You are on page 1of 24

เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย

เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย ก

สารบัญ
หน้า
1 เส้นทางสายมะเขือเทศ 1
2 รู้ก่อน...ตั้งแต่เกิด 3
3 แขก...ไม่ได้รับเชิญ 11
4 ขาดทุน...คือกาไร 15
5 ระดับความสุก...สู่ความสุข 17
6 ขอขอบคุณ...ผู้ใหญ่ใจดี 19
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 1

1 เส้นทางสายมะเขือเทศ
จากแนวพระราชดาริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั ว เพื่อ
พั ฒ น า อ า ชี พ แ ล ะ เ ส ริ ม ร า ย ไ ด้ ข อ ง เ ก ษ ต ร ก ร ใ น เ ข ต ภ า ค
ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ตอนบนให้ ยั่ ง ยื น ด้ ว ยการปลู ก มะเขื อ เทศ และ
ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศ ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หั ว โรงงานหลวงฯ ที่ 3 (เต่างอย) ถือเป็น
โรงงานแปรรูป ผลผลิ ตมะเขือเทศแห่งแรกในภาคอี สาน รวมทั้งมีการ
ส่งเสริมพื้น ที่ปลู กมะเขือเทศถึง 23,000 ไร่ในปัจจุบัน จนกระทั่งมีคา
กล่ า วเรี ย กพื้ น ที่ ต ลอดฝั่ ง แม่ น้ ามู ล ว่ า “เส้ น ทางสายมะเขื อ เทศ”
(Tomato Belt)
นโยบายของโรงงานหลวงส าเร็ จ รู ปที่ 3 (อ.เต่างอย) มีความ
พยายามในการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และพื้นที่
ใกล้ เคีย งที่ว่างจากการทานา หั นมาปลูกมะเขือเทศในแปลงนา เพื่อ
สร้างรายได้เสริ ม โดยนามะเขือเทศมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบ
รนด์ดอยคา
โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่
หนองเลิงเปือย เล็งเห็นถึงประโยชน์จากการปลูกมะเขือเทศซึ่งเป็นพืชที่
ต้อ งการน้ าน้ อ ย จึ งได้ จั ด ตั้ งกองทุ น โรงงานหลวงและพื ช หลั ง นาขึ้ น
เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เสริมนอกเหนือจากการทานา
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 3

2 รู้ก่อน...ตั้งแต่เกิด
เมล็ดพันธุ์
ทางโรงงานหลวง ได้แนะนาเมล็ดพันธุ์ 2 ชนิด ให้ทดลองปลูก
ได้แก่ พันธุ์ TK และ พันธุ์สะออน
พัน ธุ์ TK คือ ลู กไม่ส วย ส่ ง โรงงานอย่ างเดีย ว เป็ นพั นธุ์ ที่สุ ก
พร้อมกันเป็นส่วนใหญ่ ขั้วผลควรหลุดจากผลได้ง่ายเมื่อปลิดผล ผลสุกมี
สีแดงจัดตลอดผล ไส้กลางของผลสั้น เล็ก และไม่แข็งแรง เนื้อมาก น้า
น้อย มีป ริมาณกรดสูง ผลแน่น แข็ง เปลือกหนาและเหนียว สามารถ
ขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ และเก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสีย
พันธุ์สะออน คือ ลูกสวย ส่งได้ทั้งโรงงานและพ่อค้า มีผลทรง
กลมแบบแอปเปิ้ล สีผลเขียว มีไหล่เขียว สุกแดงจัด มีจานวนช่องในผล
มาก ไม่กลวง รสดี เนื้อหนาแข็ง เปลือกไม่เหนียว

พันธุ์ TK และ พันธุ์สะออน


4 เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย

การเลือกพื้นที่
การเลือกพื้นที่มีความสาคัญมาก พื้นที่แปลงที่เป็น ดินร่วนปน
ทรายจะมี ก ารเจริ ญ เติ บ โตของมะเขื อ เทศที่ ดี ก ว่ า แปลงดิ น เหนี ย ว
เนื่องจากคุณลักษณะของดินร่วนปนทรายมีการระบายน้าได้ดีกว่า

