You are on page 1of 323

คู่มอื

การออกแบบโครงสร้ างเหล็กรู ปพรรณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสริมพันธ์ เอีย่ มจะบก


คํานํา

การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างด้วยการคํานวณมืออาจดูล่าช้า แต่ก็เป็ นพื้นฐานที่สาํ คัญ


ก่อนที่จะนําตัวช่วยเข้ามาเสริ ม ดังนั้นในปั จจุบนั ...ผูอ้ อกแบบจึงนิ ยมใช้โปรแกรมเฉพาะด้านเข้ามา
ช่วยมากขึ้น ซึ่ งการใช้โปรแกรมเฉพาะด้านทางวิศวกรรมเพื่อช่วยในงานวิเคราะห์และออกแบบนั้น
โดยวัตถุประสงค์แล้วเป็ นสิ่ งที่ดีมีประโยชน์ ลดการสู ญเสี ยในเรื่ องของเวลาและบุคลากรลงได้ รวม
ไปถึงช่วยสร้างความมัน่ ใจให้กบั ตนเองและองค์กรได้ดว้ ยเช่นเดียวกัน แต่ถึงกระนั้นก็ตามการที่จะ
ก้าวไปสู่ จุดเหล่านั้นได้จาํ เป็ นที่จะต้องใช้ทกั ษะความรู้ควบคู่กบั ความชํานาญ จึงจะก้าวเข้าสู่เส้นชัยได้
ทักษะความรู้...ในที่น้ ี หมายถึงความเข้าใจในหลักการพื้นฐานด้านการจําลองโครงสร้าง ถือ
ได้วา่ เป็ นองค์ความรู ้ที่สาํ คัญยิง่ ในการใช้โปรแกรมช่วยในงานวิศวกรรมโครงสร้าง การได้รับรู ้และทํา
ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานเบื้องต้นต่างๆทางทฤษฎีของโครงสร้าง จึงเสมือนหนึ่ งเป็ นการเตรี ยม
ความพร้ อมในส่ วนตัวของผูท้ ี่จะใช้โปรแกรมเอง ซึ่ งท้ายที่ สุดการตัดสิ นใจใดๆไม่ใช่ ข้ ึนอยู่กบั ตัว
โปรแกรม แต่ข้ ึนอยูก่ บั ผูใ้ ช้เป็ นเบื้องต้นเสมอ
ความชํานาญ...ในที่น้ ี หมายถึงด้านทักษะการใช้โปรแกรม ซึ่ งจะต้องต้องมีองค์ประกอบหลัก
อย่า งน้อ ย 2 ส่ ว นเป็ นเบื้ อ งต้น เสมอ ประการแรก คื อ การพยายามทํา ความเข้า ใจในตัว ตนของ
โปรแกรม ซึ่ งจะทําให้เราได้รู้ถึงกรอบและขั้นตอนหลักของการนําไปใช้งาน ประการที่สอง คือ การ
พยายามทําความคุน้ เคยกับโปรแกรม รวมความหมาย คือ ต้องหาเวลาศึกษาคู่มือและหมัน่ ฝึ กฝนการใช้
งานโปรแกรมให้มาก
ท้ายที่สุดที่อยากจะกล่าวทิ้งท้ายคือ ให้ใช้โปรแกรมช่ วยงานเราเพื่อให้งานเราเร็ วขึ้น ดูดีข้ ึน
ไม่ได้หมายความว่าให้โปรแกรมช่วยงานทํางานแทนเรา คิดแทนเรา พึงระลึกอยู่เสมอว่าโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ น้ ันเก่ ง แต่ไม่ฉลาดในการตัดสิ นใจถึงความผิดถูกหรื อความเหมาะสมอย่างเช่ นคนเรา
ดังนั้นก่อนการใช้โปรแกรมช่วยงานใดๆควรถือหลัก รู้เค้ ารู้ เรา รู ้เค้าคือ อ่านคู่มือ ดูขอ้ จํากัด ใช้งานให้
ตรง รู ้เราคือ ตัวเราเองต้องมีพ้ืนองค์ความรู ้ดา้ นการจําลองโครงสร้าง การวิเคราะห์โครงสร้าง และการ
ออกแบบโครงสร้างด้วย การใช้งานโปรแกรมช่วยงานใดๆก็จะเกิดปั ญหาที่ตามมาน้อยหรื อไม่มีเลย

ผศ.เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก


(วศ.ม. วิศวกรรมโยธา)
สารบัญ

หัวข้ อ หน้ าที่

คํานํา

สารบัญ

บทที่ 1 องค์ความรู ้พ้ืนฐานก่อนการออกแบบโครงสร้างอาคาร 1-22

บทที่ 2 นํ้าหนักบรรทุกเพื่อการออกแบบโครงสร้างอาคาร 23-44

บทที่ 3 วัสดุในงานออกแบบองค์อาคารของโครงสร้าง 45-58

บทที่ 4 หลักการพื้นฐานในการออกแบบโครงสร้างอาคาร 59-64

บทที่ 5 การออกแบบองค์อาคารของโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ 65-100

บทที่ 6 เกี่ยวกับโปรแกรม Multiframe4D 101-120

บทที่ 7 ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม Multiframe4D 121-154

บทที่ 8 การใช้งาน Section Maker 155-166

บทที่ 9 การออกแบบโครงหลังคาเหล็กรู ปพรรณบ้านพักอาศัย 167-204

บทที่ 10 การออกแบบโครงข้อหมุนอาคารโรงงาน 205-256

บทที่ 11 ภาพตัวอย่างสําหรับชุดฝึ กปฏิบตั ิการ 257-268

ภาคผนวก ก Frequently Asked Questions 269-276

ภาคผนวก ข คุณสมบัติของหน้าตัด 277-282

ภาคผนวก ค สมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งของคาน 283-298

ภาคผนวก ง ตารางคุณสมบัติของเหล็กรู ปพรรณ 299-310

บรรณานุกรม 311-314
ประวัติผู้เขียน 315-317
บทที่ 1

องค์ ความรู้ พนื้ ฐานก่ อนการวิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้ างอาคาร

ที่ผา่ นๆมาจะสังเกตเห็นว่า การเรี ยนการสอนด้านวิศวกรรมโยธาในส่ วนของการออกแบบ


โครงสร้างอาคาร มักมุ่งเน้นไปที่การหาที่มาที่ไปของสมการ แล้วนําเข้าสู่ การออกแบบองค์อาคารต่างๆ
ของอาคาร โดยที่ ไม่ ไ ด้มุ่ งเน้น ในส่ ว นเนื้ อ หาบริ บทแวดล้อมที่ จ ะทําให้ก ารเรี ย นรู ้ ก ารออกแบบ
ดังกล่าวสามารถทํางานได้จริ งในเชิ งปฏิบตั ิ อันอาจเป็ นสาเหตุหนึ่ งที่นาํ มาสู่ วลีที่ว่า “เรี ยนจบแล้ว
ทํางานไม่ได้” ฉะนั้นเนื้ อหาในบทนี้ จึงเป็ นองค์ความรู ้พ้ืนฐานที่สําคัญโดยรวม ที่ผูเ้ รี ยนจําเป็ นต้อง
ทราบเป็ นเบื้องต้น ก่อนการเรี ยนรู ้การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารใดๆทางวิศวกรรมโยธา
ประกอบด้วย ความหมายที่สาํ คัญ หลักประจําใจในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคาร ความ
สอดคล้องของรายวิชาที่ได้รับการศึกษา ทําอย่างไรจึงจะเริ่ มต้นออกแบบโครงสร้างได้ ขั้นตอนหลักใน
การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคาร การอ่านแบบและทําความเข้าใจในแบบก่อสร้าง การวาง
ผัง โครงสร้ า งอาคาร การจัด กลุ่ ม องค์อ าคารเพื่ อการออกแบบ ลํา ดับการออกแบบองค์อ าคารของ
โครงสร้าง การส่ งถ่ายแรงระหว่างองค์อาคารต่างๆของอาคาร และระบบหน่วยวัด ตามลําดับ
ดังนั้นเนื้อหาทั้งหมดในบทนี้ หากผูเ้ รี ยนได้ศึกษาและทําความเข้าใจดีแล้ว จะเป็ นการช่วย
เสริ มองค์ความรู ้ในส่ วนของการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างของผูเ้ รี ยนได้ดียง่ิ ขึ้น และสามารถที่
จะนําความรู ้ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการทํางานเชิงปฏิบตั ิจริ งได้

1.1 ความหมาย
สิ่ ง ปลู ก สร้ า งใดๆด้า นวิ ศ วกรรมโยธา ก่ อ นที่ จ ะทํา การก่ อ สร้ า งตามแบบก่ อ สร้ า ง
(ประกอบด้วย แบบแปลนด้านสถาปัตยกรรม แบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้าง แบบแปลนด้านงาน
ระบบ ลฯ) ได้ จะต้องทําการวิเคราะห์ โครงสร้ างก่ อน จากนั้นจึ งนําผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไป
ออกแบบด้านความแข็งแรงขององค์อาคารต่างๆของอาคารได้ จึงเป็ นที่มาของวลีที่ว่า “การวิเคราะห์
และออกแบบโครงสร้าง” ดังนั้นผูเ้ รี ยนควรทําความเข้าใจในความหมายของกลุ่มวลีกล่าว
การวิเคราะห์ หมายถึง กระบวนวิธีการเพื่อหาระบบแรงภายใน และการเปลี่ยนรู ปของ
โครงสร้างที่กาํ ลังสนใจ ภายใต้กรอบของมาตรฐานที่นิยมใช้และเป็ นที่ยอมรับ
2

การออกแบบ หมายถึง กระบวนวิธีการเพื่อหาความแข็งแรงหรื อขนาดหน้าตัดขององค์


อาคารต่างๆของอาคาร ภายใต้กรอบมาตรฐานที่นิยมใช้และเป็ นที่ยอมรับ
โครงสร้าง หมายถึง ส่ วนต่างๆของอาคาร (คาน พื้น บันได เสา ฐานราก) แต่ในที่น้ ี โดย
พื้นฐาน หมายความถึง เฉพาะส่ วนของอาคารที่มีความสําคัญต่อความแข็งแรงโดยรวม คือ คานและเสา
ซึ่งสามารถเปรี ยบเทียบได้กบั ส่ วนโครงกระดูกในร่ างกายของมนุษย์

1.2 หลักประจําใจในการวิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้ างอาคาร

1.2.1 โครงสร้ างต้ องมีความมั่นคงและแข็งแรง


สิ่ งปลูกสร้ างใดๆด้านวิศวกรรมโยธาจะออกแบบโครงสร้ างได้ โครงสร้ างนั้นๆ
จะต้องมีความมัน่ คงเสี ยก่อน จากนั้นจึงจะออกแบบโครงสร้างด้านความแข็งแรงได้ จึงเป็ นที่มาของ
วลีที่วา่ “การออกแบบโครงสร้างต้องมีความมัน่ คงและแข็งแรง” ทั้งนี้ความมัน่ คงของโครงสร้างทราบ
ได้จากผลของการวิเคราะห์โครงสร้างโดยตรง ส่ วนความแข็งแรงของโครงสร้างได้จากการออกแบบ
ขนาดขององค์อาคารต่างๆ ที่ประกอบเป็ นโครงสร้างนั้น

1.2.2 ทํางานในเชิงปฏิบัติได้ ง่าย


ผูอ้ อกแบบโครงสร้ า งที่ ดี แ ละมี ป ระสบการณ์ สูง นั้น การออกแบบใดๆจะต้อ ง
คํา นึ ง ถึ ง ความยากง่ า ยต่ อ การทํา งานที่ ห น้า งานเสมอ นั่น หมายถึ ง ปั ญ หาต่ า งๆที่ ห น้า งานรวมถึ ง
ระยะเวลาในขณะก่อสร้างก็ควรจะลดน้อยลงไปด้วย ส่ งผลให้ราคาโดยรวมตํ่าลงมีผลดีท้ งั ต่อเจ้าของ
อาคารและผูร้ ับเหมาก่อสร้าง
1.2.3 ราคาประหยัดตามความเป็ นจริง
ในส่ วนนี้ข้ ึนอยูก่ บั ความสมบูรณ์ของแบบก่อสร้างและประสบการณ์ของผูอ้ อกแบบ
โครงสร้ างโดยตรง กล่าวคือ หากแบบก่อสร้ างไม่สมบูรณ์ ไม่ชดั เจนหรื อไม่นิ่ง ส่ งผลโดยตรงต่อ
ผูอ้ อกแบบโครงสร้ า งที่ จะต้องมองเผื่อเหลื อเผื่อขาด แทนที่ จะหาได้โดยตรงและถูกต้องตามแบบ
ก่อสร้ าง เช่ น บวกเผื่อนํ้าหนักบรรทุกไว้เหล่านี้ เป็ นต้น ทําให้ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้ าง
มากกว่าความเป็ นจริ ง และเมื่อนําผลดังกล่าวไปออกแบบด้านความแข็งแรง ขนาดขององค์อาคาร
ต่างๆที่ได้กจ็ ะโตตามไป ทําให้ดว้ ยราคาค่าก่อสร้างสู งขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนออกแบบโครงสร้าง
ใดๆที่ถูกต้องแล้วแบบก่อสร้างควรจะต้องสมบูรณ์และนิ่งเสี ยก่อน ในขณะเดียวกันแม้ว่าแบบก่อสร้าง
จะสมบูรณ์และนิ่งดีแล้ว หากผูอ้ อกแบบโครงสร้างไม่คาํ นึงถึงความเป็ นไปได้และความยากง่ายในขณะ
ปฏิบตั ิงานจริ ง ก็มีผลโดยตรงต่อราคาค่าก่อสร้างเช่นเดียวกัน
3

1.3 ความสอดคล้ องของรายวิชาทีไ่ ด้ รับการศึกษา


การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างที่ดีและถูกต้องนั้น การมีพ้ืนฐานความรู ้ความเข้าใจ
ที่ดีในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเป็ นสิ่ งสําคัญเป็ นเบื้องต้น ดังนั้นหากผูเ้ รี ยนมีความเข้าใจในสิ่ งที่ตนเองกําลัง
ศึกษาว่า ในแต่ละรายวิชาที่น้ นั เรี ยนไปเพื่อจุดมุ่งหมายอะไร มีความสําคัญเช่ นไร อยู่ในส่ วนใดของ
กระบวนการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง และที่สาํ คัญจะสามารถนําไปประยุกต์ใช้กบั งานจริ งได้
หรื อไม่ ซึ่ งหากเป็ นเช่นนั้นก็จะทําให้ผเู ้ รี ยนหันกลับมาให้ความสําคัญในสิ่ งที่ตนเองกําลังศึกษามาก
ขึ้น โดยไม่อาจมองข้ามหรื อละเลยรวมถึงขาดความใส่ ใจ (แต่ท้ งั นี้ ท้ งั นั้นขึ้นอยูก่ บั ผูส้ อนด้วย) ดังนั้น
ในที่น้ ี ผเู ้ ขียนจะกล่าวโดยย่อถึงการนําไปใช้งานจริ งในทางปฏิบตั ิของแต่ละรายวิชาที่ผเู ้ รี ยนได้ศึกษา
สามารถแบ่งกลุ่มเพื่อหวังผลการใช้งานได้ง่ายๆ ดังนี้
1) วิชา Drawing และการเขียนแบบต่างๆ : ทําให้ผเู ้ รี ยนสามารถอ่านแบบได้เคลียร์แบบ
เป็ น (พื้นฐานเบื้องต้น)
2) วิชากําลังวัสดุ : ทําให้เรารู ้คุณสมบัติของวัสดุ รู ้การเลือกใช้รูปร่ างหน้าตัด รู ้การวาง
ของหน้าตัด ซึ่ งทั้งหมดล้วนเกี่ ยวข้องกับความแข็งแรงของโครงสร้างทั้งส่ วนย่อย
และส่ วนรวม และที่สาํ คัญการที่ผเู ้ รี ยนได้ศึกษาเกี่ยวกับความเค้นหรื อหน่วยแรงของ
วัสดุ จะทําให้ทราบและเข้าใจถึงการใช้หน่ วยแรงในการควบคุมการออกแบบได้ดี
ยิง่ ขึ้น
3) วิชาปฐพีวิศวกรรม วิชาฐานรากวิศวกรรม และวิชาชลศาสตร์ วิศวกรรม : ทําให้รู้
พฤติกรรมของดิน กําลังความแข็งแรงของดิ น ความเสี ยหายที่เกิ ดต่อโครงสร้างเมื่อ
มวลดินมีการเคลื่อนที่หรื อเปลี่ยนแปลงปริ มาตร และการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของดิน
เมื่อมีน้ าํ และพลังงานภายนอกที่มากระทําต่อมวลดิน ลฯ
4) วิชากลศาสตร์วิศวกรรม วิชาทฤษฎีโครงสร้าง และวิชาการวิเคราะห์โครงสร้าง : ทํา
ให้ผูเ้ รี ย นทราบวิ ธีการ (หรื อเครื่ องมื อเพื่อใช้) เพื่อใช้เป็ นเครื่ องมื อในการหาแรง
ปฏิกิริยา ระบบแรงภายในและการเปลี่ยนรู ปของโครงสร้าง เพื่อนําผลที่ได้ดงั กล่าว
ไปใช้ใ นการพิ จ ารณาถึ ง ความเป็ นไปได้ใ นการออกแบบองค์อ าคารต่ า งๆของ
โครงสร้าง ทั้งทางด้านความมัน่ คงและด้านความแข็งแรง
5) วิ ช าด้า นการออกแบบโครงสร้ า ง ทั้ง โครงสร้ า งไม้ โครงสร้ า งเหล็ก โครงสร้ า ง
คอนกรี ตเสริ มเหล็ก และโครงสร้างคอนกรี ตอัดแรง : ทําให้ผเู ้ รี ยนทราบถึงวิธีการ
สมการ และขั้นตอนในการพิจารณาออกแบบด้านความแข็งแรงขององค์อาคารต่างๆ
4

แต่การที่จะเริ่ มออกแบบได้น้ นั ลําพังเพียงรายวิชาที่ได้ศึกษามาใช่ว่าจะสามารถออกแบบ


โครงสร้างอาคารได้ จําเป็ นต้องมีองค์ความรู ้ในส่ วนอื่นๆ ที่ขาดหายหรื อไม่มีในการเรี ยนการสอน เข้า
มาเสริ มด้วย เช่ น ความรู ้พ้ืนฐานด้านคุณสมบัติของวัสดุที่จะใช้ออกแบบโครงสร้าง ความรู ้เกี่ยวกับ
มาตรฐานการออกแบบต่างๆ ร่ วมถึงพื้นฐานความรู ้ดา้ นต่างๆดังที่ได้กล่าวในหัวข้อต่อจากนี้

1.4 ทําอย่ างไรจึงจะเริ่มต้ นออกแบบโครงสร้ างอาคารได้


ไม่ว่าจะเป็ นการออกแบบในส่ วนของโครงสร้างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก โครงสร้างคอนกรี ต
อัดแรง โครงสร้างไม้และเหล็ก มักมีในหลายสิ่ งที่กงั วลคล้ายๆกันสําหรับผูท้ ี่กาํ ลังเริ่ มต้นงานด้านการ
ออกแบบโครงสร้าง เช่น
1) จะเริ่ มต้นเรี ยนรู ้อะไรก่อนและหลัง
2) กระบวนการออกแบบโครงสร้างมีข้นั ตอนอย่างไร
3) จะต้องออกแบบองค์อาคารอะไรบ้าง
4) องค์อาคารใดควรจะออกแบบก่อนหรื อหลัง
5) ออกแบบไปแล้วจะมัน่ ใจได้มากน้อยแค่ไหนว่าปลอดภัย
6) ไม่กล้าหรื อลังเลในการเซ็นรับรองแบบโครงสร้างที่ตนเองรับผิดชอบ
ความกังวลดังกล่าวจะลดน้อยลงตามประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น แต่จุดเริ่ มต้นของการคลาย
กังวลที่ดี คือ ความมัน่ ใจในตนเองและหาความรู ้เพิ่มเติมจากตําราต่างๆ หรื อจากการสอบถามจากผูร้ ู ้
เช่น เพื่อนร่ วมงาน รุ่ นพี่ อาจารย์ที่เคยศึกษาด้วย รวมถึงการเข้ารับการอบรมต่างๆ แล้วลงมือปฏิบตั ิจริ ง
ให้มาก แต่ท้ งั หมดทั้งมวลขึ้นอยู่กบั ตนเองและผูร้ ู ้คอยให้คาํ แนะนํา กล่าวคือ ตัวผูอ้ อกแบบเอง องค์
ความรู ้พ้ืนฐานด้านการวิเคราะห์และออกแบบตามที่ได้เคยศึกษามา ต้องพอมีหลงเหลืออยูบ่ า้ ง แม้ว่าจะ
ไม่ สามารถจดจํา สู ตรและสมการได้ แต่ อย่า งน้อยก็ ควรพอที่ จ ะจดจํา หลัก การได้บา้ ง เพื่อที่ จ ะได้
สามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม จากเอกสารหรื อตําราต่างๆ สําหรับรื้ อฟื้ นความรู ้เดิมได้โดยไม่ยาก
นัก ส่ ว นผูท้ ี่ ค อยให้ค าํ แนะนํา ก็ค วรที่ จ ะต้อ งมี อ งค์ค วามรู ้ ที่ ถู ก ต้อ งตามหลัก วิ ช าการ และต้อ งมี
ประสบการณ์ ใ นการออกแบบโครงสร้ า งในส่ ว นที่ ใ ห้ค าํ แนะนํา ต่ อ ผูอ้ ื่ น ด้ว ย ไม่ เ ช่ น นั้น จะเกิ ด
กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู ้ที่ไม่ถูกต้องจากรุ่ นสู่อีกรุ่ นไปเรื่ อยๆ
5

1.5 ขั้นตอนหลักในการวิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้ างอาคาร


การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารในเชิงปฏิบตั ิ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ดัง
จะกล่าวต่อไป โดยเนื้ อหาแต่ละส่ วนในหัวข้อนี้ ผเู ้ ขียนจะกล่าวไว้เพียงพอเข้าใจเท่านั้น หากผูเ้ รี ยน
ต้องการเริ่ มต้นเรี ยนรู ้แนะนําว่าควรปฏิบตั ิตามลําดับ 6 ขั้นตอนดังที่จะได้กล่าวอย่างเคร่ งครัด แต่ถึง
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะรู ้และเข้าใจในขั้นตอนดังกล่าวทั้งหมดดี แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถ
วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารได้เลยทันที จะต้องเรี ยนรู ้ในส่ วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมใน
2 ส่ วน คือ ส่ วนที่หนึ่ งเรื่ องข้อกําหนดและกฎหมายในส่ วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิเคราะห์และ
ออกแบบโครงสร้างอาคาร ส่ วนที่สองเรื่ องคุณสมบัติวสั ดุที่ใช้ (คอนกรี ต เหล็กเสริ ม เหล็กโครงสร้าง
รู ปพรรณ ดินและเสาเข็ม)
1.5.1 ขั้นตอนการพิจารณาแบบก่อสร้ าง
ในขั้นตอนนี้ สิ่งสําคัญที่ตอ้ งพิจารณาประกอบด้วย 2 ส่ วนหลัก คือ ส่ วนที่หนึ่ ง เป็ น
เรื่ องของการพิจารณาความพร้อมหรื อสมบูรณ์ของแบบก่อสร้างและส่ วนที่สอง เป็ นเรื่ องของการวางผัง
โครงสร้างขององค์อาคารต่างๆตามลําดับ ซึ่ งรายละเอียดในทั้ง 2 ส่ วนดังกล่าว ผูเ้ ขียนได้แยกกล่าว
ต่างหากไว้ในเนื้อหาอีกหัวข้อหนึ่ง
ในเบื้องต้น แบบก่อสร้างที่ใช้ประกอบการพิจารณาใน 2 ส่ วนหลักดังกล่าวข้างต้น
ที่เพียงพอต่อการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างประกอบด้วย 3 ส่ วน คือ ส่ วนที่หนึ่ง แบบแปลนด้าน
สถาปั ตยกรรม ประกอบด้วย แบบแปลนทุกชั้นรวมถึงหลังคา รู ปด้านข้างครบทุกด้าน รู ปตัดขวางอย่าง
น้อย 2 แนวที่ต้ งั ฉากกัน แต่มีขอ้ แม้ว่าต้องตัดผ่านแนวบันไดและตําแหน่งดัง่ สู งสุ ด ส่ วนที่สอง แบบ
แปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้าง ประกอบด้วย แบบแปลนฐานรากและตอม่อ แบบแปลนพื้น-คาน-เสา
ครบทุกชั้น แบบแปลนโครงหลังคา ส่ วนที่สาม แบบแปลนด้านงานระบบต่างๆ ประกอบด้วย งาน
ระบบไฟฟ้ า-ประปา-สุ ขาภิบาล งานระบบปรับอากาศ งานระบบเครื่ องจักรกล แบบแปลนในส่ วนนี้ ใช้
เท่าที่จาํ เป็ นเท่านั้น คือ เฉพาะงานระบบที่มีผลต่อการส่ งถ่ายแรงไปยังโครงสร้าง ซึ่ งหากไม่นาํ มาร่ วม
พิจารณาแล้วอาจส่ งผลกระทบต่อความมัน่ คงและแข็งแรงของโครงสร้างได้

1.5.2 ขั้นตอนการคํานวณหานํา้ หนักบรรทุกจริง


รายละเอียดในส่ วนนี้ผเู ้ ขียนได้กล่าวไว้ในบทที่ 2 แต่ก่อนอื่นผูเ้ รี ยนต้องเข้าใจเป็ นพื้นฐาน
ก่อนว่า ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างนั้น นํ้าหนักบรรทุกมีอยู่ 2 รู ปแบบ คือ นํ้าหนักบรรทุก
จริ งและนํ้าหนักบรรทุกจําลอง ซึ่งในส่ วนของนํ้าหนักบรรทุกจริ ง สามารถคํานวณหาค่าเชิงตัวเลขได้
โดยตรงจากแบบก่อสร้ างในขั้นตอนก่ อนหน้านี้ แต่เมื่ อจะทําการวิเคราะห์โครงสร้ างเป็ นขั้นตอน
6

ต่อไปนั้น นํ้าหนักบรรทุกจริ งจะต้องดําเนิ นการใน 2 ส่ วนต่อไปนี้ ก่อนเสมอ คือ ส่ วนที่หนึ่ ง ต้อง


จัดรู ปแบบของนํ้าหนักบรรทุกกรณี ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดหรื อกระทําต่อโครงสร้างอาคารตลอดช่วงอายุ
ของการใช้งาน ซึ่ งในการวิเคราะห์โครงสร้างโดยทฤษฎี อิลาสติกนั้น หากต้องการนําผลที่ได้จากการ
วิเคราะห์ไปออกแบบโดยวิธีหน่ วยแรงใช้งาน (สําหรั บโครงสร้ างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก) และโดยวิธี
หน่ ว ยแรงที่ ย อมให้ (สํา หรั บโครงสร้ า งเหล็ก รู ปพรรณ) รู ป แบบของนํ้าหนัก บรรทุ ก ที่ นิ ย มใช้ใ น
ประเทศไทยมีอยู่ดว้ ยกัน 3 กรณี หลัก คือ กรณี ที่ 1) DL กรณี ที่ 2) DL+LL และกรณี ที่ 3)
0.75[DL+LL+(WL หรื อ EQ)] ส่ วนที่สอง จะต้องทําการแปลงนํ้าหนักบรรทุกจริ งกรณี ที่มีค่ามากสุ ด
จาก 3 กรณี ดงั กล่าว ให้เป็ นนํ้าหนักบรรทุกจําลอง ซึ่งมีท้ งั หมด 4 รู ปแบบ ประกอบด้วย นํ้าหนักบรรทุก
กระทํา เป็ นจุ ด นํ้า หนัก บรรทุ ก ชนิ ด แผ่ส มํ่า เสมอรู ป ทรงสี่ เ หลี่ ย มผืน ผ้า นํ้า หนัก บรรทุ ก ชนิ ด แผ่
สมํ่าเสมอรู ปทรงสามเหลี่ยม และนํ้าหนักบรรทุกชนิดแผ่สมํ่าเสมอรู ปทรงสี่ เหลี่ยมคางหมู

1.5.3 ขั้นตอนการจําลอง นํา้ หนักบรรทุกจริงและโครงสร้ างอาคารจริง


ในขั้นตอนนี้ สิ่งสําคัญที่สุดคือ จะต้องพยายามพิจารณาให้ได้ว่า สิ่ งที่กาํ ลังจะจําลอง
กับของจริ ง ในเชิงปฎิบตั ิเหมือนหรื อต่างกันอย่างไร จุดยอมรับที่เป็ นแนวปฎิบตั ิและยึดถืออยูต่ รงจุดใด
ไม่เช่นนั้นจะทําให้เกิดความรู ้สึกที่ขดั แย้งขึ้นมาในตนเองได้ เช่น ฐานรากเสาเข็มจะจําลองให้เป็ นแบบ
ใหนดี แบบบานพับหรื อแบบฐานยึดแน่ น จุ ดต่อระหว่างองค์อาคารต่ างๆของอาคารเช่ นแผ่นพื้น
บันได คาน เสา ลฯ) จะเป็ นแบบข้อต่อหมุนหรื อแบบข้อต่อแข็ง ฉะนั้นจึงต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า การ
จําลองโครงสร้างเป็ นเพียงแบบตัวแทนของของจริ งในทางทฤษฎี เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็ นส่ วนใดๆของ
โครงสร้ างอาคารก็ตาม แต่ ท้ งั นี้ ทั้ง นั้น การจําลังดัง กล่ าวจะต้องพยายามทําให้มีส่ว นเหมื อนหรื อ
ใกล้เคียงกับโครงสร้ างอาคารของจริ งให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ (ทั้งนี้ ข้ ึนอยู่กบั องค์ความรู ้ ดา้ นการ
จําลองโครงสร้างของผุเ้ รี ยน และศักยภาพของโปรแกรมที่จะนํามาใช้เพื่อช่วยงาน) ซึ่ งในโครงสร้าง
อาคารหนึ่งๆสิ่ งที่เราจะต้องจําลองประกอบด้วย 4 ส่ วนหลัก คือ ส่ วนที่หนึ่ง องค์อาคารต่างๆของอาคาร
(แผ่นพื้น-บันได-คาน-เสา) อาจจะเป็ นบางส่ วนหรื อทั้งหมด ทั้งนี้ ข้ ึนอยู่กบั ดุลยพินิจของแต่ละบุคคล
ส่ วนที่สอง จุดต่อระหว่างองค์อาคารต่างๆของอาคาร ส่ วนที่สาม จุดต่อที่เป็ นที่รองรั บ และส่ วนที่สี่
นํ้าหนักบรรทุก ซึ่ งทั้งหมดเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเป็ นโครงสร้ างจําลองประเภทต่างๆ เช่ น
คาน (คานช่ วงเดี ยวอย่างง่าย คานยื่น และคานต่อเนื่ อง) โครงข้อหมุน โครงข้อแข็ง ดังนั้นจากที่ได้
กล่าวมา จะเห็นว่าองค์ความรู ้ในขั้นตอนนี้ ผูเ้ รี ยนต้องหมัน่ ศึกษาหาความรู ้เพิ่มเติมให้มาก ทั้งจากตํารา
ต่างๆ จากการอบรมสัมมนา และจากการสอบถามผูร้ ู ้
7

1.5.4 ขั้นตอนการวิเคราะห์ โครงสร้ าง


การวิเคราะห์โครงสร้าง เป็ นขั้นตอนที่ยุ่งยากเป็ นที่สุดจากทั้งหมดใน 6 ขั้นตอน
สาระสําคัญในขั้นตอนนี้ คือ กระบวนการเพื่อหามาให้ได้ซ่ ึ งระบบแรงภายใน (แรงตามแนวแกน แรง
เฉื อน และโมเมนต์) และการเปลี่ยนรู ป (ทั้งเชิงเส้นและเชิงมุม) ที่ละเอียดและถูกต้องใกล้เคียงกับความ
เป็ นจริ งให้มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อผลของความมัน่ คงและแข็งแรงของโครงสร้างอาคารเป็ นสําคัญ แต่พึง
ระลึกไว้เสมอว่า ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างไม่ว่าจะโดยวิธีการใดๆก็ตาม ค่าเชิงตัวเลขที่ได้จะ
เป็ นค่าโดยประมาณแทบทั้งสิ้ น ทั้งนี้ เพราะเป็ นผลที่ได้มาจากการวิเคราะห์โครงสร้างจําลองตามแบบ
ก่อสร้างไม่ใช่โครงสร้างจริ งที่จะสร้างยังสถานที่ก่อสร้าง
การจําลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์ สามารถทําได้ท้ งั ในรู ปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ
ซึ่ งทั้ง 2 รู ปแบบ ประกอบด้วยกระบวนวิธีการในการวิเคราะห์ 2 ระดับ คือ การวิเคราะห์โครงสร้างใน
ระดับที่หนึ่ ง (พิจารณาเฉพาะนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําแรกเริ่ มเท่านั้น คือ นํ้าหนักบรรทุกคงที่ นํ้าหนัก
บรรทุกจร แรงลม และนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดิ นไหว) และการวิเคราะห์โครงสร้างในระดับที่
สอง (พิจารณา โดยรวมนํ้าหนักบรรทุกอันเป็ นผลเนื่องมาจากการใช้งานโครงสร้างอาคาร เช่น การทรุ ด
ตัวแตกต่ างของฐานราก การยืดหดตัว เนื่ องจากการเปลี่ ยนแปลงของอุ ณหภู มิ การหดตัวเนื่ องจาก
พฤติ กรรมในการรั บนํ้าหนักบรรทุกแบบถาวร ลฯ) ในแต่ละระดับก็มีหลายวิธีซ่ ึ งผลที่ ได้จากการ
วิเคราะห์โครงสร้างก็จะแตกต่างกันออกไป โดยการวิ เคราะห์โครงสร้างในระดับที่สองจะให้ผลที่
ละเอียดถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็ นจริ งมากที่สุด แต่ก็มีความยุง่ ยากมากที่สุดเช่นเดียวกัน ดังนั้นใน
การเรี ยนการสอนปกติทวั่ ไป (รวมไปถึงการใช้งานเชิ งปฎิบตั ิจริ ง) จะเป็ นการวิเคราะห์โครงสร้างใน
ระดับที่หนึ่ ง (โดยวัสดุมีพฤติกรรมอยูใ่ นช่วงยืดหยุน่ และนํ้าหนักบรรทุกมีพฤติกรรมค่อยๆกระทําต่อ
โครงสร้าง) ของแบบจําลองโครงสร้างใน 2 มิติ อาจจะโดยวิธีใดวิธีหนึ่ ง เช่น วิธีหลักการรวมผล วิธี
สมการ 3 โมเมนต์ วิธีกระจายโมเมนต์ วิธีความลาด-แอ่น รวมถึงวิธีการทางไฟไนต์อิลิเมนต์
1.5.5 ขั้นตอนการออกแบบองค์ อาคารต่ างๆ และจุดต่ อต่ อระหว่ างองค์ อาคาร
ขนาดขององค์อาคาร (ขนาดหน้าตัด ปริ มาณเหล็กเสริ ม) คํานวณหาได้โดยใช้ผลที่
มากสุ ดจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ ร่วมกับมาตรฐานการออกแบบและคุณสมบัติของวัสดุ ซึ่ งตรงนี้ ให้พึง
ระวัง ทั้ง นี้ เพราะหากออกแบบขนาดขององค์อ าคารโดยไม่ ค าํ นึ ง ถึ ง มาตรฐานการออกแบบและ
คุณสมบัติของวัสดุแล้ว การออกแบบนั้นย่อมไม่ถูกต้องในทางปฎิบตั ิจริ ง (โดยเฉพาะการออกแบบที่ยดึ
ตามตําราที่ใช้เพียงเพื่อการเรี ยนการสอนตามหลักสู ตรเท่านั้น) ส่ วนรายละเอียดการออกแบบขนาด
ขององค์อาคารต่างๆในตําราเล่มนี้ ผเู ้ ขียนได้กล่าวสรุ ปเป็ นขั้นตอนและสมการที่ใช้ไว้ในบทที่ 6 และ
บทที่ 7
8

1.5.6 ขั้นตอนการเขียนรายละเอียดผลของการออกแบบ
ในขั้น ตอนนี้ มองได้ว่ า เป็ นบทสรุ ป ของกระบวนการวิ เ คราะห์ แ ละออกแบบ
โครงสร้างจะผิดพลาดไม่ได้ แม้วา่ จะปฎิบตั ิตามขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 5 อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว
หากการให้รายละเอียดไม่ถูกต้องตามแบบจําลองโครงสร้างและมาตรฐานแล้ว การออกแบบตาม
ขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมาถือว่าล้มเหลว เมื่อนําไปใช้ก่อสร้างจริ งอาจนํามาซึ่ งการสู ญเสี ยทั้งชีวิตและ
ทรัพย์สินได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของการใช้งานอาคารนั้นๆ
การให้รายละเอียดผลของการออกแบบในที่น้ ี ประกอบด้วย 2 ส่ วนหลัก คือ ส่ วนที่
หนึ่ ง การให้ร ายละเอี ย ดขนาดของหน้า ตัด ปริ ม าณและการวางเหล็ก เสริ ม ส่ ว นที่ ส อง การให้
รายละเอียดของจุดต่อระหว่างองค์อาคารต่างๆ และจุดต่อระหว่างองค์อาคารที่ต่อเนื่ องกับส่ วนที่เป็ น
ฐานรองรับ ในเบื้องต้นแนะนําให้ศึกษาเพิ่มเติมได้จากตํารารายละเอียดเหล็กเสริ มงานคอนกรี ต ชมรม
วิศวกรรมโยธาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงแบบมาตรฐานของหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมโยธาธิ การ
และผังเมือง ลฯ ดังแสดงในภาพที่ 1.1

(ก) แบบแสดงรายละเอียดการเสริ มเหล็กในแผ่นพื้น

(ข) แบบแสดงรายละเอียดการเสริ มเหล็กในคาน


ภาพที่ 1.1 แสดงแบบแสดงรายละเอียดการเสริ มเหล็กในโครงสร้างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก
ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
9

(ค) แบบแสดงรายละเอียดการเสริ มเหล็กในบันได

(ง) แบบแสดงรายละเอียดการเสริ มเหล็กในเสา

(จ) แบบแสดงรายละเอียดการเสริ มเหล็กในฐานรากแผ่


ภาพที่ 1.1 (ต่อ) แสดงแบบแสดงรายละเอียดการเสริ มเหล็กในโครงสร้างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก
ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)

1.6 การอ่ านและทําความเข้ าใจในแบบก่อสร้ าง


จุดมุ่งหมายของการอ่านแบบก่อสร้างก็เพื่อที่จะทําความเข้าใจและเคลียร์ แบบเป็ นสําคัญ
ซึ่ งต้องปฎิบตั ิเป็ นลําดับแรกของกระบวนการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง เริ่ มตั้งแต่ตรวจสอบดู
ว่าแบบก่อสร้าง(ที่ได้รับ) มีครบ เพียงพอที่จะออกแบบได้จนเสร็ จสมบูรณ์หรื อไม่ ในแบบก่อสร้างมี
10

ข้อมูลของสถานที่ก่อสร้าง เจ้าของโครงการ คุณลักษณะของวัสดุต่างๆที่ใช้ครบหรื อไม่ (ในส่ วนนี้ หาก


สถาปนิ กหรื อช่างเขียนแบบที่มีความละเอียดรอบครอบ ก็จะมีอย่างครบถ้วน) ตรวจสอบดูระยะต่างๆ
ทั้งในแนวราบ (อ่านจากแบบแปลนด้านสถาปั ตยกรรมและแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้าง) และ
แนวดิ่ง (อ่านจากแบบแปลนรู ปด้าน, ภาพตัดขวาง และภาพขยาย) ครบหรื อไม่ต้ งั แต่ระดับอ้างอิงจนถึง
หลัง คา ตรวจสอบดู ก ารวางตัว ขององค์อ าคารต่ า งๆของโครงสร้ า งสั ม พัน ธ์ กับ แบบแปลนด้า น
สถาปั ตยกรรมหรื อไม่ ตรวจสอบดูตาํ แหน่ งการวางตัวของผนัง ประตู หน้าต่าง ราวระเบี ยง ลฯ ที่
ปรากฎในแบบแปลนสถาปั ตยกรรม แบบแปลนรู ปด้าน และภาพตัดขวางสัมพันธ์กนั หรื อไม่ หากมี
ความบกพร่ องไม่เป้ นไปตามที่กล่าวมาต้องรี บแก้ไข
1.6.1 จุดมุ่งหมายหลักของการอ่ านแบบก่อสร้ าง
1) เพื่อคํานวณหานํ้าหนักบรรทุกจริ ง (แรงกระทําต่างๆ) ที่กระทําต่อองค์อาคาร
ต่างๆของโครงสร้าง สําหรับนําไปใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้าง
เพื่อหาระบบแรงปฏิกิริยา (นําไปใช้ในการส่ งถ่ายแรงระหว่างองค์อาคาร) ระบบ
แรงภายใน (นําไปใช้สําหรั บออกแบบขนาดหน้าตัดและปริ มาณเหล็กเสริ ม)
และการเปลี่ยนรู ปของโครงสร้าง (นําไปใช้ในการควบคุมการออกแบบ)
2) เพื่อความถูกต้องเหมาะสมของการวางผังองค์อาคารต่างๆของโครงสร้างหลัก
และโครงสร้ า งรองของอาคาร เพื่ อ ผลของความมั่น คงและความแข็ง แรง
โดยรวมของอาคาร และรวมไปถึงระบบของการส่ งถ่ายแรงระหว่างองค์อาคาร
ต่างๆที่เป็ นเหตุเป็ นผล
1.6.2 ผลพลอยได้ ของการอ่ านแบบก่อสร้ าง
1) ช่ วยลดการขัดแย้งของแบบก่อสร้ างได้ต้ งั แต่ตน้ ทําให้เกิ ดปั ญหาข้อถกเถียง
น้อยลงขณะก่อสร้างจริ ง ในทางตรงกันข้ามหากไม่สนใจอ่านแบบก่อสร้างให้
ถี่ถว้ นหรื อไม่ใส่ ใจแก้ไขให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่ มต้นแล้ว เมื่อแบบก่อสร้างดังกล่าว
ถูก ปล่ อยให้นําไปใช้ใ นการก่ อสร้ างจริ งจะทําให้เกิ ด ปั ญหาตามมาทัน ที ดัง
แสดงในภาพที่ 1.2 และภาพที่ 1.3
2) ช่วยให้การถอดแบบประมาณราคาผิดพลาดน้อยหรื อไม่มีเลย
3) ทําให้การก่อสร้างจึงเป็ นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ ว
11

มีคานรับ
ชานพักบันได

แผ่นพื้นสําเร็ จรู ปวาง


ขนานคาน B1

(ก) แบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้าง

ไม่มีคานรับ
ชานพักบันได แผ่นพื้นสําเร็ จรู ปวางตั้ง
ฉากคาน B1

(ข) แบบแปลนด้านสถาปัตยกรรม
ภาพที่ 1.2 แสดงการขัดแย้งกันของคานรองรับระหว่างแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้างและแบบ
แปลนด้านสถาปั ตยกรรม
ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
0 0
12

มีแผ่นพื้นสําหรับ ไม่มีแผ่นพื้นวางบนดิน
จอดรถยนต์ สําหรับจอดรถยนต์

(ก) แบบแปลนด้านสถาปั ตยกรรม (ข) แบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้าง


ภาพที่ 1.3 แสดงการขัดแย้งกันของแผ่นพื้นวางบนดินระหว่างแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้างและ
แบบแปลนด้านสถาปั ตยกรรม
ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
0 0

1.6.3 ข้ อควรระวังในการอ่ านและเคลียร์ แบบก่อสร้ าง


1) มาตราส่ วนและการให้ระยะต่างๆ ควรยึดตัวเลขที่ระบุเป็ นหลัก ไม่ควรยึดระยะ
ที่วดั โดยใช้ไม้มาตราส่ วนสามเหลี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบแปลนที่มีการย่อ
หรื อขยายด้วยการถ่ายเอกสาร ซึ่งจะส่ งผลกระทบโดยตรงต่อขั้นตอนของการ
วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง รวมไปถึงขั้นตอนของการนําไปก่อสร้างจริ ง
2) ค่าระดับต่างๆตามแบบแปลนด้านสถาปั ตยกรรม จะต้องเขี ยนระบุ ไว้อย่าง
ชัดเจนไม่ขดั แย้งกันเอง ระหว่างแบบแปลนของแต่ละชั้นกับแบบรู ปด้านข้าง
13

และแบบรู ปตัดขวาง ไม่เช่นนั้นจะส่ งผลกระทบโดยตรงต่อขั้นตอนของการ


วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง รวมไปถึงขั้นตอนของการนําไปก่อสร้างจริ ง
3) การวางซ้อนทับกันขององค์อาคาร เกิดความสับสนว่าคานตัวใดอยู่บนหรื ออยู่
ล่าง อันเป็ นผลสื บเนื่ องจากค่าระดับในแบบก่ อสร้ างไม่ชัดเจนหรื อไม่เขียน
กํากับไว้ในแบบก่อสร้างของแต่ละชั้น เช่น คานของพื้นชั้นที่หนึ่ งซ้อนทับคาน
คอดิน คานของพื้นชั้นสองซ้อนทับคานรับชานพักบันได ลฯ

1.7 การวางผังโครงสร้ างอาคาร


หลักพื้นฐานในเบื้องต้น คือ ให้วางผังโครงสร้างโดยยึดแบบทางด้านสถาปั ตยกรรมเป็ น
หลัก แต่ทา้ ยที่สุดสิ่ งสําคัญคือโครงสร้างต้องมีท้ งั ความมัน่ คงและความแข็งแรงด้วย โดยทั้งนี้ การวาง
ผังดังกล่าวก็ดว้ ยการอาศัยพื้นฐานขององค์ความรู ้ที่ได้จากการศึกษาในวิชากําลังวัสดุ คือ หลักการของ
โมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้นที่ ดังแสดงในภาพที่ 1.4
1.7.1 ประเภทของการวางผังโครงสร้ าง
ในที่น้ ี ผเู ้ ขียนจะแบ่งการวางผังโครงสร้างออกเป็ น 3 ระดับ โดยอาศัยหลักการของ
โมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้นที่ โดยหลักการแล้วให้วางผังโครงสร้างในระดับองค์อาคารไปชดเชยด้านที่
อ่อนแอของผังโครงสร้างในระดับรวม และวางผังโครงสร้างในระดับย่อยไปชดเชยด้านที่อ่อนแอของ
ผังโครงสร้างในระดับองค์อาคาร
1.7.1.1 การวางผังโครงสร้างในระดับย่อย ในที่น้ ีหมายถึง การจัดตําแหน่งการวางตัว
ของกลุ่มเหล็กเสริ มและการวางตัวของกลุ่มเสาเข็ม โดยหลักการคือพยายามจัดกลุ่มของเหล็กเสริ ม
และเสาเข็มให้มีระยะห่ างให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ นัน่ หมายถึงแขนของโมเมนต์คู่ควบจะยาวมากขึ้น
ด้วย ทําให้ค่าโมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้นที่ (พื้นที่หน้าตัดของกลุ่มเหล็กเสริ มและกลุ่มของเสาเข็ม)
สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
1.7.1.2 การวางผังโครงสร้างในระดับองค์อาคาร ในที่น้ ี หมายถึง การจัดทิศทางการ
วางตัวขององค์อาคารต่างของโครงสร้าง โดยหลักการคือพยายามจัดวางให้ดา้ นที่มีความลึกหรื อความ
ยาวอยูใ่ นทิศทางต้านแรงที่มากระทํา ซึ่งก็คือด้านที่มีค่าโมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้นที่สูงนั้นเอง เช่น การ
วางตัวของคาน เสาเหลี่ยม และฐานรากแผ่รูปทรงสี่ เหลี่ยมพื้นผ้า
14

1.7.1.3 การวางผังในระดับรวม ในที่น้ ี หมายถึง รู ปทรงโดยรวมของอาคาร ซึ่ งใน


เบื้องต้นรู ปร่ างจะเป็ นไปตามแบบแปลนที่สถาปนิกเป็ นผูอ้ อกแบบด้านความสวยงามและการใช้งาน
แรงกระทําด้านข้าง

 


SG S PS


PS
S  ST


ค่า I สู ง = BL3/12
(แข็งแรง)

ด้ านกว้ าง B
ค่า I ตํ่า = B3L/12
(อ่อนแอ)
ด้ านยาว L
ภาพที่ 1.4 แสดงทิศทางการวางตัวของส่ วนต่างๆของโครงสร้างตามหลักการโมเมนต์ความเฉื่ อยของ
พื้นที่
15

1.7.2 ข้ อควรระวังในการวางผังโครงสร้ างอาคาร


1) การวางผังในระดับรวมควรคํา นึ ง ถึ งความแข็ง แรงตามทิ ศทางหลัก ของแรง
กระทําด้านข้าง เช่น แรงลมและนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหว โดยเฉพาะ
อาคารขนาดใหญ่หรื อสูง
2) ไม่ควรใช้ระบบแผ่นพื้นวางบนดิ นหากไม่มีการป้ องกันการเคลื่อนตัวของดิ น
แม้วา่ จะมีการบดอัดแล้วก็ตาม
3) คานคอดินจําเป็ นต้องมี ทั้งนี้ เพื่อช่ วยยึดรั้งส่ วนของฐานรากไม่ให้เคลื่อนหรื อ
ไม่ให้ถ่างออกจากกัน อันเนื่องมาจากการรับแรงกดมหาศาลจากทุกชั้น หรื อเพื่อ
ช่วยยึดฐานรากกรณี เกิดแผ่นดินไหว
4) การออกแบบคานคอดิ นเป็ นคานลึกเพื่อใช้ก้ นั ดิ นกรณี แผ่นพื้นวางบนดิ นที่ถม
ดินสูงไม่ควรทําเป็ นอย่างยิง่ เพราะจะทําให้คานเกิดการโก่งหรื อดุง้ ด้านข้าง ซึ่ ง
ในการออกแบบเหล็กเสริ มไม่ได้มีการออกแบบเผือ่ ไว้เพื่อรับโมเมนต์ดดั ด้านนี้
5) ไม่ควรใช้ระบบแผ่นพื้นสําเร็ จรู ปในเขตพื้นที่ ที่เสี่ ยงต่อแผ่นดิ นไหว เพราะ
นอกจากจะไม่มีส่วนช่วยด้านความแข็งแรงเพื่อต้านแรงดังกล่าวแล้ว ยังอาจเกิด
อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินด้วย
6) ทิศทางการวางแผ่นพื้นสําเร็ จรู ป (อาจรวมถึงบันไดด้วย) ควรวางในทิศทาง
ขนานด้านสั้นของโครงสร้างอาคาร
7) ควรมีคานยึดเสาทุกต้นทั้งที่หวั เสาและปลายเสา โดยเฉพาะคานรัดรอบหรื อคาน
ตัวริ มอาคาร
8) ควรวางหน้าตัดคาน (ไม่วา่ จะเป็ นหน้าตัดชนิ ดแบบเปิ ดหรื อปิ ด) โดยให้น้ าํ หนัก
บรรทุกกระทําในทิศทางที่ขนานกับความลึกของหน้าตัด
9) ควรวางคานโดยให้น้ าํ หนักบรรทุกกระทําผ่านจุดศูนย์กลางแรงเฉื อน (Shear
Center) ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการบิดตัวของคาน (เพราะเวลาออกแบบมักไม่คิด
เผือ่ โมเมนต์บิดที่อาจจะเกิด)
10) กรณี คานยืน่ ไม่ควรให้ยนื่ ออกจากเสาโดยไม่มีคานช่วงภายในที่ต่อเนื่อง ช่วยยึด
รั้งเสาต้นดังกล่าวเพื่อกระจายโมเมนต์ดดั
11) คานยืน่ ไม่ควรยืน่ ยาวมากกว่าครึ่ งหนึ่งของความยาวคานช่วงภายในที่ต่อเนื่อง
12) ผนังกั้นห้องที่สูงและมีน้ าํ หนักมากควรมีคานรองรั บ ส่ วนผนังที่มีน้ าํ หนักไม่
มาก เช่ น ผนัง เบาประเภทต่ า งๆ ก็ ไ ม่ จ าํ เป็ นต้อ งวางผัง ให้มี ค านมารองรั บ
16

สามารถวางไว้บนแผ่นพื้นได้โดยตรง แต่ในขั้นตอนของการวิเคราะห์แผ่นพื้น
จะต้องทําการแปลงนํ้าหนักของผนังไปเป็ นนํ้าหนักบรรทุกแผ่สมํ่าเสมอ
13) ทิศทางการวางหน้าตัดเสา (โดยเฉพาะกรณี ของหน้าตัดรู ป 4 เหลี่ยมผืนผ้า) ควร
วางให้ ห น้ า กว้า งของเสา (หรื อ ความลึ ก ) อยู่ใ นทิ ศ ทางขนานด้า นสั้ นของ
โครงสร้างอาคาร
14) ทิศทางการวางหน้าตัดเสา (ที่เสริ มเหล็กแบบไม่สมมาตร) ควรวางหน้าตัดเสา
ด้านที่มีการวางเหล็กแกนที่ทาํ ให้เกิดโมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้นที่มากสุ ด อยู่
ในทิศทางขนานด้านสั้นของโครงสร้างอาคาร
15) การวางฐานราก ควรวางด้านยาวอยูใ่ นทิศทางขนานด้านสั้นของโครงสร้าง
16) กรณี ฐานรากแผ่รูปทรงสี่ เหลี่ ยมจัตุรัส ควรวางในลักษณะที่ เหล็กเสริ มล่ าง
(เหล็กหลัก) มีทิศทางขนานด้านสั้นของโครงสร้างอาคาร
17) กรณี ฐานราเสาเข็ม ควรวางกลุ่มเสาเข็มในทิศทางที่กระจายห่ างจากเสาตอม่อ
มากสุ ด ให้มีทิศทางขนานด้านสั้นของโครงสร้างอาคาร

