You are on page 1of 67

64

ᨮ เมื่อตามตัว ᨭ ในระบบภาษาบาลี

จะตัดเอาเฉพาะส่วนข้างล่างภาพด้านซ้าย มาทำเป็นตัวเชิงในภาพด้านขวา ซึ่งจะมีตัว


ᨭ อยู่ด้านบน

ᨻ เมื่อตามตัว ᨻ ในระบบภาษาบาลี

จะเปลี่ยนรูปไปโดยสิ้นเชิง
* จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนคือเชิง ฐ ตัวไหนคือเชิง พ ในเมื่องรูปแบบการเขียนเหมือนกัน คำ
ตอบคือให้ดูที่วรรคในภาษาบาลีเป็นหลัก ถ้าตาม (อยู่ด้านล่าง) ᨭ จะเป็นหาง ฐ แต่ถ้าตาม (อยู่
ด้านล่าง) ᨻ ก็จะเป็นหาง พ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


65

ᨧ เมื่อตามตัว ᨧ ในระบบภาษาบาลี

จะเอามาเฉพาะในกรอบสีเขียว โดยคิดว่าฐานของตัวด้านบนเป็นหลังคาของตัวด้านล่าง
มันซ้อนกันอยู่
แต่ในบางลายมือก็อาจจะเขียน ᨧ แบบเต็มก็ได้

ᨩ เมื่อตามตัว ᨩ ในระบบภาษาบาลี

จะเอามาเฉพาะในกรอบสีเขียว โดยคิดว่าฐานของตัวด้านบนเป็นหลังคาของตัวด้านล่าง
มันซ้อนกันอยู่
แต่ในบางลายมือก็อาจจะเขียน ᨩ แบบเต็มก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


66

ᨳ เมื่อตามตัว ᨲ ในระบบภาษาบาลี

จะเอามาเฉพาะในกรอบสีเขียว โดยจะไม่เอาหลังคาหรือส่วนด้านบนมา และจุดเริ่มต้น


มักจะติดกับส่วนที่เป็นวงกลมของตัว ᨲ
แต่ในบางลายมือก็อาจจะเขียน ᨳ แบบเต็มก็ได้

ᨵ เมื่อตามตัว ᨴ ในระบบภาษาบาลี

จะเอามาเฉพาะในกรอบสีเขียว โดยคิดว่าฐานของตัวด้านบนเป็นหลังคาของตัวด้านล่าง
มันซ้อนกันอยู่
แต่ในบางลายมือก็อาจจะเขียน ᨵ แบบเต็มก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


67

ตัวเชิงที่มีลักษณะหางเสียบ

ตัวเชิง ᨥ

ในส่วนท้าย (เส้นประสีเหลือง) จะทำยกให้สูงขึ้นเสมอกับเส้นด้านบน แล้วตวัดเก็บหาง


ขนานกับเส้นเดิมลงมาพอประมาณ (ตามกรอบเส้นประสีแดง)

ตัวเชิง ᨫ

สังเกตตำแหน่งที่ห้อยลงมา (สังเกตเส้นประสีเขียว) ถ้ายังไม่เป็นตัวเชิงจะห้อยลงมาด้าน


ล่างจากส่วนหลักนิดหน่อย แต่ถ้าเป็นตัวเชิงจะอยู่ประมาณกึ่งกลางของส่วนหลัก
เชิงของตัว ᨫ จะพบเห็นเป็นตัวตามของตัว ᨩ ᨩ᩠ᨫ และมีลักษณะหางเสียบอย่างนี้ทุกครั้ง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


68

ตัวเชิง ᨬ

ในส่วนท้าย (เส้นประสีเหลือง) จะทำยกให้สูงขึ้นเสมอกับเส้นด้านบน แล้วตวัดเก็บหาง


ขนานกับเส้นเดิมลงมาพอประมาณ (ตามกรอบเส้นประสีแดง)

ตัวเชิง ᨰ

ในส่วนท้าย จะทำยกให้สูงขึ้นเสมอกับเส้นด้านบน แล้วตวัดเก็บหางขนานกับเส้นเดิมลง


มาพอประมาณ (ตามกรอบเส้นประสีแดง)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


69

ตัวเชิง ᨹ

ในส่วนท้ายจะทำหางให้สูงขึ้นเสมอกับเส้นด้านบน แล้วทำเป็นบ่วงโค้งเหมือนเดิม

ตัวเชิง ᩃ (ละเสียบ)

ลักษณะการเขียนหางสูงขึ้นไป จึงเรียกว่า ละเสียบ มักจะใช้เป็นตัวสะกด


ในส่วนท้ายจะทำหางให้สูงขึ้นเสมอกับเส้นด้านบน แล้วเก็บหางขนานกับเส้นเดิม (ตาม
กรอบเส้นประสีแดง) และสังเกตการหยักลงมาในห้องที่สอง (สังเกตเส้นประสีเหลือง) ถ้าไม่เป็น
ตัวเชิงขีดลงเสมอกับหัว แต่ถ้าเป็นตัวเชิง (ละเสียบ) จะหยักลงมาไม่ถึงแนวเส้นของหัว

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


70

ตัวเชิง ᩃ (ละห้อย)

ลักษณะห้อยอยู่ด้านล่าง จึงเรียกว่า ละห้อย โดยจะมีขนาดเล็กกว่าตัวปกตินิดหน่อย


มักจะใช้เป็นตัวควบกล้ำ หรือ ห นำ ล เช่น ᩉᩖ ᨠᩖ ᨣᩖ เป็นตัน
(บางตำราจะใช้ทั้งละเสียบและละห้อยแทนกันได้)
และสังเกตการหยักลงมาในห้องที่สอง (สังเกตเส้นประสีเหลือง) ถ้าไม่เป็นตัวเชิงขีดลง
เสมอกับหัว แต่ถ้าเป็นตัวเชิง (ละห้อย) จะหยักลงมาไม่ถึงแนวเส้นของหัว * แล้วแต่ลายมือบาง
คนก็ลงมาเสมอกับหัวก็ได้
ถ้าในกรณี ล ซ้อน ล ในภาษาบาลี (ᩃᩖ ) ตัว ล ที่เป็นตัวตามอยู่ด้านล่างจะมีลักษณะ
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


71

ตัวเชิง ᩇ

ในส่วนท้าย จะทำยกให้สูงขึ้นเสมอกับเส้นด้านบน แล้วตวัดเก็บหางขนานกับเส้นเดิมลง


มาพอประมาณ (ตามกรอบเส้นประสีแดง)

ตัวเชิง ᩈ

ในส่วนท้าย จะทำยกให้สูงขึ้นเสมอกับเส้นด้านบน แล้วตวัดเก็บหางขนานกับเส้นเดิมลง


มาพอประมาณ (ตามกรอบเส้นประสีแดง)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


72

ตัวเชิงที่มีลักษณะเปลี่ยนรูปไปจากเดิม

ตัวเชิงหรือหาง ᨶ

5 4

ตัวเชิงหรือหางของตัว ᨶ ที่จริงแล้วก็คือส่วนหนึ่งของตัวมันเอง (ตามกรอบสีเขียว)


วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นจากจุดที่ 1 ลากลงมาแล้วขมวดหัวในจุดที่ 2 โดยการวนไปตามเข็มนาฬิกาจาก
นั้นโค้งไปยังส่วนปลายในจุดที่ 3 , 4 หรือ 5 ก็ได้

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหัว (จุดที่ 2) จะอยู่ค่อนไปทางท้ายของอักษรที่อยู่ด้านบน
2. การตวัดเส้นไปยังจุดที่ 5 ตามเส้นประสีเหลือง มักจะเห็นบ่อยและเป็นที่นิยม ดังตัวอย่าง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


