You are on page 1of 47

คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

การสืบสวนสอบสวนคดี
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

กองบังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ความผิดตามพระราชกาหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

กฎหมายฉบับดังกล่าวประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือ วันที่ ๑๓
พฤศจิกายน ๒๕๒๗ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๗)
เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ เพื่อปราบปรามการการกู้ยืมเงินหรือรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีการ
จ่ายดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือ ผู้รับฝากเงินจะพึงหามาได้จาก
การประกอบธุรกิจตามปกติโดยผู้กระทําได้ลวงประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูง ให้นําเงินมาเก็บไว้กับตนด้วย
การใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนําเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่น ๆ มาจ่ายเป็น
ดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ฝากเงินรายก่อน ๆ ในลักษณะต่อเนื่องกัน และเพื่อคุ้มครองประโยชน์
ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง
กฎหมายฉบับนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอํานาจใช้มาตรการตามกฎหมาย และรัฐเท่านั้นที่มีอํานาจ
ฟ้องคดีไ ด้ เนื่องจากเป็นบทบัญญัติพิเศษต่างจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา (คํา
พิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๐๖/๒๕๖๐ บทบัญญัติตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔
หรือมาตรา ๕ เป็นบทบัญญัติที่วางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ความผิดฐานนี้จึงเป็นความผิด
ต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่จะดําเนินคดีแก่ผู้กระทําความผิด เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในการกระทําความผิดข้อหาดังกล่าว โจทก์ร่วม
จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในความผิดข้อหานี้ได้) หมายความว่า ผู้เสียหายไม่อาจฟ้องผู้กระทํา
ความผิดในข้อหานี้ต่อศาลได้เอง

คานิยาม
มาตรา ๓
"กู้ยืมเงิน“ หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรื อผลประโยชน์อื่นใดไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม
การจําหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน
แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน
หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สินผลประโยชน์อื่นใดหรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทํา
ด้วยวิธีการใด ๆ
องค์ประกอบกู้ยืมเงิน

• การที่ผู้กู้เงินรับเงิน หรือรับทรัพย์สิน หรือรับผลประโยชน์อื่นใด


คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

• การรั บหมายถึง ได้รับหรือส่ง มอบให้แล้ว หากเพียงแต่ตกลงแต่ยัง ไม่มีการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือ


ผลประโยชน์อื่นใด ยังไม่ถือว่าเป็นการกู้ยืมเงิน

• ลักษณะของการรับ เช่น การรับฝาก การกู้ การยืม การจําหน่ายบัตร การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้า


ลงทุน การรับเข้าร่วมกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือในลักษณะอื่นใด

• ผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ไม่ว่าจะเป็น


เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน โดยตัวผู้กู้ยืมเป็นผู้จ่ายเอง หรือให้บุคคลอื่นจ่ายแทนผู้กู้

• เป็น การรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือใน


ฐานะอื่นใด (คู่มือพนั กงานเจ้า หน้าที่ตามพระราชกํา หนดการกู้ ยืมเงินที่เ ป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ และ
พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.๒๕๓๔, น.๒๕)
ตัวอย่าง บริษัท ก. มีการขายหุ้นหรือทําสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไป โดยตกลงทยอยซื้อ
คืนเป็นงวดรายเดือนและให้กําไรเป็นเงินสองเท่า เป็นการซื้อหรือทําสัญญาที่มุ่งจะขายคืนเพื่อต้องการกําไรเป็นสองเท่ า
โดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุน หาใช่เป็นการซื้อหุ้นเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งกําไรอันจะพึงได้แต่
กิจการที่ทําในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะต้องร่วมในการขาดทุนด้วย ดังบริษัททั่วไป หรือผู้ที่เข้ามาทําสัญญาซื้อหุ้นไม่ได้มี
เจตนาที่จะได้บ้านและที่ดินจากบริษัท ก. ถือว่า การขายหุ้นและทําสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินดังกล่าว เป็นการ
รับเงินโดยผู้กู้ยืมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืม (คําพิพากษาฎีกาที่
๖๔๔๒/๒๕๓๔)
“ผลประโยชน์ตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือ
จะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด

ในการกู้ยืมเงิน ผู้กระทําความผิดหรือผู้กู้หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ผู้เสียหาย
หรือผู้ให้กู้ ไม่ว่าเป็นการจ่ายหรือจะจ่ายในรูปของเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล
หรือลักษณะอื่นใด แล้วแต่ผู้กู้จะเรียก

คําว่า “ลักษณะอื่นใด” อาจจะเป็นการจ่ายหรือจะจ่ายในรูป แบบต่าง ๆ เช่น รายได้ บัตรโดยสาร บัตรที่พัก บัตร


ท่องเที่ยว คูปองอาหาร เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีมูลค่าอยู่ในตัวของตัวเอง สามารถนําไปแลกเป็นเงิน ทรัพย์สิน
หรือใช้ชําระค่าบริการต่าง ๆ แทนการจ่ายเป็นเงิน หรือทรัพย์สิน

“ผู้กู้ยืมเงิน” หมายความว่า บุคคลผู้ทําการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้


ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย

คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ผู้กู้ยืมเงิน ตามกฎหมายฉบับนี้ แบ่งเป็น

๑. บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ทําการกู้ยืมเงิน

๒. นิติบุคคลที่เป็นผู้ทําการกู้ยืมเงิน โดยให้รวมถึง บุคคลที่ลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทน


ของนิติบุคคล ซึ่งอาจเป็นตัวกรรมการบริษัทที่ไ ม่มีอํานาจจัดการแต่ไ ด้รับมอบหมายให้ลงนามในสัญญาหรือตราสารที่
เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน รวมทั้งลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากกรรมการผู้มีอํานาจให้ดําเนินการในเรื่องดังกล่าว

แต่หากเป็นกรณีที่ บุคคลนั้นมีพฤติการณ์ชักชวนประชาชนให้กู้ยืมเงิน แม้จะมิใช่กรรมการผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจ


กระทําการแทนบริษัท และมิได้ลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของบริษัท ก็ถือว่าเป็นผู้กู้ยืมเงิน
เช่นกัน (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๗๑/๒๕๔๐)

“ผู้ให้กู้ยืมเงิน ” หมายความรวมถึง บุคคลซึ่ง ผู้ให้กู้ยืมเงินระบุให้เป็นบุคคลที่ได้รับต้นเงินหรือผลประโยชน์ตอบ


แทนจากผู้กู้ยืมเงิน

นอกจากตัวผู้ ให้กู้ ยืมเงินเองแล้ว ยังรวมถึ ง บุค คลที่ ผู้ใ ห้กู้ร ะบุต่ อผู้กู้ ให้เ ป็นผู้ ที่ไ ด้ รับเงินลงทุน หรือ เงิน ทุน และ
ผลประโยชน์ตอบแทนตนเองด้วย

ความผิดฐาน “กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน”

มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทําด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบ


คนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนได้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน
ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึง
จ่ายได้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนําเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่
ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่
จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้น เป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป
ผู้นั้นกระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

จากบทบัญญัติดังกล่าวผู้กระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนจะต้องกู้ยืมเงินโดย
๑. โฆษณาหรือประกาศต่อประชาชน หรือกระทําด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป
๒. ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตาม
กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้


คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

๓. โดยที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า
๓.๑ ตนหรือบุคคลนั้นจะนําเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนัน้ หรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือ
๓.๒ ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทน
พอเพียงที่จะนํามาจ่ายในอัตรานั้นได้

องค์ประกอบความผิดมาตรา ๔

ผู้ใด หมายถึง บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่กระทําความผิด

บุคคลดังกล่าว หมายถึง ตัวการ ผู้ใช้บัง คับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือ ผู้โฆษณา หรือประกาศแก่
บุคคลทั่วไปให้กระทําความผิด หรือผู้ให้การช่วยเหลือ หรือผู้ให้ความสะดวกในการกระทําความผิด

การโฆษณาหรือประกาศแก่ให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทําด้วยประการใด ๆ ในการกู้ยืมเงินกระทําตั้งแต่ต่อ


บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ในการกู้ยืมเงิน

การโฆษณาหรือประกาศหรือกระทาด้วยวิธีการใด ๆ เช่น การแจ้งหรือแพร่ข่าวสาร การติดต่อ หรือ การชักชวน


ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ แจกแผ่นพิมพ์ แผ่นพับ หรือใบปลิว เป็นต้น

ประชาชนทั่วไป ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่จํากัดจํานวนคนว่าจะมีกี่คนก็ตาม หากประกาศโฆษณาแก่ประชาชน


ทั่วไปแล้ว จะมีคนหลงเชื่อกี่คนก็ตาม ก็ถือว่า เป็นการโฆษณาหรือประกาศต่อประชน

กรณีที่ผู้เสียหายทราบจาก ประกาศโฆษณาชักชวนของนิติบุคคลหรือบุคคลอื่น โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า


บุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏ ต่อประชาชน ย่อมไม่ถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทํา ความผิด (คํา
พิพากษาฎีกาที่ ๖๒๗๓/๒๕๔๖)

ในการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทาด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อัน


จะทาให้เป็นความผิดสาเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่จาเป็นที่จาเลยจะต้องกระทาการดัง กล่าวต่อ
ผู้เสี ยหายแต่ละคนด้ว ยตนเองตั้ งแต่ต้ นทุก ครั้ ง เป็นคราว ๆ ไป เพีย งแต่จํ าเลยแสดงข้อ ความดัง กล่า วให้ปรากฏแก่
ผู้เสียหายแม้เพียงบางคนแต่เป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนําเงินมาให้จําเลยกู้ยืม ก็ถือเป็นการกระทําความผิดแล้ว
(คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๘๒๖/๒๕๕๔)


คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

 ผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมาย
ว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้

คําว่า “สถาบันการเงินตามกฎหมาย” เป็นไปตามคํานิยามของสถาบันการเงินตามพระราชบั ญญัติธุรกิจสถาบัน


การเงิน พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๔ "สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(๑) ธนาคารพาณิชย์
(๒) บริษัทเงินทุน
(๓) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิ ชย์ และให้
หมายความรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ
สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคาร
พาณิชย์
"ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ไ ด้ รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคาร
พาณิชย์ซึ่ง มีวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมี
ข้อจํากัดการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ ตราสารอนุพันธ์และธุรกรรมอื่นที่มี
ความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
"ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับ
อนุญ าตให้ ประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิ ชย์ซึ่ ง มีธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศแห่ง ใดแห่ ง หนึ่ ง ถือหุ้ นโดยทางตรงหรื อ
ทางอ้อมไม่ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบห้าของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
"สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ" หมายความว่า สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้
ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
"บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน
"ธุรกิจเงินทุน" หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค และใช้ประโยชน์
จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
"บริษัทเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ "
ธุรกิ จเครดิ ตฟองซิ เอร์ " หมายความว่า การประกอบธุ รกิจ รับ ฝากเงิน หรื อรั บ เงิ นจากประชาชนที่จ ะจ่า ยคื นเมื่ อสิ้ น
ระยะเวลาอันกําหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์
(๒) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก


คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

สอดคล้องกับคําว่า พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๒๓ มาตรา ๓


“สถาบันการเงิน” หมายความถึง
(๑) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(๒) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์
(๓) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(๔) สถาบันการเงินอื่นที่รัฐมนตรีกําหนดโดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทย
อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๒๓ มาตรา ๔ บัญญัติ
ว่า เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจของประเทศรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทย มีอํานาจ
กําหนดอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดจากผู้กู้ยืมหรือคิดให้ผู้ให้กู้ยืมให้สูงกว่าร้อยละสิบห้าต่อปีได้

ในการกําหนดตามวรรคหนึ่ง รั ฐมนตรีจะกํ าหนดอัตราดอกเบี้ย สําหรับสถาบันการเงิ นบางประเภทหรือทุ ก


ประเภทโดยกําหนดเป็นอัตราสูงสุดหรืออัตราที่อ้างอิงได้ในลักษณะอื่นก็ได้ และจะกําหนดเงื่อนไขให้สถาบันการเงินต้อง
ปฏิบัติด้วยก็ได้
ปัจจุบัน กําหนดให้อัตราสูงสุดของดอกเบี้ย ให้แต่ละสถาบันการเงินประกาศกําหนดใช้เอง คือ ให้เป็นอัตรา
ดอกเบี้ยลอยตัว เพื่อให้มีการแข่งขันกันเองระหว่างสถาบันการเงิน โดยขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจของประ เทศ ตาม
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมเงิน พ.ศ.๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕
ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึง
จ่ายได้ คือ อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินพึงจ่ายได้ในการกู้ยืมเงินจากประชาชน ต้องไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่
สถาบันการเงินนั้นๆ กําหนดไว้ อย่างไรก็ตามในการคิดคํานวณอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วย
ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้นั้น ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในช่วงเกิดเหตุมาคิดคํานวณว่าสูงหรือต่ํา
กว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้กู้จะจ่ายหรืออาจจ่ายให้ผู้ให้กู้ ถ้ามีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงิน
ตามกฎหมายประกาศไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่ถ้าคํานวณแล้วมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบัน
การเงินตามกฎหมาย ก็จะเข้าองค์ประกอบความผิด
การที่จะตรวจสอบว่า ในช่วงเกิดเหตุมีสถาบันการเงินตามกฎหมายใดที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง สุด ให้ทําหนังสือ
ตรวจสอบไปที่สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ถนนพระราม ๖ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ (เรียน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง)


คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

 โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนําเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียน
ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่ า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วย
กฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้น เป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้
กู้ยืมเงินไป

๑. โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนําเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียน
ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือ

(คําว่า “ตนรู้หรือควรรู้” แสดงถึงการกระทําโดยเจตนาว่าเป็นการนําเงินรายที่ให้กู้ยืมเงิน หรือเอาเงินให้กู้ยืม


รายอื่นมาจ่ายเป็นดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์หมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั้น หรื อรายก่อนๆ ในลักษณะที่ต่อเนื่องกันเป็น
ลูกโซ่)

๒. โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่ว่าตน หรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้


ผลตอบแทนพอเพียง หรือสูงพอที่จะนํามาจ่ายในอัตรานี้ได้ เช่น จ่ายผลตอบแทนในอัตราร้อยละ ๑๐ ต่อเดือนหรือสูง
กว่า คิดเป็นผลตอบแทนที่ได้รับร้อยละ ๑๒๐ ต่อปีหรือสูงกว่า โดยที่ไม่สามารถชี้แจงได้ว่าการระดมเงินไปลงทุนในกิจการ
ใดที่จะสามารถจ่ายผลตอบแทนได้มากขนาดนั้น เป็นต้น

๓. ตนหรือบุคคลนั้นได้กู้ยืมเงินไป หมายถึง จะต้องมีการรับหรือส่งมอบให้แก่ผู้กู้ยืมไปแล้วอาจเป็นเงิน


ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ต้องมีการรับหรือส่ง มอบกัน แล้ว จึง จะเป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน หากเพียงแต่ตกลงกันยังไม่มีการรับหรือส่งมอบก็ไม่เข้าองค์ประกอบความผิด

การหลอกลวงประชาชนให้น าเงินเข้ามาร่วมลงทุนในธุร กิจซื้อ ขายเงินตราต่างประเทศหรือ เก็งกาไร ให้ถือ เป็ น


ความผิดฐาน “กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน”

มาตรา ๔ วรรคสอง ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่า


ด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดําเนินการ หรือให้พนักงานลูกจ้าง หรือบุคคลใดดําเนินการโฆษณา ประกาศหรือ
ชักชวนประชาชนให้ลงทุนโดย

(๑) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ

(๒) เก็งกําไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินให้ถือว่าผู้นั้นกระทํา
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย

คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ปัจจุบัน ทางการไทยยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดหรือนิติบุคคลใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระ
เงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน ในลักษณะการเก็งกําไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่างประเทศ หากมีการชักชวนให้มีการร่วมลงทุนในการเก็งกําไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ชักชวน
ดังกล่าวนั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการ
แลกเปลี่ยนเงิน การกระทําดังกล่าวถือว่าเข้าข่ายเป็นการกระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตาม
พระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ วรรคสอง
ในการสอบสวนให้ตรวจสอบการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดหรือนิติบุคคลใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระ
เงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าได้มีก ารออก
ใบอนุญาตให้ผู้กระทําความผิดหรือไม่ เพื่อใช้ประกอบการสอบสวน และหากไม่ได้มีการออกใบอนุญาตก็จะเป็นความผิด
ฐาน กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

ความผิดที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

มาตรา ๕ ผู้ใดกระทําการดังต่อไปนี้
(๑) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน
(ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใดหรือ
(ข) ดําเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ
(ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ
(ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงินหรือ
(จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจํานวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงิน
จากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ
(๒) ผู้นั้น
(ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ในอัตราที่
สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึง จ่ายได้ หรือ
(ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้
นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์
ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินทั้งหลาย
ผู้นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ ทั้งนี้ เว้น
แต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ ตอบแทน
พอเพียงที่จะนํามาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้อง
พิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้ หรือมีเหตุอัน
สมควรอย่างอื่น

คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ลักษณะความผิดตามมาตรา ๕ ไม่ชัดเจนว่าเป็นการหลอกลวงผู้เสียหาย แม้จะมีการกู้ยืมเงินมีอยู่จริง แต่ต้อง


ระวางโทษเช่นเดียวกัน หากมีการจ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่
ผู้ให้กู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบัน
การเงินจะพึงจ่ายได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อยกเว้นวรรคท้ายของมาตรา ๕ สําหรับความผิดตามมาตรา ๔ นั้น
เป็นลักษณะของการหลอกลวงผู้เสียหายให้นําเงินมาร่วมลงทุน (คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๘๒๖/๒๕๕๔)

คําว่า ปกติธุระ หมายถึง กระทําเป็นธุรกิจหรือกระทําเป็นประจํา

การจัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ ไม่จํากัดว่าจะมาจากสถานที่ใดๆ เช่น จัดส่งเจ้าหน้าที่หรือจัดตั้ง


สํานักงานสาขาที่ต่าง ๆ ในการรับเงิน

จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน อาจเป็นการใช้หรือจ้างลูกจ้างตั้งแต่


ห้าคนขึ้นไปชักชวนให้มีการรับฝากเงิน การกู้ การยืม การจําหน่ายบัตร

การคานวณอัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน

มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ในกรณีที่ ผู้กู้ยืม


เงินได้จ่ายหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่มิใช่เป็นตัวเงิน ให้คํานวณมูลค่าของผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวออกเป็น
จํานวนเงิน

กรณีที่มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะอื่นที่มิใช่รูปดอกเบี้ย เงินปันผล ที่เป็นตัวเงิน แต่จ่ายในลักษณะอื่น


เช่น บริการรถรับขนส่ง ให้ที่พัก หรืออาหารฟรี เป็นต้น ให้คํานวณผลตอบแทนดังกล่าวเป็นตัวเงิน เพื่อคํานวณให้ได้ว่า
ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายให้ได้

ตัวอย่าง วันที่ ๒๔ ก.ค.๒๕๖๐ ผู้ต้องหาชักชวนให้ประชาชนให้ลงทุนเกี่ยวกับตั๋วโดยสารเครื่องบิน โดยให้โอนเงิ น


๑๕๐,๐๐๐ บาท สําหรับตั๋วเครื่องบินไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จํานวน ๒ ที่นั่ง แถม ๑ ที่นั่ง ราคา ๑๕๐,๐๐๐
บาท คิดเป็น ๕๐,๐๐๐ บาทต่อใบ ต่อมาวันที่ ๑๔ ก.ย.๒๕๖๐ ผู้เสียหายใช้ตั๋วโดยสารเดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ มูลค่า ๕๐,๐๐๐ บาท หากเป็นตั๋วโดยสารราคาปกติ จะมีมูลค่าถึง ๑๔๐,๐๐๐ บาท คิดเป็นผลประโยชน์ตอบ
แทนได้ ๙๐,๐๐๐ บาท ต่อ ๕๒ วัน (นับเวลาตั้ง ๒๔ ก.ค.๖๐ – ๑๔ ก.ย.๖๐) จากเงินทุน ๕๐,๐๐๐ บาท คิดเป็น
ผลประโยชน์ตอบแทนได้อัตราร้อยละ ๑,๒๖๓.๔๖ ต่อปี (๙๐,๐๐๐X๓๖๕X๑๐๐ = ๑,๒๖๓.๔๖)
๕๐,๐๐๐X๕๒

๑๐
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

อานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗,๘ แห่งพระราชกาหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน


พ.ศ.๒๕๒๗
บทบัญญัติของมาตรา ๗ และ ๘ เป็นการให้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถแบ่งได้ดังนี้
๑. อานาจในการออกหนังสือเรียก
มาตรา ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทําความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทําการตามมาตรา ๕(๑)
หรือ (๑)(ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกให้ผู้นั้นหรือบุคคลใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบถึงการกู้ยืมเงิน
มาให้ถ้อยคํา
(๒) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) รายงานสภาพกิจการของตนตลอดจนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของตน
(๓) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) นําบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมาตรวจสอบ
(๔) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น เพื่อทํา
การตรวจสอบหรือค้นบัญชีเอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวตาม (๑) ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ
สั่งบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือค้น ตามควรแก่เรื่อง และให้มี
อํานาจยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเหล่านั้น
มาตรวจสอบได้
การเรียกหรือการสั่งตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือคําสั่ง
เว้นแต่ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน
เมือ่ ได้เข้าไปและลงมือทําการตรวจสอบหรือค้นตาม (๔) แล้วถ้ายังดําเนินการไม่เสร็จจะกระทําการต่อไปในเวลา
กลางคืนก็ได้
การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ อาศัยอํานาจตาม มาตรา ๑๘ แห่งพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น
การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมี
อํ า นาจแต่ ง ตั้ ง พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ เ พื่ อ ปฏิ บั ติ ก ารตามพระราชกํ า หนดดั ง กล่ า ว ซึ่ ง ในทางปฏิ บั ติ รั ฐ มนตรี ว่ า การ
กระทรวงการคลัง ออกคําสั่งมอบหมายให้ปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการแทน ตามคําสั่ง กระทรวงการคลัง ที่
๓๔๙/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เรื่อง มอบอํานาจหน้าที่ให้ปลัดกระทรวงการคลังและหัวหน้าส่วนราชการ
ในสังกัด สั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปฏิบัติราชการแทนในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ.๒๕๒๗
ในการเรียกบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทําความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทําการตามมาตรา ๕(๑)
หรือ (๒)(ก) ให้ออกหมายเรียกตามมาตรา ๗(๑) (๒) และ (๓) ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจออกหนังสือเรียกจะต้อง
๑๑
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง จากรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงการคลั ง และรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงมหาดไทย ตามระเบี ย บ
กระทรวงการคลัง ว่าด้วยการออกหนังสือเรียก ตามมาตรา ๗(๑) (๒) และ (๓) แห่งพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการ
ฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ พ.ศ.๒๕๓๘ และตามข้อ ๔ ระบุให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจออกหนังสือเรียก ได้แก่

๑. ปลัดกระทรวงการคลังหรือรองปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสําหรับท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
๒. ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อํานวยการกองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน หรือผู้ที่ได้รับ
มอบหมาย สําหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
๓. ผู้ว่าราชการจังหวัด สรรพากรจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย สําหรับจังหวัดในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ

๒. อานาจในการตรวจสอบหรือตรวจค้น
อํา นาจของพนั กงานเจ้ าหน้ าที่ ในการตรวจสอบหรื อตรวจค้น อาศั ยอํ านาจตามมาตรา ๗(๔) โดยพนั กงาน
เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจออกหนังสือเรียกจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย ตามระเบีย บกระทรวงการคลัง ว่า ด้ว ยการตรวจสอบหรือ ค้ น ตามมาตรา ๗(๔) แห่ง พระราช
กําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ พ.ศ.๒๕๓๘ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๘ และตาม
ข้อ ๔ ระบุให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจออกหนังสือเรียก ได้แก่
๑. ปลัดกระทรวงการคลังหรือรองปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสําหรับท้องที่ทั่ว
ราชอาณาจักร
๒. ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อํานวยการกองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน หรือผู้ที่
ได้รับมอบหมาย สําหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
๓. ผู้ว่าราชการจังหวัด สรรพากรจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย สําหรับจังหวัดในเขตท้องที่จังหวัดนั้น ๆ
ในการตรวจสอบหรือค้นจะต้องมีพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่า ๓ นาย โดยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งดํารง
ตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับ ๖ หรือเทียบเท่าระดับ ๖ ขึ้นไปเป็นหัวหน้าคณะ และให้แต่งเครื่องแบบข้าราชการ เว้นแต่ผู้ออก
คําสั่งเห็นสมควรที่จะไม่ให้แต่งเครื่องแบบก็ให้ระบุไว้ในคําสั่งตรวจสอบหรือค้น ในการตรวจค้นต้องแสดงบัตรประจําตัวพ
พนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ตาม ข้อ ๙ และ ๑๐ แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการตรวจสอบหรือค้น ตามมาตรา ๗
(๔) แห่งพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ พ.ศ.๒๕๓๘

๓. อานาจในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหา
มาตรา ๘ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้กู้ยืมเงินผู้ใดที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทําความผิดตามมาตรา
๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชําระหนี้สิน และเห็นสมควร
ให้มีการดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงินให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นไว้ก่อนได้ แต่จะยึด

๑๒
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

หรืออายัดทรัพย์สินไว้เกินกว่าเก้าสิบวันไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ ให้คําสั่ง


ยึดหรืออายัดดังกล่าวยังคงมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
เมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ใดไว้ตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุ อันควรเชื่อว่าผู้กู้ยืม
เงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทําความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย
หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชําระหนี้สินแต่ยังไม่สมควรสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องให้
พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดําเนินคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา ๑๐
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้นําบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
มาใช้บังคับโดยอนุโลม

กรณีนิติบุคคลเป็นผู้กระทาความผิด
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือ
การกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคล
ดัง กล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่ง การหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุ คคลนั้นกระทํา
ความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่ง ปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็น
ผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลด้วย

