You are on page 1of 21

บทที่ 10

ทฤษฎีหลักของสังคมวิทยา

สังคมวิทยามีลักษณะประการหนึ่ง คือ มีทฤษฎีเปนของตนเอง ซึ่งเปนสิ่งสําคัญที่


ทําใหสังคมวิทยามีความเปนวิทยาศาสตร และเปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทฤษฎีทางสังคมวิทยา
มีหลายทฤษฎี แตทฤษฎีที่จัดวาเปนทฤษฎีหลักหรือทฤษฎีมหภาคมี 5 ทฤษฎี คือ ทฤษฎี
โครงสราง – หนาที่นิยม ทฤษฎีความขัดแยง ทฤษฎีปริวรรตนิยมหรือทฤษฎีแลกเปลี่ยน
ทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณ และทฤษฎีปรากฏการณนิยม

ทฤษฎีโครงสราง – หนาที่นิยม

ทฤษฎีโครงสราง – หนาที่นิยม (Structural & Functionalism Theory) เชื่อวา


โครงสรางของสังคมเปนสิ่งสําคัญที่สุดของสังคม โครงสรางแตละสวนของสังคมจะมีหนาที่ของ
ตนเอง และประสานสัมพันธกับโครงสรางอื่นๆ สังคมจึงจะมีดุลยภาพ นักทฤษฎีคนสําคัญ
คือ ออกุสท คอมท (August Comte) เฮอรเบิรท สเปนเซอร (Herbert Spencer) เอมิลี
เดอรไคม (Emile Durkhime) ทัลคอทท พารสัน (Talcott Parson) โรเบิรท เค เมอรตัน
(Robert k. Merton) และ เจฟฟรีย อเลกซานเดอร (Jeffrey Alexander) นักทฤษฎีเหลานี้ได
เสนอแนวความคิดและสาระสําคัญของทฤษฎีไวโดยสังเขปดังนี้
ออกุสท คอมท (August Comte) เสนอวาสังคมประกอบดวยโครงสรางตางๆ
หลายสวน เชนเดียวกับรางกายของมนุษยที่ประกอบดวยอวัยวะตางๆ โครงสรางแตละสวน
เหลานี้จะทําหนาที่แตกตางกันออกไปอยางชัดเจน แตตางประสานสัมพันธกันอยางเปนระบบ
สังคมจึงจะดํารงอยูไดอยางสงบสุขหรือมีดุลยภาพ (Equilibrium)
เฮอรเบิรท สเปนเซอร (Herbert Spencer) มีความคิดเห็นเชนเดียวกับออกุสท
คอมท และขยายความเพิ่มเติมวา โครงสรางของสังคมจะเพิ่มความสลับซับซอนมากยิ่งขึ้น
ทําใหเกิดความหลากหลายและแตกตางไปจากโครงสรางเดิมเสมอ แตจะยังคงเชื่อมโยงประสาน
ไมไดแยกออกจากกัน แตจะรวมกันในลักษณะของการบูรณาการ (Integration) เมื่อสมาชิก
ของสังคมเพิ่มจํานวนขึ้นก็ยิ่งทําใหเกิดความแตกตางทางสังคมมากยิ่งขึ้น ทําใหสังคมขาด
ดุลยภาพ สมาชิกจึงตองปรับตัวในรูปแบบตางๆ เชน การแบงงานกันทํา การจัดระเบียบทาง
สังคม เปนตน ทําใหสังคมยิ่งเพิ่มความซับซอน และเกิดความแตกตางกันเปนความพิเศษ
164

เฉพาะอยาง (Specialization) แตสังคมจะมีดุลยภาพ เพราะโครงสรางตางๆ ไดปฏิบัติหนาที่


ของตนและประสานสัมพันธกับโครงสรางอื่นๆ ดวย
เอมิลี เดอรไคม (Emile Durkhime) ไดเสนอเรื่องการมีดุลยภาพของสังคมวา
เกิดจากการยึดเหนี่ยวทางสังคม (Social Solidarity) โดยในสังคมขนาดเล็กที่มีโครงสรางงายๆ
จะมีการยึดเหนี่ยวทางสังคมโดยยึดถือคานิยม จารีต ประเพณี ความคิด ความเชื่อ เจตคติ
แบบเดียวกัน (Mechanical Solidarity) สวนสังคมขนาดใหญที่มีโครงสรางซับซอน การยึด
เหนี่ยวทางสังคมจะเปนไปตามสถานภาพและบทบาทที่บุคคลดํารงอยู (Organic Solidarity)
การยึดเหนี่ยวทางสังคมจะเปลี่ยนแปลงจากแบบแรกไปเปนแบบที่สอง ตามการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีโครงสรางงายๆ ไปสูสังคมที่โครงสรางซับซอนเสมอ
ทัลคอทท พารสัน (Talcott Parson) (ค.ศ. 1902 – 1979) นักสังคมวิทยา
ชาวอเมริกัน เปนนักทฤษฎีคนสําคัญที่ทําใหทฤษฎีโครงสราง – หนาที่นิยม เปนที่ยอมรับ
อยางกวางขวางจนเปนทฤษฎีหลักของสังคมวิทยาทฤษฎีหนึ่ง แนวความคิดที่สําคัญคือ
1. แนวความคิดเกี่ยวกับองคการทางสังคม มนุษยเขาไปอยูในสังคมและรวมกัน
เปนองคการดวยความสมัครใจ การตัดสินใจกระทําทางสังคมของบุคคลจะขึ้นอยูกับความสัมพันธ
ระหวางผูก ระทํา (Actor) เปาหมาย (Goals) วิธี การที่เ ลือกใช (Means) สถานการณที่
ผูกระทําตองเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง (Situational Conditions) และตัวกําหนดเชิงบรรทัดฐาน คือ
บรรทัดฐานทางสังคม คานิยม และความคิดตางๆ ที่ผูกระทํานํามาใชเพื่อเลือกวิธีการที่จะให
บรรลุเปาหมาย
2. แนวความคิ ด เรื่ อ งระบบการกระทํ า ระบบการกระทํ า เกิ ด ขึ้ น จากการที่
ผูกระทําแสดงบทบาทตามสถานภาพที่ดํารงอยู สถานภาพและบทบาทเหลานี้ จะประสาน
สัมพันธกันในรูปแบบของระบบตางๆ อันเปนระบบการกระทําระหวางกัน (System of
Interaction) ประกอบดวยผูกระทําจํานวนมาก ซึ่งมีสถานภาพและบทบาทที่รวมกัน เรียกวา
ระบบสังคม แตการตัดสินใจในการกระทําทางสังคมของบุคคลก็ยังคงเปนเชนเดิม คือ เกี่ยวของ
กับการตัดสินใจเลือกวิธีการไปสูเปาหมาย ภายใตกฎระเบียบหรือบรรทัดฐานทางสังคม คานิยม
ความเชื่อ ความคิดตางๆ และจะตองนําสภาพการณตางๆ เขามาพิจารณาดวย ที่สําคัญคือ
ระบบย อ ยของสั ง คม ความต อ งการจํ า เป น เชิ ง หน า ที่ แบบแผนต า งๆ ของตั ว แปร
กระบวนการทางสังคม และลักษณะที่สําคัญของระบบสังคม
3. แนวความคิดเรื่องความจําเปนพื้นฐานของระบบสังคม ระบบการกระทํา
ทางสั ง คมมี ค วามต อ งการจํ า เป น พื้ น ฐาน 4 ประการ คื อ การบรรลุ เ ป า หมาย (Goal
Attainment) การปรับตัว (Adaptation) การบูรณาการหรือผสมผสานสวนตางๆ เขาดวยกัน
(Integration) และการจัดการกับความตึงเครียดโดยใชกฎระเบียบตางๆ (Latency)
165

4. แนวความคิ ด เรื่ อ งลํ า ดั บ ขั้ น ของข า วสารในการควบคุ ม ระบบสั ง คม


เนื่องจากระบบยอยของสังคมมีความเกี่ยวของสัมพันธกัน จึงตองมีลําดับขั้นของการควบคุม
ขาวสาร เพื่อใหความสัมพันธประสานกลมกลืนกัน โดยระบบวัฒนธรรมจะควบคุมขาวสารของ
ระบบสังคม ระบบสังคมจะควบคุมระบบขาวสารของระบบบุคลิกภาพ ระบบบุคลิกภาพจะ
ควบคุมขาวสารของระบบอินทรีย ตามลําดับ
5. แนวความคิดเรื่องสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (Generalized Symbolic Media
of Exchange) ระบบยอยของระบบสังคมจะมีความสัมพันธทั้งภายในระบบและระหวางระบบ
โดยมีขาวสารเปนสื่อสัญลักษณกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งกระทําไดหลายแนวทาง เชน
5.1 การแลกเปลี่ยนระหวางระบบโดยใชสื่อเปนสัญลักษณ เชน อํานาจ อิทธิพล
และความผูกพัน
5.2 การแลกเปลี่ ย นภายในระบบใดระบบหนึ่ ง มี ลั ก ษณะเช น เดี ย วกั บ การ
แลกเปลี่ยนระหวางระบบ
5.3 การแลกเปลี่ยนหนาที่เฉพาะของแตละระบบ เชน การปรับตัว การบรรลุ
เปาหมาย จะเปนตัวกําหนดสื่อกลางที่จะใชในระบบหรือระหวางระบบ
6. แนวความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เกิ ด จากกระบวนการความสั ม พั น ธ เ กี่ ย วกั บ ข า วสาร พลัง งานภายในระบบ และพลั ง งาน
ระหวางระบบตางๆ ถาหากมีขาวสารและพลังงานมากเกินไป จะทําใหมีขาวสารหรือพลังงาน
เปนผลออกของระบบมากเกินไป ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้น เชน ถาคนในสังคม
มีเหตุจูงใจมากจะทํางานหรือแสดงบทบาทมาก และอาจทําใหตนเองเกิดการจัดระเบียบ บทบาท
บรรทัดฐาน และระบบคานิยมของสังคมใหม แตถาหากมีขาวสารหรือพลังงานนอยเกินไป
เชน ถาคนในสังคมมีคานิยมขัดแยงกัน จะทําใหเกิดการขัดแยงทางบรรทัดฐานหรือเกิดการ
เสียระเบียบขึ้น ก็จะสงผลตอระบบบุคลิกภาพและระบบอินทรีย ดังนั้น การควบคุมขาวสาร
จึงเปนทั้งแหลงที่จะทําใหเกิดดุลยภาพและเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมขึ้นได การเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมควรเปนแบบวิวัฒนาการ เพราะเหตุผลที่สําคัญคือ
6.1 ทําใหเกิดการจําแนกความแตกตางระหวางระบบยอยของสังคม
6.2 ทําใหเกิดการจําแนกความแตกตางในแตละระบบยอยของสังคม
6.3 ทําใหเกิดการเรงในเรื่องบูรณาการของสังคม เกิดหนวยหรือโครงสรางดาน
บูรณาการใหมๆ
6.4 ทําใหระบบยอยของสังคมสามารถดํารงอยูได
166

