You are on page 1of 11

หน่วยที่ 6

นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานการบริหารราชการไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์
อาจารย์ ดร. นพพล อัคฮาด

นโยบายการบริหารราชการไทย หมายถึง แนวทางกว้างๆที่รัฐหรือรัฐบาลใช้ในการบริหารราชการ


ไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือเจตจำนงแห่งรัฐ และต้องทำการแถลงนโยบายต่อรัฐสภารวมถึงต้องมีความ
สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ
ความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย
ความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย
นโยบายการบริหารราชการไทยมีความสำคัญในด้านต่างๆ สามารถอธิบายได้ 8 ประการ ดังนี้
ประการแรก เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการ
แผ่นดินที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศในแต่ละช่วงและแต่ยุคสมัยฃ
ประการที่สอง นโยบายการบริหารราชการไทยมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ชีวิตความ
เป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้าน ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม
การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ และรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน
ประการที่สาม นโยบายการบริหารราชการไทยเป็นเครื่องช่วยกำหนดทิศทางและแนวทางในการ
บริหารให้กับระบบราชการไทยว่ามีวิสัยทัศน์และเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาไปในทิศทางใด
ประการที่สี่ นโยบายการบริหารราชการไทยในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนา
ประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการ
กันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันของทุกฝ่ายการมีแนวนโยบายจึงเป็นกรอบและแนวทางในระยะยาว
ประการที่ห้า นโยบายการบริหารราชการไทยแสดงถึงขอบข่าย และภารกิจต่างๆของรั ฐบาลและ
ระบบราชการไทย อาทิ ภารกิจด้านการสาธารณสุข ภารกิจด้านการศึกษา ภารกิจด้านพัฒนาสังคม ภารกิจ
ด้านการป้องกันประเทศ ภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม และภารกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
ประการที่หก นโยบายการบริหารราชการไทยมีความสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการและช่วย
แก้ไขปัญหาของประชาชน
ประการที่เจ็ด นโยบายการบริหารราชการไทยเป็นเครื่องมือทำให้ทราบกรอบการจัดสรรงบประมาณ
รายจ่ายประจำปี
ประการที่แปด นโยบายการบริหารราชการไทยเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบและประเมินผล
การทำงานของรัฐบาล

1
ประเภทของนโยบายในการบริหารราชการไทย
สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท . ได้แก่ 1) แนวนโยบายแห่งรัฐ 2) นโยบายรัฐบาลหรือคำแถลง
นโยบายต่อรัฐสภา 3) นโยบายในการบริหารราชการไทยในฐานะยุทธศาสตร์ชาติ 4) นโยบายในการบริหาร
ราชการไทยที่มีลักษณะออกเป็นกฎหมายสำคัญ และ5) นโยบายในการบริหารราชการไทยในฐานะ “นโยบาย
สาธารณะ” ที่ถูกกำหนดภายใต้กลไกการบริหารราชการไทยในระดับต่างๆ ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
แนวนโยบายหลักของรัฐ (State Policy) มีลักษณะเป็นนโยบายกลางของประเทศและไม่ใช่นโยบาย
ของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง (Government Policy) โดยแนวนโยบายแห่งรัฐจะให้ความสำคัญกับนโยบายในด้าน
ใหญ่ๆของประเทศ อาทิ ด้านความมั่นคงของรัฐ ด้านกฎหมายและการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านการ
บริหารราชการแผ่นดิน และด้านการต่างประเทศ ในฐานะเป้าหมายหลักของประเทศที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
ได้ หรื อ มี ว ั ต ถุ ป ระสงค์ ท ี ่ จ ะทำให้ ป ระเทศหรื อ รั ฐ มี ท ิ ศ ทางการพั ฒ นาในแต่ ล ะด้ า นอย่ า งชั ด เจน อาทิ
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 มีลักษณะมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ แนวนโยบาย
พื ้ น ฐานแห่ ง รั ฐ ในรั ฐ ธรรมนู ญ ปี พ.ศ. 2550 เน้ น การต่ า งประเทศ การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชน และ
แนวนโยบายแห่งรัฐ ในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 มีลักษณะเฉพาะเน้นนโยบายด้านการเกษตร นโยบายด้าน
แรงงาน ด้านกฎหมายและการยุติธรรม และมีนโยบายในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นต้น
คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภากับการบริหารราชการไทย
นโยบายการบริหารของรัฐบาลหรือแนวทางที่รัฐบาลจะใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น โดยปกติ
รัฐบาลจะนำข้อเรียกร้องหรือผลประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนต้องการมาจัดทำเป็นนโยบายพรรคการเมือง
ของตน และเมื่อชนะการเลือกตั้ง ฝ่ายรัฐบาลหรือในนามคณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินจะต้อง
นำนโยบายของรัฐบาลในชุดนั้นๆ แถลงต่อรัฐสภา ดังนั้นการแถลงนโยบายจึงหมายถึงการแจ้งหรือรายงานให้
สมาชิกสภาทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางหรือทิศทางการบริหารราชการในลักษณะอย่างไร ในทางการเมืองถือว่ า
การแถลงนโยบายเป็นเหมือนสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชน โดยอาศัยรัฐสภาเป็นประจักษ์พยานซึ่งเมื่อ
ทำการแถลงนโยบายไว้แล้ว รัฐบาลจะมีความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินและได้รับการรับรองตาม
กฎหมายและนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
แผนยุทธศาสตร์การบริหารราชการไทย
ลักษณะหรือนโยบายของรัฐบาลไทยและลักษณะเฉพาะของนโยบายที่ดี ผู้เขียนได้สรุปไว้ 9
ลักษณะ ได้แก่
1) นโยบายของรัฐบาลที่ดีควรมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
2) มีลักษณะสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐและแนวนโยบายแห่งรัฐ
3) นโยบายของรัฐบาลไทยมีลักษณะมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
4) นโยบายของรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการบริหาร
ราชการไทย