73

ตัวเชิงหรือหาง ᨷ
7

1
6
2
4
5
3

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นเขียนหัวจากจุดที่ 1 (หัวแบนๆ ไม่ต้องใหญ่มาก) แล้วลากลงมายังจุดที่ 2 เฉียงลง
มาจุดที่ 3 กระดกขึ้นไปจุดที่ 4 แล้วเฉียงลงมายังจุดที่ 5 ลากต่อไปเฉียง 45 องศา ไปยังจุดที่ 6
จากนั้นขีดตรงขึ้นไปยังเส้นบรรทัดด้านบนก่อนที่จะงอมาด้านหน้าเล็กน้อยในจุดที่ 7 แล้วตวัด
เก็บหางลงมาเหมือนกับตัวที่เป็นหางเสียบอื่นๆ

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหัว จุดที่ 1 ไม่ต้องลงมาต่ำจากเส้นฐานมากนัก
2. ส่วนหยักตรงกลาง ในจุดที่ 4 จะกระดกขึ้นมาพอประมาณและชัดเจน
3. จุดที่ 3 , 4 และ 5 จะเป็นการหยักแบบคลื่น

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


74

ตัวเชิงหรือหาง ᨾ
7

2
3

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นจากจุดที่ 1 ลากลงมาแล้วม้วนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเป็นหัวหรือบ่วงในจุดที่ 2 จาก
นั้นลากไปทางซ้ายพร้อมกับโค้งลงมายังจุดที่ 3 แล้วลากโค้งลงหักไปทางขวามายังจุดต่ำสุดใน
จุดที่ 4 ลากต่อไปอีกกระดกขึ้นเล็กน้อยสิ้นสุดในจุดที่ 5

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหัว จุดที่ 1 จะค่อนไปทางด้านท้ายของพยัญชนะที่อยู่ด้านบน จะค่อนไปมากหรือ
น้อยแล้วแต่ความเหมาะสม
2. ถ้าจุดที่ 1 หรือจุดที่ 4 เป็นการแบ่งครึ่งตรงกลาง ส่วนที่มาด้านซ้ายจุดที่ 3 และส่วนที่ไป
ด้านขวาจุดที่ 5 จะมีความกว้างพอกัน
3. ส่วนปลายในจุดที่ 5 สามารถลากกระดกขึ้นไปอีกได้ (ตามเส้นประสีเหลือง) แต่ไม่ควร
เกินความสูงครึ่งหนึ่งของตัวมันเอง (ไม่ควรเลยขึ้นไปบนเส้นประสีแดง)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


75

ตัวเชิงหรือหาง ᨿ
5

2 4

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นเขียนหัวจากจุดที่ 1 (หัวแบนๆ ไม่ต้องใหญ่มาก) แล้วลากลงมายังจุดที่ 2 เฉียงลง
มาต่ำสุดถึงจุดที่ 3 แล้วลากต่อไปเฉียง 45 องศา ไปยังจุดที่ 4 จากนั้นขีดตรงขึ้นไปยังเส้น
บรรทัดด้านบนก่อนที่จะงอมาด้านหน้าเล็กน้อยในจุดที่ 5 แล้วตวัดเก็บหางลงมาเหมือนกับตัวที่
เป็นหางเสียบอื่นๆ

ข้อสังเกต :
1. หางตัว ᨿ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งมาจากห้องที่สองของตัวมันเอง แล้วทำการเสียบขึ้นด้าน
บนแบบตัวหางเสียบอื่นๆ (สังเกตตามกรอบเส้นประสีเขียว)
2. ส่วนหัว จุดที่ 1 ไม่ต้องลงมาต่ำจากเส้นฐานมากนัก

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


76

ตัวเชิงหรือหาง ᩋ

1 4

2 5

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นเขียนหัวจากจุดที่ 1 (หัวแบนๆ ไม่ต้องใหญ่มาก) แล้วลากลงมายังจุดที่ 2 เฉียงลง
มาต่ำสุดถึงจุดที่ 3 แล้วลากต่อไปเฉียง 45 องศา ไปยังจุดที่ 4 จากนั้นหักลงเล็กน้อยก่อนที่จะ
ลากยาวไปยังจุดที่ 5

ข้อสังเกต :
1. ลักษณะหางเหมือนกับเอาส่วนหลังของตัว ᩋ มาหงายอยู่ด้านล่าง (สังเกตตามกรอบเส้น
ประสีเขียว)
2. อาจจะแบ่งเป็นสองห้อง (สังเกตตามเส้นประสีเหลือง) โดยห้องที่ 2 จะมีความยาวเท่ากับ
หรือมากกว่าห้องที่ 1 เสมอ
3. จุดที่ 4 จะอยู่เท่ากับหัวจุดที่ 1 หรือต่ำกว่าเล็กน้อยก็ได้
4. จากจุดที่ 4 ไปหาจุดที่ 5 จะมีความโค้งมากหรือน้อยให้พิจารณาตามความเหมาะสม แต่
จะไม่โค้งมากกว่าจุดที่ 3

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


77

ไม้ก๋อย ᩬᩭ
6

1
4
2

ไม้ก๋อย ᩬ ᩭ คือการผสมระหว่างหาง ᩋ กับหาง ᨿ ซึ่งในส่วนของหาง ᨿ จะมีหางยาวขึ้น


ไปแตกต่างจากหาง ᨿ ธรรมดา

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นจากจุดที่ 1 (ไม่ต้องสร้างหัวก็ได้) แล้วลากลงมายังจุดที่ 2 เฉียงลงมาต่ำสุดถึงจุดที่
3 แล้วลากต่อไปเฉียง 45 องศา ไปยังจุดที่ 4 จากนั้นขีดตรงขึ้นไปยังเส้นบรรทัดด้านบนในจุดที่
5 แล้วโค้งไปด้านบนทางขวาสิ้นสุดในจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. หาง ᨿ แบบไม้ก๋อย จะมีส่วนด้านล่างเล็กกว่าหาง ᨿ ธรรมดา
2. ส่วนล่างจุดที่ 2 , 3 และ 4 จะขนานกับหาง ᩋ ที่อยู่ด้านล่าง

ในบางตำราจะไม่มีไม้ก๋อย จะใช้หาง ᩋ ผสมหาง ᨿ แบบธรรมดา


ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้หาง ᨿ แบบไม้ก๋อยน้ีในที่อื่นๆ นอกจากต้องคู่กับหาง ᩋ เพื่อเป็นไม้ ᩬᩭ
โดยเฉพาะเท่านั้น

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


78

ไม้ก๋วย ᩠ᩅ᩠ᨿ
5 5

4 4
2 2
1

3 3

ไม้ก๋วย คือ การผสมระหว่างหาง ᩅ กับหาง ᨿ ซึ่งหางทั้งสองนี้จะติดกันเหมือนกับรวม


ร่างเป็นตัวเดียว

วิธีการลากเส้น :
สร้างหาง ᩅ ก่อนโดยการเขียนวงกลม แล้วเขียนหาง ᨿ ให้ติดกับหาง ᩅ ไปตามลำดับ
หมายเลข (รูปด้านซ้ายเส้นประสีขาว)
หรือถ้าไม่อยากเขียนแบบยกมือสองขั้นตอนก็สามารถเขียนแบบ รูปด้านขวามือเส้นประ
สีเหลืองได้ โดยเริ่มที่จุดที่ 1 วนตามเข็มนาฬิกาต่อเนื่องไปได้เลย

ข้อสังเกต :
1. จุดต่ำสุดของหาง ᨿ จะอยู่บริเวณกึ่งกลางของหาง ᩅ สังเกตจากเส้นประสีเขียว