1.8 การจัดกลุ่มองค์ อาคารต่ างๆของโครงสร้ างอาคารเพือ่ การออกแบบ


1) แปหรื อระแนง : ให้เลือกองค์อาคารที่มีช่วงยาวมากสุ ดเป็ นตัวควบคุมการ
ออกแบบ แล้วใช้ขนาดเดียวกันทั้งหมด
2) จันทันหลัก จันทันพราง : ให้เลือกองค์อาคารที่มีช่วงยาวและระยะคํ้ายันมากสุ ด
เป็ นตัวควบคุมการออกแบบ แล้วใช้ขนาดเดียวกันทั้งหมด
3) ตะเฆ่สัน ตะเฆ่ราง : ให้เลือกองค์อาคารที่มีช่วงยาวและระยะคํ้ายันมากสุ ด เป็ น
ตัวควบคุมการออกแบบ แล้วใช้ขนาดเดียวกันทั้งหมด
4) ขื่อ อเส อกไก่ : เปรี ยบเทียบระหว่างองค์อาคารที่มีช่วงยาวและระยะคํ้ายันมาก
สุ ด กับองค์อาคารที่รับนํ้าหนักบรรทุกสูงสุ ด นํามาควบคุมการออกแบบแล้วใช้
ขนาดเดียวกันทั้งหมด
5) เสาดัง่ : ให้เปรี ยบเทียบระหว่างเสาที่สูงที่สุดกับเสาที่มีพ้ืนที่รับนํ้าหนักบรรทุก
สู งสุ ด เลือกมาควบคุมการออกแบบ แล้วใช้ขนาดเดียวกันทั้งหมด
6) แผ่นพื้นหล่อในที่ : ตรวจสอบอัตราส่ วน m = ด้านสั้น(S) /ด้านยาว (L)
(1) กรณี แผ่นพื้นหล่อในที่ จัดให้อยูก่ ลุ่มเดียวกันหากมีค่าอัตราส่ วน m หรื อมี
ค่าโมเมนต์ดดั ต่างกันอยูใ่ นช่วง 15 - 20 เปอร็ เซ็นต์
17

(2) กรณี แผ่นพื้นสําเร็ จรู ป จัดให้อยูก่ ลุ่มเดียวกันหากมีความยาวต่างกันไม่เกิน


50 cm. (เมื่อรับนํ้าหนักบรรทุกเท่ากัน) หรื ออาจใช้ขนาดที่ยาวที่สุดเป็ นตัว
ควบคุ มแล้วใช้ขนาดเดี ยวกันทั้งหมดก็ได้...ทั้งนี้ ข้ ึ นอยู่กับดุ ลยพินิจของ
ผูอ้ อกแบบ
7) บันได : จัดให้อยู่กลุ่มเดียวกันหากมีความยาวต่างกันไม่เกิน 50 cm. (เมื่อรับ
นํ้าหนักบรรทุ กเท่ ากัน) หรื อมี ค่าโมเมนต์ดัดต่างกันอยู่ในช่ วง 15 - 20 เปอร็
เซ็นต์
8) คาน : โดยพื้นฐานมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ คานซอย คานภายใน คานตัวริ มหรื อคานขอบ
จัดให้อยู่กลุ่มเดี ยวกันได้หากมี ค่าโมเมนต์ดดั ต่างกันอยู่ในช่ วง 15 - 20 เปอร็
เซ็นต์
9) เสา : โดยพื้นฐานมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ เสาภายใน เสาต้นริ ม และเสาที่มุมของอาคาร
จัดให้อยูก่ ลุ่มเดียวกันได้หากนํ้าหนักบรรทุกกดลงเสา (เมื่อเสามีความสูงเท่ากัน)
ต่างกันอยูใ่ นช่วง 15 - 20 เปอร็ เซ็นต์
10) ฐานราก : โดยพื้นฐานมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ ฐานรากภายใน ฐานรากตัวริ ม (หรื อชิด
เขต) และฐานรากที่มุมอาคาร จัดให้อยูก่ ลุ่มเดียวกันได้หากนํ้าหนักบรรทุกกด
ลงฐานราก ต่างกันอยูใ่ นช่วง 15 - 20 เปอร็ เซ็นต์

1.9 ลําดับการออกแบบองค์ อาคารต่ างๆของโครงสร้ างอาคาร


หากจะแยกโดยละเอียดแล้ว ผูเ้ ขียนจะแบ่งลําดับการออกแบบองค์อาคารต่างๆออกเป็ น 2
ส่ วน คือ ส่ วนหัวหรื อหลังคาอาคารและส่ วนตัวของอาคาร โดยแต่ละส่ วนจะต้องออกแบบองค์อาคาร
ที่อยูบ่ นสุ ดลงสู่ล่างสุ ดตามหลักของการส่ งถ่ายแรงตามลําดับ ดังนี้
1.9.1 ลําดับการออกแบบส่ วนหัวหรือหลังคาของอาคาร
1) แปหรื อระแนง (หรื อแผ่นพื้นดาดฟ้ ากรณี เป็ นหลังคาดาดฟ้ า)
2) จันทันหลัก จันทันพราง (โครงข้อหมุน)
3) ตะเฆ่ สั น ตะเฆ่ ร าง อกไก่ อเส (อาจเลื อ กตัว ใดตัว หนึ่ ง มาออกแบบแล้ว ใช้
เท่ากัน)
4) เสาดัง่ (เพื่อความสะดวกในการทํางานให้ใช้เท่ากับ ตะเฆ่สัน ตะเฆ่ราง อกไก่
อเส)
5) ขื่อ
18

1.9.2 ลําดับการออกแบบส่ วนตัวของอาคาร


1) ระบบแผ่นพื้นต่างๆ เช่น แผ่นพื้นวางบนดิน แผ่นพื้นสําเร็ จรู ป แผ่นพื้นหล่อใน
ที่ (ทั้งประเภทคอนกรี ตเสริ มเหล็กและคอนกรี ตอัดแรง) และบันได
2) คานฝาก คานซอย เสาฝาก เสาเอ็น
3) คานหลัก
4) เสาของแต่ละชั้น เสาตอม่อ
5) ฐานราก
ลําดับการออกแบบองค์อาคารต่างๆอาจจะออกแบบในส่ วนใดก่อนหรื อหลังก็ได้ ระหว่าง
ส่ วนหลังคาและส่ วนตัวอาคาร เพียงแต่การออกแบบในแต่ละส่ วนต้องเรี ยงลําดับดังที่ได้กล่าวไว้ แต่
ถ้าหากมีประสบการณ์มากขึ้นและมีการเก็บตัวเลขสถิติต่างๆไว้เพื่อใช้งานในอนาคต ก็อาจออกแบบ
องค์อาคารต่างๆแบบลัดวงจรได้ โดยไม่ตอ้ งทําดังที่ได้กล่าวมาแล้ว (แต่ท้ งั นี้ ท้ งั นั้นควรมีการตรวจเช็ค
ย้อนกลับด้วย) เช่น อาจออกแบบจันทันได้ก่อนออกแบบแป อาจออกแบบส่ วนของฐานรากได้ก่อน
ออกแบบเสาตอม่อ อาจออกแบบเสาได้ก่อนออกแบบคาน เช่น กรณี บา้ นพักอาศัยคอนกรี ตเสริ มเหล็ก 2
ชั้น (ที่ ช่วงคานปกติทวั่ ไป) นํ้าหนักถ่ายลงเสาแต่ละต้นต่อชั้นประมาณ 7 – 10 ตัน อาคารพานิ ชย์
คอนกรี ตเสริ มเหล็ก 2-3 ชั้น (ที่ช่วงคานปกติทว่ั ไป) นํ้าหนักถ่ายลงเสาแต่ละต้นต่อชั้นประมาณ 10 – 15
ตัน หรื อในกรณี ของเสาเข็มคอนกรี ตอัดแรงหน้าตัดสี่ เหลี่ยมตันสามารถรับนํ้าหนักบรรทุกปลอดภัย
เนื่องจากคุณสมบัติของหน้าตัดได้ประมาณ 1b ถึง 1.45b ตัน (เมื่อ b คือหน้ากว้างของเสาเข็มหน่วยเป็ น
ซม.) เหล่านี้เป็ นต้น

1.10 การส่ งถ่ ายแรงระหว่ างองค์ อาคารต่ างๆของโครงสร้ างอาคาร


หากไม่มีอะไรเป็ นพิเศษลําดับของการส่ งถ่ายแรงระหว่างองค์อาคารต่างๆ จะส่ งถ่ายจาก
องค์อาคารที่อยู่บนสุ ดไปยังองค์อาคารที่รองรับหรื ออยู่ล่างสุ ด (หรื อปกติคือองค์อาคารที่ก่อสร้างแรก
สุ ด) ดังแสดงในภาพที่ 1.5 และ ภาพที่ 1.6 โดยการส่ งถ่ายดังกล่าวเป็ นการส่ งถ่ายผ่านปลายขององค์
อาคารที่ ต่ อ เชื่ อมกัน ในรู ป แบบของระบบแรงปฏิ กิ ริย า ซึ่ ง ค่ า ที่ ถู ก ต้องหาได้โดยตรงจากผลการ
วิเคราะห์โครงสร้าง
19

ภาพที่ 1.5 แสดงการส่ งถ่ายแรงขององค์อาคารต่างๆจากดาดฟ้ าสู่ฐานราก


20

0 ภาพที่ 1.6 แสดงการส่ งถ่ายแรงขององค์อาคารต่างๆจากโครงหลังคาสู่ ฐานราก


0 ที่มา (Massimi, M., Mickute, M., & Edwards, C., Online, 2010)
0
21

1.11 ระบบหน่ วยวัด


ในด้านการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างนั้น มีการคํานวณใน 2 ส่ วนที่ตอ้ งสอดคล้อง
กัน คือ การคํานวณเชิ งตัวเลขและการคํานวณหน่ วยวัด ดังนั้นผูเ้ รี ยนจึงต้องให้ความสําคัญต่อระบบ
หน่วยวัดไม่นอ้ ยไปกว่าการให้ความสําคัญต่อตัวเลข เช่นกัน ที่ผา่ นมาในประเทศไทยมีการใช้ระบบ
หน่ วยวัดอยู่ดว้ ยกันหลายระบบ เช่น ระบบอังกฤษ ระบบเมตริ ก และระบบนาๆชาติ ทั้งนี้ ข้ ึนอยู่กบั
สาขาวิชาชีพ หน่วยงาน ความชํานาญและความถนัดของแต่ละบุคคล รวมไปถึงขึ้นอยูก่ บั ช่วงอายุของ
คนด้วย หรื อขึ้นอยูก่ บั ประเทศที่ผใู ้ ช้ไปศึกษา แต่ในที่น้ ีระบบหน่วยวัดที่จะใช้ในบทต่อๆไปผูเ้ ขียนจะ
เน้นไปที่หน่วยวัดระบบเมตริ กเป็ นหลัก เพราะเป็ นระบบหน่วยวัดที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย

ตารางที่ 1.1 แสดงหน่วยวัดของคุณสมบัติพ้ืนฐานของระบบหน่วยวัดมาตรฐาน 3 ระบบ


คุณสมบัติพ้ืนฐาน ระบบอังกฤษ ระบบเมตริก ระบบนาๆชาติ
นิ้ว (in.), มม. (mm.), มม. (mm.),
1. ความยาว
ฟุต (ft.), หลา ซม. (cm.), ม. (m.) ซม. (cm.), ม. (m.)
ตร.นิ้ว (in.2 ), ตร.มม. (mm.2 ), ตร.มม. (mm.2 ),
2. พื้นที่ ตร.ฟุต (ft.2 ), ตร.ซม. (cm.2 ), ตร.ซม. (cm.2 ),
ตร.หลา ตร.ม. (m.2 ) ตร.ม. (m.2 )
ปอนด์ (lb.), นิวตัน (N.),
3. แรง กก. (kg. f ), ตัน (T.)
กิโลปอนด์ (kip.) กิโลนิวตัน (KN.)
นิวตัน/ตร.ม. (Pa),
4. หน่วยแรง ปอนด์/ตร.นิ้ว (lb./in.2 ) กก./ตร.ซม. (ksc.)
MPa
5. เวลา วินาที (sec.) วินาที (sec.) วินาที (sec.)
หมายเหตุ
Pa = 1 N./m.2
lb./in.2 = 6.894 KN./m.2
lb./in.2 = 0.07030696 Kg./cm.2
MPa = 10.19716 Kg./cm.2
KN. = 101.9716 kg. f
22

1.12 บทสรุป
ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างนอกจากจะต้องรู ้และเข้าใจขั้นตอนหลักของการ
ออกแบบแล้ว ผูเ้ รี ยนจําเป็ นต้องมีองค์ความรู ้พ้ืนฐานที่สาํ คัญในบางประการควบคู่กนั ไปด้วยเสมอ ใน
4 ส่ วน ดังนี้ คือ ส่ วนที่หนึ่ ง อย่างน้อยที่สุดต้องสามารถอ่านและเคลียร์ แบบก่อสร้างได้ ซึ่ งส่ งผล
โดยตรงต่ อการวางผังขององค์อาคารต่ างๆของโครงสร้ างอาคาร และช่ ว ยลดการขัด แย้งของแบบ
ก่อสร้างในขณะก่อสร้างจริ ง ส่ วนที่สอง ต้องเข้าใจหลักการวางผังขององค์อาคารต่างๆของโครงสร้าง
อาคาร ทั้งนี้ โดยรวมก็เพื่อช่วยเสริ มในส่ วนของความมัน่ คงและแข็งแรงของอาคาร ส่ วนที่สาม ต้องรู ้
หลักการส่ งถ่ายแรงและลําดับการออกแบบองค์อาคารต่างๆของอาคาร ซึ่ งจะทําให้เรารู ้ว่าควรจะวาง
ลําดับการวิเคราะห์และออกแบบองค์อาคารอะไรก่อนและหลัง ส่ วนที่สี่ ต้องรู ้วิธีการจัดกลุ่มขององค์
อาคารต่างๆซึ่ งจะช่วยทําให้การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างสะดวกและรวดเร็ วยิง่ ขึ้น แต่ตอ้ งไม่
ลืมเรื่ องของระบบหน่วยวัด ซึ่ งต้องเข้าใจวิธีการแปลงหน่วยไปมาระหว่างระบบหน่ วยวัดต่างๆ ทั้งนี้
เพราะการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างต้องถูกต้องทั้งในส่ วนเชิงตัวเลขและหน่วยวัดด้วยเสมอ
บทที่ 2

นํา้ หนักบรรทุกเพือ่ การออกแบบโครงสร้ างอาคาร

นํ้าหนักบรรทุกเป็ นระบบแรงภายนอกซึ่ งเมื่อกระทําต่อส่ วนต่างๆของโครงสร้าง จะ


ยังผลให้โครงสร้างส่ วนนั้นๆเกิดระบบแรงต้านภายในแล้วแสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมาให้
เห็นในลักษณะของการเปลี่ยนรู ป จึงต้องมีการออกแบบด้านความแข็งแรงให้กบั ส่ วนต่างๆของ
โครงสร้างเพื่อรองรับกับผลตอบสนองนั้นๆ จะเห็นได้ว่าในโครงสร้างอาคารหนึ่ งๆที่จะก่อสร้าง
จริ ง หากในขั้นตอนการวิเคราะห์โครงสร้างมีการคิดคํานวณหานํ้าหนักบรรทุกไม่ละเอียดรอบ
ครอบหรื อไม่ถูกต้องตามสภาพความเป็ นจริ งแล้ว ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาคือความสู ญเสี ยทั้งในส่ วน
ของโครงสร้างเองรวมทั้งชี วิตและทรัพย์สินของผูใ้ ช้หรื อเกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคารนั้นๆด้วย
ดังนั้นการเรี ยนรู ้และทําความเข้าใจในส่ วนของนํ้าหนักบรรทุกจึงมีความสําคัญเป็ นอย่างยิง่ ในลําดับ
ต้นๆของกระบวนการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคาร หากแต่การที่จะศึกษาในส่ วนนี้ ให้
เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นนั้น ผูเ้ รี ยนจําเป็ นต้องผ่านการศึกษาด้านการเขียนแบบก่อสร้างมาก่อนแล้วเป็ น
พื้นฐาน อย่างน้อยที่สุดคือต้องสามารถอ่านและทําความเข้าใจในแบบก่อสร้างได้
ในทางปฏิบตั ิน้ นั นํ้าหนักบรรทุกต่างๆจะหาได้ก็ต่อเมื่อแบบก่อสร้างของโครงสร้าง
อาคารที่จะออกแบบได้ถูกเขียนขึ้นมาก่อนแล้ว โดยนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อโครงสร้ างมีท้ งั
แบบกระทําในแนวดิ่งประกอบด้วย นํ้าหนักบรรทุกคงที่ นํ้าหนักบรรทุกจร และแบบกระทําใน
แนวราบประกอบด้วย แรงลม นํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหว แต่น้ าํ หนักบรรทุกทั้ง 2 แบบ
ดังกล่าวยังแบ่งออกได้อีก 2 ลักษณะคือ นํ้าหนักบรรทุกจริ งซึ่ งคํานวณหาค่าได้จากแบบก่อสร้าง
และนํ้าหนักบรรทุกจําลองซึ่ งได้จากการแปลงรู ปมาจากนํ้าหนักบรรทุกจริ ง ซึ่ งในการจําลองและ
วิเคราะห์โครงสร้างนํ้าหนักบรรทุกที่ใช้คือนํ้าหนักบรรทุกจําลอง ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็ นเนื้ อหาที่
ผูเ้ รี ยนจะได้เรี ยนในบทนี้

2.1 ความหมาย
นํ้าหนักบรรทุก ในที่น้ ี หมายถึง ระบบแรงภายนอกทั้งหมด (ทั้งที่เกิดโดยเงื่อนไขของ
ธรรมชาติและเงื่ อนไขโดยผูใ้ ช้อาคารหรื อมนุ ษย์) ที่เมื่อกระทําต่อโครงสร้ างแล้ว ส่ งผลให้เกิ ด
ระบบแรงภายในและการเปลี่ยนรู ปต่อโครงสร้างนั้นๆ
24

นํ้าหนักบรรทุกคงที่หรื อนํ้าหนักบรรทุกตายตัว ตามมาตรฐานการออกแบบสําหรับ


อาคารคอนกรี ตเสริ มเหล็กโดยวิธีหน่ วยแรงใช้งาน ภาค 1 ทัว่ ไป ข้อที่ 1201 นิ ยามทัว่ ไป ได้ให้
ความหมายไว้ คือ นํ้าหนักบรรทุกคงที่ที่คาํ นวณมาได้ซ่ ึ งรองรับโดยองค์อาคาร แต่ผเู ้ ขียนขอขยาย
ความเพื่อผลของการนําไปใช้งาน คือ นํ้าหนักที่ถูกยึด ฝัง หรื อตรึ งให้อยูก่ บั ที่รวมถึงนํ้าหนักของตัว
โครงสร้างเอง
นํ้าหนักบรรทุกจร ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ให้ความหมายไว้คือ นํ้าหนักที่กาํ หนดว่าจะเพิ่มขึ้นบน
อาคารนอกจากนํ้าหนักของตัวอาคารนั้นเอง แต่ผเู ้ ขียนขอขยายความเพื่อผลของการนําไปใช้งาน
คือ นํ้าหนักที่ไม่ถูกยึด ฝัง หรื อตรึ งให้อยู่กบั ที่ ซึ่ งสามารถเคลื่อนย้ายหรื อเคลื่อนไหวได้โดยง่าย
ทั้งที่เคลื่อนที่โดยธรรมชาติเองหรื อโดยการใส่ กาํ ลังงานให้โดยมนุษย์

2.2 นํา้ หนักบรรทุกจริง

2.2.1 นํา้ หนักบรรทุกกระทําในแนวดิ่ง


2.2.1.1 นํ้าหนักบรรทุกคงที่ สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ DL. ประกอบด้วย 3 ส่ วน
หลักคือ นํ้าหนักขององค์อาคารเอง นํ้าหนักวัสดุแต่งผิว และนํ้าหนักประกอบอื่นๆนอกเหนื อจาก
สองส่ วนแรก

0 ภาพที่ 2.1 แสดงลักษณะการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกคงที่


0 ที่มา (Rob Munach, Online, 2011)
25

1) นํ้าหนักขององค์อาคารเอง สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ SW. ซึ่งสามารถหา


ได้โดยตรงจากขนาดของโครงสร้างและหน่วยนํ้าหนัก ของโครงสร้างเอง เช่น
(1) คอนกรี ตเสริ มเหล็ก SW. = 2,400 x กว้าง (ม.) x หนา (ม.); กก./ม.
หรื อ kg./m.
(2) คอนกรี ตอัดแรง SW. = 2,450 x กว้าง(ม.) x ความหนาพื้น (ม.);
กก./ม. หรื อ kg./m. + 2,400 x กว้าง (ม.) x ความหนาของ
คอนกรี ตเททับหน้า (ม.); กก./ม.
(3) บันไดคอนกรี ตเสริ มเหล็ก SW. = 12 x ความสูงลูกตั้ง (ซม.) +
24 x ความหนา(ซม.)
x ลูกนอน(ซม.) 2 + ลูกตั�ง(ซม.) 2 ; กก./ตร.ม.
ลูกนอน(ซม.)
(4) คานคอนกรี ตเสริ มเหล็ก SW. = 2,400 x กว้าง (ม.) x ลึก (ม.);
กก./ม.
(5) ผนัง-ครี บ คอนกรี ตเสริ มเหล็ก SW. = 2,400 x กว้าง (1 ม.) x สู ง
(ม.); กก./ม.
(6) เสาคอนกรี ตเสริ มเหล็ก SW. = 2,400 x พื้นที่หน้าตัดเสา (ตร.ม.)
x สู ง (ม.); กก.
(7) ฐานรากคอนกรี ตเสริ มเหล็ก(ฐานแผ่) SW. = 2,400 x กว้าง (ม.) x
ยาว (ม.) x หนา (ม.); กก.
(8) โครงหลังคา กรณี โครงข้อหมุนเหล็ก
- 1.024 x ความยาวโครงถักวัดจาก ปลาย ถึง ปลาย (ม.); กก./
ตร.ม.
ความยาวโครงถัก(ม.)
- + 5 ; กก./ตร.ม.
3
- ประมาณ 5% - 15% ของนํ้าหนักบรรทุก
(9) โครงหลังคา กรณี โครงข้อหมุนไม้
- เมื่อมุมยกของหลังคา > 30 องศา; 1.024 x ความยาวโครงถัก
วัดจาก ปลาย ถึง ปลาย (ม.); กก. /ตร.ม.
- เมื่อมุมยกของหลังคา < 30 องศา; 0.688 x ความยาวโครงถัก
วัดจาก ปลาย ถึง ปลาย (ม.) + 8.54 กก./ตร.ม.
2) นํ้าหนักวัสดุแต่งผิว สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ FL.ซึ่งสามารถหาได้ท้ งั จาก
ประสบการณ์และจากบริ ษทั ผูผ้ ลิต ดังแสดงในตารางที่ 2.1
26

ตารางที่ 2.1 แสดงค่านํ้าหนักบรรทุกคงที่ของวัสดุชนิดต่างๆ


ชนิดของวัสดุ นํ้าหนักบรรทุก หน่วย
คอนกรี ตล้วน (หน่วยนํ้าหนัก) 2,323 กก./ลบ.ม.
คอนกรี ตเสริ มเหล็ก (หน่วยนํ้าหนัก) 2,400 กก./ลบ.ม.
คอนกรี ตอัดแรง (หน่วยนํ้าหนัก) 2,450 กก./ลบ.ม.
ไม้ (หน่วยนํ้าหนัก) 1,100 กก./ลบ.ม.
เหล็ก (หน่วยนํ้าหนัก) 7,850 กก./ลบ.ม.
แผ่นยิปซัม่ 880 กก./ลบ.ม.
ปูนฉาบ 1,685 กก./ลบ.ม.
ดินทัว่ ๆไป 1,600 กก./ลบ.ม.
ดินแน่น 1,900 กก./ลบ.ม.
กระเบื้องราง 18 กก./ลบ.ม.
กระเบื้องลอนคู่ 14 กก./ตร.ม.
กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็ก 12 กก./ตร.ม.
กระเบื้องลูกฟูกลอนใหญ่ 17 กก./ตร.ม.
สังกะสี 5 กก./ตร.ม.
Metal Sheet 5 – 10; 7,850t กก./ตร.ม.
แปไม้ (สําหรับงานทัว่ ไป) 5 กก./ตร.ม.
แปเหล็ก (สําหรับงานทัว่ ไปที่ช่วงไม่ใหญ่มาก) 7 - 10 กก./ตร.ม.
พื้นไม้หนา 1 นิ้ว รวมตรง 30 กก./ตร.ม.
อิฐมอญก่อครึ่ งแผ่นฉาบเรี ยบสองด้าน 180 กก./ตร.ม.
อิฐมอญก่อเต็มแผ่นฉาบเรี ยบสองด้าน 360 กก./ตร.ม.
ผนังกระจก 5 กก./ตร.ม.
ผนังกระเบื้องแผ่นเรี ยบหนา 4 มม. 7 กก./ตร.ม.
ผนังกระเบื้องแผ่นเรี ยบหนา 8 มม. 14 กก./ตร.ม.
ผนังอิฐบล็อกหนา 10 มม. 100 กก./ตร.ม.
ผนังคอนกรี ตบล็อก 10 มม. 100 - 150 กก./ตร.ม.
ผนังคอนกรี ตบล็อก 15 มม. 170 - 180 กก./ตร.ม.
27

ตารางที่ 2.1 (ต่อ) แสดงค่านํ้าหนักบรรทุกคงที่ของวัสดุชนิดต่างๆ


ชนิดของวัสดุ นํ้าหนักบรรทุก หน่วย
ผนังคอนกรี ตบล็อก 20 มม. 220 - 240 กก./ตร.ม.
ฝาไม้ ½” รวมคร่ าว 22 กก./ตร.ม.
ผนังก่ออิฐบล็อกแก้วและอิฐมวลเบา 90 กก./ตร.ม.
ผนังเซลโลกรี ต + ไม้คร่ าว 30 กก./ตร.ม.
ผนังแผ่นเอสเบสโตลักส์ 5 กก./ตร.ม.
กระเบื้องคอนกรี ต เช่น ซีแพ็คโมเนียร์ 50 - 60 กก./ตร.ม.
ที่มา (ดัดแปลงจาก นรมิตร ลิ้วธนมงคล, 2538)
3) นํ้าหนักประกอบอื่นๆ สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ etc. เป็ นนํ้าหนักที่ถูก
นํามา เกาะเกี่ยว ยึดหรื อตรึ งเข้ากับส่ วนต่างๆของโครงสร้าง ส่ วนการจะเลือกใช้ค่านํ้าหนักเท่าใด
นั้นอาจเลือกใช้ได้จากตารางรวบรวมข้อมูลที่เป็ นที่ยอมรับ หรื อจากแค็ตตาล็อกตัวอย่างสิ นค้า รวม
ไปถึงการใช้โดยกําหนดขึ้นจากประสบการณ์ของผูอ้ อกแบบเอง แต่ท้ งั นี้ท้ งั นั้นโดยรวมแล้วตัวเลข
ดังกล่าวจะเป็ นค่าโดยประมาณทั้งสิ้ น เช่น
(1) ราวบันได ราวระเบียง ผนังกั้นห้องสําเร็ จรู ป ม่าน-มู่ลี่ ระบบงาน
ฝ้ าเพดาน ประตู-หน้าต่าง (รวมถึงช่ องเปิ ดต่างๆในผนังและแผ่นพื้น) โทรทัศน์-พัดลม จานรั บ
สัญญาณดาวเทียม เสาอากาศวิทยุ-โทรทัศน์ ป้ ายโฆษณา ถังนํ้าสําเร็ จรู ป ระบบลิฟต์ ระบบเครนและ
กว้าน โต๊ะ-เก้าอี่ ในส่ วนที่ ยึดอยู่กบั ที่ (เช่ น ในห้องเรี ยน โรงภาพยนตร์ ห้องประชุ ม ลฯ) ระบบ
อุปกรณ์ฉายภาพต่างๆ ระบบอุปกรณ์ช่วยระบายอากาศ-ความร้อน-ควันต่างๆ ระบบป้ องกันเสี ยง
ระบบป้ องกันความร้อน ระบบป้ องกันไฟไหม้ต่างๆ ระบบเครื่ องจักรกล ตูค้ วบคุมต่างๆ ลฯ ค่าตัว
เลขที่ใช้ข้ ึนอยูก่ บั ดุลยพินิจและประสบการณ์ของผูอ้ อกแบบ รวมถึงแค็ตตาล็อกตัวอย่างสิ นค้าต่างๆ
(2) อุ ปกรณ์ งานระบบต่างๆ เช่ น ระบบท่องานประปา-สุ ขาภิ บาล-
ระบายนํ้า ระบบท่อดับเพลิง งานระบบทําความเย็น ระบบไฟฟ้ าดวงโคม ระบบท่อแก๊ส ฯล ตัว
เลขที่จะใช้ข้ ึนอยู่กบั ดุลยพินิจและประสบการณ์ของผูอ้ อกแบบ หรื ออาจใช้ค่าโดยประมาณดังนี้
งานระบบฝ้ าเพดาน = 10 – 15 กก./ตร.ม. งานระบบอุปกรณ์ดบั เพลิง = 5 - 10 กก./ตร.ม. งานระบบ
อุปกรณ์ไฟฟ้ า = 10 - 15 กก./ตร.ม. งานระบบอุปกรณ์ทาํ ความเย็น = 10 - 15 กก./ตร.ม.
2.2.1.2 นํ้าหนักบรรทุกจร สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ LL. ต้องใช้ข้ นั ตํ่าให้เป็ นไป
ตามข้อกําหนดหรื อกฎหมายที่ ประกาศใช้ในแต่ละเขตท้องที่ ที่จะทําการออกแบบและก่ อสร้ าง
อาคาร
28

0 ภาพที่ 2.2 แสดงลักษณะการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกจรบนอาคาร


0 ที่มา (Rob Munach, Online, 2011)
1) นํ้าหนักบรรทุกจรสําหรับอาคารแต่ละประเภทและส่ วนประกอบของ
อาคาร ซึ่ งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ข้อที่ 15 ออกตามความในพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กําหนดให้ใช้ค่าโดยเฉลี่ยไม่ต่าํ กว่าดังแสดงไว้ในตารางที่ 2.2 (ซึ่งเป็ นค่า
ตํ่าสุ ดที่แนะนําให้ใช้ โดยค่าในตารางดังกล่าวได้เผื่อนํ้าหนักที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณี เหตุสุดวิสัย
หรื อนํ้าหนักบรรทุกที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะก่อสร้าง รวมถึงได้เผื่อนํ้าหนักเพื่อป้ องกันการสั่นไหว
ของอาคารไว้ดว้ ย)
ตารางที่ 2.2 แสดงค่านํ้าหนักบรรทุกจรสําหรับอาคารแต่ละประเภทและส่ วนประกอบของอาคาร
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ข้อที่ 15
นํ้าหนักบรรทุก
ประเภทและส่วนประกอบของอาคาร
(กก./ตร.ม.)
1. หลังคา (ที่มุงด้วยวัสดุแผ่นมุงทัว่ ๆไป) 30
2. หลังคาคอนกรี ตหรื อกันสาด 100
3. ที่พกั อาศัย โรงเรี ยนอนุบาล รวมถึงห้องนํ้า-ห้องส้วม 150
4. อาคารชุด หอพัก โรงแรม ห้องแถว ตึกแถวที่ใช้เพื่อพักอาศัย ห้อง
200
คนไข้พิเศษโรงพยาบาล
5. อาคารสํานักงาน ธนาคาร 250
29

ตารางที่ 2.2 (ต่อ) แสดงค่านํ้าหนักบรรทุกจรสําหรับอาคารแต่ละประเภทและส่ วนประกอบของ


อาคาร ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ข้อที่ 15
นํ้าหนักบรรทุก
ประเภทและส่วนประกอบของอาคาร
(กก./ตร.ม.)
6. (ก.) โรงเรี ยน โรงพยาบาล วิทยาลัย มหาวิทยาลัย อาคารพาณิ ชย์
ส่ วนของห้องแถว และตึกแถวที่ใช้เพื่อการพาณิ ชย์
300
(ข.) ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินของ อาคารชุด อาคารสํานักงาน
และธนาคาร หอพัก โรงแรม
7. (ก.) ตลาด ภัตตาคาร ห้างสรรพสิ นค้า โรงมหรสพ หอประชุม ห้อง
ประชุม ห้องอ่านหนังสื อในห้องสมุดหรื อหอสมุด ที่จอดหรื อเก็บรถยนต์นง่ั
หรื อรถจักรยานยนต์ 400
(ข.) ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินของ อาคารพาณิ ชย์ โรงเรี ยน
วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
8. (ก.) โรงกีฬา อัฒจันทร์ พิพิธภัณฑ์ คลังสิ นค้า โรงงานอุตสาหกรรม
โรงพิมพ์ ห้องเก็บเอกสารและพัสดุ
500
(ข.) ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินของ ตลาด ห้างสรรพสิ นค้า
ภัตตาคาร โรงมหรสพ หอประชุม ห้องประชุม หอสมุดและห้องสมุด
9. ห้องเก็บหนังสื อของหอสมุดหรื อห้องสมุด 600
10. ที่จอดหรื อเก็บรถบรรทุกเปล่าและรถอื่นๆ 800
ที่มา (พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, หน้าที่ 10)
แต่เนื่ องจากว่านํ้าหนักบรรทุกจรบนอาคารในตารางดังกล่าว มีโอกาสหรื อเป็ นไปได้
น้อยที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น หรื อกระทํา พร้ อมๆกัน เต็มพื้น ที่ ที่ออกแบบ ดังนั้นในกรณี ของการออกแบบ
โครงสร้างอาคารที่สูงมากกว่า 23 ม. เฉพาะส่ วนของคาน เสาและฐานราก จึงต้องมีการลดส่ วนของ
นํ้าบรรทุกจรดังกล่าวลงตามชั้นของอาคาร ทั้งนี้เพื่อให้ผลที่ได้จากการวิเคราะห์และออกแบ มีความ
ใกล้เคียงกับสภาพความเป็ นจริ งให้มากที่สุด ซึ่ งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ข้อที่ 19
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กาํ หนดให้ใช้ค่าดังแสดงในตารางที่
2.3
30

ตารางที่ 2.3 แสดงการลดส่ วนของนํ้าหนักบรรทุกจรบนอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.


2527) ข้อที่ 19 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522
อัตราการลดนํ้าหนักบรรทุกบนพื้นแต่ละ
ลําดับชั้นที่ที่มีการลดนํ้าหนักบรรทุกจร
ชั้น (%)
หลังคาหรื อดาดฟ้ า
0
ชั้นที่ 1 และ 2 นับถัดจากหลังคา-ดาดฟ้ า
ชั้นที่ 3 นับถัดจากหลังคา-ดาดฟ้ า 10
ชั้นที่ 4 นับถัดจากหลังคา-ดาดฟ้ า 20
ชั้นที่ 5 นับถัดจากหลังคา-ดาดฟ้ า 30
ชั้นที่ 6 นับถัดจากหลังคา-ดาดฟ้ า 40
ชั้นที่ 7 นับถัดจากหลังคา-ดาดฟ้ า และชั้นต่อๆลง 50
ที่มา (พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, หน้าที่ 10)
2) นํ้าหนักบรรทุกจรบนสะพานและทางเท้า ใช้สาํ หรับการวิเคราะห์และ
ออกแบบโครงสร้างสะพาน ช่องทางเท้าด้านข้างของสะพาน สําหรับคนเดินเท้าและรถจักรยานยนต์
ข้าม ซึ่ งในส่ วนของนํ้าหนักบรรทุกจรบนสะพาน มาตรฐานของ AASHTO ได้ให้ค่านํ้าหนัก
บรรทุกจรบนสะพานสําหรับรถแต่ละประเภทไว้สองลักษณะคือ นํ้าหนักบรรทุกเพลาจริ ง ดังแสดง
ในภาพที่ 2.3 และนํ้าหนักบรรทุกเทียบเท่าเพื่อใช้เทียบหรื อตรวจสอบชุดนํ้าหนักบรรทุกเพลาจริ ง
ดังแสดงในภาพที่ 2.4 ส่ วนนํ้าหนักบรรทุกจรบนทางเท้าเนื่ องจากคนเดินเท้าและรถจักรยานยนต์
ในการออกแบบพื้นทางเท้า คาน และส่ วนที่รองรับพื้นทางเท้าหรื อคาน จะต้องออกแบบให้รับ
นํ้าหนักบรรทุกจรได้ 415 กก./ตร.ม.
31

0 ภาพที่ 2.3 แสดงค่านํ้าหนักบรรทุกเพลาสําหรับรถแต่ละประเภทตามมาตรฐานของ AASHTO


0

0 ที่มา (Federal Highway Administration, Online, 2005)


0

0 ภาพที่ 2.4 แสดงนํ้าหนักบรรทุกเทียบเท่าเพื่อใช้เทียบหรื อตรวจสอบชุดนํ้าหนักบรรทุกเพลาจริ ง 0

ตามมาตรฐานของ AASHTO
0 ที่มา (Federal Highway Administration, Online, 2005)
0

2.2.1.3 นํ้าหนักกระแทก โครงสร้างอาคารใดก็ตามในขณะใช้งาน หากนํ้าหนัก


บรรทุกจรที่ ใช้สําหรั บโครงสร้ างอาคารดังกล่าว มี พฤติ กรรมการกระทําต่ อโครงสร้ างอาคาร
เป็ นไปในลักษณะของ การกระตุ ก กระชาก ตะกุย หรื อ กระแทก ขณะเคลื่ อนไหว เพื่อความ
ปลอดภัยในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารส่ วนนั้นๆ จะต้องคิดนํ้าหนักบรรทุกเพิ่ม
32

อันเป็ นผลเนื่ องมาจากพฤติกรรมดังกล่าวร่ วมด้วยเสมอ ทั้งนี้ หากไม่มีการกําหนดไว้เป็ นอย่างอื่น


ให้ใช้ค่าตัวคูณเพิ่มเนื่องจากแรงดังกล่าวได้ไม่นอ้ ยกว่าค่าดังนี้
1) กรณี โครงสร้างรับลิฟต์ ใช้ตวั คูณเพิ่มเท่ากับ 1.00 (เพิ่ม 100%)
2) กรณี โครงสร้างรับเครื่ องจักร (ขับเคลื่อนด้วยมอร์ เตอร์ /เพลา) ใช้ตวั
คูณเพิ่มเท่ากับ 0.20 (เพิ่ม 20%)
3) กรณี โครงสร้างรับเครื่ องจักร (ขับเคลื่อนด้วยลูกสูบ/ต้นกําลัง) ใช้ตวั
คูณเพิ่มเท่ากับ 0.50 (เพิ่ม 50%)
4) กรณี โครงสร้างแขวนรับพื้นหรื อเฉลียง ใช้ตวั คูณเพิ่มเท่ากับ 0.33
(เพิม่ 33%)
5) กรณี โครงสร้างคานและรอยต่อรับเครนหรื อปั่ นจัน่ วิ่ง ใช้ตวั คูณเพิ่ม
เท่ากับ 0.25 (เพิ่ม 25%)
(1) เมื่ อออกแบบคานหลัก นํ้าหนัก บรรทุ ก จรให้ใ ช้เท่ ากับ
นํ้าหนักบรรทุกสูงสุ ดที่ลอ้
(2) แรงที่ เ กิ ด ในคานหลัก ในทิ ศ ทางตามยาวของคานให้ใ ช้
เท่ากับ 0.10 เท่าของนํ้าหนักบรรทุกสูงสุ ดที่ลอ้
(3) แรงที่เกิดในคานหลักในทิศทางตั้งฉากกับคานให้ใช้เท่ากับ
0.20 เท่าของ (นํ้าหนักที่จะยก + นํ้าหนักของตัวเอง)

2.2.2 นํา้ หนักบรรทุกกระทําในแนวราบ


2.2.2.1 นํ้าหนักบรรทุกจากแรงลม สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ WL. แรงลมเป็ นแรง
กระทําในแนวราบและตั้งฉากกับอาคาร ที่ควบคุมไม่ได้และขึ้นอยูก่ บั เวลา แต่มีอิทธิ พลสําคัญเป็ น
อย่างยิง่ ต่อการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง และยิง่ ในสภาพการณ์ภูมิอากาศของโลกปั จจุบนั
แล้ว แรงลมยิ่ ง ทวี ค วามแปรปรวนและรุ น แรงมากขึ้ น ตามลํา ดับ สร้ า งความสู ญ เสี ย ให้ กับ
โครงสร้างอาคาร ชีวิตและทรัพย์สินของผูใ้ ช้อาคารเป็ นอย่างมาก มากจนเกินกว่าที่จะมองข้ามได้
ดังเช่นในอดีตที่ผา่ นมา
33

0 ภาพที่ 2.5 แสดงลักษณะการกระทําของแรงลมต่ออาคาร


0 ที่มา (Rob Munach, Online, 2011)
สําหรับในประเทศไทยที่ผา่ นมา แม้ว่าจะมีมาตรฐานแรงลมออกมาบังคับใช้ แต่
ยังปรากฏว่าผูท้ ี่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงรง กลับให้ความสนใจค่อนข้างน้อยในการนําไปใช้ในเชิง
ปฏิบตั ิ ทั้งๆที่รู้ว่าผลกระทบที่เกิดจากความไม่ใส่ ใจดังกล่าวนํามาซึ่ งความสู ญเสี ยมากมาย ที่ผา่ น
มาในประเทศไทยมีมาตรฐานแรงลมออกมาเพื่อการใช้งานจากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย
1) มาตรฐานแรงลมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (2527) ข้อที่ 17 ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522
2) มาตรฐานแรงลมที่ร่างโดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่ งประเทศไทย ปี พ.ศ.
2546
3) มาตรฐานแรงลมและการตอบสนองของอาคารที่ร่างโดยกรมโยธาธิ การและ
ผังเมือง ปี พ.ศ. 2550
จากมาตรฐานแรงลมทั้ง 3 ดังกล่าว หากจะเปรี ยบเทียบสําหรับในมุมมองของ
ผูเ้ ขียน มาตรฐานแรงลมที่มีความละเอียดถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพความเป็ นจริ งปั จจุบนั มาก
ที่สุด คือ มาตรฐานแรงลมและการตอบสนองของอาคารของกรมโยธาธิ การและผังเมือง ปี พ.ศ.
2550 แม้ว่า จะละเอี ย ดและถู ก ต้อ งมากกว่า แต่ ใ นทางกลับกัน การใช้งานกลับ ค่ อนข้างยุ่ง ยาก
ซับซ้อนมากขึ้ นซึ่ งอาจมี ผลต่อความนิ ยมที่ จะนํามาตรฐานดัง กล่ าวไปใช้ง านจริ งในเชิ งปฏิ บตั ิ
ในขณะที่มาตรฐานแรงลมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (2527) ข้อที่ 17 ออกตามความใน
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522 กลับเป็ นมาตรฐานแรงลมที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก และ
34

รวดเร็ ว จึงยังคงเป็ นมาตรฐานแรงลมที่นิยมใช้กนั อยู่ค่อนข้างมาก แม้ว่าจะมีความละเอียดถูกต้อง


เหมาะสมกับสภาพความเป็ นจริ งน้อยที่สุดก็ตาม
ดังนั้นในตําราเล่มนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะมาตรฐานแรงลม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่
6 (พ.ศ.2527) ข้อที่ 17 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กําหนดให้ใช้
แรงลม ดังแสดงในตารางที่ 2.4 เท่านั้น
ตารางที่ 2.4 แสดงแรงลมตามมาตรฐานแรงลมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (2527) ข้อที่ 17 ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522
ความสู งของอาคาร/ส่ วนประกอบอาคาร หน่วยแรงลมที่ใช้ต่าํ สุ ด (กก./ตร.ม.)
สูงไม่เกิน 10 เมตร (จากพื้นผิวโลก) 50
สูงอยูใ่ นช่วง 10 – 20 เมตร (จากพื้นผิวโลก) 80
สูงอยูใ่ นช่วง 20 – 40 เมตร (จากพื้นผิวโลก) 120
สูงกว่า 40 เมตร (จากพื้นผิวโลก) 160
ที่มา (พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, หน้าที่ 10)
หมายเหตุ
1) ค่ า ของแรงลมที่ แ สดงในตารางเป็ นแรงดัน ที่ ล มที่ ก ระทํา ต่ อ โครงสร้ า ง
รู ปทรง 4 เหลี่ยม เท่านั้น
2) แรงลมดังกล่าวเป็ นแรงดันลมที่กระทําในแนวราบตั้งฉากกับตัวโครงสร้าง
เท่านั้น
3) หากโครงสร้างใดวางขวางทิศทางลมและอยูใ่ นที่โล่ง ควรเพิ่มค่าแรงดันลม
ดังกล่าวให้มากกว่าค่าที่แสดงในตาราง ทั้งนี้ ให้เป็ นไปตามสภาพพื้นที่ตาม
ความเหมาะสม
พฤติกรรมพื้นฐานของแรงลมที่กระทําต่อโครงสร้างอาคารแบ่งเป็ น 2 ส่ วนคือ
ส่ วนที่หนึ่ ง เป็ นแรงลมที่กระทําต่อตัวอาคารเป็ นในลักษณะของแรงดันหรื อแรงปะทะกดที่ผิวใน
แนวราบและตั้งฉากกับอาคาร จะมีค่ามากหรื อน้อยในเบื้องต้น ขึ้นอยู่กบั รู ปทรงและปริ มาณช่ อง
เปิ ดของตัวอาคาร ส่ วนที่สอง เป็ นแรงลมที่กระทําต่อหลังคาซึ่ งเกิดจากการแตกแรงลมที่กระทําใน
แนวราบให้เข้าตั้งฉากกับหลังคา (ทั้งทางด้านต้นลมและท้ายลม) ดังแสดงในภาพที่ 2.6 ซึ่ งอาจ
เป็ นได้ท้ งั แรงกดและแรงดูด (หรื อแรงยก) ทั้งนี้ ข้ ึนอยู่กบั ลักษณะรู ปทรงของหลังคา ดังแสดงใน
ภาพที่ 2.7 และมุมลาดเอียงหลังคา ซึ่ งโดยปกติทวั่ ไปแล้วหากมุมลาดเอียงของหลังน้อยกว่า 25
องศาจะเกิดแรงดูดทั้งที่ดา้ นต้นลมและท้ายลม ในทางตรงกันข้ามหากมุมลาดเอียงของหลังมากกว่า
25 องศาจะเกิดแรงกดที่ดา้ นต้นลมและแรงดูดด้านท้ายลม
35

Pn = แรงลมกระทําในแนวตั้งฉาก
ด้านต้นลม กับหลังคา = (2Psinθ)/(1+sin2θ)

ด้านท้ายลม

θθ

P = แรงลมกระทําในแนวราบตั้งฉากกับตัวอาคาร
0 ภาพที่ 2.6 แสดงผลของแรงลมกระทําต่อหลังคาและตัวอาคาร

0 ภาพที่ 2.7 แสดงรู ปทรงของหลังคาที่มีผลต่อแรงดูดของแรงลม


0 ที่มา (Krishna, P., Kuma, K., & Bhandari., N.M., 2002)
0
36

0 ภาพที่ 2.7 (ต่อ) แสดงรู ปทรงของหลังคาที่มีผลต่อแรงดูดของแรงลม


0 ที่มา (Krishna, P., Kuma, K., & Bhandari., N.M., 2002)
0

การคํานวณหาค่าแรงลมที่กระทําต่อส่ วนต่างๆขององค์อาคารนั้น โดยทัว่ ไปหา


ได้จาก 2 วิธีการ คือ วิธีที่หนึ่ง คํานวณหาแรงลมกระทําต่อจุดต่อขององค์อาคาร โดยมองว่าแรงลม
กระทําตั้งฉากกับพื้นที่ผวิ ภาพฉายโดยรอบจุดต่อนั้นๆในลักษณะของนํ้าหนักบรรทุกกระทําเป็ นจุด
วิธีน้ ี ค่อนข้างง่าย สะดวกและรวดเร็ ว จึงเป็ นที่นิยมใช้อย่างแพร่ หลาย ดังแสดงในภาพที่ 2.8 ส่ วน
วิธีที่สอง คํานวณหาแรงลมกระทําต่อพื้นผิวขององค์อาคาร โดยมองว่าแรงลมกระทําตั้งฉากกับ
พื้นที่ผวิ ขององค์อาคารนั้นๆในลักษณะของนํ้าหนักบรรทุกชนิ ดแผ่สมํ่าเสมอ วิธีน้ ีค่อนข้างละเอียด
และถูกต้องมากกว่าวิธีที่หนึ่ง
37

b1 b2
B
b1/2 b2/2 h1
F = P x พ.ท. รอบจุดต่อ
= P x (B x H), kg./จุดต่อ
h1/2 h1
H
h2/2
F

0 ภาพที่ 2.8 แสดงการคํานวณแรงลมกระทําที่จุดต่อขององค์อาคาร


2.2.2.2 นํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหว สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ EQ. เป็ นแรง
ในแนวราบกระทําโดยตรงที่ส่วนฐานของอาคารในรู ปแบบของแรงเฉื อน อันเป็ นผลมาจากความ
เฉื่ อยของโครงสร้ างเอง ดังนั้นแรงเฉื อนที่ ฐานจะมี ค่ามากหรื อน้อยขึ้ นอยู่กับนํ้าหนัก (นํ้าหนัก
บรรทุกคงที่) ของโครงสร้างโดยตรง ซึ่ งลักษณะการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกจากแรง
แผ่นดินไหวต่อโครงสร้างอาคาร ดังแสดงในภาพที่ 2.9
นํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหวยังคงเป็ นแรงที่ควบคุมไม่ได้และขึ้นอยู่กบั
เวลาเช่ น เดี ย วกับ แรงลม แต่ ก ลับ มี อิ ท ธิ พ ลสํา คัญ เป็ นอย่า งยิ่ ง ต่ อ การวิ เ คราะห์ แ ละออกแบบ
โครงสร้าง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแรงลม ยิ่งในสภาพการณ์ภูมิประเทศของแผ่นเปลือกโลกปั จจุบนั
แล้ว จะเห็นว่ามีการเกิดแผ่นดินไหวถี่และรุ่ นแรงมากขึ้นเรื่ อยๆ และยังขยายผลไปยังทุกประเทศทัว่
โลก สร้ า งความสู ญ เสี ย ให้กับ โครงสร้ า งอาคารทุ ก ประเภทที่ อ ยู่ใ นรั ศ มี ก ารสั่น สะเทื อ น ทั้ง
โครงสร้างอาคารบนดินและใต้ดิน รวมถึงชี วิตและทรัพย์สินของผูใ้ ช้อาคารด้วย ดังนั้นจึงไม่ควร
ละเลยที่ จ ะรวมนํ้า หนัก บรรทุ ก จากแรงแผ่น ดิ น ไหวเข้า มาร่ ว มพิ จ ารณาในการวิ เ คราะห์ แ ละ
ออกแบบโครงสร้ างด้วยเสมอ สําหรั บในประเทศไทย พื้นที่ บริ เวณใด อาคารประเภทไหน ที่
จะต้องนํ้า หนัก บรรทุ ก จากแรงแผ่น ดิ น ไหวเข้า มาร่ ว มพิ จ ารณาในการวิเ คราะห์ แ ละออกแบบ
โครงสร้างหรื อไม่ ขึ้นอยูก่ บั การบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับนํ้าหนักบรรทุกจาก
แรงแผ่นดินไหว ซึ่ งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522 เช่น มาตรฐาน
นํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดิ นไหว ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (2540) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522 ซึ่ งปั จจุบนั ยกเลิกและเปลี่ยนมาใช้ กฎกระทรวง
38

กําหนดการรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการ


ต้านทานแรงสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 แทน

0 ภาพที่ 2.9 แสดงลักษณะการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหวต่อส่ วนฐานของอาคาร


0 ที่มา (Rob Munach, Online, 2011)
สํา หรั บ ในประเทศไทยที่ ผ่า นมา มี อ ย่า งน้อ ยสองหน่ ว ยงานที่ ร่ า งมาตรฐาน
เกี่ยวกับนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหวออกมาเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย
1) ตามมาตรฐานของ กฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (2540) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522 ซึ่ งปั จจุบนั ยกเลิกและเปลี่ยนมา
ใช้ กฎกระทรวง กําหนดการรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของ
อาคารและพื้ น ดิ น ที่ ร องรั บ อาคารในการต้า นทานแรงสั่ น สะเทื อ นของ
แผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 แทน
2) มาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของ
แผ่นดินไหว กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2550
แต่ในตําราเล่มนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะมาตรฐานนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหว
ตามกฎกระทรวง กําหนดการรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับ
อาคารในการต้านทานแรงสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 (ส่ วน กฎกระทรวง ฉบับที่ 49 ปี
พ.ศ. 2540 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522 นั้นยกเลิกแล้ว) เท่านั้น ซึ่ ง
ได้แบ่งเขตเสี่ ยงภัยต่อการเกิ ดแผ่นดิ นไหวไว้เป็ น 4 เขต ดังแสดงในภาพที่ 2.10 คือ เขตพื้นที่ 0
(Zone 0) มีความรุ นแรงน้อยกว่า 3 หน่วยเมอร์ แคลลี่ เขตพื้นที่ 1 (Zone 1) มีความรุ นแรง 3 - 5
39

หน่วยเมอร์แคลลี่ เขตพื้นที่ 2 (Zone 2A) มีความรุ นแรง 5 - 7 หน่วยเมอร์ แคลลี่ เขตพื้นที่ 3 (Zone
2B) มีความรุ นแรง 7 - 8 หน่วยเมอร์แคลลี่ อาคารที่อยูใ่ นเขตนี้อาจเสี ยหายปานกลาง
ผลของนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดิ นไหวทําให้เกิดแรงเฉื อนที่ส่วนฐานของ
อาคาร ซึ่ งในปั จจุบนั มีวิธีการวิเคราะห์หาแรงดังกล่าวอยู่ 2 วิธี กล่าวคือ วิธีที่หนึ่ ง เรี ยกว่าวิธีทาง
พลศาสตร์ ซึ่ ง เป็ นวิ ธี ที่ ล ะเอี ย ดและถู ก ต้อ ง แต่ ค่ อ นข้า งยุ่งยาก วิ ธี ที่ส อง เรี ย กว่า วิ ธี แ รงสถิ ต
เทียบเท่า ซึ่ งเป็ นวิธีที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ ว ไม่ยงุ่ ยากเหมือนวิธีทางพลศาสตร์ แต่ในที่น้ ี ผเู ้ ขียน
จะกล่าวถึงเฉพาะวิธีแรงสถิตเทียบเท่า เท่านั้น ซึ่ งสมาคมวิศวกรรมสถานแห่ งประเทศไทยอนุโลม
ให้ใช้วิธีน้ ีแทนวิธีทางพลศาสตร์ได้ แต่โครงสร้างอาคารต้องอยูภ่ ายใต้กรอบข้อจํากัดบางประการ
เช่น รู ปทรงโดยรวมของอาคารต้องมีความสมมาตร และมีความสู งได้ไม่เกิน 75 เมตร ที่สาํ คัญคือ
แรงดังกล่าวจะต้องจัดวางให้กระทําผ่านจุดศูนย์กลางมวล (cm.) และจุดศูนย์กลางความแข็งเกร็ ง
(cr.) ของโครงสร้างเท่านั้น ดังแสดงในภาพที่ 2.11 แต่ให้พึงระวังในกรณี ที่แรงกระทําในแนวราบ
มีท้ งั แรงลมและนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหวพร้อมๆกัน ตามกฎกระทรวง กําหนดการรับ
นํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดิ นที่รองรั บอาคารในการต้านทาน
แรงสัน่ สะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ข้อที่ 4 ระบุไว้ว่าในการวิเคราะห์และออกแบบส่ วน
ต่ า งๆของโครงสร้ า งอาคาร ให้ใ ช้ผ ลที่ ม ากที่ สุ ด ที่ เ กิ ด จากแรงลมและนํ้า หนัก บรรทุ ก จากแรง
แผ่นดินไหวค่าใดค่าหนึ่งเท่านั้น
การคิดผลของแรงลมและนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหวที่มีต่อโครงสร้าง
นั้น ตามหลักการที่ถูกต้องแล้วจะต้องให้แรงทั้งสองส่ วนกระทําอย่างน้อยใน 2 แนวแกนที่ต้ งั ฉาก
กัน เสมอ แต่ ถ ้า หากต้อ งการผลที่ ล ะเอี ย ดมากยิ่ง ขึ้ น จะต้อ งให้แ รงทั้ง สองส่ ว นกระทํา ใน 2
แนวแกนที่ต้ งั ฉากกันและกระทําเป็ นมุมเอียงกับโครงสร้างอาคารด้วย เช่น นํ้าหนักบรรทุกกรณี ที่ 3
: 0.75[นํ้าหนักบรรทุกคงที่ (DL) + นํ้าหนักบรรทุกจรบนอาคาร (LL) + แรงลม (WL) หรื อนํ้าหนัก
บรรทุกจากแรงแผ่นดินไหว (EQ)] สามารถทําได้ดงั นี้ 0.75[(DL) + (LL) + (WLx)], 0.75[(DL) +
(LL) + (WLy)], 0.75[(DL) + (LL) + (WLxy)], 0.75[(DL) + (LL) + (WLx)], 0.75[(DL) + (LL) +
(WLy)], 0.75[(DL) + (LL) + (WLxy)]
40

ภาพที่ 2.10 แสดงแผนที่เขตเสี่ ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุ งครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548)


ที่มา (กรมทรัพยากรธรณี , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม, ออนไลน์, 2551)
0 0 0
41

จุดศูนย์กลางมวล (cm.) และจุดศูนย์กลาง


ความแข็งเกร็ งของโครงสร้าง (cr.)

