You are on page 1of 36

ความรู้ทั่วไปศาลยุติธรรม

ความรู้ทั่วไปศาลยุติธรรม
1) บุคคลสำคัญที่ควรจำ ตอบ
- ประธานศาลฎีกา = นางอโนชา ชีวิตโสภณ
- เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม = นายธานี สิงหนาท
2) องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ ตอบ
บริหารงานของศาล 1. คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)
ยุติธรรม 2. คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
3. คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.)
3) วิสัยทัศน์ประธานศาลฎีกา ตอบ
วิสัยทัศน์ประธานศาลฎีกา = “ต่อยอด ขยายผล + สร้างสรรค์ความยุติธรรมที่ยั่งยืน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง”
4) นโยบายประธานศาลฎีกา ตอบ
- ที่พึ่ง = ศาลยุติธรรมพร้อมเป็นที่พึ่งของประชาชนในโอกาสแรกที่ได้รับความเดือดร้อน / มีข้อพิพาท
1. ส่งเสริมกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกในทุกขั้นตอน เพื่อให้ความขัดแย้งยุติลงด้วยความสมานฉันท์ ไม่ก่อภาระค่าใช้จ่ายแก่คู่ความ
2. พัฒนาช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวก + รวดเร็ว
3. ปฏิรูประบบงานเพื่อขจัดขั้นตอนซ้ำซ้อน ล่าช้า ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริการประชาชน
4. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ + เอกชนเพื่อความรวดเร็ว + ประสิทธิภาพในการพิจารณาพิพากษาคดี การปฏิบัติตามคำสั่ง / คำพิพากษาของ
ศาล
- เที่ยงธรรม = ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม
1. เป็นหลักประกันแห่งสิทธิ + เสรีภาพให้แก่ประชาชนทั้งทางแพ่ง + ทางอาญา
2. พิจารณาพิพากษาอรรถคดีแพ่ง + อาญา + ชำนัญพิเศษด้วยความโปร่งใส ไร้ซึ่งอคติ โดยบุคลากรที่มีความรู้เชี่ยวชาญพิเศษในกฎหมาย + สาขาวิ ทยาการ
ต่างๆ ในแต่ละประเภทคดี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ + มีความสุขในการทำงานเพื่อประชาชน
3. พัฒนามาตรการให้เหมาะสมในการเยียวยาผู้เสียหาย / บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำละเมิดต่อกฎหมาย
4. มุ่งเน้นการแก้ไข + บำบัด + ฟื้นฟูผู้กระทำความผิด + เด็ก + เยาวชนอย่างครบวงจร + ต่อเนื่อง + เป็นรูปธรรม
- เท่าเทียม = ศาลยุติธรรมอำนวยความยุติธรรม อย่างเสมอภาค + เท่าเทียม
1. ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมด้วยมาตรฐานเดียวกัน
2. พัฒนามาตรฐานการปล่อยชั่วคราว เพื่อประโยชน์สูงสุดในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3. พัฒนาระบบจัดหาทนายความ / ที่ปรึกษากฎหมายให้แก่ประชาชน เพือ่ สิทธิในการต่อสู้คดีอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับปรุง / ยกเลิกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
- ทันโลก = ศาลยุติธรรมเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยี + องค์ความรู้ที่ทันสมัยในการบริหารงาน + การพิจารณาพิพากษาคดี
1. คัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม + คุ้มค่ามาใช้ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ + ความรวดเร็วในการบริการประชาชน
2. พัฒนาระบบสารสนเทศของศาลยุติธรรมให้มีความทันสมัย + เข้าถึงง่ายเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างศาลยุติธรรมกับประชาชน
3. แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย + ระเบียบ + ข้อบังคับให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล
4. ส่งเสริม + สนับสนุนให้บุคลากรในศาลยุติธรรมได้รับการเพิ่มพูนความรู้ + ประสบการณ์จากสถาบันการศึกษาทั้งภายใน + ภายนอกประเทศ
5) ค่านิยมองค์กรของ ตอบ
สำนักงานศาลยุติธรรม ค่านิยมองค์กรคำว่า “F-A-I-R” ของสำนักงานศาลยุติธรรมกลั่นกรองมาจากลักษณะ + สิ่งที่ศาลยุติธรรม + สำนักงานศาลยุติธรรมให้ความสำคัญ +
คาดหวังให้บุคลากรแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนให้ภารกิจของศาลยุติธรรมบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ตามเป้าหมาย + นโยบาย + ยุทธศาสตร์ที่กำหนดได้
อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยมีความหมาย + ที่มา ดังนี้
1. Fast Service (รวดเร็วด้านบริการ) = บุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีภารกิจด้านการสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมมีความพร้อมใน
การให้บริการด้วยรูปแบบ + วิธกี ารที่ทันสมัย + ถูกต้อง + เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรภายใน + ประชาชน + ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความสะดวก +
รวดเร็ว + มีประสิทธิภาพ
2. Accountability (ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ) = บุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ + ปฏิบัติงานที่ได้รับ
มอบหมายด้วยความทุ่มเท + มุ่งมั่น + ตั้งใจ + เต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด
3. Integrity (อยู่ในกรอบแห่งความซื่อสัตย์) = บุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต + ยึดมั่นในคุณธรรม + จริยธรรม + ประพฤติ
ตนตามกรอบของกฎ + ระเบียบ + กฎหมาย เพื่อให้สมกับการเป็นบุคลากรของหน่วยงานในกระบวนการยุตธิ รรม
4. Reliability (เป็นที่ประจักษ์ความน่าเชื่อถือ) = บุคลากรในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถอย่างถ่องแท้ในงานอาชีพที่ตน
ปฏิบัติ + ประพฤติตนเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ของการเป็นบุคลากรภาครัฐ ภายใต้ขอบเขตภารกิจของศาลยุติธรรมในการอำนวยความยุติธรรมแก่
ประชาชน + สังคม
6) วิสัยทัศน์ศาลยุติธรรม ตอบ
วิสัยทัศน์ศาลยุติธรรม = “ศาลยุติธรรมยึดมั่นหลักนิติธรรม ด้วยความเชื่อมั่น + ศรัทธาจากประชาชน”
7) พันธกิจศาลยุติธรรม ตอบ
1. อำนวยความยุติธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ในความบริสุทธิ์ ยุติธรรม
2. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ + ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึง + เสมอภาค
3. พัฒนาระบบการอำนวยความยุติธรรมให้เกิดสังคมสันติสุข + การพัฒนาทางเศรษฐกิจ + สังคมที่ยั่งยืน
4. เสริมสร้างความเข็มแข็งความเชื่อมั่นศรัทธา + การมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบงานศาลยุติธรรม ให้เป็นที่ประจักษ์ในนานาอารยประเทศ
8) แผนยุทธศาสตร์ศาล ตอบ
ยุติธรรม
แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565 – 2568 = ยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม เพื่อให้ศาลยุติธรรมบรรลุตามวิสัยทัศน์ “ศาลยุติธรรมยึดมั่นหลักนิติธรรม
ด้วยความเชื่อมั่น + ศรัทธาจากประชาชน” จึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาศาลยุติธรรมระยะ 4 ปี ที่จะทำให้ศาลยุติธรรมสามารถอำนวยความ
ยุติธรรม + ปฏิบัติภารกิจตามที่กฎหมายกำหนดให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ + ประสิทธิผล เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายใน + ภายนอก
องค์กร ในทุกรูปแบบ โดยประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ (TRUST) ได้แก่
1. T = เชื่อมั่นศรัทธาการอำนวยความยุติธรรม (Trusted Justice)
2. R = เชื่อถือในระดับสากล (Reliability)
3. U = การดำเนินงานอันเป็นมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน (Uniformity)
4. S = พัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability)
5. T = เปลี่ยนผ่านสู่อนาคต (Transformation)
9) สมรรถนะข้าราชการศาล ตอบ
ยุติธรรม สมรรถนะ = คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ + ทักษะ + ความสามารถ + คุณลักษณะอื่นๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่น
ในองค์กร
1. สมรรถนะหลัก = คุณลักษณะร่วมของข้าราชการศาลยุติธรรมทั้งระบบ เพื่อหล่อหลอมค่านิยม + พฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมกัน ทั้งนี้ สมรรถนะหลักนี้
ข้าราชการศาลยุติธรรมทุกคนต้องยึดถือสมรรถนะหลักเป็นแนวทางในปฏิบัติ + ต้องปฏิบัติตาม ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ คือ
1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์
1.2 จิตสำนึกในการให้บริการ
1.3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ
1.4 จริยธรรม
1.5 การทำงานเป็นทีม
2. สมรรถนะในงาน = สมรรถนะที่กำหนดเฉพาะสำหรับสายงานในแต่ละด้าน เพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการศาลยุติธรรมแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่หน้าที่
+ ส่งเสริมให้ข้าราชการศาลยุติธรรมปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยสมรรถนะในงานของนิตกิ รปฏิบัติ ได้แก่
2.1 นิติกรปฏิบัตกิ าร (ศาล)
2.1.1 ความเข้าใจผู้อื่น
2.1.2 ความเข้าใจองค์กร + ระบบราชการ
2.1.3 ความถูกต้องของงาน
2.2 นิติกรปฏิบัตกิ าร (ส่วนกลาง)
2.2.1 การคิดวิเคราะห์
2.2.2 การมองภาพองค์รวม
2.2.3 ความถูกต้องของงาน
10) จรรยาข้าราชการพลเรือน ตอบ
1. การยึดมั่น + ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
2. ความซื่อสัตย์สุจริต + ความรับผิดชอบ
3. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส + สามารถตรวจสอบได้
4. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
5. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
11) นิยามศาลยุติธรรม ตอบ
ศาลยุติธรรม = ศาลที่มีหน้าที่หลักในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาท ไม่วา่ จะเป็นคดีแพ่ง / คดีอาญา + ยังเป็นศาลที่มีอำนาจทั่วไปในการพิจารณาพิพากษา
คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอืน่ ด้วย อนึ่ง ศาลยุติธรรมมี ประธานศาลฎีกา เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ศาลยุติธรรมแบ่งเป็น 3 ชั้นศาล ได้แก่
1. ศาลชั้นต้น + ศาลชำนัญพิเศษ
เป็นศาลที่รับคำฟ้อง / คำร้องซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการฟ้องคดี + พิจารณาตัดสินคดีเป็นศาลแรก โดยมีอำนาจในการดำเนินการบางอย่างแทนศาล
อุทธรณ์ + ศาลฎีกาในบางเรื่อง เช่น การอ่านคำพิพากษา / คำสั่งของศาลอุทธรณ์ / ศาลฎีกา ฯลฯ
2. ศาลอุทธรณ์ + ศาลอุทธรณ์ภาค 1 - ภาค 9
เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา / คำสั่งของศาลชั้นต้น + มีอำนาจพิจารณาคำสั่งอื่นๆ เช่น คำสั่งเกี่ยวกับการขอประกันใน
คดีอาญา + การขอทุเลาการบังคับในคดีแพ่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นลักษณะของการตรวจสอบ / ทบทวนคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
3. ศาลฎีกา
เป็นศาลสูงสุดในระบบศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทอี่ ุทธรณ์คำพิพากษา / คำสั่งของศาลชั้นต้น / ศาลอุทธรณ์ + มีอำนาจวินิจฉั ยชี้ขาดคดี
ที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายเฉพาะ
- วันศาลยุติธรรม
ในวันที่ 21 เมษายน 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตยุติธรรม ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระ
มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าว ศาลยุติธรรมจึงถือเอา วันที่ 21 เมษายนของทุกปี เป็นวันศาลยุติธรรม
- วันศาลยุติธรรมแยกจากระทรวงยุติธรรม
ศาลยุติธรรม เป็นสถาบันที่ใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้อำนาจตุลาการมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง + สามารถเป็นหลักประกันการอำนวย
ความยุติธรรม ให้แก่ประชาชนได้ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงได้กำหนดให้แยกสถาบันศาลออก
จากกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจบริหาร โดยรัฐธรรมนูญทุกฉบับต่อๆ มาก็ได้รับรองหลักการดังกล่าวมาตลอด
จึงกล่าวได้วา่ ศาลยุติธรรมเป็นสถาบันตุลาการที่ใช้อำนาจอิสระอย่างแท้จริง + แยกต่างหากจากกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่ วันที่ 20 สิงหาคม 2543
12) โครงสร้างศาลยุติธรรม ตอบ
- ศาลชั้นต้นในกรุงเทพฯ
1. ศาลแพ่ง + ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ + ศาลแพ่งธนบุรี
2. ศาลอาญา + ศาลอาญากรุงเทพใต้ + ศาลอาญาธนบุรี
3. ศาลจังหวัดมีนบุรี + ศาลจังหวัดตลิ่งชัน + ศาลจังหวัดพระโขนง
4. ศาลแขวงพระนครเหนือ + ศาลแขวงพระนครใต้
5. ศาลแขวงธนบุรี + ศาลแขวงดุสิต + ศาลแขวงปทุมวัน
- ศาลชั้นต้นในต่างจังหวัด
1. ศาลจังหวัด
2. ศาลแขวง
- ศาลอุทธรณ์
- ศาลอุทธรณ์ภาค 1 – 9
- ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
1. ศาลเยาวชน + ครอบครัว
2. ศาลเยาวชน + ครอบครัวกลาง
3. ศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศกลาง
4. ศาลล้มละลายกลาง
5. ศาลภาษีอากรกลาง
6. ศาลแรงงานกลาง
7. ศาลแรงงานภาค 1 – 9
- ศาลฎีกา
13) คณะกรรมการตุลาการศาล ตอบ
ยุติธรรม (ก.ต.) ทำหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตุลาการทำนองเดียวกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ที่ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของ
ข้าราชการพลเรือน ดังนัน้ ก.ต. จึงเป็นองค์กรที่มีบทบาท + ภารกิจในการวางแผนกำลังคนในด้านตุลาการ เช่น
1. การกำหนดคุณสมบุติเฉพาะตำแหน่ง
2. การสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ
3. การบรรจุแต่งตั้ง
4. การพัฒนาบุคลากร
5. การควบคุมให้ข้าราชการตุลาการอยู่ในกรอบแห่งจริยธรรม
6. มาตรการในการรักษาวินัยโดยอาศัยระบบคุณธรรม เพื่อให้ผู้พิพากษามีหลักประกันอันมั่นคงว่าจะได้รับการสนับสนุน + การคุ้มครองให้มีความอิสระอย่าง
แท้จริง
14) คณะกรรมการบริหารศาล ตอบ
ยุติธรรม (ก.บ.ศ.) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคณะรัฐมนตรีในฝ่ายบริหาร กล่าวคือ
1. เป็นผู้กำหนดโครงสร้างของสำนักงานศาลยุติธรรม ตลอดจนการแบ่งส่วนราชการภายในองค์กร
2. วางระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการ
3. ให้ความเห็นชอบแก่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมในการเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ
4. ให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
5. ให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณ + พัสดุ
6. กำกับดูแลการบริหารราชการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย + ระเบียบแบบแผน รวมทั้งมีอำนาจสั่งยับยั้งการบริหารราชการที่ไ ม่
ถูกต้องได้
7. ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้ง / ยุบเลิก / เปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาล + กำหนดจำนวนผู้พิพากษาในแต่ละศาลให้เหมาะสมตามความจำเป็นของทาง
