You are on page 1of 19

กฎหมายล้มละลาย การพิทักษ์ทรัพย์

1. เจ้าหนี้ตามข้อใดไม่ถือเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย
ก. ผู้รับจานอง
ข. เจ้าหนี้มีบุคคลค้าประกัน
ค. ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง
ง. ผู้รับจานา
ตอบ ข. เจ้าหนี้มีประกันแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่
1. เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจานอง
2. ผู้รับจานา
3. ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง
4. ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทานองเดียวกับผู้รับจานา
การประกันด้วยบุคคล ไม่ถือเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย

2. มติพิเศษ หมายถึง มติของเจ้าหนี้ฝ่ายเสียงข้างมากและมีจานวนหนี้ไม่น้อยกว่าเท่าใด


ก. 1 ใน 3
ข. 2 ใน 3 ข้อนี �ออกสอบครัง� ที�แล้ว
ค. 3 ใน 4
ง. 3 ใน 5
ตอบ ค. มติพิเศษ หมายความว่า มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจานวนหนี้เท่ากับสามในสี่แห่ง
จานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน
และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น

3. ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่อาจโดนฟ้องล้มละลาย จะต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลาย
คนจานวนไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. 1 ล้านบาท ข้อนี �ออกสอบครัง� ที�แล้ว
ข. 2 ล้านบาท
ค. 5 ล้านบาท
ง. 10 ล้านบาท
ตอบ ก. มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ...
(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็น
จานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว
หรือหลายคนเป็นจานวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
4. การยื่นคาฟ้องคดีล้มละลาย จะต้องยื่นต่อศาลตามข้อใด
ก. ศาลซึ่งเจ้าหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในเขตอานาจ
ข. ศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในเขตอานาจ
ค. ศาลซึ่งลูกหนี้ประกอบธุรกิจอยู่ในเขตอานาจ
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
ตอบ ง. มาตรา 7 ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายได้ถ้าลูกหนี้นั้น
มีภูมิลาเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทน
ในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภายในกาหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น

5. เมื่อศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
อีกไม่ได้ ทางแก้ของเจ้าหนี้ในกรณีนี้ คือข้อใด
ก. ทาการประนอมหนี้กับลูกหนี้
ข. บังคับคดีทันที
ค. ยื่นคาขอรับชาระหนี้
ง. ยื่นคาขอเฉลี่ยทรัพย์
ตอบ ค. เมื่ อ ศาลมี ค าสั่ ง พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ลู ก หนี้ เ ด็ ด ขาดแล้ ว เจ้ า หนี้ จ ะฟ้ อ งลู ก หนี้ เ ป็ น คดี แ พ่ ง
เกี่ยวกับทรัพย์สินอีกไม่ได้ (มาตรา 26) เจ้าหนี้ต้องใช้วิธียื่นคาขอรับชาระหนี้ตามมาตรา 27 และ
มาตรา 91

6. เมื่อศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้จะถูกจากัดสิทธิบางประการตามข้อใด
ก. ไม่มีอานาจในการดาเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเอง
ข. ไม่มีสิทธิประกอบอาชีพ
ค. ถูกจากัดสถานที่ในการดาเนินชีวิตประจาวัน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. เมื่อศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้จะถูกกาจัด สิทธิบางประการ
ได้แก่
1. ลูกหนี้ไม่มีอานาจจัดการทรัพย์สินของตัวเอง
2. ลูกหนี้ไม่มีอานาจดาเนินคดีใดเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเอง
3. ลูกหนี้จะออกนอกราชอาณาจักรไม่ได้
4. ลูกหนี้จะรับสินเชื่อจากผู้อื่นจานวนตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไปโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบ
ว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้
7. การไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย เพื่อที่จะทราบความตามข้อใด
ก. ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้
ข. ทราบจานวนเจ้าหนี้
ค. ทราบลาดับเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
ง. ทราบรายงานกระบวนพิจารณาของคดีทั้งหมด
ตอบ ก. การไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย มีความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ
1. เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้
2. เพื่อทราบเหตุผลที่ทาให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
3. เพื่อทราบความประพฤติของลูกหนี้ซึ่งอาจนาไปใช้ประกอบในการขอประนอมหนี้
หรือในการพิจารณาคาขอปลดจากล้มละลาย

8. เจ้าหนี้ต้องขอรับชาระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาเท่าใด นับแต่วันโฆษณาคาสั่ ง
พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 2 เดือน
ง. 3 เดือน
ตอบ ค. การประกาศพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จะต้องแจ้งกาหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคา
ขอรับชาระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เด็ดขาด

9. การเรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นๆ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถเรียกได้ ยกเว้นในกรณีใด


ก. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นสมควร
ข. ศาลสั่งให้เรียกประชุม
ค. เจ้าหนี้ซึ่งมีจานวนหนี้ร่วมกัน 1 ใน 5
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ค. มาตรา 32 การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกตามเวลาที่
เห็ น สมควร หรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่ศาลสั่ง หรือเมื่อเจ้าหนี้ซึ่งมีจานวนหนี้
รวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจานวนหนี้ที่ได้มีการยื่นคาขอรับชาระหนี้ไว้ได้ทาหนังสือขอให้
เรียกประชุม
10. เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ของลูกหนี้แล้ว ใครจะมีอานาจจัดการและจาหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
ก. ลูกหนี้
ข. เจ้าหนี้
ค. เจ้าพนักงานบังคับคดี
ง. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตอบ ง. มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมี
อานาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจาหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทาการที่จาเป็นเพื่อให้กิจการของ
ลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะ
ได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใ ดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของ
ลูกหนี้

