You are on page 1of 62

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน

คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เล่ม ๒
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผู้เรียบเรียง
เฉลิมพงศ์ วรวรรโณทัย
วรกฤษณ์ ศุภพร

ผู้ตรวจ
อรพรรณ สุวรรณเสน
ศิริชัย เพชรชู
ภานุมาส มหาทรัพย์สกุล

บรรณาธิการ
อภิชาติ ทวีบุตร
ไกรวิชญ์ เหล่าปรีดา

พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ๒๕๖๓
จ�ำนวน : ๓๐,๐๐๐ เล่ม
ISBN : 978-616-8172-13-1

จัดพิมพ์และจ�ำหน่ายโดย
บริษัทเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จ�ำกัด
254 อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 ถนน พระราม 1
แขวง ปทุมวัน เขต ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : 0-2251-6842-4
โทรสาร : 0-2251-6841
Website : www.learneducation.co.th

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๕๘


ค�ำน�ำ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เล่ม ๒ ได้เรียบเรียงเนื้อหา
สาระให้มีความสอดคล้องตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ส�ำหรับให้
สถานศึกษาใช้ประกอบการเรียนการสอนและใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่
ผูเ้ รียน เพือ่ น�ำไปสูก่ ระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน โดยหนังสือเล่มนี้
มีการจัดเรียงล�ำดับหน่วยการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และล�ำดับเนื้อหา
มีความต่อเนือ่ ง เรียงจากง่ายไปยาก ซึ่งประกอบด้วยส่วนของเนื้อหา แบบฝึกหัด กิจกรรมการเรียนรู้
มีการวัดผลและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ การคิดแก้ปัญหา เสริมสร้างทักษะและ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และเป็น
ส่วนส�ำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน
ขอขอบคุณคณะครู ตลอดจนหน่วยงานและบุคลากรทุกท่านที่มีส่วนในการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ไว้
ณ โอกาสนี้ หากมีข้อบกพร่องหรือข้อเสนอแนะประการใด ทางคณะผู้จัดท�ำยินดีน้อมรับค�ำติชม
เพื่อน�ำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

คณะผู้จัดท�ำ
ค�ำชี้แจงการใช้หนังสือ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์เล่มนี้ได้รับการออกแบบมาให้แต่ละหน่วยการเรียนรู้
มีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ทำ�ให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และความคิดอ่านด้านคณิตศาสตร์ที่ดีและ
ชัดเจนมากขึ้นจากเนื้อหาหลัก ซึ่งสามารถแยกอธิบายได้ ดังนี้

ทดสอบความพร้อม รู้ก่อนเรียน
แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานที่จ�ำเป็น เพื่อ
ความรู้พื้นฐานที่จ�ำเป็นก่อนเรียน
ประเมินความพร้อมก่อนเข้าสู่หน่วยการเรียนรู้

น่ารู้กระทู้ส�ำคัญ ควรระวัง
ความรู้เสริมหรือเกร็ดความรู้ต่าง ๆ อธิบายสิ่งที่มีโอกาสพลาดบ่อย
ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้ หรือขั้นตอนที่ควรระวัง

น้องลองท�ำ แนะแนวคิด
โจทย์ที่ให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีท�ำ แนะน�ำวิธีคิดในขั้นตอนต่าง ๆ
ตามตัวอย่างเพื่อฝึกฝน ระหว่างเนื้อหา

สาระส�ำคัญ MATH PUZZLE


สรุปแนวทางการให้นิยาม สมบัติ ทฤษฎี สัจพจน์
เกมคณิตศาสตร์ส�ำหรับฝึกทักษะ
และขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ หรือสรุปเนื้อหา
ทางคณิตศาสตร์
ของหน่วยการเรียนรู้
สรุปความรู้ ทบทวนตัวเอง
สรุปองค์ความรู้ของหน่วยการเรียนรู้
ประเมินความรู้ที่ได้รับในหน่วยการเรียนรู้

ค�ำถามประลองยุทธ์ แบบฝึกทักษะ
ระดับความยากง่ายของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดที่มีลักษณะใกล้เคียง
* ง่าย
การทดสอบทางการศึกษาระดับ
** ปานกลาง
ชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
*** ยาก

คณิตศาสตร์ กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้
รอบตัว
เกม/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนน�ำ
เรื่องราวเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ซึ่งสามารถพบ
องค์ประกอบที่ได้เรียนรู้จากใน
ได้ในชีวิตประจ�ำวันเเละเกี่ยวข้องกับเนื้อหา
หน่วยการเรียนรู้มาใช้ในการท�ำกิจกรรม
ในหน่วยการเรียนรู้ โดยสามารถน�ำความรู้
หรือแก้ปัญหาและสะเต็ม
จากหน่วยการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้

แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้
แบบทดสอบความรู้หลังเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนประเมินว่าส่วนใดที่ท�ำได้ดี
และส่วนใดที่ยังต้องพัฒนา
สารบัญ
1. อัตราส่วน ร้อยละ 2. รูปสามเหลี่ยมและรูปหลายเหลี่ยม
สาระการเรียนรู้ 2 สาระการเรียนรู้ 56
ทดสอบความพร้อม 3 ทดสอบความพร้อม 58
รู้ก่อนเรียน 4 รู้ก่อนเรียน 59
1. อัตราส่วน (Ratio) 5 1. ชนิดและส่วนประกอบของรูปสามเหลี่ยม 62
1.1 อัตราส่วนของจ�ำนวนนับ 5 1.1 ชนิดของรูปสามเหลี่ยม 62
1.2 อัตราส่วนที่เท่ากัน 9 1.2 ส่วนประกอบของรูปสามเหลี่ยม 66
2. โจทย์ปัญหาอัตราส่วน 18 2. การหามุมภายในของรูปสามเหลี่ยม
3. มาตราส่วน (Scale) 24 และรูปหลายเหลี่ยม 71
4. ร้อยละ 31 2.1 การหามุมภายในของรูปสามเหลี่ยม 71
5. โจทย์ปัญหาร้อยละ 39 2.2 การหามุมภายในของรูปหลายเหลี่ยม 73
คณิตศาสตร์รอบตัว 49 3. การสร้างรูปสามเหลี่ยม 79
ทบทวนตัวเอง 50 4. การหาความยาวรอบรูปของรูปสามเหลี่ยม
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 51 และรูปหลายเหลี่ยม 87
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 52 4.1 การหาความยาวรอบรูปของ
ค�ำถามประลองยุทธ์ 54 รูปสามเหลี่ยม 87
4.2 การหาความยาวรอบรูปของ
รูปหลายเหลี่ยม 89
5. การหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม
และรูปหลายเหลี่ยม 93
5.1 การหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม 93
5.2 การหาพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม 95
6. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูป
และพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและ
รูปหลายเหลี่ยม 100
คณิตศาสตร์รอบตัว 105
ทบทวนตัวเอง 106
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 107
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 108
ค�ำถามประลองยุทธ์ 112
3. วงกลม 4. รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตร
ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
สาระการเรียนรู้ 114
ทดสอบความพร้อม 115 สาระการเรียนรู้ 148
รู้ก่อนเรียน 116 ทดสอบความพร้อม 149
1. ส่วนต่าง ๆ ของวงกลม 117 รู้ก่อนเรียน 150
2. การสร้างวงกลม 122 1. รูปเรขาคณิตสามมิติ 152
3. การหาความยาวรอบรูปของวงกลม 2. รูปคลี่ของรูปเรขาคณิตสามมิติ 160
หรือความยาวของเส้นรอบวง 125 3. การประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติจากรูปคลี่ 165
4. การหาพื้นที่ของรูปวงกลม 130 4. ปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบ
5. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับวงกลม 135 ด้วยทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 170
คณิตศาสตร์รอบตัว 139 4.1 ทบทวนการหาปริมาตรและความจุ
ทบทวนตัวเอง 140 ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 170
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 141 4.2 การหาปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติ
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 142 ที่ประกอบด้วยทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 173
ค�ำถามประลองยุทธ์ 145 คณิตศาสตร์รอบตัว 180
ทบทวนตัวเอง 181
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 182
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 183
ค�ำถามประลองยุทธ์ 186
5. การน�ำเสนอข้อมูล
สาระการเรียนรู้ 188
ทดสอบความพร้อม 189
รู้ก่อนเรียน 192
แผนภูมิรูปวงกลม 195
คณิตศาสตร์รอบตัว 206
ทบทวนตัวเอง 208
กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ 209
แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ 210
ค�ำถามประลองยุทธ์ 215

แหล่งอ้างอิง
บรรณานุกรม
หน่วยการเรียนรู้ที่
1 อัตราส่วน ร้อยละ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถเขียนอัตราส่วนของจ�ำนวนนับได้
2. สามารถหาอัตราส่วนที่เท่ากันได้
3. น�ำความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนมาใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาได้
4. น�ำความรู้เกี่ยวกับร้อยละมาใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา 2-3 ขั้นตอนได้

ร้านค้าแห่งหนึ่งขายนาฬิกา 4 เรือนในราคา 320 บาท ถ้าอยากจะซื้อนาฬิกาแค่


3 เรือน จะต้องจ่ายเงินทั้งหมดเท่าใด

นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการแก้โจทย์ปัญหานี้โดยใช้ความรู้เรื่อง
“อัตราส่วน”
สาระการเรียนรู้
อัตราส่วน ร้อยละ

1. อัตราส่วน
1.1 อัตราส่วนของจ�ำนวนนับ
1.2 อัตราส่วนที่เท่ากัน
1 a:b

2. โจทย์ปัญหาอัตราส่วน
a=c
b d 2
3. มาตราส่วน
3
4. ร้อยละ
4
5. โจทย์ปัญหาร้อยละ
5
ตัวชี้วัด
ค 1.1 ป.6/2 เขียนอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบปริมาณ 2 ปริมาณจากข้อความหรือสถานการณ์
โดยที่ปริมาณแต่ละปริมาณเป็นจ�ำนวนนับ
ค 1.1 ป.6/3 หาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่ก�ำหนดให้
ค 1.1 ป.6/11 แสดงวิธีหาค�ำตอบของโจทย์ปัญหาอัตราส่วน
ค 1.1 ป.6/12 แสดงวิธีหาค�ำตอบของโจทย์ปัญหาร้อยละ 2-3 ขั้นตอน
อัตราส่วน ร้อยละ 3

ทดสอบความพร้อม
1. จงเขียนเศษส่วนต่อไปนี้ในรูปร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์
25
1) 100 6) 12 20
42
2) 100 7) 5 3
2
3) 100 8) 25 9
31
4) 100 9) 15 50
5
5) 10 10) 2021

2. จงหาค่าต่อไปนี้
1) ร้อยละ 50 ของ 40
2) ร้อยละ 30 ของ 70
3) ร้อยละ 45 ของ 60
4) ร้อยละ 15 ของ 80
5) ร้อยละ 25 ของ 300

3. จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) ขนม 3 ถุงราคา 15 บาท ถ้าซื้อขนม 5 ถุงจะต้องจ่ายเงินกี่บาท
2) ดินสอ 6 แท่งราคา 40 บาท ถ้าซื้อดินสอ 21 แท่งจะต้องจ่ายเงินกี่บาท
3) สุดใจทำ�การบ้าน 4 หน้าเสร็จในเวลา 60 นาที จงหาว่าในเวลา 15 นาที
สุดใจจะทำ�การบ้านเสร็จกี่หน้า
4) ในเวลา 7 วัน ฟ้าจะออกกำ�ลังกายไปทั้งหมด 10 ชั่วโมง 30 นาที ถ้าฟ้าออกกำ�ลังกาย
ไปทั้งหมด 21 ชั่วโมง ฟ้าจะต้องใช้เวลากี่วัน
4 อัตราส่วน ร้อยละ