เงินสินบนและเงินรางวัล
เพื่อให้การปราบปรามผู้กระทําความผิดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้มีการแก้ไข
เพิ่มเติมกฎหมายฉบับนี้ในเรื่องของสินรางวัล สําหรับผู้แจ้งเบาะแส เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจค้นหรือจับกุม
มาตรา ๑๑/๑ ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทําความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ให้ผู้แจ้งเบาะแสการกระทํา
ความผิดมีสิทธิได้รับเงินสินบนและให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทําความผิดมีสิทธิไ ด้รับเงินรางวัล โดยให้
พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลสั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลจากค่าปรับที่ผู้กระทําความผิดได้ชําระต่อศาลเมื่อคดีถึ ง
ที่สุด
การจ่ายเงินสินบนและรางวัลให้จ่ายเป็นจํานวนรวมกันแล้วร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับที่ได้ชําระต่อศาล
หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับเงินสินบนและเงินรางวัล การกําหนดส่วนแบ่ง ในระหว่างผู้มีสิทธิหลายราย และการ
จ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกําหนด

บทกาหนดโทษ
มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทําความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่
ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทและปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

๑๓
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

มาตรา ๑๓ ผู้ใดขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม


มาตรา ๗ (๔) หรือมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๔ ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑)
(๒) หรือ (๓) หรือไม่ยอมตอบคําถามเมื่อซักถามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนและปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือ
การกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคล
ดัง กล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่ง การหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทํา
ความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ความในวรรคหนึ่ งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่ง ปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็น
ผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลด้วย
ตัวอย่างของพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุค คลซึ่ง ปรากฏพยานหลั กฐานว่ามี พฤติกรรมเป็นผู้รับผิด ชอบในการ
ดําเนินงานของนิติบุคคล เช่น เป็นผู้จัดให้มีการประชุม หรือเป็นผู้บรรยายบนเวทีชักชวนให้ประชาชนนําเงินมาลงทุน เป็น
ผู้ไ ด้ รั บ มอบหมายให้ ดู แ ลการเงิ น หรื อบั ญ ชี ก ารเงิ น ของนิติ บุ ค คล หรื อ มี ก ารติ ด ต่ อ ผู้ ให้ กู้ ร่ ว มลงทุ น โดยที่ต นเองได้
ผลประโยชน์ตอบแทน เป็นต้น
มาตรา ๑๕/๑ ผู้ใดต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ถ้าได้กระทําความผิดนั้นซ้ําอีกใน
ระหว่างรอการลงโทษหรือรอการกําหนดโทษอยู่กด็ ี หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี หากศาลจะพิพากษา
ลงโทษครั้งหลังก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ศาลกําหนดสําหรับความผิดครั้งหลัง

ลักษณะการกระทาความผิดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
และลงโทษทุกกระทงความผิด
นอกจากความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่ง พระราชกําหนดการกู้ยืม
เงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ แล้ว การกระทําดังกล่าวยังเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกง, ฉ้อโกงประชาชน ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ และ ๓๔๓ ด้วย โดยใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ลงโทษผู้กระทําความผิด ตาม
มาตรา ๙๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป มาตรา ๙๑(๒) แห่ง ประมวล
กฎหมายอาญา
หากเป็นกรณีขายตรง แต่มีลัก ษณะชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ ายในการประกอบธุ รกิจขายตรง ถือเป็ น
ความผิดตาม พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๑๙ กําหนดโทษจําคุกไม่เกิน ๕ ปี และปรับ
ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๔๖

๑๔
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

กระบวนการสอบสวนคดีกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
จนท.สศค.

ผู้เสียหาย จนท.ของรัฐ จนท.ตร.

พงส.

ร้องทุกข์ กล่าวโทษ

พนักงานสอบสวน

รวบรวมพยานหลักฐาน

พยานบุคคล ผู้ต้องหา พยานเอกสาร อื่น ๆ

ผู้เสียหาย เอกสารการลงทุน อายัดบัญชี

พยานที่ร่วมลงทุน ข้อความการชักชวน/สนทนา( Capture) รายงาน ปปง.

จนท.สศค. คําขอเปิดบัญชี/ Statement ให้ ปปง.วิเคราะห์


จนท.ธปท.(กรณี ม.๔ ว.สอง) (พร้อมขอไฟล์เอ็กเซลธุรกรรม/ATM) ธุรกรรมการเงิน

จนท.กลต.(กรณีลงทุนเงินดิจิทัล) ประกาศอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตรวจสอบความเป็นเจ้าของ

จนท.ธนาคาร(บัญชีที่เกี่ยวข้อง) เว็บไซด์,Facebook,Lines อื่นๆ

จนท.ตร.ผู้จับกุม บัญชีทรัพย์

สรุปสานวนการสอบสวน ฝากขังหรือประกัน

อัยการเศรษฐกิจและทรัพยากร/อัยการจังหวัด(แล้วแต่กรณี)

๑๕
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

แนวทางการสอบสวนผู้กล่าวหา, ผู้ต้องหา และพยาน


การตั้งประเด็นคาถาม
๑. ประเด็นสอบปากคาผู้กล่าวหา
๑.๑ ผู้ให้กู้ที่เป็นผู้เสียหายหรือผู้ลงทุน
- ทราบหรือรู้จักผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ต้องหาหรือผู้ชักชวน) ได้อย่างไร เมื่อไร บุคคลดังกล่าวมีอาชีพอะไร
- พบผู้กู้ยืมเงิน(ผู้ต้องหาหรือผู้ชักชวน) เมื่อใด ที่ไหน
- มีการประกาศโฆษณาต่อประชาชน หรือกระทําด้วยประการใด ๆ หรือใช้กลอุบายหลอกลวงด้วยการแสดง
ข้อความอันเป็นเท็จ และปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งอย่างไรบ้าง เช่นการแจ้งหรือแพร่ข่าวสาร การติ ดต่อ หรือ
การชักชวน ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สื่อมวลชน สื่อออนไลน์ แจกแผ่นพิมพ์
แผ่นพับ ใบปลิว นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือบรรยาย เป็นต้น (กรณีความผิดตามมาตรา ๔ วรรคสอง มีการให้พนักงาน
ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดําเนินการโฆษณาประกาศหรือชักชวนให้ลงทุน)
- มีการชักชวนให้นําเงิน หรือทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด ไปลงทุนในเรื่องใด แผนการลงทุนเป็นอย่างไร
แพคเกจอะไรบ้าง กําหนดเงินให้กู้หรือเงินลงทุนขั้นต่ําเท่าไร ตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนในอัตราเท่าไร ระยะเวลาการคืน
เงินต้นและจ่ายผลตอบแทน และเหตุใดจึงหลงเชื่อให้กู้ยืมเงินหรือร่วมลงทุน (กรณีความผิดตามมาตรา ๔ วรรคสอง เป็น
การซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดบ้าง หรือเป็นการเก็งกํา ไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตรา
แลกเปลี่ยนเงินหรือไม่ อย่างไร)
- มีการลงทุนกี่ครั้ง แต่ละครั้งเป็นเงินเท่าไร มีการจ่ายเงินให้กับใคร หากโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว ได้โอนเงินจาก
บัญชีธนาคารและสาขาใด เลขที่บัญชีใด ใครเป็นเจ้าของ ไปเข้าบัญชีธนาคารและสาขาใด เลขที่บัญชีใด ใครเป็นเจ้าของ
บัญชี ทํารายการที่ธนาคารหรือตรงบริเวณใด หรือหากจ่ายหรือมอบเป็นเงินสด มีการกระทําที่ไหน และมีพยานรู้เห็น
หรือไม่ (สถานที่และวันเวลาเกิดเหตุ)
- มีการคืนเงินต้นและ/หรือจ่ายผลตอบแทนโดยวิธีการใด จ่ายโดยวิธีอะไร หากเป็นการโอนเข้าบัญชีแล้ว มีการ
โอนเงินมาจากบัญชีใด และเข้าบัญชีใด
- เคยได้รับผลตอบแทนกี่ครั้ง แต่ละครั้งเป็นเงินเท่าไร
- เหตุที่มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใด (กรณีธุรกิจยกเลิก, ปิดเว็บไซด์,
ไม่สามารถติดต่อผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ชักชวนได้) ผู้กู้เงินหรือผู้ต้องหาหรือผู้ชักชวนมีการแก้ไขปัญหา หรืออ้างเหตุผลใด
๑๖
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

- ได้รับความเสียหายเท่าไร (หักผลตอบแทนที่ เคยได้รับแล้ว ) พร้อมทําบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้าย และบัญ ชี


ทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืน
- มีการจัดการบรรยายหรือชักชวนหรือชี้ชวนที่ไหน เมื่อใด เคยเข้าร่วมหรือไม่ กี่ครั้ง แต่ละครั้งใครเป็น ผู้บรรยาย
และเชิญไปบนเวทีบ้าง
- ทราบเครือข่ายผู้กู้ยืมเงินหรือกลุ่มผู้ต้องหาหรือไม่ หากทราบแล้วมีการแบ่งหน้าที่กันทําอย่างไร หรือแต่คนมี
หน้าที่หรือบทบาทใดบ้าง
- ทราบหรือรู้จักแอดมิน (Admin) เว็บไซด์หรือไม่ ใครเป็นเจ้าของ และส่งมาจากที่ใด(หากทราบ)
- ผู้ให้กู้หรือผู้เสียหายนําเงินจากแหล่งใดมาให้กู้ยืมเงินหรือร่วมลงทุน มีการใช้ชื่อบุคคลอื่นลงทุนหรือไม่ เพราะ
เหตุใด เกี่ยวพันกันในฐานะใด
- เคยชักชวนผู้อื่นมาลงทุนด้วยหรือไม่ ผู้ต้องหาหรือผู้กู้ ยืมเงินตกลงจะให้ค่าแนะนําเท่าไร หากสามารถแนะนํา
ผู้ลงทุนรายอื่นมาร่วมลงทุนเพิ่มเติมได้ ได้รับค่าแนะนําอัตราเท่าไร เคยได้รับเป็นเงิน เท่าไร จ่ายโดยวิธีอะไร หากเป็นการ
โอนเข้าบัญชีแล้ว มีการโอนเงินมาจากบัญชีใด และเข้าบัญชีใด และเคยชักชวนผู้ใดบ้าง เกี่ยวข้องกันในฐานะใด
- ประสงค์จะดําเนินคดีกับบุคคลใดบ้าง ข้อหาใด
- ขอทราบอายุ ตําหนิรูปพรรณ ที่อยู่ของผู้ต้องหา (กรณีผู้ต้องหาหลบหนี)
- มีเอกสารหรือหลักฐานใดมอบให้หรือไม่ เช่น สลิปโอนเงินผ่านอินเทอร์เนตแบงกิ้ง ใบฝากโอนเงิน การติดต่อ
พูดคุยและการโพสต์ข้อความชักชวนการลงทุน แผนการตลาด ผ่านไลน์ ส่วนตัว หรือกลุ่ม หรืออิน บ๊อกซ์ messenger
และรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีของผู้เสียหายที่ระบุรายการโอนเงินไปยังผู้ต้องหาหรือบุคคลอื่น เป็นต้น
- เคยแจ้งความร้องทุกข์หรือมอบอํานาจให้ผู้อื่นไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนใดมาก่อนหรือไม่
หมายเหตุ ให้จัดทําตารางลงทุนและค่าตอบแทนที่ได้รับให้ผู้เสียหายลงนาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แล้วให้
เจ้าหน้าที่สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และพนักงานสอบสวนลงนามรับรองด้วย
ตัวอย่างสลิปโอนเงินผ่านอินเทอร์เนตแบงกิ้งที่ให้ผู้เสียหายพิมพ์ออกมาเป็นพยานหลักฐาน

๑๗
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างตารางการลงทุน
ตารางการลงทุนของนาย/นาง/นางสาว.........................ผู้กล่าวหา แผ่นที่

ผู้กล่าวหา ว/ด/ป เงินที่ เงินคืน ค่าตอบแทน จานวน อัตรา ส่งเงิน ว/ด/ป จานวน
ลงทุน วันที่ ร้อยละ ครั้งที่ เงิน
ที่ลงทุน เวลาที่ส่ง
ลงทุน ต่อปี
เงิน

๒๘/๑๐/๕๕ ๑๗๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ ๒๓๐,๐๐๐ ๒,๕๕๕ ๑๙.๓๓ ๑ ๓๐/๙/๕๕ ๑๗๐,๐๐๐

๒/๘/๕๕ ๑๖๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ ๒๔๐,๐๐๐ ๒,๕๕๕ ๒๑.๔๓ ๒ ๒/๘/๕๘ ๑๖๐,๐๐๐


ข้าฯ ได้รับความเสียหาย ๓๓๐,๐๐๐

ลงชื่อ...............................................ผู้กล่าวหาที่.....