ในบางตำราจะเขียนหาง ᩅ และหาง ᨿ แยกกันก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


79

หาง ᨶ ผสมหาง ᩋ

จะได้ - ᩠ᨶᩬ

เขียนหาง ᨶ ก่อน (เส้นประสีขาว) จากนั้นค่อยเขียนหาง ᩋ ตามทีหลัง (เส้นประสีเหลือง)


โดยสามารถให้ส่วนปลายของหาง ᩋ ตัดกับส่วนกลางลำตัวของหาง ᨶ

หาง ᨾ ผสมหาง ᩋ

จะได้ - ᩠ᨾᩬ

เขียนหาง ᨾ ก่อน (เส้นประสีขาว) โดยเขียนใหญ่กว่าปกตินิดหน่อยเพื่อจะได้ใส่หาง ᩋ


ไว้ด้านใน จากนั้นค่อยเขียนหาง ᩋ (เส้นประสีเหลือง) ให้อยู่ในส่วนโค้งด้านในของหาง ᨾ
โดยที่แต่ละเส้นจะไม่ซ้อนทับกัน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


80

สระ
สระในอักษรธรรมล้านนาจะประกอบด้วย สระลอย และ สระจม และยังแบ่งได้เป็น สระ
เดี่ยวและสระผสม ในที่นี้จะอธิบายการเขียนสระเดี่ยวเท่านั้น ส่วนสระผสมก็คือการนำสระเดี่ยว
ไปผสมกัน ซึ่งท่านสามารถนำไปผสมเอาเองได้
1. สระลอย ประกอบด้วย ᩋ ᩋᩣ ᩍ ᩎ ᩏ ᩐ ᩑ ᩒ
1. ᩋ ได้อธิบายไว้ในพยัญชนะไปแล้ว
2. ᩋᩣ คือการผสม ᩋ และ ᩣ เข้าด้วยกัน (สามารถดูการเขียน ᩣ เพิ่มเติมแล้วเอามาผสม
เองได้)
3. ᩒ คือการผสม ᩰ และ ᩋ เข้าด้วยกัน *บางครั้งก็จะเห็น ᩕᩋ ᩕ และ ᩋ ผสมกันก็มี
(สามารถดูการเขียน ᩰ หรือ ᩕ เพิ่มเติมแล้วเอามาผสมเองได้)
4. จะอธิบายเพิ่มเติมเฉพาะ ᩍ ᩎ ᩏ ᩐ ᩑ เท่านั้น
2. สระจม (เฉพาะที่เป็นสระเดี่ยว)
-ᩡ -ᩣ -ᩤ - ᩥ - ᩦ - ᩧ - ᩨ -ᩩ -ᩪ ᩮ- ᩯ- ᩰ- ᩱ-

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


81

สระลอย


3 5
4
6

2 1
7

8
9
10

11

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3 - 4:3


วิธีการลากเส้น :
ส่วนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วลากไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึง
จุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากหยักลงจุดที่ 4 (ลากจากด้านบนลงมาประมาณ 20%)
จากนั้นเฉียงขั้นไปยังจุดที่ 5 แล้วก็เฉียงขวาลงไปจุดที่ 6 จากนั้นเฉียงซ้ายมาถึงจุดที่ 7 แล้วเก็บ
หางตวัดขนานไปกับเส้นแม่ถึงประมาณจุดที่ 6 เหมือนเดิม * จะเหมือนกับตัว ᨻ แต่จะมีขนาด
เล็กกว่า
ส่วนที่ 2 เส้นประสีเหลือง เริ่มต้นจุดที่ 8 โค้งหมุนตามเข็มนาฬิกาไปถึงจุดที่ 9 จากนั้นขีด
โค้งไปด้านขวาไปยังจุดที่ 10 และเฉียงลงมาทางด้านซ้ายสิ้นสุดในจุดที่ 11

ข้อสังเกต :
1. ส่วนที่ 1 จะเล็กกว่าส่วนที่ 2 เล็กน้อย
2. ส่วนที่ 2 จะมีส่วนคล้ายกับหาง ᨦ และหาง ᨶ ผสมกัน ในบางตำราก็ใช้หาง ᨦ หรือหาง
ᨶ แทนก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


82

1
3

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3 - 4:3 + 1:1


วิธีการลากเส้น :
ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 มีวิธีการเขียนเหมือนกับสระ ᩍ
ส่วนที่ 3 ตามเส้นประสีเขียว เริ่มจากจุดที่ 1 (เชื่อมจากส่วนกลางของส่วนที่ 2 เส้นประสี
เหลือง) โค้งลงมายังจุดที่ 2 โค้งขั้นไปยังจุดที่ 3 จากนั้นขีดตรงขึ้นไปยังจุดที่ 4 โค้งซ้ายเล็กน้อย
ไปยังจุดที่ 5 แล้วลากเส้นโค้งต่อไปสิ้นสุดในจุดที่ 6
หรือเมื่อมาถึงจุดที่ 4 แล้วตวัดเก็บหางลงมาตามเส้นประสีแดงก็ได้

ข้อสังเกต :
1. ส่วนที่ 3 จะมีลักษณะคล้ายกับหาง ᨿ ( ᩠ᨿ ) หรือหาง ᨿ ในไม้ก๋อย ᩬᩭ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


83


2 4

3
1
5
7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือ
ไม่ก็ได้) แล้วลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุด
ที่ 4 ลากต่อลงด้านล่างโค้งขึ้นเล็กน้อยไปถึงจุดที่ 5 แล้วตวัดเก็บหางขนานไปถึงจุดที่ 6
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจากจุดที่ 7 (หรือมาถึงจุดที่ 5 แล้วไม่เก็บหางก็เขียนต่อไปได้เลย) ซึ่งต่อ
กับจุดที่ 5 ขีดลงมาด้านล่างพร้อมโค้งเล็กน้อยถึงจุดที่ 8 แล้วโค้งขึ้นเล็กน้อยไปถึงจุดที่ 9

ข้อสังเกต :
1. มีลักษณะคล้ายกับส่วนหน้าของตัว ᨬ
2. ส่วนที่ห้อยลงมา (เส้นประสีเหลือง) มีข้อสังเกต คือ ความสูงที่แนะนำประมาณเท่าๆ กับ
ส่วนหลัก (สังเกตความสูงจากเส้นประสีเขียว)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


84

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
ลากเส้นเหมือนกับสระลอย ᩏ ตามเส้นประสีขาวก่อน และจะมีเพิ่มเส้นด้านบนคล้าย
หลังคา โดยหลังคาเริ่มจากจุดที่ 1 ไปหาจุดที่ 2 (เส้นประสีเหลือง)
ความสูงของหลังคาพอประมาณไม่สูงหรือต่ำเกินไป ความสูงที่แนะนำคือประมาณครึ่ง
บรรทัด (ดูตามเส้นประลูกศรสีเขียว) หรือตามความเหมาะสมของแต่ละคน
ส่วนของหลังคาด้านบนมีหลายรูปแบบ มีรูปภาพเพิ่มเติมไว้ในภาคผนวก

