You are on page 1of 12

สรุปเนื้อหาหน่วยที่ 4

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
อาจารย์ ดร. นพพล อัคฮาด

บทนำ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้
ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างๆ ที่เป็นสาธารณะของท้องถิ่นด้วยตนเอง ตามภารกิจ
หน้าที่ที่ระบุให้ดำเนิน การอย่างชัดเจน มีพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน มีผู้บริหารที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจาก
ประชาชนหรืออาจจะได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น (โกวิทย์ พวงงาม, 2553: 370)
สำหรับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นโดยทั่วไปกระทำได้ 2 วิธี ได้แก่
(ตระกูล มีชัย, 2538)
1. วิธ ีกระจายอำนาจปกครองตามอาณาเขต (territorial decentralization) เป็นวิธี การกระจาย
อำนาจตามเขตการปกครองหรือตามอาณาเขตในท้องถิ่นต่าง ๆ ปกครองดูแลตนเอง รวมทั้งมอบอำนาจและ
ถ่ายโอนภารกิจด้านบริการสาธารณะหลาย ๆ อย่างทีเ่ กี่ยวกับการป้องกัน ดูแลปกครองในเชิงพื้นที่ไปให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำโดยเจ้าหน้าที่และด้วยงบประมาณของของท้องถิ่นเองเพื่อสนองตอบต่อความ
ต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ
2. วิธ ีการกระจายอำนาจตามบริการ (decentralization by service) ทำได้โ ดยการมอบบริการ
สาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับไปดำเนินการด้วยงบประมาณและเจ้าหน้าที่
ของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเอง การกระจายอำนาจในลักษณะที่สองนี้ เป็นการมอบและถ่ายโอน
บริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจในการปกครองแต่อย่างใด เช่น การจัดการ
ศึกษา การบำรุงถนนหนทาง การบริการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นต้น
จากแนวคิดการกระจายอำนาจในการบริหารราชส่วนท้องถิ่นจะเห็นได้ว่า การกระจายอำนาจเป็นการ
โอนอำนาจในการตัดสินใจและความรับผิดชอบบางส่วนจากราชการส่วนกลางไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
การจัดทำภารกิจการบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีปัญหาและความต้องการในลักษณะ
แตกต่างกันออกไปให้มีอำนาจตัดสินใจ มีอำนาจในการบริหารองค์การและบุคลากรที่เป็นอิสระจากราชการ
ส่วนกลาง ทั้งนี้เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลโดยกฎหมายของรัฐที่กำหนด
ขอบเขตการใช้อำนาจหน้าที่และกำหนดหลักการกำกับดูแลโดยรัฐบาลไว้จึงทำให้การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น
ส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและอำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆของรัฐ
ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และใกล้ชิดในการให้บริการสาธารณะ

