You are on page 1of 99

มสธ.

ฉบับพิเศษ 2
คาถาม
นายเดชอายุ 15 ปี เป็นบุตรชายของนายดารง ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์สมองได้รับความระทบ
กระเทือนอย่างหนัก ทาให้กลายเป็นคนวิกลจริต เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 นายดารงจึงยื่นคาร้องต่อศาล
ให้นายเดชเป็นคนไร้ความสามารถ ในระหว่างที่ศาลยังไม่มีคาสั่ง นายเดชได้ไปตกลงซื้อเครื่องรับโทรทัศน์จาก
นางมรกต 1 เครื่อง ซึ่งนางมรกตก็ขายให้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เนื่องจากรู้จักนายดารงบิดาของนายเดช
และไม่ ท ราบว่ า นายเดชวิ ก ลจริ ต ครั้ น วั น ที่ 15 มี น าคม 2535 ศาลได้ มี ค าสั่ ง ให้ น ายเดชตกเป็ น คนไร้
ความสามารถ ต่อมานายเดชได้ไปหลงรักนางสาวบุษบา จึงได้ยกเครื่องรับโทรทัศน์เครื่องดังกล่าวให้นางสาว
บุษบา ดังนี้ ท่านเห็นว่านายดารงจะเรียกคืนเครื่องรับโทรทัศน์จากนางสาวบุษบาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และ
จะขอบอกล้างสัญญาซื้อขายโทรทัศน์กับนางมรกตได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 21 ผู้ เยาว์จะทานิ ติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้ แทนโดยชอบธรรมก่อน
การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่ จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
2. มาตรา 29 การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทาลง การนั้นเป็นโมฆียะ
3. มาตรา 175 โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกกล่าวก่อนที่ตน
บรรลุนิติภาวะก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
(2) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ...หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี..
วินิจฉัย
บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์โดยบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่นายเดชอายุ 15 ปี
จึงยังเป็นผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมคือ นายดารงก่อน เมื่อ
นายดารงยังมิให้ความยินยอมในนิติกรรมซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆียะ การที่นายเดชเป็น
บุคคลวิกลจริตนั้นไม่จาต้องมาวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะนายเดชยังเป็นผู้เยาว์อยู่
ส่วนกรณีที่นายเดชได้ยกเครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าวให้นางสาวบุษบานั้น นายเดชเป็นบุคคลซึ่งศาลได้
สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว นายเดชไม่สามารถทานิติกรรมใดๆ ได้ ต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทาแทน ดังนั้น
การยกให้นี้จึงตกเป็นโมฆียะเช่นกัน
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าเห็นว่า นิติกรรมการซื้อขายและนิติกรรม
การยกให้ ตกเป็นโมฆียะ ดังนั้น นายดารงสามารถบอกล้างนิติกรรมการยกให้โดยเรียกคืนเครื่องรับโทรทัศน์
จากนางสาวบุษบาได้ในฐานะที่ตนเป็นผู้อนุบาล และสามารถบอกล้างสัญญาซื้อขายโทรทัศน์กับนางมรกตได้
ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม
วิเคราะห์
ตามคาถามข้อนี้ สามารถแบ่งประเด็นตอบได้ 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ การที่นายเดชไปตกลงซื้อ
เครื่องรับโทรทัศน์จากนางมรกต 1 เครื่อง สัญญาซื้อขายมีผลเป็นอย่างไร คาตอบคือ สัญญาซื้อขายเครื่องรับ
โทรทัศน์ย่อมตกเป็นโมฆียะ เนื่องจากนายเดชนายเดชยังเป็นผู้เยาว์ การทาสัญญานั้นต้องได้รับความยินยอม
จากผู้แทนโดยชอบธรรมคือนายดารงก่อน โดยไม่ต้องนามาตรา 30 เรื่องบุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้
เป็นคนไร้ความสามารถมาวินิจฉัย
ส่วนประเด็นที่ 2 การที่นายเดชซึ่งเป็นบุคคลที่ศาลสั่ งให้ เป็นคนไร้ความสามารถได้ยกเครื่องรับ
โทรทัศน์ให้แก่นางสาวบุษบา การนี้มีผลอย่างไร คาตอบคือ การให้ตกเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 29 ซึ่งคนไร้
ความสามารถจะทานิติกรรมใดๆ ไม่ได้เลย ต้องให้ผู้อนุบาลทาแทน
2

คาถาม
หนึ่งอายุ 14 ปี ได้ทาพินัยกรรมยกเงินสดของตนเองซึ่งเก็บไว้ให้ยายของตนจานวนหนึ่งเพราะหนึ่ง
รักและสงสารยาย ต่อมาอีก 5 ปี หนึ่งได้แอบเอาเงินไปให้ยายอีก เพราะยายเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ ต้องไป
รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล นิติกรรมที่สองครั้งนี้บิดามารดาของหนึ่งไม่รู้เรื่องแต่อย่างใด อีก 4 เดือนต่อมา บิดา
มารดารู้ถึงการที่หนึ่งได้แอบเอาเงินไปให้ยาย จึงให้หนึ่งไปเอาเงินจานวนนั้นคืน หนึ่งไม่ยอมเพราะรักยาย
อีก 2 ปีต่อมาหนึ่งได้ให้สัตยาบันพินัยกรรมและสัญญาให้ของตน ต่อมาอีก 1 ปีหนึ่งประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต
ดังนี้ พินัยกรรมมีผลทางกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด และการให้เงินยายมีผลทางกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 1073 พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทาขึ้นเป็นโมฆะ
2. มาตรา 21 ผู้เยาว์ทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ
ที่ผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ
3. มาตรา 175 โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
4. มาตรา 178 การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ย่อมทาได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณี
อีกฝุายหนึ่ง ซึ่งเป็นบุคคลที่ตัวกาหนดได้แน่นอน

วินิจฉัย
หนึ่งอายุ 14 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ยังทาพินัยกรรมไม่ได้ จะทาพินัยกรรมได้เมื่ออายุครบสิบห้าปี
บริบูรณ์ ดังนั้นพินัยกรรมที่หนึ่งทาจึงมีผลเป็นโมฆะ คือไม่มีผลในกฎหมาย (มาตรา 1703) หนึ่งให้สัตยาบัน
ไม่ได้
ต่อมาอีก 5 ปี หนึ่งอายุได้ 19 ปี ก็ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ได้ให้เงินยายไปโดยบิดามารดาไม่รู้ นั้นคือไม่ได้
รับความยินยอมให้ทานิติกรรม นิติกรรมการให้เงินยายจึงมีผลเป็นโมฆียกรรม (มาตรา 21)
การทีบ่ ิดามารดาให้หนึ่งไปเอาเงินคืนจากยายนั้น แม้ว่าบิดามารดาจะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ
หนึ่ง และเป็นผู้มีสิทธิในการบอกล้าง แต่การบอกล้างต้องทากับคู่กรณีอีกฝุายหนึ่ง คือต้องบอกล้างกับยายของ
หนึ่งจึงจะสมบูรณ์ แต่ตามข้อเท็จจริงบิดามารดาได้บอกล้างกับหนึ่ง การบอกล้างไม่สมบูรณ์ นิติกรรมการให้
ยังเป็นโมฆียกรรม
อีก 2 ปีต่อมา หนึ่งอายุ 21 ปีพ้นจากภาวะผู้เยาว์แล้ว จึงเป็นผู้มีสิทธิที่จะให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม
ที่ตนทาขึ้น เมื่อให้สัตยาบันแล้ว นิติกรรมการให้มีผลสมบูรณ์
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า
1. หนึ่งทาพินัยกรรมขณะที่มีอายุเพียง 14 ปี ซึ่งยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ พินัยกรรมนั้นจึงเป็น
โมฆะ
2. หนึ่งให้เงินยายขณะที่มีอายุ 19 ปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมและการ
บอกล้างไม่สมบูรณ์เพราะผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้ไปบอกล้างกับยายโดยตรง นิติกรรมการให้ยังเป็นโมฆีย ะ
ต่อมาหนึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หนึ่งได้ให้สัตยาบัน นิติกรรมการให้เงินยายจึงมีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมาย
3

**คาถาม 10** นายจันทร์อายุ 17 ปี รักใคร่อยู่กับนางสาวอังคารซึ่งมีอายุ 15 ปี ทั้งสองต้องการแต่งงาน


กัน แต่พ่อแม่ของทั้งสองฝุายไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าทั้งคู่ยังอยู่ในวัยเรียน นายจั นทร์และนางสาวอังคารไม่
เชื่อฟัง จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านและไปอยู่กินกันฉันสามีภรรยา ปีต่อมานางสาวอังคารประสบอุบัติเหตุ
ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง มีอาการคุ้มดีคุ้มร้ายเป็นบางเวลา แต่บางเวลาก็เป็นปกติ
ธรรมดา นายจันทร์เกรงว่านางสาวอังคารจะไปกระทาการอันก่อให้เกิดความเสียหายได้ นายจันทร์ต้องการจะ
ร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้นางสาวอังคารเป็นคนไร้ความสามารถ ดังนี้หากนายจันทร์มาปรึกษาท่าน ท่านจะให้
คาปรึกษานายจันทร์ว่าอย่างไร
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 28 วรรคแรกบัญญัติว่า “บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดามารดา
ปูุย่า ตายาย ทวด ก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ ก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครอง
ดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งบุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ
ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้”
2. มาตรา 20 บั ญญัติว่า “ผู้ เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภ าวะเมื่อทาการสมรส หากสมรสนั้นได้ทาตาม
บทบัญญัติ มาตรา 1448
3. มาตรา 1448 บัญญัติว่า การสมรสจะทาได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลจะอนุญาตให้ทาการสมรสก่อนนั้นได้
วินิจฉัย
นางสาวอังคารอายุ 15 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ แม้ว่าจะได้ไปอยู่กินกับนายจันทร์ฉันสามีภรรยาก็ตาม
แต่การไปอยู่กินกันดังกล่าวไม่ใช่การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการสมรสนั้นจะทาได้เมื่อทั้งชายหญิงมี
อายุ 17 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 1448) แต่ในกรณีนี้นางสาวอังคารอายุ 15 ปี ตอนไปอยู่กินกับนายจันทร์
ดังนั้นเมื่อเป็นการสมรสทีไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ทาให้นางสาวอังคารบรรลุนิติภาวะ (มาตรา
20) นางสาวอังคารจึงยังเป็นผู้เยาว์อยู่ เพราะอายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
เมื่อนายจันทร์ไม่ใช่สามีที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่านางสาวอังคารจะเป็นผู้วิกลจริต ซึ่งสามารถร้อง
ขอให้ศาลสั่งให้นางสาวอังคารเป็นคนไร้ความสามารได้ก็ตาม นายจันทร์มิใช่คู่สมรส ตามมาตรา 28 ที่จะร้อง
ขอได้ เพราะคู่สมรสตามนัยของมาตรา 28 นี้ต้องเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะมีสิทธิร้องขอต่อศาลได้
เมื่อนายจันทร์ไม่ใช่สามีที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งดังกล่าว
เมื่อนางสาวอังคารยังคงเป็นผู้เยาว์ ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลในกรณีนี้คือ บิดามารดาของนางสาว
อังคาร ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงมีสิทธิกระทาได้
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
หากนายจันทร์มาปรึกษา ข้าพเจ้าจะให้คาปรึกษาแก่นายจันทร์ว่า นายจันทร์ไม่สามารถร้องขอให้
ศาลสั่งนางสาวอังคารซึ่งเป็นคนวิกลจริตเป็นคน ไร้ความสามารถได้ เพราะนายจันทร์ไม่ใช่สามีที่ชอบด้วย
กฎหมาย นางสาวอังคารยังคงเป็นผู้เยาว์ บิดามารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงเป็นผู้มีสิทธิร้องขอ
4

มสธ. ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ 9


ข้อ 2 เอกอายุ 17 ปี ทาพินัยกรรมยกแหวนของตนให้โท เพื่อนสาวอายุ 17 ปี ต่อมาอีก 4 ปี เอกถูกรถชน
สมองฟั่นเฟือนเป็นคนวิกลจริต เอกได้ขายนาฬิกาของตนให้กับหนึ่ง โดยหนึ่งไม่ทราบว่าเอกวิกลจริต ต่อมาอีก
1 ปี ศาลสั่งให้เอกเป็นคนไร้ความสามารถ หนึ่งทราบว่าเอกถูกศาลสั่งดังกล่าว ต่อมาผู้อนุบาลของเอกมาบอกล้าง
สัญญาซื้อขายนาฬิกาซึ่งหนึ่งได้ทาไว้กับเอก หนึ่งไม่ยอมคืนนาฬิกาให้ เพราะซื้อไว้ในราคาถูกมาก ดังนี้
1. พินัยกรรมที่เอกทามีผลอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด
2. ผู้อนุบาลจะบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกีย่ วข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทาพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
2. มาตรา 30 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่ง ให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทาลง
การนั้นจะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้กระทาในขณะที่บุคคลนั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่า
ผู้กระทาเป็นคนวิกลจริต
วินิจฉัย
กรณีการทาพินัยกรรมของเอก
เรื่องพินัยกรรมนั้นผู้เยาว์สามารถทาพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อเอกมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
แล้วทาพินัยกรรม พินัยกรรมนั้นจึงมีผลสมบูรณ์
กรณีการบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาของผู้อนุบาล
จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า เอกได้ขายนาฬิกาให้หนึ่งในขณะวิกลจริตก่อนที่ศาลจะสั่งให้เอกเป็นคน
ไร้ความสามารถ และในขณะซื้อขายนาฬิกานั้นหนึ่งก็ไม่ทราบว่าเอกวิกลจริต จึงเป็นกรณีผลนิติกรรมการ
ซื้อขายระหว่างหนึ่งกับเอกนั้นสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ เพราะหนึ่งไม่รู้ว่าเอกวิกลจริตแต่อย่างใด แม้ต่อมาศาล
จะสั่งให้เอกเป็นคนไร้ความสามารถและหนึ่งก็ทราบถึงคาสั่งนี้ก็ตาม การซื้อขายก็สมบูรณ์ไปแล้ว ผู้อนุบาล
ของเอกจะบอกล้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า
1. เอกสามารถทาพินัยกรรมได้มีผลสมบูรณเพราะอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
2. ผู้อนุบาลบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาไม่ได้ เพราะการซื้อขายสมบูรณ์แล้ว
5

วิเคราะห์กฎหมายแพ่ง 1 (มสธ. ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ 9)


ข้อ 1 ยายทาหนังสือจดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่งให้หลาน คือ ม่วง ขณะนั้นม่วงอายุ 19 ปีบริบูรณ์ ต่อมา
อีก 5 เดือน ม่วงได้ตกลงกับขาวซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง ยอมเปิดทางในที่ดินส่วนที่ตนได้รับมาเพื่อจะ
เป็นทางที่ขาวจะใช้เป็นเส้นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยไม่ต้องอ้อมไปทางอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ขา
วจะโอนหุ้นในบริษัทแห่งหนึ่งให้
หลังจากทาสัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวได้ 5 เดือน ขาวก็มาพบม่วงอีก ขอให้ทาหนังสือฉบับหนึ่งเป็นการ
ให้สัตยาบันแก่สัญญาแลกเปลี่ยนนั้น ซึ่งม่วงก็ได้ทาให้ อีก 4 เดือนต่อมาพ่อของม่วงจึงได้รู้ถึงนิติกรรมทั้งสอง
พ่อของม่วงไม่พอใจจึงบอกล้างนิติกรรมทั้งสองนั้น ม่วงอ้างว่าตนได้บรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อบอกล้างไม่ได้ และ
ตนก็ได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาแลกเปลี่ยนแล้ว ดังนี้ พ่อของม่วงจะบอกล้างสัญญาให้และสัญญาแลกเปลี่ยนได้
หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดย ชอบธรรมก่อน
การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ
2. มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทาการใดๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือ
เป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
3. มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะบอกล้างเสียก็ได้
4. มาตรา 179 การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทาภายหลังเวลาที่
มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว
วินิจฉัย
ตามปัญหา ม่วงอายุ 19 ปีบริบูร ณ์ ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์ก็สามารถทานิติกรรม
บางอย่างได้โดยลาพังตามที่กฎหมายให้อานาจไว้ ในกรณีนี้คือ การทานิติกรรมสัญญาให้ ซึ่งเป็นการให้โดย
เสน่หาโดยม่วงได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของยายโดยไม่มีค่าภาระติดพันใดๆ ดังนั้นม่วงสามารถทาได้โดย
ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือพ่อของม่วง เพราะเป็นกรณีซึ่งผู้เยาว์อาจทานิติกรรม
เพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งนั่นเอง ดังนั้น นิติกรรมให้ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างยายและม่วงจึงสมบูรณ์
ส่วนสัญญาแลกเปลี่ยนซึ่งม่วงทาขึ้นกับขาวซึ่งเป็นเข้าของที่ดินใกล้เคียงนั้น ม่วงทาขึ้นในขณะที่ ม่วงมี
อายุ ได้ 19 ปี 5 เดือนนั้ น ม่ว งยั งเป็ น ผู้ เยาว์อยู่ ไม่ เข้าข้อยกเว้นซึ่งกฎหมายให้ กระทาได้ ดังนั้นนิติกรรม
แลกเปลี่ยนนี้ทาขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของพ่อม่วง จึงเป็นโมฆียะ
หลังจากทาสัญญาแล้ว 5 เดือน ม่วงมีอายุได้ 19 ปี 10 เดือน ม่วงก็ยังคงเป็นผู้เยาว์อยู่ การที่ม่วงทา
หนังสือเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาแลกเปลี่ยนนั้น ม่วงไม่สามารถกระทาได้ เพราะการให้สัตยาบันที่จะมีผล
ทาให้นิติกรรมสมบูรณ์นั้นต้องทาเมื่อภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะนั้นได้หมดสิ้นไปแล้ว หมายความว่า
หากม่วงผู้เยาว์จะทาการให้สัตยาบันการแลกเปลี่ยนให้มีผลสมบูรณ์ได้ ต้องทาเมื่อตนบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่
ในขณะที่ทาหนังสือให้สัตยาบันม่วงยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้น นิติกรรมแลกเปลี่ยนยังมีผลเป็นโมฆียะอยู่
พ่อของม่วงเป็นผู้ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะบอกล้างนิติกรรมซึ่งผู้เยาว์ได้ทาไปโดยปราศจากความ
ยินยอมของตน เพราะขณะบอกล้างนั้นม่วงบรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อของม่วงจึงไม่อยู่ในฐานะของผู้แทนโดย
ชอบธรรม
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า พ่อของม่วงบอกล้างสัญญาให้ไม่ได้ เพราะ
สัญญาให้สมบูรณ์ ม่วงสามารถทาได้โดยลาพัง เพราะเป็นกรณีซึ่งทาให้ผู้เยาว์ได้มาซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง และ
พ่อของม่วงบอกล้างสัญญาแลกเปลี่ยนไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในฐานะของผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว
6

ตัวอย่างคาถามอัตนัย มสธ.
ทองเป็ น สามี พ ลอยได้ เ ปิ ด ร้ า นค้ า เครื่ อ งเพชร วั น หนึ่ ง ทองถู ก รถยนต์ ช นสมองได้ รั บ ความ
กระทบกระเทือนอย่างมาก ผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีสติฟั่นเฟือน เมื่อกลับมาอยู่ที่ร้าน ทองได้โทรศัพท์
สั่งซื้อเครื่องเพชรจากห้างหุ้นส่วนจากัดอัญมณี มาเป็นจานวนเงิน 1 ล้านบาท ทางห้างฯ ดังกล่าวได้ส่งเครื่อง
เพชรจานวนดังกล่าวมาให้ทองตามสั่ง ต่อมาอีก 2 เดือน พลอยได้ยื่นคาร้องขอให้ศาลมีคาสั่งว่าทองเป็นคนไร้
ความสามารถ และศาลได้สั่งให้ทองเป็นคนไร้ความสามารถ ต่อมาทองได้สั่งซื้อบุษราคัมจากห้างฯ ดังกล่าวอีก
เป็นจานวนเงินอีก 1 ล้านบาท ทางห้างฯ ก็ได้ส่งของให้ตามสั่ง เพราะทองเป็นลูกค้าประจา โดยทางห้างฯ
มิได้รู้ถึงอาการฟั่นเฟือนหรือความเป็นคนไร้ความสามารถของทองแต่อย่างใด
ห้างฯ ได้มีหนังสือไปถึงทอง ทวงถามเงินค่าเครื่องเพชรและบุษราคัม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2 ล้านบาท
พลอยเมื่อทราบถึงหนังสือทวงเงิน จะอ้างว่าสัญญาซื้อขายทั้ง 2 ครั้ งไม่สมบูรณ์ เพราะตนไม่รู้ถึงการซื้อขาย
นั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 29 การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทาลงการนั้นเป็นโมฆียะ
2. มาตรา 30 การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทาลง
การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทาในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่า
ผู้กระทาเป็นคนวิกลจริต
กรณีตามปัญหาแยกประเด็นวินิจฉัย ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การซื้อขายครั้งแรกมีผลอย่างไร นางพลอยอ้างได้หรือไม่
ประเด็นที่สอง การซื้อขายครั้งที่สองมีผลอย่างไร นางพลอยอ้างได้หรือไม่
ประเด็นที่ 1
บุคคลวิกลจริต ตามมาตรา 30 หมายถึง บุคคลมีจิตไม่ปกติอย่างที่เรียกกันว่า คนบ้า คือ มีอาการ
คุมสติตนเองไม่ได้ และไม่มีความรู้สึกผิดชอบเยี่ยงคนธรรมดาแล้วยังหมายความรวมถึง บุคคลที่มีกริยาอาการ
ปิดปกติธรรมดา เพราะสติวิปลาส เนื่องจากการเจ็บปุวยถึงขนาดที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถ
ประกอบกิจการงานใดๆ ได้ด้วย
จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า นายทองนั้นเป็นบุคคลวิกลจริตและในช่วงแรกซึ่งออกจากโรงพยาบาลแล้ว
ได้ทานิติกรรมซื้อขายเครื่องเพชรก่อนที่ศาลจะสั่งให้ เป็นคนไร้ความสามารถ ทั้งคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งก็ไม่ได้รู้ว่า
นายทองนั้นเป็นคนวิกลจริตแต่อย่างใด ดังนั้น การซื้อขายในครั้งแรกจึงมีผลสมบูรณ์ นางพลอยจะอ้างว่านาย
ทองเป็นคนวิกลจริตการซื้อขายครั้งแรกไม่สมบูรณ์ไมได้ นางพลอยต้องชาระราคาค่าเครื่องเพชรซึ่งนายทองได้
สั่งซื้อไป
ประเด็นที่ 2
เมื่อศาลได้สั่งให้นายทองเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว ผลก็คือ นิติกรรมที่นายทองทาตกเป็นโมฆียะ
ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าคู่กรณีจะไม่รู้ว่านายทองเป็นคนไร้ความสามารถก็ตาม (มาตรา 29) กรณีนี้ นางพลอยสามารถ
บอกล้างสัญญาซื้อขายบุษราคัมระหว่างนายทองและคู่กรณีได้
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า
1. การซื้อขายครั้งแรกสมบูรณ์ นางพลอยบอกล้างไม่ได้
2. การซื้อขายครั้งที่ 2 เป็นโมฆียะ นางพลอยสามารถบอกล้างได้
7

ม.ราม
ข้อ 1 นายสมพงษ์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากนายสมชายซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ราคา 600,000
บาท โดยได้รับความยินยอมจากนายสมพร ซึ่งเป็นบิดาของนายสมพงษ์แล้ว ในวันทาสัญญาซื้อขาย นายสมชาย
ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่นายสมพงษ์ และนายสมพงษ์ได้วางเงินมัดจาให้ไว้แก่นายสมชาย 600,000 บาท
กาหนดชาระราคาส่วนที่ยังค้างอยู่ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เมื่อถึงกาหนดนายสมพงษ์ ไม่นาเงินไปชาระ
ให้แก่นายสมชาย นายสมชายจึงทาหนังสือบอกกล่าวเตือนให้นายสมพงษ์นาเงินไปชาระให้แก่นายสมชาย
ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเตือน เมื่อครบกาหนดตามหนังสือบอกกล่าวเตือนแล้ว
นายสมพงษ์ก็ยังไม่นาเงินไปชาระให้แก่นายสมชาย นายสมชายจึงทาหนังสือบอกเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์ส่ง
ให้แก่นายสมพงษ์ ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ความว่านายสมพรบิดาของนายสมพงษ์ ไม่ทราบเรื่องการบอกเลิก
สัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวแต่อย่างใด เช่นนี้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์ ซึ่งนายสมชายกระทาต่อ
นายสมพงษ์มีผลในทางกฎหมายอย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


1. มาตรา 170 การแสดงเจตนาซึ่งมีต่อผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือ
คนเสมือนไร้ความสามารถ จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับการแสดงเจตนาไม่ได้ เว้นแต่ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้
อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของผู้รับการแสดงเจตนานั้นได้รู้ด้วย หรือได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแล้ว
2. ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้าการแสดงเจตนานั้นเกี่ยวกั บการที่กฎหมายบัญญัติให้
ผู้เยาว์หรือคนเสมือนไร้ความสามารถกระทาได้เองโดยลาพัง
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็น ที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การบอกเลิ กสัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งนายสมชาย
กระทาต่อนายสมพงษ์มีผลในทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร เห็นว่า การที่นายสมชายได้ทาหนังสือบอกเลิก
สัญญาซื้อขายรถยนต์ส่งไปให้แก่นายสมพงษ์ซึ่งเป็นผู้เยาว์นั้น นายสมพรบิดาของนายสมพงษ์ไม่ได้รู้ถึงการ
แสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาดังกล่าว รวมทั้งไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแต่อย่างใด และเรื่องนี้ก็มิใช่กิจการ
ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้เยาว์กระทาได้เองโดยลาพัง กรณี จึงต้องตามหลักทั่วไปของการแสดงเจตนาต่อผู้
บกพร่องในความสามารถที่ผู้แสดง เจตนาจะยกเอาการแสดงเจตนานั้นขึ้นมาต่อสู้กับผู้รับการแสดงเจตนา
ไม่ได้ ตามมาตรา 170 วรรคแรก
ดังนั้น การที่นายสมชายบอกเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์ โดยส่งคาบอกกล่าวไปยังนายสมพงษ์โดยนาย
สมพรผู้แทนโดยชอบธรรมของนายสมพงษ์มิได้รู้ด้วยหรือให้ความยินยอมไว้ก่อน มีผลในทางกฎหมาย คือ
นายสมชายจะยกเอาการบอกเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์นั้นขึ้นต่อสู้หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ จากนายสมพงษ์
ไม่ได้

สรุป ผลทางกฎหมาย คือ นายสมชายจะยกเอาการบอกเลิก สัญญาซื้อขายรถยนต์ขึ้นต่อสู้กับนายสมพงษ์


ผู้เยาว์ไม่ได้
8

ข้อ 2 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 นาย ก. คนไร้ความสามารถได้ให้แหวนเพชรหนัก 1 กะรัต แก่นาย ข.


หลังจากนั้นอีก 6 ปี นาย ก. หายจากอาการวิกลจริต ผู้อนุบาลได้ร้องขอและศาลได้สั่งเพิกถอนคาสั่งที่ ให้
นาย ก. เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 31 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 นาย
ก. จาได้ว่าตนได้ให้แหวนเพชรแก่นาย ข. ประสงค์จะบอกล้างโมฆียกรรมนี้ จึงมาปรึกษาให้ท่านแนะนา
นาย ก. ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 179 วรรคสอง บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ จะให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม
ต่อเมื่อได้รู้เห็นซึ่งโมฆียกรรมนั้น ภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว
มาตรา 181 โมฆียะกรรมนั้น จะบอกล้างมิได้เมื่อพ้ นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้
หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทานิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น

วินิจฉัย
กาหนดการบอกล้างโมฆียะกรรม ตามมาตรา 181 นั้น จะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่
เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ ซึ่งกาหนดเวลาดังกล่าวนั้น ในกรณี นาย ก. คนไร้ความสามารถคือ วันที่ 1
ตุลาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่นาย ก. ได้รู้เห็น(จาได้ว่า) ซึ่งโมฆียกรรมนั้น หลังจากที่ศาลได้สั่งเพิกถอนคาสั่ง
ที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้วเมื่อประมาณ 4 ปี ที่ผ่านมาตามมาตรา 179 วรรคสอง
แต่อย่างไรก็ตาม เวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้นั้นต้องไม่เกดินเวลาสิบปีนับแต่ได้ทานิติ
กรรมอันเป็นโมฆียะนั้น ซึ่งในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นวันที่ครบสิบปีพอดี
ข้าพเจ้าจะแนะนาให้นาย ก. ต้องใช้สิทธิบอกล้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถ้าเกินกว่านั้นจะพ้น
เวลาสิบปีนับแต่ได้ทาโมฆียะกรรมขึ้น

สรุป นาย ก. ต้องใช้สิทธิบอกล้างภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2551


9

ข้อ 2 นาย ก. คนไร้ความสามารถ มีนาย ข. บิดาเป็นผู้อนุบาล เมื่อนาย ก. อายุ 18 ปี ได้ทาสัญญา


ขายสร้อยคอทองคาหนัก 2 บาท ให้นาย ค. ในราคา 5,000 บาท โดยที่นาย ข. มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย
แต่ประการใด ในขณะที่นาย ก. อายุ 21 ปี หายจากอาการวิกลจริต นาย ข. ได้ร้องขอต่อศาลและศาล
สั่งเพิกถอนคาสั่งที่ให้นาย ก. เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว ต่อมานาย ก. อายุ 25 ปี ได้รู้ว่าในขณะที่ตน
เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ได้ทาสัญญาขายสร้อยคอทองคาให้นาย ค. ไปในราคาถูก จึงมีความประสงค์จะ
บอกเลิกสัญญาซื้อขายนี้ แต่เห็นว่าสัญญาซื้อขายนี้ทิ้งระยะเวลาไว้นานถึง 7 ปีแล้ว จึงมาปรึกษาท่าน
ให้ท่านแนะนานาย ก. ว่า นาย ก.เป็นผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้หรือไม่ อย่างไร

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(2) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว

มาตรา 179 การให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมนั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทาภายหลังเวลาที่มูลเหตุ


ให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว
วรรคสอง บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ จะให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมต่อเมื่อได้รู้เห็นซึ่ง
โมฆียกรรมนั้น ภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว
มาตรา 181 โมฆียะกรรมนั้น จะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้
หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทานิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น

วินิจฉัย
ข้าพเจ้าให้คาแนะนาแก่นาย ก. ดังนี้ นาย ก. เป็นผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรม เพราะนาย ก.
พ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว เมื่อนาย ก. อายุ 21 ปี (มาตรา 175 (2))
นาย ก. ยั งมี สิ ท ธิ บ อกล้ างแม้ ร ะยะเวลาของสั ญญาซื้ อขายจะนานถึ ง 7 ปี แล้ ว ก็ ตาม เพราะ
ระยะเวลานั้นยังไม่พ้นเวลา 10 ปี นับแต่ได้ทาสัญญาซื้อขายอันเป็นโมฆียะแต่อย่างไร (มาตรา 181) แต่
นาย ก. จะต้องล้างภายในกาหนดระยะเวลาที่กฎหมายกาหนดไว้ กล่าวคือ จะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลา 1 ปี
นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ (มาตรา 181) ซึ่งได้แก่เวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว
(มาตรา 179 วรรคหนึ่ง) สาหรับกรณีนาย ก. คนไร้ความสามารถได้แก่ เวลาเมื่อ นาย ก. ได้รู้เห็นซึ่ง
โมฆียกรรมนั้นตอนอายุ 25 ปี และภายหลังที่พ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ (ตามมาตรา 179 วรรค
สอง) นั่นคือ นาย ก. ต้องบอกล้างภายในกาหนดอายุของนาย ก. ไม่เกิน 26 ปี

สรุป นาย ก. เป็นผู้มีสิทธิบอกล้าง และต้องบอกล้างภายในอายุ 26 ปี


10

ข้อสอบเก่า-มสธ.
คาถาม
แสงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการเล่นดนตรี จึงได้ตั้งวงดนตรีคณะ เขียวทอง โดยบิดาของแสงได้
ให้การสนับสนุนฝึกซ้อมให้ และบางครั้งก็รับติดต่องานแทนแสงด้วย
วันหนึ่ง ปอเพื่อนสาวของแสงอายุ 17 ปี เป็นคนวิกลจริต ได้มาติดต่อขอให้แสงนาวงดนตรีไปเล่นใน
งานวันเกิดตนโดยแสงไม่ทราบว่าปอวิกลจริต จึงตอบตกลงครั้นใกล้ถึงวันงานบิดาของปอทราบเรื่องการจ้างวง
ดนตรี จึงรีบโทรศัพท์มาหาบิดาของแสง และขอบอกเลิกการจ้างดังกล่าวแต่ปรากฏว่าบิดาแสงไม่อยู่ แสงเป็น
คนรับสายเอง แต่ไม่บอกเรื่องนี้ แก่บิดาของตน ครั้นถึงวันงานแสดงก็นาวงดนตรีไปแสดงตามที่ตกลงไว้ และ
ขอคิดค่าแสดงเพียงครึ่งเดียวจากที่ตกลงไว้เพราะเห็นแก่เพื่อ ดังนี้บิดาของปอจะปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าแสดงได้
หรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย
หลักกฎหมาย
มาตรา 21 บัญญัติว่า อันผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ก่อนบรรดาการใดๆอันผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากการยินยอมเช่นว่านั้นท่านว่าเป็นโมฆียะ
มาตรา 28 วรรคแรกบัญญัติว่า ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้ทากิจการค้าขายรายหนึ่งหรือหลายรายแล้ว
ในความเกี่ยวพันกับกิจการค้าขายอันนั้น ท่านว่าผู้เยาว์ย่อมมีฐานะเสมือนดั่งบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ฉะนั้น
มาตรา 137 บัญญัติว่า “โมฆียะ” กรรมนั้น ท่านว่าบุคคลดังกล่าวต่อไปนี้คื อผู้ไร้ความสามารถก็ดี
หรือผู้ได้ทาการแสดงเจตนาโดยวิธีวิปริต หรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทั กษ์หรือทายาทของบุคคลเช่นว่า
นั้นก็ดีจะบอกล้างเสียก็ได้
ปอ อายุ 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ไม่ไม่สามารถทานิติกรรมใด ๆ ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาซึ่ง
เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมการที่ปอไปติดต่อจ้างแสงให้นาวงดนตรีไปแสดงในวันเกิดของตนนั้นเป็นนิติกรรมซึ่ง
ทาโดยบิดามิได้ยินยอม ดังนั้นนิติกรรมนี้จึงตกเป็นโมฆียะ บิดาของปอซึ่งเป็นผู้ที่สามารถบอกล้างนิติกรรมการ
จ้างนี้ได้ (ม.21 ม.137)
ส่วนกรณีที่ปอเป็นคนวิกลจริตนั้นไม่มีประเด็นที่จะต้องกล่าวถึง แต่อย่างใดเพราะปอเป็นผู้เยาว์นิติ
กรรมใดๆ ที่ทาลงโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมตกเป็นโมฆียะ
แสงนั้นแม้ว่าจะอายุ 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่ตั้งวงดนตรีรับงานแสดงนี้เป็นเรื่อง
ข้อยกเว้น ซึ่งผู้เยาว์สามารถกระทาได้ คือทากิจการค้าและในการนี้เมื่อบิดาของแสงได้ให้การสนับสนุนฝึก
ซ้อมให้และติดต่อรับงานแทนด้วย ก็เป็นการแสดงว่าบิดาได้อนุญาตให้แสงกระทากิจการค้าได้โ ดยปริยายแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ในความเกี่ยวพันกับกิจการดนตรีของคณะเขียวทอง แสงมีฐานะเสมือนดังผู้บรรลุนิติภาวะ เมื่อ
บิดาของปอขอบอกล้างนิติกรรมการจ้างกับแสงนั้นถือว่าการบอก ล้างสมบูรณ์แล้ว นิติกรรมการจ้างเป็น
โมฆียะมาแต่เริ่มแรก แม้บิดาของแสงจะไม่ทราบก็ตาม ดังนั้น บิดาของปอปฏิบัติไม่ยอมจ่ายค่าแสดงได้
11

๑. กาบอายุ ๗๕ ปี เป็น อัมพาตเดินไม่ได้ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลก้อนอายุ ๑๔ ปีเป็นหลานมาเยี่ยมกาบ


จึงแอบยกเงินจานวนหนึ่งให้ก้อนโดยมิได้บอกให้แสงซึ่งเป็นมาราดารู้ ต่อมาอีก ๑ ปี ก้อนถูกรถยนต์ชนจนเป็น
คนวิกลจริต และ อีก ๒ ปีต่อมาได้แอบให้แหวนของตนแก่สร้อยโดยสร้อยไม่รู้ว่าก้อนวิกลจริต อีก ๑ ปีต่อมา
ก้อนหัวใจวายแสงจึงรู้ถึงนิติกรรมต่าง ๆ ที่ก้อนได้ทาขึ้น จึงได้บอกล้างนิติกรรมนั้น
๑.๑ การยกให้สองครั้ง มีผลอย่างไร หรือไม่เพราะเหตุใด
๑.๒ มารดาสามารถบอกล้างนิติกรรมทัง้ สองหรือไม่เหตุใด

ตอบ
มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากสภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๒ ผู้ เยาว์อาจทาการใดๆ ได้ทั้งสิน หากเป็นเพียงเพื่อมีสิ ทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการ
เพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใด
มาตรา ๒๑ ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้
ทาลงปราศจากความยินยอมถือว่าเป็นโมฆะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้อย่างอื่น มาตรา ๑๗๕ โมฆียกรรมนั้น บุคคล
ต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
ผู้แทนโดยชอบธรรม ขณะที่กาบผู้เป็นยายยกเงินให้ ก้อนนั้น ก้อนยังถือว่าเป็นหลักแจ้งผู้เยาว์จะทา
นิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ แต่กรณีนี้
ถือเป็นยกเว้น
เนื่องจากเป็นการที่ผู้เยาว์ได้รับเงิน นิติกรรมรับการให้จากเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดย
ชอบธ รรมก่อนการให้นี้จึงสมบูรณ์เพราะเป็นการได้ไปซึ่งสิทธิเพียงอย่างเดียวต่อมาอีก ๑ ปี ซึ่งก้อนมีอายุ ๑๔
ปี ก้อนได้ถูกรถยนต์ช นชนจนเป็น คนวิกลจริต และอีก ๒ ปีต่อมา คือก้อนอายุได้ ๑๗ ปี ได้ให้ แหวนนิติ
กรรมการให้ย่อมตกเป็นโมฆียะโดยไม่ต้องคานึงว่าสร้ อยจะรู้ว่าก้อนเป็นคนวิกลจริต เพราะก้อนก็เป็นผู้เยาว์
นิติกรรมใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมตกเป็นโมฆียะการให้สร้อยนี้ย่อมตก
เป็นโมฆียะเพราะมารดามิได้ให้ความอย่างไร
สิทธิบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ คือผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นของก้อนนั้นเองแต่การบอกล้างนิติ
กรรมยายไม่ได้เพราะการให้ผลนั้นมีผลสมบูรณ์นั้นแล้ว
แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล
ข้อ 1 นายโฉดทราบว่านายธรรมต้องการเช่าพระสมเด็จวัดกระดิ่งองค์หนึ่ง จึงบอกกับนายธรรมว่านายเฉยมี
พระองค์ที่นายธรรมต้องการเช่า และตนสามารถนัดหมายให้นายเฉยมาพบกับนายธรรมเพื่อทาสัญญาเช่าพระ
ดังกล่าวได้ แต่แท้จริงแล้วนายโฉดทราบว่าพระที่นายเฉยเป็นเจ้าของเป็นพระที่ทาขึ้นเลียนแบบพระสมเด็จวัด
กระดิ่งเท่านั้น นายธรรมได้ไปติดต่อขอดูพระของนายเฉยแล้วเห็นว่าเป็นพระที่สวยงาม เชื่อว่าเป็นพระสมเด็จ
วัดกระดิ่งที่แท้จริง จึงเช่ามาในราคา 1 ล้านบาท โดยนายเฉยไม่ทราบว่า นายโฉดบอกกับนายธรรมว่าพระ
ของตนเป็นพระสมเด็จวัดกระดิ่งที่แท้จริง ต่อมา นายธรรมทราบว่าพระที่ตนเช่ามาไม่ใช่พระสมเด็จวัดกระดิ่ง
แต่เป็นพระเลียนแบบ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าสัญญาเช่าพระดังกล่าวมีผลอย่างไร
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นโมฆียะ
ความสาคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสาคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสาคัญ
ซึ่งหากมิได้มีความสาคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
2. มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การที่กลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็น
โมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็นโมฆียะ
ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น

วินิจฉัย
กรณีตามปัญหา การที่นายธรรมได้ทานิติกรรมโดยการทาสัญญาเช่าพระกับนายเฉย เพราะหลงเชื่อ
ข้อเท็จจริงตามที่นายโฉดกล่าวอ้างว่าพระของนายเฉยเป็นพระสมเด็จวัดกระดิ่งที่แท้จริง จึงถือว่านายธรรมได้
ทานิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉล และเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นายธรรมก็คงจะ
มิได้ทาสัญญาเช่าพระองค์นั้น ตามมาตรา 159 วรรคแรกและวรรคสอง
จากข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่า เป็นกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก ซึ่งตามกฎหมายนิติกรรมจะตกเป็น
โมฆีย ะ ก็ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้นด้วย ตามมาตรา 159 วรรคสาม เมื่อ
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง คือ นายเฉย ไม่ทราบถึงกลฉ้อฉลดังกล่าว ดังนั้นสัญญาเช่าพระระหว่าง
นายธรรมกับนายเฉยจึงไม่ตกเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉล
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายธรรมได้เช่าพระดังกล่าวจากนายเฉยไปแล้ว มาทราบภายหลังว่าพระที่ตนเช่ามา
ไม่ใช่พระสมเด็จวัดกระดิ่งแต่เป็นพระเลียนแบบ ซึ่งถ้าตนได้ทราบตั้งแต่แรกก็คงจะไม่ทาสัญญาเช่าพระองค์นี้
แน่นอน ดังนั้นนายธรรม ย่อมสามารถอ้างได้ว่านิติกรรมการเช่าพระดังกล่าวได้เกิดขึ้นเพราะตนได้สาคัญผิดใน
คุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสาคัญของนิติกรรม นิติกรรมในรูปของสัญญาเช่าพระดังกล่าว
จึงมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 157
จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงวินิจฉัยว่า
สัญญาเช่าพระดังกล่าวมีผ ลเป็น โมฆียะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสาคัญผิด ในคุณสมบัติของ
ทรัพย์สิน ตามมาตรา 157
2

