You are on page 1of 3

ด.ช.ธนกฤต พิทักษ์ ม.

2/4 เลขที่ 4

กิจกรรมที่ 7.6 การตรวจวัดสมบัติของดินมีวิธีการอย่างไร


คำชี้แจง ให้นักเรียนดูคลิปวิดีโอสาธิตการทดลองและตอบคำถามท้ายกิจกรรมการทดลอง
ตอนที่ 1 เนื้อดิน ตอนที่ 2 ความชื้น

ตอนที่ 3 กรด-เบส
1. ดินที่ตรวจวัดได้มีเนื้อดิน ความชื้นในดิน ความเป็นกรด-เบส และธาตุอาหารเป็นอย่างไร
- เนื้อดิน = ดินมีเนื้อละเอียด เมื่อสัมผัสให้ความรู้สึกนุ่มและลื่นมือคล้ายแป้ง ดินเหนียวปานกลาง ติดนิ้วทั้ง 2
นิ้ว ปั้นได้ดีปานกลาง ก้อนดินไม่แตกร่วนง่าย มีช่องว่างในดินขนาดเล็กมาก น้ำจึงซึมผ่านได้น้อย เป็น “ดิน
ร่วนเหนียวปนทรายแป้ง”
- ความชื้นในดิน = มีความชื้นในดินประมาณ 0.27 กรัม/กรัม
- ความเป็นกรด-เบส = ดินมี pH เฉลี่ยเท่ากับ 7 จึงมีสมบัติเป็นกลาง
- ธาตุอาหาร = มีธาตุอาหาร N,P,K อุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำไว้ได้มากกว่า
2. ดินบริเวณที่เก็บตัวอย่างมีลักษณะและสมบัติของดินเหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรปลูกพืชได้บางชนิดเท่านั้น เช่น มะนาว, มะม่วง, ถั่วเสา,
กะหล่ำปลี, แครอท, กะหล่ำดอก, คื่นช่าย, กุ้ยช่าย, แตงกวา, กระเทียม, คะน้า, ผักกาดหอม, ถั่วหวาน, พริก
หวาน, ฟักทอง, หัวไชเท้า, มะเขือเทศ เป็นต้น
3. ในกรณีที่มีการใช้ดินเพื่อการเพาะปลูก ลักษณะและสมบัติของดินที่ตรวจวัดได้เหมาะสมกับการ
เพาะปลูกพืชชนิดดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
เหมาะสม โดยดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีธาตุอาหารเหมาะสมและเพียงพอต่อการปลูกพืชผักสวนครัวและ
ผลไม้ที่ต้องการน้ำค่อนข้างมาก เพราะดินชนิดนี้สามารถอุ้มน้ำได้มากกว่าดินร่วนทั่วไป มีความชื้นในดิน
มากกว่าดินร่วนเล็กน้อย เพราะมีอนุภาคเม็ดดินขนาดเล็กกว่า จึงมีช่องว่างน้อยกว่า มีเนื้อละเอียด ร่วนซุย แต่
มีความเหนียวมากกว่า รวมถึงพืชเหล่านี้ต้องการสภาพดินที่เป็นกลาง จึงจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี
4. ในกรณีที่มีการใช้ประโยชน์ดินเพื่อการเพาะปลูกที่ไม่เหมาะสม มีวิธีการปรับปรุงคุณภาพดินอย่างไร
หรือควรเสนอแนะชนิดของพืชที่ควรปลูกในบริเวณจุดที่เก็บตัวอย่างดินนั้นหรือไม่ อย่างไร
แนวทางการปรับปรุงคุณภาพดิน
- หากดินเป็นกรดมากเกินไป (ดินเปรี้ยว) ทำให้ธาตุเหล็กและอะลูมิเนียมละลายออกมามากขึ้น จนทำให้เป็น
อันตรายต่อพืช ควรใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดในดิน หรือขังน้ำไว้ในดินนานๆ แล้วระบายออกไป ใส่ปูนมาร์ล
ปูนขาว หินปูนบด หรือหินปูนฝุ่นโดยผสมคลุกเคล้ากับดินในอัตราส่วนที่เหมาะสมและใช้น้ำชะล้างควบคู่ไป
ด้วย เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นกรดน้อยลง และมีธาตุอาหารเหมาะสมมากขึ้น
- หากดินเค็ม มีปริมาณเกลือที่ละลายได้ในน้ำมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช ทำให้พืชเกิดการขาดน้ำและ
ได้รับธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมามากเกินไป ทำให้พืชมีผลผลิตต่ำหรือไม่ได้ผลผลิตเลย
จึงควรไถกลบพืชสด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือใส่วัตถุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ
- หากดินจืด มีแร่ธาตุสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ทำให้การเพาะปลูกไม่เจริญงอกงาม ควร
ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อบำรุงดิน
- ดินดาน ดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้นอยู่ใต้ผิวดิน ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดแน่นที่น้ำซึมผ่านยาก ไม่
เหมาะแก่การเพาะปลูก ในฤดูฝนเมื่อมีฝนตกลงมาน้ำจะซึมลงไปกักเก็บในดินชั้นล่างไม่ได้ ขณะเดียวกัน
หน้าแล้ง ดินจะกั้นไม่ให้ความชื้นที่อยู่ด้านล่างขึ้นมาถึงรากพืช ทำให้พืชขาดน้ำและตายได้ ควรปลูกพืชทำลาย
ชั้นดินดานซึ่งมีระบบรากแข็งแรงสามารถเติบโตชอนไชผ่านดินดานได้ การไถระเบิดดินดานที่สามารถเจาะทำ
ให้ชั้นดินดานแตกได้ การควบคุมความชื้นในดินดานให้พอเหมาะจะช่วยให้รากพืชกระจายตัวได้ดีขึ้นในระดับ
หนึ่ง เพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รวมถึงใช้วัสดุคลุมดินจะช่วยเพิ่มช่องว่างระหว่างเม็ดดินได้
ช่วยลดปัญหาการจับตัวเป็นก้อนของเม็ดดินได้
ชนิดของพืชที่ควรปลูกในดินชนิดนี้
เช่น มะนาว, มะม่วง, ถั่วเสา, กะหล่ำปลี, แครอท, กะหล่ำดอก, คื่นช่าย, กุ้ยช่าย, แตงกวา, กระเทียม, คะน้า,
ผักกาดหอม, ถัว่ หวาน, พริกหวาน, ฟักทอง, หัวไชเท้า, มะเขือเทศ เป็นต้น

You might also like