You are on page 1of 221

"มห

าวิท
ยาล
ัยสว
นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
เอกสารประกอบการเรียน
รายวิชาการวางแผนและการจัดนำเที่ยว

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
เพื่อ

พราวธีมา ศรีระทุ
วทม. (การวางแผนและการจัดการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)
ิต
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ
2565
"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว

เอกสารประกอบการเรียน
ยาล

การวางแผนและการจัดนาเทีย่ ว
าวิท

ผู้เรียบเรียง : อาจารย์พราวธีมา ศรีระทุ


"มห

พิมพ์ครั้งที่ 1 : จานวน 38 เล่ม มกราคม 2566

ออกแบบปก : ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์

พิมพ์ที่ : ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์
โทร : 0-2244-5081
(1)

คำนำ

เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาการวางแผนและการจัดนำเที่ยวนี้ ได้เรียบเรียงขึ้น


อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระรายวิชา ในหมวดวิชาเฉพาะบังคับของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้
เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนในการใช้ประกอบการสอนของอาจารย์ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจในเนื้อหา

"
่านั้น
เอกสารเล่ ม นี้ ได้ แ บ่ ง เนื้ อ หาในการเรี ย นการสอน ได้ แ ก่ องค์ ป ระกอบที่ ส ำคั ญ ของ
การวางแผนและการจั ด นำเที่ ย ว การวางแผนการจั ด นำเที่ ย ว ธุ ร กิ จ นำเที่ ย ว โครงสร้างการ

าเท
บริหารงานของธุรกิจนำเที่ยว ประเภทของการจัดนำเที่ยว กลยุทธ์การจัดนำเที่ยว การสำรวจเส้นทาง
การอ่านและเขียนแผนที่เส้นทาง การสำรวจเส้ น ทาง การอ่ า นและเขี ย นแผนที่ เ ส้ น ทาง การเขี ย น

ศึกษ
รายการนำเที่ ย ว การคิ ด ราคาขาย การตลาดและการผลิ ต สื่ อ เพื่ อ การโฆษณาประชาสั ม พั น ธ์
ความสำคัญระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
กา ร
ผู้สอนได้ศึกษารายละเอียดแต่ละหัวข้อเรื่องที่สอนจากเอกสาร หนังสือ ตำรา หรือสื่อ
อื่น ๆ เพิ่มเติมอี ก หวังว่าเอกสารประกอบการเรียนนี้ คงอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
เพื่อ

ตามสมควร หากท่านที่นำไปใช้มีข้อเสนอแนะ ผู้เขียนยินดีรับฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ และขอขอบคุณมา


ณ โอกาสนี้
ิต
นดุส
ัยสว

พราวธีมา ศรีระทุ
29 พฤศจิกายน 2565
ยาล
าวิท
"มห
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
(2)

สารบัญ

หน้า

คำนำ (1)

"
สารบัญ (3)

่านั้น
สารบัญภาพ (9)
สารบัญตาราง (11)

าเท
คำอธิบายรายวิชา 1

ศึกษ
บทที่ 1 องค์ประกอบที่สำคัญของการวางแผนและการจัดทำเที่ยว 1
องค์ประกอบของการท่องเที่ยว 2
กา ร
องค์ประกอบของการจัดรายการนำเที่ยว 4
เพื่อ
พาหนะที่ใช้ในการนำเที่ยว 4
โรงแรมหรือทีพ่ ักแรม 5
ิต

ภัตตาคารหรือร้านอาหาร 7
นดุส

สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว 8
ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก 11
ัยสว

บริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์และมัคคุเทศก์ 12
ยาล

สรุป 16
คำถามทบทวน 16
าวิท

เอกสารอ้างอิง 17
"มห

บทที่ 2 การวางแผนจัดนำเที่ยว 19
ความหมายของการวางแผนจัดนำเที่ยว 19
เรื่องที่ควรคำนึงในการวางแผนรายการนำเที่ยว 22
ขั้นตอนการวางแผนจัดนำเที่ยว 22
ข้อมูลประกอบการวางแผนจัดนำเที่ยว 24
การวางแผนดำเนินการจัดรายการนำเที่ยว 27
การจัดทำแผนการนำเที่ยวประจำปี 29
(4)

หน้า

ความสำคัญของการวางแผนการท่องเที่ยว 32
สรุป 33
คำถามทบทวน 33
เอกสารอ้างอิง 34

"
่านั้น
บทที่ 3 ธุรกิจนำเที่ยว 35
ความหมายของธุรกิจนำเที่ยว 35

าเท
การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว 36

ศึกษ
หน้าที่ของธุรกิจนำเที่ยว 37
องค์ประกอบของธุรกิจนำเที่ยว กา ร 40
ความสำคัญของบริษัทนำเที่ยว 43
เพื่อ
ปัจจัยที่ทำให้ธรุ กิจประสบความสำเร็จ 45
สรุป 46
ิต

คำถามทบทวน 46
นดุส

เอกสารอ้างอิง 47
บทที่ 4 โครงสร้างการบริหารงานของธุรกิจนำเที่ยว 49
ัยสว

ลักษณะของการประกอบธุรกิจนำเที่ยว 49
ยาล

กลไกของธุรกิจนำเที่ยว 50
องค์ประกอบของธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 53
าวิท

ประเภทของการทำธุรกิจนำเที่ยว 55
"มห

โครงสร้างการบริหารงานของบริษัทนำเที่ยว 56
ผลประโยชน์ที่ได้จากการทำทัวร์ 66
สรุป 67
คำถามทบทวน 67
เอกสารอ้างอิง 68
(5)

หน้า

บทที่ 5 ประเภทของการจัดนำเที่ยว 69
ประเภทของการจัดนำเที่ยว 69
รูปแบบการจัดนำเที่ยว 71
สรุป 79

"
่านั้น
คำถามทบทวน 79
เอกสารอ้างอิง 80

าเท
บทที่ 6 กลยุทธ์การจัดนำเทีย่ ว 81

ศึกษ
กลยุทธ์การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Strategy of Inbound Tour) 81
กลยุทธ์การจัดนำเที่ยวไปต่างประเทศ (Strategy of Outbound Tour)
กา ร 86
กลยุทธ์การจัดนำเที่ยวในประเทศ (Strategy of Domestic Tour) 92
เพื่อ
สรุป 94
คำถามทบทวน 95
ิต

เอกสารอ้างอิง 96
นดุส

บทที่ 7 การสำรวจเส้นทาง 97
ความหมายเส้นทางการท่องเที่ยว 97
ัยสว

การสำรวจทรัพยากรเพื่อกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว 98
ยาล

การจัดเส้นทางสัญจรเพื่อการท่องเที่ยว 99
แนวคิดเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว 101
าวิท

การสำรวจเส้นทางเพื่อการจัดนำเที่ยว 104
"มห

แนวคิดรูปแบบการเดินทางเพื่อการจัดนำเที่ยว 106
สรุป 112
คำถามทบทวน 112
เอกสารอ้างอิง 113
บทที่ 8 การอ่านและเขียนแผนที่ 115
ความหมาย 115
(6)

หน้า

เครื่องหมายแผนที่ 116
การอ่านหมายเลขทางหลวง 117
สรุป 125
คำถามทบทวน 125

"
่านั้น
เอกสารอ้างอิง 126
บทที่ 9 การเขียนรายการนำเที่ยว 127

าเท
การเขียนรายการนำเที่ยว 127

ศึกษ
เครื่องมือช่วยในการเขียนรายการนำเที่ยว 127
คุณสมบัติของผู้เขียนรายการนำเที่ยวกา ร 128
รูปแบบการเขียนรายการนำเที่ยว 129
ขั้นตอนการเขียนรายการนำเที่ยว
เพื่อ
138
การเขียนตารางระยะทาง 141
ิต

สรุป 143
นดุส

คำถามทบทวน 143
เอกสารอ้างอิง 144
ัยสว

บทที่ 10 การคิดราคาขาย 145


ยาล

ความหมายการคิดราคาขาย 145
ปัจจัยจูงใจให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย 145
าวิท

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดราราขายรายการนำเที่ยว 146
"มห

โครงสร้างต้นทุนของรายการนำเที่ยว 148
การคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวแยกตามประเภทของการจัดนำเที่ยว 152
การลดต้นทุนในการจัดนำเที่ยว 159
สรุป 160
คำถามทบทวน 161
เอกสารอ้างอิง 162
(7)

หน้า

บทที่ 11 การตลาดและการผลิตสื่อเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ 163


การวางแผนทางการตลาดและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ 163
ความสำคัญของการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 164
ส่วนประกอบของการตลาด 165

"
่านั้น
การดำเนินการด้านการตลาด 165
ตลาดเป้าหมาย 170

าเท
การส่งเสริมการขาย 171

ศึกษ
การโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว 172
สื่อโฆษณาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กา ร 175
การแบ่งส่วนตลาดการท่องเที่ยว 178
เพื่อ
สรุป 181
คำถามทบทวน 181
ิต

เอกสารอ้างอิง 182
นดุส

บทที่ 12 ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 183


ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจการขนส่ง 183
ัยสว

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจที่พักแรม 190
ยาล

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจอาหาร 193
ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก 195
าวิท

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 197
"มห

สรุป 199
คำถามทบทวน 200
เอกสารอ้างอิง 201
บรรณานุกรรม 203
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
(7)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

1.1 ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไป 13
1.2 ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค และ ท้องถิ่น 13

"
่านั้น
1.3 อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไป 14
ท่องเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) แบบหมู่คณะ

าเท
1.4 อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมา 14

ศึกษ
จากต่างประเทศ เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย (Inbound)
1.5 อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวเฉพาะ
กา ร 15
การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย (Domestic)
8.1 แสดงภาพแผนที่จุดแวะพัก 118
เพื่อ
8.2 แสดงภาพแผนที่ตัวเมือง 119
8.3 แสดงภาพแผนที่ร้านอาหาร 119
ิต

8.4 แสดงภาพแผนที่แหล่งท่องเที่ยว 120


นดุส

8.5 แสดงภาพแผนทีท่ ี่พัก 121


ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
(8)

นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
(9)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

4.1 หน้าทีแ่ ละตำแหน่งงานแต่ละแผนก 57


7.1 สำรวจเส้นทาง 107

"
่านั้น
7.2 ตารางสำรวจแหล่งท่องเที่ยว 107
7.3 ตารางสำรวจร้านอาหาร 108

าเท
7.4 ตารางสำรวจที่พัก 109
7.5 ตารางสำรวจปั๊มน้ำมัน 110

ศึกษ
7.6 ตัวอย่างตารางสำรวจร้านขายของที่ระลึก 111
8.1 ตัวอย่างการสำรวจปั๊มน้ำมัน กา ร 122
8.2 ตัวอย่างการสำรวจการเดินทาง 122
8.3 ตัวอย่างการสำรวจสถานที่ท่องเที่ยว 123
เพื่อ

8.4 ตัวอย่างการสำรวจร้านอาหาร 124


9.1 ตัวอย่างรายการนำเที่ยวแบบละเอียด 132
ิต
นดุส

9.2 ตัวอย่างรายการนำเที่ยวสำหรับผู้ปฏิบัติงาน 137


10.1 ตัวอย่างรายการนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน-เพชรบุร-ี กรุงเทพฯ 154
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
บทที่ 1
องค์ประกอบที่สำคัญของการวางแผนและการจัดนำเที่ยว

การจัดนำเที่ยว เป็นงานหลักของการทำธุรกิจนำเที่ยวโดยที่ธุรกิจนำเที่ยวจะเป็นผู้ที่ซื้อสินค้า
ทางการท่องเที่ยวจากผู้ผลิตสินค้าทางการท่องเที่ยว เช่น การขนส่ง ที่พักแรม อาหารและเครื่องดื่ม
ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และต้องมีการติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวอื่น ๆ

"
่านั้น
เช่น ร้านขายของที่ระลึก สถานบันเทิง ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ผลิต
บริการท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยว และนอกจากนั้นยังช่วยจัดการอำนวยความสะดวกเรื่องการนำเที่ยว

าเท
ให้ แ ก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ซึ ง องค์ ป ระกอบของการจั ด นำเที่ ย ว มี อ ยู่ 6 องค์ ป ระกอบ ดั ง นี้ การขนส่ ง
ที่พักแรม ร้านอาหารและภั ตตาคาร แหล่งท่องเที่ย ว ร้านจำหน่ ายของที่ร ะลึ ก และ มัคคุเทศก์

ศึกษ
(พิมพรรณ สุจารินพงค์, 2553: 46)
การจัดนำเที่ยว หมายถึง การจัดรายการเดินทางที่จะท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อวัตถุ
กา ร
ประสง์ที่แตกต่างกัน (ยกเว้นวัตถุประสงค์ไปประกอบอาชีพหรือตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ประจำ) ด้วยมี
เพื่อ
การจัดหายานพาหนะ ติดต่อสถานที่ท่องเที่ยว ที่รับประทานอาหาร ตลอดจนหาที่พักค้างคืน และมี
รายการนำเที่ยวต่าง ๆ กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมีเส้นทางและจุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้อย่าง
ิต

ชัดเจน จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทางอย่างน้อย 1 แห่ง แล้วเดินทางกลับมายังจุดเริ่มต้นอีก


นดุส

ครั้ง และผู้ซื้อบริการนำเที่ยวหรือนักท่องเที่ยวต้องจ่ายเงินทั้งหมดหรือจ่ายล่วงหน้าบางส่วน ซึ่งการจัด


นำเที่ยวจึงต้องมีความเข้าใจถึงพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเป้าหมายเสียก่อน โดยเฉพาะ
ัยสว

อย่างยิ่งนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยจะมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเป็น 4 แบบ คือ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา


และ ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง, 2549: 2-4)
ยาล

1. รูปแบบนักท่องเที่ยววั นเสาร์ห รื อ วั นอาทิ ตย์ เป็ นการท่องเที่ยวในวั นหยุดสุดสัป ดาห์


สำหรับผู้ทำงานราชการหรือพนักงานของธนาคารหรือบริษัท นับเป็นการท่องเที่ยวที่นิยมกันมาก
าวิท

เพราะเป็นวันหยุดพักผ่อนสามารถเดินทางไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ อาจจะเที่ยวแบบไป


"มห

เช้ากลับเย็น หรืออาจเที่ยวแบบ 2 วัน 1 คืน ก็ได้ ยิ่งมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ในวันศุกร์หรือวันจันทร์ ทำ


ให้เกิดวันหยุดยาวหรือ Long Weekend ยิ่งมีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นและไกลขึ้น
2. รูปแบบการท่องเที่ยวเทศกาล เป็นการท่องเที่ยวตามงานเทศกาลของจังหวัดต่าง ๆ ใน
ประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยจะมีเทศกาลให้ท่องเที่ยวทุกเดือนตามจังหวัดต่างๆ
3. รูปแบบการท่องเที่ยวฤดูกาล เป็นการท่องเที่ยวไปตามฤดูกาลของประเทศต่างๆ นับเป็น
การท่องเที่ยวที่นิยมมาก แบ่งเป็น ฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน
2

4. รูปแบบการท่องเที่ยวตามโอกาส เป็นการท่องเที่ยวตามโอกาสที่ตนว่างอย่างมีความสุข
สนุกสนาน ส่วนมากมักเป็นการลาหยุดยาว เช่น การหยุดพักร้อน 5-10 วัน จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลใน
การท่องเที่ยวก่อน แล้ววางโปรแกรมการท่องเที่ยวให้เหมาะสม

องค์ประกอบของการท่องเที่ยว

"
่านั้น
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ ที่มีองค์ประกอบของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้อง
ทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายอย่าง ได้แก่ อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

าเท
อุตสาหกรรมที่พักแรม อุตสาหกรรมนันทนาการ อุตสาหกรรมการผลิตสิน ค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่ง
(พยอม ธรรมบุตร 2549: 1 – 3) ได้แบ่งองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเป็น 5 ประเภทดังนี้

ศึกษ
1. การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility) ได้แก่ การมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม
เช่น สนามบิน ระบบคมนาคม ตลอดจนบริการด้านอุตสาหกรรมขนส่ง เช่น การขนส่งทางอากาศ
กา ร
ทางบก และทางน้ำ ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้นักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง
(Destination) หรือแหล่งท่องเที่ยว (Attraction)
เพื่อ

2. การมีที่พักแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว (Accommodation) ที่ต้องการค้างคืน ได้แก่ ที่


พักประเภทต่าง ๆ เช่น โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮ้าส์ โฮมสเตย์ เป็นต้น โดยที่พักแรมแต่ละประเภท จะ
ิต
นดุส

มีสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ค่าที่พักและบริการในระดับต่างกัน ได้แก่


ภัตตาคาร สระว่ายน้ำ บาร์ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ซาวน่า ศูนย์กลางธุรกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวก
ัยสว

อื่น ๆ
3. แหล่งท่องเที่ยว (Attractions) นับเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญสูงสุดของการเดินทาง
ยาล

เพราะเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นแหล่งธรรมชาติที่มี
ความโดดเด่น เช่น ดอยอินทนนท์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
าวิท

ประวัติศาสตร์ เช่น ปราสาทพนมรุ้งซึ่งแสดงถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรขอม ตลอดจนการ


ท่องเที่ยวชนบทเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาท้ องถิ่น ตลอดจนโบราณสถานยุค
"มห

เก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ เช่น วัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นต้น


4. กิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) และกิจกรรมนันทนาการ (Tourist Activities และ
Recreational Activities) นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในปัจจุบัน เพราะการท่องเที่ยวมิได้หมาย
เพียงแค่การเดินทางไปชมโบราณสถาน อนุสาวรีย์ ความงดงามของธรรมชาติเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่
นักท่องเที่ยวมีโอกาสทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดินป่าศึกษาระบบนิเวศที่เขตเส้นศูนย์สูตรในป่าดิบชื้น
การล่องแก่งในแม่น้ำท้องถิ่น การปีนหน้าผา การดำน้ำในรูปแบบ Scuba Diving หรือ Snorkeling
การพายเรือแคนูในบริเวณป่าชายเลน การตกปลาหมึกในทะเลลึก ตลอดจนการร่วมกิจกรรมกับชุมชน
3

เจ้าบ้าน เช่นการดำนา การเกี่ยวข้าว การร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะเป็น


ประสบการณ์ (Experience) ที่อยู่ในความทรงจำของนักท่องเที่ยว และกิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิด
การกระจายรายได้
5. บริ ก ารเบ็ ด เตล็ ด ทั้ ง หมดที่ บ ริ ก ารให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว (Ancillary) อาทิ เ ช่ น บริ ก ารด้ า น
ร้านอาหาร โรงพยาบาล ไปรษณีย์ สถานีบริการน้ำมัน ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก ห้องสุขา ฯลฯ
องค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ควรปรากฏอยู่บนระบบฐานข้อมูลการจัดการการท่องเที่ยวของ

"
แหล่งท่องเที่ยวทุกแหล่งที่เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination Management System: DMS)

่านั้น
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (2542: 2 - 10) กล่าวว่า การท่องเที่ยว

าเท
มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ แหล่งท่องเที่ยว (Tourism Resource) บริการการท่องเที่ยว (Tourism

ศึกษ
Service) และตลาดการท่องเที่ยว (Tourism Market or Tourist) แต่ละองค์ประกอบมีองค์ประกอบ
ย่อย ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน ความแตกต่างของแต่ละรูปแบบการท่องเที่ยว
กา ร
จึงอยู่ที่ความแตกต่างในองค์ประกอบย่อย และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
1. แหล่งท่องเที่ยว เป็นทรัพยากรที่สำคัญ จัดเป็นอุปทานการท่องเที่ยว (Tourism Supply)
เพื่อ
และจัดหมวดหมู่ของแหล่งท่องเที่ยวเป็น 5 ประเภท คือ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (Cultural
Attractions) แหล่งท่องเที่ยวซึ่งแสดงออกถึงประเพณีต่าง ๆ (Traditional Attractions) แหล่ง
ิต

ท่องเที่ยวซึ่งแสดงถึงความงดงามในรูปแบบต่าง ๆ ของภูมิประเทศ (Scenic Attractions) แหล่ง


นดุส

ท่องเที่ยวประเภทที่ใ ห้ความบั นเทิง (Entertainment Attractions) แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่มี


ลักษณะเฉพาะตัว (Other Attractions) สำหรับประเทศไทยนั้น มักแบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3
ัยสว

ประเภท คือ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์โบราณคดี และแหล่งท่องเที่ยว


ศิลปวัฒนธรรม ส่วนแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความบันเทิงนั้น จัดเป็นส่วนหนึ่งในสถานบริการนักท่องเที่ยว
ยาล

2. บริการการท่องเที่ยว บริการที่รองรับการท่องเที่ยวเป็นอุปทานประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็น


าวิท

จุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยว แต่ เป็ นบริการที่รองรับให้เกิ ดความสะดวกสบายและ


ความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งในบางโอกาสอาจเป็นตัวดึงดูดใจได้เช่นกันบริการการท่องเที่ยว
"มห

ที่สำคัญ ได้แก่ ที่พัก อาหาร แหล่งจำหน่ายสินค้า แหล่งบันเทิง แหล่งกิจกรรม และบริการอื่น ๆ ทั้งนี้


รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่น ๆ
3. ตลาดการท่องเที่ยว เป็นการแสดงออกของอุปสงค์ ซึ่งมีความปรารถนาในการท่องเที่ยว
จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อเข้าร่วมในกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ (ปกติตลาด
การท่องเที่ยวจะเน้นที่นักท่องเที่ยว) ซึ่งในกระบวนการจัดการได้หมายรวมถึงการจัดการผู้มาเยือน
(Visitors) ผู้ที่จากถิ่นพำนักของตนเอง เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งอาจพักค้างแรมหรือไม่ก็ได้
นักท่องเที่ยว (Tourists) คือ ผู้เดินทางมายังพื้นที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นการไปทำงาน
4

ประจำ การศึกษาและไม่ใช่คนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาหรือทำงานประจำ หรือศึกษาอยู่ในพื้นที่นั้น


ผู้เดิ นทางนี้จะต้ องพั กค้างแรมอย่างน้อย 1 คืน วั ตถุประสงค์ในการเดิ นทางอาจเพื่อใช้ เวลาว่าง
(การนันทนาการ การพักผ่อนวันหยุด การรักษาสุขภาพ การศึกษา เรียนรู้การศาสนา และการกีฬา)
ธุ ร กิ จ เยี่ ย มญาติ การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ และการประชุ ม เป็ น ต้ น นั ก ทั ศ นาจร ( Excursionists)
คื อ ผู้ ที่ เดินทางที่ไม่ได้พักค้างคืน

"
องค์ประกอบของการจัดรายการนำเที่ยว

่านั้น
องค์ประกอบในการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว หมายถึง ส่วนประกอบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดรายการนำเที่ยว ซึ่งผู้จัดนำเที่ยวต้องศึกษาหาข้อมูลล่วงหน้าเพื่อนำมาวางแผนจัดนำเที่ยวมี

าเท
องค์ประกอบที่สำคัญ 6 องค์ประกอบ คือ (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552: 58-59)

ศึกษ
(1) พาหนะที่ใช้ในการนำเที่ยว (Transportation)
(2) โรงแรมหรือที่พัก (Hotel or Lodging) กา ร
(3) ภัตตาคารหรือร้านอาหาร (Restaurant or Food Shop)
(4) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attractions)
เพื่อ

(5) การบริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์หรือมัคคุเทศก์ (Tour Leader and Guide)


(6) แหล่งซื้อของ (Shopping Places)
ิต
นดุส

พาหนะที่ใช้ในการนำเที่ยว
ัยสว

พาหนะที่ใช้ในการนำเที่ยว เป็นการให้บริการขนส่งผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทางและมี
ยาล

บริการอื่น ๆ เพื่อความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้โดยสาร พาหนะมีความสำคัญกับการท่องเที่ยว


และเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางท่องเที่ยว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
าวิท

1. พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางบก ได้แก่ รถโค้ช (Coach) รถตู้ รถ Limousine รถไฟ เป็น


การให้บริ ก ารโดยเส้ น ทางถนน บริการสถานีข นส่ ง เส้นทางรถไฟ ขบวนรถไฟ และสถานี ร ถไฟ
"มห

นำนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ อ ยู่ ภู มิ ล ำเนาเดิ ม ไปยั ง แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วต่ า ง ๆ ซึ ง เป็ น จุ ด หมายปลายทางของ
การท่ อ งเที่ ย วตามความต้ อ งการของนั ก ท่ อ งเที่ ย วด้ ว ยความสะดวกสบาย ด้ ว ยความรวดเร็ ว
และปลอดภัย
2. พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางอากาศ เป็นการให้บริการขนส่งด้วยเครื่องบินจากที่อยู่ภูมิลำเนา
เดิมไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึงเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวตามความต้องการของ
นักท่องเที่ยว โดยจัดหาเครื่องบิน เส้นทางบิน แล้วใช้บริการเครื่องช่วยเครื่องช่วยเดินทางและท่าอากาศยาน
5

เพื่อบริการนักท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินด้วยความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย แบ่งการบริการ


ดังนี้
- การจัดนำเที่ยวในสายการบินแบบประจำ (Scheduled Service Airline)
- การจัดนำเที่ยวในสายการบินบริการเช่าเหมาลำ (Charter Service Airline)
3. พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางน้ำ เป็นการให้บริการขนส่งด้วยเรือจากที่ อยู่ภูมิลำเนาเดิม
ไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่ าง ๆ ซึงเป็ นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวตามความต้ องการของ

"
นักท่องเที่ยว โดยจัดหาเรือ เส้นทางเดินเรือ และใช้บริการของท่าเรือ เพื่อบริการนักท่องเที่ยวด้วยเรือ

่านั้น
อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย ได้แก่ เรือยนต์หรือเรือข้ามฟาก เรือเฟอร์รี่ เรือสำราญ
พาหนะในการจัดนำเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ รายการนำเที่ยวโดย รถรางกระเช้าไฟฟ้า ขี่จักรยาน

าเท
รถม้า เรือแคนู เรือคยัค ล่องแก่ง ล่องแพขี่ช้าง

โรงแรมหรือที่พักแรม (Hotel or Lodging)


ศึกษ
กา ร
สามารถจำแนกได้หลากหลายประเภทตามขนาดของห้องพัก ระดับความหรูหรา ทำเลที่ตั้ง
เพื่อ

การใช้ บ ริ ก ารที ่ พ ั ก แรมของบริ ษ ั ท นำเที ่ ย วจะเลื อ กบริ ก ารที ่ พ ั ก แรม ประเภทต่ า ง ๆ ดั ง นี้
(ฉันทัช วรรณถนอม, 2552: 70-75)
ิต
นดุส

1. โรงแรมประเภทธุรกิจ (Commercial Hotels) คือ โรงแรมที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ หรือใจ


กลางเมือง การคมนาคมสะดวกในการเข้าถึง เน้นกลุ่มลูกค้านักธุรกิจ
ัยสว

2. โรงแรมประจำท่าอากาศยาน (Airport Hotels) คือ โรงแรมที่มีทางเดินเชื่อมต่ อกับ


ท่าอากาศยาน หรือโรงแรมที่ตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยาน เพื่อความสะดวกของนักเดิ นทางหรือ
ยาล

นักท่องเที่ยวในการเข้าพักในโรงแรมและการเดินทางโดยเครื่องบิน
3. โรงแรมประเภทห้องชุด (Suite Hotels) สถานที่พักที่จัดห้องพักไว้ให้แขก All Suite Hotel
าวิท

ยังมีห้องครัวขนาดเล็กให้แขกใช้ประกอบอาหารอีกด้วย
4. โรงแรมประเภทพั กอาศัย (Residential Hotels) คือ โรงแรมเพื่อการพั กอาศัยเป็ น
"มห

เวลานาน ที่ให้บริการพักอาศัยเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือ รายปี


5. โรงแรมเพื่ อ การพั ก ผ่ อ น (Resort Hotels) คื อ โรงแรมที่ เ น้ น อยู่ ใ นพื้ น ที่ ธ รรมชาติ
มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี สวยงาม สะดวกสบาย
6. โรงแรมประเภทให้ที่พักและอาหารเช้า (Bed and Breakfast Hotels) เป็นโรงแรมขนาด
เล็ก ส่วนใหญ่เป็นกิจการในครอบครัวหรือผู้ประกอบการเจ้าของคนเดียว มีการปรับบ้านหรือห้องพัก
ให้เป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว มีการบริการห้องพักและอาหารเช้า ราคาย่อมเยา มีการบริการแบบ
กันเอง
6

7. โรงแรมประเภทแบ่ ง เวลาและประเภทคอนโดมิ เ นี ย ม (Time Share Hotels and


Condominium Hotels) เป็นโรงแรมที่กำลังขยายตัว มีลักษณะเป็นการซื้อความเป็นเจ้าของห้องพัก
เป็นระยะเวลาหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว คนที่เป็นเจ้าของจะมีสิทธิครอบครองห้องพักของตน ซึ่งส่วน
ใหญ่ก็จะเป็นห้องพักในคอนโดมิเนียมที่เจ้าของห้องอาจจะนำห้องพักของตนไปให้คนอื่นเช่า โดยการ
ผ่านการบริหารจากทางโรงแรมนั้น ส่วนวิธีบริการต่างๆ ก็เหมือนกับทางโรงแรมทั่วไป ทำให้แขกคน
อื่นไม่ทราบว่าที่ตนมาพักอยู่นั้นเป็นโรงแรมประเภท Time Share โรงแรมประเภทนี้เป็นโรงแรมที่อยู่

"
ในท้องที่ห่างไกลแต่เป็นที่นิยมมากเป็นพิเศษของผู้มาพัก ซึ่งเจ้าของห้ องอาจจะมาพักเพียงปีละ 1 - 2

่านั้น
สัปดาห์ เท่านั้น ช่วงเวลาที่ไม่ได้มาพักก็ให้ทางโรงแรมบริหารห้องพัก โดยแบ่งรายได้กันระหว่าง
เจ้าของห้องกับทางโรงแรม

าเท
8. โรงแรมประเภทคอนโดมิเนียม (Condominium Hotels) ก็คล้ายคลึงกับประเภทแบ่ง

ศึกษ
เวลา จะต่างกันก็ตรงสภาพความเป็นเจ้าของห้อง คือ แบบคอนโดมิเนียมแต่ละห้องจะมีเจ้าของคน
เดียวเป็นผู้ครอบครองจะมีสิทธิอย่างเด็ดขาด เจ้าของห้องจะบอกผู้บริหารอาคารว่าตนเองจะมาพักวัน
กา ร
ไหนบ้าง และวันที่เหลือนอกจากนั้นก็ให้เช่าแก่บุคคลอื่น แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้ อบังคับที่ผู้ถือ
สิทธิในห้องชุดเป็นผู้กำหนดเอง โดยเจ้าของห้องพักของโรงแรมทั้ง 2 ประเภทจะมีรายได้เป็นค่าเช่า
เพื่อ
จากการให้เช่าห้องพักของตน และอาจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ผู้บริหารเพื่อเป็นการโฆษณา และค่า
บำรุงรักษาทำความสะอาดต่าง ๆ
ิต

9. โรงแรมคาสิโน (Casino Hotels) เป็นโรงแรมที่มีบริการหรูหรามาก ห้องพักสวยงาม


นดุส

ราคาแพง แขกที่เข้าพักส่วนใหญ่จะเข้ามาเล่นการพนัน โรงแรมประเภทนี้ดึงดูดลูกค้าที่เข้าพักด้วย


การพนัน ความบันเทิง
ัยสว

10. โรงแรมเพื่ อ การประชุ ม (Convention Hotels) คื อ สถานที่ พั ก ที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น เพราะมี
จุดมุ่งหมายเน้นการประชุมสัมมนา แต่จะขายห้องพักไปด้วย มักจะพบในต่างประเทศ
ยาล

11. โรงแรมบูติค (Boutique Hotels) เป็นโรงแรมที่เน้น การตกแต่ง ภายในหรูหราและ


าวิท

ทันสมัยตามยุค มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เน้นความสวยงาม และสร้างบรรยากาศภายในที่ดู


แปลกจากโรงแรมชั้นนำทั่วไป
"มห

ที่พักประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ที่พักเยาวชน (Youth Hotel) คาราวานและแคมปิ้ง (Caravan


and Camping) บั ง กะโล (Bungalow) ทั ว ร์ ริ ส ต์ ฮ อลิ เ ดย์ วิ ล เลจ (Tourist Holiday Villages)
คลับเมด (Club Mediterrance) โมเต็ล (Motel) เกสต์เฮ้าหรือเพ็นชั่น หรือบอร์ดดิ้งเฮ้าส์ (Guest
House, Pension or Boarding House) บ้านพักในหมู่บ้าน,ฟาร์ม (Home Stay, Farm Stay)
หอพัก (Hostel, Domitory)
7

ลักษณะการจัดเตียงในห้องพัก (Room Bedding Style) ในห้องพักแขกมีการจัดเตียงไว้


ในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ เตียงคู่ใหญ่ (Double Bed) เตียงคู่แฝด (Twin Bed) เตียงเดี่ยว 3 เตียง
(Triple Bed) และ เตียงแฝดติดกัน (Hollyweed Bed)

ภัตตาคารหรือร้านอาหาร

"
ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องมีความสัมพันธ์กับธุรกิจร้านอาหาร เพื่อติดต่อขอใช้บริการอาหาร

่านั้น
ประเภทต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวในขณะเดินทางท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ หรือเมื่อถึงจุดหมาย
ปลายทาง การนำนักท่องเที่ยวไปรับประทานอาหารนั้นอาจจะพาไปรับประทานตามภัตตาคารหรือ

าเท
ร้านอาหาร ซึ่งควรคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก การจัดแบ่งประเภทของธุรกิจร้านอาหารและ

ศึกษ
เครื่องดื่มตามลักษณะการบริการ ดังนี้ (สุชาติ ทวีพรปฐมกุล, 2556: 92-93)
1. ภัตตาคารหรือร้านอาหารท้องถิ่น กา ร
2. ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดการแสดงให้แขกชมหลังอาหาร หรือชมระหว่างรับประทาน
อาหาร
เพื่อ

3. ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดแบบบุฟเฟ่ต์
4. ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดรายการแบบเซ็ตรายการมาให้
ิต

5. ภัตตาคารอาหารจานด่วน
นดุส

ลักษณะการให้บริการอาหารที่ทางโรงแรมจัดไว้ สามารถแบ่งได้เป็นมื้อต่าง ๆ ดังนี้


1. อาหารเช้า (Breakfast) เป็นอาหารที่รับประทานในเวลาเช้า ระหว่าง 06.00-10.00 น.
ัยสว

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (สมบัติ กาญจนกิจ, 2560: 194)


ยาล

1.1 อาหารเช้าแบบยุโรป (Continental Breakfast) ประกอบไปด้วย น้ำผลไม้สด


ขนมปัง เนย หรือ แยม ชา หรือ กาแฟ เท่านั้น ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
าวิท

1.2 อาหารเช้ า แบบอเมริ กั น (American Breakfast or English Breakfast)


ประกอบด้วย ผลไม้สด ขนมปัง เนย หรือ แยม ซีริล (Cereals) คอร์นเฟค (Cornflakes)ไข่ชนิดต่าง ๆ
"มห

แฮม ไส้กรอก เบคอน น้ำผลไม้ ตามด้วยชาหรือกาแฟ


1.3 อาหารเช้าแบบบุฟเฟ่ต์ (Buffet Breakfast) ได้แก่ แบบยุโรป แบบอเมริกัน แบบ
ไทย และ จีน
2. อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) เป็นอาหารที่นิยมรับประทานในช่วงสายระหว่างอาหาร
เช้ากับกลางวัน ระหว่างเวลา 10.00-11.30 น.
3. อาหารกลางวัน (Lunch) เป็นอาหารที่รับประทานในช่วงเวลา 11.30-14.00 น. ได้แก่
8

อาหารเป็นจาน (A La Cart) อาหารตามสั่ง อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ อาหารกลางวันแบบเป็นเซ็ต


(Set Menu)
4. อาหารว่าง (Afternoon Tea) ปกติจะรับประทานในช่วงระหว่างอาหารกลางวันและ
อาหารเย็น ช่วงเวลา 15.00-16.30 ประกอบด้วย น้ำชา กาแฟ เค้ก หรือขนมรูปอื่น ๆ และผลไม้
5. อาหารเย็น ช่วงเวลา 16.30-23.00 เป็นอาหารหนักที่สุดในรายการอาหารของแต่ละวัน
ประกอบด้วยอาหารต่าง ๆ ได้แก่ อาหารเย็นแบบ Set Menu (Appetizers Salad Soup Entries

"
Main Course Desserts) อาหารเย็นแบบบุฟเฟต์

่านั้น
6. อาหารมื้อดึก (Supper) เป็นอาหารเบา ๆ เพราะจะรับประทานหลังรับประทานอาหารเย็น
หรืออาหารหนัก

าเท
ศึกษ
สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
กา ร
แหล่งท่องเที่ยวเป็นสถานที่สิ่งดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว เพื่อที่จะให้ธุรกิจนำเที่ยวนำไปพิจารณา
ในการจัดรายการนำเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มตลาดเป้าหมายและกระแสนิยม
เพื่อ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมพร แก้วคำ, 2560: 34-36)
1. ประเภทธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากสภาพแวดล้อม
ิต

ทางกายภาพธรรมชาติที่มีความสวยงามน่าสนใจต่อการเดินทางไปเที่ยวชม ซึ่งรมถึงบริเวณที่มนุษย์
นดุส

เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ซึ่งอาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
ตามการพัฒนาออกเป็น 3 ประเภทย่อย คือ
ัยสว

(1) แหล่งท่องเทียวธรรมชาติในสภาพดั้งเดิมปราศจากการดัดแปลง เป็นแหล่งท่องเที่ยว


ในพื้นที่สันโดษซึ่งอยู่ไกลชุมชน คุณค่าแห่งการเยีย่ มชมอยู่ที่ความอุดมสมบูรณ์และความเป็นธรรมชาติ
ยาล

เช่น ภูเขา ธรณีสัณฐาน วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูมิอากาศ ทะเล ธารน้ำแข็ง เป็นต้น


าวิท

(2) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีการดัดแปลงปรุงแต่ง แต่ยังรักษาสภาพธรรมชาติไว้


เป็นแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่กึ่งสันโดษ ซึ่งมีการปรุงแต่งเพื่อปรับปรุงความสะดวกในการเข้าถึงและเพิ่ม
"มห

ขีดความสามารถในการรองรับ คุณค่าแห่งการเยี่ยมชมอยู่ที่การได้สั มผัสกับธรรมชาติในระดับ


ภายนอก และได้รับความสะดวกในการเยี่ยมชม เช่น ถ้ำ น้ำตก ทุ่งหญ้า น้ำพุร้อน ชายหาด อ่างเก็บ
น้ำ เป็นต้น
(3) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีการดัดแปลงก่อสร้างเพิ่มเติม เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ในพื้นที่ธรรมชาติที่มีการพัฒนาแล้ว ซึ่งมีกิจกรรมตอบสนองความต้องการของผู้มาเยี่ยมชม มีสิ่ง
อำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ คุณค่าแห่งการเยี่ยมชมอยู่ที่การได้พักผ่อนในสภาพธรรมชาติแต่ได้รับ
ความสะดวกสบายอย่างครบครั้น
9

2. ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณสถานโบราณวัตถุ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นตาม


ประโยชน์ของมนุษย์เองทั้งที่เป็นมรดกในอดีต และได้สร้างเสริมในสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญ
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศาสนา เป็นสิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมและความเจริญของท้องถิ่นนั้น
ว่า ในสมัยโบราณมีความเจริญด้านใดบ้างและเหลือเป็นมรดกตกทอดมายังรุ่นหลังอย่างไร จึงมีผล
ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปเยือนพื้นที่นั้น เราอาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์โบราณสถาน
และโบราณวัตถุออกเป็น 2 ประเภท คือ

"
(1) ประเภทประวัติศาสตร์โบราณสถาน เป็นสถานที่ที่มีอายุนับร้อยปี หรือโดยลักษณะ

่านั้น
แห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสถานที่นั้น เป็นประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์
หรือโบราณคดี

าเท
(2) ประเภทประวัติศาสตร์โบราณวัตถุ เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

ศึกษ
หรือสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดย
หลักฐานเกี่ยวกับประวัติของวัตถุนั้นเป็นประโยชน์ทางประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี ซึ่งในแต่ละ
กา ร
จังหวัดหรือแต่ละประเทศอาจเก็บสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์หรือสถานที่ เก็บแบบอื่นเพื่อให้ประชาชน
เข้าชม อันเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศ และเป็นความภาคภูมิใจของ
เพื่อ
ประชาชนท้องถิ่นที่ได้พบโบราณวัตถุล้ำค่าเหล่านั้น เช่น ภาพเขียนโบราณ วัตถุโบราณ สมบัติโบราณ
พระพุทธรูปโบราณ รูปปั้นโบราณ เป็นต้น
ิต

3. ประเภทศิลปวัฒนธรรม งานประเพณี กิจกรรม เทศกาล เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีมนุษย์สร้าง


นดุส

ขึ ้ น ในรู ป แบบของการดำเนิ น ชี ว ิ ต ของผู ้ ค นในสั ง คมแต่ ล ะกลุ ่ ม ชนที ่ ม ี ค วามแตกต่ า งกั น ไปตาม
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยยึดถือสืบทอดต่อกันมา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมที่มีผลต่อ
ัยสว

การดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือน อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม กิจกรรม


เทศกาล งานประเพณีออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
ยาล

(1) ประเภทศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ชุมชน หมู่บ้าน เรือนแพ ตลาด ตลาดน้ำ ศูนย์วัฒนธรรม


าวิท

การละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมือง สินค้าพื้นเมือง ไร่สวน เหมือง วิถีชีวิต อัธยาศัยไมตรีของประชาชน


เป็นต้น
"มห

(2) ประเภทประเพณี ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณี


ลอยกระทง ประเพณีโยนบัว ประเพณีอินทขิล งานบุญบั้งไฟเทศกาลกินเจ เป็นต้น
(3) กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมแข่งกีฬา กิจกรรมบันเทิง สนามกอล์ฟ สวนสนุก สวนสาธารณะ
เฉพาะทาง สนามแข่งรถ เขื่อนพลังไฟฟ้า เป็นต้น สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนนั้นควรเป็น
กิจกรรมที่เน้นการศึกษาหาความรู้ในแหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่ไปกับการได้รับ
ความเพลิดเพลิน พร้มทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งมีกิจกรรมการท่องเที่ยว
แบบยั่งยืนหลายกิจกรรม เช่น การเดินป่า การศึกษาธรรมชาติ การเลี้ยงสัตว์ การดูนก การพายเรือ
10

การดำน้ำ การตั้งแคมป์ การล่อแพ การขี่ช้าง การถ่ายภาพ การขี่จักรยาน การไต่เขา การตกปลา


การแสวงบุญ การนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
การจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเที่ยวได้จะต้องมีองค์ประกอบหลักอย่างน้อย 3 ประการหรือที่
เรียกกันว่า 3A’s ดังต่อไปนีค้ ือ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมพร แก้วคำ, 2560: 36-37)
(1) แหล่งท่องเที่ยวต้องมีสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attraction) เป็นองค์ประกอบ
สำคัญที่สุดของแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องมีสิ่งดึงดู ดใจอย่างใดอย่างหนึ่งในการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยว

"
เดินทางไปเยี่ยมเยือนสถานที่นั้น ๆ ซึ่งสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวย่อมแตกต่างกันไปตามประเภท

่านั้น
ของแหล่งท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มย่อมสนใจสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว
แต่ละประเภทไม่เหมือนกั น เช่น นักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งอาจสนใจด้านความสวยงามของธรรมชาติ

าเท
ชอบไปเที่ยวภูเขาหรือหาดทราย หรือนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มหนึ่งอาจสนใจด้านศิลปวัฒนธรรม ชอบไป

ศึกษ
เที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวเขา หรือนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มหนึ่งอาจสนใจด้านโบราณสถาน ชอบไปเที่ยวชม
อุทยานประวัติศาสตร์ เป็นต้น กา ร
(2) แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วต้ อ งมี เ ส้ น ทางคมนาคมขนส่ ง เข้ า ถึ ง (Accessibility) เป็ น
องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องมีเส้นทางหรือโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่
เพื่อ
สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเทียวนั้นได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียง แต่
ถ้าขาดเส้นทางคมนาคมขนส่งเข้าถึงแหล่งท่องเทียวแล้ว แม้ว่าแหล่งท่องเที่ยวจะมีความสวยงามหรือ
ิต

มีคุณค่าสู งส่ ง เพี ย งใด ย่อมไร้ค วามหมายอย่ า งสิ้ นเชิ ง เพราะไม่ สามารถเดิ นทางเข้ า ไปเยี่ ย มชม
นดุส

ทรัพยากรนั้นได้ เช่น ถนนหนทาง สถานีขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถไฟ ท่าเรือ และท่าอากาศยาน


เป็นต้น เพื่อให้ธุรกิจการขนส่งสามารถรับ/ ส่งนักท่องเทียวให้เดินทางเข้ าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่าง
ัยสว

สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย


(3) แหล่งท่องเที่ยวต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ยาล

อีกอย่างหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือน
าวิท

แหล่งท่องเที่ยวให้ได้รับความสุข ความสบาย และความประทับใจ ทำให้นักท่องเทียวอยากมาท่องเที่ยว


นานวันขึ้น โดยปกติสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้รัฐบาลจะเป็นผู้จัดหาและพัฒนาเพื่อบริการแก่
"มห

ประชาชนของตนเองอยู่แล้ว สำหรับนักท่องเทียวถือว่าเป็นผลพลอยได้จากการบริการเหล่านี้
11

ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

ร้านขายของที่ระลึกที่บริษัทนำเที่ยวจะพานักท่องเที่ยวไปใช้บริการมีทั้งร้านขายของที่ระลึก
ในเมื อ งและตามท้ อ งถิ่ น ที่ พ าไปเยี่ ย มชมสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วนั้ น สิ น ค้ า ที่ ร ะลึ ก มั ก มี ลั ก ษณะ ดั ง นี้
(สุชาติ ทวีพรปฐมกุล, 2556: 94)
1. ควรเป็นสินค้าพื้นเมือง มีสินค้าที่ขึ้นชื่อของที่นั่น

"
2. ควรเป็นร้านที่มีสินค้ามีคุณภาพ

่านั้น
3. ร้านที่ตั้งอยู่ในเส้นทางที่รถสามารถจอดแวะ
4. หากจัดเดินทางไปต่างประเทศหรือเมืองเขตชายแดน ควรจัดให้ซื้อสินค้าปลอดภาษี

าเท
ร้านขายของที่ระลึก สามารถแบ่งได้หลายประเภทตามประเภทของสินค้า วัตถุดิบที่ใช้ใน

ศึกษ
การผลิต และสถานที่จัดจำหน่าย ดังนี้ (นภาพร จันทร์ฉาย, 2560: 39)
4.1 แบ่งตามประเภทของสินค้ า 1) สินค้าเพื่อการบริโภค 2) สินค้าเพื่อการอุ ปโภค
กา ร
3) เครื่องประดับตกแต่ง
4.2 แบ่งตามประเภทของวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ 1) สินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบ
เพื่อ

ธรรมชาติ 2) สินค้าที่ผลิตจากวัตถุสังเคราะห์ 3) สินค้าที่ผลิตจากเศษวัตถุ


4.3 แบ่งตามสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ 1) ร้านค้า 2) ตลาด 3) ห้างสรรพสินค้า
ิต

4) ย่านการค้า
นดุส

สามารถแบ่งประเภทสินค้าที่ระลึกของไทย ออกได้ 6 ประเภท คือ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา


และ ปทุมพร แก้วคำ, 2560: 48-49)
ัยสว

1. สินค้าที่ระลึกประเภทผ้าไหมไทย เป็นผ้าที่มีเส้นใยอ่อนนุ่มสีสันสวยงาม จึงได้รับความนิยม


ยาล

จากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ผ้าไหมมีราคาสูงพอสมควร
2. สินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องประดับอัญมนี ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาก เนื่องจาก
าวิท

อัญมณีไทยมีรูปแบบการเจียระไนที่ประณีตสวยงาม และราคาถูกกว่าของประเทศอื่น ประเทศไทย


เป็นหนึ่งในห้าประเทศที่เป็นแหล่งขุดอัญมณีของโลก คือ แอฟริการ อเมริกาใต้ พม่า ศรีลังการ และ
"มห

ไทย
3. สินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องเงิน ซึ่งผลิตภัณฑ์จากเครื่องเงินของไทยมีความงดงามวิจิตร
โดยเฉพาะเครื่องประดับจะมีลวดลายสวยงามแตกต่างกันไปตามภาคต่าง ๆ ของไทย
4. สินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องเขิน ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินจะมีสีพื้นเป็นดำเงางามหรือสีชาด
น้ำหนักเบา ตกแต่งด้วยมุกทองคำเปลวหรือเงินเปลวหรือเปลือกไข่ ให้มีลวดลายสวยงามตามต้องการ
มีการผลิต 3 แบบ คือ เครื่องเขินลายรดน้ำ เครื่องเขินลายชุดและเครื่องเขินลายเปลือกไข่
12

5. สินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องปั้นดินเผา ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้และเครื่องประดับ
บ้าน แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเป็นสินค้าที่แตกหักง่าย จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบ
หีบห่อบรรจุภัณฑ์ให้สะดวกในการติดตัวเดินทางและมีความสวยงามล้ำค่ามากขึ้น
6. สินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมอื่น ๆ เช่น ไม้แกะสลัก ร่ม เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์จาก
กระดาษสา

"
บริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์และมัคคุเทศก์

่านั้น
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่

าเท
ของมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวอย่างชัดเจนในการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการ

ศึกษ
ธุ ร กิ จ นำเที่ ย วและนั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ ต กลงกั น ตามกำหนดการที่ ร ะบุ ไ ว้ ใ นรายการนำเที่ ย ว ดั ง นั้ น
มัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวต้องเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวโดยตรงตลอดเวลาที่ท ำหน้าที่ตาม
กา ร
ข้อตกลงที่ผู้ประกอบกิจการนำเที่ยวกำหนด (สุชาติ ทวีพรปฐมกุล, 2556: 1-2)
ความหมายของมัคคุเทศก์ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พุทธศักราช 2551
เพื่อ

ได้กำหนดความหมายของมัคคุเทศก์ไว้ว่า มัคคุเทศก์ หมายความว่า ผู้ให้บริการเป็นปกติในการนำ


นักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยให้บริการเกี่ยวกับคำแนะนำและความรู้ด้านต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว
ิต

ประเภทของมัคคุเทศก์ เป็นผู้นำทางและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างถิ่นต่างประเทศ
นดุส

ได้รับความรู้สนุกสุขสบายในจุดหมายปลายทางของการเดินทางท่องเที่ยว ผู้ปฏิบัติหน้าที่นำเที่ยว หรือ


มัคคุเทศก์ โดยใบอนุญาตแบบใหม่ มี 3 ประเภท 6 ชนิด ได้แก่
ัยสว

1. มัคคุเทศก์ประเภททั่วไป บัตรสีบรอนซ์เงิน
ยาล

2. มัคคุเทศก์ประเภทเฉพาะภูมิภาค มี 4 ชนิดคือ
2.1 เฉพาะภูมิภาค ภาคกลาง บัตรสีเหลือง
าวิท

2.2 เฉพาะภูมิภาค ภาคเหนือ บัตรสีเขียว


2.3 เฉพาะภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บัตรสีส้ม
"มห

2.4 เฉพาะภูมิภาค ภาคใต้ บัตรสีฟ้า


3. มัคคุเทศก์ประเภทท้องถิ่น บัตรสีน้ำตาล
13

"
่านั้น
าเท
รูปภาพที่ 1.1 ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไป

ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

รูปภาพที่ 1.2 ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค และ ท้องถิ่น


ที่มา: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
14

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
เพื่อ

รูปภาพที่ 1.3 อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไป


ท่องเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) แบบหมู่คณะ
ิต
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

รูปภาพที่ 1.4 อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมา


จากต่างประเทศ เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย (Inbound)
15

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
เพื่อ

รูปภาพที่ 1.5 อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวเฉพาะ


ิต

การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย (Domestic)
นดุส

ที่มา: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา


ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
16

สรุป

การจัดนำเที่ยว เป็นการจัดรายการเดินทางที่จะท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสง์


ที่แตกต่างกัน (ยกเว้นวัตถุประสงค์ไปประกอบอาชีพหรือตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ประจำ) โดยมีเส้นทางและ
จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทางอย่างน้ อย 1 แห่ง
แล้วเดินทางกลับมายังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง การจัดนำเที่ยวเป็นงานหลักของการทำธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งจะ

"
่านั้น
เป็นผู้ที่ซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยว จากผู้ผลิตสินค้าทางการท่องเที่ยว จะเห็ น ได้ ว่ า ธุรกิจนำเที่ยวทำ
หน้ า ที่ เ ป็ น สื่ อ กลางระหว่ า งผู้ ผ ลิ ต บริการท่องเที่ยวกับนั กท่องเที่ยว และนอกจากนั้นยังช่วยจัดการ

าเท
อำนวยความสะดวกเรื่องการนำเที่ยวให้ แ ก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ซึ่ ง องค์ ป ระกอบของการจั ด นำเที่ ย ว
เป็ น สิ่ ง ที่ ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ นำเที่ ย วต้ อ งคำนึ ง ถึ ง คื อ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งธุ ร กิ จ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง

ศึกษ
เนื่ อ งจากธุ ร กิ จ นำเที่ ย วเป็ น ผู้ จั ด รายการนำเที่ ย วแบบ เหมาจ่าย โดยจะรวมการบริการต่าง ๆ
ประกอบด้วย พาหนะที่ใช้ในการนำเที่ยว (Transportation) โรงแรมหรือที่พัก (Hotel or Lodging)
กา ร
ภั ต ตาคารหรื อ ร้ า นอาหาร ( Restaurant or Food Shop) สิ ่ ง ดึ ง ดู ด ใจทางการท่ อ งเที ่ ย ว
(Attractions) แหล่งซื้อของ (Shopping Places) การบริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์หรือมัคคุเทศก์
เพื่อ

(Tour Leader and Guide)


ิต
นดุส

คำถามทบทวน
ัยสว

1. จงอธิบายองค์ประกอบของการท่องเที่ยว
2. จงอธิบายองค์ประกอบของการจัดรายการนำเที่ยว
ยาล

3. ผู้ผลิตแหล่งท่องเทียวมีอยู่กี่ประเภท อะไรบ้าง
4. ผู้ผลิตบริการขนส่งแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
าวิท

5. ผู้ผลิตที่พักแรมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
6. จงอธิบายลักษณะและประเภทของเตียงในห้องพัก
"มห

7. ผู้ผลิตอาหารแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
8. ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง
9. จงอธิบายประเภทของมัคคุเทศก์
10. ให้ยกตัวอย่างประเพณีของจังหวัดบ้านเกิดของตนเอง
17

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2565). สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์.


สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.mots.go.th
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น
จำกัด

"
่านั้น
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเทีย่ ว. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

าเท
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง. (2549). การจัดนำเที่ยวและรายการนำเที่ยวภาคเหนือ
ตอนบนกรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือท่องเที่ยวไทย

ศึกษ
บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด. (2559). ความรู้เรื่องบัตรมัคคุเทศก์. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 25 ธันวาคม 2559 จาก https://th.jobsdb.com/th-th/articles/เรื่องบัตรมัคคุเทศก์
กา ร
พิมพรรณ สุจารินพงค์. (2553). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับองค์ประกอบของการ
เพื่อ

ท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ


โรฒ.
ิต
นดุส

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานขั้นสุดท้าย การกำหนด


แนวทางพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ
ัยสว

เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
สุชาติ ทวีพรปฐมกุล. (2556). กว่าจะเป็นหัวหน้าทัวร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
ยาล

มหาวิทยาลัย
สมบัติ กาญจนกิจ. (2560). พิมพ์ครั้งที่ 3. นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ :
าวิท

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"มห
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
18

นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
19

บทที่ 2
การวางแผนจัดนำเที่ยว

การวางแผนการท่องเที่ยวนับเป็นเรื่องสำคัญยิ่งทั้งต่อตัวนักท่องเที่ยวเองและต่อบริษัทนำเที่ยว
โดยธุ ร กิ จ นำเที่ ย วจะต้ อ งทำการวางแผนจั ด นำเที่ ย วอย่ า งรอบคอบและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด
เพื่อให้สามารถปรับปรุงรายการนำเที่ยวที่เหมาะสมกับรสนิยมและความต้องการของกท่องเที่ยว

"
่านั้น
เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดท่ องเที่ย วเป้ าหมายให้ได้ม ากที่สุ ด เนื่องจากการจัดนำเที่ย วแบบ
เหมาจ่ายจะต้องวางแผนล่วงหน้า 1-2 ปี ให้นักท่องเที่ยวได้เตียมเก็บเงินเตรียมตัวไปกับการนำเที่ยว

าเท
ที่เขาเลือก ซึ่งการวางแผนจัดนำเที่ยวหมายถึงการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดรายการนำเที่ยว

ศึกษ
ของแต่ละธุรกิจนำเที่ยวว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด จะได้เตรียมดำเนินการทุกอย่างตามแผน ที่
กำหนดไว้ นับตั้งแต่การจัดรายการนำเที่ยว การติดต่อธุรกิจบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งการจัด
กา ร
แผนการตลาดและการส่งเสริมการขายรายการนำเทีย่ วอีกด้วย
เพื่อ
ความหมายของการวางแผนจัดนำเที่ยว
ิต

การวางแผน หมายถึ ง กระบวนการดำเนิ น งานที่ ก ำหนดขึ้ น โดยองค์ ก รหรื อ หน่ ว ยงาน


นดุส

เพื่อปฏิบัติภารกิจใด ๆ ที่กำหนดไว้ให้บรรลุผลได้ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด


การวางแผนเป็นภารกิจที่มีบทบาทสำคัญยิ่งของผู้บริหารองค์กร ที่จะแสดงออกถึงวิจารณญาณ
ัยสว

วิสัยทัศน์ (Vision) และอัจฉริยภาพแห่งความเป็นผู้นำ การวางแผนเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และ


ศิลป์ (Art) ในการจัดองค์กรที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของกระบวนการจัดการ
ยาล

การวางแผนจัดนำเที่ยว หมายถึง การวางแผนและตัดสินใจในการเลือกองค์ประกอบใน


าวิท

การจัดนำเที่ยวที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดจากสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องแต่ละด้าน เช่น การวางแผน


เลือกโรงแรมที่ดี เลือกแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เลือกร้านอาหารที่มีรสชาติอร่อย เลือกยานพาหนะ
"มห

ที่เหมาะสมมีความปลอดภัย และเลือกแหล่งซื้อของที่มีคุณภาพ เป็นต้น โดยการเลือกจะต้องคำนึงถึง


ความเหมาะสมในเรื ่ อ งของราคา ศั ก ยภาพในการซื ้ อ ของลู ก ค้ า ความพึ ง พอใจของลู ก ค้ า หรื อ
นักท่องเที่ยว ความเป็นไปได้ในเรื่องของการบริหารเวลากิจกรรม ฤดูกาลท่องเที่ยว ความสามารถ
ในการป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้การวางแผนจัดนำเที่ยวควรจะต้องมีผลกำไร
ตามสมควรเพื่อนำมาบริหารและพัฒนาองค์กรต่อไป (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552: 23)
ก่อนจะวางแผนจัดนำเที่ยว ควรจะมีการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า โดยส่งแบบสอบถาม
ให้ตอบก่อนสิ้นสุดการเดินทางแต่ละครั้ง เพื่อนำผลความคิดเห็นของลูกค้ามาปรับปรุง พัฒนาให้การ
20

จัดนำเที่ยวน่าสนใจตามความต้องการของลูกค้า เพราะลูกค้าแต่ละคน แต่ละกลุ่ม มีความต้องการ


แตกต่างกัน เช่น กลุ่มคนสูงอายุที่อาจจะไม่ต้องการรายการที่แน่นจนเกินไป กลุ่มผู้หญิงที่อาจต้องการ
เวลาจับจ่ายซื้อของเพิ่มมากขึ้น และกลุ่มหนุ่มสาว ที่อาจต้องการกิจกรรมที่มีกรผจญภัย เป็นต้น
(แมนซินี (Mancini, 1990 : 198, 2539: 79-82 อ้างถึงในพวงบุหงา ภูมิพานิช))

การวางแผนจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ

"
1. การกำหนดวัน ต้องคำนึงถึงระยะทาง จำนวนสถานที่ท่องเที่ยวลูกค้าเป้าหมาย อากาศ

่านั้น
เหตุการณ์สำคัญพิเศษ
2. ลูกค้าเป้าหมาย ถ้าลูกค้าอายุมากควรจัดการท่องเที่ยวระยะสั้น รายการไม่แน่น และ

าเท
ไม่ควรให้นั่งรถนานทั้งวัน หรือเดินชมมาก ๆ และคำนึงถึงอาหารที่เหมาะกับวัยด้วย ดังนั้น การจัด

ศึกษ
รายการต้องยืดหยุ่น
3. ระยะทางเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าระยะทางจากเมือง A ไปยังเมือง 8 ใช้เวลานั่งรถนาน
กา ร
ถึ ง 6 ชั่ ว โมง ควรพิ จ ารณาว่ า สมควรจั ด หรื อ ไม่ เ พราะถ้ า นั่ ง รถนานโดยไม่ ไ ด้ แ วะเยี่ ย มชม
สถานที่ ท่ อ งเที่ ย วใด ๆ เลย ก็ จ ะทำให้ ร ายการน่ า เบื่ อ ควรคำนึ ง ถึ ง เสมอว่ า ความอดทน
เพื่อ
ของนักท่องเที่ยวมีขีดจำกัด ถ้าจัดการเดินทางให้นั่งรถตลอดวันจะทำให้เหนื่อย อาจเจ็บป่วยได้ง่าย
หรืออาจหลับในขณะร่วมกิจกรรมอื่น เช่น ชมการแสดง เพราะเหนื่อยจากการนั่งรถ ถ้าระยะทางไกล
ิต

มาก จะทำให้เสียเวลาเดินทาง และต้องใช้จำนวนวันเพิ่มมากขึ้นในการเดินทาง ดังนั้น ในการวางแผน


นดุส

ในเรื่องของระยะทาง ในกรณีที่ระยะทางไกลมาก ถ้าจุดหมายปลายทางที่ไปไม่มีสิ่งที่น่าสนใจจริง ๆ ก็


ไม่สมควรที่จะจัดเพราะไม่คุ้มกับการเดินทาง
ัยสว

4. ความบันเทิง ในกรณีที่การจัดท่องเที่ยวในครั้งนั้นตรงกับเทศกาลก็ควรให้นักท่องเที่ยว
ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในเทศกาลนั้น ๆ หรือถ้าไม่ตรงกับเทศกาลหรือเหตุการณ์พิเศษ ก็ควร
ยาล

จัดหากิจกรรมบันเทิงให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเข้าชม เช่น คาบาเร่ต์ การแสดงพื้นบ้าน บัลเลต์ หรือ


าวิท

จัดล่องเรือที่ท ะเลสาบ หรือแม่น้ำ พร้อมรับประทานอาหารค่ำ โดยอาจะจัดเป็นแบบให้เ ลื อ ก


(optional tour) ก็ได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้มากกว่าจะให้นักท่องเที่ยว
"มห

นอนพักที่โรงแรมแต่หัวค่ำทุกคืน
5. การซื้อของ ต้องจัดเวลาให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสซื้อของบ้าง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวไทย
ต้องมีของฝากญาติมิตร การจัดนำเที่ยวที่ใช้เวลานาน 15 วัน ควรเปิดโอกาสให้เวลาซื้อของประมาณ
2-3 ชั่วโมง ปัจจุบันบริษัทนำเที่ยวไทย นิยมจัดท่องเที่ยวเพื่อการซื้อของให้สำหรับคนที่ ชอบซื้อของ
โดยมี น ำเที่ ย วบ้ า งแต่ เ วลาส่ ว นใหญ่ จ ะให้ กั บ การซื้ อ ของ ซึ่ ง ราคาจะรวมค่ า เครื่ อ งบิ น โรงแรม
และอาหารบางมื้อให้ ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจในการจับจ่ายซื้อของ
21

6. ทำเลที่ ตั้ ง ของโรงแรม ในการวางแผนต้ อ งคำนึ ง ถึ ง โรงแรมที่ พั ก ชนิ ด ของโรงแรม


ว่ า เป็ น ระดั บ ใด ส่ ว นมากบริ ษั ท นำเที่ ย วเลื อ กระดั บ ของโรงแรมระหว่ า ง 3 ดาว - 5 ดาว และ
การเลื อ กโรงแรมบางครั้ ง คำนึ ง ถึ ง ทำเลที่ ตั้ ง เพราะโรงแรมที่ อ ยู่ น อกเมื อ ง และถ้ า อยู่ ใ นใจ
กลางเมื อ งที่ มี ก ารจราจรหนาแน่ น ต้องใช้ เ วลาเดิ นทางนาน ก็จะเป็ นอุ ปสรรคของการเดิ น ทาง
ส่ ว นมากถ้ า ไม่ ม ี จ ุ ด ประสงค์ ใ นเรื ่ อ งของให้ โ อกาสนั ก ท่ อ งเที ่ ย วได้ ซ ื ้ อ ของสะดวกแล้ ว
บริ ษั ท นำเที่ ย วมั ก จะจั ด โรงแรมที่ อ ยู่ น อกเมื อ ง เพื่ อ สะดวกในการเดิ น ทางต่ อ ไป เพราะ

"
ประหยัด และไม่ วุ่นวาย สามารถต่อรองเรื่องราคาและเงื่ อนไขต่ า ง ๆ ได้

่านั้น
7. จุ ด แวะพั ก ในต่ า งประเทศจะมี ก ารจำกั ด เวลาในการขั บ รถให้ อ ยู่ ใ นช่ ว งหนึ่ ง เมื่ อ
ถึ ง กำหนดแล้ ว จะต้ อ งหยุ ด รถเพื่ อ พั ก ทั้ ง นี้ เพื่ อ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ ค นขั บ เหนื่ อ ยล้ า จนเกิ น ไป ฉะนั้ น

าเท
คนขั บ รถจะรู้ ว่ า ควรจะหยุ ด พั ก เมื่ อ ใด และจุ ด ใด ส่ ว นมากแล้ ว สถานที่ ใ ช้ ห ยุ ด พั ก นั้ น มั ก จะ

ศึกษ
เป็ น สถานี เ ติ ม น้ ำ มั น หรื อ ร้ า นอาหาร เพื่ อ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ มี โ อกาสพั ก ผ่ อ น เข้ า ห้ อ งน้ ำ
หรื อ รั บ ประทานของว่ า ง และดื่ ม กาแฟ นอกจากนั้ น บริ ษั ท นำเที่ ย วต่ า งประเทศจะไม่ ค่ อ ย
กา ร
ระบุ อ าหารกลางวั น ไว้ ใ นรายการ อย่ า งไรก็ ต าม การหยุ ด แวะพั ก เพื่ อ รั บ ประทานอาหาร
กลางวั น ก็ เ ป็ น สิ่ ง สำคั ญ แต่ จุ ด ดี ข องการไม่ ร ะบุ อ าหารกลางวั น ไว้ ใ นรายการก็ คื อ คนขั บ
เพื่อ
สามารถยื ด หยุ่ น ที่ จ ะจอดให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วรั บ ประทานอาหารกลางวั น ได้ ในจุ ด ที่ เ หมาะสม
กั บ สถานการณ์ แ ละเวลา สำหรั บ ในประเทศไทยส่ ว นใหญ่ ก าร หยุ ด พั ก จะขึ้ น อยู่ กั บ ความ
ิต

ต้ อ งการของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว แต่ ส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว ทุ ก 2-4 ชั่ ว โมงควรจะได้ มี ก ารหยุ ด พั ก เพื่ อ ให้
นดุส

นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ เ ปลี่ ย นอิ ริ ย าบถ หรื อ เข้ า ห้ อ งน้ ำ ถึ ง แม้ บ นรถจะมี ห้ อ งน้ ำ แล้ ว ก็ ต าม
8. ร้านอาหาร การพิจารณาเลือกร้านอาหาร ต้องคำนึงว่าร้านอาหารที่แพงที่สุด ไม่ใช่ว่าจะ
ัยสว

อร่อยหรือดีเสมอไป
9. การคิดราคา ต้องคำนึงถึงอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน โดยเฉพาะบริษัทที่ใช้เครดิต ต้องเสี่ยง
ยาล

ที่จะจ่ายเพิ่มขึ้น ถ้าอัตราการแลกเปลี่ยนเงินสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทนำเที่ยวที่จะใช้เครดิต


าวิท

กับธุรกิจผลิตสินค้าบริการอื่น ๆ ได้ จะต้องเป็นบริษัทที่ติดต่อกันมานานจนเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจกัน


จึงจะได้เครดิต
"มห

การวางแผนจัดนำเที่ยวประกอบไปด้วย 5 หัวข้อ ดังนี้ (1) เรื่องที่ควรคำนึงในการวางแผนจัด


รายการนำเที่ยว (2) ขั้นตอนการวางแผนจัดนำเที่ยว (3) ข้อมูลประกอบการวางแผนจัดนำเที่ยว
(4) การวางแผนดำเนิ น การจั ด รายการนำเที่ ย ว (5) การจั ด ทำแผนนำเที่ ย วประจำปี (บุ ญ เลิ ศ
จิตตั้งวัฒนา และ ปทุ ม พร แก้วคำ, 2560: 105)
22

1. เรื่องที่ควรคำนึงในการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว

การวางแผนจัดรายการนำเที่ยวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า
เป็นเวลานานพอสมควร โดยปกติการวางแผนรายการนำเที่ยวมักจะเริ่มจากวันเดินทางเป็นลำดับแรก
ไปจนถึงสิ้นสุดการเดินทาง ซึ่งการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว จะต้องคำนึงถึงเรื่องสำคัญ 5 เรื่อง คือ
1.1 การวางแผนกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

"
1.2 การวางกำหนดสถานที่นำชม

่านั้น
1.3 การวางแผนกำหนดวันเดินทาง
1.4 การวางแผนกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

าเท
1.5 การวางแผนส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว

2. ขั้นตอนการวางแผนจัดนำเที่ยว
ศึกษ
กา ร
การวางแผนจัดนำเที่ยวจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งขั้นตอน
เพื่อ

ของการวางแผนจัดนำเที่ยวไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว จึงสรุปขั้นตอนการวางแผนจัดนำเที่ยวไว้ 6 ขั้นตอน


ดังนี้ (พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539: 74-76)
ิต
นดุส

ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์สถานการณ์ ในการวางแผนธุรกิจสำหรับนักวางแผนการวิเคราะห์สถานการณ์


ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ นักวางแผนจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ประวัติความเป็นมา
ัยสว

ของบริษัท การดำเนินงาน และนโยบายของบริษัทว่า อยู่ตรงจุดใด เมื่อทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว


จากนั้นจึงวิเคราะห์สถานการณ์การจัดนำเที่ยวที่บริษัทนำเสนอขายต่อลูกค้า ตลอดจนวิเคราะห์
ยาล

ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ข้อดี ข้อเสีย ของการจัดนำเที่ยวในแต่ละปี ปัจจัยอื่นที่นำมาใช้


ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ได้แก่ การพิจารณาสภาพพื้นฐานของลูกค้าโปรแกรมนำเที่ยว และราคา
าวิท

ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์รายการนำเที่ยว ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ โดยสำรวจว่า รายการใด


ที่ลูกค้าให้ความสนใจมาก ปานกลาง น้อย แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงเหตุผลเพื่อพัฒนาการจัดนำเที่ยว
"มห

นอกจากนี้ จะต้องวิเคราะห์ถึงความแตกต่างของลูกค้า ในด้านความเหมือน ความชอบ และพฤติกรรม


การซื้อ
ขั้นตอนที่ 2 : วิเคราะห์บริษัทคู่แข่ง การยึดหลักความสำเร็จทางธุรกิจที่ว่า “รู้เขา รู้เรา”
ยังเป็นสิ่งจำเป็น ต้องรู้ว่าบริษัทอยู่ระดับใด และบริษัทอื่นที่อยู่ระดับเดียวกัน มีบริษัทใดที่เป็นคู่แข่ง
และแข่ ง ขั น ในด้ า นใด ระดั บ การแข่ ง ขั น มากน้ อ ยแค่ ไ หน ต้ อ งวิ เ คราะห์ จ ุ ด อ่ อ นจุ ด แข็ ง
ในการดำเนินงานของเรา ในส่วนที่คล้ายคลึงกับบริษัทอื่น เช่น จุดหมายปลายทางของการเดินทาง
ช่วงเวลาของการจัด ราคาบริการท่องเที่ยว ซึ่งจากการวิเคราะห์บริษัทคู่แข่ง จะทำให้ได้ข้อมูล
23

เพื่อเป็นแนวทางในการวางยุ ทธศาสตร์การจัดนำเที่ยวได้ เช่น การแนะนำจุดหมายปลายทางใหม่


เทคนิคการจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package tour) หรือการกำหนดราคาบริการท่องเที่ยว เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 : พิจารณาเพิ่มการขาย นำข้อมูลที่เป็นข้อเดินและข้อบกพร่อง ที่ได้จากการวิเคราะห์
ทั้ง 2 ขั้นตอน มาพิจารณา เพื่อปรับปรุงยอดการขาย ในแง่ของรายการนำเที่ยว จำนวนลูกค้า หรือเทคนิค
การขาย ซึ ่ ง ต้ อ งคำนึ ง ถึ ง ฤดู ก ารท่ อ งเที ่ ย ว เป็ น ประการแรกโดยเป็ น การพิ จ ารณาถึ ง ฤดู ก าล
กับจุดหมายปลายทาง ทำอย่างไรที่จะพยายามเพิ่มการผลิตในช่วงนอกฤดูกาล เพราะในช่วงฤดูกาล

"
ท่ อ งเที ่ ย ว ยอดการขายจะสู ง ทำให้ ม ี ร ายได้ ม าก แต่ ก ารจั ด นำเที ่ ย วช่ ว งนอกฤดู ก ารท่ อ งเที ่ ย ว

่านั้น
ยอดการขายจะสูง ทำให้มีรายได้มาก แต่การจัดนำเที่ยวช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวก็จะมีส่วนช่วยให้
บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นและการติดต่อกับธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องจะไม่ ลำบาก

าเท
เหมือนช่วงฤดูการท่องเที่ยว วิธีที่ดีที่สุด คือการจัดการท่องเที่ยวในช่วงนอกฤดูกาลในราคาที่ถูก

ศึกษ
เพื่อให้พนักงาน ผู้นำเที่ยว และคนขับรถ มีงานทำ (ในกรณีที่บริษัทมีรถเป็นของตนเอง) และบริษัท
มีรายได้ตลอดปี ถึงแม้ว่ารายได้จะน้อยกว่าในช่วงฤดูการท่องเที่ยว แต่ ก็ยังดีกว่าไม่มีรายได้ นอกจากนี้
กา ร
จะเป็นประโยชน์สำหรับจุดหมายปลายทางหรือแหล่งท่องเที่ยวที่จะสามารถมีลูกค้าตลอดปี ดังนั้ น
การจัดนำเที่ยวช่วงนอกฤดูกาล จะช่วยให้การวางแผนทรัพยากรบุคคลและการวางแผนการเงิน
เพื่อ
และบริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ส่วนประการที่สองได้แก่ การเพิ่มกำไร การที่บริษัทจะมียอดขายมาก
และสามารถทำกำไรได้มากหรือน้อยขึ้นกับความต้องการ และความนิยมของลูกค้าที่มีต่อบริษัท
ิต

จึงต้องพิจารณาถึงลูกค้า เป้าหมายว่า เป็นใคร มีความต้องการอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการจัดการ


นดุส

การกำหนดราคา และการปรับปรุงรายให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า เป้าหมายโดยอาจจะยกเลิกรายการ


ที่ไม่เป็นที่นิยม และทำกำไรน้อย
ัยสว

ขั้ น ตอนที่ 4 : พิ จ ารณาหาตลาดเป้ า หมาย พิ จ ารณาจากตลาดที่ มี ค วามต้ อ งการสิ น ค้ า


ชนิ ด ต่ า ง ๆ ที่ บ ริ ษั ท จั ด ทำขึ้ น โดยดู จ ากตลาดเป้ า หมาย ซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม ผู้ บ ริ โ ภค และกลุ่ ม ที่ ใ ห้
ยาล

ความสนใจ
าวิท

ขั้นตอนที่ 5 : พัฒนาแนวทางการติดต่อสื่อสาร พิจารณาถึงแนวทางในการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร


ที่จะให้ไปถึงตลาดเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการพิจารณาหาตลาดใหม่ด้วย ในการติดต่อสื่อสารเพื่ อ
"มห

การขายสินค้า สามารถทำได้หลายแนวทาง :
(1) ประชาสัมพันธ์ : คำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณชน
(2) เผยแพร่ : เป็นการบอกกล่าวผลผลิตของบริษัท โดยการพิมพ์เผยแพร่
(3) โฆษณา : โฆษณาทางสื่อต่าง ๆ รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมหรือ นิทรรศการทางการท่องเที่ยว
(4) ทางไปรษณีย์ : ติดต่อโดยตรงกับลูกค้าทางไปรษณีย์
(5) ขายโดยตรง : เป็นการขายหน้าร้านหรือขายทางโทรศัพท์
24

ขั้นตอนที่ 6 : ติดตามและประเมินผล ควรมีการติดตามผลของการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง รวมถึง


การประเมินผลแต่ละปีในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) เขตภูมิภาค และจุดหมายปลายทางใด ที่บริษัทจัดได้ประสบผลสำเร็จ
(2) เขตภูมิภาค และจุดหมายปลายทางใดที่บริษัทอื่น ๆ หรือบริษัทคู่แข่งประสบผล สำเร็จ
(3) รายการไหนที่ทำกำไรมาก-น้อย ตลอดจนความนิยมของลูกค้า มาก-น้อย เพียงใด
(4) ตลาดไหนที่ควรจะเจาะเป็นพิเศษ

"
(5) จุดหมายปลายทางใดที่ควรจะพัฒนาใน 2-3 ปี ข้างหน้า โดยอาจมีข้อเสนอแนะให้จัด

่านั้น
จุดหมายปลายทางใหม่ให้เข้ากับลูกค้าใหม่ และกิจกรรมใหม่

าเท
3. ข้อมูลประกอบการวางแผนจัดนำเที่ยว

ศึกษ
การวางแผนจั ด นำเที ่ ย วจะต้ อ งทำการรวบรวมข้ อ มู ล ต่ า ง ๆ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งเพื ่ อ ใช้ ใ นการ
กา ร
ประกอบการพิจารณาจัดโปรแกรมนำเที่ยว ดังนี้ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมพร แก้วคำ, 2560:
112-116)
เพื่อ

3.1 ข้อมูล เกี่ยวกั บจุด หมายปลายทาง ธุรกิจนำเที ่ย วจะต้ อ งศึ กษาจั ดหมายปลายทาง
ที่น่าสนใจพอที่จะจัดรายการนำเที่ยวได้ 1 วันหรือหลายวัน โดยพิจารณาว่ามีสิ่งดึงดูดใจที่น่าสนใจ
ิต

อยู่ใกล้กับจุดหมายปลายทางหรือไม่ มีโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
นดุส

หรือไม่ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ตรงกับความต้องการ


ของบริษัทหรือไม่ นอกจากนั้ยังต้องศึกษาจุดหมายปลายทางนั้นๆ ทั้งในด้านคุณภาพและราคา
ัยสว

ว่าเหมาะสมหรือไม่ อาจมีแผนที่แสดงพื้นที่ตั้ง ระยะทางห่างไกล อันจะช่วยให้สามารถคำนวณ


ยาล

ระยะทางและระยะเวลาในการเดินทางได้อย่างคร่าวๆ
3.2 ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจนำเที่ยวต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที ยว
าวิท

ดังนี้
3.2.1 ให้เข้าชมเป็นกลุ่มพิเศษเฉพาะหรือไม่
"มห

3.2.2 เวลาการเข้าชมสถานที่มีการเปิด-ปิด เป็นเวลาหรือไม่


3.2.3 ต้องเสียค่าเข้าชมมากหรือน้อยเพียงใด
3.2.4 มีร้านขายของที่ระลึกหรือไม่
3.2.5 มีบริเวณที่นั่งพักผ่อน และมีห้องน้ำเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ าไปใน
แหล่งท่องเที่ยวนั้นหรือไม่ เพราะถ้าหากนักท่องเที่ยวนั่งรถมาไกล จำเป็นต้องเข้าห้องน้ำ
25

3.2.6 มีบริการอาหารหรือไม่ และถ้ามีต้องศึกษาอีกว่าเพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยว


หรือไม่ ถ้าแหล่งท่องเที่ยวเปิดให้คนเข้าชมได้มากกว่า 4 ชั่วโมง คงต้องรับประทานอาหาร ณ แหล่งนั้น
เพราะจะเป็นการไม่สะดวกที่จะต้องเดินทางออกไปรับประทานอาหารแล้วกลับมาอีก
3.2.7 มีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวที่จะไป มีสิ่งน่าดู
น่าชมอะไรบ้าง อีกทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวสำรองเผื่อไว้ด้วย พร้อมทั้งพิจารณาจุดแวะชมว่าควรหยุดชม
อะไร ที่ไหน ใช้เวลาเท่าไรจึงเหมาะสม

"
3.3 ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ธุรกิจนำเที่ยวต้องแน่ใจว่าแหล่งท่องเที่ยว

่านั้น
ที่จะเข้าชมมีมัคคุเทศก์นำชม และบรรยายสิ่งที่น่าสนใจของสถานที่นั้น โดยมัคคุเทศก์ต้องได้รับ
การฝึกอบรมมาอย่างเพียงพอและมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้นเป็นอย่างดี

าเท
3.4 ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ยานพาหนะ ธุ ร กิ จ นำเที่ ย วจะต้ อ งรู้ ว่ า นั ก ท่ อ งเที่ ย วจะเดิ น ทาง

ศึกษ
ด้ ว ยยานพาหนะชนิดใด ถ้าหากเดินทางด้วยเครื่องบินหรือ รถไฟหรือเรือต้องทราบตารางเวลาและ
ราคา สำหรับรถโค้ช (Coach) จะเน้นการบริการที่ปลอดภั ย ไว้ใจได้ อุปกรณ์ทันสมัย มีห้องน้ ำ
กา ร
และ สิ่ ง อำนวยความสะดวกอื่ น ๆ นอกจากนี้ ค วรมี ร ายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ การเดิ น ทาง ประเภท
ของยานพาหนะ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน สถานีเดินรถโดยสาร ตารางการเดินรถ เดินเรือ ตารางการบิน
เพื่อ
และบริษัทที่ประกอบการขนส่งในท้องถิ่น ฯลฯ
3.5 ข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก ธุรกิจนำเที่ยวต้องศึกษ้ข้อมูล เกี่ยวกับที่พักว่ามีที่พักประเภทใดบ้าง
ิต

ถ้าเป็นที่พักแรมประเภทโรงแรมต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมดังนี้คือ
นดุส

3.5.1 ระดับของโรงแรม เพราะจะมีผลต่อการกำหนดราคา


3.5.2 ชื่อและภาพลักษณ์ของโรงแรม เช่น โรงแรมในเครือข้ามชาติ เพราะเป็น
ัยสว

ที่รู้จักดี สามารถวางใจได้ในด้านคุณภาพ และบริการ สะดวกในการจองเพราะสามารถจองจากสาขา


ใดก็ได้ นอกจากนั้นราคาสามารถต่อรองกันได้ตามจำนวนนักท่องเที่ยว
ยาล

3.5.3 ชนิดของห้องพักของโรงแรม ส่วนใหญ่จะเป็นห้องคู่ ซึ่งอาจจะมี 1 เตียงใหญ่


าวิท

เตียงเดี่ยว (double bed) หรือเตียงเล็ก 2 เตียง (twin bed) ในเรื่องที่เกี่ยวกับขนาดของเตี ย ง


นั้ น นักท่องเที่ยวไม่ค่อยจะมีปัญหาหรือเรียกร้องเตียงขนาดใหญ่ อาจเป็นเพราะขนาดรูปร่างของ
"มห

คนไทยไม่ใหญ่โตมาก จนทำให้เกิดปัญหากับเตียงขนาดธรรมดา ซึ่งผิดกับนักท่องเที่ยวฝรั่ง เพราะ


บางครั้งต้ องการเตี ยงใหญ่ 2 เตี ยงอยู่ในห้อง ทำให้บริษัทนำเที่ยวมีข้อจำกัดในการเลือกโรงแรม
เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนมากโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว เท่านั้น จึงจะมีห้องที่บรรจุเตียงใหญ่ 2 เตียง อยู่ในห้อง
ทำให้บริษัทนำเที่ยวมีข้อจำกัดในการเลือกโรงแรมเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนมากโรงแรมในระดับ 4-5 ดาว
เท่านั้น จึงจะมีห้องที่บรรจุเตียงใหญ่ 2 เตียง (Queen size หรือ King size) ไว้เพื่อสนองความ
ต้องการของลูกค้า
3.5.4 บริการขนกระเป๋าเดินทางของโรงแรม ต้องมีประสิทธิภาพสมกับราคาที่
26

จะต้องจ่ายสำหรับการบริการ
3.5.5 การอำนวยความสะดวกในการรั บ ประทานอาหารของโรงแรม อาหาร
ส่ ว นใหญ่ จะเป็นบุฟเฟต์ และถ้าเป็นอาหารเช้าแบบยุโรป (continental breakfast) จะรวมอยู่กับค่าห้อง
แต่บางครั้งอาจต่อรองค่าห้องและอาหารเช้าแบบอเมริกัน บุฟเฟต์ได้ ส่วนอาหารกลางวันไม่ค่อยจัด
เพราะนักท่องเที่ยวจะไม่เข้ามารับประทานอาหารในโรงแรม อาหารเย็นส่วนใหญ่จะใช้บริการใน
โรงแรมเฉพาะในวันแรกที่มาถึง และอาจจัดเป็นพิเศษสำหรับการเลี้ยงรับรองนักท่องเที่ยว

"
3.5.6 ที่จอดรถภายในบริเวณของโรงแรม ต้องมีบริเวณพอสำหรับจอดรถโค้ช

่านั้น
3.5.7 ห้องพักสำหรับคนขับรถและผู้นำเที่ยว ค่าห้องสำหรับคนขับรถและผู้นำเที่ยว
ส่วนใหญ่จะขอฟรี เพราะถ้าพัก 15-20 ห้องจะได้ฟรี 1 ห้อง หรือ 1 ห้องต่อรถ 1 คน อย่างไรก็ตามการขอ

าเท
ห้องฟรี เป็นเงื่อนไขในการต่อรองกันระหว่างบริษัทนำเที่ยวและโรงแรม

ศึกษ
3.6 ข้ อมู ลเกี ่ ยวกั บร้ านอาหาร ธุ รกิ จนำเที ่ ยวจะต้ องศึ กษาหาข้ อมู ลเกี ่ ยวกั บ ร้ านอาหาร
ดังนี้ กา ร
3.6.1 ระดับคุณภาพของร้านอาหาร
3.6.2 ราคาค่าอาหาร ต่อรองได้ตามจำนวนคน ซึ่งถ้าเป็นนักท่องเที่ยวไทย จะนิยม
เพื่อ
ใช้บริการอาหารจีน อาหารไทย และอาหารท้องถิ่น ตามลำดับ
3.6.3 รูปแบบของการบริการ ซึ่งอาจจะเป็นนั่งโต๊ะ บุฟเฟต์ บาบีคิว ซึ่งเน้นการ
ิต

บริการสั่งอาหารอย่างรวดเร็ว
นดุส

3.6.4 มี ชมการแสดงระหว่างรับประทานอหาร ในการจัดแต่ละครั้ง จะจัดให้


มี ก ารรั บ ประทานอาหารพร้ อ มชมการแสดงอย่ า งน้ อ ย 1 ครั้ ง เพื่ อ ให้ ลู ก ค้ า ได้ รั บ ความสุ ข
ัยสว

สนุ ก เพลิ ด เพลิ น ดังนั้น ถ้าร้านอาหารมีอาหารพร้อมการบันเทิงในราคาที่เหมาะสม บริษัทนำเที่ยว


ก็ควรพิจารณาใช้บริการของภัตตาคาร ร้านอาหารประเภทนั้นๆ
ยาล

3.6.5 มีที่จอดรถกว้างขวางพอสำหรับรถโค้ช (Coach)


าวิท

3.6.6 มีอาหารฟรีสำหรับผู้นำเที่ยว คนขับ และผู้ติดตาม


3.7 ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้าที่ระลึก ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องมีข้อมูลการซื้อสินค้าที่ระลึก
"มห

ดังนี้
3.7.1 มี ร้านที่ หลากหลายในแต่ละบริเ วณขายสินค้ าที่ร ะลึก นับตั้งแต่ขายของ
พื้นเมืองไปจนถึงศูนย์การค้า
3.7.2 มีห้องน้ำสะอาดบริการ และมีพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวนั่งพักผ่อน
3.7.3 ราคาสินค้าที่ระลึกอยู่ในระดับสูงหรือปานกลางหรือถูก
3.8 ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การประกั น อุ บั ติ เ หตุ เ ดิ น ทาง ในกรณี ที่ ร ายการนำเที่ ย วมี กิ จ กรรม
เสี่ ย งภั ย เช่ น การปี น เขา การไต่ ห น้ า ผา การปี น ตาข่ า ยเชื อ ก การขี่ ม้ า การขี่ ช้ า ง การโหนตั ว
27

จากที่ สู ง การขี่ จั ก รยานเสื อ ภู เ ขา การขี่ ร ถขั บ เคลื่ อ นสี่ ล้ อ เล็ ก (ATV) การขี่ เ จ็ ท สกี (ที่ ไ ม่ ใ ช่ ก าร
แข่ ง ขั น ) การล่ อ งแก่ ง เป็ น ต้ น ถ้ า หากบริ ษั ท นำเที่ ย วต้ อ งการประกั น อุ บั ติ เ หตุ เ ดิ น ทางสำหรั บ
นั ก ท่ อ งเที่ ย ว บริ ษั ท ประกั น ภั ย มี แ ผนประกั น อุ บั ติ เ หตุ นั ก ท่ อ งเที่ ย วรายปี ส ำหรั บ ธุ ร กิ จ นำเที่ ย ว
ที่ ด ำเนิ น ธุ ร กิ จ รั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวไทยเที่ ย วภายในประเทศ (Domestic Tourists) รั บ
นั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวไทยเที่ ย วต่ า งประเทศ (Outbound Tourists) และรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว
ชาวต่ า งชาติ เ ที่ ย วเมื อ งไทย (Inbound Tourists) โดยคุ้ ม ครองอุ บั ติ เ หตุ ต ลอด 24 ชั่ ว โมง

"
ระหว่ า งการเดิ น ทางไม่ ว่ า จะเสี ย ชี วิ ต สู ญ เสี ย อวั ย วะ ทุ พ ลภาพถาวร ค่ า รั ก ษาพยาบาล

่านั้น
การถู ก ฆาตกรรมและการลอบทำร้ า ย ฯลฯ เงื่ อ ไขการรั บ ประกั น อุ บั ติ เ หตุ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว
รายปี ส ำหรั บ บริ ษั ท นำเที่ ย ว ดั ง นี้

าเท
3.8.1 จำนวนนักท่องเที่ยวขั้นต่ำ 500 คน/ ปี (เหมาจ่ายรายปี)

ศึกษ
3.8.2 บริ ษั ท นำเที่ ย วจะต้ อ งแจ้ ง จำนวนและรายชื อ นั ก ท่ อ งเที ย วให้ แ ก่
บริ ษั ท ประกันภัย เพือให้ความคุ้มครองแก่นักท่องเที่ยวก่อนกำหนดการเดินทางและบริษัทประกันภัย
กา ร
อาจจะเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่ม กรณีที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่แท้จริงมีจำนวนเกินกว่าจำนวนขั้นต่ำ
ที่ได้ทำประกันภัยกับบริษัทประกัน
เพื่อ
3.8.3 จำกัดระยะเวลาคุ้มครองไม่เกิน 90 วัน ในแต่ละเที่ยวการเดินทางและจะต้อง
อยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่บริษัทนำเที่ยวตามตารางการเดินทาง
ิต

3.8.4 กำหนดอายุผู้เอาประกันภัยตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป อายุ 1 เดือน ถึง 15 ปี และ


นดุส

อายุเกินกว่า 70 ปีขึ้นไป จะได้รับผลประโยชน์ชดเชย 50% ของผลประโยชน์ชดเชยสูงสุดที่ระบุไว้ใน


กรมธรรม์
ัยสว

3.8.5 ความคุ ้ ม ครองและผลประโยชน์ และอั ต ราเบี้ ย ประกั น ภั ย ต่อ กรมธรรม์


ต่อปี ขอรายละเอียดได้จากบริษัทประกันภัยที่ท่านต้องการจะทำประกัน
ยาล

3.9 ข้อมูลอื่น ๆ จะต้องมีข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ธนาคาร


าวิท

เป็นต้น ควรจะทราบว่าอยู่ที่ไหน เมื่อมีกรณีฉุกเฉินจะได้สามารถติดต่อได้ทันการ


"มห

4. การวางแผนดำเนินการจัดรายการนำเที่ยว

เมื่อได้วางแผนการจัดนำเที่ยวตามที่กล่าวมาแล้ว ก็ถึงขึ้นตอนการวางแผนดำเนินการจัด
นำเที่ยว ซึ่งเป็นการวางแผนการเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในรายการนำเที่ยว
ที่จะจัดทำขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบว่าในแต่ละวันจะเดินทางไปไหนและมีกิจกรรมอะไรบ้าง
จึงควรมีความชัดเจน ใช้ภาษาที่ง่ายและมีข้อมูลพอประมาณ ซึ่งการวางแผนดำเนินการจัดรายการ
นำเที่ยวมีเรื่องสำคัญ 4 เรื่อง คือ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมพร แก้วคำ, 2560: 11-118)
28

4.1 การวางแผนเขี ย นข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การเดิ น ทาง เป็ น การวางแผนศึ ก ษาข้ อ มู ล
ที่ เ กี่ ย วกั บ เส้ น ทางการจั ด รายการนำเที่ ย วที่ ไ ด้ ว างแผนไว้ แ ล้ ว โดยข้ อ มู ล ที่ ใ ช้ ประกอบการ
เขี ย นรายละเอี ย ดการจั ด รายการนำเที่ ย ว ประกอบด้ ว ย
4.1.1 แผนที่แสดงที่ตั้งและระยะทางจากสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ทำให้สามารถคำนวณระยะเวลาในการเดินทางได้อย่างคร่าว ๆ
4.1.2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไป เช่น แผ่นพิมพ์ วารสาร และ

"
สิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ ที่มีประวัติและข้อมูลอื่น ๆ ของสถานที่ท่องเทียวนั้นๆ

่านั้น
4.1.3 รายละเอียดของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจขนส่ง
ที่พักแรม ร้านอาหาร ร้านขายของทีร่ ะลึก ฯลฯ

าเท
4.1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น ประเภทของการขนส่งที่จะเดินทาง

ศึกษ
ตารางเดินทางของการขนส่ง ค่าโดยสาร ที่ตั้งโรงพยาบาล ที่ตั้งสถานีตำรวจ เป็นต้น
4.2 การวางแผนสำรวจเส้นทางรายการนำเที่ยว เป็นการวางแผนเพื่อเดินทางไปสำรวจของ
กา ร
รายการนำเที่ยวที่วางแผนไว้ โดยการวางแผนกำหนดเส้นางสำรวจไว้หยาบ ๆ ดังนี้
4.2.1 ยานพาหนะที่จะใช้ในการเดินทาง เช่น ออกจากภูเก็ตแล้วไปลงรถที่ใด ต่อเรือ
เพื่อ
ที่ไหน เป็นต้น
4.2.2 ระยะเวลาในการเดินทางจากจุดต่าง ๆ เช่น การเดินทางจากจุดหนึ่งไปยัง
ิต

อีกจุดหนึ่งมีระยะทางเท่าไร เพื่อสามารถคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทาง เป็นต้น


นดุส

4.2.3 ความยากง่ายในการเดินทาง เช่น สภาพถนนอาจเป็นลูกรัง ราดยาง หรือ


คอนกรีต จะมีความยากง่ายในการเดินทางไม่เหมือนกัน
ัยสว

4.2.4 จุดท่ องเที่ ยว จุดหยุดพัก จุดพักรับประทานอาหาร จุดพักแรม จุดซื้ อ


สินค้าที่ระลึก
ยาล

4.2.5 มาตรฐาน ศักยภาพและคุณภาพของบริการ ณ จุดต่าง ๆ ที่ไป


าวิท

4.2.6 กิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น แวะนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น หรือแวะ


ชมเลือกสินค้าหัตถกรรมชาวบ้าน หรือแวะซื้อผลไม้ตามฤดูกาลระหว่างเดินทางผ่าน หรือจัดให้มี
"มห

การนั่งสามล้อถีบ หรือรถม้ารอบเมือง หรือการล่องแพ หรือชมนาฏศิลป์พื้นเมือง หรือรับประทาน


อาหารพื้นเมือง เป็นต้น
4.3 การวางแผนติดต่อกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นการวางแผนเดินทางไปติดต่อขอเจรจาเอง
ทำให้สามารถสัมผัสกับสถานที่จริง บรรยากาศของสถานที่ รวมทั้งสามารถเจรจาต่อรอง และได้รายละเอียด
ดียิ่งขึ้น ธุรกิจที่ต้องติดต่อเจรจา ได้แก่
4.3.1 ที่พักแรม เมื่อสำรวจแล้วว่ามีจัดพักแรมที่ใด ต้องติดต่อกับธุรกิจที่พักแรมใน
จุดนั้น อาจเป็นโรงแรม บังกะโล รีสอร์ท ฯลฯ พร้อมทั้งเจรจาเรื่องราคาค่าห้องและจองห้องพักด้วย
29

4.3.2 อาหารและเครื่องดื่ม เมื่อสำรวจแล้วว่าจะต้องมีจุดพักรับประทานอาหารกี่แห่ง


ก็ต้องติดต่อกับร้านอาหารที่มีชื่อของจุดพักนั้น ๆ ไม่ควรจัดรายการอาหารซำกันระหว่างเดินทาง
4.3.3 จุดแวะชมระหว่างทาง เมื่อสำรวจแล้วว่าจะแวะชมจุ ดไหนและชมอะไร
ถ้าหากจำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของสถานที่ก่อน หรือจะต้องเสียค่าเข้าชมหรือต้องมีการจองล่วงหน้า
ก็ต้องติดต่อดำเนินการให้เรียบร้อย
4.3.4 ยานพาหนะ เมื่อสำรวจแล้วว่าจะต้องใช้พาหนะใดเดินทาง ซึ่งอาจจะต้องใช้

"
ยานพาหนะมากกว่า 1 ชนิดก็ได้ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงจำนวนวันในการเดินทาง เพื่อจะได้ติดต่อ

่านั้น
สำรองที่นั่ง หรือเช่ายานพาหนะตามต้องการให้เรียบร้อย
4.4 การวางแผนเขี ยนรายละเอี ยดรายการนำเที ยว เป็ นการวางแผนเขี ยนรายละเอี ยด

าเท
ของรายการนำเที่ยวที่กำหนดไว้ โดยผสมผสานกับข้อมูลที่ได้ไปสำรวจมาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ได้

ศึกษ
ติดต่อมา
กา ร
5. การจัดทำแผนการนำเที่ยวประจำปี มีการจัดทำแผนระยะสั้น และระยะยาว ดังนี้
(พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539: 76-79)
เพื่อ

การจั ด ทำแผนระยะยาว ควรจั ด วางแผนในช่ ว ง 5-10-20 ปี เป็ น การวางแผนเพื่ อ


ิต

กำหนดแนวทางการพั ฒ นาบริ ษั ท ไปในทิ ศ ทางที่ ต้ อ งการ ไม่ ว่ า จะเป็ น ด้ า นการพั ฒ นาบุ ค ลากร
นดุส

การพัฒนาการจัดการและการพัฒนาคุณภาพ และบริการ ในการวางแผนระยะยาวนี้จะมีการกำหนด


แนวทางการพั ฒ นาโปรแกรมนำเที่ ย ว จะพิ จ ารณาตามความสนใจของกลุ่ ม ลู ก ค้ า เป้ า หมาย
ัยสว

เช่ น ลู ก ค้ า บางกลุ่ ม สนใจการท่ อ งเที่ ย ว ชมความงามตามธรรมชาติ ทางทะเล หรื อ ความงาม


ยาล

ของทุ่งหญ้า ภูเขา ดอกไม้ ส่วนบางกลุ่มจะสนใจการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านประวั ติ ศ าสตร์ และ


โบราณคดี นักท่องเที่ยวบางกลุ่มอาจจะสนใจไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เพียงเพื่อซื้อ
าวิท

ของเท่านั้น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจซื้อบริการมักจะเป็นคนที่มีความคล้ายคลึงกันในด้านต่าง ๆ
เช่ น เป็ น คนที่ มี อ าชี พ เหมื อ นกั น มี ง านอดิ เ รกเหมื อ น เป็ น เพื่ อ นหรื อ รู้ จั ก กั น อายุ เพศ หรื อ วั ย
"มห

ใกล้ เ คี ย งกั น โสด แต่ ง งาน หรื อ ไม่ เ หมื อ นกั น มี พื้ น ฐานทางเศรษฐกิ จ สั ง คม ศาสนา และ
วัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน มีประสบการณ์การเดินทางคล้ายกันไม่รู้จักกันเลย
30

การวางแผนระยะสั้น การวางแผนจัดนำเทีย่ วในแต่ละปี จะต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ


ดังนี้
1. ประเภทการจัดนำเที่ยว : บริษัทนำเที่ยวต้องมีนโยบายในการจัดนำเที่ยวว่า จะจัดนำเที่ยว
ประเภทใดบ้าง เช่น ประเภทรับนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศ หรือประเภทจัดนำเที่ยวให้
นักท่องเที่ยวไทยเที่ยวภายในประเทศหรือเที่ยวต่างประเทศ
2. ภู ม ิ ภ าค/จุ ด หมายปลายทาง : มุ ่ ง จั ด ภู ม ิ ภ าค ยุ โ รป เอเซี ย หรื อ อเมริ ก า เป็ น ต้ น

"
โดยเน้นหนักประเทศใดบ้าง ถ้าเป็นภายในประเทศมุ่งเน้นภาคหรือจังหวัดใดบ้าง

่านั้น
3. วัตถุประสงค์ : ในการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้งควรจะวางวัตถุประสงค์ของการจัดแต่ละครั้งว่า
มีจุดมุ่งหมายที่จะให้นักท่องเที่ยวได้อะไรบ้าง เช่น เพื่อให้นักเท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้นว่า

าเท
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถานที่สวยงามตามธรรมชาติ หรือเพื่อให้มีโอกาสได้

ศึกษ
ซื้อของ หรือเพื่อให้ได้มีโอกาสลองรั บประทานอาหารประจำท้องถิ่นนั้น ๆ หรือ เพื่อให้มีโอกาสได้
ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่น หรือเพื่อให้ได้มีโอกาสเล่นกีฬาฤดูหนาว หรือชมกีฬา เป็นต้น
กา ร
เพราะถ้าวางวัตถุประสงค์ในการจัดนำเที่ยวไว้แล้ว การจัดต้องสนองตอบวัตถุประสงค์ที่วางไว้
4. ช่วงเวลาของการจัด : ในการจัดนำเที่ยวจะจัดกี่ครั้งในช่วงใดบ้าง ใช้ระยะเวลากี่วัน ต้อง
เพื่อ
พิจารณาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ของสถานที่ที่จะไป ประกอบกับเวลาว่างของนักท่องเที่ยว เช่น
ช่วงปิดภาค หรือช่วงหยุดยาว 4 วัน เพราะถ้าจัดเวลาไม่สอดคล้องกันก็อาจจะขายไม่ได้ ตัวอย่างเช่น
ิต

นักท่องเที่ยวยุโรปนิยมมาเที่ยวประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม เพราะต้องการหลีก
นดุส

หนีจากอากาศที่หนาวเย็น และประเทศไทยอากาศไม่ร้อนมาก แต่ถ้าจะจัดให้นักท่องเที่ยวไทยไปชม


ดอกทิวลิปบานที่เนเธอร์แลนด์ ก็ต้องจัดในช่วงเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม เพราะระยะนั้น
ัยสว

เป็นช่วงที่ดอกทิวลิปบานและเป็นช่วงที่โรงเรียนปิดภาคฤดูร้อน ผู้ปกครองอาจมีเวลาพาบุตรหลาน
เที่ยว และเป็นช่วงฤดูร้อนที่คนไทยอยากหลบลมร้อนไปเที่ยวเมือง หนาว และช่วงนั้นยุโรปเป็นฤดู
ยาล

ใบไม้ผลินักท่องเที่ยวยังไม่มีมากเหมือนช่วงฤดูร้อน คือ ระหว่างเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม


าวิท

ความสะดวกในด้านการบริการของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ยังมีมากกว่าช่วงฤดูร้อน ไม่ว่าจะเป็น


โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า และสถานที่น่าสนใจต่าง ๆ หรือการไปดูพระอาทิตย์เที่ยงคืนที่ประเทศใน
"มห

แถบสแกนดิเนเวีย ต้องไปในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม จึงจะเป็นพระอาทิตย์เที่ยงคืน


นอกจากนี้จำนวนวันที่จะใช้ในการเดินทาง ต้องพิจารณาจากจำนวนจุดหมายปลายทางที่จะแวะและ
สถานที่ที่จะเยี่ยมชม ระยะทาง แต่อย่างไรก็ตาม การจัดไม่ควรใช้เวลานานเกิด 3 สัปดาห์ เพราะ
นักท่องเที่ยวจะมีปัญหาด้านอารมณ์ อันเนื่องมาจากการเหน็ดเหนื่ อยจาการเดินทาง และต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายสูง
5. ความคาดหวังของลูกค้า : ลูกค้าหวังจะได้รับบริการที่ต้องการ เช่น ความสนุก ซึ่งบริษัทนำเที่ยว
จะต้องอธิบายความหมายของคำว่า “สนุก” ได้ เพื่อจะจัดได้ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้า และเมื่อกลับ
31

จากการท่องเที่ยวผลที่จะคุ้มกับที่เสียเงินหรือไม่ สนุก ในที่นี้หมายถึง ได้รับบริการที่ดี พักผ่อนเต็มที่


กินอาหารอร่อย ซื้อของถูกใจ เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ มีเพื่อนใหม่ ได้ความรู้ (ความบันเทิง)
6. ลูกค้าเป้าหมาย : พิจารณาถึงบุคคลที่สามารถท่องเที่ยวได้เป็นบุคคลใด มีอาชีพอะไร
ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เพื่อจะได้จัดได้ถูกต้องตามงบประมาณของลูกค้า ซึ่งสามารถศึกษาได้
จากผู้ที่เคยใช้บริการของบริษัทนำเที่ยว เพื่อให้ทราบความต้องการทางด้านการท่องเที่ยว เช่น
ต้องการสัมผัสธรรมชาติ อาบแดด สิ่งบันเทิงเริงรมย์ เยี่ยมชมสถานที่ เป็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ หรือ

"
ซื้อของ เป็นต้น

่านั้น
7. กิจกรรม : จะจัดกิจกรรมเช่นไรให้สอดคล้องกับความสนใจของลูกค้า เพราะความแตกต่าง
กันของลูกค้า อาจต้องการประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะไปจุดหมายปลายทางเดียว และใน

าเท
ขณะเดียวกันต้องจัดให้เหมาะกับวัยของลูกค้า

ศึกษ
8. ปริมาณการจัดนำเที่ยว : วางแผนกกำหนดจำนวนโปรแกรมนำเที่ยวที่จะจัดแต่ละปี
โดยแยกตามประเภทต่างๆ กา ร
การจัดนำเที่ยวต้องมีการวางแผนประจำปี ถึงแม้บริษัทนำเที่ยวที่ดำเนินธุรกิจมานาน
จะมีรายการนำเที่ยวเหมือนเดิมซ้ำทุกปี แต่ก็ต้องมีการปรับปรุงบางรายการที่เห็นว่ามีข้อบกพร่อง โดย
เพื่อ
มีการแก้ไขรายการ อาจจะเพิ่มสถานที่เที่ยวใหม่ และเปลี่ยนแปลงกิจกรรม
ิต

การวางแผนเพื่อความสำเร็จ
นดุส

บริษัทนำเที่ยวทุกบริษัทควรจะมีการวางแผนทางธุรกิจ เพราะการวางแผนงาน เปรียบเสมือน


ัยสว

แผนที่นำทางให้บริษัทก้าวเดินไปในทิศทางที่กำหนดไว้ เนื่องจากการวางแผนเป็นการกำหนดแนวทาง
ยาล

ปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติได้พอรู้ถึงข้อดี ข้อด้อย และโอกาสในการเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตลอด


เส้นทางนั้น ซึ่งย่อมจะดีกว่าที่จะก้าวไปโดยไม่ทราบทิศทางที่แน่นอน นอกจากนี้ การวางแผนเตรียม
าวิท

ดำเนินการทุกอย่างตามแผนที่กำหนด นับตั้งแต่การจัดโปรแกรมนำเที่ยวการติดต่อธุรกิจผลิตสินค้า
บริการท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อนึ่งในการจัดทำแผนการตลาด และการส่งเสริมการขาย ยังต้อง
"มห

อาศัยแผนหลักที่ทางบริษัทวางไว้ด้วย
ปัจจัย 3 ประการ ที่ทำให้บริษัทนำเที่ยวประสบความล้มเหลวในธุรกิจ คือ (พวงบุหงา ภูมิพานิช,
2539: 73)
1. การวางแผนที่ไม่ถูกต้อง
2. ขาดการวางแผนการบริหารงาน
3. ขาดการวางแผนทางการเงิน
32

ดังนั้น การวางแผนจึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจการจัดนำเที่ยวแต่ละปี หมายถึง


การผลิตสินค้า ซึ่งได้แก่ โปรแกรมนำเที่ยวต่าง ๆ ที่บริษัทจัดทำขึ้นเพื่อขายให้แก่ลูกค้า ถ้าสินค้าที่จัด
ขึ้นไม่ได้วางแผนอย่างถูกต้องและขาดการพัฒนา เพราะบริษัทขาดการตั้งวัตถุประสงค์ ทำให้ลูกค้า
ได้รับประสบการณ์จากการท่องเที่ยวน้อย วิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดนำเที่ยว คือ
ต้องมีการวางแผนที่ดี การวางแผนเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถมาดำเนินการ
เพราะนั่นหมายถึงงานอื่นๆ ที่จะตามมาจากการวางแผน เช่น การจัดโปรแกรม การเขียนรายการ

"
นำเที่ยว การส่งเสริมการขายให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

่านั้น
ความสำคัญของการวางแผนการท่องเที่ยว

าเท
ศึกษ
ความสำคัญของการวางแผนการท่องเที่ยวต่อตัวนักท่องเที่ยว (บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, 2554: 1-2)
1. ช่วยในการประมาณค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และระยะทางได้
กา ร
2. ช่วยให้ได้รับความสะดวกสบายตามแผนการที่มีการจองไว้ล่วงหน้า
3. ช่วยป้องกันปัญหาและอุปสรรคต่างๆอันอาจเกิดขึ้นได้โดยการมีแผนสำรองรองรับ
เพื่อ

4. ช่วยให้เกิดความอุ่นใจว่าเป็นไปตามแผนการที่วางไว้
5. ช่วยให้ได้รับประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดีตามคาดหวัง
ิต
นดุส

ความสำคัญของการวางแผนการท่องเที่ยวต่อบริษัทนำเที่ยว
1. ช่วยในการประมาณค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และระยะทางในการนำเที่ยวได้
ัยสว

2. ช่วยในการเลือกธุรกิจที่เกี่ยวข้อง บริษัททัวร์ภาคพื้นดิน และมัคคุเทศก์ท้องถิ่นได้อย่างถูกต้อง


ยาล

3. ช่วยป้องกันปัญหาและอุปสรรคต่างๆอันอาจเกิดขึ้นได้โดยการมีแผนสำรองรองรับ
4. ช่วยให้ได้รับผลการประเมินการนำเที่ยวที่ดีจากลูกทัวร์ซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้บริการ
าวิท

นำเที่ยวครั้งต่อไป
5. ช่วยให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีในการเป็นมืออาชีพในสายตานักท่องเที่ยว เป็นการรับประกัน
"มห

ความสำเร็จในการจัดนำเที่ยวและความสำเร็จของบริษัทนำเที่ยว
33

สรุป

การวางแผนทางธุรกิจจัดว่าเป็นความจำเป็นของผู้ประกอบการ เพื่อให้การทำงานดำเนิน
ได้วยดีและมีอุปสรรคน้อยที่สุด เพราะการวางแผนจะช่วยให้ผู้ประกอบการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ตามทิศทางที่กำหนดไว้ การจัดทำแผนงานควรมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในการการวางแผนการจัด
นำเที่ยว ในแต่ละปี จะต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ วัตถุประสงค์ ระยะทางในการเดินทาง

"
่านั้น
ลูกค้าเป้าหมาย ราคาบริการท่องเที่ยว ความต้องการของตลาดเป้าหมาย การคมนาคมขนส่ง อาหาร
ที่พัก แหล่งท่องเที่ยว ฤดูกาล ระยะเวลา ซึ่งต้องศึกษาประเทศ จังหวัด หรือเมืองที่ จะจัดนำเที่ยว

าเท
อย่างละเอียด

ศึกษ
คำถามทบทวน
กา ร
1. จงอธิบายคำว่า การวางแผน
เพื่อ
2. จงอธิบายคำว่า การวางแผนจัดนำเที่ยว
3. การวางแผนจัดนำเที่ยวแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
4. จงอธิบายขั้นตอนการวางแผนและการจัดนำเทียว
ิต
นดุส

5. จงบอกองค์ประกอบของการจัดรายการนำเที่ยว
6. การวางแผนจัดนำเที่ยว จะต้องพิจารณาข้อมูลด้านต่างๆ อย่างไรบ้าง
ัยสว

7. ชนิดของรายการนำเที่ยว พร้อมอธิบาย
8. จงอธิบายการวางแผนระยะสั้นในการวางแผนและการจัดนำเที่ยว
ยาล

9. จงอธิบายระยะยาวในการวางแผนและการจัดนำเที่ยว
10. อธิบายความสำคัญของการวางแผนการท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวและบริษัทนำเที่ยว
าวิท
"มห
34

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


จำกัด
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเทีย่ ว.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"
่านั้น
บังอร ฉัตรรุ่งเรือง. (2554 ). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว.กรุงเทพฯ : บริษัท สยาม บุ๊คส์ จำกัด
พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
35

บทที่ 3
ธุรกิจนำเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยว เป็นธุรกิจที่ขายสินค้าและการบริการด้านการท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวก


ในการเดินทาง การสำรองที่พัก อาหาร การนำชมสถานที่ท่องเที่ยวและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ให้กับนั ก ท่ อ งเที่ ย ว โดยเฉพาะรายการนำเที่ ย วสำเร็ จ รู ป ธุ ร กิ จ จั ด นำเที่ ย ว (Tour Operator)

"
่านั้น
อาจขายบริ ก ารท่ อ งเที่ ย ว (Travel Product) ให้ แ ก่ นั ก ท่ อ งเที ย วโดยตรง หรื อ ขายผ่ า นธุ ร กิ จ
ตัวแทนท่องเที่ยว (Travel agent) ก็ได้

าเท
ความหมายของธุรกิจนำเที่ยว

ศึกษ
กา ร
ตามความหมาย แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ มาตราที่ 3 พ.ศ.2551
หมายถึง การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดหรือการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับ
เพื่อ
การเดินทาง สถานที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ทัศนาจร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว ธุรกิ จ
นำเที่ยวหากจะให้เห็นความหมายชัดเจนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (พิมพรรณ สุจารินพงค์,
ิต

2553 : 6)
นดุส

1. ธุรกิจนำเที่ยวหรือบริษัทนำเที่ยว (Tour Operator) คือ บริษัทนำเที่ยวที่ผลิตรายการ


นำเที่ยว (Itinerary) เอง หรือการซื้อบริการท่องเที่ยวต่าง ๆ จากผู้ผลิตสินค้าทางการท่องเที่ยว
ัยสว

(Supplier) เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บัตรเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว การบริการขนส่ง แล้วนำมาคิดเป็น


ต้นทุนบวกกำไร และนำมากำหนดราคาขายเป็นรูปเหมาจ่ายให้กับบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว
ยาล

2. ธุรกิจตัวแทนหรือบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว (Travel Agency) คือ บริษัทตัวแทนบริการ


นำเที่ยวที่ทำหน้าที่นายหน้าขายบริการนำเที่ยวซึ่งจะได้รับค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนหรือบางครั้ง
าวิท

บริษัทตัวแทนบริการนำเที่ยวอาจจะจัดรายการนำเที่ยวของตนเองขึ้นก็ได้
"มห

ธุ ร กิ จ นำเที่ ย ว ประกอบด้ ว ย ธุ ร กิ จ ตั ว แทนท่ อ งเที่ ย ว หรื อ อาจเรี ย กว่ า บริ ษั ท ตั ว แทน


ท่ อ งเที่ ย ว (travel agent) คื อ บุ ค คลหรื อ กลุ่ ม บุ ค คลที่ จั ด ตั้ ง กิ จ การดำเนิ น งานเกี่ ย วกั บ ธุ ร กิ จ
การเดินทางและท่องเที่ยว รับจัดตั๋วเครื่องบิน รถไฟ รถโดยสาร และที่พักแรม ตลอดจนเป็นตัวแทน
ขายโปรแกรมนำเที่ยวให้บริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ โดยการขายแต่ละครั้งจะได้รับค่าบริการจากการขาย
(commission) 10-15% ส่วนธุรกิจจัดนำเที่ยว หรืออาจเรียกว่า บริษัทนำเที่ยว (tour operator หรือ
tour company) คือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกั บการจัดนำเที่ยว ทั้งภายในประเทศ
36

และ/หรือ ภายนอกประเทศ ในขณะเดียวกันก็อาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนท่องเที่ยว รับจัดตั๋วเครื่องบิน


รถไฟ และจองโรงแรม (พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539 : 90)
ธุรกิจนำเที่ยวเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกใน
การเดินทาง สถานที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ทัศนาจรและ/หรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว และมี
บทบาทเพิ่มมากขึ้น เมื่อการท่องเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package Tour) เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
โดยธุรกิจนำเทียวได้รวมส่วนต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเข้าด้วยกันอย่างน้อย 2 อย่าง

"
แล้วขายเหมาในราคาเดียวที่ถูกกว่าการที่นักท่องเที่ยวแยกซื้อส่วนต่างๆของบริการท่องเที่ยวเอง

่านั้น
นอกจากนั้น ยังให้ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวไม่ต้องตระเวนไปติดต่อซื้ส่วนต่างๆจากบริการ
ท่องเที่ยวหลาย ๆ แห่ง (บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, 2554 : 26-27)

าเท
ศึกษ
การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว
กา ร
ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกของ
ธุรกิจเป็นอย่างดีก่อนที่จะมีการตัดสินใจลงทุน เพราะสินค้าที่ธุรกิจนำเที่ยวนำเสนอแก่นักท่องเที่ยว
เพื่อ

เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods) เช่น รายการนำเที่ยวที่ประกอบไปด้วย ที่พักแรม


ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวได้ตัดสินใจซื้อและมาใช้บริการจะได้แต่ความ
ิต

พึงพอใจและความประทับใจ แต่ถ้าหากการประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่มีการวางแผน การจัดการที่ดี


นดุส

บริการไม่เป็นที่ประทับใจ นักท่องเที่ยวก็จะไม่มาใช้บริการอีก ซึ่งผู้ ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจำเป็นต้อง


มีความพร้อมทั้ง 3 ปัจจัย ดังนี้ (พิมพรรณ สุจารินพงค์, 2553 : 7)
ัยสว

1. เงินทุน ในการประกอบธุรกิจนำเที่ย วจะต้อ งมีเ งินลงทุน สำหรับการจัดตั้งธุรกิ จ นำ


ยาล

เที่ยวและการดำเนินงานที่มาจากเงินทุนของเจ้าของกิจการเอง หรือจาการร่วมลงทุนจากหุ้นส่วนหรือ
จากการกู้ยืมเงินจากธนาคาร สถาบันการเงินอื่น ๆ ซึ่งงบลงทุนจะเป็นงบลงทุนสำหรับซื่อหรือเข่าที่ดิน
าวิท

เพื่อก่อสร้างอาคาร ตกแต่งอาคาร การติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆของอาคาร งบดำเนิ นการและ


งบบริหาร ซึ่งเป็นงบสำหรับเป็นค่าจ้าง ค่าตอบแทนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการ
"มห

ดำเนินงานในการจัดนำเที่ยว ค่าส่งเสริมการตลาด
2. บริษัทหรือสำนักงาน เพือใช้สำหรับดำเนินการตัดต่อกับลูกค้าที่จะมาใช้บริการ การเลือก
ทำเลที่ตั้งของบริษัทต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายของลูกค้าที่เข้ามาติดต่อ ควรเลือกทำเลที่ตั้งอยู่
ในกลางเมืองย่านธุรกิจที่มีการติดต่อสื่อสารได้อย่างสะดวกสบาย
3. พนักงาน จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานเพื่อให้ธุรกิจ
อยู่รอดและประสบผลสำเร็จ ควรมีความรู้ความสามารถด้านการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์สถานการณ์
37

การวางแผน การจัดการ ความรู้ด้านภาษา มีความพร้อมในการให้บริการ มีใจรักงานบริการ มีหน้าตา


ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ

หน้าที่ของธุรกิจนำเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยวมีหน้าที่จัดรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่ายเป็นงานหลัก นอกจากนั้น ยังเป็น

"
ตัวแทนให้กับธุรกิจท่องเที่ยวต่าง ๆ อีกด้วย สามารถสรุปหน้าที่ของธุรกิจนำเที่ยวได้เป็น 2 หน้าที่

่านั้น
ใหญ่ ๆ ดังนี้ (บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, 2554: 28-29)
1. หน้าที่ในการจัดและบริการนำเที่ยว

าเท
2. หน้าที่ในการบริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า

ศึกษ
หน้าที่ในการจัดและบริการนำเที่ยว กา ร
เป็นหน้าที่หลักของธุรกิจนำเที่ยว จะให้บริการตั้งแต่ ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยวางแผนการ
เดินทางท่องเที่ยวและช่วยจัดการติดต่อกับธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ ตลอดจนจัดรายการนำเที่ยวทั้ง
เพื่อ

รายบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแบบเหมาจ่าย การจัดรายการนำเที่ ยวพิเศษฯ ทั้งภายในและต่างประเทศ


ทั้งนี้ต้องมีผู้คอยให้คำแนะนำหรือพนักงานประจำภายในบริษัท ตามที่นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย
ิต

ต้องการ ส่วนในการให้บริการนำเที่ยวนั้น ธุรกิจนำเที่ยวมีพนักงานที่จะทำหน้าที่ นำนักท่องเที่ยวไป


นดุส

เที่ยวชมสถานที่ต่างๆ โดยให้คำอธิบาย ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับนักท่องเที่ยว ได้แก่


1. หัวหน้าทัวร์/ผู้นำกลุ่มนักท่องเที่ย ว (Tour Leader/Tour Conductor) เป็นผู้ที่ต้อง
ัยสว

ติดตามไปกับกลุ่มทัวร์ตลอดรายการท่องเที่ยว คอยช่วยเหลือดูแลตั้งแต่เริ่มต้นออกเดินทางจนสิ้นสุด
ยาล

การเดินทางท่องเที่ยว
คุณสมบัติของหัวหน้าทัวร์ (Tour Leader)
าวิท

1. มีทักษะดีเลิศด้านคน มีความเป็นผู้นำกลุ่ม มีทักษะในการจัดการ


2. สำนึกและยึดมัน่ ในการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
"มห

3. มีความรับผิดชอบและผูกพันกับงาน
4. มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
5. มีทักษะทางด้านภาษา อย่างน้อย 2 ภาษา
6. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
7. มีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
8. สามารถทำบัญชีและงบประมาณได้
9. มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
38

10. มีความรู้ในประเทศที่จะนำทัวร์ไปเป็นอย่างดี
หน้าที่หลักของหัวหน้าทัวร์ (Tour Leader) ความรับผิดชอบในการอยู่ดีมีสุขของลูกทัวร์
ตั้งแต่เริ่มออกทัวร์จนกระทั่งทัวร์เสร็จสิ้น รวมถึงการให้ข้อมูลจุดหมายปลายทางที่จะเดินทางไป ดูแล
ปัญหาส่วนตัวและปัญหาสุขภาพของลูกทัวร์ การจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ พาหนะ ที่พัก อาหาร
รวมทั้งการปฏิบัติงานกับบริษัททัวร์ในท้องถิ่น ทั้งนี้รวมถึงมัคคุเทศก์ท้องถิ่นด้วย ถือเป็นหน้าที่ของ
หัวหน้าทัวร์ที่จะทำให้ทัวร์เกิดความแตกต่าง ลูกทัวร์เกิดความพึงพอใจ และทัวร์ประสบความส ำเร็จ

"
ส่วนหน้าที่อื่นๆ ประกอบด้วย

่านั้น
1. ร่วมเดินทางไปกับลูกทัวร์ตั้งแต่ต้นจนจบ
2. อำนวยความสะดวกในการเช็คอินทั้งที่สนามบินและโรงแรมที่พักรวมทั้งการเช็คเอาท์ด้วย

าเท
3. ให้คำแนะนำกับลูกทัวร์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ รวมทั้งการจัดหาทัวร์เพิ่มเติมหากลูกทัวร์ต้องการ

ศึกษ
ซื้อทัวร์เพิ่ม
4. แนะนำลูกทัวร์เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะเป็นต้นแบบในการประพฤติตน
กา ร
ให้เหมาะสมในท้องถิ่นนัน้
5. สอนลูกทัวร์ในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การขี่อูฐ การขี่ลา การอาบน้ำแร่ ฯลฯ
เพื่อ
6. แนะนำลูกทัวร์เกีย่ วกับอาหารท้องถิ่น เช่น ส่วนผสมทีป่ รุงอาหาร การรับประทานอาหาร
ท้องถิ่นให้มีรสชาติและถูกต้องตามธรรมเนียม
ิต

7. คอยสังเกตพฤติกรรมและปฏิกิริยาลูกทัวร์ และตอบสนองความต้องการของลูกทัวร์
นดุส

เท่าทีจะทำได้
8. รับฟังปัญหา ข้อตำหนิ และข้อกังวลของลูกทัวร์ พร้อมทั้งหาทางแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น
ัยสว

9. ช่วยมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการดูแลลูกทัวร์ เช่น ช่วยลูกทัวร์ในการซื้อของโดยเฉพาะ


ในต่างประเทศที่ลูกทัวร์ไม่สามารถพูดภาษานั้นได้
ยาล

10. ประเมินกรปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและบริษัททัวร์ท้องถิ่น และประสานงาน


าวิท

เพื่อประกันคุณภาพในการบริการลูกทัวร์
11. จัดการเรื่องเงินและงบประมาณในการเดินทางทั้งหมด รวมทั้งค่าทิปมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
"มห

และพนักงานขับรถ และเงินสำรองในการสร้างความประทับใจให้ลูกทัวร์
12. จัดทำเอกสารและรายงานต่างๆที่ต้องส่งบริษัททัวร์ต้นสังกัด
13. ให้การดูแลลูกทัวร์ที่เจ็บป่วยหรือต้องการปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาล
14. ทำการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มัคคุเทศก์ไม่สามารถตัดสินใจหรือแก้ไขได้
2. มัคคุเทศก์ประจำท้องถิ่น (Local Guide) เป็นผู้มีความรู้และคุ้นเคยกับสถานที่สำคัญ
ต่าง ๆ ที่เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว และมีความสามารถที่จะอธิบายเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ อีกทั้งยัง
ต้องเตรียมตัวที่จะตอบคำถามทุกรูปแบบ และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วย
39

ธุรกิจนำเที่ยวจะมีมัคคุเทศก์ อยู่ 2 ประเภท คือ


1. มัคคุเทศก์ประจำบริษัท (Permanent Guide) คือ มัคคุเทศก์ที่สังกัดธุรกิจนำเที่ยวใด
ธุรกิจนำเที่ยวหนึ่ง โดยทำงานประจำให้บริษัทนั้นแล้วรับค่าจ้างเป็นเงินเดือนหรือเป็นค่าทัวร์
2. มัคคุเทศก์อิสระ (Freelance Guide) คือ มัคคุเทศก์ที่ไม่สังกัดบริษัทใด จะรับทำงาน
ให้กับหลายๆบริษัทในขณะเดียวกัน โดยรับเงินค่าจ้างเฉพาะค่าทัวร์ในแต่ละครั้ง ส่วนมากมักจะเป็น
มัคคุเทศก์ที่รู้ภาษาต่างประเทศที่มีมัคคุเทศก์ส่วนใหญ่พูดไม่ได้หรือมีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน

"
่านั้น
หน้าที่ในการและอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า
เมื่อธุรกิจนำเที่ยวได้จัดรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่ายเป็นหมู่คณะทั้งภายในและต่างประเทศ

าเท
แล้ว ก็มีหน้าที่ขายรายการนำเที่ยวให้แก่ลูกค้า ธุรกิจนำเที่ยวอาจขายเองหรือให้ตัวแทนจัดการ

ศึกษ
เดินทางเป็นผู้ขายอีกต่อหนึ่งก็ได้ จึงต้องมีหน้าที่ในการให้บริการและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ให้แก่ลูกค้า ดังนี้ กา ร
1. การให้ บ ริ ก ารข้ อ มู ล ทางการท่ อ งเที่ ย ว ธุ ร กิ จ นำเที่ ย วทั้ ง ประเภทขายส่ ง บริ ก ารท่ อ ง
เที ย ว (Tour Wholesaler) และตั ว แทนจั ด การท่ อ งเที่ ย ว (Travel Agent) จะบริ ก ารข่ า วสาร
เพื่อ
ข้ อ มู ล ทางการท่ อ งเที่ ย วต่ า งๆ ให้ แ ก่ ลู ก ค้ า ที่ ต้ อ งการเดิ น ทาง เช่ น สถานการณ์ ข องแหล่ ง
ท่ อ งเที่ ย ว ภูมิอากาศ ความเป็นอยู่ พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ตารางเข้าออกของพาหนะขนส่ง วีซ่า
ิต

เข้าประเทศ กฎระเบียบในการท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ และราคารายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย


นดุส

เป็นต้น
2. การให้บริการจองตั๋วเดินทาง ธุรกิจนำเที่ยวจะให้บริการขายตั๋วเดินทางประเภทต่าง ๆ
ัยสว

เช่น ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถทัวร ตั๋วรถไฟ เป็นต้น นักท่องเที่ยวนิยมใช้บริการนี้กันมาก (โดยเฉพาะบริการ


จองตั๋วเครื่องบิน) เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวจะมีส่วนลดพิเศษเพื่อจูงใจลูกค้า
ยาล

3. การให้บริการจองที่พักแรม ธุรกิจนำเที่ยวจะให้บริการจองที่พักแรมทั้งในประเทศและ
าวิท

ต่างประเทศให้แก่ลูกค้าในราคาที่ถูกกว่าลูกค้าจองเอง
4. การให้บริการขนส่ง ธุรกิจนำเที่ยวหลายแห่งจะมีรถบริการให้กับลูกค้าทั้งรถยนต์ส่วนตัว
"มห

รถตู้ รถบัส รถมอเตอร์ไซต์ รถจักรยาน นอกจากนั้นยังให้ลูกค้าเช่ารถดังกล่าวได้อีกด้วย


5. การให้บริการจองตั๋วเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว ธุรกิจนำเที่ยวจะให้บริการจองตั๋วเข้าชม
สถานที่ท่องเที่ยวทั้งแหล่งท่ องเที่ยวตามธรรมชาติ โบราณสถาน สวนสนุก สถานบันเทิงเริงรมย์ และ
กิจกรรมพิเศษทางการท่องเที่ยว
6. การให้บริการจัดทำหนังสือเดินทางและวีซ่า ธุรกิจนำเที่ยวมีบริการจัดทำหนังสือเดินทาง
และวีซ่าให้แก่ลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาในการจัดทำเอง นับว่ามีการอำนวยความสะดวกให้แก่
ลูกค้าเป็นอย่างดี
40

7. การให้บริการซื้อสินค้าที่ระลึก ตามปกติ ธุรกิจนำเที่ยวจะทำหน้าที่ติดต่อกับร้านจำหน่าย


สินค้าที่ระลึก แล้วนำนักท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะไปหาซื้อของที่ระลึกในร้านค้านั้นๆ โดยร้านค้าจะให้
ค่านายหน้าแก่มัคคุเทศก์หรือผู้ควบคุมการนำเที่ยวหรือพนักงานขับรถนำเที่ยว
8. การให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตามปกติ การให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นหน้าที่ของธนาคารหรือธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราโดยเฉพาะ แต่ก็มี ธุรกิจนำเที่ยวหลายแห่ง
ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราให้แก่ลูกค้าของตนด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า

"
9. การให้บริการอื่นๆ ธุรกิจนำเที่ยว ปัจจุบันนี้ธุรกิจนำเที่ยวมีกิจกรรมการให้บริการเพิ่มมาก

่านั้น
ขึ้นทุกที เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ เช่น การให้บริการบัตรสินเชื่อ
เช็คเดินทาง การประกันการเดินทาง การแนะแนวและติดต่อสถานศึกษาในต่างประเทศ การจัดหา

าเท
งานในต่างประเทศ การจัดหาเพื่อนเที่ยว เป็นต้น

ศึกษ
องค์ประกอบของธุรกิจนำเที่ยว กา ร
ธุรกิจนำเที่ยวเป็นธุรกิจที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง
เพื่อ

ที่พักแรม อาหาร เครื่องดื่ม ค่าเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว แล้วนำมาผลิตรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย


เพื่อขายให้นักท่องเที่ยว ซึ่งอาจขายเองหรือขายผ่านตัวแทนจัดการเดินทางก็ได้ จึงทำ หน้าที่เป็น
ิต

สื่อกลางระหว่างผู้ผลิตบริการท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังช่วยวางแผน จัดการและอำนวย


นดุส

ความสะดวกในเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งให้ข่าวสารทางการท่องเที่ยวด้วย
ธุรกิจนำเที่ยวจึงมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ (บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, 2554: 29-33)
ัยสว

1. ผู ้ ผ ลิ ต บริ ก ารท่ อ งเที ่ ย ว (Tourist Business Producer) เป็ น ผู ้ ผ ลิ ต วั ต ถุ ด ิ บ ให้ กั บ


ยาล

ธุรกิจนำเที่ยวเพื่อนำไปผลิตรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย มี 5 กลุ่ม ดังนี้


1.1 ผู้ผลิตบริการท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย 5 กลุ่ม คือ
าวิท

1.1.1 ผู้ผลิตแหล่งท่องเที่ยว
1.1.2 ผู้ผลิตผู้ผลิตการขนส่ง
"มห

1.1.3 ผู้ผลิตที่พักแรม
1.1.4 ผู้ผลิตอาหาร
1.1.5 ผู้ผลิตบริการอื่น ๆ
1.2 ผู้ผลิตแหล่งท่องเที่ยว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.2.1 ผู้ผลิตแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
1.2.2 ผู้ผลิตแหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุ
1.2.3 ผู้ผลิตแหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม
41

1.3 ผู้ผลิตบริการขนส่ง แบ่งเป็น 5 ประเภท


1.3.2 ผู้ผลิตบริการขนส่งทางรถยนต์
1.3.3 ผู้ผลิตบริการขนส่งทางรถไฟ
1.3.4 ผู้ผลิตบริการขนส่งทางเรือ
1.3.5 ผู้ผลิตบริการขนส่งทางเครื่องบิน
1.3.6 ผู้ผลิตบริการขนส่งทางอวกาศ

"
1.4 ผู้ผลิตอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

่านั้น
1.4.1 ผู้ผลิตอาหารสากล
1.4.2 ผู้ผลิตอาหารไทย

าเท
1.5 ผู้ผลิตบริการอื่น ๆ เป็นผู้อำนวยความสะดวก ได้แก่ การจำหน่ายของที่ระลึก

ศึกษ
จัดทำเอกสารการเดินทาง จัดทำประกันภัย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ
2. ผู้ผลิตรายการนำเที่ยว (Tour Operator) หรือ DMC (Destination Management)
กา ร
เป็นผู้ผลิตที่นำบริการท่องเที่ยวจากผู้ผลิตในข้อที่ 1 มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ออกมาในรูปรายการ
นำเที่ยวแบบเหมาจ่าย โดยกำหนดรายการนำเที่ยวว่า จะจัดขึ้นเมื่อไร ระยะเวลาท่องเที่ยวนานเท่าใด
เพื่อ
จะไปเที่ยวที่ไหน จะไปอย่างไร จะพักที่ไหน จะแวะรับประทานอาหารที่ไหน จะมีบริการพิเศษ
อะไรบ้าง โดยติดต่อตกลงกับผู้ผลิตบริการท่องเที่ยวในราคาถูกเนื่องจากเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ครั้งละ
ิต

จำนวนมาก สร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิตบริการท่องเที่ยว ทำให้สามารถกำหนดราคาขายรายการ


นดุส

นำเที่ยวแบบเหมาจ่ายในราคาถูกเป็นสิ่งดึงดูดใจลูกค้าได้ ลักษณะเด่นของผู้ผลิตรายการนำเที่ยวแบบ
เหมาจ่าย คือจะทำหน้าที่ผลิตรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่ายขายส่งให้แก่ธุรกิจตัวแทนจัดการเดินทาง
ัยสว

(Travel Agent) จึงเรียกอีกอย่างว่า ผู้ผลิตขายส่งบริการนำเที่ยว (Tour Wholesaler) บางรายอาจ


เป็นผู้ผลิตรายการนำเที่ยวเฉพาะภาคพื้นดินเท่านั้น (Land Only) ไม่รวมการเดินทางทางอากาศ
ยาล

ในขณะที่บางรายเป็นผู้ผลิตรายการนำเที่ยวที่รวมทั้งภาคพื้นดินและอากาศ (Air and Land) แบ่งเป็น


าวิท

2 ประเภท คือ
2.1 การแบ่งประเภทของผู้ผลิตรายการนำเที่ยวตามลักษณะการดำเนินงาน แบ่งเป็น
"มห

2.1.1 ผู้ผลิตรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package Tour)


2.1.2 ผู้ผลิตรายการนำเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (All Inclusive Tour)
2.1.3 ผู้ผลิตรายการนำเที่ยวแบบชำนาญพิเศษ
2.2 การแบ่งประเภทผู้ผลิตรายการนำเที่ยวตามลักษณะอาณาเขตของรัฐ แบ่งเป็น
3 ประเภท คือ
2.2.1 ผู้ผลิตรายการนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวภายในประเทศ (Domestic)
42

2.2.2 ผู้ผลิตรายการนำเที่ยวประเทภนำนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าท่องเที่ยว
ภายในประเทศ (Inbound)
2.2.3 ผู้ผลิตรายการนำเที่ยวประเภทนำเที่ยวนักท่องเที่ยวในประเทศไปเที่ยวต่างประเทศ
(Outbound)
3. ตัวแทนจัดการเดิน ทาง (Travel Agent) เป็นผู้ประกอบการที่ทำหน้ าที่ให้ความ
ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการเดินทาง จำหน่ายรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย รับติดต่อจอง

"
ยานพาหนะ ห้องพัก การเข้าชมสถานที่ การเข้าชมการแสดง การเข้าชมการแข่งขันกีฬา รับจัดทำ

่านั้น
เอกสารการเดินทาง จำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ธุรกิจนำเที่ยวหรือบริษัทนำเที่ยว (Tour Operator) คือ บริษัทนำเที่ยวที่ผลิตรายการ

าเท
นำเที่ยว (Itinerary) เอง หรือการซื้อบริการท่องเที่ยวต่าง ๆ จากผู้ผลิตสินค้าทางการท่องเที่ยว

ศึกษ
(Supplier)
ธุรกิจตัวแทนหรือบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว (Travel Agent) คือ บริษัทตัวแทนบริการ
กา ร
นำเที่ยวที่ทำหน้าที่นายหน้าขายบริการนำเที่ยวซึ่งจะได้รับค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนหรือบางครั้ง
บริษัทตัวแทนบริการนำเที่ยวอาจจะจัดรายการนำเที่ยวของตนเองขึ้นก็ได้
เพื่อ
ตัวแทนจัดการเดินทาง (Travel Agent)
1. มีความรู้ความชำนาญในเรื่องการเดินทางเป็นอย่างดี
ิต

2. รู้ถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของการเดินทางรูปแบบต่างๆ
นดุส

3. มีความรู้เรื่องภูมิศาสตร์และภูมิอากาศเป็นอย่างดี
4. มีความสามารถในการจัดบริการเดินทางท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน
ัยสว

5. ต้องตื่นตัวกับกฎระเบียบต่างๆของทางราชการ
6. เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวให้กับลูกค้า
ยาล

7. เป็นนักขายมืออาชีพ
าวิท

ทางเลือกที่เป็นไปได้ 2 ทาง เมื่อนักท่องเที่ยวตัดสินใจท่องเที่ยว


"มห

1. จัดรายการท่องเที่ยวทุกอย่างด้วยตนเอง หารายละเอียดทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น ยานพาหนะ


หมายกำหนดการเดินทาง ที่เป็นไปได้
2. ใช้บริการของบริษัทนำเที่ยวจัดรายการนำเที่ยว
43

ความสำคัญของธุรกิจนำเที่ยว

ธุรกิจการท่องเที่ยว มีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะเป็นธุรกิจที่รวม


การบริการความสะดวกทั้งในด้านของพาหนะ ที่พัก อาหาร การนำชมสถานที่และบริการที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ เพื่อนำมาขายในลักษณะเหมาจ่าย ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบประหยัด ช่วยให้การเดินทาง
ท่ อ งเที ่ ย วในระยะไกลได้ ม ากขึ ้ น ขยายเวลาการท่ อ งเที ่ ย วได้ ม ากขึ ้ น การแข่ ง ขั น ของธุ ร กิ จ

