You are on page 1of 16

โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

กฎหมายคืออะไรเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอย่างไร

กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนมีกระบวนการบังคับใช้ในสังคมเป็นกิจจะลักษณะซึ่งถือเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้


ควบคุมความสงบเรียบร้อยของสังคม
หากจะจัดหมวดหมู่ของกฎหมายนั้นย่อมมีวิธีการแบ่งลักษณะของกฎหมายโดยใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน
ออกไปยกตัวอย่าง เช่น
1.แบ่งตามองค์กรผู้ออกกฎหมาย

❖ กฎหมายภายในประเทศ คือ ใช้บังคับภายในประเทศ


❖ กฎหมายระหว่างประเทศ คือ ใช้บังคับระหว่างประเทศต่างๆที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันและยอมรับใน
กฎเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าว
2.แบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชน

❖ กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้เกี่ยวกับรัฐ เช่น กฎหมายปกครอง เป็นต้น


❖ กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างเอกชนและเอกชนด้วยกัน เช่นกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์เป็นต้น
3.แบ่งตามสภาพบังคับ

❖ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ใช้บังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางแพ่ง โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แบ่งออกเป็น 6 บรรพ
บรรพ 1 บททั่วไป กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับบุคคลไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง
ทรัพย์ นิติกรรม ระยะเวลา รวมถึง อายุความ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่อธิบายหลักเกณฑ์ของสิ่งเหล่านั้นไว้
บรรพ 2 หนี้ กล่าวถึงวัตถุแห่งหนี้ ผลแห่งหนี้ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ การโอนสิทธิเรียกร้อง การระงับหนี้ การอธิบายถึง
สัญญาการก่อให้เกิดสัญญา ผลแห่งสัญญา อธิบายถึงมัดจำ และ เบี้ยปรับ รวมถึงการเลิกสัญญาและยังกล่าวถึง การจัดการ
งานนอกสั่ง ลามิควรได้ และละเมิด
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์
บรรพ 3 เอกเทศสัญญา กล่าวถึงประเภทของสัญญาต่างๆคือ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้าง
แรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืมฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอม
ยอมความ การพนันและขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน ห้างหุ้นส่วน-บริษัท และสมาคม
บรรพ 4 ทรัพย์สิน กล่าวถึงกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ภาระจำยอม อาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติด
พันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพ 5 ครอบครัว กล่าวถึง การสมรส บิดามารดากับบุตร ค่าเลี้ยงดูบุตร
บรรพ 6 มรดก กล่าวถึง สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก พินัยกรรม วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก มรดกที่ไม่มี
ผู้รับ และอายุความ
❖ กฎหมายอาญา มีสภาพบังคับตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิด
4.แบ่งตามเนื้อหาและการบังคับใช้

❖ กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง


และกล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด
กฎหมายสารบัญญัติทางอาญา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติต่างๆ ที่บัญญัติ
ความผิดทางอาญาและกำหนดโทษทางอาญาไว้
กฎหมายสารบัญญัติทางแพ่ง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่
บัญญัติถึงสิทธิของบุคคลในทางแพ่ง

❖ กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในคดีนั้น เช่น ในส่วนของกฎหมายแพ่งและ


พาณิชย์จะใช้วิธีการปฏิบัติทางคดีคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และในส่วนของกฎหมายอาญาจะ
ใช้วิธีการปฏิบัติทางคดีคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์
ลำดับชั้นของกฎหมาย
จะแบ่งตามลำดับที่สูงสุดไปสู่กฎหมายที่เล็กที่สุด และการบังคับใช้ก็มีผลแตกต่างกัน คือ กฎหมายที่เลิก
ที่สุด หรือมีสถานะต่ำที่สุดไม่สามารถออกข้อบังคับใดที่ขัด หรือ แย้งกับกฎหมายที่ มีลำดับสูงกว่าได้ หากฝ่าฝืน
กฎหมายหรือข้อบังคับที่ออกมาขัดหรือแย้งย่อมตกไป ไม่อาจใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่

➢ รัฐธรรมนูญ
➢ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
➢ พระราชบัญญัติ
➢ พระราชกำหนด
➢ พระราชกฤษฎีกา
➢ กฎกระทรวง
➢ ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