ข้อ 2 นาย ก ตกลงซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนาย ข โดยนาย ข มิได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่านาย ค ได้มา


หลอกลวงนาย ก โดยบอกว่าที่ดินแปลงดังกล่าวจะมีโครงการตัดถนนผ่าน ทาให้ที่ดินติดถนนสาธารณะไม่มี
ที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ซึ่งนาย ก หลงเชื่อ เมื่อซื้อไปแล้วไม่มีโครงการตัดถนนดังคากล่าวอ้างของนาย ค แต่อย่างใด
นาย ก ไม่ต้องการที่ดินแปลงนี้แล้ว จึงมาปรึกษาท่าน ให้ท่านแนะนานาย ก ถึงผลของสัญญาซื้อขายนี้ว่ามี
อยู่อย่างไรตามกฎหมาย
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นโมฆียะ
ความส าคั ญ ผิ ด ตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งเป็ น ความส าคั ญ ผิ ด ในคุ ณ สมบั ติ ซึ่ ง ตามปกติ ถื อ ว่ า เป็ น
สาระสาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสาคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
2. มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การที่กลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็น
โมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็น
โมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น

วินิจฉัย
กรณีตามปัญหา การที่นาย ก ได้ทานิติกรรมโดยการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนาย ข เพราะได้หลงเชื่อ
ข้อเท็จจริงตามที่นาย ค ได้หลอกลวงนาย ก ว่าที่ดินแปลงดังกล่าวจะมีโครงการตัดถนนผ่านทาให้ที่ดินติด
ถนนสาธารณะไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ จึงถือว่านาย ก ได้ทานิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉล และเป็นกลฉ้อฉลที่
ถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นาย ก ก็คงจะมิได้ทาสัญญาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวจากนาย ข ตาม
มาตรา 159 วรรคแรกและวรรคสอง
จากข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่า เป็นกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก ซึ่งตามกฎหมายนิติกรรมจะตกเป็น
โมฆีย ะก็ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ งได้รู้ หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้นด้วย ตามมาตรา 159 วรรคสาม เมื่อ
ปรากฏว่า คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง คือนาย ข มิได้รู้หรือควรจะรู้ว่านาย ค ได้มาหลอกลวงนาย ก ดังนั้นสัญญา
ซื้อขายที่ดินระหว่างนาย ก กับนาย ข จึงไม่ตกเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉล
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนาย ก ได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวจากนาย ข ไปแล้ว มาทราบในภายหลังว่าไม่มี
โครงการตัดถนนดังคากล่าวอ้างของนาย ค ซึ่ง ถ้านาย ก ได้ทราบตั้ งแต่แรกก็คงจะไม่ทาสัญญาซื้อขาย
ที่ดินแปลงนี้แน่นอน ดังนั้นนาย ก ย่อมสามารถอ้างได้ว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินดังกล่าวได้เกิดขึ้นเพราะ
ตนได้แสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสาคัญของนิติกรรม
นิติกรรมในรูปของสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าว จึงมีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 157

จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจะให้คาแนะนาแก่นาย ก ว่าสัญญาซื้อขาย


ที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆียะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตามมาตรา 157
3

ข้อ 3 ที่ดินของนายเหลืองเป็นที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ นายเหลืองจึงขอซื้อที่ดินของนายแดงซึ่งติด


กับที่ดินของตน เพื่อเป็นทางออกสู่สาธารณะ นายแดงตกลงขายที่ดินจานวน 3 ไร่ ให้แก่นายเหลือง ซึ่ง ปกติที่ดิน
ราคาเพียงไร่ละ 1 ล้านบาท แต่เนื่องจากนายแดงให้คารับรองว่าที่ดินของตนนั้นติดกับทางสาธารณะ นายเหลือง
เชื่อตามนั้น จึงยอมจ่ายเงินซื้อที่ดินจากนายแดงในราคาไร่ละ 2 ล้านบาท ซึ่งแพงกว่าปกติของที่ดินในบริเวณ
เดียวกับที่ไม่ติดทางสาธารณะ ต่อมานายเหลืองมาทราบภายหลังว่า นายแดงโกหกตน ที่ดินของนายแดงไม่ติด
ทางสาธารณะตามที่น ายแดงให้ คารั บ รองดังกล่ าว ดังนี้ ถ้าท่านเป็นทนายความของนายเหลื อง ท่านจะให้
คาแนะนาที่ดีที่สุดแก่นายเหลืองว่าอย่างไร เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 159 วรรค 1 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอัน
เป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
2. มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ ให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่า
ที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

วินิจฉัย
จากข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่า การที่นายแดงให้คารับรองว่าที่ดินของตนที่จะขายให้แก่นายเหลืองเป็น
ที่ดินติดกับทางสาธารณะ แต่เมื่อปรากฏว่าที่ดินของนายแดงนั้นไม่ติดทางสาธารณะตามที่นายแดงให้คารับรอง
ถือได้ว่านายแดงได้ขายที่ดินให้แก่นายเหลืองโดยทาการฉ้อฉลแล้ว
ผลของกลฉ้อฉลทาให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ ก็ต่อเมื่อกลฉ้อฉลนั้นถึงขนาด ซึ่งหมายถึงว่า ถ้ามิได้มีกล
ฉ้อฉลเช่นว่านั้นนิติกรรมก็จะมิได้ทาขึ้นเลย แต่ในกรณีนี้นายเหลืองมีเจตนาที่จะซื้อที่ดินของนายแดงเพื่อเป็น
ทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว เพียงแต่ได้ซื้อที่ดินจากนายแดงในราคาที่แพงกว่าปกติของราคาที่ดินในบริเวณ
เดียวกับที่ดินที่ไม่ติดทางสาธารณะ จึงถือว่าการทากลฉ้อฉลของนายแดงนั้นเป็นเหตุที่ทาให้นายเหลืองต้องชาระ
ราคาสูงกว่าราคาซื้อขายปกติ เมื่อนายเหลืองเจตนาซื้อที่ดินของนายแดงเพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว
ดังนั้นจึงเห็นว่านิติกรรมมิได้เกิดจากกลฉ้อฉลถึงขนาดแต่อย่างใด นิติกรรมจึงไม่เป็นโมฆียะ แต่กรณีนี้เป็นกลฉ้อฉล
เป็นแต่เพียงเหตุจูงใจทาให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งต้องยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่เขาจะยอมรับโดยปกติ แม้ว่า
จะไม่มีกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ ผู้ถูกกลฉ้อฉลก็ยังทานิติกรรมนั้นอยู่ดี นิติกรรมสมบูรณ์จะบอกล้างไม่ได้
ได้แต่เพียงเรียกค่าสินไหมทดแทนราคาที่จ่ายเกินไปเท่านั้น
จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นทนายความของนายเหลือง ข้าพเจ้า
แนะนานายเหลืองมิให้บอกล้างนิติกรรมซื้อขายดังกล่าว เพราะนิติกรรมไม่ตกเป็นโมฆียะ แต่จะแนะนาให้นาย
เหลืองฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้ และสามารถฟ้องได้ภายใน
อายุความ 10 ปี เพราะกรณีดังกล่าวกฎหมายมิได้กาหนดอายุความไว้
4

ข้อ 4 นายวิชิตเดินหาซื้อแจกันลายครามในร้านของนายวิชัย เห็นแจกันลายครามโบราณใบหนึ่งในร้าน


นายวิชิตต้องการซื้อแจกันใบนั้น จึงถามนายวิชัยว่า “แจกันใบนี้ราคาเท่าไร มีตาหนิหรือไม่ ” นายวิชัยตอบว่า
“แจกันใบนี้ไม่มีตาหนิเลย สวยงาม ราคา 10,000 บาท” นายวิชิตหลงเชื่อ ตามคาตอบของนายวิชัยว่าแจกัน
ใบนั้นไม่มีตาหนิ จึงต่อรองราคา ในที่สุดได้ตกลงซื้อแจกันใบนั้นราคา 8,000 บาท เมื่อนายวิชิตกลับถึงบ้าน
ได้ตรวจดูแจกันใบนั้นอย่างละเอียด จึงพบว่าแจกันใบนั้นมีรอยร้าวเล็กน้อยซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าเกือบไม่เห็ น
ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ความว่า ถึงแม้ว่านายวิชิตรู้ว่าแจกันใบนี้มีรอยร้าวเล็กน้อยเช่นนั้น นายวิชิตก็ซื้อ แต่จะซื้อ
ในราคาเพียง 5,000 บาท ซึ่งเป็นราคาในท้องตลาดทั่วไป สาหรับแจกันที่มีรอยร้าวเล็กน้อยเช่นนั้น ในกรณี
ดังกล่าวนี้ นายวิชิตจะบอกล้างนิติกรรมซื้อขายแจกันนั้น หรือเรียกร้องอะไรจากนายวิชัยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 159 วรรค 1 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอัน
เป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
2. มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่า
ที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบ ที่จะเรียกเอาค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

วินิจฉัย
กลฉ้อฉลถึงขนาดนั้นต้องเป็นการจูงใจโดยหลอกลวงให้เข้าใจผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุให้เขาเข้าทา
นิติกรรมด้วย ซึ่งถ้าไม่มีการหลอกลวงเช่นว่าแล้ว นิติกรรมก็จะมิได้ทาขึ้นเลย
จากข้อเท็จ จริ ง จะเห็ น ได้ว่า การที่นายวิชิตได้ส อบถามนายวิชัยผู้ ขายว่าแจกันใบนี้มีตาหนิห รือไม่
นายวิชัยตอบว่า ไม่มีตาหนิ นายวิชิตหลงเชื่อคาตอบของนายวิชัยว่าแจกันใบนี้ไม่มีตาหนิ จึงได้ตกลงซื้อแจกัน
ใบนั้น ในราคา 8,000 บาท กรณีเช่นนี้ ถือว่านายวิชัยผู้ขายแจกันทากลฉ้อฉลลวงนายวิชิตเพื่อซื้อแจกันมีตาหนิ
ผลของกลฉ้อฉลคือ ทาให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อกลฉ้อฉลนั้น ถึงขนาด ซึ่งหมายถึงว่า ถ้ามิได้มี
กลฉ้อฉลนั้น นิติกรรมการซื้อขายแจกันจะมิได้มีขึ้นเลย แต่ในกรณีนี้นายวิชิตต้องการซื้อแจกัน แม้แจกัน ใบนี้
มีรอยร้าวเล็กน้อยเช่นนั้นนายวิชิตก็ซื้อ แต่จะซื้อในราคาเพียง 5,000 บาท ซึ่งเป็นราคาในท้องตลาดทั่วไป ดังนั้น
จึงเห็นว่า นิติกรรมมิได้เกิดจากกลฉ้อฉลถึงขนาดแต่อย่างใด นิติกรรมจึงไม่เป็นโมฆียะ แต่กรณีนี้เป็นกลฉ้อฉล
เป็นแต่เพียงเหตุจูงใจเพื่อให้ยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่ นายวิชิตจะต้องรับตามปกติ แม้ว่าจะไม่มีกลฉ้อ
ฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ ผู้ถูกกลฉ้อฉลก็ยังทานิติกรรมนั้นอยู่ดี นิติกรรมสมบูรณ์จะบอกล้างไม่ได้ แต่นายวิชิต
ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนราคาที่จ่ายเกินไปจากนายวิชัยได้
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น นายวิชิตจะบอกล้างสัญญาซื้อขายแจกันไม่ได้ แต่
นายวิชิตชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนราคาที่จ่ายเกินไปอันเกิดจากกลฉ้อฉลจากนายวิชัยได้
5

ข้อ 5 ก. ต้องการซื้อแหวนเพชร จึงไปที่ร้านขายแหวนเพชรแห่งหนึ่งซึ่งเป็นของ ข. ก. เลือกแหวนเพชรที่


ข. นามาเสนอขาย ก. ชอบแหวนเพชรวงหนึ่งจึงถาม ข. ว่า แหวนวงนี้ราคาเท่าไร ข. ตอบว่าราคา
100,000 บาท ก. ถามว่า แหวนวงนี้เพชรมีตาหนิหรือไม่ ข. ตอบว่าไม่มีตาหนิ ก. จึงตกลงซื้อ ต่อมา
อีก 10 วัน ก. เอาแหวนเพชรวงนั้นให้ ค. ดู ค. ใช้เลนส์ขยายส่องดูพบว่าเพชรของแหวนวงนั้นมีรอยขีดข่วน
เล็กน้อยซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อย่างไรก็ตามถึงแม้ ก. ทราบว่าเพชรของแหวนวงนั้นมีรอนขีดข่วนเล็กน้อย
เช่นนั้น ก. ก็ซื้อ แต่จะซื้อในราคาเพียง 80,000 บาทเท่านั้น เช่นนี้ ก. จะบอกล้างสัญญาซื้อขายแหวน
เพชรวงนั้นได้หรือไม่ หรือมีสิทธิเรียกร้องอย่างใด เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 159 วรรค 1 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอัน
เป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
2. มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่ า
ที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบ ที่จะเรียกเอาค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

วินิจฉัย
กลฉ้อฉลถึงขนาดนั้นต้องเป็นการจูงใจโดยหลอกลวงให้เข้าใจผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุให้เขาเข้าทา
นิติกรรมด้วย ซึ่งถ้าไม่มีการหลอกลวงเช่นว่าแล้ว นิติกรรมก็จะมิได้ทาขึ้นเลย

จากข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่าการที่ ก ได้สอบถาม ข ว่า แหวนวงนี้เพชรมีตาหนิหรือไม่ ข. ตอบว่า


ไม่มีตาหนิ ก. จึงตกลงซื้อ ในราคา 100,000 บาท กรณีเช่นนี้ถือว่า ข ผู้ขายแหวนเพชรทากลฉ้อฉลลวง ก
ผู้ซื้อแหวนเพชร
อีก 10 วั น ต่ อมา ก จึ งทราบว่า ความจริง เพชรของแหวนวงนั้น มีต าหนิ เป็ น รอยขี ด ข่ว นเล็ กน้ อ ย
อย่างไรก็ตามถึงแม้ ก ทราบว่าเพชรของแหวนวงนั้นมีตาหนิเล็กน้อยเช่นนั้น ก ก็ซื้อ แต่จะซื้อในราคาเพียง
80,000 บาท เมื่อ ก มีเจตนาที่จะซื้อแหวนเพชรตั้งแต่แรกแล้ว ดังนั้นจึงเห็นว่านิติกรรมมิได้เกิดจากกล
ฉ้อฉลถึงขนาดแต่อย่างใด แต่กรณีนี้เป็นกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจเพื่อให้ยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่า
ที่ ก จะต้องรับตามปกติ แม้ว่าจะไม่มีกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ ผู้ถูกกลฉ้อฉลก็ยังทานิติกรรมนั้นอยู่ดี
นิติกรรมสมบูรณ์ จะบอกล้างไม่ได้ ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนซึ่งข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่ ก จะ
ยอมรับโดยปกติ (เรียกคืนเงินได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนในส่วนของราคาที่สูงขึ้นเท่านั้น)
จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ก จะบอกล้างสัญญาซื้อขายแหวนวงนั้นไม่ได้
แต่ ก มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนราคาที่จ่ายเกินไปจาก ข ได้
6

วิเคราะห์กฎหมายแพ่ง 1 (มสธ. ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ 9)

ข้อ 6 ขาวไปซื้อลูกสุนัขที่รานขายสุนัขของดา ดาบอกขาวว่า สุนัขตัวนี้เป็นสุนัขพันธุ์ไทยแท้ แต่ที่จริงแล้ว


เป็นพันธุ์ทาง ขาวซื้อสุนัขตัวนั้นเพราะว่าน่ารัก มีสีสวยถูกใจ จะเป็นพันธุ์อะไรก็ไม่ได้ใส่ใจ แต่ต้องจ่ายเงินค่า
สุนัขในราคาแพง เพราะดาหลอกขาวว่าเป็นพันธุ์ไทยแท้ เมื่อขาวนาสุนัขมาบ้าน บิดาของขาวเห็นสุนัข ก็รู้ว่า
ไม่ใช่ พันธุ์ ไทยแท้ แต่เป็ นพันทาง ขาวจึ งไปพบดาขอคืนสุ นัขให้ ดาและขอรับเงินค่าสุ นัขคื น โดยอ้างว่าดานั้ น
หลอกลวงตน แต่ดาไม่ยอมคืน ดังนี้
ก. การซือ้ ขายสุนัขมีผลอย่างไร
ข. ขาวสามารถเรียกเงินค่าสุนัขคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ค. ดาคนขายสุนัขไม่รับลูกสุนัขคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 159 วรรค 1 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็น
โมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
2. มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่า
ที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบ ที่จะเรียกเอาค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

วินิจฉัย
กลฉ้อฉลถึงขนาดนั้นต้องเป็นการจูงใจโดยหลอกลวงให้เข้าใจผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุให้เขาเข้าทา
นิติกรรมด้วย ซึ่งถ้าไม่มีการหลอกลวงเช่นว่าแล้ว นิติกรรมก็จะมิได้ทาขึ้นเลย

จากข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่าขาวนั้นเข้าทานิติกรรมซื้อขายลุกสุนัขมิใช่เพราะหลงเชื่อคาหลอกลวงของดา
เรื่องสุนัขพันธุ์ไทยแท้แต่อย่างใด แต่ขาวเข้าทานิติกรรมเพราะความน่ารัก มีสีสวยถูกใจ จะเป็นพันธุ์อะไรก็
ไม่ได้ใส่ใจ ถึงแม้ดาจะไม่หลอกลวงขาวก็ซื้อลูกสุนัขนั้นอยู่ดี ดังนั้นจึงเห็นว่านิติกรรมมิได้เกิดจากกลฉ้อฉล
ถึงขนาดแต่อย่ างใด นิ ติกรรมจึ งไม่เป็ น โมฆียะ แต่กรณีนี้เ ป็นกลฉ้อฉลเป็นแต่ เพียงเหตุ จูงใจเพื่อ ให้ ยอมรั บ
ข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่ขาวจะต้องรับตามปกติ แม้ว่าจะไม่มีกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ ผู้ถูกกลฉ้อฉล
ก็ยังทานิติกรรมนั้นอยู่ดี นิติกรรมสมบูรณ์จะบอกล้างไม่ได้ ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนซึ่งข้อกาหนดอันหนัก
ยิ่งกว่าที่ขาวจะยอมรับโดยปกติ (เรียกคืนเงินได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนในส่วนของราคาที่สูงขึ้นเท่านั้น)
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า
ก. การซื้อขายลูกสุนัขสมบูรณ์ เพราะเป็นกลฉ้อฉลเพียงเหตุจูงใจ
ข. ขาวเรียกเงินคืนได้เป็นค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในส่วนราคาที่สูงขึ้นเท่านั้น
ค. ดาคนขายสุนัขไม่รับสุนัขคืนได้
7

ข้อ 7 (มสธ.ฉบับพิเศษ 2)
บริษัทจอเปิดร้านขายเครื่องไฟฟ้าหลายชนิด ทั้งได้โฆษณาด้วยว่าสินค้าทุกชนิดมีอะไหล่พร้อมและเป็น
ของนอก ลองได้ซื้อเครื่องซักผ้ามาจากบริษัทจอ เพราะได้ทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดีตามที่เพื่อนเคยบอกตน
มา เมื่อซื้อไปแล้ว ต่อมาเครื่องซักผ้าเสีย บริษัทบอกว่าซ่อมได้ แต่ อะไหล่นอกไม่มีขาดตลาดมานานแล้ว ลองมา
ปรึกษาท่านว่าต้องการคืนเครื่องซักผ้าโดยอ้างว่าถูกบริษัทหลอกและให้บริษัทคืนเงินมาให้บางส่วนก็ได้ ท่านจะให้
คาปรึกษาแก่ลองอย่างไร
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่งจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็น
โมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
วินิจฉัย
การถูกฉ้อฉลนั้นต้องเป็นการหลอกลวงจนถึงขนาด คือ ต้องหลอกต้องหลอกให้หลงเชื่อจนเข้าทานิติกรรมนั้น
หากไม่มีการหลอกลวงเช่นนั้นแล้ว นิติกรรมนี้ก็จะมิได้เกิดขึ้นเลย
จากข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่า การที่ลองได้ซื้อเครื่องซักผ้าจากบริษัทจอ โดยได้ทดสอบการใช้งานแล้ว
เห็นว่าดี จึงได้ตัดสินใจซื้อเครื่องซักผ้าดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การที่ลองได้ตกลงใจซื้อเครื่องซักผ้ านั้นไม่ได้
เกิดจากการถูก กลฉ้อฉลแต่อย่างใด เพราะลองได้ตัดสินใจซื้อเอง มิได้ซื้อเพราะหลงเชื่อโฆษณาเรื่องอะไหล่แต่
อย่างใด
ดังนั้นการซื้อเครื่องซักผ้าจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ การที่บริษัทจอได้โฆษณาด้วยว่าสินค้าทุกชนิดมีอะไหล่
พร้อมและเป็นของนอกนั้น ไม่ได้ทาให้ลองหลงเชื่อ จึงไม่เป็นกลฉ้อฉลถึงขนาด ดังนั้น การซื้อขายนี้มีผลสมบูรณ์
เมื่อการซื้อขายสมบูรณ์แล้ว จะอ้างว่าถูกบริษัทหลอกแล้วขอคืนเงินไม่ได้
จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจะให้คาปรึกษาแก่ลองว่า การที่ลองได้
ตกลงใจซื้อเครื่องซักผ้านั้นไม่ได้เกิดจากการถูกกลฉ้อฉลแต่อย่างใด การซื้อขายนี้มีผลสมบูรณ์ ลองจะอ้างว่าถูกบริษัท
หลอกแล้วขอคืนเงินไม่ได้
8

ข้อ 8 นาย ก. ทาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งของนาย ข. โดยที่นาย ข. ไม่รู้ว่าที่ดินของตนจะถูก


เวนคืนเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีม่วงของ รฟม. อยู่ ทั้งนี้ นาย ข. ได้นาโฉนดที่ดินมาให้นาย ก. ดู
และพูดรับรองว่าที่ดินไม่มีภาระผูกพันใดๆทั้งสิ้น ต่อมาปรากฏว่าที่ดินของนาย ข. แปลงดังกล่าวถูกเวนคืน
นาย ก. จึงบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับนาย ข. โดยอ้างว่าถูกนาย ข. ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงตน
ข้ออ้างของนาย ก. ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การที่กลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็น
โมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น

วินิจฉัย
กลฉ้อฉลถึงขนาดนั้นต้องเป็นการจูงใจโดยหลอกลวงให้เข้าใจผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุให้เขาเข้าทา
นิติกรรมด้วย ซึ่งถ้าไม่มีการหลอกลวงเช่นว่าแล้ว นิติกรรมก็จะมิได้ทาขึ้นเลย

จากข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่า ในขณะที่นาย ก. และนาย ข. ทาสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันนั้น นาย ข.


ไม่รู้ว่าที่ดินจะถูกเวนคืนกรณีดังกล่าว นาย ข. ได้นาโฉนดที่ดินมาให้ นาย ก. ดู และพูดรับรองว่าที่ดินไม่มี
ภาระผูกพันใดๆ เท่านั้น นาย ข. มิได้หลอกลวงหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับที่ดินซึ่งตกอยู่ในเขตที่ต้องถูก
ทางราชการเวนคืนแต่อย่างใด

สรุป ดังนั้น ข้ออ้างของนาย ก. ฟังไม่ขึ้น กรณีไม่เป็นกลฉ้อฉลแต่อย่างใด


9

ข้อ 9 ตัวอย่างอัตนัย มสธ.


ก ผู้เยาว์อายุ 17 ปี ได้ทากิจกรรมการค้าขายเครื่องแก้ว แจกัน และเครื่องลายคราม โดยได้ค้าขายมา
เป็นเวลา 1 ปีแล้ว ค บิดาของ ก รู้เห็นก็มิได้ว่ากล่าวแต่อย่างใดคงปล่อยให้ ก ทาการขายของดังกล่าวตลอดมา
ทั้งบางครั้งยังไปช่วยขายแทนด้วย ในวันหนึ่ง ง เข้ามาในร้าน ก ต้องการซื้อแจกัน ใบหนึ่งซึ่งมีรูปร่างลักษณะ
และสีสันสวยงามมาก แต่แจกันใบนั้นปากกระเทาะไป ก ได้เอาปูนพลาสเตอร์ปะไว้ แล้ วทาสีให้เข้ากับสีของ
แจกัน ดูแล้วไม่รู้ว่าเป็นแจกันปากกระเทาะ ทั้งนี้เพื่อตบตาผู้ซื้อ และ ก บอกกับ ง ว่าไม่มีตาหนิ แต่ประการ
ใดเลย ง ตกลงซื้อจาก ก ในราคาสูงมากตามสภาพของแจกันสวย แต่ ง ก็คิดว่าหากแจกันนั้นมีตาหนิจริงก็
จะซื้อ เพราะถูกใจในรูปร่างและสีสัน ทั้งเข้ากับห้องรับแขกของตนได้พอดี ถ้าเอาแจกันนั้นไปปักดอกไม้ก็จะไม่เห็น
ตาหนินั้น ตลอดจนตาหนินั้นก็ทาเรียบร้อยดี แต่ถ้า ง รู้ก็จะตกลงในราคาต่ากว่านี้ เมื่อ ง ซื้อไปแล้ว จึงรู้
ความจริงนั้นภายหลัง ง มีความเสียใจมาก ต้องการบอกล้างการซื้อขายรายนี้ และเห็นว่า ก เป็นผู้เยาว์ไม่มี
อานาจขายได้ เนื่องจากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ง จึงมาหาท่านในฐานะเป็นทนายความ
ท่านจะแนะนาข้อกฎหมายแก่ ง อย่างใดบ้าง
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ
ที่ผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
2. มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือ
ธุรกิจอื่น หรือในการทาสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอม
โดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
3. ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ หรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดัง
บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
4. มาตรา 159 วรรคแรก การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
5. มาตรา 159 วรรค 2 การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มี
กลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น
6. มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่
คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่ แต่ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน
เพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้

วินิจฉัย
ก เป็นผู้เยาว์อายุ 17 ปี ตามหลักทั่วไปแล้วจะทานิติกรรมใดต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
ในที่นี้คือ บิดาของตนเสียก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทาลงจะตกเป็นโมฆียะ แต่ตามข้อเท็จจริงผู้เยาว์ได้
ทากิจการค้าขายโดยค้าขายมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว บิดาของ ก รู้เห็นมิได้ว่ากล่าวคงปล่อยให้ ก ทาการค้าขาย
ทั้ง บางครั้งยังช่วยขายแทน จึงเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นในเรื่องผู้เยาว์ได้รับอนุญาตโดยปริยาย ให้ทาการ
ค้าขายได้ซึ่งในเรื่องนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทาขึ้นอันเกี่ยวกันกับกิจการค้าขายนั้นเป็นอันสมบูรณ์ เพราะผู้เยาว์มีฐ านะ
เสมือนดังบุคคลบรรลุนิติภาวะ
การที่ ง ซื้อแจกันจาก ก โดยไม่รู้ว่าแจกันนั้นปากกระเทาะ เพราะ ก ได้เอาปูนพลาสเตอร์ปะไว้
ง ได้ถูก ก ทากลฉ้อฉลเพื่อซื้อแจกันมีตาหนิ ผลของกลฉ้อฉลคือ ทาให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อ
กลฉ้อฉลนั้นถึงขนาด ซึ่งหมายถึงว่า ถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลนั้น นิติกรรมการซื้อขายแจกันจะมิได้มีขึ้นเลย แต่ในกรณีนี้
ง ต้องการซื้อแจกัน แม้แจกันจะมีรอยตาหนิก็จะซื้อ แต่จะซื้อในราคาที่ต่ากว่านี้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่านิติกรรมมิได้
เกิดจากกลฉ้อฉลถึงขนาดแต่อย่างใด นิติกรรมจึงไม่เป็นโมฆียะ แต่กรณีนี้เป็นกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจเพื่อให้
10

ยอมรับข้อกาหนดอันหนักยิ่งกว่าที่ ง จะต้องรับตามปกติ แม้ว่าจะไม่มีกลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจ ผู้ถูกกลฉ้อฉล


ก็ยังทานิติกรรมนั้นอยู่ดี นิติกรรมสมบูรณ์จะบอกล้างไม่ได้ ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนซึ่งข้อกาหนดอันหนัก
ยิ่งกว่าที่ ง จะยอมรับโดยปกติ (เรียกคืนเงินได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนในส่วนของราคาที่สูงขึ้นเท่านั้น)
จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าในฐานะเป็นทนายความจะแนะนาแก่
ง ว่า การซื้อขายแจกันสมบูรณ์ ง บอกล้างนิติกรรมดังกล่าวไม่ได้ แต่ ง ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน
ราคาที่จ่ายเกินไปได้ และกรณีของ ก ผู้เยาว์นั้น ถือได้ว่า ก เป็นผู้เยาว์ที่ได้รับการอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบ
ธรรมให้ทากิจการค้าขายโดยปริยาย นิติกรรมที่ ก ทาขึ้นอันเกี่ยวกันกับกิ จการค้าขายนั้นเป็นอันสมบูรณ์
เพราะ ก มีฐานะเสมือนดังบุคคลบรรลุนิติภาวะ

หมายเหตุ กรณีผู้เยาว์ทานิติกรรม ให้วางหลัก มาตรา 21 ก่อนเสมอ


กรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ให้วางหลักมาตรา 159 วรรคแรกและวรรคสอง เสมอ
11

คาถาม 2 นายสองไปซื้อผ้าที่ร้านขายผ้าแห่งหนึ่ง ได้โฆษณาขายโดยอวดอ้างว่าเนื้อผ้าของร้านนี้รับรองไม่ยับไม่


ย่น แล้วขยาผ้าให้ดูก็ปรากฏว่าไม่ยับจริง นายสองจึงซื้อผ้าไหมเพราะเชื่อคาอวดอ้างนั้น และนามาตัดเสื้อใหม่
ปรากฏว่าเมื่อนามารีดเตารีดมีความร้อนสูง ทาให้ผ้าย่นเสียหายสวมใส่ไม่ได้จึงนาเสื้อผ้ามาให้ร้านขายผ้าดูว่าที่
ทางร้านอ้างว่าไม่ยับไม่ย่นนั้นไม่จริง และจะขอเงินคืนบ้างเป็นบางส่วน เพราะต้องเสียเงินซื้อแพงเกินไป ดังนี้
ท่านว่าข้ออ้างของนายสองฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
หลักกฎหมายที่ 1 (มาตรา 159 วรรคแรก) การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็น
โมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น (มาตรา 159 วรรค 2)
ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็นโมฆียะ
ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น (มาตรา 159 วรรค 3)
วินิจฉัย
จากข้อเท็จจริงตามโจทย์วินิจฉัยได้ว่า การที่คนขาย โฆษณาอวดอ้างคุณภาพของสินค้าว่าผ้าไม่ยับไม่
ย่น ซึ่งถ้าการยืนยันความจริงแล้วปรากฏว่าไม่เป็นความจริงตามที่โฆษณาก็ถือว่าเป็นกลฉ้อฉล เพราะมีเจตนา
หลอกให้นายสองหลงเชื่อจึงเข้าทานิติกรรมซื้อผ้าไหมดังกล่าว แต่กรณีนี้ปรากฏว่าคนขายยืนยันรับรองเรื่อง
คุณภาพของผ้านั้นว่าไม่ยับไม่ย่น โดยการขยาให้นายสองดูว่าเป็นความจริงจึงไม่ เป็นกลฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. 159
เพราะการที่ผ้ายับย่นนั้นเกิดจากการที่นายสองนาไปรีดด้วยความร้อนสูง จึงเป็นความผิดของนายสองเอง ดังนั้น
นิติกรรมจึงสมบูรณ์ นายสองไม่สามารถเรียกค่าเสียหายใดๆจากผู้ขายหรือทางร้านขายผ้าได้
จากหลั ก กฎหมายประกอบเหตุ ผ ลดั ง กล่ า วข้ า งต้ น จึ ง สรุ ป ว่ า ข้ อ อ้ า งของนายสองฟั ง ไม่ ขึ้ น
เนื่องจากทางร้านมิได้หลอกลวงนายสองให้เข้าทานิติกรรมเลยแต่อย่างใด การที่ผ้ายับย่นนั้นเป็นความผิดของ
นายสองเอง นายสองจึงไม่สามารถเรียกค่าเสียหายจากทางร้านได้
12

ข้อ 10 นายทาใจเจ้าของที่ดินตกลงทานิติกรรมจะซื้อขายที่ดินชายทะเล จานวน 120 ไร่ ให้แก่นายทาดี


ต่อมาปรากฏว่า ทางราชการได้ประกาศว่าจะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งจะทาให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น
นายทาใจรู้สึกเสียดายที่ดินของตน นายทาใจจึงไปทวงที่ดินคืนจากนายทาดี โดยอ้างว่า “นิติกรรมจะซื้อขาย
ที่ดินที่ตนทากับนายทาดีเป็นโมฆียะ เพราะนายทาดีนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่าน
ที่ดินดังกล่าว ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของนายทาดีที่จะต้องบอกให้ตนทราบ ตนจึงขอบอกล้างนิติกรรมดังกล่าว” ดังนี้
อยากทราบว่าการแสดงเจตนาทานิติกรรมจะซื้อขาย ที่ดินระหว่างนายทาใจกับนายทาดีมีผลทางกฎหมายเป็น
อย่างไร และข้ออ้างของนายทาใจฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 162 ในนิ ติ ก รรมสองฝ่ าย การที่คู่ ก รณีฝ่ า ยหนึ่ ง จงใจนิ่ ง เสี ย ไม่แ จ้ ง ข้อ ความจริง หรื อ
คุณสมบัติอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ การนั้นจะเป็นฉ้อฉล หากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็
คงมิได้กระทาขึ้น
วินิจฉัย
การแสดงเจตนาเนื่องจากถูกกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ตามมาตรา 162 มีหลักเกณฑ์อันจะทาให้ นิติกรรมนั้น
ตกเป็นโมฆียะ ประกอบด้วย
1. เป็นนิติกรรมสองฝ่าย
2. จงใจนิ่งเสีย ไม่แจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัติอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ โดย
(ก) คู่กรณีฝ่านั้นมีหน้าที่ๆจะต้องบอกความจริง หรือ
(ข) มีพฤติการณ์อันแสดงออกทาให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด
3. ถึงขนาดว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้กระทาขึ้น
จากข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่า การแสดงเจตนาของนายทาใจเจ้าของที่ดินที่ตกลงทานิติกรรมจะซื้อขาย
ที่ดิน กับ นายทาดีดังกล่าว มีผ ลสมบู ร ณ์ใช้บังคับได้ และข้ออ้างของนายทาใจผู้ จะขายฟังไม่ขึ้น เพราะแม้
ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นนิติกรรมสองฝ่าย และนายทาดีผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริง
เกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวก็ตาม ซึ่งนายทาใจผู้จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายนายทาดีผู้จะซื้อ
มิได้นิ่งเสีย เช่นนั้น สัญญาจะซื้อ จะขายที่ดินก็มิได้ทาขึ้น แต่การที่นายทาดีผู้จะซื้อนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริง
เกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวหรือไม่ มิใช่หน้าที่ของนายทาดีผู้จะซื้อที่จะต้องบอกกล่าวข้อความ
จริ งดังกล่าว หากแต่เป็ นหน้ าที่ของนายทาใจผู้จะขายที่ดิน ที่จะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง
ดังนั้นการกระทาของนายทาดีผู้จะซื้อจึงไม่เป็นกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ตามมาตรา 162 เพราะนายทาดีไม่มีหน้าที่
บอกกล่าวความจริง สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์

จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปว่า การแสดงเจตนาทานิติกรรมดังกล่าวมีผล
สมบูรณ์ตามกฎหมาย และข้ออ้างของนายทาใจฟังไม่ขึ้น เพราะการกระทาของนายทาดีผู้จะซื้อไม่เป็นกลฉ้อฉล
โดยการนิ่ง
เจตนาลวง
ข้อ 1 นายอาทิ ตย์กั บนางจันทรา ตกลงทาสัญ ญากั นหลอกๆว่า นายอาทิ ตย์ข ายรถยนต์ คั นหนึ่ง ของตนให้แ ก่
นางจันทราในราคา 400,000 บาท นายอาทิตย์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่นางจันทรา แต่ไม่มีการชาระราคากันจริง ต่อมา
อีก 7 วัน นางจันทราเอารถยนต์คันนั้นไปขายให้แก่นายอังคารในราคา 380,000 บาท หลังจากนั้นอีก 1 เดือน
นายอาทิตย์ทราบเรื่องจึงบอกกล่าวเรียกร้องให้นายอังคารเอารถยนต์มาส่งคืน ให้แก่ตนโดยอ้างว่ารถยนต์เป็นของตน
ตนมิได้ขายรถยนต์คันนั้นให้แก่นางจันทราจริงๆ นายอังคารไม่ยอมคืนรถยนต์ให้แก่นายอาทิตย์ และบอกแก่นาย
อาทิตย์ว่า ตนจะคืนรถยนต์ให้ต่อเมื่อได้รับเงินคืน 380,000 บาท ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ความว่าในขณะที่นาย
อังคารซื้อรถยนต์จากนางจันทรานั้น นายอังคารรู้ว่านายอาทิตย์ไม่ได้ขายรถยนต์คันนั้นให้แก่นางจันทราจริ งๆ ดังนี้
ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายอังคารต้องส่งคืนรถยนต์ให้แก่นายอาทิตย์หรือไม่ เพราะเหตุใด
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
1. มาตรา 155 วรรคแรก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อ
ต่อสูบ้ ุคคลภายนอก ผู้กระทาการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
วินิจฉัย
โดยหลัก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง คือ การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสมรู้หรือตกลงกัน
กระทาหรือแสดงกิริยาอาการอย่างใดยอย่างหนึ่งออกให้ดูเหมือนเป็นการแสดงเจตนา แต่แท้จริงแล้วเป็นการลวง
เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่สมรู้กันนั้นมิได้ต้องการให้เกิดผลในทางกฎหมาย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวใน
สิทธิแต่อย่างใด
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มีผลในกฎหมายมาตรา 155 วรรคแรก คือ ตกเป็นโมฆะ
ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กฎหมายคุ้มครองบุคคลภายนอก โดยบัญญัติห้าม
มิให้บุคคลใดๆ ยกความเป็นโมฆะของการแสดงเจตนาลวงขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้ 1) กระทาการ
โดยสุจริต และ (2) ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
“กระทาโดยสุจริต” หมายความว่า กระทาโดยไม่รู้และไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงการที่ไม่มีสิทธิหรือความ
บกพร่องแห่งสิทธิที่มีมาในอดีต
“ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น” หมายความว่า บุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นได้รับ ความ
เสียหาย เนื่องจากได้กระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดไปเพราะหลงเชื่อการแสดงเจตนาลวงนั้น
ดังนั้น หากบุคคลภายนอกกระทาการโดยไม่สุจริตแต่เกิดความเสียหายกับตน หรือบุคคลภายนอกกระทา
การโดยสุจริต แต่ไม่ได้รับความเสียหายแล้ว กฎหมายก็จะไม่คุ้มครองบุคคลภายนอก บุคคลใดๆสามารถยกเอา
ความเป็นโมฆะดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้
กรณีตามปัญหา นายอาทิตย์กับนางสาวจันทราสมรู้กันแสดงเจตนาลวงว่านายอาทิตย์ขายรถยนต์ให้แก่
นางจันทรา สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายอาทิตย์กับนางจันทราจึงตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 155 วรรคแรกตอนต้น
ต่อมานางจันทราขายรถยนต์คันนั้นให้แก่นายอังคาร โดยในขณะที่นายอังคารซื้อรถยนต์จากนางจันทรานั้น นาย
อั ง คารก็ รู้ ว่ า นายอาทิ ต ย์ ไ ม่ ไ ด้ ข ายรถยนต์ คั น นั้ น ให้ แ ก่ น างจั น ทราจริ ง ๆ กรณี จึ ง ถื อ ได้ ว่ า นายอั ง คารซึ่ ง เป็ น
บุคคลภายนอกกระทาโดยไม่สุจริต นายอังคารจึงไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย ตามมาตรา 155 วรรคแรกตอนท้าย
ดังนั้น เมื่อนายอาทิตย์เรียกร้องให้นายอังคารส่งรถยนต์แก่ตนนายอังคารจึงต้องส่งคืนรถยนต์ให้นายอาทิตย์
จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปว่า นายอังคารต้องส่งคืนรถยนต์ให้แก่นายอาทิตย์
เพราะกฎหมายไม่คุ้มครองบุคคลภายนอกที่กระทาการโดยไม่สุจริตแม้จะเกิดความเสียหายกับตนก็ตาม
2

ข้อ 2 พิชิตสมรู้กับพิชัยทาสัญญากันหลอกๆ ว่าพิชิตขายรถจักรยานยนต์คันหนึ่งของตนให้แก่พิชัยในราคา