การเพาะกล้า
ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเริ่มต้นเพาะกล้าคือช่วงต้นฤดูหนาว
เดือนธันวาคม เพื่อทันเก็บเกี่ยวช่วงเดือนมีนาคมและฤดูกาลรับซื้อของ
โรงงานหลวง วัสดุที่ใช้ในการเพาะกล้ามะเขือเทศ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์, ขุย
มะพร้าว, แกลบดา, ปุ๋ยหมัก และถาดเพาะ วิธีการนาขุยมะพร้าว แกลบ
ดา ปุ๋ยหมัก ผสมกันในอัตราส่วน 2:1:0.5 นาลงในถาดหลุมเพาะขนาด
104 หลุม เพื่อให้รากของต้นกล้ามีพื้นที่ และหยอดเมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ด
ต่อหลุม (เมล็ดพันธุ์ 1 ซอง ใช้ถาดเพาะ 50 ถาด สามารถปลูกในพื้นที่ 1
ไร่) ดูแลถาดเพาะในโรงเรือน ทาการย้ายปลูกเมื่อกล้าอายุได้ 20 วัน
การดูแลต้นกล้า (1) รดน้าต้นกล้าอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและ
เย็น โดยพิจารณาจากสภาพอากาศและความชื้นของดิน และรดด้วยน้า
ที่ผสมเชื้อราไตรโคเดอม่าทุกๆ สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าใน
มะเขือเทศ, (2) เมื่อกล้าออกใบจริง ควรเปิดผ้าแสลนออก เพื่อให้กล้ า
แข็งแรงเมื่อได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 5

การปลูก
การยกร่อง วิธีการเหมือนการยกร่องปลูกมันสาปะหลัง โดยมี
ขนาดความกว้างของร่อง 1.20-1.50 เมตร และเว้นระยะห่างระหว่างร่อง
30-50 เซนติเมตร เมื่อยกร่องเสร็จแล้ว ให้โรย โดโลไมท์และปุ๋ยหมัก
ลงในร่องและปล่อยน้าเข้าตามลาดับ

การยกร่อง

การปลูก นาน้าเข้าร่องก่อนย้ายปลูก 1 วัน ควรย้ายปลูกในช่วง


เย็น ปลูกต้นมะเขือเทศให้ชิดขอบร่องด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกในการ
ให้น้าและปุ๋ย โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตร

ปลูกต้นมะเขือ
เทศชิดขอบร่อง

การปลูก
6 เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย

การปักค้าง
การปักค้างจะช่วยให้ ต้นมะเขือเทศไม่ล้มลงกับดิน เป็นการลด
การเกิดโรคและป้องกันผลผลิตเสียหาย การปักค้างควรทาทันที เมื่อทา
การย้ายปลูกเสร็จ ในระยะห่างประมาณ 4 ต้นต่อหนึ่งหลักที่ปัก โดยแต่
ละหลักจะห่างกันประมาณ 1 เมตร สูง 1.50 เมตรจากพื้นดิน นอกจากนี้
แนะนาให้ขึงเชือกฟางระหว่างหลัก เพื่อช่วยพยุงต้นมะเขือเทศไม่ให้ล้ม
อีกทางหนึ่ง
การขึงเชือกฟางระหว่างเสาหลัก จะทาใน 3 รอบ ดังนี้
ครั้งที่ 1 ขึงเชือกฟางระดับลาต้นเมื่อมะเขือเทศสูงประมาณ 15
เซนติเมตร
ครั้งที่ 2 ขึงเชือกฟางเมื่อต้นมะเขือเทศเริ่มออกลูก
ครั้งที่ 3 ขึงเชือกฟางเมื่อผลมะเขือเทศเริ่มมีสีแดง