ธุรกิจและการประกอบธุรกิจ
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า "ธุรกิจ" ไว้ 2 ความหมายคือ
1. ธุรกิจ หมายถึง การงานประจำเกี่ยวกับอาชีพค้าขาย หรือกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการ
2. ธุรกิจ หมายถึง การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรม การบริหาร หรือกิจการ
อย่างอื่นเป็นการค้า
การทำธุรกิจหรือการประกอบการธุรกิจ จึงหมายถึง การดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิด การผลิต และ/หรือ
ก่อให้เกิดการบริการ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเกษตร การอุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรืออื่นๆ เพื่อมุ่งหวังให้เกิด กำไรจาก
การดำเนินกิจกรรมนั้นๆจึงถือว่าเป็นการประกอบการทางธุรกิจ
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

❖ กฎหมายการจัดองค์กรธุรกิจ หมายถึง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ


❖ กฎหมายการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ หมายถึง กฎหมายที่กับกำดูแลวิธีการประกอบธุรกิจขององค์กรธุรกิจ
ต่างๆ
❖ กฎหมายการควบคุมการประกอบธุรกิจ หมายถึง บทบังคับและบทลงโทษหากองค์กรธุรกิจ กระทำการผิ ด
หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
❖ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ หมายถึง กฎหมายที่ใช้บังคับการทำธุรกิจการค้าระหว่างคู่ค้าที่เป็นการติดต่อข้าม
ประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศมีกฎหมายกำหนดวิธีการบังคับทางกฎหมายที่แตกต่างกัน แต่เมื่อติดต่อระหว่าง
ประเทศย่อมต้องมีกฎหมายกลางในการบังคับใช้เพื่อมิให้การติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศเกิดความยุ่งยากเมื่อเกิด
ปัญหา และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นระหว่างประเทศด้วย

องค์กรธุรกิจ
หมายถึง หน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยมีวัตถุประสงค์แสวงหาผลกำไร โดยองค์กรธุรกิจนั้นมีทั้งที่เป็นองค์กร
ธุรกิจเอกชนและองค์กรธุรกิจที่เป็นภาครัฐ ซึ่งองค์กรธุรกิจที่เป็นภาครัฐจะถูกเรียกว่า “รัฐวิสาหกิจ” (State Enterprise)
โดยหลักแล้วองค์กรของภาครัฐมักมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการของประชาชน โดยรวมจัดตั้งขึ้นโดยไม่ได้มุ่งเน้นผลกำไร
แต่อย่างไรก็ตามองค์กรธุรกิจที่เป็นภาครัฐที่เรียกว่า “รัฐวิสาหกิจ”นั้นถูกตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไรและส่งเงิน
เป็นรายได้ให้แก่รัฐตามพระราชบัญญัติพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ 2551
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

องค์กรธุรกิจที่เรียกว่า “รัฐวิสาหกิจ”นั้นถือเป็นหน่วยงานที่รัฐเป็นผู้ลงทุนในกิจการและรัฐเป็นเจ้าของกิจการ
หรืออาจเป็นนิติบุคคลอื่นที่รัฐเข้าไปถือหุ้นเกินกว่าอัตราร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในกิจการนั้นๆ
ตัวอย่างขององค์กรรัฐวิสาหกิจ ได้แก่

➢ การเคหะแห่งชาติ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
➢ กรมทางพิเศษแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม
➢ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม
➢ ธนาคารออมสิน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
➢ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
➢ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
➢ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
➢ การไฟฟ้านครหลวง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย
➢ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย
➢ การรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม
➢ การท่าเรือแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม
➢ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม
➢ องค์การเภสัชกรรม อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข
➢ การยางแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
➢ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี
➢ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
➢ การประปานครหลวง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย
➢ การประปาส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