รู้ก่อนเรียน
ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์

ภาพประกอบ เศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ เปอร์เซ็นต์ (%)

30 0.30 ร้อยละ 30 30%


100

บัญญัติไตรยางศ์

ราคา

ลูกอม 2 เม็ด ราคา 6 บาท

ราคา

ลูกอม 1 เม็ด ราคา 6 ÷ 2 = 62 = 3 บาท

ราคา

ลูกอม 3 เม็ด ราคา 3×3=9 บาท


อัตราส่วน ร้อยละ 5

1. อัตราส่วน (Ratio)
1.1 อัตราส่วนของจ�ำนวนนับ
อัตราส่วน (Ratio) เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่สอง
ปริมาณขึ้นไป ซึ่งอาจมีหน่วยเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ อัตราส่วน a ต่อ b เขียนแทนด้วย
สัญลักษณ์ a : b หรือ ab พิจารณาในกรณีที่ a และ b เป็นจ�ำนวนนับเท่านั้น
เรียก a ว่าจ�ำนวนแรก หรือ จ�ำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน
เรียก b ว่าจ�ำนวนหลัง หรือ จ�ำนวนที่สองของอัตราส่วน
พิจารณาอัตราส่วนของจ�ำนวนต่าง ๆ ต่อไปนี้

อัตราส่วนของช็อกโกแลตต่อคุกกี้ คือ 3 : 2

อัตราส่วนของลูกอมเป็นเม็ดต่อวาฟเฟิลเป็นชิ้น
คือ 5 : 2

อัตราส่วนของโดนัทต่อเค้ก คือ 2 : 4

จะเห็นว่าการเปรียบเทียบปริมาณที่มีหน่วยเดียวกันไม่นิยมเขียนหน่วยก�ำกับไว้ แต่
การเปรียบเทียบปริมาณที่มีหน่วยต่างกันจ�ำเป็นต้องเขียนหน่วยก�ำกับไว้

สาระส�ำคัญ
ความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป ซึ่งอาจมีหน่วย
เดียวกันหรือต่างกันก็ได้ เรียกว่า อัตราส่วน
อัตราส่วน a ต่อ b เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ a : b หรือ ab พิจารณาในกรณีที่ a และ b
เป็นจ�ำนวนนับ
6 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 1
จงเขียนอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบจากข้อมูลที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้

ขนมช่อผกากรอง

ส่วนผสม แป้งขนม ส่วนผสม ไส้มันหวาน


- แป้งเค้ก 1 12 ถ้วยตวง - มันหวานญี่ปุ่น 180 กรัม
- น�้ำตาลทราย 41 ถ้วยตวง - น�้ำตาลทราย 40 กรัม
- กะทิ 250 มิลลิลิตร - กะทิ 150 มิลลิลิตร
- สีผสมอาหารตามชอบ

1) เปรียบเทียบปริมาณมันหวานญี่ปุ่นต่อน�้ำตาลทรายในการท�ำไส้มันหวาน
ตอบ อัตราส่วนปริมาณมันหวานญี่ปุ่นต่อน�้ำตาลทรายในการท�ำไส้มันหวาน คือ
180 : 40
2) เปรียบเทียบปริมาณกะทิในการท�ำแป้งขนมต่อปริมาณกะทิในการท�ำไส้มันหวาน
ตอบ อัตราส่วนปริมาณกะทิในการทำ�แป้งขนมต่อปริมาณกะทิในการทำ�ไส้มันหวาน คือ
250 : 150
3) เปรียบเทียบปริมาณกะทิในการท�ำแป้งขนมต่อปริมาณน�้ำตาลทรายในการท�ำไส้มันหวาน
ตอบ อัตราส่วนปริมาณกะทิในการท�ำแป้งขนมเป็นมิลลิลิตรต่อปริมาณน�้ำตาลทรายในการ
ท�ำไส้มันหวานเป็นกรัม คือ 250 : 40
อัตราส่วน ร้อยละ 7

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1

จงเขียนอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบจากข้อมูลที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้

ขนมบุหลันดั้นเมฆ

ส่วนผสม
- กะทิ 120 กรัม - แป้งเท้ายายม่อม 40 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 110 กรัม - น�้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
- ไข่แดง 10 ฟอง - ดอกอัญชัน 15 ดอก
- น�้ำตาลไอซิ่ง 60 กรัม
1. เปรียบเทียบปริมาณแป้งข้าวเจ้าต่อปริมาณแป้งเท้ายายม่อม
2. เปรียบเทียบปริมาณกะทิต่อปริมาณน�้ำตาลทราย
3. เปรียบเทียบปริมาณไข่แดงต่อปริมาณดอกอัญชัน

การเขียนอัตราส่วนต�ำแหน่งของจ�ำนวนในอัตราส่วนมีความส�ำคัญ การสลับต�ำแหน่ง
ของจ�ำนวนในอัตราส่วน โดยไม่สลับต�ำแหน่งของข้อความทีเ่ ขียนแสดงความสัมพันธ์จะท�ำให้
ความหมายที่ได้แตกต่างกัน เช่น

อัตราส่วนลูกอมรสมะนาวต่อลูกอมรสส้ม คือ 2 : 3

อัตราส่วนลูกอมรสมะนาวต่อลูกอมรสส้ม คือ 3 : 2
8 อัตราส่วน ร้อยละ

ดังนั้น ถ้าต้องการสลับต�ำแหน่งของจ�ำนวนในอัตราส่วนแล้วให้ความหมายคงเดิม
จะต้องสลับต�ำแหน่งของข้อความที่เขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย เช่น

อัตราส่วนลูกอมรสมะนาวต่อลูกอมรสส้ม คือ 2 : 3

อัตราส่วนลูกอมรสส้มต่อลูกอมรสมะนาว คือ 3 : 2

ถ้านักเรี ยนต้องการผสมน�้ำหวาน 1 เหยือก โดยมีอัตราส่วนของ


ปริ มาณน�้ำส้มแท้ต่อปริ มาณน�้ำเปล่าเป็น 3 ต่อ 2

แล้วนักเรี ยนคิดว่าการผสมน�้ำส้มแท้กับน�้ำเปล่าในอัตราส่วนตามข้อใด
จะท�ำให้น�้ำส้มที่ ได้มีรสชาติเหมือนเดิม
ก) 4 : 3

ข) 6 : 4
อัตราส่วน ร้อยละ 9

1.2 อัตราส่วนที่เท่ากัน
นักเรียนทราบมาแล้วว่า อัตราส่วน a : b สามารถเขียนให้อยู่ในรูป ab ซึ่งการเขียน
อัตราส่วนในรูปดังกล่าวเหมาะส�ำหรับการเปรียบเทียบและคิดค�ำนวณในเรื่องอัตราส่วน
พิจารณาอัตราส่วนแสดงจ�ำนวนปากกาสีต่อราคาดังต่อไปนี้

ราคา

ปากกาสี 1 ด้าม ราคา 10 บาท อัตราส่วนของปากกาสีเป็นด้ามต่อราคาเป็นบาท คือ 1 : 10

ราคา

ปากกาสี 2 ด้าม ราคา 20 บาท อัตราส่วนของปากกาสีเป็นด้ามต่อราคาเป็นบาท คือ 2 : 20

ราคา

ปากกาสี 3 ด้าม ราคา 30 บาท อัตราส่วนของปากกาสีเป็นด้ามต่อราคาเป็นบาท คือ 3 : 30

จ�ำนวนปากกาสี (ด้าม) 1 2 3 ...

ราคาปากกา (บาท) 10 20 30 ...

นักเรียนสามารถเขียนอัตราส่วนของจ�ำนวนปากกาสีเป็นด้ามต่อราคาเป็นบาทได้เป็น
1 : 10 หรือ 2 : 20 หรือ 3 : 30 ซึ่งอัตราส่วนเหล่านี้แสดงการซื้อปากกาในราคาเดียวกัน
คือ ปากกา 1 ด้าม ราคา 10 บาท จึงกล่าวได้ว่าอัตราส่วนเหล่านี้เป็น อัตราส่วนที่เท่ากัน
(Equivalent Ratio) ซึ่งใช้เครื่องหมายเท่ากับแสดงความเท่ากันได้ดังนี้
1 : 10 = 2 : 20 = 3 : 30 หรือ 10 1 = 2 = 3
20 30
10 อัตราส่วน ร้อยละ

การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่ก�ำหนดให้
นักเรียนสามารถหาอัตราส่วนที่เท่ากับ a : b ได้มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งท�ำได้โดยคูณ
หรือหารทั้งจ�ำนวนที่หนึ่งและจ�ำนวนที่สองในอัตราส่วนด้วยจ�ำนวนที่ไม่ใช่ศูนย์แล้วจะได้
อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม

ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 2

จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วน 1 : 2 มาอีก 3 อัตราส่วน


วิธีที่ 1 1 : 2 = 1 × 2 : 2 × 2 = 2 : 4
1:2 = 1×3:2×3 = 3:6
1 : 2 = 1 × 4 : 2 × 4 = 4 : 8
ดังนั้น อัตราส่วน 1 : 2 เท่ากับอัตราส่วน 2 : 4, 3 : 6 และ 4 : 8

วิธีที่ 2 1 : 2 = 12 = 12 ## 22 = 42 = 2 : 4
1 : 2 = 12 = 12 ## 33 = 36 = 3 : 6
1 : 2 = 12 = 12 ## 44 = 48 = 4 : 8
ดังนั้น อัตราส่วน 1 : 2 เท่ากับอัตราส่วน 2 : 4, 3 : 6 และ 4 : 8
ตอบ ๒ : ๔, ๓ : ๖ และ ๔ : ๘
ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 3

จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วน 72 : 48 มาอีก 3 อัตราส่วน


วิธีที่ 1 72 : 48 = 72 ÷ 2 : 48 ÷ 2 = 36 : 24
72 : 48 = 72 ÷ 3 : 48 ÷ 3 = 24 : 16
72 : 48 = 72 ÷ 4 : 48 ÷ 4 = 18 : 12
ดังนั้น อัตราส่วน 72 : 48 เท่ากับอัตราส่วน 36 : 24, 24 : 16 และ 18 : 12
อัตราส่วน ร้อยละ 11

วิธีที่ 2 72 : 48 = 72 72 ' 2 36
48 = 48 ' 2 = 24 = 36 : 24
72 : 48 = 72 72 ' 3 24
48 = 48 ' 3 = 16 = 24 : 16
72 : 48 = 72 72 ' 4 18
48 = 48 ' 4 = 12 = 18 : 12
ดังนั้น อัตราส่วน 72 : 48 เท่ากับอัตราส่วน 36 : 24, 24 : 16 และ 18 : 12
ตอบ ๓๖ : ๒๔, ๒๔ : ๑๖ และ ๑๘ : ๑๒

ก�ำหนดอัตราส่วน a : b พิจารณาในกรณีที่ a และ b

เป็นจ�ำนวนนับ และ m เป็นจ�ำนวนที่ไม่ใช่ศูนย์


จะได้ว่า a : b = a × m : b × m หรือ ab = ba ## mm
และ a:b=a÷m:b÷m หรือ a = a'm
b b'm

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้มาอีก 3 อัตราส่วน
1. 2 : 3 3. 20 : 40
2. 4 : 6 4. 15 : 30
12 อัตราส่วน ร้อยละ

