You are on page 1of 9

การคำนวณน้ำหนักบรรทุกลงเสาเข็ม

กรณีเสาเข็มเยื้องศูนย์ (ไม่สมมาตร)

ดร.ธเนศ วีระศิริ
กรณีติดตั้งเสาเข็มแล้วปรากฏว่าเสาเข็มแต่ละต้นเยื้องจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ สามารถ
คำนวณหาน้ำหนักบรรทุกลงเสาเข็มแต่ละต้นตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. ตรวจวัดระยะเยื้องตำแหน่งจากเดิมในทิศทาง X และทิศทาง Y

ดังตัวอย่างในรูปที่ 1. เป็นฐานรากเสาเข็มกลุ่มจำนวน 12 ต้น มีน้ำหนักบรรทุกกดลงจาก


เสา(ตำแหน่ง แกน x และแกน y ตัดกัน) 840 ตัน หากเสาเข็มไม่เยื้องตำแหน่งโดยสามารถติดตั้ง
เสาเข็มได้ตามแบบที่กำหนด (ตามวงกลมเส้นประ) และฐานราก Rigid เพียงพอ เสาเข็มแต่ละต้น
จะรับน้ำหนักเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 70 ตัน (ได้จาก 840/12)

การติดตั้งเสาเข็มจริงในทางปฏิบัติ เป็นไปได้ยากที่จะไม่เกิดการเยื้องตำแหน่งของเสาเข็ม
สมมุติว่าเสาเข็มทั้ง 12 ต้นเมื่อติดตั้งแล้วเยื้องตำแหน่งดังรูปที่ 1

เมื่อพบว่าเสาเข็มเยื้องตำแหน่งขั้นตอนแรกที่ต้องทำคือ ตรวจวัดระยะเยื้องของเสาเข็มจาก
ตำแหน่งที่กำหนดเดิม ในทิศทาง x และ y และบันทึกลงแบบแปลนฐานราก

ดังรูปที่ 1 (เสาเข็มหลังติดตั้งจริงแสดงเป็นวงกลมระบายทึบ)

รูปที่ 1. แสดงเสาเข็มเยื้องตำแหน่ง และระยะเยื้องตำแหน่งที่ตรวจวัดได้


2. คำนวณหา Centroid ของกลุ่มเสาเข็มใหม่
ตำแหน่ง Centroid ของกลุ่มเสาเข็มเดิมคือตำแหน่งที่ เส้นประแกน x และแกน y ตัด
กันในรูปที่ 1
เมื่อเสาเข็มแต่ละต้นเยื้องตำแหน่งไปแล้ว Centroid ของกลุ่มเสาเข็มจะเปลี่ยนไป จึง
ต้องหาตำแหน่ง Centroid ของกลุ่มเสาเข็มใหม่
หลักการหาตำแหน่ง Centroid ของกลุ่มเสาเข็มใหม่ทำได้ ดังนี้
- เริ่มต้นจากกำหนดเส้นฐานอ้างอิง A – A เพื่อหาตำแหน่งศูนย์กลางกลุ่ม เสาเข็มว่า
ห่างจากเส้น A – A ในทิศทาง y เท่าใด ซึ่งใช้หลักการคำนวณตำแหน่งแรงลัพธ์

∑ 𝑌𝑖𝑁𝑖
𝑌= ∑ 𝑁𝑖
------------- (1)

- กำหนดเส้นอ้างอิง B-B เพื่อหาตำแหน่งศูนย์กลางกลุ่มเสาเข็ม ว่าห่างจากเส้น B – B


ในทิศทาง x เท่าใด คำนวณได้จาก

∑ 𝑋𝑖𝑁𝑖
𝑋= ∑ 𝑁𝑖
-------------- (2)

โดย 𝑌𝑖 = ตำแหน่งเสาเข็มแต่ละต้นวัดระยะจากเส้น A – A ในทิศทาง y


𝑋𝑖 = ตำแหน่งเสาเข็มแต่ละต้นวัดระยะจากเส้น B – B ในทิศทาง x
𝑁𝑖 = คิดเป็นพื้นที่หน้าตัดของเสาเข็มแต่ละต้น ซึ่งในที่นี้แต่ละต้นมีขนาดเท่ากัน
จึงสมมุติให้มีค่าเป็น 1

เส้นอ้ างอิ ง A – A และ B – B เพื่อ หา Centroid ของกลุ่ม เสาเข็ม แสดงในรูป ที่ 2 และ
ตารางที่ 1 แสดงระยะห่างของเสาเข็มจากเส้นอ้างอิงในทิศทาง x และ y
รูปที่ 2. แสดงเส้นอ้างอิงเพื่อใช้หาตำแหน่ง Centroid ของกลุ่มเสาเข็ม