1
พัฒนาการการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทย
พั ฒ นาการการบริ ห ารราชการส่ ว นท้ อ งถิ่ น ของไทย สามารถจำแนกได้ เ ป็ น 3 ยุ ค ได้ แ ก่ 1) ยุ ค
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (รัชกาลที่ 5 – 7) 2) ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงก่อนการ
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และ 3) ยุคหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 จนถึง
ปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละยุคดังกล่าวสามารถอธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแนวนโยบายการปกครองส่วน
ท้องถิ่นและแนวคิดการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐบาลในแต่ละยุค
ของไทยได้ ซึง่ แต่ละยุคมีสาระสำคัญดังนี้
1. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไทยในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้
มีการจัดตั้ง “สุขาภิบาลกรุงเทพ” ขึ้นเป็นแห่งแรกปี พ.ศ. 2440 และมีการจัดตั้ง “สุขาภิบาลท่าฉลอม” เมือง
สมุทรสาคร ขึ้นในหัวเมืองครั้งแรก แล้วค่อยขยายไปยังหัวเมืองต่างๆ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีสร้าง “ดุสิต
ธานี” เป็นเมืองจำลองการปกครองส่วนท้องถิ่นคล้ายกับรูปแบบเทศบาลขึ้นแต่สุดท้ายก็ไม่ได้เกิดผลกระทบใด
ๆ ต่อการพัฒนาการปกครองท้องถิ่น และสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการร่างกฎหมายเพื่อจะให้มีจัดตั้ง
“ประชาภิบาลหรือเทศบาล” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ปกครองตนเองและเป็นการ
เตรียมความพร้อมไปสู่การปกครองในระบอบรัฐสภาและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อเป็นกฎหมายหลักใน
การบริหารบ้านเมืองตามพระราชดำริ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น
2. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไทยในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงก่อน
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สามารถอธิบายลักษณะการปกครองท้องถิ่น
ที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศได้ในช่วงต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุค
ได้แก่
1. ยุครัฐบาลอำมาตยาธิปไตย ( พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516) ซึ่งในยุคนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ย่อยๆ ตามอิทธิพลทางการเมืองในระดับชาติ แต่ในระดับท้องถิ่นก็ถือว่าเป็นยุคที่ข้าราชการพลเรือนสามัญหรือ
ข้าราชการประจำ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ หรือแม้แต่กำนัน - ผู้ใหญ่บ้านได้รับการ
แต่งตั้งให้เข้ามามีบทบาทในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน (พ.ศ. 2517 – 2519) เป็นช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่อิทธิพล
ของการปฏิรูปการเมืองในระดับชาติส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นด้วย เช่น กำหนด
หลักการปกครองตนเองและหลักการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดตั้ง
“กรุงเทพมหานคร” พื้นที่เมืองหลวงให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษด้วย
3. ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ (พ.ศ. 2521 – 2534) เป็นช่วงประกาศใช้รฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ. 2521 ซึง่ เรียกว่า “รัฐธรรมนูญมีความเป็ นประชาธิปไตยครึง่ ใบ” เพราะกาหนดให้
นายกรัฐมนตรี ไม่ตอ้ งเป็ นสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรทีต่ อ้ งลงสมัครรับเลือกตัง้ ก็ได้ มีการแต่งตัง้ สมาชิก
วุฒสิ ภาทาหน้าทีส่ ภาสูง และให้ประธานวุฒสิ ภาเป็ นประธานรัฐสภา เป็ นต้น จึงทาให้บรรยากาศทางการ
เมืองระดับชาติแม้จะบอกได้ว่ามีรฐั ธรรมนูญฉบับถาวร มีการเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร มีพรรค

2
การเมือง มีรฐั บาลทาหน้าทีป่ กครองประเทศ แต่ในความเป็ นจริงอานาจเหล่านัน้ ไม่ได้ยดึ โยงกับเสียง
ของประชาชนในฐานะเจ้าของอานาจอธิปไตย การเลือกตัง้ ทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงดังกล่าวจึงเป็ นเพียงพิธกี รรม
เท่านัน้ ทาให้หลักการปกครองท้องถิน่ ในช่วงดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากหลักการบริหารของรัฐบาล
ระดับชาติมากนัก แต่ยุคนี้ได้มีการจัดตั้ง “เมืองพัทยา” ให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษขึ้น
4. ยุคเรียกร้องการพัฒนาประชาธิปไตย (พ.ศ. 2535 – 2540) เป็นยุคที่มีการเสนอข้อเรียกร้องปฏิรูป
การปกครองท้องถิ่นที่สำคัญไปพร้อมกับขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยระดับชาติที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการ
จัดทำและร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะประเด็นให้ประชาชนในท้องถิ่น
สามารถเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดได้โดยตรง แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวยังไม่เป็นผล หากมีแต่มีการจัดตั้งองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบลผ่านการประกาศใช้ พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.
2537 และผลพวงจากการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในระดับตำบลดังกล่าวก็นำไปสู่การจัดทำและประกาศใช้
พรบ. องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉบับใหม่ขึ้นด้วย
จากพัฒนาการการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในยุคต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า การบริหารราชการ
ส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับลักษณะการบริหารและนโยบายของรัฐบาลระดับชาติในแต่ละยุคอย่างมาก
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไทยในยุคหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ถือเป็นจุดกำเนิด
“ยุคทองของการกระจายอำนาจ” เพราะบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ระบุแนวนโยบายแห่งรัฐใน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างชัดเจน และมีกฎหมายเฉพาะอีกหลายฉบับที่
ส่งเสริมการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นบนหลักการกระจายอำนาจ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและ
ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อ
ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ทำให้
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไทยในช่วงภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้
วางอยู่บนหลักการสำคัญตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
1) หลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
2) หลักการกำกับดูแลเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณธ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ชัดเจน
3) หลักความสามารถในการจัดทำบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง
4) หลักการจัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ประกอบด้วยฝ่ายบริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่นที่มาจาก
การเลือกตั้งของประชาชน
5) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น
6) หลักการควบคุมพนักกงานประจำส่วนท้องถิ่นที่มีมาตรฐานสอดคล้องกัน
ดังนี้แล้ว พัฒนาการของการบริหารส่วนท้องถิ่นภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540
จึงวางอยู่บนหลักการต่างๆ ข้างต้น ซึ่งได้รับการยอมรับในสาระสำคัญและถูกนำมาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ

3
พ.ศ. 2550 และฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ต่อมาด้วย แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยความบ้างตาม
สถานการณ์การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย สามารถจำแนกรูปแบบได้เป็น 2 รูปแบบได้แก่ 1) รูปแบบทั่วไป
ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายได้หากครบคุณสมบัติตามที่กำหนด ซึ่งได้แก่
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล 2) รูปแบบพิเศษ ได้แก่ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นโดยการตรากฎหมายเฉพาะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย
เหตุผลพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งจะได้อธิบายลักษณะโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และ
ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีความเหมือน
และแตกต่างกันออกไปดังนี้
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.
2540 กำหนดหลักการให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับบน (Upper tier) กล่าวคือมีเขตบริการ
ครอบคลุมพืน้ ทีบ่ ริการของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตาบลในจังหวัดนัน้ ๆ เพื่อทาหน้าที่ประสาน
แผนพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดและจัดบริการสาธารณะใน
ภารกิจตามอานาจหน้าทีท่ ไ่ี ด้รบั มอบอานาจตามกฎหมายในพืน้ ที่ ระดับภาพรวมของจังหวัด โดยมีคณะ
ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภา อบจ. มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวน
คณะผู้บริหารและสมาชิกสภา อบจ. แตกต่างกันไปตามเงื่อนไขจำนวนประชากรในแต่ล ะจังหวัด และ มี
ข้าราชการ และพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อปฏิบัติงานตามนโยบาย
ผู้บริหาร ระเบียบ กฎหมาย และตามอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อบจ. ทั้งนี้ในการกำกับดูแลการ
บริหารงานทั่วไปของ อบจ. จะเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนั้นๆ เพื่อให้การบริหารงาน
ของ อบจ. เป็นไปตามกฎหมาย
2. เทศบาล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มี 3 ขนาด/ระดับได้แก่ เทศบาลตำบล
(ทต.) เทศบาลเมือง (ทม.) และเทศบาลนคร (ทน.) ซึ่งในแต่ละระดับมีเงื่อนไขการจัดตั้ง โครงสร้างการบริหาร
และอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะในเขตพื้นที่ตามที่กฎหมายกำหนดแตกต่างกัน ซึ่งการจัด
องค์การของเทศบาลจะประกอบด้วยฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกเทศมนตรี 1 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ
ประชาชน รองนายกเทศมนตรี มาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรีมีจำนวน 2 – 4 คนตามขนาดของ
เทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรีและ/หรือที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด ทำ
หน้าที่ด้านการกำหนดนโยบายการบริหารงานและควบคุมการบริหารงานเทศบาลให้เป็นไปตามที่กฎหมาย
กำหนด และฝ่ายนิติบ ัญญัติ ได้แก่ สภาชิกสภาเทศบาล ซึ่งเทศบาลตำบลประกอบด้ว ยสมาชิก 12 คน
เทศบาลเมืองประกอบด้วยสมาชิก 18 คน และเทศบาลนครประกอบด้วยสมาชิก 24 คน ทำหน้าที่พิจารณา
เทศบัญญัติและให้คำแนะนำ ติดตาม ตรวจสอบการบริหารของฝ่ายบริหารเทศบาล และมีพนักงานและ