30,000 บาท พิชิตได้ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่พิชัย แต่ไม่มีการชาระราคากันจริง ต่อมาอีก 7 วัน พิชัยเอา
รถจักรยานยนต์คันนั้นไปขายแก่ไพรัชในราคา 29,000 บาท โดยไพรัชไม่รู้และไม่มีเหตุอันควรรู้ว่า พิชิตมิได้
ขายรถจักรยานยนต์คันนั้นแก่พิชัยจริงๆ เช่นนี้ ถ้าพิชิตเรียกร้องให้ไพรัชนาเอารถจักรยานยนต์คันนั้น มาส่งคืน
ให้แก่ตน ไพรัชต้องส่งคืนรถจักรยานยนต์ให้แก่พิชิตหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
1. มาตรา 155 วรรคแรก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็น
ข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
วินิจฉัย
โดยหลัก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง คือ การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสมรู้หรือตกลงกัน
กระทาหรือแสดงกิริยาอาการอย่างใดยอย่างหนึ่งออกให้ดูเหมือนเป็นการแสดงเจตนา แต่แท้จริงแล้วเป็นการลวง
เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่สมรู้กันนั้นมิได้ต้องการให้เกิดผลในทางกฎหมาย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหว
ในสิทธิแต่อย่างใด
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มีผลในกฎหมายมาตรา 155 วรรคแรก คือ ตกเป็นโมฆะ
ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กฎหมายคุ้มครองบุคคลภายนอก โดยบัญญัติ
ห้ามมิให้บุ คคลใดๆ ยกความเป็น โมฆะของการแสดงเจตนาลวงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้ 1)
กระทาการโดยสุจริต และ (2) ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
“กระทาโดยสุจริต” หมายความว่า กระทาโดยไม่รู้และไม่มีเหตุอันควรรู้ ถึงการที่ไม่มีสิทธิหรือความ
บกพร่องแห่งสิทธิที่มีมาในอดีต
“ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น ” หมายความว่า บุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นได้รับ
ความเสียหาย เนื่องจากได้กระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดไปเพราะหลงเชื่อการแสดงเจตนาลวงนั้น
กรณีตามปัญหา พิชิตกับพิชัยสมรู้กันแสดงเจตนาลวงว่าพิชิตขายรถจักรยานยนต์คันหนึ่งให้แก่พิชัย
สัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ระหว่างพิชิตกับพิชัยจึงเป็นโมฆะ ตามมาตรา 155 วรรคหนึ่งตอนต้น ต่อมาอีก
7 วั น พิชั ย เอารถจั กรยานยนต์คัน นั้ น ไปขายแก่ ไ พรัช โดยไพรัช ไม่รู้ และไม่ มีเ หตุ อันควรรู้ว่ าพิชิ ตมิ ได้ ขาย
รถจักรยานยนต์คันนั้นแก่พิชัยจริงๆ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า ไพรัชเป็นบุคคลภายนอกซึ่งกระทาการโดยสุจริต และถ้า
ไพรัชต้องคืนรถจักรยานยนต์ให้แก่พิชิต ไพรัชต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงของพิชิตกับพิชัย เพราะ
ไพรัชได้หลงซื้อรถจักรยานยนต์คันนั้นต่อจากพิชัยไว้ในราคา 29,000 บาท ไพรัชจึงเป็นบุคคลภายนอกที่กระทา
การโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงเช่นว่านั้นแล้ว ไพรัชจึง ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา
155 วรรคแรกตอนท้าย
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปว่า ถ้าพิชิตเรียกร้องให้ไพรัชนาเอารถจักรยานยนต์
คันนั้นส่งคืนให้แก่ตน ไพรัชไม่ต้องส่งคืนรถจักรยานยนต์ให้แก่พิชิต เพราะไพรัชเป็นบุคคลภายนอกที่กระทาการ
โดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงของพิชิตกับพิชัยแล้ว
3

ข้อ 3. นายเอกและนายโทสมรู้กันแสดงเจตนาหลอก ๆ ว่านายเอกซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากนายโทราคา 800,000 บาท


โดยนายโทได้ส่งมอบรถยนต์นั้นให้แก่นายเอก แต่มิได้ชาระราคากันจริง ต่อมาอีกหนึ่งเดือนนายเอกได้ให้รถยนต์
คันนั้นแก่นางสาวตรีโดยเสน่หา โดยนางสาวตรีไม่ทราบและไม่มีเหตุอันควรทราบว่านายเอกมิได้ซื้อรถยนต์คันนั้น
จากนายโทจริง ๆ เมื่อรับมอบรถยนต์มาแล้วนางสาวตรีได้นารถยนต์คันนั้นไปแข่งขันกับเพื่อนบนถนนหลวงด้วย
ความประมาทเลินเล่อจึงประสบอุบัติเหตุรถยนต์เสียหายยับเยิน แม้ว่านางสาวตรีจะปลอดภัย แต่ก็ ต้องเสียเงิน
ค่าซ่อมรถยนต์ไปจานวน 400,000 บาท อีก 15 วันต่อมานายโททราบว่านายเอกเอารถยนต์ไปให้แก่นางสาวตรี
นายโทจึงบอกกล่าวให้นางสาวตรีส่งรถยนต์คืนแก่ตนโดยอ้างว่าตนมิได้ขายรถยนต์คันนั้นให้แก่นายเอกจริง ๆ
รถยนต์คันนั้นยังเป็นของตน นางสาวตรีไม่ยอมส่งรถยนต์คืน แก่นายโทโดยอ้างว่าตนได้รับรถยนต์มาโดยสุจริต
และต้องเสียค่าซ่อมรถยนต์คันดังกล่าวไปจานวนมาก ให้ท่านวินิจฉัยว่านางสาวตรีจะต้องส่งรถยนต์คืนแก่นายโท
หรือไม่ เพราะเหตุใด

กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ว่า


มาตรา 155 วรรคแรก “การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็น โมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็น
ข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทาโดยสุจริต และต้องเสียหายจาการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”
วินิจฉัย
โดยหลัก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มีผลในกฎหมายตามมาตรา 155 วรรคแรก
คือ ตกเป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กฎหมายคุ้มครองบุคคลภายนอก โดยบัญญัติห้าม
มิให้บุคคลใดๆ ยกความเป็นโมฆะของการแสดงเจตนาลวงขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้ (1) กระทา
การโดยสุจริต และ (2) ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
“กระทาโดยสุจริต” หมายความว่า กระทาโดยไม่รู้และไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงการที่ไม่มีสิทธิหรือความ
บกพร่องแห่งสิทธิที่มีมาในอดีต
“ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น ” หมายความว่า บุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นได้รับ
ความเสียหาย เนื่องจากได้กระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดไปเพราะหลงเชื่อการแสดงเจตนาลวงนั้น
ดังนั้น หากบุคคลภายนอกกระทาการโดยไม่สุจริตแต่เกิดความเสียหายกับตน หรือบุคคลภายนอก
กระทาการโดยสุจ ริต แต่ไม่ได้ รับความเสียหายแล้ว กฎหมายก็จะไม่คุ้มครองบุคคลภายนอก บุคคลใดๆ
สามารถยกเอาความเป็นโมฆะดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้
กรณีตามปัญหา การที่นายเอกและนายโทได้สมรู้กันแสดงเจตนาลวงว่า นายเอกซื้อรถยนต์คันหนึ่งจาก
นายโท การแสดงเจตนาลวงระหว่างนายเอกนายโทจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 155 วรรคแรกตอนต้น จึงมีผลให้
รถยนต์คันดังกล่าวยังคงเป็นของนายโท
การที่นายเอกได้ให้รถยนต์คันนั้นแก่นางสาวตรีโดยเสน่หา และนางสาวตรีได้รับมอบรถยนต์ไว้โดยไม่
ทราบ และไม่มีเหตุอันควรทราบว่านายเอกมิได้ซื้อรถยนต์คันนั้นจากนายโทจริงๆ ดังนี้ย่อมถือว่านางสาวตรี
ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทาโดยสุจริต
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่บุคคลภายนอกจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนั้น บุคคลภายนอกจะต้องได้
กระทาโดยสุจริต และต้องได้รับความเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น (มาตรา 155 วรรคแรกตอนท้าย) แต่
จากข้อเท็จจริง แม้ว่านางสาวตรีจะได้กระทาการโดยสุจริต คือได้รับมอบรถยนต์คันนั้นจากนายเอกโดยเสน่หา
4

และไม่ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงระหว่างนายเอกกับนายโทก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นางสาวตรีได้


นารถยนต์คันนั้นไปแข่งขันด้วยความประมาทเลินเล่อจึงประสบอุบัติเหตุรถยนต์เสียหายยับเยินและนางสาวตรี
ต้องเสียค่าซ่อมรถยนต์คันดังกล่าวไปจานวนมากนั้น แต่ความเสียหายดั งกล่าวเกิดจากการกระทาด้วยความ
ประมาทเลินเล่อของนางสาวตรีเอง ไม่ถือว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการแสดงเจตนาลวงแต่อย่างใด ดังนั้น
เมื่อนางสาวตรีไม่ได้รับความเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายมาตรา 155
วรรคแรกตอนท้าย เมื่อนายโทบอกกล่าวให้นางสาวตรีส่งรถยนต์คืนแก่ตน นางสาวตรีจึงต้องส่งรถยนต์ให้แก่นายโท
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปว่า นางสาวตรีต้องส่งรถยนต์คันนั้นคืนให้แก่
นายโท นางสาวตรีไม่ได้รับความเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายมาตรา
155 วรรคแรกตอนท้าย
5

ข้อ 4 นายบัวขาวเป็นชายหนุ่มได้อยู่กินกับนางบัวบาน ซึ่งเป็นหม้ายอายุแก่กว่าประมาณ 20 กว่าปี ต่อมา


นายบัวขาวแนะนานางบัวบานให้ทาสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งของตนให้แก่นายบัวขาวหลอกๆ เพื่อป้องกัน
มิให้บุตรของนางบัวบานที่เกิดจากสามีเดิมมาเอาที่ดินนั้นไป เมื่อทั้งสองปรึกษาหารือกันแล้ว นางบัวบานจึงขาย
ที่ดินแปลงนั้นให้แก่นายบัวขาวในราคา 3 ล้านบาท โดยในสัญญาระบุว่านางบัวบานได้รับเงินครบถ้วนแล้ว ทั้งที่
ความจริงนายบัวขาวไม่ได้จ่ายเงินค่าที่ดินแปลงนั้นให้แก่นางบัวบานเลย ต่อมานายบัวขาวได้เล่าความจริงต่างๆ
ที่เกิดขึ้นให้นายโมหะน้องชายของตนฟัง ทาให้นายโมหะอยากได้ที่ดินแปลงนั้นมาก นายโมหะก็เลยอ้อนวอนขอ
ที่ดินแปลงนั้นจากนายบัวขาว นายบัวขาวจึงจาใจยกที่ดินแปลงนั้นให้แก่นายโมหะ ต่อมานายบัวขาวรู้สึกเสียดาย
ที่ดินแปลงนั้น นายบัวขาวจึงไปทวงที่ดินแปลงนั้นคืนจากนายโมหะ โดยอ้างว่าตนมิได้มีเจตนาจะให้ที่ดินแปลงนั้น
แก่นายโมหะจริงๆ นายโมหะไม่ยอมคืน ดังนี้ นายบัวขาวหรือนางบัวบานจะสามารถฟ้องคดีเรียกที่ดินแปลงนั้นคืน
จากนายโมหะได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

กรณีตามปัญหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
มาตรา 155 วรรคแรก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็น
ข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้กระทาการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
วินิจฉัย
โดยหลัก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มีผลในกฎหมายตามมาตรา 155 วรรคแรก
คือ ตกเป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กฎหมายคุ้มครองบุคคลภายนอก โดยบัญญัติห้าม
มิให้บุคคลใดๆ ยกความเป็นโมฆะของการแสดงเจตนาลวงขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้ (1) กระทา
การโดยสุจริต และ (2) ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
“กระทาโดยสุจริต” หมายความว่า กระทาโดยไม่รู้และไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงการที่ไม่มีสิทธิหรือความ
บกพร่องแห่งสิทธิที่มีมาในอดีต
“ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น ” หมายความว่า บุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้ องนั้นได้รับ
ความเสียหาย เนื่องจากได้กระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดไปเพราะหลงเชื่อการแสดงเจตนาลวงนั้น
ดังนั้น หากบุคคลภายนอกกระทาการโดยไม่สุจริตแต่เกิดความเสียหายกับตน หรือบุคคลภายนอก
กระทาการโดยสุจ ริต แต่ไม่ได้ รับความเสียหายแล้ว กฎหมายก็จะไม่คุ้มครองบุคคลภายนอก บุคคลใดๆ
สามารถยกเอาความเป็นโมฆะดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้
กรณีตามปัญหา การที่นายบัวขาวและนางบัวบานได้สมรู้กันแสดงเจตนาลวงว่านายบัวขาวซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง
จากนางบัวบานนั้น การแสดงเจตนาลวงระหว่างนายบัวขาวและนางบัวบานย่อมตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 155
วรรคแรกตอนต้น จึงมีผลทาให้ที่ดินแปลงดังกล่าวยังคงเป็นของนางบัวบานตามเดิม และการที่นายบัวขาวได้ยก
ที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายโมหะนั้น แม้ว่านายโมหะจะเป็นบุคคลภายนอก แต่กรณีที่บุคคลภายนอกจะ
ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนั้น บุคคลภายนอกจะต้องได้กระทาการโดยสุจริต และต้องได้รับความ
เสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นด้วย ตามมาตรา 155 วรรคแรกตอนท้าย แต่กรณีตามปัญหา นายโมหะ
กระทาการโดยไม่สุจริต คือ ได้รับมอบที่ดินแปลงนั้นจากนายบัวขาวโดยทราบถึงการแสดงเจตนาลวงระหว่าง
นายบัวขาวกับนางบัวบาน และนายโมหะก็ไม่ได้รับความเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น เพราะนายโมหะ
รับมอบที่ดินจากนายบัวขาวโดยไม่ได้เสียค่าตอบแทนแต่อย่างใด นายโมหะจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม
กฎหมาย ดังนั้น นางบัวบานเจ้าของที่ดินจึงสามารถฟ้องคดีเรียกที่ดินแปลงนั้นคืนจากนายโมหะได้ ส่วนกรณี
6

ของนายบัวขาวนั้น เมื่อการแสดงเจตนาลวงระหว่างนายบัวขาวกับนางบัวบานตกเป็นโมฆะแล้ว นายบัวขาว


ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าว และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีเรียกที่ดินแปลงนั้นคืนจากนายโมหะ
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปว่า นางบัวบานเจ้ าของที่ดินจึงสามารถฟ้องคดี
เรียกที่ดินแปลงนั้นคืนจากนายโมหะได้ เพราะนายโมหะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เนื่องจากนายโมหะ
กระทาการโดยไม่สุจริต และนายโมหะก็ไม่ได้รับความเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
7

มสธ. ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ พิมพ์ครั้งที่ 9


ข้อ 5 ง มีรถยนต์อยู่ 1 คัน เกรงว่าเจ้าหนี้จะมาทวงหนี้และนายึดรถยนต์ของตนไปชาระหนี้ จึงสมคบกับ ข
ทาสัญญาซื้อขายรถยนต์กันเพื่อหลอกเจ้าหนี้โดยมีการโอนทางทะเบียนกันเรียบร้อย ข ได้ยกรถยนต์ให้ ค ซึ่ง
เป็นพี่สาวโดยเสน่หา แต่ยังมิได้มีการโอนทางทะเบียนกัน ค ได้นารถยนต์ไปซ่อมแซมโดยยกเครื่องเสียใหม่ ปะผุ
และเปลี่ยนสี โดย ค ไม่ทราบว่า ข ได้รถยนต์มาจากใครอย่างไร ต่อมา ง ทราบเรื่องจึงมาทวงรถยนต์คืน
จาก ค แต่ ค ไม่ยอมคืนให้ ดังนี้
1. การซื้อขายรถยนต์ระหว่าง ง กับ ข มีผลอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด
2. ง จะเรียกรถยนต์คืนจาก ค ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. มาตรา 155 การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
บุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
วินิจฉัย
โดยหลัก การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มีผลในกฎหมายตามมาตรา 155 วรรคแรก
คือ ตกเป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กฎหมายคุ้มครองบุ คคลภายนอก โดยบัญญัติห้าม
มิให้บุคคลใดๆ ยกความเป็นโมฆะของการแสดงเจตนาลวงขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้ (1) กระทา
การโดยสุจริต และ (2) ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
“กระทาโดยสุจริต” หมายความว่า กระทาโดยไม่รู้และไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงการที่ไม่มีสิท ธิหรือความ
บกพร่องแห่งสิทธิที่มีมาในอดีต
“ต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น ” หมายความว่า บุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นได้รับ
ความเสียหาย เนื่องจากได้กระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดไปเพราะหลงเชื่อการแสดงเจตนาลวงนั้น
กรณีตามปัญหา
1. จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า การที่ ง และ ข สมคบกันทาสัญญาซื้อขายรถยนต์เพื่อหลอกเจ้าหนี้ของ
ง ว่าได้มีการซื้อขายรถยนต์กัน แต่ที่จริงแล้วมิได้มีการซื้อขายกัน ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาลวง มีผลทา
ให้สัญญาซื้อขายต้องตกเป็นโมฆะ
2. แม้สั ญญาซื้อขายจะตกเป็ น โมฆะ แต่ ค นั้นเป็นบุคคลภายนอกและไม่ได้รับรู้ถึงเจตนาลวง
ระหว่าง ง และ ข ค จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริต โดยรับรถยนต์คันนั้นมา แม้ว่า ค จะ
ได้รถมาโดยมิได้เสียเงินก็ตาม แต่การที่ ค ได้นารถยนต์คันดังกล่าวไปยกเครื่องปะผุและเปลี่ยนสีนั้น แสดง
ว่า ค นั้นเสียหายแล้ ว เมื่อ ค เป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียหาย ดังนั้น ง จึงไม่สามารถจะเรียก
รถยนต์คืนจาก ค ได้
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า
1. การซื้อขายรถยนต์ระหว่าง ง กับ ข มีผลตกเป็นโมฆะ เพราะไม่มีเจตนาอันแท้จริงที่จะผูกนิติ
สัมพันธ์
2. ง จะเรียกรถยนต์คืนจาก ค ไม่ได้ เพราะ ค เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริตและ
เสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
นิติกรรมอาพราง
มสธ.ฉบับพิเศษ 2

คาถาม 1
นายไชโยมีความเดือดร้อนเรื่องเงิน เนื่องจากต้องการส่งบุตรชายไปศึกษาต่อต่างประเทศ จึงได้ไป
ติดต่อขอกู้เงินจานายโชคดีเป็นเงิน 500,000 บาท นายโชคดีซึ่งเพิ่งจะถูกคนรู้จักชอบพอกันรายหนึ่งที่มากู้ยืม
เงินตนโกงไป จึงกลัวว่าจะประสบปัญหาเช่นเดิม จึงบอกนายไชโยว่าถ้าเดือดร้อนจริงและอยากได้เงินให้เอา
ที่ดินของนายไชโยมาทาสัญญาขายฝากไว้กับตนก็จะไม่ขัดข้อง นายไชโยก็ตกลงทาสัญญาขายฝากที่ดินไว้
ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนายไชโยไม่มีเงินไปไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝากและนายไชโยไม่ต้องการจะเสียที่ดิน
ไป นายไชโยจึงอ้างต่อนายโชคดีว่าสัญญาขายฝากรายการนี้เป็นโมฆะ เนื่องจากทาขึ้นเพื่ออาพรางสัญญากู้ยืม
ท่านเห็นด้วยกับนายไชโยหรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบ
กรณีตามปัญหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 155 วรรค 2) วางหลักไว้ว่า “ถ้าการ
แสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทาขึ้นเพื่ออาพรางนิติกรรมอื่น ให้นาบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติ
กรรมที่ถูกอาพรางมาใช้บังคับ”
กรณีจะเป็นนิติกรรมอาพรางจะต้องมีนิติกรรม 2 นิติกรรม นิติกรรมอันหนึ่งคู่กรณีต้ องการจะ
ผูกพันกันจริงๆ แต่ปกปิดไว้ด้วยนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่เปิดเผย แต่ไม่ต้องการผูกพันกัน
ตามปัญหาไม่ได้มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญา คือ นายไชโยและนายโชคดีมีความประสงค์จะ
ผูกพันกันตามสัญญากู้ยืม ไม่มีการตกลงทาสัญญากู้ยืมเพื่อปิดบังสัญญาขายฝาก แต่ข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า
คู่กรณีประสงค์จะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก กรณีนี้จึงไม่ใช่นิติกรรมอาพราง สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นโมฆะ
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับนายไชโย
2

ข้อ 4 ก มีหนี้สินมาก มีรถยนต์เหลือเป็นทรัพย์สินของตนเพียงคันเดียว เกรงว่าเจ้าหนี้จะมายึดแล้วตนจะ


ไม่มีทรัพย์สิ นอะไรเหลื ออยู่เลย ดังนี้ ก จึงทาสั ญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าวให้ ข แต่ยังไม่ได้โ อน
ทะเบียนกัน เพราะ ก อายญาติพี่น้อง เกรงจะรู้ว่ามีหนี้สินจนต้องขายรถยนต์ แต่ก็ได้ แกล้งทาเป็นสัญญา
เช่ารถยนต์ไว้กับ ข ข ชาระค่าซื้อรถเป็นงวดๆ เมื่อ ข ชาระค่ารถยนต์จนครบแล้วก็ขอให้ ก โอน
ทะเบียนรถยนต์ให้ แต่ ก กลับปฏิเสธอ้างว่า เป็นการขาระค่าเช่ารถยนต์ตามสัญญาเช่า และ ข ได้
ประโยชน์จากการใช้รถยนต์คันนั้น ทั้งรถยนต์นั้นยังเป็นของ ก อยู่ ยังมิได้มีการโอนทางทะเบียน สัญญา
ซื้อขายไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก หรือไม่ เพราะเหตุใด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
หลักกฎหมายที่ 1 (มาตรา 155 วรรค 1) การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็น
โมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนา
ลวงนั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทาขึ้นเพื่ออาพรางนิติกรรมอื่น ให้นาบทบัญญัติของกฎหมายอัน
เกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอาพรางมาใช้บังคับ
วินิจฉัย
กรณีนี้เป็นเรื่องนิติกรรมอาพราง คือ การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันทานิติกรรม
อัน หนึ่ งขึ้น มาให้ป รากฏซึ่งมิได้ต้องการผู กพันกันจริง แต่ทาเพื่อจะอาพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งซึ่งคู่กรณี
ต้องการผูกพันให้มีผลทางกฎหมายแต่ปกปิดไว้ไม่ให้คนอื่นรู้
ผลบังคับในทางกฎหมายในเรื่ องนิติกรรมอาพรางนั้นให้นาบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติ
กรรมอาพรางมาใช้บังคับ ส่วนนิติกรรมที่ทาขึ้นอาพรางนิติกรรมแท้จริงตกเป็นโมฆะ
จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า ก และ ข ได้ทานิติกรรมอาพรางขึ้น คือ ได้ทาสัญญาเช่ารถยนต์ขึ้นเพื่อ
ปกปิ ดสั ญญาซื้อขายรถยนต์ ซึ่งคู่กรณีต้องการจะผู กพันให้ มีผ ลทางกฎหมายอย่างแท้จริง ดังนี้ต้องนา
บทบัญญัติสัญญาซื้อขายมาบังคับ ส่วนสัญญาเช่านั้นนามาบังคับใช้ไม่ได้เพราะเป็นสัญญาซึ่งคู่กรณีไม่ต้องการ
จะผูกพัน แต่ทาขึ้นเพื่อจะอาพรางสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ
ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ก จะอ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ไม่ได้ เพราะการโอนทางทะเบียนไม่เกี่ยวกับ
ความสมบูรณ์ในทางนิติกรรมซื้อขายแต่อย่างใด
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า ข้าพเจ้า ไม่เห็นด้วย กับข้ออ้าง
ของ ก เพราะสั ญญาซื้อขายสมบูรณ์ ก จะนาสัญญาเช่าซึ่งไม่มีผลทางกฎหมายมาอ้างไม่ได้ จึงต้องโอน
ทะเบียนรถยนต์ให้แก่ ข
3

คาถาม 1 นายแดงต้องการยกที่ดินแปลงที่ติดถนนจานวนสองไร่ ให้กับนายดาซึ่งเป็นหลาน และนายดาก็มี


ที่ดินของตนอยู่แล้วสองไร่ แต่นายดาต้องการที่ดินที่ติดถนนของนายแดงไปเปิดร้านอาหาร นายแดงเกรงใจ
เมียจึงทาเป็นแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยทาหนังสือสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกันต่อหน้าเมีย และขณะเดียวกัน
นายแดงกับนายดาได้ทาสัญญาระหว่างกันเองขึ้นนั้น ไม่ได้ทาต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาร้านอาหาร
ของนายดาขาดทุนเลยทาสัญญาซื้อขายให้นายเขียวไป เพราะคิดว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของตน จากนั้น
นายแดงรู้เรื่องจึงไม่ยอมและได้คัดค้าน ดังนี้ ท่านคิดว่านายแดงมีสิทธิคัดค้านหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขาย
ระหว่างนายดากับนายเขียวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
หลักกฎหมายที่ 1 (มาตรา 155 วรรคแรก) การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็น
โมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวง
นั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทาขึ้นเพื่ออาพรางนิติกรรมอื่น ให้นาบทบัญญัติของกฎหมาย
อันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอาพรางมาใช้บังคับ (155 วรรค 2)

วินิจฉัย
จากข้อเท็จจริงตามโจทย์วินิจฉัยได้ว่า การที่นายแดงและนายดาได้ทาหนังสือสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน
กันต่อหน้าเมียของนายแดงซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่ได้ทาต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะเหตุความเกรงใจเมียจึง
แกล้งทาเป็นแลกเปลี่ยนที่ดินกันนั้น ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างนายแดงกับนายดาจึง
ทาให้การแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่ายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. 155 วรรคแรก
กรณีที่นายดาได้นาที่ดินแปลงที่นายแดงยกให้มาทาสัญญาจะซื้อจะขายให้นายเขียวไปหลังจากที่ตนได้
ขาดทุนจากการเปิดร้านอาหารนั้น เพราะคิดว่าที่ดินทั้งสองแปลงที่นายแดงให้เป็นของตนซึ่ง นายเขียวเองก็
ไม่ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงของการทาสัญญาระหว่ างนายแดงกับนายดามาก่อน นายเขียวจึงตกอยู่ในฐานะเป็น
บุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงที่นายแดงกับนายดาได้ก่อขึ้น
แม้ต่อมานายแดงรู้เรื่อง นายแดงจะยกเอาความเป็นโมฆะของสัญญาที่ตนได้ทากับนายดาก่อนหน้านี้มาขึ้น
เป็นข้อต่อสู้นายเขียวหาได้ไม่

จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า นายแดงไม่มีสิทธิที่จะคัดค้านหรือ


เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างนายดากับนายเขียว
4

ข้อ 2. นายเอกซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งขอกู้เงินจากนายโทจานวน 500,000 บาท นายโทยังไม่มีเงิน


ในขณะนั้นจึงให้นายเอกจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้นายโทเพื่อนายโทจะได้นาโฉนดที่ดินนั้นไปแสดงกับเพื่อน
และยืมเงินจากเพื่อนมาให้นายเอกกู้ต่อไป นายเอกจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้นายโทโดยนายโทมิได้
ชาระราคาที่ดินให้นายเอกในวันนั้น เพียงแต่นัดให้นายเอกไปรับเงินที่ขอกู้ที่บ้านนายโท หลังจากนั้นอีก 3 วัน เมื่อ
ถึงวันนัดนายโทให้นายเอกทาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นให้นายโทยึดถือไว้อีกฉบับหนึ่ง โดยมี
ข้อตกลงให้ไถ่ที่ดินคืนภายใน 3 ปี และกาหนดให้นายเอกชาระดอกเบี้ยให้นายโทเดือนละ 10,000 บาท แล้วนาย
โทมอบเงินที่ยืมจากเพื่อนให้นายเอกรับไปจานวน 490,000 บาท โดยหักไว้เป็นดอกเบี้ย 10,000 บาท หลังจาก
นั้นนายเอกชาระดอกเบี้ยให้นายโททุกเดือนๆ ละ 10,000 บาท เมื่อทาสัญญาขายฝากได้ 2 ปี นายเอกนาเงิน
500,000 บาท ไปขอไถ่ที่ดินคืนจากนายโท แต่นายโทไม่ยอมให้ นายเอกไถ่ที่ดินคืนอ้างว่านายเอกได้ขายที่ดินนั้น
ให้นายโทโดยเด็ดขาดแล้วมิได้ขายฝากที่ดินนั้น นายเอกต้องการฟ้องบังคับให้นายโทคืนที่ดินดังกล่าวให้นายเอก
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายเอกจะฟ้องบังคับให้นายโทคืนที่ดินให้นายเอกได้หรือไม่
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
หลักกฎหมายที่ 1 การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
บุคคลภายนอกผู้กระทาการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ (มาตรา 155 วรรค 1)
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทาขึ้นเพื่ออาพรางนิติกรรมอื่น ให้นาบทบัญญัติของกฎหมายอัน
เกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอาพรางมาใช้บังคับ (มาตรา 155 วรรค 2)
หลักกฎหมายที่ 2 การใดมิได้ทาให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ (มาตรา 152)
หลักกฎหมายที่ 3 ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นาบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้
แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ (มาตรา 172 วรรค 2)
หลักกฎหมายที่ 4 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทาเพื่อชาระหนี้ก็ดี
หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้น
เสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจาต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้
ถือว่าเป็นการกระทาเพื่อชาระหนี้ด้วย (มาตรา 406 วรรค 1)
วินิจฉัย
จากข้อเท็จจริง การที่นายเอกจดทะเบียนโอนขายที่ดินมีโฉนดให้แก่นายโทโดยนายโทมิได้ชาระราคา
ที่ดินที่ซื้อให้แก่นายเอกแต่อย่างใด เพียงแต่นัดให้นายเอกไปรับเงินที่บ้านนายโทหลังจากนั้นอีก 3 วัน และในวัน
นัดนั้นนายโทให้นายเอกทาสัญญาขายฝากที่ดินนั้นให้อีกฉบับหนึ่ง โดยทาสัญญากันเองมีข้อตกลงให้นายเอกไถ่
ที่ดินคืนภายใน 3 ปี และให้นายเอกชาระดอกเบี้ยให้นายโทเดือนละ 10,000 บาท แล้วนายโทจ่ายเงินที่นายเอก
ขอกู้ให้นายเอกเป็นจานวน 490,000 บาท โดยหักเงิน 10,000 บาทไว้เป็นดอกเบี้ยนั้น แสดงให้เห็นว่านายเอก
และนายโทมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย ถือได้ว่านายเอกและนายโททาสัญญาซื้อขายเพื่ออาพราง
สัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่
แสดงออกมา ตกเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง
ส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอาพรางไว้ ต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอาพรางตาม ม.155 ว.2
เมื่อนายเอกและนายโทมีเจตนาทาสัญญาขายฝากที่ดินกัน แต่การขายฝากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาขายฝากที่ ดินจึงตกเป็นโมฆะตาม ม.152 บังคับตามสัญญาขายฝากไม่ได้เช่นกัน
คู่กรณีไม่มีมีนิติสัมพันธ์กันแต่แรก กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องลาภมิควรได้ ม. 172 วรรค 2 และ
มาตรา 406 วรรคหนึ่ง ที่ดินที่นายโทได้รับมาเป็นลาภมิควรได้แก่นายโท นายเอกจึงฟ้องบังคับให้นายโทคืนที่ดิน
นั้นให้นายเอกได้
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า นายเอกจึงฟ้องบังคับให้นายโทคืนที่ดิน
นั้นให้นายเอกได้
1

สาคัญผิด
คาถาม 5
สมต้องการซื้อรถยนต์ จึงไปที่บริษัท ก. พบรถยนต์คันหนึ่งสวยถูกใจ และคิดว่าเป็นรถยนต์ประกอบ
จากนอก เพราะตั้ ง ใจจะซื้ อ รถยนต์ ป ระกอบจากนอก แต่ ค วามจริ งรถยนต์ คั นนั้ น เป็ น รถยนต์ ป ระกอบ
ภายในประเทศ จึงซื้อด้วยเงินสด แต่ยังไม่ได้โอนทะเบียน ปรากฏว่าสมหัวใจวายตายภายหลังจากซื้อรถยนต์
ได้ 2 วัน เมื่อถึงกาหนดวันโอนทะเบียนรถยนต์ ทานาทได้ไปดาเนินการโอนแทน ปรากฏว่า มีคนอื่นให้ราคา
ดีกว่า ทางบริษัทจึงพยามขอซื้อรพยนต์คืนในราคาเดิม โดยขอให้ไปเลือกดูรถยนต์คันอื่น ซึ่งประกอบจากนอก
แต่ทายาทไม่ยินยอม บริษัท ก. ไม่ยอมโอนทะเบียนให้ โดยอ้างว่า สัญญาไม่สมบูรณ์ เพราะรู้จากทายาทว่าสม
ต้องการซื้อรถยนต์ประกอบจากนอก แต่รถยนต์คันดังกล่าวประกอบในประเทศ
ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของบริษัท ก. หรือไม่ เพราะเหตุใด และทายาทจะเรียกร้องให้บริษัท
ก. ส่งมอบรถยนต์แกตนตามสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. มาตรา 157 “การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความส าคั ญ ผิ ด ตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งเป็ น ความส าคั ญ ผิ ด ในคุ ณ สมบั ติ ซึ่ ง ตามปกติ ถื อ ว่ า เป็ น
สาระสาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสาคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น”
2. มาตรา 175 วรรคแรก โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสาคัญผิดหรือถูกฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่
มาตรา 175 วรรค 2 ถ้าบุคคลผู้ทานิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้าง
โมฆียกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียกรรมนั้นได้”
3. มาตรา 177 “ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรมตามมาตรา 175 ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่
โมฆี ย กรรม ให้ ถื อ ว่ า การนั้ น เป็ น อั น สมบู ร ณ์ ตั้ ง แต่ แ รก แต่ ทั้ ง นี้ ย่ อ มไม่ ก ระทบกระเทื อ นถึ ง สิ ท ธิ ข อง
บุคคลภายนอก”

วินิจฉัย
สมตั้งใจซื้อรถยนต์ที่ประกอบจากนอก แต่ความจริงรถยนต์ที่ซื้อนั้นประกอบภายในประเทศ จึงเป็น
กรณีที่ ส มส าคัญผิ ดในคุณสมบั ติอั น เป็ น สาระส าคัญของนิ ติกรรมคือ ตัว ทรัพย์สิ นที่ซื้ อ หากสมรู้ ว่า รถนั้ น
ประกอบภายในประเทศก็คงไม่ซื้อ นิติกรรมมีผลเป็นโมฆียะ อันเนื่องมาจากความส าคัญผิดดังกล่าวตาม
มาตรา 157
การที่บริษัท ก. ไม่ยอมโอนทะเบียนรถยนต์ให้ทายาทสม โดยอ้างว่าสัญญาไม่สมบูรณ์นั้น บริษัท ก.
ไม่สามารถอ้างได้ เพราะบริษัท ก. มิใช่บุคคลที่สามารถบอกล้างโมฆียกรรมที่เกิดจากความสาคัญผิดได้ ตาม
มาตรา 175 ผู้ที่มีสิทธิบอกล้างคือ ทายาทของสม ไม่ใช่ บริษัท ก.
การที่ทายาทของสมได้ไปดาเนินการโอนทางทะเบียนแทนสม แสดงว่าทายาทนั้ นได้ให้สัตยาบันแก่
โมฆียกรรม ผลของการให้สัตยาบันก็คือ ถือว่า การซื้อรถยนต์ที่สมทากับบริษัท ก. นั้นมีผลสมบูรณ์มาตั้งแต่
เริ่มแรกแล้ว

จากหลักกฎหมายประกอบเกตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้ า พเจ้ า ไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ ข้ อ อ้ า งของบริ ษั ท ก.


เพราะทายาทของสมได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรมนี้แล้ว นิติกรรมสมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรก บริษัท ก. ต้องส่งมอบ
รถยนต์ให้แก่ทายาทของสมตามสัญญา
2

ข้อ 5 เหลืองมีที่ดินอยู่ 2 แปลงอยู่ติดกัน คือที่ดินแปลง ก และแปลง ข ขามต้องการซื้อที่ดินแปลง ก


เหลืองและขาว ได้ตกลงทาสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วไปจดทะเบียนปรากฏว่าในวันจดทะเบียนเหลือง
ซึ่งสายตาไม่ค่อยดีได้นาโฉนดที่ดินแปลง ข มา โดยคิดว่าเป็นแปลง ก เนื่องจากเลขที่โฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง
ใกล้เคียงกัน เพราะอยู่ติดกัน หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ขาวได้รับโฉนดมา ปรากฏว่าเป็นโฉนดที่ดิน
แปลง ข แต่ขาวเห็นว่า ที่ดินแปลง ข นั้นมีเนื้อที่มากกว่าแปลง ก เล็กน้อย จึงเฉยเสีย ต่อมาภายหลัง
เหลืองมาตรวจพบว่าเกิดผิดพลาดขอให้ขาวนาโฉนดที่ดินแปลง ข มาคืน แต่ ขาวไม่ยอม อ้างว่าการซื้อขาย
สมบูรณ์ เพราะทาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นความผิดของเหลืองเองที่ไม่ รอบคอบ
ที่ดินแปลง ข เป็นกรรมสิทธิ์ของตน ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของขาวหรือไม่ เพราะเหตุใด

กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. มาตรา 156 วรรค 1 การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสาคัญแห่งนิติกรรมเป็น
โมฆะ
2. มาตรา 158 ถ้าความสาคัญผิดนั้นเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้
แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสาคัญผิดนั้นมาใช้ประโยชน์แก่ตนไม่ได้
วินิจฉัย
กรณีนี้เป็นเรื่องนิติกรรมซึ่งเกิดจากความสาคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสาคัญนิติกรรม ซึ่งในที่นี้เป็น
ความสาคัญผิดในตัวทรัพย์หรือวัตถุแห่งนิติกรรมนั่นเอง คือ ทานิติกรรมในทรัพย์คนละสิ่งกับที่มีเจตนา เหตุที่
กฎหมายบัญญัติให้นิติกรรมซึ่งเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสาคัญตกเป็นโมฆะ
ก็เพราะการแสดงเจตนานั้นวิปริตไปจนอาจเรีย กได้ว่าขาดเจตนาทานิติกรรม แต่กฎหมายก็ไม่ประสงค์จะ
คุ้มครองบุคคลซึ่งประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายก็ห้ามมิให้ถือเอาความสาคัญผิดมาใช้
เป็นประโยชน์แก่ตนเฉพาะผู้แสดงเจตนาที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ส่วนคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นย่อมจะยกเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าว
อ้างได้
จากข้อเท็จ จริ งเห็ น ได้ว่ า ตัว ทรั พย์ ที่เหลื องเจตนาทานิติก รรมขายก็คือ ที่ดินแปลง ก แต่ด้ว ย
ความสาคัญผิดได้จดทะเบียนขายที่ดินแปลง ข แทน จึงเป็นเรื่องซึ่งเหลืองสาคัญผิดในตัวทรัพย์ที่จะทานิติ
กรรม ทาให้สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ คือเท่ากับไม่มีสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเลย
การที่ขาวอ้างว่าการซื้อขายสมบูรณ์เพราะได้ทาตามแบบแล้วและเป็นความผิดของเหลืองเองที่ไม่
รอบคอบนั้น ฟังไม่ขึ้น เพราะกรณีที่ขาวจะอ้างได้นั้นต้องเป็นเรื่องซึ่งเกิดจากความประมาทเลิ นเล่ ออย่าง
ร้ายแรงเท่านั้น แต่กรณีนี้พิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้วว่า เหลืองสายตาไม่ค่อยดี และเลขที่โฉนด 2 แปลงก็
ใกล้ เคีย งกัน ทั้งเนื้ อที่ก็ผิ ดกัน เล็กน้ อย เช่นนี้มิใช่ความประมาทเลิ นเล่ ออย่างร้ายแรงแต่อย่างใด ดังนั้น
ข้ออ้างของขาวฟังไม่ขึ้น
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของขาว ขาวไม่มี
กรรมสิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิ น แปลง ข เพราะการซื้ อ ขายเป็ น โมฆะ เนื่ อ งจากความส าคั ญ ผิ ด ในตั ว ทรั พ ย์ ซึ่ ง เป็ น
สาระสาคัญแห่งนิติกรรมนั้น
3

ข้อ 1 ชเยน ตกลงจ้ าง พิมพ์มณี มาเป็นนักแสดงละครทีวีโ ดยเข้าใจว่าพิมพ์มณีเป็นหลานสาวของ


คุณหญิงพิมพ์แข ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียง เพราะจะทาให้ละครของตนโด่งดัง มีผู้ติดตามดูมากและหาผู้สนับสนุน
ละครได้ง่าย แต่ความจริงพิมพ์มณีมีชื่อจริงว่า เหมียว เป็นบุตรสาวของแม่ค้าขายขนม หลังจากตกลงจ้างแล้ว
เมื่อเริ่มการถ่ายทาละคร ปรากฏว่าพิมพ์มณีก็แสดงได้ดีสมบทบาทของการเป็นนักแสดงทุกอย่าง หลังจาก
ถ่ายละครไปได้สองครั้ง ชเยนทราบความจริงว่าพิมพ์มณีนั้นแท้จริงมิใช่หลานสาวของคุณหญิงพิมพ์แข จึงไม่
ประสงค์จะจ้ างให้ถ่ายละครต่อไป หากชเยนมาปรึกษาท่านว่า จะทาประการใดได้บ้างหรือไม่ ท่านจะ
แนะนาชเยนอย่างไร

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน เป็นโมฆียะ
ความส าคั ญ ผิ ด ตามวรรคหนึ่ ง ต้ อ งเป็ น ความส าคั ญ ผิ ด ในคุ ณ สมบั ติ ซึ่ ง ตามปกติ ถื อ ว่ า เป็ น
สาระสาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสาคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น

วินิจฉัย
การที่ช เยนตัดสิ น ใจจ้ างพิมพ์ มณีมาเป็นนักแสดงโยส าคัญผิ ดว่าเป็นหลานคุณหญิงพิมพ์แ ข
แต่ความจริงไม่ใช่นั้น กรณีนี้ถือได้ว่าชเยนได้แสดงเจตนาโยความสาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลคือพิมพ์มณี
ซึง่ แต่เนือ่ งจากว่าคุณสมบัตขิ องพิมพ์มณีดงั กล่าวหาเป็นผลให้สญ
ั ญาจ้างดังกล่าวตกเป็นโมฆียะไม่ เพราะจาก
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ถึงแม้พิมพ์มณีจะมิได้เป็นคนๆเดียวกันตามที่ชเยนเข้าใจ แต่พิมพ์มณีก็ยังสามารถ
แสดงละครที วี ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งดี ส มความต้ อ งการของชเยน ดั ง นี้ ถื อ ได้ ว่ า ความส าคั ญ ผิ ด ของชเยนหาใช่
สาระสาคัญสาหรับสัญญาจ้างนักแสดงรายนี้แต่อย่างใดไม่ สัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้

จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หากชเยนมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ


แนะนาว่า สัญญานี้สมบูรณ์ ชเยนจึงไม่จาต้องทาประการใดเลย สัญญาหรือนิติกรรมรายนี้หาตกเป็นโมฆียะ
อันจะทาให้ชเยนมีสิทธิบอกล้างได้แต่อย่างใด
1

