You are on page 1of 3

วิเคราะห์ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะประชิด C-RAM

(COUNTER-ROCKET, ARTILLERY, MORTAR)


โดย น.อ.เอกประสิทธิ์ พรมทัณ นวจ.สวจ.ศวอ.ทอ.

๑. ที่มาของเทคโนโลยี
ระบบต่อต้านขีปนาวุธ C-RAM เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะประชิดของกองทัพสหรัฐอเมริกา
เป็น ระบบที่พัฒ นาต่อ ยอดมาจาก Phalanx CIWS (Close-in Weapon System) ซึ่งเป็น อาวุธ ต่อสู้ ร ะยะ
ประชิดที่ติดตั้งกับเรือรบของสหรัฐ โดยระบบนี้ได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้บนบกและสามารถป้องกันจรวด ปืน
ใหญ่ และกระสุนปืนครกได้ในรัศมี ๓ กม.

๒. คุณสมบัติของเทคโนโลยี
• เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศนี้แบบติดตั้งปืนกลยิงเร็วขนาด ๖ ลำกล้อง
• ควบคุมการยิงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ยิงได้เร็วที่สุด ๔,๕๐๐ นัดต่อนาที
• ค้นหาเป้าอย่างอัตโนมัติด้วยเรดาห์ Ku-Band
• รัศมีการยิง ๓.๖ กม.
• กระสุนที่ใช้เป็น M61A1 ขนาด ๒๐ มม.
• น้ำหนักชุดแท่นยิง ๕๘,๐๐๐ ปอด์น
• ขนาดของแท่นยิง ยาว ๖๕ ฟุต กว้าง ๑๒ ฟุต และสูง ๑๔ ฟุต
• ใช้พลยิงจำนวน ๔ นาย

• พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Raytheon Missile Systems, USA

๓. การนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละเหล่าทัพ
• ระบบป้องกันภัยระยะประชิดนี้ เดิม ติดตั้งบนเรือรบสหรัฐ จากนั้นได้ถูกพัฒนาเป็นระบบป้องกันภัย
ทางอากาศบนบก ที่สามารถติดตั้งบนรถบรรทุก Oshkosh HEMTT A3 Heavy Truck ได้
• ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะประชิด C-RAM นี้ ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในสนามรบอิรัก เมื่อปี ค.ศ.
๒๐๐๖ เพื่อทำหน้าที่ป้องกัน Green Zone ของฐานทัพสหรัฐในกรุงแบกแดด และมีประสิทธิภาพ
สามารถทำลายจรวด และกระสุนปืนใหญ่ที่ถูกยิงเข้ามาได้ถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์
• ระบบนี้ได้ถูกนำไปใช้ ประกอบเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศ Iron Dome ที่มีประสิทธิภาพสูง ใน
สงครามของอิสราเอลสู้รบกับ กลุ่มฮามาสและกลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์เมื่อปี ๒๐๑๔ โดยระบบ
ป้ อ งกั น ภั ย ทางอากาศนี้ ถู ก พั ฒ นาขึ ้ นโดยบริ ษ ัท ของอิ ส ราเอลคื อ Rafael Advanced Defense
Systems และ Israel Aerospace Industries โดยได้ ร ั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากสหรั ฐ ฯ และบริ ษั ท
Raytheon


๔. แหล่งที่มาของข้อมูล
• https://asc.army.mil/web/portfolio-item/ms-c-ram_lpws/
• https://mezha.media/en/2022/11/09/c-ram-protection-against-drones-missiles-and-
projectiles/
• https://www.armyrecognition.com
• https://iamd-coe.org/focus-areas/counter-rockets-artillery-and-mortars-cram/
• https://interestingengineering.com/innovation/c-ram-an-advanced-automated-point-
defense-gatling-gun
• https://www.bbc.com/thai/international-57130144
• https://www.thairath.co.th/content/306585
• https://thaiarmedforce.com/2021/05/15/how-iron-dome-work/
• https://thaiarmedforce.com/2020/12/18/rtaf-to-by-short-range-air-defense/
• https://apps.dtic.mil/sti/pdfs/ADA557876.pdf

๕. สรุป
ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะประชิด C-RAM นี้ เป็นระบบที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากในปัจจุบัน
เนื่องจากได้ผ่านการทดสอบในสนามรบจริงมาแล้วหลายครั้ง และแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่มีความแม่นยำ
สูง โดยประเทศที่เริ่มพัฒนาคือ สหรัฐอเมริกา และใช้ครั้งแรกในการติดตั้งบนเรือรบ จากนั้นได้ถูกพัฒนาให้
สามารถทำงานได้บนบกและเคลื่อนย้ายได้ด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่
ปัจจุบันประเทศที่มีร ะบบ C-RAM นี้ประจำการ คือ สหรัฐอเมริกา อิสราเอล อังกฤษ เยอรมันนี
ออสเตรเลีย ส่วนกองทัพไทยนั้นยังไม่มีเข้าประจำการ โดยมูลค่าของระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะประชิดนี้
นี้มีราคาต่อระบบประมาณ $10 - $15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ ๓๓๐ - ๕๐๐ ล้านบาท ขึ้นอยู่กับ
คุณสมบัติของระบบที่ต้องการ
สำหรับกองทัพอากาศมีโครงการจัดซื้อ ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ ในปี ๒๕๖๔ วงเงิน
งบประมาณ ๙๔๐ ล้านบาท ยังไม่แน่ชัดว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศจะเป็นจรวดหรือปืน โดยถ้าเป็นจรวด
คาดว่าตัวเลือกจะมี Spyder ของ Rafael ซึ่งสามารถใช้จรวด Python และ Derby ที่กองทัพอากาศมีใช้งาน
และ Force SHIELD ของ Thales ซึ่งเป็นระบบจรวด Starstreak ที่กองทัพบกมีใช้งานที่เชื่อมต่อกับเรดาร์
ควบคุมการยิง ส่วนถ้าเป็นระบบปืนก็อาจจะเป็น GDF-007 ของ Rheinmetall ซึ่งกองทัพบกพึ่งจัดหาเข้า
ประจำการเมื่อเร็วๆ นี้
สำหรับแนวทางพัฒนาต่อยอดในอนาคต ระบบอาวุธที่ใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง จะถูกพัฒนาและ
นำมาติดตั้งกับระบบป้องกันภัยทางอากาศ ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์เรื่องความแม่นยำ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน
การทำลายเป้าหมายเพียงหนึ่งเป้าหมาย (Cost per kill) ซึง่ จะประหยัดงบประมาณลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
การใช้กระสุนขนาด ๒๐ มม.

You might also like