You are on page 1of 105

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล
ผู้อานวยการสานักทรัพยากรแร่
นายอดิชาติ สุรินทร์คา
ผู้อานวยการส่วนแร่อโลหะ
นายวุฒิกานต์ สุขเสริม
จัดพิมพ์โดย สานักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02621-9783
โทรสาร 02621-9744
พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2555
จานวน 100 เล่ม

ข้อมูลการลงรายการบรรณานุกรม
เอกชัย แก้วมาตย์.
มาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทางธรณีวิทยาจากหมวดหินห้วยหินลาดและหมวดหินภูทอก
(หมู่หินนาหว้า) พื้นที่จังหวัด ขอนแก่น / โดย เอกชัย แก้วมาตย์. - - กรุงเทพฯ.
: สานักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี , หน้า : ภาพประกอบ : แผนที่ : ตาราง ; 30 ซม.
คํานํา
ในอดีตที่ผ่านมา การใช้ทรัพยากรธรณีในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์อย่างไม่คุ้มค่า
และยั่งยืน อีกทั้งกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากขาดข้อมูล
พื้นบานที่สําคัญทางธรณีวิทยาและการประเมินสถานภาพด้านทรัพยากรธรณีเพื่อนํามาใช้เป็นข้อมูลหลัก
ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรณีแบบบูรณาการร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่นๆ ซึ่งการบริหาร
จัด การดัง กล่ า วจะสํ า เร็ จ และส่ ง ผลดี ไ ด้ ต้อ งประกอบด้ ว ยการดํ า เนิน ในด้ า นการสํ า รวจและประเมิ น
สถานภาพธรณีวิทยาพื้นผิว ซึ่งจะทําให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่แสดงลักษณะสภาพธรณีวิทยาพื้นผิวและแหล่ง
ทรัพยากรธรณีในพื้นที่ต่างๆ นั้นได้
กรมทรั พ ยากรธรณี ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ที่ รั บ ผิ ด ชอบองค์ ค วามรู้ ด้ า นธรณี วิ ท ยา
ทรัพยากรธรณีและซากดึกดําบรรพ์ โดยการเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมกับความ
เข้าใจเชิงอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดทรัพยากรธรณีในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์
ที่สูงสุดและยั่งยืน
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กรมทรัพยากรธรณี โดยการดําเนินงานของสํานักทรัพยากรแร่
มีโครงการการจัดทํามาตรฐานทรัพยากรแร่ หรือ แหล่งวัสดุธรณีวิทยา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ของหมวดหินห้วยหินลาด และหมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า) เพื่อประยุกต์หาแนวทางการใช้ประโยชน์
ของหมวดหินห้ วยหินลาด และหมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า) ให้เป็นมาตรฐานตามที่เป็นหลักทาง
วิชาการและเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่เป้าหมาย (จังหวัดขอนแก่น)
II

สารบัญ
หน้า
คํานํา................................................................................................................................................... I
สารบัญ ............................................................................................................................................... II
สารบัญรูป ........................................................................................................................................... V
สารบัญตาราง ..................................................................................................................................... VII
บทคัดย่อ ............................................................................................................................................. VIII
คําขอบคุณ .......................................................................................................................................... IX
บทที่ 1 บทนํา ..................................................................................................................................... 1
1.1 ความเป็นมา ...................................................................................................................... 1
1.2 วัตถุประสงค์ ..................................................................................................................... 1
1.3 ขั้นตอนการดําเนินงาน ...................................................................................................... 1
1.4 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนาม ......................................................................................... 2
1.5 ระยะการดําเนินงาน ......................................................................................................... 2
1.6 ที่ตั้งและอาณาเขต ............................................................................................................ 2
1.7 การคมนาคม ..................................................................................................................... 3
1.8 ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ...................................................................................................... 3
1.9 การใช้ประโยชน์ที่ดิน ........................................................................................................ 6
1.10 ประชากรและอาชีพ........................................................................................................ 6
1.11 ผลการศึกษางานสํารวจที่มีมาก่อน ................................................................................. 8
บทที่ 2 ธรณีวิทยาทั่วไปของจังหวัดขอนแก่น ..................................................................................... 11
2.1 ธรณีประวัติและโครงสร้างทางธรณีวิทยาบริเวณที่ราบสูงโคราช ....................................... 11
2.2 ธรณีวิทยาแปรสัณฐานของแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ................................................... 12
2.3 ลําดับชั้นหินกลุ่มหินโคราช ................................................................................................ 14
2.4 ธรณีวิทยาแปรสัณฐานจังหวัดขอนแก่น ............................................................................ 16
2.5 ลําดับชั้นหินจังหวัดขอนแก่น ............................................................................................. 16
2.5.1 หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน (Upper Paleozoic) ........................................ 16
2.5.2 หินมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic rocks)................................................................ 20
2.5.3 หินมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic rocks) ................................................................ 23
2.6 หินอัคนี (Igneous rocks) ................................................................................................ 24
บทที่ 3 ธรณีวิทยาแหล่งแร่ของจังหวัดขอนแก่น ................................................................................ 27
3.1 การแบ่งประเภทพื้นที่ทรัพยากรแร่................................................................................... 27
3.2 การประเมินปริมาณทรัพยากรแร่ในพื้นที่แหล่งแร่............................................................ 27
3.3 ทรัพยากรแร่ของจังหวัดขอนแก่น ..................................................................................... 28
3.3.1 กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ .............. 32
3.3.2 กลุ่มแร่พลังงาน ....................................................................................................... 39
3.3.3 กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม .................................................... 40
III

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
3.3.4 กลุ่มแร่เพื่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ............................................................... 45
3.3.5 กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร............................................................................................. 45
บทที่ 4 แนวทางและมาตรฐานการใช้ประโยชน์หมวดหินห้วยหินลาดและหมู่หินภูทอก
ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ......................................................................................................... 49
4.1 หมวดหินห้วยหินลาด ......................................................................................................... 49
4.1.1 ธรณีวิทยาและวิทยาหินของหมวดหินห้วยหินลาด.................................................. 49
4.1.2 พื้นที่แหล่งหินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การนํามาใช้ประโยชน์ ............................. 50
4.2 มาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทางธรณีวิทยาหินโคลนและหินดินดานดาดฟ้า
ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์.................................................................................................... 57
4.3 หมวดหินภูทอก ................................................................................................................. 58
4.3.1 ธรณีวิทยาและวิทยาหินของหมวดหินภูทอก ......................................................... 58
4.3.2 พื้นที่แหล่งหินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การนํามาใช้ประโยชน์ ............................. 59
4.4 การวิเคราะห์และทดลองความเหมาะสมนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมซีเมนต์....... 60
4.4.1 ลักษณะทางกายภาพของตัวอย่าง........................................................................... 60
4.4.2 ผลการทดสอบหาค่าร้อยละของออกไซด์จากตัวอย่าง ............................................ 61
4.4.3 ผลการ Simulate ................................................................................................... 61
4.4.4 สรุปผลการทดลอง ................................................................................................. 62
4.4.5 ข้อเสนอแนะ .......................................................................................................... 62
4.5 การวิเคราะห์และทดลองความเหมาะสมในการนํามาใช้เป็นวัตถุดิบ
ในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก ....................................................................................... 62
4.5.1 การทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบของบริษัท ทรูสโตน จํากัด .......................... 63
4.5.2 ผลการทดสอบวัตถุดิบอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก ............................................ 66
4.5.3 สรุปผลการทดสอบวัตถุดิบอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก ..................................... 67
4.6 มาตรฐานใช้ประโยชน์ดินเคลย์นาหว้าในอุตสาหกรรม และ ด้านอื่นๆ.............................. 67
4.6.1 วัตถุดิบตัวเติม (filler) ใน อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ .......................................... 68
4.6.2 วัตถุดิบตัวเติม (filler) ใน อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องปูพื้น .................................... 68
4.6.3 วัตถุดิบในอุตสาหกรรมกระเบื้องดินเผามุงหลังคาและปูพื้น ................................... 68
4.6.4 วัสดุทางธรณีวิทยาที่ใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาดินเค็ม
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ...................................................................................... 69
4.6.5 วัสดุทางธรณีวิทยาที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
เครื่องปั้นดินเผาเอิร์ทเทินแวร์ .................................................................................... 75
4.6.6 วัสดุทางธรณีวิทยาที่ใช้ประโยชน์สําหรับสีน้ําตาลแดงธรรมชาติ ............................. 76
4.6.7 วัสดุทางธรณีวิทยาที่ใช้ประโยชน์สําหรับทําอิฐมวลประสาน................................... 76
4.6.8 วัสดุทางธรณีวิทยาที่ใช้ประโยชน์สําหรับทําบ้านดินอนุรักษ์พลังงาน ...................... 76
IV

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
4.6.9 วัสดุทางธรณีวิทยาที่ใช้ประโยชน์สําหรับแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็ก ........................ 77
4.6.10 มาตรฐานการลักษณะเฉพาะของวัสดุทางธรณีวิทยาดินเคลย์นาหว้า ................... 77
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ ............................................................................................................ 81
5.1 สรุป ...................................................................................................................................
81
5.2.ข้อเสนอแนะ...................................................................................................................... 81
เอกสารอ้างอิง .....................................................................................................................................
83
ภาคผนวก ...........................................................................................................................................
85
กฎกระทรวง กําหนดให้หินเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรมและดินหรือทราย
เป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม ............................................................................ 87
ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นที่บานและการเหมืองแร่
เรื่อง กําหนดคุณสมบัติและคุณลักษณะของดินอุตสาหกรรมชนิดเหนียวสี
และชนิดดินซีเมนต์ .................................................................................................................. 91
V

สารบัญรูป
หน้า

รูปที่ 1. แสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินงาน............................................................................ 3
2. แผนที่ภูมิประเทศ เขตการปกครอง และทางคมนาคมที่สําคัญ จังหวัดขอนแก่น.................. 5
3. แผนที่พื้นที่ที่อยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมายมติคณะรัฐมนตรีและกฎระเบียบต่างๆ
จังหวัดขอนแก่น ...................................................................................................................... 7
4. แสดงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาหลักของแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร......................... 13
5. แสดงพื้น ที่ราบสูงโคราชถูกแบ่งออกเป็น 2 แอ่งคือ แอ่งโคราช (Khorat basin)
และแอ่งสกลนคร (Sakon Nakhon basin) โดยมีเทือกเขาภูพานกันกลาง .......................... 13
6. แสดง ก. การลําดับชั้นหินของกลุ่มหินโคราช ข. ลําดับชั้นหินมหาสารคามกับหมวดหิน ภูทอก
ค.ภาพตัดขวางจากแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร...................................................................... 15
7. ก รูปแผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดขอนแก่น ................................................................................ 18
7. ข คําอธิบายแผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดขอนแก่น ..................................................................... 17
8. แสดงตะกอนและตะพักคล้ายดินลมหอบ ประกอบด้วย ดินละเอียดสีแดง สีส้ม
สีแดงเข้ม และสีส้มแกมเหลือง หนาระหว่าง 1-10 เมตร บริเวณ บ้านหนองหลุบ
ตําบลแดงใหญ่ อําเภอเมืองขอนแก่น ..................................................................................... 24
9. แสดงตะกอนขนาดต่าง ๆ ประกอบขนาด กรวด ทราย ทรายแป้งและโคลน
ถมกันอย่างไม่มีลักษณะชั้น บริเวณ บ้านหนองหลุบ ตําบลแดงใหญ่
อําเภอเมืองขอนแก่น ........................................................................................................... 25
10. แสดงตะพักกรวดริมน้ําพอง มีการถมกันอย่างเป็นชั้น บริเวณบ้านโคกสี
อําเภอเมืองขอนแก่น ........................................................................................................... 25
11. แผนที่ทรัพยากรแร่ จังหวัดขอนแก่น .................................................................................... 26
12. การสะสมตัวของชั้นตะกอนบริเวณจังหวัดขอนแก่น .............................................................. 35
13. โครงสร้างโดยสรุปของแอ่งเกลือหินที่พบในจังหวัดขอนแก่น และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ( ความหนาเฉลี่ยจากหลุมเจาะจํานวน 26 หลุม ในเขต
จังหวัดขอนแก่นเท่านั้น )........................................................................................................ 42
14. เกลือหินที่เจาะได้จากพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หลุมเจาะหมายเลข K115 ที่ระดับ
ความลึก 212.7 - 215.6 เมตรจากผิวดิน ............................................................................. 43
15. การกระจายตัวของหมวดหินห้วยหินลาด .............................................................................. 50
16. แท่งลําดับชั้นหินของหมู่หินดาดฟ้า หมวดหินห้วยหินลาดบริเวณน้ําตกตาดใหญ่ .................. 51
17. แสดงลักษณะเนื้อประกอบด้วยหินดินดานสีเทา สีเทาดํา และสีดํา
หินโผล่ปรากฏที่พบในบริเวณน้ําตกตาดใหญ่ ......................................................................... 52
18. พื้นที่แหล่งหินดาดฟ้า บริเวณน้ําตกตาดใหญ่......................................................................... 53
19. แท่งลําดับชั้นหินและสภาพแวดล้อมการตกตะกอนของหมวดหินมหาสารคาม
และหมวดหินภูทอกในแอ่งสกลนคร ...................................................................................... 63
VI

สารบัญรูป(ต่อ)
หน้า
รูปที่ 20. ลักษณะของหินนาหว้าและแหล่งดินเคลย์นาหว้าในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 4 แหล่ง ........ 64
21. แหล่งดินเคลย์นาหว้าในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น .................................................................. 65
22. การทดลองนําดินเคลย์นาหว้าไปอัดขึ้นรูปเป็นชิ้นทดลองแว่นกลม
เพื่อทดสอบความสามารถในการใช้ทํากระเบื้อง
( โดยความอนุเคราะห์ของบริษัท ทรูสโตน จํากัด ) ............................................................. 70
23. การทดลองปรับโครงสร้างของดิน โดยใช้ดินเคลย์นาหว้า ในพื้นที่ตําบลไฮหย่อง
อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร............................................................................................... 73
24. ดินเคลย์นาหว้า ใช้ทดแทนหรือร่วมกับวัตถุดิบดั้งเดิมเพื่อผลิตตัวภาชนะและสีเขียน
ลวดลาย เครื่องปั้นดินเผาเอกลักษณ์บ้านเชียงได้ผลดี (รูปขวาบน ภาชนะเขียนสีบ้าน
เชียงในพิพิธภัณฑ์ รูปที่เหลือภาชนะที่ทดลองทําขึ้น)............................................................. 74
25. ดินเคลย์นาหว้า ใช้ทําเครื่องปั้นดินเผาชนิด earthen ware และปั้นงานศิลปะ.................... 75
26. สีน้ําตาลแดงจากดินเคลย์นาหว้า ใช้เขียนลวดลายบนพื้นผิวต่างๆ
ประเภทผ้าและไม้ได้ดีและมีราคาต้นทุนที่ต่ํา ......................................................................... 76
27. ดินเคลย์นาหว้า ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการใช้ประโยชน์ทําอิฐมวลประสาน................................. 77
28. ดินเคลย์นาหว้า ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการใช้ประโยชน์ทําอิฐดิน
ที่นําไปทําบ้านดินอนุรักษ์พลังงานและธรรมชาติได้ ............................................................... 78
29. ดินเคลย์นาหว้า ใช้เป็นวัสดุดาดผนังบ่อและแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็ก
เพื่อแก้ไขปัญหาภัย แล้งเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง .................................................................. 78
30. กราฟการทดลองการซึมผ่านน้ําบริเวณบ่อที่ขุดในพื้นที่ ......................................................... 78
31. แสดงแผนที่จําแนกเขตทรัพยากรทางแร่จังหวัดขอนแก่น
และแหล่งของหมวดหินห้วยหินลาดและหมวดภูทอก (หมู่หินนาหว้า) ................................. 82
VII

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1. รายละเอียดของทรัพยากรแร่ และหินอุตสาหกรรมชนิดต่างๆ
พื้นที่ศักยภาพทางแร่ และบริเวณพบแร่ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ................................... 30
2. ประทานบัตรและคําขอประทานบัตรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
(สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น, มกราคม 2552)............................................... 31
3. ข้อมูลการผลิตแร่ในจังหวัดขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2544 - 2549
(สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น, มกราคม 2552)............................................... 31
4. แสดงตําแหน่งของตัวอย่างที่ทําการทดสอบคุณภาพเคมีของโรงงานปูนซีเมนต์ ................ 54
5. ผลการทดสอบค่าเคมีของวัตถุดิบในแต่ละตัว จากการทดสอบของของโรงงาน
ปูนซีเมนต์ ........................................................................................................................... 55
6. แสดงคุณภาพของหินปูนและวัตถุดิบอื่นๆที่นํามาทําการ Raw mix desing ................... 56
7. ตารางสรุปผลการประเมินความเป็นวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมเคมี ............................... 56
8. คุณลักษณะของหินดินดานซึ่งเป็นตัวอย่างจากการสํารวจของสหรัฐอเมริกา
และจากบางแหล่งของประเทศไทย .................................................................................. 57
9. มาตรฐานคุณลักษณะของวัสดุธรณีวิทยาหินโคลนและ
หินดินดานดาดฟ้าสามารถใช้เป็นตัวเติม ( filler ) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ ..... 58
10. แสดงช่วงปริมาณขององค์ประกอบออกไซด์ของดินเคลย์นาหว้า ...................................... 59
11. พื้นที่แหล่งดินเคลย์นาหว้าใน จังหวัดขอนแก่น ................................................................ 60
12. รายละเอียดของตัวอย่างที่กรมทรัพยากรธรณีส่งไปวิเคราะห์กับ
บริษัท ทรูสโตน จํากัด ..................................................................................................... 65
13. ตารางผลการการทดสอบตัวอย่างที่
กรมทรัพยากรธรณีส่งวิเคราะห์กับ บริษัท ทรูสโตน จํากัด.............................................. 67
14. มาตรฐานคุณลักษณะของวัสดุธรณีวิทยาหินโคลนนาหว้าผุและดินเคลย์นาหว้าที่
สามารถ เป็นตัวเติม ( filler ) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์มี ................................... 69
15. คุณสมบัติของดินเคลย์นาหว้าที่นํามาทดลองทําชิ้นทดสอบ เทียบกับมาตรฐานของ
กระเบื้อง ตามมาตรฐาน มอก. และ อื่นๆ ......................................................................... 71
16. มาตรฐานของดินเคลย์นาหว้าที่ใช้ประโยชน์เป็นตัวเติมให้กับอุตสาหกรรมกระเบื้อง
ดินเผามุงหลังคาและปูพื้นชนิดสีแดง ............................................................................... 72
17. มาตรฐานของดินเคลย์นาหว้ามาตรฐานดินเคลย์นาหว้าสําหรับอุตสาหกรรม
ทําเซรามิกเอิร์ทเทินแวร์ ................................................................................................. 79
18. มาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทางธรณีวิทยาดินเคลย์นาหว้าสําหรับ
ทําอิฐมวลประสาน อิฐดินสําหรับทําบ้านดิน และใช้เป็นวัสดุดาดผนังบ่อและแหล่งกัก
เก็บน้ําขนาดเล็ก เล็ก เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ํา .......................................... 80
VIII

มาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทางธรณีวิทยา
จากหมวดหินห้วยหินลาดและหมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า)
จังหวัดขอนแก่น
บทคัดยอ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กรมทรัพยากรธรณี โดยการดําเนินงานของสํานักทรัพยากร
แร่ ให้มี การจัดทํามาตรฐานทรัพยากรแร่ หรือ แหล่งวัสดุทางธรณีวิทยา และการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากร ของหมวดหินห้วยลาดและหมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า) เพื่อประยุกต์หาแนวทางการใช้
ประโยชน์ ให้เป็นมาตรฐานตามที่เป็นหลักทางวิชาการและเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะ
ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
ผลการทดสอบหมวดหินห้วยลาด เพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์ พบว่าหินโคลน
และหินดินดานในหมู่หินดาดฟ้าสามารถใช้เป็น ตัวเติม (filler) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ โดย
ต้องใช้ร่วมกับหินปูนประเภท hi-grade limestone
ดิ น เคลย์ น าหว้ า ใช้ ป ระโยชน์ ท างอุ ต สาหกรรมซี เ มนต์ เซรามิ ก นอกจากนั้ น ยั ง
สามารถนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในการทําเครื่องปั้นดินเผา ชนิด earthen ware และปั้นงานศิลปะ อิฐ
มวลประสาน อิฐดินสําหรับทําบ้านดิน และใช้เป็นวัสดุดาดผนังบ่อ เนื่องด้วยแหล่งดินเคลย์นาหว้า
ทั้งหมดจัดอยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ หมายถึง พื้นที่แหล่งแร่ที่ควรเก็บรักษาเพื่อสํารองไว้ใช้
ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ให้นําทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันได้โดย
มีเงื่อนไขพิเศษ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎ ระเบียบต่างๆ ที่
เกี่ยวข้อง

คําสําคัญ : ขอนแก่น หมวดหินห้วยหินลาด หมู่หินอีหม้อ หมู่หินภูฮี หมู่หินดาดฟ้า หมู่หินซําแคน


หมู่หินโพไฮ หมวดหินภูทอก หมู่หินภูทอกน้อย หมู่หินคําตากล้า หมู่หินนาหว้า
IX

คําขอบคุณ
ผู้ปฏิบัติงานขอขอบคุณ นายอดิชาติ สุรินทร์คํา ผู้อํานวยการสํานักทรัพยากรแร่ ได้
มอบหมายให้ทําการสํารวจในครั้งนี้ นายวุฒิกานต์ สุขเสริม ผู้อํานวยการส่วนแร่อโลหะ สํานักทรัพยากร
แร่ ที่ได้มอบหมายงาน ให้คําแนะนํา และคําปรึกษาพร้อมทั้งช่วยตรวจและแก้ไขรายงานให้มีความ
ถูกต้องความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณคณะร่วมปฏิบัติงาน น.ส.ปานใจ สารพันโชติวิทยา นักธรณีวิทยาชํานาญการ
นายสถาพร กาวิเนตร นักธรณีวิทยาชํานาญการ นายนุชิต ศิริทองคํา นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ
นายฐนิศร์ จุฬะ นักธรณีวิทยา นายสังวรณ์ ครุฑป้องภัย ช่างครุภัณฑ์ ระดับ ช 3 นายทวีวงศ์ พูลทอง
พนักงานช่วยสํารวจ และท่านอื่นๆ สํานักทรัพยากรแร่ ให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติงานครั้งนี้
ขอขอบคุณ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จํากัด (มหาชน) และ บริษัท ทรูสโตน จํากัด
ในการให้ความอนุเคราะห์วิเคราะห์ตัวอย่าง
ขอขอบคุ ณ นางเบญจลั ก ษณ์ ธํ า มรงค์ รั ต น์ เลขานุ ก าร กลุ่ ม เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผา
บ้านเชียง ตําบลหนองหาน อําเภอบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ในการอนุเคราะห์ความรู้ ความเข้าใจ
เรื่องกระบวนการทําเซรามิกแบบเอกลักษณ์บ้านเชียง และแนวทางการพัฒนาสินค้าเอกลักษณ์ของ
ชุมชนสู่ระดับนานชาติ
บทที่ 1
บทนํา
1.1 ความเป็นมา
งานมาตรฐานทรัพยากรแร่ เป็นหนึ่งในสามของโครงการจัดทํามาตรฐานและคลังข้อมูลด้าน
ธรณีวิ ทยาและทรัพยากรธรณี เป็ นงานบู รณาการร่ วมกันของ สํานั กธรณีวิ ทยาซึ่ งเป็ นเจ้ าภาพหลั ก กั บ
สํานักทรัพยากรแร่ (ส่วนแร่อโลหะ) หลักการและเหตุผลสําคัญ เพื่อกําหนดมาตรฐานลักษณะ คุณสมบัติ การ
ใช้ประโยชน์ และข้อกําหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สําหรับข้อมูลวิชาการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากร
ธรณี วิ ทยาของประเทศ เพื่ อสนองนโยบายรั ฐบาลข้ อ 5 และยุ ทธศาสตร์ การจั ดสรรงบประมาณ ที่ 5
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กําหนดหัวข้อเป็นการจัดทํามาตรฐานธรณีวิทยาและมาตรฐานทรัพยากรแร่หมวด
หินห้วยหินลาดและหมวดหินภูทอก
มาตรฐานทรั พยากรแร่หมวดหินห้ วยหิ นลาดและหมวดหิ นภู ทอกประจําปี งบประมาณ
พ.ศ. 2555 ของสํานักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี เป็นการศึกษาธรณีวิทยาของหมวดหินห้วยหินลาดและ
หมวดหินภูทอก เน้นการศึกษาทดลองหาแนวทางการใช้ประโยชน์และตั้งมาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทาง
ธรณีวิทยาและการสํารวจหาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องและเสริมกับแผนงาน “จัดทํามาตรฐานทาง
ธรณีวิทยาหมวดหินห้วยหินลาดและหมวดหินภูทอก” สํานักธรณีวิทยา การสํารวจและศึกษาทดลอง เน้น
จัดทําใน 2 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดกัน และที่มีศักยภาพของหมวดหินทั้งสอง คือ จังหวัดขอนแก่นและอุดรธานี
ผลงานของงานจั ด ทํ า มาตรฐานแร่ คื อ การได้ ข้ อ มู ล มาตรฐานและแนวทางการใช้
ประโยชน์ที่ได้ให้ผู้ที่สนใจได้นําไปใช้ศึกษา อ้างอิงและปฏิบัติไปทิศทางเดียวกัน ผลพลอยได้ คือ การ
แนะนําข้อมูลทางธรณีวิทยาไปสู่ประชาชนผู้ประกอบการโดยตรง ทําให้กลุ่มเป้าหมายมีมุมมองใหม่ๆ ที่จะ
นําวัสดุทางธรณีวิทยาไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาลดต้นทุน

1.2 วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดทํามาตรฐานงานด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี เพื่อการค้นคว้าและอ้างอิง
ทางวิชาการ
2. เพื่อจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการสํารวจและพัฒนาทรัพยากรธรณีให้มีความ
เป็นมาตรฐานตามระยะเวลา และคุณภาพ

1.3 ขั้นตอนการดําเนินงาน
1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และประมวลผลพื้นที่ศักยภาพทางแร่จากงานสํารวจ
ที่มีมาก่อนและศึกษาวิทยาหิน (Lithology) ของหมวดหินห้วยหินลาดและหมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า)
2. งานสํารวจธรณีวิทยาพื้นที่ศักยภาพทางแร่ขั้นกึ่งรายละเอียด เก็บตัวอย่างเพื่อศึกษา
หาแนวทางการใช้ประโยชน์
3. งานสํารวจธรณีวิทยาแหล่งแร่ขั้นรายละเอียด เก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ และรวบรวม
ข้อมูลเพื่อใช้เป็นมาตรฐานการใช้ประโยชน์เบื้องต้น
2

4. งานสํารวจเพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์อื่นๆ และการทดลองนําวัสดุทาง
ธรณีวิทยาไปประยุกต์ใช้
5. จัดทํารายงานจัดทํามาตรฐานการใช้ประโยชน์จากหมู่หินนาหว้าพร้อมจัดพิมพ์เผยแพร่

1.4 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
1.นายวุฒิกานต์ สุขเสริม นักธรณีวิทยาชํานาญการพิเศษ
2.นางสาวปานใจ สารพันโชติวิทยา นักธรณีวิทยาชํานาญการ
3.นายสถาพร กาวิเนตร นักธรณีวิทยาชํานาญการ
4.นายเอกชัย แก้วมาตย์ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ
5.นายนุชิต ศิริทองคํา นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ
6.นายฐนิศร์ จุฬะ นักธรณีวิทยา
7.นายสังวรณ์ ครุฑป้องภัย ช่างครุภัณฑ์ ระดับ ช 3
8.นายทวีวงศ์ พูลทอง พนักงานช่วยสํารวจ
9.นายประมวล เฉลยปราชญ์ พนักงานขับรถยนต์ระดับ ส 2
10. นายพจนามัย เกษมศิลป์ พนักงานขับรถยนต์ระดับ ส 2
11.นายสมศักดิ์ จอดนอก พนักงานขับรถยนต์ระดับ ส 2

1.5 ระยะเวลาการดําเนินงาน
ใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ปีงบประมาณ ระยะเวลาปฏิบัติงาน ขั้นตอนต่างๆดังแสดงในรูปที่ 1

1.6 ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดขอนแก่นตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเส้น
ละติจูดที่ 15 องศา 38 ลิปดา-17 องศา 5 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูดที่ 101 องศา 45 ลิปดา 103
องศา 11 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 10,886 ตารางกิโลเมตร หรือ 6.8 ล้านไร่ ห่างจากกรุงเทพฯ
ประมาณ 445 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลําภู และจังหวัดเลย
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิ
3

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงาน ระยะเวลาการดําเนินงาน
ต.ค.-ธ.ค.54 ม.ค.-มี.ค.55 เม.ย.-มิ.ย.55 ก.ค.-ก.ย. 55
1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และประมวลผลพื้นที่
ศักยภาพทางแร่จากงานสํารวจที่มีมาก่อนและศึกษาวิทยาหิน
(lithology) ของหมวดหินห้วยหินลาดและหมวดหินภูทอก
(หมู่หินนาหว้า)
2.งานสํารวจธรณีวิทยาพื้นที่ศักยภาพทางแร่ขั้นกึ่งรายละเอียด
เก็บตัวอย่างเพื่อศึกษาหาแนวทางการใช้ประโยชน์
3. งานสํารวจธรณีวิทยาแหล่งแร่ขั้นรายละเอียด เก็บตัวอย่าง
เพื่อวิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นมาตรฐานการใช้
ประโยชน์เบื้องต้น
4. งานสํารวจเพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์อื่นๆ และการ
ทดลองนําวัสดุทางธรณีวิทยาไปประยุกต์ใช้
5. จัดทํารายงานจัดทํามาตรฐานการใช้ประโยชน์จากหมู่หินนา
หว้าพร้อมจัดพิมพ์เผยแพร่

รูปที่ 1 ขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินงาน
1.7 การคมนาคม
จังหวัดขอนแก่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและระหว่าง
ภาค คือภาคเหนือกับภาคตะวันออก สามารถเดินทางได้ทั้งทางรถยนต์ ทางรถไฟ และทางอากาศ
ทางรถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี
บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 เป็นแยกตัดกันทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ให้เลี้ยวไปทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมาถึงจังหวัดขอนแก่น หรือใช้เส้นทาง
จากกรุงเทพฯ ถึงสระบุรีแล้วตรงไปตามถนนสระบุร-ี ลํานารายณ์ แยกไปทางทิศตะวันออกเข้าเส้นทาง
ม่วงค่อม-ด่านขุนทด-ชัยภูมิ-ขอนแก่น
เส้นทางสําคัญที่ใช้ในการสํารวจ ทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ทางหลวง
หมายเลข 12 (ขอนแก่น–พิษณุโลก) ทางหลวงหมายเลข 209 (ขอนแก่น–กาฬสินธุ์) และ ทางหลวง
หมายเลข 2 (บ้านไผ่–อุบลราชธานี)

1.8 ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดขอนแก่น มีสภาพพื้นที่ทั้งหมดลาดเอียงจากทิศตะวันตก
ไปทิศตะวันออกและทิศใต้ ดังแสดงในรูปที่ 2 โดยสามารถแบ่งสภาพพื้นที่ออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1 บริเวณที่สูงทางด้านตะวันตก เริ่มตั้งแต่อําเภอภูผาม่าน ที่มีสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน
ตะปุ่มตะป่ํา เช่น ภูผักหนาม ภูซําดีหมี เป็นต้น สลับกับพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยที่มีระดับ
ความสูงประมาณ 250 เมตร จากระดับน้ําทะเลปานกลาง จากนั้นพื้นที่จะมีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด
4

ไปทางอําเภอสีชมพู อําเภอชุมแพ และอําเภอหนองเรือ ที่มีระดับความสูงประมาณ 200-240 เมตร


จากระดับน้ําทะเลปานกลาง โดยมีภูเขารูปแอ่ง หรือภูเวียงมีตําแหน่งที่ตั้งติดตัวอําเภอภูเวียง
2 บริเวณที่สูงตอนกลางและด้านเหนือ สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาของภูเก้า ภูเม็ง
ภูพานคํา เป็นแนวขวางมาจากด้านเหนือ มาทางตอนกลางจนถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยไหล่เขาด้าน
นอกมีความสูงและลาดชันมาก มีความสูงประมาณ 300-660 เมตร จากระดับน้ําทะเลปานกลาง ส่วน
ไหล่เขาด้านในมีความลาดชันน้อย มีระดับความสูงประมาณ 220-250 เมตร จากระดับน้ําทะเล
ปานกลาง สภาพพื้นที่นี้ครอบคลุมพื้นที่อําเภอกระนวน อําเภอเขาสวนกวาง อําเภอน้ําพอง อําเภอ
อุบลรัตน์ อําเภอบ้านฝาง และอําเภอโคกโพธิ์ชัย
3 บริเวณแอ่งโคราช ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านใต้จังหวัด สภาพพื้นที่เป็น ลอนคลื่น
ลอนลาดเล็กน้อย มีความสูงประมาณ 150-200 เมตร จากระดับน้ําทะเลปานกลาง มีบางส่วนเป็น
เนินที่มีระดับความสูงประมาณ 170-250 เมตร จากระดับน้ําทะเลปานกลาง และ ลาดต่ําไปหาที่ราบ
ลุ่มที่ขนานกับลําน้ําชี ซึ่งมีความสูงประมาณ 130-150 เมตร จากระดับน้ําทะเลปานกลาง พื้นที่
บริเวณนี้ได้แก่ ด้านใต้อําเภอกระนวน อําเภอน้ําพอง อําเภอเมือง อําเภอพระยืน อําเภอมัญจาคีรี
แล้วพื้นที่จะลาดชันขึ้นไปทางตะวันออก เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดมีความสูงประมาณ 200-250 เมตร
จากระดับน้ําทะเลปานกลาง และค่อนข้างราบ มีความสูงประมาณ 170-180 เมตร จากระดับน้ําทะเล
ปานกลาง ได้แก่ พื้นที่อําเภอชนบท อําเภอบ้านไผ่ อําเภอแวงน้อย อําเภอแวงใหญ่ อําเภอพล อําเภอ
หนองสองห้อง อําเภอเปือยน้อย อําเภอบ้านแฮด และอําเภอโนนศิลา
ทางน้าํ
จังหวัดขอนแก่นมีแม่น้ําสําคัญไหลผ่านเขตจังหวัด 3 สายด้วยกัน คือ
แม่น้ําพอง ต้นน้ําเกิดจากน้ําตกขุนพองบนภูกระดึง ในเขตจังหวัดเลย ไหลผ่านจาก
ทางตะวันตกมาทางตะวันออก เข้าเขตจังหวัดขอนแก่น บริเวณผานกเค้าทิวเขาภูเปือย เขตติดต่อ
ระหว่างอําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กับอําเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ไหลเข้าอ่างเก็บน้ํา
เขื่อนอุบลรัตน์ และไหลต่อไปในเขตอําเภอน้ําพอง อําเภอเมือง ไปบรรจบกับแม่น้ําชีที่บ้านหนองแสง
ตําบลโพนงาม อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีความยาวที่ผ่านเขตจังหวัดขอนแก่น ประมาณ
125 กิโลเมตร
แม่น้ําเชิน ต้นน้ําเกิดจากธารน้ําหลายสายในเทือกเขาเพชรบูรณ์ และภูผาม่านด้าน
ทิศตะวันตกเช่นน้ําตกตาดใหญ่ น้ําตกตาดฟ้า และธารน้ําอื่นๆ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลาน แม่น้ํา
เชินไหลไปทางทิศตะวันออกเป็นแนวกั้นเขตแดนระหว่างอําเภอชุมแพ อําเภอหนองเรือ จังหวัด
ขอนแก่น กับ อําเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์ที่ ตําบลโนนทอง อําเภอหนองเรือ
มีความยาวประมาณ 85 กิโลเมตร
แม่น้ําชี ต้นน้ําเกิดจากภูหลวงในเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัด
ชัยภูมแิ ล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเข้าเขตจังหวัดขอนแก่นผ่านเขตอําเภอแวงน้อย อําเภอแวงใหญ่
อําเภอโคกโพธิ์ชัย อําเภอชนบท อําเภอมัญจาคีรี อําเภอบ้านไผ่ อําเภอบ้านแฮด อําเภอพระยืน และ
อําเภอเมืองขอนแก่น แล้วไหลเข้าเขตอําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีความยาวเฉพาะในเขต
จังหวัดขอนแก่นรวมประมาณ 108 กิโลเมตร
5