ข้อ 1.
ก. พงศ์ซื้อสลากกาชาดของมหาวิทยาลัยรามคาแหงมา จานวน 10 ใบ กาหนดออกรางวัลในวันที่
31 ธันวาคม 2553 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2553 พรและพุฒเป็นน้องของพงศ์ได้อ้อนวอนขอสลากกาชาดจาก
พงศ์ พงศ์จึงจาใจให้สลากดังกล่าวแก่พรและพุฒไปคนละ 1 ใบ เมื่อถึงกาหนดออกรางวัลในวันที่ 31 ธันวาคม
2553 ปรากฏว่าสลากใบที่พงศ์ให้พุฒไปนั้นถูกรางวัลที่ 1 พงศ์เสียดายจึงไปทวงสลากคืนจากพุฒโดยอ้างว่า
ตนมิได้มีเจตนาจะให้สลากกาชาดนั้นแก่พุฒจริงๆ พุฒไม่ยอมคืน พงศ์จึงฟ้องคดีเรียกสลากกาชาดใบที่ถูก
รางวัลดังกล่าวคืนจากพุฒ ให้ท่านวินิจฉัยว่า พงศ์มีสิทธิเรียกสลากกาชาดคืนจากพุฒหรือไม่ เพราะเหตุใด
ข. ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะที่พุฒรับสลากกาชาดจากพงศ์นั้น พุฒรู้ว่าพงศ์ไม่มีเจตนาให้สลาก
กาชาดนั้นแก่ตนจริง คาวินิจฉัยของท่านจะเป็นประการใด เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 154 “การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดง
ออกมาก็ตาม หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอัน
ซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น”

วินิจฉัย
จากบทบัญญัติมาตรา 154 เป็นเรื่องการแสดงเจตนาซ่อนเร้น ซึ่งมีหลักคือ การแสดงเจตนาไม่เป็น
โมฆะ แม้ในใจจริงของผู้แสดงเจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม แต่มีข้อยกเว้นคือ การแสดง
เจตนานั้นจะตกเป็นโมฆะ ถ้าเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง (ฝ่ายผู้รับการแสดงเจตนา) ได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจ
ของผู้แสดงเจตนา ในขณะที่แสดงเจตนานั้น
ดังนั้น นิติกรรมอันเกิดจากการแสดงเจตนาซ่อนเร้นอยู่นั้นจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้น อยู่กับว่าคู่กรณี
อีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดง เจตนาในขณะที่แสดงเจตนานั้นหรือไม่ ถ้ารู้นิติกรรมนั้นก็
ต้องตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าไม่รู้นิติกรรมนั้นก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้
ก. การกระทาของพงศ์เป็นการแสดงเจตนาทานิติกรรมในรูปสัญญาให้สลากกาชาดแก่พุฒ ถึงแม้ว่า
พงศ์จะอ้างว่ามิได้มีเจตนาจะให้สลากกาชาดแก่พุฒจริงๆก็ตาม การแสดงเจตนาของพงศ์ก็ไม่ตกเป็นโมฆะตาม
มาตรา 154 ดังนั้น สัญญาการให้สลากกาชาดแก่พุฒจึงมีผลสมบูรณ์ พงศ์จึงไม่มีสิทธิเรียกสลากกาชาดคืนจาก
พุฒ
ข. ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่พุฒรับสลากกาชาดจากพงศ์นั้น พุฒรู้ว่าพงศ์ไม่มีเจตนาให้สลาก
แก่พุฒจริงๆ การแสดงเจตนาของพงศ์ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 154 ตอนท้าย ถือเป็นกรณีที่คู่กรณีอีกฝ่าย
ได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงเจตนาแล้ว ดังนั้น กรณีตามข้อ ข พงศ์ย่อมมีสิทธิเรียกสลากกาชาด
คืนจากพุฒได้
สรุป
ก. พงศ์ไม่มีสิทธิเรียกสลากกาชาดคืนจากพุฒ
ข. พงศ์มีสิทธิเรียกสลากกาชาดคืนจากพุฒ
2

ข้อ 1 แดงซื้อสลากกาชาดจานวน 5 ใบ กาหนดออกรางวัลในวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ในวันที่ 1 ธันวาคม


2549 ดาและขาวซึ่งเป็นน้องของแดงได้อ้อนวอนขอสลากกาชาดกับแดง แดงจึงจาใจให้ สลากกาชาดดังกล่าว
แก่ดาและขาวไปคนละ 1 ใบ เมื่อถึงกาหนดออกรางวัลในวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ปรากฏว่าสลากใบที่แดง
ให้ขาวไปนั้นถูกรางวัลที่ 1 แดงเสียดายจึงไปทวงสลากคืนจากขาวโดยอ้างว่าตนมิได้มีเจตนาจะให้สลากกาชาด
นั้นแก่ขาวจริงๆ ขาวไม่ยอมคืน แดงจึงฟ้องคดีเรียกสลากกาชาดใบที่ถูกรางวัลดังกล่าวคืนจากขาว ให้ท่าน
วินิจฉัยว่า แดงมีสิทธิเรียกสลากกาชาดคืนจากขาวหรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 154 การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงเจตนาจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ตนได้
แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนา
อันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น

วินิจฉัย
เป็นเรื่องการแสดงเจตนาซ่อนเร้น ซึ่งมีหลักคือ การแสดงเจตนาไม่เป็นโมฆะ แม้ในใจจริงของผู้
แสดงเจตนาจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ได้แสดงออกมาก็ตาม
ข้อยกเว้น การแสดงเจตนานั้ น จะตกเป็นโมฆะ ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ ายหนึ่ง (ฝ่ ายผู้รับการแสดง
เจตนา) ได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงเจตนา ในขณะที่แสดงเจตนานั้น
ดังนั้น นิติกรรม อันเกิดจากการแสดงเจตนาซ่อนเร้นนั้นจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าคู่ กรณี
อีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนเร้นของผู้แสดงเจตนาในขณะแสดงเจตนา นั้นหรือไม่ ถ้ารู้นิติกรรมนั้นก็ต้อง
ตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าไม่รู้นิติกรรมนั้นก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น การกระทาของแดงเป็นการแสดงเจตนาทานิติกรรมในรูปสัญญาให้
สลากกาชาดแก่ขาว ถึงแม้แดงอ้างว่าในใจจริงแล้วตนมิได้มีเจตนาจะให้สลากกาชาดนั้นแก่ขาวจริงๆ ก็ตาม
การแสดงเจตนาของแดงไม่ตกเป็น โมฆะตามมาตรา 154 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กฎหมายถือว่าการ
แสดงออกมาภายนอกสาคัญยิ่งกว่าเจตนาซ่อนอยู่ในใจนั่นเอง ดังนั้นสัญญาให้สลากกาชาดแก่ขาวเป็นอัน
สมบูรณ์

สรุป แดงไม่มีสิทธิเรียกสลากกาชาดคืนแก่ขาว
1

ข้อ 2 นางทองแดงเป็นหนี้เงินกู้นางทองเหลือง 2 ล้านบาท เมื่อครบกาหนดชาระหนี้ นางทองแดงได้สั่ง


จ่ายเช็คชาระหนี้ให้แก่นางทองเหลือง เมื่อนางทองเหลืองนาเช็คไปขึ้นเงิน แต่ถูกธนาคารปฏิเสธจ่ายเงินนาง
ทองเหลืองจึงขู่นางทองแดงว่าจะแจ้ง ความต่อตารวจให้ดาเนินคดีกับนางทองแดงตามพระราชบัญญัติว่าด้วย
ความผิดอัน เกิดจากการใช้เช็ค ถ้านางทองแดงไม่ออกเช็คแก่นางทองเหลืองใหม่ ด้วยความกลัวนางทองแดง
จึงได้สั่งจ่ายเช็คให้นางทองเหลืองใหม่ตามที่นางทองเหลืองต้องการ ดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คของนางทองแดง
ดังกล่าวมีผลอย่างไรตามกฎหมาย เพราะเหตุใด

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 164 วรรคแรก “การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ”
มาตรา 165 วรรคแรก “การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่”

วินิจฉัย
จะเห็นได้ว่าโดยหลักแล้ว การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ห มายความว่า เป็นการใช้อานาจบังคับ
จิต ใจของบุค คล เพื ่อ ให้เ ขาเกิด ความกลัว แล้ว แสดงเจตนาท านิต ิก รรมออกมาตามที ่ผู ้ข ่ม ขู ่ต ้อ งการ
การแสดงเจตนานั้นตกเป็นโมฆะ แต่มีข้อยกเว้นว่า ถ้าเป็นการข่มขู่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วย่อมทาได้
ไม่ตกเป็นโมฆียะ เช่น การขู่ว่า จะใช้สิทธิตามปกตินิยม ตามมาตรา 165 วรรคแรก ซึ่งเป็นการใช้สิทธิ
โยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิซึ่งตนมีอยู่อย่างที่ปกติคนทั่วไปเขาใช้กัน เช่น การใช้สิทธิเรียกร้องให้
ลูกหนี้ใช้หนี้ตน เป็นต้น
จากข้อเท็จจริง ปรากฏว่า การที่นางทองแดงเป็นหนี้นางทองเหลืองอยู่ 2 ล้านบาท เมื่อถึง
กาหนดเวลาชาระหนี้ นางทองแดงได้สั่งจ่ายเช็คให้นางทองเหลืองไป แต่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจาก
ธนาคาร นางทองเหลืองจึงขู่นางทองแดงให้ออกเช็คใหม่ มิฉะนั้นจะแจ้งความต่อตารวจให้ดาเนินคดีกับนาง
ทองแดงนั้น เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิโยชอบด้วยกฎหมายในฐานะเป็นเจ้าหนี้
เมื่อนางทองแดงสั่ งจ่ ายเช็คให้ นางทองเหลืองใหม่ แม้จะเกิดจากความกลั วต่อการข่มขู่จากนาง
ทองเหลืองก็ไม่เป็นการข่มขู่อันเป็นเหตุให้การสั่งจ่ายเช็คตกเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 164 แต่อย่างใด

สรุป การสั่งจ่ายเช็คของนางทองแดงมีผลสมบูรณ์ไม่ ตกเป็นโมฆียะ เพราะการขู่ของนางทองเหลืองเป็น


การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม
ข้อ 2 นายแดงเป็นหนี้เงินกู้นายดาจานวน 200,000 บาท เมื่อหนี้ถึงกาหนดชาระ นายแดงก็ไม่นาเงินไปชาระ
นายดาได้ทวงถามให้ชาระหลายครั้ง นายแดงก็ยังผิดนัดชาระหนี้ตลอดมา นายดาจึงขู่นายแดงว่าถ้าไม่หา
ทรัพย์มาเป็นหลักประกันจะฟ้องเรียกเงินกู้ต่อศาล นายแดงกลัวถูกฟ้องจึงได้นาสร้อยคอทองคาหนัก หนึ่ง
บาทมาให้นายดายึดไว้เป็นหลักประกัน กรณีนี้นายแดงอ้างว่าการที่ตนนาสร้อยคอทองคามาให้นายดายึดไว้
เป็นเพราะการข่มขู่ของนายดาจึงตกเป็นโมฆียะ ดังนี้อยากทราบว่า ข้ออ้างของนายแดงฟังขึ้นหรือไม่ เพราะ
เหตุใด

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 165 การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่

วินิจฉัย
นายแดงเป็นหนี้เงินกู้นายดา จานวน 200,000 บาท เมื่อหนี้ถึงกาหนดนายแดงไม่นาเงินไปชาระ
นายดาจึงขู่นายแดงว่าถ้าไม่หาทรัพย์มาเป็นหลักประกันจะฟ้องเรียกเงินกู้ต่อศาล นายแดงกลัวถูกฟ้องจึงได้
นาสร้อยคอทองคาหนักหนึ่งบาทมาให้นายดายึดไว้เป็นหลักประกัน เช่นนี้นายแดงจะอ้างว่าการที่ตนนา
สร้อยคอทองคามาให้นายดายึดไว้ เป็นเพราะการข่มขู่ของนายดาจึงตกเป็นโมฆียะหาได้ไม่ เพราะนายดามี
สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะฟ้องนายแดงต่อศาลได้อยู่แล้ว เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็น
การข่มขู่

สรุป ข้ออ้างของนายแดงฟังไม่ขึ้น
คาถาม 3 นายเอกได้ขอยืมเงินจากนายตรีไปเป็นเงิน 20,000 บาท กาหนดใช้คืนภายใน 2 ปี เวลาผ่านไป
2 ปี 6 เดือน นายเอกก็ไม่ชาระ นายตรีจึงไปพบนายเอกที่บ้านพักเพื่อไปทวงเงินคืน นายเอกก็ตอบว่ายังไม่มี
เงิน นายตรีเห็นนายเอกสวมสร้อยคอทองคาหนัก 2 บาท จึงบอกให้นายเอกถอดสร้อยมาให้ตนยึดถือไว้เป็น
จานาก่อน มิฉะนั้นจะให้ทนายยืนเรื่องฟ้องร้องต่อศาลทันที นายเอกกลัวถูกฟ้องจึงจาใจถอนสร้อยให้นาย
ตรียึดไว้เป็นประกัน
จากนั้ น นายโทหลานของนายเอกเมื่ อรู้ เรื่ องดั งกล่ า ว จึง ได้ไ ปพบนายตรีที่ บ้า นพัก แล้ ว ขอ
สร้อยคอคืน นายตรี ไม่ยอมคืน นายโทจึงชักปืนมาจี้นายตรีให้เขียนหนังสือปลดหนี้ให้นายเอก จานวน
20,000 บาท และให้นายตรีรับสร้อยคอเส้นนั้นไว้เป็นอันหมดหนี้กัน นายตรีกลัวจึงยอมเขียนหนังสือปลดหนี้
ให้ ต่อมานายตรีได้มีจดหมายถึงนายเอกว่าขอให้นาเงินจานวน 20,000 บาท มาใช้คืนและรับสร้อยคอไป
ดังนี้ นายเอกต้องชาระเงินจานวนดังกล่าวให้นายตรีหรือไม่ เพราะเหตุใด

กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ว่า


หลักกฎหมายที่ 1 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ (มาตรา 164 วรรคแรก)
การข่มขู่ที่จ ะทาให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้นจะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้ จะถึง และ
ร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้นการนั้นก็คงจะมิได้กระทาขึ้น
(มาตรา 164 วรรค 2)
หลักกฎหมายที่ 2 การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ (มาตรา 165 วรรคแรก)
การใดที่กระทาไปเพราะนับถือยาเกรง ไม่ถือว่าการนั้นได้กระทาเพราะถูกข่มขู่ (มาตรา 165 วรรค 2)
หลักกฎหมายที่ 3 การข่มขู่ย่อมทาให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะแม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่
(มาตรา 166)
วินิจฉัย
จากข้อเท็จจริงตามโจทย์แยกวินิจฉัยได้ดังนี้
กรณีที่ 1 การกระทาของนายตรี การที่นายตรีขู่นายเอกให้ถอดสร้อยมาเป็นจานาหนี้ไว้ก่อน ถ้า
ไม่ให้จะฟ้องร้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการข่มขู่แต่ประการใด เพราะเรื่องนี้เป็นกรณีที่นายตรีใช้สิทธิของการเป็น
เจ้าหนี้ที่จะฟ้องลูกหนี้ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิตามปกตินิยมอยู่แล้ว การที่นายเอกตกลงยอมจานาสร้อยให้แก่นาย
ตรีจึงสมบูรณ์ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 วรรคแรก
กรณีที่ 2 การกระทาของนายโท การที่นายโทขู่นายตรีให้ทาหนังสือปลดหนี้ให้นายเอกโดยการใช้
ปืนจี้ให้เขียนหนังสือปลดหนี้ให้นายเอกเป็นเงินจานวน 20,000 บาท และให้นายตรีรับสร้อยคอเส้นนั้นไว้เป็น
อันหมดหนี้กัน ซึ่งถือว่าเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้นายตรีต้อง
กลั ว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้ น นายตรี ก็คงจะมิได้เขียนหนังสื อปลดหนี้ดังกล่าว และนายโทเองก็มิใช่
บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เพราะเป็นหลานนายเอก ดังนั้น การแสดงเจตนาของนายตรี
ในการเขียนหนังสือปลดนี้ไปเพราะการข่มขู่ของนายโทจึงเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 นายตรีก็
สามารถบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวให้เป็นโมฆะได้

จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า นายเอกยังคงต้องชาระเงินจานวน


ดังกล่าวให้แก่นายตรีอยู่ต่อไป เนื่องจากการปลดหนี้ดังกล่าว นายตรีได้แสดงเจตนาลงไปเพราะการข่มขู่ของ
นายโทจึงเป็นเหตุทาให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะ
มสธ.
ข้อ 6 ประหยัดกู้ยืมเงินจากอารีไป 20,000 บาท กาหนดใช้คืนภายใน 2 ปี เวลาผ่านไป 2 ปี 6 เดือน
ประหยัดก็ไม่ชาระ อารีไปพบประหยัดที่บ้านพักทวงเงินคืน ประหยัดก็ตอบว่าไม่มีเงิน อารีเห็นประหยัดสวม
สร้อยคอทองคาหนัก 2 บาท จึงบอกให้ประหยัดถอดสร้อยมาให้ตนยึดถือไว้เป็นจานาก่อน มิฉะนั้นจะให้
ทนายฟ้องทันที ประหยัดกลัวถูกฟ้อง จึงจาใจถอดสร้อยให้อารียึดไว้เป็นประกัน
สงเคราะห์ซึ่งเป็นหลานของประหยัด เมื่อรู้เรื่องดังกล่าวได้ไปพบอารีที่บ้านพักแล้วขอสร้อยคืน อารี
ไม่ยอมคืน สงเคราะห์จึงชักปืนมาจี้ขู่บังคับอารีให้อารีเขียนหนังสือปลดหนี้ให้ประหยัดจานวน 20,000 บาท
และให้อารีรับสร้อยคอเส้นนั้นไว้เป็นอันหมดหนี้กันอารีกลัวจึงยอมเขียนหนังสือปลดหนี้ให้ ต่อมาอารีได้มี
จดหมายถึงประหยัดว่า ขอให้นาเงินจานวน 20,000 บาท มาใช้คืนและรับสร้อยคอไป ดังนี้ ประหยัดต้อง
ชาระเงินจานวนดังกล่าวให้อารีหรือไม่ เพราะเหตุใด
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. มาตรา 165 วรรค 1 การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
2. มาตรา 166 การข่มขู่ย่อมทาให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะ แม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่
วินิจฉัย
การข่มขู่ คือ การทาให้ผู้แสดงเจตนากลัวภัยอย่างใดอย่างหนึ่งและได้แสดงเจตนาออกมาเพราะกลัว
ภัยนั้น การข่มขู่อันมีผลตามกฎหมายมีอยู่ประเภทเดียวคือ การข่มขู่ที่ทาให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ
การที่อารีขู่นายประหยัดให้ถอดสร้อยมาเป็นจานา ถ้าไม่ให้จะฟ้องร้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการข่มขู่แต่
ประการใด เพราะเรื่องนี้เป็นกรณีที่อารีมีสิทธิที่จะใช้สิทธิของการเป็นเจ้าหนี้ ที่จะฟ้องลูกหนี้อยู่แล้ว การที่
ประหยัดยอมจานาสร้อยกับอารีจึงสมบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
การที่สงเคราะห์ขู่อารีให้ทาหนังสือปลดหนี้ให้ประหยัดโดยการใช้ปืนมาจี้ขู่บังคับอารีให้อารีเขียน
หนังสือปลดหนี้ให้ประหยัดจานวน 20,000 บาทและให้อารีรับสร้อยคอเส้นนั้นไว้เป็นอันหมดหนี้กันนั้น ถือได้
ว่าเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้อารีต้องกลัว ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่
เช่นนั้นอารีก็คงจะมิได้เขียนหนังสือปลดหนี้ดังกล่าว ดังนั้นการปลดหนี้จึงเป็นโมฆียะ เพราะเกิดจากการข่มขู่
ของบุคคลภายนอก อารีสามารถบอกล้างการปลดหนี้ให้เป็นโมฆะได้
จากหลัก กฎหมายประกอบเหตุผ ลดั ง กล่ า วข้า งต้น จึ งสรุ ป ว่ า ประหยัด ยัง ต้อ งใช้ เงิ นให้ อ ารี
เนื่องจากการปลดหนี้ดังกล่าว อารีได้แสดงเจตนาลงไปเพราะการข่มขู่ ของสงเคราะห์จึงเป็นเหตุทาให้การ
แสดงเจตนาเป็นโมฆียะ อารีสามารถบอกล้างการปลดหนี้ให้เป็นโมฆะได้
1

มสธ.

คาถาม 4 เปาและโต้งเป็นเพื่อนกันเปาเคยมาที่บ้านโต้งและขอซื้อโทรทัศน์ของโต้งในราคา 3,000 บาท


แต่โต้งังไม่ตกลง บอกว่าต้องปรึกษาภริยาก่อน อีก 2 วันต่อมาตอนเช้าเปาโทรศัพท์มาขอซื้อโทรทัศน์อีก
โต้งบอกว่าภริยายังไม่กลับจากธุระข้างนอก ตอนค่่าๆ ถึงจะกลับ ปรากฏว่าในตอนเย็นวันนั้นเอง ปานได้มาขอ
ซื้อโทรทั ศน์ ในราคา 3,500 บาท โต้ง จึ งขายไปทันทีโ ดยไม่ได้ บอกเปา พอตกค่่าเปาโทรศัพท์ มาขอซื้ อ
โทรทัศน์อีก แต่โต้งบอกว่าขายไปแล้ว ดังนี้ เปามาปรึกษาท่านอ้างว่าโต้งผิดสัญญาเพราะ
1. เปาเป็นคนขอซื้อก่อน โต้งต้องรอจนกว่าตนจะโทรศัพท์มาก่อน
2. ถ้าโต้งไม่ขายให้ตน ก็ต้องโทรศัพท์มาบอกถอนให้ตนทราบก่อน เพราะแม้ว่าโทรทัศน์นั้นจะราคา
3,500 บาท ตนก็จะซื้ออยู่ดี ท่านจะให้ค่าปรึกษาแก่เปาอย่างไร
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 356 ค่าเสนอท่าแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ท่าค่าสนองนั้น
เสนอ ณ ที่ใดเวลาใด ก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลคน
หนึ่งท่าค่าเสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย
2. มาตรา 357 ค่าเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้ วก็ดี หรือมิได้ส นองรับภายในเวลา
ก่าหนดดังกล่าวมาแล้วในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี ค่าเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นสุดความผูกพันแต่นั้นไป
วินิจฉัย
การที่เปาโทรศัพท์ไปขอซื้อนั้น คือ การท่าค่าเสนอแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าแล้ว แต่ค่าเสนอแต่อย่างเดียว
ซึ่งเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวนั้นยังไม่ก่อให้เกิดสัญญาแต่อ ย่างใด จะต้องมีค่าสนองถูกต้องตรงกับค่าเสนอนั้นจึง
จะเกิดสัญญาขึ้น ทั้งค่าเสนอนั้นก็มิได้บ่งระยะเวลาให้ท่าค่าสนองแต่อย่างใด เมื่อเสนอไปแล้วก็ย่อมจะสนอง
รับได้แต่ ณ เวลาที่พูดคุยกันนั้น
แต่ปรากฏว่าโต้งไม่ได้ตกลง เพราะต้องรอปรึกษาภริยาก่อน และแม้ว่าเปาจะโทรศัพท์มาขอซื้ออีกก็
ตาม โต้งก็ยังไม่ได้ท่าค่าสนองแต่อย่างใด
ค่าเสนอนั้น เมื่อไม่มีค่าสนองในขณะที่ตกลงกันได้โดยเฉพาะหน้านั้น ก็มีผลเท่ากับว่าค่าเสนอนั้นได้
ถูกบอกปัดไปแล้ว ท่าให้ค่าเสนอนั้นสิ้นผลไป ดังนั้น จึงไม่เกิดสัญญาขึ้นแต่อย่างใด

จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจะให้ค่าปรึกษาแก่เปา ดังนี้


1. โต้งไม่ต้องรอให้เปาโทรศัพท์มาก่อน เพราะค่าเสนอนั้นสิ้นความผูกพันไปแล้ว ไม่มีผลอย่าง
ใดในกฎหมาย
2. เมื่อสัญญายังไม่เกิด โต้งไม่จ่าเป็นต้องโทรศัพท์ไปบอกเปา
วิเคราะห์
ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องการเกิดของสัญญา ต้องดูว่าสัญญาเกิดขึ้นหรือยัง ถ้าเกิดสัญญาขึ้นแล้วก็จะเกิด
ความผู กพัน สามารถบั งคับ กัน ได้ร ะหว่างคู่สั ญญา แต่ถ้า สัญญายังไม่เกิด ก็ไ ม่สามารถบังคับกัน ได้ มี
ประเด็นพิจารณาว่า ค่าเสนอและค่าสนองได้เกิดขึ้นและถูกต้องตรงกันหรือยัง ปรากฏว่า เปาเป็นฝ่ายท่าค่า
เสนอเฉพาะหน้าไป 2 ครั้ง แต่โต้งปฏิเสธทั้ง 2 ครั้ง คือบอกปัดค่าเสนอ ท่าให้ค่าเสนอนั้นสิ้นผล จึงไม่มี
สัญญาเกิดขึ้น ทั้งโต้งก็มิได้ท่าค่าขึ้นใหม่แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาจึงไม่เกิดขึ้น จะเรียกร้องบังคับกันไม่ได้
นักศึกษาส่วนมาตอบถูกว่าสัญญาไม่เกิด แต่อธิบายไม่ได้ว่า เพราะอะไรสัญญาจึงไม่เกิด โดยอ้างตัว
บทกฎหมายผิด อ้างหลักการเกิดสัญญาเรื่องการแสดงเจตนาซึ่งยังอยู่ห่างโดยระทางไม่ถูกต้อง
2

คาถาม 8
บริษัท ก. ต้องการจ้างเลขานุการ 3 อัตรา จึงประกาศลงหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง โดยกาหนคุณสมบัติไว้ว่า
ผู้สมัครต้องพูดได้ 3 ภาษา คือ ไทย ลาวและอังกฤษปรากฏว่ามีผู้มาสมัคร 4 คน แต่มีนางสาวดวงดีเพียงคนเดียวที่
พูดภาษาลาวไม่ได้ แต่มีความรู้ในทางคอมพิวเตอร์ เมื่อประกาศผลมาปรากฏว่า ทางบริษัทรับนางสาวดวงดีแต่เพียงผู้
เดียว ดังนี้ผู้สมัครอีก 3 คนซึ่งถูกปฏิเสธ จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ก. ซึ่งทาให้ตนต้องเสียค่าใช้จ่ายมาสมัคร
แม้คุณสมบัติคบถ้วนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
1. มาตรา 357 บัญญัติว่า “คาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลา
กาหนดดังกล่าวมาแล้วในมาตราทั้งสามมาก่อนนี้ก็ดี คาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นสุดความผูกพันแต่นั้นไป”
วินิจฉัย
คาเสนอ คือ การแสดงเจตนาที่มีข้อความชัดเจนแน่นอนเพียงพอที่จะถือเป็นข้อผูกพันที่จะก่อให้เกิด
สัญญาได้ เมื่อมีการสนองตอบ
การที่บริษัท ก. ประกาศทางหนังสือพิมพ์รับสมัครเลขานุการนั้น มิได้มีลักษณะเป็นคาเสนอแต่อย่างใด แต่
เป็นเพียงคาเชิญชวนผู้มีคุณสมบัติดังประกาศ ให้มาสมัครงานต่อบริษัท
การที่ผู้สมัครมาสมัครงานกับบริษัทนั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้สมัครมาทาคาเสนอต่อบริษัท บริษัทจึงเป็น
ผู้ทาคาสนองรับคาเสนอนั้น หากต้องการรับผู้ใดเข้าทางาน สัญญาจึงจะเกิด
การที่บริษัทปฏิเสธไม่รับผู้เข้าสมัครทั้ง 3 คน ก็ถือว่าบริษัทได้บอกปัดคาเสนอไปยังผู้เสนอแล้ว ทาให้คา
เสนอนั้นสิ้นผล จึงไม่เกิดสัญญาแต่อย่างใด
จากกหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า ผู้สมัครทั้งสามคน ไม่สามารถฟ้องเรียก
ค่าเสียหายจากทางบริษัท เพราะบริษัทบอกปัดไม่รับคาเสนอ ทาให้คาเสนอนั้นสิ้นผล จึงยังไม่เกิดสัญญาที่จะผูกพัน
บริษัทแต่อย่างใด
วิเคราะห์
1. ประเด็นในเรื่องนี้เป็นเรื่องหลักเบื้องต้น ของการเกิดสัญญา นักศึกษาต้องวินิจฉัยให้ได้ว่า ขั้นตอนการ
เกิดสัญญานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยสรุปแล้วสาระสาคัญของสัญญาคือ
(1) ต้องมีบุคคล 2 ฝ่าย
(2) ต้องมีการแสดงเจตนา อันมีความยินยอมของบุคคล 2 ฝ่าย โดยทาเป็นคาเสนอและคาสนอง
ถูกต้องตรงกัน
(3) ต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันในทางกฎหมาย
2. เมื่อเข้าใจหลักของการเกิดสัญญาแล้ว ก็มาดูประเด็นในคาถามว่า สัญญาเกิดขึ้นระหว่างบริษัทกับ
ผู้สมัครหรือไม่ หากสัญญาเกิดขึ้นแล้ว การที่ผู้สมัครต้องเสียหายเพราะบริษัท ผู้สมัครก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหาย
ได้ แต่หากสัญญายังไม่เกิด ไม่มีผลทางกฎหมายที่จะผูกพันบริษัทแต่อย่างใด
3. สัญญาเกิดจากคาเสนอและคาสนองถูกต้องตรงกัน ลักษณะของคาเสนอนั้นต้องมีข้อเท็จจริงเป็น
เรื่องๆ ไปว่า ขนาดไหนจึงจะเรียกได้ว่าเป็นคาเสนอ คือ ต้องเป็นข้อความที่ชัดแจ้งแน่นอน ถือเป็นข้อผูกพันผู้เสนอได้
ในทันทีว่า ถ้ามีคาสนองถูกต้องตรงกับคาเสนอนั้นแล้ว สัญญาจะเกิดขึ้นทันที
4. ประกาศรับสมัครงานทางหนังสือพิมพ์เป็นเพียงคาเชิญชวนผู้ที่สนใจเท่านั้น ไม่มีลักษณะพอจะ
เป็นคาเสนอที่จะผูกมัดบริษัท เพราะเป็นประกาศทั่วไปให้ผู้สนใจและมีคุณสมบัติมาสมัครเท่านั้น การมาสมัครงาน
ต่างหากเป็นคาเสนอ หากบริษัทพอใจคาเสนอของผู้สมัครคนใด ก็สามารถทาคาสนองหรือรับเข้าทางาน สัญญาจึง
เกิดขึ้น แต่ถ้าบริษัทยังไม่สนใจคาเสนอคือไม่รับ ก็เท่ากับบริษัทบอกปัดคาเสนอนั้น คาเสนอนั้นก็สิ้นผลไป ไม่เกิด
สัญญา
หลักสาคัญคือ นักศึกษาต้องวินิจฉัยให้ได้ว่าสัญญาเกิดขึ้นหรือไม่ เกิ ดขึ้นแล้วมีผลอย่างไร หรือถ้ายังไม่
เกิดผลจะเป็นอย่างไร
3

ข้อ 7 ต้อยเห็นเสื้อที่ร้านตัวหนึ่งถูกใจ จึงถามเจ้าของร้านว่าขายราคาเท่าใด เจ้าของร้านบอกว่าราคา 500 บาท


ต้อยต่อราคาเป็น 350 บาท เจ้าของร้านบอกว่า “450 บาท ก็แล้วกัน” ต้อยบอกว่า “แพงไป ให้ 400 บาท”
เจ้าข้องร้านจึงบอกว่า “ขายไม่ได้ขาดทุน” ต้อยจึงเดินออกจากร้านไป เจ้าของร้านจึงเรียกต้อยกลับมาบอกว่า
“ตกลง 400 บาท” แต่ต้อยปฏิเสธไม่ซื้อแล้ว เจ้าของร้านจะบังคับให้ต้อยซื้อได้หรือไม่ ดังนี้กรณีหนึ่ง และอีก
กรณีหนึ่งถ้าต้อยกลับมาและตกลงใจซื้อในราคา 400 บาท แต่บอกว่าจะไปซื้อของที่อื่นก่อนแล้วจึงจะกลับมา
รับเสื้อ ระหว่างนั้นไฟไหม้ตลาด ลุกลามมาไหม้ร้านขายเสื้อทั้งหมด ต่อมาเจ้าของร้านได้ทวงให้ต้อยชาระราคา
เสื้อ 400 บาท ต้อยไม่ชาระอ้างว่าตนไม่ได้รับเสื้อจึงไม่ต้องชาระราคา ข้ออ้างของต้อยฟังขึ้นหรือไม่ จงวินิจฉัย
ทั้งสองกรณีพร้อมยกเหจุผลประกอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. มาตรา 259 วรรค 2 คาสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจากัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่น
ประกอบด้วยนั้น ท่านให้ถือว่าเป็นคาบอกปัดไม่รับทั้งเป็นคาเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว
2. มาตรา 357 คาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้ วก็ดี หรือมิได้ส นองรับภายในเวลา
กาหนดดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คาเสนอนั้นเป็นอันสิ้นสุดความผูกพันแต่นั้นไป
3. มาตรา 370 ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิใน
ทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้มิได้ไซร้ ท่านว่าการ
สูญหรือเสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
วินิจฉัย กรณีตามปัญหาแยกประเด็นวินิจฉัย ดังนี้
กรณีแรก การที่เจ้าของร้านบอกราคาเสื้อตัวที่ต้อยต้องการซื้อราคา 500 บาท เป็นคาเสนอขาย
และเมื่อต้อยต่อราคาเป็น 350 บาท จึงเป็นคาสนองที่มีข้อจากัดแก้ไข (ตามมาตรา 359 วรรค 2) จึงเป็นการ
บอกปัดไม่รับ ทั้งเป็นคาเสนอซื้อขึ้นใหม่ในราคา 350 บาท
เมื่อเจ้าของร้านบอกว่า 450 บาทก็แล้วกัน จึงเป็นคาสนองที่มีข้อแก้ไขในราคา เป็นคาบอกปัดไม่
รับและเป็นคาเสนอขายขึ้นใหม่ (ตามมาตรา 359 วรรค 2) เมื่อต้อยต่อราคาเป็น 400 บาท เจ้าของบอกว่า
“ขายไม่ได้ ขาดทุน” จึงเป็นคาบอกปัดไม่รับคาเสนอซื้อของต้อย คาเสนอซื้อของต้อยในราคา 400 บาท
จึงสิ้นความผูกพันไป (มาตรา 357)
การที่เจ้าของร้านกลับมาบอกว่า “ตกลง 400 บาท” เมื่อคาเสนอของต้อยสิ้นผลไปแล้ว คาตอบของ
เจ้าของร้านจึงเป็นเพียงคาเสนอขายเท่านั้น สัญญายังไม่เกิดขึ้น เจ้าของร้านจะบังคับให้ต้อยซื้อไม่ได้
กรณีที่สอง ถ้าต้อยตกลงซื้อ ก็คือต้อยสนองตอบคาเสนอของเจ้าของร้าน สัญญาซื้อขายก็เกิดขึ้น
และเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง คือเสื้อที่ตกลงซื้อขายกัน
เมื่อเกิดไฟไหม้ร้าน จึงเป็นกรณีที่ทรัพย์คือเสื้อนั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุอันจะโทษลูกหนี้คือเจ้าของร้าน
มิได้ ความสูญหรือเสียหายจึงเป็นพับแก่เจ้าหนี้ คื อต้อย ดังนั้น ต้อยจึงต้องชาระราคาเสื้อ 400 บาท ให้แก่
เจ้าของร้าน จะอ้างว่าตนไม่ได้รับเสื้อมิได้ ข้ออ้างของต้อยฟังไม่ขึ้น
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า
กรณีแรก สัญญาซื้อขายไม่เกิด เจ้าของร้านจะบังคับให้ต้อยซื้อไม่ได้
กรณีที่สอง ความเสียหายตกเป็นพับแก่ต้อยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ต้อยจึงต้องรับผิดใช้ราคาแก่เจ้าของร้าน
ข้ออ้างของต้อยฟังไม่ขึ้น
*** หมายเหตุ ลูกหนี้ คือ ฝ่ายที่ต้องส่งมอบสินค้า ***
4

คาถาม 7
ก. ออกประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เขียว-ทอง ว่า หากผู้ใดสามารถคิดยารักษาโรคเอดส์ได้
สาเร็จจะให้รางวัลหนึ่งล้านบาท ข.และ ค. ได้อ่านพบข้อความในหนังสือพิมพ์ ข. จึงไปพบ ก. แสดงความ
จานงว่า ตนกาลังค้นคว้าอยู่เกือบสาเร็จแล้วตอนนี้อยู่ในขั้นตอนทดสอบผล แต่ ค. นั้นได้ทารทดลองอยู่นาน
แล้ ว ปรากฏว่า เมื่อ ก. ออกประกาศไปได้ 3 เดือ น กิ จการของ ก. ขาดทุนจึ งได้ ล งประกาศโฆษณาใน
หนังสือพิมพ์ มสธ. ถอนประกาศโฆษณาดังกล่าว เพราะหนังสือพิมพ์เขียว-ทอง ปิดกิจการ อีก 2 เดือนต่อมา
หลังจาก ก. ประกาศถอนโฆษณาแล้ว ค. กระทาการสาเร็จและได้มาพบ ก. เพื่อขอรับรางวัลตามประกาศ ก.
อ้างว่าตนได้ถอนการให้รางวัลแล้ว แต่ปรากฏว่า ค.ไม่ทราบถึงการถอนนั้น เพราะไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์
มสธ. และ ก. ยังอ้างอีกด้วยว่าถึงอย่างไรก็ตาม ค. ก็ไม่มีสิทธิในรางวัลอยู่ดี เพราะ ข. เป็นคนมาติดต่อแจ้งให้
ก. ทราบถึงการค้นคว้าก่อน ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก. หรือไม่ เพราะเหตุใด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. มาตรา 362 บุคคลออกโฆษณาให้คามั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้กระทาการอันใด ท่านว่าจาต้องให้
รางวัลแก่บุคคลใดๆ ผู้ได้กระทาการอันนั้น แม้ถึงมิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทาเพราะเห็นแก่รางวัล
2. มาตรา 363 วรรคแรก ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทาการสาเร็จดังบ่งไว้
นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่ จะได้แสดงไว้ใน
โฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน
3. มาตรา 363 วรรคสอง ถ้าคามั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดังกล่าวมาก่อน จะถอนโดยวิธีอื่นก็ได้
แต่ถ้าเช่นนั้นการถอนจะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเพราะต่อบุคคลที่รู้

วินิจฉัย
คามั่นในกรณีนี้เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว เป็นการแสดงเจตนาของผู้ให้คามั่นที่จะผูกพันตนเองในการที่
จะให้รางวัลตามประกาศโฆษณา ซึ่งได้กระทาแกบุคคลทั่วไป โดยผู้ให้คามั่นนั้นมุ่งประสงค์ต้องการให้เกิดผล
สาเร็จ ของการกระทาอันใดอันหนึ่งตามประกาศโฆษณา จึงไม่จาเป็นจะต้องมีการแสดงเจตนาสนองตาม
ดังเช่นในกรณีเรื่องสัญญาแต่ผลผูกพันนี้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งผู้ให้คามั่นต้องให้รางวัล แม้ถึงว่าผู้กระทาจะ
ได้กระทาโดยไม่เห็นแก่รางวัลก็ตาม
จากข้อเท็จจริง จึงเห็นได้ว่า ก. ได้ให้คามั่นโดยประกาศโฆษณาทาง นสพ. เขียว-ทอง จะให้รางวัล
แก่ผู้ที่สามารถคิดยารักษาโรคเอดส์ได้ ดังนั้น จึงเท่ากับว่า ก. ผูกพันตัวต่อบุคคลทั่วไปที่จะต้องให้รางวัลแก่
บุคคลใดก็ได้ ซึ่งกระทาการนี้สาเร็จ แม้ว่า ข. จะมาแจ้งให้ ก.ทราบว่า ตนกาลังค้นคว้าอยู่ก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มี
ผลสาเร็จของงานตามประกาศก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับรางวัลแต่อย่างใด (มาตรา 362)
ในขณะซึ่งงานยังไม่เสร็จ แม้ว่าผู้ ให้คามั่นคือ ก. สามารถจะถอนคามั่นนั้นเสี ยก็ได้ แต่การถอน
คามั่นดังกล่าวต้องกระทาโดยวิธีเดียวกับวิธีที่โฆษณานั้น ต้องหมายถึงถอนโดยวิธีเดียวอย่างแท้จริง หาก
ถอนด้วยวิธีเดิมไม่ได้จะมีผลสมบูรณ์ใช้ใด้แต่เฉพาะผู้ที่ได้รู้ถึงประกาศถอนเท่านั้น เมื่อ ก. ถอนโฆษณาใน
หนังสือพิมพ์ มสธ. ซึ่งมิใช่หนังสิพิมพ์เขียว-ทอง ที่ได้เคยลงประกาศไว้เดิม โดย ค. ไม่ทราบถึงการถอนนั้น
ดังนี้ ก. ยังต้องผูกพันที่ต้องจ่ายรางวัลตามประกาศ

จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดงกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าไม่เห็ นด้ว ยกับข้ออ้า งของ ก.


