You are on page 1of 22

วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 227

การประเมินความเสี่ยงในการดําเนินงานโครงการก่อสร้างภายใต้
การกํากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
RISK ASSESSMENT IN CONSTRUCTION PROJECT UNDER THE
CONTROL OF LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS IN PATHIO
DISTRICT IN CHUMPHON PROVINCE

เอกชัย ตรีทอง1 และ อภิชาต ประสิทธิสม


์ 2
1
นักศึกษา, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250, akkachai_civilnon@hotmail.com
2
อาจารย์ประจํา, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250,
apichart.w@outlook.com

Akkachai Treetong1 and Aprichart Prasittsom2


1
Student, Master of Engineering Program in Civil Engineering, Kasem Bundit University
1761 Pattanakarn Rd., Suanluang, Bangkok 10250 Thailand, akkachai_civilnon@hotmail.com
2
Lecturer, Master of Engineering Program in Civil Engineering, Kasem Bundit University
1761 Pattanakarn Rd., Suanluang, Bangkok 10250 Thailand, apichart.w@outlook.com

บทคัดย่อ
การวิจยั ครัง้ นี้มวี ตั ถุประสงค์เพือ่ ทําการประเมินความเสีย่ ง (Risk Assessment) ทัง้ ในแง่ของระดับ
โอกาสทีจ่ ะเกิด (Likelihood) และระดับผลกระทบ (Impact) ต่อการดําเนินงานโครงการก่อสร้างของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และเพื่อเสนอแนะแนวทางการควบคุม
ความเสีย่ งเหล่านัน้ ผ่านการดําเนินการวิจยั กลับกลุ่มตัวอย่างทีแ่ บ่งเป็ น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผูว้ ่าจ้าง
(ราชการ) จํานวน 20 คน และกลุ่มผูร้ บั จ้าง (ผูร้ บั เหมา) จํานวน 42 คน ด้วยการใช้เครื่องมือในการ
วิจยั ในรูปแบบของแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อนํ าผลทีไ่ ด้มาวิเคราะห์
ด้วยกระบวนการทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลีย่ และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน สําหรับ
นํ าไปใช้ต่อในการวิเคราะห์และจัดลําดับความเสี่ยงต่อไป ทัง้ นี้ผลการวิจยั แสดงให้เห็นว่า การ
ประเมินความเสี่ยงในการดําเนินงานโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้าน
งบประมาณ ผูร้ บั จ้างมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย และมีผลกระทบที่จะเกิดอยู่ใน

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


228 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

ระดับน้อย ส่วนด้านคุณภาพงานผูว้ า่ จ้างมีโอกาสและผลกระทบทีจ่ ะเกิดอยูใ่ นระดับน้อย และขณะที่


ด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน ผูว้ ่าจ้างมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงอยู่ในระดับน้ อยมากและมี
ผลกระทบที่จะเกิดอยู่ในระดับน้อย ส่วนผูร้ บั จ้างมีโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดความเสีย่ งอยู่ใน
ระดับน้ อย และแนวทางการควบคุ มความเสี่ยงในการดําเนิ น งานโครงการก่อ สร้างขององค์ก ร
ปกครองส่วนท้องถิน่ ควรมีการประชุมวางแผนงานก่อสร้างให้สามารถทํางานได้จริงก่อนดําเนินการ
ก่อสร้าง โดยมีการศึกษาและตรวจสอบแบบก่อสร้างและข้อกําหนดการเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบวัสดุ
ให้ถูกต้อง ตรวจสอบคุณสมบัตขิ องผูร้ บั เหมา ตรวจสอบเรื่องการขนส่งวัสดุท่ใี ช้ในการก่อสร้าง
รวมถึงประสานงานหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดําเนินการก่อสร้าง และควรมีการตรวจสอบสภาพ
ภูมอิ ากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา เพือ่ เตรียมระบบระบายนํ้าและป้ องกันนํ้าขังในพืน้ ทีก่ ่อสร้าง
คําสําคัญ: การประเมินความเสีย่ ง, โครงการก่อสร้าง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่

ABSTRACT
The objectives of this research were to assess the risk at the likelihood level and the impact
level affecting construction project implementation of Local Administrative Organizations in
Pathio District, Chumphon Province and to propose the guidelines for controlling these risks.
The 2 groups of research samples were 20 employers (government) and 42 employees
(contractor). The research tool was a 5-level rating scale questionnaire. The data were
analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and the analysis results
were then used for risk analysis and ranking. The research results revealed that the
assessment of risk in construction project implementation of Local Administrative
Organizations in the aspect of budget, the employees’ likelihood risk and impact risk were
at a low level, that in the aspect of work quality, employers’ likelihood risk and impact risk
were at a low level, and that in the aspect of implementation time period, both employers’
and employees’ likelihood risks and impact risks were at a low level. And, for the guidelines
for controlling the risk in construction project implementation of Local Administrative
Organizations there should be a construction planning meeting to be able to actually work
before construction by studying and examining construction plan and disbursement
requirements, checking the materials properly, checking the qualifications of the contractors,
inspecting transportation of materials used in construction, and coordinating agencies
concerned before proceeding construction. Additionally, climate change should be monitored

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 229
with the Department of Meteorology to prepare drainage and water protection systems in the
construction area.
KEYWORDS: risk assessment, construction project implementation, local administration

1. บทนํา
การจัดการงานในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ให้มปี ระสิทธิภาพนัน้ การ
ดําเนินงานให้แล้วเสร็จตามแบบรูปรายการทีก่ ําหนดและต้องแล้วเสร็จก่อนกําหนดเวลาในสัญญา
จ้าง หรืออย่างน้อยต้องแล้วเสร็จตามกําหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาระหว่างองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในฐานะที่เป็ น “ผูว้ ่าจ้าง” และผูร้ บั เหมาภาคเอกชน ในฐานะที่เป็ น “ผูร้ บั จ้าง” ทัง้ นี้กเ็ พื่อ
ผลประโยชน์ของทัง้ สองฝ่ าย กล่าวคือ นอกจากเป็ นการรักษาเสถียรภาพของหน่วยงานราชการ ใน
แง่ของการบริหารจัดการทีด่ แี ละผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ต่อประชาชนในระหว่างก่อสร้างแล้ว ยังเป็ นการ
ควบคุมต้นทุนของฝ่ ายเอกชนผูร้ บั จ้างด้วย เพือ่ ให้การบริหารจัดการงานก่อสร้างในเรือ่ งระยะเวลาที่
ใช้ในการดําเนินโครงการก่อสร้างนัน้ ๆ เป็ นไปตามกําหนดลดผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ กับสังคมส่วนรวม
จึงมีความจําเป็ นต้องมีการศึกษาความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิน่ ทัง้ ในมุมมองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และผูร้ บั เหมา [1]
จากอํานาจหน้าทีแ่ ละภารกิจโดยรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ คงจะกล่าวได้ว่าหน้าที่
หลักๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ คือ [2] การเป็ นผูป้ ระกอบการ การเป็ นผูส้ นับสนุ น และการ
เป็ น ผูก้ ํากับควบคุมดูแล โดยเกีย่ วข้องกับข้อระเบียบ กฎหมาย หนังสือสังการต่ ่ างๆ รวมถึงการมี
อํานาจในการบริหารการใช้งบประมาณรายได้จากการเก็บภาษีต่างๆ ภายในท้องถิน่ และรายได้
จากเงิน อุ ด หนุ น ที่ไ ด้ร ับ การสนั บ สนุ น จากส่ ว นกลาง (เช่ น กรมส่ ง เสริม การปกครองท้อ งถิ่น
กระทรวงมหาดไทย หรือแหล่งเงินได้จากการสนับสนุ นจากหน่วยงานอื่นๆ) อย่างไรก็ตามโครงการ
ก่อสร้างด้านโครงสร้างพืน้ ฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ มักจะมีอุปสรรคในการดําเนินงาน
อยู่เสมอเนื่องจากสาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ได้รบั ผลกระทบโดยตรงและทางอ้อมเนื่องจากสังคมเมือง
พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ไม่สามารถที่จะดําเนินการพัฒนาความ
จําเป็ นด้านโครงสร้างพืน้ ฐานได้ทนั ตามความต้องการของชุมชนเมืองหรือกําลังจะพัฒนาเป็ นเมือง
ปั จจัยเสีย่ งคือ กลุ่มของปั จจัยต่างๆ ที่อาจนํ าไปสู่เหตุการณ์ทท่ี ําให้เกิดปั ญหาในการดําเนิน
โครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ให้มปี ระสิทธิภาพลดตํ่าลงกว่าทีก่ ําหนดหรือทีค่ วร
จะเป็ น หัวข้อปั จจัยเสีย่ งสามารถแบ่งออกเป็ นหลายๆ กลุ่ม อาทิเช่น ปั จจัยเสีย่ งด้านงบประมาณ
ปั จจัยเสีย่ งด้านบุคลากร ปั จจัยเสีย่ งด้านข้อกําหนดและสัญญา ปั จจัยเสีย่ งด้านสภาพแวดล้อม หรือ
ปั จจัยเสีย่ งด้านธรรมาภิบาล [3] โดยปั จจัยเสีย่ งต่างๆ ข้างต้นนอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของ
ในแง่ลบต่อทุกฝ่ ายทีด่ าํ เนินโครงการร่วมกันทัง้ ในแง่ของงบประมาณ ระยะเวลาดําเนินงานก่อสร้าง

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


230 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

และคุณภาพแล้ว ยังทําให้ประชาชนในพื้นที่เสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ จากโครงการอีกด้วย