นักเรียนจะเห็นว่าอัตราส่วนสามารถเขียนแทนได้ด้วยอัตราส่วนอื่นที่เท่ากันและมี
ความหมายคงเดิม ดังนั้น ในการกล่าวถึงอัตราส่วนใด ๆ จะใช้ “อัตราส่วนอย่างต�่ำ
(Reducing Ratio)” เป็นตัวแทนของอัตราส่วนนั้น ๆ

สาระส�ำคัญ
อัตราส่วนที่ไม่มีจ�ำนวนนับใดยกเว้น 1 หารทั้งจ�ำนวนที่หนึ่งกับจ�ำนวนที่สองของ
อัตราส่วนนั้นได้ลงตัว เรียกว่า อัตราส่วนอย่างต�่ำ (Reducing Ratio)

การท�ำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต�่ำ ท�ำได้โดยน�ำจ�ำนวนนับที่เท่ากันหารทั้งจ�ำนวนที่
หนึ่งกับจ�ำนวนที่สองของอัตราส่วนจนกว่าจะไม่มีจ�ำนวนนับใดยกเว้น 1 ที่หารทั้งจ�ำนวนที่
หนึ่งกับจ�ำนวนที่สองของอัตราส่วนได้ลงตัว
ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 4

จงเขียน 20 : 25 ให้เป็นอัตราส่วนอย่างต�่ำ
วิธีทำ� 20 : 25 = 20 25
= 25 '' 55
20
= 45
= 4:5
ดังนั้น อัตราส่วนอย่างต�่ำของ 20 : 25 คือ 4 : 5
ตอบ ๔ : ๕

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1

จงหาอัตราส่วนอย่างต�่ำของอัตราส่วนที่ก�ำหนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้
1. 12 : 36 3. 22 : 40
2. 14 : 21 4. 30 : 120
อัตราส่วน ร้อยละ 13

การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
นักเรียนสามารถตรวจสอบว่าอัตราส่วนสองอัตราส่วนนั้นเท่ากันหรือไม่ด้วยวิธีการ
มากมาย ในที่นี้จะน�ำเสนอวิธีการตรวจสอบสองวิธี คือ การท�ำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต�่ำ
และการคูณไขว้
1) การท�ำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต�่ำ
นักเรียนสามารถตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วนได้โดย
การท�ำให้อตั ราส่วนทัง้ สองเป็นอัตราส่วนอย่างต�ำ่ แล้วน�ำอัตราส่วนอย่างต�ำ่ ทัง้ สองนัน้ มา
เปรียบเทียบกัน
พิจารณาอัตราส่วน 6 : 9 กับ 4 : 6 สามารถท�ำให้อัตราส่วนดังกล่าวอยู่ในรูป
อัตราส่วนอย่างต�่ำ ดังนี้
จาก 6 : 9 = 69 และ 4 : 6 = 46
= 69 '' 33 = 46 '' 22
= 32 = 32
=2:3 =2:3
จะเห็นว่า 6 : 9 = 2 : 3 และ 4 : 6 = 2 : 3
ดังนั้น 6 : 9 = 4 : 6
ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 5
จงตรวจสอบว่าอัตราส่วน 6 : 10 กับ อัตราส่วน 30 : 50 เท่ากันหรือไม่
วิธีทำ� จาก 6 : 10 = 10 6 และ 30 : 50 = 30 50
= 106 ' 2 = 30 ' 10
'2 50 ' 10
= 35 = 35
= 3 : 5 = 3 : 5
จะเห็นว่า 6 : 10 = 3 : 5 และ 30 : 50 = 3 : 5
ดังนั้น 6 : 10 = 30 : 50
ตอบ ๖ : ๑๐ กับ ๓๐ : ๕๐ เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
14 อัตราส่วน ร้อยละ

2) การคูณไขว้
นักเรียนสามารถตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วนได้โดยการเขียน
อัตราส่วนทัง้ สองให้อยูใ่ นรูป ba แล้วใช้การคูณไขว้และน�ำผลคูณไขว้มาเปรียบเทียบกัน
พิจารณาอัตราส่วน 8 : 10 กับ 12 : 15 สามารถเขียนอัตราส่วนดังกล่าวให้อยู่ในรูป
a ได้ คือ 8 กับ 12 แล้วใช้การคูณไขว้และน�ำผลคูณไขว้มาเปรียบเทียบกัน ดังนี้
b 10 15
8 × 15 = 120 12 × 10 = 120
8 12
10 15
เนื่องจาก 8 × 15 = 120 และ 12 × 10 = 120
จะได้ว่า 8 × 15 = 12 × 10
แสดงว่า 10 8 = 12
15
ดังนั้น 8 : 10 = 12 : 15

ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 6
จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนที่ก�ำหนดให้ต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
1) 10 : 30 กับ 80 : 240
2) 15 : 27 กับ 45 : 80
วิธีทำ� 1) เขียนอัตราส่วนในรูป ab ได้เป็น 10 80
30 กับ 240
ใช้การคูณไขว้ ดังนี้
10 × 240 = 2400 80 × 30 = 2400
10 80
30 240

เนื่องจาก 10 × 240 = 2400 และ 80 × 30 = 2400
จะได้ว่า 10 × 240 = 80 × 30
แสดงว่า 10 80
30 = 240
ดังนั้น 10 : 30 = 80 : 240
ตอบ ๑๐ : ๓๐ กับ ๘๐ : ๒๔๐ เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
อัตราส่วน ร้อยละ 15

2) เขียนอัตราส่วนในรูป a
b
ได้เป็น 15 45
27 กับ 80
ใช้การคูณไขว้ ดังนี้
15 × 80 = 1200 45 × 27 = 1215
15 45
27 80

เนื่องจาก 15 × 80 = 1200 และ 45 × 27 = 1215
จะได้ว่า 15 45
27 ≠ 80
ดังนั้น 15 : 27 ≠ 45 : 80
ตอบ ๑๕ : ๒๗ กับ ๔๕ : ๘๐ ไม่เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
1. 9 : 7 กับ 8 : 5
2. 40 : 90 กับ 20 : 45
16 อัตราส่วน ร้อยละ

สรุปความรู้
อัตราส่วน (Ratio)
เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป

อัตราส่วนของลูกอมกับเยลลี่ คือ 3 : 8

อัตราส่วนที่เท่ากัน
การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่ก�ำหนดให้
1) การคูณจำ�นวนที่หนึ่งและจำ�นวนที่สองของอัตราส่วนด้วยจำ�นวนที่ไม่ใช่ศูนย์
2:4 = 2×2:4×2 = 4:8

2) การหารจำ�นวนที่หนึ่งและจำ�นวนที่สองของอัตราส่วนด้วยจำ�นวนที่ไม่ใช่ศูนย์
2:4 = 2÷2:4÷2 = 1:2

การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
1) การท�ำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต�่ำ
2
เนื่องจาก 6 : 9 = 9 = 32 6
3 2
และ 4 : 6 = 46 = 32
3
2) การคูณไขว้ 6 × 6 = 36 4 × 9 = 36
6 4
9 6
เนื่องจาก 6 × 6 = 36 และ 4 × 9 = 36 จะได้ว่า 69 = 46
ดังนั้น 6 : 9 กับ 4 : 6 เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
อัตราส่วน ร้อยละ 17

แบบฝึกทักษะ 1
1. (*) จงเขียนอัตราส่วนจากข้อความที่ก�ำหนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้
1) โต๊ะ 1 ตัวส�ำหรับนักเรียน 5 คน
2) ท�ำการบ้านเสร็จ 5 ข้อในเวลา 20 นาที
3) น�้ำอัดลมแก้วหนึ่งมีปริมาตร 325 มิลลิลิตรและมีปริมาณน�้ำตาล 36.4 กรัม
4) สายใจซื้อส้ม 3 กิโลกรัมและองุ่น 1 กิโลกรัม
5) สูตรท�ำน�้ำหวานประกอบด้วยน�้ำผลไม้ 3 แก้วและน�้ำเชื่อม 2 แก้ว

2. (**) จากรูปภาพด้านล่าง จงเขียนอัตราส่วนจากข้อความที่ก�ำหนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้

1) อัตราส่วนของรูปสี่เหลี่ยมสีเขียวต่อรูปสี่เหลี่ยมสีส้ม
2) อัตราส่วนของรูปสี่เหลี่ยมสีส้มต่อรูปสี่เหลี่ยมสีฟ้า
3) อัตราส่วนของรูปสี่เหลี่ยมสีฟ้าต่อรูปสี่เหลี่ยมทั้งหมด

3. (**) จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้มา 3 อัตราส่วน


1) 2 : 8 3) 10 : 15
2) 4 : 12 4) 21 : 24

4. (**) จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
1) 3 : 5 กับ 6 : 10 3) 4 : 6 กับ 2 : 3
2) 8 : 12 กับ 1 : 3 4) 3 : 9 กับ 6 : 12
18 อัตราส่วน ร้อยละ

2. โจทย์ปัญหาอัตราส่วน
ในการแก้โจทย์ปัญหา นักเรียนต้องพิจารณาว่าโจทย์ถามหาอะไรและก�ำหนด
อัตราส่วนอะไรมาให้และเขียนอัตราส่วนที่โจทย์ก�ำหนดในรูป ab แล้วแก้ปัญหาโดยใช้
ความรู้เรื่องอัตราส่วนที่เท่ากัน ดังสถานการณ์ต่อไปนี้
ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งขายนม 4 ขวด ราคา 80 บาท ถ้าสายใจต้องการซื้อนม
12 ขวด สายใจจะต้องจ่ายเงินกี่บาท

ราคา

ขั้นตอนที่ 1 อ่านโจทย์ปัญหาให้เข้าใจว่าโจทย์ถามหาอะไร
โจทย์ถามหา ถ้าสายใจต้องการซื้อนม 12 ขวด สายใจจะต้องจ่ายเงินกี่บาท

ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ว่าโจทย์ก�ำหนดอัตราส่วนอะไรมาให้ และเขียนอัตราส่วนที่โจทย์


ก�ำหนดในรูป ab
โจทย์ก�ำหนด นม 4 ขวด ราคา 80 บาท จะได้ว่า อัตราส่วนของจ�ำนวนนมเป็นขวดต่อ
ราคานมเป็นบาท คือ 80 4

ขั้นตอนที่ 3 แก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เรื่องอัตราส่วนที่เท่ากัน
หาอัตราส่วนที่เท่ากัน
เนื่องจาก ต้องการซื้อนม 12 ขวด และ 80 4 = 4 # 3 = 12
80 # 3 240
ดังนั้น สายใจต้องจ่ายเงิน 240 บาท
ต้องการซื้อนม 12 ขวด
จึงต้องท�ำจ�ำนวนแรกให้เป็น 12
อัตราส่วน ร้อยละ 19

ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 7
ร้านค้าแห่งหนึ่งขายดินสอ 2 แท่ง ในราคา 12 บาท ฟ้าใสต้องการซื้อดินสอ 6 แท่ง ฟ้าใสต้อง
จ่ายเงินเท่าใด

ราคา

วิธีทำ� ร้านค้าขายดินสอ 2 แท่ง ในราคา 12 บาท จะได้ว่า


อัตราส่วนของจำ�นวนดินสอเป็นแท่งต่อราคาดินสอเป็นบาท คือ 12 2
เนื่องจาก ฟ้าใสต้องการซื้อดินสอ 6 แท่ง
และ 12 2 = 2#3 = 6
12 # 3 36 ต้องการซื้อดินสอ 6 แท่ง
ดังนั้น ฟ้าใสต้องจ่ายเงิน 36 บาท จึงต้องท�ำจ�ำนวนแรกให้เป็น 6
ตอบ ๓๖ บาท

ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 8
แม่ค้าขายเสื้อในราคาโหลละ 1,200 บาท ถ้าสายใจขอแบ่งซื้อเสื้อเพียง 4 ตัว สายใจต้อง
จ่ายเงินให้แม่ค้าเท่าใด

ราคา

วิธีทำ� แม่ค้าขายเสื้อในราคาโหลละ 1,200 บาท เสื้อ 1 โหลมี 12 ตัว จะได้ว่า


อัตราส่วนของจำ�นวนเสื้อเป็นตัวต่อราคาเสื้อเป็นบาท คือ 1200 12
เนื่องจาก สายใจขอแบ่งซื้อเสื้อเพียง 4 ตัว
12 = 12 ' 3 = 4
และ 1200 1200 ' 3 400
ต้องการซื้อเสื้อเพียง 4 ตัว
ดังนั้น สายใจต้องจ่ายเงิน 400 บาท
จึงต้องท�ำจ�ำนวนแรกให้เป็น 4
ตอบ ๔๐๐ บาท
20 อัตราส่วน ร้อยละ

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
1. คุกกี้ 8 ชิ้นราคา 120 บาท นิดต้องการซื้อคุกกี้ 2 ชิ้น นิดต้องจ่ายเงินเท่าใด
2. สมศรีซื้อขนมเลี้ยงเพื่อนในวันเกิด 20 ถุง ถ้าแม่ค้าขายขนม 4 ถุงในราคา 20 บาท
สมศรีจะต้องจ่ายเงินค่าขนมเท่าใด

ตัวาอย่
ตัวอย่ งที่า1งที่ 9
สหกรณ์โรงเรียนขายปากกา 2 ด้ามในราคา 14 บาท ถ้าเมย์มีเงิน 70 บาท เมย์จะซื้อ
ปากกาได้ทั้งหมดกี่ด้าม

ราคา

วิธีทำ� สหกรณ์โรงเรียนขายปากกา 2 ด้าม ในราคา 14 บาท จะได้ว่า


อัตราส่วนของจำ�นวนปากกาเป็นด้ามต่อราคาปากกาเป็นบาท คือ 14 2
เนื่องจาก เมย์มีเงิน 70 บาท
และ 14 2 = 2 # 5 = 10
14 # 5 70 มีเงิน 70 บาท จึงต้องท�ำ
ดังนั้น เมย์จะซื้อปากกาได้ทั้งหมด 10 ด้าม จ�ำนวนที่สองให้เป็น 70
ตอบ ๑๐ ด้าม
อัตราส่วน ร้อยละ 21

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 10
หน่อยผสมน�้ำมะนาวหนึ่งแก้วโดยใช้มะนาว 2 ผล มาคั้นน�้ำ ผสมกับน�้ำเชื่อม 3 ถ้วยตวง
ถ้าหน่อยใช้น�้ำเชื่อม 15 ถ้วยตวง จะต้องใช้มะนาวกี่ผลจึงจะได้น�้ำมะนาวที่มีรสชาติ
เหมือนเดิม และได้น�้ำมะนาวทั้งหมดกี่แก้ว

วิธีท�ำ ผสมน�้ำมะนาวหนึ่งแก้วใช้มะนาว 2 ผล กับน�้ำเชื่อม 3 ถ้วยตวง จะได้ว่า


อัตราส่วนของมะนาวเป็นผลต่อน�้ำเชื่อมเป็นถ้วยตวง คือ 32
เนื่องจาก หน่อยใช้น�้ำเชื่อม 15 ถ้วยตวง
และ 32 = 32 ## 55 = 10
15 น�้ำเชื่อม 15 ถ้วยตวง จึงต้องท�ำ
ดังนั้น หน่อยจะต้องใช้มะนาว 10 ผล จ�ำนวนที่สองให้เป็น 15
และจะได้น�้ำมะนาวทั้งหมด 5 แก้ว
ตอบ ใช้มะนาว ๑๐ ผล และได้น�้ำมะนาวทั้งหมด ๕ แก้ว

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
1. แสตมป์ราคาดวงละ 3 บาท ถ้ามีเงิน 45 บาทจะซื้อแสตมป์ได้กี่ดวง
2. คุณแม่ขบั รถยนต์ดว้ ยอัตราเร็วคงที่ 80 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ถ้าคุณแม่ขบั รถยนต์นาน 3 ชัว่ โมง
คุณแม่จะขับรถยนต์ได้ระยะทางกี่กิโลเมตร
22 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 11
ผลการสอบวิชาคณิตศาสตร์ปลายภาคเรียนที่ 1 พบว่าอัตราส่วนคะแนนสอบของสายใจ
ต่อสายฝนเป็น 3 : 5 ถ้าสายฝนสอบได้ 30 คะแนน สายใจจะสอบได้กี่คะแนน
วิธีทำ� อัตราส่วนคะแนนสอบของสายใจต่อสายฝนเป็น 35
เนื่องจาก สายฝนสอบได้ 30 คะแนน
และ 35 = 35 ## 66 = 18
30
ดังนั้น สายใจจะสอบได้ 18 คะแนน
ตอบ ๑๘ คะแนน

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 12

รูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งมีอัตราส่วนของความกว้างต่อความยาวเป็น 4 : 7 ถ้ารูปสี่เหลี่ยมรูปนี้มี
ความกว้าง 16 เซนติเมตร จงหาความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมนี้
วิธีทำ� อัตราส่วนของความกว้างต่อความยาวเป็น 47
เนื่องจาก รูปสี่เหลี่ยมรูปนี้มีความกว้าง 16 เซนติเมตร
และ 47 = 47 ## 44 = 16 28 ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม
แสดงว่า รูปสี่เหลี่ยมรูปนี้มีความยาว 28 เซนติเมตร คือ (ความกว้าง + ความยาว) × 2
ดังนั้น ความยาวรอบรูป คือ (16 + 28) × 2 = 88 เซนติเมตร
ตอบ ๘๘ เซนติเมตร

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1

1. อัตราส่วนคะแนนเก็บปลายภาคเรียนที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์ต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของปรีชา
เป็น 4 : 3 ถ้าปรีชามีคะแนนเก็บวิชาคณิตศาสตร์ 64 คะแนน จะมีคะแนนเก็บวิชาวิทยาศาสตร์
กี่คะแนน
2. คุณพ่อผสมคอนกรีตสำ�หรับซ่อมกำ�แพงบ้าน โดยใช้อัตราส่วนของปูนต่อทรายเป็น 1 : 2
ถ้าคุณพ่อใช้ปูน 3 กิโลกรัม คุณพ่อจะใช้ปูนและทรายทั้งหมดกี่กิโลกรัม
อัตราส่วน ร้อยละ 23

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 13
อัตราส่วนของอายุของนภาต่ออายุของเมฆาเป็น 7 : 5 ถ้าปัจจุบันอายุรวมของทั้งสองคน
เป็น 36 ปี แล้วนภาและเมฆามีอายุเท่าใด
วิธีทำ� จากอัตราส่วนของอายุของนภาต่ออายุของเมฆาเป็น 75
แสดงว่า ผลรวมของอัตราส่วนของอายุนภาและเมฆา คือ 12
อายุนภา 7 ส่วน อายุเมฆา 5 ส่วน

อายุรวม 12 ส่วน
เนื่องจาก อายุรวมของทั้งสองคนเป็น 36 ปี และ 12 × 3 = 36
จะได้ว่า 75 = 75 ## 33 = 15
21
ดังนั้น ปัจจุบันนภามีอายุ 21 ปี และเมฆามีอายุ 15 ปี
ตอบ นภาอายุ ๒๑ ปี และเมฆาอายุ ๑๕ ปี

แบบฝึกทักษะ 2
1. (*) ร้านค้าขายปากกา 5 ด้าม ในราคา 60 บาท ถ้าต้องการซื้อปากกา 7 ด้าม
ต้องจ่ายเงินทั้งหมดเท่าใด
2. (**) พ่อค้าขายองุ่น 2 กิโลกรัม ราคา 240 บาท ถ้าแม่จ่ายเงิน 960 บาท แสดงว่าแม่
ต้องการซื้อองุ่นกี่กิโลกรัม
3. (**) ผูโ้ ดยสารรถประจ�ำทาง 1 คน ต้องเสียค่าโดยสาร 10 บาท ถ้าในรถประจ�ำทางคันนี้
มีผโู้ ดยสารทัง้ หมด 21 คน พนักงานเก็บค่าโดยสารจะได้รบั ค่าโดยสารทัง้ หมดกีบ่ าท
4. (**) อัตราส่วนอายุของพ่อต่อลูกเป็น 7 : 2 ถ้าปัจจุบันพ่ออายุ 42 ปี ลูกจะมีอายุกี่ปี
5. (***) บลูเตรียมขนม 3 โหล ส�ำหรับแบ่งให้เพื่อนในงานวันเกิดจ�ำนวน 9 คน คนละ
เท่า ๆ กัน ถ้าในวันเกิดมีเพื่อนมาร่วมงานถึง 18 คน บลูจะต้องเพิ่มขนมอีกกี่ชิ้น
24 อัตราส่วน ร้อยละ

3. มาตราส่วน (Scale)
มาตราส่วน (Scale) เป็นความสัมพันธ์อีกรูปแบบของอัตราส่วนที่ใช้เพื่อแสดงการ
เปรียบเทียบความยาวหรือระยะทางในรูปกับความยาวหรือระยะทางจริง เช่น

มาตราส่วน 1 ซม. : 5 ม. อ่านว่า


“มาตราส่วน 1 เซนติเมตรต่อ 5 เมตร” หมายความว่า
4 ซม. ความยาวในรูป 1 เซนติเมตร แทนความยาวจริง 5 เมตร
ถ้าวัดความสูงของอาคารในรูปได้ 4 เซนติเมตร
แสดงว่า อาคารของจริงสูง 4 × 5 = 20 เมตร
มาตราส่วน 1 ซม. : 5 ม.
มาตราส่วนอาจแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลในหน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกันก็ได้
โดยถ้าความยาวหรือระยะทางในรูปกับความยาวหรือระยะทางของจริงมีหน่วยเดียวกัน
การเขียนมาตราส่วนไม่นิยมเขียนหน่วยก�ำกับไว้ แต่ถ้ามีหน่วยต่างกันจ�ำเป็นต้องเขียน
หน่วยก�ำกับไว้

3 ซม.

4.8 ซม. มาตราส่วน 1 : 50


มาตราส่วน 1 : 50 อ่านว่า “มาตราส่วน 1 ต่อ 50” หมายความว่า ความยาว
ในรูป 1 หน่วย แทนความยาวจริง 50 หน่วย
ถ้าวัดความกว้างของกระดานด�ำในรูปได้ 3 เซนติเมตร
แสดงว่า กระดานด�ำของจริงกว้าง 3 × 50 = 150 เซนติเมตร หรือ 1.5 เมตร
ถ้าวัดความยาวของกระดานด�ำในรูปได้ 4.8 เซนติเมตร
แสดงว่า กระดานด�ำของจริงยาว 4.8 × 50 = 240 เซนติเมตร หรือ 2.4 เมตร
อัตราส่วน ร้อยละ 25

UNITED
STATES BERMUDA (U.K.)
Savannah

Brunswick 4.9 ซม.