2
5) นโยบายของรัฐบาลที่ดีควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน
6) นโยบายของรัฐบาลที่ดีควรมีการทดลองนโยบายก่อนที่จะมีการกำหนดนโยบาย)
7) นโยบายของรัฐบาลที่ดีต้องเป็นนโยบายที่ไม่ทอดทิ้งประชาชนและแก้ไขปัญหาได้จริง
8)นโยบายของรัฐบาลที่ดีควรเน้นการมีส่วนร่วมจากประชาชน หน่วยงานและองค์กรภาครัฐและเอกชน และผู้
มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และ
9)นโยบายนโยบายของรัฐบาลที่ดีต้องยึดถือประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญและเมื่อประเมินผลแล้วเกิด
สัมฤทธิผล

แผนยุทธศาสตร์การบริหารราชการไทย
การวางแผนยุทธศาสตร์ (strategic planning) เป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางของ
องค์การในอนาคต โดยกำหนดสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องบรรลุผลสำเร็จ พร้อมกับกำหนดแนวทางการ
ดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่รอบด้านอย่างเป็น
ระบบ ซึ่งการกำหนดแนวทางดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวม วิเคราะห์ จากสิ่ง
ต่างๆ ที่มีอยู่รอบด้าน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการบริหารราชการไทยนั้น สามารถจำแนกประเภทแผน
ยุทธศาสตร์ ออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เป็นแผนระยะยาวในการพัฒนาประเทศ มี
ผลใช้บังคับ 20 ปี ซึง่ ถือเป็นแผนหลักที่ใช้กำหนดเป้าหมายของประเทศจะกล่าวถึงรายละเอียดในลำดับถัดไป
2. แผนแม่บท เป็นแผนระยะกลางมีระยะเวลา 5 ปีใช้วางยุทธศาสตร์ในแต่ละเรื่องๆภายใต้ยุทธศาสตร์
ชาติ ซึ่งแผนแม่บทที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวมของประเทศไทย ได้แก่
2.1 แผนการปฏิรูปประเทศ มีจำนวน 13 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเมือง 2) ด้านการบริหารราชการ
แผ่นดิน 3) ด้านกฎหมาย 4) ด้านเศรษฐกิจ 5) ด้านเศรษฐกิจ 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7)
ด้านสาธารณสุข 8) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ 9) ด้านสังคม 10) ด้านพลังงาน 11) ด้านการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 12) ด้านการศึกษา และ 13) ด้านวัฒนธรรม กีฬา
แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีจำนวน 23 แผน ได้แก่ 1) แผนความมั่นคง 2) แผนการ
ต่างประเทศ 3) แผนการเกษตร 4) แผนอุตสาหกรรมและบริก ารแห่ง อนาคต 5) แผนการท่องเที ่ยว 6)
แผนพัฒนาพื้น ที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริย ะ 7) แผนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจีสติกส์และดิจิทัล 8) แผน
ผู้ป ระกอบการและวิส าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ 9) แผนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10) แผนการ
ปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม 11) แผนศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต 12) แผนการพัฒนาการเรียนรู้ 13)
แผนการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี 14) แผนศักยภาพการกีฬา 15) แผนพลังทางสังคม 16) แผน
เศรษฐกิจฐานราก 17) แผนความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม 18) แผนการเติบโตอย่างยั่งยืน 19)
แผนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ 20) แผนการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ 21) แผนการ