2D
3D F4
F4

F3 F3

F2 F2

F1 F1

ภาพที่ 2.11 แสดงตําแหน่งที่น้ าํ หนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหวกระทําต่อโครงสร้าง


กรณี 3D และ 2D
ซึ่ งตามกฎกระทรวง กําหนดการรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของ
อาคารและพื้นดิ นที่รองรั บอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550
กําหนดให้หานํ้าหนักบรรทุกเนื่ องจากแรงแผ่นดิ นไหวที่กระทําต่อโครงสร้าง ดังแสดงในภาพที่
2.12 ได้จากสมการ ดังนี้
V = ZIKCSW สมการที่ 2.1
(V−Ft)Wxhx
Fi = ∑n สมการที่ 2.2
i=1 Wihi

เมื่อ
V = แรงเฉื อนกระทําที่ฐานของโครงสร้าง (มีผรู ้ ู ้แนะนํา 0.10W ≤ V ≤ 0.35W)
Z = สปส. ขึ้นอยูก่ บั เขตแผ่นดินไหว
− zone 1; Z = 0.1875
− zone 2; Z = 0.375
I = สปส. ขึ้นอยูก่ บั ความสําคัญของโครงสร้าง (1.00-1.50)
− โรงพยาบาล สถานีดบั เพลิง อาคารศูนย์สื่อสาร = 1.50
− อาคารที่ชุมนุมคนครั้งหนึ่งๆ เกิน 300 คน = 1.25
42

− อาคารอื่น ๆ = 1.00
K = สปส. ขึ้นอยูก่ บั ประเภทของโครงสร้าง (0.67-1.33)
− โครงสร้างที่ให้กาํ แพงรับแรงเฉื อน หรื อโครงแกงแนงรับแรง
ทั้งหมดแนวราบ ใช้ = 1.33
− โครงข้อแข็งรับแรงทั้งหมดแนวราบใช้ = 0.67
− โครงสร้ างที่ ออกแบบให้โครงข้อแข็งรั บแรงร่ วมกับกําแพงรั บ
แรงเฉื อนหรื อโครงแกงแนงรับแรงทั้งหมดแนวราบใช้ = 0.80
− หอถังนํ้า รองรับด้วยเสาไม่นอ้ ยกว่า 4 ต้นและมีแกงแนงยึดไม่ได้
ตั้งอยูบ่ นอาคารใช้ = 2.50
− โครงอาคารอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ใช้ = 1.00
C = สปส. ขึ้นอยูก่ บั คุณสมบัติทางพลศาสตร์ของโครงสร้าง
1 0.90h
− C = 15√T ≤ 0.12 และ T = โดย h = ความสู งทั้งหมด
√D
และ D = ความกว้างอาคารด้านที่ขนานนํ้าหนักบรรทุกจากแรง
แผ่นดินไหว (โดย 0.12 ≤ KC ≤ 0.25)
S = สปส. ความสัมพันธ์ระหว่างชั้นดินและโครงสร้าง (1.00-1.50)
− S ชั้นหิ น = 1.0
− S ชั้นดินแข็ง = 1.2
− S ชั้นดินอ่อน = 1.5
W = นํ้าหนักบรรทุกคงที่ท้ งั หมดของโครงสร้าง
Ft = แรงกระทําด้านข้างชั้นบนสุ ด = 0.07TV ≤ 0.25V
Fi = แรงที่ได้จากการกระจายแรงเฉื อนที่ฐานไปเป็ นแรงกระทําด้านข้างยังชั้น
ต่างๆ
43

F3 W3h3

h3

F2 W2h2

Fi h2 Wxhx

F1 W1h1

h1
V
D

ภาพที่ 2.12 แสดงสัญลักษณ์ตามกฎกระทรวง กําหนดการรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความ


คงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสัน่ สะเทือนของ
แผ่นดินไหว พ.ศ. 2550
2.3 นํา้ หนักบรรทุกจําลอง
เป็ นนํ้านักบรรทุกที่ แปรรู ปมาจากนํ้าหนักบรรทุกจริ ง วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการ
วิเคราะห์โครงสร้าง ดังนั้นก่อนการวิเคราะห์โครงสร้าง จะต้องมีการจําลองทั้งในส่ วนของนํ้าหนัก
บรรทุกและส่ วนต่างๆของอาคารเสี ยก่อนเสมอ มีท้ งั หมด 2 รู ปแบบใหญ่ใน 4 รู ปแบบย่อย ดังนี้คือ
2.3.1 นํา้ หนักบรรทุกกระทําเป็ นจุด
สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ P มีเพียงรู ปแบบเดียว เช่น แรงปฏิกิริยาที่ส่งผ่านแรงจาก
องค์อาคารที่วางอยูเ่ หนือขึ้นไป แรงลมและนํ้าหนักบรรทุกจากแรงแผ่นดินไหวที่กระทําเข้าจุดของ
องค์อาคารต่างๆ ดังแสดงในภาพที่ 2.13
44

2.3.2 นํา้ หนักบรรทุกชนิดแผ่ สมํ่าเสมอ


สัญลักษณ์ที่นิยมใช้คือ ω ลักษณะของการแผ่แบบสมํ่าเสมออาจจะแผ่เป็ น
บางส่ วนหรื อแผ่เต็มส่ วนก็ได้ ดังแสดงในภาพที่ 2.13 มีอยู่ 3 รู ปแบบ คือ
1) รู ปทรงสี่ เหลี่ยมแผ่สมํ่าเสมอ นํ้าหนักบรรทุกจริ งที่มีรูปแบบนี้ เช่ น นํ้าหนัก
บรรทุกคงที่ นํ้าหนักบรรทุกจร แรงดันนํ้าในแนวดิ่ง แรงดันดินในแนวดิ่ง
2) รู ปทรงสามเหลี่ยมแผ่สมํ่าเสมอนํ้าหนักบรรทุกจริ งที่มีรูปแบบนี้ เช่น แรงดัน
นํ้าในแนวราบ แรงดันดินในแนวราบ
3) รู ปทรงสี่ เหลี่ ย มคางหมูแ ผ่สมํ่าเสมอนํ้าหนักบรรทุ ก จริ ง ที่ มีรูปแบบนี้ เช่ น
แรงดันนํ้าในแนวราบ แรงดันดินในแนวราบของโครงสร้างที่จมอยู่ใต้ระดับ
ดินและนํ้า
P; kg.
ω; kg./m. ω; kg./m.
ω; kg./m.

ภาพที่ 2.13 แสดงรู ปแบบของนํ้าหนักบรรทุกจําลองเพือ่ ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้าง


บทที่ 3

วัสดุในงานออกแบบองค์ อาคารของโครงสร้ าง

แม้ว่าจะเข้าใจในกระบวนการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างมาบ้างแล้วเป็ นอย่างดี
แต่ถา้ หากยังขาดซึ่ งองค์ความรู ้พ้ืนฐานที่จาํ เป็ นของวัสดุ ซึ่ งจะใช้ในการออกแบบองค์อาคารของ
โครงสร้างแล้ว การออกแบบดังกล่าวทั้งหมดก็ไม่อาจเสร็ จสมบูรณ์ได้ ดังนั้นเนื้อหาในบทนี้จึงเน้น
ไปที่องค์ความรู ้ พ้ืนฐานด้านคุณสมบัติของวัสดุ ที่จาํ เป็ นและเพียงพอต่อการออกแบบโครงสร้าง
อาคารในเชิงปฏิบตั ิ โดยไม่เน้นไปในทางทฤษฎีและวิธีการทดสอบวัสดุ ประกอบด้วย องค์ความรู ้
ด้านคอนกรี ต ด้านเหล็กเสริ มคอนกรี ต ด้านเหล็กรู ปพรรณ ด้านดินและเสาเข็มรองรับฐานราก แต่
พึงระลึกอยู่เสมอว่าในการเลือกใช้วสั ดุ น้ ัน อย่างน้อยที่สุดต้องมีคุณสมบัติเป็ นไปตามมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เสมอ

3.1 คอนกรีต
เป็ นวัส ดุ ที่ สํา คัญ ในการก่ อสร้ างองค์อ าคารมากว่ า วัสดุ ประเภทอื่ น ๆ แต่ สิ่ ง ที่ วิศ วกร
ผูอ้ อกแบบต้องการหรื อคาดหวังจากคอนกรี ต คือ กําลังอัด กําลังเฉื อนและความคงทน ซึ่ งทั้ง 3
ส่ วนขึ้ น อยู่กับอัตราส่ วนนํ้าต่ อสารซี เมนต์และกระบวนการในการผลิ ต คอนกรี ต และในการ
ออกแบบองค์อาคารของโครงสร้าง มาตรฐานการออกแบบระบุให้ใช้คุณสมบัติของคอนกรี ตต้อง
เป็ นไปตามมาตรฐาน มอก. และควรมีการเก็บแท่งตัวอย่างคอนกรี ตเพื่อทดสอบคุณสมบัติ ซึ่ ง
จะต้องระบุไว้ในรายการประกอบแบบด้วย

3.1.1 กําลังอัดของคอนกรีต
ตามมาตรฐานสําหรับอาคารคอนกรี ตเสริ มเหล็กโดยวิธีหน่ วยแรงใช้งาน ภาค 1
ข้อที่ 1201 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ได้ให้นิยามไว้วา่ กําลังอัดของคอนกรี ต หาได้จากการทดสอบแท่งตัวอย่างคอนกรี ตขนาด Ø 15 cm.
x 30 cm. ซึ่งผสมด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ประเภทที่ 1 บ่มชื้นที่อายุ 28 วัน ตามวิธีการที่ระบุไว้ใน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 409
46

ข้อสังเกตจะเห็นว่า ทั้งมาตรฐานและข้อบัญญัติ กล่าวไว้ชดั เจนว่า กําลังอัดหาได้จาก


ผลการทดสอบแท่งตัวอย่างคอนกรี ตทรงกระบอกขนาด Ø 15 cm. x 30 cm. เท่านั้น
3.1.2 การใช้ งานเพือ่ การออกแบบ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.
2522 ระบุไว้วา่ ในการออกแบบองค์อาคารให้ใช้หน่วยแรงอัดได้ไม่เกินร้อยละ 37.50 ของกําลังอัด
แต่ตอ้ งไม่เกิน 65 ksc. นั้นหมายความว่าจะต้องใช้กาํ ลังอัดของคอนกรี ตไม่เกิน 173.33 ksc. แต่
ในทางปฏิบตั ิจะเห็นว่าการออกแบบองค์อาคาร ค่ากําลังอัดที่ใช้มกั นิยมใช้สูงกว่า 173.33 ksc. หรื อ
แม้แต่คอนกรี ตผสมเสร็ จตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 213-2553 ดังแสดงใน
ตารางที่ 4.1 ค่ากําลังอัดตํ่าสุ ดก็ยงั มีค่ามากกว่า 173.33 ksc. ซึ่ งหากเป็ นเช่นนี้ แนะนําว่าเมื่อมีการใช้
กําลังอัดสู งกว่า 173.33 ksc. หรื อใช้หน่วยแรงอัดที่ยอมให้สูงกว่า 65 ksc. ควรต้องมีกระบวนการ
ในการตรวจสอบกําลังอัดที่รอบครอบมากขึ้น เช่น ต้องมีการออกแบบส่ วนผสมของคอนกรี ต และ
ต้องมีการเก็บแท่งตัวอย่างคอนกรี ตไปทดสอบด้วย
การตัดสิ นใจว่าจะใช้ค่ากําลังอัดใดในการออกแบบองค์อาคารนั้น ขึ้นอยูก่ บั ดุลพินิจ
ของผูอ้ อกแบบเป็ นสําคัญ หลักการพื้นฐานคื อ หากต้องการความปลอดภัยก็ให้ใ ช้ค่าตํ่าๆ แต่
ในทางตรงกันข้ามขนาดขององค์อาคารที่ออกแบบก็จะโตขึ้น หรื ออาจใช้หลักการที่ว่า หากอาคาร
ที่จะก่อสร้างเป็ นที่เชื่อได้วา่ มีการควบคุมการก่อสร้างที่ดี ถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว สามารถที่จะ
ออกแบบองค์อาคารโดยใช้ค่ากําลังอัดสู งๆได้ โดยค่ากําลังอัดที่เป็ นมาตรฐานให้ใช้ตามค่าดังแสดง
ในตารางที่ 3.1
ตารางที่ 3.1 แสดงชั้น คุ ณ ภาพของคอนกรี ต ผสมเสร็ จ ตามมาตรฐานมาตรฐาน ผลิ ต ภัณ ฑ์ _
อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 213-2553
กําลังอัดที่อายุ 28 วัน (ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ประเภทที่ 1); ksc.
ชื่อประจําชั้นคุณภาพ แท่งตัวอย่างทรงกระบอก แท่งตัวอย่างทรงลูกบาศก์
ขนาด Ø-15 cm. x 30 cm. ขนาด 15 cm. x 15 cm.
C14.5/18 145 180
C17/21 170 210
C19.5/24 195 240
ที่มา (พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511, 2553, หน้าที่ 30)
47

ตารางที่ 3.1 (ต่อ) แสดงชั้นคุณภาพของคอนกรี ตผสมเสร็ จ ตามมาตรฐานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์_


อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 213-2553
กําลังอัดที่อายุ 28 วัน (ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ปอร์ดแลนด์
ประเภทที่ 1); ksc.
ชื่อประจําชั้นคุณภาพ
แท่งตัวอย่างทรงกระบอก แท่งตัวอย่างทรงลูกบาศก์
ขนาด Ø-15 cm. x 30 cm. ขนาด 15 cm. x 15 cm.
C23/28 230 280
C27/32 270 320
C30/35 300 350
C33/38 330 380
C35/40 350 400
C37/42 370 420
C40/45 400 450
C45/50 450 500
C50/55 500 550
ที่มา (พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511, 2553, หน้าที่ 30)

3.1.3 คุณสมบัติของคอนกรีต
คอนกรี ต เป็ นที่ ทราบโดยทัว่ ไปแล้วว่าเป็ นวัสดุ ที่มีคุณสมบัติเด่ นด้านการรั บ
แรงอัด และแรงเฉื อนได้ดี แต่ ใ นกระบวนการของการวิ เคราะห์ แ ละออกแบบโครงสร้ า งนั้น
จําเป็ นต้องทราบค่าคุณสมบัติพ้ืนฐานที่สาํ คัญด้วย เช่น
1) หน่วยนํ้าหนัก
3
− คอนกรี ตล้วน = 2,323 kg/m.
3
− คอนกรี ตเสริ มเหล็ก = 2,400 kg/m.
3
− คอนกรี ตอัดแรง = 2,450 kg/m.
2) สัมประสิ ทธ์การขยายตัวเชิงเส้นเนื่องจากอุณหภูมิ
6
− คอนกรี ตล้วน = 9.4 x 10 cm./cm.°C
6
− คอนกรี ตเสริ มเหล็ก = 7.7 x 10 cm./cm.°C
3) โมดูลสั ยืดหยุน่ = 4,270 x ω1.5 x √fc’ ksc.
48

3.1.4 หน่ วยแรงทีย่ อมให้ ของคอนกรีต


ในการออกแบบองค์อาคาร โดยทัว่ ไปนิยมใช้หน่วยแรงที่เกิดขึ้นในหน้าตัดเป็ น
ส่ วนควบคุมการออกแบบ ดังนั้นจะเห็นว่าหน่วยแรงที่ยอมให้ของวัสดุจึงมีความสําคัญต่อการใช้
เพื่อการตรวจสอบการออกแบบ โดยในที่น้ ี จะกล่าวถึงเฉพาะในส่ วนของหน่ วยแรงที่ยอมให้ตาม
มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
1) เมื่อรับแรงดัด
− หน่ วยแรงอัดที่ผว ิ fc = 0.45fc’ ksc. (เทศบัญญัติ กทม. ใช้ fc = 0.375fc’)
− หน่ วยแรงดึงที่ผว ิ (ในฐานรากและกําแพงคอนกรี ตล้วน) fc = 0.42√fc’
ksc.
2) เมื่อรับแรงเฉือน
− กรณี คานไม่เสริ มเหล็กรับแรงเฉื อน v = 0.29√fc’ ksc.

− กรณี คานที่เสริ มเหล็กรับแรงเฉื อน (เหล็กลูกตั้งหรื อคอม้า) v = 1.32√fc’


ksc.
− กรณี พ้นื ไร้คานและฐานราก (เป็ นแรงเฉื อนทะลวง) v = 0.53√fc’ ksc.
3) เมื่อรับแรงกด
− กรณี รับเต็มเนื้ อที่ fc = 0.25fc’ ksc.
− กรณี รับหนึ่ งในสามของเนื้ อที่ fc = 0.375fc’ ksc.
4) หน่วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างคอนกรี ตกับเหล็กเสริ ม
กรณี ของเหล็กข้ออ้อย
− กรณี เหล็กบนรับแรงดึง u = 2.2 √[fc’/∅] ≤ 25 ksc.

− กรณี เหล็กอื่นรับแรงดึง u = 3.23 √[fc’/∅] ≤ 35 ksc.

− กรณี เหล็กรับแรงอัด u = 1.72 √[fc’/∅] ≤ 28 ksc.


กรณี ของเหล็กกลมผิวเรี ยบ
− กรณี เหล็กบนรับแรงดึง u = 1.145√[fc’/∅] ≤ 11 ksc.

− กรณี เหล็กอื่นรับแรงดึง u = 1.615√[fc’/∅] ≤ 11 ksc.

− กรณี เหล็กรับแรงอัด u = 0.86√[fc’/∅] ≤ 11 ksc.


เมื่อ fc = กําลังอัดของคอนกรี ต, ksc.
fc’= กําลังอัดของแท่งตัวอย่างคอนกรี ต (รู ปทรงกระบอกหล่อด้วย
ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ปอร์ดแลนด์ประเภทที่หนึ่งบ่ม 28 วัน), ksc.
∅ = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริ ม, cm.
49

3.2 เหล็กเสริมคอนกรีต
เป็ นวัส ดุ ที่ สํา คัญ ในการก่ อ สร้ า งองค์อ าคารคอนกรี ต เสริ ม เหล็ก แต่ สิ่ ง ที่ วิ ศ วกร
ผูอ้ อกแบบต้องการหรื อคาดหวังจากเหล็กเสริ ม คือ กําลังดึงและความคงทน และในการออกแบบ
องค์อาคารของโครงสร้าง มาตรฐานการออกแบบระบุให้ใช้คุณสมบัติของเหล็กเสริ มต้องเป็ นไป
ตามมาตรฐาน มอก. และควรมีการเก็บตัวอย่างเพื่อทดสอบคุณสมบัติ ซึ่งจะต้องระบุไว้ในรายการ
ประกอบแบบด้วย
โดยทัว่ ไปเหล็กเสริ มที่ผลิตในประเทศไทย มีคุณสมบัติพ้นื ฐานที่สาํ คัญหรื ออีกนัยหนึ่ง
คือ ค่าคงที่ สําหรับใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบ ดังนี้
–6 0
− สัมประสิ ทธ์การขยายตัวเชิงเส้นเนื่ องจากอุณหภูมิ = 13 × 10 cm./cm. C
− โมดูลส ั ยืดหยุน่ = 2.0 – 2.1 × 106 ksc.
3
− หน่ วยนํ้าหนัก 7,850 kg./m.

3.2.1 เหล็กเส้ นกลมผิวเรียบ: ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.20-2544


เป็ นเหล็กเหนี ยวหน้าตัดกลมแต่ผิวเรี ยบ เหมาะสําหรับใช้ในงานก่อสร้างอาคาร
ทัว่ ๆไป ที่มีขนาดตั้งแต่เล็กจนถึงปานกลาง ที่ไม่ตอ้ งรับนํ้าหนักบรรทุกมาก ซึ่ งตามมาตรฐานของ
มอก. เหล็กเสริ มชนิดนี้ มีเพียงชั้นคุณภาพเดียว คือ SR-24 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-28 mm. มี
ความยาวต่อเส้น 10 และ 12 m. แต่ปกติแล้วจะยาว 10 m. ส่ วนความยาวที่นอกเหนื อจากขนาดดังกล่าว
สามารถสั่งพิเศษได้โดยตรงกับโรงงานผูผ้ ลิต ทุกเส้นของเหล็กที่ผลิตออกมาจะต้องมีตวั อักษรปั๊ มนูน
ที่ ผิ วประกอบด้ว ย ชื่ อบริ ษ ัทผูผ้ ลิ ต หมายเลขแสดงขนาดและเลขแสดงชั้นคุ ณ ภาพ และต้องมี
คุณสมบัติเป็ นไปดังนี้
ตารางที่ 3.2 รายละเอียดคุณสมบัติของเหล็กเส้นกลมผิวเรี ยบ ตามมาตรฐานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ _
อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 20-2544
ขนาดระบุ
ชื่อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง พื้นที่ภาคตัดขวาง นํ้าหนักระบุ (kg./m.)
(mm.) (mm.2)
RB 6 6 28.30 0.222
RB 8 8 50.30 0.395
RB 9 9 63.60 0.499
RB 10 10 78.50 0.616
ที่มา (พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511, 2544, หน้าที่ 5)
50

ตารางที่ 3.2 (ต่อ) รายละเอียดคุณสมบัติของเหล็กเส้นกลมผิวเรี ยบ ตามมาตรฐานมาตรฐาน ผลิต_


ภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 20-2544
ขนาดระบุ
ชื่อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง พื้นที่ภาคตัดขวาง นํ้าหนักระบุ (kg./m.)
2
(mm.) (mm. )
RB 12 12 113.10 0.888
RB 15 15 176.70 1.387
RB 19 19 283.50 2.226
RB 22 22 380.10 2.984
RB 25 25 490.90 3.853
RB 28 28 615.80 4.834
RB 34 34 907.90 7.127
ที่มา (พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511, 2544, หน้าที่ 5)

3.2.2 เหล็กข้ ออ้ อย: ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.24-2548


เป็ นเหล็กเหนี ยวหน้าตัดกลมแต่ผิวเป็ นปล้องหรื อบั้ง เหมาะสําหรับใช้ในงาน
ก่อสร้างอาคารทัว่ ๆไป ที่มีขนาดตั้งแต่ปานกลางจนถึงใหญ่ ที่ตอ้ งรับนํ้าหนักบรรทุกมาก ซึ่ งตาม
มาตรฐานของ มอก. เหล็กชนิดนี้ มีเพียง 3 ชั้นคุณภาพคือ SD-30 SD-40 และ SD-50 มีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 – 40 mm. มีความยาวต่อเส้น 10 และ 12 m. แต่ปกติแล้วจะยาว 10 m.
ส่ วนความยาวที่นอกเหนือจากขนาดดังกล่าว สามารถสัง่ พิเศษได้โดยตรงกับโรงงานผูผ้ ลิต ทุกเส้น
ของเหล็กที่ผลิตออกมา จะต้องมีตวั อักษรปั๊มนูนที่ผวิ ประกอบด้วย ชื่อบริ ษทั ผูผ้ ลิต หมายเลขแสดง
ขนาดและเลขแสดงชั้นคุณภาพ
ตารางที่ 3.3 รายละเอี ยดคุ ณสมบัติของเหล็ก ข้ออ้อย ตามมาตรฐานมาตรฐาน ผลิ ตภัณ ฑ์ _
อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 24-2548
ขนาดระบุ
ชื่อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง พื้นที่ภาคตัดขวาง นํ้าหนักระบุ (kg./m.)
2
(mm.) (mm. )
DB 6 6 28.30 0.222
DB 8 8 50.30 0.395
ที่มา (พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511, 2548, หน้าที่ 5)
51

ตารางที่ 3.3 (ต่อ) รายละเอียดคุณสมบัติของเหล็กข้ออ้อย ตามมาตรฐานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์_


อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 24-2548
ขนาดระบุ
ชื่อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง พื้นที่ภาคตัดขวาง นํ้าหนักระบุ (kg./m.)
2
(mm.) (mm. )
DB 10 10 78.50 0.616
DB 12 12 113.10 0.888
DB 16 16 201.10 1.578
DB 20 20 314.20 2.466
DB 22 22 380.10 2.984
DB 25 25 490.90 3.853
DB 28 28 615.80 4.834
DB 32 32 804.20 6.313
DB 36 36 1,017.90 7.990
DB 40 40 1,256.60 9.865
ที่มา (พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511, 2548, หน้าที่ 5)

3.2.3 หน่ วยแรงครากทีย่ อมให้ ของเหล็กเสริม


หน่ วยแรงครากที่ยอมให้ของเหล็กเสริ มตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
1) เมื่อรับนํ้าหนักบรรทุกดึง
− เหล็กเสริ มที่เป็ นเหล็กกล้าละมุน (เมื่อไม่มีผลการทดสอบ) fs = 1,200
ksc.
− เหล็กเสริ มหลักที่มีขนาด 9 mm. ในพื้นเสริ มเหล็กทางเดียวที่ช่วงยาวไม่
เกิน 3 m. ให้ใช้ fs = 0.5fy แต่ไม่เกิน 2,100 ksc.
− เหล็กข้ออ้อยที่มี fy < 4,000 ให้ใช้ fs = 0.5fy แต่ไม่เกิน 1,500 ksc.
− เหล็กข้ออ้อยที่มี fy ≥ 4,000 ให้ใช้ fs = 0.5fy แต่ไม่เกิน 1,700 ksc.
− เหล็กขวั้นให้ใช้ fs = 0.5ของกําลังพิสูจน์ แต่ไม่เกิน 2,400 ksc.
52

2) เมื่อรับนํ้าหนักบรรทุกอัด
− กรณี ในเสาปลอกเกลียว ให้ใช้ fs = 0.4fy แต่ไม่เกิน 2,100 ksc.
− กรณี ในเสาปลอกเดี่ ยว ให้ใช้ 0.85 เท่าในเสาปลอกเกลียวแต่ไม่เกิ น
1,750 ksc.

3.3 เหล็กรู ปพรรณ


เหล็กรู ปพรรณ เป็ นวัสดุ ที่สําคัญในการก่ อสร้ างองค์อาคารไม่ดอ้ ยไปกว่าคอนกรี ต
เสริ มเหล็ก โดยเฉพาะอาคารสิ่ งปลูกสร้ างที่ต้ งั อยู่ในเขตพื้นที่ เขตเสี่ ยงภัยแผ่นดิ นไหว หรื อมี
นํ้าหนักบรรทุกจลน์กระทํา เช่น สะพาน รางเครนในโรงงานอุตสาหกรรม เสาส่ งสัญญาณ แต่สิ่งที่
วิศวกรผูอ้ อกแบบต้องการหรื อคาดหวังจากเหล็กรู ปพรรณ คือ กําลังรับแรงต่างๆ และความคงทน
โดยในการออกแบบองค์อาคารของโครงสร้ าง มาตรฐานการออกแบบระบุให้ใช้คุณสมบัติของ
เหล็กรู ปพรรณต้องเป็ นไปตามมาตรฐาน มอก. และควรมีการเก็บตัวอย่างเพื่อทดสอบคุณสมบัติ
ซึ่งจะต้องระบุไว้ในรายการประกอบแบบด้วย
โดยทัว่ ไปเหล็กรู ปพรรณที่ผลิตในประเทศไทย จะมีคุณสมบัติพ้ืนฐานที่สาํ คัญสําหรับ
ใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบ ดังนี้
–6 0
− สัมประสิ ทธ์การขยายตัวเชิงเส้นเนื่ องจากอุณหภูมิ = 13 × 10 cm./cm. C
− โมดูลส ั ยืดหยุน่ = 2.0 – 2.1 × 106 ksc.
3
− หน่ วยนํ้าหนัก 7,850 kg./m.

3.3.1 มาตรฐานเหล็กรู ปพรรณ


ในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานในการแบ่งชั้นคุณภาพของเหล็กรู ปพรรณเพื่อ
การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น (หมายเหตุ 1 MPa = 10.19716 kg./cm.2)
1) เหล็กรู ปพรรณตามมาตรฐาน ASTM. (American Society for Testing and
Materials) ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ชั้นคุณภาพ คือ
− A-36 (Carbon Steel: fy = 250 MPa)
− A-572 (High-Strength Low-Alloy Steel: fy = 345 MPa)
2) เหล็กรู ปพรรณตามมาตรฐาน JIS. (Japanese Industrial Standards) ที่นิยมใช้มี
อยู่ 3 ชั้นคุณภาพ คือ (สัญลักษณ์ SS ใช้สําหรับโครงสร้างรองหรื อโครงสร้าง
ชัว่ คราวหรื อโครงสร้างทัว่ ไป และสัญลักษณ์ SM ใช้สาํ หรับโครงสร้างที่เน้นไป
ทางด้านการเชื่อม)
53

− SS-400 (fy: 245 MPa)


− SM-400 (fy: 245 MPa)
− SM-570 (fy: 460 MPa)
3) เหล็กรู ปพรรณตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (มอก.)
(1) เหล็ก รู ป พรรณรี ด ร้ อ น ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1227-2539 มี 7 ชั้น
คุณภาพ คือ

(ก) เหล็กฉากขาเท่ากัน (ข) เหล็กฉากขาไม่เท่ากัน (ค) เหล็กรางนํ้า

(ง) เหล็กตัวเอช (จ) เหล็กตัวไอ (ฉ) เหล็กตัวที


ภาพที่ 3.1 แสดงรู ปร่ างหน้าตัดของเหล็กรู ปพรรณรี ดร้อน ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 1227-2539
− SS 400: fy = 2,450 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 2,350 ksc.
(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 4,000 – 5,100 ksc.; δ = 17 - 21 %
− SS 490: fy = 2,850 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 2,750 ksc.
(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 4,900 – 6,100 ksc.; δ = 15 - 19 %
− SS 540: fy = 4,000 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 3,900 ksc.
(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 4,000 – 5,100 ksc.; δ = 18 - 23 %
− SM 490: fy = 3,250 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 3,150 ksc.
(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 5,400 ksc.; δ = 13 - 17 %
− SM 400: fy = 2,450 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 2,350 ksc.
(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 4,000 – 5,100 ksc.; δ = 18 - 23 %
54

− SM 490: fy = 3,250 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 3,150 ksc.


(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 4,900 – 6,100 ksc.; δ = 17 - 22 %
− SM 520: fy = 3,650 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 3,550 ksc.
(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 5,200 – 6,400 ksc.; δ = 15 - 19 %
− SM 570: fy = 4,600 ksc. (ความหนาไม่เกิน 16 mm.) และ fy = 4,500 ksc.
(ความหนาเกิน 16 mm.); fu = 5,700 – 7,200 ksc.; δ = 19 - 26 %
(2) เหล็กรู ปพรรณรี ดเย็น ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1228-2549 มี 1 ชั้น
คุณภาพ คือ SSC 400: fy = 2,450 ksc.; fu = 4,000 – 5,400 ksc.; δ = 17 -
21 %

(ก) เหล็กฉากขาเท่ากัน (ข) เหล็กฉากขาไม่เท่ากัน (ค) เหล็กรางนํ้า

(ง) เหล็กตัวซี (จ) เหล็กตัวแซด (ฉ) เหล็กตัวแซดมีขอบ (ช) เหล็กรู ปหมวก


ภาพที่ 3.2 แสดงรู ปร่ างหน้าตัดของเหล็กรู ปพรรณรี ดเย็น ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 1228-2549
(3) เหล็กรู ปพรรณกลวง ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 107-2533

(ก) เหล็กกลมกลวง (ข) เหล็กสี่ เหลี่ยมจัตุรัสกลวง (ค) เหล็กสี่ เหลี่ยมผืนผ้ากลวง


ภาพที่ 3.3 แสดงรู ปร่ างหน้าตัดของเหล็กรู ปพรรณ ตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 107-2533
55

เหล็กหน้าตัดรู ปกลมกลวง มี 3 ชั้นคุณภาพคือ


− HS 41: fy = 2,350 ksc.; fu = 4,020 ksc.; δ = 23 %
− HS 50: fy = 3,140 ksc.; fu = 4,900 ksc.; δ = 23 %
− HS 51: fy = 3,530 ksc.; fu = 5,000 ksc.; δ = 15 %

เหล็กหน้าตัดรู ปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสกลวงมี 2 ชั้นคุณภาพคือ


− HS 41: fy = 2,350 ksc.; fu = 4,020 ksc.; δ = 23 %
− HS 50: fy = 3,140 ksc.; fu = 4,900 ksc.; δ = 23 %

เหล็กหน้าตัดรู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้ากลวงมี 2 ชั้นคุณภาพคือ


− HS 41: fy = 2,350 ksc.; fu = 4,020 ksc.; δ = 23 %
− HS 50: fy = 3,140 ksc.; fu = 4,900 ksc.; δ = 23 %

3.3.2 หน่ วยแรงทีย่ อมให้ มาตรฐานการออกแบบ


ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.
2522 หน่วยแรงที่ยอมให้ของเหล็กรู ปพรรณ ประกอบด้วย
1) หน่วยแรงเฉื อน fv = 0.40fy; ksc.
2) หน่วยแรงดึง fs = 0.60fy; ksc.
3) หน่วยแรงอัด fa = 0.60fy; ksc.
4) หน่วยแรงดัดรอบแกนหลัก fb = 0.60fy; ksc
5) หน่วยแรงดัดรอบแกนรอง fb = 0.75fy; ksc

3.4 ดินรองรับโครงสร้ าง
สิ่ งปลูกสร้ า งทุก ประเภทบนโลกใบนี้ ล้ว นแล้วแต่วางตัวไม่ อยู่ในดิ นก็อยู่บนดิ น นั้น
หมายความว่าดินเป็ นส่ วนที่ทาํ หน้าที่พยุงสิ่ งปลูกสร้าง ด้วยเหตุน้ ี ดินจึงเป็ นวัสดุที่มีความสําคัญ
มากไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่า คอนกรี ต เหล็กเสริ ม และเหล็กรู ปพรรณ ดังนั้นในการออกแบบองค์อาคาร
ของโครงสร้ างโดยเฉพาะส่ วนฐานราก ขนาดขององค์อาคารที่ออกแบบ ควรมี พ้ืนฐานมาจาก
คุณสมบัติของดิ นในบริ เวณพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ซึ่ งในทางปฏิบตั ิ ค่าความสามารถในการรับแรง
แบกทานของดินในบริ เวณพื้นที่ที่จะก่อสร้าง สามารถทราบได้จาก 3 แนวทาง คือ
56

− โดยวิธีการเจาะสํารวจและทดสอบดินในบริ เวณพื้นที่ที่จะก่อสร้าง เป็ นวิธีการที่


ถูกต้องมากที่สุด แต่ตอ้ งเสี ยค่าใช้จ่ายและระยะเวลามากขึ้น ส่ วนการวิเคราะห์และ
แปลผลข้อมูลที่ได้จากการเจาะสํารวจและทดสอบ จะน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กบั ประสบการณ์ของผูท้ าํ การเจาะทดสอบและประมวลผล และแม้ว่าจะ
เป็ นวิธีการได้มาของข้อมูลที่ดีที่สุด แต่ในการปฏิบตั ิงานจริ ง บางครั้งอาจต้องมี
การปรับแก้งานส่ วนฐานราก ให้สอดคล้องกับสภาพข้อมูลคุณสมบัติที่แท้จริ งของ
ดิน ณ ขณะทําการก่อสร้าง จะเป็ นการดีที่สุด
− โดยวิธีการยึดตามมาตรฐานของ เทศบัญญัติ กทม. ใช้วิธีการนี้ เมื่อไม่มีขอ้ มูลผล
การเจาะสํารวจดิน หรื อในบางครั้งมีผลการเจาะสํารวจแต่ขาดความน่าเชื่อถือ
− โดยวิธีการสอบถามข้อมูลบริ บทแวดล้อมของอาคารข้างเคียง ควรใช้วิธีการนี้ เป็ น
กรณี หลังสุ ด จะใช้กต็ ่อเมื่อไม่มีท้ งั ข้อมูลผลการเจาะสํารวจดินในสนาม และไม่มี
เอกสารมาตรฐานของเทศบัญญัติ กทม.
3.4.1 กรณีใช้ ออกแบบฐานแผ่
ในการออกแบบฐานแผ่ การคํานวณหาขนาดของฐาน จําเป็ นที่ จ ะต้องทราบ
คุณสมบัติดา้ นความสามารถในการรับแรงแบกทานของดินเสี ยก่อน ซึ่งอาจหาข้อมูลได้จาก การ
เจาะสํารวจและทดสอบจริ ง หรื อจากข้อมูลสถิติที่มีผูเ้ คยทําไว้ หรื ออาศัยสอบถามข้อมูลดิ นของ
อาคารข้างเคียงก็ได้ แต่หากไม่มีขอ้ มูลใดๆเป็ นที่น่าเชื่ อถือ ให้ใช้ขอ้ มูลกําลังรับนํ้าหนักบรรทุก
ปลอดภัยของดิน ดังแสดงในตารางที่ 4.4
ตารางที่ 3.4 แสดงความสามารถในการรับแรงแบกทานปลอดภัยของดิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6
(2527) ข้อที่ 18 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522
กําลังรับนํ้าหนักบรรทุก
ลักษณะของชั้นดิน
Qa (ตัน/ตร.ม.)
ดินถมหรื อดินถมไว้แน่นตัวเต็มที่ 2
ดินอ่อน 2
ดินปานกลางหรื อทรายร่ วน 5
ดินแน่นหรื อทรายแน่น 10
กรวดหรื อดินดาน 25
หิ นดินดาน 25
ที่มา (วีระเดช พะเยาศิริพงศ์, 2554)
57

3.4.2 กรณีใช้ ออกแบบฐานรากระบบเสาเข็ม


ต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่ อนว่าเมื่อเสาเข็มฝั งลงไปในดิน เสาเข็มสามารถรับนํ้าหนัก
บรรทุกได้เนื่ องจากผลใน 2 ส่ วนร่ วมกัน คือ ผลเนื่ องจากแรงเสี ยดทานผิวโดยรอบเสาเข็ม และผล
เนื่องจากแรงดาลที่ปลายเสาเข็ม ดังนั้นในการออกแบบฐานรากระบบเสาเข็ม การคํานวณหาขนาด
หน้าตัด ความยาว และจํานวนของเสาเข็ม จําเป็ นที่จะต้องทราบคุณสมบัติดา้ นความสามารถในการ
รับแรงของดินเสี ยก่อน ซึ่งทั้งสองส่ วนสามารถทราบได้โดยการเจาะสํารวจและทดสอบจริ ง หรื อ
จากข้อมูลสถิติที่มีผเู ้ คยทําไว้ หรื ออาศัยสอบถามข้อมูลขนาดของเสาเข็มของอาคารข้างเคียงก็ได้
แต่หากไม่มีขอ้ มูลใดๆเป็ นที่น่าเชื่อถือ ให้ใช้ขอ้ มูลกําลังรับนํ้าหนักบรรทุกของเสาเข็มเนื่ องจากแรง
เสี ยดทานผิว ดังแสดงในตารางที่ 4.5 แต่ท้ งั นี้ ท้ งั นั้นในการออกแบบฐานรากระบบเสาเข็ม ควร
ระบุให้มีการทดสอบการรับนํ้าหนักบรรทุกของเสาเข็มด้วยเสมอ

ตารางที่ 3.5 แสดงกําลังรับนํ้าหนักบรรทุกของเสาเข็มเนื่ องจากแรงเสี ยดทานผิว ตามกฎกระทรวง


ฉบับที่ 6 (2527) ข้อที่ 20 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522
กําลังรับนํ้าหนักบรรทุกปลอดภัย
ระดับความลึกของชั้นดิน (m.)
เนื่องจากแรงเสี ยดทานผิว (kg.)
0 – 7 (ใต้ระดับนํ้าทะเลปานกลาง) 600Ask
มากกว่า 7 (ใต้ระดับนํ้าทะเลปานกลาง) 800 + 200L
Ask = พื้นที่ผวิ โดยรอบทั้งหมดของเสาเข็มที่สมั ผัสกับดิน (m.2)
L = ความยาวเสาเข็มส่ วนที่ลึกเกินกว่า 7 m. (m.)
ที่มา (วีระเดช พะเยาศิริพงศ์, 2554)
3.5 บทสรุ ป
โดยทัว่ ไปแล้ว ในการออกแบบองค์อาคารของโครงสร้าง การได้มาซึ่ งขนาดหน้าตัด
หรื อทั้งขนาดหน้าตัดและปริ มาณเหล็กเสริ มในหน้าตัด ในขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบนั้น
เป็ นผลมาจากการกํา หนดเลื อ กใช้คุ ณ สมบัติ ต่ า งๆของวัส ด (เช่ น คอนกรี ต เหล็ก เสริ ม เหล็ก
รู ปพรรณ เสาเข็ม และดิน ) ขึ้นมาก่อน นั้นหมายความว่า ผูอ้ อกแบบจะต้องทราบคุณสมบัติต่างๆ
ของวัสดุมาก่อนแล้ว โดยทั้งนี้ คุณสมบัติดงั กล่าวจะต้องเป็ นไปตามมาตรฐานของ มอก. และต้อง
สอดคล้องกับมาตรฐานหรื อข้อบัญญัติของการออกแบบด้วย ด้วยเหตุน้ ี ดังนั้นในขั้นตอนของการ
ก่อสร้างจริ ง จึ งต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุที่นาํ มาใช้งาน ว่ามีคุณสมบัติสอดคล้อง
58

เป็ นไปตามที่ ได้ก าํ หนดเลื อกใช้ใ นขั้น ตอนของการวิ เคราะห์ แ ละออกแบบหรื อไม่ โดยวัส ดุ
บางอย่างสามารถทดสอบง่ายได้โดยตรงในสถานที่ก่อสร้าง เช่ น ดิน เสาเข็ม วัสดุบางอย่าง เช่น
คอนกรี ต เหล็กเสริ ม เหล็กรู ปพรรณ ไม่สามารถทดสอบได้โดยตรงในสถานที่ก่อสร้าง ก็ตอ้ งเก็บ
ตัวอย่างของวัสดุแล้วส่ งไปทดสอบคุณสมบัติต่างๆยังหน่วยงานหรื อสถาบันที่เชื่อถือได้
บทที่ 4

หลักการพืน้ ฐานในการออกแบบโครงสร้ างอาคาร

การออกแบบโครงสร้างอาคารประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก (แต่มีรายละเอียดแยกย่อยออก


ได้ 6 ขั้นตอน ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 1) กล่าวคือ
1. ขั้นตอนการคํานวณหานํ้าหนักบรรทุกและจัดแบ่งกลุ่มนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อองค์
อาคารของโครงสร้างออกเป็ นกรณี ต่างๆ
2. ขั้นตอนการสร้างแบบจําลองของ องค์อาคารของโครงสร้าง นํ้าหนักบรรทุก และการ
วิเคราะห์โครงสร้ างตามกลุ่มของนํ้าหนักบรรทุกที่จดั แบ่ง เพื่อหาแรงปฏิกิริยา แรง
ภายในสู งสุ ด และการเปลี่ยนรู ปของโครงสร้าง
3. ขั้น ตอนการออกแบบขนาดองค์อ าคารของโครงสร้ า ง และการเขี ย นแบบแสดง
รายละเอียดของการออกแบบ
โดยทั้ง 3 ขั้น ตอนดังกล่ า ว ต้องอยู่ภ ายใต้ก รอบของมาตรฐานหรื อข้อบัญญัติของการ
ออกแบบ มีท้ งั ส่ วนที่ เป็ นข้อกําหนด (วสท.) และส่ วนที่เป็ นข้อกฎหมาย (เทศบัญญัติ กทม.) ซึ่ ง
ทั้งหมดถือได้วา่ เป็ นกรอบหรื อแนวปฎิบตั ิในการกําหนดให้ใช้ ทั้งในส่ วนของหน่วยแรงที่ยอมให้ของ
วัสดุและนํ้าหนักบรรทุก (ประกอบด้วย นํ้าหนักบรรทุกจรบนอาคาร แรงลมและแรงแผ่นดินไหว) เป็ น
สําคัญ

1.คํานวณหานํา้ หนักบรรทุก 2.วิเคราะห์ โครงสร้ าง 3.ออกแบบโครงสร้ าง

นํ้าหนักบรรทุกตายตัว แรงปฏิกิริยา คอนกรี ตเสริ มเหล็ก (คสล.)

นํ้าหนักบรรทุกจร แรงภายใน คอนกรี ตอัดแรง (คอร.)

การเปลี่ยนรู ป ไม้และเหล็ก

อลูมิเนี่ยม

ภาพที่ 4.1 แสดงขั้นตอนหลักของการออกแบบโครงสร้างอาคาร


60

4.1 นํา้ หนักบรรทุกทีก่ ระทําต่ อโครงสร้ าง


แบ่งออกเป็ น 2 ส่ วนหลัก แต่ส่วนที่ถูกกํากับด้วยกรอบของมาตรฐานหรื อข้อบัญญัติของ
การออกแบบ คือ นํ้า หนักบรรทุกในแนวดิ่ ง และนํ้าหนัก บรรทุ ก ในแนวราบ เช่ น แรงลมและแรง
แผ่นดินไหว
1. นํ้าหนักบรรทุกตายตัว (Dead Load, DL.) ประกอบด้วย นํ้าหนักตัวเอง (Self Weight,
SW.) นํ้าหนักวัสดุตก-แต่ง (Finishing Load, FL.) นํ้าหนักประกอบอื่นๆ (etc.) ซึ่ ง
ทั้งหมดเป็ นนํ้าหนักบรรทุกในแนวดิ่ง
2. นํ้าหนักบรรทุกจร (Live Load, LL.) ประกอบด้วย นํ้าหนักบรรทุกจรบนอาคารแต่ละ
ประเภท (LL.) ซึ่งเป็ นนํ้าหนักบรรทุกในแนวดิ่ง และ แรงลม (Wind Load, WL.) แรง
แผ่นดินไหว (Earthquake หรื อ Seismic Load, EQ.) ซึ่ งเป็ นนํ้าหนักบรรทุกใน
แนวราบ

1.อ่ านแบบก่ อสร้ างเพือ่ 2.คํานวณหานํา้ หนักบรรทุก 3.แบ่ งกลุ่มเป็ นกรณีต่างๆ


นํ้าหนักบรรทุกตายตัว ตามมาตรฐานและข้อบัญญัติ

นํ้าหนักบรรทุกจร และทฤษฎีการออกแบบ

ภาพที่ 4.2 แสดงประเภทของนํ้าหนักบรรทุกเพื่อการออกแบบโครงสร้าง

นอกจากนี้ ยงั มีน้ าํ หนักบรรทุกที่กระทําต่อโครงสร้างในรู ปแบบอื่นที่สาํ คัญๆ เช่น แรงดัน


ดิน แรงดันนํ้า แรงดันของวัสดุเนื่องจากการกองเก็บ แรงกระแทก (Impact Load) แรงเนื่ องจากการทรุ ด
ตัวที่ต่างกันของระบบฐานราก แรงเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิ แรงเนื่ องจากการเปลี่ยนรู ปของ
โครงสร้าง แรงสั่นไหวเนื่ องจากการทํางานของเครื่ องจักรกลหรื อการกระทํากิจกรรมของผูใ้ ช้อาคาร
ลฯ
โดยนํ้าหนักบรรทุกทั้งหมดดังกล่าว เป็ นนํ้าหนักบรรทุกจริ ง (Real load) ที่คาํ นวณหาค่า
ได้โดยตรงจากการอ่านแบบก่ อสร้าง และเมื่ อถูกนําไปใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้ าง
นํ้าหนักบรรทุกดังกล่าว จะกลายเป็ นนํ้าหนักบรรทุกจําลอง (Model Load) ซึ่ งมีอยู่ดว้ ยกัน 2 รู ปแบบ
กล่าวคือ
1. นํ้าหนักบรรทุกกระทําเป็ นจุด (Point Load, P)
61

2. นํ้าหนักบรรทุกชนิ ดแผ่สมํ่าเสมอ (Uniform Load, ω) อาจเป็ นการแผ่กระจายแบบ


เต็มช่วงหรื อบางส่ วนก็ได้ มีอยูด่ ว้ ยกัน 3 รู ปทรงหลัก กล่าวคือ
1) รู ปทรงสี่ เหลี่ยมผืนผ้า พบบ่อย
2) รู ปทรงสามเหลี่ยม พบบ่อย
3) รู ปทรงสี่ เหลี่ยมคางหมู
ดังนั้นหน้าที่หลักของผูท้ าํ การวิเคราะห์โครงสร้าง คือ ต้องพิจารณาจําแนกให้ได้วา่ นํ้าหนัก
บรรทุกจริ ง มีรูปทรงตรงกับนํ้าหนักบรรทุกจําลองรู ปทรงใด

ภาพที่ 4.3 แสดงแบบจําลองของนํ้าหนักบรรทุกเพื่อการวิเคราะห์โครงสร้าง

4.2 การวิเคราะห์ หาแรงภายในและการเปลีย่ นรูปของโครงสร้ าง


พึงระลึกอยู่เสมอว่าผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างเป็ นค่าโดยประมาณทั้งสิ้ น ทั้งนี้
เนื่องจากเป็ นการวิเคราะห์โครงสร้างจากแบบจําลองไม่ใช่อาคารหรื อโครงสร้างจริ ง กอปรกับนํ้าหนัก
บรรทุกที่กระทําต่อโครงสร้างก็เป็ นนํ้าหนักบรรทุกในระดับแรก กล่าวคือเป็ นนํ้าหนักบรรทุกที่ถูก
ประมาณการว่าโครงสร้างจะต้องรับหรื อต้านทาน โดยที่องค์อาคารของโครงสร้างยังไม่ถูกใช้งานจริ ง
ดังนั้นหากผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างมีความต่างอยูใ่ นช่วง 15% - 20% มองว่ายอมรับได้ในเชิง
วิศวกรรม
ผลที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์โครงสร้างประกอบด้วย 2 ส่ วนหลัก กล่าวคือ ส่ วนที่หนึ่ ง
ทําให้ทราบว่า โครงสร้างที่กาํ ลังวิเคราะห์อยูน่ ้ นั มีความมัน่ คงหรื อมีเสถียรภาพมากน้อยเพียงใด ส่ วน
ที่ สอง ทําให้ทราบค่าแรงภายในและการเปลี่ ยนรู ป ที่ จะนําไปใช้เพื่อการออกแบบขนาดขององค์
62

อาคาร ซึ่ งผลที่ได้ท้ งั สองส่ วนนี้ จะถูกต้องมากน้อยเพียงใดนั้น ยังต้องขึ้นอยูก่ บั วิธีการที่เหมาะสมใน


การวิเคราะห์โครงสร้างด้วย โดยหลักการเบื้องต้นนั้น “วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างต้องสอดคล้องกับ
พฤติกรรมของนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อโครงสร้าง” เช่น หากนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อโครงสร้าง
เป็ นแบบค่อยๆกระทําและไม่ข้ ึนกับเวลา การวิเคราะห์โครงสร้างจะเป็ นวิธีเชิง Static Analysis เช่น
Linear Static Analysis ดัง่ ที่คุน้ เคยกันนั้นเอง แต่ถา้ หากนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําเป็ นแบบไม่แน่นอน
เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา (เช่ น แรงลม แรงจากแผ่นดินไหว แรงจากเครนในอาคารโรงงาน ลฯ) การ
วิเคราะห์โครงสร้างจะเป็ นวิธีเชิง Dynamic Analysis เช่น Linear Dynamic Analysis

1.คํานวณหานํา้ หนักบรรทุก 2.วิเคราะห์ โครงสร้ างหา 3.ออกแบบโครงสร้ าง

นํ้าหนักบรรทุกตายตัว แรงปฏิกิริยา 1.

