในเชิงพหูพจน์ โดยทั้งหมดล้วนสังกัดครอบครัวใหญ่เดียวกันและสาแดงให้เห็นทั้งความ

คล้ายคลึงและแตกต่างกัน (ดูภาพประกอบ ๑) สมาชิกมากหน้าหลายตาของครอบครัวเสรี นิยมมี

บุคลิกลักษณะเหลื่อมซ้อนกัน แต่สมาชิกบางรายก็แทบจะไม่โอภาปราศรัยกันด้วยซ้ าไป

๑) ภาพเมฆศัพท์ นีเ้ ป็ นตัวแทนความหลากหลายและสลับซับซ้ อนภายในของเหล่าความคิดที่

ประกอบกันเข้ าเป็ นลัทธิเสรีนิยม และยังเป็ นฐานทีม่ าซึ่งอาจปรุงแต่ งขึน้ เป็ นลัทธิเสรีนิยมแบบ

ต่ าง ๆ ได้ กระนั้นก็ตาม ภาพดังกล่ าวก็หาได้ รวมเอาความคิดเรื่ องความเป็ นส่ วนตัวและทรัพย์ สิน

เข้ าไว้ ด้วยไม่ ทั้งทีค่ นมากหลายเชื่ อว่ าความคิดทั้งสองประการบูรณาการเข้ ากับลัทธิเสรีนิยม

เสรีนิยมประสบชัยชนะแล้วหรื อ?

ทั้งในฐานที่เป็ นความเชื่อทางอุดมการณ์การเมืองและการคิดใคร่ ครวญทางปรัชญาว่าด้วย

คุณลักษณะของสังคมที่ยตุ ิธรรม บรรดาผูป้ ลาบปลื้มชื่นชมเสรี นิยมจานวนนับไม่ถว้ นพากันมองว่า


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 9
มันเป็ นเรื่ องราวของความสาเร็จอันใหญ่หลวง หนึ่งในปากเสี ยงอันคึกคักร้อนแรงที่สุดของพวกเขา

เหล่านี้ได้แก่ ฟรานซิส ฟูกยู ามา นักปรัชญาอเมริ กนั ผูป้ ระกาศชัยชนะของ “ความคิดเสรี นิยม” เมื่อ

กว่ายีส่ ิ บปี ก่อน ในทรรศนะของเขา เสรี นิยมได้กลายมาเป็ นที่ยอมรับทัว่ สากลโลกและไม่มี

อุดมการณ์อื่นใดสามารถอวดอ้างความเป็ นสากลในทานองนั้นได้ ก็แลนี่เป็ นอวสานของความ

ขัดแย้งทางอุดมการณ์หรื อไฉน? บัดนี้เรากลายมาเป็ นนักเสรี นิยมกันหมดแล้วหรื อไร? ทรรศนะที่

มัน่ ใจเช่นนั้นก่อให้เกิดปั ญหาขึ้นมาในใจสามข้อทันที ข้อแรก หลักชัยปลายทางของอุดมการณ์

หนึ่ง ๆ นั้นตั้งอยูต่ าแหน่งแห่งไหนกันเล่า? เมื่อใดกันที่อุดมการณ์หนึ่งข้ามเส้นชัยแล้วถอนหายใจ

ด้วยความโล่งอกว่า “ในที่สุดเราก็พิชิตอุดมการณ์อื่นได้หมดแล้ว!” ?

เอาเข้าจริ งประวัติศาสตร์นาเสนอข้อบ่งชี้จุดจบทานองนั้นไว้นอ้ ยมาก โดยเฉพาะอย่างยิง่

เมื่อเรากาลังตัดสิ นเหตุการณ์และความคิดทั้งหลายในปัจจุบนั เพราะถึงอย่างไร แม้แต่ความเชื่อเรื่ อง

อานาจวิเศษซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็ นปัจจัยอันทรงพลังในการตีความว่าเกิดอะไรขึ้นในโลก ก็หาได้

ปลาสนาการไปจากสังคมสมัยใหม่โดยสิ้ นเชิงไม่ เว้นเสี ยแต่เรารู ้วา่ บรรทัดฐานของชัยชนะทาง

อุดมการณ์คืออะไร และเว้นเสี ยแต่เราสามารถกาหนดรู ้แน่ได้วา่ การปะทะกันทางอุดมการณ์จบสิ้ น

ลงแล้วอย่างชัดเจน คาถามที่วา่ นั้นก็ยงั คงไม่มีความหมายอันใดทั้งเพ ในทางเป็ นจริ ง บรรดาผูท้ ี่

ทึกทักว่าเสรี นิยมประสบชัยชนะนั้นก็เพียงแค่กล่าวอ้างเอาอย่างปราศจากวิจารณญาณว่าเสรี นิยม

แบบหนึ่งชนะและเสรี นิยมแบบอื่น ๆ พ่ายแพ้เท่านั้นเอง และแม้แต่การกล่าวอ้างเช่นนั้นก็ยงั คงเป็ น

เรื่ องที่หาหลักฐานมาพิสูจน์ชดั ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการจะนับว่าอะไรเป็ นชัยชนะในปริ มณฑลของ


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 10
ความคิด ทฤษฎีหรื ออุดมการณ์กย็ อ่ มเป็ นเรื่ องที่จะถูกโต้แย้งอยูร่ ่ าไป ชัยชนะระยะสั้นอาจลงเอย

เป็ นความปราชัยในระยะยาวก็เป็ นได้ ดังที่ประวัติศาสตร์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ในคริ สต์ศตวรรษที่

๒๐ เป็ นเครื่ องพิสูจน์ยนื ยันความข้อนั้น แต่ใครเล่าจะล่วงรู ้วา่ อาจเกิดอะไรขึ้นกับโชคชะตาของลัทธิ

คอมมิวนิสต์ในระยะที่ยาวนานกว่านั้นออกไป?

ข้อสอง มีหลักฐานน้อยว่าเสรี นิยมเป็ นที่ยอมรับในภูมิภาคส่ วนใหญ่ของโลก สิ่ งที่เคียง

ขนานกันไปกับความมุ่งมาดปรารถนาระบอบเสรี ประชาธิปไตยบางแบบได้แก่อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่

เราพบเผชิญซึ่งตั้งอยูบ่ นหลักศาสนาบ้าง ลัทธิประชานิยมอย่างขุดรากถอนโคนหลากหลายรู ปแบบ

บ้าง รัฐอัตตาธิปไตยในทางความเชื่อและกฎเกณฑ์บา้ ง และแน่นอนว่ารวมทั้งระบอบอนุรักษนิยม

จานวนมากด้วย แม้แต่สังคมของฟูกยู ามาในสหรัฐอเมริ กาเอง ก็ปรากฏถ้อยคาด่าทอหยาบหยามเสรี

นิยมกองกันพะเนินเทินทึก ทว่าแม้กระนั้นก็ยงั มีกระบวนการที่ความคิดความเชื่อทั้งหลายแหล่มา

บรรจบกันเข้ากับทีทรรศน์แบบเสรี นิยมมากขึ้นเรื่ อย ๆ มิใช่หรื อ? เอาล่ะ ถ้าจะว่าอย่างนั้น มันก็ดู

ออกจะด่วนสรุ ปและหลงทิศผิดทางไปที่มาวินิจฉัยว่าอุดมการณ์อื่น ๆ จะแพร่ กระจายไปอย่างไรใน

อนาคต การทานายอนาคตของความคิดต่าง ๆ ได้กลายเป็ นเรื่ องยากยิง่ ขึ้นไม่ใช่นอ้ ยลงในโลกที่

เปลี่ยนไปเร็วและแตกแยกกันเป็ นเสี่ ยงมากขึ้นทุกที แม้แต่บรรดาผูท้ ี่อา้ งว่าตนประสบพบเห็นเป็ น

ประจักษ์พยานการเคลื่อนที่ไปสู่ โลกาภิวตั น์ยงิ่ ขึ้นเรื่ อย ๆ ก็อาจกาลังพูดถึงวิสัยทัศน์โลกานิยมแบบ

ต่าง ๆ ที่ประชันขันแข่งกันอยูซ่ ่ ึงแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ตัวอย่างเช่นโลกาภิวตั น์ของคุณค่าแบบ

ตลาดที่ประจัญกับโลกาภิวตั น์ของความสมานฉันท์ในมวลหมู่มนุษย์ เป็ นต้น ฉะนั้นโลกาภิวตั น์