ALTANTIC
OCEAN

THE BERMUDA
Freeport City TRIANGLE
4.4 ซม.
Miami
Nassau Sargasso Sea
Colon THE BAHAMAS Arthur’s Town
Santa Clara
TURKS AND CAICOS ISLANDS (U.K.)
Puerto Rico Trench
CUMA HISPANIOLA
5.2 ซม. DOMINICAN
Arecibo
HAITI San Juan
REPUBLIC
San German Ponce
Bayamo
JAMAICA
PUERTO RICO
Caribbean Sea (U.S.)

มาตราส่วน 1 เซนติเมตร : 200 ไมล์

จากแผนที่แสดงพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (Bermuda Triangle)


ในมาตราส่วน 1 เซนติเมตร : 200 ไมล์ หมายความว่า ระยะทางในแผนที่ 1 เซนติเมตร
แทนระยะทางจริง 200 ไมล์ (ไมล์ คือหน่วยมาตรฐานอังกฤษที่ใช้วัดระยะทาง
โดย 1 ไมล์ เท่ากับ 1.609 กิโลเมตร)
1. วัดระยะทางในแผนที่ีจาก Miami ถึง San Juan ได้ 5.2 เซนติเมตร
แสดงว่า Miami อยู่ห่างจาก San Juan 5.2 × 200 = 1040 ไมล์
2. วัดระยะทางในแผนที่ีจาก Bermuda ถึง San Juan ได้ 4.4 เซนติเมตร
แสดงว่า Bermuda อยู่ห่างจาก San Juan 4.4 × 200 = 880 ไมล์
3. วัดระยะทางในแผนที่ีจาก Bermuda ถึง Miami ได้ 4.9 เซนติเมตร
แสดงว่า Bermuda อยู่ห่างจาก Miami 4.9 × 200 = 980 ไมล์
แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/549668 สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563
26 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 14
แผนผังบ้านของพรหมเดช

น สระว่ายน�้ำ
3 ซม.

2 ซม. ตลาด 6 ซม. บ้านพรหมเดช

โรงเรียน
4 ซม.

สนามเด็กเล่น

มาตราส่วน 1 ซม. : 200 ม.


รูปแผนผังบ้านของพรหมเดช ในมาตราส่วน 1 ซม. : 200 ม.
จากแผนผัง จงตอบคำ�ถามที่กำ�หนดให้ในแต่ละข้อต่อไปนี้
1) ระยะทางจริงจากบ้านพรหมเดชถึงสนามเด็กเล่นเป็นระยะทางกี่เมตร
2) ระยะทางจริงจากตลาดถึงสนามเด็กเล่นโดยต้องผ่านบ้านพรหมเดชเป็นระยะทาง
กี่เมตร
วิธีทำ� 1) วัดระยะทางในแผนผังจากบ้านพรหมเดชถึงสนามเด็กเล่นโดยต้องผ่านบ้าน
พรหมเดชได้ 4 เซนติเมตร
ดังนั้น สนามเด็กเล่นอยู่ห่างจากบ้านพรหมเดช 4 × 200 = 800 เมตร
ตอบ ๘๐๐ เมตร
2) วัดระยะทางในแผนผังจากตลาดถึงสนามเด็กเล่นโดยต้องผ่านบ้านพรหมเดช
ได้ 6 + 4 = 10 เซนติเมตร
ดังนั้น ระยะทางจากตลาดถึงสนามเด็กเล่นโดยต้องผ่านบ้านพรหมเดช
ได้ 10 × 200 = 2000 เมตร หรือ 2 กิโลเมตร
ตอบ ๒,๐๐๐ เมตร หรือ ๒ กิโลเมตร
อัตราส่วน ร้อยละ 27

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 15
จงตอบค�ำถามต่อไปนี้
1) รูปย่อเสาไฟฟ้ามีมาตราส่วน 1 ซม. : 2 ม. ถ้าวัดความสูงของเสาไฟฟ้าในรูปได้
3 เซนติเมตร แสดงว่าเสาไฟฟ้าของจริงสูงกี่เมตร
2) รูปย่อโต๊ะมีมาตราส่วน 1 : 10 ถ้าวัดความสูงของโต๊ะในรูปได้ 6 เซนติเมตร
แสดงว่าโต๊ะของจริงสูงกี่เซนติเมตร
วิธีทำ� 1) วัดความสูงของเสาไฟฟ้าในรูปได้ 3 เซนติเมตร จากมาตราส่วน 1 ซม. : 2 ม.
ดังนั้น เสาไฟฟ้าของจริงสูง 3 × 2 = 6 เมตร
ตอบ ๖ เมตร
2) วัดความสูงของโต๊ะในรูปได้ 6 เซนติเมตร จากมาตราส่วน 1 : 10
ดังนั้น โต๊ะของจริงสูง 6 × 10 = 60 เซนติเมตร
ตอบ ๖๐ เซนติเมตร

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1

จงตอบค�ำถามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1. รูปย่อบ้านมีมาตราส่วน 1 ซม. : 1 ม. ถ้าวัดความสูงของบ้านในรูปได้ 8 เซนติเมตร
แสดงว่าบ้านของจริงสูงกี่เมตร
2. รูปนักเรียนมีมาตราส่วน 1 : 20 ถ้าวัดความสูงของนักเรียนในรูปได้ 8 เซนติเมตร
แสดงว่านักเรียนสูงจริงกี่เซนติเมตร
28 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 16

จงเขียนแผนผังสนามหญ้ารูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้ากว้าง 60 เมตร ยาว 100 เมตร โดยใช้มาตราส่วน


1 : 2000

มาตราส่วน 1 : 2000
หมายความว่า ความยาวในแผนผัง 1 เซนติเมตร แทนความยาวจริง 2000 เซนติเมตร
หรือ ความยาวในแผนผัง 1 เซนติเมตร แทนความยาวจริง 20 เมตร
หรือ ความยาวจริง 20 เมตร แทนความยาวในแผนผัง 1 เซนติเมตร
ความกว้างจริง 60 เมตร แทนความกว้างในแผนผัง 60 ÷ 20 = 3 เซนติเมตร
ความยาวจริง 100 เมตร แทนความยาวในแผนผัง 100 ÷ 20 = 5 เซนติเมตร

แผนผังสนามหญ้า

3 ซม.

5 ซม.
มาตราส่วน 1 : 2000

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1

ห้องเรียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร จงเขียนแผนผังโดยใช้


มาตราส่วน 1 ซม. : 2 ม.
อัตราส่วน ร้อยละ 29

สรุปความรู้
มาตราส่วน (Scale)
เป็นความสัมพันธ์ที่ใช้เพื่อแสดงการเปรียบเทียบความยาวหรือระยะทางในรูปเทียบ
กับความยาวหรือระยะทางจริง

มาตราส่วน 1 ซม. : 10 ม.

จากแผนผังแสดงมาตราส่วน 1 ซม. : 10 ม. หมายความว่า


ระยะทางในแผนผัง 1 เซนติเมตร แทนระยะทางจริง 10 เมตร
ถ้าวัดระยะทางในแผนผังจากบ้านถึงโรงเรียนได้ 5.6 เซนติเมตร
แสดงว่า ระยะทางจริงจะเท่ากับ 5.6 × 10 = 56 เมตร
ถ้าระยะทางจริงจากสถานที่ A ไปสถานที่ B เท่ากับ 35 เมตร
แสดงว่า ระยะทางในแผนผังจะเท่ากับ 35 ÷ 10 = 3.5 เซนติเมตร
30 อัตราส่วน ร้อยละ

แบบฝึกทักษะ 3
1. (*) จากแผนผังที่ก�ำหนดให้ จงตอบค�ำถามในแต่ละข้อต่อไปนี้
แผนผังสนามเด็กเล่น

ราวโหน กระดานลืน่

ชิงช้า
น�ำ้ พุ น

กระดานหก

มาตราส่วน 1 : 500

1) ระยะทางจริงจากกระดานหกถึงน�้ำพุเป็นระยะทางกี่เมตร
2) ระยะทางจริงจากกระดานลื่นถึงราวโหนเป็นระยะทางกี่เมตร

2. (**) จงตอบค�ำถามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1) แผนผังมีมาตราส่วน 1 ซม. : 5 กม. ถ้าวัดระยะทางในแผนผังได้ 7 เซนติเมตร
แสดงว่าระยะทางจริงเป็นกี่กิโลเมตร
2) รูปย่อแปลงผักมีความกว้าง 4 เซนติเมตร และมีความยาว 6 เซนติเมตร ถ้ารูปย่อมี
มาตราส่วน 1 : 500 สนามนี้จะมีความกว้างและความยาวจริงกี่เมตร
3) รูปย่ออาคารเรียนมีมาตราส่วน 1 ซม. : 2 ม. ถ้าวัดความกว้างของอาคารในรูป
ได้ 5 เซนติเมตร และวัดความยาวของอาคารในรูปได้ 9 เซนติเมตร อาคารแห่งนี้มี
พื้นที่จริงกี่ตารางเมตร
อัตราส่วน ร้อยละ 31

4. ร้อยละ
นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์มาแล้ว ซึ่งค�ำว่าร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์
เป็นการเปรียบเทียบปริมาณที่สนใจกับ 100 ดังเช่นรูปต่อไปนี้

จากรูป
อัตราส่วนของจ�ำนวนสีเ่ หลีย่ มทีถ่ กู แรเงาต่อจ�ำนวนสีเ่ หลีย่ ม
25
ทัง้ หมดเป็น 100
แสดงว่า มีส่วนที่แรเงาเป็นร้อยละ 25 หรือ 25%

จากรูป
อัตราส่วนของจ�ำนวนสี่เหลี่ยมที่ถูกแรเงาต่อจ�ำนวนสี่เหลี่ยม
99
ทั้งหมดเป็น 100
แสดงว่า มีส่วนที่แรเงาเป็นร้อยละ 99 หรือ 99%

จะสังเกตว่า เมื่อจ�ำนวนที่สองของอัตราส่วนเป็น 100 จ�ำนวนแรกของอัตราส่วน


จะเป็นค่าของร้อยละที่ต้องการ
พิจารณาอัตราส่วน 4 : 20
4 : 20 = 20 4 = 4 # 5 = 20 = 20 : 100
20 # 5 100
แสดงว่า อัตราส่วน 4 : 20 เท่ากับ ร้อยละ 20

4 : 20 20 : 100
32 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 17
จงเขียนอัตราส่วนในแต่ละข้อต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปของร้อยละ
1) 3 : 5 2) 1 : 4
วิธีทำ� 1) 3 : 5 = 3 × 20 : 5 × 20
= 60 : 100
ดังนั้น 3 : 5 เท่ากับร้อยละ 60
ตอบ ร้อยละ ๖๐
3:5 60 : 100
2) 1 : 4 = 41
= 41 ## 25
25
25
= 100
= 25 : 100
ดังนั้น 1 : 4 เท่ากับร้อยละ 25
1:4 25 : 100
ตอบ ร้อยละ ๒๕

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
จงเขียนอัตราส่วนในแต่ละข้อต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปของร้อยละ
1. 1 : 2 4. 5 : 25
2. 4 : 20 5. 3 : 2
3. 1 : 5 6. 7 : 5
อัตราส่วน ร้อยละ 33

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 18
จงเขียนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ในแต่ละข้อต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปของอัตราส่วนอย่างต�่ำ
1) ร้อยละ 4 2) 12%
วิธีทำ� 1) ร้อยละ 4 = 100 4
= 100 4 '4
'4
= 25 1
4 : 100 1 : 25
ดังนั้น ร้อยละ 4 เท่ากับ 1 : 25
ตอบ ๑ : ๒๕