เจฟฟรีย อเลกซานเดอร (Jeffrey Alexander) นักทฤษฎีโครงสรางและหนาที่


นิยมอีกคนหนึ่ง ไดเสนอแนวความคิดที่จะปรับปรุงทฤษฎีใหมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดย
เสนอใหเปลี่ยนแปลงทฤษฎีโครงสราง – หนาที่นิยมเปนทฤษฎีหนาที่นิยมแนวใหม (Neo –
Functionalism) และเสนอแนวความคิดไว ดังนี้
1. ตองดําเนินการโดยอาศัยตัวแบบเชิงพรรณนาของสังคม ซึ่งประกอบดวย
สวนสําคัญตางๆ ที่มีปฏิสั มพันธ ตอกั นและกัน จะกอให เกิดรูปลักษณอันเปนแบบแผนขึ้น
แบบแผนดังกลาว จะทําใหระบบมีความแตกตางไปจากสภาพแวดลอมของระบบองคประกอบ
ของระบบจะมีความเกี่ยวพันกันในรูปของการสังเคราะห (Symbiotic Connected) และ
ปฏิสัมพันธขององคประกอบตางๆ นี้ จะไมถูกกําหนดโดยพลังครอบงําใดๆ
2. ตองใหความสําคัญในเรื่องการกระทําและความเปนระเบียบ ทั้งในระดับ
มหภาคและจุ ล ภาค ทั้ ง การกระทํ าที่ มี เ หตุ แ ละการแสดงออกต า งๆ ด ว ย ซึ่ง มี ข อบเขตที่
กวางขวางขึ้น
3. บูรณาการเปนสิ่งที่มีความสําคัญ เพราะการเบี่ยงเบนและการควบคุมทาง
สังคมเปนสิ่งที่ทุกสังคมไมอาจหลีกเลี่ยงได บูรณาการทําใหสังคมมีดุลยภาพ แตเปนดุลยภาพ
ที่เกิดจากดุลยภาพขององคประกอบตางๆ ของระบบ รวมกับดุลยภาพที่เปนพลวัต
4. บุคลิกภาพ วัฒนธรรม และระบบสังคม มีความสําคัญตอโครงสรางสังคม
และการแทรกซึมของระบบดังกลาวเขาไปภายใน จะกอใหเกิดความตึงเครียด จึงทําใหสังคม
เกิดความเปลี่ยนแปลง และตองควบคุมอยูตลอดเวลา
5. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม กอใหเกิดความแตกตางในระบบสังคม ระบบ
วัฒนธรรมและระบบบุคลิกภาพ การเปลี่ยนแปลงจึงไมไดเปนผลของการปฏิบัติตาม หรือความ
กลมกลืนเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน แตเปนผลจากความกดดันของบุคคลและสถาบันทางสังคม
6. ทฤษฎี โ ครงสร า ง – หน า ที่ นิ ย มแนวใหม ต อ งเป น อิ ส ระในการสร า ง
แนวความคิ ด และทฤษฎี จากระดั บ อื่ น ๆ ของการวิ เ คราะห ท างสั ง คมวิ ท ยา (สุ เ ทพ
สุนทรเภสัช, 2540 : 120 – 121)
ทฤษฎี โ ครงสร า ง – หน า ที่ นิ ย มที่ ก ล า วมาแล ว สรุ ป สาระสํ า คั ญ ได ว า สั ง คมจะ
ประกอบดว ยโครงสร า งที่ เ ปน ระบบยอ ยๆ หลายระบบ แต ล ะระบบจะมีห น าที่ข องตนเอง
แตกต า งกั น ออกไป ซึ่ ง ทํ า หน า ที่ ที่ ต า งกั น นี้ จ ะก อ ให เ กิ ด ความสมดุ ล ในสั ง คมนั้ น ๆ แต ถ า
โครงสรางที่เปนระบบยอยๆ ใดเกิดความบกพรองในการปฏิบัติหนาที่ จะทําใหสังคมนั้นขาด
ความสมดุล ระบบยอยทั้งหมดก็จะตองปรับตัวเขาหากันใหม เพื่อใหเกิดความสมดุลดังเดิม
ทําใหสังคมมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง และปรับตัวอยูเสมอ การปรับตัวนี้เปนการใช
วิธีการตางๆ เพื่อควบคุมสังคม
167

นัก สั ง คมวิท ยารุ น หลั ง ได พัฒ นาทฤษฎีบ ทบาทและหน า ที่ ตอ มา และข อ สมมติ
พื้นฐานของทฤษฎีบทบาทและหนาที่ในยุคใหม สรุปไดดังนี้
1. สังคมเปนระบบที่ประกอบดวยสวนตางๆ ประสานสอดคลองกัน
2. ระบบตางๆ ของสังคมมีแนวโนมที่จะดํารงอยู ไดอยางมั่งคั่ง เพราะวาแตล ะ
ระบบมีกลไก สําหรับควบคุมสมาชิกอยูภายในตัวของมันเอง
3. สว นต างๆ ของสั งคมอาจมีหนาที่ใ นทางลบ หรือผลเสีย (Disfunction) ตอ
สังคม แตสังคมจะมีการปรับตัวเพื่อแกปญหาไดเองในระยะยาว
4. การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเปนไปทีละเล็กทีละนอย
5. ความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคม เกิดจากการที่สมาชิกสวนใหญของสังคม
มีคานิยมรวมกัน ระบบคานิยมเปนสวนที่ดํารงอยูอยางมั่นคงที่สุดในระบบสังคม

ทฤษฎีความขัดแยง

ทฤษฎีความขัดแยง (Conflict Theory) เปนทฤษฎีหลักของสังคมวิทยา ซึ่งเปนที่


ยอมรับกันอยางแพรหลายเชนเดียวกับทฤษฎีโครงสราง – หนาที่นิยม นักทฤษฎีคนสําคัญ คือ
โสเครติส (Socratis) อิมมานูเอล คานท (Immanuel Kant) เฟรดริช เฮเกล (Friedrich
Hegel) ลุดวิก เฟอรบัค (Ludwig Feuerbach) คารล มารกซ (Karl Marx) จอรจ ซิมเมล
(George Simmel) เลวิส โคเซอร (Lewis Coser) และ ราลฟ ดาหเรนดอรฟ (Ralf
Dahrendorf)
โสเครติส (Socratis) นักปราชญชาวกรีกโบราณ ไดใชความขัดแยงดวยการถาม
ตอบหรือวาทศิ ลป เพื่ อแสวงหาความรูที่ถูกตองและสมเหตุสมผลมากกว าเดิม เปนความ
ขัดแยงในทางความรู และความคิดเห็นของบุคคลสองฝาย คือ ผูถามกับผูตอบ ผูถามจะถาม
จนผูตอบไมสามารถโตแยงไดและยอมจํานน จึงจะบอกคําตอบที่ถูกตองให ความขัดแยงแบบ
นี้เรียกวา ความขัดแยงแบบสมเหตุสมผลมากกวาเดิม (Logical Consistency) ซึ่งเปน
วิธีการที่โสเครติสใชสอนในสมัยนั้น โสเครติสนับวาเปนนักปราชญของทฤษฎีความขัดแยงใน
ยุคแรกๆ
อิมมานูเอล คานท (Immanuel Kant) (ค.ศ. 1724 – 1804) นักทฤษฎีความ
ขัดแยงชาวเยอรมัน ไดเสนอทฤษฎีความขัดแยงอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ถูกละเลยมานาน มี
สาระสําคัญ คือ ความขัดแยง (Dialectic) ของมนุษยเริ่มจาก “ขอเสนอเบื้องตน” (Thesis)
แล ว มี “ข อ ขั ด แย ง ” (Antithesis) มนุ ษ ย แ ต ล ะคนจะมี ค วามขั ด แย ง ธรรมชาติ (Natural
Dialectics) คือ ความขัดแยงในจิตใจ ซึ่งประกอบดวยภาวะสําคัญ 2 สวน คือ
168