ลงชื่อ...............................................เจ้าหน้าที่เศรษฐกิจการคลัง

ลงชื่อ...............................................พนักงานสอบสวน/บันทึก

๑๘
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

๑.๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- รับราชการอยู่ที่ใด มีตําแหน่งหน้าที่ใด อย่างไร
- เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร (เชื่อมโยงมาถึงการเข้ามาเป็นผู้กล่าวหาในคดี)
- เกี่ยวกับคดีนี้ได้รับแจงเหตุเมื่อใด จากใคร หรือได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาเมื่อใด อย่างไร
- เริ่มทําการสืบสวนหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อใด และผลการดําเนินการเป็นอย่ างไรบ้าง (มีการประกาศ
โฆษณาต่อประชาชน หรือกระทําด้วยประการใด ๆ หรือใช้กลอุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ และ
ปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งอย่างไรบ้าง เช่นการแจ้งหรือแพร่ข่าวสาร การติดต่อ หรือการชักชวน ไม่ว่าจะเป็น
การโฆษณาในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สื่อมวลขน สื่อออนไลน์ แจกแผ่นพิมพ์ แผ่นพับ ใบปลิว นิตยสาร
สื่อสิ่ง พิมพ์ หรือบรรยาย เป็นต้น (หากเป็นความผิดตามมาตรา ๔ วรรคสอง มีการให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใด
ดําเนินการโฆษณาประกาศหรือชักชวนให้ลงทุน และได้มีการตรวจสอบไปที่ ธปท.หรือไม่) และมีการชักชวนให้นําเงินหรือ
ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด ไปลงทุนในเรื่องใด แผนการลงทุนเป็นอย่างไร แพคเกจอะไรบ้าง กําหนดเงินให้กู้หรือ
เงินลงทุนขั้นต่ําเท่าไร ตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนในอัตราเท่าไร ระยะเวลาการคืนเงินต้นและจ่ายผลตอบแทน และมีการ
จ่ายค่าแนะนําหรือไม่ อย่างไร)
- พบสาเหตุการกระทําความผิดและผู้กระทําความผิดหรือไม่ อย่างไร หากพบแล้วเป็นความผิดอาญาในเรื่อง
ใดบ้าง
- สามารถคํานวณอัตราดอกเบี้ยได้ร้อยละเท่าไรต่อปี
- มีบุคคลใดบ้างที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์หรือทราบข้อเท็จจริง
- มีผู้เสียหายเบื้องต้นกี่ราย
- ได้มีการรายงานข้อเท็จจริงที่ได้ต่อผู้บังคับบัญชาเมื่อใด ผลเป็นประการใด
- เหตุเกิดที่ไหน เมื่อใด
- เคยรู้จักหรือมีเรื่องโกรธเคืองกับผู้ตอ้ งหาหรือบุคคลใดในคดีนี้มาก่อนหรือไม่
๒. ประเด็นการสอบสวนผู้ต้องหา
เริ่มต้นด้วยการแจ้งสิทธิ และแจ้งข้อเท็จจริง ข้อกล่าวหา
- ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ
- ผู้ต้องหารู้จักผู้ให้กู้หรือผู้เสียหายได้อย่างไร เป็นเวลานานเท่าไร

๑๙
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

- ได้มีการชักชวนผู้เสียหายมาบลงทุนหรือไม่ เหตุใดจึงชักชวน เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนใด


- ผู้ต้องหาได้บอกผู้เสียหายว่าอย่างไร แผนการลงทุนโดยละเอียด ตลอดจนข้อความที่หลอกลวงด้วยการแสดง
ข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกแจ้งชัด เมื่อวันเวลาใด ที่ใด ในขณะนั้นมี ใครอยู่บ้าง
- ผู้ต้องหาเอาทรัพย์สินสิ่งใดไปจากผู้เสียหายบ้าง ราคาเท่าใด รวมเท่าใด เมื่อวันเวลาใด ที่ใด
- ผู้เสียหายมอบเงินสดหรือโอนเงินผ่านบัญชีของผู้ต้องหา หากเข้าบัญชีแล้วเป็นบัญชีใด ธนาคารและสาขาใด
หลังจากผู้เสียหายโอนเงินให้แล้ว ได้มีการถอนเงินหรือโอนเงินออกจากบัญชีหรือไม่ มีการส่งมอบเงินให้ผู้ใดบ้าง โดย
วิธีการใด
- มีปัญหาในเรื่องใด เมื่อใด เหตุใดจึงเกิดปัญหาขึ้นมา มีการแก้ไขอย่างไร
- มีการชักชวนบุคคลใดมาลงทุนบ้าง
– ใครเป็นผู้จัดทําเว็บไซด์หรือแอดมิน(admin)
- นําเงินรายได้จากแหล่งใดมาจ่ายให้กับผู้ให้กู้ยืมเงิน (ผู้เสียหายหรือผู้ลงทุน) เป็นธุรกิจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
- ประวัติส่วนตัวพอสังเขป
- ถูกจับกุมเมื่อใด ที่ใด หรือมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนด้วยเหตุใด
- เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อนหรือไม่
ฐานความผิด กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และฉ้อโกงประชาชน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงิน
ที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มาตรา ๔,๕,๑๒ และประมวลกฎหมาย มาตรา ๓๔๑, ๓๔๓ วรรคแรก
สําหรับผิดฐาน นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๑๔ (๑) กรณีต้องปรากฏหลักฐานว่าผู้ต้องหาเป็นผู้นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็น
เท็จ
๓. ประเด็นการสอบสวนพยาน
๓.๑ พยานผู้ลงทุนหรือรู้เห็นเหตุการณ์
- ทราบรู้จักผู้ต้องหา(ผู้กู้ยืมเงิน/ผู้บรรยาย/ผู้ชักชวน) หรือผูเ้ สียหายในคดีนี้ได้อย่างไร รู้จักกันมานานเท่าใด ใน
ฐานะใด
- ทราบหรือรู้เห็นการที่ผู้ต้องหาชักชวนให้ผู้เสียหายนําเงินไปให้ผู้ต้องหากู้ยืมเงินหรือลงทุนกับผู้ต้องหาหรือไม่

๒๐
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

- ทราบแผนการลงทุนหรือไม่ ขอทราบรายละเอียด
- ได้มีการลงทุนกับผู้ต้องหาหรือไม่ อย่างไร
- เหตุใดจึงไม่ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับผู้ต้องหา (หากได้รับการชดใช้เงินคืน แล้ว ได้คืนให้
เมื่อใด คืนเงินโดยวิธีใด จํานวนเงินเท่าไร มีเงื่อนไขอย่างไร)
- เคยไปฟัง การบรรยายแผนการลงทุน หรือ ไม่ หากเคยแล้ว ไปที่ไ หนบ้ าง เมื่ อใด ใครชัก ชวน บุ คคลใดเป็ น
ผู้บรรยาย มีผู้ร่วมรับฟังมากน้อยเท่าไร และมีคนมาพูดจาชักชวนหรือยุยงให้ร่วมลงทุนหรือไม่ อย่างไร
- เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ต้องหาในคดีนี้หรือไม่
๓.๒ พยานเจ้าหน้าที่สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
- พยานมีตําแหน่งหน้าที่ใด
- พยานเกี่ยวข้องกับคดีนี้ในฐานะใด (ได้รับมอบหมายจากสํานักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน
สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ให้มาให้การเป็นพยาน)
- ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ เกี่ยวข้องกับพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.
๒๕๒๗ หรือไม่ อย่างไร
- สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยสูง สุด
สําหรับผู้ให้กู้ยืมไว้อย่างไร ตามกฎหมายหรือประกาศใดบ้าง
- ในช่วงเกิดเหตุมีสถาบันการเงินใดบ้างที่ได้ประกาศอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่ อาจคิดให้ผู้ให้กู้ยืมได้ และมีการคิด
อัตราดอกเบี้ยเท่าไร
- ขอทราบแนวทางการคิดคํานวณอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราเท่าใด และอัตราดังกล่าวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่
สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้หรือไม่
- ขอทราบว่าพฤติการณ์ของผู้ต้องหาในคดีนี้เข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ หรือไม่ อย่างไร
- มีเอกสารใดหรือสิ่งใดมอบให้พนักงานสอบสวนหรือไม่ อย่างไร
- เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ต้องหาในคดีนี้หรือไม่
๓.๓ พยานเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์
๒๑
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

- พยานมีตําแหน่งหน้าที่ใด
- พยานเกี่ยวข้องกับคดีนี้ในฐานะใด
- บัญชีเงินฝากธนาคาร……………….สาขา……………………เลขที่บัญชี…………………………… เปิดบัญชีในชื่อ
ของใคร ให้ที่อยู่ไว้ที่ไหน เปิดเมื่อใด มีเงื่อนไขการเปิดบัญชีอย่างไร
- บัญชีปิดแล้วหรือไม่ ครั้งสุดท้ายเหลือเงินในบัญชีเท่าไร
- ขอทราบว่าเมื่อวันที่..........เดือน.............พ.ศ...........มีรายการโอนเงินจํานวน...............บาท มาเข้าบัญชีเงิน
ฝากของผู้ต้องหาหรือไม่ หากมีแล้วได้มีการโอนมาโดยวิธีการใด อย่างไร แล้วมีการถอนเงินออกจากบัญชีหรือไม่ ถอนโดย
วิธีการใด เป็นเงินเท่าไร หากโอนเงินเข้าบัญชีแล้วได้โอนเข้าบัญชีธนาคารใด สาขาใด เลขที่บัญชีเท่าไร จํานวนเงินเท่าไร
อย่างไร
- มีเอกสารใดหรือสิ่งใดมอบให้พนักงานสอบสวนหรือไม่ อย่างไร
- เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ต้องหาในคดีนี้หรือไม่
การจัดทาหนังสือ

• ออกหมายเรียกพยานไปที่ธนาคาร เกี่ยวกับบัญชีที่ผู้เสียหายโอนเงินลงทุนไป เพื่อขอรับสําเนาคําขอเปิดบัญ ชี


รายการทางบัญชีช่วงเกิดเหตุ พร้อมขอคัดข้อมูลการรายการเดินบัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์เอ็กเซล
(เอกสารและแผ่นซีดี) และสอบปากคําพนักงานธนาคาร ประกอบเอกสารที่ได้รับตามรูปคดี

• ทําหนังสือตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่าย ไปที่ สํานักงานเศรษฐกิจการ


คลัง (สศค.) เพื่อขอสอบปากคําเจ้าหน้าที่ว่าในช่วงเกิดเหตุมีสถาบันการเงินใดประกาศให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดแก่
ผู้ให้กู้ยืม แผนการลงทุนดังกล่าวเข้าลักษณะกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ และคํานวณผลตอบแทน
ที่ได้รับเป็นอัตราร้อยละต่อปี พร้อมขอรับเอกสารประกอบ

• ทําหนังสือรายงานแบบรายงานตามระเบียบสํานั กนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔

• ขอความร่วมมือจากสํานักงาน ปปง.วิเคราะห์ธุรกรรมทางบัญ ชีธนาคารที่ไ ด้รับ เพื่อให้วิเคราะห์ธุรกรรมทาง


การเงิน ติดตามร่องรอยทางการเงินไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง

๒๒
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

คดีตัวอย่าง

๑. แชร์เช็ค

เป็นชักชวนให้นําเงินมาลงทุนซื้อขายลดเช็คล่วงหน้ากับบริษัท กําหนดเงินลงทุน ๑๐,๐๐๐ บาท ตกลงว่าจะจ่าย


ผลประโยชน์ตอบแทนร้อยละ ๔ ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ ๒๐๘ ต่อปี ซึ่งเป็นจํานวนเงินที่สูงมากจนมีผู้หลงเชื่อนําเงินไป
ร่วมลงทุนด้วยหลายราย

๒. เก็งกาไรซื้อขายทองคา

เป็นการชักชวนประชาชนให้นําเงินมาลงทุนเก็งกําไรซื้อขายทองคําที่มีการขึ้นลงตามราคาตลาดโลก อ้างว่าเป็น
บริษัทในประเทศอังกฤษ และจดทะเบียนและได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายในการทําธุรกรรมทางการเงินการซื้อ
ขายหลักทรัพย์ด้วย กําหนดแผนลงทุนด้วยการเปิดพอร์ตคนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ประมาณ ๕,๗๑๔ ดอลลาร์สหรัฐ ให้
ลูกค้าทําบันทึกข้อตกลง แล้วให้เหยื่อโอนเงินลงทุนไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหา ได้รับรหัสชื่อผู้ใช้(username) และ
รหัสเข้าออก(password) เพื่อใช้ล๊อกอิน (log-in)เข้าไปลงทุนใน www.famarket.com ในระยะแรกเหยื่อมักมีกําไรแต่
หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มขาดทุนจนถึงระดับที่ต้องเพิ่มเงินลงทุนเพิ่มเติมหากต้องการที่จะทําการซื้อขายต่อไป แต่หากไม่
ต้องการลงทุนแล้วก็จะริบเงินที่เหลือไปโดยไม่คืนให้

๓. หลอกลงทุนซื้อสินค้าออนไลน์

บริษัท อ. ประกาศโฆษณาชักชวนแนะนําผู้ลงทุนว่าเป็นการลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจการสร้างรายได้ผ่านทางระบบ
ออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ และรายได้จากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีการจัดสัมมนาแนะนําและชักชวน
ผู้ลงทุนตามโรงแรมและสถานที่ต่าง ๆ กําหนดแผนลงทุนหลายแบบเช่น ลงทุน ๒ สตาร์ เท่ากับ ๑,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ
เท่ากับ ๓๕,๐๐๐ บาท ได้ยูพอย ๑,๐๐๐ (แต่ถ้าร่วมลงทุนในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ จะได้โปรโมชั่น ๑๐ เท่า เท่ากับ
๑๐,๐๐๐ ยูพอย) สามารถนําไปซื้อค่าตัวกลางของการลงทุ นเพื่อนําไปซื้อของที่กําหนดไว้ได้ หากผู้ลงทุนต้องการได้
ผลตอบแทนเพิ่มต้องมีการแนะนําชักชวนผู้อื่นให้เข้ามาในสายการลงทุนของตน ก็จะได้รับผลตอบแทนเพิ่ม ๑๐% ใน
ระยะแรกพวกมีการจ่ายผลตอบแทนให้ตามที่กําหนด แต่ต่อมาเกิดปัญหาผู้ลงทุนไม่สามารถเข้าเว็บไซด์แล้วพบว่าได้มีการ
ปิดตัวลง