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 11
ของเสรี นิยมก็ยงั คงเป็ นเพียงประกายที่วาววับขึ้นในดวงตาของบางคน และอาจจะไม่มีวนั ปรากฏ

ขึ้นจริ งก็เป็ นได้

ข้อสาม ฟูกยู ามาพูดเป็ นนัยว่ามีของกระจ่างชัดสิ่ งหนึ่งซึ่งเรี ยกว่าเสรี นิยม ทว่าหลักฐาน

กลับบ่งชี้ไปทางอื่น มันจะช่วยให้เราเข้าใจเสรี นิยมได้ดีข้ ึนอย่างใหญ่หลวงหากเราตระหนักว่ามี

วิธีมองมันได้หลากหลายอย่าง มุมมองแต่ละมุมจะช่วยสาดส่ องให้เห็นลักษณะของมันบางประการ

ขณะที่บดบังลักษณะประการอื่นไปเสี ย เวลาเรามองดูภาพวาดภาพหนึ่ง เราอาจตั้งคาถามเกี่ยวกับ

มันไปได้ต่าง ๆ นานา เช่น ถามเรื่ องศิลปิ นผูว้ าด องค์ประกอบของภาพ สุ นทรี ยศาสตร์ของมัน

เทคนิคและวัสดุที่ใช้ มูลค่าเชิงพาณิ ชย์ หรื อฐานะตาแหน่งของมันในประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็ นต้น

ทั้งนี้มนั ขึ้นอยูก่ บั ว่าเราสนใจเรื่ องใดที่สุด เสรี นิยมและอุดมการณ์ท้ งั หลายแหล่กเ็ ป็ นทานอง

เดียวกัน กล่าวคือไม่มีแนวทางเอกเทศแนวใดจะบอกเราทุกเรื่ องที่เราอยากรู ้เกี่ยวกับมันได้ ไม่มีคา

นิยามหนึ่งใดที่จะครอบคลุมการแสดงออกของมันทั้งหมดได้

ดังนั้น หนังสื อเล่มนี้จึงจะสารวจเสรี นิยมจากมุมมองจานวนหนึ่ง หากเอาอุปมาที่บกพร่ อง

ของฟูกยู ามามาใช้ ก็อาจกล่าวได้วา่ มีนกั วิง่ เสรี นิยมหลายคนในสิ่ งที่เรี ยกว่าการแข่งขัน ฉะนั้นต่อให้

เราผลีผลามประกาศให้เสรี นิยมเป็ นผูช้ นะ มันก็ยงั ไม่ได้เผยให้รู้อยูด่ ีวา่ เสรี นิยมฉบับไหนแบบใดกัน

แน่ที่ “ชนะ” บรรดาความคิดและการจัดระเบียบแบบต่าง ๆ ที่กองสุ มกันอยูภ่ ายใต้ยหี่ อ้ “เสรี นิยม”

อาจกลายพันธุ์ไปได้อย่างมีนยั สาคัญ ดังที่เอาเข้าจริ งมันก็ได้กลายพันธุ์มาแล้วในอดีต อาการ “ลัทธิ

อวสานนิยม” (endism) ซึ่งกาเริ บขึ้นบ่อยครั้งในหมู่นกั วิจารณ์การเมืองรวมทั้งศาสดาพยากรณ์ทาง


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 12
สังคมนั้นส่ อให้เห็นเชื้อมูลความเชื่อเรื่ องอุตมรัฐ (utopianism) เรื่ องความหลีกเลี่ยงไม่ได้ทาง

อันตวิทยา (teleological inevitability) หรื อบางทีกก็ ระทัง่ ท่าทีแบบเสี ยดเย้ยประชดประชันไม่นอ้ ย

ทีเดียว กระนั้นก็ตาม ถึงแม้ไม่มีคานิยามเสรี นิยมอันใดจะครอบรวมเอาความแปรผันหลากหลาย

ของมันไว้ได้หมด แต่เราก็จะระบุบ่งชี้ลกั ษณะที่ยนื ยงกว่าอันอื่นของมันออกมาในบทที่ ๔

เสน่ ห์ยวนใจของเสรีนิยม

มีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเสรี นิยมที่ผคู ้ นจานวนมากพบว่าดึงดูดใจยิง่ ถึงแม้เสรี นิยมจะไป

ไม่ถึงความเป็ นสากลบั้นปลายท้ายสุ ดดังที่ฟูกูยามายกย่องให้เป็ นคุณสมบัติ แต่กระนั้นนักปรัชญา

การเมืองมากหน้าหลายตาก็ถือมันเป็ นวิสัยทัศน์อนั ประเสริ ฐของชีวติ ทางสังคมและการเมืองซึ่งพึง

แผ่ขยายไปครอบคลุมคนทั้งปวง และถึงจะล้มเหลวแม้ในการครอบคลุมคนทั้งปวง แต่กระนั้นเสรี

นิยมก็ยงั เป็ นชุดความคิดที่ยกย่องนับถือกันกว้างขวางอย่างน้อยก็ในโลกตะวันตก แม้วา่ มันจะถูก

คัดค้านวิจารณ์ท้ งั โดยพวกขุดรากถอนโคนและพวกอนุรักษนิยมด้วยก็ตามดังที่เราจะได้เห็นต่อไป

ยิง่ กว่านั้น การปฏิบตั ิของเสรี นิยมในภาคสนามก็ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงสถาบัน และประดา

ผลลัพธ์เหล่านี้กถ็ ูกถักทอขึ้นเป็ นแบบแผนลวดลายทางประวัติศาสตร์อนั ยิง่ ใหญ่และถึงแก่ชวนให้

หลงใหลได้ปลื้มเฉลิมฉลองตัวเองด้วยในบางครั้ง การปฏิบตั ิดงั กล่าวเหล่านี้มากหลายถูกบรรจุรวม

ไว้ในวลีวา่ “ระบอบเสรี ประชาธิปไตย” ในฐานะหลักการปกครองที่ดี ระบอบเสรี ประชาธิปไตยได้

หยัง่ รากลงในหลายประเทศอย่างมัน่ คงและเป็ นเป้ าหมายปลุกใจให้ใฝ่ ฝันถึงในประเทศอื่น ๆ มันมี


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 13
สาส์นอันชัดเจนจะบอก กล่าวคือ ประชาธิปไตยก็ดีอยูห่ รอกหากเราใช้มนั ในความหมายการ

ปกครองของประชาชน ทว่าการชนะเลือกตั้งและรัฐบาลประชาชนโดยตัวมันเองเป็ นแค่ชุดองค์

ประกอบขั้นต่าสุ ด ชุดองค์ประกอบที่วา่ นั้นจาเป็ นแต่ไม่เพียงพอแก่การให้ระบบการเมืองหนึ่งได้

ชื่อว่า “เสรี นิยม” พวกเสรี นิยมยืนกรานว่าประชาธิปไตยจะต้องสาแดงบุคลิกลักษณะเพิ่มเติม

ออกมาจึงจะถือได้วา่ เป็ นระบบการปกครองที่คู่ควร ประชาธิปไตยพึงต้องเป็ นธรรม อดกลั้น โอบ

รับนับรวม เหนี่ยวรั้งชัง่ ใจ และวิจารณ์ตนเอง หาใช่เป็ นเพียงแค่การแสวงหาการปกครองโดยเสี ยง

ข้างมากไม่ ระบอบเสรี ประชาธิปไตยไม่ได้เป็ นเพียงเรื่ องของการเลือกตั้งที่ยตุ ิธรรมเท่านั้น หากยัง

เป็ นเรื่ องของการเลือกตั้งที่เสรี ดว้ ย มันไม่ได้เป็ นเพียงเรื่ องของการปกครองแบบแทนตน หากยัง

เป็ นเรื่ องของการปกครองที่พร้อมรับผิดและถูกเหนี่ยวรั้งจากัดด้วย มันไม่ได้เป็ นเพียงเรื่ องของสิ ทธิ

ที่จะลงคะแนนเสี ยง หากยังเป็ นเรื่ องของสิ ทธิที่จะลงคะแนนเสี ยงอย่างเท่าเทียมกันและไม่ถูกชี้นา

กากับด้วย และมันเป็ นเรื่ องของการใส่ ใจสวัสดิภาพของสมาชิกสังคมทั้งมวล อันเป็ นหลักการที่

เรี ยกร้องต้องการให้รัฐบาลกระทาการบางอย่างทว่าก็อาจเปิ ดกว้างให้ตีความแตกต่างกันไปได้