นิติกรรมและสัญญา
ในการดำเนินชีวิตของบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลย่อมมีการก่อนนิติสัมพันธ์กันในหลาย
รูปแบบ รวมถึงการทำสัญญาต่างๆโดยในการประกอบธุรกิจย่อมต้องมีการดำเนินการซึ่งจะต้องให้มีผลบังคับใช้เป็นไปตาม
กฎหมายเกี่ยวข้องกับนิติกรรมและสัญญา ดังนั้นในเรื่องของนิติกรรมสัญญาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการประกอบธุรกิจ
กฎหมายว่าด้วยนิติกรรมและสัญญาถือเป็นกฎหมายที่มีส่วนสำคัญและเป็นหลักในการประกอบธุรกิจโดย
บทบัญญัติในเรื่องของนิติกรรมและสัญญาอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นิติกรรม
นิติกรรม คือ การกระทำใดๆที่ลงมือโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งผลผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เพื่อก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ์
ดังนั้น นิติกรรมจึงเป็นการกระทำของบุคคลที่มีเจตนาให้มีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย
องค์ประกอบของนิติกรรม ได้แก่
1) เป็นการกระทำ
2) เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมีกฎหมายให้การรับรองการกระทำดังกล่าวไว้
3) ทำโดยใจสมัครมิได้ถูกบังคับขู่เข็ญให้กระทำสิ่งนั้น
4) กระทำโดยมุ่งให้เกิดผลในทางกฎหมาย
5) วัตถุประสงค์ในการกระทำนั้นเพื่อก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ์ของบุคคลตามกฎหมาย

การกระทำ
ต้องมีการแสดงเจตนาเพื่อที่จะทำให้ผู้อื่นทราบว่าผู้กระทำต้องการสิ่งใดโดยการแสดงเจตนานั้นแบ่งออกเป็น 3
ลักษณะคือ
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง คือการกระทำทางวาจาหรือกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร
การแสดงเจตนาโดยปริยาย คือ การแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้เข้าใจว่า ผู้กระทำประสงค์ที่จะ
กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำสัญญาซื้อขายกันและเคยส่งสินค้าหากัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ในการสั่งซื้อครั้งถัด
มาเมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าแล้ว รับทราบโดยปริยายว่า จะต้องส่งสินค้า ณ ที่ใด
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

การแสดงเจตนาโดยนิ่ง คือ การอยู่เฉยๆโดยปกติแล้วการนิ่งไม่ถือว่า เป็นการแสดงเจตนา เว้นแต่กฎหมาย


กำหนดไว้ตัวอย่างเช่น การต่ออายุสัญญาเช่า เมื่อกำหนดเวลาเช่าที่ได้ต กลงกันไว้นั้น สิ้นสุดลงและผู้เช่ายังคงครอบครอง
ทรัพย์สินอยู่โดยผู้ให้เช่ามิได้ทักท้วงและยินยอมรับเงินค่าเช่ากฎหมายให้ถือว่า คู่สัญญาได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มี
กำหนดระยะเวลา
หรือ การขายเผื่อชอบ คือ การซื้อขายโดยมีเงื่อนไขให้ผู้ซื้อตรวจดูทรัพย์สินได้ก่อน ถ้าผู้ซื้อมิได้บอกกล่าวว่าไม่
ยอมรับซื้อภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่ส่งทรัพย์สินคืนภายในกำหนดเวลากฎหมายให้การซื้อขายนั้นบริบูรณ์เท่ากับยอมรับ
ว่าให้การนิ่งเป็นการแสดงเจตนาเพื่อนิติกรรม
เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
คือ ไม่ขัดต่อกฎหมายและมิใช่เรื่องผิดกฎหมาย ทั้งนี้ การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อหลักความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชนหากนิติกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อกฎหมายจะทำให้นิติกรรมนั้นไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย เช่น การ
ซื้อขายหวยใต้ดิน เป็นการทำนิติกรรมที่กฎหมายไม่ได้ให้การรับรองและคุ้มครอง หากต่อมามีการผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่า
หวย หรือ ไม่ชำระค่าหวยที่ถูกรางวัลทั้งสองฝ่ายไม่สามารถฟ้องบังคับได้ตามกฎหมายเพราะ ถือเป็นการทำนิติกรรมที่ขัด
ต่อกฎหมายตั้งแต่แรก
ทำโดยใจสมัคร
คือ การกระทำที่ผู้ทำนิติกรรมต้องทำด้วยความเต็มใจ รู้สึกตัว มีสติ ไม่ได้ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ไม่ได้ถูกหลอกล่อหรือ
ทำให้เข้าใจผิด การแสดงเจตนานั้นจึงต้องตรงกับความรู้สึกนึกคิดของผู้แสดงเจตนา
กระทำโดยมุ่งที่จะผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
โดยจะก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างกัน ซึ่งบุคคลที่ผูกนิติสัมพันธ์กันนั้นอาจเป็น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
เช่น ทำสัญญาจ้างช่างแต่งหน้า โดยระบุว่า ต้องให้คู่สัญญาเท่านั้นคือ ผู้รับจ้างเป็นผู้แต่งหน้าให้กับผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างจะนำ
บุคคลอื่นบุคคลใดมาแต่งหน้าให้กับผู้ว่าจ้างมิได้ เพราะนิติกรรมนั้นต้องการผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น เป็นต้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ์
ก่อ หมายถึง การก่อสิทธิ ซึ่งการทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกัน เช่น นายเอทำสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์กับ
นายบี ดังนั้นนายเอมีสิทธิ์ที่จะได้รถจักรยานยนต์ ส่วนนายบีมีสิทธิ์ได้รับเงินค่ารถจักรยานยนต์จากนายเอ
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

