You are on page 1of 12

บทที่ ๒

การประกันคุณภาพการศึกษา

๑. ความจําเป็ นของการประกันคุณภาพการศึกษา
ภารกิจหลักทีส่ ถาบันอุดมศึกษาไทยจะต้องปฏิบตั มิ ี ๔ ประการ คือ การจัดการเรียน
การสอน การวิจยั การให้บริการทางวิชาการแก่สงั คม และการทํานุ บํารุงศิลปวัฒนธรรม การ
ดําเนินการตามภารกิจทัง้ ๔ ประการดังกล่าวจําเป็ นต้องประกันได้ว่ามีคุณภาพ สอดคล้องกับ
การพัฒ นาประเทศทัง้ ระยะสัน้ และระยะยาว ประกอบกับ ในป จั จุ บ ัน มีป จั จัย ภายนอกและ
ภายในประเทศหลายประการที่ทําให้การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาเป็ น
สิง่ จําเป็ น ปจั จัยดังกล่าวประกอบด้วย
๑) คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและคุณภาพบัณฑิต มีแนวโน้มทีจ่ ะมีความแตกต่าง
กันมากขึน้ ทัง้ นี้เนื่องจากมีสถาบันอุดมศึกษาจัดตัง้ ขึน้ ใหม่จาํ นวนมาก
๒) การแข่งขัน้ กันทัง้ ในเชิงคุณภาพของการจัดการศึกษาและคุณภาพของบัณฑิตมี
มากขึน้ ในวงการอุดมศึกษาทัง้ ภายในประเทศและระหว่างประเทศ
๓) สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็ นที่จะต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็ นสากล เพื่อให้
ได้รบั การยอมรับจากนานาชาติในการสร้างความร่วมมือต่างๆ ตลอดจนเพือ่ พัฒนาประเทศ
๔) สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็ นที่จะต้องสร้างความมันใจให้ ่ แก่สงั คมว่าสามารถ
ผลิตบัณฑิตทีม่ คี ุณภาพแข่งขัน้ ได้ในระดับสากล
๕) สถาบันอุดมศึกษามีหน้าทีท่ จ่ี ะต้องให้ขอ้ มูลสาธารณะ (public information) ทีเ่ ป็ น
ประโยชน์ต่อนักศึกษา ผูจ้ า้ งงาน ผูป้ กครอง รัฐบาล และประชาชนทัวไป ่
๖) สัง คมต้ อ งการระบบอุ ด มศึก ษาที่มีค วามโปร่ ง ใส (transparency) และมีค วาม
รับผิดชอบซึง่ ตรวจสอบได้ (accountabillity)
๗) พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๕ มีการกําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มี
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าทีป่ ระเมินคุณภาพสถานศึกษา
จากภายนอก

๒. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการศึกษากับการประกันคุณภาพ
คณะรัฐ มนตรีไ ด้ใ ห้ค วามเห็น ชอบ มาตรฐานการศึ ก ษาของชาติ เมื่อ วัน ที่ ๒๖
ตุลาคม ๒๕๔๗ เพื่อเป็ นข้อกําหนดเกีย่ วกับคุณลักษณะคุณภาพทีพ่ งึ ประสงค์และมาตรฐานที่
ต้องการให้เ กิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เ ป็ นหลักในการเทียบเคียงสําหรับการ
ส่งเสริมและกํากับดูแล การตรวจสอบการประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา ต่อมาใน
21

เดือนสิงหาคมปี ๒๕๔๙ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ มาตรฐานการอุดมศึกษา เพื่อใช้


เป็ น กรอบในการพัฒ นา โดยมีส าระสํา คัญ ที่ค รอบคลุ ม เป้ าหมายและหลัก การของการจัด
การศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย และคํานึงถึงความหลากหลายของกลุ่มหรือประเภทของ
สถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ทุกสถาบันสามารถนํ าไปใช้กําหนดพันธกิจและมาตรฐานของการ
ปฏิบตั งิ านได้
นอกจากมาตรฐานการอุดมศึกษาแล้ว คณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้จดั ทําเกณฑ์
มาตรฐานอื่นๆ อาทิ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานกิจการนักศึกษา
หลักเกณฑ์การขอเปิ ดและดําเนินการหลักสูตระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล กรอบ
มาตรฐานคุณวุฒ ิ เป็ นต้น ทัง้ นี้เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาได้พฒ
ั นาวิชาการและวิชาชีพ
รวมทัง้ การพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มคี วาม
ทัดเทียมกันและพัฒนาสูค่ วามเป็ นสากล
เพื่อให้การจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามทีร่ ะบุ
ข้างต้น พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติฯ ในหมวด ๖ จึงได้กําหนดให้มี ระบบการประกัน
คุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกัน
คุณภาพภายนอก ความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการศึกษา หลักเกณฑ์ทเ่ี กี่ยวข้องและการ
ประกันคุณภาพการศึกษาสามารถแสดงในแผนภาพที่ ๑
22