4
เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของเทศบาลเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บริห าร ระเบียบ
กฎหมาย และตามอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทศบาล สำหรับอำนาจหน้าที่ของเทศบาลส่วนใหญ่จะ
เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งกฎหมายว่าเทศบาลได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลแต่ละ
ระดับไว้แตกต่างกัน นอกจากนั้นกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดอำนาจหน้าที่ที่เทศบาลสามารถจัดทำบริการสาธารณะได้ 31 รายการอีกด้วย ทั้งนี้
ในการกำกับดูแลการบริหารงานทั่วไปของเทศบาลจะเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนั้นๆ
และผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบหมายอำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้นายอำเภอท้องที่ได้ เพื่อให้การบริหารงานของ
เทศบาลเป็นไปตามกฎหมาย
3. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน
ตำบล พ.ศ. 2537 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะในเขตพื้นที่ ประกาศจัดตั้ง ตามที่กฎหมาย
กำหนด ซึ่งการจัดองค์การของ อบต. จะประกอบด้วยฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายก อบต. 1 คนมาจากการเลือกตั้ง
โดยตรงของประชาชน รองนายก อบต. มาจากการแต่งตั้งของนายก อบต. มีจำนวนไม่เกิน 2 คน และ
เลขานุการนายก อบต. ตามที่กฎหมายกำหนด ทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบายการบริหารงานและควบคุม
การบริหารงานของ อบต. ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาชิกสภา อบต. ซึ่ง
ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเลือกตั้งในพื้นที่ อบต. เขตละ 1 คน ซึง่ ขั้นต่ำแต่
ละ อบต. ต้องมี ส.อบต. อย่างน้อย 6 คน ทำหน้าที่พิจารณาข้อบัญญัติ อบต. และให้คำแนะนำ ติดตาม
ตรวจสอบการบริหารของฝ่ายบริหารของ อบต. และมีพนักงานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของ อบต. เป็นฝ่าย
เจ้าหน้าที่ประจำเพื่อปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บริหาร ระเบียบ กฎหมาย และตามอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับ อบต. สำหรับอำนาจหน้าที่ของ อบต. ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ซึ่ง
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กำหนดไว้ นอกจากนั้นกฎหมายว่าด้วย
การกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่
อบต. สามารถจัดทำบริการสาธารณะได้ 31 รายการอีกด้วย ทั้งนี้ในการกำกับดูแลการบริหารงานทั่วไปของ
อบต. จะเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอท้องที่ในเขตท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้การบริหารงานของ อบต. เป็นไป
ตามกฎหมาย และผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการสั่งยุบสภา อบต. สั่งให้นายก อบต. หรือให้สมาชิก อบต.
พ้นจากตำแหน่งได้เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดโดยนายอำเภอท้องที่ได้สอบสวนและเสนอความเห็นต่อผู้ว่า
ราชการจังหวัด
4. กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตามพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะในเขต
กทม. ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการจัดองค์การของ กทม. จะประกอบด้วยฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร 1 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน รองผู้ว่าราชการ กทม. มาจากการแต่งตั้งของ
ผู้ว่าราชการ กทม. มีจำนวนไม่เกิน 4 คน และ/หรือแต่งตั้ง เลขานุการและที่ปรึกษาผู้บริหารตามที่กฎหมาย
กำหนดได้ ทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบายการบริหารงานและควบคุมการบริหารงานของ กทม. ให้เป็นไป