เปลี่ยนแปลงสิทธิ์ หมายถึง การก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันและต่อมาจะเปลี่ยนแปลงสิทธิมีอยู่ต่อกันได้ เช่น


นายเอซื้อรถยนต์จากนายบี นายเอต้องการชำระราคาให้กับ นายบีเป็นเงินสดแต่ต่อมา นายเอเปลี่ยนเป็นนำทองคำไป
ชำระค่ารถยนต์แทนเงินสด เช่นนี้หมายความว่า สิทธิ์ที่นายบีจะได้รับเงินสดจะถูกเปลี่ยนมาเป็นสิทธิ์ที่จะได้รับชำระเป็น
อย่างอื่นแทนเงินสด
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสิทธิ์นั้นต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่ายจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ดังกล่าวได้
เว้ น แต่ ตกลงกั น ไว้ ในสั ญญาเฉพาะว่ า สามารถเปลี ่ ย นแปลงเป็ นทรั พ ย์ ส ิ นอย่ างอื ่ นที่ ม ี ราคาเท่ ากั นจึ งจะสามารถ
เปลี่ยนแปลงสิทธิ์ดังกล่าวได้
โอนสิทธิ์ หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์ไปให้บุคคลอื่นเช่น นายเอเป็นเจ้าของที่ดินต้องการยกที่ดินให้กับ นายบี
เท่ากับว่า สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของเดิมของนายเอจะหมดไปเพราะสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของนั้นถูกโอนให้กับ นายบีจึงทำให้
นายบีถือเป็นผู้มีสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวแทน แต่ทั้งนี้สำหรับเรื่องของที่ดินนั้นการโอนสิทธิ์นั้นต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
สงวนสิทธิ์ หมายถึง การรักษาสิทธิ์ไว้ใช้ประโยชน์ต่อไปเพื่อไม่ให้สิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นระงับไป เช่น นายเอ
ทำหนังสือยอมรับว่า เป็นหนี้นายบีซึ่งหนังสือดังกล่าวทำให้การฟ้องร้องคดีมีอายุความที่สะดุดหยุดลงทำให้สิทธิ์ในการ
ฟ้องร้องดำเนินคดีมีระยะเวลาที่ยาวขึ้นเพราะถูกนับระยะเวลาขึ้นใหม่ถือเป็นการสงวนสิทธิ์ไม่ให้คดีขาดอายุความเพื่อที่จะ
ฟ้องร้องคดีในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
ระงับสิทธิ์ หมายถึง การทำให้สิทธิ์ที่มีอยู่หมดไป เช่น นายเอเป็นหนี้นายบี ต่อมานายบีไม่ชำระหนี้ นายเอยกหนี้
ให้นายบี จึงเท่ากับว่านายเอระงับสิทธิ์ที่ตนมีจึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับให้บีชำระหนี้ได้อีก
ประเภทของนิติกรรม
ประเภทของนิติกรรมสามารถแบ่งออกได้หลายกรณีดังนี้
❖ นิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย
นิติกรรมฝ่ายเดียว คือ การแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายเดียวและให้มีผลสมบูรณ์และบังคับใช้ได้ตามกฎหมายเช่น
การให้ การทำพินัยกรรม เป็นต้น
นิติกรรมหลายฝ่าย คือ นิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปเช่นการซื้อขายการ
เช่าการจดจำนอง การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน เป็นต้น
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