11. ลู ก หนี้ ต้ อ งยื่ น ค าชี้ แ จงเกี่ ย วกั บ กิ จ การและทรั พ ย์ สิ น แสดงเหตุ ผ ลที่ ท าให้ มี ห นี้ สิ น ล้ น พ้ น ตั ว
ภายหลังจากที่ศาลได้มีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินเด็ดขาดแล้ว ภายในเวลาเท่าใด
ก. 24 ชั่วโมง
ข. 7 วัน
ค. 15 วัน
ง. 30 วัน
ตอบ ข. มาตรา 30 เมื่อศาลได้มีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้.....
(2) ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้ทราบคาสั่งนั้น ลูกหนี้ต้องไปสาบานตัวต่อ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคาชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามแบบพิมพ์
แสดงเหตุผลที่ทาให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว สินทรัพย์และหนี้สิน ชื่อ ตาบล ที่อยู่ และอาชีพของเจ้าหนี้
ทรัพย์สินที่ได้ให้เป็นประกันแก่เจ้าหนี้และวันที่ได้ให้ทรัพย์สินนั้นๆ เป็นประกันรายละเอียดแห่ง
ทรัพย์สินอันจะตกได้แก่ตนในภายหน้า ทรัพย์สินของคู่สมรส ตลอดจนทรัพย์สินของบุ คคลอื่น
ซึ่งอยู่ในความยึดถือของตน

12. เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลในขณะยื่นฟ้องเท่าใด
ก. 5,000 บาท
ข. 10,000 บาท
ค. 20,000 บาท
ง. 50,000 บาท
ตอบ ก. มาตรา 11 เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลเป็นจานวนห้าพัน
บาทในขณะยื่นคาฟ้องคดีล้มละลาย และจะถอนคาฟ้องนั้นไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต

13. เมื่อศาลรับฟ้องคดีล้มละลายแล้ว จะต้องออกหมายเรียกและส่งสาเนาคาฟ้องไปยังลูกหนี้ก่อนวัน


นั่งพิจารณาไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. 7 วัน
ข. 15 วัน
ค. 30 วัน
ง. 45 วัน
ตอบ ก. มาตรา 13 เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้ว ให้กาหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการ
ด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสาเนาคาฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อย
กว่า 7 วัน

14. เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามลูกหนี้กระทาการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน เว้นแต่ข้อใด


ก. กระทาตามคาสั่งศาล
ข. กระทาตามความเห็นชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ค. กระทาตามความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. มาตรา 24 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทาการใดๆ
เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้ก ระทาตามคาสั่งหรือความเห็นชอบของศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

15. การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก กฎหมายกาหนดให้ประชุมเรื่องใด


ก. สมควรให้เจ้าหนี้รายใดได้รับชาระหนี้หรือไม่
ข. ควรยอมรับคาขอประนอมหนี้หรือไม่
ค. จัดกลุ่มเจ้าหนี้
ง. พิจารณาว่าลูกหนี้มีเหตุสมควรฟื้นฟูกิจการหรือไม่
ตอบ ข. มาตรา 31 เมื่อศาลได้มีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุด เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคาขอประนอมหนี้
ของลูกหนี้ หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สิน
ของลูกหนี้ต่อไป การประชุมนี้ให้เรียกว่าการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก
16. เจ้าหนี้ซึ่งมีจานวนหนี้ไม่น้อยกว่าเท่าใด ที่สามารถเรียกให้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ต่อไปได้
ก. กึ่งหนึ่ง
ข. หนึ่งในสาม
ค. หนึ่งในสี่
ง. สองในสาม
ตอบ ค. มาตรา 32 การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกตามเวลาที่
เห็ น สมควร หรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่ศาลสั่ง หรือเมื่อเจ้าหนี้ซึ่งมีจานวนหนี้
รวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจานวนหนี้ที่ได้มีการยื่นคาขอรับชาระหนี้ไว้ได้ทาหนังสือขอให้
เรียกประชุม

17. การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ลูกหนี้สามารถยื่นคาขอประนอมหนี้ต่อใคร


ก. ศาล
ข. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ค. เจ้าพนักงานบังคับคดี
ง. ที่ประชุมเจ้าหนี้
ตอบ ข. มาตรา 45 เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทาความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอชาระหนี้แต่
เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น ให้ทาคาขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ภายในกาหนดเจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคาชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือ
ภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กาหนดให้

18. การประนอมหนี้ภายหลังล้มละลาย เมื่อมีการเสนอประนอมหนี้แล้วไม่เป็นผล จะเสนอใหม่ได้แต่


ต้องพ้นเวลาเท่าใด นับแต่การขอประนอมหนี้ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล
ก. 1 เดือน
ข. 3 เดือน
ค. 6 เดือน
ง. 1 ปี
ตอบ ข. มาตรา 63 เมื่อศาลพิจารณาให้ล้มละลายแล้วลูกหนี้จะเสนอคาขอประนอมหนี้ก็ได้
ในกรณีนี้ ให้ น าบทบัญญัติในส่ว นที่ 6 ว่าด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาให้บังคับโดย
อนุโลม แต่ถ้าลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายใน
กาหนดเวลาสามเดือน นับแต่วันที่การขอประนอมหนี้ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล
19. การโฆษณาคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะต้องโฆษณาทางใด
ก. ในราชกิจจานุเบกษา
ข. ในหนังสือพิมพ์รายวัน
ค. ปิดประกาศหน้าศาล
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ ง. มาตรา 28 เมื่อศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคาสั่ง
นั้นในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคาโฆษณานั้นให้แสดง
การขอให้ล้มละลาย วันที่ศาลมีคาสั่ง ชื่อ ตาบลที่อยู่ และอาชีพของลูกหนี้ในคาโฆษณาคาสั่ง
พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ เ ด็ ด ขาดนั้ น ให้ แ จ้ ง ก าหนดเวลาให้ เ จ้ า หนี้ ทั้ ง หลายเสนอค าขอรั บ ช าระหนี้
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย

20. หนี้ตามข้อใดที่ขอรับชาระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ก. หนี้ที่ยังไม่ถึงกาหนดชาระ
ข. หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ค. ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก. ตามมาตรา 94 หนี้ที่จะขอรับชาระหนี้ในคดีล้มละลายได้ คือ ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้
เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่มีจานวนยังไม่แน่นอน หรือจะ
เป็นหนี้ที่ยังไม่ถึงกาหนดชาระ หรือจะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข หรือจะเป็นหนี้ในอนาคตก็ขอรับชาระหนี้ได้

21. เด่นขับรถยนต์ไปชนรถยนต์ของโด่งซึ่งมีภรรยาของโด่งมานั่งด้วย เป็นเห็นให้โด่งได้รับบาดเจ็บ


ต้ อ งส่ ง ตั ว เข้ า โรงพยาบาล และรถยนต์ ข องโด่ ง ก็ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หาย เด่ น ได้ ท าสั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความไว้ที่โรงพัก โดยโด่งเรียกค่าเสียหาย 2,000,000 บาท โดยไม่มาจ่ายตามนัด
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าโด่งจะนาคดีที่เด่นผิดนัดในมูลละเมิดมาฟ้องเด่นให้ล้มละลายได้หรือไม่ เป็นเหตุใด
ก. ได้ เพราะนายเด่นผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข. ได้ เพราะเป็นมูลคดีแพ่ง
ค. ไม่ได้ เพราะหนี้ละเมิดเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกาหนดจานวนได้แน่นอน
ง. ไม่ได้ เพราะหนี้ละเมิดไม่ใช่มูลหนี้ที่จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้
ตอบ ค. กรณีดังกล่าว เพราะหนี้ละเมิดเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกาหนดจานวนได้แน่นอน หากโด่ง
ต้องการจะฟ้องเด่นเป็นคดีล้มละลาย โด่งจะต้องนาคดีนั้นไปฟ้องทางแพ่งแล้วให้ศาลในคดีแพ่งมี
คาพิพากษาก่อน เมื่อศาลมีคาพิพากษาให้เด่นต้องชาระหนี้เป็นจานวนที่แน่นอนแล้ว (ไม่ว่าจะ
เป็นศาลใดก็ตาม) โด่งจึงสามารถนาหนี้จานวนนั้นมาฟ้องเด่นเป็นคดีล้มละลายได้
22. ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้ขอประนอมหนี้ ศาลสั่งอนุญาตให้เข้า
ประนอมหนี้ เมื่อลูกหนี้เข้าประนอมหนี้โดยขอประนอมหนี้ 60 เปอร์เซ็นต์ ปรากฏว่าลูกหนี้ผิดนัด
ไม่ ส ามารถประนอมหนี้ เ ป็ น ผลส าเร็ จ ได้ ศาลจึ ง สั่ ง ยกเลิ ก การประนอมหนี้ แ ล้ ว สั่ ง ให้ ลู ก หนี้
ล้มละลายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ในคดีดังกล่าวปรากฏว่า ศาลสั่งให้พิทักษ์ชั่วคราวเมื่อ
วันที่ 5 มกราคม 2553 และสั่งพิทักษ์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553 ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าลูกหนี้
เริ่มต้นล้มละลายตั้งแต่เมื่อใด
ก. 5 มกราคม 2553
ข. 5 มีนาคม 2553
ค. 5 เมษายน 2553
ง. 5 พฤษภาคม 2553
ตอบ ก. เมื่อศาลสั่งยกเลิกการประนอมหนี้แล้ว ศาลต้องสั่งต่อตามมาตรา 61 คือสั่งให้ลูกหนี้
ล้มละลาย ผลก็จะเป็นไปตามมาตรา 62 คือลูกหนี้เริ่มต้นล้มละลายตั้งแต่เมื่อวันที่ศาลสั่งพิทักษ์
ทรัพย์ คือ วันที่ 5 มกราคม 2553 อันเป็นวันที่ศาลสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว เพราะกฎหมายได้
ให้นิยามคาว่า “พิทักษ์ทรัพย์” ไว้ในมาตรา 6 ว่าหมายถึงทั้งพิทักษ์เด็ดขาดและพิทักษ์ชั่วคราว

23. เมื่อศาลสั่งมีความเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายจะมีผลต่อคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ
ลูกหนี้เด็ดขาดอย่างไร
ก. คาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป
ข. มีผลเป็นอันยกเลิกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ค. ลูกหนี้กลับมาเป็นผู้มีอานาจจัดการทรัพย์สินและกิจการของลูกหนี้ดังเดิม
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
ตอบ ง. ผลทาให้คาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันยกเลิกไปในตัว ลูกหนี้ไม่ต้องล้มละลายและ
ลูกหนี้กลับไปเป็นผู้มีอานาจจัดการทรัพย์สินและกิจการของลูกหนี้ดังเดิม (คาพิพากษาฎีกาที่
2649/2541)