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


85

8
1
3

4 5

6
7 12

2
9 11

10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มจากจุดที่ 1 ลากตรงลงมายังจุดที่ 2
ขั้นตอนที่ 2 เส้นประสีเหลือง เริ่มจากจุดที่ 3 เฉียงและหยักไปตามจุดที่ 4 , 5 , 6 และ 7
จากนั้นโค้งทวนเข็มนาฬิกาขึ้นไปยังจุดที่ 8 เพื่อเชื่อมต่อกับจุดที่ 1
ขั้นตอนที่ 3 เส้นประสีแดง เริ่มจากจุดที่ 9 ซึ่งต่อกับจุดที่ 2 ลากโค้งลงมายังจุดที่ 10 จาก
นั้นโค้งขึ้นไปด้านบนถึงจุดที่ 11 หักซ้ายนิดหน่อยไปยังจุดที่ 12 แล้วตวัดกลับเก็บหางลงมายัง
จุดที่ 11 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. ขั้นตอนที่ 1 อาจจะเฉียงได้เล็กน้อย
2. ขั้นตอนที่ 2 มีลักษณะคล้ายกับตัว ᨧ
3. ขั้นตอนที่ 3 จะกว้างกว่าขั้นตอนที่ 2 อาจจะม้วนเข้ามาโดยไม่เก็บหางก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


86

สระจม (เฉพาะที่เป็นสระเดี่ยว)

สระ ᩡ

วิธีการลากเส้น :
เริ่มจากการขมวดหัวแล้วโค้งให้หางชี้ลงตามลูกศร

ข้อสังเกต :
1. มีลักษณะคล้ายกับ สระอะ ในภาษาไทย แต่ตัวนี้จะคว่ำลง
2. บางลายมืออาจจะมีแบบหงายเหมือนกับ สระอะ ในภาษาไทย
3. การเขียนให้เขียนตัวที่อยู่ด้านบนก่อนแล้วจึงเขียนตัวที่อยู่ด้านล่างตาม
4. ตัวนี้อัตราส่วนประมาณ 2:3 หรือให้กะเอาตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


87

สระ ᩣ , ᩤ

1
2

4
1
3

4 5

ไม้ก๋าน้อย ไม้ก๋าหลวง

ไม้ก๋า แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ไม้ก๋าน้อย ᩣ และ ไม้ก๋าหลวง ᩤ อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1

วิธีการลากเส้น ไม้กาน้อย ᩣ :
เริ่มจากจุดที่ 1 โค้งไปตามจุดที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ จากจุดที่ 4 ก็ตวัดเก็บหางมายังจุด
ที่ 3 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 4 จะอยู่แนวเดียวกับจุดที่ 1 หรือไม่ก็ได้ ดูจากเส้นประสีเขียว

วิธีการลากเส้น ไม้กาหลวง ᩤ :
เริ่มจากจุดที่ 1 โค้งไปตามจุดที่ 2 , 3 จากนั้นลากตรงลงมายังจุดที่ 4 แล้วเฉียงลงทาง
ซ้ายมายังจุดที่ 5 แล้วตวัดเก็บหางมายังจุดที่ 4 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. ความสูงด้านบนจะพอๆ กันกับด้านล่าง (สังเกตเส้นประสีม่วง)
2. ส่วนด้านบนจะอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของอักษรตัวด้านหน้า (สังเกตเส้นประสีเหลือง)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


88

สระ -ᩥ
3

1
2
4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มจากจุดที่ 1 โค้งตามเข็มนาฬิกาไปยังจุดที่ 2 , 3 และ 4 พอถึงจุดที่ 4 ก็ปล่อยได้เลย
โดยไม่ต้องเก็บหาง

ข้อสังเกต :
1. หัวในจุดที่ 1 ส่วนมากจะไม่ติดกับจุดที่ 2
2. จะมีระดับความสูงที่พอๆ กับอักษรที่อยู่ด้านล่าง สังเกตจากเส้นประสีเขียว (ไม่เกี่ยวกับ
ช่องไฟระหว่างตัวอักษร)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


89

สระ -ᩦ
3 3
5

1 1 4
2 2
4
6 5

แบบที่ 1 แบบที่ 2

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
ไม้กี๋ หรือ สระ - ᩦ มีวิธีการเขียน 2 แบบหลักๆ ที่มักพบเห็นได้บ่อย

วิธีการลากเส้น แบบที่ 1 :
ส่วนหลัก (จุดที่ 1 - จุดที่ 4) เหมือนกับการเขียนสระ - ᩥ จะเพิ่มเติมคือเส้นด้านข้างในจุดที่
5 ไปหาจุดที่ 6 โดยให้เขียนโค้งขนานไปกับส่วนหลัก

วิธีการลากเส้น แบบที่ 2 :
เริ่มจากจุดที่ 1 โค้งตามเข็มนาฬิกาไปยังจุดที่ 2 , 3 จากจุดที่ 3 โค้งต่อไปหักลงมาพอถึง
ประมาณกึ่งกลางลำตัว ก็หักเข้ามายังจุดที่ 4 แล้วหักโค้งลงมายังจุดที่ 5

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 4 สามารถอยู่ต่ำกว่าในรูปตัวอย่างได้เล็กน้อย
2. จุดที่ 4 มีลักษณะแหลมๆ และไม่ควรทำเป็นบ่วง
* ควรเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งทั้งระบบ ไม่ควรใช้ผสมกันเพราะจะทำให้คนอ่านสับสน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


90

สระ -ᩧ
3 3

1 1
5
2 2

4 4

แบบที่ 1 แบบที่ 2

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
ไม้กึ หรือ สระ - ᩧ มีวิธีการเขียน 2 แบบหลักๆ ที่มักพบเห็นได้บ่อย

วิธีการลากเส้น แบบที่ 1 :
ส่วนหลัก (จุดที่ 1 - จุดที่ 4) เหมือนกับการเขียนสระ - ᩥ จะเพิ่มเติมคือการขมวดหัวในจุด
ที่ 5 แล้วมีหางเล็กน้อย (จะค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อยมีความโค้งขนานกับเส้นด้านหลัง)

วิธีการลากเส้น แบบที่ 2 :
เหมือนกับการเขียนสระ - ᩥ แต่จะทำบ่วงในจุดที่ 4 ให้เห็นรูพอประมาณ

* ควรเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งทั้งระบบ ไม่ควรใช้ผสมกันเพราะจะทำให้คนอ่านสับสน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


91

สระ -ᩨ
6
3

1
2 5

วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 โค้งตามเข็มนาฬิกาไปยังจุดที่ 2 , 3 และ 4 พอถึงจุดที่ 4 ก็
ปล่อยได้เลยโดยไม่ต้องเก็บหาง (เหมือนสระ - ᩥ)
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มขมวดหัวตามเข็มนาฬิกาในจุดที่ 5 แล้วลากเฉียงขึ้นไปทางขวาถึงจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. จุดตัดของทั้งสองเส้นจะอยู่ประมาณ 45 องศา
2. จุดที่ 5 ไปหาจุดที่ 6 ให้พิจารณาความยาวตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


92

สระ -ᩩ

2 3

วิธีการลากเส้น :
เริ่มจากจุดที่ 1 ลากตรงลงมาถึงจุดที่ 2 แล้วหักขวาทันทีแล้วโค้งเล็กน้อยไปยังจุดที่ 3

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 1 จะอยู่ด้านล่างพยัญชนะและจะค่อนไปทางด้านท้ายของพยัญชนะ
2. จุดที่ 2 - จุดที่ 3 จะมีความยาวเป็น 2 เท่าของจุดที่ 1- จุดที่ 2
3. จุดที่ 2 - จุดที่ 3 อาจจะเป็นเส้นตรงก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


93

สระ -ᩪ

แบบที่ 1 แบบที่ 2

1 3 1

4 5

2 4 5 2 3

ไม้กู๋ หรือ สระ - ᩪ มีวิธีการเขียน 2 แบบหลักๆ ที่มักพบเห็นได้บ่อย

วิธีการลากเส้น แบบที่ 1 :
จะมีสองขั้นตอนคือ ลากจากจุดที่ 1 ตรงลงมายังจุดที่ 2 จากนั้นก็ลากจุดที่ 3 , 4 และ 5
เหมือนกับสระ -ᩩ โดยให้จุดที่ 1 - จุดที่ 2 ขนานกับจุดที่ 3 - จุดที่ 4