ทางรถไฟ

รูปที่ 2 แผนทีภ่ ูมิประเทศ เขตการปกครอง และทางคมนาคมทีส่ าํ คัญจังหวัดขอนแก่น


(คัดลอกจาก : กรมทรัพยากรธรณี, 2552)
6

ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดขอนแก่นขึ้นอยู่กับลมมรสุมที่พัดผ่านประจําปี
จัดอยู่ในประเภทภูมิอากาศแบบพื้นเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน (Tropical Savanna Climate) “AW”
ตามการจําแนกของระบบ Köppen climate classification,(1884) คือ บริเวณนี้จะมีฝนตก
เฉพาะฤดูกาล สลับกับมีช่วงแห้งแล้งที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งในปี 2548 มีอุณหภูมิตลอดปีโดยเฉลี่ย 27
องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ําสุดตลอดปีโดยเฉลี่ย 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 33 องศา
เซลเซียส มีปริมาณน้ําฝนรวม 937 มิลลิเมตร จํานวนวันฝนตก 103 วัน ลักษณะภูมิอากาศของ
จังหวัดแบ่งออกเป็น 3 ฤดูได้แก่ ฤดูรอ้ น เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงปลายเดือน
พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะร้อนอบอ้าวมาก โดยจะร้อนที่สุดในเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน เริม่
ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม จนถึงต้นเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มประมาณ เดือนธันวาคม-
กลางเดือนมีนาคม ซึ่งช่วงนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีน พัดเอา
ความหนาวเย็นและความแห้งแล้งลงมา

1.9 การใช้ประโยชน์ทดี่ ิน
พื้นที่ประกาศทางราชการเป็นพื้นที่ที่ส่วนราชการต่างๆ กําหนดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์
ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตวนอุทยาน พื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 1 เขต
พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ เขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร เขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ เขตปฏิรูป
ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และเขตพื้นที่ตามมาตรา 6 ทวิ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ดังแสดง
ขอบเขตพื้นที่เหล่านี้ไว้ในรูปที่ 3
1.10 ประชากรและอาชีพ
1.10.1 ประชากร
จังหวัดขอนแก่น มีจํานวนประชากร ณ เดือนธันวาคม 2554 ทั้งจังหวัด ประชากร
รวม 1,766,066 คน แยกเป็นชาย 875,013 คน หญิง 891,053 คน ความหนาแน่นของประชากร
เฉลี่ยประมาณ 162 คน/ตารางกิโลเมตร (ทีม่ า : กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554)
1.10.2 อาชีพ
ภาคการเกษตร
มีพื้นที่การเกษตร 4,369,043 ไร่ (ร้อยละ 64.19 ของพื้นที่จังหวัด) โดยอยู่ในเขต
ชลประทาน 757,542 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 13.14 ของพื้นที่การเกษตร หรือร้อยละ 8 ของพื้นที่จังหวัด)
จํานวนคนทํางานในภาคเกษตร 324,879 คน (ที่มา : สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น , 2554)
ภาคการเกษตร
อุตสาหกรรมได้รับอนุญาตให้ประกอบการ (สะสมจําพวก 2,3) จํานวนทั้งสิ้น 1,353
โรงงาน เงินทุน 73,810,755,116 บาท คนงาน 60,738 คน (ที่มา : สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น , 2555)
7

รูปที่ 3 พื้นที่ทอี่ ยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมายตาม มติคณะรัฐมนตรี และกฎระเบียบต่างๆ


ในเขตจังหวัดขอนแก่น (คัดลอกจาก : กรมทรัพยากรธรณี, 2552)
8

1.11 ผลการศึกษาและงานสํารวจที่มีมาก่อน
ผลการศึกษาและสํารวจด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี ที่เกี่ยวข้องและมีการ
สํารวจมาก่อน ได้แก่
Chonglakmani and Sattayarak (1978) ได้จัดทํา รายงานทางวิชาการเรื่อง
“Stratigraphy of the Huai Hin Lat Formation (Upper Triassic) in NE Thailand” ได้แบ่ง
หมวดหินห้วยหินลาดออกเป็น 5 หมู่หิน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ได้แก่ 1) หมู่หินโพไฮ
ประกอบด้วย หินกรวดภูเขาไฟ หินทัฟฟ์ หินทรายและหินกรวดมน สีแดง นับเป็นหมู่หินล่างสุด
2) หมู่หินซําแคน ประกอบด้วยหินกรวดมน หินทราย หินปูน เป็นหมู่หินล่างสุดในบริเวณที่ไม่มี
หมู่หินโพไฮ 3) หมู่หินดาดฟ้า ประกอบด้วยหินดินดานสีเทา สีเทาดํา และสีดํา มีเศษซากไม้มากมาย
สลับกับหินปูนสีดํา 4) หมู่หินภูฮี ประกอบด้วยหินทราย หินดินดานสีเทา หินปูนสีเทา หินตะกอนสี
แดง ในช่วงล่างมักจะมีหินกรวดมนขนาดเล็กด้วย 5) หมู่หินอีหม้อ ประกอบด้วยหินไดโอไรต์
หินทัฟฟ์ หินแอกโกเมเรต หินดินดาน หินทราย และหินปูนสีเทา
กรมทรัพยากรธรณี (2542) ได้จัดทํารายงานทางวิชาการ “ธรณีวิทยาประเทศไทย”
ในรายงานได้กล่าวถึง ลําดับชั้นหินของกลุ่มหินต่างๆ วิวัฒนาการทางธรณีวิทยา การใช้ประโยชน์
ข้อมูล ด้ านธรณี วิท ยา และ ทรั พยากรแร่ของประเทศไทย รวมถึงข้อมู ลธรณี วิทยาของหมวดหิน
ห้วยหินลาดกับหมวดหินภูทอก
พิ ทั ก ษ์ เที ย มวงศ์ และ วี ร ยา เลิ ศ นอก (2548) ได้ จั ด ทํ า รายงานทางวิ ช าการ
“ธรณีวิทยาระวางอําเภอพรรณานิคม (5743I) และระวางอําเภอนาหว้า (5843 IV)” ในรายงานได้
กล่าวถึงรายละเอียดทางธรณีวิทยา แสดงการจําแนกและการแบ่งชั้นหิน และแสดงโครงสร้างทาง
ธรณีวิทยา รวมไปถึงข้อมูลแหล่งแร่และข้อมูลที่น่าสนใจของพื้นที่ ผู้ศึกษาได้แยกหมวดหินภูทอก
ออกเป็น 3 หมู่หิน โดยอาศัยข้อมูลหลุมเจาะและลักษณะการแผ่กระจายของหิน คือ หมู่หินนาหว้า
ซึ่งประกอบด้วยหินโคลนและหินทรายแป้งเป็นหลัก หมู่หินคําตากล้า ตกตะกอนต่อเนื่องขึ้นมาเป็นหิน
ทรายเนื้อละเอียดแทรกสลับกับหินทรายแป้งแสดงชั้นเฉียงระดับขนาดเล็กในชั้นเหิน และหมู่หิน
ภูทอกน้อยซึ่งอยู่บนสุด
สํานักธรณีวิทยา (2548) ได้จัดทํารายงานทางวิชาการ “คู่มือสํารวจธรณีวิทยา
ภาคสนาม” ในรายงานได้กล่าวถึงขั้นตอนการสํารวจเก็บข้อมูล หลักฐาน ตัวอย่างอ้างอิงมาตรฐาน
ทางธรณีวิทยาของกลุ่มหินต่างๆ ในภาคสนามที่เป็นมาตรฐานของกรมทรัพยากรธรณี โดยจากให้
ความหมายต่างๆทางธรณีวิทยา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถศึกษาและสํารวจของหมวดหินห้วยหินลาดกับ
หมวดหิ น ภู ท อก ลั ก ษณะทางธรณี วิ ท ยาเบื้ อ งต้ น ในภาคสนามอย่ า งถู ก ต้ อ งตามมาตรฐานของ
กรมทรัพยากรธรณี
กรมทรัพยากรธรณี (2552) ได้จัดทํารายงานทางวิชาการ “การจําแนกเขตทรัพยากร
แร่จังหวัดขอนแก่น” ในรายงานได้กล่าวถึงธรณีวิทยาทั่วไป ธรณีวิทยาแหล่งแร่ แนวทางการบริหาร
จัดการพื้นที่ทรัพยากรแร่ ของจังหวัดขอนแก่น รวมถึงการเสนอแนวทางการบริหารจัดการและตาม
หลักเกณฑ์และปัจจัยที่ใช้ในการจําแนกเขตทรัพยากรแร่
9

อนุวัชร ตรีโรจนานนท์ (2554) สํารวจและจัดทํารายงานทางวิชาการ “ลําดับชั้นหินของ


กลุ่มหินโคราชบริเวณขอบตะวันตกที่ราบสูงโคราช” สํารวจและกล่าวถึง ลําดับชั้นหินที่ตกสะสมตัวในช่วง
มหายุคมีโซโซอิกของกลุ่มหินโคราชบริเวณขอบตะวันตกของที่ราบสูงโคราช เรียงลําดับจากช่วงอายุในช่วง
ยุคไทรแอสซิกถึงยุคครีเทเชียส ได้แก่ หมวดหินห้วยหินลาด หมวดหินน้ําพอง หมวดหินภูกระดึง หมวดหิน
พระวิหาร หมวดหินเสาขัว หมวดหินภูพาน หมวดหินโคกกรวด หมวดหินมหาสารคาม หมวดหินเขาย่าปุก
และหมวดหินภูขัด โดยหมวดหินเขาย่าปุกสามารถ เทียบได้กับหมวดหินภูทอกบริเวณที่ราบสูงโคราช การ
สํารวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานชั้นหินของกลุ่มหินโคราช เพื่อค้นหาชั้นหินแบบฉบับ
และชั้นหินอ้างอิง ตลอดจนเก็บตัวอย่างเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงในทางธรณีวิทยาอย่างเป็นระบบ โดย
สํารวจหาชั้นหินแบบฉบับของกลุ่มหินโคราชในพื้นที่หลักตามแนวขอบตะวันตกและทิศใต้ของที่ราบสูง
โคราช และทางตะวันออกของภาคเหนือ บริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ครอบคลุมพื้นที่ในแนว
เทือกเขาเพชรบูรณ์ (Loei-Petchabun Fold Belt)
นรรัตน์ บุญกันภัย บุญเสริฐ สุขศรีบูรณ์อําไพ และเอกรินทร์ น้อยโสมศรี (2554) สํารวจ
และได้จัดทํารายงานทางวิ ชาการ “ลําดับชั้นหินของกลุ่มหินโคราชบริเวณภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อ
ตอนบน” ในรายงานได้กล่าวถึงการสํารวจเก็บข้อมูล หลักฐาน ตัวอย่างอ้างอิงมาตรฐานทางธรณีวิทยา
ของกลุ่มหินโคราชจํานวน 16 พื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ได้แก่ จังหวัดสกลนคร กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย และหนองบัวลําภู โดยในส่วนของหมวดหินภูทอก
ได้แบ่งออกเป็น 3 หมู่หิน ได้แก่ หมู่หินนาหว้า เป็นหินโคลนสีน้ําตาล หมู่หินคําตากล้า เป็นหินโคลนสี
น้ําตาลแดงที่มีชั้นหินทรายสีสลับอยู่และหมู่หินภูทอกน้อยเป็นหินทรายชั้นหนาที่มีชั้นเฉียงระดับขนาดใหญ่
บทที่ 2
ธรณีวิทยาทั่วไปของจังหวัดขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่นตั้งอยู่ในที่ราบสูงโคราช หรืออยูในเขตของแอ่งโคราช เปลือกโลกบริเวณ
นี้มีการเปลี่ยนแปลงจนมีลักษณะทางธรณีวิทยาดังปัจจุบัน การที่จะเข้าใจแผ่นดินที่เป็นจังหวัดขอนแก่น
จึงต้องเข้าใจธรณีประวัติแบบภาพรวมของที่ราบสูงโคราช มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

2.1 ธรณีประวัติและโครงสร้างทางธรณีวิทยาบริเวณที่ราบสูงโคราช
2.1.1 ธรณีวิทยาประวัติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในช่วงต้นของยุคเทอร์เชียรีเมื่อ 4 ล้านปี
เกิดเหตุการณ์แผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนที่เข้าชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย เทือกเขาเพชรบูรณ์ที่เคย
ยกตัวมาแล้วครั้งหนึ่งในปลายยุคครีเทเชียสตอนต้น มีการยกตัวสูงมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ เทือกเขาพนมดง
รักและเทือกเขาภูพานก็เริ่มยกตัว การยกตัวและการโค้งงอของหินดังกล่าว (รูปที่ 4) ทําให้เกลือหินซึ่งอยู่
ในบริเวณที่สูง ค่อยๆ เคลื่อนไหลลงสู่ที่ต่ําด้านข้าง และในจุดที่เหมาะสมก็จะเกิดการปูดของโดมเกลือ
จากนั้นก็จะมีการกัดเซาะผุพังทําลายโดยแม่น้ําสายใหญ่ ซึ่งไหลเข้ามาในที่ราบสูงโคราช ทําให้หมวดหิน
ภูทอกและเกลือหินถูกกัดเซาะด้านข้างตลอดแนวแอ่งโคราช-อุบล ต่อมาเกิดการลดระดับการกัดเซาะของ
แม่น้ําซึ่งอาจจะเกิดจากการลดระดับ ของน้ําทะเลทั่วโลก และจะเหลือชั้นกรวดเก่าไว้สองข้างทางเหนือ
และใต้ จนกระทั่งประมาณสมัยไมโอซีน แม่น้ําดังกล่าวหยุดการกัดเซาะและเกิดการสะสมตัวของตะกอน
ในหุบเขาและที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นการสะสมตัวโดยการพัดพาของลมและกระแสน้ําไหลหลากฉับพลัน และ ใน
บางบริเวณ จะมีลักษณะเป็นแอ่งน้ําขัง และต่อมาในช่วงเวลายุคควอเทอร์นารี ใจกลางของแอ่งโคราช-
อุบล เกิดการทรุดตัวลงไปอีกและเกิดการสะสมตัวของตะกอนทรายและกรวดขนาดเล็กในลักษณะของ
เนินตะกอนน้ําพารูปพัด
2.1.2 ธรณีวิทยาโครงสร้าง
ธรณีวิทยาโครงสร้างบริเวณที่ราบสูงโคราช ที่สําคัญได้แก่การวางตัวของชั้นหิน การคดโค้ง
โดยการแทรกดันตัวของโดมเกลือ และรอยเลื่อน ทีมีความสัมพันธ์กับกระบวนการก่อให้เกิดเทือกเขา
อินโดจีน (Indosinian Orogeny) และกระบวนการก่อเทือกเขาหิมาลัย (Himalayan Orogeny)
2.1.2.1 การวางตัวของชัน้ หิน (Bedding)
หินตะกอนมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน วางตัวในทิศทางประมาณทิศเหนือ-ใต้ (NNE-SSW)
มีการเอียงตัวของชั้นหินด้วยมุมเทปานกลางถึงมาก แสดงการคดโค้งสลับไปมาทั้งแบบเปิดและปิด (close
and open fold) บางบริเวณมีการเอียงเทแบบตลบกลับ (recumbent fold) หินตะกอนมหายุคมีโซโซอิก
หรือกลุ่มหินโคราช มีการเอียงเทของชั้นหินน้อย โดยเฉลี่ยประมาณ 10 องศา
12

2.1.2.2 การคดโค้งและโดมเกลือ (Salt dome)


การสั งเกตเห็ นหรื อการสั นนิ ษฐานบริ เวณที่ เป็ นโดมเกลื อได้ จากการศึ กษาแผนที่
ภาพถ่าย ดาวเทียม และการเจาะสํารวจโพแทช โดมเกลือเกิดจากบีบอัดแทรกดัน ทําให้ชั้นเกลือเกิด
การคดโค้ง รูปประทุน หรือชั้นเกลือคดโค้งแทรกดัน (Salt anticline or salt diaper) การแทรกดัน
ของชั้นเกลือทําให้เกิดโดมเกลือของหมวดหินมหาสารคาม ทําให้ชั้นดินบริเวณโดมเกลือนูนขึ้นมา แต่
ชั้นดินบริเวณรอบ โดมเกลือเกิดการทรุดตัว-ยุบตัวลง พร้อมมีการละลายของขอบด้านนอกของโดม
เกลือเป็นตัวขยายพื้นที่ทรุดตัวลง ทําให้บริเวณขอบรอบๆ โดมเกลือกลายเป็นบึงและหนองน้ําที่มีรูปร่าง
ค่อนข้างกลม-รี สามารถสังเกตเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนจาก ลักษณะภูมิประเทศแบบเนินรูปวงแหวน
ล้อมรอบบึง จากข้อมูลการเจาะสํารวจพบว่ายอดโดมเกลือบริเวณอําเภอเมืองขอนแก่นจะอยู่ลึกจาก
ผิวดินเฉลี่ยประมาณ 80 เมตร
2.1.2.3 รอยเลื่อน (Fault)
ประกอบด้วยรอยเลื่อนหลักและรอยเลื่อนรอง แนวรอยเลื่อนหลักวางตัวประมาณ
ทิศตะวันออก-ตะวันตก เอียงเทไปทางทิศใต้และทิศเหนือ แนวรอยเลื่อนรองวางตัวทิศตะวันตกเฉียง
เหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่สํารวจส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลอนราบและที่ราบ ทําให้ไม่สามารถสังเกตพบ
รอยเลื่อนได้อย่างชัดเจน แต่จากข้อมูลจากการเจาะสํารวจพบว่า พื้นที่ด้านเหนือของแม่น้ําชี เช่น ที่
ตัวอําเภอยางตลาดจะพบหมวดหินโคกกรวดอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 350-400 เมตรจากผิวดิน
และยังพบแนวรอยเลื่อนทิศตะวันออก–ตะวันตก จากข้อมูลที่พบเมื่อข้ามมาทางด้านใต้ของแม่น้ําชี
บริเวณอําเภอบรบือ พบว่าหมวดหินโคกกรวดอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 800 เมตร จากผิวดิน ซึ่ง
ระดับความลึกที่พบหมวดหินโคกกรวดที่แตกต่างกันมากขึ้น ไม่ได้เกิดจากการเอียงตัวของชั้นหิน จึง
คาดว่าบริเวณแม่น้ําชีน่าจะเป็นแนวรอยเลื่อนชนิดปกติ

2.2 ธรณีวิทยาแปรสัณฐานของแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร
จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเมื่อปลายยุคครีเทเชียสตอนต้น มีการยกตัวสูง
ของเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาภูพานก็เริ่มยกตัวจนกลายเป็นทิวเขาดังที่เป็นในปัจจุบัน เป็นผล
ทําให้ที่ราบสูงโคราชถูกแบ่งออกเป็น 2 แอ่ง ประกอบด้วย แอ่งโคราช (Khorat basin) และแอ่ง
สกลนคร (Sakon Nakhon basin) โดยเทือกเขาภูพาน (รูปที่ 5)
2.2.1 แอ่งโคราช
เป็นแอ่งที่อยู่ทางทิศใต้ของเทือกเขาภูพานลงมา มีแม่น้ํามูล และสาขา คือ แม่น้ําชี
แม่น้ําพอง ลําปาว ลําเซ (เซบาย) ห้วยเซบก และแม่น้ํายังไหลผ่านเป็นที่ราบที่กว้างขวางที่สุดในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณที่ราบลุ่มน้าํ ที่สําคัญคือ แม่น้ํามูลและแม่น้ําชีบางแห่งเป็นที่ลุ่มต่ํา เมือ่
ถึงฤดูฝน น้ําจะท่วม แต่เมือ่ ถึงฤดูแล้งพื้นดินแห้ง มีลักษณะเป็นทุ่งโล่งกว้างใหญ่ มีชั้นเกลือรองรับ
ด้านล่าง ซึ่งแพร่กระจายขึ้นสู่พื้นที่ด้านบน เป็นสาเหตุของพื้นที่ดินเค็ม ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ทุ่งกุลา
ร้องไห้ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 5 จังหวัด คือ บางส่วนของจังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม
ศรีสะเกษ และยโสธร จังหวัดที่อยู่ในแอ่งโคราชได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ อํานาจเจริญ
นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ ยโสธร
13

รูปที่ 4 แสดงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาหลักของแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร
(คัดลอกจากกรมทรัพยากรธรณี, 2543)

รูปที่ 5 ที่ราบสูงโคราชถูกแบ่งออกเป็น 2 แอ่งคือ แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร


(ดัดแปลงจาก กรมทรัพยากรธรณี, 2543)
14

2.2.2 แอ่งสกลนคร
เป็นแอ่งที่อยู่ทางเหนือของทิวเขาภูพาน ลักษณะภูมิประเทศลาดเทไปทางเหนือ
มีที่ราบลุ่มต่ําซึ่งเป็นหนองบึงหลายแห่ง เช่น หนองประจักษ์ หนองปะโค หนองสําโรง หนองหาน
กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี หนองหาน จังหวัดสกลนคร และที่อื่นๆ อีก จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่แอ่งสกลนคร
ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม และสกลนคร
2.3 ลําดับชัน้ หินกลุ่มหินโคราช (Khorat Group)
ธรณีวิทยาบริเวณที่ราบสูงโคราชจากแผนที่ธรณีวิทยา (รูปที่ 6) ประกอบด้วยหิน
ฐานที่เป็นหินตะกอน หินอัคนี และหินแปรของหินมหายุคพาลีโอโซอิก พบกระจายตัวอยู่บริเวณ
เทือกเขาดงพญาเย็น และเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางขอบที่ราบสูงด้านตะวันตก หินมหายุคพาลีโอโซอิก
นี้วางตัวรองรับอยู่ใต้หินตะกอนมหายุคมีโซโซอิกซึ่งแผ่กระจายตัวปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด
ของที่ราบสูงโคราช ประกอบด้วยหินตะกอนที่สะสมตัวบนบกที่มีชื่อว่า กลุ่มหินโคราช (Khorat Group)
สะสมตัวตั้งแต่ ยุคไทรแอสซิก จูแรสซิก ถึงยุคครีเทเชียส ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 9 หมวดหิน ลําดับจาก
หมวดหินที่อายุแก่ไปอ่อนมีดังนี้ (รูปที่ 6)
หมวดหินห้วยหินลาด ประกอบด้วยหินกรวดมนเนื้อปูน หินกรวดมน หินทรายสีเทา
ดํา ความหนาของหมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 100-400 เมตร หมวดหินนี้เป็นหมวดหินฐานของกลุ่ม
หินโคราช
หมวดหินน้ําพอง ประกอบด้วยหินทราย หินดินดาน และหินกรวดมน ความหนาของ
หมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 100-1,500 เมตร วางตัวอยู่บนหมวดหินห้วยหินลาด
หมวดหินภูกระดึง ประกอบด้วยหินดินดาน และหินทรายแป้ง สีน้ําตาลแดง แทรก
สลับด้วยหินทรายเนื้อปานกลาง สีเขียว ความหนาของหมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 800-1,200 เมตร
วางตัวอยู่บนหมวดหินน้ําพอง
หมวดหินพระวิหาร ประกอบด้วยหินทราย สีขาว เนื้อปานกลางถึงหยาบ แทรกสลับ
ด้วยหินดินดาน ความหนาของหมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 100-250 เมตร วางตัวอยู่บนหมวดหิน
ภูกระดึง
หมวดหินเสาขัว ประกอบด้วยหินดินดาน และหินทรายแป้ง สีน้ําตาลแดง แทรก
สลับด้วยหินทรายเนื้อละเอียด สีน้ําตาลแดง ความหนาของหมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 200-760
เมตร วางตัวอยู่บน หมวดหินพระวิหาร
หมวดหินภูพาน ประกอบด้วยหินทราย และหินกรวดมน แสดงชั้นเฉียงระดับ ความ
หนาของหมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 80-140 เมตร วางตัวอยู่บนหมวดหินเสาขัว
หมวดหินโคกกรวด ประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินดินดาน สีแดง แทรกสลับด้วยหิน
ทรายสีน้ําตาลแดง ความหนาของหมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 430-700 เมตร วางตัวอยู่บนหมวด
หินภูพาน
หมวดหินมหาสารคาม ประกอบด้วยหินดินดาน และชั้นเกลือหินมียิปซัมปะปน
ความหนาของหมวดหินแปรเปลี่ยนระหว่าง 610-1,000 เมตร วางตัวอยู่บนหมวดหินโคกกรวด
หมวดหินภูทอก ประกอบด้วยหินทรายเนื้อละเอียด หินทรายแป้ง และหินดินดาน
สีน้ําตาลแดงสดความหนาแปรเปลี่ยนระหว่าง 200-730 เมตร วางตัวอยู่บนหมวดหินมหาสารคาม
15

ก ข

หินตะกอนชั้นบน (หมวดหินภูทอก)

หมวดหินภูทอก
หินตะกอนชั้นกลาง ( 20- 70 ม.)

หมวดหินมหาสารคาม
หินตะกอนชั้นล่าง ( 10- 80 ม.)

รูปที่ 6 แสดง ก. การลําดับชั้นหินของกลุ่มหินโคราช (กรมทรัพยากรธรณี, 2543)


ข. ลําดับชั้นหินหมวดหินมหาสารคามกับหมวดหินภูทอก (กรมทรัพยากรธรณี, 2543)
ค. ภาพตัดขวางจากแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร (กรมทรัพยากรธรณี, 2543)
16

2.4 ธรณีวิทยาแปรสัณฐานจังหวัดขอนแก่น
ธรณีวิทยาแปรสัณฐานของจังหวัดขอนแก่น คือ ผลการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกและ
ขบวนการทางธรณีวิท ยาแปรสัณ ฐาน ทํา ให้พื้น แผ่น ดิน ที่เ ป็น จัง หวัด ขอนแก่น มีลัก ษณะดัง ใน
ปัจจุบัน ซึ่งแบ่งโดยใช้ลักษณะทางธรณีวิทยาแปรสัณฐาน 3 แบบ ได้แก่
1) ลักษณะแผ่นดินที่เป็นภูเขา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ภูเขายอดราบ (Mesa)
พบบริเวณทิศเหนือถึงทิศตะวันตก มีจุดสูงสุดอยู่ที่ภูเวียงที่มีความสูงเหนือระดับทะเลปานกลาง 844
เมตร เป็นแนวเทือกเขาที่มีความสูงกว่าที่ลุ่มมากกว่า 300 เมตร ประกอบด้วยหินตะกอนของกลุ่มหิน
โคราช ชนิดหินทราย หินทรายแป้ง หินดินดาน และหินกรวดมน ที่สะสมตัวจากตะกอนทางน้ําบนบก
และภูเขายอดตะปุ่มตะป่ําแบบคราสต์ (Karst) ที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน
2) ลักษณะแผ่นดินที่เป็นเนินเขาและตะพัก (Hill and High terrace landform)
เนินเขาและตะพัก หรือที่ลาดลอนคลื่น เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากที่ราบลุ่มแม่น้ําออกไปทั้งสองด้านของ
แม่น้ํา และพื้นที่ลอนลาดอยู่ระหว่างเทือกเขา วางตัวในทิศทางเดียวกับแม่น้ําชีและแม่น้ําพอง มีความสูง
กว่าที่ลุ่มมากกว่า 30 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของเนินเศษหินเชิงเขา ตะกอนตะพัก ตะกอนกึ่งลมหอบ เห็น
เป็นพื้นผิวสูงต่ําแตกต่างกัน เช่น ตะพักสีแดงเข้มในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่ที่ลักษณะนี้ มักใช้
เป็นที่ทําไร่ ปลูกอ้อย มันสําปะหลัง และยางพาราหรือเป็นป่าละเมาะหรือเป็นบ่อดินและลูกรัง
3) ลักษณะแผ่นดินที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ํา (Alluvial plain landform) เป็นที่ราบลุ่มริม
แม่น้ําและที่ลุ่มที่อยู่ห่างออกมาจากเนินเขา เนื่องจากความลาดเอียงของพื้นที่ค่อนข้างน้อยและน้ําใน
แม่น้ํามีน้อยหรือไหลเอื่อยๆ ในหน้าแล้ง ทําให้เห็นร่องรอยการเคลื่อนที่ของทางน้ํามีการกวัดแกว่ง เกิด
เป็นรอยทางน้ําโค้งตวัด (meander scar) ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) แต่ช่วงฤดูฝนจะมีน้ําไหล
ท่วมหรือล้นฝั่งแม่น้ํา เกิดเป็นที่ลุ่มชื้นแฉะ (marsh) ที่ลุ่มน้ําขัง (swamp) บึงหรือหนองน้ํา และสัน
ดอนทราย (sand bar หรือ point bar) เป็นบริเวณปลูกข้าว สวนผัก

2.5. ลําดับชั้นหินจังหวัดขอนแก่น
ธรณีวิทยาของจังหวัดขอนแก่น จากแผนที่ธรณีวิทยา (รูปที่ 7) ประกอบด้วยหินฐาน
ที่เป็นหินตะกอน หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนเป็นหินที่มีอายุเก่าแก่ พบกระจายตัวอยู่บริเวณทิศ
ตะวันตกเฉียงเหนือ แนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่อเนื่องลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทํามุมเอียง
เทรองรับอยู่ใต้หินตะกอนมหายุคมีโซโซอิกซึ่งแผ่กระจายตัวปกคลุมพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ใน
การลําดับจากหมวดหินที่อายุแก่ไปอ่อนมีดังนี้
2.5.1 หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน (Upper Paleozoic)
หิ น มหายุ ค พาลี โ อโซอิ ก ตอนบนเป็ น หิ น ที่ มี อ ายุ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด ที่ พ บในพื้ น ที่ จั ง หวั ด
ขอนแก่น พบเป็นหินโผล่ให้เห็นบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ ประกอบด้วยหินยุคต่างๆ
ดังต่อไปนี้
17

หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส (อายุ 360-300 ล้านปี)


หมวดหินดอกดู่ (Dok Du Formation) และหมวดหินห้วยส้ม (Huai Som
Formation) พบกระจายตัวทางด้านตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น ในเขตอําเภอสีชมพู ชุมแพ และ
หนองนาคํา การเรียงตัวของชั้นหินจากล่างขึ้นบน ประกอบด้วย หินเชิร์ตสีชมพูถึงดํา หินดินดานสีเทาถึง
ดํา หินทรายสีน้ําตาลแกมเหลือง และหินปูนชั้นบางมีซากดึกดําบรรพ์ หินพวกนี้สะสมตัวในทะเลโบราณ
หินยุคเพอร์เมียน (อายุ 300-250 ล้านปี)
หินยุคเพอร์เมียนที่พบในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย หินปูน และหินทรายสลับชั้น
ด้วยหินโคลนและหินปูนเลนส์ ชั้นหินเอียงเทปานกลางถึงมาก วางตัวในทิศทางประมาณทิศเหนือ-ทิศใต้
(NNE-SSW) แสดงการคดโค้งสลับไปมาทั้งแบบปิดและเปิด (close and open fold) แผ่กระจายบริเวณ
ทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น ปรากฏเป็นภูเขาสูงและแนวเทือกเขา มีหน้าผาสูง ยอดเขาปลายแหลม
ตะปุ่ ม ตะป่ํ า และยอดมน ซากดึก ดํ าบรรพ์ที่ พ บ เช่ น ฟิ วซู ลิ นิด แบรคิ โ อพอด ไบรโอซั ว หอยสองฝา
แอมโมไนต์ ไครนอยส์ ปะการัง ฟองน้ํา หอยเจดีย์ เศษซากพืช และรอยชอนไช สะสมตัวในสมัยโบราณใน
ทะเลค่อนข้างตื้น บริเวณขอบทวีป (Continental margin) ในช่วงเวลาที่แผ่นอนุทวีปอินโดจีนกําลัง
เคลื่อนตัว พบว่ามีการตกสะสมหรือการหยุดขาดช่วงของการสะสมตัวกับหมวดหินห้วยหินลาด เกิดเป็น
รอยสัมผัสไม่ต่อเนื่องแบบเชิงมุม (angular unconformity) หินยุคเพอร์เมียนที่พบในเขตจังหวัดขอนแก่น
พบ 3 หมวดหิน ดังนี้
หมวดหินผานกเค้า (Pha Nok Khao Formation) ประกอบด้วย หินปูนสีเทาถึงเทา
ดํา ชั้นหินบางถึงเป็นมวลหิน สลับด้วยชั้นบางของหินดินดานสีเทาดํา พบหินเชิร์ตเป็นก้อนและเป็น
แถบหินเชิร์ต แทรกหินปูนบ้าง กระจายเป็นแนวเขาด้านตะวันตกของอําเภอชุมแพ ภูผาม่าน และสีชมพู
เกิ ดสะสมตั วในสภาพแวดล้อมโบราณในน้ําทะเลตื้นและอุ่นบางส่วนอยู่ ใ นบริเวณที่ราบน้ํ าขึ้ น-น้ําลง
เมื่อ 300-260 ล้านปีก่อน หินปูนมีส่วนประกอบหลักเป็นแร่แคลไซต์ ซึ่งเป็นสารประกอบแคลเซียม
คาร์บอเนต สามารถละลายได้ดีใ นกรดอ่อน ดังนั้นจึงมักปรากฏโพรงละลายเป็ นถ้ําได้ดี เช่น บริเวณ
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
หมวดหินหัวนาคํา (Hua Na Kham Formation) ประกอบด้วย หินเกรย์แวก
(greywacke) หินทรายเนื้อโคลน สีเทา สีเทาเขียว หินทรายสลับชั้นด้วยหินดินดาน และหินดินดานมี
หินปูนเลนส์ สีเทา สีเทาดํา ชั้นหินชัดเจน ขนาดชั้นหินบางถึงชั้นหนา เอียงเทระหว่าง 30-60 องศา การคด
โค้งของชั้นหินเป็นแบบปิดถึงคดโค้งแบบแคบ (Close-tight fold) พบกระจายตัวอยู่ตามที่เนิน ที่ลาดลอน
คลื่น และที่ลาด และบนพื้นที่ภูเขาที่มองเห็นเป็นแนวสันเขายาวชัดเจน ด้านตะวันตกของอําเภอชุมแพ
ภูผาม่าน และสีชมพู วางตัวอย่างต่อเนื่องกับหมวดหินน้ําดุก แต่วางตัวแบบไม่ต่อเนื่องอยู่ล่างหมวดหิน
ห้วยหินลาดมีการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมโบราณในน้ําทะเลตื้นใกล้ฝั่ง บริเวณที่เป็นที่ราบน้ําขึ้น-น้ําลง
(Intertidal) ต่อเนื่องมาจากชั้นหินปูนของหมวดหินผานกเค้า ถึงบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่น้ําทะเลท่วมถึง
มีการสะสมตัวในทะเลดึกดําบรรพ์ (ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง) เมื่อ 270-260 ล้านปีก่อน
18

รูปที่ 7 ก รูปแผนทีธ่ รณีวิทยาจังหวัดขอนแก่น (คัดลอกจาก กรมทรัพยากรธรณี,2552)