ราชการ
15) คณะกรรมการข้าราชการ ตอบ
ศาลยุติธรรม (ก.ศ.) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอนโยบาย + หลักเกณฑ์ + ระบบ + วิธีการ + มาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการศาลยุติธ รรม
1. กำหนดโครงสร้าง + อัตรากำลัง + ตำแหน่ง + เงินเดือนของข้าราชการศาลยุติธรรม + ลูกจ้าง + พนักงานราชการศาลยุติธรรม + บุคลากรตามการจ้าง
งานประเภทอื่นของสำนักงานศาลยุติธรรม
2. ติดตาม + ประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคล
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัย
4. พัฒนาคุณธรรม + จริยธรรม + จรรยาบรรณ + มาตรฐานการลงโทษ รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ร้องทุกข์
5. รักษาระบบคุณธรรมในราชการสำนักงานศาลยุติธรรม
6. ดำเนินการปรับปรุงกฎ ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
16) ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ตอบ
- ผู้พิพากษา
1. ประธานศาลฎีกา
2. รองประธานศาลฎีกา
3. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
4. ผู้พิพากษาศาลฎีกา
5. ประธานศาลอุทธรณ์
6. รองประธานศาลอุทธรณ์ / รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค
7. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
8. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
9. อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
10. รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
11. ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
12. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
13. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
- ผู้พิพากษาสมทบ = บุคคลภายนอกที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพิเศษให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ในศาลแรงงาน + ศาลเยาวชน + ครอบครัว + ศาลทรัพย์สินทาง
ปัญญา + การค้าระหว่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีร่วมกับผู้พิพากษา
- ดะโต๊ะยุติธรรม = ผู้นับถือศาสนาอิสลาม + ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผูม้ ีอำนาจหน้าทีใ่ นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับคดีครอบครัว +
มรดก ในจังหวัดปัตตานี + ยะลา + นราธิวาส + สตูล + อำเภอเบตง
17) นิยามสำนักงานศาล ตอบ
ยุติธรรม เพื่อเป็นหลักประกันความอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลยุติธรรม จึงจำเป็นต้องมีอิสระในการบริหารงานบุคคล + การงบประมาณ + การ
ดำเนินการอื่นๆ จึงจะทำให้สามารถพัฒนาองค์กรให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี + แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปได้ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้
ศาลยุติธรรมมีส่วนราชการที่เป็นอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้แก่ สำนักงานศาลยุติธรรม เข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการศาลยุติธรรม
ซึ่งงานของสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นไปตามลักษณะของการบริหารองค์กร / หน่วยงาน + ที่สำคัญการสนับสนุนงานตุลาการอันเป็นภาระหลักให้ดำเนิน
ไปอย่างเป็นระบบ + มีประสิทธิภาพ + เป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรม โดยมี เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบงานที่
จะสนองตอบต่อนโยบายของศาลยุติธรรมในภาพรวม ขั้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
18) ลักษณะงานตามมาตรฐาน ตอบ
กำหนดตำแหน่ง นิติกร ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับตนที่ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ วินิจฉัย วิจัย พัฒนา
ปฏิบัติการ มาตรฐานงานทางกฎหมาย งานนิติการ การตัดสินใจอยู่ภายใต้การกำกับ + แนะนำ + ตรวจสอบ + ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่
ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
2. ด้านการวางแผน
3. ด้านการประสานงาน
4. ด้านการบริการ
19) การเลื่อนขั้นเงินเดือนของ ตอบ
ข้าราชการศาลยุติธรรม 1. ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ทำงานประจำในศาลยุติธรรม ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมแห่งนัน้ ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วย
กฎหมาย + ระเบียบของทางราชการ
2. ในการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี + การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของข้าราชการศาลยุติธรรมที่ทำงานประจำในศาลยุติธรรม ให้ผู้บังคับบัญชาของ
ข้าราชการศาลยุติธรรมนัน้ ดำเนินการให้สอดคล้องกับผลการประเมินผลงานที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นหัวหน้าในศาลยุติธรรมแห่งนั้นจัดทำขึน้
20) ประมวลจริยธรรม ตอบ
ข้าราชการศาลยุติธรรม - อุดมการณ์ของข้าราชการศาลยุติธรรม ข้อ 1
ว่าด้วย การยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศอัน ได้แก่ ชาติ + ศาสนา + พระมหากษัตริย์ + การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข โดยปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต + มีจิตสำนึกที่ดี + รับผิดชอบในหน้าที่ราชการ + กล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม +
คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ด้วยใจที่มีจิตสาธารณะ ทั้งพัฒนาศักยภาพของตนในการปฏิบัติหน้าที่ให้ทนั ยุคสมัย + มุ่ง ผลสัมฤทธิ์ของงาน
ราชการเป็นหลัก + สร้างความเป็นธรรมให้สังคมด้วยการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเป็นธรรม + ไม่เลือกปฏิบัติ ต่อบุคคลด้วยความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น
สถานภาพ / เพศ / การศึกษา / ความแตกต่างอื่นใด ทั้งจักต้องดำรงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี + รักษาภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมให้สมกับเป็น องค์กรที่อำนวย
ความยุติธรรมให้แก่ประชาชน
- จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่
1. ปฏิบัติหน้าที่ตามอุดมการณ์ของข้าราชการศาลยุติธรรม ด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต + รับผิดชอบต่อหน้าที่ ข้อ 2 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จำต้อง
ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ไม่คดโกง ไม่หลอกลวงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจดี + ชอบตามทำนองคลองธรรม ซึ่งความซื่อสัตย์จะเกิด ขึ้นได้ ต่อเมื่อมี
สัจจะทั้งกายวาจาใจ
2. รักษาความลับ ข้อ 3 = เรื่องราวที่ไม่พึงเปิดเผยข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใด ได้ทราบความลับของราชการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทราบมาโดยตำแหน่ง
หน้าที่ราชการของตน / โดยทางอื่นใด + ไม่ว่าผู้นั้น จะมี / ไม่มีหน้าที่ราชการเกี่ยวกับเรือ่ งนั้นก็ตาม ผู้นั้นต้องรักษาความลับนั้ นไว้ โดยไม่เปิดเผยให้ผู้ไม่มี
หน้าที่ได้ทราบ
3. วางตัวเป็นกลาง + ปราศจากอคติ + วาจาสุภาพ + เสมอภาค ข้อ 4 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องปฏิบัติต่อผู้ติดต่อราชการ + ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
เสมอเหมือนกันทุกประการ โดยไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด / เชื้อชาติ / ภาษา / เพศ / อายุ /
สภาพทางกาย / สุขภาพ / สถานะของบุคคล / ฐานะทางเศรษฐกิจ / สังคม / ความเชื่อทางศาสนา / การศึกษาอบรม / ความคิดเหตุทางการเมืองอันไม่
ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ / เหตุอื่นใด ทั้งจักต้องมิให้ผู้ติดต่อราชการ / ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรู้สึกว่าตนได้รับการปฏิบตั ิที่ด้อยกว่าบุคคลอืน่
4. ต้องอำนวยความสะดวก + สอดส่อง + ดูแลเอาใจใส่ + ให้คำปรึกษา แก่ผู้มาติดต่อราชการ ข้อ 5 =
4.1 ตรวจสอบเอกสารหลักฐานให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อด้วยความตั้งใจ + เอาใจใส่ + ละเอียดถี่ถ้วน + ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง + ชัดเจน + เพียงพอ ที่
ประชาชนผู้มาติดต่อจะดำเนินการต่อไปได้
4.2 ขอโทษประชาชนผู้มาติดต่อราชการ เมื่อตนปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาด / ล่าช้า โดยไม่ด่าทอ / ทะเลาะกลับ เมื่อได้รับการต่อว่า
5. ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงพัฒนาระบบงาน ข้อ 6 =
5.1 ควบคุมดูแล + วางระบบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมิให้งานราชการ ล่าช้า / ผิดพลาด
5.2 นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อให้เกิด ความสะดวกรวดเร็ว + ถูกต้องครบถ้วน
6. ระมัดระวังไม่ประมาทเลินเล่อ + ละเอียดรอบคอบ ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ข้อ 7 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จัดต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียด
รอบคอบ + ระมัดระวัง + ตรวจสอบ + ปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วนตามขัดตอนอยู่เสมอ + ไม่พลั้งเผลอหลงลืมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ / ในเรื่องอื่นที่
เกี่ยวข้องกับหน้าที่ราชการ
7. ตรงต่อเวลา + อุทศิ เวลาแก่ราชการ ข้อ 8 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องอุทิศ / สละเวลาปฏิบัติราชการตามที่ทางราชการ ต้องการรวมทัง้ เวลา
นอกเหนือจากเวลาปฏิบัติราชการตามปกติ ในกรณีที่ทางราชการมีงานเร่งด่วนที่จำเป็น จะต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานนอกเวลา
8. สนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้พิพากษา + ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด ข้อ 9 =
8.1 ตรวจสอบคำสั่งศาล + ออกหมายตามคำสั่งทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีอาญาที่มีผลต่อสิทธิเสรีภาพ / มีผลบังคับตามคำสั่งพิพากษา เช่น หมาย
กักขัง / หมายจับ / หมายปล่อย ฯลฯ
8.2 ตรวจสอบการปล่อยชั่วคราว รวมทั้งหลักประกัน / การคืนหลักประกัน ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยจะสามารถคืน / กระทำการใดๆ กับหลักประกันได้ก็
ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลเท่านั้น
8.3 จัดทำคำพิพากษาด้วยความรวดเร็ว
9. สามัคคี + มีมนุษย์สัมพันธ์ + ให้เกียรติ + เอื้อเฟื้อ + เคารพสิทธิ + รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน ข้อ 10 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องรักใคร่
+ กลมเกลียว + ช่วยเหนือในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งจะต้องรับฟังความคิดเห็น + เคารพการตัดสินใจของผู้ร่วมปฏิบัติงาน
10. เคารพ + ปฏิบตั ิตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ข้อ 11 = ข้าราชการศาลยุตธิ รรม จักต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ที่เป็นการสั่งใน
หน้าที่ราชการ + ชอบด้วยกฎหมาย
11. เอาใจใส่ดูแล + มีมนุษย์สัมพันธ์ + เคารพสิทธิ + รับฟังความคิดเห็น + ให้ความอนุเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชา ข้อ 12 = ข้าราชการศาลยุติธรรมจักต้อง
มีไมตรีต่อผู้ร่วมปฏิบัติงาน + ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ทั้งจักต้องให้การช่วยเหลือในเรือ่ งต่างๆ แก่ผู้ร่วมปฏิบัติงาน + ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
ตามสมควรแก่กรณี
- จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตน + ครอบครัว
1. เคารพ + ปฏิบตั ิตามกฎหมาย + สมถะ + เรียบง่าย + สุภาพสำรวมกิริยา + มีอัธยาศัย ข้อ 13 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องครองตนแบบไม่
ฟุ้งเฟ้อ + ฟุ่มเฟือย + หรูหรา / โอ้อวด + มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย เหมาะสมกับฐานะ + ตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง ทั้งจักต้องแต่ง กายสุภาพตามสมัย
นิยม + ถูกต้องตามกาลเทศะ ส่วนเรื่องการมีอัธยาศัยต่อบุคคลทั่วไปนัน้ + พึงแสดงความมีน้ำใจ + แสดงความอ่อนโยน ตามควรแก่ฐานะของตนกับของ
บุคคลอื่น + ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม จะต้องไม่ข่มผู้อื่นว่า ตนเหนือกว่า
2. ขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอ + พัฒนาตน + พัฒนางาน + องค์กร ข้อ 14 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง
ถูกต้องเหมาะสม + เกิดประโยชน์สูงสุดต่องานราชการ ดังนั้น ข้าราชการศาลยุติธรรม พึงเสริมสร้างศักยภาพของตนเองด้วยการขวนขวายหาความรู้ +
เพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์แก่การปฏิบัติราชการในที่สุด
3. ไม่ก้าวก่าย / แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการปฏิบัตหิ น้าที่ของผูอ้ ื่น ข้อ 15 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องไม่แทรกแซงหน้าที่ของผู้อื่น เพื่อให้
ตนเอง / ผู้อื่นได้มาซึ่งประโยชน์ที่ไม่ควรได้ ทั้งจักต้องไม่กระทำการใดทีท่ ำให้ตนได้ประโยชน์ มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย / ประโยชน์ที่ ตนเองมิควรได้ ซึ่ง
ประโยชน์นั้นมิได้หมายถึงฟ้องเฉพาะตัวเงินเท่านั้น อาจเป็นในรูปแบบ ทรัพย์สิน / สิทธิพิเศษอื่นๆ ด้วย
4. ไม่ยินยอมให้บุคคลในครอบครัวก้าวก่ายการปฏิบัตหิ น้าที่ของตน ข้อ 16 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ + ต้อง
แยกเรื่องครอบครัวออกจากหน้าที่การงานของตนโดยเด็ดขาด ซึ่งเรื่องนีเ้ ป็นเรื่องสำคัญที่อาจทำให้เสื่อมเสียทั้ง ความยุติธรรมในคดี + ความเชื่อถือศรัทธา
ในตัวข้าราชการศาลยุติธรรมของบุคคลทั่วไปได้
5. ยึดมั่นในระบบคุณธรรม + ไม่แสวงหาตำแหน่งความดีโดยมิชอบ ข้อ 17 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องไม่แสวงหาโอกาสในการเลื่อนขั้นได้รับ
บำเหน็จความชอบ / ค่าตอบแทนอืน่ ใด โดยมิชอบจากผู้บังคับบัญชา / บุคคลอื่น
6. ไม่ให้การประกอบอาชีพของบุคคลในครอบครัว กระทบกระเทือนต่อ การปฏิบัติหน้าที่ / เกียรติศักดิ์ของข้าราชการศาลยุติธรรม ข้อ 18 =
6.1 ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคำร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลย ไม่ควรที่จะมีคู่สมรสเป็นผู้ประกันในศาลเดียวกัน