1. ภาวะที่คลายพระผูเปนเจา (Homo Noumenon) คือ ความดีงาม ความ


บริสุทธิ์ หรือระบบคุณธรรมสูงสุดที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
2. ภาวะที่เปนมนุษยธรรมดา (Homo Phenomenon) คือ ภาวะอันแทจริงของ
มนุษยที่มีความเห็นแกตัว การละเมิดศีลธรรมตางๆ เอารัดเอาเปรียบผูอื่น ซึ่งเปนภาวะที่ไม
พึงประสงค
มนุษยแตละคนจะพยายามบังคับตนเอง เพื่อไปสูภาวะอันคลายคลึงกับพระผูเปนเจา
แตในขณะเดียวกันก็ถูกบงการดวยความรูสึก อารมณ ความตองการตางๆ ที่เปนภาวะมนุษย
ธรรมดา จึงทําใหมนุษยแตละคนมีความขัดแยงในจิตใจเหมือนกับเกิดสงครามอยูตลอดเวลา
ความขัดแยงดังกลาวนี้จะนํามนุษยไปสูความกาวหนา คือ มีศีลธรรมเพิ่มขึ้นเสมอ แตไม
สามารถที่จะกาวหนาไปถึงภาวะอันสมบูรณของพระเจาได ความขัดแยงจึงจะยังคงมีอยูในตัว
มนุษยตลอดไปไมมีวันหมดสิ้น
เฟรดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) (ค.ศ. 1770 – 1831) นักทฤษฎีความขัดแยง
ชาวเยอรมัน มีความคิดเห็นแตกตางไปจาก อิมมานูเอล คานท บางประการ โดยเสนอวา
ภาวะของพระผูเปนเจาไมใชความดีงาม ความบริสุทธิ์ หรือระบบคุณธรรมอันสูงสุด แตเปน
ภาวะของความเปนอยูที่สมบูรณแบบและไมมีที่สิ้นสุด โดยมีธรรมชาติเปนเจาในดานอาณาเขต
ประวัติศาสตร คือ พระผูเปนเจาในดานพัฒนาการทางเวลา ดังนั้น พระผูเปนเจากับโลกจึง
เปนสิ่งเดียวกัน เรียกวา “โลกตน” (World-Self) ความขัดแยงเปนความขัดแยงระหวางรัฐจะ
เกิดขึ้นเมื่อผูปกครองรัฐบางรัฐพยายามจะครอบครองและควบคุมรัฐอื่นๆ ไวทั้งโลก จึงเกิด
สงครามระหวางรัฐขึ้น ความขัดแยงนี้เรียกวา “ความขัดแยงทางประวัติศาสตร” (Historical
Conflict) ความขัดแยงมีลักษณะเปน 3 เสา คือ
1. ขอเสนอ ไดแก การที่มีรัฐหนึ่งซึ่งมีอิสระ มีขนบธรรมเนียมประเพณีเปนของ
ตนเองแตกตางออกไปจากรัฐอื่นๆ พยายามครอบครองรัฐอื่นๆ
2. ขอขัดแยง ไดแก การเกิดสงครามระหวางรัฐตางๆ ขึ้น
3. ขอประสาน (Synthesis) ไดแก การที่สงครามระหวางรัฐสิ้นสุดลง โดยมีรัฐใด
รัฐหนึ่งเปนผูชนะสามารถยุติความขัดแยงได ภาวะของพระผูเปนเจาที่แทจริงจึงไดแกการที่โลก
ทั้งโลกมีเพียงรัฐเดียว ไมมีความแตกตางกัน ไมมีความขัดแยงอีกตอไป
ลุดวิก เฟอรบัค (Ludwig Feuerbach) (ค.ศ. 1804 – 1872) นักทฤษฎีความ
ขัดแยงชาวเยอรมัน เปนนักทฤษฎีคนแรกที่เสนอวาพระเจาไมมีในโลก พระเจาเปนเพียง
ความคิดเพอฝน เปนสิ่งที่ไรเ หตุผล เพราะความจริงแลวมนุษยเปนผูสรางพระเจา ไมใ ช
พระเจาเปนผูสรางมนุษย ความขัดแยงจึงไมไดเกิดจากภาวะขัดแยงกันระหวางมนุษยกับพระผู
เปนเจา แตเปนความขัดแยงระหวางมนุษยดวยกันเอง โดยโลกมนุษยนั้นเปนโลกแหงวัตถุ
มนุษยแตละคนมีความเห็นแกตัว พยายามครอบครองวัตถุตางๆ ไวใหมากที่สุด มนุษยจึงไดรับ
169

วัตถุไมมากเทาที่ควร ทําใหเกิดความขัดแยง เรียกวา ความขัดแยงทางวัตถุ (Material


Dialectic) ความขัดแยงดังกลาวจะยุติลงไดดวยการเปนมนุษยแหงชุมชน (Communist) คือ
สังคมหรือชุมชนที่ไมมีกรรมสิทธิ์ครอบครองวัตถุ ไมมีการเห็นแกตัว มีการแบงปนวัตถุใช
รวมกันโดยกรรมสิทธิ์ทุกอยางเปนของสังคม
คารล มารกซ (Karl Marx) (ค.ศ. 1818 – 1883) นักทฤษฎีความขัดแยงชาว
เยอรมั น เป นนั ก ทฤษฎี ค วามขั ดแย ง คนสําคั ญที่สุ ด สาระสํ า คั ญ ของทฤษฎี คื อเขาปฏิ เ สธ
ศาสนาที่ปลูกฝงในเรื่องของพระเจา เพราะทําใหมนุษยหางไกลจากความเปนตนเอง
ความขัดแยงเกิดขึ้นเนื่องจากความเปนวัตถุนิยม โดยเศรษฐกิจเปนสิ่งสําคัญที่สุดใน
การเปลี่ยนแปลงหรือกําหนดโครงสรางของสังคม (Economic Determinism) การจัดระเบียบ
ทางเศรษฐกิจจะกําหนดการจัดระเบียบทางสังคม โครงสรางชนชั้น การจัดระเบียบของสถาบัน
ตางๆ คานิยม ความเชื่อ ศาสนา และระบบความคิดตางๆ เปนพลังที่กอใหเกิดการปฏิวัติ
หรือขัดแยงทางชนชั้นในสังคมขึ้น
โครงสรางของสังคมแบงออกเปน 2 สวน คือ
1. โครงสรางสวนบน (Superstructure) ไดแก สถาบันทางสังคมตางๆ เชน
กฎหมาย ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ อุดมการณ คานิยม ศิ ลปะ เปนตน มีหนาที่ 2
ประการ คือ
1.1 สรางความชอบธรรมในกฎหมาย จริยธรรม ซึ่งพวกชนชั้นผูปกครองได
บัญญัติไวเพื่อผลประโยชนในกลุมของตน
1.2 เป น เครื่ อ งมื อ ของชนชั้ น ผู ป กครอง เพื่ อ รั ก ษาสถานภาพและบทบาทที่
เหนือกวาเอาไว
2. โครงสรางสวนลาง (Substructure) เปนรากฐานทางเศรษฐกิจ ไดแก พลัง
การผลิต ทรัพยากร เทคโนโลยี เปนตน โครงสรางสวนลางนี้จะเปนตัวกําหนดโครงสราง
สวนบนอีกทีหนึ่ง และถือวาเปนรูปแบบของการผลิต (Mode of Production) ซึ่งมี 2 สวน
คือ
2.1 พลังการผลิต (Productive Forces) ไดแก ทรัพยากร วัตถุดิบ เทคโนโลยี
ที่นํามาใชในการผลิต เปนตน
2.2 ความสัมพันธของการผลิต (Productive Relation) คือ การที่บุคคลหรือ
กลุมคนมีความสัมพันธกันในเรื่องพลังการผลิต ซึ่งจะทําใหเกิดชนชั้นในสังคมขึ้น 2 ชนชั้น
คือ
2.2.1 เจาของปจจัยการผลิต ซึ่งมีเพียงจํานวนนอย แตไดประโยชนมาก
2.2.2 ผูไมไดเปนเจาของปจจัยในการผลิต ซึ่งมีเปนจํานวนมากแตไดรับ
ประโยชนจากการผลิตนอย (สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, 2536 : 52 – 53)
170

ภาวะทางเศรษฐกิจที่กลาวมานี้ ทําใหเกิดความขัดแยงทางสังคมและนําไปสูการตอสู
ระหว า งชนชั้ น ขึ้ น คาร ล มาร ก ซ เชื่ อ ว า ความขั ด แย ง ของมนุ ษ ย เ ป น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การ
ครอบครองการใชประโยชนและการแบงปนทรัพยสินทั้งสิ้น วิธีการศึกษาแบบนี้ เรียกวา “วัตถุ
นิยมวิภาษณวิธี” (Dialectic Materialism) โครงสรางสังคมของคารล มารกซ สามารถแสดง
ไดดังรูปที่ 10.1

รัฐบาล โครงสรางสวนบน
และวัฒนธรรม
(กฎหมาย ศาสนา
ศิลปะ คานิยม เปนตน)

ความสัมพันธของการผลิต
(ชนชั้น)
โครงสราง
พลังการผลิต สวนลาง
(ทรัพยากร เทคโนโลยี)

รูปที่ 10.1 โครงสรางสังคมของ คารล มารกซ

ความขัดแยงทางสังคมแบบวัตถุนิยมวิภาษณวิธีของคารล มารกซ สามารถอธิบาย


ไดดังนี้
1. ขอเสนอ ไดแก กลุมคนที่เปนเจาของเครื่องมือในการผลิต หรือนายทุน
เอารัดเอาเปรียบผูที่ไมไดเปนเจาของเครื่องมือในการผลิต
2. ขอขัดแยง ไดแก กลุมคนที่ไมไดเปนเจาของเครื่องมือในการผลิต หรือกรรมกร
ผูใชแรงงานไมยินยอมใหเอารัดเอาเปรียบอีกตอไป จึงเกิดการตอสูระหวางนายทุนกับผูใช
แรงงานขึ้น
3. ขอเสนอประสาน ไดแก ผลของการตอสูระหวางชนชั้น โดยกรรมกรหรือผูใช
แรงงานเปนฝายชนะและนําไปสูสังคมคอมมิวนิสต
171

