You are on page 1of 104

ข้อสอบ POL 2105 S/64 1

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564


......................
คำสั่ง : ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. มาเคียอเวลลี่เชื่อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยหรือประชาธิปไตย
1. การเน้นแต่เพียงประสิทธิภาพ 2. การสนับสนุนตัวบุคคล 3. การขาดเสถียรภาพ
4. การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน 5. การไร้เมตตาธรรม
ตอบ3 ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตยเป็นสิ่งดี แต่ระบบ
การปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีข้อบกพร่องที่สำคัญ คือการขาดเสถียรภาพ และความดีของระบบก็มักจะถูกทำลาย
ลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก นี้คือความเชื่อของ มาเคียเวลลี
2. ในทัศนะมาเคียอเวลลี่ ผู้ปกครองควรมีขันติ เพื่อ
1. แสดงความเป็นราชสีห์ 2. ให้เกิดความยำเกรง 3. ข่มความรู้สึกที่แท้จริง
4. ทบทวนท่าทีของศัตรู 5. รับฟังคำวิจารณ์โดยสุจริตใจ
ตอบ 5 ผู้ปกครองควรมีขันติเพื่อยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ โดยสุจริตใจของเหล่าขุนนาง เพราะจะทำให้ได้
ทราบถึงความเป็นไปที่แท้จริงของสถานการณ์ต่าง ๆ
3. มาเคียอเวลลี่ เชื่อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้ว
1. เป็นคนเห็นแก่ตัว แต่สังคมทำให้ละเลิกกิเลส 2. เป็นคนมุทะลุดุดันเยี่ยงสุนัชจิ้งจอก
3. เป็นคนที่เต็มไปด้วยเมตตาธรรม แต่สังคมทำให้เห็นแก่ตัว
4. เป็นคนที่เต็มไปด้วยวิจารณญาณ มีคุณธรรม 5. เป็นคนอ่อนไหวตามสถานการณ์
ตอบ 1 ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมาเคียอเวลลี่ เห็นว่า เป็นคนที่เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว แสวงหา พยายามที่จะ
หลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกำไร จึงทำให้มีชีวิตอยู่ในภาวะของการดิ้นรน และแข่งขันกันเองอยู่ตลอดเวลา
จิตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของ กิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรือรัฐขึ้นมาใช้อำนาจบังคับเพื่อทำให้ละเลิก
กิเลสและควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของคน

4. เนื้อหาในการวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมืองของ คาร์ล มาร์กซ์ มุ่งวิพากษ์


1. ชนชั้น 2. สังคมนิยม 3. การคอรัปชั่น
4. ระบบทุนนิยม 5. ชนชั้นแรงงาน
ตอบ 4 คาร์ล มาร์กซ์ ได้สร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองขึ้นเพื่ออธิบายว่า ในระบบทุนนิยมนั้นสิ่งที่นายทุน
คำนึงคือกำไร นายทุนจะได้เปรียบกรรมกร เพราะว่ามีการรีดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน หรือที่
เรียกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” นำเอาไปเป็นกำไรของตัวเอง
5. นอกจากความมีเหตุผลแล้ว ล็อคเชื่อว่ามนุษย์ยังมี 1. ความเมตตาและการใฝ่สันติ
2. ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี 3. ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ
4. ความซื่อสัตย์และความตรงไปตรงมา 5. ความฝันและจินตนาการอันสูงส่ง
ตอบ 1 ล็อค เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจำตัว คือ ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย
ข้อสอบ POL 2105 S/64 2
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6. ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง
1. ในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน 2. ในด้านกำลังกาย
3. ในด้านความอ่อนแอเหมือน ๆ กัน 4. ในด้านอวัยวะ 5. ในด้านการใช้อาวุธ
ตอบ 1 ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน โดยเขา
อธิบายว่า แม้คนเราจะมีความแตกต่างกันในด้านกำลังกายและความคิดอ่านก็ตาม แต่เขาไม่อาจจะอาศัย
เหตุผลแห่งความแตกต่างนี้เป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ ของตนเหนือคนอื่นได้ตลอดไป
7. นักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์มีความคิดที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน แต่ไม่ใช่ประเด็นใดดังต่อไปนี้
1. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
2. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
3. ต้องการให้ปัจเจกบุคคล สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้โดยเสรี
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ
5. มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
ตอบ 3 ประเด็นสำคัญที่คล้ายกันของนักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แก่
1. มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
2. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
3. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ

8. ลัทธิมาร์กซ์ เกี่ยวข้องกับอะไร
1. นักคิด ชื่อ Carl Marx 2. แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ 3. แนวคิดแบบสังคมนิยม
4. แนวคิดอรรถประโยชน์นิยม 5. ถูกเฉพาะ ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ลัทธิมาร์กซ์ ก่อกำเนิดขึ้นโดยนักคิดที่ชื่อว่า คาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าตำรับหรือ
บิดาแห่งคอมมิวนิสต์และแนวคิดแบบสังคมนิยม โดยมาร์กซ์นั้นเกิดที่เมืองทรีเออร์ ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ.
1818 บิดาเป็นทนายความที่มีชื่อเสียง มาร์กซ์เคยมีสัญชาติยิวแต่เมื่ออายุได้ 6 ขวบ ก็เปลี่ยนเป็นโปรเตสแตนต์

9. หลักที่สำนักอนุรักษ์นิยมนำมาใช้ในการอธิบายทฤษฎีของตน
1. หลักทฤษฎีความขัดแย้ง (conflict theory) 2. หลักสถาบันนิยม (institutionalism)
3. หลักประจักษ์นิยม (empiricism) 4. หลักของเหตุผล ( rationality)
5. หลักของกฎธรรมชาติ (natural law)
ตอบ 3 หลักการที่สำคัญของพวกอนุรักษ์นิยม คือ ลัทธิประจักษ์นิยม (Empiricism of Empirical Study)
อันหมายถึง การยึดถือหลักประสบการณ์และการสังเกตเป็นสำคัญในการอธิบายทฤษฎีของตน การปฏิเสธที่จะ
ยอมรับและเชื่อถือในหลักเหตุผลนิยม
10. สาระสำคัญของงานเขียนทางการเมืองมุ่งเน้นในเรื่องใดเป็นพิเศษ
1. จุดหมายปลายทาง (Ends) 2. วิธีการ (Means) 3. การใช้เล่ห์เหลี่ยม
4. เสรีภาพของผู้ปกครอง 5. รัฐในอุดมคติ
ตอบ 2 “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคนวสมัย (Modern Time)” คือ มาเคียเวลลี่ โดยเขาเป็นเมธีคนแรกที่
บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มีลักษณะผิดแผกไปจากลักษณะความคิดทางการเมือง
(เชิงอุดมคติ) ในสมัยกลางอย่างชัดเจน นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจเป็น
ข้อสอบ POL 2105 S/64 3
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
พิเศษสำหรับผู้ปกครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบัติในการที่จะได้มาซึ่งอำนาจ
เขามักจะศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็นจริง

11. ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ของคอมมิวนิสต์ไม่มลี ักษณะใดดังต่อไปนี้


1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูกต้อง
2. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาดห้ามโต้แย้ง
3. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
4. ประชาชนทุกคนที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคสามารถมีส่วนร่วมได้
5. สภาทุกระดับของประชาชนส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
ตอบ 4. ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูก 2. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาด
3. สภาประชาชนทุกระดับจะส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล

12. สิ่งที่ถือว่าเป็น “ความไม่เท่าเทียมกันในสภาวะธรรมชาติ” 1. เสรีภาพ


2. ร่างกาย 3. ความปลอดภัยในชีวิต 4. ความเสมอภาค 5. ทรัพย์สิน
ตอบ 2. รุสโซ เชื่อว่า สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาคอย่างบริบูรณ์
เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความไม่เท่าเทียมกันโดย ธรรมชาติอยู่บ้างบางประการ เช่น ความ
แข็งแรงของร่างกาย ความมากน้อยของอายุ เพศ พละกำลัง ความสามารถของสติปัญญา เป็นต้น

13. “สภาวะสงคราม” เกิดขึ้น ณ ที่ใด


1. สังคมเกิดจากสัญญา 2. สภาพธรรมชาติ 3. สังคมการเมือง
4. สังคมบุพกาล 5. สังคมสมัยใหม่
ตอบ 2 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่
จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะ
ธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่
เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอำนาจเหนือ
คนอื่นอยู่ร่ำไปจนนำไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
14. ลัทธิมาร์กซ์ เชื่อว่าอย่างไร
1. เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง 2. นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
3. ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความเท่าเทียม
4. ระบบทุนนิยมทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้น 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ความเชื่อของลัทธิมาร์กซ์ มีดังนี้
1. เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
2. สังคมทุนนิยมเป็นสังคมที่นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
3. ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความเท่าเทียม คือทุกคนเป็นกรรมกร ไม่มีชนชั้นอื่น
4. ระบบทุนนิยมทำให้เกิดการแบ่งแยกสังคมเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน เป็นต้น
15. การใช้อำนาจขององค์อธิปัตย์สอดคล้องกับหลักการของแนวความคิดหรือทฤษฎีใด
1. การกระจายอำนาจ 2. ประชาธิปไตย 3. นิติธรรม
4. รัฐธรรมนูญ 5. เผด็จการเบ็ดเสร็จ
ข้อสอบ POL 2105 S/64 4
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 3 . องค์อธิปัตย์ของฮอบส์นั้นจะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ได้อำนาจมาจากการทำสัญญาระหว่าง
ประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรือ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสียงข้างมากที่จะมอบอำนาจให้แก่
ผู้ปกครอง ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรือ
กษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือ
แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
16. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ เหมา เจ๋อ ตุง
1. เหมาร่วมมือกับชนชั้นกฎุมพี 2. เหมาร่วมปฏิวัติราชวงศ์ถังเป็นผลสำเร็จ
3. เหมาเป็นผู้นำของซุน ยัด เซน 4. เหมาเขียนบทความชื่อ On New Democracy
5. เหมาเป็นลูกนายทหาร
ตอบ 4 ผลงานที่สำคัญของเหมาเจ๋อตุง ได้แก่
1. On Tactics Against Japanese Imperialism (1935) 2. On Practice (1937)
3. On Contradiction (1937) 4. On New Democracy (1940) เป็นต้น
17. คำอธิบาย “ความสัมพันธ์ทางการผลิต (relation of production) ในลัทธิมาร์กซ์ หมายถึง
1. การที่มนุษย์ใช้เครื่องมือในการผลิต 2. การที่มนุษย์ขาดเครื่องมือในการผลิต
3. การที่มนุษย์ซื้อ-ขายเครื่องมือการผลิต 4. การที่มนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Product) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือการ
ผลิต เพื่อดูว่ามนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตหรือไม่

18. วลีต่อต้านศาสนาที่ว่า “ศาสนาเป็นสิ่งมอมเมาชาติ” เป็นของนักคิดคนใด


1. ซิง ซิมองต์ 2. อดัม สมิท 3. คาร์ล มาร์กซ์
4. จอร์จ วิลเลี่ยม ฟรีดรีช เฮเกล 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3. คาร์ล มาร์กซ์ ปฏิเสธศาสนา เพราะเชื่อว่า “ศาสนาเป็นสิ่งที่มัวเมาเหมือนยาเสพติด ที่ทำให้คนอยู่แต่ใน
โลกจินตนาการ และลืมความเป็นจริงในโลก”

19. เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทำแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาได้แก่


1. รัฐ 2. รัฐบาล 3. สังคม 4.ข้อ 2 และ 3 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทำขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียว สังคม รัฐ และรัฐบาลก็จะเกิดขึ้น
ตามมาทันที เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นการล้มล้างรัฐบาลจึงเป็นการกลับไปสู่สภาวะ
ธรรมชาติตามเดิม เนื่องจาก ฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกันนั่นเอง
20. ล็อคถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิด
1. สังคมนิยม 2. อนุรักษนิยม 3. วัตถุนิยมวิภาษวิธี
4. เสรีนิยม 5. ประชานิยม
ตอบ 4 ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ใน
ประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขา
ยังมีอิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และ
นักคิดร่วมสมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ข้อสอบ POL 2105 S/64 5
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
21. ระบบการเมืองตามทฤษฎีสัญญาประชาคมสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด
1. รัฐสภา 2. ประธานาธิบดี 3. กึ่งประธานาธิบดี
4. กึง่ รัฐสภา 5. แบบผสมระหว่าง 1 กับ 2
ตอบ 1 ตามหลักสัญญาประชาคมของล็อคนั้น เมื่อมนุษย์ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมการเมืองแล้ว
สิ่งแรกที่จำเป็นต้องดำเนินการคือ การสถาปนาองค์กรที่ ใช้อำนาจนิติบัญญัติขึ้นมาเพื่อวางแนวทางในการ
ดำเนินงานหรือกำหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหาร นำไปปฏิบัติ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงไม่มีอิสระที่จะทำอะไรตาม
เจตจำนงของตน ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
กำหนดขึ้น ซึ่งจากหลักการดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด
22. ตามแนวความคิดเรื่องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่งความเป็นจริงออกเป็น 2 ส่วนอะไรบ้าง
1. ตันตน และ ไม่ใช่ตัวตน 2. จิต กับ กาย 3. จิต กับ วัตถุ
4. กายภาพ กับ ชีวภาพ 5. สสาร กับ อสสาร
ตอบ 5 จิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกล เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน
1. อสสาร คือ ไม่เป็นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้
2. สสาร คือ เป็นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้
23. เมื่อทำสัญญาประชาคมแล้ว ผู้ใต้ปกครองสามารถทำอะไรได้บ้าง
1. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 2. การใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นครั้งคราว
3. การไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นบางครั้ง 4. การบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้ว
5. การถอดถอนองค์อธิปัตย์
ตอบ 4 ฮอบส์ อธิบายว่า เมื่อประชาชนตกอยู่ในสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์อธิปัตย์ การเปลี่ยนแปลงหรือ
ถอดถอนองค์อธิปัตย์นั้นแม้จะกระทำมิได้ แต่ประชาชนในฐานะผู้ใต้ปกครองก็มีสิทธิ์ขัดขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้ ทั้งนี้
โดยการร่วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้วเพื่อเริ่มต้นทำสัญญากันใหม่
24. หนังสือวิพากษ์ชนชั้นในสังคมไทยเรื่อง “โฉมหน้าศักดินาไทย” เป็นงานเขียนของ
1. ปรีดี พนมยงค์ 2. เปลื้อง วรรณศรี 3. จิตร ภูมิศักดิ์
4. อัศนี พลจันทน์ 5. เสนีย์ เสาวพงศ์
ตอบ 3 โฉมหน้าศักดินาไทย เป็นผลงานโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ "โฉมหน้าศักดินาไทยใน
ปัจจุบัน" ในวารสาร นิติศาสตร์ฉบับศตวรรษใหม่ พ.ศ. 2500

25. ความคิดของมาร์กซ์ข้อใดที่ไม่สะท้อนข้อเท็จจริงของระบบทุนนิยม
1. การต่อสู้ชนชั้นมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2. การครอบครองปัจจัยการผลิตโดยนายทุน
3. สังคมเกิดความขัดแย้งจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ 4. ชนชั้นกรรมาชีพสามารถเอาชนะชนชั้นนายทุนได้
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 การครอบครองปัจจัยการผลิตโดยนายทุนทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น เกิดความขัดแย้งจากปัจจัย
ทางเศรษฐกิจ มาคส์เชื่อว่าการเจรจาอย่างสันติจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และการปฏิวัติอย่างรุนแรงของมวลชน
ขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็น เขากล่าวว่าเพื่อจะรักษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ รัฐเผด็จการโดย
กรรมาชีพจะต้องถูกสร้างขึ้น แต่หลังจากที่ระบบการผลิตแบบใหม่ได้เริ่มขึ้นรัฐดังกล่าวจะค่อย ๆ ลดความสำคัญลง
และหายไปเอง
ข้อสอบ POL 2105 S/64 6
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
26. เหตุผลใดที่เฮเกลใช้ในการสนับสนุนความคิดที่ว่า รัฐควรเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม
1. ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล 2. รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
3. รัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองเป็นจริงขึ้นมา
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมแบบรุนแรงและถอนรากถอนโคน
5. รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้น
ตอบ 5 “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล เพราะรัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรม
และเสรีภาพของพลเมืองปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคมโดยเขาเห็นว่ารัฐควรเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม
27. “ผลอันเกิดจากที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์”
1. ความสุขในอนาคต 2. ความขยันขันแข็ง 3. สภาวะสงคราม
4. การร่วมมือกับผู้อื่น 5. ความอิจฉาริษยา
ตอบ 4. รุสโซ กล่าวว่า ผลอันเกิดจากการสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ก็คือการ
ร่วมมือระหว่างกันหรือการร่วมมือกับผู้อื่นนั่นเอง
28. ในทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยมได้แบ่งแยกสังคมเป็นกี่ชนชั้น
1. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง 2. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง
3. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนำ ชนชั้นผู้ถูกปกครอง 4. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุน
5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

29. หากการปฏิรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่มีแนวโน้มต่อต้านคือ


1. เครือญาติ 2. ปัญญาชน 3. ทหาร
4. ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า 5. ขุนนางอำมาตย์
ตอบ 4 มาเคียอเวลลี่ กล่าวว่า ผู้ที่ทำการปฏิรูปจะสร้างศัตรูหรือมีแนวโน้มถูกต่อต้านจากผู้ที่เคยได้รับ
ผลประโยชน์จากแบบแผนเก่า ๆ ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์จากระเบียบใหม่ ๆ นั้นอาจจะสนับสนุนผู้ปกครองคนใหม่ แต่
การสนับสนุนนั้นยังหาความมั่นคงไม่ได้ อาจเป็นการสนับสนุนเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความมั่นคง
ของสิ่งใหม่รวมทั้งผู้ปกครองใหม่มากนัก
30. ความรักของผู้ใต้ปกครองในที่สุดแล้วมักจะนำไปสู่สิ่งใด
1. ความร่วมมือ 2. ความไม่ยำเกรง 3. ความมั่นคงของผู้ปกครองเอง
4. ความสามัคคี 5. ความยำเกรง
ตอบ 2 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระหว่างความรักและความยำเกรงของประชาชน หากผู้ปกครองเลือก “ความรัก”
ประชาชนจะไม่ยำเกรง แต่ถ้าเลือก “ความยำเกรง” ประชาชนจะไม่รัก ซึ่งถ้าจำเป็นแล้วผู้ปกครองจะต้องเลือกเอา
ความยำเกรงมากกว่าความรัก เพราะความยำเกรงนั้นจะทำให้ผู้ใต้ปกครองเกิดความเชื่อฟังไม่กระด้างกระเดื่อง
31. รุสโซ เชื่อว่ามนุษย์เราจะปราศจากเสรีภาพหากปราศจาก
1. ความเสมอภาค 2. ระบบการตรวจสอบที่ดี 3. หลักประกันทางกฎหมาย
4. ผู้นำที่ทรงคุณธรรม 5. กฎหมายที่เป็นธรรม
ตอบ 1 ถ้ามนุษย์ปราศจากเสียซึ่งความเสมอภาค การใช้เสรีภาพของมนุษย์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคน ๆ หนึ่งตกเป็นทาสของอีกคนหนึ่งนั้นหมายถึงว่า เขาได้สูญเสียความเสมอภาคของความเป็น
มนุษย์ไปแล้ว
ข้อสอบ POL 2105 S/64 7
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
32. ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะสูงสุดหรือ Supreme power นัน้ ตรงกับข้อใด
1. เป็นองค์กรที่แสดงเจตจำนงของรัฐ 2. เป็นที่มาของฝ่ายบริหาร
3. เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน 4. เป็นองค์กรที่ใช้สิทธิพิเศษ 5. เป็นองค์อธิปัตย์
ตอบ 3 ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดภายในรัฐเหนืออำนาจอื่นทั้งหมด (Supreme Power) ซึง่
ทําหน้าที่เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชนเท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจ
อธิปไตยหรือเป็นองค์อธิปัตย์ที่มีอำนาจสูงสุดภายในรัฐ
33. ในผลงานเรื่อง The Prince ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า
1. การจูงใจมวลชนเป็นภารกิจที่ยากที่สุด
2. การรักษาไว้ซึ่งอำนาจยากเสียยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอำนาจ
3. เมตตาธรรมของผู้ปกครองเท่านั้นที่จะครองโลก 4. ภูมิปัญญาของผู้นำเปรียบเสมือนเข็มทิศของสังคม
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่เห็นว่าเป้าหมายของการเมืองก็คือ การรักษาหรือเพิ่มอำนาจการเมืองโดยเฉพาะ ซึ่งในการที่
จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่มาเคีย
เวลลี่ สนใจมากที่สุดก็คือ ทำอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอำนาจไว้ได้ ทั้งนี้เพราะการรักษาไว้ซึ่งอำนาจ
เป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอำนาจเสียอีก ดังในหนังสือเรื่อง The Prince นั้น

34. ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่อว่าเกิดจาก 1. ประสบการณ์


2. การเอาตัวรอด 3. พระผู้เป็นเจ้า 4. พรสวรรค์ 5. การมีปัญญา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

35. ข้อใดคือรูปการปกครองที่มีเสถียรภาพมากที่สุด
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย)
3. ประชาธิปไตย 4. อภิชนาธิปไตย 5. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตอบ 2 มาเคียเวลลี่ เชื่อว่า ระบบการปกครองที่ดีมีเสถียรภาพและเสรีภาพมากที่สุด คือ ระบบการปกครอง
แบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย

36. จุดแข็งของลัทธิมาร์กซ์คืออะไร 1. เห็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง


2. ไม่มีการแบ่งแยกของชนชั้น 3. ทุกคนเท่าเทียมกัน 4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 จุดแข็งของลัทธิมาร์กซ์ คือ การนำกระบวนการวิภาษวิธีมาอธิบายสังคมทำให้เห็นรากเหง้าของปัญหาที่
ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม โดยเห็นว่าเมื่อสังคมพัฒนาไปถึงจุดสูงสุดแล้วสังคมจะไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น
และทุกคนเท่าเทียมกัน

37. แนวคิดของมาร์กซ์เรื่องวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ประยุกต์จากแนวความคิดของเฮเกลเรื่อง
1. ความขัดแย้งระหว่างจิตกับวัตถุ 2. กระบวนการตกผลึกทางความคิด
3. Dialectics 4. กระบวนการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์
5. ปัญญาชนปฏิวัติ
ตอบ 3 มาร์กซ์ ได้รับเอาแนวความคิดเรื่องวิภาษวิธี หรือความเป็นปฏิปักษ์ ขัดแย้ง (Dialectic) ของเฮเกล มา
อธิบายถึงเรื่องวิวัฒนาการทางสังคมและประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย
1. Synthesis คือ สภาวะผสมผสานหรือสหกิริยา 2. Anti-Thesis คือ สภาวะแย้งหรือปฏิกิริยา
3. Thesis คือ ภาวะที่เป็นอยู่หรือกิริยา
ข้อสอบ POL 2105 S/64 8
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
38. มาเคียอเวลลี่ สอนว่าคนรอบข้างผู้ปกครองมักชอบ
1. นินทาผู้ปกครอง 2. เพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยิน
3. แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย 4. มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย 5. แสวงหาอามิสสินจ้าง
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่ มีความเห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมัก
ชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง หรือชอบปิดกั้นความจริงที่ผู้ปกครอง
ควรจะทราบ พวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทำลายเสถียรภาพของผู้ปกครองซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ในตัว
ข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือกำจัดโดยเร็ว
39. ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์เป็นเหตุให้เกิด 1. กลุ่มการเมือง
2. ความรู้รักสามัคคี 3. การใช้กำลังอำนาจ 4. รัฐ 5. สันติภาพ
ตอบ 4 ตามความเห็นของ มาเคียเวลลี่ เห็นว่า “รัฐ” หรือสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรือการ
บันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทักษ์ตนเองให้
พ้นจากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้
40. หนังสือและบทความใดต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อเขียนของ นิโคโล เลนิน
1. จะทำอะไร (What to be done)
2. สังคมนิยมและสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4. คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ผลงานที่สำคัญของนิโคไล เลนิน ได้แก่
1. จักรวรรดินิยม : ขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยม (Imperialism : The Highest Stage of Capitalism)
2. สังคมนิยมเละสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4. จะทำอะไร (What to be done)

41. ระหว่างบุคคลและสิ่งต่อไปนี้ มาเคียอเวลลี่ สอนให้เคารพสิ่งใดมากที่สุด


1. ผู้ที่ออกกฎหมายอย่างมีคุณธรรม 2. กฎหมาย 2. ผู้นำทางศาสนา
3. ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง 5. คำสั่งของมุขบุรุษ
ตอบ 2 มาเคียอเวลลี่ เชื่อว่า กฎหมายเป็นสิ่งสูงสุดในการปกครองและเป็นหลักประกันสำหรับทุกๆคนในรัฐซึ่ง
ถึงแม้ว่า คนจะเป็นผู้บัญญัติ ตีความ หรือบริหารกฎหมายก็ตาม แต่เราเขาควรจะเคารพกฎหมายมากกว่าผู้บัญญัติ
กฎหมาย
42. ในทัศนะของมาเคียอเวลลี่ “รัฐ” กำเนิดจาก
1. การรู้จักสามัคคีของผู้คนในสังคม 2. การใช้กำลังอำนาจในการบีบบังคับ
3. ความชาญฉลาดของผู้ปกครอง 4. ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพในการพิทักษ์ตนเอง
5. ความผูกพันทางภาษาและวัฒนธรรม
ตอบ 4 ตามความเห็นของ มาเคียเวลลี่ เห็นว่า “รัฐ” หรือสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรือการ
บันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทักษ์ตนเองให้
พ้นจากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้
ข้อสอบ POL 2105 S/64 9
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
43. สิ่งที่มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติแข่งขันกันแสวงหาได้แก่สิ่งใด
1. ความสุขในปัจจุบัน 2. ความสมบูรณ์ 3. สันติภาพ
4. อาหาร 5. อำนาจ
ตอบ 5 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่
จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะธรรมชาติ
นั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมีความ
ต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอำนาจเหนือคนอื่นอยู่ร่ำ
ไปจนนำไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
44. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ที่ถือได้ว่าเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง
1. ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 2. ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐบาล
3. ประชาชนส่วนใหญ่ 4. ประชาชนทั้งหมด
5. ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
ตอบ 4 ในความเห็นของ ล็อค ประชาชนทั้งมวล สามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้เป็นครั้งคราวในกรณีที่รัฐบาลถูก
ยุบเท่านั้น แต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง
45. หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้องทำอะไรในอันดับต่อไป
1. เลือกตั้งรัฐบาลใหม่ 2. ใช้สิทธิพิเศษ 3. ใช้อำนาจสหพันธ์
4. ดูแลความปลอดภัยให้แก่ตนเอง 5. ทำสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่
ตอบ 1 ล็อค กล่าวว่า หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทำการเลือกตั้งหรือสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า
เปลี่ยนความยินยอมซึ่งต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก
46. ข้อใดเป็นแนวความคิดของล็อค 1. มนุษย์เกิดมาพร้อมความป่าเถื่อน
2. ความเสมอภาคได้มาด้วยการต่อสู้ 3. คนคือสัตว์การเมือง
4. มนุษย์มีเหตุผลและมีเมตตาธรรม 5. ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์
ตอบ 4 โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจำตัว ล็อค เห็นว่า ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผูเ้ ป็นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย
47. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ใช้อำนาจร่วมตามแนวความคิดของสัญญาประชาคม
1. ประชาชนทั้งหมด 2. ผู้แทนราษฎร 3. คณะรัฐมนตรี
4. องค์อธิปัตย์ 5. พระมหากษัตริย์
ตอบ 4 ฮอบส์ เห็นว่า อำนาจร่วม (Common Power ) หรือการก่อตั้งรัฐบาลนั้น เป็นผลมาจากการทำ
สัญญาประชาคมระหว่างคนทุกคนที่ทำเป็นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะมอบอำนาจและสละสิทธิ์ตาม
ธรรมชาติของตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาแต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้ใช้
อำนาจร่วมหรืออำนาจอธิปไตยโดยอำนาจอธิปไตยนี้ถือเป็นอำนาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์
48. ในสภาวะธรรมชาติ ฮอบส์เชื่อว่า สังคมการเมือง
1. ยังไม่เกิดขึ้น 2. มีแต่การแก่งแย่งชิงดี 3. ปราศจากกฎหมาย
4. ขาดความเข้มแข็ง 5. เต็มไปด้วยนักเลงการเมือง
ตอบ 1 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่จะ
เกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะธรรมชาตินั้น
ข้อสอบ POL 2105 S/64 10
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมีความ
ต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอำนาจเหนือคนอื่นอยู่ร่ำไป
จนนำไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
49. คำถามใดเป็นคำถามที่มาเคียเวลลี่สนใจมากที่สุด
1. เหตุใดอาณาจักรโรมันจึงล่มสลาย 2. ความชอบธรรมทางการเมืองคืออะไร
3. อะไรคือคุณธรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ปกครอง 4. ทำอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถขยายอำนาจได้
5. ทำอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอำนาจไว้ได้
ตอบ 5 ในหนังสือเรื่อง The Prince นั้น มาเคียเวลลี่เห็นว่าเป้าหมายของการเมืองก็คือ การรักษาหรือเพิ่ม
อำนาจการเมืองโดยเฉพาะ ซึ่งในการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็น
สิ่งที่ผิดศีลธรรมก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่มาเคียเวลลี่ สนใจมากที่สุดก็คือ ทำอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอำนาจ
ไว้ได้ ทั้งนี้เพราะการรักษาไว้ซึ่งอำนาจเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอำนาจเสียอีก

50. มนุษย์สามารถสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่ต้องการความสมบูรณ์ได้โดยวิธีใด
1. การแข่งขันระหว่างกัน 2. การทำอะไรตามใจปรารถนา
3. การทำสัญญาประชาคม 4. การดำรงชีพแบบต่างคนต่างอยู่ 5. การร่วมมือระหว่างกัน
ตอบ 3 รุสโซ อธิบายว่า การมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมธรรมชาติย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก เพราะว่า
ความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือหรือการพึ่งพิงบุคคลอื่น เท่านั้น ดังนั้นผลอันเกิดจากการสนองตอบต่อ
สัญชาตญาณที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ก็คือการร่วมมือระหว่างกันหรือการร่วมมือกับผู้อื่นนั่นเอง

51. ข้อใดเป็นแนวคิดหลักของ “อนุรักษ์นิยม”


1. การเปลี่ยนแปลง (ถ้าจำเป็น) ต้องเป็นไปอย่างช้าๆ
2. มนุษย์คิดค้นสถาบันต่างๆมาเพื่อประโยชน์ของมนุษย์
3. รากฐานของประเพณี กฎหมาย การปกครองมาจากธรรมชาติของมนุษย์
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 นักอนุรักษ์นิยมคนสำคัญคือ Hume และBurke โดย Hume เห็นว่ารากฐานของประเพณี กฎหมาย
การปกครองและสังคมการเมือง เกิดมาจากความจำเป็น ความโน้มเอียงโดยธรรมชาติ นิสัย และความเคยชินของ
มนุษย์ส่วน Burke เห็นว่า สถาบันต่างๆที่คนก่อตั้งขึ้นมานั้น เป็นการก่อตั้งขึ้นมาจากขนบธรรมเนียมและจารีต
ประเพณีในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าเป็นระเบียบทีละเล็กทีละน้อยต่อเนื่องกับอดีต โดยที่มี
ผลประโยชน์หรือความต้องการของมนุษย์ ส่วนรวมเป็นพลังผลักดันให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการกำหนด
โครงสร้างของสังคมนั้นขึ้นมา
52. “มนุษย์เกิดมาอย่างเสรี แต่ต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการทุกแห่งหน” คำว่า “พันธนาการ” หมายถึง
1. ขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับต่าง ๆ 2. ความเชื่อในศาสนา 3. สภาวะแห่งความเป็นทาส
4. การตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ของตนเอง 5. การบีบบังคับโดยผู้ปกครอง
ตอบ 1 จากคำกล่าวเบื้องต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งความเป็นอิสระหรือ
ภาวะที่เป็นเสรีนั้น ได้ถูกทำลายลงโดยสถาบันการปกครอง และอารยธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องพันธนาการ
หรือโซ่ตรวนบั่นทอนเสรีภาพของมนุษย์ ในลักษณะที่แฝงมาในรูปอื่น
ข้อสอบ POL 2105 S/64 11
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
53. ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ ไม่ใช่ข้อใดดังต่อไปนี้
1. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นการปกครองโดยเด็ดขาด มีกำลังอาวุธ
2. การเน้นให้พรรคเป็นผู้นำในการปฏิวัติ
3. การปฏิวัติสังคมเกิดด้วยความรุนแรงเท่านั้น
4. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึง่ มีการสร้างพันธมิตร
5. การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือระบบสังคมนิยม
ตอบ 5 ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ มีดังนี้
1. การเน้นให้พรรคเป็นผู้นำในการปฏิวัติ 2. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึง่ มีการสร้างพันธมิตร
3. การปฏิวัติสังคมเกิดในประเทศเดียวก็ได้ และเกิดด้วยวิธีรุนแรงเท่านั้น
4. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นการปกครองที่เด็ดขาด
5. การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบจักรวรรดินิยม
54. ผู้ใดที่ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางความคิดของล็อค
1. มองเตสกิเออ 2. รุสโซ 3. เดอ ทอคเกอร์วิลล์ 4. เฮเกล 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4. ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศ
ฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมีอิทธิพล
และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิดร่วมสมัย
ในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพ

55. สาเหตุที่ นิคโคโล มาเคียอเวลลี่ ได้รับยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์ที่สำคัญที่สุดของยุคนวสมัยเป็นเพราะเป็นผู้


1. ศึกษาการเมืองอย่างมีอุดมการณ์ 2. ใช้สถิติประกอบการศึกษา
3. ศึกษาการเมืองตามสภาพที่เป็นจริง 4. ฝักใฝ่ความทันสมัย
5. ใฝ่ความเป็นประชาธิปไตย
ตอบ 3. “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคนวสมัย (Modern Time)” คือ มาเคียเวลลี่ โดยเขาเป็นเมธีคนแรกที่
บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มีลักษณะผิดแผกไปจากลักษณะความคิดทาง
การเมือง (เชิงอุดมคติ) ในสมัยกลางอย่างชัดเจน นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยังให้ความ
สนใจเป็นพิเศษสำหรับผู้ปกครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบัติในการที่จะ
ได้มาซึ่งอำนาจเขามักจะศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็นจริง
56. การได้มาซึ่งอำนาจขององค์อธิปัตย์สอดคล้องกับหลักการของแนวความคิดหรือทฤษฎีใด
1. เทวสิทธิ์ 2. ปฏิวัติ 3. เผด็จการ 4. ประชาธิปไตย 5. ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 องค์อธิปัตย์ของฮอบส์นั้นจะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ได้อำนาจมาจากการทำสัญญาระหว่าง
ประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรือ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสียงข้างมากที่จะมอบอำนาจให้แก่
ผู้ปกครอง ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรือ
กษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือ
แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
57. ล็อคเห็นว่าสัญญาประชาคมเกิดขึ้นโดย 1. ผู้ที่เข้มแข็งกว่าหยิบยื่นให้
2. การตกลงทำสัญญาสันติภาพ 3. อัตโนมัติตามสภาวะธรรมชาติ
4. การยินยอมสมัครใจเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกัน 5. ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากภายนอก
ข้อสอบ POL 2105 S/64 12
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 5. การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็นไปด้วย
ความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะ ดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย
และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมั่นคง
58. “ทหารเกณฑ์” ในความเห็นของมาเคียอเวลลี่ สะท้อนถึง 1. ความกล้าหาญ
2. ความจงรักภักดีของผู้ปกครอง 3. การดุลอำนาจ 4. สงครามระหว่างรัฐ 5. ความขี้ขลาด
ตอบ 1 มาเคียอเวลลี่ เห็นว่า กองทัพที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วย ทหารประจำการ หรือทหารเกณฑ์ ไม่ใช่ทหาร
รับจ้างเพราะทหารเกณฑ์เหล่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะมี
ปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ
59. อะไรคือตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์
1. การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
3. การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การยอมรับและนำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1. การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้การยอมรับและนำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้
2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม 3. การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในด้านการปฏิบัติ
60. เมื่อทำสัญญาประชาคมแล้ว ผู้ใต้ปกครองสามารถทำอะไรได้บ้าง
1. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 2. การไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นบางครั้ง
3. การบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้ว 4. การถอดถอนองค์อธิปัตย์
5. การใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นครั้งคราว
ตอบ 3 ฮอบส์ อธิบายว่า เมื่อประชาชนตกอยู่ในสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์อธิปัตย์ การเปลี่ยนแปลงหรือ
ถอดถอนองค์อธิปัตย์นั้นแม้จะกระทำมิได้ แต่ประชาชนในฐานะผู้ใต้ปกครองก็มีสิทธิ์ขัดขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้ ทั้งนี้
โดยการร่วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้วเพื่อเริ่มต้นทำสัญญากันใหม่

61. ล็อคได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศ 1. เยอรมนี


2. สหรัฐอเมริกา 3. ฝรั่งเศส 4. 2. อิตาลี 5. ฮอลแลนด์
ตอบ 5 ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ใน
ประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายัง
มีอิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนัก
คิดร่วมสมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพ

62. ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเสียงข้างมากของประชาชนตามหลักแห่งสัญญาประชาคมคือผู้ใด
1. องค์อธิปัตย์ 2. ทรัสตรี 3. ตุลาการ 4. บริหาร 5. นิติบัญญัติ
ตอบ4 ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนา
สังคมการเมืองหรือรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการ
สถาปนารัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) นั้นจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสียงข้างมากของประชาชน
ข้อสอบ POL 2105 S/64 13
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
63. แนวความคิดที่สำคัญของมาเคียเวลลี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
1. ภาวะความเป็นผู้นำ 2. ยุทธวิธีในการขยายดินแดน 3. เผด็จการที่มีคุณธรรม
4. เงื่อนไขระบอบประชาธิปไตย 5. เป้าหมายแห่งรัฐ
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คุณค่าของรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐมีผู้นำที่เข้มแข็ง โดย
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอาจเป็นผู้วางรูปแบบหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ แต่เขาทั้งหลายจะต้องอยู่ภายใต้การนำ
ของผู้นำที่เข้มแข็ง เสถียรภาพและความไพบูลย์ แห่งสาธารณรัฐจึงจะบังเกิดขึ้นได้ ดังนั้นแนวความคิดที่สำคัญของ
เขาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาวะความเป็นผู้นำนั้นเอง
64. ข้อใดคือรูปแบบการปกครองที่นำมาซึ่งความวุ่นวายทางการเมือง
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ประชาธิปไตย
4. อภิชนาธิปไตย 5. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย)
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า รูปการปกครองแบบประชาธิปไตยจะก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงวุ่นวายทางการเมืองได้
เพราะถ้าให้ประชาชนทั่วไปเป็นผู้พิทักษ์เสรีภาพแล้ว พวกอภิชนจะไม่ไว้วางใจและอาจก่อการขัดขืนหรือปฏิวัติขึ้น
ได้
65. มาเคียอเวลลี่สนับสนุนการมีทหารเกณฑ์มากกว่าทหารรับจ้าง เพราะ
1. ทหารเกณฑ์มีความสามารถมากกว่า
2. ทหารรับจ้างมักเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ
3. ทหารเกณฑ์สามารถคัดเลือกได้จากคนหมู่มาก
4. ทหารรับจ้างมักไม่มีประสิทธิภาพในการรบ 5. ทหารรับจ้างอาจมีคนต่างชาติแทรกซึมได้
ตอบ 2 มาเคียอเวลลี่ เห็นว่า กองทัพที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วย ทหารประจำการ หรือทหารเกณฑ์ ไม่ใช่ทหาร
รับจ้างเพราะทหารเกณฑ์เหล่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะมี
ปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ
66. ในทัศนะของ Hume สังคมการเมืองเกิดขึ้นเพราะ
1. มนุษย์มีความยุติธรรมจึงต้องสร้างสังคมการเมืองขึ้น
2. ความโน้มเอียงโดยธรรมชาติ นิสัย และความเคยชิน
3. มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องมีการเมืองการปกครอง
4. การครอบครองดินแดน 5. สภาพธรรมชาตินั้นเลวร้ายจึงต้องมาตกลงทำสัญญาอยู่ร่วมกัน
ตอบ 2 Hume และ Burke โดย Hume เห็นว่ารากฐานของประเพณี กฎหมาย การปกครอง และสังคม
การเมือง เกิดมาจากความจำเป็น ความโน้มเอียงโดยธรรมชาติ นิสัย และความเคยชินของมนุษย์ ส่วน Burke
เห็นว่า สถาบันต่างๆที่คนก่อตั้งขึ้นมานั้น เป็นการก่อตั้งขึ้นมาจากขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีในสังคมที่มี
การเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าเป็นระเบียบทีละเล็กทีละน้อยต่อเนื่องกับอดีต โดยที่มีผลประโยชน์หรือความ
ต้องการของมนุษย์ ส่วนรวมเป็นพลังผลักดันให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการกำหนดโครงสร้างของสังคมนั้น
67. ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น “องค์อธิปัตย์ไม่มีวันที่จะกระทำผิด” ข้อความนี้อธิบายได้จากเหตุผลใด
1. การปฏิบัติไปตามตัวบท – กฎหมาย 2. การไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญา
3. การเป็นตัวแทนเจตจำนงทั่วไป 4. การเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
5. การผูกมัดจำสัญญา
ตอบ 2 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจตามที่
คู่สัญญาหรือประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพันใดๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามหรือ
ข้อสอบ POL 2105 S/64 14
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
รับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็นผู้ที่อยู่นอกเหนือสัญญาแล้วก็จะไม่มีการกระทำใดๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะ
ถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าองค์อธิปัตย์จะทำอะไรก็ไม่มีความผิดนั่นเอง