6.2 ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจรับการจ้าง ไม่ควรให้คู่สมรส / ญาติสนิท / บุคคลในครอบครัว เข้ามารับเหมาก่อสร้างต่อเติมอาคารศาล
7. ไม่รับ ทรัพย์สิน / ประโยชน์ใดๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ 19 = ข้าราชการศาลยุติธรรม จักต้องไม่ขอ / รับทรัพย์สิน / ประโยชน์อื่นใดจาก
หน่วยงานภายนอก / บุคคลอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน โดยมิชอบ นอกจากนี้แล้ว ยังต้องดูแลมิให้บุคคลในครอบครัวของตนรับ ทรัพย์ สิน /
ประโยชน์อื่นใดเช่นว่านั้นด้วยเช่นกัน เพื่อมิให้เกิดข้อระแวงสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของศาลยุติธรรมได้
8. ไม่รับของขวัญของกำนัล / ประโยชน์อื่นใด ที่มีมูลค่าสูงเกินควร ข้อ 20 = ข้าราชการศาลยุติธรรมนั้น สามารถรับของขวัญของกำนัลอืน่ ใด ที่ไม่
เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้ แต่ต้องเป็นไปด้วยความพอดี + พอเหมาะ + พอควร + โดยชอบด้วยกฎหมาย
9. ไม่คบหาสมาคม / สนับสนุน ผู้ประพฤติผิดกฎหมาย / มีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย ข้อ 21
- จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
1. ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ / ที่ปรึกษา / ตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วน / บริษัท / ห้างร้านฯ + ประกอบอาชีพอันอาจกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติ
หน้าที่ ข้อ 22 = ข้าราชศาลยุติธรรม อาจเป็นผู้ถือหุ้น / ซือ้ หุ้นของในกิจการของเอกชนได้ตามสมควร แต่ไม่อาจเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ /
ผู้จัดการ / ที่ปรึกษา / ตำแหน่งอืน่ ใด ในธุรกิจของเอกชนได้ เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าว อาจทำให้ตอ้ งเข้าจัดการงาน / นำเวลาของราชการไปใช้ได้ ทั้งยัง
อาจมีบางกรณีที่เอกชนซึ่งตนเองเข้าไปดำรงตำแหน่ง จะต้องเข้ามาสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งอาจทำให้คู่ความฝ่ายตรงข้าม มีความเคลือบ
แคลงสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ อนึ่ง ข้าราชการศาลยุติธรรม อาจมีอาชีพเสริม / ประกอบอาชีพอื่น เพื่อเพิ่มรายได้ในการดำรงชีพได้ตามสมควร
แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ / ศักดิ์ศรีของข้าราชการศาลยุติธรรม
2. หากได้รับมอบหมาย / แต่งตั้งฯ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา ข้อ 23
3. ไม่กระทำการอย่างทนายความ ข้อ 24 = ข้าราชการศาลยุติธรรม อาจช่วยเหลือ / ให้บริการประชาชนในการเขียนคำร้อง / คำขอ / ให้คำแนะนำใดๆ
เกี่ยวกับการติดต่อราชการได้ตามสมควร / ตามอำนาจหน้าที่ที่ตนสามารถกระทำได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เรียกเงิน / ประโยชน์อื่นใดในการกระทำดังกล่าว
จากคู่ความ ทั้งจะต้องไม่ชี้นำผลแห่งคดี / ผลแห่งคำชี้ขาดของศาล เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อด้วย
- จริยธรรมของลูกจ้าง + พนักงานราชการ ข้อ 25
ให้นำประมวลจริยธรรมของข้าราชการศาลยุติธรรมมาบังคับใช้โดยอนุโลม
D – COURT

D – COURT
1) D – COURT ตอบ
1. ระบบยื่นฟ้อง + ส่งคำคู่ความทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ระบบค้นหาเขตอำนาจศาล
3. ระบบสำนวนความทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ระบบการส่งเอกสาร + ประกาศนัดไต่สวน
5. ระบบคำนวณค่าธรรมเนียมศาล
6. ระบบติดตามสำนวนคดี
7. ระบบฐานข้อมูลหมายจับ
8. ระบบคืนค่าธรรมเนียมศาล
9. ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม
2) CIOS ตอบ
CIOS = ระบบบริการข้อมูลคดี + วันนัดพิจารณา + ผลการส่งหมาย + คำสั่งศาลผ่านอินเตอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มความสะดวก + ลดค่าใช้จ่ายใน
การเดินทางของคู่ความในคดี / ประชาชน ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลคดีที่คู่ความเกี่ยวข้องในคดีได้ทุกที่ทุกเวลาที่ตอ้ งการ
3) SMART COURT ตอบ
1. Technology Smart = พัฒนาจาก D Court มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด + ทำให้การอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน
สะดวกรวดเร็วที่สุด + ต้องรักษากระบวนการความถูกต้องของกฎหมายไว้ด้วย เช่น การพัฒนาระบบ E – Filing ให้มีประสิทธิมากยิ่งขึ้น ฯลฯ
2. Academic Smart = พัฒนากลไกระบบการพิจารณาคดีตลอดจนการพัฒนาเชิงวิชาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรมได้มีการตั้งคณะทำงานต่างๆ
เพื่อพัฒนากระบวนพิจารณา + ระบบของการดำเนินงานเกี่ยวกับคดีเลือกตั้ง คดีอาญาทุจริต + การดำเนินคดีแบบกลุ่มซึ่งยังมีปัญหาในข้อกฎหมายต่างๆ
3. Work Smart = มุ่งเน้นให้การทำงานมีประสิทธิภาพ + โปร่งใส + มีความเหมาะสม พยายามลดขึ้นตอนการทำงานทีไ่ ม่จำเป็น ปรับปรุงการทำงานให้ดี
ยิ่งขึ้น เช่น การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องเป็นกระบวนหนึ่งที่ช่วยลดขั้นตอนการทำงานของศาล จะทำให้คดีบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อประชาชน + คู่ความ ฯลฯ
4. Personnel Smart = จัดสรรบุคลากรด้านต่างๆ ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อให้การทำงานของศาลมีประสิทธิภาพ พัฒนาความรู้ความสามารถดูแล
ให้บุคลากรมีความเป็นที่อยู่ดีขึ้น เป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน สร้างโอกาสให้บุคลากรแสดงความสามารถเต็มตามศักยภาพที่มี
4) การขอปล่อยชั่วคราวผ่าน ตอบ
ระบบบริการออนไลน์ศาล - การดำเนินการขอปล่อยชั่วคราวผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS)
ยุติธรรม (CIOS) 1. ผู้ร้องขอประกัน ต้องลงทะเบียนระบบ CIOS ที่เว็บไซต์ cios.coj.go.th
2. ผู้ร้องขอประกัน เข้าสู่ระบบ CIOS เลือกเมนู ยื่นคำขอประกัน
3.
ผู้ร้องขอประกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โดยวิธีการอัปโหลดคำร้องเข้าระบบ CIOS + รอรับ SMS ยืนยันว่า ยืน่ คำร้องสำเร็จ
4.
ผู้ร้องขอประกันมีหน้าที่ติดตามคำสั่งศาลทางระบบ CIOS
-กรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตขอให้ปล่อยชั่วคราว
1.
กรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยไม่เรียกประกัน แต่ให้จำเลยสาบานตน = ผู้ร้องขอประกันทราบคำสั่งศาลเท่านั้น
2.
กรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยให้ทำสัญญาประกัน แต่ไม่ต้องวางหลักประกัน = ผู้ร้องขอประกันต้องไปพิสูจน์ตวั ตนที่ศาลเจ้าของคดี
/ ศาลอื่นก่อน จึงจะสามารถยื่นสัญญาประกันผ่านระบบ CIOS ได้
3. กรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยทำสัญญาประกัน + วางหลักประกัน + ผู้ร้องขอประกันวางหลักประกันเป็นเงินสด = ผู้ร้องขอ
ประกันต้องโอนชำระหลักประกันตามบัญชีที่ระบบกำหนด (ชื่อผู้โอนต้องตรงกับผู้ร้องขอประกัน) พร้อมทั้ง อัปโหลดสัญญาประกัน + หลักฐานการโอนเงิน
ผ่านระบบ CIOS โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนที่ศาล
4. กรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว หากผู้ร้องขอประกันประสงค์จะวางหลักประกันอื่น นอกเงินสด = ผู้ร้องขอประกันต้องเดินทางไปศาล
เจ้าของคดี เพื่อทำสัญญาประกัน + วางหลักประกัน
5) การออกหมายเรียกจำเลย ตอบ
ทางระบบ e – Filing 1. ผู้พิพากษาสั่งรับฟ้อง + สั่งออกหมายเรียกจำเลย
version 3 2. ระบบดำเนินการออกหมายเรียกจำเลยอัตโนมัติ พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้พิพากษา
3. เจ้าหน้าที่ศาลประทับตราศาล
4. ผู้พิพากษาไม่ต้องลงลายมือชื่อในหมายเรียกจำเลยแล้ว
5. หมายเรียกจำเลยที่พิมพ์ออกจากระบบ เพื่อส่งให้จำเลยถือเป็นสิ่งพิมพ์ออกซึ่งใช้แทนต้นฉบับได้
6) หลักเกณฑ์ + วิธีการ + ตอบ
เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธี 1. ประเภทคดีที่คู่ความอาจร้องขอ / ศาลเห็นสมควร ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธกี ารทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ คดีแพ่ง + คดีผู้บริโภค
พิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ 2. การยื่น / ส่ง / รับเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จดั ทำขึ้น ให้ดำเนินการโดยทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานศาลยุติธรรม (e – Filing,
CIOS) โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศสำนักงานศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง
3. การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเอกสาร ได้แก่ ลงลายมือชื่อในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำให้ปรากฏภาพลายมือชื่อในเอกสาร / ทำการใดๆ บนอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์อนั แสดงว่า ยอมรับความถูกต้องของข้อความ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ / คลิกปุ่มแสดงการยอมรับ / ตกลง ฯลฯ
4. การจัดทำเอกสารท้ายคำฟ้องเพื่อส่งให้แก่จำเลยในคดีผู้บริโภคที่ยื่นทางระบบ e – Filing อาจจัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่าน
ทางคิวอาร์โค้ดที่ส่งไปพร้อมกับหมายเรียก
5. กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการนั่งพิจารณา + การใช้ระบบบันทึกคำเบิกความพยานโดยวิธกี ารทางอิเล็กทรอนิกส์
6. การจัดทำคำพิพากษา / คำสั่งในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยบันทึกเป็นไฟล์ PDF, PDF/A ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ + อัปโหลดเข้าสู่ระบบ
หลังจากอ่านคำพิพากษา สำหรับคดีทอี่ ยู่ในอำนาจของพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
7) การยื่นคำคู่ความ / ตอบ
เอกสาร ผ่านระบบ CIOS - ระบบ CIOS
+ ระบบ e – Filing 1.ยื่นคำฟ้องคดีครอบครัว
2.ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีทางออนไลน์
3.ยื่นคำร้องขอคัดถ่ายเอกสารในสำนวนคดี
4.ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
5.ยื่นคำคู่ความ / เอกสารทางคดีได้ทุกประเภท ยกเว้น คำฟ้อง + คำร้องขอตั้งต้นคดี รวมถึงคดีที่ยื่นคำฟ้อง / คำร้องขอตั้งต้นคดีผ่านระบบ e – Filing
- ระบบ e – Filing
1.ทนายความ / พนักงานอัยการ
1.1 ยื่นคำฟ้องคดีแพ่ง
1.2 ยื่นคำร้องขอจัดการมรดก
1.3 ยื่นคำร้องขอให้คนสาบสูญ
1.4 ยื่นคำฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศ (ยกเว้น พนักงานอัยการ)
1.5 ยื่นคำฟ้องคดีล้มละลาย (ยกเว้น พนักงานอัยการ)
1.6 ยื่นคำฟ้องคดีภาษีอากร (ยกเว้น พนักงานอัยการ)
2. ประชาชน
2.1 ยื่นคำฟ้องคดีผู้บริโภค กรณีที่บุคคลธรรมดา เป็นผู้บริโภคยื่นคำฟ้อง
2.2 ยื่นคำฟ้องคดีซอื้ ขายออนไลน์ในศาลแพ่ง
การตั้งต้นคดี

การตั้งต้นคดี
1) พนักงานต้อนรับประจำ ตอบ
ศาล (เสื้อฟ้า) พนักงานต้อนรับประจำศาล (เสื้อฟ้า) = พนักงานต้อนรับประจำศาลที่สวมเสื้อเครื่องแบบสีฟ้าที่มีป้ายชื่อติดอยู่บริเวณหน้าอกด้านซ้าย ยืนคอยให้การ
ต้อนรับ พร้อมตอบข้อซักถาม + คอยบริการให้คำแนะนำประชาชนในการติดต่อราชการศาล เช่น ให้คำปรึกษากรณีข้อยื่นประกันตัวผู้ต้องหา / จำเลย พร้อมทั้ง
ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งมีหลัก = “บริการด้วยรอยยิ้ม จากใจศาลยุติธรรม”
2) หมายศาล ตอบ
1. หมายนัด = หมายที่ให้ไปศาลตามวันเวลาที่กำหนด
2. หมายเรียก = หมายที่ส่งไปพร้อมกับสำเนาคำฟ้อง เพื่อให้จำเลยแก้คดีภายในกำหนด นับตั้งแต่วนั ที่ได้รับหมายเรียก + สำเนาคำฟ้องในคดีแพ่ง อนึ่ง ใน
ส่วนคดีอาญาที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีชั้นศาล ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง หากศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ศาลจะประทับรั บฟ้องไว้ หาก
เป็นกรณีที่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล ศาลอาจจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาล เพื่อจะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้
3. หมายคำสั่งเรียกเอกสาร = หมายคำสั่งเรียกเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งบุคคลภายนอกของทางราชการ / ของเจ้าหน้าที่ +
คู่ความฝ่ายหนึ่งต้องการใช้เอกสารนัน้ เพื่อประโยชนในการดำเนินคดีของคู่ความนั้นเอง จึงได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกให้ผู้ครอบครองเอกสานนั้นส่งเอกสาร
ให้แก่ศาล ด้วยตนเอง / จัดส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
4. หมายเรียกให้มาเป็นพยานเบิกความต่อศาล
3) หมายเรียกให้ไปเบิกความ ตอบ
ต่อศาล การเบิกความ = การที่บุคคลไปให้ขอ้ มูลแก่ศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี เพื่อให้ศาลใช้ข้อมูลที่ได้รับประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น โดย
การให้ข้อมูลดังกล่าวจะทำด้วยการให้บุคคลที่ไปเบิกความตอบคำถามของศาล / ของคู่ความแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ พยานควรเบิกความเฉพาะเท่าที่ตนได้เห็น / ได้ยนิ /
ได้ทราบโดยตรงเท่านั้น + ต้องเบิกความด้วยวาจา + ห้ามพยานอ่านข้อความที่จด / เขียนมา เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากศาล อนึ่ง เมื่อเบิกความเสร็จแล้ว ศาล
จะอ่านคำเบิกความที่บันทึกให้แก้พยานฟัง ถ้าพยานเห็นว่า มีข้อความใด ไม่ตรงกับที่ได้เบิกความไว้ พยานก็สามารถทักท้วงขอแก้ไขได้ แต่หากข้อความดังกล่าว
ถูกต้องทั้งหมดแล้ว ศาลจะให้พยานลงลายมือชื่อไว้ท้ายคำเบิกความ + เป็นอันเสร็จสิ้นการเป็นพยาน
- ความผิดฐานเบิกความเท็จ
การเบิกความเท็จ = เป็นการที่พยานเอาความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จมาเบิกความต่อศาล ไม่ว่าพยานผู้นั้นจะได้สาบานตน / ปฏิญาณตนก่อนเบิกความหรือไม่ก็
ตาม + ที่สำคัญความเท็จนั้นต้องเป็นข้อมูลสำคัญในคดี ที่จะมีผลต่อการวินิจฉัยของศาลที่จะนำไปสู่การแพ้ / ชนะคดี ทั้งนี้ จะต้องเบิกความไป โดยมีเจตนา =
รู้อยู่แล้วว่าข้อความที่ตนเบิกความนัน้ เป็นการเท็จจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี / ปรับไม่เกิน 10,000 บาท / ทั้งจำทั้ง
ปรับ อนึ่ง ถ้าเบิกความเท็จในคดีอาญาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี + ปรับไม่เกิน 14,000 บาท
- ข้อปฏิบัติเมื่อได้รับหมายเรียกให้ไปเบิกความ
1. เมื่อได้รับหมายเรียก ควรดูอย่างรอบคอบว่าเป็นหมายของศาลใด ศาลนัน้ ตั้งอยู่ที่ใด ต้องไปเบิกความในวัน + เวลาใด อนึ่ง หากมีข้อสงสัย ควรโทรศัพท์
สอบถามไปยังศาลตาหมายเลขโทรศัพท์ + ที่อยู่ด้านล่างของหมายเรียก
2. ไปศาลตามวัน + เวลานัด แต่หากมีความจำเป็นไม่อาจไปศาลตามกำหนดได้ ต้องรีบแจ้งให้ศาลทราบก่อนวันนัด เพราะการขัดขืนไม่ไปศาล อาจถูกศาล
