You are on page 1of 90

- สำเนำ -

รายงานผลการตรวจสอบ

การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพ
การใช้รถและเครือ่ งจักรกล
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563

กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
30 กันยายน 2565
- สำเนำ - Update 6 ต.ค. 65

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ได้บัญญัติหลักการสำคัญ
เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐไว้ในมาตรา 62 วรรคแรกว่า รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
เพื่ อ ให้ ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัย
การเงินการคลังของรัฐ และจัดระบบภาษี ให้เกิ ดความเป็นธรรมแก่สัง คม ซึ่งพระราชบัญญัติวิ นั ย
การเงิ น การคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 44 ได้บัญญัติหลักการสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการ
ทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐไว้ว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองหรือการกำกับ
ดูแลของหน่ว ยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและกฎที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณา
ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ความคุ้มค่าและความประหยัด ซึ่งต้องกระทำด้วยความรอบคอบ
ระมัดระวัง และมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินนั้น
โดยการบริหารจัดการทรัพย์สินได้ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และการบริหารจัดการทรัพย์สินต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและ
หนังสือสั่งการของหน่ ว ยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อ งโดยเคร่งครัด ซึ่ ง ต้ อ งดำเนินการด้ว ยความสุจริต
คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และตรวจสอบได้
ความสำคัญของการบริหารรถและเครื่องจักรกลอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ที่ใช้
เป็นทรัพยากรทางการบริหารประเภทหนึ่งที่ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินการหรือการบริหาร
จั ด การที่เรียกว่า 4 M โดยการบริหารภาครัฐจำเป็นต้องมี พัสดุ (Material) อันเป็นอุปกรณ์ห รือ
เครื่องมือที่สำคัญในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุพันธกิจขององค์กร ดังนั้น การจัดหา
ให้ได้มา การควบคุม การใช้ ป ระโยชน์ การบำรุ ง รั ก ษาและการจำหน่ ายพั ส ดุ ต้ อ งดำเนิ น การให้
เป็ น ไปตามพระราชบั ญ ญั ติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครั ฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบ
กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบอื่น ๆ
อย่างเคร่งครัด
กรมชลประทานเป็นหน่ว ยงานของรัฐ ที่มีภ ารกิจสำคัญที่เกี่ยวกับการดำเนิ น การ
ก่อสร้างด้านการชลประทาน และการบริหารจัดการด้านชลประทาน ซึ่งต้องใช้รถและเครื่องจักรกล
เป็นจำนวนมากเพื่อให้การดำเนินการตามภารกิจบรรลุเป้าหมาย รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน
ส่วนใหญ่ ได้แก่ เครื่องจักรกลประเภทต่าง ๆ เรือประเภทต่าง ๆ และยานพาหนะประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
ประกอบกับในรายงานการเงินของกรมชลประทานจะมีทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกลที่แสดง
มูลค่าสูงอย่างเป็น สาระสำคัญ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหาร
จัดการรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้จ่ายเงินหรือใช้ประโยชน์ใน
ทรั พ ย์ สิน ของแผ่น ดิน ว่า ได้ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และ
แบบแผนการปฏิบัติราชการหรือไม่ และเป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ประหยั ด เกิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ และ
มีประสิทธิภ าพหรือไม่ จึงได้กำหนดให้มี การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการใช้รถและ
เครื่ อ งจั ก รกลของกรมชลประทาน ประจำปี พ.ศ. 2562 - 2563 การตรวจสอบดั ง กล่ า ว
เป็นการปฏิบัติหน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ทราบว่าการใช้รถและเครื่องจักรกลเป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผน การปฏิบัติราชการ (2) เพื่อให้ทราบว่าการจัดหา
การใช้และการควบคุมรถและเครื่องจักรกล เกิดผลสัมฤทธิ์ และมี ประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่
กรมชลประทานกำหนดไว้หรือไม่ (3) เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการใช้รถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทาน
จากการตรวจสอบผลสั ม ฤทธิ์ และประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ รถและเครื่ อ งจัก รกลของ
กรมชลประทาน ประจำปี พ.ศ. 2562 – 2563 พบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและหนังสือสั่ง
การที่เกี่ยวข้อง การขาดการวางแผนการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแต่ละปี อีกทั้งระบบการควบคุม
ภายในยังไม่เพียงพอและขาดระบบการติดตามตรวจสอบการใช้งานรถและเครื่องจักรกล ส่งผลให้การใช้
รถและเครื่องจักรกล โดยสามารถแยกประเด็นข้อตรวจพบที่สำคัญได้ จำนวน 3 ประเด็น ดังนี้
1 การไม่ ป ฏิ บั ต ิ ต ามกฎหมาย ระเบี ย บ และหนั ง สื อ สั่ ง การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การใช้ ร ถและ
เครื่องจักรกลที่ส่งผลให้การใช้รถและเครื่องจักรกลขาดประสิทธิภาพ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ทำการตรวจสอบรถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทาน จำนวน 18 หน่ว ยงาน มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบจำนวน
369 รายการ พบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานหลายหน่วยงานไม่ต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกล
ไม่นำใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี ไม่สามารถนำใบคู่มือ จดทะเบียนรถและ
เครื่องจักรกลมาให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบได้ ไม่มีการทำประกันภัยรถและเครื่องจักรกล
ไม่มีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลอีกทั้งไม่พบ
การรายงานผลการตรวจสอบมลพิษฯ ที่ต้องส่งไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมีข้อสังเกตที่สำคัญ คือ หน่วยงานหลักของกรมชลประทานที่มีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแลการใช้
งานรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน ซึ่งได้แก่ สำนักเครื่องจักรกลและส่วนบริหารเครื่องจักรกล
ที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ก็มิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ รวมทั้งหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องกับ
การใช้รถและเครื่องจักรกลแต่อย่างใด โดยประเด็นที่ไม่มีใบคู่มือการจดทะเบียนให้ตรวจสอบ พบว่า
การไม่ต่อทะเบียน การไม่ไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี การไม่ทำประกันภัยรถยนต์ โดยการที่ไม่
ปฏิบัติให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการสำหรับในเรื่องของใบคู่มือจดทะเบียน
ไม่ว่าจะไม่มีให้ตรวจสอบ ไม่มีการต่อทะเบียน หรือการไม่ประทับตราได้รับยกเว้นภาษี และการไม่ทำ
ประกั น ภั ย นั้น เจ้ า หน้ าที่ ไ ด้ ชี้แ จงว่ า เกิ ด จากกรมการขนส่ง ทางบกหรื อ สำนักงานขนส่งจังหวัด
แนะนำให้รถและเครื่องจักรกลที่มิได้มีอุปกรณ์หรือแผ่นสะท้อนแสงไปดำเนินการติดตั้งให้เรียบร้อย
ก่อนยื่นเสียภาษีประจำปี แต่กรมชลประทานไม่สามารถดำเนินการตามคำแนะนำได้ ส่งผลให้ไม่
สามารถยื่นเสียภาษีประจำปีได้ ประกอบกับเจ้าหน้าที่กรมชลประทานไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง
การจัดการในเรื่องดังกล่าว และผู้บริหารของส่วนราชการนั้นไม่ได้ควบคุมดูแลให้มีการนำใบคู่มือจดทะเบียน
ไปประทับตรายกเว้น ภาษีทุกครั้ง ส่ว นในกรณีที่ไม่มีคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบ พบว่ารถและ
เครื่องจักรกลของกรมชลประทานมักมีการโอนใช้ในระหว่างหน่วยงาน ทำให้ผู้ใช้รถที่รับโอนมาแต่
ไม่ได้รับมอบเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนจากหน่วยงานผู้โอนและไม่มีการติดตามให้มีการจัดส่งเอกสาร
ดังกล่าว ประกอบกับรถและเครื่องจักรกลบางรายการใช้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทานเป็นผู้ซื้อ
และส่งมอบมาที่กรมชลประทาน แต่ไม่ได้ส่งมอบเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนมาด้วย สำหรับกรณีใบคู่มือ
จดทะเบียนสู ญ หาย บางส่ ว นเกิด จากรถและเครื่อ งจัก รกลที่มีอ ายุก ารใช้ง านเกิน 20 ปี ทำให้
เจ้าหน้าที่ไม่มี การควบคุมดูแลในเรื่องการจัดให้มีใบคู่มือจดทะเบียนและการไม่ทำประกันภัยรถและ
เครื่องจักรกล เกิ ด จากเจ้าหน้าที่ ที่รับ ผิดชอบดูแลรถและเครื่องจักรกลไม่ทราบว่าต้องมีการจัดทำ
ประกันภัยรถและเครื่องจักรกลของทางราชการ
(2)
กรณี การไม่ ตรวจวั ด มลพิ ษ ทางอากาศและระดั บเสี ยงจากท่ อ ไอเสี ยของรถและ
เครื ่ อ งจั ก รกล รวมทั ้ ง การไม่ ท ำรายงานผลการตรวจสอบเรื ่ อ งดั ง กล่ า วไปยั ง กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่ามีห น่ว ยงานที่ไม่ได้ตรวจวัดในสัดส่ว นถึงร้อยละ 61
(ตรวจสอบ 18 หน่วยงาน พบว่า ไม่ได้นำรถและเครื่องจักรกลไปตรวจวัดมลพิษฯ ถึง 11 หน่วยงาน)
และทั้ง 18 หน่วยงานที่ตรวจสอบมิได้มีการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบมายังกรมชลประทานแต่
อย่างใด สาเหตุที่ไม่มีการตรวจวัดมลพิษ เนื่องจากเครื่องตรวจวัดมลพิษฯ มีอายุการใช้งานนาน ปัจจุบัน
ไม่สามารถทำงานได้เพราะชำรุด ไม่สามารถหาอะไหล่ได้ เพราะบริษัทตัวแทนจำหน่ายบางบริษัทเลิก
กิจ การ ประกอบกับ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการตรวจสอบเรื่องมลพิษฯ และหลายแห่ง ไม่ให้
ความสำคัญกับการควบคุมดูแลและบำรุงรักษารถและเครื่องจักรกลที่อยู่ในกำกับดูแลของตนเอง ส่งผล
ให้ ที่กรมชลประทานไม่ร ายงานผลการตรวจวัดมลพิษฯ ส่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมได้นั้น สำนักเครื่องจักรกลชี้แจงว่าตามระเบียบสำนักนายกว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523
ให้จัดทำรายงานส่งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ระเบียบกรมชลประทาน
ว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 กำหนดให้จัดทำรายงานส่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักเครื่องจักรกลจึงเกิดความสับสนและไม่ได้ดำเนินการจัดส่งรายงานตามที่ระเบียบกำหนดไว้
จากการที่กรมชลประทานมิได้ควบคุมกำกับดูแลรถและเครื่องจักรกลให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และหนังสือสั่งการต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้บริหารกรมชลประทานจะไม่สามารถวางแผนการใช้รถ
และเครื่องจักรกลทั้งหมดของกรมชลประทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากรถและเครื่องจักรกล
หลายรายการไม่ได้ผ่านการตรวจสภาพจากกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ไม่ได้มี
การตรวจวัดมลพิษฯ ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่ทราบสภาพอันควรของรถและเครื่องจักรกลว่า ควรมีการซ่อม
บำรุงแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ กรมชลประทานจะไม่มีข้อมูลที่จะพิจารณาว่ารถและเครื่องจั กรกล
รายการใดที่เป็นต้นเหตุ ให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา
เครื่องยนต์ให้ดีเพีย งพอ จนอาจเป็นเหตุให้ ระบบการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ส มบูรณ์และเกิด
ปั ญ หาควั น ดำ ซึ ่ ง เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของต้ น เหตุ ม ลพิ ษ ทางอากาศที ่ เ กิ ด จากการใช้ ง านรถและ
เครื่องจักรกลของทางราชการ
2 กรมชลประทานขาดการวางแผนการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแต่ละปี ระบบการควบคุม
ภายในเกี่ยวกับการใช้งานรถและเครื่องจักรกล และระบบติดตามตรวจสอบเพื่อให้การใช้งานรถ
และเครื่องจักรกลยังขาดความเหมาะสมและไม่มีประสิทธิภาพ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการวางแผนการปฏิบัติงานการใช้รถและ
เครื่องจักรกลประจำปี และการตรวจถึงการปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการใช้งานรถ
และเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน จำนวน 15 หน่วยงาน มีรถและเครื่องจักรกล
ที่เลือกตรวจสอบ จำนวน 296 รายการ พบว่า กรมชลประทานขาดการวางแผนการปฏิบัติงาน
การใช้รถและเครื่องจักรกลประจำปี และเมื่อตรวจสอบการจัดทำแผนโครงการฯ ยังพบว่าในหลาย
แผนโครงการฯ ไม่มีการระบุถึงรถและเครื่องจักรกลที่จะต้องใช้ ในแผนโครงการฯ ดังกล่าว แต่ ใน
กรณี ที่ แ ผนโครงการฯ มีการระบุถึงรถและเครื่องจักรกลที่ใช้ในโครงการฯ กลับพบว่าการใช้รถและ
เครื่องจักรกลจริงไม่สอดคล้องกับรถและเครื่องจักรกลที่ระบุไว้ในแผนโครงการฯ อีกทั้งไม่มีการควบคุม
การใช้งานรถและเครื่องจักรกลให้เป็นไปตามกฎหมายที่ได้กล่าวถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินที่อยู่ใน
การดูแลของรัฐจะต้องเป็นไปอย่างคุ้มค่า ประหยัด และขาดระบบติดตามตรวจสอบเพื่อให้การใช้งานรถ

(3)
และเครื่องจักรกลเกิดประสิทธิภาพและมีความเหมาะสม โดยพบว่ามีส่วนราชการภายในกรมชลประทานถึง
11 หน่วยงาน ที่รถและเครื่องจักรกลทุกรายการไม่มีการวางแผนการปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2563
โดยใน 11 หน่วยงาน มีถึง 6 หน่วยงานที่ไม่มีการกำหนดการใช้รถและเครื่องจักรกลเพื่อไปปฏิบัติงาน
ในแผนโครงการฯ แต่เมื่อตรวจสอบถึงการใช้รถและเครื่องจักรกลที่ไปปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ จริง
ก็พบว่า มีเพียง 2 หน่วยงาน ที่มีการนำรถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงานในโครงการได้อย่างสอดคล้อง
กับแผนโครงการฯ ที่วางไว้ ได้แก่ โครงการชลประทานชุมพรและส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4
(จังหวัดนครราชสีมา) ส่วนที่เหลืออีก 13 หน่วยงาน การนำรถและเครื่องจักรกลไปใช้งานจริงไม่
สอดคล้องกับแผนโครงการฯ ที่วางไว้ และเมื่อตรวจสอบถึงการใช้รถและเครื่องจักรกลให้คุ้มค่าและมี
ประสิทธิภาพ พบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่เลือกตรวจสอบมีการนำรถและเครื่องจักรกล
ไปใช้งานจริงเกิน 90 วัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพียง 136 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45
ของจำนวนที่เลือกตรวจสอบ และพบว่า มีรถและเครื่องจักรกลถึง 34 รายการ ที่ไม่มีการใช้งานเลย
นอกจากนี้ยังมีรถและเครื่องจักรกลอีก 3 รายการ ที่ไม่ทราบว่านำไปใช้ในโครงการใด และนำไปใช้งานเป็น
จำนวนกี่วัน เนื่องจากไม่มีการจัดทำสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล
3 ระบบการควบคุมภายในไม่เพียงพอส่งผลให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการบันทึกและการแสดงรายการทรัพย์สิน
ประเภทรถและเครื่องจักรกลที่บันทึกอยู่ในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
(GFMIS) โดยสอบยันกับข้อมูลทะเบียนคุมพัสดุ ซึ่งอยู่ในระบบสินทรัพย์ (AMS) ของส่วนราชการภายใน
กรมชลประทาน จำนวน 15 หน่วยงาน มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบจำนวน 296 รายการ
พบว่า รถและเครื่องจักรลที่เลือกตรวจสอบได้ถูกบันทึกในระบบ GFMIS เป็นจำนวน 133 รายการ
แต่บันทึกในทะเบียนคุมทรัพย์สินเป็นจำนวน 296 รายการ นั้นหมายถึงมีรถและเครื่องจักรถึง 163 รายการ
ที่ไม่ถูกบันทึกในระบบ GFMIS โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของจำนวนที่เลือกตรวจสอบ และได้เข้า
สังเกตสภาพรถและเครื่องจักรกลก็พบว่า รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานหลายรายการไม่ได้มี
ตราเครื่องหมายของหน่วยงาน อักษรย่อ “ชป.” และเลขหมายประจำรถและเครื่องจักรกล และมิได้ขอ
ยกเว้นเป็นจำนวนถึง 22 รายการ และการทำตราเครื่องหมายไม่เป็นไปตามระเบียบฯ เป็นจำนวนถึง
19 รายการ นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบการทำอักษรย่อ “ชป.” และเลขหมายประจำรถและเครื่องจักรกล
พบว่า ไม่มีการทำเลขหมายโดยมิได้ขอยกเว้นเป็นจำนวนถึง 25 รายการ และการจัดทำเลขหมาย
ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ อีก 43 รายการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ขยายผลการตรวจสอบ
เพื่อดูการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกลทั้ง 296 รายการ จึงพบว่า การนำรถและเครื่องจักรกล
ไปใช้งานโดยไม่ทำใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล (แบบ 3) มีเป็นจำนวน 58 รายการ และไม่จัดทำ
สมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล (แบบ 4) เป็นจำนวนมากถึง 186 รายการ สำหรับการตรวจสอบ
การควบคุมการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการตรวจสอบต่อเนื่องจากการไม่ทำใบขออนุญาตใช้รถ
และเครื่องจักรกล และไม่จัดทำสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล เนื่องจากกรมชลประทานเป็น
หน่วยงานขนาดใหญ่ที่มีการจัดซื้อและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณมาก จึงพบว่ารถและเครื่องจักรกล
บางรายการไม่ได้กำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ 7) ไว้ ไม่มีการจัดทำเอกสาร
เบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการจัดทำบัญชีวัสดุ พด.43 ที่แสดงถึงการรับ การจ่าย และจำนวน
คงเหลือของน้ำมันเชื้อเพลิง (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง) ไม่ครบถ้วน ดังนี้ รถและ
เครื่องจักรกลส่วนใหญ่มีการกำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งแม้จำนวนที่ไม่ได้มีการ

(4)
กำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงไว้เพียง 16 รายการ แต่ก็แสดงให้เห็นว่า การเบิกจ่าย
น้ำมันเชื้อเพลิงของรถทั้ง 16 รายการ ไม่ได้มีการตั้งเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพของรถและเครื่องจักรกล
ดังกล่าว และพบว่า รถและเครื่องจักรกลจำนวน 46 รายการ ไม่มีเอกสารเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อ
แต่มีการนำรถและเครื่องจักรกลดังกล่าวไปเติมน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4
(จังหวัดนครราชสีมา) และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา) ซึ่งไม่มีการจัดทำเอกสารการ
เบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นจำนวนถึง 36 รายการ ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงาน ถือเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่
ในการควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกลที่ควรจะปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ได้
อย่างครบถ้วน ส่วนการไม่จัดทำบัญชีวัสดุ พด.43 (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ำ มันเชื้อเพลิง ) พบว่า
รถและเครื่ อ งจั ก รกล จำนวน 27 รายการ ไม่ มี ก ารจั ด ทำบั ญ ชี วั ส ดุ พด.43 นอกจากนี้ผลการ
ตรวจสอบการซ่อมบำรุงรถและเครื่องจักรกลพบว่า มีการนำรถและเครื่องจักรกลไปซ่อมบำรุงโดยไม่ทำใบ
แจ้งซ่อมบำรุงเป็นจำนวนถึง 51 รายการ และมีการซ่อมบำรุงโดยไม่ทำสมุดรายละเอียดการซ่อม
บำรุงเป็น จำนวนถึง 70 รายการ การที่กรมชลประทานได้ ก ำหนดให้มี ก ารควบคุ มดูแลในเรื่ อ ง
การซ่อมบำรุงรถและเครื่องจักรกลอย่างชัดเจน โดยการออกระเบียบว่าด้วยการใช้ยานพาหนะ พ.ศ. 2547
แล้ว ซึ่ง ถือว่าเป็นการสร้างระบบการควบคุมภายในที่ดี แต่ผู้บริหารก็ควรต้องมีการตรวจสอบและ
ทบทวนว่าระบบที่วางไว้ว่ายังคงมีการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนและสม่ำเสมอ
หรือไม่ และตรวจสอบการดูแลรักษารถและเครื่องจักรกลให้พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยจาก
การตรวจสอบเอกสารประกอบการซ่อมบำรุง จึงพบว่า มีรถและเครื่องจักรกลจำนวนที่ไม่พร้อมใช้งานถึง
15 รายการ
สาเหตุของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือสั่งการที่
เกี่ยวข้องกับรถและเครื่องจักรกล เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ฯลฯ อย่างครบถ้วน ประกอบกับผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเห็นความสำคัญของการดำเนินการ
ตามแผนโครงการฯ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การบริหารจัดการด้านชลประทานเป็นหลัก โดยมิได้ให้
ความสำคัญในการดูแลการใช้ร ถและเครื่องจักรกล ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินหลักในการดำเนินการของ
กรมชลประทานอย่างดีเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถกล่าวได้ว่ากรมชลประทานมีการบริหารจัด การ
ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ใช้ประโยชน์ได้ อย่างสูงสุด

(5)
สารบัญ
หน้า
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (1)
สารบัญ (6)
สารบัญตาราง (9)
สารบัญแผนภูมิ (10)
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาในการตรวจสอบ 1
วัตถุประสงค์การตรวจสอบ 2
ขอบเขตการตรวจสอบ 2
วิธีการตรวจสอบ 3
บทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการ 5
ปฏิบัติราชการ
ไม่มีการต่อทะเบีย นรถและเครื่องจักรกล ไม่ได้นำสมุดคู่มือจดทะเบียนไป 5
ประทั บ ตราได้ ร ั บ การยกเว้ น ภาษี ไม่ ม ี ส มุ ด คู ่ ม ื อ จดทะเบี ย นรถและ
เครื่องจักรกลให้ตรวจสอบ และไม่ทำประกันภัยรถและเครื่องจักรกล
การไม่ต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกล 7
การไม่นำใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี 10
การไม่ ส ามารถนำใบคู ่ ม ื อ จดทะเบี ย นรถและเครื ่ อ งจั ก รกลมาให้ 12
ตรวจสอบ
การไม่ทำประกันภัยรถและเครื่องจักรกล 13
ข้อเสนอแนะ 14
ไม่มีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและ 15
เครื่องจักรกลและไม่พบการรายงานผลการตรวจสอบ
การไม่นำรถและเครื่องจักรกลบางรายการไปตรวจวัดมลพิษทางอากาศ 19
และระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถเครื่องจักรกล
การไม่จัดทำรายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและระดับเสียง 21
จากท่อไอเสียของรถเครื่องจักรกลส่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะ 22
การไม่วางแผนการใช้รถและเครื่องจักรกลในแต่ละปี การไม่ควบคุมการใช้งานรถ 23
และเครื่องจักรกล และการขาดระบบติดตามตรวจสอบเพื่อให้การใช้งานรถและ
เครื่องจักรกลเกิด ความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ (ต่อ)
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานหลายแห่งไม่มีการวางแผนการปฏิบัติงาน 23
การใช้รถและเครื่องจักรกลประจำปี และการจัดทำแผนโครงการฯ ไม่
กำหนดการใช้รถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ นั้น หากบางแผน
โครงการฯ จะกำหนดการใช้รถและเครื่องจักรกลไว้ แต่พบว่ารถและ
เครื่องจักรกลที่ใช้ไม่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในแผนโครงการฯ
การไม่วางแผนการปฏิบัติงานการใช้รถและเครื่องจักรกลประจำปี 26
การจัดทำแผนโครงการฯ โดยไม่กำหนดรถและเครื่องจักรกลไว้ในแผน 28
โครงการฯ และการใช้ ร ถและเครื ่ อ งจั ก รกลไม่ เ ป็ น ไปตามที่
กำหนดไว้ในแผนโครงการฯ
การนำรถและเครื ่ อ งจั ก รกลไปปฏิ บ ั ต ิ ง านในโครงการฯ โดยไม่ 29
สอดคล้องกับรายการรถและเครื่องจักรกลที่ถูกกำหนดไว้ในแผน
โครงการฯ
ข้อเสนอแนะ 32
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานหลายแห่งไม่มีการควบคุมการใช้งานรถ 33
และเครื่องจักรกลให้เป็นไปตามกฎหมาย ขาดระบบติดตามตรวจสอบ
เพื่อให้การใช้งานรถและเครื ่อ งจั กรกลเกิดประสิ ทธิภ าพและมีค วาม
เหมาะสม
ข้อเสนอแนะ 36
ระบบการควบคุมภายในไม่เพียงพอ ส่งผลให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ 37
การบันทึกและการแสดงรายการทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกลที่ 37
บันทึกอยู่ในระบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไ ม่
ถูกต้องและไม่ครบถ้วน
ข้อเสนอแนะ 40
การทำตราเครื่องหมายของหน่วยงานและการทำเลขหมายประจำรถและ 40
เครื่องจักรกลของกรมชลประทานไม่เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้
การทำตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกล 43
ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ และไม่ครบถ้วน
การทำอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจำรถและเครื่องจักรกลไว้ 45
ด้านข้างนอกรถไม่เป็นไปตามระเบียบฯ และไม่ครบถ้วน
ข้อเสนอแนะ 48
การควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกล 48
การจัดทำใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 ไม่เป็นไปตาม 49
ระเบียบฯ

(7)
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 2 ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ (ต่อ)
การจัดทำสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ไม่เป็นไปตาม 52
ระเบียบฯ
ข้อเสนอแนะ 55
การควบคุมการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 56
การไม่กำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ ๗) 57
การไม่จัดทำเอกสารเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (พด.32 และ พด.33) 59
การไม่จัดทำบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดงการรับ-จ่าย-คงเหลือ ประเภท 62
วั ส ดุ เ ชื ้ อ เพลิ ง และหล่ อ ลื ่ น (ทะเบี ย นคุ ม การเบิ ก จ่ า ยน้ ำ มัน
เชื้อเพลิง)
ข้อเสนอแนะ 66
การควบคุมการซ่อมบำรุงรถและเครื่องจักรกล 67
การไม่จัดทำใบแจ้งซ่อมบำรุง 68
การไม่จัดทำสมุดรายละเอียดการซ่อมบำรุง (แบบ 6) 70
ข้อเสนอแนะ 72
การดูแลรักษารถและเครื่องจักรกลให้พร้อมใช้งาน 72
ข้อเสนอแนะ 75

(8)
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนและการประกันภัย 6
2 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการตรวจวัดมลพิษฯ และการรายงานผลการ 17
ตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสีย
3 ตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานแยกรายละเอียดข้อตรวจพบ 26
เกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติงานใช้รถและเครื่องจักรกล
4 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับสถิติการปฏิบัติงานของรถและเครื่องจักรกล 34
5 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการบันทึกและการแสดงรายการทรัพย์สิน 37
ประเภทรถและเครื่องจักรกลในระบบ GFMIS ไม่ตรงกับทะเบียนคุมทรัพย์สิน
6 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการทำตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ที่รถ 42
และเครื่องจักรกล
7 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการทำอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมาย 45
ประจำรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน
8 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกล 49
9 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการไม่มีการกำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลือง 58
น้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ 7)
10 ตารางแสดงข้อตรวจพบเกี่ยวกับรถและเครื่องจักรกลที่ไม่จัดทำเอกสารเบิกจ่าย 60
น้ำมันเชื้อเพลิง (พด.32 และ พด.33)
11 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการไม่จัดทำบัญชีวัสดุ (พด.43) 65
12 ตารางแสดงข้ อ มู ล ข้ อ ตรวจพบเกี ่ ย วกั บ การควบคุ ม การซ่ อ มบำรุ ง รถและ 68
เครื่องจักรกล กรณีจัดทำใบแจ้งซ่อมบำรุงและการจัดทำสมุดรายละเอียดการ
ซ่อมบำรุง (แบบ 6)
13 ตารางแสดงข้ อ มู ล ข้ อ ตรวจพบเกี ่ ย วกั บ การตรวจสอบการใช้ ง านรถและ 73
เครื่องจักรกล
สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่ หน้า
1 การแสดงสัดส่วนของหน่วยงานที่ดำเนินการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับ 18
เสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกล และการไม่รายงานการตรวจวัด
มลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมทราบ
2 การแสดงสัดส่วนของรถและเครื่องจักรกลที่เกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติการใช้ 27
รถและเครื่องจักรกลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
3 การแสดงสัดส่วนของรถและเครื่องจักรกลที่มีการกำหนดให้ปฏิบัติงานในแผน 29
โครงการฯ หรือกิจกรรมของโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563
4 การแสดงสถิติ ก ารปฏิบ ั ติ งานของรถและเครื่ อ งจั กรกลจำนวน 296 รายการ 35
ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
5 การแสดงสั ด ส่ ว นการบั น ทึ ก ข้ อ มู ล รถและเครื ่ อ งจั ก รกลในระบบ AMS 39
เปรียบเทียบกับการบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS
6 การแสดงสัดส่วนการทำตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้างนอกรถและ 44
เครื่องจักรกล
7 การแสดงสั ด ส่ ว นการทำอั ก ษรย่ อ “ชป.” พร้ อ มเลขหมายประจำรถและ 47
เครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอก
8 การแสดงสัดส่วนการจัดทำใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 ของส่วน 51
ราชการภายในกรมชลประทานที่เลือกตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จำนวน
296 รายการ
9 การแสดงสัดส่วนการจัดทำสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 54
10 การแสดงสัดส่วนการกำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ 7) 57
11 การแสดงสัดส่วนการจัดทำเอกสารเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกล 62
12 การแสดงสัดส่วนการจัดทำบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดงการรับ-จ่าย-คงเหลือ ประเภท 64
วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง)
13 การแสดงสัดส่วนการจัดทำใบแจ้งซ่อมบำรุงของรถและเครื่องจักรกล 69
14 การแสดงสัดส่วนการจัดทำสมุดรายละเอียดการซ่อมบำรุง (แบบ 6) ของรถและ 70
เครื่องจักรกล
15 การแสดงสัดส่วนผลการตรวจสอบสังเกตการณ์สภาพความพร้อมใช้งานของรถและ 74
เครื่องจักรกล
- สำเนำ -

บทที่ 1

บทนำ
ควำมเป็นมำในกำรตรวจสอบ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ได้บัญญัติหลักการส าคัญ
เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐไว้ในมาตรา 62 วรรคแรกว่า รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
เพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่ างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัย
การเงินการคลังของรัฐ และจัดระบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม ซึ่ง พระราชบัญญัติวินัย
การเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 44 ได้บัญญัติหลักการสาคัญในเรื่องการบริหารจั ดการ
ทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐไว้ว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองหรือการกากับ
ดูแลของหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในกฎหมายและกฎที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณา
ประโยชน์ของรัฐและประชาชน ความคุ้มค่าและความประหยัด ซึ่งต้องกระทาด้วยความรอบคอบ
ระมัด ระวัง และมีก ารบริห ารความเสี่ย งอย่า งเหมาะสม และต้อ งไม่ก่ อ ให้เ กิด ความเสียหายแก่
ทรัพย์สินนั้น โดยการบริหารจัดการทรัพย์สินได้ถูกกาหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและ
การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และการบริหารจัดการทรัพย์สินต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับและหนังสือสั่งการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ซึง่ ต้องดาเนินการด้วยความสุจริต
คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และตรวจสอบได้
ความสาคัญของการบริหารรถและเครื่องจักรกลอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ที่ใช้เป็น
ทรัพยากรทางการบริหารประเภทหนึ่งที่ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดาเนินการหรือการบริหารจัดการ
ที่เรียกว่า 4 M ซึ่งประกอบด้วย 1. Man 2. Money 3. Material 4. Management โดยการบริหาร
ภาครัฐจาเป็นต้องมี พัสดุ (Material) อันเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สาคัญในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อ
ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุพันธกิจขององค์กร ดังนั้น การจัดหาให้ได้มา การควบคุม การใช้ประโยชน์
การบารุงรักษา และการจาหน่ายพัสดุ ต้องดาเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
พ.ศ. 2560 และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากรถและเครื่ องจักรถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง
หน่วยงานของรัฐจาเป็นต้องมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ ในการดาเนินงาน รัฐจึงได้บัญญัติกฎหมายขึ้นมา
ควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกล ประกอบกับ รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการไม่มีภาระใน
การเสียภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงจาเป็นต้องมีการควบคุมการใช้งาน
ของรถและเครื่องจักรกล และมีการตรวจสอบเพื่อให้รถและเครื่องจักรกลมีสภาพสมบูรณ์และยังคงมี
สมรรถภาพที่จะใช้งานได้ มีความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งการใช้งานรถและเครื่องจักรกลของรัฐ
จะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลและใช้งานรถและ
เครื่องจักรกลที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับรถและเครื่องจักรกลของราชการ อีกทั้ง
ต้องปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน เป็นเหตุให้ภาครัฐต้องกาหนดระเบียบการควบคุมให้สูงกว่า
มาตรฐานกลางสาหรับพัสดุอื่น ๆ เช่น ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 หรือ
ระเบียบอื่น ๆ ตามประเภทของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้กาหนดถึงการใช้รถและ
เครื่ องจั กรกลที่ มีวั ต ถุป ระสงค์ใ ห้ น าไปใช้ เ พื่ อ กิจ การอั นเป็ นส่ ว นรวมของส่ ว นราชการ หรือ เพื่ อ
ประโยชน์ของทางราชการ ตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการเจ้าของรถนั้นได้กาหนดขึ้น และหน่วยงานของ
2

รัฐต้องมีการควบคุม การใช้ประโยชน์ การเบิกจ่ายเชื้อเพลิง การบารุงรักษา และการตรวจสอบสมรรถนะ