นํ้าหนักบรรทุกจร แรงภายใน 2.

การเปลี่ยนรู ป 3.

ภาพที่ 4.4 แสดงผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้าง

4.3 การออกแบบขนาดองค์ อาคารของโครงสร้ าง


“พึงระลึกอยูเ่ สมอว่าการออกแบบโครงสร้างที่ดีน้ นั ต้องประหยัด มีความมัน่ คงและความแข็งแรง
และทํางานได้ง่ายในเชิงปฎิบตั ิ”

1.คํานวนหานํา้ หนักบรรทุก 2.วิเคราะห์ โครงสร้ างหา 3.ออกแบบโครงสร้ าง

นํ้าหนักบรรทุกตายตัว แรงปฏิกิริยา คอนกรี ตเสริ มเหล็ก (คสล.)

นํ้าหนักบรรทุกจร แรงภายใน คอนกรี ตอัดแรง (คอร.)

การเปลี่ยนรู ป ไม้และเหล็ก

ภาพที่ 4.5 แสดงประเภทของโครงสร้างที่จะออกแบบองค์อาคาร


63

4.4 บทสรุ ป
อาจกล่าวโดยสรุ ปได้ว่า การที่จะสามารถออกแบบโครงสร้างได้น้ นั จะต้องมีองค์ความรู ้
พื้นฐานที่สาํ คัญ ดังนี้คือ
1. ต้องทราบเรื่ องมาตรฐานและข้อบัญญัติของการออกแบบโครงสร้าง
− สําหรับโครงสร้างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก
− สําหรับโครงสร้างคอนกรี ตอัดแรง
− สําหรับโครงสร้างไม้และเหล็ก
2. ต้องทราบเรื่ องคุณสมบัติพ้ืนฐานของวัสดุที่ใช้ออกแบบโครงสร้าง
− กรณี อ อกแบบโครงสร้ า งคอนกรี ต เสริ ม เหล็ก ต้อ งทราบคุ ณ สมบัติ ข อง ดิ น
เสาเข็ม คอนกรี ต เหล็กเสริ มคอนกรี ต
− กรณี ออกแบบโครงสร้ างคอนกรี ตอัดแรง ต้องทราบคุ ณ สมบัติ ของ คอนกรี ต
ลวดอัดแรงกําลังสูง
− กรณี ออกแบบโครงสร้ างไม้และเหล็ก ต้องทราบคุณสมบัติของ ไม้ ตะปูหรื อ
สลักเกลียว เหล็กรู ปพรรณ และลวดเชื่อม
3. ต้องทราบวิธีในการคํานวณหานํ้าหนักบรรทุก
− โดยต้องอ่านแบบก่อสร้างได้
− จัดแบ่งกลุ่มของนํ้าหนักบรรทุก เพื่อให้ได้ค่าแรงภายในสู งสุ ด โดยปกติใช้ตาม
มาตรฐานหรื อข้อบัญญัติของการออกแบบโครงสร้าง
4. ต้องทราบเรื่ องการส่ งถ่ายแรง ซึ่ งเกี่ยวเนื่ องโดยตรงกับลําดับการออกแบบองค์อาคาร
ของโครงสร้าง
5. ต้องทราบวิธีการสร้างแบบจําลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์ ทั้งในส่ วนของนํ้าหนัก
บรรทุกและองค์อาคารของโครงสร้าง ซึ่งแต่ละส่ วนต้องถูกต้องและเหมาะสม หรื อเข้า
ใกล้ความจริ งให้มากที่สุด
6. ต้องทราบวิธีการวิเคราะห์โครงสร้าง
− วิธีอย่างง่ายหรื อวิธีโดยประมาณ ด้วยการใช้สมการหรื อตารางสําเร็ จรู ปรวมถึง
หลักการรวมผล
− วิธีโดยละเอียด เช่น สมการสามโมเมนต์ การกระจายโมเมนต์ ลฯ
7. ต้องทราบวิธีการออกแบบองค์อาคารของโครงสร้างในแต่ละส่ วน
8. ต้องทราบเรื่ องการเขียนแบบแสดงรายละเอียดของการออกแบบ
64
บทที่ 5

การออกแบบองค์ อาคารของโครงสร้ างเหล็กรู ปพรรณ

โดยวิธีหน่ วยแรงทีย่ อมให้

ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณนั้น สิ่ งสําคัญที่ผอู ้ อกแบบโครงสร้างต้องการ


เรี ยนรู ้ โดยเฉพาะผูท้ ี่พ่ ึงสําเร็ จการศึกษาหรื อผูท้ ี่ยงั ไม่มีประสบการณ์ในการออกแบบ คือ วิธีการและ
ขั้นตอนของการออกแบบองค์อาคาร ที่ง่าย ไม่ซบั ซ้อน และถูกต้องเป็ นที่ยอมรับ โดยเน้นหนักไปใน
ด้านภาคปฏิบตั ิเพื่อการทํางานมากกว่าทฤษฎี ดังนั้นเนื้ อหาทั้งหมดในบทนี้ จึงเป็ นการกล่าวโดยสรุ ป
ถึง วิธีการ สมการและขั้นตอน ของการออกแบบแต่ละองค์อาคารของโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณโดยวิธี
หน่วยแรงที่ยอมให้ เท่านั้น และเมื่อได้เรี ยนรู ้ ทําความเข้าใจดีแล้ว ควรได้มีการศึกษาหาความรู ้ที่
ละเอียดรอบครอบและถูกต้องให้มากยิง่ ขึ้น

5.1 องค์ ประกอบของโครงสร้ างเหล็กรูปพรรณ


มีชื่อเรี ยกที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะรู ปร่ าง และการจัดวางเพื่อต้านทานนํ้าหนัก
บรรทุกที่มากระทํา ดังนี้
1) คาน หมายถึ ง โครงสร้ า งที่ รับ นํ้า หนัก ผ่า นด้า นข้า งของตัว คานเอง ในรู ป ของ
โมเมนต์ดดั และ แรงเฉื อน เช่น จันทัน อกไก่ ตะเฆ่สัน-ตะเฆ่ราง ขื่อ อะเส รวมถึงบัง
ใบหรื อปั่ นลม คานแม่บนั ได ลูกขั้นบันได ตง ลฯ
2) องค์อาคารรับแรงดึง หมายถึง โครงสร้างที่รับแรงผ่านแนวแกนหรื อจุด cg. ในรู ป
ของแรงดึ ง เช่ น สลิงยึดเสาอากาศรั บ-ส่ งสัญญาณ คํ้ายันหรื อองค์อาคารต่างๆในระบบ
โครงสร้างเหล็กทั้งหมดที่วิเคราะห์ออกมาแล้วมีเฉพาะแรงดึงเกิดขึ้น ลฯ
3) องค์อาคารรับแรงอัด หมายถึง โครงสร้างที่รับแรงผ่านแนวแกนหรื อจุด cg. ในรู ป
ของแรงอัด เช่น ดัง่ เสาต่างๆ คํ้ายันต่างๆหรื อองค์อาคารต่างๆในระบบโครงสร้างเหล็ก
ทั้งหมดที่วิเคราะห์ออกมาแล้วมีเฉพาะแรงอัดเกิดขึ้น ลฯ
4) ตัวยันหรื อแกงแนง หมายถึง องค์อาคารที่วางตัวอยู่ในแนวเอียงซึ่ งอาจจะเป็ นองค์
อาคารรับแรงอัดหรื อแรงดึงก็ได้ เพื่อทําหน้าที่ตา้ นทานแรงลมและช่วยเพิ่มเสถียรภาพ
66

ของโครงสร้าง ซึ่ งการวางตัวดังกล่าวอาจวางในระนาบของโครงหลังคา โครงถัก หรื อ


ระนาบของเสา ก็ได้
5) แปหรื อระแนง หมายถึง โครงสร้างประเภทคานสําหรับนํ้าหนักบรรทุกของวัสดุมุง
หลังคา และจากลักษณะการวางตัวของแปเอง จึงทําให้เกิดการดัดใน 2 แนวแกน
6) โครงถักหรื อโครงข้อหมุน หมายถึง โครงสร้างที่ประกอบกันขึ้นเป็ นโครงสร้างด้วย
ทั้งองค์อาคารรับแรงอัดและองค์อาคารรับแรงดึง ซึ่ งเรานําโครงถักมาใช้งานทั้งในส่ วน
ของการเป็ นตัวโครงสร้างหลักเพื่อรับนํ้าหนักบรรทุก หรื อใช้ในส่ วนของการคํ้ายัน-ยึด
โยงโครงสร้างเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และมีเสถียรภาพที่มน่ั คงยิง่ ๆขึ้น

5.2 การออกแบบแปหรือระแนง
มีวิธีการ ขั้นตอน และสมการที่ใช้ในการออกแบบแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลที่ตอ้ งทราบก่อนการออกแบบ
(1) ความยาวจริ งตามแนวแกน (L; m.)
(2) ความลาดเอียงของโครงหลังคา (θ)
(3) ชั้นคุณภาพของเหล็กที่เลือก (ทราบค่า Fy และ Fu)
(4) นํ้าหนักบรรทุก
(5) แรงรวมที่กระทําในแนวดิ่ง = ω; ดังนั้นแรง กระทําในแนวแกนต่างๆ คือ
− กรณี ไม่มีเหล็กท่อนกันโก่ง
− ωx = ωSin (θ)
− ωy = ωCos (θ)
2
− Mx = ωCosθL /8
2
− My = ωSinθL /8
− กรณี มีเหล็กท่อนกันโก่ง โมเมนต์ในแนวแกน y ที่จะนําไปตรวจสอบหน่ วย
แรงดัดหาได้ดงั นี้
2
− My = ωSinθL /8 เมื่อไม่ใส่ เหล็กท่อนกันโก่ง
2
− My = ωSinθL /32 เมื่อใส่ เหล็กท่อนกันโก่งที่กลางช่วงแป
2
− My = ωSinθL /175 เมื่อใส่ เหล็กท่อนกันโก่งที่ระยะทุกๆ L/3
67

ω
ωy
ωx
y
x
θ

ภาพที่ 5.1 แสดงลักษณะการวางแกนอ้างอิงและทิศทางของนํ้าหนักบรรทุก


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)

2) ขั้นตอนการออกแบบ

−หาค่าโมดูลสั หน้าตัดจาก (Mx และ My ใช้คา่ มากสุ ดเป็ น M)


− นํา S ไปเปิ ดตารางเหล็กเพื่อเลือกขนาดหน้าตัด (เลือกที่ค่ามากสุ ด โดยทัว่ ไป
คือ Sx)
3) ตรวจสอบขนาดหน้าตัดเหล็กที่เลือกจากตาราง ใน 2 ส่ วน คือ
− หน่ วยแรงดัด (fbx/0.60Fy) + (fby/0.75Fy) ≤ 1.0

− ค่าระยะแอ่นตัวหรื อระยะโก่ง (∆) ≤ L/360

เมื่อ fbx = Mx/Sx และ fby = My/Sy


หมายเหตุ: ในที่น้ ีสญ
ั ลักษณ์ Fy และ fy มีความหมายเช่นเดียวกัน
Fu และ fu มีความหมายเช่นเดียวกัน

5.3 การออกแบบองค์ อาคารรับแรงดึง


มีวิธีการ ขั้นตอน และสมการที่ใช้ในการออกแบบแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลที่ตอ้ งทราบก่อนการออกแบบ
− ความยาวจริ งตามแนวแกน (L; m.)
− ชั้นคุณภาพของเหล็กที่เลือก (ทราบค่า Fy, Fu และ Es; ksc.)
− แรงดึง (Ft; kg.) ซึ่ งได้จากผลการวิเคราะห์โครงสร้าง
− ลักษณะของการต่อเชื่อมระหว่างองค์อาคาร (โดยการเชื่อมหรื อด้วยสลักเกลียว)
2) ขั้นตอนการออกแบบ
(1) หาพื้นที่หน้าตัดเหล็กจาก 2 สมการ (โดยใช้ค่ามากสุ ดไปออกแบบ)
68


หมายเหตุ: กรณี ต่อด้วยสลักเกลียวให้บวกเพิ่มสมการทั้ง 2 ด้วยพื้นที่ของรู เจาะ
(2) นําไปเปิ ดตารางเหล็กรู ปพรรณ เพื่อเลือกขนาดหน้าตัด
3) ตรวจสอบขนาดหน้าตัดเหล็กที่เลือกจากตารางเหล็ก 2 ส่ วน (ซึ่งต้องผ่าน) คือ

− (240 สําหรับโครงสร้างหลัก; 300 สําหรับโครงสร้าง


รองและแกงแนง)
หมายเหตุ: As’ (พื้นที่หน้าตัดเหล็กที่เลือก) และ r min (รัศมีไจเรชัน่ ) เป็ นค่า
คุณสมบัติของเหล็กที่ได้จากการเปิ ดตารางเหล็กรู ปพรรณ

5.4 การออกแบบองค์ อาคารรับแรงอัด


มีวิธีการ ขั้นตอน และสมการที่ใช้ในการออกแบบแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลที่ตอ้ งทราบก่อนการออกแบบ
− ความยาวจริ งตามแนวแกน (L; m.)
− ชั้นคุณภาพของเหล็กที่เลือก (ทราบค่า Fy และ Es; ksc.)
− แรงอัด (Fc; kg.) ซึ่ งได้จากผลการวิเคราะห์โครงสร้าง
− ลักษณะการยึด ที่ ปลายขององค์อาคาร จากเงื่ อนไขดังกล่ าว นําไปหาค่า K ได้
จากตารางที่ 7.1
2) ขั้นตอนการออกแบบ
− หาพื้นที่หน้าตัดเหล็กจาก


หมายเหตุ: กรณี ต่อด้วยสลักเกลียวให้บวกเพิ่มสมการด้วยพื้นที่ของรู เจาะ
นําไปเปิ ดตารางเหล็กรู ปพรรณ เพื่อเลือกขนาดหน้าตัดของเหล็ก
3) ตรวจสอบขนาดเหล็กที่เลือกจากตารางเหล็ก 2 ส่ วน (ซึ่งต้องผ่าน) คือ

− (200 สําหรับโครงสร้างหลัก; 240 สําหรับโครงสร้างรอง)



69

เมื่อค่า Fac หาได้จากการเปรี ยบเทียบค่าของ โดย

ถ้า

ถ้า

ตารางที่ 5.1 แสดงค่าตัวคูณประกอบความยาวประสิ ทธิผลขององค์อาคารรับแรงอัด (ค่า K)

ที่มา (McCormac, J.C., 1992)


70

5.5 การออกแบบองค์ อาคารรับแรงดัด


มีวิธีการ ขั้นตอน และสมการที่ใช้ในการออกแบบแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลที่ตอ้ งทราบก่อนการออกแบบ
− ความยาวจริ งตามแนวแกนระหว่างจุดรองรับ (L; m.)
− ระยะตัวยัน หรื อระยะคํ้ายันจริ ง (Lb; m.)
− ชั้นคุณภาพของเหล็กที่เลือก (ทราบค่า Fy และ Es; ksc.)
2) วิเคราะห์หาค่า แรงปฏิกิริยา (R; kg.), โมเมนต์ดดั (Mz; kg.-m.), แรงเฉื อน (V; kg.)
และ การเปลี่ยนรู ป (ในที่น้ ีเน้นไปที่ ระยะแอ่นหรื อระยะโก่งเชิงเส้น; ∆)
3) ขั้นตอนการออกแบบ

− หาค่าโมดูลสั หน้าตัดจาก
− จากนั้นนําไปเปิ ดตารางเหล็กรู ปพรรณ แล้วเลือกขนาดหน้าตัดเหล็ก
4) ตรวจสอบขนาดเหล็กที่เลือกจากตารางเหล็ก ใน 3 ส่ วน คือ

(1) (AISC: LL ใช้ L/360, DL+LL ใช้ L/240, WL หรื อ EQ ใช้


L/120)

(2)
(3) Sx′ ∗ fb′ ≥ M

เมื่อ d = ความลึกของหน้าตัด
t w = ความหนาของแผ่นเอว
Sx’ = โมดูลสั หน้าตัดของขนาดหน้าตัดที่เลือกออกแบบ
ค่า fb’ หาได้จากการเปรี ยบเทียบค่าของระยะคํ้ายันจริ ง (Lb; m.) กับค่าระยะ

คํ้ายันที่ยอมให้ต่าํ สุ ดคือ และสูงสุ ดคือ โดย


− ถ้าระยะ Lb < Lc ให้ใช้ fb’ = (0.60 ถึง 0.66)Fy หรื อใช้ค่าจากสมการตาม
มาตรฐานหรื อข้อบัญญัติการออกแบบ
− ถ้าระยะ Lc < Lb < Lu ให้ใช้ fb’ = 0.60Fy
− ถ้าระยะ Lb > Lu ให้ใช้ fb’ ≤ 0.60Fy หรื อใช้ค่าจากสมการตามมาตรฐาน
หรื อข้อบัญญัติการออกแบบ
71

5.6 การต่ อองค์ อาคารด้ วยการเชื่อม


1) รู ปแบบของการเชื่อมต่อองค์อาคารด้วยการเชื่อมที่นิยมทํากันมาก คือ
(1) แบบจุดต่อระหว่างองค์อาคารชนโดยมุมอยูใ่ นช่วง 46-60 องศา
− ขนาดของขาเชื่อม (D) = ความหนาของแผ่นเหล็ก (t)
− หน่ ว ยแรงที่ เ กิ ด ขึ้ น บริ เ วณรอยเชื่ อ มคื อ หน่ ว ยแรงดึ ง ซึ่ ง จะต้อ งน้ อ ยกว่ า
0.60Fy
− พื้นที่รับแรงดึง = (D)(L)
− การออกแบบ [F]/[(D)(L)] ≤ 0.60Fy

D t

ภาพที่ 5.2 แสดงลักษณะการต่อองค์อาคารแบบจุดต่อระหว่างองค์อาคารชน


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
(2) แบบการต่อทาบ โดยระยะทาบตามมาตรฐานของ วสท. ระบุให้ใช้ไม่นอ้ ยกว่า 5
เท่าของเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่ต่าํ กว่า 25 mm. (ควรมีความยาวอ้อมมุมไม่
น้อยกว่า 2 เท่าของขนาดขาเชื่อม)
− พื้นที่รับแรงเฉื อน = (0.707D)(L)
− หน่ ว ยแรง (ดึ ง หรื อ อัด ก็ ไ ด้) ที่ เ กิ ด ขึ้ น บริ เ วณรอยเชื่ อ มจะต้อ งน้อ ยกว่ า
0.40Fy
− การออกแบบ (F)/[(0.707D)(L)] ≤0.40Fy

ภาพที่ 5.3 แสดงลักษณะการต่อองค์อาคารแบบต่อทาบ


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
72

0.707D
0.707D
D
t=D

ภาพที่ 5.4 แสดงการหาระนาบของพื้นที่รับแรงเฉือน


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
2) การเชื่ อมแบบต่อเนื่ อง กรณี มีการเชื่อมแบบต่อเนื่ องเป็ นช่วงๆตลอดความยาวของ
องค์อาคาร ระยะห่างของแต่ละรอยเชื่อม ควรเป็ นดังนี้
(1) กรณี ขององค์อาคารรับแรงดึง
− ไม่เกิน 20 เท่าของความหนาของเหล็กที่บางสุ ด
(2) กรณี ขององค์อาคารรับแรงอัด
− ไม่เกิน 16 เท่าของความหนาของเหล็กที่บางสุ ด
3) การออกแบบจุดต่อระหว่างองค์อาคารด้วยการเชื่อม ต้องพิจารณาการออกแบบ ใน
3 ส่ วน คือ
(1) ชั้นคุณภาพของลวดเชื่อม
− เกรด E 60 xx มีกาํ ลังรับแรงระบุ (กําลังประลัย) = 60 kip. (Fu = 4,200 ksc.)
ใช้สาํ หรับเหล็กเกรดตํ่า เช่น A36 (Fy = 36 ksi.), SS400, SM400, Fe24 (Fy
= 2,400 ksc.)
− เกรด E 70 xx มีกาํ ลังรับแรงระบุ (กําลังประลัย) = 70 kip. (Fu = 4,900 ksc.)
ใช้สาํ หรับเหล็กเกรดปานกลาง เช่น A572 เกรด 50 (Fy = 50 ksi.), Fe30 (Fy
= 3,000 ksc.)
− เกรด E 80 xx มีกาํ ลังรับแรงระบุ (กําลังประลัย) = 80 kip. (Fu = 5,600 ksc.)
ใช้สาํ หรับเหล็กเกรดสู ง เช่น A572 เกรด 60 (Fy = 60 ksi.)
หมายเหตุ: ในบางครั้งมักระบุเป็ นลวดเชื่ อมมีขนาดต่างๆ ซึ่ งขนาดที่ระบุน้ นั
หมายถึงขนาดของขาเชื่อม เช่น 2, 2.6, 3.2, 4, 5 mm.
(2) มาตรฐานของหน่วยแรงที่ยอมให้ของรอยเชื่อม
− หน่ วยแรงเฉื อนที่ยอมให้ (fv) = 0.40Fy ksc. ของเหล็ก หรื อใช้
− หน่ วยแรงเฉื อนที่ยอมให้ (fv) = 0.30Fu ksc. ของลวดเชื่อม **
− หน่ วยแรงดึงที่ยอมให้ (ft) = 0.60Fy ksc.
เมื่อ Fy = กําลังครากของเหล็กรู ปพรรณ
73

(3) ขนาด (D) และความยาว (L) ของรอยเชื่อม


ขนาดขาเชื่ อม (D): ในงานทัว่ ๆไปนิ ยมใช้ขนาด 3 – 6 mm. ซึ่ งแนวทางการ
เลือกใช้มีดงั นี้
− กรณี เหล็กที่ใช้มีความหนาไม่เกิน 6 mm.
D = ความหนาเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 3 mm.
− กรณี เหล็กที่ใช้มีความหนาตั้งแต่ 6 mm. ถึง 13 mm.
D = ความหนาเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 5 mm.
− กรณี เหล็กที่ใช้มีความหนาตั้งแต่ 13 mm. ถึง 19 mm.
D = ความหนาเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 6 mm.
− กรณี เหล็กที่ใช้มีความหนาตั้งแต่ 19 mm. ถึง 38 mm.
D = ความหนาเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 8 mm.
− กรณี เหล็กที่ใช้มีความหนาตั้งแต่ 38 mm. ถึง 57 mm.
D = ความหนาเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 10 mm.
− กรณี เหล็กที่ใช้มีความหนาตั้งแต่ 57 mm. ถึง 152 mm.
D = ความหนาเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 13 mm.
− กรณี เหล็กที่ใช้มีความหนามากกว่า 152 mm.
D = ความหนาเหล็กที่บางสุ ดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 16 mm.
ความยาวขาเชื่อม (L): ไม่นอ้ ยกว่า 4D และหากมีการเชื่อมแบบต่อทาบ ควรมี
รอยเชื่อมอ้อมปลายแต่ละมุมไม่นอ้ ยกว่า 2D
− กรณี เชื่อมแบบต่อทาบ (มีแรงกระทําตามแกนขององค์อาคารที่ต่อเท่านั้น)
แรงที่รับได้ F = (fv)[(0.707D)(L)] = 0.707DLfv; kg./cm. ของ 1 รอยเชื่อม
ดังนั้นใช้ขาเชื่ อมยาว L = (แรงจากการวิเคราะห์ )/(0.707Dfv) =
F/(0.707Dfv); cm.
เมื่อ fv = หน่วยแรงเฉื อนที่ยอมให้
− กรณี เชื่ อมแบบจุดต่อระหว่างองค์อาคารชน(มีแรงกระทําตามแกนขององค์
อาคารที่ต่อเท่านั้น)
แรงที่รับได้ F = (ft)(D)(L) = DLft; kg./cm. ของ 1 รอยเชื่อม
ดังนั้นใช้ขาเชื่อมยาว L = (แรงจากการวิเคราะห์)/(Dft) = F/(Dft); cm.
เมื่อ ft = หน่วยแรงดึงที่ยอมให้
74

5.7 การออกแบบข้ อต่ อหมุนหรือจุดต่ อระหว่ างองค์ อาคารในโครงข้ อหมุน


โดยพื้นฐานตามทฤษฎีของการวิเคราะห์โครงถักแล้ว ผลที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์
โครงสร้าง คือ แรงภายในที่เป็ นแรงตามแนวแกนเท่านั้น นัน่ หมายความว่าแรงภายในที่เราจะนําไปใช้
เพื่อออกแบบทั้งขนาดขององค์อาคารเอง และจุดต่อระหว่างองค์อาคารระหว่างองค์อาคาร มีเพียงแรงๆ
เดียวอาจเป็ นแรงดึงตามแนวแกนหรื อแรงอัดตามแนวแกน เท่านั้น ซึ่งแรงประเภทนี้เมื่อกระทําผ่านจุด
ต่อระหว่างองค์อาคาร (ไม่ว่าจะเป็ นการขันด้วยสลักเกลียวหรื อการเชื่อม) การวิบตั ิของจุดต่อระหว่าง
องค์อาคารจะเป็ นไปในลักษณะของการถูกเฉื อนให้ขาดออกจากกัน (ทั้งนี้ เนื่ องจากการวางตัวของสลัก
เกลี ยวหรื อพื้นที่ รับแรงของรอยเชื่ อมมักวางขวางกับแรงที่กระทํา) ดังนั้น ในการออกแบบจุ ดต่อ
ระหว่างองค์อาคารในกรณี ดงั กล่าว จะต้องออกแบบโดยพิจารณาที่หน่วยแรงเฉื อนเป็ นหลัก แต่มีขอ้
พึงระวังที่สําคัญ คือ แรงดังกล่าวต้องกระทําผ่านจุด cg. ของหน้าตัดองค์อาคารเท่านั้น และใน
ขณะเดียวกันก็จะต้องผ่านจุด cg. ของกลุ่มสลักเกลียวหรื อรอยเชื่อมที่เชื่อมด้วย เสมอ

ภาพที่ 5.5 แสดงการต่อองค์อาคารในโครงถักสําหรับเหล็กรู ปพรรณหน้าตัดรู ปทรงต่างๆ


ที่มา (Goreng, B., Tinyou, R., & Syam, A., 2005)
75

ภาพที่ 5.6 แสดงรู ปแบบของการต่อองค์อาคารในโครงถัก


ที่มา (Davison, B., and Owens, G.W., 2003)
1) การต่อองค์อาคารคํ้ายันหรื อตัวยัน กรณี ขององค์อาคารที่ทาํ หน้าที่เป็ นตัวยันหรื อคํ้า
ยัน เป็ นที่น่าสังเกตว่าองค์อาคารดังกล่าวมักถูกต่อโดยการวางตัวเอียงทํามุมกับองค์อาคาร
หลักเสมอ นั่นหมายความว่าแรงที่เกิ ดในองค์อาคารดังกล่าวเมื่อนําไปออกแบบจุดต่อ
ระหว่างองค์อาคาร จะต้องทําการแตกแรงให้อยูใ่ นแนวแกนอ้างอิงเสมอ (ทั้งในแนวแกน
X และแกน Y)
76

2) การออกแบบแผ่นปะกับจุดต่อโครงข้อหมุน จะใช้งานในกรณี เช่น ใช้เป็ นตัวกลาง


เพื่อการเชื่ อมต่อและส่ งถ่ายแรงระหว่างกลุ่มขององค์อาคารที่มาต่อกันเมื่อมีหลายองค์
อาคารที่จุดต่อนั้นๆ หรื อใช้เพื่อเพิ่มความยาวของรอยเชื่อม ดังนั้นการออกแบบแผ่นปะ
กับจุดต่อที่ถูกต้องจึงค่อนข้างยุง่ ยากและซับซ้อน อันเนื่ องมาจากการพัฒนาของระบบแรง
ที่แต่ละองค์อาคารส่ งผ่านจุดต่อ ดังนั้น เพื่อความสะดวกและรวดเร็ วโดยทัว่ ไปความหนา
ที่ตอ้ งการใช้จึงอาจประมาณการได้จาก

ภาพที่ 5.7 แสดงการใช้แผ่นเหล็กประกับในการต่อองค์อาคารของโครงถัก


ที่มา (ดัดแปลงมาจาก Schierle, G.G., 2002)
77

(1) ความหนาของแผ่นเหล็กประกับ
(2) การหาความหนาที่ถูกต้องแม่นยําเป็ นเรื่ องยาก เพื่อความสะดวกอาจเลือกใช้
ดังนี้
(3) การเลือกใช้จากประสบการณ์ทาํ งาน (ความชํานาญ)
(4) ไม่นอ้ ยกว่าความหนาตํ่าสุ ดของกลุ่มองค์อาคารที่มาต่อ
(5) ไม่นอ้ ยกว่าขนาดของขาเชื่อม แต่ไม่ควรตํ่ากว่า 6 mm.

5.8 การออกแบบทีร่ องรับหรือจุดรองรับโครงข้ อหมุน


ซึ่ งต้องออกแบบทั้งในส่ วนของจุดรองรั บที่เป็ นแบบบานพับ (มักนิ ยมเรี ยกว่า Fixed
Support) และในส่ วนของจุดรองรับที่เป็ นแบบล้อหมุน (มักนิ ยมเรี ยกว่า Free Support) โดยออกแบบ
ใน 3 ส่ วนคือ

ภาพที่ 5.8 แสดงจุดรองรับของโครงข้อหมุน


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
1) ออกแบบแผ่นเหล็กรอง: เฉพาะกรณี ที่เสารองรับเป็ นเสาคอนกรี ตเสริ มเหล็ก
(1) พื้นที่หรื อขนาดของแผ่นเหล็กรอง (A หรื อ BxL)
2
− A ≥ (4R)/fc’; cm. (ไม่ควรน้อยกว่าขนาดหน้าตัดเสา)
(2) ความหนาของแผ่นเหล็กรอง
− t = √[R/(0.75Fy)]; cm.
เมื่อ R = แรงปฏิกิริยา (ในแนวดิ่ง) ที่ฐานรองรับ; kg.
Fc’ = กําลังอัดของแท่งตัวอย่างคอนกรี ต (รู ปทรงกระบอก); ksc.
Fy = กําลังครากของแผ่นเหล็กรอง; ksc.
78

R
R
t
B
เสา
L

ภาพที่ 5.9 แสดงแผ่นเหล็กรองของจุดรองรับโครงข้อหมุน


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
2) ออกแบบสลักสมอหรื อสลักเกลียวยึด
ที่ถูกต้องหลักการคือ หาแรงยกหลังคาอันเนื่ องมาจากแรงลมและมุมยกของหลังคาแล้วลบ
ด้วยนํ้าหนักตายตัวทั้งหมดของหลังคา (รวมทั้งวัสดุมุง ฝ้ าเพดาน ไฟฟ้ า-ดวงโคม พัดลม
ลฯ)

0.6wCosθ
0.6w
แรงลม w 0.6wCosθ
0.6w
0.6wCosθ A
0.6w
แรงลม w 0.6wCosθ/2
0.6w P
P
แรงลม w θ
P
P/2

ภาพที่ 5.10 แสดงระบบแรงที่ใช้ในการออกแบบสลักสมอ


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
(1) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและจํานวนของสลักสมอ
2
− As = U/fs; cm.
2
− n = (4As)/(πØ )
เมื่อ w = แรงลมในแนวราบ (อ่านจากตารางที่ระดับความสูงต่างๆ); kg./m.2
P = นํ้าหนักบรรทุกคงที่ ที่กระทําที่จุดต่อ; kg.
A = พื้นที่ของแต่ละจุดต่อ; m.2
79

U = แรงยก = [∑(0.6AwCosθ)] - ∑AP; kg.


Ø = เส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กสลักสมอ; cm.
fs = หน่วยแรงดึงที่ยอมให้ของเหล็กสลักสมอ = 0.50Fy; ksc.
As = พื้นที่หน้าตัดของเหล็กสลักสมอ; cm.2
หมายเหตุ: ควรตรวจสอบความสามรถในการรับแรงเฉื อนเนื่องจากแรงด้านข้าง (ผล
จากแรงลม) ซึ่งก็คือแรงปฏิกิริยาในแนวราบนั้นเอง
(2) ความยาวระยะฝังของสลักสมอในคอนกรี ต ให้เลือกใช้ค่าที่มากที่สุด
− L = U/(πØu); cm.
− L = fsØ/4u); cm.
เมื่อ Ø = ส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กสมอยึด; cm.
fs = หน่วยแรงดึงที่ยอมให้ของเหล็กสมอยึด = 0.50Fy; ksc.
u = หน่วยแรงยึดเหนี่ยวที่ยอมให้ของคอนกรี ต โดย
u = (1.145√fc’)/Ø ≤ 11 ksc. สําหรับเหล็กกลม
u = (2.29√fc’)/Ø ≤ 25 ksc. สําหรับเหล็กข้ออ้อย
3) ออกแบบร่ องหรื อช่องสล๊อต (Slot)

R
t
B
R

เสา
∆L ∆L
Ø + 3 mm.

ภาพที่ 5.11 แสดงรายละเอียดสําหรับการออกแบบช่องสล๊อต (Slot)


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
(1) ความกว้างของร่ องที่เจาะ = ขาดเส้นผ่าศูนย์กลางของสมอยึด + ระยะเผื่อ (ใช้
3 mm.)
(2) ความยาวร่ องที่ตอ้ งเจาะเผือ่ ∆L = ∝∆TL
80

เมื่อ ∆L = ความยาวที่เปลี่ยนแปลงไป; m.
L = ความยาวเดิม; m.
∆T = การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ = Tmax.–Tmin.; ๐C
∝ = สัมประสิ ทธ์การขยายตัวเชิงเส้นเนื่องจากอุณหภูมิ; m./m./๐C
= 13x10-6

5.9 การออกแบบทีร่ องรับของจุดต่ อระหว่ างเสา


1) รู ปแบบของรอยต่อ

ภาพที่ 5.12 แสดงจุดต่อระหว่างองค์อาคารระหว่างเสาเหล็กรู ปพรรณกับฐานหรื อเสาตอม่อ


ที่มา (Ray, S.S., 1998)
81

m n

ภาพที่ 5.13 แสดงระยะที่จะนําไปใช้ในการวิเคราะห์โมเมนต์กรณี เสาหน้าตัดต่างๆ


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
2) การออกแบบ
เมื่อเสารับเฉพาะแรงกดตามแนวแกน (P)
(1) ขนาดของแผ่นเหล็กรองฐานเสา
2
− A (หรื อ BxL) ≥ P/(0.25Fc’); cm.
(2) ความหนาของแผ่นเหล็กรอง (ใช้ค่ามากสุ ด)
− t = (2n)√[(P/(BL))/(0.75Fy)]; cm.
− t = (2m)√[(P/(BL))/(0.75Fy)]; cm.
(3) ขนาดและจํานวนของสลักสมอหรื อสลักเกลียวยึดฐานเสา
กรณี น้ ีไม่จาํ เป็ นต้องใช้แต่เพื่อป้ องกันในกรณี เมื่อมีแรงกระทําด้านข้างจึงจําเป็ นที่
จะต้องใช้ โดยแรงที่ใช้ในการออกแบบจะเป็ นแรงกระทําที่ดา้ นข้าง (ในแนวราบ) อัน
เนื่ องมาจาก ผลของแรงลม และผลของแรงจากการเกิดแผ่นดิ นไหว เหล่านี้ เป็ นต้น
ซึ่งแรงดังกล่าว อาจมองได้วา่ เป็ นแรงเฉือนที่กระทําต่อตัวสลักสมอหรื อสลักเกลียวยึด
82

โดยทัว่ ไปมักนิ ยมให้แรงกระทําด้านข้างมีค่าประมาณ 10% ของนํ้าหนักบรรทุก


ทั้งหมดในแนวดิ่ง แต่เนื่องจากในปั จจุบนั แรงอันเกิดจากธรรมชาติค่อนข้างมีอิทธิพล
มากต่ อ การออกแบบขนาดองค์อ าคารของโครงสร้ า ง ดัง นั้น ทางที่ ดี ค วรทํา การ
วิเคราะห์ ห าขนาดของแรงที่ ก ระทํา ด้านข้างให้ละเอี ย ดและถูก ต้อง แต่ ถา้ ยุ่งยาก
ซับซ้อนเสี ยเวลา ดังนั้นในกรณี ของโครงสร้างที่ไม่มีขนาดใหญ่ ไม่สูงมากนักหรื อไม่
มีความสําคัญต่อการใช้งานมาก ในเบื้องต้นแรงกระทําด้านข้างอาจใช้ค่า
โดยประมาณอยูใ่ นช่วง 10% - 35% ของนํ้าหนักบรรทุกทั้งหมดในแนวดิ่ง
2
− A ≥ H/(0.40Fy); cm.
2
− n = A/[(π Ø )/4]; ตัว/ฐาน

เมื่อเสารับทั้งแรงกดตามแนวแกน (P) ร่ วมกับโมเมนต์ดดั (M)


(1) กรณี เมื่อ [P/(BL)] - [(6M)/(BL2)] เป็ นบวก (รับโมเมนต์ดดั น้อย e = M/P ≤ L/6)
(1) ขนาดของแผ่นเหล็กรองฐานเสา (แทนค่าแล้วทําให้หน่วยแรงไม่เกิน 0.25fc’)
2
− [P/(BL)] + [(6M)/(BL )] ≤ 0.25Fc’

(2) ความหนาของแผ่นเหล็กรอง
2
− fmax = [P/(BL)] + [(6M)/(BL )]
2
− fmin = [P/(BL)] - [(6M)/(BL )]
− fp = fmin + [(L+d)/(2L)][fmax-fmin]
− M = (1.95)[(fp+fmax)((L-d)/2)((L-d)/4)]; kg.-m. (ค่ า
โดยประมาณ)
− t = √[(6M)/(0.75Fy)]; cm.
(3) ขนาดและจํานวนของสลักสมอหรื อสลักเกลียวยึดฐานเสา
ในเบื้องต้นแรงกระทําด้านข้างอาจใช้ค่าประมาณอยูท่ ี่ 10% - 35% ของนํ้าหนัก
บรรทุก
2
− A ≥ H/(0.40Fy); cm.
2
− n = A/[(π Ø )/4]; ตัว/ฐาน
(2) กรณี เมื่อ [P/(BL)] - [(6M)/(BL2)] เป็ นลบ (รับโมเมนต์ดดั มาก e = M/P ≥ L/6)
(1) ขนาดของแผ่นเหล็กรองฐานเสา (แทนค่าแล้วทําให้หน่วยแรงไม่เกิน 0.25fc’)
2
− [P/(BL)] + [(6M)/(BL )] ≤ 0.25Fc’

(2) ความหนาของแผ่นเหล็กรอง
− x = 3[(L/2)-(M/P)]; m.
83

− fmax = 2/[(3B)((L/2)-(M/P))]; ksc. (แนะนําให้ใช้ (2P)/(Bx) หรื อ


0.40fc’)
− fp = (0.40fc’)[(x-((L-d)/2))/x]; kg.-m.
− M = (1.95)[(fmax-fp)((L-d)/2)((L-d)/4)]; kg.-m. (ค่าโดยประมาณ)
− t = √[(6M)/(0.75Fy)]; cm.
(3) ขนาดและจํานวนของสลักสมอหรื อสลักเกลียวยึดฐานเสา
− T = [(xB)(0.40fc’)]-P; kg. (ค่าโดยประมาณ)
2
− A ≥ T/(0.60Fy); cm.
2
− n = A/[(π Ø )/4]; ตัว/ฐาน
เมื่อ P = แรงกดตามแนวแกนจากเสา; kg.
H = แรงกระทําด้านข้าง; kg.
e = ระยะเยื้องศูนย์; cm.
T = แรงดึงในสลักเกลียว; kg.
M = โมเมนต์ดดั ; kg.-m.
fc’ = กําลังอัดของคอนกรี ต; ksc.
Fy = กําลังครากของเหล็กแผ่น; ksc.
B = ขนาดด้านกว้างของแผ่นเหล็กรองฐานเสา; cm.
L = ขนาดด้านยาวของแผ่นเหล็กรองฐานเสา; cm.
d = ความลึกของเสา; cm.
n = (L-0.95d)/2; cm.
m = (B-0.8b f )/2; cm.
Ø = เส้นผ่าศูนย์กลางของสลักเกลียว; cm.

5.10 การออกแบบจุดต่ อระหว่ างองค์ อาคารโครงสร้ างเหล็กรูปพรรณ


เนื่องจากองค์อาคารที่เป็ นโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ ในการส่ งถ่ายแรงระหว่างองค์อาคาร
นั้น เราไม่ ส ามารถที่ จ ะทํา การหล่ อให้ต่ อ เนื่ อ งเป็ นชิ้ น เดี ย วกัน ได้โ ดยง่ า ยเช่ น เดี ย วกับ โครงสร้ า ง
คอนกรี ตเสริ มเหล็ก ดังนั้นในการออกแบบองค์อาคารของโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ จะต้องทําการ
ออกแบบจุดต่อระหว่างองค์อาคารที่วางตัวต่อเนื่องกันด้วยเสมอ โดยทัว่ ไปรู ปแบบของจุดต่อที่นิยมใช้
ประกอบด้วย การเชื่ อมและการต่อด้วยสลักเกลียว ซึ่ งลักษณะของจุดต่อระหว่างองค์อาคารบางส่ วน
ดังแสดงในภาพที่ 5.14
84

ภาพที่ 5.14 แสดงลักษณะของจุดต่อระหว่างองค์อาคารในโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ


ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)
85

ภาพที่ 5.14 (ต่อ) แสดงลักษณะของจุดต่อระหว่างองค์อาคารในโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ


ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)

5.10.1 การออกแบบจุดต่ อรับแรงตามแนวแกน (ทั้งแรงดึงและแรงอัด)


แรงที่เกิดขึ้นต่อสลักเกลียวและรอยเชื่อม ประกอบด้วย แรงเฉื อนโดยตรง และแรง
แบกทาน
1) เมื่อต่อด้วยสลักเกลียว
− แรงเฉื อนที่สลักเกลียวรับได้ Fv = n(Ab)x(fv); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N1 = F/Fv; bolts
− แรงแบกทานที่สลักเกลียวรับได้ Fb = n(∅t)x(fb); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N2 = F/Fb; bolts
86

ภาพที่ 5.15 แสดงแรงที่เกิดในสลักเกลียวรับแรงตามแนวแกน


ที่มา (Lam, D., Ang, T.C., & Chiew, S.P., 2004)
การจัดเรี ยงระยะห่างระหว่างสลักเกลียว
− ระยะห่ างที่ขอบหรื อปลายของสลักเกลียวตัวริ มสุ ด Le ≥ 1.50∅
− ระยะห่ างระหว่างสลักเกลียวที่วางตัวเรี ยงในแนวเดียวกัน L ≥ 3∅
− ระยะเรี ยง (s) และระยะเกจ (g) ต้อง ≥ 3∅

ภาพที่ 5.16 แสดงการจัดเรี ยงระยะห่างระหว่างสลักเกลียว


ที่มา (Ambrose, J., & Tripeny, P., 2012)
87

ตารางที่ 5.2 แสดงหน่วยแรงที่ยอมให้ของสลักเกลียวตามมาตรฐาน ว.ส.ท.


กําลังรับแรงเฉือน (ksc.) หน่วยแรง
กําลังรับแรงดึง
ประเภทของสลักเกลียว ต่อแบบมีแรง ต่อแบบมีแรง แบกทาน
(ksc.)
เสี ยดทาน แบกทาน (ksc.)
A307 (สลักเกลียวธรรมดา) 1,400 - 700 1.35Fy
A325, A449 (สลักเกลียว
กําลัง สู ง, เกลี ย วอยู่ใ น 2,800 1,050 1,050 1.35Fy
ระนาบแรงเฉื อน)
A325, A449 (สลักเกลียว
กําลังสู ง, เกลียวไม่อยู่ใน 2,800 1,050 1,540 1.35Fy
ระนาบแรงเฉื อน)
A490 (สลักเกลียวกําลังสู ง,
เกลี ย วอยู่ ใ นระนาบแรง 3,780 1,400 1,575 1.35Fy
เฉือน)
A490 (สลักเกลียวกําลังสู ง,
เกลี ยวไม่อยู่ในระนาบแรง 3,780 1,400 2.240 1.35Fy
เฉือน)
ที่มา (ทักษิณ เทพชาตรี , 2536)
แต่ ท้ งั นี้ ทั้ง นั้น หน่ ว ยแรงที่ ย อมให้ จะต้อ งมี ค่ าไม่ เ กิ น หน่ ว ยแรงตามสมการ
ดังต่อไปนี้
− กรณี ต่อแบบมีแรงแบกทาน
สลักเกลียวประเภท A307; ft = 1,960-1.6Fv ≤ 1,400 ksc.
สลักเกลียวประเภท A325 และ A449; ft = 3,500-1.6Fv ≤ 2,800 ksc.
สลักเกลียวประเภท A490; ft = 4,900-1.6Fv ≤ 3,780 ksc.
− กรณี ต่อแบบมีแรงเสี ยดทาน
สลักเกลียวประเภท A325 และ A449; fv ≤ 1,050(1-FtAb/Tb) ksc.
สลักเกลียวประเภท A490; fv ≤ 1,400(1-FtAb/Tb) ksc.
เมื่อ ft, fv = หน่วยแรงดึงและหน่วยแรงเฉือนที่ยอมให้ ตามลําดับ
Ft, Fv = หน่วยแรงดึงและหน่วยแรงเฉื อนที่เกิดขึ้นจริ ง ตามลําดับ
88

2) เมื่อต่อด้วยการเชื่อม
− แรงเฉื อนที่รอยเชื่อมรับได้ Fv = (0.707D)x(fv); kg./unit length
− ดังนั้นความยาวรอยเชื่อมที่ตอ ้ งการ L = F/Fv; cm.
เมื่อ F = แรงกระทํา; kg.
Ab = พื้นที่หน้าตัดของสลักเกลียว; cm.2
fv = หน่วยแรงเฉื อนที่ยอมให้ของสลักเกลียวหรื อรอยเชื่อม; ksc.
fb = หน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของสลักเกลียว; ksc.
n = จํานวนระนาบ
D = ขนาดของรอยเชื่อม; cm.
L = ความยาวของรอยเชื่อม; cm.
t = ความหนาของเหล็ก; cm.
∅ = เส้นผ่าศูนย์กลางของสลักเกลียว; cm.

5.10.2 การออกแบบจุดต่ อรับแรงเฉือนตรง (แรงตามตามแนวแกนของโครงถัก)

ภาพที่ 5.17 แสดงลักษณะของจุดต่อที่รับแรงเฉือนตรง


ที่มา (ดัดแปลงจาก Mckenzie, W. M.C., 2006)
89

1) เมื่อต่อด้วยสลักเกลียว
− ในการออกแบบต้องตรวจสอบในทั้ง 2 ส่ วน แล้วเลือกใช้ค่ามากสุ ด
− แรงเฉื อนที่สลักเกลียวรับได้ Fv = n(Ab)x(fv); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N1 = T/Fv; bolts
− แรงแบกทานที่สลักเกลียวรับได้ Fb = n(∅t)x(fb); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N2 = T/Fb; bolts

ภาพที่ 5.18 แสดงแรงที่เกิดในสลักเกลียวที่ต่อแบบรับแรงเฉื อนตรง


ที่มา (ดัดแปลงจาก Mckenzie, W. M.C., 2006)
2) เมื่อต่อด้วยการเชื่อม (โดยวิธีสมดุล)
− แรงเฉื อนที่รอยเชื่อมรับได้ Fv = (0.707D)x(fv); kg./unit length
L3 มีค่า = ความกว้างของชิ้นส่ วนที่ต่อเชื่อม; cm.
− P3 = (Fv)(L3)(fv); kg.
− P1 = (Tc/L3)-(P3/2); kg.
ดังนั้น L1 = P1/Fv; cm.
− P2 = T-(P1+P3); kg.
ดังนั้น L2 = P2/Fv; cm.
เมื่อ T = แรงกระทํา; kg.
fv = หน่วยแรงเฉื อนที่ยอมให้ของสลักเกลียวหรื อรอยเชื่อม; ksc.
D = ขนาดของรอยเชื่อม; cm.
L1, L2, L3 = ความยาวรอยเชื่อม; cm.
P1 = แรงที่รอยเชื่อมยาว L1 รับได้; kg.
P2 = แรงที่รอยเชื่อมยาว L2 รับได้; kg.
P3 = แรงที่รอยเชื่อมยาว L3 รับได้; kg.
90

ภาพที่ 5.19 แสดงแรงที่เกิดในรอยเชื่อมที่ต่อแบบรับแรงเฉือนตรง


ที่มา (ดัดแปลงจาก Mckenzie, W. M.C., 2006)

5.10.3 การออกแบบจุดต่ อเพือ่ รับแรงเฉือนเยือ้ งศูนย์ (ในระนาบ)


ในที่น้ ี วิธีการวิเคราะห์หาแรงต่างๆที่เกิดบริ เวณจุดต่อเป็ นวิธี Elastic Analysis ซึ่ ง
ระบบแรงที่เกิดขึ้นประกอบด้วย แรงเฉื อนโดยตรงและแรงเฉื อนทางอ้อมที่เกิดจากโมเมนต์เนื่ องจาก
แรงเยื้องศูนย์
1) เมื่อต่อด้วยสลักเกลียว

ภาพที่ 5.20 แสดงแรงที่เกิดในสลักเกลียวที่ต่อแบบรับแรงเฉือนเยื้องศูนย์


ที่มา (Trahair, N.S., et al., 2008)
− แรงเฉื อนโดยตรง
Vx1 = Px/N, Vy1 = Py/N
− แรงเฉื อนทางอ้อม
Vx2 = (M)(Ymax)/Σ(x2+y2), Vy2 = (M)(Xmax)/Σ(x2+y2),
91

− แรงเฉื อ นสุ ท ธิ ม ากที่ สุ ด ที่ ก ระทํา ต่ อ สลัก เกลี ย ว (ตัว ไกลสุ ด ) V =


2 2
√[(Vx1+Vx2) +(Vy1+Vy2) ] ≤ กําลังรับแรงเฉื อนของสลักเกลียว
เมื่อ P = แรงกระทํา; kg.
e = ระยะเยื้องศูนย์; cm.
N = จํานวนของสลักเกลียว
Vx1, Vy1 = แรงเฉื อนตัวที่ 1 ในแนวแกน x และแกน y ตามลําดับ; kg.
Vx2, Vy2 = แรงเฉื อนตัวที่ 2 ในแนวแกน x และแกน y ตามลําดับ; kg.
M = ผลรวมโมเมนต์บิดรอบจุด cg. เนื่องจากแรงย่อยของแรง P เยื้องศูนย์;
kg.-cm.
= Σ(Mx+My) บวก/ลบ ตามทิศทางการหมุนโดย Mx = (Py)(ex),
My = (Px)(ey),
Xmax = ระยะตามแนวแกน x ของสลักเกลียวตัวไกลสุ ดวัดจากจุด cg.; cm.
Ymax = ระยะตามแนวแกน y ของสลักเกลียวตัวไกลสุ ดวัดจากจุด cg.; cm.
2 2 2
Σ(x +y ) =โมเมนต์ความเฉื่ อยเชิงขั้ว; cm.
x2 = ผลรวมระยะตามแนวแกน x ของสลักเกลียวทุกตัววัดจากจุด cg.
ยกกําลังสอง
y2 = ผลรวมระยะตามแนวแกน y ของสลักเกลียวทุกตัววัดจากจุด cg.
ยกกําลังสอง
2) เมื่อต่อด้วยการเชื่อม

ภาพที่ 5.21 แสดงแรงที่เกิดในรอยเชื่อมที่ต่อแบบรับแรงเฉือนเยื้องศูนย์


ที่มา (Chen, Wai-Fah & Lui, E. M., 2006)
92

− แรงเฉื อนโดยตรง
Vx1 = Px/L, Vy1 = Py/L
− แรงเฉื อนทางอ้อม
Xav = ((L21/2)+(L23/2))/L, Yav = (L22/2)/L
Ix = (L32/12)+(L1+L2)(L2/2)2
Iy = (L31/12)+L1((L1/2)-Xav)2+(L33/12)+L3((L3/2)-Xav)2+L2(Xav)2
Vx2 = (M)(Ymax)/(Ix+Iy), Vy2 = (M)(Xmax)/(Ix+Iy),
− แรงเฉื อ นสุ ท ธิ ม ากที่ สุ ด ที่ ก ระทํา ต่ อ รอยเชื่ อ ม (ไกลสุ ด ) V =
2 2
√[(Vx1+Vx2) +(Vy1+Vy2) ] ≤ กําลังรับแรงเฉื อนของรอยเชื่อม
เมื่อ P = แรงกระทํา; kg.
e = ระยะเยื้องศูนย์; cm.
Vx1, Vy1 = แรงเฉื อนตัวที่ 1 ในแนวแกน x และแกน y ตามลําดับ; kg.
Vx2, Vy2 = แรงเฉื อนตัวที่ 2 ในแนวแกน x และแกน y ตามลําดับ; kg.
M = ผลรวมโมเมนต์บิดรอบจุด cg. เนื่องจากแรงย่อยของแรง P เยื้องศูนย์;
kg.-cm.
= Σ(Mx+My) บวก/ลบ ตามทิศทางการหมุนโดย Mx = (Py)(ex),
My = (Px)(ey)
Xav, Yav = ตําแหน่งจุด cg. ของรอยเชื่อม; cm.
L1, L2, L3 = ความยาวของรอยเชื่อมแต่ละส่ วน; cm.
L = ผลรวมความยาวทั้งหมดของรอยเชื่อม; cm.
Ix, Iy = โมเมนต์ที่สองของพื้นที่ของรอยเชื่อมรอบแกน x และ y ตามลําดับ;
cm.4
Xmax = ระยะตามแนวแกน x ของรอยเชื่อมส่ วนที่ไกลสุ ดวัดจากจุด cg.; cm.
Ymax = ระยะตามแนวแกน y ของรอยเชื่อมส่ วนที่ไกลสุ ดวัดจากจุด cg.; cm.