2) 12% = 100 12
= 10012 ' 4
'4
= 25 3
12 : 100 3 : 25
ดังนั้น 12% เท่ากับ 3 : 25
ตอบ ๓ : ๒๕

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1

จงเขียนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ในแต่ละข้อต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปของอัตราส่วนอย่างต�่ำ
1. ร้อยละ 5 4. 40%
2. ร้อยละ 10 5. 50%
3. ร้อยละ 28 6. 15%
34 อัตราส่วน ร้อยละ

การค�ำนวณเกี่ยวกับร้อยละ
ร้อยละ 20 ของ 50 หมายความว่า ใน 100 ส่วนมีอยู่ 20 ส่วน ถ้าใน 50 ส่วนจะมีอยู่กี่ส่วน
ใน 100 ส่วน มีอยู่ 20 ส่วน ร้อยละ 20 ของ 50
20 × 50 = 10 ส่วน
ถ้าใน 50 ส่วน มีอยู่ 100 คิดเป็น 20 × 50 = 10
100

20 : 100 10 : 50
แสดงว่า จะมี 10 ส่วนใน 50 ส่วน
ดังนั้น ร้อยละ 20 ของ 50 คือ 10

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 19
ร้อยละ 15 ของ 80 เท่ากับจ�ำนวนใด
วิธีท�ำ จากโจทย์ ร้อยละ 15 ของ 80
หมายความว่า ใน 100 ส่วนมีอยู่ 15 ส่วน ถ้าใน 80 ส่วนจะมีอยู่กี่ส่วน
ใน 100 ส่วน มีอยู่ 15 ส่วน
ถ้าใน 80 ส่วน มีอยู่ 100 15 × 80 = 12 ส่วน
แสดงว่า จะมี 12 ส่วนใน 80 ส่วน
ดังนั้น ร้อยละ 15 ของ 80 คือ 12
ตอบ ๑๒

15 : 100 12 : 80
อัตราส่วน ร้อยละ 35

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 20
15% ของ 120 เท่ากับจ�ำนวนใด
วิธีทำ� 15% ของ 120 = 100 15 × 120
= 18
ดังนั้น 15% ของ 120 มีค่าเท่ากับ 18
ตอบ ๑๘

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
จงตอบค�ำถามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1. ร้อยละ 20 ขอaง 500 เท่ากับจ�ำนวนใด
2. 30% ของ 40 เท่ากับจ�ำนวนใด
3. ร้อยละ 80 ของ 30 เท่ากับจ�ำนวนใด

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 21
50 เป็นร้อยละเท่าใดของ 200
วิธีท�ำ จากโจทย์ หมายความว่ามี 50 ส่วนใน 200 ส่วน ถ้าใน 100 ส่วนจะมีอยู่กี่ส่วน
ใน 200 ส่วน มีอยู่ 50 ส่วน
ถ้าใน 100 ส่วน มีอยู่ 200 50 × 100 = 25 ส่วน
แสดงว่า จะมี 25 ส่วนใน 100 ส่วน
ดังนั้น 50 เป็นร้อยละ 25 ของ 200
ตอบ ร้อยละ ๒๕

50 : 200 25 : 100
36 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 22
80 เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ 400
วิธีทำ� จากโจทย์ หมายความว่ามี 80 ส่วนใน 400 ส่วน ถ้าใน 100 ส่วนจะมีอยู่กี่ส่วน
ใน 400 ส่วน มีอยู่ 80 ส่วน
ถ้าใน 100 ส่วน มีอยู่ 400 80 × 100 = 20 ส่วน
แสดงว่า จะมี 20 ส่วนใน 100 ส่วน
ดังนั้น 80 เป็น 20% ของ 400
ตอบ ๒๐%
80 : 400 20 : 100

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
จงตอบค�ำถามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1. 30 เป็นร้อยละเท่าใดของ 120
2. 120 เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ 500
3. 60 เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ 50

MATH PUZZLE
ให้นักเรี ยนสังเกตคนที่ลงลิฟต์ดังนี้
ชั้นที่ 4 : มีคนเดินเข้ามาในลิฟต์ 8 คน
ชั้นที่ 3 : มีคนเดินเข้ามาในลิฟต์ 25% ของคนในลิฟต์ และไม่มี ใครออกจากลิฟต์
ชั้นที่ 2 : ไม่มีคนเข้ามาในลิฟต์ แต่มีคนออกจากลิฟต์ร้อยละ 30 ของคนในลิฟต์
ชั้นที่ 1 : ทุกคนจะออกจากลิฟต์ 4

อยากรู้ว่าในชั้นที่ 1 มีคนออกจากลิฟต์ทั้งหมดกี่คน
อัตราส่วน ร้อยละ 37

สรุปความรู้
ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ (Percent)
เป็นการเปรียบเทียบปริมาณที่สนใจกับ 100

การเขียนอัตราส่วนให้อยู่ในรูปร้อยละ

1 # 25 = 25
4 # 25 100

1:4 25 : 100

การค�ำนวณเกี่ยวกับร้อยละ

20% ของ 50
20 × 50 = 10
คิดเป็น 100
ดังนั้น 20% ของ 50 เท่ากับ 10
20 : 100 10 : 50

50 เป็นร้อยละเท่าใดของ 200
50 × 100 = 25
คิดเป็น 200
ดังนั้น 50 เป็นร้อยละ 25 ของ 200
50 : 200 25 : 100
38 อัตราส่วน ร้อยละ

แบบฝึกทักษะ 4
1. (*) จงเขียนอัตราส่วนในแต่ละข้อต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปของร้อยละ
1) 4 : 5
2) 1 : 10
3) 3 : 20
4) 10 : 25
5) 35 : 50
6) 1 : 50
7) 60 : 25
8) 20 : 200
9) 100 : 1000
10) 300 : 200

2. (**) จงตอบค�ำถามในแต่ละข้อต่อไปนี้
1) ร้อยละ 10 ของ 30 เท่ากับจ�ำนวนใด
2) 20% ของ 1000 เท่ากับจ�ำนวนใด
3) 35% ของ 520 เท่ากับจ�ำนวนใด
4) ร้อยละ 90 ของ 10 เท่ากับจ�ำนวนใด
5) ร้อยละ 0.1 ของ 500 เท่ากับจ�ำนวนใด
6) 3 เป็นร้อยละเท่าใดของ 5
7) 70 เป็นร้อยละเท่าใดของ 500
8) 400 เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ 250
9) 120 เป็นร้อยละเท่าใดของ 60
10) 30 เป็นร้อยละเท่าใดของ 1000
อัตราส่วน ร้อยละ 39

5. โจทย์ปัญหาร้อยละ
พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ห้องเรียนนี้มีนักเรียนชายร้อยละ 20 ของนักเรียนทั้งหมด
หมายความว่า ถ้ามีนักเรียนทั้งหมด 100 คน
จะมีนักเรียนชาย 20 คน
ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 23

โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนหญิงร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด ถ้าโรงเรียนแห่งนี้มี


นักเรียนทั้งหมด 2,500 คน โรงเรียนแห่งนี้จะมีนักเรียนหญิงกี่คน
วิธีที่ 1 โรงเรียนนี้มีนักเรียนหญิงร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด
หมายความว่า ถ้ามีนักเรียนทั้งหมด 100 คน
จะมีนักเรียนหญิง 60 คน
ถ้ามีนักเรียนทั้งหมด 100 คน มีนักเรียนหญิง 60 คน
60 = 1500
มีนักเรียนทั้งหมด 2500 คน มีนักเรียนหญิง 2500 × 100 คน
วิธีที่ 2 หากเขียนร้อยละให้อยู่ในรูป ab จะได้ดังนี้
60 ของนักเรียนทั้งหมด
มีนักเรียนหญิง 100
นักเรียนทั้งหมด 2,500 คน จะมีนักเรียนหญิงทั้งหมดกี่คน

โจทย์ก�ำหนดให้ มีนักเรียนหญิงร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด 2500 คน


60 × 2500 = 1500 คน
จะได้ว่า มีนักเรียนหญิง 100
ดังนั้น จะมีนักเรียนหญิง 1,500 คน
ตอบ ๑,๕๐๐ คน
40 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 24
หนังสือเล่มหนึ่งมีจ�ำนวนหน้าทั้งหมด 350 หน้า หลินอ่านไปแล้ว 70% ของจ�ำนวนหน้า
ทั้งหมด หลินอ่านหนังสือไปแล้วกี่หน้า และเหลืออีกกี่หน้าที่ยังไม่ได้อ่าน
วิธีท�ำ
หากเขียนร้อยละให้อยู่ในรูป ab จะได้ดังนี้
หลินอ่านไปแล้ว 10070 ของจ�ำนวนหน้าทั้งหมด
หนังสือเล่มหนึ่งมี 350 หน้า จะอ่านหนังสือไปแล้วกี่หน้า

โจทย์กำ� หนดให้ หลินอ่านหนังสือไปแล้ว 70% ของจ�ำนวนหน้าทัง้ หมด 350 หน้า


จะได้ว่า หลินอ่านหนังสือไปแล้ว 100 70 × 350 = 245 หน้า
และเหลือหน้าที่ยังไม่ได้อ่านอีก 350 - 245 = 105 หน้า
ตอบ หลินอ่านหนังสือไปแล้ว ๒๔๕ หน้า
เหลือหน้าที่ยังไม่ได้อ่านอีก ๑๐๕ หน้า

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 25
โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนชาย 810 คน และมีนักเรียนหญิง 900 คน จงหาว่ามีนักเรียน
ชายคิดเป็นร้อยละเท่าใดของนักเรียนหญิง
วิธีที่ 1 มีนักเรียนหญิง 900 คน มีนักเรียนชาย 810 คน
ถ้ามีนักเรียนหญิง 100 คน มีนักเรียนชาย 100 × 900 810 = 90 คน

วิธีที่ 2 นักเรียนชาย 810 คนคิดเป็นร้อยละเท่าใดของนักเรียนหญิง 900 คน


810 × 100 = 90
จะได้ว่า คิดเป็นร้อยละ 900
ดังนั้น นักเรียนชายคิดเป็นร้อยละ 90 ของนักเรียนหญิง
ตอบ ร้อยละ ๙๐
อัตราส่วน ร้อยละ 41

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
1. นพดลสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 70% ของคะแนนเต็ม ถ้าวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเต็ม
60 คะแนน นพดลจะสอบได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์กี่คะแนน
2. น�้ำฝนได้รับเงินเดือนเดือนละ 10,625 บาท จ่ายค่าประกันสังคมไป 425 บาท
จงหาว่าน�้ำฝนจ่ายค่าประกันสังคมไปกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน

ในการซื้อขายสินค้า นักเรียนมักจะได้ยินคำ�ว่า ต้นทุน ราคาขาย กำ�ไร ขาดทุน


ลดราคา คำ�เหล่านี้ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการซื้อขาย
ต้นทุน ราคาสิ่งของที่ซื้อมา
หรืออาจหมายถึงจ�ำนวนเงินที่ใช้ในการผลิตสิ่งของ
ราคาขาย ราคาสิ่งของที่ขายไป