ดังนัน้ การทราบถึงปั จจัยเสีย่ งทีม่ ผี ลกระทบต่อการดําเนินโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิน่ จะทําให้ทุกฝ่ ายทีเ่ กีย่ งข้องทัง้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และผูร้ บั เหมา สามารถนําข้อมูล
ดังกล่าวไปพัฒนาแนวทางป้ องกันหรือลดการเกิดปั ญหาในการดําเนินงานโครงการก่อสร้างเพือ่ ให้
สามารถดําเนินงานได้แล้วเสร็จตามงบประมาณ ระยะเวลา รวมถึงคุณภาพของงาน ตามทีก่ าํ หนด
ปั จจุบนั อําเภอปะทิว เป็ นพื้นที่หนึ่งของจังหวัดชุมพรที่มคี วามสําคัญและมีการเติบโตทาง
เศรษฐกิจ และการท่องเทีย่ วจึงทําให้มกี ารพัฒนาให้มกี ารก่อสร้างสิง่ ก่อสร้างต่าง ๆ หลายประเภท
ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ท่ผี ่านมามากกว่า 100 ล้านบาท เมื่อมีการจัดสรรงบประมาณให้กบั องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิน่ ในเขตอําเภอปะทิวในส่วนของการก่อสร้างทีเ่ พิม่ มากขึน้ [4] ในการดําเนินงาน
โครงการต่าง ๆ มีทงั ้ โครงการที่พบปั ญหาและไม่พบปั ญหาในระหว่างดําเนินงานโครงการ ซึ่ง
โครงการทีด่ าํ เนินงานแล้วไม่พบปั ญหายกตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างถนนลาดยางผิวจราจรเคป
ซีลสายจัน ทร์เจริญ หมู่ท่ี 4 เป็ น จํานวนเงิน 1,215,000 บาท ตามสัญญาจ้าง กําหนดแล้วเสร็จ
ภายในวันที่ 26 ธันวาคม 2556 ผูร้ บั จ้างได้ดําเนินการตามโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จและส่งมอบ
งาน ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 อย่างไรก็ดีโ ครงการที่ดําเนิ นงานแล้วพบปั ญหาก็มอี ยู่ไ ม่น้ อ ย
ยกตัวอย่างเช่น 1) โครงการก่อสร้างถนนลาดยางผิวจราจรเคปซีล สายชัยรัตน์พฒ ั นา หมูท่ ่ี 5 เป็ น
จํานวนเงิน 800,000 บาท ตามสัญญาจ้างกําหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 คิดเป็ น
ระยะเวลาดําเนินการ จํานวน 45 วัน ผูร้ บั จ้างได้ดาํ เนินการไม่เป็ นไปตามระยะเวลาส่งมอบงาน จึง
ขอสงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจ้าง จํานวน 29 วัน อัตราวันละ 1,600 บาท คิดเป็ นเงินค่าปรับ
จํานวน 46,400 บาท 2) โครงการก่อสร้างรางระบายนํ้าคอนกรีตเสริมเหล็กข้างถนนสายคลองน้อย
หมู่ท่ี 5 เป็ นจํานวนเงิน 633,400 บาท ตามสัญญาจ้างกําหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 6 กรกฎาคม
2560 คิดเป็ นระยะเวลาดําเนินการ จํานวน 60 วัน ผูร้ บั จ้างได้ดาํ เนินการไม่เป็ นไปตามระยะเวลาส่ง
มอบงาน จึงขอสงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจ้าง จํานวน 46 วัน อัตราวันละ 1,267 บาท คิด
เป็ นเงินค่าปรับจํานวน 58,282 บาท ทัง้ นี้สาํ หรับโครงการทีไ่ ม่สามารถดําเนินงานตามระยะเวลาส่ง
มอบงานได้มกั พบปั ญหาทีเ่ กิดจากสภาพอากาศแปรปรวนในระหว่างการดําเนินงาน ปั ญหาวัสดุท่ี
ใช้ในการดําเนินงานขาดแคลน และปั ญหาแรงงานทีไ่ ม่เพียงพอ ซึง่ การทีโ่ ครงการเหล่านี้ประสบอยู่
ส่งผลให้ประชาชนในพืน้ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบตามมาอยูบ่ ่อยครัง้ ดังนัน้ การประเมินความเสีย่ งของการ
ดําเนินงานโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โครงการต่างๆ ภายในอําเภอปะทิว จึง
จําเป็ นอย่างมากสําหรับผูร้ บั เหมาก่อสร้าง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในเขตอําเภอปะทิว
เพื่อเป็ นการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการงานโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิน่ ต่างๆ ในอําเภอปะทิว ในฐานะผูศ้ กึ ษาวิจยั เป็ นผูร้ บั เหมาคนหนึ่งทีเ่ คยประสบพบเจอปั ญหา
ดังกล่าว จึงมีความปรารถนาที่จะเป็ นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้การดําเนินภารกิจตามอํานาจ
หน้าทีข่ ององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในอําเภอปะทิวให้บรรลุจุดมุง่ หมายตามทีต่ งั ้ ใจไว้

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 231
2. วัตถุประสงค์การวิ จยั
2.1 เพือ่ ระบุปัจจัยเสีย่ งทีม่ ผี ลต่อประสิทธิภาพในการดําเนินงานโครงการก่อสร้างขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิน่ ในอําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ทัง้ ในแง่ของผลกระทบด้านงบประมาณ (ผูร้ บั
จ้าง) ผลกระทบด้านคุณภาพงาน (ผูว้ ่าจ้าง) และผลกระทบด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน (ผูร้ บั
จ้าง และผูว้ า่ จ้าง)
2.2 เพื่อ ทํา การประเมินระดับ ผลกระทบ ระดับ โอกาสที่จ ะเกิด และระดับ ของความเสี่ยง
สําหรับปั จจัยเสีย่ งต่างๆ
2.3 เพือ่ เสนอแนะแนวทางการควบคุมปั จจัยเสีย่ งเบือ้ งต้น

3. แนวคิ ด ทฤษฎี เอกสารและงานวิ จยั ที่เกี่ยวข้อง


3.1 การศึกษาปัจจัยเสี่ยงในงานภาครัฐ
วิบูลย์ ศรีก้อม [5] ได้ศกึ ษาการศึกษากระบวนการจัดการความเสี่ยงของผู้รบั เหมาในงาน
ก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ของกรมทางหลวง 4 โครงการ ซึ่งมีภาพประกอบแบบการก่อสร้างเป็ น
ออกแบบ - ประมูล - ก่อสร้าง (Design - Bid - Build) สัญญาก่อสร้างสามารถปรับราคาค่างานได้
(ชดเชยค่า K) กําหนดค่างานเป็ นแบบราคาต่อหน่วย แต่งานก่อสร้างสะพานกําหนดค่างานราคาต่อ
หน่ วยเป็ นแบบราคาเหมารวมต่อความยาว (Lum-sum per meter) ซึ่งความเสีย่ งในงานก่อสร้าง
ส่วนใหญ่จะถูกถ่ายโอนผ่านเงื่อนไขของสัญญาให้ผูร้ บั เหมารับผิดชอบสรุปผลการศึกษาดังนี้ 1)
ปั จจัยความเสีย่ งทีม่ ผี ลกระทบต่อผูร้ บั เหมาในการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จัดกลุ่มภาพประกอบ
แบบความเสีย่ งออกเป็ น 9 ภาพประกอบแบบดังนี้ เหตุภายนอกควบคุมหรือคาดการณ์ไม่ได้การ
ออกแบบและรายละเอียดประกอบแบบ, การก่อสร้าง, บุคลากร, โลจิกติกส์, การเงินและงบก่อสร้าง,
กฎหมายและสัญญาก่อสร้าง, นโยบายและการเมือง และสังคมและสิง่ แวดล้อม 2) จํานวนเหตุการณ์
ความเสี่ยงในโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ มีจํานวน 465 เหตุการณ์ จัดระดับความเสี่ยง
ออกเป็ น 3 ระดับ ประกอบด้วย ความเสีย่ งระดับสูงมีจํานวน 36 เหตุการณ์, ความเสีย่ งระดับปาน
กลางมีจํานวน 179 เหตุการณ์ และความเสีย่ งระดับตํ่ามี 250 เหตุการณ์ โดยความเสีย่ งทีม่ ลี ําดับ
ความเสี่ยงสูง 10 ลําดับแรกมีดงั นี้ 2.1) การดําเนินงานมีความล่าช้าจากแผนงาน ในหมวดงาน
สะพาน 2.2) การดําเนินงานมีความล่าช้าจากแผนงาน ในหมวดทางถนน 2.3) ต้องมีการแก้ไขงาน
ก่อสร้างโครงสร้างชัน้ ทางใหม่เนื่องจากบดอัดแล้วมีความหนาแน่ นไม่ได้ตามข้อกําหนด ในหมวด
งานถนน 2.4)การถอดแบบคํานวณปริมาณเหล็กเสริมผิดพลาด ทําให้งบก่อสร้างบานปลาย ใน
หมวดงานสะพาน 2.5) นํ้ ามันเชื้อเพลิงขึ้นราคา ในหมวดงานถนน 2.6) เหล็กเสริมขึ้นราคา ใน
หมวดงานสะพาน 2.7) นํ้ ามันขึน้ ราคาทําให้งบก่อสร้างบานปลายคอนกรีตขึน้ ราคา ในหมวดงาน
งานรื้อย้ายโครงสร้างเดิม 2.8) คอนกรีตขึน้ ราคา ในหมวดงานสะพาน 2.9) การคํานวณถอดแบบ

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


232 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

ปริมาณวัสดุ ปริมาณงานผิดพลาด ทําให้งบก่อสร้างบานปลาย ในหมวดงานไฟฟ้ าแสงสว่าง 2.10)