5.10.4 การออกแบบจุดต่ อเพื่อรั บแรงเฉือนและโมเมนต์ ดัด (หรื อรั บแรงเยือ้ งศู นย์ นอก
ระนาบ)
ในที่น้ ี วิธีการวิเคราะห์หาแรงต่างๆที่เกิดบริ เวณจุดต่อเป็ นวิธี Elastic Analysis ซึ่ ง
ระบบแรงที่เกิดขึ้นประกอบด้วย แรงเฉื อนโดยตรงและแรงดึงทางอ้อม ที่เกิดจากโมเมนต์เนื่ องจากแรง
เยื้องศูนย์
93

1) เมื่อต่อด้วยสลักเกลียว

ภาพที่ 5.22 แสดงลักษณะต่อแบบรับแรงเฉือนและโมเมนต์ดดั


ที่มา (Chen, Wai-Fah & Lui, E. M., 2006)

ภาพที่ 5.23 แสดงแรงที่เกิดในสลักเกลียวที่ต่อแบบรับแรงเฉือนและโมเมนต์ดดั


ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)
− แรงเฉื อนโดยตรง
V = P/N; kg. ≤ กําลังรับแรงเฉื อนของสลักเกลียว
− แรงดึงทางอ้อม (แรงดึงสู งสุ ดในสลักเกลียวตัวไกลสุ ด)
T = Pe/(nΣd); kg. ≤ กําลังรับแรงดึงของสลักเกลียว
เมื่อ P = แรงกระทํา; kg.
e = ระยะเยื้องศูนย์; cm.
N = จํานวนของสลักเกลียว
n = จํานวนระนาบหรื อจํานวนสลักเกลียวที่อยูใ่ นแถวเดียวกัน
V = แรงเฉือน; kg.
94

M = Pe = ผลรวมโมเมนต์บิดรอบจุด cg. เนื่องจากแรง P เยื้องศูนย์; kg.-cm.


Σd = ผลรวมของระยะห่ างสลักเกลียวแต่ละตัวจากจุก cg. ในแนวแกน y; cm.
e = ระยะเยื้องศูนย์วดั จากแรง P ถึงระนาบแรงเฉือน; cm.
2) เมื่อต่อด้วยการเชื่อม

ภาพที่ 5.24 แสดงแรงที่เกิดในรอยเชื่อมที่ต่อแบบรับแรงเฉือนและโมเมนต์ดดั


ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)

− แรงเฉื อนโดยตรง
V = P/A; kg. ≤ กําลังรับแรงเฉือนของรอยเชื่อม
− แรงดึงทางอ้อม (แรงดึงสู งสุ ดในรอยเชื่อม)
T = PeC/Ix; kg. ≤ กําลังรับแรงดึงของรอยเชื่อม
2 2
− แรงเฉื อนสุ ทธิ มากที่สุดที่กระทําต่อรอยเชื่ อม V = √[(V) +(T) ] ≤ กําลังรับ
แรงเฉื อนของรอยเชื่อม
เมื่อ P = แรงกระทํา; kg.
A = พื้นที่หน้าตัดของกลุ่มรอยเชื่อม; cm.2
e = ระยะเยื้องศูนย์; cm.
C = ระยะจากจุด cg. ไปยังรอยเชื่อมที่ไกลสุ ด; cm.
Ix = โมเมนต์ที่สองของพื้นที่ของกลุ่มรอยเชื่อม (ขนาด 1 หน่วย)
รอบแกน x ที่จุด cg.; cm.4
95

5.10.5 การออกแบบจุดต่ อรับแรงเฉือนและแรงดึง (แรงทีก่ ระทําไม่ ขนานแกนอ้ างอิง)


โดยทัว่ ไปเป็ นการต่อขององค์อาคารหลักกับชิ้นส่ วนรับแรงด้านข้าง เช่น แกงแนง
โดยแรงทั้งสองที่เกิ ดขึ้นเป็ นผลมาจากการแตกแรงที่กระทําเข้าแนวแกน y (จะเป็ นแรงเฉื อน) และ
แนวแกน x (จะเป็ นแรงดึง) ซึ่งในการออกแบบแรงทั้งหมดถูกมองว่ากระทําผ่านจุด cg. ของรอยเชื่อม
หรื อสลักเกลียว

ภาพที่ 5.25 แสดงลักษณะจุดต่อที่รับทั้งแรงเฉื อนและแรงดึง


ที่มา (ดัดแปลงจาก Chen, Wai-Fah & Lui, E. M., 2006)
96

1) เมื่อต่อด้วยสลักเกลียว
− แรงเฉื อนที่สลักเกลียวรับได้ Fv = (Ab)x(fv); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N1 = Py/Fv; bolts
− แรงแบกทานที่สลักเกลียวรับได้ Fb = (∅t)x(fb); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N2 = Py/Fb; bolts
− แรงดึงที่สลักเกลียวรับได้ Ft = (Ab)x(ft); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N3 = Px/Ft; bolts
2) เมื่อต่อด้วยการเชื่อม
− หน่ วยแรงเฉื อนที่รอยเชื่อมรับ fws = Py/DL; ksc.
− หน่ วยแรงดึงที่รอยเชื่อมรับ fwt = Px/DL; ksc.
2 2
− ดังนั้นหน่ วยแรงเฉื อนทั้งหมดที่เกิด fw = √[(fws) +(fwt) ]; ksc. ≤ กําลังรับ
แรงเฉื อนของรอยเชื่อม
เมื่อ P = แรงกระทํา; kg.
Py = แรงกระทําในแนวแกน y หรื อแรงเฉือน; kg.
Px = แรงกระทําในแนวแกน x หรื อแรงดึง; kg.
Ab = พื้นที่หน้าตัดของสลักเกลียว; cm.2
fv = หน่วยแรงเฉื อนที่ยอมให้ของสลักเกลียวหรื อรอยเชื่อม; ksc.
fb = หน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของสลักเกลียว; ksc.
ft = หน่วยแรงดึงที่ยอมให้ของสลักเกลียว; ksc.
D = ขนาดของรอยเชื่อม; cm.
L = ความยาวของรอยเชื่อม; cm.
t = ความหนาของเหล็ก; cm.
∅ = เส้นผ่าศูนย์กลางของสลักเกลียว; cm.

5.10.6 การออกแบบจุดต่ อทีป่ ลาย คาน-คาน หรือ คาน-เสา


เป็ นการต่อ (แม้จะถูกมองว่าไม่สามารถรับโมเมนต์ได้ แต่แท้จริ งแล้วสามารถรับ
แรงดังกล่าวได้อยูใ่ นช่วง 10% - 20%) โดยอาศัยเหล็กฉากคู่ยดึ ปะกับที่จุดต่อ โดยทัว่ ไปมักนิ ยมใช้ใน
การต่อขององค์อาคารเพื่อรับเฉพาะแรงในแนวดิ่งหรื อแรงเฉื อนเท่านั้น (ส่ วนการต่อเมื่อมีแรงกระทํา
ด้านข้าง เช่น แรงลมและแรงแผ่นดินไหวไม่เหมาะที่จะใช้การต่อด้วยวิธีดงั กล่าวนี้ แต่ถา้ หากว่าได้มี
แกงแนงที่ดา้ นข้างเพื่อรับแรงดังกล่าวแล้ว ก็สามารถทําการต่อในลักษณะดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน) เช่น
คานหลักกับคานรอง คานต่อเข้ากับเสา ดังแสดงในภาพที่ 5.26
97

ภาพที่ 5.26 แสดงลักษณะจุดต่อชนระหว่าง คาน-คาน และคาน-เสา


ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)
98

ภาพที่ 5.27 แสดงลักษณะจุดต่อชนระหว่าง คาน-เสา ด้วยสลักเกลียว


ที่มา (Chen, Wai-Fah & Lui, E. M., 2006)
กรณี ต่อด้วยสลักเกลียว
เหล็กฉากที่ใช้เป็ นตัวกลางส่ งถ่ายแรงระหว่างองค์อาคาร มีขอ้ พึงระวัง ดังนี้
1) ความยาวของเหล็กฉากที่ใช้ (L) ถูกควบคุมโดยความลึกแผ่นเอวของคาน
ความยาวตํ่าสุ ด Lmin = 2a+(N-1)(3∅) < ความลึกของแผ่นปี กคาน
2) ความหนาของเหล็กฉาก หาได้โดยตรงจากหน่วยแรงเฉื อนที่ยอมให้
fv = 0.40Fy = (P/2)/A = P/(Lt) ดังนั้น t = (P/2)/((0.40Fy)xLmin)
3) สลักเกลียวที่อยูใ่ นส่ วนเอวของคาน (ตัวที่ไปต่อเชื่อม) จะรับทั้งแรงเฉือนใน
2 ระนาบ และแรงแบกทานกับแผ่นเอวของคาน
แรงเฉื อนที่สลักเกลียวรับได้ Fv = 2(Ab)x(fv); kg./bolt
แรงแบกทานที่สลักเกลียวรับได้ Fb = (∅t)x(fb); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N = P/(Fv หรื อ Fb โดยใช้ค่าตํ่าสุ ด)
4) สลักเกลียวที่อยูใ่ นส่ วนเอวของคาน (ตัวที่ถูกต่อเชื่อม) หรื อปี กของเสา จะ
รับทั้งแรงเฉื อนใน 1 ระนาบ และแรงแบกทานกับแผ่นเอวของคาน (ตัวที่ถูก
ต่อเชื่อม) หรื อกับแผ่นปี กของเสา
แรงเฉื อนที่สลักเกลียวรับได้ Fv = (Ab)x(fv); kg./bolt
แรงแบกทานที่สลักเกลียวรับได้ Fb = (∅t)x(fb); kg./bolt
ดังนั้นจํานวนสลักเกลียวที่ตอ้ งการ N = P/(Fv หรื อ Fb โดยใช้ค่าตํ่าสุ ด)
เมื่อ P = แรงที่กระทํา; kg.
t = ความหนา; cm.
a = คือระยะขอบหรื อปลาย; cm.
∅ = เส้นผ่าศูนย์กลางของสลักเกลียว; cm.

N = จํานวนสลักเกลียว
99

5.10.7 การออกแบบจุดต่ อ คาน-คาน และคาน-เสา โดยใช้ แท่ นรับแรง


โดยใช้เหล็กฉากเป็ นแท่นรับ ส่ วนเหล็กฉากที่ใช้ยึดที่ปีกบนของคานเข้ากับเสาก็
เพียงเพื่อป้ องกันไม่ให้คานเมื่อรับนํ้าหนักบรรทุกเกิดการเซหรื อสะบัดด้านข้าง จึงมองว่าไม่ได้รับแรง
ใดๆเลย ส่ วนเหล็กฉากที่ใช้ยดึ ปี กคานด้านล่างถูกมองว่ารับแรงปฏิกิริยาโดยตรงทั้งหมด ดังนั้นความ
ยาวของขาเหล็กฉากจะต้องมากพอที่จะไม่ทาํ ให้เกิดการยูข่ องแผ่นแอวคาน และต้องหนาเพียงพอที่จะ
รับแรงปฏิกิริยาทั้งหมดได้โดยไม่ทาํ ให้เกิดหน่วยแรงดัดเกินหน่วยดัดที่ยอมให้

ภาพที่ 5.28 แสดงลักษณะจุดต่อชนระหว่าง คาน-เสา โดยใช่แท่นรับแรง


ที่มา (Chen, Wai-Fah & Lui, E. M., 2006)
100

1) ออกแบบเหล็กฉาก
− ความยาวของขาเหล็กฉากที่ตอ ้ งการ N = (R/(tw(0.75Fy)))-k; cm.
− ระยะ e = (N/2)+0.30-t; cm.
2
− ความหนาเหล็กฉาก t = (-R+√(R +0.5FybR(N/2+0.30)))/(0.25Fyb); cm.

ภาพที่ 5.29 แสดงรายละเอียดจุดต่อชนระหว่าง คาน-เสา โดยใช่แท่นรับแรง


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
2) ออกแบบสลักเกลียวหรื อรอยเชื่อมเพื่อยึดขาเหล็กฉากในแนวดิ่งเข้ากับเสาหรื อ
คานรองรับ ออกแบบโดยมองว่าผลของแรงปฏิกิริยาที่ถ่ายจากปลายคานมายัง
แท่นรั บแรง มีผลทําให้เกิ ดเฉพาะแรงเฉื อนและแรงแบกทานต่อสลักเกลียว
หรื อรอยเชื่อมเท่านั้น

5.11 บทสรุป
การออกแบบโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ มีวิธีการเป็ นขั้นตอนที่ตายตัว จึงค่อนข้างง่ายไม่
ยุง่ ยากซับซ้อนเช่นกันกับในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้าง แต่หลักการที่สาํ คัญและถูกต้องคือ
การออกแบบจะต้องออกแบบตามหลักการส่ งถ่ายแรง และต้องเป็ นไปตามมาตรฐานหรื อข้อบัญญัติ
ของการออกแบบเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิง่ ระยะแอ่นหรื อโก่งตัว จะต้องมีการตรวจสอบด้วยเสมอ
สมการและขั้นตอนการออกแบบโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ ในบทนี้ เป็ นเพียงพื้นฐานการ
ออกแบบเริ่ มแรกเท่านั้น หากเข้าใจในวิธีการและหลักการเบื้องต้นแล้ว ควรมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มใน
รายละเอียดของแต่ละหัวข้อที่ลึกซึ้งให้มาก
บทที่ 6

เกีย่ วกับโปรแกรม Multiframe4D

6.1 เกีย่ วกับโปรแกรม Multiframe4D


เป็ นโปรแกรมช่ วยงานด้านวิศวกรรมโยธา (วิศวกรรมโครงสร้าง) ทั้งในด้านการวิเคราะห์
โครงสร้างและด้านการออกแบบโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ และที่สาํ คัญที่สุดคือ ได้รับรางวัลการันตี
Hot Award จากสถาบันการออกแบบโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณของสหรัฐอเมริ กา (AISC)
Multiframe หมายถึง Multi + Frame = มาก, หลาย + โครงข้อแข็ง = โครงข้อแข็งหลายโครงมา
ต่อกันเป็ นองค์อาคาร
4D หมายถึง โปรแกรมมีความสามารถในการวิเคราะห์โครงสร้างที่รับนํ้าหนักบรรทุกเชิงได
นามิคหรื อนํ้าหนักบรรทุกที่ข้ ึนอยูก่ บั เวลา เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว ลฯ
1) ใช้ได้กบั ระบบปฏิบตั ิการ Windows ทุกเวอร์ชนั
2) ติดตั้งได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ ว ใช้เวลาน้อย ทั้งนี้ เนื่ องจากตัวโปรแกรมมีพ้ืนฐานการ
เขียนและออกแบบจากระบบปฏิบตั ิการยุคอวกาศ (Windows) ไม่ใช่ยคุ สงครามโลกครั้ง
ที่ 1 หรื อขวานฟ้ าหน้าดํา (DOS)
3) สามารถวิเคราะห์โครงสร้างที่มีระบบแรงกระทําได้ท้ งั แบบ Static และ Dynamic จึงเป็ น
ที่มาของคําว่า 4D ที่สาํ คัญคือการประมวลผลเร็ วมากแบบโคตรๆและเร็ วกว่ามากเมื่อ
เทียบกับโปรแกรมตัวใหญ่ๆประเภทเดียวกัน
4) เป็ นโปรแกรมที่สามารถวิเคราะห์โครงสร้างได้ท้ งั ในรู ปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ (ทั้ง คสล.,
เหล็กรู ปพรรณ, ไม้, อลูมิเนียม, ลฯ)
5) รองรับการออกแบบเฉพาะโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ และที่สาํ คัญคือมีความยืดหยุ่นสู ง
ทําให้เราสามารถปรั บตั้ง ค่าหน่ วยแรงควบคุ มการออกแบบและข้อกําหนดต่ างๆ ให้
เป็ นไปตามตามมาตรฐานการออกแบบของประเทศไทยเราได้โดยง่ายและรวดเร็ ว ซึ่ งต่าง
จากโปรแกรมตัวอื่นๆ แบบหนึ่งไม่มีสอง
102

6) มีโปรแกรมช่วยสร้างหน้าตัดเหล็กแบบหน้าตัดเชิงประกอบหรื อ Built Up อยูใ่ นตัวพร้อม


เสร็ จ
7) มีระบบหน่ วยวัดต่างๆให้ปรับแก้ได้เพื่อให้สอดคล้องกับระบบหน่วยวัดของประเทศไทย
เรา
8) การวางคําสั่งการใช้งานและเครื่ องไม้เครื่ องมือที่จาํ เป็ น ดูสะอาดไม่รกหู รกตาและไม่
ซับซ้อนหรื อมากเกินไป มีความเป็ นมิตรกับผูใ้ ช้งานสูง
9) การใช้งานจึงง่ายไม่สลับซับซ้อน มีข้ นั ตอนไม่ยงุ่ ยาก จึงเหมาะสําหรับผูท้ ี่ตอ้ งการใช้งาน
ในทุกระดับ (สายสถาปั ตย์-สายช่ าง-สายวิศวกร และบุคคลสายอื่นๆที่ตอ้ งการเรี ยนรู ้ )
แบบว่าง่ายยิง่ กว่าพลิกฝ่ ามือเสี ยอีก
10) มีการเขียนคําสั่งช่วยป้ อนข้อมูลในแต่ละขั้นตอนซ่อนอยู่ใน Background ทําให้ผใู ้ ช้งาน
ลดขั้นตอนการทํางานลงได้ (ไม่ว่าจะเป็ นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง การลด การลบและการ
เพิ่มต่างๆ)
11) สามารถดึงเข้าและส่ งออกข้อมูลจากโปรแกรมสายเลือด CAD รู ปแบบ DXF ได้สุดแสน
จะง่ายดาย
12) การแสดงผลมีครบทุกรู ปแบบทั้งทางด้านกราฟริ ก (Multi Windows) และตารางข้อมูล
(Multi Tables) ซึ่งเราสามารจัด Lay Out ได้ แบบไม่อายโปรแกรมตัวอื่นๆ
13) การอ่านหรื อดูผลง่ายมากๆ ซึ่งสามารถแสดงพร้อมๆกันได้หลายหน้าต่างหรื อหลายตาราง
14) เป็ นโปรแกรมที่มีการ Render 3D ที่สวยสุ ดซึ่งขั้นเทพเท่าที่เคยเห็นมา
15) ผลการวิเคราะห์โครงสร้างสามารถสร้างเป็ นไฟล์ภาพ Animation และภาพรู ปแบบเสมือน
จริ ง (VRML) ได้ ซึ่งเหมาะสําหรับงาน Present ให้กบั ลูกค้าและผูบ้ งั คับบัญชา
16) ที่สาํ คัญมีวีดิโอบรรยายสาธิ ตการใช้งานมากกว่า 30 บท (บรรยายโดย อ.เสริ มพันธ์ เอี่ยม
จะบก)
6.2 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Multiframe4D

6.2.1 ติดตั้งโดยปกติทวั่ ไป
1) ดับเบิ้ลคลิ้กที่ไฟล์โปรแกรม OriginalMultiframe4D8.51
103

2) ที่หน้าต่าง Welcome ให้คลิ้กที่ปุ่ม NEXT


3) ที่หน้าต่าง User Information ให้ป้อน NAME: และ Company: จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม NEXT
4) ที่หน้าต่าง Choose Destination Location ให้คลิ้กที่ปุ่ม Browse…เพื่อระบุตาํ แหน่งการ
ติดตั้ง
5) ที่หน้าต่าง Select County ให้คลิ้กเลือกประเทศ (ตามความเหมาะสม) จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม
NEXT
6) ที่หน้าต่าง Choose Components ให้คลิ้กเลือกที่ Select All (ตามความเหมาะสม) จากนั้น
คลิ้กที่ปุ่ม NEXT
7) ที่หน้าต่าง Select Installation Type ให้คลิ้กเลือกที่ Standalone (Single Use) จากนั้นคลิ้กที่
ปุ่ ม NEXT
8) ที่หน้าต่าง Select Standalone Dongle ให้คลิ้กเลือกที่ Sentinel Super Pro จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม
NEXT
9) ที่หน้าต่าง Select Program Folder ให้คลิ้กเลือกตามความเหมาะสม จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม
NEXT
10) ที่หน้าต่าง Setup Complete ให้คลิ้กที่ปุ่ม Yes จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม Finish
2.2.2 ติดตั้งโดยการกระจายไฟล์
เป็ นการกระจายไฟล์ขอ้ มูลและโฟลเดอร์ ต่างๆซึ่ งผมได้ทาํ การ Generate ใหม่โดยไม่ตอ้ งทํา
การติดตั้งผ่านไฟล์ Install
1) ดับเบิ้ลคลิ้กที่ไฟล์โปรแกรม SP-Multiframe4D8.51
2) ที่ Destination Folder ให้พิมพ์ชื่อ Drive และโฟลเดอร์ หรื อคลิ้กที่ปุ่ม Browse…เพื่อระบุ
ชื่อและตําแหน่งการกระจายไฟล์
3) จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม NEXT
104

6.3 การเข้ าใช้ งาน

1) ที่หน้าจอ ให้ดบั เบิ้ลคลิ้กที่ไอคอน


2) ให้คลิ้กที่ปุ่ม No
105

6.4 รูปร่ างหน้ าตาของโปรแกรม Multiframe4D


106

6.4 องค์ ประกอบของโปรแกรม Multiframe4D


ในที่น้ ี โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนคู่มือและการบรรยาย จะเป็ น Multiframe4D version 8.51
ดังนั้นใน version อื่น อาจมีคาํ สัง่ และองค์ประกอบบนหน้าจอแตกต่างจากนี้ไปบ้าง
107

1. ส่ วนคําสั่งหลัก (Main Menu): เป็ นที่รวบรวมกลุ่มชุ ดของคําสั่ง ที่แสดงถึงศักย์ภาพ


ความสามารถทั้งหมดของโปรแกรม หากที่ Tool Bar ไม่มีคาํ สั่งที่ตอ้ งการ ก็จะมีปรากฏอยูท่ ี่
ส่ วนคําสั่งนี้ ประกอบด้วย File Edit View Geometry Frame Load Display Case Time Design
Window Help

2. ส่ วนกลุ่มคําสั่งลัด (Toolbars): เป็ นชุดคําสั่งในทางลัด ที่เพียงพอต่อการใช้งานทัว่ ๆไป หรื อมี


การใช้งานค่อนข้างบ่อย
2.1 ที่หน้าต่างแรกเมื่อเปิ ดโปรแกรมขึ้นมา (Window → 1Frame) ประกอบด้วยประกอบด้วย
กลุ่มคําสั่ง File กลุ่มคําสั่ง View กลุ่มคําสั่ง Symbols กลุ่มคําสั่ง Window กลุ่มคําสั่ง
108

Formatting กลุ่มคําสั่ง Load Case กลุ่มคําสั่ง 3D View กลุ่มคําสั่ง Generate กลุ่มคําสั่ง


Member กลุ่มคําสัง่ Joint ตามลําดับ

2.2 ที่หน้าต่าง Window → 3Load ประกอบด้วยประกอบด้วย กลุ่มคําสั่ง 4 ส่ วน คือ คําสั่งให้


แสดงค่าตัวเลข คําสัง่ ใส่ น้ าํ หนักบรรทุกที่จุดต่อ คําสัง่ ใส่ น้ าํ หนักบรรทุกให้กบั ชิ้นส่ วน (ตาม
ระบบแกน Global) และคํา สั่ ง ใส่ น้ ํา หนัก บรรทุ ก ให้กับ ชิ้ น ส่ ว น (ตามระบบแกน Local)
ตามลําดับ

2.3 ที่หน้าต่าง Window → 5Plot ประกอบด้วยประกอบด้วย กลุ่มคําสั่ง 4 ส่ วน คือ คําสั่งให้


แสดงค่าตัวเลข คําสั่งให้แสดงแรงภายในและการเสี ยรู ปใน 2D คําสั่งให้แสดงแรงปฏิกิริยา
คําสัง่ ให้แรงภายในใน 3D (เพิ่มเติมจาก 2D) ตามลําดับ

ซึ่ ง Toolbar แต่ละกลุ่มคําสั่งเราสามารถกําหนดหรื อตั้งค่าได้ว่าจะให้ Toolbar ใดปรากฏ


หรื อไม่ปรากฏก็ได้ (วิธีการทําดังภาพที่แสดง) และนอกจากนี้ เรายังสามารถคลิ้กปุ่ มเม้าซ้ายค้างไว้
แล้วลาก Toolbars ไปวางในตําแหน่งใดก็ได้
109

3. ส่ วนพื้นที่ใช้งาน: คือที่วา่ งสี ขาวตรงกลางหน้าต่างของโปรแกรมทั้งหมด ใช้ท้ งั เป็ นบริ เวณเพื่อ


การจําลองโครงสร้างโดยมีตารางเส้นกริ ดเป็ นแนวบังคับ และแสดงผลต่างๆ
4. แกนอ้างอิง: เป็ นแกนอ้างอิงหลัก (Global Axes) เพื่อใช้อา้ งอิงหลัก วางอยูบ่ ริ เวณด้านล่าง
ซ้ายมือ
5. ส่ วนแสดงสถานะ: อยูท่ ี่ดา้ นล่างสุ ด สําหรับแสดงหรื อรายงานข้อมูลต่างๆของแบบจําลองที่
สอดคล้องแต่ละหน้าต่างทํางาน

6.5 การทํางานของโปรแกรม
การใช้งานเพื่อการจําลองโครงสร้ างในแต่ละขั้นตอน (ตั้งแต่ตน้ จนจบ) ต้องสอดคล้องกับ
หน้าต่างการทํางานเท่านั้น ซึ่ งมีอยูด่ ว้ ยกัน 7 หน้าต่างคือ 1.Frame 2.Data 3.Load 4.Result 5.Plot
6.CalcSheet 7.Report ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเราเปิ ดโปรแกรมขึ้นมาก็จะเข้าสู่ หน้าต่างของ Frame เอง
โดยอัตโนมัติ
110

6.6 การกําหนดสภาพแวดล้ อมก่ อนการใช้ งาน


การกําหนดสภาพแวดล้อมหรื อจัดการโปรแกรมก่อนการใช้งานจริ ง เป็ นสิ่ งสําคัญมากเมื่อมี
การนําโปรแกรมเข้ามาช่วยงานในเชิงวิศวกรรม ทั้งนี้เนื่องจากโปรแกรมต่างๆเหล่านั้นถูกพัฒนาขึ้นมา
ใช้งานโดยชาวต่ า งชาติ นั้น หมายความว่าข้อกําหนดต่างๆร่ วมไปถึ งมาตรฐานที่ ใ ช้ในโปรแกรม
เหล่านั้น ที่ถูกกําหนดไว้ก่อนเป็ นค่ามาตรฐานต่างๆของโปรแกรม จึงค่อนข้างไม่สอดคล้องกับที่มีใช้
111

ตามมาตรฐานในประเทศเรา ดังนั้นก่อการใช้งานโปรแกรมใดช่วยงาน ผูใ้ ช้งานเองจึงควรเข้าไปทํา


การกําหนดค่าต่างๆเสี ยใหม่ท้ งั หมด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิ ดความถูกต้องหรื อสอดคล้องกับมาตรฐานของ
ประเทศเราให้มากที่สุด

6.6.1 การตั้งค่ าหน่ วยวัด


ที่ Main Menu คลิ้กที่ View จากนั้นคลิ้กที่ Units…

จะปรากฏหน้าต่าง Unite ให้ป้อนค่าหน่วยวัดที่เราคุน้ เคย โดยคลิ้กไปที่ปุ่มลูกศร


จากนั้นเคลื่อนเม้าไปเลือกค่าตามต้องการ ในที่น้ ี หน่ วยวัดต่างๆที่ผมใช้เป็ นหน่ วยวัดระบบเมตริ กค่า
ต่างๆจึงปรากฏดังแสดงจากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK ทั้งนี้ ไม่ตอ้ งไปให้ความสนใจที่ชื่อประเทศต่างๆด้าน
ขวามือ (ใช้ตามที่โปรแกรมตั้งไว้คือ Australian) อย่างไรก็ไม่มีประเทศไทยแน่นอน ส่ วนหน่วยวัดนี้
เราทําการตั้งค่าเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถใช้งานได้ตลอด
112

6.6.2 การตั้งค่ าจุดทศนิยม


ที่ Main Menu คลิ้กที่ View จากนั้นคลิ้กที่ Numbers…

จะปรากฏหน้าต่าง Numerics ให้คลิ้กเลือกที่ Decimal (ทศนิ ยมแบบระบุตาํ แหน่ง)


จากนั้นเคลื่อนเม้าไปป้ อนค่าตําแหน่งทศนิ ยมที่ตอ้ งการ ในที่น้ ี สาํ หรับประเทศไทยยอมรับได้ที่ตวั เลข
มีตาํ แหน่งทศนิยม 2 ตําแหน่ง จึงปรากฏดังแสดง จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK ส่ วนตําแหน่งทศนิยมนี้เราทํา
การตั้งค่าเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถใช้งานได้ตลอด
113

6.6.3 การตั้งค่ าคุณสมบัติของวัสดุ


ที่ Main Menu คลิ้กที่ Edit จากนั้นคลิ้กที่ Materials → Edit Materials…

จะปรากฏหน้าต่าง Select Material ให้คลิ้กเลือกที่ Steel จากนั้นเคลื่อนเม้าไปคลิ้กที่


ปุ่ ม OK จะปรากฏหน้าต่าง Material ให้ทาํ การแก้ไขข้อมูลต่างๆให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านการ
ออกแบบของประเทศไทยเรา หรื อป้ อนข้อมูลดังภาพที่แสดงจากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK ส่ วนการตั้งค่า
วัสดุเหล่านี้ เราทําการปรับแก้ค่าเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถใช้งานได้ตลอด
114

ในขณะเดียวกันหากเราต้องการเพิ่มคุณสมบัติของวัสดุ ก็สามารถทําได้เช่นเดียวกัน
กับขั้นตอนดังที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนจาก Main Menu → Edit → Materials → Add
Materials…จะปรากฏหน้าต่าง Material ให้ทาํ การป้ อนค่าคุณสมบัติจนครบ จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK
115

และหากเราต้องการลบคุณสมบัติของวัสดุที่มีอยูแ่ ล้วออกจากตาราง ก็สามารถทําได้


เช่นเดียวกันกับขั้นตอนดังที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนจาก Main Menu → Edit →
Materials → Delete Materials…จะปรากฏหน้าต่าง Delete Material ให้ทาํ การเลือกชื่อวัสดุที่ตอ้ งการ
ลบ จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK

6.6.4 การตั้งค่ าขนาดพืน้ ทีท่ าํ งานและระยะห่ างของเส้ นกริด


ที่ Main Menu คลิ้กที่ View จากนั้นคลิ้กที่ Size

จะปรากฏหน้าต่าง Size ให้ทาํ การป้ อนขนาดในแต่ละแนวแกน จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK


116

จากนั้นกลับไปที่ Main Menu คลิ้กที่ View จากนั้นคลิ้กที่ Grid…

จะปรากฏหน้าต่าง Grid Space ให้ทาํ การป้ อนระยะในแต่ละแนวแกน จากนั้นคลิ้กที่


ปุ่ ม OK เฉพาะส่ วนการตั้งค่า Grid Space ทําเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถใช้งานได้ตลอด
117

6.6.5 การตั้งค่ าการแสดงผลการวิเคราะห์ และการออกแบบ


ที่ Main Menu คลิ้กที่ Edit จากนั้นคลิ้กที่ Preferences…

จะปรากฏหน้าต่าง Preferences ซึ่ งมีอยูด่ ว้ ยกัน 4 แถบคือ Presentation Report View


และLicensing ให้ทาํ การเลือกตัวเลือกต่างในแต่ละแถบดังภาพที่แสดง (หรื อตามความเหมาะสม)
จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK ทําเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถใช้งานได้ตลอด
118

ในแถบ Presentation ให้ระวังเรื่ องการแสดงผล Render ของโครงสร้าง หากใช้คาํ สั่ง


Rendering แล้วไม่สามารถมองเห็นเป็ นผิวกราฟิ ก 3 มิติ ให้แก้ไขโดยเอาเครื่ องหมายถูกที่ช่อง 3D
Graphics ออก

ในแถบ Reporting หากทําการเลือกดังภาพที่แสดง เมื่อเราสั่งให้โปรแกรมออกแบบ


ชิ้นส่ วน โปรแกรมจะดึง Microsoft Word เปิ ดขึ้นมา แล้วพิมพ์รายงานผลให้เราเองโดยอัตโนมัติ
119

ในแถบ Licensing หากไม่ทาํ การเลือกหรื อไม่เข้ามาทําการตั้งค่า ก็จะไม่ปรากฏคําสั่ง


Design บนแถบคําสั่ง Main Menu ข้อควรระวังคือเมื่อตั้งค่าในแถบนี้ แล้วต้องปิ ดโปรแกรมแล้วเปิ ด
ขึ้นมาใหม่เท่านั้น คําสัง่ Design จึงจะปรากฏอยูบ่ นแถบ Main Menu

6.6.6 การตั้งค่ าการแสดงผลเชิงสั ญลักษณ์ ต่างๆบนหน้ าจอ


ที่ Main Menu คลิ้กที่ Display จากนั้นคลิ้กที่ Symbols…
120

จะปรากฏหน้าต่าง Symbol Display ให้ทาํ การเลือกตัวเลือกต่างๆในแต่ละกรอบตาม


ความเหมาะสม จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK

การตั้งค่าการแสดงผลเชิงสัญลักษณ์น้ ี สามารถทําการปรับเปลี่ยนได้ตลอดการทํางาน
ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสม
บทที่ 7

ขั้นตอนการใช้ งานโปรแกรม Multiframe4D

7.1 ตั้งค่ าพืน้ ทีก่ ารทํางาน (ควรทําทุกครั้ง)


ที่ Main Menu คลิ้กที่ View จากนั้นคลิ้กที่ Sizes…ดังภาพที่แสดง

จะปรากฏหน้ า ต่ า ง Size ให้ ท ํา การป้ อนค่ า ระยะในแต่ ล ะแนวแกนตามความเหมาะสม


(โดยทัว่ ไปแล้วมักกําหนดค่าให้มีขนากกว้างและยาวกว่าขนาดของแบบจําลองที่ จะทําการขึ้ นรู ป)
จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK
122

จากนั้นหากบริ เวณพื้นที่การทํางานยังไม่ปรากฏจุดหรื อเส้นตารางกริ ด ให้ไปทําการคลิ้กที่ปุ่ม


Toggle grid lock ดังภาพที่แสดง

จะปลากฎผลดังภาพที่แสดง
123

7.2 จําลอง (ขึน้ รู ปทรง) โครงสร้ าง: ทํางานในหน้าต่าง Frame (Window → 1Frame) เสมอ
สามารถกระทําได้ใน 3 วิธีการ คือ
1) การดึงเข้าจากไฟล์ขอ้ มูล CAD ซึ่งจะต้องเป็ นไฟล์นามสกุล DXF
124

จะปรากฏหน้าต่าง Import 3D DXF file ให้ทาํ การเลือกตําแหน่งที่เก็บไฟล์ จากนั้น


คลิ้กเลือกที่ชื่อไฟล์ที่ตอ้ งการดึงเข้า แล้วคลิ้กที่ปุ่ม Open ดังภาพที่แสดง

จะปรากฏหน้าต่าง Import Option ให้ทาํ การเลือกค่าต่างๆดังภาพที่แสดง จากนั้นคลิ้ก


ที่ปุ่ม Ok

2) โดยการใช้ตวั ช่วยสร้างหรื อขึ้นรู ปโดยอัตโนมัติ


ซึ่งมีตวั ช่วยสร้างแบบจําลองอยู่ 4 ประเภท ดังภาพที่แสดง ถึงแม้ว่าจะมีความสะดวก
รวดเร็ วดี แต่กไ็ ม่ตอบสนองให้ตรงตามความต้องการใช้งานมากนัก
125

3) โดยการสร้างหรื อขึ้นรู ปเอง


มีเครื่ องมือสําหรับสร้างแบบจําลองอยู่ 2 ชุด คือ Add Member เป็ นเครื่ องมือสําหรับ
ลากเป็ นชิ้นส่ วนเดี่ยวๆ และAdd Connected Members เป็ นเครื่ องมือสําหรับลากเป็ นชิ้นส่ วน
ต่ อ เนื่ อ ง ดัง ภาพที่ แ สดง ถึ ง แม้ว่ า จะไม่ ส ะดวกรวดเร็ ว เช่ น เดี ย วกับ ตัว ช่ ว ยสร้ า ง แต่ ก็
ตอบสนองได้ตรงตามความต้องการใช้งานมากกว่า

เพิ่มเติม: ในขั้นตอนของการจําลองหรื อขึ้นรู ปทรงโครงสร้างนี้ ในทุกโปรแกรมจะต้องมีชุดคําสั่ง


เสริ มต่างๆเพื่อจัดการกับแบบจําลองโครงสร้าง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้แบบจําลองมีความถูกต้องเหมาะสมใกล้
ความเป็ นจริ งในเชิงปฏิบตั ิให้มากที่สุด ซึ่งในโปรแกรม Multiframr4D มีดงั นี้
126

1) การลบชิ้นส่ วน ให้คลิ้กเลือกชิ้ นส่ วนที่ตอ้ งการ → กดปุ่ ม Del หรื อคลิ้กที่ปุ่ม Delete
Member
2) การแบ่งชิ้นส่ วน ให้คลิ้กเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการ → คลิ้กที่ปุ่ม Subdivide Member →
จากนั้นให้กาํ หนด No. of subdivisions และกําหนด Length (โดยการดับเบิ้ลคลิ้กเข้าไป
แล้วป้ อนค่าความยาว) จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK

3) การก๊อปปี้ ให้คลิ้กเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการ → ที่ Main Menu คลิ้กที่ Geometry →


Duplicate…→ กําหนด spacing ในแต่ละแนวแกน กําหนดจํานวนที่จะก๊อปปี้ (Number of
Times) กําหนดสิ่ งใดบ้างที่ตอ้ งการก๊อปปี้ (Also duplicate) กําหนดรู ปแบบของการก๊อปปี้
(Type) จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK
127

4) การเคลื่อนย้ายชิ้นส่ วนให้คลิ้กเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการ → จากนั้นกดปุ่ มเม้าซ้ายค้างไว้แล้ว


ลากไปยังตําเหน่งที่ตอ้ งการ หรื อที่ Main Menu คลิ้กที่ Geometry → Move…→ คลิ้ก
เลือกที่ Selection จากนั้นกําหนดระยะที่จะเคลื่อนไปในแต่ละแนวแกน จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม
OK
5) การสร้างชิ้นส่ วนยืดออกจากจุดต่อ ให้คลิ้กเลือกจุดต่อที่ตอ้ งการ → ที่ Main Menu คลิ้กที่
Geometry → Extrude → กําหนดความยาวที่ตอ้ งการในแต่ละแนวแกน จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม
OK
128

6) การทําให้ชิ้นส่ วนโค้ง ให้คลิ้กเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการ → ที่ Main Menu คลิ้กที่ Geometry
→ Convert Member to Arc…→ กําหนดชิ้ นส่ วนที่จะแบ่งย่อยออก (Number of
Segments) กําหนดขนาดของความโค้ง (Arc Size) กําหนดทิศทางที่ จะโค้ง (Radial
Direction) ตามระบบแกน Local Axes จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK

7) การปลดแรงในชิ้ นส่ วน(Member Release) ให้คลิ้กเลือกชิ้ นส่ วนที่ตอ้ งการปลดแรง


(โมเมนต์ดดั หรื อโมเมนต์บิด) → ที่ Main Menu คลิ้กที่ Frame → Member Releases…→
กําหนดรู ปแบบการปลดแรงว่าปลดที่จุดต่อใดบ้าง จากนั้นคลิ้กเลือกโมเมนต์ที่ตอ้ งการ
ปลดของแต่ละจุดต่อ (Node) จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK จะปรากฏเป็ นวงกลมสี ขาวเล็กๆห่ าง
จากจุดต่อชิ้นส่ วนเข้ามาในชิ้นส่ วนเล็กน้อย
129

8) การทําระยะเยื้องชิ้นส่ วน(Member Offset) ให้คลิ้กเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการกําหนดระยะ


เยื้อง → ที่ Main Menu คลิ้กที่ Frame → Member Offsets…→ กําหนดระบบแกนอ้างอิง
ที่ใช้ จากนั้นป้ อนค่าระยะเยื้องของแต่ละจุดต่อ (Node) จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK เมื่อเราเอา
เม้าไปคลิ้กที่ชิ้นส่ วนที่กาํ หนดค่าระยะเยื้องแล้ว จะปรากฏชิ้นส่ วนเยื้องให้เราเห็นโดย
บริ เวณจุดต่อระหว่างชิ้นส่ วนจะปรากฏเป็ นชิ้นส่ วนสั้นๆสี เขียวให้เห็น

9) การกําหนดชื่อให้กบั ชิ้นส่ วน ให้ทาํ การคลิ้กเลือกที่ชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการ → ที่ Main Menu


คลิ้กที่ Frame → Member Labels… → ที่หน้าต่าง Label ให้ต้ งั ชื่อของชิ้นส่ วนที่เลือก
จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK
130

จากนั้นหากต้องการให้ปรากฏชื่อดังกล่าวบนชิ้นส่ วนที่กาํ หนอ ให้ไปคลิ้กเลือกที่ปุ่ม


จะปรากฏดังภาพที่แสดง

7.3 กําหนดจุดรองรับและจุดต่ อ: ทํางานในหน้าต่าง Frame (Window → 1Frame)


ทําการเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการกําหนดประเภทของจุดต่อให้ ตรงนี้ โดยพื้นฐานแล้วเมื่อเราใช้
ชุดเครื่ องมือสร้างหรื อขึ้นรู ปทรง จุดต่อระหว่างชิ้นส่ วนจะเป็ นแบบ Rigid Joint โดยอัตโนมัติ
131

จากนั้นเคลื่อนเม้าไปคลิ้กเลือกประเภทของจุดต่อที่ตอ้ งการกําหนดให้ที่ Joint Toolbar ดังภาพ


ที่แสดง เมื่อสังเกตดูที่แบบจําลองจะเห็นเป็ นวงกลมสี ดาํ เมื่อกําหนดเป็ น Rigid Joint และเป็ นวงกลมสี
ขาวเมื่อกําหนดเป็ น Pinned Joint

ใส่ จุดรองรั บให้กับจุ ดต่อ ด้วยการลากเม้าเลื อกจุ ดต่อที่ ตอ้ งการกําหนดให้เป็ นจุ ดรองรั บ
จากนั้นไปคลิ้กเลือกประเภทของจุดรองรับที่ Joint Toolbar
132

หรื อไปกําหนดที่ Main Menu → Frame → Joint Restraint…คลิ้กเลือกประเภทของจุดรองรับ


จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม OK

เพิ่มเติม: ในขั้นตอนของการกําหนดจุดรองรั บและประเภทของจุดต่อระหว่างชิ้ นส่ วนนี้ ในทุก


โปรแกรมจะต้องมีชุดคําสัง่ เสริ มต่างๆเพื่อจัดการกับแบบจําลองโครงสร้าง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้แบบจําลองมี
ความถูกต้องเหมาะสมใกล้ความเป็ นจริ งในเชิ งปฏิบตั ิให้มากที่สุด ซึ่ งในโปรแกรม Multiframr4D มี
ดังนี้
133

1) การกําหนดจุดรองรับเป็ นแบบสปริ ง ให้เลือกจุดต่อที่ตอ้ งการกําหนดค่า → ที่ Main Menu


→ Frame → Joint Spring…เลือกประเภทของสปริ ง จากนั้นป้ อนคงที่ของสปริ ง
(Stiffness) ซึ่งอาจได้จากผลการทดสอบหรื อการใช้สมการของผูร้ ู ้ที่ได้แนะนําไว้กไ็ ด้

2) การกําหนดจุดรองรับแบบเอียง (Incline Support) ให้เลือกจุดต่อที่ตอ้ งการกําหนด → ทํา


การหมุนแกนอ้างอิงของจุดต่อโดยไปที่ Main Menu → Frame → Joint Orientation…
จากนั้นป้ อนค่ามุมเอียงของจุดรอง

จากนั้นไปคลิ้กเลือกประเภทของจุดรองรับที่ Joint Toolbar


134

3) การถอดหรื อลบจุ ดรองรั บหรื อแก้ไ ขประเภทของจุ ด รองรั บ ให้เ ลื อกจุ ด ต่อที่ ตอ้ งการ
กําหนดค่า จากนั้น หากต้องแก้ไขประเภทของจุดรองรับ (หรื อใส่ จุดรองรับใหม่)ให้ไป
คลิ้กเลือกประเภทของจุดรองรับที่ Joint Toolbar ได้เลย หรื อหากต้องการถอดหรื อลบจุด
รองรับ ให้ไปคลิ้กเลือก ที่ Joint Toolbar ได้เลยเช่นเดียวกัน

7.4 กําหนดขนาดหน้ าตัดให้ กบั แบบจําลอง: ทํางานในหน้าต่าง Frame (Window → 1Frame)


ทําการเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการกําหนดขนาดหน้าตัดให้ จากนั้นคลิ้กที่ไอคอน Section Type
ดังภาพที่แสดง
135

ผลที่ได้ดงั ภาพที่แสดง
136

เพิม่ เติม: ในขั้นตอนของการกําหนดขนาดหน้าตัดให้กบั ชิ้นส่ วนนี้ ในทุกโปรแกรมจะต้องมีชุดคําสั่ง


เสริ มต่างๆเพื่อจัดการกับแบบจําลองโครงสร้าง ซึ่งในโปรแกรม Multiframr4D มีดงั นี้

1) การดูภาพ Render 3D จากหน้าต่างปกติ ให้ไปคลิ้กที่ มุมมอง3D


จากนั้นให้ไปคลิ้กที่ Rendering
2) การกําหนดให้การแสดงภาพ Render 3D มีขนาดเล็กหรื อโต → ที่ Main Menu →
Display → Render → ป้ อนค่าในช่อง (ต้องมีค่า
มากกว่า 1) → คลิ้ก OK.
3) การหดหน้าตัดกําหนดค่า → ที่ Main Menu → Display → Render → ป้ อนค่า % ในช่อง
(ต้องมีค่าน้อยกว่า 100%)→ คลิ้ก OK.
4) การหมุนแกน (ตามระบบแกน Local Axes) ให้คลิ้กเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการหมุนแกน
จากนั้นไปคลิ้กที่ Rotate section หน้าตัดจะหมุนไปทุกๆ 90 องศา
(ตามกฎของมือขวา) แต่ถา้ ต้องการหมุนเป็ นมุมตามต้องการทําดังนี้ ให้คลิ้กเลือกชิ้นส่ วนที่
ต้องการหมุนแกน จากนั้นไปที่ Main Menu → Frame → Member Orientation… →
ป้ อนค่ามุมในช่ อง (ป้ อนทิศทาง บวก-ลบ ตามกฎมือขวา) →
คลิ้ก OK.
137

7.5 ใส่ นํา้ หนักบรรทุก: ทํางานในหน้าต่าง Load (Window → 3Load)

7.5.1 สร้ างชื่อ Load Case


จากหน้าต่างปกติ ให้ทาํ การเปลี่ยนเป็ นหน้าต่าง 3Load ดังภาพที่แสดง

จากนั้นเริ่ มทําการสร้างหรื อกําหนดชื่อของนํ้าหนักบรรทุก (Load Case) แต่ก่อนอื่น


จะต้องทําการแก้ไขชื่อหรื อลบชื่อนํ้าหนักบรรทุกที่โปรแกรมได้สร้างไว้ให้โดยอัตโนมัติเสี ยก่อน (หรื อ
รวมถึงที่เราได้เคยสร้างไว้แล้ว)
138

เริ่ มทําการสร้างหรื อตั้งชื่อของนํ้าหนักบรรทุก (Load Case) กรณี ต่างๆตาม Code ซึ่ ง


เราต้องทราบเป็ นพื้นฐานมาก่อนแล้วว่านํ้าหนักบรรทุกตามมาตรฐานการวิเคราะห์และออกแบบนั้นมี
อะไรบ้าง หลักง่ายๆคือประกอบด้วยนํ้าหนักบรรทุกกรณี เดี่ยวๆ เช่น Dead Load, Live Load ลฯ และ
นํ้าหนักบรรทุกกรณี กระทําร่ วมกัน (Combine Load) เช่น Dead Load + Live Load, 1.7(Dead Load) +
2(Live Load) ลฯ ฉะนั้นในการใช้งานโปรแกรมด้านนี้ ช่วยงานเราจะต้องแบ่งการกําหนดหรื อตั้งชื้อ
นํ้าหนักบรรทุกเป็ น 2 ส่ วนดังที่ได้กล่าว
ซึ่ งวิธีการและขั้นตอนของการสร้างหรื อตั้งชื่ อของนํ้าหนักบรรทุกกรณี เดี่ยวๆ ทําได้
ดังภาพที่แสดง
139

ซึ่งวิธีการและขั้นตอนของการสร้างหรื อตั้งชื่อของนํ้าหนักบรรทุกกรณี กระทําร่ วมกัน


(Combine Load) ทําได้ดงั ภาพที่แสดง

7.5.2 ป้อนค่ านํา้ หนักบรรทุกในแต่ ละ Load Case


จากนั้นจึ งเริ่ มใส่ ค่านํ้าหนักบรรทุกให้กบั แต่ละชิ้ นส่ วนในแต่ละกรณี ของนํ้าหนัก
บรรทุก โดยการคลิ้กหรื อลากเม้าเลือก (ไม่ว่าจะเป็ นจุดต่อหรื อชิ้นส่ วนก็ตาม) ซึ่ งหากต้องการเลือก
มากกว่าหนึ่งสามารถทําได้โดยกดปุ่ ม Ctrl + คลิ้กเม้า จากนั้นไปคลิ้กเลือกที่กรณี ของนํ้าหนักบรรทุกที่
ได้ต้ งั ชื่ อไว้ก่อนแล้ว จากนั้นให้ไปคลิ้กเลือกที่ชนิ ดของนํ้าหนักบรรทุกที่ตอ้ งการป้ อนค่า ดังภาพที่
แสดง
140

เพิ่มเติม: ในขั้นตอนของการกําหนดนํ้าหนักบรรทุกให้กบั ชิ้นส่ วนหรื อจุดต่อนี้ ในทุกโปรแกรม


จะต้องมีชุดคําสัง่ เสริ มต่างๆเพื่อจัดการกับนํ้าหนักบรรทุก ซึ่งในโปรแกรม Multiframr4D มีดงั นี้
1) การปรับแก้น้ าํ หนักบรรทุกที่ได้กาํ หนดค่าให้กบั ชิ้นส่ วนหรื อจุดต่อ
141

2) การลบหรื อยกเลิกนํ้าหนักบรรทุกที่ป้อนค่าไปแล้ว

7.6 วิเคราะห์ โครงสร้ าง: การทํางานไม่เจาะจงว่าจะอยู่ในหน้าต่างใด แต่ข้ นั ตอนต่างๆก่อนหน้านี้


ทั้งหมดต้องปฏิบตั ิมาครบ
สามารถทําได้ 2 วิธีการคือ
1. กดปุ่ ม F2 จากนั้นกดที่ปุ่ม Enter หรื อหากต้องการแบบละเอียดๆ สามารถทําได้ดงั นี้
2. ที่ Main Menu → Case → Analyse…→ ที่หน้าต่าง Analyse ให้ทาํ การเลือก วิธีการ
วิเคราะห์โครงสร้าง ประเภทของโครงสร้าง (2D/3D) → คลิ้ก OK ตามลําดับดังภาพที่แสดง
142

7.7 ดูผลการวิเคราะห์ โครงสร้ าง: ทํางานในหน้าต่าง Result และ Plot (Window → 4Result หรื อ
Window 5Plot)
143

1. ที่หน้าต่าง Result (Window → 4Result): การแสดงผลจะอยูใ่ นรู ปของตารางข้อมูลเชิง


ตัวเลข (โดยระบบแรงภายในทั้ง 6 ค่า จะเป็ นระบบแรงตามแนวแกน Local Axis ซึ่งแทนแนวแกนด้วย
ด้วยสัญลักษณ์ x’, y’, z’) ซึ่งเราสามารถทําการจัดเรี ยงได้ขอ้ มูลได้ ก๊อปปี้ ได้

เมื่อคลิ้กเลือกแล้วจะปรากฏหน้าต่างดังภาพที่แสดง

การจัดการกับข้อมูลในตารางสามารถทําได้ดงั นี้ ให้คลิ้กปุ่ มเม้าซ้ายที่ชื่อหัวข้อของข้อมูลที่


ต้องการจัดการจากนั้นให้คลิ้กปุ่ มเม้าขวาทันที (โดยไม่เคลื่อนเม้าไปไหน) จะปรากฏหน้าต่าง Pop Up
Menu ขึ้นมาก็ให้เลือกคําสั่งต่างๆ ดังภาพที่แสดง (โดยระบบแรงภายในทั้ง 6 ค่า จะเป็ นระบบแรงตาม
แนวแกน Local Axis ซึ่งแทนแนวแกนด้วยด้วยสัญลักษณ์ x’, y’, z’)
144

2. ที่หน้าต่าง Plot (Window → 5Plot): การแสดงผลจะอยูใ่ นรู ปของกราฟริ ก ซึ่ งเราสามารถ


ทําการสัง่ พิมพ์ออกกระดาษได้ หรื อทําการก๊อปปี้ รู ปกราฟริ กไปวางลงในโปรแกรมตัวอื่นได้
145

การสัง่ พิมพ์รูปกราฟริ กออกกระดาษ ที่หน้าต่าง Window → 5Plot ให้ทาํ ตามดังภาพที่แสดง


ตามลําดับ
146

การก๊อปปี้ รู ปกราฟริ กไปวางลงในโปรแกรมตัวอื่น ที่หน้าต่าง Window → 5Plot ให้ทาํ ตาม


ดังภาพที่แสดง ตามลําดับ
147

7.8 การสั่ งให้ ออกแบบโดยอัตโนมัติ


1. ทําการกําหนดมาตรฐานหรื อวิธีการในการออกแบบ

2. ทําการกําหนดประเภทของโครงสร้างว่าเป็ นแบบใด หากต้องการเรื่ องความปลอดภัย


หรื อไม่เข้าใจในเรื่ องประเภทของโครงสร้าง ก็ให้เลือกที่ Sway Frame

3. ทําการเลือกชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการออกแบบ จากนั้นก่อนที่จะทําการออกแบบชิ้นส่ วน (อาจจะ


