You are on page 1of 4

ข้อสอบอัตนัย หมวดที่ 2

1. ในฐานะท่านเป็นจป.เทคนิคขั้นสูงของบริษัทต้องการจ้าง
ผู้เชี่ยวชาญมาทาการตรวจวัดสารเคมีในบรรยากาศที่พนักงาน
หายใจเข้าไป ท่านจะเข้าควบคุมการทางาน ให้ตรงตามหลักสุข
ศาสตร์อย่างไร
2. สถานประกอบการที่ท่านเป็นจป.เทคนิคขั้นสูง ต้องทาการตรวจวัด
ระดับการฟุง้ กระจายของสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ
ซึ่งท่านได้จ้างบุคคลที่ชานาญการมาดาเนินงานให้ ในฐานะที่
ท่านเป็นผู้ดูแลทางด้านนี้ ท่านจะควบคุมผู้รับจ้างประเด็นใดบ้าง
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม

แนวทางการเขียนตอบ
หลัก สุขศาสตร์อุตสาหกรรมจะครอบคลุมการดาเนินงานในด้าน
การตระหนัก หรือการค้นหาปัญหาสิ่งแวดล้อมการทางาน ด้านการ
ประเมินระดับของปัญหาสิ่งแวดล้อมการทางานและด้านการควบคุม
ป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมการทางาน ดังนี้
1. การตระหนั ก ถึ ง ปั ญ หาสิ่ งแวดล้ อ มการทางาน (Recognition)
เป็ น การตระหนั ก หรื อ การค้ น หาปั จ จั ย สิ่งแวดล้อม ที่อาจคุกคามต่อ
ชีวิตและสุขภาพอนามัย การทาให้ร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปกติ หรือเป็น
สาเหตุของความรู้สึกไม่สบายและทาให้ประสิทธิภาพการทางานลดลง
2. การประเมินระดับปัญหาสิ่งแวดล้อมการทางาน (Evaluation) เป็นการ
ประเมินระดับปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทางานที่อาจคุกคามสุขภาพ ซึ่ง
เกิดขึ้นในหรือจากสถานที่ทางาน ซึ่งต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ ใน
การตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับสารเคมีในอากาศ ระดับสิ่งแวดล้อมทาง
กายภาพ สภาวะด้านเออร์กอนอมิคส์ และระดับสิง่ แวดล้อมทางชีวภาพ
ซึ่งผลจากการประเมินนั้น จะทาให้ทราบถึงระดับความปลอดภัยของ
สิ่งแวดล้อมนั้นว่า อาจจะมีอันตรายในระยะสั้น หรือระยะยาว
3. การควบคุมป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมการทางาน (Control) เป็นการ
ดาเนินการมาตรการป้องกันหรือแก้ไข เพื่อลดอันตรายต่อสุขภาพของ
ผู้ปฏิบัติงานลงให้มีน้อยที่สุด การควบคุมและป้องกันได้แก่ การลด
จานวนผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาลง การเปลี่ยนมาใช้สารที่มี
อันตรายน้อยกว่า การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อขจัดหรือลด
การสัมผัสสิ่งที่อาจเป็นอันตรายให้น้อยลง ติดตั้งระบบการระบาย
อากาศ การดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการ
จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น
ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลงานทางด้านนี้ โดยจะต้องควบคุมผู้รับจ้างให้
ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขศาสตร์อุสาหกรรม สิ่งที่ต้อง
ดาเนินการมีขั้นตอนดังนี้
1. ทาการพิจารณาเลือกบริษท ั ผู้รับจ้างที่มีความน่าเชื่อถือและมี
การขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
2. ร่วมกันกับผู้รับจ้างกาหนดวัตถุประสงค์การตรวจวัดและเก็บ
ตัวอย่าง เช่น ต้องการทราบเป็นข้อมูลพื้นฐาน หรือ เพื่อหา
แหล่งกาเนิดมลพิษ หรือหาค่าทีต ่ ้องถูกต้องแม่นยา เพื่อเป็นไปตาม
กฎหมาย หรือ ต้องการทราบค่าทันทีซึ่งอาจเป็นเพียงค่า
โดยประมาณ
3. ตรวจเช็คการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือและผู้ใช้เครื่องมือ
วิธีการตรวจวัดและประเมิน ของผู้รับจ้าง ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
ที่สากลยอมรับ เช่น OSHA, NIOSH, IES หรือ ACGIH หรือ
ตามที่กฎหมายได้มีกาหนดไว้
4. ตรวจสอบเอกสารหรือขั้นตอนวิธีการเปรียบเทียบความถูกต้อง
(Calibration) ของเครื่องมือตรวจวัด ก่อนและหลังการใช้
เครื่องมือตรวจวัดทุกครั้ง ทั้งนี้เพือ
่ ให้ผลการประเมินที่อ่านค่าได้
จากเครื่องมือมีความถูกต้อง แม่นยา
5. รวมกันจัดเตรียมแบบฟอร์มในการสารวจ และแบบบันทึกข้อมูล
เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่าง เช่น