รถและเครื่องจักรกลให้มีสภาพที่สมบูรณ์ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับรถและเครื่องจักรกลอย่างเคร่งครัด
ด้วยกรมชลประทานเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีภารกิจสาคัญเกี่ยวกับการดาเนินการ
ก่อสร้างด้านการชลประทานและการบริหารจัดการด้านชลประทาน ซึ่งต้องใช้รถและเครื่องจักรกล
หลายประเภทและเป็นจานวนมาก เพื่อให้การดาเนินการตามภารกิจบรรลุเป้าหมาย รถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทานส่ว นใหญ่ ได้แ ก่ เครื่อ งจัก รกลประเภทต่า ง ๆ เช่น เครื่อ งจัก รกลก่อ สร้าง
เครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกลสูบน้า และเครื่องจักรกลอื่น ๆ เรือประเภทต่าง ๆ เช่น เรือนาค เรือขุด
และเรือกาจัดวัชพืช รวมทั้งยานพาหนะประเภทต่าง ๆ เช่น รถนาค รถขุด รถแทรกเตอร์ และยานพาหนะ
อื่น ๆ เป็นต้น ประกอบกับในรายงานการเงินของกรมชลประทานจะมีทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกล
ที่แสดงมูลค่าสูงอย่างเป็นสาระสาคัญ สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้เล็งเห็นถึงความสาคัญ ของ
การบริหารจัดการรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้จ่ายเงินหรือใช้
ประโยชน์ในทรัพย์สินของแผ่นดินว่า ได้ดาเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และแบบแผนการปฏิบัติราชการหรือไม่ มีการบันทึกรายการทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกล
ได้ครบถ้วนตามจานวนที่มีอยู่จริงหรือไม่ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด เกิดผลสัมฤทธิ์ และมี
ประสิทธิภาพหรือไม่ จึงได้กาหนดให้มีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการใช้รถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทาน ประจาปี พ.ศ. 2562 - 2563 การตรวจสอบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่และ
อานาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
วัตถุประสงค์กำรตรวจสอบ
1. เพื่อให้ทราบว่าการใช้รถและเครื่องจักรกลเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ
2. เพื่อให้ทราบว่า การบันทึกรายการรถและเครื่องจักรกลครบถ้วน และการจัดหา
การใช้และการควบคุม รถและเครื่องจักรกล เกิดผลสัมฤทธิ์ และมี ประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์
ทีก่ รมชลประทานกาหนดไว้หรือไม่
3. เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน
ขอบเขตกำรตรวจสอบ
1. ตรวจสอบการใช้ร ถและเครื ่อ งจัก รกลของกรมชลประทาน โดย “รถและ
เครื่องจักรกล” ที่ทาการตรวจสอบหมายถึง รถยนต์ที่ใช้ในการบริการประชาชนหรือใช้ในหน้าที่ของ
หน่วยงานของรัฐ เช่น รถยนต์ดับเพลิง รถยนต์บรรทุกน้า รถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอย รถบด รถแทรคเตอร์
รถพ่วง รถบัส และเครื่องจักรกลต่าง ๆ โดยไม่รวมถึงรถยนต์ส่วนกลางที่ใช้ในภารกิจปกติ
2. ตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานในช่วงปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562 – 2563
3. ตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกลสาหรับส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
จานวน 18 หน่วย ครอบคลุมรถและเครื่องจักรกล จานวน 369 รายการ
3

วิธีกำรตรวจสอบ
1. ศึกษา ทาความเข้าใจเกี่ยวกับ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และ
แบบแผนการปฏิบั ติร าชการ เช่น คาสั่ ง คู่มือ และแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้รถและ
เครื่องจักรกล และหนังสือสั่งการต่าง ๆ
2. ตรวจสอบความมีอยู่จริงและสภาพในปัจจุบัน ความพร้อมใช้งาน โดยสุ่มสังเกตการณ์
ตรวจสอบรถและเครื่องจักรกลในเรื่องเกี่ยวกับสภาพโดยทั่วไป การเคลื่อนที่ การใช้งาน ความพร้อมใช้งาน
ในภาพรวม และอื่น ๆ
3. ตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกล การควบคุมและการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
โดยสุ่มตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
4. ตรวจสอบการบารุงรักษาและซ่อมแซมรถและเครื่องจักรกล โดยสุ่มตรวจสอบ
เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการบารุงรักษาและการซ่อมแซม
5. สอบถามหรือสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลรถและ
เครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน และการขอข้อมูลเพื่อประกอบการตรวจสอบ
โดยให้เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานสามารถชี้แจงเหตุผลและแสดงพยานหลักฐานของตนได้
6. การวิเคราะห์ข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล
และตรวจสอบรายการที่ผิดปกติ
บทที่ 2
ผลกำรตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทาน เพื่อพิจารณาว่าการใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานเป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และ
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ กรมชลประทานกาหนดไว้ในการจัดหา การใช้ และการควบคุมรถและ
เครื่องจักรกล และเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทาน จานวน 18 หน่วยงาน ซึ่งครอบคลุมรถและเครื่องจักรกล จานวน 369 รายการ
โดยมีรายละเอียดหน่วยงานทั้ง 18 หน่วยงาน ดังนี้
1. สานักเครื่องจักรกล
2. สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง
3. สานักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก
4. สานักงานชลประทานที่ 5 จังหวัดอุดรธานี
5. สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
6. สานักงานชลประทานที่ 13 จังหวัดกาญจนบุรี
7. สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
8. สานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช
9. โครงการชลประทานนครนายก
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม
11. โครงการชลประทานชัยนาท
12. โครงการชลประทานชลบุรี
13. โครงการชลประทานชุมพร
14. โครงการชลประทานระนอง
15. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี
16. โครงการส่งน้าและบารุงรักษาแม่ลาว (จังหวัดเชียงราย)
17. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา)
18. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา)
จากการตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
ทั้ง 18 หน่วยงานพบว่า การใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่เป็นไปตาม
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ รวมทั้งการใช้รถและ
เครื่องจักรกลยังไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการควบคุมรถและเครื่องจักรกล ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้
ไม่ส ามารถกล่าวได้ว่าการใช้ร ถและเครื่องจักรกลดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์ เนื่องจากผู้บริห ารของ
ส่ว นราชการภายในกรมชลประทานหลายหน่ว ยงานยัง ไม่ได้ให้ความสาคัญในการควบคุมกากับ
ดูแลให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานรถและเครื่องจักรกลปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายใน
ที่เกี่ยวกับการใช้รถและเครื่องจักรกลอย่างเพียงพอ โดยสามารถสรุปผลการตรวจสอบได้ ดังนี้
5

ข้อตรวจพบข้อที่ 1 กำรไม่ปฏิบัติตำมกฎหมำย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผน


กำรปฏิบัติรำชกำร
1.1 ไม่มีกำรต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกล ไม่ได้นำสมุดคู่มือจดทะเบียนไปประทับตรำ
ได้รับกำรยกเว้นภำษี ไม่มีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลให้ตรวจสอบ และไม่ทำประกันภัย
รถและเครื่องจักรกล
จากการตรวจสอบใบคู่มือจดทะเบียนและการทาประกันภัยของรถและเครื่องจักรกล
สาหรับหน่วยงานทั้ง 18 หน่วยงานที่กล่าวข้างต้น พบว่า หลายหน่วยงานไม่มีการต่อทะเบียนรถ ไม่ทา
ประกันภัยรถและเครื่องจักรกล บางหน่วยงานไม่สามารถนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกล
มาให้ตรวจสอบได้ และสาหรับหน่วยงานที่สามารถนาสมุดคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลมาให้
ตรวจสอบได้กลับพบว่าบางหน่วยงานมิได้นาสมุดคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี
จากผลการตรวจสอบดังกล่าว ถือได้ว่าการใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานไม่ได้ปฏิบัติให้
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ โดยกฎหมาย
ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกล มีดังนี้
1. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้
ผู้ใดใช้รถดังต่อไปนี้
(1) รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
(2) รถที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน
(3) รถที่ยังมิได้เสียภาษีประจาปี
(4) รถที่แจ้งการไม่ใช้รถ
(5) รถที่ทะเบียนระงับ
2. ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดาเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถ
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 ข้อ 10 ระบุไว้ว่า “ให้กาหนดประเภทรถในการขอจดทะเบียน
และการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถดังต่อไปนี้
(1) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย. 1)
(2) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย. 2)
(3) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย. 3)
(4) รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รย. 4)
(5) รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย. 5)
(6) รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รย. 6)
(7) รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย. 7)
(8) รถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย. 8)
(9) รถยนต์บริการธุรกิจ (รย. 9)
(10) รถยนต์บริการทัศนาจร (รย. 10)
(11) รถยนต์บริการให้เช่า (รย. 11)
(12) รถจักรยานยนต์ (รย. 12)
(13) รถแทรกเตอร์ (รย. 13)
(14) รถบดถนน (รย. 14)
6

(15) รถใช้งานเกษตรกรรม (รย. 15)


(16) รถพ่วง (รย. 16)
(๑๗) รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รย. ๑๗)
นอกจากนี้ข้อ 17 ของระเบีย บดัง กล่า วระบุไ ว้ว่า “รถทุก คัน ที่จ ดทะเบีย นแล้ว
ต้อ งเสียภาษีรถประจาปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจาปี รถที่ได้รับยกเว้นภาษีรถ
ประจาปี เจ้าของรถต้องยื่นขอรับการยกเว้นภาษีประจาปีทุกปี”
3. ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 หมวด 4 ข้อ 21 ระบุไว้ว่า
“ยานพาหนะที่จัดหาทางส่วนกลางของกรมชลประทานให้หน่วยงานควบคุมเป็นผู้ดาเนินการจดทะเบียน
ยานพาหนะ” ข้อ 22 ระบุไว้ว่า “ยานพาหนะที่จัดหาทางส่วนภูมิภาคให้หน่วยงานเจ้าสังกัดเป็น
ผู้ดาเนินการจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตใช้เรือ แล้วส่งสาเนาคู่มือจดทะเบียนยานพาหนะหรือ
สาเนาใบอนุญาตใช้เรือนั้นให้หน่วยงานควบคุมภายใน 15 วัน และเมื่อส่งคืนยานพาหนะเป็นยานพาหนะ
ส่วนกลางประจากรม ให้ทาการโอนทะเบียนยานพาหนะไปให้หน่วยงานควบคุมรับโอนยานพาหนะ
เพื่อการเสีย ภาษีร ถยนต์ป ระจาปีห รือต่อใบอนุญาตใช้เรือ และข้อ 24 ระบุไว้ว่า “ให้ห น่ว ยงาน
เจ้าสังกัดหรือหน่วยงาน ทาการเสียภาษีรถยนต์ประจาปี ณ สานักงานผู้รับชาระภาษีตามกฎหมายหรือ
ต่อใบอนุญาตใช้เรือ”
4. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 และวันที่ 21 มิถุนายน 2548
ที่เห็นชอบในหลักการให้รถราชการต้องจัดให้มีประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
5. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0409.6/ว 349 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 เรื่อง
ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการประกันภัยรถราชการ ข้อ 1.1 กาหนดให้ส่วนราชการ
ต้องจัดให้มีประกันภัยรถราชการภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ผลการตรวจสอบที่พบว่าส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่มีการต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกล
ไม่ได้นาสมุดคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี ไม่มีสมุดคู่มือ จดทะเบียนรถและ
เครื่องจักรกลให้ตรวจสอบ และไม่ทาประกันภัยรถและเครื่องจักรกล มีรายละเอียดปรากฏตามตาราง
แสดงข้อมูลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน ดังนี้
ตำรำงที่ 1 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนและกำรประกันภัย
รถและ ไม่ยื่นชำระ ไม่มี ไม่มีใบคู่มือ ไม่ทำ
เครื่องจักรกล ภำษีประจำปี กำรประทับตรำ จดทะเบียน ประกันภัย
ที่ตรวจสอบ (ต่ออำยุ ได้รับยกเว้นภำษี ให้ตรวจสอบ (จำนวน)
ชื่อหน่วยงำน (จำนวน) ทะเบียน) ในใบคู่มือจด (จำนวน)
(จำนวน) ทะเบียน
(จำนวน)

(1) (2) (3) (4) (5) (6)


1. สานักเครื่องจักรกล 22 - 19 - -
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 - 17 2 -
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 13 13 3 -
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 - 9 4 -
7

รถและ ไม่ยื่นชำระ ไม่มี ไม่มีใบคู่มือ ไม่ทำ


เครื่องจักรกล ภำษีประจำปี กำรประทับตรำ จดทะเบียน ประกันภัย
ที่ตรวจสอบ (ต่ออำยุ ได้รับยกเว้นภำษี ให้ตรวจสอบ (จำนวน)
ชื่อหน่วยงำน (จำนวน) ทะเบียน) ในใบคู่มือจด (จำนวน)
(จำนวน) ทะเบียน
(จำนวน)

(1) (2) (3) (4) (5) (6)


5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 - 5 2 -
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 - 4 - 7
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 - 1 5 -
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 13 - 5 -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 1 - -
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 - - - -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 4 - - -
12. โครงการชลประทานชลบุรี 41 2 - 1 -
13. โครงการชลประทานชุมพร 16 - - - -
14. โครงการชลประทานระนอง 9 - - - -
15. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 - 5 2 -
16. โครงการส่งน้าฯแม่ลาว 23 - - - -
17. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 - - 10 -
18. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 13 13 6 -
รวมทั้งสิ้น 369 46 86 40 7
จากตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่แยกรายละเอียด
ข้อตรวจพบข้างต้นมีประเด็นข้อตรวจพบทั้งสิ้น 4 ประเด็น คือ
ก. กำรไม่ต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกล
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการต่อ ทะเบียนรถและเครื่องจักรกลของ
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จานวน 18 หน่วยงาน โดยมีรถและ
เครื่องจักรกลที่ทาการตรวจสอบทั้งสิ้น 369 รายการ พบว่า มีบางหน่วยงานไม่ยื่นชาระภาษีประจาปี
(ต่ออายุทะเบียน) เป็นจานวน 6 หน่วยงาน จาก 18 หน่วยงาน คิดเป็นสัด ส่วนร้อยละ 33 ของ
จานวนหน่วยงานที่ได้เลือกตรวจสอบ ซึ่งเมื่อพิจารณาจานวนรถและเครื่องจักรกลที่ได้เลือกตรวจสอบ
ทั้งสิ้น 369 รายการ พบว่ามีรถและเครื่องจักรกล จานวน 46 รายการ ไม่ยื่นชาระภาษีประจาปี
(ต่ออายุทะเบียน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ โดยพบว่าใน 6 หน่วยงาน
ที่ไม่ต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกลดังกล่าวมี 3 หน่วยงาน ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 3 จังหวัด
พิษณุโลก สานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7
(จังหวัดสงขลา) ที่ไม่ยื่นชาระภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) สาหรับรถและเครื่องจักรกลที่ควบคุมดูแล
ของแต่ละแห่ง เป็นจานวนเท่ากันคือ 13 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 ของจานวนที่ เลือกตรวจสอบ (รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1 ตาราง
แสดงข้อมู ล ข้ อ ตรวจพบเกี่ ย วกับ ใบคู่มื อ จดทะเบีย นและการประกันภั ย ช่อง (3)) ทั้งนี้ รถและ
8

เครื่องจักรกลที่ไม่ยื่นชาระภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) ให้เป็นปัจจุบันยังคงมีการใช้งานในภารกิจ


ต่าง ๆ ของกรมชลประทานอย่างต่อเนื่อง
การยื่นชาระภาษีประจาปีรถและเครื่องจักรกล (ต่ออายุทะเบียน) เป็นไปตามข้อกาหนด
ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 ที่ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถ
ดังต่อไปนี้
(1) รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
(2) รถที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน
(3) รถที่ยังมิได้เสียภาษีประจาปี
(4) รถที่แจ้งการไม่ใช้รถ
(5) รถที่ทะเบียนระงับ
และมาตรา 8 ได้ระบุถึงรถที่ ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งรถและเครื่องจักรกล
ของทางราชการโดยทั่วไปไม่อยู่ในข้อกาหนดตามมาตรา 8 นอกจากนี้มาตรา 32 ได้กล่าวถึงเจ้าของ
รถมีหน้าที่เสียภาษีประจาปี และระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดาเนินการเกี่ยวกับทะเบียน
และภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 ข้อ 17 ระบุไว้ว่า “รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว
ต้องเสียภาษีรถประจาปีเว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจาปี รถที่ได้รับการยกเว้นภาษี
รถประจาปีไม่ต้องเสียภาษีรถประจาปี เจ้าของรถต้องยื่นขอรับการยกเว้นภาษีประจาปีทุกปี ” ดังนั้น
หน่วยงานราชการทุกแห่งจึงต้องนารถและเครื่องจักรกลที่มีอายุเกิน 7 ปี ไปขอต่ออายุทะเบียนและ
ยื่นขอรับการยกเว้นเสียภาษีประจาปีทุกปี
สาหรับระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 หมวด 4 การจัดหา
การขึ้นทะเบียน การยืม และการจ่ายโอนยานพาหนะ ได้กล่าวถึงยานพาหนะของกรมชลประทานที่
จะต้องมีการดาเนินการจดทะเบียนยานพาหนะ และให้หน่วยงานเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการภายใน
กรมชลประทานที่ควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกลเป็นผู้ทาการเสียภาษีรถยนต์ประจาปี (ต่ออายุ
ทะเบียน) ณ สานักงานผู้รับชาระภาษี
สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่ นารถและเครื่องจักรกลทุกรายการไป
ทาการยื่นเสียภาษีรถและเครื่องจักรกลประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) เนื่องจาก
(1) ในการยื่นเสียภาษีรถยนต์ประจาปี กรมการขนส่งทางบกหรือสานักงานขนส่ง
จังหวัดจะต้องมีการตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณ์หรือแผ่ นสะท้อนแสง ซึ่งเป็นไปตามประกาศ
กรมการขนส่งทางบก เรื่อง กาหนดคุณลักษณะ สี ขนาด จานวน และตาแหน่งการติดตั้ง รวมทั้ง
ประเภทและลักษณะของรถที่ต้องมีอุปกรณ์หรือแผ่นสะท้อนแสง พ.ศ. 2560 ในขณะที่รถและ
เครื่องจักรกลของกรมชลประทานมีลักษณะไม่เป็นไปตามประกาศดังกล่าว ซึ่งส่วนราชการภายใน
กรมชลประทานมิได้ดาเนินการแก้ไขปรับปรุงให้รถและยานพาหนะมีสภาพเป็นไปตามคาแนะนาของ
กรมการขนส่งทางบกหรือสานักงานขนส่งจังหวัด เช่น รถบรรทุกของกรมชลประทานที่ไม่มีอุปกรณ์
หรื อแผ่ นสะท้อนแสงตามข้ อก าหนด ซึ่งเจ้ าหน้าที่ตรวจสภาพรถได้แ นะนาให้ กรมชลประทานไป
ดาเนินการติดตั้งให้เรียบร้อยก่อนยื่นเสียภาษีประจาปี แต่กรมชลประทานมิได้ดาเนินการตามคาแนะนา
ส่งผลให้ไม่สามารถยื่นเสียภาษีรถยนต์ประจาปีได้
(2) ข้อกาหนดทางกฎหมายหรือระเบียบของกรมการขนส่งทางบกในการจัดประเภท
รถยนต์เพื่อเสียภาษีเปลี่ยนแปลงไป โดยกรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ว่าด้วยการขอจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งเกิน 12 ที่นั่ง และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มี
9

น้าหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม พ.ศ. 2558 ทาให้รถยนต์บรรทุกที่มีน้าหนักรถเกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม


ต้องนาไปจดทะเบียนเป็นรถบรรทุกส่วนบุคคล แต่หากรถยนต์บรรทุกที่มีน้าหนักไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม
ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนาไปจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งพบว่าเหตุผลหนึ่งที่รถยนต์
บรรทุกของกรมชลประทานที่มีน้าหนักรถยนต์ ไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม ไม่ได้ถูกนาไปต่ออายุทะเบียน
เนื่องจากรถยนต์ดังกล่าวเดิมจดทะเบียนเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล เพราะในอดีตข้ อกาหนดทาง
กฎหมายหรือระเบียบของกรมการขนส่งทางบกได้กาหนดให้รถยนต์ที่มีน้าหนักดังกล่าวจดทะเบียน
เป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ต่อมาเมื่อกรมการขนส่งทางบกได้แก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียน
รถยนต์ ทาให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ บรรทุกที่มีน้าหนักไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม ต้องไปจดทะเบียน
ขอเปลี่ยนแปลงประเภทรถยนต์ เพื่อจะสามารถต่ออายุทะเบียนได้ แต่เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานผู้
ควบคุมดูแล ครอบครองและใช้งานรถยนต์บรรทุกของกรมชลประทานที่มีน้าหนักไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม
กลับไม่ได้มีการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงประเภทรถยนต์ บรรทุกจากที่เคยจดทะเบียนเป็นรถยนต์บรรทุก
ส่วนบุคคลให้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลตามข้อกาหนดในระเบียบข้างต้นให้ถูกต้องเสียก่อน ส่งผลให้ กรม
ชลประทานไม่ส ามารถนารถยนต์ บรรทุกที่มีน้าหนักไม่เกิน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม ไปยื่นขอชาระภาษี
ประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) ได้
(3) รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานบางรายการยังไม่มีการติดตั้งเครื่องบันทึก
ข้อมูลการเดินทาง (Global Positioning System (GPS)) ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กาหนด
ประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง
ของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถได้แนะนา
ให้เ จ้าหน้าที่ของกรมชลประทานไปดาเนินการติดตั้ง GPS ในรถยนต์ให้เรียบร้อ ย แต่เ จ้า หน้าที่
กรมชลประทานชี้แจงว่ารถยนต์ของกรมชลประทานส่วนใหญ่มิได้มีการติดตั้ง GPS ตามคาแนะนา
ส่งผลให้ไม่สามารถยื่นชาระภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) ได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศ
กรมการขนส่งทางบกที่กล่าวข้างต้น
(4) รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานบางรายการมีอายุการใช้งานนานและ
ไม่มีการยื่นเสียภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) มาเป็นเวลานานเช่นกัน ดังนั้น กรมชลประทานจึงมิได้นา
รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวเข้าตรวจสภาพรถและเครื่องจักรกลเพื่อยื่นชาระภาษีประจาปี (ต่ออายุ
ทะเบียน)
(5) รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานมีสภาพที่ไม่สามารถนาไปยื่นชาระภาษี
ประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) ได้ โดยมีสาเหตุจากการชารุด หรืออยู่ระหว่างการซ่อมแซม หรือมีการใช้งาน
นานจนสภาพของรถและเครื่องจักรกลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ การตรวจสภาพรถที่กรมการขนส่ง
ทางบกกาหนด ส่งผลให้กรมชลประทานไม่สามารถนารถและเครื่องจักรกลที่ไม่อยู่ในเกณฑ์การตรวจ
สภาพรถและเครื่องจักรกลเข้าตรวจสอบสภาพรถเพื่อยื่นชาระภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) ได้
(6) รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานอยู่ระหว่างการปฏิบัติงานภาคสนาม
จึงไม่ได้ดาเนินการยื่นเสียภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) ในเวลาที่กาหนดตามกฎหมายได้
การที่ร ถและเครื่อ งจัก รกลของกรมชลประทานมิไ ด้ทาการยื่น เสีย ภาษีป ระจาปี
(ต่ออายุทะเบียน) ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น จนเป็นเหตุให้กรมชลประทานไม่สามารถนารถและ
เครื่องจักรกลดังกล่าวยื่นเสียภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) ซึ่งเมื่อนารถและเครื่องจักรกลดังกล่าว
ไปใช้งานอาจจะเกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากรถและเครื่องจักรกลอาจไม่อยู่ในสภาพพร้อม
ใช้งาน และกรมชลประทานไม่สามารถติดตามการใช้รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวได้ หากไม่มีการติดตั้ง
10

GPS ส่งผลให้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานขาดประสิทธิภาพในการใช้งาน หรืออาจนารถ


และเครื่องจักรกลไปใช้งานผิดประเภทได้ นอกจากนี้ผู้ใช้รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวอาจเป็นผู้กระทา
ผิดกฎหมายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคาสั่งของผู้บังคับบัญชา เพราะต้องนารถที่ไม่ได้ยื่น
เสียภาษี (ต่ออายุทะเบียน) ไปปฏิบัติงาน ไม่มีการตรวจสภาพรถก่อนนาไปใช้งาน ซึ่งการที่กฎหมาย
กาหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต้องยื่นเสียภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) นั้น นอกจากจะเป็นเรื่ องของ
ภาษีที่รัฐบาลพึงได้รับแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังคานึงถึงความปลอดภัยของสาธารณะ จึงกาหนดให้
มีการตรวจสภาพรถก่อนยื่นเสียภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. 2522 มาตรา 35/3 ระบุไว้ว่า รถที่ค้างชาระภาษีประจาปีติดต่อกันสามปี ให้การจดทะเบียนรถ
เป็นอันระงับไป ซึ่งการที่รถยังมิได้เสียภาษีประจาปีและรถที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนนั้นถือเป็นรถ
ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถดังกล่าวต่อไปตามข้อกาหนดในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 (3)
และ (5) และหากหน่วยงานใดนารถดังกล่าวไปใช้จะผิดกฎหมายตามที่บัญญั ติไว้ และมีบทลงโทษ
ตามที่กาหนดไว้ในมาตรา 60 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 (3) และ (5) ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกิน 2,000 บาท และมาตรา 61 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 15 มาตรา 28 หรือมาตรา 35/3
วรรค 1 หรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 36 หรือมาตรา 53 วรรค 2 ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ข. กำรไม่นำใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตรำได้รับกำรยกเว้นภำษี
จากการตรวจสอบใบคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลทั้ง 18 หน่วยงาน พบว่า
มี 9 หน่วยงาน ที่ไม่มีการนาใบคู่มือการจดทะเบียนไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี คิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 50 ของจานวนหน่วยงานที่เลือกตรวจสอบ โดยจาก 9 หน่วยงานดังกล่าวมีถึง 8 หน่วยงาน
มีรถและเครื่องจักรกลที่พบว่าไม่มีการประทับตราได้รับยกเว้นภาษีในใบคู่มือจดทะเบียนเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 20 ขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบว่ามีรถและเครื่องจักรกล จานวน 86 รายการ ที่ไม่นาใบคู่มือ
จดทะเบีย นไปประทับ ตราได้รับ ยกเว้น ภาษี คิด เป็น ร้อ ยละ 23 ของจานวนที่เ ลือ กตรวจสอบ
(รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนและ
การประกันภัย ช่อง (4)) ทั้งนี้ หน่วยงานที่ไม่นาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับยกเว้นภาษี
ใน 9 หน่วยงานดังกล่าว มี 4 หน่วยงานที่มีสัดส่วนของการไม่นาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตรา
ได้รับการยกเว้นภาษีเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 65 ขึ้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สานักเครื่องจักรกล ไม่นาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับยกเว้นภาษี
เป็นจานวน 19 รายการ ของจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมดจานวน 22 รายการ คิดเป็น สัดส่วน
ร้อยละ 86
2. สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง ไม่นาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตรา
ได้รับยกเว้นภาษี เป็นจานวน 17 รายการ ของจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมดจานวน 20 รายการ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85
3. สานักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ไม่นาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตรา
ได้รับยกเว้นภาษี เป็นจานวน 13 รายการ ของจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมดจานวน 20 รายการ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65
11

4. ส่ ว นบริ ห ารเครื่ อ งจั ก รกลที่ 7 (จั ง หวั ด สงขลา) ไม่ น าใบคู่ มื อ จดทะเบี ย นไป
ประทับตราได้รับยกเว้นภาษี เป็นจานวน 13 รายการ จากจานวนที่ เลือกตรวจสอบทั้งหมดจานวน
20 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65
ซึ่งจะเห็นได้ว่าสานักเครื่องจักรกลที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกล
กลับไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ
โดยมีสัดส่วนการไม่นาใบคู่มือจดทะเบียนของรถและเครื่องจักรกลที่ตรวจสอบไปประทับตราได้รับยกเว้น
เสียภาษีสูงที่สุด โดยจากการตรวจสอบพบเพียงเอกสารแสดงการยื่นต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกล
แต่ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลไม่พบตราประทับที่ระบุว่ารถและเครื่องจักรกลดังกล่าว
ได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมชลประทานชี้แจงว่าได้นารถและเครื่องจักรกลไปยื่นเสียภาษีประจาปี
(ต่อ อายุท ะเบี ย น) แล้ว แต่ลืม นาสมุด คู่ มื อ จดทะเบีย นไปประทั บ ตราได้รั บ ยกเว้น ภาษี ทั้ง นี้
ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 (3) ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังมิได้เสียภาษีประจาปี
และระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดาเนินการเกี่ยวกับ ทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่า
ด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 ข้อ 17 วรรคแรก ระบุไว้ว่า รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจาปี
เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจาปี และข้อ 17 วรรคสอง ระบุไว้ว่า รถที่ได้รับการยกเว้น
ภาษีร ถประจาปี เจ้าของรถต้องยื่นขอรับการยกเว้นภาษีประจาปีทุกปี นั่นแสดงว่าถึงแม้รถของ
กรมชลประทานจะเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจาปี แต่กรมชลประทานยังคงมี หน้าที่
ต้องไปยื่นขอการยกเว้นภาษีประจาปีทุกปี ซึ่งตามระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
ข้อ 24 ระบุไว้ว่า ให้หน่วยงานเจ้าสังกัดหรือหน่วยงานทาการเสียภาษีรถยนต์ประจาปี ณ สานักงาน
ผู้รับชาระภาษีตามกฎหมาย หรือต่อใบอนุญาตใช้เรือ ซึ่งหากรถดังกล่าวได้รับการยกเว้นภาษี เจ้าหน้าที่
ผู้เกี่ยวข้องต้องนาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี จึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติ
ที่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่กล่าวข้างต้น
สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่ได้นาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตรา
ได้รับยกเว้นภาษี เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่กรมชลประทานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ให้ความสาคัญในการนาใบคู่มือจดทะเบียน
ไปประทับตราได้รับยกเว้นภาษี แม้ว่าจะมีการยื่นเสียภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) แล้วก็ตาม
ด้วยอาจเห็นว่าตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 ได้ระบุให้รถยนต์ของส่วนราชการ
ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจาปีแล้ว จึงไม่ได้ให้ความสาคัญกับการประทับตราที่กล่าวข้างต้น
(2) ผู้บริหารที่กากับดูแลส่วนราชการภายในกรมชลประทานดังกล่าวยังไม่ได้ควบคุมดูแล
และกาชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องนาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับยกเว้นภาษีทุกครั้ง
แม้ว่าจะเป็นรถและเครื่องจักรกลของหน่วยงานราชการก็ตาม
จากการที่ใบคู่มือจดทะเบียนประจารถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานไม่มี
การประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดยกฎหมายและระเบียบดังกล่าวมีเจตนาที่ จะบริหารจัดการ ควบคุม และนาข้อมูลไปจัดทาระบบ
เกี่ยวกับรถที่ต้องเสียภาษีประจาปีกับรถที่ได้รับการยกเว้นภาษีประจาปี เพื่อประโยชน์ในการกากับดูแล
ของรัฐและประโยชน์ในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ เมื่อเรียกตรวจสอบรถยนต์ที่ใช้อยู่ในที่
สาธารณะก็จะสามารถตรวจสอบเอกสารหลักฐาน (ใบคู่มือจดทะเบียน) ถึงการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งหากมีข้อกาหนดทางกฎหมายและระเบียบของหน่วยงานให้ถือปฏิบัติแล้ว และผู้บริหารได้ควบคุมดูแล
ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่กาหนดไว้ นั่นหมายถึงการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี
12

หากแต่หน่วยงานใดไม่ได้มีการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในนั้น ซึ่งแม้จะเห็นว่าเป็นเรื่องเพียง
เล็กน้อยที่ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายกับหน่วยงานได้โดยตรงในทันที แต่ก็ถือว่าจะเป็นเหตุให้
เจ้าหน้าที่กรมชลประทานไม่ให้ความสาคัญกับระบบการควบคุมภายใน (กฎหมายหรือระเบียบ) ที่หน่วยงาน
ได้วางไว้ จนอาจก่อให้เกิดการละเว้นและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ
ที่กาหนดไว้ ซึ่งในที่สุดอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับหน่วยงานได้ นอกจากนี้การไม่นาใบคู่มือจดทะเบียน
ประจารถและเครื่องจักรกลไปประทับตราได้รับการยกเว้นภาษี อาจเกิดจากผู้ควบคุมดูแลการใช้รถ
และเครื่องจักรกลมิได้นารถและเครื่องจักรกลบางรายการไปต่อทะเบียน ทาให้รถและเครื่องจักรกล
ดังกล่าวมิได้รับการตรวจสภาพ การนารถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้ต่อทะเบียนหรือที่ไม่ได้ตรวจสภาพ
ไปใช้งานนอกจากจะเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้วอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของรัฐและ
ของประชาชนด้วย
ค. กำรไม่สำมำรถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลมำให้ตรวจสอบ
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินขอให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่เลือกตรวจสอบ
ส่งใบคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลในกากับดูแลทั้งหมดมาเพื่อตรวจสอบ แต่พบว่ามีหน่วยงาน
จานวน 10 หน่วยงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ ซึ่งมีรถและเครื่องจักรกล
ที่ตรวจสอบ จานวน 40 รายการ ที่หน่วยงานไม่สามารถส่งใบคู่มือจดทะเบียนมาให้ตรวจสอบได้ และ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1 ตาราง
แสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนและการประกันภัย ช่อง (5)) สาหรับส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานที่ไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลให้ตรวจสอบเป็นจานวนสูงสุด 4
หน่วยงาน มีรายละเอียด ดังนี้
1. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) มีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่มี
ใบคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบเป็นจานวนถึง 10 รายการ จากจานวนที่ เลือกตรวจสอบทั้งหมด 26
รายการ ถือว่ามีสัดส่วนของการไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38
2. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา) มีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่มีใบคู่มือ
จดทะเบียนให้ตรวจสอบเป็นจานวนถึง 6 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมด 20 รายการ
ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนของการไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบ คิดเป็นร้อยละ 30
3. สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่มี
ใบคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบเป็นจานวนถึง 5 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมด 20
รายการ ถือว่ามีสัดส่วนของการไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบ คิดเป็นร้อยละ 25
4. สานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่มี
ใบคู่มือจดทะเบีย นให้ตรวจสอบเป็น จานวนถึง 5 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมด
20 รายการ ถือว่ามีสัดส่วนของการไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบ คิดเป็นร้อยละ 25
ทั้งนี้ ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 และ 7 ถือเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กากับของ
สานักเครื่องจักรกลที่เป็นหน่วยงานหลักของกรมชลประทานซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลรถและ
เครื่องจักรกลทั้งหมด แต่กลับมีการบริหารจัดการ ควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกลที่ไม่ถูกต้อง
ครบถ้วน ทั้งที่ควรจะเป็นแบบอย่างให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานหน่วยงานอื่น ๆ ได้ถือปฏิบัติตาม
ซึ่งส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานควบคุม หน่วยงานในส่วนภูมิภาค หรือ
หน่วยงานอื่น ๆ ที่จะต้องเป็นผู้ดาเนินการจดทะเบียน หรือต่อทะเบียนจะต้องจัดเก็บใบคู่มือจดทะเบียน
13