การถอดแบบ คํานวณปริมาณคอนกรีตผิดพลาด ทําให้งบก่อสร้างบานปลาย ในหมวดงานสะพาน
และ 3) แนวทางในการตอบสนองต่อความเสีย่ ง 4 แนวทางเรียงลําดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การ
ลดบรรเทา, การหลีก เลี่ย ง, การยอมรับ , ตามลํ า ดับ และในการตอบสนองต่ อ ความเสี่ย ง 1
เหตุการณ์มกั ใช้แนวทางมากกว่า 1 วิธี
ศิวกร หวังปั กกลาง [6] ได้ศกึ ษาการศึกษาและวิเคราะห์ความเสีย่ งของการก่อสร้างอาคารสูง
ในเขตเทศบาลเมืองพัทยา มีวตั ถุประสงค์เพื่อระบุปัจจัยความเสีย่ งในการก่อสร้างอาคารสูงในเขต
เมืองพัทยา ซึง่ มีโอกาสทีม่ จี ะเกิดสูงและส่งผลกระทบอย่างมากในการดําเนินกิจการก่อสร้าง และนํา
ผล วิเคราะห์มากําหนดแนวทางควบคุมความเสีย่ ง เพื่อลดความเสีย่ งและเพิม่ ประสิทธิภาพในการ
ปฏิบตั งิ าน ในการศึกษาครัง้ นี้ผูว้ จิ ยั รวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามผูเ้ ชี่ยวชาญทีม่ ปี ระสบการณ์
การก่อสร้างสูง ผูต้ อบแบบสอบถามเป็ นผูเ้ ชีย่ วชาญจากโครงการก่อสร้างอาคารสูงในจังหวัดพัทยา
จํานวน 17 โครงการ ผูต้ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่ดาํ รงตําแหน่งผูบ้ ริหารโครงการทีม่ ปี ระสบการณ์
ทํางานไม่ต่าํ กว่า 11 ปี และมีคุณวุฒกิ ารศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ดังนัน้ ผลการสัมภาษณ์จงึ มี
ความน่ าเชื่อถือสูง ผลการวิเคราะห์ความเสีย่ ง จํานวน 160 เหตุการณ์ พบว่า ความเสีย่ งสูงสุดมี
จํานวน 57 เหตุการณ์ ความเสี่ยงสูงมีจํานวน 44 เหตุการณ์ ความเสี่ยงปานกลางมีจํานวน 25
เหตุการณ์ และความเสี่ยงตํ่ามีจํานวน 34 เหตุการณ์ ปั จจัยความเสี่ยงที่มโี อกาสเกิดและส่งผล
กระทบสูงต่อโครงการก่อสร้างอาคารสูงเรียงตามลําดับได้ดงั นี้ คือ หมวดงานสถาปั ตยกรรม หมวด
งานระบบประกอบอาคาร งานโครงสร้าง งานเอกสารต่างๆ หมวดงานเตรียมการ และสัญญาการ
ก่อสร้างระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ขัน้ ตอนการหาแนวทางแก้ไขความเสี่ยง (การตอบสนอง
ความเสี่ย ง) มีด้ว ยกัน 6 แนวทางตามหลัก ป้ อ งกัน ติด ตาม แก้ไ ข และแนะนํ า เมื่อ ปฏิบ ัติต าม
แนวทางทัง้ 6 นี้แล้ว โอกาสเกิดความเสีย่ งก็จะน้อยลง แนวทางการแก้ไขความเสีย่ งทีน่ ํ าเสนอใน
งานวิจยั นี้สามารถช่วยลดโอกาสเกิดความเสีย่ งทีท่ าํ ให้งานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผน เพิม่ คุณภาพของ
งาน เพิม่ ความปลอดภัย และเพิม่ ประสิทธิผล

3.2 ปัจจัยเสี่ยงในการรับเหมาก่อสร้าง [7]


3.2.1 ความเสี่ยงจาการพึ่งพาวิ ศวกร
ธุ ร กิจ ของบริษัท ต้อ งอาศัย ผู้ท่ีม ีค วามรู้ค วามเชี่ย วชาญ และประสบการณ์ ง านออกแบบ
วางแผน และดําเนินการก่อสร้างตามแผนทีว่ างไว้ ซึ่งหมายถึงวิศวกรในระดับผูช้ ่วยผูจ้ ดั การใหญ่
(Executive Vice President) ผู้จ ัด การโครงการ (Project Engineer หรือ Foreman) หากบริษัท
สูญเสียบุคลากรเหล่านี้ไปย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรับงาน ตลอดจนการดําเนินงาน
ของบริษทั ในอนาคตได้

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 233
3.2.2 ความเสี่ยงทางด้านการเงิ น
ความเสีย่ งจากคู่สญ
ั ญาไม่ปฏิบตั ติ ามข้อกําหนดในสัญญา โดยเฉพาะเรื่องการชําระเงินตาม
ความสําเร็จของงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลการดําเนินการงานบริษทั ได้ อย่างไรก็
ตามบริษทั มีนโยบายในการป้ องกันความเสีย่ งดังกล่าว โดยวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของลูกค้า
ก่ อ นการรับ งาน การหาข้อ มูล ของลูก ค้า อื่น เพิ่ม เติม หรือ มีก ารเรีย กเก็บ เงิน ล่ ว งหน้ า ก่ อ นเริ่ม
ดําเนินงานรวมถึงการเรียกเก็บเงินตามผลงานทีส่ าํ เสร็จ

3.2.3 ความเสี่ยงจากเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการก่อสร้าง
ลักษณะการรับงานของบริษทั สามารถจําแนก 2 ลักษณะ คือ (1) งานทีร่ บั เหมาค่าแรงงาน
และค่าวัตถุดบิ และ (2) งานทีร่ บั เหมาเฉพาะค่าแรงงานอย่างเดียว ในกรณีทบ่ี ริษทั รับงานประเภท
ที่ (1) ซึง่ ต้องรับผิดชอบทัง้ การก่อสร้างและการจัดซื้อวัตถุดบิ นัน้ ทําให้มคี วามเสีย่ งเรื่องต้นทุนการ
ดําเนินงานสูงขึน้ จากความผันผวนของราคาหรือการขาดแคลนวัตถุดบิ เนื่องจากบริษทั จะต้องเสนอ
ราคารับเหมาล่วงหน้าก่อนเริม่ ดําเนินงาน อย่างไรก็ตามผลกระทบดังกล่าวอาจไม่สูงมากนักเมื่อ
เทียบกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอื่น ๆ เนื่องจาก
1) ลักษณะของงานส่วนใหญ่ทบ่ี ริษทั รับเหมา จะมีช่วงระยะเวลาการดําเนินงานค่อนข้างสัน่
คือโดยเฉลีย่ ประมาณ 3 - 5 เดือนต่อโครงการ ทําให้บริษทั สามารถควบคุมราคาวัสดุทต่ี อ้ งใช้ในการ
ก่อสร้างได้
2) วัตถุหลักมีเพียง 2 รายการ คือ คอนกรีตผสมเสร็จและเหล็กเส้น ถ้าบริษทั เป็ นลูกค้าราย
ใหญ่ของผูจ้ ําหน่ วยวัสดุดงั กล่าว ทําให้สามารถเจรจาต่อรองโดยอาศัยความสัมพันธ์ทด่ี กี บั ผูจ้ ดั จํา
หน่ วยวัตถุดบิ รายใหญ่ และกําหนดราคาคงทีใ่ นระยะเวลาหนึ่ง ๆ ได้ นอกจากนี้ในการทีร่ าคาวัสดุ
ผันผวนมาก บริษทั อาจซื้อวัตถุดบิ ทัง้ จํานวนที่บริษทั ประมาณว่าจะต้องใช้ในงานที่รบั จ้างไว้แล้ว
และกําหนดให้ผจู้ ดั จําหน่วยทยอยส่งวัสดุให้แก่บริษทั เมือ่ จะใช้งานจริง
3) นํ้ ามันดีเซล มีการปรับปรุงราคาเป็ นแบบลอยตัวซึ่งผลกระทบด้านต้นทุนของบริษัท
บริษทั ได้ให้ความสําคัญในเรื่องนี้เป็ นอย่างมาก และติดตามความผันผวนของราคาอย่างใกล้ชดิ
หากแนวโน้มของราคาเพิม่ สูงขึน้ ซึ่งมีผลกระทบกับต้นทุนดําเนินการ บริษทั จะทําการปรับราคา
เพิม่ ขึน้ ในการรับงานต่อไปเพือ่ ชดเชยต้นทุนทีเ่ หมาะสม และคํานึงถึงศักยภาพการแข่งขัน้ ในตลาด

3.2.4 ความเสี่ยงจากการดําเนิ นงานไม่เสร็จตามกําหนด


การดําเนิ นงานไม่เสร็จตามกําหนดหรืองานไม่ไ ด้คุณ ภาพตามที่กําหนด โดยทัวไปงาน ่
ก่อสร้างทีบ่ ริษทั ดําเนินการอยูน่ นั ้ จะมีคา่ ปรับในกรณีทม่ี กี ารดําเนินงานล่าช้ากว่าทีก่ ําหนดซึง่ ปกติม ี
อัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่างานก่อสร้างต่อวัน และมีการกําหนดค่าปรับสูงสุดเป็ นจํานวนวัน หรือ

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


234 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

เป็นร้อ ยละของมู ล ค่ า งานในกรณี ท่ีง านส่ ง มอบไม่ ไ ด้ม าตรฐานตามแบบที่กํ า หนด ซึ่ง หากมี
เหตุการณ์ใดๆ ดังกล่าวเกิดขึน้ บริษทั จะต้องดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ส่งผลให้ตน้ ทุนสูงขึน้ และ
เสียเวลาในการทํางานเพิม่ มากขึน้ อย่างไรก็ตามหากความล่าช้าของการดําเนินงานนัน้ มิได้มสี าม
เหตุ มาจากบริษัท อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง หรือสถานที่ท่รี บั มอบไม่พร้อมที่จะ
สามารถดําเนินการได้ หรือสภาพดินฟ้ าอากาศไม่เอื้ออํานวย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และเกิด
อุทกภัยนํ้าท่วม ซึง่ การปฏิบตั งิ านของผูร้ บั เหมาก่อสร้างจะเป็ นไปด้วยความยากลําบากถ้าไม่มกี าร
วางแผนที่ดีพอนัน้ บริษัทสามารถเจรจาและชี้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ และสามรถขอยืดเวลาการ
ดําเนินงานออกไปได้