โดยการใช้คาํ สั่ง Check หรื อ Design) แนะนําว่าเราควรเข้าไปกําหนดหรื อตั้งค่าด้านคุณลักษณะต่างๆ
148

ของชิ้นส่ วนที่ตอ้ งการออกแบบเสี ยก่อน เช่น Bending… Tension… Compression… Combined… และ
Steel Grade…ดังภาพที่แสดง

4. จากนั้นทําการออกแบบ ซึ่งสามารถทําได้ 2 วิธีการ คือ


วิธีที่ 1: ทําการตรวจสอบขนาดหน้าตัดที่เราได้กาํ หนดให้กบั แบบจําลองตั้งแต่ตน้ ว่า
ใช้ได้หรื อไม่ (ผ่านหรื อไม่ ตามมาตรฐานการออกแบบ) โดยใช้คาํ สั่ง Design → Check → เลือกหน่วย
แรงที่ตอ้ งการตรวจสอบ → Report → คลิ้ก OK ดังภาพที่แสดง

จากนั้นให้เข้าไปดูผลการตรวจสอบที่ Window → 4Result ดังภาพที่แสดง


149

จากนั้นจึงทําการสั่งให้ออกแบบ แต่ก่อนอื่นให้ออกไปจากหน้าต่าง 4Result เสี ยก่อน


(ไปที่หน้าต่างอะไรก็ได้ เช่น Window → 1Frame หรื อ Window → 3Load หรื อ Window → 5Plot)
จากนั้นใช้คาํ สัง่ Design → Design…ดังภาพที่แสดง
150

วิธีที่ 2: ไม่สนใจตรวจสอบแต่ไปสั่งให้ออกแบบเลยทันทีโดยใช้คาํ สั่ง Design →


Design…ดังภาพที่แสดง

จากนั้นให้เข้าไปดูผลการตรวจสอบที่ Window → 4Result ดังภาพที่แสดง

จากนั้นจึงทําการสั่งให้โปรแกรมนําหน้าตัดที่เหมาะสม (Best Section) เข้าไปแทนที่


ขนาดหน้า ตัด เดิ มที่ ไ ด้เ คยกํา หนดให้กับชิ้ น ส่ ว นไปก่ อนแล้ว แต่ ก่ อนอื่ น ให้ออกไปจากหน้าต่ าง
4Result เสี ยก่อน (ไปที่หน้าต่างอะไรก็ได้ เช่น Window → 1Frame หรื อ Window → 3Load หรื อ
Window → 5Plot) จากนั้นใช้คาํ สัง่ Design → Use Best Sections…ดังภาพที่แสดง
151

จากนั้นให้ทาํ การวิเคราะห์ใหม่อีกครั้ง แล้วตามด้วยการใช้คาํ สั่ง Design → Design…


อีกครั้ง

7.9 การสั่ งพิมพ์


ในการพิมพ์ผลการวิเคราะห์และออกแบบนั้น ในโปรแกรมตัวนี้ มีการสัง่ ให้พิมพ์อยู่ 4 ส่ วน
กล่าวคือ
1. พิมพ์ผลข้อมูลเชิ งตัวเลขทั้งหมดของทุกชิ้นส่ วนที่เลือก (หากไม่เลือกเลยจะหมายถึงทุก
ชิ้นส่ วน) ตั้งแต่เริ่ มสร้างแบบจําลองจนถึงผลการวิเคราะห์โครงสร้าง โดยใช้คาํ สั่ง File
→ Print Summary…ตามลําดับดังภาพที่แสดง
152

2. พิมพ์ขอ้ มูลด้านกราฟริ กผลการวิเคราะห์โครงสร้างของชิ้นส่ วนที่เลือก ซึ่ งปกติคาํ สั่งนี้ จะ


ยังไม่ปรากฏ จนกว่าจะได้ทาํ การเลือกชิ้นส่ วนใดๆเสี ยก่อน โดยใช้คาํ สั่ง File → Print
Diagrams…ตามลําดับดังภาพที่แสดง
153

3. พิมพ์ขอ้ มูลทุกอย่างที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ ณ ขณะนั้น โดยไม่จาํ เป็ นต้องเลือกก่อน โดย


ใช้คาํ สัง่ File → Print Window…
154

4. พิมพ์ขอ้ มูลผลการตรวจสอบหรื อออกแบบขนาดของชิ้นส่ วน ดังแสดงในขั้นตอนที่ 3.8


บทที่ 8

การใช้ งาน Section Maker

เป็ นโปรแกรมเสริ มของ Multiframe4D ทั้งนี้ เพราะโปรแกรม Multiframe4D นี้ ใช้ในการ


วิเคราะห์โครงสร้างที่ชิ้นส่ วนเป็ นวัสดุอื่นๆได้ (นอกเหนื อจากเหล็กรู ปพรรณ) และในการออกแบบ
(ซึ่ งออกแบบได้เฉพาะโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณเท่านั้น) เนื่องจากหน้าตัดในตารางเหล็กตามที่มีเตรี ยม
ไว้ให้ผใู ้ ช้น้ นั ในบางครั้งอาจไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริ งในภาคปฏิบตั ิ ดัง นั้น เพื่ อ ความยืด หยุ่น
และใช้งานได้กว้างยิง่ ขึ้น จึงได้มีชุดเครื่ องมือเสริ มในการช่วยสร้างหน้าตัดมาให้เพิ่มเติม

8.1 การเข้ าใช้ งาน

ที่หน้าจอ ให้ดบั เบิ้ลคลิ้กที่ไอคอน ดังภาพที่แสดง

จากนั้นจะปรากฏหน้าจอของโปรแกรมขึ้นมา ดังภาพที่แสดง
156

8.2 การตั้งค่ าสภาพแวดล้ อมต่ างๆ


ทําได้เช่นเดียวกันกับการใช้งาน Multifram4D ทุกประการ ดังนี้

1. ให้แสดงเส้นกริ ดบนพื้นที่การทํางาน ดังภาพที่แสดง

2. ตั้งค่าขนาดของพื้นที่ที่จะใช้ในการสร้างรู ปร่ างหน้าตัด ตั้งค่าระยะห่ างระหว่างเส้นกริ ด ตั้ง


ค่าเลขนัยสําคัญและจุดทศนิยม แลตั้งค่าหน่วยวัด ดังภาพที่แสดง
157

3. ตั้งค่าวัสดุสาํ หรับหน้าตัดที่จะสร้าง เช่น คอนกรี ต ไม้ ลฯ ดังภาพที่แสดง

8.3 สร้ างหน้ าตัด


มีวิธีการในการสร้างอยู่ 3 วิธีการหลัก คือ
1) การสร้างหน้าตัดด้วยชุดเครื่ องมือ
2) การสร้างหน้าตัดเดี่ยวด้วยชุดตารางเหล็ก (Place Shape…)
3) การสร้างหน้าตัดประกอบด้วยชุดตารางเหล็ก (Place Section…)
158

วิธีที่ 1 การสร้างหน้าตัดด้วยชุดเครื่ องมือ สามารถสร้างเป็ นรู ปร่ างตามแต่เราต้องการ ซึ่งแต่


ละรู ปร่ างหน้าตัดที่สร้างจะเป็ นวัสดุอะไรก็ได้ เช่น คอนกรี ตเสริ มเหล็ก คอนกรี ตอัดแรง ไม้ อลูมิเนี่ยม
ลฯ ขึ้นอยูก่ บั ชนิดของวัสดุที่เรากําหนดให้ มีข้ นั ตอนดังภาพที่แสดง

1. คลิ้กเลือกที่เครื่ องมือที่ใช้ในการสร้างรู ปร่ างต่างๆ


2. คลิ้กปุ่ มเม้าซ้ายแล้วลาก

3. จากนั้นดับเบิ้ลคลิ้กปุ่ มเม้าซ้ายที่รูปที่เราสร้างขึ้น
4. จากนั้นทําการกําหนดค่าคุณลักษณะพื้นฐานของรู ปร่ างหน้าตัด เช่น กว้าง ลึก หนา ลฯ
159

5. จากนั้นจัดให้แกนอ้างอิงของหน้าตัดวางผ่านจุด cg. ของหน้าตัดที่สร้าง ทั้งนี้ ตวั โปรแกรม


จะได้ทาํ การคํานวรค่าคุณสมบัติต่างๆของหน้าตัด ดังภาพที่แสดง
160

6. จะปรากฏผลดังภาพที่แสดง

7. จากนั้นทําการบันทึกคุณสมบัติต่างๆของรู ปร่ างหน้าตัดที่สร้างไว้ แนะนําว่าให้ทาํ การบันทึก


ทุกครั้งที่มีการสร้างหน้าตัดขึ้นมาใหม่หรื อเพิ่มเติม ดังภาพที่แสดง
161

8. จากนั้นทําการบันทึกรู ปร่ างหน้าตัดลงใน Section Library ตรงนี้ แนะนําว่าให้ทาํ การบันทึก


ครั้งเดียวหลังจากเราได้สร้างขนาดหน้าตัดขึ้นมาหลายๆขนาด (แล้วทําการบันทึกคุณสมบัติต่างๆของ
รู ปร่ างหน้าตัด)
162

วิธีที่ 2 การสร้างหน้าตัดเดี่ยวด้วยชุดตารางเหล็ก ใช้เพื่อสร้างตารางเหล็กหรื อสร้างหน้าตัด


เหล็กรู ปพรรณรู ปร่ างต่างๆแล้วเก็บเป็ นตารางเหล็ก เช่นสร้างตารางเหล็กเป็ นของไทยเพื่อใช้งาน
1. บนบริ เวณพื้นที่ว่าง ให้คลิ้กปุ่ มเม้าขวา จะปรากฏคําสั่ง Pop Up ให้คลิ้กเลือกที่ Place Shape
ดังภาพที่แสดง

2. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Place Standard Section ให้ทาํ การกําหนดขนาดต่างๆของหน้า


ตัด

หลังจากนั้นทําตามลําดับขั้นตอนเช่นเดียวกับ วิธีที่ 1 ตั้งแต่ข้นั ตอนที่ 5 ถึงขั้นตอนที่ 8


163

วิธีที่ 3 การสร้างหน้าตัดประกอบด้วยชุดตารางเหล็ก ใช้เพื่อสร้างหน้าตัดเหล็กประกอบ ซึ่ ง


ไม่มีปรากฏอยูใ่ นตารางเหล็ก
1. บนบริ เวณพื้นที่ว่าง ให้คลิ้กปุ่ มเม้าขวา จะปรากฏคําสั่ง Pop Up ให้คลิ้กเลือกที่ Place Shape
ดังภาพที่แสดง

2. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Select Section ให้ทาํ การเลือกรู ปร่ างและขนาดของหน้าตัด


ต่างๆที่ตอ้ งการ
164

จะปรากฏผลดังภาพที่แสดง

จากนั้นเพิ่มหน้าตัดอื่นๆอีกเข้ามา ด้วยการทําซํ้าขั้นตอนที่ 1 และ 2 (ข้อพึงระวัง ก่อนที่จะทํา


การเพิม่ ขนาดหน้าตัดอื่นๆเข้ามาได้ ที่หน้าตัดเดิมจะต้องไม่ปรากฏว่ามีจุดสี่ เหลี่ยมสี ดาํ เล็กๆโดยรอบ)

จะปรากฏผลดังภาพที่แสดง
165

จากนั้นก็ทาํ การจัดวางหน้าตัดให้เป็ นหน้าตัดประกอบรู ปทรงต่างๆ ด้วยการคลิ้กเลือกที่หน้า


ตัดที่ตอ้ งการ จากนั้นคลิ้กขวามือ ก็จะปรากฏหน้าต่างชุดคําสั่ง Pop Up ขึ้นมา ก็ให้คลิ้กเลือกที่คาํ สั่ง
ต่างๆตามต้องการ ดังภาพที่แสดง

เมื่ อจัดวางตําแหน่ งต่างๆได้ตามต้องการแล้ว ให้ทาํ การรวมหน้าตัดทั้งหมด (Group) เข้า


ด้วยกันเป็ นหน้าตัดประกอบ (หรื อหน้าตัดเดี่ ยว) ด้วยการลากปุ่ มเม้าซ้ายค้างไว้ตีกรอบรอบหน้าตัด
ทั้งหมด ดังภาพที่แสดง
166

จากนั้นคลิ้กปุ่ มเม้าขวาที่กลุ่มชิ้นส่ วนที่ได้ทาํ การเลือกไว้ แล้วคลิ้กเลือกที่คาํ สั่ง Group ดังภาพ


ที่แสดง

หลังจากนั้นทําตามลําดับขั้นตอนเช่นเดียวกับ วิธีที่ 1 ตั้งแต่ข้ นั ตอนที่ 5 ถึงขั้นตอนที่ 8


บทที่ 9

การออกแบบโครงหลังคาเหล็กรู ปพรรณบ้ านพักอาศัย

หลังจากที่ได้เรี ยนรู ้องค์ความรู ้พ้ืนฐานที่จาํ เป็ นต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการวิเคราะห์


และออกแบบองค์อาคารของโครงสร้างมาพอสมควรแล้ว เพื่อให้เกิดความรู ้และความเข้าใจที่ดียงิ่ ขึ้น
ควรมีการลงมือปฏิบตั ิจริ งตามแนวทางเบื้องต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่ งผลของการลงมือปฏิบตั ิจริ งจะ
ทําให้ทราบทันที ว่าเราเองนั้นมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ขาดตกบกพร่ องในส่ วนใดบ้าง มีการ
ระมัดระวังในเรื่ องของความละเอียดรอบครอบดี พอแล้วหรื อไม่ แต่ในทางกลับกันหากไม่ทดลอง
ปฏิ บ ัติ จ ริ ง สิ่ ง ใดบ้า งที่ เ ราเข้า ใจดี แ ล้ว สิ่ ง ใดบ้า งที่ เ รายัง มี ค วามสงสั ย สิ่ ง ใดบ้า งที่ ค วรให้ ค วาม
ระมัดระวัง เราก็ไม่อาจทราบศักยภาพหรื อความสามารถของตัวเราเองได้ ดังนั้นในบทนี้ จึงเป็ นการนํา
องค์ความรู ้ท้ งั หมดที่ได้กล่าวมาแล้วในบทก่อนๆมาฝึ กปฏิบตั ิ
เนื้ อหาทั้งหมดในบทนี้ เป็ นการสาธิ ตถึงวิธีการและขั้นตอนต่างๆของการออกแบบองค์
อาคารแต่ละส่ วนของโครงสร้างอาคารที่พกั อาศัย 2 ชั้นจากแบบก่อสร้างจริ ง โดยทําการวิเคราะห์และ
ออกแบบแต่ละองค์อาคาร (เฉพาะบางส่ วน) ตามลําดับของการส่ งถ่ายแรงจากบนสุ ดลงสู่ ฐานราก
ฉะนั้น เมื่อได้เรี ยนรู ้และทําความเข้าใจถึงวิธีการและขั้นตอนของการออกแบบแต่ละองค์อาคารดีแล้ว
เพื่อความรู ้ความเข้าใจที่ต่อเนื่ อง ควรมีการฝึ กปฏิบตั ิอย่างสมํ่าเสมอ จะทําให้เราเองเกิดความชํานาญ
และมีความมัน่ ใจยิง่ ๆขึ้น
9.1 ลักษณะโดยทัว่ ไปของอาคาร
1) เป็ นอาคารคอนกรี ตเสริ มเหล็ก 2 ชั้น ใช้เพื่อเป็ นที่พกั อาศัย ประกอบด้วย 1 ห้องครัว,
1 ห้องรับประทานข้าว 1 ห้องรับแขก 3 ห้องนอน 2 ห้องนํ้าและมีระเบียงด้านหน้า
บ้าน
2) ความสู งที่ระดับสันหลังคา 8.10 เมตร
3) ผนังทั้งหมดก่อด้วยอิฐมอญครึ่ งแผ่นฉาบเรี ยบ 2 ด้าน
4) ฝ้ าเพดานเป็ นยิปซัมบอร์ดฉาบเรี ยบโครงคร่ าวเหล็กทีบาร์
5) วัสดุมุงเป็ นกระเบื้อง CPAC
6) วัสดุแต่งผิวพื้นเป็ นกระเบื้องเคลือบ
7) ฐานรากเป็ นฐานแผ่วางอยูบ่ นชั้นดินเดิม
168

9.2 เกณฑ์ กาํ หนดทีใ่ ช้ ในการออกแบบองค์ อาคาร: เป็ นไปตามข้ อบัญญัติกรุ งเทพมหานคร

9.2.1 คอนกรีต
1) องค์อาคารของโครงสร้ างใช้กาํ ลังอัด (แท่งตัวอย่างคอนกรี ตรู ปทรงกระบอก
หล่อด้วยปูนซี เมนต์ปอร์ ตแลนด์ประเภทที่ 1 บ่มชื้นต่อเนื่ อง 28 วัน) fc’ = 173
ksc.
2) หน่วยแรงอัดที่ผวิ fc = 0.375fc’ ≤ 65 ksc.
3) หน่วยแรงเฉื อนแบบคานกว้าง v = 0.29√fc’, ksc.
4) หน่วยแรงเฉื อนทะลวง v = 0.53√fc’, ksc.
5) หน่วยแรงแบกทาน กรณี รับเต็มเนื้อที่ fc = 0.25fc’, ksc.
9.2.2 เหล็กรูปพรรณ
1) กําลังคราก Fy = 2,400, ksc.
2) หน่วยแรงเฉื อน fv = 0.40Fy, ksc.
3) หน่วยแรงดึง fs = 0.60Fy, ksc.
4) หน่วยแรงอัด fa = 0.60Fy, ksc.
5) หน่วยแรงดัดรอบแกนหลัก fb = 0.60Fy, ksc.
6) หน่วยแรงดัดรอบแกนรองใช้ fb = 0.75Fy, ksc.

9.2.3 ดินรองรับฐานแผ่
กําลังรับแรงแบกทานของดิน ในที่น้ ี กาํ หนดเลือกใช้ที่ 8 ตันต่อตารางเมตร (ทั้งนี้
ข้อมูลที่ถูกต้อง ขึ้นอยูก่ บั ผลการทดสอบดินในสนามที่ระดับความลึกเดียวกับระดับของฐานราก
เช่น การทดสอบกําลังรับนํ้าหนักของดินโดยใช้แผ่นเหล็กกด หรื อหากไม่มีผลการทดสอบใดๆเป็ น
ที่น่าเชื่อถืออนุ โลมให้ใช้ตามข้อบัญญัติ กทม. ได้ หรื อหาได้จากข้อมูลบริ บทแวดล้อมของอาคาร
ข้างเคียง)
9.2.4 นํา้ หนักบรรทุกจรบนอาคาร
1) ส่ วนโครงหลังคา ใช้ต่าํ สุ ด 30 ksm.
2) ส่ วนระเบียง ใช้ต่าํ สุ ด 100 ksm.
3) ส่ วน ห้องนอน ห้องครั ว ห้องรั บประทานอาหาร ห้องรั บแขกและห้องนํ้า ใช้
ตํ่าสุ ด 150 ksm.
4) ส่ วนบันไดใช้ต่าํ สุ ด 200 ksm.
5) แรงลม (0 < H < 10 m.) ตามข้อบัญญัติ กทม. ใช้ต่าํ สุ ด 50 ksm.
169

9.2.5 นํา้ หนักบรรทุกคงที่


1) วัสดุมุง (กระเบื้องมุงของ CPAC) ใช้ 50 ksm.
2) ฝ้ าเพดาน ไฟฟ้ าดวงโคม พัดลม ใช้ต่าํ สุ ด 15 ksm.
3) ผนังก่ออิฐมอญครึ่ งแผ่นฉาบเรี ยบ 2 ด้านใช้ต่าํ สุ ด 180 ksm.
4) วัสดุแต่งผิวพื้นใช้ต่าํ สุ ด 15 ksm.

9.3 แบบก่ อสร้ างทีใ่ ช้ ประกอบการวิเคราะห์ และออกแบบองค์ อาคาร

ภาพที่ 9.1 แสดงแบบแปลนด้านข้าง


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2
170

ภาพที่ 9.1 (ต่อ) แสดงแบบแปลนด้านข้าง


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2
171

ภาพที่ 9.2 แสดงแบบแปลนด้านสถาปัตยกรรมชั้นที่ 1


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2
172

ภาพที่ 9.3 แสดงแบบแปลนด้านสถาปัตยกรรมชั้นที่ 2


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2
173

ภาพที่ 9.4 แสดงภาพตัดขวาง 1-1


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2

ภาพที่ 9.5 แสดงแบบแปลนหลังคา และภาพตัดขวาง 2-2


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2
174

ภาพที่ 9.6 แสดงแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้างชั้นที่ 1


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2
175

ภาพที่ 9.7 แสดงแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้างชั้นที่ 2


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2
176

ภาพที่ 9.8 แสดงแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้างของโครงหลังคา


ที่มา (กรมโยธาธิการและผังเมือง, ออนไลน์, 2548)
2 2

ภาพที่ 9.9 แสดงแบบจําลองโครงสร้าง 3 มิติ


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
2 2
177

ภาพที่ 9.9 (ต่อ) แสดงแบบจําลองโครงสร้าง 3 มิติ


ที่มา (เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก, 2554)
2 2
178

9.4 ออกแบบแปหรือระแนงเหล็กรู ปพรรณ


เมื่อพิจารณาจากแบบแปลนโครงสร้างของโครงหลังคา เลือกช่วงยาวของแปที่มีระยะห่าง
ระหว่างจันทันที่มากที่สุด เป็ นส่ วนควบคุมการออกแบบทั้งหมด ดังภาพที่แสดง

(ก) แบบแปลนโครงสร้างโครงหลังคา

(ข) แบบจําลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์และออกแบบ

ก. กรณี ออกแบบโดยละเอียด
1. หาข้อมูลที่จะใช้ออกแบบ (พิจารณาจากแบบแปลนโครงหลังคาและภาพตัดขวาง)
1) เลือกใช้เหล็กรู ปพรรณ มอก. 107 ชั้นคุณภาพ HS41 (Fy = 2,400 ksc., Fu =
4,100 ksc.)
2) ความยาวจริ งแปตามแนวแกนที่ ย าวที่ สุด เป็ นตัวควบคุ มการออกแบบ (L) =
2.2/2 = 1.10 m. (ช่วงกริ ด ค ง)
3) ระยะห่ างระหว่างแปที่มากที่สุดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ (@) = 0.34 m.
(ตามแบบ 0.32-0.34 m.)
179

4) มุมยกของหลังค่าที่มากที่สุดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ (θ) = 30.11 องศา


(ตามแบบ 30 องศา)
5) วัสดุมุง + ฝ้ าเพดาน + ฉนวน (ถ้ามี) + พัดลม (ถ้ามี) + ดวงโคม
2. หานํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อแป และแยกเป็ นนํ้าหนักบรรทุกกรณี ต่างๆ
1) นํ้าหนักบรรทุกคงที่ (DL.)
2
− นํ้าหนักของแปเอง (SW.) = 5 kg./m. (เป็ นค่าสมมติเลือกใช้ แล้วจึง
ตรวจสอบภายหลัง)
2
− นํ้าหนักของวัสดุมุง (FL.) = 50 kg./m. (CPAC)
− นํ้า หนัก ประกอบอื่ น ๆ เช่ น ระบบฝ้ าเพดาน+ฉนวน+ไฟฟ้ า+พัด ลม = 15
kg./m.2
2) นํ้าหนักบรรทุกจร (LL.)
2
− นํ้าหนักจรบนหลังคาตาม (LL.) = 30 kg./m.
2
− แรงลมกระทําในแนวราบที่ความสู ง 0-10 m. (WL.) = 50 kg./m.
tan-1(1.74/3.0) = 30.11 องศา (Sin 30.11 = 0.502, Cos 30.11 = 0.865)
2
− ดัง นั้น แรงลมกระทํา ตั้ง ฉากกับ แปคื อ [2x50x0.502]/[1+0.502 ] = 40.10
kg./m.2

ภาพแสดงการหามุมลาดเอียงของโครงหลังคา
180

สรุ ปนํ้าหนักบรรทุก ได้ดงั นี้


นํ้าหนักบรรทุกรวมในแนวดิ่งคือ 5 + 50 + 15 + 30 = 100 kg./m.2 แยกเป็ นนํ้าหนัก
บรรทุกแต่ละส่ วน คือ
นํ้าหนักบรรทุกคงที่ = 5 + 50 + 15 = 70 kg./m.2
นํ้าหนักบรรทุกจร = 30 kg./m.2
นํ้าหนักบรรทุกรวมในแนวตั้งฉากกับหลังคาคือ แรงลม = 40.10 kg./m.2

3) เปรี ยบเทียบนํ้าหนักบรรทุกในกรณี ต่างๆ แล้วใช้ค่าสู งสุ ดเป็ นกรณี ควบคุมการ


ออกแบบ โดยการแตกแรงดังรู ปข้างบนเข้าแกนอ้างอิงที่ต้ งั ไว้ (ในที่น้ ี ต้ งั แกน
ตามแนวการเอี ยงของระแนงหรื อแป และหากสังเกตจะเห็ น ว่าแรงกระทํา
สู งสุ ดจะอยู่ในแนวแกน Y ดังนั้นในที่น้ ี การเปรี ยบเทียบนํ้าหนักบรรทุกจะ
พิจารณาเฉพาะในแนวแกน Y ซึ่ งเป็ นแกนหลักเท่านั้น) โดยมีระยะห่ าง
ระหว่างแปทุกๆ 0.34 m.
(1) เมื่อพิจารณาตามแนวแกนหลัก (ωy)
− DL. = (70 x 0.865) x 0.34 = 20.59 kg./m.
− DL. + LL. = (100 x 0.865) x 0.34 = 29.41 kg./m.
− 0.75 (DL. + LL. + WL.) = [0.75((100 x 0.865) + 40.10)] x 0.34 = 32.28
kg./m.
(2) เมื่อพิจารณาตามแนวแกนรอง (ωx)
− DL. = (70 x 0.502) x 0.34 = 11.95 kg./m.
− DL. + LL. = (100 x 0.502) x 0.34 = 17.07 kg./m.
− 0.75 (DL. + LL. + WL.) = [0.75(100 x 0.502) + 0] x 0.34 = 12.80
kg./m.
181

สรุ ปใช้น้ าํ หนักบรรทุกกรณี ที่ใช้เป็ นชุดควบคุมการวิเคราะห์และออกแบบคือ (ในที่น้ ี เพื่อ


ความปลอดภัย สะดวกและรวดเร็ ว จะใช้ค่าสู งสุ ดในแต่ละแนวแกนมาเป็ นตัวควบคุม)
ในแนวแกนหลักคือ 32.28 kg./m.
ในแนวแกนรองคือ 17.07 kg./m.

ภาพแสดงการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกในแต่ละแนวแกน
182

3. วิเคราะห์หาแรงภายใน (แรงตามแนวแกน แรงเฉื อนและโมเมนต์ดดั ) และระยะโก่ง

ภาพแสดงการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกในแต่ละแนวแกน
1) แรงปฏิกิริยา (Ray = Rby) = ωyL/2 = (32.28 x 1.10)/2 = 17.75 kg.
2) แรงภายใน
− แรงตามแนวแกน (N) = 0 kg. (เพราะว่าวางตัวในแนวราบตามยาวจึงไม่มี
แรงตามแนวแกน)
− แรงเฉื อน (V) = R = ωyL/2 = 17.75 kg.
183

ภาพแสดงการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกในแนวแกน Y

ภาพแสดงการกระทําของนํ้าหนักบรรทุกในแนวแกน X
− โมเมนต์ดดั
รอบแกน X-X, Mx = ωyL2/8 = (32.28 x 1.102)/8 = 4.88 kg.-m.
รอบแกน Y-Y, My = ωxL2/8 = (17.07 x 1.102)/8 = 2.58 kg.-m.
4. ออกแบบขนาดหน้าตัด
ในเบื้องต้นจะออกแบบโดยใช้ค่าโมเมนต์ดดั สูงสุ ดมาควบคุมการออกแบบ ดังนี้
1) หาค่าโมดูลสั หน้าตัด (Sx) = Mmax/(0.60Fy) = (4.88 x 100)/(0.60 x 2,400) =
0.339 cm.3
2) เปิ ดตารางเหล็กกล่องสี่ เหลี่ยมจัตุรัส เลือกขนาดเหล็กโดยใช้ค่า Sx = 0.339
cm.3 เป็ นค่าตํ่าสุ ดในการเลือกขนาดหน้าตัดเหล็ก
จากตาราง เลือกเหล็กกล่องขนาด []-25 x 25 x 1.60 mm. (As’ = 1.432 cm.2,
Ix = 1.28 cm.4, Sx = Sy = 1.02 cm.3 > 0.339 cm.3, rx = ry = rmin = 0.34 cm.,
หนัก 1.12 kg./m. < 5x0.34 = 1.70 kg./m….ผ่าน)
184

Cross Secondary
Calculate Modulus of Radius of
Side Length Thickness Sectional Moment of
Weight Section Gyration
Area Area cm4
DxD T W A Ix, Iy Zx, Zy rx, ry
in. mm. mm. kg./m. cm2 cm4 cm3 cm.
1.60 1.12 1.432 1.28 1.02 0.34
2.0 1.36 1.74 1.48 1.19 0.92
1x1 25x25 2.3 1.53 1.97 1.61 1.29 0.90
2.6 1.65 2.10 1.63 1.31 0.88
3.2 1.91 2.44 1.75 1.40 0.85

5. ตรวจสอบหน่วยแรงที่ยอมให้
1) หน่วยแรงดัดที่เกิดขึ้นจริ ง
− f bx = Mx/Sx = (4.88 x 100)/1.02 = 478.43 ksc.
− f by = My/Sy = (2.58 x 100)/1.02 = 252.94 ksc.
2) ตรวจสอบหน่วยแรงทั้งสอง (f bx /0.60Fy) + (f by /0.75Fy) ≤ 1.0
− [478.43/(0.60 x 2,400)] + [252.94/(0.75 x 2,400)] = 0.508 ≤ 1.0…ผ่าน

6. ตรวจสอบระยะโก่ง
ในที่น้ ีใช้ ∆y ≤ L/360 (ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยจึงเลือกค่านี้ตรวจสอบ)
∆y = (5ωyL4)/(384IE) = [5 x (32.28/100 ) x (1.10 x 100)4 ]/[384 x 1.28 x 2.04 x106] =
0.236 cm. ≤ (1.10 x 100)/360 = 0.31 cm.…ผ่าน
สรุ ป: ใช้เหล็ก []-25 x 25 x 1.60 mm. (หนัก 1.12 kg./m.)
185

ข. กรณี ออกแบบโดยประมาณ
1. หานํ้าหนักบรรทุก และแยกเป็ นนํ้าหนักบรรทุกกระทํากรณี ต่างๆ
1) นํ้าหนักบรรทุกคงที่ (DL.)
2
− นํ้าหนักของแปเอง (SW.) = 5 kg./m.
2
− นํ้าหนักของวัสดุมุง (FL.) = 50 kg./m. (CPAC)
− นํ้า หนัก ประกอบอื่ น ๆ เช่ น ระบบฝ้ าเพดาน+ฉนวน+ไฟฟ้ า+พัด ลม = 15
kg./m.2
2) นํ้าหนักบรรทุกจร (LL.)
2
− นํ้าหนักจรบนหลังคาตาม กม. (LL.) = 30 kg./m.
2
− แรงลมกระทําในแนวราบที่ความสู ง 0-10 m. (WL.) = 50 kg./m.
-1
− tan (1.74/3.0) = 30.11 องศา (Sin 30.11 = 0.502, Cos 30.11 = 0.865)
2 2
− แรงลมกระทําตั้งฉากกับแปคือ [2x50x0.502]/[1+0.502 ] = 40.10 kg./m.
หานํ้าหนักบรรทุกสู งสุ ดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ
แบบที่ 1: ไม่คิดแรงลม
− DL. + LL. = (70 + 30) x 0.34 = 34 kg./m.
แบบที่ 2: คิดแรงลม = 50 kg./m.2 เพิ่มเข้าในแนวดิ่งโดยตรง
− (DL. + LL. + WL.) = (70 + 30 + 50)] x 0.34 = 51 kg./m.
แบบที่ 3: คิดแรงลม = 40.10 kg./m.2 เพิ่มเข้าในแนวดิ่งโดยตรง
− (DL. + LL. + WL.) = (70 + 30 + 40.10)] x 0.34 = 47.63 kg./m.
แบบที่ 4:
− DL. = 70 x 0.34 = 23.80 kg./m.
− DL. + LL. = 70 + 30 = 100 x 0.34 = 34 kg./m.
− 0.75 (DL. + LL. + WL.) = [0.75(70 + 30 + 40.10)] x 0.34 = 35.73 kg./m.

2. วิเคราะห์หาแรงภายใน
1) เมื่อนํ้าหนักบรรทุกเป็ นแบบที่ 1
186

2) เมื่อนํ้าหนักบรรทุกเป็ นแบบที่ 2

3) เมื่อนํ้าหนักบรรทุกเป็ นแบบที่ 3

4) เมื่อนํ้าหนักบรรทุกเป็ นแบบที่ 4

3. ออกแบบขนาดหน้าตัด
จากนั้นกระบวนการและขั้นตอนต่างๆก็ทาํ ได้เช่นเดียวกับหัวข้อที่ 4. กรณี ออกแบบโดย
ละเอียด ต่างกันเพียงในขั้นตอนของการตรวจสอบหน่วยแรงที่ยอมให้ ซึ่งวิธีออกแบบโดยประมาณนี้
จะใช้เพียงหน่วยแรงดัดตามแนวแกนหลัก คือ f bx = Mx/Sx โดย (f bx /0.60Fy) ≤ 1.0 เท่านั้น
187

9.5 ออกแบบจันทันเหล็กรู ปพรรณ


จากแบบแปลนโครงสร้ างโครงหลังคาจะเห็ นว่า การวางตัว ของจันทันทุ กตัวจะเป็ น
ลักษณะของคานช่วงเดียวที่มีช่วงปลายยืน่ รับนํ้าหนักบรรทุกชนิดแผ่สมํ่าเสมอเต็มช่วง

(ก) แบบแปลนโครงสร้างโครงหลังคา

(ข) แบบจําลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์และออกแบบ
188

1. หาข้อมูลที่จะใช้ออกแบบ (พิจารณาจากแบบแปลนโครงหลังคาและภาพตัดขวาง)
1) เลือกใช้เหล็กรู ปพรรณ มอก. 1228 ชั้นคุณภาพ SSC400 (Fy = 2,400 ksc., Fu =
4,100 ksc.)
2) ความยาว (จริ ง) ของจันทันตามแนวเอียงที่ยาวสุ ด (Li) = 3/Cos30.11 = 3.47 ใช้
= 3.50 m.
3) ความยาวจันทันตามแนวราบ (Projected Length) ที่ยาวสุ ด (L1) = 3 m.
4) ระยะคํายันด้านข้างทุกๆ 0.34 m. (ในที่น้ ี แปหรื อระแนงเป็ นตัวคํ้ายันที่ปีกบน
ของจันทัน)
5) ระยะห่ างระหว่างจันทันที่มากที่สุดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ (@) = 1.10 m.
6) วัสดุมุง + ฝ้ าเพดาน + ฉนวน (ถ้ามี) + พัดลม (ถ้ามี) + ดวงโคม
2. หานํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อจันทัน แล้วแยกเป็ นนํ้าหนักบรรทุกกระทําในกรณี ต่างๆ
1) นํ้าหนักบรรทุกต่างๆ ประกอบด้วย
(1) นํ้าหนักทั้งหมดจากขั้นตอนการออกแบบแป (ในแนวดิ่ง)
2
− DL + LL = (5 + 50 + 15 + 30 ) = 100 kg./m.
2 2
− WL = 40.10xCos(30.11) = 34.69 kg./m. แต่ใช้ 35 kg./m.
− รวมเป็ นนํ้าหนักบรรทุ กในแนวดิ่ งจากขั้นตอนการออกแบบแปคื อ =
135 kg./m.2
(2) นํ้าหนักของจันทันเอง (5% - 7% ของนํ้าหนักบรรทุก) = 135 x (5/100) =
6.75 ใช้ 7 kg./m.2
2) รวมเป็ นนํ้าหนักบรรทุกทั้งหมดสําหรับออกแบบจันทันคือ = 135 + 7 = 142 ซึ่ ง
แบ่งออกเป็ น
2
− นํ้าหนักบรรทุกคงที่ = (5 + 50 + 15) + 7 = 77 kg./m.
2
− นํ้าหนักบรรทุกจร = 30 kg./m.
2
− แรงลม = 35 kg./m.
3) เปรี ยบเทียบนํ้าหนักบรรทุกในกรณี ต่างๆ แล้วใช้ค่าสู งสุ ดเป็ นกรณี ควบคุมการ
วิเคราะห์และออกแบบ (เมื่อมีระยะห่างระหว่างจันทันสูงสุ ด = 1.10 m.)
(1) DL. = 77 x 1.10 = 84.70 kg./m.
(2) DL. + LL. = (77 + 30) x 1.10 = 110 kg./m.
(3) 0.75 (DL. + LL. + WL.) = [0.75(77 + 30 + 35)] x 1.10 = 117.15 kg./m.
189

ใช้น้ าํ หนักบรรทุกกรณี ที่ 3 ควบคุมการวิเคราะห์และออกแบบขนาดของจันทัน แต่


เนื่ องจากในภาคปฏิบตั ิจริ งมักนิ ยมออกแบบโดยใช้ความยาวภาพฉาย (Projected Length) ในแนวราบ
มาออกแบบ ดังนั้นเพื่อความถูกต้องจึงต้องทําการแปลงนํ้าหนักบรรทุกทั้งหมดที่กระทําต่อจันทันตาม
ความยาวในแนวเอียง ให้เป็ นนํ้าหนักบรรทุกเทียบเท่าในแนวราบ (Equivalent Load Horizontally
Projected) ดังนี้
ωt = 117.15 / [Cos (30.11)] = 135.42 kg./m. ใช้ 136 kg./m.
3. วิเคราะห์หาแรงภายใน (แรงตามแนวแกน แรงเฉื อนและโมเมนต์ดดั ) และระยะโก่ง
ก. กรณี คิดโดยวิธีละเอียด
โดยการใช้สมการสําเร็ จรู ป ดังภาพที่แสดง

1) แรงปฏิกิริยา
2 2 2 2
− Ra = [ωt/(2L)](L - l ) = [136/(3x2)](3 – 1.5 ) = 153 kg.
2 2
− Rb = Vb1 + Vb2 = [ωt/(2L)](L + l) = [136/(3x2)](3 + 1.5) = 459 kg.
2) แรงภายใน
− แรงตามแนวแกน (N) = 0 kg. (เนื่ องจากเป็ นการวิเคราะห์เมื่อจันทันวางตัว
ในแนวราบ)
− แรงเฉื อน Va = Ra = 153 kg.
− แรงเฉื อน Vb1 (บริ เวณ R2) = ωtl = 136 x 1.5 = 204 kg.
2 2 2 2
− แรงเฉื อน Vb2 (บริ เวณ R2) = [ωt/(2L)](L + l ) = [136/(3x2)](3 + 1.5 ) =
255 kg.
190

− โมเมนต์ดัด Mz1 = Msag-max = [ωt/(8L2)](L + l)2(L – l)2 =


[136/(8x32)](3 + 1.5)2(3 – 1.5)2 = 86.06 kg.-m.
− โมเมนต์ดดั Mz2 = Mhog-max = (ωtl2)/2 = (136 x 1.52)/2 = 153 kg.-m.

แผนภาพแสดงผลการวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้สมการสําเร็ จรู ป
3) ระยะโก่ง
4 2 2 3 2 2 2 2
− สมการในช่ ว งยาว 3.0 m. = [ ωtX/(24IEL)][L -2L X +LX -2l L +2l X ]
พิจารณาที่ระยะ x = 1.50 m. จะได้ = [((136/100) x 150)/(24 x I x 2.04x106
x 300)][3004-2(3002 x 1502) + (300 x 1503) – 2(1502x 3002) + 2(1502x
1502)] = (28.125/I)
2 3 3
− ระหว่างช่ วงปลายยื่น 1.5 m. = [ωtl/(24IE)][4l L-L +3l ] = [((136/100) x
150)/(24 x I x 2.04 x106][(4 x 300 x 1502)-3003+(3 x 1503)] = (42.188/I)
ข. กรณี คิดโดยวิธีประมาณ
M = [ω(L1xLi)]/8 = 136 x (3x3.5)/8 = 178.50 kg.-m. > 153 kg.-m.
4. ออกแบบขนาดหน้าตัด
ในที่ นี่ อ อกแบบโดยใช้ค่ า โมเมนต์ดัด สู ง สุ ด จากกรณี คิ ด แบบละเอี ย ดมาควบคุ ม การ
ออกแบบ ได้ดงั นี้
1) หาค่า โมดูลสั หน้าตัด (Sx) = Mmax/(0.60Fy) = (153 x 100)/(0.60 x 2,400) =
10.42 cm.3
191

2) เปิ ดตารางเหล็กตัวซี เลือกขนาดเหล็กโดยใช้ค่า Sx = 10.42 cm.3 เป็ นค่าตํ่าสุ ดใน


การเลือกขนาดหน้าตัดเหล็ก
จากตาราง เลือกเหล็กตัวซี ขนาด C-100 x 50 x 20 x 2.0 mm. (As’ = 4.537 cm.2,
Ix = 71.40 cm.4, Sx = 14.30 cm.3 > 10.42 cm.3, Sy = 5.40 cm.3, หนัก 3.56
kg./m. = 3.56/1.0 = 3.56 kg./m.2 < 7.0 kg./m.2….ผ่าน)

Radius of Center
Center of Secondary Modulus
Dimensions Gyration of
Sectional Weight Gravity Moment of of Section
mm. of Area Shear
Area cm2 kg./m. cm. Area cm4 cm3
cm. cm.
HxAxC t Cx Cy Ix Iy rx ry Zx Zy Sx Sy
4.5 9.469 7.43 0 1.86 139 30.9 3.82 1.81 27.7 9.82 4.3 0
4.0 8.548 6.71 0 1.86 127 28.7 3.85 1.83 25.4 9.13 4.3 0
3.2 7.007 5.50 0 1.86 107 24.5 3.90 1.87 21.3 7.81 4.4 0
100x50x20 2.8 6.205 4.87 0 1.88 99.8 23.2 3.96 1.91 20.0 7.44 4.3 0
2.3 5.172 4.06 0 1.86 80.7 19.0 3.95 1.92 16.0 6.06 4.4 0
2.0 4.537 3.56 0 1.86 71.4 16.9 3.97 1.93 14.3 5.4 4.4 0
1.6 3.672 2.88 0 1.87 58.4 14.0 3.99 1.95 11.7 4.47 4.5 0

5. ตรวจสอบหน่วยแรง และโมเมนต์ตา้ นทานของหน้าตัดออกแบบ


1) ตรวจสอบการคํ้ายันด้านข้างโดย
− ระยะคํ้ายันจริ ง (Lb) = 34 cm. (เท่ากับระยะห่ างระหว่างแป)
− ระยะคํ้ายันตํ่าสุ ดทางทฤษฎี (Lc) = (637.2 x 5)/(√2,400) = 65.01 cm.
− ระยะคํ้ายันสู งสุ ดทางทฤษฎี (Lu) = (1406,000 x 1.36)/(10 x 2,400) = 79.67
cm.
192

ภาพแสดงมิติต่างๆของหน้าตัดเพื่อหาค่า bf, Af, d


เมื่อ bf = ความกว้างปี กรับแรงอัด = 50/10 = 5 cm.
Af = พื้นที่ปีกรับแรงอัด (โดยประมาณ) = (A)(t) + (C-t)(t)
= (50/10)(2/10) + ((20-2)/10)(2/10) = 1.36 cm.2
d = ความลึก = 100/10 = 10 cm.
2) หาหน่วยแรงดัดที่ยอมให้ (Fb’)
− เนื่ องจากระยะคํ้ายันจริ งอยูใ่ นช่วงเงื่อนไข Lb < Lc < Lu
− ดังนั้นค่าหน่ วยแรงดัดที่ยอมให้จึงวิ่งอยูใ่ นช่วงตํ่าสุ ด Fb’ = 0.60Fy ถึงสู งสุ ด
Fb’ = 0.66Fy เพื่อความสะดวก รวดเร็ ว และปลอดภัยเลือกใช้ที่ค่าตํ่าสุ ด
Fb’ = 0.60 x 2,400 = 1,440 ksc.
3) โมเมนต์ตา้ นทานสูงสุ ด (Mall) = Fb’ x Sx
= 1,440 x 14.30 = 20,592 kg.-cm. = 205.92 kg.-m. > 153 kg.-m.…ผ่าน
4) ตรวจสอบหน่วยแรงเฉื อน [V/(dtw)] ≤ 0.40Fy
= [459/((100/10) x (2/10))] = 229.50 ksc. ≤ 0.40Fy = 0.40 x 2,400 = 960
ksc.…ผ่าน

6. ตรวจสอบระยะโก่ง ∆y ≤ L/360 (ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยจึงเลือกค่านี้ตรวจสอบ)


∆max = (42.188/71.40) = 0.59 cm. ≤ (3.0 x 100)/360 = 0.83 cm.…ผ่าน
สรุ ป: ออกแบบโดยใช้เหล็กตัวซี C-100 x 50 x 20 x 2.0 mm. (หนัก 3.56 kg./m.)
193

9.6 ออกแบบตะเฆ่ สันตะเฆ่ รางเหล็กรูปพรรณ

(ก) แบบแปลนโครงสร้างโครงหลังคา

(ข) แบบจําลองโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์และออกแบบ
194

1. หาข้อมูลที่จะใช้ออกแบบ (พิจารณาจากแบบแปลนโครงหลังคาและภาพตัดขวาง)
1) เลือกใช้เหล็กรู ปพรรณ มอก. 1228 ชั้นคุณภาพ SSC400 (Fy = 2,400 ksc., Fu =
4,100 ksc.)
2) ความยาวตะเฆ่สนั ตามแนวราบที่ยาวที่สุด (คานช่วงใน) = √(32 +32) = 4.24 m.
3) ความยาวตะเฆ่สนั ตามแนวเอียงที่ยาวที่สุด = 4.24/Cos30.11 = 4.90 m.
4) ระยะคํายันด้านข้าง (ตามแนวเอียง) จากจันทันทุกๆ = 4.90/3 = 1.63 m.
5) ระยะคํายันด้านข้าง (ตามแนวดิ่ง) จากจันทันทุกๆ = 4.24/3 = 1.41 m.
6) พื้นที่รับนํ้าหนักบรรทุก = (3 x 3) = 9 m.2 ใช้ 9/2 = 4.50 m.2
7) วัสดุมุง + ฝ้ าเพดาน + ฉนวน (ถ้ามี) + พัดลม (ถ้ามี) + ดวงโคม
2. นํ้าหนักที่กระทําต่อตะเฆ่สนั ตะเฆ่ราง
1) นํ้าหนักบรรทุกต่างๆ ประกอบด้วย
− นํ้าหนักบรรทุกรวมจากการออกแบบแป = (5 + 50 + 15 + 30 + 35) = 135
kg./m.2

นํ้าหนักบรรทุกรวมจากการออกแบบจันทัน = 135 + 7 = 142 kg./m.2
− นํ้าหนักตัวเอง (ใช้ 5%-7% นํ้าหนักบรรทุก) = 142 x (5/100) = 9.94 ใช้ 10
kg./m.2
2) รวมเป็ นนํ้าหนักบรรทุกทั้งหมดที่ทาํ ต่อตะเฆ่สันตะเฆ่ราง = 142 + 10 = 152
kg./m.2 ซึ่งแบ่งออกเป็ น
2
− นํ้าหนักบรรทุกคงที่ = (5 + 50 + 15) + 7 + 10 = 87 kg./m.
2
− นํ้าหนักบรรทุกจร = 30 kg./m.
2
− แรงลม = 35 kg./m. (กระทําในแนวดิ่ง)
3) เปรี ยบเทียบนํ้าหนักบรรทุกในกรณี ต่างๆ แล้วใช้ค่าสู งสุ ดเป็ นกรณี ควบคุมการ
ออกแบบ
ก่อนอื่น เราจะต้องทําการแปลงนํ้าหนักบรรทุกต่อพื้นที่ (ในแนวดิ่ง) ไปเป็ นนํ้าหนัก
บรรทุกกระทําเป็ นจุด เมื่อพื้นที่ในการคิดนํ้าหนักบรรทุกเป็ นรู ปทรงสามเหลี่ยมคือ 9/2 =
4.50 m.2

9 m.2 4.5 m.2


195

(1) DL. = 87 x 4.5 = 391.50 kg.


(2) DL. + LL. = (87 + 30) x 4.5 = 526.50 kg.ใช้ 527 kg.
(3) 0.75 (DL. + LL. + WL.) = 0.75(87 + 30 + 35) x 4.5 = 513 kg.
ดังนั้นจึงใช้น้ าํ หนักบรรทุกกรณี ที่ 2 ควบคุมการวิเคราะห์และออกแบบ ซึ่ งต้อง
แปลงค่านํ้าหนักบรรทุกกระทําเป็ นจุ ดดังกล่ าว กลับไปเป็ นนํ้าหนักบรรทุกชนิ ดแผ่สมํ่าเสมอ (ใน
แนวดิ่ง) ได้จากสมการ P = [1/2][Lω]
ดังนั้น ω = 2P/L = [2 x 527]/[4.24] = 248.58 kg./m. ใช้ 249 kg./m.
แต่ เ นื่ องจากเมื่ อทําการออกแบบ ความยาวที่ ใ ช้เ รานิ ย มใช้ความยาวภาพฉายใน
แนวราบ (Projected Length) ดังนั้นนํ้าหนักบรรทุกจะต้องทําการแปลงให้เป็ นนํ้าหนักบรรทุกเทียบเท่า
ในแนวราบ (Equivalent Load Horizontally Projected) อีกครั้ง ดังนี้
ωt = 249 / Cos(30.11) = 287.84 kg./m. ใช้ที่ 289 kg./m.

3. วิเคราะห์หาแรงภายใน (แรงตามแนวแกน แรงเฉื อน และโมเมนต์ดดั ) และระยะโก่ง


โดยการใช้สมการสําเร็ จรู ป ดังภาพที่แสดง
196

1) แรงปฏิกิริยา
− Ray = V2 = (ωtL)(2/3) = (289 x 4.24)(2/3) = 816.91 kg.
− Rby = V1 = (ωtL)/3 = (289 x 4.24)/3 = 408.45 kg.
2) แรงภายใน
− แรงตามแนวแกน (N) = 0 kg. (ทั้งนี้ เนื่ องจากวิเคราะห์เมื่อวางตัวอยู่ใน
แนวราบ)
− แรงเฉื อน Ray = V2 = 816.91 kg.
− แรงเฉื อน Rby = V1 = 408.45 kg.
− โมเมนต์ดด ั Mmax = (2ωtL)/(9√3) = 0.1283ωtL = 0.1283 x 289 x 4.24 =
157.21 kg.-m.
3) ระยะโก่ง
∆max = [(0.01304)(ωtL4)]/(IE)
= [(0.01304)((289/100) x (4.24x100)4)]/(I x 2.04 x106) = (597.08/I) cm.
4. ออกแบบขนาดหน้าตัด
ในกรณี น้ ี ให้พึงระวังค่าระยะโก่งให้มาก ซึ่ งทั้งนี้ ค่าดังกล่าวอาจจะเป็ นตัวควบคุมการ
ออกแบบ แทนที่จะเป็ นค่าโมดูลสั หน้าตัด (Sx) ควบคุมการออกแบบ
1) หาค่าโมดูลสั หน้าตัดและค่าโมเมนต์ความเฉื่อยของพื้นที่
− ออกแบบโดยวิธี Stress Control จาก โมดูลส ั หน้าตัด(S) = Mmax/(0.60Fy)
= (157.21 x 100)/(0.60 x 2,400) = 10.92 cm.3
− ออกแบบโดยวิธี Deflextion Control จาก 597.08/I = L/240 ดังนั้น I =
(597.08 x 240)/(4.24 x 100) = 337.97 cm.4 (หากใช้เป็ นเหล็กคู่...ค่าดังกล่าว
จะเป็ น 337.97/2 = 168.99 cm.4/ท่อน)
2) เปิ ดตารางเหล็กตัวซี เลือกขนาดเหล็กโดยใช้ค่า Sx = 10.92 cm.3 และ Ix =
337.97 เป็ นค่าตํ่าสุ ดในการเลือกขนาดหน้าตัดเหล็ก ซึ่ งจากตารางเหล็กจะเห็น
ว่า
− หากออกแบบโดยใช้ค่ าโมดู ล ส ั หน้าตัดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ ใช้
เพียงขนาด C-100 x 50 x 20 x 2.30 mm. (As’ = 5.172 cm.2, Ix = 80.70
cm.4, Sx = 16.10 cm.3 > 10.92 cm3, หนัก 4.06 kg./m. คิดเป็ น (4.06x4.90)/9
= 2.21 kg./m.2 < 10 kg./m.2) ก็ผา่ น
197

− แต่ถา้ หากออกแบบโดยใช้ค่าโมเมนต์ความเฉื่ อยของพื้นที่เป็ นตัวควบคุม


การออกแบบ กลับต้องใช้ขนาด C-150 x 75 x 25 x 3.20 mm. (As’ = 10.53
cm.2, Ix = 375 > 337.97 cm.4, Sx = 50 cm.3, หนัก 8.27 kg./m.) หรื อหาก
ออกแบบเป็ นเหล็กคู่จะใช้ขนาด 2C-125 x 50 x 20 x 3.20 mm. (As’ = 2 x
7.807 cm.2, Ix = 2 x 181 > 337.97 cm.4, Sx = 2 x 29 cm.3, หนัก 2 x 6.13
kg./m)
สรุ ป: ออกแบบโดยใช้เหล็กตัวซี 2C-125 x 50 x 20 x 3.20 mm. (As’ = 2 x 8.607 cm.2, หนัก 2 x 6.13
kg./m. คิดเป็ น ((2 x 6.13) x 4.90)/9 = 6.67 kg./m.2 < 10 kg./m.2…ผ่าน)

For Stress Control

For Deflextion Control

5. ตรวจสอบหน่วยแรง และโมเมนต์ตา้ นทานของหน้าตัดออกแบบ


1) ตรวจสอบการคํ้ายันด้านข้าง (ในแนวดิ่ง) โดย
− ระยะคํ้ายันจริ งด้านข้าง (Lb) = 141.33 cm.
− ระยะคํ้ายันตํ่าสุ ดทางทฤษฎี (Lc) = (637.2 x (2 x 5))/(√2,400) = 130.07 cm.
− ระยะคํ้ายันสู งสุ ดทางทฤษฎี (Lu) = 1406,000 x (2((5 x 0.32)+((2-0.32) x
0.32)))/(12.5 x 2,400) = 200.36 cm.
2) หาหน่วยแรงดัดที่ยอมให้ (Fb’)
− เนื่ องจากระยะคํ้ายันจริ งอยูใ่ นช่วงเงื่อนไขของ Lc < Lb < Lu
198

− ดังนั้นเพื่อจึงใช้ค่าหน่วยแรงดัดที่ยอมให้ Fb’ = 0.60Fy = 0.60 x 2,400 =


1,440 ksc.
3) โมเมนต์ตา้ นทานสูงสุ ด (Mall) = Fb’ x Sx
− 1,440 x (2 x 29) = 83,520 kg.-cm. = 835.20 kg.-m. > 157.21 kg.-m.…ผ่าน
4) ตรวจสอบหน่วยแรงเฉื อน [V1/(dtw)] ≤ 0.40Fy
− [816.91/(2 x 12.50 x 0.32)] = 102.11 ksc. ≤ 0.40Fy…ผ่าน

6. ตรวจสอบระยะโก่ง ∆y ≤ L/240
∆max = 597.08/(2 x 181) = 1.65 cm. ≤ (4.24 x 100)/240 = 1.77 cm.…ผ่าน
สรุ ป: ใช้เหล็ก 2C-125 x 50 x 20 x 3.20 mm. (หนัก 2 x 6.13 kg./m.)