68. “สภาวะสงคราม” ในทัศนะของล็อค หมายถึง


1. ความขัดแย้งทำลายเสรีภาพ 2. สงครามระหว่างรัฐ 3. การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
4. สภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ 5. ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ผู้ปกครอง
ตอบ 1 ล็อค เห็นว่า ข้อบกพร่องของสภาวะธรรมชาติเป็นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทั่งนําไปสู่
“สภาวะสงคราม” ซึ่งจะทำลายเสรีภาพของมนุษย์
69. ข้อใดเป็นคำอธิบายการเกิดขึ้นของรัฐที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล
1. ครอบครัวเป็น anti-thesis ต่อสังคมพลเรือน ทำให้จำเป็นต้องสถาปนารัฐขึ้นมา
2. สังคมพลเรือนเป็น synthesis อันเป็นผลมาจากการปะทะขัดแย้งกันระหว่างรัฐกับครอบครัว
3. รัฐเป็น anti-thesis ทั้งต่อครอบครัวและสังคมพลเรือน
4. ครอบครัวเป็น thesis, รัฐเป็น anti-thesis, ก่อให้เกิดสังคมพลเรือนซึ่งเป็น Synthesis
5. รัฐเป็นการผสมผสาน (synthesis) ระหว่างครอบครัวกับสังคมพลเรือน
ตอบ 5 ตามแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกลนั้น รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่าง
ครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็น Thesis กับสังคมพลเรือน (การแข่งขัน) ซึ่งเป็น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่า
เป็นภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่าคือ มีเหตุมีผลและเสรีภาพมากกว่านั้นเอง
70. แนวความคิดใดของเฮเกลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่องอำนาจทางการเมือง การปกครอง
1. รัฐ 2. องค์อธิปัตย์ 3. ครอบครัว
4. สังคมเข้มแข็ง 5. พระเจ้า
ตอบ 1 ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล โดยเขาเห็นว่ารัฐ
ควรเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม ทั้งนี้เพราะรัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของ
พลเมืองปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคม
71. อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เฮเกลได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์คนสำคัญในสำนัก “จิตนิยม”
1. เน้น “เนื้อหา” มากกว่า “รูปแบบ”
2. “อรูป” สำคัญกว่า “รูป”
3. เน้นสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ว่าอยู่เหนือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
4. อธิบายเรื่องรัฐว่าเป็นอสสาร
5. เน้นความสำคัญของ “จิต” ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงในโลก
ตอบ 5 เฮเกล เขาได้ให้ความสำคัญในเรื่องของจิตเป็นอย่างมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญาเมธีคน
สำคัญในสำนักจิตนิยม โดยเห็นว่าจิตนั้นเป็นต้นกำเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลก
72. นักคิดที่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ คือ
1. เหมา เจ๋อ ตุง 2. เลนิน 3. ฮิตเลอร์ 4. คาร์ล มาร์กซ์ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3. นักคิดที่จัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1. คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx)
2. เหมา เจ๋อ ตุง หรือ เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung)
3. นิโคไล เลนิน (Nicolai Lenin)
ข้อสอบ POL 2105 S/64 15
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
73. ข้อใดไม่ใช่ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะในการปฏิวัติ แล้ว
1. ยกเลิกสิทธิรับมรดก 2. มีผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงคนเดียว
3. ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน 4. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
5. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่อสารทุกประเภท
ตอบ 2 . ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะ มีดังนี้
1. ยกเลิกสิทธิการรับมรดก
2. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
3. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่อสารทุกประเภท
4. รัฐเข้ามาควบคุมโรงงาน เครื่องมือการผลิตและการเกษตร
5. ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน

74. ข้อใดไม่ใช่คุณูปการของ คาร์ล มาร์กซ์ ที่สำคัญ


1. แนวทางวิพากษ์แบบวิพากวิธี dialectic 2. แนวคิดวัตถุนิยม 3. หลักเศรษฐกิจกำหนด
4. หลักอรรถประโยชน์นิยม 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 คุณูปการที่สำคัญของคาร์ล มาร์กซ์ ได้แก่
1. แนวคิดวัตถุนิยม (Materialism)
2 แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี (Dialectic)
3 หลักเศรษฐกิจกำหนด (Economic Determinism)

75. การปฏิวัติเพื่อสร้างสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่ของ เหมา เจ๋อ ตุง มีลักษณะที่ไม่ใช่ลักษณะใด


ดังต่อไปนี้
1. การปฏิวัติเพื่อทำลายลัทธิทุนนิยม 2. การปฏิวัติเพื่อกำจัดพวกปฏิกิริยา
3. การปฏิวัติชาติ เพื่อกำจัดจักรวรรดินิยม 4. การปฏิวัติเพื่อกำจัดเจ้าของที่ดิน
5. การปฏิวัติเพื่อประชาชนทุกชนชั้น
ตอบ 1 “สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่” โดย เหมา เจ๋อ ตุง มีลักษณะสำคัญคือ การปฏิวัติชาติ เพื่อกำจัด
จักรวรรดินิยม และการปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อกำจัดเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ ซึ่งการปฏิวัติ ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อล้ม
ล้างการปกครองจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ทำลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยม
76. ฮอบส์เป็นนักคิดที่สนับสนุนระบอบ
1. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 2. สังคมนิยมประชาธิปไตย 3. อำมาตยาธิปไตย
4. ธนาธิปไตย 5. ประชาธิปไตย
ตอบ 1 แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว
ตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือ แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จก็ตาม แต่องค์อธิปัตย์ของฮอบส์นั้น
จะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ได้อำนาจมาจากการทำสัญญาระหว่างประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อม
ใจหรือเห็นพ้องต้องกันด้วยเสียงข้างมากที่จะมอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครอง
แบบประชาธิปไตย
77. “เสรีภาพแบบใหม่” อันหมายถึงการเคารพเชื่อฟังเจตจำนงของตนเองนั้นเกิดขึ้นจากอะไร
1. การใช้สิทธิเลือกตั้ง 2. การใช้เหตุผลกำกับการกระทำ 3. การเคารพกฎหมายที่ดี
4. การเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไป 5. การกระทำนอกเหนือจาก ที่กฎหมายห้าม
ข้อสอบ POL 2105 S/64 16
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 4 รุสโซ เชื่อว่า เสรีภาพแบบใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีส่วนในการบัญญัติ
กฎหมายหรือการร่วมกันแสดงเจตจำนงทั่วไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรือเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไปที่
ตนเองเป็นผู้บัญญัติขึ้น
78. นอกจากความมีเหตุผลแล้ว ล็อคเชื่อว่ามนุษย์ยังมี 1. ความเมตตาและการใฝ่สันติ
2. ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี 3. ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ
4. ความซื่อสัตย์และความตรงไปตรงมา 5. ความฝันและจินตนาการอันสูงส่ง
ตอบ 1 ล็อค เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจำตัว คือ ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย

79. มาเคียเวลลี่ แนะนำว่าการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของผู้นำทำให้


1. ผู้นำไม่ต้องรักษาสัจจะ 2. ผู้นำต้องกล้าได้กล้าเสีย
3. ผู้นำต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา 4. ผู้นำต้องรักษาสัจจะ 5. ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4
ตอบ 1 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองต้องเป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมและไม่รักษา หากสัจจะนั้นจะทำลาย
ผลประโยชน์ของตนเอง โดยเขาให้เหตุผลว่า การรักษาสัจจะนั้น เป็นสิ่งที่ดีหากคนทั้งหมดเป็นคนดี แต่คนตาม
ธรรมชาตินั้นเลว และไม่รักษาสัจจะกับผู้ปกครอง ดังนั้นผู้ปกครองก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาสัจจะกับเขา
80. ล็อคเห็นว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดจาก
1. การยอมรับความเป็นเจ้าของของผู้ใดผู้หนึ่งโดยผู้อื่น 2. การประกาศความเป็นเจ้าของ
3. การถ่ายโอนเป็นมรดกตกทอด
4. การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย 5. การใช้แรงงานต่อสิ่งของนั้น ๆ
ตอบ 5 ล็อค เห็นว่า โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนบุคคล (Private
Property) ได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้แรงงานจากร่างกาย เคลื่อนย้ายหรือเก็บเกี่ยวของสิ่งนั้น รวมทั้งในการสะสม
ทรัพย์สินก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโลกนี้ทั้งหมดเป็น
ของทุกคน (ชาวโลกทั้งมวล) หรือทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน

81. ผลสำเร็จของการแย่งชิงอำนาจในรูปของการปราบดาภิเษกหรือปฏิวัติมาจากข้อใด
1. ความร่วมมือจากประชาชน 2. ความช่วยเหลือของขุนนางหรือข้าราชการ
3. ความร่วมมือจากกองทัพประชาชน 4. ข้อ 1 และ ข้อ 2 5. ข้อ 2 และ ข้อ 3
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ เห็นว่าการได้อำนาจมาด้วยวิธีการปราบดาภิเษกหรือการปฏิวัตินั้น อาจจะเป็นผลมาจาก
การสนับสนุนของกลุ่มขุนนาง (ข้าราชการ) หรือประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วหาก
ผู้ปกครองต้องการความมั่นคงในอำนาจก็จำต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งที่
ประชาชนต้องการมีเพียงสิ่งเดียวคือ อิสรภาพเสรีภาพจากการกดขี่ข่มเหง ซึ่งต่างจากขุนนางที่ต้องการกดขี่ข่มเหง
ประชาชนเพื่อมุ่งแข่งอำนาจกับผู้ปกครอง
82. ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งไทย เป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจากคนกลุ่มใดเป็นสำคัญ
1. นักปรัชญาการเมือง 2. ผู้นำทางการเมือง 3. ข้าราชการ
4. นักธุรกิจ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยนั้น พบว่าเป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจากนัก
ปรัชญาการเมืองเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น คาร์ล มาร์กซ์, ฟรีดริช เองเกลส์, อดัม สมิธ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ข้อสอบ POL 2105 S/64 17
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
อิทธิพลของคาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการต่อสู้ ของบุคคลสำคัญ ๆ เช่น นิโคไล เลนิน (รัสเซีย), เหมา
เจ๋อ ตุง (จีน), นายปรีดี พนมยงค์ (ไทย), นายจิตร ภูมิศักดิ์ (ไทย) เป็นต้น

83. มาเคียอเวลลี่ จัดเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งนวสมัย เพราะ


1. เป็นผู้บุกเบิกวิชาปรัชญาการเมือง 2. เป็นผู้ประศาสน์ศาสตร์และศิลป์แห่งการปกครอง
3. เป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย 4. เป็นผู้ให้คำจัดความจริยศาสตร์
5. เป็นผู้อบรมซีซาร์ บอร์เจีย
ตอบ 1 “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคนวสมัย (Modern Time)” คือ มาเคียเวลลี่ โดยเขาเป็นเมธีคนแรกที่
บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มีลักษณะผิดแผกไปจากลักษณะความคิดทาง
การเมือง (เชิงอุดมคติ) ในสมัยกลางอย่างชัดเจน นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยังให้ความ
สนใจเป็นพิเศษสำหรับผู้ปกครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบัติในการที่จะ
ได้มาซึ่งอำนาจเขามักจะศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็นจริง

84. บทความเรื่อง “ระเบียบทางสังคม” เป็นข้อเขียนของใคร


1. กุหลาบ สายประดิษฐ์ 2. ปรีดี พนมยงค์ 3. เสนีย์ เสาวพงศ์
4. เปลื้อง วรรณศรี 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า “ศรีบูรพา”เป็นผู้เขียนบทความเรื่อง
“ระเบียบทางสังคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1954 โดยได้เขียนตามแนวความคิดของเองเกลส์ที่เขียนในเรื่อง “The
Origin of Family, Private Property and State

85. “ความไม่สมบูรณ์” 1. สังคมธรรมชาติ 2. สังคมอุตสาหกรรม


3. สังคมบุพกาล 4. สังคมการเมือง 5. สังคมเมือง
ตอบ 1 รุสโซ เชื่อว่าสภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพความเสมอภาค และเสรีภาพอย่างบริบูรณ์
โดยมนุษย์จะต่างคนต่างอยู่และไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่การมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมธรรมชาติ
ย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก เพราะว่าความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือกับผู้อื่นหรือการพึ่งพิงบุคคล
อื่นเท่านั้น
86. มาเคียอเวลลี่ เชื่อว่าผู้ปกครองควรมีความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เนื่องจาก
1. ไม่ควรมีเหตุผลกับผู้อยู่ใต้ปกครอง 2. ความอ่อนแอแสดงให้เห็นถึงความโลเล
3. ความเด็ดขาดเป็นคุณสมบัติของผู้ขาย 4. ความอ่อนแอเป็นคุณสมบัติของอิสตรีเพศ
5. . ความเด็ดขาดทำให้เกิดความยำเกรง
ตอบ 5 ผู้ปกครองจะมีแต่เพียงความเมตตาไม่ได้ ต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กันไป เพราะความ
เมตตาหมายถึงความอ่อนแอ ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งเหยิงตามมา ดังนั้นด้วยพันธะหน้าที่ผู้ปกครองจึงต้องใช้
ความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความยำเกรงและเชื่อฟัง รวมทั้งเพื่อรักษาผู้ที่ถูก
ปกครองให้มีเอกภาพ
87. มุขบุรุษต้องมีคุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอก เพราะ
1. ต้องมีพรรคพวก 2. ต้องทำร้ายผู้อื่นลับหลัง 3. ต้องมีความเฉลียวฉลาด
4. ต้องมีความเย่อหยิ่ง 5. ต้องรักษาสัจจะ
ข้อสอบ POL 2105 S/64 18
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัขจิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่าง
ราชสีห์เข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัชจิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่าง
ราชสีห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้
88. ข้อใดที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของการทำสัญญาประชาคม
1. การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล 2. การสละสิทธิ์ธรรมชาติ 3. การไม่สละสิทธิ์ธรรมชาติ
4. การไม่เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 5. การหาหลักประกันการละเมิดสัญญา
ตอบ 2 ฮอบส์ เห็นว่า การทำสัญญาประชาคม ก็คือ การสละสิทธิ์ตามธรรมชาติในส่วนที่จะทำร้ายผู้อื่นเพื่อ
ปกป้องและรักษาตนเองให้ปลอดภัย
89. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี หนทางในการรักษาไว้ซึ่งอำนาจสำหรับผู้ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการสืบสันตติวงศ์ คือ
1. การดำเนินรอยตามแบบแผนประเพณีดั้งเดิม 2. มีการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย
3. การใช้นโยบายที่ถูกต้องในการปกครองประเทศ 4. ใช้กำลังเข้าจัดการกับผู้แข็งข้อ
5. การใช้เมตตาธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเสมอหน้ากัน
ตอบ 1 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง คือ
การรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสียงเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมของเดิมเสีย
ใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอำนาจอันชอบธรรมของ
ผู้ปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
90. มาเคียอเวลลี่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขียนงานของตนเองเพื่อประจบใคร
1. ผู้นำเมืองฟลอเรนซ์ 2. ผู้นำตระกูลเมดิซี่ 3. ผู้นำกรุงโรม
4. กษัตริย์ของอิตาลี 5. ทรราช
ตอบ 2 มาเคียเวลลี่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เขียนงานของตนเองขึ้นมาเพราะต้องการประจบผู้นำตระกูลเมดิซี เพื่อ
ขอตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น เพราะงานเขียนมาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบการ
ปกครองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอิตาลี แต่มิได้หมายความว่าระบบ การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่มีอำนาจสูงสุด
เด็ดขาดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด

91. “อำนาจอธิปไตย” อันเป็นผลมาจากการทำสัญญาประชาคมเป็นของใครโดยเฉพาะ


1. บุคคลที่สาม 2. คู่สัญญา 3. ประชาชน 3. คณะรัฐมนตรี 5. สภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 ฮอบส์ เห็นว่าอำนาจร่วม (Common Power ) หรือการก่อตั้งรัฐบาลนั้น เป็นผลมาจากการทำสัญญา
ประชาคมระหว่างคนทุกคนที่ทำเป็นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะมอบอำนาจและสละสิทธิ์ตามธรรมชาติ
ของตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาแต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจร่วม
หรืออำนาจอธิปไตยโดยอำนาจอธิปไตยนี้ถือเป็นอำนาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์

92. ฮอบส์ เชื่อว่ามนุษย์เราสมัครใจมอบอำนาจให้แก่ผู้อื่น เพราะ


1. เพื่อยุติความทะเยอทะยานของผู้มีอำนาจ 2. เพื่อพิทักษ์เสรีภาพ 3. เป็นธรรมชาติของการเมือง
4. ต้องการป้องกันตนเองจากภัยภายนอก 5. เป็นความประสงค์ของพระเจ้า
ตอบ 4 ฮอบส์ เชื่อว่า การที่มนุษย์สมัครใจยอมมอบอำนาจ ให้แก่ผู้อื่นนั้น เป็นเพราะว่ามนุษย์ต้องการป้องกัน
ตนเองจากการรุกรานจากภายนอก และต้องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ทำอันตรายต่อกันและกัน
ข้อสอบ POL 2105 S/64 19
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
93. ความยุติธรรม (Justice) ในความหมายของ Hume 1. ความเท่าเทียมกันด้านการเมือง
2. ความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ 3. ความเท่าเทียมกันในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 Hume เห็นว่า ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การยอมรับในกรรมสิทธิ์ส่วนตัว หรือสิทธิการมี
ทรัพย์สินส่วนบุคคล
94. สิ่งที่นำไปสู่ความไม่เสมอภาคในทัศนะของรุสโซ คือ
1. ระบบอภิสิทธิ์ชน 2. กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
3. การใช้เสรีภาพอย่างเกินขอบเขต 4. สภาวะสงคราม 5. ระบบกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล
ตอบ 5 รุสโซ เห็นว่า การเกิดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวนั้นจะนำไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์ซึ่ง
เรียกว่าความไม่เสมอภาคทางการเมืองหรือความไม่เสมอภาคทางจิตใจ ตัวอย่างที่พอจะเห็นได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ความรวย ความจนมีเกียรติ ไร้เกียรติ เกิดอภิสิทธิ์ชน สามัญชน เป็นต้น

95. ข้อใดเป็นความคิดของรุสโซ
1. มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
2. มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจำในอาณาจักรแห่งความคิด
3. การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก
4. คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายมากขึ้น 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. แนวความคิดที่สำคัญของรุสโซ ได้แก่
1. การเกิดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว จะนำไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์
2. มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
3. การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก
4. มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจำในอาณาจักรแห่งความคิด
5. คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายมากขึ้น
6. การทำสัญญาประชาคมจะก่อให้เกิดเสรีภาพ (แบบใหม่) และความเสมอภาคขึ้น
7. เจตจำนงทั่วไปคือเจตจำนงของคนทุกคน
8.ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทำนองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทำให้คน
หนีไกลออกไปจากธรรมชาติ เป็นต้น
96. ผู้เป็นเจ้าของหรือทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้อำนาจของตนเมื่อใด
1.ทำสัญญาประชาคม 2. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 3. เป็นรัฐบาล
4. บัญญัติกฎหมาย 5. เปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ตอบ 4 รุสโซ เห็นว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งหมด (ประชาชนทั้งมวล)และประชาชนสามารถใช้
อำนาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย เพราะว่าในการบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอำนาจเต็มที่
ไม่ต้องเชื่อฟังใคร
97. บทความเรื่อง “ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นข้อเขียนร่วมกันระหว่าง
1. ฟรีดริช เองเกลส์ + คาร์ล มาร์กซ์ 2. ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์ค + คาร์ล มาร์กซ์
3. อดัม สมิธ + เดวิด ริคาร์โด 4. คาร์ล มาร์กซ์ + เฮเกล 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. ผลงานที่ฟรีดริช เองเกลส์ และคาร์ล มาร์กซ์ ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา ได้แก่
1. ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family) 2. อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
3. คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
ข้อสอบ POL 2105 S/64 20
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
98. ชื่อหนังสือบทความต่อไปนี้เรื่องใดเขียนโดยร่วมกันระหว่าง คาร์ล มาร์กซ์ และ ฟรีดริช เองเกลส์
1. On New Democracy 2. The Communist Manifesto 3. On Practice
4. On Contradiction 5. Socialism : Utopian and Scientific
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ
99. ลัทธิมาร์กซ์มองว่า ระบบทุนนิยมทำลาย ลดทอนความเป็นมนุษย์ เนื่องด้วยเหตุผลใดดังต่อไปนี้
1. เพราะแรงงานที่เขาทำงานไม่สามารถทำงานสนองความต้องการของเขาแต่เป็นของนายทุน
2. นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนให้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกำไร
3. แรงงานที่ทำให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
4. เพราะกรรมกรทำงานเพื่อประโยชน์ของนายทุนเท่านั้น 5. ถูกเฉพาะข้อ 1., 2. และ 3.
ตอบ 5. ลัทธิมาร์กซ์ มองว่า ระบบทุนนิยมจะทำลายและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ เนื่องจาก
1 นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกำไร
2 แรงงานต้องทำงานตามความต้องการของนายทุน
3 แรงงานที่ทำให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ

100. ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่อว่าเกิดจาก 1. พระผู้เป็นเจ้า


2. การเอาตัวรอด 3. การมีปัญญา 4. ประสบการณ์ 5. พรสวรรค์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ



ขอให้โชคดีในการสอบ
ข้อสอบ POL 2105 2/64 1
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2564


......................
คำสั่ง : ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ผู้ใดที่ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางความคิดของล็อค
1. มองเตสกิเออ 2. รุสโซ 3. เดอ ทอคเกอร์วิลล์ 4. เฮเกล 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศ
ฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมีอิทธิพล
และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิดร่วมสมัย
ในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ข้อใดเป็นคำอธิบายการเกิดขึ้นของรัฐที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล
1. ครอบครัวเป็น anti-thesis ต่อสังคมพลเรือน ทำให้จำเป็นต้องสถาปนารัฐขึ้นมา
2. สังคมพลเรือนเป็น synthesis อันเป็นผลมาจากการปะทะขัดแย้งกันระหว่างรัฐกับครอบครัว
3. ครอบครัวเป็น thesis, รัฐเป็น anti-thesis, ก่อให้เกิดสังคมพลเรือนซึ่งเป็น Synthesis
4. รัฐเป็น anti-thesis ทั้งต่อครอบครัวและสังคมพลเรือน
5. รัฐเป็นการผสมผสาน (synthesis) ระหว่างครอบครัวกับสังคมพลเรือน
ตอบ 5 ตามแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกลนั้น รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่าง
ครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็น Thesis กับสังคมพลเรือน (การแข่งขัน) ซึ่งเป็น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่า
เป็นภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่าคือมีเหตุมีผลและเสรีภาพมากกว่านั้นเอง

3. ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์มีลักษณะใดดังต่อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูกต้อง
2. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
3. สภาทุกระดับของประชาชนส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาดห้ามโต้แย้ง
5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูก 2. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาด
3. สภาประชาชนทุกระดับจะส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
4. ระหว่างบุคคลและสิ่งต่อไปนี้ มาเคียเวลลี่สอนให้เคารพสิ่งใดมากที่สุด
1. ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง 2. คำสั่งของมุขบุรุษ 3. ผู้นำทางศาสนา
4. ผู้ที่ออกกฎหมายอย่างมีคุณธรรม 5. กฎหมาย
ตอบ 5 มาเคียเวลลี่เชื่อว่า กฎหมายเป็นสิ่งสูงสุดในการปกครองและเป็นหลักประกันสำหรับทุก ๆ คนในรัฐ
ถึงแม้ว่าคนจะเป็นผู้บัญญัติ ตีความ หรือบริหารกฎหมายก็ตาม แต่เราเขาควรจะเคารพกฎหมายมากกว่าผู้
บัญญัติกฎหมาย
ข้อสอบ POL 2105 2/64 2
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

5. มนุษย์สามารถสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่ต้องการความสมบูรณ์ได้โดยวิธีใด
1. การร่วมมือระหว่างกัน 2. การดำรงชีพแบบต่างคนต่างอยู่
3. การทำสัญญาประชาคม 4. การแข่งขันระหว่างกัน 5. การทำอะไรตามใจปรารถนา
ตอบ 3 รุสโซ อธิบายว่า การมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมธรรมชาติย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก เพราะว่า
ความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือหรือการพึ่งพิงบุคคลอื่น เท่านั้น ดังนั้นผลอันเกิดจากการสนองตอบต่อ
สัญชาตญาณที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ก็คือการร่วมมือระหว่างกันหรือการร่วมมือกับผู้อื่นนั่นเอง

6. ข้อใดคือรูปแบบการปกครองที่มีเสถียรภาพมากที่สุด
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ประชาธิปไตย
4. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย) 5. อภิชนาธิปไตย
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ เชื่อว่า ระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและ
ประชาธิปไตยนั้น เป็นระบบการปกครองที่ดีเพราะมีเสถียรภาพและเสรีภาพมากที่สุด

7. เพราะเหตุใดผู้ใต้ปกครองถึงไม่บอกเลิกสัญญาประชาคม
1. การบอกเลิกก่อความวุ่นวายทางการเมือง 2. การบอกเลิกสัญญาเป็นการปฏิวัติ
3. การบอกเลิกก่อให้เกิดรัฐบาลทรราช 4. การบอกเลิกสัญญาเป็นการทำร้ายตัวเอง
5. เงื่อนไขสัญญากำหนดไว้แล้วว่าบอกเลิกไม่ได้
ตอบ 4 ฮอบส์ เห็นว่า การทำสัญญาประชาคมถือเป็นข้อตกลงระหว่างมนุษย์ที่จะยุติการกระทำอันตรายต่อกัน
และกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำสัญญาประชาคม ก็คือการสละสิทธิ์ตามธรรมชาติในส่วนที่จะทำร้ายผู้อื่นเพื่อ
ปกป้องและรักษาตนเองให้ปลอดภัย ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่พึงกระทำ เพราะจะขัดแย้งกับ
กฎธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์จะไม่ทำอะไรที่เป็นการทำร้ายตัวเอง
8. ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่อว่าเกิดจาก 1. ประสบการณ์
2. การเอาตัวรอด 3. พระผู้เป็นเจ้า 4. พรสวรรค์ 5. การมีปัญญา
ตอบ 3 ล็อค เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจำตัว คือ ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย
9. “ความปรารถนาของขุนนางหรือข้าราชการ” คือ
1. การฉ้อราษฎร์บังหลวง 2. การประจบสอพลอ
3. การกดขี่ข่มเหงประชาชน 4. การใช้อภิสิทธิ์ 5. จงรักภักดีแก่ผู้ให้อำนาจแก่ตน
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า การได้อำนาจมาด้วยวิธีการปราบดาภิเษกหรือการปฏิวัตินั้น อาจจะเป็นผลมาจาก
การสนับสนุนของกลุ่มขุนนาง (ข้าราชการ) หรือประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วหาก
ผู้ปกครองต้องการความมั่นคงหรือเสรีภาพที่แท้จริงในอำนาจ ก็จำต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็น
หลัก ทั้งนี้เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการมีเพียงสิ่งเดียว คือ อิสรภาพหรือเสรีภาพจากการกดขี่ข่มเหงซึ่งต่างจาก
กลุ่มขุนนางที่ต้องการกดขี่ข่มเหงประชาชน
ข้อสอบ POL 2105 2/64 3
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
10. ความรักของผู้ใต้ปกครองในที่สุดแล้วมักจะนำไปสู่สิ่งใด
1. ความมั่นคงของผู้ปกครอง 2. ความร่วมมือ 3. ความยำเกรง
4. ความไม่ยำเกรง 5. ความสามัคคี
ตอบ 4 4 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระหว่างความรักและความยำเกรงของประชาชน หากผู้ปกครองเลือก “ความรัก”
ประชาชนจะไม่ยำเกรง แต่ถ้าเลือก “ความยำเกรง” ประชาชนจะไม่รัก ซึ่งถ้าจำเป็นแล้วผู้ปกครองจะต้องเลือกเอา
ความยำเกรงมากกว่าความรัก เพราะความยำเกรงนั้นจะทำให้ผู้ใต้ปกครองเกิดความเชื่อฟังไม่กระด้างกระเดื่อง

11. ระบบการเมืองตามทฤษฎีสัญญาประชาคม สอดคล้องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด


1. รัฐสภา 2. สังคมนิยม 3. กึ่งประธานาธิบดี
4. กึ่งรัฐสภา 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 เมื่อมนุษย์ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมการเมืองแล้ว สิ่งแรกที่จำเป็นต้องดำเนินการคือ การ
สถาปนาองค์กรที่ ใช้อำนาจนิติบัญญัติขึ้นมาเพื่อวางแนวทางในการดำเนินงานหรือกำหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหาร
นำไปปฏิบัติ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงไม่มีอิสระที่จะทำอะไรตามเจตจำนงของตน ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจของฝ่าย
บริหารนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติกำหนดขึ้น ตามหลักสัญญาประชาคมของ ล็อค ซึ่งจาก
หลักการดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด

12. “เสรีภาพแบบใหม่” อันหมายถึงการเคารพเชื่อฟังเจตจำนงของตนเองนั้นเกิดขึ้นจากอะไร


1. การเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไป 2. การเคารพกฎหมายที่ดี 3. การใช้เหตุผลกำกับการแนะนำ
4. การใช้สิทธิเลือกตั้ง 5. การกระทำนอกเหนือจากที่กฎหมายห้าม
ตอบ 1 รุสโซ เชื่อว่า เสรีภาพแบบใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีส่วนในการบัญญัติ
กฎหมายหรือการร่วมกันแสดงเจตจำนงทั่วไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรือเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไปที่
ตนเองเป็นผู้บัญญัติขึ้น

13. ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ ไม่ใช่ข้อใดดังต่อไปนี้


1. การปฏิวัติสังคมเกิดด้วยความรุนแรงเท่านั้น 2. การเน้นให้พรรคเป็นผู้นำในการปฏิวัติ
3. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นการปกครองเด็ดขาด มีกำลังอาวุธ
4. การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบสังคมนิยม
5. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึ่งมีการสร้างพันธมิตร
ตอบ 4 ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ มีดังนี้
1. การเน้นให้พรรคเป็นผู้นำในการปฏิวัติ
2. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึง่ มีการสร้างพันธมิตร
3. การปฏิวัติสังคมเกิดในประเทศเดียวก็ได้ และเกิดด้วยวิธีรุนแรงเท่านั้น
4. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นการปกครองที่เด็ดขาด
5. การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบจักรวรรดินิยม
14. อะไรคือตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์
1. การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
3. การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การยอมรับและนำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
ข้อสอบ POL 2105 2/64 4
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1. การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้การยอมรับและนำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้
2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม 3. การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในด้านการปฏิบัติ

15. ล็อคเห็นว่าสัญญาประชาคมเกิดขึ้นโดย 1. ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากภายนอก


2. การยินยอมสมัครใจเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกัน 3. อัตโนมัติตามสภาวะธรรมชาติ
4. การตกลงทำสัญญาสันติภาพ 5. ผู้ที่เข้มแข็งกว่าหยิบยื่นให้
ตอบ 2 การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็นไปด้วย
ความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะ ดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย
และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมั่นคง

16. แนวความคิดที่สำคัญของมาเคียเวลลี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ


1. เผด็จการที่มีคุณธรรม 2. เป้าหมายแห่งรัฐ 3. เงื่อนไขระบอบประชาธิปไตย
4. ยุทธวิธีในการขยายดินแดน 5. ภาวะความเป็นผู้นำ
ตอบ 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คุณค่าของรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐมีผู้นำที่เข้มแข็ง โดย
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอาจเป็นผู้วางรูปแบบหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ แต่เขาทั้งหลายจะต้องอยู่ภายใต้การนำ
ของผู้นำที่เข้มแข็ง เสถียรภาพและความไพบูลย์ แห่งสาธารณรัฐจึงจะบังเกิดขึ้นได้ ดังนั้นแนวความคิดที่สำคัญของ
เขาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาวะความเป็นผู้นำนั้นเอง
17. เมื่อทำสัญญาประชาคมแล้ว ผู้ใต้ปกครองสามารถทำอะไรได้บ้าง
1.. การถอดถอนองค์อธิปัตย์ 2. การไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นบางครั้ง
3. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 4. การใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นครั้งคราว 5. การบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้ว
ตอบ 5. ฮอบส์ อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงหรือถอดถอนองค์อธิปัตย์นั้น แม้จะกระทำมิได้ แต่ประชาชนใน
ฐานะผู้ใต้ปกครองก็มีสิทธิ์ขัดขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้ นั่นคือ เมื่อประชาชนตกอยู่ในสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์
อธิปัตย์จะทำลายชีวิตของตนเองแล้ว การใช้สิทธิ์ตามธรรมชาติเพื่อความคุ้มครองตนเองของมนุษย์ย่อมกระทำได้
ทั้งนี้ โดยการร่วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้ว เพื่อเริ่มต้นทำสัญญากันใหม่
18. ผู้เป็นเจ้าของหรือทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้อำนาจของตนเมื่อใด
1. เป็นรัฐบาล 2. บัญญัติกฎหมาย 3. ทำสัญญาประชาคม
4. เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 5. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ตอบ 2 รุสโซ เห็นว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งหมด (ประชาชนทั้งมวล)และประชาชนสามารถใช้
อำนาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย เพราะว่าในการบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอำนาจเต็มที่
ไม่ต้องเชื่อฟังใคร
19. เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทำแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาได้แก่
1. รัฐ 2. รัฐบาล 3. สังคม 4.การบังคับใช้กฎหมาย 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทำขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียว สังคม รัฐ รัฐบาล และการบังคับใช้
กฎหมาย ก็จะเกิดขึ้นตามมาทันที เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นการล้มล้างรัฐบาลจึงเป็นการ
กลับไปสู่สภาวะธรรมชาติตามเดิม เนื่องจาก ฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจาก
กันนั่นเอง
ข้อสอบ POL 2105 2/64 5
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

20. นอกจากความมีเหตุผลแล้ว ล็อคเชื่อว่ามนุษย์ยังมี 1. ความซื่อสัตย์และความตรงไปตรงมา


2. ความฝันและจินตนาการอันสูงส่ง 3. ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี
4. ความเมตตาและการใฝ่สันติ 5. ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ
21. สิ่งใดที่รัฐสามารถนำมาใช้เป็นมาตรการควบคุมความเห็นแก่ตัวของมนุษย์
1. อำนาจบังคับ 2. การยกเลิกกรรมสิทธิ์ 3. การศึกษาอบรม
4. การสถาปนาระบบกรรมสิทธิ์ร่วม 5. ศาสนา
ตอบ 1 ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมาเคียเวลลี่ เห็นว่า เป็นคนที่เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว แสวงหา พยายามที่จะ
หลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกำไร จึงทำให้มีชีวิตอยู่ในภาวะของการดิ้นรน และแข่งขันกันเองอยู่ตลอดเวลา
จิตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของ กิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรือรัฐขึ้นมาใช้อำนาจบังคับเพื่อทำให้ละเลิก
กิเลสและควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของคน

22. ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น “องค์อธิปัตย์ไม่มีวันที่จะกระทำผิด” ข้อความนี้อธิบายได้จากเหตุผลใด


1. การเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย 2. การเป็นตัวแทนเจตจำนงทั่วไป
3. การผูกมัดจำสัญญา 4. การไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญา
5. การปฏิบัติไปตามตัวบท - กฎหมาย
ตอบ 4 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจตามที่
คู่สัญญาหรือประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพันใดๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามหรือ
รับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็นผู้ที่อยู่นอกเหนือสัญญาแล้วก็จะไม่มีการกระทำใดๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะ
ถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าองค์อธิปัตย์จะทำอะไรก็ไม่มีความผิดนั่นเอง
23. ลัทธิมาร์กซ์ ไม่เกี่ยวข้องกับอะไร
1. นักคิดชื่อ Carl Marx 2. แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ 3. แนวคิดแบบสังคมนิยม
4. แนวคิดอรรถประโยชน์นิยม 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ลัทธิมาร์กซ์ ก่อกำเนิดขึ้นโดยนักคิดที่ชื่อว่า คาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าตำรับหรือ
บิดาแห่งคอมมิวนิสต์และแนวคิดแบบสังคมนิยม โดยมาร์กซ์นั้นเกิดที่เมืองทรีเออร์ ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ.
1818 บิดาเป็นทนายความที่มีชื่อเสียง มาร์กซ์เคยมีสัญชาติยิวแต่เมื่ออายุได้ 6 ขวบ ก็เปลี่ยนเป็นโปรเตสแตนต์
24. ฮอบส์ เชื่อว่า สภาวะแห่งพันธสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อองค์อธิปัตย์
1. ไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน 2. ถูกโค่นล้มโดยปวงชน
3. ถูกรัฐอื่นรุกราน 4. ตกลงกับปวงชนที่จะยกเลิกสัญญา
5. ถูกโค่นล้มโดยขุนนางอำมาตย์
ตอบ 1 เห็นว่า ในกรณีที่องค์อธิปัตย์ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนได้ หรือไม่
สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองได้ ก็หมายความว่า เขาได้สูญเสียอำนาจและหมดสภาพความเป็น
องค์อธิปัตย์ไปแล้วโดยปริยาย สภาวะแห่งพันธะสัญญาก็จะสิ้นสุดลง แต่ละคนก็จะตกอยู่ในสภาวะธรรมชาติ
ตามเดิม
ข้อสอบ POL 2105 2/64 6
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
25. ทหารรับจ้างมีปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์เพราะ
1. เห็นแก่อามิสสินจ้าง 2. ขาดประสิทธิภาพ 3. ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน
4. ถูกแทรกแซงได้ง่าย 5. ไม่ใช่คนท้องถิ่น
ตอบ 1 มาเคียเวลลี เห็นว่ากองทัพที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยทหารประจำการหรือทหารเกณฑ์ไม่ใช่ทหาร
รับจ้างเพราะทหารเกณฑ์เหล่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะมี
ปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ ดังนั้นแทนที่จะส่งเสริมอำนาจ
ผู้ปกครองกับจะทำลายอำนาจปกครองในที่สุด
26. “ผลอันเกิดจากที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์”
1. ความขยันขันแข็ง 2. ความสุขในอนาคต 3. การร่วมมือกับผู้อื่น
4. ความอิจฉาริษยา 5. สภาวะสงคราม
ตอบ 3 รุสโซ กล่าวว่า ผลอันเกิดจากการสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ก็คือการ
ร่วมมือระหว่างกันหรือการร่วมมือกับผู้อื่นนั่นเอง

27. ผู้เป็นเจ้าของหรือทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้อำนาจนี้ของตนเมืองใด
1. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2. เป็นรัฐบาล 3. ทำสัญญาประชาคม
4. บัญญัติกฎหมาย 5. เปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ตอบ 4 รุสโซ เห็นว่า ประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย เพราะว่าใน
การบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอำนาจเต็มที่ไม่ต้องเชื่อฟังใครอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งหมด
(ประชาชนทั้งมวล)

28. “ทหารเกณฑ์”
1. ความขี้ขลาด 2. ความจงรักภักดีต่อผู้ปกครอง 3. สงครามระหว่างรัฐ
4. ความกล้าหาญ 5. การดุลอำนาจ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ
29. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี่ เห็นว่าผู้ที่ได้อำนาจมาด้วยการสืบสันติวงศ์ย่อม
1. ปกครองอย่างเป็นธรรม 2. มีแนวโน้มจะขยายอาณาจักรได้ง่ายกว่าผู้อื่น
3. มีศักยภาพในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข 4. มีขนบธรรมเนียมประเพณีรองรับความชอบธรรม
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง คือ
การรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสียงเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมของเดิมเสีย
ใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอำนาจอันชอบธรรมของ
ผู้ปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
30. มาเคียเวลลี่ แนะนำว่าการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของผู้นำทำให้
1. ผู้นำไม่ต้องรักษาสัจจะ 2. ผู้นำต้องกล้าได้กล้าเสีย
3. ผู้นำต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา 4. ผู้นำต้องรักษาสัจจะ 5. ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4
ข้อสอบ POL 2105 2/64 7
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 1 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองต้องเป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมและไม่รักษา หากสัจจะนั้นจะทำลาย
ผลประโยชน์ของตนเอง โดยเขาให้เหตุผลว่า การรักษาสัจจะนั้น เป็นสิ่งที่ดีหากคนทั้งหมดเป็นคนดี แต่คนตาม
ธรรมชาตินั้นเลว และไม่รักษาสัจจะกับผู้ปกครอง ดังนั้นผู้ปกครองก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาสัจจะกับเขา

31. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี หนทางในการรักษาไว้ซึ่งอำนาจสำหรับผู้ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการสืบสันตติวงศ์ คือ


1. การดำเนินรอยตามแบบแผนประเพณีดั้งเดิม 2. มีการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย
3. การใช้นโยบายที่ถูกต้องในการปกครองประเทศ 4. ใช้กำลังเข้าจัดการกับผู้แข็งข้อ
5. การใช้เมตตาธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเสมอหน้ากัน
ตอบ 1 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง คือ
การรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสียงเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมของเดิมเสีย
ใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอำนาจอันชอบธรรมของ
ผู้ปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

32. ข้อใดเป็นผลงานของรุสโซ 1. Social Contract และ The Prince


2. Confessions และ The Old Regime 3. The Spirit of the Laws
4. Social Contract และ Emile 5.Emile และ Das Capital
ตอบ 4 ผลงานที่สำคัญของรุสโซ ได้แก่
1. Constitution for Corsica 2. Dialogues
3. Social Contract 4. La Nouvelle Heloise
5. Emile 6. Confessions
7. Political Economy 8. The Origin of Inequality
9. Consideration on the Government of Poland

33. ลัทธิมาร์กซ์มองว่า ระบบทุนนิยมทำลาย ลดทอนความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ด้วยเหตุผลใดดังต่อไปนี้