ออกหมายจับเพื่อเอาตัวกักขังไว้จนกว่าจะเบิกความได้ + ยังถือว่าเป็นความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน / ปรับไม่เกิน 1,000 บาท / ทั้งจำทั้ง
ปรับ
3. ตรวจหมายเลขห้องพิจารณาคดี + รอการเบิกความที่ห้องพิจารณาคดี จึงควรนำหมายเรียกติดตัวไปศาลด้วย เพื่อความสะดวกในการติดต่อสอบถาม +
เมื่อถึงศาลแล้ว ให้หาห้องพิจารณาคดีโดยอาจสอบถามจากพนักงานต้อนรับประจำศาล / เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ / ป้ายอักษรวิ่ง / จอคอมพิว เตอร์ในศาล
นอกจากนี้ ควรนำหลักฐานประจำตัว เช่น บัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วย เพื่อใช้ยืนยันตน ฯลฯ
4. ก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาที่ตนเองนับถือ / ปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้น บุคคลที่มีอายุตำ่ กว่ า 15 ปี /
บุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิด + ชอบ / พระภิกษุ / สามเณรในพุทธศาสนา / บุคคลที่คู่ความทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องสาบาน อนึง่ ผู้ที่ขัดขืน
คำสั่งศาลที่ให้สาบาน / ปฏิญาณจะมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน / ปรับไม่เกิน 1,000 บาท / ทั้งจำทั้งปรับ
4) ศาลเริ่มต้นฟ้องคดี ตอบ
- ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั่วไป
1. ศาลจังหวัด = มีอำนาจทัว่ ไปที่จะรับฟ้องคดีได้ทุกประเภท ทั้งคดีแพ่ง + คดีอาญาทั่วไป
2. ศาลแขวง = มีอำนาจในการรับฟ้องคดีอาญาที่เป็นความผิดเล็กน้อย ซึง่ กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี / ปรับไม่เกิน 60,000
บาท / ทั้งจำทั้งปรับ + คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่สูง โดยมีราคาทรัพย์สินที่พิพาท / จำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท
- ศาลชำนัญพิเศษ
ศาลชำนัญพิเศษ = ศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพจิ ารณาเป็นการเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาล + วิธีพิจารณาคดีของศาลนั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากศาล
ชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลชำนัญพิเศษ จะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ
- ข้อสังเกต
1. การฟ้องคดีแพ่งเป็นครั้งแรกจะต้องกระทำที่ศาลชั้นต้นเท่านัน้ เว้นแต่ จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอืน่ เช่น ผู้ดำรงตำแหน่ งทางการเมือง /
กรรมการป้องกัน + ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติถูกฟ้องว่า มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ / ทุจริตต่อหน้าที่ / มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งอาจถูก
ดำเนินคดีให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้นตกเป็นของแผ่นดินได้ คดีเช่นนี้จะเริ่มคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.
ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 9, 10 ฯลฯ
2. กรณีคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ถ้ามายืน่ ฟ้องที่ศาลจังหวัด / ศาลแขวง ศาลจังหวัด / ศาลแขวงนั้นต้องสั่งไม่รับ / คืนคำฟ้องให้ไปยื่นต่อศาล
ชำนัญพิเศษที่มีเขตอำนาจ โดยสั่งดังนี้ “...คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนี้ ไม่รับคำฟ้อง (หรือคืนคำฟ้อง) ให้ไปยื่นต่อศาลที่มี
อำนาจ คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด” แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลชำนัญพิเศษได้ปฏิเสธไม่รับคำฟ้องดังกล่าว กรณีจึงเกิดข้อสงสัยในอำนาจพิจารณา
พิพากษาคดีดังกล่าว ศาลจังหวัด / ศาลแขวงจึงต้องส่งคำฟ้องดังกล่าว ให้ผู้ที่มีอำนาจเป็นผู้วินจิ ฉัย โดยสั่งดังนี้ “...กรณียังมีปัญหาว่าอยู่ในอำนาจของ
ศาล...หรือไม่ ส่งให้...วินิจฉัยต่อไป”
5) ผู้เริ่มต้นฟ้องคดี ตอบ
1. บุคคลธรรมดา = ผู้ที่มีสภาพบุคคลมีสิทธิ + หน้าที่ตามกฎหมายจึงอาจเป็นโจทก์ฟ้อง / อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยก็ได้
2. ผู้เยาว์ = ถ้าจะฟ้องคดีอาจแยกเป็น 2 กรณี คือ
2.1 กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ /
2.2 กรณีผู้เยาว์ฟ้องคดีเอง ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
3. นิติบุคคล = บุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นให้มีสิทธิ + หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา โดยยกเว้นสิทธิ + หน้าที่บางประการทีน่ ิติบุคคลจะมีอย่างบุค คล
ธรรมดาไม่ได้ ทั้งนี้ การจะเป็นนิติบุคคลได้ต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ อนึ่ง ส่วนสิ่งที่ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น รัฐบาล / กลุ่ม / คณะบุคคล / กอง
มรดก / หน่วยราชการที่มีฐานะเป็นกอง / สำนักสงฆ์ / สุเหร่า / อำเภอ / ชมรม ฯลฯ ไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล ดั งนั้น จึงไม่
อาจเป็นโจทก์ฟ้อง / อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
6) การยื่นอุทธรณ์ / ฎีกาคำ ตอบ
พิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความที่ไม่พอใจผลคำพิพากษา อาจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ / เมื่อศาลอุทธรณ์มี คำพิพากษา
แล้ว คู่ความที่ไม่พอใจอาจฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
คู่ความที่ประสงค์จะอุทธรณ์ / ฎีกาต้องยื่นอุทธรณ์ / ฎีกาต่อศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นในชั้นต้น ภายใน 1 เดือนนับแต่วนั ที่ศาลได้อา่ นคำพิพากษา
ศาลชั้นต้น / ศาลอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี
อนึ่ง ในคดีอาญา หากจำเลยถูกจำคุกอยูใ่ นเรือนจำ จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ / ฎีกาต่อพัศดีเรือนจำภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ / ฎีกา เพื่อให้พัศดีส่ งต่อให้
ศาลชั้นต้น / ให้ทนายความของจำเลยยื่นอุทธรณ์ / ฎีกาต่อศาลแทนตนก็ได้
7) การดำเนินคดีแบบกลุ่ม ตอบ
1. การดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) = หนึ่งในกฎเกณฑ์ + กลไกในวิธีพจิ ารณาความ เพื่อเยียวยาความเสียหายให้แก่กลุ่มผู้เสียหายที่มีจำนวนมาก
ให้ทั่วถึง + รวดเร็ว + เป็นธรรม โดยก่อให้เกิดภาระ + ค่าใช้จ่ายแก่ภาครัฐน้อยที่สุด โดยกลุ่มบุคคลที่จะเข้ามามีส่วนในการดำเนินคดี แบบกลุ่มนั้น จะต้อง
มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 เป็นบุคคลหลายคน (ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป)
1.2 มีสิทธิอย่างเดียวกันอันเนือ่ งมาจากข้อเท็จจริง + หลักกฎหมายเดียวกัน
1.3 มีลักษณะเฉพาะของกลุ่มเหมือนกัน
2. การดำเนินคดีแบบกลุ่ม จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
3. ศาลที่มีอำนาจรับฟ้อง + พิจารณาพิพากษาคดีแบบกลุ่มได้ = ศาลยุติธรรมทุกศาล (ยกเว้น ศาลแขวง) ทั้งศาลแพ่ง + ศาลจังหวัด + ศาลภาษีอากร +
ศาลแรงงาน + ศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงศาลปกครอง + ศาลรัฐธรรมนูญ
การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี

การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี


1) การระงับข้อพิพาท ตอบ
ทางเลือก การระงับข้อพิพาททางเลือก = วิธกี ารระงับข้อพิพาทต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้เสริมเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่คู่พิพาทนอกเหนือจากการให้ศาลพิจารณาพิพากษา
คดีไปตามขั้นตอนปกติ เพื่อทำให้คดีเสร็จสิ้นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น + คู่ความเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง + ได้ผลลัพธ์ที่คู่ความพึงพอใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันจะ
ทำให้ปริมาณคดีที่จะต้องเข้าสู่การสืบพยานมีจำนวนลดน้อยลง + ทำให้การดำเนินคดีในศาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยวิธีการดังกล่าว
อนึ่ง ในศาลยุติธรรมของประเทศไทย วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกที่ใช้กันมาก มี 2 วิธี คือ
1. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
2. การอนุญาโตตุลาการ
2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตอบ
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท = การยุติ / ระงับข้อพิพาทด้วยการตกลงยินยอมของคู่พิพาทเอง โดยจะมีผู้ไกล่เกลี่ย / ผู้ประนีประนอมซึ่งเป็นคนกลางคอยช่วย
ให้คู่พิพาทเจรจาให้ได้วิธีการระงับข้อพิพาทที่แต่ละฝ่ายสามารถยอมรับได้ โดยผู้ไกล่เกลี่ย / ผู้ประนีประนอมไม่ได้มีอำนาจตัดสินชี้ ขาดเหมือนศาล /
อนุญาโตตุลาการ ผลของการตกลงเจรจาจึงเกิดจากการตัดสินใจของคู่พพิ าทเองโดยตรง อนึ่ง ข้อตกลงที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น คู่ความทั้ง 2
ฝ่ายจะต้องพอใจ + ก่อนที่จะมีการพิพากษาตามยอม ผู้พิพากษาต้องพิจารณาก่อนว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย
3) ผู้ไกล่เกลี่ย / ผู้ ตอบ
ประนีประนอม ผู้ไกล่เกลี่ย / ผู้ประนีประนอม = คนกลางคอยช่วยให้คู่พิพาทเจรจาให้ได้วิธีการระงับข้อพิพาทที่แต่ละฝ่ายสามารถยอมรับได้ ในกรณีที่เป็นการไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาทในศาล ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวอาจจะเป็นผู้พิพากษา / บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลก็ได้ โดยแต่ละศาลได้ดำเนินการคัดสรรบุค คลที่มีความรู้
ความสามารถเหมาะสม + เป็นที่ยอมรับในท้องถิ่นเพื่อมาขึ้นทะเบียนทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย / ผู้ประนีประนอม
อนึ่ง ก่อนที่บุคคลเหล่านั้น จะสามารถขึ้นทะเบียนได้จะต้องผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสำนักส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธ รรม
เสียก่อน + ต้องมีประสบการณ์ในการไกล่เกลี่ยมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 คดี
- ข้อสังเกต ผู้ประนีประนอม ในการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี
1. ผู้ประนีประนอมที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานศาลยุติธรรม มีสิทธิเบิกค่าป่วยการเป็นรายเรือ่ ง เรื่องละ 1,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รับราชการศาลเห็นว่า
ข้อพิพาทที่ผู้ประนีประนอมดำเนินการไกล่เกลี่ยมีลักษณะข้อพิพาทที่มีความยุ่งยากซับซ้อน + ใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยรวมกันมากกว่า 6 ชั่วโมง
ผู้รับผิดชอบราชการศาลสามารถกำหนดอัตราค่าป่วยการเกินกว่า 1,000 บาท ก็ได้ แต่ต้องไม่เกินเรื่องละ 6,000 บาท อนึ่ง สำหรับในกรณีที่ไกล่เกลี่ย
หลายเรื่องซึ่งมีประเด็นอย่างเดียวกัน / เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิดไปพร้อมกัน / มีลักษณะข้อพิพาทอย่า งเดียวกันให้จ่ายค่าป่วยการเป็นรายเรื่อง แต่เมื่อ
รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 6,000 บาท
2. หากผู้รับผิดชอบราชการศาลออกระเบียบให้ผู้พิพากษา / เจ้าหน้าที่ศาลทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมในข้อพิพาทไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องได้ ผู้ พิพากษา /
เจ้าหน้าที่ศาลก็สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมได้ แต่ไม่มีสิทธิได้รับค่าป่วยการในการทำหน้าที่ผู้ประนีประนอม
4) คดี / ข้อพิพาทที่สามารถ ตอบ
ไกล่เกลี่ยได้ 1. คดีแพ่งทั่วไป
2. คดีอาญา โดยความผิดที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ต้องเป็นความผิดที่ยอมความได้
3. คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องโดยลำพัง
5) ข้อพิพาทที่สามารถไกล่ ตอบ
เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป. ข้อพิพาททางแพ่งทุกลักษณะไม่จำกัดทุนทรัพย์สามารถไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี ได้ เช่น ซื้อขาย / ให้ / เช่าทรัพย์ / เช่าซื้อ / ละเมิด
วิ.พ. มาตรา 20 ตรีได้ / ยืม / ค้ำประกัน / จำนำ / จำนอง / ตั๋วเงิน / ที่ดิน / ขับไล่ / มรดก / หย่า / สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร / แบ่งสินสมรส / เรียกค่าทดแทน / เรียกค่าเลี้ยงชีพ /
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า / ค่าชดเชย / ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม / ค่าล่วงเวลา / ค่าทำงานในวันหยุด / ค่าจ้างค้างจ่าย / ฟ้องเรียกค่า
สินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ฯลฯ
อนึ่ง การยื่นคำร้อง + การดำเนินการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล + ไม่มีค่าใช้จ่าย
6) วิธีการเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย ตอบ
ข้อพิพาทในศาล 1. คดีฟ้องใหม่
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้อง เจ้าหน้าที่แผนกรับฟ้องจะมีการสอบถามความสมัครใจของคู่ความว่า คดีดังกล่าวมีทางตกลงกันได้หรือไม่ + ประสงค์จะให้ศาลไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาทหรือไม่ นอกจากนี้ หมายเรียกที่ส่งให้แก่จำเลยพร้อมสำเนาคำฟ้องก็จะมีการระบุว่า โปรดยืน่ คำให้การภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ ให้ติดต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยประจำศาลตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้
2. คดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา
2.1 ผู้พิพากษาซึ่งรับผิดชอบราชการศาลเห็นว่า สำนวนใดควรใช้ระบบไกล่เกลี่ยก็สั่งให้นำคดีนั้นเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยได้
2.2 ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่า สมควรใช้ระบบการไกล่เกลี่ย ก็ส่งเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยได้
2.3 คู่ความยื่นคำแถลง / แถลงด้วยวาจาขอใช้วธิ ีการไกล่เกลี่ย + ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นสมควรจึงส่งสำนวนเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย
3. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน
ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่พจิ ารณาตัดสินชี้ขาดคดีนั้น อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยคดีได้เอง ทั้งก่อน / ในระหว่างพิจารณาคดี เพื่อให้คู่ ความตกลงกัน
- วิธีการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
1. ยื่นคำร้องด้วยตนเอง / ทางไปรษณีย์ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ /
2. ยื่นคำร้องผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรมที่เรียกว่า CIOS ทางเว็บไซต์ https://mediation.coj.go.th
7) ช่องทางการไกล่เกลี่ย ตอบ
ออนไลน์ 1. การประชุมทางโทรศัพท์
1.1 เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยโทรศัพท์หาคู่กรณี / คู่ความตามวันเวลาที่นัดไว้ เมื่อคู่กรณี / คู่ความรับสายแล้วให้กดปุ่มเพิ่มสาย / เพิ่มการโทรศัพท์
หาคู่กรณีอีกฝ่าย + ผู้ไกล่เกลี่ย / ผู้ประนีประนอม (หากไม่ได้อยู่ที่ศาล)
1.2 เมื่อคู่กรณี / คู่ความทุกฝ่ายตามข้อ 1.1 รับสายให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยกดปุ่มรวมสายโทรศัพท์ เพื่อทำการรวมสายสนทนา
2. VIDEO / WEBCONFERENCE = เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยดำเนินการประสานกับหน่วยงานปลายทาง + คู่กรณี / คู่ความทุกฝ่ายเพื่อใช้ระบบ
Video / Web Conference ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
3. แอปพลิเคชั่น LINE = เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยสร้างกลุ่ม LINE เฉพาะคดี ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ย + ผู้ไกล่เกลี่ย / ผู้
ประนีประนอม + คู่กรณี / คู่ความ
4. โปรแกรม ZOOM = เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยประสานคู่กรณี โดยการส่งลิงค์การประชุมไปยังคู่กรณี / คู่ความ + ผู้ประนีประนอม เพื่อให้กดเข้า
ร่วมการไกล่เกลี่ยผ่านโปรแกรม Zoom
5. โปรแกรม Microsoft Teams = เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยประสานไปยังคู่กรณี / คู่ความ + ผู้ประนีประนอม เพื่อให้เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยผ่าน
โปรแกรม Microsoft Teams
6. สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น
8) กรณีที่ไม่ให้ศาลรับคำร้อง ตอบ
ขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม 1. เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่า การยืน่ คำร้องเป็นไปโดยไม่สุจริต / มีเจตนาเอาเปรียบคู่กรณี / บุคคลอื่น
ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี 2. เมื่อปรากฏว่า มีการนำข้อพิพาทตามคำร้องไปยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลใดศาลหนึ่งไว้แล้ว โดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ความในคดีนนั้
3. เมื่อปรากฏว่า ข้อพิพาทตามคำร้องเคยได้รับการดำเนินการไกล่เกลี่ยตามข้อกำหนดนี้แล้วแต่ไม่เป็นผล เว้นแต่พฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยระบุ
พฤติการณ์เช่นว่านั้นมาในคำร้อง
4. เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์ / ลักษณะของข้อพิพาทแล้วไม่เป็นสาระที่จะดำเนินการไกล่เกลี่ย
อนึ่ง หากภายหลังที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว หากความปรากฏว่า คำร้องนั้นต้องห้ามตาม 1. – 4. / คู่กรณีฝ่ายใดนำข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย
ไปฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดทางแพ่ง ก็ให้ศาลมีคำสั่งยุติการไกล่เกลี่ยได้
9) การดำเนินกระบวน ตอบ
พิจารณาในการไกล่เกลี่ย - กรณีศาลมีคำสั่งรับคำร้อง + เจ้าหน้าที่ตั้งสำนวนไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง + ออกเลข กฟว ดำแล้ว เจ้าหน้าทีต่ ้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. 1. กรณีผู้ร้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง = หากผู้ร้องเป็นบุคคลธรรมดา + ไม่สามารถส่งหนังสือเชิญชวนเข้าร่วมไกล่เกลี่ยพร้อมสำเนาคำร้องให้คู่กรณีอีกฝ่ายโดย
มาตรา 20 ตรี วิธีอื่นได้ ให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือเชิญชวนไปให้คู่กรณีอกี ฝ่ายพร้อมสำเนาคำร้องโดยวิธีไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยให้เบิกจ่ายจากค่าใช้จา่ ยด้านบริหาร
จัดการงานอำนวยการกิจกรรมสนับสนุนการพิจารณาพิพากษาคดี + บริหารงานทั่วไป แต่ถ้าผู้ร้องเป็นสถาบันการเงิน + นิติบุคคล ให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือ
เชิญชวนเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยไปให้คกู่ รณีอีกฝ่ายพร้อมสำเนาคำร้องโดยวิธีไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยใช้ซองจดหมายผนึกดวงตราไปรษณี ยากรที่ผู้
ร้องจัดเตรียมมา + กำหนดให้ตอบกลับมาภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำร้อง
2. กรณีผู้ร้องยื่นคำร้องผ่านระบบ CIOS + มี e-mail ของคู่กรณีอีกฝ่าย = ให้เสนอศาลพิจารณีคำสั่งผ่านระบบ หากศาลมีคำสั่งรับคำร้อง ระบบจะส่ง
หนังสือเชิญชวนไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายโดยอัตโนมัติทาง e-mail + กำหนดให้ตอบกลับภายใน 15 วัน นับแต่วนั ส่งคำร้อง
ทั้งนี้ คู่กรณีอีกฝ่ายไม่ตอบกลับมาภายใน 15 วัน นับแต่วนั ส่งคำร้อง เจ้าหน้าที่ตอ้ งทำรายงานเจ้าหน้าที่เสนอศาลมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องออกจากสารบบ +
ออกเลข กฟว แดง
อนึ่ง หากคู่กรณีอีกฝ่ายตอบรับเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย ให้เจ้าหน้าที่ประสานคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเพื่อนัดวันไกล่เกลี่ย + เสนอผู้รับผิดชอบราชการศาลแต่งตั้งผู้
ประนีประนอม เพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไป
- การเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ย
1. คู่กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาพึงเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ยด้วยตนเอง ส่วนคู่กรณีที่เป็นนิติบุคคลก็พึงแต่งตั้งตัวแทนที่มีอำนาจตัดสินใจ + ทำสัญญา
ประนีประนอมยอมความเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ย เนื่องจากในวันประชุมไกล่เกลี่ย หากคู่กรณีตกลงกันได้ คูก่ รณีต้องลงลายมือชื่อในข้อตกลง / สัญญา
ประนีประนอมยอมความด้วยตนเอง เว้นแต่ เป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็น + ได้รับอนุญาตจากศาล
2. การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง คู่กรณีสามารถดำเนินการได้ดว้ ยตนเอง แต่ถ้าคูก่ รณีประสงค์จะมีทนายความมาด้วยในวันประชุมไกล่เกลี่ย ก็สามารถทำได้
- กรณีคู่กรณีตกลง / ประนีประนอมยอมความกันได้
1. ในวันนัดประชุมไกล่เกลี่ย หากคูก่ รณีตกลง / ประนีประนอมยอมความกันได้ ให้ผู้ประนีประนอมเสนอข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล
หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี + หลักแห่งความสุจริต + เป็นธรรม + ไม่ฝ่าฝื นต่อ
กฎหมาย ก็ให้คกู่ รณีลงลายมือชื่อในข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ทัง้ นี้ ผู้ประนีประนอม + เจ้าหน้าที่ไม่ต้องลงลายมือชื่อในข้อตกลง /
สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
2. เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องไปในทางมิชอบ ในการทำข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือ คู่กรณีต้ องลง
ลายมือชื่อด้วยตนเอง เว้นแต่ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็น + ได้รับอนุญาตจากศาล
3. หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ที่จะขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องดำเนิน การยื่น
คำขออย่างช้า ในวันที่ทำข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความ โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นในการร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามข้อตกลง /
สัญญาประนีประนอมยอมความ ถ้าศาลเห็นว่า กรณีมีความจำเป็นที่สมควรจะมีคำพิพากษาไปทันทีในเวลานัน้ ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาตามข้อตกลง /
สัญญาประนีประนอมยอมความต่อไปได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่สมควรจะมีคำพิพากษาในเวลานั้น ก็ให้สั่งยกคำขอ
- กรณีที่มีความจำเป็นที่สมควรจะมีคำพิพากษา
1. ตามข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้คกู่ รณีกระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด / ต้องดำเนินการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนพนักงาน
เจ้าหน้าที่ / หากไม่มีคำพิพากษาตามข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความแล้วอาจเกิดข้อขัดข้อง
2. พฤติการณ์ / ลักษณะของข้อพิพาทอาจเกิดข้อพิพาทขึ้นอีก / ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น
3. กรณีมีภาวะความจำเป็นทางเศรษฐกิจ / ระบบการเงิน / การลงทุน / การบริหารจัดการในภาครัฐ
4. กรณีมีความจำเป็นอื่นใดที่ต้องมีคำพิพากษาตามข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่คู่สัญญาทุกฝ่าย
10) กรณีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตอบ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี 1. เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ประนีประนอมแล้ว แต่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงโดยคู่กรณีตกลงกันไม่ได้ หากปรากฏว่า อายุความครบกำหนดไปแล้ วหลังจากยืน่ คำ
ไม่สำเร็จ ร้อง / จะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วนั ที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีก 60 วัน นับแต่วนั ที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
2. หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย / ผู้ประนีประนอม / บุคคลภายนอก / ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไกล่เกลี่ ย ไม่สามารถนำข้อมูลที่
ได้มาระหว่างการไกล่เกลี่ยไปอ้างอิง / นำสืบเป็นพยานหลักฐานในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ / กระบวนพิจารณาของศาล ในเรื่องดังต่อไปนี้ได้
2.1 ความประสงค์ / เต็มใจของคู่กรณีในการขอเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย
2.2 ความเห็น / ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทาง / วิธีการในการระงับข้อพิพาทของคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย
2.3 การยอมรับ / ข้อความที่กระทำโดยคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย
2.4 ข้อเสนอใดๆ ที่เสนอโดยผู้ประนีประนอม
2.5 ข้อเท็จจริงที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะยอมรับข้อเสนอในการไกล่เกลี่ย
2.6 เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจะใช้ / ใช้ในการไกล่เกลี่ยโดยเฉพาะ
11) การออกเลขสำนวนไกล่ ตอบ
เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป. - กรณีผู้ร้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง / ยื่นผ่านระบบ CIOS แต่ไม่มี e-mail ของคู่กรณีอีกฝ่าย
วิ.พ. มาตรา 20 ตรี 1. เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ให้ออกเลขสำนวน กฟว ดำ
2. เมื่อคู่กรณีไม่ประสงค์เข้าร่วมการไกล่เกลี่ย / เมื่อการไกล่เกลี่ยสิ้นสุด ไม่ว่าการไกล่เกลี่ยสำเร็จ / ไม่สำเร็จ ให้ออกเลขสำนวน กฟว แดง
3. เมื่อมีการยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม ให้ออกเลขสำนวน กฟย ดำ
4. เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำขอ / มีคำพิพากษาตามยอม ให้ออกเลขสำนวน กฟย แดง
- กรณีผู้ร้องยื่นคำร้องผ่านระบบ CIOS + มี e-mail ของคู่กรณีอีกฝ่าย
1. เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ให้ออกเลขสำนวน กฟวE ดำ
2. เมื่อคู่กรณีไม่ประสงค์เข้าร่วมการไกล่เกลี่ย / เมื่อการไกล่เกลี่ยสิ้นสุด ไม่ว่าการไกล่เกลี่ยสำเร็จ / ไม่สำเร็จ ให้ออกเลขสำนวน กฟวE แดง
3. เมื่อมีการยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม ให้ออกเลขสำนวน กฟยE ดำ
4. เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำขอ / มีคำพิพากษาตามยอม ให้ออกเลขสำนวน กฟยE แดง
12) ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ย ตอบ
ก่อนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. 1.คู่กรณีสามารถขอไกล่เกลี่ยได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีค่าธรรมเนียมศาล + มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำช่วยเหลืออย่างฉันมิตร
มาตรา 20 ตรี 2.การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการน้อยกว่าการฟ้องคดีต่อศาล
3.คู่กรณีไม่มีสถานะเป็นโจทก์ / จำเลย + ไม่มีประวัติว่า ถูกฟ้องคดีต่อศาล
4.มีผู้ประนีประนอมประจำศาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่วยไกล่เกลีย่ เพื่อหาทางออกร่วมกัน
5.ช่วยรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างคู่กรณี
6.คู่กรณีสามารถเลือกวันนัดไกล่เกลี่ยได้ด้วยตนเอง
7.คู่กรณีสามารถเลือกไกล่เกลี่ยด้วยวิธีการออนไลน์ได้
8.หากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันสามารถยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม + เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่ กรณีอีก
ฝ่ายสามารถขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ทนั ที โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีอีก
9. กรณีที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงโดยคู่กรณีตกลงกันไม่ได้ + อายุความครบกำหนดไปแล้ว หลังจากยื่นคำร้อง / จะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่การ
ไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีก 60 วัน นับแต่วนั ที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
10. กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง สามารถดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ + มีคำพิพากษาตามยอมจนสิ้นสุดกระบวนการได้ที่ศาลยุติธรรม (ONE –
STOP SERVICE)
13) ความแตกต่างระหว่างการ ตอบ
ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตาม ป. 1. ข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ยได้
วิ.พ. มาตรา 20 ตรี + 1.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = ข้อพิพาททางแพ่งทุกประเภท
พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อ 1.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ข้อพิพาททางแพ่ง (จำกัดจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000,000 บาท) + ข้อพิพาททางอาญา (ความผิดอันยอม
พิพาท พ.ศ. 2562 ความได้ + ความผิดลหุโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 390, 391, 392, 393, 394, 395, 397 + ความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนร่วมที่กำหนดใน
พ.ร.ฎ.)
