You are on page 1of 6

บทที่ 7

สมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับที่หนึ่ง

ในการศึกษากฎเกณฑ์ กระบวนการ หรือปรากฏการณ์ ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ บางครั้ง


เราจะใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical model) เพื่อช่วยในการศึกษาปัญหาที่สนใจ
โดยตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์มักเป็นสมการที่ได้มาจากสมมติฐาน เงื่อนไข หรือทฤษฎีบทเกี่ยว
กับปัญหานั้น ๆ เมื่อเราหาผลเฉลยของสมการ ก็จะนำผลเฉลยที่ได้มาแปลความหมาย เพื่อ
อธิบาย หรือทำความเข้าใจสิ่งนั้นให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ดังแผนภาพ

รูปที่ 1: ขั้นตอนการใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาปัญหาจริง

ในบางกรณี สมการที่เป็นตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์อาจเป็นสมการเชิงอนุพันธ์ (differ-


ential equation) ซึ่งเป็นสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และ
อนุพันธ์หรือค่าเชิงอนุพันธ์ของฟังก์ชันที่เราสนใจ
ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาจำนวนประชากร ถ้าให้ y(t) คือจำนวนประชากร ณ เวลา t
หากเรามีสมมติฐานว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากร ณ เวลาใด ๆ จะแปรผันตรงกับ
จำนวนประชากรที่มีอยู่ในขณะนั้น จะได้ว่า
dy
= ky (k เป็นค่าคงตัว) (1)
dt
หรือในการศึกษาการเคลื่นที่ของวัตถุวัตถุที่ตกอย่างอิสระภายใต้สนามโน้มถ่วง ถ้าให้ s(t) คือ
ระยะกระจัดของวัตถุ ณ เวลา t ใด ๆ จากกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันจะได้ว่า
d2 s
= −g (2)
dt2
เมื่อ g คือค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
136

นอกจากนี้ ถ้าให้ u(x, t) คือระยะกระจัดในแนวดิ่งจากตำแหน่งสมดุลของเส้นลวด


(เช่นสายกีตาร์) ที่จุด x ณ เวลา t ใด ๆ ดังรูป

รูปที่ 2: เส้นลวดที่สั่นขึ้นลงในแนวดิ่ง

จากกฎทางฟิสิกส์ เราจะได้ว่า
2
2∂u ∂2u
a = (3)
∂x2 ∂t2

เมื่อ a คือค่าคงตัว สมการที่ (3) นี้มีชื่อเรียกว่าสมการคลื่น (wave equation)

เราแบ่งประเภทของสมการเชิงอนุพันธ์ดังนี้

• สมการเชิงอนุพันธ์ที่ประกอบด้วยอนุพันธ์ของฟังก์ชันหนึ่งตัวแปรเท่านั้น เรียกว่า
สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ (ordinary differential equation)

• สมการเชิงอนุพันธ์ที่มีอนุพันธ์ย่อยปรากฏอยู่ จะเรียกว่า สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย


(partial differential equation)

• อันดับ (order) ของสมการเชิงอนุพันธ์ คืออันดับสูงสุดของอนุพันธ์ที่ปรากฏอยู่ใน


สมการ

ดังนั้น จากตัวอย่างของสมการข้างต้น จะได้ว่า

สมการ (1) เป็นสมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับที่หนึ่ง

สมการ (2) เป็นสมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับที่สอง

สมการ (3) เป็นสมการเชิงอนุพันธ์ย่อยอันดับที่สอง

สำหรับในบทนี้ เราจะศึกษาเฉพาะสมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับที่หนึ่ง (first order


ordinary differential equation) อย่างง่ายเท่านั้น
137

ผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์

ผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ คือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามที่
ทำให้สมการเชิงอนุพันธ์นั้นเป็นจริง ตัวอย่างเช่น พิจารณาสมการ (1) ถ้าเราให้ y = ekt
จะเห็นว่าความสัมพันธ์นี้เป็นผลเฉลยของสมการ เนื่องจาก
dy
= kekt = ky
dt

นั่นคือ y = ekt ทำให้สมการ (1) เป็นจริง นอกจากนี้ จะเห็นว่า ถ้าให้ y = Cekt เมื่อ C
คือค่าคงตัวใด ๆ จะได้ว่า
dy
= k Cekt = ky
dt

แสดงว่า y = Cekt เป็นผลเฉลยของสมการ (1) เช่นกัน เราเรียกผลเฉลยที่ประกอบด้วยค่า


คงตัวใด ๆ นี้ว่า ผลเฉลยทั่วไป (general solution) ของสมการ

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเรามีเงื่อนไปเพิ่มเติมว่า y(0) = 100 นั่นคือ ประชากรเมื่อ t = 0