๒๓
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

๔. หลอกลงทุนซื้อหุ้นทองคา

กลุ่มคนร้ายได้ประกาศชักชวนให้ร่วมลงทุนในหุ้นทองคํา โดยอ้างว่าเป็นของบริษัท VC กําหนดหุ้น ๆ ละ ๑.๕๐


ดอลลาร์สหรัฐ ลงทุน ๑,๐๐๐ หุ้น จะได้รับทองคําทุกเดือน ๆ ละ ๐.๑ ออนซ์ หรือมี ๒,๐๐๐ หุ้น จะได้ทองคํา ๐.๒
ออนซ์ คิดเป็นเงิน ๑.๕๕ ดอลลาร์สหรัฐฯ นําไปคูณกับอัตราแปรผัน ๑,๕๘๙ เท่ากับ ๓๑๙.๖ ดอลลาร์ฯ คิดอัตรา ๑
ดอลลาร์ ฯ ต่ อ ๓๒ บาท รวม ๑๐,๒๒๗ บาท อ้ า งว่ า จะได้ ปั น ผล และหากแนะนํ า สมาชิ ก มาสมั ค รเพิ่ ม ขึ้ น จะได้
ค่าตอบแทนเครดิต ๑๐% ของเงินลงทุนรายใหม่ กําหนดลงทุนขั้นต่ํา ๒,๐๐๐ หุ้น เมื่อครบ ๑ เดือน จะได้รับปันผลเป็น
รูปเครดิต ๑๐% ต่อเดือน (๑๒๐% ต่อปี) สามารถนําไปขายให้พวกผู้ต้องหา อัตรา ๓๒ บาท ต่อดอลลาร์ฯ จะได้รับรหัส
ผู้ใช้ (username) และรหัสเข้าใช้ (password) เพื่อเข้าไปตรวจสอบหุ้นและเครดิตที่ได้รับในเว็บไซด์ จ่ายปันผลด้วยการ
โอนเป็นทองคําในลักษณะเครดิต สามารถนําเครดิตทองคํามาขายได้ ต่อมาเลิกจ่ายเงินปันผลในแบบโกลด์ โดยอ้างว่า
บริษัท เวอร์จิ้นฯ กําลังเตรียมการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ จึงต้องมีการปิดปรับปรุง เปิดลงทุนแบบใหม่ เรียกว่า
แพลตตินัม (Platinum) ลงทุนทองคําขาว โดยอ้างว่าจะต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของหุ้น ต้องไปทํา
เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ สามารถมอบอํานาจให้ พวกผู้ต้องหาไปทําแทนได้ เสียค่าบริหาร ๓๐,๐๐๐ บาทต่อคน
ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่ได้รับคืนเงินต้นและหุ้นตามที่กล่าวอ้าง
๕. แชร์ออนไลน์

ผู้ต้องหา จัดตั้งกลุ่มเฟสบุ๊คชื่อ "Saba" ชักชวนเพื่อนและคนรู้จัก ส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง


เข้ามาเป็นสมาชิกชักชวนร่วมเล่นแชร์ที่ตนเองจัดให้มีการเล่นแชร์หรือเป็นนายวงแชร์จํานวน ๕๐ วง ผู้ต้องหากําหนดส่ง
เงินงวดและประมูลแชร์หรือเปียแชร์ทุกวันเช่น แชร์รายวัน , แชร์ราย ๒ วัน เป็นต้น และเงินทุนกองกลางต่ องวดทุกวง
รวมกัน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นการจัดเล่นแชร์เกินกว่าที่กฎหมายกําหนด นอกจากผู้ต้องหานี้ยังได้ชักชวนให้สมาชิกนํา
เงินมาลงทุนกับตนโดยอ้างว่าจะนําไปปล่อยกู้อีกต่อหนึ่ง เช่น หากลงทุนปล่อยกู้จํานวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ภายใน ๑๕ วัน
จะได้รับดอกเบี้ย ๑๕,๐๐๐ บาท เป็นต้น ซึ่งคดเป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าสถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายได้ ต่อมา
ผู้ต้องหาประกาศหยุดเล่นแชร์ โดยอ้างว่าตนเองถูกลูกหนี้โกงไม่ยอมจ่ายเงินคืน ซึ่ง จะขอคืนเงินให้บางส่วนแต่ก็เป็น
สัดส่วนที่น้อยมาก หลังจากนั้นผู้ต้องหาได้หยุดการจ่ายเงิน การกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.
๒๕๓๔ และ พ.ร.ก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

๒๔
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ตารางแสดงฐานความผิดและบทกาหนดโทษเกี่ยวกับความผิดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

มาตรา ฐานความผิด ระวางโทษ

พรก.การกู้ยืมเงินฯ กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน จําคุกตั้งแต่ ๕-๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๕๐๐,๐๐๐ -


มาตรา ๔, ๕ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทและปรับอีกไม่เกินวันละ
๑๐,๐๐๐ บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
ป.อาญา มาตรา ฉ้อโกง จําคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
๓๔๑ หรือทั้งจําทั้งปรับ

ป.อาญา มาตรา ฉ้อโกงประชาชน จําคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐


๓๔๓ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

พร.บ.ว่าด้วยการ นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ จําคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐


กระทําความผิดเกี่ยว โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
กับคอมพิวเตอร์ฯ
มาตรา ๑๔(๑)

พ.ร.บ.ขายตรงฯ - ประกอบธุรกิจขายตรงดําเนินกิจการในลักษณะที่เป็นการ จําคุกไม่เกิน ๕ ปี และปรับไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐


มาตรา ๑๙ ประกอบ ชักชวนใหบุคคลเขารวมเปนเครือขายในการประกอบธุรกิจ บาท
มาตรา ๔๖ ขายตรง

- ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงดําเนินกิจการในลักษณะที่
เป็นการ ชักชวนใหบุคคลเขารวมเปนเครือขายในการ
ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง

พ.ร.บ.ป้องกันและ มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จําคุก ๔-๑๕ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๘๐,๐๐๐-


ปราบปรามการมีส่วน ๓๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ร่วมมีส่วนร่วมใน
องค์กรอาชญากรรม
ข้ามชาติ ฯ มาตรา ๕
(๑)-(๔) ประกอบ
มาตรา ๒๕

๒๕
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

พ.ร.บ.ป้องกันและ ฟอกเงิน จำคุกตังแต่


้ ๑-๑๐ ปี หรื อ ปรับตังแต่
้ ๒๐,๐๐๐-
ปราบปรามการฟอก ๒๐๐,๐๐๐ บำท หรื อทังจ ้ ำทังปรั
้ บ
(มาตรา ๕ ผู้ใด
เงินฯ มาตรา ๕
(๑) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ
ประกอบมาตรา ๖๐ การกระทําความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของ
ทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือ
หลังการกระทําความผิดมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง
ในความผิดมูลฐาน หรือ
(๒) กระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออําพราง
ลักษณะที่แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจําหน่าย การโอน
การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด
(๓) ได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สิน โดยรู้ในขณะที่
ได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สินนั้นว่าเป็นทรัพย์สินที่
เกี่ยวกับการกระทําความผิด
ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฟอกเงิน)
พรก.การกู้ยืมเงินฯ ขัดขวาง ไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่ จําคุกไม่เกิน ๑ ปีและปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๔) หรือ
มาตรา ๘
พรก.การกู้ยืมเงินฯ - ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จําคุกไม่เกิน ๓ เดือนและปรับไม่เกิน ๓๐,๐๐๐
มาตรา ๑๔ ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) โดยไม่มีเหตุอันสมควร บาท
- ไม่ยอมตอบคําถามเมื่อซักถามต้องของพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) โดยไม่มีเหตุอันสมควร

พรก.การกู้ยืมเงินฯ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามพระราชกําหนดฉบับนี้เป็น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ


มาตรา ๑๕ นิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบ ด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีส่วนในการกระทํา
ในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ความผิดของนิติบุคคลนั้น
พรก.การกู้ยืมเงินฯ ผู้ใดต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตามมาตรา ๔ หรือ หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังก็ให้เพิ่มโทษที่
มาตรา ๑๕/๑ มาตรา ๕ ถ้าได้กระทําความผิดนั้นซ้ําอีกในระหว่างรอการ จะลงแก่ผู้นั้นอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ศาลกําหนด
ลงโทษหรือรอการกําหนดโทษ หรือภายในเวลา๕ ปีนับแต่ สําหรับความผิดครั้งหลัง
วันพ้นโทษ

พรก.การกู้ยืมเงินฯ กรณีคนต่างด้าวต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิด ให้เนรเทศผู้นั้นออกนอกราชอาณาจักรตาม


มาตรา ๑๕/๒ ตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ กฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ถ้าผู้นั้นจะต้องรับโทษ
ก็ให้รับโทษก่อน
๒๖
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ภาคผนวก

๒๗
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างหนังสือตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยสูงสุด

ที่ ตช ๐๐๒๖.๙๔/ กองกํากับการ ๔ ปราบปรามการ


กระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
ถนนสาทรเหนือ ขต ๑๐๕๐๐

มกราคม ๒๕๖๓

ื่ ขอตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายให้ได้

ียน ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

ด้วย นาง ก. กับพวก ผู้กล่าวหา ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กองกํากับการ ๕


ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง ให้ดําเนินคดีกับนาง พ. กับพวก รวม ๓ ราย ผู้ต้องหา
ในความผิดฐาน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมฉ้อโกงประชาชน ตามคดีอาญาที่ ..................
พฤติ ก ารณ์ โ ดยย่ อ เมื่ อ ประมาณต้ น ปี พ.ศ.๒๕๖๐ นาง พ.กั บ พวก ผู้ ต้ อ งหาได้ จั ด ตั้ ง กลุ่ ม เฟสบุ๊ ค
“Sayonara”แล้วชักชวนนาง ณ. กับพวก เข้ามาเป็นสมาชิก แล้วประกาศชักชวนสมาชิกนําเงินไปร่วมลงทุนปล่อยกู้
ให้กับบุคคลอื่น หากสนใจสามารถนําเงินมาร่วมลงทุนได้โดยล่อใจว่าจะจ่ายดอกเบี้ ยในอัตราที่สูงในลักษณะระดมทุนโดย
อําพรางว่าเป็นการเล่นแชร์ กําหนดวงละ ๖ มือ ๆ ละ ๕๐,๐๐๐ บาท มีเงื่อนไขว่ามือแรกนําเงินไปให้บุคคลอื่นกู้จํานวน
๒๔๐,๐๐๐บาท ผู้ต้องหาหัก ๑๐,๐๐๐ บาท จากนั้นอีก ๕ มือ ผู้ต้องหาจะจ่ายดอกเบี้ยมือแรก ๑,๕๐๐ บาท,มือที่ ๒
ได้รับดอกเบี้ย ๓,๐๐๐ บาท, มือที่ ๓ ได้รับดอกเบี้ย ๔,๕๐๐ บาท, มือที่ ๔ ได้รับดอกเบี้ย ๖,๐๐๐ บาท และมือที่ ๕
ได้รับดอกเบี้ย ๗,๕๐๐ บาท จ่ายทุก ๗ วันพร้อมเงินต้น และผู้ต้องหายังได้ชักชวนสมาชิกนําเงินไปลงทุนปล่อยกู้ กําหนด
ลงทุน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทน จํานวน ๑๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑๐ วัน โดยในการเล่นแชร์และลงทุน
ดังกล่าวผู้ต้องหาให้สมาชิกโอนเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จํากัด(มหาชน) เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๑๑๑๑-๑
จนเมื่อประมาณเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ผู้ต้องหาเริ่มมีปัญหาจ่ายเงินล่าช้า จนกระทั่งวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ ผู้ต้องหา
ได้ประกาศปิดห้องเฟสบุ๊คและหยุดการเล่นแชร์ โดยอ้างว่าตนเองถูกผู้อื่นโกงมาอีกที การกระทําดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้
ได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านบาทถ้วน)

๒๘
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

อาศัยอํานาจตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕๒, ๑๓๒(๓) และ ๑๓๓


พนักงานสอบสวน ประสงค์ที่จะขอความร่วมมือจากสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอัตรา
ดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายให้ได้ ตามประเด็นต่อไปนี้
๑. สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินได้กําหนดอัตราดอกเบี้ย
สูงสุดสําหรับผู้ให้กู้ยืมไว้อย่างไร ตามกฎหมายหรือประกาศใดบ้าง
๒. ในช่วงระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ ถึง วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๐ มีสถาบันการเงินใดบ้างที่ได้
ประกาศอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่อาจคิดให้ผู้ให้กู้ยืมได้ และมีการคิดอัตราดอกเบีย้ เท่าไร
๓. ขอทราบแนวทางการคิดคํานวณอัตราดอกเบี้ย
๔. ขอรับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อ ๑ และ ๒ เพื่อใช้ประกอบการสอบสวน
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนประสงค์ที่จะขอสอบปากคําเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องประกอบเอกสารที่ได้รับ โดยขอได้
โปรดมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปพบกับ พันตํารวจโท………………………………….. รองผู้กํากับการ(สอบสวน) กองกํากับการ ๕
ปราบปรามการกระทํา ความผิ ดเกี่ย วกั บ อาชญากรรมทาง ในวัน ที่… ……………………………..
เวลา……………นาฬิกา ณ กองกํากับการ ๕ ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ(อาคาร ๒ ชั้น ๗) หรือหากมีข้อขัดข้องประการใดกรุณาแจ้ง
ให้พนักงานสอบสวนทราบโดยตรง เพื่อจะได้นัดหมายกันอีกครั้งหนึ่ง
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ข น ื

พันต เอก
( )

ผู้กํากับการ ๕
กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง

โ …………………
โทรสาร…………….
พ.ต.ท……………………… (มือถือ……………………..)