3.2.5 ความเสี่ยงจากการถูกฟ้ องร้อง


ในการทํางานก่อสร้างต่างๆ นัน้ อาจมีผลกระทบของความเสียหาย ซึ่งมีสาเหตุได้ห ลาย
ประการ เช่น ความเสียหายข้างเคียงทีอ่ ยูใ่ กล้หรือติดกับสถานทีก่ ่อสร้าง หรือความเสียหายจากการ
ก่อสร้างทีไม่ได้มาตรฐาน หรือตามแบบก่อสร้าง จึงอาจเกิดการฟ้ องร้องจากผูเ้ สียหาย เช่น เจ้าของ
สถานที่ขา้ งเคียงหรือเจ้าของโครงการ ซึ่งอาจส่งผลเสียให้กบั บริษทั ได้ เพื่อช่วยลดความเสีย่ งใน
กรณี ข องการถู ก ฟ้ อ งร้อ ง ก่ อ นที่บ ริษัท จะเริ่ม เข้า สถานที่ก่ อ สร้า งได้ม ีก ารทํา ประกัน ภัย ความ
เสียหายต่าง ๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ จากสาเหตุการก่อสร้าง รวมทัง้ ได้มกี ารทํา Pre survey ก่อนเริม่ งาน
เสมอ และในส่ว นของเจ้า ของโครงการบริษัท ได้ม ีก ารวาง Bond ประกัน ผลงานให้ก ับ เจ้า ของ
โครงการไว้ประมาณ 1-2 ปี แล้วแต่กรณี

3.2.6 ความเสี่ยงในการที่ไม่สามารถหางานใหม่มารองรับโครงการที่ใกล้จะแล้วเสร็จได้
ในกรณีน้ีถา้ หากบริษทั ไม่สามารถหางานมารองรับได้ทนั กับโครงการทีจ่ ะแล้วเสร็จก็จะเกิด
ปั ญหาบุคลากรว่างงาน และบริษทั อาจจะต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานประจํา ทําให้มตี น้ ทุนค่าใช้จา่ ย
แต่ไม่มรี ายรับทีจ่ ะเข้ามา จึงย่อมทีจ่ ะส่งผลเสียให้กบั บริษทั เป็ นอย่างมาก

3.3 กระบวนการจัดการความเสี่ยง
ความเสีย่ ง (Risk) [8] หมายถึง โอกาสหรือเหตุการณ์ทไ่ี ม่พงึ ประสงค์ทจ่ี ะส่งผลกระทบทําให้
วัตถุประสงค์หรือเป้ าหมายเบี่ยงเบนไป ซึ่งอาจเกิดขึน้ ในอนาคต และมีผลกระทบหรือทําให้การ
ดําเนินงานไม่ประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ เป้ าประสงค์ และเป้ าหมายขององค์กร โดยการ
วัดจากผลกระทบ (Impact) ทีไ่ ด้รบั และโอกาสทีจ่ ะเกิด (Likelihood) ของเหตุการณ์
ปั จจัยเสีย่ ง (Risk Factor) หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุทม่ี าของความเสีย่ งทีจ่ ะทําให้ไม่บรรลุ
ทีก่ าํ หนดไว้ โดยต้องระบุได้ดว้ ยว่าเหตุการณ์นนั ้ จะเกิดทีไ่ หนเมือ่ ใด เกิดขึน้ ได้อย่างไร และทําไม

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 235
3.3.1 การระบุความเสี่ยง (Identify Risks)
การระบุความเสีย่ ง (Identify Risks) [8] เป็ นกระบวนการทีผ่ บู้ ริหารและผูป้ ฏิบตั งิ านร่วมกัน
ระบุความเสีย่ ง และปั จจัยเสีย่ งที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุผลสําเร็จ เพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ท่ี
เป็ นความเสี่ ย งที่ อ าจมี ผ ลกระทบต่ อ การบรรลุ ผ ลสํ า เร็ จ ตามวัต ถุ ป ระสงค์ โดยคํ า นึ ง ถึ ง
สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน
วิธกี ารและเทคนิคในการระบุความเสีย่ ง มีหลายวิธดี งั นี้
1. การระบุความเสีย่ ง โดยการรวมกลุม่ ระดมสมอง
2. การระบุความเสีย่ ง โดยการใช้ Checklist
3. การระบุความเสีย่ ง โดยการวิเคราะห์สถานการณ์จากการตัง้ คําถาม
4. การระบุความเสีย่ ง โดยการวิเคราะห์ขนั ้ ตอนการปฏิบตั งิ านในแต่ละขัน้ ตอนทีส่ าํ คัญ

3.3.2 กระบวนการบริ หารความเสี่ยงขององค์การ


กระบวนการบริหารความเสีย่ งเป็ นกระบวนการต่อเนื่อง โดยเริม่ ต้นด้วยการกําหนดนโยบาย
หรือวัตถุประสงค์การบริหารความเสีย่ งทีช่ ดั เจน และดําเนินกระบวนการด้วยกลไกการบริหารความ
เสีย่ งทีก่ าํ หนดขึน้ ร่วมกับกลไกการตรวจสอบหรือการควบคุมภายใน และนําไปสูก่ ารปรับปรุงกลไก
กระบวนการบริห ารความเสี่ย งให้ม ีป ระสิท ธิภ าพสู ง ขึ้น ต่ อ ไป ทัง้ นี้ ข ัน้ ตอนดํ า เนิ น การตาม
กระบวนการการบริหารความเสีย่ งขององค์การ สามารถแบ่งออกเป็ น 5 ขัน้ ตอนหลัก ดังนี้ [9]
ขัน้ ตอนที่ 1 การกําหนดวัตถุประสงค์ เป็ นการกําหนดวัตถุประสงค์โดยรวม ได้แก่
1) วัตถุประสงค์ดา้ นกลยุทธ์ (Strategic Objectives)
2) วัตถุประสงค์ดา้ นการปฏิบตั งิ าน (Operations Objectives)
3) วัตถุประสงค์ดา้ นการรายงาน (Reporting Objectives)
4) วัตถุประสงค์ดา้ นการปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบ (Compliance Objectives)
ขัน้ ตอนที่ 2 การบ่งชี้ความเสี่ยง เป็ นการค้นหาความเสีย่ งและสาเหตุหรือปั จจัยของความ
เสีย่ ง โดยพิจารณาจากปั จจัยต่าง ๆ ทัง้ ภายในและภายนอกทีส่ ง่ ผลกระทบต่อเป้ าหมายผลลัพธ์ของ
กําหนดมาตรการลดความเสีย่ งในภายหลังได้อย่างถูกต้อง แหล่งทีม่ าของปั จจัยต่างๆ ได้แก่
1) ปั จจัยภายในองค์การ
2) ปั จจัยภายนอกองค์การ
การระบุปัจจัยเสีย่ งจะเริม่ ต้นทีเ่ ป้ าประสงค์ หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยการมองปั จจัย
เสีย่ งไม่จาํ เป็ นต้องมาก แต่ตอ้ งมีเรือ่ งการบริหารและการควบคุมในการรองรับปั ญหา
ขัน้ ตอนที่ 3 การประเมิ นความเสี่ ยง เป็ นการประเมินระดับความเสี่ยงที่มผี ลกระทบต่อ
องค์การมากน้ อยเพียงใด โดยพิจารณาจากโอกาส (Likelihood) ที่จะเกิดปั จจัยเสี่ยง และระดับ

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


236 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

ความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) และประเมินระดับของความเสีย่ ง โดยการประมวลผลค่าระดับ


ของโอกาส และระดับความรุนแรงของผลกระทบตามเกณฑ์การให้คะแนนทีก่ าํ หนดไว้ทงั ้ 2 ด้าน
การประเมินความเสีย่ ง (Risk Assessment) [8] หมายถึง การวิเคราะห์และจัดลําดับความ
เสีย่ ง โดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสีย่ ง (Likelihood) และความรุนแรงของ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสีย่ ง (Impact) ต่อการบรรลุวตั ถุประสงค์หรือเป้ าหมายของส่วนงาน
หรือหน่วยงานภายในส่วนงาน
โอกาสทีจ่ ะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถีห่ รือโอกาสทีจ่ ะเกิดเหตุการณ์ความเสีย่ ง
ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึน้ หากเกิด
เหตุการณ์ความเสีย่ ง
ระดับความเสีย่ งแสดงถึงระดับความสําคัญในการบริหารความเสีย่ ง โดยพิจารณาจากผลคูณ
ของโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) กับระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ของ
ความเสีย่ งแต่ละสาเหตุ (โอกาส  ผลกระทบ) แสดงเกณฑ์ระดับความเสีย่ งได้ดงั ตารางที่ 1

ตารางที่ 1 เกณฑ์ระดับความเสี่ยง
ระดับความ ระดับ ความหมาย
เสี่ยง คะแนน
สูงมาก 20-25 ความเสีย่ งทีต่ อ้ งกากับดูแลอย่างใกล้ชดิ ซึง่ จะต้องบริหารความเสีย่ ง
ทันที (ตัวอย่าง ความเสีย่ ง D ระดับคะแนน ความเสีย่ งเท่ากับ 20)
สูง 10-19 ความเสีย่ งทีต่ อ้ งกากับดูแลอย่างใกล้ชดิ ซึง่ จะต้องบริหารความเสีย่ ง
ทันที (ตัวอย่าง ความเสีย่ ง C ระดับคะแนน ความเสีย่ งเท่ากับ 16)
ปานกลาง 4-9 ความเสี่ยงที่ต้องเฝ้ าระวังซึ่งจะต้องบริหารความเสี่ยงโดยให้ความ
สนใจเฝ้ า ระวัง (ตัว อย่ า ง ความเสี่ย ง B ระดับ คะแนนความเสี่ย ง
เท่ากับ 9)
ตํ่า 1-3 ความเสีย่ งทีใ่ ช้วธิ คี วบคุมปกติไม่ตอ้ งมีการจัดการเพิม่ เติม (ตัวอย่าง
ความเสีย่ ง A ระดับคะแนนความเสีย่ งเท่ากับ 3)

ขัน้ ตอนที่ 4 การจัดการความเสี่ ยง คือ การดําเนินการเพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ใน


ระดับที่ยอมรับได้ โดยใช้วธิ ีการจัดการที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ประเมินไว้และต้นทุน
ค่าใช้จา่ ยทีเ่ กีย่ วข้อง ตามแนวทางดังนี้
- Terminate risk (การหลีกเลีย่ ง/การจัดความเสีย่ ง) ใช้วธิ กี ารเปลีย่ นวัตถุประสงค์ การหยุด
ดําเนินกิจการ/ระงับ/ยกเลิก หรือการไม่ดาํ เนินการกิจกรรมนัน้ ๆ