แผนภาพที่ ๑ ความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการศึกษา หลักเกณฑ์ทเ่ี กีย่ วข้องและ


การประกันคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานการศึกษาของชาติ

มาตรฐานที่ ๑ มาตรฐานที่ ๒ มาตรฐานที่ ๓


คุณลักษณะของคนไทยทีพ่ งึ แนวทางการจัดการศึกษา แนวการสร้างสังคมแห่งการ
ประสงค์ทงั ้ ในฐานพลเมือง เรียนรู้ / สังคมแห่งความรู้
และพลโลก

มาตรฐานที่ 1 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 3


มาตรฐานการ มาตรฐานด้านคุณภาพ มาตรฐานด้านการบริหาร มาตรฐานด้านการสร้างและ
อุดมศึกษา บัณฑิต จัดการการอุดมศึกษา พัฒนาสังคมฐานความรู้ และ
สังคมแห่งการเรียนรู้

หลักเกณฑ์กาํ กับ
มาตรฐานรวมถึง การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และการประเมินภายนอกคุณภาพ 9 ด้าน
มาตรฐานอุดมศึกษา
และกรอบมาตาฐาน
คุณวุฒ ิ
ระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ ผลผลิตทางการศึกษาทีม่ คี ุณภาพ
23

๓. การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
พระราชบัญญัติก ารศึก ษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไ ขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๕ ระบุไว้ว่าการประกันคุณภาพภายในจะดําเนินการโดยบุคลากรของสถานศึกษาร่วมกับ
หน่ วยงานต้นสังกัดที่มหี น้ าที่กํากับดูแลสถานศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(สกอ.) จึงมีหน้ าที่ร่วมกับสถานศึกษาในการจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน เพื่อ
ส่งเสริมสนับสนุ นและยกระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน การประกัน
คุ ณ ภาพภายในเป็ น การสร้า งระบบและกลไกในการควบคุ ม ตรวจสอบ และประเมิน การ
ดําเนินงานของสถานศึกษาให้เป็ นไปตามนโยบาย เป้าหมาย และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่
กําหนดโดยสถานศึกษาและหรือหน่วยงานต้นสังกัด โดยให้ถอื ว่าการประกันคุณภาพภายในเป็ น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาทีต่ อ้ งดําเนินการอย่างต่อเนื่อง

๓.๑ วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประกอบด้วย
๑.) เพือ่ ตรวจสอบและประเมินการดําเนินงานของคณะวิชาหน่วยงานและ
สถาบันอุดมศึก ษาในภาพรวมตามระบบคุณ ภาพและกลไกที่สถาบันนัน้ ๆ กําหนดขึ้น โดย
วิเคราะห์ เปรียบเทียบผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชีใ้ นทุกองค์ประกอบคุณภาพว่าเป็ นไปตาม
เกณฑ์และได้มาตรฐาน
๒.) เพื่อ ให้ค ณะวิช าหรือ หน่ ว ยงานเทีย บเท่ า ในสถาบัน อุ ด มศึก ษาทราบ
สถานภาพของตนเองอันจะนํ าไปสู่การกําหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพไปสู่เป้าหมาย
(targets) และเป้าประสงค์ (goals) ทีต่ งั ้ ไว้และเป็ นสากล
๓.) เพือ่ ให้คณะวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าในสถาบันอุดมศึกษาทราบจุดแข็ง
จุดทีค่ วรปรับปรุงตลอดจนได้รบั ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดําเนินงานเพื่อเสริมจุดแข็ง และ
พัฒนาจุดอ่อนทีค่ วรปรับปรุงของสถาบันอย่างต่อเนื่อง
๔.) เพือ่ ให้ขอ้ มูลสาธารณะทีเ่ ป็ นประโยชน์ต่อผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทําให้มนใจว่
ั่ า
สถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้างผลผลิตทางการศึกษาทีม่ คี ุณภาพ
๕.) เพื่อให้หน่ วยงานต้นสังกัดของสถาบันอุดมศึกษามีขอ้ มูลพืน้ ฐานทีจ่ ําเป็ น
สําหรับการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการอุดมศึกษาในแนวทางทีเ่ หมาะสม
24