"
การท่องเที่ยว นอกจากขยายขอบเขตของการบริการแล้ว ยังเป็นการโฆษณาส่งเสริมให้เกิดการ

่านั้น
เดินทางท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ผู้ใช้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์
ดังนี้ (บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, 2554: 4)

าเท
1. ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก่อให้เกิดมิตรภาพใหม่ ๆ มีสังคมกว้างขึ้น

ศึกษ
2. ได้รับความสะดวกสบายและความมั่นใจในความปลอดภัยระหว่างการเดินทาง
3. ได้รับบริการความช่วยเหลือ ขจัดปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ
กา ร
4. ได้รับความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง
5. การบริการที่มีคุณภาพในราคาที่แน่นอน
เพื่อ

ธุรกิจนำเที่ยว มีบทบาทและความสำคัญต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านเศรษฐกิจ สังคม


วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สามารถสรุปได้ดังนี้ (นภาพร จันทร์ฉาย, 2560: 45-46)
ิต

1. บทบาทและความสำคัญของธุรกิจนำเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
นดุส

ธุ ร กิ จ นำเที ่ ยวถือ ว่ า เป็ น ตั ว กลางระหว่า งธุ รกิ จต่ างๆที ่เ กี ่ ยวข้อ งกั บการท่อ งเที ่ย วและ
นักท่องเที่ยว การให้บริการและอำนวยความสะดวกของธุรกิจนำเที่ยว ดังนั้นบทบาทสำคัญของธุรกิจ
ัยสว

นำเที่ยวในด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
ยาล

1.1 กระตุ้ น ให้ เ กิ ด กิ จ กรรมด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว และก่ อ ให้ เ กิ ด รายได้ แ ก่ ธุ ร กิ จ และ
ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
าวิท

1.2 กระตุ้ น ให้ เ กิ ด การหมุ น เวี ย นเงิ น ในระบบเศรษฐกิ จ ทั้ ง ในระดั บ ประเทศและ
ระดั บ ท้ อ งถิ่ น
"มห

1.3 ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น
1.4 ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของ
การท่องเที่ยว
1.5 กระตุ้นให้เกิดการผลิตในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ การนำเอาทรัพยากรในประเทศ
มาพัฒนาและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านการท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงผลกระทบ
และการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
44

1.6 อุ ตสาหกรรมท่องเที่ยวถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองวัตถุดิบ สามารถให้


บริการได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในด้านเวลาและสถานที่และความสามารถของผู้ขาย
หรือผู้ให้บริการ
2. ความสำคัญของธุรกิจนำเที่ยวต่อสังคมและวัฒนธรรม มีดังนี้
2.1 การนำนั ก ท่ อ งเที่ ย วไปเยี่ ย มชมตามสถานที่ ต่ า ง ๆ มี ส่ ว นสำคั ญ ในการส่ ง เสริ ม
การเรียนรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง ๆ กัน

"
2.2 ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชน

่านั้น
ในท้องถิ่น
2.3 การท่ อ งเที่ ย วยั ง มี ส่ ว นสำคั ญ ในการพั ฒ นาสั ง คม โดยการสร้ า งงานสร้ า งอาชี พ

าเท
สร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น ไม่ต้องเดินทางไปหางานทำต่างถิ่น ถื่อว่าเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์

ศึกษ
ของคนในครอบครัวและในชุมชน
2.4 รายได้จากการท่องเทียวทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
กา ร
2.5 การท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชน สังคม ทั้งในด้านรายได้ (เศรษฐกิจ)
และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูป โภคต่า ง ๆ ที่ได้เป็นผลมาจากการพั ฒ นา
เพื่อ
การท่องเที่ยว
2.6 ช่วยลดปั ญ หาความแตกต่ า งระหว่ า งสั ง คมเมื อ งและสั งคมชนบท เนื่องจากการ
ิต

ท่ อ งเที่ ย วนำมาซึ่ ง ความเจริ ญ และสิ่ ง อำนวยความสะดวกต่ า ง ๆ สู่ ชุ ม ชนและสั ง คม ความ


นดุส

แตกต่างระหว่า งสั งคมเมื อ งและสั งคมชนบทจึ งลดลง


2.7 ช่ วยให้คนในชุมชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ัยสว

และให้ บ ริ ก ารด้ า นการท่ อ งเที ่ ย ว อี ก ทั ้ ง ยั ง เป็ น การพั ฒ นาศั ก ยภาพของชุ ม ชน ในด้ า นความรู้
ความสามารถด้านการท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ยาล

2.8 การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งดึงดูดใจ


าวิท

ที่สำคัญอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว
2.9 ส่งเสริม ให้คนท้ องถิ่นเห็นความสำคัญและตระหนักในคุณค่าของวั ฒนธรรมและ
"มห

เกิดความภาคภูมิใจและหวงแหนรักษาวัฒนธรรม ประเพณีวีถีชีวิตดั้งเดิมมากขึ้น
3. ความสำคัญของธุรกิจนำเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของธุรกิจนำเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม คือ การจัดรายการนำเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยว
มักจะมีมัคคุเทศก์เป็นผู้นำนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมตามสถานที่ต่างๆ และการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว
นอกจากการให้ ค วามรู ้ เ กี ่ ย วกั บ ธรรมชาติ ระบบนิ เ วศ สั ต ว์ ป ่ า ต้ น ไม้ ที ่ ม ั ค คุ เ ทศก์
บอกเล่าให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบแล้ว กฎระเบียบในการท่องเที่ยว รวมถึงข้อควรปฏิบัติและไม่ควร
ปฏิบัติก็เป็นสิ่งสำคัญที่มีมัคคุเทศก์ต้องแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบและปฏิบัติตามเพื่อป้องกันผลกระทบ
45

จากการท่องเที่ยวที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ
ที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่นักท่องเที่ยว ให้ตระหนักถึงคุณค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม และสนับสนุน
การท่ อ งเที ่ ย วเชิ ง อนุ ร ั ก ษ์ แ ละการท่ อ งเที ่ ย วอย่ า งยั ่ง ยื น ซึ ่ ง การท่ อ งเที ่ ย วในลั ก ษณะนี ้ จะช่ วย
ลดผลกระทบหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ส่งผลให้ธรรมชาติยังคงอยู่ได้และมีความสมดุลตามระบบนิเวศ

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้บริการของบริษัทนำเที่ยวด้วยเหตุผล ดังนี้ (พวงบุหงา

"
ภูมิพานิช, 2539 : 15-16)

่านั้น
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย
2. สะดวกสบาย

าเท
3. ปลอดภัย

ศึกษ
4. มีคนรับผิดชอบ
5. มีคนคอยบริการ กา ร
6. ได้เพื่อนใหม่
7. รู้แหล่งซื้อของ
เพื่อ
8. ได้รับความรู้
9. มีกำหนดการเดินทางที่แน่นอน
ิต
นดุส

ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
ัยสว

1. ผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงฤดูกาลท่องเที่ยว สภาพของแหล่งท่องเที่ยว
ยาล

รวมทั ้ ง ข้ อ มู ล ความรู ป ของแหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วนั ้ น ๆ เพื ่ อ ช่ ว ยสร้ า งสี ส ั น และความสนุ ก สนานใน
การท่องเที่ยวแต่ละครั้ง
าวิท

2. มีวิสัยทัศน์ มีความพร้อม และเอาใจใส่การให้บริการลูกค้าตลอดเวลา เมื่อลูกค้าเกิดปัญหา


ต่าง ๆ องค์กรก็สามารถแก่ไขให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงปรับปรุงในสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้แก้ไข
"มห

3. มีความซื่อสัตย์ และจริงใจในการให้บริการ
46

สรุป

ธุรกิจนำเที่ยว ประกอบด้วย บริษัทนำเที่ยว (tour operator หรือ tour company) คือบุคคล


หรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการจัดนำเที่ยว ทั้งภายในประเทศ และ/หรือ ภายนอก
ประเทศ ในขณะเดียวกันก็อาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนท่องเที่ยว และ ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว หรืออาจ
เรียกว่า บริษัทตัวแทนท่องเที่ยว (travel agent) เป็นธุรกิจที่สำคัญในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับ

"
่านั้น
การจัดการหรือการให้บริการหรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหารและ
เครื่องดื่ม ทัศนาจร และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารงาน ประกอบด้วย

าเท
แผนกบริหาร แผนกนำเที่ยว แผนกจอง แผนกขายและการตลาด แผนกการเงิน และแผนกบุคลากร
แต่ ล ะแผนกจะทำงานติ ด ต่ อ ประสานงานกั น ทำให้ ม ี ก ารผลิ ต รายการนำเที ่ ย ว เพื ่ อ บริ ก ารแก่

ศึกษ
นักท่องเที่ยว
กา ร
คำถามทบทวน
เพื่อ

1. ธุรกิจนำเที่ยว หมายถึง
ิต

2. อธิบายขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว
นดุส

3. อธิบายหน้าทีข่ องธุรกิจนำเที่ยว
4. อธิบายความสำคัญของธุรกิจนำเที่ยว
ัยสว

5. อธิบายโครงสร้างการบริหารงานของบริษัทนำเที่ยว
6. อธิบายความหมาย Tour Operator
ยาล

7. อธิบายความหมาย Travel Product


8. อธิบายความหมาย Travel agent
าวิท

9. การแบ่งประเภทผู้ผลิตรายการนำเที่ยวตามลักษณะอาณาเขตของรัฐ แบ่งเป็นกี่ประเภท
"มห

จงอธิบาย
10.การแบ่งประเภทของผู้ผลิตรายการนำเที่ยวตามลักษณะการดำเนินงาน แบ่งเป็นกี่
ประเภท จงอธิบาย
47

เอกสารอ้างอิง

บังอร ฉัตรรุ่งเรือง. (2554 ). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว.กรุงเทพฯ : บริษัท สยาม บุ๊คส์ จำกัด


พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิมพรรณ สุจารินพงค์. (2553). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
นภาพร จันทร์ฉาย. (2560). การจัดการธุรกิจนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์

"
่านั้น
กราฟฟิคไซต์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
49

บทที่ 4
โครงสร้างการบริหารงานของบริษัทนำเที่ยว

การดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยว (Tour Operator) นั้นทำหน้าที่เหมือนพ่อค้าขายส่ง (Tour


Wholesaler) ซึ่งบริษัทจะรวบรวมสินค้าทางการท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน เช่น ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร
ตั๋วยานพาหนะ แหล่งท่องเที่ยว ร้านขายของที่ระลึกฯลฯ แล้วนำมาขายในราคารวมกัน (Package)

"
่านั้น
หรือขายให้กับตัวแทนผู้ค้าปลีก หรือเรียกว่า บริษัทตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agent) โดยที่บริษัท
นำเที่ยว (Tour Operator) จะให้ค่าตอบแทนแก่บริษัทตัวแทนท่องเที่ยว (Travel Agent) ในรูปของ

าเท
ค่าคอมมิชชัน (Commission) ประมาณ 10-30% ของรายการนำเที่ยวที่สามารถขายได้

ศึกษ
ลักษณะของการประกอบธุรกิจนำเที่ยว กา ร
การประกอบธุรกิจนำเที่ยวประกอบด้วยธุรกิจ 2 ประเภทหลัก คือ (นิภา วธาวนิชกุล, 2550:
เพื่อ
166-169)
1. ธุรกิจการจัดรายการทัวร์เพื่อขายส่ง (tour operator)
ิต

2. ธุรกิจทีร่ ับรายการจากธุรกิจขายส่งไปขายต่อ หรือขายปลีก (travel agent)


นดุส

ธุรกิจ 2 ประเภทนี้ ไม่ ส ามารถแยกออกจากกัน ได้ อย่ า งชั ดเจน แต่ที่เห็นความแตกต่ า ง


ได้ เ ด่ น ชั ด คื อ ธุ ร กิ จ ขายส่ ง จะจั ด รายการทั ว ร์ แ บบเบ็ ด เสร็ จ (package) เพื่ อ ขายให้ แ ก่ ธุ ร กิ จ
ัยสว

ขายปลี ก ธุรกิจบางแห่งดำเนินการทั้ งขายส่งและขายปลีก


ลักษณะที่สำคัญที่สุดของธุรกิจนำเที่ยว มีดังนี้
ยาล

1. ต้องมีการจ่ายค่าบริการก่อนที่จะได้รับสินค้าหรือบริการ (prepaid) หมายถึง ลูกค้าหรือ


นักท่องเที่ยวที่เป็นผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าบริการที่จะได้รับการบริการ ตัวอย่าง เช่น ลูกค้าหรือ
าวิท

นักท่องเที่ยวคนหนึ่งต้องการซื้อทัวร์ไปเที่ยวยังต่างประเทศ หรือในประเทศที่มีจุดหมายปลายทางที่
"มห

แน่นอนพร้อมรายละเอียดในการบริการต่างๆ เช่น พาหนะในการเดินทาง ที่พัก อาหาร หรือสถานที่


ท่องเที่ยว (tourist spots) ครบถ้วน เมื่อลูกค้าไปซื้อทัวร์ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินก่อนล่วงหน้า โดยยังไม่
ทราบว่ารายการทัวร์ที่ตนเองจะซื้อนั้นจะดีหรือไม่ คุณภาพเป็นอย่างไร จะได้รับความพอใจสูงสุด
หรือไม่ ดังนั้นการซื้อบริการทัวร์จึงมีลักษณะคล้ายๆ กับการเก็งกำไร (speculation) ซึ่งเรื่องของการ
จ่ายล่วงหน้า (prepaid) นีเ้ ป็นเรือ่ งทางด้านลูกค้า
2. ต้องมีการจัดการล่วงหน้า (prearrange) ก่อนที่ลูกค้าจะรับบริการ หมายถึง รายการทัวร์
หรือองค์ประกอบในการทำทัวร์ เช่น การขนส่ง ที่พักแรม อาหาร หรือสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้ผู้จัด
50

รายการหรือบริการนำเที่ยวเหล่านี้ ผู้จัดรายการหรือบริการนำเที่ยวจำเป็นจะต้องจัดการหรือ
เตรียมการเอาไว้ก่อน เมื่อถึงเวลานักท่องเที่ยวก็สามารถจะใช้บริการได้ทันที ตัวอย่ าง เช่น ต้องมีการ
จองตั๋วเครื่องบิน (หรือพาหนะอื่น) หรือจองโรงแรมเอาไว้ ล่วงหน้า (บางครั้งจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้า
ส่วนหนึ่งด้วย) ซึ่งเรื่องของการจัดการล่วงหน้า (pre-arrange) นี้เป็นเรื่องในด้านของผู้บริการผูจ้ ัดการ
ทัวร์ ที่จะต้องบริหารธุรกิจของตน
ลักษณะที่สำคัญ 2 ประการดังกล่าว ทำให้เกิดความตระหนักแน่นอนว่าธุรกิจนำเที่ยวทุกแห่ง

"
ควรจะเน้นไปที่ความไว้เนื้อเชื่อใจหรือพึ่งพาได้ (reliability) ที่ลูกค้าหรือลูกทัวร์จะมอบให้แก่บริษัท

่านั้น
โดยที่บริษัททัวร์ ทั้งหลายจะต้องพยายามให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือให้มากที่สุดเท่าที่จะ มากได้ และ
จะต้องพยายามจัดรายการทัวร์ที่จะสร้างความพอใจสูงสุดให้แก่ลูกทัวร์ ดังนั้นการขายทัวร์จึง

าเท
เปรียบเสมือนขายความไม่แน่นอนหรือความฝันเพื่อสร้างความสุขให้แก่ลูกค้า (selling holidays is

ศึกษ
like selling dream)
แม้ว่าลักษณะของการขายการท่องเที่ยว หรือการขายทัวร์ จะเป็นการขายบริการ แต่ถ้าจะ
กา ร
พิจารณาจากองค์ประกอบของการบริการแล้วจะเห็นว่า บริการทัวร์ดังกล่าวจะมีองค์ประกอบ
อยู่ 2 ประการคือ องค์ ป ระกอบทางกายภาพ (physical element) หมายถึง สิ่ ง ที่เราสามารถ
เพื่อ
จะสัมผัสได้ เช่น ที่นั่งบนเครื่องบินห้องพักในโรงแรมหรืออาหาร แต่ก็จะต้องไม่ลืมว่าแม้ว่าสิ่งเหล่านี้
จะสัมผัสได้ แต่ผู้บริโภคก็ไม่สามารถนำเอาไปเป็นของตนเองได้เหมือนกับสินค้าอื่นๆ ปฏิสัมพันธ์
ิต

ระหว่างผู้ขายกับผู้รับบริการหรือผู้ซื้อ จึงเป็นเรื่องของการอำนวยความสะดวกมากกว่าที่จ ะเป็นสินค้า


นดุส

องค์ ป ระกอบอี ก อย่ า งหนึ ่ ง ของบริ ก ารทั ว ร์ คื อ องค์ ป ระกอบทางจิ ต ใจ หรื อ อารมณ์ (mental
element) หมายถึ ง สิ ่ ง ที ่ ต อบสนองอารมณ์ ห รื อ ความต้ อ งการทางจิ ต ใจ เช่ น วั ฒ นธรรม
ัยสว

พื้ น บ้ า นในแหล่งท่องเที่ยวที่ลูกทัวร์เดินทางไปถึง สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หรือมรดกโลก


ตลอดจนวิธีดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นที่นักท่องเที่ยวได้เดินทางไปถึงด้วย
ยาล
าวิท

กลไกของธุรกิจนำเที่ยว (mechanism of travel business)


"มห

ธุรกิจนำเที่ยวมีลักษณะเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่ตามปกติคือประกอบด้วย
องค์ประกอบ 3 ฝ่าย คือ ผู้ผลิต (producer) ผู้ขาย (seller) และผู้บริโภค (consumer) หรือลูกค้า
(ลูกทัวร์)
1. ผู้ผลิตรายการทัวร์ (tour operator) คือผู้จัดทำรายการทัวร์แล้วส่งขายให้ ผู้ขาย ซึ่งก่อน
ที่ ผู้ ผ ลิ ต จะขายรายการทั ว ร์ ข องตนเองได้ ผู้ ผ ลิ ต จะต้ อ งซื้ อ องค์ ป ระกอบของการท่ อ งเที่ ย ว
ซึ่งประกอบด้วยค่าโดยสาร (หรือค่าขนส่ง ) ที่พัก และบริการอื่นๆ ซึ่งเรียกว่าผู้ผลิต producers)
แต่คำว่า “ซื้อ” ในที่นี้ความจริงแล้วไม่ได้มีความหมายเหมือนกับซื้อ สินค้าโดยปกติเพราะไม่สามารถ
51

จะนำเอามาเป็นของผู้ซื้อได้ ผู้ผลิตรายการทัวร์ใช้วิธีติดต่อล่วงหน้ากับธุรกิจขนส่ง หรือธุรกิจที่พัก


(โรงแรม) โดยทำสัญญาในเรื่องราคาเอาไว้ก่อน เช่น ถ้าผู้ผลิตเอานักท่องเที่ยวเข้ามาพักได้จะได้ราคา
ห้องละเท่าไรต่อวัน หรือราคาตั๋วเครื่องบินก็เช่นเดียวกัน การตกลงราคากันเอาไว้ก่อนในทำนองนี้
โดยปกติจะกระทำกันในรูปแบบสัญญา (contract) หรือข้อตกลง (agreement) เอาไว้ เมื่อมีการใช้
บริการแล้วก็จะเรียกเก็บเงินตามปริมาณการใช้บริการและตามอัตราดังกล่าว เมื่อผู้ประกอบการทัวร์
(tour operator) ได้ซื้อบริการขององค์ประกอบทางการนำเที่ยวจากผู้ผลิตดังกล่าวไว้ล่วงหน้า ก็จะ

"
นำมารวมกันสร้างเป็นทัวร์สำเร็จ (tour package) ซึ่งนำออกขายตรงหรือขายผ่านบริษัทนำเที่ยวก็ได้

่านั้น
และเนื่องจากลัก ษณะการขายของ tour operator ที่ขายให้แก่บริษัทนำเที่ยวนั้น เป็นการขาย
ในรู ป แบบของการบริ ก ารรวม ดั ง นั้ น tour operator จึ ง ทำหน้ า เป็ น ผู้ ข ายส่ ง (wholesaler)

าเท
ด้วย เพราะเวลาซื้อบริการจะซื้อมาเป็นจำนวนมากหลายแห่งแต่เวลาขายจะขายในปริมาณน้อยกว่า

ศึกษ
อย่างไรก็ตาม tour operator จะไม่พยายามเปลี่ยนลักษณะ product ก่อนที่จะขายออกไป ดังนั้น
tour operator จึงเรียกได้ในชื่อว่าผู้ส่งของ (supplier) มากกว่าที่จะเป็นคนกลาง (middle man)
กา ร
อย่างไรก็ตาม สำหรับรายการทัวร์ที่จะต้องเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางในต่างประเทศ
การสร้าง package ดังกล่าว tour operator มักจะไม่สร้างเอง แต่เมื่อได้สำรวจความต้องการของ
เพื่อ
นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าแล้วว่ามีความต้องการในตลาดว่าจะเดินทางไปที่ใด tour operator ก็จะ
ติดต่อกับบริษัทนำเที่ยว (travel agent) ในต่างประเทศที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางไป ให้ดำเนินการ
ิต

ติดต่อกับผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของ องค์ประกอบของการท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม ค่าขนส่ง อาหารและ


นดุส

อื่นๆ แล้วกำหนดราคา (quote) ส่งไปยัง tour operator ให้พิจารณาเพื่อจัดทำ package แล้วเสนอ


ราคาขายแก่ลูกค้า
ัยสว

2. บริษัทนำเที่ยว (travel agent) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การบริการท่องเที่ยวนั้นผู้จัดทำ


(tour operator) อาจจะขายเองหรือขายทัวร์ผ่านบริษัทนำเที่ยวก็ได้ แต่การขายไม่ว่าจะขายโดยใคร
ยาล

จะขายในราคาเดี ย วกั น สำหรั บ บริ ษ ั ท นำเที ่ ย วเมื ่ อ ขายได้ ก ็ จ ะมี ร ายได้ อ ั น เกิ ด จากค่ า นายหน้ า
าวิท

(commission) ที่ได้รับมาจากผู้ผลิตรายการ (tour operator) ตัวอย่างเช่น package tour ขายใน


ราคา 50,000 บาท ราคาขาย 50,000 บาท นี้ ทั้ง tour operator หรือผู้ขายส่ง (wholesaler) และ
"มห

บริษัทนำเที่ยวหรือที่เรียกว่าผู้ขายปลีก (retailer) จะขายในราคาเดียวกัน แต่จะมีข้อตกลงหรือสัญญา


ระหว่างกันว่าทุก 50,000 บาท ที่ขายได้บริษัทนำเที่ยวจะได้ค่านายหน้า (commission) จำนวนหนึ่ง
ตามแต่จะตกลงกัน เช่น ร้อยละ 10 ดังนั้น เมื่อบริษัทนำเที่ยวขายทัวร์แบบเบ็ดเสร็จ( package )นั้น
ได้ก็จะส่งเงินคืนให้แก่ tour operator โดยหักไว้ร้อยละ 10 คือคืนให้ (50,000-5,000) คือ 45,000
บาท ลักษณะการเดินบัญชีแบบนี้ในต่างประเทศจะมีบริษัทหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการ
จัดการรับและส่งเงินให้ โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องดำเนิน การเอง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนา
บริษัทที่ทำหน้าที่ดังกล่าว
52

กล่าวโดยสรุป บริษัทนำเที่ยวที่ทำหน้าที่ผลิตรายการ (tour operator) จะมีภารกิจในการ


ดำเนินการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ดังนี้
(1) สร้าง package tour ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งการสร้าง แพ็ค เกจ (package)
ดังกล่าวอาจจะสร้างเองหรือติดต่อบริษัทนำเที่ยวให้กำหนดราคา (quoted price) ให้ก็ได้ เพราะ
บริ ษั ท นำเที่ ย วจะเป็ น ผู้ ติ ด ต่ อ กั บ องค์ ป ระกอบ (ผู้ ผ ลิ ต ) ต่ า งๆ ที่ จ ำเป็ น ในการท่ อ งเที่ ย วที่ อ ยู่
ณ จุดหมายปลายทางได้สะดวกกว่า

"
(2) ขายทัวร์ด้วยตนเองหรือขายผ่านบริษัทในเครือข่ายถ้าเป็นการขายผ่านบริษัทเครือข่าย

่านั้น
ก็จะต้องให้ค่าตอบแทน (commission) แก่บริษัทเครือข่าย
(3) ติดต่อสายการบินที่เป็นสายการบินระหว่างประเทศ (International airline) เพื่อนำ

าเท
นักท่องเที่ยวไปยังจุดหมายปลายทาง

ศึกษ
สำหรั บ บริ ษั ท นำเที่ ย ว (travel agent) นั้ น จะมี ภ ารกิ จ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผู้ ผ ลิ ต รายการ
(tour operator) ดั ง นี้ กา ร
(1) ติดต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวหรือผู้ผลิตบริการ เช่นการขนส่ง ที่พัก อาหาร
และค่าธรรมเนียม (admission fee) ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยว ณ จุดหมายปลายทางแล้วเสนอราคา
เพื่อ
ซึ่งปกติเป็นราคาต้นทุนให้ tour operator พิจารณาจัดทำ package และกำหนดราคาขายเพื่อสร้าง
ผลกำไร
ิต

(2) รับเงินจากการขายทัวร์ แล้วส่งให้ tour operator ข้อนี้เป็นภารกิจของบริ ษัท


นดุส

นำเที่ยวที่อยู่ ณ ต้นทาง
(3) รับกลุ่มทัวร์ (group tour) ที่เดินทางเข้ามาตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ เป็นภารกิจ
ัยสว

ของบริษัทนำเที่ยวปลายทาง
(4) จัดหามัคคุเทศก์ เพื่อนำเที่ยวให้แก่กลุ่มทัวร์
ยาล

(5) จั ด การบริ ห ารการทำทั ว ร์ ที่ รั บ มาให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและสร้ า งความพึ ง พอใจ


าวิท

ให้แก่นักท่องเที่ ยวให้ม ากที่ สุ ด


ตามข้อเท็จจริงแล้วทั้งทัวร์โอเปอเรเตอร์( tour operator) และทราเวล เอเจนซี่ (travel
"มห

agent) อาจจะทำธุรกิจส่วนหนึ่งที่เป็นของตนเอง นอกเหนือจากที่เกี่ยวกับการจัด package tour


ได้ดังต่อไปนี้
1. ขายทั ว ร์ ต ามแต่ ลู ก ค้ า จะเลื อ ก (optional tour) ให้ แ ก่ ลู ก ค้ า ที่ ต้ อ งการซื้ อ
ทั ว ร์ ที่ น อกเหนื อ จากที่ ป รากฏในรายการของ package tour
2. รับสำรอง หรือจำหน่ายตั๋วเครื่องบินและห้องพักโรงแรม ให้กับลูกค้าทั่วไป
3. ให้บริการด้านเอกสารเดินทางได้แก่นักท่องเที่ยวได้แก่ การทำวีซ่า หรือให้ข้อมูลข่าวสาร
ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว และได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า
53

องค์ประกอบของธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่จัดให้มีหรือให้บริการเกี่ยวกับการท่องเทียว
ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร โดยมีค่าตอบแทน และหมายรวมถึงหลายธุรกิจในอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยว ที่สำคัญมีอยู่ 6 ธุรกิจ คือ (1) ธุรกิจขนส่ง (2) ธุรกิจที่พักแรม (3) ธุรกิจอาหาร

"
และบันเทิง (4) ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (5) ธุรกิจ (MICE) (6) ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

่านั้น
ซึ่งแต่และธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเทียวจะมีองค์ประกอบของการบริการแตกต่างกัน ดังนี้
(บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, 2559: 10-12)

าเท
1. องค์ประกอบของธุรกิจขนส่ง มีองค์ประกอบการบริการที่สำคัญ ดังนี้

ศึกษ
(1) เส้นทางบริการ
(2) ความถี่ของการบริการ กา ร
(3) ยานพาหนะที่ให้บริการ
(4) ขนาดและจำนวนของที่นั่ง
เพื่อ

(5) รายการอาหารระหว่างเดินทาง
(6) สิ่งบันเทิงระหว่างเดินทาง
ิต

(7) บริการของพนักงานบนยานพาหนะ
นดุส

(8) สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
2. องค์ประกอบของธุรกิจที่พักแรม มีองค์ประกอบการบริการที่สำคัญ ดังนี้
ัยสว

(1) สถานที่ตั้ง
ยาล

(2) การออกแบบก่อสร้าง
(3) ขนาดของอาคารและห้องพัก
าวิท

(4) จำนวนห้องพัก
(5) การตกแต่งห้องพัก
"มห

(6) สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
(7) บริการของโรงแร
3. องค์ประกอบของธุรกิจอาหารและบันเทิง มีองค์ประกอบการบริการที่สำคัญ ดังนี้
(1) สถานที่ตั้ง
(2) ประเภทและรูปแบของรายการอาหาร
(3) ประเภทและรูปแบบของบันเทิง
(4) กรบริการนอกสถานที่
54

(5) การบริการของพนักงาน
(6) ความชำนาญพิเศษในอาหารบางชนิด
(7) ความสะดวกถูกหลักโภชนาการและสุขอนามัย
(8) การบริการเสริมเพิ่มเติมในร้านอาหารหรือแหล่งบันเทิง
4. องค์ประกอบของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ มีองค์ประกอบการบริการที่สำคัญ ดังนี้
(1) การจัดรายการนำเที่ยว

"
(2) การให้บริการระหว่างนำเที่ยว

่านั้น
(3) ภาพลักษณ์และชื่อเสียง
(4) การให้บริการเสริมเพิ่มเติม

าเท
(5) ความรู้ความสามารถของมัคคุเทศก์

ศึกษ
(6) มารยาทและจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์
5. องค์ประกอบของธุรกิจไมซ์ (MICE) มีองค์ประกอบการบริการที่สำคัญ ดังนี้
กา ร
5.1 ธุรกิจการจัดประชุมแบบองค์การและแบบนานาชาติ
(1) หน่วยงานที่จัดประชุม
เพื่อ
(2) หน่วยงานที่ให้บริการด้านต่างๆในการจัดประชุม
(3) หน่วยงานที่รับเป็นตัวแทนการจัดประชุม
ิต

(4) หน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุม
นดุส

(5) ช่วงเวลาและระยะเวลาของการจัดประชุม
(6) ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุม
ัยสว

5.2 ธุรกิจการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
(1) นโยบายและวัตถุประสงค์ของบริษัทผู้ให้การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
ยาล

(2) ภาพลักษณ์และชื่อเสียงผู้รับจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
าวิท

(3) รายการนำเที่ยว
(4) กิจกรรมพิเศษ
"มห

(5) การให้บริการเสริมเพิ่มเติม
(6) ช่วงเวลาและระยะเวลาของการจัดท่องเทียวเพื่อเป็นรางวัล
5.3 ธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้า
(1) ผู้จัดงานแสดงสินค้า
(2) สินค้าที่จะนำมาแสดง
(3) สถานที่จัดงานแสดงสินค้า
(4) ช่วงเวลาและระยะเวลาของการจัดงานแสดงสินค้า
55

6. องค์ประกอบของธุรกิจการจัดจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มีองค์ประกอบการบริการที่สำคัญ
ดังนี้
(1) ประเภทของสินค้าที่ระลึก
(2) รูปลักษณ์ของสินค้าที่ระลึก
(3) วัสดุและเทคนิคการผลิตสินค้าทีระลึก
(4) คุณภาพของสินค้าที่ระลึก

"
(5) ประโยชน์ใช้สอยของสินค้าที่ระลึก

่านั้น
าเท
ประเภทของการทำธุรกิจนำเที่ยว

ศึกษ
การประกอบการธุรกิจนำเที่ย วสามารถจะเลือกทำธุ รกิจนำเที่ ยวได้หลายวิธ ีการ ดัง นี้
(นิภา วธาวนิชกุล, 2550: 173) กา ร
1. ธุรกิจนำเที่ยวออกนอกประเทศ (outbound business)หมายถึงการจัดนำเที่ยวที่บริษัท
นำเที่ยวนำลูกค้าภายในประเทศเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ เช่น บริษัททัวร์ในประเทศไทย
เพื่อ

พาคนไทยไปเที่ยวยังต่างประเทศ เช่น ประเทศในเอเซีย ยุโรป หรืออเมริกา ในกรณีนี้บริษัททัวร์


ที่ ส่ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย วออกไปยั ง ต่ า งประเทศอาจจะถื อ ได้ ว่ า เป็ น tour operator ส่ ว นบริ ษั ท ทั ว ร์
ิต
นดุส

ที่ปลายทางเป็นแทรเวล เอเยน ( travel agent)


2. ธุรกิจนำเที่ยวเข้ามาในประเทศ (inbound business) หมายถึงการจัดนำเที่ยวที่บริษัท
ัยสว

ทัวร์รับลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ เช่น บริษัททัวร์ในประเทศ


ไทยรับลูกค้าจากประเทศฝรั่งเศส เข้ามาเที่ยวในไทย กรณีนี้บริษัททัวร์ต่างประเทศอาจจะถือได้ว่าเป็น
ยาล

ทัวร์โอเปอเรเตอร์( tour operator )และบริษัททัวร์ในประเทศไทยแทรเวล เอเยน (travel agent)


3. ธุ ร กิ จ นำเที่ ย วภายในประเทศ (domestic business) หมายถึ ง การจั ด นำเที่ ย ว
าวิท

ให้แก่นักท่องเที่ยวในประเทศ เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศนั้นเอง เช่น


บริษัททัวร์ในประเทศไทยจัดรายการทัวร์พานักท่องเที่ยวไปยังจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น
"มห

เชียงใหม่ ภูเก็ต หรือพัทยา เป็นต้น


โดยปกติบริษัททัวร์ แต่ละแห่งมักจะทำธุรกิจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประเภท ตามที่
ได้กล่าวมาแล้ว เพราะจะเกิดประสบการณ์และความชำนาญ แต่อาจจะมีบางแห่งที่อาจจะทำธุรกิจ
ทั้ง domestic, inbound ไปพร้อมกันก็ได้
สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น สภาพแท้จริงที่เป็นอยู่ขณะนี้ก็คือมีบริษัททัวร์
จำนวนมากกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ผู้ประกอบการ
บางรายที่เล็กมากจะใช้วิธีตั้งเคาน์เตอร์ขายทัวร์ภายในโรงแรม และจัดรายการทัวร์ให้แก่ลูกค้า
56

ที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย โดยอิสระไม่ได้มากับบริษัททัวร์ หรือจัดรายการทัวร์ ให้แก่ลูกค้า


ที่มากับบริษัททัวร์ แต่มีเวลาเหลือพอที่จะเป็นเวลาว่างของตนเองแล้วจึงซื้อทัวร์จากเคาน์เตอร์
ดังกล่าวเรียกว่า optional tour

โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำเที่ยว

"
โครงสร้างการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การดำเนินการจัดการ

่านั้น
ของเจ้าของ หากบริษัทนำเที่ยวมีขนาดเล็กโครงสร้างการบริหารงานแต่ละแผนก็ไม่ซับซ้อน จำนวน
พนักงานก็ไม่มาก แต่ถ้าเป็นการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวขนาดใหญ่ก็จะมีแผนกเพิ่มมากขึ้น

าเท
จำนวนบุ ค ลากรก็ เ พิ ่ ม มากขึ ้ น พร้ อ มให้ บ ริ ก ารอำนวยความสะดวกในการเดิ น ทางท่ อ งเที ่ ย ว

ศึกษ
แก่นักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุความพอใจของนักท่องเที่ยวให้มาก
ที่สุด อันจะทำให้นักท่องเที่ยวได้กลับมาใช้บริการซ้ำอีก โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำเที่ยว
กา ร
แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ (พิมพรรณ สุจารินพงค์, 2553: 12-13)
1. โครงสร้างแบบแนวตั้ง (Vertical Structure) เป็นการบริหารงานแบบบุคคลคนเดียว
เพื่อ

ทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้จัดการจนถึงเสมียน ส่วนใหญ่จะพบในบริษัทนำเที่ยวที่มีขนาดเล็กยังไม่เป็นระบบ
หรืออาจจะเป็นตัวแทนการท่องเที่ยวทั่วไป
ิต

2. โครงสร้างแบบแนวนอน (Horizontal Structure) เป็นการบริหารงานแบบแบ่งหน้าที่


นดุส

ที่มีระบบระเบียบ ส่วนใหญ่จะพบในบริษัทนำเที่ยวที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่และภาระงานชัดเจน


(1) แผนกบริหาร เป็นแผนกที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน ตรวจสอบ ควบคุม
ัยสว

การบริหารจัดการและดำเนินการของธุรกิจนำเที่ยวทั้งหมด ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง เช่น


ยาล

กรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการทั่วไป
(2) แผนกนำเที่ยว เป็นแผนกที่ทำหน้าที่จัดรายการนำเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ
าวิท

โดยคำนึงถึงงบประมาณ คุณภาพ และความเหมาะสมตามลักษณะของการจัดนำเที่ยว รวมถึง


การรับผิดชอบการทำงานของมัคคุเทศก์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
"มห

(3) แผนกจอง เป็ น แผนกที่ ท ำหน้ า ที่ รั บ จองและติ ด ต่ อ กั บ ผู้ ป ระกอบการใน


อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น จองและติดต่อตั๋วเดินทาง โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร แหล่งท่ อ งเที่ ย ว แหล่งสินค้า
ที่ระลึกฯลฯ
(4) แผนกขายและการตลาด เป็นแผนกที่ทำหน้าที่ขายสินค้าของบริษัท เช่น รายการ
นำเที่ยว ตั๋วเดินทางโดยสาร ขายของที่ระลึก การให้เช่ารถจักรยานยนต์ รวมไปถึงการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์ทำการตลาดให้กับลูกค้าและบุคคลที่สนใจ ทั้งภายในและต่างประเทศ
57

(5) แผนกการเงิ น เป็ น แผนกที่ จั ด การเกี่ ย วกั บ รายรั บ รา ยจ่ า ยภายในบริ ษั ท


ทำงบการเงิ น ของค่ า ใช้ จ่ า ยต่ า งๆ รวมถึ ง การเขี ย นรายละเอี ย ดของค่ า ใช้ จ่ า ยทุ ก อย่ า งของการ
จัดนำเที่ยวในแต่ละครั้ง
(6) แผนกบุคลากร เป็นแผนกที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสรรหาบุคคลเข้ามาทำงาน
ในบริษัทให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เช่น ตำแหน่งมัคคุเทศก์ ควรเลือกมัคคุเทศก์ที่ผ่านการอบรม
และมีบัตรประกอบวิชาชีพมัคคุเทศก์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีความสามารถในการอธิบายแหล่ง

"
ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว พูดภาษาต่างประเทศได้ดี มีความอดทนในการทำหน้าที่และสามารถแก้ไข

่านั้น
ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
ดังตารางหน้าที่และตำแหน่างงานในแต่ละแผนก ดังนี้

าเท
ศึกษ
ตารางที่ 4.1 หน้าที่และตำแหน่งงานแต่ละแผนก

ตำแหน่งงาน/แผนก
กา ร หน้าที่
แผนก โอเปอร์เรชั่ น - เป็นแผนกที่ทำหน้าที่ในการดำเนินทัวร์ ในเรื่องของการประสานงาน
เพื่อ
(Operation รวมถึงเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลในเชิงปฏิบัติการ ควบคุมต้นทุน ควบคุม
Department) คุ ณ ภาพ โดยจะเป็ น ผู ้ ป ระสานงานกั บ ผู ้ ป ระกอบการ และ
ิต

ผู้รับเหมาก่อสร้าง ลักษณะงานเบื้องต้น ดังนี้


นดุส

1. ตรวจสอบ และทำความเข้าใจเส้นทางการเดินทางที่ฝ่ายขายนำเสนอต่อ
ลูกค้า
ัยสว

2. สรรหา สถานที่พักร้านอาหาร พาหนะรวมถึงท้องถิ่นรวมถึงวัตถุดิบอื่น


ยาล

ๆ ที่ต้องนำมาประกอบสำหรับทัวร์นั้น ๆ
3. ตรวจสอบราคา และค่าบริการต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบเป็นต้นทุน
าวิท

4. เลือกใช้บริการ สถานที่พัก ร้านอาหาร พาหนะท้องถิ่นรวมถึงวัตถุดิบ


ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด และมีราคาที่เป็นธรรม
"มห

แผนกขาย( Group) - เป็นแผนกที่ลูกค้าจะให้จัดทัวร์ในรูปแบบหมู่คณะหรือกรุ๊ป ซึ่งลูกค้าจะ


ทัวร์ในประเทศ หรือ โทรเข้ามาในบริษัทฯ ทางแผนกทัวร์เหมา จะนำเสนอโปรแกรมให้ลูกค้า
แผนก ทัวร์เหมา สรุปงาน หากลูกค้าตกลงจะนำหนังสือสัญญาต่าง ๆ พร้อมทั้งทำการติดต่อ
แผนกมัคคุเทศก์ แผนกรถเช่า แผนกตั๋วเครื่องบิน แผนก Outbound
Operation และแผนก Operation พร้อมทั้งสรุปงานส่วนอื่น ๆ เพื่อนำส่ง
ให้ลูกค้า และทีมงานมัคคุเทศก์ เพื่อบริการทัวร์ หลังจากบริการทัวร์เสร็จ
58

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
สิ้นก็จะทำการสรุปงานต่าง ๆ พร้อมทั้งเก็บเงินส่วนที่ เหลือ และทำการปิด
การขาย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลลูกค้าไว้เป็นหลักฐานข้อมูลต่อไป
แผนก MICE - ประกอบด้วยทีม งานที ่ช ำนาญงานและสร้ า งสรรค์ พร้อมบริก ารจั ด
ท่องเที่ยว เพื่อเป็นรางวัลสำหรับหน่วยงาน องค์กร บริษัท ห้างร้าน เพื่อ
เป็นสวัสดิการสำหรับพนักงาน เป็นรางวัลสำหรับลูกค้า เราจัดทุกอย่างใน

"
โปรแกรมท่องเที่ยวเป็นพิเศษ เฉพาะคณะของท่าน เพื่อความประทับใจไม่

่านั้น
ว่าจะเป็นรูปแบบของการต้อนรับ รูปแบบของการเดินทาง รูปแบบของ
งานเลี้ยง รูปแบบของกิจกรรม รูปแบบของการเปิดตัวสินค้า รูปแบบของ

าเท
การจัดประชุม ในการเดินทางนอกจากนี้ยังจัดบริการประชุมสัมมนา เพื่อ

ศึกษ
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มยอดขาย เพิ่มผลกำไรในการดำเนินการ
โดยจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม กิจกรรมพิเศษ เพื่อตอบสนองความ
กา ร
ต้องการของลูกค้าได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด จนบริษัทฯ ให้ความไว้วางใจเป็น
อย่างมาก
เพื่อ

แผนก Collective - รับผิดชอบงานขายโปรแกรมทัวร์ในประเทศ และทัวร์ประเทศเพื่อนบ้าน


ทัวร์ในประเทศ หรือ ที่เป็นการเดินทาง ทางรถยนต์ผ่าน ชายแดน ลักษณะงานหลัก ๆ มีอยู่ 2
ิต

หน้าร้านในประเทศ แบบ
นดุส

1. รับโทรศัพท์ของลูกค้าที่โทรเข้ามาเพื่อสอบถามโปรแกรม
2. ต้อนรับลูกค้าที่ walk in เข้ามาที่บริษัท
ัยสว

- โปรแกรมทัวร์ (สินค้า) ที่เปิดขาย จะถูกกำหนดเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป


ยาล

โดยส่วนใหญ่จะกำหนดจำนวนวัน เวลา เดินทาง เวลาสถานที่ท่องเที่ยว


ในเส้นทางต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าสร้างไว้เป็นโปรแกรม 1 โปรแกรม เพื่อเสนอ
าวิท

ขายลูกค้า
โปรแกรมทัวร์ทั้งหมดที่ เปิดขายแต่ละปี จะมีมากมายหลายโปรแกรม
"มห

ครอบคลุมเส้นทางทั่วทุกภาคในประเทศ ทั้งทัวร์ระยะสั้น 1-3 วัน และ


ทัวร์ระยะยาว 3-6 วัน มีทั้งการเดินทางทางรถยนต์ และทางเครื่องบินให้
เลือก
- ทั้งนี้การกำหนด โปรแกรมทัวร์ที่จะเปิดขายจะเป็นการทำงานร่วมกัน
ระหว่างฝ่ายหน้าร้านฯ / การตลาด / โอเปอร์เรชั่น ที่จะร่วมกันวางแผน
พิ จ ารณาถึ ง ความเหมาะสมของโปรแกรมแต่ ล ะโปรแกรมว่ า เป็ น การ
เดินทางในรูปแบบใด ควรเดินทางในช่วงเวลาไหน มีสถานที่ท่องเที่ยว
59

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
ใดบ้างที่บรรจุในโปรแกรมใช้ระยะเวลาการเดิ นทางมากน้อยเพี ย งใด
รวมทั้งการกำหนดราคาขายในโปรแกรมนั้น ๆ
- แผนกทัวร์หน้าร้านในประเทศจะรับหน้าที่ นำโปรแกรมที่ถูกกำหนดไว้
แล้วนั้น นำเสนอต่อลูกค้า อธิบายถึงรายละเอียดในแต่ละโปรแกรม ตอบ
ข้อสักถาม ข้อสงสัยของลูกค้า และนำเสนอขาย รับการจอง(Booking)

"
หากลูกค้าตัดสินใจจองโปรแกรมใด ๆ กำหนดนัดหมายวัน และวิธีการ

่านั้น
ชำระเงิน ถือเป็นการสิ้นสุดกระบวนการขายในแต่ละครั้ง
แผนก Inbound - เป็นแผนกที่ให้บริการท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาใน

าเท
ประเทศไทย กลุ่มนักท่องเที่ยวจะมีทั่วโลก กลุ่มตลาดอเมริกัน จะมีมาก

ศึกษ
ที่สุด และช่วงฤดูท่องเที่ยวเป็นช่วงธันวาคม – เมษายน จะเป็นช่วงที่มี
นักท่องเที่ยวมากที่สุด ส่วนช่วงฤดูฝน ฤดูร้อน จะมีนักท่องเที่ยวน้อยที่สุด
กา ร
ลักษณะของการทำงาน
- เป็นแผนกที่ติดต่อลูกค้าที่ซื้อทัวร์ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
เพื่อ
1. E-mail / ทางโทรศัพท์ที่มีการติดต่อจากภายในประเทศ
2. นักท่องเที่ยวที่ได้คำแนะนำจากคนไทย
ิต

3. ลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทยโทรมาติดต่อด้วยตนเอง เพื่ออำนวยความ
นดุส

สะดวกให้ชาวต่างชาติ
4. ลู ก ค้ า ชาวไทยที ่ อ ยู ่ ใ นต่ า งประเทศแนะนำชาวต่ า งชาติ ม าเที ่ ย วใน
ัยสว

เมืองไทย
ยาล

5. ลูกค้าที่เคยใช้บริการทัวร์ แล้วกลับมาใช้อีกครั้ง
- หลั ง จากทำการติ ด ต่ อ จากสื ่ อ ระบบต่ า งแล้ ว จะทำการสอบถาม
าวิท

รายละเอียดต่าง ๆ ในส่วนช่วงของการเดินทาง จำนวนผู้เดินทาง ( ผู้ใหญ่


เด็ก) สถานที่ที่มีความต้องการที่จะไปในประเทศไทย ปัจจัยอื่น ๆ ที่
"มห

ต้องการเพิ่ม จะมีในเรื่องของโรงแรม อาหาร โปรแกรมที่สนใจพิเศษ ไกด์


ที่พาท่องเที่ยวจะต้องมีความรู้ด้านภาษาอะไร จากความต้องการ และ
นำเสนอโปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงวิธีการชำระค่าทัวร์เป็นลักษณะของการ
โอนเงินผ่านธนาคาร จ่ายเป็นเช็ค จ่ายเป็นเงินสด ผ่านทางไกด์นำส่งบริษัท
จ่ายเป็นบัตรเครดิต หรือติดต่อชำระเงินโดยตรงกับทางบริษัท
60

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
แ ผ น ก Collective - เป็นการขายโปรแกรมท่องเที่ยวของบริษัทฯ และการขาย Consortium
ทัวร์ต่างประเทศ หรือ (รายการท่องเที่ยวของทัวร์ร่วมหลายบริษัททัวร์) นำเสนอขายโปรแกรม
หน้าร้านต่างประเทศ ในช่ ว งพิ เ ศษและจากหนั ง สื อ โปรแกรมทั ว ร์ ข องบริ ษ ั ท ฯ โปรแกรมที่
นำเสนอขายมาจากแผนกปฏิ บ ั ต ิ ก ารทั ว ร์ ต ่ า งประเทศ Outbound
Operation เป็นแผนกที่จัดทำการเขียนโปรแกรม จัดข้อมูลรายการทุก

"
อย่าง เพื่อส่งให้แผนก Collective ทัวร์ต่างประเทศ ดำเนินการขาย ซึ่งใน

่านั้น
การจัดโปรแกรมหนึ่ง ๆ จะต้องมีผู้ร่วมเดินทาง 15 - 30 คน เป็นลักษณะ
ทัวร์จอย ไม่ใช่ทัวร์กรุ๊ป

าเท
- ความต้องการของลูกค้าจะอยู่ในช่วงของฤดูการท่องเที่ยว และประเทศที่

ศึกษ
สนใจ ดังนี้
เดือนธันวาคม – มกราคม ประเทศนิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย
กา ร
เดือนกันยายน – ตุลาคม ประเทศจีน และ โปรแกรมพิเศษ
** ลักษณะของการทำงาน
เพื่อ
* นำส่งเงินแผนกบัญชี และเดินเอกสารต่าง ๆ
การปฏิบัติงาน
ิต

* เป็นตัวแทนในการให้บริการต่าง ๆ ในการทำจอง และยืนยันการเข้าใช้


นดุส

บริการของนักท่องเที่ยวตามโปรแกรมที่ได้ตกลงกัน
- สำหรับช่วงโลซีซั่น ทางบริษัทฯจะทำโปรโมชั่นพิเศษ เป็นการติดต่อทาง
ัยสว

สายการบิน แลนด์ ดำเนินการจัดโปรแกรมเดินทางไปเกาหลี ฮ่องกง จีน


ยาล

โซนเอเชียทั้งหด หรือยุโรปในบางรายการ
แผนก Outbound - เป็นแผนกที่ติดต่อกับบริษัทท่องเที่ยวต่างประเทศ เพื่อจัดเตรียมและ
าวิท

Operation ดำเนินการ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก อาหาร พาหนะ ฯลฯ ให้แก่


นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวได้รับความประทับใจสูงสุด
"มห

* ลักษณะของการทำงาน
เป็นการทำงานประสานงานกับต่างประเทศ เช่ น ประเทศจีน ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยดำเนินการโดยการของราคาทาง
e-mail เพื่อเป็นการสะดวกและรวดเร็ว จัดทำโปรแกรมต่าง ๆ นั้นให้กับ
Sele เพื่อทำราคาเสนอขายกับลูกค้าต่อไป ในการของราคานั้น จะทำการ
ขอราคาจาก land เพื่อทำการเปรียบเทียบหลาย ๆ land เพื่อนำมาทำ
การเปรียบเทียบราคา และเสนอให้กับ Sele ได้ทำการเลือกและจัดทำ
61

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
ราคา เพื่อเสนอขายลูกค้าต่อไป นอกจากนี้ยังมีการจัดยื่น visa ให้กับลูกค้า
ที่รับบริการเหมาทัวร์กับบริษัท รับยื่น visa only ไม่รวมอเมริกา ยุโรป
แผนก Outbound เป็นแผนกที่ลูกค้าจะให้จัดทัวร์ในรูปแบบหมู่คณะ หรือกรุ๊ป โดยเดินทางไป
Seles ต่างประเทศ ซึ่งลูกค้าจะโทรเข้ามาในบริษัทฯ ทางแผนกฯ จะนำเสนอ
โปรแกรมให้ลูกค้า สรุปงาน หากลูกค้าตกลงจะจัดทำหนังสือสัญญาต่างๆ

"
พร้อมทั้งทำการติดต่อแผนก Outbound Operation แผนกตั๋วเครื่องบิน

่านั้น
หัวหน้าทัวร์ ฯลฯ พร้อมสรุ ปงานส่วนอื่น ๆ เพื่อนำส่งให้ลูกค้าและบริการ
ทัวร์ หลังจากการบริการทัวร์จะทำการ สรุปงานต่าง ๆ พร้อมทั้งเก็บเงิน

าเท
ส่วนที่เหลือ และทำการปิดขายและบันทึกข้อมูลลูกค้าไว้เป็นฐานข้อมูล

ศึกษ
ต่อไป
แผนกการตลาด * ลักษณะของการตลาด กา ร
- เป็นแผนกที่จะทำเป้าหมายการขายรายปี ซึ่งรอบหนึ่งปีจะเริ่มเดือน
ตุลาคม ไปสิ้นสุดเดือนกันยายนในปีถัดไป ซึ่งเดือนสิงหาคมจะทำการ
เพื่อ

รวบรวมสถิติการขายที่ผ่านมาในปีปัจจุบัน เปรียบเทียบกับเป้าหมายการ
ขายรายปีของแผนกต่าง ๆ
ิต

- จั ด ทำรายการท่ อ งเที่ ย วประจำปี สำหรั บ ทั ว ร์ Collective ทั ว ร์ ใ น


นดุส

ประเทศ เป็นรายการท่องเที่ยวประจำปี จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วน


แรกรายการท่อ งเที่ ย วเดิม ที่ ผ่ านการทบทวนแล้ ว ส่วนที่สองรายการ
ัยสว

ท่องเที่ยวใหม่
ยาล

- จัดทำรายละเอียดการเดินทาง จะจัดทำรายละเอียดการเดินทางของทัวร์
ในประเทศทุกรายการตามรายการท่องเที่ยว ประจำปีให้เสร็จก่อนเวลา
าวิท

เดินทาง ยกเว้น รายการที่ต้องรอกำหนดจากแหล่งท่องเที่ยว การกำหนด


รายละเอียดการเดินทางในเอกสารการจัดทำแผนซีรี่ย์ในการจัดเตรียม
"มห

ข้อมูล วันหยุดสำคัญ และการคาดการณ์ตลาดท่องเที่ยว เพื่อกำหนด


แนวทางในการทำรายการจองบริ ก ารต่ า ง ๆ ล่ ว งหน้ า และติ ด ต่ อ
ประสานงานกับแผนกที่เกี่ยวข้องต่อไป
แผนกบริหาร - งานบุคคลและธุรการ
1. ด้านการสรรหาบุคคล จากทาง e-mail ติดประกาศภายใน + ภายนอก
บริษัทฯ และการโยกย้ายภายในบริษัท
62

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
2. ด้านทะเบียนประวัติพนักงาน จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพนักงาน
เช่น สำเนาต่าง ๆ ในการสมัครงาน หนังสือการผ่านงาน สัญญาว่าจ้าง การ
ประเมินผลการปฏิบัติงาน หนังสือแจ้งบรรจุพนักงาน หนังสือตักเตือน
และเอกสารที่เกี่ยวกับพนักงาน
- ด้านเวลาทำงาน จัดเตรียมการสแกนลายนิ้วมือ ตรวจสอบการเข้า –

"
ออกของพนักงาน

่านั้น
- ด้านเงินเดือน จัดทำข้อมูลเงินเดือนประจำทุกเดือน เพื่อนำเสนอให้ผู้ที่มี
อำนาจตรวจสอบอีกครั้ง

าเท
- ด้านประกันสังคมและภาษี จัดทำการส่งภาษีและประกันสังคม การเคลม

ศึกษ
กรณีต่าง ๆ การแจ้งเข้า – ออก การขอมีบัตร ประกันสังคมของพนักงาน
- ด้ า นนั ก ศึ ก ษาฝึก งาน จั ด เตรี ย มการปฐมนิเ ทศ การให้ ข ้ อ มู ลต่ า ง ๆ
กา ร
ระหว่างที่นักศึกษาฝึกงาน จัดส่งนักศึกษาเข้า ปฏิบัติงานตามแผนกต่าง ๆ
และจัดทำประสานงานการประเมิน เพื่อนำส่งสถาบันอีกครั้ง
เพื่อ
- ด้านสวัสดิการ จัดทำการแจ้งประกันอุบัติเหตุ บันทึกการใช้สิทธิการ
ท่ อ งเที ่ ย วฟรี ส ำหรั บ พนั ก งาน จั ด เตรี ย มและนำส่ ง ทั ว ร์ ช ่ ว งเทศกาล
ิต

จัดเตรียมและเบิกจ่ายการออกบูธ จัดพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ประสานงานกับ


นดุส

บุคคลภายในและภายนอกบริษัท ฯลฯ
แผนกจัดซื้อ - เป็นแผนกที่ต้องจัดซื้อสินค้า หรือบริการทั้งในส่วนของอุปกรณ์สำนักงาน
ัยสว

และอุปกรณ์ออกทัวร์ตามความต้องการในการจัดซื้อที่จำเป็นให้ครบถ้วน
ยาล

ซึ่งใบของจัดซื้ออุปกรณ์ และการบริการที่เป็นการสนับสนุนการขายจะถูก
พิจารณาอนุมัติ โดยผู้มีอำนาจ คือ ผู้อำนวยการเงินจะลงนามอนุมัติใน
าวิท

วงเงินไม่เกิน 10, 000 บาท สำหรับกรรมการผู้จัดการจะลงนามอนุมัติใ น


วงเงิน 10,000 บาทขึ้นไป
"มห

- ทำการคัดเลือกผู้รับเหมาช่วงใน ASL และติดต่อให้เสนอราคา โดยการ


ส่ง FAX เสนอราคาพร้อมรายละเอียดได้หรือจัดให้ทำตัวอย่างประกอบการ
พิจารณา และจัดทำบันทึกรายละเอียดใบสถานการณ์ขอจัดซื้อจนกว่า
ใบสั่งซื้อจะถูกปิด
งาน Stock Office - ดูแลเกีย่ วกับอุปกรณ์สำนักงานในการเบิก จ่ายอุปกรณ์ ให้กับพนักงานใช้
ในงานในบริษัทฯ และมีการกำหนดการเบิกอุปกรณ์สำนักงาน
63

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
- ดูแลเกี่ยวกับอุปกรณ์ออกทัวร์หลัก ๆ อยู่ 2 อย่าง คือ วิทยุสื่อสาร สาย
คล้องคอ ในการควบคุมการเบิกของทัวร์ต่าง ๆ ทำการควบคุม ยืม – รับ
คืนต่าง ๆ
- งานประกันอุบัติเหตุนักท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำ
ประกันอุบัติเหตุคุ้มครองการเดินทาง ให้กับลูกค้า และมัคคุเทศก์ของ

"
บริษัทฯ ในส่วนนี้ได้ดูแล การส่งทำประกัน เรื่องรายชื่อของผู้เดินทางใน

่านั้น
กรุ๊ปต่าง ๆ เพื่อยืนยันในการทำประกัน และเคลมประกันให้กับผู้ที่ ประสบ
อุบัติเหตุ

าเท
- สต๊อค

ศึกษ
- ดูแลจัดเก็บ และตรวจสอบอุปกรณ์การออกทัวร์ภายในห้องสต๊อคให้
เรียบร้อย กา ร
- จัดเตรียมอุปกรณ์ออกทัวร์ และการเบิกออกทัวร์ ทุกอย่างที่เกี่ยวกับทัวร์
จัดลงถุงปุ๋ย ได้แก่ ร่วมยา ลูกอม ของรางวัล ฯลฯ เพื่อทำการเบิกจ่าย
เพื่อ
ให้กับทีมงานมัคคุเทศก์และเซลล์
- จัดซื้อและออกทัวร์บางอย่างที่นอกเหนือจากการจัดเตรียมปกติ เช่น
ิต

กระดาษทิชชู่ / ถุงขาวเล็ก -ใหญ่/หลอดและขอ พิเศษที่บางทัวร์ต้องใช้


นดุส

เช่น ทัวร์ภูกระดึง/ ทีลอซู/ สุรินทร์-สิมิลัน/ ตะรุเตา


- คำนวณต้นทุน/จัดพิมพ์ข้อมูล ของการเบิกจ่ายอุปกรณ์ออกทัวร์ทุก ๆ
ัยสว

ชนิด จัดส่งบัญชี
ยาล

- จัดทำการบันทึกสถิติการขอลาของพนักงานในแต่ละเดือน สรุปรายปีส่ง
พนักงาน และนำเสนอกรรมการพิจารณา
าวิท

- งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งทัวร์ช่วงเทศกาล งานบูธ เป็น


ต้น
"มห

Messenger - นำส่ง – รับเอกสารที่ทางแผนก ต่างในบริษัทฯ ส่งให้ดำเนินการจัดส่ง


เพื่อให้ยื่นถึ งมื อลู กค้ า ภายวันเวลาที ่ก ำหนดโดยการนำส่ ง งานให้ กั บ
Messenger จะต้ อ ง ส่ ง งานและแจ้ ง รายละเอี ย ดพอสั ง เขป ให้ ก ่ อ น
ช่วงเวลา 10.00 น. และช่วง 13.00 น.เพื่อดำเนินการแจกจ่ายงานให้กับ
ทีมงานต่อไป
64

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
- ลักษณะของการทำงาน จะต้องตรงต่อเวลาในทุก ๆ เรื่อง ต้องให้ความ
เคารพต่อผู้ร่วมงานด้วยทุกแผนก ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ กับบริษัทฯ
และด้านการแต่งตัวที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
แผนกมัคคุเทศก์และ - มัคคุเทศก์ คือ ผู้นำมาให้บริการและอำนวยความสะดวกให้ข้อมูลข่าวสาร
ฝึกอบรม ด้านการท่องเที่ยว กิจกรรมสนทนาการต่าง ๆ

"
** ลักษณะของการทำงาน

่านั้น
1. รับสมัคร สัมภาษณ์ อบรมเตรียมผู้ช่วยมัคคุเทศก์เป็นประจำทุกเดือน
2. อบรมพัฒนาศักยภาพด้านการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ทุกคน เช่น

าเท
ข้อมูล กิจกรรม ทักษะการทำงานบุคลิกภาพ

ศึกษ
3. จั ด ไกด์ ล งโปรแกรมทั ว ร์ ใ นแต่ ล ะสั ป ดาห์ ตามความเหมาะสมของ
โปรแกรมและสภาพของลูกทัวร์ กา ร
- จัดเตรียมงานเอกสารทั้งสำหรับไกด์ และภายในแผนกฯ (แฟ้มข้อมูล ส่ง
ประกัน สรุปงานประชุม)
เพื่อ

แผนกพัฒนาธุรกิจ - บริษัทหนุ่มสาวทัวร์ จำกัด ภายใต้การบริหารงานของ คุณศุภฤกษ์ ศูราง


กูร 18 ปีเต็มบนถนนสายธุรกิ จท่องเที่ยวเรายังคงมุ่งหน้าที่จะพัฒนาไป
ิต

อย่างไม่หยุดยั้ง และเราต้องการเป็นบริษัททัวร์ที่มีการให้บริการครบวงจร
นดุส

เรื่องการท่องเที่ยว หรือ อาจเรียกได้ว่า เป็นในลักษณะของ ONE STOP


SHOPPING คือ เมื่อลูกค้าต้องการที่จะใช้บริการเรามีทุกอย่างเตรียมพร้อม
ัยสว

ทั้งในเรื่องของสถานที่พัก หรือแม้กระทั่งรถเช่า ก็ต้องมีการตระเตรียม


ยาล

เพื่อรับรองลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือผจญภัย (Eco


Adventure Tours) ทัวร์พิเศษต่าง ๆ เราพร้อมที่จะพัฒนาในด้านการ
าวิท

บริการที่เป็นเลิศ และรูปแบบของสินค้าทางการท่องเที่ยวที่หลากหลาย
ด้วยอุดมการณ์ในการทำงานที่มุ่งมั่น สร้างสรรค์ของคน หนุ่มสาวที่มี
"มห

จุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความประทับใจ


แก่ผู้ใช้บริการ
แผนกตั๋วเครื่องบิน - ที่รับสำรองที่นั่งและจำหน่ายตั๋วเดินทางเครื่องบินของสายการบินต่าง ๆ
รวมทั้ง สายการบินต้นทุนต่ำที่ เดินทางทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- รับปรึกษาเส้นทางการบิน และเช็คตารางการบินในเส้นทางต่าง ๆ
- รับทำประกันการเดินทางในทุกประเทศ พร้อมทั้ง ตามเงื่อนไข ในวงเงิน
ของบริษัทประกัน
65

ตำแหน่งงาน/แผนก หน้าที่
- ออกตั๋วของสายการบินต้นทุนต่ำกว่าทุกสาย ทุกเส้นทาง
ลักษณะของตั๋ว
- ตั๋วอีเล็กโทรนิค (E-Ticket)
- ตั๋วกระดาษ (Paper Ticket)
ลักษณะของการทำงาน

"
- สำรองที่นั่งตั๋วเดี่ยวด้วยระบบ AMADEUS และ GALILEO

่านั้น
- สำรองที่นั่งตั๋วกรุ๊ปผ่านทาง Internet ด้วยระบบ RBS – ROYAL ของ
สายการบินไทย

าเท
- ระบบการนัดเก็บ ราคาค่าตั๋วของสายการบินต่าง ๆ (FARE SHEET)

ศึกษ
- เบิกสต๊อกตั๋ว หรือ MPD
นำส่งเงินแผนกบัญชี และเดินเอกสารต่าง ๆ
กา ร
การปฏิบัติงาน
- ที่เป็นตัวแทนในการทำสำรองที่นั่ง / ออกตั๋ว และเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับ
เพื่อ
การเดินทาง
- เช็คตารางหรือเส้นทางบินเพื่อเสนอลูกค้า
ิต

แผนก F.I.T. F.I.T : Free independent Travel: นักท่องเที่ยว ที่ต้องการเดินทางใน


นดุส

รูปแบบของตัวเองเป็นอิสระ ตามที่นักท่องเที่ยวกำหนดเอง ไม่ต้องการ


เดินทางพร้อมกรุ๊ป หรือเดินทางตามรูปแบบของโปรแกรมที่
ัยสว

ทางบริษัททัวร์ ได้กำหนดไว้เป็นรายย่อย นับตั้งแต่ 1 ท่านขึ้นไป ไม่เกิน


ยาล

10 ท่าน
ลักษณะของงาน
าวิท

- รับจองโรงแรมที่พักต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ


- รับจองโปรแกรมทัวร์ต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
"มห

- รับจองบัตรเข้าชมสถานที่ต่าง ๆ
- รับปรึกษาเกี่ยวกับการเดินทางที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ

ที่มา: บริษทั หนุ่มสาวทัวร์ (2563)


66

ผลประโยชน์ที่ได้จากการทำทัวร์ (tour benefit)

การทำทัวร์ของบริษัททัวร์มีผลกระทบที่ดีต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวมาก สาเหตุสำคัญ
ก็คือราคาทัวร์ที่ลูกค้าซื้อจากบริษัททัวร์จะย่อมเยากว่าราคาที่ลูกค้าไปซื้อเองมากทั้งนี้เนื่องจากผู้จัด
รายการทั ว ร์ (travel agent) ซื้ อ องค์ ป ระกอบในการทำทั ว ร์ คื อ การขนส่ ง ที่ พั ก และบริ ก าร
อื่ น ๆได้ในราคาขายส่งเพราะมีสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกัน เมื่อรวมทุกอย่างแล้วเสนอขายเป็น

"
package จึ ง มี ร าคาต่ ำ กว่ า ราคาที่ ลู ก ค้ า จะไปซื้ อ ห้ อ งพั ก หรื อ ตั๋ ว เครื่ อ งบิ น เอง ตั ว อย่ า ง เช่ น

่านั้น
ค่ า ตั๋ ว เครื่องบินไปกลับ กรุงเทพ-ฮ่องกง-กรุงเทพ ถ้าหากลูกค้าไปซื้อด้วยตนเองราคาอาจจะเป็น
2 เท่าของราคาที่บริษัททัวร์ซื้อเพื่อจัดรายการทัวร์เป็นแพ็คเกจ (package )ให้แก่ลูกค้าของตน การ

าเท
เดินทางท่องเที่ยวไปกับบริษัททัวร์ จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าทราบแน่นอนว่าจะไปเยี่ยมเยือนที่ ใดบ้าง

ศึกษ
เพราะปรากฏอยู่ในรายการทัวร์ (itinerary) โดยละเอียด
อย่างไรก็ตามการเดินทางไปกับบริษัททัวร์ นอกจากจะได้เยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย
กา ร
ในเวลาสั้นๆ แล้ว นักท่องเที่ยวจะไม่ค่อยมีความกังวลในการเดินทางโดยเฉพาะในต่างประเทศ เพราะ
มีผู้นำทัวร์หรือมัคคุเทศก์คอยดูแลสัมภาระต่างๆ ให้ นอกจากนั้นยังไม่ต้องกลัวหลงทางอีกด้วย เพราะ
เพื่อ

ไปกันเป็นกลุ่มภายใต้การนำของมัคคุเทศก์ แต่ก็อาจจะมีข้อเสียในกรณีพฤติกรรมของมัคคุเทศก์
ที่อาจจะไม่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เช่น ชอบพาไป shopping นานเกินไปเพื่อหวังค่านายหน้า
ิต

(commission)
นดุส

ในด้านของบริษัททัวร์ ก็จะได้รับประโยชน์ในเรื่องของการชำระเงิน เพราะในการทำทัวร์และ


ขายทัวร์ ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนการเดินทาง ด้วยเหตุนี้เอง บริษัททัวร์ที่เป็นที่น่าเชื่อถือ
ัยสว

คือจัดทัวร์อย่างยุติธรรมต่อลูกค้าจะได้รับความไว้วางใจกับลูกค้ า ในการเดินทางในคราวต่อไปลูกค้า
ยาล

ก็จะกลับมาใช้บริการอีก (repeated customer) (นิภา วธาวนิชกุล, 2550: 176)


าวิท
"มห
67

สรุป

ธุรกิจนำเที่ยว เป็นธุรกิจที่สำคัญในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดการหรือการให้บริการ
หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ทัศนาจร และหรือ
มัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารงาน ประกอบด้วย แผนกบริหาร แผนกนำ
เที่ยว แผนกจอง แผนกขายและการตลาด แผนกการเงิน และแผนกบุคลากร แต่ละแผนกจะทำงาน

"
่านั้น
ติดต่อประสานงานกัน ทำให้มีการผลิตรายการนำเที่ยว เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งโครงสร้างการ
บริหารงานแต่ละบริษัท มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ เป้าหมายการทำธุรกิจ ผลิตภัณฑ์

าเท
ทางการท่องเที่ยว การบริการ นโยบายต่างๆ

ศึกษ
คำถามทบทวน
กา ร
1. โครงสร้างแบบแนวตั้ง (Vertical Structure) หมายถึง
เพื่อ
2. โครงสร้างแบบแนวนอน (Horizontal Structure) หมายถึง
3. บริษัทนำเที่ยว ดำเนินธุรกิจหลัก อะไรบ้าง
4. บริษัทนำเที่ยว ธุรกิจเสริม อะไรบ้าง
ิต
นดุส

5. อธิบายขั้นตอนการดำเนินการของบริษัทนำเที่ยว
6. อธิบายเงื่อนไขการยกเลิกทัวร์อย่างน้อย 16 วันก่อนการเดินทาง
ัยสว