5
ตามที่กฎหมายกำหนด และฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก
ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเลือกตั้งในพื้นที่ กทม. เขตเลือกตั้งละ 1 คน ซึ่งขั้นต่ำแต่ละเขตของ
กทม. ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 50 เขต ต้องมี ส.ก. อย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่พิจารณาข้อบัญญัติ อบต. และให้
คำแนะนำ ติดตาม ตรวจสอบการบริหารของฝ่ายบริหารของ กทม. และมีข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่
ฝ่ายต่าง ๆ ของ กทม. เป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บริหาร ระเบียบ กฎหมาย และ
ตามอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กทม. สำหรับอำนาจหน้าที่ของ กทม. ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการ
ให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดไว้
นอกจากนั้นกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่ กทม. สามารถจัดทำบริการสาธารณะได้อีก หลายรายการด้วย ทั้งนี้ในการกำกับ
ดูแลการบริหารงานทั่วไปของ กทม. จะเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การ
บริหารงานของ กทม. เป็นไปตามกฎหมาย และคณะรัฐมนตรี มีอำนาจในการสั่งยุบสภา กทม. สั่งให้ผู้ว่า
ราชการ กทม. พ้นจากตำแหน่งได้เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด
5. เมืองพัทยา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะในเขตเมืองพัทยา จั งหวัดชลบุรี
ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของไทย เดิมรูปแบบการบริหารเมืองพัทยามีลักษณะเป็นแบบ
ผู้จัดการเมือง (City manager) ตามที่กฎหมายจัดตั้งเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 แต่ในกฎหมายว่าด้วยเมืองพัทยา
ฉบับปัจจุบัน กำหนดรูปแบบการบริหารเมืองพัทยาคล้ายกับ เทศบาลนคร (ทน.) สำหรับการจัดองค์การของ
เมืองพัทยาจะประกอบด้วยฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกเมืองพัทยา 1 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
รองนายกเมืองพัทยา มาจากการแต่งตั้งของนายกเมืองพัทยามีจำนวนไม่เกิน 4 คน เลขานุการนายกเทศมนตรี
และ/หรือที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด ทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบายการ
บริหารงานและควบคุมการบริหารงานเมืองพัทยาให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่
สภาชิกสภาเมืองพัทยา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 24 คน ทำหน้าที่พิจารณาข้อบัญญัติและให้คำแนะนำ ติดตาม
ตรวจสอบการบริหารของฝ่ายบริหารเมืองพัทยา และมีพนักงานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของเมืองพัทยาเป็น
ฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บริหาร ระเบียบ กฎหมาย และตามอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับเมืองพัทยา สำหรับอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ
ต่าง ๆ ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเมือง
พัทยาไว้ นอกจากนั้นกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นกำหนดอำนาจหน้าที่ที่ เมืองพัทยาสามารถจัดทำบริการสาธารณะได้ 31 รายการอีกด้วย ทั้งนี้ใน
การกำกับดูแลการบริหารงานทั่วไปของเมืองพัทยาจะเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ชลบุรี และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การบริหารงานของเมืองพัทยาเป็นไปตามกฎหมาย
การบริหารภารกิจส่วนท้องถิ่น