2. การยื่นคำร้อง
2.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หากมีการฟ้องคดี
2.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ยื่นคำร้องต่อศาล, สำนักส่งเสริมงานตุลาการ / หน่วยงานของรัฐที่นำ พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ ไปใช้
3. ค่าใช้จ่าย
3.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = ไม่เสียค่าขึ้นศาล + ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (กรณีตกลงกันได้)
3.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ไม่เสียค่าขึ้นศาล แต่เสียค่าใช้จ่ายในการยืน่ คำร้องขอให้ศาลบังคับตามบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท (กรณีตกลง
กันได้)
4. ผู้ดำเนินการไกล่เกลี่ย
4.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = ผู้ประนีประนอม ที่ดำเนินการขึน้ ทะเบียนตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยฯ / ผู้ประนีประนอม
ประจำศาล
4.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ผู้ไกล่เกลี่ย ที่ดำเนินการขึน้ ทะเบียนตามระเบียบสำนักงานศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ
5. ค่าใช้จ่าย + ค่าป่วยการ
5.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 6,000 บาท ต่อคดีตามประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่องหลักเกณฑ์ + วิธีการจ่ายค่าป่วยการ +
ค่าใช้จ่ายของผู้ประนีประนอมฯ
5.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงการคลัง
6. สภาพบังคับตามข้อตกลง
6.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = หากคู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งสามารถขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อ
ดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
6.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท คู่กรณีสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อให้บังคับตามข้อตกลง
ระงับข้อพิพาท ภายใน 3 ปี นับแต่วนั ที่อาจบังคับตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้
7. การตรวจคำร้อง + สัญญาประนีประนอมยอมความ (หรือบันทึกข้อตกลง)
7.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = ศาลมีอำนาจตรวจคำร้อง / ตรวจข้อตกลง / สัญญาประนีประนอมยอมความก่อนที่คู่ความจะลงชื่อได้
7.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ผู้อำนวยการมีอำนาจตรวจคำร้อง + ศาลมีอำนาจตรวจบันทึกข้อตกลง
8. เขตอำนาจศาล
8.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่ง
8.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ไม่ใช้กับคดีอาญาที่อยูใ่ นอำนาจศาลเยาวชน + ครอบครัว ตามกฎหมาย ว่าด้วยศาลเยาวชน + ครอบครัวฯ + ไม่
ใช้กับข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคล / สิทธิในครอบครัว / กรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ
9. อายุความ
9.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ประนีประนอมแล้ว แต่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงโดยไม่เป็นผล หากปรากฏว่า อายุความครบกำหนดไป
แล้ว หลังจากยื่นคำร้อง / จะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วนั ที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีก 60 วัน นับแต่วนั ที่การไกล่
เกลี่ยสิ้นสุดลง
9.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสิ้นสุดลงโดยไม่เป็นผล หากปรากฏว่า อายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่าง
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท / จะครบกำหนดภายใน 60 วัน นับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีก 60 วัน นับแต่วันที่มี
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสิ้นสุดลง
10. ผลของคำสั่งศาล
10.1 ป.วิ.พ. มาตรา 20 ตรี = คำสั่งของศาลที่ออก ตาม มาตรา 20 ตรี ให้เป็นที่สุด
10.2 พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ = กฎหมายไม่ได้มีการกำหนดไว้
14) การไกล่เกลี่ยคดีระหว่าง ตอบ
การพิจารณาของศาลสูง แม้คดีที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว หากคดียังไม่ถึงที่สุด โดยอาจจะอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ / การฎีกา อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยในคดี
เหล่านี้ได้เช่นกัน คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะร้องขอให้จัดให้มีการไกล่เกลี่ยในคดีเหล่านี้ / ศาลอาจจะพิจารณาเห็นสมควรเองว่าคดีที่อยู่ในระหว่างการ
พิจารณาของศาลอุทธรณ์ / ศาลฎีกาเหล่านี้เป็นคดีที่อยูใ่ นวิสัยที่จะไกล่เกลี่ย ศาลอาจจะจัดให้มีการไกล่เกลี่ยในคดีเหล่านี้ได้ อนึ่ง ตามปกติการไกล่เกลี่ยคดี
เหล่านี้จะดำเนินการที่ศาลชั้นต้นที่ได้พจิ ารณาพิพากษาคดีนั้นมา / ที่ศาลฎีกาก็ได้
การขอให้จัดให้มีการไกล่เกลี่ยคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นอุทธรณ์ / ศาลฎีกาอาจแสดงความจำนงได้ตอ่ ศาลชั้นต้นที่พจิ ารณาพิ พากษาคดีนนั้
/ ศาลสูงที่คดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาก็ได้
15) อนุญาโตตุลาการ ตอบ
อนุญาโตตุลาการ = การระงับข้อพิพาททางแพ่งที่คู่พิพาทตกลงให้ระงับข้อพิพาททั้งหมด / บางส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว / อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยวิธี
อนุญาโตตุลาการ ในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการจะเปิดโอกาสให้คู่พิพาทแสดงข้อเรียกร้อง + ข้อต่อสู้ พร้อมทั้งนำพยานบุคคล / พยานเอกสาร
มาสืบพิสูจน์ให้อนุญาโตตุลาการทราบ
ทั้งนี้ การทำคำวินจิ ฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการจะทำเป็นหนังสืออ้างเหตุผลแห่งการวินิจฉัย ซึ่งจะวินิจฉัยชี้ขาดเกินขอบอำนาจที่ได้ รับจาก
สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ได้ + หากคู่พิพาทฝ่ายที่ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดนัน้ คู่พิพาทอีกฝ่ายต้องยื่นคำร้ องต่อศาลทีม่ ีเขตอำนาจ
เพื่อให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาพิพากษาบังคับคำชี้ขาดนั้น
อนึ่ง คำพิพากษาของศาลซึ่งรองรับ + บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สุด คู่พิพาทจะอุทธรณ์ / ฎีกาต่อไปไม่ได้ เว้นแต่ กรณีที่ กฎหมาย
ยกเว้นไว้เป็นพิเศษเท่านัน้
คดีผู้บริโภค

คดีผู้บริโภค
1) คดีผู้บริโภค ตอบ
1. คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภค / ผู้มีอำนาจฟ้องแทนผู้บริโภค ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค / สมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตาม
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค / ตามกฎหมายอื่นกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิ / หน้าที่ตามกฎหมายอันเนือ่ งมาจากการบริโภค
สินค้า / บริการ
2. คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
3. คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตามข้อ 1. / ข้อ 2.
4. คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตาม พ.ร.บ. วิธีพจิ ารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
อนึ่ง หากสงสัยว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภค ให้ ประธานศาลอุทธรณ์ เป็นผู้วินิจฉัย โดยถือคำวินิจฉัยดังกล่าวให้เป็นที่สุด
2) บุคคลผู้มีสิทธิฟ้องคดี ตอบ
ผู้บริโภค 1. ผู้บริโภค = ผู้ซื้อ / ผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ / ผู้ที่ได้รับการเสนอ / ถูกชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้า / บริการ รวมถึงผู้ใช้สินค้า /
ผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนให้กบั ผู้ประกอบธุรกิจก็ตาม
2. ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค =
2.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
2.2 สมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
2.3 มูลนิธิที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
3. ผู้ประกอบธุรกิจ = ผู้ขาย / ผู้ผลิตเพื่อขาย / ผู้สั่ง / นำเข้ามาในราชฯ เพื่อขาย / ผู้ซื้อเพื่อขายสินค้าต่อ / ผู้ให้บริการ รวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณา
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย = ผู้ผลิต / ผู้ว่าจ้างให้ผลิต / ผู้นำเข้า / ผู้ขาย
สินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต / ผู้ว่าจ้างให้ผลิต / ผู้นำเข้าได้ / ผู้ซึ่งใช้ชื่อทางการค้า / เครื่องหมายการค้า / เครื่องหมาย / ข้อคาม / แสดงด้วยวิธีใดๆ ที่
มีลักษณะให้เกิดความเข้าใจได้ว่า เป็นผู้ผลิต / ผู้นำเข้า
4. ผู้เสียหาย = ผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต / ร่างกาย / สุขภาพ / อนามัย / จิตใจ / ทรัพย์ สิน แต่
ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น
3) ศาลที่จะยื่นฟ้องคดี ตอบ
ผู้บริโภค กรณีที่ผู้บริโภคจะฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ มีสิทธิเสนอคำฟ้องทั้งต่อศาลที่มูลคดีเกิด + ภูมิลำเนาของผู้ประกอบธุรกิจ
แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจต้องเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้เพียงแห่งเดียว
ทั้งนี้ การฟ้องคดีผู้บริโภคที่ราคาทรัพย์สินที่พิพาท / จำนวนเงินที่ฟ้องเกิน 300,000 บาท ต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด แต่หากไม่เกิน 300,000 บาท ก็จะต้อง
ฟ้องที่ศาลแขวง
4) แนวทางการดำเนินงาน ตอบ
ของเจ้าพนักงานคดีในการ เพื่อให้การดำเนินงานส่วนของคดีผู้บริโภคที่เป็นบุคคลธรรมดาเป็นผู้บริโภค ประสงค์จะยื่นคำฟ้องผ่านระบบ E – Filing เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมี
ตรวจรับคำฟ้อง + เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบความถูกต้องของคำฟ้อง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีตามกฎหมายให้สอดคล้องกับนโยบายประธานศาลฎีกาในการ
ช่วยเหลือศาล ในระบบ E พัฒนาระบบเจ้าพนักงานคดี เห็นสมควรกำหนด แนวทางดังนี้
– Filing 1. ให้เจ้าพนักงานคดีทำหน้าทีใ่ ห้คำแนะนำ + ให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสมควรแก่กรณี เพื่อประโยชน์ในการจัดทำคำฟ้อง ตาม ข้อกำหนดประธานศาล
ฎีกา ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณา + การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้แก่
1.1 ตรวจสอบเขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีตามกฎหมาย ได้แก่ ภูมิลำเนาของจำเลย / สถานที่ที่มูลคดีเกิด
1.2 อธิบาย + ให้คำแนะนำ + ช่วยเหลือผู้บริโภคในการยืน่ คำฟ้องผ่านระบบรับส่ง E – Filing อีกทั้งช่วยเหลือผู้บริโภค โดยการตรวจสอบคำฟ้อง หากคำ
ฟ้องไม่ถูกต้อง / ขาดสาระสำคัญให้เจ้าพนักงานคดีให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคในการจัดทำคำฟ้องให้ถูกต้องครบถ้วน
1.3 กรณีโจทก์ฟ้องด้วยวาจา ให้สอบถึงประเด็นข้อเท็จจริงแห่งคดี + จดบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องลงในแบบพิมพ์คำฟ้องให้แก่ผู้บริโภค
2. เพื่อให้การบริการแก่โจทก์ที่ประสงค์จะยื่นคำฟ้องผ่านระบบให้เจ้าพนักงานคดี ทำหน้าทีใ่ ห้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานของระบบ ได้แก่
2.1 การลงทะเบียน
2.2 การเข้าสู่ระบบเพื่อเข้าใช้งาน (ครั้งแรก)
2.3 การยื่นคำฟ้อง
2.4 การตรวจสอบสถานะคำฟ้อง
2.5 การติดตามความคืบหน้าของคดี + คำสั่งศาลในระบบ
5) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตอบ
ผู้บริโภค การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ในคดีผู้บริโภคซึ่งดำเนินการโดยผู้บริโภค / ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ให้ได้รั บยกเว้นค่าฤชา
ธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด ทั้งนี้ หากเป็นกรณีผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคนั้น ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้รับยกเว้นค่า