1. เพราะแรงงานที่เขาทำงานไม่สามารถทำงานสนองความต้องการของเขาแต่เป็นของนายทุน
2. นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนให้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกำไร
3. แรงงานที่ทำให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
4. เพราะนายทุนเป็นผู้กำหนด
5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ลัทธิมาร์กซ์มองว่า ระบบทุนนิยมจะทำลายและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ เนื่องจาก
1. นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกำไร
2. แรงงานต้องทำงานตามความต้องการของนายทุน
3. แรงงานที่ทำให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
34. การปฏิวัติเพื่อสร้างสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่ของ เหมา เจ๋อ ตุง มีลักษณะที่ไม่ใช่ลักษณะใดดังต่อไปนี้
1. การปฏิวัติชาติ เพื่อกำจัดจักรวรรดินิยม 2. การปฏิวัติเพื่อทำลายลัทธิทุนนิยม
3. การปฏิวัติเพื่อกำจัดพวกปฏิกิริยา 4. การปฏิวัติเพื่อประชาชนทุกชนชั้น
5. การปฏิวัติเพื่อกำจัดเจ้าของที่ดิน
ตอบ 2 “สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่” โดย เหมา เจ๋อ ตุง มีลักษณะสำคัญคือ การปฏิวัติชาติ เพื่อกำจัด
จักรวรรดินิยม และการปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อกำจัดเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ ซึ่งการปฏิวัติ ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อล้ม
ล้างการปกครองจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ ทำลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยม
ข้อสอบ POL 2105 2/64 8
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
35. มาเคียเวลลี่เชื่อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย
1. การไร้เมตตาธรรม 2. การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน 3. การสนับสนุนตัวบุคคล
4. การขาดเสถียรภาพ 5. การเน้นแต่เพียงประสิทธิภาพ
ตอบ 4 มาเคียเวลลี เชื่อว่า ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย
เป็นสิ่งดี แต่ระบบการปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีข้อบกพร่องที่สำคัญ คือการขาดเสถียรภาพ และความดีของระบบก็
มักจะถูกทำลายลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก

36. คุณูปการของคาร์ล มาร์กซ์ ที่สำคัญคืออะไร


1. แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี dialectic 2. แนวคิดวัตถุนิยม
3. หลักเศรษฐกิจกำหนด 4. หลักอรรถประโยชน์นิยม 5. ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 คุณูปการที่สำคัญของคาร์ล มาร์กซ์ ได้แก่
1. แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี (Dialectic) 2 แนวคิดวัตถุนิยม (Materialism)
3 หลักเศรษฐกิจกำหนด (Economic Determinism)

37. หนังสือและบทความใดต่อไปนี้ไม่ใช่ขอ้ เขียนของนิโคไล เลนิน


1. จะทำอะไร (What to be done)
2. สังคมนิยมและสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4. คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ผลงานที่สำคัญของนิโคไล เลนิน ได้แก่
1. จะทำอะไร (What to be done) 2. สังคมนิยมเละสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4. จักรวรรดินิยม: ขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยม (Imperialism: The Highest Stage of Capitalism)ฯลฯ

38. ชื่อหนังสือบทความต่อไปนี้เรื่องใดไม่ได้เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์


1. Socialism Utopian and Scientific 2. The German Ideology 3. Capital
4. The Communist Manifesto 5. The Holy Family
ตอบ 1 ผลงานที่ฟรีดริช เองเกลส์ และคาร์ล มาร์กซ์ ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา ได้แก่
1. ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family) 2. อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
3. คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) และในช่วงที่ คาร์ล มาร์กซ์ ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุง
ลอนดอนนั้น เขาได้เขียนบทความมากมายที่พยายามอธิบายความทุกข์ยากในสังคมทุนนิยม เช่น วิพากษ์เศรษฐกิจ
การเมือง (The Critique of Political Economy), ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน (Theories of Surplus
Values), ทุน (Capital) เป็นต้น

39. “รัฐบาล” ตามแนวคิดสัญญาประชาคม หมายถึงบุคคลหรือสถาบันใด 1. นิติบัญญัติ


2. บริหาร 3. ตุลาการ 4. องค์อธิปัตย์ 5. ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคม รุสโซ อธิบายว่า “รัฐบาล” หมายถึงผู้ที่ใช้อำนาจบริหารซึ่งมีฐานะเป็นเพียง
แค่องค์กรที่รับมอบอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชนเท่านั้น อีกทั้งรัฐบาล เป็นเพียงคณะบุคคลที่นำเอา
เจตจำนงทั่วไปมาปฏิบัติ รัฐบาลไม่ใช่องค์อธิปัตย์ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นผลมาจากกฎหมายมิใช่เป็นการทำ
สัญญา
ข้อสอบ POL 2105 2/64 9
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
40. วาทะสำคัญของมาเคียเวลลี่ คือ
1. การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน
2. ทหารแก่ไม่เคยตาย เพียงแต่เลือนหายไปจากความทรงจำ
3. อนุสาวรีย์ที่ดีที่สุดคือคุณงามความดี
4. อย่าถามว่าประเทศชาติจะทำอะไรให้ท่าน แต่ควรถามว่าท่านจะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติ
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 วาทะของบุคคลสำคัญ ๆ มีดังนี้
1. รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อับราฮัม ลินคอล์น
2. ทหารแก่ไม่เคยตาย เพียงแต่เลือนหายไปจากความทรงจำ – ดักลาส แมคอาร์เธอร์
3. อนุสาวรีย์แห่งปรีชาชาญย่อมยืนนานกว่าอนุสาวรีย์แห่งอํานาจ – ฟรานซิส เบคอน
4. อย่าถามว่าประเทศชาติจะทำอะไรให้ท่าน แต่ควรถามว่าท่านจะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติ -จอห์น เอฟ.เคน
เนดี้

41. นักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์มีความคิดที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน แต่ไม่ใช่ประเด็นใดดังต่อไปนี้


1. ต้องการให้ปัจเจกบุคคล สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้โดยเสรี
2. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
3. มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ
5. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
ตอบ 1 ประเด็นสำคัญที่คล้ายกันของนักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แก่
1. มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
2. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
3. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ

42. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ที่ถือได้ว่าเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง


1. ประชาชนส่วนใหญ่ 2. ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐบาล
3. ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 4. ประชาชนทั้งหมด
5. ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด
ตอบ 4 ในความเห็นของ ล็อค ประชาชนทั้งมวล สามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้เป็นครั้งคราวในกรณีที่รัฐบาลถูกยุ
บเท่านั้น แต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง
43. แนวความคิดใดของเฮเกลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่องอำนาจทางการเมืองการปกครอง
1. ครอบครัว 2. สังคมเข้มแข็ง 3. รัฐ
4. พระเจ้า 5. องค์อธิปัตย์
ตอบ 3 ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล โดยเขาเห็นว่ารัฐควร
เป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม ทั้งนี้เพราะรัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมือง
ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคม
ข้อสอบ POL 2105 2/64 10
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
44. “ความไม่สมบูรณ์” 1. สังคมการเมือง 2. สังคมอุตสาหกรรม
3. สังคมบุพกาล 4. สังคมธรรมชาติ 5. สังคมเมือง
ตอบ 4 รุสโซ เชื่อว่าสภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพความเสมอภาค และเสรีภาพอย่างบริบูรณ์
โดยมนุษย์จะต่างคนต่างอยู่และไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่การมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมธรรมชาติ
ย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก เพราะว่าความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือกับผู้อื่นหรือการพึ่งพิงบุคคล
อื่นเท่านั้น

45. เหตุผลใดที่เฮเกลใช้ในการสนับสนุนความคิดที่ว่ารัฐควรเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม
1. การเปลี่ยนแปลงสังคมแบบรุนแรงและถอนรากถอนโคน
2. ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล 3. รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้น 4. รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
5. รัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองเป็นจริงขึ้นมา
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46. หลักวิภาษวิธี (Dialectic Method) มีสูตรที่เป็นวงจรการปะทะทางความคิดที่ไม่สิ้นสุด มีสูตรดังนี้


1. ข้อเสนอหลัก + ข้อเสนอรอง = การสังเคราะห์ 2. ข้อเสนอยืน + ข้อเสนอแย้ง = การสังเคราะห์
3. ข้อเสนอหลัก + ข้อเสนอรอง = การสังเคราะห์ = ข้อเสนอหลัก (ใหม่)
4. ข้อเสนอยืน + ข้อเสนอแย้ง = การสังเคราะห์ = ข้อเสนอยืน (ใหม่) 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2. หลักวิภาษวิธี (Dialectic Method) มีสูตรที่เป็นวงจรการปะทะทางความคิดที่ไม่สิ้นสุด ดังนี้
ข้อเสนอยืน + ข้อเสนอแย้ง = การสังเคราะห์ หรือ Thesis + Antithesis = Synthesis

47. รุสโซ เชื่อว่ามนุษย์เราจะปราศจากเสรีภาพหากปราศจาก


1. กฎหมายที่เป็นธรรม 2. ระบบการตรวจสอบที่ดี 3. หลักประกันทางกฎหมาย
4. ผู้นำที่ทรงคุณธรรม 5. ความเสมอภาค
ตอบ 5 ถ้ามนุษย์ปราศจากเสียซึ่งความเสมอภาค การใช้เสรีภาพของมนุษย์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคน ๆ หนึ่งตกเป็นทาสของอีกคนหนึ่งนั้นหมายถึงว่า เขาได้สูญเสียความเสมอภาคของความเป็น
มนุษย์ไปแล้ว
48. ตามแนวความคิดเรื่องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่งความเป็นจริงออกเป็น 2 ส่วนอะไรบ้าง
1. ตันตน และ ไม่ใช่ตัวตน 2. สสาร กับ อสสาร 3. กายภาพ กับ ชีวภาพ
4. จิต กับ วัตถุ 5. จิต กับ กาย
ตอบ 2 จิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกล เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน
1. อสสาร คือ ไม่เป็นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้
2. สสาร คือ เป็นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้
49. บทความเรื่อง “ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นผลงานร่วมกันระหว่าง
1. ฟรีดริช เองเกลส์ + คาร์ล มาร์กซ์ 2. ลุดวิก ฟอยเออส์บาร์ค + คาร์ล มาร์กซ์
3. อดัม สมิท + เดวิท ริคาโด 4. คาร์ล มาร์กซ์ + เฮเกล
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ผลงานที่ฟรีดริช เองเกลส์ และคาร์ล มาร์กซ์ ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา ได้แก่
1. คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
2. อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
ข้อสอบ POL 2105 2/64 11
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family)
50. ในทัศนะของมาเคียเวลลี มุขบุรุษต้องเล่นการเมืองเพื่อ 1. รักษาไว้ซึ่งอำนาจของตนเอง
2. เพื่อสร้างความชอบธรรม 3. เพื่อขยายฐานอำนาจ
4. รักษาไว้ซึ่งอำนาจและความชอบธรรมของตนเอง 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 1,3 มาเคียเวลลี เห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ นักการเมืองปรารถนาที่จะได้มาหรือผดุงรักษาไว้ซึ่ง
อำนาจ ดังนั้นจุดประสงค์ที่ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษต้องเข้ามาเล่นการเมือง ก็เพื่อการรักษาไว้ซึ่งอำนาจของตนหรือ
เพื่อเพิ่มขยายฐานอำนาจทางการเมืองโดยเฉพาะ
51. ผลอะไรจะเกิดขึ้นตามมา หากผู้ปกครองถึงแก่กรรมลงภายหลังที่สัญญาประชาคมได้กระทำไปแล้ว
1. เลือกตั้งผู้ปกครองหมายแทนคนเก่า 2. สัญญาที่ผูกมัดก็จะหมดโดยปริยาย
3. เสียงข้างมากสามารถแก้ไขสัญญาเดิมได้ 4. สิ้นสุดสัญญา สังคม และรัฐ
5. สัญญายังคงผูกมัดคู่สัญญา
ตอบ 4 ฮอบส์ เห็นว่า การจัดตั้งรัฐเป็นผลมาจากการทำสัญญาประชาคม ซึ่งองค์อธิปัตย์จะมีฐานะเป็นคน
ธรรมดา (Natural Person) และเป็นคนสมมุติ (Artificial Person) โดยฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่าง
ระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกัน ดังนั้นถ้าไม่มีคนธรรมดา (ผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์) ที่มีอำนาจบังคับ
ใช้เจตนารมณ์แล้วก็ย่อมจะเป็นการสิ้นสุดสัญญาสังคมและรัฐมนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติเหมือนเดิม

52. ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง


1. ในด้านอวัยวะ 2. ในด้านกำลังกาย
3. ในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน 4. ในด้านความอ่อนแอเหมือน ๆ กัน 5. ในด้านการใช้อาวุธ
ตอบ 3 ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน โดยเขา
อธิบายว่า แม้คนเราจะมีความแตกต่างกันในด้านกำลังกายและความคิดอ่านก็ตาม แต่เขาไม่อาจจะอาศัย
เหตุผลแห่งความแตกต่างนี้เป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ ของตนเหนือคนอื่นได้ตลอดไป

53. บทความเรื่อง “ระเบียบทางสังคม” เป็นข้อเขียนของใคร


1. กุหลาบ สายประดิษฐ์ 2. ปรีดี พนมยงค์ 3. เสนีย์ เสาวพงศ์
4. เปลื้อง วรรณศรี 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า “ศรีบูรพา”เป็นผู้เขียนบทความเรื่อง
“ระเบียบทางสังคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1954 โดยได้เขียนตามแนวความคิดของเองเกลส์ที่เขียนในเรื่อง “The Origin
of Family, Private Property and State”

54. คำอธิบาย “ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Production) ในลัทธิมาร์กซ์ หมายถึง


1. การที่มนุษย์ใช้เครื่องมือในการผลิต 2. การที่มนุษย์ขาดเครื่องมือในการผลิต
3. การที่มนุษย์ซื้อ-ขายเครื่องมือการผลิต 4. การที่มนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Product) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือการ
ผลิต เพื่อดูว่ามนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตหรือไม่
ข้อสอบ POL 2105 2/64 12
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
55. ข้อใดไม่ใช่ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะในการปฏิวัติ แล้ว
1. มีผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงคนเดียว 2. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
3. ยกเลิกสิทธิรับมรดก 4. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่อสารทุกประเภท
5. ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน
ตอบ 1. ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะ มีดังนี้
1. ยกเลิกสิทธิการรับมรดก
2. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
3. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่อสารทุกประเภท
4. รัฐเข้ามาควบคุมโรงงาน เครื่องมือการผลิตและการเกษตร
5. ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน

56. ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะสูงสุดหรือ Supreme power นัน้ ตรงกับข้อใด


1. เป็นองค์กรที่ใช้สิทธิพิเศษ 2. เป็นที่มาของฝ่ายบริหาร 3. เป็นองค์อธิปัตย์
4. เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน 5. เป็นองค์กรที่แสดงเจตจำนงของรัฐ
ตอบ 4 ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดภายในรัฐเหนืออำนาจอื่นทั้งหมด (Supreme Power) ซึง่
ทําหน้าที่เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชนเท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจ
อธิปไตยหรือเป็นองค์อธิปัตย์ที่มีอำนาจสูงสุดภายในรัฐ
57. มาเคียเวลลี เชื่อว่า ผู้ปกครองควรมีความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เนื่องจาก
1. ความเด็ดขาดเป็นคุณสมบัติของผู้ชาย 2. ความอ่อนแอแสดงให้เห็นถึงความโลเล
3. ความเด็ดขาดทำให้เกิดความยำเกรง 4. ความอ่อนแอเป็นคุณสมบัติของอิสตรีเพศ
5. ไม่ควรมีเหตุผลกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
ตอบ 3 มาเคียเวลลี เห็นว่า ผู้ปกครองต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กันไป จะมีแต่เพียงความ
เมตตาไม่ได้ เพราะความเมตตาหมายถึงความอ่อนแอ ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งเหยิงตามมา ดังนั้นด้วยพันธะหน้าที่
ผู้ปกครองจึงต้องใช้ความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความยำเกรงและเชื่อฟังไม่กระด้าง
กระเดื่อง รวมทั้งเพื่อรักษาผู้ที่ถูกปกครองให้มีเอกภาพและซื่อสัตย์ต่อผู้ปกครองด้วย

58. ฮอบส์ เชื่อว่ามนุษย์เราสมัครใจมอบอำนาจให้แก่ผู้อื่น เพราะ


1. เป็นธรรมชาติของการเมือง 2. เพื่อยุติความทะเยอทะยานของผู้มีอำนาจ
3. ต้องการป้องกันตนเองจากภัยภายนอก 4. เป็นความประสงค์ของพระเจ้า
5. เพื่อพิทักษ์เสรีภาพ
ตอบ 3 ฮอบส์ เชื่อว่า การที่มนุษย์สมัครใจยอมมอบอำนาจ ให้แก่ผู้อื่นนั้น เป็นเพราะว่ามนุษย์ต้องการป้องกัน
ตนเองจากการรุกรานจากภายนอก และต้องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ทำอันตรายต่อกันและกัน

59. คำทำนายของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยมที่สะท้อนข้อเท็จจริง


1. สังคมมีสองชนชั้น 2. สังคมไร้ชนชั้น
3. สังคมเกิดความขัดแย้งจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ
4. ชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้กับชนชั้นนายทุน 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 คำทำนายของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยม คือ
1. ต้องมีสองชนชั้นเกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงกลับมีชนชั้นใหม่เกิดขึ้น
ข้อสอบ POL 2105 2/64 13
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องมีความทุกข์ยากมาก แต่ในความเป็นจริงกลับมิได้ทุกข์ยากมากนักเพราะสังคมทุนนิยมมี
การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวหน้า สังคมเจริญขึ้น รวยขึ้น
3. การปฏิวัติจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสูงสุด แต่ในความเป็นจริงกลับเกิดในประเทศที่มีการ
เกษตรกรรมเป็นหลัก
4. ความขัดแย้งในสังคมเกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงกลับมีปัจจัยทางจิตวิทยาและ
ทางสังคมวิทยาร่วมด้วย

60. ลัทธิมาร์กซ์ เชื่อว่าอย่างไร


1. เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง 2. นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
3. ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความเท่าเทียม
4. ระบบทุนนิยมทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้น 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ความเชื่อของลัทธิมาร์กซ์ มีดังนี้
1. เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
2. สังคมทุนนิยมเป็นสังคมที่นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
3. ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความเท่าเทียม คือทุกคนเป็นกรรมกร ไม่มีชนชั้นอื่น
4. ระบบทุนนิยมทำให้เกิดการแบ่งแยกสังคมเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน เป็นต้น

61. “ธรรมชาติของมนุษย์”
1. ความเมตตา 2. ชอบท้าทายอำนาจ 3. ความเห็นแก่ตัว
4. อยากอยู่ร่วมกัน 5. เกรงกลัวต่ออำนาจ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
62. “สภาวะสงคราม” ในทัศนะของล็อค หมายถึง
1. ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ผู้ปกครอง 2. สงครามระหว่างรัฐ
3. ความขัดแย้งทำลายเสรีภาพ 4. สภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ
5. การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
ตอบ 3 ล็อค เห็นว่า ข้อบกพร่องของสภาวะธรรมชาติเป็นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทั่งนําไปสู่
“สภาวะสงคราม” ซึ่งจะทำลายเสรีภาพของมนุษย์
63. อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เฮเกลได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาคนสำคัญในสำนัก “จิตนิยม”
1. เน้น “เนื้อหา” มากกว่า “รูปแบบ”
2. เน้นความสำคัญของ “จิต” ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงในโลก
3. อธิบายเรื่องรัฐว่าเป็นอสสาร
4. “อรูป” สำคัญกว่า “รูป”
5. เน้นสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ว่าอยู่เหนือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
ตอบ 2 เฮเกล ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญาเมธีคนสำคัญในสำนักจิตนิยม ทั้งนี้เพราะเขาได้ให้
ความสำคัญในเรื่องของจิตเป็นอย่างมาก โดยเห็นว่าจิตนั้นเป็นต้นกำเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย
ในโลก
ข้อสอบ POL 2105 2/64 14
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
64. มาเคียเวลลี่ เห็นว่ากลุ่มคนที่จะเป็นอันตรายต่อมุขบุรุษ คือ
1. ปัญญาชน 2. ประชาชนหัวแข็ง 3. คนยากจน
4. คนต่างด้าว 5. ขุนนางข้าราชการรอบข้าง
ตอบ 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมักชอบ
ประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง หรือชอบปิดกั้นความจริงที่
ผู้ปกครองควรจะทราบ ซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ในตัวข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือ
กำจัดโดยเร็ว เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทำลายเสถียรภาพของผู้ปกครอง
65. หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้องทำอะไรในอันดับต่อไป
1. ทำสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่ 2. ใช้อำนาจสหพันธ์ 3. ใช้สิทธิพิเศษ
4. เลือกตั้งรัฐบาลใหม่ 5. ดูแลความปลอดภัยให้แก่ตนเอง
ตอบ 4 ล็อค กล่าวว่า หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทำการเลือกตั้งหรือสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า
เปลี่ยนความยินยอมซึ่งต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก

66. มุขบุรุษต้องมีคุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอก เพราะ


1. ต้องทำร้ายผู้อื่นลับหลัง 2. ต้องมีพรรคพวก 3. ต้องมีความเฉลียวฉลาด
4. ต้องมีความเย่อหยิ่ง 5. ต้องรักษาสัจจะ
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครอง (มุขบุรุษ) ควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัขจิ้งจอก และมีความเข้มแข็ง
อย่างราชสีห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้

67. เมื่อสัญญาได้กระทำกันแล้ว สิทธิในทรัพย์สินถูกเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอย่างไร


1. มีความมั่นคงน้อยกว่าเดิม 2. เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
3. กลายเป็นที่มาแห่งสิทธิในทรัพย์สิน 4. มีความมั่นคงกว่าเดิม
5. กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลกลายเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม
ตอบ 4 ล็อค เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะ
เป็นไปด้วยความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะ ดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความ
ปลอดภัย และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมั่นคง และเป็นความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วม
หรือมีความมั่นคงกว่าเดิม

68. ฮอบส์เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้น 2 ประการคือ


1. การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่ง 2. กิเลสและตัณหา 3. ความรุนแรงและความสงบ
4. โลกียธรรมและโลกุตรธรรม 5. ความอยากและความไม่อยาก
ตอบ 5 พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นภายใน 2 ประเภทคือ
1. ความอยากหรือความต้องการ (Appetite / Desire)
2. ความไม่อยากหรือความไม่ต้องการ (Aversion) นอกจากนี้ความรักหรือความเกลียดความดีหรือความชั่วก็เป็น
ความรู้สึกที่เกิดจากแรงกระตุ้นทั้ง 2 ประเภทนี้เช่นเดียวกัน
69. “สภาวะสงคราม” เกิดขึ้น ณ ที่ใด
1. สังคมบุพกาล 2. สังคมสมัยใหม่ 3. สังคมเกิดจากสัญญา
4. สภาพธรรมชาติ 5. สังคมการเมือง
ข้อสอบ POL 2105 2/64 15
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 4 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่
จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะ
ธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่
เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอำนาจเหนือ
คนอื่นอยู่ร่ำไปจนนำไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
70. คำว่า “ความยุติธรรมและยุติธรรม” ใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องตัดสิน
1. ความสามัคคี 2. ผลประโยชน์รวมส่วนรวม 3. กฎหมาย
4. สัญญา 5. ความชอบธรรม
ตอบ 4 ในทัศนะของฮอบส์ นั้นความยุติธรรมหรืออยุติธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการทำสัญญา
ประชาคมแล้ว กล่าวคือ เมื่อได้ทำสัญญากันแล้วผู้ละเมิดสัญญาหรือการไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็คือความยุติธรรม
ส่วนความยุติธรรมก็คือสิ่งที่ไม่อยุติธรรมหรือการปฏิบัติตามสัญญานั่นเอง

71. “ศาสนาเป็นสิ่งมัวเมาเหมือนยาเสพติด” เป็นต้นตอความคิดของใคร


1. เหมา เจ๋อ ตุง 2. สตาลิน 3. นิโคไล เลนิน
4. มุสโสลินี 5. คาร์ล มาร์กซ์
ตอบ 5 คาร์ล มาร์กซ์ ปฏิเสธศาสนา เพราะเชื่อว่า “ศาสนาเป็นสิ่งที่มัวเมาเหมือนยาเสพติด ที่ทำให้คนอยู่แต่
ในโลกจินตนาการ และลืมความเป็นจริงในโลก”
72. นักคิดที่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ คือ
1. เหมา เจ๋อ ตุง 2. เลนิน 3. ฮิตเลอร์
4. คาร์ล มาร์กซ์ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 นักคิดที่จัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1. คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) 2. นิโคไล เลนิน (Nicolai Lenin)
3. เหมา เจ๋อ ตุง หรือ เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung)
73. ผลงานส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่ ผลิตในช่วง
1. ที่เขาเรืองอำนาจ 2. ตกอับหมดอำนาจ 3. ประจำการอยู่ในกองทัพ
4. อยู่ต่างประเทศ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 มาเคียเวลลี่ เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในประเทศอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1469 โดยเขาได้เขียน
หนังสือไว้หลายเล่มทั้งในด้านการเมืองและบทละคร ได้แก่ ผู้ปกครองหรือมุขชน (The Prince), บทสนทนา
(The Discourses) เป็นต้น ซึ่งงานเขียนส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่นั้นเป็นผลิตผลในช่วงที่เขาตกอับหมด
อำนาจวาสนาทางการเมือง
74. แนวความคิดใดที่ไม่ใช่แนวคิดของรุสโซ
1. สัญญาประชาคม 2. ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ 3. เสรีภาพและความเสมอภาค
4. สุนัขจิ้งจอกกับราชสีห์ 5. เจตจำนงทั่วไป
ตอบ 4 แนวความคิดที่สำคัญของรุสโซ ได้แก่
1. การเกิดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว จะนำไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์
2. มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
ข้อสอบ POL 2105 2/64 16
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก
4. มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจำในอาณาจักรแห่งความคิด
5. คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายมากขึ้น
6. การทำสัญญาประชาคมจะก่อให้เกิดเสรีภาพ (แบบใหม่) และความเสมอภาคขึ้น
7. เจตจำนงทั่วไปคือเจตจำนงของคนทุกคน
8. ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทำนองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทำให้คนหนีไกล
ออกไปจากธรรมชาติ เป็นต้น
75. เนื้อหาในการวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมืองของ คาร์ล มาร์กซ์ มุ่งวิพากษ์
1. ระบบทุนนิยม 2. สังคมนิยม 3. การคอรัปชั่น
4. การรีดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน
5. ระบบทุนนิยมกับการรีดส่วนเกินของนายทุนชนชั้นแรงงาน
ตอบ 5 คาร์ล มาร์กซ์ ได้สร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองขึ้นเพื่ออธิบายว่า ในระบบทุนนิยมนั้นสิ่งที่นายทุน
คำนึงคือกำไร นายทุนจะได้เปรียบกรรมกร เพราะว่ามีการรีดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน หรือที่
เรียกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” นำเอาไปเป็นกำไรของตัวเอง

76. ข้อใดเป็นแนวความคิดของล็อค 1. มนุษย์เกิดมาพร้อมความป่าเถื่อน


2. ความเสมอภาคได้มาด้วยการต่อสู้ 3. มนุษย์มีเหตุผลและมีเมตตาธรรม
4. ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ 5. คนคือสัตว์การเมือง
ตอบ 3 โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจำตัว ล็อค เห็นว่า ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย

77. จุดแข็งของลัทธิมาร์กซ์คืออะไร 1. เห็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง


2. ไม่มีการแบ่งแยกของชนชั้น 3. ทุกคนเท่าเทียมกัน
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 จุดแข็งของลัทธิมาร์กซ์ คือ การนำกระบวนการวิภาษวิธีมาอธิบายสังคมทำให้เห็นรากเหง้าของปัญหาที่
ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม โดยเห็นว่าเมื่อสังคมพัฒนาไปถึงจุดสูงสุดแล้วสังคมจะไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น
และทุกคนเท่าเทียมกัน

78. “ผลที่ตามมาจากการทำสัญญาประชาคม 1. การมีหลักประกันการใช้ทรัพย์สิน


2. ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่โดยกฎหมาย 3. การมีอิสรภาพทางการเมือง
4. ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่จากองค์อธิปัตย์ 5. การมีหลักประกันความปลอดภัย
ตอบ 2 รุสโซ เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาประชาคมมี 2 ประการ ได้แก่
1. เสรีภาพ (แบบใหม่) อันเกิดจากการออกกฎหมายมาใช้บังคับตนเอง ซึ่งทำให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าไม่ถูกกดขี่จาก
กฎหมาย
2. ความเสมอภาค เป็นภาวะที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน นับตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของอำนาจ
อธิปไตยหรือเจตจำนงทั่วไป และการเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย
ข้อสอบ POL 2105 2/64 17
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
79. “เสรีภาพแบบใหม่” อันหมายถึงการเคารพเชื่อฟังเจตจำนงของตนเองนั้นเกิดขึ้นจากอะไร
1. การเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไป 2. การเคารพกฎหมายที่ดี 3. การใช้สิทธิเลือกตั้ง
4. การใช้เหตุผลกำกับการกระทำ 5. การกระทำนอกเหนือจากที่กฎหมายห้าม
ตอบ 1 รุสโซ เชื่อว่า เสรีภาพแบบใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีส่วนในการบัญญัติ
กฎหมายหรือการร่วมกันแสดงเจตจำนงทั่วไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรือเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไปที่
ตนเองเป็นผู้บัญญัติขึ้น

80. ข้อใดคือรูปแบบการปกครองที่นำมาซึ่งความวุ่นวายทางการเมือง
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ประชาธิปไตย
4. อภิชนาธิปไตย 5. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย)
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า รูปการปกครองแบบประชาธิปไตยจะก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงวุ่นวายทางการเมืองได้
เพราะถ้าให้ประชาชนทั่วไปเป็นผู้พิทักษ์เสรีภาพแล้ว พวกอภิชนจะไม่ไว้วางใจและอาจก่อการขัดขืนหรือปฏิวัติขึ้น
ได้

81. รุสโซ เชื่อว่ามนุษย์เราจะปราศจากเสรีภาพหากปราศจาก


1. ระบบการตรวจสอบที่ดี 2. ผู้นำที่ทรงคุณธรรม 3. หลักประกันทางกฎหมาย
4. ความเสมอภาค 5. กฎหมายที่เป็นธรรม
ตอบ 4 ถ้ามนุษย์ปราศจากเสียซึ่งความเสมอภาค การใช้เสรีภาพของมนุษย์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคน ๆ หนึ่งตกเป็นทาสของอีกคนหนึ่งนั้นหมายถึงว่า เขาได้สูญเสียความเสมอภาคของความเป็น
มนุษย์ไปแล้ว

82. ล็อคเห็นว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดจาก
1. การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย 2. การใช้แรงงานต่อสิ่งของนั้น ๆ
3. การถ่ายโอนเป็นมรดกตกทอด 4. การประกาศความเป็นเจ้าของ
5. การยอมรับความเป็นเจ้าของของผู้ใดผู้หนึ่งโดยผู้อื่น
ตอบ 2 ล็อค เห็นว่า โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนบุคคล (Private
Property) ได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้แรงงานจากร่างกาย เคลื่อนย้ายหรือเก็บเกี่ยวของสิ่งนั้น รวมทั้งในการสะสม
ทรัพย์สินก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโลกนี้ทั้งหมดเป็น
ของทุกคน (ชาวโลกทั้งมวล) หรือทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน

83. ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเสียงข้างมากของประชาชนตามหลักแห่งสัญญาประชาคมคือผู้ใด
1. นิติบัญญัติ 2. บริหาร 3. ทรัสตรี 4. องค์อธิปัตย์ 5. ตุลาการ
ตอบ 2 ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนา
สังคมการเมืองหรือรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการ
สถาปนารัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) นั้นจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสียงข้างมากของประชาชน
84. ผลสำเร็จของการแย่งชิงอำนาจในรูปของการปราบดาภิเษกหรือปฏิวัติมาจากข้อใด
1. ความร่วมมือจากประชาชน 2. ความช่วยเหลือของขุนนางหรือข้าราชการ
3. ความร่วมมือจากกองทัพประชาชน 4. ความร่วมมือจากประชาชนและขุนนางหรือข้าราชการ
5. ข้อ 2 และ 3
ข้อสอบ POL 2105 2/64 18
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ เห็นว่าการได้อำนาจมาด้วยวิธีการปราบดาภิเษกหรือการปฏิวัตินั้น อาจจะเป็นผลมาจาก
การสนับสนุนของกลุ่มขุนนาง (ข้าราชการ) หรือประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วหาก
ผู้ปกครองต้องการความมั่นคงในอำนาจก็จำต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งที่
ประชาชนต้องการมีเพียงสิ่งเดียว คือ อิสรภาพเสรีภาพจากการกดขี่ข่มเหง ซึ่งต่างจากขุนนางที่ต้องการกดขี่ข่มเหง
ประชาชนเพื่อมุ่งแข่งอำนาจกับผู้ปกครองเสมอ
85. สิ่งที่ถือว่าเป็น “ความไม่เท่าเทียมกันในสภาวะธรรมชาติ” 1. ความปลอดภัยในชีวิต
2. ทรัพย์สิน 3. ร่างกาย 4 ความเสมอภาค 5. เสรีภาพ
ตอบ 3 รุสโซ เชื่อว่า สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาคอย่างบริบูรณ์เท่า
เทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความไม่เท่าเทียมกันโดย ธรรมชาติอยู่บ้างบางประการ เช่น ความแข็งแรง
ของร่างกาย ความมากน้อยของอายุ เพศ พละกำลัง ความสามารถของสติปัญญา เป็นต้น
86. สัญญาประชาคมเป็นสิ่งจำเป็น เพราะ 1.มนุษย์ต้องการความหลุดพ้น
2. มนุษย์ขาดวินัย 3. มนุษย์รักและเคารพกติกา
4. ธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบทำร้ายซึ่งกันและกัน 5. ความอ่อนแอของพลังศาสนจักร
ตอบ 4 ฮอบส์ เห็นว่า การทำสัญญาประชาคมถือเป็นข้อตกลงระหว่างมนุษย์ที่จะยุติการกระทำอันตรายต่อกัน
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การทําสัญญาประชาคม ก็คือ การสละสิทธิ์ ตามธรรมชาติในส่วนที่จะทำร้ายผู้อื่นเพื่อปกป้อง
และรักษาตนเองให้ปลอดภัย ดังนั้นการบอกเลิกสัญญาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่พึงกระทำ เพราะจะขัดแย้งกับกฎ
ธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์จะไม่ทำอะไรที่เป็นการทำร้ายตัวเอง

87. “มนุษย์เกิดมาอย่างเสรี แต่ต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการทุกแห่งหน” คำว่า “พันธนาการ” หมายถึง


1. สภาวะแห่งความเป็นทาส 2. การบีบบังคับโดยผู้ปกครอง 3. ความเชื่อในศาสนา
4. การตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ของตนเอง 5. ขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับต่าง ๆ
ตอบ 5 จากคำกล่าวเบื้องต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งความเป็นอิสระหรือ
ภาวะที่เป็นเสรีนั้น ได้ถูกทำลายลงโดยสถาบันการปกครอง และอารยธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องพันธนาการ
หรือโซ่ตรวนบั่นทอนเสรีภาพของมนุษย์ ในลักษณะที่แฝงมาในรูปอื่น
88. “อำนาจบังคับ”
1. สังคมการเมือง 2. การปราบดาภิเษก 3. ผู้ปกครอง
4. เสรีภาพผู้ปกครอง 5. กองทัพ
ตอบ 1 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า หากไม่มีอำนาจใดมาบังคับให้มนุษย์เกิดความเกรงกลัวได้แล้ว มนุษย์ก็มักจะ
แสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือธรรมชาติอันชั่วร้ายอยู่เสมอ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่รัฐหรือสังคมการเมืองจะสามารถนำมาใช้
เป็นมาตรการควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของมนุษย์ได้ก็คือ การใช้อำนาจบังคับ
89. ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งไทย เป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจากคนกลุ่มใดเป็นสำคัญ
1. นักปรัชญาการเมือง 2. ผู้นำทางการเมือง 3. ข้าราชการ
4. นักธุรกิจ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยนั้น พบว่าเป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจากนัก
ปรัชญาการเมืองเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น คาร์ล มาร์กซ์, ฟรีดริช เองเกลส์, อดัม สมิธ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ข้อสอบ POL 2105 2/64 19
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
อิทธิพลของคาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการต่อสู้ ของบุคคลสำคัญ ๆ เช่น นิโคไล เลนิน (รัสเซีย), เหมา
เจ๋อ ตุง (จีน), นายปรีดี พนมยงค์ (ไทย), นายจิตร ภูมิศักดิ์ (ไทย) เป็นต้น
90. ในสภาวะธรรมชาติ ฮอบส์เชื่อว่าสังคมการเมือง
1. ขาดความเข้มแข็ง 2. เต็มไปด้วยนักเลงการเมือง 3. ปราศจากกฎหมาย
4. ยังไม่เกิดขึ้น 5. มีแต่การแก่งแย่งชิงดี
ตอบ 4 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่
จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะ
ธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่
เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอำนาจเหนือ
คนอื่นอยู่ร่ำไปจนนำไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
91. ล็อคถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิด
1. อนุรักษนิยม 2. เสรีนิยม 3. สังคมนิยม
4. ประชานิยม 5. วัตถุนิยมวิภาษวิธี
ตอบ 2  ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ใน
ประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมี
อิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิด
ร่วมสมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

92. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ เหมา เจ๋อ ตุง 1. เหมาเขียนบทความชื่อ On New Democracy


2. เหมาร่วมปฏิวัติราชวงศ์ถังเป็นผลสำเร็จ 3. เหมาเป็นผู้นำของซุน ยัด เซน
4. เหมาร่วมมือกับชนชั้นกระฎุมพี 5. เหมาเป็นลูกนายทหาร
ตอบ 1 ผลงานที่สำคัญของเหมาเจ๋อตุง ได้แก่
1. On Tactics Against Japanese Imperialism (1935) 2. On Practice (1937)
3. On Contradiction (1937) 4. On New Democracy (1940)
93. “อำนาจอธิปไตย” อันเป็นผลมาจากการทำสัญญาประชาคมเป็นของใครโดยเฉพาะ
1. บุคคลที่สาม 2. คู่สัญญา 3. ประชาชน
4. สภาผู้แทนราษฎร 5. คณะรัฐมนตรี
ตอบ 3 ฮอบส์ เห็นว่าอำนาจร่วม (Common Power) หรือการก่อตั้งรัฐบาลนั้น เป็นผลมาจากการทำ สัญญา
ประชาคมระหว่างคนทุกคนที่ทำเป็นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะมอบอำนาจและสละสิทธิ์ตาม
ธรรมชาติของตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาแต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ซึ่งเป็น ผู้ใช้
อำนาจร่วมหรืออำนาจอธิปไตยโดยอำนาจอธิปไตยนี้ถือเป็นอำนาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์
94. มาเคียอเวลลี่สนับสนุนการมีทหารเกณฑ์มากกว่าทหารรับจ้าง เพราะ
1. ทหารรับจ้างอาจมีคนต่างชาติแทรกซึมได้
2. ทหารรับจ้างมักเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ
3. ทหารเกณฑ์สามารถคัดเลือกได้จากคนหมู่มาก
4. ทหารรับจ้างมักไม่มีประสิทธิภาพในการรบ 5. ทหารเกณฑ์มีความสามารถมากกว่า
ข้อสอบ POL 2105 2/64 20
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 2 มาเคียอเวลลี่ เห็นว่า กองทัพที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วย ทหารประจำการ หรือทหารเกณฑ์ ไม่ใช่ทหาร
รับจ้างเพราะทหารเกณฑ์เหล่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะมี
ปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ

95. สิ่งที่มุขบุรุษพึงมีเยี่ยงสุนัชจิ้งจอก คือ 1. ความเย่อหยิ่ง 2. การมีพรรคพวก


3. ความเด็ดขาด 4. ความเฉลียวฉลาด 5. ความว่องไว
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

96. ล็อคได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศ
1. อิตาลี 2. ฮอลแลนด์ 3. สหรัฐอเมริกา 4. ฝรั่งเศส 5. เยอรมนี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายในข้อ 1. ประกอบ
97. คาร์ล มาร์กซ์ มีความคิดต่อต้านศาสนาเหมือนกับนักคิดคนใด
1. ซัง ซิมองต์ 2. อดัม สมิท
3. ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์ค 4. จอร์จ วิลเลี่ยม ฟรีดรีช เฮเกล
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 คาร์ล มาร์กซ์ มีความคิดต่อต้านศาสนาเหมือนกับ ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์คซึ่งเชื่อว่าศาสนามิได้เป็น
ตัวกำหนดปรากฏการณ์ทุกอย่าง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากวัตถุ
มากกว่า และคนเป็นผู้กำหนด มิใช่พระเจ้า
98. ในทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยมได้แบ่งแยกสังคมเป็นกี่ชนชั้น
1. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง 2. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง
3. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนำ ชนชั้นผู้ถูกปกครอง 4. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุน
5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ความเชื่อของลัทธิมาร์กซ์ มีดังนี้
1 เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
2 สังคมทุนนิยมเป็นสังคมที่นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
3 ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความเท่าเทียม คือทุกคนเป็นกรรมกร ไม่มีชนชั้นอื่น
4 ระบบทุนนิยมทำให้เกิดการแบ่งแยกสังคมเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน เป็นต้น

99. ในทัศนะของมาเคียอเวลลี่ ผู้ปกครองต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กันไป จะมีแต่เพียงความเมตตา