๓.๒ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถาบัน อุ ด มศึก ษาจะต้ อ งพัฒ นาระบบประกัน คุ ณ ภาพการศึก ษาที่เ หมะสม
สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของสถาบัน โดยอาจเป็ นระบบประกันคุณภาพทีใ่ ช้กบั แพร่หลาย
ในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือเป็ นระบบเฉพาะทีส่ ถาบันพัฒนาขึน้ เอง แต่ไม่ว่าจะเป็ นระบบ
คุณภาพแบบใดจะต้องมีกระบวนการทํางานที่เริม่ ต้นจากการวางกลยุทธ์และแผนดําเนินการ
ตลอดจนมีเป้าหมายและตัวบ่งชีค้ วามสําเร็จทีช่ ดั เจน (Plan) มีการดําเนินงานและเก็บข้อมูลตาม
แผน (Do) มีการตรวจสอบและประเมินผลเทียบกับแผน (Check) และมีการปรับปรุงพัฒนาตาม
ผลการประเมินอย่างเป็ นระบบ (Act) ทัง้ นี้เพือ่ ให้การดําเนินภารกิจของสถาบันบรรลุเป้าประสงค์
และมีพ ฒ ั นาการอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ขณะเดีย วกัน ก็เ ป็ น หลัก ประกัน แก่ ส าธารณสุ ข ให้ม นใจว่ ั่ า
สถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้างผลผลิตทางการศึกษาทีม่ คี ุณภาพ
๓.๒.๑ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ในด้ า นของระบบและกลไกการประกั น คุ ณ ภาพ ผู้ ท่ี มี
ความสําคัญส่งผลให้การดําเนิ นงานประสบความสําเร็จและนํ าไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่าง
ต่อเนื่องคือ คณะกรรมการระดับนโยบายและผูบ้ ริหารสูงสุดของสถาบันทีจ่ ะต้องให้ความสําคัญ
และกําหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชดั เจน และเข้าใจร่วมกันทุกระดับ โดย
มอบหมายให้หน่ วยงานหรือคณะกรรมการรับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และ
กระตุน้ ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง หน้าทีส่ าํ คัญประการหนึ่งของคณะกรรมการของ
หน่ วยงานนี้คอื การจัดระบบประกันคุณภาพพร้อมทัง้ กําหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน
คุ ณ ภาพที่เ หมาะสมสํ า หรับ สถาบัน โดยอาจเพิ่ม เติ ม จากที่สํ า คัก งานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษากําหนดได้ ทิ้งนี้ ระบบประเมินคุณภาพที่ใช้ต้องสามารถเชื่อมโยงให้เกิดคณะการ
ปฏิบตั ิงาน ตัง้ แต่ระดับบุคคล ระดับภาควิชาหรือสาขาวิชา ระดับคณะไปจนถึงระดับสถาบัน
โดยอาจจํา เป็ นต้องจัด ทําคู่มือคุณภาพในแต่ ล ะระดับ เพื่อ กํากับ การดําเนิ นงาน แต่ ท่ีสําคัญ
คณะกรรมการหรือ หน่ ว ยงานนี้ ต้ อ งประสานงานและผลัก ดัน ให้เ กิด ระบบฐานข้อ มู ล และ
สารสนเทศทีม่ ปี ระสิทธิภาพซึง่ สามารถใช้งานร่วมกันได้ในทุกระดับ
๓.๒.๒ มาตรฐาน องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ประเมินคุณภาพ
การศึกษาภายใน
ม า ต ร ฐ า น สํ า คั ญ ที่ เ ป็ น ก ร อ บ ใ น ก า ร ดํ า เ นิ น ง า น ข อ ง
สถาบันอุดมศึกษาคือมาตรฐานการอุ ดมศึกษา (ภาคผนวกที่ ๑) อย่างไรก็ตามในปจั จุบ นั
สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ยังต้องดําเนินการให้ได้ตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์อ่นื ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง
อีก มาก เช่ น เกณฑ์ม าตรฐานหลัก สู ต ร มาตรฐานเพื่อ การประเมิน คุ ณ ภาพภายนอกของ
สํานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กรอบ
การปฏิบตั ริ าชการตามมิตดิ า้ นต่างๆ ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
ในกรณีมหาวิทยาลัยของรัฐ มาตรฐานองค์กรวิชาชีพเฉพาะ เป็ นต้น
25