คารล มารกซ แบงสังคมตามวิวัฒนาการของความขัดแยงออกเปน 5 ยุค คือ


1. สังคมบุพกาลหรือสังคมคอมมิวนิสตดั้งเดิม (Primitive Communist) เปน
สังคมในยุคแรกเริ่มของมนุษย ยังไมมีการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินและสิ่งตางๆ มีการ
แบงปนผลผลิตของสังคมอยางดี ไมมีการแบงชนชั้นในสังคม ความขัดแยงจึงยังไมเกิดขึ้น
2. สังคมทาส (Slavery) เปนสังคมตอจากสังคมบุพกาล ในยุคนี้มนุษยเริ่มเกิด
ความเห็นแกตัว มีการถือครองในทรัพยสินตางๆ ทําใหเกิดชนชั้นทาสกับนายทาสขึ้น และ
นําไปสูความขัดแยง ในที่สุดระบบทาสก็ถูกทําลายไปสูสังคมยุคที่ 3
3. สังคมศักดินา (Feudalist) เปนสังคมที่เปนขอเสนอประสานระหวางทาสกับ
นายทาส ในสังคมยุคนี้มีชนชั้น 2 ชนชั้น คือ ชาวไรชาวนากับเจาผูครองนคร โดยเจา
ผูครองนครเปนผูครอบครองปจจัยในการผลิต และชาวไรชาวนาไมไดเปนเจาของปจจัยในการ
ผลิต ตองทํางานในไรนาตางๆ เพื่อแลกกับการดํารงชีวิต ในที่สุดก็เกิดความขัดแยงกันขึ้น
ระบบศักดินาถูกทําลายไปสูสังคมยุคที่ 4
4. สังคมทุนนิยม (Capitalist) เปนสังคมที่เกิดขึ้นตอจากสังคมศักดินา ในยุคนี้
สังคมจะแบงออกเปน 2 ชนชั้น คือ นายทุน ซึ่งเปนผูครอบครองปจจัยในการผลิตกับชนชั้น
กรรมาชีพที่ไมไดครอบครองปจจัยในการผลิต ทําใหเกิดความขัดแยงระหวางชนชั้นทั้งสองขึ้น
และชนชั้นกรรมาชีพเปนฝายชนะในที่สุด ทําใหเกิดสังคมยุคที่ 5 ขึ้น
5. สังคมคอมมิวนิสต เปนสังคมที่เกิดขึ้นจากผลของความขัดแยงในสังคมทุนนิยม
เปนสังคมที่ไมมีการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพยสิน มีการแบงปนผลผลิตอยางเทาเทียมกันและ
ไมมีชนชั้นอีกตอไป ทําใหความขัดแยงในสังคมหมดไปดวย สังคมคอมมิวนิสตทําใหมนุษยลด
ความเห็นแกตัวลง เสียสละความสุขสวนตัวเพื่อสวนรวม มีความเสมอภาคกันในทางสังคม
เศรษฐกิจและการเมือง เปนมนุษยของชุมชนอยางแทจริง
ทฤษฎีความขัดแยงของ คารล มารกซ เปนที่ยอมรับของนักทฤษฎีและนักปฏิวัติ
สังคมในหลายประเทศ และเปนที่มาของประเทศที่ใชระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในอดีตและ
ปจจุบัน
จอรจ ซิมเมล (George Simmel) (ค.ศ. 1858 – 1918) นักทฤษฎีความขัดแยง
ชาวเยอรมัน มีความคิดเห็นแตกตางไปจากคารล มารกซ กลาวคือ ไมเห็นดวยกับความเชื่อ
ที่วาความขัดแยงในสังคมเกิดจากความขัดแยงระหวางชนชั้นสองชนชั้น และมีลักษณะรุนแรง
ในที่สุดจะเกิดการลมลางระบบสังคมเดิม แตมีความเห็นวาความขัดแยงที่เกิดจากคนกลุมตางๆ
ในสังคมไมจําเปนตองนําไปสูความรุนแรงหรือการลมลางระบบสังคมเดิมเสมอไป ตรงกันขาม
ถาหากเกิดขึ้นในระดับต่ําแลวจะทําใหระบบสังคมมีความมั่นคงยิ่งขึ้น เนื่องจากคนทั้ง
สองกลุมไดเขาใจถึงความตองการของกันและกัน ไดทบทวนวัตถุประสงครวมกันใหม และเกิด
172

การประนีประนอมกันขึ้น นับวาเปนนักทฤษฎีความขัดแยงที่มองความขัดแยงไปในทางบวก
และเปนผลดีตอสังคม (เพ็ญแข ประจนปจจนึก, 2528 : 21)
เลวิส โคเซอร (Lewis Coser) นักทฤษฎีความขัดแยงชาวอเมริกัน มีแนวความคิด
ทํานองเดียวกันกับ จอรจ ซิมเมล โดยเชื่อวาความขัดแยงหากไมรุนแรงและไมเกิดขึ้นบอยๆ
แลวเปนสิ่งที่ดี สังคมประกอบดวยสวนตางๆ ที่ทํางานรวมกัน สวนตางๆ เหลานี้จะมีความ
แตกตางกันและมักจะเกิดความขัดแยงระหวางกันเสมอ ความขัดแยงของสวนตางๆ นี้ หาก
ไมรุนแรงจะปรับตัวเขาหากันได ความขัดแยงของสวนตางๆ ของสังคมอยางรุนแรงจนนําไปสู
การเปลี่ยนรูปแบบของสังคมนั้นเกิดขึ้นไดยาก แตอาจจะเกิดขึ้นในสังคมที่มีรูปแบบของสังคม
เปลี่ยนยาก (Rigid System) เปนสังคมที่ไมเปดโอกาสใหมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น
เทานั้น แนวความคิดนี้ เรียกวา แนวความคิดแบบการทํางานรวมกันของสวนตางๆ ที่
ขัดแยงกัน (Conflict Functionlism) ซึ่งสอดคลองกับแนวความคิดของ จอรจ ซิมเมล ที่
กลาวมาแลว
ราลฟ ดาหเรนดอรฟ (Ralf Dahrendorf) นักทฤษฎีความขัดแยงชาวเยอรมัน
เปนผูเสนอแนวความคิดวาสังคมมี 2 สวน คือ สวนที่มีความขัดแยงและสวนที่สมานฉันท
(Consensus) ทั้งสองสวนนี้ตางเปนความจําเปนของกันและกัน ความขัดแยงจะเกิดขึ้นไมได
ถาหากวากอนหนานั้นไมมีความสมานฉันทเกิดขึ้นกอน และในทางตรงกันขามความขัดแยง
อาจจะนําไปสูความสมานฉันทและบูรณาการได ดังนั้นสังคมจะดํารงอยูไมไดถาหากไมมีความ
ขัดแยงและสมานฉันท ความขัดแยงทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้น เปนเรื่องของความขัดแยงใน
ผลประโยชนระหวางกลุมผูมีอํานาจเหนือกวากับกลุมที่มีอํานาจต่ํากวา กลาวคือ ผูที่มี
อํานาจเหนือกวาพยายามรักษาอํานาจของตนเอาไว แตผูที่มีอํานาจนอยกวาหรือไมมีอํานาจ
พยายามเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา เมื่อความขัดแยงถึงขีดสุด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะมี
ความรุนแรงและทําใหการเปลี่ยนแปลงโครงสรางสังคมเกิดขึ้นอยางฉับพลัน (สุเทพ สุนทรเภสัช,
2540: 124-129)
จอรจ ซิมเมล เลวิส โคเซอร และ ราลฟ ดาหเรนดอรฟ เปนนักทฤษฎีที่
พยายามผสมผสานทฤษฎีโครงสราง – หนาที่นิยม กับทฤษฎีความขัดแยงทางสังคมเขาดวยกัน
เพื่อพัฒนาทฤษฎีทั้งสองใหถูกตองและเหมาะสมกับยุคปจจุบันมากที่สุด
ทฤษฎีความขัดแยงทางสังคมที่กลาวมาแลว อาจจะสรุปสาระสําคัญไดวา มีลักษณะ
ตรงกันขามกับทฤษฎีโครงสราง – หนาที่นิยม โดยเชื่อวาระบบสังคมประกอบดวยระบบยอย
หลายระบบ แตละระบบยอยมีบทบาทหนาที่ของตนเอง ระบบยอยเหลานี้จะขาดความเสมอ
ภาคหรือไมเทาเทียมกัน ระบบยอยที่เหนือกวาจะเอารัดเอาเปรียบและครอบงําระบบยอยที่ดอย
กวา จึงทําใหเกิดความขัดแยงในสังคมขึ้น ความขัดแยงจะนําไปสูการตอสู (Struggle) และ
การเปลี่ยนแปลงสังคมใหดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงสังคมจะเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสูคุณภาพ
173

แบบวิ วั ฒ นาการ คื อ ค อ ยเป น ค อ ยไป และการเปลี่ ย นแปลงในด า นคุ ณ ภาพ ซึ่ ง เป น การ
เปลี่ยนแปลงที่สําคัญ จะเปนแบบการปฏิวัติคือ การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน การเปลี่ยนแปลง
จึงเกิดจากความขัดแยงภายในระบบสังคมมากกวาความขัดแยงจากภายนอกสังคม
ทฤษฎีความขัดแยงสมัยใหม มีขอสมมุติพื้นฐานพอสรุปไดดังนี้
1. ลักษณะสําคัญของสังคมคือการเปลี่ยนแปลง ความขัดแยงและการบังคับ
2. สังคมดํารงอยูภายใตอํานาจครอบงําของคนบางกลุมที่อยูเหนือคนอื่นๆ ในสังคม
3. คนกลุมตางๆ ในสังคมแตละกลุมมีผลประโยชนเฉพาะกลุมของตน
4. เมื่อคนในกลุมมีความสํานึกในผลประโยชนรวมกันของกลุมตน กลุมนั้นๆ ก็จะ
กลายเปนชนชั้น
5. ความขัดแยงทางชนชั้นจะมีมากนอยเพียงใด ขึ้นอยูกับเงื่อนไขทางการเมือง
และทางสังคม (เชน เสรีภาพในการรวมตัวกันของกลุมตางๆ) ลักษณะของการกระจายอํานาจ
และผลประโยชนและโอกาสในการเปลี่ยนฐานะทางชนชั้นของสมาชิกสังคม

ทฤษฎีปริวรรตนิยมหรือทฤษฎีแลกเปลี่ยน

ทฤษฎีปริวรรตนิยมหรือทฤษฎีแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) เปนทฤษฎีหลัก


