You are on page 1of 148

กรมบังคับคดี

กระทรวงยุติธรรม

คู่มือติดต่อราชการ
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

สายด่วน กรมบังคับคดี
www.led.go.th
พิมพ์ครั้งที่ 5 : มิถุนายน 2565 จำ�นวน 26,500 เล่ม
คู่มือติดต่อราชการ
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2560 จำ�นวน 50,000 เล่ม พิมพ์ที่ หจก.อาร์ทิสทรี ดีไซด์


พิมพ์ครั้งที่ 2 : กันยายน 2561 จำ�นวน 20,000 เล่ม พิมพ์ที่ หจก.อาร์ทิสทรี ดีไซด์
พิมพ์ครั้งที่ 3 : สิงหาคม 2562 จำ�นวน 20,000 เล่ม พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พิมพ์ครั้งที่ 4 : กันยายน 2563 จำ�นวน 20,000 เล่ม พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พิมพ์ครั้งที่ 5 : มิถุนายน 2565 จำ�นวน 26,500 เล่ม พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560
กรมบังคับคดี
ประวัติความเป็นมา กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

สารบัญ หน้า
ประวัติความเป็นมากรมบังคับคดี 3
วิสัยทัศน์กรมบังคับคดี 7
พันธกิจกรมบังคับคดี 8
ค่านิยมร่วม 9
เป้าหมายการให้บริการ / ตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย 10
โครงสร้างกรมบังคับคดี 11
การแบ่งส่วนราชการในกรมบังคับคดี 13
อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี 14
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี 25
การบังคับคดีแพ่ง 29
การยึดทรัพย์สิน 36
การอายัดทรัพย์สิน 46
การจำ�หน่ายทรัพย์สิน 52
การบังคับคดีล้มละลาย 65
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 95
การวางทรัพย์ 105
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 7 113
สถานที่ติดต่อกองบังคับคดีล้มละลาย 115
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค 117

2
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ประวัติความเป็นมา กรมบังคับคดี

ประวัติความเป็นมา
กรมบังคับคดี

กรมบังคับคดี จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ
ของคณะปฏิ วั ติ ฉบั บ ที่ 216 ลงวั น ที่ 29 กั น ยายน 2515 (ฉบั บ ที่ 5)
พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ
เล่ม 91 ตอนที่ 200 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2517 ดังนั้น กรมบังคับคดี
จึงถือเอาวันที่ 28 พฤศจิกายน 2517 เป็นวันสถาปนากรมบังคับคดี
งานของกรมบั ง คั บ คดี มี ที่ ม าจากหน่ ว ยงานราชการระดั บ กอง
ในสำ � นั ก ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม 2 กอง คื อ กองบั ง คั บ คดี แ พ่ ง และ
กองบั ง คั บ คดี ล้ ม ละลาย จนกระทั่ ง ปี พ.ศ. 2517 สมั ย รั ฐ บาล
3
กรมบังคับคดี
ประวัติความเป็นมา กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ฯ พ ณ ฯ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ สั ญ ญ า ธ ร ร ม ศั ก ดิ์ เ ป็ น น า ย ก รั ฐ ม น ต รี
ท่ า นกิ ต ติ สี ห นนท์ เป็ น รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้ เ ห็ น
ความสำ � คั ญ ของทั้ ง 2 กองดั ง กล่ า ว ประกอบกั บ งานบั ง คั บ คดี แ พ่ ง
และงานบั ง คั บ คดี ล้ม ละลาย มี จำ� นวนเพิ่ม ขึ้น มาก หน่ ว ยงานที่ จั ด ตั้ ง ไว้
แต่ เ ดิ ม ไม่ เ หมาะสมกั บ งานที่ นั บ วั น แต่ จ ะทวี ป ริ ม าณมากขึ้ น ทุ ก ๆ ปี
นอกจากนี้ ก ระทรวงยุ ติ ธ รรมยั ง ประสงค์ ที่ จ ะขยายขอบเขตงาน
ของกองบังคับคดีแพ่งออกไปยังส่วนภูมิภาค รวมทั้งต้องการให้งานบังคับคดี
ล้ ม ล ะ ล า ย แ ล ะ ง า น ชำ � ร ะ บั ญ ชี ห้ า ง หุ้ น ส่ ว น บ ริ ษั ท ห รื อ นิ ติ บุ ค ค ล
ตามคำ � สั่ ง ศาลได้ ดำ � เนิ น การโดยเจ้ า หน้ า ที่ ผู้ มี ค วามรู้ ความสามารถ
และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพดี ยิ่ ง ขึ้ น รั ฐ บาลจึ ง ได้ อ อกพระราชบั ญ ญั ติ แ ก้ ไ ข
เพิ่ ม เติ ม ประกาศของคณะปฏิ วั ติ ฉบั บ ที่ 216 ลงวั น ที่ 29 กั น ยายน
พ.ศ. 2515 (ฉบั บ ที่ 5) พ.ศ.2517 ให้ ย กฐานะกองบั ง คั บ คดี แ พ่ ง และ
กองบั ง คั บ คดี ล้ ม ละลาย รวมจั ด ตั้ ง ขึ้ น เป็ น กรมบั ง คั บ คดี อ ยู่ ใ นสั ง กั ด

4
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ประวัติความเป็นมา กรมบังคับคดี

กระทรวงยุ ติ ธ รรม และได้ ต ราพระราชบั ญ ญั ติ โ อนกิ จ การบริ ห ารงาน


บางส่ ว นของสำ � นั ก งานปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม พ.ศ. 2517 โดยให้ โ อน
บรรดาอำ�นาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับกองบังคับคดีแพ่งและกองบังคับคดี
ล้ ม ละลาย รวมทั้ ง ให้ โ อนบรรดากิ จ การ ทรั พ ย์ สิ น หนี้ สิ น ข้ า ราชการ
ลูกจ้าง และงบประมาณของสำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เฉพาะส่วน
ที่ เ กี่ ย วกั บ กองบั ง คั บ คดี แ พ่ ง และกองบั ง คั บ คดี ล้ ม ละลาย ไปเป็ น ของ
กรมบังคับคดี และนอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ ได้แก่ สำ�นักงาน
วางทรั พ ย์ ก ลาง และงานอนุ ญ าโตตุ ล าการเพื่ อ ชี้ ข าดข้ อ พิ พ าทเกี่ ย วกั บ
การวางทรัพย์ภูมิภาคขึ้น รวม 9 ภาค กรมบังคับคดี จึงมีอำ�นาจหน้าที่
บังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ตลอดจนวางทรัพย์ทั่วประเทศ แล้วเริ่ม
ดำ�เนินการในฐานะเป็นกรมบังคับคดีนับแต่นั้นเป็นต้นมา

5
กรมบังคับคดี
วิสัยทัศน์กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

6
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม วิสัยทัศน์กรมบังคับคดี

วิสัยทัศน์ :
“บังคับคดีด้วยความเป็นธรรม
มุ่งสู่องค์กรชั้นนำ�ในระดับสากล
บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ”

vision :
“Enforcing judgment on just and equitable grounds,
heading towards world’s leading organization,
upholding high service quality”


กรมบั ง คั บ คดี มุ่ ง มั่ น ในการพั ฒ นากระบวนการบั ง คั บ คดี ใ ห้ เ ป็ น ไป
ตามมาตรฐาน บนพื้นฐานแนวคิดองค์กรแห่งความเป็นเลิศมีความทันสมัย
ทั้งในด้านกระบวนการบังคับคดี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านนวัตกรรม
การบริ ห ารจั ด การ รวมทั้ ง พั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค ลากรให้ มี ค วามเชี่ ย วชาญ
ในทุ ก สายงาน เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ ง รองรั บ และตามทั น กั บ กฎหมาย กฎ
ระเบียบ และสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
ในการปฏิบัติงาน ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม เพื่อเป็น
การอำ�นวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนให้ได้รับบริการได้อย่างเสมอภาค
และเท่าเทียมกัน

7
กรมบังคับคดี
พั
วิสนัยธกิ
ทัศจน์กรมบั
กรมบังคังคับบคดี
คดี กระทรวงยุติธรรม

พันธกิจ

1. ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการ
ของลูกหนี้ การชำ�ระบัญชี การวางทรัพย์และการไกล่เกลีย่ ภายหลังคำ�พิพากษา
อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เสมอภาค เป็นธรรมและตรวจสอบได้
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนางานบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำ�ระบัญชี การวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ย
ภายหลังคำ�พิพากษา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งพัฒนาระบบงาน
สนับสนุนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
3. พัฒนากฎหมาย ระเบียบ และคำ�สั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี
ให้ทันสมัยและเป็นมาตรฐานสากล
4. ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานและองค์การ
ระหว่างประเทศ เพื่อนำ�แนวปฏิบัติที่ดีในด้านการบังคับคดีมาพัฒนาการดำ�เนิน
งานบังคับคดีให้มีประสิทธิภาพ
5. พัฒนาองค์กรและระบบการบริหารจัดการให้มปี ระสิทธิภาพ โดยนำ�
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำ�เนินการ
6. พั ฒ นาบุ ค ลากรให้ มี ค วามรู้ ความสามารถและความเชี่ ย วชาญ
มีจิตสำ�นึกในการบริการอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และยึดหลักจรรยาบรรณ
วิชาชีพในการปฏิบัติงาน
7. พัฒนาเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือด้านการบังคับคดีกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8. เผยแพร่ความรูท้ างกฎหมายการบังคับคดี การวางทรัพย์ การไกล่เกลีย่
ภายหลังคำ�พิพากษา และกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง แก่ประชาชนได้เข้าใจอย่างทัว่ ถึง

8
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ค่าวินิสยัยมร่
ทัศวน์มกรมบั
กรมบังคับคดี

ค่านิยมร่วม

“I AM LED”
I คือ Integrity มีความซื่อสัตย์
A คือ Accountability มีความรับผิดชอบ
M คือ Management การบริหารจัดการ
L คือ Learning การเรียนรู้ตลอดเวลา
E คือ Excellence มีความเป็นเลิศ
D คือ Digital การใช้เทคโนโลยี

9
กรมบังคับคดี
เป้
วิสาัยหมายการให้
ทัศน์กรมบังบคัริบกคดี
าร / ตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย กระทรวงยุติธรรม

เป้าหมายการให้บริการ
“ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย
ได้รับบริการด้านการบังคับคดี
การไกล่เกลี่ย และการวางทรัพย์
อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม”

ตัวชี้วัด / ค่าเป้าหมาย

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : มูลค่าทรัพย์สินที่ผลักดันออกจาก
กระบวนการบังคับคดี
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ร้อยละความพึงพอใจ/ความเชื่อมั่น
ในการเข้ารับบริการของประชาชน
และผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อกระบวนการ
บังคับคดี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
และการวางทรัพย์

10
กรมบังคับคดี

กลุมตรวจสอบภายใน กลุมพัฒนาระบบบริหาร
กระทรวงยุติธรรม

ศูนยไกลเกลี่ยขอพิพาท กลุมงานจริยธรรม

สถาบันพัฒนาการบังคับคดี

สำนักงานเลขานุการกรม กองติดตามและเฉลี่ยทรัพยสิน
ในคดีลมละลาย

11
ศูนยเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร
โครงสร้าง / ผัวิงสการแบ่

หนวยงานสนับสนุนขึ้นตรง
ัยทัศน์งกส่รมบั

หนวยงานจัดตั้งภายในขึ้นตรง
หนวยงานสนับสนุน
หนวยงานหลัก
งคับคดี
วนราชการ

หนวยงานจัดตั้งภายใน
กรมบังคับคดี
การแบ่งส่วนราชการในกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

12
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม อำ�การแบ่
นาจหน้งาส่ทีว่หนราชการในกรมบั
น่วยงานในกรมบังคับคดี

การแบ่งส่วนราชการ
ในกรมบังคับคดี
ส่วนกลาง
1. สำ�นักงานเลขานุการกรม
2. กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
3. - 8. กองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 6
9. กองบริหารการคลัง
10. กองบริหารทรัพยากรบุคคล
11. กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์
12.- 18. สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 7
19. กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
20. กลุ่มตรวจสอบภายใน
21. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
22. กลุ่มงานจริยธรรม
23. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
24. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
25. สถาบันพัฒนาการบังคับคดี
26. กองนโยบายและแผน
27. สำ�นักงานบังคับทางปกครอง
ส่วนภูมิภาค
28. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัด
สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ 111 แห่ง
13
กรมบังคับคดี
อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

อำ�นาจหน้าที่หน่วยงาน
ในกรมบังคับคดี
ส่วนกลาง

1. สำ�นักงานเลขานุการกรม
มี อำ � นาจและหน้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ การปฏิ บั ติ ร าชการทั่ ว ไปของกรม และ
ราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
หน้าที่และอำ�นาจดังกล่าวให้รวมถึง
ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม
รั บ เรื่ิ อ งร้ อ งเรี ย นหรื อ เรื่ อ งราวร้ อ งทุ ก ข์ จ ากประชาชนและ
หน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการขอความเป็นธรรม และการขอความช่วยเหลือ
จากกรมในเรื่องการปฏิบัติงานตามภารกิจของกรม
ดำ�เนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำ�นวยการและงานเลขานุการของกรม
ประสานราชการ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรม ความรู้
ความก้าวหน้า และผลงานของกรม
ดำ � เนิ น การเกี่ ย วกั บ การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล สภาพของทรั พ ย์ ที่ ถู ก ยึ ด
คำ�คู่ความ หนังสือ หรือประกาศ และการเก็บสำ�นวนในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย
คดี ฟื้ น ฟู กิ จ การของลู ก หนี้ คดี ชำ � ระบั ญ ชี ตามคำ � สั่ ง ศาล และเอกสาร
ดำ�เนินงานทั่วไป รวมทั้งการรักษาทรัพย์
14
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี

รับคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ หมายศาล คำ�พิพากษา และเอกสารอื่นๆ


ในคดี ล้ ม ละลาย รวมทั้ ง รั บ หมายบั ง คั บ คดี แ ทนสำ � นั ก งานบั ง คั บ คดี แ พ่ ง
กรุงเทพมหานครตามที่ร้องขอ
ดำ�เนินการตรวจสอบและรับรองข้อมูลบุคคลล้มละลาย
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

2. กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ติดตามและรวบรวมทรัพย์สิน รวมทั้งตรวจสอบข้อมูล เอกสาร
และหลักฐานทางการเงินต่างๆ ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมาย
ว่าด้วยล้มละลาย

15
กรมบังคับคดี
อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

คำ�นวณเงินตามคำ�สั่งและคำ�ร้องในสำ�นวนคดี
จัดการสะสางกิจการและติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
จั ด ทำ � บั ญ ชี แ บ่ ง ทรั พ ย์ สิ น ในการบั ง คั บ คดี ล้ ม ละลายและการ
ชำ�ระบัญชีตามคำ�สั่งศาล
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

3. - 8. กองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 6
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วย
ล้มละลาย

16
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี

ดำ�เนินการชำ�ระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลในฐานะ


ผู้ชำ�ระบัญชีตามคำ�สั่งศาล
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

9. กองบริหารการคลัง
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ
อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
จัดทำ�บัญชีเพื่อควบคุมเงินที่อยู่ระหว่างดำ�เนินการบังคับคดีและ
เงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

10. กองบริหารทรัพยากรบุคคล
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
บริหารงานทรัพยากรบุคคลและจัดระบบงานของกรม
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

11. กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ศึ ก ษา พั ฒ นา และวิ จั ย ระบบและรู ป แบบการบั ง คั บ คดี แ พ่ ง
การบังคับคดีลม้ ละลาย การฟืน้ ฟูกจิ การของลูกหนี้ การวางทรัพย์ การติดตาม

17
กรมบังคับคดี
อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

และเฉลี่ยทรัพย์ และการประเมินราคาทรัพย์สิน และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท


ชั้นบังคับคดี
ดำ�เนินการเกีย่ วกับการประเมินราคาทรัพย์สนิ และปฏิบตั งิ านในฐานะ
ฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการกำ�หนดราคาทรัพย์
ประสานและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในด้านการบังคับคดี
กับองค์การหรือพนักงานต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศในด้าน
การบังคับคดี
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการอบรมให้ความรู้ด้านการบังคับคดี และการ
ดำ�เนินงานด้านต่าง ๆ ของกรมแก่เครือข่ายวิทยากรตัวคูณ
ดำ�เนินการเกีย่ วกับงานกฎหมายและระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง งานนิตกิ รรม
และสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง
และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำ�นาจหน้าที่ของกรม
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

12. - 18. สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 7


มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ดำ � เนิ น การเกี่ ย วกั บ การบั ง คั บ คดี แ พ่ ง และการวางทรั พ ย์
ในกรุงเทพมหานคร
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี
ปฏิบัติการร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

18
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี

19. กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ดำ�เนินการฟืน้ ฟูกจิ การของลูกหนีต้ ามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

20. กลุ่มตรวจสอบภายใน
ทำ�หน้าทีห่ ลักในการตรวจสอบการดำ�เนินงานภายในกรม และสนับสนุน
การปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำ�นาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และ
การบัญชีของกรม
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

21. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
ทำ � หน้ า ที่ ห ลั ก ในการพั ฒ นาการบริ ห ารของกรมให้ เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์
มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำ�นาจ
หน้าที่ ดังต่อไปนี้
เสนอแนะและให้ค�ำ ปรึกษาแก่อธิบดี เกีย่ วกับยุทธศาสตร์การพัฒนา
ระบบราชการภายในกรม
ติดตาม ประเมินผล และจัดทำ�รายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ
ราชการภายในกรม

19
กรมบังคับคดี
อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ประสานและดำ�เนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับ
หน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

22. กลุ่มงานจริยธรรม
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ดำ � เนิ น การเผยแพร่ ปลู ก ฝั ง ส่ ง เสริ ม ยกย่ อ งข้ า ราชการ
ที่เป็นแบบอย่างที่ดีและติดตามสอดส่องการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
ข้าราชการพลเรือนอย่างสมํ่าเสมอ
สืบสวนข้อเท็จจริงการฝ่าฝืนจริยธรรมเพื่อรายงานผลให้อธิบดี
พิจารณา ทัง้ นี้ โดยอาจมีผรู้ อ้ งเรียน หรืออาจดำ�เนินการตามทีอ่ ธิบดีมอบหมาย
หรือตามที่เห็นสมควรก็ได้
ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ และดู แ ลข้ า ราชการซึ่ ง ปฏิ บั ติ ต ามประมวล
จริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างตรงไปตรงมา มิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูก
ใช้อำ�นาจโดยไม่เป็นธรรม
ทำ � หน้ า ที่ ฝ่ า ยเลขานุ ก ารของคณะกรรมการจริ ย ธรรมประจำ �
ส่วนราชการ
ดำ � เนิ น การอื่ น ตามที่ กำ � หนดในประมวลจริ ย ธรรมข้ า ราชการ
20
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี

พลเรือน หรือตามที่หัวหน้าส่วนราชการคณะกรรมการจริยธรรม หรือตาม


ที่ ก.พ. มอบหมาย ทั้งนี้ โดยไม่กระทบต่อความเป็นอิสระของผู้ดำ�รงตำ�แหน่ง
ในกลุ่มงานดังกล่าว

23. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ดำ � เนิ น การเกี่ ย วกั บ คดี ไ กล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าท ภายหลั ง จากศาล
มีคำ�พิพากษาทั้งก่อนและระหว่างการดำ�เนินการบังคับคดี
ติดตามและประเมินผลการไกล่เกลี่ยและจัดเก็บสถิติลักษณะของ
การเจรจาที่สัมฤทธิ์ผล จัดทำ�เป็นองค์ความรู้ในการดำ�เนินการ
จัดอบรมผู้ทำ�หน้าที่ไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดอบรม
เผยแพร่ ใ ห้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ การไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าทในชั้ น บั ง คั บ คดี ใ ห้ แ ก่
ประชาชน
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

24. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำ�แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของกรม
พัฒนา ออกแบบ และจัดวางระบบฐานข้อมูล ระบบการเชื่อมโยง
ข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูล
ในด้านต่าง ๆ ของกรม
วางแผนและพั ฒ นาระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศของกรม
เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการสารสนเทศและให้บริการแก่ประชาชน
กำ�กับ ดูแล และตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐาน
21
กรมบังคับคดี
อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ข้อมูลสารสนเทศของกรมรวมทั้งกำ�หนดแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัย
ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ให้คำ�ปรึกษา แนะนำ� และสนับสนุนทางวิชาการเกี่ยวกับระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่หน่วยงานภายในกรม
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

25. สถาบันพัฒนาการบังคับคดี มีหน้าทีแ่ ละอำ�นาจ
ดังต่อไปนี้
เสนอแนะนโยบายการพั ฒ นาข้ า ราชการของกรมบั ง คั บ คดี
การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนสนับสนุนและประสาน
งานการจัดทำ�แผนปฏิบัติการ
การพัฒนาบุคลากร
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการจัดอบรม พัฒนาบุคลากรกรมบังคับคดี
ให้มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน
ดำ�เนินการอบรมบุคคลภายนอกให้มีความรู้ความเข้าใจในภารกิจ
ของกรมบังคับคดี และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึ ก ษา วิ เ คราะห์ เพื่ อ พั ฒ นาหลั ก สู ต รการพั ฒ นาบุ ค ลากร
บริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ และนโยบายของกรมบังคับคดี
รวมทั้งติดตามประเมินผล
การฝึกอบรมและพัฒนา
ผลิตและเก็บรักษาเอกสาร คำ�บรรยาย หนังสือที่ใช้ในการฝึกอบรม
และประชุมสัมมนา
ดำ�เนินการจัดทำ�คำ�ของบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ
ในด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมบังคับคดี
จั ด ทำ � ฐานข้ อ มู ล วิ ท ยากร ฐานข้ อ มู ล การพั ฒ นาบุ ค ลากรของ
กรมบังคับคดี รวมทั้งการสรุป ประเมินผล และรายงานผลการดำ�เนินงาน
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่
เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
22
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม อำ�นาจหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี

26. กองนโยบายและและแผน มีหน้าทีแ่ ละอำ�นาจ


ดังต่อไปนี้
เสนอแนะการกำ�หนดนโยบาย รวมทั้งจัดทำ�แผนและประสาน
แผนการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์
กระทรวง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล รวมถึงแผน
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกรมบังคับคดี
ศึกษา วิเคราะห์ และดำ�เนินการจัดทำ�คำ�ขอตั้งงบประมาณประจำ�ปี
และจั ด สรรงบประมาณประจำ � ปี ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ยุ ท ธศาสตร์ นโยบาย
และแผนงานของกรม
จัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์สถิติข้อมูลของกรม เพื่อเป็นฐาน
ข้อมูลในการเผยแพร่และอ้างอิงไปใช้ประโยชน์ รวมทัง้ การให้บริการข้อมูลสถิติ
ในด้านต่าง ๆ ของกรม
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการ
ของหน่วยงานในสังกัดกรม
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่
เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

27. ส�ำ นักงานบังคับทางปกครอง มีหน้าทีแ่ ละอำ�นาจ
ดังต่อไปนี้
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินตามหมายบังคับคดีเพื่อบังคับ
ให้เป็นไปตามคำ�สั่งทางปกครอง
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีเพื่อบังคับ
ให้เป็นไปตามคำ�สั่งทางปกครอง
ดำ � เนิ น การเกี่ ย วกั บ การจำ � หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น ที่ ยึ ด มาโดยวิ ธี ก าร
ขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นตามคำ�สั่งศาล

23
กรมบังคับคดี
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ดำ�เนินการเกี่ยวกับการจัดทำ�บัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย และ
บัญชีส่วนเฉลี่ยเพื่อจ่ายให้ผู้มีส่วนได้เสียในคดี
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงินในคดี การบังคับทางปกครอง
และจัดทำ�บัญชีเพื่อควบคุมการเงินที่อยู่ระหว่างดำ�เนินการบังคับคดีและ
เงินที่เกี่ยวข้องในคดี
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป งานธุรการ งานธุรการคดี
งานสารบรรณ งานรับส่งหนังสือ งานวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์
แผนงานโครงการ งานบุคลากร งานพัสดุทั่วไป งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
งานเดิ น หมายและประกาศ และจั ด ทำ � รายงานการติ ด ตามประเมิ น ผล
ตามตัวชี้วัดต่าง ๆ
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนภูมิภาค

28. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัด / สาขา
มีอำ�นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ในจังหวัด
ดำ�เนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

24
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

การไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
หมายถึง วิธีการระงับหรือยุติข้อพิพาท โดยมีบุคคลที่สาม เรียกว่า

“ผู้ไกล่เกลี่ย” ทำ�หน้าที่ในการช่วยเหลือเสนอแนะแนวทางและเป็นสื่อกลาง
เพื่อให้คู่กรณีหาทางออกของข้อพิพาทร่วมกัน โดยที่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำ�นาจ
ในการกำ�หนดข้อตกลงให้แก่คู่กรณี การจะตกลงหรือไม่เป็นการตัดสินใจ
ของคู่กรณีเอง

ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี
1. รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก
2. ไม่เสียค่าใช้จ่าย
3. ผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นคนกลาง มีความรู้ความสามารถ
4. เป็นความยินยอมของคู่ความในการตกลงกัน เหมาะสมกับทุกฝ่าย
5. ทำ�ให้ไม่ต้องมีการบังคับคดี
6. มี ค วามยื ด หยุ่ น เนื่ อ งจากคู่ ก รณี ส ามารถเลื อ กใช้ ก ารไกล่ เ กลี่ ย
ข้อพิพาทในบางประเด็นหรือทั้งหมดก็ได้
7. รักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ หรือก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาว
25
กรมบังคับคดี
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี
ขั้นตอนที่ 1 คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดียื่นคำ�ร้องขอไกล่เกลี่ย
ขั้นตอนที่ 2 เจ้าพนักงานผูร้ บั คำ�ร้องอธิบายขัน้ ตอนวิธกี ารไกล่เกลีย่ ให้ค�ำ แนะนำ�
เบื้องต้นให้กับผู้ร้อง
ขั้นตอนที่ 3 กำ�หนดวันนัดไกล่เกลี่ย
ขั้นตอนที่ 4 หนังสือแจ้งวันเวลานัดไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีทราบ
ขั้นตอนที่ 5 ทำ�การไกล่เกลี่ยตามกำ�หนดนัด