คําอธิบายแผนที่ ดูจาก รูปที่ 7 ข
19

คําอธิบาย

รูปที่ 7 ข คําอธิบายแผนทีธ่ รณีวิทยา จังหวัดขอนแก่น


20

หมวดหินน้ําดุก (Nam Duk Formation) ประกอบด้วย หินทรายเกรย์แวก


สีเทา สีเทาเขียว หินดินดาน สีเทาดํา และหินดินดานสลับด้วยชั้นหินทราย มีหินปูนเลนส์อยู่บ้าง
มองเห็นชั้นหินชัดเจน มีขนาดชั้นหินบางถึงชั้นหนา เอียงเทระหว่าง 60-80 องศา ชั้นหินคดโค้ง
ค่อนข้างมากเป็นแบบคดโค้งปิดถึงแบบคดโค้งแคบ (close-tight fold) มีหินปูนเลนส์สลับอยู่บ้าง
โผล่เป็นภูเขาแนวยาว และภูเขาลูกโดดๆ ด้านตะวันตกของอําเภอชุมแพ ภูผาม่าน และสีชมพู เกิด
ตกตะกอนสะสมตัว อยู่ใ นทะเลน้ําตื้น ค่อนข้างขุ่น ชั้นตะกอนตกจมอยู่ตามที่ลาดเอียงตามพื้นที่มี
ลักษณะสภาพภูมิประเทศโบราณไม่ราบเรียบ (ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง) เมื่อ 270-260 ล้านปีก่อน
หินปูนมีส่วนประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) มีประโยชน์สามารถ
ใช้เป็นวัตถุดิบทั้งในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมเคมี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นวัสดุ
ก่อสร้างได้ดี ในจังหวัดขอนแก่นมีการประกอบการทําเหมืองแร่ชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
บริเวณอําเภอภูผาม่านและชุมแพ เพื่อใช้ภายในจังหวัดขอนแก่นและส่งขายให้กับจังหวัดใกล้เคียง
ส่วนดินที่ผุพังมาจากหินปูนมักมีสีส้มแดงที่เรียกว่า ดินแดงหรือดินแทร์รารอสซา (Terra rosa) มีแร่
ธาตุที่จําเป็นต่อพืชอยู่หลายชนิด ดังนั้นพื้นที่ราบที่อยู่ใกล้หินปูนจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกได้ดี แม้ว่าภูเขา
หินปูนจะมีความสูงชันและแสดงหน้าผาชัดเจน แต่เนื่องจากไม่มีตะกอนดินสะสมตัวอยู่บนยอดเขา
ดังนั้นจึงไม่ใช่พื้นที่ที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม แต่อาจพบปรากฏการณ์หลุมยุบในบริเวณที่ราบใกล้ภูเขา
หินปูน
5.2 หินมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic rocks)
กลุ่มหินโคราช (The Khorat Group) เป็นกลุ่มหินตะกอนสีแดงที่เกิดจากการ
สะสมตัวบนภาคพื้นทวีปในมหายุคมีโซโซอิก (แบ่งย่อยได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคไทรแอสซิก ยุคจูแรสซิก และ
ยุคครีเทเชียส) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะพบแผ่กระจายกว้างขวางบริเวณที่ราบสูงโคราช กลุ่มหินโคราชโดยส่วน
ใหญ่ประกอบด้วย หินทราย หินทรายแป้ง และหินดินดาน ชั้นหินเอียงเทน้อย เฉลี่ยประมาณ 10
องศา หินทรายที่มีเนื้อละเอียดสามารถใช้เป็นแหล่งหินประดับและหินลับมีดได้ บริเวณที่ราบใกล้ภูเขา
หินทรายใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ค่อนข้างดี เนื่องจากดินมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์พอสมควร
สําหรับพืช ยกเว้นบริเวณที่เป็นหินทรายเนื้อควอตซ์ซึ่งจะมีแร่ธาตุค่อนข้างต่ํา ส่วนดินที่ผุพังมาจาก
หิน ดิน ดานมีแ ร่ธ าตุอุด มสมบูร ณ์พอสมควรโดยเฉพาะแร่ธาตุอาหารเสริมสําหรับพืช จึงสามารถใช้
ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกได้ค่อนข้างดี แต่ดินอาจมีความร่วนซุยต่ํา พื้นที่จังหวัดขอนแก่นพบ
หมวดหินย่อยของกลุ่มหินโคราชทั้ง 7 หมวดหิน เรียงลําดับหมวดหินที่อยู่ล่างสุดไปหาบนสุดตามการ
ลําดับชั้นหิน ดังนี้
หินยุคไทรแอสซิก (อายุ 250-200 ล้านปี)
หมวดหินห้วยหินลาด (Huai Hin Lat Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่บริเวณ
บ้านซํ า ตําบลนาหนองทุ่ม อําเภอชุมแพ ใน “ห้วยหินลาด” ที่ไหลผ่านทางหลวงหมายเลข 201
ที่ ห ลั ก กิ โ ลเมตร 109.5 ประกอบด้ ว ย ชั้ น หิ น ถล่ ม ของหิ น กรวดมนปู น หิ น กรวดมนฐาน
21

มักพบหินภูเขาไฟชนิดหินทัฟฟ์และหินกรวดเหลี่ยมแทรกปนอยู่ด้วยมี สีเทา วางตัวอยู่ล่างสุด และต่อเนื่อง


เปลี่ยนเป็นหินทรายเนื้อกรวด และหินทรายมีชั้นเฉียงระดับ สีเทาขาว สีเทาเขียว หินที่วางตัวอยู่ด้านบน
ถัดไปเป็นหินโคลนชั้นบาง หินโคลนมีเศษพืช หินดินดานเนื้อปนทราย หินทรายแป้ง สีเทาดําถึงสีดํา พบ
โผล่อยู่บริเวณกลุ่มภูเขาที่เป็นทั้งแบบแสดงและไม่แสดงแนวสันเขา วางตัวเป็นรูปครึ่งวงกลมล้อมรอบกลุ่ม
ภูเขายอดราบและบริเวณเนินทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดขอนแก่น ในเขตอําเภอภูผาม่าน ชุมแพ
และสีชมพู หมวดหินห้วยหินลาดวางตัวสัมผัสแบบไม่ต่อเนื่องเชิงมุมอยู่บนหมวดหินน้ําดุก และวางตัว
ต่อเนื่องอยู่ใต้หมวดหินน้ําพอง หมวดหินห้วยหินลาดตอนล่างเกิดจากการตกตะกอนในพื้นที่สะสมตัวเป็นชั้น
หินถล่มอยู่ตามขอบแอ่ง มีการไหลของกระแสน้ํา ชั้นหินตอนกลางและช่วงบน เกิดจากการตกตะกอน
สะสมตัวบริเวณแอ่งน้ําจืดที่ค่อนข้างสงบนิ่ง จนอาจตกตะกอนในระบบธารน้ําพาจนเต็มแอ่งเดิมในบาง
บริเวณเมื่อ 229-204 ล้านปีก่อน เนื่องจากพบหินโคลนสีแดงสลับชั้นอยู่บ้าง
หมวดหินน้ําพอง (Nam Phong Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ตามแนว ลําน้ําพอง
ซึ่งอยู่ในเขตอําเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ส่วนล่างเป็นหินทรายแป้ง หินทราย และหินโคลน สีน้ําตาล
แกมแดง มีการผุพังค่อนข้างง่าย ส่วนกลางเป็นหินทราย หินกรวดมน ชั้นหนา ส่วนบนเป็นหินดินดาน หิน
โคลนและหินทรายแป้ง สีน้ําตาลแกมแดง กระจายกว้างขวางเป็นแนวทิศเหนือ-ใต้ ในเขตอําเภอชุมแพ
สีชมพู และภูผาม่าน สภาวะแวดล้อมการตกตะกอนและภูมิอากาศโบราณในบริเวณที่ราบลุ่มเชิงเขาใน
ระยะแรก และเปลี่ยนไปเป็นการตกตะกอนในแม่น้ําแบบโค้งตวัดที่มีกระแสน้ํารุนแรงตามร่องน้ํา และ
หลังจากนั้นเป็นการตกตะกอนบริเวณสองฝั่งของที่ราบลุ่มแม่น้ําในสภาวะภูมิอากาศที่ค่อนข้างกึ่งแห้งแล้ง เมื่อ
204-199 ล้ า นปี ก่ อ น ปั จ จุ บั น พบว่ า หมวดหิ น น้ํ า พองมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ การเกิ ด โคลนพุ ใ นภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มีการพบซากดึกดําบรรพ์ไดโนเสาร์ชนิดกินพืชที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในหมวดหินน้ําพอง
บริเวณจังหวัดชัยภูมิ
หินยุคจูแรสซิก (อายุ 200-145 ล้านปี)
หมวดหินภูกระดึง (Phu Kradung Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ตามเส้นทางเดิน
เท้าขึ้นภูกระดึง จากเชิงเขาถึงซําบอน ส่วนล่างสุดเป็นหินทรายแป้ง สีแดง สีน้ําตาลแดง และสีเทาแกมแดง
มักมีแร่ไมกาปน บางแห่งมีหินปูนชั้นบางมากแทรกสลับ ชั้นหินตอนกลางประกอบด้วย หินทรายแป้ง หิน
โคลน สีน้ําตาลแดงปนม่วง มีเม็ดปูนและชั้นเม็ดปูน ชั้นหินมักถูกปกคลุมด้วยตะกอนดินหนา ไม่ค่อยพบเป็น
ชั้นหินโผล่ มีหินทรายเนื้อไมกาและหินกรวดมนเม็ดปูน สลับชั้นโผล่ให้เห็นเป็นช่วงๆ ส่วนบนเป็นหินทราย
แป้งสลับชั้นหินทราย หินโคลน และหินกรวดมนเนื้อปูน สีแดงปนเทา และสีเทาเขียว ชั้นหินบนสุดโผล่
เป็นหน้าผาของหินทราย สีน้ําตาลแดง และมีหินทรายแป้งสลับชั้นอยู่บ้าง ชั้นหินทรายหนา 30 เซนติเมตร
ถึงมากกว่า 1 เมตร ชั้นหินทั่วไปมีการผุพังค่อนข้างง่าย กระจายกว้างขวางอยู่ตามที่เนินและที่ลาดเขา ใน
เขตอําเภอชุมแพ สีชมพู ภูเวียง และ ร่อ งน้ํา และตกตะกอนบริเ วณสองฝั่ง ของที่ร าบลุ่ม แม่น้ํา หนอง
และบึง ในภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง เมื่อ 180-145 ล้านปีก่อน
22

หินยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียส (อายุ 200-65 ล้านปี)


หมวดหินพระวิหาร (Phra Wiharn Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่
เขาพระวิหาร ประกอบด้วยหินทรายเนื้อควอตซ์ สีขาวปนเหลืองอ่อน แสดงชั้นเฉียงระดับ นอกจากนี้
อาจพบหินทรายแป้ง หินโคลน ชั้นบางๆ และหินกรวดมน กระจายกว้างขวางอยู่ส่วนด้านบนของภูเขา
ยอดราบ ในเขตอําเภอชุมแพ ภูเวียง หนองเรือ อุบลรัตน์ น้ําพอง และกระนวน วางตัวอย่างต่อเนื่องอยู่
บนหมวดหินภูกระดึง และวางตัวแบบต่อเนื่องอยู่ล่างหมวดหินเสาขัว เกิดจากการสะสมตะกอนในทาง
น้ําประสานสาย เมื่อ 170-100 ล้านปีก่อน
หินยุคครีเทเชียส (อายุ 145-65 ล้านปี)
หมวดหินเสาขัว (Sao Khua Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่ห้วยเสาขัว ทาง
เหนือของถนนสายอุดรธานี-หนองบัวลําภู ประกอบด้วย หินทรายแป้ง สีน้ําตาลแกมแดงและปื้น สีเทา
หินทรายสีแดงอ่อน เม็ดขนาดละเอียดถึงละเอียดมาก บางชั้นมีกรวดปน ลักษณะโดยทั่วไปของ
หมวดหินเสาขัว ประกอบด้วย วัฎจักรชั้นหินสลับกันของหินโคลนปนทรายแป้ง สีน้ําตาลแดง สลับ
กับ หิน ทราย และหิน กรวดมน สีน้ํ า ตาลแดง มี วัต ถุป ระสานทั้ง ที ่เ ป็น แคลเซีย มคาร์บ อเนตที่
ตกตะกอนมาจากน้ํา ที่ซึม ผ่า นชั้น หิน หรือ เกิด จากการที่แ ก๊ส คาร์บ อนไดออกไซด์ห นีอ อกไปจาก
สารละลายที่แฝงตัวอยู่ในชั้นดินแถบที่มีอากาศแทรก หรือที่เรียกว่า แคลครีต (calcrete) และ ที่มี
วัตถุประสานเป็นซิลิกา หรือที่เรียกว่า ซิลครีต (siltcretes) หนาและเด่นชัดกว่าที่พบในหมวดหินภู
กระดึงและหมวดหินโคกกรวด กระจายตัวกว้างขวางเป็นแนวขนานกับหมวดหินพระวิหาร ในเขต
อําเภอภูเวียง หนองเรือ อุบลรัตน์ น้ําพอง และกระนวน สภาวะแวดล้อมของการสะสมตะกอนใน
แม่น้ําโค้งตวัดและที่ราบน้ําท่วมขัง ในภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง เมื่อ 145-100 ล้านปีก่อน
หมวดหินภูพาน (Phu Phan Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่ภูผาผึ้ง เทือกเขา
ภูพาน อําเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย หินทราย สีเทาปนขาว ขนาดเม็ดปานกลางถึง
กรวด และหินกรวดมน สีน้ําตาลแกมเหลือง เทา ส้มอ่อน ชมพู และขาว ขนาดชั้นหนา และแสดงชั้น
เฉียงระดับขนาดใหญ่ เม็ดกรวดประกอบด้วยหินหลายชนิด ได้แก่ ควอตซ์สีขาว หินภูเขาไฟ หินเชิร์ต
สีเทา ดํา เทาขาว น้ําตาลแดง และเขียว มีการคัดขนาดไม่ดี หินชนิดอื่นที่พบร่วมในหมวดหินภูพาน
ได้แก่ หินทรายแป้ง หินดินดาน หินกรวดมนกระเปาะปูน หมวดหินภูพานแผ่กระจายตัวตามแนวขอบ
ของหมวดหินเสาขัว ในเขตอําเภอภูเวียง หนองเรือ อุบลรัตน์ น้ําพอง และกระนวน แสดงสภาวะ
แวดล้อมการสะสมตะกอนในแม่น้ําประสานสายที่มีกระแสน้ําค่อนข้างรุนแรง เมื่อ 145-100 ล้านปีก่อน
หมวดหินโคกกรวด (Khok Kruat Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ตามถนน
สายมิตรภาพ บริเวณบ้านโคกกรวด อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย หินทรายสีแดง
อ่อน สีแดงปนม่วง น้ําตาลแกมแดง มักมีขนาดเม็ดละเอียดเป็นส่วนใหญ่ มีหินทรายแป้ง หินโคลน
และหินกรวดมน สีน้ําตาลแกมแดง แทรกสลับอยู่ อาจมียิปซัมเป็นชั้นบางๆ ช่วงบนของลําดับชั้นหิน
กระจายตัวกว้างขวางตามแนวของหมวดหินภูพาน โดยเฉพาะบริเวณอําเภอพระยืน บ้านฝาง น้ําพอง
และกระนวน แสดงสภาวะแวดล้อมการสะสมตะกอนในทางน้ําโค้งตวัด ตามร่องน้ํา คันดิน และที่
ราบน้ําท่วมถึง เมื่อ 125-100 ล้านปีก่อน
23

หมวดหินมหาสารคาม (Mahasarakham Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่หลุม


เจาะน้ําบาดาล F-34 บ้านเชียงเหียน อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ชั้นหินประกอบด้วย ชั้นเกลือหิน
(rock salt) 3 ชั้น แทรกสลับกับหินโคลน หินทรายแป้ง สีน้ําตาลแดง สีแดงส้ม มีความหนารวมกัน
ประมาณ 600-1,000 เมตร โดยมีชั้นแอนไฮไดร์รองรับอยู่ด้านล่าง บริเวณที่มีโครงสร้างของโดมเกลือใกล้
ชั้นผิวดินมักมีผลต่อดินเค็มและการปรากฏของคราบเกลือบนผิวดิน ดังนั้นในการสํารวจ เพื่อทําแผนที่
ธรณีวิทยามักกําหนดบริเวณที่มีคราบเกลือและดินเค็ม เป็นพื้นที่ขอบเขตของหมวดหินมหาสารคาม พบ
กระจายตัวบริ เวณอําเภอเมืองขอนแก่ นและบ้ านไผ่ สภาวะแวดล้อมการสะสมตะกอนของหมวดหิน
มหาสารคาม มาจากการตกตะกอนของน้ําทะเลในแอ่ง ในสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง การวัดอายุของ
เกลือหินโดยวิธีกัมมันตรังสี K-Ar มีอายุประมาณ 93 ล้านปี
หมวดหินภูทอก (Phu Thok Formation) แบ่งออกเป็น 3 หมู่หิน จากล่างขึ้นบน
ได้แก่ หมู่หินนาหว้า เป็นหินโคลนและหินเคลย์ สีน้ําตาลแดง สีแดงส้ม และหินทรายแป้ง สีน้ําตาลส้ม
หมู่หินคําตากล้า เป็นหินทราย สีน้ําตาลแดง สลับชั้นกับหินทรายเนื้อเฟลด์สปาร์ สีแดงอิฐ พบบริเวณ
ตําบลท่าพระ อําเภอเมืองขอนแก่น เป็นชั้นหินกักเก็บน้ําจืดคุณภาพดี ปริมาณมาก ใช้ในอุตสาหกรรม
เบียร์และน้ําดื่ม และ หมู่หินภูทอกน้อย เป็นหินทรายอาร์โคส เม็ดละเอียดถึงปานกลาง แสดงชั้นเฉียงระดับ
ขนาดใหญ่ กระจายตัวกว้างขวางบริเวณทิศใต้ของจังหวัดขอนแก่น เช่นที่อําเภอเมืองขอนแก่น พระยืน
บ้านแฮด และบ้านไผ่ แสดงสภาวะแวดล้อมการสะสมตะกอนในทางน้ําโค้งตวัดที่พัดพาเป็นครั้งคราว สลับ
กับการพัดพาของลม อายุ 100-55 ล้านปี
2.5.3 หินมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic rock)
ตะกอนยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) ประกอบไปด้วย ตะกอนร่วน และตะกอนกึ่ง
แข็งตัว มีอายุ 1.6 ล้านปีถึงปัจจุบัน การจําแนกลักษณะตะกอนยุคควอเทอร์นารีโดยทั่วไป ใช้ลักษณะทาง
ธรณีสัณฐาน สภาพแวดล้อมการสะสมตัว และชนิดของตะกอนเป็นหลัก โดยตะกอน ควอเทอร์นารี สะสม
ตัวอยู่ทั่วไปตามแนวลุ่มน้ํา แม่น้ํา และที่ราบทั่วไป เห็นเป็นพื้นที่เนินและที่ลุ่ม ตะกอนเหล่านี้ใช้เป็นวัสดุ
ก่อสร้างและถมที่ดินได้ ประกอบด้วยหน่วยตะกอนย่อยดังนี้
ตะกอนตะพัก (Terrrace deposits) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตะพักกรวดที่
วางตัวอยู่ด้านล่าง และตะพั กคล้ายดินลมหอบอยู่ ข้างบน ตะกอนตะพักกรวดพบเป็นชั้นศิลาแลงที่ มี
ความหนาตั้งแต่ 0.50-5 เมตร ความหนาเฉลี่ย 3 เมตร เนื้อศิลาแลง ประกอบด้วยเม็ดกรวดของควอตซ์
กึ่งมน และยังพบมวลสารพอกเป็นชั้นๆ ของสารละลายเหล็กและแมงกานีสออกไซด์ ชั้นศิลาแลงวางอยู่บน
ตะพักกรวด ประกอบด้วย กรวดของควอตซ์ หินทราย เชิร์ต และหินแอนดีไซต์ นอกจากนี้ยังพบอุลกมณี
และไม้กลายเป็นหินแทรกสลับอยู่ในชั้นตะกอนตะพัก จากหลักฐานการพบอุลกมณีในชั้นตะพักกรวด
หาอายุของอุลกมณีได้อยู่ระหว่าง 700,000-900,000 ปี ดังนั้นตะกอนตะพักน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงเดียวกับ
อายุของอุลกมณี
ตะกอนตะพักคล้ายดินลมหอบ ประกอบด้วย ดินละเอียดสีแดง สีส้ม สีแดงเข้ม และสีส้ม
แกมเหลือง หนาระหว่าง 1-10 เมตร บริเวณด้านล่างสุดเป็นตะกอนกรวด หนาระหว่าง 20-50 เซนติเมตร
(รูปที่ 8) สลับกับตะกอนทรายแป้งสีส้ม ตะกอนช่วงนี้เกิดจากทางน้ําพัดพามาสะสมตัว (รูปที่ 9)
24

ตะกอนน้ําพา (Alluvial deposits) เป็นตะกอนร่วนขนาดละเอียดพวกทรายและ


ดิน สะสมตัวตามแนวลุ่มน้ํา เช่น แม่น้ําชี ลําน้ําพอง (รูปที่ 10) เป็นต้น ตะกอนน้ําพาอาจมีคราบเกลือ
สีขาวบนผิวดิน เช่นบริเวณอําเภอเมือง อําเภอบ้านไผ่ อําเภอชนบท เป็นต้น ซึ่งมีชาวบ้านนํามาต้มทํา
เกลือสินเธาว์ ขนาดทรายแป้ง-โคลนจากบริเวณอื่นมาทับถมกันไม่มีลักษณะเป็นชั้นๆ และไม่จับ
ตัวแข็ง
2.6 หินอัคนี (Igneous rocks)
มีอายุ ระหว่ าง 260-245 ล้ านปี แต่หินทัฟฟ์น่าจะเกิดก่อนหรืออายุใ กล้ เคี ยงกั บ
หมวดหินห้วยหินลาดหินอัคนีพุหรือหินภูเขาไฟ ที่พบเป็นหินไรโอไรต์ หินแอนดีไซต์ เนื้อหยาบมีสี
เขียว แต่เนื้อดอกมีสีดํา และหินทัฟฟ์ กระจายตัวคลุมบริเวณแคบๆ ตามร่องน้ํา เนิน และแนวสันเขา
ด้านทิศเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือของผาหลุมเหล็ก ตําบลห้วยม่วง อําเภอภูผาม่าน มีความสูงจากที่
ราบประมาณ 140 เมตร สัมผัสอยู่กับหินทรายสกปรก เม็ดหยาบ เม็ดตะกอนทรายเรียงขนาด สลับ
ชั้นด้วยหินทรายแป้ง และหินดินดานสีเทาดําของหมวดหินน้ําดุก หินอัคนีพุ

รูปที่ 8 แสดงตะกอนและตะพักคล้ายดินลมหอบ ประกอบด้วย ดินละเอียดสีแดง สีแดงเข้ม


สี ส้ ม และสี ส้ ม แกมเหลื อ ง หนาระหว่ า ง 1-10 เมตร บริ เ วณ บ้ า นหนองหลุ บ
ตําบลแดงใหญ่ อําเภอเมืองขอนแก่น (ลักษณะชั้นที่เห็นเกิดจากการเปิดหน้าดินโดย
เครื่องจักร)
25

รูปที่ 9 แสดงตะกอนขนาดต่างๆ ประกอบด้วยตะกอนขนาด กรวด ทราย ทรายแป้งและ


โคลน ทับถมกันเป็นชั้น พบที่ บริเวณ บ้านหนองหลุบ ตําบลแดงใหญ่ อําเภอเมือง
ขอนแก่น

รูปที่ 10 แสดงตะพักกรวดริมลําน้ําพองมีการทับถมกันอย่างเป็นชั้น บริเวณบ้านโคกสี


อําเภอเมืองขอนแก่น
บทที่ 3
ธรณีวิทยาแหล่งแร่ของจังหวัดขอนแก่น
3.1 การแบ่งประเภทพืน้ ที่ทรัพยากรแร่
การจําแนกเขตพื้นที่ทรัพยากรแร่ในแผนที่ทรัพยากรแร่ในจังหวัดขอนแก่น ใช้ข้อมูลจาก
แผนที่ทรัพยากรแร่มาตราส่วน 1:250,000 เป็นข้อมูลพื้นฐานและได้ทําการปรับปรุงข้อมูลโดยการสํารวจ
เพิ่มเติมในภาคสนามในมาตราส่วน 1:50,000 และนําข้อมูลที่ได้มาจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
“พื้นที่แหล่งแร่” และ “พื้นที่ศักยภาพทางแร่” ตามคําจํากัดความที่นิยามโดยคณะทํางานจัดทําแผนที่
ทรัพยากรแร่ (2542) และคณะอนุกรรมการด้านทรัพยากรแร่ (2551) ดังนี้
พื้นที่แหล่งแร่ หมายถึง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งมีแหล่งแร่หรือแหล่งสินแร่ชนิดเดียวหรือ
หลายชนิดรวมกันในพื้นที่นั้น รวมทั้งพื้นที่ที่มีคําขอประทานบัตรและ/หรือประทานบัตร ที่ได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องตามหลักวิชาการ การกําหนดขอบเขตพื้นที่แหล่งแร่ยึดถือข้อมูลวิชาการทางธรณีวิทยา
แหล่งแร่เป็นปัจจัยหลัก
พื้นที่ศักยภาพทางแร่ หมายถึง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ยังไม่มีการค้นพบทรัพยากรแร่
(Undiscovered mineral resource) แต่มีแนวโน้มที่จะมีได้ โดยมีหลักฐานบ่งชี้จากข้อมูลทางธรณีวิทยา
ธรณีวิทยาแหล่งแร่ ธรณีเคมี และธรณีฟิสิกส์ และรวมพื้นที่ที่มีแร่กระจัดกระจายในหินซึ่งมีนัยสําคัญ หรือมี
บริเวณพบแร่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่นั้น
รายงานฉบับนี้มุ่งเน้นความสําคัญไปที่พื้นที่แหล่งแร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พิสูจน์ทราบแน่ชัด
แล้วว่ามีแร่อยู่แน่นอน และสามารถที่จะทําการประเมินปริมาณทรัพยากรแร่เบื้องต้นในแต่ละแหล่งแร่ได้
ส่วนพื้นที่ศักยภาพทางแร่ที่มีความสําคัญรองลงมาเป็นการรวบรวมข้อมูลมาเพื่อเป็นส่วนประกอบให้เห็น
เป็นภาพรวมของทรัพยากรแร่ของจังหวัดขอนแก่น และสําหรับเป็นข้อมูลฐานเบื้องต้นเพื่อการดําเนินงาน
ในอนาคต

3.2 การประเมินปริมาณทรัพยากรแร่ในพื้นที่แหล่งแร่
การประเมินทรัพยากรแร่สํารองของจังหวัดขอนแก่นในครั้งนี้ เป็นการประเมินที่เรียกว่า
“ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้” ซึ่งหมายถึง ปริมาณสํารองที่ประเมินในพื้นที่ที่มีการพบแร่
แต่ยังมิได้มีการพิสูจน์ว่ามีปริมาณความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เป็นทรัพยากรแร่สํารองที่จะต้องทําการ
สํารวจเพิ่มเติมจนถึงขั้นรายละเอียด เพื่อให้ทราบปริมาณและความสมบูรณ์ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้
ในการพัฒนาก่อนที่จะลงทุนทําเหมืองแร่ โดยในการประเมินใช้การประเมินทางสถิติ และวิชาการธรณีวิทยา
เป็นปัจจัยหลัก
ในการประเมินทรัพยากรแหล่งแร่ประเภทหินก่อสร้างใช้วิธีนําเอาค่าความหนาแน่นของ
แร่หรือหินที่มีในพื้นที่ คูณด้วยปริมาตรที่ได้จากการคํานวณ และค่าสัมประสิทธิ์ในการประเมิน
28

ค่าสัมประสิทธิ์ในการประเมิน (k) เป็นค่าที่กําหนดขึ้นเพื่อให้ได้ตัวเลขของปริมาณ


ทรัพยากรแร่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด หรือเป็นค่าร้อยละของปริมาณสํารองหลังจากได้หักค่า
ความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ต่างๆ เช่น ความหนาและความต่อเนื่อง
ของสายแร่ โพรงในชั้นหิน รอยแตก และรอยเลื่อนที่ตัดผ่านแต่ในกรณีแร่อื่นๆ ที่ไม่ใช่หินก่อสร้างใช้
ปัจจัยที่แตกต่างออกไปบ้าง เช่น เกลือหิน จะคํานวณปริมาตรในพื้นที่จําเพาะในพื้นที่แต่ละแหล่งแร่
ใช้ความหนาที่แน่นอนจากข้อมูลหลุมเจาะ ความหนาแน่นจําเพาะของแร่ และค่า k ที่ต่างออกไป

3.3 ทรัพยากรแร่ของจังหวัดขอนแก่น
ทรั พ ยากรแร่ ข องจั ง หวั ด ขอนแก่ น หากจะนั บ รวมทั้ ง ที่ เ ป็ น พื้ น ที่ แ หล่ ง แร่ พื้ น ที่
ศักยภาพแร่ และบริเวณปรากฏของแร่ นับรวมได้ถึง 16 ชนิด ครอบคลุมพื้นที่รวมกันมากกว่าร้อยละ
80 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนใหญ่จะเป็นหินและกรวดทรายก่อสร้าง และเกลือหินและโพแทช ที่พบเป็น
ส่วนน้อยคือ ก๊าซและเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยูเรเนียม ตะกั่ว ทองแดง และฟอสเฟต (รูปที่ 11)
ทรัพยากรแร่ของประเทศไทย จําแนกตามการใช้ประโยชน์ที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์
การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2554 ได้ 5 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มแร่เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ได้แก่
แร่เพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ และแร่เพื่อการก่อสร้าง
2. กลุ่มแร่พลังงาน ได้แก่ แร่ถ่านหิน หินน้ํามัน และแร่กัมมันตรังสี
3. กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้แก่ โลหะมีค่า เช่น ทองคํา
แร่ตะกั่วและสังกะสี แร่อุตสาหกรรม เช่น ดินขาว
4. กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร ได้แก่ โพแทช โดโลไมต์ เพอร์ไลต์ ฟอสเฟต
5. กลุ่มแร่เพื่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่ โคลัมไบต์ แทนทาไลต์ และ แร่
หายาก (Rare Earth) เช่น โมนาไซต์ และซีโนไทม์ แร่เหล่านี้ส่วนมากพบเป็นแร่พลอยได้จากการทํา
เหมืองดีบุก
ทรัพยากรแร่ของจังหวัดขอนแก่นสามารถจําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่
กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ พ.ศ. 2550-2554 ออกเป็น 5 กลุ่ม (ตาราง
ที่ 1) ดังนี้
1) กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ได้แก่
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง หินทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
หินปูนที่ยังไม่มีผลวิเคราะห์ทางเคมี แต่คาดว่ามีศักยภาพเหมาะแก่การก่อสร้าง กรวดทรายก่อสร้าง
ดินคล้ายดินลมหอบ และลูกรัง
2) กลุ่มแร่พลังงาน ได้แก่ น้ํามันและก๊าซธรรมชาติ
3) กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้แก่ เกลือหินและโพแทช หินปูน
สําหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ตะกั่ว และทองแดง
4) กลุ่มแร่เพื่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่ ยูเรเนียม
5) กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร ได้แก่ โพแทชและฟอสเฟต (มูลค้างคาว)
29

รูปที่ 11 แผนที่ทรัพยากรแร่จังหวัดขอนแก่น
(คัดลอกจาก : กรมทรัพยากรธรณี, 2552)
30

ตารางที่ 1 รายละเอียดของทรัพยากรแร่ และหินอุตสาหกรรมชนิดต่างๆ พื้นที่ศักยภาพทางแร่ และ


บริเวณพบแร่ ในพืน้ ที่จังหวัดขอนแก่น
จํานวน จํานวน เนื้อที่ ปริมาณ
ชนิดแร่ / หินอุตสาหกรรม แหล่ง ประทานบัตร * (ตร. กม.) สํารอง ** หมายเหตุ
(ล้านเมตริกตัน)
1. กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
แร่เพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์
-หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ 19 - 10.27 7,713.00
แร่เพื่อการก่อสร้าง
-หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง 13 10 6.92 6,295.07 เปิดการ 7 แปลง
-หินปูนที่จําแนกไม่ได้เนื่องจาก 2 - 325.84 273,511.50 ลักษณะทางกายภาพ
ไม่มีข้อมูลผลวิเคราะห์ สามารถใช้เป็นหินปูน
เพื่ออุตสาหกรรม
ก่อสร้างได้
-หินทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง 6 1 1,037.56 242,884.90 หยุดการ
-พื้นที่ศักยภาพกรวดและทรายก่อสร้าง
-พื้นที่ศักยภาพดินคล้ายดินลมหอบ
-พื้นที่ศักยภาพลูกรัง
2. กลุ่มแร่พลังงาน
-แหล่งก๊าซธรรมชาติ (แหล่งน้ําพอง) 1 80.00 58.00 ***
-พื้นที่ศักยภาพน้ํามันและก๊าซ 5 แปลงสัมปทาน
ธรรมชาติ
3. กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
-เกลือหินและโพแทช 36 - 4,247.25 137,116.28
-หินปูนสําหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ 7 - 0.97 789.82
-พื้นที่ศักยภาพแร่ตะกั่ว 1
-บริเวณพบแร่ทองแดง 1
4. กลุ่มแร่เพื่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง
-บริเวณพบแร่ยูเรเนียม 1 - 0.002
5. กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร
-โพแทช 2 - 3,905.00
คาร์นัลไลต์ 27,692.54
ซิลไวต์ 563.71
-บริเวณพบแร่ฟอสเฟต (มูลค้างคาว) 1 - 0.002
ที่มา : * สํานักเหมืองแร่และสัมปทาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (2552)
** การสํารวจและประเมินศักยภาพแหล่งแร่ภาคสนามของสํานักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี (2552)
*** มีหน่วยเป็น พันล้านลูกบาศก์ฟุต ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (2552)
31

ทรัพยากรอื่นๆ ที่ไม่จัดเข้ากลุม่ ใดๆ แต่เป็นทรัพยากรธรณีอันมีคุณค่าทางวิชาการ คือ ไม้


กลายเป็นหิน และซากดึกดําบรรพ์ต่างๆ โดยเฉพาะซากดึกดําบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังซึ่งมีคณ ุ ค่าอัน
ประเมินมิได้และยังมีบริเวณปรากฏที่เคยมีการถลุงแร่เหล็กในยุคเหล็กของชุมชนดึกดําบรรพ์
สําหรับกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตแร่โดยตรงจากข้อมูลฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐาน
และการเหมืองแร่ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ทรัพยากรแร่ของจังหวัดขอนแก่นมีประทานบัตร
และคําขอขออนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ ดังมีรายละเอียดในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ประทานบัตรและคําขอประทานบัตรในพืน้ ทีจ่ ังหวัดขอนแก่น
(สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น, มกราคม 2552)
ประทานบัตร (แปลง)
ชนิดแร่ คําขอประทานบัตร
เปิดการ หยุดการ
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง 7 3 10
หินทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง - 1 -
รวม 7 4 10

ปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นมีการผลิตแร่เพียง 2 ชนิด คือ หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง


และก๊าซธรรมชาติ ปริมาณการผลิตแร่แต่ละชนิดระหว่างปี พ.ศ.2546-2549 แสดงดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ข้อมูลการผลิตแร่ในจังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2559


(สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น, มกราคม 2552)
ปริมาณการผลิตแร่ในแต่ละปี
ชนิดแร่ 2544 2545 2546 2547 2548 2549
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง * 1.72 2.57 2.53 2.88 4.25 3.99
ก๊าซธรรมชาติ ** - - 18,144 12,701 11,780 11,253
หมายเหตุ : * หน่วยเป็น ล้านเมตริกตัน
** หน่วยเป็น พันล้านลูกบาศก์ฟุต

จากตารางการผลิตแร่พบว่า หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างมีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2548 โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2548 มีการผลิตสูงสุดถึง 4.25 ล้านเมตริกตัน
โดยแร่ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะใช้สําหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง
จากข้อมูลสถานภาพทรัพยากรแร่ของประเทศไทย พบว่า ในปี พ.ศ. 2550 จังหวัดขอนแก่นมีการผลิต
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 4.04 ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งประเทศ ด้านโครงสร้างการ
ผลิ ต สาขาเหมือ งแร่ ในปี พ.ศ. 2549 พิ จ ารณาจากสั ด ส่ ว นมู ล ค่ า เพิ่ ม ณ ราคาประจํ า ปี ข องจั ง หวั ด
ขอนแก่น สัดส่วนสูงสุดมาจากการผลิตก๊าซธรรมชาติร้อยละ 84.5 ส่วนการทําเหมืองหินและดินมีสัดส่วน
ร้อยละ 15.5
32