รถและเครื่องจักรกลให้พร้อมสาหรับการตรวจสอบอยู่เสมอ โดยต้องเก็บสาเนาใบคู่ มือจดทะเบียนรถ


และเครื่องจักรกลไว้กับยานพาหนะตลอดเวลาด้วย
สาเหตุ ที่ ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานไม่ มี ใ บคู่ มื อ จดทะเบี ย นรถและ
เครื่องจักรกลให้ตรวจสอบ เนื่องจาก
(1) กรมชลประทานมีนโยบายให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานสามารถยืมหรือ
โอนรถและเครื่องจักรกลในระหว่างหน่วยงานได้ ทาให้พบว่าบางครั้งหน่วยงานผู้ใช้รถและเครื่องจักรกล
ที่ได้รับมอบ ได้ยืม หรือได้รับโอนรถและเครื่องจักรกลมา แต่ไม่ได้รับมอบเอกสารใบคู่มือจดทะเบียน
ตามกฎหมายจากหน่วยงานผู้โอน
(2) ในกรณีที่เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทานเป็นผู้จัดซื้อรถและเครื่องจักรกล
โดยใช้เงินนอกงบประมาณ และส่งมอบรถและเครื่องจักรกลไปให้กับส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
แต่ยังไม่ได้ส่งมอบเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนไปด้วย
(3) ใบคู่มือจดทะเบียนที่จะต้องประจาอยู่กับรถและเครื่องจักรกลสูญหาย และไม่มี
การดาเนินการแจ้งความเพื่อขอใบคู่มือจดทะเบียนใหม่
(4) รถและเครื่องจักรกลส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานนานเกินกว่า 20 ปี หรือมีราคา
ตามบัญชีคงเหลือเท่ากับศูนย์หรือหนึ่งบาท ทาให้เจ้าหน้าที่ขาดการควบคุมในเรื่องการจัดให้มีใบคู่มือ
จดทะเบียนรถและเครื่องจักรกล
ผลจากการที่รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานบางรายการไม่มีใบคู่มือจดทะเบียน
รถและเครื่องจักรกลประจารถและเครื่องจักรกลนั้น ทาให้คาดได้ว่ามีรถและเครื่องจักรกลบางรายการ
ที่ไม่ได้มีการยื่นชาระภาษีประจาปี (ต่ออายุทะเบียน) การใช้รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวอาจเป็นการใช้รถ
ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ และหากมีการสูญหายหรือไม่สามารถใช้งานได้ รถและ
เครื่องจักรกลดังกล่าวอาจไม่ได้รับการดูแลและบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้
การที่รถและเครื่องจักรกลไม่ได้ถูกส่งมอบมาพร้อมเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นจากส่วนราชการ
ที่โอนให้ หรือจากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทานก็ตาม กรณีดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้หน่วยงาน
ผู้ใช้ไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนไปต่ออายุทะเบียน ส่งผลให้เกิดการขาดประสิทธิภาพในการใช้รถและ
เครื่องจักรกลและสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในการเรียกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ
ง. กำรไม่ทำประกันภัยรถและเครื่องจักรกล
จากการตรวจสอบการประกันภัยของรถราชการ ที่ส่วนราชการต้องจัดให้รถราชการ
ทุกคันทาประกันภัยรถราชการภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
พบว่า ส่วนราชการภายในของกรมชลประทาน 1 หน่วยงาน คือ สานักงานชลประทานที่ 13 จังหวัด
กาญจนบุรี ไม่ได้ทาประกันภัยส าหรั บรถทุกคันที่ควบคุมดูแล โดยมีรถที่ไม่ได้ทาประกันภัย จานวน 7
รายการ จากจานวนที่ตรวจสอบ 20 รายการ คิดเป็นร้อยละ 35 (รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1
ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนและการประกันภัย ช่อง (6)) ซึ่งถือเป็นการไม่
ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 และวันที่ 21 มิถุนายน 2548 ที่เห็นชอบ
ในหลักการให้รถราชการต้องจัดให้มีประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก
รถ พ.ศ. 2535 เพื่อให้รถของทางราชการทุกคันได้ประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ ซึ่งเป็นการป้องกันภัยที่
อาจจะเกิดขึ้นก่อนเกิดความเสียหาย เพื่อลดความเสียหายที่รัฐต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดใน
กรณีที่รถและเครื่องจักรกลของทางราชการเกิดอุบัติเหตุ หรือก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินหรือ
14

ชีวิตของประชาชน ซึ่งถือเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ ในการใช้รถและเครื่องจักรกล


ของรัฐ
สาเหตุที่สานักงานชลประทานที่ 13 จังหวัดกาญจนบุรี ไม่ดาเนินการทาประกันภัย
ภาคบังคับให้กับรถและเครื่องจักรกล เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องดังกล่าวแจ้งว่าไม่ทราบว่า
ต้องมีการจัดทาประกันภัยรถและเครื่องจักรกลของทางราชการด้วย ซึ่งจากการที่รถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทานไม่มีการจัดทาประกันภัยไว้อาจส่งผลให้เมื่อรถและเครื่องจักรกลซึ่งเป็นทรัพย์สิน
ของทางราชการสูญหายหรือประสบอุบัติเหตุ กรมชลประทานจะไม่ได้รับการชดเชยจากกรมธรรม์
ประกัน ภัย ที่ควรจะมีตามกฎหมาย และทาให้ผู้ใช้รถและเครื่ องจักรกลที่นารถและเครื่องจักรกล
ไปปฏิบัติหน้าที่อาจต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายด้วย
จากประเด็นข้อตรวจพบ 4 ข้อข้างต้นสามารถสรุปผลการตรวจสอบได้ว่า ส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานที่ได้เลือกตรวจสอบจานวน 18 หน่วยงาน มีหลายหน่วยงานที่ไม่สามารถดาเนินการ
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี ตามข้อตรวจพบทั้ง 4 ข้อ ข้างต้นได้
อย่างครบถ้วน ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 77 ของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่ได้เลือกตรวจสอบ
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการตรวจสอบ
และจัดหาใบคู่มือจดทะเบียนให้ครบถ้วนพร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบ สาหรับกรณีไม่พบใบคู่มือ
จดทะเบียนดังกล่าวเนื่องจากการสูญหาย ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการติดต่อกรมการขนส่ง
ทางบกหรือสานักงานผู้รับชาระภาษี เพื่อขอคัดสาเนาหรือขอให้กรมการขนส่งทางบกหรือสานักงาน
ผู้รับชาระภาษีออกเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนตามกฎหมายให้ถูกต้อง และกาชับให้เจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบจัดเก็บเอกสารหลักฐานให้รัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดการสูญหายอย่างเช่นในปัจจุบันอีกต่อไป
ส่วนกรณีที่ไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนให้ตรวจสอบจากสาเหตุอื่น ๆ ขอให้ผู้บริหารสั่งการให้เจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบควบคุมดูแล หรือใช้งานรถและเครื่องจักรกลดาเนินการตรวจสอบและสอบยันว่ารถและ
เครื่องจักรกลดังกล่าวได้มาโดยวิธีใด และใบคู่มือจดทะเบียนอยู่ในการครอบครองของหน่วยงานใด
เพื่อทาการน าใบคู่ มื อจดทะเบี ยนมาประจ าที่หน่ วยงานผู้ ถื อกรรมสิ ทธิ์ และจั ดทาส าเนาใบคู่ มื อจด
ทะเบียนไว้ประจาที่รถและเครื่องจักรกลทุกรายการ
2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดาเนินการตรวจสอบ
และรวบรวมข้อมูลรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้ นาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับการยกเว้น
ภาษีว่าการไม่นาไปประทับตราได้ยกเว้นภาษีดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด และให้เสนอข้อมูลผลการตรวจสอบ
อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ผู้บริหารทราบ เพื่อร่วมกัน หาแนวทางแก้ไข และกาหนดแนวปฏิบัติ
ในการต่อทะเบียนรถและเครื่องจักรกลที่ต้องให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการดูแลรถและเครื่องจักรกล
ให้ความสาคัญในการนาใบคู่มือจดทะเบียนไปประทับตราได้รับยกเว้นภาษีด้วยทุกครั้งที่มีการต่ออายุ
ทะเบียน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบทีเ่ กี่ยวข้องต่อไป
3. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทุก ๆ ขั้นตอน
การรับ การจ่าย และการโอนรถและเครื่องจักรกลในระหว่างหน่วยงาน จัดให้มีระบบการบริหาร
จัดการใบคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกล โดยกาชับให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่
ให้ยืมรถและเครื่องจักรกลต้องสาเนาใบคู่มือจดทะเบียนเป็นเอกสารหลักฐานไปกับตัวรถและเครื่องจักรกล
ไม่ว่ารถและเครื่องจักรกลคันดังกล่าวจะถูกนาไปใช้งานในส่วนราชการภายในกรมชลประทานหน่วยงาน
15

ใดก็ตาม และหากมีการโอนรถและเครื่องจักรกลไปให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานอื่น หน่วยงาน


ผู้โอนจะต้องส่งใบคู่มือจดทะเบียนรถและเครื่องจักรกลไปพร้อมกับรถและเครื่องจักรกลที่โอนไปด้วย
4. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการและกากับดูแลให้มีการตรวจสอบรถและ
เครื่องจักรกลทุกรายการที่เข้าเงื่อนไขต้องทาประกันภัยทุกคัน โดยให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
ที่ยังมิได้มีการจัดทาประกันภัยภาคบังคับสาหรับรถและเครื่องจักรกลได้จัดทาประกันภัยภาคบังคับสาหรับ
รถและเครื่องจักรกลให้เรียบร้อยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 และวันที่ 21
มิถุนายน 2548 ที่เห็นชอบในหลักการให้รถราชการต้องจัดให้มีประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0409.6/ว 349 ลงวันที่ 8
กันยายน 2548 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการประกันภัยรถราชการ
ข้อ 1.1 กาหนดให้ส่วนราชการต้องจัดให้มีประกันภัยรถราชการภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยให้มีการรายงานผลการตรวจสอบ เพื่อทราบสาเหตุที่ไม่ได้มีการจัดทา
ประกันภัยภาคบังคับ ดังกล่าว และทราบถึงจานวนรถและเครื่องจักรกลที่มิได้จัดทาประกันภัยภาค
บังคับว่ามีจานวนเท่าไร เพื่อจะได้จัดทาประกันภัยภาคบังคับให้ครบถ้วนต่อไป
1.2 ไม่มีกำรตรวจวัดมลพิษทำงอำกำศและระดับเสียงจำกท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกล
และไม่พบกำรรำยงำนผลกำรตรวจสอบ
จากการตรวจสอบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสีย ของรถ
และเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน พบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
ที่ควบคุมและใช้งานรถและเครื่องจักรกลไม่ได้นารถและเครื่องจักรกลบางรายการไปตรวจวัดมลพิษ
ทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสีย และไม่ได้รายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและระดับ
เสียงจากท่อไอเสียให้กับหน่วยงานควบคุมของกรมชลประทาน เพื่อให้หน่วยงานควบคุมรายงานผล
การดาเนินการให้ กับ กรมชลประทาน เพื่อรายงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม
ภายในกาหนดเวลาที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ ข้อตรวจพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า กรมชลประทานยัง
ขาดระบบการดูแลและบารุงรักษารถและเครื่องจักรกลที่ดี รวมทั้งไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และประกาศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้รถและเครื่องจักรกลมีสภาพที่ไม่พร้อมใช้งานได้อย่างเต็ม
ประสิทธิภาพ และยังถือว่าการปฏิบัติงานของกรมชลประทานไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ กฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้องใน
การตรวจสอบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถเครื่องจักรกล และที่
เกี่ยวข้องกับการรายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไปเสีย มีดังนี้
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 55 ให้รัฐมนตรีโดยคาแนะนาของคณะกรรมการควบคุมมลพิษและโดย
ความเห็น ชอบของคณะกรรมการสิ่ง แวดล้อ มแห่ง ชาติ มีอานาจประกาศในราชกิ จ จานุเ บกษา
กาหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกาเนิดสาหรับควบคุมการระบายน้าทิ้ง การปล่อยทิ้งอากาศเสีย
การปล่ อยทิ้ งของเสี ย หรื อ มลพิ ษ อื่ น ใดจากแหล่ ง ก าเนิ ด ออกสู่ สิ่ ง แวดล้ อ มเพื่ อ รั ก ษาคุ ณ ภาพ
สิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 64 ยานพาหนะที่จะนามาใช้จะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐาน
ควบคุมมลพิษจากแหล่งกาเนิดที่กาหนดตามมาตรา ๕๕
16

2. ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


ข้อ 18 ทวิ ที่ระบุว่า “ใหสวนราชการดาเนินการตรวจสอบและดูแลสภาพรถประจา
ตาแหนง รถสวนกลาง รถรับรอง และรถรับรองประจาจังหวัด มิให้มีมลพิษทางอากาศและระดับเสียง
จากท่อไอเสียเกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดลอมกาหนด (ปัจจุบัน
คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ในการเริ่มตรวจสอบมลพิษของรถราชการตามวรรคหนึ่งให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้า
ส่วนราชการที่จะพิจารณาดาเนินการได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้จะต้องดาเนินการตรวจสอบรถราชการ
ทุกคันในครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายใน ๖ เดือน นับแต่ที่ระเบียบมีผลบังคับ
นอกจากการตรวจสอบมลพิษของรถราชการตามวรรคสองแล้ว ให้มีการตรวจสอบ
มลพิษทุกระยะ ๖ เดือน หรือทุกระยะทาง ๑๕,๐๐๐ กิโลเมตร แล้วแต่จะถึงกาหนดอย่างใดก่อน และ
ภายหลังการซ่อมบารุงที่เกี่ยวกับระบบการทางานของเครื่องยนต์ทุกครั้ง เมื่อพบว่ารถราชการคันใด
มีมลพิษเกิน ระดับ มาตรฐานให้ ดาเนินการแก้ไขซ่อมบารุงหรือปรับ แต่ง สภาพ
เครื่องยนต์ให้ดีทันที
ให้ส่วนราชการแต่ละแห่ง รายงานผลการดาเนินงานให้กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยปีละครั้ง”
3. ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
ข้อ 79 ให้หน่วยงานควบคุมหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดเป็น ผู้ดาเนินการตรวจสอบ
และดูแลสภาพรถราชการมิให้มีมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียเกินระดับมาตรฐานที่
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกาหนด
ให้ตรวจสอบมลพิษของรถราชการทุกระยะ 6 เดือน หรือทุกระยะทาง 15,000
กิโลเมตร แล้วแต่จะถึงกาหนดอย่างใดก่อน และภายหลังการซ่อมบารุงที่เกี่ยวกับการทางานของเครื่องยนต์
ทุกครั้ง เมื่อพบว่ารถคันใดมีมลพิษเกินระดับมาตรฐานให้ดาเนินการแก้ไข ซ่อมบารุงหรือปรับแต่ง
สภาพเครื่องยนต์ให้ดีทันที
ข้อ 80 ให้หน่วยงานเจ้าสังกัดรายงานผลดาเนินงานให้หน่วยงานควบคุมทราบทุก
ครั้งที่ได้ดาเนินการไปตามตัวอย่ างแบบ 9 แนบท้ายระเบียบ และให้หน่วยงานควบคุมรายงานผลการ
ดาเนินการให้กรมชลประทานทราบ เพื่อรายงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใน
เดือนธันวาคมของทุกปี
4. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กาหนดมาตรฐานค่าควัน
ดาของรถยนตร์ที่ใช้เครื่องยนตร์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2562
5. ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กาหนดเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการตรวจวัดค่า
ควันดาจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2562 ประกาศ ณ วันที่ 29
มีนาคม 2562
6. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กาหนด
มาตรฐานฝุ่ น ละอองขนาดไม่ เ กิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่ว ไป ประกาศ ณ วันที่ 28
มกราคม 2553
ผลการตรวจสอบที่พบว่าส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่มีการตรวจวัดมลพิษ
ทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียสาหรับรถและเครื่องจักรกลที่อยู่ในการควบคุมดูแลและไม่มี
17

การรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียด
ปรากฎตามตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน ดังนี้
ตำรำงที่ 2 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับกำรตรวจวัดมลพิษฯ และกำรรำยงำนผล
กำรตรวจวัดมลพิษทำงอำกำศและระดับเสียงจำกท่อไอเสีย
รถและ กำรตรวจวัดมลพิษทำง ไม่รำยงำนผล
เครื่องจักรกล อำกำศและระดับเสียง กำรตรวจสอบมลพิษ
ที่ตรวจสอบ จำกท่อไอเสีย ทำงอำกำศและระดับ
ชื่อหน่วยงำน (จำนวน) มี ไม่มี เสียงจำกท่อไอเสียไป
กำรตรวจวัด กำรตรวจวัด ยังกระทรวง
(จำนวน) (จำนวน) ทรัพยำกรธรรมชำติ
และสิ่งแวดล้อม
(จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 - 22 22
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 20 - 20
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 5 15 20
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 - 21 21
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 19 1 20
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 - 20 20
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 - 20 20
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 18 2 20
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 20 - 20
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 22 - 22
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 6 3 9
12. โครงการชลประทานชลบุรี 41 41 - 41
13. โครงการชลประทานชุมพร 16 16 - 16
14. โครงการชลประทานระนอง 9 9 - 9
15. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 - 20 20
16. โครงการส่งน้าฯแม่ลาว 23 23 - 23
17. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 - 26 26
18. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 - 20 20
รวมทั้งสิ้น 369 199 170 369
18

จากตารางแสดงข้อมูล ของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่แยกรายละเอียด
ข้อตรวจพบข้างต้น มีประเด็นข้อตรวจพบทั้งสิ้น 2 ประเด็น คือ ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
ไม่ได้นารถและเครื่องจักรกลทุกรายการไปตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของ
รถเครื่องจักรกล และไม่พบการรายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสีย
ของรถเครื่องจักรกล ตามแบบ 9 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงสัดส่วนการตรวจวัดมลพิษทางอากาศฯ
และการรายงานผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศฯ ของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่นารถ
และเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ ไปตรวจวัดมลพิษทางอากาศฯ กับรถและเครื่องจักรกลที่ไม่นาไป
ตรวจวัดมลพิษทางอากาศฯ เป็นไปตามแผนภูมิ ดังนี้

รายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศ ระดับ
เ สี ย ง จ า ก ท่ อ ไ อ เ สี ย ใ ห้ กั บ ก ร ะ ท ร ว ง 18
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การตรวจสอบสภาพมลพิษของรถและเครื่องจักรกล
ทุ ก ระยะ 6 เดื อ น หรื อ ทุ ก ระยะทาง 15,000 7 4 7
กิโลเมตร

0 5 10 15 20
จานวนหน่วยงานที่สานักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ

ไม่มีทุกรายการ ไม่ครบถ้วน มีทุกรายการ

แผนภูมิที่ 1 กำรแสดงสัดส่วนของหน่วยงำนที่ดำเนินกำรตรวจวัดมลพิษทำงอำกำศและระดับเสียง
จำกท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกล และกำรไม่รำยงำนกำรตรวจวัดมลพิษทำงอำกำศ
และระดับเสียงจำกท่อไอเสียให้กระทรวงทรัพยำกรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อมทรำบ
จากแผนภูมิดังกล่าวแสดงให้ทราบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่ปฏิบัติให้
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการ ในเรื่อง
การตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลเป็นสัดส่วนที่สูงมาก
ถึงร้อยละ 61 (ไม่ตรวจสอบสภาพมลพิษของรถฯ จานวน 11 หน่วยงาน จาก 18 หน่วยงานที่เลือก
ตรวจสอบ) และไม่พบการรายงานการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและ
เครื่องจักรกลในกากับดูแลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่ต้องส่งให้หน่วยควบคุมเป็นสัดส่วนถึง
ร้อยละ 100 (ไม่มีรายงานการตรวจสอบสภาพมลพิษของรถฯ ทุกหน่วยงานที่ตรวจสอบ) ส่งผลให้
กรมชลประทานไม่สามารถจัดทารายงานการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสีย
เพื่อส่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ รายละเอียดผลการตรวจสอบทั้ง 2 ประเด็น
มีดังนี้
19

ก. กำรไม่นำรถและเครื่องจักรกลบำงรำยกำรไปตรวจวัดมลพิษทำงอำกำศและระดับเสียงจำกท่อ
ไอเสียของรถเครื่องจักรกล
ผลการตรวจสอบที่พบว่าส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่ได้นารถและเครื่องจักรกล
ไปตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลตามข้อกาหนดที่ระบุไว้
ในระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 18 ทวิ วรรคแรก
และวรรคสอง และระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ข้อ 79 ส่งผลให้เกิด
ปั ญหามลภาวะในเรื่ อ งฝุ่ น ละอองขนาดเล็ ก (ฝุ่ น PM 2.5 หรือชื่อเต็ม คือ Particulate matter with
diameter of less than 2.5 micron) ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็น 1 ใน 8
ตัววัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ทาให้ทุกภาคส่วนมีการรณรงค์ที่จะลดปริมาณฝุ่น PM 2.5
ทั้งนี้การตรวจวัดค่า PM 2.5 ต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36
(พ.ศ. 2553) เรื่อง กาหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป
ต้นเหตุหลักที่ทาให้เกิดฝุ่น PM 2.5 คือ
1. ไอเสียจากรถยนต์หรือจากการจราจร ซึ่งจากข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิ ษพบว่า
การเผาไหม้น้ามันดีเซลบวกกับการจราจรที่ติดขัด น่าจะเป็นต้นเหตุที่สาคัญที่สุด
2. อากาศพิษจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้
เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเชื้อเพลิงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะถ่านหิน
3. การเผาในที่โล่งและในที่ไม่โล่ง ซึ่งเกิดจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ของภาคการเกษตร
เพื่อเตรียมการเพาะปลูก การเผาป่า และการเผาขยะ
จึงเห็นได้ว่าปัญหาการเกิด PM 2.5 เพิ่มขึ้นในประเทศไทยมีต้นเหตุหลักจากไอเสีย
ของรถยนต์ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์น้ามันดีเซลไม่สมบูรณ์ โดยมีสาเหตุจากการขาด
การบารุงรักษาเครื่องยนต์อย่างเพียงพอ และการใช้งานรถและเครื่องจักรกลนานเกินอายุการใช้งาน
ตามปกติ การตรวจสอบของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงให้ความสาคัญในการควบคุมดูแล
การตรวจสภาพรถและเครื่องจักรกลอย่างสม่าเสมอ และเป็นไปตามที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ
คณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการที่กาหนดไว้ ทั้งนี้ กรมชลประทานได้กาหนดให้ทุกหน่วยงาน
ที่มีรถและเครื่องจักรกลต้องจัดทาแบบรายงานการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสีย
ของรถและเครื่อ งจัก รกลสาหรับ ส่ว นราชการภายในกรมชลประทานทั่ว ประเทศ ตามระเบีย บ
กรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ข้อ 79 ที่ระบุว่า “ให้หน่วยงานควบคุมหรือหน่วยงาน
เจ้าสังกัดเป็นผู้ดาเนินการตรวจสอบและดูแลสภาพรถราชการมิให้มีมลพิษทางอากาศและระดับเสียง
จากท่อไอเสียเกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกาหนด ให้ตรวจสอบ
มลพิษของรถราชการทุกระยะ 6 เดือน หรือทุกระยะทาง 15,000 กิโลเมตร แล้วแต่จะถึงกาหนด
อย่างใดก่อน และภายหลังการซ่อมบารุงที่เกี่ยวกับการทางานของรถและเครื่องยนต์ทุกครั้ง เมื่อพบว่า
รถคันใดมีมลพิษเกินระดับมาตรฐาน ให้ดาเนินการแก้ไข ซ่อมบารุงหรือปรับแต่งสภาพเครื่องยนต์ให้ดี
ทันที” นอกจากนั้น เพื่อให้การปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจวัด มลพิษทางอากาศและระดับเสียง
จากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 64 ที่ระบุว่า ยานพาหนะที่จะนามาใช้จะต้องไม่
ก่อให้เกิดมลพิษเกินกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกาเนิดที่กาหนดตามมาตรา ๕๕ ซึ่งได้ระบุ
ไว้ว่า “ให้รัฐมนตรีโดยคาแนะนาของคณะกรรมการควบคุมมลพิษและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
20

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากาหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกาเนิด
สาหรับควบคุมการระบายน้าทิ้ง การปล่อยทิ้งอากาศเสีย การปล่อยทิ้งของเสีย หรือมลพิษอื่นใดจาก
แหล่งกาเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่
กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้” และระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 18 ทวิ ที่สรุปได้ว่า ส่วนราชการต้องตรวจสอบและดูแลสภาพรถของหน่วยงาน
ไม่ให้มีมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียเกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมกาหนด การตรวจสอบมลพิษของรถราชการอยู่ในดุลยพิ นิจของหัวหน้าส่วนราชการ
ที่สามารถดาเนินการได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องดาเนินการตรวจสอบรถราชการทุกคันในครั้งแรก
ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ระเบียบมีผลบังคับ (คือวันที่ 8 กรกฎาคม 2523) และต้องทา
การตรวจสอบมลพิษของรถราชการทุกระยะ 6 เดือน หรือทุกระยะทาง 15,000 กิโลเมตร แล้วแต่
อย่างใดจะถึงกาหนดก่อน และภายหลังการซ่อมบารุงที่เกี่ยวกับระบบการทางานของเครื่องยนต์ก็ต้อง
มี ก ารตรวจสอบมลพิ ษ ของรถราชการทุ ก ครั้ ง ซึ่ ง เมื่ อ พบว่ า รถราชการคั น ใดมี ม ลพิ ษ เกิ น ระดั บ
มาตรฐาน จะต้องดาเนินการแก้ไข ซ่อมบารุงหรือปรับแต่งสภาพเครื่องยนต์ให้ดีทันที
ซึ่งในการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถราชการทุกคัน
จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานค่าควันดาจากรถเมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องมือ ในระบบต่าง ๆ รวมทั้งต้อง
เป็นไปตามเกณฑ์การตรวจวัดและวิธีการตรวจวัดค่าควันดาของรถยนต์ตามข้อกาหนดแนบท้ายประกาศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กาหนดมาตรฐานค่าควันดาของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์
แบบจุดระเบิดด้วยการอัด ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 และประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง กาหนดเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการตรวจวัดค่าควันดาจากท่อไอเสียของรถตามกฎหมายว่าด้วย
การขนส่งทางบก พ.ศ. 2562 ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2562
จากการที่ส านั กงานการตรวจเงินแผ่ นดินได้ ตรวจสอบรถและเครื่ องจั กรกลของกรม
ชลประทานในเรื่องที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
โดยการตรวจสอบการจัดทาแบบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและ
เครื่องจักรกลทั้ง 369 รายการ พบว่า ส่ว นใหญ่ร ถและเครื่อ งจัก รกลของส่ว นราชการภายใน
กรมชลประทานไม่ได้มีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกล
ซึ่งเป็นจานวนถึง 170 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (รายละเอียด
ปรากฏตามตารางที่ 2 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการตรวจวัดมลพิษฯ และการรายงาน
ผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสีย ช่อง (4))
นอกจากกรมชลประทานจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และแบบแผนการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวกับการตรวจวัดมลพิษ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้รถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทานไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ในฐานะที่กรมชลประทานเป็นหน่วยงานของรัฐจึงควรจะเป็น
แบบอย่างที่ดีต่อประชาชนในการดูแลรักษารถและเครื่องจักรกลให้มีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่สร้างปัญหาควันดา
กรมชลประทานควรต้องกากับดูแลให้รถและเครื่องจักรกลที่ใช้งานไม่ก่อให้เกิดภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM 2.5) ซึง่ เป็นต้นเหตุให้เกิดมลพิษกับสภาพแวดล้อม
สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่มีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและ
ระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกล เนื่องจาก
21

(1) เครื่องตรวจวัดมลพิษทางอากาศและเสียงของรถและเครื่องจักรกลที่ส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานใช้อยู่เป็นเครื่องเก่า มีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน ปัจจุบันไม่สามารถ
ใช้งานได้เพราะชารุด และไม่สามารถจัดหาอะไหล่เพื่อซ่อมแซมได้ เนื่องจากบริษัทตัวแทนจาหน่าย
บางบริษัทได้เลิกกิจการ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างขอตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อเครื่องมือใหม่มาทดแทน
(2) ส่วนราชการภายในกรมชลประทานบางแห่งขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการตรวจสอบ
มลพิษทางอากาศและเสียงของรถและเครื่องจักรกลของราชการ
(3) ส่วนราชการภายในกรมชลประทานบางแห่งไม่ให้ความสาคัญกับการควบคุมดูแล
และบารุงรักษาทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกลของทางราชการ
ข. กำรไม่จัดทำรำยงำนผลกำรตรวจสอบมลพิษทำงอำกำศและระดับเสียงจำกท่อไอเสียของรถ
เครื่องจักรกลส่งกระทรวงทรัพยำกรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อม
จากการที่สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการนารถและเครื่องจักรกลของ
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไปตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียแล้ว
พบว่า มีหน่วยงานหลายแห่งไม่ได้นารถและเครื่องจักรกลไปตรวจวัดมลพิษทางอากาศฯ จึง ได้ทาการ
ตรวจสอบการจัดทารายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและระดับเสียจากท่อไอเสียของรถและ
เครื่องจักรกล และส่งไปรวบรวมเป็นรายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศฯ ของกรมชลประทาน
ที่ต้องส่งไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
รถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 18 ทวิ กาหนดไว้ และระเบียบกรมชลประทาน
ว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ข้อ 80 ผลการตรวจสอบพบว่า กรมชลประทานไม่ได้มีการจัดทารายงาน
ผลการตรวจสอบมลพิ ษ ทางอากาศและระดั บ เสี ย จากท่ อ ไอเสี ย ของรถและเครื่ อ งจั ก รกลไปยั ง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้เห็นความสาคัญในเรื่องการตรวจสอบมลพิษทางอากาศฯ
และระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลของทางราชการ ที่ส่วนราชการจะต้องทาการ
ตรวจสอบสภาพรถและเครื่องจักรกลเป็นประจาทุกปีและต้องรายงานผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ
และระดับเสียงจากท่อไอเสียตามระเบียบของนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 18 ทวิ วรรคสี่ และระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ข้อ 80
ดังนั้น การที่กรมชลประทาน โดยสานักเครื่องจักรกลไม่ได้จัดทาและเสนอรายงานผลการตรวจวัดมลพิษ
ทางอากาศฯ และระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และไม่ได้กากับดูแลและกาชับให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานทาการตรวจวัด
มลพิษทางอากาศ ฯ และรายงานผลมายัง สานักเครื่องจักรกลตามระเบียบที่กล่าวข้างต้นนั้น ทาให้ส่วน
ราชการภายในกรมชลประทานทุกแห่งที่เลือกตรวจสอบไม่มีการจัดทารายงานผลการตรวจสอบมลพิษทาง
อากาศฯ ส่งมายังสานักเครื่องจักรกล (รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบ
เกี่ยวกับการตรวจวัดมลพิษฯ และการรายงานผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อ
ไอเสีย ช่อง (5))
สาเหตุที่กรมชลประทานไม่มีการรายงานการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียง
จากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลส่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น สานัก
เครื่องจักรกลได้ชี้แจงว่า ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 ให้จัดทา
รายงานส่งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ปัจจุบันคือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
22

และสิ่งแวดล้อม) แต่ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 กาหนดให้จัดทารายงาน


ส่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สานักเครื่องจักรกลจึงเกิดความสับสนและไม่ได้ดาเนินการ
จัดส่งรายงานตามที่ระเบียบได้กาหนดไว้
จากการที่กรมชลประทานไม่มีข้อมูลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจาก
ท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกลทั้งหมดของกรมชลประทาน ส่งผลให้ผู้บริหารของกรมชลประทาน
ไม่สามารถวางแผนการใช้รถและเครื่องจักรกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีผลการตรวจสภาพ
ว่ารถและเครื่องจักรกลใดมีสภาพเครื่องยนต์ที่พร้อมใช้งาน หรือควรต้องได้รับการซ่อมบารุงให้สามารถ
พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา หรือรถและเครื่องจักรกลใดที่มีความจาเป็นเร่งด่วนต้องนาไปใช้ปฏิบัติงาน
แต่สภาพไม่พร้อมใช้งาน จึงควรได้รับการซ่อมบารุงให้ทันการใช้งานตามแผนที่วางไว้ มิใช่มีการใช้รถ
และเครื่องจักรกลไปจนกว่าเกิดปัญหาไม่สามารถใช้งานต่อได้จนต้องหยุดปฏิบัติงาน เนื่องจากปัญหา
ของสภาพเครื่องยนต์ที่มิได้ทะนุบารุงดูแลรักษาให้มีอายุการใช้งานได้อย่างยาวนาน นอกจากนี้จะทาให้
กรมชลประทานไม่มีข้อมูลที่จะพิจารณาว่ารถและเครื่องจักรกลที่อยู่ในการควบคุมดูแลเป็นส่วนหนึ่ง
ของต้นเหตุที่ทาให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เนื่องจากมิได้มีการทะนุบารุงดูแลเครื่องยนต์
อย่างดีเพียงพอ จนอาจทาให้ระบบการเผาไหม้น้ามันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์และเกิดปัญหาควันดา ซึ่งเป็น
ต้นเหตุของปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในที่สุด

ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลรถและเครื่องจักรกลของ
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานเป็นผู้ดาเนินการสารวจว่า ในส่วนราชการมีรถและเครื่องจักรกล
รายการใดที่ไม่ได้ดาเนินการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกล
และไม่ได้รายงานผลการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและระดับเสียงจากท่อไอเสียไปยังหน่วยงานควบคุม
(สานักเครื่องจักรกล) โดยให้รายงานผลการสารวจดังกล่าวให้กับอธิบดีกรมชลประทานทราบ เพื่อมอบหมาย
ให้มีการติดตามและกากับดูแลให้ ส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกหน่วยได้ปฏิบัติตามระเบียบ
กรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ข้อ 79 และข้อ 80 และปฏิบัติตามระเบียบสานัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบมลพิษทางอากาศฯ
2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้หน่วยงานควบคุมชี้แจงเหตุผลการไม่ทา
การรายงานผลการดาเนินการให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ปัจจุบัน คือ กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 18 ทวิ มายังกรมชลประทานเพื่อทราบปัญหา และให้เสนอแนวทางการแก้ไข
ปัญหาที่จะให้ทุกส่วนราชการภายในกรมชลประทานมีการตรวจวัดมลพิษทางอากาศและระดับเสียง
จากท่อไอเสียภายในเวลาที่กาหนดและจัดส่งรายงานผลการตรวจวัดมายังหน่วยงานควบคุมก่อนจะทา
การรวบรวมเป็นรายงานผลการดาเนินการของกรมชลประทานต่อไป
3. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานพิจารณาถึงแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผล
ต่อการปฏิบัติงานของเจ้ าหน้ าที่ รวมทั้งยังส่งผลให้ห น่วยงานมีการบริห ารจัดการทรัพย์สิน ที่ข าด
ประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามที่ระเบียบกาหนดไว้ ตลอดจนเร่งดาเนินการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ
และระดับเสียงจากท่อไอเสียของรถและเครื่องจักรกล และรายงานผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ
และระดับเสียงจากท่อไอเสียให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไป
โดยถูกต้องตามที่ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 กาหนดไว้อย่างเคร่งครัด
23