ตารางที่ 1. ระยะห่างเสาเข็มแต่ละต้นจากเส้นอ้างอิง

Pile No. ตำแหน่งเสาเข็มจาก B – B ตำแหน่งเสาเข็มจาก A – A


ทิศทาง x (เมตร) ทิศทาง y (เมตร)
1 0.1 2.75
2 1.28 3.12
3 3.25 2.85
4 4.5 2.88
5 0.11 1.5
6 1.7 1.3
7 3.15 1.34
8 4.64 1.3
9 0 0.14
10 1.7 -0.15
11 3.2 -0.22
12 4.62 -0.2
∑ 28.25 16.61
แทนค่าในสมการที่ 2 จะได้ 𝑋 = 2.35 เมตร

แทนค่าในสมการที่ 1 จะได้ 𝑌 = 1.38 เมตร

สรุปได้ว่า

- ตำแหน่ง Centroid ใหม่ของกลุ่มเสาเข็ม อยู่ห่างจากเส้นอ้างอิง B – B ในทิศทาง


x เท่ากับ 2.35 เมตร และห่างจาก Centroid เดิม เท่ากับ 0.10 เมตร (ไปทางขวา
ของ Centroid เดิม ดังแสดงในรูปที่ 3)
- ตำแหน่ง Centroid ใหม่ของกลุ่มเสาเข็ม อยู่ห่างจากเส้นอ้างอิง A – A ในทิศทาง
y เท่ากับ 1.38 เมตร และห่างจาก Centroid เดิม เท่ากับ 0.12 เมตร (อยู่ต่ำลง
ด้านล่างของ Centroid เดิม ดังแสดงในรูปที่ 3)

เพื่อ ความสะดวกและเห็น ภาพชั ดเจนขึ้นในการคำนวณหาน้ ำหนั กบรรทุ กลงเสาเข็ มใน


ขั้นตอนถัดไป ควรลากเส้นแกน x และ y ให้ผ่านจุด Centroid ใหม่ ดังรูปที่ 3 คือเส้นสีฟ้า x′ – x′
และ y′ – y′

รูปที่ 3. ตำแหน่ง Centroid ของกลุ่มเสาเข็มใหม่จากการเยื้องตำแหน่งของเสาเข็ม


3. ใช้สมการดังต่อไปนี้คำนวณหาน้ำหนักบรรทุกลงเสาเข็มแต่ละต้น (Bakhoum, 1992)

𝑄 𝑀𝑦𝐼𝑥−𝑀𝑥 𝐼𝑥𝑦 𝑀𝑥𝐼𝑦 −𝑀𝑦 𝐼𝑥𝑦


𝑃 =𝑁+ 𝑥𝑖 + 𝑌𝑖
𝐼𝑥𝐼𝑦−𝐼2𝑥𝑦 𝐼𝑥𝐼𝑦−𝐼2𝑥𝑦
---------- (3)

โดย 𝑃 = น้ำหนักลงเสาเข็มแต่ละต้น

𝑄 = น้ำหนักทั้งหมดที่ลงฐานราก ในที่นี้คือ 840 ตัน

𝑁 = จำนวนเสาเข็มในฐานราก

𝑀𝑦 = โมเมนต์รอบแกน y′ – y′ จากน้ำหนักที่ลงฐานราก

= 840 x 0.10

= 84 ตัน – เมตร

𝑀𝑥 = โมเมนต์รอบแกน x′ – x′ จากน้ำหนักที่ลงฐานราก

= 840 x 0.12

= 100.8 ตัน – เมตร

𝐼𝑥 = ∑ 𝑦𝑖2

𝐼𝑦 = ∑ 𝑥𝑖2

𝐼𝑥𝑦 = ∑ 𝑥𝑖 𝑦𝑖
ในหัวข้อที่ 3 นี้ ขอแบ่งเป็นหัวข้อย่อยเพื่อให้เข้าใจลำดับการคำนวณ ดังนี้

3.1 จัดทำตารางคำนวณ 𝐼𝑥 , 𝐼𝑦 และ 𝐼𝑥𝑦 ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงระยะเสาเข็มแต่ละต้นจาก Centroid ใหม่ (ทิศทาง X และ Y) และหาค่า 𝐼𝑥 , 𝐼𝑦 และ 𝐼𝑥𝑦


