You are on page 1of 1

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็กวัยเรียน
ผู้วิจัย : นางสาวธนัชพร มังกรแก้ว
หน่วยงาน : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ปีที่ทำการศึกษาแล้วเสร็จ : พ.ศ. 2565

การศึกษานี้ มีว ัตถุป ระสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม


หลักสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็กวัยเรียน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรม
สุขภาพตามหลักสุขบัญญัติ แห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวมรวมข้อมูลในเด็ก
วัยเรียน 24 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 2,400 คน โดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม
สุขภาพของนักเรียน สำหรับโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ปี 2565 ผ่านระบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) จำนวน ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
คามรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้วยสถิติสเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation) ระยะเวลา
เก็บข้อมูล เดือนตุลาคม 2564 - เดือนกันยายน 2565
ผลการศึกษา พบว่า
(1) เด็กวัยเรียนส่วนใหญ่ มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 54.6) และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เด็กวัยเรียนมีทักษะด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพมากที่สุด (ร้อย
ละ 65.5) และมีทักษะด้านการประเมินข้อมูลและบริการด้านสุขภาพ น้อยที่สุด (ร้อยละ 58)
(2) เด็กวัยเรียนส่วนใหญ่ มี พฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ อยู่ใน
ระดับดีมาก (ร้อยละ36.7) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เด็กวัยเรียนมีการสวมใส่หน้ากากผ้าหรือ
หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้านมากที่สุด (ร้อยละ 69.6) และมีการใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ได้ เพื่อลดปริมาณ
ขยะ น้อยที่สุด (ร้อยละ 8.1)
(3) เมื่อพิจารณาเป็นรายเขตสุขภาพ พบว่า เด็กวัยเรียนในเขตสุขภาพที่ 7 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ
และพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ โดยรวมอยู่ในระดับดีมากสูงกว่าเขตสุขภาพอื่น (ร้อยละ
83.0,ร้อยละ 90.5)
(4) ความสัมพันธ์ร ะหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า มีความสัม พั นธ์
ทางบวก ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (rs = 0.505 ,
p-value < 0.01)
ข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้ พบว่า มีเด็กวัยเรียนที่ยังมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม
สุขภาพในระดับไม่ดี ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุข ครู ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรมีส่วนร่วมใน
การส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีการพัฒนา
ศักยภาพจนเป็นยุวอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อให้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพต่อไป
คำสำคัญ : กลุ่มเด็กวัยเรียน , ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ

You might also like