You are on page 1of 114

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ความสำคัญและที่มาของปั ญหา


ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้กลายมาเป็ น
อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศและ
เจริญเติบโตจนกลายมาเป็ นอุตสาหกรรมหลักในระบบเศรษฐกิจระหว่าง
ประเทศอย่างรวดเร็ว เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตทำให้
ประชาชนออกมาท่องเที่ยวอย่างแพร่หลาย โดยกิจกรรมระหว่างการท่อง
เที่ยวมักจะมีการสังสรรค์ด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็ น สุรากลั่น
สุราแช่ เบียร์ ไวน์ บรั่นดี เป็ นต้น ซึ่งจากสถิติการบริโภคเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์นน
ั ้ มีผู้ด่ ม
ื สุราในปี 2564 จำนวนเท่ากับ ปี 2560 (จำนวน
15,966,498 คน หรือ 28.00% ของคนไทยอายุ 15 ปี ขึน
้ ไปในปี 2564
1
เทียบกับ 15,897,265 คน หรือ 28.41% ในปี 2560) คาดว่ามีสาเหตุมา
จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการควบคุม ดังนัน
้ จำนวน
นักดื่มจึงไม่เพิ่มขึน

ส่วนนักดื่มหน้าใหม่หรือประชากรที่เพิ่งเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เป็ นครัง้ แรกในชีวิตภายใน 3 ปี ก่อนการสำรวจในปี พ.ศ. 2564 มีจำนวน
ทัง้ สิน
้ 1,381,499 คนคิดเป็ นร้อยละ 5.93 ของประชากรไทยอายุ 15 ปี
ขึน
้ ไปโดยนักดื่มหน้าใหม่เพศหญิงมีสัดส่วนมากขึน
้ มากกว่านักดื่มเพศชาย
อย่างเด่นชัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นักดื่มนิยมดื่มมากที่สุด 3 อันดับแรก
คือ เบียร์ (ร้อยละ 55.96) สุราประเภทต่างๆได้แก่ สุราขาว/สุรากลั่น
1
นิรนาม.(2564). ร้อยละของประชากรอายุตงั ้ แต่ 15 ขึน
้ ไป ทีด
่ ่ม
ื สุราหรือเครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอล์ จำแนกตามเพศ พ.ศ.2552 2554 2556 2557 2558 2560 และ 2564, สำนักงาน
สถิติแห่งชาติ (Online).http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx,
28 มิถุนายน 2566
ชุมชน สุราสี/สุราแดง และยาดองเหล้า/สุราจีน/วอดก้า/อื่นๆ (ร้อยละ
40.98) และไวน์คล
ู เลอร์และสุราผสมน้ำผลไม้ร้อยละ(1.83) ตามลำดับ
นักดื่มเพศชายมีสัดส่วนดื่มสุรานอกระบบภาษีสูงกว่าเพศหญิง สำหรับ
แนวโน้มค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักดื่มใน
ปั จจุบันเพิ่มสูงขึน
้ อย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา โดยพบว่านักดื่มใน
ปี พ.ศ. ในปี 2564 เสียค่าใช้จ่ายในการดื่มเพิ่มขึน
้ จากในปี 2560 เกือบ
สองเท่าและแนวโน้มของการซื้อมาดื่มที่บ้านสูงมากขึน
้ ในช่วงรอบการ
สำรวจ ปี 2560 และ 2564 สถานที่ซ้อ
ื สุราที่นิยมมากที่สุด คือ ร้านขาย
ของชำ รองลงมา คือ ร้านสะดวกซื้อ/ซุปเปอร์มาเก็ต เมื่อเทียบกับรายได้
พบว่าผู้ที่มีรายได้น้อยเสียค่าใช้จ่ายในการดื่มเป็ นอัตราส่วนต่อรายได้ของ
ตนเองมากกว่าผู้มีรายได้สูงเป็ นอย่างมาก ภาคเหนือมีอัตราการดื่มสูงสุด
2
รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยจะเติบโตแต่ตลาดเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ในไทยมีเพียง 2 ผู้เล่นรายใหญ่เท่านัน
้ ที่ถือครองสัดส่วนตลาด
เกือบทัง้ หมดเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่มีถึง 20,000 เจ้า ประกอบไป
ด้วยบริษัทเครือบุญรอดบริวเวอรี่และบริษัทเครือไทยเบฟเวอเรจ ซึ่งถึงแม้
ทัง้ สองบริษัท (เฉพาะส่วนที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็ นหลัก) จะไม่
ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ของไทย (SET) แต่ยังสามารถติดตามผลประกอบ
การของบริษัทไทยเบฟเวอเรจได้ ผ่านตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์โดยพบว่า
ในปี 2015 มีรายรับอยู่ที่ 6,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ก่อนที่จะมีรายได้
สูงสุดในปี 2019 อยู่ที่ 11,540 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์และปี 2021 อยู่ที่
10,300 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จากตัวเลขทัง้ หมดนีแ
้ ละผลประกอบการ
ของสองบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ถือครองสัดส่วนตลาดเกือบทัง้ หมด จะเห็นได้ว่า

2
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และคณะ. (2565).แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของ
ประชากรไทย (รายงานการวิจัย). สงขลา: ศูนย์วิจัย ปั ญหาสุรา,3-4.
เป็ นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดได้หาก
เปิ ดโอกาสให้มีการแข่งขันมากยิ่งขึน
้ จากผู้ประกอบการขนาดกลางและ
ขนาดย่อยรวมไปถึงการกระจายรายได้ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ผู้คนอีกเป็ นจำนวนมากที่ตกอยู่ใต้ความเหลื่อมล้ำ เมื่อผู้ประกอบการราย
ย่อยไม่สามารถผลิตสุราได้ อันเป็ นผลมาจากการที่กฎหมายได้สร้าง
เงื่อนไขไว้นน
ั ้ ทำให้เกิดการผลิตสุรานอกระบบภาษีหรือที่ชาวบ้านเรียก
กันว่า “สุราเถื่อน”
ปั จจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องนัน
้ เปิ ดโอกาสให้สองเจ้ายักษ์ใหญ่มีความ
สะดวกในการทำธุรกิจในตลาด เนื่องจากมีความพร้อมของทรัพยากรไม่
ว่าจะเป็ นเงินทุน กำลังคน หรือเครื่องจักร ที่ผู้ประกอบการรายย่อยไม่
สามารถเทียบได้จนขาดคุณสมบัติที่จะครอบครองใบอนุญาต และทำให้
ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการต่อยอดภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นไป
จนถึง ขาดการกระจายรายได้ให้แก่ทุกภาคส่วนไปอย่างน่าเสียดาย การ
แก้ไขกฎหมายภาษีสุราจึงไม่เพียงช่วยให้เกิดความหลากหลายในการ
แข่งขันในตลาดมากขึน
้ เท่านัน
้ แต่ยังกระตุ้นการเงินในภาคเศรษฐกิจไทย
มากขึน
้ และจะช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำลงได้ หากกฎหมายเปิ ดทาง
ให้ชาวบ้านในสังคมไทยมีโอกาสขึน
้ มาเป็ นผู้ประกอบการและผลิตสุรา
อย่างเสรีได้ อีกทัง้ ประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยสุรา คือ
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพุทธศักราช 2560 แต่เนื้อหาที่แฝงอยู่ใน
กฎหมายก็ยังคงปรากฏร่องรอยของความไม่เป็ นธรรมไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย
กฎหมายฉบับนีม
้ ีเงื่อนไขและข้อจำกัดสำคัญในการผลิตสุรา เช่น ใน
มาตรา 153 ระบุว่า ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสำหรับผลิต
สุราไว้ในครอบครองให้ย่ น
ื คำขออนุญาตต่ออธิบดีและต้องปฏิบัติตามหลัก
เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตราดังกล่าวเป็ น
เงื่อนไขข้อแรก แต่เป็ นข้อสำคัญที่สร้างอุปสรรคและความยุ่งยากให้แก่
ประชาชนทั่วไปที่มีความประสงค์จะผลิตสุรา โดยเฉพาะขัน
้ ตอนและหลัก
เกณฑ์การขออนุญาตต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องการอนุญาตผลิต
สุรา พ.ศ. 2560 จะพบว่าเต็มไปด้วยเงื่อนไขมากมายที่ประชาชนทั่วไป
ยากที่จะเข้าถึงการผลิตได้ เช่น การกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาต
ผลิตสุราแช่ (ประเภทเบียร์) ส่วนการผลิตสุราแช่ที่ไม่ใช่เบียร์ และสุรา
ชุมชน ต้องเป็ นสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน องค์กรเกษตรกร
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัทจำกัด นอกจากนีย
้ ังมีการกำหนดเพดาน
การผลิตที่ค่อนข้างสูง ส่วนโรงผลิตสุรากลั่นชนิดสุราพิเศษประเภทวิสกี ้
บรั่นดี และยิน ต้องมีกําลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 30,000 ลิตรต่อวัน ส่วนโรง
ผลิตสุรากลั่นชนิดอื่น เช่น สุราขาว สุราผสม ต้องมีกําลังการผลิตไม่ต่ำ
กว่า 90,000 ลิตรต่อวันและการผลิตสุรากลั่นชุมชนก็มีข้อจำกัดด้วยว่า
ห้ามใช้เครื่องจักรที่มีกําลังเกิน 5 แรงม้า หรือใช้คนงานไม่เกิน 7 คน ซึ่ง
เป็ นเงื่อนไขที่ทำให้สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรไม่สามารถพัฒนาศักยภาพ
การผลิตที่ดีขน
ึ ้ ได้ด้วยกฎหมายลักษณะนี ้ ทำให้ผู้ผลิตสุราไทยจำนวนมาก
ต้องไปตัง้ โรงงานผลิตในประเทศเพื่อนบ้านก่อนที่จะส่งกลับเข้ามาในไทย
ทำให้สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทยขาดความหลาก
หลาย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
แม้ต่อมาจะได้มีการยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาติผลิตสุรา
พุทธศักราช 2560 และเปลี่ยนมาเป็ นกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาติ
ผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 โดยได้ยกเลิกเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ เช่น
ยกเลิกกำลังการผลิต จำนวนทุนทรัพย์ แต่ก็ได้มีการเพิ่มเติมเงื่อนไขและ
หลักเกณฑ์อ่ น
ื ๆเข้ามาแทน เช่น โรงเบียร์ที่ทำการขาย ณ สถานที่ผลิต
หรือ Brewpub ต้องมีใบอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ
ที่ต้องการขายแบบบรรจุขวด ต้องผ่านการทำรายงานการวิเคราะห์ผลก
ระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ซึง่ ต้นทุนในการทำสูงมาก 3-5 ล้านบาท ส่วน
การผลิตสุรากลั่นชนิดพิเศษ วิสกี ้ ยิน บรั่นดี ยังคงกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำ
30,000 ลิตรต่อปี สุรากลั่นอื่นยังคงต้องมีกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำ 90,000
ลิตรต่อปี และต้องมีใบอนุญาตโรงงาน การกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์
ต่างๆของกฎกระทรวงฉบับปั จจุบันก็ยังมีผลเป็ นการกีดกันผู้ประกอบการ
รายย่อยไม่ว่าจะเป็ นการยังคงเพดานไม่ให้ผลิต “เพื่อการค้า” หรือผลิต
มากกว่า 200 ลิตรต่อปี แต่ไม่ว่าเพื่อการค้าหรือไม่ก็ต้อง “ขออนุญาต”
3
จากกรมสรรพสามิต ทัง้ ๆ ที่เพียงแค่จดแจ้งก็เพียงพอแล้ว
เมื่อไปดูการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของต่างประเทศจะเห็นได้ว่า
มีความแตกต่างจากประเทศไทยอย่างชัดเจนเพราะต่างประเทศให้ความ
สำคัญกับภูมิปัญญาท้องชาวบ้านและเศรษฐกิจของประเทศ ยกตัวอย่าง
เช่น
1.ประเทศเกาหลีใต้ ได้แก้ไขกฎหมายภาษีสุรา โดยยกเลิกการเก็บ
ภาษีมูลค่าต้นทุน การผลิต ไม่ว่าจะเป็ นการโฆษณา การตลาด หรืออื่นๆ
มาเป็ นการเก็บภาษีจากปริมาณที่ขายได้แทน เมื่อภาษีน้อยลง ทำให้ผู้
ประกอบการรายเล็กสามารถผลิตสินค้าแข่งขันกับรายใหญ่ได้มากขึน

นอกจากนีร้ ัฐบาลเกาหลีใต้ก็ได้แก้ไขระเบียบเกี่ยวกับโรงงานสุราที่เปิ ด
ช่องสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กที่มีความสามารถแต่ไม่มีกำลังผลิต
สามารถร่วมการผลิตกับโรงงานสุราของบริษัทใหญ่ได้ เป็ นการพึง่ พากัน
ระหว่างภาคเอกชนและทำให้ผู้ผลิตรายเล็กลืมตาอ้าปากได้ ตัวเลขที่พุ่งสูง
ของตลาดคราฟต์เบียร์ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน
3
นิรนาม. (2565). สุราเสรีฉบับ “ครม.ลุง” VS ฉบับ “ก้าวหน้า” ...ปั ญหาอยูท
่ ต
ี่ รงไหน, ผู้จด
ั การ
ส ุด ส ัป ด า ห ์. ส ืบ ค ้น เ ม ่ อ
ื 28 ม ิถ ุน า ย น 2566.
https://mgronline.com/daily/detail/9650000105581?
fbclid=IwAR2GabjroISmRDHq6Gpr8Lk2_jruO3BikBdLI66NFKF7vo KBsh04Xf9bp4
ประเทศเกาหลีใต้ต่ น
ื ตัว นอกจากเป็ นการสร้างโอกาสให้กับรายเล็กแล้ว
ยังทำให้ประชาชนสามารถเลือกจับจ่ายเครื่องดื่มได้ตามใจชอบและมีตัว
เลือกมากยิ่งขึน
้ เพราะรายใหญ่เองก็ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันตลาด
เนื่องจากไม่ได้เป็ นผู้ผูกขาดอีกต่อไป เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเหล่านีจ
้ ึง
กระเตื้องตามไปด้วย
2.ประเทศเยอรมณี ไม่มีกฎหมายควบคุมกำลังผลิตของ
อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอัตราในการจัดเก็บภาษีจากเครื่อง
ดื่มประเภทเบียร์ต่ำ อยู่ที่ประมาณ 4-8% ต่อขวด (ตกขวดละ 1-2 บาท)
ทำให้ในประเทศเยอรมนีเบียร์แทบจะถูกกว่าน้ำเปล่าและมีผู้ผลิตคราฟต์
เบียร์กว่า 900 ราย มีโรงงานผลิตเบียร์ 1,500 แห่ง จัดจำหน่ายเบียร์
5,500 แบรนด์ทั่วประเทศและทั่วโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2563
อยู่ที่ 37,500 ล้านบาท ซึ่งเปรียบเทียบกับประเทศไทยที่มีการเก็บภาษี
เบียร์ตามอัตรามูลค่าอยู่ที่ร้อยละ 48 จะตกอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อ
ขวด ยังไม่รวมกับการคิดภาษีตามปริมาณและดีกรีที่เกินกำหนดรวมแล้ว
เบียร์ในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีขวดละประมาณ 20-30 บาท ใน
รายงานการศึกษาระบุว่า เยอรมนีเป็ นประเทศผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุด
ในยุโรป ทำให้ในปี 2561 ประชากรกว่า 480,000 คน มีงานทำจากการที่
อุตสาหกรรมเบียร์เติบโตสูงไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็ นงานในภาคเกษตร,
ภาคอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์, การขนส่ง, สื่อและการตลาด รวมไปถึง
สาธารณูปโภคและอื่นๆ ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมเบียร์ ทัง้ ทางตรง
และทางอ้อม
3.ประเทศเวียดนาม มีกฎหมายการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและมีอัตรา
การเก็บภาษีตามมูลค่า โดยจัดเก็บภาษีจากคราฟต์เบียร์ 65% เทียบ
เท่ากับเบียร์ทั่วไป ทำให้ตลาดคราฟต์เบียร์ในประเทศของเวียดนาม
เติบโตมาตัง้ แต่ปี 2557 ทัง้ การบริการในท้องถิ่นและต่างประเทศ อีกทัง้
ยังเปิ ดรับนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาผลิตและจำหน่ายเบียร์จนทำให้
ตลาดเบียร์ขยายมากขึน
้ ไปอีกในปี 2561 การเติบโตนีท
้ ำให้มีการคาด
การณ์ว่าอัตราการเติบโตต่อปี ของการลงทุน (CAGR) ในตลาดเบียร์
เวียดนามจะเติบโตประมาณ 6.44% ระหว่างปี 2564-2568 และคาดว่า
จะมีมูลค่าสูงถึง 9.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐภายในปี 2568 ซึง่ จะทำให้
เบียร์คราฟต์กลายเป็ นตลาดกำไรของนักลงทุนนอกจากจะเป็ นผลดีต่อผู้
ผลิตทุกรายแล้วประชาชนก็จะได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมที่เติบโตนี ้
4
ตามไปด้วยเหมือนอย่างในประเทศเยอรมนี
จากความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหาข้างต้นจะเห็นได้ถงึ
ความสำคัญของอุตสาหกรรม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผู้วิจัยจึงได้เลือกการ
แก้ไขข้อกฎหมายในมาตรา 153 ของพระราชบัญญัติภาษี สรรพสามิต
พุทธศักราช 2560 และกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พุทธศักราช
2565 ให้เพิ่มเติมส่วนที่อธิบายถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ผู้ขอ
ใบอนุญาต จะต้องปฏิบัติตาม โดยระบุว่าเงื่อนไขเหล่านัน
้ ต้องไม่กำหนด
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต ไม่ว่าจะเป็ นคุณสมบัติด้าน กำลังแรงม้าของ
เครื่องจักร จำนวนพนักงาน หรือประเภทบุคคลที่มีสิทธิขออนุญาต
ทัง้ หมดนีเ้ พื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่สนใจจะผลิตแอลกอฮอล์ได้มี
โอกาสที่จะเข้าถึงใบอนุญาตโดยไม่ถูกกีดกันและทำให้ตลาดสุรามีผู้
แข่งขันจำนวนมากยิ่งขึน
้ นอกเหนือไปจากการผูกขาดใบอนุญาตจากราย
ใหญ่เพียงไม่กี่เจ้าตามกฎหมายฉบับปั จจุบัน
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

4
เจียระไน ซองทอง และ ชญาดา จิรกิตติถาวร (2565).ปลดล็อกสุราให้เสรี : ส่งเส้นทางเศรษฐกิจ
ของชาติเสรีสุรา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://ilaw.or.th/node/6160. [3 มิถุนายน
2566]
1.2.1 เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสุรากลั่นและสภาพปั ญหาการ
ผลิตสุรากลั่นในประเทศไทย
1.2.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการ
ผลิตสุรากลั่นในประเทศไทย
1.2.3 เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปั ญหาการผลิตสุรากลั่น
โดยอนุญาตให้บุคคลธรรมดาสามารถผลิตสุราได้
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.จะสามารถแก้ไขปั ญหากฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพของไทยใน
เรื่องการผลิตสุรากลั่นในชุมชนได้แก้ไขได้ โดยการอ้างอิงจากกฎหมาย
ของต่างประเทศ
2.สามารถช่วยส่งเสริมการผลิตสุราเพื่อทำให้บุคคลธรรมดาสามารถ
ผลิตสุรากลั่นได้
3.จะทราบถึงสภาพปั ญหาที่เกิดขึน
้ จากการใช้มาตรการที่ไม่มี
ประสิทธิภาพของกฎหมายไทย
4.ข้อมูลการวิจัยดังกล่าวอาจเป็ นส่วนหนึ่งในการที่กฎหมายไทยจะ
สามารถพัฒนาขึน
้ ได้โดยสอดคล้องกับปั ญหาที่แท้จริงของกระบวนการ
ผลิตสุราดังกล่าวจะทำให้สามารถแก้ไขปั ญหาได้ตรงจุดมากขึน

1.4 ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครัง้ นีค
้ ณะผู้วิจัยมุ่งศึกษาในประเด็นการทำสุรากลั่นใน
ประเทศไทย โดยเน้นศึกษาในแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนัน
้ เปรียบ
เทียบระหว่างมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่ง
ประเทศที่นำมาเปรียบเทียบ คือ เกาหลีใต้ เยอรมณี เวียดนาม โดยใช้การ
วิเคราะห์สภาพปั ญหาเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายต่อไป
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
“สุรา” หมายความรวมถึงวัตถุทงั ้ หลายหรือของผสมที่มี
แอลกอฮอล์ซงึ่ สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
“สุราแช่” หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่นและให้หมายความรวมถึง
สุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรี
ด้วย
“สุรากลั่น” หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้วละให้หมายความรวม
ถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินสิบห้าดีกรี
ด้วย
“สุราสามทับ” หมายความว่า สุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตงั ้ แต่
แปดสิบดีกรีขน
ึ ้ ไป
“สุราขาว” หมายความว่า สุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่ง
ปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี
“เชื้อสุรา” หมายความว่า แป้ งเชื้อสุรา แป้ งข้าวหมักหรือเชื้อใดๆ
ซึง่ เมื่อหมักกับวัตถุหรือของเหลวอื่นแล้วสามารถทำให้เกิดแอลกอฮอล์ที่
5
ใช้ทำสุราได้
“การผลิตสุราเพื่อการค้า” หมายความว่า ผลิตสุราโดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อขาย แลกเปลี่ยนหรือเพื่อการอื่นใด โดยได้รับประโยชน์
ตอบแทน และให้หมายความรวมถึงผลิตสุราที่มีปริมาณเกินสองร้อยลิตร
ต่อปี ด้วย
“โรงอุตสาหากรรมสุราขนาดเล็ก” หมายความว่า โรง
อุตสาหกรรมผลิตสุราที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำ
กว่าห้าแรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่าเจ็ดคน หรือกรณีใช้ทงั ้ เครื่องจักร
และคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่าห้าแรงม้า
และคนงานมีจำนวนน้อยกว่าเจ็ดคน

5
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493
“โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง” หมายความว่า โรง
อุตสาหกรรมผลิตสุราที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่า
ตัง้ แต่ห้าแรงม้าแต่น้อยกว่าสิบแรงม้า หรือใช้คนงานตัง้ แต่เจ็ดคนแต่น้อย
กว่าสิบห้าคน หรือกรณีใช้ทงั ้ เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจัักรมีกำลังรวม
หรือกำลังเทียบเท่าตัง้ แต่ห้าแรงม้าแต่น้อยกว่าห้าแรงม้าและคนมีจำนวน
6
ตัง้ แต่เจ็ดคนแต่น้อยกว่าห้าสิบคน

6
ข้อ 4 แห่งระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง พ.ศ. 2566
บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม

การศึกษาวิจัยในบทนี ้ ทางคณะผู้วิจัยได้มีการทบทวน
วรรณกรรม ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็ นมาของสุรา แนวคิดทฤษฎีที่
เกี่ยวข้องกับการผลิตสุรากลั่น งานวิจัย บทความที่เกี่ยวข้องและการ
ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการผลิตสุรากลั่น ผู้วิจัยเลือกศึกษากฎหมายไทย
และกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ทางคณะผู้วิจัยได้เลือกศึกษา
ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเยอรมณี และประเทศเวียดนาม มาเป็ น
ตัวอย่างในการวิจัยในครัง้ นี ้
2.1 ภาพรวมของสุรา
2.1.1 ความเป็ นมาของสุรา
ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่า ความเป็ นมาของสุราใน
ประเทศไทยเริ่มมาแต่เมื่อใด แต่อาจจะอนุมานได้ว่า ผูค
้ นในดินแดนแถบ
นีน
้ ่าจะรู้จักสุรามาเป็ นเวลานานแล้ว จากข้อเท็จจริงที่ว่าคนในดินแดน
แถบนีร้ ้จ
ู ักปลูกข้าวมาไม่น้อยกว่า 5,000 ปี ดังปรากฏหลักฐานที่ถ้ำทุ่งบัง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี หากว่ากันในตํานาน
สุราของเมืองไทย ก็ล้วนเป็ นตํานานที่มาจากภายนอก ซึง่ มีบางส่วนมา
จากพระไตรปิ ฎก ส่วนในตํานานกําเนิดสุราที่เป็ นของไทยเราเองนัน
้ ยังไม่
พบ สําหรับหลักฐานเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่พูดถึงสุราก็คือ จารึก
ภาษาเขมรที่ปราสาทพนมรุ้ง กล่าวถึงการเซ่นสรวงมีการใช้สุรา
สุราชนิดแรกที่คนไทยรู้จักคือ “สุราแช่” ที่ได้จากการหมักข้าว
ตามกระบวนการธรรมชาติซึ่งเป็ นวิวัฒนาการของสุราทั่วโลกเช่นกัน ส่วน
สุรากลั่นนัน
้ กว่ามนุษย์จะทําได้ก็หลังจากนัน
้ ไม่น้อยกว่า 4,000 ปี โดยเชื่อ
ว่า คนจีนรู้จักกลั่นสุรามาตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้ว แต่ยังไม่แพร่
หลาย ส่วนยุโรปแม้ว่าจะรู้จักกลั่นแอลกอฮอล์จากเหล้าไวน์เมื่อประมาณ
คริสต์ศตวรรษที่ 12 แล้ว แต่ผลิตให้เป็ นอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภค
อย่างเครื่องดื่มเมื่อราวศตวรรษที่ 17 หรือ 18
อย่างไรก็ตามในสมัยพระนารายณ์มหาราช คนไทยรู้จักสุรา
กลั่นที่เรียกกันทั่วไปว่า “เหล้าโรง” ส่วนฝรั่งเรียก “เหล้าอารัก” ยังมีสุรา
อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งทําจากข้าว ได้แก่ “สัมชู” (Samshoe) มีดีกรีแรงมาก
ภายหลังเมื่อคบค้ากับตะวันตกมากขึน
้ คนไทยก็ร้จ
ู ักสุราแช่ สุรากลั่นชนิด
ต่าง ๆ มากขึน
้ เช่น ไวน์หรือเหล้า องุ่น เบียร์ แชมเปญ วิสกี ้ บรั่นดี
เป็ นต้น
การบริโภคสุราในอดีต จวบจนต้นยุครัตนโกสินทร์ จาก
บันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยนีม
้ ักกล่าวกันว่า คนไทยแต่เดิมไม่
ดื่มสุราเท่าใดนัก ดังในบันทึกของ ลาลูแบร์ แชรแวส และสังฆราชแห่งเบ
ริธ กล่าวกันว่า น้ำบริสุทธิเ์ ป็ นเครื่องดื่มทั่วไปของชาวสยามที่นิยมรองลง
มาคือน้ำชา ส่วนสุรานัน
้ มีน้อยมากและเฉพาะคนชั่วร้ายเท่านัน
้ ซึ่งมี
อิทธิพลทางพุทธศาสนาที่ให้งดเว้นจากสุราและสิง่ มึนเมา ศีลข้อสําคัญข้อ
หนึ่งซึง่ มีปรากฏในพระไตรปิ ฎกคัมภีร์ต่าง ๆ ของพุทธศาสนาก็เช่นกัน
ส่วนที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมากที่สุดคือ ไตรภูมิพระร่วง นอกจากนีค
้ ําสอน
ในวรรณกรรมท้องถิ่นมากมาย ทัง้ ในอีสานและภาคใต้ได้สง่ ผลต่อค่านิยม
เกี่ยวกับความดี เช่น ผู้ชายที่ดีที่ควรเลือกเป็ นคู่ครองคือคนที่ถือศีล 5 ดัง
ปรากฏในขุนช้างขุนแผนก็กล่าวถึง หรือในสุภาษิตสอนหญิงของ “สุนทร
ภู่” ก็สะท้อนทัศนคติเดียวกัน
การเสพสุรา ในสมัยรัชกาลที่ 3-5 หลังจากการล่มสลายของ
กรุงศรีอยุธยา การค้าสุราซบเซาลงไป ประชาชนอดอยากยากจนกันมาก
จนพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องจ่ายพระราชทรัพย์ซ้อ
ื ข้าวสารเลีย
้ งราษฎร การ
ผลิตและจําหน่ายสุราอย่างเป็ นล่ำเป็ นสันมาเริ่มอีกทีในสมัยสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกฯ มีการสร้างโรงงานบางยี่ขัน โดยนายอากรสุรา
รายได้รัฐเพิ่มขึน
้ จนถึงสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ
การบริโภคสุราจนมึนเมาได้แพร่หลายมากขึน
้ ในหมู่คนไทย ชาวต่างชาติ
เริ่มเห็นเป็ นเรื่องธรรมดา ปาลเลกัวซ์ พบว่า มี “คนขีเ้ มาและเด็กกลาง
ถนนเป็ นอันมาก” และปรากฏว่ามีการทะเลาะวิวาทชกตีกันตามถนน
และในเขตบ้านเรือนผู้อ่ น
ื จนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
ออกประกาศห้ามก่อเหตุนอกบ้านเรือนของตน ปรากฏการณ์ดังกล่าวมี
สาเหตุมาจาก
การอพยพของชาวจีน ตัง้ แต่ต้นกรุงศรีอยุธยามีมากขึน