3.3.1 กลุ่มแร่เพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
3.3.1.1 แร่เพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์
โดยทั่วไปหินปูนมีส่วนประกอบทางเคมีส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ที่
เกิดในรูปของแร่แคลไซต์ (Calcite) เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีจากน้ําทะเลในสภาวะแวดล้อม
บริเวณลานพื้นที่ราบของทะเลตื้น (Platform) ตั้งแต่ส่วนที่เป็นทะเลเปิดถึงบริเวณที่เป็นทะเลสาบ
(Lagoon) ที่มีการรุกเข้าและถดถอยของน้ําทะเลอยู่เสมอ โดยจะมีสิ่งเจือปนที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการ
ตกตะกอนในปริมาณที่แตกต่างกันออกไปตามสภาวะแวดล้อมขณะที่มีการตกตะกอน เช่น ตะกอน
โคลน ทราย แร่เหล็กออกไซด์ แร่ซิลิเกต ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส สารประกอบ
อินทรีย์
หินปูนที่สามารถนํามาใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ได้จะต้องมีปริมาณแคลเซียมออกไซด์
(CaO) ร้อยละ 53.23-55.47 ปริมาณแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) น้อยกว่าร้อยละ 3 ปริมาณ
ซิลิกาออกไซด์ (SiO2) น้อยกว่าร้อยละ 5 ปริมาณ P2O5 และ SO3 น้อยกว่าร้อยละ 1 และปริมาณ Total
alkaline น้อยกว่าร้อยละ 0.6 นอกจากนี้ยังต้องคํานึงถึงมลทินอื่นๆ ที่อยู่ในเนื้อหินปูน ซึ่งจะกระทบ
ต่ อคุณภาพของปู นซีเ มนต์ในกระบวนการผลิต เช่น แมกนี เซียม ฟลู ออรีน ตะกั่ ว สั งกะสี เหล็ ก
แมงกานีส
จังหวัดขอนแก่นมีการกระจายตัวของหินปูนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ
พื้นที่ ต่อเนื่องมาจากแนวหินปูนของจังหวัดเลย-เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ โดยหินปูนของจังหวัดขอนแก่นพบ
อยู่ในเขตอําเภอภูผาม่าน อําเภอชุมแพ และอําเภอสีชมพู ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 345 ตาราง
กิโลเมตร พื้นที่หินปูนเป็นเทือกเขาสลับที่ราบ ในทางธรณีวิทยาจัดให้หินปูนเหล่านี้อยู่ในยุค
เพอร์เมียน หินปูนที่สํารวจพบในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นที่มีคุณสมบัติใช้ทําปูนซีเมนต์ได้มี 3 แหล่งได้แก่
1. แหล่งหินปูนอําเภอภูผาม่าน พบที่ด้านตะวันออกของเทือกเขาผาม่าน ด้านเหนือ
ของเทือกเขาสามยอด ด้านตะวันออกของเทือกเขาภูกักกะ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของภูถ้ําพระ
ด้านใต้ของภูร่องเพิ่ม ด้านใต้ของภูเบียด ด้านใต้ของภูหมากบก เขาบริเวณบ้านวังสวาบ ภูตอง
บ้านซําเนิน และเนินเขาบริเวณบ้านโนนสะอาด
2. แหล่งหินปูนอําเภอชุมแพ พบที่ด้านเหนือของเทือกเขาผานกเค้า ด้านเหนือและ
ตะวันตกของภูผักหนาม และบริเวณสระแก้ว
3. แหล่งหินปูนอําเภอสีชมพู พบที่ผาน้ําเที่ยง-ภูผาพวงและบริเวณรอบๆ ด้าน
ตะวันออกเฉียงเหนือของผาหย่อง ด้านตะวันออกของผาวัด และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของซําแคน
พื้นที่แหล่งหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์มีเนื้อที่รวมประมาณ 10.27 ตารางกิโลเมตร
มีปริมาณทรัพยากรหินสํารองมีศักยภาพเป็นไปได้เท่ากับ 7,713 ล้านเมตริกตัน ปัจจุบันยังไม่มีการ
ผลิตหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ในจังหวัดขอนแก่น
33

3.3.1.2 แร่เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
1) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง (ระดับมีผลวิเคราะห์เคมีอ้างอิง)
หินปูนที่จะนํามาใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่จะคํานึงถึงคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ เช่น
ความหนาแน่น ค่าดัชนีความเปราะ การดูดซึมน้ํา และความคงทนต่อการบดย่อย เป็นต้น ส่วนคุณภาพ
ทางด้านเคมีไม่มีข้อจํากัด หินปูนที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตสูงหรือต่ําก็อาจนํามาใช้ในงานก่อสร้างได้ หินปูน
ส่วนใหญ่สามารถนํามาใช้เป็นหินปูนเพื่อการก่อสร้างได้ ยกเว้นหินปูนที่ตกผลึกขนาดใหญ่ (sacrosic)
เพราะแตกล่อนง่าย สําหรับค่ามาตรฐานที่ใช้ในการกําหนดให้เป็นหินปูน เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างในที่นี้
กําหนดให้มีปริมาณแคลเซียมออกไซต์ (CaO) น้อยกว่าร้อยละ 50.42
ด้วยลักษณะทางกายภาพของหินปูนที่สํารวจพบในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และจากข้อมูล
ประทานบัตรและคําขอประทานบัตรที่เป็นการขอเพื่อใช้เป็นหินสําหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้างทั้งหมด
ทําให้สรุปได้ว่า อย่างน้อยที่สุดก็มีศักยภาพสําหรับเป็นหินปูนที่เหมาะแก่การใช้งานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
ได้ พื้นที่แหล่งหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างแบ่งตามการกระจายตัวได้เป็น 3 พื้นที่ ได้แก่
(1) แหล่งหินปูนอําเภอภูผาม่าน บริเวณภูร่องเพิ่ม ภูถ้ําใหญ่ เขาถ้ําฟืน เชิงเขาด้าน
ตะวันออกของภูถ้ําพระ ภูเขาและเชิงเขาบริเวณสบน้ําห้วยสังขญวน-ห้วยข้าวหลาม และด้านตะวันออก
ของเทือกเขาสามยอด
(2) แหล่งหินปูนอําเภอชุมแพ บริเวณผาขวาง ผาซําคูณ ด้านตะวันตก ตะวันออก และ
เชิงเขาด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาสามยอด และเทือกเขาบริเวณบ้านซําผักหนาม
(3) แหล่งหินปูนอําเภอสีชมพู บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของผาน้ําเที่ยง
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างมีเนื้อที่รวมประมาณ 6.92 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณหิน
สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ 6,295.07 ล้านเมตริกตัน ปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นมีประทานบัตรหินปูนเพื่อ
อุตสาหกรรมก่อสร้างจํานวน 10 แปลง ในเขตอําเภอภูผาม่าน อําเภอชุมแพ และอําเภอสีชมพู สถานะภาพ
เปิดการจํานวน 7 แปลง และหยุดการ 3 แปลง หินปูนที่ได้ส่วนใหญ่จะนํามาใช้ในบริเวณจังหวัดขอนแก่น
และจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้ในงานโครงสร้าง ผสมปูนซีเมนต์ เทคาน เสา งานปูน และหินคลุกใช้ในงานทํา
ถนน และมีคําขอประทานบัตรหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างจํานวน 10 แปลง บริเวณอําเภอภูผาม่าน
และอําเภอสีชมพู
2) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง (ระดับยังไม่มีข้อมูลมีผลวิเคราะห์อ้างอิง)
หินปูนกลุ่มนี้ยังไม่สามารถจําแนกประเภทได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลผลวิเคราะห์ แต่จาก
คุณสมบัติทางกายภาพในเบื้องต้นพบว่า หินปูนกลุ่มนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้
หินปูนกลุ่มนี้พบบริเวณตอนกลางของอําเภอภูผาม่านทั้งหมด และตอนบนของอําเภอชุมแพต่อเนื่องเข้าไป
ทางด้านตะวันตกของอําเภอสีชมพู ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 325.84 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณหินสํารองที่
มีศักยภาพเป็นไปได้ 273,511.50 ล้านเมตริกตัน
34

3) หินทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
หินทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างในเขตจังหวัดขอนแก่น ปรากฏเป็นลานหินโผล่
ชัดเจนหลายบริเวณ เป็นพื้นที่ประทานบัตรจํานวน 1 แปลง และมีอาชญาบัตรสํารวจแร่จํานวน 12
แปลง ในเขตอําเภอชนบท บริเวณบ้านโนนพะยอมและบ้านโนนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ 5.91 และ
5.31 ตารางกิโลเมตร ตามลําดับ เป็นหินทรายและหินทรายแป้ง หมวดหินโคกกรวดและหมวดหินภูพาน
สีชมพูเทา และสีเทาเขียว เนื้อแกร่ง พื้นที่ประทานบัตรที่ 31422/15670 หินทรายเพื่ออุตสาหกรรม
ก่อสร้าง ของห้างหุ้นส่วนจํากัด ณัฐกิจรุจ ซึ่งปัจจุบันมีสถานะภาพหยุดการ พบร่องรอยการเจาะและ
ตัดหน้าหินลึกลงไปจากพื้นระดับ 0.25-0.75 เมตร แล้วสกัดหินเป็นก้อนใหญ่ และบางส่วนซอยเป็น
แผ่นบางประมาณ 0.25 เมตร ซึ่งคาดว่าเป็นการผลิตหินประดับชนิดแผ่น และมีบางส่วนที่ไม่ได้ขนาด
อาจนําไปทําหินก่อสร้างถนนได้
หินทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดขอนแก่นมีเนื้อที่รวมประมาณ 1,037.56
ตารางกิโลเมตร มีปริมาณหินสํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ 242,884.90 ล้านเมตริกตัน (คิดจากปริมาตร
รวมของหินทรายส่วนที่อยู่ใต้พื้นดินและส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน x ค่าความหนาแน่นของหินทราย x ค่า
สัมประสิทธิ์ในการประเมิน โดยความหนาของหินระดับทําเหมืองแร่ได้ใช้ตัวเลข 10 เมตร อ้างอิงจาก
สถาพร กาวิเนตร และพิทักษ์ รัตนจารุรักษ์ (2546)) นอกจากบริเวณหน้าเหมืองแล้วยังพบลานหิน
ทรายติดต่อกันเป็นแนวไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ
สมหวัง ช่างสุวรรณ์ และสุรชัย สมผดุง (2538) ศึกษาหินทรายจากหมวดหินต่างๆ
ของกลุ่มหินโคราช บริเวณจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อหาวัสดุก่อสร้างและบํารุงทางทดแทน
หิ นปู น พบว่ า หิ นทรายจากหมวดหิ นพระวิ หารมี คุ ณสมบั ติ ที่ ดี ที่ สุ ด สามารถใช้ ทดแทนหิ นปู นได้ ดี
เหนือกว่าหินทรายจากหมวดหินอื่นๆ
จากการศึกษาโครงสร้างของหินทรายพบว่า หมวดหินพระวิหารที่เหมาะสมเป็นแหล่ง
หินก่อสร้างมีการแผ่กระจายตัวในเขตจังหวัดขอนแก่น 5 บริเวณ คือ
(1) แถบด้ า นนอกของเทื อ กเขาภู เ วี ย ง ในเขตอํ า เภอภู เ วี ย งและอํ า เภอชุ ม แพ
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 293.95 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณหินสํารองมีศักยภาพเป็นไปได้
122,709.43 ล้านตัน
(2) เทือกเขาภูพานคํา-ภูเม็ง แนวยาวตอนกลางของจัง หวัดขอนแก่น หรือ
เทือกเขาด้านตะวันออกของเขื่อนอุบลรัตน์ ในเขตอําเภอเขาสวนกวาง อุบลรัตน์ บ้านฝาง มัญจาคีรี
และโคกโพธิ์ มีความยาวกว่า 120 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 315.01 ตารางกิโลเมตร มี
ปริมาณหินสํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ 85,855.98 ล้านตัน
(3) เนินเขาบริเวณภูกระแต ในเขตอําเภอน้ําพอง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 110
ตารางกิโลเมตร มีปริมาณหินสํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ 918.39 ล้านตัน
(4) เทือกเขาสวนกวาง ในเขตอําเภอเขาสวนกวาง น้ําพอง และกระนวน มีความยาว
กว่า 28 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 77.52 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณหินสํารองมีศักยภาพ
เป็นไปได้ 8,130.30 ล้านตัน
(5) บ้ า นนาจานเหนื อ เขตอํ า เภอมั ญ จาคี รี ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ป ระมาณ 8.86
ตารางกิโลเมตร มีปริมาณหินสํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ 391.35 ล้านตัน
35

4) ทรายและกรวดก่อสร้าง
จากบางส่วนของงานตีพิมพ์ของ Manop Raksasakulwong and Denchoke Monjai
(2007) ทํา ให้ส รุปความเกี่ยวกับ การสะสมตัวของตะกอนในเขตจังหวัด ขอนแก่นได้ว่า นับตั้งแต่แ อ่ง
สะสมเกลือที่ก่อให้เกิดเกลือหินในแอ่งโคราชตื้นขึ้น ก็เป็นอันหมดยุคเกลือของหมวดหินมหาสารคาม ตะกอน
ที่สะสมตัวหลังจากนั้นจะเป็นตะกอนบกที่เกิดจากการผุพังของหินเดิมแบบใกล้แหล่งกําเนิดบ้าง หรือถูกพัดพา
มาสะสมโดยน้ําและลมในภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง กลายเป็นหมวดหินภูทอก และตะกอนที่เกิดต่อจากนั้นเกือบ
ทั้งหมดเป็นตะกอนที่เกิดจากการกระทําของน้ํา (รูปที่ 12) ทั้งตะกอนทางน้ําเก่าและตะกอนทางน้ําใหม่
ในเขตจังหวัดขอนแก่นเกิดจากอิทธิพลของน้ําพองและน้ําชี โดยอาจมีการเปลี่ยนตําแหน่งไปบ้างในช่วง
หมื่นปีที่ผ่านมา
พื้นที่บริเวณสองฝั่งของลําน้ําพอง บริเวณอําเภอเมืองและรัศมีรอบๆ เป็นระยะประมาณ
10 กิโลเมตร มีท่าทรายที่ดําเนินการดูดทรายเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง พื้นที่ที่มีศักยภาพของทรายเฉพาะ
สองฝั่งน้ําพองครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง แต่มีผู้ประกอบการดูดทรายค่อนข้างน้อย

Qt1 ชั้นกรวดตะพักทางน้ํา หนา 2-40 เมตร อายุ 700,000-900,000 ปี เกิดจากการพัดพาของลําน้ําชี


และลําน้ําพองโบราณ พบกรวดหลายๆ ขนาด ของควอตซ์ เชิร์ต ฟลินต์ แอนดีไซต์ ไรโอไลต์ ฮอร์นไซต์
ควอตไซต์ หินทราย หินปูน ปะปนกับทรายขนาดต่างๆ ที่สําคัญ คือ ไม้กลายเป็นหิน และอุลกมณี
Qt2 ชั้นดินคล้ายดินลมหอบ หนา 2-10 เมตร อายุ 6,620-8,190 ปี เกิดจากลมพัดพาตะกอนขนาดทรายแป้งและ
ดินตกสะสมปะปนกับตะกอนทรายละเอียด ประกอบด้วย แร่ kaolinite ปะปนกับแร่ montmorillonite
ทรายละเอียด มีสีน้ําตาลแดงจัด หรือน้ําตาลเหลือง
Qa ชั้นตะกอนทางน้ําปัจจุบัน หนา 4-40 เมตร อายุ 5,400 ปี-ปัจจุบัน เกิดจากทางน้ําปัจจุบนั พัดพากรวด
ทราย ดิน เข้าสะสมกัน บางแห่งพบตะกอนโคลน ลักษณะที่เกิดเป็นแอ่งน้ํา หนองน้ํา ปิดทับด้านบน บางแห่ง
ชั้นด้านบนจับตัวกันเป็นแผ่นศิลาแลง แน่นแข็ง

รูปที่ 12 การสะสมตัวของชั้นตะกอนบริเวณจังหวัดขอนแก่น
(ดัดแปลงจาก Manop Raksasakulwong and Denchoke Monjai, 2007)
36

ทรายปนกรวดที่ดูด ขึ้น มาได้จ ะถูก แยกออกเป็น กรวด ทรายหยาบ และทราย


ละเอียด เกือบทั้งหมดจะถูกขายเป็นทรายก่อสร้างและทรายถมที่ที่ใช้ในจังหวัดขอนแก่น และเป็น
การก่อสร้างขนาดเล็กถึงกลางเท่านั้น แต่อาจได้กรวดและทรายที่มีคุณภาพดีกว่านั้นถ้ามีการล้างที่
สะอาดมากขึ้นและเครื่องมือแยกที่ดีเพียงพอ ผู้ประกอบกิจการดูดทรายและผู้ประกอบกิจการค้าวัสดุ
ก่อสร้างให้ข้อมูลว่า ทรายในเขตจังหวัดขอนแก่นเป็นทรายที่ผสมกับปูน แล้วใช้กับงานฉาบได้ไม่ดีนัก
ส่วนใหญ่จึงนําเข้ามาจากอําเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ถ้าหากใช้เป็นกรวดทราย
ถมที่ที่ไม่ต้องการการคัดแยก สามารถกล่าวได้ว่าจังหวัดขอนแก่นมีทรายประเภทนี้เป็นปริมาณมาก
จังหวัดขอนแก่นมีศักยภาพของแหล่งทรายและกรวดก่อสร้างเป็นพื้นที่กว้างถึง 710
ตารางกิโลเมตร ตามลุ่มน้ําชีและลุ่มน้ําพอง ในเขต อําเภอเมือง ภูเวียง หนองเรือ อุบลรัตน์ น้ําพอง
พระยืน ชนบท มัญจาคีรี โคกโพธิ์ไชย แวงน้อย และพล ตะกอนทรายและกรวดทั้งในทางน้ําและ
ตะพักทางน้ําคิดจากความหนาขั้นต่ําของชั้นกรวดทรายจากทั้งชั้นกรวดทรายทางน้ําโบราณและกรวด
ทรายทางน้ําปัจจุบัน คาดว่ามีปริมาณไม่ต่ํากว่า 4,260 ล้านลูกบาศก์เมตร
การล้างและแยกทรายกรวดเพื่อใช้เป็นวัส ดุก่อสร้าง โดยเฉพาะกรวดทรายจาก
ตะกอนทางน้ํา โบราณ จะได้ผ ลพลอยได้เ ป็น ไม้ก ลายเป็น หิน จํา นวนหนึ่ง และอาจมีส ะเก็ด ดาว
หรืออุลกมณี จํานวนหนึ่ง รวมทั้งอาจพบซากดึกดําบรรพ์ เช่น กระดูก หรือ ฟัน ต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นผล
พลอยได้ที่จัดว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าทางวิชาการที่จะบอกให้ทราบได้ว่าพื้นที่ที่เป็นจังหวัดขอนแก่น
ในอดีต มีการก่อตัวของผืนแผ่นดิน มีสภาพแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดิน เป็นอย่างไร มีพัฒาการ
อย่างไร ทรัพยากรที่มีคุณค่าทางวิชาการเหล่านี้หากมีการศึกษาวิจัยจะนําไปเชื่อมโยงกับวิชาความรู้
ด้านอื่นได้
พัชร์สุ วรรณขาว และคณะ (2543) ศึกษาการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์จากตะกอน
ทางน้ําบริเวณลุ่มน้ําชีและลุ่มน้ําพองในเขตจังหวัดขอนแก่นพบว่า ตะกอนที่สะสมตัวในสิ่งแวดล้อมที่
ต่างกันนําไปใช้ประโยชน์ทางวิศกรรมและการก่อสร้างได้เหมาะสมต่างๆ กัน ได้แก่ บริเวณที่ตะกอน
กรวดทรายสะสมตัวเป็นรูปพัดบริเวณเชิงเขา กรวดทรายจะมีลักษณะหยาบ ใหญ่ เหลี่ยมคมมาก จึง
เหมาะแก่การนําไปเป็นวัสดุชั้นรองคันทาง ในงานทําทาง ใช้เป็นวัสดุใช้ป้องกันการกัดเซาะของน้ํา
วัสดุระบายน้ํา และก่อสร้างแกนเขื่อน กรวดทรายที่ส ะสมตัวในร่องน้ําและทางน้ําแบบประสาน
สาย คือ ทางน้ําอุ้มกรวดทรายที่มีจํานวนมากเกินไป จึงตกทับถมกันตามรายทาง
ส่วนสายน้ําแบ่งตัวเองเป็นสายเล็กๆ ก็จะไหลคดเคี้ยวแทรกไปตามตะกอนที่ตกทับ
ถมอยู่ ก่อนแล้ ว มักเกิ ดในช่ วงน้ํ าหลากหรื อช่วงที่น้ําไหลลงมาจากที่ ชันพร้ อมตะกอนจํา นวนมาก
ตะกอนที่ตกสะสมจะมีขนาดเล็กลงกว่าแบบรูปพัดเชิงเขา แต่ก็ยังคละขนาดกันมาก จะมีขนาดเล็กลง
มา และเริ่มมนหรือเหลี่ยมน้อยลง สามารถใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ ดังที่กล่าวไปแล้ว กรวดทราย
บริเวณที่ที่ลุ่มธารน้ําคดเคี้ยว ขนาดกรวดทรายจะเล็กกว่า 2 บริเวณแรก มีขนาดใกล้เคียง อีกทั้ง
ความมนของรูปร่างก็มากขึ้น แบ่งย่อยตามที่สะสมตัวลงไปได้อีก และมีคุณสมบัติสําหรับการใช้งาน
ต่างๆ กัน ได้แก่ ทรายขอบตะพักลุ่มน้ํา ใช้เป็นวัสดุรองคันทางได้ค่อนข้างดี ทรายและทรายแป้งปน
ดินเหนียวบริเวณที่ราบลุ่มน้ําท่วมถึง ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างในงานวิศวกรรมได้ในระดับพอใช้ ทรายท้อง
น้ํา เหมาะกับการใช้ผสมซีเมนต์หรือวัสดุสําหรับงานก่อสร้างและวัสดุสําหรับระบายน้ํา
37

นอกจากผลสรุปเรื่องในการใช้งานวัสดุ ยังมีคําแนะนําเพิ่มเติมสําหรับการใช้พื้นที่ให้
เหมาะสม เป็นต้นว่า กรวดทรายที่สะสมตัวในร่องน้ําและทางน้ําแบบประสานสาย เหมาะสมแก่การใช้พื้นที่
เป็นไร่นาสวนผสม เพราะการระบายน้ําดี ปลูกข้าวนาปีได้ดี ส่วนบริเวณสันทรายเป็นแหล่งน้ําจืดระดับตื้นที่
ดี เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยและไร่สวน บริเวณที่ที่ลุ่มธารน้ําคดเคี้ยว เป็นพื้นที่ราบ น้ําใต้ดินเค็มหรือ
กร่อย แต่ทํานาได้ปีละ 2 ครั้ง จึงเหมาะแก่การเป็นพื้นที่ทํานา แต่ไม่เหมาะในการตั้งที่อยู่อาศัยเพราะมี
โอกาสเกิดอุทกภัยสูง
5) ดินคล้ายดินลมหอบ (Loess-like sediments)
ดินคล้ายดินลมหอบ เป็นส่วนหนึ่งของตะกอนทางน้ําโบราณ บางบริเวณมีชั้นตะกอนทางน้ํา
ปัจจุบันปิดทับ บางบริเวณชั้นดินเปิดให้เห็นโดยตรง พื้นที่ที่เป็นดินคล้ายลมหอบมักมีสีน้ําตาลแดงจัด
เห็นเป็นลักษณะเด่น ดังเช่น บริเวณมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของดินชนิดนี้ จึงมีชื่อเรียกอีก
ชื่อหนึ่งว่า “มอดินแดง” ชั้นดินคล้ายดินลมหอบมีลักษณะ ร่วน ระบายน้ําได้ดี ปลูกพืชยืนต้นได้ดีและโต
เร็ว เนื่องจากรากพืชชอนไชได้กว้างและลึกมาก ข้อเสียก็คือชั้นดินอาจเกิดการถล่มและไหลตามน้ําได้ง่ายหาก
มีน้ําหลาก
ดินคล้ายดินลมหอบเป็นทรัพยากรที่มีมากและนํามาใช้ได้ง่าย ในท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่นจึง
ได้มีการนํามาใช้งานเป็นวัตถุดิบก่อสร้างต่างๆ ดังนี้
การสํารวจในปี พ.ศ. 2552 พบว่าดินคล้ายดินลมหอบจากบ่อกรวดทรายและลูกรังบริเวณ
บ้านโนนรัง ตําบลสาวะถี อําเภอเมืองขอนแก่น มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับนําไปเป็นวัตถุดิบผลิตกระเบื้องซี
แพคโมเนีย แต่การใช้งานจริงยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด ที่พบว่ามีการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันคือ การนําไปเป็น
วัตถุดิบทําอิฐประสาน วท.ที่ผู้ประกอบการรายย่อยประกอบกิจกรรมอยู่หลายราย
อิฐประสาน วท. หรือบล็อกประสาน วท. คือ บล็อกที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย (วท.) ออกแบบให้เป็นบล็อกที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูร่องและเดือยบนตัวบล็อก ที่ทําให้
ก่อประสานได้ทุกแนวอย่ างรวดเร็ วโดยไม่ต้องใช้ ปูนก่อเหมื อนอิฐ แต่ใ ช้น้ําปู นผสมทรายหยอดลงใน
รูปของบล็อกได้ทันที จึงทําให้การก่อสร้างรวดเร็วและแข็งแรง การผลิตบล็อกประสาน วท. นี้ กําหนดใช้
วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ดินปนทรายแดง ดินลูกรังแดงปนเม็ดศิลาแลง (ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิเมตร)
หินฝุ่น หินชนวนผุ หรือเศษศิลาแลง นําดินมาผึ่ง บด แล้วผสมปูนซีเมนต์ ในอัตราส่วน 1:7 หรือ 1:8
พรมน้ํา แล้วนําไปอัดขึ้นรูป โดยเครื่องอัดแรงคนหรือไฮโดรลิก จากนั้นนําไปบ่มในที่ร่ม 14 วัน จึงนํามาใช้
งานได้เป็นวัสดุก่อสร้างที่ทําขึ้นได้ง่ายในท้องถิ่น ลดการตัดไม้ทําลายป่า ต้นทุนการก่อสร้างต่ํา จึงจัดเป็น
วัสดุและกิจกรรมที่เสริมชีวิตพอเพียงอีกวิธีหนึ่ง
บล็อกประสาน วท. เป็นที่นิยมในการก่อสร้างท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง
ผู้ผลิตเลือกใช้ดินคล้ายดินลมหอบเป็นวัตถุดิบ ซึ่งตักและเปิดหน้าดินมาใช้ง่าย จึงได้ผลผลิตเนื้อละเอียด
สีแดงน้ําตาลงดงาม แต่มีบางที่ใช้วัตถุดิบต่างออกไปบ้าง ได้ผลผลิตสีน้ําตาลเหลืองหรือสีขาว ผู้ประกอบการที่
เกี่ยวข้องกับการผลิตบล็อก วท. มี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ขายดินเป็นวัตถุดิบ จะเป็นผู้เปิดหน้าดินและตักดิน
รวมทั้งขนส่งดินจากแหล่งมาให้ผู้ผลิตบล็อก ในการสํารวจเก็บข้อมูลภาคสนามพบว่ามีบ่อดินที่เป็นวัตถุดิบที่
บ้านโนนรัง บ้านทิพย์ปรานี อําเภอเมืองขอนแก่น กลุ่มผู้ประกอบการทําบล็อก พบในเขตตําบลสาวะถี
และบริเวณบ้านหนองหลุบ อําเภอเมืองขอนแก่น มีทั้งทําตลอดปีและเป็นรายย่อยที่ทําเมื่อมีผู้สั่งตาม
จํานวน กลุ่มผู้ค้าวัสดุก่อสร้างและนําส่งออกนอกท้องถิ่น
38

มักเป็นกลุ่มร้านค้าวัสดุก่อสร้าง เมื่อพิจารณาจากคุณลักษณะของวัตถุดิบที่นํามา
ทําบล็อกประสาน วท. ได้ ชาวขอนแก่นน่าจะยังมีบล็อกประสานใช้อีกเป็นระยะเวลายาวนาน
นอกเหนื อ ไปจากนั้ น ยั ง มี ง านศึ ก ษาวิ จั ย ต่ า งๆ ที่ น่ า สนใจเกี่ ย วกั บ การหาวิ ธี ใ ช้
ประโยชน์จากดินคล้ายดินลมหอบของจังหวัดขอนแก่น เป็นต้นว่า สมัชชา แสนสุวรรณศรี (2521)
ศึกษาคุณสมบัติของดินคล้ายดินลมหอบ ที่ผสมกับปูนซีเมนต์และเถ้าก้นเตา เพื่อประยุกต์ใช้สําหรับ
งานพื้นทาง ปรเมศร์ สุวรรณชื่น และคณะ (2546) ศึกษาคุณสมบัติของดินคล้ายดินลมหอบที่พบใน
เขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น นํามาบดอัดแล้วบ่ม แล้วผสมกับปูนซีเมนต์และเถ้าลอยหรือเถ้าแกลบพบว่ามี
ความแข็ ง แรง ทนต่ อ แรงเฉื อ น และมีค วามยืด หยุ ่น ผลการวิจ ัย นี ้อ าจนํ า ไป
ประยุก ต์ใ ช้ใ นงานวิศ วกรรมหรือ การป้อ งกัน ชั ้น ดิน ถล่ม ได้ วั ชรินทร์ กาสลั ก และคณะ (2548)
ศึกษาวิจัยปรับปรุงคุณสมบัติดินคล้ายดินลมหอบในเขตจังหวัดขอนแก่น ด้วยยางพาราธรรมชาติและ
ยางมะตอยน้ํา เพื่อใช้แทนหินคลุกในชั้นทางของผิวจราจรแบบยืดหยุ่น พบว่าสามารถใช้ทดแทนหิน
คลุกได้
เห็น ได้ว ่า ดิน คล้า ยดิน ลมหอบที ่พ บในเขตจัง หวัด ขอนแก่น มีแ นวทางการใช้
ประโยชน์ค่อนข้างเป็นรูปธรรมหลายทาง จัดเป็นทรัพยากรแร่ที่จะช่วยพัฒนาจังหวัดได้ดีอีกชนิดหนึ่ง
และด้ ว ยการศึ กษาวิ จั ยที่ มี อยู่ ไม่ น้ อย จั งหวั ดขอนแก่ นอาจเป็ นต้ นแบบสํ าหรั บเทคโนโลยี การใช้
ประโยชน์ แ ละการจั ด การพื้ น ที่ ท รั พ ยากรดิ น คล้ า ยดิ น ลมหอบ สํ า หรั บ จั ง หวั ด อื่ น ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือที่ยังนําทรัพยากรชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ชั้นดินคล้ายดินลมหอบพบ
กระจายตั วครอบคลุ ม พื้ น ที่ ประมาณ 122 ตารางกิโ ลเมตร มีปริ ม าณสํารองไม่ ต่ํากว่ า 244 ล้าน
ลูกบาศก์เมตร (คิดจากความหนาต่ําสุดของชั้นดินคล้ายดินลมหอบในเขตอําเภอเมืองขอนแก่น น้ําพอง
กระนวน มัญจาคีรี และซําสูง ที่ความหนา 2 เมตร)
6) แหล่งลูกรัง
ลูกรั ง ในที่ นี้หมายถึ ง ตะกอนหิน ทราย ดินใดๆ ที่เกิด สะสมตั วอยู่ ด้วยกั น วัส ดุ
ดั้งเดิม อาจเป็นส่ วนหน้ าของดานหินที่ ผุ อยู่กับที่ ตะกอนเศษหินเชิงเขา ตะกอนทางน้ํ า หรื อหลาย
ประเภทปะปนกัน เม็ดตะกอนมีหลายขนาดและคละกันทั้งเหลี่ยมและมนเมื่อรวมกันแล้วเป็นชั้นหนา มี
ความแข็งแรงระดับหนึ่ง มักเกิดเป็นสนิม ลูกรังมักถูกใช้เป็นวัสดุถมพื้นที่ แต่ลูกรังบางประเภทอาจมี
คุณสมบัติจําเพาะบางอย่าง เช่น ลูกรังที่ผุมาจากหินดินดานหรือหินโคลนจะมีอะลูมินาหรือแร่ดินใน
เนื้อมาก นําไปใช้กับอุตสาหกรรมจําเพาะบางประเภท เช่น การผลิตปูนซีเมนต์ได้ จังหวัดขอนแก่นมี
พื้นที่ที่มีการผุพังของหินดานและการทับถมของตะกอนค่อนข้างมาก พื้นที่ที่ให้ลูกรังที่ดีส่วนใหญ่จะ
เป็ น พื้ น ที่ ที่ ป กคลุ ม ด้ ว ยกลุ่ ม หิ น โคราชที่ ส ่ว นใหญ่เ ป็น หิน ทราย หิน ทรายแป้ง หิน กรวดมน
หินดินดาน และตะกอนทางน้ําโบราณ พบลูกรังกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,700 ตาราง
กิโลเมตร อยู่ทางด้านตะวันตกและด้านเหนือของจังหวัด ส่วนด้านตะวันออกและด้านใต้ แม้จะมีหิน
แข็งและตะกอนกึ่งแข็งตัวอยู่บ้าง แต่ก็เป็นหมวดหินมหาสารคามที่มีเกลือจํานวนมาก มีคุณสมบัติการ
บวมน้ําและละลาย ไม่เหมาะแก่การใช้งาน
39

3.3.2 กลุ่มแร่พลังงาน
แม้ว่าธุรกิจด้านการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะดําเนินการ
มาแล้วเกือบ 40 ปี แต่เนื่องจากธรณีวิทยาปิโตรเลียมและธรณีวิทยาโครงสร้างบริเวณนี้ค่อนข้างซับซ้อน
ทําให้การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมประสบความสําเร็จไม่มากนัก ในปัจจุบันมีเพียงแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2
แหล่ง คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ําพอง และสินภูฮ่อม ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้เป็นแหล่งต้นแบบของการสํารวจ
และพัฒนาปิโตรเลียมที่เป็นหินปูน/หินคาร์บอเนตอายุเพอร์เมียน
แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ําพอง
แหล่ง ก๊า ซธรรมชาติน้ํ า พอง ครอบคลุม พื ้น ที ่บ ริเ วณอํ า เภอน้ํ า พองและอํ า เภอ
อุบลรัตน์ เป็นโครงสร้างรูปประทุนคว่ํา สามารถเห็นได้จากพื้นผิว มีแนวแกนอยู่ในทิศทางเหนือ-ใต้ ซึ่ง
เป็นทิศทางเดียวกับเทือกเขาดงพญาเย็น หรือแนวของแนวคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์
ข้อมูลใต้พื้นผิวบ่งบอกว่าใต้กลุ่มหินโคราชลงไปประกอบด้วย ชั้นบางของกลุ่มหินห้วย
หินลาด (ปิดทับบริเวณขอบของโครงสร้างรูปประทุน) และกลุ่มหินสระบุรี มีรอยเลื่อนย้อนที่เป็นปัจจัยทําให้
เกิดโครงสร้างรูปประทุน ซึ่งรอยเลื่อนดังกล่าว (อาจมีอายุยุคเพอร์เมียนถึงไทรแอสซิก) ตัดผ่านจากหินฐาน
ราก กลุ่มหินสระบุรี กลุ่มหินห้วยหินลาด จนถึงกลุ่มหินโคราชตอนล่าง รอยเลื่อนเหล่านี้ช่วยทําให้หมวด
หินผานกเค้าหรือหินคาร์บอเนตยุคเพอร์เมียนมีความพรุนเพิ่มมากขึ้นด้วย
จากข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนแสดงว่า หมวดหินน้ําพองบนโครงสร้างรูปประทุนของกลุ่มหิน
สระบุรี ซึ่งบ่งบอกว่าโครงสร้างรูปประทุนเกิดขึ้นและมีลักษณะเป็นโครงสร้างกักเก็บ ก่อนที่ปิโตรเลียมจะ
เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดช่วงยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียสตอนต้น บริเวณรอบๆ โครงสร้างรูปประทุนของ
กลุ่มหินสระบุรีมีกลุ่มหินห้วยหินลาดชั้นบางๆ ปิดทับอยู่ด้านข้าง และส่วนที่เป็นหมวดหินลําปาวหรือชั้น
ตะกอนช่วงบนของกลุ่มหินสระบุรี ซึ่งน่าจะเป็นหินต้นกําเนิดปิโตรเลียมที่ดีของโครงสร้างน้ําพองนี้
แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ําพอง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร หลุมเจาะใน
โครงสร้างน้ําพองมีทั้งสิ้น 9 หลุม ปัจจุบันผลิตก๊าซธรรมชาติ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ได้ผลผลิตรวม
ประมาณ 350 พันล้านลูกบาศก์ฟุต โดยมีบริษัท เอสโซ่ เอ็กโพลเรชั่น แอนด์โปรดักชั่น โคราช อิงค์ และ
บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) เป็นผู้รับสัมปทาน แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ําพองมี
ปริมาณสํารองที่พิสูจน์ทราบแล้ว 58.0 พันล้านลูกบาศก์ฟุต (ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, 2009)
แหล่งก๊าซนี้ยังมีการผลิตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่อําเภอน้ําพอง
นอกเหนือไปจากแหล่งก๊าซธรรมชาติที่น้ําพองแล้ว ในจังหวัดขอนแก่นและบริเวณใกล้เคียง
ยังมีแหล่งสัมปทานเพื่อสํารวจและผลิตปิโตรเลียมถึง 5 แปลงด้วยกันคือ แปลงหมายเลข L21/48 L28/48
L29/48 ผู้ได้รับสัมปทานคือ บริษัท ปตท.สํารวจและผลิตปิโตรเลียมสยาม จํากัด แปลงหมายเลข L27/43
ของบริษัท Apico (Khorat) จํากัด และแปลงหมายเลข L13/50 ของบริษัท Salammander Energy
(E&P) แสดงให้ทราบว่าพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงมีโอกาสเป็นแหล่งพลังงานสนับสนุน
ประเทศ และภูมิภาคแถบนี้ได้เป็นอย่างดี
40