ก�ำไร ส่วนต่างของราคาขายกับต้นทุน เมื่อราคาขายมากกว่าต้นทุน

ต้นทุน ก�ำไร ราคาขาย

ขาดทุน ส่วนต่างของต้นทุนกับราคาขาย เมื่อราคาขายน้อยกว่าต้นทุน

ต้นทุน ขาดทุน ราคาขาย


ส่วนลด ส่วนต่างของราคาที่ติดไว้กับราคาขาย

ราคาที่ติดไว้ ส่วนลด ราคาขาย


42 อัตราส่วน ร้อยละ

พิจารณาข้อความต่อไปนี้

“แม่ค้าซื้อเสื้อยืดตัวหนึ่งมาราคา 90 บาท ขายไป 150 บาท”

จากข้อความ ราคาขายมากกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อมา
ดังนั้น แม่ค้าได้กำ�ไร 150 - 90 = 60 บาท

“พ่อค้าซื้อองุ่นมาราคา 180 บาท ขายไป 130 บาท”

จากข้อความ ราคาขายน้อยกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อมา
ดังนั้น พ่อค้าขาดทุน 180 - 130 = 50 บาท

“ร้านค้าติดราคาขายโทรทัศน์ไว้ 8,900 บาท ลดราคา 200 บาท”

จากข้อความ ร้านค้าขายโทรทัศน์ ราคา 8900 - 200 = 8700 บาท


อัตราส่วน ร้อยละ 43

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 26
แม่ค้าซื้อเตารีดไฟฟ้ามาราคาอันละ 550 บาท ขายได้กำ� ไร 30% แม่ค้าขายเตารีดไฟฟ้าราคา
อันละกี่บาท
จาก ก�ำไร 30% หมายความว่า
ถ้าราคาทุน 100 บาท ขายได้ก�ำไร 30 บาท
หรือ ถ้าราคาทุน 100 บาท ขายไป 100 + 30 = 130 บาท

วิธีที่ 1 ถ้าราคาทุน 100 บาท ขายได้ก�ำไร 30 บาท


ราคาทุน 550 บาท ขายได้ก�ำไร 30 = 165 บาท
550 × 100
ดังนั้น แม่ค้าขายเตารีดไฟฟ้าราคาอันละ 550 + 165 = 715 บาท

วิธีที่ 2 ถ้าราคาทุน 100 บาท ขายไป 130 บาท


ราคาทุน 550 บาท ขายไป 550 × 130
100 = 715 บาท

วิธีที่ 3 ได้ก�ำไร 30% แสดงว่า ขายไป 130% ของราคาทุน


ดังนั้น แม่ค้าขายเตารีดไฟฟ้าราคาอันละ 130 × 550 = 715 บาท
100
ตอบ ๗๑๕ บาท

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 27

พี่ซื้อโทรศัพท์มาราคา 14,000 บาท ขายขาดทุนไป 15% พีข่ ายโทรศัพท์ไปในราคากี่บาท

จาก ขาดทุน 15% หมายความว่า


ถ้าราคาทุน 100 บาท ขายขาดทุนไป 15 บาท
หรือ ถ้าราคาทุน 100 บาท ขายไป 100 - 15 = 85 บาท
วิธีท�ำ ขาดทุน 15% แสดงว่า ขายไป 85% ของราคาทุน
85 × 14000 = 11900 บาท
พีข่ ายโทรศัพท์ไปในราคา 100
ดังนั้น พี่ขายโทรศัพท์ไปในราคา 11,900 บาท
ตอบ ๑๑,๙๐๐ บาท
44 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 28
น�ำ้ ตาลขายกระโปรงไปในราคา 400 บาท ขาดทุน 20% น�ำ้ ตาลซือ้ กระโปรงมาราคากี่บาท
น�้ำตาลขายกระโปรงขาดทุน 20% หมายความว่า
ถ้าน�้ำตาลซื้อกระโปรงราคา 100 บาท ขายไป 100 - 20 = 80 บาท
วิธีท�ำ ขายกระโปรงราคา 80 บาท จากราคาทุน 100 บาท
ขายกระโปรงราคา 400 บาท จากราคาทุน 400 × 100
80 = 500 บาท
ดังนั้น น�้ำตาลซื้อกระโปรงมาราคา 500 บาท
ตอบ ๕๐๐ บาท

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 29
ร้านค้าติดราคาขายเตียงนอนไว้ 7,500 บาท และลดราคา 10% จะลดราคาเตียงนอนไป
กี่บาท และขายเตียงนอนไปในราคากี่บาท
จาก ลดราคา 10% หมายความว่า
ถ้าติดราคา 100 บาท จะลดราคาไป 10 บาท
หรือ ถ้าติดราคา 100 บาท ขายไป 100 - 10 = 90 บาท

วิธีที่ 1 ติดราคาขายเตียงนอนไว้ 100 บาท ลดราคาไป 10 บาท


10 = 750 บาท
ติดราคาขายเตียงนอนไว้ 7500 บาท ลดราคาไป 7500 × 100
ขายเตียงนอนไปในราคา 7500 - 750 = 6750 บาท

วิธีที่ 2 ลดราคา 10% หมายความว่า ลดราคา 10% ของราคาทุน


ลดราคาเตียงนอนไป 10
100 × 7500 = 750 บาท
ขายเตียงนอนไปในราคา 7500 - 750 = 6750 บาท
ดังนั้น ร้านค้าลดราคาเตียงนอนไป 750 บาท และขายเตียงนอนในราคา 6,750 บาท
ตอบ ร้านค้าลดราคาเตียงนอนไป ๗๕๐ บาท และขายเตียงนอนในราคา ๖,๗๕๐ บาท
อัตราส่วน ร้อยละ 45

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 30
นับดาวขายกระเป๋าเดินทางราคา 1,500 บาท ซึ่งซื้อมาในราคา 1,200 บาท นับดาวขาย
กระเป๋าเดินทางได้ก�ำไรกี่เปอร์เซ็นต์
จากโจทย์ ต้องการรู้ว่าก�ำไรกี่เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า
ต้องการให้หาว่าถ้าทุน 100 บาท จะได้ก�ำไรกี่บาท
วิธีท�ำ ซื้อกระเป๋าเดินทางมา 1200 บาท ขายได้ก�ำไร 1500 - 1200 = 300 บาท
300 = 25 บาท
ซื้อกระเป๋าเดินทางมา 100 บาท ขายได้ก�ำไร 100 × 1200
ดังนั้น นับดาวขายกระเป๋าเดินทางได้ก�ำไร 25%
ตอบ ๒๕%

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 31
ป้าลงทุนตัดเสื้อตัวละ 80 บาท ขายให้พ่อค้าคนกลางได้ก�ำไรตัวละ 10% พ่อค้าคนกลาง
น�ำไปขายต่อซึ่งคิดก�ำไรตัวละ 25% พ่อค้าคนกลางขายเสื้อไปตัวละกี่บาท

จากโจทย์ มีการขาย 2 ครั้ง


ครั้งที่ 1 ป้าขายได้ก�ำไร 10%

ครั้งที่ 2 พ่อค้าคนกลางขายต่อได้ก�ำไร 25%

วิธีท�ำ ครั้งที่ 1 ป้าขายได้ก�ำไร 10% แสดงว่า ขายไป 110% ของราคาทุน


ป้าขายเสื้อให้พ่อค้าคนกลางราคาตัวละ 110100 × 80 = 88 บาท
จะได้วา่ ป้าขายเสื้อให้พ่อค้าคนกลางราคาตัวละ 88 บาท

ครั้งที่ 2 พ่อค้าคนกลางขายต่อได้กำ� ไร 25% แสดงว่า ขายไป 125% ของราคาทุน


พ่อค้าคนกลางขายต่อเสื้อไปราคาตัวละ 100 125 × 88 = 110 บาท
ดังนั้น พ่อค้าคนกลางขายเสื้อไปตัวละ 110 บาท
ตอบ ๑๑๐ บาท
46 อัตราส่วน ร้อยละ

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 32

พี่ซื้อกีตาร์มาราคา 4,500 บาท ขายต่อให้เพื่อนขาดทุน 10% เพื่อนน�ำกีตาร์ไปขายต่อได้


ก�ำไร 20% เพื่อนของพี่ขายกีตาร์ไปในราคากี่บาท
วิธีท�ำ ครั้งที่ 1 พี่ขายต่อให้เพื่อนขาดทุน 10% แสดงว่า ขายไป 90% ของราคาทุน
90 × 4500 = 4050 บาท
พี่ขายกีตาร์ให้เพื่อนไปในราคา 100
ดังนั้น พี่ขายกีตาร์ให้เพื่อนไปในราคา 4,050 บาท

ครัง้ ที่ 2 เพือ่ นพีน่ ำ� กีตาร์ไปขายต่อได้กำ� ไร 20% แสดงว่า ขายไป 120% ของราคาทุน
เพื่อนของพี่ขายกีตาร์ไปในราคา 120 100 × 4050 = 4860 บาท
ดังนั้น เพื่อนของพี่ขายกีตาร์ไปในราคา 4,860 บาท
ตอบ ๔,๘๖๐ บาท

ตัวตัอย่
วอย่
างทีา่ งที
1 ่ 33
ร้านค้าแห่งหนึ่งขายเสื้อสองตัวไปในราคาตัวละ 300 บาท ซึ่งเสื้อตัวแรกได้ก�ำไร 20%
ส่วนเสือ้ ตัวทีส่ องขาดทุน 20% ถ้าขายเสือ้ ทัง้ สองตัวแล้วร้านค้าจะได้กำ� ไรหรือขาดทุนเท่าใด
วิธีท�ำ เสื้อตัวแรก ได้ก�ำไร 20% แสดงว่า ถ้าเสื้อราคา 100 บาท
ขายไป 100 + 20 = 120 บาท
ขายเสื้อไปในราคา 120 บาท จากราคาทุน 100 บาท
ขายเสื้อไปในราคา 300 บาท จากราคาทุน 300 × 100 120 = 250 บาท
จะได้ ขายเสื้อตัวแรกได้ก�ำไร 300 - 250 = 50 บาท
เสื้อตัวที่สอง ขาดทุน 20% แสดงว่า ถ้าเสื้อราคา 100 บาท
ขายไป 100 - 20 = 80 บาท
ขายเสื้อไปในราคา 80 บาท จากราคาทุน 100 บาท
ขายเสื้อไปในราคา 300 บาท จากราคาทุน 300 × 100 80 = 375 บาท
จะได้ ขายเสื้อตัวที่สองขาดทุน 375 - 300 = 75 บาท
เนื่องจาก ขาดทุนมากกว่าได้ก�ำไร
ดังนั้น ร้านค้าจะขาดทุน 75 - 50 = 25 บาท
ตอบ ขาดทุน ๒๕ บาท
อัตราส่วน ร้อยละ 47

น้อางที
ตัวอย่ งลองทำ�
่1
1. มาลีซื้อคอมพิวเตอร์มาราคา 21,000 บาท ขายต่อให้เพื่อนขาดทุนไป 30% มาลีขาย
คอมพิวเตอร์ไปในราคากี่บาท
2. ใบหม่อนขายกล้องถ่ายรูปไปในราคา 14,500 บาท ได้ก�ำไร 25% ใบหม่อนซื้อกล้องถ่ายรูป
มาในราคากี่บาท
3. ร้านค้าแห่งหนึ่งติดราคาขายเสื้อไว้ 300 บาท ในวันปีใหม่ร้านค้าแห่งนี้ติดป้ายลดราคาเสื้อไว้
40% ร้านค้าแห่งนี้ขายเสื้อไปในราคากี่บาท
4. ร้านค้าติดราคาขายพัดลมไว้ 650 บาท ขายไป 585 บาท ร้านค้าลดราคาพัดลมกี่เปอร์เซ็นต์
5. ปัดซื้อดินสอมาราคา 450 บาท ขายต่อให้แป้งขาดทุน 10% แป้งน�ำไปขายต่อให้ป้องได้ก�ำไร
20% ป้องซื้อดินสอไปในราคากี่บาท