ทฤษฎี หนึ่งของสังคมวิทยา ที่ สามารถนําแนวความคิดไปใชไดกั บความสัมพันธทางสังคม
ระหวางบุคคลไปจนกระทั่งถึงระดับสังคม เปนทฤษฎีที่เกิดจากการผสมผสานแนวความคิดทาง
เศรษฐศาสตรเชิงอรรถประโยชนนิยม (Utilitarian Economics) มานุษยวิทยาเชิงหนาที่
(Functional Anthropology) และจิตวิทยาเชิงพฤติกรรม (Behavioral Psychology) แบง
ออกเปน 2 ประเภท คือ ทฤษฎีปริวรรตนิยมพฤติกรรมและทฤษฎีปริวรรตนิยมเชิงโครงสราง
(สัญญา สัญญาวิวัฒน, 2540 : 87 – 88)

ทฤษฎีปริวรรตนิยมพฤติกรรม
ทฤษฎีปริวรรตนิยมพฤติกรรม (Exchange Behaviorism Theory) เปนทฤษฎีที่
เกี่ยวของกับการแลกเปลี่ยนระหวางคนสองคนหรือกลุมคนขนาดเล็ก เรียกอีกอยางหนึ่งวา
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนระดับบุคคล (Individualistic Exchange) ซึ่งพัฒนามาจากความรู
ดานจิตวิทยาพฤติกรรมของนักจิตวิทยา นักทฤษฎีที่สําคัญคือ จอรจ ซี. โฮมันส (George
C. Homans) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน
174

ลักษณะทั่วไปของการแลกเปลี่ยนระหวางบุคคล
กอนที่โฮมันส จะเสนอทฤษฎีการแลกเปลี่ยนระดับบุคคลนั้น เชื่อกันวาการแลกเปลี่ยน
ระดับบุคคลมีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้
1. ในสถานใดๆ บุคคลจะมีพฤติกรรมที่ใหผลตอบแทนมากที่สุดและใหผลรายนอย
ที่สุด
2. บุคคลจะมีพฤติกรรมซ้ําพฤติกรรมในอดีตที่ใหผลตอบแทนงดงาม
3. บุคคลจะมีพฤติกรรมซ้ํากับสถานการณที่คลายกับอดีต ซึ่งใหผลตอบแทนงดงาม
4. สิ่งเราที่ใหผลตอบแทนงดงามในอดีต จะกอใหเกิดพฤติกรรมทํานองเดียวกับ
อดีตอีก
5. พฤติกรรมซ้ําจะเกิดขึ้นตอไปเรื่อยๆ ถาหากยังไดรับผลตอบแทน
6. บุคคลจะไมพึงพอใจ ถาหากพฤติกรรมนั้นเคยไดรับผลตอบแทนในอดีตแตไมได
รับผลตอบแทนในปจจุบัน
7. บุคคลยิ่งไดรับรางวัลจากพฤติกรรมเฉพาะอยางใดมากขึ้นเทาใด พฤติกรรมนั้นก็
จะลดคาลงเพียงนั้น และมีแนวโนมที่จะมีพฤติกรรมอื่นเพื่อแสวงหารางวัลอยางอื่นตอไป

ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนระดับบุคคลของ จอรจ ซี. โฮมันส


จอรจ ซี. โฮมันส ไดทําการศึกษากรณีศึกษา 3 เรื่อง คือ กรณีศึกษาโรงไฟฟา
ตะวันตกของ Hawthorne กรณีศึกษา Norton Street Gang และ กรณีศึกษา Tikopia
Family ซึ่งไดมีผูศึกษาไวแลวและพบวาการแลกเปลี่ยนระหวางบุคคลมีลักษณะ 10 ประการ
ดังนี้
1. ถาความถี่ของการกระทําระหวางกันของบุคคล 2 คน หรือมากกวา 2 คน
เพิ่มขึ้น ระดับของความชอบพอกันก็จะสูงขึ้นหรือกลับตรงกันขาม
2. การเพิ่มขึ้นของความรูสึกชอบพอของบุคคลจะแสดงออกดวยการเพิ่มการกระทํา
ระหวางกันหรือกลับตรงกันขาม
3. การกระทําระหวางกันของบุคคลยิ่งบอยมากขึ้นเพียงใด ความคลายคลึงของการ
กระทําและความรูสึกก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น หรือกลับตรงกันขาม
4. บุคคลมีตําแหนงในกลุมสูงเพียงใด ก็จะยิ่งกระทําตามบรรทัดฐานของกลุมมาก
ขึ้นเพียงนั้น หรือกลับตรงกันขาม
5. บุคคลยิ่งมีตําแหนงทางสังคมสูงมากเพียงใด ก็จะยิ่งมีขอบเขตของการกระทํา
กวางขวางมากขึ้นเพียงนั้น
6. บุ ค คลยิ่ง มี ตํ า แหน งทางสัง คมสู ง มากเพี ย งใด จํา นวนคนที่ จ ะเป น ผูริ เ ริ่ ม การ
กระทําใหเขาไมวาจะเปนทางตรงหรือทางออมก็ตาม ก็จะยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น
175

7. ยิ่งบุคคลมีตําแหนงทางสังคมสูงมากเพียงใด จํานวนคนที่เขาจะตองริเริ่มกิจการ
ใหโดยทางตรงหรือทางออมก็ตามจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเพียงนั้น
8. บุ ค คลยิ่ ง มี ตํ า แหน ง ทางสั ง คมใกล เ คี ย งกั น มากเพี ย งใด ก็ จ ะยิ่ ง มี ก ารกระทํ า
ระหวางกันบอยมากขึ้นเพียงนั้น
9. บุคคลยิ่งมีการกระทําระหวางกันถี่มากขึ้นเพียงใด ขณะที่ไมมีบุคคลใดบุคคล
หนึ่งเปนผูริเริ่มการกระทําระหวางกันมากกวาใคร ความชอบพอกันก็จะยิ่งมีมากขึ้น และจะมี
ความสะดวกใจในการที่คนเหลานี้จะรวมอยูในกลุมเดียวกัน
10. เมื่อบุคคลสองคนมีการกระทําระหวางกัน หากคนหนึ่งในสองยิ่งเปนผูริเริ่มการ
กระทําระหวางกันใหอีกคนหนึ่งมากขึ้นเพียงใด อีกคนหนึ่งจะยิ่งเพิ่มความเคารพ (ศัตรู) มาก
ขึ้นเพียงนั้นและจะยิ่งพยายามลดความถี่ของการกระทําระหวางกันใหนอยลงเพียงนั้น

ทฤษฎีปริวรรตนิยมเชิงโครงสราง
ทฤษฎีปริวรรตนิยมเชิงโครงสราง (Exchange Structuralism Theory) เปนทฤษฎีที่
เกี่ยวของกับการแลกเปลี่ยนระหวางคนหมูมาก คูแลกเปลี่ยนไมจําเปนตองเห็นหนากันก็ได
เรียกอีกอยางหนึ่งวา การแลกเปลี่ยนรวมหมู (Collective Exchange Theory) ซึ่งเปน
ทฤษฎี ที่ พัฒ นามาจากทฤษฎี ท างมานุษ ยวิ ท ยา และเศรษฐศาสตร นั ก ทฤษฎี ที่สํ า คัญ คื อ
ปเตอร เอ็ม. เบลา (Peter M. Blau) นักทฤษฎีชาวอเมริกันซึ่งมีแนวความคิดที่สําคัญ 2
ประการคือ หลักการแลกเปลี่ยนรวมหมูเบื้องตน และทฤษฎีอํานาจ
หลักการแลกเปลี่ยนรวมหมูเบื้องตน (Basic Exchange Principles) หลักการ
แลกเปลี่ ย นรวมหมู เ บื้ อ งต น เป น การมุ ง ตอบคํ า ถามว า องค ก ารทางสั ง คมเกิ ด ดํ า รงอยู
เปลี่ยนแปลง และลมสลายไดอยางไร ซึ่งมีหลักการเบื้องตน 7 ประการ ดังนี้
1. ยิ่งบุคคลคาดหวังวาจะไดกําไรจากการกระทํากิจกรรมเฉพาะใด เขาก็ยิ่งมีแนวโนม
จะกระทํากิจกรรมนั้นมากขึ้น ทําใหบุคคลเลือกทํากิจกรรมที่เขาคาดวาจะไดรับรางวัลจาก
กิจกรรมนั้น ยิ่งหวังวาจะไดมากเทาไร ก็ยิ่งทํากิจกรรมนั้นเทานั้น
2. ยิ่งบุคคลไดทําการแลกเปลี่ยนรางวัลกับบุคคลอื่นบอยครั้งมากขึ้นเพียงใด โอกาส
ที่ความผูกพันระหวางกันจะเกิดมากยิ่งขึ้น และความผูกพันนี้จะกําหนดกิจกรรมแลกเปลี่ยน
ของเขาทั้งสองที่จะติดตามมา รางวัลตางตอบแทนกันนี้ไมจําเปนตองเปนสิ่งเดียวกัน อาจจะ
แตกตางกันไดแตทั้งสองฝายตองเห็นวาเปนสิ่งคูควรกันเมื่อแลกเปลี่ยนรางวัลกันนาน และ
บอยครั้งก็จะสรางความผูกพันระหวางกันหรือความผูกพันตางตอบแทนขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปใน
สังคมจะมีบรรทัดฐานแหงการตอบแทนกัน (Norm of Reciprocity) ที่บังคับใหบุคคลตอบแทน
สิ่งที่ผูอื่นใหอยูแลว ทําใหความสัมพันธนี้ยืนยาวยิ่งขึ้น
176