เท่ากับ 100 คน จากผลเฉลยทั่วไป y = Cekt จะได้ว่า

100 = Cek·0
C = 100

ดังนั้น จะได้ผลเฉลยของสมการเป็น y = 100ekt เราเรียกผลเฉลยที่ค่าคงตัว C ถูกแทนด้วย


ตัวเลขซึ่งได้จากเงื่อนไขเพิ่มเติมนี้ว่า ผลเฉลยเฉพาะราย (particular solution) ของสมการ
และในที่นี้ เรียกเงื่อนไข y(0) = 100 ว่าเงื่อนไขเริ่มต้น (initial condition) ของสมการ
เพราะเป็นเงื่อนไขที่บอกค่าเริ่มต้น (เมื่อ t = 0) ของตัวแปรตาม y

วิธีการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์มีมากมาย และมีความซับซ้อนหลายระดับ
ขึ้นอยู่กับประเภทของสมการ สำหรับในบทนี้ จะกล่าวถึงการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุ-
พันธ์สามัญอันดับที่หนึ่ง 2 ประเภท ได้แก่ สมการตัวแปรแยกกันได้ และสมการเชิงเส้น

7.1 สมการตัวแปรแยกกันได้

สมการตัวแปรแยกกันได้ (variable separable equation) คือสมการที่สามารถจัดให้


อยู่ในรูป

P (x)dx + Q(y)dy = 0 หรือ P (x)dx = −Q(y)dy

เมื่อ P (x) เป็นฟังก์ชันของ x และ Q(y) เป็นฟังก์ชันของ y ตัวอย่างเช่น


1 + x2 1
(i) dx + 2 dy = 0
x y
138

(ii) xy dx + dy = 0

สมการนี้เป็นสมการตัวแปรแยกกันได้ เนื่องจากสามารถจัดให้อยู่ในรูป
1
x dx + dy = 0
y
x
(iii) y ′ =
y
สมการนี้เป็นสมการตัวแปรแยกกันได้ เนื่องจากสามารถจัดรูปใหม่เป็น
dy x
=
dx y
ydy = xdx

การหาผลเฉลยทั่วไปของสมการตัวแปรแยกกันได้ สามารถทำได้ด้วยการหาปริพันธ์
โดยตลอด นั่นคือ ผลเฉลยของสมการจะอยู่ในรูป
∫ ∫ ∫ ∫
P (x)dx + Q(y)dy = C หรือ P (x)dx = − Q(y)dy

ตัวอย่าง 1 จงหาผลเฉลยทั่วไปของสมการต่อไปนี้
1 + x2 1
(i) dx + 2 dy = 0
x y

(ii) xy dx + dy = 0
139

x
(iii) y ′ =
y

ตัวอย่าง 2 จงหาผลเฉลยเฉพาะรายของสมการต่อไปนี้

dy (cos x)(sec y) π
(i) = เมื่อ y(0) =
dx 1 + sin x 2

dy
(ii) = 1 + x − y − xy; y(1) = 0
dx
140

แบบฝึกหัด 7.1

ข้อ 1 − 10 จงหาผลเฉลยทั่วไปของสมการเชิงอนุพันธ์ที่กำหนดให้

dy 2. y ′ + y sin x = 0
1. = y2
dx
1
3. xdy + (1 + x)(y + y 2 )dx = 0 4. dx + sec x dy = 0
ln y
dy dy
5. = 2 + 2y + x + xy 6. = y 2 + y 2 tan2 x
dx dx

ข้อ 7 − 8 จงหาผลเฉลยเฉพาะรายของสมการเชิงอนุพันธ์ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้

dy
7. = −(cos x)(csc y), y(0) = π 8. y ′ + y + 1 = 0, y(2) = 0
dx

9. กฎการเย็นตัวของนิวตัน (Newton’s Law of Cooling) กล่าวว่า

"อัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของวัตถุ ณ เวลาใดๆ แปรผันโดยตรง


กับความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของวัตถุและอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม"

นั่นคือ ถ้าให้ T เป็นอุณหภูมิของวัตถุ ณ เวลา t ใดๆ และให้ S คืออุณหภูมิของสิ่งแวด


ล้อม แล้วจะได้ว่า
dT
= k(T − S) เมื่อ k เป็นค่าคงตัว
dt

เจ้าหน้าที่ตำรวจพบศพชายผู้หนึ่งเสียชีวิตอยู่ในห้องปรับอากาศที่มีอุณหภูมิเท่ากับ 25◦ C
โดยไปถึงที่เกิดเหตุเวลา 24:00 น. วัดอุณหภูมิของศพ ณ เวลานั้นได้ 33◦ C เมื่อเวลา
ผ่านไปอีก 20 นาที วัดอุณหภูมิของศพได้เป็น 31◦ C ถ้าอุณหภูมิของร่างกายคนปกติเท่า
กับ 37◦ C จงใช้กฎการเย็นตัวของนิวตันเพื่อหาว่าชายผู้นี้เสียชีวิต ณ เวลาใด

You might also like