เรื่อยมาเพราะภาวะแร้นแค้นในประเทศจีน คนจีนอพยพมาอยู่ใน
กรุงเทพฯและตามหัวเมือง ทําให้การผลิตและจําหน่ายสุรากลั่นขยายตัว
ทัง้ ในด้านปริมาณและท้องที่ เมืองที่มีคนจีนมักพบว่ามีโรงกลั่นสุราตัง้ อยู่
ด้วย กลุ่มบุคคลที่บริโภคสุรามากที่สุด คือกุลีจีน สมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจีน
ที่อพยพมาเป็ นแรงงานมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนทําให้รัฐมีรายได้จากสุรา
เป็ นอันมาก การที่สุราแพร่หลายมากับคนจีนเป็ นผลให้คนไทยในท้องถิ่น
เข้าถึงและหาซื้อสุราได้ง่ายกว่าแต่ก่อน
การหลั่งไหลของสุราต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2398 การทํา
สัญญาบาว์ริง ตลอดจนสัญญาที่ทํากับประเทศตะวันตกในเวลาต่อมา
เกี่ยวกับเรื่องการค้า ได้ระบุยกเลิกการค้าผูกขาดโดยรัฐ ยกเว้นสินค้าต้อง
ห้ามบางชนิด มีความเข้าใจต่างกันในเรื่องสินค้าต้องห้าม ไทยถือว่าอาวุธ
ปิ่ น รวมทัง้ สุราต่างประเทศ เป็ นสินค้าต้องห้าม แต่ต่างประเทศไม่นับรวม
ด้วย จึงมีการนําสุราต่างประเทศเข้ามาเป็ นจํานวนมาก โดยยอมเสียภาษี
ขาเข้าร้อยชักสามเช่นเดียวกับสินค้าชนิดอื่น
นโยบายของรัฐบาลทางด้านสุรา ปั จจัยประการหนึ่งก็คือ
นโยบายอากรสุราซึ่งมีความเด่นชัดขึน
้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเก็บภาษี
อากร โดยจัดเก็บภาษีอากรชนิดใหม่และเน้นชนิดที่เคยจัดเก็บเดิมให้มาก
ขึน
้ เช่น อากรสุราด้วย การปรับปรุงนีส
้ ่งผลให้รัฐสมัยนีม
้ ีรายได้มากกว่า
รัชกาลที่ 2 เกือบ 11 เท่า และอากรที่ทํารายได้ให้แก่รัฐเป็ นจํานวนไม่
น้อย ได้แก่ อากรสุรา
การเสพสุราสมัยรัชกาลที่ 6 จนสิน
้ สุดสงครามโลกครัง้ ที่
สองรัฐบาลได้เริ่มใช้นโยบายใหม่ คือยกเลิกการให้สิทธิผูกขาดแก่นาย
อากรสุรา โดยรัฐจัดเก็บภาษีสุราเอง เพราะเหตุว่าระยะหลังรายได้ตกต่ำ
นายอากรไม่ส่งเงินให้รัฐตามจํานวนเงินที่ประมูลได้ วิธีใหม่นรี ้ ัฐได้จัดเก็บ
ภาษีสุราเป็ นมณฑล ทําให้การจําหน่ายสุราแพร่ไปได้ไกลและสะดวกขึน

ปรากฏว่าปี แรกสุราขายดีมาก กล่าวได้ว่าการส่งเสริมการจําหน่ายสุราให้
ได้มากที่สุด เป็ นนโยบายที่เด่นชัดของรัฐบาล เช่น ให้ผลตอบแทนแก่เจ้า
หน้าที่รัฐในด้านความก้าวหน้าทางตําแหน่ง และเอกชนที่ขายเกินสัญญา
เป็ นต้น
การบริโภคสุรายุค 90s การสิน
้ สุดของสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เปรียบ
เสมือนการ เริ่มต้นของยุคใหม่แห่งการบริโภคและการจําหน่ายสุราใน
ประเทศไทย ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนความ
ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งตามมาหลังจากนัน
้ มีผลอย่างมากต่อทัศนคติ
และการขยายตลาดสุราให้กว้างขวางขึน
้ โดยเฉลี่ยแล้ว ทุก 10 ปี รายได้
จากภาษีสุราจะเพิ่มเป็ น 3 เท่าตัว ปั จจุบันมีโรงงานผลิตสุราของรัฐและ
เอกชนกว่า 40 โรงงาน มีปริมาณการขาย 613 ล้านลิตร (พ.ศ. 2533) ไม่
นับสุราต่างประเทศที่นําเข้ารวม 14 ล้านลิตร
จวบจนปั จจุบันสําหรับสุราเถื่อนแล้ว ยังได้รับความนิยม
จากประชาชนในชนบท จึงยังเป็ นปั ญหาให้รัฐอยู่นั่นเอง แม้จะมีการปราบ
ปรามอย่างมากมาย นโยบายของรัฐในด้านสุราจึงเน้นที่การควบคุมการ
บริโภคสุราเถื่อน โดยพยายามเปลี่ยนให้หันมาบริโภคสุราของรัฐแทน ซึ่ง
รัฐให้ความสําคัญยิ่งกว่าการควบคุม หรือลดการบริโภคสุราเสียอีก ส่วน
มาตรการหลัก ๆ ที่รัฐใช้มีเพียงมาตรการเดียวเท่านัน
้ ที่พอจะกล่าวได้ว่า
เป็ นไปเพื่อควบคุมการบริโภคสุราของประชาชน ได้แก่ การผูกขาดการ
7
ผลิตสุรา

2.1.2 ประเภทของสุรา
สุรา หมายความรวมถึง วัตถุทงั ้ หลายหรือของผสมที่มี
แอลกอฮอล์ซงึ่ สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา หรือซึง่ ดื่มกินไม่ได้แต่
เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับ
น้ำสุรา
จากนิยามจะเห็นได้ว่า สุรา กฎหมายมิได้ให้ความหมายไว้
โดยตรงผู้ร่างกฎหมายคงเห็นว่าถ้าเป็ นสุรา เช่น สุราแม่โขง สุราแสงโสม
สุราขาวฯ ใครพบเห็นก็สามารถทราบได้ทันทีโดยไม่ต้องให้ความหมายไว้
กฎหมายว่าด้วยสุราใช้คำว่าหมายความรวมถึงนั่นคือ นอกจากสุราที่ร้จ
ุ ัก
กันทั่วไปแล้ว ถ้าเป็ นสิง่ อื่นที่มีความหมายว่าด้วยสุราตามที่กำหนดแล้ว
ถือว่าเป็ นสุราเช่นเดียวกัน
คำอธิบายพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 ได้วิเคราะห์ศพ
ั ท์สิ่ง
ที่หมายความรวมถึงว่าเป็ นสุราด้วยไว้อย่างชัดเจน ดังนี ้
1.วัตถุทงั ้ หลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอร์ซึ่งสามารถดื่มกิน
ได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา เช่น น้ำส่าหมัก น้ำขาว น้ำตาลเมา หรือที่ชาวบ้าน
เรียกกระแช่ สาโทอุ เป็ นต้น

7
พระไพศาล วิสาโล,เปิ ดโลกสุราในไทย บันทึกฝรั่งว่าสยามนิยมดื่มแต่น้อย ทำไมกระดกกันอื้อ
สมัยรัตนโกสินทร์,ศิลปวัฒนธรรม, ฉบับธันวาคม พ.ศ.2536, เข้าถึงได้จาก :
https://www.silpa-mag.com/history/article_25141, [3 มิถุนายน 2566]
2.วัตถุทงั ้ หลายหรือของผสมแอลกอฮอร์ซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อ
ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา
เช่น แอลกอฮอล์หรือสุราสามทับซึ่งดื่มกินโดยธรรมดาไม่ได้ แต่เมื่อเติมน้ำ
หรือของเหลวอย่างอื่นก็ด่ ม
ื กินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา เช่น ในการทำสุรา
แม่โขง หรือสุราผสม จะต้องกลั่นสุราขาวเป็ นสุราสามทับหรือเรียกกันว่า
แอลกอฮอร์ที่มีดีกรีตงั ้ แต่ 80 ดีกรี แล้วนำไปผสมกับน้ำกลั่นให้ได้ดีกรี 35
8
ดีกรี และปรุงด้วยหัวน้ำเชื้อหรือหัวยาเป็ นสุราปรุงพิเศษหรือผสมเป็ นต้น
สุราแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ
1.สุราแช่ หมายถึง สุราที่ไม่ได้กลั่น และให้หมายความรวมถึง
สุราแช่ที่ไม่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 50
ดีกรีด้วย สุราแช่และผลิตภัณฑ์มีหลายชนิด เช่น สาเก สาโท กระแช่
้ื อง ไวน์ ทัง้ นีไ้ ม่รวมเบียร์
น้ำตาลเมาและสุราแช่นเมื
2.สุรากลั่น หมายถึง สุราที่ได้กลั่นแล้ว และให้หมายความรวม
ถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 50 ดีกรี
ตัวอย่างของสุรากลั่น เช่น วิสกี ้ บรั่นดี วอดก้า รัม สุราขาวและสุราพิเศษ
9
เป็ นต้น
การที่กฎหมายต้องกำหนดให้แยกประเภทสุราแช่และสุรา
กลั่นให้ชัดเจนเพราะจะมีผลกับจำนวนภาษีที่ผู้ผลิตสุราต้องเสียและการ
กำหนดโทษกรณีมีการกระทำผิดบางฐานความผิด
หลายคนมีการเข้าใจผิดว่าสุรากลั่นต้องมีแรงแอลกอฮอล์เกิน
สิบห้าดีกรีและสุราแช่ต้องแรงแอลกอฮอล์ต่ำก่าสิบห้าดีกรีเสมอ แต่
แท้จริงแล้วสุราแช่และสุรากลั่นแท้ๆที่ตัวมันเองไม่ได้ผสมกับอะไรจะมีกี่
8
ไกวัล เปี ยระบุตร (ม.ป.ป.).ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสุรา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://shorturl.asia/1cDpl [3 มิถุนายน 2566]
9
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์, “สุรา”,ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร,เข้าถึงได้
จาก : https://shorturl.asia/8539W, [3 มิถุนายน 2566]
ดีกรีก็ได้ การจะพิจารณาดีกรีสุราประกอบ คือ กรณีที่มีการนำสุราแช่และ
สุรากลั่นมาผสมกัน ถ้าสุราที่ผสมแล้วมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าสิบห้าดีกรี
ให้ถือว่าเป็ นสุราแช่ ถ้าแรงแอลกอฮอล์เกินสิบห้าดีกรีก็ให้ถือว่าเป็ นสุรา
กลั่น เหตุที่ต้องกำหนดแบบนีเ้ พื่อประโยชน์ในการพิจารณาเก็บภาษีว่าจะ
10
ใช้อัตราภาษีสุราแช่หรือสุรากลั่น

2.1.3 ประโยชน์และโทษของการดื่มสุรา
สุรากับหัวใจ
ประโยชน์ : แอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอลซึ่งเป็ น
คอเลสเทอรอลที่ดี ลดการแข็งตัวของเกร็ดเลือด ลดการดื้อต่ออินซูลิน ซึ่ง
ช่วยป้ องกันโรคหัวใจสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจากเบาหวาน ความดันโลหิต
สูงและในผู้ที่มีประวัติหัวใจวายมาก่อน ปั จจุบันนักวิจัยชาวยุโรปเชื่อว่า
แอลกอฮอล์เกี่ยวข้องกับระดับสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น สารซีอาร์พี
หากทำให้สารนีล
้ ดลงจะป้ องกันโรคหัวใจได้
โทษ : การดื่มแอลกอฮอลล์วันละ 3 ดริ๊งค์ขน
ึ ้ ไปอาจ
ทำให้อ้วน เพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
เส้นเลือดสมองตีบหรือแตก หัวใจล้มเหลว ดร.ร็อค แจ็คสัน นักระบาด
วิทยาไม่เชื่อในข้อดีของแอลกอฮอลล์เพราะข้อมูลการวิจัยส่วนใหญ่ไม่
สามารถพิสูจน์ผลได้ว่าแอลกอฮอลล์ให้ผลดีต่อหัวใจจริง
สุราและสมอง
10
ไกวัล เปี ยระบุตร (ม.ป.ป.).ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสุรา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :

http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER16/DRAWER017/GENERAL/DATA0000
/00000218.PDF [3 มิถุนายน 2566]
ประโยชน์ : การดื่มพอควรช่วยป้ องกันความเสี่ยงอัลไซ
เมอร์และความจำเสื่อม เมื่อนักวิจัยแห่งศูนย์การแพทย์เบธอิสราเอดีคอ
เนสในรัฐบอสตัน เปรียบเทียบผู้ที่ไม่ด่ ม
ื เลยกับผู้ที่ด่ ม
ื สัปดาห์ละ 1-6 ดริ๊งค์
โดยใช้อาสาสมัคร 6,000 คน พบว่าผู้ที่ด่ ม
ื มีความเสี่ยงโรคความจำเสื่อม
น้อยกว่า งานวิจัยจากฮาร์วาร์ดยังแสดงว่าผู้หญิงที่ด่ ม
ื วันละดริ๊งค์มีความ
เสี่ยงจากสโตร๊คชนิดหลอดเลือดแดงอุดตันเพียงครึ่งเดียว
โทษ : การดื่มมากเร่งให้สมองเสื่อมเร็ว ร่างกายขาด
วิตามิน บี1 ถ้ารุนแรงอาจทำให้ความจำ การเรียนรู้ลดลง เพิ่มความเสี่ยง
สโตร๊ค
สุราและเบาหวาน
ประโยชน์ : การดื่มในระดับน้อยถึงปานกลาง ช่วยลด
ความเสี่ยงเบาหวานลงได้ 36 เปอร์เซ็นต์ ทัง้ ยังลดความเสี่ยงโรคหัวใจใน
ผู้ป่วยเบาหวานด้วย
โทษ : ทำให้อ้วนเพราะแอลกอฮอล์ให้แคลอรี่สูง
ซึ่งอาจนำมาสู่โรคเบาหวาน ความดันและโรคหัวใจ ผู้ด่ ม
ื หนักอาจเสี่ยง
โรคเมตาบอลิกซินโดรม (อ้วนลงพุงร่วมกับร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ความ
ดันโลหิตสูง คอเลสเทอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง รวมทัง้ อันตรายต่อตับ)
โดยเฉพาะในผู้ที่เริ่มดื่มเมื่ออายุยังน้อย
สุราและโรคมะเร็ง
ประโยชน์ : ไวน์แดงและเบียร์ดำมีสารโพลีฟีนอล ซึ่ง
เป็ นสารแอนติออกซิแดนท์สงู (เช่นเดียวกับผลไม้ ผัก และชา) ช่วย
ป้ องกันมะเร็งได้ ฮอพซึ่งใช้ผลิตเบียร์มีสารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่ อ
ื ว่าแซน
โทฮูมอล (xanthohumol) ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งและเพิ่ม
ฤทธิเ์ อนไซม์ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านมะเร็ง
โทษ : การดื่มมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งในช่อง
ปาก หลอดอาหาร กระเพาะ ตับ เต้านม และลำไส้ใหญ่ สมาคมโรคมะเร็ง
แห่งสหรัฐอเมริกาเน้นว่าการดื่มเพียงวันละดริ๊งค์ก็อาจเพิ่มความเสี่ยง
มะเร็งเต้านมได้แล้ว
สุราและกระดูก
ประโยชน์ : นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟพบว่าเบียร์มี
สารซิลค
ิ อนสูง ซึง่ ช่วยสะสมแคลเซียมและแร่ธาตุอ่ น
ื ๆ ในกระดูก ช่วย
เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกสะโพก ป้ องกันกระดูกแตกหัก
โทษ : ซิลิคอนพบมากในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะธัญพืชไม่ขัดสีและ
ผักประเภทราก จึงไม่จำเป็ นต้องดื่มจากเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์รบกวน
การสร้างกระดูกและการทำงานของแคลเซียม วิตามินดี และฮอร์โมนเอส
โตรเจน จึงเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุนและทำให้กระดูกแตกหักจากการ
หกล้มได้ง่าย

สุรากับความอ้วน
ประโยชน์ : แคลอรีจากแอลกอฮอล์มักสะสมที่พุง
มากกว่าแคลอรีจากอาหารชนิดอื่นๆ แต่การดื่มน้อยกลับเป็ นผลดีในการ
ลดพุงได้ แต่ต้องเป็ นวันละ 1 ดริ๊งค์เท่านัน
้ งานวิจัยจากคลินิกเมโยใน
ผู้ใหญ่ 8,200 คนพบว่า ผู้ที่ด่ ม
ื วันละดริ๊งลดความเสี่ยงพุงพลุ้ยลงถึง 54
เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ด่ ม

โทษ : การดื่มมากกว่า 4 ดริ๊งค์ขน
ึ ้ ไปเพิ่มความเสี่ยงโรค
อ้วน 46 เปอร์เซ็นต์ เพราะแคลอรีที่ได้จากอาหารจะถูกเปลี่ยนเป็ นไขมัน
สะสมในร่างกาย ยกเว้นว่าเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึน
้ ไวน์แก้วขนาด
150 มล. หรือเบียร์ประมาณ 360 มล. (1 กระป๋อง) ให้พลังงานเฉลี่ย
100-150 แคลอรี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผสมเครื่องดื่มอย่างอื่นอาจมี
พลังงานสูงถึงหลายร้อยแคลอรี ยิ่งกว่านัน
้ เมื่อเวลาที่ด่ ม
ื สังสรรค์มักจะมี
11
อาหารที่มีแคลอรีสูงกินร่วมด้วย จึงทำให้อ้วนได้ง่าย
ประโยชน์ต่อประชาชนในด้านอื่นๆ
1.เพิ่มรายได้เกษตรกร
เบียร์-สุราหมักจากข้าว ไวน์ หมักจากพืชพรรณผลไม้
ต่างๆ กฎหมายสุราเสรีจะทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการ
เกษตร การมีกฎหมายสุราเสรีจะช่วยให้เราปลดปล่อยศักยภาพและความ
สร้างสรรค์ ให้นักปรุงสุราจากพื้นที่ต่างๆ สามารถคิดค้นวิธีการของตัวเอง
ในการสร้างสรรค์สินค้าเกษตรให้เป็ นสินค้ามูลค่าสูงให้ผู้บริโภคได้ลม
ิ ้ ลอง
ทำให้เกษตรกรต้นน้ำลืมตาอ้าปากได้
2. กระตุ้นการท่องเที่ยว
ไม่ใช่แค่รายได้จากสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึน
้ สุรายังช่วยให้
แต่ละท้องถิ่นดึงเอกลักษณ์ของตัวเองออกมา สุราสามารถสร้างเรื่องราว
เพื่อเปิ ดประตูให้เราไปเรียนรู้และทำความรู้จักท้องถิ่นเหล่านี ้ กระจาย
ความน่าค้นหาของประเทศไทยไปสู่พ้น
ื ที่ต่างๆ
ตัวอย่างเช่น จ.แพร่ จะไม่ใช่เพียง “เมืองรอง” ที่รอคอย
นักท่องเที่ยว แต่จะกลายเป็ น “เมืองหลวงสุราก้าวหน้า” จากความรุ่ม
รวยของสุราท้องถิ่น และไม่ได้เชื่อว่ามีแค่จังหวัดแพร่ แต่เรื่องราวของพืช

11
iECM COMPANY LIMITED (ม.ป.ป.). แอลกอฮอล์ด่ ม
ื อย่างไรให้ได้ประโยชน์ (ออนไลน์). เข้า
ถึงได้จาก : http://www.iecm.co.th/cm_news/news_update/knowledge_78.html
[5 มิถุนายน 2566]
พรรณ ภูมิปัญญา และความสร้างสรรค์ของท้องถิ่นยังมีแบบนีอ
้ ีกทั่ว
ประเทศ สุราเสรี คือประตูที่เปิ ดพาพวกเราไปค้นพบศักยภาพเหล่านี ้
3. กระจายรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย
ในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดเท่ากัน ประมาณ
400,000 ล้านบาท/ปี ประเทศญี่ปุ่นมีผู้ประกอบการมากกว่า 20,000
ราย ในขณะที่ไทยแบ่งผลประโยชน์กันในผู้ประกอบการเพียง 7 รายใหญ่
เท่านัน
้ นี่คือประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นถึงการผูกขาดทางอำนาจของ
กลุ่มทุนในประเทศนีท
้ ี่ใช้กฎหมายเป็ นเครื่องมือกดไม่ให้หน่ออ่อนของ
เศรษฐกิจรากหญ้าได้เติบโต ถ้าประเทศสามารถกระจายผลประโยชน์จาก
มูลค่าทางเศรษฐกิจเหล่านีไ้ ปสู่รายย่อยเพียงแค่ 10% นั่นหมายถึงเม็ดเงิน
กว่า 40,000 ล้านบาทในแต่ละปี ที่จะไปเสริมเศรษฐกิจฐานรากของ
ประเทศให้เติบโต

4. สร้างประเทศที่ไม่ผูกขาด
สุรา ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของผู้ผลิตสุรากับผู้ด่ ม
ื สุรา ไม่ใช่
เพียงเรื่องของศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ถูกปลดปล่อย แต่คือสัญลักษณ์ที่
แสดงให้เห็นว่าพลังของประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ
เอาชนะกลุ่มทุนผูกขาดได้
2.1.4 สถานการณ์ในปั จจุบัน
1.สถิติการดื่มสุราในต่างประเทศ
1.1 ทั่วโลก ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกจัดอันดับ
ประเทศที่มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงที่สุด โดยคำนวณเฉพาะที่
เป็ นแอลกอฮอล์ต่อจำนวนประชากร ดังนี ้
อันดับ 1. ประเทศเบลารุสซึ่งเป็ นประเทศเล็กๆที่
ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรป 14.4 ลิตรต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่าสหรัฐอเมริกา
1.5 เท่า
อันดับ 2.ประเทศลิทัวเนีย 12.9 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 3.ประเทศเกรนาดา 11.9 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 4.สาธารณรัฐเช็กและฝรั่งเศส 11.8 ลิตร
ต่อคนต่อปี
อันดับ 5.ประเทศรัสเซีย 11.5 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 6.ประเทศไอรืแลนด์ ประเทสลักเซมเบิร์ก
และประเทสสโลวะเกีย 11.4 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 7.ประเทศเยอรมณีและประเทศฮังการี
11.3 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 8.ประเทศโปรตุเกส 11.0 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 9.ประเทศโปแลนด์ 10.9 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 10.ประเทศสโลวีเนีย 10.6 ลิตรต่อคนต่อ
12
ปี
หากใช้เกณฑ์การวัดต่อจำนวนประชากรจะพบว่า 10 อันดับ
แรกนัน
้ ส่วนใหญ่จะเป็ นประเทศในแถบยุโรปเป็ นหลัก มีเพียงประเทศ
เกรนาดาที่อยู่ในแถบคาริบเบียนและประเทศรัสเซียที่ถือว่าอยู่ในแถบ ยู
เรเซีย แต่หากวัดจากเกณฑ์ตามอายุทางกฎหมายที่แต่ละประเทศกำหนด
ให้สามารถดื่มและซื้อเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ได้ อันดับการบริโภค
แอลกอฮอล์ต่อประชากรก็จะเปลี่ยนเป็ น

12
EDITORIAL STAFF, “Global Drinking Demographics”,American Addiction
Centers,Accessed June 5, 2023. https://shorturl.asia/q2jHF
อันดับ 1 ประเทศตูนีเนีย 36.6 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 2.ประเทศมัลดีฟส์ 3.7 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 3.ประเทสอาฟกานิสสถาน 33.5 ลิตรต่อ
คนต่อปี
อันดับ 4.ประเทศนามีเบีย 32.4 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 5.ประเทศแอฟริกาใต้ 29.9 ลิตรต่อคนต่อ
ปี
อันดับ 6.ประเทศแอลจีเรีย 29.1 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 7.ประเทศตุรกี 28.5 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 8.ประเทศอิหร่าน 28.4 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 9.ประเทศ ประเทศเลโซโท 28.2 ลิตรต่อ
คนต่อปี อันดับ 10.ประเทศจอร์เจีย
27.9 ลิตรต่อคนต่อปี
และในเกณฑ์นป
ี ้ ระเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 41 ที่จำนวน 20.3
ลิตรต่อคนต่อปี หรือปริมาณบริโภคต่อวันเฉลี่ย 43.9 กรัมต่อคนต่อวัน
13
แยกเป็ นเบียร์ 28.30% ไวน์ 2.70% และเหล้าสปิ ริตอื่นๆ 68.90%
ประเทศที่มีการบริโภคแอลกอฮอร์ต่ำที่สุดในปี 2019 (หน่วยเป็ น
์ ่อหัว)
ลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิต
อันดับ 1.ประเทศโซมาเลีย ประเทศบังคลาเทศ
ประเทศคูเวต ประเทศมอริเตเนีย ประเทศซาอุดิอาระเบีย 0.00 ลิตรต่อ
คนต่อปี
อันดับ 2.ประเทศอฟหานิสถาน 0.013 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 3.ประเทศลิเบีย 0.027 ลิตรต่อคนต่อปี

13
THE MOMENTUM (2563).10 อันดับประเทศที่มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงทีส
่ ุดใน
โลก (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/x8ePd [5 มิถุนายน 2566]
อันดับ 4.ประเทสเยเมน 0.034 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 5.ประเทศอียิปต์ 0.14 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 6.ประเทศสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย 0.19 ลิตรต่อ
คนต่อปี
อันดับ 7.ประเทศภูฏาน 0.21 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 8.ประเทศอินโดนีเซีย 0.22 ลิตรต่อคนต่อปี
อันดับ 9.ประเทศปากีสถาน 0.31 ลิตรต่อคนต่อปี
14
อันดับ 10.ประเทศจิบูตี 0.36 ลิตรต่อคนต่อปี
1.2 ในเอเชีย
ตัวเลขจากการศึกษาของ Observatory Data
Repository จากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ชาวเกาหลีใต้ที่อายุมากกว่า
15 ปี มีอัตราการดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยที่ 10.9 ลิตรต่อคนต่อปี ปั จจัยหลัก
มากความชื่นชอบ “โซจู” เป็ นเหล้าคล้ายวอดก้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยอดฮิตของชาวเกาหลีใต้ จนทำให้ขน
ึ ้ ครองอันดับ 1 ของประเทศที่ด่ ม

แอลกอฮอล์หนักสุดในทวีปเอเชีย
ส่วนอันดับ 2 รองลองมาคือ เวียดนาม ค่าเฉลี่ย
ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์อยู่ที่ 8.7 ลิตรต่อคนต่อปี
ส่วนอันดับที่ 3 คือ ไทย ตกอยู่ที่ 8.3 ลิตรต่อคน
ต่อปี
ส่วนอันดับที่ 4 คือ มองโกเลีย ที่ 7.8 ลิตรต่อคน
ต่อปี
ส่วนอันดับที่ 5 คือ จีน ที่ 7.5 ลิตรต่อคนต่อปี

14
world population review, “Top 10 Countries with the Lowest Alcohol
Consumption in 2019 (in liters of pure alcohol per capita)”,Accessed June 5,
2023. https://shorturl.asia/FcJAW
(ที่จีนดื่มเพิ่มมากขึน
้ เพราะว่าในจีนมีความเชื่อว่า การดื่มเหล้ากับเพื่อน
ร่วมงานจะส่งผลดีต่อความก้าวหน้าในสาขาอาชีพ) ประเทศกลุ่มอิสลาม
เป็ นประเทศที่ด่ ม
ื แอลกอฮอล์น้อยที่สุด ด้วยเหตุผลเรื่องกฎหมายที่เข้ม
งวดสูงมาก (อิทธิพลจากศาสนาอิสลาม) พบว่า ในอินโดนีเซีย และ บัง
คลาเทศ ผูค
้ นในประเทศมีค่าเฉลี่ยการดื่มไวน์ต่อคนต่อปี เพียง 0.6 และ
0.2 ลิตรตามลำดับ ส่วนประเทศที่มีค่าเฉลี่ยการดื่มต่ำสุดในเอเชีย คือ
15
ปากีสถาน เฉลี่ยอยู่ที่ 0.1 ลิตรต่อคนต่อปี

2.สถิติการดื่มสุราในประเทศไทย
1.นักดื่มปั จจุบัน หมายถึง ผู้ที่ด่ ม
ื สุราอย่างน้อยหนึ่งครัง้
ใน 12 เดือนที่ผ่านมา โดยการดื่มหนึ่งครัง้ นีไ้ ม่รวมกรจิบหรือชิมเพียงเล็ก
น้อย แต่หมายถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประมาณอย่างน้อยหนึ่ง
หน่วยดื่มมาตรฐานต่อครัง้
จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร
พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 ประชากร
ไทยอายุตงั ้ แต่ 15 ปี ขึน
้ ไป 15.96 ล้านคน หรือร้อยละ 28.00 เป็ นนักดื่ม
ปั จจุบัน โดยอัตรา ความชุกของนักดื่มปั จจุบันนี ้ ลดลงเล็กน้อยจากปี
พ.ศ. 2560 (ร้อยละ 28.41) ถึงแม้ว่า เมื่อคิดเป็ นจำนวนคนจะ เพิ่มขึน

ก็ตาม (จำนวนนักดื่มปั จจุบันในปี 2560 เท่ากับ 15.89 ล้านคน)
เนื่องจากจำวนประชากรไทยที่ใช้เป็ นฐาน ในการประมาณค่าเพิ่มมากขึน

เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ประชากรชาย 12.77 ล้าน
คน (ร้อยละ 46.44) เป็ นนักดื่มปั จจุบัน สำหรับ ประชากรหญิง มีเพียง
3.20 ล้านคน (ร้อยละ 10.83) เท่านัน
้ ที่เป็ นนักดื่มปั จจุบัน ซึ่งอัตราความ
15
ธงชัย ชลศิริพงษ์, “เกาหลีใต้เป็ นแชมป์ ด่ ม
ื แอลกอฮอล์มากที่สุดในเอเชีย เฉลี่ย 10.9 ลิตรต่อปี
ส่วนพี่ไทยครองที่ 3”, Brand Inside, เข้าถึงได้ จาก : https://brandinside.asia/south-
korea-most-drink-alcohol/, [5 มิถุนายน 2566]
ประชากรหญิง น้อยกว่าความชุกในประชากรชายถึงประมาณสี่เท่า และ
เมื่อจำแนกตามกลุ่มวัย ความชุกของการดื่มสุราในปั จจุบัน สูงที่สุดใน
ประชากรกลุ่มวัยทำงานตอนต้น (อายุ 25-44 ปี ) โดยประชากรกลุ่มนีร้ ้อย
ละ 36.53 เป็ นนักดื่มปั จจุบัน และความชุกของนักดื่มปั จจุบันนีต
้ ่ำสุดใน
ประชากรอายุ 15-19 ปี (ร้อยละ 8.97) และ 60 ปี ขึน
้ ไป (15.06) ตาม
ลำดับ นอกจากนี ้ ประชากรไทยอายุตงั ้ แต่ 15 ปี ขึน
้ ไป 11.78 ล้านคน
หรือร้อยละ 20.65 ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์อย่างน้อยหนึ่งครัง้ ในช่วง
30 วันก่อนการสำรวจครัง้ นี ้ โดยส่วนใหญ่เป็ นประชากรชาย (10.10 ล้าน
คน หรือคิดเป็ นความชุกร้อยละ 36.74 ประชากรชายไทยอายุตงั ้ แต่ 15
ปี ขึน
้ ไป) ส่วนประชากรหญิงมีเพียง 1.68 ล้าน คน หรือร้อยละ 5.68
เท่านัน
้ ที่ดี่มสุราในช่วง 30 วันก่อการสำรวจ อัตราความชุกของผู้ที่ด่ ม
ื ใน
30 วันที่ผ่านมาสูง ที่สุดในกลุ่มอายุ 25-44 ปี ซึ่งคิดเป็ นร้อยละ 26.97
และต่ำสุดในกลุ่มอายุ 15-19 ปี (ร้อยละ 5.44)
เมื่อพิจารณาแนวโน้มของพฤติกรรมการดื่มสุราใน
ปั จจุบันของประชากรไทยในระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ ผ่านมาพบว่าอัตรา
ความชุกค่อนข้างคงที่ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556 แต่
เพิ่มขึน
้ เล็กน้อยในปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 แล้วจึงลดลงตัง้ แต่ปี
พ.ศ. 2560 เป็ นต้นมา
2.นักดื่มประจำและนักดื่มหนัก
2.1 นักดื่มประจำ หมายถึง ผู้ที่ด่ ม
ื สุราด้วย
ความถี่อย่างน้อย 1 ครัง้ ต่อสัปดาห์ในรอบ 12 เดือนก่อนการสำรวจ
จากการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของ
ประชากร พ.ศ. โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2564 ประชกร
ไทยอายุ 15 ปี ขึน
้ ไปจำนวน 6.99 ล้านคนเป็ นนักดื่มประจำหรือดื่มอย่าง
น้อยหนึ่งครัง้ ต่อสัปดาห์ ซึ่งคิดเป็ นความชุกของการดื่มประจำเท่ากับร้อย
ละ 12.26 (ร้อยละ 23.15 ในประชากรชายและร้อยละ 2.12 ใน
ประชากรหญิง) เมื่อคิดเป็ นจำนวนประชากรจะพบว่า ในปี พ.ศ. 2564 มี
นักดื่มประจำเพศชายอยู่ 6.36 ล้านคน ซึ่งคิดเป็ นกว่า 10 เท่า ของนักดื่ม
ประจำเพศหญิงที่มีอยู่ 0.63 ล้านคนดังนัน
้ จะเห็นว่านักดื่มปั จจุบันชาว
ไทยมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 56.21 ของนักดื่มปั จจุบันทัง้ หมด) จะดื่มเป็ นค
รัว้ คราวหรือดื่มน้อยกว่า 1 ครัง้ ต่อสัปดาห์ โดยเมื่อจำแนกตามเพศพบว่า
นักดื่มเพศหญิงส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80.39 ของนักดื่มปั จจุบันเพศหญิง)
เป็ นนักดื่มเป็ นครัง้ คราว ในขณะที่นักดื่มปั จจุบันเพศชายประมาณครึ่ง
หนึ่ง (ร้อยละ 50.15) ดื่มเป็ นครัง้ คราวและอีกครึ่งหนึง่ (ร้อยละ
49.85) ดื่มเป็ นประจำ
นอกจากนีย
้ ังพบว่า นักดื่มปั จจุบันมากถึงร้อยละ
11.01 ดื่มสุราทุกวัน (7 วันต่อสัปดาห์) ร้อยละ 42.2 ดื่มเกือบทุกวัน
(5 วันต่อสัปดาห์) ร้อยละ 9.38 และร้อยละ 19.16 ดื่ม 3-4 วัน และ 1-2
วันต่อสัปดาห์ตามลำดับ โดยสัดส่วนของนักดื่มปั จจุบันเพศชายที่ด่ ม
ื สุรา
ทุกวันหรือเกือบทุกวันสูงถึงร้อยละ 12.66 และร้อยละ 4.85 ในขณะที่นัก
ดื่มปั จจุบันเพศหญิงเพียงร้อยละ 4.44 และร้อยละ 1.82 เท่านัน
้ ที่ด่ ม
ื สุรา
ทุกวันหรือเกือบทุกวัน
เมื่อ พิจ ารณาลัก ษณะทางประชากรของนัก ดื่ม
ประจำ พบว่า นักดื่มประจำเกือบทัง้ หมด (ร้อยละ 91.03) เป็ นผู้ชายและ
อยู่ใ นกลุ่ม วัย ทำงานตอนต้น (อายุ 25-44 ปี ) เป็ นสัด ส่ว นสูง ที่ส ุด และ
(ร้อยละ 42.97) เป็ นผู้ที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าเป็ น
สัดส่วนสูงสุด และ (ร้อยละ 46.25) และต่ำสุดในผู้ที่จบการศึก ษาระดับ
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า
จากการสำรวจพบว่าอัตราความชุกของนักดื่ม
ประจำลดลงมาเรื่อยๆ ตัง้ แต่ปี 2560
2.2 นักดื่มหนัก หมายถึง ผู้ที่ด่ ม
ื สุราหรือเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณ
5 หน่วยดื่มมาตรฐานขึน
้ ไปในช่วงเวลาของการดื่มหนึ่งครัง้ จากการ
สำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ.2564 โดยสำนักงานสถิติ
แห่งชาติ พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปี ขึน
้ ไปประมาณ 5.73 ล้านคนเคย
ดื่มหนักใน 12 เดือนที่ผ่านมาหรือคิดเป็ นความชุกร้อยละ 10.05 โดยแบ่ง
เป็ นนักดื่มเพศชาย 5.05 ล้านคน (ความชุกร้อยละ 18.38 ในประชากร
เพศชายอายุ 15 ขึน
้ ไป) และเพศหญิง 0.68 ล้านคน (ความชุกร้อยละ
2.29) นักดื่มหนักส่วนใหญ่ (4.36 ล้านคน) ดื่มหนักเป็ นครัง้ คราวเท่านัน

ความชุกของนักดื่มหนักประจำในประชากรไทย
อายุ 15 ปี ขึน
้ ไปจึงเท่ากับร้อยละ 2.4 เท่านัน
้ อย่างไรก็ตามมีนักดื่มหนัก
เพศชาย ถึงร้อยละ 2.81 และเพศหญิงร้อยละ 0.92 ที่ด่ ม
ื หนักทุกวันหรือ
เกือบทุกวัน (5-7 วัน/สัปดาห์)
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มวัย ประชากรวัยทำงานตอน
ต้น (อายุ 25-44 ปี ) มีความชุกของการดื่มหนักสูงที่สุดคิดเป็ นร้อยละ
13.77 ประชากรที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ด่ ม
ื (อายุ 15-19 ปี ) มีความชุกของการ
ดื่มอย่างหนักต่ำที่สุด คิดเป็ นร้อยละ 2.88 หากเปรียบเทียบกับการสำรวจ
ที่ผ่านมา พบว่าความชุกของนักดื่มหนักโดยรวมจากการสำรวจปี พ.ศ.
2564 ลดลงจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2560 เพียงเล็กน้อย
2.2 ภาพรวมของสุรากลั่น
2.2.1 ความเป็ นมาของสุรากลั่น
คนไทยรู้จักดื่มสุรามาตัง้ แต่เมื่อไหร่ไม่มีการบันทึกไว้ ทราบ
เพียงว่ามีมานานแสนนานหลายชั่วอายุคนแล้ว หรือตัง้ แต่พุทธกาล ตามที่
พุทธองค์กำหนดบทบัญญัตไิ ว้ในเรื่องศีลห้าหรือศีลฆราวาสและน้ำเหล้าก็
เป็ นภัคตาหารอย่างหนึ่งที่นำมาถวายพระโคในพิธีแรกนาขวัญ ให้พระโค
เลือกดื่มกินเป็ นราชพิธีที่สืบทอดกันมานานหลายสมัยแล้ว ปี ไหนที่พระโค
ดื่มเหล้าทำนายว่าปี นัน
้ ขาวกล้าในนาจะอุดมสมบูรณ์ การค้าระหว่าง
ประเทศจะดี เจริญรุ่งเรือง ตามพิธีบายศรีสู่ขวัญของคนไทยได้มีการนำ
เอาใบคูณและใบยอใส่ไว้ในพานบายศรีมาจุ่มลงในน้ำเหล้าหรือน้ำเมรัย
แล้วสลัดใส่ผู้คนที่มาร่วมประกอบพิธีเรียกว่า “กำมิดฟาย” ซึ่งคำดังกล่าว
บ่งบอกที่มาของเหล้า ตามตำนานที่เหล้ากันมาว่ามีนายพรานชื่อ เจตบุตร
ไปล่าสัตว์และพบเหล้าในโพรงต้นมะขามป้ อมโดยบังเอิญ เนื่องจากนก
แขกเต้าได้คาบเอารวงข้าวมาเก็บไว้ในโพรง เมื่อฝนตกน้ำไหลซึมเข้าโพรง
นานหลายวันทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า “เหล้า” ขึน
้ เมื่อนายพรานได้
ชิมเห็นว่ารสชาติดีและทำให้เมาได้จึงลองนำไปถวายพระราชา เพราะด้วย
รสชาติที่อร่อยแบบแปลกๆ จึงได้ตงั ้ ชื่อว่า “น้ำสุราเมรัย” มาตัง้ แต่
บัดนัน

สุรากลั่น เป็ นชื่อเรียกในภาษาทางการแต่ในภาษาชาวบ้าน
เรียกว่า “เหล้าต้ม” หรือ “เหล้าขาว” ถ้าเป็ นสุราที่ผลิตจากโรงงาน
เรียกว่า “เหล้าโรง” สุรากลั่นได้จากการกลั่นสาโทหรือน้ำตาลเมาด้วย
อุปกรณ์ง่ายๆ ในท้องถิ่นสามารถหมักได้จากการหมักผลผลิตทางการ
เกษตรเกือบทุกชนิด ทัง้ ข้าวเหนียว ข้าวจ้าวและข้าวโพด แม้กระทั่งผลไม้
เช่น กล้วยน้ำว้า ลำไย เป็ นต้น แล้วนำมากลั่นแต่ในบางพื้นที่จะมีสูตร
เฉพาะในการทำลูกแป้ งสุราที่ใช้ทำสุรากลั่นซึ่งไม่ได้นำไปทำเป็ นสาโท เช่น
สุราต้มของคนปกากะญอ สุราข้าวโพดของชนเผ่าม้ง สุรากลั่นผลไม้ของ
ภาคใต้ สุราข้าวเจ้าของภาคกลาง เป็ นต้น
สุรากลั่นจะมีลักษณะใสคล้ายน้ำดื่มแต่รสร้อน ออกหวานเล็ก
น้อยและจะมีกลิ่นหอมของข้าวแต่ละชนิด ถ้าทำจากผลไม้ก็จะมีกลิ่นหอม
ของผลไม้แต่ละอย่าง ปกติจะมีระดับแอลกอฮอร์ 35-70 ดีกรี บางแห่ง
อาจแรงมากจนอาจจุดติดไฟได้ นอกจากนีแ
้ ล้วในขัน
้ ตอนการกลั่นอาจจะ
มีการเติมสมุนไพรเพิ่มเข้าไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสุรากลั่น เช่น
อย่าให้สุราใสเหมือนตาตัก
้ แตนใหญ่ใส่รากหญ้าคา อยากให้สุรามีรสหวาน
ให้ใส่เปลือกเลี่ยนและอยากให้มีดีดรีแรงให้ใส่ข่า เป็ นต้น
ในสมัยก่อนการกลั่นสุราของชาวบ้านจะใช้วัสดุในท้องถิ่นที่อยู่
ตามแต่จะหามาได้ ในชุมชนที่มีไม้จะนำไม้มาทำเป็ นหม้อต้มสุราและใช้
ไม้ไผ่เป็ นท่อนำน้ำสุรา ชุมชนที่มีภูมิปัญญาในการปั ้ นดินและทำเครื่องใช้
ภาชนะดินเผาจะมีภูมิปัญญาในการปั ้ นใช้หม้อดินเผาหวดที่ใช้ในการต้ม
สุรา และบางุมชนเริ่มเปลี่ยนมาเป็ นชุมชนสังกะสีที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ได้
สุราปริมาณมากขึน
้ เมื่อมีการเปิ ดเสรีการผลิตสุรา ชาวบ้านเริ่มสนใจการ
ใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน จึงมีการผลิตอุปกรณ์การต้มสุราแบบสแตนเลสซึ่ง
ทนความร้อนและไม่มีสารตกค้างจากโลหะหนักในขัน
้ ตอนการผลิตและมี
ราคาไม่แพงมากนักมาใช้ต้มสุรา และในปั จจุบันทางสถาบันวิจัย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้พยายามคิดค้นเครื่องกลั่น
สุราแบบที่สามารถควบคุมปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่นตาม
ความต้องการได้สำเร็จและมีราคาไม่แพงรวมถึงมีประสิทธิภาพเหมือนกับ
เครื่องกลั่นในโรงงานขขนาดใหญ่ จึงเป็ นโอกาสที่ชาวบ้านจะสมารถใช้
เครื่องต้มสุราที่มีมาตรฐานดีและมีประสิทธิภาพสูงในราคาที่ไม่แพงได้
หลักการพื้นฐานของการกลั่นสุราตัง้ แต่อดีตจนถึงปั จจุบันจะมี
หลักการเดียวกันคืออาศัยหลักการต้มให้เดือดจนกลายเป็ นไอ ไอน้ำที่
ระเหยขึน
้ มาจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และน้ำเมื่อกระทบความเย็นจะ
เกิดการควบแน่นจนกลั่นตัวมาเป็ นหยดน้ำ จะได้สุรากลั่นที่มีความเข้มข้น
ของแอลกอฮอล์มากกว่าสุราหมัก
โดยอุปกรณ์ที่ใช้จะมีหม้อต้มสุราที่ในยุคแรกๆจะใช้หม้อดิน
เป็ นภาชนะบรรจุน้ำสุราหมักหรือสาโท นำไปต้มให้เดือด ด้านบนจะมี
หม้ออีกใบที่เจาะช่องเชื่อมถึงกัน โดยด้านบนจะปิ ดด้วยผ้าชุบน้ำหรือ
กระทะใส่นำ้ที่มีความเย็น เมื่อมีการพัฒนาการขึน
้ หม้อดินก็เริ่มเปลี่ยนมา
เป็ นปี๊ บหรือถัง 200 ลิตร และเปลี่ยนมาเป็ รถังแสตนเลสเพื่อให้ได้สุราที่มี
คุณภาพดี หม้อต้มและอุปกรณ์ควบแน่นในยุคแรกๆจะอยู่ด้วยกัน ต่อมา
เมื่อการพัฒนาคุณภาพขึน
้ ก็มีการแยกอุปกรณ์การควบแน่นออกมาต่าง
หาก เพื่อให้ทำการควบแน่นได้สะดวกและรวดเร็วขึน
้ ไม่ต้องคอยเปลี่ยน
น้ำบ่อยๆ โดยจะมีท่อนำไอน้ำที่ได้จากการกลั่นไปขดอยู่ในถังใส่น้ำเย็น
เพื่อการระบายความร้อนที่เร็วขึน

การกลั่นสุราพื้นบ้านจะแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1.การกลั่นสุราแบบดัง้ เดิมในอดีต
16
2.การกลั่นสุราบบพื้นบ้านในปั จบัน
2.2.2 ประเภทสุรากลั่น
กฎกระทรวงแบ่งประเภทของสุรากลั่นไว้ทงั ้ หมด 5 ประเภท
คือ
1.สุราสามทับ คือ สุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตงั ้ แต่
แปดสิบดีกรีขน
ึ ้ ไป
2.สุราขาว คือ สุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่ง
ปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี
3.สุราผสม คือ สุรากลั่นที่ใช้สุราขาวหรือสุราสามทับมา
ปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี
4.สุราปรุงพิเศษ คือ สุรากลั่นที่ใช้สุราสามทับมาปรุง
แต่งมีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี

16
นางสาวไพลิน พึ่งพา. “ความคิดเห็นของผู้ประกอบการสุราชุมชนในเขตพื้นที่ภาคที่ 6 ที่มต
ี ่อวิธี
การบริหารงานสุรา,” .วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, สาขา การบริหารและพัฒนา
ประชาคมเมืองชนบท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2549.
สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566. ใน ThaiLis, file:///D:/Downloads/31-0007-tpg
%20(1).pdf

5.สุราพิเศษ คือ สุรากลั่นที่ทำขึน
้ โดยกรรมิธีพิเศษ มีแรง
แอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท ได้แก่
5.1 ประเภท วิสกี ้ บรั่นดี รัม ยิน หรือสุราแบบ
ต่างประเทศอย่างอื่น
5.2 ประเภทเกาเหลียง เชี่ยงชุน บุ้งกุ่ยโล่ว หรือ
17
สุราจีนอย่างอื่น
2.2.3 ชนิดของเครื่องกลั่น
1.เครื่องกลั่นแบบหม้อต้ม เป็ นแบบที่ใช้กันทั่วไป และใน
อุตสาหกรรมการกลั่นสุราของต่างประเทศ ก็ยังใช้เครื่องกลั่นแบบนี ้ เพียง
แต่มีการออกแบบและวัสดุแตกต่างกัน และมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ในการ
ผลิตสุราชุมชน
หลักการก็ง่ายๆ คือ มีหม้อต้ม ใช้ความร้อนจากไอน้ำ
จากไฟฟ้ า หรือจากก๊าซหุงต้ม ทำให้น้ำส่าร้อนขึน
้ และเกิดไอระเหยขึน
้ ไป
ส่งผ่านคอห่าน ไปยังคอนเดนเซอร์ควบแน่นให้เป็ นของเหลว
การใช้ทองแดงเป็ นวัสดุ มีเหตุผลที่เรียนรู้จาก
ประสบการณ์แต่โบราณ และปั จจุบันโรงกลั่นสุราทัง้ วิสกีแ
้ ละบรั่นดีของ
ต่างประเทศ ร้อยทัง้ ร้อยก็ยังใช้หม้อทองแดงกันอยู่ ข้อดีของทองแดง
ได้แก่
1.ทองแดงช่วยสลายสารประกอบซัลเฟอร์และเอสเทอร์
ที่เกิดในระหว่างการหมัก ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พงึ ประสงค์ในสุรากลั่น (มี
ผลการวิจัยยืนยัน)

17
THE MOMENTUM (2563).จากน้ำตาลเมาถึงเหล้าสามทับ : สุราประเภทต่างๆ ตามที่
กฎหมายกำหนด (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://themomentum.co/alcohol-drink-
catagory/ [7 มิถุนายน 2566]
2.ทองแดงนำความร้อนได้ดีมาก ทำให้ช่วยป้ องกันน้ำส่า
ไหม้
3.ทองแดงช่วยป้ องกันการเกิดสารเอธิลคาร์บาเมทซึ่ง
เป็ นสารพิษที่เกิดจากไซยาไนด์ (ไซยาไนด์พบในผลไม้ที่มีเมล็ดแข็ง)
4.ทองแดงช่วยทำให้กลิ่นของสุราดีขน
ึ้
ในมาตรฐานสุราของกรมสรรพสามิต มีการวิเคราะห์
ทองแดง แต่ถงึ แม้ทองแดงจะสามารถละลายได้เล็กน้อย (สุราที่กลั่นได้
อาจมีสีเขียวอ่อนๆ) แต่ก็ยังมีทองแดงต่ำกว่ามาตรฐานน้ำดื่ม และการล้าง
หม้อกลั่นให้สะอาดทุกครัง้ จะช่วยชะทองแดงที่ละลายออกมาได้
หากเราใช้เครื่องกลั่นที่ทำจากสแตนเลสสตีล เราก็อาจใช้
ทองแดงเป็ นส่วนประกอบของเครื่อง โดยเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับไอ เช่น
ข้อต่อบริเวณคอห่าน หรือบรรจุลวดทองแดงไว้ในท่อ เป็ นต้น
2.เครื่องกลั่นแบบหอกลั่น
หากไอระเหยมีโอกาสสัมผัสกับของเหลวอย่าง
เพียงพอ แอลกอฮอล์ในส่วนของเหลวก็จะถ่ายเทไปสู่ส่วนไอได้เต็มที่ตาม
กราฟข้างต้น แต่ในหม้อต้มกลั่นแบบพื้นบ้าน ไอมีโอกาสสัมผัสกับ
ของเหลวน้อย ทำให้ต้องกลั่นหลายครัง้ จึงจะได้แอลกอฮอล์ที่เข้มข้น ดัง
นัน
้ หากเราแบ่งส่วนของไอที่ควบแน่นจนกลายเป็ นของเหลวแล้ว ให้ไหล
กลับเข้าสู่หม้อกลั่นโดยไหลสวนทางกับไอที่ระเหยขึน
้ มา จะทำให้มีโอกาส
สัมผัสกันมากขึน
้ เหมือนกับเกิดการกลั่นและควบแน่นกลับไปกลับมา
หลายๆ ครัง้ ทำให้ไอที่ขน ์ ากขึน
ึ ้ มาสุดท้าย มีความบริสุทธิม ้ ทำให้เรา
สามารถตัดหัวตัวหางได้อย่างแม่นยำมากขึน

ของเหลวที่ควบแน่นจากไอ แล้วปล่อยให้ไหลกลับเข้ามานี ้
เราเรียกว่า “รีฟลักซ์” ในหอกลั่นแอลกอฮอล์ที่ต้องการความบริสุทธิส์ ูงๆ
จะมีการวางถาดที่มีรูพรุนไว้เป็ นชัน
้ ๆ เพื่อให้ไอที่เคลื่อนที่ขน
ึ ้ มาบนหอก
ลั่น ไหลผ่านของเหลวที่ไหลลงมาขังอยู่ในถาด ทำให้ทงั ้ สองส่วนได้สัมผัส
กันอย่างดี ยิ่งมีจำนวนถาดมากเท่าใด ยิ่งทำให้ได้แอลกอฮอล์ที่บริสุทธิ ์
18
มากขึน

2.2.4 ปั ญหาของการผลิตสุรากลั่น
ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องการบริหารงานสุรา พ.ศ.
2543 นโยบายดังกล่าวถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการขนาด
ใหญ่ เพราะคุณสมบัติของผู้รับใบนุญาต เช่น ผู้ขอใบอนุญาต ผลิตวิสกี ้
และบรั่นดีขนาดแอลกอฮอล์ 28 ดีกรี ต้องผลิตขัน
้ ต่ำวันละ 3 หมื่นลิตร
และมีพ้น
ื ที่โรงงานไม่น้อยกว่า 200 ไร่ หรือผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรากลั่น
ขนาดแอลกอฮอล์ 28 ดีกรี ต้องผลิตขัน
้ ต่ำวันละ 9 หมื่นลิตรและมีพ้น
ื ที่
โรงงานไม่น้อยกว่า 350 ไร่ เป็ นต้น จากเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ประกอบการ
รายใหม่และผู้ผลิตสุราระดับท้องถิ่นจึงยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบ
ได้https://www.econ.cmu.ac.th/econmag/journals/issue13-
1_2.pdf เศก เมธาสุรารักษ์ . “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การผลิตสุรา
กลั่นชุมชนเขตภาคเหนือ” วารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
13 มกราคม-มิถุนายน 2552:36.
และภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กำหนด ซึง่ เป็ นไปตามประกาศกรมสรรพ
สามิต เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอนุญาตให้ทำและขายสุรา
กลั่นชุมชน พ.ศ. 2546 และประกาศกรมสรรพสามิตเรื่องหลักเกณฑ์ วิธี
การ และเงื่อนไขการอนุญาตให้ทำและขายสุราแช่ชนิดสุราผลไม้ สุราแช่
พื้นเมืองและสุราแช่อ่ น
ื นอกจากเบียร์ พ.ศ. 2546 โดยผู้ที่จะขออนุญาต
ผลิตสุราพื้นบ้านได้ คือประชาชนหรือกลุ่มบุคคล ได้แก่ (1) เป็ นสหกรณ์
(2) เป็ นกลุ่มบุคคลธรรมดาผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายเกี่ยวกับวิสาหกิจ
18
SuraThai (2554).การผลิตสุรากลั่นชุมชน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://surathai.wordpress.com/all-post/ [7 มิถุนายน 2566]
ชุมชน (3) เป็ นกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์
พ.ศ. 2542 และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ที่สถานที่ทำสุราตัง้ อยู่ขณะที่ขอ
อนุญาต (4) เป็ นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีผู้ถือ
หุ้นทุกคนมีสญ
ั ชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุรากลั่น
ชุมชนตัง้ อยู่ขณะที่ขออนุญาต และ (5) เป็ นองค์กรเกษตรกรตามพระราช
บัญญัติกองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 และมีภูมิลำเนาอยู่
ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุราตัง้ อยู่ขณะที่ขออนุญาต จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับการผลิตสุราพื้นบ้านในประเทศไทย เป็ นการบัญญัติที่มี
ลักษณะเป็ นการปิ ดกัน
้ และตัดสิทธิของประชาชนในสังคมท้องถิ่น อีกทัง้
ยังก่อให้เกิดความไม่เป็ นธรรมแก่ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านในระดับครัวเรือนและ
โรงงานผลิตสุราพื้นบ้านขนาดย่อม
http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/
6312019048/16629663321e9692bf52adce8d29fa30e07477a90
1_abstract.pdf
พัชรินทร อุบลรัตน์, “ปั ญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการผลิตสุราพื้น
บ้าน,” (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต,คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง,ม.ป.ป.),หน้า 1-2.
2.3 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 หลักสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิตให้คงอยู่ต่อไป เป็ นสิทธิ
โดยธรรมชาติของมนุษยชาติตงั ้ แต่กำเนิด มนุษย์เป็ นสัตว์ประเภทหนึ่งที่
ต้องกินอาหารเพื่อการอยู่รอด ต้องดื่มน้ำ ต้องหายใจ และต้องมีที่อยู่
อาศัยเพื่อหลีกพ้นจากภัยที่เกิดจากมนุษย์ด้วยกัน หรือสัตว์ร้าย และจาก
โรคภัยไข้เจ็บ แต่สิทธิธรรมชาติในเบื้องต้นก็คือสิทธิที่จะต้องรักษาไว้ซึ่ง
ชีวิตเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็ นทางชีวภาพดังกล่าวมาเบื้องต้น
ในศิล าจารึก ของพ่อขุน รามคำแหงมีก ารพูด ถึง ความอุด มสมบูรณ์
ของอาหารอันเกิดจากการเพาะปลูกและโดยธรรมชาติ เช่น “ในน้ำมีปลา
ในนามีข้าว” มีผลหมากรากไม้มากมาย ขณะเดียวกันก็ได้ระบุถึงสิทธิใน
การค้าขาย “ใคร่จักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือน
ค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” และเพื่อจะส่งเสริมให้เกิดการค้าขาย เพื่อให้
เกิดการไหลเข้ามาของธุรกิจและเงินตรา ก็ได้มีการกำหนดการเก็บภาษี
โดยรัฐสมัยนัน
้ ด้วยการเก็บภาษีเพียงครัง้ เดียว ไม่ได้เก็บภาษีตามด่านกัน

ต่างๆ ดังที่ศล
ิ าจารึกได้ระบุว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบไพร่ล ู่ทาง (transit
tax)” ซึ่งชีใ้ ห้เห็นว่าตัง้ แต่สมัยโบราณมาแล้ว สิทธิในการประกอบอาชีพ
ทำไร่ ทำนา ค้าขาย ทำมาหากิน เป็ นสิทธิขน
ั ้ มูลฐานของมนุษย์ในชุมชน
แต่ส ิท ธิใ นการประกอบอาชีพ ดัง กล่า วอาจจะถูก บิด เบือ นไปจากระบบ
ธรรมชาติ หรือ ระบบตลาดซึ่ง ได้แ ก่ การกำหนดราคาโดยหลัก จำนวน
สินค้า (อุปทาน) และความต้องการสินค้า (อุปสงค์) อันเนื่องมาจากการไม่
ทราบข่า วสารข้อ มูล ความต้อ งการของตลาด ทำให้เ กิด การผลิต ที่เ กิน
จำนวนหรือเนื่องจากการผูกขาดในการรับซื้อและในการขายสินค้าของผู้
ประกอบการที่เรียกว่าคนกลางหรือเนื่องจากการขาดอำนาจต่อรองของผู้
ซึง่ เสียเปรียบในสังคมทำให้ถูกกดราคาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรหรือ
19
ในบางกรณีเกิดจากการรีดภาษีของรัฐฯลฯ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้
สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพของคนในประเทศ ดังนี ้
มาตรา 40 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

19
ลิขิต ธีรเวคิน, “สิทธิในการประกอบอาชีพ,” MGR ONLINE, เข้าถึงได้จาก :
https://mgronline.com/daily/detail/9500000015301’
[7 มิถุนายน 2566]
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดย
อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึน
้ เพื่อรักษาความมั่นคง
หรือเศรษฐกิจของประเทศ การแข่งขันอย่างเป็ นธรรม การป้ องกันหรือ
ขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการ
ประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จำเป็ น หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น
การตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพตามวรรค
สอง ต้องไม่มีลักษณะเป็ นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษา
20
ของสถาบันการศึกษา
เมื่อพิจารณาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 แล้วนัน
้ จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยฉบับปั จจุบันได้ให้สิทธิแก่ปวงชนชาวไทยในเรื่องของเสรีภาพในการ
ประกอบอาชีพ เพื่อให้ปวงชนชาวไทยสามารถทำงานเลีย
้ งชีพ เลีย
้ ง
ครอบครัวได้ แต่ในทางกลับกันก็ยังมีกฎหมายที่ทำให้ปวงชนชาวไทยไม่มี
เสรีภาพในการประกอบอาชีพ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสุรา เนื่องยังคงมี
การกำหนดและควบคุมหลักเกณฑ์ต่างๆ ทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีทุนทรัพย์ไม่
สามารถประกอบอาชีพผลิตสุราได้ ดังนัน
้ ทางคณะผู้วิจัยเห็นว่าควรแก้
กฎหมายที่เกี่ยวกับสุราเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเสรีภาพในการประกอบ
อาชีพ
2.3.2 หลักความเท่าเทียม
หลักความเสมอภาคเป็ นหลักการพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่ง
ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าว คือเป็ นหลักที่ยอมรับว่า
มนุษย์ทุกคนนัน
้ ต่างมีความเท่าเทียมกันและห้ามมิให้รัฐในฐานะที่เป็ น