ฤชาธรรมเนียม
อนึ่ง ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ผู้บริโภค / ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค นำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร / ประพฤติตน
ไม่เรียบร้อย / ดำเนินกระบวนพิจารณาอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี / ที่ไม่จำเป็น / มีพฤติการณ์อื่นที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจมีคำสั่ งให้บุคคลนั้นชำระค่าฤชา
ธรรมเนียมที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมด / แต่บางส่วนต่อศาล ต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ + หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่าย
คดีออกจากสารบบความได้
6) อายุความสิทธิเรียกร้องคดี ตอบ
ผู้บริโภค ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวติ / ร่างกาย / สุขภาพ / อนามัย โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้บริโภค / เป็นกรณีที่ต้อ งใช้เวลาในการ
แสดงอาการ ผู้บริโภค / ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 3 ปี นับแต่วนั ที่รู้ถึงความเสียหาย + รู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจทีต่ ้องรับผิด แต่ไม่
เกิน 10 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย
อนึ่ง แต่ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ + ผู้บริโภค / ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค กฎหมายกำหนดให้ อายุความที่
สะดุดหยุดลงอยู่นั้นไม่นับในระหว่างนั้น จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา
7) อำนาจในการฟ้องคดีแทน ตอบ
ผู้บริโภค ในกรณีที่สมาคมเป็นผู้ฟ้อง + มีการเรียกค่าเสียหายให้เรียกค่าเสียหายแทนได้เฉพาะแต่ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกของสมาคมนั้นในขณะยื่นฟ้ องเท่านั้น
การถอนฟ้อง / การประนีประนอมยอมความ จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้บริโภค ที่เกี่ยวข้องมาแสดงต่อศาล + ในกรณีขอถอนฟ้องศาลจะ
มีคำสั่งอนุญาตได้ต่อเมื่อเห็นว่าการถอนฟ้องนัน้ ไม่เป็นผลเสียต่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวมเท่านั้น
8) วิธีการฟ้องคดีผู้บริโภค ตอบ
ในการฟ้องคดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจา / เป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา เจ้าพนักงานคดีจะดำเนินการจัด ให้มีการบันทึก
รายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ + ทำการเสนอคำฟ้องต่อศาลในนามของผู้บริโภคได้
9) การไกล่เกลี่ยในคดี ตอบ
ผู้บริโภค เมื่อถึงวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์ + จำเลยมาพร้อมกันแล้ว เจ้าพนักงานคดี / บุคคลที่ศาลกำหนด / ที่คู่ความตกลงกัน จะทำการไกล่เกลี่ ยให้คคู่ วามได้ตก
ลงกัน / ประนีประนอมยอมความกันก่อน อนึ่ง โดยในการไกล่เกลี่ย ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ / ผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควร ผู้ไกล่เกลี่ยจะสั่งให้ดำเนินการเป็น
การลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่าย / ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้
10) การอุทธรณ์ฎีกาคดี ตอบ
ผู้บริโภค เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่ง / คำพิพากษาแล้ว คู่ความอาจอุทธรณ์คำพิพากษา / คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีผู้บริโภคได้ ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาล
อ่านคำพิพากษา
แต่ในคดีผู้บริโภคที่ราคาทรัพย์สิน / จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนัน้ ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท / ไม่เกินจำนวนทีก่ ำหนดใน พ.ร.ฎ. คู่ความจะ
อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เห็นว่าคดีตอ้ งห้ามอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
แผนกคดีผู้บริโภค / ศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคไปพร้อมกับอุทธรณ์ก็ได้
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเหตุต้องห้ามอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุ ทธรณ์ต่อศาล
อุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภค / ศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ได้ อนึ่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
การฎีกาคําพิพากษา / คําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภค / ศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค ให้นาํ บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อนึ่ง การยื่นอุทธรณ์ / ฎีกาในคดีผู้บริโภค ผู้บริโภคต้องดำเนินการยืน่ เอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการให้เหมือนกับการฟ้ องคดีต่อ
ศาลชั้นต้น
11) การบังคับคดีผู้บริโภค ตอบ
ในการบังคับคดีผู้บริโภค เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจมีคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดีไปทันที โดยไม่จำต้องออกคำบังคับก่อนก็ได้
ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีผู้บริโภคแล้ว หากความปรากฏแก่ศาลว่ามีข้อขัดข้องทำให้ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ / มี
ความจำเป็นต้องกำหนดวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา กฎหมายกำหนดให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อแก้ไขข้ อขัดข้องดังกล่าวตาม
ความจำเป็น + สมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้
กรณีที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้บริโภคก็จะต้องดำเนินการบังคับคดี โดยเป็นผู้น ำยึด / อายัด
ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตนเอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการให้แต่ประการใด
ศาลชำนัญพิเศษ

ศาลชำนัญพิเศษ
1) ศาลชำนัญพิเศษ ตอบ
ศาลชำนัญพิเศษ = ศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพจิ ารณาเป็นการเฉพาะตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาล + วิธีพิจารณาคดีของศาลนั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากศาล
ชั้นต้นทั่วไป โดยผู้พิพากษาศาลชำนัญพิเศษจะเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะศาลในกลุ่มนี้บางศาล ได้แก่ ศาลเยาวชน +
ครอบครัว + ศาลแรงงานกลาง + ศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศกลาง จะมีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษา แต่มีความรู้ + ความเข้าใจใน
เรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้ามาร่วมพิจารณา + พิพากษาคดีดว้ ย อนึ่ง ปัจจุบนั มีศาลเยาวชน + ครอบครัวกลาง + ศาลเยาวชน +
ครอบครัวจังหวัดทั่วประเทศ
กรณียื่นอุทธรณ์คำพิพากษา / คำสั่งของศาลชำนัญพิเศษ จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ส่วนการยื่นฎีกาเป็นไปตาม ป.วิ.พ. / ป.วิ.อ.
แล้วแต่กรณี
2) ศาลเยาวชน + ครอบครัว ตอบ
ศาลเยาวชน + ครอบครัว = ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทุกข้อหาที่เด็ก / เยาวชนกระทำความผิด + มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ครอบครัว
เด็ก = บุคคลซึ่งอายุเต็ม 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี
เยาวชน = บุคคลที่อายุเกิน 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี
โดยให้ถืออายุเด็ก / เยาวชนในวันที่กระทำความผิด ได้เกิดขึ้น ดังนัน้ บุคคลที่กระทำความผิดทางอาญา + จะต้องถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชน +
ครอบครัว จึงหมายถึง บุคคลที่อายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ส่วนคดีครอบครัว ได้แก่ คดีแพ่งที่จะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยครอบครัว เช่น การหมั้น / การสมรส
/ คดีฟ้องหย่า / แบ่งสินสมรส / อำนาจในการปกครองดูแลบุตรบุญธรรม / การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ คดีเกี่ยวกับขอให้เป็นคนไร้ความสามารถ / เสมือนไร้
ความสามารถ เป็นต้น
3) เจตนารมณ์ + ความมุ่ง ตอบ
หมายในการจัดตั้งศาล 1. เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก + เยาวชน โดยมุ่งแก้ไข + สงเคราะห์เด็ก + เยาวชนยิ่งกว่าการลงโทษด้วยการให้มีวิธีการสำหรับเด็ก + เยาวชนให้
เยาวชน + ครอบครัว เหมาะสม โดยมุ่งเน้นในการค้นหาสาเหตุที่ทำให้เด็ก + เยาวชนกระทำความผิด แล้วดำเนินการแก้ไขที่สาเหตุ
2. เพื่อคุ้มครองสถาบันครอบครัว + ส่วนได้เสียของผู้เยาว์ในคดีครอบครัว
4) หลักสำคัญของศาล ตอบ
เยาวชน + ครอบครัว 1. มีผู้พิพากษาสมทบซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตร / เคยทำงานเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ / อบรมเด็กร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี
โดยผู้พิพากษาสมทบจะต้องเป็นสตรีอย่างน้อย 1 คน
2. มีการแยกพิจารณาคดีเด็กต่างหากจากห้องพิจารณาคดีธรรมดา ไม่ปะปนกับผู้ใหญ่ + เป็นการพิจารณาลับ โดยการพิจารณาจะไม่เคร่งครัดตามกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา
3. มีการสืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติ + ความประพฤติ + ค้นหาสาเหตุการกระทำความผิดของเด็ก + เยาวชน เพื่อเสนอความเห็นต่อศาล
4. มีการใช้วิธีการสำหรับเด็ก + เยาวชนแทนการลงโทษทางอาญา เช่น การคุมความประพฤติ / การรอการลงโทษ / การฝึก + อบรม ฯลฯ
5. เพื่อความยืดหยุ่นในการแก้ไขเด็ก + เยาวชนอย่างต่อเนือ่ ง ศาลเยาวชน + ครอบครัวมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้
6. ในคดีครอบครัวมุ่งเน้นที่จะให้มีการไกล่เกลี่ย เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความ เพื่อความผาสุกของครอบครัว + เพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนได้เสีย
ของผู้เยาว์
5) ศาลแรงงาน ตอบ
คดีแรงงาน = คดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่ง + คดีอาญาโดยทั่วไป เพราะเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน /
เกี่ยวกับสิทธิของนายจ้าง + ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน + กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ + กฎหมายเงินทดแทน + กฎหมายประกันสังคม จึงได้มีการจัด ตั้งศาล
แรงงานขึ้นมา
คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา / มีคำสั่งของศาลแรงงาน มี 3 ประเภท คือ
1. คดีแรงงานทั่วไป ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8
2. คดีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
3. คดีแรงงานตามแนวคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง
6) การดำเนินกระบวน ตอบ
พิจารณาคดีในศาลแรงงาน การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน จะใช้วิธีไกล่เกลี่ย + การระงับข้อพิพาทเป็นหลัก แต่หากคู่กรณี (นายจ้าง - ลูกจ้าง) ไม่สามารถตกลงกันได้
ศาลก็จะพิจารณาตัดสินชี้ขาดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม + ความสงบเรียบร้อย ซึ่งในการพิจารณาคดีแรงงานจะประกอบด้วยผู้
พิพากษา 3 ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ + ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง + ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆ กัน ร่วมเป็น
องค์คณะพิจารณาพิพากษา
7) ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ตอบ
+ การค้าระหว่างประเทศ ศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศกลาง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง + คดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่าง
ประเทศ ดังต่อไปนี้
1. คดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ คดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า + ลิขสิทธิ์ + สิทธิบัตร + คดีอาญาเกี่ยวกับความผิดทางการค้าตาม ป.อ.