3.3.3 กลุ่มแร่เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
1) เกลือหินและโพแทช
เกลือหิน เป็นคําทั่วไปที่ใช้เรียกแร่เฮไลต์ (Halite; NaCl) ส่วน โพแทช เป็นชื่อที่ใช้
เรียกแร่ที่มีส ่ว นประกอบของธาตุโ พแทสเซีย มเป็น หลัก แร่เ กลือ หิน และโพแทชนี ้เ กิด จากการ
ตกตะกอนและระเหยของน้ํ า ทะเลโดยตรง แร่ โ พแทชที่ พ บส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชนิ ด แร่ ค าร์ นั ล ไลต์
(Carnallite; KMgCl3.6H2O) แทชชีไฮไดรต์ (Tachyhydrite, CaCl22MgCl2.12H2O) บางบริเวณมีแร่ซิล
ไวต์ (Sylvite; KCl) เกิดเป็นหย่อมๆ แร่คาร์นัลไลต์มีคุณสมบัติละลายน้ําได้ง่าย โดยที่ธาตุแมกนีเซียมจะ
ถูกล้างออกไปเหลือไว้แต่โพแทสเซียมและเปลี่ยนแปลงกลายเป็นแร่ซิลไวต์ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเฉพาะ
บริเวณตอนบนของชั้นแร่ที่สัมผัสกับน้ําบาดาลเท่านั้น
สําหรับประวัติการสํารวจเกลือหินของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ถึงปี
พ.ศ. 2505 โดยกรมทรัพยากรธรณีเจาะสํารวจและพัฒนาน้ําบาดาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามี
หลุมเจาะสํารวจในบางหลุมพบน้ําบาดาลเค็ม บางหลุมพบเศษเกลือหิน และพบแผ่กระจายออกไป
มากขึ้นๆ จนทําให้เกิดแนวคิดการสํารวจแร่เกลือหินเพื่อผลิตโซดาแอชสําหรับอุตสาหกรรมเคมีในภาค
อีสาน
โครงการสํ า รวจแร่ โ พแทชและเกลื อ หิ น โดยกรมทรั พ ยากรธรณี เริ่ ม ต้ น ในปี
พ.ศ. 2516 และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2525 มีหลุมเจาะสํารวจทั้งสิ้น 194 หลุม ทั้งในแอ่งโคราชและ
แอ่งสกลนคร พบว่าแร่เกลือหินและโพแทชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายตัวครอบคลุมพื้นที่
ประมาณกึ่งหนึ่งของภาค ลักษณะของแหล่งแร่เป็นแอ่งขนาดใหญ่ครอบคลุมหลายจังหวัด แบ่งเป็น 2
แอ่งใหญ่ โดยมีเทือกเขาภูพานเป็นตัวขวางกั้นแบ่งออกเป็น แอ่งสกลนคร ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือ และ
แอ่งโคราช ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ซึ่งมักจะเกิดเป็นชั้นหนา มีทั้งที่เป็นแอ่งเกลือและโดมเกลือ ประกอบไป
ด้วยแร่เกลือหินมากที่สุด 3 ชั้น คือ เกลือหินชั้นล่าง เกลือหินชั้นกลาง และเกลือหินชั้นบน โดยที่เกลือ
หิน แต่ละชั้นจะถูกคั่ นด้ วยตะกอนดินเหนียวที่เรียกว่า ดินเหนี ยวชั้นล่าง และดินเหนียวชั้นกลาง
(รูปที่ 13)
ปกรณ์ สุวานิช (2535) ได้แบ่งลักษณะโครงสร้างของหินที่เกิดร่วมกับเกลือหินและโพ
แทชออกเป็น 4 แบบ โดยใช้ชั้นเกลือหินที่ยังคงสภาพเดิมเป็นหลัก ดังนี้
(1) โครงสร้างที่มีเกลือหินชั้นเดียวและไม่มีแร่โพแทซ โครงสร้างแบบนี้มีเกลือหินชั้น
เดียวและเป็นเกลือหินล้วนๆ เปลือกดินโดยทั่วไปหนากว่าโครงสร้างแบบอื่น ถัดจากเปลือกดิน ชั้น
เกลือหินมักถูกปิดทับด้วยชั้นหินตะกอนหมวดหินภูทอก (แต่มักจะบางกว่าโครงสร้างแบบอื่น หรือบาง
บริเวณไม่พบเลย) และชั้นของแร่แอนไฮไดรต์ที่เกิดจากการละลายตัวไปแล้วของเกลือชั้นกลางและ
ชั้นบนที่เคยมีอยู่ เกลือที่เหลืออยู่ชั้นเดียวเป็นเกลือชั้นล่าง และไม่มีชั้นของแร่โพแทชเกิดร่วมด้วย
(2) โครงสร้างที่มีชั้นเกลือหินชั้นเดียวและมีแร่โพแทช โครงสร้างเช่นเดียวกับข้อ (1)
แต่มีชั้นแร่โพแทช วางตัวอยู่บนชั้นของเกลือหิน และหมวดหินภูทอกที่ปิดทับอยู่หนามากกว่า ซึ่ง
หากเปรียบเทียบกับโครงสร้างชนิดอื่นแล้ว แร่ในชั้นแร่โพแทชพบแร่ซิลไวต์มากกว่าแร่คาร์นัลไลต์
ส่วนแร่แทชชีไฮไดรต์พบน้อยมาก
41

(3) โครงสร้างที่มีชั้นเกลือหินสองชั้น ประกอบด้วยชั้นต่างๆ จากล่างขึ้นบน ดังนี้ เกลือหิน


ชั้นล่าง ชั้นแร่โพแทช เกลือหินชั้นกลาง ชั้นแร่แอนไฮไดรต์ที่เปลี่ยนแปลงมาจากเกลือหินชั้นบนที่เคยมี
ส่วนหมวดหินภูทอกที่ปิดทับมีความหนามากกว่าโครงสร้างแบบเกลือหินชั้นเดียวในแบบ (1) และ (2) แร่
ในชั้นแร่โพแทชที่พบส่วนใหญ่เป็นแร่คาร์นัลไลต์ รวมทั้งแร่แทชชีไฮไดรต์ ส่วนแร่ซิลไวต์มีโอกาสพบน้อยลง
และความหนาก็น้อยมาก
(4) โครงสร้างที่มีชั้นเกลือหินสามชั้น จัดเป็นโครงสร้างสมบูรณ์แบบสําหรับหมวดหิน
มหาสารคาม เนื่องจากชั้นเกลือหินยังไม่หายไป อีกทั้งชั้นเกลือและชั้นหินประกอบเกลือ มีความหนาและ
ความสมบูรณ์แบบมากพอสําหรับการศึกษา ประกอบด้วยชั้นต่างๆ จากล่างขึ้นบน ดังนี้ เกลือหินชั้นล่าง
ชั้นแร่โพแทช เกลือหินชั้นกลาง เกลือหินชั้นบน ส่วนหมวดหินภูทอกที่ปิดทับมีความหนามากเป็นพิเศษ
และลําดับการวางตัวของหินชุดภูทอกก็มีมากกว่าโครงสร้างอื่นๆ ยกเว้นที่พบเป็นหินโผล่ขนาดใหญ่ ในแร่
โพแทชที่พบส่วนใหญ่มักเป็นแร่คาร์นัลไลต์ โดยมีแร่แทชชีไฮไดรต์เกิดร่วมอยู่บ้าง ส่วนโอกาสที่จะพบแร่
ซิลไวต์มีน้อยมาก
ผลการศึกษาโครงสร้างทั้ง 4 แบบดังกล่าว สามารถนํามาแปลความหมายของโครงสร้าง
โดยรวมของหมวดหินมหาสารคามได้ว่า แรงกระทําทางธรณีที่เกิดกับพื้นที่แอ่งเกลือภายหลัง ทําให้มีการ
เปลี่ยนแปลงเป็นโดมเกลือและแอ่งเกลือ บริเวณที่มีเกลือหินเพียงชั้นเดียวและไม่มีแร่โพแทชเกิดร่วมด้วย
จะเป็นบริเวณสูงสุดของโดมเกลือ หรือขอบแอ่งหินชุดมหาสารคาม ส่วนบริเวณที่มีเกลือชั้นเดียวและมีแร่
โพแทชด้วยจะเป็นบริเวณไหล่โดม มีการเปลี่ยนแปลงของแร่ชั้นแร่โพแทชจากแร่คาร์นัลไลต์ซึ่งเป็นแร่
ปฐมภูมิมาเป็นแร่ซิลไวต์ที่เป็นแร่ทุติยภูมิ สําหรับบริเวณที่มีเกลือหิน 2 และ 3 ชั้น เป็นบริเวณที่ลาดเอียง
เข้าสู่แอ่งเกลือซึ่งจะลึกที่สุดและมีชั้นเกลือมากที่สุด 3 ชั้น และแร่โพแทชที่พบในบริเวณดังกล่าวยังคง
รักษาสภาพของแร่ปฐมภูมิไว้ได้เป็นส่วนใหญ่ คือ ยังเป็นแร่คาร์นัลไลต์ ที่สะสมตัวมาจากน้ําทะเลในยุค
โบราณ การเกิดชั้นเกลือหินซ้ําๆ กัน แสดงถึงวัฏจักรซ้ําๆของการเกิดเป็นแอ่งทะเลมาก่อนของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ (ปกรณ์ สุวานิช, 2535 และ ธวัช จาปะเกษตร์, 2528)
แหล่งเกลือหินและโพแทชในเขตจังหวัดขอนแก่น เป็นส่วนหนึ่งของแอ่งโคราช พบ
ครอบคลุมพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของด้านตะวันออก ต่อเนื่องลงไปถึงด้านใต้ทั้งหมดของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่
ทั้งหมดรวม 4,247.25 ล้านตารางกิโลเมตร ในเขตปกครองของ 16 อําเภอ คือ เมืองขอนแก่น น้ําพอง
ซําสูง บ้านฝาง พระยืน มัญจาคีรี บ้านแฮด บ้านไผ่ ชนบท โคกโพธิ์ชัย แวงใหญ่ พล โนนศิลา เปือยน้อย
หนองสองห้อง และแวงน้อย แร่เกลือหินและโพแทชเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินมหาสารคาม ประกอบด้วย
พื้นที่โดมเกลือซึ่งมีเกลือหินหนาชั้นเดียวเป็นส่วนใหญ่ สลับกับพื้นที่ชั้นเกลือหินเดี่ยวแบบมีโพแทช พื้นที่
เกลือหินสองชั้น และพื้นที่เกลือหินสามชั้น ประกอบด้วยเกลือ 3 ชั้นสลับกับชั้นโพแทช (ปกรณ์ สุวานิช,
2535) รวมเป็นพื้นที่แหล่งแร่จํานวน 34 แหล่ง (แก้ไขจาก สถาพร กาวิเนตร และพิทักษ์ รัตนจารุรักษ์,
2546) ลักษณะพื้นที่แหล่งแร่มักจะเป็นพื้นที่เป็นที่ราบและที่ลุ่ม บริเวณโดมเกลือจะถูกกัดเซาะจนเป็น
หนองน้ําและบึงน้ําใหญ่ และยังพบคราบเกลือตามผิวดินโดยทั่วไปในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
42

รูปที่ 13 โครงสร้างโดยสรุปของแอ่งเกลือหินที่พบในจังหวัดขอนแก่น และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ทั้งหมด (ความหนาเฉลี่ยจากหลุมเจาะจํานวน 26 หลุม ในเขตจังหวัดขอนแก่นเท่านั้น)
43

ในเขตจังหวัดขอนแก่นมีการเจาะสํารวจถึง 26 หลุม ส่วนใหญ่เจาะทะลุชั้นหมวดหิน


มหาสารคามไปถึงดานหินแข็งที่ แก่กว่าเบื้องล่าง แสดงให้ ทราบว่าชั้นเกลือหิ น (รูปที่ 14) และโพแทช
ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินมหาสารคาม มีลักษณะต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน มีเกลือบางส่วนถูก
แรงกระทําทางธรณีวิทยาให้ยกตัวสูงขึ้นเป็นยอด เรียกโดมเกลือ และจะมีส่วนลาดต่ําลงไปเป็นไหล่โดม
และแอ่งเกลือ
เกลือหินที่พบในเขตจังหวัดขอนแก่นโดยทั่วไปจะมีแร่เฮไลต์เป็นส่วนประกอบหลัก บางแห่ง
อาจมีถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้ยังมีแร่แอนไฮไดรต์และยิปซัมสะสมตัวอยู่ด้วย
เฮไลต์ (halite; NaCl) หรือบางครั้งเรียก เกลือหิน (rock salt) ลักษณะที่พบโดยทั่วไป
มีรูปผลึกเป็นลูกบาศก์ ไม่มีสี หรือสีขาว ถ้ามีมลทินปนเปื้อนอาจมีสีเหลือง แดง น้ําเงิน และม่วงปะปนอยู่บ้าง
ความแข็ง 2.5 แร่ที่มีความบริสุทธิ์มีค่าความถ่วงจําเพาะ 2.165 แร่เฮไลต์ที่พบใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรมทรัพยากรธรณี, 2543) มีลักษณะเป็นเนื้อประสานแน่น เป็นชั้นหนาถึงหนา
มาก บางแห่งหนามากกว่า 1,000 เมตร แผ่กระจายเป็นบริเวณกว้าง (ปกรณ์ สุวานิช, 2535)

รูปที่ 14 เกลือหินที่เจาะได้จากพื้นที่จงั หวัดขอนแก่น หลุมเจาะหมายเลข K115 ที่ระดับ


ความลึก 212.7-215.6 เมตรจากผิวดิน

แร่แอนไฮไดรต์ (anhydrite; CaSO4) ที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแท่ง เป็นเส้น หรือ


เนื้อมวลประสาน สีเทา และเทาขาว ความแข็งอยู่ในช่วง 3-3.5 ความถ่วงจําเพาะ 2.89-2.98 แร่แอนไฮไดรต์ เปลี่ยนเป็น
แร่ยิปซัมได้เมื่อมีน้ําเข้ามาเป็นส่วนประกอบ (กรมทรัพยากรธรณี, 2543) แร่แอนไฮไดรต์ที่พบมีลักษณะเป็น
แท่ง หรือเนื้อประสานแน่น เป็นชั้นบางๆ มีทั้งที่เกิดแบบปฐมภูมิ (basal anhydrite) และแบบทุติยภูมิ (cap
anhydrite) (ปกรณ์ สุวานิช, 2535)
แร่ยิปซัม (gypsum; CaSO4.2H2O) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ”เกลือจืด” เป็นแร่แอนไฮ
ไดรต์ ที่มีน้ํามาเพิ่มเป็นส่วนประกอบ โดยทั่วไปจะมีสีข าว หรือแร่ที่บริสุท ธิ์ไม่มีสี แต่ส่วนใหญ่จะมีสี
น้ําผึ้ง สีเ หลื อ งหรือ เข้ ม เนื่ อ งจากมี ส ารอิน ทรีย วัต ถุเ ป็น มลทิน ความแข็ ง 2 ค่ า ความถ่ว งจํา เพาะ
2.72 (กรมทรัพยากรธรณี, 2543) บริเวณที่ราบสูงโคราช แร่ยิปซัมเกิดร่วมกับแร่แอนไฮไดรต์
44

โดยเกิดในส่วนที่เป็นแบบทุติยภูมิ (cap anhydrite) เท่านั้น และมีปริมาณน้อยมาก


ส่วนบริเวณที่เป็นแบบปฐมภูมิ (basal anhydrite) จะพบเป็นจุดๆ ฝังตัวอยู่ในแร่แอนไฮไดรต์เท่านั้น
(ปกรณ์ สุวานิช, 2535)
โพแทช เป็นคํารวมที่หมายถึง แร่ที่มีธาตุโพแทซเซียม (K) เป็นส่วนประกอบที่
สําคัญ แร่โพแทชที่เกิดร่วมกับเกลือหินในประเทศไทยมีสองชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ แร่ซิลไวต์ และแร่
คาร์น ัล ไลต์ นอกจากนี ้ย ัง พบแร่แ ทชชีไ ฮไดรต์ที ่เ ป็น ส่ว นที ่ห ลงเหลือ ภายหลัง การถูก ชะเอา
โพแทสเซียมออกไปจากโครงสร้างร่วมอยู่ด้วย
แร่ซิลไวต์ (sylvite; KCl) เป็นแร่ที่มีส่วนประกอบของธาตุโพแทชเซียมสูงถึงร้อยละ
52.4 แร่ซิลไวต์เมื่อไม่มีมลทินจะมีสีขาว ขาวขุ่น หรือไม่มีสี แต่โดยทั่วไปจะมีแร่ฮีมาไทต์ เป็นมลทิน
ทําให้มีสีเหลืองหรือเหลืองแดง ในกรณีที่เป็นแร่ปฐมภูมิจะมีผลึกเป็นรูปลูกบาศก์ ความแข็ง 2 ความ
ถ่วงจําเพาะ 1.99 ละลายในน้ํา มีรสเค็มและรสขมเล็กน้อย
แร่คาร์นัลไลต์ (carnallite; KMgCL3.H2O) เป็นแร่ที่ละลายน้ําได้ง่ายมาก มีรสเฝื่อน
ประกอบด้วย โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ร้อยละ 26.87 แมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) ร้อยละ 34.3
และน้ําร้อยละ 38.9 ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีขาวหรือไม่มีสี มีความแข็ง 2.5 ค่าความถ่วงจําเพาะ 1.6
ปริมาณสํารองของแหล่งเกลือหินและโพแทชของจังหวัดขอนแก่น คํานวณจาก
รายละเอียดของแต่ละพื้นที่แหล่งแร่ โดยใช้ข้อมูลจากหลุมเจาะที่ปรากฏในแต่ละพื้นที่เป็นสําคัญ เพื่อ
หาค่าเฉลี่ยของความหนาชั้นเกลือหรือชั้นโพแทช อีกทั้งความหนาของชั้นแร่โพแทซแต่ละชนิดยัง
แยกคิดตามชนิดของแร่ ตามความหนาของแร่ที่ปรากฏจริงจากข้อมูลหลุมเจาะอีกด้วย หากแหล่งแร่
ใดไม่มีข้อมูลหลุมเจาะในแหล่งแร่จะใช้ค่าความหนาเฉลี่ยที่ปกรณ์ สุวานิช (2535) ได้ประเมินไว้ โดย
ให้เกลือชั้นบน มีความหนาเฉลี่ย 20.98 เมตร เกลือหินชั้นกลางมีความหนาเฉลี่ย 85.76 เมตร เกลือ
หินชั้นล่างมีความหนาเฉลี่ย 61.88 เมตร และแร่โพแทชซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่คาร์นัลไลต์มีความหนา
เฉลี่ย 25.88 เมตร
ความหนาชั้นแร่ที่ได้ จะนําไปคูณกับพื้นที่แหล่งแร่ ค่าความถ่วงจําเพาะ และระดับ
ร้อยละของแร่ที่ปรากฏจริงในชั้นแร่ (สําหรับแร่โพแทช) ที่ ปกรณ์ สุวานิช (2535) ได้ประเมินไว้ คือ
ก. ในชั้นโพแทชที่มีแร่คาร์นัลไลต์เด่น จะมีแร่คาร์นัลไลต์บริสุทธิ์เพียงร้อยละ 40
ข. ในชั้นโพแทชที่มีแร่ซิลไวต์เด่น จะแร่แร่ซิลไวต์บริสุทธิ์เพียงร้อยละ 20
พื้นที่แหล่งเกลือหินและโพแทชทั้ง 36 แหล่งรวมกัน เกลือหินมีปริมาณทรัพยากรแร่
สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้ 108,696.51 ล้านเมตริกตัน แร่คาร์นัลไลต์มีปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมี
ศักยภาพเป็นไปได้ 27,834.76 ล้านเมตริกตัน และแร่ซิลไวต์มีทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไปได้
585.01 ล้านเมตริกตัน
2) หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ หมายถึงหินปูนที่มีปริมาณของ CaO อยู่ในช่วงร้อยละ
มากกว่า 50.42 ถึง 53.23 หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ส่วนใหญ่พบอยู่ในเขตอําเภอภูผาม่าน บริเวณ
ด้านตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของภูหมากบก เทือกเขาบริเวณฝายน้ําล้น หุบเขาด้าน
ตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขาผาถ้ําเตา เขาด้านตะวันออกของบ้านผาสามยอด และทางด้านตะวันออก
45

ของเขาน้ําเที่ยงในเขตอําเภอสีชมพู ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.97 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณทรัพยากร


หินสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้ 789.82 ล้านเมตริกตัน
3) ธาตุตะกั่ว
ร่องรอยของธาตุตะกั่วได้จากการเก็บตัวอย่างตะกอนท้องน้ําแล้ววิเคราะห์ทางเคมี พบว่า
พื้นที่ที่เป็นหินทรายหมวดหินภูกระดึง ในเขตอําเภอภูผาม่านมีศักภาพของธาตุตะกั่ว ครอบคลุมพื้นที่ 26
ตารางกิโลเมตร (ธงไชย หงส์ทอง และสมใจ เย็นสบาย, 2532)
4) บริเวณพบแร่ทองแดง
แร่ทองแดงพบในรูปของแร่มาลาไคต์และอะซูไรต์ พบร่วมกับแหล่งแร่ยูเรเนียมบริเวณ
บ้านหนองขาม อําเภอภูเวียง (บุญหมาย อินทภูติ, 2520)

3.3.4 กลุ่มแร่เพื่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง
แหล่งแร่ยูเรเนียม เขาประตูตีหมา อําเภอภูเวียง
บริเวณบ้านหนองขาม ตําบลเขาน้อย อําเภอภูเวียง พบแร่ยูเรเนียมครั้งแรกๆ เป็นแร่
ปฐมภูมิชนิดยูเรนิไนต์ (UO2) และคาร์โนไทต์ สีน้ําตาลดํา เกิดร่วมกับแร่ทองแดงประเภทมาลาไคต์
และอะซูไรต์ (บุญหมาย อินทภูติ, 2520) การศึกษาในเวลาต่อๆมา ทําให้ทราบว่าแหล่งแร่นี้ปรากฏในหิน
ทรายหมวดหินเสาขัวที่อยู่เทือกเขาชั้นในของภูเวียง สายแร่พบเป็นบริเวณพื้นที่เล็กๆ มีลักษณะเป็นกะเปาะ
หรือรูปเลนส์ หนา 1.50 เมตร กว้าง 150 เมตร ยาวตามแนวชั้นหินเป็นระยะ 1.5 กิโลเมตร สะสมตาม
แนวการไหลของน้ําเมื่อครั้งยังเป็นชั้นทราย แร่ยูเรเนียมชนิดที่พบมากคือ coffinite ชนิดอื่นๆ พบน้อย
แร่เกิดแทนที่ในสารอินทรีย์หรือห่อหุ้มเม็ดทรายเอาไว้ ขนาดแหล่งแร่เล็กมาก จัดว่าไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
(สมศักดิ์ โพธิสัตย์, สุภัทรพงษ์ กรรณเลขา, ไวยพจน์ วรกนก, 2531) ปริมาณสํารองของสินแร่ประมาณ
2,290 ตัน ซึ่งมีปริมาณของ U3O8 อยู่เพียง 1685 กิโลกรัม (โดยคิดจากแร่เกรดร้อยละ 0.06 ของ U3O8) จัดว่าไม่
คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (ฟูยศ โชติคณาทิศพันธ์ และไวยพจน์ ยุทธเกษมสันต์, 2527)
3.3.5 กลุ่มแร่เพื่อการเกษตร
1) แหล่งแร่โพแทช
แร่โพแทชพบเกิดร่วมกับเกลือหิน ในพื้นที่อําเภอเมืองขอนแก่นและรอบๆ รวม 16 อําเภอ
และในเขตอําเภอน้ําพอง คิดเป็นพื้นที่รวม 3,905 ตารางกิโลเมตร ปริมาณสํารองที่มีศักยภาพเป็นไปได้
คิดแยกเป็นแร่คาร์นัลไลต์ 27,969 52 ล้านเมตริกตัน และซิลไวต์ 563.71 ล้านเมตริกตัน
2) แร่ฟอสเฟต (มูลค้างคาว)
ฟอสเฟตที่พบในเขตจังหวัดขอนแก่นอยู่ในรูปของมูลค้างคาว ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์
ทางการเกษตรได้ ในถ้ําค้างคาว (รูปที่ 27) บริเวณที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตําบลภูผาม่าน อําเภอภูผา
ม่าน มีลักษณะเป็นถ้ําหินปูน แต่การสํารวจรายละเอียดและปริมาณสํารองกระทําได้ยาก นอกจากใน
บริเวณนี้แล้วยังอาจพบการสะสมตัวของมูลค้างคาวในถ้ําหินปูนเช่นนี้อีกในเขตอําเภอภูผาม่าน ชุมแพ
และสีชมพู
46

ทรัพยากรธรณีอื่นๆ ที่ไม่เข้าหมวดหมู่ใด ที่พบในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น


1) ดินเอียด หรือดินสําหรับผลิตเกลือตามกรรมวิธีโบราณ
ดินเค็มเป็นผลมาจากการที่เกลือหินละลาย และน้ําเกลือแทรกซึมขึ้นมาตามรอยแตก
ของหินหรือเปลือกดิน แม้ดินเค็มจะเป็นปัญหาใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ดิน
เค็มจัดที่เรียกว่าดินเอียดเป็นวัตถุดิบผลิตเกลือสินเธาว์มาแต่โบราณ ซึ่งเกลือสินเธาว์นี้มีความสัมพันธ์
แนบแน่นกับ “วัฒนธรรมปลาแดก” สืบย้อนไปได้ถึง 3,000 ปี เกลือสินเธาว์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้
ภาคอีสานมีพัฒนาการเป็นชุมชนใหญ่จนถึงปัจจุบัน (เก็บความจาก ศรีศักดิ์ วัลลิโภฒน์, 1996) ในเขต
จังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่ดินเค็มจัดประมาณ 180 ตารางกิโลเมตร
แหล่งผลิตเกลือโบราณที่ใหญ่ที่สุดในเขตจังหวัดขอนแก่นคือ คุ้มบ่อกระถิน ที่บ้านดู่
น้อย ตําบลโพนแดง อําเภอบ้านไผ่ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการต้มเกลือของชาวบ้านในพื้นที่อื่นๆ
และในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นยังคงมีการต้มเกลือสินเธาว์โดยชาวบ้าน เช่น ที่บ้านโคกสูง อําเภอ
เมืองขอนแก่น
2) ซากดึกดําบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์
ซากดึกดําบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์ถูกพบมากในหินทรายหมวดหินเสาขัว และหมวด
หินโคกกรวด ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี คือ หลุมขุดค้นที่ภูเวียง ช่วงเวลาที่ผ่านมาซากดึกดําบรรพ์
กระดูกไดโนเสาร์ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น เขตบ้านเพี้ยปาน อําเภอเมืองขอนแก่น อย่างไรก็ดี
มีโอกาสที่จะพบซากดึกดําบรรพ์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย โดยอาศัยความรู้และความช่างสังเกตของเจ้าของ
พื้นที่เอง
3) อุลกมณีหรือสะเก็ดดาว (Tektite)
ในพื้นที่ภาคอีสานจะมีโอกาสพบอุลกมณีอยู่ทั่วไป ในเขตจังหวัดขอนแก่นก็เช่นกัน
พบได้ตามผิวดินหรือในชั้นกรวดทางน้ํา ปัจจุบันพบน้อยลงมากเพราะพื้นที่ถูกใช้ประโยชน์มากขึ้น
อุลกมณีใช้เป็นดรรชนีบ่งบอกอายุชั้นตะกอนได้ ใช้เพื่อการศึกษา เป็นอัญมณี และวัตถุเครื่องลางของขลัง
ตามความเชื่อ แหล่งที่มีผู้รวบรวมอุลกมณีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เพื่อเยี่ยมชมและศึกษา
อยู่ที่พิพิธภัณ ฑ์สะเก็ดดาว ในเขตตําบลโนนสะอาด อําเภอชุมแพ เจ้าของพิพิธภัณฑ์ คือ คุณวิจิตร
พรหมหลวงศรี
4) ไม้กลายเป็นหิน
ไม้กลายเป็นหินอาจพบปะปนอยู่ในชั้นกรวดทรายของทางน้ําขนาดใหญ่ได้ทั่วไปใน
ภาคตะวัน ออกเฉีย งเหนือ แต่ที่พ บขนาดใหญ่ม ากๆ พบในเขตจัง หวัด นครราชสีม าและจัง หวัด
ขอนแก่น ในเขตจังหวัดขอนแก่นพบตามก้นทางน้ําและบริเวณที่มีการเปิดหน้าดินจนถึงชั้นกรวดทาง
น้ําโบราณ เช่น บ่อลูกรังในเขตบ้านโนนรัง ตําบลสาวะถี อําเภอเมืองขอนแก่น ซึ่งเป็นบ่อลูกรังใน
บริเวณที่เคยเป็นตะพักทางน้ําของลําน้ําชีโบราณ พบไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่กว่า 1.5 เมตร จํานวน
มาก ปะปนอยู่กับกรวด และพบกระดูกและฟันขนาดเล็กของสัตว์ร่วมด้วย ไม้กลายเป็นหินมีคุณค่า
ทางวิ ช าการ ทํ า ให้ ท ราบว่ า ต้ น ไม้ ใ นยุ ค สมั ย ก่ อ นเป็ น อย่ า งไร อั น จะนํ า ไปเที ย บเคี ย งสั ม พั น ธ์ กั บ
การศึกษาชีววิทยาโบราณได้ ขนาดของไม้กลายเป็นหินก็เป็นดรรชนีแสดงความรุนแรงของการพัดพา
47

และสภาพแวดล้อมที่สะสมตัวได้ ทําให้ทราบว่าครั้งหนึ่งภูมิภาคที่ต้นไม้เหล่านี้เกิดขึ้น
จนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงไป มีลําดับความเป็นมาของเหตุการณ์อย่างไร
5) เนินที่เกิดจากตะกรันถลุงเหล็ก
บริเวณจังหวัดขอนแก่นและข้างเคียง ได้แก่ บริเวณบ้านภูเหล็ก และวัดป่าเจ้าภูเหล็ก
สารวิหาร บ้านหินตั้ง อําเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แนวแบ่งเขตจังหวัดขอนแก่นกับจังหวัดมหาสารคาม ที่
วัดป่ามัชฌิมาราม อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบเนินที่เกิดจากการทิ้งตะกรัน ที่เกิดจากการ
ถลุงเหล็กและอยู่อาศัยไปด้วยพร้อมกัน การทับถมนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานจนเป็นเนินดินขนาดใหญ่ เนิน
เหล่านี้นอกจากจะมีตะกรันเหล็กเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังขุดค้นพบเตาถลุงเหล็กโบราณ โครงกระดูกคน
และสัตว์ และวัสดุที่เกิดจากกิจกรรมการใช้ชีวิต แสดงถึงการพัฒนาจากยุคหินสู่ยุคเหล็ก และการพัฒนา
ชุมชนของคนโบราณแถบนี้ สิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าต่อไปคือ ในเขตจังหวัดขอนแก่นไม่มีแหล่งแร่เหล็ก
โดยตรง ดังนั้นอาจจะมีการนําวัตถุดิบจากพื้นที่ใกล้เคียง คือ จังหวัดเลยและจังหวัดลพบุรี หรืออาจมีเทคนิค
พิเศษที่ถลุงแร่ได้จากสนิมเหล็กของวัสดุในท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรศึกษาวิจัยต่อไป
บทที่ 4
แนวทางและมาตรฐานการใช้ประโยชน์
หมวดหินห้วยหินลาดและหมูห่ ินนาหว้าในพื้นที่จงั หวัดขอนแก่น
ในเขตจั งหวั ด ขอนแก่ น พบทั้ ง หมวดหิ น ห้ว ยหิ น ลาด และหมวดหิ น ภู ท อก หมู่ หิ น ที่
นําไปใช้ประโยชน์ได้ รายละเอียดของแหล่ง แนวทางและมาตรฐานการใช้ประโยชน์ มีดังนี้
4.1 หมวดหินห้วยหินลาด
4.1.1 ธรณีวิทยาและวิทยาหินของหมวดหินห้วยหินลาด
หมวดหินห้วยหินลาด (Huai Hin Lat Formation) ถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน
ปี พ.ศ. 2521 โดย Chonglakmani and Sattayarak (1978) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่บริเวณบ้านซํา ตําบล
นาหนองทุ่ม อําเภอชุมแพ ใน “ห้วยหินลาด” ที่ไหลผ่านทางหลวงหมายเลข 201 ที่หลักกิโลเมตร 109.5
หมวดหินนี้วางตัวสัมผัสแบบไม่ต่อเนื่องเชิงมุมอยู่บนหมวดหินน้ําดุก และวางตัวต่อเนื่องอยู่ใต้หมวด
หินน้ําพอง
ลักษณะการเกิด หมวดหินห้วยหินลาดตอนล่างตกตะกอนในพื้นที่สะสมตัวเป็นชั้นหิน
ถล่มอยู่ตามขอบแอ่ง มีการไหลของกระแสน้ํา และชั้นหินตอนกลางและช่วงบนค่อยๆ เปลี่ยนเป็น
ตกตะกอนสะสมตัวบริเวณ แอ่งน้ําจืดที่ค่อนข้างสงบนิ่ง จนอาจตกตะกอนในระบบธารน้ําพาจนเต็มแอ่ง
เดิมในบางบริเวณ เนื่องจากพบหินโคลนสีแดงสลับชั้นอยู่บ้าง เมื่อ 229-204 ล้านปีก่อน โดยทั่วไป
ประกอบด้วย ชั้นหินถล่มของหินกรวดมนปูน หินกรวดมนฐาน มักพบหินภูเขาไฟชนิดหินทัฟฟ์ และหิน
กรวดเหลี่ยมแทรกปนอยู่ด้วย สีเทา วางตัวอยู่ล่างสุด และต่อเนื่องเปลี่ยนเป็นหินทรายเนื้อกรวด และหิน
ทรายมีชั้นเฉียงระดับ สีเทาขาว สีเทาเขียว หินที่วางตัวอยู่ด้านบนถัดไปเป็นหินโคลนชั้นบาง หินโคลนมี
เศษพืช หินดินดานเนื้อปนทราย หินทรายแป้ง สีเทาดําถึงสีดํา พบโผล่อยู่บริเวณกลุ่มภูเขา ที่เป็นแบบ
แสดงและไม่แสดงแนวสันเขา วางตัวเป็นรูปครึ่งวงกลมล้อมรอบกลุ่มภูเขายอดราบและบริเวณ เนินทาง
ตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดขอนแก่น ในเขตอําเภอภูผาม่าน ชุมแพ และสีชมพู (รูปที่ 15)
หมวดหินห้วยหินลาด แบ่งย่อยได้เป็น 5 หมู่หิน ลําดับจากบนลงล่าง ได้แก่
• หมู่หินอีหม้อ (I Mo Member) ประกอบด้วยหินไดโอไรต์ หินทัพฟ์ หินดินดาน
หินแอกโกเมอเรต หินทราย และหินปูนสีเทา
• หมู่หินภูฮี (Phu Hi Member) ประกอบด้วยหินทราย หินดินดานสีเทา หินปูนสีเทา
หินตะกอนสีแดง ในช่วงล่างมักจะมีหินกรวดมนขนาดเล็ก
• หมู่หินดาดฟ้า (Dat Fa Member) ประกอบด้วยหินดินดานสีเทา เทาดํา ดํา มีเศษซาก
ไม้มากมาย สลับกับหินปูนสีดํา ( รูปที่ 16 และ 17 )
• หมู่หินซําแคน (Sam Khaen Member) ประกอบด้วยหินกรวดมน หินทราย หินปูน
เป็นกลุ่มหินล่างสุด ในบริเวณที่ ไม่มีกลุ่มหินโพไฮ
• หมู่หินโพไฮ (Pho Hai Member) ประกอบด้วยหินแอกโกเมอเรต หินทัพฟ์ หินทราย
และหินกรวดมน สีแดง นับเป็นกลุ่มหินล่างสุด
50