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 237
- Transfer risk (การถ่ายโอนความเสี่ยง) เป็ นวิธกี ารร่วมหรือแบ่งความรับผิดชอบให้กบั
ผูอ้ ่นื ในการจัดการความเสีย่ ง เช่น การทําประกันภัย และการจ้างบุคคลภายนอก
- Treat risk (การควบคุมความเสีย่ ง) เป็ นการดําเนินการเพิม่ เติมเพื่อควบคุมโอกาสที่อาจ
เกิดขึ้นหรือขนาดของผลกระทบจากความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่กําหนด ซึ่งเป็ นระดับที่สามารถ
ยอมรับได้
- Take risk (การยอมรับความเสีย่ ง) เป็ นการยอมรับให้ความเสีย่ งสามารถเกิดขึน้ ได้ภายใต้
ระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ โดยไม่มมี าตรการหรือกลยุทธ์ใดๆ ในการควบคุม ซึ่งอาจ
เนื่องมาจากความเสีย่ งนัน้ อยูใ่ นระดับความเสีย่ งตํ่ามาก หรือไม่มวี ธิ กี ารใดๆ ในปั จจุบนั ทีจ่ ะควบคุม
ขัน้ ตอนที่ 5 การติ ดตามผล และการรายงาน เมื่อมีการดําเนินงานตามแผนบริหารความ
เสีย่ งแล้ว จะต้องมีการติดตามผลและการรายงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมันใจว่ ่ าได้มกี าร
ดําเนินงานไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยมีเป้ าหมายในการติดตามผล คือ เป็ นการประเมิน
คุณภาพและความเหมาะสมของวิธกี ารจัดการความเสีย่ ง รวมทัง้ ติดตามผลการจัดการความเสีย่ งที่
ได้มกี ารดําเนินการไปแล้วว่าบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสีย่ งหรือไม่

4. ระเบียบวิ ธีวิจยั
4.1 ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาเฉพาะโครงการก่อสร้างภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ภายใน
อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จํานวน 10 แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตําบลดอนยาง องค์การบริหารส่วนตําบลปากคลอง องค์การบริหารส่วนตําบล
เขาไชยราช และองค์การบริหารส่วนตําบลสะพลี เทศบาลตําบลบางสน เทศบาลตําบลทะเลทรัพย์
เทศบาลตําบลสะพลี เทศบาลตําบลชุมโค เทศบาลตําบลปะทิว และเทศบาลตําบลมาบอํามฤต
ศึกษาเฉพาะโครงการก่อสร้างถนนและอาคารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มมี ูลค่า
โครงการตัง้ แต่ 50,000 บาทขึน้ ไป จํานวนไม่น้อยกว่า 20 โครงการ

4.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาครัง้ นี้ครอบคลุมการวิเคราะห์ผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่
ในฐานะที่เป็ น “ผู้ว่าจ้าง” (20 ตัวอย่าง) ประกอบด้วย วิศวกร นายช่าง ช่างผู้ควบคุมงาน ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จํานวน 10 แห่ง และผูร้ บั เหมาภาคเอกชน
ในฐานะทีเ่ ป็ น “ผูร้ บั จ้าง” (42 ตัวอย่าง) ประกอบด้วย ผูร้ บั เหมา วิศวกร ช่างผูค้ วบคุมงาน ภายใน
พืน้ ทีอ่ าํ เภอปะทิว จังหวัดชุมพร จํานวน 20 บริษทั

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


238 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

4.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิ จยั


เครื่องมือทีใ่ ช้ในการวิจยั เป็ นแบบสอบถามทีผ่ วู้ จิ ยั สร้างขึน้ จํานวน 2 ชุด โดยแบบสอบถามชุด
แรกสําหรับใช้กบั กลุ่มตัวอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ขณะทีแ่ บบสอบถามชุดสองใช้กบั กลุ่ม
ตัวอย่างผูร้ บั เหมา อย่างไรก็ดแี บบสอบถามทัง้ สองชุดจะมีโครงสร้างแบบสอบถามทีค่ ล้ายคลึงกัน
กล่าวคือ แบบสอบถามจะแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน เพื่อทีจ่ ะมีประสิทธิภาพเข้าถึงข้อมูลทีแ่ ท้จริงได้สงู
และรวดเร็วเป็ นการวิเคราะห์ขอ้ มูลทีเ่ ก็บและรวบรวมมา
ส่วนแรก ใช้รวบรวมข้อมูลทัวไปของผู ่ ต้ อบแบบสอบถาม ซึง่ จะประกอบด้วย ชื่อ - สกุล เบอร์
โทรศัพ ท์ คํ า ถามในเรื่อ งของอายุ จ ะมีช่ ว งของอายุ ระดับ การศึก ษา ตํ า แหน่ ง จะมีตํ า แหน่ ง
ประสบการณ์ในตําแหน่งปั จจุบนั และประสบการณ์ทงั ้ หมดในการทํางาน
ส่วนที่ สอง ใช้เพื่อให้ผตู้ อบแบบสอบถามทําการประเมินความเสีย่ ง สําหรับปั จจัยเสีย่ งแต่ละ
ปั จ จัย โดยประกอบไปด้ว ยการประเมิน ใน 2 มิติ ได้แ ก่ การประเมิน โอกาสที่จ ะเกิด และการ
ประเมิน ผลกระทบ ตามระดับคะแนน 1-5 พร้อมรายละเอียด ทัง้ นี้ สําหรับกลุ่มตัวอย่างองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิน่ ในฐานะที่เป็ น “ผูร้ บั จ้าง” จะประเมินความเสีย่ งด้านงบประมาณ และความ
เสี่ยงด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน และในฐานะที่เป็ น “ผู้ว่าจ้าง” จะประเมินความเสี่ยงด้าน
คุณภาพงาน และความเสีย่ งด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน
ส่ วนที่ สาม ใช้รวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น ประสบการณ์ ของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ
ปั จจัยเสี่ยงภายในโครงการก่ อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยมีประสบการณ์ และ
วิธแี ก้ไขปั ญหานัน้ ๆ โดยผูว้ จิ ยั จะมีส่วนทีก่ ําหนดให้ และส่วนทีใ่ ห้ผกู้ รอกแบบสอบถามแสดงความ
คิดเห็น

4.4 การวิ เคราะห์ข้อมูล


หลัง จากการเก็บ ข้อ มูล ได้ต ามเป้ า จากกลุ่ม เป้ า หมายทัง้ สองกลุ่ม แล้ว ผลที่ร วบรวมได้จะ
ประกอบไปด้วย ข้อมูลทัวไป ่ (ตอนที่ 1) และข้อมูลระดับของโอกาสทีจ่ ะเกิดและระดับของผลกระทบ
สํา หรับ ปั จ จัย เสี่ย งต่ า งๆ (ตอนที่ 2) แล้ว นํ า ข้อ มูล ที่ไ ด้จ ากตอนที่ 1 และ 2 ดัง กล่าวมาทําการ
วิเคราะห์ผลในเชิงสถิตเิ พือ่ หาค่าทางสถิติ และความสําคัญของปั จจัยทีท่ ําให้เกิดความเสีย่ ง โดยใช้
การหาค่าเฉลี่ยของโอกาสที่จะเกิด ค่าเฉลี่ยของผลกระทบอยู่ในระดับ 1-5 จากนัน้ ทําการหาค่า
ระดับความสําคัญของปั จจัยทีท่ าํ ให้เกิดความเสีย่ ง จากสูตรการคํานวณดังสมการที่ 1 [10]

ระดับความเสีย่ ง = ระดับโอกาสทีจ่ ะเกิดความเสีย่ ง  ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (1)

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 239
โดย โอกาสทีจ่ ะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสทีจ่ ะเกิดเหตุการณ์ความเสีย่ ง
และ ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายทีจ่ ะเกิดขึน้ หากเหตุการณ์
นัน้ เกิดขึน้ จริง

ตารางที่ 2 เกณฑ์การประเมิ นความเสี่ยงขัน้ สุดท้าย


ค่าเฉลี่ย ระดับความเสี่ยง ระดับการแก้ไข
1-2 Very low (VL) ดําเนินการแก้ไข กําหนดแนวทาง/นโยบายป้ องกันความเสีย่ ง
3-4 Low (L) ดําเนินการแก้ไข
5-10 Medium (M) ดําเนินการแก้ไขร่วมกับทีมคุณภาพ
11-19 High (H) ดําเนินการแก้ไขร่วมกับทีมคุณภาพ/คณะกรรมการบริหาร
20-25 Very high (VH) ดําเนินการแก้ไขด่วน/กําหนดนโยบายป้ องกันการเกิดซํ้า

4.4.1 การวิ เคราะห์ข้อมูลทัวไปของผู


่ ต้ อบแบบสอบถาม (ตอนที่ 1)
การวิเคราะห์ขอ้ มูลทัวไปของผู
่ ต้ อบแบบสอบถามตอนที่ 1 คือ นํ าข้อมูลทัวไป
่ มาทําการหา
ค่าร้อยละทางสถิตโิ ดยใช้โปรแกรมในการประมวลผล และนํ าเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางค่า
ร้อยละทางสถิติ

4.4.2 การวิ เคราะห์ข้อมูลระดับของโอกาสที่จะเกิ ดและระดับของผลกระทบ


การวิเคราะห์ของปั จจัยเสีย่ งต่างๆ ทีท่ ําให้เกิดความล่าช้าขึน้ ภายในโครงการก่อสร้างถนน
จากข้อมูลของทัง้ ช่าง นายช่าง วิศวกร ฝ่ายผูว้ ่าจ้าง และช่าง นายช่าง วิศวกร ผูร้ บั เหมาก่อสร้าง
ฝ่ ายผู้ร บั จ้าง โดยจะนํ าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากทัง้ สองฝ่ ายที่ไ ด้ก ล่าวมาแล้วข้างต้น มาหา
ค่าเฉลีย่ ความถี่ (Frequency Index) ค่าเฉลีย่ ความรุนแรง (Severity Index) และดัชนีความสําคัญ
ของปั จจัย (Importance Index)