ไม่ได้ เพราะความเมตตาหมายถึง
1. ความโลเลไม่กล้าตัดสินใจ 2. ความอ่อนแอ
3. ความไม่เฉลียวฉลาด 4. การมีศีลธรรมกับผู้ที่ไม่ควรได้รับ
5. ความยำเกรงผู้อื่น
ตอบ 2 มาเคียอเวลลี่ เห็นว่าผู้ปกครองต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กันไปจะมี แต่เพียงความ เมตตา
ไม่ได้เพราะความเมตตาหมายถึงความอ่อนแอ ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งเหยิงตามมา ดังนั้นด้วยพันธะหน้าที่
ผู้ปกครองจึงต้องใช้ความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตาเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความยำเกรงและเชื่ อฟังไม่
กระด้างกระเดื่องรวมทั้งเพื่อรักษาผู้ที่ถูกปกครองให้มีเอกภาพและซื่อสัตย์ต่อผู้ปกครองด้วย
ข้อสอบ POL 2105 2/64 21
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
100. ฮอบส์เป็นนักคิดที่สนับสนุนระบอบ
1. สังคมนิยม 2. ธนาธิปไตย 3. อำมาตยาธิปไตย
4. ประชาธิปไตย 5. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตอบ 5 องค์อธิปัตย์ของฮอบส์นั้นจะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ได้อำนาจมาจากการทำสัญญาระหว่างประชาชน
โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรือ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสียงข้างมากที่จะมอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งถือว่า
สอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์หรือ
ผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือแบบเผด็จ
การเบ็ดเสร็จ



ปรึกษาการเรียนโทร 081-496-9907
ข้อสอบ POL 2105 1/64 1
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
......................
คำสั่ง : ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะสูงสุดหรือ Supreme power นั้นตรงกับข้อใด
1. เป็นองค์กรที่แสดงเจตจำนงของรัฐ 2. เป็นที่มาของฝ่ายบริหาร
3. เป็นองค์กรที่ใช้สิทธิพิเศษ 4. เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน
5. เป็นองค์อธิปัตย์
ตอบ 4 ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดภายในรัฐเหนืออำนาจอื่นทั้งหมด (Supreme Power)
ซึง่ ทําหน้าทีเ่ ป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชนเท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้เป็นองค์กรที่ใช้
อำนาจอธิปไตยหรือเป็นองค์อธิปัตย์ที่มีอำนาจสูงสุดภายในรัฐ
2. มาเคียเวลลี่ เชื่อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย
1. การสนับสนุนตัวบุคคล 2. การเน้นแต่เพียงประสิทธิภาพ
3. การไร้เมตตาธรรม 4. การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน
5. การขาดเสถียรภาพ
ตอบ 5 ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตยเป็นสิ่งดี แต่ระบบ
การปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีข้อบกพร่องที่สำคัญ คือการขาดเสถียรภาพ และความดีของระบบก็มักจะถูก
ทำลายลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก นี้คือความเชื่อของ มาเคียเวลลี
3. สาเหตุที่นิคโคโล มาเคียเวลลี่ ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์ที่สำคัญที่สุดของยุคนวสมัยเป็นเพราะเป็นผู้
1. ฝักใฝ่ความทันสมัย 2. ใฝ่ความเป็นประชาธิปไตย
3. ศึกษาการเมืองอย่างมีอุดมการณ์ 4. ศึกษาการเมืองตามสภาพความเป็นจริง
5. ใช้สถิติประกอบการศึกษา
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคนวสมัย (Modern Time)” โดยเขา
เป็นเมธีคนแรกที่บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มีลักษณะผิดแผกไปจากลักษณะ
ความคิดทางการเมือง (เชิงอุดมคติ) ในสมัยกลางอย่าง ชัดเจน ซึ่งจะศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมือง
ในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็นจริง นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษ
สำหรับผู้ปกครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบัติในการที่จะได้มาซึ่งอำนาจ
4. ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ ไม่ใช่ข้อใดดังต่อไปนี้
1. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึง่ มีการสร้างพันธมิตร
2. การปฏิวัติสังคมเกิดด้วยความรุนแรงเท่านั้น
3. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นการปกครองโดยเด็ดขาด มีกำลังอาวุธ
4. การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือระบบสังคมนิยม
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ มีดังนี้
1. การเน้นให้พรรคเป็นผู้นำในการปฏิวัติ 2. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึง่ มีการสร้างพันธมิตร
3. การปฏิวัติสังคมเกิดในประเทศเดียวก็ได้ และเกิดด้วยวิธีรุนแรงเท่านั้น
4. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นการปกครองที่เด็ดขาด
5. การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบจักรวรรดินิยม
ข้อสอบ POL 2105 1/64 2
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. การที่จะบังคับบุคคลที่หลงผิดให้เป็นอิสระเกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้าง
1. การถูกครอบงำโดยผลประโยชน์ส่วนตัว 2. การถูกครอบงำโดยผลประโยชน์ส่วนรวม
3. การถูกบังคับให้ไปเลือกตั้ง 4. การถูกบังคับให้ไปใช้อำนาจอธิปไตย
5. ผู้ที่บุคคลถูกบังคับไม่ให้เสพยาเสพติด
ตอบ 4 รุสโซ เห็นว่าเจตจำนงทั่วไปเป็นเจตจำนงที่แสดงออกเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือผลประโยชน์
ของคนทุกคนเป็นหลัก ดังนั้นใครก็ตามที่มีความเห็นแตกต่างจากเจตจำนงทั่วไปย่อมแสดงว่าเขาได้หลงผิดไป
เพราะตกอยู่ภายใต้ผลประโยชน์ส่วนตัวครอบงำจนเกิดเป็นเจตจำนงเฉพาะส่วนขึ้น ทั้งนี้บุคคลที่หลงผิดจะต้อง
ถูกบังคับให้ยอมรับและเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไปโดยการให้ไปใช้อำนาจอธิปไตยหรือไปร่วมกันทำหน้าที่บัญญัติ
กฎหมายในสภาราษฎรเพราะการเคารพกฎหมายบ้านเมืองจะทำให้ทุกคนมีเสรีภาพอย่างแท้จริง
6. ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น “องค์อธิปัตย์ไม่มีวันที่จะกระทำผิด” ข้อความนี้อธิบายได้จากเหตุผลใด
1. การผูกมัดจำสัญญา 2. การไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญา
3. การปฏิบัติไปตามตัวบทกฎหมาย 4. การเป็นตัวแทนเจตจำนงทั่วไป
5. การเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
ตอบ 2 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจตามที่
คู่สัญญาหรือประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพันใดๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามหรือ
รับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็นผู้ที่อยู่นอกเหนือสัญญาแล้วก็จะไม่มีการกระทำใดๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะ
ถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าองค์อธิปัตย์จะทำอะไรก็ไม่มีความผิดนั่นเอง
7. ผลอะไรจะเกิดขึ้นตามมา หากผู้ปกครองถึงแก่กรรมลงภายหลังที่สัญญาประชาคมได้กระทำไปแล้ว
1. เลือกตั้งผู้ปกครองหมายแทนคนเก่า 2. สัญญายังคงผูกมัดคู่สัญญา
3. สัญญาที่ผูกมัดก็จะหมดโดยปริยาย 4. เสียงข้างมากสามารถแก้ไขสัญญาเดิมได้
5. สิ้นสุดสัญญา สังคม และรัฐ
ตอบ 5 ฮอบส์ เห็นว่า การจัดตั้งรัฐเป็นผลมาจากการทำสัญญาประชาคม ซึ่งองค์อธิปัตย์จะมีฐานะเป็นคน
ธรรมดา (Natural Person) และเป็นคนสมมุติ (Artificial Person) โดยฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่าง
ระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกัน ดังนั้นถ้าไม่มีคนธรรมดา (ผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์) ที่มีอำนาจ
บังคับใช้เจตนารมณ์แล้วก็ย่อมจะเป็นการสิ้นสุดสัญญาสังคมและรัฐมนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติ
เหมือนเดิม

8. มาเคียอเวลลี่ แนะนำว่าการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของผู้นำทำให้
1. ผู้นำต้องพูดจริง 2. ผู้นำต้องกล้าได้กล้าเสีย 3. ผู้นำต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
4. ผู้นำต้องไม่รักษาสัจจะ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองต้องเป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมและไม่รักษาสัจจะ หากสัจจะนั้นจะทำลาย
ผลประโยชน์ของตนเอง โดยเขาให้เหตุผลว่า การรักษาสัจจะนั้น เป็นสิ่งที่ดีหากคนทั้งหมดเป็นคนดี แต่คนตาม
ธรรมชาตินั้นเลว และไม่รักษาสัจจะกับผู้ปกครอง ดังนั้นผู้ปกครองก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาสัจจะกับเขา
9. “ผลอันเกิดจากที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์”
1. ความอิจฉาริษยา 2. ความสุขในอนาคต
3. ความขยันขันแข็ง 4. สภาวะสงคราม 5. การร่วมมือกับผู้อื่น
ตอบ 5 รุสโซ อธิบายว่า การมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมธรรมชาติย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก
เพราะว่าความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือหรือการพึ่งพิงบุคคลอื่นเท่านั้น ดังนั้นผลอันเกิดจากการ
ข้อสอบ POL 2105 1/64 3
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
สนองตอบต่อสัญชาตญาณที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ก็คือการร่วมมือระหว่างกันหรือการร่วมมือกับผู้อื่น
นั่นเอง
10. เพราะเหตุใดผู้ใต้ปกครองถึงไม่บอกเลิกสัญญาประชาคม
1. การบอกเลิกก่อให้เกิดรัฐบาลทรราช 2. การบอกเลิกสัญญาเป็นการปฏิวัติ
3. การบอกเลิกก่อความวุ่นวายทางการเมือง 4. เงื่อนไขสัญญากำหนดไว้แล้วว่าบอกเลิกไม่ได้
5. การบอกเลิกสัญญาเป็นการทำร้ายตัวเอง
ตอบ 5 ฮอบส์ เห็นว่า การทำสัญญาประชาคมถือเป็นข้อตกลงระหว่างมนุษย์ที่จะยุติการกระทำอันตรายต่อ
กันและกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำสัญญาประชาคม ก็คือการสละสิทธิ์ตามธรรมชาติในส่วนที่จะทำร้าย
ผู้อื่นเพื่อปกป้องและรักษาตนเองให้ปลอดภัย ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่พึงกระทำ เพราะ
จะขัดแย้งกับกฎธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์จะไม่ทำอะไรที่เป็นการทำร้ายตัวเอง
11. ล็อคถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิด
1. วัตถุนิยมวิภาษวิธี 2. ประชานิยม 3. เสรีนิยม
4. สังคมนิยม 5. อนุรักษนิยม
ตอบ 3 ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ใน
ประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขา
ยังมีอิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และ
นักคิดร่วมสมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
12. ในทัศนะของมาเคียอเวลลี่ ผู้ปกครองต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กันไป จะมีแต่เพียงความเมตตา
ไม่ได้ เพราะความเมตตาหมายถึง
1. ความโลเลไม่กล้าตัดสินใจ 2. ความยำเกรงผู้อื่น
3. ความไม่เฉลียวฉลาด 4. ความอ่อนแอ 5. การมีศีลธรรมกับผู้ที่ไม่ควรได้รับ
ตอบ 4 มาเคียอเวลลี่ เห็นว่าผู้ปกครองต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กันไปจะมี แต่เพียงความ
เมตตาไม่ได้เพราะความเมตตาหมายถึงความอ่อนแอ ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งเหยิงตามมา ดังนั้นด้วยพันธะ
หน้าที่ผู้ปกครองจึงต้องใช้ความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตาเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความยำเกรงและเชื่อฟังไม่
กระด้างกระเดื่องรวมทั้งเพื่อรักษาผู้ที่ถูกปกครองให้มีเอกภาพและซื่อสัตย์ต่อผู้ปกครองด้วย
13. ผลงานส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่ ผลิตในช่วง
1. ที่เขาเรืองอำนาจ 2. ตกอับหมดอำนาจ 3. ประจำการอยู่ในกองทัพ
4. อยู่ต่างประเทศ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 มาเคียเวลลี่ เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในประเทศอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1469 โดยเขาได้เขียน
หนังสือไว้หลายเล่มทั้งในด้านการเมืองและบทละคร ได้แก่ ผู้ปกครองหรือมุขชน (The Prince), บทสนทนา
(The Discourses) เป็นต้น ซึ่งงานเขียนส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่นั้นเป็นผลิตผลในช่วงที่เขาตกอับหมด
อำนาจวาสนาทางการเมือง
14. “มนุษย์เกิดมาอย่างเสรี แต่ต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการทุกแห่งหน” คำว่า “พันธนาการ” หมายถึง
1. ความเชื่อในศาสนา 2. สภาวะแห่งความเป็นทาส
3. การบีบบังคับโดยผู้ปกครอง 4. ขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับต่าง ๆ
5. การตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ของตนเอง
ข้อสอบ POL 2105 1/64 4
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 4 จากคำกล่าวเบื้องต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งความเป็นอิสระหรือ
ภาวะที่เป็นเสรีนั้น ได้ถูกทำลายลงโดยสถาบันการปกครอง และอารยธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องพันธนาการ
หรือโซ่ตรวนบั่นทอนเสรีภาพของมนุษย์ ในลักษณะที่แฝงมาในรูปอื่น
15. “เสรีภาพแบบใหม่” อันหมายถึงการเคารพเชื่อฟังเจตจำนงของตนเองนั้นเกิดขึ้นจากอะไร
1. การกระทำนอกเหนือจากที่กฎหมายห้าม 2. การเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไป
3. การใช้สิทธิเลือกตั้ง 4.การเคารพกฎหมายที่ดี
5. การใช้เหตุผลกำกับการกระทำ
ตอบ 2 รุสโซ เชื่อว่า เสรีภาพแบบใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีส่วนในการบัญญัติ
กฎหมายหรือการร่วมกันแสดงเจตจำนงทั่วไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรือเชื่อฟังเจตจำนงทั่วไปที่
ตนเองเป็นผู้บัญญัติขึ้น
16. “สภาวะสงคราม” เกิดขึ้น ณ ที่ใด
1. สังคมเกิดจากสัญญา 2. สังคมการเมือง 3. สังคมสมัยใหม่
4. สภาพธรรมชาติ 5. สังคมบุพกาล
ตอบ 4 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่
จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะ
ธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่
เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอำนาจเหนือ
คนอื่นอยู่ร่ำไปจนนำไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
17. มาเคียเวลลี่ ผลิตงานชิ้นสำคัญ คือ
1. The fox 2. The Prince 3. Modern Machine
4. Magna Carta 5. The Element of Law
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ
18. การปฏิวัติเพื่อสร้างสาธารณะรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่ของ เหมา เจ๋อ ตุง มีลักษณะที่ไม่ใช่ลักษณะใด
ดังต่อไปนี้
1. การปฏิวัติเพื่อทำลายลัทธิทุนนิยม 2. การปฏิวัติเพื่อกำจัดเจ้าของที่ดิน
3. การปฏิวัติเพื่อประชาชนทุกชนชั้น 4. การปฏิวัติชาติ เพื่อกำจัดจักรวรรดินิยม
5. การปฏิวัติเพื่อกำจัดพวกปฏิกิริยา
ตอบ 1 “สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่” โดย เหมา เจ๋อ ตุง มีลักษณะสำคัญคือ การปฏิวัติชาติ เพื่อกำจัด
จักรวรรดินิยม และการปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อกำจัดเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ ซึ่งการปฏิวัติ ดังกล่าวมีเป้าหมาย
เพื่อล้มล้างการปกครองจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ทำลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยม
19. ฮอบส์ เชื่อว่ามนุษย์เราสมัครใจมอบอำนาจให้แก่ผู้อื่น เพราะ
1. เป็นธรรมชาติของการเมือง 2. ต้องการป้องกันตนเองจากภัยภายนอก
3. เพื่อพิทักษ์เสรีภาพ 4. เพื่อยุติความทะเยอทะยานของผู้มีอำนาจ
5. เป็นความประสงค์ของพระเจ้า
ตอบ 2 ฮอบส์ เชื่อว่า การที่มนุษย์สมัครใจยอมมอบอำนาจ ให้แก่ผู้อื่นนั้น เป็นเพราะว่ามนุษย์ต้องการป้องกัน
ตนเองจากการรุกรานจากภายนอก และต้องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ทำอันตรายต่อกันและกัน
ข้อสอบ POL 2105 1/64 5
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
20. นักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์มีความคิดที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน แต่ไม่ใช่ประเด็นใดดังต่อไปนี้
1. ต้องการให้ปัจเจกบุคคล สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้โดยเสรี
2. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
3. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
4. มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
5. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ
ตอบ 1 ประเด็นสำคัญที่คล้ายกันของนักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แก่
1. มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
2. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
3. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ
21. ลัทธิมาร์กซ์ เชื่อว่าอย่างไร
1. เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง 2. ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความเท่าเทียม
3. นายทุนเอาเปรียบกรรมกร 4. ระบบทุนนิยมคือต้นเหตุการณ์แบ่งแยกทางชนชั้น
5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ความเชื่อของลัทธิมาร์กซ์ มีดังนี้
1. สังคมทุนนิยมเป็นสังคมที่นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
2. เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
3. ระบบทุนนิยมทำให้เกิดการแยกสังคมเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน
4 ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทำให้เกิดความเท่าเทียม คือทุกคนเป็นกรรมกร ไม่มีชนชั้นอื่น
22. ลำดับขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงแบบวิภาษวิธี ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. Thesis, Anti-thesis, Non-Thesis 2. Thesis, Anti-thesis, Synthesis
3. Thesis, Analysis, Synthesis 4. Thesis, Analysis, Non-Thesis
5. Non-Thesis, Analysis, Synthesis
ตอบ 2 หลักวิภาษวิธี (Dialectic Method) มีสูตรที่เป็นวงจรการปะทะทางความคิดที่ไม่สิ้นสุด ดังนี้
ข้อเสนอยืน + ข้อเสนอแย้ง = การสังเคราะห์ หรือ Thesis + Antithesis = Synthesis
23. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี่ เห็นว่าผู้ที่ได้อำนาจมาด้วยการสืบสันติวงศ์ย่อม
1. ปกครองอย่างเป็นธรรม 2. มีแนวโน้มจะขยายอาณาจักรได้ง่ายกว่าผู้อื่น
3. มีศักยภาพในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข 4. มีขนบธรรมเนียมประเพณีรองรับความชอบธรรม
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง คือ
การรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสียงเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมของเดิมเสีย
ใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอำนาจอันชอบธรรมของ
ผู้ปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
24. เมื่อทำสัญญาประชาคมแล้ว ผู้ใต้ปกครองสามารถทำอะไรได้บ้าง
1. การถอดถอนองค์อธิปัตย์ 2. การไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นบางครั้ง
3. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 4. การบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้ว
5. การใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นครั้งคราว
ข้อสอบ POL 2105 1/64 6
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 4 ฮอบส์ อธิบายว่า เมื่อประชาชนตกอยู่ในสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์อธิปัตย์ การเปลี่ยนแปลงหรือ
ถอดถอนองค์อธิปัตย์นั้นแม้จะกระทำมิได้ แต่ประชาชนในฐานะผู้ใต้ปกครองก็มีสิทธิ์ขัดขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้
ทั้งนี้ โดยการร่วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้วเพื่อเริ่มต้นทำสัญญากันใหม่
25. ฮอบส์ เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้น 2 ประการ คือ
1. ความรุนแรงและความสงบ 2. กิเลสและตัณหา
3. ความอยากและความไม่อยาก 4. โลกีย์ธรรมและโลกุตรธรรม
5. การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่ง
ตอบ 3 ฮอบส์ เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นภายใน 2 ประเภท คือ
1. ความอยากหรือความต้องการ (Appetite/Desire)
2. ความไม่อยากหรือความไม่ต้องการ (Aversion)
นอกจากนี้ความรักหรือความเกลียดความดีหรือความชั่ว ก็เป็นความรู้สึกที่เกิดจากแรงกระตุ้นทั้ง 2 ประเภทนี้
เช่นเดียวกัน
26. “ผลที่ตามมาจากการทำสัญญาประชาคม”
1. การมีอิสรภาพทางการเมือง 2. การมีหลักประกันการใช้ทรัพย์สิน
3. การมีหลักประกันความปลอดภัย 4. ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่โดยกฎหมาย
5. ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่จากองค์อธิปัตย์
ตอบ 1 รุสโซ เห็นว่าผลที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาประชาคมมี 2 ประการ ได้แก่
1. เสรีภาพ (แบบใหม่) อันเกิดจากการออกกฎหมายมาใช้บังคับตนเอง ซึ่งทำให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าไม่ถูกกดขี่
จากกฎหมาย
2. ความเสมอภาค เป็นภาวะที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน นับตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของอำนาจ
อธิปไตยหรือเจตจำนงทั่วไปและการเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย
27. ฮอบส์เป็นนักคิดที่สนับสนุนระบอบ
1. สังคมนิยม 2. ธนาธิปไตย 3. อำมาตยาธิปไตย
4. ประชาธิปไตย 5. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตอบ 5 องค์อธิปัตย์ของฮอบส์นั้นจะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ได้อำนาจมาจากการทำสัญญาระหว่าง
ประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรือ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสียงข้างมากที่จะมอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครอง
ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์หรือ
ผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือแบบเผด็จการ
เบ็ดเสร็จ
28. แนวความคิดใดที่ไม่ใช่แนวคิดของรุสโซ
1. ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ 2. เสรีภาพและความเสมอภาค 3. เจตจำนงทั่วไป
4. สุนัขจิ้งจอกกับราชสีห์ 5. สัญญาประชาคม
ตอบ 4 แนวความคิดที่สำคัญของรุสโซ ได้แก่
1. การเกิดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว จะนำไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์
2. มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
3. การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก
4. มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจำในอาณาจักรแห่งความคิด
5. คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายมากขึ้น
ข้อสอบ POL 2105 1/64 7
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6. การทำสัญญาประชาคมจะก่อให้เกิดเสรีภาพ (แบบใหม่) และความเสมอภาคขึ้น
7. เจตจำนงทั่วไปคือเจตจำนงของคนทุกคน
8. ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทำนองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทำให้คนหนี
ไกลออกไปจากธรรมชาติ เป็นต้น
29. ในสภาวะธรรมชาติ ฮอบส์เชื่อว่าสังคมการเมือง
1. ปราศจากกฎหมาย 2. ยังไม่เกิดขึ้น 3. ขาดความเข้มแข็ง
4. เต็มไปด้วยนักเลงการเมือง 5. มีแต่การแก่งแย่งชิงดี
ตอบ 2 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่
จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะ
ธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทำอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่
เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอำนาจเหนือ
คนอื่นอยู่ร่ำไปจนนำไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง
30. ข้อใดเป็นการยืนยันว่าแนวความคิดของ Maoism เรื่องการปฏิวัติโลกของพรรคคอมมิวนิสต์
1. องค์กรคอมมิวนิสต์สากลตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง
2. ขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยถูกชี้นำโดยโซเวียตรัสเซีย
3. Maoism เสนอแนวคิดสนับสนุนการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพใน “ชนบทโลก”
4. จีนเป็นแบบแผนการปฏิวัติพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกอย่างเปิดเผย
5. พรรคคอมมิวนิสต์ไทยและของมลายาใช้แนวทางสายจีน
ตอบ 5 เหมาเจ๋อตุงมีความปรารถนาอย่างแน่วแน่ และจริงจัง ในการวางรากฐานของระบบคอมมิวนิสต์ใน
เอเชีย โดยใช้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นศูนย์กลาง เพื่อเผยแพร่อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้บรรลุ
เป้าหมาย ฉะนั้น คอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ได้ยึดถือแนวความคิดของเหมาเจ๋อตุงเป็นหลักการใน
การดำเนินการที่เรียกว่า “ลัทธิเหมา” (Maoism)
31. หนังสือและบทความใดต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อเขียนของ นิโคโล เลนิน
1. จะทำอะไร (What to be done)
2. สังคมนิยมและสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4. คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ผลงานที่สำคัญของนิโคไล เลนิน ได้แก่
1. จักรวรรดินิยม : ขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยม (Imperialism : The Highest Stage of Capitalism)
2. สังคมนิยมเละสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution) 4. จะทำอะไร (What to be done)
32. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่ถือได้ว่าเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง
1. ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 2. ประชาชนทั้งหมด
3. ผู้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐบาล 4. ประชาชนส่วนใหญ่
5. มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด
ตอบ 2 ในความเห็นของ ล็อค ประชาชนทั้งมวล สามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้เป็นครั้งคราวในกรณีที่รัฐบาล
ถูกยุบเท่านั้น แต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง
ข้อสอบ POL 2105 1/64 8
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
33. คุณูปการ ของ คาร์ล มาร์กซ์ ที่สำคัญมีหลายประเด็น แต่ไม่ใช่ประเด็นใด
1. แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี Dialectic 2. แนวคิดวัตถุนิยม
3. หลักเศรษฐกิจกำหนด 4. หลักอรรถประโยชน์นิยม 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 คุณูปการที่สำคัญของคาร์ล มาร์กซ์ ได้แก่
1. แนวคิดวัตถุนิยม (Materialism) 2 แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี (Dialectic)
3. หลักเศรษฐกิจกำหนด (Economic Determinism)
34. จุดเน้นทางความคิดแตกต่างกันระหว่างเลนินกับเมาเจ๋อตุง คือ
1. ศักยภาพในการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ 2. ศักยภาพของชนชั้นกระฎุมพี
3. ศักยภาพของชนชั้นนายทุน 4. ศักยภาพในการปฏิวัติของปัญญาชน
5. ศักยภาพในการปฏิวัติของชาวนา
ตอบ 5 แนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงที่มีลักษณะจำเพาะต่างจากลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน คือ
การเปลี่ยนความคิดเดิมของลัทธิเลนินที่ว่าเส้นทางไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติมีจุดศูนย์กลางที่การลุกฮือในเมือง
โดยเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนรูปแบบของการปฏิวัติโซเวียตจากเมืองสู่ชนบทเป็นชนบทสู่เมือง เหมามอบบทบาท
หลักในการทำปฏิวัติจีนให้แก่ชนชั้นชาวนา โดยเน้นลักษณะการทำสงครามปฏิวัติที่ยืดเยื้อมีชนบทเป็นที่ตั้งของ
ศูนย์อำนาจปฏิวัติ
35. มาเคียเวลลี่เชื่อว่าผู้ปกครองควรมีความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตาเนื่องจาก
1. ความเด็ดขาดทำให้เกิดความยำเกรง 2. ความอ่อนแอแสดงให้เห็นถึงความโลเล
3. ความเด็ดขาดเป็นคุณสมบัติของผู้ขาย 4. ความอ่อนแอเป็นคุณสมบัติของอิสตรีเพศ
5. ไม่ควรมีเหตุผลกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
36. ในผลงานเรื่อง “เจ้าผู้ปกครอง” ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า
1. การจูงใจมวลชนเป็นภารกิจที่ยากที่สุด
2. การรักษาไว้ซึ่งอำนาจยากเสียยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอำนาจ
3. เมตตาธรรมของผู้ปกครองเท่านั้นที่จะครองโลก 4. ภูมิปัญญาของผู้นำเปรียบเสมือนเข็มทิศของสังคม
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 มาเคียเวลลี่เห็นว่าเป้าหมายของการเมืองก็คือ การรักษาหรือเพิ่มอำนาจการเมืองโดยเฉพาะ ซึ่งในการ
ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมก็ตาม ดังนั้นสิ่ง ที่
มาเคียเวลลี่ สนใจมากที่สุดก็คือ ทำอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอำนาจไว้ได้ ทั้งนี้เพราะการรักษาไว้ซึ่ง
อำนาจเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอำนาจเสียอีก ดังในหนังสือเรื่อง The Prince (เจ้าผู้ปกครอง)
37. ล็อคเห็นว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดจาก
1. การใช้แรงงานต่อสิ่งของนั้น ๆ 2. การถ่ายโอนเป็นมรดกตกทอด
3. การประกาศความเป็นเจ้าของ 4. การยอมรับความเป็นเจ้าของของผู้ใดผู้หนึ่งโดยผู้อื่น
5. การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย
ตอบ 1 ล็อค เห็นว่า โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนบุคคล (Private
Property) ได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้แรงงานจากร่างกาย เคลื่อนย้ายหรือเก็บเกี่ยวของสิ่งนั้น รวมทั้งในการสะสม
ทรัพย์สินก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโลกนี้ทั้งหมด
เป็นของทุกคน (ชาวโลกทั้งมวล) หรือทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน
ข้อสอบ POL 2105 1/64 9
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
38. ฮอบส์ เชื่อว่า สภาวะแห่งพันธสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อองค์อธิปัตย์
1. ถูกรัฐอื่นรุกราน 2. ถูกโค่นล้มโดยขุนนางอำมาตย์
3. ตกลงกับปวงชนที่จะยกเลิกสัญญา 4. ถูกโค่นล้มโดยปวงชน
5. ไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน
ตอบ 5 เห็นว่า ในกรณีที่องค์อธิปัตย์ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนได้ หรือไม่
สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองได้ ก็หมายความว่า เขาได้สูญเสียอำนาจและหมดสภาพความเป็น
องค์อธิปัตย์ไปแล้วโดยปริยาย สภาวะแห่งพันธะสัญญาก็จะสิ้นสุดลง แต่ละคนก็จะตกอยู่ในสภาวะธรรมชาติ
ตามเดิม
39. ในทัศนะของมาเคียอเวลลี่ “รัฐ” กำเนิดจาก
1. การใช้กำลังอำนาจในการบีบบังคับ 2. ความชาญฉลาดของผู้ปกครอง
3. การรู้จักสามัคคีของผู้คนในสังคม 4. ความผูกพันทางภาษาและวัฒนธรรม
5. ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพในการพิทักษ์ตนเอง
ตอบ 5 ตามความเห็นของ มาเคียเวลลี่ เห็นว่า “รัฐ” หรือสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรือการ
บันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทักษ์ตนเอง
ให้พ้นจากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้
40. เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทำแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาได้แก่
1. รัฐ 2. รัฐบาล 3. สังคม
4. ข้อ 2 และข้อ 3 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทำขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียว สังคม รัฐ และรัฐบาลก็จะเกิดขึ้นตามมาทันที
เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นการล้มล้างรัฐบาลจึงเป็นการกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติ
ตามเดิม เนื่องจาก ฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกัน
41. แนวคิดของมาร์กซ์เรื่องวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ประยุกต์จากแนวความคิดของเฮเกลเรื่อง
1. ความขัดแย้งระหว่างจิตกับวัตถุ 2. กระบวนการตกผลึกทางความคิด
3. Dialectics 4. กระบวนการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์
5. ปัญญาชนปฏิวัติ
ตอบ 3 มาร์กซ์ ได้รับเอาแนวความคิดเรื่องวิภาษวิธี หรือความเป็นปฏิปักษ์ ขัดแย้ง (Dialectic) ของเฮเกล
มาอธิบายถึงเรื่องวิวัฒนาการทางสังคมและประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย
1. Synthesis คือ สภาวะผสมผสานหรือสหกิริยา 2. Anti-Thesis คือ สภาวะแย้งหรือปฏิกิริยา
3. Thesis คือ ภาวะที่เป็นอยู่หรือกิริยา
42. คำถามใดเป็นคำถามที่มาเคียเวลลี่สนใจมากที่สุด
1. เหตุใดอาณาจักรโรมันจึงล่มสลาย 2. ทำอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอำนาจไว้ได้
3. ความชอบธรรมทางการเมืองคืออะไร 4. ทำอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถขยายอำนาจได้
5. อะไรคือคุณธรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ปกครอง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ
43. ระหว่างบุคคลและสิ่งต่อไปนี้ มาเคียเวลลี่สอนให้เคารพสิ่งใดมากที่สุด
1. กฎหมาย 2. ผู้นำทางศาสนา 3. คำสั่งของมุขบุรุษ
4. ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง 5. ผู้ที่ออกกฎหมายอย่างมีคุณธรรม
ข้อสอบ POL 2105 1/64 10
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 1 มาเคียเวลลี่เชื่อว่า กฎหมายเป็นสิ่งสูงสุดในการปกครองและเป็นหลักประกันสำหรับทุก ๆ คนในรัฐ
ถึงแม้ว่าคนจะเป็นผู้บัญญัติ ตีความ หรือบริหารกฎหมายก็ตาม แต่เราเขาควรจะเคารพกฎหมายมากกว่าผู้
บัญญัติกฎหมาย
44. คำว่า “ความยุติธรรมและยุติธรรม” ใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องตัดสิน
1. ความสามัคคี 2. ผลประโยชน์รวมส่วนรวม 3. กฎหมาย
4. สัญญา 5. ความชอบธรรม
ตอบ 4 ในทัศนะของฮอบส์ นั้นความยุติธรรมหรืออยุติธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการทำสัญญา
ประชาคมแล้ว กล่าวคือ เมื่อได้ทำสัญญากันแล้วผู้ละเมิดสัญญาหรือการไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็คือความยุติธรรม
ส่วนความยุติธรรมก็คือสิ่งที่ไม่อยุติธรรมหรือการปฏิบัติตามสัญญานั่นเอง
45. “มนุษย์ในสังคมอารยะเป็นทาสที่ถูกจองจำอยู่ในจักรวรรดิแห่งความคิด (The Empire of opinion) ของ
เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง” ข้อความดังกล่าวหมายถึงอะไร
1. ผลประโยชน์ส่วนรวม 2. พฤติกรรมของเราถูกกำหนดโดยบุคคลอื่น
3. การคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้อื่น 4. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
5. การไม่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ตอบ 4 ในทัศนะเกี่ยวกับความเป็นทาสนั้น รุสโซเห็นว่า ทั้งผู้กดขี่และถูกกดขี่ต่างก็อยู่ในเครื่องพันธนาการ
เช่นกัน ซึ่งพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และต่างก็ตกอยู่ในหลุมพรางของกันและกัน นั่นคือ มนุษย์ใน
สังคมอารยะเป็นทาสที่ถูกจองจำอยู่ในจักรวรรดิแห่งความคิด (The Empire of Opinion) ของเพื่อนมนุษย์
ด้วยกันเอง
46. ผู้ใดทีไ่ ม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางความคิดของล็อค
1. มองเตสกิเออ 2. รุสโช 3. เดอ ทอคเกอร์วิลล์
4. เฮเกล 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
47. อะไรคือตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์
1. การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
3. การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การยอมรับและนำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1 การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในด้านการปฏิบัติ
2 การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
3 การนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้การยอมรับและนำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้ เป็นต้น
48. การแปลงทฤษฎีมาร์กซ์ซิสม์ให้เป็นจีน (Sinification of Marxism) ของเมาเซตุง หมายถึง
1. ส่งเสริมให้มีการศึกษาทางทฤษฎีมาร์กซ์ซิสม์อย่างจริงจังในโรงเรียนจีน
2. ศึกษาทฤษฎีมาร์กซ์ซีสม์โดยไม่ละเลยเงื่อนไขประวัติศาสตร์และสังคมของจีน
3. ปฏิวัติสังคมจีนโดยใช้หลักการมาร์กซ์ซีสม์อย่างเคร่งครัด
4. เลือกใช้หลักการบางอย่างของมาร์กซ์ซิสม์ที่ใช้ได้กับสังคมจีนเท่านั้น
5. ใช้หลักการของขงจื้อมาผสมผสาน
ตอบ 2 “การแปลงทฤษฎีมาร์กซ์ซิสม์ให้เป็นจีน” ในแนวคิดของเมาเซตุง (Mao Tse Tung) หมายถึง การ
นำเอาทฤษฎีของ Marx มาใช้โดยปรับให้ใช้กับสถานการณ์ที่เป็นจริงในจีน หรือ การศึกษาลัทธิมาร์กซ์โดยไม่
ข้อสอบ POL 2105 1/64 11
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ละเลยเงื่อนไขประวัติศาสตร์และสังคมของจีน มิใช่นำลัทธิมาร์กซ์ที่เป็นรูปธรรมที่มองไม่เห็นมาใช้ แต่เป็นลัทธิ
มาร์กซ์แบบจีน ๆ ที่คนธรรมดาสามารถเข้าใจได้
49. ลัทธิมาร์กซ์ ไม่เกี่ยวข้องกับอะไร
1. นักคิดชื่อ Carl Marx 2. แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ 3. แนวคิดแบบสังคมนิยม
4. แนวคิดอรรถประโยชน์นิยม 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ลัทธิมาร์กซ์ ก่อกำเนิดขึ้นโดยนักคิดที่ชื่อว่า คาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าตำรับหรือ
บิดาแห่งคอมมิวนิสต์และแนวคิดแบบสังคมนิยม โดยมาร์กซ์นั้นเกิดที่เมืองทรีเออร์ ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ.
1818 บิดาเป็นทนายความที่มีชื่อเสียง มาร์กซ์เคยมีสัญชาติยิวแต่เมื่ออายุได้ 6 ขวบ ก็เปลี่ยนเป็นโปรเตสแตนต์
50. มาเคียเวลลี่ เห็นว่ากลุ่มคนที่จะเป็นอันตรายต่อมุขบุรุษ คือ
1. คนต่างด้าว 2. คนยากจน
3. ขุนนางข้าราชการรอบข้างปัญญาชน 4. ประชาชนหัวแข็ง 5. ปัญญาชน
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมักชอบ
ประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง หรือชอบปิดกั้นความจริงที่
ผู้ปกครองควรจะทราบ ซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ในตัวข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือ
กำจัดโดยเร็ว เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทำลายเสถียรภาพของผู้ปกครอง
51. “สภาวะสงคราม” ในทัศนะของล็อค หมายถึง
1. ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ผู้ปกครอง 2. สงครามระหว่างรัฐ
3. ความขัดแย้งทำลายเสรีภาพ 4. สภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ
5. การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
ตอบ 3 ล็อค เห็นว่า ข้อบกพร่องของสภาวะธรรมชาติเป็นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทั่งนําไปสู่
“สภาวะสงคราม” ซึ่งจะทำลายเสรีภาพของมนุษย์
52. ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเสียงข้างมากของประชาชนตามหลักแห่งสัญญาประชาคมคือผู้ใด
1. นิติบัญญัติ 2. ตุลาการ 3. องค์อธิปัตย์
4. ทรัสตรี 5. บริหาร
ตอบ 5 ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนา
สังคมการเมืองหรือรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วน
การสถาปนารัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) นั้นจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสียงข้างมากของ
ประชาชน
53. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี ศัตรูโดยธรรมชาติสำหรับนักปฏิรูป คือ
1. อาณาจักรข้างเคียง 2. ปัญญาชนประเภทอนุรักษนิยม
3. ทหารในระบอบเก่า 4. ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า
5. เหล่าอำมาตย์ขุนนาง
ตอบ 4 มาเคียเวลลี่กล่าวว่า ผู้ที่ทำการปฏิรูปจะสร้างศัตรูหรือมีแนวโน้มถูกต่อต้านจากผู้ที่เคยได้รับ
ผลประโยชน์จากแบบแผนเก่า ๆ ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์จากระเบียบใหม่ ๆ นั้นอาจจะสนับสนุนผู้ปกครองคนใหม่
แต่การสนับสนุนนั้นยังหาความมั่นคงไม่ได้อาจเป็นการสนับสนุนเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความ
มั่นคงของสิ่งใหม่รวมทั้งผู้ปกครองใหม่มากนัก
ข้อสอบ POL 2105 1/64 12
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
54. มุขบุรุษต้องมีคุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอก เพราะ
1. ต้องมีพรรคพวก 2. ต้องมีความเย่อหยิ่ง 3. ต้องมีความเฉลียวฉลาด
4. ต้องรักษาสัจจะ 5. ต้องทำร้ายผู้อื่นลับหลัง
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัขจิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่าง
ราชสีห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้
55. คำอธิบาย “ความสัมพันธ์ทางการผลิต (relation of production) ในลัทธิมาร์กซ์ หมายถึง
1. การที่มนุษย์ใช้เครื่องมือในการผลิต 2. การที่มนุษย์ขาดเครื่องมือในการผลิต
3. การที่มนุษย์ซื้อ-ขายเครื่องมือการผลิต 4. การที่มนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต
5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Product) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ
การผลิต เพื่อดูว่ามนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตหรือไม่
56. หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้องทำอะไรในอันดับต่อไป
1. เลือกตั้งรัฐบาลใหม่ 2. ใช้อำนาจสหพันธ์ 3. ใช้สิทธิพิเศษ
4. ทำสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่ 5. ดูแลความปลอดภัยให้แก่ตนเอง
ตอบ 1 ล็อค กล่าวว่า หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทำการเลือกตั้งหรือสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า
เปลี่ยนความยินยอมซึ่งต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก
57. ระบบการเมืองตามทฤษฎีสัญญาประชาคมสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด
1. รัฐสภา 2. ประธานาธิบดี 3. กึ่งประธานาธิบดี
4. กึง่ รัฐสภา 5. แบบผสมระหว่าง 1 กับ 2
ตอบ 1 ตามหลักสัญญาประชาคมของล็อคนั้น เมื่อมนุษย์ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมการเมืองแล้ว
สิ่งแรกที่จำเป็นต้องดำเนินการคือ การสถาปนาองค์กรที่ ใช้อำนาจนิติบัญญัติขึ้นมาเพื่อวางแนวทางในการ
ดำเนินงานหรือกำหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหาร นำไปปฏิบัติ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงไม่มีอิสระที่จะทำอะไรตาม
เจตจำนงของตน ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
กำหนดขึ้น ซึ่งจากหลักการดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด
58. คำพูดใดเป็นแนวความคิดของมาเคียเวลลี
1. ไม่มีผู้ใดใหญ่ค้ำฟ้า 2. มนุษย์ย่อมรู้จักความพอเหมาะพอดี
3. ความรักชาติเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อแผ่นดิน
4. มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่ไม่อาจปฏิเสธชุมชนการเมืองได้
5. ธรรมชาติสร้างให้คนคิดว่าไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจแสวงหาได้
ตอบ 5 มาเคียเวลลี่ กล่าวว่า ความกระหายของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่รู้จักอิ่ม คนถูกสร้างมาโดยธรรมชาติให้คิดว่า
ไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจแสวงหาได้ แต่โดยโชคชะตาแล้วคนจะสมปรารถนาในบางสิ่งเท่านั้น ดังนั้นจิตของคนจึงมี
ความไม่พอใจชั่วนิรันดร์
59. มาเคียเวลลี่ สอนว่าคนรอบข้างผู้ปกครองมักชอบ
1. เพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยิน 2. แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย
3. นินทาผู้ปกครอง 4. แสวงหาอามิสสินจ้าง
5. มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ
ข้อสอบ POL 2105 1/64 13
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
60. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุโรปที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดมาร์กซิสม์ คือ
1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม 2. ลัทธิล่าอาณานิคม
3. การประดิษฐ์เครื่องทอผ้า 4. การปฏิวัติฝรั่งเศส
5. การเกิดชนชั้นกระฎุมพีใหม่
ตอบ 4 ในช่วงที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสหลายครั้งนั้น Marx และ Engels ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง คำ
ประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ขึ้น โดย Marx ได้ใช้ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงนั้น
ส่งเสริม “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” จนเขาถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเนรเทศ ออกจากกรุงบรัสเซล
61. “รัฐบาล” ตามแนวคิดสัญญาประชาคม ไม่ได้หมายถึงบุคคลหรือสถาบันใด
1. นิติบัญญัติ 2. บริหาร 3. ตุลาการ
4. องค์อธิปัตย์ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 รุสโซ อธิบายว่า ตามทฤษฎีสัญญาประชาคม “รัฐบาล” หมายถึงผู้ที่ใช้อำนาจบริหารซึ่งมีฐานะเป็น
เพียงแค่องค์กรที่รับมอบอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชนเท่านั้น อีกทั้งรัฐบาลเป็นเพียงคณะบุคคลที่นำเอา
เจตจำนงทั่วไปมาปฏิบัติ รัฐบาลไม่ใช่องค์อธิปัตย์ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นผลมาจากกฎหมายมิใช่เป็นการ
ทำสัญญา
62. หากการปฏิรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่มีแนวโน้มต่อต้านคือ
1. ทหาร 2. ขุนนางอำมาตย์ 3. เครือญาติ
4. ปัญญาชน 5. ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ
63. สัญญาประชาคมเป็นสิ่งจำเป็น เพราะ
1. ความอ่อนแอของพลังศาสนจักร 2. ธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบทำร้ายซึ่งกันและกัน
3. มนุษย์รักและเคารพกติกา 4. มนุษย์ขาดวินัย
5. มนุษย์ต้องการความหลุดพ้น
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ
64. บทความเรื่อง “ระเบียบทางสังคม” เป็นข้อเขียนของใคร
1. ปรีดี พนมยงค์ 2. เสนีย์ เสาวพงศ์ 3. กุหลาบ สายประดิษฐ์
4. เปลื้อง วรรณศรี 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า “ศรีบูรพา” เป็นผู้เขียนบทความเรื่อง
“ระเบียบทางสังคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1954 โดยได้เขียนตามแนวความคิดของเองเกลส์ที่เขียนในเรื่อง “The
Origin of Family, Private Property and State”
65. ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่อว่าเกิดจาก
1. ประสบการณ์ 2. การเอาตัวรอด 3. การมีปัญญา
4. พระผู้เป็นเจ้า 5. พรสวรรค์
ตอบ 4 ล็อคเห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจำตัว คือ ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้วมนุษย์ยังมีความเมตตาธรรมใฝ่สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย
66. บทความเรื่อง “ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นผลงานร่วมกันระหว่าง
1. ฟรีดริช เองเกลส์ + คาร์ล มาร์กซ์ 2. ลุดวิก ฟอยเออส์บาร์ค + คาร์ล มาร์กซ์
3. อดัม สมิท + เดวิท ริคาโด 4. คาร์ล มาร์กซ์ + เฮเกล
5. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อสอบ POL 2105 1/64 14
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 1 ผลงานที่ฟรีดริช เองเกลส์ และคาร์ล มาร์กซ์ ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา ได้แก่
1. คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
2. อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
3. ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family)
67. รุสโซ เชื่อว่ามนุษย์เราจะปราศจากเสรีภาพหากปราศจาก
1. กฎหมายที่เป็นธรรม 2. ผู้นำที่ทรงคุณธรรม 3. ความเสมอภาค
4. ระบบการตรวจสอบที่ดี 5. หลักประกันทางกฎหมาย
ตอบ 3 ถ้ามนุษย์ปราศจากซึ่งความเสมอภาค การใช้เสรีภาพของมนุษย์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคน ๆ หนึ่งตกเป็นทาสของอีกคนหนึ่งนั้นหมายถึงว่า เขาได้สูญเสียความเสมอภาคของความเป็น
มนุษย์ไปแล้ว
68. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ เหมา เจ๋อ ตุง
1. เหมาเป็นลูกนายทหาร 2. เหมาร่วมปฏิวัติราชวงศ์ถังเป็นผลสำเร็จ
3. เหมาเป็นผู้นำของซุน ยัด เซน 4. เหมาเขียนบทความชื่อ On New Democracy
5. เหมาร่วมมือกับชนชั้นกระฎุมพี
ตอบ 4 ผลงานที่สำคัญของเหมาเจ๋อตุง ได้แก่
1.. On Tactics Against Japanese Imperialism (1935) 2. On Practice (1937)
3. On Contradiction (1937) 4. On New Democracy (1940)
69. แนวความคิดที่สำคัญของมาเคียอเวลลี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
1. เผด็จการที่มีคุณธรรม 2. เงื่อนไขระบอบประชาธิปไตย
3. ยุทธวิธีในการขยายดินแดน 4. เป้าหมายแห่งรัฐ
5. ภาวะความเป็นผู้นำ
ตอบ 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า แนวความคิดที่สำคัญของเขาเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาวะความเป็นผู้นำ กล่าวคือคุณค่า
ของรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐมีผู้นำที่เข้มแข็ง โดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอาจเป็น
ผู้วางรูปแบบหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ แต่เขาทั้งหลายจะต้องอยู่ภายใต้การนำของผู้นำที่เข้มแข็ง เสถียรภาพ
และความไพบูลย์ แห่งสาธารณรัฐจึงจะบังเกิดขึ้นได้
70. ล็อคได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศใด
1. เยอรมนี 2. อังกฤษ 3. ฮอลแลนด์
4. ฝรั่งเศส 5. สหรัฐอเมริกา
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
71. ข้อใดเป็นแนวความคิดของล็อค 1. คนคือสัตว์การเมือง
2. ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ 3. มนุษย์เกิดมาพร้อมความป่าเถื่อน
4. มนุษย์มีเหตุผลและมีเมตตาธรรม 5. ความเสมอภาคได้มาด้วยการต่อสู้
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ
72. ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์มีลักษณะใดดังต่อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูกต้อง
2. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
3. สภาทุกระดับของประชาชนส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาดห้ามโต้แย้ง
ข้อสอบ POL 2105 1/64 15
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูก 2. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาด
3. สภาประชาชนทุกระดับจะส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
73. “อำนาจอธิปไตย” อันเป็นผลมาจากการทำสัญญาประชาคมเป็นของใครโดยเฉพาะ
1. บุคคลที่สาม 2. คู่สัญญา 3. คณะรัฐมนตรี
4. สภาผู้แทนราษฎร 5. ประชาชน
ตอบ 5 ฮอบส์ เห็นว่าอำนาจร่วม (Common Power) หรือการก่อตั้งรัฐบาลนั้น เป็นผลมาจากการทำ
สัญญาประชาคมระหว่างคนทุกคนที่ทำเป็นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะมอบอำนาจและสละสิทธิ์ตาม
ธรรมชาติของตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาแต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ซึ่งเป็น
ผู้ใช้อำนาจร่วมหรืออำนาจอธิปไตยโดยอำนาจอธิปไตยนี้ถือเป็นอำนาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์
74. “ศาสนาเป็นสิ่งมัวเมาเหมือนยาเสพติด” เป็นต้นตอความคิดของใคร
1. เหมา เจ๋อ ตุง 2. คาร์ล มาร์กซ์ 3. สตาลิน
4. มุสโสลินี 5. นิโคไล เลนิน
ตอบ 2 คาร์ล มาร์กซ์ ปฏิเสธศาสนา เพราะเชื่อว่า “ศาสนาเป็นสิ่งที่มัวเมาเหมือนยาเสพติด ที่ทำให้คนอยู่แต่
ในโลกจินตนาการ และลืมความเป็นจริงในโลก”
75. เมื่อสัญญาได้กระทำกันแล้ว สิทธิในทรัพย์สินถูกเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอย่างไร
1. กลายเป็นที่มาแห่งสิทธิในทรัพย์สิน 2. มีความมั่นคงกว่าเดิม
3. กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลกลายเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม 4. มีความมั่นคงน้อยกว่าเดิม
5. เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
ตอบ 2 ล็อค เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะ
เป็นไปด้วยความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะ ดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มี
ความปลอดภัย และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมั่นคง และเป็นความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่
ไม่เข้าร่วมหรือมีความมั่นคงกว่าเดิม
76. ตามแนวความคิดเรื่องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่งความเป็นจริงออกเป็น 2 ส่วนอะไรบ้าง
1. จิตกับวัตถุ 2. จิตกับกาย 3. สสารกับอสสาร
4. ตัวตนและไม่ใช่ตัวตน 5. กายภาพ กับ ชีวภาพ
ตอบ 3 จิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกลเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน
1. อสสาร คือ ไม่เป็นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้
2. สสาร คือ เป็นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้
77. สิ่งที่ถือว่าเป็น “ความไม่เท่าเทียมกันในสภาวะธรรมชาติ”
1. ร่างกาย 2. ความปลอดภัยในชีวิต 3. ความเสมอภาค
4. เสรีภาพ 5. ทรัพย์สิน
ตอบ 1 ตามความเห็นของรุสโซ สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาค
อย่างบริบูรณ์เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติอยู่บ้างบางประการ เช่น
ความแข็งแรงของร่างกาย ความมากน้อยของอายุ เพศ พละกำลัง ความสามารถของสติปัญญา เป็นต้น
ข้อสอบ POL 2105 1/64 16
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
78. ในทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยมได้แบ่งแยกสังคมเป็นกี่ชนชั้น
1. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง 2. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง
3. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนำ ชนชั้นผู้ถูกปกครอง 4. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุน
5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
79. เหตุผลใดที่เฮเกลใช้ในการสนับสนุนความคิดที่ว่า รัฐควรเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม
1. ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล 2. รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
3. รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้น 4. การเปลี่ยนแปลงสังคมแบบรุนแรงและถอนรากถอนโคน
5. รัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองเป็นจริงขึ้นมา
ตอบ 5 “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล เพราะรัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรม
และเสรีภาพของพลเมืองปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคมโดยเขาเห็นว่ารัฐควรเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดใน
สังคม
80. สาระสำคัญของงานเขียนทางการเมืองมุ่งเน้นในเรื่องใดเป็นพิเศษ
1. จุดหมายปลายทาง (Ends) 2. เสรีภาพของผู้ปกครอง
3. วิธีการ (Means) 4. การใช้เล่ห์เหลี่ยม 5. รัฐในอุดมคติ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
81. ล็อคเห็นว่าสัญญาประชาคมเกิดขึ้นโดย
1. ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากภายนอก 2. การตกลงทำสัญญาสันติภาพ
3. อัตโนมัติตามสภาวะธรรมชาติ 4. ผู้ที่เข้มแข็งกว่าหยิบยื่นให้
5. การยินยอมสมัครใจเพื่อการดำรงอยู่ร่วมกัน
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ
82. ข้อใดเป็นคำอธิบายการเกิดขึ้นของรัฐที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล
1. รัฐเป็นการผสมผสาน (Synthesis) ระหว่างครอบครัวกับสังคมพลเรือน
2. สังคมพลเรือนเป็น Synthesis อันเป็นผลมาจากการปะทะขัดแย้งกันระหว่างรัฐกับครอบครัว
3. ครอบครัวเป็น Antithesis ต่อสังคมพลเรือน ทำให้จำเป็นต้องสถาปนารัฐขึ้นมา
4. ครอบครัวเป็น Thesis, รัฐเป็น Antithesis, ก่อให้เกิดสังคมพลเรือนซึ่งเป็น Synthesis
5. รัฐเป็น Antithesis ทั้งต่อครอบครัวและสังคมพลเรือน
ตอบ 1 ตามแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกลนั้น รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่าง
ครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็น Thesis กับสังคมพลเรือน (การแข่งขัน) ซึ่งเป็น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่า
เป็นภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่าคือ มีเหตุมีผลและเสรีภาพมากกว่านั้นเอง
83. ผู้เป็นเจ้าของหรือทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้อำนาจนี้ของตนเมื่อใด
1. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2. ทำสัญญาประชาคม 3. เป็นรัฐบาล
4. เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 5. บัญญัติกฎหมาย
ตอบ 5 รุสโซ เห็นว่า ประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย เพราะว่าใน
การบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอำนาจเต็มที่ไม่ต้องเชื่อฟังใครอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งหมด
(ประชาชนทั้งมวล)
ข้อสอบ POL 2105 1/64 17
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
84. ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์เป็นเหตุให้เกิด
1. กลุ่มการเมือง 2. การใช้กำลังอำนาจ 3. รัฐ
4. ความรู้รักสามัคคี 5. สันติภาพ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ
85. นอกจากความมีเหตุผลแล้ว ล็อคเชื่อว่ามนุษย์ยังมี
1. ความเมตตาและการใฝ่สันติ 2. ความฝันและจินตนาการอันสูงส่ง
3. ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ 4. ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี
5. ความซื่อสัตย์และความตรงไปตรงมา
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ
86. “ความไม่สมบูรณ์”
1. สังคมบุพกาล 2. สังคมการเมือง 3. สังคมเมือง
4. สังคมธรรมชาติ 5. สังคมอุตสาหกรรม
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ
87. ข้อใดเป็นผลงานของรุสโซ
1. Social Contract และ The Prince 2. Emile และ Das Capital
3. The Spirit of the Laws 4. Confessions และ The Old Regime
5. Social Contract และ Emile
ตอบ 5 ผลงานที่สำคัญของรุสโซ ได้แก่
1. Constitution for Corsica 2. Dialogues
3. Social Contract 4. La Nouvelle Heloise
5. Emile 6. Confessions
7. Political Economy 8. The Origin of Inequality
9. Consideration on the Government of Poland
88. ลัทธิมาร์กซ์มองว่า ระบบทุนนิยมทำลาย ลดทอนความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ด้วยเหตุผลใดดังต่อไปนี้
1. เพราะแรงงานที่เขาทำงานไม่สามารถทำงานสนองความต้องการของเขาแต่เป็นของนายทุน
2. นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนให้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกำไร
3. แรงงานที่ทำให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
4. เพราะกรรมกรทำงานเพื่อประโยชน์ของนายทุนเท่านั้น
5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ลัทธิมาร์กซ์มองว่า ระบบทุนนิยมจะทำลายและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ เนื่องจาก
1. นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกำไร
2. แรงงานต้องทำงานตามความต้องการของนายทุน
3. แรงงานที่ทำให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
89. มาเคียเวลลี่ เชื่อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้ว
1. เป็นคนที่เต็มไปด้วยวิจารณญาณ มีคุณธรรม 2. เป็นคนอ่อนไหวตามสถานการณ์
3. เป็นคนเห็นแก่ตัว แต่สังคมทำให้ละเลิกกิเลส 4. เป็นคนมุทะลุดุดันเยี่ยงสุนัขจิ้งจอก
5. เป็นคนที่เต็มไปด้วยความเมตตาธรรม แต่สังคมทำให้เห็นแก่ตัว
ข้อสอบ POL 2105 1/64 18
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ 3 มาเคียเวลลี่เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว แสวงหา พยายามที่จะ
หลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกำไร จึงทำให้มีชีวิตอยู่ในภาวะของการดิ้นรน และแข่งขันกันเองอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้คนยังปล่อยจิตให้ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรือรัฐขึ้นมาเพื่อทำให้ละเลิก
กิเลสและควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของคนโดยการใช้อำนาจบังคับ
90. นักคิดที่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ คือ
1. เหมา เจ๋อ ตุง 2. เลนิน 3. ฮิตเลอร์
4. คาร์ล มาร์กซ์ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 นักคิดที่จัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1. คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) 2. นิโคไล เลนิน (Nicolai Lenin)
3. เหมา เจ๋อ ตุง หรือ เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung)
91. อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เฮเกลได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาคนสำคัญในสำนัก “จิตนิยม”
1. อธิบายเรื่องรัฐว่าเป็นอสสาร
2. เน้นสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ว่าอยู่เหนือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา 3. “อรูป” สำคัญกว่า “รูป”
4. เน้น “เนื้อหา” มากกว่า “รูปแบบ”
5. เน้นความสำคัญของ “จิต” ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงในโลก
ตอบ 5 เฮเกล ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญาเมธีคนสำคัญในสำนักจิตนิยม ทั้งนี้เพราะเขาได้ให้
ความสำคัญในเรื่องของจิตเป็นอย่างมาก โดยเห็นว่าจิตนั้นเป็นต้นกำเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย
ในโลก
92. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี หนทางในการรักษาไว้ซึ่งอำนาจสำหรับผู้ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการสืบสันตติวงศ์ คือ
1. ใช้กำลังเข้าจัดการกับผู้แข็งข้อ 2. การใช้เมตตาธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเสมอหน้ากัน
3. การใช้นโยบายที่ถูกต้องในการปกครองประเทศ 4. การดำเนินรอยตามแบบแผนประเพณีดั้งเดิม
5. มีการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
93. แนวความคิดใดของเฮเกลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่องอำนาจทางการเมืองการปกครอง
1. ครอบครัว 2. รัฐ 3. พระเจ้า
4. องค์อธิปัตย์ 5. สังคมเข้มแข็ง
ตอบ 2 ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล โดยเขาเห็นว่ารัฐ
ควรเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม ทั้งนี้เพราะรัฐเป็นผู้ทำให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของ
พลเมืองปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคม
94. เนื้อหาในวิพากษ์เศรษฐกิจการเมืองของคาร์ล มาร์กซ์ มุ่งวิพากษ์
1. ระบบทุนนิยม 2. สังคมนิยม 3. การคอร์รัปชั่น
4. การรีดส่วนเกินของชนชั้นแรงงาน 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 คาร์ล มาร์กซ์ ได้สร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองขึ้นเพื่ออธิบายว่า ในระบบทุนนิยมนั้นสิ่งที่นายทุน
คำนึงคือกำไร นายทุนจะได้เปรียบกรรมกร เพราะว่ามีการรีดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน
หรือที่เรียกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” นำเอาไปเป็นกำไรของตัวเอง
ข้อสอบ POL 2105 1/64 19
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
95. ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง
1. ในด้านกำลังกาย 2. ในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน
3. ในด้านอวัยวะ 4. ในด้านความอ่อนแอเหมือน ๆ กัน
5. ในด้านการใช้อาวุธ
ตอบ 2 ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน โดยเขา
อธิบายว่า แม้คนเราจะมีความแตกต่างกันในด้านกำลังกายและความคิดอ่านก็ตาม แต่เขาไม่อาจจะอาศัย
เหตุผลแห่งความแตกต่างนี้เป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ ของตนเหนือคนอื่นได้ตลอดไป
96. มาเคียเวลลี่ สนับสนุนการมีทหารเกณฑ์มากกว่าทหารรับจ้างเพราะ
1. ทหารรับจ้างมีความสามารถมากกว่า 2. ทหารรับจ้างมักไม่มีประสิทธิภาพในการรบ
3. ทหารเกณฑ์สามารถคัดเลือกได้จากคนหมู่มาก 4. ทหารรับจ้างมีคนต่างชาติแทรกซึมได้
5. ทหารรับจ้างมักเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ
ตอบ 5 มาเคียเวลลี เห็นว่ากองทัพที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยทหารประจำการหรือทหารเกณฑ์ไม่ใช่ทหาร
รับจ้างเพราะทหารเกณฑ์เหล่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะ
มีปัญหาเรื่องความสวามิภักดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสินจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ ดังนั้นแทนที่จะส่งเสริม
อำนาจผู้ปกครองกับจะทำลายอำนาจปกครองในที่สุด
97. มนุษย์สามารถสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่ต้องการความสมบูรณ์ได้โดยวิธีใด
1. การทำอะไรตามใจปรารถนา 2. การร่วมมือระหว่างกัน
3. การทำสัญญาประชาคม 4. การดำรงชีพแบบต่างตนต่างอยู่
5. การแข่งขันระหว่างกัน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ
98. ชื่อหนังสือบทความต่อไปนี้เรื่องใดไม่ได้เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์
1. The Communist Manifesto 2. Socialism : Utopian and Scientific
3. Capital 4. The Holy Family
5. The German Ideology
ตอบ 2 ในช่วงที่ คาร์ล มาร์กซ์ ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงลอนดอนนั้น เขาได้เขียนบทความมากมายที่พยายามอธิบาย
ความทุกข์ยากในสังคมทุนนิยม เช่น วิพากษ์เศรษฐกิจการเมือง (The Critique of Political Economy),
ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน (Theories of Surplus Values), ทุน (Capital) เป็นต้น นอกจากนี้เขายังมีผลงานที่
เขียนร่วมกับฟรีดริช เองเกลส์ด้วย ซึ่งได้แก่ ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family), อุดมการณ์เยอรมัน
(The German Ideology), คำประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
99. คาร์ล มาร์กซ์ มีความคิดต่อต้านศาสนาเหมือนกับนักคิดคนใด
1. ซัง ซิมองต์ 2. อดัม สมิท
3. ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์ค 4. จอร์จ วิลเลี่ยม ฟรีดรีช เฮเกล
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 คาร์ล มาร์กซ์ มีความคิดต่อต้านศาสนาเหมือนกับ ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์คซึ่งเชื่อว่าศาสนามิได้เป็น
ตัวกำหนดปรากฏการณ์ทุกอย่าง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากวัตถุ
มากกว่า และคนเป็นผู้กำหนด มิใช่พระเจ้า
ข้อสอบ POL 2105 1/64 20
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
100. ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งไทย เป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจากคนกลุ่มใดเป็นสำคัญ
1. นักปรัชญาการเมือง 2. ผู้นำทางการเมือง
3. ข้าราชการ 4. นักธุรกิจ
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยนั้น พบว่าเป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจาก
นักปรัชญาการเมืองเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น คาร์ล มาร์กซ์, ฟรีดริช เองเกลส์, อดัม สมิธ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งอิทธิพลของคาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการต่อสู้ ของบุคคลสำคัญ ๆ เช่น นิโคไล เลนิน (รัสเซีย),
เหมา เจ๋อ ตุง (จีน), นายปรีดี พนมยงค์ (ไทย), นายจิตร ภูมิศักดิ์ (ไทย) เป็นต้น