ข้อสังเกตแบบที่ 1 :
1. จุดที่ 1 จะอยู่ด้านล่างพยัญชนะและจะค่อนไปทางด้านท้ายของพยัญชนะ
2. จุดที่ 1 - จุดที่ 2 จะอยู่ด้านซ้ายหรือขวาของจุดที่ 3- จุดที่ 4 ก็ได้ (นิยมอยู่ด้านซ้ายเหมือน
กับตัวอย่างมากกว่า)

วิธีการลากเส้น แบบที่ 2 :
จะมีสองขั้นตอนคือ จุดที่ 1 , 2 และ 3 ลากเส้นเหมือนกับสระ -ᩩ จากนั้นก็ลากจากจุดที่ 4 ไป
หาจุดที่ 5 ให้ขนานกับจุดที่ 2 - จุดที่ 3

* ควรเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งทั้งระบบ ไม่ควรใช้ผสมกันเพราะจะทำให้คนอ่านสับสน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


94

สระ ᩮ-
3

2 1

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 2.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มจากขมวดหัวในจุดที่ 1 แล้วโค้งตามเข็มนาฬิกาถึงจุดที่ 2 โค้งต่อไปยังจุดสูงสุดใน
จุดที่ 3 จากนั้นเฉียง 45 องศา ลงมายังจุดที่ 4

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 4 จะเลยออกมาทางด้านขวาจากจุดที่ 1 ที่เป็นหัวเสมอ (สังเกตเส้นประสีเขียว)
2. จุดที่ 4 ไม่ควรลากลงมาเกินครึ่งหนึ่ง (ไม่ควรเกินเส้นประสีเหลืองลงมา)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


95

สระ ᩯ-

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
สระแอ ᩯ- ก็คือสระเอ ᩮ- 2 ตัวคู่กัน

วิธีการลากเส้น :
การลากเส้นก็เหมือนกับสระ ᩮ- 2 ตัวโดยเขียนตัวด้านซ้ายก่อนแล้วเขียนอีกตัวหนึ่งทาง
ด้านขวาในลำดับถัดไป

ข้อสังเกต :
1. ตัวที่ 1 และตัวที่ 2 จะติดกันหรือจะห่างกันควรพิจารณาให้เหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


96

สระ ᩰ-

7
5 6
4
5
3 1
4

2 3
1
2

แบบที่ 1 แบบที่ 2

ไม้โก๋ หรือ สระ ᩰ- มีวิธีลากเส้น 2 แบบหลักๆ ที่มักพบเห็นได้บ่อย

วิธีการลากเส้น แบบที่ 1 :
เริ่มด้วยการขมวดหัวในจุดที่ 1 แล้วลากตามเข็มนาฬิกาโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 2 และจุดที่ 3
ตามลำดับ จากนั้นหักซ้ายขึ้นไปยังจุดที่ 4 แล้วหักขวาโค้งไปสิ้นสุดยังจุดที่ 5
อาจจะเห็นจากจุดที่ 1 ขมวดหัวเสร็จแล้วขีดตรงขึ้นไปก่อนที่จะโค้งไปหาจุดที่ 3 (ตามเส้น
ประสีเหลือง) ก็ได้

วิธีการลากเส้น แบบที่ 2 :
จากจุดที่ 1 ขีดตรงลงมายังจุดที่ 2 แล้วโค้งม้วนมาทำหัวในจุดที่ 3 (เส้นประสีขาว)
แล้วไปเริ่มใหม่ในจุดที่ 4 ซึ่งเชื่อมต่อกับจุดที่ 1 เฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 5 จากนั้นหักซ้ายขึ้นไปยังจุด
ที่ 6 แล้วหักขวาโค้งไปสิ้นสุดยังจุดที่ 7 (เส้นประสีเขียว)

* ส่วนโค้งด้านบนในตัวอย่างอาจจะไม่เท่ากันเพียงแสดงเป็นตัวอย่างให้เห็นเท่านั้น

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


97

สระ ᩱ-
4 6

5 3

5
4

3
2 1 2

แบบที่ 1 แบบที่ 2

ไม้ไก๋ หรือ สระ ᩱ- มีวิธีลากเส้น 2 แบบหลักๆ ที่มักพบเห็นได้บ่อย

วิธีการลากเส้น แบบที่ 1 :
เริ่มด้วยการขมวดหัวในจุดที่ 1 แล้วลากตามเข็มนาฬิกาโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 2 จากนั้นเฉียง
ขึ้นไป 45 องศาถึงจุดที่ 3 จากโค้งเฉียงซ้ายไปยังจุดที่ 4 แล้วหักลงมาสิ้นสุดยังจุดที่ 5
อาจจะเห็นจากจุดที่ 1 ขมวดหัวเสร็จแล้วขีดตรงขึ้นไปก่อนพอใกล้ถึงแนวเส้นด้านบนก็
โค้งเฉียง 45 องศาไปหาจุดที่ 3 (ตามเส้นประสีเหลือง) ก็ได้

วิธีการลากเส้น แบบที่ 2 :
จากจุดที่ 1 ขีดตรงลงมายังจุดที่ 2 แล้วโค้งม้วนมาทำหัวในจุดที่ 3 (เส้นประสีขาว)
แล้วไปเริ่มใหม่ในจุดที่ 4 ซึ่งเชื่อมต่อกับจุดที่ 1 เฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 5 จากนั้นก็หักเฉียงซ้าย 45
องศาขึ้นไปสิ้นสุดในจุดที่ 6 (เส้นประสีเขียว)

* ส่วนบนกับส่วนล่างมีความสูงพอๆ กัน สังเกตจากเส้นประสีน้ำเงิน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


98

สัญลักษณ์และเครื่องหมาย
สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ รวมไปถึงวรรณยุกต์ มักจะอยู่บนพยัญชนะ มีขนาดเล็ก
กว่าพยัญชนะ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. ปฏิย๊อกหรือไม้ก๋ง - ᩫ
2. นิคหิต - ᩴ
3. ไม้เก๋าห่อหนึ้ง - ᩳ
4. ระห้าม -᩼
5. ไม้ซ้ำ -᩻
6. ไม้เหยาะ - ᩵
7. ไม้ซัด - ᩢ
8. ไม้ขอช้าง -᩶

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


99

ปฏิย๊อกหรือไม้ก๋ง -ᩫ

1 2

ปฏิย๊อกหรือไม้ก๋ง - ᩫ จะอยู่เหนือพยัญชนะมีลักษณะคล้ายกับสระ -ᩡ (เอามาส่วนเดียว)


จะมีขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป และจะเอียงไม่เกิน 45 องศา จะไม่ตั้งตรงเด็ดขาด

นิคหิต -ᩴ
1

นิคหิตหรือไม้กั๋งมน -ᩴ มีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆ จะอยู่เหนือพยัญชนะและค่อนไปทาง


ท้ายของพยัญชนะเล็กน้อย (ยกเว้นใช้เขียนคำท้องถิ่นหรือเป็นสระประสม มักจะอยู่ตรงกลาง)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


100

ไม้เก๋าห่อหนึ้ง -ᩳ
2

3
1

ไม้เก๋าห่อหนึ้ง - ᩳ จะอยู่เหนือพยัญชนะมีลักษณะคล้ายหมวกทรงแหลมแบบจีน โดยตรง


ยอดบนสุด (จุดที่ 2) จะทำให้มีรูหรือไม่มีก็ได้

ระห้าม -᩼
3

2 4

ระห้าม - ᩼ มีลักษณะเหมือนตัว ᩁ แต่มีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และจะอยู่บนพยัญชนะ