๒๙
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

หมายเรียกพยานเอกสาร
สานักงานตารวจแห่งชาติ
สถานที่ออกหมาย กองกํากับการ ๔ กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิด
เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ถนนสาทรเหนือ เขตบางรัก
กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐
ออกหมาย เดือน พ.ศ.
ความอาญา
นาง ก. กับพวก ผู้กล่าวหา
คดีระหว่าง
นาง พ. กับพวก ผู้ต้องหา
อาศัยอํานาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗ มาตรา ๕๒, ๑๓๒(๓) และ ๑๓๓
หมายมายัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย จํากัด(มหาชน)
เลขที่ ๑ ซอยราษฎร์บูรณะ ๒๗/๑ ถนนราษฎร์บูรณะ ตาบล/แขวง ราษฎร์บูรณะ
อาเภอ/เขต ราษฎร์บูรณะ จังหวัด กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐
ด้วยเหตุ พนักงานสอบสวนประสงค์ที่จะขอตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จํากัด(มหาชน) ของบุคคลผู้มีรายชื่อ
ท้ายหมายเรียกพยานนี้ พร้อมกับขอคัดสําเนาคําขอเปิดบัญชีและเอกสารประกอบคําขอเปิด และรายการทางบัญชี
ระหว่าง………… (ช่วงเวลาเกิดเหตุ) และขอคัดข้อมูลการรายการเดินบัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์เอ็กเซล ผ่าน
อินเทอร์เน็ต K-Mobile และรายการทําธุรกรรมฝาก-โอนทางเอทีเอ็ม (เอกสารและแผ่นซีดี) ทั้งนี้ขอสอบปากคําเจ้าหน้าที่ที่
เกี่ยวข้องประกอบเอกสารที่ได้รับ
ฉะนั้นให้ ธนาคารกสิกรไทย จํากัด(มหาชน) จัดส่งเอกสารและแผ่นซีดี ตามที่ร้องขอ รวมทั้งขออายัดบัญชีดังกล่าวเพื่อ
ตรวจสอบ จนกว่าพนักงานสอบสวนจะได้มีหนังสือยกเลิก
ไป ณ ที่ กก.๔ บก.ปอศ. ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม.๑๐๕๐๐
ในวันที่ เดือน พ.ศ. เวลา นาฬิกา
(ลงชื่อ) พันตํารวจโท ผู้ออกหมาย
มีเหตุขัดข้องประการใดติดต่อ (………………..........................……………)
โทร. (ตาแหน่ง) รองผู้กํากับการ (สอบสวน) กองกํากับการ ๔
กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
๓๐
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ใบรับหมายตารวจ
วันที่…………..เดือน…………………………. พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา.....................นาฬิกา
ข้าพเจ้า……………………………………………..……………….ได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานตํารวจ………………….
ซึ่งกําหนดให้ข้าพเจ้าไปยัง…………………….…………………………...ในวันที่……เดือน…………………………..พ.ศ.๒๕๖๑
เวลา........................นาฬิกา ไว้แล้ว
(ลงชื่อ) ........................................................................................ผู้รับหมาย
ค. ๒๑–ต.๕๕๒ (ลงชื่อ) ........................................................................................ผู้ส่งหมาย

๓๑
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

รายการบัญชีเงินฝากแนบท้ายหมายเรียกพยานเอกสาร จานวน ๕ บัญชี ประกอบด้วย

๑. บัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี ………………………ของ นาง พ.


๒. บัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี ………………………ของ นาย จ.
๓. บัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี ………………………ของ นาง ง.
๔. บัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี ………………………ของ นาง ฟ.
๕. บัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี ………………………ของ นาย ม.

พันตํารวจโท

รองผู้กํากับการ (สอบสวน) กองกํากับการ ๔

กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

๓๒
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างหนังสือรายงานสานักงาน ปปง.

ที่ ตช ๐๐๒๖.๙/ ปราบปรามการกระทําความผิด-


เกี่ยวกับอาชญากรรมทาง ขต
๑๐๕๐๐

พฤษภาคม ๒๕๖๑

ื่ รายงานเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบ

ปรามการฟอกเงิน

ียน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
อ้างถึง ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๔๔
สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบฟอร์มรายงาน จํานวน ๓ แผ่น

ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีที่อ้างถึง กําหนดให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่หรือหน่วยงาน
ซึ่ง มี อํ า นาจหน้ า ที่ ทํา การสอบสวนที่ ไ ด้รั บ คํ า ร้ องทุ ก ข์ ห รื อคํ า กล่ า วโทษหรื อจั บ กุ ม ดํ า เนิ น คดี ใ นความผิ ดมู ล ฐานให้
ดําเนินการสืบสวนสอบสวนว่ามีหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําความผิดฐานฟอกเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินด้วยหรือไม่ หากปรากฏว่ามีการกระทําความผิดฐานฟอกเงินฐานใดฐานหนึ่งดังกล่าว
ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสืบสวนสอบสวนในความผิดฐานนั้น แล้วให้รายงานต่อสํานักงานป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง ขอรายงานว่าเมื่อวันที่
……………………….. นาง ณ. กั บพวก รวม ๑๒ ราย ผู้ กล่ าวหา ได้ร้ องทุก ข์ต่ อพนัก งานสอบสวน กองกํ ากั บการ ๕
ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง ให้ ดําเนินคดีกับนาง พ. กับพวก
ผู้ต้องหา ในความผิดฐาน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน คดีที่ .......................

๓๓
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

-๒-
ดังนั้น จึงขอรายงานการสอบสวนความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอก
เงิ น พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๔๔ ที่ มี เ หตุ อั น ควรเชื่ อ ว่ า มี ก ารกระทํ า ความผิ ด ฐานฟอกเงิ น รายละเอี ย ดปรากฏตาม
เอกสารแนบท้าย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา พร้อมแนบเอกสารมาท้ายนี้จํานวน…..แผ่น

ข น ื

นต เอก
(………………………………)
รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
ปฏิบัติราชการแทน ผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง

กองกํากับการ ๔
โ .

๓๔
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

แบบรายงาน

ใช้สําหรับ หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ หัวหน้าหน่วยงาน


๑. แบบรายงานตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔
กรณี ร้องทุกข์ กล่าวโทษ จับกุม ผู้ต้องหาชื่อ นาง พ.
อายุ…..ปี ไทย-ไทย อยู่บ้านเลขที่…………………………………………………………………..……………… (เลขประจําตัวประชาชน……………………)
หมายเลขหนังสือเดินทาง ……………………………… อื่น ๆ …………………………………………...
๒. ร้องทุกข์ กล่าวโทษ จับกุม เมื่อวันที่ …….......................…….
เดื อ น………………….พ.ศ.…………….…….เวลา…………..………น. พนั ก งานเจ้ า ของเรื่ อ งชื่ อ … …………………………………
ตําแหน่ง………………………………..โทร………………………….(มือถือ…………………………..) โทรสาร…………………….
๓. ของกลางหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดดังต่อไปนี้ (บอกรายละเอียดของกลางหรือทรัพย์สิน ฯ
อาทิ ประเภท ชนิด น้ําหนัก ขนาด จํานวน หรือราคา) …...-....................................
๔. พฤติ ก รรมของผู้ ต้ อ งหา/ความสั ม พั น ธ์ กั บ บุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้ อ ง/พฤติ ก รรมแห่ ง คดี ……………รายละเอี ย ดตาม
เอกสารแนบท้าย……….………………………………………………..............................
๕. การดําเนินการของพนักงาน หรือการสืบสวน หรือการสอบสวนอยู่ระหว่ างทําการสอบสวนอยู่ระหว่างทําการ
สอบสวน..............................................……..................................................
๖. ความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ ความผิดเกี่ยวกับ
การฉ้ อ โกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาหรื อ ความผิ ด ตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการกู้ ยื ม ที่ เ งิ น ที่ เ ป็ น การฉ้ อ โกง
ประชาชน………………………………………...............................
๗. พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย…….…………
๘. ความเห็นของพนักงานเจ้าของเรื่อง (เห็นควรดําเนินคดีในความผิดฐานฟอกเงินหรือดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน )
เห็นควรดําเนินคดีในความผิดฐานฟอกเงิน
๙. ความเห็นของหัวหน้าพนักงานสอบสวน/หน่วยงาน (เห็นควรดําเนินคดีในความผิดฐานฟอกเงินหรือดําเนินการ
เกี่ยวกับทรัพย์สิน) เห็นควรดําเนินคดีในความผิดฐานฟอกเงิน
พันตํารวจเอก
( )
รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
ปฏิบัติราชการแทน ผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
หมายเหตุ:- ให้ทําเครื่องหมาย / ใน ตามแบบนี้ สําหรับกรณีนั้น ๆ
หากไม่เติมคําในช่องว่างให้ขีดเส้น ( ) และหากคําที่จะเติมในช่องว่างมีมากให้ทําเป็น
๓๕
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

รายงานเอกสารแนบท้าย
๑. วันที่………………………. นาง ณ…………….. ผู้กล่าวหา ได้ร้องทุ กข์ต่อพนั กงานสอบสวน กองกํากับการ ๕
ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง ให้ดําเนินคดีกับนางพ.กับพวก รวม ๕
ราย ผู้ต้องหา ในความผิดฐาน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน คดีอาญาที่ ……….
พฤติ ก ารณ์ โ ดยย่ อ เมื่ อ ประมาณต้ น ปี พ.ศ.๒๕๖๐ นาง พ.กั บ พวก ผู้ ต้ อ งหาได้ จั ด ตั้ ง กลุ่ ม เฟสบุ๊ ค
“Sayonara”แล้วชักชวนนาง ณ. กับพวก เข้ามาเป็นสมาชิก แล้วประกาศชักชวนสมาชิกนําเงินไปร่วมลงทุนปล่อยกู้
ให้กับบุคคลอื่น หากสนใจสามารถนําเงินมาร่วมลงทุนได้โดยล่อใจว่าจะจ่ายดอกเบี้ ยในอัตราที่สูงในลักษณะระดมทุนโดย
อําพรางว่าเป็นการเล่นแชร์ กําหนดวงละ ๖ มือ ๆ ละ ๕๐,๐๐๐ บาท มีเงื่อนไขว่ามือแรกนําเงินไปให้บุคคลอื่นกู้จํานวน
๒๔๐,๐๐๐บาท ผู้ต้องหาหัก ๑๐,๐๐๐ บาท จากนั้นอีก ๕ มือ ผู้ต้องหาจะจ่ายดอกเบี้ยมือแรก ๑,๕๐๐ บาท,มือที่ ๒
ได้รับดอกเบี้ย ๓,๐๐๐ บาท, มือที่ ๓ ได้รับดอกเบี้ย ๔,๕๐๐ บาท, มือที่ ๔ ได้รับดอกเบี้ย ๖,๐๐๐ บาท และมือที่ ๕
ได้รับดอกเบี้ย ๗,๕๐๐ บาท จ่ายทุก ๗ วันพร้อมเงินต้น และผู้ต้องหายังได้ชักชวนสมาชิกนําเงินไปลงทุนปล่อยกู้ กําหนด
ลงทุน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทน จํานวน ๑๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑๐ วัน โดยในการเล่นแชร์และลงทุน
ดังกล่าวผู้ต้องหาให้สมาชิกโอนเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จํากัด(มหาชน) เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๑๑๑๑-๑
จนเมื่อประมาณเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ผู้ต้องหาเริ่มมีปัญหาจ่ายเงินล่าช้า จนกระทั่งวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ ผู้ต้องหา
ได้ประกาศปิดห้องเฟสบุ๊คและหยุดการเล่นแชร์ โดยอ้างว่าตนเองถูกผู้อื่นโกงมาอีกที การกระทําดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้
ได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านบาทถ้วน)จึงได้มาแจ้ง ความร้องทุกข์ต่อพนักงาน
สอบสวนให้ดําเนินคดีต่อไป

๒. เจ้าพนักงานตํารวจได้ทําการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา เมื่อวันที่……………………………ซึ่งได้
ทําการฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลอาญา และอยู่ระหว่างสรุปสํานวนการสอบสวน

พันตํารวจเอก
(…………………………..)
รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
ปฏิบัติราชการแทน ผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง

๓๖
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ที่ ตช ๐๐๒๖.๙๔/ ปราบปรามการกระทําความผิด-


เกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
ถนนสาทรเหนือ ขต ๑๐๕๐๐

มกราคม ๒๕๖๓

ื่ ขอตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน

ียน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ด้วย นาย ร. กับพวก ผู้กล่าวหา ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พนักงานสอบสวน กองกํากับการ ๔


ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง ให้ดําเนินคดี กับนาย ม. กับพวก
ผู้ต้องหา ในความผิดฐาน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และฉ้อโกงประชาชน ตามคดีอาญาที่ ...............
ปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง มีความประสงค์ที่จะ
ขอตรวจสอบบัญชีธนาคารต่าง ๆ การทําธุรกรรมทางการเงิน วิเคราะห์เส้นทางการเงิน และความเกี่ยวโยงทางการเงิน
ทรัพย์สินทั้งหมด และการได้มาของทรัพย์สิน ในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบันของบุคคล ดังต่อไปนี้
๑. นายม. (เลขประจําตัวประชาชน )
๒. บริษัท ธ. (ทะเบียนเลขที่ )
จึงเรียนมายังท่านเพื่อขอรับข้อมูล พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และหากมีเหตุขัดข้องเป็นประการใดกรุณา
แจ้งให้ทราบ พร้อมกับขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ข น ื
พันตํารวจเอก
(…………………………..)
รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
ปฏิบัติราชการแทน ผู้บังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง

๓๗
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

คาพิพากษาฎีกา

๓๘
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

คาพิพากษาฎีกาที่ ๘๘๖/๒๕๓๖
บริษัทจําเลยที่ ๑ มีจําเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นกรรมการจําเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๕ สองในสามคนลงลายมือชื่อร่ วมกัน
และประทับตราสําคัญของจําเลยที่ ๑ มีอํานาจกระทําการแทนจําเลยที่ ๑ ได้ จําเลยที่ ๑ โดยจําเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๕
ได้ประกาศชักชวนบุคคลทั่วไปให้ร่วมลงทุนกับจําเลยที่ ๑ จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๘
ต่อเดือน หรือร้อยละ ๙๖ ต่อปี ซึ่งมากกว่าที่สถาบันการเงินจะพึงให้ได้ การที่จําเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นกรรมการของจําเลยที่ ๑
ร่วมกับจําเลยที่ ๖ รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนําไปมอบให้จําเลยที่ ๑ รับผลประโยชน์จากจําเลยที่ ๑ มามอบให้กับผู้
ร่วมลงทุน โดยจําเลยที่ ๔ ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจําเลยที่ ๑ เป็นเงิน ๑ เปอร์เซ็นต์ ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วม
ลงทุน เป็นการที่จําเลยที่ ๔ และที่ ๖ กู้ยืมเงินตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗
แล้ว ไม่ใช่เป็นตัวแทนของผู้ร่วมลงทุน
ตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้ อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ มาตรา ๓ บัญ ญัติว่า "ผู้กู้ยืมเงิน "
หมายความว่า บุคคลผู้ทําการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญา
หรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย" แม้พระราชกําหนดจะได้บัญญัติไว้ดังกล่าว แต่การที่
จําเลยที่ ๔ และที่ ๖ ได้ร่วมดําเนินกิจการกับจําเลยที่ ๑ และได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจําเลยที่ ๔ และที่ ๖
ร่วมกับจําเลยที่ ๑ เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย ทั้งนี้เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้ แม้จําเลยที่ ๔
เป็นผู้เสียหายได้ร่วมกับพวกฟ้องจําเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๕ เป็นคดีอาญาต่อศาลในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและ
ความผิดตามพระราชกําหนดว่าด้วยการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ และเป็นโจทก์ฟ้องคดี
ล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจําเลยที่ ๔ และที่ ๖ ร่วมดําเนินกิจการกับจําเลยที่ ๑ อยู่นั่นเอง
พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจําเลยที่ ๔ และที่ ๖ ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และผิดต่อพระราชกําหนดการกู้ยืม
เงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ต่อศาลอาญา แม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจําเลยที่ ๖ แต่พนักงาน
อัยการโจทก์ยังได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คําพิพากษาดังกล่าวยัง
ไม่ถึงที่สุด จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจําเลยที่ ๖ ไม่ได้กระทําผิดตามพระราชกําหนดดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ของ
พระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๐ นั้น แม้ผู้กระทําผิดอยู่ในฐานะ
ผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย พนักงานอัยการก็มีอํานาจฟ้องผู้กระทําผิดดังกล่าวให้เป็น
บุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทําผิดได้กระทําผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอํานาจ
ฟ้องจําเลยที่ ๖ ให้ล้มละลายได้

๓๙
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

คาพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๗/๒๕๓๗
การที่จําเลยกับพวกชักชวนผู้เสียหายทั้งสิบคน และบุคคลอื่นให้นําเงินมาลงทุนกับบริษัท เพื่อประกอบกิจการ
สั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า เพื่อเก็งกําไรทั้งๆ ที่จําเลยรู้อยู่ว่าบริษัท อ.ไม่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการดังกล่าว และการ
ประกอบกิจการตามที่อ้างจะมีขึ้นไม่ได้แน่นอน การกระทําของจําเลยกับพวกจึง เป็นการหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบคน
และบุคคลทั่วๆ ไปไม่จํากัดว่าเป็นใครอันเป็นการหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิ ด
ข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยเจตนาทุจริต ทําให้ผู้เสียหายทั้งสิบคน หลงเชื่อมอบเงินให้แก่จําเลยกับพวกไป
จําเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๓ วรรคแรกและการกระทําของจําเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการกู้ยืมเงินตาม
พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๓ และเป็นการชักชวนว่าในการกู้ยืมเงินจําเลยหรือ
บริษัท อ. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้
กู้ยืมของสภาบันการเงินที่พึงจ่ายได้ โดยจําเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจําเลยหรือบริษัท อ. จะนําเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบ
คน หรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบคน หรือโดยที่จําเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจําเลยหรือบริษัท อ. ไม่
สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายดอกเบี้ยตาม
สัญญาได้ และเป็นเหตุให้จําเลยกับพวกหรือบริษัท อ. ได้กู้ยืมเงินไป จําเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา ๔,๑๒ แห่ง พ.ร.ก.
ดังกล่าวอีกบทหนึ่ง

คาพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๗๙/๒๕๓๙
บริ ษั ทมี เ จตนาเพี ยงจะเรี ยกเก็บ เงิ นประกั น การทํา งานจากประชาชน ผู้ ม าสมั ค รงาน โดยมี เจตนาแสวงหา
ผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วย กฎหมายสําหรับตัวกรรมการของบริษัทเอง หรือเพื่อบริษัทอันเป็นการ กระทําโดย
ทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วย แสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทํางาน แต่บริษัทหามีงาน
ให้ทําไม่ จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทํา
แต่ก็ยังร่วมดําเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทํางานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง แก่ประชาชนและ
ในการรับสมัครบุคคลเข้าทํางานดังกล่าวเป็นเหตุทําให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทํางานจาก
ผู้สมัคร การกระทําของจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๓๔๑, ๓๔๓ วรรคแรก
การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทํางานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ ๓๐ หุ้น เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท มีลักษณะเป็น
การรับเข้าร่วมลงทุนและได้ มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงิน ค่าครองชีพเดือนละ
๑๓๕ บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ มาตรา ๓
เมื่ อบริษั ท จัด ให้ มีผู้ รั บเงิน ในการรับ สมั ค รงานที่มิ ช อบ หรือ จ่ ายหรื อตกลงหรื อจะจ่า ยผลประโยชน์ต อบแทนให้ แ ก่
ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกําหนดดังกล่าว และในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
เดือนละ ๑๓๕ บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ ๕๔ ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบัน
การเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็น การกระทําผิดตามมาตรา

๔๐
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

๕ แห่งพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ เมื่อจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นผู้ร่วมรับเงินที่


ผู้เสียหายได้นํามาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น
การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๕ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๔ ผู้หลอกลวงต้องประสงค์
ต่อผลคือการทํางานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้
ค่าแรงงานต่ํากว่าที่ตกลงกัน การกระทําของจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ ที่ได้กระทําในนามของบริษั ท โดยอ้างว่ามีงานให้ทําก็ดี
การรับผู้เสียหายเข้าทํางานก็ดี การคืนเงินประกันการทํางานเมื่อครบกําหนด ๖ เดือน แล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้ง
เรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้แสดงว่าจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงิน
แก่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทํางาน เพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทํา ที่จําเลยที่ ๑
และที่ ๒ จัดให้มีการทํางานในช่วงแรกๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังก็
ไม่มีงานให้ทําและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิให้เป็นการกระทําเพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๓๔๔ ไม่มีความผิดตามมาตรานี้

คาพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๗๑/๒๕๔๐
จําเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาได้ร่วมกับบริษัทจําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นนิติบุคคล ทําการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกง
ประชาชน แม้จําเลยที่ ๓ จะมิใช่กรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนจําเลยที่ ๑ และมิได้ลงนามในสัญญา
หรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของจําเลยที่ ๑ จําเลยที่ ๓ ก็เป็นผู้กู้ยืมเงินตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น
การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๓ เช่นกันและต้องถือว่าจําเลยที่ ๓ เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานของ
จําเลยที่ ๑ ด้วย เมื่อจําเลยที่ ๓ เป็นผู้ต้องหาว่ากระทําความผิดตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ และ ๕ แม้จะยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลเพราะหลบหนีไป โจทก์ก็ฟ้องขอให้จําเลยที่ ๓ เป็น
บุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกําหนดดังกล่าวมาตรา ๑๐

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๒๗๓/๒๕๔๖
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความจากผู้เสียหายว่า จําเลยทั้งสี่เป็นผู้ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนว่าในการ
กู้ยืมเงินของสมาชิกนั้น บริษัท ค. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูง กว่าอัต ราดอกเบี้ยสูง สุ ดที่สถาบันการเงินตาม
กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ การกระทําของจําเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ
ลูกจ้างของบริษัท ค. สามีของจําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติใส่ชื่อจําเลยที่ ๑ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ค. แทน ก่อนจําเลยที่
๑ จะถอนชื่อออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ค. จําเลยที่ ๑ ไม่ทราบการดําเนินการของบริษัท ค. จึงฟังได้ว่า การ
ลงทุนของผู้เสียหายมิได้เกิดจากการโฆษณาหรือประกาศชักชวนของจําเลยทั้งสี่โดยตรง จําเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตาม
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ , ๑๒

๔๑
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๐๑/๒๕๔๗
จําเลยที่ ๑ ไม่ไ ด้นํ าเงินที่ กู้ยื มจากโจทก์ร่ วมและผู้เ สีย หายไปลงทุน หรือ ให้ บุค คลอื่ นกู้ ยืม ในลักษณะที่จ ะให้
ผลประโยชน์มากเพียงพอที่จะนํามาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายได้ หากแต่การจ่ายผลประโยชน์
เป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายในครั้งแรกๆ เป็นเพียงอุบายทุจริตตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงโจทก์
ร่วมและผู้เสียหายให้หลงเชื่อและส่งมอบเงินให้ การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และการที่จําเลยกู้ยืม
เงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายโดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๐ ต่อเดือน และร้อยละ ๒๐
ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ
สถานบันการเงินจะพึงจ่ายได้ จึงเป็นความผิดตามมาตรา ๕ แห่งพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ
ด้วย

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๐๑/๒๕๔๗
พฤติกรรมที่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันประกอบกิจการในชื่อบริษัท ว. จํากัดประกาศโฆษณาต่อประชาชนทั่วไปรับ
สมัครสมาชิกไวท์โฮปกรุ๊ป และเรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ ๓,๐๐๐ บาท โดยรู้อยู่แล้วว่าบริษัท
ไม่ได้ประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะมีผลประโยชน์มาปันให้แก่สมาชิกได้ตามใบประกาศตารางผลประโยชน์แห่ง
สมาชิก จึงเป็นการร่วมกันกระทําผิดโดยการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควร
บอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินค่าสมัครสมาชิกรายละ ๓,๐๐๐ บาท จากผู้ถูกหลอกลวง
หรือบุคคลที่สาม อันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๓ วรรคแรก และการที่จําเลยที่ ๑
และที่ ๒ เรียกเก็บเงินจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ ๓,๐๐๐ บาท โดยมีเงื่อนไขในการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเฉพาะแก่
ผู้เป็นสมาชิกว่า หากสมาชิกผู้ใดหาสมาชิกใหม่มาสมัครได้ ๖ คน จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงินไปดาวน์รถจักรยานยนต์
จํานวน ๖,๐๐๐ บาท ทั้งจะได้รับเงินตอบแทนจากการหาสมาชิกใหม่รายละร้อยละ ๒๕ ของเงินค่าสมัคร และหาก
สมาชิกใหม่หาสมาชิกมาสมัครได้ต่อๆ ไป สมาชิกเดิมก็ยังจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจํานวนลดหลั่นไปตามใบ
ประกาศตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกนั้น เป็นการประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น
ให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กําหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่าถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีก
หลายคนเข้าร่วมต่อๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกําไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ดังที่บางคน
เรียกกันว่าแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเพื่อคํานวณตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกแล้ว จะเห็นได้ว่าหากผู้เป็นสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไข
สามารถชักจูงบุคคลอื่นมาเข้าร่วมได้ต่อๆ ไป สมาชิกรายต้นๆ จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอันตราดอกเบี้ยสูงสุดที่
สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้หลายเท่า แต่หากการดําเนินการ
มิได้เป็นไปตามคําชักจูงก็จะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อมาสมัครรายหลัง พฤติการณ์ที่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒
เรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกและผลประโยชน์ตอบแทนที่จําเลยที่ ๑ จ่ายให้แก่สมาชิกในเงื่อนไขตาม
ตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกดังกล่าว ต้องตามความหมายของบทนิยามคําว่า "กู้ยืมเงิน" และ "ผลประโยชน์ตอบแทน"
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา ๓ และเมื่อมีประชาชนหลงเชื่อเข้า