3
ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 22) แผนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และ 23) แผนการวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรม
2.3 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสภาความ
มั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนที่กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมในภาพรวมของประเทศ ถือเป็ นแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2504 มีมาแล้ว 12
ฉบับ และขณะนี้อยู่ระหว่างการระดมความคิดเห็นและจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13
ที่จะใช้บังคับระหว่าง พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในลำดับถัดไป
3. แผนพัฒนา เป็นแผนระยะกลางเช่นกันมีระยะเวลา 5 ปีใช้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาตามพันธ
กิจของหน่วยงาน (function-based strategic plan) เช่น แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง กรม หรือสำนักที่
มีฐานะเทียบเท่ากรมต่างๆ ในราชการส่วนกลาง รวมทั้งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
องค์การมหาชน หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาตามพื้นที่ (area-based strategic plan) เช่น แผนพัฒนาจังหวัด
และกลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ หรือยุทธศาสตร์การพัฒนา
ตามประเด็นเฉพาะในเรื่องต่างๆ (agenda-based strategic plan) เช่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒ นาการ
เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564)
เป็นต้น ซึ่งแผนพัฒนาทั้งหมดต่างสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ และ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่บังคับใช้ในห่วงที่จัดทำแผนพัฒนาด้วย

แผนยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติ คือ เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศ เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดนโยบาย
การบริห ารราชการแผ่น ดินของคณะรัฐ มนตรีก่อนที่จะเข้ามาบริห ารประเทศ และก่อนที่จะมีการจัดทำ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติและแผนระดับ
อื่นๆ รวมทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐด้วย (คณะกรรมการ
ยุทธศาสตร์ชาติ, 2561)
สำหรับขั้นตอนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาตินั้น ได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ พ.ศ.
2560 ขึ้นซึ่งในมาตรา 7 กำหนดให้การดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาตินั้นให้คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติ
ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ
การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล และเป้าหมายการปฏิรู ปประเทศตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ โดยให้
ดำเนินการตามกระบวนการ ดังนี้ (คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561)
1) มีการใช้ข้อมูลความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ

4
2) วิเคราะห์แนวโน้ ม การเปลี่ย นแปลงในอนาคตอย่างรอบด้า นทั้ง ในประเทศและต่า งประเทศ
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด รวมทั้งความเสี่ยงของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของ
ประเทศต่อการเปลี่ยนแปลง
3) การให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้ง
การสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์ร่วมกัน
ต่อมาคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แล้วเสร็จและ
ส่งให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติในขณะนั้นเห็นชอบในร่างยุทธ์ศาสตร์ดังกล่าว จึงได้มีการประกาศใช้
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศคือ
“ประเทศชาติ ม ั ่ น คง ประชาชนมี ค วามสุ ข เศรษฐกิ จ พั ฒ นา อย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง สั ง คมเป็ น ธรรม ฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศใน หลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุก
ช่วงวัยให้เป็นคนดีเก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพ
ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการ
ประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย 2) ขีด
ความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ
ประเทศ 4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม 5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม
และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และ 6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้ าถึงการให้บริการ
ของภาครัฐ
ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง” และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจําเป็ นต้องกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะ
ยาว ที่จะทําให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัย
ภายในและภายนอกประเทศในทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และ ภาค
บริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ
พัฒนากลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพื่อ
ยกระดับฐานรายได้ของประชาชนในภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
คนไทยได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดีเก่ง มีวินัย คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์
สามารถ “รู้รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน ระบบสวัสดิการ และ
กระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้ง ไว้ข้างหลัง การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลา
ของยุทธศาสตร์ชาติจะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่าง การพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ” โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้ (สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561)