MATH PUZZLE
ออมเปรี ยบเทียบราคาเสื้อในร้านค้าต่าง ๆ โดยร้านค้าแต่ละร้านจะตั้งอยู่ตามป้ายรถเมล์ซึ่งมีอยู่
ทั้งหมด 4 ป้าย โดยแต่ละร้านจะจัดส่วนลดให้ ในราคาที่แตกต่างกันดังนี้
ร้านที่ 1 ติดป้ายขายเสื้อไว้ตัวละ 250 บาท แต่จัดลดราคา 20%
ร้านที่ 2 ติดป้ายขายเสื้อไว้ตัวละ 400 บาท แต่จัดโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1
ร้านที่ 3 ติดป้ายขายเสื้อไว้ตัวละ 350 บาท แต่จัดลดราคา 50%
ร้านที่ 4 ขายเสื้อ 1 โหลในราคา 1,800 บาท
ถ้าออมต้องการซื้อเสื้อทั้งหมด 24 ตัว ออมจะเลือกซื้อเสื้อในร้านค้าใดจึงจะได้เสื้อในราคาที่ถูกที่สุด
1

4
48 อัตราส่วน ร้อยละ

แบบฝึกทักษะ 4
1. (*) แม่ซื้อตู้เสื้อผ้ามาราคา 16,000 บาท ขายต่อร้านค้าขาดทุนไป 70% แม่ขาย
ตู้เสื้อผ้าไปในราคากี่บาท
2. (*) น�้ำขิงซื้อโทรศัพท์มาในราคา 20,000 บาท แล้วขายต่อไปในราคา 16,000 บาท
น�้ำขิงขายโทรศัพท์ไปขาดทุนร้อยละเท่าใด
3. (*) ร้านค้าติดป้ายขายชุดนักเรียนราคา 420 บาท ในวันเปิดเทอมร้านค้าลดราคาชุด
นักเรียนให้ 20% ร้านค้าจะขายชุดนักเรียนไปในราคากี่บาท
4. (*) นฤมลขายหนังสือไปในราคา 260 บาท ได้ก�ำไรร้อยละ 10 นฤมลซื้อหนังสือมาใน
ราคากี่บาท
5. (**) นดาซื้อรถยนต์มาในราคา 620,000 บาท น�ำไปขายต่อให้ร้านรับซื้อรถยนต์มือสอง
ขาดทุน 40% จากนัน้ ร้านรับซือ้ รถยนต์มอื สองน�ำไปขายต่อได้กำ� ไร 30% ร้านรับซือ้
รถยนต์มือสองขายรถยนต์คันนี้ไปในราคากี่บาท
6. (***) สายฟ้าต้องการซือ้ โทรศัพท์มอื ถือยีห่ อ้ หนึง่ และเมือ่ ไปส�ำรวจราคาทีห่ า้ งสรรพสินค้า
พบว่ามี 3 ร้านที่ขายราคาแตกต่างกัน ดังนี้
ร้านที่ 1 ติดราคาขายไว้ 25,500 บาท
ร้านที่ 2 ติดราคาขายไว้ 30,000 ลดราคา 20%
ร้านที่ 3 ติดราคาขายไว้ 32,000 ลดราคา 30%
ถ้านักเรียนเป็นสายฟ้า นักเรียนจะเลือกซื้อจากร้านไหนจึงจะได้ราคาถูกที่สุด
คณิตศาสตร์
รอบตัว
อัตราส่วนทองค�ำ (Golden ratio) หัวใจหลักของการออกแบบ
อัตราส่วนทองค�ำมีที่มาจากทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ โดยเป็นวิธีการค�ำนวณเพื่อหา
สัดส่วนทีง่ ดงามทีส่ ดุ ในโลก โดยพยายามใช้ตวั เลขมาอธิบายความงามของสิง่ ต่าง ๆ ในธรรมชาติ

ตัวอย่างของอัตราส่วนทองค�ำ เช่น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองค�ำที่มีอัตราส่วนด้านยาว


ต่อด้านสั้นเท่ากับอัตราส่วนทองค�ำซึ่งมีค่าประมาณ 1.618 : 1 ความพิเศษของรูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้าทองค�ำก็คือ เมื่อแบ่งรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองค�ำออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็น
รูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั และส่วนทีส่ องเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า ก็จะพบว่าสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าอันเล็กทีเ่ กิด
ขึน้ มาใหม่กย็ งั คงเป็นสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าทองค�ำอยูเ่ ช่นเดียวกัน และเมือ่ แบ่งรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้านัน้
อีก ก็จะเกิดรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั และรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าทองค�ำขึน้ มาใหม่ดว้ ยวิธกี ารเดียวกันอีก
และจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อย ๆ ซ�้ำไปซ�้ำมาไม่รู้จบ

แหล่งที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/281354 (สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563)


ทบทวนตัวเอง
จงพิจารณาแต่ละข้อต่อไปนี้ แล้วตอบว่า “ถูกต้อง” หรือ “ไม่ถูกต้อง”

1) อัตราส่วนปากกาต่อดินสอเป็น 2 : 3 หรือ 32
2) 3 : 6 = 3 × 2 : 6 × 2 = 6 : 12
3) 2 : 8 = 82 = 82 '' 22 = 41
4) ร้อยละ 15 เท่ากับ 5 : 20
5) ร้อยละ 10 ของ 20 เท่ากับ 2
6) 4 คิดเป็น 5% ของ 40
7) ร้านค้าซื้อเสื้อมาตัวละ 500 บาท ขายได้ก�ำไร 20% แสดงว่าร้านค้าขายเสื้อไป
ในราคา 600 บาท
8) ขายกระโปรงในราคา 180 บาท ขาดทุน 10 % แสดงว่าซื้อกระโปรงมา
ในราคา 220 บาท
9) แอนซื้อสมุดมาในราคา 40 บาท ขายต่อไปในราคา 30 บาท แสดงว่าแอนขายสมุด
ขาดทุนไปร้อยละ 25
10) เหมียวซื้อโทรศัพท์มาในราคา 12,000 บาท ขายต่อให้ร้านค้าขาดทุน 40%
ร้านค้าขายต่อได้ก�ำไร 40% ร้านค้าขายโทรศัพท์ไปในราคา 12,000 บาท
อัตราส่วน ร้อยละ 51

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้
ให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน และแบ่งกลุ่มเป็นร้านค้ากับผู้ซื้อ
กติกา : ร้านค้า
1. เลือกสินค้าที่จะขาย เช่น เสื้อผ้า ขนม เครื่องเขียน เป็นต้น โดยทุกกลุ่มจะต้อง
ขายสินค้าชนิดเดียวกัน
2. ก�ำหนดราคาตั้งต้นของสินค้าที่จะขาย
3. คิดราคาโปรโมชั่นที่จะดึงดูดผู้ซื้อ
โดยเมื่อจบเกมร้านค้าใดที่สามารถขายได้เงินมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ

กติกา : ผู้ซื้อ
1. ผู้ซื้อจะได้รับเงินสมมติกลุ่มละ 1,000 บาท
2. เลือกร้านค้าที่จะซื้อ โดยสามารถเลือกจากโปรโมชั่นของร้านค้าที่น่าสนใจ
โดยสามารถต่อรองหรือเสนอราคาต่อร้านค้าได้
โดยเมื่อจบเกมผู้ซื้อคนใดที่สามารถซื้อสินค้าได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ

Supermarket
Promotion
52 อัตราส่วน ร้อยละ

แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้
จงเลือกค�ำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดเป็นอัตราส่วนที่เท่ากับ 5 : 4
ก. 15 : 9
ข. 15 : 12
ค. 10 : 9
ง. 10 : 12

2. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. 4 : 6 = 32
ข. 45 = 8 : 10
ค. 2 : 3 = 9 : 6
ง. 9 : 7 = 27 : 21

3. ข้อใดเป็นอัตราส่วนที่เท่ากันทุกจ�ำนวน
ก. 2 : 3, 4 : 6, 12 : 20
ข. 3 : 6, 1 : 3, 6 : 12
ค. 7 : 8, 5 : 6, 10 : 12
ง. 4 : 2, 2 : 1, 12 : 6

4. ร้านค้าแห่งหนึ่งขายดินสอ 6 แท่งในราคา 72 บาท ออมต้องการซื้อดินสอ 3 แท่ง


ออมต้องจ่ายเงินเท่าใด
ก. 12 บาท
ข. 24 บาท
ค. 36 บาท
ง. 72 บาท
อัตราส่วน ร้อยละ 53

5. 20 เป็นร้อยละเท่าใดของ 80
ก. ร้อยละ 10
ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 25
ง. ร้อยละ 30

6. 35% ของ 1,200 มีค่าเท่าใด


ก. 420
ข. 780
ค. 950
ง. 1,050

7. ร้อยละ 75 คิดเป็นอัตราส่วนเท่าใด
ก. 100 : 25
ข. 25 : 100
ค. 15 : 25
ง. 3 : 4

8. ร้านค้าแห่งหนึ่งขายสมุดหนึ่งโหลในราคา 360 บาท ได้ก�ำไร 20% ร้านค้าแห่งนี้


ซื้อสมุดโหลนี้มาในราคากี่บาท
ก. 288 บาท
ข. 300 บาท
ค. 432 บาท
ง. 450 บาท
54 อัตราส่วน ร้อยละ

9. พ่อซื้อที่ดินมาในราคา 520,000 บาท ขายต่อให้นายหน้าได้ก�ำไร 20% นายหน้า


น�ำที่ดินไปขายต่อให้ลูกค้าได้ก�ำไร 30% ลูกค้าซื้อที่ดินไปในราคากี่บาท
ก. 540,800 บาท
ข. 624,000 บาท
ค. 676,000 บาท
ง. 811,200 บาท

10. ร้านค้าติดป้ายขายตู้เย็นในราคา 8,500 บาท ถ้าแม่ซื้อตู้เย็นเครื่องนี้โดยใช้ส่วนลด


บัตรเครดิต 10% แล้วน�ำไปขายต่อให้น้าได้ก�ำไร 20% น้าซื้อตู้เย็นเครื่องนี้มาใน
ราคากี่บาท
ก. 7,650 บาท
ข. 9,180 บาท
ค. 9,350 บาท
ง. 10,200 บาท

ค�ำถามประลองยุทธ์
จงตอบค�ำถามต่อไปนี้

1. หอสมุดแห่งหนึ่งมีหนังสือทั้งหมด 185,000 เล่ม มีหนังสือคณิตศาสตร์ร้อยละ 20


ของหนังสือทั้งหมด และมีหนังสืออ่านนอกเวลาร้อยละ 25 ของหนังสือทั้งหมด
หนังสือคณิตศาสตร์มีจ�ำนวนน้อยกว่าหนังสืออ่านนอกเวลากี่เล่ม

2. ร้านค้าติดราคาขายตู้เสื้อผ้าไว้ 3,500 บาท ลดราคา 25% และติดราคาขายโต๊ะไว้


1,200 บาท ลดราคา 5% ร้านค้าจะขายตู้เสื้อผ้าและโต๊ะราคาต่างกันกี่บาท

3. ชาวนาขายข้าวเปลือกเกวียนละ 6,400 บาท ขาดทุน 20% ถ้าชาวนาต้องการ


ก�ำไร 10% ต้องขายข้าวเปลือกเกวียนละกี่บาท

You might also like