You are on page 1of 3

สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจสังคมยุคอยุธยาเป็นราชธานี

ปัจจัยการเกิดของอาณาจักรอยุธยา
อาจกล่าวได้ว่า อาณาจักรใดที่จะมีกาเนิดคงต้องพิจารณาถึงปัจจัย หรือความพร้อมใน 4 ประการ
ประการแรก พื้นฐานทางด้านกาลังคน ดังได้กล่าวมาแล้วว่า อาณาจักรอยุธยาเกิดจากการรวมตัว
กันของแคว้นลพบุ รี และแคว้นสุพรรณบุรี ร่องรอยของกาลังคนอาจแสดงให้ เห็นจากการที่แคว้นลพบุ รีมี
บทบาทสาคัญบริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 11 ลพบุรีมีความสาคัญในสมัย
ทวารวดีและเป็นศูนย์กลางที่เคลื่อนย้ายกาลังคนและศิลปะไปยังนครหริภุญชัย (ลาพูน) ในราวพุทธศตวรรษที่
13 ในสมัยของพระนางจามเทวี เมื่ออาณาจักรเขมรมีอานาจเหนือลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา เมืองลพบุรีคงเป็นเมือง
หน้าด่านของเขมร และบางครั้งคงเป็นอิสระเมื่ออานาจของเขมรอ่อนแอลง สังเกตได้จากกรณีที่ลพบุรีส่งทูตไป
จีนในสมัยสุโขทัย ลพบุรีคงเป็นอิสระเพราะศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหงมิได้กล่าวถึงเมืองลพบุรี
และฝั่งตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยาว่าอยู่ในอานาจ
สาหรับแคว้นสุพรรณบุรีได้มีบทบาททางการเมืองเหนือบริเวณลุ่มแม่น้าท่าจีน บริเวณดังกล่าวเคย
เป็นชุมชนมาตั้งแต่สมั ยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เมืองสาคัญ อาทิ คูบัว อ่างทอง นครชัยศรี หรือ
นครปฐมโบราณ ในอดีตเมืองสุพรรณบุรีคงควบคุมดินแดนต่อจากอาณาจักรสุโขทัยทางฝั่งตะวันของแม่น้า
เจ้าพระยาและเลยไปถึงประจวบคีรีขันธ์ ต่อกับดินแดนของนครศรีธรรมราชในสมัยสุโขทัย หลังรัชสมัยของพ่อ
ขุนรามคาแหงมหาราช สุพรรณบุรีคงเป็นแคว้นอิสระอีก และอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ตั้งข้อสังเกตว่า
“เสียม” (Hsien) ในจดหมายเหตุจีนครั้งหนึ่งเคยหมายถึง อาณาจักรสุโขทัย แต่บัดนี้น่าจะหมายถึงแคว้น
สุพรรณบุรี ความเข้มแข็งทางกองทัพของสุพรรณบุรีแสดงให้เห็นเมื่อคราวไปช่วยกองทัพสมเด็จพระราเมศวรตี
เขมรในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) รวมทั้งยกกองทัพมาชิงราชสมบัติหลังการเสด็จสวรรคตของ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) และการสถาปนาราชวงศ์สุพรรณบุรีครองอานาจในราชสานักอยุธยา จนเสีย
กรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2112
สาหรับที่ตั้งเมืองอยุธยา เดิมคงเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ จากประวัติของชุมชนเมือง “อโยธยา” ซึ่งอยู่ทาง
ฝั่งตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยา และการก่อสร้างพระพุทธรูปพนัญเชิงซึ่งมีขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 7 วา 10
นิ้ว (14เมตร 10นิ้ว) สูง 9 วา 2 ศอก (18.50เมตร) แสดงให้เป็นถึงความสามารถทั้งกาลังคนและเศรษฐกิจ
ประการสอง พื้น ฐานทางด้านเศรษฐกิจ อาหารเป็นสิ่ งส าคัญเพราะการจะมีกองทัพใหญ่และ
แข็งแรง ต้องมีความพร้อมเรื่องอาหาร สภาพทางภูมิศาสตร์ของอยุธยามีแม่น้าสายสาคัญๆ หลายสายไหลผ่าน
รวมทั้งพื้นที่เป็นที่ราบท้องแบน (Flat Basin) ซึ่งลักษณะดังกล่าวเหมาะสาหรับการปลูกข้าว จนปรากฏว่า
ลพบุรีส่งข้าวไปขายจีน
ประการที่สาม ช่องว่างของอานาจทางการเมืองภายใน อาณาจักรสุโขทัยเคยมีบทบาทและอิทธิพลเหนื อ
ดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาบางส่วน แต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอานาจลง
รั ช สมั ย พ่ อ ขุ น รามค าแหงมหาราช จนไม่ ส ามารถมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ดิ น แดนลุ่ ม แม่ น้ าเจ้ า พระยาเกิ น กว่ า เมื อง
นครสวรรค์
ประการสุดท้าย ช่องว่างของอานาจทางการเมืองภายนอก ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรเขมร
ซึ่งเคยมีบทบาทอย่างมากต่อดินแดนแถบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาลดบทบาทลง ตั้งแต่สุโขทัยเป็นอาณาจักรรวม
พุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรมอญก็มิได้สนใจดินแดนลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา ดังนั้นจึงไม่มีผู้มีอานาจคอยสกัดกั้น
การเกิดของอาณาจักรอยุธยา
ด้วยเหตุต่างๆ ดังกล่าวถึงมีผลให้อยุธยามีความพร้อมที่จะเกิดขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 โดย
สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. 1893

การขยายอิทธิพลของอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1914 – 1991


นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1914 สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ทรงปราบปรามอาณาจักรสุโขทัย
และทาสงครามกับหัวเมืองในอาณาจักรล้านนา เมื่อเสด็จสวรรคตปี พ.ศ. 1925 ราชโอรสคือพระเจ้าทองจันทร์
ชนมายุ 15 พรรษาได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ สมเด็จพระราเมศวรทรงยกทัพจากเมืองลพบุรีกับพระเจ้าทองจันทร์
ที่ทรงเสวยราชย์ได้ 7 วัน สาเร็จที่วัดโคกพระยาราชวงศ์อู่ทองได้กลับมามีอานาจในอยุธยาอีกครั้ง
สมเด็จพระราเมศวรโปรดให้ขยายพระบรมเดชานุภาพไปทั้งทางเหนือ คือ สงครามกับเชียงใหม่และ
ทางตะวันออก ด้วยการทาสงครามกับเขมร หลังจากที่ทรงครองราชย์สมบัติครั้งที่สองได้ 7 ปี พระองค์เสด็จ
สวรรคตในปี พ.ศ. 1938 สมเด็จพระรามราชา ราชโอรสได้สืบราชสมบัติจนถึงปี พ.ศ. 1952 จึงถูกกลุ่มขุนนาง
นาโดยเจ้าพระยามหาเสนาบดี ร่วมกับสมเด็จพระนครอินทร์ ราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวง
พะงั่ว) จากสุพรรณบุรี นากองทัพเข้ายึดอยุธยาได้ และให้สมเด็จพระรามราชาไปประทับที่เมือง “ปทาคูจาม”
จนเสด็จสวรรคต ราชวงศ์สุพรรณภูมิจึงกลับมามีอานาจอย่างเด็ดขาดในอยุธยา จนเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน
ปี พ.ศ. 2112.
สมเด็จพระนครอิน ทร์ หรื อสมเด็จ พระอินทราชาได้ทรงพยายามที่จะรวบรวมอาณาจักรสุโ ขทัย กับ
อาณาจักรอยุธยา เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ( พ.ศ. 1942-1962 ) เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1962
ราชโอรส คือ พระยาบาลกับพระยาราม แย่งชิงอานาจกัน สมเด็จพระอินทราชายกกองทัพไปที่เมืองชัยนาท
พระองค์ได้ทรงไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทดังกล่าว โดยโปรดให้พระยาบาลเมืองครองพิษณุโลก และพระยารามครอง
เมืองสุโขทัย เพื่อความเชื่อมโยงทางราชวงศ์ปรากฏว่า พระราชธิดาในพระยาไสลือไทได้เสกสมรสกับเจ้าสาม
พระยาซึ่งครองเมืองชัยนาทขณะนั้น (โอรสของเจ้าสามพระยา คือ สมเด็จพระราเมศวร ซึ่งต่อมาเป็นสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาท ทรงประสูติเมื่อปี พ.ศ. 1974) พระอินทราชาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1967
การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระอินทราชา นาไปสู่การแย่งราชสมบัติในหมู่เจ้านายด้วยกัน ราชโอรส
สองพระองค์ คือ เจ้าอ้ายครองเมืองสุพรรณบุรี ได้แย่งชิงราชสมบัติกับเจ้ายี่ครองเมืองแพรกศรีราชา หรือเมือง
นครสวรรค์ ปรากฏว่าทั้งเจ้าอ้ายและเจ้ายี่สิ้นพระชนม์ในการรบ เจ้าสามพระยาครองเมืองชัยนาทจึงได้ขึ้น
ครองราชย์สมบัติเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 และโปรดพระราชทานเพลิงพระศพพระเชษฐาในการ
