You are on page 1of 31

บทนำ

กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานของไทย

อ. พินิจนันท์ พรหมารัตน์
กฎหมายลักษณะพยาน
•1. ความหมายของพยาน
•2. ประวัติความเป็ นมาของกฎหมายลักษณะพยาน
•3. เจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกฎหมายลักษณะพยาน
•4. โครงสร้างทางกฎหมายของกฎหมายลักษณะพยาน
ส่วนที่ 1 : ความหมาย
ความหมาย
• พยานหลักฐาน (Evidence) คือ สิ่งที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่มีการกล่า
วอ้างในการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็ นคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีประเภทอื่น ๆ
• พยาน (Witness) หมายถึง ตัวบุคคลที่ได้รู้เห็นเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็ นบุคคลที่ศาลเรียกมาเบิกความต่อหน้าศาลก็ได้
• คำว่า พยานหลักฐาน (Evidence) ต่างกับคำว่า พยาน (Witness)
• เนื่องจาก พยาน หมายความเฉพาะตัวบุคคลลที่ได้รู้เห็น เหตุการณ์ และมาเบิกความในชั้นศาล ส่วนพยานหลักฐานนั้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อ.) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ.) นอกจาก
ตัวบุคคลแล้วยังหมายความรวมสิ่งใด ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการพิสูจน์ความจริงไม่ว่าจะโดยการนำมาสู่กระบวนการ
ในชั้นศาล นำมาปรากฏต่อศาล หรือนำมาสู่สำนวนความ
ส่วนที่ 2
ประวัติความเป็ นมาของกฎหมายลักษณะพยาน
ยุคแรก : สมัยกรุงศรีอยุธยา พระอัยการ
ลักษณะพยาน มหาศักราช 1894
• กรุงศรีอยุธยามีกฎหมายลักษณะพยาน โดยรับอารยธรรมจากอินเดียจากผลการเผยแผ่
พุทธศาสนา กฎหมายลักษณะพยานยุคนั้นจึงดำเนินตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของ
มโนสาราจารย์ มีการใช้วิธีพิจารณาแบบจารีตนครบาลมีซักฟอกผู้ต้องหาว่าเป็นจำเลย
ด้วยการเฆี่ยน และทำร้าย เช่น เฆี่ยนคำให้การโจร ตบปากคู่ความ
• มีการกำหนดห้ามบุคคลบางจำพวกเป็นพยาน เช่น โสเภณี คนหูหนวก/ตาบอด ถือเป็น
อุตริพยาน
ยุคสมัยกฎหมายตราสามดวง (ตอนต้นรัชสมัย
รัตนโกสินทร์)
• ยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกมหาราช
• ทรงเห็นว่ากฎหมายแต่ละฉบับมีการกระจัดกระจาย
• มีการรวบรวม เรียบเรียงกฎหมายจัดเป็นหมวดหมู่ใหม่ >>> กฎหมายตราสามดวง
• ในส่วนพยาน มีนำ “พระไอยการลักษณภญาน” จากในยุคของกรุงศรอยุธยามาบัญญัติใน
กฎหมายตราสามดวง มีการวาด้วยเรื่องการรับฟังพยาน โดยกำหนดประเภทพยานใน
ลักษณะต่าง ๆ เช่น กำหนดตามศักดิ์ในสังคม มี 5 ประการ กำหนดจากคุณสมบัติของบุคคลผู้
ควรถามเอาเป็นพยานได้ 6 ประเภท และบุคคลที่ต้องหามมิให้รับฟังเป็นพยาน 33 จำพวก
ยุคปฏิรูปกฎหมาย ร.4-ร.5
• กฎหมายลักษณะตราสามดวงใช้เรื่อยมาจนรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ซึ่งอยู่ใน
ช่วงวิกฤติการณ์ล่าอาณานิคมชาติตะวันตก
• ทำให้ประเทศไทยเสียเอกราชทางศาล
• การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและบัญญัติกฎหมายใหม่ออกมาจำนวนมาก
• การปฏิรูปกฎหมาย ดังกล่าวทำอย่างต่อเนื่องจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
• ในรัชสมัยของร.4 ยังไม่เห็นกฎหมายใดออกมาชัดเจนมากเท่า ร.5 เพราะเป็นยุคเริ่ม
ยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
• รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรง มีดำริใหม่การชำระกฎหมายไทยให้เป็น
ระบบประมวลกฎหมายตามแบบอย่างชาติตะวันตก
• ในส่วนพยาน มีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะพยาน ร.ศ. 113 แทน เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรง
นำแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายพยานมาจากประเทศอังกฤษ เข้าสู่กระบวนการค้นหาความจริงโดยอาศัย
พยานหลักฐาน