❖ นิติกรรมที่มีผลระหว่างผู้ทำมีชีวิตอยู่และนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำเสียชีวิตแล้ว
นิติกรรมที่มีผลระหว่างผู้ทำมีชีวิตอยู่คือ นิติกรรมที่ก่อให้เกิดความผูกพันในขณะที่ผู้ทำมีชีวิตอยู่โดยทำแล้วมีผล
ทันทีเมื่อทำนิติกรรมเสร็จ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น

❖ นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำนิติกรรมเสียชีวิตแล้ว
คือ นิติกรรมที่เกิดขึ้นแต่ผลบังคับใช้จะยังไม่สามารถใช้ได้จนกว่าผู้ทำนิติกรรมเสียชีวิต เช่น พินัยกรรม เป็นต้น

❖ นิติกรรมที่มีค่าตอบแทนและนิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน
❖ นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลาและนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา
เงื่อนไข คือ การทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์และบังคับใช้ได้หรือระงับเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ
เงื่อนเวลา คือ การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดเอาไว้
เช่น นายเอขอกู้ยืมเงินนายบีโดยสัญญาว่าจะชำระเงินคืนให้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2566
ส่วนนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาหมายถึง นิติกรรมที่แสดงเจตนาแล้วมีผลสมบูรณ์ทันที
❖ นิติกรรมที่สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาและนิติกรรมที่ต้องทำตามแบบ
นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์โดยการแสดงเจตนา คือ การกระทำที่ผู้กระทำมีเจตนามุ่งให้เกิดผลทางกฎหมายโดยการ
แสดงเจตนาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้
นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบ คือ เป็นนิติกรรมที่มีกฎหมายกำหนดแบบแห่งการทำนิติกรรมไว้โดยเฉพาะ เช่น การ
ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายกำหนดแบบของนิติกรรมไว้ว่า จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอน
กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นที่สำนักงานที่ดินจึงทำให้แบบแห่งการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวสมบูรณ์
ตามกฎหมายหากไม่ได้ทำตามแบบถือว่าการซื้อขายนั้นตกเป็นโมฆะ
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

ความสมบูรณ์ในการทำนิติกรรม
ความสมบูรณ์ในการทำนิติกรรม หมายถึง สามารถบังคับใช้ได้โดยต้องพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1) ความสามารถในการทำนิติกรรม
2) วัตถุประสงค์ของนิติกรรม
3) แบบของนิติกรรม
4) การแสดงเจตนาในการทำนิติกรรม
ความสามารถในการทำนิติกรรม
ผู ้ ท ำนิ ต ิ ก รรมจะต้ อ งมี ค วามสามารถสมบู ร ณ์ ต ามกฎหมายไม่ ต กเป็ น ผู ้ ห ย่ อ นความสามารถโดยผู ้ ห ย่ อน
ความสามารถมีอยู่ 3 กรณีคือ
1 ผู้เยาว์
2 คนไร้ความสามารถ
3 คนเสมือนไร้ความสามารถ
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมสามารถแยกได้เป็น 3 กรณีคือ
ต้องไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ต้องไม่พ้นวิสัย คือสิ่งนั้นต้องสามารถเป็นจริงได้หากไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ถือว่าเป็นการพ้นวิสัย เช่นสัญญา
จ้างให้ไปซื้อพระอาทิตย์ที่อยู่บนท้องฟ้าทำสัญญาขายบ้านที่ถูกไฟไหม้ไปแล้วซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้
ต้องไม่ขัดต่อหลักความสงบหรือศีลธรรมอันดี คือ ไม่มีผลกระทบต่อความสงบสุขความมั่นคงความปลอดภัยและ
จริยธรรมของคนในสังคม เช่นจ่ายเงินให้พยานเพื่อไม่ให้พยานที่เห็นเหตุการณ์ที่ผู้จ่ายเงินกระทำการฆ่าบุคคลอื่นไปเป็น
พยานที่ศาล
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

แบบของนิติกรรมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

➢ แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ สัญญาเช่าซื้อ


➢ แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ทำพินัยกรรมแบบฝ่ายเมือง
➢ แบบที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด จดทะเบียนสมรส
➢ แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้กับนิติ กรรมที่
เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น สัญญาขายที่ดิน สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีระยะการเช่ากว่า 3 ปี
ขึ้นไป สัญญาขายฝาก สัญญาจำนอง เป็นต้น
การแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมจะถือว่า มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายขึ้นอยู่กับการแสดงเจตนาที่แท้จริงของ
ผู้กระทำนิติกรรมถ้าการแสดงเจตนาไม่ตรงกับสิ่งที่ประสงค์จะทำนิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
โมฆะ หมายถึงไม่มีผลนับตั้งแต่ทำนิติกรรม
โมฆียะ หมายถึงมีผลสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้างนิติกรรมนั้น
การแสดงเจตนาที่ไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริง เช่น
ความบกพร่องในการแสดงเจตนาที่มีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ

➢ การแสดงเจตนาซ่อนเร้น หมายความว่า แสดงเจตนาออกไปโดยไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง นิติ


กรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ ถ้าอีกฝ่ายไม่รู้ถึงความต้องการที่แท้จริง แต่หากอีกฝ่ายรู้ถึงความต้องการที่
แท้จริงการแสดงเจตนานั้นตกเป็นโมฆะ
➢ นิติกรรมอำพราง เป็นกรณีที่คู่กรณีทำนิติกรรม 2 นิติกรรมขึ้นไปนิติกรรมแรก เป็นนิติกรรมที่เปิดเผย
ให้คนทั่วไปรู้ซึ่งแท้จริงแล้ว คู่กรณีไม่ต้องการให้นิติกรรมนั้นมีผลผูกพันเป็นนิติกรรมที่ทำไปเพื่ออำ
พรางนิติกรรมหลัง ซึ่งหากถูกเปิดเผยนิติกรรมที่ทำอำพรางไว้จะตกเป็นโมฆะ
➢ สำคัญผิดในสาระสำคัญ เป็นการแสดงเจตนาธรรมนิติกรรมเพราะเข้าใจผิดโดยผู้ทำนิติกรรมต้องการ
ทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง แต่ไปทำนิติกรรมอีกอย่างหนึ่งเพราะเข้าใจผิดไม่ว่า จะสำคัญผิดในตัวบุคคล
หรือลักษณะของนิติกรรมหรือในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมซึ่งการสำคัญผิดนั้นเป็นผลให้นิติ
กรรมตกเป็นโมฆะ
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

ความบกพร่องในการแสดงเจตนาที่มีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ

➢ การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน ซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญที่อาจทำ
ให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะ
➢ การแสดงเจตนาเพราะถูกฉ้อฉล เป็นการแสดงเจตนาโดยถูกกลอุบายไม่ว่าจะเป็นการกล่าวเท็จหรือ
ปกปิดข้อเท็จจริงและทำให้หลงเชื่อจนยอมทำนิติกรรมนั้น
➢ การแสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่ เป็นการทำให้กลัวว่าจะเกิดภยันอันตรายแก่ตนเองหรือครอบครัวหรือ
ทรัพย์สินจึงยอมทำนิติกรรมนั้น
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

สัญญา
สัญญา ถือเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งโดยสัญญาจะเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปโดยฝ่าย
หนึ่งแสดงเจตนาเรียกว่าคำเสนออีกฝ่ายแสดงเจตนาตอบรับเรียกว่าคำสนองเมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันสัญญา
จึงจะเกิดขึ้น
สาระสำคัญของสัญญา พิจารณาดังต่อไปนี้
1.ต้องมีบุคคลที่เป็นคู่สัญญาตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสนออีกฝ่ายเป็นผู้สนองซึ่งคู่สัญญานั้นจะเป็น
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ หากเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวสัญญาย่อมไม่เกิดขึ้น
2. สัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อ มีการแสดงเจตนาถูกต้องตรงกัน กล่าวคือ สัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมี ผู้เสนอความ
ประสงค์ในการทำสัญญาโดยทำเป็นคำเสนอให้ชัดเจน ส่วนฝ่ายที่ได้รับคำเสนอจะต้องแสดงเจตนาตอบรับหรือเกิดคำ
สนองขึ้นอย่างชัดเจน
3. มีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการผูกพันในทางกฎหมาย กล่าวคือ ทั้งสองฝ่ายเจตนาที่จะทำสัญญาเพื่อให้มผี ล
ผูกพันและบังคับใช้ระหว่างกันได้กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะเกิดสิทธิอีกฝ่ายจะเกิดหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญานั้นๆ