3. ยิ่งความผูกพันตางตอบแทนถูกฝาฝนมากยิ่งขึ้นเพียงใด คูสัมพันธผูเสียประโยชน
ก็จะยิ่งแสดงสิทธานุมัติทางลบมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น กลาวคือในความผูกพันตางตอบแทนนี้ ถา
หากคูสัมพันธฝายหนึ่งไมไดตอบแทนใหแกอีกฝายหนึ่ง ฝายที่ไมไดรับตอบแทนก็จะแสดง
สิทธานุมัติทางลบ (Negative Sanction) มากยิ่งขึ้นเพียงนั้น เชน แสดงความไมเปนมิตร
แสดงความไมพึงพอใจ ลดผลประโยชนลง เลิกสัมพันธแลกเปลี่ยนหรืออาจกลายเปนศัตรู
คูแขงกันก็ได
4. บุคคลยิ่งไดรับรางวัลที่คาดหวังไวจากการกระทําเฉพาะใดบอยมากขึ้นเพียงใด
บุคคลก็ยิ่งลดคุณคาของกิจกรรมเฉพาะนั้นลง พรอมทั้งยิ่งลดการกระทํากิจกรรมเฉพาะนั้นลง
ดวย เปนความสัมพันธที่เกี่ยวของกับคุณคาหรือราคาของกิจกรรมที่ขึ้นลงตามความถี่ของการ
ไดรับรางวัล อันเนื่องมาจากกิจกรรมเฉพาะนั้นๆ ซึ่งเปนไปตามหลักเศรษฐศาสตร เรื่องกฎ
อรรถประโยชนหนวยสุดทาย (Law of Marginal Utility) ที่วายิ่งบุคคลไดรับรางวัลใดมากขึ้น
บุคคลก็จะยิ่งรูสึกอิ่ม (Satiate) กับรางวัลนั้นคุณคาของรางวัลนั้นก็จะคอยๆ ลดลง แตจะเริ่ม
หารางวัลอื่นมาทดแทน ในขณะเดียวกันถาหากวาเขาไดรับรางวัลนอยก็จะถึงจุดอิ่มตัวอีก
เชนเดียวกัน
5. ยิ่งความสัมพันธแลกเปลี่ยนมีความมั่นคงมากขึ้นเพียงใด ความเปนไปไดที่จะใช
บรรทัดฐานแหงการแลกเปลี่ยนอยางยุติธรรมก็จะยิ่งมากขึ้นเพียงนั้น ความสัมพันธแลกเปลี่ยน
ที่มั่นคง หมายถึง ความสัมพันธแลกเปลี่ยนที่คูสัมพันธไมวาจะเปนเพียงสองคน หรือมากกวา
ยอมรับวามีอยูตางไดทดแทนแลกเปลี่ยนรางวัลตอกันเปนเวลานาน จนกลายเปนเรื่องปกติ
ความสัมพันธแบบนี้จะทําใหเกิดบรรทัดฐานหรือมาตรฐานสังคมในการแลกเปลี่ยนอยางยุติธรรม
มากขึ้น
6. ยิ่งมีการปฏิบัติตามบรรทัดฐานแหงความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยนนอยลงไป
เทาใด คูสัมพันธที่ไมไดรับความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยนก็จะยิ่งใชสิทธานุมัติทางลบตออีก
ฝายหนึ่งมากขึ้น ซึ่งเปนลักษณะที่ตอเนื่องจากหลักการในขอที่ 3 ซึ่งกลาวมาแลว
7. ยิ่งความสัมพันธแลกเปลี่ยนเกิดความสมดุล และความมั่นคงขึ้นในบางหนวยสังคม
ก็ยิ่งเปนไปไดมากกวาความสัมพันธแลกเปลี่ยนในหนวยสังคมอื่นจะไมสมดุลและมั่นคง เปน
หลักการที่ตอเนื่องจากหลักการขอที่ 6 กลาวคือ หากความสัมพันธแลกเปลี่ยนของบางหนวย
สังคม เชน สถาบันการเมืองการปกครอง มีความสมดุลและมั่นคง ความสัมพันธแลกเปลี่ยน
ของอีกบางหนวยสังคมในสังคมเดียวกัน เชน เศรษฐกิจ ครอบครัว ศาสนาจะไมสมดุลและ
มั่นคง ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากการทุมเททรัพยากรและความเอาใจใสนอยกวาสถาบันการเมือง
การปกครอง
177

ทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณ

ทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณ (Symbolic Interactionism Theory)


เปนทฤษฎีประเภทจุลภาค (Micro) เพราะใหความสําคัญตอมนุษยแตละคนและชวยใหความรู
เกี่ยวกับสังคมมนุษยมีความสมบูรณมากยิ่งขึ้น นักทฤษฎีที่สําคัญ คือ จอรจ เฮอรเบิรท มีด
(George Herbert Mead) จาคอบ โมเรโน (Jacob Moreno) ราลฟ ลินตัน (Ralph Linton)
เออรวิง กอฟฟแมน (Erving Goffman) เฮอรเบิรท บลูเมอร (Herbert Blumer) และ
เชนดอน สไตรเกอร (Sheldon Stryker)
จอรจ เฮอรเบิรท มีด (George Herbert Mead) (ค.ศ. 1863 – 1931) นักทฤษฎี
ชาวอเมริกัน เปนผูวางรากฐานของทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณและทฤษฎี
บทบาท (Role Theory) โดยไดรับอิทธิพลจากแนวความคิดของจอรจ ซิมเมล อีกทีหนึ่ง
แนวความคิดของทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณมีสาระสําคัญดังนี้
1. ความออนแอทางชีววิทยาของเผาพันธุมนุษย เปนเหตุใหมนุษยตองอยูรวมกัน
เปนกลุมเปนสังคมเพื่อการมีชีวิตรอด
2. มนุษยคัดเลือกเก็บรักษาการกระทําระหวางกันที่สงเสริมความรวมมือระหวางกัน
ซึ่งสงผลใหมีชีวิตอยูรอดดวยเอาไว ขณะเดียวกันก็ละทิ้งการกระทําระหวางกันที่ไมสงเสริม
ความสัมพันธเชนวานั้นไป ทําใหเกิดจิต อัตตา และสังคมขึ้น
3. จิต (Mind) มีลักษณะสําคัญ คือ
3.1 มีค วามสามารถในการใชสัญ ลัก ษณ กํ า หนดสิ่งต า งๆ ในสภาพแวดลอ ม
ทําใหสามารถรูจักสิ่งตางๆ เหลานั้น
3.2 สามารถฝกซอมในใจในแนวการกระทําตางๆ ตอสิ่งตางๆ ได กอนที่จะลง
มือกระทําจริง (Imaginative Rehearsal)
3.3 สามารถหักหามแนวการปฏิบัติที่ไมเหมาะไมควร เมื่อวิเคราะหไดจากการ
ฝกซอมในใจ
จิตมนุษยมีลักษณะเปนกระบวนการไมใชเปนโครงสราง การฝกซอมในใจนี้เองที่เปน
ปจจัยสําคัญของการเกิดกลุมที่เปนระเบียบ (Organized Group)
4. อัตตา (Self) เมื่อบุคคลสามารถใหความหมายกับสิ่งตางๆ และบุคคลอื่นใน
สภาพแวดลอมไดแลว เขาก็สามารถใหความหมายกับตัวเองได การตีความหมายของทาทาง
ต างๆ จึ งเปนทั้งช ว ยให เ กิดการประสานงานระหว างมนุษ ยดว ยกัน และสามารถนํามาใช
ประเมินผลตนเองไดอีกดวย การประเมินผลตนเองนี้ขึ้นอยูกับกระบวนการของจิตนั่นเอง กลาวคือ
เมื่อบุคคลได “ภาพตนเอง” (Self-mage) จากสายตาของคนอื่นที่สัมพันธกับตนเองมาระยะหนึ่ง
ภาพนี้จะคอยๆ ฝงลึกในจิตใจจนกลายเปนความคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self-Conception) ที่
178

เปรียบเหมือนเปนวัตถุหนึ่งที่มีความสม่ําเสมอ เปนบุคคลประเภทที่มีความโนมเอียงที่จะมอง
สิ่ งใดสิ่ งหนึ่ งที่ ป ระสานสอดคล อ งกั นมั่ น คงถาวรของตนขึ้น กลายเป นอั ต ตาของบุ ค คลนั้ น
กระบวนการพัฒนาอัตตานี้มี 3 ขั้นตอนคือ
4.1 ขั้นการเลนบท (Play Stage) หรือขั้นเอาใจเขามาใสใจเรา (Role-Taking)
เปนระยะที่บุคคลยังเปนเด็กทารก มีความสามารถในการสวมบทบาทของคนอื่นไดจํากัดเพียง
คนหรือสองคนเทานั้น ภาพของตนเอง (อัตตา) ก็ยังจํากัดไมฝงแนนแตอยางใด
4.2 ขั้นเกมกีฬา (Game Stage) เปนชวงที่เด็กทารกเจริญวัยใหญขึ้น สามารถ
สวมบทบาทของผูอื่นหรือเอาอยางคนอื่นมากขึ้น ทํางานเปนระบบมากขึ้น ภาพของตัวเองมี
ความซับซอนมากขึ้น สามารถรวมมือกับผูอื่นไดมากขึ้น รวมกิจกรรมที่มีการประสานงานกัน
อยางเปนระเบียบมากขึ้น
4.3 ขั้นสวมบทบาทของบุคคลทั่วไป (Generalized Other) เปนขั้นที่บุคคล
สามารถยึดถือปริทรรศนทั่วไปของชุมชนหรือความเชื่อทั่วไป คานิยม บรรทัดฐานของสังคม
หนึ่งในการกระทําระหวางกันดานตางๆ ได กลาวคือ บุคคลสามารถทั้งเพิ่มความเหมาะสมใน
การตอบโตกับผูอื่นในการกระทําระหวางกันมากขึ้น และขยายขอบเขตภาพของตนเองจาก
ความสามารถในการสวมบทบาทของบุคคลจํานวนมากขึ้นอยูเสมอ อันเปนขั้นตอนพัฒนาการ
ของอัตตาชั้นตางๆ ของมนุษย
5. สังคมมนุษย เปนการกระทําระหวางกันของบุคคลที่มีการจัดระเบียบแลว และมี
แบบแผนของบุ ค คลต า งๆ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น เพราะจิ ต กล า วคื อ การยึ ด ถื อ บทบาททํ า ให บุ ค คล
สามารถควบคุมลักษณะการโตตอบของตัวเองได ทั้งนี้เพราะบุคคลมีความสามารถในการสวม
บทบาทของผูอื่นไดนั่นเอง สังคมยังตองขึ้นกับอัตตาอีกดวย เพราะอัตตาเกิดจากความสามารถ
ของบุคคลในการสวมบทบาทบุคคลทั่วไป ถาหากไมสามารถมองเห็นและประเมินคาตนเองจาก
สายตาคนอื่นแลว การควบคุมทางสังคมก็จะมีเพียงการประเมินตนจากบทบาทของของตนเอง
เทานั้น ซึ่งจะไมสามารถประสานกิจกรรมที่แตกตางกันได จิตและอัตตาทําใหสังคมมีความ
เคลื่อนไหว คือเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาดวยการแทรกบทบาทและเลือกบทบาทหรือแนวทาง
ปฏิบัติ ทําใหบุคคลสามารถปรับตัวไดอยูตลอดเวลาที่มีการโตตอบกับผูอื่น จากการที่บุคคล
ถือเอาอัตตาเปนวัตถุอีกอยางหนึ่งในกระบวนการกระทําระหวางกันทางสังคมนี่เอง ทําใหบุคคล
สามารถประเมินคาอัตตาในสายตาของผูอื่นได และสามารถวางแผนการโตตอบกับผูอื่นไดอีก
ดวย
จาคอบ โมเรโน (Jacob Moreno) นักทฤษฎีชาวอเมริกันไดเสนอแนวความคิดวา
องคการสังคมจะประกอบดวยเครือขายของบทบาทจํานวนหนึ่ง (Network of Roles) ซึ่งเปน
ตัวบังคับและใหแนวทางแกการกระทําตางๆ บทบาทเหลานี้มี 3 ประเภทคือ
1. บทบาทเกี่ยวกับความตองการจําเปนทางชีวภาพ (Psychosomatic Role)
เปนบทบาทที่ผูแสดงไมรูตัวแตปฏิบัติตามเงื่อนไขของสังคม
179