ยุคกฎหมายพยาน ร.ศ.113 เริ่มมีความเป็ นสากลมากขึ้น
• ยกเลิกที่เคยกำหนดห้ามบุคคล 33 ประเภทเป็นพยาน
• บัญญัติถึงเอกสิทธิของบุคคลบางประเภทที่ไม่ต้องเป็นพยาน
• กำหนดวิธีการสืบพยาน 3 วิธี คือ สืบพยานในศาล เดินเผชิญสืบ และส่งประเด็นไปสืบ
• กำหนดมาตรการบังคับหากพยานไม่มาศาล
• มีการชี้สองสถานและกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบ
• กำหนดวิธีซักถามพยาน และการอ้างพยานเอกสาร
• บทกำหนดโทษของผู้กระทำผิดตามกฎหมายลักษณะพยาน
ยุคที่สาม ยุคประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
และอาญา
•ยกเลิกกฎหมายลักษณะพยาน ร.ศ.113
•โดยการนำเนื้อหามาบัญญัติใน ป.วิ.พ. และ ป.วิ.อ. ในพ.ศ. 2477 ไม่ได้ยก
ร่างไว้เป็นประมวลกฎหมายลักษณะพยานโดยเฉพาะ
•ในการยกร่างกฎหมายลักษณะพยานของไทยในปัจจุบันได้ดำเนินการตาม
แบบประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมาย Civil law
กฎหมายลักษณะพยาน
•จัดอยู่ในประเภทกฎหมายวิธีสบัญญัติ
•เป็ นกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยกล่าว
ถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการนำเสนอข้อพิสูจน์อันเป็ นข้อเท็จจริงต่อศาล
เพื่อให้ศาลได้วินิจฉัยคดี
ส่วนที่ 3
เจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกฎหมายลักษณะพยาน
เจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะพยาน
• กฎหมายพยานมีเจตนารมณ์เพื่อให้มีการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปตาม
หลักเกณฑ์ที่มีคุณภาพ และสามารถนำตัวบุคคลที่กระทำความผิดมารับโทษ
ตามกฎหมายได้อย่างมีความยุติธรรม และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย และ
อีกนัยหนึ่งเป็นการให้ความเป็นธรรมกับบุคคลที่มิได้กระทำความผิดเพื่อไม่ให้
ต้องรับโทษตามกฎหมาย (ศ.พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล)
วินิจฉัยปัญหาข้อ ศาลวินิจฉัยตัดสินเพื่อ
เท็จจริง นำไปสู่ข้อกฎหมาย ประโยชน์แห่งความยุติธรรม
วัตถุประสงค์ของกฎหมายลักษณะพยาน
• These rule shall be construed to secure fairness in administration,
elimination of unjustifiable expense and delay, and promotion of growth and
development of the law of evidence to the end that the truth may be ascertained
and proceeding justly determined.
•(Federal Rules of evidence for United State Courts and Magistrates: Rule 102)
“กฎเกณฑ์ว่าด้วยพยานหลักฐานต้องใช้ไปในทางที่แสวงหาความเป็ นธรรม
ในการบริหารงานยุติธรรม การกำจัดไปซึ่งค่าใช้จ่ายและความล่าช้าที่ไม่เป็ นธรรม
และเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าและพัฒนาการของกฎหมายลักษณะพยานไปสู่จุด
หมายที่ว่าความจริงเป็ นสิ่งที่แสวงหาได้และกระบวนพิจารณาได้ดำเนินไปโดยความ
ยุติธรรม”
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
• มาตรา 131 บัญญัติว่า “ให้พนักงานสอบสวน รวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะ
ทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบ ข้อเท็จจริง และ พฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูก
กล่าวหาเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิด และพิสูจน์ให้เห็นความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้
ต้องหา”
หลักเกณฑ์กฎหมายลักษณะพยานที่ดี
• 1. ลดค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลา
• “ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ ความอยุติธรรม”
• การพิจารณาพยานฯอันนำไปสู่ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องพิจารณาพยานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคดีโดยตรง ดัง
นั้นพยานฯ ที่ไม่เกี่ยวประเด็นคดี (ก่อให้เกิดความล่าช้า) ต้องตัดทิ้ง