พระราชทานเพลิงพระศพ ได้โปรดให้สร้างเป็นวัดขึ้น คือ วัดราชบูรณะ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) ยังทรงพยายามสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร
อยุธยาด้วยการขยายอานาจไปทางตะวันออกและทางเหนือ ในปี พ.ศ. 1974 กองทัพอยุธยาได้ทาสงครามกับ
เขมร อยุธยาสามารถเอาชนะเขมรได้อย่างเด็ดขาด จนเขมรได้ย้ายราชธานีไปตั้งที่เมืองพนมเปญแทนนครธม
สาหรับการขยายอานาจอยุธยาไปทางเหนือ อาจกล่าวได้ว่าอยุธยาสามารถมีอานาจเหนืออาณาจักรสุโขทัย
ชัดเจน เมื่อราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 คือ สมเด็จพระราเมศวร (ต่อมาได้ครองราชย์สมบัติ
อยุธยาทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาท) ได้ครองเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ.1981 หลังจากที่พระเจ้า
สุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชา (พระยาบาล) สวรรคต พงศาวดารอธิบายเหตุการณ์นี้ว่า “เห็นน้าพระเนตร
พระพุทธเจ้าพระชินราชตกออกเป็นโลหิต ” สมเด็จพระบรมราชาที่2 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1991 พระราช
โอรสคือ สมเด็จพระราเมศวรได้ครองราชย์สมบัติ เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ความสาคัญของเมืองพิษณุโลกในฐานะยุทธศาสตร์และการยกฐานะเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง
นั บ เป็ น เวลานานที่อาณาจั กรอยุ ธ ยาที่จะผนวกอาณาจักรสุ โ ขทัย ความพยายามดังกล่ าวประสบ
ความสาเร็จในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เหตุผลหลายประการที่สนับสนุนความสาเร็จดังกล่าว การที่
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงสุโขทัย เป็นการช่วยสนับสนุนสิทธิธรรมในการ
ครองสุโขทัยในปี พ.ศ. 1981 เมื่อพระชนมายุได้ราว 7 พรรษา สมเด็จพระบรมราชาที่2 แห่งอยุ ธยาโปรดให้
สถาปนาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก หลังจากที่พระเจ้าสุริยวงศ์ บรมปาลมหาธรรมราชาเสด็จ
สวรรคต แทนการสถาปนาพระยารามซึ่งครองสุโขทัย สาเหตุที่สมเด็จพระราเมศวรทรงครองพิษณุโลกได้
เนื่องจากความเชื่อมโยงทางพระราชวงศ์และกาลังกองทัพที่เกรียงไกรของอยุธยา ขั้นตอนที่ให้สุโขทัยยอมรับ
การผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาปรากฏอีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นครองราชย์สมบัติที่
อยุธยา ในปี พ.ศ. 1991 ด้วยการย้ายราชธานีมาประทับที่พิษรุโลกในปี พ.ศ. 2006 เพื่อดูแลเมืองต่างๆ บริเวณ
อาณาจักรสุโขทัยอย่างใกล้ชิด หลังจากพระยารามและโอรส คือ พระยายุทธิอีกด้วย ในเขมรเกิดการแย่งชิง
ราชสมบัติ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงส่งกองทัพไทยสนับสนุนพระจันทราชาทาสงครามภายในกับเจ้ากัน
บุตรมนตรี เมืองปาสาณที่ยึดอานาจจากสมเด็จพระศรีสุคนธบทราชรามาธิบดี การแย่งชิงอานาจใช้เวลา 11 ปี
พระจันทราชามีชัยชนะและได้ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองละแวกเป็นต้น

You might also like