รูปที่ 15 การกระจายตัวของหมวดหินห้วยหินลาด (ดัดแปลงจาก อนุวัชร ตรีโรจนานนท์, 2554)

4.1.2 พื้นที่แหล่งหินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การนํามาใช้ประโยชน์
จากการงานสํารวจธรณีวิทยาพื้นที่หมวดหินห้วยหินลาดในพื้นที่ จังหวัดขอนแก่น
เก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการใช้ประโยชน์ พบว่า หมู่หินดาดฟ้าบริเวณน้ําตกตาดใหญ่และ
บริเวณใกล้เคียง ในพื้นที่ อําเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น (พื้นที่ท่องเที่ยวน้ําตกตาดใหญ่ อยู่ในเขต
ตําบลทุ่งมน อําเภอน้ําหนาว จั งหวัดเพชรบูร ณ์) เป็นพื้นที่ 12.56 ตารางกิโลเมตร หิ นโผล่เป็ น
ชั้นหนา 100-150 เมตร (รูปที่ 18) คิดเป็นปริมาณทรัพยากรแร่สํารองเบื้องต้น ไม่ต่ํากว่า 3,265.6 ล้านตัน
4.1.2.1 วิทยาหินของหมู่หินดาดฟ้า (Dat Fa Member) ที่น้ําตกตาดใหญ่
เป็ น ชั้ น หิ น โคลน (mudstone) ชั้ น บางๆ เกิ ด ต่ อ เนื่ อ งกั น เป็ น มวล วางตั ว แนว
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีมุมเอียงเทไปทางทิศตะวันออก (11/112) ลักษณะเด่นคือ มี
รอยแตก 2 แนวตัดกัน ทําให้ชั้นหินหลายบริเวณถูกตัดออกจากกันเรียงหลั่นเป็นชั้นๆ คล้ายขั้นบันได
และรอยแตกทั้งสองแนว วางตัวในทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ–ตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศ 85-88/330-334)
และ ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศ 80-82/055-077)
51

โดยรวมสีสดของหิน สีดําเทาถึงเทาเขียว สีผุ เป็น สีน้ําตาลเหลือง ผุออกมาเป็นเนื้อดิน


ปนทรายแป้งถึงทรายละเอียด เนื้อหินแข็งแบบแกร่ง ในระดับวัสดุปลายแหลมกดลึกเข้าไปได้แค่ส่วนปลาย
(very stiff) แตกแบบ blocky กึ่งก้นหอย บางช่วงของชั้นหินบางแทรกด้วยชั้นแร่แคลไชต์ หนาไม่เกิน 1
เซนติเมตร พบเลนส์ของแร่ไพไรต์ขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร แทรกบ้าง แต่พบได้น้อย แนวแตกถี่พอ
มองเห็นได้ (slightly fissile) ข้อมูลจากการศึกษาแผ่นหินบาง (ส่วนมาตรฐานธรณีวิทยา, 2554) ระบุว่า
เนื้อพื้นสีดําของแร่ดิน แสดงแถบของชั้นบาง (laminae) แสดงรอยสัมผัสรูปฟันเลื่อย คาดว่าเกิดจากแรง
กดทั บ ภายหลัง การเกิ ด เป็ น ชั้ น ชั้ น บางแต่ล ะชั้ น ประกอบขึ้ น ด้ ว ยตะกอนขนาดทรายแป้ ง กั บผลึ ก แร่
เฟลด์สปาร์ แสดงรูปร่างกึ่งเหลี่ยมถึงเหลี่ยม การคัดขนาดปานกลาง แสดงการเรียงเม็ดขนาดใหญ่ไปเล็ก
กว่าขึ้นทางด้านบน เม็ดแร่ผุตามขอบถึงผุทั้งหมดแบบสมบูรณ์

Conglomerate
Sandstone
Siltstone
Shale or mudstone
Calcareous shale or calcareous
mudstone
Limestone
Marl or muddy limestone
Pebbly limestone
Limestone with chert bed

รูปที่ 16 แท่งลําดับชั้นหินของหมู่หินดาดฟ้า หมวดหินห้วยหินลาดบริเวณน้ําตกตาดใหญ่


(ดัดแปลงจาก Chonglakmani and Sattayarak, 1978)
52

รูปที่ 17 แสดงลักษณะเนื้อประกอบด้วยหินดินดานสีเทา สีเทาดํา และสีดํา


หินโผล่ปรากฏที่พบในบริเวณน้ําตกตาดใหญ่
4.1.2.2 การประเมินทรัพยากรแร่ในพื้นที่แหล่งแร่
การสํารวจภาคสนาม และแปรความหมายตามหลักธรณีวิทยาจากข้อมูลที่มีอยู่
ณ ปัจจุบัน สามารถกําหนดพื้นที่ทรัพยากรแร่ของแหล่งแร่ น้ําตกตาดใหญ่
ปริมาณสินแร่ = พื้นที่ X ความหนา X ถ.พ. หิน หรือ แร่
= 12.56 X 106 ตารางเมตร X 100 เมตร X 2.6
= 3140 X 106 ตัน
4.1.2.3 คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพแหล่งแร่
ผลการการตรวจสอบโครงสร้างผลึกด้วยเทคนิค (X-Ray Diffraction ; XRD)
ของชุดตัวอย่างที่ XRD_KKhl01 ประกอบด้วย แร่โดโลไมต์ ไมกา เคโอลิไนต์ และคลอไรต์เล็กน้อย
ผลการการตรวจสอบโครงสร้างผลึกด้วยเทคนิค (X-Ray Fluorescence
Spectrometry ; XRF) 1 ชุดตัวอย่าง ตัวอย่างที่ XRF_KKhl01 ประกอบด้วย

องค์ประกอบทางเคมี
อะลูมินา (Al2O3) ร้อยละ 11.17
ซิลิกา (SiO2) ร้อยละ 42.02
เฟอร์ริกออกไซด์ (Fe2O3) ร้อยละ 4.21
แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ร้อยละ 4.95
ไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) ร้อยละ 0.41
53

kkhl01@3
kkhl01@1 kkhl01@4

kkhl01@5

kkhl01@2

kkhl01@6

รูปที่ 18 พื้นที่แหล่งหินดาดฟ้า บริเวณน้ําตกตาดใหญ่


4.1.2.4 แนวทางการใช้ประโยชน์หมู่หินดาดฟ้า
สามารถนําไปใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมผลิตซีเมนต์ได้ โดยการใช้เป็นตัวเติม
(filler) (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อผลการวิเคราะห์และทดลองเพื่อหาแนวทางใช้ประโยชน์หมวดหิน
ห้วยหินลาด (หมู่หินดาดฟ้า))
4.1.2.5 ผลการวิเคราะห์และทดลองเพื่อหาแนวทางใช้ประโยชน์หมวดหินห้วยหินลาด
(หมู่หินดาดฟ้า)
อนุเคราะห์การทดสอบโดยส่วนสํารวจแหล่งวัตถุดิบ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จํากัด
(มหาชน)
1) จุดประสงค์
ตัวอย่างของดินซีเมนต์ (Clay) และ หินดินดาน ของกรมทรัพยากรธรณี ที่ทําการสํารวจ
และ ส่งมาให้บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จํากัด (มหาชน) มีจุดประสงค์เพื่อทําการทดสอบทางเคมี และ
ความเหมาะสมในการนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จํานวนทั้งหมด 9 ตัวอย่าง (ตารางที่ 4)
ตัวอย่างที่เป็นวัสดุทางธรณีวิทยาของหน่วยหินห้วยหินลาดและหมู่หินนาหว้า จากบริเวณ จังหวัดขอนแก่น
อุดรธานีและนครพนม
54

ตารางที่ 4 แสดงตําแหน่งของตัวอย่างที่ทาํ การทดสอบคุณภาพเคมีของโรงงานปูนซีเมนต์


ลําดับ รหัสตัวอย่าง พิกัดตะวันออก พิกัดตะวันตก ตําบล อําเภอ จังหวัด หมายเหตุ
ที่ (ตัวอย่างหิน)
1 UDpt05 0407517 1932896 นาหว้า นาหว้า นครพนม หมู่หินนาหว้า
2 UDpt08 0318151 1947713 อ้อมกอ บ้านดุง อุดรธานี หมู่หินนาหว้า
3 KKhl01 0796783 1850828 วังสวาบ ภุผาม่าน ขอนแก่น หมวดหินห้วยหินลาด
4 KKhl09 0189985 1865453 บริบุรณ์ สีชมพู ขอนแก่น หมวดหินห้วยหินลาด
5 KKpt03@1 0261393 1825503 แดงใหญ่ เมือง ขอนแก่น หมู่หินนาหว้า
6 KKpt05 0237004 1739113 หนองมะเขือ พล ขอนแก่น หมู่หินนาหว้า
7 KKpt07 0262930 1769675 บ้านลาน บ้านไผ่ ขอนแก่น หมู่หินนาหว้า
8 KKpt06@1 0288431 1825478 คูดํา ซําสูง ขอนแก่น หมู่หินนาหว้า
9 KKpt08 0264018 1773031 บ้านลาน บ้านไผ่ ขอนแก่น หมู่หินนาหว้า
หมายเหตุ: ตัวอย่างที่เป็นหมวดหินห้วยหินลาด คือ ตัวอย่าง KKhl 01 และ KKhl 09
2.) ลักษณะทางกายภาพของตัวอย่าง
ตัวอย่างทั้งหมดมีส่วนประกอบเป็นดินเหนียวปนทราย จับตัวแข็ง สีส้มแดงยกเว้น
ตัวอย่าง CEM_KKhl01. ซึ่งเป็นหินดินดานและ CEM_KKhl09. เป็น laterite ซึ่งมีแร่เหล็กผสมอยู่ ใน
เบื้องต้นวัตถุดิบเหล่านี้จัดเป็นประเภท Clay Corrective ของกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์
(ตารางที่ 5)
หมายเหตุ ผู้เขียน : ตัวอย่างที่ CEM_KKhl09 มาจากหมู่หินซําแคนได้ทดลองมาใช้เป็น laterite
เพื่อให้แร่เหล็ก ในการทดลองแต่ความเป็นศิลาแลงไม่สม่ําเสมอจึงไม่ได้ในการหาแนวทางการใช้
ประโยชน์
3) ผลการทดลองหาค่าร้อยละของออกไซด์จากตัวอย่าง
ตัวอย่าง CEM_KKhl01
มีปริมาณของ Al2O3 ร้อยละ 12.02 และมี CaO. ร้อยละ 12.76 จัดเป็นประเภท
Calcareous Clay ไม่เหมาะทางอุตสาหกรรมเซรามิก
ตัวอย่างที่ CEM_KKhl09
เป็น laterite มี F2O3 ประมาณร้อยละ 22.17 จัดว่าค่อนข้างต่ํา แต่พอใช้ได้กับ
อุตสาหกรรมซีเมนต์หากมีความจําเป็น แต่ต้องใช้ในปริมาณมากขึ้น และจะทําให้ต้นทุนสูง
4) ผลการ Simulation
การทํา Simulation เป็นกระบวนการทํา Raw mix design โดยจําลองแบบ
กระบวนการผลิตซีเมนต์ ที่มุ่งเน้นตรวจสอบค่าเคมีของวัตถุดิบ ว่าสามารถใช้ในกระบวนการผลิต
ปูนซีเมนต์ได้หรือไม่ เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์ ต้องประกอบด้วย ธาตุออกไซด์หลักทั้งหมด 4 ชนิด
4.1) CaO จากหินปูน 4.2) SiO2 จาก silica Shale หรือ Sandstone
4.3) Al2O3 จาก Clay หรือ Alumina Shale 4.4) Fe2O3 จาก laterite หรือ แร่เหล็ก
55

แต่เนื่องจากทางกรมทรัพยากรธรณีได้ส่งตัวอย่างมาทดสอบเพียง Clay และ laterite


จึงจําเป็นต้องนําหินปูนจากแหล่งอื่นมาทําการ Simulate เพื่อให้ครบกระบวนการผลิต คือบริเวณสระบุรี
มาทําการ Simulate เพื่อดูว่าเมื่อนํามาทําการผลิตปูนซีเมนต์จะได้คุณภาพของปูนซีเมนต์ตามค่า
มาตรฐานหรือไม่ (ตารางที่ 6)
การ Simulate ได้ทําการผสม โดยใช้หินปูน High grade และ Silica shale (Shale
correcting) จากแหล่งสระบุรี ใช้ laterite จากแหล่งพระบาทน้อย และ laterite จากตัวอย่างที่ 8 ผล
การทํา raw mix design วัตถุดิบในแต่ละตัว สามารถสรุปได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 7 (CEM_KKl01) ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้แต่ ค่า MgO สูงเกินเล็กน้อย
ตัวอย่างที่ 8 (CEM_ KKl09) เป็นการทดสอบ laterite ตัวอย่างที่8 ที่ส่งมาว่าใช้กับ Clay
ตัวอย่าง 1-7 ได้หรือไม่อย่างไร พบว่า laterite ใช้ได้กับ Clay ที่มีค่า Al2O3 ตัว ร้อยละ 18 ขึ้นไปเพราะ
laterite แหล่งนี้มีค่า Fe2O3 เพียงร้อยละ 22 ควรหาแหล่งที่มี Fe203 สูงประมาณร้อยละ 40 ขึ้นไปจะ
เหมาะสมกว่า ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้แต่ค่า MgO สูงเกินไปเล็กน้อย
ตารางที่ 5 แสดงผลการทดสอบค่าเคมีของวัตถุดิบในแต่ละตัวของโรงงานปูนซีเมนต์

5) สรุปผลการทดสอบ
แหล่ง Clay และแหล่ง lateriteที่ส่งมาหากจะนํามาทําการผลิตปูนซีเมนต์จะต้องใช้
ร่วมกับหินปูนประเภท High grade เพราะ Clay มีปริมาณ Al203 ปานกลางแต่มีค่า MgO และ K2O ใน
ปริมาณที่สูง ขอแนะนําว่ากรมทรัพยากรธรณีควรจะทําการสํารวจแหล่งหินปูนในบริเวณที่ใกล้เคียงกันเพื่อ
หาแหล่ง High grade Limestone เพราะมูลค่าหรือราคาซื้อขาย Clay และ laterite มีราคาค่อนข้างต่ํา
(100-150 บาท/ตัน) แหล่ง Clay จากจังหวัดขอนแก่นและอุดรธานีไม่สามารถนํามาผลิตปูนซีเมนต์ใน
บริเวณจังหวัดสระบุรีได้เพราะจะทําให้ต้นทุนการผลิตสูงเกินไป (ตารางที่ 7)
56

6) ข้อเสนอแนะ
ในการสํารวจแหล่งวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ควรจะสํารวจให้ครบ
องค์ประกอบทั้ง 4 และควรจะเริ่มต้นที่หินปูนก่อนเป็นอันดับแรกเพราะมีปริมาณการใช้ ร้อยละ 70-
80 สําหรับศักยภาพของการจัดตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วนับว่าสูงมาก
ปัจจุบันซีเมนต์ส่วนใหญ่ถูกขนขึ้นไปจากสระบุรีทําให้ราคาปูนซีเมนต์ในภูมิภาคนี้สูงขึ้นมาก หากมี
โรงงานในบริเวณนี้สักแห่ง จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งลงได้ประกอบกับในบริเวณจังหวัดขอนแก่น มี
แหล่งหินปูน และ แหล่งถ่านหินที่สามารถใช้เผาปูนซีเมนต์เกิดอยู่ด้วยเช่นกันในการสํารวจศักยภาพ
ในการจัดตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจําเป็นต้องมีบุคคลากรที่มีความรู้ความ
ชํานาญด้านซีเมนต์และมีอุปกรณ์ทดสอบที่สามารถทําการประเมินผลได้ครบถ้วน, กรมทรัพยากรธรณี
ควรร่วมมือทําการสํารวจร่วมกับทางโรงงานปูนซีเมนต์ เพื่อให้สามารถประเมินผลความเป็นไปได้อย่าง
ครบถ้วน
ตารางที่ 6 แสดงคุณภาพของหินปูนและวัตถุดิบอื่นๆทีน่ าํ มาทําการ raw mix design

ตารางที่ 7 ตารางสรุปผลการประเมินความเป็นวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมเคมี
57

4.2 มาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทางธรณีวิทยาหินโคลนและหินดินดานดาดฟ้า
ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
การจัดทํามาตรฐานทรัพยากรแร่ หมวดหินห้วยหินลาด (หมู่หินดาดฟ้า) ต่อไปนี้จะเสนอ
ขึ้นตามแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ทดลองแล้วมีผลที่เป็นไปได้ โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานของวัสดุ หรือ
แร่ที่ใกล้เคียงกัน และมีแนวทางการใช้ประโยชน์แบบเดียวกัน ที่ปรากฏในเอกสาร คุณลักษณะของแร่
ตามมาตรฐานการใช้งานและมาตรฐานการซื้อขายแร่ในตลาดแร่ ที่จัดทําขึ้นโดย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ
การเหมืองแร่ (2550) (ตารางที่ 8)
ผลการทดสอบเบื้องต้น พบว่าหินโคลนและหินดินดานในหมู่หินดาดฟ้าสามารถใช้เป็น
ตั ว เ ติ ม ( filler) ได้ ใ นอุ ต สาหกรรมผลิ ต ปู น ซี เ มนต์ โดยต้ อ งใช้ ร่ ว มกั บ หิ น ปู น ประเภท hi-grade
limestone โดยอาศัยผลการวิเคราะห์เป็นหลัก ถ้าเทียบกับคุณสมบัติหินดินดานที่ใช้เป็นวัตถุดิบใน
อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ (ตารางที่ 9) พบว่าหินโคลนและหินดินดานดาดฟ้าที่จะใช้ได้ จะต้องมีผล
วิเคราะห์ร้อยละของออกไซด์ดังในตารางที่ 5
ตารางที่ 8 คุณลักษณะของหินดินดานซึ่งเป็นตัวอย่างจากการสํารวจของสหรัฐอเมริกา
และจากบางแหล่งของประเทศไทย

หมายเหตุ : หน่วยเป็นร้อยละ
58

ตารางที่ 9 มาตรฐานคุณลักษณะของวัสดุธรณีวิทยาหินโคลนและหินดินดานดาดฟ้าสามารถใช้
เป็นตัวเติม (filler) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์
สารประกอบออกไซด์ ร้อยละ
SiO2 42.02–48.68
Al2O3 4.62–12.02
Fe2O3 4.21–22.17
FeO
MgO 0.86–4.95
CaO 0.15–12.76
Na2O 0.13–4.08
K2O 0.57–1.98
TiO2 0.41
P2O5 0.08
MnO 0.07
LOI 17.39–23.00
H2O 0.25–0.70

ข้อควรคํานึงในการใช้วัสดุธรณีวิทยาหินโคลนและหินดินดานดาดฟ้าใช้เป็นตัวเติม
(filler) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ ควรเลือกเนื้อส่วนที่มีผลวิเคราะห์ แอลคาไล (Na2O และ
K2O) และ MgO ต่ําที่สุด และใช้กับ high grade limestone
4.3 หมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า)
4.3.1 ธรณีวิทยาและวิทยาหินของหมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า)
หมวดหินภูทอกถูกแบ่งเป็น 3 หน่วยหิน วางตัวจากบนลงล่างตามลําดับ คือ หมู่หิน
ภูทอกน้อย หมู่หินคําตากล้า หมู่หินนาหว้า จากการสํารวจพบว่าหมู่หินนาหว้ามีคุณสมบัติที่สามารถ
นํามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
หมู่หินนาหว้า
ลักษณะเฉพาะทางธรณีวิทยาเป็นหินโคลนและหินเคลย์ สีน้ําตาลแดง แดงส้ม พบ
เป็นชั้นหนา แต่มักไม่เห็นลักษณะชั้นหินชัดเจน พบแร่ยิปซัม-แอนไฮไดรต์ ในเนื้อหิน ผลจากการเจาะ
สํารวจ พบว่า มีความหนาไม่ต่ํากว่า 276 เมตร วางตัวบนชั้นแร่แอนไฮไดรต์
ส่วนบนของ Upper Salt ใน ชั้นเกลือมหาสารคาม อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีหมู่หิน
คําตากล้าปิดทับแบบต่อเนื่อง เกิดในช่วง 85-90 ล้านปีที่ผ่านมา (สมัย Turonian-Coniacian) ใน
สภาวะสะสมตัวแบบทะเลสาบน้ําจืดหรือที่ราบน้ําท่วมถึงในภูมิประเทศปัจจุบัน (รูปที่ 19 )
พื้นที่ที่เป็นหมู่หินนาหว้าในจังหวัดขอนแก่นที่พบมักจะเป็นเป็นเนินดินไม่สูงมีต้นไม้
จําพวกไม้เต็งรังขึ้น โดยมีลักษณะที่พบดังแสดงรายละเอียดรูปที่ 20
59

หินโคลนและหินเคลย์นาหว้า จะผุสลายเป็นเป็นแร่ดินได้ง่าย บริเวณที่เปราะบางหรือมี


รอยแตกร้าวมากอยู่ก่อนแล้วมักผุก่อนส่วนอื่น ส่วนที่เปลี่ยนเป็นแร่ดินก่อนมักจะกลายเป็นแถบสีอ่อน ได้
ดินเหนียวเนื้อเนียนละเอียดหรือปนทรายเล็กน้อย สีน้ําตาลแดงเข้มอมม่วงหรือมีจุดประสีขาวหรือเหลือง
อ่อน ในที่นี้จะเรียกดินที่ผุมาจากหมู่หินนาหว้าว่า “ดินเคลย์นาหว้า” และได้นําไปทดลองหาแนวทางการ
ใช้ประโยชน์ ส่วนบนสุดของพื้นที่ดินเคลย์นาหว้ามักจับตัวกันแข็งแน่นเป็นชั้นศิลาแลง
ผลการวิเคราะห์ด้วย XRD ปรากฏว่า ดินเคลย์นาหว้ามีส่วนประกอบหลักๆ เป็นแร่
ควอตซ์ และเคโอลิไนต์ และมอนต์ม อริ ลโลไนต์เป็นส่วนน้อย แร่อื่นๆจํานวนเล็กน้อยที่พบปนอยู่ คื อ
แร่ไมกา เกอร์ไทต์ เวอร์มิคิวไลต์ ฮีมาไทต์ คลอไรต์ โดโลไมต์ แคลไซต์
ผลการวิเคราะห์ด้วย XRF ปรากฏว่า องค์ประกอบออกไซด์ของดินเคลย์นาหว้า อยู่ในช่วง
ดังแสดงในตารางที่ 10
ตารางที่ 10 แสดงช่วงปริมาณขององค์ประกอบออกไซด์ของดินเคลย์นาหว้า
สารประกอบออกไซด์ ร้อยละ
SiO2 50.00-86.21
Al2O3 8.00–21.78
Fe2O3 3.52–11.51
FeO 3.52–11.51
MgO 0.25–10.96
CaO 0.24–11.93
Na2O 0.10–1.62
K2O 0.55–5.59
TiO2 0.60–0.89
P2O5 0.01–0.18
MnO 0.01–0.90
LOI 2.89–12.79
H2O 0.37–2.64

4.3.2 พื้นที่แหล่งหินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การนํามาใช้ประโยชน์
จากการงานสํารวจธรณีวิทยาหมู่หินนาหว้า เก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการใช้
ประโยชน์ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นพบพื้นที่แหล่งดินเคลย์นาหว้าทั้งหมด 4 แหล่ง (รูปที่ 21) คือ
1) บ้านหนองหลุบ มีพื้นที่ 1.35 ตร.กม. 2) บ้านหนองบัวคํามูล มีพื้นที่ 3.27 ตร.กม.
3) บ้านหนองหญ้าปล้อง มีพื้นที่ 1.14 ตร.กม 4) บ้านโนนสว่างสันติ มีพื้นที่ 0.77 ตร.กม.
60

ทั้งหมดเหมาะสําหรับเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมซีเมนต์ อุตสาหกรรมเซรามิก และใช้


ในการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ดินเค็ม ดังหัวข้อที่จะกล่าวถึงต่อไปในการคํานวณเบื้องต้น เพื่อหา
ปริมาณทรัพยากรคาดเดาที่อาจเป็นไปได้ จะมีตัวเลขจากฐานคิด 2 แบบ คือ การคํานวณในระดับ
วิชาการ จะคิดคํานวณจาก ความหนาที่ได้จากจากข้อมูลหลุมเจาะ ซึ่งพบว่าไม่ต่ํากว่า 276 เมตร และ
การคํานวณในระดับชาวบ้านใช้งาน คิดความหนาของชั้นดินเฉพาะที่ชาวบ้านขุดมาใช้ได้สะดวกโดยไม่
ต้องอาศัยเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ คือ ลึกไม่เกิน 3 เมตร ส่วนความหนาแน่นของดินปน
หินนาหว้าตามธรรมชาติ ได้ค่าประมาณ 2.21 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จึงมีผลการคํานวณปริมาณ
ทรัพยากรคาดเดา ดังในตารางที่ 11 ทั้งหมดเหมาะสําหรับเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมซีเมนต์
อุตสาหกรรมเซรามิก และใช้ในการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ดินเค็ม ดังหัวข้อที่จะกล่าวถึงต่อไปใน
หัวข้อแนวทางการใช้ประโยชน์
ตารางที่ 11 พื้นที่แหล่งดินเคลย์นาหว้าใน จังหวัดขอนแก่น
ชื่อแหล่ง พื้นที่ ความ ความ ปริมาณทรัพยากร ความหนาระดับ ปริมาณทรัพยากร
(ตร. กม.) หนาแน่น หนาจาก คาดเดาระดับ ชาวบ้านใช้ คาดเดาระดับ
(ก./ลบ. ข้อมูล วิชาการ (ล้านตัน) ประโยชน์ ชาวบ้านใช้
ซม.) หลุมเจาะ สะดวก (ม.) ประโยชน์สะดวก
(ม.) (ล้านตัน)
บ้านหนองหลุบ 1.35 2.21 276.00 823.45 3.00 8.95
บ้านหนองบัวคํามูล 3.27 2.21 276.00 1994.57 3.00 21.68
บ้านหนองหญ้าปล้อง 1.14 2.21 276.00 695.35 3.00 7.56
บ้านโนนสว่างสันติ 0.77 2.21 276.00 469.67 3.00 5.11
(หมายเหตุ : ปริมาณทรัพยากรคาดเดา (speculative resources) คือ ปริมาณทรัพยากรเช่นแร่ที่คาดว่า
จะค้นพบ มักเกิดในสภาพธรณีวิทยาทั่วไป แต่ยังไม่มีการกําหนดขอบเขตของแหล่งแร่ในแผนที่)
4.4 การวิเคราะห์และทดลองความเหมาะสมนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม
ซีเมนต์
ทดลองในอย่างเดียวกับหัวข้อที่ 1.2.5 จากตารางที่ 4 ตัวอย่างที่ มาจากหมู่หินนา
หว้า ได้แก่ ตัวอย่างลําดับที่ 5–9 หรือ kkpt03@1 , kkpt05, kkpt06 และ kkpt08 ยกเว้นตัวอย่างที่
kkpt07 ซึ่งมาจากแหล่งโคลนพุไม่ได้นําทดสอบ
4.4.1 ลักษณะทางกายภาพของตัวอย่าง
ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหินโคลนและหินเคลย์ สีน้ําตาลแดง แดงส้ม โผล่ปรากฏพบ
เป็นเป็นหินผุ มักมีลูกรังปิดทับ แต่มักไม่เห็นลักษณะชั้นหินชัดเจน อาจพบหรือไม่พบ แร่ยิปซัม –
แอนไฮไดรต์ ในเบื้องต้นวัตถุดิบเหล่านี้จัดเป็นประเภท Clay Corrective ของกระบวนการผลิต
ปูนซีเมนต์
ตัวอย่างที่ 5 CEM_KKpt03@1
สี : น้ําตาลแดงเข้ม แดงส้ม ขาวเทา ขนาดตะกอน : ทราย ทรายแป้ง โคลน และ
เคลย์ วัตถุประสาน : เหล็กออกไซด์ พบ แร่ยิปซัม และ แอนไฮไดรต์ เป็นชนิด หินโคลนและหินเคลย์
61

ตัวอย่างที่ 6 CEM_KKpt05
สี : น้ําตาลแดงอ่อน แดงส้ม ขาวเทา ขนาดตะกอน : ทราย ทรายแป้ง โคลน และ เคลย์
วัตถุประสาน : เหล็กออกไซด์ ไม่พบ แร่ยิปซัม และ แอนไฮไดรต์ เป็นชนิด หินโคลนและหินเคลย์
ตัวอย่างที่ 8 CEM_KKpt06@1
สี : น้ําตาลแดง แดงส้ม ขาวเทา ขนาดตะกอน : ทราย ทรายแป้ง โคลน และ เคลย์
วัตถุประสาน : เหล็กออกไซด์ ไม่พบ แร่ยิปซัม และ แอนไฮไดรต์ เป็นชนิด หินโคลนและหินเคลย์
ตัวอย่างที่ 9 CEM_KKpt08
สี : น้ําตาลแดง แดงส้ม ขาวเทา ขนาดตะกอน : ทราย ทรายแป้ง โคลน และ เคลย์
วัตถุประสาน : เหล็กออกไซด์ ไม่พบ แร่ยิปซัม และ แอนไฮไดรต์ เป็นชนิด หินโคลนและหินเคลย์
4.4.2 ผลการทดลองหาค่าร้อยละของออกไซด์จากตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 5 CEM_KKpt03@1
มี Al2O3 ร้อยละ 15.80 ซึ่งจัดอยู่ในประเภท Alumina clay และมีปริมาณของ MgO
สูงถึง ร้อยละ 6.18 มี CaO ร้อยละ 3.89 มี K2O สูงถึงร้อยละ 6.68
ตัวอย่างที่ 6 CEM_KKpt05
มี Al2O3 ร้อยละ 14.12 จัดอยู่ในประเภท Silica shale และมีปริมาณของ MgO สูงถึง
ร้อยละ 10.88 มี CaO ร้อยละ 4.43 มี K2O สูงถึงร้อยละ 4.53
ตัวอย่างที่ 8 CEM_KKpt06@1
มี Al2O3 ร้อยละ 17.10 ซึ่งจัดอยู่ในประเภท Alumina clay และมีปริมาณของ MgO
สูงถึง ร้อยละ 1.59 มี CaO ร้อยละ 2.32 มี K2O สูงถึงร้อยละ 3.45
ตัวอย่างที่ 9 CEM_KKpt08
มี Al2O3 ร้อยละ 19.85 ซึ่งจัดอยู่ในประเภท Alumina clay ตัวอย่างนี้มี MgO ร้อยละ
4.30 และ K2O ร้อยละ 4.53 มี K2O สูงถึงร้อยละ 4.19
4.4.3 ผลการ Simulate
การทํา Simulation เป็นกระบวนการทํา Raw mix design โดยจําลองแบบ
กระบวนการผลิตซีเมนต์ ที่มุ่งเน้นตรวจสอบค่าเคมีของวัตถุดิบ ว่าสามารถใช้ในกระบวนการผลิต
ปูนซีเมนต์ได้หรือไม่ เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์ ต้องประกอบด้วย ธาตุออกไซด์หลักทั้งหมด 4 ชนิด
4.1) CaO จากหินปูน 4.2) SiO2 จาก silica Shale
4.3) Al2O3 จาก Clay หรือ Alumina Shale 4.4) Fe2O3 จาก laterite หรือ แร่เหล็ก
แต่เนื่องจากทางกรมทรัพยากรธรณีได้ส่งตัวอย่างมาทดสอบเพียง Clay และ laterite
จึงจําเป็นต้องนําหินปูนจากแหล่งอื่นมาทําการ Simulate เพื่อให้ครบกระบวนการผลิต คือบริเวณสระบุรี
มาทําการ Simulate เพื่อดูว่าเมื่อนํามาทําการผลิตปูนซีเมนต์จะได้คุณภาพของปูนซีเมนต์ตามค่ามาตรฐาน
หรือไม่ (ตารางที่ 6) ของแต่ละตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างที่ 5 CEM_KKpt03@2
จัดอยู่ในประเภท Alumina clay มีปริมาณของออกไซด์ดังนี้ Al2O3 สูงถึงร้อยละ 15.80
มี MgO สูงถึง ร้อยละ 6.18 มี K2O สูงถึงร้อยละ 6.68 ต้องใช้กับ high grade limestone
62

ตัวอย่างที่ 6 CEM_KKpt05
จัดอยู่ในประเภท Silica shale มีปริมาณของออกไซด์ดังนี้ SiO2 ร้อยละ 60.50 มี
MgO สูงถึงร้อยละ 10.88 K2O สูงถึงร้อยละ 4.53 ต้องใช้กับ high grade limestone
ตัวอย่างที่ 8 CEM_KKpt06@1
จัดอยู่ในประเภท Alumina clay มีปริมาณของออกไซด์ดังนี้ มี Al2O3 ร้อยละ
17.10 มี MgO สูงถึง ร้อยละ 1.59 มี K2O สูงถึงร้อยละ 3.45 มี Fe2O3 ปานกลางอยู่ที่ร้อยละ 6.97
ต้องใช้กับ high grade limestone
ตัวอย่างที่ 9 CEM_KKpt08
จัดอยู่ในประเภท Alumina clay มีปริมาณของออกไซด์ดังนี้ มี Al2O3 สูงถึงร้อยละ
19.85 MgO สูงถึงร้อยละ 4.30 และ K2O สูงถึงร้อยละ 4.53 ต้องใช้กับ high grade limestone
4.4.4 สรุปผลการทดลอง
แหล่ง Clay ทั้ง 4 ที่จัดอยู่ในประเภท Silica shale คือ CEM_KKpt05 ที่จัดอยู่ใน
ประเภท Alumina clay ประกอบด้วย 3 แหล่ง คือ CEM_KKpt03@2 CEM_KKpt06@1 และ
CEM_KKpt08
แหล่ง Clay ทั้ง 4 แหล่ง สามารถนํามาทําการผลิตปูนซีเมนต์จะต้องใช้ร่วมกับหินปูน
ประเภท High grade เพราะ Clay มีปริมาณ Al203 ปานกลางแต่มีค่า MgO และ K2O ในปริมาณที่
สูง ขอแนะนําว่ากรมทรัพยากรธรณีควรจะสํารวจแหล่งหินปูนในบริเวณที่ใกล้เคียงกันเพื่อหาแหล่ง
High grade Limestone เพราะมูลค่าหรือราคาซื้อขาย Clay และ laterite มีราคาค่อนข้างต่ํา (100-
150 บาท/ตัน) แหล่ง Clay จากจังหวัดขอนแก่นและอุดรธานีไม่สามารถนํามาผลิตปูนซีเมนต์
ในบริเวณจังหวัดสระบุรีได้เพราะจะทําให้ต้นทุนการผลิตสูงเกินไป (ตารางที่ 7)
4.4.5 ข้อเสนอแนะ
ด้วย แหล่ง Clay ทั้ง 4 แหล่ง สามารถนํามาทําการผลิตปูนซีเมนต์จะต้องใช้
ร่วมกับหินปูนประเภท High grade ดังนั้นควรจะเริ่มต้นที่การสํารวจหินปูนก่อนเป็นอันดับแรกเพราะ
มี ป ริ ม าณการใช้ ร้ อ ยละ 70-80 สํา หรั บ ศั ก ยภาพของการจั ด ตั้ ง โรงงานปู น ซี เ มนต์ ใ นภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือแล้วนับว่าสูงมาก ปัจจุบันซีเมนต์ส่วนใหญ่ถูกขนขึ้นไปจากสระบุรีทําให้ราคา
ปูนซีเมนต์ในภูมิภาคนี้สูงขึ้นมาก หากมีโรงงานในบริเวณนี้สักแห่ง จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งลงได้
ประกอบกับในบริเวณจังหวัดขอนแก่น มีแหล่งหินปูน และ แหล่งถ่านหินที่สามารถใช้เผาปูนซีเมนต์
เกิดอยู่ด้วยเช่นกันในการสํารวจศักยภาพในการจัดตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จําเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความชํานาญด้านซีเมนต์และมี อุปกรณ์ทดสอบที่สามารถทําการ
ประเมินผลได้ครบถ้วน, กรมทรัพยากรธรณี ควรร่วมมือทําการสํารวจร่วมกับทางโรงงานปูนซีเมนต์
เพื่อให้สามารถประเมินผลความเป็นไปได้อย่างครบถ้วน
4.5 การวิ เ คราะห์ แ ละทดลองความเหมาะสมในการนํ า มาใช้ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ ใน
อุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก
อนุเคราะห์การทดสอบโดย ส่วนสํารวจแหล่งวัตถุดิบ บริษัท ทรูสโตน จํากัด
ความเหมาะสมในการนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก จากพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
อุดรธานี และนครพนม ทั้งหมด 7 ตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ลําดับที่ 3–7 (ตารางที่ 12)
63