และ ค. ที่ไม่ทราบการถอนประกาศ ส่วน ข. นั้น แม้ ข. จะมาติดต่อ ก. ให้ทราบถึงการค้นคว้าของตนก่อน ก็
ไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย
5

วิเคราะห์
1. ประเด็นในคาถามนั้น เป็นเรื่องคามั่นจะให้รางวัลว่าจะมีผลอย่างไร เมื่อจับประเด็นได้แล้วก็มาดู
คาถามว่า ผู้ถามต้องการรู้อะไรบ้าง และมีมาตราใดที่เกี่ยวข้องในการตอบคาถาม
นักศึกษาส่วนใหญ่ตอบข้อนี้เป็นเรื่องคาเสนอคาสนอง ซึ่งก่อให้เกิดสัญญา แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้
เป็นเรื่องคามั่นจะให้รางวัล ซึ่งแม้เมื่อดูเผินๆ แล้วน่าจะเป็นการประกาศหรือโฆษณาเชิญชวนให้มาทาคา
เสนอ เพื่อก่อให้เกิดสัญญา ซึ่งความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง
2. คามั่นนั้นเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว และจะมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อเมื่อผู้ให้คามั่นในมัน ทีที่
ประกาศออกไป แต่ประกาศโฆษณาเชิญชวนนั้นยังไม่มีผลใดๆ ในกฎหมาย หากเข้าใจในข้อนี้ก็จะตอบได้
โดยไม่ผิดพลาดสับสน
3. ผลของคามั่นนั้นเกิดขึ้นเมื่อมีผลสาเร็จของงานเกิดขึ้น แม้ผู้กระทาจะไม่เห็นแก่รางวัล ก็มี
สิทธิได้รับรางวัล ไม่ต้องมาทาคาเสนอหรือมาสนองตอบ (มาตรา 362) แต่ก่อนผลของงานจะสาเร็จ ผู้ให้
คามั่นก็สามารถจะถอนคามั่นได้โดยวิธีเดียวกับการที่ได้โฆษณาไว้ ซึ่งผลของการถอนก็สมบูรณ์ถ้าถอนด้วย
วิธี เ ดี ย วกัน ซึ่ งวิธีเดี ย วกัน หมายความว่ า ต้องเป็นวิธี เดียวกั นจริง ๆ ตามข้อเท็จ จริงการลงโฆษณาใน
หนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่ง แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะหนังสือพิมพ์เขียว-ทอง จะถูกปิดก็ตาม ไม่ถือว่า
เป็นการถอนโดยวิธีเดียวกัน แต่เป็ นการถอนโดยวิธีอื่น ดังนั้น จึงใช้กับ ค. เพื่อปฏิเสธไม่ให้รางวัลไม่ได้
ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก.
4. ข้อบกพร่อง คือ นักศึกษาไม่แม่ตัวบทกฎหมาย และไม่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างคามั่น
คาเสนอ คาสนอง ว่าแต่ละประเภทคืออะไร มีผลแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้น การตอบจึงไม่ตรงกับตัวบท
กฎหมายในเรื่องคามั่น
6

ข้อ 3 ส ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 ว่าหากใครประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์


ซึ่งสามารถแปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้ จะให้รางวัล 400,000 บาท เวลาล่วงไป 5 ปีแล้ว
ฉลาดได้ประดิษฐ์โปรแกรมดังกล่าวได้โดยฉลาดไม่เคยทราบว่า ส ได้ประกาศให้รางวัลแต่มาทราบจากเพื่อน
ของตนในภายหลังเมื่อประดิษฐ์ได้ ดังนั้น ฉลาดจึงนาสิ่งประดิษฐ์ของตนมาขอรับรางวัลจาก ส ส อ้างว่าเลย
กาหนดอายุความแล้ว และฉลาดเองก็ไม่เคยมาแจ้งให้ ส ทราบว่าจะอาสาประดิษฐ์ สัญญาจึงไม่เกิดและ
ปฏิเสธไม่จ่ายเงินรางวัล ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ส หรือไม่

กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
หลักกฎหมายที่ 1 (มาตรา 362) บุคคลออกโฆษณาให้คามั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทาการอันใด
ท่านว่าจาต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดๆ ผู้ได้กระทาการอันนั้น แม้ถึงมิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทาเพราะเห็นแก่รางวัล
หลักกฎหมายที่ 2 (มาตรา 363 วรรคแรก) ในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไม่มีใครทาการ
สาเร็จดังบ่งไว้นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้
แสดงไว้ในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน

วินิจฉัย
กรณีนี้เป็นเรื่อง คามั่นโฆษณาจะให้รางวัล คามั่นมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว
ผูกพันผู้ให้คามั่นโดยไม่ต้องมีการแสดงเจตนาสนองตอบแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่ผู้ให้คามั่นมุ่งถึงความสาเร็จของ
การกระทาซึ่งตนโฆษณาไว้ ดังนั้นแม้ผู้กระทาสาเร็จ กระทาโดยไม่เห็นแก่รางวัล ผู้โฆษณาก็ต้องให้รางวัล
ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นเสียได้ถ้ายังไม่มีผู้ใดทาสาเร็จ แต่ถ้ายังไม่ถอนคามั่นแล้ว ผู้ให้คามั่นก็คงผูกพันอยู่
ตามข้อเท็จจริง เป็นเรื่องคามั่นจะให้รางวัล เมื่อมีบุคคลประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามประกาศ
ได้ ดังนั้น ส ต้องผูกพันตามคามั่นที่ได้ให้ไว้ เมื่อมีบุคคลทาสาเร็จตามโฆษณาแล้ว ส จะอ้างกาหนดอายุความ
มาปฏิเสธไม่จ่ายรางวัลไม่ได้ เพราะ ส ยังมิได้ถอนคามั่นแต่อย่างใด ส จึงต้องผูกพันจ่ายรางวัล แม้ว่า
ฉลาดจะไม่ทราบมาก่อนว่าการประดิษฐ์นั้นจะมีรางวัล ดังนั้น ส ปฏิเสธไม่จ่ายเงินรางวัลไม่ได้
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า ส จะอ้างกาหนดอายุความมาปฏิเสธ
ไม่จ่ายรางวัลไม่ได้ เพราะ ส ยังมิได้ถอนคามั่นแต่อย่างใด ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ส
7

ข้อ 9 ก เสนอขายตู้เย็นแก่ ข โดยเขียนจดหมายส่งไปรษณีย์ในวันที่ 1 มกราคม 2530 หลังจากส่ง


จดหมายไปได้ 1 วัน ก หัวใจวาย วันที่ 3 มกราคม 2530 ข ได้โทรศัพท์มาหา ก เพื่อจะขอซื้อตู้เย็น
ปรากฏว่าทายาทของ ก ได้แจ้งให้ ข ทราบว่า ก หัวใจวายตายในวันที่ 2 มกราคม 2530 และเมื่อวันที่ 5
มกราคม 2530 จดหมายของ ก มาถึง ข ข เห็นว่าราคาตู้เย็นที่ ก เสนอมาถูกมาก จึงมีจดหมายตอบ
ไปยังทายาทของ ก ตกลงซื้อตู้เย็นตามที่ ก เสนอมา ปรากฏว่าทายาทของ ก ปฏิเสธไม่ยอมขายตู้เย็นให้
ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อขายตู้เย็นเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด และ ข จะเรียกให้ทายาทของ ก ส่ง
มอบตู้เย็นให้แก่ตนได้หรือไม่
กรณีตามปัญหา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
หลักกฎหมายที่ 1 (มาตรา 169 วรรค 2) การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้
ภายหลังการแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคน
เสมือนไร้ความสามารถ
หลักกฎหมายที่ 2 บทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๖๙ วรรค 2 นั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่าขัดกับเจตนา
อันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้
ความสามารถ
วินิจฉัย
การแสดงเจตนาต่อบุคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางนั้น ถึงแม้ว่าภายหลังผู้แดสงเจตนาตายก็ตาม การ
แสดงเจตนานั้นก็ยังคงสมบูรณ์อยู่ ในฐานเป็นการแสดงเจตนาซึ่งเป็นหลักทั่วไป
แต่มีข้อยกเว้นว่า ถ้าหากขัดกับเจตนาของผู้เสนอซึ่งได้แสดงไว้ หรือว่า หากผู้ที่สนองนั้นได้รู้อยู่แล้ว
ว่าผู้เสนอตายไปแล้วก่อนสนองรับไป เช่นนี้ การแสดงเจตนาของผู้ตายก็เป็นอันไม่มีผลเป็นการแสดง
เจตนา
จากข้อเท็จจริง ก เสนอขายตู้เย็นให้แก่ ข ในวันที่ 1 มกราคม 2530 หลังจากส่งคาเสนอไปแล้ว
ก ตาย และทายาทของ ก ได้แจ้งให้ ข ทราบว่า ก หัวใจวายตายในวันที่ 2 มกราคม 2530 จึงเป็นกรณีที่
ผู้สนอง คือ ข เองก็ได้ทราบแล้วก่อนทาคาสนองว่า ก ตายไปแล้ว ดังนี้ จึงมีผลให้คาเสนอของ ก นั้นสิ้นผล
เป็นคาเสนอ เพราะ ข ได้ทราบก่อนแล้วว่า ก ตาย แม้ว่า ข จะทาคาสนองมาภายหลัง สัญญาซื้อขาย
ตู้เย็นก็ไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น ทายาทของ ก ปฏิเสธไม่ขายตู้เย็นให้ ข ได้
ข จะเรียกให้ทายาทของ ก ส่งมอบตู้เย็นแก่ตนมิได้ เพราะสัญญาซื้อขายตู้เย็นไม่เกิด
จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปว่า สัญญาซื้อขายตู้เย็นก็ไม่เกิดขึ้นแต่
อย่างใด เพราะ คาเสนอของ ก สิ้นไปเป็นคาเสนอ เนื่องจาก ข ได้ทราบก่อนทาคาสนองว่า ก ตายไปแล้ว
และ ข จะเรียกให้ทายาทของ ก ส่งมอบตู้เย็นแก่ตนมิได้ เพราะสัญญาซื้อขายตู้เย็นไม่เกิด
8

ม.ราม
ข้อ 1. เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554 นายอาทิตย์ซึ่งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ส่งจดหมายทาง
ไปรษณีย์เสนอ ขายบ้านหลังหนึ่งของตนราคาสามล้านบาทแก่นายจันทร์ซึ่งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี หลังจากนาย
อาทิตย์ ส่ ง จดหมายไปแล้ ว หนึ่ ง วัน ก่อนที่ จดหมายของนายอาทิตย์ไปถึง นายจันทร์ เกิดอุทกภั ยที่จังหวั ด
พระนครศรีอยุธยา กระแสน้าหลากไหลมาอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้นายอาทิตย์จมน้าตาย ดังนี้
ก. การแสดงเจตนาเสนอขายบ้านของนายอาทิตย์มีผลในกฎหมายประการใดหรือไม่ เพราะเหตุใด
ข. กรณีปรากฏว่าเมื่อจดหมายของนายอาทิตย์ไปถึงนายจันทร์ นายจันทร์ได้ทราบข่าวการตายของ
นายอาทิตย์แล้ว แต่อยากได้บ้านหลังที่นายอาทิตย์เสนอขาย นายจันทร์จึงเขียนจดหมายตอบตกลงซื้อบ้าน
หลังนั้นแล้วส่งทางไปรษณีย์ไปให้นายอาทิตย์ นางสาวน้อยหน่าซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่ในบ้านของนายอาทิตย์ได้รับ
จดหมายดังกล่าวไว้ ดังนี้ สัญญาซื้อขายบ้านระหว่างนายอาทิตย์และนายจันทร์เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 169 วรรคสอง “การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการแสดง
เจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย”
มาตรา 360 “บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ใช่บังคับ ถ้าหากว่า...ก่อนจะสนอง
รับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตาย”

วินิจฉัย
ก. กรณี อุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ซึ่งมีเจตนาที่จะขายบ้านของตนให้แก่นายจันทร์และได้ส่งการ
แสดงเจตนาเสนอขายบ้านหลังดังกล่าวโดยจดหมายทางไปรษณีย์ไปให้นายจันทร์แล้ว นั้น แม้ต่อมาภายหลัง
นอกอาทิตย์ผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย ดังนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคสอง ให้ถือว่า การแสดง
เจตนาเสนอขายบ้านของนายอาทิตย์ที่ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป คือให้ถือว่าการแสดงเจตนาเสนอขาย
บ้านของนายอาทิตย์นั้นยังคงมีผลสมบูรณ์
ข. ตาม อุทาหรณ์ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อจดหมายแสดงเจตนาขายบ้านของนายอาทิตย์ได้
ไปถึงนายจันทร์นั้น นายจันทร์ได้ทราบข่าวการตายของนายอาทิตย์แล้ว แต่นายจันทร์อยากได้บ้านหลังที่นาย
อาทิตย์เสนอขาย นายจันทร์จึงได้เขียนจดหมายตอบตกลงซื้อบ้านหลังนั้นแล้วส่งทางไปรษณีย์ไปให้ นาย
อาทิตย์ กรณีดังกล่าวจึงต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า มิให้นา ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรค
สอง มาใช้บังคับ ถ้าหากว่าก่อนที่จะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตาย ดังนั้น กรณีตาม
อุทาหรณ์ดังกล่าวนี้จึงต้องถือว่า การแสดงเจตนาเสนอขายบ้านของนายอาทิตย์นั้นย่อมเสื่อมเสียไป หรือสิ้น
ความผูกพันไป และเมื่อกรณีดังกล่าว ถือว่าไม่มีคาเสนอของนายอาทิตย์ มีแต่เพียงคาสนองของนายจันทร์
ดังนั้น สัญญาซื้อขายบ้านระหว่างนายอาทิตย์และนายจันทร์จึงไม่เกิดขึ้น
สรุป
ก. การแสดงเจตนาเสนอขายบ้านของนายอาทิตย์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ข. สัญญาซื้อขายบ้านระหว่านายอาทิตย์และนายจันทร์ไม่เกิดขึ้น
9

ข้อ 4 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556 นายอาทิตย์ซึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้ส่งจดหมายเสนอขายบ้านหลังหนึ่ง


ของตนไปยังนางจั น ทราซึ่งอยู่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ในราคา 3 ล้ านบาท โดยนายอาทิตย์ได้กาหนดไปใน
จดหมายด้วยว่า ถ้านางจันทราต้องการซื้อบ้านหลังนี้ ให้ตอบไปยังนายอาทิต ย์ภายในวันที่ 31 มีนาคม
2556 นางจันทราส่งจดหมายตอบตกลงซื้อบ้านหลังนั้นตามราคาที่นายอาทิตย์เสนอ แต่จดหมายของนาง
จันทราไปถึงนายอาทิตย์ในวันที่ 5 เมษายน 2556 อย่างไรก็ตาม เมื่อดูตราไปรษณีย์ซึ่งประทับบนซอง
จดหมายของนางจันทราแล้ว เป็น ที่เห็น ได้ชัดแจ้งว่ า นางจันทราได้ส่ งจดหมายตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม
2556 ซึ่งตามปกติจดหมายฉบับนั้นควรไปถึงนายอาทิตย์ก่อนหรือภายในวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตามที่
นายอาทิตย์กาหนด เช่นนี้ จดหมายตอบตกลงซื้อบ้านที่นางจันทราส่งไปยังนายอาทิตย์เป็นคาสนองล่วงเวลา
หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 358 ถ้าคาบอกกล่าวสนองมาถึงล่วงเวลา แต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคาบอกกล่าวนั้นได้ส่ง
โดยทางการซึ่งตามปกติควรจะมาถึงภายในเวลากาหนดนั้นไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยพลันว่าคาสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นก่อนแล้ว
ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดังว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือว่าคาบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา

วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางจันทราได้ส่งจดหมายตอบตกลงซื้อบ้านหลังนั้นตามราคาที่ นาย
อาทิตย์เสนอ แต่จดหมายของนางจันทราไปถึงนายอาทิตย์ในวันที่ 5 เมษายน 2556 ซึ่งล่าช้ากว่าเวลาที่นาย
อาทิตย์ได้กาหนดไว้ แต่เป็นที่เห็นได้ชัดเจนจากตราไปรษณีย์ซึ่งประทับบนซองจดหมายว่า นางจันทราส่ง
จดหมายฉบับนั้นตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2556 ซึ่งตามปกติจดหมายฉบับนั้นควรจะไปถึง นาย
อาทิตย์ก่อน หรือภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2556 อันเป็นเวลาที่นายอาทิตย์กาหนดไว้ ในกรณีเช่นนี้ คา
สนองของนางจันทราจะเป็นคาสนองล่วงเวลาหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่านายอาทิตย์ซึ่งเป็นผู้เสนอได้ปฏิบัติ หน้าที่
ตามที่กฎหมายกาหนดไว้หรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้กฎหมายกาหนดหน้าที่ของผู้เสนอไว้ว่า ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่ผู้
สนองโดยพลันว่าคาสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นไว้ก่อนแล้ว ดังนั้น
(1) ถ้านายอาทิตย์ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดไว้ดังกล่าว กฎหมายจึงจะถือว่าจดหมายคา
สนองของนางจันทราเป็นคาสนองล่วงเวลา
(2) แต่ถ้านายอาทิตย์ละเลย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดไว้ดังกล่าว กฎหมายให้ถือว่า
จดหมายคาสนองของนางจัน ทราเป็นคาสนองที่มิได้ล่วงเวลา ซึ่งมีผลให้สั ญญาซื้อขายบ้านระหว่างนาย
อาทิตย์กับนางจันทราเกิดขึ้น

สรุป
จดหมายตอบตกลงซื้อบ้านของนางจันทราที่ส่งไปยังนายอาทิตย์เป็นคาสนองล่วงเวลาหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า
นายอาทิตย์ซึ่งเป็นผู้เสนอได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดไว้หรือไม่ ตามมาตรา 358
10

คาถาม ข้อ 4. ระหว่างที่นายผอมกาลังออกกาลังกายอยู่นั้น นายอ้วนเพื่อนเก่าได้เดินสวนมาเจอกับนาย


ผอม นายอ้วนได้เสนอขายนาฬิกาข้อมือของตน ซึ่งเป็นนาฬิการุ่นพิเศษ สามารถวัดการเผาผลาญพลังงานจาก
การออกกาลังกายได้ ปกติราคา 50, 000 บาท หากนายผอมสนใจจะให้ราคาพิเศษ 40,000 บาทโดยนาย
อ้วนเสนอว่าให้รีบตอบรับภายใน 2 วัน แต่นายผอมบอกกับนายอ้วนว่าไม่ต้องการซื้อ แล้วนายผอมก็เดินแยก
ออกมา ผ่านไป 1 วัน นายผอมเปลี่ยนใจจึงโทรไปบอกกับนายอ้วนว่าต้องการซื้อนาฬิกาดังกล่าว นายอ้วน
บอกว่าต้องซื้อในราคา 50,000 บาท นายผอมจึงงบอกนายอ้วนว่า นายอ้วนบอกให้ตอบรับได้ภายใน 2 วัน
ขณะที่ผ่านมาเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ดังนั้น นายอ้วนจึงต้องขายนาฬิกาให้ตนในราคา 40,000 บาท ข้ออ้างของ
นายผอมฟังขึ้นหรือไม่ อย่างไร
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลผลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 354 “คาเสนอจะทาสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทาคาสนองนั้น ท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายใน
ระยะเวลาที่บ่งไว้”
มาตรา 357 “คาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลากาหนด
ดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป”
วินิจฉัย
ในการทาคาเสนอนั้นตามมาตรา 354 ได้กาหนดไว้ว่า ถ้าผู้ทาคาเสนอได้มุ่งระยะเวลาไว้ให้อีกฝ่าย
หนึ่งทาคาสนอง ผู้เสนอไม่อาจจะถอนคาเสนอก่อนสิ้นระยะเวลาที่บ่งไว้นั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามหากอีกฝ่าย
หนึ่งบอกปัดคาเสนอนั้นไปยังผู้เสนอแล้ว หรือมิได้สนองรับภายในเวลาที่กาหนด ย่อมมีผลทาให้คาเสนอนั้น
สิ้นความผูกพันตามมาตรา 357
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอ้วนเสนอขายนาฬิกาข้ อมือของตนให้กับนายผอม โดยนายอ้วนเสนอ
ว่าให้รีบตอบรับภายใน 2 วันนั้น คาเสนอขายของนายอ้วนย่อมถือเป็นคาเสนอที่บ่งระยะเวลาที่ให้ทา คา
สนอง ดังนั้น นายอ้วนจึงไม่อาจถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ตามมาตรา 354 แต่อย่างไรก็ตาม การที่นาย
ผอมบอกกับนายอ้วนว่าไม่ต้องการซื้ อ และเดินแยกออกมานั้นถือเป็นการปัดคาเสนอไปยังนายอ้วนผู้เสนอ
แล้ว จึงมีผลทาให้การเสนอขายของนายอ้วนสิ้นความผูกพันตามมาตรา 357 ข้ออ้างของนายผอมที่ว่า นาย
อ้วนบอกให้ตอบรับได้ภายใน 2 วัน ขณะนี้ผ่านมาได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น นายอ้วนจึงต้องขายนาฬิกาให้ตน
ในราคา 40, 000 บาทนั้นจึงฟังไม่ข้น เพราะคาเสนอดังกล่าวสิ้นความผูกพันไปแล้ว

สรุป ข้ออ้างของนายผอมฟังไม่ขึ้น
11

ข้อ 4. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 นายสมพงศ์ซึ่งอยู่จังหวัดชลบุรีได้ส่งจดหมายเสนอขายม้าแข่งตัวหนึ่ง


ของตนให้นายสมบูรณ์ซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ราคา 1, 000,000 บาท โดยกาหนดไปในจดหมายด้วยว่า
ถ้าหากนายสมบู รณ์จ ะซื้อจะต้องส่งจดหมายตอบตกลงซื้อมาถึงนายสมพงษ์ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม
2553 นายสมบูรณ์ส่งจดหมายตอบตกลงซื้อม้าแข่งตัวนั้นตามราคาที่นายสมพงศ์เสนอแต่จดหมายมาถึงนาย
สมพงศ์ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 หากเป็นที่เห็นได้ชัดเจนจากตราไปรษณีย์ซึ่งประทับบนซองจดหมายว่า
นายสมบูรณ์ส่งจดหมายฉบับนั้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2553 เช่นนี้ จะมีผลในกฎหมายอย่างไร

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 358 “ถ้าคาบอกกล่าวเสนอมาถึงล่วงเวลา แต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคาบอกกล่าวนั้นได้ส่งโดย
ทางการซึ่งตามปกติควรจะมาถึงภายในเวลากาหนดไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีฝ่ายหนึ่ง โดยพลันว่า
คาสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้าเว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นก่อนแล้ว
ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดังว่าในวรรคต้น ท่านให้ถือว่าคาบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา”

วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ จดหมายคาสนองตอบตกลงซื้อม้าแข่งของนายสมบูรณ์ไปถึงนายสมพงศ์ในวันที่
31 กรกฎาคม 2553 ซึ่งล่าช้ากว่าเวลาที่นายสมพงศ์กาหนดไว้ 6 วัน แต่เป็นที่เห็นได้ชัดเจนจากตราไปรษณีย์
ซึงประทับตราบนซองจดหมายของนายสมบูรณ์ว่านายสมบูรณ์ส่งจดหมายฉบับนั้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม
2553 ซึ่งตามปกติจดหมายฉบับนั้นควรจะมาถึงนายสมพงศ์ภายใน 3 วัน หรือ 5 วันเป็นอย่างช้า คือ มาถึงทัน
ภายในวันที่ 25 กรกฎคม 2553 ซึ่งนายสมพงศ์กาหนดไปในคาเสนอ
ดังนั้น คาสนองของนายสมบูรณ์จึงเป็นคาสนองที่มาถึงผู้เสนอเนิ่นช้า แต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคา
สนองนั้นได้ถูกส่งโดยทางการซึ่งตามปกติควรจะมาถึงผู้เสนอภายในเวลากาหนด ซึ่งจะมีผลในกฎหมายตาม
มาตรา 358 ดังนี้
1. นายสมพงศ์ผู้เสนอมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่าย (คือ นายสมบูรณ์ผู้สนอง) โดยพลันว่า
คาสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่นายสมพงศ์ผู้เสนอจะได้บอกกล่าวเช่นนั้นไว้ก่อนแล้ว
2. ถ้านายสมพงศ์ผู้เสนอปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว กฎหมายจึงจะถือว่าคาบอกกล่าวสนองของนาย
สมบูรณ์เป็นคาสนองล่วงเวลา
3. แต่ถ้านายสมพงศ์ผู้เสนอละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว กฎหมายถือว่าคาบอกกล่าวสนองของ
นายสมบูรณ์เป็นคาสนองที่มิได้ล่วงเวลา ซึ่งจะมีผลทาให้สัญญาซื้อขายม้าแข่งระหว่างนายสมพงศ์กับนาย
สมบูรณ์เกิดขึ้น

สรุป จดหมายตอบตกลงซื้อม้าแข่งของนายสมบูรณ์จะมีผลในกฎหมายเป็นคาสนองล่วงเวลาหรือไม่ขึ้นอยู่
กับว่า นายสมพงศ์ซึ่งเป็นผู้เสนอได้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกาหนดไว้ตามมาตรา 358 หรือไม่
12

ข้อ 4. นายศรีกรุงอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่งจดหมายเสนอขายพระสมเด็จวัดระฆังองค์หนึ่งของตนมูลค่า


จานวน 1 ล้านบาท ให้แก่นายศรีตรังซึ่งอยู่ที่จังหวัดตรัง โดยแจ้งว่าหากนายศรีตรังตกลงซื้อก็ให้ตอบให้ทราบ
ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 นายศรีตรังได้รับจดหมายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 และส่งจดหมายตอบ
ตกลงซื้อพระสมเด็จฯ องค์นั้นถึงนายศรีกรุงทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 หลังจากส่ง
จดหมายแล้วนายศรีตรังถูกศาลสั่งให้ตกเป็นคนไร้ความสามารถในวันต่อ มา นางศรีสวยคู่สมรสของนาย
ศรีตรังได้โทรศัพท์แจ้งข่าวดังกล่าวให้แก่ นายศรีกรุง ทราบในวันเดียวกัน ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของทางการ
ไปรษณีย์ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดส่งจดหมายของ นายศรีตรังไปยังจังหวัดหนองคายแทนที่จะส่งมาจังหวัดตรัง
ตามปกติ เพราะความประมาทเลินเล่อในหน้าที่เป็นเหตุให้จดหมายของนายศรีตรังซึ่งตาม ปกติควรมาถึงบ้าน
นายศรีกรุงภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 กลั บมาถึงในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 นายศรีกรุงเห็นว่า
จดหมายของนายศรี ต รั ง มาถึ ง ล่ ว งเวลาที่ ก าหนดในจดหมายของตน ทั้ ง นายศรี ต รั ง ก็ ยั ง ตกเป็ น คนไร้
ความสามารถตามกฎหมายไปแล้ว นายศรีตรังจึงไม่น่าจะต้องการพระสมเด็จฯ องค์นั้นอีกต่อไป จึงเปลี่ยนใจ
ไม่อยากขายพระสมเด็จฯ องค์นั้นอีก นายศรีกรุงจึงไม่สนใจที่ติดต่อนางศรีสวยทายาทของนายศรีตรังในเรื่อง
การซื้อขายนั้นอีก ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า นางศรีสวยซึ่งเป็นทายาทคนเดียวของนายศรีตรังจะเรียกร้องให้นายศรี
กรุงส่งมอบพระสมเด็จฯ องค์นั้นให้แก่ตนซึ่งตนพร้อมจะชาระราคาให้ตอบแทนโดยนางศรีสวยอ้างว่าสัญญา
ซื้อขายพระสมเด็จฯ องค์นั้นได้เกิดขึ้นแล้วได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 169 วรรคสอง “การแสดงเจตนาเมื่อส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการแสดง
เจตนานั้ น ผู้ แ สดงเจตนาจะถึ ง แก่ ค วามตายหรื อ ถู ก ศาลสั่ ง ให้ เ ป็ น คนไร้ ค วามสามารถหรื อ คนเสมื อ นไร้
ความสามารถ”
มาตรา 358 “ถ้าคาบอกกล่าวมาถึงล่วงเวลา แต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคาบอกกล่าวนั้นได้ส่งโดย
ทางการซึ่งตามปกติ ควรจะมาถึงภายในเวลาที่กาหนดไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่ ายหนึ่งโดน
พลันว่าคาสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะบอกกล่าวเช่นนั้นก่อนแล้ว
ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดังว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือคาบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา”
มาตรา 360 “บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่าขัดกับเจตนาอัน
ผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้
ความสามารถ”
มาตรา 361 วรรคแรก “อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญา
ขึ้นแต่เวลาเมื่อคาบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ”

วินิจฉัย
กรณี ตามอุทาหรณ์ การที่นายศรีตรังส่งจดหมายตอบตกลงซื้อพระสมเด็จวัดระฆังไปยังนายศรีกรุง
เป็นการแสดงเจตนาทาคาสนองต่อนายศรีกรุงผู้เสนอซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แม้ได้ส่งการแสดงเจตนาออกไป
แล้ว นายศรีตรังผู้แสดงเจตนาทาคาสนองได้ถูกศาลสั่งให้ตกเป็นคนไร้ความสามารถก่อน การแสดงเจตนานั้น
ไปถึงนายศรีกรุง กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 360 การแสดงเจตนาทาคาสนองที่ได้ส่งออกไปแล้วนั้น
จึงไม่เสื่อมเสียไปตามมาตรา 169 วรรคสอง
และแม้การแสดงเจตนานั้นไปถึงนายศรีกรุงผู้รับการแสดงเจตนาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่ง
ล่วงเลยระยะเวลาที่นายศรีกรุงกาหนดให้นายศรีตรังทาคาสนองก็ตาม แต่โดยที่เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าคาสนอง
นั้นได้ส่งโดยทางการซึ่งปกติควรจะมาถึงนายศรีกรุงภายในเวลากาหนด คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 เมื่อ
13

นายศรีกรุงผู้รับคาสนองมิได้บอกกล่าวแก่นางศรีสวยโดยพลันว่าคาสนองมาถึงเนิ่นช้า ก็ต้องถือว่าคาสนองนั้น
มิได้ล่วงเวลาตามมาตรา 358 วรรคสอง สัญญาซื้อขายพระสมเด็จฯ องค์ดังกล่าวระหว่างนายศรีกรุงและนาง
ศรีสวยคู่สมรสของนายศรีตรังจึงเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ตามมาตรา 361 วรรคแรก นางศรีสวยจึงเรียกร้องให้นาย
ศรีกรุงส่งมอบพระสมเด็จฯ องค์นั้นให้นางศรีสวย โดยรับเงินจานวน 1 ล้านบาท ไปจากนางศรีสวยได้

สรุป นางศรีสวยเรียกร้องให้นายศรีกรุงส่งมอบพระสมเด็จฯ องค์นั้นให้นางศรีสวย โดยรับเงินจานวน 1


ล้านบาท ไปจากนางศรีสวยได้
14

ข้อ 4 นายอิ่มอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ได้โทรศัพท์ไปหานายอดเพื่อนสนิท และนายอิ่มได้พูดเสนอขายรถยนต์ 1


คัน ให้นายอดในราคา 400,000 บาท ในระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์ แต่นายอดไม่ได้ตอบกลับมาทันทีว่าจะ
ซื้อหรือไม่อย่างไร นายอิ่มเห็นนายอดไม่สนใจรถยนต์ของตน เมื่อกลับถึงบ้านนายอิ่มได้ส่งจดหมายเสนอขายรถยนต์
คันดังกล่าว ให้นายอี๊ดซึ่งอยู่จังหวัดสมุทรสาครในราคาเท่ากัน กับที่เสนอขายนายอด โดยนายอิ่มได้กาหนดไปใน
จดหมายด้วยว่า ถ้านายอี๊ดต้องการซื้อรถยนต์ของตน ต้องสนองตอบกลับมาภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551
ปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่กาหนดคือ วันที่ 20 พฤษภาคม 2551 แล้วนายอี๊ดก็มิได้สนองตอบกลับมาแต่อย่างใด จะมี
ก็แต่จดหมายคาสนองของนายอดที่ตอบกลับมายังนายอิ่มว่าตนตกลงซื้อรถยนต์ของนายอิ่มที่เสนอขาย ดังนี้อยาก
ทราบว่า ถ้านายอิ่มเปลี่ยนใจไม่ต้องการขายรถยนต์ของตนให้กับนายอดและนายอี๊ด นายอิ่มจะทาได้หรือไม่ เพราะ
เหตุใด จงอธิบาย
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 354 คาเสนอจะทาสั ญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทาคาสนองนั้น ท่านว่าไม่อาจจะถอนได้
ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้
มาตรา 356 คาเสนอทาแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทาคาสนองนั้นเสนอ ณ
ที่ใดเวลาใดก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลคนหนึ่งทาคา
เสนอไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย
มาตรา 357 คาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้ เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลากาหนด
ดังกล่าวมาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป
มาตรา 360 บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่าขัดกับเจตนา
อันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้
ไร้ความสามารถ
วินิจฉัย
กรณีแรก การที่นายอิ่มซึ่งอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ได้โทรศัพท์ไปหานายอดเพื่อนสนิทและนายอิ่มได้
พูดเสนอขายรถยนต์ให้นายอดระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์ ถือได้ว่านายอิ่มได้ทาคาเสนอต่อบุคคลซึ่งอยู่
เฉพาะหน้าโดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทาคาสนอง ตามาตรา 356 ซึ่งสัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น
เป็นสัญญาขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนายอดได้ทาคาสนองกลับมาทันที ณ ที่นั้นเวลานั้น แต่เนื่องจากว่านายอดผู้รับคา
สนองมิได้ทาคาสนองกลับมาเป็นจดหมายในภายหลังนั้นก็ตาม ก็หาทาให้ คาเสนอที่สิ้นผลผูกพันไปแล้ ว
กลับมามีผลอีกไม่ สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่า งนายอิ่มและนายอดก็หาอาจเป็นสัญญาได้ไม่ ดังนั้นนายอิ่ม
สามารถเปลี่ยนใจไม่ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้นายอดได้
กรณี ที่ ส อง การที่ น ายอิ่ ม ส่ ง จดหมายเสนอขายรถยนต์ คั น ดั ง กล่ า ว ให้ น ายอี๊ ด ซึ่ ง อยู่ จั ง หวั ด
สมุ ท รสาคร โดยนายอิ่ ม ได้ ก าหนดไปในจดหมายด้ ว ยว่ า ถ้ า นายอี๊ ด ต้ อ งการซื้ อ รถยนต์ ข องตน ต้ อ ง
สนองตอบกลับมาภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 ถือได้ว่านายอิ่มได้ทาคาเสนอต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างกัน
โดยระยะทาง โดยได้บ่งระยะเวลาให้ทาคาสนอง ตามาตรา 354 ถ้านายอิ่มเปลี่ยนใจไม่ขายรถยนต์ของตน
นายอิ่มก็สามารถทาได้อยู่แล้วโดยผลทางกฎหมาย กล่าวคือ สัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวจะเกิดเป็นสัญญา
ขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนายอี๊ดได้ทาคาสนองกลับไปถึงนายอิ่มผู้ทาคาเสนอภายในระยะเวลาที่บ่งไว้คือ ภายในวันที่
20 พฤษภาคม 2551 ตามมาตรา 360 แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่กาหนด คือ วันที่ 20 พฤษภาคม
2551 แล้ว นายอี๊ดก็มิได้ทาคาสนองกลับมาแต่อย่างใด ดังนี้ถือได้ว่าคาเสนอของนายอิ่มเป็นอันสิ้นผล
ผูกพันนับแต่เวลาที่ นายอี๊ดผู้รับคาเสนอมิได้ทาคาสนองรับมาภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ดังกล่าวข้าง ต้น ตา
มาตรา 357 สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายอิ่มและนายอี๊ดก็หาอาจเกิดเป็นสัญญาได้ไม่ ดังนั้น นายอิ่ม
15

สามารถเปลี่ยนใจไม่ขายรถยนต์ของตนให้แก่นายอี๊ดได้ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2551


สรุป นายอิ่มสามารถเปลี่ยนใจไม่ขายรถยนต์ของตนให้กับนายอดและนายอี๊ดได้
ข้อ 4 นายสมบัติซึ่งอยู่ที่จังหวัดลพบุรีส่งจดหมายเสนอขายรถยนต์คันหนึ่งของตนให้ แก่นายสุเทพซึ่งอยู่ที่
กรุงเทพมหานคร ในราคา 400,000 บาท โดยระบุไปในจดหมายเสนอขายนั้นด้วยว่า “ถ้าท่านต้องการซื้อ
รถยนต์คันนี้ ขอให้ตอบไปยังข้าพเจ้าภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2548” นายสุเทพส่งจดหมายตอบ
ตกลงซื้อรถยนต์คันนั้นตามราคาที่นายสมบัติเสนอ แต่จดหมายของนายสุเทพไปถึงนายสมบัติเมื่อวันที่ 15
พฤศจิกายน พ.ศ.2548 อย่างไรก็ตาม เป็นที่เห็นได้ชัดเจนจากตราไปรษณีย์ซึ่งประทับบนซองจดหมายว่า
นายสุเทพส่งจดหมายฉบับนั้นตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 เช่นนี้ จดหมายตอบตกลงซื้อรถยนต์ที่
นายสุเทพส่งถึงนายสมบัติมีผลในกฎหมายประการใด

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 358 ถ้าคาบอกกล่าวสนองมาถึงล่วงเวลา แต่เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าคาบอกกล่าวนั้นได้ส่ง
โดยทางการซึ่งตามปกติควรจะมาถึงภายในเวลากาหนดนั้นไซร้ ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยพลันว่าคาสนองนั้นมาถึงเนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นก่อนแล้ว
ถ้าผู้เสนอละเลยไม่บอกกล่าวดังว่ามาในวรรคต้น ท่านให้ถือว่าคาบอกกล่าวสนองนั้นมิได้ล่วงเวลา

วินิจฉัย
คาสนองของนายสุ เทพ ไปถึงนายสมบัติล่ าช้ากว่ าเวลาที่นายสมบัติกาหนดไว้ แต่เป็นที่เห็นได้
ชัดเจนจากตราไปรษณีย์ ซึ่ง ประทั บ ตราบนซองจดหมายว่า นายสุ เทพส่ ง จดหมายฉบับ นั้น ตั้งแต่วั นที่ 2
พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ซึ่งตามกปกติจดหมายฉบับนั้นควรจะไปถึงนายสมบัติก่อนวันที่ 10 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2548 อันเป็ นเวลาที่น ายสมบั ติกาหนดไว้ ในกรณีเช่นนี้ คาสนองของนายสุเทพจะเป็นคาสนอง
ล่วงเวลาหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่านายสมบัติซึ่งเป็นผู้เสนอได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดไว้หรือไม่ ซึ่งใน
เรื่องนี้กฎหมายกาหนดหน้าที่ของผู้เสนอไว้ว่า ผู้เสนอต้องบอกกล่าวแก่ผู้สนองโยพลันว่าคาสนองนั้นมาถึง
เนิ่นช้า เว้นแต่จะได้บอกกล่าวเช่นนั้นไว้ก่อนแล้ว ดังนั้น
(1) ถ้านายสมบัติปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดไว้ดังกล่าว กฎหมายจึงจะถือว่าจดหมายคา
สนองของนายสุเทพเป็นคาสนองล่วงเวลา
(2) แต่ถ้านายสมบัติละเลยไม่ป ฏิบัติห น้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดไว้ดั งกล่าว กฎหมายให้ถือว่า
จดหมายคาสนองของนายสุเทพเป็นคาสนองที่มิได้ล่วงเวลา (ซึ่งมีผลให้สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย
สมบัติกับนายสุเทพเกิดขึ้น)
16

ข้อ 1 นายกิ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้ส่งจดหมายทางไปรษณีย์เสนอขายบ้านของตน 1 หลัง ราคา 2 ล้าน


บาท ไปยังนายก้านซึ่งอยู่ที่จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 หลังจากส่งจดหมายไปแล้วนายกิ่ง
ได้ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 นายก้านได้รับจดหมายเสนอขายบ้านของ
นายกิ่งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 พอวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 นายก้านได้ตอบตกลงซื้ อบ้านไปยัง
นายกิ่ง วันที่ 6 พฤษภาคม 2549 นายก้านได้ทราบข่าวการตายของนายกิ่ง วันที่ 7 พฤษภาคม 2549
ทายาทของนายกิ่งได้รับจดหมายตอบตกลงซื้อบ้านของนายก้าน ดังนี้อยากทราบว่า
(1) การแสดงเจตนาเสนอขายบ้านของนายกิ่งมีผลในกฎหมายประการใด เพราะเหตุใด
(2) สัญญาซื้อขายบ้านระหว่างทายาทของนายกิ่งกับนายก้านเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 169 วรรคสอง การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการ
แสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย
มาตรา 360 บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่า...ก่อนจะ
สนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่า ผู้เสนอตาย

วินิจฉัย
(ก) นายกิ่งได้แสดงเจตนาโดยส่งจดหมายเสนอขายบ้าน 1 หลัง ราคา 2 ล้านบาทให้แก่นายก้าน
เมื่อนายกิ่งได้ส่งจดหมายซึ่งเป็นการแสดงเจตนาไปแล้ว ถึงแม้หลังจากนั้นนายกิ่งได้ถึงแก่ความตาย การแสดง
เจตนาขายบ้านของนายกิ่งก็ยังมีผลสมบูรณ์ไม่เสื่อมเสียไป ตามมาตรา 169 วรรคสอง
(ข) นายก้านได้รับจดหมายเสนอขายบ้านของนายกิ่งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 จึงได้ต อบตกลง
ซื้อบ้านไปยังนายกิ่งในวันที่ 5 พฤษภาคม โดยไม่ทราบข่าวการตายของนายกิ่ง สัญญาซื้อขายบ้านระหว่าง
ทายาทของนายกิ่ ง กั บ นายก้ า นจึ ง เกิ ด ขึ้ น เพราะนายก้ า นมาทราบข่ า วการตายของนายกิ่ ง ในวั น ที่ 6
พฤษภาคม 2549 หลังจากได้ตอบจดหมายตกลงซื้อไปแล้ว กรณีนี้จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม มาตรา 360
17

คาถาม-มสธ.
ต้อยเข้าไปในร้านอาหารและร้องสั่งอาหารดังๆว่า ขอเส้นใหญ่ราดหน้าจานหนึ่ง เจ้าของร้านมิได้ตอบ
อะไร แต่ได้ลุ ก ขึ้น ไปเดิน ผั ดราดหน้ า ขณะเจ้าของร้านกาลั งผั ดราดหน้าอยู่ ต้อยเปลี่ ยนใจจึงบอกว่าขอ
เปลี่ยนเป็นเส้นหมี่ เจ้าของร้านบอกว่า ทาแล้วเปลี่ยนไม่ได้ แล้วก็ยกราดหน้ามาให้ต้อยต้อยไม่ยอมรับจึงเกิด
โต้เถียงกัน เจ้าของร้านเรียกให้ต้อยชาระราคา ต้อยไม่ชาระอ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่เกิดเพราะเจ้าของร้านมิได้
ตอบตกลงเมื่อตนบอกว่า ขอส้นใหญ่ราดหน้าและแม้จะเกิดก็เป็นสัญญาให้ เพราะตนบอกว่ามิใช่ซื้อ จึงไม่ต้อง
จ่ายเงิน ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของต้อยหรือไม่เพราะเหตุใด จงให้เหตุผลประกอบ

เฉลย
ในเรื่องนี้มีหลักกฎหมายเกี่ยวข้องดังนี้
มาตรา 132 ในการความนั้นท่านให้ฟังถึงเจตนาจึงยิ่งยวดกว่าตัวกฎหมาย
มาตรา 356 คาเสนอทาแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทาคาสนองนั้น เสนอ ณ
ที่ใด เวลาใด ก็ย่อมจะสนองได้แต่ ณ ที่นั้น เวลานั้น..............
มาตรา 361 วรรคสองถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดงหรือตามปกติประเพณีไม่จาเป็นจะ
มีคาบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสั ญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อกาลอันใดอันหนึ่ง ขึ้นอันจะพึงสันนิ
ฐานได้ว่าเป็นการเจตนาสนองรับ
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ต้อยเข้าไปในร้านอาหารร้องสั่งดังๆว่า ขอเส้นใหญ่ราดหน้าจานหนึ่ง นั้น
พฤติการณ์ที่แสดงออกมาเห็นได้ว่า ต้อยมีเจตนาซื้อราดหน้ามิใช่ขอ หากจะขอต้อยย่อมไม่ตะโกนสั่งดังๆเช่นนี้
ทั้งต้องไม่กล้าขอเปลี่ยนตามอาเภอใจ ดังนั้นแม้ถ้อยคาจะว่า ขอ ก็ ต้องหมายความว่า ซื้อเพราะการตีความ
แสดงเจตนาต้องเพ็งเล็งถึงเจตนาที่แท้จริงยิ่ งกว่าถ้อยคาตามตัวอักษรตามมาตรา 132
การที่ต้อยแสดงเจตนาซื้อราดหน้ากับเจ้าของร้าน เป็นการทาความเสนอแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า
แม้เจ้าของร้านจะมิได้ตอบตกลง แต่ก็ได้ลุกเดินไปผัดราดหน้าซึ่งเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ ณ ที่นั้นเวลา
นั้นแล้ว เพราะการแสดงเจตนานั้นไม่จาเป็นแสดงด้วยวาจาเสมอไป ด้วยกริยาท่าทางที่เข้าใจได้แล้ว ทั้งยังมี
กฎหมายมาตรา 361 วรรคสองที่ว่า ตามปกติประเพณีไม่จาเป็นต้องมีคาบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญา
นั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ ่งขึ้นอันจะพึงสันนิฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ
ซึ่งก็สามารถนามาใช้เทียบเคียงในกรณีนี้คือปกติประเพณีในการขาย อาหาร ผู้ขายก็ไม่จาเป็ นต้องมีคาบอก
กล่าวสนองตอบ ดังนั้นเมื่อมีการลงมือผัดราดหน้า จึงถือว่าได้มีการอันใดอันหนึ่งอันพึงสันนิฐานได้ว่าเป็นการ
แสดงเจตนาสนองรับคาเสนอแล้ว สัญญาซื้อขายจึงเกิดขึ้น
ดังนั้น ต้อยจึงมีหน้าที่ต้องชาระราคาข้ออ้างทั้งสองข้อฟังไม่ขึ้น
18
1

กฎหมายแพ่ง 1
ต้อยเข้าไปในร้านอาหารและร้องสัง่ อาหารดังๆว่า ขอเส้นใหญ่ราดหน้าจานหนึ่ง เจ้าของร้านมิได้ตอบอะไร แต่ได้ลุกขึ้น
ไปเดินผัดราดหน้า ขณะเจ้าของร้านกาลังผัดราดหน้าอยู่ ต้อยเปลี่ยนใจจึงบอกว่าขอเปลี่ยนเป็ นเส้นหมี่เจ้าของร้านบอกว่า ทาแล้ว
เปลี่ยนไม่ได้ แล้วก็ยกราดหน้ามาให้ตอ้ ยต้อยไม่ยอมรับจึงเกิดโต้เถียงกัน เจ้าของร้านเรี ยกให้ตอ้ ยชาระราคา ต้อยไม่ชาระอ้างว่า
สัญญาซื้อขายไม่เกิดเพราะเจ้าของร้านมิได้ตอบตกลงเมื่อตนบอกว่า ขอส้นใหญ่ราดหน้าและแม้จะเกิดก็เป็ นสัญญาให้ เพราะตน
บอกว่ามิใช่ซ้ือ จึงไม่ตอ้ งจ่ายเงิน ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของต้อยหรื อไม่เพราะเหตุใด จงให้เหตุผลประกอบ

เฉลย

ในเรื่ องนี้มีหลักกฎหมายเกี่ยวข้องดังนี้

มาตรา 132 ในการความนั้นท่านให้ฟังถึงเจตนาจึงยิง่ ยวดกว่าตัวกฎหมาย

มาตรา 356 คาเสนอทาแก่บุคคลผูอ้ ยูเ่ ฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทาคาสนองนั้น เสนอ ณ ที่ใด เวลาใด ก็ยอ่ มจะสนอง
ได้แต่ ณ ที่น้ นั เวลานั้น..............