20
ศิระณัฐ วิทยาธรรมธัช (2551).เสรีภาพในการประกอบอาชีพ : ศึกษาจากกฎหมายห้ามสูบบุหรี่
ในสถานบริการ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://public-law.net/publaw/view.aspx?
id=1282 [7 มิถุนายน 2566]
องค์กรผู้ใช้อำนาจปกครองเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็ นธรรมต่อบุคคลเพราะ
เหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว อายุ ความ
พิการ สถานะของบุคคล การศึกษา หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอัน
ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ความสำคัญอีกอย่างหนึง่ ของหลัก
ความเสมอภาค คือ เป็ นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้อำนาจอธิปไตยตาม
อำเภอใจ การกระทำของรัฐที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของ
บุคคลหากเป็ นการเลือกปฏิบัติด้วยการให้ประโยน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
หรอกลุ่มบุคลใดโดยเฉพาะ รัฐจะต้องสามารถให้คำอธิบายอันสมเหตุสม
ผลได้ว่าเพราะเหตุใดจึงดำเนินการเช่นนัน
้ หากเหตุผลไม่สามารถรับฟั งได้
อาจแสดงให้เห็นได้ว่ารัฐกำลังใช้อำนาจอธิปไตยตามอำเภอใจและ
21
เป็ นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยความไม่เป็ นธรรม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้
บัญญัติรับรองหลักความเสมอภาคไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนี ้ “มาตรา 30
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่า
เทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็ นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความ
แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพ
ทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอัน
ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้

21
อภิวัฒน์ สุดสาว, หลักความเสมอภาค ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(จุลสาร),
(กรุงเทพฯ:ศาลรัฐธรรมนูญ, 2554), 1.
มาตรการที่รัฐกำหนดขึน
้ เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้
บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือ
22
เป็ นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็ นธรรมตามวรรคสาม”
จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับปั จจุบัน เป็ นตัวชีว้ ัดในเบื้องต้นว่าประเทศไทยนัน
้ ได้ให้ความสำคัญ
กับหลักความเสมอภาคด้วยการนำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติใน
23
รัฐธรรมนูญซึ่งมีฐานะเป็ นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทย
แต่อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีหลักความเสมอภาคดัง
กล่าว ประชาชนก็ไม่ได้รับความเสมอภาคเท่าที่ควร เช่น ในเรื่องของการ
ประกอบอาชีพผลิตสุรา ที่รัฐเอื้อผลประโยชน์ในแก่เอกชนหรือผู้ผลิตที่มี
กำลังทรัพย์ได้ผลิตมากกว่าชาวบ้าน โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชาวบ้าน
ทั่วไปไม่สามารถประกอบอาชีพนีไ้ ด้ จึงทำให้เกิดการผูกขาดทางอ้อม ชาว
บ้านไม่สามารถแข่งขันได้และไม่เป็ นธรรมต่อชาวบ้าน หลักความเสมอ
ภาคดังกล่าวจึงเป็ นหลักที่ทางคณะผู้วิจัยนำมาประกอบกับการแก้ไข
ปั ญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสุราเพื่อให้การแก้ไขและหลักดังกล่าว
สอดคล้องกัน
2.3.3 หลัก SDGs
Sustainable Development Goals หรือ SDGs คือ เป้ า
หมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จาก “องค์การสหประชาชาติ”
(United Nations) SDGs มีวัตถุประสงค์เพื่อยุติความยากจน ปกป้ อง
พิทักษ์โลก ทำให้ทุกคนมีความสงบสุขและความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน เป้ า

สมคิด เลิศไพฑูรย์ (ม.ป.ป.).หลักความเสมอภาค ตามคำวินิิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ


22

(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://kpi.ac.th/media/pdf/M7_13.pdf [11 มิถุนายน


2566]
23
อภิวัฒน์ สุดสาว, หลักความเสมอภาค ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(จุลสาร),
(กรุงเทพฯ:ศาลรัฐธรรมนูญ, 2554), 1.
หมายที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้ มีทงั ้ หมด 17 เป้ าหมาย ซึ่งเป้ า
หมายที่สอดคล้องกับวิจัยเรื่อง สุราเสรีกลั่น มีดังนี ้
เป้ าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ (End
poverty in all its forms everywhere) เป็ นเป้ าหมายที่ว่าด้วยการลด
ความยากจนทัง้ ทางเศรษฐกิจ และความยากจนในมิติอ่ น
ื ๆ ด้วย (ตาม
การนิยามของแต่ละประเทศ) ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ทัง้ ชาย หญิง เด็ก
คนยากจน และกลุ่มคนเปราะบาง
เป้ าประสงค์ของเป้ าหมายนีค
้ รอบคลุมประเด็นการยกระดับ
รายได้ของผู้คนให้สูงกว่า $1.25 ต่อวัน และลดสัดส่วนของความยากจน
ในมิติต่างๆ ของคนทุกกลุ่มให้เหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 เน้นการใช้
ระบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคม และการสร้างหลักประกันในเรื่อง
สิทธิของการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ บริการพื้นฐาน รวมถึง
กรรมสิทธิเ์ หนือที่ดินและทรัพย์สิน นอกจากนีย
้ ังให้ความสำคัญกับการ
สร้างภูมิต้านทานให้กับคนยากจนและเปราะบางจากภัยพิบัติต่าง ๆ ทัง้
ทางเศรษฐกิจสังคม และที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศด้วย
ในทางนโยบาย เป้ าหมายนีจ
้ ะเน้นให้มีการช่วยเหลือกัน
ระหว่างประเทศ โดยการระดมทรัพยากรที่หลากหลายไปช่วยประเทศที่
พัฒนาน้อยกว่า เพื่อลงทุนในโครงการที่ขจัดความยากจนให้นโยบายใน
ระดับต่าง ๆ คำนึงถึงความละเอียดอ่อนด้านเพศสภาพและความยากจน
หากรัฐบาลแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสุราฉบับปั จจุบันได้
จะทำให้ประชาชนที่มีความสามารถในการผลิตสุราแต่ไม่มีกำลังทรัพย์ใน
การผลิต สามารถผลิตได้อย่างเสรีจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ที่สามารถ
เลีย
้ งชีพของตนเองและครอบครัว ทัง้ ยังเป็ นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของ
ชุมชนและเป็ นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้โตขึน
้ เมื่อเศรษฐกิจใน
ประเทศโตขึน
้ จะส่งผลให้ปัญหาความยากจนของคนในประเทสลดน้อยลง
24
ซึ่งสอดคล้องกับเป้ าหมายที่ 1
เป้ าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง
ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่
เหมาะสมสำหรับทุกคน (Promote sustained, inclusive and
sustainable economic growth, full and productive
employment and decent work for all) เป้ าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้ าหมายที่ 8 มุ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านการ
ยกระดับผลิตภาพแรงงานและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อ
การผลิต โดยการบรรลุเป้ าหมายดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับการเสริม
สร้างความเป็ นผู้ประกอบการ การสร้างงาน รวมถึงการดำเนินนโยบาย
เพื่อขจัดปั ญหาแรงงานผิดกฎหมาย แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ ซึ่งจะ
นำไปสูก
่ ารจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับ
25
ทุกคน มีเป้ าประสงค์ที่ครอบคลุมหลายประเด็น
สุราเป็ นที่นิยมของคนทัง้ ในและต่างประเทศ แต่ใน
ประเทศไทยมีผู้แข่งขันในตลาดเพียงไม่กี่รายเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่มี
การแข่งขันกันเยอะ เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศ
เยอรมณี เป็ นต้น ซึ่งในประเทศดังกล่าวสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศ
ได้มหาศาล หากประเทศไทยเปิ ดโอกาสให้ผลิตสุราได้อย่างเสรีจะสามารถ

24
SDG Move (2559).Goal 1: No Poverty (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://www.sdgmove.com/2016/10/06/goal-1-no-poverty/ [11 มิถุนายน 2566]

25
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ม.ป.ป.).เป้ าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และ ยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมี
งานที่มีคณ
ุ ค่าสำหรับทุกคน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://sdgs.nesdc.go.th/ เกี่ยวกับ-
sdgs/เป้ าหมายที่-8-ส่งเสริมกา/ [11 สิงหาคม 2566]
กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศและนอกประเทศได้ซงึ่ เป็ นการเติบโตทาง
เศรษฐกิจและยังลดอัตราการว่างงานอีกด้วย
เป้ าหมายที่ 10 : ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและ
ระหว่างประเทศ (Reduce inequality within and among
countries) ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ทัง้ ด้านราย
ได้ ความมั่งคัง่ โอกาสการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ โครงสร้างพื้นฐาน การ
เข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพยากรที่จำเป็ น และการเข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรม ซึ่งปั ญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าวเป็ นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญใน
การพัฒนาประเทศ ดังนัน
้ ความเหลื่อมล้ำจึงเป็ นประเด็นการพัฒนาที่
สำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปั จจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและ
นวัตกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างกลุ่มคน อันนำมาซึง่
26
ปั ญหาความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนมากขึน
้ ในสังคม
การที่ประเทศไทยมีกฎหมายที่ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถผลิต
สุราได้อย่างเสรี เพราะ ไม่มีกำลังทรัพย์ กำลังคน ที่ตรงตามที่กฎหมาย
กำหนด จึงทำให้มีผู้แข่งขันในการผลิตสุราเพียงไม่กี่เจ้าในประเทศไทยที่
สามารถผลิตได้ตามที่กฎหมายกำหนด เรื่องดังกล่าวจึงเป็ นความไม่เสมอ
ภาคกันในประเทศ เพราะรัฐเอื้อผลประโยชน์ให้แก่นายทุนมากกว่าเอื้อ
ผลประโยชน์ให้แก่ประชาชน ปั ญหาดังกล่าวจึงเป็ นอุปสรรคสำคัญใน
การพัฒนาประเทศ หากสามารถแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสุราอันเป็ น
ปั ญหาดังกล่าวได้จะช่วยลดปั ญหาความไม่เสมอภาคในประเทศ ซึ่ง
สอดคล้องกับเป้ าหมายที่ 10

26
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ม.ป.ป.).เป้ าหมายที่ 10 ลดความไม่
เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://shorturl.asia/AbnrT [11 มิถุนายน 2566]
เป้ าหมายที่ 16 : ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อ
การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มี
ประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ (Promote
peaceful and inclusive societies for sustainable development,
provide access to justice for all and build effective,
accountable and inclusive institutions at all levels) สังคมที่สงบ
สุขจะต้องมีความมั่นคง มีสันติภาพ ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่า
เทียมกันภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน และมีระบบการปกครองบนพื้นฐาน
ของหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป้ าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้ า
หมายที่ 16 มุ่งเน้นการตัดวงจรความขัดแย้ง การข่มเหง การแสวงหา
ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ การใช้ความรุนแรงและการ
ทรมานทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สินให้กับประชาชน และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึง
ความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม มีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิด
ชอบ ครอบคลุม และมีส่วนร่วมในทุกระดับ รวมทัง้ ส่งเสริมการพัฒนาเชิง
สถาบันให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่
27
ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนมีสิทธิที่จะประกอบ
อาชีพได้อย่างเท่าเทียม การที่รัฐมีกฎหมายอันจำกัดที่ทำให้ประชาชนไม่
สามารถประกอบอาชีพบางอย่างได้ เช่น การถูกกีดกันไม่ให้ผลิตสุราภาย
ใต้เงื่อนไขต่างๆนัน
้ ทำใหเประชาชนไม่ได้รับความยุตะรรมและถุกจำกัด
สิทธิดังกล่าว และการที่รัฐเอื้อผลประโยชน์ให้แก่นายทุนที่ผูกขาดตลาด
สุรานัน
้ เป็ นการแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง เพื่อให้สอดคล้องกับ

27
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ม.ป.ป.).เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริ มสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการ
พัฒนาที่ยงั่ ยืน ให้ ทกุ คนเข้ าถึงความยุติธรรม และสร้ างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ (ออนไลน์). เข้ าถึง
ได้ จาก : https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/เป้าหมายที่-16-ส่งเสริ มสั/ [11 มิถนุ ายน 2566]
เป้ าหมายที่ 16 ทางคระผู้วิจัยจึงเห็นว่าเป็ นเรื่องสมควรที่ต้องแก้กฎหมาย
สุรา
2.3.5 ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์
ทฤษฎีม าสโลว์ หรือ ลำดับ ขัน
้ ความต้อ งการ (Maslow’s
Hierarchy of Needs) เป็ นทฤษฎีจิตวิทยาที่ อับราฮัม เอช. มาสโลว์ คิด
ขน
ึ้ เ ม ่ อ
ื ปี ค .ศ . 1943 ใ น เ อ ก ส า ร ช ่ อ
ื “ A Theory of Human
Motivation” Maslow ระบุว่า มนุษย์มีความต้องการทัง้ หมด 5 ขัน
้ ด้วย
กัน ความต้องการทัง้ 5 ขัน
้ มีเรียงลำดับจากขัน
้ ต่ำสุดไปหาสูงสุด มนุษย์
จะมีความต้องการในขัน
้ ต่ำสุดก่อน เมื่อได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้ว
ก็จะเกิดความต้องการขัน
้ สูงต่อไป ทางคณะผู้วิจัยได้หยิบยกทฤษฏีมาส
โลว์มาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี ้
1.ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological
Needs) เป็ นความต้องการลำดับต่ำสุดและเป็ นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่
ความต้องการเพื่อตอบสนองความหิว ความกระหาย ความต้องการเพื่อ
ความอยู่รอดของชีวิต เรียกง่ายๆ ก็คือ ปั จจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยา
รักษาโรค ทีพ
่ ักอาศัย รวมถึงสิ่งที่ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบาย
นั่นเอง ในขัน
้ นีส
้ งิ่ ที่ลูกค้าต้องการ หนีไม่พ้น สินค้าและบริการ อุปโภค
บริโภค ทั่วไปๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านขายยา บ้าน รถยนต์ มือถือ
หากประเทศไทยสามารถผลิตสุราได้อย่างเสรี จะทำให้เกิด
การแข่งขันด้านสุรากันมากขึน
้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโต มีราย
ได้เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อมีรายได้ก็จะทำให้ประชาชนมีกำลังทรัพย์ใน
การสนองความต้องการของตนเอง
4.ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือในตนเอง
(Esteem Needs) เมื่อความต้องการความรักและการยอมรับได้รับการ
ตอบสนองแล้ว คนเราจะต้องการสร้างสถานภาพของตัวเองให้สงู ขึน
้ เด่น
ขึน
้ มีความภูมิใจและสร้างความนับถือตนเอง ชื่นชมในความสำเร็จของ
งานที่ทำ ความรู้สึกมั่นใจในตนเองและมีเกียรติ ความต้องการเหล่านี ้ เช่น
ยศ ตำแหน่ง ระดับเงินเดือนที่สูง งานที่ท้าทาย ได้รับการยกย่องจากผู้อ่ น

มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน โอกาสแห่งความก้าวหน้าในงานอาชีพ
ฯลฯ ในขัน
้ นีส
้ งิ่ ที่ลูกค้าต้องการ ก็คือ สินค้าและบริการที่ส่งเสริมความ
ภาคภูมิใจในตนเอง เช่น อสังหาริมทรัพย์ เครื่องเพชรราคาแพง บริการ
ระดับพรีเมี่ยม เครื่องบินส่วนตัว โรงแรม 5 ดาว
หากประเทศไทยสามารถผลิตสุราได้อย่างเสรี และทำให้ตลาด
สุราเติบโตทัง้ ในและต่างประเทศได้ ชาวบ้านหรือชุมชนที่เป็ นเจ้าของ
ผลิตภัณฑ์นน
ั ้ ก็จะมีความภูมิใจที่เป็ นตนได้เป็ นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศมี
รายได้เข้ามาเพิ่มขึน
้ และได้รับการยกย่องจากผู้อ่ น
ื มีโอกาสแห่งความ
ก้าวหน้าของหน้าที่การงาน 5.ความต้องการพัฒนาศักยภาพของ
ตน (Self-actualization) เป็ นความต้องการขัน
้ สูงสุดของมนุษย์และ
ความต้องการนีย
้ ากต่อการบอกได้ว่าคืออะไร เราเพียงสามารถกล่าวได้ว่า
ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเป็ นความต้องการที่มนุษย์ต้องการ
จะเป็ น ต้องการที่จะได้รับผลสำเร็จในเป้ าหมายชีวิตของตนเอง และ
ต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์คนในขัน
้ นี ้
อาจมองหาได้ยาก เพราะความต้องการสูงสุดของคนกลุ่มนี ้ จะมาจากแรง
บันดาลใจ หรือ Passion ด้านจิตใจที่ต้องการมากกว่า ด้านวัตถุที่จับต้อง
ได้
แม้ประเทศไทยจะมีวัตถุดิบที่หลากหลายที่สามารถนำมาผลิต
เป็ นสุราไ รวมถึงชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ก็มีความรู้ความสามารถในเรื่องดัง
กล่าวและพร้อมที่จะอยากพัฒนาศักยภพของตนเอง แต่กลับถูกกฎหมาย
สุรากีดกันเอาไว้ไม่สามารถที่จะผลิตสุราได้อย่างเสรี จึงทำให้ศักยภาพที่
ชาวบ้านมีไม่สามารถเอามาใช้ได้ ดังนัน
้ เพื่อต้องการให้ชาวบ้านสามารถ
สามารถนำศักยภาพของตนเองมาพัฒนาได้ ทางคณะผู้วิจัยจึงต้องการแก้
กำหมายสุราเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดังกล่าว
การนำทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ (Maslow’s
Hierarchy of Needs) ลำดับขัน
้ ของมาโลว์มาใช้ สามารถทำให้เข้าใจแรง
จูงใจและความต้องการขอลูกค้า ซึ่งทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์และวิธีการ
ขายสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการในด้านต่างๆของ
28
ลูกค้า
2.4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศ
2.4.1 กฎหมายสุราของประเทศเกาหลีใต้
2.4.1.1 ธุรกิจสุราของประเทศเกาหลีใต้
“เกาหลีใต้” ได้ช่ อ
ื ว่าเป็ นสังคมนักดื่มเหล้า-เบียร์หนัก
ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยสองเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คนเกาหลีนิยมดื่ม
มากที่สุดคือ “โซจู” (Soju) และ “เบียร์” เป็ นทัง้ วัฒนธรรมและส่วนหนึ่ง
ของวิถีชีวิตชาวเกาหลี เนื่องจากคนเกาลีด่ ม
ื เหล้าเบียร์ในหลากหลาย
โอกาส และใช้เป็ นเครื่องมือเข้าสังคม ตัง้ แต่พูดคุยเจรจาธุรกิจ สร้าง
มิตรภาพกับเพื่อนที่ทำงาน ดื่มกับเพื่อนฝูง หรือแม้แต่ด่ ม
ื คนเดียว
นอกจากโซจู และเบียร์ในตลาด Mainstream แล้ว ในช่วง 1 – 2 ปี มานี ้
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มาแรงในเกาหลี และมีแนวโน้มเติบโตคือ “ครา
ฟต์เบียร์” โดยได้รับความนิยมมากขึน
้ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุ 24 – 35 ปี
สมาคมผูผ
้ ลิตคราฟต์เบียร์เกาหลี (Korea Craft Brewers Association :
KCBA) ฉายภาพว่า ในช่วงปี 2015 – 2016 เบียร์นำเข้าได้รับความนิยม
เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย และสินค้ามีความหลากหลาย แต่ในช่วงไม่กีปีนี ้ ผู้

28
ธนัชพร สุทธิศันสนีย์, “ทฤษฎีมาสโลว์ ลำดับขัน
้ ความต้องการ Maslow’s hierarchy of
needs ๅ,” The Wisdom Academy, เข้าถึงได้จาก :
https://thewisdom.co/content/maslows-hierarchy-of-needs/ [11 มิถุนายน 2566]
บริโภคหันมาดื่มเบียร์สด และคราฟต์เบียร์ท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย
มากกว่าเบียร์นำเข้า 3 เหตุผลดันตลาดคราฟต์เบียร์ท้องถิ่น กลายเป็ น
Rising Star แห่งอุตสาหกรรมเบียร์ในเกาหลีใต้
1.Work From Home และคนรุ่นใหม่แสวงหาประสบการณ์
การดื่มเบียร์ใหม่ๆ
สถานการณ์ COVID-19 ทำให้คนเกาหลีจำนวนมากต้อง
ทำงานจากที่บ้าน เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม และลดการแพร่ระบาด
ทำให้จากเดิมที่คนทำงานนิยมไปดื่มสังสรรค์หลังเลิกงาน เป็ นอันต้องงด
ไป แต่ในช่วงที่คนใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึน
้ กลายเป็ นโอกาสทองของ
ตลาดคราฟต์เบียร์ เพราะผู้บริโภคคนรุ่นใหม่อยากแสวงหาประสบการณ์
การดื่มเบียร์ใหม่ๆ มากกว่าเบียร์ที่มีขายทั่วไป
2.สร้างความหลากหลายให้กับตลาดเบียร์ – ผู้บริโภคมีทาง
เลือกมากขึน

การขยายตัวของตลาดคราฟต์เบียร์ สร้างความหลาก
หลาย (Diversity) ให้กับตลาดเบียร์ใน 3 ด้านหลักๆ คือ
–ทำให้ตลาดเบียร์โดยรวม ไม่ได้มีแต่รายใหญ่เท่านัน

แต่ยังมีผู้ผลิตรายใหม่ และผู้ผลิตท้องถิ่น
–สร้างความหลากหลาย ทัง้ ประเภทเบียร์ และรสชาติ
–ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในแบรนด์ และสินค้ามากขึน

ตอบโจทย์ค วามต้อ งการของผู้บ ริโ ภคทุก วัน นี ้ ที่ม องหาความแตกต่า ง
และหลากหลาย จึงไม่ยึดติดกับแบรนด์เดิมๆ แต่เปิ ดรับสินค้าใหม่
นอกจากนีผ
้ ู้บริโภคเกาหลียังครีเอทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รูปแบบใหม่ เช่น
“Poktanju” เหล้าช็อตบอมบ์ มีส่วนผสมระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2
ประเภท โดยส่วนใหญ่นิยมนำโซจูผสมกับเบียร์ ยิ่งเพิ่มดีกรีความแรงขึน

ไปอีก ทำให้ผู้ด่ ม
ื เมาเร็ว โดยนิยมดื่มกันในหมู่พนักงานออฟฟิ ศ สังสรรค์
กัน
3.ปรับภาษีเบียร์ เพิ่มโอกาสการแข่งขัน “คราฟต์เบียร์
พรีเมียม”
รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ปรับภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน
รอบกว่า 50 ปี นับตัง้ แต่ปี 1968 โดยแก้จากจัดเก็บตามราคา เป็ นจัดเก็บ
ตามปริมาณ เริ่มใช้กับเบียร์ และมักก็อลลี (Makgeolli) สาโทพื้นบ้าน
ของเกาหลี มีสีขาวนวล เพื่อแก้ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างภาษีเบียร์นำ
เข้า กับเบียร์ในประเทศ
เนื่องจากที่ผ่านมาฐานภาษีของเบียร์ในประเทศ ยังรวมต้นทุนการผลิต
การขาย การตลาด ต้นทุนทำโปรโมชั่น กำไร และค่าใช้จ่ายทั่วไป ในขณะ
ที่ภาษีเบียร์นำเข้า คิดจากราคานำเข้าเท่านัน
้ ทำให้จ่ายภาษีต่ำกว่าเบียร์
ในประเทศ ประกอบกับตัง้ แต่ปี 2018 เบียร์นำเข้าจากสหรัฐฯ และยุโรป
ได้ประโยชน์จากการยกเว้นภาษีศุลกากร ตามข้อตกลงทางการค้า ยิ่ง
ทำให้เบียร์นำเข้าสามารถทำโปรโมชั่นราคาได้อีก
จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตเบียร์แห่งเกาหลี (Korea
Craft Brewers Association) ตลาดคราฟต์เบียร์ท้องถิ่นนัน
้ เติ่มโตเป็ น
118 พันล้านวอน (3.3 พันล้านบาท) ในปี 2020 เติบโตเกือบสองเท่าจาก
ปี 2018 โดยทางสมาคมคาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตเป็ น 370 พันล้าน
วอน (10.3 พันล้านบาท) ภายในปี 2023
2.4.1.2 กฎหมายการควบคุมกำลังการผลิตสุราของ
ประเทศเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการแก้ระเบียบของโรงงานสุรา
เมื่อก่อนผู้ผลิตเบียร์ไม่สามารถจ้างโรงงานของผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
รายอื่น (OEM) ให้ผลิตเบียร์ของตัวเองได้ แต่ปัจจุบันหลังแก้กฎหมายแล้ว
โรงเบียร์ขนาดเล็กกับบริษัทขนาดใหญ่สามารถจับมือกัน ซึ่งถือได้ว่า
เป็ นการพึ่งพาอาศัยกัน ทำให้ขยายกำลังผลิตคราฟต์เบียร์ได้มากขึน
้ อย่าง
คราฟต์เบียร์ยี่ห้อยอดนิยม Gompyo ก่อนหน้านีถ
้ ูกผลิตโดยโรงเบียร์
ขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิตจำกัด สามารถผลิตได้เพียง 200,000 กระป๋อง
ต่อเดือนเท่านัน
้ แต่หลังเปลี่ยนแปลงกฎก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิต 15
29
เท่าเป็ น 3 ล้านกระป๋องต่อเดือน
เมื่อตลาดคราฟต์เบียร์ในเกาหลีใต้ขยายตัวมาก อุตสาหกรรม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเกาหลีใต้ก็พลอยตื่นตัวไปด้วย นอกจากจะสร้าง
โอกาสให้กับผู้ผลิตรายเล็กแล้ว ยังทำให้ประชาชนมีโอกาสมากขึน
้ ในการ
เลือกซื้อเครื่องดื่มที่พึงพอใจและมีกำลังซื้อ ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่ก็ต้อง
พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันกับความต้องการของตลาด เพราะไม่ได้เป็ นผู้
ผูกขาดตลาดอีกต่อไป เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมนีก
้ ็จะเติบโตตามไปด้วย
30
เพราะปั จจัยทางกฎหมายที่เอื้ออำนวย
2.4.2 กฎหมายของประเทศเยอรมณีที่เกี่ยวข้องกับสุรา
2.4.2.1 ธุรกิจสุราในประเทศเยอรมณี
มีการคาดการณ์กันว่า เบียร์ มีต้นกำเนิดมาจากภูมิภาค
ตะวันออกกลางเมื่อ 7,000 ปี ก่อน และเริ่มเป็ นที่ร้จ
ู ักอย่างแพร่หลายใน
สมัยอียิปต์โบราณ จากนัน
้ จึงกระจายไปยังพื้นที่อ่ น
ื ๆ ในเวลาต่อมา
สำหรับชาวเยอรมันแล้ว เบียร์เป็ นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมานับพันปี
โดยเริ่มแรกนัน
้ เบียร์จะถูกผลิตขึน
้ ในโบสถ์ทางตอนใต้ของประเทศและ
เริ่มได้รับความนิยมมากขึน
้ เพราะในสมัยนัน
้ เบียร์ถือว่ามีความสะอาด