รวมทั้งการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อประชาชนในฐานะหน่วยงานราชการ และเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มีแนวโน้มสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติ ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กาหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
ในบรรยากาศโดยทั่วไป ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม 2553
ข้อตรวจพบข้อที่ 2 กำรไม่วำงแผนกำรใช้รถและเครื่องจักรกลในแต่ละปี กำรไม่ควบคุมกำรใช้งำน
รถและเครื่องจักรกล และกำรขำดระบบติดตำมตรวจสอบเพื่อให้กำรใช้งำนรถและเครื่องจักรกล
เกิดควำมเหมำะสมและมีประสิทธิภำพ
2.1 ส่วนรำชกำรภำยในกรมชลประทำนหลำยแห่งไม่มีกำรวำงแผนกำรปฏิบัติงำนกำรใช้
รถและเครื่องจักรกลประจำปี และกำรจัดทำแผนโครงกำรฯ ไม่กำหนดกำรใช้รถและเครื่องจักรกล
ในแผนโครงกำรฯ นั้น หำกบำงแผนโครงกำรฯ จะกำหนดกำรใช้รถและเครื่องจักรกลไว้ แต่พบว่ำรถ
และเครื่องจักรกลที่ใช้ไม่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในแผนโครงกำรฯ
ในการดาเนินการใด ๆ กระบวนการทางานที่จะทาให้การดาเนินงานประสบความสาเร็จ
และมีคุณภาพ ผู้บริหารมักจะคานึงถึงกระบวนการดาเนินงานตามวงจร PDCA คือ วงจรบริหารสี่ขั้นตอน
ที่ประกอบไปด้วย Plan (การวางแผน) Do (การปฏิบัติ) Check (การตรวจสอบ) และ Act (การดาเนินการ)
ซึ่งเป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมและพัฒนากระบวนการดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานสามารถ
ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดาเนินงาน รวมทั้งสามารถบริหารความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที
และสาเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยกระบวนการดาเนินงานที่มีคุณภาพตามวงจร PDCA สามารถอธิบายได้ดังนี้
1. P = Plan (ขั้นตอนการวางแผน) หมายถึง การกาหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์
และสังเคราะห์เพื่อหาวิธีการและกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายนั้น ๆ
2. D = Do (ขั้น ตอนการปฏิบัติ) หมายถึง การปฏิบัติตามแผน ตามขั้นตอนและ
เงื่อนไขต่าง ๆ ที่กาหนดไว้ กรณีที่ไม่สามารถดาเนินการได้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อม
ทั้งภายในและภายนอก จะต้องมีการปรับแผนในระหว่างการดาเนินการโดยมีเหตุผลประกอบ
3. C = Check (ขั้นตอนการตรวจสอบ) หมายถึง ขั้นตอนการตรวจสอบซึ่งเป็นขั้นตอน
หาช่องทางและวิธีพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ให้เร็วขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดลาดับ
ความสาคัญของโอกาส และอุปสรรคต่าง ๆ ในกระบวนการ
4. A = Act (ขั้นตอนการดาเนินการ) หมายถึง การดาเนินการหลังจากที่มีการพัฒนา
กระบวนการต่าง ๆ ให้มีการทางานที่ดีขึ้น เร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ
ซึ่งขั้นตอนการวางแผนถือเป็นกระบวนการในขั้นตอนแรกที่สาคัญที่สุดในกระบวนการ
ดาเนินงานที่มีคุณภาพ เพราะในขั้นตอนนี้เป็นการกาหนดเป้าหมายและวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้
ในการบริหารจัดการที่แม้จะยึดถือกระบวนการดาเนินงานที่มีคุณภาพโดยใช้การดาเนินการ
ตามวงจร PDCA ที่กล่าวข้างต้น แต่สิ่งสาคัญที่ ผู้บริหารในทุกลาดับชั้นภายในองค์กรจะต้องมี คือ
การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งหมายถึงการบริหารกิจการหรือ
องค์กรให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่องค์กร
เพื่อเกิดความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม ทั้งนี้องค์กรของรัฐทุกแห่งจะต้องสร้างระบบ
บริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยมีการดาเนินงานเป็นไปตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยองค์กรของรัฐเป็นผู้มีบทบาท
24

ในการวางรากฐานและรักษากฎระเบียบต่าง ๆ การสร้างธรรมาภิบาลขององค์กรนั้นจาเป็นต้องอาศัยระบบ
การจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมายและนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้
หลักการพื้นฐานของธรรมมาภิบาลในองค์กรตามที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒ กาหนดไว้ ประกอบด้วยหลักการ
๖ หลักการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ
และหลักความคุ้มค่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ การปฏิบัติตามกฎหมายกฎระเบียบต่าง ๆ
ซึ่งรวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ทาตามอาเภอใจ การไม่ละเมิดกฎหมาย และการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2. หลักคุณธรรม (Morality) คือ การยึดมั่นถือมั่นในคุณธรรมความถูกต้อง รวมถึงมี
ความซื่อสัตย์จริงใจและยึดมั่นในความสุจริต ระดับกิจการหลักคุณ ธรรม คือ การดาเนินกิจการด้วย
ความมีจริยธรรม เช่น การปกปิดข้อเท็จจริงหรือตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
3. หลักความโปร่งใส (Accountability) คือ ความถูกต้องชัดเจนปฏิบัติตามหลักการ
ที่ควรจะเป็น มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งความหมายของ “Accountability” ในระดับกิจการ
หมายถึง “ความรับผิดชอบที่อธิบายได้” ซึ่งเป็นภาระบทบาทของผู้บริหารในแง่ข้อผูกพันที่จะยอมรับ
ความรับผิดชอบ และสามารถชี้แจงให้เหตุผลเพื่ออธิบายการกระทาของตนเองได้
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ การให้โอกาสบุคคลที่เกี่ ยวข้องเข้ามามี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ที่สาคัญ รวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อรับคาแนะนา
มาร่วมวางแผนและปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในองค์กรจะกาหนดให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย
บุคคลที่มีประสบการณ์หลากหลายมาช่วยบริหารงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ ความรับผิดชอบในงานของตน
6. หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness or Economy) คือ การบริหารจัดการให้
เกิดประโยชน์สูงสุดในระดับองค์กร ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือเกิด
มูลค่ามากที่สุด เช่น การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เป็นต้น
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินใช้หลักธรรมาภิบาลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นกรอบใน
การพิจารณาถึงการใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานควบคู่ไปกับข้อกาหนด
ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและแบบแผนการปฏิบัติราชการสาหรับการตรวจสอบ
การใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน โดยได้เลือกส่วนราชการภายในกรมชลประทาน จานวน
15 หน่วยงานเพื่อทาการตรวจสอบในประเด็นการวางแผนการปฏิบัติงานใช้รถและเครื่องจักรกล
โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่ได้เลือกตรวจสอบเป็นจานวนทั้งสิ้น 296 รายการ พบว่า ส่วนราชการภายใน
กรมชลประทานหลายแห่งไม่มีการวางแผนการปฏิบัติงานการใช้รถและเครื่องจักรกลประจาปี และใน
การจัดทาแผนโครงการฯ ก็ไม่มีการกาหนดรถและเครื่องจักรกลที่จะใช้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ รวมถึง
พบว่าการปฏิบัติงานของรถและเครื่องจักรกลบางรายการไม่สอดคล้องกับรถและเครื่องจักรกลที่ถูก
กาหนดให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ นั้น จากผลการตรวจสอบดังกล่าวถือได้ว่า กรมชลประทานยังไม่ได้
ให้ความสาคัญในเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนการใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน แม้ว่ารถและ
เครื่องจักรกลจะถือเป็นทรัพย์สินหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงานของกรมชลประทานเองและถือเป็นทรัพย์สินที่มี
จานวนมากและมีมูลค่าสูง อีกทั้งยังกระจายอยู่ในการควบคุมดูแลและใช้งานในส่วนราชการภายใน
กรมชลประทานทั่วประเทศ ดังนั้น การวางแผนการใช้รถและเครื่องจักรกลจึงถือเป็นเรื่องที่ สาคัญใน
การบริหารจัดการทรัพย์สิน ซึ่งส่วนราชการจาเป็นต้องมีการควบคุมดูแล วางแผนการใช้งาน วางแผน
25

การบารุงรักษารถและเครื่องจักรกลที่อยู่ในครอบครอง เนื่องจากการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทรถและ
เครื่องจักรกลจะมีความสัมพันธ์กับการใช้จ่ายงบประมาณ ตั้งแต่การรับจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ได้มาซึ่ง
รถและเครื่องจักรกล การรับจัดสรรงบประมาณเพื่อการซ่อมบารุงรักษารถและเครื่องจักรกล การรับจัดสรร
งบประมาณเพื่อการจัดหาน้ามันเชื้อเพลิง และการรับจัดสรรงบประมาณเพื่อการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถ
และเครื่องจักรกล ดังนั้น หากกรมชลประทานขาดการวางแผนการปฏิบัติงานการใช้รถและเครื่องจักรกล
ประจาปี และขาดการวางแผนการใช้รถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการต่าง ๆ นั่นอาจหมายถึง การขอรับ
จัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวกับการจัดหาน้ามันเชื้อเพลิงหรือการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกล เป็นการ
ขอรับจัดสรรงบประมาณโดยไม่มีฐานข้อมูลเพื่อรองรับการของบประมาณอย่างเพียงพอ
ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
พ.ศ. 2542 ได้กาหนดถึงการบริหารจัดการที่ดีในภาครัฐต้องมีหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
ซึ่ง ประกอบด้ว ย 6 หลัก การที่ก ล่าวข้างต้น สาหรับ การบริห ารจัดการรถและเครื่องจัก รกลของ
กรมชลประทานนั้น ผู้บ ริห ารควรคานึง ถึง หลัก ธรรมาภิบ าลที่สาคัญ 3 ข้อ คือ หลัก นิติธ รรม
หลักความโปร่งใส และหลักความคุ้มค่า กล่าวคือ 1) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ถือเป็นบทบาท
ที่ ผู้ บริ หารของทุ กองค์ กรจะต้ องยึ ดมั่ นในการปฏิ บั ติ ตามกฎหมายและระเบี ยบต่ าง ๆ เพื่ อให้ การ
ดาเนินการเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่กาหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่กฎหมายและระเบียบจะวางไว้
เพื่อให้เกิดระบบการควบคุมภายในที่ดี และเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม สาหรับ
การใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานจะต้องยึดถือกฎหมายและระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องกับรถและเครื่องจักรกล เช่น พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ระเบียบสานักนายกว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 ระเบียบกรมชลประทานว่าด้ว ยยานพาหนะ
พ.ศ. 2547 ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดาเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมาย
ว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 นอกจากนี้กรมชลประทานจะต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีและหนังสือ
สั่ งการจากหน่ วยงานต่ าง ๆ ที่เกี่ย วข้องกับ รถและเครื่ อ งจั กรกล เป็นต้น 2) หลั กความโปร่ ง ใส
(Accountability) ถือเป็นภาระบทบาทของผู้บริหารในเรื่องของข้อผูกพันหรือความเต็มใจที่จะรับผิดชอบ
รวมทั้งความสามารถในการรายงานชี้แจงให้เหตุผลเพื่ออธิบายการกระทาของตนเอง และสามารถตอบ
คาถามของทุกฝ่ายที่เกี่ย วข้องได้ ซึ่ง หากผู้บริห ารของส่ว นราชการภายในกรมชลประทานมีการ
วางแผนการใช้ รถและเครื่ องจั กรกลประจ าปี และมี การวางแผนโครงการฯ ที่ สามารถก าหนดกรอบ
หรือประมาณการได้ว่าแผนโครงการดังกล่าวจาเป็นต้องใช้รถและเครื่องจักรกลประเภทใด เป็นจานวน
เท่าไหร่ ผู้บริหารของส่วนราชการภายในกรมชลประทานก็จะสามารถอธิบายเหตุผลความจาเป็นใน
การใช้รถและเครื่ องจั กรกลเหล่ านั้นได้ และสามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดรถและเครื่องจักรกลบาง
รายการจึงไม่ถูกใช้งานในแต่ละปีงบประมาณ นอกจากนี้หากไม่สามารถใช้รถและเครื่องจักรกลตามที่
ได้กาหนดไว้ในแผนโครงการฯ ได้ ผู้ บริห ารก็จะสามารถอธิบ ายถึ งสาเหตุที่ ไม่ส ามารถใช้ร ถและ
เครื่องจักรกลดังกล่าวได้เช่นกัน และ 3) หลักความคุ้มค่า (Cost – Effectiveness or Economy) คือ
หลักที่กล่าวถึงการบริหารจัดการรถและเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นทรัพยากรของกรมชลประทานให้เกิดประโยชน์
อย่า งคุ ้ม ค่า ซึ ่ง หมายถึง การเกิด ประโยชน์ส ูง สุด หรือ เกิด มูล ค่า มากที ่ส ุด ในการใช้ร ถและ
เครื่องจักรกล หากกรมชลประทานไม่ได้มีการจัดทาแผนการใช้รถและเครื่องจักรกลประจาปีและไม่มี
การระบุว่ารถและเครื่องจักรกลใดจะต้องใช้ในการปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ ใดแล้ว การบริหาร
จัดการรถและเครื่องจักรกลภายในกรมชลประทานอาจไม่สามารถกล่าวได้ว่ามีการบริหารจัดการอย่าง
คุ้มค่าสูงสุดแล้ว
26

ผลจากการตรวจสอบพบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานหลายแห่งไม่มีการวางแผน
การปฏิบัติงานการใช้รถและเครื่องจักรกลประจาปี และการจัดทาแผนโครงการฯ ไม่มีการกาหนดรถและ
เครื่ องจั กรกลที่ ใช้ ปฏิบั ติงานในแผนโครงการฯ นั้น รวมทั้งการปฏิบัติงานของรถและเครื่องจักรกลไม่
สอดคล้องกับแผนโครงการฯ มีรายละเอียดปรากฎตามตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการภายในกรม
ชลประทาน ดังนี้
ตำรำงที่ 3 ตำรำงแสดงข้อมูลของส่วนรำชกำรภำยในกรมชลประทำนแยกรำยละเอียดข้อตรวจพบ
เกี่ยวกับกำรวำงแผนกำรปฏิบัติงำนใช้รถและเครื่องจักรกล
รถและ ไม่มีกำรวำง ไม่มี ไม่มีกำรใช้ กำรปฏิบัติงำน
เครื่องจักรกลที่ แผนกำร กำรกำหนดให้ รถและ ของรถและ
ตรวจสอบ ปฏิบัติงำน รถและ เครื่องจักรกล เครื่องจักรกล
(จำนวน) ใช้รถฯ เครื่องจักรกล ปฏิบัติงำนใน ไม่สอดคล้อง
ชื่อหน่วยงำน ประจำปี ปฏิบัติงำนใน แผนโครงกำรฯ กับแผน
งบประมำณ แผนโครงกำรฯ (จำนวน) โครงกำรฯ
พ.ศ. 2563 (จำนวน) (จำนวน)
(จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5) (6)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 22 22 2 20
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 - - 1 1
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 20 2 1 1
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 21 21 5 16
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 20 18 1 17
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 20 6 2 6
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 20 8 2 6
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 14 3 1 4
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 20 20 11 9
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 22 22 - 22
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 9 9 2 7
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 1 1 1 -
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 20 20 - 20
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 5 - - -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 20 3 5 2
รวมทั้งสิ้น 296 234 155 34 131
จากตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่แยกรายละเอียด
ข้อตรวจพบข้างต้น มีประเด็นข้อตรวจพบทั้งสิ้น 3 ประเด็น คือ
ก. กำรไม่วำงแผนกำรปฏิบัติงำนกำรใช้รถและเครื่องจักรกลประจำปี
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการวางแผนการปฏิบัติงานการใช้รถและ
เครื่องจักรกลประจาปีของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จานวน 15 หน่วยงาน
27

โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่ทาการตรวจสอบทั้งสิ้ น 296 รายการ พบว่า มีเพียง 2 หน่วยงาน ที่มี


การวางแผนการปฏิ บั ติ งานการใช้ รถและเครื่ องจั กรกลประจ าปี ครบทุ กรายการที่ ตรวจสอบ ได้ แ ก่
สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง ที่มีการวางแผนการปฏิบัติงานประจาปี พ.ศ. 2563 ทั้ง 20
รายการที่ เลื อกตรวจสอบ และโครงการชลประทานชุ มพรที่ มี การวางแผนการปฏิ บั ติ งานประจ าปี
งบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นจานวน 15 รายการ โดย 1 รายการที่ไม่ได้มีการวางแผน เนื่องจากชารุด
ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้ยังพบว่า มีอีก 2 หน่วยงาน ที่มีการวางแผนการปฏิบัติงานประจาปี
งบประมาณ พ.ศ. 2563 เพียงบางรายการที่ตรวจสอบ ได้แก่ ส านักงานชลประทานที่ 15 จังหวัด
นครศรีธรรมราช ซึ่งได้ตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จานวน 20 รายการ พบว่ามีการวางแผนการ
ปฏิบ ัต ิง านประจ าปี พ.ศ. 2563 เพี ยง 6 รายการ และส่ วนบริ หารเครื่ องจั กรกลที่ 4 (จั งหวั ด
นครราชสีมา) ได้ตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จานวน 26 รายการ พบว่ามีการวางแผนการปฏิบัติงาน
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพียง 21 รายการ โดยทั้ง 4 หน่วยงาน ที่กรมชลประทานมีการวาง
แผนการใช้รถและเครื่องจักรกลในแผนการปฏิบัติงานประจาปี เป็นจานวนทั้งสิ้น 62 รายการ คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 20 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมด
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีส่วนราชการภายในกรมชลประทานถึง 11 หน่วยงาน
ที่ไม่มีการวางแผนการปฏิบัติงานประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่ เลือก
ตรวจสอบ เป็ นจ านวนถึ ง 234 รายการ คิ ดเป็ นสั ดส่ วนร้ อยละ 79 ของจ านวนที่ เลื อกตรวจสอบ
(รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 3 ตารางแสดงข้อมูลของส่ วนราชการภายในกรมชลประทานแยก
รายละเอียดข้อตรวจพบเกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติงานใช้รถและเครื่องจักรกล ช่อง (3)) แสดง
ว่า ส่ว นราชการภายในกรมชลประทานส่วนใหญ่มักจะไม่มีการจัดทาแผนการปฏิบัติงานประจาปี
สาหรับรถและเครื่องจักรกลที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล ดังนั้น จึงไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้าว่าใน
แต่ละปีจะมีการใช้รถและเครื่องจักรกลประเภทใด เป็นจานวนเท่าใด เพื่อจะใช้ประกอบการพิจารณา
ดาเนินการในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ รถและเครื่องจักรกลในครอบครองได้ เช่น การจัดซื้อเชื้อเพลิง
การซ่อมบารุง เป็นต้น
ผลการตรวจสอบที่ แ สดงถึ ง การขาดการวางแผนการปฏิ บั ติ ง านการใช้ ร ถและ
เครื่องจักรกลประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สามารถแสดงสัดส่วนได้ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

หน่วยงานที่มีการวางแผน
12% ปฏิบัติงานทุกรายการที่ตรวจสอบ
9%
หน่วยงานที่มีการวางแผน
79% ปฏิบัติงานเพียงบางรายการ
หน่วยงานที่ไม่มีการวางแผนการ
ปฏิบัติงานทุกรายการ

แผนภูมิที่ 2 กำรแสดงสัดส่วนของรถและเครื่องจักรกลที่เกี่ยวกับกำรวำงแผนกำรปฏิบัติกำรใช้รถ
และเครื่องจักรกลประจำปีงบประมำณ พ.ศ. 2563
28

ข. กำรจัดทำแผนโครงกำรฯ โดยไม่กำหนดรถและเครื่องจักรกลไว้ในแผนโครงกำรฯ และกำรใช้


รถและเครื่องจักรกลไม่เป็นไปตำมที่กำหนดไว้ในแผนโครงกำรฯ
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรถและเครื่องจักรกลจานวน 296 รายการ
ในประเด็นการจัดทาแผนโครงการฯ ที่ต้องกาหนดรถและเครื่องจักรกลที่จะใช้ในการดาเนินการตาม
แผนโครงการหรือกิจกรรมของโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 พบว่า หลายแผนโครงการฯ
ไม่ได้มีการกาหนดรถและเครื่องจักรกลที่จะนาไปใช้ในแผนโครงการฯ นั้น และการใช้รถและเครื่องจักรกล
ไม่เป็นไปตามแผนโครงการฯ ที่ได้กาหนดไว้ จากผลการตรวจสอบ 15 หน่วยงาน มีรายละเอียดการกาหนด
รถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ ดังนี้
1. ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน 3 หน่วยงาน ที่กาหนดให้รถและเครื่องจักรกล
ทุกรายการที่เลือกตรวจสอบปฏิบัติงานในแผนโครงการประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563
ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง โดยได้เลือกตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จานวน
20 รายการ พบว่ามีการกาหนดรถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ ทั้ง 20 รายการ
โครงการชลประทานชุมพรที่ได้เลือกตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จานวน 16 รายการ พบว่ามีการ
กาหนดรถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการ ฯ จานวน 15 รายการ โดย 1 รายการ
ที่เหลือ พบว่าชารุด และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) โดยได้เลือกตรวจสอบรถ
และเครื่องจักรกล จานวน 26 รายการ พบว่ามีการกาหนดรถและเครื่องจักรกลให้ ปฏิบัติงานในแผน
โครงการฯ ทั้ง 26 รายการ รวมรถและเครื่องจักรกลที่กาหนดให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ จานวน
61 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ (296 รายการ)
2. ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน 6 หน่วยงาน ทีก่ าหนดให้รถและเครื่องจักรกล
บางรายการที่เลือกตรวจสอบปฏิบัติงานในแผนโครงการประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 ได้แก่
สานักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก กาหนดรถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ
จานวน 18 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ 20 รายการ สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัด
อุบลราชธานี กาหนดรถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ จานวน 2 รายการ จากจานวน
ที่เลือกตรวจสอบ 20 รายการ สานักงานชลประทานที่ 13 จังหวัดกาญจนบุรี กาหนดรถและเครื่องจักรกล
ให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ จานวน 14 รายการ จากจานวนที่ เลือกตรวจสอบ 20 รายการ
สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กาหนดรถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผน
โครงการฯ จานวน 12 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ 20 รายการ สานักงานชลประทานที่ 15
จังหวัดนครศรีธรรมราช กาหนดรถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ จานวน 17 รายการ
จากจานวนทีเ่ ลือกตรวจสอบ 20 รายการ และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา) กาหนด
รถและเครื่องจักรกลให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ จานวน 17 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ
20 รายการ รวมจานวนรถและเครื่องจักรกลที่ถูกกาหนดลงในแผนโครงการฯ ของ 6 หน่วยงาน
มีจานวนทั้งสิ้น 80 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ
3. ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทาน 6 หน่ ว ยงาน ที่ ไม่ ได้ ก าหนดให้ ร ถและ
เครื่ องจั กรกลทุ กรายการที่ เลื อกตรวจสอบไปปฏิ บั ติ งานในแผนโครงการฯ ประจ าปี งบประมาณ
พ.ศ. 2562 – 2563 ได้แก่ สานักเครื่องจักรกล สานักงานชลประทานที่ 5 จังหวัดอุดรธานี โครงการ
ชลประทานนครนายก โครงการชลประทานมหาสารคาม โครงการชลประทานชัยนาท และโครงการ
ชลประทานสุราษฎร์ธานี โดยได้เลือกตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จานวน 22 21 20 22 9 และ
20 ตามล าดั บ รวมรถและเครื่ อ งจั ก รกลที่ เ ลื อ กตรวจสอบ และพบว่ า ไม่ มี ก ารก าหนดให้ น าไป
29

ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ เป็นจานวนทั้งสิ้น 114 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 ของจานวน


ที่เลือกตรวจสอบ
จากผลการตรวจสอบดังกล่าวสรุปได้ว่ารถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบจานวน
296 รายการ มีเพียง 141 รายการ ที่ถูกกาหนดให้ปฏิบัติงานในแผนโครงการ ฯ ประจาปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562 - 2563 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48 และมีรถและเครื่องจักรกลอีก 154 รายการ ที่ไม่ได้
ถูกกาหนดในแผนโครงการ ฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ นอกจากนี้ยัง
พบว่ามีรถที่ชารุดอีก 1 รายการ (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 3 ตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานแยกรายละเอียดข้อตรวจพบเกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติงานใช้รถและ
เครื่องจักรกล ช่อง (4)) ซึง่ สามารถแสดงสัดส่วนเป็นไปตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

ไม่มีการกาหนดแผนโครงการฯหรือ
48% 52% กิจกรรมของโครงการใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563

มีการกาหนดแผนโครงการฯหรือ
กิจกรรมของโครงการใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563

แผนภูมิที่ 3 กำรแสดงสัด ส่ วนของรถและเครื่ องจัก รกลที่ มี กำรกำหนดให้ ปฏิ บัติ งำนในแผน


โครงกำรฯ หรือกิจกรรมของโครงกำรในปีงบประมำณ พ.ศ. 2562 – 2563
ค. กำรนำรถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงำนในโครงกำรฯ โดยไม่สอดคล้องกับรำยกำรรถและ
เครื่องจักรกลทีถ่ กู กำหนดไว้ในแผนโครงกำรฯ
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ขยายผลการตรวจสอบกรณีที่พบว่าส่วนราชการภายใน
กรมชลประทานหลายหน่วยงานมิได้กาหนดรถและเครื่องจักรกลที่จะต้องปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 ตามข้อ ข ว่า ในการปฏิบัติงานโครงการดังกล่าวมีการใช้
รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบไปปฏิบัติงานหรือไม่ อย่างไร ผลการตรวจสอบพบว่า มีเพียง 2
หน่วยงาน ที่กาหนดรถและเครื่องจักรกลไว้ในแผนโครงการฯ และมีการใช้งานรถและเครื่องจักรกล
ตามแผนที่ได้กาหนดไว้อย่างครบถ้วน ได้แก่ โครงการชลประทานชุมพร ได้ตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล
จานวน 16 รายการ พบมีการนาไปปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ จริงเป็นจานวน 15 รายการ (1 รายการ
ชารุด) การใช้รถและเครื่องจักรกลของโครงการชลประทานชุมพรจึงถือว่าสอดคล้องกับแผนโครงการ
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 ที่กาหนดไว้ และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัด
30

นครราชสีมา) ได้ตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จานวน 26 รายการ พบว่าแม้ไม่ มีการวางแผน


การปฏิบัติงานประจาปีครบทุกรายการ (วางแผนการปฏิบัติงานประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2563
สาหรับรถและเครื่องจักรกลเพียง 21 รายการ และไม่วางแผนการปฏิบัติงาน จานวน 5 รายการ)
แต่มีการกาหนดในแผนโครงการฯ ให้นารถและเครื่องจักรกลทั้ง 26 รายการ ไปปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ
และมีการนารถและเครื่องจักรกลทั้ง 26 รายการดังกล่าวไปปฏิบัติงานจริงตามแผนโครงการฯ ที่วางไว้
การใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) จึงถือว่าสอดคล้อง
กับแผนโครงการฯ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 ตามทีไ่ ด้กาหนดไว้เช่นกัน รวมการใช้
รถและเครื่องจักรกลที่สอดคล้องกับแผนโครงการฯ ทั้ง 2 หน่วยงาน มีจานวนถึง 41 รายการ โดยปรากฏว่า
มีรถที่ชารุด 1 รายการ
แต่มีส่วนราชการภายในกรมชลประทานถึง 13 หน่วยงาน ที่มีการนารถและเครื่องจักรกล
ไปปฏิบัติงานในโครงการไม่สอดคล้องกับแผนโครงการฯ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563
โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) สานักเครื่องจักรกล มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน 22 รายการ
ซึ่งทุกรายการไม่มีการกาหนดการใช้งานในแผนโครงการฯ แต่กลับมีการใช้งานรถและเครื่องจักรกล
ไปปฏิบัติงานในโครงการถึง 20 รายการ
(2) สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ
จานวน 20 รายการ ซึ่งมีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ ไว้ 20 รายการ
แต่กลับมีการนาไปใช้งานถึง 19 รายการ
(3) ส านั ก งานชลประทานที่ 3 จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก มี ร ถและเครื่ อ งจั ก รกลที่ เ ลื อ ก
ตรวจสอบ จานวน 20 รายการ ซึ่งมีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ ไว้
18 รายการ แต่กลับมีการนาไปใช้งานถึง 19 รายการ (โดยใน 19 รายการดังกล่าวมี จานวน 3 รายการ
ทีไ่ ม่สามารถระบุวันทางานได้ เนื่องจากไม่ได้จัดทาแบบ 3 และแบบ 4) ส่วนอีก 1 รายการ ที่ไม่ได้ใช้
งานเนื่องจากชารุด
(4) สานักงานชลประทานที่ 5 จังหวัดอุดรธานี มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ
จ านวน 21 รายการ พบว่า ไม่มีก ารกาหนดการใช้ง านรถและเครื่อ งจัก รกลในแผนโครงการฯ
ทั้ง 21 รายการ แต่กลับมีการนาไปใช้งานถึง 16 รายการ
(5) สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือก
ตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ
จานวน 18 รายการ แต่กลับนาไปใช้งานถึง 19 รายการ
(6) สานักงานชลประทานที่ 13 จังหวัดกาญจนบุรี มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือก
ตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ
จานวน 6 รายการ แต่กลับนาไปใช้งานถึง 18 รายการ
(7) สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือก
ตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ
จานวน 8 รายการ แต่กลับนาไปใช้งานถึง 18 รายการ
(8) สานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือก
ตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ
จานวน 3 รายการ แต่กลับนาไปใช้งานถึง 19 รายการ
31

(9) โครงการชลประทานนครนายก มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน


20 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ ทั้ง 20 รายการ
แต่พบว่านาไปใช้งานในแผนโครงการฯ ถึง 9 รายการ
(10) โครงการชลประทานมหาสารคาม มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน
22 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ ทั้ง 22 รายการ
แต่กลับนารถและเครื่องจักรกลไปใช้งานทั้ง 22 รายการ
(11) โครงการชลประทานชัยนาท มีรถและเครื่องจัก รกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน
9 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ ทั้ง 9 รายการ
แต่กลับนาไปใช้งานถึง 7 รายการ
(12) โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน
20 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ ทั้ง 20 รายการ
แต่กลับนาไปใช้งานทั้ง 20 รายการ
(13) ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา) มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือก
ตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่าไม่มีการกาหนดการใช้งานรถและเครื่องจักรกลในแผนโครงการฯ
จานวน 3 รายการ แต่กลับนาไปใช้งานถึง 15 รายการ
จึงถือได้ว่าการนารถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทั้ง
13 หน่วยงาน ที่มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ เป็นจานวนทั้งสิ้น 254 รายการ ซึ่งไม่มี
การกาหนดในแผนโครงการฯ ที่จะใช้รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวเป็นจานวนถึง 154 รายการ และมี
การกาหนดให้นารถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบไปปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ เป็นจานวน
100 รายการ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วกลับพบว่ามีการนารถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ
เป็นจานวน 221 รายการ และมีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ถูกนาไปใช้งานในแผนโครงการฯ เป็นจานวน
33 รายการ ดังนั้น การกาหนดให้นารถและเครื่องจักรกลไว้ในแผนโครงการฯ เพียง 100 รายการ
แต่กลับนารถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงานจริง เป็นจานวนถึง 221 รายการ จึงถือว่าเป็นการใช้รถ
และเครื่องจักรกลที่ไม่ส อดคล้องกับแผนโครงการฯ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563
เป็นจานวนถึง 121 รายการ (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 3 ตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานแยกรายละเอียดข้อตรวจพบเกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติงานใช้รถและ
เครื่องจักรกล ช่อง (5) และ (6))
สาเหตุที่หน่วยงานไม่ได้วางแผนการปฏิบัติงานการใช้รถและเครื่องจักรกลประจาปี
งบประมาณ พ.ศ. 2563 และไม่มีการกาหนดรถและเครื่องจักรกลที่จะใช้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 ซึ่งเมื่อติดตามการใช้รถและเครื่องจักรกลกลับพบว่า
มีการนารถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้กาหนดไว้ในแผนโครงการฯ มาปฏิบัติงานจริงในโครงการฯ จึงถือ
ว่าการใช้รถและเครื่องจักรกลไม่สอดคล้องกับแผนโครงการฯ ที่วางไว้ เนื่องจาก
(1) ส่วนราชการภายในกรมชลประทานบางหน่วยงานมีรถและเครื่องจักรกลเพื่อใช้ใน
ภารกิจสนับสนุนให้กับส่วนราชการภายในกรมชลประทานหน่วยงานอื่นเท่านั้น โดยไม่มีภารกิจที่จะต้อง
ใช้รถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงานในแผนปฏิบัติงานประจาปี เนื่องจากหน่วยงานไม่มีแผนปฏิบัติงาน
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แต่อย่างใด
(2) ส่ว นราชการภายในกรมชลประทานที่มีพื้นที่ปฏิบัติง านในต่า งจัง หวัด และมี
ความต้องการใช้รถและเครื่องจักรกลในการปฏิบัติงานก่อสร้างตามช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จะขออนุมัติ
32