1 เมตร

1.50 เมตร
เมตร

การปักค้างและขึงเชือกฟาง
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 7

การดูแล
ปุ๋ย เมื่อต้น กล้าตั้งตัวได้แล้วหลังจากการย้ายปลู ก ให้ เกษตร
เริ่มทาการใส่ปุ๋ย โดยการให้ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ยไปตามร่องแล้วดึงดินอีกฝั่งมา
กลบ ซึ่งการใส่ปุ๋ ยแต่ละครั้งจะใส่ทุก 10 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
ในช่วงเจริญเติบโตทางลาต้น สูตร 13-13-21 ในช่วงเจริญเติบโตทางผล
ดังนี้
1. หลังจากกล้าตั้งตัวได้ 10 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 15-15-15
ในอัตราส่วน 30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังจากกล้าตั้งตัวได้ 20 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 สูตร 15-15-15
ในอัตราส่วน 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปุ๋ยคอก
3. หลังจากกล้าตั้งตัวได้ 30 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 สูตร 13-13-21
ในอัตราส่วน 30 กิโลกรัมต่อไร่
4. หลังจากกล้าตั้งตัวได้ 40 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 สูตร 13-13-21
ในอัตราส่วน 40 กิโลกรัมต่อไร่พร้อมปุ๋ยคอก
5. หลังจากกล้าตั้งตัวได้ 50 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5 สูตร 13-13-21
ในอัตราส่วน 40 กิโลกรัมต่อไร่
8 เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย

ฮอร์โมนบารุง และยาป้องกันเชื้ อรา การให้ฮอร์โมนบารุงต้น


(AIR SIK PLUS) หรือปุ๋ยทางใบที่มีแคลเซียมโบรอน และยาป้องกันเชื้อ
รา ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอินทรีย์เคมี ชนิดเดียวกันกับที่โรงงานหลวงใช้
ฉีดพ่นในช่วงเช้าที่ไม่มีแดดจัด ทุกๆ 7 วัน ปริมาณตามฉลากที่กาหนดไว้
ข้างขวด

ยาป้องกันเชื้อรา ฮอร์โมนบารุงต้น
สารกาจัดแมลง มีอยู่หลายชนิด สารอะบาร์เมกติน, คาร์โบซัล
แฟน, ไดเมโทรเอท เลือกใช้เพียงชนิดเดียว ฉีดพ่นในช่วงเย็น ทุ กๆ 7 วัน
ปริมาณตามฉลากที่กาหนดไว้ข้างขวด และอาจเลือกใช้สารสมุนไพรไล่
แมลงควบคู่กับการใช้สารเคมีได้อีกด้วย

สารกาจัดแมลง
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 9

วิธีเก็บผลผลิต
การเก็บผลผลิต เก็บมะเขือเทศที่มีลักษณะผลสีแดงสด ผลเรียบ
ไม่ มี ต าหนิ ไม่ มี ส ารเคมี ต กค้ า ง ปริ ด ขั้ ว ออก ขนาดใหญ่ ก ว่ า 3.5
เซนติเมตร มะเขือเทศที่เก็บจากต้นแล้ว สามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 7 วัน
ประเภทผลที่ถูกหักราคา ได้แก่ บ่าเขียว บ่าเหลือง ผลแตก ก้นด้าน ผล
เล็ก เป็นต้น
ลักษณะผลที่ไม่รับซื้อ ได้แก่ มีขั้วติด ผลดิบ/ผลส้ม ผลเหี่ยว ผล
เป็นแผลแห้ง ก้นด้านรุนแรง ผลแตกเป็นแผลเน่า หนอนเจาะผล มะเขือ
เทศอื่นๆ สีดา พันธุ์เหลือง เชอร์รี่ เป็นต้น
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 11

3 แขก...ไม่ได้รับเชิญ
หากเปรียบแปลงมะเขือเทศพื้นที่หนองเลิงเปือยเสมือนบ้านหลัง
หนึ่ง เมื่อบ้านเรามีงานสาคัญ (มะเขือเทศติดผล) เราก็จะเรียนเชิญแขก
สาคัญ (แร่ธาตุอาหาร) มาร่วมงาน แต่ในวันงานจริง ก็ไม่เสมอไปที่แขก
ที่มาในงาน จะเป็นแขกสาคัญที่เราเชิญเท่านั้น มักที่แขกที่ไม่ได้รับเชิญ
(โรคและแมลง ภัยธรรมชาติ) มาร่วมด้วยเช่นกัน ในฐานะที่เราเป็นเจ้า
บ้าน เราก็อยู่ในฐานะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก คือ จะไม่ต้อนรับก็ไม่ได้ จะ
ไล่ไปให้พ้นๆ ก็ต้องหาวิธีการที่แยบยล แขกที่ไม่ได้รับเชิญ ได้แก่ (1) โรค
ยอดนิยมทั่วไป ได้แก่ หนอนเจาะผล หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ ราน้าค้าง
ก้นดา หงิกเหลือง โคนเน่า ใบม้วน และ (2) ภัยธรรมชาติ ได้แก่ พายุฝน
ลมแรง ถึงแม้ว่าเราจะรู้ตัวมาก่อนหรือพยายามจะป้องกันไม่ให้มีแขกที่
ไม่ได้รับเชิญมาร่วมงานก็ตาม ในทางปฏิบัติจริงนั้นยากยิ่งนัก เฉกเช่น
เกษตรกรปลูกมะเขือเทศ คนที่มีเวลา กาลัง และวิธีการที่เข้ มข้นกว่าจะ
ประสบปัญหาที่ไม่คาดฝันน้อยกว่า