29
MONEY BUFFALO.(2564).ทำไม Craft Beer เกาหลีใต้ กำลังจะเป็ นเบียร์กระแสหลัก ?
(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/8M3wV [11 มิถุนายน 2566]
30
กรุงเทพธุรกิจ (2566).ส่องประเทศเปิ ดเสรีสุราโลก แหล่งสร้างรายได้ยุคศก.ขาลง (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/mHkf7 [11 มิถุนายน 2566]
และเชื่อกันว่าดีต่อสุขภาพ จนกระทั่งเมื่อ 500 ปี ก่อน ได้มีการประกาศใช้
กฎหมายความบริสุทธิข์ องเบียร์ (The Purity Law) เพื่อควบคุมคุณภาพ
ของเบียร์โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งเดิมถูกบังคับใช้เฉพาะ
แคว้นบาวาเรียเท่านัน
้ จากนัน
้ จึงได้บังคับใช้ทั่วทัง้ ประเทศในเวลาต่อมา
ปั จจุบัน กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้เบียร์มีวัตถุดิบหลัก 4 อย่างคือ -
ข้าวบาร์เลย์ - ฮอปส์ (พืชที่ให้รสขม และต้านเชื้อแบคทีเรีย) - ยีสต์ (จุลิน
ทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติ) - น้ำสะอาด จากข้อกำหนดเรื่อง
วัตถุดิบ จึงทำให้รสชาติของเบียร์ที่ผลิตในประเทศเยอรมนีมีลักษณะ
เฉพาะตัวและเป็ นมาตรฐานเดียวกันซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น และด้วย
การผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จึงได้ผลักดันให้อุตสาหกรรมเบียร์
ของเยอรมนีเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการเติบโตดังกล่าว ก็มาจากการ
บริโภคในประเทศเป็ นหลัก ดูได้จากการที่คนเยอรมันใช้จ่ายสำหรับเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์ต่อปี มากที่สุดในโลก โดยจ่ายประมาณ 60,000 บาทต่อ
คนต่อปี และมีปริมาณการดื่มเฉลี่ยมากถึง 130 ลิตรต่อคนต่อปี ในขณะที่
ประเทศไทยอยู่ที่ 45 ลิตรต่อคนต่อปี เท่านัน
้ ปั จจุบันเยอรมนีมีโรงงาน
ผลิตเบียร์มากกว่า 1,500 แห่ง เป็ นเจ้าของแบรนด์เบียร์มากกว่า 5,500
แบรนด์ที่จำหน่ายและส่งออกไปทั่วโลก และมีมูลค่าการส่งออกในปี
2020 กว่า 37,500 ล้านบาท ความชื่นชอบในการดื่มเบียร์ของชาว
เยอรมันไปไกลถึงขนาดที่ว่ามีเทศกาลเบียร์หลากหลายเทศกาลที่จัดขึน
้ ใน
แต่ละปี แต่ที่โด่งดังที่สุดคือเทศกาล “Oktoberfest” เป็ นเทศกาลเก่าแก่
กว่า 200 ปี โดยจะจัดขึน
้ ครัง้ ละ 16 ถึง 18 วันเป็ นประจำทุกปี ซึง่
เทศกาลดังกล่าวจะอนุญาตให้ขายเฉพาะเบียร์ที่ผลิตจากแคว้นบาวาเรีย
และมีแอลกอฮอล์ขน
ั ้ ต่ำ 6% เท่านัน
้ โดยตลอดระยะเวลาจัดงาน มีเบียร์
ไม่ต่ำกว่า 7 ล้านลิตรถูกเสิร์ฟให้กับนักท่องเที่ยว กว่า 6 ถึง 8 ล้านคนจาก
ทั่วทุกมุมโลก โดยจะมีขายเฉพาะขนาดแก้วละ 1 ลิตรเท่านัน
้ ด้วยความ
นิยมของเบียร์ จึงทำให้แทบทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็ นร้านอาหาร คาเฟ หรือ
บาร์จะมีเบียร์ให้บริการ แล้วทำไมเบียร์ในประเทศเยอรมนีถึงถูกกว่าน้ำ
ดื่ม ? จริง ๆ แล้ว การที่เบียร์ในยุโรปถูกกว่าน้ำดื่มนัน
้ เหตุผลแรกก็เพราะ
ว่าประเทศในทวีปยุโรปส่วนใหญ่ มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี ทำให้มีน้ำ
ประปาที่สะอาดมากพอที่จะบริโภคได้และภาครัฐได้ติดตัง้ ก๊อกน้ำสำหรับ
บริโภคไว้ทั่วไปในพื้นที่สาธารณะ เมื่อเป็ นเช่นนีผ
้ ู้คนสามารถเข้าถึงน้ำดื่ม
ได้ง่าย โดยไม่จำเป็ นที่จะต้องเสียเงินเพื่อซื้อน้ำดื่มจากร้านค้า ร้านอาหาร
ต่าง ๆ จึงเลือกที่จะวางจำหน่ายเฉพาะน้ำแร่ที่มีราคาสูง ส่วนน้ำเปล่า
แบบธรรมดา จะสามารถหาซื้อได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต เท่านัน
้ สำหรับ
ประเทศเยอรมนียังมีเหตุผลเพิ่มเติมอีกว่าประเทศแห่งนีม
้ ีภูเขาไฟหลาย
ร้อยลูก ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุและกลายเป็ นแหล่งผลิตน้ำแร่คุณภาพสูง มี
รสสัมผัสที่ดี ทำให้คนเยอรมันนิยมสั่งน้ำแร่เมื่อไปร้านอาหารหรือนำมา
ผสมกับเครื่องดื่ม เช่น เบียร์ นอกจากความชื่นชอบในการดื่มของชาว
เยอรมันแล้ว อีกปั จจัยที่ผลักดันอุตสาหกรรมเบียร์ในเยอรมนีให้เติบโตคือ
การเก็บภาษีจากเบียร์ที่ต่ำที่สุดในยุโรป โดยราคาขายเฉลี่ยในห้างสรรพ
สินค้าคือ 25 บาทต่อขวด (330 มิลลิลิตร) และมีการเรียกเก็บภาษี
ประมาณ 1 ถึง 2 บาทต่อขวด คิดเป็ นเพียง 4 ถึง 8% เท่านัน
้ หากเรา
ลองมาเทียบกับเบียร์ที่ขายในประเทศไทย ภาษีเบียร์ไม่เกิน 7 ดีกรี จะสูง
ถึง 48% และหากพูดถึงเรื่องของราคาที่ถูกกว่าน้ำดื่มและความนิยมใน
การดื่มเบียร์ สาธารณรัฐเช็กซึ่งตัง้ อยู่ติดกับฝั่ งตะวันออกของเยอรมนี ก็
ควรถูกกล่าวถึงด้วยเช่นกัน โดยเบียร์ที่ขน
ึ ้ ชื่อที่สุดในประเทสเยอะรมรีมี
ดังนี ้
1. pilsner มีรสชาติที่อ่อนกว่า และทางตอนเหนือของรัฐ
เยอรมันเบียร์นถ
ี ้ ูกเรียกว่า "pilsener" หรือ "pils" และโดดเด่นด้วยกลิ่น
ฮอปที่มีรสขมเด่นชัดกว่า
พิลส์เนอร์ทุกตัวมีกลิ่นดอกไม้ที่เพดานปาก ความแรงเฉลี่ยของเครื่องดื่ม
อยู่ที่ 4 ถึง 6% โดยปริมาตร
2.เบียร์ข้าวสาลี (หรือไวส์เบียร์) รู้จักกันในชื่อ Weizenbier
ทำขึน
้ โดยใช้การหมักด้านบน เบียร์เบา ๆ เหล่านีม
้ ักจะไม่กรอง แต่ก็
สามารถพบเบียร์ที่กรองสีเข้มได้เช่นกัน โดยปกติจะมีความแรงเฉลี่ย 5 ถึง
5.5% โดยปริมาตร
สำหรับการผลิต Weizenbier นัน
้ ใช้ยีสต์บางชนิดซึ่งทำให้เครื่องดื่ม
มีรสชาติของเครื่องเทศกล้วยและผลไม้อ่ น
ื ๆ พันธุ์นเี ้ ป็ นที่นิยมโดยเฉพาะ
ในภาคใต้ของเยอรมนี
รวมอยู่ในหมวดหมู่ Weizenbier ด้วย ได้แก่ เบียร์ข้าวสาลีเยอรมันอื่น ๆ
เช่น Kristallweizen และ Weizenbock เบียร์ชนิดแรกเป็ นเบียร์ใส ใน
ขณะที่ชนิดที่สองมีความเข้มข้นเพิ่มขึน
้ แม้ว่าพันธุ์เหล่านีถ
้ ือได้ว่าเป็ นส่วน
หนึ่งของหมวดหมู่ Weizenbier แต่ก็มีลักษณะเฉพาะของตนเองซึ่งมักจะ
แยกออกเป็ นหมวดหมู่ของตนเอง
3.Altbier เป็ นเบียร์สีน้ำตาลอมเหลืองที่มีช่ อ
ื เสียงมานาน
หลายศตวรรษจากเมืองดึสเซลดอร์ฟ เบียร์ชนิดนีเ้ ป็ นลูกผสมของเบียร์
คลาสสิกและเบียร์เอล เนื่องจากใช้ยีสต์เบียร์ในการหมักและบ่มใน
อุณหภูมิที่ลดลง เช่นเดียวกับเบียร์ลาเกอร์ทั่วไป
ใน Altbier คุณจะสัมผัสได้ถึงรสชาติเข้มข้นของมอลต์และฮ็อป โดยปกติ
จะมีความแรงเฉลี่ย 4,5 ถึง 6% โดยปริมาตร
4.บ็อกเบียร์ เบียร์ประเภทนีท
้ งั ้ สีเข้มและสีอ่อนมีความแข็ง
แรงและความหนาแน่นเพิ่มขึน
้ การเตรียมต้องใช้เวลามากขึน
้ ในการทำให้
สุกดังนัน
้ พวกเขาจึงเริ่มปรุงอาหารในบางเดือน Bockbier ขึน
้ ชื่อในเรื่อง
ของคาราเมลที่เข้มข้นและแฝงไปด้วยกลิ่นผลไม้ มีความเข้มข้นเฉลี่ย 6,3
ถึง 7,2% โดยปริมาตร ในขณะที่ด้านสว่างมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่เบากว่า
และมีรสชาติที่อ่อนกว่า
หมวดหมู่ Bockbier ยังรวมถึง Doppelbock (มากถึง 13% vol.) และ
Eisbock (สูงถึง 14% vol.) ซึ่งมีความโดดเด่นด้วยปริมาณแอลกอฮอล์ที่
สูงเช่นกัน
5.โคโลญ Kölsch เป็ นเบียร์สีอ่อนที่กลั่นโดยใช้เทคโนโลยีการ
หมักชัน
้ เยี่ยม และตามกฎข้อบังคับแล้วควรผลิตในโคโลญจน์เท่านัน

เครื่องดื่มขึน
้ ชื่อในด้านรสชาติสดชื่น ขมเล็กน้อย และประกอบด้วยข้าว
บาร์เลย์เท่านัน
้ อย่างไรก็ตาม โรงเบียร์บางแห่งอาจเพิ่มข้าวสาลีลงในสูตร
ป้ อมปราการเฉลี่ยอยู่ที่ 4,5 ถึง 4,8% ปริมาตร Kölsch เสิร์ฟในแก้ว
Stange ทรงกระบอกพิเศษ โดยปกติจะมีขนาด 200 มล. เพื่อรักษาส่วน
หัวและเพิ่มรสชาติ นอกจากนีส
้ ิ่งสำคัญคือต้องให้บริการเครื่องดื่มที่
31
อุณหภูมิ 8-10 ° C เพื่อให้ช่อดอกไม้ได้เต็มที่
2.4.2.2 กฎหมายการควบคุมกำลังการผลิตสุราของ
ประเทศเยอรมณี
ประเทศเยอรมณีไม่มีการผูกขาดในเรื่องของกฎหมาย
กำลังการผลิตขัน
้ ต่ำ ทำให้ในประเทศเยอรมนีเบียร์แทบจะถูกกว่าน้ำเปล่า
และมีผู้ผลิตคราฟต์เบียร์กว่า 900 ราย มีโรงงานผลิตเบียร์ 1,500 แห่ง
จัดจำหน่ายเบียร์ 5,500 แบรนด์ทั่วประเทศและทั่วโลก โดยมีมูลค่าการ
32
ส่งออกในปี 2563 อยู่ที่ 37,500 ล้านบาท
2.4.3 กฎหมายของประเทศเวียดนามที่เกี่ยวกับสุรา
31
drink-drink.ru (2564).เบียร์เยอรมัน. 10 สายพันธุ์ที่ดท
ี ี่สด
ุ และ 5 อันดับแรกของโรงเบียร์
(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/gCxz3 [11 มิถุนายน 2566]
32
เจียระไน ซองทอง และ ชญาดา จิรกิตติถาวร (2565).ปลดล็อกสุราให้เสรี : ส่งเส้นทาง
เศรษฐกิจของชาติเสรีสุรา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ilaw.or.th/node/6160. [11
มิถุนายน 2566]
2.4.3.1 ธุรกิจสุราของประเทศเวียดนาม
เวียดนาม เรียกได้ว่าเป็ นเมืองคราฟต์เบียร์ แห่งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ทัง้ จากความนิยมในการดื่มและการก่อตัง้ เป็ นธุรกิจใน
ประเทศไปจนถึงผู้ผลิตจากต่างประเทศ ที่ได้เริ่มหันมาผลิตคราฟต์เบียร์
ในเวียดนามกันมากขึน
้ สำหรับการจะเป็ นคราฟต์เบียร์ได้นน
ั ้ จำเป็ นต้อง
ประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 อย่างนี ้
1. เป็ นผูผ
้ ลิตรายเล็ก มีกำลังการผลิตไม่เกิน 6 ล้านบาร์เรล หรือ
ราว 700 ล้านลิตรต่อปี
2. เป็ นผูผ
้ ลิตอิสระไม่ผก
ู มัดกับนายทุนรายใหญ่ โดยเจ้าของต้องถือ
หุ้นของบริษัทมากกว่า 75%
3. ใช้วัตถุดิบดัง้ เดิม ได้แก่ มอลต์ ฮอปส์ ยีสต์ และน้ำแต่ก็สามารถ
ใช้วัตถุดิบอื่นได้ หากช่วยสร้างรสชาติที่ดี ไม่ใช่เพื่อลดต้นทุนแม้ว่าคราฟต์
เบียร์จะดูมีราคาที่สูงกว่าเบียร์ทั่วไป แต่ด้วยความพิถีพิถันและเอกลักษณ์
เฉพาะตัว ทำให้คราฟต์เบียร์เป็ นที่นิยมมากขึน
้ ในช่วงที่ผ่านมาเรื่องดัง
กล่าวส่งผลให้กระแสของคราฟต์เบียร์ ที่แม้จะมีจุดเริ่มต้นจากประเทศ
สหรัฐอเมริกาและประเทศแถบยุโรป ได้กระจายมาสู่ประเทศแถบเอเชีย
ด้วย โดยหนึ่งในประเทศที่โดดเด่นในเรื่องนี ้ ก็คือ เวียดนาม ปั จจุบัน
เวียดนามเป็ นแหล่งผลิตคราฟต์เบียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ มีการผลิตคราฟต์เบียร์กว่า 3 ล้านลิตรต่อปี และมีโรงเบียร์กว่า
90 แห่ง จริง ๆ แล้ว ผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ชาวไทยหลายราย ก็มีฐานการ
ผลิตอยู่ในเวียดนามเช่นกัน เวียดนามไม่มีการกำหนดปริมาณการผลิตขัน

ต่ำ ทัง้ ผูป
้ ระกอบการชาวเวียดนาม รวมถึงชาวต่างชาติ ทำให้ผู้ประกอบ
การหลายรายสามารถทดลองตลาดได้ก่อน ด้วยการเปิ ดร้านขนาดเล็ก ซึง่
หากคนติดใจในรสชาติแล้ว ก็ค่อย ๆ ขยับขยายกำลังการผลิตในภายหลัง
ต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจจึงค่อนข้างต่ำจากเรื่องนีเ้ องที่ได้ส่งผลให้ชาว
ต่างชาติหลัง่ ไหลเข้ามาทำธุรกิจคราฟต์เบียร์กันในเวียดนาม จนเกิด
เป็ นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนท้องถิ่น นำไปสู่การก่อตัง้ ธุรกิจคราฟต์
เบียร์ในแต่ละชุมชน ส่วนอย่างที่สองคือ “พฤติกรรมการดื่มของชาว
เวียดนาม” โดยชาวเวียดนามดื่มต่อหัวมากสุดเป็ นอันดับ 2 ของเอเชีย
เป็ นรองเพียงชาวเกาหลีใต้ เท่านัน
้ นอกจากนี ้ ชาวเวียดนามยังไม่ยึดติด
กับแบรนด์อีกด้วย ทัง้ ยังมีนิสัยเปิ ดใจลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั่นจึงทำให้
ตลาดคราฟต์เบียร์ในเวียดนามครึกครื้นอยู่เสมอ เพราะผู้ผลิตมีแรงจูงใจ
เข้ามาแข่งขันกันตลอดเวลาที่สำคัญ ประชากรของประเทศเวียดนาม
กลุ่มคนในวัยหนุ่มสาวที่มีฐานะระดับชนชัน
้ กลาง ซึ่งเป็ นฐานผู้บริโภคครา
ฟต์เบียร์ขนาดใหญ่ กำลังเติบโตขึน
้ อย่างรวดเร็ว
สองส่วนนี ้ ก็ได้ทำให้ธุรกิจคราฟต์เบียร์ในเวียดนามเป็ นที่น่าจับตามอง
อุตสาหกรรมนีเ้ ป็ นที่่าสนใจก็เพราะว่า คราฟต์เบียร์มีความพิเศษตรงที่
ผลิตในปริมาณที่น้อย และมักมีการใช้วัตถุดิบในแต่ละชุมชนมาเป็ นส่วน
ประกอบในการผลิต เช่น ผลไม้ หรือวัตถุดิบประจำท้องถิ่น
ดังนัน
้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จะไม่ได้มีเพียงแค่ผผ
ู้ ลิตครา
ฟต์เบียร์เท่านัน
้ แต่เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้และพืชผลต่าง ๆ ก็จะได้
ประโยชน์จากการนำมาแปรรูป รวมถึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มา
เยี่ยมชมแหล่งผลิตคราฟต์เบียร์ได้อีกด้วย โดยภาพรวมแล้ว คราฟต์เบียร์
เป็ นหนึ่งในธุรกิจที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในแต่ละท้องถิ่นได้ค่อนข้างดี
33
นี่จึงเป็ นเหตุผลว่าทำไมคราฟต์เบียร์ถึงน่าสนใจ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศเวียดนาม
กฎหมายมาตรา 105/2017/ND-CP ลงวันที่ 14
กันยายน 2560 เกี่ยวกับการผลิตและขายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอล

33
ลงทุนแมน (2565).เวียดนาม ประเทศแห่ง คราฟต์เบียร์ ของอาเซียน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
: https://www.longtunman.com/38064 [12 มิถุนายน 2566]
กอฮอลล์ระบุว่า ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ต้องลงทะเบียนการค้าอย่าง
ถูกกฎหมาย และได้รับการรับรองจากทางและใบอนุญาตการลงทุนจาก
สำนักงานการวางแผนและการลงทุนประจำจังหวัดนัน
้ ๆ ตลอดจนใบ
ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เบียร์จากกรมตรวจสอบคุณภาพสินค้า
(คล้ายองค์การอาหารและยา) ซึ่งนักลงทุนจะเป็ นชาวเวียดนามหรือชาว
ต่างชาติ และจะผลิตในปริมาณเท่าใดก็ได้ ซึ่งหากมีความประสงค์ขาย
สินค้าไปในร้านอื่นๆ ก็จำเป็ นต้องมีใบอนุญาตการกระจายสินค้า หรือต้อง
มีใบอนุญาตการการนำเข้าเบียร์จากต่างประเทศในกรณีที่ต้องการนำเข้า
34
มาขายภายในประเทศเวียดนาม
2.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย
แต่เดิมประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสุรา เรียกว่า พระราช
บัญญัติสุรา พุทธศักราช 2493 ซึง่ ต่อมาในปั จจุบันได้มีการปรับปรุงและ
รวมพระราชบัญญัติสุรา พุทธศักราช 2593 ไว้ภายใต้พระราชบัญญัติภาษี
สรรพสามิต พุทธศักราช 2560 และมีผลบังคับใช้แล้วตัง้ แต่วันที่ 16
กันยายน 2560 โดยการปรับปรุงในครัง้ นีม
้ ีวัตถุประสงค์เพื่อให้โครงสร้าง
ระบบจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีความชัดเจน ยุติธรรม โปร่งใส และมีความ
เป็ นสากล ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับสุราอยู่ในหมวดที่ 2 ส่วนที่ 1 ของพระราช
บัญญัติภาษีสรรพสามิต มีความดังนี ้
2.5.1 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พุทธศักราช 2560
มาตรา 153 “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสําห
รับผลิตสุราไว้ในครอบครอง ให้ย่ น
ื คําขออนุญาตต่ออธิบดี และต้องปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

34
เจียระไน ซองทอง และ ชญาดา จิรกิตติถาวร (2565).ปลดล็อกสุราให้เสรี : ส่งเส้นทาง
เศรษฐกิจของชาติเสรีสุรา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ilaw.or.th/node/6160. [12
มิถุนายน 2566]
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็ น
35
ไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง”
เมื่อได้พิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า การ
ขอออกใบอนุญาตผลิตสุรานัน
้ ให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไข ที่กําหนดในกฎกระทรวง ดังนัน
้ จึงต้องมาพิจารณาหลักเกณฑ์ดัง
กล่าวต่อในกฎกระทรวง ซึ่งมีความดังนี ้
2.5.2 กฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พุทธศักราช 2565
ข้อ 7 “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า ให้ย่ น
ื คำขอ
รับใบอนุญาต พร้อมทัง้ เอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอ
ต่ออธิบดี
ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบ
36
ปี ”
ข้อ 14 “ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตผลิตสุราแช่เพื่อการค้า
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์และสุราแช่ชนิดอื่นนอกจาก
(2) และ (3) ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นนิติบุคคลที่จัดตัง้ ขึน
้ ตาม
กฎหมายไทยและต้องมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด
ของจำนวนหุ้นทัง้ หมด เว้นแต่กรณีนิติบค
ุ คลที่ประสงค์จะขอรับใบ
อนุญาตผลิตสุราโดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความ
ผูกพันตามพันธกรณี ให้ผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของ
สนธิสัญญานัน

(2) กรณีสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้อง

35
มาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัตภ
ิ าษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
36
ข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
(ก) เป็ นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตาม
กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือ
(ข) เป็ นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน หรือ
(ค) เป็ นองค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตามกฎหมายว่า
ด้วยกองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
(ง) เป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
เว้นแต่กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิตสุราโดยอาศัยสนธิ
สัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี ให้หุ้นส่วน
หรือผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญานัน

(3) กรณีสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นผู้ได้รับใบ
อนุญาตผลิตสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ตาม (2) มาแล้วไม่น้อยกว่า
หนึ่งปี นับถึงวันที่ย่ น
ื คำขอ ทัง้ นี ้ หากปรากฏว่าเคยมีประวัติการกระทำ
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต จะขออนุญาตได้เมื่อพ้น
กำหนดระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่พ้นโทษหรือวันที่ชำระเงินค่าปรับตาม
37
จำนวนที่เปรียบเทียบ แล้วแต่กรณี”
ข้อ 15 “ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตผลิตสุรากลั่นเพื่อการ
ค้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราสามทับที่ผลิตเพื่อส่งออกไป
นอกราชอาณาจักร และสุรากลั่นชนิดเอทานอล ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาต

37
ข้อ 14 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
ต้องเป็ นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตัง้ ขึน

ตามกฎหมายไทย
(2) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราสามทับที่ผลิตเพื่อขายในราช
อาณาจักร ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นรัฐวิสาหกิจที่จัดตัง้ ขึน
้ ตาม
กฎหมายไทย
(3) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้อง
(ก) เป็ นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตาม
กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือ
(ข) เป็ นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่ง
เสริมวิสาหกิจชุมชน หรือ
(ค) เป็ นองค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตาม
กฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
(ง) เป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญจด
ทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติ
ไทย เว้นแต่กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิตสุราโดย
อาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี
ให้หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญา
นัน

(4) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุรา
ขนาดกลางผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรา
กลั่นชนิดสุราขาวตาม (3) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันที่ย่ น
ื คำขอ
ทัง้ นี ้ หากปรากฏว่าเคยมีประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วย
ภาษีสรรพสามิต จะขออนุญาตได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหนึง่ ปี นับแต่
วันที่พ้นโทษหรือวันที่ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบ แล้วแต่
กรณี
(5) กรณีสุรากลั่นทุกชนิดนอกจากสุรากลั่นตาม (1) (2)
(3) และ (4) ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นนิติบุคคลที่จัดตัง้ ขึน
้ ตาม
กฎหมายไทยและต้องมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด
ของจำนวนหุ้นทัง้ หมด เว้นแต่กรณีนิติบค
ุ คลที่ประสงค์จะขอรับใบ
อนุญาตผลิตสุรา โดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความ
ผูกพันตามพันธกรณี ให้ผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของ
38
สนธิสัญญานัน
้ ”
ข้อ 16 “โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ต้องเป็ นไปตามหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์
(ก) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์ประเภทผลิตเพื่อ
ขาย ณ สถานที่ผลิต ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่า
ด้วยโรงงาน หรือใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตาม
มาตรฐานตามที่อธิบดีกำหนด และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่ง
แวดล้อม และกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา
(ข) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์นอกจาก (ก)
ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และต้องมี
เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต รวมทัง้ มีสายการผลิตในกระบวนการบรรจุ
ภาชนะที่สามารถติดตัง้ ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของ
ทางราชการ หรืออุปกรณ์หรือเครื่องมือใด ๆ ที่ติดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายว่า
ด้วยภาษีสรรพสามิตเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี ทัง้ นี ้ การจัดตัง้ โรง

38
ข้ อ 15 แห่งกฎกระทรวงว่าด้ วยการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
อุตสาหกรรมสุราดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว
(2) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ ซึ่ง
เป็ นโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังนี ้
(ก) ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน
(ข) ต้องผลิตสุราที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่อธิบดี
ประกาศกำหนด
(ค) ต้องใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็ นวัตถุดิบหรือส่วน
ประกอบในการผลิต
(ง) ต้องตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มี
พื้นที่เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ
หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อ่ น

(3) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ ซึ่ง
เป็ นโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง นอกจากจะต้องเป็ นไปตามหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไขตาม (2) แล้ว ต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิต
สุราแช่ตามมาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และปฏิบัติตาม
กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่
เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุราด้วย
(4) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่อ่ น
ื นอกจาก (1) (2) และ (3)
ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการ
39
สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา”

39
ข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
ข้อ 17 “โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นต้องเป็ นไปตามหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราขาว ซึง่ เป็ นโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี ้
(ก) ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน
(ข) ต้องผลิตสุราที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่
อธิบดีประกาศกำหนด
(ค) ต้องใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็ นวัตถุดิบหรือ
ส่วนประกอบในการผลิต
(ง) ต้องตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะ
สม มีพ้น
ื ที่เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อน
รำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อ่ น

(จ) ต้องตัง้ อยู่ห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อย
กว่าหนึ่งร้อยเมตรและต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อ
สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด
(2) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราขาว ซึง่ เป็ นโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง นอกจากจะต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขตาม (1) แล้ว ต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุรากลั่นตาม
มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุราด้วย
(3) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราพิเศษ ประเภท
วิสกี ้ บรั่นดี และยิน ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่า
ด้วยโรงงานและต้องมีขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ำสุราที่มีแรง
แอลกอฮอล์ยี่สิบแปดดีกรีไม่ต่ำกว่าสามหมื่นลิตรต่อวัน
(4) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดเอทานอล ต้องเป็ น
โรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและต้องปฏิบัติให้
เป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนีใ้ ห้แล้วเสร็จก่อนเปิ ดดำเนิน
การ
(ก) ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตและมีเครื่องจักรที่
สามารถผลิตสุรากลั่นชนิดเอทานอลให้มีแรงแอลกอฮอล์ได้สงู ถึงเก้าสิบ
เก้าจุดห้าดีกรี
(ข) ต้องติดตัง้ เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการ
คำนวณปริมาณสุรากลั่นชนิดเอทานอล
(ค) ต้องติดตัง้ ระบบฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายจากโรงอุตสาหกรรมไปยังกรมสรรพสามิต
สำนักงานสรรพสามิตผู้ควบคุมโรงอุตสาหกรรมนัน
้ และสำนักงานสรรพ
สามิตพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรมตัง้ อยู่
(5) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นอื่นนอกจาก (1) (2) (3)
และ (4) ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
และต้องมีขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ำสุราที่มีแรงแอลกอฮอล์ยี่สิบ
แปดดีกรีไม่ต่ำกว่าเก้าหมื่นลิตรต่อวัน และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยว
กับสิง่ แวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ
40
ประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา”
หลักเกณฑ์ที่ปรากฏในกฎกระทรวงนัน
้ ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขของโรงงานที่ใช้ในการผลิตสุรา ว่าจะต้องเป็ นไปในแนวทางไหน
ทางคณะผู้วิจัยจึงต้องศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโรงงาน ดังนี ้

40
ข้อ 17 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
2.5.3 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้ตงั ้ โรงงาน
ผลิตและบรรจุสุราในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560
ข้อ 2 “การตัง้ โรงงานผลิตสุรากลั่นในทุกท้องที่ทั่วราช
อาณาจักร ให้กระทําได้เมื่อโรงงานที่จะ ตัง้ นัน

(1) เป็ นโรงงานสุรากลั่นประเภท วิสกี ้ บรั่นดี และยิน ที่มี
ขนาดกําลังการผลิตคิดเทียบเป็ น น้ํ าสุราที่มีแรงแอลกอฮอล์ยี่สิบแปดดีกรี
ขัน
้ ต่ําวันละ 30,000 ลิตร กรณีเป็ นโรงงานสุรากลั่นประเภทอื่น ต้องมี
ขนาดกําลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ํ าสุราที่มีแรง แอลกอฮอล์ยี่สิบแปดดีกรี
ขัน
้ ต่ําวันละ 90,000 ลิตร
(2) ผลิตสุรากลั่นที่มีคุณภาพเป็ นไปตามกฎหมายว่าด้วย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (3) มีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์คุณภา
พน้ําสุราเพื่อให้เป็ นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ประจํา
41
โรงงาน"
ข้อ 3 “การตัง้ โรงงานผลิตสุราแช่ในทุกท้องที่ทั่วราช
อาณาจักร ให้กระทําได้เมื่อโรงงานที่จะตัง้ นัน