Pile No. ระยะเสาเข็ม ระยะเสาเข็ม
แต่ละต้นจาก แต่ละต้นจาก
Centroid ใหม่ Centroid ใหม่ 𝒙 𝒊 ∗ 𝒙𝒊 𝒚𝒊 ∗ 𝒚 𝒊 𝒙𝒊 ∗ 𝒚 𝒊
ทิศทาง x ทิศทาง y
𝒙𝒊 (เมตร) 𝒚𝒊 (เมตร)
1 -2.25 1.37 5.08 1.87 -3.08
2 -1.07 1.74 1.15 3.01 -1.86
3 0.90 1.47 0.80 2.15 1.31
4 2.15 1.50 4.60 2.24 3.21
5 -2.24 0.12 5.04 0.01 -0.26
6 -0.65 -0.08 0.43 0.01 0.06
7 0.80 -0.04 0.63 0.00 -0.04
8 2.29 -0.08 5.23 0.01 -0.19
9 -2.35 -1.24 5.54 1.55 2.93
10 -0.65 -1.53 0.43 2.35 1.00
11 0.85 -1.60 0.72 2.57 -1.36
12 2.27 -1.58 5.13 2.51 -3.59
∑ 34.78 18.28 -1.87

นั่นคือ 𝐼𝑦 = 34.78, 𝐼𝑥 = 18.28 และ 𝐼𝑥𝑦 = -1.87


นำค่าที่ได้ไปแทนในสมการที่ 3 จะได้

840 (−84∗18.28) −(100.8∗(−1.87)) (100.8∗34.78) −(−84∗(−1.87))


𝑃= 12
+ 𝑥 +
(18.28∗34.78)−(−1.87∗(−1.87)) 𝑖 (18.28∗34.78)−(−1.87∗(−1.87)) 𝑖
𝑦

นั่นคือ

𝑃 = 70 − 2.24214𝑥𝑖 + 5.094116𝑦𝑖 ------------ (4)


หมายเหตุ : ค่าหลังจุดทศนิยมหลายตำแหน่งนั้น ยกมาจากผลคำนวณจาก EXCELดังนั้น
อาจมีความคลาดเคลื่อนของตัวเลขหลังจุดทศนิยม

3.2 คำนวณน้ำหนักลงเสาเข็มแต่ละต้นโดยแทนค่า 𝑥𝑖 และ 𝑦𝑖 ในสมการที่ (4) แสดง


ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 น้ำหนักบรรทุกลงเสาเข็มแต่ละต้น
Pile No. Load on piles (ตัน)
1 82.01
2 81.25
3 75.46
4 72.81
5 75.62
6 71.04
7 67.99
8 64.45
9 68.94
10 63.65
11 59.93
12 56.85
เมื่อได้ผลลัพธ์จากการคำนวณแล้วควรตรวจเช็คว่า เสาเข็มต้นที่รับ น้ำหนักมากที่สุดคือ
เสาเข็มต้นที่ อยู่ในทิศทางที่ 𝑀𝑥 และ 𝑀𝑦 หมุนไปในทิศทางนั้น ดังในตัวอย่างนี้เสาเข็มต้นที่
น้ำหนักบรรทุกลงมากที่สุดคือเสาเข็มหมายเลข 1

ทำนองเดียวกันเสาเข็มต้นที่รับน้ำหนักบรรทุกน้อยที่สุดคือเสาเข็มที่ทิศทาง 𝑀𝑥 และ 𝑀𝑦
หมุนไปในทิศทางตรงข้าม ซึ่งในที่นี้คือเสาเข็มหมายเลข 12

กรณีที่ตรวจเช็คแล้วพบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวมาแสดงว่าใส่เครื่องหมาย + หรือ – ให้


𝑀𝑥 และ 𝑀𝑦 ไม่ถูกต้อง ให้แก้ไขโดยปรับเปลี่ยนเครื่องหมายของ 𝑀𝑥 และ 𝑀𝑦

โดยหลักการแล้วใช้หลักกฎมือขวา (Right hand’s Rule) สำหรับในตัวอย่างนี้ แกน +x


ไปทางซ้าย และแกน +y ชี้ไปด้านบน (ของรูปแปลนเสาเข็ม) และแกน Z ชี้ลงด้านล่าง

อย่างไรก็ตามควรตรวจเช็คผลลัพ ธ์ทุ กครั้งตามวิธีที่ กล่ าวมา หวังเป็ น อย่ างยิ่ งว่าวิธีก าร


คำนวณน้ำหนักลงเสาเข็มเยื้องศูนย์ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านครับ

You might also like