5
1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมี
ความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และ
มีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติสังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒ นาคน เครื่องมือ เทคโนโลยีและ
ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม และภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุก
ระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะ
เกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบู รณาการ ทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และ
องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน และมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อ
เอื้ออํานวยประโยชน์ต่อการดําเนินการ ของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทาง
และเป้าหมายที่กําหนด
2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนา ที่มุ่งเน้นการ
ยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต” โดย
มองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์วัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติ
ที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศ ในด้านอื่น ๆ นํามาประยุกต์ผสมผสานกับ
เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของ เศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน”
เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและ
ขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา
อุ ต สาหกรรมและบริ ก ารอนาคต และ (3) “สร้ า งคุ ณ ค่ า ใหม่ ใ นอนาคต” ด้ ว ยการเพิ่ ม ศั ก ยภาพของ
ผู้ป ระกอบการ พัฒ นาคนรุ่น ใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุร กิจ เพื่อตอบสนองต่ อ ความต้ องการของตลาด
ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคตบนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการ
ส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาส
ทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดีรวมถึงการเพิ่มขึ้นของ
คนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน
3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมาย การพัฒนาที่
สําคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดีเก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทย มีความพร้อมทั้งกาย
ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้
อื่น มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารีมีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติมีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่
จําเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสาร ภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการ
เรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีว ิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด
ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่ และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง
4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมาย การพัฒนาที่ให้
ความสําคัญกับ การดึงเอาพลังของภาคส่ว นต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มาร่ว ม
ขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทํา เพื่อส่วนรวม การกระจายอํานาจ

6
และความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทย ทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และ
สภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเอง และทําประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และ
สังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและ สวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อ ม มีเป้าหมายการ
พัฒนาที่สําคัญเพื่อนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ
ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกําหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบ
ทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยเป็น การดําเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทาง
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสําคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง 3 ด้าน อันจะนําไปสู่ความ
ยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง
6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการ
พัฒนาที่สําคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม”
โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาท หน่วยงานของรัฐที่ทําหน้าที่ในการ
กํากับ หรือในการให้บ ริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีส มรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับ
วัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนํานวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่
ระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมี
ลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ โปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความ
ซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์และสร้าง จิตสํานึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความ ชัดเจน มีเพียงเท่าที่จําเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ
และนํ า ไปสู ่ ก ารลด ความเหลื ่ อ มล้ ำ และเอื ้ อ ต่ อ การพั ฒ นา โดยกระบวนการยุ ต ิ ธ รรมมี ก ารบริห ารที่มี
ประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและการอํานวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติถือเป็นแผนแม่บทยุทธศาสตร์ของชาติที่สำคัญมีผลผูกพันต่อ
การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งระยะเวลาใช้บังคับแผนฯ คือ 5 ปี
นอกจากแผนฉบับแรกที่ใช้ชื่อว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ไม่มี “และสังคม”) ใช้บังคับ 6 ปี ซึ่งฉบับ
ปัจ จุบ ัน เป็น ฉบับ ที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2565) ซึ่งมีส าระสำคัญดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒ นาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560)
1. กรอบแนวคิดและหลักการ ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560 - 2564) ประเทศไทยจะยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจ

7
ก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ อาทิ กระแสการเปิดเศรษฐกิจเสรี ความท้าทายของ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง ประกอบกับสภาวการณ์ด้านต่างๆ ทั้ง
เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของประเทศในปัจจุบันที่ยังคงประสบปัญหาในหลาย
ด้าน เช่น ปัญหาผลิตภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ ำทางสังคม
เป็นต้น ทำให้การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงจำเป็นต้องยึดกรอบแนวคิดและหลักการในการ
วางแผนที่สำคัญ ดังนี้ (1) การน้อม น้าและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) คนเป็นศูนย์กลาง
ของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (3) การสนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดการปฏิรูปประเทศ และ (4) การพัฒนาสู่
ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สังคมอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุข
2. กรอบวิสัยทัศน์ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
และกรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็น
ศูนย์กลางของ การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมการพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาใน
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย
จากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีการกระจายรายได้และพัฒนาอย่างเท่าเทียม มี
ระบบนิเวศที่ดี มีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะ
ยาวของประเทศ คือ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ยึดโยงกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับ
ที่ 12 ได้นำวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ และนำยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 6
ด้านที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ โดย
จะกำหนดยุทธศาสตร์ให้ตอบสนองกับบริบทการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.
2561 - 2565) เป็นสำคัญ
3. การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์หลัก
ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560)
1. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
6. ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
7. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
8. ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
10. ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค

8
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 จะสิ้นสุดระยะเวลาการประกาศใช้ใน พ.ศ.
2565 และจะมีใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งรัฐบาลโดยความ
เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.ได้เห็นชอบกรอบ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13” เมื่อ
วันที่ 7 เมษายน 2564 ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ (ไทยโพสต์, 2564)
กรอบยุทธศาสตร์หลักสำหรับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้วางกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศไทย
มีจุดประสงค์ที่จะ “พลิกโฉมประเทศ” ให้เท่าทันและสอดคล้องกับพลวัตและบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อนำไทยไปสู่ประเทศที่มี “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่ งยืน” โดยมี
องค์ประกอบที่ต้องดำเนินการดังนี้
ด้านที่ 1 เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนา ต่อยอด และ
ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการปรับทิศทางของภาคการผลิตเดิมที่มีความสำคัญ
และส่งเสริมภาคการผลิตที่ไทยมีศักยภาพสอดรับกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก
ด้านที่ 2 สังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาคเพื่อให้ทุกกลุ่มคนในประเทศมีโอกาสเลื่อนสถานะทาง
เศรษฐกิจและสังคมอย่างเต็มศักยภาพ และประเทศมีความเหลื่อมล้ำลดลงในทุกมิติ
ด้านที่ 3 วิถีชีวิตที่ยั่งยืน เพื่อส่งเสริมรูปแบบการดำเนินชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิด
ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อมุ่ง
จัดการกับปัญหาที่เป็นภัยคุกคามสำคัญทั้งในไทยและในระดับโลก เช่น มลพิษทางอากาศ และก๊าซ เรือน
กระจก ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ เพื่อพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่าน
ประเทศไปสู่การเป็น “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้ แผนพัฒนาฯ ดังกล่าวยังมีหมุดสำคัญคือ 1) ให้ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและ
เกษตรแปรรูปมูลค่าสูง 2) ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน 3) ไทยเป็นฐานการ
ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน 4) ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง 5) ไทยเป็นประตู
การค้าการลงทุนและจุดยุทธศาสตร์ทาง โลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค 6) ไทยเป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์
อัจฉริยะและบริการดิจิทัลของอาเซียน 7) ไทยมีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่
เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ 8) ไทยมีพื้นที่และเมืองหลักของภูมิภาคที่มีความเจริญทาง
เศรษฐกิจ ทันสมัย และน่าอยู่ 9) ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลงและคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่
เพียงพอ เหมาะสม 10) ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และ 11) ไทยสามารถลดความเสี่ยง
และผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 12) ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่ง
เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และ 13) ไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง

การวางแผนงานในการบริหารราชการไทย
การวางแผนในหน่วยงานราชการนั้นส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 แผนสำคัญๆ ได้แก่ การวางแผนเพื่อการ
บริหาร ซึ่งเป็นแผนที่กำหนดขึ้น เพื่อเป็นหลักหรือแนวทางการบริหารหรือการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน

9
ราชการนั้นๆเอง ซึ่งอาจเรียกอีกชื่อว่า การวางแผนทั่วไป กับอีกแผนหนึ่งที่เรียกว่า การวางแผนพัฒนา ซึ่งจะ
เป็นแผนที่ใช้ยกระดับการพัฒนาหรือส่งเสริมการบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมายใน
ด้านต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ
สำหรับการนำเสนอการวางแผนงานการบริหารราชการไทยในส่วนนี้เน้นไปยังการวางแผนการพัฒนา
เพื่อใช้ยกระดับการพัฒนาหรือส่ งเสริมการบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมายในด้าน
ต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายรัฐ บาล
ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทต่างๆ และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้อง สำหรับหน่วยงานในการบริหารราชการไทยทั้ง
3 ประเภท ต่างต้องจัดทำแผนงานของหน่วยงานตนเองขึ้นซึ่งอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปดังนี้
1. แผนงานการบริหารราชการส่วนกลางที่สำคัญคือ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง กรม หรือ
หน่วยงานในสังกัดราชการส่วนกลาง ซึ่งจัดทำขึ้นตามกฎหมาย และเป็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงานราชการที่
บูรณาการกับนโยบายรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีและแผนแม่บทต่างๆ ในการพัฒนาประเทศที่
เกี่ยวข้องกับ พันธกิจ ของหน่ว ยงานราชการนั้นๆ เพื่อให้การดำเนินงานของหน่ว ยงานราชการส่วนกลาง
สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานของ
หน่วยงานราชการที่ยึดตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานนั้นๆเป็นหลักด้วย
2. แผนงานการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ซึ่ง
จัดทำขึ้นในลักษณะเป็น แผนพัฒนาเชิงพื้นที่ (area-based development plan) เชื่อมระหว่างประเด็น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจากแผนระดับบนได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นโยบายรัฐบาล เข้ากันกับแผนพัฒนาจากระดับล่าง ได้แก่ แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ ตำบล
หมู่บ้าน มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เหมาะสม
กับโอกาสและศักยภาพเชิงพื้นที่กลุ่มจังหวัด และจังหวัดร่วมกัน สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานของรัฐบาล
รวมทั้งการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานของหน่ว ยงานราชการในส่วนภูมิภาคที่ยึ ดตาม
แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเป็นหลักด้วย
3. แผนงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ แผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้กำหนด
หลักเกณฑ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนงานของท้องถิ่นขึ้นเพื่อใช้วางแผนการพัฒนาขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นและแสดงแผนการดำเนินงานเพื่อบริหารจัดการองค์การในฐานะนิติบุคคล และจัดทำ
โครงการ/กิจกรรมที่มุ่งทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนใน
ท้องถิ่นเป็นสำคัญ มีลักษณะเป็นแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ (area-based development plan) เชื่อมระหว่าง
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจากแผนระดับบนได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาจังหวัด เข้ากันกับแผนพัฒนาจากระดับล่าง ได้แก่ แผนพัฒนาหมู่บ้าน
มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เหมาะสมกับ
โอกาสและศักยภาพเชิงพื้นที่ร่วมกัน สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งการพิจารณาจัดสรร

10
งบประมาณอุดหนุนในการดำเนินงานของหน่วยงานราชการในส่วนท้องถิ่นที่ยึดตามแผนพัฒนาท้องถิ่นดังกล่าว
เป็นหลักด้วย
บรรณานุกรม
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ, สืบค้นจาก
https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spmthaigov/DRAWER015/GENERAL/DATA0000/00
000136.PDF , เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2564
ไทยโพสต์. (15 เมษายน 2564) “บิ๊กตู่” ปักหมุดพลิกโฉมประเทศ เคาะ “แผนพัฒนาชาติ” ฉบับที่ 13, สืบค้น
จาก https://www.thaipost.net/main/detail/99507, เข้าถึงเมื่อ 9 สิงหาคม 2564
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12, สืบค้นจาก http://plan.bru.ac.th/, เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2564
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580
(ฉบับย่อ), สืบค้นจาก
https://drive.google.com/file/d/12scnWUn0XxmgoxpJ_b1CrLILbkMqATaF/view, เข้าถึง
เมื่อ 10 สิงหาคม 2564

11

You might also like