ปรึกษาการเรียนติดต่อพี่กุ้งได้ทุกวิชา โทร. 081-496-9907


ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 1
……………………………………………………………………………………………………….
การสอบไล่ ภาค 1 ปี การศึกษา 2563
…………….
คาสั่ง : ให้ นักศึกษาเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคาตอบเดียว (ข้อสอบมีท้งั หมด 100 ข้อ)
1. มาเคียอเวลลี่ เชื่ อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้ว
1. เป็ นคนที่เต็มไปด้วยเมตตาธรรม แต่สังคมทาให้ เห็นแก่ตัว
2. เป็ นคนเห็นแก่ตัว แต่สังคมทาให้ ละเลิกกิเลส 3. เป็ นคนที่เต็มไปด้วยวิจารณญาณ มีคุณธรรม
4. เป็ นคนอ่อนไหวตามสถานการณ์ 5. เป็ นคนมุทะลุดุดันเยีย่ งสุ นัชจิง้ จอก
ตอบ 2. ธรรมชาติของมนุษย์น้ นั มาเคียเวลลี่ เห็นว่า เป็ นคนที่เห็นแก่ตวั ก้าวร้าว แสวงหา พยายามที่จะ
หลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกาไร จึงทาให้มีชีวิตอยูใ่ นภาวะของการดิน้ รน และแข่งขันกันเองอยูต่ ลอดเวลา จิตตก
อยูภ่ ายใต้การครอบงาของ กิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรื อรัฐขึ้นมาใช้อานาจบังคับเพื่อทาให้ละเลิกกิเลสและ
ควบคุมความเห็นแก่ตวั อันเป็ นธรรมชาติที่ชวั่ ร้ายของคน
2. ในผลงานเรื่ อง The Prince ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า
1. การจูงใจมวลชนเป็ นภารกิจที่ยากที่สุด
2. การรักษาไว้ซึ่งอานาจยากเสียยิง่ กว่าการได้มาซึ่งอานาจ
3. เมตตาธรรมของผู้ปกครองเท่านั้นที่จะครองโลก 4. ภูมิปัญญาของผู้นาเปรียบเสมือนเข็มทิศของสังคม
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่เห็นว่าเป้าหมายของการเมืองก็คือ การรักษาหรื อเพิ่มอานาจการเมืองโดยเฉพาะ ซึ่งในการ
ที่จะทาให้บรรลุเป้าหมายนี้ มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็ นสิ่ งที่ผิดศีลธรรมก็ตาม ดังนั้นสิ่ งที่มาเคียเวล
ลี่ สนใจมากที่สุดก็คือ ทาอย่างไรผูป้ กครองจึงจะสามารถรักษาอานาจไว้ได้ ทั้งนี้เพราะการรักษาไว้ซ่ ึงอานาจเป็ นสิ่ งที่
ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอานาจเสี ยอีก ดังในหนังสื อเรื่ อง The Prince นั้น
3. สาระสาคัญของงานเขียนทางการเมืองมุ่งเน้นในเรื่ องใดเป็ นพิเศษ
1. รัฐในอุดมคติ 2. วิธีการ (Means) 3. จุดหมายปลายทาง (Ends)
4. การใช้ เล่ห์เหลี่ยม 5. เสรีภาพของผู้ปกครอง
ตอบ 2. “นักปราชญ์ผยู ้ ิ่งใหญ่แห่ งยุคนวสมัย (Modern Time)” คือ มาเคียเวลลี่ โดยเขาเป็ นเมธีคนแรกที่
บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มลี กั ษณะผิดแผกไปจากลักษณะความคิดทางการเมือง (เชิง
อุดมคติ) ในสมัยกลางอย่างชัดเจน นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยงั ให้ความสนใจเป็ นพิเศษ
สาหรับผูป้ กครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบตั ิในการที่จะได้มาซึ่งอานาจเขามักจะ
ศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็ นจริ ง
4. มาเคียอเวลลี่ จัดเป็ นนักปราชญ์ผ้ยู ิ่งใหญ่ แห่ งนวสมัย เพราะ
1. เป็ นผู้บุกเบิกวิชาปรัชญาการเมือง 2. เป็ นผู้ประศาสน์ ศาสตร์ และศิลป์ แห่ งการปกครอง
3. เป็ นผู้รอบรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย 4. เป็ นผู้ให้ คาจัดความจริยศาสตร์
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 2
……………………………………………………………………………………………………….
5. เป็ นผู้อบรมซีซาร์ บอร์ เจีย
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 3 ประกอบ
5. คาถามใดเป็ นคาถามที่มาเคียเวลลีส่ นใจมากทีส่ ุ ด
1. เหตุใดอาณาจักรโรมันจึงล่มสลาย 2. ทาอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถขยายอานาจได้
3. ความชอบธรรมทางการเมืองคืออะไร 4. ทาอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอานาจไว้ได้
5. อะไรคือคุณธรรมที่สาคัญทีส่ ุ ดสาหรับผู้ปกครอง
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 2 ประกอบ
6. หากการปฏิรูปหมายถึงการเปลีย่ นแปลง ผู้ที่มีแนวโน้ มต่อต้านคือ
1. ทหาร 2. ขุนนางอามาตย์ 3. ผู้ที่ได้ประโยชน์ จากแบบแผนเก่า
4. ปัญญาชน 5. เครื อญาติ
ตอบ 3. ผูท้ ี่ทาการปฏิรูปจะสร้างศัตรู หรื อมีแนวโน้มถูกต่อต้านจากผูท้ ี่เคยได้รับผลประโยชน์จากแบบแผนเก่า
ๆ ส่วนผูท้ ี่ได้ประโยชน์จากระเบียบใหม่ ๆ นั้นอาจจะ สนับสนุนผูป้ กครองคนใหม่ แต่การสนับสนุนนั้นยังหาความ
มัน่ คงไม่ได้ อาจเป็ นการสนับสนุนเพียงครึ่ ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความมัน่ คงของสิ่ งใหม่รวมทั้งผูป้ กครองใหม่
มากนัก นี่คือคากล่าวของมาเคียเวลลี่
7. ตามทัศนะของมาเคียอเวลลี่ ศัตรูโดยธรรมชาติสาหรับนักปฏิรูป คือ
1. ทหารในระบอบเก่า 2. เหล่าอามาตย์ขุนนาง 3. ผู้ที่ได้ประโยชน์ จากแบบแผนเก่า
4. ปัญญาชนประเภทอนุรักนิยม 5. อาณาจักรข้างเคียง
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 6 ประกอบ
8. มาเคียอเวลลี่ สอนว่ าคนรอบข้ างผู้ปกครองมักชอบ
1. นินทาผู้ปกครอง 2. เพ็ดทูลสิ่งที่ผ้ปู กครองชอบได้ยิน
3. แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย 4. แสวงหาอามิสสินจ้ าง 5. มีนิสัยสุ รุ่ยสุร่าย
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่ มีความเห็นว่า คนรอบข้างผูป้ กครอง (มุขบุรุษหรื อมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรื อข้าราชการ
มักชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่ งที่ผปู ้ กครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่ งที่ควรจะฟัง หรื อชอบปิ ดกั้นความจริ งที่
ผูป้ กครองควรจะทราบ พวกนี้เองที่จะเป็ นผูท้ าลายเสถียรภาพของผูป้ กครองซึ่งหากผูป้ กครองค้นพบคุณสมบัติดงั กล่าว
นี้ ในตัวข้าราชการผูใ้ ด ก็ควรที่จะลงโทษหรื อกาจัดโดยเร็ว
9. มาเคียอเวลลี่เชื่ อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่ น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยหรื อประชาธิปไตย
1. การไร้ เมตตาธรรม 2. การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน 3. การสนับสนุนตัวบุคคล
4. การขาดเสถียรภาพ 5. การเน้ นแต่เพียงประสิทธิภาพ
ตอบ 4. ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตยเป็ นสิ่ งดี แต่ระบบ
การปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีขอ้ บกพร่ องที่สาคัญ คือการขาดเสถียรภาพ และความดีของระบบก็มกั จะถูกทาลายลงด้วย
ตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก นี้คอื ความเชื่อของ มาเคียเวลลี
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 3
……………………………………………………………………………………………………….
10. แนวความคิดที่สาคัญของมาเคียอเวลลี่ เป็ นเรื่ องเกี่ยวกับ
1. ภาวะความเป็ นผู้นา 2. เงื่อนไขระบอบประชาธิปไตย 3. เผด็จการที่มีคุณธรรม
4. ยุทธวิธีในการขยายดินแดน 5. เป้าหมายแห่ งรัฐ
ตอบ 1. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า แนวความคิดที่สาคัญของเขาเป็ นเรื่ องเกี่ยวกับภาวะความเป็ นผูน้ า กล่าวคือคุณค่า
ของรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐมีผนู ้ าที่เข้มแข็ง โดยเสี ยงส่วนใหญ่ของประชาชนอาจเป็ นผูว้ าง
รู ปแบบหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ แต่เขาทั้งหลายจะต้องอยูภ่ ายใต้การนาของผูน้ าที่เข้มแข็ง เสถียรภาพและความ
ไพบูลย์ แห่งสาธารณรัฐจึงจะบังเกิดขึ้นได้
11. มาเคียอเวลลี่ ถูกวิพากษ์ วิจารณ์ ว่าเขียนงานของตนเองเพื่อประจบใคร
1. ผู้นาตระกูลเมดิซี่ 2. กษัตริย์ของอิตาลี 3. ผู้นาเมืองฟลอเรนซ์
4. ผู้นากรุงโรม 5. ทรราช
ตอบ 1. มาเคียเวลลี่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เขียนงานของตนเองขึ้นมาเพราะต้องการประจบผูน้ าตระกูลเมดิซี
เพื่อขอตาแหน่งทางการเมืองเท่านั้น เพราะงานเขียนมาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์เป็ นระบบการ
ปกครองที่เหมาะสมที่สุดสาหรับอิตาลี แต่มิได้หมายความว่าระบบ การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่มีอานาจสูงสุด
เด็ดขาดเป็ นระบบการปกครองที่ดีที่สุด
12. ความอ่ อนแอและไร้ ประสิ ทธิภาพของมนุษย์ เป็ นเหตุให้ เกิด 1. สันติภาพ
2. ความรู้รักสามัคคี 3. รัฐ 4. การใช้ กาลังอานาจ 5. กลุ่มการเมือง
ตอบ 3. ตามความเห็นของ มาเคียเวลลี่ เห็นว่า “รัฐ” หรื อสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรื อการ
บันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิ ทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทกั ษ์ตนเองให้พน้
จากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้
13. ในทัศนะมาเคียอเวลลี่ ผู้ปกครองควรมีขันติ เพือ่
1. ทบทวนท่าทีของศัตรู 2. ข่มความรู้สึกที่แท้จริง 3. รับฟังคาวิจารณ์โดยสุ จริตใจ
4. ให้ เกิดความยาเกรง 5. แสดงความเป็ นราชสีห์
ตอบ 3. ผูป้ กครองควรมีขนั ติเพื่อยอมรับฟังคาวิพากษ์วิจารณ์ โดยสุจริ ตใจของเหล่าขุนนาง เพราะจะทาให้ได้
ทราบถึงความเป็ นไปที่แท้จริ งของสถานการณ์ต่าง ๆ
14. ในทัศนะของมาเคียอเวลลี่ “รัฐ” กาเนิดจาก
1. การใช้ กาลังอานาจในการบีบบังคับ 2. ความชาญฉลาดของผู้ปกครอง
3. การรู้จักสามัคคีของผู้คนในสังคม 4. ความผูกพันทางภาษาและวัฒนธรรม
5. ความอ่อนแอและไร้ ประสิทธิภาพในการพิทักษ์ตนเอง
ตอบ 5. ดูคาอธิบายข้อ 12 ประกอบ
15. สาเหตุที่นิคโคโล มาเคียอเวลลี่ ได้ รับยกย่ องว่า เป็ นนักปราชญ์ ที่สาคัญที่สุดของยุคนวสมัยเป็ นเพราะเป็ นผู้
1. ศึกษาการเมืองอย่างมีอุดมการณ์ 2. ใฝ่ ความเป็ นประชาธิปไตย
3. ศึกษาการเมืองตามสภาพที่เป็ นจริง 4. ฝักใฝ่ ความทันสมัย
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 4
……………………………………………………………………………………………………….
5. ใช้ สถิติประกอบการศึกษา
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 4 ประกอบ