ด้ว ยเหตุ ด ัง กล่ า ว องค์ป ระกอบและตัว บ่ ง ชี้ข องสํ า นั ก งาน


คณะกรรมการอุดมศึกษาทีพ่ ฒ ั นาขึน้ เพื่อให้ทุกสถาบันอุดมศึกษานําไปใช้ จึงต้องสามารถชีว้ ดั
คุณลัก ษณะที่พึง ประสงค์ม าตรฐานการอุดมศึก ษา ตลอดจนมาตรฐานและหลักเกณฑ์อ่ืน ที่
เกี่ย วข้อ งได้ ท ัง้ หมด องค์ ป ระกอบและตัว บ่ ง ชี้ใ นการประกัน คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายใน
สถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาทีส่ ํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพัฒนาขึน้ ประกอบด้วย
๙ องค์ประกอบ ๔๔ ตัวบ่งชี้ ในแต่ละองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ทพ่ี ฒ ั นาขึน้ มีประเภท
ทัวไปที
่ ่ใช้กบั ทุกสถาบันอุดมศึกษา และประเภทที่แยกใช้เฉพาะกับสถาบันที่มจี ุดเน้ นต่างกัน
ตามพันธกิจ และอัตลักษณ์ ข องสถาบัน แสดงดังตารางที่ ๑ รายละเอียดตัวบ่งชี้ปรากฏใน
ภาคผนวกที่ ๓

ตารางที่ ๑ องค์ประกอบคุณภาพและตัวบ่งชีเ่ พือ่ การประกันคุฯภาพการศึกษาภายใน


สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของ สกอ.

องค์ประกอบคุณภาพ จํานวนตัวบ่งชี้
๑.ปรัชญา ปณิธานวัตถุประสงค์ และแผนการดําเนินการ ๑+
๒.การเรียนการสอน ๘+
๓.กิจกรรมการพัฒนานิสติ นักศึกษา ๒+
๔.การวิจยั ๓+
๕.การบริการทางวิชาการแก่สงั คม ๒+
๖.การทํานุ บาํ รุงศิลปวัฒนธรรม ๑+
๗.การบริหารและการจัดการ ๔+
๘.การเงินและงบประมาณ ๑+
๙.ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ๑+
รวม ๙ องค์ประกอบคุณภาพ ๒๓+
*จํานวนตัวบ่งชีข้ น้ึ อยูก่ บั กลุ่มหรือประเภทสถาบัน

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้เหล่านี้สถาบันอุดมศึกษาสามารถนํ าไปใช้ได้ทงั ้ เพื่อ


การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก นอกจากนี้ในกรณีของตัวบ่งชีท้ ใ่ี ช้ประเมิน
กระบวนการ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้นําเสนอแนวปฏิบตั ทิ ด่ี ี และตัวอย่าง
แนวทางการพัฒนาไว้ดว้ ย ทัง้ นี้ เพือ่ ประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาในการนําไปใช้
26

๔. การประเมิ นคุณภาพการศึกษาภายนอก
รูป แบบและวิธีก ารดํา เนิ น การประเมิน คุ ณ ภาพภายนอกจะเป็ น ไปตามที่กํา หนดใน
ระเบียบของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ
สมศ. ซึง่ มีหลักการสําคัญ ๕ ประการ ดังต่อไปนี้
๑)เป็ นการประเมินเพือ่ มุง่ ให้มกี ารพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มงุ่ เน้นเรื่องการตัดสิน
การจับผิด หรือการให้คุณให้โทษ
๒)ยึดหลักการความเทีย่ งตรง เป็ นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็ น
จริง (Evidence-based)และมีความรับผิดชอบทีต่ รวจสอบได้ (Accontability)
๓)มุง่ เน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกํากับ
ควบคุม
๔)ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาจัดการศึกษาจากทุกฝา่ ย
ทีเ่ กีย่ วข้อง
๕)มุง่ สร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา
ของชาติทไ่ี ด้กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ โดยให้เอกภาพเชิง
นโยบาย แต่ยงั คงมีความหลากหลายในทางปฏิบตั ิท่สี ถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะ
และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผูเ้ รียน
๔.๑ วัตถุประสงค์ของการประเมิ นคุณภาพการศึกษาภายนอก
วัตถุประสงค์ทวไป ั่
๑)เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดําเนินภารกิจด้าน
ต่างๆ
๒)เพื่อ กระตุ้ น เตื อ นให้ส ถาบัน อุ ด มศึ ก ษาพัฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาและ
ประสิทธิภาพการบริหารอย่างต่อเนื่อง
๓)เพื่ อ ให้ ท ราบความก้ า วหน้ า ของการพัฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาของ
สถาบันอุดมศึกษา
๔)เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุ ณภาพและมาตรฐานของ
สถาบันอุดมศึกษาสาธารณชนและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง
วัตถุประสงค์เฉพาะ
๑)เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดําเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา และ
ประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและ
วิธกี ารที่สํานักงานกําหนด และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา
และหน่วยงานต้นสังคม
27

