You are on page 1of 8

แบบฝึ กหัดท้ายบทที่ 2 ดินและน้ำ

1. การผุพังอยู่กับที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการเกิดดินอย่างไร
เมื่อหินในพื้นที่เกิดกระบวนการผุพังอยู่กับที่ทงั ้ ทางกายภาพและทางเคมี
จะทำให้หินมีขนาดเล็กลงจนเกิดเป็ นตะกอนขนาดต่างๆ เรียกว่า “วัตถุ
ต้นกำเนิดดิน” เป็ นองค์ประกอบที่สำคัญของเนื้อดิน ซึ่งจะเกิดขึน
้ ไป
พร้อมๆ กับการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ที่อยู่บริเวณผิวดินจนทำให้
เกิดเป็ นอินทรียวัตถุ เกิดการผสมคลุกเคล้ากันจนเกิดเป็ นดินในที่สุด
2. ในบริเวณหนึ่ง ถ้าชัน
้ ดินที่อยู่ด้านบนมีความหนาค่อนข้างน้อย คิด
ว่าเป็ นเพราะเหตุใด
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี ้
1) ชนิดและปริมาณของวัตถุต้นกำเนิดดิน ตามธรรมชาติหินแต่ละชนิดจะ
มีความทนทานต่อการผุพังที่แตกต่างกันไป หากหินหรือตะกอนมีความ
ทนทานต่อการผุพังมากกว่า จะทำให้เกิดการผุพังในปริมาณที่น้อยกว่า
และจะมีผลทำให้ความหนาของชัน
้ ดินบางลงไปด้วย
2) พื้นที่บริเวณนัน
้ มีภูมิอากาศและสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ฝน
ตกเฉลี่ยต่อปี น้อย ทำให้มีปริมาณน้ำที่เป็ นปั จจัยสำคัญของการผุพงั อยู่กับ
ที่ สะสมในธรรมชาติน้อยลงไป จึงเกิดกระบวนการผุพังได้น้อยกว่า และ
ทำให้ชน
ั ้ ดินด้านบนบางตามไปด้วย
3) พื้นที่นน
ั ้ มีลักษณะภูมิประเทศที่มีพ้น
ื ที่ลาดชันมาก ตัง้ อยู่บริเวณที่เชิง
เขา ที่ราบสูง หรือบนภูเขา ทำให้เกิดการที่น้ำไหลบ่าชะล้างหน้าดิน ทำให้
เกิดการพังทลายมาก ชัน
้ ดินจึงบางลงหรืออาจสูญหายไปเลย
4) ดินมีระยะเวลาในการเกิดที่น้อยกว่า ความหนาของชัน
้ ดินจึงน้อยกว่า
ดินที่เกิดขึน
้ มาเป็ นระยะเวลานานกว่า
3. ภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่มีผลต่อกระบวนการเกิดดินอย่างไร
ภูมิอากาศส่งผลโดยตรงต่ออุณหภูมิของอากาศและปริมาณน้ำฝนในพื้นที่
หนึ่งๆ โดยเขตที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นจะมีอุณหภูมิของอากาศ
ค่อนข้างสูงและมีปริมาณฝนมาก จึงเกิดการผุพังอยู่กับที่ของหินทัง้ ทาง
กายภาพและทางเคมีมากกว่าพื้นที่ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศหนาวเย็นและมี
ปริมาณน้ำฝนน้อย นอกจากนีอ
้ ุณหภูมิอากาศยังส่งผลต่อปริมาณของสิ่งมี
ชีวิตที่อาศัยอยู่ในดินและอัตราการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ในดิน
ย่อมมีผลต่อปริมาณอินทรียวัตถุในดิน องค์ประกอบของดิน และสีของดิน
ด้วย
4. ในเขตภูมิอากาศแห้งแล้ง ลักษณะชัน
้ ดินที่พบควรมีลักษณะอย่างไร
มีชน
ั ้ ดินที่บางกว่า เพราะมีต้นไม้อยู่น้อย จึงเกิดการกัดกร่อนและพัดพา
โดยลมเป็ นสำคัญ และยังพบปริมาณซากพืชซากสัตว์ได้น้อยมาก เพราะ
ไม่เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต
5. เนื้อดินมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร
เนื้อดินเป็ นลักษณะทางกายภาพของดินที่มีสัดส่วนโดยน้ำหนักของ
ตะกอนทราย ทรายแป้ ง และดินเหนียวประกอบกัน โดยเมื่อรวมตัวกันใน
อัตราส่วนที่แตกต่างกัน จะก่อให้เกิดดินชนิดต่างๆ ขึน
้ ซึง่ มีขนาดของเนื้อ
ดินแตกต่างกัน ทรายจะมีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือทรายแป้ ง และดิน
เหนียวจะมีขนาดเล็กที่สุดตามลำดับ ส่งผลโดยตรงต่อความพรุนของเนื้อ
ดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำและระบายน้ำของดิน ความสามารถของ
ดินในการให้น้ำและธาตุอาหารแก่พืช ซึง่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
โดยตรง ในธรรมชาติพืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในเนื้อดินที่มี
ลักษณะแตกต่างกันออกไป พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีเนื้อ
ละเอียดและมีน้ำท่วมขังตลอดเวลา ในขณะที่พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ดี
ในดินที่มีความร่วนซุย มีรูพรุนมาก และระบายอากาศได้ดี
6. วัตถุต้นกำเนิดดินมีผลต่อลักษณะและสมบัติของดินอย่างไร
วัตถุต้นกำเนิดดินเป็ นหิน ดิน และแร่ชนิดต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการผุพัง
อยู่กับที่กลายเป็ นเศษหินหรือตะกอนขนาดต่างๆ ซึ่งเป็ นองค์ประกอบ
สำคัญของดินที่ส่งผลต่อลักษณะและสมบัติของดิน โดยจะมีจำนวน
ปริมาณแร่ธาตุ สีดิน เนื้อดิน โครงสร้างของดิน ความทนทานต่อการผุพัง
รวมถึงสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน ดังนี ้ หินทรายและหินควอร์ตไซต์ เมื่อ
ผุพังอยู่กับที่แล้วจะให้ตะกอนทราย หรือหินดินดานเมื่อผุพงั อยู่กับที่แล้ว
จะให้ตะกอนดินเหนียว ในธรรมชาติตะกอนทรายจะมีความทนทานต่อ
การผุพงั มากกว่าดินเหนียว ทำให้ชน
ั ้ ดินที่มีต้นกำเนิดมาจากหินทรายและ
หินควอร์ตไซต์ มีชน
ั ้ ดินที่บางกว่าชัน
้ ดินที่มีต้นกำเนิดมาจากหินดินดาน
7. ชัน
้ ดินที่เกิดขึน
้ ณ บริเวณที่มีอุณหภูมิหนาวเย็นกับบริเวณป่ าดิบชื้น
จะมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
มีลักษณะแตกต่างกัน โดยชัน
้ ดินที่เกิดขึน
้ บริเวณป่ าดิบชื้น จะมีการผุพงั
อยู่กับที่มากกว่า ทำให้เกิดชัน
้ ดินที่มีความหนามากกว่า ส่วนชัน
้ ดินบริเวณ
ที่มีอากาศหนาวเย็น จะเกิดการผุพงั อยู่กับที่น้อยกว่า ชัน
้ ดินจึงบางกว่า
8. ชัน
้ ดินที่เกิดขึน
้ ณ บริเวณที่ลาดเชิงเขากับบริเวณที่ราบจะมี
ลักษณะเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
ไม่เหมือนกัน โดยชัน
้ ดินบริเวณที่ลาดเชิงเขาที่มีความลาดชันสูง จะมีการ
ชะล้างพังทลายของหน้าดินมาก ทำให้ชน
ั ้ ดินมีความบางหรืออาจไม่มีชน
ั้
ดินเลย ส่วนพื้นที่ราบหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำจะมีการชะล้างพังทลายของหน้า
ดินน้อยกว่า มีการสะสมตัวของตะกอนจากกระแสน้ำ จึงพบชัน
้ ดินมีความ
หนามากกว่า
9. ถ้าปลูกพืชชนิดหนึ่งในดินที่มีค่า pH เหมาะสมสำหรับพืชชนิดนัน