26
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

เอกสารประกอบการยื่นคำ�ร้องขอไกล่เกลี่ย
คำ�ร้องขอไกล่เกลี่ย
สำ�เนาบัตรประจำ�ตัวประชาชน
หนังสือมอบอำ�นาจ พร้อมสำ�เนาบัตรประชาชนของผูม้ อบอำ�นาจ
และผู้รับมอบอำ�นาจ (กรณียื่นแทนผู้อื่น)
สำ�เนาคำ�พิพากษา หรือหมายบังคับคดี
เอกสารประกอบอื่ น ๆ (หากมี ) เช่ น สำ � เนารายงานการยึ ด
หรืออายัดทรัพย์ ประกาศขับไล่ ประกาศขายทอดตลาด ฯลฯ

ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี
มี ห น้ า ที่ ใ นการดำ � เนิ น การไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าทภายหลั ง จากที่ ศ าล
มีคำ�พิพากษาแล้วทั้งก่อนและระหว่างการบังคับคดี
ส่วนกลาง
มีที่ทำ�การ ณ ชั้น 2 อาคาร 25 ปี กรมบังคับคดี ถนนบางขุนนนท์
แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2881 4816, 0 2887 5072
ส่วนภูมิภาค สามารถติดต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำ�สำ�นักงาน
บังคับคดีจังหวัดทั่วประเทศ

27
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

28
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

การบังคับคดีแพ่ง
หมายบังคับคดี
หมายบังคับคดี คือ คำ�สั่งของศาลที่ตั้งเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดี
หรื อ พนั ก งานอื่ น เป็ น เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี เ พื่ อ ดำ � เนิ น การบั ง คั บ คดี ใ ห้ เ ป็ น ไป
ตามคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่ง หมายบังคับคดีแตกต่างจากคำ�บังคับ คำ�บังคับเป็น
คำ � สั่ ง ศาลถึ ง ตั ว ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาให้ ป ฏิ บั ติ ต ามคำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง
ส่ ว นหมายบั ง คั บ คดี เ ป็ น คำ � สั่ ง ของศาลที่ มี ไ ปถึ ง เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ให้ดำ�เนินการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา คำ�บังคับกับหมายบังคับคดี
เป็ น ขั้ น ตอนการบั ง คั บ คดี ที่ ก ฎหมายกำ � หนดไว้ เ ป็ น ลำ � ดั บ กล่ า วคื อ เมื่ อ ศาล
พิ พ ากษาแล้ ว ศาลก็ จ ะต้ อ งออกคำ � บั ง คั บ กำ � หนดระยะเวลาให้ ลู ก หนี้ ต าม
คำ�พิพากษา ปฏิบัติตามคำ�พิพากษา และเมื่อลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาไม่ปฏิบัติ
ตามคำ � บั ง คั บ ศาลจึ ง จะออกหมายบั ง คั บ คดี เ พื่ อ ดำ � เนิ น การบั ง คั บ คดี ต่ อ ไป
เว้ น แต่ เ ป็ น กรณี ที่ ศ าลมี คำ � พิ พ ากษาตามสั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความ
เมื่อลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาผิดนัดชำ�ระหนี้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว
เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาสามารถขอศาลออกหมายบั ง คั บ คดี ไ ด้ โดยไม่ จำ � ต้ อ ง
ขอออกคำ�บังคับก่อน
29
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

เหตุที่ต้องขอให้มีการบังคับคดี
เมือ่ ศาลมีค�ำ พิพากษาหรือคำ�สัง่ แล้ว ถ้าผูแ้ พ้คดีหรือลูกหนีต้ ามคำ�พิพากษา
ปฏิบัติตามคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่ง เช่น ชำ�ระหนี้ตามคำ�พิพากษา ออกไปจาก
ที่พิพาท กรณีมีการฟ้องขับไล่ งดเว้นการกระทำ�ตามคำ�พิพากษาก็ไม่จำ�ต้อง
มี ก ารบั ง คั บ คดี แต่ ถ้ า ผู้ แ พ้ ค ดี ห รื อ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาไม่ ป ฏิ บั ติ ต าม
คำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง ไม่ ว่ า ทั้ ง หมดหรื อ บางส่ ว นจึ ง ต้ อ งมี ก ารบั ง คั บ คดี
ดั ง นั้ น การบั ง คั บ คดี ต ามคำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง จึ ง เป็ น วิ ธี ก ารเพื่ อ ให้ มี
การปฏิบัติตามคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งของศาล ในกรณีที่ผู้แพ้คดีหรือลูกหนี้
ตามคำ�พิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่ง ทั้งนี้ เพื่อให้คำ�พิพากษา
หรือคำ�สั่งของศาลเป็นผลให้ผู้ชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาได้รับสิทธิ
ตามคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่ง ซึ่งการบังคับคดีจะกระทำ�นอกเหนือหรือผิดไป
จากคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งมิได้ หากมีการบังคับนอกเหนือไปจากคำ�พิพากษา
หรือคำ�สั่ง ศาลอาจมีคำ�สั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีที่ได้ดำ�เนินการไปแล้วได้

การออกหมายบังคับคดี
เนื่ อ งจากหนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาเป็ น หนี้ ที่ ศ าลรั บ รองและรั บ จะบั ง คั บ ให้
แต่ ก ารดำ � เนิ น การบั ง คั บ คดี เ ป็ น สิ ท ธิ ข องเจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา ดั ง นั้ น
ตามประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง มาตรา 275 จึ ง บั ญ ญั ติ ใ ห้ เ ป็ น
หน้าที่ของเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาที่ต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ซึ่งหากเจ้าหนี้
ตามคำ � พิ พ ากษาไม่ ข อศาลก็ จ ะไม่ อ อกหมายบั ง คั บ คดี ใ ห้ ร ะหว่ า งที่ ศ าลยั ง มิ ไ ด้
กำ�หนดวิธีการบังคับคดี ถ้ามีเหตุจำ�เป็นเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาจะยื่นคำ�ขอคุ้มครอง
ประโยชน์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้อาจยื่นคำ�ขอต่อศาลให้ยกเลิกได้เช่นกัน
30
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

เจ้าพนักงานบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14) “เจ้าพนักงาน
บังคับคดี” หมายถึง เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่น ผู้มีอำ�นาจ
ตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายที่ ใช้ อ ยู่ ใ นอั น ที่ จ ะปฏิ บั ติ ต ามวิ ธี ก ารที่ บั ญ ญั ติ
ไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่าง
พิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำ�พิพากษา หรือคำ�สั่งและให้หมายความรวมถึง
บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน
ในการบังคับคดีที่ต้องมีการดำ�เนินการโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาล
ซึ่งออกหมายบังคับคดี ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี หรือ
เจ้าพนักงานบังคับคดี สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่เขตอำ�นาจ
ของศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อจัดการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้
ตามคำ�พิพากษาหรือทำ�การอื่นใดโดยอำ�นาจและหน้าที่ตามกฎหมาย
1. ส่ ว นกลาง กรมบั ง คั บ คดี ไ ด้ มี ก ารจั ด ตั้ ง สำ � นั ก งานบั ง คั บ คดี แ พ่ ง
กรุงเทพมหานคร 1 ถึง 7 โดยมีการแบ่งเขตดำ�เนินการบังคับคดีตามเขตอำ�นาจ
ของศาล ดังนี้
1.1 สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ดำ�เนินการบังคับคดี
ในเขตอำ�นาจของศาลแพ่ง, ศาลอาญา, ศาลแขวงพระนครเหนือ,
ศาลภาษีอากรกลาง
1.2 สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2 ดำ�เนินการบังคับคดี
ในเขตอำ�นาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้, ศาลแขวงพระนครใต้,
ศาลแขวงปทุมวัน, ศาลแรงงานกลาง, ศาลอาญากรุงเทพใต้

31
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

1.3 สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 3 ดำ�เนินการบังคับคดี


ในเขตอำ�นาจของศาลจังหวัดมีนบุรี
1.4 สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4 ดำ�เนินการบังคับคดี
ในเขตอำ�นาจของศาลจังหวัดตลิง่ ชัน, ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง,
ศาลแขวงตลิ่งชัน, ศาลแขวงดุสิต
1.5 สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 5 ดำ�เนินการในเขต
อำ�นาจของศาลจังหวัดพระโขนง ศาลแขวงพระโขนง
1.6 สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 6 ดำ�เนินการในเขต
อำ�นาจของศาลแพ่งธนบุรี,ศาลแขวงธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี
1.7 สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 7 ดำ�เนินการบังคับคดี
ในเขตอำ � นาจของศาลแขวงดอนเมื อ ง และศาลทรั พ ย์ สิ น
ทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ
2. ส่วนภูมิภาค มีการแบ่งเขตเป็นสำ�นักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขา
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี อำ � นาจบั ง คั บ คดี ต ามเขตอำ � นาจของศาลที่ สำ � นั ก งาน
บังคับคดีนั้นตั้งอยู่

บทบาทของเจ้าพนักงานบังคับคดี
1. บทบาทในฐานะผู้ แ ทนเจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา ในการรั บ ชำ � ระหนี้
หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำ�มาวางชำ�ระหนี้
2. บทบาทในฐานะเป็นเจ้าพนักงานศาล ในการดำ�เนินการบังคับคดีให้เป็น
ไปตามที่ศาลกำ�หนด
ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278, 279
32
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

อำ�นาจหน้าทีโ่ ดยทัว่ ไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี


อำ�นาจหน้าที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จากบทวิเคราะห์ศพั ท์ ประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง มาตรา 1 (14)
อำ�นาจหน้าที่ทั่ว ๆ ไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีอยู่ 2 ประการ คือ
1.1 อำ � นาจหน้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารชั่ ว คราวก่ อ นมี คำ � พิ พ ากษา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 เป็นวิธีการคุ้มครองสิทธิ
ของโจทก์ ใ นเวลาใด ๆ ก่ อ นพิ พ ากษา เพื่ อ ขอศาลให้ มี คำ � สั่ ง ให้ ยึ ด หรื อ อายั ด
ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำ�เลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา
หรือขอศาลห้ามชั่วคราวไม่ให้จำ�เลยกระทำ�ซํ้าหรือกระทำ�ต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ
การผิดสัญญาหรือการกระทำ�ที่ถูกฟ้องร้องนั้น โดยศาลจะออกหมายบังคับคดี
ชั่วคราวเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำ�เนินการตามคำ�สั่งของศาลทันที
1.2 อำ � นาจหน้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ การบั ง คั บ คดี อั น เป็ น การบั ง คั บ ให้ เ ป็ น
ไปตามคำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง ตามประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง
เมื่ อ ศาลมี คำ � พิ พ ากษาให้ คู่ ค วามฝ่ า ยใดแพ้ ค ดี แ ละให้ ฝ่ า ยแพ้ ค ดี (ลู ก หนี้ ต าม
คำ�พิพากษา) ปฏิบัติการชำ�ระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตามฟ้อง เช่น ให้ชำ�ระหนี้
เป็ น เงิ น จำ � นวนหนึ่ ง ให้ ส่ ง มอบทรั พ ย์ สิ น ฯลฯ หากลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา
ทราบถึงคำ�บังคับและครบกำ�หนดระยะเวลาตามคำ�บังคับแล้ว และเป็นกรณี
ที่ ต้ อ งดำ � เนิ น การทางเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี โ ดยบั ง คั บ ชำ � ระหนี้ เ อาจากบรรดา
ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา คู่ ค วาม ฝ่ า ยที่ ช นะคดี (เจ้ า หนี้ ต าม
คำ�พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้ศาลออก “หมายบังคับคดี” ตั้งเจ้าพนักงาน
บั ง คั บ คดี จั ด การยึ ด หรื อ อายั ด ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาออกขาย
ทอดตลาดเอาเงินชำ�ระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาต่อไป หรือหากการชำ�ระหนี้

33
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

ตามคำ � พิ พ ากษานั้ น เป็ น การส่ ง มอบทรั พ ย์ สิ น กระทำ � การงดเว้ น กระทำ � การ


อย่างใดอย่างหนึ่งหรือขับไล่ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา ศาลจะออกหมายบังคับคดีได้
โดยกำ�หนดเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายนั้น และกำ�หนดการบังคับคดี
เพี ย งเท่ า ที่ ส ภาพแห่ ง การบั ง คั บ คดี จ ะเปิ ด ช่ อ งให้ ทำ � ได้ โ ดยทางศาลหรื อ โดย
เจ้าพนักงานบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 276)
สำ�หรับคดีฟ้องขับไล่ ปัจจุบันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 350 - 354 บั ญ ญั ติ ใ ห้ เ ป็ น อำ � นาจหน้ า ที่ ข องเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
โดยตรงแล้ว ซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องการบังคับคดีฟ้องขับไล่ต่อไป
เมื่อศาลออกหมายยึดทรัพย์ชั่วคราวหรือหมายบังคับคดี ตั้งเจ้าพนักงาน
บังคับคดีเพื่อดำ�เนินการดังกล่าวแล้ว ศาลจะส่งหมายนั้นมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี
เพื่อดำ�เนินการต่อไปตามที่กำ�หนดไว้ในหมายนั้น มาตรา 276 (1)
ส่วนลูกหนี้ตามคำ�พิพากษานั้น จะมีการส่งหมายบังคับคดีให้ทราบต่อเมื่อ
ศาลมีค�ำ สัง่ ให้เจ้าหนีต้ ามคำ�พิพากษาเป็นผูจ้ ดั การส่ง ถ้ามิได้มกี ารส่งหมายดังกล่าวแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องแสดงหมายนั้นต่อลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาหรือ
ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ยึดซึ่งพบขณะทำ�การยึด (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 281)
นับแต่วนั ทีไ่ ด้สง่ หมายบังคับคดีให้แก่ลกู หนีต้ ามคำ�พิพากษา หรือถ้าหมายนัน้
มิได้ส่งนับแต่ออกหมายนั้นเป็นต้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำ�นาจในฐานะ
เป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาในอันที่จะรับชำ�ระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้
นำ � มาวางและออกใบรั บ ให้ กั บ มี อำ� นาจที่ จ ะยึ ด หรื อ อายั ด และยึ ด ถื อ ทรั พ ย์ สิ น
ของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาไว้ และมี อำ � นาจที่ จ ะเอาทรั พ ย์ สิ น เช่ น ว่ า นี้
ออกขายทอดตลาด ทั้งมีอ�ำ นาจที่จะจำ�หน่ายทรัพย์สิน หรือเงินรายได้จากการนั้น
และดำ�เนินวิธีการบังคับทั่วไปตามที่ศาลได้กำ�หนดไว้ในหมายบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 278)
34
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

ประเภทของการบังคับคดี
ในการออกหมายบั ง คั บ คดี ป กติ ศ าลจะระบุ เ งื่ อ นไขแห่ ง การบั ง คั บ คดี
ตามทีร่ ะบุไว้ใน มาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจะกำ�หนด
สภาพแห่ ง การบั ง คั บ คดี เ พี ย งเท่ า ที่ เ ปิ ด ช่ อ งให้ ก ระทำ � ทางศาล หรื อ โดยทาง
เจ้าพนักงานบังคับคดี เช่น
1. การยึดทรัพย์
2. การอายัดทรัพย์สิน
3. การขายทอดตลาด
4. การบังคับขับไล่, รื้อถอน
5. อื่นๆ เช่น การห้ามชั่วคราว

35
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

การยึดทรัพย์สิน

การยึ ด ทรั พ ย์ สิ น คื อ การเอาทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาไว้
ในความดู แ ลรั ก ษาของเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี เ พื่ อ ดำ � เนิ น การตามกฎหมาย
ให้ บ รรลุ ผ ลตามคำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง ของศาลในการบั ง คั บ คดี ยึ ด ทรั พ ย์ ข อง
ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาต้ อ งเป็ น ผู้ นำ � ยึ ด ซึ่ ง ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 298 บัญญัติว่าเจ้าพนักงาน
บังคับคดีจะยึดหรืออายัดหรือขายเฉพาะบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา
อ้ า งว่ า เป็ น ของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา การยึ ด ทรั พ ย์ สิ น เป็ น หน้ า ที่ ข อง
เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาต้ อ งสื บ ให้ ท ราบว่ า ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษามี ท รั พ ย์ สิ น
อะไรบ้ า ง อยู่ ที่ ไ หน ผู้ ใ ดครอบครองทรั พ ย์ สิ น นั้ น ซึ่ ง หากทรั พ ย์ สิ น นั้ น
เป็นของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาย่อมนำ�ยึดได้

ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
1. เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา คื อ คู่ ค วามที่ เ ป็ น ฝ่ า ยชนะคดี ซึ่ ง เป็ น
ผู้ที่มีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำ�พิพากษาของศาล
2. ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา คื อ คู่ ค วามที่ เ ป็ น ฝ่ า ยแพ้ ค ดี ซึ่ ง ถ้ า ลู ก หนี้
ตามคำ�พิพากษามิได้ปฏิบตั ติ ามคำ�พิพากษาของศาลทัง้ หมดหรือแต่บางส่วน กรณีนี้
เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้
3. เจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้มีสิทธิขอให้บังคับ มี 3 ประเภท คือ
3.1 ผู้รับจำ�นอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702
3.2 ผูท้ รงบุรมิ สิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 251
36
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

คือ ผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำ�ระหนี้อันค้างชำ�ระ
แก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น
3.3 ผู้รับจำ�นำ� บุคคลดังกล่าวไม่ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาก็ยื่น
คำ�ร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อขอรับชำ�ระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญได้
4. เจ้าของรวม (ผู้ร้องขอกันส่วน) ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิอ่ืนๆ ซึ่งอาจต้อง
ขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายในความหมายของมาตรา 322,
323 รวมทั้งทรัพย์สิทธิ บุริมสิทธิ์ สิทธิยึดหน่วงอื่น ๆ แห่ง ป.วิ.พ. ในการยึด
ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาที่มีบุคคลภายนอกเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
ในการยึ ด ทรั พ ย์ นั้ น ให้ ยึ ด เฉพาะส่ ว นของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา แต่ ถ้ า
มี บุ ค คลอื่ น เป็ น เจ้ า ของรวมอยู่ ด้ ว ย และไม่ ป รากฏว่ า ส่ ว นใดเป็ น ของลู ก หนี้
ให้ยึดมาทั้งหมด หรือตามสภาพ หากไม่ยึดทั้งหมดจะทำ�ให้เสื่อมราคา เพราะ
แม้แต่ในระหว่างผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยกัน หากไม่สามารถตกลงในการแบ่งแยก
ระหว่ า งกั น เองได้ ก็ จ ะต้ อ งขายทอดตลาดแล้ ว รั บ เป็ น เงิ น แทน เจ้ า ของรวม
จึ ง เป็ น ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ในการบั ง คั บ คดี ช อบที่ จ ะร้ อ งขอเข้ า มาในคดี เพื่ อ ขอให้
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ป ล่ อ ยทรั พ ย์ สิ น ในส่ ว นที่ ต นมี ก รรมสิ ท ธิ์ ห รื อ ขอให้
เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดในส่วนของเจ้าของรวมได้
5. ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326)
ผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ ได้แก่
5.1 เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาซึ่งไม่จำ�เป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด
5.2 เจ้าพนักงานผู้มีอำ�นาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
5.3 กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10

37
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

การขอเฉลี่ยทรัพย์เกิดขึ้นได้โดยมีเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษามากกว่าหนึ่งคดี
และเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาคดีใดคดีหนึ่งได้นำ�เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดหรือ
อายั ด สิ ท ธิ เรี ย กร้ อ งของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาไว้ เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาอื่ น
จะยึ ด ทรั พ ย์ ห รื อ อายั ด สิ ท ธิ เรี ย กร้ อ งของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษานั้ น ซ้ำ � ไม่ ไ ด้
เพราะกฎหมายห้ า มยึ ด หรื อ อายั ด ซำ้ � อี ก แม้ ลู ก หนี้ต ามคำ � พิ พ ากษานั้ น จะยั ง มี
ทรั พ ย์ สิ น อื่ น ที่ ไ ม่ ไ ด้ ถู ก ยึ ด ถ้ า ท รั พ ย์ สิ น ที่ มี อ ยู่ ไ ม่ เ พี ย ง พ อ ชำ � ร ะ ห นี้
ตามคำ�พิพากษาของเจ้าหนี้ ตามคำ�พิพากษาอื่นแล้ว เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษานั้น
ก็มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้
กำ�หนดระยะเวลาในการขอเฉลี่ยให้ผู้ร้องยื่นคำ�ร้องต่อศาลที่ออกหมาย
บังคับคดีในกรณียึดทรัพย์ ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่มีการขาย
ทอดตลาดหรือจำ�หน่ายโดยวิธีอื่นในครั้งนั้น ๆ (ทรัพย์ชิ้นใดขายได้วันใดก็ต้องยื่น
คำ�ขอเฉลีย่ ทรัพย์ภายใน 15 วัน นับแต่วนั ขายได้ของทรัพย์ชนิ้ นัน้ ๆ) ในกรณีอายัดทรัพย์
ให้ยนื่ คำ�ขอก่อนสิน้ ระยะเวลา 15 วัน นับแต่วนั ชำ�ระเงินหรือส่งทรัพย์สนิ ตามทีอ่ ายัด
ในกรณียึดเงินให้ยื่นคำ�ขอก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันยึด
เมื่ อ ศาลส่ ง สำ � เนาคำ � ร้ อ งเฉลี่ ย ทรั พ ย์ ใ ห้ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี แ ล้ ว
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดจ่ายเงินในคดีไว้ก่อนเพื่อรอฟังคำ�วินิจฉัยชี้ขาดจากศาล
6. เมื่อบุคคลใดกล่าวอ้างว่าลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน
ที่ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ด้ ยึ ด ไว้ หรื อ ตนเป็ น เจ้ า ของรวมหรื อ อยู่ ใ นฐานะ
อันจะจดทะเบียนสิทธิได้อยู่ก่อนบุคคลนั้นก็สามารถยื่นคำ�ร้องต่อศาลที่ออกหมาย
บังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินนั้นโดยต้องยื่นคำ�ร้องต่อศาลก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดี
จะเอาทรั พ ย์ สิ น นั้ น ออกขายทอดตลาด เมื่ อ ศาลส่ ง สำ � เนาคำ � ร้ อ งของผู้ ร้ อ ง
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดีไว้
เพื่อรอคำ�วินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องดังกล่าวจากศาล
38
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

การงดการบังคับคดี
การบังคับคดีอาจชะงักลงได้หากเกิดกรณีต้องงดบังคับคดีไว้ก่อน โดยอาจ
เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย เช่น ลูกหนี้ยื่นคำ�ขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลสั่ง
ให้ ง ด หรื อ เจ้ า หนี้ ไ ม่ ว างค่ า ใช้ จ่ า ย และการงดการบั ง คั บ คดี อ าจเกิ ด ขึ้ น ได้
โดยการตกลงยินยอมระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วย ถ้าเจ้าหนี้แจ้งเป็นหนังสือ
ไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยลูกหนี้ยินยอมให้งดการบังคับคดีเป็นหนังสือเช่นกัน
นอกจากนี้ยังต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียด้วย คือ
ผู้ขอรับชำ�ระหนี้บุริมสิทธิ์ ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้รับจำ�นอง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ทั้งนี้
ตามมาตรา 289 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

การถอนการบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292)


ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาอาจตกลงถอนการบังคับคดีได้ และ
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ก็ อ าจถอนการบั ง คั บ คดี ไ ด้ ด้ ว ยเหตุ ต ามกฎหมายและ
ตามคำ�สั่งศาลซึ่งจะเกิดค่าธรรมเนียม
ในกรณีที่เจ้าหนี้ประสงค์จะถอนการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
เจ้าหนีจ้ ะต้องวางค่าธรรมเนียมถอนการบังคับคดี (ถอนการยึดทรัพย์) ตามตาราง 5
ท้ายประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อน
28 กรกฎาคม 2548 ในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึดของ
หากเป็ น การยึ ด เงิ น จะคิ ด ค่ า ธรรมเนี ย มในอั ต ราร้ อ ยละ 1 ของจำ � นวนเงิ น
ที่ ยึ ด หรื อ อายั ด ส่ ว นคดี ที่ ฟ้ อ งตั้ ง แต่ วั น ที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็ น ต้ น ไป
หากเป็นการยึดทรัพย์สิน ซึ่ง มิใช่ตัวเงินเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดในอัตรา
ร้อยละ 2 ของราคาประเมินทรัพย์ ณ วันที่ยึด สำ�หรับการยึดเงินอัตราร้อยละ 1
สำ�หรับคดีใดที่ไม่มีการยึดทรัพย์ แต่โจทก์ประสงค์จะถอนการบังคับคดี
ก็จะมีเฉพาะค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเท่านั้น
39
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

การขับไล่ หรือ รื้อถอน


ในกรณี ที่ คำ � พิ พ ากษาถู ก พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง ของศาลให้ ขั บ ไล่ ลู ก หนี้
ตามคำ � พิ พ ากษาออกไปจากอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ อ ยู่ อ าศั ย หรื อ ทรั พ ย์ ที่
ครอบครอง ถ้ า ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามคำ � บั ง คั บ เจ้ า หนี้ ต าม
คำ � พิ พ ากษาก็ ส ามารถยื่ น คำ � ร้ อ งต่ อ ศาลขอให้ ตั้ ง เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จั ด การ
ให้เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ รวมทั้งการบังคับคดีในกรณีที่
ศาลมี คำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง ให้ รื้ อ ถอนสิ่ ง ปลู ก สร้ า ง ไม้ ยื น ต้ น ฯลฯ หรื อ
ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 350)

วิธีการดำ�เนินการขับไล่
เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาจะต้ อ งนำ � เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี เ พื่ อ ไปทำ � การ
ปิดประกาศ ถ้าไปถึงทรัพย์พิพาทปรากฏว่าไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ในทรัพย์พิพาท และไม่มี
ทรัพย์สินอื่นใดอยู่ในทรัพย์พิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจะส่งมอบทรัพย์พิพาท
ให้ เ จ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา แต่ ถ้ า ไม่ มี บุ ค คลใดอยู่ อ าศั ย แต่ ป รากฏว่ า มี
ทรั พ ย์ สิ น อื่ น อยู่ ใ นทรั พ ย์ พิ พ าท เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะจั ด ทำ � บั ญ ชี ร วบรวม
ทรั พ ย์ สิ น ไว้ แ ล้ ว แจ้ ง ให้ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษามารั บ คื น ภายในกำ � หนดเวลา
ถ้ า ไม่ ม ารั บ คื น ภายในกำ � หนดเวลา เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะรายงานศาล
ขออนุ ญ าตขายทอดตลาดทรั พ ย์ สิ น ดั ง กล่ า ว เพื่ อ เก็ บ เงิ น ไว้ ใ ห้ ลู ก หนี้ ต าม
คำ�พิพากษาต่อไป (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 352)
ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาและบริ ว ารไม่ อ อกไปจากทรั พ ย์ สิ น เจ้ า หนี้
ตามคำ � พิ พ ากษาจะต้ อ งนำ � เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี เพื่ อ ไปปิ ด ประกาศแจ้ ง ให้