7. อธิบายเงื่อนไขการยกเลิกทัวร์ภายใน 15 – 8 วันก่อนการเดินทาง
8. อธิบายเงื่อนไขการทัวร์ภายใน 7 – 2 วันก่อนออกเดินทาง
ยาล

9. อธิบายขั้นตอนการจำหน่าย Package Tour


10. อธิบายเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าทัวร์
าวิท
"มห
68

เอกสารอ้างอิง

พิมพรรณ สุจารินพงค์. (2553). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์


บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2559). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ :
ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิภา วธาวนิชกุล. (2550). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวน

"
่านั้น
ดุสิต.
บริษัทหนุ่มสาวทัวร์. (2559) หน้าที่และตำแหน่งงานแต่ละแผนก. กรุงเทพฯ

าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
85

บทที่ 5
ประเภทของการจัดนำเที่ยว

ธุรกิจจัดนำเที่ยว เป็นธุรกิจที่ต้องจัดการเตรียมความพร้อมให้กับนักท่องเที่ยวในการเดินทาง
เพื่อการท่องเที่ยวไปสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นการพักผ่อน เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อการศึกษา

"
่านั้น
หรือสนองตอบตามวัตถุประสงค์ของนักท่องเที่ยว โดยธุรกิจจัดนำเที่ยวจะมีการจัดยานพาหนะ
สถานที่ท่อ งเที่ยว ที่รับประทานอาหาร จัดหาที่พัก มีมัคคุเทศก์คอยอำนวยความสะดวก ซึ่งการ

าเท
จัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ให้พร้อมดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงความต้องการของนักท่องเที่ยว
ที่นับวันจะมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบการจัดนำเที่ยวของบริษัทนำเที่ยว

ศึกษ
ในปัจจุบันมีความหลากหลายตามไปด้วย (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552 : 31-39)
กา ร
ประเภทของการจัดนำเที่ยว
เพื่อ
พวงบุ ห งา ภู มิ พ านิ ช , (2539 : 58-59) ได้ แ บ่ ง ประเภทของการจั ด นำเที่ ย วออกเป็ น
3 ประเภท ดังนี้
ิต

1. การจั ด นำเที่ ย วในประเทศ (Domestic Tour) เป็ น การนำเที่ ย วที่ ช าวไทยและ


นดุส

ชาวต่างประเทศที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทยเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆในประเทศไทย บริษัท
นำเที่ยวไทยเป็นผู้จัดการท่องเที่ยวทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดรายการนำเที่ยว ติดต่อที่พัก ภัตตาคาร
ัยสว

และยานพาหนะ ตลอดจนจัดหามัคคุเทศก์ หรือผู้ติดตามทัวร์


2. การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Inbound Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวให้ชาวต่างประเทศเดิน
ยาล

ทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยบริษัทนำเที่ยวของประเทศนั้นๆติดต่อผ่าน สาขาประจำ


ประเทศไทย หรือบริษัทนำเที่ยวไทย โดยบริษัทนำเที่ยวไทยทำหน้าที่เป็นตัวแทนจัดการท่องเที่ยว
าวิท

ภาคพื้นดิน (ground operation หรือ land management) ให้กับบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ โดย


"มห

จัดได้ 2 วิธี ดังนี้


2.1 จัดตามความต้องการของบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ
2.2 บริ ษ ั ท นำเที ่ ย วไทยจั ด เสนอขายบริ ก ารท่ อ งเที ่ ย วต่ า ง ๆ ไปยั ง บริ ษ ั ท นำเที ่ ย ว
ต่างประเทศ ซึ่งได้แก่
2.2.1 จัดเป็น package tour
2.2.2 จัดเป็น package tour สำหรับกลุ่มที่สนใจพิเศษ
70

2.3 จัดโปรแกรมนำเที่ยวสำหรับโอกาสพิเศษ หรือเทศกาลสำคัญ ๆ เช่น งานลอยกระทง


ที่สุโขทัย หรือเทศกาลอาหารทะเล (Sea Food) ที่ภูเก็ต
2.4 จัด pre-post tour ให้สำหรับการประชุมที่จะจัดให้มีขึ้นในประเทศไทย
2.5 จัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัส กับสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เช่น เยี่ยมชม
ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆทางภาคเหนือ
2.6 จัดโปรแกรมสำหรับรับประทานอาหารและผลไม้ไทย

"
2.7 จัดตามความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงาน สำหรับเป็นรางวัลให้กับพนักงาน

่านั้น
หรือตัวแทนธุรกิจ
การจัดนำเที่ยวประเภทนี้ บริษัทนำเที่ยวไทยจะจัดการท่องเที่ยวให้ขณะที่อยู่ในประเทศไทย

าเท
โดยจั ด ยานพาหนะรั บ -ส่ ง สนามบิ น โรงแรม และพานั ก ท่ อ งเที ่ ย วต่ า งประเทศไปยั ง

ศึกษ
แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ติดต่อที่พักตามแหล่งท่องเที่ยว และจัดการเรื่องอาหาร ให้มีความหลากหลาย
ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศไทย และจัดมัคคุเทศก์ให้ร่วมเดินทางไปกับคณะ ตลอดจนพาไปซื้อ
กา ร
ของที่ระลึก ส่วนรายการท่องเที่ยวจะเป็นไปตามกำหนดที่ตกลงกั นไว้ สิ่งสำคัญของบริษัทนำเที่ยว
ที่จัดท่องเที่ยวประเภทนี้ต้องคำนึงถึง คือ ประสิทธิภาพในการจัดการ และมัคคุเทศก์ที่มีความสามารถ
เพื่อ
พูดภาษาของนักท่องเที่ยว หรือภาษากลางที่สามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีและมีความรู้
กว้างขวางเกี่ยวกับประเทศไทย เพื่อสร้างศรัทธา และความเชื่อถือให้กับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ิต

3. การจัดนำเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวที่นำนักท่องเที่ยว


นดุส

ไทยออกท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศ บริษัทนำเที่ยวไทยจะติดต่อบริการการท่องเที่ยวผ่านบริษัท
นำเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวแทนทางการท่องเที่ยวในต่างประเทศให้กับบริษัทนำเที่ยวไทย และ
ัยสว

จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวไทยขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในต่างประเทศ บริษัท
นำเที่ยวไทยอาจจะติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวประเทศนั้นโดยตรง หรืออาจจะติดต่อผ่านตัวแทนการ
ยาล

ท่องเที่ยวที่บริษัทนำเที่ยวไทยใช้บริการเป็นประจำให้ทำหน้าที่จัดการนำเที่ยวให้กับบริษัทของตน เช่น
าวิท

บริษัทนำเที่ยว A ในไทย ให้บริษัทนำเที่ยว B ในประเทศอังกฤษเป็นตัวแทนจัดนำเที่ยวไปยังประเทศ


สเปนหรือโปรตุเกส เป็นต้น สำหรับบางประเทศ ที่บริษัทนำเที่ยวมีเจ้าของเป็นคนไทย บริษัทนำเที่ยว
"มห

ไทยก็จะติดต่อโดยตรง ซึ่งจะได้ผู้ติดตามเป็นคนไทยและทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ในขณะเดียวกัน
การจัดนำเที่ยวประเภทนี้ บริษัทนำเที่ยวไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการทำการตลาด การส่งเสริม
การขาย การขาย และการจัดยานพาหนะจากต้นทางไปยั งจุ ดหมายปลายทาง ส่วนการจัดการ
ท่องเที่ยวในประเทศนั้นๆ บริษัทนำเที่ยวตัวแทนจะเป็นผู้จัดการทั้งหมด เช่น การจัดนำนักท่อเที่ยวไป
เที่ยวอิตาลีจะมีตัวแทนของบริษัทนำเที่ยวประเทศนั้นๆ คอยต้อนรับและพาเที่ยวในขณะที่อยู่
ในประเทศนั้น ๆ
71

รูปแบบของการจัดนำเที่ยว
การจัดนำเที่ยวจะต้องจัดให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้
นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายมาใช้บริการมากพอสมควร มิฉะนั้นการจัดนำเที่ยวก็จะประสบปัญหา
การขาดทุ น ซึ่ ง การจั ด นำเที่ ย วมี รู ป แบบหลากหลายมากมาย (บุ ญ เลิ ศ จิ ต ตั้ ง วั ฒ นา และ
ปทุ ม พร แก้ ว คำ, 2560 : 52-56) สรุ ป ได้ 10 รู ป แบบ คื อ
1. การจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

"
1.1 การจั ด นำเที่ ย วแบบเหมาจ่ า ยที่ มี ผู้ น ำเที่ ย วด้ ว ย (Escorted Package Tour)

่านั้น
เป็นการจัดการนำเที่ยวที่จัดให้มีผู้อำนวยการเดินทางร่ว มไปกับกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยผู้อำนวยการ
เดินทางจะให้บริการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวด้านต่าง ๆ เช่น การจองที่พัก การลงทะเบียน

าเท
เข้าพัก การชมสถานที่ท่องเที่ยว การดูแล สัมภาระ การเป็นล่าม เป็นต้น

ศึกษ
1.2 การจัดนำเที่ ย วแบบเหมาจ่ า ยที่ไม่มีผู้น ำเที่ ยว (Unescorted Package Tour)
เป็นการจัดนำเที่ยวที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว เช่น ค่าขนส่ง ค่าอาหาร ค่าธรรมเนียม
กา ร
ต่างๆ เป็นต้น แต่จะไม่มีผู้อำนวยการเดินทางร่วมไปให้บริการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มนักท่องเที่ยว
2. การจัดนำเที่ยวแบบตามความต้องการ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
เพื่อ

2.1 การจัดนำเที่ยวแบบตามความต้องการของนักท่องเที่ยว (Tailor-Made Tour)


เป็นการจัดนำเที่ยวไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล โดยนักท่องเที่ยวได้ขอให้ธุรกิจนำเที่ยวช่วยจัด
ิต

รายการนำเที่ยวให้ตามที่ต้องการ ซึ่งการจัดนำเที่ยวประเภทนี้ธุรกิจนำเที่ยวรู้จำนวนนักท่องเที่ยว
นดุส

ล่วงหน้า จึงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดจำหน่าย
2.2 การจัดนำเที่ยวแบบตามความต้องการของธุรกิจนำเที่ยวเอง (Ready-Made
ัยสว

Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวที่ธุรกิจนำเที่ยวกำหนดขึ้นเองตามรายการนำเที่ยวที่เห็นว่าเหมาะสมกับ
ยาล

นักท่องเที่ยวในราคาเหมาจ่าย โดยจัดพิมพ์รายการนำเที่ยวและราคาพร้อมบริการที่จะได้รับจาก
รายการนำเที่ยวครั้งนี้ให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อได้ตามความพอใจ ซึ่งการจัดนำเที่ยวแบบนี้ธุรกิจ
าวิท

นำเที่ยวไม่สามารถรู้จำนวนนักท่องเที่ยวล่วงหน้าจนกว่าจะถึงเวลาออกเดินทางจริง
3. การจัดนำเที่ยวตามลักษณะการดำเนินงาน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
"มห

3.1 การจัดนำเที่ย วแบเหมาจ่า ย เป็นการจัดนำเที่ย วให้ นักท่อ งเที่ ยวในราคา


เหมาจ่ายเบ็ดเสร็จ โดยราคานี้จะรวมกับค่าบริการต่างๆ ในการท่องเที่ยวตามที่ระบุไว้ เช่น ค่าขนส่ง
ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเยี่ยมชมสถานที่ ค่าใช้จ่ายระหว่างสนามบินกับที่พัก เป็นต้น
3.2 การจั ด นำเที ่ ย วแบบชำนาญพิ เ ศษ เป็ น การจั ด นำเที ่ ย วที ่ ม ี ข อบเขต
การดำเนินงานแคบกว่าประเภทแรก โดยจะจัดนำเทีย่ วเป็นครั้งคราวเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวบางจุดตาม
ความเรียกร้องของนักท่องเที่ยว เช่น การจัดนำเที่ยวไปชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ที่ประเทศอังกฤษ
การไปชมการแสดงสินค้าที่ญี่ปุ่น เป็นต้น
72

4. การจัดนำเที่ยวแบบตามลักษณะการเดินทาง สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ


4.1 การจัดนำเที่ยวแบบ Joint Tour เป็นการจัดนำเที่ยวในรูปแบบการเดินทาง
ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวหลายๆสังกัดมาร่วมกัน เพื่อรับบริการท่องเที่ยวจากบริษัทเดียวกัน เช่น
รับนักท่องเที่ยวจากกลุ่ม A จำนวน 3 คน จากกลุ่ม B จำนวน 2 คน และจากกลุ่ม C จำนวน 1 คน
แล้วมารวมกันไปในเส้นทางเดียวกันกับบริษัทนำเที่ยวเดียวกัน เป็นต้น
4.2 การจัดนำเที่ยวแบบ Private Tour เป็นการจัดนำเที่ยวในรูปแบบการเดินทาง

"
ที่มีนักท่องเที่ยวกลุ่มเดียวอาจจะมี 2 หรือ 3 คนก็ได้ โดยไม่ต้องไปร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายของ

่านั้น
นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะค่อนข้างแพงกว่าในรูปแบบของ Joint Tour
4.3 การจัดนำเที่ยวแบบ Group Tour เป็นการจัดนำเที่ยวในรูปแบบการเดินทาง

าเท
ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และเดินทางไปยังจุดหมายในการ

ศึกษ
ท่องเที่ยวเหมือนกัน
4.4 การจัดนำเที่ ย วแบบ Incentive Tour เป็นการจัดนำเที่ย วในรูปแบบการ
กา ร
เดินทางท่องเที่ยวที่เจ้าของกิจการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานของตน เมื่อบริษัทได้บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การขายสินค้าหรือบริการได้ถึงเป้าที่กำหนดก็ให้รางวัลแก่พนักงานไป
เพื่อ
ท่องเที่ยว โดยบริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวให้ทั้งหมด เป็นต้น
5. การจัดนำเที่ยวแบบระยะทาง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
ิต

5.1 การจัดนำเที่ยวแบบระยะทางใกล้ (Short-haul Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของ


นดุส

ธุรกิจนำเที่ยวในรายการนำเที่ยวที่มีระยะทางในการท่องเที่ยวใกล้
5.2 การจัดนำเที่ยวแบบระยะทางไกล (Long-haul Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของ
ัยสว

ธุรกิจนำเที่ยวในรายการนำเที่ยวที่มีระยะทางในการท่องเที่ยวไกล
6. การจัดนำเที่ยวแบบตามลักษณะการซื้อ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
ยาล

6.1 การจัดนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Package Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของธุรกิจ


าวิท

ท่องเที่ยว ที่รวมราคาค่าใช้จ่ายต่างๆ เข้า ด้วยกันทั้งหมด โดยให้นักท่องเที่ยวซื้อล่วงหน้าก่อนออก


เดินทาง
"มห

6.2 การจัดนำเที่ยวแบบเลือกจ่าย (Optional Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของธุรกิจ


นำเที่ยวในรายการนำเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องซื้อเพิ่มเติม ณ จุดปลายทางแต่ละแห่งเองตามความ
พอใจ
7. การจัดนำเที่ยวตามระยะเวลา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
7.1 การจัดนำเที่ยวแบบครึ่งวัน (Half-day Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของธุรกิจนำ
เที่ยวในรายการนำเที่ยวที่ใช้เวลาการเดินทางท่องเที่ยวครึ่งวัน อาจจะเป็นครึ่งวันเช้าหรือครึ่งวันบ่ายก็ได้
73

7.2 การจัดนำเที่ยวแบบเต็มวัน (All day Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของธุรกิจนำ


เที่ยวในรายการนำเที่ยวที่ใช้เวลาเดินทางท่องเที่ยวทั้งวัน
7.3 การจัดนำเที่ยวแบบมากกว่า 1 วัน (Tour-around) เป็นการจัดนำเที่ยวของ
ธุรกิจนำเที่ยวในรายการนำเที่ยวที่ใช้เวลาเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า 1 วัน จะเป็นกี่วันก็ได้
8. การจัดนำเที่ยวแบบตามจุดนำชม สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
8.1 การจัดนำเที่ยวแบบชมเมือง (City-Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยว

"
ในรายการนำเที่ยวในรายการนำเที่ยวไปชมเมืองต่าง ๆ

่านั้น
8.2 การจัดนำเที่ยวแบบชมพูมิทัศน์ (Sight-seeing Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวของ
ธุรกิจนำเที่ยวในรายการนำเที่ยวในรายการท่องเที่ยวไปชมภูมิทัศน์ต่าง ๆ

าเท
8.3 การจั ด นำเที่ ย วแบบชมแหล่ ง บั น เทิ ง ยามราตรี (Night Tour) เป็ น การจั ด

ศึกษ
นำเที่ยวของธุรกิจนำเที่ยวในรายการนำเที่ยวในรายการท่องเที่ยวไปชมแหล่งบันเทิงยามราตรี
9. การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
กา ร
9.1 การจั ด นำเที่ ย วแบบ Sight-seeing Tour เป็ น การจั ด นำเที่ ย วในรู ป แบบ
การเดินทางท่องเทียวโดยใช้ยานพาหนะนำนักท่องเที่ยวไปชมสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น ชานเมือง ชมวัด
เพื่อ
ชมโบราณสถาน เป็นต้น
9.2 การจั ด นำเที่ ย วแบบ Trekking Tour เป็ น การจั ด นำเที่ ย วในรู ป แบบการ
ิต

เดินทางท่องเที่ยวโดยชมป่าเขาลำเนาไพร บางครั้งอาจมีการล่องแพ นั่งช้า หรือใช้ยานพาหนะอื่นๆใน


นดุส

การเดินป่า
9.3 การจัดนำเที่ยวแบบ Special Purpose Tour เป็นการจัดนำเที่ยวให้กลุ่มคนที่
ัยสว

มีความมุ่งหมายที่จะเดินทางไปในเรื่องเดียวกัน หรือสนใจเป็นพิเศษในเรื่องเดียวกันโดยเฉพาะ เช่น


การจัดนำเที่ยวเพื่อการศึกษาภาษาอังกฤษระยะสั้น การจัดนำเที่ยวเพื่อดูกีฬา การจัดนำเที่ยวเพื่อ
ยาล

แสวงบุญ การจัดนำเที่ยวเพื่อกินอาหารแปลกๆ การจัดนำเที่ยวเพื่อชมศิลปวัฒนธรรม การจัดนำเที่ยว


าวิท

เพื่อซื้อของ การจัดนำเที่ยวเพื่อตีกอล์ฟ เป็นต้น


"มห

10. การจัดนำเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ


10.1 การจัดนำเที่ยวแบบเชิงรู้สึกไว (Sensitive Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวที่ใส่ใจกับ
ความวิตกของชุมชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยว จึงมักสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อ
สภาพแวดล้อมน้อยที่สุด แต่ยังมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำกำไรอยู่
10.2 การจัดนำเที่ยวแบบเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Tour) เป็นการจัดนำเที่ยว
ที่ใส่ใจกับความวิตกของชุมชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยว โดยสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบ
74

ต่อสภาพแวดล้อมน้ อยที ่ส ุ ด และขณะเดียวกันก็ บริจ าครายได้ส่ วนหนึ ่งให้กั บกิจกรรมอนุ ร ั ก ษ์


สิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยว
10.3 การจัดท่องเที่ยวแบบเชิงอนุรักษ์ (Proactive Tour) เป็นการจัดนำเที่ยวที่มี
บทบาทชัดเจนในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนจัดตั้งกองทุนคืนกำไรสู่
สังคม เพื่อสงวนไว้เป็นกองทุนอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว

"
นอกจากนี้ ฉั น ทั ช วรรณถนอม, (2552 : 39-52) ได้ ก ล่ า วไว้ ว่ า บริ ษั ท นำเที่ ย ว

่านั้น
มักให้ความสำคัญในการจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันความหลากหลาย
ทางการท่องเที่ยวมีมากขึ้น นักท่องเที่ยวแต่ละคนแต่ละกลุ่มมีความชอบที่ไม่เหมือนกันจึงเป็นการเสี่ยง

าเท
ที่บริษัทจะจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของบริ ษัทอยู่เรื่อยไป โดยที่ไม่ใส่ใจต่อวัตถุประสงค์หรือความ

ศึกษ
ต้องการของกลุ่มลูกค้า จึง ได้แบ่งการจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
ได้แก่ กา ร
1. การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของบริษัท
2. การจัดนำเที่ยวตามวัตถุประสงค์ของนักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
เพื่อ
ที่หลากหลายความต้องการ ได้แก่
(1) ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ค่ายทหาร แหล่งประวัติศาสตร์
ิต

(2) ท่ อ งเที่ ย วฮั น นี มู น เริ่ ม เป็ น ที่ นิ ย มมากในระยะหลั ง เพราะคู่ ส มรสใหม่ ห รื อ เก่ า
นดุส

นิ ย มเดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ ฉลองสมรส หรื อ ฉลองวั น ครบรอบวั น สมรส


(3) ท่ อ งเที่ ย วศึ ก ษาธรรมชาติ เป็ น การเดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วตามแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ เ ป็ น
ัยสว

ธรรมชาติ พร้อมศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจ เช่น ศึกษาวงจรชีวิตของพืชพรรณ


ชนิดต่างๆ วงจรชีวิตของแมลง เป็นต้น
ยาล

(4) ท่ องเที่ ยวถ่ า ยภาพ โดยบริษัทนำเที่ย วอาจจั ดให้บริก ารสำหรับผู้ ที่ส นใจถ่ า ยภาพ
าวิท

โดยบริษัทนำเที่ยวจะจัดรายการให้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณไม้ หรือสัตว์ชนิด


ต่าง ๆ วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยอาจมีรายการล่องเรือชมสัตว์ ต้นไม้ หรือธรรมชาติ หรือสถานที่ที่เป็น
"มห

ซากปรักหักพังทางประวัติศาสตร์ ต้องมีการเตรียมอุปกรณ์หรือจัดฉากเพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสได้เลือก
ถ่ายภาพตามจุดสนใจและได้ท่องเที่ยวในเวลาเดียวกัน
(5) ท่องเที่ยวเดินชม อาจเป็นการเดินชมจากตัวเมืองไปตามทางขึ้นภูเขาเพื่อชมธรรมชาติ
หรือเดินชมเมืองตามจุดต่าง ๆ ที่สำคัญ อาจมีมัคคุเทศก์คอยบรรยาย
(6) ท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น ทัวร์ทะเล พักผ่อนชายหาด
(7) ท่ องเที่ ย วเพื่ อศาสนา เช่น ทัวร์ทอดกฐิ น ทัวร์วั ด พิธีฮัจย์ที่ เมื อ งเมกกะ ประเทศ
ซาอุดิอาระเบีย
75

(8) ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วิ ท ยาศาสตร์ เช่ น ดู สุ ริ ยุ ป ราคา ศึ ก ษาพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วิ ท ยาศาสตร์ ท าง


ทะเล หรือศึกษาท้ องฟ้าจำลองดาราศาสตร์
(9) ท่องเที่ยวเพื่อเล่นหรือชมการแข่งขันกีฬา เช่น เอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิก ฟุตบอลโลก
(10) ท่องเที่ยวเพื่อการซื้อของ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์
(11) ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบต่อแหล่งธรรมชาติ
ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะถิ่ น และแหล่ ง วั ฒ นธรรมที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ ระบบนิ เ วศ โดยมี ก ระบวนการ

"
เรี ย นรู้ ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของ

่านั้น
ชุมชนท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
(12) ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย เป็นการท่องเทียวที่นำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงามมาก

าเท
เป็นองค์ประกอบในการจัดกิจกรรมท่องเทียวที่ท้าทายความสามารถ มีความตื่นเต้น เกิดความแปลก

ศึกษ
ใหม่และท้าทายประสบการณ์ ประกอบกับเป็นการฝึกความชำนาญทักษะของร่างกาย เช่น การปีนเขา
และหน้าผา ล่องแก่ง เดินป่า เป็นต้น กา ร
(13) ท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งทรัพยากรท่องเทียวที่มีกิจกรรม
ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา หรือเข้าร่วมการเกษตรเป็นหลัก เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ ยว
เพื่อ
และสร้างรายได้แก่เกษตรกรรม เช่น ฟาร์มโชคชัย ไร่ทองสมบูรณ์ ไร่องุ่นปากช่อง
(14) ท่ อ งเที่ ย วแบบทางเลื อ ก เป็ น รู ป แบบของการท่ อ งเที ย วที่ พ ยายามหลี ก เลี่ ย ง
ิต

ผลกระทบทางลบ แต่จะส่งเสริมให้ผลในทางบวกต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มักจะมีลักษณะ


นดุส

คื อ มี น ั ก ท่ อ งเที ่ ย วจำนวนน้ อ ย เดิ น ทางเพี ย งคนเดี ย วหรื อ เดิ น ทางเองโดยอิ ส ระในกลุ ่ ม เล็ ก ๆ
หรือประกอบกิจกรรมกันในกลุ่มเล็กๆอยู่ในความควบคุม มีกฎเกณฑ์ ขณะเดียวกันก็มุ่งให้คนใน
ัยสว

ท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรมได้รับประสบการณ์จากการเดินทางไปเยือนของนักท่องเที่ยว
และยังคงรักษาค่านิยมตลอดจนยังคงดำเนินชีวิตในสังคมของตนที่สืบทอดกันมาเอาไว้ด้วย
ยาล

(15) การดูนก เป็นกิจกรรมการท่ อ งเที ย วเชิ ง นิ เ วศรูป แบบหนึ่ ง สำหรับประเทศไทย


าวิท

แหล่ ง ดู น กที ่ ส ำคั ญ ของประเทศไทยมั ก อยู ่ ใ นเขตอุ ท ยานแห่ ง ชาติ แ ละเขตรั ก ษาพั น ธุ ์ ส ั ต ว์ ป่ า
เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
"มห

(16) การดูผีเสื้อ เป็นกิจกรรมการท่องเทียวเชิงนิเวศรูปแบบหนึ่ง ในประเทศไทยแหล่ง


ชมผีเสื้อที่ดีของไทย เช่น ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง เขาพะเนินทุ่ง เป็นต้น
(17) การปี นหน้าผา เป็ นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภั ยรูปแบบหนึ่งที่ท้าทาย ตื่นเต้น
ประกอบกับการได้ฝึกความชำนาญทักษะของร่างกาย แหล่งปีนเขาและหน้าผาที่สำคัญในประเทศไทย
ได้แก่ หน้าผาบริเวณอ่าวไร่เล อ่าวพระนาง จังหวัดกระบี่
(18) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นการท่องเทียวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความดั้งเดิม
มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เพื่อชื่นชมและได้ความเพลิดเพลิน ได้ความรู้ความเข้าใจต่อสภาพธรรมชาติ
76

สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นบนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์คุณค่า


ของสภาพแวดล้อมและชุมชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว
(19) การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วิ ถี ชี วิ ต คนในท้ อ งถิ่ น โดยพั ก กั บ ชาวบ้ า น เป็ น การท่ อ งเที่ ย ว
รูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มักทำควบคู่กับการท่องเที่ยวในชนบท โดยนักท่องเที่ยวจะพัก
ร่วมกับเจ้าของบ้านโดยมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดซึ่งกัน
และกัน เจ้าของบ้านจะจัดที่พักและอาหารให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งนี้นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายค่าบริการ

"
แก่เจ้าของบ้าน ซึ่ง แนวคิดพื้นฐานของ Home Stay นั้น เจ้าของบ้านจะถือว่านักท่องเที่ยวที่มาพัก

่านั้น
เป็นแขกของบ้าน มิใช่นักท่องเที่ยว เช่น การท่องเทียว Home Stay ที่เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
ที่บ้านสลักเพชร เกาะช้าง จังหวัดตราด เป็นต้น

าเท
(20) การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม เป็ น การท่ อ งเที่ ย วซึ่ ง มี จุ ด สนใจอยู่ ที่ วั ฒ นธรรม

ศึกษ
ความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนแหล่งโบราณสถาน ประเพณี และศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น ประเพณี
ลอยกระทง ประเพณีผีตาโขน เป็นต้น กา ร
(21) การท่ อ งเที่ ย วดำน้ ำ เป็ น การจั ด นำเที่ ย วสำหรั บ ผู้ ที่ ส นใจท้ อ งทะเล ได้ มี โ อกาส
ร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งบริษัทจะจัดเตรียมอุปกรณ์ดำน้ำให้พร้อม พร้อมสอนเทคนิคการดำน้ำก่อนลงไป
เพื่อ
ดำน้ำจริง การดำน้ำเป็นกิจกรรมการท่องเทียวเชิงนิเวศประเภทหนึ่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
การดำน้ำตื้น และการดำน้ำลึก
ิต

(22) การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง ทั ศ นศึ ก ษา เป็ น การท่ อ งเที่ ย วที่ เ น้ น การศึ ก ษาหาความรู้
นดุส

เกี่ยวกับเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม ชุมชนท้องถิ่น หรืออื่นๆ รูปแบบการ


เดินทางท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ได้ใ นการไปในต่างพื้นที่ โดยมักมีการนำชมสถานที่ต่างๆจาก
ัยสว

ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการบรรยายให้ความรู้อย่างมีระบบ หรือการได้เรียนทำอาหาร ฝึกหัดมวยไทย เป็นต้น


(23) การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ เป็นการท่องเที่ยวที่มีจุดสนใจอยู่ที่เอกลั กษณ์เฉพาะทาง
ยาล

วัฒนธรรมที่เน้นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ หรือประเพณีของสังคมใดสังคมหนึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถศึกษา


าวิท

และเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของกลุ่มชนหรือชาติพันธุ์มนุษย์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งเรื่องราว
ของพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีเผาศพ ความเป็นอยู่ดั้งเดิมของชุมชน การเยี่ยมเยือนพวก
"มห

ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เป็นต้น
(24) การท่องเที่ยวในรูปแบบการใช้ ชีวิ ตในฟาร์ม เป็ นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยว
เชิงเกษตรกรรม ซึงนักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับกสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การประมง รวมทั้ง
กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์ม โดยนักท่องเที่ยวจะมีลักษณะพักอยู่ในฟาร์ม และพัก
ในฟาร์มร่วมกับเจ้าของฟาร์มและได้เรียนรู้การประกอบอาชีพ และร่วมทำกิจกรรมในฟาร์ มได้
โดยต้องจ่ายค่าที่พักและค่าอาหารให้กับเจ้าของฟาร์ม เป็นการสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น
77

(25) การท่ อ งเที ่ ย วเชิ ง สุ ข ภาพ เป็ น รู ป แบบการท่ อ งเที ย วที ่ ผ สมผสานโดยใช้
แหล่งท่องเที่ ยวธรรมชาติหรือแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆเป็นองค์ประกอบในการจัดกิจกรรมเพื่อรักษา
สุขภาพ เน้นกิจกรรมสำคัญที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูสุขภาพของลูกค้า เช่น การพักแรมใน
รีสอร์ทที่ มีบริการรักษาสุขภาพ การท่องเทียวที่มีโปรแกรมรับประทานอาหารชีวจิต การฝึกออก
กำลังกาย การทำสมาธิ
(26) การท่ อ งเที่ ย วในรู ป แบบการใช้ บ ริ ก ารสปา ความหมายของสปาแรกเริ่ ม คื อ

"
ชื่อเมืองเล็ก ๆ ในประเทศเบลเยี่ยม เมืองที่มีแหล่งธรรมชาติ มีบ่อน้ำร้อนที่ผู้คนเดินทางไปแช่น้ำร้อน

่านั้น
กันมาตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา เมื่องสปาไปรับความนิยมจึงขยายไปทั่วโลก การเดินทาง
ท่องเที่ยวจึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการเข้าไปสัมผัสกับกิจกรรมของสปาในรูปแบบต่าง ๆ ที่ขยาย

าเท
ออกไปในแต่ละประเทศ ในแต่ละโรงแรม แต่ละศูนย์สปาได้คิดค้นบริการสปาในรูปแบบใหม่ ๆ

ศึกษ
นอกเหนือจากการแช่น้ำร้อน ในยุโรปส่วนใหญ่คำว่าสปาจะหมายถึงการไปนอนแช่น้ำร้อน น้ำพุร้อน
เพื่อการผ่อนคลายความเคลียด วิธีการที่สำคัญคือการใช้วารีบำบัด ประกอบกับการนวดเพื่อลด
กา ร
ความปวดเมื่อย ต่อมาสปาได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีการทำสปาเพื่อฟื้นฟูสุขภาพและความงาม
ในประเทศไทยโรงแรมโอเรี ย นเต็ ล เป็ น ผู ้ ร ่ ว มต้ น หากเป็ น รี ส อร์ ท ก็ ม ี ช ี ว าศรมที ่ ถ ื อ ว่ า เป็ น สปา
เพื่อ
เพื่อสุขภาพแห่งแรกของประเทศไทย ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแบบสปาอาจแบ่งได้สามลักษณะ คือ รีสอร์ท
สปา (Resort Spa) จะเน้ น สถานที่ พั ก ผ่ อ นและการนวดโดยเฉพาะ รี ท รี ต สปา (Retreat Spa)
ิต

เป็นสปาเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ มีการใช้วารีบำบัดช่วย และฝึกโยคะ และเดย์ สปา (Day Spa) เน้นเรื่อง


นดุส

ความงามโดยใช้เวลาไม่มากนัก ไม่ต้องปรับเรื่องโภชนาการ
(27) การท่องเที่ยวทางอวกาศ เป็นการท่องเทียวรูปแบบใหม่ที่สุดอย่างหนึ่งของโลก
ัยสว

เป็นการท่องเทียวไปในยานอวกาศเพื่อได้สัมผัสสภาวะไร้น้ำหนัก นักท่องเที่ยวจะได้ล่องลอยในอวกาศ
โดยแรงของตัวเอง ได้เห็นวิวทิวทัศน์ที่แปลกใหม่ในอวกาศ เช่น ภาวะทัศนอันเวิ้งว้างของพื้นผิวขรุขระ
ยาล

บนดวงจันทร์ ได้ใช้ชีวิ ตเหมือนนักบินอวกาศ ซึ่งต้องอยู่ในภาวการณ์ควบคุมทั้งอุณหภูมิ แรงดึงดูด


าวิท

คลื่นรังสี คลื่นความร้อน
(28) การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา หรือศิลาสัญจร เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ
"มห

ที่เป็นลักษณะลานหิน อุโมงค์ โพรง ถ้ำลอด ถ้ำ หินงอกหินย้อย หน้าผาสูง เพื่อดูความงดงาม


ดูภูมิทัศน์ที่มีความแปลก ดูการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ศึกษาธรรมชาติของหินประเภทต่าง ๆ
และซากฟอสซิล ได้ความรู้ มีประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานการท่องเทียวอย่างมีความรับผิดชอบ
มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยว
(29) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยว
ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ท่องเที่ยว ได้ความรู้ มีความ
เข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในท้ องถิ่นบนพื้นฐานของความรับผิดชอน และมีจิตสำนึก
78

ต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม โดยชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมต่อ


การบริหารจัดการการท่องเที่ยว เช่น ทัวร์เส้นทางศิลปะขอม ตามรอยพ่อขุนเม็งราย เป็นต้น
(30) การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศทางทะเล เป็ น การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบใน
แหล่งท่องเทียวธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบ
นิเวศทางทะเล โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและ
การท่องเทียวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

"
(31) การท่องเที่ยวในชนบท เป็นการท่องเที่ยวที่นำพื้นฐานธรรมชาติของชนบทมาเป็น

่านั้น
จุ ด สนใจของนั ก ท่ อ งเที ย ว ซึ ่ ง มี ห ลากหลายรู ป แบบ ได้ แ ก่ การท่ อ งเที ่ ย วในแบบฟาร์ ม สเตย์
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ซึ่งเป็นที่นิยมมากในประเทศยุโรป และเริ่มนิยมในเอเชีย โดยเฉพาะ

าเท
ประเทศไทยเป็นการสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น เพราะนักท่องเที่ยวต้องจ่ายค่าที่พักให้กับเจ้า ของฟาร์ม

ศึกษ
หรือซื้อสินค้าที่ผลิตในฟาร์ม ทั้งยังมีการจัดที่พักให้กับเยาวชนที่ต้องการท่องเที่ยวแบบประหยัด
การท่องเที่ยวชนบททำให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ถึงประสบการณ์และมีชีวิตความเป็นอยู่แบบ
กา ร
ชนบท ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ที่หมู่บ้านคีรีวง นครศรีธรรมราช
(32) การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เป็นการท่องเที่ยวที่อยู่บนพื้นฐานของขีดความสามารถ
เพื่อ
ของธรรมชาติ ชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มีต่อกระบวนการท่องเทียว
มีความตระหนักดีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต
ิต

ที ่ ม ี ต ่ อ กระบวนการท่ อ งเที ่ ย ว ประชาชนทุ ก ส่ ว นได้ ร ั บ ผลประโยชน์ ท างเศรษฐกิ จ ที ่ เ กิ ด จาก


นดุส

การท่องเที่ยวอย่างเสมอภาค
(33) การท่ อ งเที่ ย วแบบเดิ น ป่ า เป็ น การท่ อ งเที่ ย วในลั ก ษณะต้ อ งเดิ น เข้ า ไปในป่ า
ัยสว

เพื่อศึกษาธรรมชาติ ศึกษาสัตว์ป่า พืชพันธุ์ต่างๆ การท่องเทียวเดินป่านี้อาจมีกิจกรรมท่องเทียวอื่นๆ


ประกอบ เช่น การเที่ยวน้ำตก การดูนก การส่องสัตว์ เป็นต้น
ยาล

(34) การท่องเที่ยวแบบล่องแพ เป็นการท่องเที่ยวโดยใช้แพเป็นพาหนะ ซึ่งการล่องแพ


าวิท

ในประเทศไทยที่นิยมมี 2 แบบ คือแพยางและแพไม้ไผ่ แพยางนิยมใช้ล่องในสายน้ำที่ไหลเชี่ยว


มีระดับของแก่งหินเป็นชั้นๆเพื่อความสนุกตื่นเต้นในการล่อง พร้อมกับได้ชมความงามของธรรมชาติ
"มห

สองฝั่งด้วย ส่วนแพไม้ไผ่นิยมล่องในสายน้ำที่ไหลเอื่อย เพื่อชมความงามของสองฝั่งริมน้ำ


(35) การท่องเที่ยวทางน้ำที่ใช้เรือแคนู เป็นการท่องเที่ยวโดยใช้เรือแคนูในการท่องเที่ยว
เป็นลักษณะการเที่ยวทางน้ำที่ต้องอาศัยพื้นที่น้ำที่นิ่งพอสมควร เพื่อสามารถพรายเรือชมความงาม
และทัศนียภาพของเกาะแก่ง ผาหินต่างๆ
(36) การท่ อ งเที่ ย วแบบล่ อ งไพร เป็ น การท่ อ งเที่ ย วที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มเป็ น อย่ า งมาก
โดยเฉพาะประเทศแถบแอฟริกา มีลักษณะคือ การให้นักท่องเที่ยวได้นั่งรถเข้าไปในพื้นที่ที่เป็น
79

อุทยานฯ หรือป่าเขาหรือสวนสัตว์ขนาดใหญ่ และได้นั่งรถวนดูชีวิตของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ บาที่อาจ


จัดให้ชมได้ทั้งกลางวันและกลางคืนที่เรียกว่า ไนท์ ซาฟารี (Night Safari)
นอกเหนือจากที่กล่าวมาการท่องเทียวยังมีรูปแบบต่างๆที่หลากหลายอีกมาก เช่น Dentist
Tourism เป็นการท่องเทียวที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมาทำฟัน เนืองจากการทำฟันในประเทศของตน
นั้นราคาแพงมากจึงต้องไปทำในต่างประเทศ เช่น ที่ฮังการี การทำฟันนั้นมีราคาถูกมากกว่าประเทศ
เพื่อนบ้านอย่างออสเตรียถึง 4 เท่า คนในออสเตรียจึงนิยมมากท่องเที่ยวทำฟันและถือโอกาสได้

"
ท่องเทียวในฮังการีด้วย

่านั้น
สรุป

าเท
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าประเภทของการจัดนำเที่ยวมีหลากหลายลักษณะ การจัดนำเที่ยว

ศึกษ
โดยทั่วไปมักแบ่งเป็นการจัดตามความต้องการของนักท่องเที่ยว หรือจัดตามรายการที่ผู้ประกอบการ
ได้เตรียมการไว้แล้ว ส่วนการจัดนำเที่ยวที่เป็นสากล จะเน้นการนำเที่ยวภายในประเทศ การนำเที่ยว
กา ร
เข้ า ประเทศ และการนำเที ่ ย วไปต่ า งประเทศ หากมองตามขนาดของการจั ด นำเที ่ ย วแบ่ ง เป็ น
การจัดนำเที่ยวเฉพาะส่วนบุคคลหรือเป็นกลุ่มหรือหมู่คณะ สำหรับการท่องเที่ยวตามวิธีการแบ่งเป็น
เพื่อ

จั ด ในลั ก ษณะแบบเหมาจ่ า ยแบบเบ็ ด เสร็ จ จั ด แบบให้ เ ป็ น รางวั ล และจั ด แบบเช่ า เหมาลำ


การจั ด นำเที ่ ย วที ่ ก ำลั ง เป็ น ที ่ น ิ ย มอย่ า งมาก ได้ แ ก่ การจั ด ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องนั ก ท่ อ งเที ่ ย ว
ิต
นดุส

ซึ่งมีมากมายหลายลักษณะ และสุดท้า ยคือการจัดนำเที่ยวตามช่วงเวลา แบ่งเป็น การจัดนำเที่ยว


ครึ่งวัน การจัดนำเที่ยวแบบเต็มวัน และการจัดนำเที่ยวมากกว่าหนึ่งวัน
ัยสว

คำถามทบทวน
ยาล

1. ให้อธิบายและยกตัวอย่าง คำว่า Collective Tour


าวิท

2. ให้อธิบายและยกตัวอย่าง Packager Tour


3. ให้อธิบายและยกตัวอย่าง Incentive Tour
"มห

4. F.I.T. หมายถึง
5. G.I.T. หมายถึง
6. อธิบายการจัดนำเที่ยวตามลักษณะช่วงเวลา
7. จงอธิบาย การจัดนำเที่ยวแบบเช่าเหมาลำ (Charter Tour)
8. ให้ศึกษารายการนำเที่ยวพร้อมยกตัวอย่าง City Tour
9. ให้ศึกษารายการนำเที่ยวพร้อมยกตัวอย่าง Sightseeing Tour
10. ให้ศึกษารายการนำเที่ยวพร้อมยกตัวอย่าง Night Tour
80

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


จำกัด
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเทีย่ ว.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"
่านั้น
พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
99

บทที่ 6
กลยุทธ์การจัดนำเที่ยว

หน้ า ที ่ ห ลั ก ของบริ ษ ั ท นำเที ่ ย ว คื อ การจั ด นำเที ่ ย วเสนอขายให้ ก ั บ ลู ก ค้ า และวิ ธี


การจัดนำเที่ยวของแต่ละบริษัท ย่อมแตกต่างกันตามนโยบายของบริษัท ในบทนี้จะอธิบายถึง กลยุทธ์
การจัดนำเที่ยวประเภทต่าง ๆ ดังนี้

"
่านั้น
กลยุทธ์การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Strategy of Inbound Tour)

าเท
ศึกษ
การวางแผนจัดการนำเที่ยว ในลักษณะจัดนำเที่ยวประเภทเข้าประเทศ (Inbound Tour)
เป็นการจัดนำเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาจากทั่วทุกมุมโลก การจัดรายการ
กา ร
นำเที่ยวจึงยากลำบากในการที่จะสนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยวได้เหมือนกันทั้งหมด
บริษัท นำเที่ยวส่วนใหญ่จะใช้การเจาะตลาดเฉพาะประเทศหรือ ภูมิภ าคที่ ตนมีศักยภาพในการ
เพื่อ
ทำตลาดและสามารถจัดนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาตินั้น ๆ ได้ ซึ่งบริษัทนำเที่ยวจะต้องศึกษาข้อมูล
รายละเอี ย ดต่ า ง ๆ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด นำเที ่ ย วเพื ่ อ เป็ น แนวทางในการจั ด รายการนำเที ่ ย ว
ิต

ให้เหมาะสม และตรงตามความต้องการของตลาด ทั้งนี้รายการนำเที่ยวเข้าประเทศ (Inbound Tour)


นดุส

ส่วนใหญ่ มักเป็นลักษณะของการจัดนำเที่ยวที่มักมีรายการท่องเที่ยวชมเมือง (City Tour) หรือ


ไม่ก็เที่ยวชมสถานที่ที่มีจุดเด่นในตัวเมืองหรือรอบ ๆ เมือง อาจเป็นแบบเช้าไปเย็นกลับ (Sightseeing
ัยสว

Tour) อยู่ด้วย (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552 : 158)


สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Inbound Tour) คือ (พวงบุหงา ภูมิพานิช,
ยาล

2539: 168-180)
1. ศึกษาตลาด
าวิท

1.1 รักษาตลาดเก่า ต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่เคยใช้บริการว่าเป็นใคร เชื้อชาติ เพศ


"มห

อายุ ระดับสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ อาชีพ ระดับการศึกษา


1.2 หาตลาดใหม่ พิ จ ารณาจากข้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ฐานะความเป็ น อยู ่ แ ละเศรษฐกิ จ
ของประเทศต่างๆ แนวโน้มและทิศทางของการเดินทาง
นอกจากศึกษาตลาดการท่องเที่ยวแล้ว จะต้องศึกษาสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการตลาด
การท่ อ งเที ่ ย วแห่ ง ประเทศไทยได้ แ บ่ ง กลุ ่ ม ตลาดเป้ า หมายต่ า งประเทศ โดยจั ด ลำดั บ
ความสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากจำนวนนักท่อ งเที่ยว คุณภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ของนักท่องเที่ยว
82

แนวโน้ม และศักยภาพของแต่ละตลาดประกอบกัน ซึ่งศักยภาพของตลาดเป้าหมายต่างประเทศ


จะพิจารณาจาก :
1. รายได้ของนักท่องเที่ยว
2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง
3. จำนวนประชากรและสัดส่วนการเดินทางออกนอกประเทศ
4. อัตราการเพิ่มของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย

"
5. สัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละตลาด

่านั้น
6. ระยะทางและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางมายังประเทศไทย
กลุ่มตลาดเป้าหมายต่างประเทศ แบ่งออกเป็น :

าเท
1. กลุ่มตลาดหลักที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ เยอรมัน อังกฤษ

ศึกษ
ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา
2. กลุ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ จีน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย กรีซ บราซิล แอฟริกาใต้
กา ร
ยูไนเต็ดอาหรับเอมิเรตส์
3. กลุ่มตลาดอื่นๆ ที่ต้องรักษาไว้ ได้แก่ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อินเดีย
เพื่อ
นิวซีแลนด์ แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สเปน เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เวย์ เม็กซิโก อิสราเอล
อียิปต์
ิต

เมื ่ อ ศึ ก ษากลุ ่ ม ตลาดต่ า งๆ แล้ ว บริ ษ ั ท ทำเที ่ ย วก็ จ ะพิ จ ารณาจั ด ทำตลาดเป้ า หมาย
นดุส

โดยเรียงลำดับความสำคัญ จากนั้นศึกษาวิจัยความต้องการของตลาดเป้าหมาย
2. ศึกษาความต้องการของตลาดเป้าหมาย ความต้องการของลูกค้าถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ
ัยสว

ที่ผู้จัดนำเที่ยวจะต้องให้ความสนใจ และสำรวจความต้องการของนักท่องเที่ยวชาติต่าง ๆ ในด้าน


ต่าง ๆ เหล่านี้ ก่อนตัดสินใจจัดรายการนำเที่ยวเพื่อเสนอขาย
ยาล

2.1 ด้ า นที ่ พ ั ก ต้ อ งทราบว่ า โรงแรมระดั บ ใดเป็ น ที ่ ต ้ อ งการ อาจกล่ า วได้ ว่ า


าวิท

เมื่อนักท่องเที่ยวซื้อการท่องเที่ยวกับบริษัทนำเที่ยว ความต้องการที่จะได้ที่พักระดับหรูหรามีมากที่สุด
เพราะจะทำให้ได้สัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ ไม่เหมือนบ้าน และการมากับบริษัทนำเที่ยวทำให้ได้พัก
"มห

โรงแรมดี แต่ราคาถูกกว่าการจัดการท่องเที่ยวเอง ความต้องการที่จะได้สัมผัส กับบรรยากาศท้องถิ่น


มีสูง ผู้จัดนำเที่ยวจึงควรตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวโดยจัดให้นักท่องเที่ยวพักโรงแรม
ที่มีการจัดโรงแรม วัสดุที่ใช้ ตลอดจนรูปทรงของอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น
2.2 ด้านแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวสามารถแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
2.2.1 แหล่งท่องเที่ยวประเภทชายทะเล เช่น ภูเก็ต เกาะสมัย เกาะเต่า พัทยา
เกาะเสม็ด
83

2.2.2 แหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม และโบราณสถาน เช่น วัดพระศรี


รัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง
2.2.3 แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย กาญจนบุรี
เพชรบูรณ์
2.2.4 แหล่งท่องเที่ยวประเภทสถานบันเทิงเริงรมย์ เช่น พัฒน์พงษ์ พัทยา
หาดใหญ่

"
2.2.5 แหล่งท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้างขึ้น เช่น ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

่านั้น
สวนสามพราน เมืองโบราณ ฟาร์มจระเข้
2.2.6 แหล่งท่องเที่ยวประเภทกิจกรรมงานประเพณี เช่น งานช้างที่จังหวัด

าเท
สุรินทร์ ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ประเพณีลอยกระทงที่จังหวัดสุโขทัย

ศึกษ
จากกลุ่มแหล่งท่องเที่ยว 6 กลุ่ม จะช่วยให้ผู้จัดนำเที่ ยวสามารถแบ่งกลุ่มตลาด
ที่มีความสนใจในแหล่งท่องเที่ยวที่คล้ายคลึงการ เพื่อประโยชน์ของการจัดรายการนำเที่ยว
กา ร
2.3 ด้านวัตถุประสงค์ ศึกษาวัตถุประสงค์ของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวใน
ประเทศไทย มี จ ุ ด มุ ่ ง หมายเพื ่ อ พั ก ผ่ อ น อาบแดด เยี ่ ย มชมสถานที ่ ต ่ า ง ๆ ผจญภั ย ตี ก อล์ ฟ
เพื่อ
หรือซื้อของ เป็นต้น
2.4 ด้านกิจกรรม
ิต

2.4.1 เยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม


นดุส

กรุงเทพมหานคร
(1) วัดสำคัญต่าง ๆ : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ัยสว

วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
(2) พิพิธภัณฑ์ : พิพิธภัณฑ์จิมทอมสัน พิพิธภัณฑ์ชาวไทยลื้อ
ยาล

(3) ตลาดนัดจตุจักร ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า


าวิท

(4) ตลาดน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง (วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนตามแม่น้ำ ลำคลอง)


(5) ย่านบันเทิงเริงรมต่าง ๆ : พัฒน์พงษ์ ศูนย์แสดงศิลปะวัฒนธรรม
"มห

ภาคกลาง
(1) อยุธยา : วัดต่าง ๆ กรุงเก่า เมืองโบราณ
(2) สมุทรปราการ : ฟาร์มจระเข้ เมืองโบราณ
(3) นครปฐม : พระปฐมเจดีย์ สวนสามพราน
(4) ราชบุรี : ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
(5) กาญจนบุรี : สุสานสัมพันธมิตรในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2
(6) เพชรบุรี : เขาวัง ชะอำ
84

ภาคเหนือ
(1) เชียงใหม่ : ถ้ำเชียงดาว ดอยสุเทพ ดอยอินทนนท์ หมู่บ้านชาวเขา
(2) เชียงราย : แม่สาย สามเหลี่ยมทองคำ
(3) แม่ฮ่องสอน : ทุ่งบัวตอง ปาย กระเหรี่ยงคอยาว
(4) พิษณุโลก : อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(5) สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย

"
ภาคตะวันออก

่านั้น
(1) ชลบุรี : พัทยา สวนนงนุช ปราสาทสัจจะธรรม
(2) จันทบุรี : สวนผลไม้

าเท
(3) ระยอง : เกาะเสม็ด

ศึกษ
ภาคใต้
(1) สุราษฎร์ธานี กา ร
(2) ภูเก็ต
(3) สงขลา
เพื่อ
(4) สุไหงโกลก
(5) กระบี่
ิต

2.4.2 ทดลองอาหารไทย/ของหวาน/ผลไม้
นดุส

(1) ศิลปะการตกแต่งอาหาร
(2) การแกะสลัก
ัยสว

2.4.3 แสวงหาสิ่งบันเทิงเริงรมย์ในยามราตรี
(1) อาบ อบ นวด
ยาล

(2) เต้นรำ ดื่มเหล่า ฟังเพลง


าวิท

(3) ชมการแสดงทางด้านวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ
2.4.4 เล่นกีฬา
"มห

(1) ทางบก : กอล์ฟ เทนนิส เดินป่า ปีนเขา ไต่เขา


(2) ทางน้ำ : ล่องแพ วินต์เซิร์ฟ ดำน้ำ แล่นเรือใบ ว่ายน้ำ
2.4.5 ซื้อของ
(1) สินค้าพื้นเมือง : ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม เสื้อผ้าสำเร็จรูป
(2) ของที่ระลึก วัตถุโบราณ : สินค้าหัตกรรมพื้นบ้าน เครื่องเงิน เครื่องถม
(3) ของใช้ประจำวัน
(4) อัญมณี
85

2.4.6 ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
(1) สร้างสถานการณ์ใช้ชม : สวนสามพราน หมู่บ้านไทย
(2) เยี่ยมชมหมู่บ้านชาวเขา ชาวเล หมู่บ้านมอร์แกน
ตัวอย่าง
ตลาดยุโรป
(1) ด้านที่พัก รีสอร์ทหรือโรงแรมที่มีเอกลักษณ์ไทย และตั้งอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ

"
เป็นสัดสวน ที่ไม่การจราจรพลุกพล่าน โดยเฉพาะโรงแรมที่อยู่ใกล้ทะเล ควรจะมีหาดส่วนตัว

่านั้น
(2) ด้ า นแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว อาจจะจั ด คละกั น ไปทุ ก ประเภท โดยเน้ น หนั ก ประเภท
ชายทะเล ที่ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะนางยวน

าเท
(3) ด้านวัตถุประสงค์ ส่วนใหญ่จุดมุ่งหมายของการท่องเที่ยว เพื่อพักผ่อน อาบแดด

ศึกษ
และเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ
(4) ด้านกิจกรรม กา ร
- เยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ๆ ทางชายทะเล เช่น ภูเก็ต พัทยา และทางเหนือ
เช่น เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่
เพื่อ
- ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อย
- เล่นกีฬาทางน้ำ
ิต

- ซื้อของที่ระลึก
นดุส

- เที่ยวยามราตรี
วิธีการจัดนำเที่ยว การจัดนำเที่ยวประเภท Inbound Tour อาจจัดเป็น Package ให้กับ
ัยสว

กลุ่ม Incentive or Convention บางบริษัทจะรับจัดนำเที่ยวเฉพาะ Inclusive Tour เท่านั้น โดยจะ


เป็นการร่วมมือกับบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบร่วมหุ้นกับบริษัทนำเที่ยว
ยาล

ต่างประเทศ หรือมีสัญญาข้อตกลงเป็นตัวแทนขายบริการให้กับ บริษัทนำเที่ ยวต่างประเทศ เพื่อ


าวิท

สะดวกในการจัดส่งนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
การรับ-ส่งที่สนามบิน (Transfer in-out)
"มห

การรับ ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาถึง บริษัทนำเที่ยวควรติดต่อใช้บริการของสมาคม


ไทยธุรกิจการท่องเที่ยวในการรับนักท่องเที่ยว หรือคณะนักท่องเที่ยวจากภายในบริเวณเขตหวงห้าม
(บริเวณรอรับกระเป๋าเดินทาง) มาส่งให้กับมัคคุเทศก์ หรือพนักงานของบริษัทที่มารอรับ
การส่ง กรณีที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ฝ่ายปฏิบัติการอาจจะติดต่อสายการบิน เพื่อขอแยก
เคาน์เตอร์พิเศษทำการ Check in เฉพาะนักท่องเที่ยวคณะนี้ หรืออาจจะขอจัดที่นั่งล่วงหน้าก่อนเพื่อ
ไม่สับสนวุ่นวายและใช้เวลานาน จะได้ check in เฉพาะกระเป๋าเดินทางและสัมภาระต่าง ๆ
86

การดำเนินงาน จะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นฝ่ายสำคัญดังนี้ คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาด


ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายการเงิน
ฝ่ายบริหารและฝ่ายการตลาดโดยมากเป็นกลุ่มเดียวกันจึงควรเป็นบุคคลที่มีอำนาจพอที่จะ
สามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ทันที ส่วนฝ่ายปฏิบัติการถือว่าเป็นหัวใจหลักของการท่องเที่ยว
เป็นฝ่ายจัดการเกือบทั้งหมด งานจองทุกประเภท จัดรถ จัดมัคคุเทศก์ โต้ตอบจดหมาย จัดรายการ
นำเที่ยว คิดราคาต้นทุนกำไร และฝ่ายการเงิน เกี่ยวข้องในเรื่องการรับ-จ่ายเงิน

"
งานของฝ่ายปฏิบัติการจัดนำเที่ยว ร่างรายการนำเที่ยว ติดต่อเจรจาต่อรอง และจองธุรกิจ

่านั้น
ผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะจองเครื่องบินก่อนจองที่พัก แต่ถ้าเป็นการจัดประชุม
ที่โรงเรียนจะจองโรงเรียนก่อน หรือถ้าเป็นกิจกรรมเทศกาลงานประเพณี ต้องจองที่นั่งหรือซื้อบัตร

าเท
ก่อนตกลงราคาแล้วแจ้งไปที่ฝ่ายการเงิน เพื่อจะให้จ่ายเงินค่ามัดจำเพื่อเป็นการค้ำประกัน การกำหนด

ศึกษ
ราคาต้องอยู่ในราคาที่เหมาะสมสำหรับลูกค้ายุโรป ส่วนลูกค้าเอเชียต้องราคาถูก ติดต่อเรื่องรถ
และคนขับ จัดมัคคุเทศก์ พร้อมมอบหมายงาน พิมพ์รายการนำเที่ยวเพื่อแจกลูกค้า และจัดทำ
กา ร
Rooming List ส่งให้โรงแรม
การจัดทำ Rooming List
เพื่อ
หมายถึงรายชื่อของนักท่องเที่ยวที่จะจัดให้เข้าพักในโรงแรม เป็นการให้ข้อมูลของนักท่องเที่ยว
แก่โรงแรม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
ิต

รายชื่อนักท่องเที่ยว นิยมเริ่มจากห้องคู่ ห้องเดี่ยว ห้อง 3 คน ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ


นดุส

จะนิยมเขียนชื่อผู้ที่อยู่ห้องเดียวกันไว้บรรทัดเดียวกัน ส่งวนนักท่องเที่ยวชาวไทยจะนิยมเขียนชื่อคนละ
บรรทัด
ัยสว

ข้ อ มู ล เกี ่ย วกั บ หนัง สื อ เดิน ทาง ได้แก่ หมายเลขหนังสือเดิ นทาง วันเดือนปีเกิ ด ฯลฯ
เพื่อโรงแรมจะต้องแจ้งข้อมูลให้กับตำรวจท้องถิ่น หรือตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
ยาล

ใบ Rooming List จะถู ก ทำขึ้ น และจั ด เตรี ย มไว้ พ ร้ อ มกุ ญ แจหรื อ บั ต ร พร้ อ มที่ จ ะมอบ
าวิท

ให้แก่นักท่องเที่ยวทำให้สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาผ่านกระบวนการ Check in


"มห

กลยุทธ์การจัดนำเที่ยวไปต่างประเทศ (Strategy of Outbound Tour)

การจัดนำเที่ยวไปต่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากการมีกระแสและทิศทางของนักท่องเที่ยวไทย
ที่ให้ความนิยมเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศมากขึ้น อาจเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ ได้แก่
นักท่องเที่ยวต้องการเปลี่ยนบรรยากาศการท่องเที่ยว การได้เดินทางไปต่างประเทศจะให้ความรู้ สึกที่
แตกต่างไปจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ บางคนต้องการไปสัมผัสกับสิ่งมหัศจรรย์ของโลก บางคน
ต้องการไปสัมผัสอากาศที่หนาวเย็น สัมผัสวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยว หรือความ
87

ศิวิไลซ์ต่าง ๆ ในต่างประเทศ ที่ประเทศไทยไม่มี บริษัทนำเที่ยวที่มีนโยบายการจัดนำเที่ ยวประเภท


นำนั ก ท่ อ งเที ่ ย วต่ า งประเทศ ควรจะได้ ม ี ก ารวางแผนระยะยาว และวางแผนประจำปี แ ละ
ควรทำล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี ควรจะได้มีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ (พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539:
184-200)
1. ความต้ อ งการของลู ก ค้ า โดยการสำรวจความคิ ด เห็ น ของลู ก ค้ า หลั ง การเสร็ จ สิ้ น
การเดินทางแต่ละครั้ง และนำผลที่ได้จากการสำรวจมาประกอบการพิจารณาจัดรายการนำเที่ยว

"
เช่ น ประเทศที่ น าสนใจ จำนวนวั น เดื อ นที่ เ หมาะสม เป็ น ต้ น กรณี ถ้ า เป็ น การจั ด นำเที่ ย ว

่านั้น
แบบเหมาจ่าย ต้องจัดตามความต้องการของลูกค้า
2. วัตถุประสงค์ของการเดินทาง โดยคำนึงถึงการให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการเดินทาง

าเท
มากที่สุด บริษัทนำเที่ยวส่วนใหญ่จะจัดนำเที่ยว โดยกำหนดวัตถุประสงค์หลัก 4 อย่าง ได้แก่ พักผ่อน

ศึกษ
เพลิดเพลิน เยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว ซื้อของ และสุขภาพ
3. กำหนดการเดินทาง โดยคำนึงถึงภูมิอากาศของประเทศเหล่านั้น ช่วงเวลาที่คนไทยชอบ
กา ร
เดินทางท่องเที่ยว และระยะเวลาของการเดินทาง ตลอดจนเทศกาลงานประเพณีต่าง ๆ ของประเทศ
ที่จะไป เพื่อจะได้จัดให้ตรงกับช่วงเทศกาลนั้น ๆ เช่น จัดไปเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่นในเทศกาล
เพื่อ
หิมะ หรือจัดไปแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมันในช่วงเทศกาลดื่มเบียร์
4. โปรแกรมนำเที่ ย ว โดยพิ จ ารณาจากรายการนำเที่ ย วของแต่ ล ะโปรแกรมที่ เ คยจั ด
ิต

ว่ารายการนำเที่ยวไหนควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ควรจะ
นดุส

จัดโปรแกรมนำเที่ยว ไปยังภูมิภาคใด ช่วงเวลาใด ระยะเวลาของการจัด ตลอดจนวัตถุประสงค์ของ


การจัดนำเที่ยว ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นรายละเอียดในการเจรจากับธุรกิจตัวแทนต่างประเทศเพื่อ
ัยสว

ปรับปรุงการจัดนำเที่ยวในปีต่อไปให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
5. จุดเด่นทางการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ ควรจัดให้ลูกค้าได้มีโอกาสเยี่ยมชมจุดเด่น
ยาล

ทางการท่องเที่ยวของประเทศต่าง ๆ
าวิท

6. บริษัทควรสำรวจลูกค้าที่ใช้บริการว่า เป็นใคร เพศ วัย อาชีพ ระดับการศึกษา เพื่อจะได้


วางแผนจัดรายการนำเที่ยวได้ถูกต้อง
"มห

7. บริษัทนำเที่ยวตัวแทนต่างประเทศ ควรประเมินผลการทำงานของบริษัทตัวแทนเดิม
ขณะเดียวกันควรใช้บริการบริษัทตัวแทนใหม่ ๆ ให้เกิดการเปรียบเทียบ เพื่อให้ได้บริษัทตัวแทนที่ดี
และข้อเสนอที่ดีที่สุด สำหรับการเริ่มจัดนำเที่ยวไปยังสถานที่ประเทศใหม่ ๆ ควรจะได้ศึกษารายการ
นำเที่ยว ราคา และข้อเสนอต่าง ๆ จากหลายบริษัทตัวแทนก่อนการตัดสินใจเลือก
88

การวางแผน
1. การวางแผนระยะยาว ช่วงเวลา 10 ปี 5 ปี 3 ปี โดยวางแผนกำหนดเป้าหมายในช่วง
ต่าง ๆ ว่าจะพัฒนาการท่องเที่ยวไปในแนวไหน จะจัดรูปแบบใด เน้นภูมิภาคใด การตลาด และการบริการ
ของบริษัทตัวแทนต่างประเทศอยู่ในแนวทางใด
2. การวางแผนประจำปี ศึกษาข้อมูลต่างๆในส่วนที่เกี่ยวกับข้อดี และอุปสรรค ปัญหาของ
การจัดนำเที่ยว มากำหนดเป็นแผนงานประจำปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

"
2.1.1 จัดทำเอกสารนำเที่ยว เป็นการกำหนดจำนวนโปรแกรมนำเที่ยวที่จะจัดในรอบ

่านั้น
1 ปี โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน เป็นการทำรายการนำเที่ยวต่าง ๆ ที่บริษัทตัวแทนต่างประเทศจัดทำขึ้น
ตามความเหมาะสม หรือจัดตามความต้องการของบริษัทนำเที่ยวไทย มารวบรวมจัดทำเป็นโปรแกรม

าเท
นำเที่ ย วของบริ ษั ท เรี ย งตามลำดั บ วั น -เดื อ นที่ จั ด การจั ด นำเที่ ย วนี้ เ ป็ น แบบ Inclusive tour

ศึกษ
ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ๆ มีหัวหน้าทัวร์เดินทางไปด้วย เป็นการจัดแบบ Package Tour ซึ่งระบุค่า
ที่ พั ก และยานพาหนะเท่ า นั้ น เป็ น การจั ด นำเที่ ย วแบบให้ ร างวั ล (Incentive Tour) ตามคำสั่ ง
กา ร
ขององค์กรหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการจัดรายการนำเที่ยวให้เป็นรางวัลสำหรับพนักงานหรือตัวแทน
ห้างร้าน
เพื่อ
สำหรับราคาท่องเที่ยวอาจจะระบุหรือไม่ระบุไว้ด้วย ควรมีใบเสนอราคาของโปรแกรม
ต่าง ๆแยกต่างหาก แล้วส่งให้ลูกค้าภายหลัง การกำหนดราคาท่องเที่ยวนอกจากคิดต้นทุนกำไรแล้ว
ิต

ยังต้องศึกษาตลาดเป้าหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจในช่วงนั้น ตลอดจนเปรียบเทียบราคาของบริษัทอื่น ๆ
นดุส

ในระดับเดียวกัน
2.1.2 ส่ งเสริ มการขาย วางแผนโฆษณาประชาสัม พั น ธ์ โดยกำหนดวิ ธี ก าร ลูกค้ า
ัยสว

เป้าหมาย สื่อที่จะใช้ ช่วงเวลาที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์ และที่สำคัญที่สุดงบประมาณที่จะใช้ใน


การส่งเสริมการขาย เพราะถ้ามี งบประมาณน้อย สินค้าก็ไม่เป็นที่รู้จัก และทำให้การส่งเสริการขาย
ยาล

ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการขาย กรณีที่บริษัทต้องการรณรงค์โปรแกรม


าวิท

เป็นพิเศษ (highlight) ของปีนี้ ก็มุ่งเน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นพิเศษ


"มห

ตลาดเป้าหมาย
1. บุคคลทั่วไป ได้แก่ลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ที่บริษัทตั้งเป้าหมายในการเจาะตลาด ซึ่งรวมถึง
บุคคลที่ติดต่อสอบถามซื้อการท่องเที่ยวที่หน้าร้าน หรือทางโทรศัพท์ด้วย
2. องค์กรหรือหน่วยงาน บริษัท ร้านค้า ได้แก่ กลุ่มลูกค้าเก่าและกลุ่มลูกค้าใหม่ ที่บริษัท
ได้ ต ั ้ ง เป้ า หมายในการเจาะตลาดไว้ บริ ษ ั ท จะส่ ง บุ ค ลากรไปติ ด ต่ อ เสนอขายบริ ก ารยั ง องค์ ก ร
หน่วยงาน หรือบริษัทร้านค้านั้น การที่บริษัทตั้งเป้าหมายตลาดลูกค้าไว้ ทำให้สามารถกำหนด วัน
89

เดือนปีและระยะเวลาในการเดินทางได้อย่างเหมาะสมเพราะสามารถจัดโปรแกรมนำเที่ยวได้ตรงกับ
ความต้องการของตลาด คือ
- ตลาดการศึกษา ได้แก่ นักเรียน ครู อาจารย์ ผู้บริหารทางการศึกษา
- ตลาดครอบครัว จะคล้ายคลึงกับตลาดการศึกษาเพราะการท่องเที่ยวจะขึ้นอยู่กับช่วงหยุด
การศึกษา
- ตลาดคนสูงอายุ ได้แก่ ผู้ที่เกษียณอายุแล้ว กลุ่มนี้จะเดินทางท่องเทียวได้ทุกเวลาตลอดปี

"
- ตลาดนักธุรกิจ เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง และใช้เวลาว่างไปเที่ยวเพื่อพักผ่อน ตีกอล์ฟ เล่น

่านั้น
สกี หรือประชุม จึงทำให้เป็นตลาดที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่าตลาดอื่นในแต่ละปี

าเท
ขั้นตอนการดำเนินงาน

ศึกษ
1. จัดโปรแกรมนำเที่ยว นำรายการนำเที่ยวจัดทำโดยบริษัทนำเที่ยวต่างประเทศมาเขียน
เป็นภาษาไทย กา ร
2. จัดทำเอกสารนำเที่ยว รวบรวมโปรแกรมนำเที่ยวตลอดทั้งปีเป็นรูปเล่ม
3. ติ ด ต่ อ สายการบิ น ต่ า งๆ พร้ อ มสำรวจราคา และข้ อ เสนอก่ อ นจองเที ่ ย วบิ น
เพื่อ
ตามรายการนำเที่ยว
4. กรณีที่ให้บริษัทตัวแทนต่างประเทศจัดให้เฉพาะนำเที่ยวอย่างเดียว บริษัทนำเที่ยว
ิต

ก็ต้องติดต่อจองธุรกิจผลิตค้าบริการอื่นๆล่วงหน้า เช่น โรงแรม รถโค้ช ภัตตาคาร


นดุส

(1) โรงแรม การเลือกโรงแรมต้องคำนึงถึงราคา ที่ตั้ง ระดับของโรงแรม และการให้


เงื่อนไขพิเศษของแต่ละโรงแรม และต้องยืนยันจำนวนคนก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 10 วัน
ัยสว

5. ทำการส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อมวลชน


ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ ใบปลิว แผ่นพับ โปสเตอร์ และจัดแสดง
ยาล

สินค้าหน้าร้าน การส่งโปรแกรมนำเที่ยวไปให้กับลูกค้าเป้าหมายทางไปรษณีย์ การติดต่อโดยตรงกับ