ค่อนไปทางด้านท้าย

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


101

ไม้ซ้ำ -᩻

ไม้ซ้ำ - ᩻ มีลักษณะเหมือนเลขสองในธรรม ᪒ แต่มีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และจะอยู่บน


พยัญชนะค่อนไปทางด้านท้าย

ไม้เหยาะ -᩵

ไม้เหยาะ - ᩵ ทำหน้าที่เป็นวรรณยุกต์เอก มีลักษณะขีดตรงลงมา อยู่ด้านบนตรงกลาง


พยัญชนะ (ในจุดที่ 1 อาจจะทำหัวก็ได้แต่ไม่ควรทำหัวให้ใหญ่เกินไป)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


102

ไม้ซัด -ᩢ
2

ไม้ซัด - ᩢ ทำหน้าที่แทนไม้หันอากาศหรือแทนวรรณยุกต์โทหรือทำหน้าที่อีกหลายอย่าง
มีลักษณะขีดเฉียงขึ้นไป 30 - 45 องศา จะเริ่มต้นจะอยู่ตรงกลางด้านบนพยัญชนะ

ไม้ขอช้าง -᩶
3

ไม้ขอช้าง - ᩶ ทำหน้าที่เป็นวรรณยุกต์โท มีลักษณะเช่นเดียวกับไม้ซัด - ᩢ เพียงแต่จะเพิ่ม


ขีดเล็กๆ ตรงจุดเริ่มต้น โดยจะให้โค้งเหมือนตัวอย่าง หรือขีดตรงก็ได้ (เส้นประสีเขียว) ก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


103

ตัวเลข
ตัวเลขในอักษรธรรมล้านนาแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ ตัวเลขโหรา และตัวเลขในธรรม
1. ตัวเลขโหรา ตั้งแต่ ศูนย์ - เก้า คือ

᪀ ᪁᪂᪃᪄᪅᪆᪇᪈ ᪉
2. ตัวเลขในธรรม ตั้งแต่ ศูนย์ - เก้า คือ

᪐᪑᪒᪓᪔᪕ ᪖᪗᪘ ᪙

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


104

เลข ศูนย์ ᪀ (ใช้ได้ทั้งเลขโหราและเลขในธรรม)


1

เลข ศูนย์ ᪀ ทั้งเลขโหราและเลขในธรรมจะมีลักษณะเหมือนกัน คือ มีลักษณะเป็นวงกลม


แป้นมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของตัว วะ โดยจะเขียนอยู่ชิดกับเส้นบรรทัดบน

วิธีการลากเส้น :
เริ่มตั้งแต่จุดที่ 1 เขียนเป็นวงกลม โดยจะเขียนเวียนซ้ายหรือเวียนขวาหรือเริ่มตรงไหน
อย่างไรก็ได้แล้วแต่ความถนัดของใครของมัน

ข้อสังเกต :
1. จะเล็กกว่าพยัญชนะทั่วไปครึ่งหนึ่ง
2. บางตำราก็อาจจะเขียนใหญ่เท่าพยัญชนะได้ แต่จะมีความเป็นวงรีแป้นมากกว่า

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


105

เลขโหรา

หนึ่ง ᪁
2

1
3
4

วิธีการลากเส้น :
เริ่มขมวดหัวในจุดที่ 1 แล้วลากขึ้นไปยังจุดที่ 2 จากนั้นหักลงด้านขวาเล็กน้อยแล้วก็ลาก
ตรงลงมายังจุดที่ 3 แล้วหักซ้ายต่อไปยังจุดที่ 4 แล้วตวัดเก็บหางขนานเส้นเดิมมายังจุดที่ 3

ข้อสังเกต :
1. มีลักษณะคล้ายสระอา แต่จะมีอัตราส่วนที่เล็กกว่าคือประมาณ 1.5:3
2. ส่วนด้านขวาจุดที่ 2 - จุดที่ 3 อาจจะตรงหรือโค้งเล็กน้อยก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


106

สอง ᪂
2

วิธีการลากเส้น :
เริ่มขมวดหัวในจุดที่ 1 แล้วลากขึ้นไปยังจุดที่ 2 จากนั้นหักลงด้านขวาเล็กน้อยแล้วก็ลาก
ตรงลงมาเลยเส้นฐานเล็กน้อยถึงจุดที่ 3 แล้วหักซ้าย 45 องศา ลงมายังจุดที่ 4

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 3 - จุดที่ 4 ให้มีความยาวพอสมควรไม่ยาวน้อยไปหรือมากเกินไป

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


107

สาม ᪃
2

วิธีการลากเส้น :
เริ่มขมวดหัวในจุดที่ 1 แล้วลากขึ้นไปยังจุดที่ 2 จากนั้นโค้งวนมาเรื่อยๆ ถึงจุดที่ 3 แล้ว
หักลง 45 องศา มายังจุดที่ 4

สี่ ᪄
1

วิธีการลากเส้น :
เริ่มขมวดหัวในจุดที่ 1 แบบทวนเข็มนาฬิกาแล้วโค้งมายังจุดที่ 2 จากนั้นลากโค้งไปยัง
จุดที่ 3 แล้วลากตรงลงมาเลยแนวเส้นฐานนิดหน่อยมายังจุดที่ 4 แล้วหักซ้าย 45 องศา ลงมายัง
จุดที่ 5

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


108

ห้า ᪅
2 4

3
1

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แล้ว
ลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุดที่ 4 แล้วหัก
ลงด้านขวาเล็กน้อยแล้วก็ลากตรงลงมาเลยเส้นฐานเล็กน้อยถึงจุดที่ 5 แล้วหักซ้าย 45 องศา ลง
มายังจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. ลักษณะการหยักหัวจะไม่หยักลึกมากนัก และในจุดที่ 3 จะไม่หยักแหลมแต่จะเป็นหยัก
แบบคลื่นมากกว่า

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


109

หก ᪆

4 2

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แบบ
ทวนเข็มนาฬิกาแล้วลากโค้งลงมาถึงจุดที่ 2 จากนั้นหักซ้ายลงมายังจุดที่ 3 แล้วเฉียง 45 องศา
ถึงจุดที่ 4 จากนั้นลากตรงขึ้นมามาเลยเส้นบรรทัดเล็กน้อยถึงจุดที่ 5 แล้วหักโค้งไปทางขวาสิ้น
สุดในจุดที่ 6

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


110

เจ็ด ᪇
2 4

3
1

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แล้ว
ลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุดที่ 4 แล้วหัก
ลงด้านขวาเล็กน้อยแล้วก็ลากตรงลงมาเลยเส้นฐานเล็กน้อยถึงจุดที่ 5 แล้วหักขวาโค้งลงมายัง
จุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. การหยักหัวจะไม่หยักลึกมากนัก และในจุดที่ 3 จะไม่หยักแหลมแต่จะเป็นหยักแบบคลื่น
มากกว่า
2. ลักษณะสัณฐานคล้ายกับเลขห้า ᪅ ที่แตกต่างกันคือเลขห้า ᪅ หางจะไปทางด้านซ้าย ส่วน
เลขเจ็ด ᪇ หางจะไปทางด้านขวา