6
การบริหารภารกิจส่วนท้องถิ่นไทย เป็นผลมาจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถจัดทำภารกิจการบริการ
สาธารณะในหลายประการซึ่งมีแผนที่จะถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการบริหารงานบุคคลส่วน
ท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระและมาตรฐานตามระบบคุณธรรมของราชการส่วนท้องถิ่นเองเฉพาะ และมีการ
บริหารการคลังส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการคลังและระบบการบริหารจัดการรายได้ รายจ่าย
เงินคงคลังและเงินสะสม รวมทั้งการจัดทำงบประมาณของท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับ
โดยทั่วไป ซึ่งในแต่ละเรื่องที่นำเสนอในตอนนี้มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การบริ หารนโยบายและแผนราชการส่วนท้องถิ่ น วางอยู่บนหลักการต่างๆ ทีก่ าหนดไว้
ในพระราชบัญญัตกิ าหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ พ.ศ.
2542 ซึง่ มีการกาหนดอานาจหน้าทีแ่ ละภารกิจการบริการสาธารณะทีต่ อ้ งถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่ การจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ โดยคานึงถึง
ภาระหน้าทีข่ องรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด้วยกันเองเป็ น
สาคัญ และกาหนดให้มคี ณะกรรมการการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในระบบ
ไตรภาคี มาจากกรรมการโดยตาแหน่ง จานวน 12 คน กรรมการจากผูแ้ ทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่
จานวน 12 คน กรรมการจากผูท้ รงคุณวุฒิ จานวน 12 คน รวมทัง้ หมด 36 คน มีนายกรัฐมนตรีหรือรอง
นายกรัฐมนตรีซง่ึ นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็ นประธาน เพือ่ ทาหน้าทีข่ บั เคลื่อนนโยบายและแผนการ
กระจายอานาจสู่ราชการส่วนท้องถิน่ โดยเฉพาะมีแผนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิน่ อย่างชัดเจนเพือ่ ให้การกระจายอานาจไปสูร่ าชการส่วนท้องถิน่ มีทศิ ทางทีค่ วามชัดเจนและ
เกิดผลได้อย่างเป็ นรูปธรรม
2. การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ยึดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการพนักงาน
ส่วนท้องถิ่นเองทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและแนวทางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นที่เป็นเอกเทศ
ไม่ต้องอยู่ภายใต้ราชการส่วนกลาง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับส่วนกลาง มีคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือ ก.ถ. ประกอบด้วย
กรรมการ 16 คนมาจากกรรมการในระบบไตรภาคี เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารงานบุคคลของ
พนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบให้มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่น และ
ประโยชน์ของประเทศเป็น ส่ว นรวม รวมทั้งสามารถรองรับ การกระจายอำนาจให้ แ ก่ ท้ อ งถิ ่น ได้ ใ ห้ การ
บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบมีทิศทางที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ระดับองค์การ มีคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เรียกย่อๆว่า “ก.กลาง”
ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นในแต่ละรูปแบบตามที่กฎหมายกำหนด และกำหนดกรอบและ
แนวทางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมตามระบบคุณธรรมและสอดคล้องตามมาตรฐานกลางที่
คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) กำหนด ซึ่ ง ก.กลาง มีจำนวน 3 คณะ แบ่ง
ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป คือ คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
7
(กจ.) คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (กท.) และคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.)
สำหรับในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษทั้ง 2 แห่งก็ได้มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงาน
บุคคลของตนในกฎหมายจัดตั้งของตนเอง เรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับ กทม.
และคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยา สำหรับเมืองพัทยา
ระดับจังหวัด คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด ทำหน้าที่ในการ
บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นในแต่ละรูปแบบตามที่กฎหมายกำหนดของแต่ละจังหวัด และกำหนดกรอบและ
แนวทางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมตามระบบคุณธรรม และสอดคล้องตามมาตรฐานกลางที่
คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) และคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือ
พนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.กลาง) แต่ละแห่งกำหนด ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นใน
ระดับจังหวัด มีจำนวน 3 คณะ แบ่งตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป ได้แก่ 1) คณะกรรมการ
ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.ก.จ.) 2) คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) และ 3)
คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.จ.) ซึ่งมีองค์ประกอบกรรมการตามที่กฎหมายกำหนด โดย
กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายเป็นประธานคณะกรรมการ
3. การบริหารการคลังส่วนท้องถิ่น มีการดาเนินการตามกรอบกฎหมาย ระเบียบ และแนวทาง
การปฏิบตั ิท่สี ามารถอธิบายกระบวนการบริหารการคลังได้ เ ป็ น 4 ประเด็นสาคัญ ได้แก่ การบริห าร
รายได้ของท้องถิน่ การบริหารรายจ่ายของท้องถิน่ การบริหารเงินคงคลังและเงินสะสม และการจัดทา
งบประมาณท้องถิน่ ซึง่ มีรายละเอียดดังนี้
1. การบริ หารรายได้ท้องถิ่ น องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ของไทยมีรายได้มาจากภาษีอากร
(Tax revenues) และรายได้ทไ่ี ม่ใช่ภาษีอากร (Non – tax revenues) หลายประเภท ในส่วนของรายได้
ประเภทภาษีอากร มีทงั ้ ภาษีอากรทีอ่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จัดเก็บเอง ได้แก่ ภาษีทด่ี นิ และสิง่ ปลูก
สร้าง ภาษีป้าย ภาษีรงั นกอีแอ่น (สาหรับ อปท.ที่มเี ขตประทานบัตร) เป็ นต้น ภาษีท่รี ฐั จัดเก็บเพิม่ ให้
(Surcharge Taxes) เช่น ภาษีมูลค่าเพิม่ ตามพระราชบัญญัตจิ ดั สรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิม่ และ
ภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิน่ พ.ศ. 2534 ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิต เป็ น
ต้น และภาษีทเ่ี ป็ นรายได้ของรัฐบาล แต่ต้องแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ตามกฎหมายทีก่ าหนด
ไว้ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิม่ ตามพระราชบัญญัตอิ งค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และภาษีมูลค่าเพิม่
ตามพระราชบัญญัตกิ าหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ พ.ศ.
2542 ส่วนรายได้ท่มี ใิ ช่ภาษีอากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จะมีรายได้มาจากค่าธรรมเนียม ค่าปรับ
ค่าใบอนุญาตในการทากิจกรรมในท้องถิน่ รายได้จากทรัพย์สนิ เงินอุดหนุนของรัฐบาลและอื่นๆ
2. การบริ หารรายจ่ายของท้องถิ่ น
การบริหารรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ สามารถพิจารณาได้จากงบประมาณรายจ่าย
ประจาปี ท่ี อปท. ได้จดั ทาขึน้ ซึง่ สามารถจาแนกรายจ่ายออกเป็ น 2 ประเภท คือ