๒ ) เ พื่ อ ใ ห้ ไ ด้ ข้ อ มู ล ซึ่ ง ช่ ว ย ส ะ ท้ อ น ใ ห้ เ ห็ น จุ ด เ ด่ น แ ล ะ จุ ด ด้ อ ย ข อ ง
สถาบันอุดมศึกษา เงื่อนไขของความสําเร็จ และสาเหตุของปญั หา รวมทัง้ นวัตกรรมและการ
ปฏิบตั ทิ ด่ี ขี องสถาบันอุดมศึกษา
๓)เพื่อ ช่ ว ยเสนอแนะแนวทางปรับ ปรุ ง และพัฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาแก่
สถาบันอุดมศึกษา
๔)เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพ
ภายในอย่างต่อเนื่อง
๕)เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบัน
อุดมศึกษาต่อหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องและสาธารณชน
๔.๒ การดํา เนิ นการของสํา นั ก งานรับ รองมาตาฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพ
การศึกษา (สมศ.)
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
หรือ สมศ. ดําเนินการประเมินคุณภาพภายนอกตามภาระหน้าทีท่ ก่ี ําหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ ประกอบด้วย
๑)พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก กําหนกรอบแนวทางและวิธกี าร
ประเมินคุณภาพภายนอกทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพภายใน
๒)พัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สาํ หรับการประเมินคุณภาพภายนอก
๓)ให้การรับรองผูป้ ระเมินภายนอก
๔)กํากับ ดูแล และกําหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก รวมทัง้ ให้
การรับรองมาตรฐาน
๕)พัฒนาและฝึ กอบรมผูป้ ระเมินภายนอก
๖)เสนอรายงานการประเมิน คุ ณ ภาพและมาตาฐานการศึก ษาประจํ า ปี ต่ อ
คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และสํานักงบประมาณ เพื่อประกอบการ
พิจ ารณาในการกํ า หนดนโยบายทางการศึก ษา และการจัด สรรงบประมาณเพื่อ การศึก ษา
รวมทัง้ เผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องและสาธารณชน
ทัง้ นี้ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับอุดมศึกษาในปจั จุบนั ซึ่ง
เป็ น การประเมิน ในรอบที่ส อง สมศ. ดํ า เนิ น การประเมิน คุ ณ ภาพการจัด การศึก ษาของ
สถาบันอุดมศึกษาทัง้ ในระดับสถาบันและระดับกลุ่มสาขาวิชา
๔.๓ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิ นคุณภาพการศึกษาภายนอก
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธกี ารประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.
๒๕๕๓กําหนดให้การประเมินคุณภาพภายนอกครอบคลุมมาตรฐานว่าด้วย๑) ผลการจัด
การศึกษา ๒) การจัดการเรียนการสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็ นสําคัญ ๓) การบริหารจัดการศึกษา และ ๔)
28

การประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วยตัวบ่งชีพ้ น้ื ฐาน ตัวบ่งชีอ้ ตั ลักษณ์ และตัวบ่งชีม้ าตรการ