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


111

แปด ᪈
3

4
1
2

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (อาจจะให้หัวเป็นวงกลม) แล้วไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึง
จุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากลงมาถึงจุดที่ 4 จากนั้นลากลงมาจุดที่ 5 แล้วเก็บหาง
ตวัดขนานไปกับเส้นแม่ถึงประมาณจุดที่ 4 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. เลข 8 จะมีลักษณะคล้ายหรือเหมือนกับอักษร ᨣ เพราะฉะนั้นควรพิจารณาให้ดีว่าตัวไหน
คือเลข 8 ตัวไหนคืออักษร ᨣ วิธีสังเกตอย่างหนึ่งคือ ถ้าเป็นเลข 8 มักจะอยู่รวมกับเลข
อื่นๆ หรือจะอยู่ห่างจากอักษรตัวอื่นๆ เล็กน้อย
2. โดยส่วนมากเลข 8 จะมีอัตราส่วนที่แคบกว่าอักษร ᨣ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


112

เก้า ᪉
3

4 2

5 6

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แบบ
ตามเข็มนาฬิกาแล้วลากโค้งขึ้นไปถึงจุดที่ 2 จากนั้นหักซ้ายขึ้นไปยังจุดที่ 3 แล้วเฉียง 45 องศา
ถึงจุดที่ 4 จากนั้นลากตรงลงมามาเลยเส้นฐานเล็กน้อยถึงจุดที่ 5 แล้วหักโค้งไปทางขวาสิ้นสุด
ในจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. เลข 9 มีลักษณะเหมือนกับเลข 6 กลับด้านลงล่าง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


113

เลขในธรรม

หนึ่ง ᪑
3

1 4
2

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (อาจจะให้หัวเป็นวงกลม) แล้วไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึง
จุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากลงมาถึงจุดที่ 4 ขมวดเป็นบ่วง (ไม่ต้องใหญ่มากนัก)
แล้วลากต่อไปยังจุดที่ 5

ข้อสังเกต :
1. มีลักษณะคล้ายเลข 8 โหรา จะแตกต่างกันที่ มีการขมวดในจุดที่ 4 ไปยังจุดที่ 5 โดยไม่
ต้องเก็บหาง
2. จากจุดที่ 4 ทำเป็นบ่วงแล้วอาจจะลากลงมาตามเส้นสีเหลืองได้ตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


114

สอง ᪒

2
3

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (ไม่ต้องใหญ่มากนัก) แล้ววนตามเข็มนาฬิกาไปหยัก
ในจุดที่ 2 จากนั้นลากต่อไปยังจุดที่ 3 แล้วลากตรงขึ้นไปเลยเส้นบรรทัดเล็กน้อยถึงจุดที่ 4 จาก
นั้นโค้ง 45 องศา ไปสิ้นสุดยังจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. บางตำราอาจจะไม่ทำหยักใจจุดที่ 2 โดยสามารถทำหัวเป็นวงกลมได้ หัววงกลมไม่ต้อง
ใหญ่มากนัก

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


115

สาม ᪓

1 3
7

5
2 6

วิธีการลากเส้น :
ในช่วงแรกจากจุดที่ 1 - จุดที่ 7 มีวิธีการเขียนเหมือนกันอักษร ᩈ พอถึงจุดที่ 7 แล้วให้ขีด
ตรงขึ้นไปเลยเส้นบรรทัดเล็กน้อยถึงจุดที่ 8 จากนั้นขีดโค้งซ้ายขึ้นไป 45 องศาไปยังจุดที่ 9 แล้ว
ตวัดย้อนขนานไปกับเส้นเดิม ไปจบที่จุดที่ 7 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. หางที่ลากขนานลงมาอาจจะสิ้นสุดในตำแหน่งเส้นบรรทัดก็ได้ หรือจะเลยจุดที่ 7 ลงมา
ได้อีกนิดหน่อย ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


116

สี่ ᪔
7

1
3 4
6

5
8 9

วิธีการลากเส้น :
เริ่มด้วยการทำหัวในจุดที่ 1 (จะทำหัวเล็กกว่านี้ก็ได้) เมื่อทำหัวเสร็จแล้วก็ลากมายังจุดที่
2 แล้วก็หยักเข้าไปถึงจุดที่ 3 ลากออกมายังจุดที่ 4 จากนั้นโค้งลงมาด้านล่างซ้ายถึงจุดที่ 5
แล้วกระดกนิดหน่อยไปหยุดในจุดที่ 6 แล้วลากตรงขึ้นไปโค้งในจุดที่ 7 แล้วลากขนานลงมา
เลยเส้นฐานเล็กน้อยมายังจุดที่ 8 แล้วหักโค้งไปทางขวาสิ้นสุดในจุดที่ 9

ข้อสังเกต :
1. จากจุดที่ 1 - จุดที่ 6 จะมีวิธีเขียนเหมือนอักษร ᨴ
2. จุดที่ 7 , 8 และ 9 มีวิธีการลากเส้นเช่นเดียวกับส่วนท้ายของเลขเก้าโหรา ᪉

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


117

ห้า ᪕

11
11
10 10
1

7 7

2
3
1
1
3
4 4
6
6
5 5

8 แบบที่ 1 9 แบบที่ 2

เลขห้า ᪕ ในธรรม มีวิธีการเขียน 2 แบบหลักๆ ที่มักพบเห็นได้บ่อย

วิธีการลากเส้น แบบที่ 1 :
ขั้นตอนแรก จุดที่ 1 - จุดที่ 9 (เขียนเหมือนกับเลขสี่ ᪔ ในธรรม)
ขั้นตอนที่ 2 ต่อจากจุดที่ 7 ลากเฉียงขึ้นไปพร้อมทั้งทำเป็นบ่วงทวนเข็มนาฬิกาในจุดที่
10 เมื่อทำบ่วงเสร็จก็โค้งขึ้นไปสิ้นสุดยังจุดที่ 11 (เส้นประสีเขียว)

วิธีการลากเส้น แบบที่ 2 :
จุดที่ 1 - จุดที่ 7 เขียนเหมือนแบบแรก แต่พอถึงจุดที่ 7 ไม่ต้องเขียนลงมา ให้ขีดต่อขึ้นไป
เหมือนขั้นตอนที่ 2 ในแบบที่ 1 ได้เลยโดยไม่ต้องพักก็ได้

* ควรเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งทั้งระบบ ไม่ควรใช้ผสมกันเพราะจะทำให้คนอ่านสับสน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


118

หก ᪖

10

2
3
8
4
6
5 7

วิธีการลากเส้น :
ในช่วงแรกจากจุดที่ 1 - จุดที่ 8 มีวิธีการเขียนเหมือนกันอักษร ᨭ พอถึงจุดที่ 8 แล้วให้ขีด
ตรงขึ้นไปเลยเส้นบรรทัดเล็กน้อยถึงจุดที่ 9 จากนั้นขีดโค้งซ้ายขึ้นไป 45 องศาไปยังจุดที่ 10
แล้วตวัดย้อนขนานไปกับเส้นเดิม ไปจบที่จุดที่ 8 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. หางที่ลากขนานลงมาอาจจะสิ้นสุดในตำแหน่งเส้นบรรทัดก็ได้ หรือจะเลยจุดที่ 8 ลงมา
ได้อีกนิดหน่อย ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


119

เจ็ด ᪗

1 8

2
3

4
6

5 7

วิธีการลากเส้น :
จุดที่ 1 - จุดที่ 8 มีวิธีการเขียนเหมือนกันอักษร ᨭ แต่จะมีการตวัดเก็บหางแล้วลากขนาน
เส้นเดิมและยาวลงมาถึงจุดที่ 9