าวิท

องค์กร สถาบัน หน่วยงาน และบริษัทห้างร้านต่างๆ


6. การขายโดยจัดขายหน้าร้านและทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระยะเวลาในการขาย ให้เวลา
"มห

ลูกค้าเตรียมตัว ถ้าเป็นการเดินทางระยะยาวหลายประเทศ ควรปิดการขายอย่างน้อย 1 เดือน


เพื่อให้เวลาการทำวีซ่า
7. จัดเตรียมเอกสารและรวบรวมเอกสารของลูกค้า สำหรับการขอวีซ่าจะต้องมีข้อมูล
ประเทศที่ต้องขอวีซ่าและประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่า ค่าธรรมเนียมในการจัดทำวีซ่า การเข้าประเทศ
ครั้ ง เดี ย ว การเข้ า ประเทศหลายครั้ ง จะเสี ย เท่ า ไร และเอกสารที่ จ ะต้ อ งนำไปแสดงแต่ ล ะ
ประเทศมีอะไรบ้าง ผู้รับผิดชอบจะต้องศึกษาข้อมูลเหล่านี้
8. กำหนดตัวหัวหน้าทัวร์ให้กับคณะนักท่องเที่ยว
90

9. ยืนยันจำนวนลูกค้าครัง้ สุดท้าย พร้อมทัง้ ส่งมอบใบ Rooming List


10. เตรี ย มอุ ป กรณ์ แ ละเอกสารสำหรั บ แจกลู ก ค้ า ในวั น ประชุ ม ปฐมนิ เ ทศ ได้ แ ก่
ใบเสร็จรับเงิน จองห้องประชุม ติด ต่อธนาคารสำหรับการแลกเปลี่ยนเงินของลูกค้า รายการนำเที่ยว
ฉบับสมบูรณ์ พร้อมคำแนะนำประกอบการเดินทาง ของที่จะแจกลูกค้า (ถ้ามี) เช่น กระเป๋าขึ้นเครื่อง
หมวก หรือแก้วน้ำ เป็นต้น
11. ประชุมปฐมนิเทศการเดินทาง อย่างน้อย 10 วันก่อนการเดินทาง ดำเนินการประชุม

"
อธิบายรายการนำเที่ยว พร้อมคำแนะนำต่างๆ ในการเดินทาง อาจมีการฉายภาพ และวีดีทัศน์

่านั้น
ของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่จะไปให้ลูกค้าชม และเปิดโอกาสให้ซักถาม
12. การเงิน รับเงินค่าเดินทาง และจ่ายเงินโอนให้บริษัทตัวแทนต่างประเทศพร้อมทั้งเตรียม

าเท
เงินให้กับหัวหน้าทัวร์เพื่อใช้จ่ายและเป็นเบี้ยเลี้ยง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ศึกษ
13. เจ้าหน้าที่เตรียมอุปกรณ์และเอกสาร เช่น แผ่นป้ายติดกระเป๋า ป้ายชื่อ ริบบิ้น ร่ม หรือ
เอกสาร แบบสอบถาม ใบรายชื่อลูกค้า แบบฟอร์มการเข้าออกประเทศที่กรอกแล้ว หนังสือเดินทาง
กา ร
ของลูกค้า พร้อมตั๋วเครื่องบิน ใบ voucher (ถ้ามี) เพื่อมอบให้หัวหน้าทัวร์ก่อนวันออกเดินทาง หรือที่
สนามบิน
เพื่อ
14. เมื่อเสร็จสิ้นการเดินทางทุกครั้ง ต้องมี แบบฟอร์มการประเมินผลการเดินทาง และสรุป
ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อหากำไร-ขาดทุน สำหรับการประเมินผลการเดินทาง อาจตรวจสอบได้จากหลาย
ิต

ฝ่าย โดยการส่งแบบสอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. โรงแรม


นดุส

บริษัทรถเช่า 2. นักท่องเที่ยว (ลูกค้า) 3. หัวหน้าทัวร์ หลังจากได้รับแบบสอบถามคืนกลับมาแล้ว


นำมาวิเคราะห์ประมวลข้อมูล ความคิดเห็นต่างๆ อาจทำการส่งให้ลูกค้าภายหลังการเดินทางกลับ
ัยสว

มาแล้ว 1 สัปดาห์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง


ยาล

การปฐมนิเทศการเดินทาง
าวิท

ก่อนการเดินทางประมาณ 1-3 สัปดาห์ เพราะหลังจากการประชุมปฐมนิเทศ ลูกค้าจะได้


มีเวลาเตรียมการเดินทาง สิ่งที่บริษัทจำเป็นต้องให้ลูกค้าทราบรายละเอียดดังนี้ คือ
"มห

1. รายการนำเที ่ ย วแต่ ล ะวั น แหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วที ่ จ ะไปเยื อ น แหล่ ง ซื ้ อ ของ ภู ม ิ อ ากาศ
กฎระเบียบของแต่ละประเทศที่จะเดินทางไป เช่น เยอรมันห้ามนำอาหารที่ทำจากหมูไปเด็ดขาด
อธิบายความสวยงามของสถานที่ ความสนุกที่จะได้รับ สินค้าขึ้นชื่อของแต่ละประเทศ วิถีชีวิตของ
ประชาชน
2. การแต่งกาย ควรตรวจสอบสภาพอากาศและอุณหภูมิเวลานั้นๆ ของประเทศที่จะเดินทาง
ไป พร้อมแนะนำถึงเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศด้วย
91

3. เงินสด ไม่ควรนำไปจำนวนมาก ถ้าแลกเงินควรแลกเงินสกุลของประเทศที่จะไปเยือน


ทุกครั้งที่แลกเงินจะต้องมีหนังสือเดินทางแสดงทุกครั้ง
4. เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรทราบระบบไฟฟ้าของประเทศที่จะไปเยือน เพื่อจะได้แจ้งให้ผู้ที่จะ
เดินทางเตรียมเครื่องใช้ไฟฟ้าไปได้ถูกต้อง
5. การจัดของหรือ น้ำหนักของสัมภาระ ส่วนใหญ่จะให้นำกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ 1 ใบ
และกระเป๋าขึ้นเครื่อง (carryon bag) 1 ใบ ลูกค้าบางคนอาจจะมีประเป๋าเพิ่มตอนขากลั บ แต่ต้อง

"
รับผิดชอบน้ำหนักกระเป๋าให้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม ถ้าน้ำหนักเกินจะต้องจ่ายเงินส่วนที่เกินกำหนด

่านั้น
ดังนั้นกระเป๋าเดินทางควรจะซื้อที่ดี มีคุณภาพ เบา ทนทาน จุ ที่เปิด-ปิดกระเป๋าแข็งแรง การจัดเสื้อผ้า
ควรจะนำเสื้อผ้าตามฤดูกาล และเสื้อผ้าที่เหมาะสำหรับการเดินทางไม่ต้องรีด เบา สวมสบาย ไม่ต้อง

าเท
ดู แ ลมาก ถ้ า เดิ น ทางไปประเทศที ่ ม ี อ ากาศหนาวเสื ้ อ ผ้ า อาจใส่ ซ ้ ำ ได้ อย่ า งเสื ้ อ สเวตเตอร์

ศึกษ
จะเปลี่ยนเฉพาะตัวใน ซึ่งไม่หนักมากและไม่กินที่ (ส่วนสีต้องคำนึงถึงฤดูกาล ประเทศ ถ้าไปยุโรปช่วง
ฤดูหนาว สีเสื้อผ้าต้องอยู่ในโทนขรึม สีดำ เทา น้ำ ตาลเข้ม เนื้อ เป็นต้น) กางเกง เสื้อ กระโปรง
กา ร
ชุดชั้นใน อย่างน้อย 3 ชุด ถุงเท้าหนาหรือบางขึ้นอยู่กับอากาศ ถุงน่อง ชุดนอน เครื่องใช้ในห้องน้ำ
เครื่องสำอางค์ ควรแบ่งเป็นชุดเล็กสำหรับขึ้นเครื่อง เวลาจัดกระเป๋าอย่างเร่งรีบเพราะอาจจะลืมของ
เพื่อ
ให้นำของที่จัดจะวางไว้จุดเดียวเพื่อสะดวกในการจัดและกันลืม เสื้อผ้าควรใส่ถุงพลาสติกก่อน พวก
ครีม หรือเครื่องสำอางที่แบ่งใส่ขวดพลาสติก อย่าใส่เต็มขวด ใส่ประมาณ 2/3 และใส่ถุงพลาสติก
ิต

อีกชั้นเพื่อกันหก ส่วนรองเท้าต้องสวมสบาย ควรนำติดไปจำนวน 2 คู่ และไม่ควรเป็นรองเท้าใหม่ การ


นดุส

จั ด ของต้ อ งคำนึ ง ถึ ง น้ ำ หนั ก ในช่ ว งขากลั บ ที ่ จ ะต้ อ งซื ้ อ กลั บ มาด้ ว ย ไม่ ค วรจั ด ของให้ พ อดี
20 กิโลกรัม แต่อย่างไรก็ตาม การเดินทางโดยใช้บริการของบริษัทนำเที่ยว บางครั้งอาจได้รับ
ัยสว

การยกเว้นเกิน 20 กิโลกรัม เพราะใช้ถัวเฉลี่ยกันทั้งคณะ


6. ระดับของโรงแรม ห้องคู่ ห้องเดี่ยว อุปกรณ์ในห้องนอน การใช้โทรศัพท์ โทรทัศน์ มินิบาร์
ยาล

ซึ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในโรงแรม รวมถึงอาหารเช้าแบบอเมริกัน
าวิท

7. การรักษาความปลอดภัยของสนามบิน รักษากระเป๋าสตางค์และของมีค่า
8. การซื้อของ สินค้าที่ขึ้นชื่อของแต่ละประเทศที่ควรซื้อ ราคา การเลือกซื้อ การต่อรอง
"มห

การจ่ายเงินในรูปแบบต่างๆ การคืนเงินภาษี
9. โรคประจำตัว นักท่องเที่ยวที่มีโรคประจำตัว ต้องแจ้งให้หัวหน้าทัวร์ทราบ และควรเตรียม
ยาติดตัวไปด้วย รวมถึงแจ้งถึงประเภทของอาหารที่ไม่รับประทาน
สิ่งที่จะต้องแจกลูกค้าในวันประชุมปฐมนิเทศ
(1) โปรแกรมนำเที่ยวฉบับสมบูรณ์
(2) กระเป๋าขึ้นเครื่อง
(3) ของที่ระลึก
92

(4) รายชื่อของโรงแรมที่จะพักแต่ละคืน พร้อมที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์

กลยุทธ์การจัดนำเที่ยวในประเทศ (Strategy of Domestic Tour)

การจัดนำเที่ยวที่จะดำเนินการจัดนำเที่ยวโดยนำนักท่องเที่ยวไทย และชาวต่างประเทศ
ที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย

"
บริ ษ ั ท จั ด นำเที ่ ย วที ่ ด ำเนิ น การจั ด นำเที ่ ย วในประเทศไทยต้ อ งคำนึ ง ถึ ง ข้ อ มู ล ต่ อ ไปนี้

่านั้น
ในการพิจารณาการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง (พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539: 201-214)
วัตถุประสงค์ของบริษัท การจัดนำเที่ยวของบริษัทควรมีจุดเน้นในการจัดนำเที่ ยวลักษณะ

าเท
ใดบ้าง เพื่อจะหากลุ่มเป้าหมายภายในประเทศได้ถูกต้อง

ศึกษ
กลุ่มเป้าหมาย พิจารณาถึงบุคคลที่จะสามารถท่องเที่ยวได้เป็นบุคคลใด มีอาชีพอะไร ฐานะ
ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร กา ร
1. สำรวจความต้องการของตลาดกลุ่มเป้าหมาย ว่าต้อ งการท่องเที่ยวในลักษณะใดบ้าง
ต้องการสัมผัสธรรมขาติ เยี่ยมชมสถานที่ สิ่งบันเทิงเริงรมย์ เปลี่ยนบรรยากาศ หรือซื้อของ
เพื่อ

2. สำรวจสถานภาพทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้จัดได้ถูกต้อง


ตามงบประมาณของกลุ่มเป้าหมาย
ิต

การเลือกจุดหมายปลายทาง ต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้ คือ


นดุส

1. แหล่งท่องเที่ยว : มีสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวหรือจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว
2. สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ การจัดการระบบน้ำ ไฟฟ้า สื่อสาร โทรนาคม เป็นต้น
ัยสว

มีถนนเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว และอยู่ในสภาพดี สามารถเดินทางไปได้หลาย นอกจากไปทางบกแล้ว


ยาล

สามารถไปทางเรือและทางอากาศได้ ความใกล้ไกลของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงสภาพการจราจร


ที่จะไปสถานที่นั้น ๆ
าวิท

3. ความปลอดภั ย ตามเส้ น ทางที่ เ ดิ น ทางท่ อ งเที ย วปลอดภั ย จากโจรผู้ ร้ า ย หรื อ


แหล่งท่องเที่ยวที่ไปเยือน ไม่มีอันตรายล่อแหลมที่จะทำให้ถึงกับพลาดพลั้งเสียชีวิต เช่น การปี นน้ำตก
"มห

เล่นน้ำขณะที่คลื่นแรง มีสัตว์ร้าย เป็นต้น

การวางแผนการท่องเที่ยวภายในประเทศ ต้องคำนึงถึง
1. การเลือกแหล่งท่องเที่ยวตามความต้องการของลูกค้า เป็นอันดับแรก จากนั้นพิจารณา
ถึงจุดเด่นทางการท่องเที่ยว ความสะดวกในการเดินทาง
2. กำหนดวั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการจั ด นำเที่ ย ว เช่ น เพื่ อ ความสนุ ก สนาน เพื่ อ เยี่ ย มชม
สถานที่ เพื่อสุขภาพ เพื่อศึกษาธรรมชาติ
93

3. ช่วงเวลาของการจัด ควรจัดนำเที่ยวตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ไม่ควรจัดในช่วงฤดูฝน


เพราะไม่สะดวกในการเดินทาง และควรจัดในช่วงที่จังหวัดนั้นมีงานเทศกาลประเพณีต่างๆ
4. กำหนดโปรแกรมนำเที ่ ย วโดยเขี ย นรายการนำเที ่ ย วให้ น ่ า สนใจ โดยกำหนด
กิ จ กรรมให้ล ูกค้ามีส ่วนร่วม กำหนดจำนวนโปรแกรมที่จะจัด ช่วงเวลากิจกรรมที่น่าสนใจ ให้
เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
5. กำหนดงบประมาณเพื่ อ การโฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ กำหนดระยะเวลา วิ ธี ก าร และ

"
การเลือกสื่อเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พร้อมวงเงินที่จะใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่ละครั้ง

่านั้น
การดำเนินการจัดนำเที่ยวในประเทศ

าเท
1. เขียนรายการนำเที่ยวให้น่าสนใจ โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆที่คิดว่าลูกค้าสนใจ ถ้าไป

ศึกษ
ยังแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ จะจัดกิจกรรมเช่นไรที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความสนุกสนาน
2. ติดต่อธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม สายการบิน
กา ร
ภัตตาคาร ร้านอาหาร รถโค้ช และสถานที่เข้าเยี่ยมชม ซึ่งต้องมีการติดต่อล่วงหน้า เพื่อจะได้มีการ
เตรียมตัวรับคณะนักท่องเที่ยวที่จะไปเยี่ยมชม การจองจะกำหนดปริมาณที่มากกว่าจำนวนการคิด
เพื่อ
ราคาค่าใช้จ่าย เช่น ถ้าคิดราคาจากนักท่องเที่ยว 25 คน อาจต้องจอง 40 คน
3. มีการส่งเสริมการขาย ส่งแผ่นพับโปรแกรมนำเที่ยว
ิต

4. การขายโปรแกรมนำเที่ยวอาจจะปิดการขายอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนออกเดินทาง ทั้งนี้


นดุส

ขึ้นอยู่กับพาหนะที่ใช้ ถ้าเป็นเครื่องบินในประเทศ ถ้าขายเกินจำนวนที่นั่งที่จองไว้กับสายการบิน


อาจจะมี อ ุ ป สรรคในการขอเพิ ่ ม จำนวนในเที ่ ย วบิ น นั ้ น เนื ่ อ งจากขนาดของเครื ่ อ งบิ น ที ่ ใ ช้ บิ น
ัยสว

ภายในประเทศจะบรรจุผู้โดยสารได้น้อยกว่าขนาดเครื่องบินระหว่างประเทศ การขอเพิ่มจำนวน
ห้ อ งพั ก ในโรงแรมอาจทำได้ ง ่ า ยกว่ า ยกเว้ น ช่ ว งเทศกาลที่ ม ี น ั ก ท่ อ งเที ่ ย วไปเยื อ นจั ง หวั ด หรื อ
ยาล

แหล่งท่องเที่ยวนั้นมากเป็นพิเศษ อาจจะทำให้ไม่ได้ห้องพัก ถ้าไม่ได้จองล่วงหน้าเป็นเวลานาน


าวิท

5. เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนออกเดินทาง การสั่งอาหารกล่องสำหรับอาหารมื้อแรกบนรถ


(ถ้าไปทางเครื่องบินก็ไม่จำเป็น) ส่วนรายการอาหารจะดีมากน้ อยเพียงใดขึ้นอยู่กับราคาค่าบริการ
"มห

การจัดทำแผนผังที่นั่งสำหรับลูกค้าโดยจัดตามลำดับการซื้อก่อนหลังพร้อมทั้งเขียนชื่ อลูกค้าเพื่อติด
ที่นั่งบนรถ
6. ฝ่ายการเงินจะเป็นผู้จัดทำรายละเอียดการใช้จ่ายเงิน และฝ่ายปฏิบัติการจะนำปัญหา
จากการเดินทางมาปรับปรุงแก้ไขในอนาคต
94

การจัดทำตารางการปฏิบัติงาน
การจัดทำตารางการปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะการที่มีภาระงานมาก จะทำให้
ทราบว่ า จะทำงานอะไรก่ อ น-หลั ง เพื ่ อ ป้ อ งกั น ความผิ ด พลาด และช่ ว ยให้ ท ราบความก้ า วหน้ า
ในการทำงานและยังเตือนความจำด้วย

สรุป

"
่านั้น
กลยุทธ์การจัดนำเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ กลยุทธ์การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ

าเท
(Inbound Tour) การจัดนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ การวางแผนอย่างมีระบบและการ
จัดการที่เป็นมาตรฐานสากล เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้กระบวนการนำเที่ยวเป็นไปด้วยดี และ

ศึกษ
ปราศจากอุปสรรค การจัดนำเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tour) การจัดการนำเที่ยวขึ้นอยู่กับ
ตัวแทนต่างประเทศ บริษัทจะต้องมี การวางแผนงานอย่างเป็นระบบขั้นตอน และมีความสามารถใน
กา ร
การเลือกตัวแทนต่างประเทศที่มีศักยภาพและการจัดนำเที่ยวในประเทศ (Domestic Tour) เป็นสิ่ง
เพื่อ
สำคัญที่สุดคือ การจัดกิจกรรมขณะเดินทางให้นักท่องเทียวได้รับความสุข สนุกสนาน และพอใจมาก
ที่สุด ซึ่งลักษณะการดำเนินของการจัดนำเที่ยวแต่ละประเภท มีขึ้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างกัน
บางขั้นตอน เช่น การจัดนำเที่ยวนอกประเทศ ผู้ดำเนินการจัด จะต้องมีความรู้และศึกษาเพิ่มเติม
ิต
นดุส

เกี่ยวกับประเทศนั้น ๆ ที่จะพานักท่องเที่ยวออกนอกประเทศ เช่น ไปดูดอกซากุระที่ประเทศญี่ปุ่น


ต้องเดินทางช่วง มีนาคม ถึง เมษายน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ระเบียบวิธีการขอวีซ่าเข้าประเทศ
ัยสว

เป็นต้น
ยาล
าวิท
"มห
95

คำถามทบทวน
1. อธิบายกลยุทธ์การจัดนำเที่ยวเข้าประเทศ (Inbound Tour) พอสังเขป
2. อธิบายกลยุทธ์การจัดนำเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tour) พอสังเขป
3. อธิบายกลยุทธ์การจัดนำเที่ยวในประเทศ (Domestic Tour) พอสังเขป
4. กลุ่มตลาดหลักที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ประเทศอะไรบ้าง

"
5. กลุ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ประเทศอะไรบ้าง

่านั้น
6. ให้ทำตัวอย่างตาราง Rooming List มา 1 ตาราง
7. ให้นักศึกษาเลือกศึกษาวิธีการและขั้นตอนการขอวีซ่า 1 ประเทศ

าเท
8. จงอธิบายขั้นตอนการทำหนังสือเดินทาง

ศึกษ
9. จงยกตัวอย่างกรณีศึกษา City Tour
10. การปฐมนิเทศการเดินทาง สิ่งที่บริษัทจำเป็นต้องให้ลูกค้าทราบรายละเอียด มีอะไรบ้าง
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
96

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


จำกัด
พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
115

บทที่ 7
การสำรวจเส้นทาง

การสำรวจเส้นทาง คือ การเดินทางไปยังเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่คิดไว้ว่าจะนำมาจัดเป็น


รายการนำเที่ยว โดยในเบื้องต้น จะสำรวจสภาพภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ ของแหล่งท่องเที่ยวและ

"
บริเวณใกล้เคียง สิ่งสำคัญที่ผู้สำรวจเส้นทางจะนำมาพิจารณาในการวางแผนที่สำคัญมีหลายเรื่อง

่านั้น
ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว ต้องสำรวจเส้นทางหาข้อมูลให้ได้ว่า การท่องเที่ยวจะต้องแวะเที่ยวจุดไหนก่อน
จุดไหนหลัง จากนั้นให้สำรวจดูการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ย วในแต่ละจุดว่ายากง่ายอย่างไร ต้องใช้พาหนะ

าเท
อื่นเปลี่ยนถ่ายหรือไม่ จากนั้นต้องสำรวจบริเวณทางผ่านใกล้เคียงว่ามีร้านอาหารที่สามารถนำกลุ่มทัวร์

ศึกษ
มาใช้บริการได้หรือไม่ สำรวจว่ามีที่พักใกล้เคียงเหมาะสมที่ใดบ้าง ตลอดจนสำรวจทางกลับว่ามีร้าน
ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ ยวได้แวะซื้อเลือกชมอย่างไรหรือไม่ การนำข้อมูลเรื่องเส้นทางเดินทาง
กา ร
แหล่งท่องเที่ยว และสถานประกอบการต่างๆ ดังกล่าว มาคิดพิจารณาลำดับความเป็นไปได้ก่อนหลัง
และเลือกสรรในสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมกับความสามารถที่ผู้จัดสามารถทำได้ หรือเพื่อให้ตอบสนองตาม
เพื่อ
ความต้องการของลูกค้ามากที่สุดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก ทั้งนี้ต้องมีความเป็นไปได้เรื่องของเวลาระหว่าง
จุดต่อจุด ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและสามารถจัดไปได้ตามช่วงฤดูกาลของแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละที่
ิต
นดุส

ความหมายเส้นทางการท่องเที่ยว
ัยสว

ได้มีผู้ให้ความหมายเส้นทางการท่องเที่ยว ไว้ดังนี้
ยาล

เส้นทางการท่องเที่ยว หมายถึง เส้นทางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถพบเห็นหรือ


เข้าชมจุดที่ น่ าสนใจตามแหล่ งท่ อ งเที ่ย วต่ าง ๆ ได้ง่ายสะดวกปลอดภั ยได้ รั บความรู ้และความ
าวิท

เพลิ ด เพลิ น จาการใช้ เ ส้ น ทางที ่ จ ั ด ทำขึ ้ น เส้ น ทางท่ อ งเที ่ ย วอาจเกิ ด ขึ ้ น โดยอั ต โนมั ต ิ จ ากการที่
นักท่องเที่ยวหลายกลุ่มใช้เส้นทางเดิมซ้ำอยู่เป็นประจำเส้นทางท่องเที่ยวอาจเป็นเส้นทางรถยนต์
"มห

ทางเท้าทางเรือหรือทางอื่น ๆ อาจใช้ร่วมกับเส้นทางสัญจรปกติของเมืองหรืออาจเป็นการกำหนด
เส้นทางขึ้นเฉพาะเป็นพิเศษ (วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง และคณะ, 2547 : 98)
เส้นทางการท่องเที่ยว หมายถึง แนวทางการสัญจรที่กำหนดขึ้นสำหรับการเดินทางหรือ
การตัดสินใจหรือเลือกเดินทางของนักท่องเที่ยวเพื่อให้สามารถพบเห็นหรือเข้าชมจุดที่น่าสนใจตาม
แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้ง่ายสะดวกปลอดภัยได้รับความรู้และความเพลิดเพลินจากการใช้เส้นทางที่
กำหนดขึ้นสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวทั้งเส้นทางที่เกิดขึ้นจากความนิยมของนักท่องเที่ยวและ
ผู้ประกอบการโดยอัตโนมัติหรือเส้นทางสัญจรปกติที่เข้าถึงแหล่งเป้าหมายได้ตลอดทั้งเส้นทาง
98

ที่กำหนดขึ้นมาใหม่ตามศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวดังนั้นเส้นทางการท่องเที่ยวหมายถึงการกำหนด
เส้นทางการสัญจรของนักท่องเที่ยวไปยังแหล่ งท่องเที่ยวต่างๆที่น่าสนใจได้ง่ายสะดวกปลอดภัยซึ่งจะ
ได้รับความรู้และความเพลิดเพลินทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสุขในระหว่างการเดินทาง (ประสิทธิ์ คุณุรัตน์
และคณะ, 2546 : 76)
การจัดเส้นทางสัญจรเพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง เส้นทางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยว
สามารถพบเห็นหรือเข้าชุมจุดที่น่าสนใจตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้ง่ายสะดวกปลอดภัยได้รับความรู้

"
่านั้น
และความเพลิดเพลินจากการใช้เส้นทางที่จัดทำขึ้นเส้นทางท่องเที่ยวอาจเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติจากการที่
นักท่องเที่ยวหลาย ๆ กลุ่มใช้เส้นทางเดิมซ้ำเป็นประจำเส้นทางท่องเที่ยวนี้อาจเป็นเส้นทางรถยนต์ทาง

าเท
เท้าทางเรือหรือทางอื่น ๆ อาจใช้ร่วมกับเส้นทางสัญจรปกติของเมืองหรืออาจเป็นการกำหนดเส้นทาง
ขึ้นมาเฉพาะเป็นพิเศษ (เดชา บุญค้ำ, 2539 : 102)

ศึกษ
สรุป เส้นทางการท่องเที่ยว หมายถึง เส้นทางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถพบเห็น
หรื อ เข้ า ชุ ม จุ ด ที ่ น ่ า สนใจตามแหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วต่ า ง ๆ ได้ ง ่ า ยสะดวกปลอดภั ย ได้ ร ั บ ความรู ้ แ ละ
กา ร
ความเพลิดเพลินจากการใช้เส้นทางที่จัดทำขึ้น
เพื่อ

การสำรวจทรัพยากรเพื่อกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว
ิต
นดุส

สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ


มหาวิทยาลัย Oxford Brooks ได้กำหนดรูปแบบหลักการการสำรวจทรัพยากรท่องเที่ยวไว้มีประเด็น
ัยสว

ที่จะต้องเก็บข้อมูลคือชื่อและลักษณะที่ตั้งการเข้าถึงเจ้าของการให้บริการข้อมูลท่องเที่ยวการติดต่อ
ซึ่งมีขั้นตอน (พยอม ธรรมบุตร 2549: 10 – 12) ดังนี้
ยาล

1. จำแนกทรัพยากรท่องเที่ยว
1.1 ประเภทของทรัพยากร
าวิท

(1) ทรัพยากรหลักเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว
(2) ทรัพยากรรองเพื่อสนับสนุนทรัพยากรหลักในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
"มห

1.2 ชนิดของทรัพยากร
(1) ทรัพยากรธรรมชาติ: พืชสัตว์ภูมิทัศน์ภูมิอากาศน้ำ
(2) ทรัพยากรวัฒนธรรม: ศาสนามรดกวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
(3) ทรัพยากรเหตุการณ์สำคัญ: งานมหกรรมการแข่งขันงานแสดงผลิตภัณฑ์
(4) ทรัพยากรกิจกรรม: นันทนาการผจญภัย สิ่งอำนวยความสะดวก
(5) ทรัพยากรบริการ: ที่พักอาหารการต้อนรับการขนส่ง
99

2. สำรวจทำรายการทรัพยากรท่องเที่ยว
การสำรวจรายการทรัพยากรท่องเที่ยว 5 ชนิดคือธรรมชาติวัฒนธรรมเหตุการณ์สำคัญ
กิจกรรมและการบริการดังกล่าวโดยการเก็บข้อมูลรายละเอียดของสิ่งที่มีความน่าสนใจดึงดูดใจ
ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ความสำคัญคุณค่าข่าวสารสถานที่ตั้งการเข้าถึงแหล่งผู้ดูแลรับผิดชอบ
จั ด การช่ ว งเวลาใช้ บ ริ ก ารการติ ด ต่ อ ประสานงานปริ ม าณการใช้ ผ ู ้ เ ข้ า ใช้ ล ั ก ษณะการใช้ แ ละ
ค่าธรรมเนียมการใช้แหล่งทรัพยากร

"
่านั้น
3. การประเมินทรัพยากรท่องเที่ยว
3.1 คุ ณ ภาพทรั พ ยากรคื อ สิ่ ง ที่ ท ำให้ ท รั พ ยากรนั้ น ดี ก ว่ า หรื อ ด้ อ ยกว่ า ทรั พ ยากรอื่ น

าเท
ในสถานที่อื่น ๆ การได้รับการดูแลรักษาจุดด้อยเสียหายคุณภาพบริการสิ่งที่ควรปรับปรุงสิ่ งที่เป็น
ปัญหาอุปสรรค

ศึกษ
3.2 ความโดดเด่นของทรัพยากรได้แก่มีสิ่งที่ทำให้ทรัพยากรในพื้นที่นั้นๆมีความน่าสนใจ
เป็นพิเศษซึ่งแตกต่างจากที่อื่นกระทั้งสามารถสร้างความภาคภูมิใจในสถานที่นั้น ๆ
กา ร
3.3 อำนาจในการดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ แ ก่ สิ่ ง ที่ มี บ ทบาทในกิ จ กรรมระบบการวั ด
การประเมินระดับการใช้การเพิ่มแรงดึงดูดมากขึ้น
เพื่อ

4. ฐานข้ อ มู ล ของทรั พ ยากรท่ อ งเที่ ย วได้ แ ก่ ข้ อ มู ล ที่ ท ำให้ ท รั พ ยากรนั้ น มี คุ ณ ประโยชน์


ต่ อ แหล่งท่องเที่ยวการท่องเที่ยวประเภทที่เหมาะสมและน่าพึงพอใจในปัจจุบันการเพิ่มความดึงดูด
ิต
นดุส

เพื่อมีบทบาทสำคัญในอนาคตและลักษณะปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนา
ัยสว

การจัดเส้นทางสัญจรเพื่อการท่องเที่ยว
ยาล

ข้อพิจารณาของการจัดเส้นทางสัญจรเพื่อการท่องเที่ยวหลายประการ เช่น (วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง


และคณะ, 2547 : 105-107)
าวิท

1. การกำหนดเส้นทางการพิจารณากำหนดเส้นทางท่องเที่ยวควรสำรวจและสังเกตการณ์
จากพฤติ ก รรมของนั ก ท่ อ งเที ่ ย วที ่ เ ป็ น อยู ่ ป ระกอบกั บ แนวโน้ ม ที ่ ค วรจะเป็ น ในการจั ด เส้ น ทาง
"มห

ควรเริ ่ ม ต้ น จากการพิ จ ารณาตำแหน่ ง ของแหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วประเภทต่ า งๆภายในเมื อ งจั ด ลำดั บ


ความสำคัญและความน่าสนใจจากนั้นจึงพิจารณาความสามารถในการเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
เข้าด้วยกัน
2. การจัดเส้นทางในลักษณะวงจรบรรจบทำให้นักท่องเที่ยวได้พบเห็นสิ่งแปลกใหม่เกิดความ
เพลิดเพลินไปตลอดทางโดยไม่ต้องย้อนกลับเส้นทางเดิมซึ่งนักท่องเที่ยวอาจเกิดความรู้สึกเบื่อและ
เสียเวลาข้อดีอีกประการหนึ่งคือสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มย่อยที่ต้องการทิ้งพาหนะของตนเองไว้
ยั ง จุ ด เดิ ม อาจจั ด ให้ มี ก ารเดิ น ทางใน 2 ลั ก ษณะ เช่ น เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการเดิ น เท้ า ไประยะหนึ่ ง แล้ ว
100

จึ ง เปลี่ยนเป็นการสัญจรโดยทางเรือในขากลับซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้พักผ่อนไปในตัวระหว่างขากลับ
หรืออาจจัดในลักษณะแบบทางเดียวโดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายแยกกันอยู่ตามความเหมาะสม เช่น
กรณีที่แหล่งท่องเที่ยวกระจายห่างไกลกัน เช่น แหล่งท่องเที่ยวอยู่ริมน้ำ เป็นต้น เส้นทางลักษณะนี้จะ
ไม่มีปัญหาสำหรับการท่องเที่ยวแบบกลุ่ม เพราะยานพาหนะสามารถไปรอรับอยู่ที่จุดใดก็ได้
3. การจัดเส้นทางให้มีความแตกต่างภายเมืองการกำหนดเส้นทางอาจจัดทำขึ้นหลายเส้นทาง
หรือหลายระบบก็ได้ภายในเมือง ๆ หนึ่งเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ ยวที่มีเวลาน้อยต่างกัน

"
่านั้น
ความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากความสนใจของนักท่องเที่ยวเช่นเส้นทางสำหรับผู้สนใจศิลปะและ
วัฒนธรรมอาจพานักท่องเที่ยวไปตามแม่น้ำลำคลองเพื่อดูชีวิตความเป็นอยู่และสภาพบ้านเมืองหรือ

าเท
อาจเป็นเส้นทางที่มีความหลากหลายและน่าสนใจหลายด้านร่วมกันอยู่
4. ควบคุมเส้นทางและรูปแบบของการสัญจรไม่ให้เกิดความสับสนการเข้าถึงและเดินทาง

ศึกษ
จะต้องควบคุมได้ง่ายและไม่สับสน
5. การให้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารในเส้ น ทางจั ด ทำการประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ ข้ อ มู ล กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว
กา ร
ตลอดทางอย่างสม่ำเสมอด้วยระบบป้ายหรือด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อช่วยบอกทิศทางตำแหน่งที่ตั้งและ
ระยะทางเช่นช่วยนักท่องเที่ยวกำหนดทิศทางด้วยที่หมายตา (Landmark) การสร้างความต่อเนื่อง
เพื่อ

ของเส้นทางด้วยการใช้วัสดุปูพื้นทางเท้าที่เหมือนกันไปตลอดทางหรือใช้วัสดุพืชพันธุ์ที่เหมือนกันตลอด
แนว เป็นต้น
ิต
นดุส

6. พิ จ ารณาจั ด ประเภทของพาหนะตามสภาพภู มิ ป ระเทศและภู มิ อ ากาศเส้ น ทาง


ท่ อ งเที่ ย วอาจใช้พาหนะในการเดินทางต่างกันทำให้เกิดความน่าสนใจแตกต่างกันตามความเหมาะสม
ัยสว

กับสภาพภูมิประเทศสภาพภูมิอากาศและลักษณะเฉพาะตัวของเมืองนั้น ๆ
7. ปรับปรุงบริเวณจุดเริ่มต้นของเส้นทางจุดเริ่มต้นของเส้นทางท่องเที่ยวมักจะอยู่ในย่าน
ยาล

ใจกลางเมืองเข้าถึงได้ง่ายมีข้อมูลต่าง ๆ รวมอยู่ซึ่งนักท่องเที่ยวจะใช้ในการตัดสินใจวางแผนการ
เดินทางมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไว้บริการเช่นที่จอดรถที่พักคอยห้องน้ำในเมืองหนึ่ง ๆ อาจจัด
าวิท

ให้มีเส้นทางนักทัศนาจรหลาย ๆ เส้นทาง ดังนั้น จุดเริ่มต้นนี้ไม่จำเป็นต้องมีอยู่จุดเดียวแต่อาจกระจาย


กันอยู่ตามบริเวณที่มีแหล่งท่องเที่ยวรวมกลุ่มกันอยู่ก็ได้
"มห

8. จัดสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร อาทิเช่น ร้านอาหารร้านขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ และ


อาจรวมถึ ง ร้ า นขายของที ่ ร ะลึ ก ต่ า ง ๆ ด้ ว ยในกรณี ท ี ่ เ ป็ น จุ ด เริ ่ ม ต้ น ของเส้ น ทางที ่ ม ี อ ั ต ราการ
เข้าออกค่อนข้างสูง ส่วนบริการ เช่น จุดพักคอยจุดนัดหมายจะต้องให้ความสะดวกสบายและมองเห็น
ได้ชัดเจนไม่สับสนห้องน้ำถังขยะไฟฟ้าแสงสว่างโทรศัพท์
9. ส่วนบริการทางด้านข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเมืองอาจจะอยู่ในรูปของแผ่นประกาศเอกสาร
แจกหรื อ เจ้ า หน้ า ที ่ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วควรประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ จุ ด สนใจต่ า ง ๆ
101

ในเมือง ข้อมูลเกี่ยวกับ ที่พัก ร้านอาหาร การสัญจร รวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในเมือง


เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถช่วยเหลือตนเองได้
10. ลักษณะทางกายภาพของสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก ควรจะเป็นรูปแบบของ
ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเมือง ที่นำมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความสะดวกในการ
ให้บริการ
11. ควรดูแลรักษาสถานที่และส่วนบริการต่าง ๆ ให้สะอาดเรียบร้อยและใช้ได้อยู่ ตลอดเวลา

"
่านั้น
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้
12. เส้นทางนั้นควรมีการเกาะกลุ่มหรือมีการกระจุกตัวของสถานที่สำคัญที่มีชื่อเสียง เช่น

าเท
ด้านศิลปกรรมโบราณคดีประวัติศาสตร์ระดับชาติธรรมชาติจนถึงครอบคลุมสถานที่ที่น่าสนใจให้มาก
ที่สุดนอกจากนี้ควรพยายามให้แต่ละเส้นทางมีความเด่นด้อยไม่แตกต่างกันมากนักเพื่อให้เกิดความ

ศึกษ
เพลิดเพลินใจความรู้ความเข้าใจในระดับที่ไล่เลี่ยกัน
13. เส้นทางนั้นควรมีการเกาะกลุ่มของกิจกรรมอันหลากหลายบริเวณที่มีความคึกคักของ
กา ร
กิจกรรมนานาประเภทโดยเฉพาะกิจกรรมด้านการค้าการบริการการพักผ่อนหย่อนใจแบบต่าง ๆ
สถานที ่ ซ ึ ่ ง แสดงออกถึ ง วั ฒ นธรรมประเพณี ค วามเป็ น อยู ่ ใ นชุ ม ชนความเป็ น เอกภาพของพื ้ น ที่
เพื่อ

บรรยากาศสีสันและความเร้าใจแบบตะวันออก
14. เส้นทางนั้นควรมีการเกาะกลุ่มของชุมชนหรือย่าน (District) ที่แสดงให้เห็นการดำรงชีวิต
ิต
นดุส

การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อร่วมกันของผู้คนยิ่งเป็นชุมชนที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่มี
ขนบธรรมเนียมความเชื่อและประเพณีที่แตกต่างจากชุมชนธรรมดาทั่วไปก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ
ัยสว

สำหรับผู้มาเยือนมากยิ่งขึ้นการที่ชุมชนเกาะกลุ่มกันจนเกิดพื้นที่ที่ชัดเจนจนสามารถวางเส้นทางสัญจร
เพื่อการท่องเที่ยวได้และหากการเกาะกลุ่มของชุมชนเหล่านี้เป็นชุมชนที่มีคุณลักษณะต่างกันก็จะมี
ยาล

ความเหมาะสมยิ่งขึ้นในการกำหนดเส้นทาง
15.เส้ น ทางนั ้ น ควรมี ก ารเกาะกลุ ่ ม รวมตั ว กั น ของสถานที ่ พ ั ก ผ่ อ นใจของชุ ม ชน
าวิท

การตั้งถิ่นฐานตลาดร้านค้า ศาสนสถานตลอดจนสถานที่ซึ่งเป็นที่รวมหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ
"มห

แนวคิดเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว

การจัดเส้นทางสัญจรเพื่อการท่องเที่ยว คือ เส้นทางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถ


พบเห็นหรือเข้าชมจุดต่าง ๆ ได้ง่ายสะดวกปลอดภัยได้รับความรู้และความเพลิดเพลินจากเส้นทาง
ที่จัดทำขึ้นเส้นทางท่องเที่ยวอาจเกิดขึ้นโดยอนุมัติจากการที่นักท่องเที่ยวหลาย ๆ กลุ่มใช้เส้นทางเดิม
อยู่เป็นประจำ เส้นทางท่องเที่ยวนี้อาจเป็นเส้นทางรถยนต์ทางเท้าหรือทางอื่น ๆ อาจใช้ร่วมกับ
102

เส้นทางสัญจรปกติของเมืองหรืออาจเป็นการกำหนดเส้นทางขึ้นมาเฉพาะพิเศษ (วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง


และคณะ, 2547: 108-109)
ข้อพิจารณาในการจัดเส้นทางสัญจรเพื่อการท่องเที่ยว
1. การกำหนดเส้ น ทางการพิ จ ารณากำหนดเส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วควรสำรวจและสั ง เกต
จากพฤติกรรมของนักท่องเที่ย วที่เป็นอยู่ประกอบกับแนวโน้มที่ควรจะเป็นในการจัดเส้นทางควร
เริ่มต้นจากการพิจารณาตำแหน่งของแหล่งท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ จัดลำดับความสำคัญและความ

"
่านั้น
น่าสนใจจากนั้นจึงพิจารณาความสามารถในการเชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
2. การจั ด เส้ น ทางในลั ก ษณะวงจรทำให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ พ บเห็ น สิ่ ง แปลกใหม่ เ กิ ด ความ

าเท
เพลิดเพลินตลอดทางโดยไม่ต้องย้อนกลับมาทางเดิมนักท่องเที่ยวอาจเกิดความรู้สึกเบื่อและเสียเวลา
ข้อดีอีกประการหนึ่งคือสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มย่อยที่ต้องการทิ้งพาหนะของตนเองไว้ยัง

ศึกษ
จุดเดิมอาจจัดให้มีการเดินทางสองลักษณะเช่นเริ่มต้นด้วยการเดินเท้าไประยะหนึ่งแล้วจึงเปลี่ยนเป็น
การสัญจรทางเรือในขากลับซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้พักผ่อนไปในตัวระหว่างขากลับหรืออาจจัดใน
กา ร
ลั ก ษณะทางเดี ย วโดยมี จ ุ ด เริ ่ ม ต้ น และจุ ด สุ ด ท้ า ยแยกกั น อยู ่ ต ามความเหมาะสม เช่ น กรณี
แหล่งท่องเที่ยวกระจายห่างไกลกันเช่นแหล่งท่องเที่ยวอยู่ริมน้ำ เป็นต้น เส้นทางลักษณะนี้จะไม่มี
เพื่อ

ปัญหาสำหรับการท่องเที่ยวแบบกลุ่มเพราะยานพาหนะสามารถไปรองรับอยู่ที่จุดใดก็ได้
3. การจัดเส้นทางให้มีความแตกต่างการกำหนดเส้นทางอาจจัดทำขึ้นหลายเส้นทางหรือ
ิต
นดุส

หลายระบบก็ได้ภายในเมือง ๆ หนึ่งเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเวลามากน้อยต่างกัน
ความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากความสนใจของนักท่องเที่ยวเช่นเส้นทางสำหรับผู้สนใจศิลปะและ
ัยสว

วัฒนธรรมอาจพานักท่องเที่ยวไปตามแม่น้ำลำคลองเพื่อดูชีวิตความเป็นอยู่และสภาพบ้านเมืองหรือ
อาจเป็นเส้นทางที่มีความหลากหลายและน่าสนใจหลายด้านรวมกันอยู่
ยาล

4. ควบคุมเส้นทางและรูปแบบของการสัญจรไม่ให้เกิดความสับสนการเข้าถึงและเดินทางต้อง
ควบคุมได้ง่ายและไม่สับสน
าวิท

5. การให้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารในเส้ น ทางจั ด ทำการประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ ข้ อ มู ล กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว


ตลอดทางอย่างสม่ำเสมอด้วยระบบป้ายหรือด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อช่วยบอกทิศทาง ตำแหน่งที่ตั้งและ
"มห

ระยะทาง เช่น ช่วยนักท่องเที่ยวกำหนดทิศทางด้วยที่หมายตาการสร้างความต่อเนื่องของเส้นทางด้วย


การใช้วัสดุปูพื้นทางเท้าที่เหมือนกันไปตลอดทางหรือใช้วัสดุพืชพันธุ์ที่เหมือนกันไปตลอดแนว เป็นต้น
6. พิ จ ารณาจั ด ประเภทของพาหนะตามสภาพภู มิ ป ระเทศและภู มิ อ ากาศเส้ น ทาง
ท่ อ งเที่ ย วอาจใช้พาหนะในการเดินทางต่างกันทำให้เกิดความน่าสนใจแตกต่างกันตามความเหมาะสม
กับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศและลักษณะเฉพาะตัวของเมืองนั้น ๆ
7. ปรับปรุ ง บริ เ วณจุ ด เริ่ ม ต้ นของเส้ นทางจุ ด เริ่ม ต้ น ของเส้ นทางท่ อ งเที่ ย วมั กจะอยู่ ย่ า น
ใจกลางเมืองเข้าถึงได้ง่ายมีข้อมูลต่าง ๆ รวมอยู่ซึ่งนักท่องเที่ยวจะใช้ตัดสินใจวางแผนการเดินทาง
103

มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นที่จอดรถที่พักคอยห้องน้ำเป็นต้นในเมืองหนึ่ง ๆ อาจจัดให้มีเส้นทาง
ทัศนาจรหลาย ๆ เส้นทาง ดังนั้น จุดเริ่มต้นนี้ไม่จำเป็นต้นมีจุดเดียวแต่อาจกระจายกันอยู่ตามบริเวณ
ที่มีแหล่งท่องเที่ยวรวมกลุ่มกันอยู่ก็ได้
8. ความต่ อ เนื่ อ งกั บ เส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วภายนอกเมื อ งเส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วไม่ ค วรจะ จำกั ด
อยู่ภายในเมืองเท่านั้นแต่ควรต่อเนื่องกับเส้นทางท่องเที่ยวภายนอกเมืองด้วยซึ่งอาจเป็นเส้นทาง
เดียวกันหรือต่อเนื่องกันเป็นบางส่วนก็ได้

"
่านั้น
9. จั ด สิ่ ง อำนวยความสะดวกตามสมควร เช่ น ร้ า นอาหารร้ า นขายของเล็ ก ๆ น้ อ ยและ
อาจรวมถึงร้านขายของที่ระลึกต่าง ๆ ด้วยในกรณีเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางที่มีอัตราการเข้าออก

าเท
ค่อนข้างสูงส่วนบริการเช่นจุดพักคอยจุดนัดหมายจะต้องให้ความสะดวกสบายและมองเห็นได้ชัดเจน
ไม่สับสน

ศึกษ
10. ส่วนบริการทางด้านข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเมืองอาจจะอยู่ในรูปของแผ่นประกาศ
เอกสารแจกหรือเจ้าหน้าที่ให้ข้ อมูลข้อมูล ดังกล่าว ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับจุดสนใจต่าง ๆ
กา ร
ในเมือง ข้อมูลเกี่ยวกับ ที่พัก ร้านอาหาร การสัญจร รวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยว ที่เกิดขึ้นในเมือง
เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เพื่อ

11. ลักษณะทางกายภาพของสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกควรเป็นรูปแบบของ
ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองที่นำมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความสะดวกในการให้บริการ
ิต
นดุส

12. นอกจากนี้แล้วการดูแลรักษาสถานที่และส่วนบริการต่าง ๆ ให้สะอาดเรียบร้อยและ


ใช้งานได้อยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
ัยสว

จากแนวคิดที่นำเสนอจะพบว่าการจัดเส้นทางท่องเที่ยวมีหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบก็มี
ความน่าสนใจและเหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยวต่างกัน โดยการจัดเส้นทางท่องเที่ยวนี้จะต้องคำนึงถึง
ยาล

ส่ ว นประกอบต่ างๆให้ครบถ้ว นมากที ่สุ ด ไม่ ว ่า จะเป็ นตั วแหล่ง ท่ อ งเที ่ย วสาธารณูป โภคพื้นฐาน
สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้นนอกจากนั้นระยะเวลาในการท่องเที่ยวและระยะห่างระหว่าง
าวิท

แหล่งท่องเที่ยวก็มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวฉะนั้นการสร้างเส้นทางการ
ท่องเที่ยวทางธรรมชาติจึงต้องมีความรอบคอบและเอาใจใส่ในทุกรายละเอียดเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่
"มห

แหล่งท่องเที่ยวชุมชนและนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด
จากแนวคิดดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการจัดเส้นทางท่องเที่ยวมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละ รูปแบบก็
มีความน่าสนใจและเหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยวต่างกัน โดยการจัดเส้นทางท่องเที่ยวนี้ จะต้อง
คำนึงถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ครบถ้วนมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นตัวแหล่งท่องเที่ยว สาธารณูปโภค
พื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนั้นระยะเวลาในการท่องเที่ยว และระยะห่าง
ระหว่างแหล่งท่องเที่ยวก็มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ฉะนั้นการสร้าง
104

เส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติจึงต้องมีความรอบคอบ และเอาใจใส่ในทุกรายละเอียด เพื่อสร้าง


ประโยชน์ให้แก่แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนและนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด

การสำรวจเส้นทางเพื่อการจัดนำเที่ยว

การสำรวจเส้นทาง คือ การเดินทางไปยังเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่คิดไว้ว่าจะนำมาจัดเป็น

"
่านั้น
รายการนำเที่ยว โดยในเบื้องต้นจะสำรวจสภาพภูมิศาสตร์และภูมิประเทศของแหล่งท่องเที่ยวและ
บริเวณใกล้เคียง สิ่งสำคัญที่ผู้สำรวจเส้นทางจะนำมาพิจารณาในการวางแผนที่สำคัญมีหลายเรื่อง

าเท
ได้แก่แหล่งท่องเที่ยว ต้องสำรวจเส้นทางหาข้อมูลให้ได้ว่าการท่องเที่ยวจะต้องแวะเที่ยวจุดไห นก่อน
จุดไหนหลัง จากนั้นให้สำรวจดูการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละจุดว่ายากง่ายอย่างไร ต้องใช้พาหนะ

ศึกษ
อื่นเปลี่ยนถ่ายหรือไม่ จากนั้นต้องสำรวจบริเวณทางผ่านใกล้เคียงว่ามีร้านอาหารที่สามารถนำกลุ่มทัวร์
มาใช้บริการได้หรือไม่ สำรวจว่ามีที่พักใกล้เคียงเหมาะสมที่ใดบ้า ง ตลอดจนสำรวจทางกลับว่ามีร้าน
กา ร
ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยวได้แวะซื้อเลือกชมอย่างไรหรือไม่ การนำข้อมูลเรื่องเส้นทางเดินทาง
เพื่อ
แหล่งท่องเที่ยว และสถานประกอบการต่างๆ ดังกล่าว มาคิดพิจารณาลำดับความเป็นไปได้ก่อนหลัง
และเลือกสรรในสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมกับความสามารถที่ ผู้จัดสามารถทำได้ หรือเพื่อให้ตอบสนองตาม
ความต้องการของลูกค้ามากที่สุดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก ทั้งนี้ต้องมีความเป็นไปได้เรื่องของเวลาระหว่าง
ิต
นดุส

จุดต่อจุด ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมและสามารถจัดไปได้ตามช่วงฤดูกาลของแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละที่ โดย


การสำรวจเส้นทาง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552 : 85-90)
ัยสว

1. การสำรวจเส้นทางเดิม คือ การสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวที่บริษัทนำเที่ยวเคยจัดนำเที่ยว


มาแล้ว การสำรวจเส้นทางเดิมนี้ เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ เนื่องจากยิ่งเวลานาน
ยาล

มากขึ้น ก็จะมีสถานประกอบการใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม ร้านอาหาร


แหล่งท่องเที่ยว บางครั้งก็มีการตัดถนนใหม่ที่เป็นทางลัด ฯลฯ ผู้จัดนำเที่ยวที่ดีถึงแม้มีประสบการณ์มา
าวิท

มากแล้ว อย่างน้อยการได้ออกสำรวจเส้นทางอยู่เนืองๆ ก็เป็นสิ่งจำเป็นอยู่เสมอ เพราะจะทำให้ผู้จัด


นำเที่ยวที่มีความทันสมัย หลีกหนีคู่แข่งตลอดเวลา
"มห

2. การสำรวจเส้ น ทางใหม่ คื อ การสำรวจเส้ น ทางท่ อ งเที่ ย ว ที่ บ ริ ษั ท นำเที่ ย วไม่ เ คย


จั ด เดินทาง หรือไม่เคยจัดนำเที่ยวในเส้นทางนั้น หรืออาจเคยมีการเดินทางจัดนำเที่ยวมาบ้างแต่ก็เป็น
เวลานานมาแล้ว โดยมากมักเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่เข้าถึงยาก ใช้เวลาเดินทางนาน อาจเป็นสถานที่
ท่องเที่ยวที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคไม่ดีพอ หรือเป็นการสำรวจเพราะห่างเหินจากการ
จัดมานาน การสำรวจเส้นทางใหม่นี้เป็นการสำรวจที่ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากองค์ประกอบในการจัด
นำเที่ยวมีให้เลือกน้อย อาจต้องบุกเบิกเส้นทาง หาร้านอาหาร หาที่พัก ที่เที่ยวเอง แทบจะต้องทำ
รายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Packager Tour) คำนวณเวลาเดินทาง ระยะทาง ค่าใช้จ่ายเองใหม่
105

หมด การสำรวจแบบนี้ต้องศึกษาถึงผลกระทบที่ตามมาในหลายๆอย่าง ได้แก่ เป็นเขตหวงห้ามของ


ทางการหรือไม่ การเข้าถึงยากง่ายอย่างไร มีความปลอดภัยในการท่องเที่ยวหรือเปล่า ถ้าจัดเป็น
รายการนำเที่ยวเพื่อขายแล้ว จะได้รับความสนใจมากน้อยเพียงไร มีช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวเปิดปิด
อย่างไร ฯลฯ
ทังนี้ การสำรวจเส้นทางใหม่ อาจหมายถึง การสำรวจเส้นทางที่บริษัทนำเที่ยวนั้นๆ ไม่เคยจัด
ไปนำเที่ยวเลย แต่แหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นที่คุ้นเคยอยู่แล้ว เพียงแต่บริษัทเพิ่งมาสำรวจเพื่อนำมาจัด

"
่านั้น
รวมแหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการต่างๆ ทำเป็น รายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Packager
Tour) ขึ้นมาใหม่ให้น่าสนใจ

าเท
3. การสำรวจเส้นทางเพื่อเป็นตัวแทนขาย (หรือเส้นทางตัวอย่าง) เป็นลักษณะที่มีผู้ผลิต
รายการนำเที่ยว อาจเป็นบริษัทนำเที่ยว โรงแรม สายการบิน โดยผู้ผลิตรายการนำเที่ยวนั้นอาจ

ศึกษ
ร่วมมือกันเชิญบริษัทนำเที่ยวหรือตัวแทนจำหน่ายที่สนใจ ร่วมเดินทางเพื่อสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวที่
ตนจัดทำขึ้น เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวหรือตัวแทนที่ได้รับเชิญมาพิจารณารับรายการนำเที่ยวของผู้ผลิต
กา ร
นั้นไว้ เพื่อเป็นตัวแทนขายหรือช่วยประชาสัมพันธ์รายการนำเที่ยวนั้นๆ การสำรวจเส้นทางลักษณะนี้
ผู้ที่ได้รับเชิญ อาจไม่ต้องลงทุนเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในบางครั้งอาจเดินทาง หรือเสียค่าใช้จ่ ายเพียง
เพื่อ

เล็กน้อย เพียงแต่ขอให้ร่วมเดินทางไปกับผู้จัดด้วยเท่านั้น ลักษณะการสำรวจเส้นทางดังกล่าวจะรู้จัก


กันในชื่อ Familiarization Trip (FAM Trip) หรือทัวร์ตัวอย่างนั่นเอง มักจัดในนามสมาคมชมรมด้าน
ิต
นดุส

การท่องเที่ยว หรือจัดโดยหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว การสำรวจเส้นทางอีกลักษณะหนึ่งที่คล้ายคลึง


กัน หรือการสำรวจเส้นทางเพื่อประชาสัมพันธ์รายการนำเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมักจัดขึ้นโดย
ัยสว

หน่ ว ยงานของภาครัฐ คื อการท่อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย ด้ ว ยการเชิ ญ ผู ้ป ระกอบการมาสำรวจ


แหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการจัดรายการนำเที่ยวในพื้นที่นั้น ๆ
ยาล

ข้อดีของการสำรวจเส้นทางก่อนจัดนำเที่ยว
าวิท

1. สามารถป้องกันและประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจเสียไปโดยจากการไม่รู้ไม่ชำนาญพื้นที่
2. เพื่อได้ทราบระยะทาง สถานประกอบการต่าง ๆ ได้ชัดเจน ได้ข้อมูลสภาพที่เป็นปัจจุบัน
"มห

เจาะลึกและถูกต้อง
3. ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ให้ความเคารพและเกรงใจ ได้ข้อตกลงและเงื่อนไขที่ดีกว่า
ติดต่อทางการทำหนังสือ หรือทางโทรศัพท์

ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นในการสำรวจเส้นทางก่อนจัดนำเที่ยว
1. ทำให้บริษัทสิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น
2. หากเจ้าของหรือผู้บริหารถ้าไม่ได้ไปสำรวจด้วยตัวเองจะไม่ได้ผลสูงสุด
106

แนวคิดเรื่องรูปแบบการเดินทางเพื่อการจัดนำเที่ยว

รูปแบบที่ 1 เป็นการจัดรายการนำเที่ยว ประมาณ 2-4 วัน ใช้ระยะเวลาการเดินทางน้อย


มีที่พักแห่งเดียวตลอดการเดินทาง ระยะทางจากแหล่งท่องเที่ยวกับโรงแรมไม่ควรเกิน 100-150
กิโลเมตร

"
่านั้น
รูปแบบที่ 2 เป็นการจัดรายการนำเที่ยว ที่เปลี่ยนที่พักทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า
แบบแรก ผู้เดินทางได้ความแปลกใหม่ของสิ่งแวดล้อ มในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว ได้แวะเยี่ยมชมหลาย

าเท
เมือง
รูปแบบที่ 3 เป็นการจัดรายการนำเที่ยวที่คล้ายกับประเภทที่ 2 แต่สถานที่ออกเดินทางไป

ศึกษ
และกลับแตกต่างกัน ไม่ได้ใช้ส้นทางเดียวกัน เป็นการเดินทางที่ใช้ระยะทางไกล ราคาสูง
การสำรวจเส้ น ทางรายการนำเที ่ ย ว เป็ น การเดิ น ทางไปสำรวจตามรายการนำเที ่ ย ว
กา ร
ที่ได้วางแผนไว้ โดยจะกำหนดเส้นทางสำรวจไว้คร่าวๆ ดังนี้ (บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, 2554 : 55)
1. ยานพาหนะที่จะใช้ในการเดินทาง
เพื่อ

2. ระยะเวลาในการเดินทางจากจุดต่างๆ เช่น การเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ ง


มีระยะทางเท่าใด เพื่อสามารถคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทางได้ ฯลฯ
ิต
นดุส

3. เส้นทางหลักและเส้นทางสำรองที่จะใช้ในการเดินทาง ควรหาเส้นทางที่เดินทางได้สะดวก
และรวดเร็วที่สุดหรือผ่านแหล่งท่องเที่ยวหลักหรือมีสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยวเป็นเส้นทางหลักในการ
ัยสว

เดินทาง และหาเส้นทางเผื่อไว้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต้องเปลี่ยนเส้นทาง เช่น ทางขาด น้ำท่วม ฯลฯ


4. ความยากง่ายในการเดินทาง เช่น สภาพของถนนอาจจะเป็นลูกรัง ลาดยางหรือคอนกรีต
ยาล

จะมีความยากง่ายในการเดินทางไม่เหมือนกัน หรือต้องต่อรถ ต่อเรือ ต่อเครื่องบิน หลายต่อ เป็นต้น


5. จุดท่องเที่ยว จุดหยุดพัก จุดพักรับประทานอาหาร จุดพักแรม จุดซื้อสินค้าที่ระลึก
าวิท

6. มาตรฐาน ศักยภาพ และคุณภาพของการบริการ ณ จุดต่างๆ ในข้อ 5


7. กิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น แวะนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่นหรือแวะชมเลือกซื้อ
"มห

หัตถกรรมชาวบ้าน หรือแวะซื้อผลไม้ตามฤดูกาลระหว่างเดินทางผ่าน หรือจัดให้มีการนั่งสามล้อถีบ


หรือรถม้ารอบเมือง หรือมีการล่องแพ ชมนาฏศิลป์พื้นเมือง หรือรับประทานอาหารพื้นเมือง เป็นต้น
107

ตารางที่ 7.1 ตัวอย่างตารางสำรวจเส้นทาง

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
เพื่อ

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


ิต
นดุส

ตารางที่ 7.2 ตัวอย่างตารางสำรวจแหล่งท่องเที่ยว


ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


108

ตารางที่ 7.3 ตัวอย่างตารางสำรวจร้านอาหาร

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
109

ตารางที่ 7.4 ตัวอย่างตารางสำรวจที่พัก

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


"มห
110

ตารางที่ 7.5 ตัวอย่างตารางสำรวจปั๊มน้ำมัน

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
111

ตารางที่ 7.6 ตัวอย่างตารางสำรวจร้านขายของที่ระลึก

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


ยาล
าวิท
"มห
112

สรุป

การสำรวจเส้ น ทางเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย ว แบ่ ง เป็ น 3 ลั ก ษณะ คื อ การสำรวจเส้ น ทางเดิ ม


การสำรวจเส้นทางใหม่ การสำรวจเส้นทางเพื่อเป็นตัวแทนขาย การสำรวจเส้นทางก่อนจัดนำเที่ยว
เกิดทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อนำมาทำเส้นทางในการจัดนำเที่ยวอย่างเหมาะสม เพื่อให้ตอบสนอง
ตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด การสำรวจเส้นทาง ต้องพิจารณาว่าการเดินทางท่องเที่ยวจะต้อง

"
่านั้น
แวะเที่ยวจุดไหนก่อนจุดไหนหลัง การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละจุดมีความยากง่ายอย่างไร จะต้อง
ใช้ พ าหนะชนิ ด ใด มี ร ้ า นอาหาร ร้ า นขายของที ่ ร ะลึ ก จุ ด ที ่ จ ะแวะพั ก ที ่ ส ามารถนำกลุ ่ ม ทั ว ร์

าเท
มาใช้บริการได้หรือไม่ อีกทั้งจะได้พบปะกับเจ้าของธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง เกิดการเจรจาต่อรอง
ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของทุกฝ่าย

คำถามทบทวน
ศึกษ
กา ร
เพื่อ
1. การสำรวจเส้นทางหมายถึง
2. การสำรวจเส้นแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ิต

3. จงอธิบายความหมายของการสำรวจเส้นทางเดิม
นดุส

4. จงอธิบายความหมายของการสำรวจเส้นทางใหม่
5. จงอธิบายความหมายของการสำรวจเพื่อเป็นตัวแทนขาย
ัยสว

6. จงอธิบายถึงข้อดี ของการสำรวจเส้นทาง
7. จงอธิบายถึงข้อเสีย ของการสำรวจเส้นทาง
ยาล

8. จงอธิบายแนวคิดรูปแบบการเดินทางเพื่อการจัดนำเที่ยว แต่ละประเภท
าวิท

9. ให้นักศึกษาออกแบบเอกสารสำหรับการสำรวจเส้นทาง ตามเส้นทางที่ทำบริษัททัวร์จำลอง
10. ให้นักศึกษาวางแผนการสำรวจเส้นทาง ตามเส้นทางที่ทำบริษัททัวร์จำลอง พอสังเขป
"มห
113

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเทีย่ ว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด


บังอร ฉัตรรุ่งเรือง. (2554). การวางแผนและการจัดรายการนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท สยามบุ๊คส์
จำกัด
เดชา บุญค้ำ. (2539). การวางผังบริเวณเมือง. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

"
่านั้น
มหาวิทยาลัย.
พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับองค์ประกอบของการ

าเท
ท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิฑูรย์ เหลียวรุง่ เรือง และคณะ. (2547). เส้นทางท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมเชิงประวัติศาสตร์.

ศึกษ
เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประสิทธิ์ คุณุรตั น์และคณะ. (2546). การศึกษาสภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมของชุมชน
กา ร
ที่จัดการทรัพยากรเกลือ ดินเค็มและน้ำเค็ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.
เพื่อ
ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ิต
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
115

บทที่ 8
การอ่านและเขียนแผนที่

แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์


ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็น รูปสองมิติ
ซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต

"
่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณ
ต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ใน

าเท
แต่ละประเทศ เป็นต้น (วิกิพีเดีย, 2560)
แผนที่ เป็นอีกภาษาหนึ่งที่บอกเกี่ยวกับระยะทางว่าสถานที่แต่ละแห่งมีระยะห่างกันเท่าไร

ศึกษ
โดยสามารถดูได้จากเส้นและสัญลักษณ์บนแผนที่ ซึ่งจะกำหนดเครื่องหมายแทนถนน แม่น้ำ และ
สถานที่ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อให้เราสามารถรู้ได้ตัวเองว่าสถานที่ที่เราต้องการจะไปอยู่ตรงไหนบนแผนที่ และ
กา ร
สามารถเดินทางไปในสถานที่ที่ไม่เคยไปได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้คุณยังสามารถช่วยคนอื่นหาสถานที่
เพื่อ
ที่ต้องการจะไปได้ด้วยแผนที่อย่างดาย
แผนที่ แสดงเส้นทาง ถนน แม่น้ำ เส้นแบ่งเขต ชื่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ฯลฯ
ิต

เหมาะสำหรับดูเส้นทางขับรถ หมายเลขทางหลวง ภาพรวมของแผนที่ทั้งหมด


นดุส

วิธีใช้แผนที่ ในขณะที่เรามองดูแผนที่ ลองจินตนาการว่าเราเป็นนกที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า


และกำลังมองลงมาบนพื้นดิน ให้คุณลองคิดดูว่าคุณจะเห็นอะไรบ้างถ้าบินสูง 100 เมตร บ้านจะมี
ัยสว

ขนาดเท่าไร และถ้าบินสูงขึ้นไปที่ 1,000 เมตร เมืองจะมีขนาดเท่าไร หรือสูงขึ้นไปกว่านั้นอีก เมื่อมอง


ลงมาจากเครื่องบิน เมื่อคุณใช้แผนที่คุณต้องหาตำแหน่งว่าคุณอยู่ตรงไหนบนแผนที่และตำแหน่งไหนที่
ยาล

คุณจะต้องการไป
1. ต้ อ งทำความเข้ า ใจเส้ น และสั ญ ลั ก ษณ์ บ นแผนที่ ก่ อ นว่ า ว่ า อะไร ดู ไ ด้ จ ากสั ญ ลั ก ษณ์
าวิท

ที่ กำหนดไว้ในแผนที่
"มห

2. ต้องเข้าใจมาตราส่วนของแผนที่ มาตราส่วนคือจุดสำคัญในการใช้คำนวณพื้นที่จริงที่มีอยู่
ลงบนกระดาษ เนื่องจากพื้นที่มีขนานใหญ่กว่ากระดาษ จึงต้องคำนวณออกมาว่าขนาดของเมือง ถนน
และแม่น้ำในกระดาษ ต้องมีขนาดเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น ขนาดพื้นที่ 1 เซนติเมตร เท่ากับขนาดของ
เมืองหนึ่งเมืองหรือประเทศหนึ่งประเทศ
3. คุณต้องรู้ว่าตำแหน่งไหนที่คุณอยู่บนแผนที่ขณะนั้น
4. แผนที่ที่ถูกต้องทิศเหนือจะอยู่ด้านบนของแผนที่เสมอ และต้องหันแผนที่ไปทางทิศเหนือ
ดังนั้นคุณจะทราบว่า ด้านหน้าที่คุณยืนคือ ทิศเหนือ ดังนั้นคุณถึงจะรู้ว่าทางที่คุณจะไปนั้นต้องเลี้ยว
ซ้ายหรือขวาตรงจุดไหนบ้าง
116

5. หาตำแหน่งในแผนที่ที่คุณต้องการจะไป
6. มองหาถนนที่คุณจะไปในแผนที่

เครื่องหมายแผนที่

ก. เครื่องหมายแผนที่ คือ เครื่องหมายที่ใช้แสดงความหมายของสิ่งต่าง ๆ บนผิวพิภพที่

"
เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เครื่องหมายที่ใช้นี้ ต้องพยายามให้ผู้ใช้แผนที่เกิดมโนภาพ

่านั้น
ต่อลักษณะของรายละเอียดต่างๆ อย่างถูกต้องใกล้เคียงความจริง ตามความเป็นจริงแล้วรายละเอียด
หรือลักษณะภูมิประเทศต่างๆ ควรปรากฏอยู่บนแผนที่ในลักษณะสมจริงทั้งในทางส่วนสัด ที่ตั้ง และ

าเท
รูปร่าง แต่ในทางปฏิบัติแล้วย่อมไม่สามารถกระทาได้ ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศหลายแห่งจะ

ศึกษ
ขาดความสำคัญลงไป และบางแห่งอาจมองไม่เห็นเนื่องจากได้ย่อขนาดลงไปเล็กมาก ฉะนั้นผู้ทาแผนที่
จึงจาเป็นต้องใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ แทนลักษณะภูมิประเทศบนผิวพิภพทั้งที่เกิดขึ้นตาม
กา ร
ธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เครื่องหมายที่ใช้นี้จะต้องพยายามให้มีลักษณะเหมือนของจริงให้มาก
ที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องให้มีลักษณะที่มองเห็นจากข้างบน
เพื่อ

ข. ลักษณะของสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศ นอกจากใช้เครื่องหมายของแผนที่เขียนแทนแล้วยัง


ใช้สีประกอบในการเขียนเครื่องหมายแทนอีกด้วย โดยแต่ละสีแสดงถึงแต่ละประเภทของลักษณะภูมิ
ิต

ประเทศ ดังต่อไปนี้
นดุส

1. สีดำ หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญทางวัฒนธรรมหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น


2. สีน้ำเงิน หมายถึงลักษณะภูมิประเทศที่เป็นน้า เช่น ทะเลสาบ แม่น้า และหนองบึง เป็นต้น
ัยสว

3. สีเขียว หมายถึง พืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เช่น ป่า สวน ไร่ เป็นต้น


ยาล

4. สีน้ำตาล หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่มีความสูงโดยทั่วไป เช่น เส้นชั้นความสูงเป็นต้น


5. สีแดง หมายถึงถนนสายหลัก พื้นที่ย่านชุมชนหนาแน่นและลักษณะภูมิประเทศพิเศษต่างๆ
าวิท

6. บางครั้งอาจจะใช้สีอื่นๆ เพื่อแสดงรายละเอียดต่างๆ ก็ได้ตามหลักแล้วการใช้สีอื่นๆ นี้


จะต้องแสดงไว้ให้ทราบที่รายละเอียดขอบระวางด้วย
"มห

คำอธิ บ ายสั ญ ลั ก ษณ์ (Legend) เป็ น รายละเอี ย ดที่ อ ธิ บ ายความหมายของสั ญ ลั ก ษณ์


(Symbol) ที่ใช้แสดงในแผนที่ เช่น ประเภทของเส้นถนน ซึ่งจะปรากฏที่มุมล่างด้านซ้ายของแผนที่
วิธีการเขียนแผนที่ การทำแผนที่การเดินทางหรือที่ตั้ง ที่มีเครื่องหมายเป็นรูปถนน ทางแยก
เครื่องหมายจราจร วัด โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม อาคาร สนามบิน สถานที่ท่องเที่ยว สถานีขนส่ง
รถไฟ ร้านอาหาร ปั๊มนํ้ามัน สวนสาธารณะ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้เขียนง่ายเพื่อที่เป็น
ข้อมูลเบื้องต้นในการเดินทาง และสามารถอธิบายได้อย่างคร่าวๆ
117

คำอธิบาย การเดินทาง บอกระยะทางรวม จาก จุดเริ่มต้น ถึงจุดหมาย เป็นกิโลเมตร และ


ระยะเวลา การเดินทาง โดยประมาณ จากรายละเอียดนี้ เราสามารถนำมาคำนวณ ค่าน้ำมัน ในการ
เดินทางได้ เช่น ถ้าเรารู้ว่า รถของเรา กินน้ำมัน กี่กิโลเมตร ต่อ ลิตร ก็จะรู้ได้ว่า ระยะทางรวมทั้งหมด
ต้องใช้ น้ำมันกี่ลิตร และ ณ ขณะนั้น น้ำมัน ที่เราใช้ ลิตรละเท่าไหร่ ก็สามารถ คิดออกมาเป็น จำนวน
เงิน สำหรับค่าน้ำมัน ในการเดินทางได้
ไม่ว่าจะเป็นทางหลวงสายหลัก ทางหลวงสายรอง ถนน หรือแม้แต่ ตรอก ซอก ซอย ก็ล้วนเป็น

"
เส้นทางที่สำคัญที่เราจะพาไปสู่จุดหมาย โดยเฉพาะ "ทางหลวง" ซึ่งกรมทางหลวงได้กำหนดโดยตั้งชื่อ

่านั้น
สัญลักษณ์เป็นตัวเลขหลัก 1, 2, 3 และ 4 เพื่อให้เข้าใจตรงกัน และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง

าเท
การอ่านหมายเลขทางหลวง

ศึกษ
แต่เดิมทางหลวงสายสำคัญ ๆ ปรกติใช้ชื่อสกุลของบุคคลที่มีความสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับทางสาย
กา ร
นั้น ๆ เช่น เป็นผู้บุกเบิก ผู้ก่อสร้าง มาตั้งเป็นชื่อถนน แต่เมื่อมีการสร้างทางมากขึ้น การใช้ชื่อสกุลมี
ความยุ่งยากและสับสน ทั้งไม่สามารถทราบได้ว่าทางสายนั้นอยู่ทางบริเวณภาคใดของประเทศ จึงได้มี
เพื่อ

การนำระบบหมายเลขมาใช้กำกับทางหลวงต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในการดูแลของกรมทางหลวง ได้แก่ ทางหลวง


แผ่นดิน ทางหลวงสัมปทาน และทางหลวงพิเศษ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
ิต
นดุส

1. ทางหลวงที่มีเลขหนึ่งตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงพิเศษที่เป็นถนนสาย


หลัก เชื่อมการคมนาคมระหว่างภาคต่อภาค ได้แก่
ัยสว

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือ ถนนพหลโยธิน เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคเหนือ


ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย
ยาล

- ทางหลวงแผ่ น ดิ น หมายเลข 2 หรื อ ถนนมิ ต รภาพ เป็ น ถนนสายหลั ก ที่ ไ ปสู่ ภ าค


ตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งต้นที่จังหวัดสระบุรี และไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย
าวิท

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 หรือ ถนนสุขุมวิท เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่จังหวัดทางภาค


กลางรวมถึงชายทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด
"มห

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หรือ ถนนเพชรเกษม เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคใต้ ตั้ง


ต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดทีอ่ ำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงราย
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดหนองคาย
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดจันทบุรี
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 เป็นทางเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงสถานีรถไฟ
ปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
118

- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ
2. ทางหลวงที่ มี เ ลขสองตั ว คื อ ทางหลวงแผ่ น ดิ น หรื อ ทางหลวงพิ เ ศษที่ เ ป็ น สาย
ประธานตามภาคต่ า ง ๆ เช่ น ทางหลวงแผ่ น ดิ น หมายเลข 22 หมายถึ ง ทางหลวงแผ่ น ดิ น สาย
ประธานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายอุดรธานี-นครพนม ทางหลวงพิเศษหมายเลข 51 หมายถึง
ทางหลวงซึ่งเชื่อมต่อจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ สุพรรณบุรี
3. ทางหลวงที่มีเลขสามตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินสายรอง เช่น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข

"
202 หมายถึงทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายชัยภูมิ-เขมราฐ ทางหลวง

่านั้น
แผ่นดินหมายเลข 314 หมายถึงทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคกลางสายบางปะกง-ฉะเชิงเทรา
4. ทางหลวงที่มีเลขสี่ตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกับอำเภอ หรือสถานที่

าเท
สำคัญของจังหวัดนั้น เช่น ทางหลวงหมายเลข 4006 หมายถึงทางหลวงในภาคใต้สายแยกทางหลวง

ศึกษ
หมายเลข 4 (ราชกรูด-หลังสวน)
ในการอ่านหมายเลขทางหลวงให้อ่านเรียงตัว ดังนี้
กา ร
หมายเลขทางหลวง 21 อ่านว่า หมาย-เลข-ทาง-หลวง สอง-หนึง่
หมายเลขทางหลวง 314 อ่านว่า หมาย-เลข-ทาง-หลวง สาม-หนึง่ -สี่
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

ภาพที่ 8.1 แสดงภาพแผนที่จุดแวะพัก


ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)
119

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
เพื่อ

ภาพที่ 8.2 แสดงภาพแผนที่ตัวเมือง


ิต

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

าพที่ 8.3 แสดงภาพแผนที่ร้านอาหาร


ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)
120

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

ภาพที่ 8.4 แสดงภาพแผนที่แหล่งท่องเที่ยว


ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)
121

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

ภาพที่ 8.5 แสดงภาพแผนที่ที่พัก


ที่มา : พราวธีมา ศรีระทุ (2563)
122

ตารางที่ 8.1 ตัวอย่างการสำรวจปั๊มน้ำมัน

จังหวัด ระยะห่างแต่ละ ขนาดปั๊ม ความสะอาด สิ่งอำนวยความ หมายเหตุ


ปั๊ม สะดวก
เพชรบุรี จากตั้งฮั่วเส็ง ใหญ่ที่สุดใน สะอาดมาก ห้องน้ำมีสองโซน ห้องน้ำหยอด
อ.วังมะนาว 1 ชั่วโมง 15 นาที ประเทศ 12 ห้อง (ญ,ช) + เหรียญ 20
ปตท ห้องอาบน้ำเหรียญ / บาท/10 นาที

"
สุขาคนพิการ / + 5 บาทเพิ่ม

่านั้น
ร้านค้า/ตู้ ATM / 2 นาที
ทางผ่าน 2 ชั่วโมง ใหญ่ ระดับกลาง ATM/ร้านอาหาร/ ห้องน้ำต้องไป

าเท
อุทยาน เนื่องจากมี ร้านค้า/ศูนย์อาหาร เข้าด้านหลัง
ท่ากอ การปรับปรุง (เล็ก) เนื่องจากมีการ

ศึกษ
ปรับปรุง
ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)
กา ร
ตารางที่ 8.2 ตัวอย่างการสำรวจการเดินทาง
เพื่อ

สถานที่ ระยะทาง หมายเลขทางหลวง สภาพพื้นผิว หมายเหตุ


กทม-สวนนายดำ ชุมพร 519 กม. ถนนราชวิถี -338-9- พื ้ น ผิ ว เรี ย บมี ช ่ ว ง
ิต

35-4-41 จ.ประจวบฯมี ก าร
นดุส

ก่อสร้างถนนเป็นระยะ
สวนนายดำ- 22 กม. ถนนหมายเลข 41 พื้นผิวถนนเรียบ
ัยสว

พระบรมธาตุสวี
พระบรมธาตุสวี-ศาลกรม 52 กม. ถนนหมายเลข 41- ถนนสองเลนต้องใช้
ยาล

หลวงชุมพรฯ 2018-4119-4098 ความระมัดระวัง


ศาลกรมหลวงชุมพรฯ-จุด 68 กม. ถนนหมายเลข ถนนสองเลนต้องใช้ จุดชมวิวรถบัสขึ้นไม่ได้
าวิท

ชมวิวเขามัทรี 4098-4119 ความระมัดระวัง ต้องใช้รถสองแถว

จุดชมวิวเขามัทรี-ร้านแม่ไม้ 3 กม. ถนนหมายเลข ถนนสองเลนต้องใช้


"มห

ซีฟู๊ด 4119-4098 ความระมัดระวัง


ร้านแม่ไม้ซีฟู๊ด-โรงแรม 20 กม. ถนนหมายเลข ถนนสองเลนต้องใช้
เซาท์เกรท 4119-4058-3180 ความระมัดระวัง
โรงแรมเซาท์เกรท-ท่าเรือ 13 กม. ถนนหมายเลข ถนนสองเลนต้องใช้
สยามคาตามารัน 3180-4001 ความระมัดระวัง

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


123

ตารางที่ 8.3 ตัวอย่างการสำรวจสถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ การเข้าถึง วันเวลา ค่าบริการ เด็ก- สถานที่ จำนวน สิ่งอำนวยความ


ท่องเที่ยว เปิด - ปิด ผู้ใหญ่ จอดรถ ห้องน้ำ สะดวก
โครงการ รถเข้าได้ทกุ 8.00 น.- ไม่เสียค่าบริการ เพียงพอต่อ 10 ห้อง ร้านค้า/ที่ถ่ายรูปที่
พระราชดำริ ชนิด 16.00 น. นักท่องเที่ยว ระลึก
พื้นที่หนอง

"
ใหญ่

่านั้น
ศาลกรม รถเข้าได้ทกุ 8.00 น.- ไม่เสียค่าบริการ เพียงพอต่อ 5 ห้อง ร้านค้า/ร้านของฝาก
หลวงชุมพร ชนิด 18.00 น. นักท่องเที่ยว (เล็ก)/ที่ถา่ ยรูปที่

าเท
มี 2 โซน ระลึก
จุดชมวิว รถบัสไม่ 05.00- ไม่เสียค่าบริการ เพียงพอต่อ ญ 3 ห้อง/ ร้านกาแฟนั่งชมวิว/

ศึกษ
เขามัทรี สามารถเข้า 19.00 นักท่องเที่ยว ช 3 ห้อง จุดถ่ายรูปสองฝั่ง
ได้ต้องต่อรถ กา ร
สองแถว
เกาะทะลุ เข้าถึงง่าย 08.00น. - รวม 4 เกาะ 900 - 1 ห้องบน เชือกกระหายดำน้ำ
เพื่อ
(โดยเรือ) 16.00น. บาท เรือ เสื้อชูชีพ
สน๊อกเกอร์
เกาะง่าม เข้าถึงง่าย 08.00น. - รวม 4 เกาะ 900 - 1 ห้องบน เชือกกระหายดำน้ำ
ิต

ใหญ่ (โดยเรือ) 16.00น. บาท เรือ เสื้อชูชีพ


นดุส

สน๊อกเกอร์
เกาะง่าม เข้าถึงง่าย 08.00น. - รวม 4 เกาะ 900 - 1 ห้องบน เชือกกระหายดำน้ำ
ัยสว

น้อย (โดยเรือ) 16.00น. บาท เรือ เสื้อชูชีพ


สน๊อกเกอร์
ยาล

เกาะ เข้าถึงง่าย 08.00น. - รวม 4 เกาะ 900 - 1 ห้องบน เชือกกระหายดำน้ำ


กะโหลก (โดยเรือ) 16.00น. บาท เรือ เสื้อชูชีพ
สน๊อกเกอร์
าวิท

พระบรม เข้าถึงง่าย รถ _ ไม่เสียค่าบริการ กว้าง (รถบัส ช. 4 ห้อง มีร้านค้าของ


ธาตุสวี เข้าได้ทุก สามารถจอด ญ.4 ห้อง ชาวบ้านเล็กๆ
"มห

ชนิด ได้)
สวนนายดำ เข้าถึงง่าย รถ 08.00 น. – ไม่เสียค่าบริการ กว้าง (รถบัส ห้องน้ำ ห้องน้ำหลากหลาย
เข้าได้ทุก 18.00 น. สามารถจอด สะอาด รูปแบบ ร้านกาแฟ
ชนิด ได้) ร้านขายของที่ระลึก
จุดพักรถ
ร้านอาหาร

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


124

ตารางที่ 8.4 ตัวอย่างการสำรวจร้านอาหาร

รายละเอียด สวนนายดำ ร้านแม่ไม้ ปลาทูซีฟู้ด


ที่ตั้ง อ.ทุ่งตะโก อ.ปากน้ำ อ.บ้านกูด
การเข้าถึง รถบัสเข้าถึงง่าย รถบัสเข้าถึงง่าย รถบัสเข้าถึงง่าย
วันเวลาเปิดปิด
07.30–17.00 น. 09.00-22.00 น. 10.00-22.00 น.

"
สถานที่จอดรถ เพียงพอสำหรับรับกรุ๊ป เพียงพอสำหรับรับกรุ๊ป เพียงพอสำหรับรับกรุ๊ป

่านั้น
ทัวร์ ทัวร์ ทัวร์
จำนวนห้องน้ำ ช. 10 ห้อง ช. 4 ห้อง ช. 2 ห้อง

าเท
ญ. 15 ห้อง ญ. 3 ห้อง ญ. 5 ห้อง

ศึกษ
โซนธรรมดา 8 ห้อง
โซนน้ำตก 3 ห้อง กา ร
ห้องอาบน้ำ 2 ห้อง
จำนวนที่นั่ง 18 โต๊ะ 4 ซุ้ม 15 โต๊ะ
เพื่อ

ประเภทอาหาร เซ็ตโต๊ะ เซ็ตโต๊ะ เซ็ตโต๊ะ


ราคา 180/คน 170/คน 200/คน
ิต

คุณภาพ รสชาติอร่อย สะอาด รสชาติอร่อย สะอาด รสชาติอร่อย สะอาด


นดุส

เมนูลากหลาย เมนูลากหลาย เมนูลากหลาย


ัยสว

อาหารฟรีสำหรับทีมงาน อาหารฟรีสำหรับทีมงาน อาหารฟรีสำหรับ


ทีมงาน
ยาล

สิ่งอำนวยความ ร้านขายของที่ระลึก ร้าน ร้านกาแฟ ร้านกาแฟ


สะดวก กาแฟ จุดถ่ายรูป จุดถ่ายรูป
าวิท

จุดถ่ายรูป
เบอร์ติดต่อ 089-6520733 081-9179868 0899142456
"มห

หมายเหตุ - - -

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


125

สรุป

แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง


องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็น รูปสองมิติซึ่งแสดง
ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต การเดินทาง
ท่องเที่ยวต้องใช้ประโยชน์จากแผนที่ทำให้สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

"
่านั้น
ไม่พลัดหลง ซึ่งหมายเลขทางหลวงมีลักษณะ ดังนี้ ทางหลวงที่มีเลขหนึ่งตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดิน
และทางหลวงพิเศษที่เป็นถนนสายหลัก เชื่อมการคมนาคมระหว่างภาคต่อภาค ทางหลวงที่มีเลขสอง

าเท
ตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงพิเศษที่เป็นสายประธานตามภาคต่าง ๆ เช่น ทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข 22 หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายอุดรธานี -

ศึกษ
นครพนม ทางหลวงพิเศษหมายเลข 51 หมายถึง ทางหลวงซึ่งเชื่อมต่อจากถนนวงแหวนรอบนอก
กรุงเทพฯ สุพรรณบุรี ทางหลวงที่มีเลขสามตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินสายรอง เช่น ทางหลวงแผ่นดิน
กา ร
หมายเลข 202 หมายถึงทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายชัยภูมิ-เขมราฐ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 หมายถึงทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคกลางสายบางปะกง-
เพื่อ

ฉะเชิงเทรา ทางหลวงที่มีเลขสี่ตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกับอำเภอ หรือสถานที่


สำคัญของจังหวัดนั้น เช่น ทางหลวงหมายเลข 4006 หมายถึงทางหลวงในภาคใต้สายแยกทางหลวง
ิต
นดุส

หมายเลข 4 (ราชกรูด-หลังสวน) เป็นต้น


ัยสว

คำถามทบทวน
ยาล

1. จงอธิบายถึงความหมายของแผนที่
2. การแสดงสีในแผนที่ สีแสดง หมายถึง
าวิท

3. การแสดงสีในแผนที่ สีน้ำเงิน หมายถึง


4. การแสดงสีในแผนที่ สีเขียว หมายถึง
"มห

5. ทางหลวงที่มีเลขหนึ่งตัว หมายถึง
6. ทางหลวงที่มีเลขสองตัว หมายถึง
7. ทางหลวงที่มีเลขสามตัว หมายถึง
8. ทางหลวงที่มีเลขสี่ตัว หมายถึง
9. หมายเลขทางหลวง 314 อ่านว่า
10. ให้นักศึกษาเขียนแผนที่เส้นทางที่บริษัททัวร์จำลองกำหนดจัดทัวร์
126

เอกสารอ้างอิง

วิกิพีเดีย, 2560. แผนที.่ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/แผนที่


ความรู้เบื้องต้นในการอ่านเขียนแผนที่. (2560). สืบค้นเมือ่ วันที่ 10 มกราคม 2560 จาก
http://kmcenter.rid.go.th/kmc14/gis_km14/gis_km14(32).pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 จาก

"
่านั้น
ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 จาก
http://www.rmutphysics.com/sciencefac/artic/map/map.htm

าเท
แผนที่ประเทศไทย. (2560). สืบค้ นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 จาก http://www.thailand-map-
guide.com/_help.php

ศึกษ
แผนที่ทางหลวง-กรมทางหลวง. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 จาก http://www.doh.go.th/
doh/th/services/travel-guide/366-highways-map.html
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
147

บทที่ 9
การเขียนรายการนำเที่ยว

รายการนำเที่ยว อาจเรียกว่า รายการท่องเที่ยว หรือกำหนดการเดินทาง หรือภาษาอังกฤษ


เรียก itinerary หมายความถึง กิจกรรมการเดินทางในแต่ละวัน ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายตาม
จำนวนวันที่จัด โดยระบุวัน เวลา สถานที่พักแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร และแหล่งท่องเที่ยว การเขียน

"
่านั้น
รายการนำเที่ยวมิใช้เฉพาะความสามารถในการเขียนกำหนดการเดินทางเท่านั้น แต่หมายรวมถึง
ความสามารถของการเขียนมีเหตุผล น่าเชื่อถือ มีสีสัน เร้าอารมณ์ ที่ทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วเกิดความรู้สึก

าเท
อยากไปเที่ยว แล้วให้ความสนใจ สอบถาม จนถึงการตัดสินใจซื้อสิค้าในที่สุด (ฉันทัช วรรณถนอม,
2552 : 114)

การเขียนรายการนำเที่ยว
ศึกษ
กา ร
เพื่อ
การเขียนรายการนำเที่ยวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเขียนรายการนำเที่ยวให้กับ
นักท่องเที่ยว เพื่อที่จะให้นักท่องเที่ยวนำไปดูล่วงหน้าก่อนการนำเที่ยว หรือระหว่างการนำเที่ยวก็
ิต

สามารถนำมาดูว่าจะไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวไหนต่อและรับประทานอาหารที่ไหน พักโรงแรมใด
นดุส

ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น การเขียนรายการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยว และรายการนำเที่ยวสำหรับ


ผู้ปฏิบัติงาน (พิมพรรณ สุจารินพงค์, 2553: 100)
ัยสว

รายการเที่ยวหรือแพ็คเกจทัวร์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เป็นสินค้าที่สำคัญที่นำเสนอ
แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจและรวมถึงลักษณะที่เป็น
ยาล

รูปธรรม ดังนั้นสินค้าคือส่วนที่เป็นรูปแบบหรือวัตถุสิ่งของ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเข้าใจและคำนึงถึงคุณค่า


ของรายการนำเที่ยวนั้น ๆ
าวิท
"มห

เครื่องมือช่วยการเขียนรายการนำเที่ยว

1. เครื่องมือที่เป็นเอกสาร
1.1 หนังสือที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
1.2 วารสารที่เกี่ยวข้อง
1.3 แผ่นพับ , โบชัวร์
1.4 ตารางบอกเวลาการเดินทาง
128

1.5 ตารางหรือใบเสนอราคา
1.6 แผนที่หรือแผนผัง
1.7 เอกสารอื่น ๆ
2. เครื่องมืออื่น ๆ
2.1 จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
2.2 จากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

"
2.3 จากผู้มีประสบการณ์ในการเดินทางท่องเที่ยวมาแล้ว

่านั้น
2.4 จากสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องในการจัดนำเที่ยว
2.5 จากอินเตอร์เน็ต

าเท
ศึกษ
คุณสมบัติของผู้เขียนรายการนำเที่ยว
กา ร
1. มีความสามารถในการใช้ภาษาได้รัดกุม สละสลวย ถูกต้องและชัดเจน
2. มี ศ ิ ล ปะในการเขี ยนที่ ส ามารถบรรยายด้ ว ยถ้ อ ยคำที ่ท ำให้ผู ้อ ่ านเกิ ดจิน ตภาพ และ
เพื่อ

จินตนาการไปตามคำบรรยาย จนมีความรู้สึกอยากไปสัมผัสด้วยตนเอง
3. มีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ย วทั้งในประเทศและต่างประเทศทางด้าน
ิต

ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม เทศกาลงานต่างๆ สินค้าพื้นเมืองที่มีชื่อ


นดุส

4. มีประสบการณ์เดินทางไปในสถานที่จริงมาแล้ว
5. มีความละเอียดรอบคอบในการจัดเวลาในการเดินทาง และการกำหนดราคาค่าบริการ
ัยสว

6. มีความรู้เรื่องราคาค่าห้องพัก สายการบิน ยานพาหนะ ค่าธรรมเนียมต่างๆ และสามารถ


ยาล

คิดคำนวณราคาอย่างถูกต้อง
7. ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ
าวิท

8. เป็นผู้อ่านมาก รู้มาก รู้ความต้องการของลูกค้า


9. มีความเข้าใจนโยบายของบริษัทนำเที่ยว เพื่อเขียนโปรแกรมได้สอดคล้องกับต้องการ
"มห

ของบริษัท
10. มีความรู้เรื่องของตารางบอกเวลาเดินทาง (Time Table) ของสายการบิน ตารางเดินรถ
ต่างๆ รวมถึงเวลาเปิด-ปิดของสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดนำเที่ยว
11. สามารถเขียน หรือสร้างจุดขายให้กับรายการนำเที่ยวของตน โดยเขียนให้มีข้อเด่น
ที่แตกต่างจากโปรแกรมท่องเที่ ยวเดียวกันแต่เป็นของบริษัทอื่นเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของรายการ
นำเที่ยวของบริษัทตน
129

12. มีความสามารถในการจดจำหรืออ่านแผนที่การเดินทางชนิดต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว
รวดเร็ว เพือ่ ประโยชน์ในการเขียนรายการนำเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552 : 115)

รูปแบบการเขียนรายการนำเที่ยว

การเขี ย นรายการนำเที ่ ย วของแต่ ล ะบริ ษ ั ท นำเที ่ ย วจะมี ว ิ ธ ี ก ารเขี ย นที ่ เ ป็ น ของตนเอง

"
เพื่อดึงดู ดความสนใจของนัก ท่อ งเที ่ย ว แต่จะมีเนื้อความคล้ ายคลึง กัน โดยมีรายละเอีย ดดั ง นี้

่านั้น
(บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ, 2560: 160-167)
1. วันและเวลาของการเดินทาง

าเท
2. สถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปเยี่ยมชม

ศึกษ
3. รับประทานอาหารเช้า กลางวัน เย็นที่ร้านใด เป็นอาหารประเภทใด
4. พักค้างแรมที่ใด และเป็นที่พักประเภทใด รวมทั้งระดับชั้นของที่พัก
กา ร
5. ข้อมู ล อื่นๆ ที่ จะเป็น ประโยชน์ส ำหรั บนั กท่ อ งเที่ ย ว แต่ส่วนใหญ่ จ ะเลี่ ย ง ไม่เขี ย นสิ่ ง
ที่ไม่จำเป็น เพราะบางครั้งรายการอาจจะต้องยืดหยุ่น หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น
เพื่อ

สำหรับรูปแบบการเขียนรายละเอียดของรายการนำเที่ยวนั้นสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ


รูปแบบที่ 1 การเขียนรายการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวเป็นการเขียนรายละเอียดรายการ
ิต

นำเที่ยวแบบคร่าวๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบว่ารายการนำเที่ยวนี้มีการเดินทางท่องเที่ยวกี่วัน
นดุส

เริ่มออกเดินทางวันไหนเมื่อไร สิ้นสุดการเดินทางวันไหน เดินทางโดยพาหนะใด ออกเดินทางเมื่อไร


สิ้นสุดที่ไหน พักที่ใด มีการเลี้ยงอาหารมื้อใดบ้าง ไม่เลี้ยงมื้อใดบ้าง จุดแวะพักหรือจุดแวะชมอยู่ที่ไหน
ัยสว

แต่ละแห่งให้เวลาเท่าไร ซึ่งอาจเขียนรายการนำเที่ยวได้ 2 แบบย่อยคือ


ยาล

1. รายการนำเที่ ย วอย่ า งย่ อ (Summary Itinerary) จะบอกเฉพาะเส้ น ทางและ


จุดท่องเที่ยวจุดสำคัญๆ พร้อมวันเดินทางไปและกลับ หรือบอกจำนวนวันเดินทางท่องเที่ยว การเขียน
าวิท

รายการนำเที่ยวชนิดนี้ ใช้ในจุดประสงค์เพื่อการตลาด ที่ต้องการจะแนะนำ บอกกล่าว และชักชวนให้


ซื้อสินค้า และอาจใช้เป็นเอกสารทำความตกลง ระหว่างบริษัทนำเที่ยวกับลูกค้า หรือผู้ ประกอบธุรกิจ
"มห

ผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยว (suppliers) อื่นๆ เช่น สายการบินหรือบริษัทรถ ดังตัวอย่าง


130

การเขียนรายการนำเที่ยวอย่างย่อ :
- แม่ฮ่องสอน เมืองสามหมอก ทุ่งดอกบัวตอง ท่านละ 5,350 บาท 5 วัน 4 คืน อาหาร 10 มื้อ :
11-15 สิงหาคม 2562
เที่ยวออบหลวง แม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง ล่องเรือแม่น้ำปาย ชมกระเหรี่ยงคอยาว กระเหรี่ยง
คอยาว พระธาตุดอยกองมู ถ้ำน้ำลอด ห้วยน้ำดัง โป่งเดือดป่าแป้ ฟาร์มกล้วยไม้ สวนพฤษศาสตร์
สิริกิติ์ ซื้อสินค้านานาชนิดตลาดไนท์บาซาร์

"
- ภูเก็ต ไข่มุกเม็ดงามแห่งอันดามัน ท่านละ 3,900 บาท 4 วัน 3 คืน อาหาร 8 มื้อ : 11-14

่านั้น
กันยายน 2562
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ถ้ำลอด เขาหมาจู เกาะปันหยีหมู่บ้านกลางน้ำ เขาตะปูและเขาพิงกัน

าเท
แวะแหลมพรหมเทพ เที่ยวหมู่เกาะพีพี พีพีดอน พีพีเล หาดมาหยา อ่าวต้นไทร สัก การะอนุสาวรีย์

ศึกษ
วีรสตรี ชมตึกโบราณ และนมัสการพระผุด พระทอง หลวงพ่อแช่มที่วัดฉลอง และพระธาตุไชยา สุราษฎร์
ธานี กา ร
การเขียนรายการนำเที่ยวอย่างย่อ : ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
- กำหนดการเดินทาง : วันที่ 11-20 สิงหาคม 2562
เพื่อ

วันที่ 9-18 กันยายน 2562


- ซิดนีย์ ศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุด สถาปัตยกรรมงามวิจิตรเลิศล้ำ ณ อ่าวหน้าเมือง
ิต
นดุส

สะพานฮาเบอร์ โอเปร่าเฮ้าส์ ล่องเรือชมความงามของอ่าวที่กล่าวขานว่าเป็นที่สุดของโลกโดยเรือ


กัปตันคุ๊ก สวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สมุทรศาสตร์ที่น่าทึ่ง ตื่นตาน่าสนใจ
ัยสว

- แคนเบอร่า นครหลวงที่วางผังเมืองดีที่สุดของโลก ตึกรัฐสภาที่ยิ่งใหญ่ ย่านสถานฑูต ที่มี


ระเบียบ ฟาร์มแกะ และสาธิตการตัดขนแกะ สุนัข ต้อนแกะแสนรู้ ดูวิธีการขว้างบูมเมอแรงต้นฉบับ
ยาล

ชาวออสซี
- โอ้กแลนด์ เมืองท่าศูนย์กลางพาณิชยกรรมสำคัญ และเมืองหลวงในอดีตของนิวซีแลนด์
าวิท

- โรโตรัว เมืองตากอากาศชื่อดังแห่งเกาะเหนือ เยี่ยมชมหมู่บ้านของชนพื้นเมืองเผ่าเมารี


ชมบ่อโคลนเดือด และหนอนเรืองแสงในถ้ำไวโตดม ชมการสาธิตการต้อนแกะ และตัดขนแกะ
"มห

2. การเขียนรายการนำเที่ยวแบบกำหนดเป็นตารางที่บอกการท่องเที่ยวอย่างละเอีย ด
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบย่อย ๆ คือ
(1) แบบ Outline Itinerary เป็นการเขียนรายการนำเที่ยวที่บอกกำหนดการท่องเที่ยว
แต่ละวันอย่างไม่มีรายละเอียด
(2) แบบ Descriptive Itinerary เป็ น การเขี ย นรายการนำเที่ ย วบอกการท่ อ งเที่ ย ว
แต่ละวันอย่างละเอียด ตามเวลาที่กำหนดอย่างคร่าว ๆ
131

รายการนำเทีย่ วสำหรับนักท่องเที่ยว ประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ (นภาพร จันทร์ฉาย, 2560 : 110)


1. ชื่อที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบริษัท หรือตัวแทนขาย
2. คำขวัญ หรือสโลแกนทัวร์ หรือของบริษัท
3. ชื่อโปรแกรมทัวร์
4. กำหนดวันเดินทาง และราคา
5. การเกริ่นนำโปรแกรม

"
6. สถานที่ท่องเที่ยวหลัก ๆ และระยะเวลาในการท่องเที่ยว

่านั้น
7. กิจกรรมการท่องเที่ยวในแต่ละวัน แต่ละเวลา
8. จำนวนนักท่องเที่ยวขั้นต่ำ (ถ้ามี)

าเท
9. อัตราค่าบริการ ผู้ใหญ่/เด็ก

ศึกษ
10. อัตราค่าบริการนี้รวมอะไรบ้าง เช่น รวมค่าพาหนะตลอดการเดินทาง จำนวนมื้ออาหาร
ค่าที่พักกี่คืน ค่ามัคคุเทศก์นำชม ค่าประกันชีวิตหรืออุบัติเหตุในวงเงินกี่บาท ค่าวีซ่า ค่าภาษีสนามบิน
กา ร
(ในกรณีไปต่างประเทศ)
11. อัตราค่าบริการนี้ไม่รวมอะไรบ้าง เช่น ไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัว ไม่ร วมค่าอาหารบางมื้อ
เพื่อ
ไม่รวมค่าภาษีเงินได้หักคืน ณ ที่ จ่าย 3% และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากยอดการใช้บริการและค่า
อื่นๆ
ิต

12. เงื่อนไขการชำระเงิน
นดุส

13. การยกเลิก และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ


14. เงื่อนไขและข้อกำหนดอื่น ๆ
ัยสว

15. การขอวีซ่า (ถ้ามี)


16. สิ่งของที่ควรนำติดตัวไป ควรระบุให้ตรงกับสภาพการณ์หรือเส้นทางในรายการนำเที่ ยว
ยาล

ที่ต้องไป เช่น ไปเมืองหนาวก็ให้เตรียมเสื้อกันหนาว ควรเตือนเรื่องการให้นำยารักษาโรคประจำตัว


าวิท

ของแต่ละคนไปด้วย
ทั้งนี้การให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว พนักงานขายควรให้ลูกค้าทราบถึงระเบียบและเงื่อนไข
"มห

ในการจองให้ชัดเจน เช่น ถ้าเป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศ อาจกำหนดให้การสำรองที่นั่งสมบูรณ์


เมื่อมีการวางมัดจำที่ละ 500-2,000 บาท และส่วนที่เหลือให้ชำระก่อนวันเดินทาง 10 วันเป็นอย่าง
น้อย การยกเลิกทัวร์ 16 วันก่อนการเดินทางบริษัทจึงจะคืนเงินให้ทั้งหมด ถ้ายกเลิกทัวร์ภายใน
8-15 วันก่อนการเดินทางบริษัทจะริบเฉพาะเงินมัดจำเท่านั้น ถ้ายกเลิกทัวร์ก่อนเดินทาง 2-7 วัน
ก่อนการเดินทาง บริษัทจะหักเงินไว้ 50% จากราคาทัวร์ ยกเลิกทัวร์ 1 วันก่อนการเดินทางหรือ
วันเดินทาง บริษัทไม่คืนเงินค่าทัวร์ให้ เป็นต้น ถ้าเป็นทัวร์ในช่วงเทศกาลเงื่อนไขต่างๆอาจเข้มงวด
รัดกุมมากขึ้นแล้แต่นโยบายของบริษัท โดยอาจระบุหมายเหตุให้ลูกค้าทราบ
132

ท้ายโปรแกรมทัวร์ควรมีหมายเหตุบอกด้วยทุกครั้งว่า กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ตามความเหมาะสม ขึ ้ น อยู ่ ก ั บ สภาพภู ม ิ อ ากาศ เหตุ ก ารณ์ เ ฉพาะหน้ า แต่ ท างบริ ษ ั ท จะคำนึ ง
ถึงผลประโยชน์และความปลอดภัยของลูกค้าเป็นสำคัญ

ตารางที่ 9.1 ตัวอย่างรายการนำเที่ยวแบบละเอียด

"
วันที่ 1 แพพะโต๊ะ พระบรมธาตุสวี ศาลกรมหลวงชุมพร จุดชมวิวเขามัทรี

่านั้น
เวลา รายละเอียด
23.00 น. คณะเดินทางพร้อมกัน ณ มหาลัยสวนดุสิต ตึก 10 ประตู 4 เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ

าเท
คอยให้บริการต้อนรับ และอำนวยความสะดวกให้ท่าน

ศึกษ
00.00 น. ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดชุมพร ประตูสู่ภาคใต้
08.30 น. รับประทานอาหารเช้า ณ สวนนายดำ แจกอาหารแบบกล่อง (1)
กา ร
10.30 น. เดินทางถึงลำน้ำพะโต๊ะ เพื่อทำการล่องแพชมธรรมชาติ ที่ต้นน้ำของแม่น้ำพะโต๊ะ
ธรรมชาติ สองข้างลำน้ำเขียวขจี ผีเสื้อ และแมลงปอ บินไปมาแสดงถึงความใส
เพื่อ

บริสุทธิ์ของธรรมชาติของป่าพะโต๊ะที่ดีเยี่ยม
12.00 น. เตรียมล่องแพ ใส่ชูชีพ เดินทางด้วยแพที่แข็งแรงพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด
ิต

แพจะนำทุกท่านลัดเลาะไปตามสายน้ำและภูเขาที่สลับด้วยวิวสวนผลไม้สนุกกับ
นดุส

การล่องน้ำพะโต๊ะ การล่องแพสามารถล่องได้ทุกฤดูเพราะสายน้ำพะโต๊ะไม่เคย
แห้ง การเดินทางล่องแพกว่า 7 กิโลเมตร บนธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำจึงเป็นที่ติดใจ
ัยสว

ของทุกท่าน
ยาล

13.30 น. แพจะพัก ณ จุดพักเพื่อนำทุกท่ านรับประทานอาหารกลางวันแบบพื้นบ้านแบบ


ชาวแพอาทิเช่น ข้าวในกระบอกไม้ไผ่ ไข่ทอดใบตองใบเหลียงผัดไข่ แกงส้มหยวก
าวิท

กล้ายป่า แกงเลียง น้ำพริกปลาทู และผลไม้ตามฤดูกาล (2)


16.30 น. สักการะนมัสการกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลพระบรมธาตุสวี สิ่งศักดิ์สิทธิ์
"มห

คู่บ้านคู่เมืองอายุมากกว่า 700 ปี ให้เป็นสิริมงคล


17.30น. นำลูกทัวร์ทุกท่านสักการะศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ใครที่เจ็บไข้ได้ป่วย
ขอพรให้หายจากอาการเจ็บป่วยและโรคภัยต่างๆ เพราะช่วงหนึ่งที่พระองค์ท่านมี
ชีวิตอยู่ ทรงรักษาทั้งวิธีโบราณและสมัยใหม่ และพระองค์ ทรงให้เรียกพระองค์ว่า
“หมอพร’’บิดาแห่งราชนาวีที่อยู่บริเวณหาดทรายรีและในบริเวณนั้นเองยังมีเรือ
รบจริงที่ปลดประจำการแล้ว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมและถ่ายรูป
133

18.30น. เมื่อพระอาทิตย์ใกล้อัสดงพาลูกทัวร์ขึ้นสู่ จุดชมวิวเขามัทรี พร้อมกราบไหว้พระ


โพธิสัตว์ และชมวิวทิวทัศน์ 360 องศา กับคำล่ำลือที่ว่าหาดทรายสวยสี่ร้อยลี้ที่
ไกลสุ ด ลู ก หู ลู ก ตา ชมความสวยงามของทะเลชุ ม พร ชุ ม ชนปากน้ ำ ชุ ม พร
มองเห็ น ชายหาดภราดร ในยามเย็นเป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์งดงามมาก มีร้าน
กาแฟพร้อมระเบียงชมวิวให้ได้ชมทัศนียภาพ ดื่มด่ำไปกับกาแฟสุดชิลล์พร้อมกับ
บรรยากาศทะเล ท้องฟ้า ภูเขา ธรรมชาติอย่างมหัศจรรย์อีกด้วย

"
19.30น. รับประทานอาหารเย็น ณ ร้านแม่ไม้ ซีฟู้ด(3) เมนูสุดพิเศษ รสชาติถูกปาก พร้อม

่านั้น
บรรยากาศริมทะเลในยามค่ำคืน
20.30น. เข้าที่พักโรงแรม Southgate Residence Hotel

าเท
วันที่ 2 ดำน้ำหมู่เกาะชุมพร เกาะมาตรา เกาะหลักแรด เกาะละวะ เกาะลังกาจิว จังหวัดชุมพร

ศึกษ
07.00 น. อรุ ณ เบิ ก ฟ้ า นกกาโบยบิ น กั บ เช้ า ที ่ ส ดใส และเสี ย งขบวนรถไฟในยามเช้ า
รับประทานอาหารเช้ าแบบบุฟ เฟ่ ต์น านาชาติ ณ ห้องอาหารของโรงแรม (4)
กา ร
08.00น. คณะพร้อมกัน ณ ล็อบบี้โรงแรม เพื่อจะนำทุกท่านไปดำน้ำดูปะการัง แห่งท้อง
ทะเลเกาะชุมพร
เพื่อ

08.30 น. ถึงบริษัทสยามคาตามารัน รับสน๊อกเกิ้ล เสื้อชูชีพ ผ้าขนหนู พร้อมวิธกี ารสาธิตการ


ใช้อุปกรณ์
ิต

09.00 น. เรือออกจากฝั่งมุ่งหน้าสู่เกาะแรกใช้เวลา 1 ชม. ด้วยเรือคาตามารัน ระหว่างการ


นดุส

เดินทางมีอาหารว่างที่พร้อมบริการ อาทิเช่น ขนมไทย ผลไม้ ชา กาแฟ


- จุดดำน้ำสุดขั้วที่แรก เกาะมาตรา ได้ชื่อว่าเป็น “อุทยานหอยมือเสือ”เป็นแหล่ง
ัยสว

ที่อยู่อาศัยของ “ปูไก่” (มีเสียงร้องเหมือนลูกไก่และสามารถปีนต้นไม้ได้) ดำน้ำชม


ยาล

ฝูงปลาและปะการังน้ำตื้นที่สวยงาม
-จุดดำน้ำสุดขั้วที่สอง เกาะหลักแรด ตัวเกาะหลักใหญ่นั้นรูปทรงคล้ายกับแรด
าวิท

และไม่ ไ กลจากเกาะ จะมี หิ น ปู น เรี ย งกั น 3 ก้ อ น ได้ ชื่ อ ว่ า “เกาะหลั ก


แรด” พบ “ปะการังครก” ขนาดใหญ่สีสวยสดซึ่งหาดูได้ยาก รวมทั้งฝูงปลานานา
"มห

ชนิด
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันแบบบุฟเฟ่ต์บนเรือ (5) และดำน้ำจุดถัดไป
- จุดดำน้ำสุดขั้วที่สาม เกาะละวะ ดำน้ำชมปะการังดอกกะหล่ำ ปลาการ์ตูน
อินเดียนแดงมากมายที่กำลังแหวกว่ายท่ามกลาง “ภูเขาดอกไม้ทะเล” ถือว่าเป็น
สิ่งที่หาดูได้ยากในท้องทะเลอ่าวไทย
- จุดดำน้ำสุดขั้วที่สี่ เกาะลังกาจิว ในอดีตรัชกาลที่ 5 เคยทรงเสด็จประพาสฯ ถึง
3 ครั้ง และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ของพระองค์ไว้บนผนังหินปากถ้ำ
134

เป็นแหล่งรังนกนางแอ่น มีจุดดำน้ำชมปะการังที่ขึ้นชื่อ ดำน้ ำชมฝูงปลา เช่น ปลา


ข้างเหลือง ปลาการ์ตูน เป็นต้น
16.00น. กลับถึงฝั่งท่าเรือสยามคาตามารัน พร้อมเดินทางกลับสู่ที่พักอย่างปลอดภัย
16.30น. ถึงโรงแรมที่พัก ให้เวลาทุกท่านพักผ่อนตามอัธยาศัย เพื่อพบกันในปาร์ตี้ยามค่ำคืน
สุดพิเศษ
19.00น. รับประทานอาหารเย็นแบบบุฟเฟ่ต์ทะเล (6) พบปาร์ตี้สุดมันส์ สุดขั้ว กับทีมงาน

"
คุณภาพ

่านั้น
วันที่ 3 ร้านขายของฝากเขาพ่อตาหินช้าง,วัดแก้วประเสริฐ,กรุงเทพฯ

าเท
07.00น. รับประทานอาหารเช้าแบบบุฟเฟ่ต์นานาชาติ ณ ห้องอาหารของโรงแรม (7)

ศึกษ
08.00 น. Check out และมุ่งหน้าสู่ร้านขายของฝากริมทางเขาพ่อตาหินช้างกับของฝากขึ้น
ชื่อของชุมพร กา ร
08.30น. ถึงจุดร้านขายของฝากเขาพ่อตาหินช้าง ให้ทุกท่านเลือกซื้อของฝากของที่ระลึก
10.30น. แวะชมสักการะพระขาวองค์ใหญที่สุด ณ วัดแก้วประสริฐ พร้อมชมวิวทิวทัศน์ที่
เพื่อ

สวยงาม
12.50น. รับประทานอาหารกลางวันซีฟู้ด (8) สุดอร่อยริมชายหาดทะเลบ้านกูด
ิต
นดุส

14.00น. มุ่งหน้ากลับสู่ กรุงเทพฯ


20.00น. เดินทางกลับถึงมหาลัยสวนดุสิต โดยสวัสดิภาพ
ัยสว

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


ยาล

อัตราค่าบริการ (สำหรับจำนวนผู้เดินทางจำนวน 30 ท่านขึ้นไป)


าวิท

ผู้ใหญ่ท่านละ 4,799 บาท (ราคานี้เป็นโปรโมชั่นเฉพาะการจองก่อนวันที่ 15 เมษายน 2560 เท่านั้น)


ถ้ามา 2 ท่านขึ้นไป รับไปเลย!! โปรโมชั่นพิเศษสุดคุ้ม ในราคา 4,499 บาท/ท่านเท่านั้น
"มห

เด็กท่านละ 4,000 บาท (อายุ 3-12 ปี พักรวมกับผู้ใหญ่ 2 ท่าน โดยไม่มีเตียงเสริม)

อัตรานี้รวม
- ค่าที่พัก 2 คืนห้องละ 2 ท่าน หรือ 3 ท่าน (พัก 3 ท่านในกรณีที่ไม่ต้องการพักเดี่ยว หรือมาไม่ครบคู่)
- ค่ารถโค้ชปรับอากาศแบบ 2 ชั้น VIP นำเที่ยว ตามที่ระบุในรายการ
- ค่าอาหารตามที่ระบุ 8 มื้อ และอาหารว่าง 6 มื้อ ตามที่ระบุในรายการนำเที่ยว
- ค่าเรือทุกชนิดตามรายการนำเที่ยว
135

- ค่าอุปกรณ์ดำน้ำ สน๊อกเกิ้ล เสื้อชูชีพ ผ้าขนหนู


- ค่าธรรมเนียมในการเข้าชมสถานที่ต่างๆ ตามที่ระบุในรายการ
- ค่าประกันอุบัติเหตุในการเดินทาง วงเงินท่านละ 100,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล 10,000 บาท
(ความคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อกำหนดในกรมธรรม์)
- ค่ามัคคุเทศก์และทีมงานที่คอยดูแล และอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง

"
อัตรานี้ไม่รวม

่านั้น
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักรีด ค่าอาหาร และค่าเครื่องดื่มนอกเหนือจากที่รายการ
กำหนด

าเท
- ค่าความเสียหายที่เกิดจากความประมาทของผู้เดินทาง

ศึกษ
- รวมการนำเที่ยวนี้ทางบริษัทฯของสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่แจ้งให้
ทราบล่วงหน้า ด้วยความยุติธรรม กา ร
- หากท่านไม่ได้เดินทางท่องเที่ยวพร้อมคณะหรือถอนตัวออกจากคณะ ท่านจะไม่สามารถเรียกร้องเงิน
คืน หรือส่วนบริการที่ขาดหายไปมาทดแทนได้
เพื่อ
- บริษัทฯไม่สามารถรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย อาทิ ภัยธรรมชาติ ภัยจาก
สงคราม การจลาจลหรือสิ่งของที่สูญหายตามสถานที่ต่างๆได้
ิต
นดุส

แนะนำการเตรียมตัว
1. ยารักษาโรคประจำตัวของแต่ละท่าน ลูกทัวร์ควรเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงก่อนออกเดินทาง
ัยสว

2. เตรียมเสื้อผ้าสบายๆ แห้งง่าย หรือชุดที่เหมาะสมสำหรับการดำน้ำ ใส่แล้วรู้สึกสบายตัว คล่องตัว


ที่สุด
ยาล

3. เตรียมครีมกันแดด SPF 50 ขึ้นไป เนื่องจากดำน้ำถึง 4 เกาะ บุคคลที่ผิวคล้ำง่าย ควรเตรียมไปให้


าวิท

เพียงพอ
4. รองเท้าแตะหูหนีบ หรือรัดส้น,หมวกกันแดด,ร่ม,แว่นตากันแดด,กล้องถ่ายรูป(กันน้ำได้ยิ่งดี)
"มห

5. ถุงกันน้ำสำหรับป้องกันอุปกรณ์ของมีค่าต่างๆ และถุงสำหรับใส่ผ้าเปียกที่เราใช้แล้ว
**หมายเหตุ * * โปรแกรมเดิ น ทางอาจเปลี ่ ย นแปลงได้ ต ามความเหมาะสม โดยคำนึ ง ถึ ง
ผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ

2. รายการนำเที่ยวสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (Operating Itinerary) อาจเรียกว่า operational


working itinerary เป็ น รายการนำเที่ ย วอย่ า งละเอี ย ดเพื่ อ ใช้ เ ป็ น คู่ มื อ สำหรั บ หั ว หน้ า ทั ว ร์
(Tour Leader) หรือมัคคุเทศก์ (Tour Guide) ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างหัวหน้าทัวร์กับมัคคุเทศก์มดี ังนี้
136

หัวหน้าทัวร์คือผู้ทำหน้าที่เตรียมการวางแผนคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกทั้งเป็นผู้ประสานงานและ
ดำเนินงานให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่นตามกำหนด นับตั้งแต่วันแรกของการออกทัวร์
จนกระทั่งเสร็จสิ้นการเดิ นทาง ส่วนมัคคุเทศก์ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่อธิบายให้ความรู้และตอบคำถาม
นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในแง่มุมต่างๆอย่างละเอียด ดังนั้นในการเขียนรายการนำเที่ยว
สำหรับผู้ปฏิบัติงานจะต้องนำรายละเอียดเกี่ยวกับการนัดหมายที่ต้องติดต่อ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ละเอียด
มาก ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เวลา และการติดต่อกับผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าบริการ

"
ท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปเยี่ยมชม ภัตตาคาร โรงแรม ซึ่งจะมีชื่อและหมายเลข

่านั้น
โทรศัพท์ของผู้ที่จะติดต่อด้วย นอกจากนี้ อาจเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ปร ะวัติศาสตร์ เป็น
สำหรับให้ผู้นำเที่ยวเป็นแนวทางประกอบการอธิบายให้แก่นักท่องเที่ยว ตัวอย่างดังตาราง

าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
137

ตารางที่ 9.2 ตัวอย่างรายการนำเที่ยวสำหรับผู้ปฏิบัติงาน

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)


138

โดยสรุป การเขียนรายการนำเที่ยวสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ แบบแรกเป็นการเขียน


รายการนำเที่ยวโดยสรุปเฉพาะที่สำคัญๆ จัดทำขึ้นสำหรับการขาย และจัดทำสำหรับลูกค้าก่อนออก
เดินทางเพื่อให้ทราบกิจกรรมการเดินทางโดยละเอียด สำหรับแบบที่สองจัดทำเป็นคู่มือสำหรับหัวหน้า
ทัวร์หรือมัคคุเทศก์

"
ขั้นตอนการเขียนรายการนำเที่ยว

่านั้น
าเท
1. เกริ่นนำ
(1) ชื่อทัวร์

ศึกษ
(2) จำนวนวันและจำนวนประเทศ
(3) รายชื่อประเทศและจำนวนเมืองสำคัญๆ กา ร
(4) สรุปความสำคัญของประเทศหรือเมืองที่จะเดินทาง โดยเริ่มบรรยายถึงความสำคัญ
ความเป็นมา หรือความสวยงาม สิ่งเด่นๆของเมืองหรือประเทศ เพื่อเรียกร้องความสนใจผู้อ่าน
เพื่อ

2. แผนที่
3. รูปภาพ
ิต
นดุส

4. กำหนดวันเดินทาง
(1) ระบุวัน เวลาที่ออกเดินทาง เที่ยวบิน รายละเอียดของจั ดนัด พบ และวัน -เวลา
ัยสว

ที่เดินทางกลับ
(2) กำหนดรายการแต่ละวัน
ยาล

(3) การจัดสถานที่ให้เที่ยวในแต่ละช่วง
(4) ควรมีช่วงเวลาที่ให้ลูกค้ามีโอกาสซื้อของบ้าง
าวิท

การเขียนรายการนำเที่ยว
"มห

การเขียนรายการนำเที่ยวถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นส่วนช่วยในการนำเสนอขายสินค้า
ของบริ ษ ั ท นำเที ่ ย ว และช่ ว ยให้ ก ารเดิ น ทางสามารถดำเนิ น ไปได้ ด ้ ว ยดี ต ามรายการนำเที ่ ย ว
โดยมีอุปสรรคน้อยที่สุด
ก่อนเขียนรายการนำเที่ยว จะต้องศึกษาประเทศ จังหวัด หรือเมืองที่จะจัดนำเที่ ยวอย่าง
ละเอี ย ด ต้ อ งรู ้ เ ส้ น ทางการบิ น ของสายการบิ น ต่ า งๆ ตารางบิ น ทั ่ ว โลก รวมถึ ง รถไฟ และอื ่ นๆ
ควรพิจารณาการพักแต่ละคืนในเมืองใหญ่ นอกเมือง หรือเมืองเล็ก ต้องรู้วันหยุดต่างๆ ของประเทศ
ไทย และต่างประเทศ เทศกาลพิเศษที่จะมีผลต่อการเดินทาง และการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว ต้อง
139

ทราบวันปิดของสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ ปราสาท ตลอดจนร้านค้าต่างๆ เพราะถ้าไปถึง


เมืองนั้นปรากฏว่าร้านค้าต่างๆ ปิด หรือพิพิธภัณฑ์ปิด ลูกค้าอาจไม่พอใจ การให้แวะเยี่ยมชมสถานที่
ท่องเที่ยวแต่ละแห่งก็ต้องกำหนดเวลาให้ถูกต้องเหมาะสมว่าจะให้เวลามากน้ อยแค่ไหน ต้องจัดเวลา
ให้ เ หมาะกั บ สถานที่ เช่ น การเข้ า ชม Tower of London ควรให้ เ วลาอย่ า งน้ อ ย 45 นาที
หรื อ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ลู๊ ฟ อย่ า งน้ อ ยหนึ่ ง ชั่ ว โมง เป็ น ต้ น (พวงบุ ห งา ภู มิ พ านิ ช , 2539: 108-112 อ้ า ง
ถึง (Stevens, 1990 : 372 – 373)

"
พวงบุหงา ภูมิพานิช, (2539: 108-112 อ้างถึง แมนซินี่ (Mancini, 1990 : 202 - 213)) กล่าว

่านั้น
ว่า การเขียนรายการนำเที่ยวจัดว่าเป็นศิลปะอย่างแท้จริง ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เขียนรายการนำเที่ยวจะมี
ความสามารถในการเขียนได้อย่างดี เพราะจะต้องเขียนเหมือนตัวเอง “เดิน” (walk) ผ่านรายการด้วย

าเท
ซึ่งหมายความว่า ผู้เขียนจะต้องมองเห็นภาพ กิจกรรมการเดินทางในแต่ละวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น

ศึกษ
พร้อมกันนี้ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนการจัดรายการนำเที่ยว ดังนี้
1. ต้องดูลูกค้าเป็นใคร ต้องการอะไร เวลาไหน เวลาที่จัด และสถานที่เยี่ยมชมเป็นสิ่งสำคัญ
กา ร
คงไม่ มี ใ ครชอบตื่ น ตี 4 เพื่ อ ขึ้ น เครื่ อ งบิ น หรื อ ใช้ เ วลาเพี ย ง 30 นาที ชมพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ อั ง กฤษ
(British Museum) หรือไปถึงเมือง St. Louis แต่ไม่แวะ St. Louis Arch
เพื่อ
2. ต้องพิจารณาว่า เวลาไหนของปีที่เหมาะสำหรับการจั ดนำเที่ยว ซึ่งต้องพิจารณาจากเวลา
ว่างของลูกค้า และจุดหมายปลายทางที่เหมาะสมสำหรับการเยี่ยมชม เช่น ยุโรป ถ้าเป็นหน้าหนาว
ิต

ก็ไม่ควรจัด ยกเว้นเพื่อเล่นสกี
นดุส

3. พิจารณาวันที่ออกเดินทาง วันที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานควรเป็นการออกเดินทางวันศุกร์
กลับวันอาทิตย์ถัดไป จะได้เวลาประมาณ 8-9 วัน โดยลูกค้าจะลางานเพียง 5 วัน แต่ถ้าเดินทางไป
ัยสว

ต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องนึกถึงเที่ยวบิน เพราะสายการบินบางสาย มีเพียง 2 เที่ยวบินใน 1 สัปดาห์


ก็ต้องจัดให้เหมาะสมกับเที่ยวบินของสายการบินนั้น ถ้าเป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศควรใช้เวลา 4
ยาล

วัน โดยเริ่มวันพฤหัสบดี ถึงวันอาทิตย์ หรือเย็นวันศุกร์ กลับเช้าวันจันทร์ ส่วนใหญ่จะนิยมจัดให้อยู่


าวิท

ช่วงท้ายสัปดาห์มากกว่าต้นสัปดาห์ เพราะลูกค้าจะมีเวลาทำงานที่รับผิดชอบในแต่ละสัปดาห์ให้เสร็จ
ก่อนออกเดินทาง แต่ถ้าจัดให้สำหรับผู้ที่เกษียณอายุแล้ว การออกเดินทางกลางสัปดาห์ จะได้ราคา
"มห

ที่พักและเครื่องบินถูกกว่าในช่วงหยุดสุดสัปดาห์
4. พิ จ ารณาถึ ง จำนวนวั น ที่ จ ะจั ด การท่ อ งเที่ ย ว โดยดู จ ากจุ ด หมายปลายทางที่ จ ะไป
และจะต้องพิจารณาถึงจุดหมายปลายทางที่จะจัด โดยดูว่าจะขายอะไรสำหรับจุดหมายปลายทางนั้น
สถานที่ท่องเที่ยว หรือแหล่งซื้อของ เป็นต้น และถ้าเดินทางหลายประเทศ/เมือง มีโอกาสได้อยู่
ในประเทศ เมืองนั้นกี่วัน เพราะถ้าแวะเพียง 1 วัน แล้วเดินทางต่อไปอีกประเทศ จะเหมาะหรือไม่
ซึ่งต้องพิจารณาว่า ถ้าประเทศ/เมืองไหนมีสถานที่ท่องเที่ยวมาก ก็ควรอยู่หลายวัน โดยคำนึงถึง
วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวว่าต้องการให้ผ่านหลายประเทศ โดยแวะประเทศละวัน หรือต้องการ
140

เจาะลึ ก เที ่ ย วให้ ม ากในแต่ ล ะประเทศ แต่ จ ะได้ แ วะน้ อ ยประเทศ ผู ้ เ ขี ย นรายการต้ อ งทราบ
ถึงวัตถุประสงค์ในแต่ละโปรแกรมเพื่อจะได้จัดรายการให้เหมาะสม
5. เลือกผู้ ประกอบธุรกิจ ผลิ ตสิ นค้ าบริ การท่อ งเที่ย วที่เกี่ย วข้อ งที่น่า เชื่ อถื อ และมีฐ านะ
ทางการเงินดี เช่น สายการบิน โรงแรม และบริษัทตัวแทนนำเที่ยว บริษัทผู้ผลิตเหล่านี้ต้องไว้ใจได้
เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะให้การท่องเที่ยวราบรื่น ซึ่งถ้าใช้บริการกันมานานจะได้สิทธิพิเศษกว่า
ที่เพิ่งเริ่มต้น

"
6. ในวั น แรกและวั น สุ ด ท้ า ยของรายการนำเที่ ย วควรจัด รายการ ใช้ แ วะจุ ด เด่ น ทางการ

่านั้น
ท่องเที่ยวในเมือง เช่น ถ้าจุดหมายปลายทาง คือแคลิฟอร์เนีย วันแรกควรจัดให้ขึ้นรถราง (cable car)
ที่ซานฟรานซิสโก และจบด้วยการแวะดิสนีย์แลนด์ และยูนิเวณ์ เซอร์สตูดิโอ จะดีกว่านั่งรถไปชมสวน

าเท
องุ่นที่โซโนมา (Sonoma) เพราะต้องใช้เวลานั่งรถไปนาน ลูกค้ายังเหนื่อยจากการเดินทางแล้วยังต้อง

ศึกษ
กลับมาจัดเตรียมข้าวของ และตื่นแต่เช้าเพื่อเดินทางกลับ ดังนั้นวันแรกและวันสุดท้าย ควรเป็นการ
เยี่ยมชมสถานที่น่าท่องเที่ยวในเมืองมากกว่าจะนั่งรถไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต้องใช้เวลาในการเดินทาง
กา ร
7. พิ จ ารณาเที่ ย วบิ น ว่ า เป็ น เที่ ย วบิ น ที่ บิ น ตรงหรื อ ต้ อ งเปลี่ ย นเครื่ อ งกี่ ครั้ ง ทางที่ ดี ค วร
เลื อ กเครื่องที่บินตรง เพราะยิ่งเป็นระยะทางไกลจะใช้เวลาเดินทางนาน ถ้าต้องเปลี่ยนเครื่องจะทำให้
เพื่อ
เสียเวลาเพิ่มอีก 2-4 ชั่วโมง และจะทำให้ลูกค้าอ่อนเพลียมากในวันแรก ถ้ามีความจำเป็นต้องเสียเวลา
เปลี่ยนเครื่อง การจัดรายการนำเที่ยวในวันแรกก็ไม่ควรมีหลายรายการ และให้ลูกค้าได้พักผ่อนเร็วขึ้น
ิต

8. พยายามจัดให้เปลี่ยนโรงแรมน้อยที่สุด เพราะทำให้ลูกค้าต้องรื้อกระเป๋าและจัดกระเป๋าทุก
นดุส

วัน ถ้าเป็นไปได้ควรจัดให้พักโรงแรมในเมืองหนึ่งและใช้การเดินทางไปชมเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แบบเช้า


ไปเย็นกลับ เป็น excursion tour แต่ถ้าต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับ ถึงอย่างน้อย 5 ชั่วโมง ก็ไม่ควร
ัยสว

ทำลักษณะนี้ เพราะจะเป็นการเสียเวลามาก อย่างไรก็ตาม ถ้าทำได้ควรหลีกเลี่ยงการพักโรงแรมละ 1 คืน


9. ควรจัด city tour ให้ในวันแรกของการไปถึง เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสเห็นเมืองโดยทั่วไป
ยาล

ถนนหนทาง ตัวอาคาร ย่านราชการ และแหล่งซื้อของ เป็นการสำรวจตัวเมืองก่อนที่จะได้มีโอกาสและ


าวิท

ชมสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองในวันถัดไป แต่ถ้าพักเมืองนั้นเพียง 1 คืน ก็จะเป็นการเยี่ยมชมทั่วเมือง


นั้นในเวลาอันรวดเร็วและผิวเผิน
"มห

10. อย่ า จั ด รายการแน่ น จนเกิ ด ไป ผู้ เ ขี ย นรายการบางคนคิ ด ว่ า ลู ก ค้ า เสี ย เงิ น แล้ ว คงจะ
ต้องการเที่ยวให้คุ้ม จึงจัดรายการต่างๆ แน่นเอียด ตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงดึก ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ควรจัด
เวลาตื่นที่เหมาะสม มีเวลาสำหรับซื้อของ หรือให้เวลาว่างอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง สำหรับพักผ่อน
นอนพัก หรือออไปเดินเล่นบริเวณรอบๆ โรงแรม
11. ไม่ ค วรจั ด ให้ นั่ ง รถโค้ ช นานเกิ ด ไปในแต่ ล ะวั น ระยะทางที่ ใ ช้ ใ นการเดิ น ทางไม่ ค วร
เกิน 500 กิโลเมตร แต่ระยะทางที่ดีความประมาณ 350 กิโลเมตร เท่านั้น และในระหว่างการเดินทาง
ควรให้เวลาพักเข้าห้องน้ำรับประทานอาหาร และแวะเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวบ้าง การนั่งรถ
141

ถ้านั่งนานเกิน 2-3 ชั่วโมง คนนั่งจะเริ่มเมื่อย ถ้าเป็น city tour ใช้เวลาประมาณ 45 นาที และควร
คำนึงว่า ไม่ควรจัดให้ลูกค้านั่งรถไปไกล แต่สิ่งที่จะชมไม่น่าสนใจ ถ้าเป็นเช่นนั้นจะได้รับคำบ่นที่ต้องนั่ง
รถมาไกลโดยไม่ได้อะไร
12. จัดรายการให้หลากหลาย เพื่อให้สนุกเพลิดเพลิน เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการมาเที่ยว
เพื่อพักผ่อน ควรจัดให้มีโอกาสได้สัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยว และกิจกรรมหลายๆ อย่าง แวะโบสถ์
พิพิธภัณฑ์ หรือปราสาทที่สำคัญๆ ได้รับ ประทานอาหารเย็น พร้อมชมการแสดงพื้นเมือง ล่องเรือชม

"
อ่ า วหรื อ ชมพยอร์ จ พร้ อ มรั บ ประทานอาหารพื ้ น เมื อ ง หรื อ แวะสวนส้ ม หรื อ นั ่ ง กระเช้ า ชมวิ ว

่านั้น
ตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ พาชมหนอนเรืองแสดง เที่ยวน้ำตก และน้ำพุร้อน พ่อโคลน
เดือด ชมการสาธิต การตัดขนแกะ การแสดงระบำเมารี เยี่ยมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งของชาวเมารี เป็นต้น

าเท
13. การเขียนรายการนำเที่ยว ยึดหลัก Kiss “Keep it Simple Stupid” คือ เขียนให้ง่าย ธรรมดา

ศึกษ
ไม่ต้องให้เป็นวิชาการมาก
กา ร
สำหรับบริษัทนำเที่ยวที่ตั้งมานานจะมีการการนำเที่ยวเหมือนเดิมซ้ำทุกปี แต่อาจจะมีการ
แก้ไขในบางรายการที่เห็นว่ามีข้อบกพร่อง และในขณะเดียวกันก็พยายามหารายการใหม่มาเพิ่มเติม
เพื่อ
โดยจัดนำเที่ยวในช่วงที่มีเหตุการณ์พิเศษ ตัวอย่างเช่น การจัดนำเที่ยวมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2539
ซึ่ ง เป็ น ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงครองราชย์ ครบ 50 ปี หรื อ จั ด มาประเทศไทยเพื่ อ
ิต

ร่วมกิจกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้น


นดุส

การเขียนตารางระยะทาง
ัยสว
ยาล

หมายถึง การคิดคำนวณระยะทางจากสถานที่ต่างๆในรายการนำเที่ยวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด
หนึ่ง แล้วนำมาคิดคำนวณเป็นเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทาง รวมถึ งคิดเวลาที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม
าวิท

ในแต่ละช่วง โดยคิดคำนวณจำนวนระยะทางกับเวลาที่ต้องใช้ระหว่างจุดต่อจุดอย่างนี้ตลอดไปให้ครบ
ตามรายการที่กำหนด โดยยึดหลักการเขียนตารางระยะทาง ดังนี้ (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552 : 118-
"มห

119)
1. ถ้าเป็นการเดินทางโดยรถโค้ช ต้องทราบจำนวนระยะทางระหว่างจุดต่อจุดก่อน จากนั้น
ให้คิดคำนวณความเร็วต่อระยะทาง สำหรับการจัดนำเที่ยวในประเทศไทยให้คิดเวลาเดินทางที่ 70-90
กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นทาง สภาพภูมิอากาศ
2. รถตู้หรือรถยนต์ส่วนตัวขนาดเล็ก คิดคำนวณความเร็วต่อระยะทาง 80-100 กิโลเมตรต่อ
ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นทาง สภาพภูมิอากาศ
3. กรณีรถวิ่งในตัวเมืองควรเผื่อเวลาการจราจรติดขัด
142

4. ถ้าเป็นสภาพทางขึ้นเขา ทางโค้งมากมาก ทางทุรกันดาร คิดคำนวณความเร็วต่อระยะทาง


30-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
5. การเดินทางโดยเครื่องบิน คิดคำนวณความเร็วตามตารางการบินที่ออกและถึง ต้องเผื่อ
เวลาเครื่องบินเลื่อนเวลา (Flight Delay)
6. เดินทางโดยเรือ คิดคำนวณความเร็วต่อระยะทางที่ 30-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือคิด
ตามตารางการเดินเรือ

"
7. การหยุดแวะพักเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทำภารกิจส่วนตัว (กรณีเดินทางโดยรถ) ควรคิด

่านั้น
เวลาในการหยุดพักครั้งละ 15-30 นาที
8. การเลือกปั๊มน้ำมันเพื่อเติมน้ำมัน หรือเพื่อการหยุดพัก ควรเลือกปั๊มที่ใหญ่ มีสิ่งอำนวย

าเท
ความสะดวกครบ เพื่อประหยัดเวลาไม่ต้องแย่งกันซื้อของ หรือเข้าห้องน้ำ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล

ศึกษ
9. ควรให้ ค วามสำคั ญ ในเรื ่ อ งเวลาแวะพั ก ในแต่ ล ะสถานที ่ แ ต่ ล ะจุ ด แตกต่ า งกั น
การรับประทานอาหารควรให้เวลาประมาณ 60-90 นาที กา ร
10. ต้องไม่ลืมบวกเวลาในการขึ้นลงจากยานพาหนะ หรือเวลาเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะในการ
เดินทาง และความล่าช้าส่วนตัวของลูกค้า
เพื่อ
11. ตารางระยะทางหรือโปรแกรมนำเที่ยวที่ดีควรเดินทางไปถึงแล้วสามารถเที่ยวต่อได้เลย
หรือไม่ควรแวะท่องเที่ยวเป็นระยะๆ
ิต

12. การคำนวณเวลาการเขียนตารางระยะทางได้แม่นยำ สำคัญที่สุดอยู่ที่ประสบการณ์


นดุส

ของผู้จัดรายการนำเที่ยว
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
143

สรุป

การเขียนรายการเพื่อการจัดนำเที่ยว เป็นการจัดทำกำหนดการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว
การเขียนจะต้องทำหลังจากได้มีการวางแผนในเรื่องขององค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัด
นำเที่ยว ข้อมูลหรือองค์ประกอบเหล่านั้นอาจหาได้จาก การสำรวจเส้นทาง หรือเอกสารประเภทต่างๆ
หรือนำข้อมูลมาจากหน่วยงานภาครัฐ หรือของเอกชน หรือได้จากสถานประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

"
่านั้น
จากนั้นผู้เขียนนำมากลั่นกรองจัดกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละวันให้ชัดเจน ได้แก่การ
กำหนดช่วงระยะทางจากต้นทางถึงปลายทาง เส้นทางที่ใช้ความใกล้ไกลของระยะทางแต่ละจุด

าเท
เวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางแต่ละจุด สถานที่แวะชมหรือหยุดพัก พร้อมเขียนบรรยายรวมถึงความ
เป็นมาย่อๆ ที่น่าสนใจ เวลาที่ถึงจุดหมายปลายทาง สถานที่พักแรม ร้านอาหารที่จะให้บริการ

ศึกษ
การเขียนรายการเพื่อจัดนำเที่ยวนี้ มีทั้งรายการนำเที่ยวอย่างย่อ รายการนำเที่ยวสำหรับลู กค้า
และรายการนำเที่ยวสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งรายการนำเที่ยวแต่ละแบบก็จะใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน
กา ร
คำถามทบทวน
เพื่อ

1. จงอธิบายความหมายของรายการนำเที่ยว
ิต
นดุส

2. อธิบายเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนรายการนำเที่ยว
3. จงอธิบายคุณสมบัติของผู้เขียนรายการนำเที่ยว
ัยสว