5. ผลการศึกษา
5.1 ผลการวิ เคราะห์ข้อมูลทัวไปของผู
่ ต้ อบแบบสอบถาม
ผลวิเคราะห์ขอ้ มูลทัวไปของผู
่ ต้ อบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตําแหน่ ง
ประสบการณ์ ในตําแหน่ งปั จจุบนั และประสบการณ์ ทงั ้ หมดในการทํางาน วิเคราะห์โดยใช้สถิติ
ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) แสดงดังตารางที่ 3

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


240 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

ตารางที่ 3 ข้อมูลทัวไปของผู
่ ต้ อบแบบสอบถาม
ผูร้ บั จ้าง ผูว้ ่าจ้าง
ข้อมูลทัวไป

จํานวน ร้อยละ จํานวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 30 71.43 19 95.00
หญิง 12 28.57 1 5.00
อายุ
20-25 ปี 2 4.76 0 0.00
26-30 ปี 5 11.91 0 0.00
31-35 ปี 8 19.05 5 25.00
36-40 ปี 13 30.95 8 40.00
มากกว่า 40 ปี 14 33.33 7 35.00
ระดับการศึกษา
ระดับ ปวช. 5 11.91 7 35.00
ระดับ ปวส. 12 28.57 9 45.00
ระดับปริญญาตรี 25 59.52 4 20.00
ตําแหน่ ง
นายช่าง/ผูร้ บั เหมา 37 88.10 16 80.00
วิศวกร 2 4.76 1 5.00
ช่างผูค้ วบคุมงาน 3 7.14 3 15.00
ประสบการณ์ ในตําแหน่ งปัจจุบนั
ไม่เกิน 2 ปี 3 7.14 0 0.00
มากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี 6 14.29 1 5.00
มากกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี 12 28.57 3 15.00
มากกว่า 6 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี 2 4.76 2 10.00
มากกว่า 8 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี 3 7.14 2 10.00
มากกว่า 10 ปี 16 38.10 12 60.00
ประสบการณ์ ทงั ้ หมดในการทํางาน
ไม่เกิน 5 ปี 5 11.91 1 5.00
มากกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี 15 35.71 6 30.00
มากกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี 14 33.33 6 30.00
มากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี 5 11.91 5 25.00
มากกว่า 20 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี 1 2.38 2 10.00
มากกว่า 25 ปี 2 4.76 0 0.00
รวม 42 100.00 20 100.00

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 241
จากตารางที่ 3 สรุปได้ว่าผูร้ บั จ้างส่วนใหญ่เป็ นเพศชาย จํานวน 30 คน คิดเป็ นร้อยละ 71.43
มีอายุมากกว่า 40 ปี จํานวน 14 คน คิดเป็ นร้อยละ 33.33 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 25
คน คิดเป็ นร้อยละ 59.52 มีตาํ แหน่งผูร้ บั เหมา จํานวน 37 คน คิดเป็ นร้อยละ 88.10 มีประสบการณ์
ในตําแหน่ งปั จจุบนั มากกว่า 10 ปี จํานวน 16 คน คิดเป็ นร้อยละ 38.10 มีประสบการณ์ทงั ้ หมดใน
การทํางานมากกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี จํานวน 15 คน คิดเป็ นร้อยละ 35.71
ส่ว นผู้ว่าจ้า งส่ว นใหญ่ เ ป็ น เพศชาย จํา นวน 19 คน คิด เป็ น ร้อ ยละ 95.00 มีอ ายุ 36-40 ปี
จํานวน 8 คน คิดเป็ นร้อยละ 40.00 มีการศึกษาระดับ ปวส. จํานวน 9 คน คิดเป็ นร้อยละ 20.00 มี
ตําแหน่ งนายช่าง จํานวน 16 คน คิดเป็ นร้อยละ 80.00 มีประสบการณ์ในตําแหน่ งปั จจุบนั มากกว่า
10 ปี จํานวน 12 คน คิดเป็ นร้อยละ 60.00 มีประสบการณ์ทงั ้ หมดในการทํางานมากกว่า 5 ปี แต่
ไม่เกิน 10 ปี และมากกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี จํานวน 6 คน คิดเป็ นร้อยละ 30.00

5.2 ผลการประเมิ นความเสี่ยง


จากการวิจยั พบว่า ปั จจัยเสีย่ งในการดําเนินโครงการก่อสร้างภายใต้การกํากับดูแลขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิน่ ภายในอําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร แยกตามประชากรของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มผู้
รับจ้าง ในด้านงบประมาณและด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน และแยกตามผลกระทบกลุ่มผู้
รับจ้าง ในด้านคุณภาพงานและด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน แสดงในตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ระดับความสําคัญของปัจจัยที่ ทาํ ให้เกิ ดความเสี่ยงของผู้รบั จ้าง เรียงจากมาก


ไปหาน้ อย 5 ลําดับแรก
ค่าเฉลี่ย ระดับ
ค่าเฉลี่ย ระดับ
ปัจจัยที่ทาํ ให้เกิ ดความเสี่ยง ของ ความสําคัญของ
ของ ความ
ของผูร้ บั จ้าง โอกาส ปัจจัยที่ทาํ ให้
ผลกระทบ เสี่ยง
ที่จะเกิ ด เกิ ดความเสี่ยง
การขาดสภาพคล่องทางการเงินของผูร้ บั เหมา 2.74 2.88 7.89 M
ภาวะเงินเฟ้ อ 2.76 2.81 7.76 M
ด้านงบประมาณ

ปั ญหาทางด้านการเงินของผูร้ บั เหมาเนื่องจาก
2.62 2.71 7.10 M
ความผิดพลาดทางด้านการประมาณการ
การปรับตัวของค่าแรงเพิม่ สูงขึน้ 2.71 2.62 7.10 M
ความผิดพลาดจากการประมาณราคา 2.40 2.52 6.05 M

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


242 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

ตารางที่ 4 ระดับความสําคัญของปัจจัยที่ ทาํ ให้เกิ ดความเสี่ยงของผู้รบั จ้าง เรียงจากมาก


ไปหาน้ อย 5 ลําดับแรก (ต่อ)
ค่าเฉลี่ย ระดับ
ค่าเฉลี่ย ระดับ
ปัจจัยที่ทาํ ให้เกิ ดความเสี่ยง ของ ความสําคัญของ
ของ ความ
ของผูร้ บั จ้าง โอกาส ปัจจัยที่ทาํ ให้
ผลกระทบ เสี่ยง
ที่จะเกิ ด เกิ ดความเสี่ยง
ผูร้ บั เหมาไม่สามารถปฏิบตั งิ านตามแผนงานได้
ตามกําหนดเวลา 2.76 2.12 5.85 M
ด้านระยะเวลาในการดําเนิ นงาน

การขาดสภาพคล่องของการหมุนเวียนเงินของ
บริษทั รับเหมาในโครงการ 2.69 2.17 5.84 M
เกิดภัยธรรมชาติต้องหยุดดําเนินการก่อสร้า ง
ชัวคราว
่ 2.71 2.07 5.61 M
สภาพอากาศไม่เหมาะสมเป็ นอุปสรรคในการ
ทํางาน 2.74 2.00 5.48 M
การเบิกจ่ายเงินตามงวดงานที่ได้เงินล่าช้าของ
โครงการ 2.33 1.76 4.10 L

จากตารางที่ 4 สรุปได้วา่ ความเสีย่ งส่วนใหญ่ทเ่ี กิดขึน้ ในการดําเนินงานโครงการก่อสร้างของ


องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ กรณีศกึ ษา: โครงการก่อสร้างภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ของผู้รบั จ้าง เกิดขึ้นในส่วนของด้านงบประมาณ ซึ่ง
ผูร้ บั เหมาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ความเสีย่ งนี้จะส่งผลกระทบกับการดําเนินโครงการมากทีส่ ุด
โดยมีค่าความเสีย่ งสูงถึง 7.89 ในส่วนของด้านระยะเวลาในการดําเนินงานของผูร้ บั จ้าง ซึง่ ผูร้ บั จ้าง
ไม่สามารถปฏิบตั งิ านตามแผนงานได้ตามกําหนดเวลา โดยมีคา่ ความเสีย่ งที่ 5.85

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 243
ตารางที่ 5 ระดับความสําคัญของปั จจัยที่ ทาํ ให้เกิ ดความเสี่ยงของผู้ว่าจ้าง เรียงจากมาก
ไปหาน้ อย 5 ลําดับแรก
ค่าเฉลี่ย ระดับ
ค่าเฉลี่ย ระดับ
ปัจจัยที่ทาํ ให้เกิ ดความเสี่ยง ของ ความสําคัญของ
ของ ความ
ของผูว้ ่าจ้าง โอกาส
ผลกระทบ
ปัจจัยที่ทาํ ให้
เสี่ยง
ที่จะเกิ ด เกิ ดความเสี่ยง
การเข้าทํางานล่าช้าสาเหตุจากผูร้ บั เหมา 2.20 1.95 4.29 L
ขาดแคลนแรงงานที่ม ีฝี ม ือ หรือ แรงงานไม่ ม ี
ความสามารถและชํานาญในงาน 2.00 2.00 4.00 L
ด้านคุณภาพงาน

ผู้ ร ั บ เหมาปฏิ บ ั ติ ง านไม่ ไ ด้ คุ ณ ภาพต าม


มาตรฐาน 1.70 2.15 3.66 L
ปั ญ หาการประสานงานระหว่ า งผู้ ร ับ เหมา,
ผูอ้ อกแบบ และผูค้ วบคุมงาน 1.90 1.70 3.23 L
ก่อสร้างผิดไปจากแบบข้อกําหนดของงาน 1.45 1.85 2.68 VL
ผูร้ บั เหมาไม่สามารถปฏิบตั งิ านตามแผนงานได้
ด้านระยะเวลาในการดําเนิ นงาน