แต่ปรากฏว่าพืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี เพื่อเป็ นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ
การปลูกพืชดังกล่าว จะตัง้ สมมติฐานเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช
ในดินนัน
้ อย่างไร และมีวิธีการออกแบบเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนัน
้ ได้
อย่างไร
- สมมติฐาน = การเจริญเติบโตของพืชในดินอาจขึน
้ อยู่กับปั จจัยอื่นร่วม
ด้วย เช่น ชนิดและคุณสมบัติของเนื้อดิน ความชื้นในดิน และปริมาณธาตุ
อาหารในดินที่จำเป็ นต่อพืช เราจึงควรตรวจวัดร่วมด้วยเพื่อหาสาเหตุ
ที่แท้จริง โดยต้องจัดสิ่งเหล่านีใ้ ห้เป็ นตัวแปรต้น ควบคุมตัวแปรอื่นๆ ใน
การทดลองให้เหมาะสม พร้อมกับสังเกตและศึกษาการเจริญเติบโตของ
ต้นพืชอย่างใกล้ชิดจัดเป็ นตัวแปรตาม
- การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน สามารถทำได้หลากหลายแนวทาง
เช่น การสัมผัสด้วยมือและการสังเกตเพื่อบ่งบอกคุณสมบัติต่างๆ ของเนื้อ
ดิน การตรวจวัดปริมาณความชื้นในดิน การตรวจวัดปริมาณธาตุอาหาร
เป็ นต้น
10. ปลูกพืชชนิดหนึ่งในดินต่างชนิดกัน 3 ชนิด โดยมีการควบคุม
ตัวแปรต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป การเจริญเติบโตของพืชมี
ลักษณะดังภาพ
ก. ถ้าต้องการทราบว่าดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดนีค
้ วรมีค่า
pH เท่าใด จะต้องทำอย่างไร
กำหนดตัวแปรต้นคือ ค่า pH ของดิน ดังนัน
้ เราจึงควรนำดินที่มีค่า pH
แตกต่างกันมาทดลองปลูกพืชชนิดนี ้ แล้วสังเกตว่าดินที่มีค่า pH เท่าไร
พืชจึงจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุดเป็ นตัวแปรตาม
ข. จากข้อ ก. การทดลองนีต
้ ้องควบคุมตัวแปรใด
ชนิดของพืช, ปริมาณน้ำและความชื้น, ปริมาณแสงแดด, ชนิดของดิน,
ปริมาณธาตุอาหารในดิน, ปริมาณดิน, ขนาดของกระถางต้นไม้
11. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างน้ำผิวดิน น้ำในดิน น้ำบาดาล ที่
อยู่ในการเปลีย
่ นแปลงของวัฏจักรน้ำ
ในธรรมชาติน้ำผิวดินจะค่อยๆ ไหลซึมลงสู่ใต้ดิน น้ำที่ไหลซึมลงสู่ใต้ดิน
ส่วนแรกจะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดินร่วมกับอากาศ เรียกว่า
น้ำในดิน ต่อมาน้ำส่วนที่เหลือจากการที่ดินดูดซับไว้ จะไหลซึมในระดับที่
ลึกลงต่อไปอีก และจะถูกกักเก็บไว้ตามช่องว่างระหว่างชัน
้ หินหรือตะกอน
ที่อยู่ต่อเนื่องกันในชัน
้ หินอุ้มน้ำ จนกระทัง้ อิ่มตัวด้วยน้ำหรือมีน้ำบรรจุอยู่
เต็มช่องว่างนัน
้ เรียกว่า น้ำบาดาล โดยสามารถไหลผ่านหินต่าง ๆ ที่มีรู
พรุน และสามารถไหลเชื่อมต่อไปยังแม่น้ำหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้ เมื่อ
แหล่งน้ำผิวดินเกิดการระเหยของน้ำขึน
้ สู่ชน
ั ้ บรรยากาศ และจะถูก
ควบแน่นเป็ นเมฆและละอองน้ำ เมื่อมีน้ำหนักมากขึน
้ จะกลั่นตัวกลับ
กลายลงมาเป็ นฝน ตกลงสู่ผิวโลกกลายเป็ นน้ำผิวดิน และจะไหลซึมลงสู่
ใต้ดินวนแบบนีเ้ รื่อยไปเป็ นวัฏจักรน้ำ
12. ในฤดูร้อนและฤดูฝน ระดับน้ำใต้ดินในพื้นที่หนึ่ง ๆ จะมีระดับแตก
ต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
แตกต่างกัน โดยในฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำใต้ดินสูงกว่าฤดูร้อน เพราะในฤดู
ฝน จะมีปริมาณน้ำฝนมาก เมื่อฝนตกลงมาบนผิวดิน ก็จะซึมลงสู่ใต้ดิน
ผ่านช่องว่างของชัน
้ หิน ไปสะสมตัวกันเป็ นน้ำใต้ดิน ในขณะที่ในฤดูร้อน
จะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า ประกอบกับมีอุณหภูมิของอากาศสูงกว่า
ความชื้นในดินจึงมีน้อยกว่า