4. จงอธิบายหลักการเขียนรายการนำเที่ยว
5. จงอธิบายขั้นตอนการเขียนรายการนำเที่ยว
ยาล

6. จงอธิบาย การเขียนตารางระยะทาง
7. จงอธิบาย Summary Itinerary
าวิท

8. จงอธิบาย Detailed Itinerary


9. จงอธิบาย Operating Itinerary
"มห

10. จงอธิบายวิธีคิดการเดินทางโดยรถโค้ช ในประเทศไทย


144

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


จำกัด
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเทีย่ ว.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ

"
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

่านั้น
พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิมพรรณ สุจารินพงค์. (2553). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์

าเท
นภาพร จันทร์ฉาย. (2560). การจัดการธุรกิจนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟ

ศึกษ
ฟิคไซต์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
165

บทที่ 10
การคิดราคาขาย

การกำหนดราคาขายรายการนำเที่ยว เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการกำหนด
ราคาขาย เพราะถ้าหากคิดราคาขายรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่ายมีราคาที่ถูกเกินไป บริษัทจะ
ขาดทุน แต่ถ้าหากคิดราคาขายรายการนำเที่ยวแพงเกินไป ก็จะไม่สามารถขายและแข่งขันกับบริษัท

"
่านั้น
คู่แข่งได้

าเท
การคิดราคาขาย

ศึกษ
การคิดราคาขายเป็นกระบวนการพิจารณาต้นทุนและหาผลกำไรเพื่อกำหนดราคาขาย
กา ร
(Pricing) เป็นสิ่งสำคัญประการแรกๆ ของการจัดนำเที่ยว โดยบริษัทจะคิดค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่ใช้ใน
การจัดนำเที่ยวแต่ละครั้งจากจำนวนลูกค้าที่ตั้งเป้าหมายไว้ บวกเปอร์เซ็นต์ หรือจำนวนเงินที่ต้องการ
เพื่อ
เพื่อเป็นกำไร การคิดราคาขายต้องคำนึงถึงศักยภาพของลูกค้า คู่แข่งขัน และสถานการณ์ปัจจัยต่างๆ
ประกอบ
ิต

การคิดราคาค่าใช้จ่ายในการจัดนำเที่ยว ผู้วางแผนจัดรายการนำเที่ยวต้องคิดทุกอย่างทั้ง
นดุส

ค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม และยังมีส่วนการลดต้นทุนในการจัดนำเที่ยวคือ การลดหรือตัดทอน


ราคาค่าใช้จ่ายจากองค์ประกอบต่างๆในการจัดนำเที่ยว เพื่อให้บริษัทจัดนำเที่ยวได้ต้นทุนในราคาที่
ัยสว

ต่ำลง ทำให้มีผลกำไรมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการขายที่ถูกลง


ในการคิดราคาขายรายการนำเที่ยวมักคิดราคาแบบเหมาจ่าย (Package Tour) ซึ่งเป็นราคา
ยาล

ที่ถูกกว่านักท่องเที่ยวซื้อบริการท่องเที่ยวเหล่านั้นเอง
าวิท

ปัจจัยที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย
"มห

ที่ปัจจัยที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย สำคัญสรุปได้ดังนี้
(บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง, 2549 : 55-56)
1. ราคาถูก
2. รายการนำเที่ยวน่าสนใจ
3. การกำหนดวันเวลาท่องเที่ยวสะดวกเหมาะสม
4. จุดหมายปลายทางเป็นสถานที่ที่คนนิยมไปกันมาก
146

5. เงื่อนไขในการจัดนำเที่ยวดียอมรับได้
6. ฤดูกาลที่จัดเหมาะสมกับการท่องเที่ยว
7. ได้รับการแนะนำจากญาติมิตรที่เคยใช้บริการมาแล้ว
8. ต้องการท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน
9. ไม่ยุ่งยากกับการเดินทางเอง
10. ไม่มีปัญหาเรื่องเส้นทางและภาษา การคิดราคาขาย

"
่านั้น
โดยมากคำนึงหลักการคิด 2 แบบ คือคิดราคาขายกรณีขายทัวร์หน้าร้าน ส่วนอีกแบบคือคิด
ราคาตามกำลังซื้อของคณะนักท่องเที่ยว กรณีนี้จะคิดราคาขายตามกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า โดยการคิด

าเท
ราคาจะต้องทราบรายการนำเที่ยวว่าจะเที่ยวกี่วัน เที่ยวที่ไหน อย่างไร อาหารกี่มื้ออย่างไร มี
มัคคุเทศก์ท้องถิ่นหรือมีหัวหน้าทัวร์หรือไม่ รถบัสระดับไหน โรงแรมระดับกี่ดาว คณะทัวร์มีกี่คน เป็น

ศึกษ
ต้น โดยบริษัทนำเที่ยวจะขอราคาจากสถานประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และจะเป็นผู้ซื้บริการ
ตามแต่จะตกลงกันว่าจะให้ราคากันอย่างไร เช่น หากมาเป็นกลุ่มคณะ 15 คน ก็อาจให้ 15+1 F.O.C
กา ร
(Free of Charge) คือ เดินทาง 15 คน ได้ฟรี 1 คน คือหัวหน้าทัวร์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่คำว่ากรุ๊ป
หรือกลุ่มทัวร์ (Group Tour) นั้น มักจะนิยมนับตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป ตามหลักสากล
เพื่อ

การคิดคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวแต่ละรายการ จะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของ
ราคาที่ตั้งไว้ ต้องไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ราคาที่ตั้งไว้หลังจากที่หักต้นทุนทุกอย่างแล้ว จะต้องมีกำไร
ิต
นดุส

เหลืออยู่พอที่จะดำเนินธุรกิจอยู่ได้ โดยในแต่ละบริษัทจะมีวิธีการคิดคำนวณราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่


กับว่าแต่ละบริษัทจะมีวิธีคิดจุดคุ้ม ทุน (Break Even Point หรือ BEP) อย่างไร แต่โดยมากแล้ว
ัยสว

รายการนำเที่ยวรายการเดียวกัน ราคาขายของแต่ละบริษัทก็จะไม่แตกต่างกันมากนัก (ฉันทัช วรรณ


ถนอม, 2552 : 187)
ยาล

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดราคาขายรายการนำเที่ยว
าวิท

การคิดราคาขายรายการนำเที่ยวเป็นการกำหนดราคาขายรายาการนำเที่ยวให้ธุรกิจนำเที่ยว
"มห

มีรายได้และมีกำไร เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ถ้าหากคิดราคาขายรายการนำเที่ยวถูกเกินไป บริษัท


นำเที่ยวก็จะขาดทุน แต่ถ้าคิดราคาขายรายการนำเที่ยวแพงเกินไปก็ไม่อาจแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งได้
ดังนั้นการคิดราคาขายรายการนำเที่ยวต้องพิจารณาอย่างรอบคอบรัดกุม เพราะเป็นตัวชี้ชะตา
ความอยู่รอดของบริษัท การคิดราคาขายรายการนำเที่ยวมักนิยมกำหนดเป็นแบบเหมาจ่าย แต่ต้อง
คำนึงถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่การคิดราคาขายรายการนำเที่ยว ดังนี้ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และปทุมพร
แก้วคำ, 2560 : 129-139)
147

1. คุณภาพของรายการนำเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีผลต่ราคารายการนำเที่ยว ถ้าหากรายการ


นำเที่ยวมีคุณภาพสูง ราคาก็มักจะสูงด้วย เช่น การจัดรายการนำเที่ยวที่เลือกสถานที่ดี มีที่พักที่ดี
ยานพาหนะขนส่งดี รับประทานอาหารหรู เป็นต้น
2. ลักษณะเฉพาะของรายการนำเที่ยว เป็นการจัดรายการนำเที่ยวที่มีลักษณะแปลกเด่น
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างจากคู่แข่ง ย่อมทำให้สามารถกำหนดราคาสูงกว่าราคาทั่วไป เช่น
จัดรายการนำเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวพักในกระท่อมน้ำแข็งหรือพักในกระท่อมทาร์ซาน หรือจัดรายการ

"
่านั้น
นำเที่ยวในเส้นทางใหม่ที่เปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ หรือจัดรายการนำเที่ยวที่มีกิจกรรมใหม่ๆ เป็นต้น
3. ลัษณะและขนาดของตลาดท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาขายรายการ

าเท
นำเที่ยว ถ้าลักษณะตลาดเป็นกลุ่มเยาวชนที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง ย่อมกำหนดราคารายการ
นำเที่ยวสูงไม่ได้ ถ้าลักษระตลาดเป็นกลุ่มผู้ปลดเกษียณอาจกำหนดราคารายการนำเที่ยวสูงขึ้นได้

ศึกษ
ยิ่งลักษณะตลาดเป็นกลุ่มนักธุรกิจยิ่งต้องจัดรายการนำเที่ยวชั้นดี มีความสะดวกสบายสูง และการ
กำหนดราคาก็ต้องสูงด้วย ส่วนขนาดของตลาดนั้นถ้าขนาดตลาดใหญ่มีปริมาณนักท่องเที่ยวมาก
กา ร
ย่อมต้องกำหนดราคาขายรายการนำเที่ยวต่ำ ถ้าขนาดตลาดเล็กมีปริมาณนักท่องเที่ยวน้อยย่อมต้อง
กำหนดราคาขายรายการนำเที่ยวสูง
เพื่อ

4. สภาพการแข่งขัน เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึง่ ที่มีผลต่อการกำหนดราคา ถ้าหากตลาด


ใดมีสถาพการแข่งขันสูง การกำหนดราคาก็ไม่สามารถกำหนดสูงได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงราคาคู่แข่งขัน
ิต
นดุส

ด้วย ในการเปรียบเทียบรายการนำเที่ยวของคู่แข่ง มีหัวข้อหลักที่ควรพิจารณาเปรียบเทียบ คือ 1. ชื่อ


และที่อยู่ของบริษัททัวร์ 2. โปรแกรมในรายการนำเที่ยว ประกอบด้วย จำนวนวัน จำนวนแหล่ง
ัยสว

ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวหลัก ยานพาหนะ ที่พัก ร้านอาหาร ราคาขาย 3. ข้อดี 4. ข้อด้อย 5. หมาย


เหตุ
ยาล

5. ฤดูกาล เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาเช่นกัน ถ้าจัดรายการนำเที่ยวช่วงฤดูกาล


ท่องเที่ยว สินค้าหรือบริการท่องเที่ยวมักจะมีราคาแพงเพราะถือว่าเป็นเวลาทองของการดำเนินธุรกิจ
าวิท

ทำให้ต้นทุนการจัดรายการนำเที่ยวสูง จึงต้องคิดราคารายการนำเที่ยวสูงตามไปด้วย
6. ราคาพิเศษช่วงแนะนำ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาขายรายการนำเที่ยว และถือ
"มห

เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะขยายตลาดให้มากขึ้น หรือใช้เป็นตัวดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว
มาซื้อรายการนำเทียว
7. กำไรที่ต้องการ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาอีกปัจจัยหนึ่ง โดยทั่วไปราคารายการ
นำเที่ยวมักประกอบด้วยต้นทุนการผลิต+ต้นทุนการจัดการ+กำไร ถ้าหากธุรกิจนำเที่ยวใดต้องการ
กำไรมาก ก็จะทำให้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง อาจขายรายการนำเที่ยวไม่ได้ จึงมักกำหนดอัตรากำไรอยู่
ระหว่าง 10-20%
148

พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539 : 128-129 ได้กล่าวถึง การคิดราคาจะต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ


ดังนี้
1. ช่ ว งเวลา การคิ ด ราคาจะเพิ่ ม ขึ้ น ตามช่ ว งเวลาของการจั ด ถ้ า การเดิ น ทางเป็ น ระยะ
เวลานานราคาจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามวัน
2. ที่พัก ค่าใช้จ่ายของที่พักจะขึ้นอยู่กับระดับของที่พัก ถ้าพักโรงแรมหรูหรา ระดับ 5 ดาว
ก็จะต้องจ่ายเงินมาก

"
่านั้น
3. ยานพาหนะ ถ้าเป็นการเดินทางโดยใช้เครื่องบินจะทำให้ราคาแพงกว่าการใช้รถโค้ชหรือ
รถไฟ แต่อย่างไรก็ตามราคาของรถโค้ชก็จะแตกต่างกันตามชนิด สภาพรถ และขนาดของรถ

าเท
4. รายการนำเที่ ย ว ถ้ า ไม่ มี optional tour จะทำให้ ร าคาแพง เพราะต้ อ งคิ ด รวมค่ า
ท่องเที่ยวทั้งหมด

ศึกษ
5. อาหาร ถ้าจัดอาหารทุกมื้อ ราคาจะแพงกว่าจัดอาหารให้บางมื้อ นอกจากนี้ประเภทและ
ปริมาณของอาหารก็มีส่วนทำให้ราคาค่าอาหารแตกต่างกัน เช่น อาหารจีน อาหารไทย อาหารฝรั่ง
กา ร
หรืออาหารท้องถิ่น ราคาจะไม่เท่ากัน
เพื่อ

โครงสร้างต้นทุนของรายการนำเที่ยวที่จะนำมาคิดราคา
การกำหนดราคาขายรายการนำเที่ยวมักใช้วิธีนำต้นทุนทั้งหมด บวกกำไรที่ต้องการหรือ
ิต
นดุส

ที่เรียกว่า Cost Plus Pricing ดังนั้นต้นทุนจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการกำหนดราคาขาย


รายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนรายการนำเที่ยวดังนี้ (พวงบุหงา ภูมิพานิช,
ัยสว

2539 : 130-133 , บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และปทุมพร แก้วคำ, 2560 : 132-139)


1. ค่าอาหาร เป็นค่าจัดเลี้ยงอาหารแก่นักท่องเที่ยว โดยส่วนใหญ่อาหารมื้อเช้ามักจ่ายรวม
ยาล

กับค่าที่พัก ควรจัดให้นักท่องเที่ยวทุกมื้อ หรืออาจให้เลือกทานอิสระบางมื้อ หรือเลี้ยงธรรมดาหรือ


เลี้ยงแบบหรูหรา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย แต่ต้องแจ้งไว้ในรายการนำเที่ยวว่าจะ
าวิท

บริการอาหารประเภทใด กี่มื้อ มื้อใดบ้าง ถ้าต้องการสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวก็ควรจัด


เลี้ยงมื้อต้อนรับและมื้ออำลาในลักษณะพิเศษ
"มห

2. ค่าขนส่ง เป็นค่ายานพาหนะจากจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวไปยังจุดหมายปลายทางและ
กลับ ซึ่งอาจรวมถึงค่ารับ/ส่งนักท่องเที่ยจากสถานีขนส่งหรือท่าอากาศยาน ค่าพาหนะขนส่งภายใน
แหล่งท่องเที่ยว ค่าภาษีสนามบิน ภาษีการเดินทางด้วยในกรณีที่เดินทางด้วยเครื่องบิน โดยในช่วง
ฤดูกาลท่ องเที่ยว (Peak Season) ถ้าบริษัทนำเที่ยวไม่เคยใช้บริการของสายการบินนั้นๆ การซื้อ
ตั๋วเครื่องบินจะไม่ได้ราคากลุ่ม และอาจมีมีที่นั่งให้ อีกทั้งไม่มีค่านายหน้า (Commission) จากการขาย
ตั๋วเครื่องบินด้วย ยกเว้นบริษัทนำเที่ยวที่เป็นตัวแทนขายบัตรโดยสารให้กับสายการบินนั้น แต่สายการ
บิ น จะลดราคาให้ ใ นราคากลุ ่ ม ที ่ ซ ื ้ อ ตั ๋ ว เครื อ งบิ น จำนวน 15 คน จะได้ ฟ รี 1 คน ซึ ่ ง ส่ ว นใหญ่
149

สายการบินจะให้เป็นตั๋วเครื่องบินเดินทางของหัวหน้าทัวร์หรือมัคคุเทศก์ ยิ่งมีนักท่องเที่ยวมาก ยิ่งได้


ลดราคาตั๋วมาก จึงควรติดต่อสายการบินสัก 3-4 สายเพื่อเปรียบเทียบราคาและข้อเสนอ สำหรับกรณี
ใช้รถเช่าจะต้องมีการติดต่อกับบริษัทรถเช่าหลายๆบริษัท เพื่อจะได้เลือกรถและต่อรองราคา หาก
จำนวนนักท่องเที่ยวเกิน 25 คน บริษัทนำเที่ยวนิยมให้บริการรถโค้ช (Coach) แต่บางบริษัทถึงแม้มี
นักท่องเที่ยวน้อยนิยมใช้รถโค้ชมากกว่ารถตู้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบายและเห็น
ทิวทัศน์ได้ดีกว่า การคิดราคาค่าเช่ารถจะคิด เป็นวัน ตามสภาพ-ขนาด ของรถ เครื่องอำนวยความ

"
่านั้น
สะดวก อาจรวมถึงการคิดจากระยะทางที่ใช้ด้วย โดยอาจรวมค่าน้ำมัน เบี้ยเลี้ยง แล้วแต่ตกลง ไม่รวม
ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าทีพักคนขับ ในการคิดค่าขนส่งเหมาคันหรือเหมาลำมักให้อัตราบรรทุก

าเท
(Load Factor) ณ จุดคุ้มทุน (Break-even Point) แล้วหารออกมาเป็นราคาค่าขนส่งต่อคน เช่น
เช่ารถบัสจุผู้โดยสารได้ 40 ที่นั่ง คิดค่าเช่า 5,000 บาทต่อวัน สมมติว่าใช้เวลาเดินทาง 2 วัน ค่าเช่า

ศึกษ
เท่ากับ 10,000 บาทต่อ 2 วัน อัตราบรรทุกมีจุดคุ้มทุน 80% ของ 40 ที่นั่ง = 40/100x80=32 คน
ฉะนั้นค่าขนส่งต่อคน จึงใช้ 10,000 บาทหารด้วย 32 คน = 313 บาทต่อคน เป็นต้น
กา ร
ในกรณีใ ช้ ยานพาหนะอื ่นๆ เช่น เรือ หรือรถไฟ การคิดราคาจะคิ ด ต่อ คน ยกเว้น การ
เช่าเหมาลำเรือ ส่วนเครื่องบิน จะคิดราคาต่อที่นั่ง
เพื่อ

3. โรงแรม เป็นค่าที่พักของนักท่องเที่ยวที่รวมอยู่ในราคาเหมาจ่าย การคิดราคาค่าที่พักแรม


ถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับระดับที่พัก ส่วนมากจะจัดพักห้องคู่ กรณีห้องเดี่ยวต้องจ่ายจ่ายเงินเพิ่ม ส่วนมาก
ิต
นดุส

โรงแรมจะคิ ด ราคาห้ อ งพั ก บริ ษั ท จั ด นำเที่ ย วลดราคาลงมาประมาณ 20-50% ของราคาเต็ ม


นอกจากนี้อาจจะได้ราคาพิเศษถ้าลูกค้า 15 คน จะได้ฟรี 1 ห้อง ถ้าลูกค้า 30 คน จะได้ฟรี 2 ห้อง
ัยสว

ซึ่งส่วนใหญ่จะให้สำหรับผู้นำเที่ยวและคนขับฟรี ทั้งนี้แล้วแต่การตกลงกัน
4. ค่าธรรมเนียมการเข้าชมสถานที่ หรือค่าผ่านประตู เป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกคนจะต้องเสียราคา
ยาล

เท่ากันหมด ยกเว้นเด็กและผู้นำเที่ยว
5. ค่ า ทิ ป เป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยพิ เ ศษที่ ใ ห้ กั บ ผู้ ใ ห้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ส่ ว นมากจะเป็ น พนั ก งาน
าวิท

ผู้ประกอบการต่าง ๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ซึ่งอัตราจะอยู่ระหว่าง 10-15% ทั้งนี้


หมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ดูแลตู้นอนบนรถไฟหรือพนักงานดูแลห้องน้ำ เป็นต้น
"มห

6. ค่าภาษี ได้แก่ ภาษีสนามบิน อัตราภาษีของสินค้าบริการ


7. ค่าวีซ่า ในกรณีไปต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศก็ไม่ต้องทำวีซ่า หรือประเทศที่ต้องทำวีซ่า
อัตราค่าธรรมเนียมการขอวีซ่าก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
8. ค่าทำเอกสารนำเที่ยว (brochure) จะคิดค่าผลิตรวมเบ็ดเสร็จเป็นเงินเท่าไร
9. ค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นค่าตอบแทนในการนำเที่ยวสำหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและผู้ช่วยหรือ
หัวหน้าทัวร์
150

10. ค่าขนกระเป๋าเดินทาง เป็นค่าใช้จ่ายในการขนกระเป๋าเข้า/ออกสนามบิน และเข้า/ออก


โรงแรม หรือขึ้น/ลงเรือหรือรถไฟ การขนกระเป๋าจะเก็บรวม 2 ครั้ง จึงจำเป็นต้องบวกราคาเป็น 2
เท่าต่อหนึ่งสถานที่ การคิดราคาอาจคิดตามจำนวนกระเป๋าเดินทางหรือคิดแบบเหมารวมเป็นเที่ยวก็ได้
11. ค่าอื่น ๆ ได้แก่ ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย ค่าไปรษณีย์ ค่าโทรสาร ค่าโทรศัพท์ ค่าประกัน
การเดินทาง ค่างานธุรการ เงินเดือนพนักงานที่ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายของผู้นำเที่ยว ค่าอุปกรณ์
ประกอบการเดินทาง อาทิ กระเป๋าขึ้นเครื่อง แก้วน้ำ ริบบิ้น ป้ายชื่อ หรือหมวก เป็นต้น

"
่านั้น
12. ค่าประกอบการและกำไร เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจัดรายการนำเที่ยวแบบเหมา
จ่ายพร้อมกับกำไรที่ต้องการ โดยปกติคาใช้จ่ายในการดำเนินงานจัดรายการนำเที่ยวประกอบด้วย

าเท
ค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและค่าใช้จ่ายด้านการจัดการ ส่วนผลกำไรก็คือผลตอบแทนของผู้ประกอบ
ธุรกิจนำเทียวทีต้องเข้ามาเสี่ ยงในการดำเนินงานจัดนำเที่ยว มักขึ้นอยู่กับสภาพการแข่งขัน นโยบาย

ศึกษ
บริษัท ชื่อเสียงของบริษัท ระยะเวลาประกอบการ ความนิยมของสถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ ปกติ
ธุรกิจนำเที่ยวมักบวกกำไร 10-30% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด กา ร
ปกติโครงสร้างต้นทุนรายการนำเที่ยวจะประกอบด้วยรายการนำเที่ยวสำคัญ ดังนี้
(1) ค่าขนส่ง ประมาณ 40%
เพื่อ

(2) ค่าที่พัก ประมาณ 20%


(3) ค่าอาหาร ประมาณ 15%
ิต
นดุส

(4) ค่าบริการอื่นๆ ประมาณ 5%


(5)ค่าประกอบการและกำไร ประมาณ 20%
ัยสว

รวม 100%
ต้นทุนของรายการนำเทีย่ ว แบ่งตามลักษณะของต้นทุนได้ 4 ลักษณะ ดังนี้
ยาล

1. ค่าใช้จ่ายคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายครั้งเดียวหรือหลายครั้งในจำนวนหนึ่ง โดยถือเป็นต้นทุน


สำหรับกลุ่มรายการนำเที่ยวตามจำนวนที่กำหนดไว้ขั้นต่ำ ซึ่งต้นทุนคงที่จะไม่ผันแปรตามจำนวน
าวิท

นักท่องเที่ยว ประกอบด้วย
(1) ค่าใช้จ่ายการจัดรายการนำที่ยว
"มห

(2) ค่าจัดทำแผ่นพับโฆษณา
(3) ค่าติดต่อประสานงาน
(4) ค่าเช่าเหมายานพาหนะ
(5) ค่านำชมแหล่งท่องเที่ยวหรือแหล่งบันเทิง
(6) ค่าผ่านประตู
(7) ค่าจ้างมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
(8) ค่าผ่านด่าน
151

(9) ค่าขนย้ายกระเป๋า
(10) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
(11) ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการ
(12) ค่ารางวัลคนขับรถ
(13) ค่าทิปผู้ให้บริการ
(14) ค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆ

"
่านั้น
2. ต้นทุนคงที่สำหรับเจ้าหน้าที่นำเที่ยว เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดูแล
นักท่องเที่ยวทั้งกลุ่มและพนักงานขับรถประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่สำคัญดังนี้

าเท
(1) ค่าพาหนะในท้องที่ที่ติดต่อประสานงาน
(2) ค่าพาหนะในการรับส่ง-บ้าน-สนามบิน-บ้าน

ศึกษ
(3) ค่าที่พัก
(4) ค่าอาหาร กา ร
(5) ค่าใช้จ่ายในการรับจ้างทำหนังสือเดินทางและวีซ่า
(6) ค่าประกันภัย
เพื่อ

(7) ค่าทิปคนขนกระเป๋าเดินทาง
(8) ค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆ สำหรับเจ้าหน้าที่นำเที่ยว
ิต
นดุส

3. ค่าใช้จ่ายผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปรไปตามจำนวนคนและจำนวนวันที่เดินทางท่องเที่ยว
โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัว ถ้ามีจำนวนนักท่องเที่ยวกี่คน คูณด้วยค่าใช้จ่ายต่อหัว ถ้าจัดรายการ
ัยสว

นำเที่ยวนานวัน คูณด้วยจำนวนวันที่เดินทางประกอบด้วยค่าใช้จ่ายสำคัญดังนี้
(1) ค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน
ยาล

(2) ค่าที่พัก
(3) ค่าอาหาร
าวิท

(4) ค่าภาษีสนามบิน
(5) ค่าติดต่อไปรษณีย์
"มห

(6) ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม
(7) ค่าประกัน
(8) ค่าบริการ
(9) ค่าใช้จ่ายผันแปรอื่นๆ
4. ต้นทุนพิเศษ เป็นค่า ใช้จ่ายที่เป็นกรณีพิเศษ เช่น การคิดราคาโรงแรม ส่วนมากเวลาคิด
ราคาจะคิดจากห้องคู่ แล้วลูกค้าเสียคนละครึ่งของราคาห้อง ถ้าเป็นห้องเดี่ยว ลูกค้าจะต้องเสียเงินเพิ่ม
152

เป็นกรณีพิเศษและถ้าเป็นเตียงเสริม ลูกค้าคนที่สามก็อาจจะเสียราคาค่าห้องน้อยลงกว่าปกติ ซึ่งจะ


ระบุไว้ไว้ในโปรแกรมนำเที่ยว

การคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวแยกตามประเภทของการจัดนำเที่ยว

บริษัทนำเที่ยวจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับการคำนวฯราคาขายรายการ

"
่านั้น
นำเที่ยว ซึ่งราคาขายรายการนำเที่ยวนิยมกำหนดด้วยวิธีต้นทุน+กำไร หรือ Cost Plus Pricing โดยเอา
ต้นทุนทั้งหมดบวกด้วยกำไร ส่วนจะบวกกำไรเข้าไปในอัตรามากน้อยเพียงใด ย่อมต้องพิจารณาถึง

าเท
สถานการณ์ สภาพการแข่ งขั น ชื ่ อเสี ยงของบริ ษ ั ท ฤดู กาลท่ องเที ่ ยว ฯลฯ ในบางกรณี ระยะแรกๆ
ธุรกิจนำเที่ยวอาจจะได้กำไรน้อยหน่อย เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการนำเที่ยวมากๆ อันเป็นการ

ศึกษ
สร้างค่านิยมให้เกิดขึ้นก่อน เมื่อประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งค่อยเพิ่มอัตรกำไรมากขึ้น การคำนวณราคา
ขายรายการนำเที่ยวจะคำนวณตามประเภทของการจัดนำเที่ยว ดังนี้ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และปทุมพร
กา ร
แก้วคำ, 2560 : 137)
1. การคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวประเภทนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว
เพื่อ

ในประเทศ (Inbound Tour) เป็นการคิดราคาขายรายการนำเที่ยวที่บริษัทนำเที่ยวในประเทศไทย


จะคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดเฉพาะภายในประเทศไทยเท่านั้น โดยมีรายการที่ต้องคำนวณราคาดังนี้
ิต
นดุส

(ฉันทัช วรรณถนอม, 2552 : 194-196)


(1) ค่ า ยานพาหนะ เช่ น รถตู ้ รถโค้ ช ค่ า เครื ่ อ งบิ น ภายในประเทศ+ภาษีส นามบิน
ัยสว

ค่าพาหนะอื่นๆ เลือกตามจำนวนลูกค้า และจำนวนวัน


(2) ค่าที่พัก
ยาล

(3) ค่าอาหารวันละ 3 มื้อ จำนวนกี่วัน 2 มื้อ จำนวนกี่วัน ราคาแต่ละมื้อ


(4) ค่าเข้าชมสถานที่
าวิท

(5) ค่าเข้าชมการแสดง
(6) ค่าอาหารวันละ 3 มื้อ จำนวนกี่วัน 2 มื้อ จำนวนกี่วัน ราคาแต่ละมื้อ
"มห

(7) ค่ารับ-ส่ง จากสนามบิน โรงแรม-สนามบิน


(8) ค่าติดต่อประสานงาน เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าโทรสาร
(9) ค่าเบี้ยเลี้ยงมัคคุเทศก์
(10) ค่าบริการอื่นๆ เช่น ทิป ค่าเอกสารนำเที่ยว ค่าของที่ระลึก
(11) ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม
(12) กำไร แล้วแต่นโยบายบริษัทฯ
153

2. การคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวประเภทนำนักท่องเที่ยวไทยไปต่างประเทศ
(Outbound Tour) เป็นการคิดราคาขายรายการนำเที่ยวกรณีที่บริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยจัดหา
คนไทยไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ โดยมีรายการที่ต้องคำนวณราคาดังนี้ การคิดราคาขาย การจัด
นำเที่ยว
(1) ตั๋วเครื่องบิน ไป-กลับ
(2) ค่าจัดการนำเที่ยวของบริษัทตัวแทนนำเที่ยวต่างประเทศ (Land Arrangement

"
่านั้น
Cost) ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเข้าชม ค่าผ่านทาง เป็นต้น
(3) ค่าโฆษณาส่งเสริมการขาย ค่าเอกสารนำเที่ยว

าเท
(4) ค่าอุปกรณ์การเดินทาง เช่น ค่าป้ายชื่อ ค่าริบบิ้นผูกประเป๋าเดินทาง ค่าหมวก
ค่าเข็มกลัดเสื้อสัญลักษณ์ของบริษัทนำเที่ยว ค่าของที่ระลึก เป็นต้น

ศึกษ
(5) ค่าบริการต่างๆ เช่น วีซ่า ค่าเช่าห้องประชุม ค่าจัดการปฐมนิเทศก่อนการเดินทาง
ค่าทิป กา ร
(6) ค่าเบี้ยเลี้ยงหัวหน้าทัวร์
(7) ภาษีของแต่ละประเทศ
เพื่อ

(8) กำไรที่ต้องการ
3.การคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวประเภทท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic
ิต
นดุส

Tour) เป็นการคิดราคาขายรายการนำเที่ยวสำหรับคนไทยหรือคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
ไปท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยมีรายการที่ต้องคำนวณราคาดังนี้
ัยสว

(1) ค่ายานพาหนะ ได้แก่ ค่าเครื่องบิน+ภาษีสนามบิน ค่ารถโค้ช รถท้องถิ่น ค่าเรือ/แพ


(2) ค่าที่พัก
ยาล

(3) ค่าอาหาร 3 มื้อ/2 มื้อ+อาหารว่าง เครื่องดื่ม


(4) ค่าใช้จ่ายนันทนาการ เช่น การจัดแค้มป์ไฟ คาราโอเกะ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
าวิท

(5) ค่าเบี้ยเลี้ยงมัคคุเทศก์และผู้ช่วย คนขับรถ และเด็กรถ


(6) ค่าเข้าชม และค่าบริการอื่นๆ
"มห

(7) ค่าโฆษณา ส่งเสริมการขาย ค่าเอกสารนำเที่ยว


(8) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ค่าของชำร่วย ค่าทางด่วน ค่าประกันชีวิต ฯลฯ
(9) กำไร
154

ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างรายการนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน-เพชรบุร-ี กรุงเทพฯ

วันที่แรก
เวลา รายละเอียด
05.00 น. พบกันที่ ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อลงทะเบียน โดยมีเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ
06.00 น. ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่จังหวัดเพชรบุรี โดยรถโค้ชปรับอากาศ 2 ชั้น

"
่านั้น
พร้อมบริการอาหารเช้าแบบข้าวกล่อง (มื้อที่ 1) และเครื่องดื่มระหว่างเดินทาง
08.00 น. เดินทางถึง ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนหนองปรง จ.เพชรบุรี ศึกษา

าเท
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำแบบดั้งเดิม ที่ยังคงเหลืออยู่ในประเทศ
ไทย โดยจะแบ่งเป็นฐานกิจกรรมที่ทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมกับชาวบ้านได้

ศึกษ
11.00 น. มุ่งหน้าสู่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน (มื้อที่2) ณ ร้านครัวเม็ดทราย ริมหาดชะอำ
กา ร
13.00 น. นมัสการและไหว้พระที่ วัดห้วยมงคล ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่ทวด
เพื่อ
14.00 น. ถึงอุทยานราชภักดิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง “พระบรมราชานุสาวรีย์
สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม” พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ โดย
ิต
นดุส

พระราชทานชื่อให้ว่า “อุทยานราชภักดิ์ ” ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความ


จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณ
ัยสว

สมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์
16.00น. เข้าที่พัก โรงแรม Huahin Grand Hotel & Plaza
ยาล

รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศั ย ณ ตลาดหัวหินไนท์บาร์ซ าร์ ด้านหน้า


โรงแรม
าวิท

วันที่ 2
"มห

07.00 น. รับประทานอาหารเช้า (มื้อที่3) ณ ห้องอาหารของโรงแรม


08.00 น. Check out ออกจากโรงแรม
09.00 น. เดินทางถึง โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ซึ่งได้จัดรถรางนำเที่ยวภายใน
โครงการ ทุกท่านจะได้พบกับแปลงปลูกพืชผักสวนครัว แปลงปลูกผลไม้ โรงนม
โรงกลั่นน้ำมัน กังหันลมผลิตไฟฟ้า และอื่นๆ เมื่อ ปี พ.ศ 2551 พระบาทสมเด็จ
พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว ทรงซื ้ อ ที ่ ด ิ น จากราษฎรบริ เ วณอ่ า งเก็ บ น้ ำ หนองเสื อ
ประมาณ 120 ไร่ และต่อมา ปี พ.ศ. 2552 ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่
รวมเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้าน
155

การเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.ท่า ยาง จ.เพชรบุรี และพื้นที่


ใกล้เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2552
เป็นต้นมา และพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่ง
ในห้อง ทรงงานที่วังไกลกังวลให้นำมาปลูกไว้ที่นี่ พระราชทานชื่ อโครงการ
ว่า “โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ”
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน (มื้อที่ 4) ณ ร้านครัวชายหาด ริมเขื่อนแก่งกระจาน

"
่านั้น
13.00 น. นำท่านล่องเรือยนต์ชมเขื่อนแก่งกระจาน
14.00 น. นำท่านเข้าสู่ “สะพานแขวนแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างเกาะ

าเท
เล็กๆในเขื่อนแก่งกระจานกับตัวอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตัวสะพานแขวนมี
ความยาวประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินข้ามไปเที่ยวที่เกาะได้

ศึกษ
และถ่ายรูปกับสะพานแขวน
14.30 น. เข้าที่พัก ฮาร์โมนี รีสอร์ต เก็บสัมภาระและเตรียมตัวเข้ากิจกรรมต่อไป ก็คือการ
กา ร
ล่องเรือยางชมแม่น้ำเพชรบุรี
15.30 น. นำท่านล่องเรือยางชมแม่น้ำเพชรบุรี โดยมีทีมงานและผู้ชำนาญคอยดูแลอย่าง
เพื่อ

ใกล้ชิด
16.30 น. ถึงทีพัก ฮาร์โมนีรีสอร์ต ซึ่งทางรีสอร์ตมีสวนน้ำขนาดใหญ่ ทุกท่านสามารถเล่น
ิต
นดุส

น้ำในสวนน้ำต่อได้ตามอัธยาศัย ไฮไลท์ของสวนน้ำคือสไลเดอร์ขนาดใหญ่ที่มาแล้ว
ไม่ได้เล่นถือว่าพลาด
ัยสว

19.00 น. รับประทานอาหารค่ำ (มื้อที่ 5) และร่วมงานปาร์ตี้ในคืนสุดท้าย ณ ห้องอาหาร ที่


ทางทีมงานจัดให้ลูกค้าทุกท่านเป็นการแทนคำขอบคุณ ในธีมฮูลาฮูล่า ซึ่งท่าน
ยาล

สามารถเตรียมชุดลายดอกเพื่อให้เข้ากับธีมปาร์ตี้ได้
วันที่ 3
าวิท

04.30 น. ทุกท่านรวมพลกันที่ล็อบบี้ของรีสอร์ต เพื่อเตรียมขึ้นรถกระบะ เดินทางสู่ทะเล


หมอกแห่งเมืองเพชรบุรี เขาพะเนินทุ่ง
"มห

07.00 น. เดินทางถึงเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นจุดชม


ทะเลหมอกที่สวยงามสามารถชมได้ตลอดทั้งปีถึ งแม้ว่าจะเป็นฤดูร้อนก็ตาม
เพราะหมอก ดังกล่าวเกิดจากต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์ แล้วคาย ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อก
ไซต์ ออกมาแล้วเกิดเป็นหมอกที่สวยงาม ในยามเช้าจะมองเห็นทะเลหมอกสีขาว
ปกคลุม ทั่วหุบเขา เมื่อทะเลหมอกสลายตัวไป แล้วจะมองเห็น ผืนป่าดงดิบเบื้อง
ล่างเบียดตัวกันแน่นท่ามกลาง เทือกเขาสลับซับซ้อนกว้างไกลสุดตา รับรองว่า
คุ้มค่ากับการที่ได้ขึ้นมาแน่นอน
156

08.00 น. ทานอาหารเช้า (มื้อที่6) ณ ศูนย์อำนวยการนักท่องเที่ยวพะเนินทุ่ง


09.30 น. เดินทางถึงแคมป์บ้านกร่าง ซึ่งที่นี่จะมีผีเสื้อมากมายหลายสายพันธุ์มารวมตัวกัน
เจ้าผีเสื้อจะมีฤดูกาลชุกชุมในช่วงเดือน
11.00 น. กลับเข้าที่พัก ฮาร์โมนี รีสอร์ต ทำภารกิจส่วนตัวตามอัธยาศัย
12.00 น. Check out ออกจากที่พัก
12.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน (มื้อที่7) ณ ร้านครัวแก่งเพชร

"
่านั้น
14.30น. นำท่านเพลิดเพลินซื้อของฝาก บ้านขนมนันทวัน ให้ทุกท่านซื้อของฝากเด็ดๆของ
เมืองเพชรบุรี เช่น ขนมเค้กหม้อแกง,ขนมบะบิ่น,ชิฟฟ่อนหม้อแกง และขนมอีก

าเท
หลากหลายชนิด
15.30 น. มุ่งหน้ากลับสู่ กรุงเทพฯ

ศึกษ
20.00น. เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ
กา ร
ที่มา: พราวธีมา ศรีระทุ (2563)
เพื่อ

จากรายการนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน-เพชรบุรี-กรุงเทพฯ ที่ได้สมมติไว้ข้างต้น ถ้าจะ


นำมาคำนวณราคาขายของรายการนำเที่ยวนี้ ก็สามารถคิดคำนวณราคาได้ดังต่อไปนี้
ิต
นดุส

สมมติว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมาใช้บริการรายการนำเที่ยวนี้ 30 คน รายละเอียด
การคิดคำนวณราคาขายรายการนำเที่ยวจะเป็นดังนี้
ัยสว

(1) ค่ายานพาหนะ
(1.1) ค่ารถโค้ช 3 วันรวมทั้งหมด 30,000 บาท เฉลี่ยต่อคน (30,000 หาร 30 คน)
ยาล

คนละ 1,000 บาท


(1.2) ค่าเรือชมแก่งกระจาน คนละ 100 บาท
าวิท

(1.3) ค่าล่องแพยางชมแม่น้ำเพชรฯ คนละ 100 บาท


(1.4) ค่ารถสองแถวขึ้นพะเนินทุ่ง คนละ 150 บาท
"มห

รวมค่าพาหนะต่อคน คนละ 1,350 บาท


(2) ค่าที่พัก
(2.1) คืนแรกพักที่ Huahin Grand Hotel & Plaza
ราคาห้องละ 1,200 บาทต่อวัน เฉลี่ยคนละ 600 บาท
(2.2) คืนที่สองพักที่ ฮาร์โมนีรีสอร์ต
ราคาห้องละ 1,600 บาทต่อวัน เฉลี่ยคนละ 800 บาท
รวมค่าพาหนะต่อคน คนละ 1,400 บาท
157

(3) ค่าอาหาร
(3.1) วันแรก ประกอบด้วย
(3.1.1) อาหารเช้าบนรถคนละ 50 บาท
(3.1.2) อาหารกลางวันคนละ 150 บาท
(3.1.3) อาหารเย็นตามอัธยาศัย
(3.2) วันที่สอง ประกอบด้วย

"
่านั้น
(3.2.1) อาหารเช้ารวมอยู่ในค่าโรงแรม
(3.2.2) อาหารกลางวันคนละ 150 บาท

าเท
(3.2.3) อาหารเย็นคนละ 300 บาท
(3.3) วันที่สาม ประกอบด้วย

ศึกษ
(3.3.1) อาหารเช้ารวมอยู่ในค่าโรงแรม
(3.3.2) อาหารกลางวันคนละ กา ร 150 บาท
(3.3.3) อาหารเย็น ตามอัธยาศัย
รวมค่าอาหารทั้งหมดต่อคน 800 บาท
เพื่อ

(4) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
(4.1) ค่าเบี้ยเลีย้ ง
ิต
นดุส

(4.1.1) ค่าเบี้ยเลี้ยงมัคคุเทศก์ 3 วันๆละ 1,000 บาท 3,000 บาท


(4.1.2) ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถและเด็กรถ 3 วันๆละ 400 บาท 1,200 บาท
ัยสว

รวมเบี้ยเลี้ยงทั้งหมด 4,200 บาท


เฉลี่ยต่อนักท่องเที่ยว 1 คน 140 บาท
ยาล

(4.2) ค่าเข้าชมแหล่งท่องเทีย่ วต่างๆ คนละ 50 บาท


(4.3) ค่าของทีร่ ะลึกและของขวัญ คนละ 100 บาท
าวิท

(4.4) ค่าเบ็ดเตล็ด คนละ 100 บาท


รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ 390 บาท
"มห

(5) กำไรต่อคน 500 บาท


(6) รวมราคาขายต่อคน 4,440 บาท
(7) กำหนดราคาขายรายการนำเที่ยว
(7.1) ราคาขายหากพักคู่ คนละ 4,500 บาท
(7.2) ราคาขายหากพักเดี่ยว คนละ 5,900 บาท
158

ตัวอย่างที่ 2 ธุรกิจนำเที่ยวแห่งหนึ่ง จัดรายการนำเที่ยว กรุงเทพฯ-อยุธยา-กรุงเทพฯ 2 วัน


1 คืน ด้วยรถตู้ขนาด 12 ที่นั่ง คาดว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทาง 10 คน เช่ารถตูร้ วมค่าน้ำมันวันละ 2,500
บาท ค่าโรงแรมรวมอาหารเช้าคืนละ 1,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อๆละ 150 บาท อาหารเย็น
1 มื้อๆละ 250 บาท ค่านำชมสถานที่คนละ 100 บาท ค่าประกันภัยการเดินทางคนละ 50 บาท ค่า
มัคคุเทศก์วันละ 1000 บาท ค่าประกอบการและกำไร 30% จงคำนวณราคาขายต่อคนของรายการนำ
เที่ยว

"
่านั้น
(1) ค่ายานพาหนะ
- ค่ารถตู้ 2 วัน รวมทั้งหมด 5,000 บาท

าเท
เฉลี่ยต่อคน (5,000 หาร 10 คน) คนละ 500 บาท
(2) ค่าที่พัก คนละ 500 บาท

ศึกษ
(3) ค่าอาหาร
- อาหารกลางวัน กา ร คนละ 300 บาท
- อาหารเย็น คนละ 250 บาท
(4) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เพื่อ

- ค่าเบี้ยเลี้ยงมัคคุเทศก์ 2 วัน ๆ ละ 1,000 บาท 2,000 บาท คนละ 200 บาท


- ค่าเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว คนละ 100 บาท
ิต
นดุส

- ค่าประกันภัยการเดินทาง คนละ 50 บาท


(5) ค่าประกอบการและกำไร (30%) คนละ 570 บาท
ัยสว

รวมราคาขายต่อคน 2,470 บาท


(6) กำหนดราคาขายรายการนำเที่ยว
ยาล

(6.1) ราคาขายหากพักคู่ คนละ 2,500 บาท


(6.2) ราคาขายหากพักเดี่ยว คนละ 3,000 บาท
าวิท
"มห
159

การลดต้นทุนการจัดนำเที่ยว

การลดต้นทุนในการจัดนำเที่ยว หมายถึง การลดหรือตัดทอนค่าใช้จ่ายจากองค์ประกอบต่าง ๆ


ในการจัดนำเที่ยว เพื่อให้บริษัทจัดนำเที่ยวได้ต้นทุนในราคาที่ต่ำลง ทำให้มีผลกำไรมากขึ้น หรือเป็น
การลดหรือตัดทอนราคาให้ได้ราคาต้นทุนที่ต่ำลง เพื่อประโยชน์ในการตั้งราคาขายที่ถูกลงตามไปด้วย
เทคนิคการลดต้นทุนหรือตัดทอนราคา อาจทำได้ในแต่ละด้านดังนี้ (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552 : 197-

"
่านั้น
202)
1. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านอาหาร

าเท
(1) ไม่จำเป็นต้องทานอาหารดีทุกมื้อ แต่มื้อสุดท้ายต้องประทับใจ
(2) ลดจำนวนมื้ออาหาร

ศึกษ
(3) เปลี่ยนรายการอาหารหรือลดระดับของร้านอาหาร
(4) ผู้จัดรายการนำเที่ยวผลิตอาหารเองบางมื้อ
กา ร
(5) ควรเลือกร้านที่มีอาหารอภินันทนาการแก่ทีมงาน
2. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านที่พัก
เพื่อ

(1) ทำ Contract กับโรงแรม และมีอภินันทนาการแก่ทีมงาน


(2) ค่าที่พักรวมอาหารเช้า
ิต
นดุส

(3) ลดระดับที่พัก
(4) ลดหรือเปลี่ยนรายการอาหารที่ต้องทานในโรงแรมให้ถูกลง
ัยสว

(5) พยายามเปลี่ยนโรงแรมให้น้อยลง
(6) พยายามจัดให้ลูกค้าที่มาด้วยกันนอน 3 คน
ยาล

(7) ใช้บริการหรือเสนอทางเลือกอื่นให้โรงแรมที่พกั เพิ่มเติมนอกเหนือจากการเช่าห้องพัก


(8) ยอมลงทุนซื้ออุปกรณ์ เช่น เต้นท์ ถุงนอน ฯลฯ
าวิท

3. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านยานพาหนะ
(1) ทำ Contract กับบริษัทรถ และควรใช้บริการประจำ
"มห

(2) เปรียบเทียบยานพาหนะแต่ละประเภท
(3) เลือกยานพาหนะที่พอดีกับปริมาณนักท่องเที่ยว
(4) คิดค่าใช้จ่ายในจำนวนน้อยไว้ก่อน
(5) ถ้าบริษัทมีกำลังซื้อเป็นของตนเอง สามารถช่วยทำให้ลดต้นทุนได้
(6) เลือกใช้ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงแบบประหยัดพลังงาน
(7) ศึกษารายละเอียดราคาการใช้ยานพาหนะแต่ละประเภทในเรื่องของความคุ้มค่า
4. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านแหล่งเข้าชม
160

(1) ลดจำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องจ่ายเงิน
(2) กรณีมีการใช้บริการเครื่องเล่นควรจัดให้เล่นได้ 3 ชนิด ส่วนเพิ่มต้องจ่ายเงินเอง
(3) ใช้บริการจองผ่านบริษัทนำเที่ยวท้องถิ่น
(4) ใช้มัคคุเทศก์ในพื้นที่เพื่ออำนาจในการต่อรอง
5. การลดต้ น ทุ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยกรณี จ ั ด นำเที ่ ย วระหว่ า งประเทศ กรณี ก ารจั ด นำเที ่ ย วไป
ต่างประเทศค่าใช้จ่ายหลักๆ จะเป็นค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน และค่าจัดนำเที่ยวของบริษัทตัวแทนใน

"
่านั้น
ต่างประเทศ หลักสำคัญในการประหยัดค่าใช้ จ่าย คือ ต้องเลือกสายการบินที่มีราคาบัตรโดยสารถูก
การตกลงกันในรายละเอียดระหว่างบริษัทนำเที่ยวในประเทศกับบริษัทตัวแทนในต่างประเทศ ว่าจะ

าเท
ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไรบ้าง
6. การลดต้นทุนหรือตัดทอนราคาด้านจิปาถะอื่นๆ เช่น การลดค่าของชำร่วยหรือของที่จะ

ศึกษ
แจกฟรี การลดต้นทุ นการประสานงาน การควบคุมค่าใช้จ่ายของผู้นำเที่ยวให้เป็นไปอย่างมีระบบ
สามารถตรวจสอบได้ การเลือกซื้ออุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้ในระยะยาว ฯลฯ
กา ร
เพื่อ
สรุป
ิต

การคิดราคาขายการท่องเที่ยว เป็นกระบวนการพิจารณาถึงต้นทุนและกำไร เพื่อกำหนดราคา


นดุส

ขาย ซึ่งมีความละเอียดอ่อนและสำคัญ เพราะถ้าคิดราคาคลาดเคลื่อนจะทำให้การตั้งราคาขายสูง


เกินไป หรือต่ำกว่าทุน ดังนั้นการคิดราคาขาย จึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการวางแผนที่จำเป็นต้อง
ัยสว

อาศัยข้อมูลด้านที่พัก ยานพาหนะ ค่าอาหาร ค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ ค่าทิป ค่าภาษี ค่าวีซ่า ค่าโฆษณา


ประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สิ่งที่ผู้คิดราคาต้องคำนึงถึงคือการตัดทอนราคาลดต้นทุนให้ต่ำลง
ยาล

จึงต้องใช้ความสามารถในการเจรจาต่อรองกับสถานประกอบการผู้ผลิตต่าง ๆ เพื่อให้ได้ราคาขายเป็นไป
าวิท

ตามความประสงค์ที่วางไว้
"มห
161

คำถามทบทวน

1. จงอธิบายความหมายของการคิดราคาขาย
2. ปัจจัยกำหนดราคารายการนำเที่ยว ประกอบด้วยอะไรบ้าง
3. การคิดราคาขายจะต้องพิจารณาปัจจัยด้านใดบ้าง
4. ประเภทของค่าใช้จ่ายในการคิดราคาขาย ประกอบด้วยอะไรบ้าง

"
่านั้น
5. รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการคิดราคาขาย ประกอบด้วยอะไรบ้าง
6. การคิดค่าใช้จา่ ยแยกตามประเภทของการจัดนำเทียวเข้าประเทศ มีอะไรบ้าง

าเท
7. การคิดค่าใช้จา่ ยแยกตามประเภทของการจัดนำเทียวไปต่างประเทศ มีอะไรบ้าง
8. การคิดค่าใช้จา่ ยแยกตามประเภทของการจัดนำเทียวในประเทศ มีอะไรบ้าง

ศึกษ
9. จงอธิบายความหมายของการลดต้นทุนในการจัดนำเที่ยว
10. การลดต้นทุนในการจัดนำเที่ยว ประกอบด้วยด้านใดบ้าง
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
162

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


จำกัด
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเทีย่ ว.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"
่านั้น
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง. (2549). การจัดนำเที่ยวและรายการนำเที่ยวภาคเหนือตอนบน
กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือท่องเที่ยวไทย

าเท
บังอร ฉัตรรุ่งเรือง. (2554 ). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว.กรุงเทพฯ : บริษัท สยาม บุ๊คส์ จำกัด

ศึกษ
พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
183

บทที่ 11
การตลาดและการผลิตสื่อเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์

การตลาดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะนำมาวางแผนในการประกอบการในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในปัจจุบันธุรกิจนำเที่ยวมีคู่แข่งเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก หากธุรกิจไม่มีความรู้เรื่องการตลาด
การวางแผนการตลาด การวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดการท่องเที่ยว จากการแข่งขันกัน อย่าง

"
่านั้น
รุนแรง ความสำเร็จและความอยู่รอดของธุรกิจอยู่ที่การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ในตลาด ความต้องการ
ของลูกค้า และสถานการณ์การตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

าเท
การวางแผนทางการตลาดและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์

ศึกษ
กา ร
นั ก วิ ช าการและนั ก การตลาดได้ ใ ห้ ค วามหมายของการตลาดการท่ อ งเที ่ ย ว
(Marketing of Tourism) ไว้ดังนี้
เพื่อ
การตลาดท่องเที่ยว หมายถึง กระบวนการในการวางแผนและบริหารแนวความคิดเกี่ยวกับ
การผลิต การตั้งราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ิต

เพื ่ อ ก่ อ ให้ เ กิ ด การแลกเปลี ่ ย นที ่ ส ามารถบรรลุ ว ั ต ถุ ป ระสงค์ และตอบสนองความพึ ง พอใจของ


นดุส

นั ก ท่ อ งเที ่ ย วหรื อ ผู ้ ใ ช้ บ ริ ก าร ซึ ่ ง เครื ่ อ งมื อ ทางการตลาดที ่ ใ ช้ ใ นการบริ ห ารจั ด การการตลาด


อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็คือ ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ 4P’s ได้แก่ ผลิตภัณฑ์
ัยสว

(Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) อันเป็น


เครื่องมือเดียวกันกับการบริหารจัดการตลาดสินค้า (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, 2555 : 16)
ยาล

การตลาดท่องเที่ยว หมายถึง “ปรัชญาทางการจัดการที่มุ่งเน้นนำไปสู่ความต้องการของ


นักท่องเที่ยว โดยอาศัยการวิจัยตลาด การพยากรณ์ การคัดเลือกทรัพยากรการท่องเที่ยวที่กำลังอยู่ใน
าวิท

ความต้องการ เพื่อให้ธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดในการเสนอบริการแก่นักท่องเที่ยวตามเป้าหมายที่
"มห

กำหนดไว้” (วินิจ วีรยางกูร, 2535 : 83)


การตลาดท่องเที่ยว “เป็นการศึกษาองค์ประกอบ (การผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการ)
ทางการท่องเที่ยว เพื่อใช้กำหนดลู่ทางในการพัฒนาสินค้าทางการท่องเที่ยวและส่งเสริมให้เกิด
นักท่องเที่ยว โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ อุปสงค์ทางการท่องเที่ยว (Tourism Demand) และ
อุปทานทางการท่องเที่ยว (Tourism Supply)” (ฉันทัช วรรณถนอม, 2552: 207 อ้างถึง ธรรมนูญ
ประจวบเหมาะ, 2529 : 4)
164

ความสำคัญของการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีสำคัญ 6 ประการคือ (นิศา ชัชกุล, 2550: 210)


1. การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นจุดเริ่มต้นและจบขององค์การธุรกิจ กล่าวคือ
หน่วยงานของแต่ละธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่างมีเป้าหมายที่จะดำเนินงานเพื่อความอยู่
รอดและเจริญรุ่งเรือง นั่นหมายถึงการมีลูกค้ามาอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของตนอย่าสม่ำเสมอตลอดเวลาที่

"
่านั้น
ดำเนินธุรกิจ อันจะได้มาซึ่งผลกำไรและเงินทุนหมุนเวียน หากลูกค้าไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ ธุรกิจก็ต้องเลิก
ล้มไปในไม่ช้า จึงต้องมุงให้ความสำคัญแก่ลูกค้าด้วยการสร้างความพึงพอใจ

าเท
2. กิจกรรมการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเทียวเป็นแกนนำแนวทางการดำเนินงานส่วนอื่นๆ
ซึ่งงานทุกส่วนในองค์การย่อมดำเนินไปตามวัตถุประสงค์เพื่อความอยู่รอดและเจริญเติบโต โดยอาศัย

ศึกษ
การตลาดเป็นตัวนำ
3. การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นงานเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับหน่วยงาน จากทั้ง
กา ร
ภายในและภายนอกองค์การ โดยกลไกการตลาดจะเป็นตัวกำหนดการดำเนินกิจกรรมจากภ ายใน
องค์การ เช่น นโยบายการจู่โจมตลาด ทำใหหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย พัฒนาและการเผยแพร่
เพื่อ

ข่าวสารทางการตลาดต้องทำหน้าที่อย่างหนักเป็นต้น ส่วนหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับองค์การ
เช่น คู่แข่งขัน สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น การดำเนินงานขององค์การต้องพั ฒนาให้สอดคล้อง
ิต
นดุส

เข้ากันกับปัจจัยภายนอก โดยอาศัยฝ่ายการตลาดเป็นหน่วยสำคัญ
4. การตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ ซึ่งการตลาดสามารถก่อให้เกิด
ัยสว

อรรถประโยชน์ 4 ด้าน คือ อรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง สถานที่ เวลาและความเป็นเจ้าของ


5. การตลาดอุตสาหกรรมการท่อ งเที ่ย วก่อให้ เกิ ด การพัฒนาเศรษฐกิจ การตลาดทำให้
ยาล

ประชาชนกินดีอยู่ดี มีงานทำ มีรายได้ และระดับการครองชีพสูงขึ้น เกิดการขยายตัวของชุมชนและ


ความเจริญด้านต่างๆ ทำให้การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
าวิท

6. การตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขความยากจนของประเทศได้
โดยไม่ปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นไปตามยะถากรรม ถ้าได้รู้จักนำระบบการตลาดเข้ามาใช้ให้สอดคล้องกับ
"มห

สภาพเศรษฐกิจและทรัพยากรของประเทศ เช่นประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่อาศัยการเกษตรเป็นหลัก
กิจกรรมการตลาดจะมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าการเกษตร โดยพัฒนาระบบการผลิตและการจัดจำหน่าย
ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เป็นต้น
165

ส่วนประกอบของการตลาด

การตลาดท่องเที่ยวจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีส่วนประกอบการตลาด แบ่งออกได้ดังนี้ (ฉันทัช วรรณ


ถนอม, 2552: 207-208)
1. ผู้ซื้อ หมายถึง ผู้ที่ใช้บริการของบริษัท หรือลูกค้าของบริษัท ได้แก่ บุคคลที่ต้องการจะ
เดินทางท่องเที่ยวแล้วตัดสินใจซื้อโปรแกรมนำเที่ยว และ กลุ่มบุคคลซึ่งอาจจะเป็นหมู่คณะ สมาคม

"
่านั้น
ราชการ หรือกลุ่มทัวร์ที่ติดต่อให้จัดการท่องเที่ยว จัดว่าเป็นผู้ซื้อบริการการท่องเที่ยวให้ กับผู้บริโภค
อื่นๆ

าเท
2. สินค้า ได้แก่ โปรแกรมนำเที่ยวต่างๆที่บริษัทจัดนำเที่ยวจัดขึ้นเพื่อขายให้แก่ลูกค้า หรือจัด
ตามความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะจัดในรูป Package ที่นำเอาสินค้าบริการหลายธุรกิจมารวม

ศึกษ
เป็น Package สำหรับธุรกิจผลิตสินค้าบริการทางการท่องเที่ยว ได้แก่
2.1 ทรัพยากรการท่องเที่ยวหรือสถานที่ท่องเที่ยวไม่วาจะเป็นธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น
กา ร
2.2 การบริการเกี่ยวกับยานพาหนะ ได้แก่ การบริการรถเช่าประเภทต่างๆนับตั้งแต่รถโค้ช
รถตู้ รถยนต์ เป็นต้น
เพื่อ

2.3 งานบริการเกี่ยวกับโรงแรม สำหรับการใช้บริการโรงแรมผู้ผลิตสินค้า คือ บริษัทนำ


เที่ยวจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อ
ิต
นดุส

2.4 งานบริการเกี่ยวกับภัตตาคารร้านอาหาร และร้านจำหน่ายของที่ระลึกที่จะต้อง


คำนึงถึงคุณภาพ รสนิยม และปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ
ัยสว

2.5 จับจ่ายสินค้า
3. ผู้ ผ ลิ ต ในที่ นี้ หมายถึ ง ผู้ ป ระกอบธุ ร กิ จ นำเที่ ย ว บริ ษั ท นำเที่ ย วต่ า งๆ ที่ เ ป็ น ผู้
ยาล

กำหนดส่วนประกอบของสินค้าที่เป็นงานบริการต่างๆ เพื่อเสนอขายแก่ผู้ซื้อ
าวิท

การดำเนินการด้านการตลาด
"มห

การจัดการด้านการตลาดของธุรกิจนำเที่ยวและช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
ส่วนผสมการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยว เนื่องจากส่วนผสมทางการตลาดท่องเที่ยว ประกอบด้วย 4 P
ได้แก่ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมพร แก้วคำ, 2560: 229-230)
1. Product โปรแกรมนำเที่ยว
2. Price ราคา การตั้งราคากลุ่มเป้าหมาย
3. Place ช่องทางการจัดจำหน่าย สินค้าจะถูกส่งไปขายทางใด ผ่านตัวกลางหรือจะขายตรง
166

4. Promotion การส่งเสริมการจำหน่าย
การตลาด จะมีส่วนประกอบ 4 P แต่สำหรับการตลาดท่องเที่ยวขยายเป็น 9 P (พวงบุหงา
ภูมิพานิช, 2539: 149 อ้างถึง เฟย์ Fay , 1992 : 131)
1. Price ได้แก่ ราคา ซึ่งต้องมีการพิจารณาราคาของสินค้าหรือบริการ ให้เหมาะสมกับสินค้า
2. Product ได้แก่ สินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานบริการที่มุ่งขายความพอใจให้กับลูกค้า
3. Place ได้แก่ สถานที่ที่ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยสะดวก

"
่านั้น
4. Promotion ได้แก่ วิธีที่จะติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
5. Partnership ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวอื่น ๆ (suppliers) ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจ

าเท
ที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับการจัดนำเที่ยว
6. Packaging ได้แก่ ความสามารถในการนำองค์ประกอบหลายๆ หน่วยมาผสมผสานเข้า

ศึกษ
ด้วยกัน แล้วขายในราคาเดียว
7. Positioning ได้แก่ ฐานะของบริษัทนำเที่ยว ซึ่งหมายถึงระดับความน่าเชื่อถือ และค่านิยม
กา ร
ของบริษัทนำเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ภาพลักษณ์ของบริษัทที่มีผลต่อการขาย
8. Programming ได้แก่ ความสามารถในการจัดการธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวต่าง ๆ
เพื่อ

ให้เป็นสินค้าบริการที่น่าสนใจเสนอเป็นโปรแกรม
9. People การจัดนำเที่ยวถือว่า เป็นสินค้าบริการที่ต้องใช้มนุษย์ทำงานกับมนุษย์
ิต
นดุส

ความคิดการตลาดจะต้องเปลี่ยนจาก 4 P ได้แก่ (พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539: 150 อ้างถึง


เสรี วงษ์มณฑา, 2538 : 17)
ัยสว

1) ราคา (Price)
2) สถานที่ (Place)
ยาล

3) ตัวสินค้า (Product)
4) การส่งเสริมการขาย (Promotion)
าวิท

มาเป็น 7 block โดยใช้ฐานเดิม จาก 4 P เสริมด้วย 3 ส่วนใหม่ คือ 2 ส่วนแรก จะเป็น


corporate image หรือ ภาพพจน์ องค์กร และ good brand image ซึ่งเป็นเรื่องของภาพพจน์ทั้งสิ้น
"มห

เนื่องจากในปัจจุบัน การทำตลาดสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง 4 P จะเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการสามารถทำ


ได้โดยเท่าเทียมกัน เมื่อสินค้ามีความเท่าเทียมกัน สิ่งที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าก็คือ
ความรูส้ ึกที่ดีต่อสินค้านั้น และการที่ผู้บริโภคจะมีความรู้สึกที่ดีได้ ไอที จะมีส่วนช่วยได้มากส่วนบล๊อก
สุดท้ายที่จะมา เป็นตัวแทนควบคุมทุกอย่าง ก็คือ ระบบการจัดการข้อมูล หรือ Management
Information System ซึ่งระบบดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้การทำงานเป็นไปสะดวกยิ่งขึ้น ไม่เกิดความ
เลื่อมล้ำซ้ำซ้อนของงาน และกล่าวเพิ่มเติมว่าในอนาคตไอทีจะเข้ามามีบทบาทในการขายอีกประเภท
167

คือ การขายทางโทรศัพท์ (Telemarketing)ซึ่งถือว่า เป็นการขายสินค้าและบริการที่ต้องอาศัย


เทคโนโลยีค่อนข้างสูง
รายละเอียดของการดำเนินการด้านการตลาด แบบ 4 P มีดังต่อไปนี้ คือ (พวงบุหงา ภูมิ
พานิช, 2539: 151-159)
1. การจัดการด้า นสิน ค้าหรืองานบริการ (Product) การจัดการด้านสินค้านับว่าเป็น
สิ่งสำคัญที่สุด เพราะการจะขายสินค้า หรือขายโปรแกรมนำเที่ยวได้มากน้อย ขึ้นอยู่กับการจัด

"
่านั้น
โปรแกรมให้สอดคล้อง หรือตรงตามความต้องการของผู้ซื้อคือ ลูกค้า ให้มากที่สุด ถ้าจัดโปรแกรม
นำเที่ยวเป็นไปตามความปรารถนาของลูกค้า ก็ถือว่าการดำเนินการด้านการตลาด สามารถประสบ

าเท
ความสำเร็จไปได้ครึ่งหนึ่งของการดำเนินงาน ดังนั้น การจัดการด้านสินค้า คือการกำหนดว่า โปรแกรม
ชนิดใดเหมาะสมสำหรับลูกค้าประเภทใด ในแต่ละปี โปรแกรมเดิมที่จัดอยู่แล้วเหมาะสมกับลูกค้า

ศึกษ
หรื อ ไม่ มากน้ อ ยเพี ย งใด ควรจะปรั บ ปรั ง โปรแกรมใดบ้ า งให้ ด ี ข ึ ้ น และควรปรั บ ปรุ ง รายการ
นำเที่ยวให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ตลอดจนควรพิจารณาว่าผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าบริการทางการท่องเที่ยว
กา ร
ต่างๆที่ใช้บริการอยู่ ควรจะต้องมี การปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ควรนำเสนอขายให้ทั้ง
ลูกค้าเก่า และ/หรือลูกค้าใหม่ ต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาและจำนวนที่จะจัด
เพื่อ

2. ราคา (Price) การกำหนดราคาขึ ้ น อยู ่ ก ั บ ผู ้ ป ระกอบการผลิ ต สิ น ค้ า บริ ก ารทาง


การท่องเที่ยวอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย แนวทางในการกำหนดการท่องเที่ยว
ิต
นดุส

2.1 ลักษณะของกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มผู้บริโภคมีหลายระดับ มีความแตกต่างกันทางด้าน


อายุ รายได้ การศึกษา และสถานภาพทางสังคม
ัยสว

2.2 วัตถุประสงค์ของบริษัทนำเที่ยว การกำหนดราคาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัด


นำเที่ยวต่างๆในแต่ละปี ถ้าต้องการเพิ่งยอดขายก็อาจจะต้องใช้วิธีกำหนดราคาให้ต่ำลงเพื่อจูงใจให้
ยาล

เกิดการบริโภคเพิ่มมากขึ้นหรือ เน้นที่คุณภาพของการบริการ ราคาก็ต้องสูงขึ้น


2.3 ขนาดของการซื้อ ถ้าการซื้อมีปริมาณมากๆ ผู้ผลิตก็สามารถขายสินค้าให้กับผู้บริโภค
าวิท

ได้ในราคาที่ต่ำกว่าการซื้อในปริมาณน้อย ๆ เพราะถ้าซื้อ ในปริมาณมาก ๆ จะทำให้บริษัทนำเที่ยว


ได้รับส่วนลดจากผู้ประกอบการผลิตสินค้าบริการทางการท่องเที่ยวอื่น
"มห

2.4 เวลาของการบริโภค ฤดูกาล มีส่วนสำคัญในการกำหนดราคา โดยเฉพาะช่วงนอกฤดู


ทำให้บริษัทนำเที่ยวมีโอกาสต่อรอง
2.5 การเปรียบเทียบราคา ต้องศึกษาราคาของบริษัทนำเที่ยวอื่นๆเพื่อเป็นแนวทางใน
การกำหนดราคา
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
3.1 เสนอขายผ่านตัวแทนต่างประเทศ ใช้วิธีการติต่อผ่านตัวแทนบริษัทนำเที่ยวนำเที่ยว
จัดโปรแกรมนำเที่ยวที่มีความหลากหลายขึ้นแล้วติดต่อ บริษัทต่างประเทศ ที่เป็น ตัวแทนทำหน้าที่
168

นำเสนอขายให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าที่อยู่ประเทศนั้น ๆ หรือจัดโปรแกรมนำเที่ยวตามความต้องการ
ของบริษัทตัวแทนบริการรับ-ส่ง (Transfer in-out) โดยบริษัทตัวแทนต่างประเทศจะเสนอขายบริการให้
3.2 เสนอขายโดยตรงต่อผู้บริโภค สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
3.2.1 ลูกค้าส่วนบุคคล ลูกค้าติดต่อซื้อสินค้าโดยตรงด้วยตัวเอง
3.2.2 ลูกค้าสถาบัน ได้แก่ หน่วยงาน องค์กร ห้างร้านต่าง ๆ ที่บริษัทนำเที่ยวจะ
เป็นผู้นำไปเสนอขายให้โดยตรง

"
่านั้น
3.2.3 ลูกค้าต่างประเทศ บริษัทนำเที่ยวที่จัดโปรแกรมนำเที่ยวสำหรับผู้บริโภค
ต่างประเทศ อาจไปตั้งสำนักงานย่อยยังโรงแรมต่าง ๆ เพื่อเสนอขายให้กับลูกค้าต่างประเทศที่มาพัก

าเท
ยังโรงแรมนั้นๆ
4. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion)

ศึกษ
การส่งเสริมการจำหน่ายเป็นเรื่องของการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยข่าวสารที่
ผู้ผลิตแจ้งไปยังผู้บริโภคนั้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลสินค้า ราคา และสถานที่จัดจำหน่าย เพื่อให้
กา ร
ผู้บริโภคนำไปประกอบการตัดสินใจในการซื้อสินค้า
1. การโฆษณา (Advertising) วัตถุประสงค์ของการโฆษณา เพื่อแนะนำสินค้าให้ผู้บริโภค
เพื่อ

รู้จัก สร้างความเชื่อถือในสินค้า และชักชวนให้ผู้บริโภคตัดสินใจใช้สินค้า การโฆษณาจึงเป็นเครื่องมือ