40
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

ผู้ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ในทรั พ ย์ พิ พ าท ซึ่ ง อ้ า งว่ า มิ ใช่ บ ริ ว ารของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา
ยื่ น คำ � ร้ อ งแสดงอำ � นาจพิ เ ศษต่ อ ศาลภายในกำ � หนดเวลา 15 วั น นั บ แต่ วั น
ปิดประกาศ ถ้าไม่มีผู้ยื่นแสดงอำ�นาจพิเศษต่อศาลภายในกำ�หนดเวลาดังกล่าว
และเจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาแถลงต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ว่ า ยั ง มี ลู ก หนี้
ตามคำ�พิพากษาหรือบริวาร (ต้องแถลงโดยระบุชื่อ และชื่อสกุล) อาศัยอยู่ใน
ทรั พ ย์ พิ พ าท ขอให้ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ร ายงานขอให้ ศ าลออกหมายจั บ กุ ม
และกักขังลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาและบริวาร เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงาน
ขอให้ ศ าลออกหมายจั บ กุ ม บุ ค คลดั ง กล่ า ว แล้ ว มาแถลงต่ อ เจ้ า พนั ก งาน
บั ง คั บ คดี เพื่ อ นำ � เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ปส่ ง มอบการครอบครองทรั พ ย์ สิ น
พิ พ าทให้ เ จ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา แต่ ห ากมี ผู้ ยื่ น คำ � ร้ อ งแสดงอำ � นาจพิ เ ศษ
ในทรั พ ย์ พิ พ าทต่ อ ศาลภายในกำ � หนดเวลา 15 วั น นั บ แต่ วั น ปิ ด ประกาศ
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จะงดการบั ง คั บ คดี ไว้ ร อฟั ง คำ � สั่ ง ศาล หากต่ อ มาศาล
สั่งยกคำ�ร้องแสดงอำ�นาจพิเศษของบุคคลดังกล่าว และเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา
มาแถลงให้ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ร ายงานศาลขอให้ ศ าลออกหมายจั บ บุ ค คล
ดังกล่าวเมื่อไม่มีผู้ใดอยู่ในทรัพย์พิพาทแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะส่งมอบ
การครอบครองให้เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 353)
กรณี ก ารเข้ า ครอบครองทรั พ ย์ ข องผู้ ซื้ อ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ไ ด้ จ าก
การขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 334)
บุ ค คลผู้ ซื้ อ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ไ ด้ จ ากการขายทอดตลาดของเจ้ า พนั ก งาน
บั ง คั บ คดี เมื่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี โ อนอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ ข ายให้ แ ก่ ผู้ ซื้ อ
หากทรั พ ย์ สิ น ที่ โ อนนั้ น มี ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาอาศั ย อยู่ แ ละลู ก หนี้ ต าม

41
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

คำ � พิ พ ากษาหรื อ บริ ว ารไม่ ย อมออกไปจากอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ผู้ ซื้ อ จะต้ อ งยื่ น
คำ � ขอฝ่ า ยเดี ย วต่ อ ศาลที่ อ สั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ ซื้ อ ได้ อ ยู่ ใ นเขตศาลนั้ น เพื่ อ ให้
ศาลออกหมายบั ง คั บ คดี เ พื่ อ ตั้ ง เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ปดำ � เนิ น การส่ ง มอบ
การครอบครองเช่นเดียวกับกรณีของการฟ้องขับไล่เช่นกัน

วิธกี ารดำ�เนินการรือ้ ถอน (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 355)


เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาต้ อ งมานำ � เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ปปิ ด ประกาศ
กำ�หนดวันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่น้อยกว่า 15 วัน ถ้าลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา
รื้ อ ถอนออกไปเองก่ อ นครบกำ � หนด และเมื่ อ เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาแถลง
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะส่ ง มอบการครอบครองทรั พ ย์ พิ พ าทให้ เจ้ า หนี้ ต าม
คำ � พิ พ ากษา แต่ ห ากเมื่ อ ครบกำ � หนดเวลาที่ ปิ ด ประกาศไว้ แ ล้ ว ลู ก หนี้ ต าม
คำ�พิพากษาไม่รื้อถอน เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาจะต้องมานำ�เจ้าพนักงานบังคับคดี
ไปควบคุ ม การรื้ อ ถอน ค่ า ใช้ จ่ า ยในการรื้ อ ถอนให้ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา
เป็ น ผู้ เ สี ย แต่ โ ดยปกติ เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาเป็ น ผู้ อ อกเงิ น ทดรองจ่ า ยก่ อ น
เมื่อดำ�เนินการรื้อถอนเสร็จแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะส่งมอบการครอบครอง
ทรัพย์พิพาทให้เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาและรวบรวมทรัพย์สินวัสดุที่ได้จากการ
รื้ อ ถอนให้ จั ด ทำ � บั ญ ชี ร วบรวมทรั พ ย์ สิ น ไว้ เ พื่ อ ส่ ง มอบ หรื อ เรี ย กให้ ลู ก หนี้
ตามคำ�พิพากษารับคืนไปภายในกำ�หนดเวลา หากลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาไม่มา
รั บ คื น ภายในกำ � หนดเวลา เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะขายทอดตลาดทรั พ ย์ สิ น
ดังกล่าว เพื่อเก็บเงินไว้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาต่อไป

42
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

สำ � หรั บ คดี ใ ดนอกจากจะต้ อ งส่ ง มอบการครอบครองในเรื่ อ งขั บ ไล่ แ ละ


รื้ อ ถอนแล้ ว ยั ง ปรากฏว่ า ศาลสั่ ง ให้ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาชำ � ระค่ า เสี ย หาย
ให้เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาอีก หากเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาประสงค์จะบังคับคดี
ในส่วนค่าเสียหายก็สามารถดำ�เนินการได้ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการยึดทรัพย์และ
ขายทอดตลาด หรือ การอายัดทรัพย์สิน

ยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำ�การ
ยึดที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ให้จัดเตรียมเอกสารดำ�เนินการ ดังนี้
1. ต้นฉบับโฉนดที่ดิน, สัญญาจำ�นอง (ถ้ามี)
- ถ้าเป็นสำ�เนาต้องเป็นสำ�เนาทีเ่ ป็นปัจจุบนั ซึง่ เจ้าพนักงานทีด่ นิ รับรอง
ไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
2. สำ � เนาทะเบี ย นบ้ า นของจำ � เลย, ผู้ ถื อ กรรมสิ ท ธิ์ , คู่ ส มรสของ
จำ � เลย, ทายาทของจำ � เลยผู้ ต าย ซึ่ ง นายทะเบี ย นรั บ รองไม่ เ กิ น 1 เดื อ น
นับถึงวันยึด
3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี) ของโจทก์และจำ�เลย
4. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่จะยึด พร้อม สำ�เนา 1 ชุด
5. ภาพถ่ า ยปั จ จุ บั น ของทรัพย์ที่จะยึดและแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด
โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว
6. เขียนคำ�ขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำ�การ (ตามแบบที่กำ�หนด) และวางเงิน
ค่าใช้จ่ายสำ�นวนละ 2,500 บาท

43
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

ยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำ�การ
ยึดห้องชุด
ให้จัดเตรียมเอกสารและดำ�เนินการ ดังนี้
1. ต้นฉบับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด, สัญญาจำ�นอง (ถ้ามี)
- ถ้าเป็นสำ�เนาต้องเป็นสำ�เนาทีเ่ ป็นปัจจุบนั ซึง่ เจ้าพนักงานทีด่ นิ รับรอง
ไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
2. สำ�เนาทะเบียนบ้านของจำ�เลย, ผู้ถือกรรมสิทธิ์, คู่สมรสของจำ�เลย,
ทายาทของจำ � เลยผู้ ต าย ซึ่ ง นายทะเบี ย นรั บ รองไม่ เ กิ น 1 เดื อ น นั บ ถึ ง
วันยึด
3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี) ของโจทก์และจำ�เลย
4. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่จะยึด พร้อม สำ�เนา 1 ชุด
5. ภาพถ่ า ยปั จ จุ บั น ของทรัพย์ที่จะยึดและแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด
โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว
6. หนังสือรับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน
รับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
7. เขียนคำ�ขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำ�การ (ตามแบบที่กำ�หนด) และวางเงิน
ค่าใช้จ่ายสำ�นวนละ 2,500 บาท

44
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

ยึดสังหาริมทรัพย์
ยึดทรัพย์สิน
ให้จัดเตรียมเอกสารและดำ�เนินการ ดังนี้
1. สำ � เนาทะเบี ย นบ้ า นของจำ � เลย หรื อ คู่ ส มรสของจำ � เลย (กรณี
สินสมรส) ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด
2. เขียนคำ�ขอยึดทรัพย์ตาม (แบบ 7) แจ้งสถานที่ที่จะไปยึดทรัพย์สิน
3. วางเงินค่าใช้จ่าย สำ�นวนละ 1,500 บาท
4. จัดหาหรือเตรียมยานพาหนะ สำ�หรับรับ - ส่ง เจ้าพนักงานบังคับคดี
5. ตระเตรี ย มยานพาหนะและคนเพื่ อ ขนย้ า ยทรั พ ย์ ที่ ยึ ด ไปเก็ บ รั ก ษา
ณ สถานรักษาทรัพย์ กรมบังคับคดี หรือสถานที่ของโจทก์
6. รายละเอียดเอกสารของทรัพย์ที่ยึด เช่น ใบหุ้น

ขับไล่และรื้อถอน
ให้จัดเตรียมเอกสารและดำ�เนินการ ดังนี้
1. เขียนคำ�ร้อง (แบบ 7) ขอให้ขับไล่ - รื้อถอน
2. วางเงินค่าใช้จ่าย สำ�นวนละ 1,500 บาท
3. จัดหาหรือเตรียมยานพาหนะ สำ�หรับรับ - ส่ง เจ้าพนักงานบังคับคดี
4. เตรี ย มคนงานในการรื้ อ ถอนและยานพาหนะสำ � หรั บ ขนย้ า ยทรั พ ย์
ที่รื้อถอนหรือรวบรวม
5. ในกรณียึดทรัพย์สินจำ�เลยด้วย ให้ส่งสำ�เนาทะเบียนบ้านของจำ�เลย
ซึ่ ง นายทะเบี ย นรั บ รองไม่ เ กิ น 1 เดื อ น นั บ ถึ ง วั น ที่ ยึ ด เพื่ อ แจ้ ง การยึ ด ทรั พ ย์
ให้จำ�เลยทราบ
45
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

การอายัดทรัพย์สิน
การอายัดทรัพย์สิน
เป็นวิธีการบังคับคดีรูปแบบหนึ่ง
ไม่ใช่การบังคับกับทรัพย์สินที่มีอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้โดยตรง
เป็นการบังคับกับสิทธิเรียกร้องเป็นเงิน ของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา
เป็ น การสั่ ง บุ ค คลภายนอกมิ ใ ห้ ชำ� ระหนี้ แ ก่ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา
แต่ให้ชำ�ระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแทน

วิธีการอายัดทรัพย์สิน
1. มีหนังสือ (คำ�สั่ง) แจ้งไปยังบุคคลภายนอก ไม่ให้ชำ�ระเงินแก่ลูกหนี้ ตาม
คำ�พิพากษาแต่ให้ชำ�ระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแทนภายในระยะเวลาที่กำ�หนดไว้
2. มีหนังสือ/หมาย (คำ�สั่ง) แจ้งการอายัดให้ ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา
ทราบ และให้ ง ดเว้ น การจำ � หน่ า ยสิ ท ธิ เรี ย กร้ อ งตั้ ง แต่ ข ณะที่ ไ ด้ ส่ ง คำ � สั่ ง นั้ น ให้
(ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 วรรคสอง)

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการอายัดทรัพย์สิน
เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา


เจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคล
ภายนอก
ผู้รับคำ�สั่ง
อายัด

46
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาที่อายัดได้
1. เงิ น เดื อ น ค่ า จ้ า ง หรื อ รายได้ อื่ น ที่ มี ลั ก ษณะจ่ า ยเพื่ อ ตอบแทน
การทำ�งานเป็นรายเดือน
อายัดได้แต่ต้องคงเหลือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
2. โบนัส
อายัดร้อยละ 50
3. เงินที่ตอบแทนกรณีออกจากงานเงินส่วนที่ไม่ได้อายัดต้องคงเหลือไว้
ไม่น้อยกว่า 300,000 บาท
4. เงินตอบแทนจากการทำ�งานเป็นชั่วคราว
อายัด ร้อยละ 30
5. เงินฝากในบัญชีสถาบันการเงิน
6. เงินปันผลหุ้น
7. ค่าเช่าทรัพย์สิน
8. ค่างวดงานตามสัญญาจ้างงาน

สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาที่อายัดไม่ได้
(ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302)
1. เงินเดือน ค่าจ้าง บำ�นาญ บำ�เหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะ
เดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยงานราชการ
*ยกเว้น กรณีที่กฎหมายกำ�หนดไว้เป็นการเฉพาะ*

47
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

2. เงินสงเคราะห์ บำ�นาญ หรือบำ�เหน็จที่หน่วยงานราชการได้จ่ายให้แก่


คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยงานราชการ
3. เงินเดือน ค่าจ้าง บำ�นาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่น
ในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน ที่นายจ้างจ่ายเป็นจำ�นวน
รวมกันไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือตามจำ�นวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
เห็นสมควร
4. เงินบำ�เหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อนื่ เป็นจำ�นวน 300,000 บาท หรือ
ตามจำ�นวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร
5. เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ
6. เงินกองทุนบำ�เหน็จบำ�นาญข้าราชการ (กบข.)
7. เงินกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ
8. ค่ารักษาพยาบาลที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากสำ�นักงานประกันสังคม
9. เงินตามสัญญากู้ยืมของลูกหนี้
10. สิทธิเรียกร้องซึ่งยังไม่แน่นอนว่าลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับหรือไม่

ระยะเวลาในการบังคับคดี
มาตรา 274 ถ้าคูค่ วามหรือบุคคลซึง่ เป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนีต้ ามคำ�พิพากษา)
มิได้ปฏิบัติตามคำ�พิพากษา หรือ คำ�สั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความ หรือ
บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดี
ตามคำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง นั้ น ได้ ภายในสิ บ ปี นั บ แต่ วั น มี คำ � พิ พ ากษา หรื อ
คำ�สั่ง โดยอาศัยและตามคำ�บังคับที่ออกตามคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งนั้น

48
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

การไต่สวนลูกหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สิน
มาตรา 277 ถ้ า เจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาเชื่ อ ว่ า ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา
มีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบแล้ว เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา
อาจยื่ น คำ � ขอฝ่ า ยเดี ย วโดยทำ � เป็ น คำ � ร้ อ งต่ อ ศาลขอให้ ศ าลทำ � การไต่ ส วนและ
ออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้
ถ้อยคำ�อันเป็นประโยชน์มาในการไต่สวนเช่นว่านั้น
เมื่ อ มี คำ � ขอเช่ น นี้ ให้ ศ าลทำ � การไต่ ส วนตามกำ � หนดและเงื่ อ นไขใด ๆ
ที่เห็นสมควร

เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา
ยื่นคำ�ขออายัดและส่งเอกสาร ดังนี้
1. สำ�เนาทะเบียนบ้านหรือสำ�เนาบัตรประจำ�ตัวประชาชน หรือสำ�เนา
หนังสือรับรองนิติบุคคลของเจ้าหนี้
2. หนังสือมอบอำ�นาจ (กรณีมอบให้ผู้อื่นดำ�เนินการแทน)
3. หลั ก ฐานแห่ ง สิ ท ธิ เรี ย กร้ อ งหรื อ สำ � เนาเอกสารที่ มี ข้ อ ความระบุ ถึ ง
ความมีอยู่ของเงินนั้น
4. สำ�เนาทะเบียนบ้านหรือสำ�เนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ และ
บุคคลภายนอกผู้รับคำ�สั่งอายัด (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน)
5. สำ�เนาคำ�ฟ้องและสำ�เนาทะเบียนบ้านของจำ�เลยในชั้นฟ้อง
6. เอกสารอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำ�หนด เช่น ให้เจ้าหนี้
ตามคำ�พิพากษาแถลงผลการชำ�ระหนี้ วัน เดือน ปี ที่ได้รับชำ�ระหนี้
ภายนอก
49
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา
ขอลดการอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง ต้องดำ�เนินการ
1. ยื่ น คำ � ร้ อ งขอลดอายั ด ระบุ ค วามจำ � เป็ น อั ต ราเงิ น เดื อ นและ
จำ�นวนเงินที่ขอลด
2. ส่งเอกสาร
หนังสือรับรองเงินเดือน
หลักฐานความจำ�เป็น

การสั่งลดอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
1. ลดอายัดเงินเดือน, ค่าจ้าง
ลดได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำ�นวนที่อายัดไว้เดิม
2. หากลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบกับคำ�สั่งจะดำ�เนินการอย่างไร
ร้องขอต่อศาล เพื่อขอให้กำ�หนดจำ�นวนเงินที่อายัดใหม่

บุคคลภายนอกผู้รับคำ�สั่งอายัด (ตาม ป.วิ.พ.


มาตรา 321)
เมื่อได้รับหนังสือ / คำ�สั่งอายัด ต้องดำ�เนินการ
ส่งเงินตามจำ�นวน และภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำ�หนด
กรณี ส่ ง เงิ น ไม่ ไ ด้ ไม่ ว่ า ด้ ว ยเหตุ ใ ดให้ รี บ แจ้ ง เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
โดยด่วน

50
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

การดำ�เนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดี
กรณีไม่ส่งเงินตามอายัด (ม.321)
แจ้งเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาทราบ

เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษายื่นคำ�ร้องต่อศาลเรียกบุคคลภายนอกไปไต่สวน

ศาลมีคำ�สั่งให้บุคคลภายนอก เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาขอให้ศาล
ปฏิบัติการชำ�ระหนี้ตามที่ ออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอก
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำ�สั่ง เสมือนว่าเป็นลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา

กรณีอายัดครบหนี้
ถอนการอายัด แจ้งบุคคลภายนอก


ถอนการบังคับคดี รายงานศาล

51
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

การจำ�หน่ายทรัพย์สิน

การจำ�หน่ายทรัพย์สิน เป็นขั้นตอนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำ�พิพากษา
หรื อ คำ � สั่ ง ของศาลอั น เป็ น วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ห รื อ ดำ � เนิ น การบั ง คั บ คดี เพื่ อ ให้ เ ป็ น ไป
ตามคำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง ของศาลเป็ น กระบวนพิ จ ารณา ซึ่ ง ดำ � เนิ น การ
ภายหลังศาลมีคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งชี้ขาดแล้ว การดำ�เนินกระบวนพิจารณา
เกี่ยวกับการบังคับคดีส่วนมากมิได้กระทำ�โดยศาล หากกระทำ�โดยเจ้าพนักงาน
บังคับคดี กรมบังคับคดี อันมีวิธีการเกี่ยวกับการปฏิบัติซึ่งบัญญัติไว้ในประมวล
กฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง ภาค 4 วิ ธี ก ารบั ง คั บ คดี เ พื่ อ ดำ � เนิ น การให้
เป็ น ไปตามคำ � พิ พ ากษาหรื อ คำ � สั่ ง ของศาลไม่ ว่ า จะเป็ น คดี แ พ่ ง คดี อ าญา
คดีแรงงาน คดีเยาวชนและครอบครัว ได้แก่ การยึดทรัพย์สิน การอายัดทรัพย์สิน
การขายทอดตลาดทรัพย์ การขับไล่ รื้อถอน หรือการบังคับคดีตามกฎหมาย
อื่ น ๆ ตามคำ � สั่ ง เช่ น การกั ก เรื อ ตามพระราชบั ญ ญั ติ ก ารกั ก เรื อ การบั ง คั บ
ค่ า สิ น ไหมทดแทนในคดี ค วามผิ ด ตามพระราชบั ญ ญั ติ ป้ อ งกั น และปราบปราม
การค้ า มนุ ษ ย์ พ.ศ. 2551 หรื อ การบั ง คั บ คดี ช ดใช้ ค่ า ปรั บ ในคดี ย าเสพติ ด
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 เป็นต้น
อำ�นาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง จึ ง มี อำ � นาจในฐานะตั ว แทนเจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา
ในอั น ที่ จ ะรั บ ชำ � ระหนี้ ห รื อ ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ นำ � มาวางกั บ มี อำ � นาจที่ จ ะยึ ด
อายั ด และยึ ด ถื อ ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาไว้ และมี อำ � นาจที่ จ ะ
เอาทรั พ ย์ สิ น เช่ น ว่ า นี้ อ อกขายทอดตลาด ทั้ ง มี อำ � นาจที่ จ ะจำ � หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น

52
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

หรือเงินรายได้จากการนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์จึงเป็นกระบวนการหนึ่ง
ที่ดำ�เนินการต่อเนื่องจากการยึดทรัพย์ เป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์ที่ยึด ซึ่งตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อาจแบ่งการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ที่ยึดได้เป็น 2 กรณี คือ
1. การเอารายได้จากทรัพย์สินแทนการขายทอดตลาด ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 336 หมายถึง ถ้าลูกหนี้ตามคำ�พิพากษา
มีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ เช่น การนำ�อสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า รายได้
จากการประกอบอุ ต สาหกรรม พาณิ ช ยกรรม หรื อ กสิ ก รรม เพี ย งพอที่ จ ะ
ชำ �ระหนี้ ต ามคำ� พิ พ ากษา เมื่ อ ศาลเห็ น สมควร หรื อ ลู ก หนี้ ร้ อ งขอศาลอาจจะ
มีคำ�สั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือผู้จัดการกิจกรรมเหล่านั้นได้และบังคับให้
มอบเงิ นรายได้ ทั้ ง หมดหรื อ บางส่ ว นต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ภ ายในเวลาและ
เงื่อนไขที่ศาลกำ�หนดแทนการขายทอดตลาด กรณีเช่นนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดี
ก็ไม่จำ�เป็นที่จะต้องขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาได้
2. การขายทอดตลาดและการประมูล
2.1 การประมูล กระทำ�โดยอาศัยอำ�นาจตามคำ�สั่งหรือคำ�พิพากษา
ของศาล คดีประเภทนีส้ ว่ นใหญ่จะเป็นคดีฟอ้ งแบ่งมรดก หรือการแบ่งกรรมสิทธิร์ วม
ของเจ้ า ของรวม หรื อ การแบ่ ง สิ น สมรสระหว่ า งสามี ภ รรยา เป็ น ต้ น โดยให้
ผู้ มี สิ ท ธิ เข้ า ประมู ล ราคากั น เองศาลจะกำ � หนดบุ ค คลผู้ มี สิ ท ธิ เข้ า ประมู ล ไว้ ใ น
คำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งของศาล และในคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งของศาลจะกำ�หนด
วิธีการบังคับไว้เป็น 2 นัย คือ ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความ หากไม่

53
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

สามารถกระทำ�การได้หรือมีการคัดค้านก็ให้ดำ�เนินการขายทอดตลาด สำ�หรับ
วิ ธี ก ารประมู ล ระหว่ า งคู่ ค วาม เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ต้ อ งนั ด ผู้ มี สิ ท ธิ ป ระมู ล
ตรวจสอบกำ�หนดทรัพย์สนิ และฟังวันนัดประมูล ผูใ้ ดประมูลให้ราคาสูงสุด ผูน้ นั้ เป็น
ผูป้ ระมูลได้ ถ้าการประมูลไม่เป็นทีต่ กลงกันเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำ�เนินการขาย
ทอดตลาด
2.2 การขายทอดตลาด ในการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็น
ผู้ ดำ � เนิ น การซึ่ ง ต่ า งกั บ การขายทรั พ ย์ โ ดยทั่ ว ไป เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะต้ อ ง
ดำ � เนิ น การภายใต้ บ ทบั ญ ญั ติ ข องกฎหมายทั้ ง ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณา
ความแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระเบียบคำ�สั่งต่าง ๆ กล่าวคือ
2.2.1 การขายทอดตลาดเมื่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี แจ้ ง การ
ยึดทรัพย์สินให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ลูกหนี้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น ผู้ถือกรรมสิทธิ์
ร่ ว มกั บ ลู ก หนี้ ผู้ รั บ จำ � นอง รวมถึ ง นายทะเบี ย นกรณี ท รั พ ย์ นั้ น มี ท ะเบี ย นแล้ ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจัดทำ�ประกาศขายทอดตลาดและแจ้งกำ�หนดวัน สถานที่
ขายทอดตลาดแก่ บ รรดาบุ ค คลผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ในการบั ง คั บ คดี แ ก่ ท รั พ ย์ สิ น
ที่ขายทอดตลาดให้ทราบ
ประกาศขายทอดตลาดจะแสดงรายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ทรั พ ย์ ที่ จ ะขาย
จะต้องมีการให้ปิดประกาศขายทอดตลาดไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ขาย สถานที่
ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ที่ชุมชน หรือสถานที่ราชการอันสมควรจะปิดได้
บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีมีสิทธิในการเข้าสู้ราคาเอง หรือหา
บุคคลอื่นเข้าสู้ราคา เพื่อให้ได้ราคาตามที่ตนต้องการ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
เคาะไม้ขายให้แก่ผู้ให้ราคาสุงสุดแล้ว ห้ามมิให้มีการร้องเพิกถอนการขายด้วยเหตุ
ราคาตํ่าเกินสมควรอีก
54
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