ข้อสังเกต :
1. ในบางลายมืออาจจะไม่ได้ลากหางยาวลงมา ซึ่งจะเขียนเหมือนอักษร ᨭ ก็มี

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


120

แปด ᪘
2 4

5
3
1
8

7
6

วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แล้ว
ลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุดที่ 4 หักลงมา
เล็กน้อยถึงจุดที่ 5 จากนั้นก็ลากตรงลงมาผ่านเส้นครึ่งบรรทัดเล็กน้อยแล้วทำเป็นบ่วงโดยวน
ทวนเข็มนาฬิกาในจุดที่ 6 แล้วลากโค้งลงไปในจุดที่ 7 หักให้แหลมโค้งไปตัดเส้นเดิมในจุดที่ 8
จากนั้นโค้งลงมาตามเส้นจนสิ้นสุดในจุดที่ 9

ข้อสังเกต :
1. ในบางลายมือ พอถึงจุดที่ 8 อาจจะไม่โค้งลงด้านล่าง แต่จะทำเหมือนส่วนท้ายของ
อักษร ᩈ ก็ได้ (ตามเส้นประสีเหลือง) หรืออาจจะทำในส่วนท้ายเหมือนกับเลขสาม ᪓ ใน
ธรรม หรือเลขหก ᪖ ในธรรม ก็ได้
2. สิ่งสำคัญที่สุดของเลขแปดในธรรมก็คือในกรอบเส้นประสีเขียว จะต้องเขียนให้ชัดเจน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


121

เก้า ᪙
3
7

4
6
2 1

วิธีการลากเส้น :
จุดที่ 1 - จุดที่ 7 มีวิธีการเขียนเหมือนกันอักษร ᩃ แต่จะมีการตวัดเก็บหางแล้วลากขนาน
เส้นเดิมและยาวลงมาถึงจุดที่ 8

ข้อสังเกต :
1. ในบางลายมืออาจจะไม่ได้ลากหางยาวลงมา ซึ่งจะเขียนเหมือนอักษร ᩃ ก็มี

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


122

ภาคผนวก

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


123

ลักษณะหัวแบบต่างๆ

หัวที่เริ่มจากด้านล่างซ้าย วนแบบตามเข็มนาฬิกา เช่น หัวของ ᨠ ᨣ ᨤ ᨱ ᨻ ᩃ มีวิธี


การเขียนหลายแบบคือ

หัวที่มีลักษณะหยักด้านบน เช่น หัวของ ᩏ ᩐ ᨡ ᨬ ᨯ มีวิธีการเขียนหลายแบบคือ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


124

หัวที่เริ่มจากด้านบนซ้าย วนแบบตามเข็มนาฬิกา เช่น หัวของ ᨷ ᨾ ᨿ ᩉ มีวิธีการเขียน


หลายแบบคือ

หัวที่เริ่มจากด้านบนซ้าย วนแบบทวนเข็มนาฬิกาและมีหยักตรงกลาง เช่น หัวของ ᨭ ᨹ


ᨺ ᩀ มีวิธีการเขียนหลายแบบคือ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


125

ลักษณะการเก็บหางแบบต่างๆ

การเก็บหางจากด้านล่างขึ้นด้านบน เช่น การเก็บหางของ ᨠ ᨣ ᨤ ᨱ ᨲ ᨻ ᨼ ᨽ ᩉ มี


วิธีการเขียนหลายแบบคือ

การเก็บหางจากด้านบนลงด้านล่าง เช่น การเก็บหางของ ᨥ ᨬ ᨭ ᨰ ᨷ ᨾ ᨿ ᩃ ᩈ มี


วิธีการเขียนหลายแบบคือ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


126

การเก็บหางแบบหางเสียบขึ้น เช่น การเก็บหางของ ᩠ᨫ ᩠ᨬ ᩠ᩃ ᩠ᨷ ᩠ᨿ มีวิธีการเขียนหลาย


แบบคือ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


127

หลักการแบบขนานและการวางตำแหน่ง

ในการเขียนอักษรธรรมล้านนานั้นมีทั้งพยัญชนะ ตัวเชิงหรือหางที่อยู่ด้านล่าง สระที่อยู่


ด้านบน ด้านล่าง ด้านหน้า และด้านหลัง ดังนั้นการวางตำแหน่งเพื่อไม่ให้ซ้อนทับกันจนเกินไป
จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนให้อ่านง่ายและสวยงาม
1. พยัญชนะที่มีส่วนปลายเลยลงไปด้านล่าง เช่น ᨡ ᨦ ᨩ ᨯ ᨶ ᨾ ᩋ ถ้ามีตัวเชิงหรือหางอยู่
ด้านล่างมักจะทำปลายให้สั้นลง หรือทำปลายขนานไปกับตัวเชิง ดังตัวอย่างด้านล่าง

1. ᨡ มี ᩅ เป็นตัวเชิงซ้อนด้านล่าง ส่วนปลายของ ᨡ และตัวเชิง ᩅ จะมีลักษณะที่ขนาน


กัน
2. ᨯ มี ᨦ เป็นตัวเชิงซ้อนด้านล่าง ส่วนปลายของ ᨯ และส่วนปลายของตัวเชิง ᨦ จะ
ขนานกัน
3. ᩋ มีหาง ᨶ ( -᩠ᨶ ) อยู่ด้านล่าง ส่วนปลายของ ᩋ จะขนานไปกับหาง ᨶ
สิ่งที่ไม่ควรทำคือเขียนตัดกัน ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


128

ในบางกรณีถ้าเป็นหาง ᩋ ( -ᩬ ) หรือหางลักษณะแบบเสียบอยู่ด้านล่างก็สามารถตัดกันได้
ดังตัวอย่างด้านล่าง

2. อักษรที่มีปลายล้ำไปด้านบน เช่น ᨤ ᨪ ᨺ ᨼ ถ้ามีสระด้านบนจะทำให้ขนานกับสระ ดัง


ตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่าง ᨤ มี ( - ᩥ , - ᩦ) เขียนแบบขนานโดยที่เส้นไม่ทับกัน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


129

3. ตำแหน่งสระด้านบนที่น่าสนใจ และบางครั้งก็เป็นลักษณะแบบขนาน

1. ไม้กั๋งมนกับไม้เหยาะ -ᩴ᩵
2. ไม้ซัดกับไม้เหยาะ -ᩢ᩵
3. ไม้ซัดซ้อน -ᩢᩢ
4. ไม้ก๋งกับไม้ซัด - ᩫᩢ

5. สระอำ -ᩣᩴ
6. ไม้ก๋าหลวงกับไม้เหยาะ -ᩤ᩵
7. ไม้ก๋าหลวงกับไม้กั๋งมน -ᩤᩴ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


130

8. สระอีกับไม้เหยาะ - ᩦ᩵
9. สระอือกับไม้ซัด - ᩨ᩶

᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥᪥
ᨧᩢ᩠ᨷᩱᨧᩯᩁ᩠ᨦᩢᨷᩴ᩵ᩯᩉ᩠ᨶᩢᩁᩱᨧᨠᩣ ᨧᩢ᩠ᨷᩱᨧᩕᨣᩪᨷᩤᨷᩴ᩵ᩮᨻ᩠ᨦᩥ ᩱᨧᩕᨻᩉᩢ ᩠ᨶᩬ ᩭ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่ให้ท่านได้ศึกษาเท่านั้น ยังมีลายมือครูบาอาจารย์อีก


หลายท่าน ที่รอให้เราได้ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป
หนังสือเล่มนี้อาจจะไม่ถูกใจไปเสียทุกคน แต่ก็ขอขอบคุณที่อ่านจนจบ และขอให้หมั่น
ฝึกฝนคัดลายมือ เพื่อให้เป็นลายมือเอกลักษณ์ของตัวท่านเองด้วยนะครับ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ

You might also like