มาตรา 271 – 275
2. คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า + ลิขสิทธิ์ + สิทธิบัตร + คดีพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี / สัญญา
อนุญาตให้ใช้สิทธิ
3. คดีแพ่ง / คดีอาญาเกี่ยวกับข้อพิพาทในการออกแบบวงจรรวม + การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ + ชื่อทางการค้า + ชื่อทางภูมิศาสตร์ + ที่แสดงถึง
แหล่งกำเนิดของสินค้า + ความลับทางการค้า + การคุ้มครองพันธุ์พืช
4. คดีแพ่งเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย / แลกเปลี่ยนสินค้า / ตราสารการเงินระหว่างประเทศ / การให้ บริการระหว่าง
ประเทศ / การขนส่งระหว่างประเทศ / การประกันภัย + นิติกรรมอืน่ ทีเ่ กี่ยวเนื่อง / คดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิต / ทรั สต์รีซีท รวมทั้งการ
ประกันภัยเกี่ยวกับกิจการดังกล่าว คดีแพ่งเกี่ยวกับการกักเรือ + การทุม่ ตลาด + การอุดหนุนสินค้า / การให้บริการจากต่างประเทศ
5. คดีแพ่ง / คดีอาญาที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยูใ่ นอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศ คดีแพ่งเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับ
ข้อพิพาทข้างต้น
กรณีที่มีปัญหาว่า คดีใดอยูใ่ นเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ไม่ว่าปัญหาดังกล่าวจะปรากฏในศาลใด ให้เสนอ
ปัญหานั้นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินจิ ฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
8) เจตนารมณ์ + ความมุ่ง ตอบ
หมายในการจัดตั้งศาล เนื่องจากคดีทรัพย์สินทางปัญญา + คดีการค้าระหว่างประเทศมีความยุ่งยากซับซ้อน + มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีทั่วไป จึงได้มีการจัดตั้ งศาล
ทรัพย์สินทางปัญญา + ทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศขึ้น เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีโดยผู้พิพากษา ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพย์สิ นทางปัญญา + การค้า
การค้าระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม + รวดเร็ว + มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
9) การดำเนินคดีในศาล ตอบ
ทรัพย์สินทางปัญญา + เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ จึงกำหนดให้มีการพิจารณาคดีติดต่อกันโดยไม่เลื่อนคดี เว้นแต่ มีเหตุ
การค้าระหว่างประเทศ จำเป็น
นอกจากนี้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศกลาง โดยอนุมัติประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการ
ดำเนินกระบวนพิจารณา + การรับฟังพยานหลักฐานใช้บังคับในศาลได้ ทำให้การดำเนินคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศ สะดวก +
รวดเร็ว + ประหยัด อันเป็นลักษณะพิเศษซึ่งแตกต่างจากศาลทั่วไป
10) กระบวนพิจารณาที่มี ตอบ
ลักษณะพิเศษในศาล 1. การติดต่อกับศาลอื่นอาจทำโดยทางโทรสาร / สื่ออิเล็กทรอนิกส์ / สื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นแทนการติดต่อทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ /
ทรัพย์สินทางปัญญา + ประกอบกันได้
การค้าระหว่างประเทศ 2. อนุญาตให้ทำการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ (Video Conference) ได้
3. คู่ความในคดีทรัพย์สินทางปัญญาสามารถยื่นคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้องคดีได้
4. อนุญาตให้คู่ความเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง / ความเห็นของพยานแทนการซักถามต่อหน้าศาลได้
5. อนุญาตให้ไม่ต้องทำคำแปลเอกสารภาษาอังกฤษที่ส่งต่อศาล หากเอกสารนั้นมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นหลักแห่งคดี
6. อนุญาตให้รับฟังข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
7. กรณีมีเหตุฉุกเฉิน + จำเป็น จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึด / อายัดเอกสาร / วัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานไว้ก่อนก็ได้
11) ระบบไกล่เกลี่ยในศาล ตอบ
ทรัพย์สินทางปัญญา + ภายหลังจากคู่ความได้นำคดีขนึ้ ศาลแล้ว คู่ความอาจตกลงกันเลือกระงับข้อพิพาท โดยวิธีการไกล่เกลี่ยก็ได้ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธกี ารที่ สะดวก + ไม่ยุ่งยาก
การค้าระหว่างประเทศ ซับซ้อนอย่างการดำเนินการในศาล ในการนี้ ศาลได้อำนวยความสะดวกแก่คู่ความที่เลือกใช้วิธีการไกล่เกลี่ย โดยจัดให้มีห้องไกล่เกลี่ยซึ่งมีบรรยากาศผ่อนคลาย
สำหรับการเจรจาปรึกษาหารือ หากคู่ความเป็นชาวต่างประเทศ ก็ได้จดั ให้มีการไกล่เกลี่ยเป็นภาษาอังกฤษด้วย + ศาลได้ออกระเบียบศาลทรัพย์ สินทางปัญญา +
การค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อให้การดำเนินการ มีความเหมาะสม เป็นธรรม สะดวก รวดเร็ว + มีประสิท ธิภาพ
12) การอุทธรณ์ในศาล ตอบ
ทรัพย์สินทางปัญญา + คำพิพากษา / คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญา + การค้าระหว่างประเทศ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาได้โดยตรงภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วนั ที่ได้อ่าน
การค้าระหว่างประเทศ คำพิพากษา / คำสั่งนั้น
1. ในคดีอาญา = กรณีที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี / ปรับไม่เกิน 60,000 บาท / ทั้งจำทั้งปรับ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำ
พิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก / ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก / ศาลรอการลงโทษ / ศาลรอการกำหนดโทษ /
ศาลลงโทษปรับเกิน 1,000 บาท
2. ในคดีแพ่ง = กรณีที่ราคาทรัพย์สิน / จำนวนทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหา
ข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีนั้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ / รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ / อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น / อธิบดีผู้
พิพากษาภาคอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือ
13) ศาลภาษีอากร ตอบ
คดีภาษีอากร = คดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไป เพราะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐ อันเนือ่ งมาจากการประเมิน / การจัดเก็บ
ภาษีอากร ซึ่งหากได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาทางด้านภาษีอากรโดยเฉพาะ ก็จะทำให้การพิจารณาคดีภาษีอ ากรเป็นไปโดย
รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงสมควรจัดตั้งศาลภาษีอากรขึ้นเพื่อพิจารณาคดีภาษีอากร โดยมีวิธีพิจารณาคดีเป็นพิเศษ
ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวกับภาษีตามประมวลรัษฎากร ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีโรงเรือน + ที่ดิน ภาษีป้าย ภาษี บำรุง
ท้องที่ ค่าภาคหลวงต่างๆ แต่ก่อนฟ้องต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร / กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรนั้นๆ ให้ครบถ้วนเสียก่อน เช่ น คดีที่พิพาทกัน
ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ซึ่งเป็นราษฎรฟ้องกรมสรรพากร โจทก์จะต้องอุทธรณ์การประเมินภายใน 30 วัน + ต้องยื่นฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำ
วินิจฉัยอุทธรณ์ ฯลฯ
14) ศาลล้มละลาย ตอบ
ศาลล้มละลายกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มลาย = คดีตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งมิใช่คดีอาญา รวมไปถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดี
ล้มละลายด้วย อนึ่ง ในกรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีจะอยูใ่ นเขตอำนาจของศาลล้มละลาย / ศาลชั้นต้นอื่น ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินจิ ฉัยชี้ขาด แต่อย่า งไร
ก็ตาม หากศาลล้มละลาย / ศาลชั้นต้นศาลใดศาลหนึ่ง ได้มีคำวินิจฉัยชีข้ าดในคดีแล้ว ห้ามมิให้มีการเสนอปัญหาในเรื่องเขตอำนาจศาลต่อประธานศาลฎีกาอีก
การแต่งตั้งผู้พิพากษาให้ดำรงตำแหน่งในศาลล้มละลาย ให้คัดเลือกจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ + ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ซึ่งเมื่อ
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอืน่ องค์คณะในการพิจารณาพิพากษาก็จะเป็นเช่นเดียวกับศาลชั้นต้นอื่นๆ ทั่วไป กล่าวคือ มีองค์คณะ 2
คน
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มิได้กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบไว้ เนือ่ งจากคดีล้มละลายเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในหลายแขนง การแต่ งตั้งผู้พิพากษา
สมทบให้เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีจะกระทำได้ยากลำบาก + ไม่คล่องตัว เนื่องจากเมื่อมีการแต่งตั้งผู้พิพากษาสมทบที่ มีความรู้ในแขนงใดแขนง
หนึ่งเป็นองค์คณะแล้ว หากมีกรณีพิพาทอื่นที่มิได้เกี่ยวข้องกับแขนงวิชาที่ผู้พิพากษาสมทบมีความรู้ความเข้าใจ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาในการวินจิ ฉัยชี้ขาดคดีได้
นอกจากนี้ ตามมาตรา 20 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะเรียกผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีได้อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ศาลได้มีโอกาสรับฟังความเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญในแขนงที่มีคดีข้อพิพาทเกิดขึ้นจริงได้ ซึ่งจะมีความยืดหยุ่น + สอดคล้องกับลักษณะแห่งคดีล้มละลายมากกว่า
15) คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจ ตอบ
ของศาลล้มละลาย ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยคดีอาญาเกี่ยวกับการฟืน้ ฟูกิจการบัญญัตไิ ว้ในมาตรา
90/80 – 90/89 ส่วนคดีอาญาเกี่ยวกับการล้มละลายบัญญัติไว้ในมาตรา 161 – 175 ทั้งนี้ จะต้องนำบทบัญญัติต่างๆ ใน ป.วิ.อ. + กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง
ศาลแขวง + วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ เช่น การขอหมายค้น / การขอฝากขัง + ผัดฟ้อง / การขอปล่อยชั่วคราว / การพิจารณา + พิพ ากษา ฯลฯ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายอื่นทีเ่ กี่ยวข้อง
1) ความผิดตาม ป.อ. ที่อยู่ ตอบ
ภายใต้ พ.ร.บ. มาตรการ ตาม พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพศ / ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 มาตรา 3 ให้ใช้บังคับแก่การกระทำความผิด
ป้องกันการกระทำความผิด ตาม ป.อ. ดังต่อไปนี้
ซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับ 1. ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตาม ป.อ. มาตรา 276, 277, 278, 279, 283 ทวิ, 284
เพศ / ที่ใช้ความรุนแรง 2. ความผิดต่อชีวิต ตาม ป.อ. มาตรา 288, 289, 290
พ.ศ. 2565 3. ความผิดต่อร่างกาย ตาม ป.อ. มาตรา 297, 298
4. ความผิดต่อเสรีภาพ ตาม ป.อ. มาตรา 313
2) มาตรการป้องกันการ ตอบ
กระทำความผิดซ้ำ ตาม 1. มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด เช่น มาตรการทางการแพทย์ ฯลฯ ตาม พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำฯ มาตรา 19
พ.ร.บ. มาตรการป้องกัน 2. มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ ตาม พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำฯ มาตรา 22
การกระทำความผิดซ้ำ ใน 3. มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ ตาม พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำฯ มาตรา 28
ความผิดเกี่ยวกับเพศ / ที่ 4. มาตรการคุมขังฉุกเฉิน ตาม พ.ร.บ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำฯ มาตรา 37
ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565
3) ความผิดฐานกระทำ ตอบ
ทรมาน ตาม พ.ร.บ. ความผิดฐานกระทำทรมาน = การกระทำที่ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ / กระทำด้วยประการใดๆ โดยใช้ / อ้างอำนาจรัฐ (โดยตรง / โดยปริยาย) ทำให้ผู้อื่น
ป้องกัน + ปราบปรามการ เจ็บปวด / ทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกาย / จิตใจ โดยมี “วัตถุประสงค์พิเศษ” เพื่อ
ทรมาน + การกระทำให้ 1. ให้ได้ข้อมูล / คำรับสารภาพจากผู้กระทำ / จากบุคคลที่สาม
บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 2. ลงโทษผู้ถูกกระทำ เพราะเหตุอันเกิดจากการกระทำ / สงสัยว่า การกระทำของผู้นั้น / บุคคลที่สาม
มาตรา 5 3. ข่มขู่ / ขู่เข็ญผู้ถูกกระทำ / บุคคลที่สาม
4. เลือกปฏิบัติไม่ว่ารูปแบบใด
4) ความผิดฐานกระทำการที่ ตอบ
โหดร้าย / ไร้มนุษยธรรม / ความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย / ไร้มนุษยธรรม / ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ = การกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ / กระทำด้วยประการใดๆ ที่โหดร้าย
ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็น / ไร้มนุษย์ / ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ / ถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ / เกิดความ
มนุษย์ ตาม พ.ร.บ. เจ็บปวด / ทุกข์ทรมานแก่ร่างกาย / จิตใจ ที่มิใช่การกระทำ ตาม พ.ร.บ. ป้องกัน + ปราบปรามการทรมาน + การกระทำให้บุคคลสูญหายฯ มาตรา 5 ถือว่า ผู้
ป้องกัน + ปราบปรามการ นั้นกระทำความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย / ไร้มนุษยธรรม / ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ทรมาน + การกระทำให้
บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
มาตรา 6
5) ความผิดฐานกระทำให้ ตอบ
บุคคลสูญหาย ตาม พ.ร.บ. ความผิดฐานกระทำให้บคุ คลสูญหาย = การกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐควบคุมตัว / ลักพาบุคคลใด แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นปฏิเสธว่า มิได้กระทำการ
ป้องกัน + ปราบปรามการ ดังกล่าว / ปกปิดชะตากรรม / สถานที่ปรากฏตัวของบุคคลนั้น ทำให้บคุ คลนั้นไม่ได้รับการคุมครอง ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นกระทำผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญ
ทรมาน + การกระทำให้ หาย
บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
มาตรา 7
6) การดำเนินคดีผู้กระทำ ตอบ
ความผิด ตาม พ.ร.บ. ผู้กระทำความผิด ตาม มาตรา 5, 6, 7 แห่ง พ.ร.บ. ป้องกัน + ปราบปรามการทรมาน + การกระทำให้บุคคลสูญหายฯ จะต้องถูกดำเนินคดีที่ศาลอาญาคดี
ป้องกัน + ปราบปรามการ ทุจริต + ประพฤติมิชอบ + หากผู้กระทำความผิดเป็นศาลทหารก็ให้ถูกดำเนินคดีที่ศาลอาญาคดีทุจริต + ประพฤติมิชอบด้วย ตาม มาตรา 34
ทรมาน + การกระทำให้
บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
มาตรา 5, 6, 7
7) ประโยชน์ของกฎหมาย ตอบ
ปรับเป็นพินัย หัวใจของกฎหมายการปรับเป็นพินัยนี้ ถือว่าเป็นการรักษาความเป็นธรรม + เคารพศักดิ์ความเป็นมนุษย์ของทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย อย่างที่ไม่เคยมีมา
ก่อน ก็คอื การเปลี่ยนการลงโทษ จากการทำผิดทางอาญาทีไ่ ม่รุนแรง ไม่มีโทษถึงจำคุก ให้เป็น “โทษปรับทางพินัย” ซึ่งเป็นผลดีหลายประการ เช่น
1. ไม่ถูกบันทึกประวัตอิ าชญากรรม ไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือให้เสียประวัติ เสียชื่อเสียง กระทบต่อหน้าที่การงาน
2. รับโทษปรับอย่างเดียว โดยไม่มีการกักขังระหว่างพิจารณาคดี ไม่ต้องเป็นภาระในการประกันตัว
3. ค่าปรับสามารถผ่อนชำระได้ / เลือกทำงานบริการสังคมแทนก็ได้
4. ศาลอาจพิจารณาลดค่าปรับ / เพียงตักเตือนโดยไม่ต้องปรับได้ หากเป็นการทำผิดเพราะความยากจน โดยศาลจะคำนึงถึงพฤติกรรมการกระทำผิด /
สถานะทางเศรษฐกิจด้วยเสมอ
8) นิยามความผิดทางพินัย + ตอบ
ปรับพินัย ตาม พ.ร.บ. ว่า 1. ความผิดทางพินัย = การกระทำ / งดเว้นการกระทำ อันเป็นการฝ่าฝืน / ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย + กฎหมายนัน้ บัญญัติให้ต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย
ด้วยการปรับเป็นพินัย 2. ปรับเป็นพินัย = การสั่งให้ผู้กระทำความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินทีก่ ฎหมายกำหนด
พ.ศ. 2565 มาตรา 3
9) การยื่นฟ้องคดีความผิด ตอบ
ทางพินัย กับการมาศาล การยื่นฟ้องคดีความผิดทางพินัยนั้น จะมี / ไม่มีตัวจำเลยมาศาลก็ได้ แต่ต้องส่งหลักฐานที่สามารถยืนยันตัวจำเลย + เสนอสำนวนคดีของเจ้ าหน้าที่ของรัฐ
ของจำเลย มาพร้อมฟ้องในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
10) องค์ประกอบของคำ ตอบ
พิพากษา / คำสั่งคดี 1. ข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป
ความผิดทางพินัย 2. คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี
3. เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย
11) การอุทธรณ์คดีความผิด ตอบ
ทางพินัย ตาม ข้อบังคับ การอุทธรณ์คดีความผิดทางพินัย ต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายสำคัญที่ศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัย ได้แก่
ของประธานศาลฎีกา ว่า 1. การโต้แย้งว่า การแสวงหาข้อเท็จจริง + รวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ของรัฐขัดต่อกฎหมาย + ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ด้วยวิธีพิจารณาความผิด 2. การโต้แย้งว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมาย + ข้อบังคับนี้
ทางพินัย พ.ศ. 2566 3. เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ได้วนิ ิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกัน / ขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์ / ศาลฎีกา
4. เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ได้วนิ ิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ / ศาลฎีกามาก่อน
5. เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ได้วนิ ิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายขัดกับคำพิพากษา / คำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น
6. เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายที่ยกขึน้ อ้างในอุทธรณ์แล้ว อาจมีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในคำพิพากษา / คำสั่งของศาลชั้นต้น
7. ปัญหาข้อกฎหมายอืน่ ใดที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ

You might also like