คุณสมบัติที่พวกเสรี นิยมเรี ยกร้องนั้นกว้างไพศาลและหลากหลาย การเทศนาเสรี นิยมจึงง่ายดายกว่า

การทาให้มนั ปรากฏเป็ นจริ งอยูอ่ กั โข

การปฏิบตั ิแบบเสรี นิยมส่ งผลกระทบต่อรัฐธรรมนูญ ต่อระดับความเปิ ดกว้างที่อนุญาตให้

มีได้ในการโต้แย้งถกเถียงทางการเมือง และต่อตะกร้าแห่งสิ ทธิประการต่าง ๆ ซึ่งสังคมยินดีจะแจก

จ่ายไปในหมู่สมาชิกของตน บ่อยครั้งที่การปฏิบตั ิแบบเสรี นิยมเป็ นเรื่ องของแผนงานอันทะเยอ


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 14
ทะยานที่จะเกลี่ยกระจายโภคทรัพย์เพื่อเพิ่มโอกาสในชีวติ ของคนทั้งมวลด้วย แม้วา่ นักวิจารณ์บาง

รายซึ่งปกติแล้วก็จะมองจากมุมอนุรักษนิยมหรื ออิสรเสรี นิยมอาจจะคัดค้านวิจารณ์เรื่ องนั้นว่าเป็ น

รู ปแบบหนึ่งของสังคมนิยม และดังเช่นที่เป็ นกับกรณี อุดมการณ์ใด ๆ ก็ตามแต่ อาจเกิดช่องว่างปริ

แยกขึ้นได้ระหว่างหลักการที่ประกาศไว้กบั การปฏิบตั ิที่เป็ นจริ ง หลักการเสรี นิยมอาจถูกล่วง

ละเมิดได้แม้โดยบรรดาผูท้ ี่สมาทานมัน และบางสังคมก็ปัดปฏิเสธหลักการเหล่านี้เลยทีเดียว ใน

กรณี เช่นนั้น เราอาจต้องตัดสิ นใจเอาเองว่าหลักการเสรี นิยมหรื อการปฏิบตั ิแบบเสรี นิยมกันแน่ที่นา

เราเข้าใกล้การระบุสิ่งที่เป็ นแบบฉบับของเสรี นิยมได้มากกว่ากัน การประเมินเสรี นิยมนั้นหาใช่

กิจกรรมทางปัญญาที่นงั่ เอกเขนกทากันได้ไม่ แม้วา่ การนัง่ เอกเขนกทากิจกรรมทางปั ญญาดังกล่าว

โดยตัวมันเองจะไม่มีอะไรผิดก็ตาม ทว่าการประเมินเสรี นิยมเกี่ยวข้องกับเรื่ องที่วา่ สังคมเข้าไป

พัวพันกับการเมืองประเภทไหนในทางเป็ นจริ งมากกว่า

แต่นอกเหนือจากนี้แล้วก็ยงั มีกรอบความคิดจิตใจแบบเสรี นิยม หรื อแบบแผนการคิดแบบ

เสรี นิยมซึ่งดาเนินการอยูใ่ นโลกของวาทกรรม ภาษาและวิวาทะทางการเมืองด้วย ไม่วา่ จะเป็ นนัก

ปรัชญา นักทฤษฎีการเมือง นักประวัติศาสตร์ความคิด นักการเมืองที่ปฏิบตั ิงานอยู่ และพรรค

การเมืองทั้งหลายทั้งปวงล้วนพากันเข้าร่ วมวงเสวนานี้โดยนาเสนอตัวแบบ วัตถุประสงค์ บท

วิพากษ์และความมัน่ อกมัน่ ใจอันแตกต่างหลากหลายนานัปการของพวกเขา ในฐานะหลักชี้นาการ

ดาเนินชีวติ ที่ดี นักปรัชญาและนักจริ ยศาสตร์มกั เข้าใจว่าเสรี นิยมเป็ นชุดคุณธรรมและศีลธรรมที่

ผูกมัดให้ทาตามซึ่งคู่ควรแก่การนาไปใช้ได้ทวั่ สากลโลก ดังนั้นเอง ในขณะที่ฟูกยู ามาเห็นว่าเสรี


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 15
นิยมเป็ นอุดมการณ์สากลซึ่งก็เห็นกันโต้ง ๆ อยูว่ า่ มันไม่ใช่ แต่ถึงกระนั้นนักทฤษฎีการเมืองจานวน

หนึ่งก็ยงั ถือว่าเสรี นิยมเป็ นคาสั่ง (imperative) ทางปรัชญาและจริ ยธรรมที่ควรใช้ได้ทวั่ สากล

กล่าวคือมันเป็ นการแสดงออกขั้นสู งสุ ดของปทัสถานแห่งศีลธรรมและความยุติธรรมทางสังคม

สาหรับพวกเขาแล้ว เสรี นิยมดารงอยูใ่ นฐานะชุดอุดมคติทวั่ ไปที่เหมาะสมสาหรับปั จเจกบุคคลผูค้ ิด

ดีคิดชอบทั้งปวงมิไยว่ามันจะถูกทาให้ประจักษ์เป็ นจริ งหรื อไม่กต็ าม กล่าวโดยสรุ ปคือสาหรับคน

มากหลาย เสรี นิยมเป็ นยีห่ อ้ ที่พวกเขาเฝ้าไขว่คว้าให้ได้มาอย่างกระเหี้ยนกระหือรื อ และเมื่อได้มาไว้

แล้ว ก็คอยปกป้องอย่างแข็งขัน พวกที่สนับสนุนเสรี นิยมนั้นพากันเปล่งปลัง่ เฉิดฉายด้วยรัศมีที่มนั

สาดใส่ ขณะพวกที่ตาหนิวจิ ารณ์มนั ก็ดูหมิ่นถิ่นแคลนความโลกสวยไร้เดียงสาหรื อเสแสร้งมารยา

ของมัน

เสรีนิยมฉพาะอย่ างอันล้นเหลือเฟื อฟาย

ยังมีอีกประเด็นปั ญหาหนึ่งให้ขบคิดอยู่ เสรี นิยมถือกาเนิดจากความเชื่อชุดหนึ่งของยุโรป

แต่มนั หาได้มีความหมายที่เห็นพ้องต้องกันแม้แต่ในทวีปเดียวนั้นไม่ ภายในยุโรปเอง กิตติศพั ท์

ของมันรวมทั้งนัยประหวัดที่มนั กระตุน้ ให้คิดถึงได้จดั วางมันไว้ ณ ตาแหน่งแห่งที่แตกต่างกันอย่าง

ยิง่ บนแถบจุดยืนทางการเมือง กล่าวคือ กลางค่อนไปทางซ้ายในสหราชอาณาจักร แต่กลับเป็ นกลาง

ค่อนไปทางขวาในฝรั่งเศสและเยอรมนี ในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียโดยเฉพาะในสวีเดน ความ

คิดเสรี นิยมจานวนมากถูกเผยแพร่ ภายใต้ชื่อเรี ยกว่าสังคมประชาธิปไตย (social-democracy) ขณะ


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 16
สิ่ งที่ถูกตีตราว่าเสรี นิยมที่นนั่ กลับมักถูกเชื่อมโยงกับลัทธิ ปัจเจกนิยมของชนชั้นนาหรื อชนชั้นกลาง

ในพื้นที่เป็ นอันมากของยุโรปและไกลโพ้นไปกว่านั้น นักสังคมนิยมทุกเฉดสี พากันกล่าวหาเสรี

นิยมว่ากระทาการต่อต้านผลประโยชน์ของชนชั้นคนงานและส่ งเสริ มความเห็นแก่ตวั ที่ต่อต้าน

สังคม อันเป็ นการท้าถามสาสน์เรื่ องการโอบรับนับรวมที่พวกเสรี นิยมจานวนมากปรารถนาที่จะ

เผยแพร่ ในยุโรปตะวันออกนับแต่การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. ๑๙๘๙ เป็ นต้นมา

เสรี นิยมถูกมองว่าช่วยหยิบยืน่ การปกป้องจากรัฐที่ล่วงล้ าแทรกแซงให้ และสนองแหล่งหลบภัย

ภายในประชาสังคมแก่พวกที่หลบลี้การรวมศูนย์อานาจมา แต่ชาวยุโรปตะวันออกอื่น ๆ กลับเห็น

ไปว่าเสรี นิยมช่วยหยิบยืน่ โอกาสความเป็ นไปได้ที่จะเสพรับดอกผลอันเลิศรสของความเจริ ญรุ่ ง