8
1) รายจ่ายทัวไป
่ แบ่งเป็ น รายจ่ายงบกลาง และรายจ่ ายตามแผนงาน ซึ่งก็จาแนกเป็ น 2
ลักษณะ (1) รายจ่ายประจา ประกอบด้วย งบบุคลากร งบดาเนินงาน งบอุดหนุ น และงบรายจ่ายอื่น
และ (2) รายจ่ายเพือ่ การลงทุน
2) รายจ่ายเฉพาะการ ในกรณีมเี หตุผลความจาเป็ นโดยต้องได้รบั ความเห็นชอบจากสภาท้องถิน่
และผูว้ ่าราชการจังหวัดหรือนายอาเภอเห็นชอบแล้วแต่กรณีได้
3. การบริ หารเงิ นคงคลังและเงิ นสะสมของท้องถิ่ น
การบริหารเงินคงคลังและเงินสะสมของท้องถิน่ นัน้ ยึดตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย
การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจสอบเงินขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่ พ.ศ. 2547 ซึง่ วางหลักเกณฑ์ปฏิบตั ใิ นเรื่องเกีย่ วกับการบริหารเงินคงคลังและเงินสะสมของ
อปท. ไว้
เงิ นคงคลังท้องถิ่ น หมายถึง เงินสดทีถ่ ูกเก็บไว้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หรือธนาคารเพือ่
สามารถเบิกจ่ายเงินดังกล่าวใช้จ่ายในกิจการของท้องถิน่ อย่างสะดวก
เงิ นสะสม เป็ นเงินทีเ่ กิดขึน้ เมื่อทุกสิน้ ปี งบประมาณคือ 30 กันยายนของแต่ละปี เมื่อ อปท. ปิ ด
บัญชีรายรับและรายจ่ายแล้ว ผลลัพธ์ของเงินทีเ่ กิดขึน้ ต่างตกเป็ นเงินสะสมประจาปี ของ อปท. และให้มี
การกันเงินสะสมร้อยละ 25 ของเงินสะสมประจาปี เป็ นทุนสารองเงินสะสมด้วย ซึง่ เงินสะสมของ อปท.
แต่ละแห่งมีจานวนแตกต่างกันขึน้ อยู่กบั ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและการบริหารงบประมาณของ อปท.
แต่ละแห่ง ทัง้ นี้เงินสะสมของ อปท. แม้เป็ นเงินสะสมของ อปท. แต่หากจะนามาใช้จ่ายได้จะต้องเป็ นไป
ตามเงือ่ นไขและวัตถุประสงค์ทก่ี ระทรวงมหาดไทยกาหนดไว้เท่านัน้
4. การจัดทางบประมาณท้องถิ่ น
การจัดทางบประมาณของราชการส่วนท้องถิน่ เกีย่ วข้องกับกฎหมายทีส่ าคัญอยู่ 2 ฉบับได้แก่
1. กฎหมายจัดตัง้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกฎหมายที่จดั ตัง้ ท้อ งถิ่นแต่ล ะรูปแบบจะ
กาหนดให้การจัดทางบประมาณของท้องถิน่ ทาในรูปของข้อบัญญัต/ิ เทศบัญญัตขิ องแต่ละท้องถิน่ เพือ่ ให้
สภาของแต่ะท้องถิน่ เป็ นผูพ้ จิ ารณาอนุมตั แิ ละผูบ้ ริหารท้องถิน่ ประกาศใช้
2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ได้กาหนดระเบียบกระทรวงมหาดไทยสาหรับการจัดทา
งบประมาณของราชการแต่ละท้องถิน่ ไว้ เช่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธกี ารงบประมาณของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ พ.ศ. 2563 ซึง่ ใช้บงั คับกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การ
บริหารส่วนตาบล

บรรณานุกรม
กาญจนา บุญยัง. (2563). หน่วยที่ 10 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, ในเอกสารการสอนชุดวิชา 33421
การบริหารท้องถิน่ . นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กิตติพงษ์ เกียรติวชั รชัย. (2563). หน่วยที่ 14 เมืองพัทยา, ในเอกสารการสอนชุดวิชา 33421
การบริหารท้องถิน่ . นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

