You are on page 1of 7

โคก-หนอง-นา

โดย

ด.ช.ธีทัต ปรีชา เลขที่19 ม.1/2


โคก-หนอง-นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตร
ทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา
โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่าง
เป็นระบบ

โคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบ


ดังนี้

1. โคก: พื้นที่สูง

เกิดจากการน าดินที่ขุดเพื่อท าบ่อน้ าหรือหนองน้ ามาท าเป็นเนินสูงจนเป็นโคก บนโคกให้ปลูกป่ า 3 อย่าง


ประโยชน์ 4 อย่าง โดยรากไม้ที่ปลูกจะสานกันหลายระดับ ท าหน้าที่เก็บกักน้ าไว้ในดิน ควรปลูกแฝกร่วมด้วย
เพื่อช่วย เก็บน้ าและป้ องกันการพังทลายของดิน รากไม้ต่างๆจะช่วย ซับน้ าไว้แบบ “หลุมขนมครกใต้ดิน” เมื่อ
ต้นไม้เจริญเติบโต ป่ ามีความสมบูรณ์ ป่ าบนโคกจะช่วยเก็บน้ าไว้ใต้ดิน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ต า
แหน่งของโคกควร อยู่ทางทิศตะวันตกเพื่อช่วยบังแสงอาทิตย์ยามบ่าย บริเวณ พื้นที่ของโคกจะใช้ประโยชน์
เป็น ที่อยู่อาศัย ปลูกผัก เลี้ยง สัตว์และกิจกรรมอื่นๆ ของเกษตรกร
– ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่ า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตาม
แนวทางพระราชดำริ
– ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจ
พอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือ
ข่าย
– ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

2. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ

หนอง เกิดจากการขุดบ่อกักเก็บน้ าเพื่อใช้ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์น้ าหรือปลูกพืชน้ า เพื่อใช้บริโภค ส่วนดิน


ที่ขุดหนองน้ าน าไปใช้ท าโคกได้ ต าแหน่งของหนองน้ าควร อยู่ทางทิศที่ลมร้อนผ่านเพื่อให้ลมเย็นลงก่อน
พัดเข้าสู่บ้าน หนองน้ าควรขุดให้ขอบและพื้นหนองน้ ามีความคดโค้ง เป็นร่องเป็นแนว มีความลึกหลายระดับ
และให้แดดส่องถึง เพื่อให้ปลาวางไข่ได้ดี มีการขุด “คลองไส้ไก่” เพื่อช่วย กระจายน้ าให้ทั่วพื้นที่ เพิ่มความชุ่ม
ชื้นในดินส่งผลดีต่อ การปลูกพืช สร้าง “ฝายชะลอน้ า”และ”หลุมขนมครก” เพื่อรับน้ าและชะลอน้ าที่ไหลมา
ดักตะกอนให้ไหลลง หนองน้ าน้อยลง ชะลอการสูญเสียแร่ธาตุและเป็นการ เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ าในพื้นที่ ปริ
มาณน้ าที่เก็บในหนองต้อง ค านวณให้เพียงพอต่อการใช้งานในพื้นที่และมีน้ าเหลือใช้ ในหน้าแล้งหรือฝนทิ้ง
ช่วง บริเวณพื้นที่ของหนองจะใช้ ประโยชน์เป็น แก้มลิงเก็บน้ าในหน้าฝนและแหล่งน้ าส าหรับ อุปโภค
บริโภคในหน้าแล้ง
– ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)
– ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตาม
พื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้
– ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ
น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
– พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่ม
การระบายน้ำยามน้ำหลาก

3. นา:

า ควรยกหัวคันนาให้สูงอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บน้ าไว้ในนาให้เท่ากับความสูงของคันนาและปั้น


คันนา กว้างๆ เพื่อปลูกไม้ผล ไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัวที่สามารถเก็บกินและขายสร้างรายได้ในทุกๆ วัน
จึงถูกเรียกเป็น “หัวคันนาทองค า” และควรปลูกแฝกเพื่อป้ องกันการพังทลายของคันนา คันนาถูกใช้เป็นเครื่อง
มือปรับระดับน้ าเข้านา ตามความสูงของต้นข้าว และยังสามารถใช้น้ าเพื่อควบคุมวัชพืชและแมลงตาม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปริมาณน้ าฝน ส่วนหนึ่งจะซึมลงดินเก็บเป็นน้ าใต้ดินช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ระบบ
นิเวศในดินต่อไป บริเวณพื้นที่ของนาจะใช้ ประโยชน์เป็น ที่ปลูกข้าว เลี้ยงปลาส าหรับก าจัดศัตรูของข้าวและ
เป็นอาหาร และปลูกพืชหมุนเวียนอื่นๆ ของ เกษตรกร
– พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้ นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืน
ชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสาร
เคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
– ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

โดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้มีการขับเคลื่อนโครงการ ตามแนวทาง “โคก หนอง


นา โมเดล” ทุกหมู่บ้าน โดยมี 6 รูปแบบ ดังภาพประกอบโดย กรมการพัฒนาชุมชน

You might also like