เรื องที่ขบั เคลื่อนด้วยตลาดมาให้แก่สังคมของตนซึ่งได้ถูกระบบอุดมการณ์และการเมืองในอดีต

ปฏิเสธโอกาสดังกล่าวมาช้านาน เสรี นิยมยังตกเป็ นเป้าของการเข้าใจผิดฝาผิดตัวและคลุมเครื อ

เคลือบแคลงด้วย ในสหรัฐฯ มันถูกมองเป็ นตัวสนับสนุนรัฐบาลที่ใหญ่โตและสิ ทธิมนุษยชน หรื อ

ในทางกลับกันคือเป็ นคาถามหาระรวยของรัฐพี่เลี้ยงเด็กทารกที่กล่อมประสาทให้ผคู ้ นมืออ่อนเท้า

อ่อน ในสังคมที่เคร่ งศาสนาบางแห่ง เสรี นิยมเท่ากับลัทธินอกรี ต คือหลงผิดไปถือมนุษย์เป็ นมาตร

วัดตัดสิ นสรรพสิ่ งแทนพระผูเ้ ป็ นเจ้า และยกย่องความทะนงหลงตัวทางโลกย์อนั เกิดจากความนิยม

ชมชอบของปัจเจกบุคคลให้อยูเ่ หนือเจตจานงอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์

ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาแทบไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เนื่องจากแน่อยูแ่ ล้วว่าลัทธิความ

เชื่อซึ่งเป็ นที่สนใจของสาธารณชนขนาดนั้นย่อมดึงดูดการวิพากษ์วจิ ารณ์และความระแวงสงสัย


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 17
อย่างหนักหน่วงในช่วงวิถีดาเนินทางประวัติศาสตร์ของมัน มีผคู ้ นที่ป่าวประณามเสรี นิยมว่าเป็ น

ลัทธิอนั ตรายที่ชอบบงการและทอนกาลังซึ่งภายใต้ป้ายชื่อฉายาของมันนั้นได้ทาร้ายทั้งสังคมและ

บุคคล นักหลังโครงสร้างนิยม (poststructuralists) จานวนมากได้กล่าวหาพวกเสรี นิยมว่าส่ งเสริ ม

อุดมคติจอมปลอมเรื่ องความสอดคล้องกลมกลืนและร่ วมมือกัน อีกทั้งมีลกั ษณะปัจเจกนิยมชนิดที่

ก่อความเสี ยหาย ปรปักษ์ทางวัฒนธรรมของมันบางคนตาหนิติเตียนมันที่ต้ งั ตัวอยูเ่ หนือภูมิปัญญา

ทางสังคมตามประเพณี ที่สั่งสมกันมา มันได้ถูกประณามว่าเป็ นคาประกาศเพื่อทุนนิยมไม่วา่ จะด้วย

กังวานเสี ยงที่เอื้ออาทรเพียงใด มันได้ถูกปัดปฏิเสธว่าเป็ นกลุ่มความคิดตะวันตกที่พยายามแทนที่

หรื อพิชิตความเข้าใจทางสังคมที่มีนยั สาคัญทางวัฒนธรรมแบบอื่น ๆ โดยนาเสนอข้ออ้างกลบ

เกลื่อนไม่เพียงให้แก่การขูดรี ดขนานใหญ่ในยุโรปเท่านั้น หากยังให้แก่นโยบายล่าเมืองขึ้นแต่ก่อน

เก่าในบรรดาอดีตเมืองขึ้นของยุโรปด้วย อันเป็ นเรื่ องที่น่าวิตกกังวลไม่นอ้ ยไปกว่ากัน มันได้ถูก

กล่าวโทษโจมตีวา่ เป็ นลัทธิที่ลม้ เหลวในอันที่จะให้คุณค่าทางสังคมที่สมควรแก่ผหู ้ ญิง ถูกล้อเลียน

ว่าเป็ นทรรศนะที่ขยายความมีเหตุผลแห่งพฤติกรรมของมนุษย์เกินเลยไปจนเบียดบังทั้งอารมณ์และ

ความรู ้สึกอันเร่ าร้อนแรงกล้า หรื อไม่มนั ก็ถูกดูแคลนว่าเป็ นทฤษฎีโลกสวยว่าด้วยฉันทามติเทียมที่

กลบเกลื่อนความหลากหลายและขาดตอนอันมีชีวติ ชีวาในมวลหมู่มนุษยชาติ

กล่าวโดยสรุ ป เสรี นิยมได้ถูกน้อมรับไปโดยผูแ้ สวงหาสัจธรรม ขานรับสนับสนุนโดยนัก

มนุษย์นิยม รณรงค์ส่งเสริ มโดยนักปฏิรูป ปัดปฏิเสธโดยอุดมการณ์คู่แข่ง จงใจฉวยใช้บิดเบือนโดย

บรรดาผูป้ รารถนาจะปลอมแปลงเจตนาทางการเมืองที่เป็ นจริ งของตน และโจมตีโดยพวกที่เห็นมัน


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 18
เป็ นม่านควันอาพรางพฤติกรรมต่อต้านสังคมซึ่งบังตาตนเอง ในรู ปโฉมจาแลงอันหลากหลายของ

มันนั้น เสรี นิยมเป็ นทั้งสิ่ งที่คู่ควรแก่การภาคภูมิใจและสิ่ งที่พึงถูกก่นด่าบ่นว่าในเวลาเดียวกัน

กระนั้นก็ตาม เมื่อพิจารณาครบถ้วนกระบวนความแล้ว เสรี นิยมก็นบั เป็ นหนึ่งในบรรดาทฤษฎีและ

อุดมการณ์ทางการเมืองที่มีบทบาทใจกลางและปกแผ่ครอบคลุมที่สุด ประวัติศาสตร์ของมันเป็ นที่

สถิตส่ งทอดมรดกอันสาคัญยิง่ แห่งการคิดที่ศิวไิ ล การปฏิบตั ิทางการเมือง และการริ เริ่ มสร้างสรรค์

ทางปรัชญา-จริ ยศาสตร์ ในช่วงวิถีที่มนั ปรากฏขึ้น เหล่ากระแสอันแตกต่างหลากหลายของมันได้

นามาซึ่งความสาเร็จที่สาคัญที่สุดบางประการของจิตวิญญาณมนุษย์ หากปราศจากเสรี นิยมเสี ยแล้ว

เราก็คิดนึกถึงรัฐสมัยใหม่ไม่ออก รัฐในความคิดจิตใจของพวกเสรี นิยมนั้นเป็ นรัฐที่จดั วาง

ประโยชน์สุขของปั จเจกบุคคลไว้เหนือประโยชน์สุขของผูป้ กครอง ตระหนักรู ้ขีดจากัดและความ

เป็ นไปได้ท้ งั หลายของการปกครอง ทาให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนผ่านตลาดเกิดขึ้นได้อนั จาเป็ นแก่

การธารงไว้ซ่ ึงมาตรฐานการครองชีพอันเหมาะสม ให้ความชอบธรรมแก่การถือครองทรัพย์สิน

เอกชนที่อานวยประโยชน์แก่ความรุ่ งเรื องไพบูลย์ของปัจเจกชน ปลดปล่อยปั จเจกบุคคลให้พน้ จาก

อุปสรรคอันเป็ นภาระกีดขวางเสรี ภาพและความเจริ ญรุ่ งเรื องของพวกเขา อีกทั้งเคารพกฎหมายและ

การจัดระเบียบสถาบันตามรัฐธรรมนูญ หากปราศจากการเคารพศักดิ์ศรี ความเป็ นมนุษย์แบบเสรี

นิยมเสี ยแล้ว คงยากที่จะจินตนาการถึงลักษณะริ เริ่ มต้นแบบและเอกลักษณ์ส่วนบุคคลออกมาได้ มิ

พักต้องพูดถึงการค้ าจุนมันให้ยงั่ ยืน แต่เสรี นิยมยังบรรลุผลสาเร็จมากกว่าที่กล่าวมานั้นอีก ใน


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 19
ประวัติศาสตร์ระยะใกล้ของมัน มันได้ยดึ มัน่ ความกังวลห่วงใยถึงชะตากรรมและสวัสดิภาพของคน

อื่น ๆ และยืนกรานเรื่ องสานึกอันอ่อนไหวต่อความแตกต่างทางสังคมภายในสังคมทั้งหลายด้วย