ใช้รถและเครื่องจักรกลเพื่อการปฏิบัติงานก่อสร้างจากสานักเครื่องจักรกลหรือหน่วยงานอื่น การขออนุมัติ
ใช้รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวมิได้มีการวางแผนล่วงหน้า แต่จะขออนุมัติใช้เมื่อจาเป็นต้องใช้งานจริง
(3) ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่มีหน้าที่ดาเนินการในโครงการขนาดเล็ก
ซึ่งรถและเครื่องจักรกลในครอบครองอาจถูกยืมไปใช้งานในภารกิจของหน่วยงานขนาดใหญ่ ดังนั้น
จึงมักจะไม่มีการจัดทาแผนการปฏิบัติงานประจาปี รวมทั้งไม่มีการกาหนดการใช้รถและเครื่องจักรกล
ที่จะปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ
(4) กรมชลประทานมีส่วนราชการเป็นจานวนมาก และมีโครงสร้างหน่วยงานที่ซับซ้อน
เป็นผลให้การสื่อสารระหว่างส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่ชัดเจน จนหลายหน่วยงานไม่ได้
วางแผนการปฏิบัติงานประจาปี เพื่อให้ทราบว่าในปีงบประมาณหนึ่ง ๆ จะมีการใช้รถและเครื่องจักรกล
ประเภทใด เป็นจานวนเท่าไหร่ และไม่ได้กาหนดจานวนและประเภทของรถและเครื่องจักรกลที่ต้อง
ใช้ปฏิบัติงานตามแผนโครงการฯ ดังนั้น การใช้รถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงานในโครงการจึงเป็น
การพิจารณาจากรถและเครื่องจักรกลที่มีอยู่ในขณะนั้น
จากผลการตรวจสอบดังกล่าวแสดงว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานส่วนใหญ่
ขาดการวางแผนการปฏิบัติงานการใช้รถและเครื่องจักรกลในแต่ละปี ส่งผลให้ผู้บริหารของกรมชลประทาน
ไม่สามารถบริหารจั ดการรถและเครื่ องจักรกลได้อย่างมีประสิ ทธิภาพอย่างแท้จริง การใช้รถและ
เครื่องจักรกลจึงเป็นเพียงการควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกลเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงานแต่
ละครั้งเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้การไม่จัดทาแผนการปฏิบัติงานใช้รถและเครื่องจักรกลทุกรายการ
ในแต่ละปี จะทาให้ผู้บริหารในระดับสูงของกรมชลประทานไม่มีข้อมูลที่ใช้พิจารณาถึงความเพียงพอ
ของจานวนรถและเครื่องจักรกลที่สามารถนามาใช้งานในแต่ละปีได้ จึงอาจเป็นเหตุให้กรมชลประทาน
ต้องจัดซื้อรถและเครื่องจักรกลเพิ่มเติมจนอาจมีรถและเครื่องจักรกลบางประเภทเกินความจาเป็นได้
และอาจขาดรถและเครื่องจักรกลบางประเภทได้ ด้านการที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานส่วน
ใหญ่ไม่ได้ให้ความสาคัญและไม่ได้กาหนดให้มีการระบุรถและเครื่องจักรกลที่จะต้องนาไปปฏิบัติงานไว้
ในแผนโครงการฯ ส่งผลให้ขาดการควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกลอย่างเต็มประสิทธิภาพ
รวมทั้งอาจเป็นช่องโหว่ที่ทาให้การประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไม่เหมาะสม หรือเกิดการใช้งาน
รถและเครื่องจั กรกลในแต่ล ะปี ไม่ตรงความเป็นจริง จนทาให้การกาหนดวงเงินเพื่อขอรับจัด สรร
งบประมาณสาหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว (ตัวอย่างวงเงินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องขอรับ
จัดสรรงบประมาณโดยอาศัยฐานข้อมูลจากการประมาณการการใช้รถและเครื่องจักรกลในปีนั้น ได้แก่
ค่าน้ ามันเชื้ อเพลิ งและค่าบ ารุ งรั กษา เป็ นต้น) มิได้เกิดจากฐานข้ อมูล ที่ เหมาะสมเพี ยงพอที่ ก รม
ชลประทานควรจะต้องประมาณการจ านวนและประเภทของรถและเครื่องจักรกลที่จะใช้งานใน
โครงการต่าง ๆ ในปีงบประมาณนั้นอย่างชัดเจน
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการโดยให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสารวจการจัดทา
แผนการปฏิบัติงานสาหรับรถและเครื่องจักรกลประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และรายงานผล
การสารวจดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริหารทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับการพิจารณาจัดทา
แผนการปฏิบั ติงานส าหรับ รถและเครื่ องจั กรกลของกรมชลประทานอย่างถูกต้องเหมาะสมต่ อ ไป
โดยให้มอบหมายสานักเครื่องจักรกลเป็นผู้ดูแลรวบรวมข้อมูลในภาพรวมของแผนการปฏิบัติงาน
สาหรับรถและเครื่องจักรกลประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมชลประทานต่อไป
33

2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ความสาคัญกับ
การจัดทาแผนการปฏิบัติงานประจาปีของรถและเครื่องจักรกลของทุกส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานสนับสนุนรถและเครื่องจักรกลให้หน่วยงานอื่น หรือเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแล
และใช้งานรถและเครื่องจักรกล ซึ่งต่างก็ต้องจัดทาแผนการปฏิบัติงานสาหรับรถและเครื่องจักรกล
เป็นประจาทุกปีงบประมาณ โดยอาจพิจารณาถึงการนากระบวนการดาเนินงานที่มีคุณภาพตามวงจร
PDCA มาใช้ หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่เห็นว่าจาเป็น
3. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งทาหน้าที่ควบคุม
กากับดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกหน่วยงานที่ต้อง
จัดทาแผนโครงการฯ ในแต่ละปีงบประมาณ จะต้องกาหนดรถและเครื่องจักรกลที่คาดว่าจาเป็นต้อง
ใช้ปฏิบัติงานในแผนโครงการฯ นั้น เพื่อรวบรวมข้อมูลว่าในแต่ละปีจะมีรถและเครื่องจักรกลรายการใด
เป็นจานวนเท่าใดที่อยู่ในการควบคุมดูแลต้องนาไปใช้ปฏิบัติงาน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ใน
การพิจารณาถึงวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถและเครื่องจักรกลดังกล่าว ไม่ว่าจะ
เป็นค่าน้ามันเชื้อเพลิงหรือค่าซ่อมแซมบารุงรักษาก็ตาม ซึ่งจะทาให้การขอรับจัดสรรงบประมาณใน
ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีความเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่มีการประมาณไว้ จึงจะส่งผลให้การใช้จ่าย
งบประมาณดังกล่าวเป็นไปโดยประหยัด ถูกต้อง และคุ้มค่า
2.2 ส่วนรำชกำรภำยในกรมชลประทำนหลำยแห่งไม่มีกำรควบคุมกำรใช้งำนรถและ
เครื่องจักรกลให้เป็นไปตำมกฎหมำย ขำดระบบติดตำมตรวจสอบเพื่อให้กำรใช้งำนรถและเครื่องจักรกล
เกิดประสิทธิภำพและมีควำมเหมำะสม
จากการนาเสนอข่าวของสื่อสาธารณะถึงปัญหาการที่หน่วยงานภาครัฐมีการจัดซื้อทรัพย์สิน
เกินความจาเป็นและไม่มีการใช้งานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่องานราชการหรือต่อประชาชน
ประกอบกับผลการตรวจสอบของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินด้านการตรวจสอบการเงินได้ให้ข้อสังเกต
ที่ตรวจพบว่า ทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐจานวนหลายรายการชารุดหรือไม่มีการใช้งานเป็นระยะ
เวลานาน ซึ่งข้อสังเกตดังกล่าวอาจสันนิษฐานได้ว่า หน่วยงานของรัฐบางหน่วยให้ความสาคัญกับ
การบริหารจัดการทรัพย์สินไม่เพียงพอ ทาให้การบริหารจัดการทรัพย์สินไม่มีความคุ้มค่า หรือการใช้งาน
ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเกินความจาเป็นและมิได้คานึงถึงประโยชน์สูงสุดที่รัฐหรือประชาชนควรได้รับ
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงเห็นความสาคัญในการตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกลของ
หน่วยงานรัฐ เพื่อให้การใช้รถและเครื่องจักรกลตลอดถึงการควบคุมดูแลเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและแบบแผนการปฏิบัติราชการ และเป็นไปตามหลักความคุ้มค่า ความประหยัด
และเกิดประโยชน์สูงสุด
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและแบบแผนการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับ
การบริหารจัดการทรัพย์สินให้เกิดความคุ้มค่า ความประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่
1. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
มาตรา ๔๔ ระบุไว้ว่า “การบริหารจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองหรือ
การกากับดูแลของหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามที่กาหนดไว้ในกฎหมายและกฎที่เกี่ยวข้อง โดยต้อง
พิจารณาประโยชน์ของรัฐและประชาชน ความคุ้มค่าและความประหยัด ซึ่งต้องกระทาด้วยความรอบคอบ
ระมัด ระวัง และมีก ารบริห ารความเสี่ย งอย่า งเหมาะสม และต้อ งไม่ก่อ ให้ เ กิด ความเสียหายแก่
ทรัพย์สินนั้น”
34

2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑


มาตรา 4 (8) ย่อหน้าที่ 5 ระบุไว้ว่า “ตรวจเงินแผ่นดิน” หมายความว่า ตรวจสอบ
การเงินของหน่วยรับตรวจ ซึ่งรวมถึงตรวจการจัดเก็บรายได้ การรับ การใช้จ่าย การใช้ประโยชน์ การเก็บ
รัก ษา และการบริห าร ซึ่ง เงิน ทรัพ ย์สิน สิท ธิ และผลประโยชน์ข องหน่ว ยรับตรวจหรือ ที่อ ยู่ใน
ความครอบครองหรืออานาจใช้จ่ายของหน่วยรับตรวจว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ
คณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการหรือไม่ และตรวจว่าการใช้จ่ายเงินหรือการใช้ประโยชน์นั้น
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพหรือไม่ รวมตลอดถึงการตรวจสอบ
รายงานการเงินของหน่วยรับตรวจและแสดงความเห็นต่อผลของการตรวจสอบ และการตรวจสอบอื่น
ที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้”
ตำรำงที่ 4 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับสถิติกำรปฏิบัติงำนของรถและเครื่องจักรกล
รถและ 1 - 30 31 - 90 91 - 180181 - 365 ไม่มี ไม่ทรำบ
เครื่องจักรกล วัน วัน วัน วัน กำรใช้งำน ข้อมูล
ชื่อหน่วยงำน ที่ตรวจสอบ (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน)
(จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 4 3 8 5 2 -
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 - 2 8 9 1 -
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 6 4 5 1 1 3
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 3 8 2 3 5 -
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 2 7 8 2 1 -
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 7 4 2 5 2 -
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 2 6 5 5 2 -
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 7 7 5 - 1 -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 6 2 1 - 11 -
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 - - - 22 - -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 1 2 2 2 2 -
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 4 7 2 2 1 -
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 - 7 6 7 - -
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 1 10 11 4 - -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 2 9 4 - 5 -
รวมทั้งสิ้น 296 45 78 69 67 34 3
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกลของ
ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน จานวน 15 หน่วยงาน โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ
จานวน 296 รายการ พบว่า รถและเครื่องจักรกล จานวน 3 รายการ ไม่มีการจัดทาสมุดบันทึกการใช้
รถและเครื่องจักรกล เป็นเหตุให้ไม่สามารถทราบว่ารถและเครื่องจักรกลทั้ง 3 รายการนั้นได้ถูกนาไป
ปฏิบัติงานในโครงการใด หรือที่ใด เป็น จานวนกี่วัน สาหรับรถและเครื่องจักรกลที่เหลือ จานวน
293 รายการ ประกอบด้วย รถและเครื่องจั กรกลที่ไม่ได้ถูกนาไปปฏิบัติงานภายในปี งบประมาณ
พ.ศ. 2562 - 2563 จานวน 34 รายการ และมีรถและเครื่องจักรกลที่ถูกนาไปปฏิบัติงานภายใน
35

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2563 จานวน 259 รายการ โดยสามารถแยกรถและเครื่องจักรกลที่


ถูกนาไปปฏิบัติงาน ได้ดังนี้ ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน มีจานวน 45 รายการ ปฏิบัติงาน
เป็นระยะเวลาเกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน มีจานวน 78 รายการ ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลาเกิน
90 วันแต่ไม่เกิน 180 วัน มีจานวน 69 รายการ ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลาเกิน 180 วันแต่ไม่เกิน
365 วัน มีจานวน 67 รายการ จากผลการตรวจสอบจะเห็นได้ว่า การใช้รถและเครื่องจักรกลของ
กรมชลประทานที่เลือกตรวจสอบ ถูกนาไปปฏิบัติงานไม่เกิน 90 วัน เป็นจานวนถึง 123 รายการ
และเมื่อรวมกับรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้ใช้งานที่มีจานวน 34 รายการ จะเห็นได้ว่ามีสัดส่วนร้อย
ละถึง 53 ของจานวนรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้รถและเครื่องจักรกล
มีระยะเวลาในการใช้ที่มีการกระจายตัวในแต่ละช่วงเวลาที่กาหนดอย่างค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยสามารถ
แสดงได้ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

78
80 69 67
70
60 45
50 34
40
30
20 3
10
0

แผนภูมิที่ 4 กำรแสดงสถิติกำรปฏิบัติงำนของรถและเครื่องจักรกลจำนวน 296 รำยกำรระหว่ำง


ปีงบประมำณ พ.ศ. 2562
จากแผนภูมิดังกล่าวที่พบว่ามีรถและเครื่องจักรกลที่ ไม่ทราบข้อมูลจานวนวันที่นารถ
และเครื่องจักรกลไปใช้งาน เนื่องจากการนารถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงานนั้น ไม่มีสมุดบันทึกการใช้
รถและเครื่องจักรกลทาให้ไม่ทราบว่ารถและเครื่องจักรกลทั้ง 3 รายการ ดังกล่าวมีการใช้งานเป็นจานวน
กี่วันและนาไปใช้งานที่ใดบ้าง ซึ่งรถและเครื่องจักรกลทั้ง 3 รายการ เป็นรถที่อยู่ในการควบคุมดูแล
ของสานักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตาม
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกาหนดให้ทุกหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกล
ต้องจัดให้มีสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล
สาหรับรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้นาไปปฏิบัติงาน จานวน 34 รายการ เป็นรถและ
เครื่องจักรกลของโครงการชลประทานนครนายก เป็นจานวนถึง 11 รายการ (จากการเลือกตรวจสอบ
20 รายการ) แสดงให้เห็นว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานบางหน่วยงานอาจมีการบริห าร
จัดการรถและเครื่องจักรกลได้อย่างไม่คุ้มค่า อย่างไรก็ตาม การอธิบายที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการวิเคราะห์
ข้อมูลจากจานวนวันในการปฏิบัติงานของรถและเครื่องจักรกลเท่านั้น จึงถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ต้อง
นาไปขยายผลโดยละเอียดต่อไป
36

สาเหตุที่ ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานไม่ส ามารถใช้รถและเครื่องจักรกลที่


ควบคุมดูแลได้เต็มจานวน เนื่องจาก
(1) ผู้บริหารของกรมชลประทานขาดการกากับดูแลการใช้ รถและเครื่องจักรกลให้
เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
(2) กรมชลประทานขาดระบบการตรวจสอบและติดตามการใช้ รถและเครื่องจักรกล
ให้เกิดประสิทธิภาพและมีการใช้งานอย่างเหมาะสม
(3) กรมชลประทานไม่มีฐานข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นว่ารถและเครื่องจักรกลมีการนาไปใช้
ในโครงการใดบ้าง และเป็นรถและเครื่องจักรกลประเภทใด จานวนกี่รายการ โดยมีแผนการใช้รถและ
เครื่องจักรกลในโครงการดังกล่าวจานวนกี่วัน และใช้จริงเป็นจานวนกี่วัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วย
ผู้บริหารในการบริหารทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกล และช่วยผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจ
นารถและเครื่องจักรกลของแต่ล ะหน่ว ยงานไปใช้ให้เกิ ดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากกองพัส ดุข อง
กรมชลประทานซึ่งควรเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานทั้งหมด
จึงควรจะมีระบบสารสนเทศเพื่อทราบถึงการใช้งานรถและเครื่องจักรกลที่เป็นปัจจุบัน และเพื่อใช้ใน
การสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทราบถึงสถานะการใช้งาน สถานะการซ่อมบารุง และสถานะการรองาน
ของรถและเครื่องจักรกลของทุกส่วนราชการภายในกรมชลประทาน รวมทั้งระบบข้อมูลที่แสดงถึงรถ
และเครื่องจักรกลแต่ละประเภทซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของแต่ละส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
การมีข้อมูลในภาพรวมที่กล่าวข้างต้นสาหรับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม
ข้อมูลนั้น จะทาให้ผู้บริหารสามารถวางแผนการใช้งานรถและเครื่องจักรกล การซ่อมบารุง การตัดจาหน่าย
และซื้อทดแทน รวมทั้งการตั้งงบประมาณในการจัดซื้อน้ามันเชื้อเพลิงสาหรับรถและเครื่องจักรกลได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารของกรมชลประทานสั่งการและกาชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะกรณีที่รถและเครื่องจักรกลทุกรายการต้องมีสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล ซึ่งถือ
เป็นหลักการที่สาคัญของระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการใช้รถและเครื่องจักรกล
2. ขอให้ผู้บริหารของกรมชลประทานสั่งการและกาชับให้เจ้าหน้าที่ทเี่ กี่ยวข้องสารวจ
ข้อมูลการนารถและเครื่องจักรกลไปปฏิบัติงานในแต่ละปี พร้อมทั้งนาเสนอข้อมูลดังกล่าวเป็นลายลักษณ์
อักษรให้ผู้บริหารส่วนกลางทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับการพิจารณาประกอบการจัดทาแผนปฏิบัติงานรถ
และเครื่องจักรกลประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะสามารถสะท้อนให้ผู้บริหาร
ทราบถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ขอให้ผู้บริหารดูแลและบริหาร
จัดการทรัพย์สิน ของราชการโดยคานึงถึงประโยชน์ของรัฐ และประชาชน ความคุ้มค่า และความ
ประหยัดเป็นสาคัญ
3. ขอให้ ผู้ บ ริ ห ารของกรมชลประทานสั่ ง การให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ที่ ค วบคุ ม รถและ
เครื่องจักรกลในทุกส่วนราชการภายในกรมชลประทานจัดทารายงานจานวน ประเภท สภาพของรถ
และเครื่ องจั กรกล และอื่น ๆ ตามประเด็นที่เห็ นเหมาะสม เช่น วิธีได้มาซึ่งรถและเครื่องจักรกล
ตัวอย่างเช่น ได้มาจากการซื้อ การโอน หรือยืมมาจากหน่วยงานอื่น เป็นต้น เพื่อจัดทาฐานข้อมูล
เบื้องต้น โดยเมื่อรวบรวมข้อเท็จจริ งจากรถและเครื่องจักรกลที่มีอยู่ทั้งสิ้น และมีการสอบยั น กัน
ระหว่างส่วนราชการภายในกรมชลประทานแล้ว เพื่อพัฒนาเป็นฐานข้อมูลที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจ
37

วางแผน และบริหารงบประมาณที่เกี่ยวกับรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานได้อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม
ข้อตรวจพบข้อที่ 3 ระบบกำรควบคุมภำยในไม่เพียงพอส่งผลให้กำรปฏิบัติงำนขำดประสิทธิภำพ
3.1 กำรบันทึกและกำรแสดงรำยกำรทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกลที่บันทึกอยู่
ในระบบริหำรกำรเงินกำรคลังภำครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน
สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการควบคุม (Test of control) ของการบันทึก
บัญชีและการแสดงรายการทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกลที่บันทึกอยู่ในระบบบริหารการเงิน
การคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System : GFMIS)
การตรวจสอบการทาตราเครื่องหมายและการทาหมายเลขประจารถและเครื่ องจักรกลที่ต้องปรากฏ
บนรถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทั้ง 15 หน่วยงาน ซึ่งมีรถและเครื่องจักรกล
ที่สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบทั้งสิ้น 296 รายการ พบว่าทรัพย์สินของกรมชลประทาน
หลายรายการที่บันทึกในทะเบียนคุมทรัพย์สินไม่ปรากฏในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และบางรายการไม่สามารถสอบยันกันได้ ซึ่งข้อมูลในระบบ GFMIS จะเป็น
ข้อมูลที่ถูกนาไปแสดงอยู่ในรายงานการเงินของกรมชลประทาน เป็นผลให้สานักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินไม่อาจแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินของกรมชลประทานได้ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบ
ต่อความเชื่อมั่นในรายงานการเงินของกรมชลประทานที่เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ มีภารกิจที่ต้องใช้รถ
และเครื่อ งจัก รกลหรือทรัพ ย์สิน อื่น ๆ เป็น จานวนมาก เพื่อ มุ่ง ดาเนินงานให้บรรลุตามภารกิจที่
กรมชลประทานได้ตั้งเป้ าหมายไว้ การควบคุมดูแลรถและเครื่องจักรกลต้องเป็นไปตามระเบียบ
กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒๐๓ ที่ระบุว่า
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับมอบพัสดุแล้วให้ดาเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุแล้วแต่กรณีแยกเป็นชนิดและแสดงรายการ
ตามตัวอย่างที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กาหนด โดยให้มี
หลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย
(๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตาม
บัญชีหรือทะเบียน
ตำรำงที่ 5 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับกำรบันทึกและกำรแสดงรำยกำรทรัพย์สิน
ประเภทรถและเครื่องจักรกลในระบบ GFMIS ไม่ตรงกับทะเบียนคุมทรัพย์สิน

รถและ มีกำรบันทึกใน ไม่มีกำรบันทึก


เครื่องจักรกลที่ ระบบ GFMIS ในระบบ
ชื่อหน่วยงำน
ตรวจสอบ (จำนวน) GFMIS
(จำนวน) (จำนวน)
(1)
(2) (3) (4)
1. สานักเครือ่ งจักรกล 22 7 15
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 10 10
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 5 15
38

รถและ มีกำรบันทึกใน ไม่มีกำรบันทึก


เครื่องจักรกลที่ ระบบ GFMIS ในระบบ
ชื่อหน่วยงำน
ตรวจสอบ (จำนวน) GFMIS
(จำนวน) (จำนวน)
(1)
(2) (3) (4)
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 9 12
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 6 14
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 15 5
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 4 16
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 8 12
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 5 15
10.โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 9 13
11.โครงการชลประทานชัยนาท 9 1 8
12.โครงการชลประทานชุมพร 16 16 -
13.โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 20 -
14.ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 7 19
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 11 9
รวมทั้งสิ้น 296 133 163
จากการตรวจสอบข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลของรถและเครื่องจักรกลที่อยู่ใน
ระบบ GFMIS กับข้อมูลที่อยู่ในระบบสินทรัพย์ Asset Management System (AMS) ของกองพัสดุ
พบว่า มีรถและเครื่องจักรกล จานวน 163 รายการ ที่ไม่มีการบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 55 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ ทั้งนี้ การเปรียบเทียบกับข้อมูลของรถและเครื่องจักรกล
ในระบบ GFMIS กับข้อมูลในระบบ AMS ทาให้ทราบว่าการควบคุมการบันทึกบัญชีทรัพย์สินของ
กรมชลประทานไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน โดยสามารถแสดงสัดส่วนได้ตามแผนภูมิ ดังต่อไปนี้
39

ไม่มีการบันทึกข้อมูลรายการของ
45% รถและเครื่องจักรกลในระบบ
55% GFMIS
มีการบันทึกข้อมูลรายการของ
รถและเครื่องจักรกลในระบบ
GFMIS

แผนภูมิที่ 5 กำรแสดงสัดส่วนกำรบันทึกข้อมูลรถและเครื่องจักรกลในระบบ AMS เปรียบเทียบ


กับกำรบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS
จากแผนภูมิดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของรถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานที่ไม่มีการบันทึกข้อมูลรายละเอียดของรถและเครื่องจักรกลในระบบ GFMIS
เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 55 จึงถือว่ามีนัยสาคัญที่แสดงถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินของกรมชลประทาน
ที่ไม่ถูกต้อง ขาดประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลทรัพย์สินของกรมชลประทานในงบแสดง
ฐานะการเงิน สาหรับปีสิ้นสุด 30 กันยายน 2563 พบว่า รายการทรัพย์สินของกรมชลประทานจะมี
สัดส่วนถึงร้อยละ 97 ของรายการทรัพย์สินทั้งหมด ดังนั้น ผลการตรวจสอบที่ปรากฏว่าจานวนรายการรถ
และเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบนั้นไม่ปรากฏรายการในระบบ GFMIS เป็นจานวนเกินกว่าครึ่ง
แสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สินของกรมชลประทาน จึงเป็นความเสี่ยง
ที่สาคัญในการควบคุมรถและเครื่องจักรกลว่ามีอยู่จริงเป็นจานวนเท่าใดและมีมูลค่าเท่าใด รวมทั้งจะ
เกิดความเสี่ยงในการบริหารเงินงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมบารุง
หรือค่าน้ามันเชื้อเพลิง หรือค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บดูแลรถและเครื่องจักรกลดังกล่าว ที่อาจก่อให้เกิด
ความเสียหายกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินได้
สาเหตุ ที่ ข้ อ มู ล รายการรถและเครื่ อ งจั ก รกลในระบบ GFMIS ไม่ ต รงกั บ ข้ อ มู ล ใน
ทะเบียนคุมทรัพย์สินตามระบบ AMS เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS มิได้มีการประสานงาน
กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านพัสดุที่ควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกล ที่มีข้อมูลจัดเก็บไว้ในระบบ
AMS เพื่อได้ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของการบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS อีกทั้งยัง
ขาดการสอบทานข้อมูลประจาปีให้ถูกต้องอย่างสม่าเสมอ
(2) รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินที่ ได้รับมาก่อน
การขึ้นระบบ GFMIS จึงพบว่าส่วนราชการภายในกรมชลประทานบางหน่วยงานมิได้นารถและเครื่องจักรกล
40

ที่ทางบัญชีถือว่าหมดอายุการให้ประโยชน์ (ราคาตามบัญชีเท่ากับศูนย์หรือหนึ่งบาท) ในขณะที่รถและ


เครื่องจักรกลดังกล่าวอาจยังใช้งานได้ ซี่งรถและเครื่องจักรกลประเภทนี้มักไม่ถูกนามาบันทึกในตอน
ขึ้นระบบ GFMIS แต่ยังคงปรากฏอยู่ในทะเบียนคุมทรัพย์สินตามระบบ AMS
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือแต่งตั้งคณะทางาน
เพื่อทาการสารวจข้อมูลรถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน ตามที่มีอยู่จริง
ในปัจ จุบัน ว่าได้มีการบันทึก ข้อมูลรายละเอียดรถและเครื่องจักรกลในทะเบียนคุม ทรัพย์สินของ
กองพัสดุตามระบบ AMS หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินของหน่วยงานหรือส่วนงานที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแล
ทรัพย์สินของแต่ละส่วนราชการภายในกรมชลประทานอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และตรวจสอบการลงรายการ
รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวในระบบ GFMIS อย่างครบถ้วน ถูกต้องเช่นกัน
สาหรับกรณีที่พบว่ารถและเครื่องจักรกลตามทะเบียนคุมทรัพย์สิน หรือตามที่ปรากฏ
ในระบบ GFMIS มีจานวนมากกว่าหรือน้อยกว่า รถและเครื่องจักรกลที่มีอยู่จริง ขอให้ผู้บริหารสั่งการ
ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนพิจารณาดาเนินการต่อไป โดยให้นาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง
มาพิจารณาวางแนวทางแก้ไขปัญหา และวางระบบการควบคุมภายในให้เกิดความรัดกุม มีประสิทธิภาพ
และไม่ก่อให้เกิดผลแตกต่างระหว่างทะเบียนคุมทรัพย์ สินของกองพัสดุและทะเบียนคุมทรัพย์สินใน
ระบบ GFMIS
2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีทาการประสานงานกับ
กองพัส ดุ หน่ว ยงานหรือส่ว นงานที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพย์สินของแต่ล ะส่ว นราชการภายใน
กรมชลประทาน เพื่อสอบยันรายการทรัพย์สินทางบัญชีให้ถูกต้องตรงกันกับรายการทรัพย์สินตามทะเบียน
คุมทรัพย์สินของกองพัสดุ หน่วยงานหรือส่วนงานที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพย์สินของแต่ละส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทาน อย่างสม่าเสมอ โดยกาหนดเวลาในการสอบยันข้อมูลเป็นช่วงเวลาอย่างชัดเจน
3. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการและควบคุมกากับดูแลให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด
4. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้คณะกรรมการตรวจนับพัสดุประจาปี
ทาการตรวจสอบทรัพย์สินของกรมชลประทาน โดยตรวจสอบจานวนและรายการทรัพย์สินตามข้อมูล
ที่มีในทะเบียนคุมทรัพย์สินของกองพัสดุ โดยตรวจสอบความมีอยู่จริงและสภาพของทรัพย์สินในขณะ
ตรวจสอบตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ และให้ข้อมูลกับฝ่ายบัญชีเพื่อทาการสอบยันทรัพย์สินที่ตรวจนับกับ
ทรัพย์สินที่ปรากฎในระบบ GFMIS และรายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินให้ผู้บริหารทราบ เพื่อดาเนินการ
ติดตามแก้ไขปัญหากรณีที่พบว่าทรัพย์สินที่ตรวจนับได้จริงมีความไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับรายการทรัพย์สิน
ทีป่ รากฎในทะเบียนคุมทรัพย์สินของกองพัสดุ
3.2 กำรทำตรำเครื่องหมำยของหน่วยงำนและกำรทำเลขหมำยประจำรถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทำนไม่เป็นไปตำมระเบียบที่กำหนดไว้
จากการตรวจสอบการทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานและการทาเลขหมายประจา
รถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง โดยตรวจสอบส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานจานวน 15 หน่วยงาน เป็นรถและเครื่องจักรกลที่ตรวจสอบทั้งสิ้น จานวน
41

296 รายการ พบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานเพียง 4 หน่วยงาน ซึ่งควบคุมดูแลรถและ


เครื่องจักรกลจานวนทั้งสิ้น 78 รายการ ได้จัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานและเลขหมายประจา
รถและเครื่องจักรกลไว้ข้างนอกตัวรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้า งอย่างถูกต้องและเป็นไปตามที่
ระเบียบกาหนดไว้ สาหรับหน่วยงานที่เหลืออีก 11 หน่วยงาน มี รถและเครื่องจักรกลที่ตรวจพบว่า
ไม่ได้จัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานและเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกล รวมทั้งมิได้มีการขอ
ยกเว้นการทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานและเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลให้เป็นไปตามที่
ระเบียบกาหนดไว้ การจัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานและการทาเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทานถือปฏิบัติตามระเบียบดังต่อไปนี้
(1) ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๗ รถส่วนกลางทุกคันให้มีตราเครื่องหมายประจาของส่วนราชการขนาดกว้าง
หรือยาวไม่น้อยกว่า ๑๘ เซนติเมตร และอักษรชื่อเต็มของส่วนราชการขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร
หรือชื่อย่อขนาดสูงไม่นอยกวา ๗.๕ เซนติเมตร ไว้ด้านข้างนอกรถทั้งสองข้าง
สาหรับรถจักรยานยนต์ ขนาดของตราเครื่องหมายและอักษรชื่อแสดงสังกัดของ
ส่วนราชการให้ลดลงตามส่วน
ตราเครื่องหมายและอักษรชื่อแสดงสังกัดของส่วนราชการในวรรคหนึ่งและวรรค
สอง ให้พ่นด้วยสีขาว เว้นแต่ใช้สีขาวแล้วมองไม่เห็นชัดเจน ให้ใช้สีอื่นแทน ในกรณีที่มีการจาหน่ายรถ
ส่วนกลางให้ส่วนราชการเจ้าของรถ ลบหรือทาลายตราเครื่องหมายและอักษรชื่อแสดงสังกัดของส่วน
ราชการออกทั้งหมด ก่อนที่จะสงมอบรถส่วนกลางให้บุคคลอื่น
ส่วนราชการใดมีเหตุผลและความจาเป็นซึ่งเห็นว่า การมีตราเครื่องหมายและอักษร
ชื่อแสดงสังกัดของส่วนราชการไว้ดานข้างนอกรถอาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้หรือไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
ให้ขออนุมัติปลัดกระทรวง เพื่อขอยกเว้นการมีตราเครื่องหมายและอักษรชื่อแสดงสังกัดได้
สาหรับส่วนราชการซึ่งมิไ ด้อยู่ในบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงหรือมิ ได้สังกัด
สานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ให้หัวหน้าส่วนราชการขออนุมัตติ ่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป
รถคันใดได้รับยกเว้นการมีตราเครื่องหมายและอักษรชื่อแสดงสังกัดของส่วนราชการ
ให้ส่วนราชการรายงานผู้รักษาการตามระเบียบ และสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบ และให้มี
การพิจารณาทบทวนเหตุผลและความจาเป็นของการยกเว้นการมีตราเครื่องหมายและอักษรชื่อแสดง
สังกัดของส่วนราชการในช่วงเวลาอันเหมาะสมอยู่เสมอด้วย
(2) ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
ข้อ 13. ยานพาหนะทางบกทุกคันหรือทุกเลขหมายให้ มีตราเครื่องหมาย
กรมชลประทานในวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร และอักษร “ชป.” พร้อมเลข
หมายประจายานพาหนะขนาดสูงไม่น้อยกว่า 7.5 เซนติเมตร ไว้ด้านข้างนอกยานพาหนะทั้งสองข้าง
รถจักรยานยนต์และยานพาหนะที่มีเนื้อที่ด้านข้างน้อย ให้ลดขนาดดังกล่าวลง
ตามส่วน
รถบรรทุกทุกประเภทให้มีอักษร “ชป.” พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะเพิ่ม
ไว้ที่ด้านหน้าและด้านหลังของยานพาหนะนั้นด้วยโดยให้มีขนาดตามความเหมาะสม
ตราเครื่องหมายและอักษร “ชป.” พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะให้ใช้สีขาว
เว้นแต่เมื่อใช้สีขาวมองเห็นไม่ชัดเจนให้ใช้สีอื่นแทน
42