ส่งเสริม จํานวน ๑๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ด้านคุณภาพบัณฑิ ต
๑. บัณฑิตปริญญาตรีทไ่ี ด้งานทําหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี
๒. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอกตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒอิ ุดมศึกษาแห่งชาติ
๓. ผลงานของผูส้ าํ เร็จการศึกษาระดับปริญญาโททีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์หรือเผยแพร่
๔. ผลงานของผูส้ าํ เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์หรือเผยแพร่
ด้านงานวิ จยั และงานสร้างสรรค์
๕. งานวิจยั หรืองานสร้างสรรค์ทไ่ี ด้รบั การตีพมิ พ์หรือเผยแพร่
๖. งานวิจยั ทีน่ ําไปใช้ประโยชน์
๗. ผลงานวิชาการทีไ่ ด้รบั การรับรองคุณภาพ
ด้านการบริ การวิ ชาการแก่สงั คม
ตัวบ่งชี้พนื้ ฐาน
๘. การนําความรูแ้ ละประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจยั
(นํ้าหนักร้อยละ ๗๕)
๙. การเรียนรูแ้ ละเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก
ด้านการทํานุบาํ รุงศิ ลปะและวัฒนธรรม
๑๐. การส่งเสริมและสนับสนุ นด้านศิลปะและวัฒนธรรม
๑๑. การพัฒนาสุนทรียภาพในมิตทิ างศิลปะและวัฒนธรรม
ด้านการบริ หารและพัฒนาสถาบัน
๑๒. การปฏิบตั ติ ามบทบาทหน้าทีข่ องสภาสถาบัน
๑๓. การปฏิบตั ติ ามบทบาทหน้าทีข่ องผูบ้ ริหารสถาบัน
๑๔. การพัฒนาคณาจารย์
ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน
๑๕. ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด
๑๖. การพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดตัง้ สถาบัน
หมายเหตุ สถาบันเลือกดําเนินการตามกลุ่มสถาบัน
 สถาบันที่เน้ นระดับปริ ญญาตรี (ข) และสถาบันเฉพาะทางที่เน้ นระดับปริ ญญาตรี (ค 2)
๑๖.๑ งานวิจยั หรืองานสร้างสรรค์บนพืน้ ฐานภูมปิ ญั ญาท้องถิน่
๑๖.๒ การสืบสานโครงการพระราชดําริ
๑๖.๓ การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาและวิชาชีพอื่น
๑๖.๔ มีหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ
 สถาบันเฉพาะทางที่เน้ นระดับบัณฑิ ตศึกษา (ค 1) และสถาบันที่เน้ นการวิ จยั ขัน้ สูงและผลิ ต
ตัวบ่งชี้อตั ลักษณ์
บัณฑิ ตศึกษาโดยเฉพาะ (ง)
(นํ้าหนักร้อยละ ๑๕)
๑๖.๕ ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาทีน่ ําไปใช้ประโยชน์
๑๖.๖ งานวิจยั หรืองานสร้างสรรค์ทไ่ี ด้รบั การจดสิทธิบตั รหรืออนุ สทิ ธิบตั ร
๑๖.๗ งานวิจยั ทีต่ พี มิ พ์ระดับนานาชาติ
๑๖.๘ ผลงานวิจยั ได้รบั การอ้างอิงระดับนานาชาติ
๑๖.๙ ระดับความสําเร็จของการพัฒนาสถาบันสูส่ ากล
๑๖.๑๐ มีศนู ย์ความเป็ นเลิศ
๑๗. การพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นของสถาบัน
หมายเหตุ สถาบันเสนอผ่านสภาสถาบันและต้นสังกัด
29

๑๘. การชีน้ ําและ/หรือแก้ปญั หาสังคมในด้านต่างๆ ของสถาบัน อาทิ การส่งเสริมและสืบสานโครงการ


มาจาก พระราชดําริ / รักชาติ บํารุงศาสนา เทิดทูนพระมหากษัตริย์ / สุขภาพ / ค่านิยม จิต
สาธารณะ / สิง่ เสพติด / ความฟุม่ เฟือย / การแก้ปญั หาความขัดแย้ง สร้างสังคมสันติสขุ ความ
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริ ม
ปรองดอง / สิง่ แวดล้อม พลังงาน /
(นํ้าหนักร้อยละ ๑๐)
อุบตั ภิ ยั / ความคิดสร้างสรรค์ / ผูด้ อ้ ยโอกาส ผูส้ งู อายุ / นโยบายรัฐบาล / การพร้อมรับการเป็ น
สมาชิกสังคมอาเซียน / ฯลฯ
หมายเหตุ สถาบันเลือกดําเนินการอย่างน้อย ๒ เรือ่ ง