สรรพเสี ยงเสรีนิยม: ตัวอย่ างเบื้องต้ น

ขอให้เราลองมาสดับตรับฟังเสี ยงเสรี นิยมบางกระแสในกว่าสองศตวรรษที่ผา่ นมาเนื่อง

ด้วยเหตุที่มนั ได้กลายมาเป็ นชุดหลักการทางการเมืองที่เป็ นที่รู้จกั รวมทั้งเป็ นอุดมการณ์อนั ทรงพลัง

ด้วย แรกสุ ดได้แก่กระแสเสี ยงอันเร่ าร้อนกระตือรื อร้น:

“เสรี นิยม...เริ่ มต้นด้วยความตระหนักรับรู ้วา่ มนุษย์ผไู ้ ด้ทาสิ่ งที่พวกเขาประสงค์

ย่อมเสรี ว่าการกระทาของคนย่อมเป็ นของเขาเอง มาจากบุคลิกภาพของเขาเอง

และมิอาจไปบีบบังคับได้” (อาร์.จี. คอลลิงค์วดู )

“พวกเสรี นิยมเห็นว่าสิ ทธิ ของทุกคนไม่วา่ จะต่าต้อยแค่ไหน แปลกพิลึกหรื อเบื้อ

ใบ้เพียงใด ในอันที่จะวิจารณ์รัฐบาลนั้นย่อมเป็ นสิ่ งศักดิ์สิทธิ์” (ลีโอ เสตร๊ าส์)

“คาว่าเสรี นิยมเป็ นคาที่มีนยั การเมืองเป็ นหลัก แต่ความหมายทางการเมืองของ

คา ๆ นี้นิยามตัวมันเองด้วยคุณภาพชีวติ ที่มนั เล็งเห็น และโดยจิตตารมณ์ที่มนั

ปรารถนาจะยืนยัน” (ไลโอเนล ทริ ลลิ่ง)


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 20
“เสรี นิยมเป็ นเชื้อมูลที่แผ่ซ่านซึมซาบไปทัว่ โครงสร้างชีวติ แห่งโลกสมัยใหม่...

เสรี นิยมคือความเชื่อที่วา่ สังคมอาจก่อตั้งขึ้นได้อย่างปลอดภัยบนฐานอานาจชี้นา

ตนเองของบุคลิกภาพ ว่าชุมชนที่แท้จริ งจักสามารถสร้างขึ้นได้กแ็ ต่บนฐานนี้

เท่านั้น” (แอล.ที. ฮ๊อบเฮ้าส์)

แล้วก็มีกระแสเสี ยงที่วพิ ากษ์วจิ ารณ์ กระแสแบบหนึ่งถือว่าพวกเสรี นิยมเป็ นผูอ้ าศัยฐาน

ชนชั้นมาฉกฉวยเอารัดเอาเปรี ยบจากความได้เปรี ยบของตลาด คาร์ล มาร์กซ กับ ฟรี ดริ ช เองเกลส์

ได้เขียนถึงกลุ่มผลประโยชน์ชนชั้นกลางชาวฝรั่งเศสและเยอรมันในช่วงการปฏิวตั ิฝรั่งเศสไว้วา่

“การประพฤติปฏิบตั ิของลัทธิเสรี นิยมกระฎุมพีอนั แข็งขันกระตือรื อร้นนี้สาแดงตัวมันเองออกมา...

ในรู ปการทากาไรของพวกกระฎุมพีอย่างไร้ยางอาย” อีกกระแสเสี ยงหนึ่งเสนอว่าพวกเสรี นิยมได้

เปลี่ยนการเมืองไปเป็ นสนามแห่งการแข่งขันและพิพาทกันอันระส่ าระสาย แทนที่จะเป็ นเรื่ องของ

การแสวงหาความสมานฉันท์และเอกภาพ ฉะนั้นเอง ชองตาล มูฟ นักปรัชญาหลังมาร์กซิสต์ จึง

เขียนว่า “เสรี นิยมก็เพียงแค่ยกั ย้ายถ่านโอนเอาความหลากหลายของผลประโยชน์ที่ดารงอยูแ่ ล้วใน

สังคมมาใส่ ไว้ในปริ มณฑลสาธารณะ และลดทอนวาระทางการเมืองให้กลายเป็ นแค่กระบวนการ

เจรจาต่อรองในหมู่กลุ่มผลประโยชน์ท้ งั หลาย” ชาวอเมริ กนั หัวอนุรักษนิยมจานวนมากใช้เสรี นิยม

เป็ นคาสบประมาทและเชื่อมโยงมันกับรัฐบาลมือเติบที่ชอบก้าวก่ายแทรกแซงเกินไป หรื อไม่ก็

เชื่อมโยงมันกับความวิตกห่วงใยเกินเลยกับสิ ทธิของชนส่ วนน้อยและคนชายขอบทั้งหลายจน


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 21
กระทัง่ ละเลยบรรดาพลเมืองผูร้ ับผิดชอบซึ่งไม่ควรต้องมาแบกรับภาระความล้มเหลวประดามีของ

คนอื่น รัสเซล เคิร์ก นักเขียนหัวอนุรักษนิยมอเมริ กนั บ่นว่า “พวกเสรี นิยมทุกวันนี้กลายเป็ นผูป้ ่ าว

ร้องสนับสนุนระบบทรราชย์ของรัฐในทุกภาคส่ วน และกล่าวอ้างเจตนาของตนที่จะปลดปล่อย

ประชาชนให้เสรี เป็ นคาแก้ตวั ”

สุ ดท้ายเรามีกระแสเสี ยงของนักทฤษฎีและนักปรัชญาการเมืองวิชาชีพทั้งหลาย ภายใน

กลุ่มนี้นี่แหละที่ดา้ นหลักแล้วเสรี นิยมถูกมองเป็ นทฤษฎีแห่งความยุติธรรมและคุณธรรมสาธารณะ

ดังที่นกั ปรัชญา จอห์น รอลส์ แสดงความเห็นเรื่ องนี้ไว้วา่ “เนื้อหาของแนวคิดทางการเมืองแบบเสรี

นิยมว่าด้วยความยุติธรรมกอปรไปด้วยเชื้อมูลสามประการ ได้แก่ บัญชีรายการสิ ทธิและเสรี ภาพขั้น

พื้นฐานที่เท่าเทียมกัน การถือว่าเสรี ภาพเหล่านั้นสาคัญเป็ นอันดับแรก และการให้หลักประกันว่า

สมาชิกสังคมทั้งมวลมีปัจจัยสารพัดประสงค์เพียงพอที่จะใช้สิทธิและเสรี ภาพเหล่านี้” การแสดง

ทรรศนะอีกแบบหนึ่งเป็ นของ โรนอลด์ ดวอร์กิน นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ผูน้ ิยามเสรี นิยมจาก

มุมมองนิติ-ศีลธรรมว่าประกอบไปด้วยทฤษฎีแห่งความเสมอภาคอันเฉพาะเจาะจงหนึ่ง ซึ่งพลเมือง

ทั้งหลายจะได้รับการปฏิบตั ิต่ออย่างเท่าเทียมกันโดยยืนกรานว่า “รัฐบาลต้องเป็ นอุเบกขาต่อสิ่ งที่

อาจเรี ยกว่าคาถามเรื่ องชีวติ ที่ดี” สมมุติฐานในที่น้ ีกค็ ือปัจเจกบุคคลเป็ นผูเ้ ลือกเรื่ องเกี่ยวกับชีวติ

ของเธอหรื อเขาเองได้ดีที่สุด และรัฐบาลพึงหลีกห่างการเข้าไปบงการทางเลือกเชิงศีลธรรมใน

ปริ มณฑลส่ วนตัว


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 22
เสรีนิยมในฐานะประวัติศาสตร์ , อุดมการณ์ , และปรัชญา

มีวธิ ีรับมือการพบเผชิญเสรี นิยมในวาระโอกาสต่าง ๆ อยูส่ ามวิธี ก่อนอื่นคือเราอาจทาสิ่ ง

ที่คนมากหลายได้ทาและยังทาอยู่ ได้แก่การคัดสรรเอาบุคลิกลักษณะประการหนึ่งของเสรี นิยมออก

มาว่ามันถูกต้องขณะที่ปัดอันอื่นทิ้งไปอย่างรวบรัดในฐานที่มนั จอมปลอมหรื อผิดพลาด ไม่วา่ เรา

จะคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองการแสวงหาสัจจะแบบที่กล่าวมานั้นอย่างไร ก็ยอ่ มเห็นได้วา่ มันไม่

อนุญาตให้มีความยืดหยุน่ พลิกแพลงหรื อพหุนิยมในการศึกษาเสรี นิยม แทนที่จะทาเช่นนั้น เราอาจ