ต้นมะเขือเทศที่ไม่สมบูรณ์ ต้นมะเขือเทศที่สมบูรณ์
12 เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย

โรคหนอนชอนใบ โรคก้นดา ก้นด้าน

ผลปริแตกเมื่อได้รับน้ามากเกิน โรคหนอนเจาะผล

ผลเหี่ยว โรคโคนเน่า
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 13

แนวทางแก้ไข
โรคใบม้วน เพลี้ยไฟ หงิกเหลือง ผลปริแตก แนะนาให้
เกษตรกรให้น้าน้อยลง ทาคันคูกั้นไม่ให้น้าผ่านต้นที่ยังไม่เกิดโรค
และพ่นฮอร์โมนคายดอกคายใบ
โรคโคนเน่า แนะนาให้เกษตรกรถอนต้นทิ้ง และนาออก
จากแปลง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
โรคหนอนเจาะ แนะนาให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่ม
โปร่ง และเก็บผลที่เสียหายออกจากแปลง
โรคก้ น ด า แนะน าให้ เ กษตรกรฉี ด พ่ น สารแคลเซี ย ม
โบรอนเพิ่ม
พายุฝน แนะนาให้เกษตรกรเร่งระบายน้าออกจากแปลง
โดยเร็วที่สุด และฉีดฮอร์โมน เพื่อเป็นธาตุอาหารทางใบให้สภาพ
มะเขือเทศฟื้นฟูโดยเร็ว
พายุ ล ม แนะน าให้เกษตรกรเพิ่มการขึงเชือกระหว่าง
ค้าง
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 15

4 ขาดทุน...คือกาไร
หนทางสู่ความส าเร็ จมักไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ ล้วนแล้วแต่
ต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มากมายนานับประการ หนทาง
ของมะเขือเทศก็เช่นกัน ไม่สวยหรูอย่างที่คิด เมื่อเราได้ปลูกมะเขือเทศได้
ระยะหนึ่ง แขกที่เราไม่ได้เชิญก็มาเยือนแปลงมะเขือเทศของเรา สิ่งที่ไม่
คาดฝั น จึ ง เกิ ด ขึ้ น “...ขาดทุ น คื อ ก าไร การเสี ย คื อ การได้ ”
หมายความว่า ถ้าเราทาอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุดที่เราเสียนั้น เป็นการได้
ทางอ้ อม บางคนอาจเกิด ข้อ กัง ขาว่า ไม่จ ริง ขาดทุ นจะเป็น กาไรได้
อย่างไร? แต่เพียงลองคิดตรึกตรองให้ดี จะพบความจริงในข้อนี้
ยกตัวอย่างเรื่องของการปลูกมะเขือเทศของเกษตรกร บางราย
ลงทุนน้อยแต่ได้ผลผลิตมาก บางรายลงทุนมาก แต่กลับได้ผลผลิตที่ต่า
เราจึงเกิดคาถามว่าทาไม? เพราะเหตุใด? เมื่อพิจารณาเราจะพบว่า
ต้นทุนที่สูงส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของปุ๋ย ความแตกต่างของผลผลิตที่
เกิดขึ้นนี้ มาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ (1) ดินไม่เหมาะสมต่อการปลูก ดินที่
เหมาะสมมักเป็นดินที่มีการระบายน้าที่ดี ดินที่ไม่เหมาะมากที่สุดคือ ดิน
เหนียว, (2) ข้อจากัดด้านแรงงาน จานวนพื้นที่ที่มากเกินกาลังการดูแลก็
เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทาให้ผลผลิตตกต่า เนื่องจากทาให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ขนาด
พื้นที่ต่อหนึ่งครอบครัวควรเป็น 1 ไร่ (3) ความรู้ความเข้าใจในการใช้ปุ๋ย
ความเข้าใจเดิมที่คิดการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่มากจะทาให้ได้ผลผลิตที่ดี นั่น
คือความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก การใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เพียงพอต่างหากคือ
สิ่ ง ที่ เ หมาะสม, และ (4) ภั ย ธรรมชาติ เป็ น ปั จ จั ย เสี่ ย งที่ ไ ม่ ส ามารถ
ควบคุมได้ เช่น พายุฝน, ลม, ภัยแล้ง เราทาได้เพียงแต่เตรียมการรับมือ
บรรเทา และแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด
16 เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย

ประสบการณ์ที่ได้รับเหล่านี้ หากคิดแบบนักเศรษฐศาสตร์ ต่างก็


บอกว่ามันคือ การขาดทุน แต่ อีกมุมมองนึกก็คงคิดว่ามันเป็นการลงทุน
ที่คุ้มค่า ที่หาซื้อไม่ได้ด้วยเงิน สิ่งที่ได้รับนี้จะเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดี และจะ
ช่ ว ยสร้ า งผลก าไรได้ ใ นอนาคต นี่ แ หละคื อ ความหมายของค านี้
“ขาดทุนคือกาไร” ในการเริ่มทดลองปลูกมะเขือเทศ
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 17

5 ระดับความสุก...สู่ความสุข
เมื่อเปรียบความสุขของเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศเท่ากับเฉด
สีสุกของมะเขือเทศ แบ่งได้ 3 เฉดสีหลัก เริ่มจากสีเขียว-เหลือง-แดง
สีเขียว เป็ นช่ว งของการก่อนตัดสินใจเริ่มต้นปลู กมะเขือเทศ
เหมือนเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์คือไม่มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศ
เลย ไม่นับการอ่านหนังสือมาก่อน เพราะการอ่าน อย่างไรก็ไม่เหมือนกับ
การได้ลงมือทาจริง
สีเหลือง เป็นการเริ่มต้นปลูกมะเขือเทศในปีแรก มีความรู้จาก
การอ่านหนังสือ การอบรม พี้เลี้ยงคอยช่วยเหลือแนะนา ความรู้และ
ผลผลิตที่ได้ไม่ได้เป็นไปตามที่คิดวาดฝันไว้ ล้วนแล้วแต่ต้องพบเจอกับ
อุปสรรคมากมายที่ไม่คาดคิดมาก่อน อะไรที่รู้ว่าจะต้องเกิดแน่ๆ ป้องกัน
อย่างดี แต่ก็เกิดจนได้ ดังคาที่ว่า เรียนอะไรก็ไม่เท่า กับการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง ประสบการณ์ที่ได้เผชิญกับปัญหาที่ ผ่านมา นามาใช้วางแผน
และป้องกัน ในการปลู กมะเขือเทศปีต่อไป ระดับความสุก (สุข) ครึ่งๆ
กลางๆ เขียวอมส้ม
สี แ ดง การปลู ก มะเขื อ ทศในปี ต่ อ ๆ มา ความรู้ แ ละ
ประสบการณ์ ที่สั่ งสม ตอนนี้เข้าใกล้ความฝัน ผลผลิตที่คาดหวังจะมา
เยื อน เกิดจากการวางแผนการผลิ ตอย่ างรอบคอบประกอบกับ ความ
ชานาญที่มีจากกระบวนการเรียนรู้ ระดับความสุขของเรามากขึ้น จนสี
แดงสุกสด
18 เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย

เชื่อว่าความพยายามและความตั้งใจจริงของเกษตรกร จะทาให้
ระดับความสุกมะเขือเทศเป็นสีแดงสุดๆ เลย!! อย่าเพิ่งหมดหวังก่อน
ระดับความสุขจะถึงสีแดงนะ
เส้นทางมะเขือเทศสายหนองเลิงเปือย 19

6 ขอขอบคุณ...ผู้ใหญ่ใจดี

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดาริ

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดาริ

ศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือย
อาเภอร่องคา จังหวัดกาฬสินธุ์

สานักงานเกษตรอาเภอร่องคา สานักงานเกษตรอาเภอกมลาไสย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศหนองเลิงเปือย

You might also like