You are on page 1of 14

จุดเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ ปุ๋ยหมักชีวภาพ

รายละเอียดภายในจุดเรียนรู้
ในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์
ที่ผ่านมาทางโรงเรียนได้มีจัดการกับเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน
ในช่วงแรกมีคุณครูบางท่านนำถังมาเก็บเศษอาหาร เพื่อนำไปเลีย
้ งสัตว์เลีย
้ ง
ที่บ้าน แต่เนื่องจากปริมาณอาหารเหลือค่อนข้างเยอะ และบริเวณที่ล้างจาน
บางจุด นักเรียนบางส่วนทิง้ เศษอาหารที่บริเวณนัน
้ ๆ ทำให้เกิดการอุดตัน
ของท่อระบาย ดูไม่สะอาดและมีกลิ่นเน่าเหม็น
ทางโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์จึงมีแนวคิดที่จะจัดการกับเศษอาหาร
เหล่านัน
้ ได้มีวางแผนดำเนินการจัดการนำเศษอาหารเหล่านัน
้ นำมาทำปุ๋ย
หมักชีวภาพไว้ใช้ในโรงเรียน และเป็ นการปลูกฝั งให้นักเรียนรักษาความ
สะอาด ดูแลความสะอาดของบริเวณที่ล้างจานของตนเอง
แหล่งเรียนรู้ ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็ นแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่จัด
ขึน
้ เพื่อแก้ปัญหา เศษอาหารภายในโรงเรียน และให้นักเรียนชัน
้ อนุบาล ๑ -
ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ ๓ ได้เข้าเรียนรู้เพื่อจะได้ร้จ
ู ักขัน
้ ตอน วิธีการจัดทำปุ๋ย
หมักชีวภาพจากเศษอาหารและจัดการขยะเปี ยกที่มีอยู่ในโรงเรียน รู้จักการ
จัดการขยะอย่างถูกวิธีและการนำปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้
เอกสารหลักฐาน รูปภาพประกอบ
จุดเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ การสร้างเสวียนเพื่อเก็บใบไม้
รายละเอียดภายในจุดเรียนรู้
การสร้างเสวียนเพื่อเก็บใบไม้นน
ั ้ เป็ นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีในท้อง
ถิ่น ที่สร้างเพื่อแก้ปัญหาความสกปรกของบ้านเรือน จากเศษใบไม้ต่างๆ นำ
มาใบไม้ที่เกิดการทับถมมาทำเป็ นปุ๋ยเพื่อใช้ในครัวเรือน ช่วยลดภาวะมลพิษ
ลดฝุ ่นละอองในอากาศ ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำเสวียนเก็บใบไม้เพื่อลดการ
เผา ทัง้ นี ้ เพื่อเป็ นการบริหารจัดการขยะภายในโรงเรียน
โดยนักเรียนแต่ละห้องจะช่วยกันเก็บกวาดเศษใบไม้แห้ง นำไปจัดทำ
เป็ นปุ๋ยหมัก ใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าการเผา ซึ่งก่อให้เกิดหมอกควัน และทำให้
อากาศเป็ นพิษ
การจัดทำเสวียนเพื่อเก็บใบไม้ ไม้ไผ่ที่นำมาทำเสวียนก็สานเองได้แบบ
ง่ายๆ ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก เกิดจากความร่วมมือของทางชาวบ้านและ
นักเรียนมัธยมเป็ นผู้สร้างขึน
้ การสร้างเสวียนเพื่อช่วยกักเก็บเศษใบไม้แห้ง
สร้างภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับโรงเรียนทัง้ ยังปลูกฝั งคุณธรรม
ด้านความรับผิดชอบให้เกิดกับผู้เรียนได้อีกทางนึง
เอกสารหลักฐาน รูปภาพประกอบ
จุดเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ กิจกรรมออมขยะ
รายละเอียดภายในจุดเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ กิจกรรมออมขยะ คือการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการคัด
แยกขยะมูลฝอย โดยเริ่มต้นที่นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ ใช้
ห้องเรียนเป็ นสถานที่ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบการกำจัดขยะที่ต้นทาง จะ
ทำการคัดแยกภายในห้องเรียน แยกประเภทของขยะที่สามารถนำมาขายได้
เช่น กระดาษ ขวดน้ำดื่ม กระดาษลัง หนังสือเก่า ขวดพลาสติก ขวดแก้ว
ฯลฯ และนำมาขยะมาขายให้กับคณะกรรมการสภานักเรียน โดยใช้ราคา
ที่ทางโรงเรียนประสานกับร้านรับซื้อของเก่าเป็ นเกณฑ์ จากนัน
้ ทำการบันทึก
รายการและจำนวนเงินที่ได้จากการขายลงในสมุดบันทึกการออมขยะของ
แต่ละห้อง ส่งผลให้นักเรียนมีรายได้จากการนำขยะมาขาย กับทางโรงเรียน
และนักเรียนแต่ละห้องจะมีเงินออมจากกิจกรรมออมขยะ ซึง่ สามารถนำ
เงินที่ได้จากการขายขยะไปใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องเรียน เช่น จัด
กิจกรรมปี ใหม่ ซื้ออุปกรณ์ตกแต่งห้องเรียน เป็ นต้น
แหล่งเรียนรู้ กิจกรรมออมขยะ นอกจากจะเป็ นแหล่งเรียนรู้ที่รับซื้อขยะ
จากห้องเรียนแต่ละห้อง ยังเป็ นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้นักเรียนเข้าไป
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการคัดแยกขยะแต่ละประเภท ส่งเสริมความรู้ในเรื่องของ
การวางแผนการจัดการและจัดเก็บขยะอย่างไรให้ได้มูลค่าสูง ขยะประเภท
ใดขายได้ คัดแยกยังไงให้ได้ราคาสูงกว่า เป็ นการกระตุ้นให้นักเรียนรู้จัก
วางแผนการจัดการกับขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน

เอกสารหลักฐาน รูปภาพประกอบ(ถ่ายภาพเสร็จจะส่งให้นะครับ)
จุดเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ สวนพฤกษศาสตร์ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดภายในจุดเรียนรู้.
แหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม คือ แหล่งเรียนรู้ที่
รวบรวมพืชพรรณไม้ต่าง ๆ  ที่มีชีวิตภายในบริเวณโรงเรียน ใช้เป็ นแหล่ง
ข้อมูลเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณ เป็ นที่พักผ่อนหย่อนใจ  เป็ นสื่อให้
นักเรียนนัน
้ ได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ ส่งเสริมให้เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความ
สวยงาม  อันก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณของท้องถิ่น
ตระหนักและเห็นคุณค่า ไม่คิดทำลาย รู้จักหวงแหนและสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ  
นอกจากจะให้ความรู้เกียวกับชื่อ ชนิด และข้อมูลเกี่ยวกับพืชพรรณไม้
แล้ว ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างของสวนพฤกษศาสตร์ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
คือเป็ นแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและจัดเรียนการสอนที่สามารถ
เชื่อมโยงบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ทงั ้ 8 กลุ่มสาระด้วยกิจกรรม
พัฒนา ๆ ตามความเหมาะสมของนักเรียนในแต่ละวัยด้วย
เอกสารหลักฐาน รูปภาพประกอบ

You might also like