(1) ผลิตสุราแช่ที่มีคุณภาพเป็ นไปตามกฎหมายว่าด้วย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(2) มีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ํ าสุราเพื่อให้เป็ นไป
42
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประจําโรงงาน”
2.6 งานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้อง
2.6.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
41
ข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้ตงั ้ โรงงานผลิตและบรรจุสุราในทุกท้องที่
ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2560
42
ข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้ตงั ้ โรงงานผลิตและบรรจุสุราในทุกท้องที่
ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2560
(1) งานวิจัยเรื่อง สุราเถื่อนในสังคมไทย โดย กนิษฐา ไทย
กล้าและธีมา หมึกทอง.(2563). ได้มีการเสนอประเด็นว่า ขัน
้ ตอนในการ
ขออนุญาตจดทะเบียนมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ที่ต้องหาทำเลที่ตงั ้ แรงงาน
สำหรับการผลิต การจำกัดจำนวนการผลิต อัตราภาษีที่เพิ่มขึน
้ การกระ
ทำของเจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่อาศัยช่อง ว่างของกฎหมายในการหาเงิน
ผนวกกับความกดดันการแข่งขันจากตลาดสุราชุมชน ทำให้โรงกลั่นสุรา
ชุมชนเลือกที่จะเพิ่มยอดขาย ด้วยการผลิตและขายสุราเถื่อนมากขึน
้ เพื่อ
เป็ นการลดต้นทุนรายจ่ายอื่นๆและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ในชุมชนที่มีรายได้น้อย
https://www.rihes.cmu.ac.th/research/wp-content/uploads/
2020/07/%E0%B8%AA
%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8
%96%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-for-
download.pdf
(2) งานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคสุราของประชาชน
ในชุมชนที่มีการผลิตสุรากลั่นชุมชน ตําบลสะเอียบ อําเภอสอง จังหวัด
แพร่ โดย พัชยา ขันทะรักษ์, ธีระวุธ ธรรมกุล และนิตยา เพ็ญศิรินภา.
(2563). ได้มีการเสนอประเด็นว่า ส่วนใหญ่ประชาชนซื้อสุราจากโรงงาน
สุรากลั่นชุมชน ร้อยละ 42.42 ผลการศึกษาพบว่า ไม่มค
ี วามสอดคล้อง
กับการศึกษาวิจัยใดมาก่อน ทัง้ นีอ
้ าจเนื่องจากพื้นที่ศึกษาเป็ นพื้นที่เฉพาะ
คือ เป็ นแหล่งผลิตสุรา แหล่งใหญ่ของจังหวัดแพร่ ประชาชนรวมถึง
เยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าพื้นที่อ่ น
ื จึงทําให้สถานที่ซ้อ
ื มีความแตก
ต่าง จากผลการศึกษาของนักวิจัยท่านอื่น ๆ เช่น จากการศึกษาของพงษ์
ศักดิ ์ อ้นมอย ที่พบว่า ส่วนใหญ่ซ้อ
ื มาจากร้านขายของชําในหมู่บ้าน ร้อย
ละ 47.20
(3) งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความเป็ นไปได้ในโครงการ
ลงทุนสุรากลั่นพื้นบ้าน (OTOP) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
โดย วนิดา ดวงหิรัญ, เพ็ญตา ไทยหินโจน, อ. เพ็ญศิรินทร์ สุขสมกิจ และ
ผศ. ประเสริฐ ศรีบุญจันทร์.(2559). ได้มีการเสนอประเด็นว่า การศึกษา
ความเป็ นไปได้ในโครงการลงทุนสุรา กลั่นพื้นบ้านในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดปราจีนบุรีใช้หลักเกณฑ์ทางการเงินเป็ นตัวชีว้ ัดความคุ้มค่าในการ
ลงทุน สรุปได้ว่ามีความน่าลงทุน เพราะมูลค่าปั จจุบันสุทธิ (NPV) มีค่า
เท่ากับ 9,092,600 บาทซึ่งมีค่าเป็ นบวกและมีค่ามากกว่าศูนย์ อัตราผล
ตอบแทนในการลงทุน (IRR) มีค่าเท่ากับร้อยละ 74 ซึง่ มีค่ามากกว่าอัตรา
ดอกเบีย
้ ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 7.0 และมีระยะเวลาในการคืนทุนเท่ากับ 1
ปี 8 เดือน 28 วัน จากเกณฑ์ชว
ี ้ ัดความคุ้มค่าดังกล่าว จึงแสดงให้เห็นว่า
โครงการลงทุนสุรากลั่นพื้นบ้านมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน
(4) งานวิจัยเรื่อง ปั ญหาการนํานโยบายเปิ ดเสรีสุราชุมชน
ไปดำเนินงานในจังหวัดชลบุรี โดยณัฏฐากร จันทร์สา.(2555). ได้มีการ
เสนอประเด็นว่า จากผลการศึกษาการเตรียมการของรัฐบาลยังไม่ชัดเจน
ในการส่งเสริมช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการสุราชุมชน อีกทัง้ ยัง
ไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจอย่างจริงจัง จากปั ญหาการนำนโยบายเปิ ด
เสรีสุราชุมชนไปดำเนินงาน ในจังหวัดชลบุรี ผูศ
้ ึกษาพบว่ามีปัญหาและ
อุปสรรคสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
ด้านนโยบายของรัฐ และตัวผู้ประกอบการสุรากลั่นเอง โดย
ปั ญหาและอุปสรรคด้านโยบายของรัฐต่อผู้ประกอบการสุรากลั่นนั่นคือ
ความไม่สอดคล้องของนโยบายและการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ
อย่างต่อเนื่อง เช่น ในเรื่องการอบรมส่งเสริมความรู้ในการผลิต การ
พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ และขาดการส่งเสริมด้านการตลาด ทําให้ผู้
ประกอบการส่วนใหญ่ล้มเลิกกิจการไปเยอะ
https://mis.krirk.ac.th/librarytext/mpa/2555/
F_Natthakorn_Jansa_2555.pdf
6.2 บทความที่เกี่ยวข้อง
(1) บทความเรื่อง ปลดล็อกสุราให้เสรี : ส่งเส้นทาง
เศรษฐกิจของชาติเสรีสุรา โดย เจียระไน ซองทอง, ชญาดา จิรกิตติ
ถาวร.(2565). ได้มีการเสนอประเด็นว่า หากประชาชนคนหนึ่งในชุมชนมี
สูตรพิเศษและมีฝีมือในการทำเบียร์เป็ นอย่างมาก ต้องการจะผลิตเบียร์
เพื่อนำมาขายเป็ นรายได้เลีย
้ งดูตัวเองและครอบครัว ไม่สามารถลงมือทำ
ด้วยนตัวเองได้ แต่จำเป็ นต้องหาหุ้นส่วนลงทุนให้ได้มากกว่า 10 ล้านบาท
และจดทะเบียนเป็ นบริษัทก่อน หาพนักงานให้เข้าเกณฑ์กำหนดของ
กฎหมาย และวางแผนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อผลิต
คราวละมากๆ หากประชาชนคนหนึ่งมีเพียงความรู้ทักษะเฉพาะตัว ไม่
สามารถเริ่มต้นประกอบอาชีพนีไ้ ด้เอง ไม่ว่าจะมีความสามารถมาเพียงใด
ก็จะถูกกฎหมายที่มีอยู่มองข้ามไปในทันที กรณีเช่นนีไ้ ม่ใช่เพียง
จินตนาการ แต่มีตัวอย่างของผู้ประกอบการรายเล็กให้เห็นมามากแล้ว
เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2563 คราฟต์เบียร์ไทยแบรนด์ “ศิวิไลซ์” ได้ชนะรางวัล
เหรียญเงินจากเวที World Beer Awards 2020 ซึ่งเป็ นเวทีประกวด
เบียร์ระดับสากล มีผู้ประกอบการส่งเบียร์เข้าประกวดจากทุกมุมโลก แต่
แบรนด์ของพวกเขาต้องรับรางวัลในฐานะ “คราฟต์เบียร์เวียดนาม” แทน
เนื่องจากความไม่เอื้ออำนวยของกฎหมายในประเทศ ที่ไม่อนุญาตให้ราย
เล็กกำลังไม่ถงึ ทำการผลิตเบียร์ได้ตามอัธยาศัยและจากรายงานแนวโน้ม
ธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ของธนาคาร
กรุงศรี ระบุว่า ตลาดเบียร์ในประเทศถูกควบคุมโดยผู้ผลิตรายใหญ่ คือ
บจก.บุญรอดบริวเวอรี่ และ บจก.ไทยเบฟเวอเรจ สองผู้เล่นยักษ์ใหญ่มี
ส่วนแบ่งทางการตลาดรวมกันถึง 93% ของปริมาณจำหน่ายเบียร์ใน
ประเทศ ยังไม่รวมกับอุตสาหกรรมสุรา ที่ บจก.ไทยเบฟเวอเรจ เพียงเจ้า
เดียว ครองตลาดไปถึง 80% เนื่องจากความได้เปรียบทางต้นทุนการผลิต
ที่ตรงกับเกณฑ์ของกฎหมาย ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กต้องจด
ทะเบียนและผลิตสุราในต่างประเทศแทน
(2) บทความเรื่อง สุรากับความเป็ นมายาคติในบริบททาง
สังคมไทย โดย สุรธัชนุกูล นุ่นภูบาล.(2561). ได้มีการเสนอประเด็นว่า
จากการศึกษาเรื่องสุรากับความเป็ นมายาคติในบริบททางสังคมไทย
ทำให้ทราบว่าการดื่มสุรา มีส่วนในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนใน
ชุมชน สังคมชนบทใช้เหล้าเพื่อความผ่อนคลาย สร้างความสนุกสนาน
เป็ นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม สังคมเมืองการดื่มเหล้าเป็ นเรื่องของรสนิยม
บ่งบอกถึงฐานะ ชนชัน
้ ในส่วนของสุรา ที่เป็ นมายาคติ เมื่อสุราถูก
ประกอบสร้างความหมายให้เป็ นสิ่งเลวร้ายให้โทษ จึงเปิ ดโอกาสให้รัฐฯ
ใช้อำนาจมาจัดทำให้เป็ นสินค้าควบคุม การผลิตต้องตัง้ เป็ นโรงงานขนาด
ใหญ่ เพื่อค้าขายต้องจ่ายชำระภาษี จึงเป็ นการเปิ ดโอกาสให้กลุ่มทุนเข้า
มามีบทบาทในการผูกขาดสินค้า เป็ นสิง่ ที่ผิดกฎหมายคนจนชาวบ้านที่
ผลิตขึน
้ ดื่มกินในชุมชนไม่สามารถกระทำได้ ผู้เขียนมีเพียงประเด็นทิง้ ท้าย
เพื่อชีใ้ ห้เห็นถึงระดับโครงสร้างลึกว่าหากปล่อยให้สุรา สาโทพื้นบ้าน อุ
กระแช ข้าวหมาก ไวท์ผลไม้ จัดอยู่ในความเป็ นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็ น
สินค้าเสรี จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์จะตกอยู่ที่ใครกัน
แน่
file:///D:/Downloads/supaporn_mua,+%7B$userGroup%7D,
+1-2-7%20(1).pdf
(3) บทความเรื่อง การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การผลิตสุรา
กลั่นชุมชนเขตภาคเหนือ โดย เศก เมธาสุรารักษ์.(2552). ได้มีการเสนอ
ประเด็นว่า ภายในชุมชนยังมีการจำหน่ายสุราบรรจุถุงข้ามถิ่นราคาถูก
จากชุมชนอื่น (ขายข้ามจังหวัด) อีกด้วย ผู้ประกอบการจึงเสนอว่าหาก
กำหนดไม่ให้มีการจำหน่ายสุราข้ามถิ่นได้จะยิ่งเป็ นการดี เพราะสุราชุมชน
ที่มาจากต่างถิ่นโดยแท้จริงแล้ว ไม่ควรนับเป็ นสุราชุมชน เนื่องจากมีกำลัง
การผลิตเกิน 5 แรงม้า ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนัน
้ มาตราการที่รัฐควร
ทำคือ แยกกลุ่มสุราชุมชนออกจากสุราโรงงานให้ชัดเจน โดยไม่ใช้ตัววัด 5
แรงม้า เพราะทางปฎิบัติจะบอกได้ยากว่ากำลังผลิตขนาด 5 แรงม้ามีค่า
เท่าใด เมื่อเทียบกับหน่วยของการต้มสุรา โดยผู้ประกอบการเสนอวิธีแยก
กลุ่มสุราชุมชนจากปริมาณการใช้วัตถุดิบแทน เช่น กำหนดปริมาณ
วัตถุดิบต่อเดือนไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม หรือผู้ประกอบการรายใดใช้กาก
น้ำตาลเป็ นวัตถุดิบหลักก็ไม่ควรจัดเป็ นสุราชุมชน เป็ นต้น
https://www.econ.cmu.ac.th/econmag/journals/issue13-
1_2.pdf
(4) บทความเรื่อง นโยบายสุราก้าวหน้า ทำให้เศรษฐกิจไทย
ก้าวไกลแค่ไหน ?โดย moneybuffalo .(2566). ได้มีการเสนอประเด็น
ว่า ต้องการแก้ไขปั ญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รวมทัง้ เกษตรกรไม่มี
อำนาจต่อรองในตลาด ด้วยการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร สร้าง
มูลค่าเพิ่มโดยนำผลผลิตทางการเกษตรไปใช้ในกระบวนการผลิตสุรา
ตัวอย่าง
-นำข้าวไปหมักเป็ นเบียร์-สุรา
-นำพืชผลไม้ไปหมักเป็ นไวน์
สิ่งที่จะได้กลับมา นั่นก็คือ ปลดล็อกให้ผผ
ู้ ลิตรายย่อยหรือ
ชุมชนผลิตสุราได้ เพื่อให้ประโยชน์ตกมาสู่เกษตรกรปลดล็อกศักยภาพ
และความสร้างสรรค์ของนักปรุงสุราในพื้นที่ต่าง ๆ ที่จะทำหน้าที่คิดค้น
วิธี เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทำให้เกษตรกรต้นน้ำมีรายได้สูงขึน

https://www.moneybuffalo.in.th/economy/liquor-bill
(5) บทความเรื่อง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า จะไปถึงฝั นไหม? ปลด
ล็อกแล้ว ประชาชนจะทำอะไรได้บ้าง โดย จารุวรรณ สุดาดวง .(2565).
ได้มีการเสนอประเด็นว่า คุณเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าไหม? “ผู้ขอ
อนุญาตต้องเป็ นบริษัทจํากัด มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ใน
กรณีที่เป็ นโรงงานเบียร์ขนาดเล็กประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิตจะ
ต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อ
ปี ” หลายคนมองว่ากำหนดเกณฑ์ไม่คิดถึงผูป
้ ระกอบการขนาดย่อยที่ไม่มี
เงินทุนสูง และอีกแง่หนึ่งเป็ นกฎหมายที่ออกมาเพื่อ ‘‘กันเหนียว’’ ให้
กลุ่มนายทุนครองตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คุมตลาดได้เบ็ดเสร็จ ไม่ต่าง
จากปิ ดช่องทางรวยประชาชนคนอื่น
เท่าพิภพ ลิม
้ จิตรกร ส.ส.กรุงเทพฯ จากพรรคก้าวไกล อดีตคนทำ
คราฟต์เบียร์ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนีโ้ ดยตรง เป็ นอีกหนึ่งคน
ที่เห็นปั ญหานี ้ และออกมาเดินหน้าผลักดัน ‘ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’
หรือ ร่าง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ให้ผ่านสภาเพื่อ
หวังจะเปิ ดช่องให้ประชาชนทั่วไปที่หลงใหลในรสชาติแอลกอฮอล์มีโอกาส
นำความชอบส่วนตัวนีม
้ าพัฒนาต่อเป็ นอาชีพ โดยไม่ต้องเจออุปสรรค
เรื่องเงินทุนที่สูงไปนักแม้ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้าฉบับนี ้ จะเน้นไปที่การ
แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการผลิต ‘สุรา’ โดยตรง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะ
มีแค่ผู้ผลิตรายย่อยได้ประโยชน์เท่านัน
้ การปลดล็อกสุราเสรียังช่วยให้ผู้
บริโภคมีตัวเลือกในตลาด ได้ลม
ิ ้ รสเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หลากหลาย
และถูกจริตตัวเองมากขึน
้ https://thematter.co/quick-bite/thai-
alcohol-beverage/167512?fbclid=IwAR2ue-LUI0dh-
3nJLrnUNOvy7sauUwdahFE7hjJ_CPt1em24XS9NSo3jhJg
(6) บทความเรื่อง ผ่านกฎหมาย #สุราก้าวหน้า แล้วจะ
ควบคุมเหล้ายากจริงหรือ? แจงทุกประเด็นจากข้ออ้างรัฐบาล โดย
iLaw .(2565).ได้มีการเสนอประเด็นว่า เส้นทางการปลดล็อคเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ไทยให้รายย่อยได้ลืมตาอ้าปากดูเหมือนจะยังไม่ง่ายไปทัง้ หมด
แม้ที่ผ่านมาร่างแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ....
(ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต) หรือที่ร้จ
ู ักกันในนาม “สุราก้าวหน้า” จะได้
รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่หนึ่ง โดยได้รับเสียง
สนับสนุนจากพรรคฝ่ ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วน แต่ก่อนที่สมัย
การประชุมสภาจะเริ่มต้นอีกครัง้ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ก็ปรากฏ
กระแสข่าวว่ารัฐบาลต้องการจะคว่ำร่างกฎหมายสุราก้าวหน้าในวาระที่
สองและสาม โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็ นผู้
เรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าพูดคุยเพื่อขอให้ไม่ยกมือโหวตให้กับ “สุ
ราก้าวหน้า”
การแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยของผู้นำรัฐบาลต่อร่าง
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะ
โหวตรับหลักการในวาระแรก คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็เคยมีมติไม่เห็นด้วย
กับร่างกฎหมายดังกล่าวมาแล้วเมื่อตอนที่นำไปศึกษาก่อนรับหลักการ แต่
ก็ได้ ส.ส. เสียงส่วนใหญ่ลงมติรับหลักการให้ผ่านมาได้ ข้ออ้างของฝ่ าย
รัฐบาลในการ “คว่ำ” ร่างพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ล้วนแล้วแต่ไม่ได้ตงั ้ อยู่
บนข้อเท็จจริง
https://ilaw.or.th/node/6299
(7) บทความเรื่อง กระหึ่มโซเชียล! “สุราก้าวหน้า” นโยบาย
เด็ด “ก้าวไกล” ชนะใจนักดื่ม โดย . สยามรัฐออนไลน์(2566).ได้มีการ
เสนอประเด็นว่า เหตุผลที่พรรคก้าวไกลผลักดันกฎหมาย ‘สุราก้าวหน้า’
ไม่ใช่แค่เพราะเป็ นกฎหมายที่ปลดปล่อยศักยภาพของผู้ผลิตสุราไทยเพียง
อย่างเดียว แต่นค
ี่ ือหนึ่งในพลังที่ผลักให้ประเทศไทยก้าวหน้าขึน
้ สุรา
ก้าวหน้าไม่ใช่แค่เรื่องของนักดื่มหรือผู้ผลิตสุรา แต่ยังสร้างผลต่อเนื่อง
อื่นๆ ในการสร้างประเทศไทยมากกว่านัน
้ และนี่คือ 4 ผลพลอยได้ที่จะ
เกิดขึน
้ หลังจากที่เรามีกฎหมาย “สุราก้าวหน้า”
1. สุราก้าวหน้า ช่วยเพิ่มรายได้เกษตรกร เบียร์ สุราหมักจากข้าว
ไวน์ หมักจากพืชพรรณผลไม้ต่างๆ กฎหมายสุราก้าวหน้าจะทำให้เรา
สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร นายพิธา เคยกล่าวไว้ว่า “ข้าว
เก็บไว้ในโกดังมีแต่ราคาลด แต่ถ้าเก็บในไหในขวดบ่มเป็ นสุราคุณภาพดี
ราคามีแต่ขน
ึ้ ”
2. สุราก้าวหน้า ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ไม่ใช่แค่รายได้จาก
สินค้าเกษตรที่เพิ่มขึน
้ สุราก้าวหน้ายังช่วยให้แต่ละท้องถิ่นดึงเอกลักษณ์
ของตัวเองออกมา สุราก้าวหน้าสามารถสร้างเรื่องราวเพื่อเปิ ดประตูให้เรา
ไปเรียนรู้และทำความรู้จักท้องถิ่นเหล่านี ้ กระจายความน่าค้นหาของ
ประเทศไทยไปสูพ
่ ้น
ื ที่ต่างๆ
3. สุราก้าวหน้า ช่วยกระจายรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย
ในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดเท่ากัน ประมาณ 400,000 ล้าน
บาท/ปี ประเทศญี่ปุ่นมีผู้ประกอบการมากกว่า 20,000 ราย ในขณะที่
ไทยแบ่งผลประโยชน์กันในผู้ประกอบการเพียง 7 รายใหญ่เท่านัน
้ นี่คือ
ประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นถึงการผูกขาดทางอำนาจของกลุ่มทุนใน
ประเทศนีท
้ ี่ใช้กฎหมายเป็ นเครื่องมือกดไม่ให้หน่ออ่อนของเศรษฐกิจราก
หญ้าได้เติบโต
4. สุราก้าวหน้า ช่วยสร้างประเทศที่ไม่ผูกขาด พูดให้ถงึ ที่สุด
สุราก้าวหน้าไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของผูผ
้ ลิตสุรากับผู้ด่ ม
ื สุรา ไม่ใช่เพียงเรื่อง
ของศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ถูกปลดปล่อย แต่คือสัญลักษณ์ที่แสดงให้
เห็นว่าพลังของประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ เอาชนะ
กลุ่มทุนผูกขาดได้ผ่านกลไกสภาตามระบอบประชาธิปไตย
https://siamrath.co.th/n/451858?fbclid=IwAR2-
IPklQ42LAl93xTgAcTEzlVlTWvyC3zdJQMHY3zuBUnc7QIyberSh
JWE

บทที่ 3
ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษาครัง้ นีเ้ ป็ นการศึกษา เรื่อง มาตรการแก้ไขข้อกฎหมาย


ซึ่งเกี่ยวกับการผลิตสุรากลั่นในชุมชนให้ถูกกฎหมาย ทางคณะผู้วิจัยได้ใช้
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยคณะผู้วิจัยได้กำหนด
ประเด็นและขอบเขตของระเบียบวิธีวิจัยดังกล่าวมาใช้ในการดําเนินการ
ศึกษา โดยสรุปได้ดังต่อไปนี ้
3.1 ขอบเขตและประเด็นปั ญหาการวิจัย
3.1.1 ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครัง้ นีค
้ ณะผู้วิจัยมุ่งศึกษาในประเด็นการทำสุรากลั่นใน
ประเทศไทย โดยเน้นศึกษาในแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนัน
้ เปรียบ
เทียบระหว่างมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่ง
ประเทศที่นำมาเปรียบเทียบ คือ เกาหลีใต้ เยอรมณี เวียดนาม โดยใช้การ
วิเคราะห์สภาพปั ญหาเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายต่อไป
3.1.2 ประเด็นปั ญหาการวิจัย
การแก้ไขกระบวนการของกฎหมายที่เกี่ยวกับการผลิตสุรากลั่น
ในชุมชนว่ามีความเหมาะสมเพียงใด หากเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว
เป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
3.2 วิธีการศึกษา
การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาค้นคว้าจาก
หนังสือ เอกสาร บทความ เว็บไซต์ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับสุราของประเทศไทย ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเยอรมณี
และประเทศเวียดนาม ทัง้ ที่เป็ นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการแก้ไขข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับ
การผลิตสุราในชุมชนให้ถูกกฎหมาย” ในประเทศไทยประสบปั ญหาอยู่
พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการกำหนดกำลังการผลิตสุรา
ขัน
้ ต่ำ การจ่ายภาษี การควบคุมของกำลังเครื่องจักร ซึ่งเป็ นการกีดกันผู้
ประสงค์ผลิตสุราเพื่อการค้ารายเล็กและผู้ประสงค์ผลิตสุราไม่ใช่เพื่อการ
ค้า ทัง้ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการผลิตสุราไม่ได้กำหนดกรอบเนื้อหาให้
เหมาะสม แม้เคยผ่านกระบวนการแก้กฎหมายดังกล่าวมาแล้วแต่ก็ยังมี
เงื่อนไขเพิ่มเติมมาอีกมากมาย ทำให้เขาเหล่านัน
้ ไม่สามารถประกอบ
อาชีพได้ จึงเป็ นหลักเกณฑ์วิธีการที่ไม่คุ้มครองบุคคลให้มีเสรีภาพในการ
ประกอบอาชีพอย่างเหมาะสมเพียงพอตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2560
จากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมาย คณะผู้วิจัยเห็นประเด็นปั ญหา
ดังต่อไปนี ้
4.1 ปั ญหาที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสุราเสรีได้อันเนื่องมาจากการ
จำกัดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสุรา
ในปั จจุบันการขอนุญาตประกอบกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
กำหนดให้บค
ุ คลใดจะประกอบกิจการการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะ
ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ.2565
ซึ่งตามกฎหมายนีไ้ ด้กำหนดประเภทใบอนุญาตออกเป็ นหลายประเภท
ตามชนิดและประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ใบอนุญาตผลิต
สุราแช่ชนิดเบียร์ ใบอนุญาตผลิตไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นที่
ไม่ใช่สุรากลั่น(สุราแช่อ่ น
ื ๆ) และสุรากลั่น เช่น สุราขาว สุราผสม โดยผู้
ขอรับใบอนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติดังนี ้
1. กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์และสุราแช่ชนิดอื่น ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบ
อนุญาตต้องเป็ นนิติบุคคลที่จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทย และต้องมีผู้ถือหุ้น
สัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของจำนวนหุ้นทัง้ หมด
2.กรณีสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้อง
เป็ น
2.1 สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตาม
กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
2.2 วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน
2.3 องค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
2.4 เป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญจด
ทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติ
ไทย
3.ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตผลิตสุรากลั่นเพื่อการค้า ต้องเป็ น
3.1 สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่า
ด้วยสหกรณ์
3.2 วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน
3.3 องค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
3.4 เป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญจด
ทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติ
ไทย
ดังนัน
้ จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของผูข
้ อรับใบอนุญาตผลิตสุราตามที่
กฎกระทรวงนัน
้ ได้ได้หนดไว้ มีประเด็นที่เป็ นปั ญหา ดังนี ้

1.ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตสุราได้นน
ั ้ ต้อง
เป็ นนิติบุคคลเท่านัน
้ โดยผู้ขอรับใบอนุญาตดังกล่าวไม่สามารถเป็ นบุคคล
ธรรมดาได้เลย การจำกัดให้มีแต่นิติบุคคลเท่านัน
้ สามารถขอรับใบอนุญาต
ผลิตสุราเป็ นการกีดกันและปิ ดโอกาสบุคคลธรรมดาที่จะขอรับใบอนุญาต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบกิจการผลิตคราฟเบียร์และเหล้าพื้นบ้าน
ซึ่งเป็ นกิจการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดเล็กที่สามารถดำเนินการได้
ภายใต้บุคคลเพียงคนเดียว แต่กฎหมายกลับไม่อนุญาตให้กระทำ
file:///C:/Users/DELL/Downloads/%E0%B8%9A
%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+3+
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B
%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8
%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8
%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(2).pdf (เข้าถึงไฟล์
ไม่ได้)
เมื่อกฎหมายมีเงื่อนไขในด้านของผู้รับใบอนุญาตผลิตสุราสำหรับ
ชุมชน จึงทำให้เกิดปั ญหาตามมาจากการขอใบอนุญาตประเภทนีก
้ ็คือ ข้อ
จำกัดในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึง่ จะกล่าวในหัวข้อต่อไป
4.2 ปั ญหาการกำหนดเงื่อนไขและกำหนดกำลังการผลิตสุรา
ในกรณีของการกำหนดเงื่อนไขและกำหนดกำลังการผลิตตาม
กฎหมายไทยกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์นน
ั ้ จะต้องตัง้ ขึน
้ เพื่อใช้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี ้
4.2.1 การกำหนดเงื่อนไขในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-สุราแช่ชนิดเบียร์และสุราแช่ชนิดเบียร์อ่ น
ื ๆ(ระดับโรงงาน
อุตสาหกรรม) มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ
1.ใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์
ตามมาตรฐานตามที่อธิบดีกำหนด
2.ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และ
กฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ
กิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา
3.ต้องมีสายการผลิตในกระบวนการบรรจุภาชนะที่
สามารถติดตัง้ ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทาง
ราชการ หรืออุปกรณ์หรือเครื่องมือใด ๆ ที่ติดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายว่าด้วย
ภาษีสรรพสามิตเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี
-สุรากลั่นและสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์(ระดับชุมชน)
1.ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน
2.ต้องผลิตสุราที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่
อธิบดีประกาศกำหนด
3.ต้องใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็ นวัตถุดิบหรือ
ส่วนประกอบในการผลิต
4.ต้องตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะ
สม มีพ้น
ื ที่เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อน
รำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อ่ น

5.ต้องตัง้ อยู่ห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อย
กว่าหนึ่งร้อยเมตรและต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อ
43
สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด
แม้การออกกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ.2565 จะออกมา
เพื่อผ่อนปรนกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุราฉบับเก่าก็ตาม แต่ทางคณะ
ผู้ทำวิจัยกลับเห็นว่ากฎกระทรวงว่าด้วยการการผลิตสุรา พ.ศ.2565 ก็ยัง
คงมีการสร้างเงื่อนไขและหลักเกณฑ์อ่ น
ื ๆขึน
้ มาอีก และยังคงมีผลกีดกันผู้
ประสงค์จะผลิตสุรารายย่อยเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็ นในเรื่องของการใช้

43
ข้อ 17 แห่งกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตามมาตรฐานตามที่
อธิบดีกำหนด ซึ่งมาตรฐานนัน
้ ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าต้องเป็ นแบบไหน
และยังมีการระบุถึงการให้โรงงานผลิตสุราต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลก
ระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งเป็ นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการราย
44
ย่อยโดยใช่เหตุ
ทัง้ ยังกำหนดให้ต้องมีสายการผลิตในกระบวนการบรรจุภาชนะ
สามารถติดตัง้ ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีอีกด้วย ซึ่ง
การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวก็เป็ นการเพิ่มภาระให้แก่รายย่อยอีกเช่นกัน
เพราะการทำระบบภาษีมีค่าใช้จ่ายที่สูงและต้องใช้เวลาในการทำเป็ น
เวลานาน ผูผ
้ ลิตรายย่อยจึงไม่สามารถแบกรับภาระตรงนีไ้ ด้
4.2.2 การกำหนดกำลังการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-สุรากลั่น
1.โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราพิเศษ ประเภทวิสกี ้
บรั่นดี และยิน ต้องมีขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ำสุราที่มีแรง
แอลกอฮอล์ 28 ดีกรีไม่ต่ำกว่า 30,000 ลิตรต่อวัน
2.โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นอื่นๆ ต้องมีขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบ
เป็ นน้ำสุราที่มีแรงแอลกอฮอล์ 28 ดีกรีไม่ต่ำกว่า 90,000 ลิตรต่อวัน
ดังนัน
้ จะเห็นได้ว่าในกรณีการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นระดับ
โรงงานอุตสาหกรรมนัน
้ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำ
รายวันเอาไว้เป็ นจำนวนที่แน่นอน ซึ่งในความเป็ นจริงเงื่อนไขดังกล่าว
เป็ นการสร้างข้อจำกัดให้กับผู้ประกอบกิจการที่จะต้องดำเนินการการผลิต
เพื่อให้เป็ นไปตามที่กฎหมายกำหนด แตกต่างกับสภาพความเป็ นจริงที่
กำลังการผลิตต่อวันควรจะมีเท่าใดน่าจะต้องขึน
้ อยู่กับความต้องการ