พยายามระบุเสรี นิยมที่เป็ นแบบฉบับที่สุดหรื อพบเห็นได้ทวั่ ไปที่สุดในบรรดาเสรี นิยมหลากเฉด

หลายประเภทแล้วตั้งมันเป็ นเกณฑ์เปรี ยบเทียบว่าเสรี นิยมหมายถึงอะไร ทว่าหากเราทาเช่นนั้นก็

สุ่ มเสี่ ยงต่อการที่ผสู ้ นับสนุนเสรี นิยมทั้งหลายจะพาลไขว้เขวผิดฝาผิดตัวต่อสิ่ งที่พวกเขาเชื่อว่าคือ

เสรี นิยม และเราก็อาจสละทิง้ ไปซึ่งความแนบเนียนและคุณภาพที่อยูใ่ นวิสัยของความคิดแบบเสรี

นิยม โดยเอามันไปขึ้นต่อทรรศนะที่ผนั แปรไปมาของเสี ยงข้างมากเสี ย ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือเรา

สามารถนาเสนอแผนที่สาหรับจัดวาง กาหนดตาแหน่งที่ต้ งั และสื บสาวที่มาของลักษณะทั้งหลาย

ของเสรี นิยมแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็ นลักษณะร่ วมกันและเอกเทศต่างหาก แผนที่ดงั กล่าวอาจช่วยให้เรา

เข้าใจได้วา่ เสรี นิยมอันแตกต่างหลากหลายกันนั้นถูกยาใหญ่ใส่ สารพัดขึ้นมาได้อย่างไร ด้วยแผนที่

นี้ในมือ เราสามารถประเมินคุณูปการและข้อบกพร่ องของเสรี นิยมในแบบฉบับสาคัญต่าง ๆ ขณะ

เดียวกันก็ตระหนักซึ้งถึงขอบข่ายและพลังของเสรี นิยมโดยรวมได้ ทางเลือกดังที่สาธยายมานั้นจะ

เป็ นวิธีการนาเสนอในที่น้ ี บทตอนต่าง ๆ ถัดไปจะวิเคราะห์ความเลือกนิยมชมชอบต่าง ๆ ที่ผคู ้ น


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 23
แสดงออกมาในการเล่าเรื่ องราวเกี่ยวกับเสรี นิยมของพวกเขา โดยมิจาเป็ นต้องรองรับสนับสนุน

ความนิยมชมชอบอันหนึ่งอันใด ทว่าก็ดงั ที่จะชี้ให้เห็นในบทที่ ๗ เราจาต้องตื่นตัวต่อการที่จุดยืน

แบบเสรี นิยมทั้งหลายมักลงเอยโดยถูกฉวยริ บไปด้วย

แต่ไหนแต่ไรมา พวกเสรี นิยมมองเห็นตนเองเป็ นส่ วนหนึ่งของประเพณี การคิดเรื่ อง

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม และพวกเขาก็อาจอ้างว่าได้สืบสายสกุลทางความคิด

อันน่าประทับใจมาจากผูป้ ่ าวร้องสนับสนุนสิ ทธิโดยธรรมชาติและความอดกลั้นอย่าง จอห์น ล็อค

(ค.ศ. ๑๖๓๒ – ๑๗๐๔) และผูอ้ อกหน้าต่อสู ้เพื่อเสรี ภาพอย่าง จอห์น สจ๊วต มิลล์ (ค.ศ. ๑๘๐๖ –

๗๓) ฉะนั้น วิธีการอันตั้งมัน่ เป็ นที่ยอมรับกันในการสื บค้นเสรี นิยมวิธีการหนึ่งก็คือการเข้าศึกษา

มันในฐานะเรื่ องราวทางประวัติศาสตร์วา่ บรรดาปั จเจกบุคคลและสังคมทั้งหลายก้าวหน้ากันมา

อย่างไร คาว่า “ก้าวหน้า” เป็ นคาสาคัญที่สุดในที่น้ ีเนื่องจากสมมุติฐานรองรับก็คือโครงการเสรี

นิยมจะนามาซึ่งการปรับปรุ งและประดิดประดอยแต่งเติมสภาพเงื่อนไขการดารงชีวติ ของมนุษย์ให้

ดีและวิจิตรพิสดารขึ้นในวิถีแห่งกระบวนการที่ดาเนินไปอย่างค่อยเป็ นค่อยไปและแน่วแน่มนั่ คง

ทว่าขณะพวกเสรี นิยมมีเรื่ องเล่าที่ไม่คลุมเครื อของตัวเองเกี่ยวกับหนทางที่เสรี นิยมเดินผ่านมานั้น

บรรดานักวิชาการเรื่ องเสรี นิยมก็อาจเล่าเรื่ องสิ่ งที่พวกเขาคิดว่าได้เกิดขึ้นในการเดินทางดังกล่าว

ออกมานานาฉบับอย่างค่อนข้างแตกต่างประชันกันไป พวกเขาอาจเห็นขัดแย้งกันอย่างแหลมคมว่า

อะไรคือความคิดหลักและสิ่ งริ เริ่ มแปลกใหม่อนั สาคัญยิง่ ของเสรี นิยม พวกเขาอาจเห็นแตกต่างกัน

ว่าเสรี นิยมบรรลุจุดสุ ดยอดในยุคสมัยเฉพาะเจาะจงหนึ่งหรื อเปล่า ว่ามันได้อ่อนแอลงในฐานะ


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 24
ทฤษฎีที่ใช้การได้ทฤษฎีหนึ่งหรื อกลับกลายเป็ นยิง่ ทียงิ่ สัมฤทธิ์ผลกันแน่ ว่ามันได้ทรยศหักหลัง

หรื อเสริ มสร้างรากเหง้าของมันให้แข็งแกร่ งกัน เสรี นิยมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่สม่าเสมอในวิถี

ประวัติศาสตร์ของมัน มันได้พอกพูนสัง่ สมข้อถกเถียงเอาไว้หลายช่วงชั้นพร้อมกับเวลาที่ล่วงเลย

ไปซึ่งได้เพิ่มเติมบุคลิกลักษณะของมันขึ้นมาอย่างหลวม ๆ เพื่อเกริ่ นนาการอภิปรายต่อไปข้างหน้า

ในบทที่ ๓ เราพอจะเสนอแนะไว้ชวั่ คราวในที่น้ ีก่อนได้วา่ เสรี นิยมนั้นประกอบด้วยช่วงชั้นข้อถก

เถียงที่ก่อตัวขึ้นตามกาลสมัยห้าช่วงชั้นด้วยกันในทางประวัติศาสตร์ (ดูกล่องข้อความ ๑)

กล่องข้ อความ ๑ ช่ วงชั้นข้ อถกเถียงทีก่ ่อตัวขึน้ ตามกาลสมัยของเสรีนิยม

๑. ทฤษฎีวา่ ด้วยอานาจที่ถูกจากัดเหนี่ยวรั้งซึ่งมุ่งหมายจะปกป้อง
สิ ทธิของปัจเจกบุคคลและค้ าประกันพื้นที่ให้ผคู ้ นมีชีวติ อยูไ่ ด้
โดยไม่ถูกรัฐบาลกดขี่
๒. ทฤษฎีวา่ ด้วยปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและตลาดเสรี ซ่ ึงทาให้
ปัจเจกบุคคลทั้งหลายสามารถหากาไรได้จากการแลกเปลี่ยน
สิ นค้าซึ่งกันและกัน
๓. ทฤษฎีวา่ ด้วยความก้าวหน้าของมนุษย์ตามเวลาที่ล่วงเลยไปซึ่ ง
มุ่งหมายที่จะทาให้ปัจเจกบุคคลสามารถพัฒนาศักยภาพและ
สมรรถภาพของตนขึ้นมาได้ตราบเท่าที่พวกเขาไม่ทาร้ายคนอื่น
๔. ทฤษฎีวา่ ด้วยการพึ่งพาซึ่งกันและกันและสวัสดิการที่กากับโดย
รัฐซึ่งจาเป็ นสาหรับการที่ปัจเจกบุคคลจะบรรลุเสรี ภาพและ
ความเจริ ญงอกงาม
๕. ทฤษฎีที่ตระหนักรับความหลากหลายแห่งลีลาชีวิตของกลุ่มและ
ความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งมุ่งหมายให้เกิดสังคมพหุนิยมที่อดกลั้นต่อกัน
ฟรี เดน / เสรี นิยม / 25
ช่วงชั้นข้อถกเถียงเหล่านี้บางช่วงชั้นก็ได้หายสู ญไปหรื อถูกบดบังไว้ในหลายกรณี ดว้ ย