๕. ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศสําหรับการประกันคุณภาพการศึกษา
เป็ นที่ทราบกันดีว่า การวิเคราะห์และวัดผลดําเนินงานเป็ นสิง่ จําเป็ นในกระบวนการ
ประเมินคุณภาพการวัดและวิเคราะห์ผลการดําเนินงานจะไม่สามารถทําได้อย่างถูกต้องและมี
ประสิทธิภาพปราศจากฐานข้อมูลและสารสนเทศทีเ่ ป็ นจริง ถูกต้องตรงกันทุกระดับตัง้ แต่ระดับ
บุคคล ภาควิชา คณะ สถาบัน ตลอดจนเป็ นข้อมูลที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทีด่ ี มีประสิทธิภาพจึงเป็ นปจั จัยสําคัญยิง่ ทีจ่ ะส่งผลต่อความสําเร็จ
ของการประกันคุณภาพการศึกษา และส่งผลต่อคุณภาพในทุกขึน้ ตอนการดําเนินงานตัง้ แต่การ
วางแผน การปฏิบตั งิ านประจํา การตรวจสอบประเมิน ตลอดจนถึงการปรับ ปรับปรุงและพัฒนา

๖. ความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และการประเมิ นคุณภาพ


การศึกษาภายนอก
การประกัน คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายใน เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกระบวนการบริห าร
การศึก ษาปกติท่ีต้อ งดํา เนิ น การอย่า งต่ อ เนื่ อ ง โดยมีก ารควบคุ ม ดูแ ลป จั จัย ที่เ กี่ย วข้อ งกับ
คุณภาพ มีการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานเพื่อนําไปสู่การพัฒนาปรับปรุง
คุณภาพอย่างสมํ่าเสมอ ด้วยเหตุน้ีระบบประกันคุณภาพภายในจึงต้องดูแลทัง้ ปจั จัยนํ าเข้า
(input) กระบวนการ (process) และผลผลิตหรือผลลัพธ์ (output/outcome) ซึ่งต่ างจาก การ
ประเมิ นคุณภาพการศึกษาภายนอก ที่เน้นการประเมินผลการจัดการศึกษา (out/outcome)
ดังนัน้ ความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับการประเมินคุณภาพ
ภายนอก จึง เป็ นสิ่งจํา เป็ น โดยในระดับ ป จั จุ บ ันมีก ารเชื่อ มโยงผ่า นรายงานประจําปี ท่ีเ ป็ น
รายงานการประเมินคุณภาพภายในที่ทุกสถาบันจัดทําขึน้ ความเชื่อมโยงเช่นนี้ได้แสดงไว้ใน
แผนภาพที่ ๔
30

แผนภาพที่ ๔ ความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับการประเมิน
คุณภาพการศึกษาภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน
การประกันคุณภาพภายนอก

การ การประเมินฯ การตรวจเยีย่ ม รายงานผลการ การติดตามผล


รายงานประจําปี ประเมิน
ปฏิบตั งิ าน ภายในของ
(SAR)
ของสถาบัน สถาบัน

ข้อมูลป้อนกลับ ติดตามตรวจสอบ
โดยต้นสังกัดทุก 3 ปี

ข้อมูลป้อนกลับ
บรรณานุกรม

กองบริการการศึกษา สํานักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2543) มาตรฐานกิ จการนักศึกษา


กรุงเทพ : ห้างหุน้ ส่วนจํากัดภาพพิมพ์
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2551) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : ห้างหุน้ ส่วนจํากัด
ภาพพิมพ์
สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2551) คู่มือหลักสูตรฝึ กอบรมการประกันคุณภาพ
การศึกษาสําหรับนักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวง
สาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ไม่ปรากฏสํานักพิมพ์
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2550) คู่มือการ
ประเมิ นคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา รอบที่สอง (พ.ศ.2549-2553).
กรุงเทพฯ : ไม่ปรากฏสํานักพิมพ์
สํานักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2549)
มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : ห้าง
หุน้ ส่วนจํากัดภาพพิมพ์
สํานักมาตรฐานอุดมศึกษา สํานักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544) นโยบาย แนวทาง และ
วิ ธีการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรสุ ภา
ลาดพร้าว
สํานักมาตรฐานอุดมศึกษา สํานักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2546). หลักสูตรฝึ กอบรม
นิ สิตนักศึกษาเพื่อส่งเสริ มสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริน้ ติง้

You might also like