ตั ว อย่ า งวั ส ดุ ท างธรณี วิ ท ยาของกรมทรั พ ยากรธรณี ที่ สํ า รวจจากงานจั ด ทํ า มาตรฐาน


ทรัพยากรแร่ หมวดหินห้วยหินลาดและหมู่หินนาหว้า จากพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จํานวน 5 ตัวอย่าง
(ตัวอย่างที่ลําดับที่ 3–7) (ตารางที่ 10)
4.5.1 การทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบของบริษัท ทรูสโตน จํากัด
พิจารณาจากสมบัติต่อไปนี้
1. ร้อยละ Firing Shrinkage (การหดตัวของวัสดุหลังการเผา)
2. ร้อยละ Water Absorption (การดูดซึมน้ําของวัสดุหลังการเผา)
3. ร้อยละ Loss of ignition (น้ําหนักที่หายไปหลังการเผา)
4. Viscosity เวลาการไหลตัวของน้ําดิน โดยใช้ Ford Cup และ Density
5. สีและเนื้อของวัสดุหลังเผา
6. ระยะห่างของแหล่งถึงผู้ใช้งานวัตถุดิบ (ข้อนี้ใช้พิจารณาเฉพาะแหล่งที่บริษัท
สนใจสํารวจเพิ่มเติม)

รูปที่ 19 แท่งลําดับชั้นหินและสภาพแวดล้อมการตกตะกอนของหมวดหินมหาสารคามและหมวดหิน
ภูทอกในแอ่งสกลนคร (คัดลอกจาก เด่นโชค มั่นใจ,2549 ใน วีรชัย แพงแก้ว, 2555)
64

ก ข

ค ง

รูปที่ 20 ลักษณะของหมู่หินนาหว้าและดินเคลย์นาหว้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 4 แหล่ง


ก คือ แหล่งบ้านหนองหญ้าปล้อง ข คือ แหล่งบ้านหนองหลุบ
ค คือ แหล่งบ้านโนนสว่างสันติ ง คือ แหล่งบ้านหนองบัวคํามูล
65

แหล่งบ้านหนองหลุบ
แหล่งบ้านหนองบัวคํามูล

แหล่งบ้านหนองหญ้าปล้อง แหล่งบ้านโนนสว่างสันติ
รูปที่ 21 แหล่งดินเคลย์นาหว้าในพื้นที่จงั หวัดขอนแก่น

ตารางที่ 12 รายละเอียดของตัวอย่างที่กรมทรัพยากรธรณีส่งไปวิเคราะห์กับบริษัท ทรูสโตน จํากัด


พิกัด WGS84 ตําบล อําเภอ จังหวัด จํานวน
ลําดับ จุดเก็บ รหัสตัวอย่าง ตะวันออก เหนือ ตัวอย่าง
(ถุง)
1 A CER_UDpt05 0407517 1932896 นาหว้า นาหว้า นครพนม 2
2 B CER_UDpt08@1 0318151 1947713 อ้อมกอ บ้านดุง อุดรธานี 3
3 C CER_KKpt03@2 0261393 1825503 แดงใหญ่ เมือง ขอนแก่น 2
4 F CER_KKpt05 0237004 1739113 หนองมะเขือ พล ขอนแก่น 2
5 D CER_KKpt06@1 0288431 1825478 คูดํา ซําสูง ขอนแก่น 2
6 D CER_KKpt06@2 0288431 1825478 คูดํา ซําสูง ขอนแก่น 2
7 E CER_KKpt08 0264018 1773031 บ้านลาน บ้านไผ่ ขอนแก่น 2
66

4.5.2 ผลการทดสอบวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก
รายงานผลการทดสอบดังในตารางที่ 13 ซึ่งจะอธิบายเฉพาะตัวอย่าง โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 3 CER_KKpt03@2
มีค่า ร้อยละ SH การดูดซึมน้ําของตัวอย่างหลังการเผา (ร้อยละ WA) และ น้ําหนักที่
หายไปหลังการเผา (ร้อยละ LOI) ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีปริมาณ Free Silica มากเกินไป มีผลเสียคือ
ทําให้ผลิตภัณฑ์เกิดการขยายตัวเนื่องจากความร้อน (Free Silica เปลี่ยนโครงสร้างแร่จาก Quartz
เป็น Tridymite เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 870 Oc) อีกทั้งความแข็งของ Free Silica ในเนื้อวัสดุทําให้การ
บดย่อยของเนื้อ วัตถุดิบทําได้ไม่ละเอียดพอ จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทําให้หลอมตัวช้ากว่าปกติ เนื้อ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังเผาจะมีโครงสร้างยึดตัวกันหลวมกว่าปกติ ทําให้เกิดผลเสียคือเกิดการซึมน้ําได้ง่าย
กว่าปกติ
ตัวอย่างจากแหล่งนี้ ยังมีปริมาณ CaO และ Fe2O3 มาก ทําให้หลอมตัวเร็วกว่าปกติ
ช่วงที่มีการเผาไล่สารอินทรีย์ หรือออกไซต์ หากนําไปใช้เป็นวัตถุดิบหลักจะเกิดปัญหา คือ ทําให้ความ
แข็งแรงของผลิตภัณฑ์หลังเผาต่ํากว่ามาตรฐาน เกิด defect ที่ผิวเคลือบ และถ้ามากเกินไปอาจทําให้
ผลิตภัณฑ์หลังเผาเกิดปัญหาแกนดํา (Black coring) ในกระบวนการ Fast firing เพราะช่วงที่
สารอินทรีย์หรือสารประกอบออกไซด์ถูกเผาไล่ออกจากเนื้อดิน จะเป็นช่วงเดียวกับการหลอมตัวของ
เคลือบพอดี อีกประการหนึ่ง วัสดุตัวนี้มีค่า Density น้อยกว่ามาตรฐาน แสดงถึงการไหลตัวที่ไม่ดีนัก
ตัวอย่างที่ 4 CER_KKpt05
ตัวอย่างนี้มีการไหลตัวที่ไม่ดีนัก
ตัวอย่างที่ 5 CER_KKpt06@1
ตัวอย่างจากแหล่งนี้ ยังมีปริมาณ CaO และ Fe2O3 มาก ทําให้หลอมตัวเร็วกว่าปกติ
ช่วงที่มีการเผาไล่สารอินทรีย์ หรือออกไซต์ หากนําไปใช้เป็นวัตถุดิบหลักจะเกิดปัญหา คือ ทําให้ความ
แข็งแรงของผลิตภัณฑ์หลังเผาต่ํากว่ามาตรฐาน เกิด Defect ที่ผิวเคลือบ และถ้ามากเกินไปอาจทําให้
ผลิตภัณฑ์หลังเผาเกิดปัญหาแกนดํา (Black coring) ในกระบวนการ Fast firing เพราะช่วงที่
สารอินทรีย์หรือสารประกอบออกไซด์ถูกเผาไล่ออกจากเนื้อดิน จะเป็นช่วงเดียวกับการหลอมตัวของ
เคลือบพอดี อีกประการหนึ่ง ตัวอย่างนี้มีค่า Density น้อยกว่ามาตรฐาน แสดงถึงการไหลตัวที่ไม่ดีนัก
ตัวอย่างที่ 6 CER_KKpt06@2
มีค่าการหดตัวของตัวอย่างหลังการเผา (ร้อยละ SH) ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีปริมาณ
Fe2O3 มาก ทําให้หลอมตัวเร็วกว่าปกติช่วงที่มีการเผาไล่สารอินทรีย์ หรือออกไซต์ หากนําไปใช้เป็น
วัตถุดิบหลักจะเกิดปัญหา คือ ทําให้ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์หลังเผาต่ํากว่ามาตรฐาน เกิด Defect
ที่ผิวเคลือบ และถ้ามากเกินไปอาจทําให้ผลิตภัณฑ์หลังเผาเกิดปัญหาแกนดํา (Black coring) ใน
กระบวนการ Fast firing เพราะช่วงที่สารอินทรีย์หรือสารประกอบออกไซต์ถูกเผาไล่ออกจากเนื้อดิน
จะเป็นช่วงเดียวกับการหลอมตัวของเคลือบพอดีอีกประการหนึ่ง ตัวอย่างนี้มีค่า Density น้อยกว่า
มาตรฐาน แสดงถึงการไหลตัวที่ไม่ดีนัก
67

ตัวอย่างที่ 7 CER_KKpt08
มีค่า ร้อยละ SH ค่อนข้างสูง อาจทําให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 1 มีค่า Density
น้อยกว่ามาตรฐาน แสดงถึงการไหลตัวที่ไม่ดีนัก
ตารางที่ 13 ผลการทดสอบของตัวอย่างที่กรมทรัพยากรธรณีส่งไปวิเคราะห์กับบริษัท ทรูสโตน จํากัด
รายงานผลการทดสอบวัตถุดิบ
ตาม FM-PM-QC-01
เลขที่ 001-2555 วันที่ 31 เดือน มกราคม ปี 2555
ลําดับ รายละเอียดตัวอย่าง รหัสตัวอย่าง ปฏิกิริยาต่อ Temp ผลการทดสอบ
HCl (Oc) SH WA LOI Vis Dens
(ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
1 ดินบ้านนาหว้า-นครพนม ไม่ฟู่ 1100 14.19 0.86 8.24 22 135
2 ดินบ้านอ้อมกอ-อ. บ้านดุง-อุดรธานี ไม่ฟู่ 1100 12.39 0.17 6.77 31 137
3 ดินบ้านแดงใหญ่-ขอนแก่น เนื้อดินฟู่ 1100 4.46 9.94 8.53 19 137
4 ดินบ้านหนองมะเขือ-อ. พล-ขอนแก่น (มารูน) ไม่ฟู่ 1100 9.21 5.30 9.64 20 133
5 ดินบ้านคูดํา-อ. ซําสูง-ขอนแก่น 1 มี Blockwork 1100 12.21 2.18 7.90 24 137
ปน
6 ดินบ้านคูดํา-อ. ซําสูง-ขอนแก่น 2 ไม่ฟู่ 1100 13.47 1.22 6.96 28 130
7 ดินบ้านลาน-อ. บ้านไผ่-ขอนแก่น ไม่ฟู่ 1100 12.82 0.72 5.84 18 135

4.5.3 สรุปผลการทดสอบวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก
ตัวอย่างวัสดุทางธรณีวิทยาจากแต่ละแหล่งที่นํามาทดสอบ มีคุณสมบัติทางเคมีและ
กายภาพต่างกันบ้าง การทดสอบสมบัติที่สําคัญเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก พบว่า
หากใช้เป็นวัตถุดิบตัวหลัก ยังพบปัญหาหลายประการ เป็นต้นว่า ปริมาณ Fe2O3 จัดว่าค่อนข้างมาก
และมี คาร์บอเนตปะปน การไหลตัวที่ไม่ดีนัก จะทําให้ผลิตภัณฑ์เสี่ยงต่อปัญหาแตกร้าว เกิด Defect ที่ผิว
เคลือบ เกิดปัญหาแกนดํา ความแข็งแรงหลังการเผาต่ํา แต่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับผสมและปรับ
สูตรได้สําหรับผู้ผลิตที่มีโรงงานบริเวณแหล่ง
ข้อแนะนําคือควรเก็บตัวอย่างวิเคราะห์จากแหล่งเดียวกันเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นตัวแทนที่
สะท้อนถึงสมบัติที่แท้จริงของแหล่งวัสดุทางธรณีวิทยาได้ถูกต้องแม่นยํายิ่งขึ้น เพื่อหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติม
สําหรับวงการเซรามิกที่ยังคงมีตลาดรองรับ

4.6. มาตรฐานการใช้ประโยชน์ดินเคลย์นาหว้าในอุตสาหกรรม หรือ ด้านอื่นๆ


การจัดทํามาตรฐานทรัพยากรแร่ หมวดหินภูทอก (หมู่หินนาหว้า) ต่อไปนี้จะเสนอขึ้นตาม
แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ทดลองแล้วมีผลที่เป็นไปได้ โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานของวัสดุ หรือ แร่ที่ใกล้เคียง
กัน และมีแนวทางการใช้ประโยชน์แบบเดียวกัน ที่ปรากฎในเอกสาร คุณลักษณะของแร่ ตามมาตรฐานการใช้
งานและมาตรฐานการซื้ อขายแร่ ในตลาดแร่ ที่ จัดทําขึ้นโดยกรมอุ ตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมื องแร่
(2550)
68

4.6.1 วัตถุดิบตัวเติม (filler) ใน อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์


ผลการทดสอบเบื้องต้น พบว่าหินโคลนนาหว้าผุและดินเคลย์นาหว้าสามารถใช้เป็น
ตัวเติม (filler) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ โดยอาศัยผลการวิเคราะห์เป็นหลัก ซึ่งถ้าเทียบกับ
คุณสมบัติหินดินดานที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ พบว่าหินโคลนนาหว้าผุและดิน
เคลย์นาหว้า จะต้องมีผลวิเคราะห์ร้อยละของออกไซด์ดังในตารางที่ 14 ซึ่งเสนอไว้เป็นมาตรฐาน
เบื้องต้นสําหรับหินโคลนนาหว้าผุและดินเคลย์นาหว้าที่จะใช้เป็นตัวเติม (filler) ได้ในอุตสาหกรรม
ผลิตปูนซีเมนต์ข้อควรคํานึงในการใช้วัสดุธรณีวิทยาหินโคลนและหินดินดานดาดฟ้าใช้เป็นตัวเติม
(filler) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ ถ้าเลือก ควรเลือกเนื้อส่วนที่มีผลวิเคราะห์ แอลคาไล
(Na2O และ K2O) และ MgO ต่ําที่สุด
4.6.2 วัตถุดิบตัวเติม (filler) ใน อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องปูพื้น
ดินที่ใช้ทําเซรามิกชนิดกระเบื้องสีเข้ม เมื่อพิจารณาจาก นิยามและประกาศของ
กรมอุตสาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมือ งแร่ พบว่ า ใกล้ เคี ยงกั บ ดิ น เหนี ย วสี มากที่สุ ด ประกาศ
กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและการเหมื อ งแร่ เรื่ อ งกํ า หนดคุ ณ สมบั ติ แ ละคุ ณ ลั ก ษณะของดิ น
อุตสาหกรรมชนิดดินเหนียวสีและชนิดดินซีเมนต์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 ใน ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 124 ตอนพิเศษ 157 ง (17 ตุลาคม 2550) ระบุว่า “ดินเหนียวสี หมายถึง ดินที่ใช้เป็นวัตถุดิบใน
โรงงานจําพวกที่ 3 ที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกที่ผลิตกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ ตาม
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งประกอบด้วยแร่ดินเป็นส่วนใหญ่ เช่น เคโอลิไนต์ ฮาลลอยไซต์
มอนต์มอริลโลไนต์ อิลไลต์ และมีแร่อื่นๆ เป็นส่วนน้อย เช่น ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ และโลหะออกไซด์
บางชนิด มีคุณสมบัติที่สําคัญ คือ มีความเหนียวพอปั้นขึ้นรูปได้ และมีสีหลังเผาที่อุณหภูมิสูงเป็นสี
เข้ม” ตามปกติการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาหรือกระเบื้องปูพื้น ถ้าวัตถุดิบไม่ได้คุณสมบัติตามต้องการ
จะใช้วิธีปรับส่วนผสม โดยผสมเข้ากับวัตถุดิบอื่นให้ได้คุณสมบัติตามต้องการได้
การทดลองนําดินเคลย์นาหว้าไปอัดขึ้นรูปเป็ นชิ้นทดลองแว่ น กลม เผาที่ 1,100
องศาเซลเซียส (โดยความอนุเคราะห์จากบริษัท ทรูสโตน จํากัด โดยทดสอบตามมาตรฐาน FM-PM-
QC 01) พบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับกระเบื้องเทอราคอตต้า มากที่สุด (รูปที่ 22) เมื่อนํามาทดสอบ
คุณสมบัติเทียบกับมาตรฐานกระเบื้องบางหัวข้อตามมาตรฐาน มอก. 158-2518 (มาตรฐานกระเบื้อง
ดินเผามุงหลังคา) และ มาตรฐาน มอก. 2508-2555 (มาตรฐานกระเบื้องเซรามิก) ซึ่งสมบัติกระเบื้อง
ถูกจัดอยู่ในหมวด A I และ A IIa-1 .และสมบัติทางฟิสิกส์ ที่ต้องทดสอบในเกณฑ์มาตรฐาน ของ
ผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิก (ตารางที่ 15)
4.6.3 วัตถุดิบในอุตสาหกรรมกระเบื้องดินเผามุงหลังคาและปูพื้น
ผลการนําตัวอย่างดินเคลย์นาหว้าจากจังหวัดขอนแก่น ไปทดสอบหาความเหมาะสม
ในการเป็นวัตถุดิบสําหรับทําอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก พบว่า หากใช้เป็นวัตถุดิบตัวหลัก ยังพบ
ปัญหาหลายประการ เป็นต้นว่า ปริมาณ Fe2O3 จัดว่าค่อนข้างมาก และมี คาร์บอเนตปะปน การ
ไหลตัวที่ไม่ดีนัก แต่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับผสมและปรับสูตรได้สําหรับผู้ผลิตที่มีโรงงานบริเวณ
แหล่งดินเคลย์นาหว้า
69

มาตรฐานดินเคลย์นาหว้าที่พอจะใช้ประโยชน์เป็นตัวเติมให้กับอุตสาหกรรมกระเบื้องดิน
เผามุงหลังคาและปูพื้นชนิดสีแดงได้ เสนอไว้ดังในตารางที่ 15 พึงระลึกไว้ว่าการนําไปพัฒนาใช้กับ
อุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตอันเป็นมาตรฐานสําหรับการค้า จะต้องมีการทดสอบหัวข้อต่างๆ จําเพาะลง
ไปอีกหลายหัวข้อ
ตารางที่ 14 มาตรฐานคุณลักษณะของวัสดุธรณีวิทยาหินโคลนนาหว้าผุและดินเคลย์นาหว้าที่
สามารถใช้เป็นตัวเติม (filler) ได้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์

ลักษณะทางกายภาพของดินในธรรมชาติ
(1) สี แ ดงน้ํา ตาล อาจมีลวดลายหรือ แถบสีข าว สารประกอบออกไซด์ ร้อยละ
และพบเศษแร่สีขาวใสหรือขาวทึบแสง (แร่ยิปซัมและ SiO2 50.58–61.63
แร่แอนไฮไดรต์) ปนอยู่ในเนื้อดินและหิน Al2O3 14.12–19.85
(2) เมื่อแช่น้ําหรือทําให้ชุ่มน้ําสักระยะ ก็จะผุเป็น
Fe2O3 3.20–7.36
โคลนเนื้อละเอียดมากปนทรายแป้งจํานวนมาก อย่าง
รวดเร็ ว เนื้ อ อ่ อ นนุ่ ม เมื่ อ หมาดจั บ ตั ว กั น เหนี ย ว FeO -
พอประมาณแต่ จั ด ว่ า น้ อ ยกว่ า ดิ น โคลนท้ อ งนาทั่ ว ไป MgO 1.93–10.88
สามารถปั้นขึ้นรูปได้ดี แต่ถ้าดึงให้ยืดตัวขณะปั้นโดยใช้ CaO 0.16–4.43
แป้นหมุน จะยืดตัวได้ต่ํากว่าดินปั้นเซรามิกทั่วไป Na2O <0.10–1.10
(3) ความบวมน้ําและความฟู ดินเคลย์นาหว้า มี K2O
องค์ประกอบเป็นแร่กลุ่มที่สามารถดูดเอาน้ําเข้าไปไว้ใน
2.88–6.71
โครงสร้างได้ ก้อนดินเปียกน้ําจึงมีลักษณะบวมและฟู TiO2 0.60-0.73
ผิวที่แห้งแข็งจะแยกออกจากกันเป็นระแหง ถ้าเหยียบ P2O5 0.02–0.18
ไปบนพื้นที่เหล่านี้เท้าจะจมโคลน MnO 0.04–0.13
(4) สังเกตน้ําที่ละลายดินเคลย์นาหว้า ได้น้ําโคลน CO2
สีน้ําตาลแดง ความเข้มข้นต่างๆกันแล้วแต่สัดส่วนการ C : elemental
ละลาย แต่อนุภาคดินในน้ําตกตะกอนได้ช้า
LOI 5.46–10.00
H2O 1.47–9.34

4.6.4 วัสดุทางธรณีวิทยาที่ใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาดินเค็มใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นํ า ไปเป็ น วั ส ดุ ท างธรณี วิ ท ยาแก้ ไ ขปั ญ หาดิ น เค็ ม ในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และ
สามารถนําไปเป็นวัสดุเพาะปลูกเติมให้กับพื้นที่ที่ต้องการเนื้อดินและตัวยึดเกาะให้รากพืชทรงตัวอยู่ได้
กรมทรัพยากรธรณีได้มีการทดลองนําดินเคลย์นาหว้าไปแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็มในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และทําได้สําเร็จแล้วช่วงปี พ.ศ. 2551-2554 ที่ อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
(รูปที่ 23) และ ปี พ.ศ.2555 มีการขยายผลมาใช้แก้ปัญหาดินเค็มที่ อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มี
แนวโน้มที่จะลดความเค็มของพื้นที่และเพิ่มผลผลิตได้เช่นกัน
70

รูปที่ 22 การทดลองนําดินเคลย์นาหว้าไปอัดขึ้นรูปเป็นชิ้นทดลองแว่นกลม เพื่อทดสอบความสามารถ


ในการใช้ทํากระเบื้อง (โดยความอนุเคราะห์ของบริษัททรูสโตน จํากัด)
การใช้ดินเคลย์นาหว้าใส่ลงไปในดินเค็มเพื่อช่วยลดความเค็ม หลักการสําคัญอยู่ที่
ประจุบวกจากแร่ยิปซัมและแคลไซต์ ที่ฝังตัวเป็นกระเปาะอยู่ทั่วไปในเนื้อชั้นดินเคลย์นาหว้า รวมทั้ง
แร่ ที่ ผุ ก ลายเป็ น แร่ ดิ น โดยเฉพาะแร่ ม อนต์ ม อริ ล โลไนต์ และประจุ บ วกจากแร่ ดิ น ที่ ม าจาก
แร่เบนทอไนต์ จะเข้าไปแย่งจับตัวกับประจุคลอไรด์ลบของเกลือ และถูกน้ําชะออกไปง่ายขึ้น จึงทําให้
ความเค็มลดลง และได้ผลพลอยได้อื่นๆ ได้แก่ เพิ่มเนื้อดินให้ข้าวทรงตัวได้ดีขึ้นและทําให้ปุ๋ยเกาะติด
กับเนื้อดินไม่ถูกชะออกไปง่ายเหมือนภาวะปกติของดินเค็ม จึงหว่านหรือใช้ปุ๋ยน้อยลง
การใช้ดินเคลย์นาหว้าในการแก้ไขปัญหาดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มี
ข้อจํากัดมากนัก แม้ว่าองค์ประกอบของดินเคลย์นาหว้าค่อนข้างจะไม่คงที่ก็ตาม จากงานการพัฒนา
พื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ระยะที่ 2 : ขยายผล) จังหวัดอุดรธานี การใช้วิธีหา
อัตราส่วนดินต่อทรายแบบง่ายตามวิธีในคู่มือดินเค็มสําหรับประชาชน อัตราส่วนทรายต่อดิน ในพื้น
ที่ดินเค็มมักเป็น 7–8 ต่อ 3–2 ขณะที่ ดินเค็มที่ปรับปรุงด้วยดินเคลย์นาหว้าจนได้พื้นที่ปลูกข้าวที่มี
คุณภาพ
71

มีอัตราส่วนทรายต่อดิน เป็น 4 ต่อ 6ปริมาณที่ใส่ลงไปแล้วค่อนข้างแน่ใจว่าฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มได้ (ทั้งนี้ต้อง


ทําตาม 6 ขั้นตอนของกรรมวิธีแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็มของกรมทรัพยากรธรณีด้วย) คือ ไม่ต่ํากว่า 10 ตัน
ต่อไร่ ดังนั้นมาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทางธรณีวิทยาดินเคลย์นาหว้าในการแก้ไขปัญหาดินเค็ม จึงเป็น
10 ตันต่อไร่ หรือใส่ลงและคลุกเคล้าจนกว่าอัตราส่วนทรายต่อดิน เป็น 4 ต่อ 6
ตารางที่ 15 คุณสมบัติของดินเคลย์นาหว้าที่นํามาทดลองทําชิ้นทดสอบ เทียบกับมาตรฐานของ
กระเบื้องตามมาตรฐาน มอก. และ อื่นๆ
หัวข้อทดสอบ ตัวอย่างที่ทําจากดิน มาตรฐานกระเบื้อง มาตรฐานกระเบื้องเซรามิก
เคลย์นาหว้า ดินเผามุงหลังคา (มอก. 2508-2555 )
(มอก. 158-2518 )
สีและเนื้อของวัสดุหลังการเผา สีน้ําตาลแดง ไม่ระบุข้อมูล ไม่ระบุข้อมูล
ปฏิกิริยาต่อ HCl เกื อ บทั้ ง หมดไม่ แ สดง ไม่ระบุข้อมูล ไม่ระบุข้อมูล
ปฏิกิริยา
การหดตัวของวัสดุหลังเผา 4.46-14.19 ไม่ระบุข้อมูล ไม่ระบุข้อมูล
(ร้อยละ Firing Shrinkage)
การดู ด ซึ ม น้ํ า ของวั ส ดุ ห ลั ง เผา 0.17 – 9.94 ≤-13.5 ค่าเฉลี่ย
(ร้อยละ Water Absorption) A I: ≤ 3.0
A IIa-1: 3.0-6.0
กระเบื้องแต่ละแผ่น
A I: ไม่เกิน 3.3
A IIa-1: ไม่เกิน 6.5
น้ําหนักที่หายไปหลังเผา 5.84 – 9.64 ไม่ระบุข้อมูล ไม่ระบุข้อมูล
(ร้อยละ Loss on Ignition)
เวลาการไหลตั ว ของน้ํ า ดิ น 18-31 ไม่ระบุข้อมูล ไม่ระบุข้อมูล
(Viscosity)
ความหนาแน่น (Density) 130-137 ไม่ระบุข้อมูล ไม่ระบุข้อมูล
การต้านทานแรงทางขวาง ไม่มีการทดสอบ ≥7 ไม่ระบุข้อมูล
(transverse strenge )
(นิวตัน/ ตร.มม.)
หมายเหตุ ควรเพิ่มเติมการ ต้ อ งทดสอบลั ก ษณะทาง
ทดสอบ กายภาพ ฟิ สิ ก ส์ เคมี อื่ น ๆ
“ลักษณะทั่วไป” หลังทําเป็นผลิตภัณฑ์
72

ตารางที่ 16 มาตรฐานของดินเคลย์นาหว้าที่ใช้ประโยชน์เป็นตัวเติมให้กับอุตสาหกรรมกระเบื้องดินเผา
มุงหลังคาและปูพื้นชนิดสีแดง
ลักษณะทางกายภาพของดินในธรรมชาติ ร้อยละของสารประกอบ ชิ้นทดลองเซรามิก เผาที่ ชิ้นงานที่ทําเป็น
ออกไซด์ของดินก่อนเผา** 1,100 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์*
(ร้อยละ)
สีแดงน้ําตาล อาจมีลวดลายหรือแถบสี SiO2 58.8–67.5 สีและเนื้อ สีน้ําตาลแดง ความแข็งแรง
ขาวและพบเศษแร่สีขาวใสหรือขาวทึบแสง TiO2 0.60–0.72 ของวัสดุ 150 กก./ ตร.ซม.
(แร่ยิปซั่มและแร่แอนไฮไดรต์) ปนอยู่ใน Al2O3 20.90–23.60 หลังการ
เนื้อดินและหิน Fe2O3 1.40–5.60 เผา
เมื่อแช่น้ําหรือทําให้ชุ่มน้ําสักระยะ ก็ CaO 0.17–0.30 ปฏิกิริยา เกือบ การหดตัวสูงสุด
จะผุเป็ น โคลนเนื้อละเอีย ดมากปนทราย MgO 0.25–1.30 ต่อ HCl ทั้งหมดไม่ ร้อยละ 7
แป้งจํานวนมาก อย่างรวดเร็ว เนื้ออ่อนนุ่ม แสดง
เมื่อหมาดจับตัวกันเหนียวพอประมาณแต่ K2O 0.55–2.4 ปฏิกิริยา
จั ด ว่ า น้ อ ยกว่ า ดิ น โคลนท้ อ งนาทั่ ว ไป Na2O 0.10–0.80
สามารถปั้น ขึ้น รู ป ได้ ดี แต่ถ้า ดึ ง ให้ยืดตั ว
LOI 6.30–12.70
ขณะปั้ น โดยใช้ แ ป้ น หมุ น จะยื ด ตั ว ได้ ต่ํ า
กว่าดินปั้นเซรามิกทั่วไป
ความบวมน้ํ า และความฟู ดิ น เคลย์ น า การหดตัว 4.46-14.19 การดูดซึมน้ํา
หว้ามีองค์ประกอบเป็นแร่กลุ่มที่สามารถ ของวัสดุ ร้อยละ 12-13
ดูดเอาน้ําเข้าไปไว้ในโครงสร้างได้ ก้อนดิน หลังเผา
เปียกน้ําจึงมีลักษณะบวมและฟู ผิวที่แห้ง (ร้อยละ
แข็ ง จะแยกออกจากกั น เป็ น ระแหง ถ้ า Firing
เหยียบไปบนพื้นที่เหล่านี้เท้าจะจมโคลน Shrinkage)
สังเกตน้ําที่ละลายดินเคลย์นาหว้า ได้ การดูดซึมน้ํา 0.17–9.94 ปริมาณ Fe2O3
น้ํ า โคลนสี น้ํ า ตาลแดง ความเข้ ม ข้ น ของวัสดุ ร้อยละ 1–2
ต่ า งๆกั น แล้ ว แต่ สั ด ส่ ว นการละลาย แต่ หลังเผา (ต้องอาศัยการ
อนุภาคดินในน้ําตกตะกอนได้ช้า (ร้อยละ ปรับส่วนผสมให้
Water มีสัดส่วนต่ําลง)
Absorption)
หมายเหตุ น้ําหนัก 5.84 – 9.64
*(เทียบจากค่าผลิตภัณฑ์ที่ทําจากดินเหนียวอุตสาหกรรม ตามมาตรฐาน ที่หายไป
“คุณลักษณะของบอลเคลย์เพื่อใช้ใ นอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ หลังเผา
ไทย—ผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้นและกระเบื้องบุผนัง” ที่ปรากฎในเอกสาร (ร้อยละ
คุณลักษณะของแร่ ตามมาตรฐานการใช้งานและมาตรฐานการซื้อขายแร่ Loss on
Ignition)
ในตลาดแร่ที่จัดทําขึ้นโดย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
เวลาการ 18-31
(2550))
ไหลตัวของ
**เทียบจากคุณลักษณะของดินที่มีคุณลักษณะทางเคมีใกล้เคียงกับดินนา น้ําดิน
หว้าที่สุดตามที่ปรากฎในเอกสาร คุณลักษณะของแร่ ตามมาตรฐานการ (Viscosity)
ใช้ ง านและมาตรฐานการซื้ อ ขายแร่ ใ นตลาดแร่ ที่ จั ด ทํ า ขึ้ น โดย กรม ความ 130-137
อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (2550) ได้แก่ดินเหลืองแจ้คอน หนาแน่น
และ ดินกระเบื้องแม่ทาน) (Density)
73

การปลู ก ข้ า วนาปรั ง เพื่ อ ทดสอบการแก้ ไ ขปั ญ หาดิ น เค็ ม ด้ ว ยดิ น เคลย์ น าหว้ า บริ เ วณหนองปลา
บ้านดงสวรรค์ ตําบลไฮหย่อง อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
กราฟการเปลี่ยนแปลง Cl ในแปลงทดลองดินเคลย นาหวา กราฟการเปลี่ยนแปลง Na ในแปลงทดลองดินเคลย นาหว า

2000 750
(mg/cm)

1500

(mg/cm)
500
1000
500 250
เดือน เดือน
0 0
กอน หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส
กอน หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส
ทดลอง วัสดุ เม.ย. วัสดุ พ.ค. วัสดุ มิ. ย. วัสดุ ก.ค. วัสดุ ส.ค. วัสดุ ก.ย.
ทดลอง วัสดุ เม.ย. วัสดุ พ.ค. วัสดุ มิ. ย. วัสดุ ก.ค. วัสดุ ส.ค. วัสดุ ก.ย.
แปลงดินเคลย 10% 614 643 915 608 98 72 64
แปลงดินเคลย 10% 285 313 385 317 56 52 31
แปลงดินเคลย 5% 764 325 915 1,808 160 146 104
แปลงดินเคลย 5% 324 226 453 626 108 95 65
แปลงดินเคลย 2.5% 370 613 412 803 63 67 84
แปลงดินเคลย 2.5% 212 323 233 456 39 57 62
แปลงดินเคลย 1% 278 355 305 554 58 110 92
แปลงดินเคลย 1% 160 227 179 281 38 76 54

กราฟการเปลี่ยนแปลงคา นํา ไฟฟา ในแปลงทดลองดินเคลย นาหวา

1000
1.ดินเค็มลดลง ทําให้พื้นที่ดินเค็มปลูกข้าวได้
2.แปลงนาที่ใส่ดินเคลย์นาหว้า ในปริมาณร้อยละ
800
(u m /c m )

600
400
เดือน
200
0
กอน หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส หลังใส
1. 2.5, 5, และ 10 โดยน้าํ หนัก ได้ผลผลิตข้าว
แปลงดิน เคลย 10%
ทดลอง
436
วัส ดุ เม.ย. วัสดุ พ.ค. วัสดุ มิ.ย. วัสดุ ก.ค. วัสดุ ส.ค. วัส ดุ ก.ย.
403 482 463 140 109 86 320, 336, 384, และ 400 กิโลกรัมต่อไร่
แปลงดิน เคลย 5% 535 241 520 863 169 152 120
แปลงดิน เคลย 2.5% 271 383 262 624 97 100 91
แปลงดิน เคลย 1% 200 255 218 427 107 133 113

รู ป ที่ 23 การทดลองปรั บ โครงสร้ า งของดิ น โดยใช้ ดิ น เคลย์ น าหว้ า ในพื้ น ที่ ตํ า บลไฮหย่ อ ง
อําเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ใช้เป็นวัสดุทดแทนหรือวัสดุใหม่สําหรับ แหล่งเครื่องปั้นดินเผาเอกลักษณ์บ้านเชียง โดย


ทดลองนําไปเป็นวัตถุดิบทําตัวเครื่องปั้นดินเผา และสีแดงที่ใช้เขียนลวดลาย (รูปที่ 24)
การทดลองนํ าดิ นเคลย์ น าหว้า ไปผสมกับ ดิ นทาม (ดิ นตะกอนทางน้ํ า) และใช้เ ป็ นวั ตถุ ดิ บ
โดยตรงทั้งหมด โดยผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามกรรมวิธีเอกลักษณ์บ้านเชียง พบว่าดินเคลย์นาหว้าสามารถใช้
ทดแทนได้ผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงของที่ผลิตโดยวัตถุดิบดั้งเดิม แต่จะมีปัญหาอยู่บ้างกับชิ้นงานที่ปั้นโดยดินเคลย์
นาหว้าร้อยละ 100 ที่จะดึงให้ยืดตัวขึ้นยากกว่าดินปั้นปกติ
เนื้อดินเคลย์นาหว้าสามารถใช้ละลายน้ําผสมหรือไม่ผสมวัตถุดิบอื่นๆ สามารถทดแทนและลด
ต้นทุนสีฝุ่นที่เขียนลวดลายเครื่องปั้นดินเผาเอกลักษณ์บ้านเชียง ที่ผลิตเพื่อการค้าได้
74