9
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิน่ . กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์
จิระวัฒน์ เมธาสุทธิรตั น์. (2563). หน่วยที่ 9 การบริหารท้องถิน่ ไทย, ในเอกสารการสอนชุดวิชา 33421
การบริหารท้องถิน่ . นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตระกูล มีชยั . (2538). การกระจายอานาจ. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา
ทองต่อ กล้วยไม้, ปภาวดี มนตรีวตั และพงศ์โพยม วาศภูต.ิ (2563). หน่วยที่ 13 กรุงเทพมหานคร, ใน
เอกสาร
การสอนชุดวิชา 33421 การบริหารท้องถิน่ . นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). รายงานการวิจยั การพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิน่ .
เสนอต่อสานักงานคณะกรรมการมาตรฐานงานบุคคลส่วนท้องถิน่ สานักงานปลัดกระทรวง
มหาดไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจยั และให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นราธิป ศรีราม. (2563). หน่วยที่ 12 องค์การบริหารส่วนตาบล, ในเอกสารการสอนชุดวิชา 33421
การบริหารท้องถิน่ . นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พนมพัทธ์ สมิตานนท์. (2563). หน่วยที่ 11 เทศบาล, ในเอกสารการสอนชุดวิชา 33421 การบริหาร
ท้องถิน่ .
นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พระราชบัญญัตกิ าหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ พ.ศ.
2542,
สืบค้นจาก https://www.phuketcity.go.th/files/com_networknews/2020-
08_ca81b6320a9500d.pdf, เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2564.
พระราชบัญญัตเิ ทศบาล พ.ศ. 2496 (ฉบับที่ 14) แก้ไขเพิม่ เติม พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่
136
ตอนที่ 50 ก. หน้า 164. 16 เมษายน 2562
พระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิน่ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่
120.
หน้า 1. 29 พฤศจิกายน 2542.
พระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (ฉบับที่ 6) แก้ไขเพิม่ เติม พ.ศ.
2562.
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 142, เมษายน 2562.
พระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3) แก้ไขเพิม่ เติม พ.ศ. 2562.
ราช
กิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 120, 16 เมษายน 2562.
พระราชบัญญัตสิ ภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 7) แก้ไขเพิม่ เติม พ.ศ.
2562.
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 151. 16 เมษายน 2562.
10
พระราชบัญญัตอิ งค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (ฉบับที่ 5) แก้ไขเพิม่ เติม พ.ศ. 2562.
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136. ตอนที่ 50 ก. หน้า 130, 16 เมษายน 2562.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธกี ารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ พ.ศ. 2563.
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 276 ง. หน้า 1 – 8, 25 พฤศจิกายน 2563
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการ
ตรวจสอบเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอน
พิเศษ 9ง. หน้า 25, 31 มกราคม 2548.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่


114
ตอนที่ 55 ก, หน้า 1-99.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่
124
ตอนที่ 47 ก, หน้า 1-127.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่
134
ตอนที่ 40 ก, หน้า 1-90.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2547). กฎหมายการปกครองท้องถิน่ . กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจา
นุเบกษา
สมบูรณ์ สุขสาราญ. (2545). การปกครองส่วนท้องถิน่ และการกระจายอานาจ. วารสาร
ราชบัณฑิตยสถาน ปี ท่ี
27 ฉบับที่ 2, หน้า 342-361.
สุจติ บุญบงการ. (2542). การพัฒนาทางการเมืองของไทย: ปฏิสมั พันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทาง
การเมือง
และการมีสว่ นร่วมทางการเมืองของประชาชน. (พิมพ์ครัง้ ที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Barnett, Camille Cates Minis, Henry P. and Vansant, Jerry. (1997). Democratic
Decentralization. Research Triangle Institute.
Cheema, Shabbir G. and Rondinelli, Dennis A. (Ed.). (2007). Decentralizing Governance:
Emerging concepts and Practices. Washington D.C.: Brookings Institution Press.
Denters, Bas. (2011). Local governance. In Mark Bevir (Ed.), The SAGE handbook of
governance (pp. 313-329). London: SAGE Publications.
Orathai Kokpol. (2011). Decentralization Process in 1990-2020 In case of Thailand.
Unpublished manuscript.
11
Saito, Fumihiko. (2011). Decentralization. In Mark Bevir (Ed.), The SAGE handbook of
governance (pp. 484-500). London: SAGE Publications.

12

You might also like