44
สำนักข่าวอิศรา (2565).ครม.เคาะกฎกระทรวง ปลดขัน
้ ต่ำผลิต ‘สุรา’ ‘ก้าวไกล’ มองเป็ นเกม
การเมือง (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/uv8ZJ [12 มิถุนายน 2566]
บริโภคสินค้านัน
้ เป็ นตัวกำหนด ผลที่เกิดจากการกำหนดเงื่อนไขด้านกำลัง
การผลิตขัน
้ ต่ำรายวัน ทำให้กลายมาเป็ นข้อจำกัดกับผู้ประกอบกิจการที่
จะต้องบริหารจัดการกำลังการผลิตของตนให้เหมาะสมภายใต้บริบทต่างๆ
file:///C:/Users/DELL/Downloads/%E0%B8%9A
%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+3+
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B
%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8
%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8
%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(2).pdf (เข้าถึงไฟล์
ไม่ได้)
กฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ.2565 ได้ให้นิยามคำศัพท์ไว้
ดังนี ้
“โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก” หมายความว่า โรง
อุตสาหกรรมผลิตสุราที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำ
กว่าห้าแรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่าเจ็ดคน หรือกรณีใช้ทงั ้ เครื่องจักร
และคนงาน เครื่องจักรมีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าต่ำกว่าห้าแรงม้า
และคนงานมีจำนวนน้อยกว่าเจ็ดคน
“โรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง” หมายความว่า โรง
อุตสาหกรรมผลิตสุราที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่า
ตัง้ แต่ห้าแรงม้าแต่น้อยกว่าห้าสิบแรงม้า หรือใช้คนงานตัง้ แต่เจ็ดคนแต่
น้อยกว่าห้าสิบคน หรือกรณีใช้ทงั ้ เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักรมี
กำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตัง้ แต่ห้าแรงม้าแต่น้อยกว่าห้าสิบแรงม้าและ
45
คนงานมีจำนวนตัง้ แต่เจ็ดคนแต่น้อยกว่าห้าสิบคน ในกรณีการผลิต
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับสุราชุมชน แม้ว่าจะไม่ติดเงื่อนไขด้านกำลัง
การผลิตรายวัน แต่ติดเงื่อนไขด้านเครื่องจักรและจำนวนแรงงานที่ใช้ใน
การผลิตเคื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในโรงงาน โดยตามกฎหมายปั จจุบัน
กำหนดให้ต้องใช้เครื่อจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือใช้คนงาน
น้อยกว่า 7 คน หรือหากใช้ทงั ้ เครื่องจักรและคนงาน ต้องมีกำลังรวมต่ำ
กว่า 5 แรงม้าและคนงานมีจำนวนน้อยกว่า 7 คน และหากจะขยายมา
เป็ นโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางก็ต้องเป็ นผู้ที่ได้รับอนุญาติให้ผลิตสุรา
กลั่นชนิดสุราขาวมาแล้ว 1 ปี ซึ่งไม่มีทางเป็ นไปได้เลยเพราะกว่าจะได้รับ
ใบอนุญาตให้ผลิตสุราในระดับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กยังเป็ นเรื่อง
ยากและหลายขัน
้ ตอน รวมถึงเป็ นการจำกัดศักยภาพของโรงงานระดับ
ชุมชนที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิต
ตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึน

file:///C:/Users/DELL/Downloads/%E0%B8%9A
%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+3+
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B
%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8
%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8

45
%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(2).pdf (เข้าถึงไฟล์
ไม่ได้)
และในส่วนของโรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์ประเภทผลิตเพื่อ
ขาย ณ สถานที่ผลิตหรือที่เรียกว่า บริวผับ นัน
้ แม้จะมีการยกเลิก
การกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนและกำลังการผลิต
ขัน
้ ต่ำออกทัง้ หมด แต่ก็มีมาตราการเรื่องระเบียบต่างๆที่เพิ่มขึน
้ มา
โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมโรงงาน โดยกฎกระทรวงฉบับ
ล่าสุดกำหนดให้ต้องเป็ นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ก็คือ
จะต้องมีเครื่องจักร 50 แรงม้าหรือคนงานไม่น้อยกว่า 50 คน ซึ่ง
โรงงานทำบริวผับขนาดเล็กดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายว่าเป็ นโรงงานไม่
จำเป็ นต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน แต่กฎหมายใหม่
เขียนว่าต้องเป็ นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ทำให้เกิด
ปั ญหาในทางปฏิบัติได้ว่าบริวผับขนาดเล็กที่มีเครื่องจักรจำนวนไม่
มาก จะขอใบโรงงานได้อย่างไรเพราะไม่เข้าเกณฑ์โรงงานอยู่แล้ว
อาจจะทำให้รายย่อยหลุดออกจากตลาดไปอีกได้
https://www.isranews.org/article/isranews-other-news/11
3272-isranews-419.html?
fbclid=IwAR1fVq32WfyJwQuFfIKD4Dm3Oqpd_p8tu1hWZr
B9VR_EjDUqYC4xmGy6GbI
สำนักข่าวอิศรา (2565).ครม.เคาะกฎกระทรวง ปลดขัน
้ ต่ำผลิต ‘สุรา’
‘ก้าวไกล’ มองเป็ นเกมการเมือง (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :
https://shorturl.asia/uv8ZJ [12 มิถุนายน 2566]
4.3 ปั ญหาการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภคที่ไม่ใช่เพื่อการ
ค้า
ข้อ 7 ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า ให้ย่ น
ื คำขอรับใบ
อนุญาต พร้อมทัง้ เอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอต่อ
อธิบดี
ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบ
ปี ข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
ข้อ 8 คำขอรับใบอนุญาตตามข้อ 7 อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี ้
(3) รายละเอียดของเครื่องกลั่นสำหรับผลิตสุรา ชนิดสุราที่
จะผลิต ส่วนผสมหรือส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิต ขัน
้ ตอนการผลิต และ
ปริมาณการผลิต ข้อ 8 แห่งกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
ปั จจุบันพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ใช้บังคับกับการผลิต
สุรา ซึ่งรวมถึงการกระทำ ประกอบ ปรับปรุง แปรรูป หรือแปรสภาพสุรา
ทุกๆกรณี เว้นแต่เป็ น
1.การผลิตสุราในเชิงค้นคว้าที่มิได้ทำขึน
้ เพื่อขาย
2.การเปลี่ยนแปลงสุราโดยนำน้ำสุราอื่นใดหรือน้ำ หรือของเหลว
หรือวัตถุอ่ น
ื ใดเจือปนลงในสุราเพื่อบริโภคเอง หรือในกรณีที่ผู้ซ้อ
ื ได้
ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงเพื่อดื่มในขณะนัน
้ (การทำค็อกเทล)และ
3.ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลงที่มิได้ประกอบกิจการหรือธุรกิจ เช่น การ
ดองเหล้าบ๊วยบริโภคเอง เป็ นต้น
การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน มีข้อสังเกต
ว่ากฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ.2565 แม้จะอนุญาตให้ทำได้ จากเดิมที่
กฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พ.ศ.2560 ไม่อนุญาตและเคยมีผู้ถูก
จับกุมดำเนินคดี แต่กฎกระทรวงฉบับล่าสุดก็ยังกำหนดว่าให้ผลิตได้ไม่
เกิน 200 ลิตรต่อปี หากเป็ นการผลิตเบียร์ก็ไม่น่าจะพอดื่ม นอกจากนี ้
หากดูบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มาตรา 77 ที่ระบุว่า การออกกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีขน
ั ้ ตอนการขอ
อนุญาตต้องไม่กำหนดอย่างเกินความจำเป็ นหรือพร่ำเพรื่อจนเกินไป ใน
เมื่อเราทำกินเองทำไมต้องอนุญาตและวิเคราะห์คุณภาพในเมื่อเราทำ
บริโภคเอง เราคงไม่ทำของที่ไม่มีคุณภาพมาบริโภค อีกทัง้ มาตรา 77 ยัง
ระบุให้ต้องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และต้องมีระยะ
เวลาดำเนินการขออนุญาตให้ชัดเจน เพราะกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิต
สุราฉบับล่าสุดแม้จะมีผลบังคับใช้ตงั ้ แต่ 2 พฤศจิกายน 2565 แต่ในทาง
ปฏิบัติเจ้าหน้าที่ยังไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร รวมถึงจะมีการกำหนด
อัตราค่าธรรมเนียมขออนุญาตผลิตเพื่อบริโภคเองในครัวเรือนหรือไม่และ
ในอัตราใดจะแพงกว่าซื้อมาดื่มหรือไม่
https://www.naewna.com/local/689889?
fbclid=IwAR3PTdDqxIynOC_xex0gpEFqA4u4KDTxjcayhwcNkm6
3ozIcepdu88kSHI8
แนวหน้า (2565).ตัง้ ข้อสังเกต! ทำ'น้ำเมา'ดื่มเอง เหตุใดต้องขออนุญาต-
คุมคุณภาพ (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/aM2qu
[19 มิถุนายน 2566]
การผลิตสุราเพื่อบริโภคเองยังห้ามแจกจ่ายแก่บุคคลอื่นอีก ซึง่ การห้ามดัง
กล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่กำลังริเริ่มธุรกิจที่กำลังริเริ่มคิดสูตรหรือต้อง
พัฒนาสูตรเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหากต้องการรู้ว่าสูตรที่คิดค้นถูกปาก
ผู้บริโภคหรือไม่ ก็มิวายต้องแจกจ่ายให้คนใกล้ตัวหรือเพื่อนบ้านช่วยชิม
เพื่อนำข้อบกพร่องนัน
้ มาแก้ไขให้ดีขน
ึ้

นโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการผลิตเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์ของต่างประเทศได้มีการกำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตผลิต
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่นเดียวกันกับประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์
สำคัญเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล สำหรับในด้านเงื่อนไข
การอนุญาตทางกฎหมายส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่จะก่อ
ให้เกิดอุปสรรคต่อการประกอบกิจการ แต่เน้นเรื่องการควบคุมคุณภาพ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้สะอาดและมีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ลงเพื่อ
สนับสนุนการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน
โดยเมื่อพิจารณานโยบายทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการผลิต
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในต่างประเทศในฐานะแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศ
ในเอเชียและยุโรป 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม เกาหลีใต้ และเยอรมณี
สาเหตุของการเลือกทัง้ 3 ประเทศนีเ้ พราะประเทศเวียดนามมีผู้ประกอบ
ธุรกิจผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คนไทยเข้าไปประกอบธุรกิจผลิตเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ภายใตระบบกฎหมายเวียดนามเพื่อผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ส่งกลับมาขายในประเทศไทยทำให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจในการจะ
นำมาศึกษา
file:///C:/Users/DELL/Downloads/%E0%B8%9A
%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+3+
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B
%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8
%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8
%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(2).pdf (เข้าถึงไฟล์
ไม่ได้)
ส่วนประเทศเกาหลีใต้นน
ั ้ สุราเป็ นซอฟพาวเวอร์ที่โด่งดังไปทั่วโลกผ่านทาง
ซี่รีย์เกาหลี และมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ยุ่งยาก ประเทศเยอรมณีนน
ั ้ เป็ นที่โด่งดัง
ในเรื่องคราฟเบียร์และได้ช่ อ
ื ว่ามีราคาถูกากกว่าน้ำเปล่า ผู้ประกอบทัง้
รายย่อยและรายใหญ่สามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี
1. ปั ญหาที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสุราเสรีได้อันเนื่องมาจากการ
จำกัดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในเรื่องเงือนไขที่จำกัดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสุรา
ประเทศที่เลือกมาทำการศึกษาไม่ได้กำหนดเงื่อนไขด้านผู้ขอรับใบ
อนุญาตเอาไว้เป็ นพิเศษ เช่น เงื่อนไขด้านทุนจดทะเบียน หรือสัดส่วนการ
ถือหุ้น แต่มักจะกำหนดคุณสมบัติเช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจทั่วไป
เช่น จะต้องจะทะเบียนการค้า พร้อมทัง้ แจงรายละเอียดเกี่ยวกับที่ตงั ้
โรงงานและอุปกรณ์การผลิตเพื่อประโยชน์ในการประเมินกำลังการผลิต
เพื่อนำมาสูก
่ ารจัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยมีรายละเอียดของ
ประเทศที่สามารถสรุปได้ดังนี ้
1.1 ประเทศเวียดนาม
การประกอบกิจการผลิตสุราจะต้องได้รับอนุญาตตาม
Decree No. 105/2017/ND-CP date September 14, 2017 of
the Government on Alcohol Trade
https://english.luatvietnam.vn/decree-no-105-2017-
nd-cp-dated-september-14-2017-of-the-government-on-
alcohol-trade-117049-doc1.html
LuatVietnam (2560).Decree No. 105/2017/ND-CP dated
September 14, 2017 of the Government on alcohol trade
(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/5FKHg [22 มิถุนายน
2566]
ซึ่งใช้บังคับกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท
ยกเว้น ไวน์ อย่างไรก็ดีกฎหมายฉบับนีไ้ ม่ได้กำหนดเงื่อนไขในด้านผู้
ขอรับใบอนุญาตเอาไว้เป็ นการเฉพาะ โดยผู้ขอใบอนุญาตตาม
กฎหมายนีอ
้ าจเป็ นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ เพียงแค่มี
วัตถุประสงค์เพื่อการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับ
อุตสาหกรรมหรือแบบครัวเรือนเพื่อการขายปลีก ณ สถานที่ผลิต
หรือขายส่ง
2.ปั ญหาการกำหนดเงื่อนไขและกำหนดกำลังการผลิตสุรา
การกำหนดเงื่อนไขและกำหนดกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำในการผลิต
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นน
ั ้ กฎหมายของต่างประเทศให้น้ำหนักกับ
กระบวนการผลิตที่เน้นเรื่องความสะอาดและคุณภาพของเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์นอกจากนี ้ จะเน้นเรื่องการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โดยไม่ได้ให้น้ำหนักกับกำลังการผลิต มีรายละเอียดของประเทศที่สามารถ
สรุปได้ดังนี ้ file:///C:/Users/DELL/Downloads/%E0%B8%9A
%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+3+
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B
%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8
%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8
%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(2).pdf (เข้าถึงไฟล์
ไม่ได้)
2.1 ประเทศเวียดนาม
ในเรื่องของการกำหนดกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำของประเทศ
เวียดนามนัน
้ กฎหมายมาตรา 105/2017/ND-CP ลงวันที่ 14 กันยายน
2560 เกี่ยวกับการผลิตและขายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์
ระบุว่า ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ต้องลงทะเบียนการค้าอย่างถูก
กฎหมาย และได้รับการรับรองใบอนุญาตการลงทุนจากสำนักงานการ
วางแผนและการลงทุนประจำจังหวัดนัน
้ ๆ ตลอดจนใบตรวจสอบ
คุณภาพของผลิตภัณฑ์เบียร์จากกรมตรวจสอบคุณภาพสินค้า (คล้าย
องค์การอาหารและยา) ซึ่งนักลงทุนจะเป็ นชาวเวียดนามหรือชาวต่างชาติ
และจะผลิตในปริมาณเท่าใดก็ได้ ซึ่งหากมีความประสงค์ขายสินค้าไปใน
ร้านอื่นๆ ก็จำเป็ นต้องมีใบอนุญาตการกระจายสินค้า หรือต้องมีใบ
อนุญาตการการนำเข้าเบียร์จากต่างประเทศในกรณีที่ต้องการนำเข้ามา
ขายภายในประเทศเวียดนาม จากข้อกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า
ประเทศเวียดนามไม่กำหนดกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำเอาไว้แต่ระบุว่าสามารถ
ผลิตในปริมาณเท่าใดก็ได้ https://ilaw.or.th/node/6160

เจียระไน ซองทอง และ ชญาดา จิรกิตติถาวร (2565).ปลดล็อกสุราให้


เสรี : ส่งเส้นทางเศรษฐกิจของชาติเสรีสุรา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
https://ilaw.or.th/node/6160. [22 มิถุนายน 2566]
ส่วนเรื่องการกำหนดเงื่อนไขด้านการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ประเทศเวียดนามให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพสินค้า ความปลอดภัย
และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเงื่อนไขด้านการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตาม
รูปแบบการผลิต โดยหากเป็ นการผลิตในระดับอุตสาหกรรมผู้ประกอบ
กิจการจะต้องประกอบกิจการโดยให้มีสายการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์
และกระบวนการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็ นไปตามขนาดการผลิตโดย
ประมาณตามมาตรฐานเครื่องจักร ในขณะเดียวกันต้องรักษาคุณภาพ
สินค้าให้สะอาดเป็ นไปตามกฎเกณฑ์ด้านความปลอดภัยของอาหารและ
ติดฉลากตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี ้ โรงงานจะต้องปฏิบัติตาม
กฎเกณฑ์สิ่งแวดล้อมและจัดให้มีช่างเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญและมี
ความถนัดเหมาะสมกับสายการผลิตเครื่องดื่มแอลลกอฮอล์ สำหรับการ
ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครัวเรือนเพื่อการค้าพาณิชย์นน
ั ้ กำหนดไว้
เพียงแค่ต้องรักษาความสะอาดของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ตาม
กฎหมายเกี่ยวกับอาหารและมีการติดฉลากเพื่อให้ผู้บริโภคทราบราย
ละเอียด file:///C:/Users/DELL/Downloads/%E0%B8%9A
%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+3+
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B
%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8
%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8
%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(2).pdf (เข้าถึงไฟล์
ไม่ได้)

2.2 ประเทศเยอรมณี
ประเทศเยอรมณีไม่มีการผูกขาดในเรื่องของกฎหมายกำลัง
การผลิตขัน
้ ต่ำ ทำให้ในประเทศเยอรมนีเบียร์แทบจะถูกกว่าน้ำเปล่า จาก
การที่ประเทศเยอมรณีไม่การกำหนดกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำทำให้ประเทศ
เยอรมณี มีผู้ผลิตคราฟต์เบียร์กว่า 900 ราย มีโรงงานผลิตเบียร์ 1,500
แห่ง จัดจำหน่ายเบียร์ 5,500 แบรนด์ทั่วประเทศและทั่วโลก โดยมีมูลค่า
การส่งออกในปี 2563 อยู่ที่ 37,500 ล้านบาท
https://ilaw.or.th/node/6160 เจียระไน ซองทอง และ ชญาดา จิร
กิตติถาวร (2565).ปลดล็อกสุราให้เสรี : ส่งเส้นทางเศรษฐกิจของชาติเสรี
สุรา (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ilaw.or.th/node/6160. [22
มิถุนายน 2566] เศรษฐกิจประเทศขับเคลื่อนในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรม
เบียร์ทงั ้ ทางตรงและทางอ้อม และอัตราในการจัดเก็บภาษีจากเครื่องดื่ม
ประเภทเบียร์ต่ำ อยู่ที่ประมาณ 4 - 8% ต่อขวด (ตกขวดละ 1-2 บาท)
ซึ่งเปรียบเทียบกับประเทศไทยที่มีการเก็บภาษีเบียร์ตามอัตรามูลค่าอยู่ที่
ร้อยละ 48 จะตกอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อขวด ยังไม่รวมกับการคิดภาษี
ตามปริมาณและดีกรีที่เกินกำหนด รวมแล้วเบียร์ในประเทศไทยจะต้อง
เสียภาษีขวดละประมาณ 20-30 บาท
https://mgronline.com/daily/detail/9650000103320
ผู้จัดการออนไลน์ (2565).จับสัญญาณ “คว่ำ” ร่างฯ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า!
ห่วง “ไม่ได้คุณภาพ” เหมือนบริษัทยักษ์ใหญ่? (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :
https://mgronline.com/daily/detail/9650000103320 [25
มิถุนายน 2566]
2.3 ประเทศเกาหลีใต้
ก่อนปี 2011 กฎหมายระบุได้ไว้ว่า โรงเบียร์ต้องผลิตเบียร์
มากกว่า 1 ล้านลิตรต่อปี จึงจะได้รับใบอนุญาต แต่หลังจากผ่อนคลายกฎ
ระเบียบก็เปิ ดโอกาสมากมายสำหรับบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการผลิตครา
ฟต์เบียร์ และส่งผลให้กระบวนการคราฟต์เบียร์ของเกาหลีถือกำเนิดขึน

ในปี 2014 เกาหลีใต้เริ่มผ่อนปรนกฎต่างๆ มากยิ่งขึน
้ โดยลดปริมาณ
เบียร์ที่โรงเบียร์ต้องผลิตลงเหลือ 50,000 ลิตรต่อปี ทำให้โรงงานผลิต
เบียร์ผุดขึน
้ มามากมาย
ครัง้ หนึ่งอุตสาหกรรมเบียร์ของเกาหลีใต้ถูกผู้ผลิตรายใหญ่ครองตลาด แต่
หลังจากนัน
้ บรรดาผู้ผลิตรายเล็กๆ ก็เริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งมากขึน

ขณะเดียวกันคราฟต์เบียร์เองก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึน
้ เนื่องจากนัก
ดื่มเบียร์จำนวนมากในเกาหลีใต้พยายามที่จะขยายทางเลือกของพวกเขา
ซึ่งสวนทางกับกระแสนิยมที่ยาวนานหลายปี ในการยึดติดกับเบียร์ที่ผลิต
จำนวนมากซึ่งครองตลาดในประเทศ
https://spacebar.th/world/craft-beer-vietnam-south-korea
SPACEBAR (2566).เสรีจนเป็ นเศรษฐีกันถ้วนหน้า ส่องโมเดล ‘สุรา
ก้าวหน้า’ เวียดนาม-เกาหลีใต้ (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :
https://spacebar.th/world/craft-beer-vietnam-south-korea[25
มิถุนายน 2566]

ต่อมาประเทศเกาหลีได้ได้แก้ไขกฎหมายภาษีสุรา โดยยกเลิกการเก็บภาษี

มูลค่าต้นทุน การผลิต การโฆษณา การตลาด หรืออื่นๆ มาเป็ นการเก็บ

ภาษีจากปริมาณที่ขายสุราแทน เมื่อมีการเก็บภาษีน้อยลง ผู้ประกอบการ

รายเล็กก็สามารถผลิตสินค้าแข่งขันกับรายใหญ่ได้มากขึน

นอกจากนี ้ รัฐบาลเกาหลีใต้ยังแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับโรงงานสุรา ที่เปิ ด

ช่องสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กที่มีความสามารถแต่ไม่มีกำลังผลิต

สามารถร่วมการผลิตกับโรงงานสุราของบริษัทใหญ่ได้ ถือเป็ นการพึง่ พา


กันระหว่างภาคเอกชน และทำให้ผผ
ู้ ลิตรายเล็กพอจะลืมตาอ้าปากได้

หลังการแก้ไขกฎหมายนี ้ ตัวเลขตลาดคราฟต์เบียร์ของเกาหลีใต้ก็ขยาย

ตัวขึน
้ ถึง 3.3 พันล้านบาท คิดเป็ นสองเท่าจากเมื่อปี 2561 และคาดว่าจะ

ขยายตัวขึน
้ อีก 10.3 พันล้านบาท ภายในปี 2566

เมื่อตลาดคราฟต์เบียร์ในเกาหลีใต้ขยายตัวมาก อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

แอลกอฮอล์ในเกาหลีใต้ก็พลอยตื่นตัวไปด้วย นอกจากจะสร้างโอกาสให้

กับผูผ
้ ลิตรายเล็กแล้ว ยังทำให้ประชาชนมีโอกาสมากขึน
้ ในการเลือกซื้อ

เครื่องดื่มที่พึงพอใจและมีกำลังซื้อ ขณะที่ผผ
ู้ ลิตรายใหญ่ก็ต้องพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ให้ทันกับความต้องการของตลาด เพราะไม่ได้เป็ นผู้ผูกขาด

ตลาดอีกต่อไป เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมนีก
้ ็จะเติบโตตามไปด้วยเพราะ

ปั จจัยทางกฎหมายที่เอื้ออำนวย

https://stock2morrow.com/webboard/1/f1ed5775-23e4-4300-

bd00-958d7668f9a2
ฒ ผู้เฒ่า (2566).ส่องประเทศเปิ ดเสรีสุราโลก แหล่งสร้างรายได้ยุค

ศก.ขาลง (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :

https://stock2morrow.com/webboard/1/f1ed5775-23e4-4300-

bd00-958d7668f9a2 [28 มิถุนายน 2566]

4.3 ปั ญหาการผลิตสุราเพื่อการบริโภคที่ไม่ใช่เพื่อการค้า
4.1 ประเทศเวียดนาม
การผลิตสราที่จะถูกควบคุมนัน
้ มีเฉพาะการผลิตเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์เพื่อการค้าเท่านัน
้ ไม่ว่าจะเป็ นแบบอุตสาหกรรมหรือแบบ
ภายในครัวเรือน ฉะนัน
้ หากเป็ นการผลิตเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน
กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ file:///C:/Users/DELL/Downloads/%E0%B8%9A
%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+3+
%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B
%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8
%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A
%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8
%87%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20(2).pdf (เข้าถึงไฟล์
ไม่ได้)

งบทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 บทสรุป
ชาวบ้านได้มีการทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็ นหลายร้อยปี แล้ว
โดยวิธีการผลิตนัน
้ ได้ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษหรือผู้มีประสบการณ์ใน
การทำสุราพื้นบ้านหรือจากพ่อแม่ญาติพี่น้องของตนเอง มักจะทำและดื่ม
ในเทศกาลงานบุญหรืองานฉลอง เช่นงานบวช งานแต่ง ขึน
้ บ้านใหม่ วัน
สงกรานต์ งานรวมญาติ เป็ นต้น ชาวบ้านบางคนก็นำการผลิตสุราพื้นบ้าน
มาประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เสริมเลีย
้ งครอบครัว นอกจากนีส
้ ุราพื้น
บ้านที่เป็ นเหล้าขาวยังสามารถนำมารักษาโรคบางชนิดได้ แม้การทำสุรา
พื้นบ้านดังกล่าวจะเป็ นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่กลับ
กลายเป็ นการกระทำที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย เมื่อเกิดการจับกุมและ
ปราบปรามการผลิตจะทำให้ภูมิปัญญาชาวบ้านนีห
้ ายไปจากประเทศไทย
ซึ่งเป็ นเรื่องที่น่าเสียดาย ทัง้ สุราพื้นบ้านยังสามารถเป็ นนโยบายส่งเสริม
การท่องเที่ยวและส่งเสริมเศรษฐกิจได้
ในปั จจุบันนัน
้ ผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการผลิตเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์จะต้องผ่านกฎเกณฑ์ของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต
พุทธศักราช 2560 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้เพียงผู้ที่มีกำลังการผลิต
ปริมาณมากเท่านัน
้ ที่สามารถขอใบอนุญาตผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
เช่น กำหนดให้ผู้ที่จะขอใบอนุญาตผลิตสุราได้ ต้องเป็ นบริษัทที่จด
ทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย และมีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็ นคนไทย
สำหรับผู้ขออนุญาตผลิตเบียร์ต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แม้
กฎหมายจะมีคำว่าสุรากลั่นชุมชน แต่ผู้ขออนุญาตไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถ
ผลิตได้ แต่ต้องเป็ นสหกรณ์ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย หรือ
วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรเกษตรที่ขน
ึ ้ ทะเบียน เป็ นต้น ซึ่งกว่าจะเป็ นผู้ที่
มีคุณสมบัติดังกล่าวนัน
้ มีความยุ่งยากและต้องใช้ทุนทรัพย์มาก อีกทัง้ หาก
จะบริโภคดื่มเองภายในครัวเรือนก็ต้องขออนุญาตอีกด้วยหากไม่ทำตามก็
จะถือว่าผิดกฎหมาย ต่อมาจะมีการยกเลิกกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต
สุรา พุทธศักราช 2560 มาเป็ นกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา
พุทธศักราช 2565 แทน โดยยกเลิกเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น
ยกเลิกทุนจดทะเบียน กำลังการผลิตสำหรับการค้า ส่วนในครัวเรือนผลิต
ดื่มเองได้ไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี แต่ต้องนำไปให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบ
คุณสมบัติก่อน เป็ นต้น แม้จะมียกเลิกเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆแล้ว
ก็ตาม แต่ในกฎกระทรวงฉบับปั จจุบันก็ยังเพิ่มเงื่อนไขและหลักเกณฑ์
อื่นๆเข้ามาอีก และยังถือว่าเป็ นการกีดกันผู้ผลิตสุราและเบียร์รายย่อย
เช่น กฎกระทรวงกำหนดว่า โรงเบียร์ขนาดใหญ่เป็ นโรงงานตามกฎหมาย
ว่าด้วยโรงงาน ใช้ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของทาง
ราชการ และจัดทำรายงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งการทำให้ถูกต้องตามเกณฑ์ดังกล่าวต้อง
ใช้จำนวนทุนทรัพย์จำนวนมาก ชาวบ้านธรรมดาคงไม่มีทุนทรัพย์มากพอ
และสำหรับโรงงานผลิตเบียร์ขนาดเล็กการให้โรงงานทำรายงานผลกระ
ทบส่งแวดล้อมไม่มีความจำเป็ นที่จะต้องทำ ส่วนเรื่องคุณสมบัติของผู้ที่จะ
ขอรับใบอนุญาตผลิตสุรานัน
้ กฎกระทรวงฉบับปั จจุบันยังกำหนดให้เป็ น
นิตบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เป็ นบริษัท สหกรณ์ ดังนัน
้ จึง
เห็นได้ว่าการกำหนดเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆในกฎกระทรวงฉบับ
ปั จจุบันไม่ได้ช่วยให้ผู้ผลิตสุรารายใหม่ๆเพิ่มขึน
้ เลย และยังไม่ช่วยปลด
ปล่อยศักยภาพของผู้ประกอบการผลิตไทยให้มีโอกาสได้แสดงฝี มือและ
พัฒนาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของตัวเองขึน
้ มา ทำให้ประเทศไทยต้องสูญ
เสียสุรารสชาติดีที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น สูญเสียนักคราฟ
เบียร์ฝีมือดีที่ต้องไปสานฝั นของตัวเองในประเทศอื่น ทัง้ ยังสูญเสียรายได้
จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายที่หลากหลาย และผู้
บริโภคก็สูญเสียตัวเลือกแอลกอฮอล์ดีๆ ยิ่งไปกว่านัน
้ ประเทศไทยได้สูญ
เสียภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานอีกด้วย
5.2 อภิปรายผล
จากการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สามารถสรุปแต่ละประเด็นปั ยหาได้ ดังต่อไปนี ้
5.2.1 ปั ญหาที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสุราเสรีได้อันเนื่องมา
จากการจำกัดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสุรา
ตามมาตรา 153 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พุทธศักราช
2560 บัญญัติว่า “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสําหรับผลิต
สุราไว้ในครอบครอง ให้ย่ น
ื คําขออนุญาตต่ออธิบดี และต้องปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็ นไปตาม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดในกฎกระทรวง…”
เมื่อพิจารณาจากมาตรา 153 แล้วจะเห็นได้ว่าหากผู้ใดจะผลิตสุรา
หรือมีเครื่องกลั่นสำหรับสุราไว้ในครอบครองให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธี
การและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ดังนัน
้ จึงต้องไปพิจารณา
คุณสมบัติดังกล่าวในกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พุทธศักราช 2565
ซึ่งกฎกระทรวงฉบับปั จจุบันกำหนดให้บุคคลที่ประสงค์จะขอใบอนุญาต
ผลิตสุราจะต้องเป็ น นิติบุคคลที่จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทย หรือสหกรณ์
หรือกลุ่มเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ้
ทะเบียนตามกฎหมาย การกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิต
สุราของกฎกระทรวงฉบับปั จจุบันนัน
้ จะเห็นได้ว่าผู้ขอรับใบอนุญาตดัง
กล่าวไม่สามารถเป็ นบุคคลธรรมดาได้เลย การจำกัดคุณสมบัติของผู้ขอรับ
ใบอนุญาตผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงเป็ นการกีดกันและปิ ดโอกาส
บุคคลธรรมดาที่จะขอรับใบอนุญาต โดยเฉพาะกับการประกอบกิจการ
คราฟเบียร์และสุราพื้นบ้านซึง่ เป็ นกิจการขนาดเล็กที่สามารถผลิตได้ด้วย
ตัวคนเดียว แต่กฎหมายกลับไม่อนุญาตให้ทำ เมื่อเทียบกับกฎหมาย
ประเทศเวียดนามแล้ว ประเทศเวียดนามกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาต
ผลิตสุราสามารถเป็ นบุคคลธรรมดาได้
จึงสรุปได้ว่าบทบัญญัติมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติภาษี
สรรพสามิต พุทธศักราช 2560 ไม่มีการกำหนดกรอบเนื้อในการออกกฎ
กระทรวงไว้ให้เหมาะสม ทำให้กฎกระทรวงที่ออกมานัน
้ กำหนดคุณสมบัติ
ของผู้ขออนุญาตและเงื่อนไขอื่นที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินควร
กว่าเหตุ ผู้ประสงค์จะผลิตสุรารายเล็กหรือรายย่อยจึงไม่สามารถผลิตสุรา
ตามกฎหมายได้ ถือเป็ นการไม่คุ้มครองให้บค
ุ คลมีสิทธิเสรีภาพในการ
ประกอบอาชีพอย่างเหมาะสมเพียงพอตามมาตรา 40 แห่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
5.2.2 ปั ญหาการกำหนดเงื่อนไขและกำหนดกำลังการผลิต
สุรา
แม้การออกกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พุทศักราช 2565
จะออกมาเพื่อผ่อนปรนกฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุราฉบับเก่าก็ตาม
แต่ทางคณะผู้วิจัยกลับเห็นว่ากฎกระทรวงฉบับปั จจุบันยังคงมีการสร้าง
เงื่อนไขและหลักเกณฑ์อ่ น
ื ๆขึน
้ มาอีกและยังคงมีผลกีดกันผู้ประสงค์จะ
ผลิตสุรารายย่อยเหมือนเดิม โดยมาตรา 16 และ มาตรา 17 แห่งกฎ
กระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 ได้กำหนดในเรื่องของ
การใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตามมาตรฐานที่
อธิบดีกำหนด ซึ่งมาตรฐานนัน
้ ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็ นแบบ
ไหน และยังมีการระบุถึงการให้โรงงานผลิตสุราต้องทำรายงานวิเคราะห์
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็ นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุ และยัง
กำหนดให้ติดตัง้ ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีอีกด้วย
การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็ นการเพิ่มภาระให้แก่ผป
ู้ ระสงค์จะผลิตสุรา
รายย่อยอีกเช่นกัน เพราะการทำระบบภาษีมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและ
ต้องใช้ระยะเวลาในการทำเป็ นเวลานาน ผูผ
้ ลิตรายย่อยจึงไม่สามารถแบก
รับภาระตรงนีไ้ ด้
ส่วนการกำหนดกำลังการผลิตสุรานัน
้ ในระดับโรงงาน
อุตสาหกรรมให้ความสำคัญในเรื่องของกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำรายวันเป็ นจำ
นานที่แน่นอน ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวได้สร้างข้อจำกัดให้กับผู้ผลิตรายย่อย
และผู้ประกอบกิจการที่ต้องดำเนินการผลิตให้เป็ นไปตามที่กฎหมาย
กำหนด
ในกรณีการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับชุมชนแม้จะไม่
ติดเงื่อนไขด้านกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำแต่ติดเงื่อนไขด้านเครื่องจักรและ
จำนวนแรงงานโดยตามกฎหมายปั จจุบันกำหนดให้ต้องใช้เครื่อจักรที่มี
กำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน หรือหากใช้ทงั ้
เครื่องจักรและคนงาน ต้องมีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้าและคนงานมี
จำนวนน้อยกว่า 7 คน และหากจะขยายมาเป็ นโรงอุตสาหกรรมสุรา
ขนาดกลางก็ต้องเป็ นผู้ที่ได้รับอนุญาติให้ผลิตสุรากลั่นชนิดสุราขาวมาแล้ว
1 ปี ซึ่งแทบจะไม่มีความเป็ นไปได้เพราะกว่าจะได้รับใบอนุญาตให้ผลิต
สุราในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็กยังเป็ นเรื่องยากและหลายขัน
้ ตอนรวม
ถึงเป็ นการจำกัดศักยภาพของโรงงานอุตสาหกรรมระดับชุมชนที่ต้องการ
พัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเตรียมขยายกำลังการผลิตตามความ
ต้องการของตลาดที่เพิ่มขึน

ในส่วนของโรงงานผลิตบริวผับนัน
้ แม้จะมีการยกเลิกจำนวน
ทุนทรัพย์และกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำออกแล้วก็ตาม แต่กฎกระทรวงฉบับ
ปั จจุบันก็ยังกำหนดให้โดยกฎกระทรวงฉบับล่าสุดกำหนดให้ต้องเป็ น
โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ก็คือ จะต้องมีเครื่องจักร 50 แรงม้า
หรือคนงานไม่น้อยกว่า 50 คน ซึง่ โรงงานบริวผับขนาดเล็กไม่ได้เข้าข่าย
การเป็ นโรงงานตัง้ แต่แรก จึงไม่จำเป็ นต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ
โรงงานแต่กฎกระทรวงกำหนดให้ว่าต้องเป็ นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วย
โรงงาน จึงทำให้เกิดปั ญหาเพราะโรงงานบริวผับขนาดเล็กที่มีเครื่องจักร
ไม่มากจะขอใบโรงงานได้อย่างไร
เมื่อนำปั ญหาดังกล่าวมาเทียบกับกฎหมายของประเทศ
เวียดนามจะเห็นได้ว่ากฎหมายของประเทศเวียดนามกำหนดให้สามารถ
ในปริมาณเท่าใดก็ได้ ส่วนเรื่องเงื่อนไขด้านการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ประเทสเวียดนามให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพสินค้า ความปลอดภัย
และสิ่งแวดล้อม หากเป็ นการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครัวเรือนเพื่อ
การค้า กฎหมายประเทศเวียดนามกำหนดไว้เพียงแค่ต้องรักษาความ
สะอาดของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายเกี่ยวกับอาหาร
และมีการติดฉลากเพื่อให้ผู้บริโภคทราบรายละเอียด
ประเทศเยอรมณีไม่ได้มีการผูกขาดในเรื่องของกฎหมายกำลัง
การผลิตขัน
้ ต่ำ ทำให้ประเทศเบียร์แทบจะถูกกว่าน้ำเปล่า จากการที่
ประเทศเยอมรณีไม่การกำหนดกำลังการผลิตขัน
้ ต่ำทำให้ประเทศเยอ
รมณี มีผู้ผลิตคราฟต์เบียร์กว่า 900 ราย มีโรงงานผลิตเบียร์ 1,500 แห่ง
จัดจำหน่ายเบียร์ 5,500 แบรนด์ทั่วประเทศและทั่วโลก โดยมีมูลค่าการ
ส่งออกในปี 2563 อยู่ที่ 37,500 ล้านบาท
ประเทศเกาหลี แม้ในอดีตกฎหมายของประเทศเกาหลี
กำหนดให้โรงเบียร์ต้องผลิตเบียร์มากกว่า 1 ล้านลิตรต่อปี จึงจะสามาถรับ
ใบอนุญาตผลิตสุราได้ แต่ประเทศเกาหลีก็ได้แก้ไขข้อกฎหมายดังกล่าวให้
สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ปั จจุบันรัฐบาลเกาหลีใต้ยังแก้ไข
ระเบียบเกี่ยวกับโรงงานสุรา ที่เปิ ดช่องสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กที่มี
ความสามารถแต่ไม่มีกำลังผลิตสามารถร่วมการผลิตกับโรงงานสุราของ
บริษัทใหญ่ได้ ถือเป็ นการพึ่งพากันระหว่างภาคเอกชน และทำให้ผู้ผลิต
รายเล็กพอจะลืมตาอ้าปากได้ หลังการแก้ไขกฎหมายนี ้ ตัวเลขตลาดครา
ฟต์เบียร์ของเกาหลีใต้ก็ขยายตัวขึน
้ ถึง 3.3 พันล้านบาท คิดเป็ นสองเท่า
จากเมื่อปี 2561 และคาดว่าจะขยายตัวขึน
้ อีก 10.3 พันล้านบาท ภายใน
ปี 2566 การแก้กฎหมายดังกล่าวของประเทศเกาหลีทำให้มีผู้ผลิตสุรา
รายใหม่ๆเพิ่มขึน
้ เป็ นจำนวนมาก และเป็ นการเปิ ดโอกาสให้กับประชาชน
ที่มีศักยภาพในการผลิตสุรา รวมทัง้ เปิ ดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกเครื่อง
ดื่มที่พึงพอใจและมีกำลังซื้อ ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์
ให้ทันกับความต้องการของตลาด
5.2.3 ปั ญหาการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภคที่ไม่ใช่เพื่อ
การค้า
การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน
แม้กฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 จะอนุญาตให้
ทำได้แต่ก็ยังกำหนดให้ผลิตได้ไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี หากเป็ นการผลิตเบียร์
ทางคณะผู้จัดทำเห็นว่าไม่น่าจะพอดื่ม อีกทัง้ ต้องขออนุญาตต่ออธิบดี ซึ่ง
เป็ นขัน
้ ตอนที่ยุ่งยากและการผลิตเพื่อบริโภคยังห้ามแจกจ่ายแก่บุคคลอื่น
ซึ่งการห้ามดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่กำลังริเริ่มธุรกิจที่กำลังริเริ่มคิด
สูตรหรือต้องการพัฒนาสูตรเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขอตัวเอง โดยหาก
ต้องการรู้ว่าสูตรที่คิดค้นถูกปากผู้บริโภคหรือไม่ ก็มิวายต้องแจกจ่ายให้
คนใกล้ตัวหรือเพื่อนบ้านช่วยชิม เพื่อนำข้อบกพร่องนัน
้ มาแก้ไขให้ดีขน
ึ้
เมื่อนำปั ญหาดังกล่าวมาเทียบกับกฎหมายของประเทศ
เวียดนามจะเห็นได้ว่าประเทศเวียดนามนัน
้ ได้ควบคุมการผลิตเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์เฉพาะแต่เรื่องของการผลิตเพื่อการค้าเท่านัน
้ หากเป็ นการ
ผลิตเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน กฎหมายของประเทศเวียดนามไม่ได้
บังคับให้ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่อย่าง
ใด
5.3 ข้อเสนอแนะ
ผลจากการวิจัยมาตรการแก้ไขข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับการ
ผลิตสุรากลั่นในชุมชน คณะผู้วิจัยเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม พระราช
บัญญัติภาษีสรรพสามิต พุทธศักราช 2560 และ กฎกระทรวงว่าด้วยการ
ผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 ดังนี ้
5.3.1 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พุทธศักราช 2560
1. เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติ
ภาษีสรรพสามิต เดิมบัญญัติว่า “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่อง
กลั่นสําหรับผลิตสุราไว้ในครอบครอง ให้ย่ น
ื คําขออนุญาตต่ออธิบดี และ
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็ นไปตาม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดในกฎกระทรวง..” โดยเพิ่มเติม
คำว่า “ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราเพื่อการค้า” ในวรรคหนึ่ง และเพิ่มเติม
วรรคสองโดยเพิ่มคำว่า “หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ต้องไม่กำหนด
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสุราเกี่ยวกับ กำลังการผลิตขัน
้ ต่ำ
กำลังแรงม้าขอเครื่องจักร กำลังคน หรือประเภทบุคคลผู้มส
ี ิทธิขอ
อนุญาต”โดยให้ความในตัวบทของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต
มาตรา 153 มีความดังต่อไปนี ้
มาตรา 153 ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราเพื่อการค้าหรือมีเครื่องกลั่น
สําหรับผลิตสุราไว้ในครอบครอง ให้ย่ น
ื คําขออนุญาตต่ออธิบดี และต้อง
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็ นไปตาม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดในกฎกระทรวง หลักเกณฑ์ วิธี
การและเงื่อนไข ต้องไม่กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตสุรา
เกี่ยวกับ กำลังการผลิตขัน
้ ต่ำ กำลังแรงม้าของเครื่องจักร กำลังคน หรือ
ประเภทบุคคลผู้มีสิทธิขออนุญาต
ใบอนุญาตที่ออกตามมาตรานีใ้ ห้มีอายุสามปี นับแต่วันที่ได้รับ
อนุญาต
5.3.2 กฎกระทรวงว่าด้วยการผลิตสุรา พุทธศักราช 2565
1.เสนอให้แก้ไขและเพิ่มเติม มาตรา 7 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการ
ผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 เดิมวรรคหนึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดประสงค์จะ
ผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า ให้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาต พร้อมทัง้ เอกสารหรือ
หลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอต่ออธิบดี…”
โดยนำเนื้อความในตัวบทคำว่า “ให้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาต” ออกไป
และเพิ่มเติมคำว่า “ให้จดแจ้ง” โดยให้ความในตัวบทกฎหมายมาตรา 7
วรรคหนึ่ง มีความดังนี ้
มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราที่มิใช่เพื่อการค้า ให้จด
แจ้ง พร้อมทัง้ เอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอต่ออธิบดี
2.เสนอให้แก้ไขและเพิ่มเติมมาตรา 14 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการ
ผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 เดิมบัญญัติว่า “ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตผลิต
สุราแช่เพื่อการค้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์และสุราแช่ชนิดอื่นนอกจาก (2) และ
(3) ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นนิติบุคคลที่จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทย
และต้องมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของจำนวนหุ้น
ทัง้ หมด เว้นแต่กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิตสุราโดย
อาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี
ให้ผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญานัน

(2) กรณีสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรม
สุราขนาดเล็ก ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้อง
(ก) เป็ นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามกฎหมาย
ว่าด้วยสหกรณ์ หรือ
(ข) เป็ นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน หรือ
(ค) เป็ นองค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
(ง) เป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้าง
หุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่
หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย เว้นแต่
กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิตสุราโดยอาศัยสนธิสัญญา
ที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี ให้หุ้นส่วนหรือผู้
ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญานัน
้ …”
โดย มาตรา 14(1) ให้เพิ่มเติมคำว่า “เป็ นบุคคลธรรมดา หรือ”และ
มาตรา 14(2)(ง) ให้เพิ่มเติมคำว่า “เป็ นบุคคลธรรมดา หรือ” โดยให้ความ
ในตัวบทกฎหมาย มาตรา 14(1)และ(2) มีความดังต่อไปนี ้
มาตรา 14 ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตผลิตสุราแช่เพื่อการค้า ต้อง
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์และสุราแช่ชนิดอื่นนอกจาก (2) และ
(3) ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นบุคคลธรรมดา หรือเป็ นนิติบุคคลที่
จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทยและต้องมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อย
ละห้าสิบเอ็ดของจำนวนหุ้นทัง้ หมด เว้นแต่กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะ
ขอรับใบอนุญาตผลิตสุราโดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือ
มีความผูกพันตามพันธกรณี ให้ผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไข
ของสนธิสัญญานัน

(2) กรณีสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรม
สุราขนาดเล็ก ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้อง
(ก) เป็ นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามกฎหมาย
ว่าด้วยสหกรณ์ หรือ
(ข) เป็ นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน หรือ
(ค) เป็ นองค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
(ง) เป็ นบุคคลธรรมดา หรือเป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดา
ซึ่งมีสัญชาติไทย เว้นแต่กรณีนิติบค
ุ คลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิต
สุราโดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความผูกพันตาม
พันธกรณี ให้หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของ
สนธิสัญญานัน

3. เสนอให้แก้ไขและเพิ่มมาตรา 15 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วย
การผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 เดิมมาตรา 15 (1)(3)(5) บัญญัติว่า “ผู้
ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิตสุรากลั่นเพื่อการค้า ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราสามทับที่ผลิตเพื่อส่งออกไปนอกราช
อาณาจักร และสุรากลั่นชนิดเอทานอล ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ น
นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตัง้ ขึน
้ ตาม
กฎหมายไทย
(3) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุรา
ขนาดเล็ก ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้อง
(ก) เป็ นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามกฎหมาย
ว่าด้วยสหกรณ์ หรือ
(ข) เป็ นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน หรือ
(ค) เป็ นองค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
(ง) เป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้าง
หุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่
หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย เว้นแต่
กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิตสุราโดยอาศัยสนธิสัญญา
ที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี ให้หุ้นส่วนหรือผู้
ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของสนธิสัญญานัน

(5) กรณีสุรากลั่นทุกชนิดนอกจากสุรากลั่นตาม (1) (2) (3)
และ (4) ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นนิติบุคคลที่จัดตัง้ ขึน
้ ตาม
กฎหมายไทยและต้องมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด
ของจำนวนหุ้นทัง้ หมด เว้นแต่กรณีนิติบค
ุ คลที่ประสงค์จะขอรับใบ
อนุญาตผลิตสุรา โดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความ
ผูกพันตามพันธกรณี ให้ผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของ
สนธิสัญญานัน
้ ”โดยเพิ่มเติมคำว่า “เป็ นรัฐวิสาหกิจที่จัดตัง้ ขึน
้ ตาม
กฎหมายไทย หรือ” ในมาตรา 15(1)และเพิ่มเติมคำว่า “เป็ นบุคคล
ธรรมดา หรือ”ในมาตรา 15(3)(ง) ส่วนมาตรา 15(5) ให้เพิ่มเติมคำว่า “เ
ป็ นบุคคลธรรมดา หรือ” โดยให้ความในตัวบทกฎหมาย มาตรา 15 มี
ความดังต่อไปนี ้
มาตรา 15 ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตผลิตสุรากลั่นเพื่อการค้า ต้อง
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราสามทับที่ผลิตเพื่อส่งออกไปนอกราช
อาณาจักร และสุรากลั่นชนิดเอทานอล ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ น
รัฐวิสาหกิจที่จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทย หรือเป็ นนิติบค
ุ คลประเภทบริษัท
จำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทย
(2) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราสามทับที่ผลิตเพื่อขายในราชอาณาจักร
ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นรัฐวิสาหกิจที่จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทย
(3) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุรา
ขนาดเล็ก ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้อง
(ก) เป็ นสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามกฎหมาย
ว่าด้วยสหกรณ์ หรือ
(ข) เป็ นวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
วิสาหกิจชุมชน หรือ
(ค) เป็ นองค์กรเกษตรกรที่ขน
ึ ้ ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ
(ง) เป็ นบุคคลธรรมดา หรือเป็ นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วน
สามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทุกคนเป็ นบุคคลธรรมดา
ซึ่งมีสัญชาติไทย เว้นแต่กรณีนิติบค
ุ คลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตผลิต
สุราโดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคีหรือมีความผูกพันตาม
พันธกรณี ให้หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและเงื่อนไขของ
สนธิสัญญานัน

(4) กรณีสุรากลั่นชนิดสุราขาวที่ผลิตจากโรงอุตสาหกรรมสุรา
ขนาดกลาง ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นผูไ้ ด้รับใบอนุญาตผลิตสุรา
กลั่นชนิดสุราขาวตาม (3) มาแล้ว
ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันที่ย่ น
ื คำขอ ทัง้ นี ้ หากปรากฏว่าเคยมี
ประวัติการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต จะขอ
อนุญาตได้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่พ้นโทษหรือวันที่
ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบ แล้วแต่กรณี
(5) กรณีสุรากลั่นทุกชนิดนอกจากสุรากลั่นตาม (1) (2) (3) และ
(4) ผู้ย่ น
ื คำขอรับใบอนุญาตต้องเป็ นบุคคลธรรมดา หรือเป็ นนิติบุคคลที่
จัดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายไทยและต้องมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อย
ละห้าสิบเอ็ดของจำนวนหุ้นทัง้ หมด เว้นแต่กรณีนิติบุคคลที่ประสงค์จะ
ขอรับใบอนุญาตผลิตสุรา โดยอาศัยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็ นภาคี
หรือมีความผูกพันตามพันธกรณี ให้ผถ
ู้ ือหุ้นเป็ นไปตามบทบัญญัติและ
เงื่อนไขของสนธิสัญญานัน

4.เสนอให้แก้ไขและเพิ่มมาตรา 16 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วย
การผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 เดิมมาตรา 16(1)(2) บัญญัติว่า “โรง
อุตสาหกรรมสุราแช่ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์
(ก) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์ประเภทผลิตเพื่อขาย ณ
สถานที่ผลิต ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย
โรงงาน หรือใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตาม
มาตรฐานตามที่อธิบดีกำหนด และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่ง
แวดล้อม และกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา
(ข) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์นอกจาก (ก) ต้องเป็ น
โรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และต้องมี
เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต รวมทัง้ มีสายการผลิตในกระบวนการบรรจุ
ภาชนะที่สามารถติดตัง้ ระบบการพิมพ์เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีของ
ทางราชการ หรืออุปกรณ์หรือเครื่องมือใด ๆ ที่ติดตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายว่า
ด้วยภาษีสรรพสามิตเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี ทัง้ นี ้ การจัดตัง้ โรง
อุตสาหกรรมสุราดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว
(2) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ ซึ่งเป็ นโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี ้
(ก) ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน
(ข) ต้องผลิตสุราที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่อธิบดี
ประกาศกำหนด
(ค) ต้องใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็ นวัตถุดิบหรือส่วน
ประกอบในการผลิต
(ง) ต้องตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพ้น
ื ที่
เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือ
ความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อ่ น

(3) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ ซึ่งเป็ นโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง นอกจากจะต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขตาม (2) แล้ว ต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ตาม
มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุราด้วย”
โดยให้นำเนื้อความในตัวบทของมาตรา 16 (1)(ก) คำว่า “ต้องเป็ น
โรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือ” ออกไป และ
เพิ่มเติมคำว่า “ต้อง” ส่วนในมาตรา 16(1)(ข) ให้นำเนื้อความในตัวบท
คำว่า “และต้องมีเครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต รวมทัง้ มีสายการผลิตใน
กระบวนการบรรจุภาชนะที่สามารถติดตัง้ ระบบการพิมพ์เครื่องหมาย
แสดงการเสียภาษีของทางราชการ หรืออุปกรณ์หรือเครื่องมือใด ๆ ที่ติด
ตัง้ ขึน
้ ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บ
ภาษี ทัง้ นี ้ การจัดตัง้ โรงอุตสาหกรรมสุราดังกล่าวต้องได้รับความเห็น
ชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว” ออกไปและเพิ่มเติม
คำว่า “หรือใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตาม
มาตรฐานตามที่อธิบดีกำหนด และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่ง
แวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ
กิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา” นำเนื้อความในตัวบาทมาตรา 16(2) คำว่า
“ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ “ ออกไป ในมาตรา 16(2)(ก) ให้นำเนื้อความ
ในตัวบท ที่ว่า “ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน” และ
มาตรา 16(2)(ง) ที่ว่า “ตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มี
พื้นที่เพียงพอที่จะ” ออกไป โดยให้ความในตัวบทกฎหมายมาตรา 16 (1)
(2) มีความดังต่อไปนี ้
มาตรา 16 โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์
(ก) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์ประเภทผลิตเพื่อขาย ณ
สถานที่ผลิตต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตาม
มาตรฐานตามที่อธิบดีกำหนด และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่ง
แวดล้อม และกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา
(ข) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ชนิดเบียร์นอกจาก (ก) ต้องเป็ น
โรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือใช้เครื่องจักร
หรืออุปกรณ์การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตามมาตรฐานตามที่อธิบดีกำหนด
และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับ
การสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา
(2) โรงอุตสาหกรรมสุราแช่ที่ไม่ใช่สุราแช่ชนิดเบียร์ ซึ่งเป็ นโรง
อุตสาหกรรมสุราขนาดเล็ก ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี ้
(ก) ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน
(ข) ต้องผลิตสุราที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่อธิบดี
ประกาศกำหนด
(ค) ต้องใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็ นวัตถุดิบหรือส่วน
ประกอบในการผลิต
(ง) ต้องตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพ้น
ื ที่
เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือ
ความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อ่ น

5. เสนอให้แก้ไขและเพิ่มมาตรา 17 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการ
ผลิตสุรา พุทธศักราช 2565 เดิมมาตรา 17(1)(3)(5) บัญญัติว่า “
โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดัง
ต่อไปนี ้
(1) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราขาว ซึง่ เป็ นโรงอุตสาหกรรม
สุราขนาดเล็ก ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี ้
(ก) ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน
(ข) ต้องผลิตสุราที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่อธิบดี
ประกาศกำหนด
(ค) ต้องใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็ นวัตถุดิบหรือส่วน
ประกอบในการผลิต
(ง) ต้องตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพ้น
ื ที่
เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือ
ความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อ่ น

(จ) ต้องตัง้ อยู่ห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อย
เมตรและต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด
(3) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราพิเศษ ประเภทวิสกี ้
บรั่นดี และยิน ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย
โรงงานและต้องมีขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ำสุราที่มีแรง
แอลกอฮอล์ยี่สิบแปดดีกรีไม่ต่ำกว่าสามหมื่นลิตรต่อวัน
(5) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นอื่นนอกจาก (1) (2) (3) และ (4)
ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและต้องมี
ขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ำสุราที่มีแรงแอลกอฮอล์ยี่สิบแปดดีกรี
ไม่ต่ำกว่าเก้าหมื่นลิตรต่อวัน และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่ง
แวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ
กิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา
โดยให้นำเนื้อความในตัวบทของมาตรา 17(1) คำว่า “ชนิดสุรา
ขาว”และมาตรา 17(1)(ก) ที่ว่า “ ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่าง
ชัดเจน” และมาตรา 17(1)(ง) ที่ว่า “ตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสม มีพ้น
ื ที่เพียงพอที่จะ” ออกไป ส่วนในมาตรา 17(3) ให้นำเนื้อ
ความในตัวบท คำว่า “ไม่ต่ำกว่าสามหมื่นลิตรต่อวัน” ออกไป และใน
มาตรา 17(5) ให้นำเนื้อความในตัวบท คำว่า “ไม่ต่ำกว่าเก้าหมื่นลิตรต่อ
วัน” ออกไป ดยให้ความในตัวบทกฎหมายมาตรา 17 (1)(3)(5) มีความดัง
ต่อไปนี ้
มาตรา 17 โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี ้
(1) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราขาว ซึ่งเป็ นโรงอุตสาหกรรม
สุราขนาดเล็ก ต้องเป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี ้
(ก) ต้องแยกออกจากที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน
(ข) ต้องผลิตสุราที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่อธิบดี
ประกาศกำหนด
(ค) ต้องใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็ นวัตถุดิบหรือส่วน
ประกอบในการผลิต
(ง) ต้องตัง้ อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพ้น
ื ที่
เพียงพอที่จะผลิตสุราโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือ
ความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อ่ น

(จ) ต้องตัง้ อยู่ห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อย
เมตรและต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ตามมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด
(3) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นชนิดสุราพิเศษ ประเภทวิสกี ้
บรั่นดี และยิน ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย
โรงงานและต้องมีขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ำสุราที่มีแรง
แอลกอฮอล์ยี่สิบแปดดีกรีไม่ต่ำกว่าสามหมื่นลิตรต่อวัน
(5) โรงอุตสาหกรรมสุรากลั่นอื่นนอกจาก (1) (2) (3) และ (4)
ต้องเป็ นโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและต้องมี
ขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็ นน้ำสุราที่มีแรงแอลกอฮอล์ยี่สิบแปดดีกรี
ไม่ต่ำกว่าเก้าหมื่นลิตรต่อวัน และต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิ่ง
แวดล้อมและกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ
กิจการโรงอุตสาหกรรมสุรา
6.เสนอให้ไม่มีการจำกัดกำลังการผลิตของเครื่องจักรและกำลัง
คนในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชุมชน

You might also like