• 2. นำไปสู่ผลที่เป็ นธรรมสอดคล้องกับคดีแต่ละประเภท
• ความชอบธรรมในคดีแพ่งอาศัย “หลักความเสมอภาคและหลักข้อตกลงของคู่ความ” (เหมาะสมกับการใช้
ระบบกล่าวหา (Adversary System) ให้คู่ความต่อสู้คดีเต็มที่)
• ความชอบธรรมในคดีอาญาอยู่ภายใต้ “หลักการตรวจสอบ” (การสอบสวน/การออกหมาย/การสั่งฟ้ อง/
การพิจารณาคดี)
กระบวนการพิจารณาคดีอาญา
ผู้เสียหาย พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ

ศาล
นำสืบให้ศาลเห็นจนปราศจากข้อสงสัย
ว่าจำเลยกระทำผิดจริง
กระบวนการพิจารณาคดีแพ่ง

ผู้ร้อง/ผู้ฟ้ อง [ถูกโต้แย้งสิทธิ] กล่าวอ้างต่อศาล

ศาล

ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ าย
ระบบการค้นหาข้อเท็จจริงอาจจำแนกได้เป็ นระบบใหญ่ๆ 2 ระบบ
1. ระบบไต่สวน (Inquisitorial System)
2. ระบบกล่าวหา (Accusatorial System หรือ Adversary System)

ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างระบบไต่สวนกับระบบกล่าวหา

คือ ภาระการพิสูจน์ หรือ Burden of Proof

ระบบไต่สวน  Burden of Proof เป็นของศาล


ระบบกล่าวหา  Burden of Proof
เป็นของคู่ความ
20
ระบบกล่าวหา
• จุดกำเนิดในประเทศอังกฤษ และแพร่หลายไปยังประเทศในเครือจักรภพ เช่น USA CANADA
MALAYSIA INDIA
• ระบบกล่าวหา มีคู่ความ 2 ฝ่ าย คือ โจทก์ (ผู้กล่าวหา) และ จำเลย (ผู้ถูกกล่าวหา)
• สองฝ่ ายนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาล (คนกลาง) เพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริง
• เปิ ดโอกาสให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ ายต่อสู้กันเต็มที่
• ศาลไม่อาจแสวงข้อเท็จจริงเองได้นอกจากพยานที่คู่กรณีนำเสนอ
• ระบบกล่าวหามีทั้งระบบที่ใช้คณะลูกขุน และไม่ใช้ (หลังๆไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากล่าช้า)
ระบบกล่าวหา (Accusatorial (Eng.) หรือ Adversary (U.S.A))
ระบบกล่าวหาถือหลักว่าศาลและลูกขุนเปรียบเสมือนกรรมการของการต่อสู้คดี
โดยต้องวางตัวเป็ นกลางอย่างเคร่งครัด ส่วนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็ น
หน้าที่ของคู่ความ
กฎหมายลักษณะพยานในระบบกล่าวหามีกฎเกณฑ์เรื่องการนำสืบพยานฯ ที่
ละเอียดและเคร่งครัด ตั้งแต่การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ วิธีการนำ
เสนอและการรับฟังพยานฯ มีบทตัดพยานที่ได้มาโดยไม่ชอบ และบทตัดพยานบอก
เล่า เป็ นต้น
ใช้อยู่ในประเทศกลุ่มกฎหมาย Common Law
คือ อังกฤษ อเมริกา และประเทศในเครือจักรภพ
22
ระบบไต่สวน (Inquisitorial System)
มาจากการชำระความของผู้มีอำนาจเด็ดขาดซึ่งจะทำการไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริง
ให้ได้ เช่น การทรมานเพื่อให้จำเลยรับสารภาพ
ระบบไต่สวนถือว่าหน้าที่ในการค้นหาข้อเท็จจริงเป็ นของ ศาล ดังนั้น
แม้คู่ความจะมีสิทธิเสนอพยานต่อศาล แต่ศาลก็มีอำนาจสั่งให้งดสืบหรือสืบพยานฯ เพิ่ม
เติม และมีดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานฯ อย่างเต็มที่
กฎหมายลักษณะพยานในระบบไต่สวนถือเป็ นส่วนหนึ่งของกฎหมายวิธีพิจารณา
ความ และไม่มีบทตัดพยาน หรือ กฎที่ห้ามนำเสนอพยานฯประเภทใดประเภทหนึ่ง
(Exclusionary Rule) โดยศาลจะรับฟังพยานฯ ทุกประเภท ยกเว้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี

ใช้อยู่ในภาคพื้นยุโรป หรือ ประเทศในกลุ่ม Civil Law


23
วิธีปฏิบัติในการถามพยาน ระบบไต่สวน
ศาลเป็ นผู้ซักถามก่อนแล้วคู่ความจึงซักถามภายหลัง
ศาลมีอำนาจอย่างกว้างขวางที่จะใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและ
ดุลพินิจนี้มักโต้แย้งไม่ได้ (Unreviewable)
ระบบกล่าวหา
แม้จะยอมให้ศาลจะมีอำนาจในการเรียกพยานมาสืบ หรือ ซักถามพยานได้ แต่
ศาลจำกัดบทบาทของศาลโดยจะกระทำต่อเมื่อจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรมเท่านั้น
กลไกสำคัญในการสืบพยานบุคคล คือ การถามค้าน (Cross-Examination)
24
ปัจจุบันระบบกฎหมายลักษณะพยานมีแนวโน้มที่จะมีความ
เป็ นสากล หรือมีความเป็ นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น
โดย...
ระบบไต่สวนยอมรับข้อบกพร่อง
ของตนในบางจุด
 ระบบกล่าวหาก็เปิ ดรับวิธีการสืบพยานใน
ระบบไต่สวนมาใช้มากขึ้น
“ดังนั้นการที่จะแบ่งแยกว่าเป็ นระบบใดโดยเด็ดขาดจึง
มีแนวโน้มเปลี่ยนไป”
การยกร่างในชั้นแรกบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. และ ป.วิ.อ.
โดยลักษณะ  เป็ นลักษณะของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย /
ประเทศที่มีระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวน
ในทางปฏิบัติ  ศาลไทยมีการจัดระบบศาลยุติธรรมแบบอังกฤษ
เนื่องจาก - พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีฯ ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายจากอังกฤษ
- ที่ปรึกษากฎหมายส่วนใหญ่มาจาก อังกฤษ และ อเมริกา
ดังนั้น อิทธิพลของกฎหมาย Common Law จึงมีผลต่อระบบการสืบพยาน
ของไทย ทำให้ในทางปฏิบัติศาลไทยจะวางตัวเป็ นกลางในการพิจารณาคดี
แม้ว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความของไทยจะบัญญัติให้อำนาจศาล
อย่างเต็มที่ในการเรียกพยานมาสืบ หรือ ในการซักถามพยาน แต่ผู้พิพากษา
ไทยก็จำกัดบทบาทของตนในเรื่องนี้
บทกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับพยานหลักฐาน

คดีแพ่ง& คดีชำนัญพิเศษ คดีที่อยู่ในอำนาจ คดีปกครอง คดีที่อยู่ในอำนาจ


คดีอาญาทั่วไป ในศาลยุติธรรม ศาล รธน. ศาลทหาร

ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ


และการค้าระหว่างประเทศ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

๑. ป.วิ.พ. ๒. ป.วิ.อ. ๓.ป.วิ.พ.&ป.วิ.อ. เรื่องอื่น ๔.บทกฎหมายอื่นที่มีผลกระทบต่อพยานหลักฐาน


ม.๘๔-๑๓๐ ม.๒๒๖-๒๔๔ เช่น ป.วิ.พ. ม.๑๘๓, ม.๒๓๘, เช่น พรบ. คุ้มครองพยานในคดีอาญา ๒๕๔๖
และ ม.๑๕ ม.๒๔๓,... ประมวลรัษฎากร ม.๑๑๘
ป.วิ.อ. ม.๗/๑&ม.๘๔, พรบ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ๒๕๔๔
พรบ. วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ๒๕๕๐
พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ๒๕๕๑
ส่วนที่ 4
โครงสร้างทางกฎหมายของกฎหมายลักษณะพยาน
ขั้นตอนในการใช้กฎหมายลักษณะพยาน
1. ขั้นตอนแรก: เราต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีและแยกปัญหาข้อกฎหมายออกจาก
ปัญหาข้อเท็จจริง แล้วจึงพิจารณาว่า การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องใด ต้องใช้พยานหลักฐาน
เรื่องใดต้องไม่ใช้พยานหลักฐาน หรือไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ต้องรวบรวมพยานทั้งหมดไม่ว่า
จะเป็ นพยานบุคคล (witness) พยานเอกสาร(Documentary evidence) พยานวัตถุ
(Real evidence) หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ (Expert)

29
2. ขั้นตอนที่สอง : เมื่อแยกได้แล้วตามขั้นตอนแรก ต้องมาดูต่อว่าปัญหาข้อเท็จจริง
เรื่องใดใครมีภาระการพิสูจน์ ตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
3. ขั้นตอนที่สาม : เมื่อผ่านข้อที่สองแล้วต้องพิจารณาถึงหลักกฎหมายในเรื่องการรับฟัง
พยานหลักฐาน ว่าพยานหลักฐานชิ้นใดเอามาใช้เป็ นพยานหลักฐานทางคดีได้ พยาน
หลักฐานชิ้นใดเอามาใช้ไม่ได้ โดยต้องพิจารณาว่าเป็ นพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในคดี
หรือไม่ และมีบทตัดพยานดังกล่าวมิให้ศาลรับฟังหรือไม่ ซึ่งเราจะเรียกว่าพยานหลัก
ฐานที่รับฟังได้ ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะรับฟังได้ถึงขั้นไหนน่าเชื่อถือมากน้อยเพียง
ใดนั้น เป็ นขั้นตอนการวิเคราะห์น้ำหนักพยานหลักฐาน ซึ่งเป็ นคนละกรณีกัน

30
4. ขั้นตอนที่สี่ : เป็ นขั้นตอนของการยื่นพยานหลักฐาน (Introduction of evidence)
หรือ วิธีการนำสืบพยานหลักฐาน (Adduction of evidence) กล่าวคือ พยานหลัก
ฐานทั้งหมดที่ต้องการนำเสนอต่อศาล ต้องเข้าสู่สำนวนคดีของศาลตามวิธีการที่กฎหมาย
กำหนด หากนำเสนอพยานหลักฐานโดยไม่ถูกต้อง พยานหลักฐานนั้นย่อมไม่อาจรับ
ฟังได้
5. ขั้นตอนที่ห้า : เมื่อผ่านสี่ขั้นตอนแล้ว ศาลจะนำพยานหลักฐานที่รับฟังได้ทั้งหมด มา
เปรียบเทียบกันว่าพยานหลักฐานใดมีความน่าเชื่อถือมากกว่ากัน และควรเชื่อพยาน
หลักฐานชิ้นใด เรียกว่าขั้นตอนการชั่งนำหนักพยานหลักฐาน (Weight or
Cogency of evidence)

31

You might also like