ตามกําหนดเวลา 2.00 2.10 4.20 L


เกิดภัยธรรมชาติต้องหยุดดําเนินการก่อสร้าง
ชัวคราว
่ 1.70 2.30 3.91 L
สภาพอากาศไม่เหมาะสมเป็ นอุปสรรคในการ
ทํางาน 1.85 1.85 3.42 L
การขาดสภาพคล่องของการหมุนเวียนเงินของ
บริษทั รับเหมาในโครงการ 1.65 1.65 2.72 VL
ผูค้ วบคุมงานมีบุคลากรไม่เพียงพอ 1.45 1.80 2.61 VL

จากตารางที่ 5 สรุปได้วา่ ความเสีย่ งส่วนใหญ่ทเ่ี กิดขึน้ ในการดําเนินงานโครงการก่อสร้างของ


องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ กรณีศกึ ษา: โครงการก่อสร้างภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่ อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ของผูว้ า่ จ้างเกิดขึน้ ในส่วนของด้านคุณภาพงาน ซึง่ สาเหตุ
เกิดจากผูร้ บั เหมาเข้าทํางานล่าช้า โดยมีค่าความเสีย่ งที่ 4.29 และในส่วนของด้านระยะเวลาในการ
ดําเนินงานของผูว้ า่ จ้าง ซึ่งผูร้ บั เหมาไม่สามารถปฏิบตั งิ านตามแผนงานได้ตามกําหนดเวลา โดยมี
ค่าความเสีย่ งที่ 4.20

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


244 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

5.3 แนวทางการควบคุมความเสี่ยง
ตามความคิดเห็นของผูว้ า่ จ้างและผูร้ บั จ้าง สรุปได้ดงั นี้

5.3.1 ด้านงบประมาณ
ผูร้ บั จ้างมีโอกาสเกิดปั จจัยเสีย่ งด้านราคาวัสดุก่อสร้างและราคานํ้ามันผันผวน การขาดแคลน
เงินทุนหมุนเวียนหรือเงินทุนไม่เพียงพอเนื่องจากการเบิกจ่ายเงินล่าช้า ผูว้ ่าจ้างมีการเปลีย่ นแบบ
ซึง่ เหตุการณ์เสีย่ งทัง้ หมดส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างโดยตรง ผูร้ บั จ้างเป็ นผูร้ บั ภาระการถ่าย
โอนความเสีย่ งทัง้ หมด ดังนัน้ ในการดําเนินการก่อสร้างผูร้ บั จ้างควรมีการวางแผน การจัดหาวัสดุ
ก่อสร้างและนํ้ามัน หากอยูใ่ นช่วงทีร่ าคาวัสดุก่อสร้างและนํ้ามันผันผวนมากๆ อาจจําเป็ นต้องมีการ
ซื้อล่วงหน้าเพื่อลดต้นทุน อีกทัง้ ควรทําข้อตกลงกับผูว้ ่าจ้าง เพื่อกําหนดวันส่งงานของแต่ละเดือน
ให้ชดั เจน รวมถึงช่วงเวลาแต่ละขัน้ ตอน เพื่อนํ ามาวางแผนการใช้จ่ายเงินตามสัญญาให้สอดคล้อง
กับการเบิกเงิน และผูว้ า่ จ้างควรมีการกําหนดแบบมาตรฐานไว้ใช้ในหน่วยงาน และให้มผี รู้ บั ผิดชอบ
ในการออกแบบโดยตรง

5.3.2 ด้านคุณภาพงาน
ผู้ว่าจ้างมีโอกาสเกิดปั จจัยเสี่ยงด้านแรงงานฝี มอื ด้อยประสิทธิภาพ ทําให้ต้องแก้ไขงาน
บ่อยครัง้ การส่งมอบพืน้ ทีล่ ่าช้า พืน้ ทีก่ ่อสร้างไม่สามารถนํ าเครื่องจักรหนักเข้าทํางานได้ และการ
อนุ ม ตั ิเ ปลี่ย นแปลงแก้ไ ขสัญ ญาจ้า ง เช่น งานเพิ่ม -ลด ซึ่ง ปั จ จัย เสี่ย งทัง้ หมดส่ง ผลกระทบต่ อ
โครงการก่อสร้างโดยตรง ผู้ว่าจ้างเป็ น ผู้รบั ภาระการถ่ ายโอนความเสี่ยงทัง้ หมด ดังนัน้ ในการ
ดําเนินการก่อสร้างผูว้ ่าจ้างควรบังคับใช้สญ ั ญาอย่างเคร่งครัดในข้อมาตรฐานฝี มอื ช่าง กําหนดใน
เอกสารประกวดราคาให้ผรู้ บั จ้างเข้ามาดูสถานทีก่ ่อสร้างจริง หากไม่มาอาจกําหนด ให้ถูกตัดสิทธิ ์
การยืน่ เสนอราคา สํารวจพืน้ ทีก่ ่อสร้างอย่างละเอียด และตรวจสอบสถานทีก่ ่อสร้างให้มคี วามพร้อม
เพื่อ การออกแบบการก่ อ สร้ า ง กํ า หนดให้ ผู้ร ับ จ้ า งต้ อ งใช้ เ ครื่อ งจัก รที่ไ ม่ เ กิน ความจํ า เป็ น
ประสานงานชีแ้ จงให้ประชาชนในพืน้ ทีก่ ่อสร้างทราบถึงโครงการและผลกระทบเพื่อลดการต่อต้าน
โครงการและนํามาซึง่ การแก้ไขสัญญา

5.3.3 ด้านระยะเวลาในการดําเนิ นงาน


ผูว้ ่าจ้าง มีโอกาสเกิดปั จจัยเสีย่ งด้านสภาพดิน ฟ้ า อากาศไม่เอื้ออํานวย เกิดภัยธรรมชาติ
เช่น อุทกภัย วาตภัย วัสดุท่สี งซืั ่ ้อในพื้นทีม่ ปี ริมาณไม่เพียงพอต่อการก่อสร้าง แบบก่อสร้างไม่ม ี
ความชัดเจน คลุมเครือหรือไม่ละเอียด ขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานหยุดงานเนื่องจากช่วง
เทศกาล/ฤดูกาลทําเกษตรกรรม และผูร้ บั จ้างเข้าดําเนินการในพื้นที่ล่าช้า ซึ่งปั จจัยเสีย่ งทัง้ หมด

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 245
ส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างโดยตรง ผูว้ ่าจ้างเป็ นผูร้ บั ภาระการถ่ายโอนความเสีย่ ง ดังนัน้ ใน
การดําเนินการก่อสร้างควรต้องมีการกําหนดระยะเวลาในการทํางานเผื่อไว้ในช่วงฤดูฝน กําหนด
มาตรการรองรับและให้ความช่วยเหลือผูร้ บั จ้างในกรณีทเ่ี กิดเหตุภยั ธรรมชาติ เช่น การต่อสัญญา
จ้าง เป็ นต้น ช่วยประสานงานกับผู้ค้าวัสดุในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อจัดหาวัสดุก่อสร้างให้
เพียงพอต่อการดําเนินการก่อสร้าง อีกทัง้ ควรออกคําสังให้ ่ มผี ูร้ บั ผิดชอบที่มปี ระสบการณ์ในการ
ออกแบบงานทางโดยตรงและกําหนดขัน้ ตอนการตรวจสอบความถูกต้องไว้อย่างชัดเจน ควรมีการ
วางแผนการจัดจ้า งโครงการก่อสร้า งที่ไม่คาบเกี่ย วกับ ช่ว งเทศกาลใหญ่ ๆ เพื่อ ลดปั ญ หาการ
ก่อสร้างทีไ่ ม่ต่อเนื่องและนํ ามาซึ่งความล่าช้าของโครงการ ควรเร่งรัดงานโครงการก่อสร้างในช่วง
ต้นปี งบประมาณ เพือ่ หลีกเลีย่ งช่วงฤดูการทําเกษตรกรรมและเป็ นการหลีกเลีย่ งช่วงฤดูฝนด้วย ส่ง
หนังสือแจ้งให้ผรู้ บั จ้างเข้าดําเนินการหลังจากลงนามในสัญญาแล้ว ตรวจสอบสถานทีก่ ่อสร้างให้ม ี
ความพร้อม เพื่อจะได้ส่งมอบพื้นที่ทนั ทีหลังจากสัญญาจ้างมีผลบังคับใช้ และควรกําหนดอัตรา
ค่าปรับสูงสุดตามระเบียบ กฎหมายไว้ในสัญญาจ้างและแจ้งให้ผรู้ บั จ้างทราบ เพือ่ เป็ นแรงกระตุน้ ให้
ผูร้ บั จ้างเร่งเข้าดําเนินการ
ผูร้ บั จ้าง มีโอกาสเกิดปั จจัยเสีย่ งด้านสภาพดิน ฟ้ า อากาศไม่เอื้ออํานวย เกิดภัยธรรมชาติ
เช่น อุทกภัย วาตภัย วัสดุท่สี งซื ั ่ ้อในพื้นทีม่ ปี ริมาณไม่เพียงพอต่อการก่อสร้าง แบบก่อสร้างไม่ม ี
ความชัดเจน, คลุมเครือหรือไม่ละเอียด ขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานหยุดงานเนื่องจากช่วง
เทศกาล/ฤดูกาลทําเกษตรกรรม และผูร้ บั จ้างเข้าดําเนินการในพื้นที่ล่าช้า ซึ่งปั จจัยเสีย่ งทัง้ หมด
ส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างโดยตรง ผูร้ บั จ้างเป็ นผูร้ บั ภาระการถ่ายโอนความเสีย่ ง ดังนัน้ ใน
การดําเนินการก่อสร้างควรมีการคาดการล่วงหน้าหรือตรวจสอบสภาพอากาศในพืน้ ทีก่ ่อสร้างทัง้
ปริมาณนํ้าฝนและระดับนํ้า เพือ่ กําหนดแผนสํารองหรือกําหนดระยะเวลาในการทํางานเผือ่ ไว้ในช่วง
ฤดูฝน ติดต่อหาผูค้ า้ วัสดุในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงทีส่ ามารถให้ราคาทีส่ ามารถยอมรับได้ เพือ่ ลดระยะเวลา
ในการขนส่งสินค้า ประเมินจํานวนและความสามารถทางด้านแรงงานก่อนการประมูลงานเพื่อวาง
แผนการใช้แรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงฤดูฝนหรือช่วงฤดูการทํานา ประกาศโบนัสหรือ
เงินพิเศษในช่วงเวลาดังกล่าวและสํารวจแรงงานก่อนล่วงหน้า และควรผูร้ บั เหมาไว้เกินกว่าหนึ่ง
รายเพื่อลดความเสีย่ ง และควรเข้าดูสถานทีก่ ่อสร้างตามหนังสือแจ้งและสอบถามปั ญหาต่าง ๆ ให้
เรียบร้อยก่อนการประมูลงาน