24. เมื่อศาลมีคาสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายคาสั่งดังกล่าวไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตาม
ข้อใด
ก. เจ้าหนี้เสียงข้างน้อยที่มิได้ยอมรับการขอประนอมหนี้
ข. เจ้าหนี้ที่ไม่ได้ขอรับชาระหนี้ใด
ค. เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชาระหนี้แต่ไม่ได้ขอรับชาระหนี้ไว้
ง. มีผลผูกพันเจ้าหนี้ทุกคน
ตอบ ง. การประนอมหนี้นั้นมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ ซึ่งอาจขอรับชาระหนี้ได้ทุกคน ไม่ว่าเจ้าหนี้เสียง
ข้างน้อยที่มิได้ยอมรับการขอประนอมหนี้ แม้กระทั่งเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชาระหนี้แต่ไม่ได้ขอรับ
ชาระหนี้ไว้ก็ตาม และเมื่อลูกหนี้ชาระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ครบถ้วนแล้ว ลูกหนี้
ย่อมหลุดพ้นจากหนี้สินที่เหลือที่ไม่ได้ตกลงชาระในการประนอมหนี้

25. นายสินกู้ยืมเงินนายศรจานวน 2,000,000 บาท มีนายศักดิ์เป็นผู้ค้าประกันหนี้เงินกู้นั้น ต่อมาหนี้


เงินกู้ถึงกาหนดชาระ นายสินไม่ชาระหนี้ นายศรจึงส่งหนังสือทวงถามถึงนายสินและนายศักดิ์
ให้ชาระหนี้แล้วจานวน 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และนายสินกับนายศักดิ์
ก็ ไ ม่ ช าระหนี้ นั้ น นายศรจึ ง ฟ้ อ งนายสิ น และนายศั ก ดิ์ เ ป็ น คดี ล้ ม ละลาย นายสิ น ไม่ ต่ อ สู้ ค ดี
ส่วนนายศักดิ์ต่อสู้ว่า แม้ตนจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถชาระหนี้ได้ แต่นายสินมีท รัพย์สินที่มี
มูลค่าเกิน 2,000,000 บาท สามารถชาระหนี้ได้ทั้งหมด จึงขอให้ศาลยกฟ้องศาลจะมีคาสั่งพิทักษ์
ทรัพย์นายสินเด็ดขาดหรือไม่
ก. ไม่ เพราะฟังตามข้อต่อสู้ของนายศักดิ์แล้ว ฟังได้ว่านายสินยังมีทรัพย์สินมีมูลค่าเกิน
2,000,000 บาท
ข. สิ่งที่พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะนายสินไม่มีพยานหลักฐานมาหักล้างว่าตนมิได้เป็นผู้มี
หนี้สินล้นพ้นตัว
ค. สิ่งที่พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจานวนหนี้เกิน 1,000,000 บาท ที่กฎหมายกาหนด
ง. สิ่งที่พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ
ตอบ ข. กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานของมาตรา 8 (9) ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนายสินมีหน้าที่นา
สืบหักล้างข้อสัน นิ ษฐานนั้ น แต่น ายสินไม่ต่อสู้คดี ศาลจึงต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า
ลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้สินล้านพ้นตัวจริงศาลจึงต้องมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์นายสินเด็ดขาด
8. การฟื้นฟูกิจการ
27. ธนาคารกรุงสยาม จากัด ยื่นคาร้องขอฟื้นฟูกิจการขอบริษัทมุสลิม ต่อมาธนาคารกรุงสยาม จากัด
ไม่ประสงค์ที่จะดาเนินคดีต่อไป ต้องการถอนคาร้องขอฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะได้ยื่นคาร้องต่อศาลแล้ว
ข. ได้ เพราะศาลยังไม่ได้มีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ค. ไม่ได้ เพราะศาลได้รับคาร้องขอไว้พิจารณาแล้ว
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก
ตอบ ง. เมื่อธนาคารกรุงสยาม จากัด ผู้ร้องขอไม่ประสงค์ที่จะดาเนินคดีต่อไป ต้องการถอนคา
ร้องขอฟื้นฟูกิจการ ธนาคารกรุงสยาม จากัด จะต้องยื่นคาขอร้องเพื่อขอถอนคาร้องดังกล่าว
ก่อนที่ศาลจะมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลมีอานาจที่จะอนุญาตให้ถอนคาร้องขอได้ แต่หากศาล
มีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนคาร้องขอไม่ได้

28. การขอฟื้นฟูกิจการได้ ลูกหนี้ต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจานวนไม่น้อย


กว่าเท่าใด
ก. 1 ล้านบาท
ข. 2 ล้านบาท ข้อนี �ออกสอบครัง� ที�แล้ว
ค. 5 ล้านบาท
ง. 10 ล้านบาท
ตอบ ง. มาตรา 90/3 เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคน
รวมกันเป็นจานวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกาหนดชาระโดยพลันหรือใน
อนาคตก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บุคคลตามมาตรา
90/4 อาจยื่นคาร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้

29. เมฆฟ้องหมอกเป็นคดีล้มละลาย โดยเป็นหนี้เงินกู้ยังไม่ถึงกาหนดชาระจานวน 1,000,000 บาท