มาตรา 361 วรรคสองถ้าตามเจตนาอันผูเ้ สนอได้แสดงหรื อตามปกติประเพณี ไม่จาเป็ นจะ

มีคาบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็ นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อกาลอันใดอันหนึ่ง ขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้วา่ เป็ นการ


เจตนาสนองรับ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ตอ้ ยเข้าไปในร้านอาหารร้องสัง่ ดังๆว่า ขอเส้นใหญ่ราดหน้าจานหนึ่ง นั้นพฤติการณ์ที่แสดงออกมาเห็น


ได้วา่ ต้อยมีเจตนาซื้อราดหน้ามิใช่ขอ หากจะขอต้อยย่อมไม่ตะโกนสัง่ ดังๆเช่นนี้ ทั้งต้องไม่กล้าขอเปลี่ยนตามอาเภอใจ ดังนั้น
แม้ถอ้ ยคาจะว่า ขอ ก็ ต้องหมายความว่า ซื้อเพราะการตีความแสดงเจตนาต้องเพ็งเล็งถึงเจตนาที่แท้จริ งยิง่ กว่าถ้อยคาตาม
ตัวอักษรตามมาตรา 132

การที่ตอ้ ยแสดงเจตนาซื้อราดหน้ากับเจ้าของร้าน เป็ นการทาความเสนอแก่บุคคลผูอ้ ยูเ่ ฉพาะหน้า แม้เจ้าของร้านจะมิได้ตอบตก


ลง แต่ก็ได้ลุกเดินไปผัดราดหน้าซึ่งเป็ นการแสดงเจตนาสนองรับ ณ ที่น้ นั เวลานั้นแล้ว เพราะการแสดงเจตนานั้นไม่จาเป็ นแสดง
ด้วยวาจาเสมอไป ด้วยกริ ยาท่าทางที่เข้าใจได้แล้ว ทั้งยังมีกฎหมายมาตรา 361 วรรคสองที่วา่ ตามปกติประเพณี ไม่จาเป็ นต้องมี
คาบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็ นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้วา่ เป็ นการ
แสดงเจตนาสนองรับ ซึ่งก็สามารถนามาใช้เทียบเคียงในกรณี น้ ีคือปกติประเพณี ในการขาย อาหาร ผูข้ ายก็ไม่จาเป็ นต้องมีคาบอก
กล่าวสนองตอบ ดังนั้นเมื่อมีการลงมือผัดราดหน้า จึงถือว่าได้มีการอันใดอันหนึ่งอันพึงสันนิษฐานได้วา่ เป็ นการแสดงเจตนา
สนองรับคาเสนอแล้ว สัญญาซื้อขายจึงเกิดขึ้น

ดังนั้น ต้อยจึงมีหน้าที่ตอ้ งชาระราคาข้ออ้างทั้งสองข้อฟังไม่ข้ นึ


2

กฎหมายแพ่ง ๑
แสงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการเล่นดนตรี จึงได้ต้งั วงดนตรี คณะ เขียวทอง โดยบิดาของแสงได้ให้การสนับสนุน
ฝึ กซ้อมให้ และบางครั้งก็รับติดต่องานแทนแสงด้วย

วันหนึ่ง ปอเพือ่ นสาวของแสงอายุ 17 ปี เป็ นคนวิกลจริ ต ได้มาติดต่อขอให้แสงนาวงดนตรี ไปเล่นในงานวันเกิดตนโดยแสงไม่


ทราบว่าปอวิกลจริ ต จึงตอบตกลงครั้นใกล้ถึงวันงานบิดาของปอทราบเรื่ องการจ้างวงดนตรี จึงรี บโทรศัพท์มาหาบิดาของ
แสง และขอบอกเลิกการจ้างดังกล่าวแต่ปรากฏว่าบิดาแสงไม่อยู่ แสงเป็ นคนรับสายเอง แต่ไม่บอกเรื่ องนี้แก่บิดาของตน ครั้นถึง
วันงานแสดงก็นาวงดนตรี ไปแสดงตามที่ตกลงไว้ และขอคิดค่าแสดงเพียงครึ่ งเดียวจากที่ตกลงไว้เพราะเห็นแก่เพือ่ นดังนี้บิดา
ของปอจะปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าแสดงได้หรื อไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย

หลักกฎหมาย

มาตรา 21 บัญญัติวา่ อันผูเ้ ยาว์จะทานิติกรรมใดๆต้องได้รับความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อนบรรดาการใดๆอันผูเ้ ยาว์


ได้ทาลงปราศจากการยินยอมเช่นว่านั้นท่านว่าเป็ นโมฆียะ

มาตรา 28 วรรคแรกบัญญัติวา่ ผูเ้ ยาว์ได้รับอนุญาตให้ทากิจการค้าขายรายหนึ่งหรื อหลายรายแล้ว ในความเกี่ยวพันกับกิจการ


ค้าขายอันนั้น ท่านว่าผูเ้ ยาว์ยอ่ มมีฐานะเสมือนดัง่ บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วฉะนั้น

มาตรา 137 บัญญัติวา่ “โมฆียะ” กรรมนั้น ท่านว่าบุคคลดังกล่าวต่อไปนี้คือผูไ้ ร้ความสามารถก็ดีหรื อผูไ้ ด้ทาการแสดงเจตนา


โดยวิธีวปิ ริ ต หรื อผูแ้ ทนโดยชอบธรรมหรื อผูพ้ ทิ กั ษ์หรื อทายาทของบุ คคลเช่นว่านั้นก็ดีจะบอกล้างเสียก็ได้

ปอ อายุ 17 ปี ยังเป็ นผูเ้ ยาว์อยูไ่ ม่ไม่สามารถทานิติกรรมใด ๆ ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาซึ่งเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรม


การที่ปอไปติดต่อจ้างแสงให้นาวงดนตรี ไปแสดงในวันเกิดของตนนั้นเป็ นนิติกรรมซึ่งทาโดยบิดามิได้ยนิ ยอม ดังนั้นนิติกรรมนี้
จึงตกเป็ นโมฆียะ บิดาของปอซึ่งเป็ นผูท้ ี่สามารถบอกล้างนิติกรรมการจ้างนี้ได้ (ม.21ม.137)

ส่วนกรณี ที่ปอเป็ นคนวิกลจริ ตนั้นไม่มีประเด็นที่จะต้องกล่าวถึง แต่อย่างใดเพราะปอเป็ นผูเ้ ยาว์นิติกรรมใดๆ ที่ทาลงโดยมิได้รับ


ความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมย่อมตกเป็ นโมฆียะ

แสงนั้นแม้วา่ จะอายุ 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่ต้งั วงดนตรี รับงานแสดงนี้เป็ นเรื่ องข้อยกเว้น ซึ่งผูเ้ ยาว์สามารถ
กระทาได้ คือทากิจการค้าและในการนี้เมื่อบิดาของแสงได้ให้การสนับสนุนฝึ ก ซ้อมให้และติดต่อรับงานแทนด้วย ก็เป็ นการ
แสดงว่าบิดาได้อนุญาตให้แสงกระทากิจการค้าได้โดยปริ ยายแล้ว เมื่อเป็ นเช่นนี้ในความเกี่ยวพันกับกิจการดนตรี ของคณะเขียว
ทอง แสงมีฐานะเสมือนดังผูบ้ รรลุนิติภาวะ เมื่อบิดาของปอขอบอกล้างนิติกรรมการจ้างกับแสงนั้นถือว่าการบอก ล้างสมบูรณ์
แล้ว นิติกรรมการจ้างเป็ นโมฆียะมาแต่เริ่ มแรก แม้บิดาของแสงจะไม่ทราบก็ตาม ดังนั้น บิดาของปอปฏิบตั ิไม่ยอมจ่ายค่าแสดง
ได้
3

กฎหมายแพ่ง ๑
กาบอายุ ๗๕ ปี เป็ น อัมพาตเดินไม่ได้ตอ้ งรักษาตัวอยูโ่ รงพยาบาลก้อนอายุ ๑๔ ปี เป็ นหลานมาเยีย่ มกาบจึงแอบยกเงิน
จานวนหนึ่งให้กอ้ นโดยมิได้บอกให้แสงซึ่งเป็ นมาราดารู ้ ต่อมาอีก ๑ ปี ก้อนถูกรถยนต์ชนจนเป็ นคนวิกลจริ ต และ อีก ๒ ปี
ต่อมาได้แอบให้แหวนของตนแก่สร้อยโดยสร้อยไม่รู้วา่ ก้อนวิกลจริ ต อีก ๑ ปี ต่อมาก้อนหัวใจวายแสงจึงรู ้ถึงนิติกรรมต่าง ๆ ที่
ก้อนได้ทาขึ้น จึงได้บอกล้างนิติกรรมนั้น

๑.๑ การยกให้สองครั้ง มีผลอย่างไร หรื อไม่เพราะเหตุใด

๑.๒ มารดาสามารถบอกล้างนิติกรรมทั้งสองหรื อไม่เหตุใด

ตอบ

มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากสภาวะผูเ้ ยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปี บริ บูรณ์

มาตรา ๒๒ ผูเ้ ยาว์อาจทาการใดๆ ได้ท้งั สิน หากเป็ นเพียงเพือ่ มีสิทธิอนั ใดอันหนึ่ง หรื อเป็ นการเพือ่ ให้หลุดพ้นจากหน้าที่อนั ใด

มาตรา ๒๑ ผูเ้ ยาว์จะทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผเู ้ ยาว์ได้ทาลงปราศจากความ


ยินยอมถือว่าเป็ นโมฆะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้อย่างอื่น มาตรา ๑๗๕ โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้

ผูแ้ ทนโดยชอบธรรม ขณะที่กาบผูเ้ ป็ นยายยกเงินให้กอ้ นนั้น ก้อนยังถือว่าเป็ นหลักแจ้งผูเ้ ยาว์จะทานิติกรรมใด ๆต้องได้รับความ


ยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมตกเป็ นโมฆียะ แต่กรณี น้ ีถือเป็ นยกเว้น

เนื่องจากเป็ นการที่ผเู ้ ยาว์ได้รับเงิน นิติกรรมรับการให้จากเป็ นต้องได้รับความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อนการให้น้ ีจึง


สมบูรณ์เพราะเป็ นการได้ไปซึ่งสิทธิเพียงอย่างเดียวต่อมาอีก ๑ ปี ซึ่งก้อนมีอายุ ๑๔ ปี ก้อนได้ถูกรถยนต์ชนชนจนเป็ นคน
วิกลจริ ต และอีก ๒ ปี ต่อมา คือก้อนอายุได้ ๑๗ ปี ได้ให้แหวนนิติกรรมการให้ยอ่ มตกเป็ นโมฆียะโดยไม่ตอ้ งคานึงว่าสร้อยจะรู ้
ว่าก้อนเป็ นคนวิกลจริ ต เพราะก้อนก็เป็ นผูเ้ ยาว์ นิติกรรมใด ๆ ที่ผเู ้ ยาว์ได้รับความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมย่อมตกเป็ น
โมฆียะการให้สร้อยนี้ยอ่ มตกเป็ นโมฆียะเพราะมารดามิได้ให้ความอย่างไร

สิทธิบอกล้างนิติกรรมที่เป็ นโมฆียะ คือผูแ้ ทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็ นของก้อนนั้นเองแต่การบอกล้างนิติกรรมยายไม่ได้เพราะการ


ให้ผลนั้นมีผลสมบูรณ์น้ นั แล้ว
4

กฎหมายแพ่ง 1

ก ประกาศขายรถยนต์ของตนทางหนังสือพิมพ์ ปรากฏว่า นาย ข และ ค ได้สนใจมาดูรถ ค ได้วางเงินไว้ 5,000


บาท โดยยังไม่ได้ทาสัญญากันเป็ นลายลักษณ์อกั ษร วันรุ่ งขึ้น ข ได้มาหา ก และขอซื้อรถคันดังกล่าวในราคาที่แพงกว่า ก ได้
ประกาศขายไว้ ก ก็ตกลงจะขายให้ ข โดยให้ ข มาทาสัญญาและโอนทางทะเบียนกันในอีก 1อาทิตย์ขา้ งหน้า โดยที่ ก คิดว่าจะ
ตกลงกับ ค อีกครั้ง อีก 3 วันต่อมา ค มาพบ ก เพือ่ ขอเงินที่วางไว้คืนเพราะตนตัดสินใจซื้อรถของ จ ไปแล้ว และ ค ก็ทราบ
ว่า ข ได้ตกลงจะซื้อรถยนต์จาก ก แล้ว แต่ ก ปฏิเสธที่จะคืนเงินจานวนดังกล่าว ค จะมีสิทธิเรี ยกเงินจานวนดังกล่าวคืนได้
อย่างไร หรื อไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย

ประเด็นเป็ นเรื่ องสัญญาและมัดจา

หลักกฎหมาย

มาตรา 377 บัญญัติวา่ เมื่อนาเข้าทาสัญญา ถ้าได้สิ่งใดไว้เป็ นมัดจา ท่านให้ถือว่าการที่ให้มดั จานั้นย่อมเป็ นพยานหลักฐาน


ว่า สัญญานั้นได้ทากันขึ้นแล้วอนึ่ง มัดจานี้ยอ่ มเป็ นหลักประกันการที่จะปฏิบตั ิตามสัญญานั้นด้วย มาตรา378 บัญญัติวา่ มัดจา
นั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็ นอย่างอื่น ท่านให้เป็ นไปดังกล่าวต่อไปนี้

(1)...................................

(2) ให้รับถ้าฝ่ ายที่วางมัดจาละเลยไม่ชาระหนี้หรื อกราชาระหนี้ตกเป็ นพ้นวิสยั เพราะพฤติการณ์อนั ใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ ายนั้นต้อง


รับผิดชอบ หรื อถ้ามีการบอกเลิกสัญญาเพราะความผิดฝ่ ายนั้น

มัดจานั้นเป็ นสิ่งของที่คู่สญ
ั ญาฝ่ ายหนึ่งมอบให้แก่คู่สญ
ั ญาอีก ฝ่ ายหนึ่งในขณะทาสัญญา ซึ่งการวางมัดจานี้ก็เท่ากับว่าเป็ น
พยานหลักฐานว่าได้เกิดมีสญ ั ญาขึ้นในระหว่างคู่กรณี แล้วและมัดจานี้ยอ่ มเป็ นหลักประกันด้วยว่าจะต้องปฏิบตั ิตามสัญญาที่ตก
ลงกันไว้น้ นั (ม. 377)

ตามข้อเท็จจริ งการที่ ก ประกาศ ขายรถยนต์และ ค ได้มาสนใจดูรถและได้วางเงินไว้ให้ ก. 5,000 บาท ก็แสดงว่าก และ ค ได้
ตกลงทาสัญญาซื้อขายรถยนต์แล้วแม้วา่ จะมิได้ทาสัญญากันเป็ นลายลักษณ์อกั ษรก็ตาม เพราะเงิน5,000 บาท นี้ถือว่าเป็ นเงินมัด
จาซึ่งเป็ นหลักฐานว่าทั้ง 2 จะได้ปฏิบตั ิก็ตามสัญญาซื้อขายคือฝ่ าย ก จะเป็ นฝ่ ายส่งมอบรถ และ ค ต้องชาระราคาให้ครบถ้วน

การที่ ค มาพบ ก โดยขอเงินมัดจาคืน โดยอ้างว่าการได้ซ้ือรถยนต์ของ จ ไปแล้วนั้น แสดงว่า ค นั้นเป็ นผูผ้ ดิ สัญญาเพราะมิได้


ชาระราคาตามสัญญาซื้อขายซึ่ง ก เองซึ่งเป็ นฝ่ ายผูร้ ับมอบมัดจานั้นมิได้ผดิ สัญญา ดังนี้ ก จึงมีสิทธิที่จะรับมัดจานั้นเสียได้
เพราะ ค ละเลยไม่ชาระหนี้ของตน ( ม.378) แม้ ค จะทราบว่า ข ได้มาตกลงจะซื้อรถยนต์จาก ก แล้วก็ตามดังนั้น ค จึงไม่มี
สิทธิเรี ยกเงินมัดจาคืน ก สามารถรับมัดจานั้นเสียได้เพราะ ค ฝ่ ายผูว้ า่ งมัดจาเป็ นผูว้ างมัดจาผูผ้ ดิ สัญญาเสียเอง
5

กฎหมายแพ่ง 1
เอกอายุ 17 ปี ทาพินยั กรรมยกแหวนของตนเองให้โทพีสาวอายุ 17 ปี ต่อมาอีก 4 ปี เอกถูกรถชนสมองฟันเฟื องเป็ นคน
วิกลจริ ต เอกได้ขายนาฬิกาของตนให้กบั หนึ่งโดยหนึ่งไม่ทราบว่าเอกจริ ตวิกล ต่อมาอีก 1 ปี ศาลสัง่ ให้เอกเป็ นคนไร้
ความสามารถ หนึ่งทราบว่าเอกถูกศาลสัง่ ดังกล่าว แต่เมื่อผูอ้ นุบาลของเอกมาบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกา ซึ่งหนึ่งได้ทาไว้กบั
เอกหนึ่งก็ไม่ยอมคืนนาฬิกาให้เพราะซื้อไว้ ในราคาถูกมากดังนี้

1. พินยั กรรมที่เอกทามีผลอย่างไรหรื อไม่เพราะเหตุใด

2. ผูอ้ นุบาลจะบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาได้หรื อไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย

หลักกฎหมาย

ปพพ. มาตรา 25 บัญญัติวา่ “ผูเ้ ยาว์อาจทาพินยั กรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปี บริ บูรณ์ ”

ปพพ.มาตรา 32 บัญญัติวา่ “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริ ตได้ทาลง แต่หากบุคคลนั้นศาล

ยังมิได้สงั่ ให้เป็ นคนไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่าการนั้นจะเป็ นโมฆียะต่อเมื่อพิสูจน์ได้วา่ ได้ทาลงในเวลา ซึ่งบุคคลนั้นจริ ตวิกล


อยู่ และคู่กรณี อีกฝ่ ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผูท้ าเป็ นคนวิกลจริ ต”

เรื่ องพินยั กรรมนั้นผูเ้ ยาว์สามารถทาพินยั กรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี บริ บูรณ์ เมื่อเอกมีอายุ 17

ปี บริ บูรณ์แล้วทาพินยั กรรม ผลก็คือพินยั กรรมมีผลสมบูรณ์

จากข้อเท็จจริ งเห็นได้วา่ เอกได้ขายนาฬิกาให้หนึ่งในขณะวิกลจริ ตก่อนที่ศาลจะสัง่ ให้เอก

เป็ นคนไร้ความสามารถ และในขณะซื้อขายนาฬิกานั้นหนึ่งก็ไม่ทราบว่าเอกวิกลจริ ต ดังนั้นผลก็คือนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง


หนึ่งกับเอกนั้นสมบูรณ์ไม่เป็ นโมฆียะ เพราะหนึ่งไม่รู้วา่ เอกวิกลจริ ตแต่อย่างใด แม้ต่อมาศาลจะสัง่ ให้เอกเป็ นคนไร้
ความสามารถ และหนึ่งก็ทราบถึงคาสัง่ นี้ก็ตาม การซื้อขายก็สมบูรณ์ไปแล้ว ผูอ้ นุบาลของเอกจะบอกล้างสัญญาซื้อขายดังกล่าว
ไม่ได้

สรุป

1. เอกสามารถทาพินยั กรรมได้มีผลสมบูรณ์เพราะอายุเกิน 15 ปี บริ บูรณ์แล้ว

2. ผูอ้ นุบาลบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาไม่ได้ เพราะการซื้อขายสมบูรณ์แล้ว


6

กฎหมายแพ่ง
บริ ษทั จอเปิ ดร้านขายเครื่ องใช้ไฟฟ้ าหลายชนิดทั้งได้โฆษณาด้วยว่าสินค้าทุกชนิดมีอะไหล่พร้อมและเป็ นของนอกลอง
ได้ซ้ือเครื่ องซัก ผ้ามาจากบริ ษทั จอ เพราะได้ทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดีตามที่เพือ่ นเคยบอกตนมาเมื่อซื้อไปแล้วต่อมาเครื่ อง
ซักผ้าเสีย บริ ษทั บอกว่าซ่อมได้แต่อะไหล่นอกไม่มีขาดตลาดมานานแล้วลองมาปรึ กษาท่าน ต้องการคืนเครื่ องซักผ้าโดยอ้างว่า
ถูกบริ ษทั หลอกและ ให้บริ ษทั คืนเงินมาให้บางส่วนก็ได้ ท่านจะให้คาปรึ กษาแก่ลองอย่างไร

หลักกฎหมาย

ม.159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็ นโมฆียะ

การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็ นโมฆียะตามวรรคที่หนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็ นโมฆียะนั้นคงมิได้


กระทาขึ้น

การถูกกลฉ้อฉลนั้นต้องเป็ นการหลอกลวงจนถึงขนาดคือต้องหลอกให้หล งดชื่อจนเข้าทานิติกรรมนั้น หากไม่มีการหลอกลวง


เช่นนั้นแล้วนิติกรรมนั้นก็จะมิได้เกิดขึ้นเลย

การที่ลองได้ซ้ือเครื่ องซักผ้าจากบริ ษทั จอ โดยทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดี จึงได้ตดั สินใจซื้อเครื่ องซักผ้าดังกล่าว จะเห็นได้


ว่าการที่ลองได้ตกลงใจซื้อเครื่ องซักผ้านั้นไม่ได้เกิดจากการถูกกลฉ้อฉลแต่อย่างใด ดังนั้น การซื้อขายนี้มีผลสมบูรณ์ เมื่อการซื้อ
ขายสมบูรณ์แล้วจะอ้างว่าถูกบริ ษทั หลอกแล้วขอเงินคืนมิได้

วิเคราะห์

จากข้อเท็จจริ ง นั้นเป็ นเรื่ องนิติกรรมซึ่งสมบูรณ์ ชอบด้วยกฎหมายมีประเด็นพิจารณาเพียงว่า เป็ นกลฉ้อฉลถึงขนาดหรื อไม่ แต่


ตามข้อเท็จจริ งปรากฏแล้วว่าลองซื้อเครื่ องซักผ้าจากบริ ษทั จอ เพราะได้ทดสอบการใช้งานเครื่ องซักผ้าแล้วนั้นเห็นว่าดี จึงซื้อ
มิใช่ซ้ือเพราะคาโฆษณาของบริ ษทั เรื่ องอะไหล่นอกแต่อย่าง ไรจึงไม่เป็ นกลฉ้อฉลถึงขนาดนิติกรรมไม่เป็ นโมฆียะ

นักศึกษาส่วนมากตอบว่าเป็ นกลฉ้อฉลนิติกรรมเป็ นโมฆียะเพราะยังไม ่่เข้าใจกลฉ้อฉลถึงขนาดและนักศึกษาบางกลุม่ ก็ตอบว่า


เป็ นกลฉ้อฉลเพือ่ เหตุซ่ ึงก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน
7

กฎหมายแพ่ง 1
เจอายุ 14 ปี ได้ยกแหวนเพชรวงหนึ่งของตนให้หมิว อายุ 14 ปี แฟนสาว และต่อมาอีก 3 เดือน เจก็ตกลงใจทา
พินยั กรรมยกรถยนต์ปอร์เช่ของตนให้หมิวอีก แล้วเจทาพินยั กรรมฉบับนั้นมาให้นายโจบิดาของตนดู แต่นายโจก็ไม่ได้วา่
อะไร อีก 6 เดือน ต่อมา เจถูกรถยนต์ชนเสียชีวติ หมิวจึงมาเรี ยกร้องรถยนต์ปอร์เช่จากนายโจตามพินยั กรรม นายโจอ้างว่าตน
มิได้ให้ความยินยอมการทาพินยั กรรมและการให้แหวน ดังนั้นเมือตนบอกล้างนิติกรรมทั้งสองจึงตกเป็ นโมฆะ หมิวจึงต้องคืน
แหวนเพชรให้กบั ตน ส่วนหมิวก็ต่อสูว้ า่ นิติกรรมทั้งสองสมบูรณ์ เนื่องจากเป็ นนิติกรรมที่เป็ นคุณประโยชน์แก่ตน ดังนั้นตนไม่
ต้องคืนแหวน และนายโจต้องส่งมอบรถยนต์ให้ตนท่านเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของนาย โจหรื อหมิว หรื อไม่เห็นด้วยกับทั้งสอง
คน เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย

ม.21 อันผูเ้ ยาว์จะทานิติกรรมใดๆต้องได้รับความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน บรรดาการใดๆอันผูเ้ ยาว์ได้ทาลง


ปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้น ท่านว่าเป็ นโมฆียะ เว้นแต่ที่จะบัญญัติไว้เป็ นอย่างอื่น

ม.25 ผูเ้ ยาว์อาจทาพินยั กรรมได้เมื่อมีอายุครบสิบห้าปี บริ บูรณ์

ม.175 โมฆียกรรมนั้นบุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้

(1) ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมหรื อผูเ้ ยาว์ซ่ ึงบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ผเู ้ ยาว์ จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ถา้ ได้รับความยินยอม


ของผูแ้ ทนโดยชอบธรรม

ม.1703 พินยั กรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยงั ไม่ครบสิบห้าปี บริ บูรณ์ทาขึ้นนั้นเป็ นโมฆะ

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ เจอายุ 14 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ทานิติกรรมให้แหวนแก่หมิว และนิติกรรมให้น้ ียงั ไม่ได้รับความยินยอมจาก


ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมคือนายโจง ดังนั้น นิติกรรมให้จึงตกเป็ นโมฆะ ตามมาตรา 21 ต่อมาอีก 3 เดือน เจมีอายุ
ได้ 14 ปี 3 เดือน ได้ทาพินยั กรรมยกรถยนต์ปอร์เช่ให้กบั หมิวอีก ตามมาตรา 25 บุคคลจะทาพินยั กรรมได้เมือมีอายุครบสิบห้าปี
บริ บูรณ์ หากบุคคลที่มีอายุไม่ครบสิบห้าปี บริ บูรณ์ทาพินยั กรรมพินยั กรรมนั้นย่อมตกเป็ นโมฆะตาม
มาตรา 1703 ดังนั้น พินยั กรรมที่เจได้ทาขึ้นย่อมตกเป็ นโมฆะ พินยั กรรมนี้บงั คับไม่ได้ และผูแ้ ทนโดยชอบธรรมจะให้สตั ยาบัน
ก็ไม่ได้เช่นกัน ต่อมาอีก 6 เดือน เจเสียชีวติ หมิวจึงมาเรี ยกร้องรถยนต์ตามพินยั กรรมย่อมไม่ได้ เนื่องจากพินยั กรรมตกเป็ น
โมฆะตั้งแต่ตน้ และเมื่อนายโจซึ่งเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมซึ่งเป็ นโมฆียะ นิติกรรมให้ยอ่ มตกเป็ น
โมฆะ คู่กรณี จึงต้องกลับสู่ฐานะเดิม หมิวจึงต้องคืนแหวนให้กบั นายโจ

ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับทั้งหมิวและโจ
8

กฎหมายแพ่ง 1
แดง เป็ นคนสติฟั่นเฟื อน อายุ 17 ปี ได้ยกแหวนของตนให้เหลือง โดยเหลืองไม่ทราบว่าแดงเป็ นคนสติฟั่นเฟื อน จึงซื้อ
ไว้ในราคา 10,000 บาท ต่อมาอีก 1 ปี แดงได้หายเป็ นปกติและได้หลงรัก นางสาวฟ้ า ถึงขนาดทาพินยั กรรมยกทรัพย์สินทั้งหมด
ของตนให้นางสาวฟ้ า ต่อมาเพิง่ จะทราบในภายหลังถึงการซื้อขายแหวนและพินยั กรรมซึ่งแดงทาไปโดยไม่ได้รับความยินยอม
จากตน ดังนี้

1. นิติกรรมซื้อขายแหวนมีผลอย่างไรหรื อไม่

2. พินยั กรรมมีผลอย่าไรหรื อไม่

เฉลย

หลักกฎหมาย

ปพพ. มาตรา21 บัญญัติวา่ อันผูเ้ ยาว์จะทาพินยั กรรมใดต้องไดรับความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบ ธรรมก่อนบรรดาการใดๆ อัน


ผูเ้ ยาว์ได้ทาโดยปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นท่านว่าเป็ นโมฆียะ

แดงอายุ 17 ปี ยังเป็ นผูเ้ ยาว์อยูจ่ ึงต้องอยูใ่ นความดูแลของบิดาซึ่งเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรม การที่แดงได้ขายแหวนของตนให้


เหลืองนั้นเป็ นกระทานิติกรรมซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากบิดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรม แต่แดงได้ทานิติกรรมดังกล่าวโดย
ปราศจากความยินยอมจากบิดา ดังนั้นการขายแหวนจึงตกเป็ นโมฆียะ

ผลของนิติกรรมที่เป็ นโมฆียะก็คือนิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ผกู พัน กันมาตามกฎหมายมาแต่เริ่ มแรกและยังคงสมบูรณ์อยูต่ ่อไป


จนกว่าจะถูกบอกล้างให้สิ้นผลหรื อสมบูรณ์ตลอดไปเมื่อให้สตั ยาบัน กล่าวคือถ้าไม่มีการบอกล้างโดยผูม้ ีสิทธิบอกล้างภายใน
ระยะเวลาที่กฎหมายกาหนดหรื อมีการให้สตั ยาบันโดยที่มีสิทธิให้สตั ยาบันแล้วสิทธิบอกล้างย่อมระงับไปจะบอกล้างอีกไม่ได้
นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ตลอดไป แต่ถา้ มีการบอกล้างนิติกรรมที่สมบูรณ์น้ นั จะตกเป็ นโมฆะทันทีเมื่อถูกบอกล้าง คู่กรณี ตอ้ ง
กลับสู่สถานเดิมเหมือนเช่นก่อนทานิติกรรมเสมือนว่าไม่เคยนิติกรรมการซื้อขายนั้นเกิดขึ้นเลย

ปพพ.มาตรา25 ผูเ้ ยาว์อาจทาพินยั กรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปี บริ บูรณ์

แดงอายุ 17 ปี แล้วและหายจากเป็ นสติฟั่นเฟื อนจึงสามารถทาพินยั กรรมได้โดยด้วย ตัวเองไม่จาต้องได้รับความยินยอมจาก


ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมคือบิดา ดังนั้นพินยั กรรมจึงมีผลสมบูรณ์

ดังนี้นิติกรรมซื้อขายแหวนมีผลเป็ นโมฆียะเพราะแดงทาใบขณะเป็ นผูเ้ ยาว์และมิได้รับความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรม

3. พินยั กรรมมีผลสมบูรณ์เพราะแดงอายุ
9

กฎหมายแพ่ง 1
สองไปซื้อผ้าที่ร้านขายผ้าแห่งหนึ่ง ขายโฆษณาอวดว่าผ้าของตนรับรองไม่ยบั ไม่ยน่ แล้วขยาผ้าให้ดูก็ปรากฏว่าไม่
ยับ สองจึงซื้อผ้าไหมเพราะเชื่อคาอวดอ้างนั้น และนามาตัดเสื้อใหม่ปรากฏว่าเมื่อนามารี ดเตารี ดมีความร้อนสูงทาให้ผา้ ย่น
เสียหายสวมใส่ไม่ ได้จึงนาเสื้อผ้ามาให้ร้านขายผ้าดูวา่ ที่ทางร้านอ้างว่าไม่ยบั ไม่ยน่ นั้นไม่จริ งแต่ก็ขอเงินคืนบ้างเป็ น
บางส่วน เพราะต้องเสียเงินซื้อแพงเกินไป ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของสองอย่างไรหรื อไม่

เฉลย

หลักกฎหมาย

ทพ. มาตรา121 วรรคแรกบัญญัติวา่ การแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลก็ดี เพราะขมขู่ก็ดี ท่านว่าเป็ นโมฆียะ

ทพ. มาตรา122 บัญญัติวา่ การอันจะเป็ นโมฆียกรรมเพราะกลฉ้อฉลเช่นนั้น การอันนั้นก็คงจะมิได้ทาขึ้นเลย

กลฉ้อฉลนั้นคือการหลอกลวงให้ผแู ้ สดงเจตนาเข้าใจผิดหรื อลวงให้คู ่่กรณี หลงเชื่อจึงแสดงเจตนาเข้าทานิติกรรม

การแสดงเจตนาเข้านิติกรรมโดยถูกกลฉ้อฉลนั้นนิติกรรมนั้นมีผลเป็ นโมฆียะ ซึ่งต้องเป็ นกลฉ้อฉลถึงขนาด คือต้องเป็ นเรื่ องถึง


ขนาดที่จะจูงใจให้ผถู ้ ูกกลฉ้อฉลนั้นเข้าทา นิติกรรมหรื ออีกนัยหนึ่งพูดได้วา่ ถ้าไม่มีกลแอฉลนี้แล้วจะไม่มี การแสดงเจตนาทานิติ
กรรมนั้นเลย

กรณี น้ ีคนขาย โฆษณายืนยันคุณภาพของสินค้าว่าผ้าไม่ยบั ไม่ยน่ ซึ่งถ้าการยืนยันความจริ งแล้วปรากฏว่าไม่เป็ นความจริ งตาม


โฆษณาก็เป็ นกลฉ้อฉล เพราะมีเจตนาหลอกให้สองหลงเชื่อจึงทานิติกรรมซื้อผ้า แต่กรณี น้ ีปรากฏว่าคนขายยืนยันรับรองเรื่ อง
คุณภาพของผ้านั้นเป็ นความจริ งว่าไม่ยบั ไม่ยน่ จึงไมเป็ นกลฉ้อฉลเพราะการที่ผา้ ยับย่นนั้นเป็ นความผิดของสองเอง ดังนั้นนิติ
กรรมจึงสมบูรณ์ สองไม่สามารถเรี ยกค่าเสียหายใดๆจากผูข้ าย
10

กฎหมายแพ่ง 1
ส. ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์วนั ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 ว่าหากใครประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแปล
ข้อความภาษาไทยเป็ นภาษาอังกฤษจะให้รางวัล 4 แสนบาท เวลาล่วงเลยไป 5 ปี แล้ว ฉลาด ได้ประดิษฐ์โปรแกรมดังกล่าวได้
โดยไม่เคยทราบว่า ส. ประกาศให้รางวัล แต่มาทราบจากเพือ่ นของตนในภายหลังเมื่อประดิษฐ์ได้ ดังนั้นฉลาดจึงนาสิ่งประดิษฐ์
ของตนมาขอรับรางวัลจาก ส. ส.อ้างว่าเลยกาหนดอายุความแล้ว และฉลาดเองก็ไม่เคยมาแจ้งให้ ส. ทราบว่าจะอาสาประดิษฐ์
สัญญาจึงไม่เกิดและปฏิเสธไม่จ่ายเงินรางวัล ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้อกล่าวอ้างของ ส. อย่างไรหรื อไม่

เฉลย

หลักกฎหมาย ตาม ทพ.