6. สรุปผลการศึกษา
จากผลการวิจยั ผูว้ จิ ยั นํามาอภิปรายผลตามประเด็นสําคัญได้ดงั นี้
6.1 ด้านงบประมาณ พบว่า ผูร้ บั จ้างมีโอกาสทีจ่ ะเกิดความเสีย่ งเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้ อ มาก
ที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินของผูร้ บั เหมา แนวทางการควบคุม
ความเสีย่ งคือ ผูร้ บั จ้างควรมีการวางแผน การจัดหาวัสดุก่อสร้างและนํ้ ามัน หากอยู่ในช่วงทีร่ าคา

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


246 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

วัสดุก่อสร้างและนํ้ ามันผันผวนมากๆ อาจจําเป็ นต้องมีการซื้อล่วงหน้าเพื่อลดต้นทุน อีกทัง้ ควรทํา


ข้อตกลงกับผูว้ ่าจ้าง เพื่อกําหนดวันส่งงานของแต่ละเดือนให้ชดั เจน รวมถึงช่วงเวลาแต่ละขัน้ ตอน
เพื่อนํ ามาวางแผนการใช้จ่ายเงินตามสัญญาให้สอดคล้องกับการเบิกเงิน และผูว้ ่าจ้างควรมีการ
กําหนดแบบมาตรฐานไว้ใช้ในหน่วยงาน และให้มผี รู้ บั ผิดชอบในการออกแบบโดยตรง
6.2 ด้านคุณภาพงาน พบว่า ผูว้ า่ จ้างมีโอกาสทีจ่ ะเกิดความเสีย่ งเกีย่ วกับการเข้าทํางานล่าช้า
สาเหตุจากผูร้ บั เหมา ซึง่ ส่งผลกระทบให้ผรู้ บั เหมาปฏิบตั งิ านไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน แนวทาง
การควบคุมความเสีย่ งคือ ควรบังคับใช้สญ ั ญาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานฝี มอื ช่าง
กําหนดในเอกสารประกวดราคาให้ผูร้ บั จ้างเข้ามาดูสถานทีก่ ่อสร้างจริง หากไม่มาอาจกําหนด ให้
ถูกตัดสิทธิ์การยืน่ เสนอราคา สํารวจพืน้ ทีก่ ่อสร้างอย่างละเอียด และตรวจสอบสถานทีก่ ่อสร้างให้ม ี
ความพร้อมเพือ่ การออกแบบการก่อสร้าง
6.3 ด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน พบว่า ผู้ว่าจ้างมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับ
ผูร้ บั เหมาไม่สามารถปฏิบตั งิ านตามแผนงานได้ตามกําหนดเวลา ซึ่งได้รบั ผลกระทบมากจากเกิด
ภัยธรรมชาติตอ้ งหยุดดําเนินการก่อสร้างชัวคราว ่ แนวทางการควบคุมความเสีย่ งคือ ควรต้องมีการ
กําหนดระยะเวลาในการทํางานเผือ่ ไว้ในช่วงฤดูฝน กําหนดมาตรการรองรับและให้ความช่วยเหลือ
ผูร้ บั จ้างในกรณีทเ่ี กิดเหตุภยั ธรรมชาติ เช่น การต่อสัญญาจ้าง เป็ นต้น
ส่วนผูร้ บั จ้าง มีโอกาสทีจ่ ะเกิดความเสีย่ งอยู่ในระดับน้อยและมีผลกระทบทีจ่ ะเกิดความเสีย่ ง
อยู่ในระดับน้อย ซึ่งผูร้ บั จ้างมีโอกาสที่จะเกิดความเสีย่ งเกี่ยวกับผูร้ บั เหมาไม่สามารถปฏิบตั งิ าน
ตามแผนงานได้ต ามกํ า หนดเวลา ซึ่ง ได้ร ับ ผลกระทบมากจากการขาดสภาพคล่ อ งของการ
หมุนเวียนเงินของบริษัทรับเหมาในโครงการและเกิดภัยธรรมชาติต้องหยุดดําเนินการก่อสร้าง
ชัวคราว
่ แนวทาง การควบคุมความเสีย่ งคือ ติดต่อหาผูค้ า้ วัสดุในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงทีส่ ามารถให้ราคาที่
สามารถยอมรับได้ เพื่อลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้า ควรมีการคาดการล่วงหน้าหรือตรวจสอบ
สภาพอากาศในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อกําหนดแผนสํารองหรือกําหนดระยะเวลาในการทํางานเผื่อไว้
ในช่วงฤดูฝน

7. ข้อเสนอแนะ
7.1 ด้านงบประมาณ พบว่า ผูร้ บั จ้างมีโอกาสเสีย่ งเกีย่ วกับภาวะเงินเฟ้ อ ส่งผลกระทบให้เกิด
การขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนัน้ ผูร้ บั จ้างควรเตรียมซื้อของวัสดุก่อสร้างไว้ล่วงหน้า หากอยู่
ในช่วงทีร่ าคาวัสดุก่อสร้างยังไม่ปรับขึน้ มาก เพื่อเป็ นการลดต้นทุน และควรหาแหล่งทุนสํารองไว้
รองรับสถานการณ์ต่างๆ ทีอ่ าจขึน้ ได้
7.2 ด้านคุณภาพงาน พบว่า ผูว้ ่าจ้างพบปั ญหาการเข้าทํางานของผูร้ บั เหมาล่าช้า สาเหตุ
เนื่องมาจากขาดแคลนแรงงานทีม่ ฝี ี มอื หรือแรงงานไม่มคี วามสามารถและชํานาญในงาน ส่งผล
กระทบทําให้ผูร้ บั เหมาปฏิบตั งิ านไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ดังนัน้ ผูว้ ่าจ้างควรบังคับใช้สญ
ั ญา

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article


วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561 247
อย่างเคร่งครัด โดยกําหนดมาตรฐานฝี มอื ช่างและตรวจสอบจํานวนช่างฝี มอื ให้ผู้รบั จ้างจัด หา
ช่างฝีมอื ครบตามสัญญา
7.3 ด้านระยะเวลาในการดําเนินงาน พบว่า ผูว้ า่ จ้างและผูร้ บั จ้างมีโอกาสเสีย่ งเกีย่ วกับสภาพ
อากาศไม่เหมาะสมจึงทําให้เป็ นอุปสรรคในการทํางาน ส่งผลกระทบทําให้ผูร้ บั เหมาไม่สามารถ
ปฏิบตั ิงานตามแผนงานได้ตามกําหนดเวลา ดังนัน้ ผู้รบั จ้างควรตรวจสอบสภาพอากาศในพื้นที่
ก่อสร้างและกําหนดแผนสํารองโดยการกําหนดระยะเวลาทํางานเผือ่ ไว้หากงานก่อสร้างดําเนินการ
ในฤดูฝน

References
[1] Prakob Bumrungpon. Construction management. Bangkok: Academic Publishers
Center; 2009. (In Thai)
[2] Kowit Poungkram. Local government Principles and new dimensions in the future. 8th
edition, Bangkok: Winyuchon Publication House; 2012. (In Thai)
[3] Sukulpat Khumpaisal. Assessing the Contractual Risks: Case Studies of the
Condominium Projects Employing Design-Bid-Build Delivery System [Master of
Engineering in Faculty of Architecture and Planning]. Bangkok: Thammasat University;
2015. (In Thai)
[4] Amphoe Pathio. Overview of Pathio District, Chumphon Province [internet]. 2017 [cited
2018 Jan 18]. Available from https://sukanda8711.wordpress.com/. (In Thai)
[5] Your Investment Resource for Thailand’s Capital Market. Integrated risk management
framework, practical guidelines. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public; 2 0 0 8 .
(In Thai)
[6] Wiboon Srikhom. A study of risk management process in overpass construction [Project
Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering]. Nakhon Ratchasima: Suranaree
University of Technology; 2012. (In Thai)
[7] Sanguan Changchut. Project risk management. Phitsanulok: Faculty of Management
Science, Pibulsongkram Rajabhut University; 2004. (In Thai)
[8] Division of Planning, University Office. Risk management manual. Songkhla: Thaksin
University; 2012. (In Thai)
[9] Enconfund Thailand. Enterprise-wide Risk Management Manual B.E.2014. Bangkok:
Enconfund Thailand; 2014. (In Thai)

บทความวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต


248 Kasem Bundit Engineering Journal Vol.8 No.2 May-August 2018

[10] Royal Irrigation Department. Risk management guide for working capital for irrigation.
Bangkok: Royal Irrigation Department; 2014. (In Thai)

ประวัติผเู้ ขียนบทความ
เอกชัย ตรีทอง นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ตําแหน่ งงานปั จจุบนั
รับเหมาก่อสร้าง, ควบคุมงานทีป่ รึกษาโครงการ ทีอ่ ยูป่ ั จจุบนั 76/1 ม.4 ต.
ห า ด พั น ไ ก ร อ . เ มื อ ง จ . ชุ ม พ ร โ ท ร ศั พ ท์ 086-3497247 e-mail :
Akkachai_civilnon@hotmail.com

ดร.อภิ ช าต ประสิ ท ธิ์ สม ตํ า แหน่ ง อาจารย์ป ระจํ า หลัก สูต รวิศ วกรรม
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
สถานทีท่ าํ งานสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต E-mail:
apichart.w@outlook.com

Faculty of Engineering, Kasem Bundit University Research Article

You might also like