เช่นกัน ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ช่วงชั้นต่าง ๆ บ้างอาจโดดเด่นขึ้นหรื อไม่กถ็ ดถอยลง ฉะนั้น เราจึง

อาจบรรลุขอ้ สรุ ปที่หลากหลายกันออกไปได้อย่างเด่นชัดในเรื่ องที่วา่ เสรี นิยมคัดท้ายตัวมันเอง

อย่างไรในท่ามกลางช่วงชั้นข้อถกเถียงดังกล่าว

แต่กด็ งั ที่ได้เอ่ยถึงแล้วว่าเสรี นิยมเป็ นอุดมการณ์หนึ่งที่ตอ้ งแก่งแย่งพื้นที่ในโลกที่แน่น

ขนัดไปด้วยอุดมการณ์นานาชนิดด้วยเช่นกัน นัน่ หมายความว่ามันย่อมแสดงออกซึ่งบุคลิกลักษณะ

ประดามีที่อุดมการณ์ท้ งั หลายมีร่วมกันในฐานะที่เป็ นชุดความคิด ความเชื่อและคุณค่าที่มุ่งโน้มนาสู่

การปฏิบตั ิและสาแดงแบบแผนเดิมออกมาซ้ าแล้วซ้ าอีก อันว่าอุดมการณ์ท้ งั หลายแหล่ยอ่ มมุ่งที่จะ

ให้ความชอบธรรมหรื อไม่กท็ า้ ประชันหรื อเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบทางสังคมและการเมืองของ

ชุมชนการเมืองหนึ่ง ๆ เสรี นิยมก็รณรงค์เพื่อควบคุมนโยบายสาธารณะและภาษาการเมืองใน

ลักษณะดังกล่าวด้วยเหมือนกัน แต่แน่ล่ะว่ามันเป็ นแค่อุดมการณ์หนึ่งท่ามกลางอุดมการณ์มากหลาย

และมันจึงต้องและยังจาเป็ นต้องต่อสู ้เพื่อช่วงชิงให้ได้การตระหนักรับและอิทธิพลมา

สาหรับมิติที่สาม เสรี นิยมประกอบขึ้นเป็ นโลกทรรศน์ทางปรัชญาที่พยายามสถาปนา

หลักการแห่งชีวติ ที่ดีซ่ ึงมนุษย์ผมู ้ ีเหตุผลทั้งปวงพึงสมาทาน ในความหมายนั้น มันจัดวางตัวเองอยู่

เหนือสนามประลองทางการเมือง คอยกาหนดมาตรฐานทางจริ ยธรรมอันเที่ยงแท้เป็ นเอกภาพซึ่ง

สังคมอารยะทุกหนแห่งพึงนาไปใคร่ ครวญและธารงรักษาไว้ มีบา้ งบางครั้งคราวเท่านั้นที่ทีทรรศน์

เชิงปรัชญาดังกล่าวจะคานึงถึงข้อจากัดเหนี่ยงรั้งทางโลกย์และวัฒนธรรมซึ่งส่ งผลให้การดลบันดาล
ฟรี เดน / เสรี นิยม / 26
ให้อุดมคติเหล่านั้นประจักษ์เป็ นจริ งเป็ นปั ญหายิง่ กระนั้นก็ตาม การสาธยายขยายความหลัก

ปรัชญาเสรี นิยมได้กลายเป็ นหัวใจของปรัชญาการเมืองในระยะหลังมานี้และฉะนั้นเราจะอุทิศพื้นที่

เพื่อสารวจข้อถกเถียงเหล่านั้นกันในบทที่ ๖

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีเสรี นิยมหลากหลายแบบ วิธีดีที่สุดน่าจะเป็ นการระบุเอกลักษณ์ของ

มันผ่านการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์และอุดมการณ์ มากกว่าการตั้งข้อสัจพจน์ทางปรัชญาว่าแบบ

ในอุดมคติของเสรี นิยมเป็ นเช่นใดซึ่งโดยธรรมชาติของสัจพจน์เองย่อมมีลกั ษณะเป็ นหน่วยเดียวอยู่

แล้ว ความหลากหลายของเสรี นิยมดังกล่าวเหล่านั้นดารงอยูใ่ นสองระดับด้วยกัน ระดับแรกเป็ น

เรื่ องของความแตกต่างทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมดังที่ได้แสดงให้เห็นมาแล้ว ต่อให้เป็ นเสรี นิยม

แบบสากลที่สุด – หากแม้นมันจะมีเสรี นิยมแบบนั้นอยูจ่ ริ งละก็ ถึงอย่างไรก็ยงั ต้องผ่านด่านกรอง

ทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ เช่นเดียวกับการทากับข้าว ส่ วนประกอบและรสชาติของท้องถิ่น

และภูมิภาคส่ งผลกระทบพอควรต่ออาหารเสรี นิยม ในศูนย์กลางการค้าและการเงิน คุณสมบัติดา้ น

การประกอบการที่เสรี นิยมส่ งเสริ มก็จะออกมาอยูแ่ ถวหน้า ในสังคมที่ผา่ นกระบวนการโลกวิสัย

ความเชื่อในความดีงามของมนุษย์จะเป็ นฐานรองรับความรู ้สึกอ่อนไหวและการเคารพต่อคนอื่น

แบบเสรี นิยม มากกว่าหลักคิดเรื่ องสิ ทธิ โดยธรรมชาติตามพระประสงค์ของพระผูเ้ ป็ นเจ้า ส่ วนใน

สังคมพหุวฒั นธรรมทั้งหลาย สิ ทธิอตั วินิจฉัยในระดับหนึ่งตามรัฐธรรมนูญของกลุ่มต่าง ๆ ภายใน

สังคมนั้นไม่วา่ จะเป็ นกลุ่มบนฐานชาติพนั ธุ์ ภูมิศาสตร์ ศาสนา หรื อเพศสภาพ จะโดดเด่นขึ้นมาใน


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 27
วาทกรรมเสรี นิยม รายละเอียดปลีกย่อยพิสดารทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นปรากฏออกมาในฐานะ

ผลลัพธ์แห่งความตระหนักรู ้เกี่ยวกับตาแหน่งที่ต้ งั ของเราในแง่กาละและเทศะ

สั ณฐานวิทยาแห่ งเสรีนิยม

การศึกษาอุดมการณ์ต่าง ๆ ยังทาให้เราตื่นตัวต่อความหลากหลายมากมายอีกชนิดหนึ่ง อัน

ว่าอุดมการณ์ท้ งั หลายแหล่รวมทั้งเสรี นิยมด้วยนั้นย่อมขยุม้ ขยาความคิดต่าง ๆ ให้ผสมผสานเข้าด้วย

กันโดยมีบุคลิกที่เป็ นเอกลักษณ์หรื อมีแบบแผนสัณฐานวิทยาที่เป็ นเอกเทศอย่างหนึ่ง มันจัดเรี ยง

แนวคิดทางการเมืองอย่างเช่นเสรี ภาพ ความยุติธรรม ความเสมอภาคหรื อสิ ทธิเข้าด้วยกันเป็ นกลุ่ม

ก้อน บรรดากลุ่มก้อนแนวคิดที่อยูต่ รงแกนกลางของเสรี นิยมย่อมปรากฏอยูใ่ นเสรี นิยมแบบฉบับ

ต่าง ๆ เท่าที่รู้จกั กันทั้งหมด มิฉะนั้นแล้วเราก็คงรู ้จกั จดจามันไม่ได้ เพื่อเกริ่ นนาการอภิปรายต่อไป

ข้างหน้าในบทที่ ๔ เราอาจบรรลุถึงซึ่งถ้อยแถลงชัว่ คราวบนฐานการวิเคราะห์สิ่งที่พวกเสรี นิยมได้

เคยพูดและเขียนไว้ดงั นี้คือ (ดูกล่องข้อความ ๒)

กล่องข้ อความ ๒ สั ณฐานวิทยาทางแนวคิดของเสรีนิยม

เสรี นิยมเป็ นอุดมการณ์ที่ประกอบด้วยแนวคิดทางการเมืองเจ็ดประการที่ปฏิสัมพันธ์


กันอยูต่ รงแกนกลางของมัน ได้แก่ เสรี ภาพ ความมีเหตุผล ปัจเจกภาพ ความก้าวหน้า
ความสามารถเข้าสังคมได้ ผลประโยชน์ทวั่ ไป และอานาจอันจากัดและพร้อมรับผิด
ฟรี เดน / เสรี นิยม / 28

