You are on page 1of 3

ประวัติของ ดร.

อัมเบดการ์
ดร. อัมเบดการ์ เกิดในวรรณะจัณฑาลที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของ
อินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฏร์ ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร ชื่อ
ว่า อัมพาวดี เป็ นบุตรชายคนสุดท้อง คนที่ ๑๔ ของ รามจิ สักปาล และ
นางพิมมาไบ สักปาล

แม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศูทรที่ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจน
เด็กชายพิม จนกระทั่งสามารถส่งให้เรียนจนจบมัธยมได้สำเร็จ แต่ใน
ระหว่างการเรียนนัน
้ พิมจะต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยียดหยาม
ของทัง้ ครู-อาจารย์ และนักเรียนซึ่งเป็ นคนในวรรณะสูงกว่า

แต่มีครูคนหนึง่ ซึ่งเป็ นวรรณะพราหมณ์ เป็ นผู้มีเมตตาผิดกับคนในวรรณะ


เดียวกัน ครูท่านนีค
้ ิดว่า เหตุทพ
ี่ ิมถูกรังเกียจ เพราะความที่นามสกุลของ
ท่านบ่งชัดความเป็ นอธิศูทร คือนามสกุล "สักปาล" ครูท่านนัน
้ ได้เอา
นามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับพิม โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้เขาใช้
นามสกุลว่า "อัมเบดการ์" พิมจึงได้ใช้นามสกุลใหม่นน
ั ้ เป็ นต้นมา

หลังจากอดทนต่อความยากลำบาก การถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ที่ร้ว


ู ่า
ท่านเป็ นคนอธิศูทรแล้ว ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจบมัธยม ๖ ในขณะนัน

มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับ
อธิศูทร พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อของพิม โดย
ให้เป็ นเงินทุนเดือนละ ๒๔ รูปี ทำให้พิมสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้

ต่อมา พิมได้รับการคัดเลือกให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
ประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านได้พบกับสิง่ ที่เรียกว่า อิสรภาพ และความ
เสมอภาค เพราะที่อเมริกานัน
้ ไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจท่านในความ
เป็ นคนอธิศูทร เหมือนอย่างในประเทศอินเดีย หลังจากจบการศึกษาถึง
ขัน
้ ปริญญาเอกแล้ว ท่านจึงมีช่ อ
ื เรียกว่า ดร. พิม อัมเบดการ์ และได้เดิน
ทางกลับมายังอินเดีย

ดร. อัมเบดการ์ มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆ อย่างในอินเดียขณะ


นัน
้ ท่านเป็ นอธิศูทรคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเป็ นรัฐมนตรีกระทรวง
ยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช เป็ นผู้ร่วมร่าง
รัฐธรรมนูญของอินเดีย

ดร.อัมเบดการ์ ได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า


ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาลที่เขาไปรับการรักษาอาการป่ วย และเป็ นครัง้
แรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นท่านได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง หลังจากนัน

ดร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอีท
้ างการเมือง

เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ที่ ดร.อัมเบดการ์ได้กระทำ และเป็ นสิ่ง


ซึ่งมีคุณูปการมากต่อพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียคือ การเป็ น
ผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า ๕ แสนคน ปฏิญาณตนเป็ นพุทธมามกะ ซึ่ง
ดร.อัมเบดการ์สนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้
อ่านหนังสือพระประวัติของพระพุทธเจ้า ท่านได้ศึกษาแล้วว่า
พระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกัน

การศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพ แก่คนทุกชัน

ในจิตใจของ ดร.อัมเบดการ์ เป็ นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่ท่านตัง้ ใจจะ
ทำให้เป็ นรูปเป็ นร่างยิ่งขึน
้ ก็คือ การปฏิญาณตนเป็ นชาวพุทธพร้อมกับ
พี่น้องชาวอธิศูทร ในงานฉลองพุทธชยันติ

หลังจากพระพุทธศาสนาเริ่มถูกทำลายจากอินเดีย เมืองนาคปูร์เป็ นเมือง


ที่มีชาวพุทธอาศัยอยู่มาก และเป็ นเมืองที่มีชนชัน
้ ศูทร หรือคนวรรณะต่ำ
อยู่มากอีกด้วย ดังนัน
้ ศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปั จจุบันที่เป็ นคน
วรรณะศูทร จึงอยู่ที่นาคปูร์)

คำปราศรัยในที่ประชุมปฏิญาณตนเป็ นพุทธมามกะ ของ ดร.อัมเบดการ์


นัน
้ เป็ นการแสดงถึงความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เมื่อนักหนังสือพิมพ์ถามถึงเหตุผลในการนับถือพระพุทธศาสนา ท่าน
กล่าวว่า "เพราะการกระทำอันป่ าเถื่อนของชาวฮินดูที่มีต่อคนวรรณอธิ
ศูทรเช่นเรามานานกว่า ๒๐๐๐ ปี " 
เป็ นที่น่าเสียดายว่า หลังจากพิธีปฏิญาณตนเป็ นชาวพุทธได้ ๓ เดือน
ดร.อัมเบดการ์ ก็ได้ถงึ แก่กรรมลง ด้วยโรคร้าย ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๙๙ สร้างความยุ่งเหยิงให้กับชาวศูทรมากมาย เพราะยังไม่ทันพาพวก
เขาไปถึงจุดหมาย ท่านก็มาด่วนถึงแก่กรรมไปเสียก่อน

ในวันต่อมา นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวไว้อาลัย ดร.อัมเบดการ์ และสดุดี


ความดีของท่านอย่างมากมาย ตอนหนึ่งท่านได้กล่าวว่า "ชื่อของอัมเบ็ด
การ์ จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็ นสัญลักษณ์ของการต่อสู้
เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อัมเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคน
เห็นว่าเป็ นสิ่งจำเป็ นต้องต่อสู้ อัมเบดการ์ได้เป็ นคนปลุกให้สังคมของฮินดู
ได้ต่ น
ื จากความหลับ". นอกจากนีย
้ ังได้ให้มีการหยุดประชุมโลกสภา เพื่อ
ไว้อาลัยแด่ ดร. อัมเบดการ์ ด้วย

You might also like