5.1 ชื่อสถานประกอบกิจการ ที่ตั้ง และวันที่ เวลาที่ทาการ


เก็บตัวอย่าง
5.2 เรื่องที่ทาการตรวจวัดหรือเก็บตัวอย่าง เช่น สารเคมี /ฝุ่น ที่
ทาการตรวจวัด รวมทั้ง การบันทึกชนิดการตรวจวัด เช่น
ตรวจวัดแบบพื้นที่ หรือติดตัวบุคคล เป็นต้น
5.3 ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ทาการตรวจวัด เช่น ระยะเวลาที่สัมผัส
นั้นๆ อัตราดูดอากาศ วัสดุที่ใช้เป็นตัวดักจับ วิธีการที่ใช้
อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความ
ปลอดภัยส่วนบุคคล ลักษณะงาน จานวนผู้สัมผัส การบันทึก
ข้อมูลจุดตรวจวัดบนแผนผังโรงงาน เป็นต้น
6. ทาความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานในแผนก/บริเวณการทางาน หรือ
บุคคลที่ต้องการตรวจวัด เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการประเมิน
การสัมผัสที่ถูกต้อง
7. ทาการตรวจวัดในสภาพแวดล้อมการทางานที่ได้มีการกาหนด
ไว้ตามวัตถุประสงค์ ผลการประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพ
อนามัย นอกจากความถูกต้อง แม่นยาของเครื่องมือแล้ว ผู้ทา
การตรวจวัดและประเมินต้องทาการตรวจวัดและประเมิน
สภาพแวดล้อมการทางานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการด้วย
จึงจะได้ผลการประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยอย่าง
ถูกต้องจริงๆ ฉะนั้น นอกจากวิธีการตรวจวัดและประเมินที่เป็น
มาตรฐานสากลที่ยอมรับแล้ว ช่วงหรือระยะเวลาการตรวจวัด ก็
เป็นปัจจัยที่สาคัญต่อการประเมินปริมาณและระดับสิ่งคุกคามนั้น
8. ในขณะทาการตรวจวัดให้สังเกตการทางานของเครื่องมือ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดว่า สามารถทางานได้ปกติ
9. บันทึกปัจจัยสภาพแวดล้อมการทางานที่เกิดขึ้นระหว่างตรวจวัด
โดยเฉพาะปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการประเมินการสัมผัสสิ่ง
คุกคามสุขภาพอนามัย เช่น สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงขณะ
ทาการตรวจวัด ทาให้ผลการตรวจวัดเกิดความคลาดเคลื่อนได้
กาลังการผลิตของวันที่ทาการตรวจวัด พฤติกรรม/การกระทา
ของพนักงาน การทางานของระบบการควบคุมมลพิษที่มีอยู่ เป็น
ต้น
10. ตรวจสอบขั้นตอนในการอ่านค่าจากเครื่องมือ บันทึกข้อมูล
หรือจัดเก็บตัวอย่างอย่างถูกต้องเพื่อนาส่งวิเคราะห์ใน
ห้องปฏิบัติการ หรือนาผลการตรวจต่างๆ มาคานวณหาค่าเฉลี่ย
ตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการกาหนดไว้ การบันทึกผลการตรวจวัด
ในแผนผังกระบวนการผลิตของแผนกนั้นๆ จะช่วยในการ
พิจารณาผลการประเมิน การสัมผัสได้ ทั้งในเรื่องของการ
แพร่กระจาย ความถูกต้องหรือความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นของ
การประเมินนั้น

You might also like