เมื่ อ การขายทอดตลาดบริ บู ร ณ์ โ ดยเจ้ า พนั ก งานผู้ ข ายได้ เ คาะไม้ แ ล้ ว


ผู้ ซื้ อ ไม่ ชำ � ระเงิ น หรื อ ไม่ ว างเงิ น มั ด จำ � ตามข้ อ สั ญ ญา ให้ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ริ บ เงิ น มั ด จำ � (หากมี ) และเอาทรั พ ย์ นั้ น ออกขายทอดตลาดซ้ำ� อี ก และแจ้ ง
ให้ ผู้ ซื้ อ ทราบกำ � หนดวั น เวลาขายด้ ว ย ได้ เ งิ น เท่ า ใดเมื่ อ หั ก ค่ า ใช้ จ่ า ยและ
ค่าธรรมเนียมแล้วยังไม่คมุ้ ราคาค่าขายทอดตลาดทรัพย์ครัง้ ก่อน ผูซ้ อื้ เดิมจะต้องรับ
ผิดในส่วนที่ยังขาดนั้น
2.2.2 ข้ อ บั ง คั บ ในการขายทอดตลาด เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ผู้ขายทอดตลาดทรัพย์จะต้องดำ�เนินการภายใต้ข้อบังคับบทบัญญัติของกฎหมาย
กล่าวคือ
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกัน ให้แยกขายทีละสิ่ง
ต่อเนื่องกันไป แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำ�นาจจัดทรัพย์สินที่มีราคาเล็กน้อย
รวมขายเป็นกอง ๆ และมีอ�ำ นาจจัดทรัพย์สนิ สองสิง่ หรือมากกว่านัน้ ขึน้ ไป รวมขาย
ไปด้วยกันได้ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินที่ได้จากการขายได้เพิ่มขึ้นหรือเพียงพอ
ต่อการชำ�ระหนี้ได้ ในการขายทรัพย์สินหลายสิ่งด้วยกัน เจ้าพนักงานบังคับคดี
มีอำ�นาจกำ�หนดลำ�ดับที่จะขายทรัพย์สินนั้น (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 333)
ในการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจกำ�หนด
เงื่อนไขการเข้าสู้ราคา โดยให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าสู้ราคาวางหลักประกัน การเข้า
สู้ ร าคาต่ อ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี เ ป็ น เงิ น สดหรื อ เช็ ค ที่ ธ นาคารสั่ ง จ่ า ยตามที่
เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี เ ห็ น สมควรมาวางก่ อ นการเข้ า สู้ ร าคาได้ เว้ น แต่ ผู้ เข้ า
สู้ราคานั้นเป็น ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทน เช่น
(1) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อ ประเภทผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิ
ร่วมกับลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาหรือผู้มีส่วนได้จากกองมรดกตามคำ�พิพากษา
55
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

(2) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อ ประเภทเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือ


ทรัพย์สินที่ขายตามคำ�ชี้ขาดของศาล
(3) คู่สมรสที่ศาลมีคำ�สั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว
เนื่องจากการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการขาย
ตามบทบั ญ ญั ติ ข องกฎหมาย หรื อ การบั ง คั บ ขาย ซึ่ ง ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในการ
ขายทอดตลาดไม่ว่าจะเป็นโจทก์ จำ�เลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้รับจำ�นอง ผู้ร้อง
ขอเฉลี่ย ทรั พ ย์ รวมถึ ง ผู้ซ้ือ ทรั พ ย์ จ ากการขายทอดตลาดทรั พ ย์ ต้อ งทราบและ
ยอมเข้าผูกพันตนในกรณีที่มีเหตุตามกฎหมาย เช่น การร้องขัดทรัพย์ การงด
การบังคับคดี การร้องคัดค้านคำ�สั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี การร้องคัดค้าน
การกระทำ � การอุ ท ธรณ์ ฎี ก า ซึ่ ง เป็ น เหตุ ใ ห้ ก ารบั ง คั บ คดี ต้ อ งล่ า ช้ า
ซึ่งผู้เกี่ยวข้องไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
2.2.3 การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสิทธิและการส่งมอบทรัพย์
เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์บริบูรณ์ โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้แล้ว ผู้เสนอ
ราคาสูงสุดต้องชำ�ระเงินค่าซื้อทรัพย์ กรณีถ้าทรัพย์นั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อ
จะต้ อ งชำ � ระราคาให้ ค รบถ้ ว นและรั บ มอบทรั พ ย์ นั้ น ไป กรณี ท รั พ ย์ นั้ น เป็ น
อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์ที่ต้องมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสิทธิ เจ้าพนักงาน
บังคับคดีอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำ�บางส่วนตามที่กำ�หนดไว้ในประกาศขาย
และทำ � สั ญ ญาชำ � ระเงิ น ส่ ว นที่ เ หลื อ ภายใน 15 วั น เว้ น แต่ ก รณี ท่ี เ ป็ น เจ้ า หนี้
บุริมสิทธิ เช่น ผู้รับจำ�นองที่ศาลมีคำ�สั่งอนุญาตให้ได้รับชำ�ระหนี้บุริมสิทธิแล้ว
ผู้ มี ชื่ อ ถื อ กรรมสิ ท ธิ์ ร่ ว มกั บ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา หรื อ คู่ ส มรสของลู ก หนี้
ตามคำ � พิ พ ากษาที่ ศ าลมี คำ � สั่ ง อนุ ญ าตให้ กั น ส่ ว นแล้ ว เมื่ อ ผู้ ซื้ อ ชำ � ระราคา

56
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

ส่ ว นที่ เ หลื อ ครบถ้ ว นแล้ ว เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะมี ห นั ง สื อ ถึ ง นายทะเบี ย น
เพื่อทำ�การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสิทธิให้แก่ผู้ซื้อต่อไป สำ�หรับค่าธรรมเนียม
ค่าภาษีอากร ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มต่าง ๆ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำ�หนดหน้าที่
ผู้ ที่ ต้ อ งผู ก พั น รั บ ผิ ด ชอบไว้ ใ นรายละเอี ย ดในประกาศขายทอดตลาด ซึ่ ง ผู้ ซ้ื อ
จะต้องผูกพันเงื่อนไขต่าง ๆ ในประกาศขายทอดตลาดทั้งหมด
2.2.4 การเข้ า ครอบครองทรั พ ย์ ภ ายหลั ง การจดทะเบี ย น
ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด เมื่อไปทำ�การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว
ไม่ ส ามารถเข้ า ครอบครองทรั พ ย์ นั้ น ได้ เ นื่ อ งจากมี ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาหรื อ
บริวารอยู่อาศัย หรือลูกหนี้หรือบริวารไม่ยอมออกจากทรัพย์สินนั้น ผู้ซื้อต้อง
ยื่ น คำ � ขอต่ อ ศาลที่ ท รั พ ย์ นั้ น ตั้ ง อยู่ ใ ห้ อ อกหมายบั ง คั บ คดี เพื่ อ ตั้ ง เจ้ า พนั ก งาน
บังคับคดีไปดำ�เนินการขับไล่ลูกหนี้หรือบริวารนั้นได้ โดยให้ถือว่าลูกหนี้หรือบริวาร
เป็นลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาที่ไม่จำ�เป็นต้องฟ้องลูกหนี้หรือบริวารเป็นคดีใหม่

เหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดี
ในการขายทอดตลาดอาจมีเหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
ต้องงดการขายทอดตลาด ดังนี้
1. เมื่ อ มี ก ารถอนการยึ ด ทรั พ ย์ โดยเจ้ า หนี้ ผู้ เ ป็ น โจทก์ ข อถอน
การยึดทรัพย์ หรือลูกหนี้ได้วางเงินชำ�ระหนี้ตามคำ�พิพากษาและชำ�ระหนี้
ของผู้ ร้ อ งเฉลี่ ย ทรั พ ย์ ที่ ศ าลมี คำ � สั่ ง แล้ ว พร้ อ มทั้ ง ค่ า ธรรมเนี ย มและ
ค่าใช้จ่ายครบถ้วน
2. ศาลสั่งงดการบังคับคดี

57
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

3. เจ้าหนี้ของดการบังคับคดี โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก
ลูกหนี้และบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
4. กรณีบุคคลภายนอกอ้างว่าทรัพย์ที่ขายไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของ
ลูกหนี้และได้ยื่นคำ�ร้องต่อศาลขอให้ปล่อยทรัพย์นั้น
5. เหตุอื่น ๆ เช่น ส่งประกาศขายให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียยังไม่ครบถ้วน
หากดำ�เนินการขายทอดตลาดอาจทำ�ให้การขายทอดตลาดนั้นไม่ชอบด้วย
กฎหมาย

สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
ผู้ ที่ ถื อ ว่ า เป็ น ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในการบั ง คั บ คดี กั บ ทรั พ ย์ สิ น อั น ได้ แ ก่
เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา ลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์
ที่ ข ายทอดตลาด ผู้ ถื อ กรรมสิ ท ธิ์ ร่ ว มกั บ ลู ก หนี้ เจ้ า หนี้ บุ ริ ม สิ ท ธิ์ ห รื อ เจ้ า หนี้
ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ศาลมีคำ�สั่งอนุญาตแล้ว หรือคู่สมรสลูกหนี้ที่ศาลมีคำ�สั่ง
อนุ ญ าตให้ กัน ส่ ว นแล้ ว รวมถึ ง ผู้ซ้ือ ทรั พ ย์ ไ ด้ แ ล้ ว ไม่ ว างเงิ น ชำ � ระส่ ว นที่ เ หลื อ
ที่ เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี มี คำ � สั่ ง ให้ ริ บ เงิ น มั ด จำ � แล้ ว นํ า ทรั พ ย์ อ อกขายใหม่
ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก คนต้ อ งไปดู แ ลการขายทอดตลาดตามกำ � หนดนั ด ทุ ก ครั้ ง
หากผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ไม่ ส ามารถไปดู แ ลการขายทอดตลาดอาจมอบอำ � นาจให้
บุคคลอื่นไปดูแลการขายแทนก็ได้

58
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

ผู้สนใจซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด
1. การเตรียมตัวก่อนเข้าประมูลซื้อทรัพย์
ก่ อ นเข้ า สู้ ร าคาผู้ ซื้ อ มี ห น้ า ที่ ต รวจสอบรายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ทรั พ ย์ ที่
จะซื้อตามสถานที่และแผนที่การไปที่ปรากฏในประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึง
สภาพทรัพย์นั้นโดยละเอียดครบถ้วนแล้ว และควรตรวจสอบวัน เวลาและสถานที่
ตลอดจนเงื่อนไขในการชำ�ระราคา การวางเงินหลักประกันให้ชัดเจนและเป็นที่
เข้าใจเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง หรือท่านสามารถตรวจสอบ
จากประกาศที่ เ จ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ไ ด้ ปิ ด ประกาศไว้ ณ กรมบั ง คั บ คดี
สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร สำ�นักงานบังคับคดีจงั หวัดและสาขา หรือ
ทางอินเตอร์เน็ต ที่ www.led.go.th
2. หลักฐานที่จะต้องนำ�มาในวันประมูล
2.1 กรณีบุคคลธรรมดาเป็นผู้ซื้อต้องนำ�บัตรประจำ�ตัวประชาชนหรือ
บัตรประจำ�ตัวข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือเดินทาง พร้อมรับรองสำ�เนาถูกต้อง
1 ฉบับ
2.2 กรณี นิ ติ บุ ค คลเป็ น ผู้ ซื้ อ ต้ อ งส่ ง หนั ง สื อ รั บ รองนิ ติ บุ ค คล
ที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
2.3 กรณีประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าประมูลแทนต้องมีใบมอบอำ�นาจ
ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท และมีหลักฐานตามข้อ 2.1 ของผู้มอบ
และผู้รับมอบอำ�นาจ หากมิได้แสดงใบมอบอำ�นาจก่อนจะถือว่า
ผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นกระทำ�การในนามของตนเอง

59
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

2.4 เงิ น สดหรื อ แคชเชี ย ร์ เช็ ค สั่ ง จ่ า ยหน่ ว ยงานตามที่ กำ � หนดไว้ ใ น


ประกาศขายทอดตลาด เพื่อใช้เป็นหลักประกันการเข้าสู้ราคา
เว้นแต่
1. ผูม้ สี ทิ ธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซือ้ ประเภทผูม้ ชี อื่ ในเอกสารสิทธิ
ร่วมกับลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาหรือผู้มีส่วนได้จากกองมรดกตามคำ�พิพากษา
2. ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อ ประเภทเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
เหนือทรัพย์สินที่ขายตามคำ�ชี้ขาดศาล
3. คู่สมรสที่ศาลมีคำ�สั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว
3. วิธีการประมูลซื้อทรัพย์
3.1 กรณีประมูลซื้ออสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
/ห้องชุดฯลฯ)
3.1.1 ผู้เข้าสู้ราคาต้องวางหลักประกันการเข้าเสนอราคาเป็น
จำ � นวนตามที่ กำ � หนดในประกาศขายทอดตลาดการวางหลั ก ประกั น อาจวาง
เป็ น เงิ น สด หรื อ แคชเชี ย ร์ เช็ ค หรื อ ใช้ วิ ธี ทำ � รายการผ่ า นระบบ EDC ต่ อ
เจ้าหน้าที่การเงิน เว้นแต่ผู้เข้าสู้ราคานั้น
- ผู้ มี สิ ท ธิ ข อหั ก ส่ ว นได้ ใช้ แ ทนราคาซื้ อ ประเภทผู้ ซื้ อ ประเภทผู้ มี ชื่ อ
ในเอกสารสิ ท ธิ ร่ ว มกั บ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษา หรื อ ผู้ มี ส่ ว นได้ จ ากกองมรดก
ตามคำ�พิพากษา
- ผู้ มี สิ ท ธิ ข อหั ก ส่ ว นได้ ใ ช้ แ ทนราคาซื้ อ ประเภทเจ้ า หนี้ บุ ริ ม สิ ท ธิ
เหนือทรัพย์สินที่ขายตามคำ�ชี้ขาดของศาล
- คู่สมรสที่ศาลมีคำ�สั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว

60
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

3.1.2 ผู้เข้าสู้ราคา เมื่อวางเงินหลักประกันแล้วจะได้รับป้ายประมูลราคา


เพื่อใช้สำ�หรับเสนอราคา จากนั้นเข้าไปนั่งในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้
3.1.3 การขายทอดตลาดแต่ ล ะครั้ ง ราคาเริ่ ม ต้ น ในการ
ขายทอดตลาด ในกรณี ที่ มี ร าคาของคณะกรรมการกำ � หนดราคาทรั พ ย์
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาของคณะกรรมการกำ�หนดราคาทรัพย์
ในกรณี ที่ ไ ม่ มี ร าคาของคณะกรรมการกำ � หนดราคาทรั พ ย์ แต่ มี ร าคาประเมิ น
ของฝ่ า ยประเมิ น ราคาทรั พ ย์ แ ละราคาประเมิ น ของเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ ในกรณีที่
ไม่มีราคาของคณะกรรมการกำ�หนดราคาทรัพย์และราคาประเมินของฝ่ายประเมิน
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี
3.1.4 เมื่อไม่มีผู้ให้ราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนทรัพย์สิน
ออกจากการขายทอดตลาด เมื่ อ มี ผู้ ใ ห้ ร าคาเจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะทำ � การ
ขายทอดตลาดจนได้ราคาสูง เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขานราคาและนับหนึ่ง 3 ครั้ง
ขานราคาและนับสองอีก 3 ครั้ง และหากไม่มีผู้ให้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงาน
บังคับคดีจะขานราคานับสามพร้อมเคาะไม้ขายให้กับผู้เสนอราคาสูงสุดดังกล่าว
3.1.5 หากผู้เข้าสู้ราคาประมูลซื้อทรัพย์ไม่ได้ก็สามารถขอรับ
เงินสดหรือแคชเชียร์เช็คที่วางไว้ หรือขอคืนเงินที่วางผ่านระบบ EDC คืนได้ทันที
3.2 กรณีประมูลซื้อทรัพย์สังหาริมทรัพย์ (สิ่งของ)
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดปักธงหมากรุกบนทรัพย์
ชิ้ น ใด ถื อ ว่ า จะทำ � การขายทอดตลาดทรั พ ย์ ชิ้ น ดั ง กล่ า ว และเมื่ อ มี ผู้ เ สนอ
ราคาสู ง สุ ด เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี จ ะขานราคาและนั บ หนึ่ ง 3 ครั้ ง ขานราคา

61
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีแพ่ง กระทรวงยุติธรรม

และนับสองอีก 3 ครั้ง และหากไม่มีผู้ให้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดี


จะขานราคานับสามพร้อมเคาะไม้ขายให้ผู้เสนอราคาสูงสุดดังกล่าว
4. การปฏิบัติเมื่อประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด
4.1.1 ทรัพย์ที่ประมูลซื้อได้เป็นอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน/ที่ดิน
พร้อมสิ่งปลูกสร้าง/ห้องชุดฯลฯ) ผู้ซื้ออาจชำ�ระเงินตามราคาที่ประมูลซื้อทรัพย์
ให้ครบถ้วนในวันซื้อก็ได้
4.1.2 หากผู้ซื้อไม่สามารถชำ�ระราคาตามข้อ 4.1.1 ผู้ซื้ออาจทำ�
สัญญาซื้อขายโดยให้ถือว่าหลักประกันตามเงื่อนไขการเข้าสู้ราคาให้ถือเป็นส่วนหนึ่ง
ของการชำ�ระราคาและผู้ซื้อจะต้องชำ�ระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่
วันที่ซื้อทรัพย์เป็นต้นไป
สำ�หรับการชำ�ระราคาส่วนที่เหลือ หากผู้ซ้ือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
หรือไม่สามารถนำ�เงินที่เหลือมาชำ�ระได้ทันภายใน 15 วัน ผู้ซื้อทรัพย์ สามารถ
ยื่ น คำ � ร้ อ งขอขยายระยะเวลาการวางเงิ น โดยมี ห นั ง สื อ ขอขยายระยะเวลา
การวางเงิ น ของสถาบั น การเงิ น มาแสดง หรื อ กรณี มี เ หตุ อั น สมควร อาจยื่ น
คำ � ร้ อ งแสดงเหตุ ผ ลเกี่ ย วกั บ การประกอบอาชี พ รายได้ ความเกี่ ย วพั น กั บ
คู่ความและแหล่งเงินได้หรือเงินกู้ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจขยายระยะเวลา
การชำ�ระเงินส่วนที่เหลือได้อีกไม่เกิน 3 เดือน
4.1.3 เมื่ อ ผู้ ซื้ อ ผิ ด สั ญ ญาไม่ ชำ � ระราคาไม่ ว่ า กรณี ใ ดๆ
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะริบเงินมัดจำ�และจะนำ�ทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดใหม่
หากได้เงินสุทธิตํ่ากว่าที่ผู้ซื้อให้ราคาไว้ในครั้งก่อนผู้ซื้อต้องรับผิดชอบชำ�ระเงิน
ในส่วนที่ขาดอยู่
4.1.4 เมื่อผู้ซื้อชำ�ระราคาครบถ้วนตามข้อ 4.1.1 หรือ 4.1.2
62
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีแพ่ง

แล้วสามารถขอรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อใช้เป็น
หลักฐานในการติดต่อขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กับเจ้าพนักงานที่ดินได้ทันที
และในกรณีทซี่ อื้ ทีด่ นิ ไม่มหี นังสือสำ�คัญทีด่ นิ ใบเสร็จรับเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ย่อมเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาด
4.1.5 หากผู้ซื้อเป็นผู้รับจำ�นองซึ่งศาลมีคำ�สั่งชี้ขาดแล้ว หรือ
เป็ น ผู้ มี ชื่ อ ร่ ว มกั บ ลู ก หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาในที่ ดิ น ที่ ซื้ อ ได้ หรื อ เป็ น ผู้ มี ส่ ว นได้
จากกองมรดกตามคำ�พิพากษาในคดีที่เข้าประมูลซื้อทรัพย์ หรือคู่สมรสที่ศาล
มี คำ � สั่ ง อนุ ญ าตให้ กั น ส่ ว นแล้ ว ก็ มี สิ ท ธิ ข อหั ก ส่ ว นได้ ใช้ แ ทน โดยทำ � สั ญ ญา
ซื้อขายและวางเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาเริ่มต้น (เงินตามหลักประกัน
การเข้าสู้ราคา) ได้โดยไม่ต้องชำ�ระราคาตามข้อ 4.1.1 หรือ 4.1.2 เมื่อเจ้าพนักงาน
บั ง คั บ คดี คิ ด หั ก ส่ ว นได้ ใช้ แ ล้ ว ยั ง มี ส่ ว นขาดอยู่ เ ท่ า ใด ผู้ ซื้ อ มี ห น้ า ที่ จ ะต้ อ ง
ชำ�ระราคาให้ครบแล้ว จึงจะดำ�เนินการตามข้อ 4.1.4 ได้
4.2 ทรัพย์ที่ประมูลซื้อได้เป็นสังหาริมทรัพย์ (สิ่งของต่างๆ)
4.2.1 ผู้ซื้อต้องชำ�ระราคาเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเต็มจำ�นวน
ทันที พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เว้นแต่จะมีกำ�หนดเงื่อนไขในการชำ�ระราคาไว้
เป็นอย่างอื่น
4.2.2 นำ�ใบเสร็จรับเงินพร้อมหลักฐานบัตรประจำ�ตัวประชาชน
หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจมาแสดง
เพื่อขอรับมอบทรัพย์
4.2.3 หากทรัพย์ที่ซื้อได้นั้นจะต้องมีใบอนุญาตครอบครอง หรือ
ขนย้ายของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เช่น อาวุธปืน สุรา เป็นต้น ผู้ซื้อจะต้องแสดง
ใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาที่กำ�หนดจึงจะรับมอบทรัพย์นั้นได้
63
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

64
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

การบังคับคดี
ล้มละลาย

ความเป็นมา
การบังคับคดีล้มละลาย เป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของกรมบังคับคดี
เป็นการดำ�เนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ภายหลังศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็น
กระบวนการที่ จ ะดำ � เนิ น การรวบรวมและจำ � หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้
แล้วนำ�มาจัดสรรแบ่งส่วนชำ�ระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลายพุทธศักราช 2483 บัญญัติไว้ดังนี้ “กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย
หมายความว่า กระบวนพิจารณาซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติน้ี ไม่ว่า
จะกระทำ � ต่ อ ศาลหรื อ ต่ อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทัก ษ์ ท รั พ ย์ ตั้ ง แต่ เริ่ ม คดี จ นถึ ง
คดีสิ้นสุด”
65
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

การบังคับคดีล้มละลาย
แตกต่างจากการบังคับคดีแพ่ง กล่าวคือ
การบังคับคดีแพ่ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อบังคับคดีกับลูกหนี้ตาม
คำ�พิพากษาเพือ่ ประโยชน์แก่เจ้าหนีต้ ามคำ�พิพากษาในคดีนน้ั แต่เพียงฝ่ายเดียว
การบังคับคดีล้มละลาย มีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ เพื่อให้
เจ้ า หนี้ ทุ ก รายได้ รั บ ส่ ว นเฉลี่ ย อย่ า งเท่ า เที ย มกั น ทั้ ง เจ้ า หนี้ ผู้ เ ป็ น โจทก์
เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา และเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องคดี

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คือ เจ้าพนักงานตามกฎหมายล้มละลาย
ที่ มี อำ � นาจหน้ า ที่ ใ นการจั ด การรวบรวมทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ห รื อ บุ ค คล
ล้มละลาย และดำ�เนินการแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้ให้กับบรรดาเจ้าหนี้
ทั้งหลายของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายและหมายความตลอดถึงบุคคลที่ได้รับ
มอบหมายจากเจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ด้ ว ย เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
ต้องดำ�เนินการบังคับคดีล้มละลายให้เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม
คำ�สั่งกรมบังคับคดี

66
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

การฟ้องขอให้ล้มละลายและการสั่งพิทักษ์ทรัพย์
มูลเหตุการฟ้องคดีลม้ ละลาย (มาตรา 7) ประกอบด้วยเงือ่ นไข 2 ประการ คือ
1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ ลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน และ
2. กรณีใดกรณีหนึง่ ดังต่อไปนี้
2.1 ลูกหนี้มีภูมิลำ�เนาในราชอาณาจักร
2.2 ลูกหนี้ประกอบธุรกิจในราชอาณาจักร ไม่ว่าด้วยตนเองหรือ
ตัวแทนในขณะที่ยื่นคำ�ฟ้องหรือคำ�ร้องขอให้ล้มละลาย
2.3 ลูกหนี้เคยมีภูมิลำ�เนาในราชอาณาจักรภายในกำ�หนดเวลา
หนึ่งปีก่อนนั้น
2.4 ลูกหนี้เคยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเอง
หรือตัวแทน ภายในกำ�หนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น

หลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลาย (มาตรา 9) เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้


ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
2. จำ�นวนหนี้ที่จะฟ้องขอให้ล้มละลาย
2.1 ลูกหนีซ้ ง่ึ เป็นบุคคลธรรมดา เป็นหนีเ้ จ้าหนีผ้ เู้ ป็นโจทก์คนเดียว
หรือหลายคน เป็นจำ�นวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ
2.2 ลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว
หรือหลายคน เป็นจำ�นวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท
2.3 หนี้นั้นอาจกำ�หนดจำ�นวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึง
กำ�หนดชำ�ระโดยพลัน หรือในอนาคตก็ตาม
67
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

หลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน (มาตรา 10)


ภายใต้บงั คับมาตรา 9 เจ้าหนีม้ ปี ระกันจะฟ้องลูกหนีใ้ ห้ลม้ ละลายได้กต็ อ่ เมือ่
1. มิ ไ ด้ เ ป็ น ผู้ ต้ อ งห้ า มมิ ใ ห้ บั ง คั บ การชำ � ระหนี้ เ อาแก่ ท รั พ ย์ สิ น ของ
ลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกันและ
2. กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกัน
เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้อง ซึ่งเมื่อหัก
กับจำ�นวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำ�หรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
เป็ น จำ � นวนไม่ น้ อ ยกว่ า 1,000,000 บาท หรื อ ลู ก หนี้ ซึ่ ง เป็ น นิ ติ บุ ค คล
เป็นจำ�นวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท

คำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว (มาตรา 17)
คำ � สั่ ง พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ชั่ ว คราว เป็ น วิ ธี ก ารป้ อ งกั น มิ ใ ห้ ลู ก หนี้ ยั ก ย้ า ย
ถ่ า ยเททรั พ ย์ สิ น เป็ น การคุ้ ม ครองประโยชน์ ข องเจ้ า หนี้ ทั้ ง หลาย คำ�สั่ง
พิทักษ์ทรัพย์ช่ัวคราวมีผลทำ�ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำ�นาจยึดและ
รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ยังไม่ทำ�การขาย และในชั้นพิทักษ์ทรัพย์
ชั่วคราวนั้น จะไม่มีการประกาศให้เจ้าหนี้ย่นื คำ�ขอรับชำ�ระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์

คำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (มาตรา 14)
คำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นคำ�วินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลว่าเป็น
ไปตามที่ เจ้ า หนี้ ผู้ เ ป็ น โจทก์ ฟ้ อ งขอให้ ลู ก หนี้ ล้ ม ละลาย หากจะเที ย บกั บ
คดีแพ่งธรรมดาก็คือการพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่ในคดีล้มละลายนั้น
68
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