9.7 ออกแบบอกไก่เหล็กรู ปพรรณ

(ก) แบบแปลนโครงสร้างโครงหลังคา

(ข) ภาพ 3 มิติ แสดงการวางตัวของอกไก่


199

1. หาข้อมูลที่จะใช้ออกแบบ (พิจารณาจากแบบแปลนโครงหลังคาและภาพตัดขวาง)
1) เลือกใช้เหล็กรู ปพรรณ มอก. 1228 ชั้นคุณภาพ SSC400 (Fy = 2,400 ksc., Fu =
4,100 ksc.)
2) ความยาวของอกไก่ที่ยาวที่สุดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ = 2.20 m.
3) ระยะคํายันด้านข้าง = 2.20/2 = 1.10 m. (จากจันทัน ให้พิจารณาที่แบบแปลน
โครงสร้างโครงหลังคา)
2. หานํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่ออกไก่
1) แรงปฏิกิริยาที่ส่งถ่ายมาจากจันทัน = 2 x 153 = 306 kg. (กระทําที่ตรงกลาง
อกไก่คือระยะ 2.20/2 = 1.10 m.)

ภาพแสดงการส่ งถ่ายแรงจากจันทันไปยังอกไก่
2) ใช้น้ าํ หนักตัวเอง 10 kg./m. (เป็ นนํ้าหนักบรรทุกชนิ ดแผ่สมํ่าเสมอเต็มช่วงคิด
เป็ น = [(10x2.2)x100]/306 = 7.19% ของนํ้าหนักที่มากระทํา)
3. วิเคราะห์หาแรงภายใน (แรงตามแนวแกน แรงเฉื อน และโมเมนต์ดดั ) และระยะโก่ง
เนื่ องจากเป็ นคานช่วงเดียวอย่างง่ายและเพื่อความรวดเร็ ว ในที่น้ ี จะวิเคราะห์โครงสร้าง
โดยใช้วิธีของหลักการรวมผล
200

ภาพแสดงแบบจําลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์และออกแบบ
1) แรงปฏิกิริยา
− R = Ray = Rby = (ωL)/2 + (P/2) = (10 x 2.20)/2 + (2 x 153)/2 = 164 kg.
2) แรงภายใน
− แรงตามแนวแกน (N) = 0 kg.
− แรงเฉื อน V = R = 164 kg.
− โมเมนต์ดด ั Mmax = (ωL2/8) + (PL/4) = [(10 x 2.202)/8] + [(2 x 153 x
2.20)/4] = 174.35 kg.-m.
3) ระยะโก่ง
∆max = [(5/384)(ωL4)]/(IE) + (PL3)/(48IE)
= [(5/384)(10/100)(2204)]/(I x 2.04 x106) + [(2 x 153 x 2203)/(48 x I x 2.04 x106) =
(1.495/I) + (33.28/I) cm.
4. ออกแบบขนาดหน้าตัด
1) หาค่า โมดูลสั หน้าตัด (Sx) = Mmax/(0.60Fy) = (174.35 x 100)/(0.60 x 2,400)
= 12.11 cm.3
2) เปิ ดตารางเหล็กตัวซี เลือกขนาดเหล็กโดยใช้ค่า Sx = 12.11 cm.3 เป็ นค่าตํ่าสุ ดใน
การเลือกขนาดหน้าตัดเหล็ก
จากตารางเหล็ก เลือกเหล็กตัวซี ขนาด C-100 x 50 x 20 x 2.0 mm. (As’ = 4.537
cm.2, Ix = 71.40 cm.4, Sx = 14.30 cm.3, Sy = 5.40 cm.3, หนัก 3.56 kg./m.)
201

Center Radius of Center


Secondary Modulus
Dimensions of Gyration of
Sectional Weight Moment of of Section
mm. Gravity of Area Shear
Area cm2 kg./m. Area cm4 cm3
cm. cm. cm.
HxAxC t Cx Cy Ix Iy rx ry Zx Zy Sx Sy
4.5 9.469 7.43 0 1.86 139 30.9 3.82 1.81 27.7 9.82 4.3 0
4.0 8.548 6.71 0 1.86 127 28.7 3.85 1.83 25.4 9.13 4.3 0
3.2 7.007 5.50 0 1.86 107 24.5 3.90 1.87 21.3 7.81 4.4 0
100x50x20 2.8 6.205 4.87 0 1.88 99.8 23.2 3.96 1.91 20.0 7.44 4.3 0
2.3 5.172 4.06 0 1.86 80.7 19.0 3.95 1.92 16.0 6.06 4.4 0
2.0 4.537 3.56 0 1.86 71.4 16.9 3.97 1.93 14.3 5.4 4.4 0
1.6 3.672 2.88 0 1.87 58.4 14.0 3.99 1.95 11.7 4.47 4.5 0

5. ตรวจสอบหน่วยแรง
1) ตรวจสอบการคํ้ายันด้านข้าง (ในแนวดิ่ง) โดย
− ระยะคํ้ายันจริ งด้านข้าง (Lb) = 220/2 = 110 cm.(เป็ นระยะห่ างจากการ
วางตัวของจันทัน)
− ระยะคํ้ายันตํ่าสุ ดทางทฤษฎี (Lc) = (637.2 x 5)/(√2,400) = 65.03 cm.
− ระยะคํ้ายันสู งสุ ดทางทฤษฎี (Lu) = (1406,000 x ((5 x 0.20) + ((2-0.20) x
0.20)))/(10 x 2,400) = 79.67 cm.
2) หาหน่วยแรงดัดที่ยอมให้
− เนื่ องจากอยูใ่ นเงื่อนไข Lb > Lc > Lu
− ดังนั้นจึงใช้ค่าหน่ วยแรงดัดที่ยอมให้ Fb’ ≤ 0.60Fy
− ในที่น้ ี เพื่อความสะดวกและรวดเร็ วจะใช้ Fb’ = 0.55 x 2,400 = 1,320 ksc.
3) ได้ค่าโมเมนต์ตา้ นทานสู งสุ ดของหน้าตัด (Mall) = Fb’ x Sx = 1,320 x 14.30 =
18,876 kg.-cm. = 188.76 kg.-m. > 174.35 kg.-m.…ผ่าน
4) ตรวจสอบหน่วยแรงเฉื อน [V/(dtw)] ≤ 0.40Fy
− [164/(10 x 0.20)] = 82.00 ksc. ≤ 0.40Fy…ผ่าน
202

6. ตรวจสอบค่าระยะโก่ง ∆y ≤ L/240
∆max = [1.495/71.40] + [33.28/71.40] = 0.487 cm ≤ [2.20 x 100]/240…ผ่าน
สรุ ป: ใช้เหล็ก C-100 x 50 x 20 x 2 mm. (หนัก -3.56 kg./m.)

9.8 ออกแบบเสาดั่งเหล็กรูปพรรณ
1. หาข้อมูลที่จะใช้ออกแบบ (พิจารณาจากแบบแปลนโครงหลังคาและภาพตัดขวาง)
1) เลือกใช้เหล็กรู ปพรรณ มอก. 1228 ชั้นคุณภาพ SSC400 (Fy = 2,400 ksc., Fu =
4,100 ksc.)
2) ความสู งของเสาดัง่ = 1.74 m.
3) ลักษณะการต่อที่ปลายบนและล่าง เป็ นแบบบานพับ
4) พื้นที่รับนํ้าหนักบรรทุกเทียบเท่า (Tributary Area) = 3 x (2.60) = 7.80 m.2

(ก) แบบแปลนโครงสร้างโครงหลังคา
203

(ข) ภาพ 3 มิติ แสดงการรับนํ้าหนักบรรทุกของเสาดัง่


2. หานํ้าหนักที่กดลงบนเสาดัง่
2
− นํ้าหนักบรรทุกรวมบนหลังคาคือ (5 + 50 + 15 + 30 + 35) + 7 + 10 = 152 kg./m.
− รวมเป็ นแรงกดต่อเสาดัง่ (Fc) = (152)(3.00 x 2.60) = 1,185.60 kg. ใช้ 1,500 kg.

3. ออกแบบขนาดหน้าตัด
้ งการ = Fc/(0.60Fy) = 1,500/(0.60 x 2,400) = 1.042 cm.2
− หาพื้นที่หน้าตัด (A) ที่ตอ
3
− เปิ ดตารางเหล็กตัวซี (รางนํ้ารี ดเย็น) เลือกขนาดเหล็กโดยใช้ค่า A = 1.041 cm.
เป็ นค่าตํ่าสุ ดในการเลือกขนาดหน้าตัดเหล็ก
จากตาราง เลือกเหล็กตัวซีขนาด C-75 x 45 x 15 x 2.30 mm. (As’ = 4.137 cm.2, Ix =
37.10 cm.4, Sx = 9.90 cm.3, Sy = 4.24 cm.3, rx = 3.00 cm., ry = 1.69 cm., หนัก
3.25 kg./m.)
204

4. ตรวจสอบหน่วยแรง
1) หาหน่วยแรงอัดที่ยอมให้
− หาค่า K จากตารางเมื่อการต่อที่ปลายบน-ล่าง เป็ น hinge ได้ K = 1.0
− หา Cc = KL/rmin = [(1)(1.74 x 100)]/1.69 = 102.96 < 200 (สําหรับ
โครงสร้างหลัก)…ผ่าน
2 6 2
− หา S = √[(2Esπ )/Fy] =√ [(2 x 2.04 x 10 x (22/7) )/2,400] =129.58
− เนื่ องจากค่าของ Cc < S ดังนั้นหน่ วยแรงอัดที่ยอมให้ (Fac) จึงหาได้จาก
สมการ
Fac = [1-0.5(Cc/S)2][Fy]/[(5/3) + (3/8)(Cc/S) – (1/8)(Cc/S)3]
Fac = [1-0.5(0.795)2][2,400]/ [(5/3) + (3/8)(0.795) – (1/8)(0.795)3]
= 698.38 ksc.
เมื่อค่า (Cc/S) = (102.96/129.58) = 0.795

ภาพแสดงตารางค่า K ตามสภาพเงื่อนไขที่ปลายทั้งสองของดัง่
2) ตรวจสอบขนาดหน้าตัดที่เลือกออกแบบ
− ความสามารถในการรับแรงอัดตามแนวแกนได้จากสมการ (Fac)(As’) ≥ Fc
= (698.38 x 4.137) = 2,889.903 kg. > 1,500 kg….ผ่าน
สรุ ป: ใช้เหล็ก C-75 x 45 x 15 x 2.30 mm. (หนัก 4.137 kg./m.)
บทที่ 10

การออกแบบโครงข้ อหมุนอาคารโรงงาน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นของบทที่ 9 การวิเคราะห์และออกแบบองค์อาคารของ
อาคารโรงงานก็ เ ช่ น เดี ย วกัน กล่ า วคื อ หลัง จากที่ ไ ด้เ รี ย นรู ้ อ งค์ค วามรู ้ พ้ื น ฐานที่ จ าํ เป็ นต่ า งๆ ที่
เกี่ยวเนื่ องกับกระบวนการวิเคราะห์และออกแบบองค์อาคารของโครงสร้างมาพอสมควรแล้ว เพื่อให้
เกิ ดความรู ้ และความเข้าใจที่ ดีย่ิงขึ้ น ควรมีการลงมือปฏิบตั ิจริ งตามแนวทางเบื้ องต้น ดังที่ได้กล่าว
มาแล้ว ดังนั้นเนื้ อหาทั้งหมดในบทนี้ จึงเป็ นการสาธิ ตถึงวิธีการและขั้นตอนต่างๆของการออกแบบ
องค์อาคารแต่ละส่ วนของโครงสร้างอาคารโรงงานจากแบบก่อสร้างจริ ง (เฉพาะบางส่ วน) ตามลําดับ
ของการส่ งถ่ายแรงจากบนสุ ดลงสู่ ฐานราก ฉะนั้น เมื่อได้เรี ยนรู ้ และทําความเข้าใจถึงวิธีการและ
ขั้นตอนของการออกแบบแต่ละองค์อาคารดีแล้ว เพื่อความรู ้ความเข้าใจที่ต่อเนื่ อง ควรมีการฝึ กปฏิบตั ิ
อย่างสมํ่าเสมอ จะทําให้เราเองเกิดความชํานาญและมีความมัน่ ใจยิง่ ๆขึ้น
โดยทั่ว ไปอาคารโรงงานมัก มี ช่ ว งห่ า งระหว่ า งเสาในแต่ ล ะด้า นค่ อ นข้า งมาก อัน
เนื่ องมาจากพื้นฐานความต้องการด้านพื้นที่การใช้งานที่ มากขึ้ น ดังนั้นระบบโครงสร้ างที่มีความ
เหมาะสมสามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้คือโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ เช่น โครงหลังคา
เป็ นโครงถักเหล็กวางบนเสาเหล็ก แต่เนื่ องจากโครงสร้ างเหล็กรู ปพรรณมักมี ขนาดของหน้าตัด
ค่อนข้างเล็ก เมื่ อเที ย บกับขนาดหน้า ตัด ของโครงสร้ า งคอนกรี ตเสริ มเหล็ก เมื่ อพิ จารณาในสภาพ
เงื่อนไขเดียวกัน ประกอบกับโครงสร้างโดยรวมของโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณ มักเกิดจากการนําองค์
อาคารต่างๆมาต่อเข้าด้วยกัน อาจต่อด้วยการเชื่ อมหรื อต่อด้วยสลักเกลียว ซึ่ งทําให้มีความเป็ นเนื้ อ
เดียวกันขององค์อาคารตรงรอยต่อน้อยกว่าในองค์อาคารของโครงสร้างคอนกรี ตเสริ มเหล็ก โดยรวม
แล้วจึ งมีผลทําให้การเปลี่ยนรู ปของโครงสร้ างมีมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีแรงกระทําด้านข้าง เช่ น
แรงลม ดังนั้นระบบคํ้ายันต้านแรงลมในระนาบต่างๆของโครงสร้างเหล็กรู ปพรรณจึงมีความสําคัญ
ค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกันระบบแรงกระทําด้านข้าง (นอกเหนื อจากนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําใน
แนวดิ่ง) ประกอบด้วย แรงลมและแรงแผ่นดินไหว แต่ท้ งั นี้แรงที่มีอิทธิ พลต่อการออกแบบองค์อาคาร
ของอาคารโรงงานคือแรงลม ส่ วนแรงจากแผ่นดินไหวนั้นมีผลที่ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้กเ็ พราะด้วยเหตุผล
เรื่ องมวลของโครงสร้ า ง (แรงที่ เ กิ ด ขึ้ น ในองค์อาคาร เป็ นผลเนื่ องมาจากความเฉื่ อยของมวลของ
โครงสร้าง) กล่าวคือ อาคารโรงงานโดยทัว่ ไปมีเพียง 1 ถึง 2 ชั้นโดยเน้นไปที่มิติดา้ นความกว้างและ
206

ความยาวเป็ นสําคัญ อีกทั้งวัสดุ ที่ใช้มกั มีน้ าํ หนักเบาไม่ว่าจะเป็ นในส่ วนของวัสดุมุงหลังคา วัสดุ


สําหรับผนังกั้นห้อง วัสดุตกแต่งโดยรอบตัวอาคาร

ภาพที่ 10.1 แสดงลักษณะการวางระบบคํ้ายันต้านแรงลมในอาคารโรงงาน


ที่มา (Newnan, A. 2004)
207

ภาพที่ 10.2 แสดงพฤติกรรมของโครงสร้างเมื่อรับแรงกระทําด้านข้าง


ที่มา (Newnan, A. 2004)

10.1 แบบก่ อสร้ างทีใ่ ช้ ประกอบการวิเคราะห์ และออกแบบองค์ อาคาร

ภาพที่ 10.3 แสดงแบบแปลนด้านข้าง


ที่มา (ตั้มซีวลิ ดอทคอม, ออนไลน์, 2554)
2 2 2 2
208

ภาพที่ 10.3 (ต่อ) แสดงแบบแปลนด้านข้าง


ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)
2 2 2 2
209

ภาพที่ 10.4 แสดงแบบแปลนด้านสถาปัตยกรรม


ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)
2 2 2 2
210

ภาพที่ 10.5 แสดงแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้าง


ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)
2 2 2 2
211

ภาพที่ 10.5 (ต่อ) แสดงแบบแปลนด้านวิศวกรรมโครงสร้าง


ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)
2 2 2 2
212

ภาพที่ 10.6 แสดงภาพตัดตามขวาง


ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)
2 2 2 2
213

ภาพที่ 10.7 แสดงภาพตัดตามยาว


ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)
2 2 2 2

10.2 ลักษณะโดยทัว่ ไปของอาคารโรงงาน


เป็ นอาคารโรงงานและสํานักงานในตัว สําหรั บใช้เป็ นศูนย์บริ การซ่ อมบํารุ งรถยนต์
ประกอบด้วยส่ วนต่างๆ ดังนี้

10.2.1 มิติด้านต่ างๆ


1) มีความยาวรวม 75 m. แบ่งออกเป็ นช่วงละ 5 m. 15 ช่วง
2) มีความกว้าง 20 m.
3) ความสู งจากระดับพื้นดินถึงระดับสันหลังคา 0.15 m. + 8.45 m. = 8.60 m.

10.2.2 ลักษณะของโครงสร้ างอาคาร


− เสาคอนกรี ตเสริ มเหล็ก มีคานรัดโดยรอบที่ความสู ง 0.15 + 3.50 = 3.65 m.
− โครงหลัง คาเป็ นโครงถัก เหล็ก รู ป พรรณ (T1) ยาวสุ ด 20 m. มีมุมยก tan-
1(1.27/10) = 7.24 องศา วางพาดบนหัวเสาทุกๆระยะ 5 m.
− โดยมีโครงถักเหล็กรู ปพรรณ (T2) เป็ นตัวช่ วยยึดโครงถักเหล็กรู ปพรรณ (T1)
ตลอดความยาว 75 m.
− ชั้นล่างประกอบด้วยแผ่นพื้นวางบนดิ น (SG1) แผ่นพื้นไร้คานแบบ Flat Slab
วางบนหัวเสาเข็ม (FS1) และแผ่นพื้นหล่อในที่ (S1-S11)
− ชั้นสองประกอบด้วยแผ่นพื้นสําเร็ จรู ป (Hollow Core) รั บนํ้าหนักบรรทุกจร
300 ksm.
214

10.3 เกณฑ์ กาํ หนดทีใ่ ช้ ในการออกแบบองค์ อาคาร: เป็ นไปตามข้ อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

10.3.1 คอนกรีต
1) องค์อาคารของโครงสร้ างใช้กาํ ลังอัด (แท่งตัวอย่างคอนกรี ตรู ปทรงกระบอก
หล่อด้วยปูนซี เมนต์ปอร์ ตแลนด์ประเภทที่ 1 บ่มชื้นต่อเนื่ อง 28 วัน) fc’ = 173
ksc.
2) หน่วยแรงอัดที่ผวิ fc = 0.375fc’ ≤ 65 ksc.
3) หน่วยแรงเฉื อนแบบคานกว้าง v = 0.29√fc’, ksc.
4) หน่วยแรงเฉื อนทะลวง v = 0.53√fc’, ksc.
5) หน่วยแรงแบกทาน กรณี รับเต็มเนื้อที่ fc = 0.25fc’, ksc.
10.3.2 เหล็กรู ปพรรณ
1) กําลังคราก Fy = 2,400, ksc.
2) หน่วยแรงเฉื อน fv = 0.40Fy, ksc.
3) หน่วยแรงดึง fs = 0.60Fy, ksc.
4) หน่วยแรงอัด fa = 0.60Fy, ksc.
5) หน่วยแรงดัดรอบแกนหลัก fb = 0.60Fy, ksc.
6) หน่วยแรงดัดรอบแกนรองใช้ fb = 0.75Fy, ksc.
10.3.3 กําลังรับนํา้ หนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม
กําลังรับนํ้าหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม ในที่น้ ี กาํ หนดเลือกใช้เสาเข็มคอนกรี ต
อัดแรงขนาดหน้าตัด 0.26 x 0.26 x L m. รับนํ้าหนักบรรทุกปลอดภัย 30 ตัน/ต้น (แต่ท้ งั นี้ ขอ้ มูลที่
ถูกต้องขึ้นอยู่กบั ผลการทดสอบดิ นในสนาม หรื อหากไม่มีผลการทดสอบใดๆเป็ นที่น่าเชื่ อถือ
อนุโลมให้ใช้ตามข้อบัญญัติ กทม.ด้ หรื อหาได้จากข้อมูลดินบริ บทแวดล้อมของอาคารข้างเคียงที่
มีลกั ษณะเช่นเดียวกัน)

10.3.4 นํา้ หนักบรรทุกจรบนอาคาร


1) ส่ วนโครงหลังคา ใช้ต่าํ สุ ด 30 ksm.
2) ส่ วนห้องนํ้า ใช้ต่าํ สุ ด 150 ksm.
3) ส่ วนห้องทํางาน ใช้ต่าํ สุ ด 250 ksm.
4) ส่ วนบันได ใช้ต่าํ สุ ด 300 ksm.
5) ส่ วนพื้นที่ใช้งาน ใช้ต่าํ สุ ด 500 ksm.
215

10.3.5 นํา้ หนักบรรทุกคงที่


1) วัสดุมุง (เหล็กรี ดขึ้นรู ป ฉีดพ่นด้วยโฟม PE.) ใช้ 5 ksm.
2) ฝ้ าเพดาน ไฟฟ้ าดวงโคม พัดลม ใช้ต่าํ สุ ด 15 ksm.
3) ผนังอิฐบล็อกฉาบเรี ยบ ใช้ต่าํ สุ ด 120 ksm.
4) วัสดุแต่งผิวพื้นใช้ต่าํ สุ ด 15 ksm.
10.3.6 แรงลม (ในทีน่ ีจ้ ะใช้ วธิ ีของ UBC)
1) แรงลม ตามมาตรฐานแรงลม UBC-94 (วิธีที่ 1: กระทําตั้งฉากกับผิวขององค์
อาคาร): P = q s C q C e I
2
− ความดันลมสถิตย์ q s = 0.004826V
เมื่อความเร็ วลมพื้นฐานในรอบ 30 ปี V = 25 m./s. (กรณี ก่อสร้างในเขตภาค
กลาง)
ตารางที่ 10.1 แสดงความดันลมสถิตย์เมื่อความเร็ วลมพื้นฐานในรอบ 30 ปี ต่างๆกัน
ความเร็ วลมพื้ น ฐานเฉลี่ ย ที่ ค วามสู ง
15 20 25 27 29
อ้างอิง 10 เมตรจากผิวดิน; m./s.
ความดันลมสถิตย์ (q s ); ksm. 14.07 25.02 39.09 45.60 52.60

− ค่าสัมประสิ ทธิ์ C q : ขึ้นอยูก่ บั มุมลาดเอียงของโครงหลังคา


216

ภาพที่แสดงภาพตัดตามขวางของโครงหลังคา (แบบจําลองโครงสร้าง)

ภาพที่แสดงภาพค่าสัมประสิ ทธิ์ C q เมื่อมุมลาดเอียงของโครงหลังคา 0-9.46 องศา


217

− ค่าสัมประสิ ทธิ์ C e : ขึ้นอยู่กบั ในสภาพภูมิประเทศและระดับความสู ง ดัง


แสดงในตารางที่ 10.2
ตารางที่ 10.2 แสดงค่าแรงดันลมตามมาตรฐานแรงลม UBC-94 (วิธีที่ 1)
ค่า แรงดัน
ความสู ง ค่า สปส. แรงดัน
สปส. ค่า สปส. C q ค่า สปส. q s ด้านท้าย
m. I ด้านต้นลม
Ce ลม
ด้านต้นลม = 0.8
0 - 4.57 0.62 39.09 1 19.39 -12.12
ด้านท้ายลม = -0.5
ด้านต้นลม = 0.8
4.57 - 6.10 0.67 39.09 1 20.95 -13.10
ด้านท้ายลม = -0.5
ด้านต้นลม = -0.7
6.10 - 7.62 0.72 39.09 1 -19.70 -19.70
ด้านท้ายลม = -0.7
ด้านต้นลม = -0.7
7.62 – 8.60 0.76 39.09 1 -20.80 -20.80
ด้านท้ายลม = -0.7

P=-20.80 กก./ตร.ม.

7.62-8.60 m.
P=-19.70 กก./ตร.ม. P=-19.70 กก./ตร.ม.
6.10-7.62 m.
4.57-6.10 m. P=20.95 กก./ตร.ม. P=-13.10 กก./ตร.ม.

0-4.57 m. P=13.39 กก./ตร.ม. P=-12.12 กก./ตร.ม.

ภาพแสดงค่าแรงดันลมที่กระทําตามขวางในแต่ละระดับความสูง (วิธีที่ 1)
218

ภาพแสดงค่าแรงดันลมที่กระทําตามยาวที่ระดับหลังคา (วิธีที่ 1)
จากแรงดันลมที่ ได้ดงั กล่าว จะต้องทําการแปลงแรงดันลมไปเป็ นแรงลมที่กระทําต่อ
โครงสร้าง ทําได้โดยคูณความดันลมที่แต่ละระดับความสู งด้วยช่วงห่ างระหว่างเสา (ในที่น้ ี คือ 5 m.)
ซึ่งการกระทําดังกล่าวเป็ นการมองในลักษณะที่แรงดันลมกระทําเต็มพื้นที่ (โดยไม่มีช่องว่างใดๆ)

B = 5 m.

ภาพแสดงพื้นที่ที่รับแรงดันลม
219

ภาพแสดงค่าแรงลมที่กระทําตามขวางในแต่ละระดับความสูง (วิธีที่ 1)

ภาพแสดงค่าแรงลมที่กระทําตามยาวที่ระดับหลังคา (วิธีที่ 1)

2) แรงลม ตามมาตรฐาน UBC-94 (วิธีที่ 2: กระทําตั้งฉากกับพื้นที่ภาพฉายขององค์


อาคาร): P = q s C q C e I
2
− ความดันลมสถิตย์ q s = 0.004826V
เมื่อความเร็ วลมพื้นฐานในรอบ 30 ปี V = 25 m./s. (กรณี ก่อสร้างในเขตภาค
กลาง) ค่าความดันลมสถิตย์ดงั แสดงในตารางที่ 10.1
220

− เนื่องจากอาคารดังกล่าวมีความสู ง 0 - 8.60 m. ไม่เกิน 12.129 m. ดังนั้นใช้


C q = 1.30 คงที่ จากระดับ 0 – 8.60 m.
ตารางที่ 10.3 แสดงแรงดันลมตามมาตรฐานแรงลม UBC-94 (วิธีที่ 2)
ความสู ง ค่า สปส. ค่า สปส. ค่า สปส. ค่า สปส. แรงดัน แรงดันยกหลังคา
m. Ce Cq qs I ด้านต้นลม (ที่ระดับ 6 m.)
ด้านต้นลม
0 - 4.57 0.62 39.09 1 31.51
= 1.30
ด้านต้นลม
4.57 - 6.10 0.67 39.09 1 34.05
= 1.30 0.67x0.70x39.09
ด้านต้นลม x1 = -18.33
6.10 - 7.62 0.72 39.09 1 36.59
= 1.30
ด้านต้นลม
7.62 – 8.60 0.76 39.09 1 38.62
= 1.30

7.62-8.60 m. P=-38.62 กก./ตร.ม.


6.10-7.62 m. P=-36.59 กก./ตร.ม.

4.57-6.10 m. P=34.05 กก./ตร.ม.

0-4.57 m. P=31.51 กก./ตร.ม.

ภาพแสดงค่าแรงดันลมที่กระทําตามขวางในแต่ละระดับความสูง (วิธีที่ 2)
221

P=-18.33 กก./ตร.ม.

ภาพแสดงค่าแรงดันลมที่กระทําในแนวดิ่งระดับความสูงของหลังคา (วิธีที่ 2)
จากแรงดันลมที่ได้จะต้องทําการแปลงแรงดันลมไปเป็ นแรงลมที่กระทําต่อโครงสร้าง
ทําได้โดยคูณความดันลมที่แต่ละระดับความสู งด้วยช่ วงห่ างระหว่างเสา (ในที่น้ ี คือ 5 m.) ซึ่ งการ
กระทําดังกล่าวเป็ นการมองในลักษณะที่แรงดันลมกระทําเต็มพื้นที่ (โดยไม่มีช่องว่างใดๆ)

B = 5 m.

ภาพแสดงพื้นที่ที่รับแรงดันลม
222

7.62-8.60 m. F=-193.10 กก./ม.


6.10-7.62 m. F=-182.95 กก./ม.

4.57-6.10 m. F=170.25 กก./ม.

0-4.57 m. F=157.55 กก./ม.

ภาพแสดงค่าแรงลมที่กระทําตามขวางที่แต่ละระดับความสูง (วิธีที่ 2)

F=-91.65 กก./ม.

ภาพแสดงค่าแรงลมกระทําในแนวดิ่งที่ระดับความสูงของหลังคา (วิธีที่ 2)
จากค่าแรงลมที่กระทําต่อโครงสร้างของทั้งสองวิธี (ในมาตรฐานเดียวกัน) จะเห็นว่าใน
กรณี ของอาคารที่ไม่สูงมากนัก การหาค่าแรงลมที่กระทําด้านข้างของโครงสร้างโดยวิธีการที่ 2 จะให้
ค่าที่สูงกว่าวิธีที่ 1 และสามารถหาค่าได้ค่อนข้างสะดวกและรวดเร็ วกว่า แต่หากลองพิจารณา
เปรี ยบเทียบกับแรงลมตามมาตรฐานแรงลมในกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (2527) ข้อที่ 17 ออกตามความใน
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ปี พ.ศ. 2522 เมื่อความสู งของอาคารไม่เกิน 10 เมตร (อาคารสู ง 8.60
m.) ใช้แรงดันลม 50 ksm. ดังนั้นแรงลมที่กระทําต่อด้านข้างหรื อตามขวางของอาคารคือ 50 ksm. x 5
m. = 250 kg./m. ซึ่งยังคงมีค่าสู งกว่าแรงลมที่กระทําตามขวางที่แต่ละระดับความสู ง (วิธีที่ 2) แต่ใช้
ง่ายและสะดวกรวดเร็ วกว่า
223

10.4 ออกแบบแปเหล็กรู ปพรรณ


ในที่น้ ี จะนําผลของแรงลมที่คาํ นวณได้โดยวิธีที่ 2 ตามมาตรฐานของ UBC-94 มาใช้ใน
การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง

ระดับความสูง 6 m.

ภาพแสดงระดับความสูงของโครงหลังคา
จากรู ปขยายโครงหลังคา จะเห็นว่าแป (มีช่วงห่ าง @ 1.25 m.) เกือบทั้งหมดวางอยูท่ ี่ระดับ
6+1.27 = 7.27 m. ขึ้นไป ดังนั้นจึงใช้แรงดันลมในแนวราบที่ระดับความสู ง 7.62-8.60 m. คือ P =
38.62 ksm. เพื่อความเหมาะสมจึงใช้ที่ 40 ksm.

7.62-8.60 m. P=-38.62 ksm.


6.10-7.62 m. P=-36.59 ksm.

4.57-6.10 m. P=34.05 ksm.

0-4.57 m. P=31.51 ksm.

ภาพแสดงค่าแรงดันลมที่กระทําตามขวางสําหรับออกแบบแปที่ระดับ 7.62-8.60 m.
224

ภาพลักษณะของการวางแปและแรงที่กระทํา
1. ข้อมูลที่จะใช้ออกแบบ (พิจารณาจากแบบแปลนโครงหลังคาและรู ปตัดขวาง)
1) เลือกใช้เหล็กรู ปพรรณ มอก. 107 ชั้นคุณภาพ HS41 (Fy = 2,400 ksc., Fu =
4,100 ksc.)
2) ความยาวจริ งแปตามแนวแกน (L; m.): ที่ยาวที่สุดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ =
5.0 m. โดยใส่ เหล็กเส้นยึดกันหย่อนที่ก่ ึงกลางช่วง
3) ระยะห่ างระหว่างแป (@; m.): ที่มากที่สุดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ = 1.25
m.
4) มุมลาดเอียงของโครงหลังคา (θ; องศา): ที่มากที่สุดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ
= 7.24 องศา
5) วัสดุมุง (เหล็กรี ดขึ้นรู ปหนา 0.35 m.) + ฝ้ าเพดาน + ฉนวน (โฟม PE.) + ดวง
โคม + พัดลม (ถ้ามี)
225

2. หานํ้าหนักที่กระทําต่อแป
1) นํ้าหนักบรรทุกคงที่ (DL.)
2
− สมมติใช้น้ าํ หนักตัวเอง (SW.) = 5 kg./m. …(ประมาณ 5-10 kg./m.)
2
− นํ้าหนักของวัสดุมุง (FL.) = (0.35/1,000)x7,850 = 2.75 ใช้ 5 kg./m.
− นํ้า หนัก ประกอบอื่ น ๆ เช่ น ระบบฝ้ าเพดาน+ฉนวนกัน ความร้ อ น+ไฟฟ้ า
ดวงโคม+พัดลม+ระบบท่อ = 15 kg./m.2
2) นํ้าหนักบรรทุกจร (LL.): สําหรับอาคาร
2
− นํ้าหนักจรบนหลังคา (LL.) = 30 kg./m.

ระยะยก = 1.27 ม.
θ

ภาพแสดงการหามุมลาดเอียงโดยประมาณของโครงหลังคา
− แรงดันลมกระทําในแนวราบที่ความสู ง ระดับ 7.62-8.60 m. (WL.) = 40
kg./m.2
226

มุมลาดเอียงของโครงหลังคา tan-1(1.27/10) = 7.24 องศา (Sin 7.24 = 0.126, Cos


7.24 = 0.992)
2
− ดังนั้นแรงลมกระทําตั้งฉากกับแปคือ [2x40x0.126]/[1+0.126 ] = 9.92 ใช้
10 kg./m.2 ในที่น้ ี เพื่อความสะดวกรวดเร็ วและปลอดภัย จะสมมติให้
แรงลมดังกล่าวกระทําในแนวดิ่ง
3) นํ้าหนักบรรทุกรวมคือ 5+5+15+30+10 = 65 kg./m.2 แบ่งเป็ น
2
− นํ้าหนักบรรทุกคงที่= 5+5+15 = 25 kg./m.
2
− นํ้าหนักบรรทุกจร = 30 kg./m.
2
− แรงลม = 10 kg./m.
4) เปรี ยบเทียบนํ้าหนักบรรทุกกรณี ต่างๆ
ในที่น้ ี เพื่อความสะดวกรวดเร็ วและปลอดภัยจะสมมติให้น้ าํ หนักบรรทุกทั้งหมดดัง
กระทําในแนวดิ่ง (ซึ่ งเป็ นการแสดงวิธีการซึ่ งต่างจากใน Work Shop บ้านพักอาศัย) จากนั้นทําการ
เปรี ย บเที ย บนํ้า หนัก บรรทุ ก ในกรณี ต่ า งๆ โดยจะเลื อ กใช้ค่า ในกรณี สูง สุ ด เป็ นกรณี ควบคุ ม การ
ออกแบบ แล้วจึงทําการแตกแรงกรณี มีค่าสูงสุ ดเข้าแกนอ้างอิง
(1) DL. = 25x1.25 = 31.25 kg./m. (ตลอดความยาวแปทุกช่วง)
31.25

(2) DL.+LL. = 25+30 = 55x1.25 = 68.75 kg./m. (ตลอดความยาวแปทุก


ช่วง)….ใช้กรณี น้ ี
68.75 กก./m.
227

(3) 0.75 (DL.+LL.+WL.) = 0.75(25+30+10)x1.25 = 60.94 kg./m.


60.94 kg./m.

5) วิเคราะห์หานํ้าหนักบรรทุกในแต่ละแนวแกน
− ωx = ωSin (7.24) = 68.75 x Sin (7.24) = 8.66 kg./m.
− ωy = ωCos (7.24) = 68.75 x Cos (7.24) = 68.20 kg./m.

68.75 kg./m.
68.20 kg./m.
y 8.66 kg./m.
x

3. วิเคราะห์หาแรงภายใน (แรงตามแนวแกน แรงเฉื อนและโมเมนต์ดดั ) และระยะโก่ง


1) Mx = ωyL2/8 = [68.20x52]/8 = 213.13 kg.-m. (โดยแท้จริ งแล้วแปจะเป็ น
ลักษณะของคานต่อเนื่ อง ดังนั้นค่าของโมเมนต์ดดั ควรใช้ค่า ωyL2/10 แต่ใน
ที่น้ ีเพื่อความปลอดภัยจึงใช้ ωyL2/8)

68.20 กก./m.

Ry1 = ωyL/ = [68.20x5]/2 = 170.50 kg. Ry2 = ωyL/ = [68.20x5]/2 = 170.50 kg.
228

2) My = ωxL2/8 แต่เมื่อใส่ เหล็กเส้นยึดกันหย่อนที่กลางช่วงแป โมเมนต์ดดั จะ


ลดลง จะได้ My = ωxL2/32 = [8.66x52]/32 = 6.77 kg.-m.

8.66 กก./m.

Ry1 = ωxL/ = [8.66x5]/2 = 21.65 kg. Ry2 = ωxL/ = [8.66x5]/2 = 21.65 kg.
สรุ ป
1) แรงปฏิกิริยา (Ry1 = Ry2) = ωyL/ = [68.20x5]/2 = 170.50 kg.
2) แรงภายใน
− แรงตามแนวแกน (N) = 0 kg. (ในที่น้ ี หมายถึงเฉพาะในส่ วนของแป)
− แรงเฉื อน (V) = Ry1 = Ry2 = 170.50 kg.
− โมเมนต์ดด ั Mx = 213.13 kg.-m. และ My = 6.77 kg.-m.
4. ออกแบบตามข้อกําหนด
− หาค่า โมดู ลส ั หน้าตัด Sx = Mmax/[0.60Fy] = [213.13x100]/[0.60x2,400] =
3
14.80 cm. เปิ ดตารางเหล็กรู ปตัวซี
2
− เลือกเหล็กตัวซี ขนาด C-100x50x20x2.30 mm. (As’ = 5.172 cm. , Ix = 80.70
cm.4, Iy = 19.0 cm.4, Sx = 16.10 cm.3, Sy = 6.06 cm.3, rx = 3.95 cm., ry = 1.92
cm., หนัก 4.06 kg./m. ≤ 5 kg./m.)
229

5. ตรวจสอบหน่วยแรงที่ยอมให้
1) หน่วยแรงดัดที่เกิดขึ้นจริ ง
− f bx = Mx/Sx = [213.13x100]/16.10 = 1,323.79 ksc.
− f by = My/Sy = [6.77x100]/6.06 = 111.72 ksc.
2) หน่วยแรงที่ยอมให้ [f bx /0.60Fb] + [f by /0.75Fb] ≤ 1.0
[1,323.79/(0.60x2,400)]+[111.72/(0.75x2,400)] = 0.98 ≤ 1.0…ผ่าน
6. ตรวจสอบระยะโก่ง
ตรวจสอบค่าการแอ่นตัว ∆y ≤ L/360 (ในที่น้ ีเพื่อความปลอดภัยสูงสุ ดจึงเลือกใช้ L/360)
3 3 6
∆y = [5ωL ]/[384IE] = [5x(68.20/100)x(5x100) ]/[384x80.70x 2.04 x10 ] = 0.007 cm. ≤
[5x100]/360…ผ่าน
สรุ ป: ใช้เหล็ก C-100x50x20x2.30 mm. (หนัก 4.06 kg./m.)

10.5 ออกแบบเหล็กเส้ นยึดกันหย่ อน


1. ข้อมูลที่ใช้ออกแบบ
− ความยาวของเหล็กเส้นยึดกันหย่อน (L) = 1.25 m. (เท่ากับระยะห่ างระหว่างแป)
− ช่วงแผ่ที่เหล็กเส้นยึดกันหย่อนต้องรับแรงดึง = 5/2 = 2.50 m.
− จํานวนแปทั้งหมดที่วางในแต่ละด้านของโครงหลังคา = 11 ตัว/ด้าน

2 ตัวนี้นบั เป็ น 1 ตัว

ภาพแสดงจํานวนแปที่วางต่อด้านของโครงหลังคา
230

2. นํ้าหนักบรรทุกที่กระทํา
68.75 กก./m.
68.20 กก./m.
y 8.66 กก./m.
x

1.25 m.
ภาพแสดงนํ้าหนักบรรทุกที่เหล็กเส้นยึดกันหย่อนจะต้องรับ
− นํ้าหนักบรรทุกสูงสุ ด คือกรณี DL+LL = ω = 68.75 kg./m.
− ωx = ωSin (7.24) = 68.75 x Sin (7.24) = 8.66 kg./m.
− ωy = ωCos (7.24) = 68.75 x Cos (7.24) = 68.20 kg./m.
− ดังนั้นแรงดึงที่เหล็กท่อนกันโก่งจะต้องรับคือ 11 x (8.66x2.5) = 238.15 kg.
3. ออกแบบขนาดของเหล็กเส้นยึดกันหย่อน
2
− ต้องการพื้นที่หน้าตัด As = 238.15/(0.50x2400) = 0.20.cm. (กรณี เลือกใช้
เหล็กเส้นกลมผิวเรี ยบ)
− ซึ่ งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ∅ = √[(4As)/π] = √[(4x0.20)/(22/7)] = 0.50 cm.
= 5 mm.
− มาตรฐาน AISC แนะนําว่าควรมีขนาด ∅ ≥ 5/8 นิ้ ว (15.88 mm.)
ดังนั้นเลือกออกแบบ RB 19 mm.
4. ตรวจสอบอัตราส่ วนความชะลูด
kl/r = L/(∅/4) = (4L)/∅ = (4x1.25x100)/(19/10) = 263.16 < 300…ผ่าน
231

10.6 ออกแบบโครงข้ อหมุน

ภาพแสดงแบบแปลนโครงหลังคา (T1) ที่กาํ ลังพิจารณา

ภาพแสดงแบบจําลองโครงสร้างของโครงหลังคา (T1) ในแบบ 2 มิติ


10.6.1 ออกแบบองค์ อาคารของโครงข้ อหมุน (T1 และ T2)
1. ข้อมูลใช้เพื่อการวิเคราะห์และออกแบบโครงข้อหมุน
− เลือกใช้เหล็กรู ปพรรณ มอก. 107 ชั้นคุณภาพ HS41 (Fy = 2,400 ksc., Fu =
4,100 ksc.)
232

− ระยะห่ างระหว่างโครงข้อหมุน(T1) คือทุก 5 m.


− ระยะห่ างระหว่างจุดต่อในแนวราบ (ช่วงที่ถกั ) คือทุกๆ 1 m. (ทั้งใน T1
และ T2)
− รอยต่อระหว่างองค์อาคารเป็ นการต่อเชื่อมด้วยลวดเชื่อมเกรด E60 xx (Fu
= 4,200 ksc.)
2. หานํ้าหนักที่กระทําต่อโครงข้อหมุน T2
เมื่อพิจารณาจากแบบแปลนโครงหลังคา พิจารณาได้ว่าโครงข้อหมุนดังกล่าวไม่ได้
รับนํ้าหนักบรรทุกใดๆ โดยทําหน้าที่เป็ นเพียงตัวยันโครงข้อหมุน T1 ในแนวระนาบของแป (วาง
ขนานกับแป) ดังนั้นจึงมีเฉพาะนํ้าหนักบรรทุกของตัว T2 เองเท่านั้น
− นํ้าหนักบรรทุกคงที่ (DL.) ของโครงข้อหมุน T2 = 1.024 x 5 = 5.12 ksm.
เลือกใช้ 10 ksm.
− นํ้าหนักบรรทุกถ่ายลงที่แต่ละจุดต่อ (ระยะห่ างของช่วงถักทุก 1 m.) สําหรับ
การวิเคราะห์โครงข้อหมุน DL. = 10x5 = 50 kg./m.x1 m. = 50 kg./จุดต่อ
(ภายใน)

ภาพแสดงนํ้าหนักบรรทุกกระทําที่จุดต่อของโครงข้อหมุน T2
233

3. ผลการวิเคราะห์โครงข้อหมุน T2
การวิเคราะห์โครงข้อหมุน (ทั้ง T1 และ T2) อาจจะทําการวิเคราะห์ได้ดว้ ยการ
คํานวณมือ (โดยวิธีการตัดจุดต่อหรื อวิธีตดั แยกส่ วน) หรื อใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบก็ได้
ทั้งนี้ ข้ ึนอยู่กบั ความชํานาญและปั จจัยเสริ มอื่นๆของแต่ละบุคคล แต่ในที่น้ ี เพื่อความสะดวก รวดเร็ ว
และเข้ากับยุคสมัย จึงใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ ได้ผลการวิเคราะห์ดงั ภาพที่แสดง

ภาพแสดงแรงตามแนวแกนที่เกิดขึ้นในองค์อาคารของโครงข้อหมุน T2

ภาพแสดงแรงปฏิกิริยาและการเปลี่ยนรู ปของโครงข้อหมุน T2
จากภาพที่แสดง ได้ผลการวิเคราะห์ดงั นี้ แรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงดึ งสู งสุ ดคือ
169.49 kg. (องค์อาคารยาว 1.45 m.) และแรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงอัดสู งสุ ดคือ 122.74 kg. (องค์
อาคารยาว 1.05 m.) แรงปฏิกิริยา (ในแนวดิ่ง) เพื่อความรวดเร็ วใช้ค่าที่มากสุ ดไปกระทําต่อโครงข้อ
หมุน T1 คือ 2(147.73) kg.
234

4. หานํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อโครงข้อหมุน T1 (พิจารณาที่แนวเส้นกริ ด 6-6)


รายละเอียดต่างๆดังได้กล่าวมาแล้วในขั้นตอนของการออกแบบแป แต่จะแตกต่าง
ตรงที่เมื่อจะวิเคราะห์โครงข้อหมุน เราต้องบวกเพิ่มในส่ วนของนํ้าหนักของโครงข้อหมุน T1 เข้าไปใน
ส่ วนของนํ้าหนักบรรทุกคงที่ของทุกกรณี นอกจากนี้ ค่านํ้าหนักบรรทุกที่คาํ นวณมาได้ในแต่ละกรณี
จะถูกคูณด้วยระยะการแผ่ของนํ้าหนักที่ต่างกัน กล่าวคือ กรณี ของแปจะถูกคูณด้วยระยะห่างระหว่างแป
(1.25 m.) ส่ วนในกรณี ของโครงข้อหมุนจะถูกคูณด้วยระยะห่างระหว่างโครงข้อหมุน (5 m.)
− นํ้าหนักบรรทุกคงที่ของโครงข้อหมุน T1 = 1.024 x 23 = 23.55 ksm. ใช้ที่
25 ksm.
− ได้น้ าํ หนักบรรทุกกระทําต่อโครงหลังคาในแต่ละกรณี ดังนี้
(1) DL. = (25+25)x5 = 250 kg./m.
(2) DL.+LL. = (25+25)+30 = 80x5 = 400 kg./m.
(3) 0.75 (DL.+LL.+WL.) = 0.75((25+25)+30+10)x5 = 337.50 kg./m.
จะเห็นว่านํ้าหนักบรรทุกกรณี ที่ให้ค่าสู งสุ ด คือ กรณี ที่ 2 ดังนั้นในการวิเคราะห์หา
แรงภายในเพื่อออกแบบองค์อาคารของโครงข้อหมุน T1 จะใช้แรงภายในที่ได้จากผลการวิเคราะห์เมื่อมี
นํ้าหนักบรรทุกในกรณี ดงั กล่าวกระทําเท่านั้น
− นํ้าหนักบรรทุกถ่ายลงที่แต่ละจุดต่อ (ระยะห่ างของช่วงถักทุก 1 m.) สําหรับ
การวิเคราะห์โครงข้อหมุน T1 จากกรณี ที่ 2. DL.+LL. = (25+25)+30 =
80x5 = 400 kg./m.x1 m. = 400 kg./จุดต่อ (ภายใน)
− และแรงปฏิกิริยาที่ส่งถ่ายมาจากโครงข้อหมุน T2 คือ 2 x 147.73 = 295.46
kg./จุด (ลงที่ 3 จุดคือ ที่หวั -กลาง-ท้าย ของโครงข้อหมุน T1)

ภาพแสดงแบบจําลองโครงสร้างของโครงข้อหมุน T1
235

5. ผลการวิเคราะห์โครงข้อหมุน T1

ภาพแสดงแรงตามแนวแกนที่เกิดขึ้นในองค์อาคารของโครงข้อหมุน T1
236

ภาพแสดงแรงปฏิกิริยาที่กระทําต่อเสารองรับโครงข้อหมุน T1

ภาพแสดงการเปลี่ยนรู ปของโครงข้อหมุน T1
จากภาพที่แสดง ได้ผลการวิเคราะห์ดงั นี้
− องค์อาคารหลัก (ในที่น้ ี คือกรอบโดยรอบหรื ออักนัยคือคอร์ ดบนและคอร์ ด
ล่าง) เกิดแรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงอัดสู งสุ ดที่คอร์ ดล่างคือ 19,830. kg.
(ยาว 1.011 m.) และแรงดึงสู งสุ ดที่คอร์ ดบนคือ 20,164.76 kg. (ยาว 1.011
m.)
237

− องค์อาคารรอง (ในที่น้ ี คือองค์อาคารที่วางตัวในแนวดิ่งและแนวเอียง) ได้


แรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงอัดสู งสุ ดคือ 6,095.59 kg. (ยาว 1.621 m.) และ
แรงดึงสูงสุ ด 3,640.91 kg. (ยาว 1.05 m.)
− ได้แรงปฏิกิริยาที่เป็ นแรงกระทําในแนวดิ่ง (นํ้าหนักกดในเสา) คือ 4,843.19
kg.
ทั้ง นี้ ผลที่ ไ ด้ดัง กล่ า วขึ้ น อยู่กับ แบบจํา ลองโครงสร้ า งในขั้น ตอนการวิ เ คราะห์
โครงสร้าง ดังนั้นเมื่อจําลองโครงสร้างเป็ นแบบใดแล้ว จะต้องแสดงแบบรายละเอียดและก่อสร้างให้
เป็ นไปตามแบบที่ได้ทาํ การจําลองโครงสร้างเพื่อการวิเคราะห์
6. ออกแบบองค์อาคาร
1) ออกแบบขนาดขององค์อาคารโครงข้อหมุน T2
ผลการวิเคราะห์ได้แรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงดึงสู งสุ ดคือ 169.49 kg. (องค์
อาคารยาว 1.45 m.) และแรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงอัดสู งสุ ดคือ 122.74 kg. (องค์อาคารยาว 1.05 m.)
แต่เนื่องจากต้องการใช้เหล็กขนาดเดียวกันทั้งหมด ดังนั้นจึงเลือกใช้แรงอัดสู งสุ ด คือ 122.74 kg. (องค์
อาคารยาว 1.05 m.) เป็ นตัวควบคุมการออกแบบ (แนะนําว่าควรออกแบบตรวจสอบทั้งสองส่ วนเพื่อ
เปรี ย บเที ย บกัน ) ซึ่ งจากลัก ษณะของการยึด ที่ ป ลาย หัว -ท้า ย ขององค์อ าคาร (เป็ นแบบจุ ด หมุ น )
ดังกล่าวนําไปหาค่า K จากตารางได้ค่า K = 1
238

หาพื้นที่หน้าตัดเหล็ก As = Fc/(0.60Fy) = 122.74/(0.60x2,400) = 0.085 cm.2


นําค่า As ไปเปิ ดตารางเพื่อเลือกขนาดของเหล็กจากรู ปร่ างหน้าตัดที่ตอ้ งการ ในที่น้ ี คือเหล็กท่อกลม
ซึ่งจากตารางเลือกหน้าตัดขนาด O-27.2x2.30 mm. (As’ = 1.78 ตร.cm. > 0.085; rmin = r = 0.87 cm.)

ตรวจสอบขนาดเหล็กที่เลือกออกแบบ
(Fac )(As’) > 122.74 kg. ผ่าน
KL/rmin = (1x1.05x100)/0.87 = 120.69 < 200
2 6 2
√[(2Esπ )/Fy] = √[(2x2.10x10 x3.143 )/2,400] = 131.42

เมื่อ
Fac = (12x3.1432x2.10x106)/(23x120.692) = 743.05 ksc.
ดังนั้น (Fac )(As’) = 743.05x1.78 = 1,322.63 kg. > 122.74 kg....ผ่าน
239

สรุ ป ทุกองค์อาคารของโครงข้อหมุน T2 ใช้เหล็กท่อกลม O-27.20x2.30 mm.


(หนัก 1.40 kg./m.)

O-27.20x2.30 mm. (หนัก 1.40 kg./m.) หรื อ


O-21.70x2.0 mm. (หนัก 0.972 kg./m.)