มาตรา 362 บัญญัติวา่ บุคคลออกโฆษณาให้คามัน่ ว่าจะให้รางวัลแก่ผซู ้ ่ ึงกระทาการอันใดท่านว่าจาต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดๆผู ้


ได้กระการอันนั้น แม้มิใช่วา่ ผูน้ ้ นั จะได้กระทาเพราะเห็นแก่รางวัล

มาตรา 363 วรรคแรกในกรณี ที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไมมีใครทาสาเร็จดังที่ต้งั ไว้น้ นั อยูต่ ราบใด ผูใ้ ห้คามัน่ จะถอน
คามัน่ ของตนเสียเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงไว้ในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน

กรณี น้ ีเป็ นเรื่ องคามัน่ โฆษณาจะให้รางวัลคามัน่ มีลกั ษณะเป็ นการ แสดงเจตนาเป็ นนิติกรรมฝ่ ายเดียวผูกพันผูใ้ ห้คามัน่ โดยไม่ตอ้ ง
มี การแสดงเจตนาสนองตอบแต่อย่างใด

กรณี น้ ีเป็ นเรื่ องผูใ้ ห้คามัน่ มุ่งถึงความสาเร็จของการกระทาซึ่งตนได้โฆษณาไว้ ดังนั้นแม้ผทู ้ าสาเร็จกระทาโดยมาเห็นแก่รางวัลผู ้


โฆษณาก็ตอ้ งให้รางวัล ผูใ้ ห้คามัน่ จะถอนคามัน่ เสียได้ถา้ ถ้ายังไม่มีผใู ้ ดทาสาเร็จ แต่ถา้ ยังไม่ถอนคามัน่ แล้ว ผูใ้ ห้คามัน่ ก็คงยัง
ผูกพันอยู่

ตามข้อเท็จจริ งเป็ นเรื่ องคามัน่ จะให้รางวัลเมื่อมีบุคคลประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามประกาศได้ ดังนั้น ส.ต้องผูกพันตาม


คามัน่ ที่ให้ไว้เมื่อมีบุคคลทาสาเร็จตามโฆษณาแล้ว ส. ต้องผูกพันที่จะต้องให้รางวัลแก่ฉลาดซึ่งประดิษฐ์ได้

ส. จะอ้างกาหนดอายุความว่ามาปฏิเสธไม่จ่ายรางวัลไม่ได้ เพราะ ส. ยังไม่ได้ถอนคามัน่ แต่อย่างใด ส. จึงต้องผูกพันจ่ายรางวัล


แม้วา่ ฉลาดจะไม่ทราบมาก่อนว่าการประดิษฐ์น้ นั จะมีรางวัล

ดังนั้น ส. ปฏิเสธไม่จ่ายเงินรางวัลไม่ได้
11

41211 กฎหมายแพ่ง 1
ก ออกประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง ว่า หากผูใ้ ดสามารถคิดยารักษาโรคเอดส์สาเร็จจะให้รางวัลหนึ่ง
ล้านบาท ก และ ข ได้อ่านพบข้อความในหนังสือพิมพ์ ข จึงไปพบ ก แสดงความจานงว่าตนกาลังค้นคว้าอยูเ่ กือบสาเร็จแล้ว
ตอนนี้อยูใ่ น ขั้นตอนทดสอบผล แต่ ค นั้นได้ทาการทดลองอยูน่ านแล้ว ปรากฏว่าเมื่อ ก ขาดทุนจึงได้ลงประกาศโฆษณาใน
หนังสือพิมพ์ มล้า ถอนประกาศโฆษณาดังกล่าว เพราหนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง ปิ ดกิจการ อีก 2 เดือนต่อมาหลังจาก ก ประกาศ
ถอนโฆษณาแล้ว ค ได้มาพบ ก ขอรับรางวัลตามประกาศ ก อ้างว่าตนได้ถอนการให้รางวัลแล้ว แต่ปรากฏว่า ค ไม่ทราบถึง
การถอนนั้นเพราะไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ มสธ. และ กยังอ้างอีกด้วยว่า ถึงอย่างไรก็ตาม ค ก็ไม่มีสิทธิได้รางวัลอยูด่ ี
เพราะ ข เป็ นคนมาติดต่อแจ้งให้ ก ทราบถึงการค้าคว้าก่อน ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก หรื อไม่ เพราะเหตุใด

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ ทพ. ม.36 บัญญัติวา่ “บุคคลใดออโฆษณาให้คาม่นว่าจะให้รางวัลแก่ผซู ้ ่ ึงกระทาการอัน


ใด ทานว่า จะให้รางวัลแก่บุคคลใดๆผูไ้ ด้กระทาการอันนั้นแม้ถึงมิใช่ผนู ้ ้ นั จะได้กระทาเพราะเห็นแก่รางวัล”

ปพพ. ม. 363 บัญญัติวา่ “ เมื่อยังไม่มีใครทาการสาเร็จดังที่บ่งไว้น้ นั อยูต่ ราบใดผูใ้ ห้คามัน่ จะถอนคาสัง่ ของตนเสียโดยวิธีเดียวกับ


ที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน

ถ้าคามัน่ นั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดงั กล่าวมาก่อนจะถอนโดยวิธีอื่นก็ได้แต่ถา้ การถอนเช่นนั้นจะเป็ นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะ


ต่อบุคคลที่รู้”

คามัน่ ในกรณี น้ ีเป็ นนิติกรรมฝ่ ายเดียวเป็ นการแสดงเจตนาของผูใ้ ห้คามัน่ ที่จะผูกพันตนเองในการที่จะให้รางวัลตามประกาศ


โฆษณาซึ่ง ได้กระทาแก่บุคคลทัว่ ไปโดยผูใ้ ห้คามัน่ นั้นมุ่งประสงค์ตอ้ งการให้เกิดผลสาเร็จของการกระทาอันใดอันหนึ่งตาม
ประกาศโฆษณาจึงไม่จา เป็ นจะต้องมีการแสดงเจตนาสนองตอบดังเช่นในกรณี เรื่ องสัญญา แต่ผลผูกพันนี้ไปตามกฎหมายซึ่ง
ผูใ้ ห้คามัน่ ต้องให้รางวัลแม้ถือ ว่าผูก้ ระทาจะได้ทาโดยไม่เห็นแก่รางวัลก็ตาม

จากข้อเท็จจริ งจึงเห็นได้วา่ ก ได้ให้คามัน่ โดยประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง จะให้รางวัลแก่ผทู ้ ี่สามารถคิดยา


รักษาโรคเอดส์ได้ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า ก ผูกพันตัวต่อบุคคลทัว่ ไปที่จะต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดก็ได้ซ่ ึง กระทาการนี้
สาเร็จ แม้วา่ ข จะมาแจ้งให้ ก ทราบว่าตนกาลังค้นคว้าอยูก่ ็ตามแต่เมื่อยังไม่มีผลสาเร็จของงานตามประกาศก็ไม่มีสิทธิที่จะ
ได้รับรางวัลแต่อย่างได (มาตรา 362) ในขณะซึ่งงานยังไม่เสร็จแม้วา่ ผูใ้ ห้คามันคือ ก สามารถจะถอนคามัน่ นั้นเสียได้ก็ตาม แต่
การถอนคามัน่ นั้นต้องกระทาโดยวิธีเดียวกันวิธีที่โฆษณานั้นต้องกระทาโดยวิธีเดียวกันวิธีที่โฆษณานั้นต้องหมายถึงถอนโดย
วิธี เดียวอย่างแท้จริ ง หากถอนด้วยวิธีเดิมไม่ได้ จะมีผลสมบูรณ์ใช้ได้แต่เฉพาะผูท้ ี่ได้รู้ถึงประกาศถอนเท่านั้นเมื่อ ก ถอน
โฆษณาในหนังสือพิมพ์ มสธ. ซึ่งมิใช่หนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง ซึ่งได้เคยลงประกาศไว้เดิมโดย ค ไม่ทราบถึงการถอน
นั้น ดังนี้ ก ยังต้องผูกพันที่ตอ้ งจ่ายรางวัลตามประกาศ

ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก เพราะ ค ไม่ทราบการถอนประกาศ แม้ ข จะมาติดต่อ ก ให้ทราบถึงการค้นคว้า


ของตนก่อนก็ได้ไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย
12

41211 กฎหมายแพ่ง 1
นายหล่อหมั้นนางสาวสวยด้วยแหวนทองหนึ่งวงราคา 3,000 บาท หลังจากหมั้นกันแล้ว ได้ทาพิธีแต่งงานกันตาม
ประเพณี โดยนายหล่อสัญญาว่าจะไปจดทะเบียน สมรสกับนางสาวสวย ภายใน 1 เดือน หลังแต่งงานถ้าในการจัดงานแต่งงาน
นางสาวสวยได้เสียค่าใช้จ่ายใน พิธีแต่งงานอันได้แก่ค่าอาหารเลี้ยงพระและแขกในวันแต่งงาน 60,000บาท หลังจากแต่งงานอยู่
กินเป็ นสามีภริ ยากันแล้วประมาณหนึ่งเดือน นางสาวสวยก็ได้ลาออกจากงานที่นางสาวทาอยูท่ ี่บริ ษทั แห่งหนึ่ง เพือ่ มาช่วยงาน
บ้านนายหล่อซึ่งเป็ นร้านชายของชา และขอให้นายหล่อไปจดทะเบียนสมรสตามสัญญานายหล่อไม่ยอมไปจดทะเบียนแต่กลับ
ไล่นางสาวสวยให้กลับไปอยูบ่ า้ นบิดาของนางสาวสวย ดังนี้

ก. นางสาวสวยจะฟ้ องศาลขอบังคับให้นายหล่อจดทะเบียนสมรสกับตนได้หรื อไม่

ข. ถ้านายหล่อขอของหมั้นคือแหวนหนึ่งวงคืน นางสาวสวยจะต้องคืนให้หรื อไม่

ค. นางสาวสวยมีสิทธิเรี ยกค่าทดแทนการที่นายหล่อไม่ยอมจดทะเบียนสมรสได้เพียงใด หรื อไม่

เฉลย

หลักกฎหมาย

“ การหมั้นไม่เป็ นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้...” (มาตรา 1438 )

เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ ายหนึ่งมีสิทธิเรี ยกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณี ที่มีของหมั้นถ้าฝ่ ายชายผิด


สัญญาหมั้นตกเป็ นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย” (มาตรา 1439)

“ ค่าทดแทนนั้นอาจเรี ยกได้ ดังต่อไปนี้

(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรื อชื่อเสียงแก่ชายหรื อหญิงนั้น

(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรื อบุคคลผูก้ ระทาการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรื อต้องตก


เป็ นลูกหนี้เนื่องในการเตรี ยมการสมรสโดยสุจริ ตและตามสมควร

(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จดั การทรัพย์สินหรื อการอื่นอันเกี่ยวกับอาชีพหรื อทางทามาหาได้ของตนไป


โดยสมควรด้วย การคาดหมายว่าจะได้มีกาสมรส

ในกรณี ที่หญิงเป็ นผูม้ ีสิทธิได้รับค่าทดแทน ศาลอาจจะชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็ นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็ นค่าทดแทนทั้งหมดหรื อ


เป็ นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงถึงของหมั้นที่ตกเป็ นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้”(มารตรา 1440 )
13

จากอุทาหรณ์

(ก) สัญญาหมั้นมีลกั ษณะพิเศษแตกต่างนากสัญญาอื่นๆในแง่ที่วา่ ไม่สามารถฟ้ องร้องให้ปฏิบตั ิตามสัญญาโดยขอให้ศาลบังคับ


ให้คู่หมั้นฝ่ ายหนึ่งทาการสมรสเป็ นเรื่ องที่ชายและหญิงต้องยินยอมพร้อมใจกันกระทาด้วยความสมัครใจและโดยเสรี ที่สุด สภาพ
แห่งสัญญาไม่เปิ ดช่องให้มีการบังคับกันได้เหมือนเช่นสัญญาอื่นๆ แม้ชายหญิงจะมาอยูก่ ินเป็ นสามีภริ ยากันเป็ นเวลานานเท่าใดก็
ตามจะมาฟ้ องต่อศาลขอให้บงั คับให้ไปจดทะเบียนสมรสกันไม่ได้ ดังที่บญั ญัติไว้ตามมาตรา 1438 ดังนั้น นางสาวสวยจะฟ้ อง
บังคับให้นายหล่อจดทะเบียนสมรสกับตนไม่ได้(คาพิพากษาฎีกาที่ 137/2481)

(ข) การที่นายหล่อสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกับนางสาวสวยภายใน 1 เดือนหลังภายในพิธีแต่งงานตามประเพณี น้ นั เป็ น


การตกลงว่านายหล่อ จะทาการสมรสกับนางสาวสวยตามวันเวลาที่กาหนดไว้แต่เมื่อถึงกาหนดตามที่สญ ั ญาไว้นางสาวสวยขอให้
ไปจดทะเบียนสมรส นายหล่อปฏิเสธ ถือว่านายหล่อผิดสัญญาหมั้น ในกรณี น้ ีแหวนทองหนึ่งวงซึ่งเป็ นของหมั้นจึงตกเป็ นสิทธิ
แก่นางสาวสวยตาม ปพพ. 1439 นางสาวสวยจึงไม่ตอ้ งคืนแหวนทองให้แก่นายหล่อ

(ก) เมื่อนายหล่อเป็ นฝ่ ายผิดสัญญาหมั้น นางสาวสวยย่อมมีสิทธิเรี ยกค่าทดแทนได้ดงั นี้

1. การที่นางสาวสวยทาพิธีแต่งงานและได้อยูก่ ินฉันสามีภริ ยากับนายหล่อที่บา้ นของนาย

หล่อเป็ นเวลาถึงเดือนเศษแล้วผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสและขับไล่นางสาวสวยให้กลับไปอยูบ่ า้ นบิดานั้นย่อมให้


นางสาวสวยต้องได้รับความอับอายร่ างกาย นางสาวสวยจึงมีสิทธิเรี ยกร้องค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อ เสียงของตน
ได้ตาม ปพพ. มาตรา1440(1) (คาพิพากษาฎีกาที่ 982/2518)

1. การที่นางสาวสวยได้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่งงานตามรายการต่างๆนั้น จะต้อง

พิจารณาว่ารายการใดบ้างที่เป็ นค่าใช้จ่ายในการเตรี ยมการสมรสโดย สุจริ ตและตามสมควร ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเตรี ยมการที่จะ


เรี ยกค่าทดแทนจากกันได้ตามมา ตรา 1440(2) ต้องเป็ นค่าใช้จ่ายอันจาเป็ นที่ชายหรื อหญิงกระทาเพือ่ เตรี ยมการ ที่ชายหรื อหญิง
จะอยูก่ ินด้วยกันเป็ นสามีภริ ยาโดยตรง ตามปั ญหาค่าอาหารเลี้ยงพระและแขกในวันแต่งงานไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรี ยมการ
สมรสเพราะการที่ชายหญิงจะอยูก่ ินด้วยกันเป็ นสามีภริ ยาไม่จาเป็ นต้องใช้จ่ายกรณี เหล่านี้การเลี้ยงดูกนั เป็ นเพียงประเพณี นิยม
เท่านั้น แม้ไม่ทาชายหญิงก็คงอยูก่ ินเป็ นสามีภริ ยากันได้นางสาวสวยจึงเรี ยกค่าใช่จ่ายต่างๆรวม 60,000 บาท ไม่ได้ (คาพิพากษา
ฎีกาที่ 2086/2518)

2. ก่อนที่นางสาวสวยจะรับหมั้นนางหล่อ นางสาวสวยทางานอยูท่ ี่บริ ษทั แห่งหนึ่ง แต่

หลังจากแต่งงานกับนายหล่อแล้วประมาณ 1 เดือนเศษ นางสาวสวยได้ลาออกมาเพือ่ ช่วยงานบ้านนายหล่อซึ่งเป็ นร้านขาย


ของ ชา เป็ นกรณี ที่นางสาวสวยได้จดั การเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสแต่นายหล่อไม่ยอมจด
ทะเบียนสมรส เช่นนี้ นางสาวสวยย่อมมีสิทธิเรี ยกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ได้จามปพพ. มาตรา 1440(3)ฉ (คาพิพากษา
ฎีกาที่ 3366/2526)
14

41211 กฎหมายแพ่ง 1
นางสุมาลีลกั ลอบได้เสียกับนายสมพรจนเกิดบุตรชายคือเด็กชายกริ ช ต่อมานางสุมาลีถึงแก่ความตาย นายสมพรละทิ้ง
ไม่ดูแลบุตร นางแจ่มผูเ้ ป็ นยายจึงนาเด็กชายกริ ชมาอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา หลังจากนางสุมาลีตายไปแล้ว***ปี นายสม
พรไปจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเด็กชายกริ ชเป็ นบุตรโดยขอบด้วยกฎหมายและนาไปเลี้ยงดูเองนางแจ่มไม่พอใจจึงฟ้ องคดีต่อ
ศาล อ้างว่านายสมพรประพฤติน้ นั ไม่เหมาะสมชอบดื่มสุรา ขอให้ศาลเพิกถอนการรับรองบุตร นายสมพรให้การปฏิเสธว่านาง
แจ่มไมมีสิทธิแต่อย่างใดที่จะนาคดีมา ฟ้ องทั้งเด็กก็เป็ นบุตรของนายสมพรเช่นนี้ถา้ ท่านเป็ นศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการ
รับรองบุตรหรื อไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย

“ผูม้ ีส่วนได้เสียจะขอให้ศาลถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็ นบุตรเพราะเหตุวา่ การขอจดทะเบียนนั้นมิใช่บิดาก็ได้แต่ตอ้ งฟ้ อง


ภายในสามเดือนนับแต่วนั ที่รู้การจดทะเบียนนั้น อนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น**ปี นับแต่วนั ที่จดทะเบียน”(มาตรา 1554)

คาว่า “ผูม้ ีส่วนได้เสีย” หมายถึง ที่จะมีส่วนได้หรื อส่วนเสียในประโยชน์อนั เกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวหรื อมรดก

“เหตุที่จะอ้างในการฟ้ อง” การฟ้ องขอให้ถอนการจดทะเบียนการรับเด็กเป็ นบุตรนี้กฎหมายได้จากัดไว้วา่ ผูฟ้ ้ องจะอ้างได้เพียงเหตุ


เดียวเท่านั้น คือ ผูข้ อให้จดทะเบียนนั้นไม่ใช่บิดาของเด็กเท่านั้น จะอ้าง*** เช่น เรื่ องความประพฤติ ชื่อเสียง หรื อฐานะความ
เป็ นอยูข่ องผูข้ อจด ฯลฯ มาเป็ นเหตุให้ศาลถอนการจดทะเบียนไม่ได้

ตามอุทาหรณ์ นางแจ่มเป็ นยายของเด็กชายกริ ช ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียนั้นเป็ นประโยชน์อนั เกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวหรื อมรดก


ของเด็ก จึงชอบที่จะฟ้ องนายสมพรได้ แต่การฟ้ องขอให้ถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็ นบุตรนั้นตามหลักกฎหมายดังกล่าว
ข้างต้นจากัดไว้วา่ ผูฟ้ ้ องขอให้ถอนการจดทะเบียนจะอ้างได้เพียงเหตุเดียวเท่านั้นคือ “ผูข้ อให้จดทะเบียนนั้นไม่ใช่บิดาของ
เด็ก” จะอ้างเหตุอื่นๆฯลฯเพือ่ ขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนไม่ได้ขอ้ เท็จจริ งได้ความแจ้งชัดว่า นายสมพรเป็ นบิดาที่แท้จริ ง
ของเด็กชายกริ ช การที่นางแจ่มอ้างว่านายสมพรประพฤติตนไม่เหมาะสมชอบดื่มสุราไม่ ใช่เหตุตามกฎหมายแพ่งและ
พาณิ ชย์ มาตรา 1554 ดังกล่าว ศาลชอบที่จะยกฟ้ องไม่อนุญาตให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็ นบุตร (คาพิพากษาฎีกา
ที่ 729/2491)
15

กฎหมายแพ่ง 1
ประหยัดได้ยมื เงินจากอารี ไป 20,000 บาท กาหนดใช้คืนภายใน 2 ปี เวลาผ่านไป 2 ปี 6 เดือน ประหยัดก็ไม่ชาระอารี
ไปพบประหยัดที่บา้ นพักทวงเงินคืน ประหยัดก็ตอบว่ายังไม่มีเงิน อารี เห็นประหยัดสวมสร้อยคอทองคาหนัก 2 บาท จึงบอกให้
ประหยัดถอดสร้อยมาให้ตนยึดถือไว้เป็ นจานาก่อน มิฉะนั้นจะให้ทนายฟ้ องทันที่ ประหยัดกลัวถูกฟ้ องจึงจาใจถอนสร้อยให้อารี
ยึดไว้เป็ นประกัน

สงเคราะห์หลานของประหยัดเมื่อรู ้เรื่ องดังกล่าวได้ไปพบอารี ที่บา้ นพักแล้วขอสร้อยคืน อารี ไม่ยอมคืน สงเคราะห์จึงชักปื นมาจี้


อารี ให้เขียนหนังสือปลดหนี้ให้ประหยัด จานวน 20,000 บาท และให้อารี รับสร้อยคอเส้นนั้นไว้เป็ นอันหมดหนี้กนั อารี กลัวจึง
ยอมเขียนหนังสือปลดหนี้ให้ ต่อมาอารี ได้มีจดหมายถึงประหยัดว่าขอให้นาเงินจานวน20,000 บาท มาใช้คืนและรับสร้อยคอ
ไป ดังนี้ ประหยัดต้องชาระเงินจานวนดังกล่าวให้อารี หรื อไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย

หลักกฎหมาย

มาตรา 121 การแสดงเจตนาอันได้มาเพราะคนฉ้อฉลก็ดี เพราะข่มขู่ก็ดี ท่านว่าเป็ นโมฆียะ การที่จะเห็นการข่มขู่น้ นั กลัวว่าจะ


เกิดความเสียหายแก่ตนเอง แก่สกุลหรื อแก่ทรัพย์สินของตน โดยทาให้ผถู ้ ูกข่มขู่กลัวภัยถึงขนาด จึงต้องทานิติกรรมนั้นขึ้น

มาตรา 127 การขู่วา่ จะใช้สิทธิอนั ใดอันหนึ่งตามปกตินิยมก็ดีเพียงแต่ความกลัวเพราะนับถือยาเกรงก็ดี ท่านหาจัดว่าเป็ นการข่มขู่


ไม่

การที่นายอารี ข่นู ายประหยัดให้ถอดสร้อยมาเป็ นจานา ถ้าไม่ให้จะฟ้ องร้องนั้นมิใช่เป็ นเรื่ องการข่มขู่แต่ประการใดเพราะเรื่ องนี้


เป็ นกรณี ที่นายอารี มีสิทธิของการเป็ นเจ้าหนี้ที่จะ ฟ้ องลูกหนี้อยูแ่ ล้ว การที่นายประหยัดยอมจานาสร้อยให้นายอารี จึงสมบูรณ์ไม่
ถือว่าเป็ นการข่มขู่

หลักกฎหมาย

มาตรา 128 การข่มขู่ยอ่ มทาให้นิติกรรมเสื่อมเสีย แม้ถึงบุคคลภายนอกจะเป็ นผูข้ ่มขู่

การที่นายสงเคราะห์ไปขู่นายอารี ให้ทาหนังสือปลดหนี้ให้นายประหยัดนั้น ถือได้วา่ เป็ นการที่บุคคลภายนอกข่มขู่ให้นายอารี ทา


นิติกรรมคือการปลดหนี้ให้นายประหยัด ดังนั้นการปลดหนี้น้ ีจึงเป็ นโมฆียะเพราะเกิดจากการข่มขู่ของบุคคลภายนอก นายอารี ก็
สามารถบอกล้างการปลดหนี้ให้เป็ นโมฆะได้ ดังนั้นนายประหยัดยังต้องใช้เงินให้นายอารี
16

กฎหมายแพ่ง 1
ทองเป็ นสามีพลอยได้เปิ ดร้านค้าเครื่ องเพชร วันหนึ่งทองถูกรถยนต์ชน สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่าง
มาก ผ่าตัดแล้วอาการก็ไม่ดีข้ นึ มีสติฟั่นเฟื อน เมื่อกลับมาอยูท่ ี่ร้านทองได้โทรศัพท์สงั่ ซื้อเครื่ องเพชรจากห้างหุน้ ส่านจากัดอัญ
มณี มาเป็ นจานวนเงิน 1 ล้านบาท ทางห้างฯ ดังกล่าวได้ส่งเครื่ องเพชรจานวนดังกล่าวให้ทองตามสัง่ ต่อมาอีก 2 เดือน พลอยได้
ยืน่ คาร้องขอให้ทองเป็ นคนไร้ความสามารถต่อมาทองได้สงั่ ซื้อบุษราคัมจากห้างฯ ดังกล่าวอีก เป็ นจานวนเงินอีก 1 ล้าน
บาท ทางห้างฯ ก็ได้สงั่ ของให้ตามสัง่ เพราะทองเป็ นลูกค้าประจา โดยทางห้างฯ มิได้รู้ถึงอาการฟั่นเฟื อนหรื อความเป็ นคนไร้
ความสามารถของทองแต่อย่างใด

ห้างฯ ได้มีหนังสือไปถึงทองทวงถามเงินค่าเครื่ องเพชรและบุษราคัมรวมเป็ นเงินทั้งสิ้น 2 ล้านบาท พลอยเมื่อทราบถึงหนังสือ


ทวงเงิน จะอ้างว่าสัญญาซื้อขายทั้ง 2 ครั้ง ไม่สมบูรณ์ เพราะตนไม่รู้ถึงการซื้อขายนั้นได้หรื อไม่เพราะเหตุใด

เฉลย

หลักกฎหมาย

มาตรา 31 การใดๆ อันบุคคลผูซ้ ่ ึงศาลได้สงั่ ให้เป็ นคนไร้ความสามารถได้ทาลง การนั้นท่านว่าเป็ นโมฆียะ

มาตรา 32 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริ ตได้ทาลง แต่หากบุคคลนั้นศาลยังมิได้สงั่ ให้เป็ นคนไร้ความสามารถไซร้ท่านว่าการนั้นจะ


เป็ นโมฆียะต่อเมื่อพิสูจน์ได้วา่ ได้ทาลงในเวลา ซึ่งบุคคลนั้นจริ ตวิกลอยู่ และคู่กรณี อีกฝ่ ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผูท้ าเป็ นคน
วิกลจริ ต

คนวิกลจริ ตนั้น หมายถึง บุคคลทีมีจิตไม่ปกติหรื อสมองพิการหรื อเป็ นคนบ้า มีอาการควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่รู้สึกผิดชอบเยีย่ ง


บุคคลธรรมดา และยังหมายความรวมถึง บุคคลที่มีอาหารผิดปกติธรรมดาเนื่องจากเจ็บป่ วยถึงขนาดไม่รู้สึกผิดชอบและไม่
สามารถประกอบกิจการงานใดๆ ได้ดว้ ย

จากข้อเท็จจริ งเห็นได้วา่ นายทองนั้นเป็ นบุคคลวิกลจริ ตและในช่วงแรกซึ่งออกจากโรงพยาบาลแล้ว ได้ทานิติกรรมการซื้อขาย


ไปก่อนที่ศาลจะสัง่ ให้เป็ นคนไร้ความสามารถ ทั้งคู่กรณี อีกฝ่ ายหนึ่งก็ไม่ได้รู้วา่ นายทองนั้นเป็ นคนวิกลจริ ตแต่อย่างใด ดังนั้น
การซื้อขายในครั้งแรกนั้นจึงมีผลสมบูรณ์ นางพลอยจะอ้างว่านายทองเป็ นคนวิกลจริ ต การซื้อขายครั้งแรกไม่สมบูรณ์ไม่ได้ นาง
พลอยต้องชาระราคาค่าเพชรซึ่งนางทองได้สงั่ ซื้อไป

เมื่อศาลได้สงั่ ให้นายทองเป็ นคนไร้ความสามารถแล้วผลก็คือนิติกรรมที่นายทองทาไปตกเป็ นโมฆียะทั้งสิ้น ถึงแม้วา่ คู่กรณี จะไม่


รู ้วา่ นายทองเป็ นคนไร้ความสามารถก็ตาม ดังนี้ในกรณี น้ ีนางพลอยสามารถบอกล้างสัญญาซื้อขายบุษราคัมระหว่างนายทองและ
คู่กรณี ได้
1

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1 และวิธีตอบคาถามที่ถูกต้อง

เด็กชายดี อายุ 14 ปี เป็นเด็กมีความประพฤติดีและสอบได้คะแนนดี นายเด่นบิดาจึงซื้อ


จักรยานเสือภูเขาให้ 1 คันราคา 5,000 บาท เด็กชายดีขี่จักรยานผ่านหน้าบ้านนายดัง (นักศึกษา
ปริญญาเอก) ทุกวัน ๆ ละหลาย ๆ รอบ นายดังชอบรถจักรยานคันนั้นและแอบรู้ว่าเด็กชายดีเป็นคนขี้
เบื่อ-เชื่อคนง่ายจึงสอนให้เด็กชายดีขี่มอเตอร์ไซค์จนเป็น เด็กชายดีเบื่อรถจักรยานและอยากได้
มอเตอร์ไซค์แทน นายดังจึงออกตัวว่าสงสารเด็กชายดีและจะรับซื่อรถจักรยานเองแต่ขอให้ขายราคา
ถูกเพียง 2,000 บาท เด็กชายดี ดีใจ จึงรีบขายทันที แล้วทุบกระปุกออมสินได้เงินมากพอไปซื้อ
มอเตอร์ไซค์ นายเด่นบิดาโกรธหาว่านายดังหลอกเด็กจึงพามาพบท่านในฐานะทนายความ ท่านจะ
แนะนานายเด่นว่าอย่างไร

(แนวคาตอบ)
ย่อหน้าที่หนึ่งเน้นหนักไปทางแก่นกฎหมายแยกเป็นหมวดหมู่สาระสาคัญ
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่อง ความสามารถในการทานิติกรรมของผู้เยาว์ มี
สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้
-นิติกรรมใด ๆ ที่ผู้เยาว์ทาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนย่อมเป็น
โมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
-ผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิ...
1.ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นให้สมบูรณ์ได้หรือ
2.บอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นให้ตกเป็นโมฆะ
-การให้สัตยาบันต่อนิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้ทาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น
ย่อมกระทาได้โดยแสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งและมีผลให้นิติกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ตลอดไป
-การบอกล้างนิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้ทาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ย่อม
กระทาได้โดยแสดงต่อคู่กรณีอีกฝุายหนึ่ง มีผลให้นิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะคือเสียเปล่ามาแต่
เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับ
ค่าเสียหายชดใช้แทนนอกจากนี้หากผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม มิได้ใช้สิทธิบอกล้างเมื่อพ้นหนึ่งปี
นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทานิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น
2

(ย่อหน้าที่สอง เน้นหนักไปในทางวินิจฉัย หรือปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริง ภาษากฎหมาย


มาตรานั้น วรรคนั่น เขาเรียกว่าอะไรก็เรียกไปตามนั้น)
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยดังนี้ เด็กชายดีอายุ 14 ปี ผู้เยาว์ในฐานะผู้ขายตกลงขายรถจักรยานเสือ
ภูเขา ซึ่งนายเด่นบิดาซื้อมาให้ตนในราคา 5,000 บาท แก่นายดังผู้ซอื้ ในราคาเพียง 2,000 บาท โดย
ยังไม่ได้รับความยินยอมจากนายเด่นบิดาของเด็กชายดีในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายดี
ผู้เยาว์ ทาให้นิติกรรมซึ่งก็หมายถึงสัญญาซื้อขายรถจักรยานเสือภูเขาระหว่างเด็กชายดีผู้ขายกับนาย
ดังผู้ซื้อนั้นตกเป็นโมฆียะ เมื่อนายเด่นมาปรึกษาข้าพเจ้าในฐานะทนายความข้าพเจ้าจะแนะนาให้นาย
เด่นพิจารณาทางเลือกเป็น 2 แนวทางดังนี้
ก.ทางเลือกที่หนึ่ง หากนายเด่นตัดสินใจยอมรับนิติกรรมซึ่งหมายถึงสัญญาซื่อขายที่เด็กชายดีบุตร
ของตนในฐานะผู้ขายได้ทาขึ้นกับนายดังในฐานะผู้ซื้อ นายเด่นสามารถให้สัตยาบันแก่นิติกรรมหรือ
สัญญาซื้อขายนั้นได้ด้วยการแสดงเจตนายินยอมให้นายดังรับทราบ หรือทอกระยะเวลาออกไปให้พ้น
หนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เด็กชายดีและนายดังทานิติกรรมซึ่ง
หมายถึงสัญญาซื้อขายนั้น
ข. ทางเลือกที่สอง หากนายเด่นตัดสินใจไม่ยอมรับนิติกรรมซึ่งหมายถึงสัญญาซื้อขายที่เด็กชายดีบุตร
ของตนในฐานะผู้ขายได้ทาขึ้นกับนายดังในฐานะผู้ซื้อ นายเด่นสามารถบอกล้างนิติกรรมหรือสัญญา
ซื้อขายนั้นได้ด้วยการแสดงเจตนาบอกล้างให้นายดังทราบ มีผลให้นิติกรรมซึ่งหมายถึงสัญญาซื้อขาย
นั้นตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้เด็กชายดีและนายดังคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมคือเด็กชายดีต้อง
คืนราคาคือเงินค่าซื้อรถจักรยานที่ได้รับจากนายดังให้แก่นายดังไป และนายดังต้องคืนรถจักรยานคันที่
เด็กชายดีส่งมอบให้เพราะเป็นการปฏิบัติตามการซื้อขาย และถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะได้คืน เช่นนาย
ดังทาให้รถจักรยานพังเสียหาย นายดังก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่เด็กชายดี

(ย่อหน้าที่สาม สรุปสั้น ๆ ตามคาถามทีละประเด็นให้ครบถ้วน)


สรุปหรือธง
ข้าพเจ้าแนะนาให้นายเด่นพิจารณาทางเลือกตาม ก. หรือ ข. ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

- ที่มาจากหนังสือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาญา โดย ผศ.อรรถสิทธิ์ ชื่นสงวน -


3

คาถาม
นายแสวงขับรถโดยประมาทเลินเล่อ ชนนางอรชรหญิงหม้ายซึ่งตั้งครรภ์ได้ 7 เดือนเศษ เป็นเหตุให้
สมองของทารกในครรภ์ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ต่อมานางอรชรได้คลอดบุตร
ออกมา คือ ด.ช.ประสาท ปรากฎว่าด.ช.ประสาทมีอาการวิกลจริตเพราะสมองได้รับความ
กระทบกระเทือนขณะอยู่ในครรภ์ นางอรชรจึงได้ยื่นฟูองนายแสวงต่อศาลแทน ด.ช.ประสาท เรียกค่า
สินไหมทดแทน โดยอ้างว่านายแสวงประมาทเลินเล่อทาให้ด.ช.ประสาทวิกลจริต นายแสวงให้การ
ต่อสู้คดีว่า ด.ช.ประสาทไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพราะในขณะที่ตนขับรถชนนางอรชร
นั้น ด.ช.ประสาทยังไม่มีสภาพบุคคล จึงยังไม่มีสิทธิใดๆ ให้ผู้อื่นละเมิดได้ ขอให้ศาลยกฟูอง ข้อต่อสู้
ของนายแสวงฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
อนึ่ง เมื่อ ด.ช.ประสาทมีอายุ 17 ปีเศษ ได้ซื้อรองเท้าจากร้านศึกษาภัณฑ์พานิชมา 1 คู่ใน
ราคา 35 บาท สัญญาซื้อขายรายนี้จะมีผลสมบูรณ์หรือไม่ เพราะเหตุใด (1/2520)
แนวการตอบ
นักศึกษาคนที่ 1
ประเด็น
1. สิทธิของทารกในครรภ์มารดา
2. ความสามารถในการทานิติกรรมของผู้เยาว์
3. ความสามารถในการทานิติกรรมของคนวิกลจริต
หลักกฎหมายบัญญัติอยู่ใน ป.พ.พ. ดังนี้
มาตรา 15 วางหลักว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มขึ้นแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
มาตรา 19 วางหลักว่า บุคคลจะพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์
มาตรา 21 วางหลักว่า ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบ
ธรรม มิฉะนั้นนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ
มาตรา 24 วางหลักว่า ผู้เยาว์สามารถทานิติกรรมได้หากว่าเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการ
จาเป็นในการดารงชีพตามสมควร
มาตรา 30 วางหลักว่า นิติกรรมที่คนวิกลจริตทาขึ้นในขณะจริตวิกล และคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งรู้ถึงความ
วิกลจริตในขณะทานิติกรรม นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
4

วินิจฉัย
ข้อเท็จจริงตามปัญหาขณะที่นายแสวงทาละเมิด ด.ช.ประสาทเป็นทารกในครรภ์มารดา ตาม
มาตรา 15 ว.1 บุคคลจะมีสิทธิได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคล และสภาพบุคคลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคลอด
และอยู่รอดเป็นทารก เมื่อปรากฏว่าขณะถูกชนด.ช.ประสาทยังไม่คลอด คือ เป็นทารกในครรภ์
มารดา ด.ช.ประสาทย่อมยังไม่มีสภาพบุคคล จึงไม่อาจมีสิทธิใดๆ ให้นายแสวงละเมิดได้ อย่างไรก็
ตามการที่ตอ่ มา ด.ช.ประสาท คลอดและอยู่รอดเป็นทารก ตามมาตรา 15ว.2 ด.ช.ประสาทย่อมมี
สิทธิย้อนหลังไปในขณะที่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ดังนั้นเมื่อ ด.ช.ประสาทถูกละเมิดสิทธิใน
ร่างกายขณะเป็นทารกในครรภ์มารดา ย่อมสามารถฟูองร้องนายแสวงฐานะละเมิดได้ นางอรชรใน
ฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงสามารถฟูองให้นายแสวงรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แทนด.ช.ประสาท
ได้ ต่อมาเมื่อ ด.ช.ประสาท อายุได้ 17 ปีเศษ ได้ไปซื้อร้องเท้ามา 1 คู่ ในเวลานั้น ด.ช.ประสาทอายุ
ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงยังเป็นผู้เยาว์ตามมาตรา 19 การที่ด.ช.ประสาทไปซื้อรองเท้าเป็นการทา
นิติกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ นางอรชร นิติกรรมย่อมตก
เป็นโมฆียะตามมาตรา 21 อย่างไรก็ตามเนื่องจากนิติกรรมการซื้อรองเท้าดังกล่าวข้าพเจ้าเห็นเป็น
การซื้อทรัพย์ที่ราคาที่ราคาไม่สูง และด.ช.ประสาทอาจจะนารองเท้าดังกล่าวมาไว้ใส่ ซึ่งผู้เยาว์
ทั่วๆไปก็ควรมีรองเท้าใส่ จึงเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ทานิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจาเป็นต่อการดารงชีพ
ตามสมควร นิติกรรมการซื้อรองเท้านี้จึงมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 24
กรณีต้องพิจารณาด้วยว่าการทานิติกรรมซื้อรองเท้านั้นตกเป็นโมฆียะเพราะความเป็นคนวิกลจริต
ของ ด.ช.ประสาทหรือไม่ เห็นว่าตามข้อเท็จจริงแม้ ด.ช.ประสาทจะมีอาการวิกลจริตตั้งแต่เกิดและ
อาจยังคงมีอาการวิกลจริตอยู่ แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ขายรู้ถึงความวิกลจริตของ ด.ช.ประสาท
ในขณะทานิติกรรม นิติกรรมจึงไม่ตกเป็นโมฆียะตาม มาตรา 30 แต่อย่างใด
สรุป
ข้อต่อสู้ของนายแสวงฟังไม่ขึ้นเพราะด.ช.ประสาทมีสิทธิย้อนหลังตั้งแต่เวลาที่เป็นทารกในครรภ์
มารดา ตามมาตรา15 ว.2 จึงถูกทาละเมิดได้ และมีสิทธิเรียกให้นายแสวงรับผิดฐานละเมิด
สัญญาซื้อรองเท้ามีผลสมบูรณ์เพราะเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทาขึ้นเป็นการสมแก่ฐานุรูปและจาเป็นต่อ
การดารงชีพตาม มาตรา 24 และไม่ตกเป็นโมฆียะเพราะความวิกลจริตของผู้เยาว์ตาม
มาตรา 30 เพราะไม่ปรากฏว่าคู่กรณีอีกฝุายรู้ถึงความวิกลจริตของ ด.ช.ประสาทในขณะทานิติกรรม
5

นักศึกษาคนที่ 2
ประเด็นที่ 1 ด.ช.ประสาทมีสิทธิตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์มารดาหรือไม่
หลักกฎหมายใน ป.พ.พ.
ม.15 วางหลักว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มขึ้นแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็อาจมีสิทธิได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ข้อเท็จจริงตามปัญหาในขณะที่ถูกรถนายแสวงชน ด.ช.ประสาทยังเป็นเพียงทารกในครรภ์มารดาจึง
ยังไม่มีสภาพบุคคล เพราะยังไม่คลอดออกมา เมื่อไม่มีสภาพบุคคลย่อมไม่มีสิทธิและหน้าที่ใดๆในทาง
กฎหมายได้ โดยหลักด.ช.ประสาทจึงไม่อาจถูกละเมิดสิทธิได้ ตาม ม.15 ว.1
อย่างไรก็ตามต่อมาปรากฏว่าภายหลัง ด.ช.ประสาทคลอดออกมาและมีชีวิตอยู่รอด ม.15 ว.2 บัญญัติ
ให้ด.ช.ประสาทมีสิทธิได้ และมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะอยู่ในครรภ์มารดา เมื่อในขณะอยู่ในครรภ์มี
สิทธิ การที่นายแสวงขับรถมาชนทาให้ด.ช.ประสาทได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างแรง จึง
เป็นการละเมิดสิทธิของด.ช.ประสาท ด.ช.ประสาทจึงสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายแสวง
ฐานละเมิดได้
สรุป ข้อต่อสู้ของนายแสวงฟังไม่ขึ้นเพราะด.ช.ประสาทมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะเป็นทารกในครรภ์
มารดาตามม.15 ว.2

ประเด็นที่ 2 สัญญาซื้อรองเท้าตกเป็นโมฆียะเพราะความเป็นผู้เยาว์หรือไม่
ม. 19 วางหลักว่า บุคคลจะพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์
ม.21 วางหลักว่า ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติ
กรรมที่ผู้เยาว์ทาลงไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะ
ม.24 วางหลักว่า ผู้เยาว์อาจทานิติกรรมที่เป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและจาเป็นต่อการดารงชีพ
ได้
ข้อเท็จจริงตามปัญหา ด.ช.ประสาทอายุ 17 ปีเศษ อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงยังเป็นผู้เยาว์
ตาม ม.19 การที่ด.ช.ประสาทไปทานิติกรรม คือ สัญญาซื้อรองเท้า เมื่อไม่ปรากฏว่าได้รับความ
ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมโดยหลักสัญญาซื้อรองเท้าย่อมตกเป็นโมฆียะตาม ม.21
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่ด.ช.ประสาทซื้อรองเท้าอาจนามาใช้ใส่ในชีวิตประจาวัน และการราคา
ของรองเท้าก็เป็นราคาที่พอสมควรที่ผู้เยาว์น่าจะซื้อได้เอง ด้วยเหตุนี้สัญญาซื้อรองเท้าจึงเป็นนิติ
กรรมที่ผู้เยาว์ทาลงโดยสมแก่ฐานานุรูปและจาเป็นต่อการดารงชีพ สัญญาซื้อขายรองเท้าจึงมีผล
6

สมบูรณ์ตาม ม.24
สรุป สัญญาซื้อรองเท้ามีผลสมบูรณ์เพราะเป็นนิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจาเป็นต่อการดารงชีพ
ตาม ม.24

ประเด็นที่ 3 สัญญาซื้อขายรองเท้าตกเป็นโมฆียะเพราะความวิกลจริตหรือไม่
ม.30 ถ้าคนวิกลจริตทานิติกรรมในขณะจริตวิกลและคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งรู้ถึงความวิกลจริต นิติกรรม
นั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ
ข้อเท็จจริงตามปัญหา ด.ช.ประสาท มีถูกรถยนต์จนมีอาการวิกลจริต ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอาการ
วิกลจริตจนถึงเวลาที่ทาสัญญาซื้อรองเท้าด้วย อย่างไรก็ตามตาม ม.30 นิติกรรมที่คนวิกลจริตทาลง
นั้นจะตกเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งรู้อยู่ถึงความวิกลจริตด้วย เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
คู่กรณีอีกฝุายหนึ่งรู้ถึงความวิกลจริต นิติกรรมย่อมไม่ตกเป็นโมฆียะ
สรุป นิติกรรมไม่ตกเป็นโมฆียะตามม.30 เพราะไม่ปรากฏว่า คู่กรณีอีกฝุายหนึ่งรู้ถึงความวิกลจริตของ
ด.ช.ประสาทในขณะทานิติกรรม
นักศึกษาคนที่ 3
ประเด็น ความสามารถในการมีสิทธิของทารกในครรภ์มารดา
ข้อเท็จจริงตามปัญหา ด.ช.ประสาทถูกรถชนในขณะอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งในขณะนั้น ด.ช.ประสาทยัง
ไม่คลอดและอยู่รอดเป็นทารก จึงยังไม่มีสภาพบุคคล ตาม ป.พ.พ.วางหลักว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่ม
ขึ้นแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย เมื่อ ด.ช.ประสาทยังไม่มีสภาพบุคคลจึง
ไม่มีสิทธิใดๆ ให้ถูกละเมิดได้
อย่างไรก็ตามเนื่องจากต่อมาด.ช.ประสาทได้คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก ซึ่งกฎหมายได้ว่าง
หลักว่า ทารกในครรภ์มารดาก็อาจมีสิทธิได้หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก ด้วยเหตุนี้
เมื่อ ต่อมาปรากฏว่า ด.ช.ประสาทคลอดและอยู่รอดเป็นทารกแม้จะมีอาการวิกลจริต ด.ช.ประสาทก็
ย่อมมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะเป็นทารกในครรภ์มารดา ดังนั้นเมื่อขณะอยู่ในครรภ์มารดา ด.ช.
ประสาทถูกนายแสวงขับรถโดยประมาททาให้ตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง จึงถือเป็นการ
ละเมิดสิทธิของ ด.ช.ประสาท ด.ช.ประสาทมีสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากนายแสวงฐาน
ละเมิด
สรุป ข้อต่อสู้ของนายแสวงฟังไม่ขึ้น เพราะด.ช.ประสาทมีสิทธิย้อนหลังไปในขณะเป็นทารกอยู่ใน
ครรภ์มารดา
7