ข้อ 17. หน่ว ยงานเจ้าสังกัดใดมีเหตุผ ลและความจาเป็นซึ่งเห็นว่าการมีตรา


เครื่องหมายและอักษร “ชป.” พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะไว้ที่ด้านนอกยานพาหนะอาจไม่ปลอดภัย
แก่ผู้ใช้ หรือไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานก็ให้หน่วยงานเจ้าสังกัดเสนอความจาเป็นเพื่อขออนุมัติ
ปลัดกระทรวงขอยกเว้น ตราเครื่องหมายและอัก ษร “ชป.” พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะ
เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะลบตราเครื่องหมายและอักษร “ชป.” พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะได้
แต่จะต้องพ่นอักษร “ชป.” พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะด้วยขนาดที่เหมาะสมไว้ภายในด้านหน้า
ของยานพาหนะนั้น
้อ
ข้ 18. ยานพาหนะใดที่ได้รับยกเว้น การมีตราเครื่องหมายและอักษร “ชป.”
พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานควบคุมเก็บรวบรวมหลักฐาน
การอนุมัติแล้วแจ้งให้หน่วยงานเจ้าสังกัดทราบและทาบันทึกกรมชลประทาน รายงานปลัดสานัก
นายกรัฐมนตรีและสานักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบ
ข้อ 19. หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับต้องตรวจตรามิให้มีการลบตราเครื่องหมาย
และอักษร “ชป.” พร้อมเลขหมายประจายานพาหนะซึ่งได้มีไว้แล้ว หากมีการลบเลือนไปตามสภาพ
การใช้งาน ต้องจัดให้มีใหม่ให้ชัดเจนอยู่เสมอ
จากการตรวจสอบการทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานและการทาเลขหมายประจา
รถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง พบว่า การปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว
ไม่เป็นไปตามระเบียบที่กล่าวข้างต้น โดยสามารถแยกประเด็นข้อตรวจพบออกเป็น 2 ประเด็น โดยมี
รายละเอียดตามตารางต่อไปนี้
ตำรำงที่ 6 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับกำรทำตรำเครื่องหมำยของหน่วยงำนไว้ทรี่ ถ
และเครื่องจักรกล
รถและ มีกำรทำตรำเครื่องหมำยหน่วยงำน ไม่มีกำรทำตรำ
เครื่องจักรกลที่ เป็นไปตำม ไม่เป็นไปตำม เครือ่ งหมำย
ตรวจสอบ ระเบียบ ระเบียบ หน่วยงำน และ
ชื่อหน่วยงำน
(จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) ไม่ได้รับยกเว้น
(จำนวน)
(3) (4) (5)
(1)
(2)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 22 - -
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 14 2 4
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 20 - -
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 17 - 4
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 19 - 1
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 20 - -
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 6 12 2
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 16 - 4
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 19 - 1
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 22 - -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 9 - -
43

รถและ มีกำรทำตรำเครื่องหมำยหน่วยงำน ไม่มีกำรทำตรำ


เครื่องจักรกลที่ เป็นไปตำม ไม่เป็นไปตำม เครือ่ งหมำย
ตรวจสอบ ระเบียบ ระเบียบ หน่วยงำน และ
ชื่อหน่วยงำน
(จำนวน) (จำนวน) (จำนวน) ไม่ได้รับยกเว้น
(จำนวน)
(3) (4) (5)
(1)
(2)
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 16 - -
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 17 - 3
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 24 2 -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 14 3 3
รวมทั้งสิ้น 296 255 19 22

ก. กำรทำตรำเครื่องหมำยของหน่วยงำนไว้ด้ำนข้ำงนอกรถและเครื่องจักรกลไม่เป็นไปตำมระเบียบฯ
และไม่ครบถ้วน
จากการตรวจสอบการทาตราเครื่องหมายด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสอง
ข้างพบว่า
1) การทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง
เป็นไปตามที่ระเบียบฯ กาหนดไว้ จานวน 255 รายการ คิ ดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86 ของจานวนที่
เลือกตรวจสอบ
2) การทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง
แต่ไม่เป็นไปตามที่ระเบียบฯ กาหนดไว้ จานวน 19 รายการ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 6 ของจานวนที่
เลือกตรวจสอบ
3) ไม่ทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง
และไม่มีการขอยกเว้นตามที่ระเบียบฯ กาหนดไว้ จานวน 22 รายการ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 8 ของ
จานวนที่เลือกตรวจสอบ
โดยมีรายละเอียดของข้อตรวจพบกรณีการทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้างนอก
ซึ่งพบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานจานวน 4 หน่วยงาน มีรถและเครื่องจักรกล จานวนรวม
19 รายการ (จานวนที่เลือกตรวจสอบ 86 รายการ) ที่มีการจัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้าง
นอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง แต่ตราเครื่องหมายของหน่วยงานไม่เป็นไปตามข้อกาหนดในระเบียบฯ
ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง จานวน 2 รายการ สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ จานวน 12 รายการ ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) จานวน
2 รายการ ส่ว นบริห ารเครื่อ งจัก รกลที่ 7 (จัง หวัด สงขลา) จานวน 3 รายการ โดยมี สานักงาน
ชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ทาตราเครื่องหมายของหน่ว ยงานไว้แต่มิได้เป็น ไป
ตามระเบียบฯ เป็นจานวนสูงที่สุดถึง 12 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ 20 รายการ คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 60 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ ตัวอย่างการทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานที่ไม่
เป็นไปตามระเบียบฯ เช่น ใช้การติดสติกเกอร์เครื่องหมายของหน่วยงานแทนการพ่นสีขาวตามที่ระเบียบ
กาหนดไว้ (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 6 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการทาตรา
เครื่องหมายของหน่วยงานไว้ที่รถและเครื่องจักรกล ช่อง (4))
44

นอกจากนี้ยังตรวจพบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่มีรถและเครื่องจักรกล
ซึ่งไม่ได้จัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง และไม่ได้
ขอยกเว้นตามที่ระเบียบฯ ต่อปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การมีตราเครื่องหมายของหน่วยงาน
ซึ่งมีจานวนถึง 8 หน่วยงาน และมีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้ จัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงาน
เป็นจานวน 22 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (167 รายการ)
ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง จานวน 4 รายการ สานักงานชลประทานที่ 5 จังหวัด
อุดรธานี จานวน 4 รายการ สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี จานวน 1 รายการ
สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จานวน 2 รายการ สานักงานชลประทานที่ 15
จังหวัดนครศรีธรรมราช จานวน 4 รายการ โครงการชลประทานนครนายก จานวน 1 รายการ
โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี จานวน 3 รายการ และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา)
จานวน 3 รายการ (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 6 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับ
การทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานไว้ที่รถและเครื่องจักรกล ช่อง (5))
โดยสามารถแสดงสั ด ส่ ว นการท าตราเครื่ อ งหมายของหน่ ว ยงานได้ ต ามแผนภู มิ
ดังต่อไปนี้

8%
6%
มี, เป็นไปตามระเบียบฯ

มี, ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ

86%
ไม่มี, ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ และไม่
มีการขอยกเว้น

แผนภูมิที่ 6 กำรแสดงสั ด ส่วนกำรทำตรำเครื่ อ งหมำยของหน่ วยงำนไว้ด้ำ นข้ำ งนอกรถและ


เครื่องจักรกล
45

ส าหรั บ การตรวจสอบการท าอั ก ษรย่ อ “ชป.”พร้ อ มเลขหมายประจ ารถและ


เครื่องจักรกล พบว่า มีการจัดทาที่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ โดยมีรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้
ตำรำงที่ 7 ตำรำงแสดงข้อ มูลข้อตรวจพบเกี่ ยวกับ กำรทำอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมำย
ประจำรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทำน
รถและ มีกำรทำอักษรย่อ “ชป.”พร้อม ไม่มีกำรทำอักษรย่อ “ชป.”
เครื่องจักรกลที่ เลขหมำยประจำรถฯ พร้อมเลขหมำยประจำรถฯ
ชื่อหน่วยงำน ตรวจสอบ เป็นไปตำม ไม่เป็นไปตำม ได้รับยกเว้น ไม่ได้รับยกเว้น
(จำนวน) ระเบียบฯ ระเบียบฯ (จำนวน) (จำนวน)
(จำนวน) (จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5) (6)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 22 - - -
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 1 13 - 6
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 20 - - -
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 15 - - 6
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 4 15 1 -
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 20 - - -
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 3 7 3 7
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 16 - 1 3
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 2 - 18 -
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 21 1 - -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 8 1 - -
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 16 - - -
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 17 - - 3
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 26 - - -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 13 6 1 -
รวมทั้งสิ้น 296 204 43 24 25

ข. กำรทำอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมำยประจำรถและเครื่องจักรกลไว้ด้ำนข้ำงนอกรถไม่เป็นไป


ตำมระเบียบฯ และไม่ครบถ้วน
จากการตรวจสอบการทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกล
ไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง พบว่า
1) รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบได้จัด ทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมาย
ประจารถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง โดยเป็นไปตามที่ระเบียบฯ
กาหนดไว้ จานวน 204 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ
2) รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบได้จัด ทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมาย
ประจารถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง แต่ไม่เป็นไปตามที่ระเบียบฯ
กาหนดไว้ จานวน 43 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ
46

3) รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบที่ไม่ได้จัด ทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลข


หมายประจารถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง แต่มีการขอยกเว้น
ตามที่ระเบียบฯ กาหนดไว้ จานวน 24 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ
4) รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบที่ไม่ได้จัดทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมาย
ประจารถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง และไม่มีการขอยกเว้นตามที่
ระเบียบฯ กาหนดไว้ จานวน 25 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ
โดยมีรายละเอียดข้อตรวจพบกรณีการจัดทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจา
รถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอก แต่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ซึ่งมีส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
จานวน 6 หน่วยงาน ที่มีรถและเครื่องจักรกล จานวนรวม 43 รายการ ที่มีการจัดทาอักษรย่อ “ชป.”
พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอก แต่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ คิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 38 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (โดยมีจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งสิ้น 111 รายการ) ซึ่ง
ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน 6 หน่วยงาน ที่การทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถ
และเครื่องจักรกลไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง จานวน
13 รายการ สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี จานวน 15 รายการ สานักงานชลประทานที่ 14
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จานวน 7 รายการ โครงการชลประทานมหาสารคาม จานวน 1 รายการ
โครงการชลประทานชัยนาท จานวน 1 รายการ และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา)
จานวน 6 รายการ ตัวอย่างการทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลไว้
ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้าง แต่มิได้เป็นไปตามระเบียบฯ เช่น ใช้การติดสติกเกอร์เลข
หมายแทนการพ่นสีขาว หรือเลขหมายที่แสดงไว้มีขนาดไม่ตรงตามที่ระเบียบฯ กาหนด เป็นต้น โดย
สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดทาที่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ สูงสุดถึง 15
รายการ จากจานวนที่ เลือกตรวจสอบ 20 รายการ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 75 ของจานวนที่เลือก
ตรวจสอบ โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่ทาเลขหมายถูกต้องตามระเบียบฯ เพียง 4 รายการ และมีการขอ
ยกเว้นการไม่ทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกล 1 รายการ (รายละเอียด
ปรากฏตามตารางที่ 7 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการทาเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกล
ของกรมชลประทาน ช่อง (3) และ (4))
นอกจากนี้ยังตรวจพบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่มีรถและเครื่องจักรกล
ซึง่ ไม่ได้จัดทาเลขหมายไว้และไม่ได้ขอยกเว้นตามที่ระเบียบฯ กาหนดจานวน 5 หน่วยงาน รวมรถและ
เครื่องจักรกล จานวน 25 รายการ ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง จานวน 6 รายการ
สานักงานชลประทานที่ 5 จังหวัดอุดรธานี จานวน 6 รายการ สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ จานวน 7 รายการ สานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช จานวน 3 รายการ
และโครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี จานวน 3 รายการ (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 7 ตารางแสดง
ข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการทาเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน ช่อง (6))
47

โดยสามารถแสดงสั ด ส่ ว นการทาอั ก ษรย่ อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและ


เครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอก ได้ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

8%
8%

มี, เป็นไปตามระเบียบฯ
15%
มี, ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ
69% ไม่มี, แต่มีการขอยกเว้น
ไม่มี, และไม่มีการขอยกเว้น

แผนภู มิ ที่ 7 กำรแสดงสั ด ส่ ว นกำรท ำอั ก ษรย่ อ “ชป.” พร้ อ มเลขหมำยประจ ำรถและ
เครื่องจักรกลไว้ด้ำนข้ำงนอก
จากแผนภูมิที่ 6 และ 7 ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
ยังคงมีบางหน่วยงานที่การจัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงานและการจัดทาอักษรย่อ “ชป.” พร้อม
เลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกไม่ถูกต้องตามที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่า
ด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ
พ.ศ. 2547 ที่กาหนดไว้ เป็นจานวนถึง 11 หน่วยงาน ซึ่งการไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ
การกาหนดให้รถและเครื่องจักรกลของทางราชการต้องมีเครื่องหมายของหน่วยงานและเลขหมาย
ประจารถและเครื่องจักรกลนั้น จะเป็นเหตุให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานขาดระบบการควบคุม
การใช้รถและเครื่องจักรกลที่ดี เนื่องจากการกาหนดเครื่องหมายของหน่วยงานและเลขหมายประจา
รถและเครื่องจักรกลจะเป็นการทาให้ทราบว่า รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวจะต้องใช้ในการปฏิบัติ
หน้าที่ราชการเท่านั้น นอกจากนี้ เลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลจะช่วยในการควบคุมการใช้งาน
รถและเครื่องจักรกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่จัดทาตราเครื่องหมายของหน่วยงาน
และเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลไว้ด้านข้างนอกรถและเครื่องจักรกลทั้งสองข้างตามระเบียบฯ
ที่เกี่ยวข้องข้างต้น เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นระเบียบที่สาคัญที่ใช้ควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน
(2) เจ้าหน้าทีท่ ี่รับผิดชอบไม่ได้ให้ความสาคัญกับการตรวจตราเครื่องหมายและอักษรย่อ
“ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกล ที่มีอยู่แล้วแต่ถูกลบเลือนไปตามสภาพการใช้งาน
48

ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมดูแลรถและเครื่องจักรกลจะต้องดาเนินการจัดให้มี
ตราเครื่องหมายและอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลใหม่ให้ชัดเจนอยู่เสมอ
(3) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่ได้ให้ความสาคัญกับการขอยกเว้นการมีตราเครื่องหมาย
ของหน่วยงานและเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกล ซึ่งต้องขออนุมัติปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ต้องอธิบาย
เหตุผลถึงความไม่ปลอดภัยหรือความไม่เหมาะสมในการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานจัดให้มีการอบรมหรือจัดทาสื่อการอบรมทางออนไลน์
เกี่ยวกับระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบ
กรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนการดาเนินการ
ตามระเบียบดังกล่าวระหว่างส่วนราชการภายในของกรมชลประทาน
2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแล
การใช้รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทาน ทาการสารวจตรวจสอบตราเครื่องหมายและอักษร
“ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลทุก รายการที่อยู่ในครอบครองว่ามีสภาพที่ชัดเจน
อยู่หรือไม่ หากพบว่ามีสภาพลบเลือนด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ขอให้ทาการรายงานผลการสารวจตรวจสอบ
ให้กับผู้บังคับบัญชาเพื่อทาการแก้ไขให้มีสภาพใหม่ ชัดเจนแล้วรายงานให้ผู้บริหารทราบต่อไป
3. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้มี การตรวจสอบว่ามีรถและเครื่องจักรกล
รายการใดจาเป็นต้องขอยกเว้นการมีตราเครื่องหมายและอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถ
และเครื่องจักรกล และให้ทารายงานขออนุมัติปลัดกระทรวงเพื่อขอยกเว้นต่อไป และสั่งการให้ทุก
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานพิจารณาทบทวนเหตุผลและความจาเป็นของการยกเว้นการมีตรา
เครื่องหมายและอักษรย่อ “ชป.” พร้อมเลขหมายประจารถและเครื่องจักรกลอย่างสม่าเสมอในช่วงเวลา
ที่เหมาะสม
3.3 กำรควบคุมกำรใช้งำนรถและเครื่องจักรกล
จากการตรวจสอบการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายใน
กรมชลประทาน โดยได้ตรวจสอบใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 และสมุดบันทึกการใช้
รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ซึ่งกรมชลประทานได้กาหนดแบบทั้ง 2 แบบ ขึ้นเพื่อควบคุมการใช้รถ
และเครื่องจักรกลที่จะเป็นประโยชน์กับงานราชการของกรมชลประทาน และเป็นการควบคุมการใช้
รถและเครื่องจักรกลที่มุ่งถึงการวัดประสิทธิภาพของรถและเครื่องจักรกลที่อยู่ในกากับดูแล ให้มีการใช้งาน
อย่างเต็มประสิทธิภาพ และควบคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกลในแต่ละรายการ
รวมถึงการบารุงรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
การตรวจสอบการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกลโดยพิจารณาถึงการกาหนดให้มี
เอกสารในการควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกลเป็นไปตามระเบียบฯ ดังต่อไปนี้
1 ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 13 วรรค 4 ใบขออนุญาตใช้รถสวนกลาง รถรับรอง และรถรับรองประจา
จังหวัดให้ใช้ตามแบบ ๓ ท้ายระเบียบนี้
2 ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
49

ข้อ 46 ข้าราชการจะใช้ยานพาหนะส่วนกลางจะต้องทาเรื่องขอใช้ยานพาหนะต่อ
หัวหน้าหน่วยงานผู้ควบคุมยานพาหนะให้มีข้อความอย่างน้อยตามตัวอย่างแบบ 3 แนบท้ายระเบียบนี้
ตำรำงที่ 8 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับกำรควบคุมกำรใช้งำนรถและเครื่องจักรกล
รถและเครื่องจักรกล ใบขออนุญำตใช้รถและ แบบสมุดบันทึกกำรใช้รถและ
ที่ตรวจสอบ เครื่องจักรกล (แบบ 3) เครื่องจักรกล (แบบ 4)
ชื่อหน่วยงำน (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน)
ทำ ไม่ทำ ไม่ใช้งำน ทำ ไม่ทำ ไม่ใช้งำน
(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 21 - 1 22 - -
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 20 - - 20 - -
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 14 6 - - 20 -
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 14 7 - - 21 -
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 18 1 1 2 18 -
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 19 - 1 14 5 1
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 17 2 1 - 18 2
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 7 13 - 5 15 -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 11 9 - - 20 -
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 22 - - - 22 -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 7 - 2 - 7 2
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 15 - 1 15 - 1
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 20 - - - 20 -
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 26 - - 26 - -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 - 20 - - 20 -
รวมทั้งสิ้น 296 231 58 7 104 186 6
จากการตรวจสอบการจัดทาเอกสารในการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกลทั้ง
ใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 และสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 พบว่า
การปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ที่กล่าวข้างต้น โดยสามารถแยกประเด็นข้อตรวจพบ
ทั้งสิ้น 2 ประเด็น คือ
ก. กำรจัดทำใบขออนุญำตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 ไม่เป็นไปตำมระเบียบฯ
ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานส่ ว นใหญ่ มี ก ารจั ดท าใบขออนุ ญ าตใช้รถและ
เครื่องจักรกล แบบ 3 ตามที่ระเบียบกาหนดไว้ แต่ยังคงมีรถและเครื่องจักรกลบางรายการที่ถู ก
นาไปใช้งานโดยไม่ได้จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 ซึ่งถือเป็นการไม่ปฏิบัติตาม
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1 ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 13 วรรค 4 ใบขออนุญาตใชรถสวนกลาง รถรับรอง และรถรับรองประจา
จังหวัดใหใชตามแบบ ๓ ท้ายระเบียบนี้
50

2 ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547


ข้อ 46 ข้าราชการจะใช้ยานพาหนะส่วนกลางจะต้องทาเรื่ องขอใช้ยานพาหนะต่อ
หัวหน้าหน่วยงานผู้ควบคุมยานพาหนะให้มีข้อความอย่างน้อยตามตัวอย่างแบบ 3 แนบท้ายระเบียบนี้
จากข้อมูลทีต่ รวจสอบพบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทาน ทั้ง 15 หน่วยงาน มี
รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน 296 รายการ ซึ่งพบการจัดทาใบขออนุญาตใช้ รถและ
เครื่องจักรกลเมื่อมีการนารถและเครื่องจักรกลไปใช้งาน ดังนี้
1) ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล
แบบ 3 สาหรับรถและเครื่องจักรกลทุกรายการที่เลือกตรวจสอบ มีจานวน 8 หน่วยงาน มีรถและ
เครื่องจักรกลที่จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 ครบทุกรายการที่มีการใช้งาน
จานวน 150 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (จานวน 155 รายการ)
โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าไม่ได้ใช้งาน จานวน 5 รายการ จึงไม่ได้มีการจัดทาใบ
ขออนุญาตขอใช้รถและเครื่องจักรกล
2) ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานที่ ไ ม่ ไ ด้ จั ด ท าใบขออนุ ญ าตใช้ ร ถและ
เครื่ องจั กรกล แบบ 3 ส าหรับ รถและเครื ่อ งจัก รกลทุก รายการที่เ ลือ กตรวจสอบ มีจานวน 7
หน่วยงาน มีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่มีการจัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 จานวน
58 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (141 รายการ) แต่มีรถและ
เครื่องจักรกลบางส่วนที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานทั้ง 7 หน่วยงาน ได้มีการจัดทาใบขออนุญาต
ใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 จานวน 81 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57 ของจานวนที่เลือก
ตรวจสอบ และยังพบว่ามีรถและเครื่องจักรกลที่เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าไม่ได้ใช้งานอีก จานวน 2 รายการ
จึงไม่ได้มีการจัดทาใบขออนุญาตขอใช้รถและเครื่องจักรกล
3) ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานที่ ไม่ มีก ารใช้ง านรถและเครื่ องจักรกล มี
จานวน 6 หน่วยงาน จานวน 7 รายการ คิดเป็นร้อยละ 2
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่มีการจัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล
แบบ 3 ครบตามจานวนรถและเครื่องจักรกลที่มีการใช้งาน โดยใน 8 หน่วยงานดังกล่าว มี 4 หน่วยงาน
ที่ตรวจพบใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 ทุกรายการที่เลือกตรวจสอบ ได้แก่ สานักงาน
ชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง โครงการชลประทานมหาสารคาม โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี
และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) แต่มีอีก 4 หน่วยงาน ที่มีรถและเครื่องจักรกล
บางรายการไม่มีใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล ได้แก่ สานักเครื่องจักรกล ที่จัดทาใบขออนุญาตฯ
จานวน 21 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ 22 รายการ และชี้แจงว่าไม่ได้ใช้งาน 1 รายการ
สานักงานชลประทานที่ 13 จังหวัดกาญจนบุรี ที่จัดทาใบขออนุญาตฯ จานวน 19 รายการ จากจานวน
ที่เลือกตรวจสอบ 20 รายการ และชี้แจงว่าไม่ได้ใช้งาน 1 รายการ โครงการชลประทานชัยนาท ที่จัดทา
ใบขออนุญาตฯ จานวน 7 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ 9 รายการ และชี้แจงว่าไม่ได้ใช้งาน
2 รายการ และโครงการชลประทานชุมพร ที่จัดทาใบขออนุญาตฯ จานวน 15 รายการ จากจานวนที่
เลือกตรวจสอบ 16 รายการ และชี้แจงว่าไม่ได้ใช้งาน 1 รายการ
สาหรับ ส่ว นราชการภายในกรมชลประทานที่ไ ม่ไ ด้จัด ทาใบขออนุญ าตใช้ร ถและ
เครื่องจักรกล แบบ 3 บางรายการ มีจานวนทั้งสิ้น 7 หน่วยงาน ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 3
จังหวัดพิษณุโลก ไม่ได้จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล จานวน 6 รายการ จากจานวนที่
51

เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ สานักงานชลประทานที่ 5 จังหวัดอุดรธานี ไม่ได้จัดทาใบขอ


อนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล จานวน 7 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ จานวน 21 รายการ
สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี ไม่ได้จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจั กรกล
จานวน 1 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ สานักงานชลประทานที่ 14
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่ได้จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล จานวน 2 รายการ จาก
จานวนที่เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ สานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ไม่ได้จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล จานวน 13 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ
จานวน 20 รายการ โครงการชลประทานนครนายก ไม่ได้จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล
จานวน 9 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7
(จังหวัดสงขลา) ไม่ได้จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล จานวน 20 รายการ จากจานวนที่
เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าใน 7 หน่วยงานดังกล่าวส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7
(จังหวัดสงขลา) ไม่มีการจัดทาใบขออนุญาตฯ สาหรับรถและเครื่องจักรกลทุกรายการที่เลือกตรวจสอบ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 และสานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่ได้จัดทา
ใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล จานวน 13 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 (จานวนที่เลือก
ตรวจสอบ 20 รายการ)
ดังนั้น รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบทั้งสิ้น 296 รายการ มีจานวนที่ถูก
นาไปใช้งานโดยมีการจัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 เป็นจานวนทั้งสิ้น 231 รายการ
และไม่มีการจัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล จานวน 58 รายการ สาหรับรถและเครื่องจักรกล
ที่เหลืออีก 7 รายการ เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าไม่ได้ใช้งาน (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 8 ตารางแสดง
ข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกล ช่อง (3) - (5))
โดยสามารถแสดงสัดส่วนการมีใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 เมื่อมีการใช้
รถและเครื่องจักรกลได้ตามแผนภูมิดัง ต่อไปนี้

2%
ไม่มีการจัดทาใบขออนุญาตใช้รถ
20%
และเครื่องจักรกล แบบ 3

มีการจัดทาใบขออนุญาตใช้รถและ
78% เครื่องจักรกล แบบ 3

ไม่มีการใช้งานในระหว่างปี พ.ศ.
2562 - 2563

แผนภูมิที่ 8 กำรแสดงสัดส่วนกำรจัดทำใบขออนุญำตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 ของส่วนรำชกำร


ภำยในกรมชลประทำนที่เลือกตรวจสอบรถและเครื่องจักรกล จำนวน 296 รำยกำร
52

จากแผนภูมขิ ้างต้นแสดงให้เห็นว่าส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่ควบคุมการใช้
รถและเครื่องจักรกลไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบฯ ที่กาหนดให้ รถและเครื่องจักรกลทุกรายการจะต้อง
จัดทาใบขออนุญาตเมื่อมีการขอใช้ รถและเครื่องจักรกล นั่นหมายถึงเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการใช้รถและ
เครื่องจักรกล ไม่ได้ให้ความสาคัญกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ และไม่ตระหนักถึงการควบคุมภายในที่
สาคัญ ในกรณีที่จะนารถราชการออกไปใช้งาน ซึ่งจาเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอานาจสั่งใช้รถ
และเครื่องจักรกลทุกครั้ง การที่นารถและเครื่องจักรกลออกไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุมัติก่อน จึงถือ
เป็นจุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการ
สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล
แบบ 3 ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องข้างต้น เนื่องจาก
(1) ผู้บริหารของส่วนราชการภายในกรมชลประทานแต่ละแห่งไม่ได้ให้ความสาคัญ
กับการปฏิบัติตามระเบียบฯ โดยอาจจะคานึงถึงการปฏิบัติงานตามภารกิจเท่านั้น และไม่มีการกากับ
ดูแลให้เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกลให้ความสาคัญกับการมี ใบขออนุญาตฯ ที่ต้อง
ได้รับอนุมัติจากผู้มีอานาจทุกครั้งก่อนนารถและเครื่องจักรกลออกไปใช้งาน
(2) ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานมีภ ารกิจจาเป็นเร่งด่ว นที่ต้องใช้ ร ถและ
เครื่องจักรกลเสมอ ทาให้เจ้าหน้าที่ทรี่ ับผิดชอบจัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกลไม่ครบถ้วน
(3) กรมชลประทานมิได้มีการสอบทานการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนปฏิบัติราชการที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกลมาโดยตลอด
ส่งผลให้ส่วนราชการภายในของกรมชลประทานละเลยการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ฯลฯ โดยเฉพาะ
ทรัพย์สินหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงานของกรมชลประทาน ได้แก่ รถและเครื่องจักรกล ที่จาเป็นต้องให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความสาคัญกับระบบควบคุมภายในที่กรมชลประทาน ซึ่งหมายถึง กฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี แนวปฏิบัติที่กรมชลประทานประกาศใช้ เป็นต้น และให้มีการควบคุมดูแล
ให้ทุกส่วนราชการภายในกรมชลประทานต้องปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในที่กรมชลประทานได้วางไว้
ข. กำรจัดทำสมุดกำรใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ไม่เป็นไปตำมระเบียบฯ
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานส่วนใหญ่มีการจัดทาสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล
แบบ 4 ตามที่ระเบียบกาหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามยังมี ส่วนราชการภายในกรมชลประทานบางส่วน
ที่ไม่มีการจัดทาสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ซึ่งถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดทาเอกสารในการควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกล ได้แก่
1 ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 14 ให้ส่วนราชการจัดใหมีสมุดบันทึกการใช้รถส่วนกลาง รถรับรอง รถรับรอง
ประจาจังหวัด ประจารถแต่ละคัน สมุดบันทึกอย่างน้อยให้มขี ้อความตามแบบ ๔ ท้ายระเบียบนี้
ส่วนราชการต้องควบคุมพนักงานขับรถให้ลงรายการไปตามความเป็นจริง
2 ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
ข้อ 48 ให้หน่วยงานจัดให้มีสมุดบันทึกการใช้ยานพาหนะส่วนกลางประจากรม
ยานพาหนะส่ว นกลาง หน่วยงานประจายานพาหนะแต่ละคัน รายการบันทึกแตกต่างกันไปตาม
ประเภทยานพาหนะอย่างน้อยให้มีข้อความตามแบบ 4 แนบท้ายระเบียบนี้ หน่วยงานต้องควบคุม
พนักงานขับรถยนต์ให้ลงรายการใช้ตามความเป็นจริง
53

จากการตรวจสอบสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ของส่วนราชการภายใน


กรมชลประทาน 15 หน่วยงาน ซึ่งมีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวนทั้งสิ้น 296 รายการ
พบว่า
1. มีรถและเครื่องจักรกล จานวน 104 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35 ของ
จานวนที่เลือกตรวจสอบ ซึ่งมีการจัดทาสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 โดยรถและเครื่องจักรกล
ดังกล่าวอยู่ในการควบคุมดูแลของ 7 หน่วยงาน (รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวนทั้งสิ้น
144 รายการ) โดยใน 7 หน่วยงาน มีเพียง 4 หน่วยงาน ที่ รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ
ทุกรายการมีการจัดทาสมุดการใช้รถฯ เป็นจานวนถึง 83 รายการ และมี 1 รายการ ระบุว่าไม่ได้ใช้งาน
สาหรับอีก 3 หน่วยงาน มีรถและเครื่องจักรกลที่ควบคุมดูแลและได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ เป็นจานวน
21 รายการ แต่ยังมีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ อีกจานวน 38 รายการ และมี
1 รายการ ระบุว่าไม่ได้ใช้งาน (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 8 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบ
เกี่ยวกับการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกล ช่อง (6))
2. มีรถและเครื่องจักรกล จานวน 186 รายการ คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 63 ของ
จานวนที่เลือกตรวจสอบ ที่ไ ม่ได้มีการจัดทาสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 (รายละเอียด
ปรากฎตามตารางที่ 8 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการควบคุมการใช้งานรถและเครื่องจักรกล
ช่อง (7)) โดยมีส่วนราชการภายในกรมชลประทาน จานวน 8 หน่วยงาน ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถ
และเครื่องจักรกล แบบ 4 ทุกรายการที่มีการใช้งานเป็นจานวนถึง 148 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
97 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (จานวน 152 รายการ) และยังมีรถและเครื่องจักรกลอีกจานวน
38 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (จานวน 60 รายการ) ที่อยู่ใน
การควบคุมดูแลของ 3 หน่วยงาน ตามที่ระบุในข้อที่ 1
3. มีรถและเครื่องจักรกล จานวน 6 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของจานวนที่
เลือกตรวจสอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกลชี้แจงว่า รถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้
ใช้งานจะไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ โดยรถและเครื่องจักรกลดังกล่าวอยู่ในการดูแลของ 4 หน่วยงาน
(รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 8 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการควบคุมการใช้งานรถ
และเครื่องจักรกล ช่อง (8))
ส่ว นราชการภายในกรมชลประทานที่มีก ารจัดทาสมุด การใช้รถฯ สาหรับรถและ
เครื่องจักรกลทุกรายการที่เลือกตรวจสอบนั้น มีจานวนเพียง 4 หน่วยงาน จากที่เลือกตรวจสอบ
15 หน่วยงาน โดยมีรถและเครื่ องจักรกลที่จัดทาสมุดการใช้รถฯ เป็นจานวนทั้งสิ้ น 83 รายการ
สาหรับส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่เหลืออีก 11 หน่วยงาน พบว่ามี 3 หน่วยงานมีการจัดทา
สมุดบันทึกการใช้รถฯ เพียงบางรายการ ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี ที่จัดทา
สมุดการใช้ร ถฯ จานวน 2 รายการ (เลือกตรวจสอบ 20 รายการ) สานักงานชลประทานที่ 13
จังหวัดกาญจนบุรี ที่จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 14 รายการ และไม่ได้ใช้งาน 1 รายการ (เลือกตรวจสอบ
20 รายการ) และสานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน
5 รายการ (เลือกตรวจสอบ 20 รายการ) ดังนั้น ทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้นจึงมีรถและเครื่องจักรกลที่
ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ เป็นจานวน 38 รายการ ส่วนอีก 8 หน่วยงาน มีรถและเครื่องจักรกลที่
ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ เป็นจานวนถึง 148 รายการ เมื่อรวมกับ 3 หน่วยงานข้างต้นจึงพบว่า มี
รถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ เป็นจานวนทั้งสิ้น 186 รายการ
54

สาหรับส่วนราชการภายในกรมชลประทาน 8 หน่วยงานที่มี รถและเครื่องจักรกลที่


ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 148 รายการ ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก
ทีไ่ ม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 20 รายการ (เลือกตรวจสอบ 20 รายการ) สานักงานชลประทานที่ 5
จังหวัดอุดรธานี ที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 21 รายการ (เลือกตรวจสอบ 21 รายการ)
สานักงานชลประทานที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 18 รายการ
และไม่ได้ใช้งาน 2 รายการ (เลือกตรวจสอบ 20 รายการ) โครงการชลประทานนครนายก ที่ไม่ได้จัดทา
สมุดการใช้รถฯ จานวน 20 รายการ (เลือกตรวจสอบ 20 รายการ) โครงการชลประทานมหาสารคาม
ที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 22 รายการ (เลือกตรวจสอบ 22 รายการ) โครงการชลประทาน
ชัยนาท ที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 7 รายการ และไม่ได้ใช้งาน 2 รายการ (เลือกตรวจสอบ
9 รายการ)โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี ที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ จานวน 20 รายการ (เลือก
ตรวจสอบ 20 รายการ) และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา) ที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถฯ
จานวน 20 รายการ (เลือกตรวจสอบ 20 รายการ)
ซึ่งจะเห็นได้ว่า 8 หน่วยงานที่กล่าวข้างต้น มีรถและเครื่องจักรกลในการควบคุมดูแล
และถูกเลือกตรวจสอบทั้งหมด จานวน 152 รายการ ไม่ได้จัดทาสมุดบันทึกการใช้รถฯ ทั้งหมดเป็น
จานวน 148 รายการ โดยมีรถและเครื่องจักรกล 4 รายการ ที่เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าไม่ได้มีการใช้งานจึงไม่มี
สมุดบันทึกการใช้รถฯ ดังนั้น จึงถือว่าทั้ง 8 หน่วยงานมีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้จัดทาสมุดบันทึก
การใช้รถฯ ร้อยละ 100
โดยสามารถแสดงสัดส่วนการจัดทาสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ได้
ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