16. มาเคียอเวลลี่สนับสนุนการมีทหารเกณฑ์ มากกว่าทหารรับจ้ าง เพราะ


1. ทหารเกณฑ์ มีความสามารถมากกว่า 2. ทหารเกณฑ์ สามารถคัดเลือกได้จากคนหมู่มาก
3. ทหารรับจ้ างมักเห็นแก่อามิสสินจ้ างมากกว่าหน้ าที่ในสมรภูมิ
4. ทหารรับจ้ างอาจมีคนต่างชาติแทรกซึมได้ 5. ทหารรับจ้ างมักไม่มีประสิทธิภาพในการรบ
ตอบ 3. กองทัพที่ดีน้ นั จะต้องประกอบด้วย ทหารประจาการ หรื อทหารเกณฑ์ ไม่ใช่ทหารรับจ้างเพราะทหาร
เกณฑ์เหล่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะมีปัญหาเรื่ องความ
สวามิภกั ดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสิ นจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ
17. มุขบุรุษต้ องมีคุณสมบัติของสุ นัขจิง้ จอก เพราะ
1. ต้องมีพรรคพวก 2. ต้องมีความเฉลียวฉลาด 3. ต้องมีความเย่อหยิ่ง
4. ต้องรักษาสัจจะ 5. ต้องทาร้ ายผู้อื่นลับหลัง
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผูป้ กครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนขั จิง้ จอก และมีความเข้มแข็งอย่าง
ราชสี ห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผูท้ ี่ตนปกครองได้
18. มาเคียอเวลลี่ เชื่ อว่ าผู้ปกครองควรมีความเด็ดขาดมากกว่ าความเมตตา เนื่ องจาก
1. ความเด็ดขาดทาให้ เกิดความยาเกรง 2. ความอ่อนแอแสดงให้ เห็นถึงความโลเล
3. ความเด็ดขาดเป็ นคุณสมบัติของผู้ขาย 4. ความอ่อนแอเป็ นคุณสมบัติของอิสตรีเพศ
5. ไม่ควรมีเหตุผลกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
ตอบ 1. ผูป้ กครองจะมีแต่เพียงความเมตตาไม่ได้ ต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กนั ไป เพราะความ
เมตตาหมายถึงความอ่อนแอ ซึ่งอาจทาให้เกิดความยุง่ เหยิงตามมา ดังนั้นด้วยพันธะหน้าที่ผปู ้ กครองจึงต้องใช้ความ
เด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เพื่อทาให้ประชาชนเกิดความยาเกรงและเชื่อฟัง รวมทั้งเพื่อรักษาผูท้ ี่ถูกปกครองให้มี
เอกภาพ
19. มาเคียอเวลลี่ แนะนาว่ าการรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์ ของผู้นาทาให้
1. ผู้นาไม่ต้องรักษาสัจจะ 2. ผู้นาต้องกล้าได้กล้าเสีย 3. ผู้นาต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
4. ผู้นาต้องรักษาสัจจะ 5. ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4.
ตอบ 1. ผูป้ กครองต้องเป็ นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมและไม่รักษาสัจจะ โดยเขาให้เหตุผลว่า การรักษาสัจจะนั้น เป็ น
สิ่ งที่ดีหากคนทั้งหมดเป็ นคนดี แต่คนตามธรรมชาติน้ นั เลว และไม่รักษาสัจจะกับผูป้ กครอง ดังนั้นผูป้ กครองก็ไม่
จาเป็ นที่จะต้องรักษาสัจจะ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 5
……………………………………………………………………………………………………….
20. ข้อใดคือรูปการปกครองที่มเี สถียรภาพมากที่สุด
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ประชาธิปไตย
4. อภิชนาธิปไตย 5. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย)
ตอบ 5. มาเคียเวลลี่ เชื่อว่า ระบบการปกครองที่ดีมีเสถียรภาพและเสรี ภาพมากที่สุด คือ ระบบการปกครอง
แบบสาธารณรัฐที่มีลกั ษณะผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย
21. ข้ อใดคือรู ปแบบการปกครองที่นามาซึ่งความวุ่นวายทางการเมือง
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ประชาธิปไตย
4. อภิชนาธิปไตย 5. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย)
ตอบ 3. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า รู ปการปกครองแบบประชาธิ ปไตยจะก่อให้เกิดความยุง่ เหยิงวุ่นวายทางการเมือง
ได้ เพราะถ้าให้ประชาชนทัว่ ไปเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์เสรี ภาพแล้ว พวกอภิชนจะไม่ไว้วางใจและอาจก่อการขัดขืนหรื อปฏิวตั ิข้ นึ
ได้
22. ระหว่ างบุคคลและสิ่ งต่ อไปนี้ มาเคียอเวลลี่ สอนให้ เคารพสิ่ งใดมากที่สุด
1. กฎหมาย 2. ผู้นาทางศาสนา 3. คาสั่งของมุขบุรุษ
4. ผู้นาที่มาจากการเลือกตั้ง 5. ผู้ที่ออกกฎหมายอย่างมีคุณธรรม
ตอบ 1. กฎหมายเป็ นสิ่ งสูงสุดในการปกครองและเป็ นหลักประกันสาหรับทุกๆคนในรัฐซึ่งถึงแม้ว่า คนจะ
เป็ นผูบ้ ญั ญัติ ตีความ หรื อบริ หารกฎหมายก็ตาม แต่เราเขาควรจะเคารพกฎหมายมากกว่าผูบ้ ญ ั ญัตกิ ฏหมาย
23. สิ่ งใดที่รัฐสามารถนามาใช้ เป็ นมาตรการควบคุมความเห็นแก่ ตัวของมนุษย์
1. ศาสนา 2. การศึกษาอบรม 3. อานาจบังคับ
4. การสถาปนาระบบกรรมสิทธิ์ร่วม 5. การยกเลิกกรรมสิทธิ์
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 1 ประกอบ
24. ผลสาเร็จของการแย่ งชิงอานาจในรู ปของการปราบดาภิเษกหรื อปฏิวัติมาจากข้ อใด
1. ความร่ วมมือจากประชาชน 2. ความช่ วยเหลือของขุนนางหรือข้าราชการ
3. ความร่ วมมือจากกองทัพประชาชน 4. ข้อ 1 และ ข้อ 2 5. ข้อ 2 และ ข้อ 3
ตอบ 4. มาเคียเวลลี่ เห็นว่าการได้อานาจมาด้วยวิธีการปราบดาภิเษกหรื อการปฏิวตั ิน้ นั อาจจะเป็ นผลมาจาก
การสนับสนุนของกลุ่มขุนนาง (ข้าราชการ) หรื อประชาชนฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อได้อานาจมาแล้วหากผูป้ กครอง
ต้องการความมัน่ คงในอานาจก็จาต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็ นหลัก ทั้งนี้เป็ นเพราะสิ่ งที่ประชาชน
ต้องการมีเพียงสิ่ งเดียวคือ อิสรภาพเสรี ภาพจากการกดขี่ข่มเหง ซึ่งต่างจากขุนนางที่ตอ้ งการกดขี่ขม่ เหงประชาชนเพื่อ
มุ่งแข่งอานาจกับผูป้ กครอง
25. ความรักของผู้ใต้ ปกครองในที่สุดแล้ วมักจะนาไปสู่ สิ่งใด
1. ความยาเกรง 2. ความไม่ยาเกรง 3. ความสามัคคี
4. ความร่ วมมือ 5. ความมั่นคงของผู้ปกครองเอง
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 6
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า หากผูป้ กครองเลือก “ความรัก” ประชาชนจะไม่ยาเกรง แต่ถา้ เลือก “ความยา
เกรง” ประชาชนจะไม่รัก ซึ่งถ้าจาเป็ นแล้วผูป้ กครองจะต้องเลือกเอาความยาเกรงมากกว่าความรัก
26. ฮอบส์ เป็ นนักคิดที่สนับสนุนระบอบ
1. ประชาธิปไตย 2. ธนาธิปไตย 3. อามาตยาธิปไตย
4. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 5. สังคมนิยม
ตอบ 4 . องค์อธิปัตย์ของฮอบส์น้ นั จะเป็ นบุคคลหรื อคณะบุคคล ที่ได้อานาจมาจากการทาสัญญาระหว่าง
ประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรื อ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสี ยงข้างมากที่จะมอบอานาจให้แก่ผปู ้ กครอง
ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรื อกษัตริ ยห์ รื อ
ผูป้ กครองเป็ นผูใ้ ช้อานาจเด็ดขาดแต่เพียงผูเ้ ดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์หรื อ แบบเผด็จการ
เบ็ดเสร็ จ
27. ข้ อใดที่ถือว่ าเป็ นสาระสาคัญของการทาสัญญาประชาคม
1. การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล 2. การไม่เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 3. การสละสิทธิ์ธรรมชาติ
4. การไม่สละสิทธิ์ธรรมชาติ 5. การหาหลักประกันการละเมิดสัญญา
ตอบ 3. ฮอบส์ เห็นว่า การทาสัญญาประชาคม ก็คือ การสละสิ ทธิ์ตามธรรมชาติในส่วนที่จะทาร้ายผูอ้ ื่นเพื่อ
ปกป้องและรักษาตนเองให้ปลอดภัย
28. ในการทาสัญญาประชาคม ผู้ใดคือผู้ที่ไม่ ถกู ผูกมัดโดยสั ญญา
1. องค์อธิปัตย์ 2. ผู้แทนราษฎร 3. ประชาชน
4. ผู้ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง 5. ผู้ที่ไม่ได้ร่วมทาความตกลง
ตอบ 1. องค์อธิปัตย์จะทาหน้าที่เป็ นเพียงผูร้ ับมอบอานาจตามที่ผสู ้ ัญญาหรื อประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้
ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีขอ้ ผูกพันใดๆ ที่จะต้องปฏิบตั ิตามหรื อรับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็ นผูท้ ี่อยูน่ อกเหนือ
สัญญาแล้วก็จะไม่มีการกระทาใดๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะถือว่าเป็ นการละเมิดสัญญา หรื อกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่า
องค์อธิปัตย์จะทาอะไรก็ไม่มีความผิดนัน่ เอง ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์
29. การใช้ อานาจขององค์ อธิปัตย์สอดคล้ องกับหลักการของแนวความคิดหรื อทฤษฎีใด
1. รัฐธรรมนูญ 2. การกระจายอานาจ 3. เผด็จการเบ็ดเสร็จ
4. ประชาธิปไตย 5. นิติธรรม
ตอบ 4 . ดูคาอธิบายข้อ 26 ประกอบ
30. บุคคลหรื อกลุ่มบุคคลใดอยู่ในฐานะที่เป็ นผู้ใช้ อานาจร่ วมตามแนวความคิดของสัญญาประชาคม
1. พระมหากษัตริย์ 2. ผู้แทนราษฎร 3. คณะรัฐมนตรี
4. ประชาชนทั้งหมด 5. องค์อธิปัตย์
ตอบ 5. ดูคาอธิบายข้อ 26 ประกอบ
31. สิ่ งที่มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติแข่ งขันกันแสวงหาได้ แก่ สิ่งใด
1. สันติภาพ 2. อานาจ 3. อาหาร 4. ความสมบูรณ์ 5. ความสุ ขในปัจจุบัน
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 7
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 2. ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็ นสภาวะ
ก่อนที่จะเกิดสังคมการเมือง หรื อเป็ นสภาวะที่ยงั ไม่มีผปู ้ กครองที่มีอานาจที่แท้จริ งในบ้านเมือง โดยในสภาวะ
ธรรมชาติน้ นั ทุกคนจะมีสิทธิเสรี ภาพ และมีอิสรภาพที่จะทาอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมี
ความต้องการในสิ่ งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทาให้มนุษย์ตอ้ งแข่งขันกันแสวงหาอานาจเหนือคนอื่นอยูร่ ่ า
ไปจนนาไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ดว้ ยกันเอง
32. ฮอบส์ เชื่ อว่ าพฤติกรรมของมนุษย์ เกิดจากแรงกระตุ้น 2 ประการ คือ
1. กิเลสและตัณหา 2. ความอยากและความไม่อยาก
3. การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่ง 4. ความรุนแรงและความสงบ
5. โลกียธ์ รรมและโลกุตรธรรม
ตอบ 2. พฤติกรรมของมนุษย์น้ นั เป็ นผลมาจากแรงกระตุน้ ภายใน 2 ประเภท คือ
1. ความไม่อยากหรื อความไม่ตอ้ งการ (Aversion)
2. ความอยากหรื อความต้องการ (Appetite/Desire)
ความรักหรื อความเกลียดความดีหรื อความชัว่ ก็เป็ นความรู้สึกที่เกิดจากแรงกระตุน้ ทั้ง 2 ประเภทนี้
เช่นเดียวกัน
33. ความเท่ าเทียมกันทางร่ างกาย หมายถึง 1. ในด้านกาลังกาย
2. ในด้านอวัยวะ 3. ในด้านการต่อสู้ ความคิดอ่าน
4. ในด้านความอ่อนแอเหมือน ๆ กัน 5. ในด้านการใช้ อาวุธ
ตอบ 3. ความเท่าเทียมกันทางร่ างกาย หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน โดยเขา
อธิบายว่า แม้คนเราจะมีความแตกต่างกันในด้านกาลังกายและความคิดอ่านก็ตาม แต่เขาไม่อาจจะอาศัยเหตุผลแห่ง
ความแตกต่างนี้เป็ นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ ของตนเหนือคนอื่นได้ตลอดไป
34. ในสภาวะธรรมชาติ ฮอบส์ เชื่ อว่ า สั งคมการเมือง
1. ยังไม่เกิดขึน้ 2. มีแต่การแก่งแย่งชิงดี 3. ปราศจากกฎหมาย
4. เต็มไปด้วยนักเลงการเมือง 5. ขาดความเข้มแข็ง
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 31 ประกอบ
35. เมื่อทาสั ญญาประชาคมแล้ ว ผู้ใต้ ปกครองสามารถทาอะไรได้ บ้าง
1. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 2. การใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นครั้งคราว
3. การไม่ใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นบางครั้ง 4. การถอดถอนองค์อธิปัตย์
5. การบอกเลิกสัญญาที่ทาไปแล้ว
ตอบ 5. ฮอบส์ อธิบายว่า เมื่อประชาชนตกอยูใ่ นสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์อธิปัตย์ การเปลี่ยนแปลงหรื อ
ถอดถอนองค์อธิปัตย์น้ นั แม้จะกระทามิได้ แต่ประชาชนในฐานะผูใ้ ต้ปกครองก็มีสิทธิ์ขดั ขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้ท้งั นี้
โดยการร่ วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทาไปแล้ว เพื่อเริ่ มต้นทาสัญญากันใหม่
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 8
……………………………………………………………………………………………………….
36. “สภาวะสงคราม” เกิดขึน้ ณ ที่ใด 1. สภาพธรรมชาติ 2. สังคมการเมือง
3. สังคมบุพกาล 4. สังคมสมัยใหม่ 5. สังคมเกิดจากสัญญา
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 31 ประกอบ
37. เมื่อสั ญญาประชาคมได้ กระทาแล้ ว สิ่ งที่เกิดขึน้ ตามมาได้แก่
1. รัฐ 2. รัฐบาล 3. สังคม 4. ข้อ 2 และข้อ 3 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทาขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียว สังคม รัฐ และรัฐบาลก็จะเกิดขึ้นตามมาทันที
เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็ นสิ่ งเดียวกัน ดังนั้นการล้มล้างรัฐบาลจึงเป็ นการกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติตามเดิม
เนื่องจาก ฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกัน
38. เมื่อทาสั ญญาประชาคมแล้ ว ผู้ใต้ ปกครองสามารถทาอะไรได้ บ้าง
1. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 2. การใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นครั้งคราว
3. การไม่ใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นบางครั้ง 4. การถอดถอนองค์อธิปัตย์
5. การบอกเลิกสัญญาที่ทาไปแล้ว
ตอบ 5. ดูคาอธิบายข้อ 35 ประกอบ
39. “อานาจอธิปไตย” อันเป็ นผลมาจากการทาสั ญญาประชาคมเป็ นของใครโดยเฉพาะ
1. ประชาชน 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะรัฐมนตรี 4. คู่สัญญา 5. บุคคลที่สาม
ตอบ 5. ฮอบส์ เห็นว่าอานาจร่ วม (Common Power ) หรื อการก่อตั้งรัฐบาลนั้น เป็ นผลมาจากการทาสัญญา
ประชาคมระหว่างคนทุกคนที่ทาเป็ นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะมอบอานาจและสละสิ ทธิ์ตามธรรมชาติของ
ตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาแต่จะอยูใ่ นฐานะเป็ นองค์อธิปัตย์หรื อรัฏฐาธิปัตย์ซ่ ึงเป็ นผูใ้ ช้อานาจร่ วมหรื อ
อานาจอธิปไตยโดยอานาจอธิปไตยนี้ถอื เป็ นอานาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์
40. “อานาจร่ วม” (Common Power) ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมมีต้นตอหรื อที่มาจากกลุ่มหรื อบุคคลใด
1. องค์อธิปัตย์ 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะรัฐมนตรี 4. คู่สัญญา 5. บุคคลสมมุติ
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 39 ประกอบ
41. ผู้ใดที่ไม่ ได้ อยู่ใต้ อิทธิพลทางความคิดของล็อค
1. มองเตสกิเออ 2. รุสโซ 3. เดอ ทอคเกอร์ วิลล์ 4. เฮเกล 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4. ล็อค เป็ นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็ นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ใน
ประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็ นผูใ้ ห้กาเนิดแนวความคิดเสรี นิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมี
อิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลายในหมู่นกั คิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุ สโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิดร่ วม
สมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิ ทธิภาพ
42. ข้ อใดเป็ นแนวความคิดของล็อค 1. คนคือสัตว์การเมือง
2. มนุษย์เกิดมาพร้ อมความป่ าเถื่อน 3. มนุษย์มีเหตุผลและมีเมตตาธรรม
4. ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ 5. ความเสมอภาคได้มาด้วยการต่อสู้
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 9
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 3. โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจาตัว ล็อค เห็นว่า ความมีเหตุผลอันเป็ นสิ่ งที่พระผูเ้ ป็ นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยงั มีความเมตตาธรรม ใฝ่ สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย
43. ล็อคเห็นว่ ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินส่ วนบุคคลเกิดจาก
1. การถ่ายโอนเป็ นมรดกตกทอด 2. การประกาศความเป็ นเจ้ าของ
3. การยอมรับความเป็ นเจ้ าของของผู้ใดผู้หนึง่ โดยผู้อื่น
4. การใช้ แรงงานต่อสิ่งของนั้น ๆ 5. การจดทะเบีนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย
ตอบ 4. ล็อค เห็นว่า โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิ ทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรื อส่วนบุคคล (Private
Property) ได้ ก็ต่อเมือ่ เขาได้ใช้แรงงานจากร่ างกาย เคลื่อนย้ายหรื อเก็บเกี่ยวของสิ่ งนั้น รวมทั้งในการสะสมทรัพย์สิน
ก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี ยหายต่อผูอ้ ื่นด้วย สรรพสิ่ งทั้งหลายที่มีอยูต่ ามธรรมชาติในโลกนี้ท้งั หมดเป็ นของทุกคน
(ชาวโลกทั้งมวล) หรื อทุกคนมีกรรมสิ ทธิ์ในทรัพย์สินร่ วมกัน
44. ล็อคถูกขนานนามว่าเป็ นผู้ให้ กาเนิดแนวความคิด
1. อนุรักษ์นิยม 2. ประชานิยม 3. เสรีนิยม
4. สังคมนิยม 5. วัตถุนิยมวิภาษวิธี
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 41 ประกอบ
45. นอกจากความมีเหตุผลแล้ ว ล็อคเชื่ อว่ามนุษย์ ยังมี 1. ความเมตตาและการใฝ่ สั นติ
2. ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี 3. ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ
4. ความซื่ อสัตย์และความตรงไปตรงมา 5. ความฝันและจินตนาการอันสู งส่ ง
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 42 ประกอบ
46. ล็อคได้ รับการยกย่ องว่าเป็ นบิดาแห่ งวิชารัฐศาสตร์ ในประเทศ 1. สหรัฐอเมริกา
2. อิตาลี 3. ฝรั่งเศส 4. ฮอลแลนด์ 5. เยอรมนี
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 44 ประกอบ
47. ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่ อว่าเกิดจาก 1. พระผู้เป็ นเจ้ า
2. การเอาตัวรอด 3. การมีปัญญา 4. ประสบการณ์ 5. พรสวรรค์
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 42 ประกอบ
48. ล็อคเห็นว่ าสั ญญาประชาคมเกิดขึน ้ โดย 1. ผู้ที่เข้มแข็งกว่าหยิบยื่นให้
2. การตกลงทาสัญญาสันติภาพ 3. อัตโนมัติตามสภาวะธรรมชาติ
4. ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากภายนอก 5. การยินยอมสมัครใจเพือ่ การดารงอยู่ร่วมกัน
ตอบ 5. การทาสัญญาประชาคมเพื่อการดารงอยูร่ ่ วมกันเป็ นสังคมหรื อประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็ นไปด้วย
ความสมัครใจหรื อความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะ ดารงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย และมี
ความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมัน่ คง
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 10
……………………………………………………………………………………………………….
49. “สภาวะสงคราม” ในทัศนะของล็อค หมายถึง 1. ความขัดแย้งทาลายเสรีภาพ
2. สงครามระหว่างรัฐ 3. การใช้ กาลังเข้ายึดอานาจ
4. สภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ 5. ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ผ้ปู กครอง
ตอบ 1. ล็อค เห็นว่า ข้อบกพร่ องของสภาวะธรรมชาติเป็ นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทัง่ นาไปสู่
“สภาวะสงคราม” ซึ่ งจะทาลายเสรี ภาพของมนุษย์
50. ฝ่ ายนิติบัญญัติในฐานะสู งสุ ดหรื อ Supreme power นั้นตรงกับข้ อใด
1. เป็ นองค์อธิปัตย์ 2. เป็ นที่มาของฝ่ ายบริหาร
3. เป็ นองค์กรที่ใช้ สิทธิพิเศษ 4. เป็ นองค์กรที่แสดงเจตจานงของรัฐ
5. เป็ นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน
ตอบ 5. ฝ่ ายนิติบญั ญัติเป็ นองค์กรที่ใช้อานาจสูงสุดภายในรัฐเหนืออานาจอื่นทั้งหมด (Supreme Power) ซึ่ง
ทาหน้าที่เป็ นผูอ้ อกกฎหมายควบคุมประชาชนเท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ ายนิติบญั ญัติก็ไม่ได้เป็ นองค์กรที่ใช้อานาจ
อธิปไตยหรื อเป็ นองค์อธิปัตย์ที่มีอานาจสูงสุดภายในรัฐ
51. ระบบการเมือง ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมสอดคล้ องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด
1. รัฐสภา 2. ประธานาธิบดี 3. กึ่งประธานาธิบดี
4. กึ่งรัฐสภา 5. แบบผสมระหว่าง 1. กับ 2.
ตอบ 1. เมื่อมนุษย์ตดั สิ นใจเข้ามาใช้ชีวิตร่ วมกันในสังคมการเมืองแล้ว สิ่ งแรกที่จาเป็ นต้องดาเนินการคือ การ
สถาปนาองค์กรที่ ใช้อานาจนิติบญั ญัติข้ นึ มาเพื่อวางแนวทางในการดาเนินงานหรื อกาหนดนโยบายให้ฝ่ายบริ หาร
นาไปปฏิบตั ิ ดังนั้นฝ่ ายบริ หารจึงไม่มีอิสระที่จะทาอะไรตามเจตจานงของตน ทั้งนี้เพราะการใช้อานาจของฝ่ ายบริ หาร
นั้นจะต้องเป็ นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบญั ญัติกาหนดขึ้น ตามหลักสัญญาประชาคมของ ล็อค ซึ่งจากหลักการ
ดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด
52. เมื่อสั ญญาได้ กระทากันแล้ว สิ ทธิ ในทรัพย์ สินถูกเปลีย่ นแปลงไปในลักษณะอย่ างไร
1. มีความมั่นคงมากกว่าเดิม 2. มีความมั่นคง น้ อยกว่าเดิม
3. เป็ นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล 4. กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลกลายเป็ นกรรมสิทธิ์ร่วม
5. กลายเป็ นทีม่ าแห่ งสิทธิในทรัพย์สิน
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 48 ประกอบ
53. หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้ องทาอะไรในอันดับต่ อไป
1. ทาสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่ 2. เลือกตั้งรัฐบาลใหม่ 3. ดูแลความปลอดภัยให้ แก่ตนเอง
4. ใช้ สิทธิพิเศษ 5. ใช้ อานาจสหพันธ์
ตอบ 2 . ล็อค กล่าวว่า หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทาการเลือกตั้งหรื อสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรี ยกว่า
เปลี่ยนความยินยอม ซึ่งต้องเป็ นไปตามเสี ยงข้างมาก
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 11
……………………………………………………………………………………………………….
54. บุคคลหรื อกลุ่มบุคคลใด ที่ถือได้ว่าเป็ นองค์อธิปัตย์แห่ งรัฐที่แท้จริง
1. ประชาชนทั้งหมด 2. ประชาชนส่ วนใหญ่
3. ผู้ใช้ สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 4. ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ เป็ นรัฐบาล
5. ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด
ตอบ 1. ในความเห็นของ ล็อค ประชาชนทั้งมวล สามารถใช้อานาจอธิปไตยได้เป็ นครั้งคราวในกรณีที่รัฐบาล
ถูกยุบเท่านั้น แต่จ ะอยูใ่ นฐานะเป็ นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริ ง
55. ผู้ที่ได้ รับความยินยอมจากเสียงข้ างมากของประชาชนตามหลักแห่ งสั ญญาประชาคมคือผู้ใด
1. นิติบัญญัติ 2. บริหาร 3. ตุลาการ 4. ทรัสตรี 5. องค์อธิปัตย์
ตอบ 2 . ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็ นเรื่ องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนา
สังคมการเมืองหรื อรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็ นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการ
สถาปนารัฐบาล (ฝ่ ายบริ หาร) นั้นจะเป็ นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสี ยงข้างมากของประชาชน
56. สิ่งที่ถือว่าเป็ น “ความไม่เท่าเทียมกันในสภาวะธรรมชาติ”
1. ร่ างกาย 2. เสรีภาพ 3. ทรัพย์สิน
4. ความเสมอภาค 5. ความปลอดภัยในชีวิต
ตอบ 1. ตามความเห็นของรุ สโซ สภาวะธรรมชาติเป็ นสภาวะที่มีแต่สันติภาพ เสรี ภาพ และความเสมอภาค
อย่างบริ บูรณ์เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติอยูบ่ า้ งบางประการ เช่น
ความแข็งแรงของร่ างกาย ความมากน้อยของอายุ เพศ พละกาลัง ความสามารถของสติปัญญา
57. “ผลอันเกิดจากทีม ่ นุษย์ต้องการความสมบูรณ์”
1. สภาวะสงคราม 2. ความอิจฉาริษยา 3. ความขยันขันแข็ง
4. การร่ วมมือกับผู้อื่น 5.ความสุ ขในอนาคต
ตอบ 4. รุ สโซ กล่าวว่า ผลอันเกิดจากการสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่มนุษย์ตอ้ งการความสมบูรณ์ก็คอื การ
ร่ วมมือระหว่างกันหรื อการร่ วมมือกับผูอ้ นื่ นัน่ เอง
58. ผู้เป็ นเจ้ าของหรื อทรงไว้ ซึ่งอานาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้ อานาจนี้ของตนเมืองใด
1. เป็ นรัฐบาล 2. บัญญัติกฎหมาย 3. ไปใช้ สิทธิเลือกตั้ง
4. เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 5. ทาสัญญาประชาคม
ตอบ 2. รุ สโซ เห็นว่า ประชาชนสามารถใช้อานาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทาหน้าที่บญั ญัติกฎหมาย เพราะว่าใน
การบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอานาจเต็มที่ไม่ตอ้ งเชื่อฟังใครอานาจอธิปไตยเป็ นของประชาชนทั้งหมด
(ประชาชนทั้งมวล)
59. ข้ อใดเป็ นผลงานของรุ สโซ 1. Social Contract และ The Prince
2. Emile และ Das Capital 3. The Spirit of the Laws
4. Confessions และ The Old Regime 5. Social Contract และ Emile
ตอบ 5. ผลงานที่สาคัญของรุ สโซ ได้แก่
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 12
……………………………………………………………………………………………………….
1. Constitution for Corsica 2. Dialogues
3. Social Contract 4. La Nouvelle Heloise
5. Emile 6. Confessions
7. Political Economy 8. The Origin of Inequality
9. Consideration on the Government of Poland
60. “มนุษย์เกิดมาอย่างเสรี แต่ต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการทุกแห่ งหน” คาว่า “พันธนาการ” หมายถึง
1. การบีบบังคับโดยผู้ปกครอง 2. การตกเป็ นทาสแห่ งอารมณ์ของตนเอง
3. ขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับต่าง ๆ 4. สภาวะแห่ งความเป็ นทาส
5. ความเชื่ อในศาสนา
ตอบ 3. เป็ นการแสดงให้เห็นถึงความเป็ นไปของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งความเป็ นอิสระหรื อภาวะที่เป็ นเสรี น้ นั
ได้ถูกทาลายลงโดยสถาบันการปกครอง และอารยธรรมของมนุษย์ซ่ ึงเป็ นเครื่ องพันธนาการหรื อโซ่ตรวนบัน่ ทอน
เสรี ภาพของมนุษย์ ในลักษณะที่แฝงมาในรู ปอื่น
61. มนุษย์ สามารถสนองตอบต่ อสั ญชาตญาณที่ต้องการความสมบูรณ์ ได้ โดยวิธีใด
1. การแข่งขันระหว่างกัน 2. การร่ วมมือระหว่างกัน 3. การดารงชีพแบบต่างคนต่างอยู่
4. การทาสัญญาประชาคม 5. การทาอะไรตามใจปรารถนา
ตอบ 2. ดูคาอธิบายข้อ 57 ประกอบ
62. “ความไม่ สมบูรณ์ ”
1. สังคมธรรมชาติ 2. สังคมการเมือง 3. สังคมเมือง
4. สังคมอุตสาหกรรม 5. สังคมบุพกาล
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 57 ประกอบ
63. “รัฐบาล” ตามแนวคิดสั ญญาประชาคม หมายถึงบุคคลหรื อสถาบันใด
1. นิติบัญญัติ 2. บริหาร 3. ตุลาการ
4. องค์อธิปัตย์ 5. ข้อ 1., 2. และ 3.
ตอบ 2. รุ สโซ อธิบายว่า ตามทฤษฎีสัญญาประชาคม “รัฐบาล” หมายถึงผูท้ ี่ใช้อานาจบริ หารซึ่งมีฐานะเป็ น
เพียงแค่องค์กรที่รับมอบอานาจอธิปไตยที่เป็ นของประชาชนเท่านั้น อีกทั้งรัฐบาล เป็ นเพียงคณะบุคคลที่นาเอา
เจตจานงทัว่ ไปมาปฏิบตั ิ
64. รุ สโซ เชื่ อว่ ามนุษย์ เราจะปราศจากเสรีภาพหากปราศจาก
1. กฎหมายที่เป็ นธรรม 2. ผู้นาที่ทรงคุณธรรม 3. ระบบการตรวจสอบที่ดี
4. ความเสมอภาค 5. หลักประกันทางกฎหมาย
ตอบ 4. ถ้ามนุษย์ปราศจากเสี ยซึ่งความเสมอภาค การใช้เสรี ภาพของมนุษย์น้ นั ย่อมเป็ นสิ่ งที่เป็ นไปไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคน ๆ หนึ่งตกเป็ นทาสของอีกคนหนึ่งนั้นหมายถึงว่า เขาได้สูญเสี ยความเสมอภาคของความเป็ นมนุษย์
ไปแล้ว
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 13
……………………………………………………………………………………………………….
65. “เจตจานงของทั้งหมด” (Will of All) 1. ผลประโยชน์ ส่วนตัว
2. ผลประโยชน์ ส่วนรวม 3. ผลประโยชน์ ของคู่สัญญา
4. ผลประโยชน์ ของกลุ่ม 5. ผลประโยชน์ ขององค์อธิปัตย์
ตอบ 2. เจตนารมณ์ร่วมของคนส่วนใหญ่โดยรวม (will of all) โดยที่เจตนารมณ์น้ นั จะต้องตั้งอยู่
บนฐานของความมีเหตุผลและผลประโยชน์ของส่วนรวม
66. “เสรีภาพแบบใหม่ ” อันหมายถึงการเคารพเชื่ อฟังเจตจานงของตนเองนั้นเกิดขึน ้ จากอะไร
1. การเคารพกฎหมายที่ดี 2. การเชื่ อฟังเจตจานงทั่วไป 3. การใช้ เหตุผลกากับการแนะนา
4. การใช้ สิทธิเลือกตั้ง 5. การกระทานอกเหนือจากที่กฎหมายห้ าม
ตอบ 2. รุ สโซ เชื่อว่า เสรี ภาพแบบใหม่เป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็ นผูม้ ีส่วนในการบัญญัติ
กฎหมายหรื อการร่ วมกันแสดงเจตจานงทัว่ ไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรื อเชื่อฟังเจตจานงทัว่ ไปที่ตนเอง
เป็ นผูบ้ ญั ญัติข้ นึ
67. ข้ อใดเป็ นแนวคิดหลักของ “อนุรักษ์ นิยม”
1. การเปลี่ยนแปลง (ถ้าจาเป็ น) ต้องเป็ นไปอย่างช้ า ๆ
2. มนุษย์คิดค้นสถาบันต่าง ๆ มาเพื่อประโยชน์ ของมนุษย์
3. รากฐานของประเพณี กฎหมาย การปกครองมาจากธรรมชาติของมนุษย์
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. Hume และBurke โดย Hume เห็นว่ารากฐานของประเพณี กฎหมายการปกครองและสังคม
การเมือง เกิดมาจากความจาเป็ น ความโน้มเอียงโดยธรรมชาติ นิสัย และความเคยชินของมนุษย์ส่วน Burke เห็นว่า
สถาบันต่างๆที่คนก่อตั้งขึ้นมานั้น เป็ นการก่อตั้งขึ้นมาจากขนบธรรมเนียมและจารี ตประเพณีในสังคมที่มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าเป็ นระเบียบทีละเล็กทีละน้อยต่อเนื่องกับอดีต โดยที่มีผลประโยชน์หรื อความต้องการของ
มนุษย์ ส่วนรวมเป็ นพลังผลักดันให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการกาหนดโครงสร้างของสังคมนั้น
68. หลักที่สานักอนุรักษ์ นิยมนามาใช้ ในการอธิบายทฤษฎีของตน 1. หลักของเหตุผล ( rationality)
2. หลักของกฎธรรมชาติ (natural law) 3. หลักประจักษ์นิยม (empiricism)
4. หลักทฤษฎีความขัดแย้ง (conflict theory) 5. หลักสถาบันนิยม (institutionalism)
ตอบ 3. หลักการที่สาคัญของพวกอนุรักษ์นิยม คือ ลัทธิประจักษ์นิยม (Empiricism of Empirical Study)
อันหมายถึง การยึดถือหลักประสบการณ์และการสังเกตเป็ นสาคัญในการอธิบายทฤษฎีของตน การปฏิเสธที่จะยอมรับ
และเชื่อถือในหลักเหตุผลนิยม
69. แนวคิดอนุรักษ์ นิยมให้ ความสาคัญกับเรื่ องใดมากที่สุด
1. อานาจของประชาชนที่จะกาหนดทิศทางของตนเอง
2. ดุลยภาพของสังคม 3. ความเท่าเทียมกันของมนุษย์
4. สิทธิทางการเมืองของมนุษย์ในสังคม 5. อานาจของพระมหากษัตริย์
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 14
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 2. Burke จะให้ความสาคัญแก่ดุลยภาพของสังคมมากที่สุด โดยเขาเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง
และการปฏิวตั ิอาจทาลายดุลยภาพของโครงสร้างทางสังคมให้พินาศเสื่ อมสูญลง
70. ความยุติธรรม (Justice) ในความหมายของ Hume 1. ความเท่าเทียมกันด้านการเมือง
2. ความเท่าเทียมกันในความเป็ นมนุษย์ 3. ความเท่าเทียมกันในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. Hume เห็นว่า ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การยอมรับในกรรมสิ ทธิ์ส่วนตัว หรื อสิ ทธิการมี
ทรัพย์สินส่วนบุคคล
71. แนวความคิดของเฮเกลทีม ่ ีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่ องอานาจทางการเมืองการปกครอง
1. รัฐ 2. ครอบครัว 3. พระเจ้ า 4. องค์อธิปัตย์ 5. สังคมเข้มแข็ง
ตอบ 1. “รัฐ” ถือได้ว่าเป็ นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล เพราะรัฐเป็ นผูท้ าให้ความคิดทางจริ ยธรรม
และเสรี ภาพของพลเมืองปรากฏเป็ นจริ งขึ้นมาในสังคมโดยเขาเห็นว่ารัฐควรเป็ นสถาบันที่มีอานาจสูงสุดในสังคม
72. ตามแนวความคิดเรื่ องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่ งความเป็ นจริงออกเป็ น 2 ส่ วนอะไรบ้ าง
1. สสารกับอสสาร 2. จิตกับกาย 3. จิตกับวัตถุ
4. ตันตนและไม่ใช่ ตัวตน 5. กายภาพ กับ ชีวภาพ
ตอบ 1. จิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกล เห็นว่า สรรพสิ่ งทั้งหลายที่เป็ นจริ งมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน
1. อสสาร คือ ไม่เป็ นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้
2. สสาร คือ เป็ นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้
73. ข้ อใดเป็ นคาอธิบายการเกิดขึน ้ ของรัฐทีส่ อดคล้องกับแนวคิดเรื่ องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล
1. ครอบครัวเป็ น Thesis, รัฐเป็ น Antihesis, ก่อให้ เกิดสังคมพลเรื อนซึ่งเป็ น Synthesis
2. รัฐเป็ นการผสมผสาน (Synthesis) ระหว่างครอบครัวกับสังคมพลเรื อน
3. ครอบครัวเป็ น Antithesis ต่อสังคมพลเรื อน ทาให้ จาเป็ นต้องสถาปนารัฐขึน้ มา
4. สังคมพลเรื อนเป็ น Synthesis อันเป็ นผลมาจากการปะทะขัดแย้งกันระหว่างรัฐกับครอบครัว
5. รัฐเป็ น Amtothesos ทั้งต่อครอบครัวและสังคมพลเรื อน
ตอบ 2. รัฐเป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็ น Thesis กับสังคมพลเรื อน
(การแข่งขัน) ซึ่งเป็ น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่าเป็ นภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่าคือ มี
เหตุมีผลและเสรี ภาพมากกว่า ตามแนวคิดเรื่ องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล
74. อะไรเป็ นเหตุที่ทาให้ เฮเกลได้ ชื่อว่ าเป็ นนักปราชญ์ คนสาคัญในสานัก “จิตนิยม”
1. เน้ นความสาคัญของ “จิต” ว่าเป็ นต้นกาเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงในโลก
2. เน้ นสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ว่าอยู่เหนือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
3. “อรูป” สาคัญกว่า “รูป” 4. เน้ น “เนื้อหา” มากกว่า “รูปแบบ”
5. อธิบายเรื่ องรัฐว่าเป็ นอสสาร
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 15
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 1. เฮเกล เขาได้ให้ความสาคัญในเรื่ องของจิตเป็ นอย่างมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็ นนักปรัชญาเมธี
คนสาคัญในสานักจิตนิยม โดยเห็นว่าจิตนั้นเป็ นต้นกาเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลก
75. เหตุผลใดที่เฮเกลใช้ ในการสนับสนุนความคิดที่ว่า รัฐควรเป็ นสถาบันที่มีอานาจสู งสุ ดในสั งคม
1. รัฐเป็ นผู้ทาให้ ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองเป็ นจริงขึน้ มา
2. การเปลี่ยนแปลงสังคมแบบรุนแรงและถอนรากถอนโคน
3. ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล 4. รัฐเป็ นเจ้ าของปัจจัยการผลิต
5. รัฐเป็ นเครื่ องมือของชนชั้น
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 71 ประกอบ
76. ลัทธิมาร์ กซ์ เกีย่ วข้ องกับอะไร 1. นักคิด ชื่ อ Karl Marx
2. แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ 3. แนวคิดแบบสังคมนิยม
4. แนวคิดอรรถประโยชน์ นิยม 5. ถูกเฉพาะ ข้อ 1., 2. และ 3.
ตอบ 5. คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) นักคิดที่กอ่ ให้เกิด ลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งถือว่าเป็ นเจ้าตารับหรื อบิดาแห่ง
คอมมิวนิสต์ โดยมาร์กซ์น้ นั เกิดที่เมืองทรี เออร์ ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1818 บิดาเป็ นทนายความที่มีชื่อเสี ยง
มาร์กซ์ เคยมีสัญชาติยิวแต่เมื่ออายุได้ 6 ขวบ ก็เปลี่ยนเป็ นโปรเตสแตนต์
77. ลัทธิมาร์ กซ์ เชื่ อว่าอย่างไร 1. เศรษฐกิจเป็ นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
2. นายทุนเอาเปรียบกรรมกร 3. ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทาให้ เกิดความเท่าเทียม
4. ระบบทุนนิยมคือต้นเหตุการณ์แบ่ งแยกทางชนชั้น 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ความเชื่อของลัทธิมาร์กซ์ มีดงั นี้
1 สังคมทุนนิ ยมเป็ นสังคมที่นายทุนเอาเปรี ยบกรรมกร
2 เศรษฐกิจเป็ นปั จจัยหลักของความขัดแย้ง
3 ระบบทุนนิ ยมทาให้เกิดการแยกสังคมเป็ น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน
4 ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทาให้เกิดความเท่าเทียม คือทุกคนเป็ นกรรมกร ไม่มีชนชั้นอื่น
78. อะไรคือตัวบ่ งชี้ความล้ มเหลวของลัทธิมาร์ กซ์
1. การเสื่ อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
3. การนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การยอมรับและนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1 การนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้การยอมรับและนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิ ยมมาใช้
2 การสลายตัวของระบบสังคมนิ ยม
3 การเสื่ อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิ ยมในด้านการปฏิบต ัิ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 16
……………………………………………………………………………………………………….
79. จุดอ่อนของลัทธิมาร์ กซ์ คืออะไร 1. เห็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง
2. ไม่มีการแบ่ งแยกทางชนชั้น 3. ทุกคนเท่าเทียมกัน
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกเฉพาะข้อ 1.
ตอบ 4. จุดอ่อนของลัทธิมาร์กซ์ คือ การมองโลกในด้านเดียว โดยเชื่อว่าความขัดแย้งในสังคมเกิดจากพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ในความเป็ นจริ งนั้น มนุษย์จะดิน้ รนเพื่อเกียรติยศชื่อเสี ยงด้วย ถึงแม้ว่าจะสูญเสี ยปัจจัยทาง
เศรษฐกิจก็ตาม ทั้งนี้เพราะคนมิใช่สัตว์เศรษฐกิจอย่างที่มาร์กซ์เข้าใจ
80. นักคิดที่ไม่ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์ กซ์ คือ
1. เหมา เจ๋ อ ตุง 2. เลนิน 3. ฮิตเลอร์ 4. คาร์ ล มาร์ กซ์ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3. นักคิดที่จดั อยูใ่ นกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1. คาร์ ล มาร์ กซ์ (Kart Marx)
2. เหมา เจ๋ อ ตุง หรื อ เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung)
3. นิ โคไล เลนิ น (Nicolai Lenin)
81. ข้ อใดกล่าวถูกต้ องเกี่ยวกับ เหมา เจ๋ อ ตุง 1. เหมาเป็ นลูกนายทหาร
2. เหมาร่ วมปฏิวัติราชวงศ์ ถังเป็ นผลสาเร็จ 3. เหมาเป็ นผู้นาของซุน ยัด เซน
4. เหมาเขียนบทความชื่ อ On New Democracy 5. เหมาร่ วมมือกับชนชั้น กระฎมพี ุ
ตอบ 4. ผลงานที่สาคัญของ เหมา เจ๋ อ ตุง ได้แก่
1. On Contradiction (1937)
2. On New Democracy (1940)
3. On Tactics against Japanese imperialism (1935)
4. On Practice (1937)
82. การปฏิวัติเพื่อสร้ างสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่ของ เหมา เจ๋ อ ตุง มีลักษณะที่ไม่ใช่ ลักษณะใดดังต่อไปนี้
1. การปฏิวัติชาติ เพื่อกาจัดจักรวรรดินยิ ม 2. การปฏิวัติเพื่อกาจัดเจ้ าของที่ดิน
3. การปฏิวัติเพื่อกาจัดพวกปฏิกิริยา 4. การปฏิวัติเพื่อทาลายลัทธิทุนนิยม
5. การปฏิวัติเพื่อประชาชนทุกชนชั้น
ตอบ 4 . “สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่” โดย เหมา เจ๋ อ ตุง มีลกั ษณะสาคัญคือ การปฏิวตั ิชาติ เพื่อกาจัด
จักรวรรดินิยม และการปฏิวตั ิประชาธิปไตยเพื่อกาจัดเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ ซึ่งการปฏิวตั ิ ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อล้มล้าง
การปกครองจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ ทาลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยม
83. ประชาธิปไตยแบบรวมศู นย์ ของคอมมิวนิสต์ ไม่มีลักษณะใดดังต่ อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูกต้อง
2. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่ วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
3. สภาทุกระดับของประชาชนส่ งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็ นเด็ดขาดห้ามโต้แย้ง
5. ประชาชนทุกคนที่ไม่เป็ นสมาชิกพรรคสามารถมีส่วนร่ วมได้
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 17
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 5. ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ มีลกั ษณะดังต่อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูก
2. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสิ นนโยบายแล้ว ถือเป็ นเด็ดขาด
3. สภาประชาชนทุกระดับจะส่ งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่ วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
84. บทความเรื่ อง “ระเบียบทางสั งคม” เป็ นข้ อเขียนของใคร
1. กุหลาบ สายประดิษฐ์ 2. ปรีดี พนมยงค์ 3. เสนีย์ เสาวพงศ์
4. เปลื้อง วรรณศรี 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรื อที่รู้จกั กันดีในนามปากกาว่า “ศรี บูรพา”เป็ นผูเ้ ขียนบทความเรื่ อง
“ระเบียบทางสังคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1954 โดยได้เขียนตามแนวความคิดของเองเกลส์ที่เขียนในเรื่ อง “The Origin of
Family, Private Property and State”
85. ประวัติการต่อสู้ ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งไทย เป็ นการต่อสู้ ที่ได้รับอิทธิพลจากคนกลุ่มใดเป็ นสาคัญ
1. นักปรัชญาการเมือง 2. ผู้นาทางการเมือง 3. ข้าราชการ
4. นักธุรกิจ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทวั่ โลกรวมทั้งประเทศไทยนั้น พบว่าเป็ นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพล
จากนักปรัชญาการเมืองเป็ นสาคัญ ไม่ว่าจะเป็ น คาร์ล มาร์กซ์, ฟรี ดริ ช เองเกลส์, อดัม สมิธ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อิทธิพลของคาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการต่อสู้ ของบุคคลสาคัญ ๆ เช่น นิโคไล เลนิน (รัสเซีย), เหมา เจ๋ อ
ตุง (จีน), นายปรี ดี พนมยงค์ (ไทย), นายจิตร ภูมิศกั ดิ์ (ไทย) เป็ นต้น
86. คาอธิบาย “ความสั มพันธ์ ทางการผลิต (Relation of Production) ในลัทธิมาร์ กซ์ หมายถึง
1. การที่มนุษย์ใช้ เครื่ องมือในการผลิต 2. การที่มนุษย์ขาดเครื่ องมือในการผลิต
3. การที่มนุษย์ซื้อ-ขายเครื่ องมือการผลิต 4. การที่มนุษย์เป็ นเจ้ าของเครื่ องมือการผลิต
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4. ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Product) เป็ นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั เครื่ องมือการ
ผลิต เพื่อดูว่ามนุษย์เป็ นเจ้าของเครื่ องมือการผลิตหรื อไม่
87. หนังสื อวิพากษ์ ชนชั้นในสั งคมไทยเรื่ อง “โฉมหน้ าศักดินาไทย” เป็ นงานเขียนของ
1. เสนีย์ เสาวพงศ์ 2. ปรีดี พนมยงค์ 3. เปลื้อง วรรณศรี
4. อัศนี พลจันทน์ 5. จิตร ภูมิศักดิ์
ตอบ 5 โฉมหน้าศักดินาไทย เป็ นผลงานโดย จิตร ภูมิศกั ดิ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ "โฉมหน้าศักดินาไทยใน
ปัจจุบนั " ในวารสาร นิติศาสตร์ฉบับศตวรรษใหม่ พ.ศ. 2500
88. ในทัศนะของคาร์ ล มาร์ กซ์ ทีม ่ ีต่อสังคมทุนนิยมได้แบ่ งแยกสังคมเป็ นกี่ชนชั้น
1. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสู ง 2. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นกลาง ชนชั้นสู ง
3. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนา ชนชั้นผู้ถูกปกครอง 4. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุน
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 18
……………………………………………………………………………………………………….
5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 77 ประกอบ
89. ข้อใดไม่ใช่ ข้อเสนอของคาร์ ล มาร์ กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะในการปฏิวัติ
แล้ว
1. ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้ วิธกี ารเช่ าแทน 2. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้ าอย่างกวดขัน
3. ยกเลิกสิทธิรับมรดก 4. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่ อสารทุกประเภท
5. มีผ้มู ีอานาจเด็ดขาดเพียงคนเดียว
ตอบ 5 . ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะ มีดงั นี้
1. ยกเลิกสิ ทธิ การรับมรดก
2. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
3. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่ อสารทุกประเภท
4. รัฐเข้ามาควบคุมโรงงาน เครื่ องมือการผลิตและการเกษตร
5. ยกเลิกกรรมสิ ทธิ์ ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน
90. เนื ้อหาในการวิพากษ์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองของ คาร์ ล มาร์ กซ์ มุ่งวิพากษ์
1. ระบบทุนนิยม 2. สังคมนิยม 3. การคอรัปชั่น
4. การรีดส่ วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน 5. ถูกเฉพาะข้อ 1. และ 4.
ตอบ 5. คาร์ล มาร์กซ์ ได้สร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองขึ้นเพื่ออธิบายว่า ในระบบทุนนิยมนั้นสิ่ งที่
นายทุนคานึงคือกาไร นายทุนจะได้เปรี ยบกรรมกร เพราะว่ามีการรี ดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน
หรื อที่เรี ยกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” นาเอาไปเป็ นกาไรของตัวเอง
91. ความคิดของมาร์ กซ์ ข้อใดที่ไม่สะท้ อนข้ อเท็จจริงของระบบทุนนิยม
1. การต่อสู้ ชนชั้นมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2. การครอบครองปัจจัยการผลิตโดยนายทุน
3. สังคมเกิดความขัดแย้งจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ 4. ชนชั้นกรรมาชีพสามารถเอาชนะชนชั้นนายทุนได้
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 การครอบครองปัจจัยการผลิตโดยนายทุนทาให้เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น เกิดความขัดแย้งจากปัจจัย
ทางเศรษฐกิจ มาคส์เชื่อว่าการเจรจาอย่างสันติจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และการปฏิวตั ิอย่างรุ นแรงของมวลชนขนาด
ใหญ่ที่มีการจัดการที่ดีเป็ นสิ่ งที่จาเป็ น เขากล่าวว่าเพื่อจะรักษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ รัฐเผด็จการโดยกรรมาชีพ
จะต้องถูกสร้างขึ้น แต่หลังจากที่ระบบการผลิตแบบใหม่ได้เริ่ มขึ้นรัฐดังกล่าวจะค่อย ๆ ลดความสาคัญลงและหายไป
เอง
92. บทความเรื่ อง “ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์” เป็ นข้ อเขียนร่ วมกันระหว่ าง
1. ฟรีดริช เองเกลส์ + คาร์ ล มาร์ กซ์ 2. ลุดวิก ฟอยเออส์ บาร์ ค + คาร์ ล มาร์ กซ์
3. อดัม สมิท + เดวิท ริคาโด 4. คาร์ ล มาร์ กซ์ + เฮเกล
5. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 19
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 1. ผลงานที่ฟรี ดริ ช เองเกลส์ และคาร์ล มาร์กซ์ ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา ได้แก่
1. คาประกาศคอมมิวนิ สต์ (The Communist Manifesto)
2. อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
3. ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family)
93. คุณูปการ ของ คาร์ ล มาร์ กซ์ ที่สาคัญคืออะไร 1. แนวทางวิพากษ์แบบวิพากวิธี dialectic
2. แนวคิดวัตถุนิยม 3. หลักเศรษฐกิจกาหนด
4. หลักอรรถประโยชน์ นยิ ม 5. ถูกเฉพาะข้อ 1., 2 และ 3.
ตอบ 5. คุณูปการที่สาคัญของคาร์ล มาร์กซ์ ได้แก่
1. แนวคิดวัตถุนิยม (Materialism)
2 แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี (Dialectic)
3 หลักเศรษฐกิจกาหนด (Economic Determinism)
94. ชื่ อหนังสื อบทความต่ อไปนี้เรื่ องใดเขียนโดยร่ วมกันระหว่ าง คาร์ ล มาร์ กซ์ และ ฟรีดริช เองเกลส์
1. On New Democracy 2. On Contradiction 3. On Practice
4. The communist Manifesto 5. Socialism : Utopian and Scientific
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 92 ประกอบ
95. วลีต่อต้ านศาสนาที่ว่า “ศาสนาเป็ นสิ่ งมอมเมาชาติ” เป็ นของนักคิดคนใด
1. ซิง ซิมองต์ 2. อดัม สมิท 3. คาร์ ล มาร์ กซ์
4. จอร์ จ วิลเลี่ยม ฟรีดรีช เฮเกล 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3. คาร์ล มาร์กซ์ ปฏิเสธศาสนา เพราะเชื่อว่า “ศาสนาเป็ นสิ่ งที่มวั เมาเหมือนยาเสพติด ที่ทาให้คนอยูแ่ ต่
ในโลกจินตนาการ และลืมความเป็ นจริ งในโลก”
96. หนังสื อและบทความใดต่ อไปนี้ไม่ ใช่ ข้อเขียนของ นิโคโล เลนิน
1. จะทาอะไร (What to be done)
2. สังคมนิยมและสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4. คาประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4. ผลงานที่สาคัญของนิโคไล เลนิน ได้แก่
1. จักรวรรดินิยม : ขั้นสุ ดท้ายของระบบทุนนิ ยม (Imperialism : The Highest Stage of
Capitalism)
2. สังคมนิ ยมเละสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวตั ิ (State and Revolution)
4. จะทาอะไร (What to be done)
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 20
……………………………………………………………………………………………………….
97. นักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์มีความคิดที่เหมือนกันหรื อคล้ายกัน แต่ไม่ใช่ ประเด็นใดดังต่อไปนี้
1. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้ วธิ ีการรุนแรงหรื อด้วยการปฏิวัติ
2. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
3. ต้องการให้ ชนชั้นกรรมาชีพเป็ นผู้ชนะการต่อสู้ ในสงครามแห่ งชนชั้น
4. มองสังคมทุนนิยมเป็ นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
5. ต้องการให้ ปัจเจกบุคคล สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้โดยเสรี
ตอบ 5. ประเด็นสาคัญที่คล้ายกันของนักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แก่
1. มองสังคมทุนนิ ยมเป็ นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรี ยบ
2. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็ นผูช้ นะการต่อสู ้ในสงครามแห่ งชนชั้น
3. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุ นแรงหรื อด้วยการปฏิวตั ิ
98. ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ ไม่ใช่ ข้อใดดังต่อไปนี้
1. การเน้ นให้ พรรคเป็ นผู้นาในการปฏิวัติ 2. เน้ นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึ่งมีการสร้ างพันธมิตร
3. การปฏิวัติสังคมเกิดด้วยความรุนแรงเท่านั้น
4. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็ นการปกครองเด็ดขาด มีกาลังอาวุธ
5. การพัฒนาขั้นสุ ดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบสังคมนิยม
ตอบ 5. ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ มีดงั นี้
1. การเน้นให้พรรคเป็ นผูน้ าในการปฏิวตั ิ
2. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวตั ิ ซึ่ งมีการสร้างพันธมิตร
3. การปฏิวตั ิสังคมเกิดในประเทศเดียวก็ได้ และเกิดด้วยวิธีรุนแรงเท่านั้น
4. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็ นการปกครองที่เด็ดขาด
5. การพัฒนาขั้นสุ ดท้ายของระบบทุนนิ ยมคือ ระบบจักรวรรดินิยม
99. ลัทธิมาร์ กซ์ มองว่า ระบบทุนนิยมทาลาย ลดทอนความเป็ นมนุษย์ เนื่องด้วยเหตุผลใดดังต่อไปนี้
1. เพราะแรงงานที่เขาทางานไม่สามารถทางานสนองความต้องการของเขาแต่เป็ นของนายทุน
2. นายจ้ างที่เป็ นชนชั้นนายทุนให้ เขาเป็ นเครื่ องมือเพื่อผลกาไร
3. แรงงานที่ทาให้ กับนายทุนเป็ นแรงงานที่ถกู บังคับมากกว่าความเต็มใจ
4. เพราะกรรมกรทางานเพื่อประโยชน์ ของนายทุนเท่านั้น
5. ถูกเฉพาะข้อ 1., 2. และ 3.
ตอบ 5. ลัทธิมาร์กซ์ มองว่า ระบบทุนนิยมจะทาลายและลดทอนคุณค่าความเป็ นมนุษย์ เนื่องจาก
1 นายจ้างที่เป็ นชนชั้นนายทุนใช้เขาเป็ นเครื่ องมือเพื่อผลกาไร
2 แรงงานต้องทางานตามความต้องการของนายทุน
3 แรงงานที่ทาให้กบ ั นายทุนเป็ นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 21
……………………………………………………………………………………………………….
100. แนวคิดของมาร์ กซ์ เรื่องวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประยุกต์จากแนวความคิดของเฮเกลเรื่ อง
1. ความขัดแย้งระหว่างจิตกับวัตถุ 2. กระบวนการตกผลึกทางความคิด
3. Dialectics 4. กระบวนการลดทอนคุณค่าความเป็ นมนุษย์
5. ปัญญาชนปฏิวัติ
ตอบ 3. มาร์กซ์ ได้รับเอาแนวความคิดเรื่ องวิภาษวิธี หรื อความเป็ นปฏิปักษ์ ขัดแย้ง (Dialectic) ของเฮเกล มา
อธิบายถึงเรื่ องวิวฒั นาการทางสังคมและประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย
1. Synthesis คือ สภาวะผสมผสานหรื อสหกิริยา
2. Anti-Thesis คือ สภาวะแย้งหรื อปฏิกิริยา
3. Thesis คือ ภาวะที่เป็ นอยูห
่ รื อกิริยา


ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 22
……………………………………………………………………………………………………….
ข้อสอบภาคฤดูร้อน ปี การศึกษา 2562
……………….
คาสั่ง ให้ นักศึกษาเลือกคาตอบที่ถกู ต้องที่สุดเพียงคาตอบเดียว (มีข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ)
1. คาถามใดเป็ นคาถามที่มาเคียเวลลีส่ นใจมากทีส่ ุ ด
1. เหตุใดอาณาจักรโรมันจึงล่มสลาย 2. ทาอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถขยายอานาจได้
3. ความชอบธรรมทางการเมืองคืออะไร 4. ทาอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอานาจไว้ได้
5. อะไรคือคุณธรรมที่สาคัญทีส่ ุ ดสาหรับผู้ปกครอง
ตอบ 4. มาเคียเวลลี่เห็นว่าเป้าหมายของการเมืองก็คือ การรักษาหรื อเพิ่มอานาจการเมืองโดยเฉพาะ ซึ่งในการ
ที่จะทาให้บรรลุเป้าหมายนี้ มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็ นสิ่ งที่ผิดศีลธรรมก็ตาม ดังนั้นสิ่ งที่มาเคียเวล
ลี่ สนใจมากที่สุดก็คือ ทาอย่างไรผูป้ กครองจึงจะสามารถรักษาอานาจไว้ได้ ทั้งนี้เพราะการรักษาไว้ซ่ ึงอานาจเป็ นสิ่ งที่
ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอานาจเสี ยอีก ดังในหนังสื อเรื่ อง The Prince นั้น
2. มาเคียอเวลลี่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขียนงานของตนเองเพื่อประจบใคร
1. ผู้นาตระกูลเมดิซี่ 2. กษัตริย์ของอิตาลี 3. ผู้นาเมืองฟลอเรนซ์
4. ผู้นากรุงโรม 5. ทรราช
ตอบ 1. มาเคียเวลลี่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เขียนงานของตนเองขึ้นมาเพราะต้องการประจบผูน้ าตระกูลเมดิซี
เพื่อขอตาแหน่งทางการเมืองเท่านั้น เพราะงานเขียนมาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์เป็ นระบบการ
ปกครองที่เหมาะสมที่สุดสาหรับอิตาลี แต่มิได้หมายความว่าระบบ การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่มีอานาจสูงสุด
เด็ดขาดเป็ นระบบการปกครองที่ดีที่สุด
3. ในทัศนะมาเคียอเวลลี่ ผู้ปกครองควรมีขันติเพื่อ
1. ทบทวนท่าทีของศัตรู 2. ข่มความรู้สึกที่แท้จริง 3. รับฟังคาวิจารณ์โดยสุ จริตใจ
4. ให้ เกิดความยาเกรง 5. แสดงความเป็ นราชสีห์
ตอบ 3. ในทัศนะมาเคียอเวลลี่ ผูป้ กครองควรมีขนั ติเพื่อยอมรับฟังคาวิพากษ์วิจารณ์ โดยสุจริ ตใจของเหล่า
ขุนนาง เพราะจะทาให้ได้ทราบถึงความเป็ นไปทีแ่ ท้จริ งของสถานการณ์ต่าง ๆ
4. ในทัศนะของมาเคียอเวลลี่ “รัฐ” กาเนิดจาก
1. การใช้ กาลังอานาจในการบีบบังคับ 2. ความชาญฉลาดของผู้ปกครอง
3. การรู้จักสามัคคีของผู้คนในสังคม 4. ความผูกพันทางภาษาและวัฒนธรรม
5. ความอ่อนแอและไร้ ประสิทธิภาพในการพิทักษ์ตนเอง
ตอบ5 ตามความเห็นของ มาเคียเวลลี่ เห็นว่า “รัฐ” หรื อสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรื อการ
บันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิ ทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทกั ษ์ตนเองให้พน้
จากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 23
……………………………………………………………………………………………………….
5. ความอ่อนแอและไร้ ประสิทธิภาพของมนุษย์เป็ นเหตุให้ เกิด 1. สันติภาพ
2. ความรู้รักสามัคคี 3. รัฐ 4. การใช้ กาลังอานาจ 5. กลุ่มการเมือง
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 4 ประกอบ
6. มาเคียอเวลลี่ เชื่ อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้ว
1. เป็ นคนที่เต็มไปด้วยเมตตาธรรม แต่สังคมทาให้ เห็นแก่ตัว
2. เป็ นคนเห็นแก่ตัว แต่สังคมทาให้ ละเลิกกิเลส
3. เป็ นคนที่เต็มไปด้วยวิจารณญาณ มีคุณธรรม 4. เป็ นคนอ่อนไหวตามสถานการณ์
5. เป็ นคนมุทะลุดุดันเยีย่ งสุ นัขจิง้ จอก
ตอบ 2. ธรรมชาติของมนุษย์น้ นั มาเคียเวลลี่ เห็นว่า เป็ นคนที่เห็นแก่ตวั ก้าวร้าว แสวงหา พยายามที่จะ
หลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกาไร จึงทาให้มีชีวิตอยูใ่ นภาวะของการดิ้นรน และแข่งขันกันเองอยูต่ ลอดเวลา จิตตก
อยูภ่ ายใต้การครอบงาของ กิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรื อรัฐขึ้นมาใช้อานาจบังคับเพื่อทาให้ละเลิกกิเลสและ
ควบคุมความเห็นแก่ตวั อันเป็ นธรรมชาติที่ชวั่ ร้ายของคน
7. ในผลงานเรื่ อง The Prince ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า
1. การจูงใจมวลชนเป็ นภารกิจที่ยากที่สุด
2. การรักษาไว้ซึ่งอานาจยากเสียยิง่ กว่าการได้มาซึ่งอานาจ
3. เมตตาธรรมของผู้ปกครองเท่านั้นที่จะครองโลก 4. ภูมิปัญญาของผู้นาเปรียบเสมือนเข็มทิศของสังคม
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2. ดูคาอธิบายข้อ 1 ประกอบ
8. สาระสาคัญของงานเขียนทางการเมืองมุ่งเน้นในเรื่ องใดเป็ นพิเศษ
1. รัฐในอุดมคติ 2. วิธีการ (Means) 3. จุดหมายปลายทาง (Ends)
4. การใช้ เล่ห์เหลี่ยม 5. เสรีภาพของผู้ปกครอง
ตอบ 2. “นักปราชญ์ผยู ้ ิ่งใหญ่แห่ งยุคนวสมัย (Modern Time)” คือ มาเคียเวลลี่ โดยเขาเป็ นเมธีคนแรกที่
บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มลี กั ษณะผิดแผกไปจากลักษณะความคิดทางการเมือง (เชิง
อุดมคติ) ในสมัยกลางอย่างชัดเจน นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยงั ให้ความสนใจเป็ นพิเศษ
สาหรับผูป้ กครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบตั ิในการที่จะได้มาซึ่งอานาจเขามักจะ
ศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็ นจริ ง
9. มาเคียอเวลลี่ จัดเป็ นนักปราชญ์ผ้ยู ิ่งใหญ่ แห่ งนวสมัย เพราะ
1. เป็ นผู้บุกเบิกวิชาปรัชญาการเมือง 2. เป็ นผู้ประศาสน์ ศาสตร์ และศิลป์ แห่ งการปกครอง
3. เป็ นผู้รอบรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย 4. เป็ นผู้ให้ คาจัดความจริยศาสตร์
5. เป็ นผู้อบรมซีซาร์ บอร์ เจีย
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 8 ประกอบ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 24
……………………………………………………………………………………………………….
10. สาเหตุที่นิคโคโล มาเคียอเวลลี่ ได้รับยกย่องว่า เป็ นนักปราชญ์ที่สาคัญที่สุดของยุคนวสมัยเป็ นเพราะเป็ นผู้
1. ศึกษาการเมืองอย่างมีอุดมการณ์ 2. ใฝ่ ความเป็ นประชาธิปไตย
3. ศึกษาการเมืองตามสภาพที่เป็ นจริง 4. ฝักใฝ่ ความทันสมัย
5. ใช้ สถิติประกอบการศึกษา
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 8 ประกอบ
11. หากการปฏิรูปหมายถึงการเปลีย่ นแปลง ผู้ที่มีแนวโน้ มต่ อต้ านคือ
1. ทหาร 2. ขุนนางอามาตย์ 3. ผู้ที่ได้ประโยชน์ จากแบบแผนเก่า
4. ปัญญาชน 5. เครื อญาติ
ตอบ 3. ผูท้ ี่ทาการปฏิรูปจะสร้างศัตรู หรื อมีแนวโน้มถูกต่อต้านจากผูท้ ี่เคยได้รับผลประโยชน์จากแบบแผนเก่า
ๆ ส่วนผูท้ ี่ได้ประโยชน์จากระเบียบใหม่ ๆ นั้นอาจจะ สนับสนุนผูป้ กครองคนใหม่ แต่การสนับสนุนนั้นยังหาความ
มัน่ คงไม่ได้ อาจเป็ นการสนับสนุนเพียงครึ่ ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความมัน่ คงของสิ่ งใหม่รวมทั้งผูป้ กครองใหม่
มากนัก นี่คือคากล่าวของมาเคียเวลลี่
12. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี หนทางในการรักษาไว้ ซึ่งอานาจสาหรับผู้ที่ขน ึ้ สู่อานาจด้วยการสื บสันตติวงศ์ คือ
1. ใช้ กาลังเข้าจัดการกับผู้แข็งข้อ 2. การใช้ เมตตาธรรมกับทุกฝ่ ายอย่างเสมอหน้ ากัน
3. การใช้ นโยบายที่ถกู ต้องในการปกครองประเทศ 4. มีการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย
5. การดาเนินรอยตามแบบแผนประเพณีด้ังเดิม
ตอบ 5. ตามทัศนะของมาเคียเวลลี หนทางในการรักษาไว้ซ่ ึงอานาจสาหรับผูท้ ี่ข้ นึ สู่อานาจด้วยการสื บสันตติ
วงศ์ คือ การรักษา แบบแผนประเพณีด้งั เดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสี ยงเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมของเดิมเสี ย
ใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่ งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอานาจอันชอบธรรมของ
ผูป้ กครองเป็ นอย่างดีอยูแ่ ล้ว
13. มาเคียอเวลลี่ สอนว่ าคนรอบข้ างผู้ปกครองมักชอบ
1. นินทาผู้ปกครอง 2. เพ็ดทูลสิ่งที่ผ้ปู กครองชอบได้ยิน
3. แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย 4. แสวงหาอามิสสินจ้ าง
5. มีนิสัยสุ รุ่ยสุร่าย
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่ มีความเห็นว่า คนรอบข้างผูป้ กครอง (มุขบุรุษหรื อมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรื อข้าราชการ
มักชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่ งที่ผปู ้ กครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่ งที่ควรจะฟัง หรื อชอบปิ ดกั้นความจริ งที่
ผูป้ กครองควรจะทราบ พวกนี้เองที่จะเป็ นผูท้ าลายเสถียรภาพของผูป้ กครองซึ่งหากผูป้ กครองค้นพบคุณสมบัติดงั กล่าว
นี้ ในตัวข้าราชการผูใ้ ด ก็ควรที่จะลงโทษหรื อกาจัดโดยเร็ว
14. มาเคียอเวลลี่เชื่ อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่ น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยหรื อประชาธิปไตย
1. การไร้ เมตตาธรรม 2. การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน 3. การสนับสนุนตัวบุคคล
4. การขาดเสถียรภาพ 5. การเน้ นแต่เพียงประสิทธิภาพ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 25
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 4. มาเคียอเวลลี่เชื่อว่าปัญหาของรู ปแบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและ
ประชาธิปไตยเป็ นสิ่ งดี แต่ระบบการปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีขอ้ บกพร่ องที่สาคัญ คือ การขาดเสถียรภาพ และความดี
ของระบบก็มกั จะถูกทาลายลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก
15. แนวความคิดที่สาคัญของมาเคียอเวลลี่ เป็ นเรื่ องเกี่ยวกับ
1. ภาวะความเป็ นผู้นา 2. เงื่อนไขระบอบประชาธิปไตย 3. เผด็จการที่มีคุณธรรม
4. ยุทธวิธีในการขยายดินแดน 5. เป้าหมายแห่ งรัฐ
ตอบ 1. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า แนวความคิดที่สาคัญของเขาเป็ นเรื่ องเกี่ยวกับภาวะความเป็ นผูน้ า กล่าวคือคุณค่า
ของรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐมีผนู ้ าที่เข้มแข็ง โดยเสี ยงส่วนใหญ่ของประชาชนอาจเป็ นผูว้ าง
รู ปแบบหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ แต่เขาทั้งหลายจะต้องอยูภ่ ายใต้การนาของผูน้ าที่เข้มแข็ง เสถียรภาพและความ
ไพบูลย์ แห่งสาธารณรัฐจึงจะบังเกิดขึ้นได้
16. มาเคียอเวลลี่สนับสนุนการมีทหารเกณฑ์ มากกว่ าทหารรับจ้ าง เพราะ
1. ทหารเกณฑ์ มีความสามารถมากกว่า 2. ทหารเกณฑ์ สามารถคัดเลือกได้จากคนหมู่มาก
3. ทหารรับจ้ างมักเห็นแก่อามิสสินจ้ างมากกว่าหน้ าที่ในสมรภูมิ
4. ทหารรับจ้ างอาจมีคนต่างชาติแทรกซึมได้ 5. ทหารรับจ้ างมักไม่มีประสิทธิภาพในการรบ
ตอบ 3. มาเคียอเวลลี่ เห็นว่า กองทัพที่ดีน้ นั จะต้องประกอบด้วย ทหารประจาการ หรื อทหารเกณฑ์ ไม่ใช่
ทหารรับจ้างเพราะทหารเกณฑ์เหล่านั้นที่จะมีความกล้าหาญและพร้อมจะสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างมักจะมี
ปัญหาเรื่ องความสวามิภกั ดิ์เนื่องจากเห็นแก่อามิสสิ นจ้างมากกว่าหน้าที่ในสมรภูมิ
17. ทหารเกณฑ์ ในความเห็นของมาเคียเวลลี่ สะท้ อนถึง 1. การดุลอานาจ
2. สงครามระหว่างรัฐ 3. ความจงรักภักดีของผู้ปกครอง 4. ความขีข้ ลาด 5. ความกล้าหาญ
ตอบ 5 ดูคาอธิบาย 16 ประกอบ
18. มาเคียอเวลลี่ เชื่ อว่ าผู้ปกครองควรมีความเด็ดขาดมากกว่ าความเมตตา เนื่ องจาก
1. ความเด็ดขาดทาให้ เกิดความยาเกรง 2. ความอ่อนแอแสดงให้ เห็นถึงความโลเล
3. ความเด็ดขาดเป็ นคุณสมบัติของผู้ขาย 4. ความอ่อนแอเป็ นคุณสมบัติของอิสตรีเพศ
5. ไม่ควรมีเหตุผลกับผู้อยู่ใต้ปกครอง
ตอบ 1. มาเคียอเวลลี่ เชื่อว่า ผูป้ กครองต้องมีความเมตตาและความเด็ดขาดควบคู่กนั ไป จะมีแต่ความเพียง
ความเมตตาไม่ได้ เพราะความเมตตาหมายถึงความอ่อนแอ ซึ่งอาจทาให้เกิดความยุง่ เหยิงตามมา ดังนั้นด้วยพันธะ
หน้าที่ผปู ้ กครองจึงต้องใช้ความเด็ดขาดมากกว่าความเมตตา เพื่อทาให้ประชาชนเกิดความยาเกรงและเชื่อฟัง รวมทั้ง
เพื่อรักษาผูท้ ี่ถูกปกครองให้มีเอกภาพ
19. มาเคียอเวลลี่ แนะนาว่ าการรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์ ของผู้นาทาให้
1. ผู้นาไม่ต้องรักษาสัจจะ 2. ผู้นาต้องกล้าได้กล้าเสีย 3. ผู้นาต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
4. ผู้นาต้องรักษาสัจจะ 5. ถูกทั้งข้อ 2, 3 และ 4.
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 26
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 1. ผูป้ กครองต้องเป็ นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมและไม่รักษาสัจจะ โดยเขาให้เหตุผลว่า การรักษาสัจจะนั้น เป็ น
สิ่ งที่ดีหากคนทั้งหมดเป็ นคนดี แต่คนตามธรรมชาติน้ นั เลว และไม่รักษาสัจจะกับผูป้ กครอง ดังนั้นผูป้ กครองก็ไม่
จาเป็ นที่จะต้องรักษาสัจจะ
20. ระหว่ างบุคคลและสิ่ งต่ อไปนี้ มาเคียอเวลลี่ สอนให้ เคารพสิ่ งใดมากที่สุด
1. กฎหมาย 2. ผู้นาทางศาสนา 3. คาสั่งของมุขบุรุษ
4. ผู้นาที่มาจากการเลือกตั้ง 5. ผู้ที่ออกกฎหมายอย่างมีคุณธรรม
ตอบ 1. มาเคียอเวลลี่ เชื่อว่า กฎหมายเป็ นสิ่ งสูงสุดในการปกครองและเป็ นหลักประกันสาหรับทุกๆคนในรัฐ
ซึ่งถึงแม้ว่า คนจะเป็ นผูบ้ ญั ญัติ ตีความ หรื อบริ หารกฎหมายก็ตาม แต่เราเขาควรจะเคารพกฎหมายมากกว่าผูบ้ ญ ั ญัติ
กฏหมาย
21. มุขบุรุษต้ องมีคุณสมบัติของสุ นัขจิง้ จอก เพราะ
1. ต้องมีพรรคพวก 2. ต้องมีความเฉลียวฉลาด 3. ต้องมีความเย่อหยิ่ง
4. ต้องรักษาสัจจะ 5. ต้องทาร้ ายผู้อื่นลับหลัง
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผูป้ กครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนขั จิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่าง
ราชสี ห์เข้าไว้ดว้ ยกัน กล่าวคือ ผูป้ กครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนชั จิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่างราชสี ห์
ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผูท้ ี่ตนปกครองได้
22. ผลสาเร็จของการแย่ งชิงอานาจในรู ปของการปราบดาภิเษกหรื อปฏิวัติมาจากข้ อใด
1. ความร่ วมมือจากประชาชน 2. ความช่ วยเหลือของขุนนางหรือข้าราชการ
3. ความร่ วมมือจากกองทัพประชาชน 4. ข้อ 1 และ ข้อ 2 5. ข้อ 2 และ ข้อ 3
ตอบ 4. มาเคียเวลลี่ เห็นว่าการได้อานาจมาด้วยวิธีการปราบดาภิเษกหรื อการปฏิวตั ิน้ นั อาจจะเป็ นผลมาจาก
การสนับสนุนของกลุ่มขุนนาง (ข้าราชการ) หรื อประชาชนฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อได้อานาจมาแล้วหากผูป้ กครอง
ต้องการความมัน่ คงในอานาจก็จาต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็ นหลัก ทั้งนี้เป็ นเพราะสิ่ งที่ประชาชน
ต้องการมีเพียงสิ่ งเดียวคือ อิสรภาพเสรี ภาพจากการกดขี่ข่มเหง ซึ่งต่างจากขุนนางที่ตอ้ งการกดขี่ขม่ เหงประชาชนเพื่อ
มุ่งแข่งอานาจกับผูป้ กครอง
23. ความรักของผู้ใต้ ปกครองในที่สุดแล้ วมักจะนาไปสู่ สิ่งใด
1. ความยาเกรง 2. ความไม่ยาเกรง 3. ความสามัคคี
4. ความร่ วมมือ 5. ความมั่นคงของผู้ปกครองเอง
ตอบ 2. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า หากผูป้ กครองเลือก “ความรัก” ประชาชนจะไม่ยาเกรง แต่ถา้ เลือก “ความยา
เกรง” ประชาชนจะไม่รัก ซึ่งถ้าจาเป็ นแล้วผูป้ กครองจะต้องเลือกเอาความยาเกรงมากกว่าความรัก
24. ข้ อใดคือรู ปการปกครองที่มเี สถียรภาพมากที่สุด
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ประชาธิปไตย
4. อภิชนาธิปไตย 5. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย)
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 27
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 5. มาเคียเวลลี่ เชื่อว่า ระบบการปกครองที่ดีมีเสถียรภาพและเสรี ภาพมากที่สุด คือ ระบบการปกครอง
แบบสาธารณรัฐที่มีลกั ษณะผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย
25. ข้ อใดคือรู ปแบบการปกครองที่นามาซึ่งความวุ่นวายทางการเมือง
1. เผด็จการเบ็ดเสร็จ 2. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 3. ประชาธิปไตย
4. อภิชนาธิปไตย 5. สาธารณรัฐแบบผสม (ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย)
ตอบ 3. มาเคียเวลลี่ เห็นว่า รู ปการปกครองแบบประชาธิ ปไตยจะก่อให้เกิดความยุง่ เหยิงวุ่นวายทางการเมือง
ได้ เพราะถ้าให้ประชาชนทัว่ ไปเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์เสรี ภาพแล้ว พวกอภิชนจะไม่ไว้วางใจและอาจก่อการขัดขืนหรื อปฏิวตั ิข้ นึ
ได้
26. สิ่ งที่มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติแข่ งขันกันแสวงหาได้ แก่ สิ่งใด
1. สันติภาพ 2. อานาจ 3. อาหาร 4. ความสมบูรณ์ 5. ความสุ ขในปัจจุบัน
ตอบ 2. ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็ นสภาวะ
ก่อนที่จะเกิดสังคมการเมือง หรื อเป็ นสภาวะที่ยงั ไม่มีผปู ้ กครองที่มีอานาจที่แท้จริ งในบ้านเมือง โดยในสภาวะ
ธรรมชาติน้ นั ทุกคนจะมีสิทธิเสรี ภาพ และมีอิสรภาพที่จะทาอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมี
ความต้องการในสิ่ งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทาให้มนุษย์ตอ้ งแข่งขันกันแสวงหาอานาจเหนือคนอื่นอยูร่ ่ า
ไปจนนาไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ดว้ ยกันเอง
27. ข้ อใดที่ถือว่ าเป็ นสาระสาคัญของการทาสัญญาประชาคม
1. การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล 2. การไม่เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 3. การสละสิทธิ์ธรรมชาติ
4. การไม่สละสิทธิ์ธรรมชาติ 5. การหาหลักประกันการละเมิดสัญญา
ตอบ 3. ฮอบส์ เห็นว่า การทาสัญญาประชาคม ก็คือ การสละสิ ทธิ์ตามธรรมชาติในส่วนที่จะทาร้ายผูอ้ ื่นเพื่อ
ปกป้องและรักษาตนเองให้ปลอดภัย
28. ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์ นั้น “ องค์ อธิปัตย์ ไม่ มีวันที่จะกระทาผิด”ข้ อความที่ขีดเส้ นใต้ อธิบายได้
จากเหตุผลใด
1. การผูกมัดจาสัญญา 2. การไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญา
3. การปฏิบัติไปตามตัวบทกฎหมาย 4. การเป็ นตัวแทนเจตจานงทั่วไป
5.การเป็ นเจ้ าของอานาจอธิปไตย
ตอบ 2. ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์น้ นั องค์อธิปัตย์จะทาหน้าที่เป็ นเพียงผูร้ ับมอบอานาจตามที่
คู่สัญญาหรื อประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีขอ้ ผูกพันใดๆ ที่จะต้องปฏิบตั ิตามหรื อ
รับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็ นผูท้ ี่อยูน่ อกเหนือสัญญาแล้วก็จะไม่มกี ารกระทาใดๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะถือว่า
เป็ นการละเมิดสัญญา หรื อกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าองค์อธิปัตย์จะทาอะไรก็ไม่มีความผิดนัน่ เอง
29. บุคคลหรื อกลุ่มบุคคลใดอยู่ในฐานะที่เป็ นผู้ใช้ อานาจร่ วมตามแนวความคิดของสัญญาประชาคม
1. พระมหากษัตริย์ 2. ผู้แทนราษฎร 3. คณะรัฐมนตรี
4. ประชาชนทั้งหมด 5. องค์อธิปัตย์
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 28
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 5. ฮอบส์ เห็นว่า อานาจร่ วม (Common Power ) หรื อการก่อตั้งรัฐบาลนั้น เป็ นผลมาจากการทาสัญญา
ประชาคมระหว่างคนทุกคนที่ทาเป็ นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะมอบอานาจและสละสิ ทธิ์ตามธรรมชาติของ
ตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาแต่จะอยูใ่ นฐานะเป็ นองค์อธิปัตย์หรื อรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็ นผูใ้ ช้อานาจร่ วมหรื อ
อานาจอธิปไตยโดยอานาจอธิ ปไตยนี้ถอื เป็ นอานาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์
30. การใช้ อานาจขององค์ อธิปัตย์สอดคล้ องกับหลักการของแนวความคิดหรื อทฤษฎีใด
1. รัฐธรรมนูญ 2. การกระจายอานาจ 3. เผด็จการเบ็ดเสร็จ
4. ประชาธิปไตย 5. นิติธรรม
ตอบ 3 . องค์อธิปัตย์ของฮอบส์น้ นั จะเป็ นบุคคลหรื อคณะบุคคล ที่ได้อานาจมาจากการทาสัญญาระหว่าง
ประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรื อ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสี ยงข้างมากที่จะมอบอานาจให้แก่ผปู ้ กครอง
ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรื อกษัตริ ยห์ รื อ
ผูป้ กครองเป็ นผูใ้ ช้อานาจเด็ดขาดแต่เพียงผูเ้ ดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์หรื อ แบบเผด็จการ
เบ็ดเสร็ จ
31. ฮอบส์ เป็ นนักคิดที่สนับสนุนระบอบ
1. ประชาธิปไตย 2. ธนาธิปไตย 3. อามาตยาธิปไตย
4. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 5. สังคมนิยม
ตอบ 4 . ดูคาอธิบาย 30 ประกอบ
32. ฮอบส์ เชื่ อว่ ามนุษย์ เราสมัครใจมอบอานาจให้ แก่ผ้ อ ู ื่น เพราะ
1. เป็ นธรรมชาติของการเมือง 2. ต้องการป้องกันตนเองจากภัยภายนอก
3. เพื่อพิทกั ษ์เสรีภาพ 4. เพื่อยุติความทะเยอทะยานของผู้มอี านาจ
5. เป็ นความประสงค์ของพระเจ้ า
ตอบ 2. ฮอบส์ เชื่อว่า การที่มนุษย์สมัครใจยอมมอบอานาจ ให้แก่ผอู ้ ื่นนั้น เป็ นเพราะว่ามนุษย์ตอ้ งการป้องกัน
ตนเองจากการรุ กรานจากภายนอก และต้องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ทาอันตรายต่อกันและกัน
33. ความเท่ าเทียมกันทางร่ างกาย หมายถึง
1. ในด้านกาลังกาย 2. ในด้านอวัยวะ
3. ในด้านการต่อสู้ ความคิดอ่าน 4. ในด้านความอ่อนแอเหมือน ๆ กัน
5. ในด้านการใช้ อาวุธ
ตอบ 3. ความเท่าเทียมกันทางร่ างกาย หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน โดยเขา
อธิบายว่า แม้คนเราจะมีความแตกต่างกันในด้านกาลังกายและความคิดอ่านก็ตาม แต่เขาไม่อาจจะอาศัยเหตุผลแห่ง
ความแตกต่างนี้เป็ นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ ของตนเหนือคนอื่นได้ตลอดไป
34. ในสภาวะธรรมชาติ ฮอบส์ เชื่ อว่ า สั งคมการเมือง
1. ยังไม่เกิดขึน้ 2. มีแต่การแก่งแย่งชิงดี 3. ปราศจากกฎหมาย
4. เต็มไปด้วยนักเลงการเมือง 5. ขาดความเข้มแข็ง
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 29
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 1 ในทัศนะของฮอบส์ สภาวะธรรมชาติ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็ นสภาวะก่อนที่
จะเกิดสังคมการเมือง หรื อเป็ นสภาวะที่ยงั ไม่มีผปู ้ กครองที่มีอานาจที่แท้จริ งในบ้านเมือง โดยในสภาวะธรรมชาติน้ นั
ทุกคนจะมีสิทธิเสรี ภาพ และมีอิสรภาพที่จะทาอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมีความต้องการใน
สิ่ งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทาให้มนุษย์ตอ้ งแข่งขันกันแสวงหาอานาจเหนือคนอื่นอยูร่ ่ าไปจนนาไปสู่
“สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ดว้ ยกันเอง
35. เมื่อทาสั ญญาประชาคมแล้ ว ผู้ใต้ ปกครองสามารถทาอะไรได้ บ้าง
1. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 2. การใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นครั้งคราว
3. การไม่ใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นบางครั้ง 4. การถอดถอนองค์อธิปัตย์
5. การบอกเลิกสัญญาที่ทาไปแล้ว
ตอบ 5. ฮอบส์ อธิบายว่า เมื่อประชาชนตกอยูใ่ นสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์อธิปัตย์ การเปลี่ยนแปลงหรื อ
ถอดถอนองค์อธิปัตย์น้ นั แม้จะกระทามิได้ แต่ประชาชนในฐานะผูใ้ ต้ปกครองก็มีสิทธิ์ขดั ขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้ท้งั นี้
โดยการร่ วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทาไปแล้ว เพื่อเริ่ มต้นทาสัญญากันใหม่
36. “สภาวะสงคราม” เกิดขึน ้ ณ ที่ใด
1. สภาพธรรมชาติ 2. สังคมการเมือง 3. สังคมบุพกาล
4. สังคมสมัยใหม่ 5. สังคมเกิดจากสัญญา
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 34 ประกอบ
37. เมื่อสั ญญาประชาคมได้ กระทาแล้ ว สิ่ งที่เกิดขึน ้ ตามมาได้แก่
1. รัฐ 2. รัฐบาล 3. สังคม 4. ข้อ 2 และข้อ 3 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทาขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียว สังคม รัฐ และรัฐบาลก็จะเกิดขึ้นตามมาทันที
เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็ นสิ่ งเดียวกัน ดังนั้นการล้มล้างรัฐบาลจึงเป็ นการกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติตามเดิม
เนื่องจาก ฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกัน
38. เมื่อทาสั ญญาประชาคมแล้ ว ผู้ใต้ ปกครองสามารถทาอะไรได้ บ้าง
1. เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง 2. การใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นครั้งคราว
3. การไม่ใช้ สิทธิเลือกตั้งเป็ นบางครั้ง 4. การถอดถอนองค์อธิปัตย์
5. การบอกเลิกสัญญาที่ทาไปแล้ว
ตอบ 5. ดูคาอธิบายข้อ 35 ประกอบ
39. “อานาจอธิปไตย” อันเป็ นผลมาจากการทาสั ญญาประชาคมเป็ นของใครโดยเฉพาะ
1. ประชาชน 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะรัฐมนตรี 4. คู่สัญญา 5. บุคคลที่สาม
ตอบ 5. ดูคาอธิบายข้อ 29 ประกอบ
40. การได้ มาซึ่งอานาจขององค์ อธิปัตย์ สอดคล้ องกับหลักการของแนวความคิดหรื อทฤษฎีใด
1. เทวสิทธิ์ 2. ปฏิวัติ 3. เผด็จการ 4. ประชาธิปไตย 5. ข้อ 1 และ 3
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 30 ประกอบ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 30
……………………………………………………………………………………………………….
41. ผู้ใดที่ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางความคิดของล็อค
1. มองเตสกิเออ 2. รุสโซ 3. เดอ ทอคเกอร์ วิลล์ 4. เฮเกล 5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4. ล็อค เป็ นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็ นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ใน
ประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็ นผูใ้ ห้กาเนิดแนวความคิดเสรี นิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมี
อิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลายในหมู่นกั คิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุ สโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิดร่ วม
สมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิ ทธิภาพ
42. ข้ อใดเป็ นแนวความคิดของล็อค 1. คนคือสัตว์การเมือง
2. มนุษย์เกิดมาพร้ อมความป่ าเถื่อน 3. มนุษย์มีเหตุผลและมีเมตตาธรรม
4. ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ 5. ความเสมอภาคได้มาด้วยการต่อสู้
ตอบ 3. โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจาตัว ล็อค เห็นว่า ความมีเหตุผลอันเป็ นสิ่ งที่พระผูเ้ ป็ นเจ้า
ประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยงั มีความเมตตาธรรม ใฝ่ สันติ และสุขุม
รอบคอบอีกด้วย
43. ล็อคเห็นว่ ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินส่ วนบุคคลเกิดจาก
1. การถ่ายโอนเป็ นมรดกตกทอด 2. การประกาศความเป็ นเจ้ าของ
3. การยอมรับความเป็ นเจ้ าของของผู้ใดผู้หนึง่ โดยผู้อื่น
4. การใช้ แรงงานต่อสิ่งของนั้น 5. การจดทะเบีนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย
ตอบ 4. ล็อค เห็นว่า โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิ ทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรื อส่วนบุคคล (Private
Property) ได้ ก็ต่อเมือ ่ เขาได้ใช้แรงงานจากร่ างกาย เคลื่อนย้ายหรื อเก็บเกี่ยวของสิ่ งนั้น รวมทั้งในการสะสมทรัพย์สิน
ก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี ยหายต่อผูอ้ ื่นด้วย สรรพสิ่ งทั้งหลายที่มีอยูต่ ามธรรมชาติในโลกนี้ท้งั หมดเป็ นของทุกคน
(ชาวโลกทั้งมวล) หรื อทุกคนมีกรรมสิ ทธิ์ในทรัพย์สินร่ วมกัน
44. ล็อคถูกขนานนามว่าเป็ นผู้ให้ กาเนิดแนวความคิด
1. อนุรักษ์นิยม 2. ประชานิยม 3. เสรีนิยม 4. สังคมนิยม 5. วัตถุนิยมวิภาษวิธี
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 41 ประกอบ
45. นอกจากความมีเหตุผลแล้ ว ล็อคเชื่ อว่ามนุษย์ ยังมี 1. ความเมตตาและการใฝ่ สั นติ
2. ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี 3. ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ
4. ความซื่ อสัตย์และความตรงไปตรงมา 5. ความฝันและจินตนาการอันสู งส่ ง
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 42 ประกอบ
46. ล็อคได้ รับการยกย่ องว่าเป็ นบิดาแห่ งวิชารัฐศาสตร์ ในประเทศ 1. สหรัฐอเมริกา
2. อิตาลี 3. ฝรั่งเศส 4. ฮอลแลนด์ 5. เยอรมนี
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 41 ประกอบ
47. ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่ อว่าเกิดจาก 1. พระผู้เป็ นเจ้ า
2. การเอาตัวรอด 3. การมีปัญญา 4. ประสบการณ์ 5. พรสวรรค์
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 31
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 42 ประกอบ
48. ล็อคเห็นว่ าสั ญญาประชาคมเกิดขึน ้ โดย 1. ผู้ที่เข้มแข็งกว่าหยิบยื่นให้
2. การตกลงทาสัญญาสันติภาพ 3. อัตโนมัติตามสภาวะธรรมชาติ
4. ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากภายนอก 5. การยินยอมสมัครใจเพือ่ การดารงอยู่ร่วมกัน
ตอบ 5. การทาสัญญาประชาคมเพื่อการดารงอยูร่ ่ วมกันเป็ นสังคมหรื อประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็ นไปด้วย
ความสมัครใจหรื อความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะ ดารงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย และมี
ความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมัน่ คง
49. “สภาวะสงคราม” ในทัศนะของล็อค หมายถึง 1. ความขัดแย้งทาลายเสรีภาพ
2. สงครามระหว่างรัฐ 3. การใช้ กาลังเข้ายึดอานาจ
4. สภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ 5. ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ผ้ปู กครอง
ตอบ 1. ล็อค เห็นว่า ข้อบกพร่ องของสภาวะธรรมชาติเป็ นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทัง่ นาไปสู่
“สภาวะสงคราม” ซึ่ งจะทาลายเสรี ภาพของมนุษย์
50. ฝ่ ายนิติบัญญัติในฐานะสู งสุ ดหรื อ Supreme power นั้นตรงกับข้ อใด
1. เป็ นองค์อธิปัตย์ 2. เป็ นที่มาของฝ่ ายบริหาร
3. เป็ นองค์กรที่ใช้ สิทธิพิเศษ 4. เป็ นองค์กรที่แสดงเจตจานงของรัฐ
5. เป็ นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน
ตอบ 5. ฝ่ ายนิติบญั ญัติเป็ นองค์กรที่ใช้อานาจสูงสุดภายในรัฐเหนืออานาจอื่นทั้งหมด (Supreme Power) ซึ่ง
ทาหน้าที่เป็ นผูอ้ อกกฎหมายควบคุมประชาชนเท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ ายนิติบญั ญัติก็ไม่ได้เป็ นองค์กรที่ใช้อานาจ
อธิปไตยหรื อเป็ นองค์อธิปัตย์ที่มีอานาจสูงสุดภายในรัฐ
51. ระบบการเมือง ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมสอดคล้ องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด
1. รัฐสภา 2. ประธานาธิบดี 3. กึ่งประธานาธิบดี
4. กึ่งรัฐสภา 5. แบบผสมระหว่าง 1. กับ 2.
ตอบ 1. เมื่อมนุษย์ตดั สิ นใจเข้ามาใช้ชีวิตร่ วมกันในสังคมการเมืองแล้ว สิ่ งแรกที่จาเป็ นต้องดาเนินการคือ การ
สถาปนาองค์กรที่ ใช้อานาจนิติบญั ญัติข้ นึ มาเพื่อวางแนวทางในการดาเนินงานหรื อกาหนดนโยบายให้ฝ่ายบริ หาร
นาไปปฏิบตั ิ ดังนั้นฝ่ ายบริ หารจึงไม่มีอิสระที่จะทาอะไรตามเจตจานงของตน ทั้งนี้เพราะการใช้อานาจของฝ่ ายบริ หาร
นั้นจะต้องเป็ นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบญั ญัติกาหนดขึ้น ตามหลักสัญญาประชาคมของ ล็อค ซึ่งจากหลักการ
ดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด
52. เมื่อสั ญญาได้ กระทากันแล้ว สิ ทธิ ในทรัพย์ สินถูกเปลีย่ นแปลงไปในลักษณะอย่ างไร
1. มีความมั่นคงกว่าเดิม 2. มีความมั่นคง น้ อยกว่าเดิม
3. เป็ นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล 4. กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลกลายเป็ นกรรมสิทธิ์ร่วม
5. กลายเป็ นทีม่ าแห่ งสิทธิในทรัพย์สิน
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 48 ประกอบ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 32
……………………………………………………………………………………………………….
53. หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้องทาอะไรในอันดับต่อไป
1. ทาสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่ 2. เลือกตั้งรัฐบาลใหม่ 3. ดูแลความปลอดภัยให้ แก่ตนเอง
4. ใช้ สิทธิพิเศษ 5. ใช้ อานาจสหพันธ์
ตอบ 2 . ล็อค กล่าวว่า หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทาการเลือกตั้งหรื อสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรี ยกว่า
เปลี่ยนความยินยอม ซึ่งต้องเป็ นไปตามเสี ยงข้างมาก
54. บุคคลหรื อกลุ่มบุคคลใด ที่ถือได้ ว่าเป็ นองค์ อธิปัตย์ แห่ งรัฐที่แท้ จริง
1. ประชาชนทั้งหมด 2. ประชาชนส่ วนใหญ่
3. ผู้ใช้ สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 4. ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ เป็ นรัฐบาล
5. ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด
ตอบ 1. ในความเห็นของ ล็อค ประชาชนทั้งมวล สามารถใช้อานาจอธิปไตยได้เป็ นครั้งคราวในกรณีที่รัฐบาล
ถูกยุบเท่านั้น แต่จ ะอยูใ่ นฐานะเป็ นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริ ง
55. ผู้ที่ได้ รับความยินยอมจากเสียงข้ างมากของประชาชนตามหลักแห่ งสั ญญาประชาคมคือผู้ใด
1. นิติบัญญัติ 2. บริหาร 3. ตุลาการ 4. ทรัสตรี 5. องค์อธิปัตย์
ตอบ 2 . ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็ นเรื่ องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนา
สังคมการเมืองหรื อรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็ นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการ
สถาปนารัฐบาล (ฝ่ ายบริ หาร) นั้นจะเป็ นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสี ยงข้างมากของประชาชน
56. รุ สโซ เชื่ อว่ ามนุษย์ เราจะปราศจากเสรีภาพหากปราศจาก
1. กฎหมายที่เป็ นธรรม 2. ผู้นาที่ทรงคุณธรรม 3. ระบบการตรวจสอบที่ดี
4. ความเสมอภาค 5. หลักประกันทางกฎหมาย
ตอบ 4. ถ้ามนุษย์ปราศจากเสี ยซึ่งความเสมอภาค การใช้เสรี ภาพของมนุษย์น้ นั ย่อมเป็ นสิ่ งที่เป็ นไปไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าคน ๆ หนึ่งตกเป็ นทาสของอีกคนหนึ่งนั้นหมายถึงว่า เขาได้สูญเสี ยความเสมอภาคของความเป็ นมนุษย์
ไปแล้ว
57. “เสรีภาพแบบใหม่ ” อันหมายถึงการเคารพเชื่ อฟังเจตจานงของตนเองนั้นเกิดขึน ้ จากอะไร
1. การเคารพกฎหมายที่ดี 2. การเชื่ อฟังเจตจานงทั่วไป 3. การใช้ เหตุผลกากับการแนะนา
4. การใช้ สิทธิเลือกตั้ง 5. การกระทานอกเหนือจากที่กฎหมายห้ าม
ตอบ 2. รุ สโซ เชื่อว่า เสรี ภาพแบบใหม่เป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็ นผูม้ ีส่วนในการบัญญัติ
กฎหมายหรื อการร่ วมกันแสดงเจตจานงทัว่ ไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรื อเชื่อฟังเจตจานงทัว่ ไปที่ตนเอง
เป็ นผูบ้ ญั ญัติข้ นึ
58. ผู้เป็ นเจ้ าของหรื อทรงไว้ ซึ่งอานาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้ อานาจนี้ของตนเมืองใด
1. เป็ นรัฐบาล 2. บัญญัติกฎหมาย 3. ไปใช้ สิทธิเลือกตั้ง
4. เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 5. ทาสัญญาประชาคม
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 33
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 2. รุ สโซ เห็นว่า ประชาชนสามารถใช้อานาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทาหน้าที่บญั ญัติกฎหมาย เพราะว่าใน
การบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอานาจเต็มที่ไม่ตอ้ งเชื่อฟังใครอานาจอธิปไตยเป็ นของประชาชนทั้งหมด
(ประชาชนทั้งมวล)
59. ข้ อใดเป็ นผลงานของรุ สโซ 1. Social Contract และ The Prince
2. Emile และ Das Capital 3. The Spirit of the Laws
4. Confessions และ The Old Regime 5. Social Contract และ Emile
ตอบ 5. ผลงานที่สาคัญของรุ สโซ ได้แก่
1. Constitution for Corsica 2. Dialogues
3. Social Contract 4. La Nouvelle Heloise
5. Emile 6. Confessions
7. Political Economy 8. The Origin of Inequality
9. Consideration on the Government of Poland
60. “มนุษย์เกิดมาอย่างเสรี แต่ต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการทุกแห่ งหน” คาว่า “พันธนาการ” หมายถึง
1. การบีบบังคับโดยผู้ปกครอง 2. การตกเป็ นทาสแห่ งอารมณ์ของตนเอง
3. ขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับต่าง ๆ 4. สภาวะแห่ งความเป็ นทาส
5. ความเชื่ อในศาสนา
ตอบ 3. จากคากล่าวในโจทย์ เป็ นการแสดงให้เห็นถึงความเป็ นไปของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งความเป็ นอิสระหรื อ
ภาวะที่เป็ นเสรี น้ นั ได้ถูกทาลายลงโดยสถาบันการปกครอง และอารยธรรมของมนุษย์ซ่ ึงเป็ นเครื่ องพันธนาการหรื อโซ่
ตรวนบัน่ ทอนเสรี ภาพของมนุษย์ ในลักษณะที่แฝงมาในรู ปอื่น เช่น กฎหมาย ขนบธรรมเนี ยมประเพณี ปทัสถานของ
สังคม ข้อบังคับต่าง ๆ เป็ นต้น
61. สิ่ งที่ถือว่าเป็ น “ความไม่ เท่าเทียมกันในสภาวะธรรมชาติ”
1. ร่ างกาย 2. เสรีภาพ 3. ทรัพย์สิน
4. ความเสมอภาค 5. ความปลอดภัยในชีวิต
ตอบ 1. ตามความเห็นของรุ สโซ สภาวะธรรมชาติเป็ นสภาวะที่มีแต่สันติภาพ เสรี ภาพ และความเสมอภาค
อย่างบริ บูรณ์เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติอยูบ่ า้ งบางประการ เช่น
ความแข็งแรงของร่ างกาย ความมากน้อยของอายุ เพศ พละกาลัง ความสามารถของสติปัญญา เป็ นต้น
62. “ผลอันเกิดจากทีม ่ นุษย์ต้องการความสมบูรณ์”
1. สภาวะสงคราม 2. ความอิจฉาริษยา 3. ความขยันขันแข็ง
4. การร่ วมมือกับผู้อื่น 5.ความสุ ขในอนาคต
ตอบ 4. รุ สโซ กล่าวว่า ผลอันเกิดจากการสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่มนุษย์ตอ้ งการความสมบูรณ์ก็คอื การ
ร่ วมมือระหว่างกันหรื อการร่ วมมือกับผูอ้ นื่ นัน่ เอง
63. มนุษย์ สามารถสนองตอบต่ อสั ญชาตญาณที่ต้องการความสมบูรณ์ ได้ โดยวิธีใด
1. การแข่งขันระหว่างกัน 2. การร่ วมมือระหว่างกัน 3. การดารงชีพแบบต่างคนต่างอยู่
4. การทาสัญญาประชาคม 5. การทาอะไรตามใจปรารถนา
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 34
……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ 2. ดูคาอธิบายข้อ 62 ประกอบ
64. “ความไม่ สมบูรณ์ ” 1. สังคมธรรมชาติ 2. สังคมการเมือง
3. สังคมเมือง 4. สังคมอุตสาหกรรม 5. สังคมบุพกาล
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 62 ประกอบ
65. สิ่ งที่นาไปสู่ ความไม่ เสมอภาคในทัศนะของรุสโซ คือ
1. กฎหมายที่ไม่เป็ นธรรม 2. ระบบกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่ วนบุคคล
3. ระบบอภิสิทธิ์ชน 4. สภาวะสงคราม 5. การใช้ เสรีภาพอย่างเกินขอบเขต
ตอบ 2 รุ สโซ เห็นว่า การเกิดระบบกรรมสิ ทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวนั้นจะนาไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่
มนุษย์ซ่ ึง เรี ยกว่าความไม่เสมอภาคทางการเมืองหรื อความไม่เสมอภาคทางจิตใจ ตัวอย่างที่พอจะเห็นได้เป็ นเรื่ อง
เกี่ยวกับความรวย ความจ นมีเกียรติ ไร้เกียรติ เกิดอภิสิทธิ์ชน สามัญชน เป็ นต้น
66. ข้ อใดเป็ นความคิดของรุ สโซ
1. มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่ หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
2. มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจาในอาณาจักรแห่ งความคิด
3. การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถกู
4. คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึน้ เมื่อมีส่วนร่ วมในการออกกฎหมายมากขึน้ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. แนวความคิดที่สาคัญของรุ สโซ ได้แก่
1. การเกิดระบบกรรมสิ ทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัว จะนาไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์
2. มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่ หาเสรี ภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
3. การปฏิเสธเสรี ภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่ งที่ผิดและสิ่ งที่ถูก
4. มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจาในอาณาจักรแห่งความคิด
5. คนจะยินดีอยูใ่ นรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่ วมในการออกกฎหมายมากขึ้น
6. การทาสัญญาประชาคมจะก่อให้เกิดเสรี ภาพ (แบบใหม่) และความเสมอภาคขึ้น
7. เจตจานงทัว่ ไปคือเจตจานงของคนทุกคน
8.ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ ในทานองว่าความเจริ ญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทาให้
คนหนีไกลออกไปจากธรรมชาติ เป็ นต้น
67. ข้ อใดเป็ นแนวคิดหลักของ “อนุรักษ์ นิยม”
1. การเปลี่ยนแปลง (ถ้าจาเป็ น) ต้องเป็ นไปอย่างช้ า ๆ
2. มนุษย์คิดค้นสถาบันต่าง ๆ มาเพื่อประโยชน์ ของมนุษย์
3. รากฐานของประเพณี กฎหมาย การปกครองมาจากธรรมชาติของมนุษย์
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. Hume และ Burke โดย Hume เห็นว่ารากฐานของประเพณี กฎหมาย การปกครอง และสังคม
การเมือง เกิดมาจากความจาเป็ น ความโน้มเอียงโดยธรรมชาติ นิสัย และความเคยชินของมนุษย์ ส่ วน Burke เห็นว่า
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 35
……………………………………………………………………………………………………….
สถาบันต่างๆที่คนก่อตั้งขึ้นมานั้น เป็ นการก่อตั้งขึ้นมาจากขนบธรรมเนียมและจารี ตประเพณีในสังคมที่มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าเป็ นระเบียบทีละเล็กทีละน้อยต่อเนื่องกับอดีต โดยที่มีผลประโยชน์หรื อความต้องการของ
มนุษย์ ส่วนรวมเป็ นพลังผลักดันให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการกาหนดโครงสร้างของสังคมนั้น
68. หลักที่สานักอนุรักษ์ นิยมนามาใช้ ในการอธิบายทฤษฎีของตน 1. หลักของเหตุผล ( rationality)
2. หลักของกฎธรรมชาติ (natural law) 3. หลักประจักษ์นิยม (empiricism)
4. หลักทฤษฎีความขัดแย้ง (conflict theory) 5. หลักสถาบันนิยม (institutionalism)
ตอบ 3. หลักการที่สาคัญของพวกอนุรักษ์นิยม คือ ลัทธิประจักษนิยม (Empiricism of Empirical Study)
อันหมายถึง การยึดถือหลักประสบการณ์และการสังเกตเป็ นสาคัญในการอธิบายทฤษฎีของตน การปฏิเสธที่จะยอมรับ
และเชื่อถือในหลักเหตุผลนิยม
69. ในทัศนะของ Hume สั งคมการเมืองเกิดขึน ้ เพราะ
1. สภาพธรรมชาติน้ันเลวร้ ายจึงต้องมาตกลงทาสัญญาอยู่ร่วมกัน
2. มนุษย์เป็ นสัตว์สังคมต้องมีการเมืองการปกครอง
3. ความโน้ มเอียงโดยธรรมชาตินิสัยและความเคยชิน
4. มนุษย์มีความยุติธรรมจึงต้องสร้ างสังคมการเมืองขึน้ 5. การครอบครองดินแดน
ตอบ 3. ดูคาอธิบายข้อ 67. ประกอบ
70. ความยุติธรรม (Justice) ในความหมายของ Hume 1. ความเท่าเทียมกันด้านการเมือง
2. ความเท่าเทียมกันในความเป็ นมนุษย์ 3. ความเท่าเทียมกันในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. Hume เห็นว่า ความยุติธรรม (Justice) หมายถึง การยอมรับในกรรมสิ ทธิ์ส่วนตัว หรื อสิ ทธิการมี
ทรัพย์สินส่วนบุคคล
71. แนวความคิดของเฮเกลทีม ่ ีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่ องอานาจทางการเมืองการปกครอง
1. รัฐ 2. ครอบครัว 3. พระเจ้ า 4. องค์อธิปัตย์ 5. สังคมเข้มแข็ง
ตอบ 1. “รัฐ” ถือได้ว่าเป็ นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล เพราะรัฐเป็ นผูท้ าให้ความคิดทางจริ ยธรรม
และเสรี ภาพของพลเมืองปรากฏเป็ นจริ งขึ้นมาในสังคมโดยเขาเห็นว่ารัฐควรเป็ นสถาบันที่มีอานาจสูงสุดในสังคม
72. เหตุผลใดที่เฮเกลใช้ ในการสนับสนุนความคิดที่ว่า รัฐควรเป็ นสถาบันที่มีอานาจสู งสุ ดในสั งคม
1. รัฐเป็ นผู้ทาให้ ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองเป็ นจริงขึน้ มา
2. การเปลี่ยนแปลงสังคมแบบรุนแรงและถอนรากถอนโคน
3. ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล 4. รัฐเป็ นเจ้ าของปัจจัยการผลิต
5. รัฐเป็ นเครื่ องมือของชนชั้น
ตอบ 1. ดูคาอธิบายข้อ 71 ประกอบ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 36
……………………………………………………………………………………………………….
73. ข้อใดเป็ นคาอธิบายการเกิดขึน้ ของรัฐทีส่ อดคล้องกับแนวคิดเรื่ องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล
1. ครอบครัวเป็ น Thesis, รัฐเป็ น Anti-thesis, ก่อให้ เกิดสังคมพลเรื อนซึ่งเป็ น Synthesis
2. รัฐเป็ นการผสมผสาน (Synthesis) ระหว่างครอบครัวกับสังคมพลเรื อน
3. ครอบครัวเป็ น Antithesis ต่อสังคมพลเรื อน ทาให้ จาเป็ นต้องสถาปนารัฐขึน้ มา
4. สังคมพลเรื อนเป็ น Synthesis อันเป็ นผลมาจากการปะทะขัดแย้งกันระหว่างรัฐกับครอบครัว
5. รัฐเป็ น Antithesis ทั้งต่อครอบครัวและสังคมพลเรือน
ตอบ 2. ตามแนวคิดเรื่ องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล รัฐเป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่าง
ครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็ น Thesis กับสังคมพลเรื อน (การแข่งขัน) ซึ่งเป็ น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่าเป็ น
ภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่าคือ มีเหตุมีผลและเสรี ภาพมากกว่า
74. อะไรเป็ นเหตุที่ทาให้ เฮเกลได้ ชื่อว่ าเป็ นนักปราชญ์ คนสาคัญในสานัก “จิตนิยม”
1. เน้ นความสาคัญของ “จิต” ว่าเป็ นต้นกาเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงในโลก
2. เน้ นสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ว่าอยู่เหนือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
3. “อรูป” สาคัญกว่า “รูป” 4. เน้ น “เนื้อหา” มากกว่า “รูปแบบ”
5. อธิบายเรื่ องรัฐว่าเป็ นอสสาร
ตอบ 1. เฮเกล เขาได้ให้ความสาคัญในเรื่ องของจิตเป็ นอย่างมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็ นนักปรัชญาเมธี
คนสาคัญในสานักจิตนิยม โดยเห็นว่าจิตนั้นเป็ นต้นกาเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลก
75. ตามแนวความคิดเรื่ องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่ งความเป็ นจริงออกเป็ น 2 ส่ วนอะไรบ้ าง
1. สสารกับอสสาร 2. จิตกับกาย 3. จิตกับวัตถุ
4. ตันตนและไม่ใช่ ตัวตน 5. กายภาพ กับ ชีวภาพ
ตอบ 1. จิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกล เห็นว่า สรรพสิ่ งทั้งหลายที่เป็ นจริ งมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน
1. สสาร คือ เป็ นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้
2. อสสาร คือ ไม่เป็ นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้
76. ลัทธิมาร์ กซ์ เกีย่ วข้ องกับอะไร 1. นักคิด ชื่ อ Karl Marx
2. แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ 3. แนวคิดแบบสังคมนิยม
4. แนวคิดอรรถประโยชน์ นิยม 5. ถูกเฉพาะ ข้อ 1., 2. และ 3.
ตอบ 5. คาร์ล มาร์กซ์(Karl Marx) นักคิดที่กอ่ ให้เกิด ลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งถือว่าเป็ นเจ้าตารับหรื อบิดาแห่ง
คอมมิวนิสต์ โดยมาร์กซ์น้ นั เกิดที่เมืองทรี เออร์ ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1818 บิดาเป็ นทนายความที่มีชื่อเสี ยง
มาร์กซ์ เคยมีสัญชาติยิวแต่เมื่ออายุได้ 6 ขวบ ก็เปลี่ยนเป็ นโปรเตสแตนต์
77. ลัทธิมาร์ กซ์ เชื่ อว่าอย่างไร 1. เศรษฐกิจเป็ นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
2. นายทุนเอาเปรียบกรรมกร 3. ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทาให้ เกิดความเท่าเทียม
4. ระบบทุนนิยมคือต้นเหตุการณ์แบ่ งแยกทางชนชั้น 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ความเชื่อของลัทธิมาร์กซ์ มีดงั นี้
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 37
……………………………………………………………………………………………………….
1 สังคมทุนนิ ยมเป็ นสังคมที่นายทุนเอาเปรี ยบกรรมกร
2 เศรษฐกิจเป็ นปั จจัยหลักของความขัดแย้ง
3 ระบบทุนนิ ยมทาให้เกิดการแยกสังคมเป็ น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน
4 ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทาให้เกิดความเท่าเทียม คือทุกคนเป็ นกรรมกร ไม่มีชนชั้นอื่น
78. อะไรคือตัวบ่ งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์ กซ์
1. การเสื่ อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
3. การนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การยอมรับและนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1. การนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้การยอมรับและนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้
2. การสลายตัวของระบบสังคมนิยม 3. การนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
4. การเสื่ อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในด้านการปฏิบตั ิ
79. จุดแข็งของลัทธิมาร์ กซ์ คืออะไร 1. เห็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง
2. ไม่มีการแบ่ งแยกของชนชั้น 3. ทุกคนเท่าเทียมกัน 4. ผิดทุกข้อ 5. ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 จุดแข็งของลัทธิมาร์กซ์ คือ การนากระบวนการวิภาษวิธีมาอธิบายสังคมทาให้เห็นรากเหง้าของ
ปัญหาที่ทาให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม โดยเห็นว่าเมื่อสังคมพัฒนาไปถึงจุดสูงสุดแล้วสังคมจะไม่มีการแบ่งแยก
ชนชั้นและทุกคนเท่าเทียมกัน
80. นักคิดที่ไม่ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์ กซ์ คือ
1. เหมา เจ๋ อ ตุง 2. เลนิน 3. ฮิตเลอร์ 4. คาร์ ล มาร์ กซ์ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3. นักคิดที่จดั อยูใ่ นกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่ 1. คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx)
2. เหมา เจ๋ อ ตุง หรื อ เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung) 3. นิ โคไล เลนิ น (Nicolai Lenin)
81. ข้ อใดกล่าวถูกต้ องเกี่ยวกับ เหมา เจ๋ อ ตุง
1. เหมาเป็ นลูกนายทหาร 2. เหมาร่ วมปฏิวัติราชวงศ์ ถังเป็ นผลสาเร็จ
3. เหมาเป็ นผู้นาของซุนยัดเช่ น 4. เหมาเขียนบทความชื่ อ On New Democracy
5. เหมาร่ วมมือกับชนชั้นกระดุม
ตอบ 4 ผลงานที่สาคัญของเหมาเจ๋ อตุง ได้แก่
1. On Tactics Against Japanese Imperialism (1935) 2. On Practice (1937)
3. On Contradiction (1937) 4. On New Democracy (1940) เป็ นต้น
82. ประชาธิปไตยแบบรวมศู นย์ ของคอมมิวนิสต์ ไม่มีลักษณะใดดังต่ อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูกต้อง
2. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่ วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
3. สภาทุกระดับของประชาชนส่ งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 38
……………………………………………………………………………………………………….
4. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็ นเด็ดขาดห้ามโต้แย้ง
5. ประชาชนทุกคนที่ไม่เป็ นสมาชิกพรรคสามารถมีส่วนร่ วมได้
ตอบ 5. ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ มีลกั ษณะดังต่อไปนี้
1. การรวมศูนย์ความคิดที่ถูก 2. เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสิ นนโยบายแล้ว ถือเป็ นเด็ดขาด
3. สภาประชาชนทุกระดับจะส่ งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4. ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่ วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
83. การปฏิวัติเพื่อสร้ างสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่ ของ เหมา เจ๋ อ ตุง มีลักษณะที่ ไม่ ใช่ ลักษณะใดดังต่ อไปนี้
1. การปฏิวัติชาติ เพื่อกาจัดจักรวรรดินยิ ม 2. การปฏิวัติเพื่อกาจัดเจ้ าของที่ดิน
3. การปฏิวัติเพื่อกาจัดพวกปฏิกิริยา 4. การปฏิวัติเพื่อทาลายลัทธิทุนนิยม
5. การปฏิวัติเพื่อประชาชนทุกชนชั้น
ตอบ 4 . “สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่” โดย เหมา เจ๋ อ ตุง มีลกั ษณะสาคัญคือ การปฏิวตั ิชาติ เพื่อกาจัด
จักรวรรดินิยม และการปฏิวตั ิประชาธิปไตยเพื่อกาจัดเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ ซึ่งการปฏิวตั ิ ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อล้มล้าง
การปกครองจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ทาลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยม
84. ประวัติการต่ อสู้ ของคอมมิวนิสต์ ทั่วโลกรวมทั้งไทย เป็ นการต่ อสู้ ที่ได้ รับอิทธิพลจากคนกลุ่มใดเป็ นสาคัญ
1. นักปรัชญาการเมือง 2. ผู้นาทางการเมือง 3. ข้าราชการ
4. นักธุรกิจ 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทวั่ โลกรวมทั้งประเทศไทยนั้น พบว่าเป็ นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพล
จากนักปรัชญาการเมืองเป็ นสาคัญ ไม่ว่าจะเป็ น คาร์ล มาร์กซ์, ฟรี ดริ ช เองเกลส์, อดัม สมิธ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อิทธิพลของคาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการต่อสู้ ของบุคคลสาคัญ ๆ เช่น นิโคไล เลนิน (รัสเซีย), เหมา เจ๋ อ
ตุง (จีน), นายปรี ดี พนมยงค์ (ไทย), นายจิตร ภูมิศกั ดิ์ (ไทย) เป็ นต้น
85. หนังสื อวิพากษ์ ชนชั้นในสั งคมไทยเรื่ อง “โฉมหน้ าศักดินาไทย” เป็ นงานเขียนของ
1. เสนีย์ เสาวพงศ์ 2. ปรีดี พนมยงค์ 3. เปลื้อง วรรณศรี
4. อัศนี พลจันทน์ 5. จิตร ภูมิศักดิ์
ตอบ 5 “โฉมหน้าศักดินาไทย” เป็ นผลงานโดย จิตร ภูมิศกั ดิ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ "โฉมหน้าศักดินาไทยใน
ปัจจุบนั " ในวารสาร นิติศาสตร์ฉบับศตวรรษใหม่ พ.ศ. 2500
86. คาอธิบาย “ความสั มพันธ์ ทางการผลิต (relation of production) ในลัทธิมาร์ กซ์ หมายถึง
1. การที่มนุษย์ใช้ เครื่ องมือในการผลิต 2. การที่มนุษย์ขาดเครื่ องมือในการผลิต
3. การที่มนุษย์ซื้อ-ขายเครื่ องมือการผลิต 4. การที่มนุษย์เป็ นเจ้ าของเครื่ องมือการผลิต
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4. ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Product) เป็ นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั เครื่ องมือการ
ผลิต เพื่อดูว่ามนุษย์เป็ นเจ้าของเครื่ องมือการผลิตหรื อไม่
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 39
……………………………………………………………………………………………………….
87. ในทัศนะของคาร์ ล มาร์ กซ์ ทีม่ ีต่อสังคมทุนนิยมได้แบ่ งแยกสังคมเป็ นกี่ชนชั้น
1. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสู ง 2. 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นกลาง ชนชั้นสู ง
3. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนา ชนชั้นผู้ถูกปกครอง 4. 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุน
5. ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 77 ประกอบ
88. บทความเรื่ อง “ระเบียบทางสั งคม” เป็ นข้ อเขียนของใคร
1. ปรีดี พนมยงค์ 2. กุหลาบ สายประดิษฐ์ 3. เสนีย์ เสาวพงศ์
4. เปลื้อง วรรณศรี 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2. นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรื อที่รู้จกั กันดีในนามปากกาว่า “ศรี บูรพา”เป็ นผูเ้ ขียนบทความเรื่ อง
“ระเบียบทางสังคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1954 โดยได้เขียนตามแนวความคิดของเองเกลส์ที่เขียนในเรื่ อง “The Origin of
Family, Private Property and State”