ถามว่านายเมฆฟ้องหมอกเป็นคดีล้มละลายได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะหนี้ยังไม่ถึงกาหนดชาระ
ข. ได้ เพราะเป็นหนี้ที่มีกาหนดจานวนแน่นอน
ค. ไม่ได้ เพราะลูกหนี้ยังไม่ได้ตกเป็นผู้ผิดนัด
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ข. หนี้เงินกู้จานวน 1,000,000 บาทนั้น แม้เป็นหนี้ที่ยังไม่ถึงกาหนดชาระก็ตามก็สามารถ
นามาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้ โดยลูกหนี้ไม่จาต้องตกเป็นผู้ผิดนัดอย่างคดีแพ่งสามัญ ตามมาตรา
9 (3)
30. บุคคลตามข้อใด ไม่อาจยื่นคาร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการได้
ก. เจ้าหนี้
ข. ผู้มีส่วนได้เสียในหนี้ของลูกหนี้
ค. ลูกหนี้
ง. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตอบ ข. มาตรา 90/4 ภายใต้บังคับมาตรา 90/5 บุคคลซึ่งมีสิทธิยื่นคาร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟู
กิจการ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) เจ้าหนี้ซึ่งอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนรวมกันและมีจานวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า
สิบล้านบาท
(2) ลูกหนี้ซึ่งมีลักษณะตามมาตรา 90/3
(3) ธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ลูกหนี้ตามมาตรา 90/3 เป็นธนาคารพาณิชย์
บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(4) สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่ลูกหนีต้ าม
มาตรา 90/3 เป็นบริษัทหลักทรัพย์
(5) กรมการประกันภัย ในกรณีที่ลูกหนี้ตามมาตรา 90/3 เป็นบริษัทประกันวินาศภัย
หรือบริษัทประกันชีวิต
(6) หน่วยงานของรัฐที่มีอานาจหน้าที่กากับดูแ ลการประกอบกิจการของลูกหนี้ตาม
มาตรา 90/3 ซึ่งเป็นนิติบุคคล หน่วยงานของรัฐและลูกหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กาหนดใน
กฎกระทรวง

31. นายเหน่งตกลงยืมเงินนายโหน่ง โดยได้ส่งมอบเช็คสั่งจ่ายเงินลงวันที่ 20 สิงหาคม 2552 เพื่อ


ชาระเงินยืมดังกล่าว ต่อมานายเหน่งถูกเจ้าหนี้อื่ นฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลมีคาสั่งพิทักษ์นาย
เหน่งเด็ดขาด วันที่ 2 พฤษภาคม 2552 นายโหน่งต้องการหนี้ตามเช็คที่นายเหน่งลงวันที่มายื่นคา
ขอรับชาระหนี้ได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะหนี้ยังไม่ถึงกาหนดชาระ
ข. ได้ เพราะมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ค. ไม่ได้ เพราะนายเหน่งยังไม่ผิดนัดชาระหนี้
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก
ตอบ ข. วันที่ลงในเช็คเป็นเพียงกาหนดเวลาใช้เงินเท่านั้น แต่มูลหนี้ตามเช็คเกิดขึ้นเมื่อนายเหน่ง
ยืมเงินและส่งมอบเช็คให้นายเหน่ ง ซึ่งมูลหนี้ตามเช็คหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เด็ดขาด นายโหน่งจึงสามารถนาเช็คมายื่นคารับชาระหนี้ได้ ตามมาตรา 94
32. กรณีตามข้อใด ที่ไม่อาจร้องขอฟื้นฟูกิจการได้
ก. ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว
ข. ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ค. ลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลแล้ว
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
ตอบ ง. มาตรา 90/5 บุคคลตามมาตรา 90/4 จะยื่นคาร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ไม่ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ศาลได้มีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
(2) ศาลหรือนายทะเบียนได้มีคาสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้
หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องเลิกกันด้วยเหตุอื่นทั้งนี้
ไม่ว่าการชาระบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จแล้วหรือไม่

33. คดีฟื้นฟูกิจการเรื่องหนึ่ง ในการพิจารณาตั้งผู้ทาแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ปรากฏว่าเจ้าหนี้


ผู้ร้องขอเสนอนายอเนกเป็นผู้ทาแผน ส่วนลูกหนี้เสนอนายอดุลย์เป็นผู้ทาแผน ศาลล้มละลายกลาง
พิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า นายอดุ ล ย์ ที่ ลู ก หนี้ เ สนอคุ ณ สมบั ติ ส มควรเป็ น ผู้ ท าแผน จึ ง มี ค าสั่ ง ตั้ ง
นายอดุลย์เป็นผู้ทาแผน คาสั่งขอศาลดังกล่าวชอบกฎหมายหรือไม่
ก. ชอบ เพราะลูกหนี้มีสิทธิเสนอผู้ทาแผนได้
ข. ไม่ชอบ เพราะจะต้องสั่งแต่งตั้งผู้ทาแผนที่เจ้าหนี้เป็นผู้เสนอ
ค. ไม่ชอบ เพราะศาลต้องมีคาสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณา
เลือกผู้ทาแผนก่อน
ง. ชอบ เพราะศาลสั่งตั้งผู้ทาแผนตามที่ลูกหนี้เสนอ
ตอบ ค. เจ้าหนี้ผู้ร้องขอเสนอนายอเนกเป็นผู้ทาแผน และลูกหนี้เสนอนายอดุลย์เป็นผู้ทาแผน
เช่นนี้ศาลจะมีคาสั่งตั้งนายอเนกหรือนายอดุลย์เป็นผู้ทาแผนทันทีไม่ได้ แต่ศาลจะต้องมีคาสั่งให้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้โดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควร
เป็นผู้ทาแผนก่อน ตามมาตรา 90/7