ไม่มีการจัดทาสมุดการใช้รถและ
2% เครื่องจักรกล แบบ 4

35%

63% มีการจัดทาสมุดการใช้รถและ
เครื่องจักรกล แบบ 4

ไม่มีการใช้งานในระหว่างปี พ.ศ.
2562 - 2563

แผนภูมิที่ 9 กำรแสดงสัดส่วนกำรจัดทำสมุดบันทึกกำรใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4


55

จากแผนภูมิข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการจัดทาสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4
ส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ที่กาหนดไว้ โดยมีสัดส่วนของรถและ
เครื่องจักรกลที่ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกลสูงถึงร้อยละ 63 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ
ซึ่งนอกจากจะเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่า วแล้ว ยังถือว่าระบบการควบคุมภายในที่ภาครัฐ
จัดให้มีขึ้นสาหรับการใช้งานรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานมีข้อบกพร่องอย่างเป็นสาระสาคัญ
การที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่ควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกลจาเป็นต้องจัดให้มีสมุด
บันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ก็เพื่อเป็นการควบคุมการใช้รถและเครื่องจักรกลให้มี
ประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนดูแล ซ่อมบารุง ตลอดถึงใช้เป็นข้อมูลประกอบ
การพิจารณาในเรื่องการควบคุมการใช้น้ามันเชื้อเพลิงด้วย ดังนั้น จึง แสดงให้เห็นว่า กรมชลประทาน
ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่รัฐได้
สาเหตุ ที่ ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานไม่ ไ ด้ จั ด ท าสมุ ด การใช้ ร ถและ
เครื่องจักรกล แบบ 4 ให้ถูกต้องครบถ้วนทุกรายการนั้น เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจัดทา
สมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกลตามที่ระเบียบกาหนดไว้ ทาให้ในการปฏิบัติงานจริงเจ้าหน้าที่
จึงไม่ได้ให้ความสาคัญในการบันทึกรายการในสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล
(2) ผู้บริหารของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่เป็นผู้กากับดูแลการปฏิบัติงาน
และการใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานนั้น ๆ ไม่ได้มีการควบคุมดูแลให้พนักงานขับรถทุกคนที่นารถและ
เครื่องจักรกลออกใช้งานต้องจัดทาสมุดบันทึกการใช้รถและเครื่องจักรกล และลงรายการการใช้งาน
รถและเครื่องจักรกลในทุกสิ้นวันที่ออกปฏิบัติงาน ทาให้พบว่าผู้ใช้รถและเครื่องจักรกลบางรายแม้จะมี
สมุดบันทึกการใช้รถเครื่องจักรกล แบบ 4 แล้ว แต่การบันทึกรายการในสมุดบันทึกการใช้รถและ
เครื่องจักรกลก็ไม่ได้เป็นปัจจุบัน
(3) ด้วยกรมชลประทานมีภารกิจหลักเกี่ยวกับ การพัฒนาแหล่งน้าตามศักยภาพของ
ลุ่มน้าให้เพียงพอ และจัดสรรน้าให้กับผู้ใช้น้าทุกประเภท เพื่อให้ผู้ใช้น้าได้รับน้าอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ตลอดจนป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้า ดังนั้น ผู้บริหารของกรมชลประทานจึงให้ความสาคัญใน
การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจหลัก และอาจให้ความสาคัญในเรื่องการควบคุมบริหารทรัพย์สินของ
กรมชลประทานน้อยกว่างานในภารกิจหลัก โดยเฉพาะการขาดการตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถและเครื่องจักรกล
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องซึ่งควบคุมดูแลรถและ
เครื่องจักรกลของทุกส่วนราชการภายในกรมชลประทาน ทาการสารวจข้อมูลรถและเครื่องจักรกลของ
หน่วยงานว่า มีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้ จัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 และ
ไม่ได้จัดทาสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 เป็นจานวนเท่าใด พร้อมแจ้งสาเหตุที่หน่วยงาน
ไม่ได้มีการจัดทา แบบ 3 และ แบบ 4 โดยให้ รายงานผลการสารวจดังกล่าวอย่างเป็นลายลักษณ์
อักษรให้ผู้บริหารทราบ เพื่อนาข้อมูลดังกล่าวไปพิจารณาแก้ไขข้อบกพร่อง ซึ่งจะทาให้การใช้รถและ
เครื่องจักรกลของกรมชลประทานมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
56

2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานให้ความสาคัญกับการควบคุมการใช้ทรัพย์สินของ
กรมชลประทาน โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทรถและเครื่องจักรกลที่เป็นทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ และ
มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นค่าบารุงรักษา ค่าซ่อมแซม ค่าน้ามันเชื้อเพลิ ง
และค่าล่วงเวลาในการปฏิบัติงาน ที่จะต้องสัมพันธ์กับการใช้รถและเครื่องจักรกล ซึ่งการกาหนดให้ผู้ใช้รถ
และเครื่องจักรกลต้องจัดทาใบขออนุญาตใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 3 และบันทึกข้อมูลการใช้รถ
และเครื่องจักรกลลงในสมุดการใช้รถและเครื่องจักรกล แบบ 4 ถือเป็นการสร้างระบบการควบคุม
ภายในของหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น ผู้บริหารกรมชลประทานจึงควรกาหนดให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับ
การใช้รถและเครื่องจักรกลเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทุกส่วนราชการของกรมชลประทานได้
ดาเนินการตามระเบียบที่กรมชลประทานได้กาหนดไว้อย่างแท้จริง และให้ผู้บริหารสั่งการให้กลุ่มตรวจสอบ
ภายในเพิ่มบทบาทในการตรวจสอบการใช้รถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
โดยจัดทาแผนการตรวจสอบในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เจ้าหน้าทีผ่ ู้ปฏิบัติงานยังคงปฏิบัติตาม
ระบบควบคุมภายในที่กรมชลประทานวางไว้อย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง
3. ขอให้ผู้บ ริห ารกรมชลประทานให้ความสาคัญกับการควบคุมภายในที่ดีและมี
ประสิทธิภาพ สร้างค่านิยมกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจและเห็นความสาคัญของการควบคุมภายในทีด่ ี
และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นหน่วยงานหลักควรมีการสอบทานการปฏิบัติงาน
ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค เพื่อสามารถเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและแบบแผนการปฏิบัติราชการ
3.4 กำรควบคุมกำรเบิกจ่ำยน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมชลประทานเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ที่มีการจัดซื้อและการใช้น้ามันเชื้อเพลิงใน
ปริมาณมาก เนื่องจากภารกิจของกรมชลประทานเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างในด้านการชลประทาน
การควบคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงจึงเป็นเรื่องที่มีความสาคัญ เนื่องจากน้ามันเชื้อเพลิงเป็นวัสดุที่
มีความเสี่ยงในการสูญหายหรือเสียหาย หากระบบการเบิกจ่ายและการจัดเก็บไม่มีความรัดกุมและไม่
เรียบร้อยอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจะทาให้กรมชลประทานเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น ผู้บริหารกรมชลประทาน
จึงควรให้ความสาคัญกับ การบริห ารพัส ดุคงคลังประเภทน้ามันเชื้อเพลิง สานักงานการตรวจเงิน
แผ่นดินได้ทาการตรวจสอบการควบคุมการใช้จ่ายและเก็บรักษาน้ามันเชื้อเพลิง โดยให้มีการตรวจสอบ
การกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) การจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
และการจัดทาทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง (บัญชีวัสดุแสดงการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง )
ซึ่งการจัดทาเอกสารทั้ง 3 รายการข้างต้น ถือเป็นการจัดให้มีระบบการควบคุมภายในสาหรับการใช้
รถและเครื่องจักรกล รวมถึงการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง ซึ่ง เป็นไปตามระเบียบและคาสั่งที่กาหนดไว้
ดังต่อนี้ ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบ
กรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
ภาครัฐ พ.ศ. 2560 รวมทั้งคาสั่งกรมชลประทานที่เกี่ยวข้องกับรถและเครื่องจักรกล หรือการเบิกจ่าย
น้ามันเชื้อเพลิง จากการตรวจสอบเอกสารทั้ง 3 รายการข้างต้น เพื่อพิจารณาถึงระบบการควบคุมภายใน
ที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงของส่วนราชการภายในกรมชลประทานว่า การเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
เพื่อนาไปใช้ปฏิบัติงานมีการจัดทาเอกสารประกอบการเบิกจ่ายครบถ้วนหรือไม่ รวมทั้งมีการควบคุม
ปริมาณการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงโดยใช้เกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิงตามที่หน่วยงานได้กาหนด
ไว้หรือไม่ โดยได้ทาการตรวจสอบรถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน พบว่า
57

ก. กำรไม่กำหนดเกณฑ์กำรใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ ๗)
จากการตรวจสอบการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) ที่
กรมชลประทานได้กาหนดให้ทุก ส่ วนราชการภายในกรมชลประทานทาการส ารวจเกณฑ์การใช้
สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเบิกจ่ายและการตรวจสอบ
การเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกลแต่ละรายการในหน่วยงานนั้น พบว่า รถและ
เครื่องจักรกลที่ตรวจสอบส่วนใหญ่มกี ารกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) สาหรับ
รถและเครื่องจักรกลแต่ละรายการ โดยเป็นไปตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ
พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ที่กาหนดไว้
การที่รถและเครื่องจักรกลบางรายการไม่มีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลื องน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7)
ถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบและคาสั่งที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1 ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 10 ในแต่ละปีงบประมาณ ส่วนราชการต้องสารวจและกาหนดเกณฑ์การใช้
สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถทุกคัน เพื่อเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ ายเชื้อเพลิง และการตรวจสอบของ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบ
2 ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
ข้อ 71 ในแต่ละปีงบประมาณให้หน่วยงานสารวจเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
ของยานพาหนะแต่ละเลขหมายประจายานพาหนะเพื่อเป็นมาตรฐานการเบิกจ่ายและการตรวจสอบ
ให้มีข้อความอย่างน้อยตามตัวอย่างแบบ 7 แนบท้ายระเบียบนี้
จากการตรวจสอบการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) พบรถ
และเครื่องจักรกล จานวน 280 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 95 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ มี
การกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) แต่มีรถและเครื่องจักรกลอีกถึง 16 รายการ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ ทีไ่ ม่มีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามัน
เชื้อเพลิง (แบบ 7) ซึ่งสัดส่วนตามที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแสดงได้ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

16
ไม่มีกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง

มีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง 280

0 50 100 150 200 250 300

แผนภูมิที่ 10 กำรแสดงสัดส่วนกำรกำหนดเกณฑ์กำรใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ 7)


58

จากแผนภูมิ ข้า งต้น แสดงให้ทราบว่ ารถและเครื่อ งจัก รกลที่ตรวจสอบส่ว นใหญ่มี


การกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) ได้ถูกต้องตามที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ
พ.ศ. 2547 กาหนดไว้ สูงถึง 280 รายการ จาก 296 รายการ แต่ยังคงมีหน่วยงาน จานวน 6 หน่วยงาน
ที่มีรถและเครื่องจักรกล จานวน 16 รายการ ไม่ได้มีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง
(แบบ 7) โดยมีรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้
ตำรำงที่ 9 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับ กำรไม่มีกำรกำหนดเกณฑ์กำรใช้สิ้นเปลือง
น้ำมันเชื้อเพลิง (แบบ 7)
รถและเครื่องจักรกลที่ตรวจสอบ กำหนดเกณฑ์ ไม่กำหนดเกณฑ์
ชื่อหน่วยงำน (จำนวน) (จำนวน) (จำนวน)
(1) (2) (3) (4)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 20 2
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 20 -
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 20 -
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 21 -
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 20 -
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 19 1
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 15 5
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 20 -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 20 -
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 17 5
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 7 2
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 16 -
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 20 -
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 26 -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 19 1
รวมทั้งสิ้น 296 ๒๘๐ 16
จากแผนภูมิและตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่า การตรวจสอบรถและเครื่องจักรกลทั้ง 6
หน่วยงานที่ไม่ได้กาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) ได้แก่ สานักงานชลประทานที่ 14
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เลือกตรวจสอบ 20 รายการ พบไม่ได้กาหนดเกณฑ์ฯ 5 รายการ คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 25 และโครงการชลประทานมหาสารคามกับโครงการชลประทานชัยนาท ที่มีรถและ
เครื่องจักรกลที่ไม่ได้กาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิงในสัดส่วนร้อยละ 22 ของจานวนที่
เลือ กตรวจสอบเหมือ นกัน และยัง พบว่า สานัก เครื่อ งจัก รกลซึ่ง เป็น สานัก ที่มีห น้า ที่โ ดยตรงใน
การควบคุมดูแลการใช้รถและเครื่องจักรกล และเป็นสานักที่เป็นผู้รักษาการให้การปฏิบัติเป็นไปตาม
ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 แต่กลับไม่มีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลือง
น้ามันเชื้อเพลิงเช่นกัน โดยมีสัดส่วนเป็นจานวนร้อยละ 9 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ (ตรวจ 22 รายการ
ไม่กาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง 2 รายการ) ข้อตรวจพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
59

กรมชลประทานไม่ได้ปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งกรมชลประทาน
ได้กาหนดไว้เป็นระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 จึงถือ เป็นความเสี่ยงที่อาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ กรมชลประทานได้ และยังถือว่าหน่วยงานทั้ง 6 หน่วยงานข้างต้นไม่ได้
ปฏิบัติตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ
ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่มีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลื อง
น้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) สาหรับรถและเครื่องจักรกลทั้งหมดที่อยู่ในควบคุมดูแล เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิงของรถ
และเครื่องจักรกลแต่ละคันในอัตราเดียวกันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 จนถึงปี 2563 โดยชี้แจงว่า
เกิดจากความเข้าใจคาดเคลื่อนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ระเบียบฯ ที่กาหนด
(2) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ให้ ความสาคัญในการสารวจ
และกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองของรถและเครื่องจักรกลทุกคัน
(3) เครื่องวัดระยะทาง (ไมล์) ของรถและเครื่องจักรกลบางรายการเสียหาย ชารุด ทาให้
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่สามารถบันทึกระยะทางเพื่อใช้คานวณเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิงได้
ข. กำรไม่จัดทำเอกสำรเบิกจ่ำยน้ำมันเชื้อเพลิง (พด.32 และ พด.33)
จากการตรวจสอบเอกสารเบิก จ่ายน้ามันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกล จานวน
ทั้งสิ้น 296 รายการ พบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานส่วนใหญ่ได้จัดทาเอกสารเบิกจ่าย
น้ามันเชื้อเพลิง สาหรับรถและเครื่องจักรกลที่ควบคุมดูแลและถูกนาไปใช้งาน การจัดทาเอกสาร
การเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงเป็น ไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
พ.ศ. 2560 ที่กาหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีส่วนราชการภายในกรมชลประทานบางแห่งที่เมื่อ
นารถและเครื่องจักรกลไปใช้งานและต้องเบิกน้ามันเชื้อเพลิงแต่ ไม่มีการจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามัน
เชื้อเพลิง ซึง่ ตามคาสั่งกรมชลประทานที่ 138/2561 เรื่อง การบริหารงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างและ
การบริห ารพัส ดุข องกรมชลประทาน ได้ให้ทุก หน่ว ยงานถือ ปฏิบัติต ามแนวทางปฏิบัติเ กี่ย วกั บ
การบริหารงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของกรมชลประทาน ซึ่งได้กล่าวถึงการควบคุม
และการเบิกจ่ายพัสดุไว้ในข้อที่ 16 โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายวัสดุประเภทน้ามัน
เชื้อเพลิงที่ต้องจัดทาเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายใบเบิกจ่ายพัสดุ (พด.32 หรือ พด.33 แล้วแต่กรณี)
และการไม่จัดทาเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายดังกล่าวก็ถือว่าส่วนราชการภายในกรมชลประทานนั้น
ไม่ปฏิบัติตามที่ระเบียบกาหนดไว้
รายละเอียดของระเบียบและคาสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดทาเอกสารหลักฐานการเบิกจ่าย
น้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้ประกอบการตรวจสอบ ได้แก่
1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560
ข้อ ๒๐๕ การจ่ายพัสดุ ให้หัวหน้าหน่วยพัสดุที่มีหน้าที่เกี่ ยวกับการควบคุมพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นหัวหน้าหน่วยพัสดุ เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ
ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) แล้ว
ลงบัญชี หรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย
60

2. คาสั่งกรมชลประทาน ที่ 138/2561 เรื่อง การบริหารงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง


และการบริหารพัสดุของกรมชลประทาน ที่ได้กาหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานด้านการจัดซื้อ
จัดจ้างและการบริหารพัสดุของกรมชลประทานไว้
ข้อ 16 การควบคุมและการเบิกจ่ายพัสดุ
๑๖.๔ การจ่ายวัสดุภายในสานักกองหรือหน่วยงานที่เทียบเท่าหมายถึง
การเบิกจ่ายวัสดุไปใช้งานภายในสานักกองหรือหน่วยงานที่เทียบเท่าให้ใช้หลักฐานการเบิกจ่ายใบเบิกจ่าย
พัสดุ (พด. ๓๒) ให้ผู้ต้องการใช้วัสดุเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้เบิก” และ “ผู้รับ” ผู้อานวยการส่วนหัวหน้า
ฝ่ายผู้ใช้วัสดุแล้วแต่กรณีเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้อนุมัต”ิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่เป็นผู้ลงนามในซ่อง “ผู้สั่งจ่าย”
และหัวหน้าคลังพัสดุเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้จ่าย"
๑๖.๕ การจ่ายวัสดุภายในโครงการหมายถึงการเบิกจ่ายวัสดุไปใช้งาน
ภายในโครงการให้ใช้หลักฐานการเบิกจ่ายใบเบิกจ่ายพัสดุ (พด. ๓๒) ให้ผู้ต้องการใช้วัสดุเป็นผู้ลงนาม
ในช่อง “ผู้เบิก" และ "ผู้รับ” หัวหน้างาน / ฝ่ายผู้ใช้วัสดุแล้วแต่กรณีเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้อนุมัติ”
ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่เป็นผู้ลงนามในของ “ผู้สั่งจ่าย” และหัวหน้าคลังพัสดุเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้จ่าย”
16.6 กรณีการเบิกน้ามันเชื้อเพลิงหรือน้ามันหล่อลื่นรวมทั้งน้ากรดน้ากลั่น
จานวนเล็กน้อยที่จ่ายประจาวันให้ใช้หลักฐานการเบิกจ่ายใบเบิกจ่ายพัสดุ (พด. ๓๒) ให้ผู้ขอใช้ครุภัณฑ์
นั้นเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้เบิก" และให้ผู้ขอใช้ครุภัณฑ์นั้นหรือพนักงานขับรถเป็นโลงนามในช่อง “ผู้รับ”
ผู้อานวยการส่วนเครื่องจักรกลหรือผู้อานวยการ / หัวหน้าโครงการหรือหัวหน้าฝ่ายช่างกลหรือตาแหน่ง
ที่เรียกชื่ออื่นซึ่งทาหน้าที่ควบคุมครุภัณฑ์นั้นแล้วแต่กรณีเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้อนุมัติ" ให้หัวหน้า
เจ้าหน้าที่เป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้สั่งจ่าย” และหัวหน้าคลังพัสดุเป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้จ่าย”
16.7 กรณีหน่วยงานที่ไม่มีการดาเนินการจัดซื้อหรือจ้างให้ใช้แบบพิมพ์
พด. ๓๓ เพื่อเป็นหลักฐานการจ่ายวัสดุใช้งานโดยให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ลงนามในช่อง “ผู้จ่าย” และผู้ต้องการ
ใช้วัสดุเป็นผู้ลงนาม “ผู้รับ”
รายละเอียดจานวนหน่วยงานและจานวนรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้จัดทาเอกสาร
เบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง (พด.32 และ พด.33) ปรากฎตามตารางต่อไปนี้
ตำรำงที่ 10 ตำรำงแสดงข้อตรวจพบเกี่ยวกับ รถและเครื่องจักรกลที่ไม่จัดทำเอกสำรเบิกจ่ำย
น้ำมันเชื้อเพลิง (พด.32 และ พด.33)
รถและ มีเอกสำรเบิกจ่ำย ไม่มีเอกสำรเบิกจ่ำย ไม่มีกำรใช้งำน
เครื่องจักรกลที่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิง (จำนวน)
ชื่อหน่วยงำน ตรวจสอบ (จำนวน) (จำนวน)
(จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 21 - 1
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 20 - -
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 19 - 1
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 17 4 -
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 19 - 1
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 19 - 1
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 18 2 -
61

รถและ มีเอกสำรเบิกจ่ำย ไม่มีเอกสำรเบิกจ่ำย ไม่มีกำรใช้งำน


เครื่องจักรกลที่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิง (จำนวน)
ชื่อหน่วยงำน ตรวจสอบ (จำนวน) (จำนวน)
(จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5)
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 19 1 -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 10 3 7
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 22 - -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 7 - 2
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 15 - 1
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 20 - -
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 8 18 -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 - 18 2
รวมทั้งสิ้น 296 234 46 16
จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัดสงขลา) มีรถและ
เครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่า มีรถและเครื่องจักรกลที่เติมน้ามันเชื้อเพลิง
โดยไม่มีการจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง เป็นจานวนถึง 18 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
90 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 (จังหวัดนครราชสีมา) มีรถและ
เครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน 26 รายการ พบว่า มีรถและเครื่องจักรกลที่เติมน้ามันเชื้อเพลิง
โดยไม่มีการจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงเป็นจานวนถึง 18 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
69 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของการไม่จัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
ของ 2 หน่วยงานดังกล่าวมีสัดส่วนที่สูงมาก นอกจากนี้ยังมีอีก 4 หน่วยงานที่ไม่มีการจัดทาเอกสาร
เบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง ในขณะที่มีการนารถและเครื่องจักรกลไปเติมน้ามันเชื้อเพลิง ดังนั้น จึงถือว่า
ทั้ง 6 หน่วยงาน ขาดระบบการควบคุมภายในที่ดี ซึ่งอาจส่งผลทาให้การประเมินประสิทธิภาพการใช้
รถและเครื่องจักรกลไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง และเป็นความเสี่ยงภายในกรมชลประทาน
ในเรื่อ งการเบิก จ่า ยน้ามัน เชื้อ เพลิง ซึ่ง ถือ เป็น วัส ดุห ลักในการดาเนิน การก่อ สร้า งโครงการของ
กรมชลประทานที่อาจเกิดการรั่วไหล ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับกรมชลประทานได้ และยังถือว่า
หน่วยงานทั้ง 6 แห่ง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคาสั่งที่กล่าวข้างต้น
จากการตรวจสอบการจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกล
ในการควบคุมดูแลของหน่วยงาน 6 แห่งที่กล่าวข้างต้น โดยมีรถและเครื่องจักรกลในการควบคุมดูแล
ทีไ่ ม่ได้จัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง จานวน 46 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของจานวน
ที่เลือกตรวจสอบ แต่การเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงสาหรับรถและเครื่องจักรกลที่ตรวจสอบส่วนใหญ่
พบว่า การจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามัน เชื้อเพลิงเป็นจานวนถึง 234 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
79 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ สาหรับรถและเครื่องจักรกลที่เหลืออีกร้อยละ 5 ไม่มีการใช้งานใน
ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2563 จึงไม่ปรากฏเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงให้ตรวจสอบ ซึ่งสัดส่วน
ตามที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแสดงได้ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้
62

5%
16%
ไม่มีการจัดทาเอกสารเบิกจ่าย
น้ามันเชื้อเพลิง
มีการจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามัน
เชื้อเพลิง
79% ไม่มีการใช้งานในระหว่างปี พ.ศ.
2562 - 2563

แผนภูมทิ ี่ 11 กำรแสดงสัดส่วนกำรจัดทำเอกสำรเบิกจ่ำยน้ำมันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกล
สาเหตุ ที่ ส่ ว นราชการภายในกรมชลประทานบางหน่ ว ยงานมี ก ารน ารถและ
เครื่องจักรกลไปเติมน้ามันเชื้อเพลิงโดยไม่มีการจัดทาเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจคาดเคลื่อนว่า ใช้สมุดเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
ตามบัญชีวัสดุ (พด.43) แทนเอกสารการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงได้
(2) เจ้าหน้าที่ผู้ รับผิดชอบขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่
ระเบียบฯ และคาสั่งที่กาหนดไว้
(3) ผู้ บั งคับ บั ญชาตามล าดับชั้น ไม่ได้ตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องมีเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงที่
ได้รับอนุมัติจากผู้มีอานาจ รวมทั้งมีการระบุจานวนและประเภทของน้ามันเชื้อเพลิ งทุกครั้งก่อนทา
การจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงให้กับรถและเครื่องจักรกลทุกรายการ
ค. กำรไม่จัดทำบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดงกำรรับ -จ่ำย-คงเหลือ ประเภทวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อ
ลื่น (ทะเบียนคุมกำรเบิกจ่ำยน้ำมันเชื้อเพลิง)
จากการตรวจสอบบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดงการรับ-จ่าย-คงเหลือ ประเภทวัสดุเชื้อเพลิง
และหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง) ของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน จานวน
15 แห่ง เพื่อตรวจสอบว่าการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงสาหรับรถและเครื่องจักรกลที่สานักงานการตรวจ
เงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบทั้งสิ้น 296 รายการ มีการจัดทาหรือบันทึกในบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดง
การรับ-จ่าย-คงเหลือ ประเภทวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิ ง)
อย่างครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ และปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
พ.ศ. 2560 และคาสั่งกรมชลประทาน ที่ 138/2561 เรื่อง การบริหารงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุของกรมชลประทาน ทีก่ าหนดไว้ โดยพบว่าบางหน่วยงานไม่มีการจัดทาบัญชีวัสดุ
63

(พด.43) แสดงการรับ -จ่าย-คงเหลือ ประเภทวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่าย


น้ามันเชื้อเพลิง) หรือจัดทาไม่ครบถ้วน กล่าวคือ ยังมีรถและเครื่องจักรกลบางรายการที่มีการใช้งาน
และเบิกน้ามันเชื้อเพลิงแต่ไม่มีการจัดทาบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดงการรับ-จ่าย-คงเหลือ ประเภทวัสดุ
เชื้อเพลิงและหล่อลื่น ตามที่ระเบียบฯ และคาสั่งข้างต้นกาหนดไว้
ระเบียบและคาสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายพัสดุและการจัดทาบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดง
การรับ-จ่าย-คงเหลือ ประเภทวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง) ได้แก่
1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560
ข้อ ๒๐๕ การจ่ายพัสดุ ให้หัวหน้าหน่วยพัสดุที่มีหน้าที่ เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นหัวหน้าหน่วยพัสดุ เป็นผู้สั่งจ่ายพัสดุ
ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) แล้ว
ลงบัญชี หรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย
2. คาสั่งกรมชลประทาน ที่ 138/2561 เรื่อง การบริหารงานด้านการจัดซื้อจัด
จ้างและการบริหารพัสดุของกรมชลประทาน ที่ได้กาหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การบริหารงานด้าน
การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของกรมชลประทานไว้
ข้อ 15 การควบคุมด้านบัญชี
๑๕.๑ การควบคุมวัสดุในด้านบัญชีให้ควบคุมไว้ในระดับสานักกองหรือ
โครงการตามลักษณะการเบิกจ่ายแต่ละระดับแล้วแต่กรณีให้สานักกองโครงการหรือหน่วยงานฝากที่มี
การรับจ่ายวัสดุใช้ไปงานจัดทาบัญชีวัสดุ (พด. ๔๓) แสดงการรับ -จ่าย-คงเหลือและให้มีหลักฐาน
การรับเข้าบัญชี/จ่ายออกจากบัญชีประกอบรายการด้วยโดยแยกประเภท ดังนี้
(6) วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
จากการตรวจสอบรถและเครื่องจักรกลที่มีการใช้งานและเบิกน้ามันเชื้อเพลิง ซึ่ง
การเบิกจ่า ยน้ามันเชื้อเพลิงนอกจากจะต้องมีเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง (พด.32 และ พด.33)
แล้ว หัวหน้าหน่วยพัสดุที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแลรถและเครื่องจักรกลจะต้องจัดทาบัญชีวัสดุ (พด.43)
แสดงการรับ-จ่าย-คงเหลือ ประเภทวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง)
ของรถและเครื่องจักรกลทุกรายการในกากับดูแลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน โดยพบว่ามี
รถและเครื่องจักรกลเป็นจานวนถึงร้อยละ 86 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ มีการจัดทาบัญชีวัสดุ
(พด.43) แสดงการรับ -จ่าย-คงเหลือ ประเภทวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่าย
น้ามันเชื้อเพลิง) แต่มีรถและเครื่องจักรกลอีก ร้อยละ 9 ไม่ได้บันทึกการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงใน
บัญชีวัสดุ (พด.43) และยังพบว่ามีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่ได้ใช้งานในระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2563
เป็นจานวนร้อยละ 5 จึงไม่มีการบันทึกการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงในบัญชีวัสดุ (พด.43) ซึ่งสัดส่วน
ตามที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแสดงได้ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้
64

5%
ไม่มีการจัดทาบัญชีวัสดุแสดง
9%
เบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง (ทะเบียน
คุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง)
มีการจัดทาบัญชีวัสดุแสดง
เบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง (ทะเบียน
คุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง)
86%
ไม่มีการใช้งานในระหว่างปี พ.ศ.
2562 - 2563

แผนภู มิ ที่ 12 กำรแสดงสั ด ส่ ว นกำรจั ด ท ำบั ญ ชี วั ส ดุ (พด.43) แสดงกำรรั บ -จ่ ำ ย-คงเหลือ


ประเภทวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมกำรเบิกจ่ำยน้ำมันเชื้อเพลิง)
จากแผนภูมิข้างต้นแสดงให้เห็นว่ารถและเครื่องจักรกลที่ตรวจสอบส่วนใหญ่ คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 86 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งสิ้น 296 รายการ เมื่อมีการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
จะบันทึกรายการในบัญชีวัสดุ (พด.43) เพื่อแสดงให้เห็นว่าน้ามันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทที่มียอดคงเหลือ
ยกมาในวันก่อนได้มีการเบิกจ่ายในวันนี้ให้กับรถหรือเครื่องจักรกลรายการใด เป็นจานวนเท่าไร และมี
ยอดคงเหลือยกไปเป็นจานวนเท่าไร การบันทึกรายการในบัญชีวัสดุ (พด.43) หรือเป็นการควบคุมวัสดุ
ซึ่งหมายถึงน้ามันเชื้อเพลิงที่ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี)
แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย ที่เป็นไปตามข้อกาหนดในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 205 และเป็นไปตามคาสั่งกรมชลประทาน ที่ 138/2561
เรื่อง การบริหารงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของกรมชลประทาน ข้อ 15.1 – 15.2
สาหรับส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่ไม่ได้บันทึกรายการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงในบัญชี วัสดุ
(พด.43) มีจานวน 5 แห่ง โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่เบิกน้ามันเชื้อเพลิงแต่ไม่ลงรายการในบัญชีวัสดุ
(พด.43) จานวน 27 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของรถและเครื่องจักรกลที่ตรวจสอบทั้งสิ้น
296 รายการ
รายละเอียดจานวนหน่วยงานและจานวนรถและเครื่องจักรกลที่เบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
แต่ไม่ได้บันทึกรายการเบิกจ่ายในบัญชีวัสดุ (พด.43) ซึ่งถือเป็นทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง
มีดังนี้
65

ตำรำงที่ 11 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับกำรไม่จัดทำบัญชีวัสดุ (พด.43)

รถและเครื่องจักรกล จัดทำบัญชีวัสดุ ไม่จัดทำบัญชีวัสดุ ไม่มีกำรใช้งำน


ชื่อหน่วยงำน ที่ตรวจสอบ (พด.43) (พด.43) (จำนวน)
(จำนวน) (จำนวน) (จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 22 - -
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 20 - -
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 11 8 1
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 17 4 -
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 19 - 1
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 19 - 1
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 19 1 -
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 9 11 -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 11 - 9
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 22 - -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 9 - -
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 15 - 1
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 20 - -
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 23 3 -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 17 - 3
รวมทั้งสิ้น 296 253 27 16
จากตารางข้างต้นจะแสดงให้เห็นว่า สานักงานชลประทานที่ 15 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ได้เลือกตรวจสอบรถและเครื่ องจักรกล จานวน 20 รายการ พบว่า มีการใช้งานและมีการเบิกจ่าย
น้ามันเชื้อเพลิง แต่ไม่มีการบันทึกรายการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงลงในบัญชีวัสดุ (พด.43) เป็นจานวนถึง
11 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ และสานักงานชลประทานที่ 3
จังหวัดพิษณุโลก มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ โดยมีรถและเครื่องจักรกล
ที่ใช้งานและเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงแต่ไม่มีการบันทึกรายการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงลงในบัญชีวัสดุ
(พด.43) เป็นจานวนถึง 8 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ ซึ่ง จะ
เห็นว่าสัดส่วนของการไม่บันทึกรายการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงลงในบัญชีวัสดุ (พด.43) ของ 2 หน่วยงาน
ดังกล่าวมีสัดส่วนที่สูงมาก และยังมีอีก 3 หน่วยงานที่มีการนารถและเครื่องจักรกลไปใช้งานและ
เบิกจ่ายน้ามัน เชื้อเพลิงแต่ไม่มีการบันทึกรายการเบิกจ่ายลงในบัญชีวัสดุ (พด.43) นั่นหมายถึง
ส่ว นราชการภายในกรมชลประทาน จานวน 5 หน่วยงานดังกล่าวขาดระบบการควบคุมภายในที่ดี
และไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบและคาสั่งที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีรถและเครื่องจักรกลที่ไม่มี
การบันทึกรายการเบิกจ่ายในบัญชีวัสดุ (พด.43) เป็นจานวนถึง 16 รายการ โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ชี้แจงว่ารถและเครื่องจักรกล 16 รายการนั้น ไม่ได้มีการใช้งานในระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2563
66

สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานนารถและเครื่องจักรกลไปใช้งานและมี
การเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงแต่ไม่มีการบันทึกการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงลงในบัญชีวัสดุ (พด.43) เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่ผู้ รับผิดชอบขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่
ระเบียบฯ และคาสั่งที่กาหนดไว้
(2) ผู้บังคับบัญชาตามลาดับชั้นในส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่ได้ตรวจสอบ
และสอบทานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบที่มีหน้าที่จัดทาทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามัน
เชื้อเพลิงซึ่งได้แก่บัญชีวัสดุ (พด.43) ให้เป็นปัจจุบันและมีความถูกต้องตรงกับการเบิกจ่ายน้ามัน
เชื้อเพลิงจริงในแต่ละวัน
(3) ผู้บริหารที่ดูแลทางด้านพัสดุไม่ได้มีการติดตามตรวจสอบหรือเน้นย้าให้หัวหน้า
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกแห่งให้ความสาคัญกับการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงที่จาเป็นต้อง
จัดทาเอกสารประกอบการเบิกจ่ายและบันทึกการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบถึง
จานวนและประเภทของน้ามันเชื้อเพลิงของกรมชลประทานทั้งหมดว่ามีจานวนเท่าใด กระจายอยู่ที่
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานใดบ้ าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ามันเชื้อเพลิ ง ใน
ภาพรวมต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสารวจข้อมูล รถและ
เครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกแห่งว่า รถและเครื่องจักรกลทุกรายการได้มี
การกาหนดเกณฑ์ การใช้สิ้น เปลืองน้ามัน เชื้อเพลิง (แบบ 7) ครบทุกรายการหรือไม่ หากรถและ
เครื่องจักรกลรายการใดไม่ได้กาหนดเกณฑ์ การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) ไว้ ให้หัวหน้า
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานชี้แจงเหตุผลและให้ความเห็นถึงวิธีการที่จะกาหนดเกณฑ์การใช้
สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) หรือวิธีปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดการควบคุมปริมาณการใช้จ่าย
น้ามันเชื้อเพลิงในรถและเครื่องจักรกลในแต่ละรายการ และสั่งการให้มีการตรวจสอบว่าส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานแห่งใดที่มีการกาหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) แล้ว แต่
มิได้กากับดูแลให้การใช้น้ามันเชื้อเพลิงแของรถและเครื่องจักรกลแต่ละรายการเป็นไปตามเกณฑ์ที่
กาหนด หรือปรับปรุงเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิง (แบบ 7) ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
เพื่อหาแนวทางในการควบคุมกากับดูแลส่วนราชการภายในกรมชลประทานต่อไป จนกว่าจะสามารถ
ปฏิบัติได้ตามระเบียบฯ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้มีการสารวจข้อมูลรถและเครื่องจักรกล
ของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกแห่งว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานใดที่ไม่ได้จัดทา
เอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงสาหรับรถและเครื่องจักรกลที่มีการเบิกใช้น้ามันเชื้อเพลิง พร้อมกับให้
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่บกพร่องในการปฏิบัติเรื่องดังกล่าวชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้จัดทา
เอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง เพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามระเบียบฯ ที่เกี่ยวข้ องและคาสั่งของ
กรมชลประทานต่อไป และหาแนวทางที่จะทาให้ส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกแห่งต้องจัดทา
เอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงทุกครั้ง ที่มีการจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงให้กับรถและเครื่องจักรกลที่ออกไป
ปฏิบัติงาน
3. ขอให้ ผู้ บ ริ ห ารกรมชลประทานสั่ ง การให้ หั ว หน้ า พั ส ดุ ที่ ค วบคุ ม ดู แ ลรถและ
เครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกแห่งกากับดูแลให้มีการบันทึกรายการรับ จ่าย
67

และยอดคงเหลือในแต่ละวัน ในบัญชีวัสดุ (พด.43) แสดงการรับ - จ่าย - คงเหลือ ประเภทวัสดุ


เชื้อเพลิงและหล่อลื่น (ทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง) ตามคาสั่งกรมชลประทาน ที่ 138/2561
และให้หัวหน้าพัสดุทุกแห่งรายงานผลการติดตาม กากับดูแล การบันทึกรายการในบัญชีวัสดุ (พด.43)
และการปรับปรุงแก้ไขให้ผู้บริหารเพื่อพิจารณาดาเนินการต่อไป
4. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานและหัวหน้าส่วนราชการภายในกรมชลประทานให้
ความสาคัญกับการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ สร้างค่านิยมกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจ
และเห็นความสาคัญของการมีระบบควบคุมภายในที่ดี รวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นหน่วยงาน
หลัก ควรเป็น แบบอย่างในการปฏิบัติตามระเบียบและคาสั่งที่เกี่ยวข้อ ง โดยควรมีก ารสอบทาน
การปฏิบัติงานของหน่วยงานส่วนภูมิภาค เพื่อสามารถเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกรมชลประทาน
ว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 และคาสั่งกรมชลประทาน ที่ 138/2561 ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้
5. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานพิจารณาถึงการนาระบบสารสนเทศสาหรับการบริหาร
จัดการและควบคุมการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงที่สามารถติดตามการเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิงของรถ
และเครื่องจักรกลแต่ละรายการที่อยู่ในการควบคุมและกากับดูแลของส่วนราชการภายในกรมชลประทาน
ได้อย่างถูกต้อง โดยต้องมีการแสดงถึงเอกสารเบิกจ่ายน้ามันเชื้อเพลิง (พด.32 และ พด.33) ที่ได้รับ
การอนุมัติ จานวนและประเภทของน้ามันเชื้อเพลิงที่เบิกจ่ายให้รถและเครื่องจักรกลแต่ละรายการ
รวมทั้งข้อมูลเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ามันเชื้อเพลิงของรถและเครื่องจักรกลแต่ละรายการ และรายงาน
การเคลื่อนไหวของน้ามันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทพร้อมทั้งยอดคงเหลือเพื่อประกอบการสอบยันและ
บริหารจัดการน้ามันเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพต่อไป
3.5 กำรควบคุมกำรซ่อมบำรุงรถและเครื่องจักรกล
กรมชลประทานเป็นหน่วยงานที่มีการจัดซื้อ และครอบครองรถและเครื่องจักรเป็ น
จานวนมาก เนื่องจากภารกิจของกรมชลประทานเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างในด้านการชลประทาน ซึ่ง
เมื่อรถและเครื่องจักรกลถูกนาไปปฏิบัติงานย่อมมีการชารุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ซึ่งกรมชลประทาน
ต้องจัดให้มีการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ สานักงานการตรวจ
เงินแผ่นดินจึงเห็นความสาคัญของการตรวจสอบการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกล โดยได้ตรวจสอบ
การจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง และการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ซึ่งสานักงาน
การตรวจเงินแผ่นดินต้องการที่จะสื่อสารให้กรมชลประทานได้ทราบว่าการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทานนั้น มีจุดอ่อนในด้านการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกล
หรือไม่ และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความเสี่ยงของการกระทาที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ภาครัฐได้
จากการตรวจสอบพบว่า การซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลบางรายการมิได้ มีการจัดทาใบแจ้งซ่อม
บารุงและไม่ได้จัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ ๖) ซึ่งถือได้ว่าการควบคุมภายในเกี่ยวกับ
การซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ และแบบแผน
การปฏิบัติราชการที่ดี ซึ่งระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกล ได้แก่
๑. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๑๒
๒. ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๐
๓. ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. ๒๕๔๗ หมวด ๑๔ ข้อ ๗๗
68

จากการตรวจสอบรถและเครื่อ งจัก รกลของส่ว นราชการภายในกรมชลประทาน


จานวน 15 หน่วยงาน ซึ่งมีรถและเครื่องจักรกลที่สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบทั้งสิ้น
296 รายการ ผลการตรวจสอบพบว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่มีการจัดทาใบแจ้งซ่อม
บารุงและไม่มีการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) เมื่อรถและเครื่องจักรกลต้องได้รับ
การซ่อมบารุง โดยรายละเอียดของข้อตรวจพบดังกล่าวปรากฏตามตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการ
ภายในกรมชลประทาน ดังนี้
ตำรำงที่ 12 ตำรำงแสดงข้ อ มู ล ข้ อ ตรวจพบเกี่ ย วกั บ กำรควบคุ ม กำรซ่ อ มบ ำรุ ง รถและ
เครื่องจักรกล กรณี จัดทำใบแจ้งซ่อมบำรุง และกำรจัดทำสมุดรำยละเอียดกำร
ซ่อมบำรุง (แบบ 6)
รถและ ใบแจ้งซ่อมบำรุง สมุดรำยละเอียดกำรซ่อมบำรุง (แบบ ๖)
เครื่องจัก มีกำรซ่อม มีกำร ใช้งำน มีกำรซ่อม มีกำรซ่อม ใช้งำนตำมปกติ
รกลที่ บำรุงและ ซ่อม ตำมปกติ จึงไม่ บำรุงและทำ บำรุงแต่ไม่ทำ โดยไม่จัดทำสมุด
ตรวจสอ ทำใบแจ้ง บำรุงแต่ พบใบแจ้งซ่อม สมุด สมุด รำยละเอียดกำร
ชื่อหน่วยงำน บ ซ่อมบำรุง ไม่ทำใบ บำรุง รำยละเอียด รำยละเอียด ซ่อมบำรุงประจำรถ
(จำนวน) (จำนวน) แจ้งซ่อม (จำนวน) กำรซ่อม กำรซ่อม และเครื่องจักรกล
บำรุง บำรุง บำรุง (จำนวน)
(จำนวน) (จำนวน) (จำนวน)
(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 19 3 - 21 1 -
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 20 - - - 20 -
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 15 - 5 15 1 4
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 4 - 17 21 - -
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 15 1 4 18 1 1
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 8 4 8 9 2 9
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 13 5 2 16 4 -
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 6 7 7 20 - -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 8 - 12 9 11 -
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 21 - 1 20 - 2
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 - 8 1 7 - 2
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 11 - 5 15 - 1
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 20 - - 20 - -
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 2 3 21 2 24 -
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 - 20 - 14 6 -
รวมทั้งสิ้น 296 ๑๖๒ ๕๑ ๘๓ ๒๐๗ ๗๐ ๑๙
จากตารางแสดงข้อมูลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่แยกรายละเอียดข้อ
ตรวจพบข้างต้นมีประเด็นข้อตรวจพบทั้งสิ้น 2 ประเด็น คือ
ก. กำรไม่จัดทำใบแจ้งซ่อมบำรุง
จากการตรวจสอบการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุงของรถและเครื่องจักรกลพบว่า รถและ
เครื่องจักรกลส่วนใหญ่มีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุงซึ่งเป็นไปตามหลักการควบคุมภายในที่ดี อย่างไรก็
ตาม ยังมีรถและเครื่องจักรกลบางรายการไม่มีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีกฎหมาย
69

ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และแบบแผนการปฏิบัติราชการกาหนดไว้ให้ปฏิบัติ แต่ตามหลักการ


ควบคุมภายในที่ดี การซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลควรมีเอกสารขอแจ้งซ่อม เพื่อให้มีการอนุมัติ
จากหัวหน้าหน่วยงานราชการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าว
รถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบส่วนใหญ่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 มีการซ่อม
บารุงและได้จัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง แต่พบว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2563 ยังมีรถและเครื่องจักรกล
อีกร้อยละ ๑๗ ที่มีการซ่อมบารุงโดยไม่มีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง สาหรับรถและเครื่องจักรกลที่
เหลืออีกร้อยละ 28 ไม่พบเอกสารการแจ้งซ่อมบารุง โดยเจ้าหน้าที่กรมชลประทานที่ควบคุมการใช้
รถและเครื่องจักรกลดังกล่าวชี้แจงว่า รถและเครื่องจักรกลจานวนดังกล่าวสามารถปฏิบัติงานได้โดย
ปกติ สัดส่วนของรถและเครื่องจักรกลที่ตรวจสอบในประเด็นการจัดให้มีการควบคุมภายในสาหรับ
การดูแลรถและเครื่องจักรกลที่ต้องเข้ารับการซ่อมบารุงสามารถแสดงได้ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

ซ่อมบารุงโดยไม่มีการจัดทาใบ
17% ซ่อมบารุง
28%

ซ่อมบารุงโดยมีการจัดทาใบ
ซ่อมบารุง
55%
สามารถใช้งานได้ตามปกติ

แผนภูมิที่ 13 กำรแสดงสัดส่วนกำรจัดทำใบแจ้งซ่อมบำรุงของรถและเครื่องจักรกล
จากตารางและแผนภูมิข้างต้นแสดงให้ทราบว่ารถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ
จานวน ๒๙๖ รายการ มีการซ่อมบารุงเป็นจานวนถึง ๒๑๓ รายการ โดยจานวนดังกล่าวมีรถและ
เครื่องจักรกลเป็นจานวนถึง ๕๑ รายการ ที่มีการซ่อมบารุงแต่ไม่ได้จัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง (รายละเอียด
ปรากฎตามตารางที่ 12 ตารางแสดงข้อมู ลข้อตรวจพบเกี่ยวกับการควบคุมการซ่อมบารุงรถและ
เครื่องจักรกล กรณีจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุงและการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ช่อง
(3) และ (4)) จานวนรถและเครื่องจักรกลที่มีการซ่อมบารุง 213 รายการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๗1
ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ และมีรถและเครื่องจักรกลที่เหลือเพียง ๘๓ รายการ ที่ในระหว่างปี
พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๓ สามารถใช้งานได้ตามปกติ จึงเห็นได้ว่า ส่วนราชการภายในกรมชลประทานมิได้
ควบคุมการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลให้เป็นไปตามหลักการควบคุมภายในที่ดี ซึ่งผู้ใช้รถและ
เครื่องจักรกลควรต้องมีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง ทุกครั้ง เมื่อพบว่ารถและเครื่องจักรกลดังกล่าว
ไม่สามารถนาออกปฏิบัติงานได้ และจาเป็นต้องได้รับการซ่อมบารุง เนื่องจากใบแจ้งซ่อมบารุงแสดง
ถึงรถคันดังกล่าวได้รับการพิจารณาว่าสมควรได้รับการซ่อมบารุงจากผู้มีอานาจตามที่กรมชลประทาน
70

กาหนดไว้ ข้อตรวจพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากรมชลประทานยังมีจุดอ่อนของการควบคุมภายในที่ดี
และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมชลประทานได้
ข. กำรไม่จัดทำสมุดรำยละเอียดกำรซ่อมบำรุง (แบบ 6)
จากการตรวจสอบการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ของรถและ
เครื่องจักรกลที่สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบทั้งสิ้น 296 รายการ พบว่ารถและเครื่องจักรกล
ส่วนใหญ่มกี ารจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ซึ่งเป็นไปตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 20 กาหนดว่า ให้ส วนราชการจัดทาสมุด
แสดงรายการซ่อมบารุงรถแต่ละคันตามตัวอย่างแบบ ๖ ท้ายระเบียบนี้ และระเบียบกรมชลประทาน
ว่าด้ว ยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ข้อ 77 ที่กาหนดว่า ทุก ครั้ง ที่มีก ารซ่อ มบารุง และซ่อ มแซม
ยานพาหนะให้มีการบันทึกรายละเอียดตลอดจนค่าใช้จ่ายไว้ในสมุดประจาแต่ละหมายเลขประจา
ยานพาหนะ ให้มีข้อความอย่างน้อยตามตัวอย่างแบบ 6 แนบท้ายระเบียบนี้
จากการที่ได้ตรวจสอบการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ของรถและ
เครื่องจักรกลพบว่า รถและเครื่องจักรกลส่วนใหญ่ร้อยละ ๗๐ มีการซ่อมบารุงและได้จัดทาสมุด
รายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ประจารถและเครื่องจักรกล แต่ยังมีรถและเครื่องจักรกลอีกร้อย
ละ ๓๐ ที่ไม่มีการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ซึ่งในจานวนดังกล่าวเป็นรถและ
เครื่องจักรกลที่ซ่อมบารุงโดยไม่จัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) เป็นจานวนถึง ร้อยละ
24 ของจานวนที่เลือกตรวจสอบ ในขณะที่ยังมีรถและเครื่องจักรกลอีกร้อยละ 6 ที่ยังใช้งานได้ตามปกติ
และไม่พบสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานควรจะให้มี
เพื่อควบคุมประวัติการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลทุกรายการ ซึ่งสัดส่วนตามที่กล่าวมาข้างต้น
สามารถแสดงได้ตามแผนภูมดิ ังต่อไปนี้

มีการซ่อมบารุงแต่ไม่มีการจัดทา
6% สมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง
24%
มีการซ่อมบารุงและมีการจัดทา
สมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง
70%
ในระหว่างปี 2562-2563
สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่ไม่
มีการจัดทาสมุดรายละเอียดการ
ซ่อมบารุง

แผนภูมิที่ 14 กำรแสดงสัดส่วนกำรจัดทำสมุดรำยละเอียดกำรซ่อมบำรุง (แบบ 6) ของรถและ


เครื่องจักรกล
71

จากตารางและแผนภูมิข้างต้นแสดงให้ทราบว่ารถและเครื่องจักรกลที่มีการซ่อมบารุง
ในระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2563 นั้น ส่วนใหญ่มีการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6)
ถูกต้องตามที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ
ระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547 ที่กาหนดไว้ โดยมีจานวนสูงถึง 207 รายการ
แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีรถและเครื่องจักรกลที่ยังไม่ปฏิบัติเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบฯ
ทีก่ ล่าวข้างต้น จานวน ๘๙ รายการ (รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ 12 ตารางแสดงข้อมูลข้อตรวจพบ
เกี่ยวกับการควบคุมการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกล กรณีจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุงและการจัดทาสมุด
รายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ช่อง (6) - (8)) และแม้ว่าจะมีจานวนรถและเครื่องจักรกลที่ยังไม่
ปฏิบัติเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบฯ ที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับรถและ
เครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบก็ตาม แต่ก็ถือว่ากรมชลประทานยังขาดระบบการควบคุมภายในที่ดี
ในการนารถและเครื่องจักรกลไปซ่อมแซม จนอาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการรถและเครื่องจักรกลที่อยู่
ในครอบครองของกรมชลประทานยังขาดประสิทธิภาพ
จากข้อมูลที่ปรากฏในตารางที่ 12 จะเห็นได้ว่าส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 (จังหวัด
สงขลา) มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือกตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่า มีการซ่อมบารุงโดยไม่มี
การจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุงทั้ง 20 รายการ และยังพบว่าไม่จัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ ๖)
เป็นจานวน 6 รายการ และสานักงานชลประทานที่ 2 จังหวัดลาปาง มีรถและเครื่องจักรกลที่เลือก
ตรวจสอบ จานวน 20 รายการ พบว่า มีการซ่อมบารุงและมีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุงทั้ง 20 รายการ
แต่ไม่มีการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ ๖) ทั้ง 20 รายการ เช่นกัน ซึ่งสานักเครื่องจักรกล
ถือเป็นหน่วยงานหลักที่ควรเป็นแบบอย่างของการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และมีการปฏิบัติตาม
ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรถและเครื่องจักรกล แต่กลับไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
โดยพบว่ามีรถและเครื่องจักรกลที่ต้องซ่อมบารุง แต่ไม่ได้จัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง จานวน 3 รายการ
และไม่จัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง จานวน 1 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบทั้งหมด
22 รายการ แม้ว่าการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องของสานักบริหารเครื่องจักรกลจะมีจานวนไม่มากเมื่อเทียบ
กับ ส่ว นราชการภายในกรมชลประทาน 2 หน่ว ยงานข้างต้น แต่เมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ของสานัก
เครื่องจักรกลต้องถือว่าสานักเครื่องจักรกลควรดาเนินการในการบริหารจัดการรถและเครื่องจักรกลใน
ครอบครองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ และจะต้องวางระบบการควบคุมภายในที่ดี
และปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่วางไว้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับ ส่วนราชการภายในของ
กรมชลประทานอื่น ๆ
สาเหตุที่ส่วนราชการภายในกรมชลประทานไม่มีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุงและสมุด
รายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) เนื่องจาก
(1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่
ระเบียบฯ และหลักการควบคุมภายในที่จัดให้มีใบแจ้งซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลที่กรมชลประทาน
ได้วางไว้
(2) ผู้ บั งคับ บั ญชาตามล าดับชั้น ไม่ ได้ตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในส่วนต่าง ๆ
(3) ผู้บริหารของกรมชลประทานไม่ได้ซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องการจัดให้มีใบแจ้ง
ซ่อมบารุงทุกครั้งเมื่อต้องขออนุมัติการซ่อมบารุง และการจัดให้มีสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุงประจา
รถและเครื่องจักรกลทุกคัน ไม่ว่ารถและเครื่องจักรกลนั้นจะมีการซ่อมบารุงหรือไม่ก็ตาม การดาเนินการ
72

ของส่วนราชการภายในกรมชลประทานในเรื่องดังกล่าวจะเป็นการปฏิบัติตามที่เคยปฏิบัติมา โดย
ไม่ได้คานึงถึงการมีระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลที่จะต้องปฏิบัติ
ตามระเบียบฯ และระบบควบคุมภายในที่วางไว้ ส่งผลให้การซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลในหลาย
รายการไม่มีเอกสารแสดงการอนุมัติให้นารถและเครื่องจักรกลไปซ่อมบารุง จนอาจเป็นเหตุให้การเบิกจ่าย
ค่าซ่อมบารุงจะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบกับผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ที่แท้จริง ปัญหาดังกล่าวจึงถือได้ว่า เกิดจากการขาดระบบการกากับดูแลและติดตามจากฝ่ายบริหาร
ในแต่ละลาดับชั้น ทาให้ถึงแม้กรมชลประทานจะมีระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยยานพาหนะ พ.ศ. 2547
และได้วางระบบการควบคุมภายในสาหรับการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกลไว้อย่างดีเพียงใดก็ตาม
แต่หากผู้ปฏิบัติมิได้ดาเนินการตามระเบียบฯ และระบบการควบคุมภายในที่วางไว้ การมีระเบียบฯ
และระบบการควบคุมภายในที่ดีเพียงใดก็ถือเป็นการสูญเปล่า และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
กรมชลประทานได้ ซึ่งจากคาชี้แจงของเจ้าหน้าที่ระบุว่า การใช้งานรถและเครื่องจักรกลเป็นการปฏิบัติงาน
นอกสถานที่เป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีการซ่อมบารุงจึงไม่มีการจัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง รถและ
เครื่องจักรกล (แบบ 6)
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสารวจข้อมูล รถและ
เครื่องจักรกลของหน่วยงานกรมชลประทานที่ไม่มีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง และไม่มีการจัดทาสมุด
รายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) พร้อมทั้งให้เสนอรายงานข้อมูลดังกล่าวมายังผู้บริหารอย่างเป็น
ลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับการบริหารจัดการและควบคุมการซ่อมบารุงรถและเครื่องจักรกล
อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการและควบคุมกากับดูแลให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
มีการจัดทาใบแจ้งซ่อมบารุง และให้จัดทาสมุดรายละเอียดการซ่อมบารุง (แบบ 6) ตามระเบียบที่
เกี่ยวข้อง และระบบการควบคุมภายในที่กรมชลประทานได้วางไว้อย่างเคร่งครัด
3. ขอให้ผู้บ ริห ารกรมชลประทานให้ความสาคัญ กับการควบคุมภายในที่ดีและมี
ประสิทธิภาพ สร้างค่านิยมกับเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจและเห็นความสาคัญของการมีระบบ
การควบคุมภายในที่ดี รวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นหน่วยงานหลักควรเป็นต้นแบบในการปฏิบัติ
ตามระเบียบฯ และระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้อง และให้มี หน้าที่สอบทานการปฏิบัติงานของ
ส่วนราชการภายในที่อยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสามารถแนะนาแนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและ
เป็นไปตามระเบียบฯ รวมทั้งระบบการควบคุมภายในที่วางไว้
4. กรมชลประทานควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับผู้มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลรถ
และเครื่องจักรกล และผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับรถและเครื่องจักรกล เพื่อให้ได้รับทราบระเบียบฯ
และระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับรถและเครื่องจักรกลทั้งหมด และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่
ถูกต้องตรงกันทั้งผู้ปฏิบัติและผู้กากับดูแล ซึ่งจะลดปัญหาในการปฏิบัติงานได้
3.6 กำรดูแลรักษำรถและเครื่องจักรกลให้พร้อมใช้งำน
กรมชลประทานเป็นหน่วยงานที่มี ภารกิจที่สาคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้า
โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้า การจัดสรรน้า และการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้า ซึ่งการดาเนินการ
เพื่อตอบสนองภารกิจที่สาคัญดังกล่าว จึงมีความจาเป็ นต้องใช้รถและเครื่องจักรกลจานวนมาก ซึ่ง
หมายความว่ากรมชลประทานจะต้องดูแลและซ่อมแซมบารุงรักษารถและเครื่องจักรกลของหน่วยงาน
73

ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและ


เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชนได้อย่างสูงสุด สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นความสาคัญของการดูแล
รักษารถและเครื่องจักรกล เพื่อให้มีสภาพพร้อมใช้งาน จึงได้ทาการตรวจสอบสังเกตการณ์สภาพ
ความพร้อมใช้งานของรถและเครื่องจักรกลในส่วนราชการภายในกรมชลประทาน จานวน 15 หน่วยงาน
เพื่อให้ทราบว่ากรมชลประทานมีการบริหารจัดการรถและเครื่องจักรกลในครอบครองให้เป็นไปตาม
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560 หรือไม่ และต้องการที่จะสื่อสาร
ให้กรมชลประทานได้ทราบว่าการปฏิบัติงานของส่วนราชการภายในกรมชลประทานมีจุดอ่อนของ
การควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการดูแลรักษารถและเครื่องจักรกลให้มีสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อมุ่งเน้นให้
กรมชลประทานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างทันกาล การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชน
กฎหมายและระเบีย บที่เ กี่ย วข้อ งกับ การบริห ารจัด ทรัพ ย์สิน ให้เ กิด ความคุ้ม ค่า
ความประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดย
มีรายละเอียดดังนี้
1. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หมวด 13
การบริหารพัสดุ มาตรา 112 และมาตรา 113 ได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการควบคุม
และดูแลพัสดุที่อยู่ในความครอบครองให้มีการใช้และการบริหารพัสดุที่เหมาะสม คุ้มค่า และเกิดประโยชน์
ต่อหน่วยงานของรัฐมากที่สุด โดยการดาเนินการดังกล่าวให้รวมถึง การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย
การยืม การตรวจสอบ การบารุงรักษา และการจาหน่ายพัสดุ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกาหนด
2. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒๑๒
กาหนดว่า ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลพัสดุที่อยู่ในความครอบครองให้อยู่ในสภาพที่ พร้อม
ใช้งานได้ตลอดเวลา โดยให้มีการจัดทาแผนการซ่อมบารุงที่เหมาะสมและระยะเวลาในการซ่อมบารุงด้วย
ในกรณีที่พัสดุเกิดการชารุด ให้หน่วยงานของรัฐดาเนินการซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อ มใช้
งานโดยเร็ว
ส่วนราชการภายในกรมชลประทานที่มีรถและเครื่องจักรกลซึ่งมีสภาพไม่พร้อมใช้งาน
เนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่กล่าวข้างต้นแสดงได้ตามตาราง ดังนี้
ตำรำงที่ 13 ตำรำงแสดงข้อมูลข้อตรวจพบเกี่ยวกับกำรตรวจสอบกำรใช้งำนรถและเครื่องจักรกล
รถและเครื่องจักรกลที่ รถและเครื่องจักรกลที่ รถและเครื่องจักรกลที่
ชื่อหน่วยงำน ตรวจสอบ พร้อมใช้งำน ไม่พร้อมใช้งำน
(จำนวน) (จำนวน) (จำนวน)
(1) (2) (3) (4)
1. สานักเครื่องจักรกล 22 21 1
2. สานักงานชลประทานที่ 2 20 19 1
3. สานักงานชลประทานที่ 3 20 18 2
4. สานักงานชลประทานที่ 5 21 19 2
5. สานักงานชลประทานที่ 7 20 19 1
6. สานักงานชลประทานที่ 13 20 19 1
7. สานักงานชลประทานที่ 14 20 20 -
74

รถและเครื่องจักรกลที่ รถและเครื่องจักรกลที่ รถและเครื่องจักรกลที่


ชื่อหน่วยงำน ตรวจสอบ พร้อมใช้งำน ไม่พร้อมใช้งำน
(จำนวน) (จำนวน) (จำนวน)
(1) (2) (3) (4)
8. สานักงานชลประทานที่ 15 20 20 -
9. โครงการชลประทานนครนายก 20 19 1
10. โครงการชลประทานมหาสารคาม 22 22 -
11. โครงการชลประทานชัยนาท 9 7 2
12. โครงการชลประทานชุมพร 16 15 1
13. โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี 20 19 1
14. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 4 26 24 2
15. ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 7 20 20 -
รวมทั้งสิ้น 296 281 15
จากการตรวจสอบสังเกตการณ์เพื่อดูสภาพความพร้อมใช้งานของรถและเครื่องจักรกล
ทั้ง 296 รายการ พบว่า รถและเครื่องจักรกลทีเ่ ลือกตรวจสอบส่วนใหญ่มีสภาพพร้อมใช้งาน แม้ว่าใน
ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2563 รถและเครื่องจักรกลบางรายการไม่มีการนาไปปฏิบัติงาน แต่ก็ยังคง
มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยมีรถและเครื่องจักรกลที่มีสภาพไม่พร้อมใช้งานเป็นส่วนน้อย ผลจากการ
ตรวจสอบสังเกตการณ์สภาพความพร้อมใช้งานของรถและเครื่องจักรกลสามารถแสดงสัดส่วนได้ตาม
แผนภูมิดังต่อไปนี้

รถและเครื่องจักรกลไม่พร้อมใช้งาน 15

รถและเครื่องจักรกลพร้อมใช้งาน 281

0 50 100 150 200 250 300

แผนภูมิที่ 15 กำรแสดงสัดส่วนผลกำรตรวจสอบสังเกตกำรณ์สภำพควำมพร้อมใช้งำนของรถ
และเครื่องจักรกล
จากตารางและแผนภูมิข ้า งต้น แสดงให้ เ ห็น ว่า รถและเครื่อ งจัก รกลที ่มีส ภาพ
ความพร้อมใช้งานมีจานวนสูงถึง 281 รายการ จากจานวนที่เลือกตรวจสอบ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
95 ซึ่งแสดงถึงการที่กรมชลประทานถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560
แต่ยังคงมีรถและเครื่องจักรกลที่มีสภาพไม่พร้อมใช้งาน เป็นจานวน 15 รายการ ที่ไม่ปฏิบัติให้เป็นไป
75

ตามกฎหมายและระเบียบฯ ที่กล่าวข้างต้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้กรมชลประทานไม่สามารถดาเนินการ


ตามภารกิจได้อย่างต่อเนื่อง จนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในกาหนดเวลา และแม้ว่ารถและ
เครื่องจักรกลที่มีสภาพไม่พร้อมใช้งานจะมีจานวนน้อย แต่แสดงให้เห็นว่ากรมชลประทานยังมีจุดอ่อน
ในการบริ ห ารจั ด การทรั พ ย์ สิ น ที่ ดี และยั ง ถื อ ว่ า กรมชลประทานไม่ ส ามารถควบคุ ม ดู แ ลรถและ
เครื่องจักรกลให้พร้อมใช้งานตามที่กฎหมายและระเบียบฯ ได้กาหนดไว้อย่างครบถ้วน
สาเหตุที่กรมชลประทานไม่สามารถจัดการให้รถและเครื่องจักรกลในการควบคุมดูแลมี
สภาพพร้อมใช้งานได้ เนื่องจาก
(1) รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเป็นระยะเวลานาน
ทาให้เกิดการเสื่อมสภาพและชารุด จนต้องมีการซ่อมแซมเป็นประจา แต่เนื่องจากรถและเครื่องจักรกล
มีอายุการใช้งานนานแล้วทาให้ไม่สามารถจัดหาอะไหล่ในการทดแทนของเดิมได้ หรือการจัดหาอะไหล่
เป็นไปด้วยความยากลาบาก
(2) รถและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานที่มีสภาพไม่พร้อมใช้งานและอยู่ระหว่าง
การซ่อมแซมนั้น ส่วนใหญ่เป็นการซ่อมแซมระบบการทางานหลักของรถและเครื่องจักรกลไม่ว่าจะ
เป็น ระบบเครื่องยนต์ ระบบเบรก ระบบช่วงล่าง และยาง เป็นต้น ซึ่งมักจะใช้เวลาค่อนข้างนาน
ในการซ่อมแซม
(3) คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจาปีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในการดูแลรักษา
รถและเครื่องจักรกลไม่มี การรายงานผลการตรวจสอบตามข้อเท็จจริ ง และไม่มีการรายงานโดย
แจกแจงสภาพปัญหาของรถและเครื่องจักรกลที่ไม่พร้อมใช้งานให้ผู้บริหารได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น
ส่งผลให้รถและเครื่องจักรกลบางรายการไม่ได้รับการซ่อมบารุงให้ทันกาลและสามารถพร้อมใช้งานได้
ตลอดเวลา
ข้อเสนอแนะ
1. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือจัดให้มีผู้สารวจ
ข้อมูลรถและเครื่องจักรกลของส่วนราชการภายในกรมชลประทานทุกหน่วยงาน เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบ
ถึงจานวน ประเภท และสภาพของรถและเครื่องจักรกลที่อยู่ในการควบคุมดูแลของกรมชลประทาน
ทั้งหมด พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือผู้สารวจข้อมูลนาเสนอผลของการสารวจข้อมูลดังกล่าว
เป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริหารทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับการบริหารจัด การรถและเครื่องจักรกล
ต่อไป
2. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานตั้งคณะทางานเพื่อพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง และ
สร้างให้มีร ะบบการควบคุมภายในด้านการบริห ารจัดการรถและเครื่องจักรกลที่ดี และขยายผล
การวางระบบควบคุมภายในไปยังพัสดุประเภทอื่น ๆ ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงประเมินถึง
ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับในการบริหารจัดการรถและเครื่องจักรกลที่มีอายุการใช้งานนาน
และมักจะต้องมีการซ่อมบารุงอยู่เสมอ โดยที่การซ่อมบารุงดังกล่าวเป็นภาระในการจัดหาอะไหล่ และ
การมีสภาพเครื่องยนต์ที่อาจต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงค่อนข้างสูงกว่ารถและเครื่องจักรกลที่อายุการใช้งาน
ยังอยู่ในระยะเวลาการให้ประโยชน์ได้ตามปกติ
3. ขอให้ผู้บริหารกรมชลประทานสั่งการและควบคุมกากับดูแลให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
ทาการสารวจและซ่อมแซม บารุงรักษารถและเครื่องจักรกลรวมไปถึงพัสดุประเภทอื่น ๆ ให้มีสภาพ
76

พร้อมใช้งานตามที่กฎหมายและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้กาหนดไว้อย่างเคร่งครัด
4. ขอให้ ผู้ บ ริ ห ารกรมชลประทานให้ความสาคัญกับการควบคุมภายในที่ดีและมี
ประสิทธิภาพ สร้างค่านิยมกับเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจและเห็นความสาคัญของการควบคุม
ภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นหน่วยงานหลักควรมีการสอบทาน
การปฏิบัติงานของหน่วยงานส่วนภูมิภาค เพื่อสามารถเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและแบบแผนการปฏิบัติราชการ

You might also like