89. ข้อใดไม่ใช่ ข้อเสนอของ คาร์ ล มาร์ กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะในการปฏิวัติแล้ว


1. ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้ วิธกี ารเช่ าแทน 2. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้ าอย่างกวดขัน
3. ยกเลิกสิทธิรับมรดก 4. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่ อสารทุกประเภท
5. มีผ้มู ีอานาจเด็ดขาดเพียงคนเดียว
ตอบ 5 . ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะ มีดงั นี้
1. ยกเลิกสิ ทธิ การรับมรดก 2. เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
3. รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่ อสารทุกประเภท
4. รัฐเข้ามาควบคุมโรงงาน เครื่ องมือการผลิตและการเกษตร
5. ยกเลิกกรรมสิ ทธิ์ ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน
90. ความคิดของมาร์ กซ์ ข้อใดที่ไม่สะท้ อนข้ อเท็จจริงของระบบทุนนิยม
1. การต่อสู้ ชนชั้นมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2. การครอบครองปัจจัยการผลิตโดยนายทุน
3. สังคมเกิดความขัดแย้งจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ 4. ชนชั้นกรรมาชีพสามารถเอาชนะชนชั้นนายทุนได้
5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 การครอบครองปัจจัยการผลิตโดยนายทุนทาให้เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น เกิดความขัดแย้งจากปัจจัย
ทางเศรษฐกิจ มาร์กส์เชื่อว่าการเจรจาอย่างสันติจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และการปฏิวตั ิอย่างรุ นแรงของมวลชน
ขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่ดีเป็ นสิ่ งที่จาเป็ น เขากล่าวว่าเพื่อจะรักษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ รัฐเผด็จการโดย
กรรมาชีพจะต้องถูกสร้างขึ้น แต่หลังจากที่ระบบการผลิตแบบใหม่ได้เริ่ มขึ้นรัฐดังกล่าวจะค่อย ๆ ลดความสาคัญลง
และหายไปเอง
91. วลีต่อต้ านศาสนาที่ว่า “ศาสนาเป็ นสิ่ งมอมเมาชาติ” เป็ นของนักคิดคนใด
1. ซิง ซิมองต์ 2. อดัม สมิท 3. คาร์ ล มาร์ กซ์
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 40
……………………………………………………………………………………………………….
4. จอร์ จ วิลเลี่ยม ฟรีดรีช เฮเกล 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3. คาร์ล มาร์กซ์ ปฏิเสธศาสนา เพราะเชื่อว่า “ศาสนาเป็ นสิ่ งที่มวั เมาเหมือนยาเสพติด ที่ทาให้คนอยูแ่ ต่
ในโลกจินตนาการ และลืมความเป็ นจริ งในโลก”
92. บทความเรื่ อง “ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์” เป็ นข้ อเขียนร่ วมกันระหว่ าง
1. ฟรีดริช เองเกลส์ + คาร์ ล มาร์ กซ์ 2. ลุดวิก ฟอยเออส์ บาร์ ค + คาร์ ล มาร์ กซ์
3. อดัม สมิท + เดวิท ริคาโด 4. คาร์ ล มาร์ กซ์ + เฮเกล 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. ผลงานที่ฟรี ดริ ช เองเกลส์ และคาร์ล มาร์กซ์ ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา ได้แก่
1. คาประกาศคอมมิวนิ สต์ (The Communist Manifesto)
2. อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology) 3. ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family)
93. คุณูปการ ของ คาร์ ล มาร์ กซ์ ที่สาคัญคืออะไร 1. แนวทางวิพากษ์แบบวิพากวิธี Dialectic
2. แนวคิดวัตถุนิยม 3. หลักเศรษฐกิจกาหนด
4. หลักอรรถประโยชน์ นยิ ม 5. ถูกเฉพาะข้อ 1., 2 และ 3.

ตอบ 5. คุณูปการที่สาคัญของคาร์ล มาร์กซ์ ได้แก่


1. แนวคิดวัตถุนิยม (Materialism) 2 แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี (Dialectic)
3 หลักเศรษฐกิจกาหนด (Economic Determinism)
94. ชื่ อหนังสื อบทความต่ อไปนี้เรื่ องใดเขียนโดยร่ วมกันระหว่ าง คาร์ ล มาร์ กซ์ และ ฟรีดริช เองเกลส์
1. On New Democracy 2. On Contradiction 3. On Practice
4. The communist Manifesto 5. Socialism : Utopian and Scientific
ตอบ 4. ดูคาอธิบายข้อ 92 ประกอบ
95. เนื ้อหาในการวิพากษ์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองของ คาร์ ล มาร์ กซ์ มุ่งวิพากษ์
1. ระบบทุนนิยม 2. สังคมนิยม 3. การคอรัปชั่น
4. การรีดส่ วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน 5. ถูกเฉพาะข้อ 1. และ 4.
ตอบ 5. คาร์ล มาร์กซ์ ได้สร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองขึ้นเพื่ออธิบายว่า ในระบบทุนนิยมนั้นสิ่ งที่
นายทุนคานึงคือกาไร นายทุนจะได้เปรี ยบกรรมกร เพราะว่ามีการรี ดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน
หรื อที่เรี ยกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” นาเอาไปเป็ นกาไรของตัวเอง
96. หนังสื อและบทความใดต่ อไปนี้ไม่ ใช่ ข้อเขียนของ นิโคโล เลนิน
1. จะทาอะไร (What to be done)
2. สังคมนิยมและสงคราม (Socialism and War)
3. รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4. คาประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) 5. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4. ผลงานที่สาคัญของนิโคไล เลนิน ได้แก่
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 41
……………………………………………………………………………………………………….
1. จักรวรรดินิยม : ขั้นสุ ดท้ายของระบบทุนนิ ยม (Imperialism : The Highest Stage of
Capitalism) 2. สังคมนิ ยมเละสงคราม (Socialism and War) 3. รัฐและการปฏิวตั ิ (State and Revolution)
4. จะทาอะไร (What to be done)
97. แนวคิดของมาร์ กซ์ เรื่องวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประยุกต์จากแนวความคิดของเฮเกลเรื่ อง
1. ความขัดแย้งระหว่างจิตกับวัตถุ 2. กระบวนการตกผลึกทางความคิด
3. Dialectics 4. กระบวนการลดทอนคุณค่าความเป็ นมนุษย์
5. ปัญญาชนปฏิวัติ
ตอบ 3. มาร์กซ์ ได้รับเอาแนวความคิดเรื่ องวิภาษวิธี หรื อความเป็ นปฏิปักษ์ ขัดแย้ง (Dialectic) ของเฮเกล มา
อธิบายถึงเรื่ องวิวฒั นาการทางสังคมและประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย
1. Synthesis คือ สภาวะผสมผสานหรื อสหกิริยา 2. Anti-Thesis คือ สภาวะแย้งหรื อปฏิกิริยา
3. Thesis คือ ภาวะที่เป็ นอยูห
่ รื อกิริยา
98. นักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ มีความคิดที่เหมือนกันหรื อคล้ ายกัน แต่ ไม่ ใช่ ประเด็นใดดังต่ อไปนี้
1. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้ วธิ ีการรุนแรงหรื อด้วยการปฏิวัติ
2. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
3. ต้องการให้ ชนชั้นกรรมาชีพเป็ นผู้ชนะการต่อสู้ ในสงครามแห่ งชนชั้น
4. มองสังคมทุนนิยมเป็ นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
5. ต้องการให้ ปัจเจกบุคคล สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้โดยเสรี
ตอบ 5. ประเด็นสาคัญที่คล้ายกันของนักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แก่
1. มองสังคมทุนนิยมเป็ นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรี ยบ
2. ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็ นผูช้ นะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
3. ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
4. การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุ นแรงหรื อด้วยการปฏิวตั ิ
99. ลัทธิมาร์ กซ์ มองว่ า ระบบทุนนิยมทาลาย ลดทอนความเป็ นมนุษย์ เนื่ องด้วยเหตุผลใดดังต่ อไปนี้
1. เพราะแรงงานที่เขาทางานไม่สามารถทางานสนองความต้องการของเขาแต่เป็ นของนายทุน
2. นายจ้ างที่เป็ นชนชั้นนายทุนให้ เขาเป็ นเครื่ องมือเพื่อผลกาไร
3. แรงงานที่ทาให้ กับนายทุนเป็ นแรงงานที่ถกู บังคับมากกว่าความเต็มใจ
4. เพราะกรรมกรทางานเพื่อประโยชน์ ของนายทุนเท่านั้น 5. ถูกเฉพาะข้อ 1., 2. และ 3.
ตอบ 5. ลัทธิมาร์กซ์ มองว่า ระบบทุนนิยมจะทาลายและลดทอนคุณค่าความเป็ นมนุษย์ เนื่องจาก
1 นายจ้างที่เป็ นชนชั้นนายทุนใช้เขาเป็ นเครื่ องมือเพื่อผลกาไร
2 แรงงานต้องทางานตามความต้องการของนายทุน
3 แรงงานที่ทาให้กบั นายทุนเป็ นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
ข้อสอบวิชา POL 2105 (PS 290) ทฤษฎีและจริ ยธรรมทางการเมือง 2 42
……………………………………………………………………………………………………….
100. ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ ไม่ใช่ ข้อใดดังต่อไปนี้
1. การเน้ นให้ พรรคเป็ นผู้นาในการปฏิวัติ 2. เน้ นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึ่งมีการสร้ างพันธมิตร
3. การปฏิวัติสังคมเกิดด้วยความรุนแรงเท่านั้น
4. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็ นการปกครองเด็ดขาด มีกาลังอาวุธ
5. การพัฒนาขั้นสุ ดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบสังคมนิยม
ตอบ 5. ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ มีดงั นี้
1. การเน้นให้พรรคเป็ นผูน้ าในการปฏิวตั ิ
2. เน้นยุทธวิธีในการปฏิวตั ิ ซึ่งมีการสร้างพันธมิตร
3. การปฏิวตั ิสังคมเกิดในประเทศเดียวก็ได้ และเกิดด้วยวิธีรุนแรงเท่านั้น
4. เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็ นการปกครองที่เด็ดขาด
5. การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบจักรวรรดินิยม



You might also like