34. คาร้องขอเพื่อขอให้ฟื้นฟูกิจการ ไม่จาต้องมีข้อความตามข้อใด


ก. ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
ข. เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
ค. รายชื่อและที่อยู่ของผู้ทาแผน
ง. หนังสือยินยอมของผู้ทาแผน
ตอบ ค. มาตรา 90/6 คาร้องขอของบุคคลตามมาตรา 90/4 เพื่อให้ศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง
(1) ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
(2) รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่รวมกันเป็น
จานวนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
(3) เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
(4) ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทาแผน
(5) หนังสือยินยอมของผู้ทาแผน

35. กรณีที่ลูกหนี้เสนอผู้ทาแผน มติเจ้าหนี้ที่จะกาหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทาแผนจะต้องมีจานวน


ไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. 1 ใน 3
ข. 2 ใน 3
ค. 3 ใน 4
ง. กึ่งหนึ่ง
ตอบ ข. ในกรณีที่ลูกหนี้มิได้เสนอผู้ทาแผน มติเลือกผู้ทาแผนต้องเป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มี
จานวนหนี้ข้างมากซึ่งได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น แต่ในกรณีที่ลูกหนี้เสนอผู้ทาแผนด้วยให้
ผู้ทาแผนที่ลูกหนี้เสนอเป็นผู้ทาแผนเว้นแต่จะมีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจานวนหนี้ไม่น้อยกว่าสองใน
สามของจานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นกาหนดให้บุคคลอื่นเป็น
ผู้ทาแผน ในกรณีลงมติตามมาตรานี้ ให้เจ้าหนี้มีประกันออกเสียงได้เต็มตามจานวนหนี้

36. เมื่อศาลมีคาสั่งรับคาร้องขอแล้ว ไม่ต้องดาเนินการในข้อใด


ก. ดาเนินการไต่สวนเป็นการด่วน
ข. ประกาศคาสั่งรับคาร้องและวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์
ค. ส่งสาเนาคาร้องขอแก่เจ้าหนี้
ง. ออกหมายเรียกลูกหนี้ให้มาให้ถ้อยคา
ตอบ ง. มาตรา 90/9 เมื่อศาลสั่งรับคาร้องขอแล้ว ให้ดาเนินการไต่สวนเป็นการด่วนและให้
ศาลประกาศคาสั่งรับคาร้องขอและวันเวลานัดไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย
หนึ่งฉบับไม่น้อยกว่าสองครั้งห่างกันไม่เกินเจ็ดวัน กับให้ส่งสาเนาคาร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย
เท่าที่ทราบและแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาย
ทะเบียนจะได้จดแจ้งคาสั่งศาลไว้ในทะเบียน และให้ส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงาน
คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐ
ตามมาตรา 90/4(6) แล้วแต่กรณี ด้วย ทั้งนี้ ให้ส่งก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
37. กรณี ที่ ศ าลมี ค าสั่ ง ให้ ฟื้ น ฟู กิ จ การแล้ ว และเรี ย กให้ มี ก ารวางเงิ น ประกั น ค่ า ใช้ จ่ า ยเพิ่ ม เติ ม
หากผู้ร้องไม่วางเงินประกันดังกล่าว ศาลจะต้องมีคาสั่งตามข้อใด
ก. ยกคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
ข. ยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ค. ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
ง. ยกฟ้อง
ตอบ ข. ในกรณีที่ผู้ร้องขอไม่ยอมวางเงินประกันเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลยังไม่มีคาสั่งให้ฟื้นฟู
กิจการ ให้ถือว่าผู้ร้องขอทิ้งคาร้องขอ แต่ถ้าศาลได้มีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิมพ์
ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายและธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสานักงานคณะกรรมการ
กากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกรมการประกันภัย หรื อหน่วยงานของรัฐที่มีอานาจ
หน้ าที่กากับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้ต ามมาตรา 90/3 ซึ่งได้ให้ความยินยอมตาม
มาตรา 90/4 แล้วแต่กรณี เพื่อแต่งตั้งเจ้าหนี้อื่นหรือลูกหนี้หรือผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้ร้องขอ
แทนต่อไปโดยเร็วที่สุด ถ้าไม่มีผู้ร้องขอแทนหรือมีแต่ไม่วางเงินประกันดังกล่าวภายในกาหนดหนึ่ง
เดือนนับแต่วันที่ผู้ร้องขอไม่ยอมวางเงินประกันดังกล่าวตามคาสั่งศาล ให้ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่ง
ให้ฟื้นฟูกิจการและให้จาหน่ายคดีออกจากสารบบความ

38. กรณีศาลไม่เห็นชอบด้วยกับผู้ทาแผนที่ที่ประชุมเจ้าหนี้เลือก ศาลต้องมีคาสั่งตามข้อใด


ก. มีคาสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้อีกครั้งหนึ่ง
ข. ยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ค. ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
ง. ยกคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
ตอบ ก. มาตรา 90/17 วรรคสอง ในกรณีที่ลูกหนี้มิได้เสนอผู้ทาแผน มติเลือกผู้ทาแผนต้องเป็น
มติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจานวนหนี้ข้างมากซึ่งได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น แต่ในกรณีที่ลูกหนี้
เสนอผู้ทาแผนด้ว ยให้ ผู้ทาแผนที่ลูกหนี้เสนอเป็นผู้ทาแผน เว้นแต่จะมีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มี
จานวนหนี้ไม่น้อยกว่าสองในสามของจานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้ออกเสียงลงคะแนนในมติ
นั้นกาหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทาแผน ในการลงมติตามมาตรานี้ ให้เจ้าหนี้มีประกันออกเสียงได้เต็ม
ตามจานวนหนี้