2. บทบาทตามสภาพสังคม (Psychodramatic Role) เปนบทบาทที่บุคคลแสดง


ตามความคาดหวังของสภาพสังคมเฉพาะ
3. บทบาทสังคม (Social Role) เปนบทบาทที่บุคคลแสดงตามความคาดหวัง
ทั่วไปของสังคม เชน เปนเกษตรกร กรรมกร บิดา มารดา เปนตน
ราลฟ ลินตัน (Ralph Linton) (ค.ศ. 1893 – 1953) นักทฤษฎีชาวอเมริกันได
ศึกษาทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณ และเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะของ
องคการทางสังคมและบุคคลที่เปนสมาชิกเพิ่มเติม ดังนี้
1. แนวความคิดเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาท สถานภาพคือสิทธิและหนาที่
ตางๆ ของบุคคล บทบาทคือสวนที่เปนพลวัตของสถานภาพ บุคคลจะไดรับมอบหมายให
ดํารงสถานภาพ โดยมีความสัมพันธกับสถานภาพอื่น เมื่อเขาใชสิทธิและทําหนาที่อันเปนสวน
ตางๆ ของสถานภาพก็เทากับวาเขาแสดงบทบาทนั่นเอง
2. แนวความคิดเกี่ยวกับโครงสรางทางสังคม โครงสรางทางสังคมประกอบดวย
หนวยสําหรับวิเคราะหหลายประการคือ
2.1 ตําแหนงตางๆ ชุดหนึ่ง
2.2 ระบบความคาดหวังที่สอดคลองกัน
2.3 แบบแผนของพฤติกรรมตามความคาดหวังของตําแหนง
โดยสรุป ทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณขางตน มีสาระสําคัญดังนี้
1. จิต อัตตาและสังคมมนุษย เปนกระบวนการแหงพฤติกรรมมนุษยและระหวาง
มนุษย
2. ภาษา เปนกลไกสําคัญที่ทําใหเกิดจิตและอัตตา
3. จิต คือสิ่งที่นําเขาของกระบวนการสังคม อันเปนการกระทําระหวางกันภายใน
ตัวมนุษย
4. มนุ ษย ส ร างพฤติกรรมภายในตั ว ของมนุษย เอง ไม ใ ช เ ปนการโต ต อบสิ่ ง
กระตุนภายนอกเหนือพลังภายใน เชน แรงขับ ความตองการจําเปนหรือมูลเหตุจูงใจ
5. การดําเนินพฤติกรรมของมนุษย ขึ้นอยูกับการนิยามสถานการณเฉพาะหนาที่
จะตองกระทํา
6. การขัดเกลาทางสั งคมของมนุษย เปนทั้งการขัดเกลาโดยสังคมและการมี
อิสระจากสังคม บุคคลที่พรอมดวยอัตตาไมเปนสิ่งที่ตั้งรับเทานั้น แตสามารถใชประโยชนใน
การกระทําระหวางกัน ซึ่งอาจจะเปนพฤติกรรมที่แตกตางไปจากที่กลุมกําหนดไว (สัญญา
สัญญาวิวัฒน, 2540 : 121 – 133)
เออรวิง กอฟฟแมน (Erving Goffman) (ค.ศ. 1922 – 1982) นักทฤษฎีชาว
อเมริกันในกลุมสํานักมหาวิทยาลัยชิคาโก เปนผูนําการวิเคราะหในแนวละครมาใชวิเคราะห
180

ความสัมพันธทางสังคม หรือทฤษฎีการละคร (Dramatergical Theory) มีแนวคิดที่สําคัญคือ


การกระทําตางๆ และการปฏิสัมพันธของมนุษยมีลักษณะที่เหมือนกับการแสดงละคร ปฏิสัมพันธ
ของมนุษยนี้มีความเปราะบาง การที่สามารถดํารงอยูไดนั้นก็ดวยการแสดงออกที่ดีหรือเหมาะสม
การแสดงออกที่ไมดีหรือไมเหมาะสมเกิดการหยุดชะงัก จะมีผลกระทบอยางสําคัญตอปฏิสัมพันธ
ทางสังคม เชนเดียวกับการแสดงละครในโรงละคร กลาวคือ ในการปฏิสัมพันธทางสังคมนั้น
จะมีบริเวณดานหนา (Front Region) เชนเดียวกับหนาเวทีของการแสดงละคร ผูแสดงบนเวที
และชีวิตจริงในสังคมจะไดรับการพิจารณาวามีความสนใจตอการปรากฏตัว การแตงตัวและใช
เครื่องประดับ และจะมีบริเวณดานหลังหรือหลังฉากอันเปนบริเวณที่ผูแสดงจะถอยกลับเขาไป
เพื่อเตรียมตัวที่จะแสดงของตน หลังฉากจึงเปนสถานที่ซึ่งตัวละครเลิกแสดงบทบาทและกลับ
เปนตัวของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณของเออรวิง กอฟฟ
แมน นี้มีความสําคัญอยูที่ตัวผูกระทํา การกระทําและการปฏิสัมพันธในการกระทําเชนเดียวกับ
นักทฤษฎีคนอื่นๆ ที่กลาวมาแลว (สุเทพ สุนทรเภสัช, 2540 : 73 – 74)
เฮอรเบิรท บลูเมอร (Herbert Blumer) นักทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวย
สัญลักษณชาวอเมริกัน ไดศึกษาและสรุปหลักการพื้นฐานของทฤษฎีไวดังนี้
1. มนุษยแตกตางจากสัตวชั้นต่ํา เพราะไดรับการสืบทอดความสามารถใหรูจักคิด
2. ความสามารถที่จะคิดของมนุษย ถูกหลอหลอมขึ้นมาโดยการปฏิสัมพันธทาง
สังคม
3. ในการปฏิสัมพันธทางสังคม มนุษยจะเรียนรูเกี่ยวกับความหมายและสัญลักษณ
ที่จะทําใหสามารถใชความสามารถในการคิด ซึ่งเปนคุณลักษณะโดยเฉพาะของมนุษย
4. ความหมายและสั ญ ลั ก ษณ เป น สิ่ ง ที่ ทํ า ให ม นุ ษ ย ส ามารถมี ก ารกระทํ า และ
ปฏิสัมพันธขึ้นได
5. มนุษยสามารถที่จะแกไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกความหมายและสัญลักษณที่ใช
ในการกระทําและปฏิสัมพันธบนพื้นฐานของการตีความสถานการณ
6. มนุษยอาจจะแกไขเปลี่ยนแปลงและยกเลิกความหมายและสัญลักษณก็ได เพราะ
สาเหตุสําคัญประการหนึ่งคือสามารถที่จะปฏิสัมพันธกับตัวเอง ทําใหสามารถที่จะสํารวจความ
เปนไปไดของการกระทํา ตระหนักถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นแลวจึงเลือกที่จะกระทําลงไป
7. แบบแผนตางๆ ของการโตตอบระหวางการกระทําและปฏิสัมพันธของมนุษย
ทําใหเกิดกลุมและสังคมตางๆ ขึ้น (สุเทพ สุนทรเภสัช, 2540 : 200 – 201)
เชลดอน สไตรเกอร (Sheldon Stryker) นักทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวย
สัญลักษณชาวอเมริกัน ไดเสนอแนะวาเพื่อการเปนทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่สมบูรณตองมุง
ความสนใจของทฤษฎีทั้งปรากฏการณขนาดเล็กและขนาดใหญ โดยการใหความสําคัญตอ
บทบาทของแตละบุคคลที่ดํารงอยู สาระสําคัญของทฤษฎีมีดังนี้
181