๔๒
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

สมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามที่จําเลยที่ ๑ ประกาศโฆษณามีจํานวนมากกว่าตั้งแต่สิบคนขึ้นไป โดยมีจํานวนรวม


๓๙๔ คนตามบัญชีรายชื่อผู้เสียหาย วันเวลาและจํานวนเงินที่จําเลยได้รับไปจากเสียหาย การกระทําของจําเลยที่ ๑ และ
ที่ ๒ จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
มาตรา ๔ ด้วย จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงมีความผิดตามฟ้องโจทก์
แม้จําเลยที่ ๑ จะประกาศโฆษณาเพียงครั้งเดียวในคราวเดียว แต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังยุติว่าในระหว่างวันเวลาและ
สถานที่เกิดเหตุตามฟ้องนั้น มีผู้เสียหายซึ่งหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามประกาศโฆษณาของจําเลย
ที่ ๑ มีจํานวน ๓๙๔ คน โดยจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้รับเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกจากผู้เสียหายจํานวนดังกล่าวรายละ
๓,๐๐๐ บาท ไปโดยทุจริต ซึ่งความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละรายเป็นการกระทําที่แยกออกจากกันได้ การกระทําของจําเลย
ที่ ๑ และที่ ๒ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน รวม ๓๙๔ กระทง ศาลย่อมลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิ ดไปได้
ตาม ป.อ. มาตรา ๙๑ จําเลยที่ ๒ กระทําความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา ๔ มีโทษ
ตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี รวม ๓๙๔ กระทง เป็นกรณีความผิดกระทงที่
หนักที่สุด มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทําผิดทุกกรรมเป็น
กระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจําคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินยี่สิบปีตาม ป.อ.มาตรา ๙๑ (๒) ดังนั้น ที่
ศาลชั้นต้นลงโทษจําคุกจําเลยที่ ๒ มีกําหนด ๒๐ ปี ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจลงโทษให้เบาลงอีกได้

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๘๘๓/๒๕๕๐
ความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ เป็นบทบัญ ญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจาก
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. ดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของ พ.ร.ก. บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการ
กู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนไว้ และบัญญัติคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง
และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยได้กําหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอํานาจใช้มาตรการดัง กล่าวนั้นได้ ทั้ง นี้เพื่อให้เสร็จเด็ดขาดไปทันที ดัง นั้น
ความผิดตาม พ.ร.ก. นี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรงและมีอํานาจฟ้องคดีได้
จําเลยกับพวกโดยเจตนาทุจริตได้ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายอีก ๔ คน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ด้วย
การแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยการโฆษณาแจกจ่ายเอกสาร แพร่ข่าว ชักชวน
ทางโทรศัพท์ โทรสารและจัดตั้งตัวแทนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายให้นําเงินมาร่วมลงทุนซื้อขาย
แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับบริษัท ม.และบริษัทในเครือ ทั้ งที่รู้ว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ดําเนินธุรกิจ
เช่นนั้นและไม่ได้ดําเนินการจัดส่งคําสั่งซื้อขาย และไม่ได้ส่งเงินไปต่างประเทศตามที่กล่าวอ้างมีการกระทําที่เป็นขบวนการ
โดยมีเจตนาทุจริตมาแต่แรกทําให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้ไปตามที่ถูกหลอกลวง ย่ อมแสดงให้เห็นถึง
เจตนาทุจริตของจําเลยกับพวกในการที่จะหลอกลวงเอาเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสี่และการหลอกลวงดังว่านั้น
จําเลยกับพวกได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้ง สี่ จึงเป็นตัวการร่วมกัน จําเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกง
ประชาชนตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๓ วรรคหนึ่ง และเป็นการจัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปชักชวนให้โจทก์ร่วม ผู้เสียหาย

๔๓
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

และประชาชนทั่วไปตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปให้ทําการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตรากับบริษัทดังกล่าว โดยตกลงว่าจะได้กําไร


และไม่มีการขาดทุนโดยกําไรถึงอัตราร้อยละ ๒ ของเงินลงทุนต่อวัน หรือผลตอบแทนในอัตราร้อยละ ๗๔.๑๖ ของเงิน
ลงทุน เป็นการรับเข้าร่วมกระทําการกับบริษัทดัง กล่าวถือเป็นการกู้ยืมเงินตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชนฯ มาตรา ๓ และเป็นการชักชวนว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงิน
ตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยจําเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถ
ประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายได้ เป็นการร่วมกัน
กระทําผิดโดยเจตนาทุจริตมาแต่แรก การกระทําเป็นความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยื มเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ
มาตรา ๔ และ ๕ อีกบทหนึ่ง การกระทําของจําเลยกับพวกเป็นการกระทําผิดโดยมีเจตนาทุจริตมาแต่แรก มีการวางแผน
หลอกลวงไว้ล่วงหน้าเป็นขั้นตอนมีผู้ร่วมกระทําความผิดหลายคน กระทําผิดเป็นขบวนการเพื่อให้โจทก์ร่วม ผู้เสียหาย
และประชาชนหลงเชื่อมอบเงินให้ไป จึงหาใช่เป็นความสมัครใจในการร่วมลงทุนไม่ แต่การได้ทรัพย์สินเกิดจากผลโดยตรง
จากการหลอกลวงของจําเลยกับพวก
การที่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา ๔ วรรคสอง เป็นเพียงเพิ่มเติม
การกระทําที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ให้ถือเป็นการกระทําผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วยเท่านั้น มิได้มี
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดแห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๘๗๐/๒๕๕๓
พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา ๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏ
ต่อประชาชน หรือกระทําด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะ
จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตาม
กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายให้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนํา
เงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้ผู้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือ
บุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายใน
อัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน" การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทําด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบ
คนขึ้นไป อันจะทําให้เป็นความผิดสําเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่จําเป็นที่จําเลยทั้งสองจะต้องกระทํา
การดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองทุกครั้ง เป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จําเลยทั้ง สองแสดงข้อความดัง กล่าวให้
ปรากฏแก่ผู้เ สียหายแม้เพียงบางคน แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อนําเงินมาให้จําเลยทั้ง สองกู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการ
กระทําความผิดแล้ว ข้อสําคัญที่ทําให้ความผิดสําเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใด ได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูก
หลอกลวง ทั้งการกระทําดังกล่าวโดยสภาพเป็นการกระทําต่อบุคคลหลายคนจึงอาจกระทําต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกัน
ได้ การกระทําที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทําที่มีเจตนามุ่ง กระทํา
เพื่อให้เกิดผลต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปหรือประชาชนเพียงครั้ง เดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากองค์ประกอบ

๔๔
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ความผิดที่ต้องกระทําต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้กระทําเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็น
ยุติว่า จําเลยทั้งสองกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมทั้งสิบเจ็ด ผู้เสียหายที่ ๑๑ และที่ ๑๔ คนละวันเวลาและในสถานที่แตกต่างกัน
โดยเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น การกระทําของจําเลยทั้งสองแต่ละครั้งถือว่า
เป็นความผิดสําเร็จสําหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจํานวนโจทก์ร่วมและ
ผู้เสียหายที่จําเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวง

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๘๒๖/๒๕๕๔
การกู้ยืมเงินที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ ซึ่งมีการกระทําในลักษณะหลอกลวงผู้เสียหาย กับการกู้ยืมเงินที่มี
องค์ประกอบการกระทําตามมาตรา ๕ ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่ามีการกระทําในลักษณะหลอกลวงผู้เสียหาย แม้การ
กู้ยืมกรณีนี้อาจเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อกิจการที่มีอยู่จริง แต่ผู้กู้ยืมยังต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตามมาตรา
๔ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อยกเว้นที่บัญ ญัติไว้ สําหรับการกระทําของจําเลยคดี นี้ได้ความว่า การกู้ยืมเงินของ
จําเลยมีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่ามีการประกอบกิจการจริง การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนก็
เป็นไปในลักษณะนําเงินจากผู้ร่วมลงทุนหมุนเวียนจ่ายให้ผู้ร่วมลงทุนรายอื่น การกระทําของจําเลยจึงมีความผิดฐานกู้ยืม
เงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา ๔ และการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทําด้วย
ประการใดๆ ให้ปรากฏตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทําให้เป็นความผิดสําเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่
จําเป็นที่จําเลยจะต้องกระทําการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จําเลย
แสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคนแต่เป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนําเงินมาให้จําเลยกู้ยืม
ก็ถือเป็นการกระทําความผิดแล้ว ข้อสําคัญที่ทําให้ความผิดสําเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไป
จากผู้ถูกหลอกลวง ดังนั้นการที่ผู้เสียหายแต่ละคนนําเงินมาให้กู้ยืมและจําเลยรับไว้ ถือว่าเป็นความผิดสําเร็จสําหรับ
ผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจํานวนผู้เสียหาย

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๐๘๖/๒๕๕๖
คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จําเลยที่ ๑ ที่ ๓ กับพวกร่วมหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบสองคนและประชาชนทั่วไปตั้งแต่ ๑๐
คนขึ้นไป ให้สมัครเป็นสมาชิกโครงการส่งเสริมการปลูกสบู่ดําของจําเลยที่ ๑ แล้วหลอกลวงให้ผู้เสียหายทั้งสิบสองคน
จ่ายเงินให้คนละ ๗๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑๕๐,๐๐๐ บาท โดยอ้างว่าจะมอบรถยนต์กระบะซึ่งมีราคาสูงถึง ๕๘๒,๐๐๐ ถึง
๗๙๒,๐๐๐ บาท ให้นั้น ตามพฤติการณ์การกระทําของจําเลยที่ ๑ และที่ ๓ กับพวก แสดงให้เห็นว่าเพียงแต่หลอกลวง
เอาเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบสองคนโดยมิได้มีเจตนาที่จะมอบรถยนต์กระบะให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบสองคนมาตั้งแต่ต้นเป็น
การกระทําโดยมีเจตนาทุจริ ต จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน กรณีมิใช่เป็นการผิดสัญ ญาทางแพ่ง แต่อย่างใด
นอกจากนี้ การกระทําดังกล่าวยังเป็นการจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเทียบได้กับการให้ดอกเบี้ยในอัตรา

๔๕
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

ร้อยละ ๔๓๓.๓๓ ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม


ของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ ดังนั้น จําเลยที่ ๑ และที่ ๓ จึงมีความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๐๖/๒๕๖๐
บทบัญญัติตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ เป็นบทบัญญัติ
ที่วางมาตรการเพื่อ คุ้ม ครองประโยชน์ ของประชาชนส่ วนรวม ความผิ ดฐานนี้จึ ง เป็ นความผิ ดต่ อรัฐ รั ฐเท่า นั้น ที่จ ะ
ดําเนินคดีแก่ผู้กระทําความผิด เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในการกระทําความผิดข้อหาดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่
จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในความผิดข้อ หานี้ได้ และเมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์มา
ตั้งแต่แรก โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่ต้องพิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมในปัญหาว่าจําเลย
กระทําความผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องอีก
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะความผิ ดฐานฉ้อโกงเท่านั้น มิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ด้วย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิ
ที่จะอุทธรณ์เฉพาะในความผิดที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๑ ที่โจทก์
ร่วมเป็นผู้เสียหายมีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจําทั้ง ปรับจึง ต้องห้ามมิให้
อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๓ ทวิ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหา
ข้อเท็จจริงตามมาตรา ๑๙๓ ตรี แม้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.
๒๕๒๗ มาตรา ๕, ๑๒ จะมีอัตราโทษที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นการกระทําอันเป็นกรรมเดียวกับ
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๑ ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงประชนชนอัน
เป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด โจทก์ร่วมจึงไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์โดยอ้างทํานองว่าเมื่อโทษตามบทหนักไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ความผิดฐานในบทเบาย่อมอุทธรณ์ได้ด้วยหาได้ไม่

๔๖
คูม่ อื ประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้าราชการตารวจ

ด้านสืบสวนสอบสวนและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ---------------------------------------------------------------------

อ้างอิง
ศูนย์รับแจ้ง การเงินนอกระบบ. (๒๕๕๔). คู่มือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกาหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ และพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.๒๕๓๔. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เทพเพ็ญวานิตย์

วีระพงษ์ บุญโญภาส. (๒๕๔๗). อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์นิติธรรม.

๔๗

You might also like