13. จากภาพ ให้พจ


ิ ารณาชัน
้ หินอุ้มน้ำ ชัน
้ หินที่มีเนื้อละเอียดแน่น
และระดับน้ำใต้ดิน และตอบคำถามดังต่อไปนี ้

13.1 หินในตำแหน่ง ก. และ ข. มีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร


เหมือนกัน โดยทัง้ สองตำแหน่งประกอบด้วยหินหรือตะกอนชนิดเดียวกัน
มีช่องว่างระหว่างตะกอนที่อยู่ต่อเนื่องกัน จึงจัดเป็ นชัน
้ หินอุ้มน้ำ
13.2 หินในตำแหน่ง ค. และ ง. มีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
แตกต่างกัน โดยหินในตำแหน่ง ค. เป็ นชัน
้ หินที่มีเนื้อละเอียดแน่น มี
สมบัติไม่ยอมให้น้ำไหลซึมผ่าน หรือซึมผ่านได้แต่น้อยมาก เนื่องจากมีช่อง
ว่างระหว่างเม็ดตะกอนเล็กมากและมีเนื้อละเอียดแน่น คอยรองรับชัน
้ หิน
อุ้มน้ำเอาไว้ เปรียบเสมือนขอบเขตบนและล่างของชัน
้ หินอุ้มน้ำ ในขณะที่
หินในตำแหน่ง ง. เป็ นชัน
้ หินอุ้มน้ำ มีช่องว่างระหว่างตะกอนที่อยู่ต่อเนื่อง
กัน มีรูพรุน จึงสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้และมีสมบัติยอมให้น้ำไหลซึมผ่าน
ได้ คอยกักเก็บน้ำบาดาลเอาไว้
13.3 ถ้ามีการเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ตำแหน่งหมายเลข 1, 2, 3 และ 4
บ่อน้ำบ่อใดที่จะมีน้ำบาดาลไหลล้นออกมาจากปากบ่อ เพราะเหตุใด
บ่อหมายเลข 4 เพราะระดับน้ำใต้ดินของชัน
้ หินอุ้มน้ำ ง. มีระดับสูงกว่า
ระดับปากบ่อ จึงเกิดแรงดันน้ำภายในชัน
้ หินอุ้มน้ำ ดันน้ำบาดาลให้ไหล
พุ่งออกมา

14. จากภาพ โรงงานอุตสาหกรรมได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่ใต้ดิน การกระ


ทำดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำบาดาลหรือไม่ เพราะเหตุ
ใด
มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบาดาล โดยน้ำเสียที่มีสารพิษปนอยู่นน
ั ้ จะไหล
ซึมลงสู่ใต้ดิน ไปรวมกับน้ำในดินและน้ำบาดาลที่สะสมตัวอยู่ น้ำบาดาล
จะไหลแทรกตัวไปตามช่องว่างระหว่างตะกอน ทำให้น้ำดังกล่าวไหลไปยัง
บริเวณอื่นๆ ได้ เป็ นการแพร่กระจายน้ำเสียไปยังชัน
้ หินอุ้มน้ำในพื้นที่
ต่างๆ ได้ในบริเวณกว้าง ดังนัน
้ เมื่อเจาะน้ำบาดาลขึน
้ มาใช้ น้ำดังกล่าวก็มี
น้ำเสียปนเปื้ อนอยู่ด้วย และอาจส่งผลเสียเกิดอันตรายทัง้ ด้านการอุปโภค
และบริโภค หรือการทำเกษตรกรรมในครัวเรือน

You might also like