1. การกระทําระหวางกันของมนุษย ตองพึ่งพาการกําหนดชื่อและการจําแนก
ประเภท เพราะมนุษยจะเรียนรูจากการปฏิสัมพันธกับคนอื่นๆ ในการจําแนกประเภทของสิ่ง
ตางๆ เชนเดียวกับการที่ตนเองไดรับการคาดหวังใหประพฤติตอสังคม
2. สิ่งสําคัญที่สุดในการรับรู คือ สัญลักษณที่ใชเพื่อใหความหมายเกี่ยวกับตําแหนง
และบทบาทตางๆ ของบุคคล สวนบทบาทเปนความคาดหวังตางๆ ทางดานพฤติกรรมของ
บุคคลที่ดํารงตําแหนงเหลานั้น
3. โครงสรางของสังคมที่สําคัญประการหนึ่ง คือ แบบแผนของพฤติกรรมที่ไดรับ
การจัดระเบียบและเปนกรอบของการกระทําของมนุษย บุคคลในสังคมตางๆ ยอมรับกันและ
กันในฐานะผูที่อยูในตําแหนงตางๆ และมีความคาดหวังตางๆ ตอกัน
4. มนุษยไมเพียงแตจะกําหนดชื่อและเรียกชื่อกันและกันเทานั้น แตยังใหชื่อกับ
ตัวเองหรือกําหนดตําแหนงใหตนเองจนกลายเปนสวนหนึ่งของตัวเอง ทําใหเกิดการยอมรับ
ภายในเกี่ยวกับความคาดหวังตางๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองอีกดวย
5. ในการปฏิสัมพันธบุคคลจะใหความหมายแกสถานการณ โดยการใหชื่อตางๆ
แกสถานการณนั้นตอบุคคลที่มีสวนรวมคนอื่นๆ ตอตนเอง และตอลักษณะเฉพาะพิเศษของ
สถานการณ ความหมายดังกลาวไดถูกใชโดยตัวผูกระทําในการจัดระเบียบพฤติกรรมของตัวเอง
6. พฤติกรรมทางสังคมไมไดถูกกําหนดโดยความหมายทางสังคม แมวาจะถูกบีบคั้น
โดยสังคม โดยปกติแลวบุคคลไมเพียงแตสวมบทบาทเฉยๆ แตจะสวมบทบาทอยางจริงจังและ
คิดที่จะสรางสรรคบทบาทที่ตัวเองไดรับ
7. โครงสรางทางสังคมมีหนาที่ประการหนึ่ง คือ การกําหนดขอบเขตของการสวม
บทบาท ไมใชเพียงแตใหบุคคลเขาไปสูบทบาทเทานั้น โครงสรางทางสังคมยังกอใหเกิดบทบาท
ที่มีการสรางสรรคมากกวาโครงสรางอื่นๆ อีกดวย
8. ความเปนไปไดของการที่จะกอใหเกิดบทบาท ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
สังคมขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นในการใหความหมายทางสังคม โดยการใชชื่อสัญลักษณและการแจกแจง
ประเภทและความเปนไปไดตางๆ ที่จะมีปฏิสัมพันธ การสั่งสมของการเปลี่ยนแปลงตางๆ นี้
อาจจะทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงตางๆ ในโครงสรางขนาดใหญของสังคมสวนรวม (สุเทพ
สุนทรเภสัช, 2540 : 228 – 230)
182

ทฤษฎีปรากฏการณนิยม

ทฤษฎีปรากฏการณนิยม (Phenomenology Theory) มีลักษณะคลายคลึงกับ


แนวความคิดของแมกซ เวเบอร และทฤษฎีการกระทําระหวางกันดวยสัญลักษณ แตมีความ
แตกตางออกไปบาง นักทฤษฎีคนสําคัญคือ เอดมุนด ฮัสเสิรล (Edmund Husserl) และ
อัลเฟรด ชุตต (Alfred Schutz)
เอดมุนด ฮัสเสิรล (Edmund Husserl) (ค.ศ. 1859 – 1993) นักทฤษฎีชาว
เยอรมัน เปนผูนําทางความคิดของทฤษฎีปรากฏการณนิยม โดยใหความสําคัญตอกระบวนการ
ทางจิตหรือปญญาของมนุษยมากที่สุด ไมใชสมมติฐานเกี่ยวกับสาเหตุหรือผลของกระบวนการ
ทางจิตแตอยางใด คือศึกษาสาระสําคัญหรือความหมายของสิ่งตางๆ หรือการกระทําตางๆ ที่
มนุษยเปนผูใหปรากฏการณนิยม ไมใชประจักษนิยมแตเปนกระบวนการพิจารณาหรือการศึกษา
คนควา ตามหลักเหตุผลถือวาจิตเปนตนกําเนิดของความคิดโดยไมอาศัยสภาพแวดลอม ซึ่งจะ
ตรงกันขามกับความคิดของ จอร จ เฮอรเ บิรท มีด ในทฤษฎีการกระทําระหว างกั นด ว ย
สัญลักษณ และถือวาความรูบางอยางถูกตองในตัวของมันเอง โดยไมตองอาศัยปรากฏการณ
หรือสภาพแวดลอมมาพิสูจน เชน หลักเหตุผล เปนตน (สัญญา สัญญาวิวัฒน, 2540 : 200)
อัลเฟรด ชุตต (Alfred Schutz) (ค.ศ. 1899 – 1959) นักทฤษฎีชาวเยอรมันแต
ลี้ภัยไปอยูในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1939 เปนนักทฤษฎีคนสําคัญที่ทําใหทฤษฎีปรากฏการณ
นิยมแพรหลายในสหรัฐอเมริกา (สุเทพ สุนทรเภสัช, 2540 : 75) แนวความคิดที่สําคัญคือ
1. ธรรมชาติของมนุษยเปนนักสรางสรรค มีความคิดความอานเปนผูสรางสิ่งตางๆ
ทั้งที่เปนวัตถุและไมใชวัตถุ เชน กําหนดความหมายของสิ่งตางๆ ขึ้นมาแลวจึงใชสิ่งตางๆ
รวมกันทําใหเกิดกฎเกณฑตางๆ ขึ้นมากมาย และรวมกันเปนความแทจริงทางสังคม คนรุนหลัง
ก็ทําตามกฎเกณฑของคนรุนกอนโดยไมไดสงสัยวาทําไมตองเปนเชนนั้น
2. ธรรมชาติของสังคมมนุษย คือมนุษยเปนผูสรางสังคม เนื่องจากมนุษยมีการ
กระทําระหวางกันในชีวิตประจําวันและมีความคิดหรือจินตนาการวามีสังคม ใหคําจํากัดความ
หรือความหมายตางๆ แกสิ่งที่ประกอบกันเปนสังคมมนุษยที่ทุกคนยอมรับ เขาใจความหมาย
รวมกันและใชความหมายรวมกัน หรือกลาวไดอีกอยางหนึ่งวาสังคมมนุษยเกิดจากการกระทํา
ปกติประจําวันจนเปนความเคยชินแลวกลายเปนสถาบันทางสังคม สังคมมนุษยจึงเปนกลุม
สถาบันที่มนุษยมีการกระทําระหวางกันใหความหมายและสรางสรรคขึ้นนั่นเอง
3. หนาที่ของสังคมวิทยา คือ การศึกษาถึงการสรางสังคม การรักษาบํารุงสังคม
อยางไร การศึกษาวิจัยทางสังคมวิทยา จึงควรมีเปาหมายเพื่อตรวจสอบสถานการณการกระทํา
ระหวางกันของมนุษย เพื่อที่จะทราบวามนุษยสรางระเบียบสังคมหรือระเบียบชีวิตอยางไร ซึ่ง
มีลักษณะเชนเดียวกับแนวความคิดของ แมกซ เวเบอร
183

4. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมวิทยา ควรใชวิธีการมานุษยวิธี (Ethnomethodology)


คื อ การก อ ให เ กิ ด การหยุ ด ชะงั ก ขึ้ น ในการดํ า รงชี วิ ต ปกติ ข องกลุ ม คนที่ ทํ า การศึ ก ษาแล ว
เปรียบเทียบเรื่องราวของชีวิตกอนหนานั้นกับหลังเหตุการณ จะทําใหทราบวาเหตุการณที่ทําให
เกิดการชะงักงันในการดําเนินชีวิต จะเปนเหตุใหผูที่อยูในเหตุการณตองหยุดคิดพิจารณา
ทบทวนกฎเกณฑตางๆ ของสังคมที่ควบคุมชีวิตอยู ทําใหทราบความเปนจริงของชีวิตที่แทวา
เปนอยางไร ทําไมจึงตองดําเนินชีวิตไปเชนนั้น (สัญญา สัญญาวิวัฒน, 2540 : 148 – 150)
ทฤษฎีหลักของสังคมวิทยาที่ประกอบดวยทฤษฎีโครงสราง-หนาที่นิยม ทฤษฎีความ
ขั ด แย ง ทฤษฎี ป ริ ว รรตนิ ย ม ทฤษฎี ก ารกระทํ า ระหว า งกั น ด ว ยสั ญ ลั ก ษณ และทฤษฎี
ปรากฏการณนิยม ทฤษฎีเหลานี้ทุกทฤษฎีลวนมีเปาหมายเดียวกัน คือ มุงศึกษาหาความรู
ความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณทางสังคมของมนุษย โดยเฉพาะในเรื่องความสัมพันธทางสังคม
ของมนุษย ผูที่ศึกษาทางสังคมวิทยาจึงตองทําความเขาใจกับทฤษฎีเหลานี้ เพื่อเปนพื้นฐาน
และแนวทางในการศึกษาทางสังคมวิ ท ยาต อไป แต เ นื่อ งจากนั ก สังคมวิ ท ยาได ศึ ก ษาและ
วิเคราะหปรากฏการณที่เกิดขึ้นในแตละสมัยนั้นๆ เมื่อวันเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปก็อาจจะทําให
เหตุการณที่เกิดขึ้นในสังคมตางๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปดวย อันจะทําใหทฤษฎีที่มีอยูไม
ตรงกับสภาพความเปนจริงในสังคมได ดังนั้นการศึกษาทางสังคมวิทยาจึงจําเปนตองมีการศึกษา
คนควา และสรางทฤษฎีใหมๆ ขึ้นอยูตลอดเวลา

You might also like