เจ้ า หนี้ ผู้ เ ป็ น โจทก์ ไ ด้ ฟ้ อ งมาว่ า ลู ก หนี้ มี ห นี้ สิ น ล้ น พ้ น ตั ว เป็ น หนี้ เจ้ า หนี้
ผู้เป็นโจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท แล้วแต่กรณี
แล้วหนี้นั้นอาจกำ�หนดจำ�นวนได้โดยแน่นอน เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 9 หรือ
มาตรา 10 และศาลพิจารณาแล้วว่าไม่มีเหตุที่ไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย
ศาลจะมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด
ผลของคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
เมื่อศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผลของคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์
เด็ดขาดนั้น จะมีผลทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
1. ผลต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา 22)
เมื่อศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
มีอำ�นาจ ดังต่อไปนี้
1.1 จั ด การและจำ � หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ หรื อ กระทำ � การ
ที่จำ�เป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
1.2 เก็ บ รวบรวมและรั บ เงิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น ซึ่ ง จะตกแก่ ลู ก หนี้
หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากบุคคลอื่น
1.3 ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ
เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
2. ผลต่อลูกหนี้ (มาตรา 24)
เมื่ อ ศาลมี คำ � สั่ ง พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ข องลู ก หนี้ แ ล้ ว ห้ า มมิ ใ ห้ ลู ก หนี้
กระทำ�การใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ เว้นแต่จะได้กระทำ�
ตามคำ�สัง่ หรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ ผูจ้ ดั การทรัพย์
หรื อ ที่ ป ระชุ ม เจ้ า หนี้ ตามที่ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ นพระราชบั ญ ญั ติ ล้ ม ละลาย
พุทธศักราช 2483
69
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

3. ผลต่อเจ้าหนี้
เมื่อศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
3.1 โจทก์ จ ะฟ้ อ งร้ อ งบั ง คั บ เป็ น คดี แ พ่ ง ได้ เ ฉพาะหนี้ ที่ ไ ม่ อ าจ
ยื่ น คำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ไ ด้ กฎหมายห้ า มเจ้ า หนี้ ฟ้ อ งลู ก หนี้
ผู้ล้มละลายเฉพาะหนี้เงินเท่านั้น ส่วนหนี้เกี่ยวด้วยการกระทำ�
งดเว้นการกระทำ�หรือส่งมอบทรัพย์สินอื่น ซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจ
ขอรั บ ชำ � ระหนี้ต่อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทัก ษ์ ท รั พ ย์ ไ ด้ กฎหมาย
ล้มละลายไม่ได้ห้ามมิให้ฟ้อง
3.2 ส่ ว นหนี้ ที่ อ าจขอรั บ ชำ � ระหนี้ ไ ด้ เจ้ า หนี้ ผู้ เ ป็ น โจทก์ แ ละ
เจ้ า หนี้ อื่ น จะต้ อ งนำ � มายื่ น ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ต่ อ เจ้ า พนั ก งาน
พิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำ�หนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณา
คำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
4. ผลต่อบุคคลภายนอก
ก่ อ นศาลมี คำ � สั่ ง พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ข องลู ก หนี้ ลู ก หนี้ อ าจจะมี
สิ ท ธิ เรี ย กร้ อ ง ต่ อ บุ ค คลภายนอก ซึ่ ง เมื่ อ ศาลมี คำ � สั่ ง พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ลู ก หนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมสิทธิเรียกร้องเหล่านี้เข้ากองทรัพย์สิน
โดยวิ ธี ก ารทวงหนี้ ต ามวิ ธี ก ารที่ กำ � หนดในพระราชบั ญ ญั ติ ล้ ม ละลายฯ
มาตรา 118 และมาตรา 119 แต่ถ้าหากลูกหนี้มีทั้งสิทธิเรียกร้อง และ
ขณะเดี ย วกั น ลู ก หนี้ มี ห น้ า ที่ ที่ จ ะต้ อ งปฏิ บั ติ ใ นลั ก ษณะต่ า งตอบแทน
เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ มี อำ � นาจที่ จ ะไม่ ย อมรั บ หรื อ ปฏิ เ สธสิ ท ธิ ต าม
สัญญานั้น ได้ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบเหตุ

70
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

ที่จะปฏิเสธตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 122 นอกจากนี้บุคคล


ที่ ไ ด้ ทำ � นิ ติ ก รรมกั บ ลู ก หนี้ อ าจถู ก เพิ ก ถอนการทำ � นิ ติ ก รรมนั้ น ได้ ต าม
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 113 มาตรา 114 และมาตรา 115

การดำ�เนินกระบวนพิจารณาคดีลม้ ละลายในชัน้ เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์
การประกาศแจ้งคำ�สั่ง และคำ�พิพากษาของศาล
เมื่ อ ศาลมี คำ � สั่ ง พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ลู ก หนี้ ไม่ ว่ า เป็ น กรณี พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลจะส่งหมายแจ้งคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์
มายั ง เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ และเจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ จ ะต้ อ ง
ประกาศแจ้งคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น เพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้ทราบว่า
อำ�นาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ได้มาอยู่ในความรับผิดชอบ
ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเป็นการกำ�หนดให้บรรดาเจ้าหนี้
ของลู ก หนี้ มี ห น้ า ที่ ต้ อ งมายื่ น ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ต่ อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
ซึ่งในการประกาศแจ้งคำ�สั่งดังกล่าวนั้นต้องส่งไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และหนั ง สื อ พิ ม พ์ ตลอดจนการออกหมายนั ด ให้ เจ้ า หนี้ ผู้ เ ป็ น โจทก์ ม า
วางเงิ น ประกั น ค่ า ใช้ จ่ า ยในชั้ น เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ การออกหมาย
เรี ย กลู ก หนี้ ม าให้ ก ารสอบสวนเกี่ ย วกั บ กิ จ การและทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้
และเมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ หรือ
การปลดล้มละลาย หรือการยกเลิกล้มละลายเหล่านี้ เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์
ต้องประกาศแจ้งเช่นเดียวกัน

71
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

การสอบสวนลูกหนี้ (มาตรา 30, มาตรา 117)


เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ต้องสอบสวนลูกหนี้เพื่อให้ทราบว่า
ลู ก หนี้ มี ร ายได้ ห รื อ มี ภ าระค่ า ใช้ จ่ า ยเพี ย งใด มี ห นี้ สิ น ทรั พ ย์ สิ น เพี ย งใด
มี สิ ท ธิ เรี ย กร้ อ งจากบุ ค คลภายนอกอย่ า งไรบ้ า ง ตลอดจนเหตุ ที่ ลู ก หนี้
ถูกฟ้องล้มละลาย นอกจากนี้ยังต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่
ของลูกหนี้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะต้ อ งทำ � การสอบสวน เพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง ความจริ ง และเป็ น ประโยชน์
ในการรวบรวมทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ นอกจากนี้ แ ล้ ว เจ้ า หนี้ ผู้ เ ป็ น โจทก์
มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ท้งั หลาย ต้องช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในการรวบรวมจำ�หน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้อีกทางหนึ่งด้วย

การตรวจคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ (มาตรา 104)
เมื่ อ ครบกำ � หนดยื่ น คำ � ขอชำ � ระหนี้ แ ล้ ว เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
ต้องแจ้งให้บรรดาเจ้าหนี้ที่ยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้และลูกหนี้มาตรวจคำ�ขอ
รั บ ชำ � ระหนี้ ข องบรรดาเจ้ า หนี้ ทั้ ง หลายที่ ย่ื น ไว้ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ คื อ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้แจ้งให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทราบว่าในคดีนั้น
ที่เจ้าหนี้มาขอรับชำ�ระหนี้ทั้งหมดกี่ราย เป็นใครบ้าง เป็นหนี้อะไรและขอรับ
ชำ � ระหนี้ จำ � นวนเท่ า ใด อี ก ประการหนึ่ ง ลู ก หนี้ ห รื อ เจ้ า หนี้ จ ะโต้ แ ย้ ง
คำ�ขอรับชำ�ระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดบ้างหรือไม่ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะกำ�หนดเวลาให้ทำ�คำ�โต้แย้งเข้ามา

72
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

การประชุมเจ้าหนี้

การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก
เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ต้ อ งเรี ย กประชุ ม เจ้ า หนี้ โ ดยเร็ ว ที่ สุ ด
เพื่ อ ปรึ ก ษาว่ า ควรยอมรั บ คำ � ขอประนอมหนี้ ข องลู ก หนี้ หรื อ ควรขอให้
ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สิน
ของลูกหนี้

การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น (มาตรา 32)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ในกรณีดังต่อไปนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมตามเวลาที่เห็นสมควร (กรณี
มีข้อหารือที่จะปรึกษาที่ประชุมเจ้าหนี้ เช่น ควรจะยอมรับทรัพย์จำ�นอง
ของเจ้ า หนี้ มี ป ระกั น ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ ยื่ น ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ต ามมาตรา 96 เข้ า มา
ในกองทรัพย์สินหรือไม่)
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้
ตามที่ ศ าลสั่ ง ให้ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ เรี ย กประชุ ม เจ้ า หนี้
เช่น เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำ�ระหนี้ของผู้มีส่วนได้เสียในการเข้าใช้หนี้แทน
เจ้าหนี้ซึ่งมีจำ�นวนหนี้รวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำ�นวนหนี้
ที่ได้มีการยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ไว้ได้ทำ�หนังสือขอให้เรียกประชุม

73
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

การรายงานศาลขอให้พิจารณาคำ�ขอประนอมหนี้หรือพิพากษา
ให้ล้มละลาย
เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติเป็นประการใด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะต้องรายงานศาลเพื่อพิจารณาแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีลูกหนี้ยื่นคำ�ขอประนอมหนี้และที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบ
เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ จ ะรายงานศาลขอให้ ไ ต่ ส วนลู ก หนี้ โ ดยเปิ ด เผย
และพิจารณาคำ�ขอประนอมหนี้ของลูกหนี้
กรณีลกู หนีไ้ ม่ยนื่ คำ�ขอประนอมหนีห้ รือทีป่ ระชุมเจ้าหนีไ้ ม่เห็นชอบ
กับคำ�ขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานศาลขอให้
พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย หากเป็นกรณี
ลูกหนี้ไม่มาให้การสอบสวนกิจการและทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานขอให้ศาลออกหมายจับลูกหนี้ ขอให้ศาล
พิพากษาให้ล้มละลาย และงดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย

การสอบสวนคำ�ขอรับชำ�ระหนี้และการพิจารณาทำ�ความเห็น
การสอบสวนคำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ข องเจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ นั้ น
เป็ น กระบวนการที่ ดำ � เนิ น การเช่ น เดี ย วกั บ การพิ จ ารณาคดี ข องศาล
ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำ�การสอบสวนพยานของเจ้าหนี้เกี่ยวกับ
มูลหนี้ที่ขอรับชำ�ระหนี้ พยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอบสวน
เจ้ า หนี้ ห รื อ ลู ก หนี้ ผู้ โ ต้ แ ย้ ง คำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ข องเจ้ า หนี้ แ ต่ ล ะราย ต้ อ ง
พิ จ ารณาให้ ไ ด้ ค วามจริ ง ว่ า หนี้ ที่ เจ้ า หนี้ ข อรั บ ชำ � ระหนี้ ม านั้ น เป็ น หนี้ ที่ มี

74
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

อยู่ จ ริ ง เจ้ า หนี้ ส ามารถขอรั บ ชำ � ระหนี้ ไ ด้ ตลอดจนพิ จ ารณาว่ า เจ้ า หนี้


จะมี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ชำ � ระหนี้ เ พี ย งใด หรื อ เจ้ า หนี้ ไ ม่ ค วรได้ รั บ ชำ � ระหนี้ เ ลย
เมื่ อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ มี ค วามเห็ น ในคำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ร ายใดแล้ ว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องแจ้งคำ�สั่งในคำ�ขอรับชำ�ระหนี้นั้นให้เจ้าหนี้
และลูกหนี้ที่เกี่ยวข้องทราบ

การสอบสวนและทำ�คำ�สั่ง หรือทำ�ความเห็นในสำ�นวนสาขาอื่นๆ
นอกจากสำ � นวนคำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ที่ เ จ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
ต้องทำ�การสอบสวนและพิจารณาทำ�ความเห็นแล้ว ยังมีสำ�นวนสาขาอื่น
ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำ�การสอบสวนผู้ร้องอื่น ๆ เช่น
สำ�นวนเพิกถอนการโอน หรือสำ�นวนเพิกถอนการฉ้อฉล
สำ�นวนร้องขอกันส่วน
สำ�นวนขอหักกลบลบหนี้
สำ�นวนทวงหนี้
สำ�นวนขอปฏิบัติตามสัญญา
สำ�นวนคำ�ขอเจ้าหนี้ตามมาตรา 95
ในสำ � นวนสาขาเหล่ า นี้ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ต้ อ งพิ จ ารณา
จากคำ�ให้การสอบสวนของลูกหนี้และคำ�ร้องของผู้ร้องว่ามีเหตุอันสมควร
ตั้ ง เป็ น สำ � นวนสาขาหรื อ ไม่ อยู่ ภ ายในระยะเวลาที่ ต้ อ งดำ � เนิ น การ
ตามกฎหมายหรือไม่ หมดอายุความเมื่อใด เป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สิน
ของลู ก หนี้ ห รื อ ไม่ หากดำ � เนิ น การตั้ ง สำ � นวนสาขาดั ง กล่ า วขึ้ น แล้ ว

75
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ต้ อ งหมายเรี ย กผู้ ร้ อ ง ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งลู ก หนี้
มาทำ�การสอบสวนในประเด็นต่าง ๆ และพิเคราะห์พยานหลักฐานที่นำ�ส่ง
ประกอบคำ�ให้การเพื่อพิจารณาทำ�ความเห็นหรือคำ�สั่งต่อไป
เมื่ อ ทำ � การสอบสวนครบถ้ ว นแล้ ว เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ต้ อ ง
พิจารณาทำ�ความเห็นหรือคำ�สั่งในสำ�นวนสาขานั้น ๆ ต่อไป

การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้
การรวบรวมทรัพย์สินมีหลายกรณี ดังนี้
การดำ�เนินการในสำ�นวนคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน
ตามมาตรา 96 (3)
การอายัดเงินเดือน เงินในบัญชี หรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
ที่มีต่อบุคคลภายนอกเพื่อนำ�เงินรวบรวมเข้ากองทรัพย์สิน
การยึ ด ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ เ พื่ อ นำ � ออกขายทอดตลาด ซึ่ ง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำ�การตรวจสอบว่าเป็นทรัพย์ของลูกหนี้หรือไม่
ทรัพย์ดังกล่าวสามารถบังคับคดีได้หรือไม่เพียงใดเมื่อทำ�การยึดแล้ว ต้องมี
76
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

หน้ า ที่ ใ นการประเมิ น ราคาทรั พ ย์ เพื่ อ ให้ เ หมาะสมกั บ สภาพของทรั พ ย์


แต่ ล ะรายการ ต้ อ งแจ้ ง ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทราบการยึ ด เมื่ อ ถึ ง ขั้ น ตอนการ
ขายทอดตลาดต้องจัดทำ�ประกาศขายทอดตลาดและส่งให้ผมู้ สี ว่ นได้เสียทราบ
เพื่อมาดูแลการขาย
การติดตามรวบรวมทรัพย์สิน กรณีที่ลูกหนี้ขอประนอมหนี้สำ�เร็จ
และมีการผ่อนชำ�ระเป็นงวด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องติดตามให้ลูกหนี้
ชำ�ระเงินตามคำ�ขอประนอมหนี้ให้ตรงตามที่เสนอไว้ในคำ�ขอประนอมหนี้
หากผิดนัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องรายงานศาลเพื่อขอให้ศาลยกเลิก
การประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
การทวงหนี้ กรณี ที่ ลู ก หนี้ มี สิ ท ธิ เรี ย กร้ อ งต่ อ บุ ค คลภายนอก
เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ต้ อ งเรี ย กให้ บุ ค คลภายนอกนั้ น ชำ � ระหนี้
เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินต่อไป
การพิจารณากำ�หนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่ลูกหนี้ เมื่อเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์อายัดเงินเดือนหรือเงินอื่นใดของลูกหนี้มาแล้ว ลูกหนี้สามารถ
ที่จะยื่นคำ�ร้องขอค่าเลี้ยงชีพต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ซึ่งการพิจารณา
กำ�หนดค่าเลี้ยงชีพของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ต้องคำ�นึงถึงสถานภาพ
และความเหมาะสมแก่ฐานานุรูปของลูกหนี้ ที่สำ�คัญต้องให้ความเป็นธรรม
แก่เจ้าหนี้ที่ต้องได้รับชำ�ระหนี้จากทรัพย์สินที่รวบรวมดังกล่าวด้วย
ทัง้ ในการรวบรวมทรัพย์สนิ ตามกรณีดงั กล่าวมาแล้วข้างต้น เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ต้องพิจารณาด้วยว่ามีทรัพย์สินที่รวบรวมได้มากพอที่จะแบ่งได้
หรือไม่ เพื่อทำ�บัญชีแบ่งให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายต่อไป

77
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

การปลดจากการล้มละลาย

หลั ง จากศาลมี คำ � พิ พ ากษาให้ ลู ก หนี้ ล้ ม ละลายแล้ ว ลู ก หนี้ อ าจ
จะหลุ ด พ้ น จากการล้ ม ละลายได้ วิ ธี ห นึ่ ง คื อ โดยการปลดจากล้ ม ละลาย
อันเป็นกระบวนการในคดีล้มละลายที่กำ�หนดเฉพาะตัวลูกหนี้ให้หลุดพ้น
จากล้มละลายไป แต่บรรดาทรัพย์สินทั้งหลายของลูกหนี้ซึ่งเป็นทรัพย์สิน
อั น อาจแบ่ ง ได้ ใ นคดี ล้ ม ละลายนั้ น จะต้ อ งตกอยู่ ภ ายใต้ บั ง คั บ การจั ด การ
และจำ�หน่าย เพื่อนำ�มาชำ�ระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไป

การปลดล้มละลายตามกฎหมายล้มละลายของไทยในปัจจุบันนี้ มีอยู่
2 กรณี คือ
ศาลมีคำ�สั่งปลดล้มละลาย (มาตรา 71)
ปลดจากล้ ม ละลายโดยผลของกฎหมาย (มาตรา 81/1) คื อ
บุ ค คลธรรมดา ซึ่ ง ศาลพิ พ ากษาให้ ล้ ม ละลายแล้ ว ให้ ป ลดบุ ค คลนั้ น
จากล้มละลายทันที ที่พ้นกำ�หนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษา
ให้ล้มละลาย

การปิดคดี (มาตรา 133)


เมื่อศาลมีคำ�พิพากษาให้ลูกหนี้ (จำ�เลย) เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว
หากปรากฎว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
และไม่มกี จิ การและทรัพย์สนิ หรืองานค้างปฏิบตั ิ หรือเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์
ดำ�เนินการรวบรวม จำ�หน่าย และแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้เสร็จสิ้นแล้ว
78
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

และไม่มีกิจการใดที่ต้องปฏิบัติต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำ�เนินการ
รายงานเพื่อขอให้ศาลสั่งปิดคดี
คำ�สัง่ ปิดคดีมผี ลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้ ไม่ท�ำ ให้คดีลม้ ละลาย
สิ้นสุดลง

การยกเลิกการล้มละลาย (มาตรา 135)


เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ จ ะดำ � เนิ น การเพื่ อ ขอให้ ศ าลสั่ ง ยกเลิ ก
การล้มละลายของลูกหนี้ เมื่อปรากฎเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำ�เนินการให้ได้ผล เพื่อประโยชน์
แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย เพราะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ช่วยหรือยอมเสียค่าธรรมเนียม
หรือค่าใช้จา่ ยหรือวางเงินประกันตามทีเ่ จ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์เรียกร้อง และ
ไม่มีเจ้าหนี้อื่นสามารถและเต็มใจกระทำ�การดังกล่าวแล้ว ภายในกำ�หนดเวลา
หนึ่งเดือนนับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ขัดขืนหรือละเลยนั้น
ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย เช่น กรณีคดีล้มละลายไม่มี
เจ้าหนี้ยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้หรือเจ้าหนี้ยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ไว้ได้ถอนคำ�ขอ
รับชำ�ระหนี้ทุกราย และไม่มีเจ้าหนี้ที่ขอรับชำ�ระหนี้เหลืออยู่อีก เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะรายงานศาลขอให้มีคำ�สั่งยกเลิกการล้มละลาย
หนี้ สิ น ของบุ ค คลล้ ม ละลายได้ ชำ � ระเต็ ม จำ � นวนแล้ ว ถ้ า ลู ก หนี้
ปฏิ เ สธหนี้ สิ น รายใด แต่ ลู ก หนี้ ย อมทำ � สั ญ ญาและให้ ป ระกั น ต่ อ ศาลว่ า
จะใช้เงินให้เต็มจำ�นวนกับค่าธรรมเนียมด้วยก็ดี หรือถ้าหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ
แต่ ลู ก หนี้ ไ ด้ นำ � เงิ น เต็ ม จำ � นวนมาวางต่ อ ศาลก็ ดี ใ ห้ ถื อ ว่ า หนี้ สิ น รายนั้ น
ได้ชำ�ระเต็มจำ�นวนแล้ว

79
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

เมื่ อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ไ ด้ แ บ่ ง ทรั พ ย์ ค รั้ ง ที่ สุ ด หรื อ ไม่ มี


ทรั พ ย์ สิ น แบ่ ง ให้ แ ก่ เ จ้ า หนี้ แ ล้ ว ต่ อ แต่ นั้ น มาภายในกำ � หนดเวลาสิ บ ปี
เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ไ ม่ อ าจรวบรวมทรั พ ย์ สิ น ของบุ ค คลล้ ม ละลาย
ได้ อี ก และไม่ มี เจ้ า หนี้ ม าขอให้ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ จั ด การรวบรวม
ทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย
เมื่ อ มี ก ารยกเลิ ก การล้ ม ละลายแล้ ว ลู ก หนี้ มี อำ � นาจในการจั ด การ
ทรัพย์สินของตน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมดอำ�นาจในการจัดการ
ทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่คำ�สั่งยกเลิกการล้มละลายตามเหตุข้อ 1 หรือข้อ 2
ไม่ทำ�ให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด

80
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้
ในคดีล้มละลาย

เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้
1. วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
1.1 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว 8,000 บาท
1.2 ชั้นพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 10,000 บาท
1.3 หากวางเงิ น ประกั น ชั้ น พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ชั่ ว คราวแล้ ว ต่ อ มาเมื่ อ ศาล
มีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต้องวางเงินประกันเพิ่มอีก 5,000 บาท
เว้นแต่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายมีเงินเพียงพอ
1.4 วางเงิ น ประกั น ค่ า ใช้ จ่ า ยเพิ่ ม เติ ม ตามจำ � นวนที่ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
เห็นว่าจำ�เป็นตามควร
2. ให้ ถ้ อ ยคำ � เกี่ ย วกั บ ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ห รื อ ผู้ ล้ ม ละลายที่ ถู ก ยึ ด หรื อ
อายั ด ไว้ ใ นคดี อื่ น และคดี แ พ่ ง อั น เกี่ ย วกั บ ทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ห รื อ
ผู้ล้มละลายที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล (ถ้าหากมี)
3. นำ�เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
(ถ้าหากมี) โดยเร็ว
4. ดูแลระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย
5. ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำ�หน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้
หรือผู้ล้มละลาย
6. สิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ทั้งหลาย
81
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

เจ้าหนีท
้ งั้ หลาย รวมทัง้ เจ้าหนีผ้ เู้ ป็นโจทก์มสี ท ิ ธิและหน้าที่ ดังนี้
1. แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินและที่อยู่ของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
2. ติ ด ตามสอดส่ อ งทรั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้ ห รื อ ผู้ ล้ ม ละลายแล้ ว
แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำ�เนินการ
3. ช่วยเหลือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำ�หน่ายทรัพย์สิน
ของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
4. ยืน่ คำ�ขอรับชำ�ระหนีภ้ ายใน 2 เดือน นับแต่วนั โฆษณาคำ�สัง่ พิทกั ษ์ทรัพย์
เด็ดขาด หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำ�หนด (เฉพาะคดีล้มละลาย
ที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป)
5. ไปตรวจคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ตามวันเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำ�หนด
6. ไปประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้งเมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
7. ไปศาลในวันนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามวันเวลาที่ได้รับแจ้งจาก
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
8. แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อย้ายที่อยู่ใหม่
9. รับเงินส่วนแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้ในคดีล้มละลาย

82
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

ลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายมีสิทธิและหน้าที่ดังนี้
1. ต้องไปสาบานตัวและให้ถ้อยคำ�ชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน
พร้ อ มทำ � บั ญ ชี แ สดงกิ จ การและทรั พ ย์ สิ น (ตามแบบ ล.13 ก-ข)
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
2. ต้องส่งมอบทรัพย์สนิ บัญชี ดวงตราห้างฯ หรือบริษทั และเอกสารต่าง ๆ
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
3. ขอประนอมหนี้ภายในเวลากำ�หนดไม่ว่าก่อนหรือหลังล้มละลาย
4. ไปประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้งเมื่อได้รับแจ้งกำ�หนดวันนัดจากเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์
5. ไปให้ ศ าลไต่ ส วนลู ก หนี้ โ ดยเปิ ด เผยเมื่ อ ได้ รั บ แจ้ ง วั น กำ � หนดนั ด
จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
6. ทำ�บัญชีรับ-จ่าย ทุกระยะ 6 เดือน นับแต่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เสนอต่อ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
7. แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกครั้งเมื่อย้ายที่อยู่ใหม่
8. เดินทางออกนอกราชอาณาจักรต้องขออนุญาตจากศาลหรือเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์
9. ขอค่าเลีย้ งชีพจากเงินทีไ่ ด้มาในระหว่างถูกพิทกั ษ์ทรัพย์ตอ่ เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ตามความจำ�เป็นและสมควรแก่ฐานะ
10. อาจขอให้ปลดตนเองจากการล้มละลาย หรือยกเลิกการล้มละลาย
ตามวิธีการและเงื่อนไขที่กฎหมายกำ�หนด

83
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

ข้อจำ�กัดสิทธิของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลาย
1. ห้ามกระทำ�การใดๆ เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน เว้นแต่กระทำ�
ตามคำ�สั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หรือที่ประชุมเจ้าหนี้
2. ห้ามดำ�เนินคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
3. เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องได้รบั อนุญาตเป็นหนังสือจากศาล
หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
4. รับสินเชื่อจากบุคคล ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ต้องแจ้งให้ทราบว่าตน
ถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือตนเป็นบุคคลล้มละลาย