สามารถเป็นวัตถุดิบของภาชนะเซรามิกประเภท earthen ware (เซรามิกชนิดเนื้อหยาบ


ยอมให้น้ําซึมผ่านได้บางส่วน) และใช้ปั้นงานศิลปะชนิดที่ไม่จําเป็นต้องการการเผา (รูปที่ 25)
เครื่องปั้นดินเผาชนิด earthen ware ไม่ต้องการการเผาที่อุณหภูมิสูง แต่มักทําออกมา
เป็นภาชนะที่ใช้งานได้จริง เป็นที่นิยมในวงการศิลปะและของสะสมเฉพาะกลุ่ม หรือหากใช้ดินเคลย์นาหว้า
ปั้นงานศิลปะ แม้ไม่ต้องการเผา เมื่อแห้งก็สามารถเคลือบด้วยแลกเกอร์เพื่อความเงางามและคงทน ชิ้นงานที่
ได้จะเป็นสีน้ําตาลแดงอมม่วง ส่วนที่นําไปเผาจะเกิดเป็นเนื้อเม็ดแล้วแต่ส่วนผสมในเนื้อดิน ที่จะไม่สม่ําเสมอ

รูปที่ 24 ดินเคลย์นาหว้า ใช้ทดแทนหรือร่วมกับ


วั ต ถุ ดิ บ ดั้ ง เดิ ม เพื่ อ ผลิ ต ตั ว ภาชนะและสี
เขียนลวดลายเครื่องปั้นดินเผาเอกลักษณ์
บ้านเชียงได้ผลดี (รูปขวาบน ภาชนะเขียนสี
บ้านเชียงในพิพิธภัณฑ์ รูปที่เหลือภาชนะที่
ทดลองทําขึ้น)
75

(รูปประกอบนี้จาก internet)

รูปที่ 25 ดินเคลย์นาหว้า ใช้ทํา


เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาชนิ ด earthen
ware และปั้นงานศิลปะ

(รูปประกอบนี้จาก internet)

4.6.5 มาตรฐานใช้ประโยชน์ดินเคลย์นาหว้าในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาเอิร์ทเทินแวร์
ในอุ ต สาหกรรมเครื่ อ งปั้ น ดิ น เผา สามารถใช้ ป ระโยชน์ ดิ น เคลย์ น าหว้ า เป็ น วั ต ถุ ดิ บ
เพื่อผลิตชิ้นงานที่เผาที่อุณหภูมิต่ํา หรือ earthenware ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ เนื้อดินเอิร์ทเทินแวร์เป็นเนื้อ
ดินที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ดินเหนียว ท้องนา ดินเหนียวปากเกร็ด ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เผาในอุณหภูมิต่ํา
ประมาณ 800 องศาเซลเซียส ลักษณะการปั้นค่อนข้างหนา เนื้อดินมีความพรุนตัวสูง เปราะแตกหักหรือ
บิ่นได้ง่ายเมื่อกระทบกัน ดูดซึมน้ําได้สูง ร้อยละ 10–15 เสียงเคาะไม่ดังกังวานเนื่องจากเนื้อดินมีความ
แข็งแรงน้อย เนื้อดิน มีลักษณะเป็นสีทึบแสง เนื้อดินเมื่อผ่านการเผามีสีแดงอิฐ สีน้ําตาล หรือสีครีม เนื้อ
ดินเอิร์ทเทินแวร์เหมาะสําหรับทําผลิตภัณฑ์ประเภท หม้อต้ม หม้อน้ํา คนโท กระถางต้นไม้ กระเบื้องมุง
หลังคา และของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึก (ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์, 2541)
เอิร์ทเทินแวร์มักเผาด้วยเตาฟืนหรือเตาอิฐ หรือเผากลางแจ้งแบบเทคนิคโบราณ โดย
เรียงผลิตภัณฑ์ที่จะเผาบนกองฟืน และคลุมทับด้วยฟาง เผาจนเชื้อเพลิงไหม้หมด อุณหภูมิการเผาประมาณ
700–800 องศาเซลเซียส (ต่ํากว่าเคลือบดินเผาแบบเซรามิกลําปาง) จึงไม่พบปัญหาเรื่องความแข็งแรงหลังเผาต่ํา
เกิด Defect ที่ผิวชิ้นงาน แกนดํา จากการหลอมตัวของ Fe2O3 หรือการบิดเบี้ยวเนื่องจากแร่ควอตซ์เปลี่ยนเป็น
ทริดิไมต์ ที่อุณหภูมิสูงกว่า 870 องศาเซลเซียส การใช้ดินเคลย์นาหว้าทําเครื่องปั้นดินเผาที่เผาที่อุณหภูมิต่ํา ใน
การทดลองใช้งาน จะมีปัญหาอยู่บ้างที่การดึงให้ยืดระหว่างปั้นด้วยแป้นหมุน ดินมักจะไม่เหนียวพอ แต่
สภาพจะดีขึ้นถ้าเพิ่มบอลเคลย์ หรือดินปั้นปกติลงไปด้วยอัตราส่วน ร้อยละ 25–50 แล้วนวดให้เข้ากัน
มาตรฐานดินเคลย์นาหว้าสําหรับอุตสาหกรรมทําเซรามิกเอิร์ทเทินแวร์ จึงไม่มีข้อจํากัด
เรื่องวัตถุดิบมากนัก เนื่องจากสามารถปรับและเพิ่มส่วนผสมด้วยบอลเคลย์ หรือดินปั้นแบบอื่นลงไปได้
จึ ง ใช้ ผ ลวิ เ คราะห์ ข องดิ น เคลย์ น าหว้ า ที่ วิ เ คราะห์ ไ ด้ เพี ย งแต่ ห ากมี ก ารวิ เ คราะห์ ห ลั ง การเผาเพื่ อ
เปรียบเทียบคุณลักษณะควรวิเคราะห์การดูดซึมน้ําของวัสดุหลังเผาคุณลักษณะและมาตรฐาน ดังเสนอไว้
ดังในตารางที่ 17
76

ดินเคลย์นาหว้าใช้ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ สํา หรั บ สี น้ํา ตาลแดงธรรมชาติ เพื่ อ งานศิ ล ปะ


ท้ อ งถิ่ น แบบเอกลั ก ษณ์ สีน้ําตาลแดงที่เตรียมได้จากดินเคลย์นาหว้า เตรียมได้ง่าย เพียงนําไป
ละลายน้ํ า ในอั ตราส่ ว นต่ า งๆ และอาจเพิ่ ม ส่ ว นผสมบางประการ เช่น กาว เพื่ อเพิ่ ม ความคงทน
สามารถนําไปใช้ฉาบ ระบาย เคลือบ เขียนลวดลายลงบนพื้นผิวประเภท ไม้ ผ้า และอื่นๆ ได้โดยไม่มี
ความเป็นพิษ ได้งานทางศิลปะที่มีโทนสีเป็นธรรมชาติ ที่สําคัญคือ ราคาต้นทุนต่ํากว่าประมาณ 100
เท่าหรือมากกว่าถ้าเทียบกับสีฝุ่นที่ใช้งานในปัจจุบัน (รูปที่ 26)
4.6.6 มาตรฐานใช้ประโยชน์ดินเคลย์นาหว้าสําหรับสีน้ําตาลแดงธรรมชาติ
การใช้ดินเคลย์นาหว้าผสมน้ํามากน้อยตามต้องการเพื่อให้ได้สีสําหรับระบาย หรือ
ย้อม สีที่ได้คืออนุภาคของแร่ดินและแร่ขนาดเล็กอื่นๆ ที่เล็กกว่า 0.2 ไมโครเมตร จนถึง 0.001
ไมโครเมตร ที่แขวนลอยอยู่ในน้ํา การเตรียมน้ําสีจากดินเคลย์นาหว้า จึงใช้ดินเคลย์นาหว้าได้ทุกแหล่ง
โดยยึดเพียง ลักษณะทางกายภาพของดินในธรรมชาติ และ ร้อยละของสารประกอบออกไซด์ของดิน
ก่อนเผา ที่บ่งบอกถึงความเป็นดินเคลย์นาหว้า (ตารางที่ 17) เท่านั้น

รูปที่ 26 สีน้ําตาลแดงจากดินเคลย์นาหว้า ใช้เขียนลวดลายบนพื้นผิวต่างๆประเภทผ้าและไม้ได้ดีและ


มีราคาต้นทุนที่ต่ํา
4.6.7 ดินเคลย์นาหว้าทีใ่ ช้ประโยชน์สําหรับทําอิฐมวลประสาน
จากการทดลองนําไปทําวัตถุดิบสําหรับอิฐมวลประสานด้วยสูตรของท้องถิ่น ทั้งแบบ
ผสมกับดินเดิมครึ่งต่อครึ่ง และใช้เป็นวัตถุดิบแทนเนื้อดินเดิมทั้งหมด ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงดี
ใช้งานได้จริง (รูปที่ 27)
4.6.8 ดินเคลย์นาหว้าทีใ่ ช้ประโยชน์สําหรับทําบ้านดินอนุรักษ์พลังงาน
บ้านดินอนุรักษ์พลังงานและธรรมชาติต้นทุนต่ํา ที่กําลังเป็นที่รู้จัก และนิยมมากขึ้น
สร้างขึ้นได้จากอิฐดินที่ทําขึ้นมาเองได้โดยใช้แรงคน ไม่ต้องผ่านกระบวนการเผา จากการทดลองทําขึ้น
จากส่วนผสม ดินเคลย์นาหว้า แกลบ และทรายละเอียด พบว่า อัตราส่วน 3:2:2 จะให้อิฐดินสีน้ําตาล
แดงสวยงาม การยึดเกาะดี สามารถนําไปใช้งานได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่าอิฐดินที่ทําจากดินแบบอื่น
(รูปที่ 28)
77

4.6.9 ดินเคลย์นาหว้าที่ใช้ประโยชน์สําหรับแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็ก
โครงการขุดบ่อกักเก็กน้ําเพื่อการเกษตรหลายแหล่ง ขุดบ่อหรือสระแต่ไม่สามารถเก็บน้ํา
ไว้ได้เนื่องจากผนังอาจเป็นทรายมีการรั่วซึมสูง จึงทําให้ปัญหาภัยแล้งยังคงมีอยู่ทุกฤดูแล้ง ถ้ามีการเตรียม
ฉาบผนังหรือก้นบ่อไว้ด้วยดินเคลย์นาหว้าในหน้าแล้ง เพื่อให้การรั่วซึมน้อยลงและผนังและก้นบ่อยึด
ประสานกันดี น่าจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งในระดับหนึ่ง วิธีนี้ยังมีข้อดีอีกที่ ราคาต้นทุนต่ํากว่าผ้าพลาสติก
ดําปูสระ เกษตรกรทําได้ด้วยตนเอง และซ่อมแซมเฉพาะจุดที่เสียได้ง่าย จากการทดลอง พบว่าการฉาบดิน
เคลย์นาหว้า ด้วยความหนาประมาณ 1 ซม. ก็สามารถกักเก็บน้ําอยู่ได้ (รูปที่ 29 และ 30)
4.6.10 มาตรฐานของดินเคลย์นาหว้าในการใช้ทําทําอิฐมวลประสาน บ้านดิน วัสดุ
ดาดผนังแหล่งน้ํา
การทําอิฐมวลประสาน อิฐดินสําหรับทําบ้านดิน และใช้เป็นวัสดุดาดผนังบ่อและแหล่ง
กักเก็บน้ําขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ํา สามารถใช้ดินเคลย์นาหว้าได้ทุกแหล่ง โดยยึด
เพียง ลักษณะทางกายภาพของดินในธรรมชาติ และ ร้อยละของสารประกอบออกไซด์ของดินก่อนเผา ที่
บ่งบอกถึงความเป็นดินเคลย์นาหว้า (ตารางที่ 18) เท่านั้น แต่ข้อพึงระวังสําหรับการทําอิฐมวลประสาน
คือควรตากก้อนดินให้แห้งและบดให้มีลักษณะเป็นฝุ่นหรือขนาดก้อนดินก่อนใช้ เพื่อให้อัตราส่วนหรือ
น้ําหนักที่ใช้ไม่ผิดพลาดมาก และเพื่อป้องกันไม่ให้ปูนซีเมนต์ที่ใช้ผสม แข็งตัวก่อน

รูปที่ 27 ดินเคลย์นาหว้า ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการใช้ประโยชน์ทําอิฐมวลประสาน

รูปที่ 28 ดินเคลย์นาหว้า ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการใช้ประโยชน์ทําอิฐดิน ที่นําไปทําบ้านดินอนุรักษ์


พลังงานและธรรมชาติได้
78

+ =

รูปที่ 29 ดินเคลย์นาหว้าใช้เป็นวัสดุดาดผนังบ่อและแหล่งกักเก็บน้ําขนาดเล็ก
เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

คําอธิบายกราฟ
อัตราการซึมผ่านธรรมชาติ (มล.)
อัตราการซึมผ่านเมื่อดาด
รูปที่ 30 กราฟการทดลองการซึมผ่านน้ําบริเวณบ่อที่ขุดในพื้นที่ อําเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
ในเวลาเดียวกันเส้นกราฟสีน้ําเงินวัดจากผนังบ่อที่ขุดแล้วไม่ได้ฉาบผนังด้วยดินเคลย์นาหว้า
พบว่ามีการซึมผ่านน้ําสูงมาก เส้นกราฟสีส้มวัดจากผนังบ่อที่ขุดแล้วฉาบหรือดาดผนังด้วย
ดินเคลย์นาหว้าหนา 1-3 ซม. พบว่ามีน้ําซึมผ่านไม่ได้ จึงสรุปว่าดินเคลย์นาหว้าที่นําไปฉาบ
หรือดาดผนังบ่อทําให้น้ําซึมหายไปได้ยากขึ้น
79

ตารางที่ 17 มาตรฐานของดินเคลย์นาหว้ามาตรฐานดินเคลย์นาหว้าสําหรับอุตสาหกรรมทําเซรามิก
เอิร์ทเทินแวร์
ลักษณะทางกายภาพของดินในธรรมชาติ ร้อยละของสารประกอบ ชิ้นทดลองเซรามิก เผาที่ ชิ้นงานที่ทําเป็น
ออกไซด์ของดินก่อนเผา 700-800 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์*
(ร้อยละ)
สีแดงน้ําตาล อาจมีลวดลายหรือแถบสี SiO2 50.00-86.21 สีและเนื้อ สีน้ําตาลแดง สามารถส่งทดสอบ
ขาวและพบเศษแร่สีขาวใสหรือขาวทึบแสง TiO2 0.60–0.89 ของวัสดุ สีแดงอิฐ มอก. แยกเป็น
มาตรฐานของ
(แร่ยิปซั่มและแร่แอนไฮไดรต์) ปนอยู่ใน Al2O3 8.00–21.78 หลังการเผา สีน้ําตาล
สินค้าแต่ละ
เนื้อดินและหิน Fe2O3 3.52–11.51 สีครีม ประเภท เช่น หม้อ
ทึบแสง คนโท กระถาง
เมื่อแช่น้ําหรือทําให้ชุ่มน้ําสักระยะ ก็ CaO 0.24–11.93 ความพรุนตัว เนื้อดิน กระเบื้อง ฯลฯ
จะผุเป็ น โคลนเนื้อละเอีย ดมากปนทราย MgO 0.25–10.96 มีความพรุนตัว
แป้งจํานวนมาก อย่างรวดเร็ว เนื้ออ่อนนุ่ม สูง น้ําซึมออก
เมื่อหมาดจับตัวกันเหนียวพอประมาณแต่ K2O 0.55–5.59 ได้บางส่วน
จั ด ว่ า น้ อ ยกว่ า ดิ น โคลนท้ อ งนาทั่ ว ไป Na2O 0.10–1.62
สามารถปั้น ขึ้น รู ป ได้ ดี แต่ถ้า ดึ ง ให้ยืดตั ว
MnO 0.01–0.90
ขณะปั้ น โดยใช้ แ ป้ น หมุ น จะยื ด ตั ว ได้ ต่ํ า
กว่าดินปั้นเซรามิกทั่วไป P2O5 0.01–0.18
ความบวมน้ํ า และความฟู ดิ น เคลย์ น า LOI 2.89–12.79 ความเปราะ เปราะ แตกหัก
หว้ามีองค์ประกอบเป็นแร่กลุ่มที่สามารถ H2O 0.37–2.64 หรือบิ่นได้ง่าย
ดูดเอาน้ําเข้าไปไว้ในโครงสร้างได้ ก้อนดิน เมื่อกระทบกัน
เปียกน้ําจึงมีลักษณะบวมและฟู ผิวที่แห้ง เสียงเคาะ
แข็ ง จะแยกออกจากกั น เป็ น ระแหง ถ้ า ไม่ดังกังวาน
เหยียบไปบนพื้นที่เหล่านี้เท้าจะจมโคลน
สังเกตน้ําที่ละลายดินเคลย์นาหว้า ได้ การดูดซึมน้ํา 10–15
น้ํ า โคลนสี น้ํ า ตาลแดง ความเข้ ม ข้ น ของวัสดุหลังเผา
ต่ า งๆกั น แล้ ว แต่ สั ด ส่ ว นการละลาย แต่ (ร้อยละ Water
อนุภาคดินในน้ําตกตะกอนได้ช้า Absorption)
80

ตารางที่ 18 มาตรฐานการใช้ประโยชน์วัสดุทางธรณีวิทยาดินเคลย์นาหว้าสําหรับทําอิฐมวลประสาน
อิ ฐ ดิ น สํ า หรั บ ทํ า บ้ า นดิ น และใช้ เ ป็ น วั ส ดุ ด าดผนั ง บ่ อ และแหล่ ง กั ก เก็ บ น้ํ า ขนาดเล็ ก
เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ํา
ลักษณะทางกายภาพของดินในธรรมชาติ ร้อยละของสารประกอบออกไซด์ของดินก่อนเผา
(ร้อยละ)
สีแดงน้ําตาล อาจมีลวดลายหรือแถบสีขาวและพบเศษ SiO2 50.00-86.21
แร่สีขาวใสหรือขาวทึบแสง (แร่ยิปซัมและแร่แอนไฮไดรต์) TiO2 0.60–0.89
ปนอยู่ในเนื้อดินและหิน Al2O3 8.00–21.78
Fe2O3 3.52–11.51
เมื่อแช่น้ําหรือทําให้ชุ่มน้ําสักระยะ ก็จะผุเป็นโคลนเนื้อ CaO 0.24–11.93
ละเอี ย ดมากปนทรายแป้ ง จํ า นวนมาก อย่ า งรวดเร็ ว MgO 0.25–10.96
เนื้ออ่อนนุ่ม เมื่อหมาดจับตัวกันเหนียวพอประมาณแต่จัดว่า
น้อยกว่าดินโคลนท้องนาทั่วไป สามารถปั้นขึ้นรูปได้ดี แต่ถ้า K2O 0.55–5.59
ดึงให้ยืดตัวขณะปั้นโดยใช้แป้นหมุน จะยืดตัวได้ต่ํากว่าดิน Na2O 0.10–1.62
ปั้นเซรามิกทั่วไป
MnO 0.01–0.90
P2O5 0.01–0.18
ความบวมน้ําและความฟู ดินเคลย์นาหว้ามีองค์ประกอบ LOI 2.89–12.79
เป็นแร่กลุ่มที่สามารถดูดเอาน้ําเข้าไปไว้ในโครงสร้างได้ ก้อน H2O 0.37–2.64
ดินเปียกน้ําจึงมีลักษณะบวมและฟู ผิวที่แห้งแข็งจะแยกออก
จากกันเป็นระแหง ถ้าเหยียบไปบนพื้นที่เหล่านี้เท้าจะจม
โคลน
สังเกตน้ําที่ละลายดินเคลย์นาหว้า ได้น้ําโคลนสีน้ําตาล
แดง ความเข้มข้น ต่า งๆกันแล้ว แต่สัดส่ว นการละลาย แต่
อนุภาคดินในน้ําตกตะกอนได้ช้า
บทที่ 5
สรุปและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุป
งานจัดทํามาตรฐานทรัพยากรแร่หมวดหินห้วยหินลาดและหมวดหินภูทอก เป็นการนํา
ข้อมูลทางวิชาการทางธรณีวิทยา มาประยุกต์หาทรัพยากรแร่แหล่งใหม่ๆของประเทศ สามารถนําวิธีการ
สํ า รวจ วิ ธี ก ารประยุ ก ต์ ใ ช้ วั ส ดุ ท างธรณี วิ ท ยาที่ พ บใหม่ และคุ ณ สมบั ติ ข องหิ น ที่ พ บแนวทางการใช้
ประโยชน์มาตั้งเป็นมาตรฐานในแบบของ สํานักทรัพยากรแร่ และโดยแนวทางของกรมทรัพยากรธรณี ไป
ใช้ศึกษา อ้างอิงและปฏิบัติไปทิศทางเดียวกันสมดังวัตถุประสงค์ โครงการ และคาดว่าสามารถนําไป
ประยุกต์ใช้ สํารวจ หาแนวทางการใช้ประโยชน์ ในหมวดหินอื่นๆ ที่จะมีต่อไป เป็นการนําวิชาการไปสู่
กลุ่มเป้าหมายได้เด่นชัด เป็นรูปธรรม และตรงจุดมากยิ่งขึ้น
ผลพลอยได้สําคัญคือ ทําให้ได้แหล่งวัสดุธรณีวิทยาแหล่งใหม่ที่ยังไม่ได้ถูกประกาศ หรือ
นิยามมาก่อน ที่มีสามารถแก้ปัญหาระดับภูมิภาคบางประการและส่งเสริมการผลิตระดับท้องถิ่นได้โดย
ต้นทุนต่ํา และอาจสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นได้เพิ่มเติมโดยอาศัยการวิจัยและพัฒนา
5.2 ข้อเสนอแนะ
แนวทางบริหารจัดการ
พื้นที่แหล่งหินห้วยหินลาด จัดอยู่ ในเขตสงวน (รูปที่ 3 และ 31) การใช้ประโยชน์ทาง
อุตสาหกรรมจึงไม่สามารถทําได้ในปัจจุบัน แนวทางที่เป็นได้คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวประจําถิ่น และเป็น
แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการด้านธรณีวิทยา (Geopark) รวมทั้งเป็นแหล่งพื้นที่ต้นแบบทางทรัพยากรแร่
สําหรับหมู่หินดาดฟ้า เพื่อประโยชน์ในการสํารวจและหาแนวทางการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อื่นๆ
แม้วัส ดุทางธรณีวิทยาจากหมวดหินภูท อกที่ สํารวจพบยั งไม่ ถูกประกาศเป็นแร่ หรือ
ดินอุตสาหกรรมอย่างเด่นชัดในปัจจุบัน แต่การนําไปใช้ประโยชน์ในแง่ทรัพยากรแร่ควรคํานึงถึงข้อจํากัด
ของการใช้พื้นที่เพื่อป้องกันผลกระทบในอนาคต จากการศึกษาแผนที่การจําแนกเขตทรัพยากรแร่ของ
จังหวัดขอนแก่น พบว่า
แหล่งดินเคลย์นาหว้าทั้งหมด จัดอยู่ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ หมายถึง พื้นที่แหล่งแร่
ที่ควรเก็บรักษาเพื่อสํารองไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ให้นําทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้
ประโยชน์ในปัจจุบันได้โดยมีเงื่อนไขพิเศษ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ข้อจํากัดของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี
กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
แต่เนื่องจากการที่ยังไม่ได้ถูกประกาศเป็นแร่ การนํามาใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้น
ที่ดินของเอกชน ยังมีค่าเทียบเท่ากับการขุดดินมาใช้เป็นดินลูกรัง หรือได้ดินจากผลพลอยได้ของการขุด
แหล่งกักเก็บน้ําเท่านั้น ไม่มีข้อจํากัดและผลกระทบใดๆ ในการนําขึ้นมาใช้ประโยชน์มากนัก หมวดหินภู
ทอกพบเป็นพื้นที่กว้างขวางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมีแนวทางการนํามาใช้ประโยชน์หลายทาง
ด้วยต้นทุนที่ต่ํา โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็ม จึงควรเผยแพร่ข้อมูลการนําไปใช้ประโยชน์ให้
กว้างขวางระดับจังหวัดทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นภาคประชาชนและสถาบันการศึกษา เพื่อที่จะ
เป็ น ประโยชน์ ใ นการจั ด ทํ า ยุ ท ธศาสตร์ จั ด การทรั พ ยากรแร่ แก้ ไ ขปั ญ หาพื้ น ที่ ดิ น เค็ ม เสริ ม สร้ า ง
อุตสาหกรรมท้องถิ่นระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆจากวัสดุธรณีวิทยาดิน
เคลย์นาหว้า
82

รูปที่ 31 แผนที่จําแนกเขตทรัพยากรทางแร่จังหวัดขอนแก่นและแหล่งของหมวดหิน
ห้วยหินลาดและหมวดภูทอก (หมู่หินนาหว้า)
(คัดแปลงจากกรมทรัพยากรธรณี, 2552)
เอกสารอ้างอิง
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, 2550, Thailand Petroleum Reserves as of December 2007: รายงานประจําปี 2007,
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, หน้า 43.
กรมทรัพยากรธรณี, 2542, ธรณีวิทยาประเทศไทย, กรุงเทพฯ, 551 หน้า.
กรมทรัพยากรธรณี, 2542, แผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1: 1,000,000 (ประเทศไทย), สํานักธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี
กรมทรัพยากรธรณี, 2543, แผนที่และข้อมูลแหล่งแร่ของไทย ชุด แร่อโลหะของประเทศไทย ฉบับที่ 1 เรื่อง แหล่งแร่ยิปซัมของ
ไทย, กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี
กรมทรัพยากรธรณี, 2550, โครงการจัดทําแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรแร่เพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์: เล่ม 4.ร่าง รายงานการศึกษา
ฉบับสมบูรณ์ (ฉบับแก้ไข), กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 305 หน้า.
กรมทรัพยากรธรณี, 2550, ธรณีวิทยาประเทศไทย กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม, 598 หน้า.
กรมทรัพยากรธรณี, 2552, การจําแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดขอนแก่น, สํานักสํานัก
นโยบายและแผน, กรมทรัพยากรธรณี, 128 หน้า.
กรมแผนที่ทหาร, 2523, แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 250,000 ระวางเวียงจันทร์ (NE 48 -9) ระวางจังหวัดขอนแก่น
(NE 48 -13), กองบัญชาการทหารสูงสุด
กรมแผนที่ทหาร, 2543, แผนที่ภูมปิ ระเทศมาตราส่วน 1:50,000 ระวางอําเภอเชียงยืน (5641 VI) ระวางอําเภอหนองหาน
(5643 VI), กองบัญชาการทหารสูงสุด
กรมอุต สาหกรรมพื้น ฐานและการเหมือ งแร่, 2552, ข้อ มูล ประทานบัต รทั่ว ประเทศ, ข้อ มูล บริก าร เผยแพร่ :
http://www.dpim.go.th/mne/mn.php, 20 มกราคม 2552. 1 หน้า.
ธงไชย หงส์ทอง และสมใจ เย็นสบาย, 2532, การสํารวจธรณีเคมีแบบไพศาล แผนที่ขนาด 1: 250,000 ระวาง NE 47 – 16
(จังหวัดเพชรบูรณ์) : เอกสารเศรษฐธรณีวิทยา เล่มที่ 59/2531, กองเศรษฐธรณีวิทยา,กรมทรัพยากรธรณี, 26
หน้า.
บุญหมาย อินทุภูติ, 2520, แร่ยูเรเนียม: เอกสารเศรษฐธรณีวิทยา เล่มที่ 16, กองเศรษฐธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี, 63 หน้า.
ธวัช จาปะเกษตร์, 2528, การสํารวจเกลือหินและโพแตชภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ใน เอกสารการประชุมวิชาการ
เรื่อง “ธรณีวิทยาและการพัฒนาทรัพยากรธรณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ภาควิชาเทคโนโลยี, คณะ
เทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 137 – 147.
นรรัตน์ บุญกันภัย บุญเสริฐ สุขศรีบูรณ์อําไพ และเอกรินทร์ น้อยโสมศรี ,2554,“ลําดับชั้นหินของกลุ่มหินโคราชบริเวณ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน” ,สํานักธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี , หน้า 10 ถึง 18
ปกรณ์ สุวานิช, 2535, โพแตช - เกลือหิน ธรณีประวัติ การวิวัฒนาการโครงสร้างของชุดหินมหาสารคามและปริมาณแร่
สํารอง: รายงานเศรษฐธรณีวิทยา ฉบับที่ 4/2535, กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 34 หน้า.
ปรเมศร์ สุวรรณชื่น, นัฐวุฒิ เหมะธุลิน, อภิชิต โกษิตกุลพร และทรงพล อมฤตสกุล, 2547, พฤติกรรมของดินลมหอบที่ปรับปรุง
คุณภาพโดยปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอยและเถ้าแกลบที่ได้จากการทดสอบวิธีแรงอัดสามแกน: ปริญญานิพนธ์ ภาควิชา
วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พัชร์สุ วรรณขาว ลัดดา วรรณขาว วินิจ ยังมี และ หล้า อาจวิชัย, 2543. การจัดการเพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรตะกอนพื้นผิว
สะสมตัวใหม่บริเวณลุ่มน้ํา ชี-พอง จังหวัดขอนแก่น ใน เอกสารการประชุมวิชาการเรื่อง “ธรณีวิทยาและแหล่งแร่
ประเทศไทย ในโอกาสฉลองครบรอบ 108 ปี แหล่งการสถาปนากรมทรัพยากรธรณี (20 - 21 ธันวาคม
2543)”. กรมทรัพยากรธรณี, หน้า 1 - 12.
พิทักษ์ เทียมวงศ์ และวีรยา เลิศนอก, 2548, ธรณีวิทยาระวางอําเภอพรรณานิคม (5743 I) และระวางอําเภอนาหว้า (5843
IV), สํานักธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี, รายงานวิชาการฉบับที่ สธว. 4/2548, 71 หน้า.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์, 2541, เนื้อดินเซรามิก , สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1.
ฟูยศ โชติคณาทิศพันธ์ และ ไวยพจน์ ยุทธเกษมสันต์, 2527, ธรณีวิทยาและธรณีวิทยาแหล่งแร่ยูเรเนียมแอ่งภูเวียง อําเภอภู
เวียง จังหวัดขอนแก่น: รายงานประจําปี 2527 กองเศรษฐธรณีวิทยา,กรมทรัพยากรธรณี, หน้า ง2 – ง49.
84

วีรชัย แพงแก้ว, 2554 , “สไลด์ประกอบการบรรยาย เรื่อง ลําดับชั้นหินหมู่หินนาหว้า”การประชุมนําเสนอการรวบรวม


ข้อมูลการลําดับชั้นหินหมวดหินห้วยหินลาด และหมู่หินนาหว้า และคลังตัวอย่างธรณีวทิ ยาปีงบประมาณ 2555
วันที่ 20 ธันวาคม 2554 ณ ห้องประชุม สํานักธรณีวทิ ยา, สํานักธรณีวทิ ยา กรมทรัพยากรธรณี.
วัชรินทร์ กาสลัก, และ ศิริชัย ห่วงจริง, 2548, งานวิจัยการปรับปรุงคุณภาพดินลมหอบขอนแก่นโดยยางธรรมชาติ เพื่องานการ
ทาง (The Stabilization of Loess by Means of NaturalRubber) ปริญญานิพนธ์ ภาควิศวกรรมโยธา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาพร กาวิเนตร และพิทักษ์ รัตนจารุรักษ์, 2546, ทรัพยากรแร่ ในแผนที่ระวาง NE 48 - 13 (จังหวัดขอนแก่น) : รายงานสํานัก
ทรัพยากรแร่ ฉบับที่ สทร 5/2548, สํานักทรัพยากรแร่ม กรมทรัพยากรธรณี, 39 หน้า.
สมศักดิ์ โพธิสัตย์, สุภัทรพงษ์ กรรณเลขา, ไวยพจน์ วรกนก, 2531, แร่ยูเรเนียม, ยูเรเนียม: รายงานเศรษฐธรณีวิทยา, ฝ่ายเผยแพร่
และประชาสัมพันธ์ กองวิชาการและวางแผน กรมทรัพยากรธรณี, 2531, 59 หน้า.
สมหวัง ช่างสุวรรณ์ และ สุรชัย สมผดุง, 2538, แหล่งและคุณสมบัติของหินทรายชุดโคราช บริเวณจังหวัดขอนแก่นและ
ใกล้เคียง: บทความทางวิชาการฉบับที่ วว 14 /2538, กองวิเคราะห์และวิจัย, กรมทางหลวง, 43 หน้า.
สมัชชา แสนสุวรรณศรี ( 2521 ) ศึกษาคุณสมบัติของดินคล้ายดินลมหอบ ที่ผสมกับปูนซีเมนต์และเถ้าก้นเตา เพื่อประยุกต์ใช้
สําหรับงานพื้นทาง
สํานักพัฒนาและส่งเสริม. สํานักวิชาการแร่, 2550, คุณลักษณะของแร่ ตามมาตรฐานการใช้งานและมาตรฐานการซื้อขายแร่
ในตลาดแร่ : กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, กระทรวงอุตสาหกรรม, 267 หน้า
สํานักธรณีวิทยา ,2548,“คู่มือสํารวจธรณีวิทยาภาคสนาม”,สํานักธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี , หน้า 2 ถึง 101
สํานักเหมืองแร่และสัมปทาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (2552)
อนุวัชร ตรีโรจนานนท์, 2554 , “สไลด์ประกอบการบรรยาย เรื่อง งานที่เคยมีผู้ศึกษามาก่อนของหมวดหินห้วยหินลาด กลุม่
หินโคราช ”การประชุมนําเสนอการรวบรวมข้อมูลการลําดับชั้นหินหมวดหินห้วยหินลาด และหมู่หินนาหว้า และคลัง
ตัวอย่างธรณีวิทยาปีงบประมาณ 2555 วันที่ 20 ธันวาคม 2554 ณ ห้องประชุม สํานักธรณีวิทยา, สํานักธรณีวิทยา
กรมทรัพยากรธรณี
อนุวัชร ตรีโรจนานนท์ และ คณะ,2554,“ลําดับชั้นหินของกลุ่มหินโคราชบริเวณขอบตกตะวันตกที่ราบสูงโคราช”,สํานัก
ธรณีวิทยา, กรมทรัพยากรธรณี , หน้า 18 ถึง 20
Chonglakmani and Sattayarak ,1978, Stratigraphy of the Huai Hin lat Formation ( Upper Triassic ) in NE
Thailand”,in P.Nutalaya,ed.,Proceedings of the Third Regionol conference on Geology and mineralogy
Resources of Southeast Asia,Bangkok,p.739 - 762
Japakasetr, T. & Suwanich, P., 1982. Potash and Rock Salt in Thailand, Appendix A, Nonmetallic Minerals
Bulletin No. 2, Department of Mineral Resources, A 46 p.
Manop Raksasakulwong and Denchoke Monjai, 2007, Relationship Between the Mahasarakham Formation
and High Terrace Gra Vels Along the Khon Kaen - Kalasin in Proceedings of the International
Conference on Geology of Thailand Towards Sustainable Development and Sufficiency
Economy (21 - 22 November 2007) ; DMR., P. 288 - 296
Suwanich, P, 2007. Potash-evaporite deposits in Thailand. (Geothai'07), Department of Mineral Resources,
Bangkok, Thailand, 252-262.
กรมการปกครอง, 2554, ข้อมูลการปกครองและประชากรของจังหวัดขอนแก่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 [Online] : อ้างอิง
จาก: http://www. dopa.go.th/web/index.php/information/88-amphoeactivity/223-14092555 [17 กุมภาพันธ์
2555]
สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น, 2554, ข้อมูลอาชีพของประชาชนจังหวัดขอนแก่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554
[Online] : อ้างอิงจาก: http://www. moac-info.net/KhonKaen/ [17 กุมภาพันธ์ 2555]
สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น, 2555, ข้อมูลอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น 15 ตุลาคม 2555 [Online] : อ้างอิงจาก:
http://www. industry.go.th/ops/pio/khonkaen/page/home_2011.aspx [15 ตุลาคม 2555]
ภาคผนวก
86 

 
87 

 
88 

 
89 

 
90 

You might also like