ประเด็น ความสามารถในการทานิติกรรมของผู้เยาว์
ในขณะที่ด.ช.ประสาทซื้อร้องเท้า ด.ช.ประสาทมีอายุเพียง 17 ปีเศษ จะเห็นได้ว่าอายุยังไม่ครบ 20 ปี
บริบูรณ์จึงยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ตามหลักกฎหมายที่ว่า บุคคลจะพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ
เมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์
เมื่อในขณะเป็นผู้เยาว์ด.ช.ประสาทได้ไปทานิติกรรม คือ การซื้อรองเท้า โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมซื้อรองเท้าจึงตกเป็นโมฆียะ ตามหลักกฎหมาย
ที่ว่า ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม มิฉะนัน้ นิติกรรมตก
เป็นโมฆียะ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่ารองเท้าที่ซื้อนั้นเป็นทรัพย์ที่ราคาไม่แพงมาก ซึ่งผู้เยาว์สามารถซื้อได้ถือว่า
เป็นการสมแก่ฐานานุรูป และการซื้อนั้นเป็นการทาลงเพื่อความจาเป็นในการใช้สอยจึงถือเป็นการที่
จาเป็นต่อการดารงชีพตามสมควร ซึ่ง ด.ช.ประสาทย่อมทานิติกรรมนี้ได้ ตามหลักกฎหมายที่ว่า นิติ
กรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจาเป็นต่อการดารงชีพ ผู้เยาว์สามารถทาได้
สรุป นิติกรรมซื้อรองเท้ามีผลสมบูรณ์ เพราะเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ทาลงไปอันเป็นการสมแก่ฐานานุรูป
และจาเป็นต่อการดารงชีพตามสมควร

ประเด็น ความสามารถในการทานิติกรรมของคนวิกลจริต
คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถโดยหลักย่อมมีความสามารถในการทานิติกรรม
โดยสมบูรณ์ ข้อเท็จจริงมีปัญหาให้ต้องพิจารณาด้วยว่านิติกรรมซื้อรองเท้าที่ด.ช.ประสาททาลงนั้น
บกพร่องเพราะความวิกลจริตของด.ช.ประสาทหรือไม่ เนื่องจากโจทย์บอกว่าด.ช.ประสาทมีอาการ
วิกลจริตเพราะถูกรถชนอาจสันนิษฐานได้ว่าขณะที่ทานิติกรรมก็ยังอาจมีอาการวิกลจริตอยู่ อย่างไรก็
ตามหลักกฎหมายที่วานิติกรรมจะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อคนวิกลจริตได้ทานิติกรรมในขณะจริตวิกลและ
ในขณะทานิติกรรมคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งก็ได้รู้ถึงความวิกลจริตนั้นด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีอีกฝุายรู้
ถึงความวิกลจริตของด.ช.ประสาทในขณะทานิติกรรม นิติกรรมจึงไม่ตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด
สรุป นิติกรรมซื้อร้องเท้าไม่ตกเป็นโมฆียะเพราะความวิกลจริตของ ด.ช.ประสาท เนื่องจากไม่ปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่าคู่กรณีอีกฝุายหนึ่งได้รู้ถึงความวิกลจริตของ ด.ช.ประสาทในขณะทานิติกรรม
8

ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1

นายท้ากกี้ ขายสุนัขชื่อนางด่างหางแดงให้นายเนวิน โดยไม่มีใครทราบว่านางด่างหางแดงท้อง


ในวันที่ ๑ ตกลงจะส่งมอบนางด่างหางแดงวันที่ ๓ โดยนายท้ากกี้ ชาระเงินให้นายเนวิน ในวันที่ทา
สัญญาแล้ว ต่อมาคืนวันที่ ๑ นางด่างหางแดงคลอดลูกสุนัข ๑ ตัว วันที่ ๓ นายเนวินมารับนางด่าง
หางแดง จึงทราบว่านางด่างหางแดงคลอดลูก ถามว่า ใครมีสิทธิในตัวลูกของนางด่างหางแดง และ
หากนางด่างหางแดงถูกงูกัดตายโดยไม่ใช่ความผิดของนายท้ากกี้ถามว่า ใครจะต้องรับบาปเคราะห์ใน
ความตายของนางด่างหางแดง

หลักการวินิจฉัย ควรฝึกแยกพิจารณาทีละประเด็น
1.คู่สัญญาตกลงซื้อนางด่างหางแดง
2.แม้ยังไม่มีการส่งมอบวัตถุแห่งหนี้ สัญญาซื้อขายย่อมสมบูรณ์นับแต่วันทาสัญญา ลูกหนี-้ เจ้าหนี้มี
หน้าที่ต้องชาระหนี้อันพึงชาระต่อกันแล้ว รอเพียงให้ถึงกาหนดเวลาชาระเท่านั้น
3.ลูกสุนัขเป็นดอกผลธรรมดา(เปิดดูประมวลว่าลูกสุนัขเป็นของใคร)
4.หากนางด่างหางแดงตายโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ใด การชาระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ไม่มีผู้ใดต้องรับ
ผิด
5.นายท้ากกี้เป็นผู้รับบาปเคราะห์ในความตายของนางด่างหางแดง
จะเรียกร้องให้นายเนวินชาระหนี้ไม่ได้(โจทย์ไม่ได้ให้รายละเอียดมาว่านางด่างหางแดงตายในวันที่
เท่าใด อนุมานเอาว่าตายก่อนมีการส่งมอบ ถ้าตายหลังส่งมอบก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไปอีกว่าตาย
เพราะเหตุใด) คาแนะนานี้เป็นหลักในการพิจารณาตอบข้อสอบเท่านั้น ไม่ใช่วิธีตอบข้อสอบ

ต้อย อายุ 14 ปี คุณตาเห็นว่าต้อยกาพร้าแม่จึงยกเครื่องเพชรให้ 1 ชุด ต่อมาต้อยคิดจะขาย


เครื่องเพชรหนึ่งชิ้นเพื่อนาเงินไปเป็นค่าเรียนคอมพิวเตอร์ จึงไปปรึกษาพ่อ พ่อจึงบอกว่า “ เครื่อง
เพชรชุดนี้คุณตายกให้ลูกแล้ว ลูกจะเอาไปทาอะไร ก็แล้วแต่ลูกจะเห็นสมควรเถอะ พ่อไม่ขัดข้องอะไร
ทั้งสิ้น “ ต่อมาต้อยอยากได้โทรศัพท์มือถือจึงนาเครื่องเพชรชิ้นที่ 2 ไปขาย โดยไม่ได้ ขออนุญาต พ่อ
ก่อน ต่อมาต้อยปุวยคิดว่าตนเองเป็นไข้หวัดนกคงไม่รอดแน่ เกิดสิ้นหวังในชีวิตจึงทาพินัยกรรมยก
เครื่องเพชรชิ้นสุดท้ายที่เหลืออยู่ให้คุณตาเพราะคิดว่าเครื่องเพชรเป็นของคุณตาก็ควรจะคืนให้คุณตา
ไป ระหว่างที่นั่งรถประจาทางไปหาหมอเกิดมีวัยรุ่นทะเลาะวิวาทกันโยนระเบิดใส่รถโดยสารทาให้
9

ต้อยถึงแก่ความตาย ภายหลังบิดา ทราบเรื่องว่าต้อยขายเครื่องเพชรชิ้นที่ 2ไปในราคาที่ถูกมากจึง


ต้องการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขาย เพชร และยกเลิกพินัยกรรม

จงวินิจฉัยว่า บิดาสามารถบอกล้างนิติกรรมการขายเพชรครั้งที่ 2 และ ยกเลิกพินัยกรรมของต้อยได้


หรือไม่เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย
มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบ
ธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทาลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ
เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทาพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จาหน่ายทรัพย์สินเพื่อการ
อันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจาหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้
นั้นก็ทาได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จาหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์
ก็จาหน่ายได้ตามใจสมัคร

ข้อวินิจฉัย
การที่ต้อยผู้เยาว์ได้ขออนุญาตบิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม เพื่อขายเครื่องเพชรชิ้นที่หนึ่ง ซึ่งได้
รับมาจากคุณตาหนึ่งชุด โดยต้องการนาเงินไปเป็นค่าเรียนคอมพิวเตอร์ และบิดาได้อนุญาต โดยบอก
ว่า “ เครื่องเพชร..ชุดนี.้ .คุณตายกให้ลูกแล้ว ลูกจะเอาไปทาอะไร ก็แล้วแต่ลูกจะเห็นสมควรเถอะ พ่อ
ไม่ขัดข้องอะไรทั้งสิ้น “ ย่อมเป็นการที่ต้อยผู้เยาว์ได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมให้จาหน่าย
ทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ต้อยผู้เยาว์ก็ย่อมจาหน่ายได้ตามใจสมัคร ดังนั้นแม้ว่าภายหลัง
บิดาจะทราบว่าต้อยขายเครื่องเพชรชิ้นที่สองไปในราคาถูกมากก็ไม่สามารถบอกล้างนิติกรรมการซื้อ
ขายได้ ส่วนการทาพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายนี้วางหลักว่าผู้เยาว์อาจทาพินัยกรรมได้เมื่ออายุ
ครบ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ต้อยทาพินัยกรรมยกเครื่องเพชรชิ้นสุดท้ายให้คุณตาในขณะที่มีอายุ 14ปีการ
ทา พินัยกรรม ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย บิดาของต้อยจึงไม่จาเป็นต้องยกเลิก
พินัยกรรมแต่อย่างใด
10

สรุป

1. บิดาไม่สามารถบอกล้างนิติกรรมการขายเพชรครั้งที2่ ได้ เพราะได้ให้ความยินยอมไว้แล้ว


2. พินัยกรรมเป็นโมฆะ บิดาจึงไม่จาเป็นต้องยกเลิกแต่ประการใด

นาย สติ ได้ทราบข่าวว่านาย ปัญญาเพื่อนนักเรียนเก่ารุ่นเดียวกัน กาลังลาบากตกทุกข์ได้


ยากจึงต้องการช่วยเหลือจึงได้ไปขอซื้อรถยนต์ของนายปัญญาโดยซื้อในราคาซึ่งสูงกว่าท้องตลาด แต่
ต่อมานายสติทราบว่านายปัญญามิได้ยากจนอย่างที่เข้าใจแต่มีฐานะร่ารวยเสียด้วยซ้า จึงรู้สึกโกรธ
ต้องการอยากได้เงินของตนคืน
นายสติจะบอก เลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมาย
มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสาคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
ความสาคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสาคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็น
สาระสาคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสาคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทาขึ้น

ข้อวินิจฉัย
การที่ ส. คิดว่า ท.ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกันกาลังตกทุกข์ได้ยาก และอยากจะช่วยเหลือจึง
ติดต่อขอซื้อรถยนต์ของ ส.ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดนั้น แต่ต่อมาทราบว่า ท.มิได้เป็นคนยากจน
ตามที่เข้าใจ จึงเป็นการที่ ส.สาคัญผิดในคุณสมบัติของ ท. อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติดังกล่าว มิได้เป็น
คุณสมบัติที่ปกติถือเป็นสาระสาคัญ (เช่นสาคัญผิดคิดว่าเป็นผู้ค้ารถยนต์ แต่ไม่ได้เป็น)

สรุป ดังนั้น สัญญาซื้อขายรถยนต์จึงไม่ตกเป็นโมฆียะ ส. จึงเรียกเงินคืนไม่ได้


11

นาย เอ เขียนจดหมาย เสนอขายรถยนต์ให้นาย บี เมื่อ


วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ราคา 500000 บาท โดยบอกว่าถ้านาย บี ตกลงซื้อให้ส่งคาตอบภายใน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2547 นายบี ส่งจดหมายถึงนายเอ ว่าต้องการซื้อรถ
และส่งเงินชาระค่ารถยนต์มาบางส่วนเป็นจานวนเงิน 20000 บาท นาย ซี ซึ่งไม่พอใจนาย เอ อยู่จึง
เอาระเบิดไปโยนใส่รถยนต์คันดังกล่าวเสียหายทั้งคัน นายเอ ทวงเงินค่ารถยนต์ ที่เหลือ
อีก 480000 บาทจากนายบีโดยบอกว่า สัญญาซื้อขายสมบูรณ์แล้วนายบีต้องชาระราคาทั้งหมด
จงวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อขายรถยนต์สมบูรณ์หรือไม่ เพราะเหตุใด และนายบีต้องชาระเงินที่เหลือ
หรือไม่เพราะเหตุใด
หลักกฎหมาย
มาตรา 357 คาเสนอใดเขาบอกปัดไปยังผู้เสนอแล้วก็ดี หรือมิได้สนองรับภายในเวลากาหนดดังกล่าว
มาในมาตราทั้งสามก่อนนี้ก็ดี คาเสนอนั้นท่านว่าเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป
มาตรา 359 ถ้าคาสนองมาถึงล่วงเวลา ท่านให้ถือว่าคาสนองนั้นกลายเป็นคาเสนอขึ้นใหม่คาสนอง
อันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจากัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยนั้น ท่านให้ถือว่าเป็นคาบอก
ปัดไม่รับ ทั้งเป็นคาเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว
มาตรา 361 อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลา
เมื่อคาบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ
ถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือตามปกติประเพณีไม่จาเป็นจะต้องมีคาบอกกล่าวสนองไซร้ ท่าน
ว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการ
แสดงเจตนาสนองรับ

วินิจฉัย
จากปัญหามีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ
1. สัญญาซื้อขายสมบูรณ์หรือยัง
2. นายบีต้องชาระราคาที่เหลือหรือไม่
นาย เอ เขียนจดหมาย เสนอขายรถยนต์ให้นาย บี เมื่อ
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ราคา 500000 บาท โดยบอกว่าถ้านายบี ตกลงซื้อให้ส่งคาตอบภายใน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 แต่นายบีไม่ได้ตอบไปตามกาหนดเวลา
คาเสนอของนายเอจึงไม่ได้รับการแสดงเจตนาตอบรับจากนายบีในเวลาที่กาหนดคาเสนอนั้นท่านว่า
12

เป็นอันสิ้นความผูกพัน ส่วนการที่ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2547 นายบี ส่งจดหมายถึงนาย เอ ว่า


ต้องการซื้อรถและส่งเงินชาระค่ารถยนต์มาบางส่วนเป็นจานวนเงิน 20000 บาท จึงเป็นคาเสนอของ
นายบี ที่เสนอขอซื้อรถยนต์ของนายเอ ขึ้นใหม่และยังไม่มีผลผูกพันเนื่องจากยังมิได้รับคาสนองตอบ
จากนายเอแต่อย่างใด เมื่อคาเสนอของนายบียังมิได้มีคาสนองตอบ นั่นคือคาเสนอ และคาสนองยังไม่
ถูกต้องตรงกัน สัญญาจึงยังไม่เกิดขึน้ เมื่อนายซี ซึ่งไม่พอใจนาย เอ อยู่เอาระเบิดไปโยนใส่รถยนต์คัน
ดังกล่าวเสียหายทั้งคัน นายเอ จะมาทวงเงินค่ารถยนต์ ที่เหลืออีก 480000 บาทจากนายบีโดยบอก
ว่า สัญญาซื้อขายสมบูรณ์แล้วนายบี ต้องชาระราคาทั้งหมด นั้นจึงไม่ถูกต้อง ตามหลักกฎหมาย
ข้างต้น

สรุป
1. สัญญาซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ เพราะคาเสนอและคาสนองยังไม่ถูกต้องตรงกัน สัญญาจึงยังไม่เกิดขึ้น
2. นายบีไม่ต้องชาระราคารถยนต์ที่เหลือเพราะสัญญาซื้อขายยังไม่เกิด

โจทก์

แดง เป็นคนสติฟันเฟือน อายุ 17 ปี ได้ยกแหวนของตนให้เหลือง โดยเหลืองไม่ทราบว่าแดง


เป็นคนสติฟันเฟือน จึงซื้อไว้ในราคา 10,000 บาท ต่อมาอีก 1 ปี แดงได้หายเป็นปกติและได้หลงรัก
นางสาวฟูา ถึงขนาดทาพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของตนให้นางสาวฟูา ต่อมาพ่อเพิ่งจะทราบใน
ภายหลังถึงการซื้อขายแหวนและพินัยกรรมซึ่งแด งทาไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากตน ดังนี้

1. นิติกรรมซื้อขายแหวนมีผลอย่างไรหรือไม่

2. พินัยกรรมมีผลอย่าไรหรือไม่
13

เฉลย

หลักกฎหมาย

ปพพ. มาตรา21 บัญญัติว่า อันผู้เยาว์จะทาพินัยกรรมใดต้องไดรับความยินยอมของผู้แทนโดย


ชอบ ธรรมก่อน บรรดาการใดๆ อันผู้เยาว์ได้ทาโดยปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นท่านว่าเป็นโม ฆียะ

แดงอายุ 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่จึงต้องอยู่ในความดูแลของบิดาซึ่งเป็นผู้แท นโดยชอบธรรม การที่


แดงได้ขายแหวนของตนให้เหลืองนั้นเป็นกระทานิติกรรมซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากบิดาผู้แทนโดยชอบ
ธรรม แต่แดงได้ทานิติกรรมดังกล่าวโดยปราศจากความยินยอมจากบิดา ดังนั้นการข ายแหวนจึงตกเป็น
โมฆียะ

ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะก็คือนิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพัน กันมาตามกฎหมายมาแต่เริ่มแรก
และยังคงสมบูรณ์อยู่ต่อไปจนกว่าจะถ ูกบอกล้างให้สิ้นผลหรือสมบูรณ์ตลอดไปเมื่อให้สัตยาบัน กล่าวคือถ้า
ไม่มีการบอกล้างโดยผู้มีสิทธิบอกล้างภายในระยะเวลาท ี่กฎหมายกาหนดหรือมีการให้สัตยาบันโดยที่มีสิทธิ
ให้สัตยาบันแล้ วสิทธิบอกล้างย่อมระงับไปจะบอกล้างอีกไม่ได้นิติกรรมนั้ นจะสมบู รณ์ตลอดไป แต่ถ้ามีการ
บอกล้างนิติกรรมที่สมบูรณ์นั้นจะตกเป็นโมฆะทันทีเมื ่อถูกบอกล้าง คู่กรณีต้องกลับสู่สถานเดิมเหมือนเช่น
ก่อนทานิติกรรมเสมือนว่าไ ม่เคยนิติกรรมการซื้อขายนั้นเกิดขึ้นเลย

ปพพ.มาตรา25 ผู้เยาว์อาจทาพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์

แดงอายุ 17 ปีแล้วและหายจากเป็นสติฟันเฟือนจึงสามารถทาพินัยกรรมได้โดยด้วย ตัวเองไม่


จาต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมคือบิดา ดังนั้นพินัยกรรมจึงมีผลสมบูรณ์

ดังนี้นิติกรรมซื้อขายแหวนมีผลเป็นโมฆียะเพราะแดงทาใบขณะเป็นผู ้เยาว์และมิได้รับความ
ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

3. พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์เพราะแดงอายุ
14

โจทก์

สองไปซื้อผ้าที่ร้านขายผ้าแห่งหนึ่ง ขายโฆษณาอวดว่าผ้าของตนรับรองไม่ยับไม่ย่นแล้วขยาผ้า
ให้ดูก็ปรา กฏว่าไม่ยับ สองจึงซื้อผ้าไหมเพราะเชื่อคาอวดอ้างนั้น และนามาตัดเสื้อใหม่ปรากฏว่าเมื่อ
นามารีดเตารีดมีความร้อนสูง ทาให้ผ้าย่นเสียหายสวมใส่ไม่ ได้จึงนาเสื้อผ้ามาให้ร้านขายผ้าดูว่าที่
ทางร้านอ้างว่าไม่ยับไ ม่ย่นนั้นไม่จริงแต่ก็ขอเงินคืนบ้างเป็นบางส่วน เพราะต้องเสียเงินซื้อแพงเกินไป
ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของสองอย่างไรหรือไม่

เฉลย

หลักกฎหมาย

ปพพ. มาตรา121 วรรคแรกบัญญัติว่า การแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลก็ดี เพราะขมขู่


ก็ดี ท่านว่าเป็นโมฆียะ

ปพพ. มาตรา122 บัญญัติว่า การอันจะเป็นโมฆียกรรมเพราะกลฉ้อฉลเช่นนั้น การอันนั้นก็


คงจะมิได้ทาขึ้นเลย

กลฉ้อฉลนั้นคือการหลอกลวงให้ผู้แสดงเจตนาเข้าใจผิดหรือลวงให้คู ่กรณีหลงเชื่อจึงแสดง
เจตนาเข้าทานิติกรรม

การแสดงเจตนาเข้านิติกรรมโดยถูกกลฉ้อฉลนั้นนิติกรรมนั้นมีผลเป็ นโมฆียะ ซึ่งต้องเป็นกลฉ้อ


ฉลถึงขนาด คือต้องเป็นเรื่องถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกกลฉ้อฉลนั้นเข้าทา นิติกรรมหรืออีกนัยหนึ่งพูด
ได้ว่าถ้าไม่มีกลแอฉลนี้แล้วจะไม่มี การแสดงเจตนาทานิติกรรมนั้นเลย

กรณีนี้คนขาย โฆษณายืนยันคุณภาพของสินค้าว่าผ้าไม่ยั บไม่ย่น ซึ่งถ้าการยืนยันความจริง


แล้วปรากฏว่าไม่เป็นความจริงตามโฆษณาก ็เป็นกลฉ้อฉล เพราะมีเจตนาหลอกให้สองหลงเชื่อจึงทา
นิติกรรมซื้อผ้า แต่กรณีนี้ปรากฏว่าคนขายยืนยันรับรองเรื่องคุณภาพของผ้านั้นเป็ นความจริงว่าไม่
15

ยับไม่ย่นจึงไมเป็นกลฉ้อฉลเพราะการที่ผ้ายับย่น นั้นเป็นความผิดของสองเอง ดังนั้นนิติกรรมจึง


สมบูรณ์ สองไม่สามารถเรียกค่าเสียหายใดๆจากผู้ขาย

โจทก์

ส. ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์วันที่ 1 มกราคม พ .ศ. 2534 ว่าหากใครประดิษฐ์โปรแกรม


คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษจะให้รางวัล 4 แสนบาท เวลา
ล่วงเลยไป 5 ปีแล้ว ฉลาด ได้ประดิษฐ์โปรแกรมดังกล่าวได้โดยไม่เคยทราบว่า ส . ประกาศให้รางวัล
แต่มาทราบจากเพื่อนของตนในภายหลังเมื่อประดิษฐ์ได้ ดังนั้นฉลาดจึงนาสิ่งประดิษฐ์ของตนมา
ขอรับรางวัลจาก ส. ส.อ้างว่าเลยกาหนดอายุความแล้ว และฉลาดเองก็ไม่เคยมาแจ้งให้ ส. ทราบว่า
จะอาสาประดิษฐ์สัญญาจึงไม่เกิดและปฏิเสธไม่จ่ายเงินรางว ัล ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้อกล่าวอ้างของ
ส. อย่างไรหรือไม่

เฉลย

หลักกฎหมาย ตาม ปพพ.

มาตรา 362 บัญญัติว่า บุคคลออกโฆษณาให้คามั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทาการอัน


ใดท ่านว่าจาต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดๆผู้ได้กระการอันนั้น แม้มิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทาเพราะเห็นแก่
รางวัล

มาตรา 363 วรรคแรกในกรณีที่กล่าวมาในมาตราก่อนนี้ เมื่อยังไมมีใครทาสาเร็จดังที่


ตั้งไว้นั้นอยู่ตราบใด ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นของตนเสียเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณาน ั้นก็ได้ เว้นแต่
จะได้แสดงไว้ในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน

กรณีนี้เป็นเรื่องคามั่นโฆษณาจะให้รางวัลคามั่นมีลักษณะเป็นการ แสดงเจตนาเป็นนิติ
กรรมฝุายเดียวผูกพันผู้ให้คามั่นโดยไม่ต้องมี การแสดงเจตนาสนองตอบแต่อย่างใด
16

กรณีนี้เป็นเรื่องผู้ให้คามั่นมุ่งถึงความสาเร็จของการกระทาซึ่ งตนได้โฆษณาไว้ ดังนั้นแม้


ผู้ทาสาเร็จกระทาโดยมาเห็นแก่รางวัลผู้โฆษณาก็ต้องให ้รางวัล ผู้ให้คามั่นจะถอนคามั่นเสียได้ถ้าถ้า
ยังไม่มีผู้ใดทาสาเร็จ แต่ถ้ายังไม่ถอนคามั่นแล้ว ผู้ให้คามั่นก็คงยังผูกพันอยู่

ตามข้อเท็จจริงเป็นเรื่องคามั่นจะให้รางวัลเมื่อมีบุคคลประดิษฐ ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม
ประกาศได้ ดังนั้น ส. ต้องผูกพันตามคามั่นที่ให้ไว้เมื่อมีบุคคลทาสาเร็จตามโฆษณาแล้ว ส. ต้องผูกพัน
ที่จะต้องให้รางวัลแก่ฉลาดซึ่งประดิษฐ์ได้

ส. จะอ้างกาหนดอายุค วามว่ามาปฏิเสธไม่จ่ายรางวัลไม่ได้ เพราะ ส . ยังไม่ได้ถอนคามั่นแต่


อย่างใด ส. จึงต้องผูกพันจ่ายรางวัลแม้ว่าฉลาดจะไม่ทราบมาก่อนว่าการประดิษ ฐ์นั้นจะมีรางวัล

ดังนั้น ส. ปฏิเสธไม่จ่ายเงินรางวัลไม่ได้

โจทก์

ก ออกประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง ว่า หากผู้ใดสามารถคิดยารักษาโรคเอดส์


สาเร็จจะให้รางวัลหนึ่งล้านบา ท ก และ ข ได้อ่านพบข้อความในหนังสือพิมพ์ ข จึงไปพบ ก แสดง
ความจานงว่าตนกาลังค้นคว้าอยู่เกือบสาเร็จแล้วตอนนี้อยู่ใน ขั้นตอนทดสอบผล แต่ ค นั้นได้ทาการ
ทดลองอยู่นานแล้ว ปรากฏว่าเมื่อ ก ขาดทุน จึ งได้ลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ มสธ . ถอน
ประกาศโฆษณาดังกล่าว เพราหนังสือพิมพ์ เขียว- ทอง ปิดกิจการ อีก 2 เดือนต่อมาหลังจาก ก
ประกาศถอนโฆษณาแล้ว ค ได้มาพบ ก ขอรับรางวัลตามประกาศ ก อ้างว่าตนได้ถอนการให้รางวัล
แล้ว แต่ปรากฏว่า ค ไม่ทราบถึงการถอนนั้นเพราะไม่เคยอ่ านหนังสือพิมพ์ มสธ . และ ก ยังอ้างอีก
ด้วยว่า ถึงอย่างไรก็ตาม ค ก็ไม่มีสิทธิได้รางวัลอยู่ดีเพราะ ข เป็นคนมาติดต่อแจ้งให้ ก ทราบถึง
การค้าคว้าก่อน ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก หรือไม่ เพราะเหตุใด
17

เฉลย

ในเรื่องนี้เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องคามั่นจะให้รางวั ลในกรณีที่มีผู้กระทาการอย่าง
หนึ่งอย่างใดสาเร็จและการถอนคามั่ นนั้นว่าจะมีผลอย่างไร

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ ปพพ . ม.36 บัญญัติว่า “บุคคลใดออโฆษณาให้คาม่นว่าจะให้


รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทาการอันใด ทานว่า จะให้รางวัลแก่บุคคลใดๆผู้ได้กระทาการอันนั้นแม้ถึงมิใช่ผู้นั้
นจะได้กระทาเพราะเห็นแก่รางวัล”

ปพพ.ม. 363 บัญญัติว่า “ เมื่อยังไม่มีใครทาการสาเร็จดังที่บ่งไว้นั้นอยู่ตราบใดผู้ให้ค ำมั่นจะ


ถอนคาสั่งของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน

ถ้าคามั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดังกล่าวมาก่อนจะถอนโดยวิธีอื่ นก็ได้แต่ถ้าการถอนเช่นนั้น
จะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะต่ อบุคคลทีรู้”

คามั่นในกรณีนี้เป็นนิติกรรมฝุายเดียวเป็นการแสดงเจตนาของผู้ให ้คามั่นที่จ ะผูกพันตนเองใน


การที่จะให้รางวัลตามประกาศโฆษณาซึ่ง ได้กระทาแก่บุคคลทั่วไปโดยผู้ให้คามั่นนั้นมุ่งประสงค์
ต้องการใ ห้เกิดผลสาเร็จของการกระทาอันใดอันหนึ่งตามประกาศโฆษณาจึงไม่จา เป็นจะต้องมีการ
แสดงเจตนาสนองตอบดังเช่นในกรณีเรื่องสัญญา แต่ผลผูกพันนี้ไปตามกฎหมายซึ่ งผู้ให้คามั่นต้อง
ให้รางวัลแม้ถือ ว่าผู้กระทาจะได้ทาโดยไม่เห็นแก่รางวัลก็ตาม

จากข้อเท็จจริงจึงเห็นได้ว่า ก ได้ให้คามั่นโดยประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เขียว- ทอง จะ


ให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถคิดยารักษาโรคเอดส์ได้ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า ก ผูกพันตัวต่อบุคคลทั่ วไปที่
จะต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดก็ได้ซึ่ง กระทาการนี้สาเร็จ แม้ว่า ข จะมาแจ้งให้ ก ทราบว่าตนกาลัง
ค้นคว้าอยู่ก็ตามแต่เมื่อยังไม่มีผลสาเร็จของงาน ตามประกาศก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับรางวัลแต่อย่างได
(มาตรา 362)
18

ในขณะซึ่งงานยังไม่เสร็จแม้ว่าผู้ให้คามันคื อ ก สามารถจะถอนคามั่นนั้นเสียได้ก็ตาม แต่การ


ถอนคามั่นนั้นต้องกระทาโดยวิธีเดียวกันวิธีที่โฆษณานั้นต ้องกระทาโดยวิธีเดียวกันวิธีที่โฆษณานั้น
ต้องหมายถึงถอนโดยวิธี เดียวอย่างแท้จริง หากถอนด้วยวิธีเดิมไม่ได้ จะมีผลสมบูรณ์ใช้ได้แต่เฉพาะผู้
ที่ได้รู้ถึงประกาศถอนเท่านั้นเ มื่อ ก ถอนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ มสธ. ซึ่งมิใช่หนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง
ซึ่งได้เคยลงประกาศไว้เดิมโดย ค ไม่ทราบถึงการถอนนั้น ดังนี้ ก ยังต้องผูกพันที่ต้องจ่ายรางวัลตาม
ประกาศ

ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก เพราะ ค ไม่ทราบการถอนประกาศ แม้ ข จะมา ติดต่อ ก


ให้ทราบถึงการค้นคว้าของตนก่อนก็ได้ไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย

โจทย์

นายหล่อหมั้นนางสาวสวยด้วยแหวนทองหนึ่งวงราคา 3,000 บาท หลังจากหมั้นกันแล้ว ได้


ทาพิธีแต่งงานกันตามประเพณีโดยนายหล่อสัญญาว่าจะไปจดทะเบียน สมรสกับนางสาวสวย
ภายใน 1 เดือน หลังแต่งงานถ้าในการจัดงานแต่งงานนางสาวสวยได้เสียค่าใช้จ่ายใน พิธีแต่งงานอัน
ได้แก่ค่าอาหารเลี้ยงพระและแขกในวันแต่งงาน 60,000 บาท หลังจากแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภริยา
กันแล้วประมาณหนึ่งเดือน นางสาวสวยก็ได้ลาออกจากงานที่นางสาวทาอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง เพื่อมา
ช่วยงานบ้านนายหล่อซึ่งเป็นร้านชายของชา และขอให้นายหล่อไปจดทะเบียนสมรสตามสัญญานาย
หล่อไม่ยอมไปจดทะเบี ยนแต่กลับไล่นางสาวสวยให้กลับไปอยู่บ้านบิดาของนางสาวสวย ดังนี้

ก. นางสาวสวยจะฟูองศาลขอบังคับให้นายหล่อจดทะเบียนสมรสกับตนได้หรื อไม่

ข. ถ้านายหล่อขอของหมั้นคือแหวนหนึ่งวงคืน นางสาวสวยจะต้องคืนให้หรือไม่

ค. นางสาวสวยมีสิทธิเรียกค่าทดแทนการที่นายหล่อไม่ยอมจดทะเบียนสมร สได้เพียงใด
หรือไม่
19

เฉลย

หลักกฎหมาย

“การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้...” (มาตรา 1438 )

“เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝุายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝุายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่ าทดแทน ใน


กรณีที่มีของหมั้นถ้าฝุายชายผิดสัญญาหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝุายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของ
หมั้นแก่ฝุายชาย” (มาตรา 1439)

“ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้

(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแก่ชายหรือหญิงนั้น

(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทาการในฐานะ


เช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเ ป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและ
ตามสมควร

(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรื อการอื่นอันเกี่ยวกับ


อาชีพหรือทางทามาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วย การคาดหมายว่าจะได้มีกาสมรส

ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ศาลอาจจะชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิง
นั้นเป็นค่าทดแ ทนทั้งหมดหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงถึงของหมั้นที ่ตกเป็นสิทธิแก่
หญิงนั้นก็ได้”(มารตรา 1440 )

จากอุทาหรณ์

(ก) สัญญาหมั้นมีลักษณะพิเศษแตกต่างนากสัญญาอื่นๆในแง่ที่ว่า ไม่สาม ารถฟูองร้องให้


ปฏิบัติตามสัญญาโดยขอให้ศาลบังคับให้คู่หมั้นฝุา ยหนึ่งทาการสมรสเป็นเรื่องที่ชายและหญิงต้อง
ยินยอมพร้อมใจกันกร ะทาด้วยความสมัครใจและโดยเสรีที่สุด สภาพแห่งสัญญาไม่เปิดช่องให้มีการ
20

บังคับกันได้เหมือนเช่นสัญญาอ ื่นๆ แม้ชายหญิงจะมาอยู่กินเป็นส ามีภริยากันเป็นเวลานานเท่าใดก็


ตามจ ะมาฟูองต่อศาลขอให้บังคับให้ไปจดทะเบียนสมรสกันไม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 1438
ดังนั้น นางสาวสวยจะฟูองบังคับให้นายหล่อจดทะเบียนสมรสกับตนไม่ได้ (คาพิ พากษาฎีกาที่
137/2481)

(ข) การที่นายหล่อสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกับน างสาวสวยภายใน 1 เดือนหลัง


ภายในพิธีแต่งงานตามประเพณีนั้นเป็นการตกลงว่านายหล่อ จะทาการสมรสกับนางสาวสวยตามวัน
เวลาที่กาหนดไว้แต่เมื่อถึงกาหนด ตามที่สัญญาไว้นางสาวสวยขอให้ไปจดทะเบียนสมรส นายหล่อ
ปฏิเสธ ถือว่านายหล่อผิดสัญญาหมั้น ในกรณีนี้แหวนทองหนึ่งวงซึ่งเป็นขอ งหมั้นจึงตกเป็นสิทธิแก่
นางส าวสวยตาม ปพพ. 1439 นางสาวสวยจึงไม่ต้องคืนแหวนทองให้แก่นายหล่อ

(ก) เมื่อนายหล่อเป็นฝุายผิดสัญญาหมั้น นางสาวสวยย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ดังนี้

1. การที่นางสาวสวยทาพิธีแต่งงานและได้อยู่กินฉันสามีภริยากับนายห ล่อที่บ้านของนาย

หล่อเป็นเวลาถึงเดือนเศษแล้วผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสและข ับไล่นางสาวสวยให้กลับไป
อยู่บ้านบิดา นั้นย่อมให้นางสาวสวยต้องได้รับความอับอายร่างกาย นางสาวสวยจึงมีสิทธิเรียกร้องค่า
ทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อ เสียงของตนได้ตาม ปพพ. มาตรา1440(1) (คาพิพากษาฎีกาที่
982/2518)

1. การที่นางสาวสวยได้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่งงานตามรายการต ่างๆนั้น จะต้อง

พิจารณาว่ารายการใดบ้างที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสโดย สุจริตและตามสมควร ซึ่ง


ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการที่จะเรียกค่าทดแทนจากกันได้ตามมา ตรา 1440(2) ต้องเป็นค่าใช้จ่ายอัน
จาเป็นที่ชายหรือหญิงกระทาเพื่อเตรียมการ ที่ชายหรือหญิงจะอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภริยาโดยตรง
ตามปัญหาค่าอาหารเลี้ยงพระและแขกในวันแต่งงานไม่ใช่ค่าใช้จ่ายใ นการเตรียมการสมรสเพราะ
การที่ชายหญิงจะอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภ ริยาไม่จาเป็นต้องใช้จ่ายกร ณีเหล่านี้การเลี้ยงดูกันเป็น
21

เพียงป ระเพณีนิยมเท่านั้น แม้ไม่ทาชายหญิงก็คงอยู่กินเป็นสามีภริยากันได้นางสาวสวยจึงเรี ยกค่า


ใช่จ่ายต่างๆรวม 60,000 บาท ไม่ได้ (คาพิพากษาฎีกาที่ 2086/2518)

2. ก่อนที่นางสาวสวยจะรับหมั้นนางหล่อ นางสาวสวยทางานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่

หลังจากแต่งงานกับนายหล่อแล้วประมาณ 1 เดือนเศษ นางสาวสวยได้ลาออกมาเพื่อช่วยงานบ้าน


นายหล่อซึ่งเป็นร้านขายของ ชา เป็นกรณีที่นางสาวสวยได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการ
คา ดหมายว่าจะได้มีการสมรส แต่นายหล่อไม่ยอมจดทะเบียนสมรส เช่นนี้ นางสาวสวยย่อม มีสิทธิ
เรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ได้จาม ปพพ . มาตรา 1440 (3)ฉ (คาพิพากษาฎีกาที่
3366/2526)

โจทก์

นางสุมาลีลักลอบได้เสียกับนายสมพรจนเกิดบุตรชายคือเด็กชายกริช ต่อมานางสุมาลีถึงแก่
ความตาย นายสมพรละทิ้งไม่ดูแลบุตร นางแจ่มผู้เป็นยายจึงนาเด็กชายกริชมาอุปการะเลี้ยงดูและให้
การศ ึกษา หลังจากนางสุมาลีตายไปแล้ว***ปี นายสมพรไปจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเด็กชายกริช
เป็นบุตรโดยขอบด้ว ยกฎหมายและนาไปเลี้ยงดูเอง นางแจ่มไม่พอใจจึงฟูองคดีต่อศาล อ้างว่านายสม
พรประพฤตินั้นไม่เหมาะสมชอบดื่ มสุรา ขอให้ศาลเพิกถอนการรับรองบุตร นายสมพรให้การปฏิเสธ
ว่านางแจ่มไมมีสิทธิแต่อย่างใดที่จะนาคดีมา ฟูองทั้งเด็กก็เป็นบุตรของนายสมพรเช่นนี้ถ้าท่านเป็น
ศาลจะพิพาก ษาให้เพิกถอนการรับรองบุตรหรือไม่ เพราะเหตุใด

เฉลย

“ ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้ศาลถอนการจดทะเบียนรั บเด็กเป็นบุตรเพรา ะเหตุว่าการขอจด


ทะเบียนนั้นมิใช่บิดาก็ได้แต่ต้องฟูองภายในสามเ ดือนนับแต่วันที่รู้การจดทะเบียนนั้น อนึ่ง ห้ามมิให้
ฟูองเมื่อพ้น**ปีนับแต่วันที่จดทะเบียน” (มาตรา 1554)
22

คาว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย ” หมายถึง ที่จะมีส่วนได้หรือส่วนเสียในประโยชน์อันเ กี่ยวกับสิทธิใน


ครอบค รัวหรือมรดก

“เหตุที่จะอ้างในการฟูอง” การฟูองขอให้ถอนการจดทะเบียนการรับเด็กเป็นบุตรนี้กฎหมายได้
จาก ัดไว้ว่าผู้ฟูองจะอ้างได้เพียงเหตุเดียวเท่านั้น คือ ผู้ขอให้จดทะเบียนนั้นไม่ใช่บิดาของเด็กเท่านั้น
จะอ้าง*** เช่น เรื่องความประพฤติ ชื่อเสียง หรือฐานะความเป็นอยู่ของผู้ขอจด ฯลฯ มาเป็นเหตุให้
ศาลถอนการจดทะเบียนไม่ได้

ตามอุทาหรณ์ นางแจ่มเป็นยายของเด็กชายกริช ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียนั้นเป็นประโยชน์อัน


เกี่ยวกับสิทธิในครอบ ครัวหรือมรดกของเด็ก จึงชอบที่จะฟูองนายสมพรได้ แต่การฟูองขอให้ถอนการ
จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรนั้นตามหลักกฎหม ายดังกล่าวข้างต้นจากัดไว้ว่า ผู้ฟูองขอให้ถอนการจด
ทะเบียนจะอ้างได้เพียงเหตุเดียวเท่านั้นคื อ “ผู้ขอให้จดทะเบียนนั้นไม่ใช่บิดาของเด็ก ” จะอ้างเหตุ
อื่นๆฯลฯเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนไม่ได้ข้อเ ท็จจริงได้ความแจ้งชัดว่ า นายสมพรเป็น
บิดาที่แท้จริงของเด็กชายกริช การที่นางแจ่มอ้างว่านายสมพรประพฤติตนไม่เหมาะสมชอบดื่มสุราไม่
ใช่เหตุตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1554 ดังกล่าว ศาลชอบที่จะยกฟูองไม่อนุญาตให้เ พิก
ถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (คาพิพากษาฎีกาที่ 729/2491)

(เป็นเพียงแนวการตอบอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด)

You might also like