84
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

การขอรับชำ�ระหนี้
1. หนี้ที่มีสิทธิที่จะได้รับชำ�ระหนี้
1.1 มูลหนี้ต้องเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์
1.2 ต้องมิใช่หนี้เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชนหรือหนี้ที่ฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
1.3 ต้องมิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำ�ขึ้นโดยเจ้าหนี้รู้ว่าลูกหนี้
มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำ�ขึ้นเพื่อให้
กิจการของลูกหนี้ดำ�เนินต่อไปได้
2. ใครมีสิทธิขอรับชำ�ระหนี้
2.1 เจ้าหนี้ หรือ
2.2 ผู้รับมอบอำ�นาจหรือผู้แทนของเจ้าหนี้ โดยทำ�หนังสือมอบอำ�นาจ
ตามแบบทีก่ �ำ หนดไว้และปิดอากรแสตมป์กบั ขีดฆ่าให้ครบถ้วนถูกต้อง
3. วิธีการขอรับชำ�ระหนี้
3.1 ติ ด ต่ อ ขอรั บ แบบพิ ม พ์ คำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ไ ด้ ที่ ฝ่ า ยคำ � คู่ ค วาม
สำ�นักงานเลขานุการกรม (ในส่วนกลาง) หรือสำ�นักงานบังคับคดี
จังหวัดในส่วนภูมิภาค หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์กรมบังคับคดี
(www.led.go.th)
3.2 กรอกข้อความรายการในคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ให้ชัดเจนถูกต้อง และ
ครบถ้ ว น ทั้ ง นี้ ใ ห้ แ นบเอกสารที่ เ กี่ ย วกั บ หนี้ ที่ ยื่ น ขอรั บ ชำ � ระหนี้
มาด้วย มีปัญหาประการใดสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่
3.3 หากเป็นนิติบุคคล ต้องแนบต้นฉบับหรือหนังสือรับรองนิติบุคคล
และชื่อผู้มีอำ�นาจ
85
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

3.4 ชำ�ระค่าธรรมเนียมในการยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ตามจำ�นวนหนี้สิน
ที่ขอรับชำ�ระหนี้ในอัตราดังนี้
หนี้ เ กิ น 50,000 บาท ขึ้ น ไป ค่ า ธรรมเนี ย ม 200 บาท
เว้ น แต่ เ ป็ น คำ � ขอของเจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาได้ รั บ การยกเว้ น
ค่าธรรมเนียม
3.5 สำ�เนาใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม ควรเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์
ในการติดต่อขอรับเงิน
4. การยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้
4.1 ในส่ ว นกลาง ยื่ น ได้ ที่ ฝ่ า ยคำ � คู่ ค วาม สำ � นั ก งานเลขานุ ก ารกรม
กรมบังคับคดี
4.2 ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นที่สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดใดก็ได้
5. ชั้นสอบสวนคำ�ขอรับชำ�ระหนี้
เมื่อเจ้าหนี้หรือผู้รับมอบอำ�นาจหรือผู้แทนเจ้าหนี้ได้รับมอบหมายนัด
ของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ให้น�ำ พยานหลักฐานไปให้การสอบสวนประกอบ
คำ�ขอรับชำ�ระหนี้ที่ยื่นไว้ โดยปฏิบัติดังนี้
5.1 ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ตรงตามกำ�หนดวัน เวลา ที่ระบุ
ในหมาย หากมีความจำ�เป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ต้องแจ้งก่อนวัน
หรือเวลานัดเพื่อขอเลื่อนการสอบสวน
5.2 เจ้าหนี้ควรจะไปให้ถ้อยคำ�สอบสวนเกี่ยวกับมูลหนี้ด้วยตนเอง ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์ต่อการพิสูจน์หนี้ของตน
5.3 ต้องนำ�พยานบุคคลตลอดจนพยานเอกสารที่สนับสนุนมูลหนี้นั้นไป
ให้การสอบสวน หรือส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
86
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

5.4 ก่ อ นให้ ถ้ อ ยคำ � สอบสวน พยานต้ อ งสาบานหรื อ ปฏิ ญ าณว่ า จะ


ให้การตามสัตย์จริง เว้นแต่
5.4.1 บุคคลที่อายุตํ่ากว่าสิบสี่ปี หรือหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ
5.4.2 พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา
6. คำ�ขอรับชำ�ระหนี้ที่ศาลมีคำ�สั่งแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียอาจอุทธรณ์ไปยัง
ศาลฏีกาได้
7. คำ � ขอชำ � ระหนี้ ที่ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ มี คำ � สั่ ง แล้ ว (เฉพาะคดี
ล้มละลายที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป) ผู้มีส่วนได้เสีย
อาจยื่นคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำ�หนด 14 วัน นับแต่วันที่ทราบคำ�สั่ง

87
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

การหยุดนับระยะเวลาปลดจากล้มละลาย
ในคดี ล้ ม ละลายที่ ลู ก หนี้ เ ป็ น บุ ค คลธรรมดาและศาลมี คำ � พิ พ ากษาให้
ล้มละลาย เมื่อพ้นกำ�หนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลล้มละลายได้
พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย กฎหมายกำ�หนดให้บุคคลล้มละลายนั้นได้รับการ
ปลดจากล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่โฆษณาการปลด
จากล้ ม ละลายโดยผลของกฎหมายดั ง กล่ า วในราชกิ จ จานุ เ บกษาและ
หนั ง สื อ พิ ม พ์ ร ายวั น ไม่ น้ อ ยกว่ า 1 ฉบั บ ผลของการปลดจากล้ ม ละลาย
ดังกล่าว ทำ�ให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงอันพึงขอรับชำ�ระได้ ยกเว้น

88
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

1. หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร
2. หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้
ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วน
เกี่ยวข้องสมรู้
ถึ ง แม้ ว่ า กฎหมายจะให้ ป ลดลู ก หนี้ จ ากบุ ค คลล้ ม ละลายทั น ที
ที่ พ้ น กำ � หนดระยะเวลา 3 ปี นั บ แต่ วั น ที่ ศ าลล้ ม ละลายได้ พิ พ ากษาให้
ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่ตามมาตรา 81/2 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
พุทธศักราช 2483 กำ�หนดไว้ว่าก่อนระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลล้มละลาย
ได้ พิ พ ากษาให้ ลู ก หนี้ ล้ ม ละลายจะสิ้ น สุ ด ลง เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
อาจยื่นคำ�ขอต่อศาลล้มละลาย เพื่อขอให้ศาลล้มละลายมีคำ�สั่งให้หยุดนับระยะ
เวลาดังกล่าวไว้ก่อนก็ได้ ซึ่งเหตุแห่งการขอให้หยุดนับระยะเวลาปลดจาก
ล้มละลายเป็นไปตามคำ�สั่งกรมบังคับคดีที่ 445/2549 เรื่องการปฏิบัติงาน
บังคับคดีล้มละลายในสำ�นวนกลาง ดังนี้
1. บุคคลล้มละลายได้รับหมายเรียกมาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการ
และทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบแล้ว แต่เพิกเฉย
ไม่มาดำ�เนินการภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำ�หนดไว้
โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ทราบ
2. บุคคลล้มละลายจงใจกระทำ�หรืองดเว้นกระทำ�การใด ๆ เพื่อประวิง
กระบวนการพิจารณาคดีล้มละลาย
3. บุคคลล้มละลายได้โอน ยักย้าย ปกปิด หรือซุกซ่อนทรัพย์สินของตน
เพือ่ ป้องกัน หรือประวิงไม่ให้เจ้าหนีไ้ ด้รบั ชำ�ระหนี้ หรือกระทำ�การฉ้อฉล
เจ้าหนี้
89
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

4. บุ ค คลล้ ม ละลายกระทำ � การอย่ า งหนึ่ ง อย่ า งใด ซึ่ ง อาจได้ รั บ โทษ


ตามมาตรา 161 ถึง มาตรา 174 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
พุทธศักราช 2483
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะตรวจสำ�นวนของบุคคลล้มละลายก่อนวัน
ครบกำ�หนดระยะเวลาปลดจากล้มละลายไม่น้อยกว่า 6 เดือน หากปรากฎ
เหตุ อ ย่ า งหนึ่ ง อย่ า งใดตามที่ ก ล่ า วไว้ ข้ า งต้ น เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
ต้องยื่นคำ�ขอต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอให้มีคำ�สั่งหยุดนับระยะเวลาปลดจาก
ล้มละลายไว้กอ่ น โดยให้ท�ำ คำ�ขอให้หยุดนับระยะเวลาในการทีล่ กู หนีจ้ ะได้รบั
การปลดจากบุคคลล้มละลาย ตามแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง (ล.8)
บั ญ ชี ร ะบุ พ ยาน ตามแบบพิ ม พ์ ข องศาลล้ ม ละลายกลาง (ล.9) คำ � แถลง
ขอใช้บันทึกถ้อยคำ�ยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยาน ตามแบบพิมพ์ของศาล
ล้มละลายกลาง (ล.8) และบันทึกถ้อยคำ�ยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น
ตามแบบพิ ม พ์ ข องศาลล้ ม ละลายกลาง (ล.25) เมื่ อ ศาลล้ ม ละลายได้ รั บ
คำ � ขอดั ง กล่ า วแล้ ว กฎหมายกำ � หนดให้ ศ าลล้ ม ละลายกำ � หนดนั ด ไต่ ส วน
เป็นการด่วน และส่งสำ�นวนคำ�ขอให้แก่บุคคลล้มละลายทราบก่อนวันนัด
ไม่น้อยกว่า 7 วัน
เมื่อศาลล้มละลายทำ�การไต่สวนฯ แล้วเห็นว่าเหตุแห่งการขอหยุดนับ
ระยะเวลาฯ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีมูลความจริง อันถือได้ว่าบุคคล
ล้มละลายไม่ได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวม
ทรั พ ย์ สิ น โดยไม่ มี เ หตุ อั น สมควร ศาลล้ ม ละลายกลางต้ อ งมี คำ � สั่ ง หยุ ด
นับระยะเวลาปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 วรรคหนึ่ง ตั้งแต่วันที่

90
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การบังคับคดีล้มละลาย

เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ยื่ น คำ � ขอ หรื อ วั น ที่ ศ าลมี คำ � สั่ ง จนถึ ง วั น ที่ ศ าล
กำ�หนดโดยจะกำ�หนดเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าศาลล้มละลายกลาง
จะได้มีคำ�สั่งให้หยุดนับระยะเวลาตามคำ�ขอกี่ครั้งก็ตาม เมื่อรวมระยะเวลา
ทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกิน 2 ปี และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ศาลจะมี
คำ�สั่งให้หยุดนับระยะเวลาเมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปี ตามมาตรา 81/1 วรรคหนึ่ง
แล้ ว ไม่ ไ ด้ คำ � สั่ ง ศาลล้ ม ละลายกลางตามมาตรา 81/3 นี้ ใ ห้ เ ป็ น ที่ สุ ด
ไม่สามารถอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
จะขอหยุดนับระยะเวลาฯ ไว้ 2 ปี

91
กรมบังคับคดี
การบังคับคดีล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม

แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม กฎหมายล้ ม ละลายได้ กำ � หนดให้ สิ ท ธิ แ ก่ บุ ค คล


ล้ ม ละลายที่ ศ าลล้ ม ละลายกลางมี คำ � สั่ ง ให้ ห ยุ ด นั บ ระยะเวลาปลดจาก
ล้มละลายตามมาตรา 81/1 วรรคหนึ่ง ยื่นคำ�ขอต่อศาลล้มละลายกลาง
เพื่ อ ขอให้ ย กเลิ ก หรื อ เปลี่ ย นแปลงแก้ ไ ขคำ � สั่ ง ดั ง กล่ า วได้ เนื่ อ งจาก
พฤติ ก รรมเปลี่ ย นแปลงไป เมื่ อ ศาลล้ ม ละลายกลางได้ รั บ คำ � ขอดั ง กล่ า ว
ให้กำ�หนดวันนัดไต่สวน และส่งสำ�เนาคำ�ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่ อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ไ ด้ รั บ หมายกำ � หนดวั น นั ด ไต่ ส วนของศาล
ล้ ม ละลายพร้ อ มสำ � เนาคำ � ขอแล้ ว เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ มี ห น้ า ที่ ต้ อ ง
แจ้งกำ�หนดวันนัดดังกล่าวให้เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
7 วัน เมื่อศาลล้มละลายกลางไต่สวนฯ เห็นว่าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปจริง
ตามที่ บุ ค คลล้ ม ละลายกล่ า วอ้ า ง ศาลล้ ม ละลายกลางอาจมี คำ � สั่ ง ยกเลิ ก
หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำ�สั่งเดิมก็ได้ตามมาตรา 81/4 แห่งพระราชบัญญัติ
ล้ ม ละลายพุ ท ธศั ก ราช 2483 ซึ่ ง คำ � สั่ ง ศาลล้ ม ละลายกลางตามมาตรานี้
ให้เป็นที่สุด ไม่สามารถอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาได้เช่นเดียวกับมาตรา 81/3
กรณีข้างต้นนี้เป็นข้อกฎหมายที่ใช้บังคับกับบุคคลล้มละลายที่เป็นบุคคล
ธรรมดาเท่านั้น หากบุคคลล้มละลายปฏิบัติตามหน้าที่ของตนที่กำ�หนดไว้
ในพระราชบั ญ ญั ติ ล้ ม ละลาย พุ ท ธศั ก ราช 2483 แล้ ว ก็ ส ามารถกลั บ ไป
ประกอบอาชีพต่าง ๆ ต่อไปได้ เมื่อได้รับการปลดจากล้มละลาย

92
โครงสร้างกองบังคับคดีล้มละลาย 1 – 6
กองบังคับคดี กองบังคับคดี กองบังคับคดี กองบังคับคดี กองบังคับคดี กองบังคับคดี
กรมบังคับคดี

ล้มละลาย 1 ล้มละลาย 2 ล้มละลาย 3 ล้มละลาย 4 ล้มละลาย 5 ล้มละลาย 6


กระทรวงยุติธรรม

คดีล้มละลาย คดีล้มละลาย คดีล้มละลาย คดีล้มละลาย คดีล้มละลาย คดีของสถาบันการเงิน


ลงท้ายด้วย ลงท้ายด้วย ลงท้ายด้วย ลงท้ายด้วย ลงท้ายด้วย บริษัทประกันภัย
หมายเลข 1 และ 6 หมายเลข 2 และ 7 หมายเลข 3 และ 8 หมายเลข 4 และ 9 หมายเลข 5 และ 0 คดีที่รอรับเงินส่วนได้

93
ในคดีแพ่งและไม่ต้อง
ดำ�เนินการอื่น ๆ อีก
การบังคับคดีล้มละลาย
กรมบังคับคดี
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กระทรวงยุติธรรม

94
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
Business Reorganization
กองฟืน
้ ฟูกจิ การของลูกหนี้
กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 120 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
80 พรรษา 5 ธั น วาคม 2550 อาคารราชบุ รี ดิ เรกฤทธิ์ (อาคารเอ)
ชั้ น 8 ถนนแจ้ ง วั ฒ นะ แขวงทุ่ ง สองห้ อ ง เขตหลั ก สี่ กรุ ง เทพมหานคร
10210 โทรศัพท์ 0 2142 5217, 0 2142 3701, 0 2142 3702

กระบวนการพิจารณาเกีย ่ วกับ
การฟืน
้ ฟูกจิ การของลูกหนี้
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นกระบวนการทางศาล โดยผู้ร้องขอ
ต้องนำ�คดีขึ้นสู่ศาลล้มละลายกลาง ซึ่งได้บัญญัติเพิ่มเติมไว้ในหมวด 3/1
แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 อันเป็นการสร้างมาตรการ
ทางกฎหมายขึ้นมาเพื่อช่วยเอื้อต่อการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

95
กรมบังคับคดี
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กระทรวงยุติธรรม

กฎหมายดังกล่าวมีสาระสำ�คัญที่ควรรู้ ดังนี้
องค์ประกอบในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ
ประกอบด้วย
1. ลูกหนี้ต้องเป็นบริษัทจำ�กัด บริษัทมหาชนจำ�กัด หรือนิติบุคคลอื่น
ตามที่กำ�หนดไว้ในกฎกระทรวง
2. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
3. ลู ก หนี้ เ ป็ น หนี้ จำ � นวนแน่ น อนไม่ น้ อ ยกว่ า สิ บ ล้ า นบาท (เจ้ า หนี้
คนเดียวหรือหลายคนรวมกัน)
4. มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ
5. ลูกหนี้จะต้องไม่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
6. ลู ก หนี้ ยั ง ไม่ ไ ด้ ถู ก ศาลหรื อ นายทะเบี ย นได้ มี คำ � สั่ ง ให้ เ ลิ ก หรื อ
เพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือ
นิ ติ บุ ค คลที่ เ ป็ น ลู ก หนี้ ต้ อ งไม่ เ ลิ ก กั น ด้ ว ยเหตุ อื่ น ไม่ ว่ า การชำ � ระบั ญ ชี ข อง
นิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จหรือไม่ก็ตาม

บุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำ�ร้องขอฟื้นฟูกิจการ
1. เจ้าหนี้ซึ่งอาจเป็นคนเดียว หรือหลายคนรวมกัน และมีจำ�นวนหนี้
แน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
2. ลูกหนีม้ หี นีส้ นิ ล้นพ้นตัว และเป็นหนีเ้ จ้าหนีค้ นเดียว หรือหลายคน
รวมกันเป็นจำ�นวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
3. ธนาคารแห่งประเทศไทย เฉพาะลูกหนี้ที่เป็น
ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
96
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

4. สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เฉพาะลูกหนี้ที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์
5. กรมการประกันภัยเฉพาะลูกหนี้ที่เป็น
บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต
6. หน่วยงานของรัฐที่มีอำ�นาจหน้าที่กำ�กับดูแลการประกอบกิจการ
ของลูกหนี้ตามที่กำ�หนดในกฎกระทรวง
7. เจ้าหนี้ของลูกหนี้ตาม ข้อ 3, 4, 5 หรือ 6 หรือลูกหนี้นั้นเอง
จะยื่ น คำ � ร้ อ งขอฟื้ น ฟู กิ จ การจะต้ อ งได้ รั บ ความยิ น ยอมเป็ น หนั ง สื อ จาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ กรมการประกั น ภั ย หรื อ หน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ มี ห น้ า ที่
ตามข้อ 6 แล้วแต่กรณีเสียก่อน

หลักเกณฑ์ในการยื่นคำ�ร้องขอฟื้นฟูกิจการ
คำ�ร้องขอฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องขอต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง
1. ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
2. รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้
เป็นหนี้รวมกันเป็นจำ�นวนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
3. เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
4. ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำ�แผน
5. หนังสือยินยอมของผู้ทำ�แผน
6. กรณีทเี่ จ้าหนีเ้ ป็นผูร้ อ้ งขอ นอกจากแสดงรายละเอียดข้างต้นแล้ว
จะต้องแนบรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบมาพร้อมคำ�ร้องขอ
ส่วนลูกหนี้เป็นผู้ร้องขอจะต้องแนบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ทัง้ หมดทีม่ อี ยู่ รายชือ่ และทีอ่ ยูโ่ ดยชัดแจ้งของเจ้าหนีท้ งั้ หลายมาพร้อมคำ�ร้องขอ
97
กรมบังคับคดี
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กระทรวงยุติธรรม

ผู้ร้องขอต้องชำ�ระค่าขึ้นศาลหนึ่งพันบาทและต้องวางเงินประกัน
ค่าใช้จ่ายต่อศาลเป็นจำ�นวนห้าหมื่นบาทไปพร้อมกันขณะยื่นคำ�ร้องขอ
ผู้ร้องขอยื่นคำ�ร้องต่อศาล คือ ศาลล้มละลายกลางและในระหว่าง
ศาลล้มละลายภาคยังไม่เปิดทำ�การ ให้ยื่นต่อศาลจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งลูกหนี้
ประกอบธุรกิจในเขตอำ�นาจศาลดังกล่าวได้ด้วย

สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ

กรณีที่ศาลมีคำ�สั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โดยมิได้มีคำ�สั่งตั้งผู้ทำ�แผน
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือก
ผู้ทำ�แผน ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำ�สั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
เจ้าหนี้ต้องยื่นแบบแสดงความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้
เพือ่ พิจารณาเลือกผูท้ �ำ แผนตามแบบพิมพ์ ฟ.19 หรือ ฟ.19/1 ของกรมบังคับคดี
พร้ อ มส่ ง หลั ก ฐานแห่ ง ความเป็ น เจ้ า หนี้ ต่ อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์
ก่อนวันประชุม หากมอบให้บคุ คลอืน่ ยืน่ แทนต้องทำ�ใบมอบอำ�นาจตามแบบพิมพ์
ฟ.12 หรือ ฟ.12/1 ของกรมบังคับคดี
หลักฐานแห่งความเป็นหนี้ หากเจ้าหนี้จะส่งสำ�เนาเอกสาร
ต้องรับรองสำ�เนาถูกต้องให้ครบถ้วน
เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะขอตรวจหลักฐานแห่งหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ในการประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้จะไปออกเสียงด้วยตนเอง
หรือมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนได้ และต้องไปร่วมประชุม
ทุกครั้งเพื่อลงมติ
98
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายอื่นได้
เจ้าหนี้มีสิทธิเสนอชื่อผู้ทำ�แผนต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ โดยเสนอ
พร้อมหนังสือยินยอมของผู้ทำ�แผนนั้น

กรณีที่ศาลมีคำ�สั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำ�แผน
เจ้าหนี้ต้องยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแบบพิมพ์
ฟ.20 หรือ ฟ.20/1 ของกรมบังคับคดี พร้อมสำ�เนา 1 ชุด ต่อเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำ�สั่งตั้งผู้ทำ�แผน หากมอบให้
บุคคลอื่นยื่นแทนต้องทำ�ใบมอบอำ�นาจตามแบบพิมพ์ ฟ.12 หรือ ฟ.12/1
ของกรมบังคับคดี
คำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ใ นการฟื้ น ฟู กิ จ การต้ อ งประกอบด้ ว ยบั ญ ชี
แสดงรายละเอี ย ดแห่ ง ทรั พ ย์ สิ น และต้ น ฉบั บ หรื อ สำ � เนาฉบั บ รั บ รอง
สำ�เนาถูกต้อง ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งหนี้ พร้อมสำ�เนา 1 ชุด
เจ้ า หนี้ มี สิ ท ธิ ข อตรวจและโต้ แ ย้ ง คำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ใ นการ
ฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ แต่ต้องโต้แย้งภายในกำ�หนด
14 วัน นับแต่วันที่พ้นกำ�หนดยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
เจ้าหนี้ต้องไปให้การสอบสวนและส่งเอกสารตามที่เจ้าพนักงาน
พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ เรี ย กเพื่ อ ประกอบการพิ จ ารณาสั่ ง คำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ใ นการ
ฟื้นฟูกิจการ
เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำ�ร้องคัดค้านคำ�สั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ที่ ใ ห้ ย กคำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ หรื อ อนุ ญ าตให้ ไ ด้ รั บ ชำ � ระหนี้ เ ต็ ม จำ � นวนหรื อ
บางส่ ว น ต่ อ ศาลได้ ภ ายในกำ � หนด 14 วั น นั บ แต่ วั น ที่ ท ราบคำ � สั่ ง ของ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
99
กรมบังคับคดี
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กระทรวงยุติธรรม

เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำ�สั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้
ได้รับชำ�ระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ภายในกำ�หนด
1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำ�พิพากษาหรือคำ�สั่งนั้น
เจ้าหนี้หรือผู้รับมอบอำ�นาจเจ้าหนี้ต้องไปร่วมประชุมเจ้าหนี้
เพื่อพิจารณาแผนทุกครั้งเพื่อลงมติว่าจะยอมรับแผนของผู้ทำ�แผนหรือไม่
หากเจ้าหนี้หรือผู้รับมอบอำ�นาจไม่ไปประชุมแต่ประสงค์จะลงมติพิจารณา
แผนล่วงหน้า ให้แจ้งความประสงค์ว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับแผนและ
แผนที่ มี ก ารแก้ ไข โดยทำ � เป็ น หนั ง สื อ ลงลายมื อ ชื่ อ ของเจ้ า หนี้ หรื อ ผู้ รั บ
มอบอำ�นาจส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทาง
ไปรษณีย์ก่อนวันประชุมเจ้าหนี้
เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ตาม ม.90/42 ทวิ วรรคสอง
เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำ�ขอแก้ไขแผนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน
ในการพิจารณาแผนของศาล ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษ
ตาม ม.90/46 ยอมรับแผนแล้ว เจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผนมีสิทธิยื่นคำ�ร้องขอ
คัดค้านแผนเสนอต่อศาลได้

กรณีที่การฟื้นฟูกิจการไม่สำ�เร็จตามแผนและศาลมีคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์
ของลูกหนี้เด็ดขาด
เจ้ า หนี้ ซึ่ ง อาจมี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ชำ � ระหนี้ ใ นการฟื้ น ฟู กิ จ การและ
เจ้าหนี้ในหนี้อื่นที่อาจขอรับชำ�ระหนี้ได้จากมูลหนี้ที่ได้เกิดขึ้น ตั้งแต่ศาล
ได้มีคำ�สั่งให้ฟื้นฟูกิจการต้องยื่นคำ�ขอชำ�ระหนี้ตามแบบพิมพ์ของกรมบังคับคดี
ต่ อ เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ภายใน 2 เดื อ น นั บ แต่ วั น โฆษณาคำ � สั่ ง
พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
100
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

หนี้จำ�นวนใดที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
และชำ�ระค่าธรรมเนียมแล้ว ไม่ต้องชำ�ระค่าธรรมเนียมคำ�ขอรับชำ�ระหนี้
ในคดีล้มละลายสำ�หรับหนี้จำ�นวนนั้นอีก
หนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ทำ�แผน ผู้บริหารแผนและ
ผูบ้ ริหารแผนชัว่ คราวก่อขึน้ เพือ่ ประโยชน์ในการฟืน้ ฟูกจิ การของลูกหนี้ รวมทัง้
หนี้ที่ลูกหนี้ก่อขึ้นโดยชอบตาม ม.90/12 (9) มิให้อยู่ภายใต้บังคับ ม.94 (2)
หนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ทำ�แผน ผู้บริหารแผน หรือ
ผู้ บ ริ ห ารแผนชั่ ว คราว ก่ อ ขึ้ น ตามแผนเพื่ อ ประโยชน์ ใ นการฟื้ น ฟู กิ จ การ
ของลูกหนี้ ให้จัดอยู่ในลำ�ดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม ม.130 (2)

อัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ค่ า ธรรมเนี ย มยื่ น คำ � ขอรั บ ชำ � ระหนี้ ใ นคดี ฟื้ น ฟู กิ จ การ 200 บาท
เว้นแต่เป็นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษา หรือเจ้าหนี้ที่ขอรับ
ชำ�ระหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำ�ขอรับชำ�ระหนี้

ผลเมื่อศาลสั่งรับคำ�ร้องขอ
1. ห้ า มฟ้ อ งหรื อ ร้ อ งขอให้ ศ าลพิ พ ากษาหรื อ สั่ ง ให้ เ ลิ ก นิ ติ บุ ค คล
ที่เป็นลูกหนี้ (ถ้ามีอยู่ก่อนต้องงดการพิจารณาคดีนั้นไว้)
2. ห้ามนายทะเบียนสั่งให้เลิกหรือจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลที่เป็น
ลูกหนี้ และห้ามมิให้นิติบุคคลนั้นเลิกกันโดยประการอื่น
3. ห้ า มธนาคารแห่ ง ประเทศไทย สำ � นั ก คณะกรรมการกำ � กั บ
หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ กรมการประกั น ภั ย หรื อ
101
กรมบังคับคดี
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กระทรวงยุติธรรม

หน่วยงานของรัฐตามมาตรา 90/4 (6) สั่งเพิกถอนใบอนุญาต


ประกอบกิจการของลูกหนี้หรือสั่งให้ลูกหนี้หยุดประกอบกิจการ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำ�ร้องขอ
4. ห้ามฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือ
เสนอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ห้ามฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย
(ถ้ามีอยู่ก่อนต้องงดการพิจารณาไว้) เว้นแต่ศาลที่รับคำ�ร้องขอ
จะมีคำ�สั่งเป็นอย่างอื่น
5. ห้ า มเจ้ า หนี้ ต ามคำ � พิ พ ากษาบั ง คั บ คดี แ ก่ ท รั พ ย์ สิ น ของลู ก หนี้
ในกรณีทไี่ ด้ด�ำ เนินการบังคับคดีไว้กอ่ นแล้วให้ศาลงดการบังคับคดี
นั้นไว้
6. ห้ า มเจ้ า หนี้ มี ป ระกั น บั ง คั บ ชำ � ระหนี้ เ อาแก่ ท รั พ ย์ สิ น ที่ เ ป็ น
หลักประกันเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำ�ร้องขอ
7. ห้ามเจ้าหนี้ ซึ่งบังคับชำ�ระหนี้ได้เองตามกฎหมาย ยึด หรือขาย
ทรัพย์สินของลูกหนี้
8. ห้ า มผู้ ใ ห้ เช่ า ซื้ อ ผู้ ข าย ผู้ ใ ห้ เช่ า ติ ด ตามเอาคื น ทรั พ ย์ สิ น ที่ เ ป็ น
สาระสำ�คัญในการดำ�เนินกิจการของลูกหนี้ หรือฟ้องร้องบังคับคดี
เกี่ ย วกั บ ทรั พ ย์ ดั ง กล่ า ว เว้ น แต่ ศ าลที่ รั บ คำ � ร้ อ งขอจะสั่ ง เป็ น
อย่างอื่นหรือหลังจากศาลอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการแล้วมีการผิดนัด
สองคราวติดต่อกันหรือกระทำ�ผิดสัญญาในข้อสำ�คัญ
9. ห้ า มลู ก หนี้ จำ � หน่ า ย จ่ า ยโอน ให้ เช่ า ชำ � ระหนี้ ก่ อ หนี้ หรื อ
กระทำ�การใดๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากการกระทำ�
ที่จำ�เป็นเพื่อให้การดำ�เนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถ
ดำ�เนินการต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำ�ร้องขอจะมีคำ�สั่งเป็นอย่างอื่น
102
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

10. คำ�สั่งตามวิธีการชั่วคราวของศาลที่ให้ยึด อายัด ห้ามจำ�หน่าย


จ่ายโอนทรัพย์ของลูกหนี้ หรือคำ�สั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวให้ศาลที่
รับคำ�ร้องขอสัง่ ให้ระงับผลบังคับไว้หรือแก้ไขเปลีย่ นแปลงเป็นอย่างอืน่
11. ห้ามผู้ประกอบการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
งดให้บริการแก่ลูกหนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำ�ร้องขอ
หรื อ หลั ง จากวั น ที่ ศ าลสั่ ง อนุ ญ าตให้ ฟื้ น ฟู กิ จ การแล้ ว ไม่ ชำ � ระ
ค่าบริการที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นสองคราวติดต่อกัน
แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหนี้หรือบุคคลที่ถูกจำ�กัดสิทธิดังกล่าวข้างต้น อาจยื่น
คำ�ร้องขอต่อศาลที่รับคำ�ร้องขอเพื่อให้มีคำ�สั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก
ข้อจำ�กัดสิทธิของตนหรือให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เจ้าหนี้มีประกันได้
นอกจากนี้การออกคำ�สั่งของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท นายทะเบียน
นิ ติ บุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้ อ ง หรื อ ผู้ มี อำ � นาจหน้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ นิ ติ บุ ค คลซึ่ ง เป็ น ลู ก หนี้
การทำ�นิติกรรมหรือการชำ�ระหนี้ใดๆ ที่ขัดแย้งกับข้อ 1-11 การนั้นให้เป็น
โมฆะ (กระทำ�ภายหลังศาลมีคำ�สั่งรับคำ�ร้องขอแล้ว)

สถานที่ติดต่อ
ส่วนกลาง
ติดต่อที่กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ชั้น 8 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคารเอ)
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
ส่วนภูมิภาค
ติดต่อที่สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัด
หรือสำ�นักงานบังคับคดีจังหวัด...สาขา...
103
กรมบังคับคดี
การวางทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม

104
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การวางทรัพย์

การวางทรัพย์
การวางทรัพย์ คือ วิธีการชำ�ระหนี้ที่กฎหมายกำ�หนดขึ้น เมื่อการ
ชำ�ระหนี้มีอุปสรรคอันเกิดจากตัวเจ้าหนี้ โดยผู้วางทรัพย์ได้นำ�เงิน หรือทรัพย์
ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวาง ณ สำ�นักงานวางทรัพย์ ซึ่งผลของการวางทรัพย์
ทำ � ให้ ลู ก หนี้ ห ลุ ด พ้ น จากหนี้ ไม่ ต กเป็ น ผู้ ผิ ด นั ด ผิ ด สั ญ ญา ไม่ ต้ อ งเสี ย
ดอกเบี้ ย ค่ า เสี ย หาย ค่ า สิ น ไหมทดแทน หรื อ เบี้ ย ปรั บ และเจ้ า หนี้
จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับชำ�ระหนี้ไม่ได้ การไถ่ถอนการขายฝากโดยการ
วางทรัพย์ทำ�ให้ได้กรรมสิทธิ์กลับคืนมาสู่ผู้วางทรัพย์

105
กรมบังคับคดี
การวางทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม

เหตุที่จะขอวางทรัพย์
1. เจ้าหนี้บอกปัดหรือปฏิเสธไม่ยอมรับชำ�ระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุ
อั น อ้ า งตามกฎหมายได้ เช่ น ผู้ ใ ห้ เช่ า ได้ ทำ � สั ญ ญาเช่ า มี กำ � หนด 30 ปี
โดยได้ จ ดทะเบี ย นถู ก ต้ อ งตามกฎหมายที่ สำ � นั ก งานที่ ดิ น ซึ่ ง มี ผ ลผู ก พั น
คู่ สั ญ ญาตามระยะเวลาที่ กำ � หนดไว้ ใ นสั ญ ญา แต่ ต่ อ มาผู้ ใ ห้ เช่ า อยากจะ
เลิกสัญญาก่อนครบกำ�หนดที่ระบุไว้ในสัญญา จึงปฏิเสธไม่ยอมรับค่าเช่า
หรือจะขอขึ้นเงินค่าเช่าโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เพื่อผู้ให้เช่า
จะถือเอาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่า
2. เจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำ�ระหนี้ได้ เช่น เจ้าหนี้ไปต่างจังหวัด หรือ
ต่างประเทศ หรือหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ หรือต้องขังอยู่ในเรือนจำ�
3. ลูกหนี้ไม่สามารถหยั่งรู้สิทธิของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอน
เช่น ลูกหนี้ไปทำ�สัญญาเช่ากับ นาง ก. ต่อมา นาง ก. ตาย ทายาทของ นาง ก.
ต่างเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำ�ระค่าเช่าให้แก่ตน โดยอ้างว่าตนมีสิทธิในการรับเงิน
ค่าเช่า ลูกหนี้จึงไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่าจะต้องชำ�ระหนี้กับใคร ระหว่างทายาท
✪ ตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง ประมวลกฎหมายแพ่ ง พาณิ ช ย์ เช่ น
มาตรา 492 การไถ่ถอนการขายฝาก โดยนำ�เงินค่าไถ่ถอน
มาวางทรัพย์ และสละสิทธิถอนการวาง หรือมาตรา 232, 302
631, 679, 754 และ 947 เป็นต้น
✪ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เช่น การวางเงินค่าทดแทน
ตามพระราชบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยการเวนคื น และการได้ ม า
ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562
✪ ตามคำ�สั่งศาล เช่น การคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264
106
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การวางทรัพย์

ผู้มีสิทธิวางทรัพย์
1. ลูกหนี้
2. ผู้รับมอบอำ�นาจลูกหนี้
3. บุคคลภายนอกที่เต็มใจชำ�ระหนี้แทนลูกหนี้ เว้นแต่ สภาพแห่งหนี้
ไม่ เ ปิ ด ช่ อ งให้ บุ ค คลภายนอกชำ � ระแทนได้ หรื อ ขั ด กั บ เจตนา
ที่คู่กรณีแสดงไว้และจะต้องไม่เป็นการฝืนใจหรือขัดใจลูกหนี้

สำ�นักงานวางทรัพย์ (ที่รับวางทรัพย์)
ในส่วนกลาง สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 7
ในส่วนภูมิภาค สำ�นักงานบังคับคดีทั่วประเทศ

ทรัพย์อะไรที่วางได้
1. เงินสด
2. แคชเชียร์เช็คของธนาคารในส่วนกลาง (กรม) สั่งจ่าย สำ�นักงาน
บังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 7 ในกรณีวางทรัพย์ในส่วนภูมภิ าค
สั่งให้จ่ายในนามสำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนั้น ๆ
3. ทรัพย์ท่ีเป็นวัตถุแห่งหนี้และสามารถส่งมอบกันได้ตามกฎหมาย
เช่น รถยนต์ ตู้เย็น สร้อยทอง แหวนเพชร

107
กรมบังคับคดี
การวางทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม

ทรัพย์ที่ไม่ควรวาง
1. สภาพทรัพย์ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นต่อไป
จะเสื่ อ มเสี ย หรื อ ทำ � ลายหรื อ บุ บ สลายได้ เช่ น นํ้ า แข็ ง ที่ ส ลั ก
เป็นรูปต่าง ๆ เพื่อความสวยงามในงานสมรส
2. มีค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร
3. ตึกแถว โรงแรม คอนโดมิเนียม เครื่ิองจักร หรือทรัพย์ที่ขนย้าย
ไม่สะดวก หรือนํ้ามัน วัตถุไวไฟ เป็นต้น

วิธิปฏิบัติและหน้าที่ของผู้วางทรัพย์
1. เขี ย นคำ � ร้ อ งขอวางทรั พ ย์ ตามแบบ ว.1 หากมอบอำ � นาจ
ให้บุคคลอื่นวางทรัพย์แทน ต้องทำ�ใบมอบอำ�นาจตามแบบ ว.4
2. แสดงบัตรประจำ�ตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการ
ออกให้ (ให้มีรูปถ่าย)
3. กรณีมอบอำ�นาจ ยื่นใบมอบอำ�นาจตามแบบ ว.4 ติดอากรแสตมป์
ให้ครบถ้วนพร้อมสำ�เนาบัตรประจำ�ตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่น
ที่ทางราชการออกให้ (มีรูปถ่าย) ทั้งของผู้มอบอำ�นาจและผู้รับมอบ
อำ�นาจ
4. กรณีเป็นนิตบิ คุ คลให้น�ำ หนังสือรับรองการจดทะเบียน ซึง่ นายทะเบียน
รับรองไม่เกิน 1 เดือนมาแสดงด้วย
5. แนบแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ท.ร. 14/1) หรือหนังสือ
รับรองฐานะนิติบุคคลของเจ้าหนี้รับรองไม่เกิน 1 เดือน

108
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การวางทรัพย์

6. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางทรัพย์ในเรื่องนั้นๆ มาแสดง เช่น


ถ้ า วางตามสั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความของศาล ให้ มี
คำ�พิพากษาตามยอมที่เจ้าหน้าที่ศาลรับรอง
ถ้าวางตามสัญญาเช่า ให้มีสัญญาเช่า พร้อมถ่ายสำ�เนาสัญญาเช่า
และรับรองสำ�เนาถูกต้อง
ถ้ า วางตามสั ญ ญาขายฝาก ให้ มี สั ญ ญาขายฝากพร้ อ มถ่ า ย
สำ�เนาสัญญาขายฝากและรับรองสำ�เนาถูกต้อง
ถ้ า วางตามสั ญ ญาเช่ า ซื้ อ ให้ มี สั ญ ญาเช่ า ซื้ อ พร้ อ มถ่ า ยสำ � เนา
สัญญาเช่าซื้อและรับรองสำ�เนาถูกต้อง
ถ้าวางตามสัญญาจำ�นอง (ไถ่ถอน) ให้มีสัญญาจำ�นอง พร้อม
ถ่ายสำ�เนาสัญญาจำ�นองและรับรองสำ�เนาถูกต้อง
7. เงินประกันค่าใช้จ่าย (ขั้นตํ่า) จำ�นวน 300 บาท
8. ผู้วางทรัพย์ หรือผู้มอบอำ�นาจ ต้องมาให้เจ้าพนักงานสอบสวน
ถึงที่มาแห่งมูลหนี้
9. ผู้วางทรัพย์ต้องแจ้งการวางทรัพย์ให้เจ้าหนี้ทราบโดยพลัน จึงจะมี
ผลสมบู ร ณ์ ว่ า เป็ น การวางทรั พ ย์ โ ดยชอบด้ ว ยกฎหมาย ยกเว้ น
เป็ น การวางเงิ น ไถ่ ถ อนการขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่ ง
และพาณิชย์ ตามมาตรา 492

109
กรมบังคับคดี
การวางทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม

วิธีปฏิบัติของเจ้าหนี้ผู้ประสงค์จะรับทรัพย์ที่วาง
1. เขียนคำ�ร้องขอรับทรัพย์หรือเงิน ตามแบบ ว.3
2. แสดงบัตรประจำ�ตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการ
ออกให้ (มีรูปถ่าย)
3. กรณีมอบอำ�นาจ ยื่นใบมอบอำ�นาจตามแบบ ว.4 ติดอากรแสตมป์
ให้ครบถ้วนพร้อมนำ�บัตรประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการ
ออกให้ มีรูปถ่ายทั้งของผู้มอบอำ�นาจและผู้รับมอบอำ�นาจมาแสดง
ต่อเจ้าพนักงาน
4. กรณีเป็นนิตบิ คุ คล ให้น�ำ หนังสือรับรองการจดทะเบียน ซึง่ นายทะเบียน
รับรองไม่เกิน 1 เดือน มาแสดงด้วย
5. กรณีวางทรัพย์โดยมีเงือ่ นไข ให้เจ้าหนีแ้ สดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงาน
ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว
110
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม การวางทรัพย์

ผลของการวางทรัพย์
1. ทำ � ให้ ลู ก หนี้ ห ลุ ด พ้ น จากหนี้ ที่ ต้ อ งชำ � ระ ไม่ ต กเป็ น ผู้ ผิ ด นั ด และ
ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้หลังจากวันที่วางทรัพย์
2. เจ้ า หนี้ มี สิ ท ธิ ม ารั บ ทรั พ ย์ ที่ ว าง ภายใน 10 ปี นั บ แต่ ไ ด้ รั บ
คำ�บอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับ สิทธิของเจ้าหนี้
เหนือทรัพย์ที่วางเป็นอันระงับไป

การถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วาง
ผู้วางทรัพย์อาจถอนหรือขอรับทรัพย์ที่วางคืนได้
เว้นแต่ กรณีดังต่อไปนี้
1. ผู้วางทรัพย์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิ์ที่จะถอนไว้
2. เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อสำ�นักงานวางทรัพย์ ว่าจะรับทรัพย์ที่วางนั้นแล้ว
3. การวางทรัพย์ตามคำ�สั่งศาล
4. ผู้วางทรัพย์อยู่ระหว่างถูกดำ�เนินคดีล้มละลาย
5. ห ากบุ ค คลใดวางทรั พ ย์ ชำ � ระหนี้ แ ทนลู ก หนี้ บุ ค คลนั้ น จะถอน
การวางทรัพย์ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ยินยอม

111
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 1 - 7 กระทรวงยุติธรรม

112
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 1 - 7

ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดีแพ่ง
กรุงเทพมหานคร 1 - 7
❂ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1
รั บ ผิ ด ชอบคดี แ พ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นเขตอำ � นาจของศาลแพ่ ง ศาลอาญา ศาลแขวง
พระนครเหนื อ ศาลแขวงดอนเมื อ ง ศาลภาษี อ ากรกลาง ศาลทรั พ ย์ สิ น
ทางปัญญา
อาคารประชานิเวศน์ 1 สแควร์ ชั้น 2 ถนนเทศบาลนิมิตรเหนือ
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
โทร. 0 2012 4200, 0 2158 0140 ต่อ 501, 502
โทรสาร. 0 2012 4202

❂ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2
รั บ ผิ ด ชอบคดี แ พ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นเขตอำ � นาจของศาลแพ่ ง กรุ ง เทพใต้ ศาลอาญา
กรุงเทพใต้ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลแรงงานกลาง
สำ�นักงานตั้งอยู่ ณ เลขที่ 43 ชั้น 2 อาคารไทยซีซี ทาวเวอร์ ชั้น 2
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. 0 2672 3193, 0 2672 3619
โทรสาร. 0 2672 3620

❂ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 3
รับผิดชอบคดีแพ่งที่อยู่ในเขตอำ�นาจของศาลจังหวัดมีนบุรี
สำ�นักงานตั้งอยู่ ณ เลขที่ 10/1 (ศูนย์การค้าเสียงสมบูรณ์)
ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
โทร. 0 2517 7987 - 8, 0 2517 7984 - 5
โทรสาร. 0 2517 7989

113
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 1 - 7 กระทรวงยุติธรรม

❂ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4
รับผิดชอบคดีแพ่งที่อยู่ในเขตอำ�นาจของศาลจังหวัดตลิ่งชัน ศาลแขวงตลิ่งชัน
ศาลแขวงดุสิต และศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
สำ�นักงานตั้งอยู่ ณ กรมบังคับคดี เลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์
แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทร. 0 2887 5055 - 56, 0 2881 4363, 0 2881 4884
โทรสาร. 0 2881 4885, 0 2887 5170

❂ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 5
รับผิดชอบคดีแพ่งที่อยู่ในเขตอำ�นาจของ ศาลจังหวัดพระโขนง
ศาลแขวงพระโขนง
สำ�นักงานตั้งอยู่ ณ อาคารคันทรี่คอมเพล็ก ทาวเวอร์ เอ ชั้น 7
เลขที่ 223/6 - 12 ถนนสรรพาวุธ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทร. 0 2361 4215 - 9
โทรสาร. 0 2361 4214

❂ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 6
รับผิดชอบคดีแพ่งที่อยู่ในเขตอำ�นาจของ ศาลแขวงธนบุรี ศาลแพ่งธนบุรี
และศาลอาญาธนบุรี
สำ�นักงานตั้งอยู่ ณ อาคารกรมบังคับคดีเลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์
แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทร. 0 2881 4999 ต่อ 2565, 2566
0 2881 4362, 0 2881 4368, 0 2881 4942
โทรสาร. 0 2881 4888

❂ สำ�นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 7
รับผิดชอบคดีแพ่งที่อยู่ในเขตอำ�นาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า
ระหว่างประเทศกลาง และศาลแขวงดอนเมือง
สำ�นักงานตั้งอยู่ที่ ณ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A)
ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ชั้น 8 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร. 0 2142 4216, 0 2142 5251, 0 2142 5253-56
โทรสาร. 0 2143 7606
114
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม สถานที่ติดต่อสำกองบั
�นักงงานบั
คับคดีงคัลบ้มคดี
ละลาย
แพ่ง

❂ กองบังคับคดีล้มละลาย 1
ที่อยู่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 6
โทร. 0 2881 4899, 0 2881 4897, 0 2881 4896,
0 2881 4375
โทรสาร. 0 2881 4895

❂ กองบังคับคดีล้มละลาย 2
ที่อยู่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 7
โทร. 0 2887 5084, 0 2881 4377, 0 2887 5088,
0 2887 5119
โทรสาร. 0 2887 5088

❂ กองบังคับคดีล้มละลาย 3
ที่อยู่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 6
โทร. 0 2881 4380, 0 2881 4381, 0 2881 4914,
0 2881 4915
โทรสาร. 0 2881 4909

❂ กองบังคับคดีล้มละลาย 4
ที่อยู่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 8
โทร. 0 2881 4383, 0 2881 4921, 0 2881 4385
0 2881 4922
โทรสาร. 0 2881 4919

115
กรมบังคับคดี
สถานที่ติดต่อกองบั
สำ�นักงงานบั
คับคดีงคัลบ้มคดี
ละลาย
แพ่ง กระทรวงยุติธรรม

❂ กองบังคับคดีล้มละลาย 5
ที่อยู่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 8
โทร. 0 2881 4386, 0 288 4387, 0 2881 4925
0 2881 4853
โทรสาร. 0 2881 4923

❂ กองบังคับคดีล้มละลาย 6
ที่อยู่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 5
โทร. 0 2881 4967, 0 2887 5059, 0 2881 4865,
โทรสาร. 0 2881 4966, 0 2887 5053, 0 2434 1500,
0 2881 4880

❂ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
อาคาร 25 ปี ชั้น 2
โทร. 0 2887 5072, 0 2881 4840

❂ สำ�นักงานบังคับทางปกครอง
189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 2
โทร. 0 2881 4953

116
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี
ในส่วนภูมิภาค
1. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดกระบี่
เลขที่ 18/1 ถนนกระบี่ - เขาทอง ตำ�บลปากนํ้า อำ�เภอเมือง
จังหวัดกระบี่ 81000
โทร. 0 7562 3419 - 21
โทรสาร. 0 7562 3092

2. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี
เลขที่ 200/16 ถนนแม่นํ้าแม่กลอง ตำ�บลปากแพรก
อำ�เภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000
โทร. 0 3456 4363, 0 3456 4357
โทรสาร. 0 3456 4358

3. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดกาญจนบุรี สาขาทองผาภูมิ
เลขที่ 203/78 - 79 หมู่ 1 ตำ�บลท่าขนุน อำ�เภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี 71180
โทร. 0 3459 9641
โทรสาร. 0 3459 9832

117
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

4. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดกาฬสินธุ์
เลขที่ 71 ถนนอภัย ตำ�บลกาฬสินธุ์ อำ�เภอเมือง
จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
โทร. 0 4381 1481, 0 4381 1567
โทรสาร. 0 4381 1669

5. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดกำ�แพงเพชร
เลขที่ 504/1 - 2 ถนนเจริญสุข ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง
จังหวัดกำ�แพงเพชร 62000
โทร. 0 5571 3140 - 1 ต่อการเงิน 13 / นิติกร 15 - 16 / นิติกรอายัด 17
โทรสาร. 0 5571 3142

6. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น
เลขที่ 45/52 ถนนมิตรภาพ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น 40000
โทร. 0 4323 6407
โทรสาร. 0 4324 3405

7. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น สาขาพล
เลขที่ 214/12, 13, 14 ถนนมิตรภาพ ตำ�บลเมืองพล อำ�เภอพล
จังหวัดขอนแก่น 40120
โทร. 0 4341 5687, 0 4341 5867
โทรสาร. 0 4341 5755

8. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น สาขาชุมแพ
เลขที่ 889/22-23 หมู่ 1 ถนนสาสนะสิทธิ์ ตำ�บลชุมแพ
อำ�เภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130
โทร. 0 4331 3483 - 5, 0 4331 3482
โทรสาร. 0 4331 3486
118
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

9. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรี
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดจันทบุรี
เลขที่ 2 ถนนบ้านลุ่ม ตำ�บลวัดใหม่ อำ�เภอเมือง
จังหวัดจันทบุรี 22000
โทร. 0 3932 3163, 0 3932 3658
โทรสาร. 0 3932 3162

10. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดฉะเชิงเทรา
อาคารสำ�นักงานบังคับคดี บริเวณศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ถนนสุขเกษม ตำ�บลหน้าเมือง
อำ�เภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
โทร. 0 3851 3250 - 1 นิติกร ต่อ 21 - 25, 44 / การเงิน ต่อ 32 - 33 /
ธุรการ ต่อ 41, 49
โทรสาร. 0 3851 3252

11. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดชลบุรี
เลขที่ 88/88 หมู่ 1 ตำ�บลห้วยกะปิ อำ�เภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
โทร. 0 3845 5932 - 5
โทรสาร. 0 3845 5451, 0 3845 5452

12. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดชลบุรี สาขาพัทยา


เลขที่ 315/293 หมู่ 12 ถนนเทพประสิทธิ์ ตำ�บลหนองปรือ
อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
โทร. 0 3825 1758 - 9 ต่อ 101 - 109, 0 3825 2244, 09 3571 6757
โทรสาร. 0 3825 2245

119
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

13. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดชัยนาท
เลขที่ 299 ถนนชัยณรงค์ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง
จังหวัดชัยนาท 17000
โทร. 0 5641 4358 - 9
โทรสาร. 0 5641 4357

14. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ
เลขที่ 346 หมู่ 7 ถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสาย 1
ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทร. 0 4481 7225 - 6
โทรสาร. 0 4482 2318

15. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดชัยภูมิ สาขาภูเขียว
เลขที่ 999 หมู่ 8 ถนนภูเขียว - ชุมแพ ตำ�บลผักปัง
อำ�เภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 36110
โทร. 0 4405 6530 - 3
โทรสาร. 0 4405 6530

16. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดชุมพร
เลขที่ 316 หมู่ 1 ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ถนนไตรรัตน์ ตำ�บลนาชะอัง
อำ�เภอเมือง จังหวัดชุมพร 86000
โทร. 0 7750 2410, 0 7750 2760, 0 7750 3121
โทรสาร. 0 7750 3853

17. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดชุมพร สาขาหลังสวน


เลขที่ 122 หมู่ 10 ตำ�บลแหลมทราย อำ�เภอหลังสวน
จังหวัดชุมพร 86110
โทร. 0 7751 0752 ต่อ 11 - 20
โทรสาร. 0 7751 0752 ต่อ 19
120
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

18. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงราย
เลขที่ 834/10 ถนนพหลโยธิน ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง
จังหวัดเชียงราย 57000
โทร. 0 5371 6080 - 1
โทรสาร. 0 5371 5508

19. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง


เลขที่ 210/1 - 2 หมู่ 2 ถนนเชียงราย - เทิง ตำ�บลเวียง อำ�เภอเทิง
จังหวัดเชียงราย 57160
โทร. 0 5379 5400
โทรสาร. 0 5379 5429

20. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่
เลขที่ 1/1 ถนนสนามบินเก่า ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทร. 0 5328 4840 - 5
โทรสาร. 0 5327 3454, 0 5327 4566

21. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง


เลขที่ 2/2 - 6 หมู่ 14 ถนนฝาง - ท่าตอน ตำ�บลเวียง
อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50110
โทร. 0 5345 1206, 0 5345 1322
โทรสาร. 0 5345 1851

22. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฮอด
เลขที่ 532, 532/1 - 3 หมู่ 10 ถนนเชียงใหม่ - ฮอด
ตำ�บลหางดง อำ�เภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 50240
โทร. 0 5346 1207 - 8 ต่อ 11, 14, 16
โทรสาร. 0 5346 1209
121
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

23. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดตรัง
เลขที่ 290/1 - 4 ถนนกันตัง ตำ�บลทับเที่ยง อำ�เภอเมืองตรัง
จังหวัดตรัง 92000
โทร. 0 7521 1772 - 3
โทรสาร. 0 7521 1771

24. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดตราด
เลขที่ 999/1 หมู่ 1 ตำ�บลวังกระแจะ อำ�เภอเมือง
จังหวัดตราด 23000
โทร. 0 3952 3981 - 2 ต่อ 18
โทรสาร. 0 3952 3980

25. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดตาก
เลขที่ 99 หมู่ 9 ตำ�บลนํ้ารึม อำ�เภอเมือง จังหวัดตาก 63000
โทร. 0 5551 3765, 0 5551 4350
โทรสาร. 0 5551 2968

26. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดตาก สาขาแม่สอด


เลขที่ 115/13 ถนนชิดวนา ตำ�บลแม่สอด อำ�เภอแม่สอด
จังหวัดตาก 63110
โทร. 0 5553 5700 - 2
โทรสาร. 0 5553 5703

27. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครนายก
เลขที่ 1/26 - 29 หมู่ 3 ตำ�บลบ้านใหญ่ อำ�เภอเมืองนครนายก
จังหวัดนครนายก 26000
โทร. 0 3731 1167, 0 3731 2300, 0 3731 4346
โทรสาร. 0 3731 1852

122
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

28. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครปฐม
เลขที่ 554/8 - 10 ถนนราชมรรคา ตำ�บลสนามจันทร์
อำ�เภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทร. 0 3425 6437, 0 3424 1895, 0 3425 0897
โทรสาร. 0 3424 3905

29. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครพนม
เลขที่ 19/39 ซอยสามัคคีสุขสันต์ ถนนนครพนม - ท่าอุเทน
ตำ�บลหนองแสง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000
โทร. 0 4251 5461 ต่อ 11, 0 4251 5463
โทรสาร. 0 4251 5462

30. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา
เลขที่ 260/1 - 2 ถนนมหาดไทย ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทร. 0 4424 3161, 0 4424 2589, 0 4421 9091
โทรสาร. 0 4425 1702, 0 4421 9094

31. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา สาขาสีคิ้ว


เลขที่ 299/867 - 870 หมู่ 9 ถนนกรีนวิว ตำ�บลสีคิ้ว อำ�เภอสีคิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา 30140
โทร. 0 4498 6124 - 5
โทรสาร. 0 4498 6126

123
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

32. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา สาขาบัวใหญ่


เลขที่ 16/1 - 2 ถนนเทศบาล 4 ตำ�บลบัวใหญ่ อำ�เภอบัวใหญ่
จังหวัดนครราชสีมา 30120
โทร. 0 4446 2992 - 3
โทรสาร. 0 4446 2994

33. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา สาขาพิมาย


เลขที่ 554/4 - 5 หมู่ 14 ตำ�บลในเมือง อำ�เภอพิมาย
จังหวัดนครราชสีมา 30110
โทร. 0 4448 1460 - 1
โทรสาร. 0 4448 1462

34. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราช
เลขที่ 404 ถนนเทวบุรี ตำ�บลโพธิ์เสด็จ อำ�เภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทร. 0 7534 0374 - 5
โทรสาร. 0 7534 0373

35. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาทุ่งสง


เลขที่ 371 หมู่ 7 ตำ�บลที่วัง อำ�เภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
โทร. 0 7577 0155 - 6
โทรสาร. 0 7577 0157

36. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขาปากพนัง
เลขที่ 112/9 หมู่ 3 ตำ�บลปากพนังฝั่งตะวันออก อำ�เภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช 80140
โทร. 0 7551 7761, 0 7551 8627
โทรสาร. 0 7551 8626
124
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

37. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนครสวรรค์
เลขที่ 4/37 - 40 หมู่ 5 ตำ�บลนครสวรรค์ตก อำ�เภอเมืองนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทร. 0 5688 2266 - 7
โทรสาร. 0 5688 2268

38. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนนทบุรี
เลขที่ 146 ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี
ตำ�บลท่าทราย อำ�เภอเมืองนนทบุรี
จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร. 0 2526 7999, 0 2526 9000 ต่อ 101 - 115
โทรสาร. 0 2526 9950, 0 2526 9948

39. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดนราธิวาส
เลขที่ 153/2 - 3 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำ�บลบางนาค อำ�เภอเมืองนราธิวาส
จังหวัดนราธิวาส 96000
โทร. 0 7353 2739 - 40
โทรสาร. 0 7353 2738

40. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดน่าน
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม ชั้น 1 เลขที่ 678 หมู่ 11
ตำ�บลไชนสถาน อำ�เภอเมือง
จังหวัดน่าน 55100
โทร. 0 5471 9609 - 10
โทรสาร. 0 5471 9611

125
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

41. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดบึงกาฬ
เลขที่ 106 หมู่ 7 ถนนชยางกูร ตำ�บลวิศิษฐ์
อำ�เภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ 38000
โทร. 0 4249 1293, 0 4249 1196
โทรสาร. 0 4249 1196

42. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดบุรีรัมย์
หลังอาคารศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ถนนจิระ ตำ�บลในเมือง
อำ�เภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
โทร. 0 4461 4338 - 9 โทรสาร. 0 4461 4337

43. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง


เลขที่ 52 หมู่ 4 ถนนโชคชัย - เดชอุดม ตำ�บลนางรอง
อำ�เภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110
โทร. 0 4463 3616, 08 6465 7701 โทรสาร. 0 4463 3616

44. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดปทุมธานี
เลขที่ 41/79, 81, 83, 85 ถนนปทุมธานี - กรุงเทพฯ ตำ�บลบางปรอก
อำ�เภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
โทร. 0 2581 5275 - 7
โทรสาร. 0 2581 5291

45. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี


เลขที่ 733/2 - 4 ซอยพหลโยธิน 80 หมู่ 8 ถนนพหลโยธิน
ตำ�บลคูคต อำ�เภอลำ�ลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130
โทร. 0 2531 4428, 0 2531 4389,
0 2523 7653 ต่อ 112, 113
โทรสาร. 0 2523 7654, 0 2531 2818

126
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

46. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เลขที่ 1000 หมู่ 2 ถนนเพชรเกษม - หนองเสือ ตำ�บลเกาะหลัก
อำ�เภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
โทร. 0 3260 2273 - 4
โทรสาร. 0 3260 2272

47. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาหัวหิน


เลขที่ 16/499-453 ถนนเลียบคลองชลประทาน
ตำ�บลหัวหิน อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110
โทร. 0 3252 0840
โทรสาร. 0 3252 0841

48. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดปราจีนบุรี
เลขที่ 222/2 ถนนราษฎร์พัฒนา ตำ�บลไม้เค็ด อำ�เภอเมือง
จังหวัดปราจีนบุรี 25230
โทร. 0 3745 4107 - 8 ต่อ 106
โทรสาร. 0 3745 4109

49. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดปราจีนบุรี สาขากบินทร์บุรี


เลขที่ 122 - 123 หมู่ 13 ถนนสาย 304 ตำ�บลเมืองเก่า
อำ�เภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25240
โทร. 0 3728 1821, 0 3720 2180
โทรสาร. 0 3728 1820

127
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

50. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดปัตตานี
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดปัตตานี เลขที่ 18 ซอย 5
ถนนเจริญประดิษฐ์ อำ�เภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทร. 0 7333 5162 - 3
โทรสาร. 0 7333 5161

51. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(หลังอาคารศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ถนนโรจนะ
ตำ�บลประตูชัย อำ�เภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
โทร. 0 3524 4319 - 20
โทรสาร. 0 3524 4321

52. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพังงา
เลขที่ 45/37 หมู่ 3 ตำ�บลถํ้านํ้าผุด อำ�เภอเมือง
จังหวัดพังงา 82000
โทร. 0 7646 0616 - 7
โทรสาร. 0 7646 0618

53. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพังงา สาขาตะกั่วป่า


เลขที่ 159 หมู่ 2 ซอยบังคับคดี ถนนวงศ์พานิช 2 ตำ�บลบางนายสี
อำ�เภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82110
โทร. 0 7647 1328 - 9
โทรสาร. 0 7647 1327

128
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

54. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพัทลุง
เลขที่ 54/2 ถนนช่วยทุกขราษฎร์ ตำ�บลคูหาสวรรค์ อำ�เภอเมือง
จังหวัดพัทลุง 93000
โทร. 0 7461 1677, 0 7461 2401
โทรสาร. 0 7461 1619

55. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพิจิตร
เลขที่ 1/3 ถนนศรีมาลา ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง
จังหวัดพิจิตร 66000
โทร. 0 5661 3107 - 8
โทรสาร. 0 5661 3109

56. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพิษณุโลก
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดพิษณุโลก
เลขที่ 5 หมู่ 5 ตำ�บลหัวรอ อำ�เภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทร. 0 5525 9005, 0 5525 9847, 0 5525 2930 - 1
โทรสาร. 0 5525 9537

57. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี
เลขที่ 118/1 - 6 หมู่ 1 ถนนเพชรเกษมสายเก่า ตำ�บลต้นมะม่วง
อำ�เภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
โทร. 0 3242 8002 - 3 ต่อ 11
โทรสาร. 0 3242 8001

129
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

58. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์
เลขที่ 123/1 หมู่ 10 ซอยสถานีวิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ ตำ�บลสะเดียง
อำ�เภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
โทร. 0 5672 0639, 0 5672 0743, 0 5672 0747
โทรสาร. 0 5672 0751

59. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ สาขาหล่มสัก


เลขที่ 3/15 ถนนวจี ตำ�บลหล่มสัก อำ�เภอหล่มสัก
จังหวัดเพชรบูรณ์ 67110
โทร. 0 5670 4416, 0 5670 1571
โทรสาร. 0 5670 4289

60. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเพชรบูรณ์ สาขาวิเชียรบุรี


เลขที่ 109 หมู่ 7 ตำ�บลสระประดู่ อำ�เภอวิเชียรบุรี
จังหวัดเพชรบูรณ์ 67130
โทร. 0 5671 3584 - 5
โทรสาร. 0 5671 3582

61. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดแพร่
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดแพร่ ชั้น 2
เลขที่ 242 หมู่ 10 ถนนช่อแฮ ตำ�บลเหมืองหม้อ อำ�เภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
โทร. 0 5452 2499, 0 5452 1047 - 8
โทรสาร. 0 5452 2024

62. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพะเยา
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม ชั้น 3
เลขที่ 339 หมู่ 1 ต.บ้านตํ๊า อำ�เภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
โทร. 0 5448 4501 - 3
โทรสาร. 0 5448 4504
130
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

63. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดพะเยา สาขาเชียงคำ�


เลขที่ 208 หมู่ 12 ตำ�บลนํ้าแวน อำ�เภอเชียงคำ�
จังหวัดพะเยา 56110
โทร. 0 5488 2051 - 4
โทรสาร. 0 5488 2055

64. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดภูเก็ต
เลขที่ 63/629 - 632 หมู่ 4 ถนนวิรัชหงส์หยก ตำ�บลวิชิต
อำ�เภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทร. 0 7652 2218 - 20, 0 7652 2228,
0 7652 2219, 0 7652 2220
โทรสาร. 0 7652 2219

65. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดมหาสารคาม
เลขที่ 82/3 ถนนนครสวรรค์ ตำ�บลตลาด อำ�เภอเมือง
จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทร. 0 4372 3724 ต่อ 11 - 26
โทรสาร. 0 4372 3672

66. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เลขที่ 6/5 - 7 ซอย 5 ถนนขุนลุมประพาส ตำ�บลจองคำ� อำ�เภอเมือง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000
โทร. 0 5361 3626, 0 5362 0086
โทรสาร. 0 5361 3628

67. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดแม่ฮ่องสอน สาขาแม่สะเรียง


เลขที่ 255/61 - 63 หมู่ 1 ตำ�บลบ้านกาศ อำ�เภอแม่สะเรียง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110
โทร. 0 5368 1028
โทรสาร. 0 5368 2745

131
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

68. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดมุกดาหาร
เลขที่ 198 ถนนเมืองใหม่ ตำ�บลมุกดาหาร อำ�เภอเมืองมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร 49000
โทร. 0 4252 0765 - 6
โทรสาร. 0 4262 0767

69. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดยะลา
เลขที่ 35 ถนนสิโรรส ตำ�บลสะเตง อำ�เภอเมือง
จังหวัดยะลา 95000
โทร. 0 7336 1256
โทรสาร. 0 7336 1257

70. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดยะลา สาขาเบตง


เลขที่ 396/10 ถนนสุขยางค์ ตำ�บลเบตง อำ�เภอเบตง
จังหวัดยะลา 95110
โทร. 0 7323 4624 - 5
โทรสาร. 0 7323 4626

71. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดยโสธร
เลขที่ 453/1 ถนนวิทยะธำ�รง ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง
จังหวัดยโสธร 35000
โทร. 0 4571 4065 - 6
โทรสาร. 0 4571 4067

72. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด
เลขที่ 323 หมู่ 7 ตำ�บลมะอึ อำ�เภอธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
โทร. 0 4351 4321 - 2, 0 4351 9161
โทรสาร. 0 4351 4320
132
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

73. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดระนอง
เลขที่ 55/10 หมู่ 3 ถนนเพชรเกษม ตำ�บลบางริ้น
อำ�เภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
โทร. 0 7786 2033 - 3 ต่อ 11, 12, 13, 15
โทรสาร. 0 7786 2101

74. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดระยอง
เลขที่ 36/13 - 14 ถนนจันทอุดม ตำ�บลเชิงเนิน อำ�เภอเมือง
จังหวัดระยอง 21000
โทร. 0 3862 0888, 0 3861 5317
โทรสาร. 0 3862 1850

75. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
บริเวณศาลจังหวัดราชบุรี ถนนยุติธรรม ตำ�บลหน้าเมือง
อำ�เภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000
โทร. 0 3232 6011 - 2, 0 3231 0180
โทรสาร. 0 3232 1313

76. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรี
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดลพบุรี เลขที่ 118
ถนนสีดา ตำ�บลทะเลชุบศร อำ�เภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
โทร. 0 3678 2200 - 1 นิติกร ต่อ 201 - 206, การเงิน ต่อ 302,
ธุรการไกล่เกลี่ย ต่อ 501
โทรสาร. 0 3678 2202

77. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดลพบุรี สาขาชัยบาดาล


อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 111 หมู่ 4
ตำ�บลห้วยหิน อำ�เภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 15130
โทร. 0 3679 2073 ต่อ 13, 15, 19
โทรสาร. 0 3679 2075
133
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

78. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดลำ�ปาง
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดลำ�ปาง เลขที่ 401 หมู่ 4
ตำ�บลกล้วยแพะ อำ�เภอเมือง
จังหวัดลำ�ปาง 52100
โทร. 0 5422 6660, 0 5422 4920
โทรสาร. 0 5422 5217

79. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดลำ�พูน
เลขที่ 131 หมู่ 10 ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอเมืองลำ�พูน
จังหวัดลำ�พูน 51000
โทร. 0 5352 5514, 0 5352 5516
โทรสาร. 0 5352 5515

80. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดเลย
เลขที่ 359 หมู่ที่ 5 ถนนเลย - นาด้วง ตำ�บลนาอาน อำ�เภอเมือง
จังหวัดเลย 42000
โทร. 0 4284 1912
โทรสาร. 0 4281 4913

81. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ
เลขที่ 95/7 ถนนศรีวเิ ศษ ตำ�บลเมืองเหนือ อำ�เภอเมือง
จังหวัดศรีสะเกษ 33000
โทร. 0 4561 2185 - 6, 0 4561 3186
โทรสาร. 0 4561 2522

82. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ สาขากันทรลักษ์


เลขที่ 270/1 หมู่ 15 ตำ�บลนํ้าอ้อม อำ�เภอกันทรลักษ์
จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทร. 0 4566 3364, 0 4566 3217
โทรสาร. 0 4566 3362
134
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

83. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสกลนคร
เลขที่ 1910 ถนนศูนย์ราชการ ตำ�บลธาตุเชิงชุม
อำ�เภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
โทร. 0 4271 6297 - 8 ต่อ 108
โทรสาร. 0 4271 2384

84. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสกลนคร สาขาสว่างแดนดิน


เลขที่ 289 ถนนสีห์พนม ตำ�บลสว่างแดนดิน อำ�เภอสว่างแดนดิน
จังหวัดสกลนคร 47110
โทร. 0 4272 2147
โทรสาร. 0 4273 7407

85. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสงขลา
เลขที่ 3 ถนนปละท่า ตำ�บลบ่อยาง อำ�เภอเมือง
จังหวัดสงขลา 90000
โทร. 0 7431 1292, 0 7431 4904
โทรสาร. 0 7432 4569

86. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสงขลา สาขานาทวี


เลขที่ 93/1 หมู่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำ�บลนาทวี อำ�เภอเมืองนาทวี
จังหวัดสงขลา 90160
โทร. 0 7437 3017
โทรสาร. 0 7437 3018

87. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสตูล
เลขที่ 86/111 ถนนสฤษดิ์ภูมินารถ ตำ�บลพิมาน อำ�เภอเมือง
จังหวัดสตูล 91000
โทร. 0 7472 3590 - 1
โทรสาร. 0 7472 3592
135
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

88. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ
เลขที่ 411 หมู่ 4 ถนนสุขุมวิท ตำ�บลบางปูใหม่
อำ�เภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270
โทร. 0 2387 1728 - 32
โทรสาร. 0 2387 1634, 0 2395 2863

89. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรสงคราม
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 212 หมู่ 3
ตำ�บลลาดใหญ่ อำ�เภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
โทร. 0 3471 6256 ต่อ 206, 235
โทรสาร. 0 3471 6257

90. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรสาคร
เลขที่ 59/28 - 30 หมู่ 4 ถนนเอกชัย ตำ�บลโคกขาม
อำ�เภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
โทร. 0 3442 7018, 0 3483 6976
โทรสาร. 0 3442 7019

91. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสระแก้ว
เลขที่ 372 ถนนสุวรรณศร ตำ�บลสระแก้ว อำ�เภอเมือง
จังหวัดสระแก้ว 27000
โทร. 0 3724 2175, 0 3724 2178
โทรสาร. 0 3724 2192

136
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

92. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสระบุรี
เลขที่ 54 หมู่ 7 ตำ�บลสวนดอกไม้ อำ�เภอเสาไห้
จังหวัดสระบุรี 18160
โทร. 0 3621 2160, 0 3623 1251, 0 3623 1261
โทรสาร. 0 3621 2066

93. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสิงห์บุรี
ศูนย์ราชการจังหวัดสิงห์บุรี ถนนสิงห์บุรี - บางพาน
ตำ�บลบางมัญ อำ�เภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี 16000
โทร. 0 3650 7251 - 3 งานธุรการ ต่อ 0, งานการเงิน ต่อ 110,
งานบังคับคดี ต่อ 106, งานสำ�นวน ต่อ 107
โทรสาร. 0 3650 7252

94. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุโขทัย
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดสุโขทัย เลขที่ 99 หมู่ 10
ตำ�บลบ้านกล้วย อำ�เภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64000
โทร. 0 5562 1790 - 1
โทรสาร. 0 5562 1792

95. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุโขทัย สาขาสวรรคโลก


เลขที่ 75 หมู่ 3 ตำ�บลในเมือง อำ�เภอสวรรคโลก
จังหวัดสุโขทัย 64110
โทร. 0 5564 3449 - 50
โทรสาร. 0 5564 3451

96. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุพรรณบุรี
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 725/3 ถนนเณรแก้ว
ตำ�บลท่าระหัด อำ�เภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
โทร. 0 3552 3390 - 92
โทรสาร. 0 3552 5725
137
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

97. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เลขที่ 83/17 - 20 หมู่ 1 ถนนสุราษฎร์ - นาสาร
ตำ�บลขุนทะเล อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100
โทร. 0 7735 5381 - 2
โทรสาร. 0 7735 5380

98. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย


อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 95/30 หมู่ 5
ตำ�บลมะเร็ต อำ�เภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84310
โทร. 0 7741 8035 - 6
โทรสาร. 0 7741 8034

99. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาไชยา


เลขที่ 560/3 - 4 หมู่ 1 ตำ�บลตลาดไชยา อำ�เภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84110
โทร. 0 7743 5576
โทรสาร. 0 7743 5493

100. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเวียงสระ


เลขที่ 288/29 - 30 หมู่ 10 ตำ�บลบ้านส้อง อำ�เภอเวียงสระ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84190
โทร. 0 7736 1214, 0 7736 1054
โทรสาร. 0 7736 3680

138
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

101. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุรินทร์
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 799 หมู่ 20
ตำ�บลนอกเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
โทร. 0 4451 1893, 0 4451 1895, 0 4451 1898 - 9
โทรสาร. 0 4451 - 1887

102. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดสุรินทร์ สาขารัตนบุรี


เลขที่ 258 หมู่ 12 ถนนรัตนบุรี - ทับใหญ่ ตำ�บลรัตนบุรี
อำ�เภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130
โทร. 0 4459 9056, 0 4459 9576
โทรสาร. 0 4459 9575

103. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดหนองคาย
เลขที่ 233/3 หมู่ 5 ตำ�บลหนองกอมเกาะ อำ�เภอเมือง
จังหวัดหนองคาย 43000
โทร. 0 4242 3201 ต่อ 12, 17
โทรสาร. 0 4242 3203

104. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำ�ภู
ศูนย์ราชการจังหวัด หลังสำ�นักงานที่ดิน
ตำ�บลลำ�ภู อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู 39000
โทร. 0 4231 1747, 0 4231 1695
โทรสาร. 0 4231 1752

139
กรมบังคับคดี
ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค กระทรวงยุติธรรม

105. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดอ่างทอง
เลขที่ 37 - 37/1 ถนนลำ�ท่าแดง ตำ�บลศาลาแดง
อำ�เภอเมือง จังหวัดอ่างทอง 14000
โทร. 0 3562 6171 ต่อ 13, 15, 17
โทรสาร. 0 3561 2058

106. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดอุดรธานี
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 75 ชั้น 2
ตำ�บลหมากแข้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร. 0 4224 6017 - 18
โทรสาร. 0 4224 6019

107. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดอุตรดิตถ์
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรม ชั้น 1 เลขที่ 8
ถนนศรอัศนีย์ ตำ�บลท่าอิฐ อำ�เภอเมืองอุตรดิตถ์
จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
โทร. 0 5544 0562 - 3, 0 5544 0565
โทรสาร. 0 5544 0564

108. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดอุทัยธานี
อาคารบูรณาการกระทรวงยุติธรรมจังหวัดอุทัยธานี ชั้น 2
เลขที่ 297/3 หมู่ 3 ตำ�บลนํ้าซึม อำ�เภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 61000
โทร. 0 5651 3156, 0 5652 4559
โทรสาร. 0 5651 3165

140
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม ที่อยู่สำ�นักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค

109. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดอุบลราชธานี
เลขที่ 202 หมู่ 15 ถนนแจ้งสนิท ตำ�บลขามใหญ่ อำ�เภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทร. 0 4531 1418 - 20 งานขาย 0 4525 1936 งานอายัด 0 4525 1937
งานธุรการ 0 4525 1938
โทรสาร. 0 4531 1416

110. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเดชอุดม


เลขที่ 378 หมู่ 19 ถนนสถลมาร์ค ตำ�บลเมืองเดช อำ�เภอเดชอุดม
จังหวัดอุบลราชธานี 34160
โทร. 0 4536 4909 งานนิติกร 0 4520 9090
งานการเงิน 0 4520 9212
โทรสาร. 0 4536 1910

111. สำ�นักงานบังคับคดีจังหวัดอำ�นาจเจริญ
บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดอำ�นาจเจริญ 1
ตำ�บลโนนหนามแท่ง อำ�เภอเมือง จังหวัดอำ�นาจเจริญ 37000
โทร. 0 4552 3081 - 2, 0 4552 3084
โทรสาร. 0 4552 3083

141
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม

.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................

142
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม

.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................

143
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม

.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................

144
กรมบังคับคดี
กระทรวงยุติธรรม
¡ÃÁºÑ§¤Ñº¤´Õ ¡ÃзÃǧÂصԸÃÃÁ @LED_MOJ
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ 0 2881 4999 สายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79
www.led.go.th

189/1 ถนนบางขนุนนท แขวงบางขนุนนท เขตบางกอกนอย กรงุเทพฯ 10700


189/1 ถนนบโทารงศขพันุนทน. 0ท 2แ8ข8ว1งบ4า9ง9ข9นุสนานยทด วเขนต1บ1า1งก1อกกดนอ7ย9 กรงุเทพฯ 10700

You might also like