คำเสนอและคำสนอง
คำเสนอ คือ การแสดงเจตนาขอทำสัญญาที่มีการระบุข้อความว่าอย่างชัดเจนซึ่งผู้ที่ได้รับคำเสนอดังกล่าวนั้นจะ
พิจารณาตามเงื่อนไขว่าหากเป็นไปตามที่ต้องการ ผู้รับคำเสนอนั้นจะทำคำสนองกลับไปเพื่อให้เกิดสัญญา
คำเสนอมีลักษณะดังต่อไปนี้
1 เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว
2 เป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง
3 การแสดงเจตนานั้นต้องมีความชัดเจน ถ้าข้อความนั้นไม่ชัดเจนอาจถือได้ว่าเป็นการเชิญชวนทาบทามเป็นต้น เช่น นาย
เอพูดกับนายบีว่า สนใจอยากซื้อนาฬิกาของตนเองหรือไม่เช่นนี้เป็นเพียงคำทาบทามและไม่ใช่คำเสนอ
หากเป็นคำเสนอต้องใช้คำว่า นายเอเสนอขายนาฬิกาให้กับนายบีราคา 3,000 บาทซึ่งราคา 3,000 บาทนี้
สามารถซื้อได้ภายในวันที่ 30 มกราคม 2566 เท่านั้น หากเลยระยะเวลาดังกล่าวราคานาฬิกาจะปรับขึ้นเป็น 3,500 บาท
คำเสนอจะสิ้นผลเมื่อใด
1. เมื่อมีการบอกบัตรคำเสนอโดยการบอกบัตรมี 2 ลักษณะคือ
ลักษณะที่ 1 การบอกปัดโดยสิ้นเชิง คือ การตอบปฏิเสธอย่างเด็ดขาด 2 การบอกปัดโดยมีเงื่อนไขคือ
เมื่อมีคำเสนอมาพูดถึงผู้สนองอาจมีข้อกำเนิดที่เป็นข้อจำกัดหรือเงื่อนไขเพิ่มกลับไปซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าเป็นคำ
เสนอใหม่
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

ลักษณะที่ 2 เมื่อไม่มีการตอบรับคำเสนอ เกิดขึ้นเมื่อ


 การทำคำเสนอต่อบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้าและถูกนิ่งเฉยไม่ตอบกลับคำเสนอย่อมสิ้นผลทันที
 ทำคำเสนอกับผู้ที่อยู่ห่างไกลโดยระยะทาง ถ้าผู้สนองไม่ได้ตอบกลับภายในเวลาทำให้คำเสนอ
นั้นสิ้นผลและหากระบุเวลาไว้และพ้นเวลาดังกล่าวต้องถือว่าคำเสนอถือเป็นอันสิ้นผลไป
 เมื่อผู้เสนอระบุไว้ในคำเสนอว่า ให้คำเสนอสิ้นผลผูกพันเมื่อผู้เสนอตายหรือตกเป็นคนไร้
ความสามารถ
คำสนอง คือ การตอบตกลงรับคำเสนอต่อผู้เสนอในการทำสัญญาเมื่อมีคำตอบรับคำเสนอคำสนองจะมีผลคือ
1. สัญญาเกิดขึ้นเมื่อคำสนองกลับไปถึงผู้เสนอก่อนที่คำเสนอนั้นจะสิ้นผล
2. เมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้นแล้วถ้ามีการถอนคำสนองจะถือเป็นการยกเลิกสัญญาโดยไม่มีเหตุที่จะเลิกได้ตาม
กฎหมาย
แต่ในกรณีสัญญาที่อยู่ห่างกันโดยระยะทางเมื่อคำสนองยังไปไม่ถึงผู้เสนอพูดสนองสามารถถอนการแสดงเจตนา
นั้นได้แต่การถอนต้องทำก่อนหรือพร้อมกับการแสดงเจตนาเป็นคำสนองนั้น
2. คำสนองไม่สิ้นความผูกพันเพราะผู้ที่สนองตายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

ประเภทของสัญญาแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน
สัญญาต่างตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกันกล่าวคือ มีหนี้สินที่ต้องชำระ
ตอบแทนซึ่งกัน และกันอันทำให้คู่สัญญาตกอยู่ในฐานะเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกันนั่นเองเช่น
นายแดงทำสัญญาซื้อพัดลมจากในเขียวในราคา 500 บาท ในแดงจึงมีหน้าที่ชำระเงินค่าพัดลมให้กับนายเขียว
ส่วนในเขียวมีหน้าที่ส่งมอบพัดลมให้กับนายแดง
สัญญาไม่ต่างตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาเพียงฝ่ายเดียวมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการส่วนอีกฝ่ายไม่มีหน้าทีต่ ้อง
ตอบแทนสิ่งใด เช่น
สัญญายืมโดยไม่มีค่าตอบแทนกล่าวคือ ไม่มีการคิดดอกเบี้ยผู้ยืมฝ่ายเดียวมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมคืนให้
ผู้ให้ยืมโดยที่ผู้ให้ยืมไม่มีหน้าที่หรือสิทธิใดๆที่จะได้รับจากผู้ที่ยืม
2. สัญญาณมีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
สัญญาณมีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะได้รับค่าตอบแทนจากอีกฝ่าย
สัญญาไม่มีค่าตอบแทน คือ ไม่ได้รับประโยชน์อื่นใดจากอีกฝ่าย
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

3.สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์
สัญญาประธาน คือ สัญญาที่เกิดขึ้นและมีผลผูกพันด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องอาศัยสัญญาอื่นมาประกอบ เช่น
สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม เป็นต้น
สัญญาอุปกรณ์ คือ สัญญาที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยลำพังจะต้องอาศัยความสมบูรณ์ของสัญญาประธานเช่น สัญญา
จำนอง สัญญาจำนำ สัญญาค้ำประกัน ถือเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น
4.สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก หมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาได้ตกลงทำขึ้นเพื่อให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น
คู่สัญญาได้รับประโยชน์ เช่น สัญญาประกันชีวิต เป็นต้น

การบอกเลิกสัญญาและผลของการเลิกสัญญา
การเลิกสัญญาคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ก็ต่อเมื่อ
1.การเลิกสัญญาตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา กล่าวคือ เมื่อมีการทำผิดเงื่อนไขใดขึ้นก็ตามที่ระบุไว้ใน
สัญญามีข้อสัญญาเขียนว่าให้ถือว่าสัญญานั้นเป็นอันระงับไป
2.การเลิกสัญญาตามบทบัญญัติของกฎหมายเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงสิทธิ์ในการบอกเลิกสัญญาตัวอย่าง
เช่น
เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควรและบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้น
ชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ถ้าฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 387

ผลของการบอกเลิกสัญญา
1. ทำให้คู่สัญญากลับคืนสูฐ่ านะเดิม
2. การเลิกสัญญานั้นจะไม่กระทบถึงสิทธิ์ของบุคคลภายนอก
3. ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นคู่สัญญาสามารถที่จะเรียกค่าเสียหายที่ตนได้รับจากการไม่ชำระหนี้ของอีกฝ่าย
หนึ่งก็ได้
4. การชำระหนี้อันเกิดจากการเลิกสัญญาให้เป็นไปตามหลักของสัญญาต่างตอบแทน
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
หัวข้อบรรยาย “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นักธุรกิจต้องรู้” โดยทนายพราวรวี ว่องไวทวีวงศ์

คำถาม
1. จงยกตัวอย่างการจัดหมวดหมูข่ องกฎหมายมา 1 วิธีพร้อมอธิบาย ( 3 คะแนน)
2. จงยกตัวอย่างองค์กรรัฐวิสาหกิจมา 5 องค์กร (2 คะแนน)
3. แบบของนิติกรรมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ( 3 คะแนน)
4. ผลของการเลิกสัญญามีอะไรบ้าง ( 2 คะแนน)

You might also like