ภาพแสดงขนาดขององค์อาคารที่เลือกออกแบบ

หรื อสามารถออกแบบโดยใช้โปรแกรมช่วยในการออกแบบก็ได้ ซึ่ งในที่น้ ี ใช้


Neosteeldesign v5 ออกแบบพอเป็ นแนวทาง
2) ออกแบบรอยต่อระหว่างองค์อาคารของโครงข้อหมุน T2
− ผลการวิเคราะห์ได้แรงตามแนวแกนสู งสุ ด = 169.49 kg.
− ใช้ลวดเชื่ อมชั้นคุณภาพ E 60 xx มีกาํ ลังรับแรงเฉื อน = 0.30x4,200 =
1,260 ksc.
− เลือกใช้ขาเชื่ อมขนาด 3 mm. (เมื่อแต่ละองค์อาคารที่ใช้หนาไม่เกิ น 6
mm. ให้ใช้ขนาดขาเชื่ อมเท่ากับความหนาขององค์อาคารที่มาต่อกัน
แต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 3 mm.)
− ดั ง นั้ นความยาวของขาเชื่ อ มขนาด 3 mm. หาได้ จ าก
169.49/(0.707x(3/10)xL) < 1,260 (ใช้หลักหน่วยแรงเฉื อน = แรง/พื้นที่
ขนานกั บ แนวแรง) ฉนั้ นต้ อ งการรอยเชื่ อ มยาว L =
169.49/(0.707x0.3x1,260) = 0.634 cm.
สรุ ป ใช้ขาเชื่อมขนาด 3 mm. เชื่อมโดยรอบ
240

ภาพแสดงการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
241

3) ออกแบบขนาดองค์อาคารของโครงข้อหมุน T1
โครงข้อ หมุ น ดัง กล่ า วเป็ นโครงข้อ หมุ น หลัก เพื่ อ ความละเอี ย ดขึ้ น จึ ง
แบ่งกลุ่มการออกแบบเป็ น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มองค์อาคารหลัก (ในที่น้ ี คือกรอบโดยรอบหรื ออีกนัยคือ
คอร์ดบนและคอร์ดล่าง) ได้แรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงอัดสู งสุ ดคือ 19,830 kg. (ยาว 1.011 m.) และแรง
ดึงสู งสุ ดคือ 20,164.76 kg. (ยาว 1.011 m.) ซึ่ งจะใช้แรงอัดสู งสุ ดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ และ
กลุ่มองค์อาคารรอง (ในที่น้ ีคือองค์อาคารถักในแนวดิ่งและแนวเอียง) ได้แรงตามแนวแกนที่เป็ นแรงอัด
สู งสุ ดคือ 6,095.59 kg. (ยาว 1.621 m.) และแรงดึงสู งสุ ดคือ 3,640.91 kg. (ยาว 1.05 m.) ซึ่ งจะใช้
แรงอัดสู งสุ ดเป็ นตัวควบคุมการออกแบบ
จากลักษณะของการยึดที่ปลาย หัว-ท้าย ขององค์อาคาร (เป็ นจุดต่อหมุน) ซึ่ ง
จากเงื่อนไขดังกล่าวนําไปหาค่า K ได้จากตารางซึ่งในที่น้ ีได้ค่า K = 1 ในทั้ง 2 กลุ่ม

(1) ออกแบบกลุ่มองค์อาคารหลัก
ออกแบบขนาดขององค์อาคาร
− หาพื้นที่หน้าตัดเหล็ก As = Fc/(0.60Fy) = 19,830/(0.60x2,400) =
13.771 cm.2
− นําค่า As ไปเปิ ดตารางเพื่อเลือกขนาดของเหล็กจากรู ปร่ างหน้าตัดที่
ต้องการในที่น้ ีคือเหล็กท่อกลม ซึ่งจากตารางเลือกหน้าตัดขนาด O-
114.3x4 mm. (As’ = 15.52 cm.2 > 13.77; rmin = r = 3.88 cm.)
242

− ตรวจสอบขนาดเหล็กที่เลือกออกแบบ
(Fac )(As’) > 19,830 kg.
KL/rmin = (1x1.011x100)/3.88 = 26.06 < 200
243

2 6 2
√[(2Esπ )/Fy] = √[(2x2.10x10 x3.143 )/2,400] = 131.42

Fac = [1-0.5x(26.06/131.42)2]x2,400/[(5/3)+3/8(26.06/131.42)-
1/8(26.06/131.42)3] = 1,352.17 ksc.
ดังนั้น (Fac )(As’) = 1,352.17x15.52 = 20,985.722 kg. > 19,830
kg....ผ่าน
สรุ ป กลุ่มองค์อาคารหลักของโครงข้อหมุน T1 ใช้เหล็กท่อกลม O-114.3x4
mm. (หนัก 12.18 kg./m.)
O-114.3x4 mm. (หนัก 12.18 กก./m.)

ภาพแสดงขนาดเหล็กที่เลือกใช้สาํ หรับองค์อาคารกลุ่มหลัก
หรื อสามารถออกแบบโดยใช้โปรแกรมช่วยในการออกแบบก็ได้ ซึ่ งในที่น้ ี
ใช้ Neosteeldesign v5 ออกแบบพอเป็ นแนวทาง ดังภาพที่แสดง
244

ภาพแสดงการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
ออกแบบรอยต่อระหว่างองค์อาคาร
− ผลการวิเคราะห์แรงตามแนวแกนสู งสุ ด = 20,164.76 kg.
− ใช้ลวดเชื่ อมเกรด E 60 xx มีกาํ ลังรับแรงเฉื อน = 0.30x4,200 =
1,260 ksc.
245

− เลือกใช้ขาเชื่อมขนาด 5 mm. (เมื่อแต่ละองค์อาคารที่ใช้หนาไม่เกิน 6


mm. ให้ใช้ขนาดขาเชื่อมเท่ากับความหนาขององค์อาคารที่มาต่อกัน
แต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 3 mm.) ดังนั้นความยาวของขาเชื่อมขนาด 5
mm. หาได้จาก 20,164.76/(0.707x(5/10)xL) < 1,260 (ใช้หลักหน่วย
แรงเฉื อน = แรง/พื้นที่ขนานกับแนวแรง)
− ดังนั้นต้องการรอยเชื่ อมยาว L = 20,164.76/(0.707x0.5x1,260) =
45.27 cm.
สรุ ป ใช้ขาเชื่อมขนาด 5 mm. เชื่ อมโดยรอบ (จะเห็นว่าต้องใช้รอยเชื่อม
ค่อนข้างยาวขณะที่เส้นรอบรู ปของหน้าตัด คือ π∅ = 3.143x(114.30/10) = 35.92 cm.
< 45.27 cm. ซึ่ งอาจแก้ไขได้โดยการต่อผ่านแผ่นปะกับจุดต่อโครงข้อหมุน หรื อเพิ่ม
ชั้นคุณภาพของลวดเชื่อมเป็ น E70 xx)
(2) ออกแบบกลุ่มองค์อาคารรอง
ออกแบบขนาดขององค์อาคาร
− หาพื้นที่หน้าตัดเหล็ก As = Fc/(0.60Fy) = 6,095.59/(0.60x2,400) =
4.233 cm.2
− นําค่า As ไปเปิ ดตารางเพื่อเลือกขนาดของเหล็กจากรู ปร่ างหน้าตัดที่
ต้องการในที่น้ ีคือเหล็กท่อกลม
2
− จากตารางเลือกหน้าตัดขนาด O-60.5x4 mm. (As’ = 7.10 cm. >
4.233; rmin = r = 2.00 cm.)
− ตรวจสอบขนาดเหล็กที่เลือกออกแบบ
(Fac )(As’) > 6,095.59 kg.
KL/rmin = (1x1.621x100)/2 = 81.05 < 200
2 6 2
√[(2Esπ )/Fy] = √[(2x2.10x10 x3.143 )/2,400] = 131.42

Fac = [1-0.5x(81.05/131.42)2]x2,400/[(5/3)+3/8(81.05/131.42)-
1/8(81.05/131.42)3] = 1,040.08 ksc.
246

ดังนั้น (Fac )(As’) = 1,040.08x7.10 = 7,384.59 kg. > 6,095.59 kg....


ผ่าน
สรุ ป กลุ่มองค์อาคารหลักของโครงข้อหมุน T1 ใช้เหล็กท่อกลม O-60.5x4
mm. (หนัก 5.57 kg./m.)
247

O-60.5x4 mm. (หนัก 5.57 กก./m.)

ภาพแสดงขนาดเหล็กที่เลือกใช้สาํ หรับองค์อาคารกลุ่มรอง
ออกแบบรอยต่อระหว่างองค์อาคาร
− ผลการวิเคราะห์แรงตามแนวแกนสู งสุ ด = 6,095.59 kg.
− ใช้ลวดเชื่ อมเกรด E 60 xx มีกาํ ลังรับแรงเฉื อน = 0.30x4,200 =
1,260 ksc.
− เลือกใช้ขนาดขาเชื่อม 4 mm. (เมื่อแต่ละองค์อาคารที่ใช้หนาไม่เกิน 6
mm. ให้ใช้ขนาดขาเชื่อมเท่ากับความหนาขององค์อาคารที่มาต่อกัน
แต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 3 mm.) ดังนั้นความยาวของขาเชื่อมขนาด 4
mm. หาได้จาก 6,095.59/(0.707x(4/10)xL) < 1,260 (ใช้หลักหน่วย
แรงเฉื อน = แรง/พื้นที่ขนานกับแนวแรง)
− ดังนั้นต้องการรอยเชื่ อมยาว L = 6,095.59/(0.707x0.4x1,260) =
17.11 cm.
สรุ ป ใช้ขาเชื่อมขนาด 4 mm. เชื่อมโดยรอบ
10.6.2 ออกแบบรอยต่ อระหว่ างโครงข้ อหมุนกับเสารองรับ
1. ออกแบบฐานรองรับที่หวั เสา
1) ข้อมูลออกแบบ
− เสารองรับโครงข้อหมุนเป็ นเสาคอนกรี ตเสริ มเหล็กขนาด 40x40 cm.
− แรงปฏิกิริยาที่เป็ นแรงกระทําในแนวดิ่ ง (กดเสา) คือ 4,843.19 kg.
เลือกใช้ 5,000 kg.
− แรงปฏิกิริยาที่เป็ นแรงกระทําในแนวราบ (กระชากเสาหรื อเฉื อนสลัก
เกลียว) ถึงแม้ว่าผลจากการวิเคราะห์จะปรากฎว่าไม่มีแรงดังกล่าวอยู่
แต่ในที่น้ ี จะใช้ที่ 4,843.19x0.35 = 1,695.12 kg. (คาดคะเนผลที่อาจเกิด
248

จากแรงลมและแรงแผ่นดินไหว โดยเฉพาะแรงแผ่นดินไหวเพื่อความ
สะดวกและรวดเร็ ว มีผรู ้ ู ้บางท่านแนะนําว่า สปส. แรงกระทําด้านข้าง
เนื่องจากแรงแผ่นดินไหวที่ทาํ ให้เกิดแรงเฉื อนที่ฐานไม่น่าจะเกิน 0.35)
− กําลังอัดของคอนกรี ต fc’ = 173 ksc.
− ขนาดองค์อาคารของโครงข้อหมุนที่วางบนหัวเสา คือ เหล็กท่อกลม O-
114.30x4 mm.

Hinge Support Roller Support


ภาพแสดงลักษณะของจุดรองรับของโครงข้อหมุนทั้ง 2 ด้าน
2) ขนาดของแผ่นเหล็กรับแรงแบกทาน (A หรื อ BxL)
2
− R/A < 0.25fc’, A ≥ (4R)/fc’ = (4x5,000)/173 = 115.61 cm.
− BxL = √115.61 = 10.75x10.75 cm. แต่เลือกใช้ขนาดเท่ากับเสาคือ
40x40 cm.
− ดังนั้นแรงแบกทานจริ งคือ 5,000/(40x40) = 3.125 < 0.25x173 ksc…
ผ่าน
3) ความหนาของแผ่นเหล็กรับแรงแบกทาน
จาก My/I ≤ 0.75Fy
− M = 3.125x40x((40-11.43)/2)x((40-11.43)/2)/2 = 12,753.83 kg.-cm.
− y = t/2
3
− I = (1/12)Lt
249

− My/I = M(t/2)/[ (1/12)Lt3] = 6M/Lt2


− My/I = 6M/Lt2 ≤ 0.75Fy

ภาพแสดงการหาขนาดและความหนาของแผ่นเหล็กรับแรงแบกทานที่หวั เสา
− ดังนั้น t = √[6M/(fbL)], √((6x12,753.83)/(0.75x2,400x40)) = 1.03 cm.
ใช้ 1.20 cm.
− แต่ ถ า้ ต้อ งการใช้ส มการที่ ผ มทํา ไว้คื อ t = √[R/(0.75Fy)] =
√[5000/(0.75x2,400)] = 1.67 cm.
สรุ ป ใช้แผ่นเหล็กรับแรงแบกทานที่หวั เสาขนาด 40x40x1.20 cm.
2. ขนาดของสลักสมอยึด
พิจารณาแรงที่กระทําต่อสลักสมอทั้งผลอันเนื่ องจากแรงแผ่นดิ นไหวและแรงลม
ในที่น้ ี จะใช้แรงลมที่คาํ นวณได้โดยวิธีที่ 2 ตามมาตรฐาน UBC-94 มาใช้ออกแบบ ประกอบด้วย
แรงลมยกโครงหลังคา (จะมีหรื อไม่ ขึ้นอยู่กบั มุมลาดเอียงของโครงหลังคา ซึ่ งจะทําให้เกิดทั้งแรงดึง
และแรงถอนในสลักสมอ) หักลบด้วยนํ้าหนักบรรทุกคงที่ท้ งั หมดของโครงหลังคา (รวมทั้งวัสดุมุง ฝ้ า
250

เพดาน ไฟฟ้ า-ดวงโคม พัดลม ลฯ) และแรงลมที่กระทําในแนวราบซึ่ งจะทําให้เกิดแรงเฉื อนในสลัก


สมอ

F=-91.65 kg./m.

ภาพแสดงแรงลมที่เป็ นแรงยกกระทําต่อโครงหลังคา
กรณี เกิดทั้งแรงดึงและแรงถอนในสลักสมอออกจากหัวเสาเนื่ องจากแรงลมยกโครง
หลังคา ซึ่ งเป็ นแรงยกของลมต่อช่ วงกว้าง 5 m. กระทําที่หัวเสาทั้งสองด้านคือ (91.65x23)/2 =
1,053.98 kg. (เพื่อความปลอดภัย เนื่ องจากแรงยกเนื่ องจากแรงลมค่อนข้างน้อย จึ งไม่นาํ นํ้าหนัก
บรรทุกคงที่ท้ งั หมดของโครงหลังคามาลบออก)
กรณี เกิดแรงเฉื อนในสลักสมอเนื่องจากแรงลมในแนวราบที่ระดับโครงหลังคา (ช่วง
6 - 8.32 m.) ดังนั้นจึงใช้แรงลมที่ระดับ 6.10 - 8.60 m. มีค่าดังนี้ 182.95x(7.62-6.10)+193.10x(8.60-
7.62) = 467.32 kg./2 ด้าน ดังนั้นในเสาแต่ละด้านจะรับแรงในแนวราบ = 467.32/2 = 233.66 kg.
กรณี เกิดแรงเฉื อนในสลักสมอเนื่ องจากแรงแผ่นดินไหว 4,843.19x0.35 = 1,695.12
kg.
7.62-8.60 m. F=-193.10 kg./m.
6.10-7.62 m. F=-182.95 kg./m.

4.57-6.10 m. F=170.25 kg./m.

0-4.57 m. F=157.55 kg./m.

ภาพแสดงแรงลมที่กระทําด้านข้างที่ระดับความสูงต่างๆ
251

จากทั้ง 3 กรณี นาํ แรงดังกล่าวมาใช้เพื่อพิจารณาออกแบบสลักสมอ ได้ดงั นี้


1) ขนาดและจํานวนของสลักสมอใช้แรง 1,695.12 kg. เป็ นตัวควบคุมการ
ออกแบบ ดังนั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
− V/As < 0.40Fy, As = V/0.40Fy = 1,695.12/(0.40x2,400) = 1.77
cm.2
− และจํานวนของสลักสมอ (เลือกใช้ขนาด Ø = 20 mm.) n =
(4As)/(πØ 2) = (4x1.77)/(3.14x22) = 0.56 ตัว แต่จะเลือกใช้ 4 ตัว
2) ในขณะที่ระยะฝังของสลักสมอใช้แรง 1,053.98 kg. เป็ นตัวควบคุมการ
ออกแบบ ดังนั้นความลึกของการฝังในเสาคอนกรี ต (เลือกใช้ค่ามากสุ ด)
− L = U/(πØu) = 1,053.98/(3.14x2x11) = 15.26 cm./ตัว
− L = fsØ/(4u) = (0.50x2,400x2)/(4x11) = 54.55 cm. ดังนั้นใช้ 55
cm./ตัว
สรุ ป ใช้สมอยึด 4- Ø 20 mm. (ระยะฝังลึก 0.55 m./ตัว)
3. ออกแบบช่องสําหรับการขยายตัว (Slot)

ภาพแสดงระยะในการเจาะช่องบนแผ่นเหล็ก
− ความกว้างของช่องที่จะเจาะ = ขาดเส้นผ่าศูนย์กลางของน๊อต + ระยะเผื่อ
(ใช้ 3 mm.) = 20+3 = 23 mm.
− ความยาวช่องที่ตอ ้ งเจาะ = Ø+∆L = Ø+[∝∆TL]
= (20/10)+[(13x10-6)(50x23x100)] = 3.495 cm. ใช้ 3.50 cm.
สรุ ป เจาะช่องสําหรับการขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิขนาด 2.30x3.50 cm.
252

10.7 ออกแบบฐานรากระบบเสาเข็ม: F-4

ภาพแสดงการวางตัวขององค์อาคารต่างๆที่ฐานรากระบบเสาเข็ม F-4 ต้องรับ

ภาพแสดงแบบขยายการวางตัวขององค์อาคารต่างๆที่ฐานรากระบบเสาเข็ม F-4 ต้องรับ


253

ภาพแสดงผนังที่ฐานรากระบบเสาเข็ม F-4 ต้องรับ


1. ข้อมูลที่จะใช้ออกแบบ (พิจารณาจากแบบแปลนโครงสร้าง, ภาพตัดขวาง)
1) ออกแบบเป็ นไปตามข้อบัญญัติกรุ งเทพมหานคร
2) เลือกใช้คอนกรี ตกําลังอัด fc’ = 173 ksc.
3) เลือกใช้เหล็กเสริ มคอนกรี ตชั้นคุณภาพ SD-30; fy = 3,000 ksc.. (เลือกใช้ DB 16
mm.)
4) ใช้เสาเข็มคอนกรี ตอัดแรงขนาด 0.26x0.26xL m. (รับนํ้าหนักบรรทุกปลอดภัยได้
30 ตัน/ต้น)
2. ออกแบบตามข้อกําหนด
1) หาค่าคงที่การออกแบบ
− fc = 0.375fc’ = 0.375x173 = 64.88 ksc. < 65 ksc.
− fs = [1/2][Fy] = 0.50x3,000 = 1,500 ksc. ≤ 1,500 ksc.
6 1.5
− n = [Es/Ec] = [2.04x10 ]/[4,270x(2.323 )x√173] = 10.26
− k = 1/[1+(fs/(nfc))] = 1/[1+((1,500/2)/(10.26x(0.375x173)))] = 0.307
− j = 1-[k/3] = 1-[0.307/3] = 0.898
− R = [1/2][fcjk] = 0.5x[64.88x0.307x0.898] = 8.94 ksc.
2) หานํ้าหนักบรรทุกที่กระทําต่อฐานราก F-4
− นํ้าหนักบรรทุกจากเสา C-4 (ชั้น 1) = 7,500 kg.
254

− นํ้าหนักบรรทุกจากผนัง 5 บน B1 (อิฐบล็อกหนา 9 cm.) = 160 x 3.50 x (5/2)


= 1,400 kg..
− นํ้าหนักบรรทุกจากคานชั้น 1 (B1) = 0.25 x 0.50 x2,400 x 5 = 1,500 kg.
− นํ้าหนักบรรทุกจากแผ่นพื้นไร้คาน (FS1) = 995 x 2.50 x 5 = 12,437.50 kg.
− นํ้าหนักบรรทุกจากแผ่นพื้นวางบนดิน (GS1) = ((0.20 x 2,400) + 500 + 25) x
(1.20 – 0.20) x (5/2) = 2,512.50 kg.
− นํ้าหนักบรรทุกจากแป้ นหู ชา้ ง (ยืน ่ ไปรับ GS1) = (0.20 x 0.20 x 2,400) x
(5/2) = 240 kg.
− นํ้าหนักบรรทุกจากเสา (สู ง 6 m. โดยประมาณ) = 0.40 x 0.40 x 2,400 x 6 =
2,304 kg.
รวมนํ้าหนักบรรทุกทั้งหมดที่กระทําต่อฐานราก F-4 = 1.10(7,500 + 1,400 + 1,500
+ 12,437.50 + 2,512.50 + 240 + 2,304) = 30,683.40 kg. ใช้ -30,700 kg.
3) สมมติเลื อกใช้ขนาดหน้าตัดเสาเข็มคอนกรี ตอัดแรงขนาด 0.26x0.26 m. รั บ
นํ้าหนักบรรทุกปลอดภัยได้ 30 ตัน/ต้น (ส่ วนความยาวควรได้มาจากผลการเจาะ
สํารวจดินในสนาม หรื อได้จากการตอกทดสอบจริ งในสนามด้วยวิธี Pilot Test
หรื อข้อมูลจากอาคารข้างเคียงโดยรอบ)
4) จํานวนเสาเข็มที่ตอ้ งการ N = 30,700/30,000 = 1.023 ต้น ใช้ 2 ต้น
ดังนั้นเสาเข็มแต่ละต้นรับนํ้าหนักบรรทุก = 30,700/2 = 15,350 kg./ต้น

ภาพแสดงตําแหน่งการวางตัวของเสาเข็มและเสาตอม่อ
255

5) คํานวณหา Mmax., Vmax ที่ขอบของตอม่อ


− Mmax = 15,350 x (0.78 - (0.40/2)) = 8,903 kg.-m.
− Vmax = 15,350 kg.
6) ออกแบบความหนาของฐานราก (ครอบเสาเข็ม)
− d = √((15,350 x 100)/(8.94 x (26 + 26))) = 57.46 cm.
− t = 57.46 + 5 + (16/10)/2 = 63.26 cm.ใช้ 65 cm.
2
− ตรวจสอบ Mr = 8.94 x (26 + 26) x (65 – 5) = 1,673,568 kg.-cm. > 890,300
kg.-cm.…ผ่าน
7) ตรวจสอบหน่วยแรงเฉือน
(1) ระยะหน้าตัดวิกฤตจากขอบเสา
− ระยะ d = 65-5 = 60 cm. > 58 cm. = 2 cm.
− ระยะ d/2 = 60/2 = 30 cm. < 58 cm.= 28 cm. (เกิน 15 cm. ไม่ตอ ้ งคิดแรง
เฉือน)
(2) แรงเฉื อนแบบคานกว้าง (ที่ระยะ d จากขอบเสา) ถ้า v1 = V1/(Bd) <
0.29√fc’…ผ่าน
− P = (15,350/30)((60-58)+15) = 8,698.33 kg.
− v1 = 8,698.33/((26 + 26) x (65 – 5)) 2.79 ksc. < 0.29√fc’
(3) แรงเฉื อ นแบบทะลวง (ที่ ร ะยะ d/2 จากขอบเสา) ถ้า v2 =
V2/[(2(C+d)+2(D+d))(d)] < 0.53√fc’…ผ่าน
− P = (15,350/30)((30-58)+15) = -6,651.67 kg. แสดงว่าไม่ตอ ้ งคิดแรง
เฉื อนกรณี น้ ี
− v2 = 0.00
8) ออกแบบปริ มาณเหล็กเสริ ม
(1) เนื่องจาก Mr = Rbd2 > Mmax ดังนั้นจึงออกแบบเป็ นแบบเหล็กเสริ มรับแรง
ดึง
(2) เหล็กเสริ มรับแรงดึง As = (8,903 x 100)/(1,500 x 0.898 x (65-5)) = 11.02
ตร.cm. เลือกใช้เหล็ก DB 16 mm. (A = 2.011 cm.2/เส้น )
(3) ดังนั้นจะใช้เหล็กเสริ มจํานวน = 11.02/2.011 = 5.48 เส้น
− มีระยะห่ างระหว่างเส้นขนานด้านยาว @ = (26 + 26)/5.48 = 9.49 cm.
ใช้ 7.50 cm. ดังนั้นเลือกใช้ DB 16 mm. @ 0.075 m.
256

− มีระยะห่ างระหว่างเส้นขนานด้านสั้น @ = 208/5.48 = 37.96 cm. ใช้ 30


cm. ดังนั้นเลือกใช้ DB 16 mm. @ 0.30 m.
9) ตรวจสอบหน่วยแรงยึดเหนี่ยว u = V/[(2∑O)jd] ≤ 25 ksc.
− ∑O = ((26 + 26)/7.50) x 2 x (22/7) x ((16/10)/2) = 34.87 cm.
− u = 15,350/((2 x 34.87) x 0.898 x (65 - 5)) = 4.09 ksc. < 25 ksc.…ผ่าน

ภาพแสดงแบบรายละเอียดการเสริ มเหล็กในฐานรากระบบเสาเข็ม F-4


บทที่ 11

ภาพตัวอย่ างสํ าหรับชุ ดฝึ กปฏิบัตกิ าร

ชุดฝึ กการใช้งานพื้นฐานนี้ ผมสร้างเป็ นตัวอย่างอย่างง่ายในระบบ 2D ทั้งหมดทั้งมวลอยูบ่ น


พื้นฐานของการฝึ กทักษะในด้านการใช้งานโปรแกรมนี้ เท่านั้น ทั้งนี้ ผมมองว่าหากเราเองมีพ้ืนฐาน
ด้านการใช้งานที่ดี (ผ่านรู ปแบบของตัวอย่างอย่างง่าย ต่อเมื่อทราบแนวทางแล้ว ไม่ว่าจะยากแค่ไหนก็
สามารถทําได้ ส่ วนเรื่ องความคล่องนั้นเป็ นส่ วนของการฝึ กใช้บ่อยๆ) ในเชิงปฏิบตั ิจริ งคงทําได้ไม่ยาก
นัก
258
259
260
261
262
263
264
265
266
267
268
ภาคผนวก ก Frequently Asked Questions
270

Adding Custom Sections


If you add custom sections in the Custom1, Custom2 or Custom3 groups, these sections become a
permanent part of the library. If you add a custom section in the Custom or Frame group, this section
is then saved with that particular frame, and isn't affected by a change in units.

Clipping & Masking


The difference between masking and clipping is that clipping is 'spatial' and masking is 'logical'.
When you clip you define the boundaries of a 3D space and all the members that are physically
contained within that space remain active. The clipping bars you see on screen define the boundaries
of the clipping box. You can move these clip bars with the mouse or use the 'clip to selection' or 'clip
to frame' commands to automatically position the clipping box around the area of interest.

Masking allows you to select members to include or exclude from the active list. Mask To Selection
makes all the selected members active while Mask Out Selection makes all of the selected inactive.
The selection can contain any number of members in any part of the frame.

If you mask and clip at the same time, the active member list will comprise those members which
will be visible due to the effects of both clipping and masking.

Color
When selecting color from the view menu there may be a problem which occurs when thousands or
millions of colors are selected in the monitor's control panel. You can work around this if you set the
colors to 256.

Custom Sections - Changing Units


The units in the Frame or Custom group are set according to the units selected when the frame was
first saved. They cannot be changed once the frame has been saved. Sections in the Custom1,
Custom2 or Custom3 groups become a permanent part of the Sections Library and are affected by the
change in units like any other section.

Ill Formed Matrix Error


"Ill formed matrix cannot perform dynamic analysis" during a dynamic analysis indicates that the
solution has been unable to converge. This could be due to a number of reasons.
271

1. Some joints may have stiffness associated with them but no mass. ie if the sections of all member
attached to a particular joint have zero mass and no joint masses are applied to that node. The same
problem may be caused by a very large ratio of stiffness to mass which shouldn't occur in a "real"
structure.

2. Some nodes may have mass associated with them but no stiffness. This is rare.

3. Even if the above problems are not present the solution may still not converge. The problem then is
due to the fact that in some cases natural frequency will be missed which causes an interruption of the
analysis. When the missed frequency is picked up later in the analysis, the solver is not able to
recommence in some cases. This tends to occur in simpler frames where multiple natural frequencies
will often be grouped at a given value.

One suggestion would be to make the frame more complex by subdividing the members to create
more nodes and improve convergence.

Importing Coordinates
It is possible to read joint coordinates into Multiframe. This option is described in the users manual.
The easiest way to see the file format required is to create a simple file in Multiframe and use Save
As with the FORTRAN Text option for the file format and have a look at the resulting file in a word
processor or text editor.

You can also paste joint coordinates into Multiframe from a spreadsheet. The only limitation of this
option is that you must already have created the structure with the appropriate joint and member
numbering before pasting in the data. However this is still quite useful for regular structures like
curved beams and the like.

Joint Order
Multiframe adopts the convention that joint 1 is always the joint to the left of the member in the front
view and in the case of members which are vertical joint 1 is at the bottom, joint 2 at the top.

In the case of a member which lies in the xy plane, joint 1 will be the joint on the left and joint 2 will
be the joint on the right. In the case of a member which lies in the xz plane, joint 1 will be the joint on
272

the left as viewed in the right hand view and joint 2 will be the joint on the right as viewed in the
right hand view.

Modal Shapes
The modal shapes created after analysis are non-dimensional and merely reflect the shape the
structure would have when vibrating at a given natural frequency. Currently dimensions are shown
but the shape is actually scalable to any size. We don't show the induced stresses or actions that result
from dynamic analysis as these are not meaningful.

Moments - Max & Min


To show the maximum and minimum moments on each member in tabular form, do a "Save As" in a
spreadsheet or Daystar format.

Natural Frequencies
For any continuous structure there are theoretically infinite natural frequencies, but generally
engineers dealing with real structures only need to consider those natural frequencies that are likely to
occur in the real world. These are usually the lowest natural frequencies for the structure.
Multiframe4D calculates from the lowest natural frequency upwards to a possible of 20 natural
frequencies.

To carry out a modal analysis using computational methods we approximate the continuous system
by discretising the structure into a finite number of degrees of freedom. Each degree of freedom
allows us to calculate one natural frequency. The more degrees of freedom the more accurate the
solution.

A good rule of thumb is that the minimum number of degrees of freedom should be at least double
the required natural frequencies. Multiframe enforces this rule.

Each node has 6 degrees of freedom. A structure with 2 nodes, one fixed, would eliminate the
degrees of freedom for that node, so you are left with 6 degrees of freedom in total. Thus considering
the rule above, Multiframe4D will only return a maximum of 3 natural frequencies.
273

The solution is to use the subdivide command to increase the number of nodes in the structure and
therefore the degrees of freedom. If you experiment with different levels of discretisation you will
notice improvements in the accuracy of the solution for the higher natural frequencies as the number
of nodes is increased.

Orientation of Members
When you have generated a dome, you will find that the reason the orientation of the members is not
exactly what you expect is because of the convention that Multiframe uses for determining which is
joint 1 and which is joint 2 on a member.

The orientation depends on this ordering since the orientation is defined relative to a vertical plane
passing through the two joints and looking in the direction from joint 2 towards joint 1. Multiframe
adopts the convention that joint 1 is always the joint to the left of the member in the front view and in
the case of members which are vertical joint 1 is at the bottom, joint 2 at the top.

In the case of a member which lies in the xy plane, joint 1 will be the joint on the left and joint 2 will
be the joint on the right. In the case of a member which lies in the xz plane, joint 1 will be the joint on
the left as viewed in the right hand view and joint 2 will be the joint on the right as viewed in the
right hand view.

For other members which are at arbitrary orientation, the joint numbering will stay the same as that
when the joints were generated. It is important to consider the order of the joints in the member when
viewing it's orientation. If you are viewing the table of members in the Data Window you will need to
check the numbers of joint 1 and joint 2 in the left columns when reviewing the member orientation.
The graphical displays in the windows should be correct if you take this into account.

Deleting Overlayed Joints


The only way to delete overlayed joints is to delete the members attached to one of the joints (and
thus that joint). Then add those members again attaching them to the remaining joint.

Pinned, fixed
The default behavior of Multiframe in regards to pinned and fixed joints and members is that all
members and all joints are initially fully rigid. This means that there is complete moment transfer
274

across each joint. If you make a joint pinned, then this releases the moments and torsion at the ends of
all the members attached to that joint. It also sets the rotations of that joint to zero.

If however you release the moments at the end of a member using the Member Type command, then
in the Member Type dialogue you have an option of which moments and torsion to release.

In general you will want to use a pinned joint when analyzing a truss structure and you will want to
use the pins at the end of a member when you want to have a rigid frame where a part of the frame is
pinned.

You should not pin a joint and also pin the end of a member attached to that joint.

Also keep in mind that releasing moments on a member releases the local rotations and moments
whereas applying a pinned joint restraint releases the global rotations and moments.

Saving DXF Files


DXF files are a file exchange format support by most CAD programs. They allow you to exchange
geometry between different CAD programs. Multiframe reads and writes 2D and 3D DXF files so
that you can export Multiframe geometry to a CAD program or import a frame's geometry that you
have drawn in a CAD program.

Multiframe is automatically set up to save files in the DXF format. On the Macintosh, you can do this
by selecting Save As, and then selecting 2D or 3D DXF from the pop up menu of the resulting dialog
box. On Windows, you can do this by selecting the Export menu item.

Section Libraries
Multiframe automatically looks for a file named "SectionsLibrary.slb" in the same folder as the
program. If it finds a file with this name, this library will be used. If you want Multiframe to use a
different library (like the wood library), you need to rename the standard Section Library to say
"Steel Library". Then, when the program starts up, it will not find a library with the standard name
("SectionsLibrary.slb") and it will prompt you to locate the library you wish to use. Note that you can
also use this technique to have a number of sections libraries (for example one per project) available
275

for use. Multiframe, Section Maker and Steel Designer are set up to use the same utilities disk you
received with your original order, and thus the same sections libraries.

Springs - Soil Emulation


Springs in Multiframe can be used to emulate soil support under a foundation. Springs always work
in both directions (tension and compression). We have a number of customers that use springs to
model beams embedded in or sitting on the ground. They just need to divide up the beam, apply a
spring at each intermediate node and choose an appropriate spring stiffness to simulate the elasticity
of the ground.

Stopping Analysis
You can stop analysis or rendering in Multiframe by pressing the ESC key on Windows or pressing
command - period on the Macintosh.

Trusses
The default behavior of Multiframe in regards to pinned and fixed joints and members is that all
members and all joints are initially fully rigid. This means that there is complete moment transfer
across each joint. If you make a joint pinned, then this releases the moments and torsion at the ends of
all the members attached to that joint. It also sets the rotations of that joint to zero.

If however you release the moments at the end of a member using the Member Type command, then
in the Member Type dialogue you have an option of which moments and torsion to release.

In general you will want to use a pinned joint when analyzing a truss structure and you will want to
use the pins at the end of a member when you want to have a rigid frame where a part of the frame is
pinned.

You should not pin a joint and also pin the end of

Importing DXF
When importing data, Section Maker will connect together any lines whose ends are within 5mm
276

(0.1969 inches) of each other. If your lines touch in your CAD system then the rescaling should not
affect this.

Once you have placed the DXF shape into Section Maker the properties will be displayed in the
Properties window. You will need to assign materials to the shape to compute these properties
correctly.

Symbol Definitions
fy Yield stress.
fu Ultimate tensile stress.
rx Radius of gyration about the X axis.
ry Radius of gyration about the Y axis.
rz Radius of gyration about the principal axis (for when the principal axis is neither the x or y axis
such as for an angle section).
Sx Elastic section modulus about the X axis.
Sy Elastic section modulus about the Y axis.
I1 Moment of Inertia about the Major principal axis at the centroid (Strongest axis).
I2 Moment of Inertia about the Minor principal axis at the centroid.
Angle that the Major principal Axis makes with the x axis.

The following values depend on the position of the centroid of the current section:
xc The distance along the x axis of the current section centroid.
yc The distance along the y axis of the current section centroid.
(If you select all shapes and choose Align to Centroid from the Shape menu then these will both be
0.0).
Ixc Moment of Inertia about the X axis through the centroid.
Iyc Moment of Inertia about the Y axis through the centroid.
(If you select all shapes and choose Align to Centroid from the Shape menu then they will be
equivalent to Ix and Iy).
Ixyc Product of Inertia about the centroid.
These values define the extents of the section.
xl X (left ) the left most extent of the section on the x axis.
277

xr X (right ) the right most extent of the section on the x axis.


yt Y (top ) the top most extent of the section on the y axis.
yb X (bottom ) the bottom most extent of the section on the y axis.
Note: B =xr - xl and D= yt - yb.
Sxt Elastic section modulus about the X axis at yt.
Sxb Elastic section modulus about the X axis at yb.
Syl Elastic section modulus about the Y axis at xl.
Syr Elastic section modulus about the Y axis at xr.
Iw Warping Constant (not used, included for future expansion).
278
ภาคผนวก ข คุณสมบัติของหน้าตัด
278

ตาราง ข -1 แสดงคุณสมบัติของหน้าตัด

ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)


279

ตาราง ข -1 (ต่อ) แสดงคุณสมบัติของหน้าตัด

ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)


280

ตาราง ข -1 (ต่อ) แสดงคุณสมบัติของหน้าตัด

ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)


281

ตาราง ข -1 (ต่อ) แสดงคุณสมบัติของหน้าตัด

ที่มา (Mckenzie, W. M.C., 2006)


282
ภาคผนวก ค สมการโมเมนต์ แรงเฉื อน และระยะโก่งของคาน
284

ตาราง ค -1 แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างง่าย

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


285

ตาราง ค-1 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างง่าย

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


286

ตาราง ค -1 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างง่าย

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


287

ตาราง ค-1 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างง่าย

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


288

ตาราง ค-1 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างง่าย

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


289

ตาราง ค-1 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างง่าย

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


290

ตาราง ค-1 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างง่าย

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


291

ตาราง ค -2 แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานยืน่

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


292

ตาราง ค-3 แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างยาก

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


293

ตาราง ค -3 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างยาก

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


294

ตาราง ค -3 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉื อน และระยะโก่งสําหรับคานช่วงเดียวอย่างยาก

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


295

ตาราง ค -4 แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานปลายยึดแน่น

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


296

ตาราง ค -4 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานปลายยึดแน่น

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


297

ตาราง ค -4 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานปลายยึดแน่น

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


298

ตาราง ค -4 (ต่อ) แสดงสมการโมเมนต์ แรงเฉือน และระยะโก่งสําหรับคานปลายยึดแน่น

ที่มา (Hassoun, M. N., & Al-Manaseer, A., 2008)


ภาคผนวก ง ตารางคุณสมบัติของเหล็กรู ปพรรณ
300

ตาราง ง -1 แสดงคุณสมบัติของเหล็กท่อดํา

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
301

ตาราง ง -2 แสดงคุณสมบัติของเหล็กท่อเหลี่ยมแบบ

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
302

ตาราง ง -3 แสดงคุณสมบัติของเหล็กท่อเหลี่ยม

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
303

ตาราง ง -4 แสดงคุณสมบัติของเหล็กตัวซี

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
304

ตาราง ง -5 แสดงคุณสมบัติของเหล็กฉาก

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
305

ตาราง ง -6 แสดงคุณสมบัติของเหล็กไอบีม

ตาราง ง -7 แสดงคุณสมบัติของเหล็กรางนํ้า

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
306

ตาราง ง -8 แสดงคุณสมบัติของเหล็กไวด์แฟรงค์

2 ที่มา (ตั้มซีวลิ ดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
307

ตาราง ง -9 แสดงคุณสมบัติของเหล็กเอชบีม

ตาราง ง -10 แสดงคุณสมบัติของเหล็กสี่ เหลี่ยมตัน

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
308

ตาราง ง -11 แสดงคุณสมบัติของเหล็กแผ่น

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
309

ตาราง ง -12 แสดงคุณสมบัติของตะแกรงเหล็กยืด

2 ที่มา (ตั้มซีวิลดอทคอม, ออนไลน์, 2554)


2 2 2
310
บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม . (2551). แผนที่เขตเสี่ ยงภัย


2 2

แผ่ น ดิ น ไหวในประเทศไทย .
2

[ออนไลน์ ]. แหล่ ง ข้อ มู ล


http://www.dmr.go.th/ewt_dl_link.php?nid=74&filename=earthquake_thai (วันที่คน้
ข้อมูล : 6 ตุลาคม 2554).
กรมโยธาธิการและผังเมือง, กระทรวงมหาดไทย . (2548). แบบบ้ านเพือ่ ประชาชน. [ออนไลน์].
2 2 2

แหล่งข้อมูล http://www.dmr.go.th/ewt_dl_link.php?nid=74&filename=earthquake_thai
(วันที่คน้ ข้อมูล : 12 ตุลาคม 2554).
คณะกรรมการวิ ช าการสาขาวิ ศ วกรรมโยธา วิ ศ วกรรมสถานแห่ ง ประเทศไทยในพระบรม_
ราชูปถัมภ์, สมาคม. (2540). ศั พท์ วิทยาการวิศวกรรมโยธา (แก้ไขปรับปรุ งครั้งที่ 1).
กรุ งเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธาโยธา วิศวกรรมสถานแห่ งประเทศไทยในพระบรม_
ราชูปถัมภ์, สมาคม. (2553). มาตรฐานสํ าหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่ วย
แรงใช้ งาน (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุ งเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่ งประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์.
คณะอนุ กรรมการสาขาโครงสร้างเหล็ก วิศวกรรมสถานแห่ งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์,
สมาคม. (2540). มาตรฐานสํ าหรั บอาคารเหล็กรู ปพรรณ (พิมพ์ครั้ งที่ 2). กรุ งเทพฯ:
วิศวกรรมสถานแห่ งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
คณะอนุ กรรมการสาขาโครงสร้างเหล็ก วิศวกรรมสถานแห่ งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์,
สมาคม. (2540). การอบรมเชิ งปฏิบัติการ เรื่ อง การออกแบบอาคารเหล็กรู ปพรรณ.
กรุ งเทพฯ:วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
ชมรมวิศวกรรมโยธาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2536). รายละเอียดเหล็กเสริมงานคอนกรีต (พิมพ์
ครั้งที่ 9). กรุ งเทพฯ: ส. เอเซียเพลส.
ณรงค์ กุหลาบ. (2543). การออกแบบคอนกรี ตเสริ มเหล็ก. ปทุมธานี : สยามสเตชัน่ เนอรี่ ซัพ_
พลายส์.
312

ตั้มซี วิลดอทคอม. (2554). กลุ่มแบ่ งปัน CAD/Drawing. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล


2

http://www.facebook.com/groups/caddrawing/ (วันที่คน้ ข้อมูล : 10 สิ งหาคม 2554).


_______. (2554). ตารางเหล็กรู ปพรรณมาตรฐานในไทย และมาตรฐานทั่วไป (Steel Table). 2

[ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://www.tumcivil.com/engfanatic/article_gen.php? (วันที่


ค้นข้อมูล : 8 สิ งหาคม 2554).
ทนงศักดิ์ แสงวัฒนะชัย. (2539). การออกแบบโครงสร้ างไม้ และเหล็ก (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น:
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทักษิณ เทพชาตรี . (2536). พฤติกรรมและการออกแบบโครงสร้ างเหล็ก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุ งเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรมิตร ลิ้วธนมงคล. (2538). รวมข้ อมูลก่อสร้ าง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุ งเทพฯ: รุ่ งแสงการพิมพ์.
“พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522”. (2527, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับพิเศษ
เล่ม 101 ตอนที่ 143 ก. หน้า 10.
“พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522”. (2550, 30 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124
ตอนที่ 86 ก. หน้า 17.
“พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511”. (2539, 29 ตุลาคม). ราชกิจจา_
นุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 87 ง. หน้า 34.
“พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511”. (2551, 15 มกราคม). ราชกิจจา
นุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 11 ก. หน้า 28.
“พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511”. (2553, 15 มีนาคม). ราชกิจจา_
นุเบกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 33 ง. หน้า 30.
วินิต ช่อวิเชียร. (2539). การออกแบบโครงสร้ างเหล็ก (มาตรฐาน AISC/ASD/LRFD). กรุ งเทพฯ:
ป. สัมพันธ์พาณิ ชย์.
วีระเดช พะเยาศิริพงศ์. (2554). รวมกฎหมายก่อสร้ าง. กรุ งเทพฯ: รุ่ งเรื องสาส์นการพิมพ์.
สมเกียรติ รุ่ งทองใบสุ รีย.์ (2544). การออกแบบโครงสร้ างเหล็ก (พิมพ์ครั้งที่ 4). ราชบุรี: ธรรม_
รักษ์การพิมพ์.
313

สํ า นั ก งานคณะกรรมการควบคุ ม อาคาร กรมโยธาธิ ก าร กระทรวงมหาดไทย. (2540).


พระราชบัญญัติ_ควบคุมอาคาร พุทธศักราช 2522. กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์
การเกษตรแห่ งประเทศไทย.
เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก. (2554). คู่มือการออกแบบอาคารโรงงานและบ้ านพักอาศัย (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุ งเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
_______. (2550). เอกสารประกอบการสอนการอบรม (ระยะสั้ น) การอกแบบและแก้ ไข
ปัญหางานฐานราก. อุดรธานี : สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุดรธานี.
_______. (2546). การออกแบบโครงสร้ างคอนกรีตเสริมเหล็ก. อุดรธานี : สาขาวิชา
เทคโนโลยีก่อสร้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (เอกสารประกอบการสอน).
_______. (2546). การออกแบบโครงสร้ างไม้ และเหล็ก. อุดรธานี : สาขาวิชาเทคโนโลยี_
ก่อสร้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (เอกสารประกอบการสอน).
Ambrose, J., & Tripeny, P. (2012). Building Structures (3rd ed.). USA. : John Wiley & Sons,
Inc.
Brockenbrough, R. L., & Merritt, F. S. (1999). Structural Steel Designer’s Handbook (3rd ed.).
USA : McGRAW-HILL.
Chen, Wai-Fah & Lui, E. M. (2006). Principles of Structural Design. New York : CRC Press.
Davison, B., & Owens., G.W. (2003). Steel Designers’s Manual (6th ed.). USA : Blackwell
Publishing.
Goreng, B., Tinyou, R., & Syam, A. (2005). Steel Designers Handbook (7th ed.). Australia :
University of New South Wales Press Ltd.
Kassimali, A. (2004). Structural Analysis(2nd ed.). USA : Thomson.
Krishna, P., Kuma, K., & Bhandari., N.M. (2002). Wind loads on buildings and structures
(Document No. IITK-GSDMA-Win02-V5.0 and IITK-GSDMA-Win04-V3.0).
Roorkee, Department of civil engineering: Indian institute of technology Roorkee.
314

Lam, D., Ang, T.C., & Chiew, S.P. (2004). Structural Steelwork: Design to Limite State
Theory(3rd ed.). England : Elsevier Ltd.
Massimi, M., Mickute, M., & Edwards, C. (2010). Structures Variety – Wood Frame System.
[Online]. Available : http://woodframesystem.wordpress.com/wood-frame-
system/loads/ (Access date : 5 October 2011).
McCormac, J.C. (1992) . Structural Steel Design: ASD Method(4th ed.). USA : Harper Collins.
Mckenzie, W. M.C. (2006). Examples in Structural Analysis. New York: CRC Press.
Munach, R. (2011). How it Works: Building Loads. [Online]. Available :
http://www.finehomebuilding.com/design/articles/how-it-works-building-loads.aspx
(Access date : 3 October 2011).
Newnan, A. (2004). Metal Building System Design and Specifications(2nd ed.). USA :
McGRAW-HILL.
Pasala., D. (1999). Design of Steel Structures(2nd ed.). INDIA: S. CHAND & COMPANY.
Ray, S.S., (1998). Structural Steelwork Analysis and Design. USA : Blackwell Science Ltd.
Salmon, C.G., & Johnson, J.E. (1996). Steel Structures Design and Behavior(4th ed.). New
York : HarperColline College.
Schierle, G.G., (2002). Truss and Space Truss. n.p.
Trahair, N.S., et al. (2008). The Behavior and Design of Steel Structures to EC3(4th ed.).
New York : Taylor & Francis.
ประวัต(ิ โดยย่ อ)

ชื่อ – สกุล : ผศ.เสริ มพันธ์ เอี่ยมจะบก


วัน เดือน ปี เกิด : วันพฤหัสบดี ที่ 5 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2513
ทีอ่ ยู่ปัจจุบัน : บ้านเลขที่ 24/5 หมู่ที่ 13 อ.เมือง จ.อุดรธานี
การศึกษา : ปริ ญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปัจจุบันสอนที่ : สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง คณะเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ระดับทีท่ าํ การสอน : ปริ ญญาตรี (วท.บ., ก่อสร้าง)
การติดต่ อ
เบอร์โทร : 0833593113
Website : http://webhosting.udru.ac.th/~sermpun/
(เผยแพร่ Animation 3D Ebook)
Face book : 1. ของผมเอง (ฟรี แชร์ต่างๆ ถาม-ตอบ รายงานสถานะส่ วนตัว)
https://www.facebook.com/#!/sermpun.udru
2. กลุ่มเสริ มพันธ์โชว์ (ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนองค์ความรู ้)
https://www.facebook.com/#!/groups/sermpun/
Email : sermpun_udru@yahoo.com
316

หน้ าทีก่ ารงานปัจจุบัน : 1. หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง


2. วิศวกรอาวุโส ประจํา ห้างหุน้ ส่ วนจํากัด ศรี สมดีการโยธา
3. วิศวกรอาวุโส ประจํา บริ ษทั เวิลด์ คอนกรี ต จํากัด
4. คณะกรรมการกํากับดูแลงานก่อสร้างในมหาวิทยาลัย 5 Site
5. วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างรวมถึงช่วยดูแลควบคุมงาน
ก่อสร้างพุทธมหาเจดียอ์ งค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ 2

(องค์เจดียส์ ูง 98.70 เมตร) สร้างที่วดั หลวงปู่ ลี (วัดถํ้าผาแดง)


อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี…อยูใ่ นขั้นตอนกําลังก่อสร้าง
6. วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างรวมถึงช่วยดูแลควบคุมงาน
ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย ์ ณ วัดป่ าวิเวกภูเขาวง บ.ดงน้อย
2

1 ต.ผาขาว อ.ผาขาว จ.เลย โดยหลวงตาประพันธ์ กิตติโสภโณ


…อยูใ่ นขั้นตอนกําลังก่อสร้าง
7. กําลังวิเคราะห์และออกแบบองค์เจ้าแม่กวนอิม (สู ง 69 เมตร)
สร้างที่ จ.ภูเก็ต…อยูใ่ นขั้นตอนของการเจาะสํารวจดิน
ประสบการณ์ งานสอน : 1. เป็ นข้าราชการสายผูส้ อน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบนั
2. เป็ นวิทยากรผูใ้ ห้การอบรมกับนายช่างและวิศวกร ด้านเทคนิค
การควบคุมงานก่อสร้าง ด้านการวิเคราะห์และออกแบบ
โครงสร้าง และด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบ
- ประจําศูนย์ฝึกอบรมโยธาไทย (จัดทัว่ ประเทศ) และ
2

- ประจําศูนย์เทรนนิ่งวิศวกรรม ตั้มซิวิล 2

ประสบการณ์ ทาํ งาน : 1. มีประสบการณ์ดา้ นการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง (ทั้ง


ในประเทศและต่างประเทศ) การแก้ไขปัญหางานก่อสร้าง การ
ควบคุมงานและตรวจรับงานก่อสร้าง การทดสอบวัสดุ ตั้งแต่ ปี
พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบนั
2. เคยเป็ นวิศวกร (Part Time) ประจําบริ ษทั ผูร้ ับเหมาก่อสร้าง
ของหลานประธานประเทศลาว ในประเทศลาว
3. เป็ นวิศวกรผูเ้ ชี่ยวชาญร่ วมกับ ปปช. ลงพื้นที่สอบสวนข้อมูล
ด้านงานก่อสร้างในเขตพื้นที่ จ.อุดรธานี
4. เป็ นพยานผูเ้ ชี่ยวชาญของศาลปกครอง ลงพื้นที่สอบสวน
ข้อมูลด้านงานก่อสร้าง กรณี พิพาทระหว่างรัฐกับประชาชนใน
เขตพื้นที่ จ.อุดรธานี
317

ผลงานทีผ่ ่ านมาและ : 1. เป็ นวิทยากรบรรยายในหลักสูตรต่างๆด้านวิศวกรรมโยธา


เป็ นทีร่ ู้ จัก 2. เขียนหนังสื อประกอบการอบรมและเผยแพร่ ผา่ นเว็ปต่างๆ
3. เขียนองค์ความรู ้พ้ืนฐานด้านวิศฯ และเผยแพร่ ผา่ นเว็ปต่างๆ
4. ตอบปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา และเผยแพร่ รายการคํานวณ
ออกแบบต่างๆ เพื่อเป็ นวิทยาทานผ่านเว็ปต่างๆ
5. สร้างและเผยแพร่ วีดิโอช่วยสอนการใช้งานโปรแกรมด้าน
วิศวกรรมโยธา เช่น STAAD Pro, Multiframe4D, SAP2000,
RISA 3D, GRASP
6. เป็ นผูพ้ ฒั นาโปรแกรมตระกูล NEO ด้วย Excel + vb เช่น
NEO Prestressed, NEO Footing Design, NEO Steel Design,
NEO RC Design v.5 (ได้รับการจดสิ ทธิบตั ร จากกรมทรัพย์สิน
ทางปัญญา)…ซึ่งทั้งหมดเผยแพร่ ฟรี
7. สร้างสื่ อการเรี ยนการสอนเผยแพร่ ผา่ นเว็ปในรู ปแบบต่างๆ
เช่น วีดิโอ, Animation 3D Ebook ลฯ

คติพจน์ ประจําตน : “แม้นผมจะเป็ นวิศวกรในระดับรากหญ้า แต่ผมก็เป็ นข้าของแผ่นดิน”


ผมมีความตงฉินเป็ นที่หนึ่ง ผมมีความพึ่งพาตนเองเป็ นที่สอง แต่
ต้องไม่หยิง่ ผยองลําพองตน

You might also like