39. ถ้าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติเลือกผู้ทาแผนได้ ศาลต้องมีคาสั่งตามข้อใด


ก. มีคาสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้อีกครั้งหนึ่ง
ข. ยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ค. ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
ง. ยกคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
ตอบ ข. มาตรา 90/17 วรรคห้า ในการประชุมเจ้าหนี้ในวรรคสามหรือวรรคสี่ ถ้าที่ประชุมมีมติ
เลือกผู้ทาแผนได้ให้ศาลตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทาแผน เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควรที่จะไม่
ตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทาแผนหรือที่ประชุมไม่อาจมีมติเลือกผู้ทาแผนได้ ให้ศาลมีคาสั่งยกเลิก
คาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ

40. เมื่ อ ศาลสั่ง ให้ ฟื้ น ฟู กิจ การแต่ยั ง ไม่ มี ก ารตั้ งผู้ ท าแผน บุ ค คลใดจะเป็ น ผู้มี อ านาจจัด การและ
ทรัพย์สินของลูกหนี้
ก. ผู้บริหารของลูกหนี้
ข. ผู้บริหารชั่วคราว ออกในมาตรานี �
ค. ผู้บริหารแผนชั่วคราว
ง. เจ้าพนักงานพิทักษ์
ตอบ ข. มาตรา 90/20 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทาแผน ให้อานาจ
หน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดลง ให้ศาลมีคาสั่งตั้งบุคคล
ใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวมีอานาจหน้าที่จัดการ
กิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปภายใต้การกากับดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์จนกว่าจะมีการ
ตั้งผู้ทาแผน ในระหว่างที่ไม่สามารถมีคาสั่งตั้งผู้บริหารชั่วคราวได้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มี
อานาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราว

41. เมื่อศาลมีคาสั่งตั้งผู้ทาแผนแล้ว อานาจหน้าที่ของบุคคลใดจะต้องสิ้นสุดลง


ก. ผู้บริหารของลูกหนี้
ข. ผูบ้ ริหารชั่วคราว
ค. เจ้าพนักงานพิทักษ์ ออกในมาตรานี �
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. มาตรา 90/24 ถ้าศาลมีคาสั่งตั้งผู้ทาแผนให้ศาลแจ้งคาสั่งนั้นแก่ผู้ทาแผน เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อานาจหน้าที่ของผู้ทาแผนให้
เริ่มแต่วันที่ศาลมีคาสั่งดังกล่าว และให้อานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของ
ลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง

42. การโต้ แ ย้ ง ค าขอรั บ ช าระหนี้ ใ นการฟื้ น ฟู กิ จ การต้ อ งกระท าภายในเวลาเท่ า ใด นั บ แต่ พ้ น


กาหนดเวลายื่นคาขอรับชาระหนี้
ก. 7 วัน
ข. 10 วัน
ค. 14 วัน
ง. 30 วัน
ตอบ ค. มาตรา 90/29 เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ทาแผนอาจขอตรวจและโต้แย้งคาขอรับชาระหนี้
ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ แต่ต้องกระทาภายในกาหนดสิบสี่วันนับแต่
วันที่พ้นกาหนดเวลายื่นคาขอรับชาระหนี้

43. เจ้าหนี้จะต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการภายในเวลาใด นับแต่วันโฆษณาคาสั่งตั้งผู้ทาแผน


ก. 15 วัน
ข. 1 เดือน
ค. 3 เดือน
ง. 1 ปี
ตอบ ข. มาตรา 90/26 เจ้าหนี้จะขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการ
ที่กล่าวไว้ในส่วนนี้ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคาพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดี
ยังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้ ต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้พร้อมสาเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคาสั่งตั้งผู้ทาแผนและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่ง
สาเนาคาขอรับชาระหนี้ให้ผู้ทาแผนโดยไม่ชักช้า

44. กรณีมีผู้โต้แย้งคาขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงาน


พิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคาสั่งแล้ว หากต้องการคัดค้าน ต้องยื่นคาคัดค้านภายในกี่วันนับแต่
วันทราบคาสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก. 7 วัน
ข. 10 วัน
ค. 14 วัน
ง. 30 วัน
ตอบ ค. มาตรา 90/32 คาขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายใด ถ้าเจ้าหนี้อื่น
ลูกหนี้หรือผู้ทาแผนไม่โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอานาจสั่งอนุญาตให้รับชาระหนีไ้ ด้เว้น
แต่มีเหตุอันสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น
คาขอรับชาระหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายใด ถ้ามีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคาสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ให้ยกคาขอรับชาระหนี้
(2) อนุญาตให้ได้รับชาระหนี้เต็มจานวน
(3) อนุญาตให้ได้รับชาระหนี้บางส่วน
การคัดค้านคาสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ผู้มีส่วนได้
เสียอาจยื่นคาร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกาหนดสิบสี่วันนับแต่วันที่ทราบคาสั่งของเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์

45. บุคคลใดมีหน้าที่ต้องยื่นคาชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อผู้ ทาแผน ภายใน 7 วัน