เชื้อมูลแกนกลางทั้งเจ็ดประการเหล่านั้นเป็ นใจกลางที่เสรี นิยมแบบต่าง ๆ ทั้งหลายโคจร

โดยรอบ อย่างไรก็ตาม จากจุดนั้นความแตกต่างในหมู่เสรี นิยมทั้งหลายก็จะเริ่ มสาแดงตัวให้รู้สึก

ได้ ประการแรก สัดส่ วนน้ าหนักที่จดั วางให้แก่แนวคิดเหล่านี้แต่ละแนวภายในครอบครัวแห่งเสรี

นิยมนานาฉบับอาจแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่นเสรี นิยมบางแบบอาจตระหนักรับบทบาทของ

อารมณ์ความรู ้สึกและลดชั้นความสาคัญของความมีเหตุผลลงไปเล็กน้อย เสรี นิยมแบบอื่นอาจละ

ลดความสามารถเข้าสังคมได้ที่มีมาแต่กาเนิดของผูค้ นลง และอีกนัน่ แหละเสรี นิยมแบบอื่นที่เหลือก็

อาจนิยมชมชอบปัจเจกภาพในรู ปแบบที่แรงกล้ามากกว่าการแสดงความห่วงใยผลประโยชน์

ส่ วนรวมออกมาอย่างเด่นชัด ส่ วนประกอบพื้นฐานของค็อกเทลเสรี นิยมอาจคล้ายคลึงกัน แต่

ปริ มาณของส่ วนประกอบแต่ละอย่างอาจเปลี่ยนไป

ประการที่สอง แนวคิดเหล่านั้นทุกแนวคิดมีมากกว่าหนึ่งความหมาย ยกตัวอย่างเช่น

เสรี ภาพอาจหมายถึงภาวะปราศจากสิ่ งเหนี่ยวรั้งจากัดภายนอกซึ่งปล่อยให้เรามีอตั วินิจฉัยได้ แต่

มันก็อาจเชื่อมโยงกับความเป็ นไปได้ในการบ่มเพาะศักยภาพส่ วนบุคคลของเราเพื่อเอื้ออานวยให้

พัฒนาตนเองด้วย มันยังอาจหมายความต่อไปถึงการปลดปล่อยกลุ่มชนหรื อชนชาติโดยผ่านความ

พยายามร่ วมผสานกันของบรรดาสมาชิกเพื่อปลดเปลื้องตัวเองจากการควบคุมภายนอก หรื ออาจ

หมายถึงสภาวะใครใคร่ ทาอะไรก็ทาได้ในหมู่ปัจเจกบุคคลผูไ้ ม่ถูกจากัดเหนี่ยวรั้งซึ่งลงเอยเป็ น

อนาธิปไตยหรื อความโกลาหลวุน่ วายทางสังคม เนื่องจากแนวคิดทางการเมืองทั้งปวงล้วนคิดออก


ฟรี เดน / เสรี นิยม / 29
ไปได้หลายแนว จึงเกิดการประชันขันแข่งกันไม่รู้จกั จบจักสิ้ นว่าการคิดออกไปแนวไหนเหมาะสม

ที่สุดสาหรับชุดสภาพการณ์หนึ่ง ๆ บทบาทสาคัญยิง่ อย่างหนึ่งที่อุดมการณ์ต่าง ๆ แสดงก็คือการ

ตัดสิ นใจว่าจะขานรับสนับสนุนการคิดออกไปในแนวใดภายในแนวคิดแต่ละแนวที่บรรจุอยูใ่ นตัว

อุดมการณ์เหล่านั้น พูดอีกอย่างก็คืออุดมการณ์ต่าง ๆ ช่วยยุติลกั ษณะประชันขันแข่งกันอันเป็ นแก่น

แท้ของแนวคิดเหล่านี้ดว้ ยการมอบหมายความแน่นอนให้แก่ความหมายเหล่านั้นอันใดอันหนึ่งมิไย

ว่าความหมายที่วา่ นั้นจะเป็ นปัญหาหรื อมายาการสักเพียงใด วัฒนธรรมต่าง ๆ ทัว่ โลกย่อมจะนับ

รวมบางความหมายเข้ามาและกีดกันความหมายอื่นออกไป และก็ใช่วา่ การเลือกความหมายอันใด

อันหนึ่งจะต้องมาจากการตั้งใจหลอกลวงกันก็หามิได้ มันอาจเป็ นสิ่ งที่ผคู ้ นเชื่อโดยจริ งใจหรื อ

ทึกทักไว้ก่อนโดยไม่สานึกก็เป็ นได้ ท้ายที่สุดแล้ว มันไม่มีสูตรสาเร็จที่ถูกต้อง ไม่มีทรรศนะที่เป็ น

ภาววิสยั อย่างเบ็ดเสร็ จที่จะใช้มาประกันความมัน่ ใจให้จบเสร็จเด็ดขาดในทีเดียวได้วา่ อะไรบ้างกัน

แน่ที่เสรี นิยมควรควบกลืนเข้ามาและสื่ อความหมายถึง แต่ถึงกระนั้นในการดารงชีพของเรา เรา

จาต้องสร้างความแน่นอนต่าง ๆ ขึ้นมามิไยว่ามันจะชัว่ ประเดี๋ยวประด๋ าวหรื อผิดพลาดสักปานใด

เพราะหากปราศจากความแน่นอนเหล่านี้เสี ยแล้ว เราก็ไม่อาจจะเข้าใจโลกหรื อบรรลุการตัดสิ นใจ

ยามเผชิญกับทางเลือกที่ขดั แย้งกันได้ ในความหมายนี้ เสรี นิยมสนองแผนที่ฉบับหนึ่งในจานวนที่มี

อยูม่ ากมายหลายฉบับให้ในยามที่ผคู ้ นพยายามคัดท้ายแล่นฝ่ าสภาพแวดล้อมทางสังคมและการเมือง

ของตน มันเป็ นแผนที่ซ่ ึงได้ช่วยชี้ทิศนาทางปั จเจกบุคคล รัฐบาลและสังคมมาแล้วมากหลาย เราจะ

สอบทานแนวการศึกษาเสรี นิยมในเชิงแนวคิดนี้ในบทที่ ๔
ฟรี เดน / เสรี นิยม / 30
Liberal institutionsLiberalism is evidently also associated with political movements,
organizations, and parties. Most countries that practise forms of liberal democracy, in Europe or
elsewhere, have a liberal party either in name or in programme. Many institutions, not least on
the international stage, have seen themselves as purveyors of liberal ideas in the general sense.
The United Nations Charter of 1945 emphasizes the pursuit of peace, justice, equal rights, and
non-discrimination—principles straight out of the liberal lexicon (Figure 2). But here a gap
opens up between the ideological and institutional manifestations of liberalism. Liberal
ideologies are generally speaking broader than the parties and groupings that operate under that
name. J.M. Keynes memorably wrote, ‘Possibly the Liberal Party cannot serve the State in any
better way than by supplying Conservative Governments with Cabinets, and Labour
Governments with ideas.’ But pace Keynes, the Liberal party in Britain, or the Liberal
Democrats as they are now called, have fed off wider ranging liberal thinking over the years and
political parties are rarely a source of ideological innovation. Indeed, some parties flaunting the
label ‘liberal’ are far from liberal, an example being the Liberal Democratic party in Japan,
which is a centre-right conservative party. Liberal thinkers and ideas generally emerge from
debates among intellectuals, from the campaigning zeal of social reformers and journalists—
including newspapers aligned with liberal causes—and from dedicated pressure groups and,
more recently, think tanks and blogs. But due to their public profile, political parties are often
taken by public opinion to be the representatives of the ideologies they reference. During the 19th
century, Liberal parties were in their heyday and their influence over the ideological agenda was
at its highest, though that power has since declined. Parties are therefore only a partially reliable
indicator of the ideologies they claim to stand for. They also only seldom contain liberal
philosophers working at a specialized and abstract level of articulation, precisely because parties
have to engage in the kind of communicable and simplifying discourse that can attract large
numbers of voters. Occasionally political philosophers such as Mill have become members of
parliament, but in that capacity their influence has not been notable. In the following chapters we
will mention institutionalized liberalism only occasionally. It is an absorbing subject on its own,
but it will not lead us to liberalism’s heart.

You might also like