นับแต่วันที่ได้ทราบคาสั่งตั้งผู้ทาแผน
ก. ผู้บริหารของลูกหนี้
ข. ผู้บริหารชั่วคราว
ค. ผู้บริหารแผนชั่วคราว
ง. เจ้าพนักงานพิทักษ์
ตอบ ก. มาตรา 90/34 ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทราบคาสั่งตั้งผู้ทาแผน ให้ผู้บริหารของ
ลูกหนี้ยื่นคาชี้แจงตามมาตรา 90/35 เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ตนรับรองแล้วตาม
แบบพิมพ์ต่อผู้ทาแผน

46. ผู้ทาแผนต้องส่งแผนให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกี่เดือนนับแต่วันโฆษณาคาสั่งแต่งตั้ง
ผู้ทาแผนในราชกิจจานุเบกษา
ก. 1 เดือน
ข. 3 เดือน
ค. 6 เดือน
ง. 12 เดือน
ตอบ ข. มาตรา 90/43 ภายในกาหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันโฆษณาคาสั่งตั้งผู้ทาแผนในราช
กิจจานุเบกษา ให้ผู้ทาแผนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พร้อมด้วยสาเนาจานวนอันเพียงพอ เพื่อ
ส่งให้แก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงและลูกหนี้กาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจขยายให้อีกได้ไม่
เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 เดือน

47. ศาลจะเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วได้ความตามข้อใด


ก. แผนมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกาหนด
ข. เมื่อดาเนิ นการตามแผนสาเร็จ เจ้าหนี้จะได้รับชาระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลสั่งให้
ลูกหนี้ล้มละลาย
ค. แผนมีทางสาเร็จได้โดยใช้เวลาไม่นาน
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ตอบ ง. มาตรา 90/58 ให้ศาลมีคาสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจาณาแล้วเห็นว่า
(1) แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42
(2) ข้อเสนอในการชาระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และในกรณีที่มติยอมรับแผน
เป็นมติตามมาตรา 90/46(2) ข้อเสนอในการชาระหนี้ ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลาดับที่
กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอม
และ
(3) เมื่อการดาเนินการตามแผนสาเร็จจะทาให้เจ้าหนี้ได้รับชาระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่
ศาลมีคาพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

48. ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชาระหนี้ได้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใด ไม่ยื่นคาขอรับชาระหนี้ ย่อมหมดสิทธิ


ที่จะได้รับชาระหนี้ เว้นแต่ตามข้อใดที่เจ้าหนี้นั่นยังคงได้รับชาระหนี้อยู่
ก. กรณีที่การฟื้นฟูไม่สาเร็จตามแผน
ข. ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ค. ศาลมีคาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
ง. ศาลมีคาสั่งยกคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
ตอบ ข. มาตรา 90/61 เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคาร้องขอรับ
ชาระหนี้ภายในเวลาที่กาหนดไว้ตามมาตรา 90/26 หรือมาตรา 90/27 วรรคสามแล้วแต่กรณี
เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชาระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะเป็นผลสาเร็จตาม
แผนหรือไม่ เว้นแต่
(1) แผนจากาหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ
(2) ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ

49. เมื่อระยะเวลาดาเนินการตามแผนสิ้นสุดลง แต่การฟื้นฟูกิจการยัง ไม่เป็นผลสาเร็จตามแผน ถ้า


ศาลเห็นสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจะมีคาสั่งอย่างไร
ก. ศาลมีคาสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายทันที
ข. ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ค. ศาลมีคาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
ง. ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ตอบ ง. มาตรา 90/70 วรรคสอง เมื่อระยะเวลาดาเนินการตามแผนสิ้นสุดลง แต่การฟื้นฟู
กิจการยังไม่เป็นผลสาเร็จตามแผน ให้ผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนชั่วคราว หรือเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณีรายงานให้ศาลทราบภายในสิบสี่วันนับแต่ระยะเวลาดาเนินการตาม
แผนสิ้นสุดลง ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลนั ดพิจารณาเป็นการด่วนและแจ้งวันเวลานัดให้เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ทราบ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งแจ้งความให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบ
ล่ว งหน้ าไม่น้อยกว่าสามวัน ในการพิจารณาให้ศาลพิจารณาพยานหลักฐานในสานวนและฟัง
คาชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ และคาคัดค้านของลูกหนี้ ถ้าศาลเห็นสมควรให้
ลูกหนี้ล้มละลายให้มีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ด ขาด แต่ถ้าศาลไม่เห็นสมควรให้ลูกหนี้
ล้มละลายก็ให้มีคาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ

50. ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ถ้ามีเหตุที่ทาให้ผู้บริหารแผนทาหน้าที่ไม่ได้เป็นการชั่ วคราว ใครมี


หน้าที่เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวแทน
ก. ลูกหนี้
ข. ผู้บริหารของลูกหนี้
ค. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ง. เจ้าพนักงานบังคับคดี
ตอบ ค. มาตรา 90/69 ในกรณีทมี่ ีเหตุทาให้ผู้บริหารแผนทาหน้าที่ไม่ได้เป็นการชัว่ คราวหรือใน
ระหว่างที่ผู้บริหารแผนพ้นจากตาแหน่งและศาลยังมิได้มีคาสั่งตั้งผูบ้ ริหารแผนคนใหม่ ให้ศาลมีคาสั่งตั้ง
บุคคลใดบุคคลหนึง่ หรือหลายคนเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวจนกว่าเหตุเช่นว่านั้นสิน้ สุดลงในระหว่างที่ไม่
สามารถมีคาสั่งตั้งผู้บริหารแผนชั่วคราวได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารแผนชัว่ คราว

You might also like