ที่ทั้งช่วยขยายตลาดใหม่ และรักษาตลาดเก่าไว้
ิต
นดุส

การโฆษณาจะอาศัย สื่อ เป็นช่องทางที่จะสื่อสารข่าวสารให้ผู้บริโภคสื่อโฆษณาที่บริษัท


นำเที่ยวนิยมใช้มีดังนี้
ัยสว

โทรทัศน์ ใช้ภาพและเสียงในการสื่อสารเผยแพร่ข่าวสาร แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้ค่อนข้างสูง


สิ่งพิมพ์ ใช้ภาพและการบรรยายในการให้ข้อมูล ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า
ยาล

วิทยุ เป็นสื่อที่ใช้เสียงในการให้ข้อมูลข่าวสาร
ไปรษณีย์ เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารไปให้กับลูกค้าทางไปรษณีย์ เป็นวิธีการโฆษณาที่เสีย
าวิท

ค่าใช้จ่ายถูกที่สุด และสามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้ละเอียดมากที่สุด
AIDA เป็นสิ่งที่ต้องพึงระลึกถึงในการทำโฆษณา ซึ่งมาจากคำว่า
"มห

Attention หมายถึง การโฆษณาจะต้องดึงดูดความสนใจของประชาชน


Interest หมายถึง การโฆษณาจะต้องช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจในสินค้า
Desire หมายถึง การโฆษณาจะต้องช่วยให้เกิดความต้องการในสินค้า
Action หมายถึง การโฆษณาจะต้องช่วยให้เกิดการซื้อสินค้า
2. การประชาสั ม พั น ธ์ (Public Relations) เป็ น การสื่ อ สารข้ อ มู ล ของผู้ ผ ลิ ต
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ข่าวสารในลักษณะให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เพื่อเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดี
บอกกล่าวมากกว่าที่จะรุกเร้า ควรจะต้องทำสม่ำเสมอ
169

2.1 การเผยแพร่ คือการทำข่าวแจกในลักษณะบทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร


ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อาจจะไม่ต้องเสียโดยตรงเช่นการโฆษณา
2.2 การทำจดหมายข่าว เป็นการการแจ้งข่าวสารความเคลื่อนไหว
3. การขายโดยตรง (Direct Sale) ลักษณะการดำเนินงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับทำการขาย
ให้กับลูกค้า
3.1 เป็นการเยี่ยมเยียนพบปะตัวแทนต่างประเทศ เพื่อนำข้อมูลใหม่ ข่าวสารใหม่ๆ ไปแจ้งให้

"
่านั้น
ทราบ
3.2 เป็นการดำเนินงานในรูปแบบของการเสนอขายต่อตัวแทนต่างประเทศ โดยอาจจะจัดหรื

าเท
เข้ารวมในการประชุมสัมมนาของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
3.3 เป็นการนำสินค้ามาแสดง หรือเสนอขาย ในงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวแก่ผู้ที่เข้ามาชมงาน

ศึกษ
4. การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) การส่งเสริมการขายนี้ เป็นการดำเนินงานที่เร่ง
ให้เกิดการซื้อเร็วขึ้น ในกรณีที่ดำเนินการกับผู้บริโภค (Consumer sale promotion) หรือ เพื่อ
กา ร
กระตุ้นผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศให้สนใจสินค้า (trade sale promotion)
สำหรับ “trade sale promotion” อาจจะเป็นการเชิญพนักงานของตัวแทนต่างประเทศ
เพื่อ

มาทัศนศึกษาประเทศไทย โดยเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อจะได้เห็นสินค้าที่แท้จริง และนำไป


ประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า
ิต
นดุส

สำหรับ “consumer sale promotion” อาจจะเป็นการเข้าร่วมงานจัดนิทรรศการ หรืองาน


การท่องเที่ยว (travel show) ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าชมงาน หรืออาจจัดชิงโชค ชิงรางวัล
ัยสว

ในรายการเกมส์โชว์ต่างๆโดยให้รางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขัน เป็นการเดินทางไปท่องเที่ยว หรือการแจก


รางวัลให้กับลูกค้า ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย
ยาล

ตัวอย่างการให้รางวัลแก่ลูกค้า
าวิท

1. ลดราคา
2. สะสมคูปอง
"มห

3. รายการแถม
4. สินค้าพิเศษ
5. แจกของที่ระลึก
170

ตลาดเป้าหมาย

การกำหนดตลาดเป้าหมาย เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้ดำเนินการด้านการตลาดได้เหมาะสม
ตรงตามตลาดเป้าหมายที่ว่างไว้ บริษัทนำเที่ยวจำเป็นต้องกำหนดนโยบายด้านการตลาด ต้องการ
ตลาดเป้าหมายกลุ่ม ใดให้เหมาะสมกับประเภทการจัดนำเที่ยวของบริษัท แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
(พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539: 160-161)

"
่านั้น
1. กลุ่มนักท่องเที่ยว (tourist group) เป็นตลาดที่มีปริมาณมาก
2. กลุ่มผู้เข้าประชุม (convention group) เป็นกลุ่มที่กำลังเป็นที่นิยมในการเจาะตลาด

าเท
กลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูง
3. กลุ่มที่ได้รับรางวัล (incentive group)

ศึกษ
การขาย กระบวนการขายถือว่ามีความสำคัญในการที่จะจับหรือยึดลูกค้าไว้เมื่อลูกค้าได้
ก้าวย่างเข้ามาในบริษัท หรือเมื่อแรกสนทนาทางโทรศัพท์ การขายได้เกิดขึ้นแล้ว พนักงานขาย
กา ร
ที่จะต้องมีความรู้ความสามารถ มีความจริงใจให้แก่ลูกค้า
พนักงานขาย หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อ แสวงหาลูกค้า ทำการเสนอ
เพื่อ

ขาย กระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความตั้งใจ และตัดสินใจซื้อ การให้บริการก่อนและหลังการขาย รวมทั้งการ


ให้คำแนะนำลูกค้า (พวงบุหงา ภูมิพานิช, 2539: 162-167 อ้างถึง ศิริวรรณ เสรีรัตน์, 2537 : 277)
ิต
นดุส

การขายของพนักงานขายเป็น 3 ระดับ ดังนี้


1. วิธีการนำเสนอสินค้า มีความคิดสร้างสรรค์ในการขาย
ัยสว

2.การให้คำแนะนำ ความรู้ในสินค้า สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และพร้อมที่จะให้คำแนะนำ


ในการเลือกซื้อสินค้า
ยาล

3.การรับคำสั่งซื้อ พนักงานขายต้องรับคำสั่งซื้อพร้อมการให้บริการที่ประทับใจ
เทคนิคการขายหน้าร้าน
าวิท

1. ให้ความสนใจอย่างจริงใจกับลูกค้า และเอาใจใส่ความต้องการของลูกค้า
2. ทราบความต้องการของลูกค้า
"มห

3. พยายามเสนอขายในสิ่งที่คิดว่า เป็นความต้องการของลูกค้า
4. พยายามตอบข้อซักถามให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของลูกค้า
5. พยายามทำให้ลูกค้าจองหรือซื้อสินค้า
6. ทำให้ลูกค้าแน่ใจในสินค้า โดยให้รายละเอียดข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า
171

เทคนิคการขายทางโทรศัพท์
1. ต้องมีความกระตือรือร้นพยายามฝึกเสียงให้ฟังดูน่าเชื่อถือ
2. ให้ความสนใจในการสนทนา อย่าพยายามคิดเรื่องอื่นเพราะจะทำให้ผู้ฟังจับได้ว่าไม่มีความ
สนใจในเรื่องที่กำลังพูด
3. ถ้ามีความเหนื่อยความเครียด ต้องพยายามตัดความเหนื่อยหรือความเครียดออกไป
4. ใช้ความพยายามในการใช้เสียงพูดให้น่าสนใจ

"
่านั้น
5. พูดใช้จังหวะปกติ อย่าพูดเร็วหรือช้าเกินไป
6. พยายามฝึกอธิบายหรือบรรยายให้เกิดจินตภาพ

าเท
7. ต้องจำไว้เสมอว่าผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาติดต่อ ทุกคนเป็นบุคคลสำคัญ
วิธีการที่กระตุ้นให้พนักงานขายกระตือรือร้นที่จะใช้ความพยายามทางการขายมากขึ้น

ศึกษ
1. การแข่ง เป็นวิธีการแข่งขันการสร้างยอดขายระหว่างพนักงานขาย การประกวดยอดขาย
โดยมีการกำหนดรางวัลเป็นสิ่งจูงใจ กา ร
2. การฝึกอบรมการขายและการประชุมทางการขาย เป็นการฝึกทักษะและเทคนิคในการขาย
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการแก้ไขปัญหาด้านการขายและความเข้าใจในข้อมูลรายละเอียด
เพื่อ

วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขาย การฝึกอบรม และการประชุมสัมมนาทางการขาย


3. การให้รางวัลแก่พนักงานขายที่ปฏิบัติงานยอดเยี่ยม เงื่อนไขที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ิต
นดุส

มอบรางวัล อาทิ
- ยอดขายดีเด่น - ยอดขายถึงโควตาขายที่กำหนดไว้ - การกำหนดจำนวนการหาลูกค้าใหม่
ัยสว

การนำระบบการสื่อสารสมัยใหม่ มาช่วยทางการตลาด ได้แก่ 1.website เพื่อให้ข้อมูล


ผลิตภัณฑ์และบริการถึงลูกค้าและผู้ที่สนใจได้ทุกเวลา 2. Facebook เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า
ยาล

3. Booking Online เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ สั่งจอง จ่ายเงิน ผ่านทางอินเตอร์เน็ทได้


สะดวกและประหยัดเวลา 4. Google Adwords 5. Line
าวิท

การส่งเสริมการขาย
"มห

การเข้าถึงผู้บริโภคในยุคปัจจุบันทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่ม
ความเข้มข้นทางการแข่งขันทางการตลาดเนื่องจากตัวเลือกของผู้บริโภคมีมากขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น จำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องหาวิธีการดึงดูดผู้บริโภคให้สามารถเข้ามาดูสิ นค้าและบริการของ
บริษัทฯได้ง่ายและรวดเร็วน่าสนใจ ซึ่งยุคไอทีการเพิ่มวิธีการเข้าถึงผู้บริโภคที่รวดเร็วและน่าในใจเป็น
สิ่งจำเป็นที่น่าจับตามองและไม่ควรพลาดความเคลื่อนไหวเหล่านี้ อาจต้องลงทุนในเรื่องของเวลาและ
172

ค่าใช้จ่าย แต่ก็ถือว่ายังประหยัดกว่าการทำตลาดในสมัย ยุคที่ผ่านมา ช่องทางการตลาดที่เข้าถึง


ผู้บริโภคเพื่อช่วยส่งเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้ (T&A Ideaplus Co.,Ltd. 2559, 46-47)
1. I-marketing หมายถึง ช่องทางที่ลูกค้าสามารถหาข้อมูลจาก Internet ซึ่งเราสามารถ
ตอบสนองส่วนนี้ด้วย website ที่สมบูรณ์แบบและน่าเชื่อถือ ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลที่ครบถ้วนหลากหลาย
มากพอที่ลูกค้าไม่แสวงหาข้อมูลจากที่อื่นและสามารถทำธุรกรรมการจองได้ทันที กิจกรรมทาง
การตลาดมีหลายรูปแบบ เช่น Website Google Adwords E-Letter Facebook Barcode 2 มิติ

"
่านั้น
การ Link กับ Website พันธมิตร Online Booking Line
2. Advertising Page มีการโฆณาทางนิตยสารการท่องเที่ยว เช่น นิตยสาร อ.ส.ท. ท่องเที่ยว

าเท
รอบโลก เป็นต้น
3. Exhibition Sales การออกงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ๆมีจำนวนผู้เดินมากไม่ต่ำกว่า 3,000

ศึกษ
คน/วัน เพื่อเป้าหมายการขายตรงถึงผู้บริโภค การเก็บหลักฐานข้อมูลลูกค้าทั่วไป การประชาสัมพันธ์
บริษัทให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภค กา ร
4. Promotion จัด Promotion Package ใหม่ๆที่น่าสนใจตามเทศกาล/วันหยุดต่างๆ และ
ส่วนลดพิเศษสำหรับการสั่งจองทันที หรือการบันทึกประวัติลูกค้าที่ใช้บ ริการบ่อยๆและให้สิทธิพิเศษ
เพื่อ

หรือส่วนลดพิเศษในวันเกิด
ิต
นดุส

การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ัยสว

การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งภาคเอกชนหรือรัฐบาล จะมี


ลักษณะของการโฆษณาตรงเป้าหมายอย่างมาก คือ จะเน้นไปที่การขายบริการท่องเที่ยวหลายชนิด
ยาล

แผนการโฆษณาและแผนการปฏิบัติงานจะจำเพาะเจาะจง และนึกถึงต้นทุนกำไรให้เห็นได้ชัดเจน เช่น


บริษัทการบินขนาดใหญ่ จะเริ่มด้วยการค้นหารวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบเสียก่อนในการ
าวิท

ขายบริการโดยคำนึงถึงตัวเลขต้นทุนให้เห็นได้อย่างชัดเจน เข่น (นิศา ศิลปะเสริฐ, 2560: 210-220)


1. ที่พักแรม หลายประเทศมีโรงแรมในเครือข่ายขนาดใหญ่ โรงแรมเช่นนี้มักจะเป็นโรงแรม
"มห

ชั้นดี มีบริการดี เป็นมาตรฐานเดียวกัน และติดต่อกันเป็นเครือข่ายกันทั่วประเทศ ทั่วทวีป หรือทั่วโลก


จึงมีการดำเนินกรตลาดอย่างมีประสิ ทธิภาพ งานประชาสัมพันธ์ของโรงแรมมีวัตถุประสงค์เพือสร้าง
จินตภาพอันงดงามให้แก่โรงแรมต่างๆในเครือข่ายซึ่งจูงใจให้ผู้บริโภคสนใจมาใช้บริการสิ่งอำนวยความ
สะดวกที ม ี ค รบถ้ ว น สำหรั บ โรงแรมขนาดเล็ ก และขนาดกลาง รวมท้ ง แคมป์ ท ี ่ พ ั ก แรม มี ค วาม
เสียเปรียบตรงที่ตั้งอยู่กระจัดกระจายกันไปตามอาณาเขตอันกว้างของสถานที่ท่องเที่ยวและบางทีก็มี
สถานที่จำกัด มักต้องจัดบริการกแปลกๆ ไว้มากมายเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว เช่น มีเรือใบให้เช่า มีครู
สอนกลอ์ฟหรือสกี มีม้าให้ขี่เล่น ฯลฯ ที่พักแรมเหล่านี้มักจะอยู่เฉพาะในเขตย่ายหนึ่งในตำบลของตน
173

และการประชาสัมพันธ์ก็จะกระทำเพียงเล็กน้อย เช่น ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ แจกโปสการ์ด หรือ


ทำแผ่นป้ายไปติดไว้ในหนังสือและบริเวณใกล้ๆ แจกแผ่นพับและสถานที่เหล่านี้แต่ละแห่งจะใช้
เจ้าหน้าที่ของตนเอง เพื่อประหยัดต้นทุน ไม่มีเทคนิคในการปฏิบัติงานใหญ่ ๆ เหมือนโรงแรมระบบ
เครือข่าย จึงเป็นการประชาสัมพันธ์เพือสร้างภาพลักษณ์
2. บริษัทขนส่ง ทุกวันนี้บริษัทขนส่ง ทั้งทางอากาศ ทางรถไฟ และทางเรือถูกครองโดยบริษัท
ใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท และมีสองสามบริษัทที่ผูกขาดธุรกิจหรือควบคุมเส้นทางแต่ผู้เดียว แม้จะมีการ

"
่านั้น
แข่งขันกันบ้างในเรื่องวิถีการขนส่งต่ าง ๆ อัตราค่าโดยสารก็มักจะเป็นมาตรฐานเหมือนกันหมด และ
รัฐบาลแต่ละประเทศก็จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าโดยสาร หรือมิเช่นนั้นก็ถูกกำหนดและควบคุมโดย

าเท
องค์การนานาชาติ เช่น องค์การการบินนานาชาติที่ควบคุมบริษัทการบิน
การแผ่ขยายตัวของบริการขนส่ง ซึ่งเป็นไปตามลักษณะภูมิศ าสตร์ เกือบจะเป็นข้อกำหนดว่า

ศึกษ
ควรจะใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบใด สายการบินรอบโลกหรือสายการเดินเรือรอบโลก จะเน้น
ในเรื่องการเดินทางระยะยาว เช่น เส้นทางการบินข้ามขั้วโลกเหนือ (Polar Route) ของบริษัทสาย
กา ร
การบินหลายสาย มากกว่าการขนส่งผู้โดยสารระยะสั้นหรือในระดับเลี ยบชายฝั่ง ส่วนบริษัทขนส่ง
ระยะใกล้ จะโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในสถานที่ท่องเทียวใกล้ๆหรือรอบๆบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว
เพื่อ

ซึ่งบริษัทขนส่งผู้โดยสารไปถึง เช่น บริษัทเดินเรือระหว่างฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกากับเกาะฮาวาย


บริษัทรถไฟเอกชนของสวิสเซอร์แลนด์
ิต
นดุส

สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติ เช่น สำนักท่องเที่ยวของเบลเยี่ยมมีหน้าที่ชัดจูงนักท่องเที่ยว


ให้เดินทางเข้ ามาในประเทศของตน บริษัทขนส่งสนใจจำนวนนั กท่ อ งเที ยวทั ้ง จากต้ นทางและ
ัยสว

ปลายทางมากกว่าการขายรายการท่องเที่ยวในภาพรวม จึงมักโฆษณากลุ่มลูกค้าที่อยู่ในระยะใกล้ ๆ
หรือไม่ไกลนัก เดินทางไปถึงง่ายและมีราคาถูก ดังนั้นทั้งหน่วยงานของรัฐและบริษัทเอกชนอาจจะมี
ยาล

การประชาสั ม พั น ธ์ ร ่ ว มกั น เพื ่ อ ประโยชน์ ซ ึ ่ ง กั น และกั น เช่ น ประเทศเบลเยี ่ ย มเคยโฆษณาให้


นักท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเที่ยวในประเทศเบลเยี่ยมโดยลดราคาค่าโดยสารรถไฟให้ถูก
าวิท

เป็นพิเศษ มีสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ร่วมกันหลายๆสื่อมีความสอดคล้องกัน
งบประมาณค่าโฆษณาของบริษัทขนส่งใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทการบินจะมีงบประมาณมาก
"มห

และการโฆษณาก็ได้ผลคุ้มค่า บริษัทเหล่านี้สามารถวางแผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิผล
จริงจังได้ บริษัทใหญ่ ๆ เหล่านี้มีบริการวิจัยของตนเองหรือมีทุนจ้างผู้อื่นจึงสามารถวิเคราะห์ภาวะ
เศรษฐกิจ ภาวะตลาดและเหตุจูงใจผู้โดยสารได้ นอกจากนี้ อาจตรวจสอบประสิทธิผลของการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์ครั้งก่อน ๆ ได้ว่ามีขนาดใหญ่แค่ไหน และทั้งยังสามารถแจกจ่ายข่าวทั่วไปเกี่ยวกับที่พัก
แรม ลมฟ้า อากาศ ราคาสินค้า การจัดจ่ายซื้อของในประเทศซึ่งอยู่ในเส้นทางการบินของตนได้
บริษัทตัวแทนท่องเที่ยวและผู้ผลิตขนาดใหญ่ (Travel Agency and Tour Operator) เมือ
จัดรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่ายจะต้องพยายามขายทัวร์ให้ได้เร็ว โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
174

อย่างแข็งขันโฆษณาผ่านสื่อหนังสื อพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และติดแผ่นป้ายตามสถานที่ที่เหมาะสมให้


มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นิย่างยิ่งที่จะต้องให้ลูกค้าได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของ
บริษัท และสามารถจูงใจให้เกิดการซื้อเพื่อให้ได้ลูกค้าครบถ้วนตามจำนวนที่นั่งที่ประมาณการไว้
บางครั้งผู้ประกอบการธุรกิจจะออกค่าใช้จ่ายแก่ตัวแทนอื่นๆที่เป็นตัวแทนที่มียอดขายดี มีชื่อเสียงเป็น
ที ่ ไ ว้ ใ จของลู ก ค้ า เพื ่ อ แจกจ่ า ยการโฆษณาและการประชาสั ม พั น ธ์ ข ่ า วสารของบริ ษ ั ท เช่ น ส่ ง
หนังสือเวียนไปให้ลูกค้าประจำ แจกแผ่นพับซึ่งพิมพ์ออกมาจากธุรกิจใหญ่ ๆ โดยประทับตำบลของตน

"
่านั้น
ลงไป
สำหรับตัวแทนจำหน่ายขนาดกลาง มีอยู่ไม่น้อยที่ประกอบธุรกิจกึ่งๆระหว่างการขายส่งกับ

าเท
ขายปลีก นโยบายทางการค้าไม่ค่อยแน่นอนขึ้นอยู่กับกระแสการตื่นตัวของนักท่องเทียวจะไหลมาใน
รูปใด ทำให้วิธีการโฆษณาไม่ค่อยเป็นมืออาชีพเท่าใดนัก บางครั้งการจัดทัวร์พิเศษที่น่าสนใจขึ้นมาเอก

ศึกษ
สั ก ครั ้ ง สองครั ้ ง ตามแต่ จ ะมี โ อกาสเหมาะ ความสำเร็ จ ของตั ว แทนจำหน่ า ยระดั บ นี ้ ข ึ ้ น อยู ่ กั บ
ความสามารถที่จะสังเกต พิจารณาวิเคราะห์ว่า สมัยใด เวลาใด ลูกค้านิยมไปท่องเที่ยวที่ไหน (อาจถือ
กา ร
ว่ า เป็ น ผู ้ จ ั ด จำหน่ า ยทั ว ร์ พ ิ เ ศษ) เช่ น ไปชมการแข่ ง ขั น กี ฬ าโอลิ ม ปิ ก ไปนมั ส ก ารหิ น กาบาห์ ที่
ซาอุดิอาระเบีย ไปชมสัตว์ป่าในทุ่งหญ้าสะวันนาในแอฟริกา ไปเที่ยวงานราชพฤกษ์ที่จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อ

ฯลฯ การจัดทัวร์พิเศษเหล่านี้มักเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก
การโฆษณา (Advertising) สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Association
ิต
นดุส

Marketing) ได้ให้คำนิยาม การโฆษณา ไว้ว่า เป็นรูปแบบค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารโดยยไม่ใช้


บุคคล เกี่ยวกับองค์การผลิตภัณฑ์บริการหรือความคิดโดยใช้อุปถัมป์รายการ
ัยสว

จากความหมายข้างต้น ลักษณะของการโฆษณา คือ


1. การโฆษณาเป็นการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้บุคคล
ยาล

2. การโฆษณานั้นผู้โฆษณาจะต้องเป็นผู้เสียค่าตอบแทน เช่น การลงโฆษณารายการท่องเที่ยว


ในหนังสือพิมพ์รายวัน
าวิท

3. การโฆษณากระทำโดยผ่านสื่อ (Media) ต่าง ๆ


4. การโฆษณาจะระบุตัวผู้โฆษณา คือ เจ้าของสินค้าหรือบริการ
"มห

5. การโฆษณาเป็นการชักจูงไม่ใช่เป็นเพียงการบอกกล่าวหรือคำสั่ง
6. การโฆษณาเป็นการส่งข่าวสาร จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคเป้าหมายจำนวนมากที่อยู่กระจัด
กระจายในสถานที่ต่างๆ ได้รวดเร็ว

หน้าที่สำคัญของการโฆษณา
1. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการแก่ผู้ที่จะเป็นลูกค้า เพื่อให้รู้จักสินค้ามากขึ้น และรู้ว่า
ขายสินค้าและบริการประเภทไหน เพราะปัจจุบันมีผู้ผลิตมากมายหรือบริการเปิดกิจการใหม่ ๆ
175

2. เปลี่ยนทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือบริการ ทำให้มีการตัดสินใจซื้อมากขึ้น
3. สร้างความต้องการซื้อและทดลองใช้สินค้า นักการตลาดจะพยายามชักชวนบอกสรรพคุณ
ที่ดีของสินค้ากับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคอยากซื้อ เป็นการสร้างความต้องการขึ้นเพื่อยั่วยุผู้บริโภค เช่น
เมื่อผู้บริโภคได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของโรงแรมที่เขามีโอกาสเลือกซื้อ ช่วยให้เขามั่นใจว่าสิ่งที่เขาจะ
เลือกซื้อถูกต้องและจะตัดสินใจซื้อได้ง่าย
4. เป็นการเตือนความจำ การทำโฆษณาช่วยทำให้ตราสินค้ามีความสดในสมองของลูกค้า

"
่านั้น
ตลอดเวลา เมื่อต้องการสินค้าประเภทนี้ขึ้นมาโฆษณาจะทำให้ลูกค้านึกถึงตราสินค้านั้นก่อน
5. ผู้บริโภคมองเห็นคุณค่าของสินค้า เมื่อผู้ผลิตเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้ า เช่น ปรับปรุงคุณภาพ

าเท
สินค้าให้ดีขึ้น สร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ขึ้นมา ก็จะใช้การโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้สิ่งเหล่านี้
นอกจากนี้ โฆษณาที่ดียังช่วยสร้างตราสินค้าให้มีภาพความหรูหรา มีระดับ มีสไตล์ที่ดีในสายตาลูกค้า

ศึกษ
ได้อีกด้วย
6. ช่วยให้หน้าที่การส่งเสริการตลาดในส่วนอื่นๆ ประสบผลสำเร็จ เช่น สื่อโฆษณาชิ้นหนึ่ง
กา ร
หากพ่อค้าคนกลางเห็นโฆษณาอยู่เสมอก็จะทำให้พ่อค้าคนกลางอุ่นใจว่าบริษัททุ่มเทงบโฆษณาเพื่อ
ส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการขาย ทำให้พ่อค้าคนกลางซื้ อสินค้าจากพนักงานขายได้ง่ายขึ้น ไม่ต้อง
เพื่อ

เสียเวลาในการนำเสนอ นอกจากนี้ยังช่วยตัวแทนจำหน่ายสินค้าขายสินค้าได้ง่ายขึ้นเพราะผู้บริโภค
สังเกตเห็นสินค้าบนชั้นวางสินค้าง่ายขึ้นช่วยทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไป คือ
ิต
นดุส

ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
ัยสว

สื่อโฆษณาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ยาล

สื่อโฆษณา มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้ (นิศา ชัชกุล, 2550 หน้า 358-365)


1. แผ่นป้ายโฆษณา ธุรกิจท่องเทียวใช้แผ่นป้ายโฆษณาอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ขนาดใหญ่ติด
าวิท

บนกำแพงหรือมีขาตั้งข้างถนน จนกระทั่งถึงขนาดเล็กขนาดติดกระจกหน้าต่างสำนักงาน หรือกระจก


รถยนต์ด้านหลังได้ หลักการคือ ควรใช้แผ่นป้ายโฆณาที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านซึ่งจะทำให้เกิดการ
"มห

สื่อสารขึ้น ดังนั้ แผ่นป้ายโฆษณาจึงควรเป็นเพียงรูปคน สัญลักษณ์ ตัวหนังสือบอกชื่อ สถานที่ ซึ่งเห็น


แล้วติดตาไปนาน ๆ และถ้าผู้เห็นป้ายสนใจก็จะหาทางติดต่อกลับไป
2. สิ่งพิมพ์ หมายถึง เอกสารที่มีสาระสำหรับผู้รับ จะอ่านตามคาบเวลาต่างๆ และความเป็น
สาระอาจอยู่ในประเภทต่างๆที่ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้อ่าน โดยปกติสิ่งพิมพ์ที่ออกมาประจำวัน
เรียกว่าหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ที่ออกมาเป็นคาบนานกว่าทุก ๆ วัน เช่น สัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง
เรียกว่า วารสาร
176

3. หนังสือพิมพ์ (รายวัน) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสำหรับส่งข่าวประจำวัน เป็นสื่อที่แพร่หลาย


กว้างขวางที่สุดในกระบวนการสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย จึงมีผู้ที่อ่านข่าวสารจำนวนมากที่สุดและการโฆษณาก็
มีมากเช่นกัน ปัจจุบันระบบการพิมพ์ การถ่ายภาพ ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้มองดูแล้วน่า
อ่านมากกว่าหนังสือพิมพ์ในยุคก่อน สารโฆษณาสำหรับหนังสือพิมพ์เป็นสารสำหรับ อ่าน และอ่าน
เพือ่ ทราบรายละเอียด และถ้าสารนั้นมีอำนาจสูงพอ ผู้อ่านก็จะเลื่อมใสและจำไว้ได้ ควรลงโฆษณาซ้ำๆ
เป็นระยะเวลาเป็นเดือนๆ มีบทโฆษณาที่มีรายละเอียด เช่น ตารางการบินที่เปลี่ยนแปลงใหม่

"
่านั้น
กำหนดเวลามหกรรมต่าง ๆ ที่มีติดต่อกันตลอดปี อัตราค่าที่พักโรงแรมนอกฤดูกาลท่องเที่ยว ฯลฯ
4. วารสารรายสัปดาห์มักตีพิมพ์อุบัติการณ์ต่างๆจากทัศนะใดทัศนะหนึ่ง สื่อมวลชนประเภท

าเท
นี้เหมาะสำหรับการโฆษณาผลิตผลของการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่ใช้กระดาษขัดมัน กระดาษอาร์ต
และอาจตีพิมพ์ด้วยหมึกสีได้ ข้อความที่จะลงโฆษณาอาจเป็นไปได้ทั้งสองอย่างคือ “เห็น” และ

ศึกษ
“อ่าน” ข้อควรใส่ใจ คือ ถ้าพิมพ์ 4 สี ซึ่งจะออกมาเป็นสีธรรมชาติ ไม่ควรให้เป็นเพียงแผ่นป้ายโฆษณา
แต่ควรมีลักษณะ มีข้อความสำหรับอ่านด้วย จัดขนาดให้เหมาะสม และไม่ทำให้น่าเบื่อ วารสารราย
กา ร
สัปดาห์บางฉบับจัดทำสำหรับอ่านทั้งครอบครัว บางฉบับเฉพาะผู้อ่านสตรี บางฉบับเฉพาะผู้ชาย การ
เลือกลงสื่อโฆษณาในฉบับใดต้องพิจารณาให้เหมาะสม
เพื่อ

5. วารสารรายเดือน มักเป็นสิ่งพิมพ์เพื่อวางการใดวงการหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น วงการกีฬา งาน


อดิเรก วิทยาศาสตร์ รถยนต์ ฯลฯ การลงโฆษณาในวารสารประเภทนี้จึงเป็นการโฆษณาที่เล็งไปยัง
ิต
นดุส

บุคคลเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
6. ภาพยนตร์ เป็ น สื ่ อ มวลชนที ่ ต ื ่ น เต้ น ภาพยนตร์ เ ป็ น วิ ถ ึ ห นึ ่ ง ที ่ จ ะ “ขนส่ ง ” ผู ้ ท ี ่ เ ป็ น
ัยสว

นักท่องเที่ยวได้ไปยังสถานที่ที่ได้รับการส่งเสริมเพราะฉะนั้นจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดโดยไม่มีขีดจำกัด
ในเรื่องเงื่อนไข ภาพยนต์มีเทคนิคของการถ่ายทำให้คนดูเห็นเสมือนดูของจริง เช่น ถ่ายภาพนิ่ง ถ่าย
ยาล

ใกล้ ถ่ายจากแง่มุมต่างๆ ถ่ายในที่ที่ไม่อนุญาตให้คนทั่วไปได้เข้ าไปเห็นฯลฯ การใช้ภาพยนตร์โฆษณา


จะช่วยรวมสถานที่และอุปกรณ์ได้มากมายในเวลาอันสั้น
าวิท

7. วิทยุ งบโฆษณาทางวิทยุถูกที่สุด ขาดความน่าตื่นเต้นเร้าใจ แต่วิทยุเป็นสื่อที่เหมาะสม


สำหรับสารที่ฟังได้ง่ายๆ ชัดเจน และเป็นตัวตน การโฆษณาทางวิทยุควรเป็นการเสริมการโฆษณาทาง
"มห

หนังสือพิมพ์อีกทีหนึ่ง เพื่อให้สารที่จะส่งไปให้ผู้ใช้บริการท่องเที่ยวได้เห็นและได้ยินสารในใจความ
เดียวกัน การที่ได้เห็นและได้ยินจะเพิ่มประสิทธิภาพของการโฆษณาขึ้นอีก
8. โทรทัศน์ การโฆษณาทางโทรทัศน์เป็นสื่อที่ดีเยี่ยมเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เนื่องจากสามารถใช้ภาพและเสียงในการสื่อสารเผยแพร่ข่าวสาร แต่ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารทาง
โทรทัศน์ค่อนข้างสูง โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีผู้รับสารทั้งครอบครัว นอกจากนี้ยังแทรกเข้าไปในจิตใจของ
ผู้ชมในขณะที่เขานั่งพักผ่อนซึ่งมักจะไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะโต้แย้งอีกด้วย สารทางโทรทัศน์ควรเป็นสาร
สัจจะ เพราะผู้ชมเห็นอุบัติการณ์และสิ่งของด้วยนัยน์ตาตนเอง และฟังเสียงด้วยหูตัวเอง
177

9. การสื่อสารโดยวิธีโจษจัน การโจษจันบอกเล่ากันต่อๆไป บางเป็นสื่อที่ส่งข่าวให้แพร่สะพัด


ไปรวดเร็วกว่าสื่อใดๆ โดยเฉพาะการสื่อสารในเครือข่ายออนไลน์ (Social Network) และถ้าไม่มีการ
บิดเบือนแล้วอาจมีประสิทธิผลสูงกว่าสื่อมวลชนใดๆ ทั้งสิ้นก็ได้ ถือว่าเป็นช่องทางากรสื่อสารอันทรง
พลังที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะผู้พูดและผู้ฟังมักจะเป็นคนที่รู้จัก
กันไม่ใช่ทำเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า เป็นการบอกเล่ าถึงสิ่งที่ตนประสบมาให้ผู้อื่นฟัง การสื่อสาร
ด้วยวิธีนี้ เป็นการสื่อสารที่เกือบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและสามารถจับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่

"
่านั้น
เกิดขึ้นบนโลกได้อย่างรวดเร็ว
10. แผ่นพับ เป็นกระดาษแผ่นเดียวที่พับกลับไปกลับมาได้ตามความต้องการ มีขนาดเล็กหยิบ

าเท
ถือได้สะดวก มีรูปเล่มสวยวามอ่านจับใจความได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถให้รายละเอียดได้มาก ผลิต
ขึ้นเพื่อแนะนำหน่วยงานหรือบริการของหน่วยงานหรือเพื่อขายสินค้า เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดส่งตรงถึง

ศึกษ
ผู้บริโภคเป้าหมาย โดยอาจะใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์หรือแจกตามสถานที่ต่างๆค่าใช้จ่ายนากรผ ลิต
ต่ำกว่าสื่อสิ่งพิมพ์อีกหลายชนิด เช่น โปรแกรมนำเทียวภายใน 3 เดือน โดยไม่ระบุราคาขาย บริษัท
กา ร
ตัวแทนขายปลีกส่วนใหญ่จะมีเอกสารนำเที่ยวเป็นเครื่องมือประกอบการขาย
การทำโฆษณาให้ได้ผล (Effective Advertising)
เพื่อ

ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาแต่ละครั้งนั้นถ้าใช้งบน้อยเกินไปจะไม่มีผลกระทบต่อลูก ค้า
เพียงแต่จำนวนการขายมักจะไม่ได้ตามความคาดหวัง ในทางกลับกันหากใช้งบมากไปก็อาจทำให้กำไร
ิต
นดุส

สูญเสียไปเช่นกัน นักการตลาดที่ดีจึงต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าควรทำอย่างไรจึงโฆษณาให้ได้ผล (นิศา ชัช


กุล, 2550: 358-365)
ัยสว

1. สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาด เช่น ทำการโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย


2. คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า โฆษณาต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ยาล

เช่น ถ้าซื้อแล้วจะได้สิ่งที่ต้องการจากการตัดสินใจซื้อ
3. ทำให้คล้อยตามได้ (Persuade) ทำให้ลูกค้าเชื่อและคล้อยตามว่าจะได้ประโยชน์จริง เช่น
าวิท

เดินทางสะดวก รวดเร็ว และประหยัด โดยมีสถิติให้ดู หรือการสัมภาษณ์ผู้ที่ใช้บริการมาก่อน


4. ข้อความหรือสื่อที่ใช้จะต้องมีภาพลักษณ์ฝังใจ เช่น เมื่อเห็นรูปใบซิลเวอร์เฟิร์น เราจะนึก
"มห

ถึง ประเทศนิวซีแลนด์
5. ไม่ควรอวดอ้างเกินความเป็นไปได้ เช่น สัญญาว่าจะให้บริการลูกค้าในราคาที่ถูกเหลือเชื่อ
และบริการดีที่สุด เป็นต้น
6. อย่าให้ความสร้างสรรค์มาบดบังข้อความสำคัญ (Key message) บางครั้งเมื่อสื่อโฆษณาได้
เผยแพร่ออกไปลูกค้าอาจชื่นชม ติดตาม หรือจำภาพเหล่านั้นได้ แต่ไม่ สามารถตอบโจทย์ได้ว่าผู้
โฆษณาต้องการสื่อถึงอะไร
178

การประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) คือ ความพยายามที่มีการวางแผนโดยองค์การหนึ่ง
เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การให้เกิดกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ลักษณะของการประชาสัมพันธ์ เป็นการ
ติดต่อสื่อสารเพือสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดแก่องค์การกับกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน กลุ่มอนุรักษ์
ประชาชนในท้องถิ่นหรือกลุ่มอื่นๆในสังคม
ข้อดีของการประชาสัมพันธ์

"
่านั้น
1. สามารถสร้างความเชื่อถือได้มาก การประชาสัมพันธ์เกิดจากสื่อมวลชนโดยตรง เรื่องราว
ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆ เป็นการวิจารณ์ข้อเท็จจริง จึงถือว่าข่าวสารแหล่งนั้นเชื่อถือได้

าเท
มากกว่าการโฆษณา
2. ต้ น ทุ น ส่ ว นใหญ่ อ าจจะไม่ ต ้ อ งเสี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการลงบทความต่ า งๆซึ ่ ง ตี พ ิ ม พ์ ใ น

ศึกษ
หนังสือพิมพ์ แต่อาจจะเสียค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้จัดทำในการหาข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับการโฆษณา
พบว่าเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า กา ร
3. การเผยแพร่ ข ่ า วสาร ที ่ เ กิ ด จากการประชาสั ม พั น ธ์ จ ะเป็ น ข่ า วสารที ่ ใ ห้ ค วามรู ้ แ ละ
ข้อเท็จจริงจึงีการเผยแพร่ปากต่อปากได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อ

4. สามารถเข้าถึงบุคคลเฉพาะกลุ่ม การประชาสัมพันธ์อาจจะมีเป้าหมายที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เช่น กลุ่มนักศึกษา กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงถือว่าสามารถเข้าถึงเฉพาะกลุ่มได้
ิต
นดุส

ข้ อ เสี ย ของการประชาสั ม พั น ธ์ คื อ การประชาสั ม พั น ธ์ ไ ม่ ส ามารถสร้ า งยอดขาย เพราะ การ


ประชาสัมพันธ์ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการขายสินค้าหรือบริการ
ัยสว

การแบ่งส่วนตลาดการท่องเที่ยว
ยาล

การตลาด เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับลูกค้าและเน้นให้เห็นถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการ
าวิท

ท่องเที่ยว ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวสามารถทราบถึงความต้องการหรืออุปสงค์ของการ
ท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวสามารถทราบถึงลักษณะและความต้องการของ
"มห

นักท่องเที่ยว หรือจัดกลุ่มผู้ซื้อสินค้าสินค้าและบริการที่มีลักษณะและความต้องการเหมือนกันหรือ
คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการแบ่งส่วนการตลาดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
แนวคิดการแบ่งส่วนตลาด เกิดขึ้นเนื่องจาก (นภาพร จันทร์ฉาย, 2560 : 288-290)
1. กลุ่มผู้บริโภคมีความแตกต่างกันทั้งในด้านพื้นหลัง สังคม วัฒนธรรม ทัศนคติ เชื้อชาติ
ศาสนา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อความต้องการและพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน
2. ความแตกต่างด้านความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค/นักท่องเที่ยว
179

3. กลุ่มผู้บริโภค/นักท่องเที่ยว มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งธุรกิจนำเที่ยวยากที่จะตอบสนองความ


ต้ อ งการของลู ก ค้ า ได้ ท ุ ก กลุ ่ ม ได้ เ ป็ น อย่ า งดี แ ละมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ดั ง นั ้ น จึ ง ควรเลื อ กเพี ย งบาง
กลุ่มเป้าหมายที่องค์กรสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและตอบสนองความต้องการของกลุ่มนั้นได้ อีกทั้ง
ทรัพยากรในองค์กรมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่มได้ จึงควร
แบ่ ง กลุ ่ ม ลู ก ค้ า หรื อ ส่ ว นตลาดและเลื อ กกลุ่ ม เป้ า หมายที ่ ต ้ อ งการ เพื ่ อ ให้ ก ารดำเนิ น งานเกิ ด
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด

"
่านั้น
การแบ่งส่วนตลาด
เกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดโดยทั่วไปประกอบด้วย เกณฑ์ด้านประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์

าเท
จิตวิทยา พฤติกรรม และโอกาสในการซื้อ สำหรับการท่องเที่ยว (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, 2555: 84-85)
ได้กล่าวถึงเกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดของนักท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ การแบ่งส่วน

ศึกษ
ตลาดตามศักยภาพของตลาด ตามภูมิภาค และตามลักษณะของนักท่องเที่ยว
การแบ่งส่วนตลาดนักท่องเที่ยวตามศักยภาพของตลาด ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่
กา ร
1. กลุ่ม ตลาดที่ม ีศักยภาพในการซื้อสูง (High Potential Markets) ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี
เยอรมันนี ออสเตรเลีย อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกา
เพื่อ

2. กลุ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในการซื้อสูง (New Prime Markets) ได้แก่ จีน เนเธอร์แลนด์


กรีซ บราซิ สหรัฐอาหรับเอมิเรต คูเวต ออกเตรีย อัฟริกาใต้
ิต
นดุส

3. กลุ ่ ม ตลาดอื ่ น ๆ ที ่ ต ้ อ งรั ก ษาไว้ (Other Prime Markets) คื อ กลุ ่ ม ที ่ มี พ ฤติ ก รรมการ
เดินทางท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งควรรักษาไว้ ได้แก่ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
ัยสว

นิวซีแลนด์ แคนาดา อินเดีย โปรตุเกตุ โปแลนด์ เป็นต้น


การแบ่งส่วนตลาดนักท่องเที่ยวตามภูมิภาค
ยาล

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2552) ได้แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวตามภูมิภาคและจัดลำดับ


ความสำคัญ ดังนี้
าวิท

1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก (East Asia) ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์


มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน
"มห

2. ภูมิภาคยุโรป (Europe) ได้แก่ เยอรมันนี อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สวิตเซอร์ สวีเดน เนเธอ
แลนด์ ออสเตรีย สเปน เดนมาร์ค ฟินแลนด์ เบลเยี่ยม นอร์เวย์ และโปแลนด์
3. ภูมิภาคอเมริกา (The Americas) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา
4. ภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asia) ได้แก่ อินเดียว
5. ภูมิภาคโอเอเชีย (Oceania) ได้แก่ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์
6. ภูมิภาคตะวันออกกลาง (Middle East) ได้แก่ อิสราเอล คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และ สหรัฐ
อาหรับเอมิเรต
180

7. ภูมิภาคแอฟริกาใต้ (South Africa) ได้แก่ อียิปต์ และ แอฟริกาใต้


การแบ่งส่วนตลาดตามลักณะของนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศและนักท่องเที่ยวภายในประเทศสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้
ตามลักษณะ (นภาพร จันทร์ฉาย, 2560 : 290 อ้างถึง บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, 2555: 85)
กลุ่มนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
1. นักท่องเที่ยวผู้หญิง (Female Tourist)

"
่านั้น
2. นักท่องเที่ยวแบบดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์
3. นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

าเท
4. นักท่องเที่ยวเยาวชน
5. นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ

ศึกษ
6. นักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว
7. นักท่องเที่ยวแบกเป้ กา ร
8. นักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มที่พำนักในประเทศไทย
9. นักท่องเที่ยวชาวไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ
เพื่อ

10. นักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการเดินทางซ้ำ
กลุ่มนักท่องเที่ยวภายในประเทศ
ิต
นดุส

1. นักท่องเที่ยวที่มีรายได้
2. กลุ่มข้าราชการ
ัยสว

3. กลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจ
4. กลุ่มครอบครัว
ยาล

5. กลุ่มผู้เกษียณอายุได้รับเงินบำนาญ
6. กลุ่มเยาวชน
าวิท

7. กลุ่มตลาด MICE (Meeting Incentive Convention and Exhibition)


"มห
181

สรุป

การดำเนินการด้านการตลาด มีส่วนประกอบ 4 P แต่สำหรับการตลาดท่องเที่ยวขยายเป็น


9 P ได้แก่ Price ได้แก่ ราคา ซึ่งต้องมีการพิจารณาราคาของสินค้าหรือบริการ ให้เหมาะสมกับสินค้า
Product ได้แก่ สินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานบริการที่มุ่งขายความพอใจให้กับลูกค้า Place ได้แก่
สถานที่ที่ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยสะดวก Promotion ได้แก่ วิธีที่จะติดต่อสื่อสารกับ

"
่านั้น
ลูกค้า เพื่อให้ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า Partnership ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวอื่นๆ
(suppliers) ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับการจัดนำเที่ยว Packaging ได้แก่ ความสามารถ

าเท
ในการนำองค์ประกอบหลายๆ หน่วยมาผสมผสานเข้าด้วยกัน แล้วขายในราคาเดียว Positioning
ได้แก่ ฐานะของบริษัทนำเที่ยว ซึ่งหมายถึงระดับความน่าเชื่อถือ และค่านิยมของบริษัทนำเที่ยว ซึ่งถือ

ศึกษ
ว่าเป็นสิ่งสำคัญ ภาพลักษณ์ของบริษัทที่มีผลต่อการขาย Programming ได้แก่ ความสามารถในการ
จัดการธุรกิจผลิตสินค้าบริการท่องเที่ยวต่างๆ ให้เป็นสินค้ าบริการที่น่าสนใจเสนอเป็นโปรแกรม
กา ร
People การจัดนำเที่ยวถือว่า เป็นสินค้าบริการที่ต้องใช้มนุษย์ทำงานกับมนุษย์
เพื่อ

คำถามทบทวน
ิต
นดุส

1. จงอธิบายคำว่า การตลาด
2. จงอธิบายคำว่า การขาย
ัยสว

3. จงอธิบายคำว่า การตลาดท่องเที่ยว
4. WTO ให้ความหมายของการตลาดท่องเที่ยวอย่างไร
ยาล

5. จงอธิบาย ขั้นตอนการเสนอขายโดยตรงต่อผู้บริโภค
าวิท

6. เฟย์ (Fay) กล่าวว่า การตลาดด้านการท่องเที่ยวประกอบด้วย 9 P ได้แก่อะไรบ้าง


7. จงอธิบายคำว่า การโฆษณา (Advertising)
"มห

8. จงอธิบายคำว่า การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)


9. จงอธิบายเทคนิคการขายหน้าร้าน
10.จงอธิบายเทคนิคการขายทางโทรศัพท์
182

เอกสารอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


จำกัด
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. นนทบุรี : หจก.
เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

"
่านั้น
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเทีย่ ว.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

าเท
พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิ ศ า ชั ช กุ ล . (2550). อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที ่ ย ว. กรุ ง เทพฯ : สำนั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์

ศึกษ
มหาวิทยาลัย
นิศศา ศิลปะเสรฐ. (2560). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
กา ร
มหาวิทยาลัย
เพื่อ
บริษัท ทีแอนด์เอ ไอเดียพลัส จำกัด (สยามทูโก). (2559). รายงานโครงการตรวจประเมินรับรอง
มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว
วินิจ วีรยางกูร. (2532). การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์และ
ิต
นดุส

บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
223

บทที่ 12
ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจนำเที่ยวเป็นผู้จัดรายการนำเที่ยวแบบเหมาจ่าย อันเป็นรายการนำเที่ยวที่นักท่องเที่ยว
จ่ายค่าบริการให้แก่ธุรกิจนำเที่ยวในราคาแบบเบ็ดเสร็จ (Package Tour) โดยราคานี้จะรวมค่าบริการ
ต่างๆ ที่การท่องเที่ยวไว้ เช่น ค่าขนส่ง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเยี่ยมชมสถานที่ ค่าใช้จ่ายระหว่าง

"
่านั้น
สนามบินถึงที่พัก เป็นต้น ซึ่งธุรกิจนำเที่ยวจะซื้อบริการต่างๆจากธุรกิจท่องเที่ยวในราคาที่ต่ำกว่าปกติ
เนื่องจากมีการซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปขายให้กับนักท่องเที่ยวในราคาที่ถูกกว่าที่

าเท
นักท่องเที่ยวซื้อบริการท่องเที่ยวเหล่านั้นเอง จึงทำให้ธุรกิจนำเที่ยวต้องมีความสัมพันธ์กับธุรกิจ
ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และปทุมพร แก้วคำ, 2560 : 169-194)

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจการขนส่ง
ศึกษ
กา ร
เพื่อ
การขนส่งเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ถ้าหากไม่มีการขนส่ง
การเดินทางท่องเที่ยวก็เกิดขึ้นไม่ได้ การขนส่งจึงเป็นยานพาหนะที่นำนักท่องเที่ยวเดินทางไปยัง
ิต

สถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเทียวต่างๆได้ ยิ่งปัจจุบันการขนส่งได้พัฒนาและขยายขอบเขตอย่าง
นดุส

กว้างขวางทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิ ภาพยิ่งขึ้น ซึ่ง


ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องมีความสัมพันธ์กับธุรกิจการขนส่ง เพื่อติดต่อซื้อบริการขนส่งประเภทที่เหมาะสม
ัยสว

และราคาที่เหมาะสมกับรายการนำเที่ยวของตน จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขนส่ง ในปัจจุบันการ


เดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเทียวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวนั้ นนิยมไปกัน 4 ทางคือ การเดินทางทาง
ยาล

ถนนหรือด้วยรถยนต์ การเดินทางทางรถไฟ การเดินทางทางน้ำ และ การเดินทางทางอากาศ จึงต้องมี


ผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งทั้ง 4 ประเภท คือ
าวิท

1. ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารธารณะ (Public Carriers) หมายถึง ผู้ผลิบริการขนส่ง


"มห

ผู้โดยสารทางถนนหรือด้วยรถยนต์ที่ให้บริการแก่สาธารณชนทั่วไป ทั้งประจำเส้นทางและไม่ประจำ
เส้นทางเพื่อรับสินจ้าง ซึ่งอาจเป็นผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารทางถนนหรือด้วยรถยนต์โดยสาร
รับจ้างไม่เกิน 7 คนหรือเกิน 7 คนก็ได้
2. ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้โดยสารตามสัญญา (Contract Carriers) หมายถึง ผู้ผลิตบริการ
ขนส่งผู้โดยสารทางถนนหรือด้วยรถยนต์เพื่อสินจ้างภายใต้สัญญาเช่าเหมาต่อเนื่องกับบุคคลหนึ่ง โดย
มีวัตถุประสงค์ในการอำนวยบริการขนส่งผู้โดยสารทางถนนหรือด้วยรถยนต์โดยสารภายในระยะเวลา
อันต่อเนื่อง และให้มีลักษณะเหมาะสมกับความต้องการอย่างชัดเจนของผู้ที่ตนรับใช้แต่ละราย
184

3. ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารส่วนบุคคล (Private Carriers) หมายถึง ผู้ผลิตบริการขนส่ง


ผู้โดยสารทางถนนหรือด้วยรถยนต์เพื่อกิจการหรือธุรกิจของตนเอง
สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทางถนนก็คือรถยนต์โดยสารที่สร้างขึ้น เพื่อใช้
งานด้านขนส่งผู้โดยสารหรือนักท่องเทียวเฉพาะ มีทั้งรถยนต์โดยสารที่สามารถบรรทุกนักท่องเทียวได้
ไม่เกิด 7 คนและเกิน 7 คน มีทั้งรถยนต์โดยสารแบบชั้นเดียสและแบบสองชั้น มีทั้งรถยนต์โดยสารที่มี
เครื่องปรับอากาศและห้องน้ำบนรถยนต์ด้วย ซึ่งอาจแบ่งรถยนต์โดยสารตามกฎหมายไทย ได้ 3

"
่านั้น
ประการคือ
(1) รถยนต์โดยสารสาธารณะ เป็นรถยนต์ที่นำรับจ้างขนส่งผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวเพื่อ

าเท
สินจ้างทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง
(2) รถยนต์โดยสารบริการ เป็นรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวเพื่อ

ศึกษ
ธุรกิจส่วนตัว แต่ไม่ใช่เป็นการให้เช่าเพื่อรับจ้างอีกต่อหนึ่ง เช่น รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการ
ทัศนาจร เป็นต้น กา ร
(3) รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล เป็นรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารหรือนักท่องเทียวเพื่อ
กิจกรรมของตนเอง เช่น รถยนต์โดยสารส่วนบุคคลของธุรกิจนำเที่ยวเอง
เพื่อ

1. ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟหรือด้วยรถไฟ หมายถึง ผู้ผลิตบริการขนส่ง


ผู้โดยสารทางรถไฟหรือรถไฟในการสนองต่อความต้องการของผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวเพื่อบำเหน็จ
ิต
นดุส

เป็นการค้า เราอาจแบ่งผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟออกได้ 2 ประเภทคือ


(1) ผู้ประกอบโดยรัฐบาล หมายถึง ผู้ผลิตบริการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟหรือด้วยรถไฟที่
ัยสว

รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการเอง โดยรัฐบาลได้ลงทุนในการผลิตบริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะให้แก่ผู้
ต้องการใช้ปริมาณบริการเพื่อสินจ้าง
ยาล

(2) ผู้ประกอบการโดยเอกชน หมายถึง ผู้ผลิ ตบริการขนส่งผู้โดยสารสารทางรถไฟรหรือ


ด้วยรถไฟที่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการลงทุนในการผลิตบริการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้ต้องการใช้บริการ
าวิท

เพื่อสินจ้างหรือเพื่อใช้ในธุรกิจของตนเอง
สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟหรือด้วยรถไฟก็คือขบวนรถไฟ ซึ่ง
"มห

ประกอบด้วยหัวรถจักรและตู้รถไฟ ซึ่งอาจเป็นตู้นั่งหรือตู้นอนหรืออาจเป็นตู้ปรับอากาศ เราสามารถ


จัดกลุ่มรถไฟตามความเร็วไ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
รถไฟกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มรถไฟที่วิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รถไฟกลุ่มนี้จัดเป็นรถไฟธรรมดา มีทั้งเป็นรถไฟดีเซลและรถไฟดีเซลราง สำหรับรถไฟดีเซลรางจะมี
ความเร็วเหรือกว่าเล็กน้อย เช่นรถดีเซลราง Sprinter สามารถวิ่งได้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นต้น
รถไฟกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มรถไฟที่วิ่งได้ด้วยความเร็วสูงระหว่าง 140-200 กิโลเมตร/
ชั่วโมง รถไฟกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งยังเป็นรถไฟที่ ขับเคลื่อนด้วยดีเซล ไม่ได้ใช้พลังไฟฟ้าและจัดเป็นรถไฟ
185

ความเร็วสูง (High Speed Train) เช่น APT (Advance Passenger Train) ของการรถไฟอังกฤษ ELT
ของการรถไฟสเปน XPT ของการรถไฟออสเตรเลีย เป็นต้น รถไฟกลุ่มนี้ยังได้พัฒนาต่อไปถึงขั้นนำ
รถไฟสองชั้นมาให้บริการ ซึ่งรถไฟ 2 ชั้นนี้จะมีความจุเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว คือ เพิ่มจากความจุตู้ละ
ประมาณ 70 ที่นั่ง เป็น 132 ที่นั่งหรือมากกว่านั้น
รถไฟกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มรถไฟที่วิ่งได้ด้วยความเร็วสูงกว่า 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง รถไฟ
กลุ่ ม นี้ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยพลั ง ไฟฟ้ า ซึ่ ง รถไฟด่ ว นพิ เ ศษ (Bullet Train) จั ด อยู่ ใ นกลุ่ ม นี้ รถไฟ

"
่านั้น
Bullet Train ที่รู้จักกันมากที่สุดเห็นจะเป็นรถไฟชิงกันเชน (Shinkansen) ของญี่ปุ่น และรถไฟ TGV
ของฝรัง่ เศส โดยรถชิงกันเชนของญี่ปุ่นเป็นผู้บุกเบิกโลกแห่งรถไฟความเร็วสูง แต่รถไฟ TGV จัดว่าเป็น

าเท
รถไฟที่วิ่งบนรางได้เร็วที่สุดในโลก เพราะว่าวิ่งได้ถึง 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง นอกจากนั้นก็มีรถไฟ
Bullet Train ของประเทศอื่นๆ แต่ความเร็วไม่สูงเท่าของฝรั่งเศสกับญี่ปุ่น

ศึกษ
2. ผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผู้โดยสารทางน้ำหรือทางเรือ หมายถึง ผู้ผลิตบริการขนส่งผู้โดยสาร
ทางน้ำด้วยการนำเรือโดยสารเก่ามาดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ให้มีลักษณะเป็นเรือสำราญ ซึ่งมี
กา ร
ห้องนอน ห้องอาหาร ห้องประชุม ห้องเล่นเกมส์ ห้องดิสโก้เธค ไนต์คลับ คาสิโน โรงหนังขนาดเล็ก
สระว่ายน้ำ ฯลฯ โดยผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผู้โดยสารทางเรือ สำราญจะจำหน่ายตั๋วแก่ผู้โดยสารหรือ
เพื่อ

นักท่องเที่ยวในลักษณะเหมาจ่าย ให้บริการที่รวดเร็ว สะดวกสบาย ห้องพักทันสมัย บริการอาหารและ


เครื่องดื่มดีเยี่ยม
ิต
นดุส

(1) ผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือเฟอรี่ หมายถึง ผู้ผลิตบริการขนส่งทางน้ำด้วย


เรือที่สามารถบรรทุกทั้งผู้โดยสารและรถยนต์ในการเดินทางข้ามทะเลหรือช่องแคบ เพื่อย่นระยะเวลา
ัยสว

ในการเดินทางหรือพานักท่องเที่ยวชมทะเลก็ได้ ต่อมาได้มีการต่อเรือเฟอรี่ประเภท Hydrofoils และ


Hovercraft ขึ้นมาใช้
ยาล

(2) ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือยอร์ช หมายถึง ผู้ผลิตบริการขนส่งทาง


น้ำด้วยเรือยอร์ชให้แก่นักท่องเทียวที่มีรายได้สูงพอสมควรในลักษณะท่องเที่ยวทางน้ำแบบส่วนตัว
าวิท

3. ผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผู้โดยสารทางอากาศหรือด้วยเครื่องบิน หมายถึง ผู้ผลิตบริการขนส่ง


ผู้โดยสารทางอากาศหรือด้วยเครื่องบินในการสนองความต้องการของผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวเพื่อ
"มห

บำเหน็จเป็นการค้า หรือที่เรียกกันว่าบริษัทการบินหรือที่เรียกกันว่าบริษัทการบินหรือสายการบิน เรา


อาจแบ่งสายการบินออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
(1) สายการบินประจำมีกำหนด (Scheduled Airline) หมายถึง สายการบินที่ให้บริการ
ขนส่งผู้โดยสารทางอากาศประจำเส้นทางมีกำหนดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อสินจ้าง
ตามตารางการบินที่กำหนดไว้แน่นอน
(2) สายการบินไม่ประจำ (Non-scheduled Airline) หมายถึง สายการบินที่ให้บริการ
ขนส่งผู้โดยสารทางอากาศทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในลักษณะเป็นสายการบินเช่าเหมา
186

หรือการบินพิเศษอื่นๆ ที่ไม่มีลักษณะการบริการประจำมีกำหนดเพื่อสินจ้าง และไม่มีการกำหนดเวลา


ที่แน่นอน
สำหรับเครื่องบินโดยสารที่สร้างขึ้นเพื่อบริการขนส่งผู้โดยสารนั้นมีที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร
ชั้นต่างๆ อยู่ 3 ชั้น คือ ที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ที่นั่งผู้โดยสารชั้นธุรกิจ และที่นั่งผู้โดยสารชั้นประหยัด
เราสามารถแบ่งเครื่องบินโดยสารได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- เครืองบินโดยสารใบพั ด เป็นเครื่องบินโดยสารที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัดโดยมี

"
่านั้น
เครื่องยนต์ตั้งแต่ 2-4 เครื่องยนต์ เครื่องบินโดยสารแบบนี้เหมาะสำหรับการบินในเพดานต่ำ เพราะ
ประหยัดน้ำมันได้มาก ต้องการทางวิ่งในการขึ้น ลงสั้น และง่ายต่อการควบคุมการขึ้นลง แต่มีความเร็ว

าเท
ต่ำ (ไม่เกิน 300 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- เครื่องบินโดยสารไอพ่น เป็นเครื่องบิน โดยสารที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นตั้งแต่ 2-4

ศึกษ
เครื่องยนต์ เครื่องบินโดยสารแบบนี้บินได้ประหยัดในเพดานบินสูง (ตั้งแต่ระดับ 40,000 ฟุตขึ้นไป) มี
ความเร็วสูง (ประมาณ 600 ไมล์ต่อชั่วโมง) แต่การขึ้นลงอุ้ยอ้าย ต้องทำการวิ่งในการขึ้นลงยาว การ
กา ร
ควบคุมขึ้นลงยาก และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมาก แต่เป็นที่นิยมของผู้โดยสารในยุคนี้ เพราะ
สามารถเดินทางไปถึงที่หมายได้รวดเร็ว บริษัทผลิตเครื่องบินโดยสารประเภทนี้ที่สายการบินนิยมซื้อ
เพื่อ

มาใช้มี 2 บริษัท คือ บริษัทโบอิ้งของสหรัฐอเมริกา ผลิตเครื่องบินโบอิ้งแบบต่างๆ และบริษัทแอร์บัส


อินดัสตรี้ จำกัดของฝรั่งเศส ผลิตเครื่องบินแอร์บัสแบบต่างๆ
ิต
นดุส

- เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง เป็นเครื่องบินโดยสารที่มีความเร็วเหนือเสียง
(ซึ่งเสียงมี ความเร็ว 760 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 1 มัค) ซึ่งมีเครื่องบินคอนคอร์ดสามารถบินได้ด้วย
ัยสว

ความเร็ว 2.2 เท่าของเสียง และบินในเพดานสูงมาก ตั้งแต่ 45,000 ฟุตขึ้นไปถึง 80,000 ฟุต ปัจจุบัน
ได้หยุดการบินให้บริการแล้ว
ยาล

จึงเห็นได้ว่าธุรกิจนำเที่ยวจะต้องใช้บริการขนส่งผู้โดยสาร เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถ
เดินทางมาเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวได้ ทำให้ธุรกิจนำเที่ยวต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจการขนส่งดังต่อไปนี้
าวิท

คือ
(1) การเจรจาระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับสายการบิน ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ได้จัด
"มห

รายการนำเที่ยวแล้ว จะต้องมีข้อมูลเพื่อประกอบการเจรจากับสายการบิน ดังต่อไปนี้


- จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะไปกับรายการนำเที่ยว
- จุดหมายปลายทางของรายการนำเที่ยวนี้
- วัน เวลา และฤดูกาล ออกเดินทางไปและกลับของรายการนำเที่ยวนี้
- ชั้นผู้โดยสารที่ต้องการ (ชั้นหนึ่ง/ชั้นธุรกิจ/ชั้นประหยัด)
- ประเภทของเครื่องบินที่จะใช้ (เครื่องบินประจำ/เครื่องบินเช่าเหมา)
187

(2) ความรู้เกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารของเครื่องบิน ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะต้องมี


ความรู้เกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารของสายการบินที่กำหนดโดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่าง
ประเทศ (International Air Transport Association) หรือเรียกชื่อย่อๆว่า IATA ซึ่งจะใช้กับสายการ
บินทุกสายโดยมีอัตราค่าโดยสารประเภทต่างๆ ดังนี้
- Full Fare เป็ น ตั๋ ว โดยสารเต็ ม ราคาที่ ใ ช้ กั บ บุ ค คลทั่ ว ไป โดยคิ ด คำนวนจาก
ระยะทางเป็นหลัก มีอายุการใช้งาน 1 ปีนับแต่วันออกตั๋ว หากผู้โดยสารมีความจำเป็นต้องใช้นานกว่า

"
่านั้น
นี้ต้องแจ้งให้สายการบินที่ออกตั๋วทราบก่อน หากตั๋วหมดอายุแล้วจะต้องเสียค่าปรับในการออกตั๋ว
โดยสารให้ใหม่

าเท
- Excursion Fare เป็นตั๋วโดยสารที่ขายให้แก่บุคคลทั่วไป แต่มีเงื่อนไขในการซื้อ
ตั๋ว เช่น จะต้องพักในท้องถิ่นนั้นตามเกณฑ์กำหนด ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ หรือซื้อตั๋วไป-กลับ

ศึกษ
เป็นต้น โดยราคาตั๋วจะถูกกว่าราคาตั๋วเต็มประมาณ 20-40%
- Group Fare เป็นตั๋วโดยสารที่ขายให้แก่กลุ่มนั กเดินทาง โดยกำหนดจำนวนขั้น
กา ร
ต่ำของบุคคลในกลุ่มไว้ และการใช้ตั๋วจะมีกำหนดเวลาขั้นต่ำไว้อย่างแน่นอน
- Inclusive Tour Fare เป็นตั๋วโดยสารราคาพิเศษที่ขายให้แก่บริษัทนำเที่ยวหรือ
เพื่อ

ตัวแทนการท่องเที่ ยวนั้น โดยราคาตั๋วมักจะรวมค่ารถรับส่งจากสนามบินถึงที่พักในเมือง ค่าที่ พัก


ค่าอาหาร และบางครั้งจะรวมค่าทัศนศึกษาไว้ด้วย
ิต
นดุส

- Advance Payment Excursion เป็นตั๋วโดยสารราคาพิเศษที่ขายให้แก่บุคคล


ทั่วไป ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน
ัยสว

(3) การเตรียมตัวเดินทางด้วยเครื่องบิน ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง


เพื่อให้รายการนำเที่ยวครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังต่อไปนี้
ยาล

- การสำรองที่นั่ง ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องทำการสำรองที่นั่งจากสายการบินที่ใช้
บริการ โดยแจ้งรายละเอียด ดังนี้
าวิท

(ก) เส้นทางที่จะเดินทาง เช่น CNX-BKK , BKK-KTM , LAX-CNX เป็นต้น


(ข) วันที่จะเดินทาง เที่ยวบินไปหรือกลับ ชั้นของบริการ ชื่อของผู้โดยสาร
"มห

(ค) จำนวนผู้โดยสาร
(ง) ที่อยู่ที่ติดต่อได้
(จ) ชื่อของผู้ที่ติดต่อได้
(ฉ) นัดหมายเวลาออกตั๋ว
(ช) Special Service Requirements เช่น อาหารพิเศษต้องขอก่อนเครื่องออก
48 ชั่วโมง การเลือกแถวที่นั่งต้องขอก่อน 48 ชั่วโมงเช่นกัน เป็นต้น
188

- การตรวจสอบเอกสารเดินทาง ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องทำการตรวจสอบเอกสาร
เดินทางของลูกทัวร์ให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางท่องเที่ยว ดังนี้
(ก) Passport โดยปกติควรมีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่บางประเทศอาจระบุ
ต้องมีอายุ 3 เดือน หรือมีอายุครอบคลุมระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศนั้น
(ข) Visa ต้องติดต่อกับสถานทูตเพื่อออก Visa ก่อนออกเดินทาง ควรตรวจสอบ
ประเภทของ Visa ด้วย เช่น Single Visa, Multiple Visa บางประเทศอนุญาตให้ขอ Visa on Arrival

"
่านั้น
ด้วย เป็นต้น ถ้าหาก Valid Visa ที่อยู่ใน Expired Passport ถือวาใช้ไม่ได้
(ค) Certificate ต้ อ งศึ ก ษาว่ า ประเทศที่ จ ะเดิ น ทางไปมี ก ารกำหนดให้ มี

าเท
Certificate of Vaccination อะไรบ้าง เช่น Malaria, Plague, Yellow Fever, Cholera เป็นต้น
(4) บัตรโดยสาร ธุรกิจนำเที่ยวสามารถออกบัตรโดยสารพร้อมการสำรองที่นั่งได้หรือนัด

ศึกษ
เวลาออกบัตรโดยสารในภายหลังได้ดังนี้
- บัตรโดยสารภายในประเทศจะมีอายุ 90 วัน นับจากวันที่ออกบัตรฯ ส่วนบัตร
กา ร
โดยสารต่างประเทศจะมีอายุ 1 ปี นับจากวันเดินทางหรือวันที่ออกตั๋ว
- บัตรโดยสาร PTA (Prepaid Ticket Advice) เป็นการแจ้งเรื่องการชำระ
เพื่อ

เงินค่าตั๋วล่วงหน้าตามรายละเอียดที่ระบุในข่าวสารนั้นให้แก่อีกบุคคลหนึ่งในเมืองหนึ่ง การติดต่อ
ขอรับบัตรโดยสาร PTA ต้องติดต่อที่สำนักงานขายเท่านั้น
ิต
นดุส

- ราคาค่าโดยสาร บัตรโดยสารภายในประเทศราคาจะถูกกำหนดโดยสายการ
บินและอนุมัติโดยรัฐบาล จะไม่มีราคาพิเศษ ยกเว้นผู้โดยสารบางประเภทตามที่ระบุไว้
ัยสว

- ในกรณีตั๋วหาย ให้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ แล้วนำใบแจ้งความมาแจ้งที่


สำนักงานขายของบริษัทการบินฯ โดยตั๋วต่างประเทศจะออกใหม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม $25 หรือ
ยาล

ประมาณ 1,000 บาท ส่วนตั๋วภายในประเทศต้องซื้อตั๋วใหม่ สำหรับตั๋วที่หายนั้นจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อ


ตรวจสอบแล้ว่าไม่มีผู้ใดนำตั๋วไปใช้ ก็จะได้รับเงินคืนภายหลังประมาณ 4 เดือน โดยเสียค่าธรรมเนียม
าวิท

ฉบับละ 200 บาท


- การคืนตั๋ว ตั๋วภายในประเทศเสียค่าธรรมเนียฉบับละ 200 บาท และตั๋ว
"มห

ต่างประเทศเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 800 บาท


- บัตรโดยสารต่างประเทศที่มีกำหนดระยะเวลาและราคาพิเศษ จะมีข้อจำกัด
ระบุไว้ เช่น Non Endorsable, Non Refund, Valid On TG Only, Valid On Flight Date Shown
Only เป็นต้น
- บัตรโดยสารที่มีการแก้ไข โดยขูด ลบ ขีดฆ่า ถือเป็นโมฆะ ใช้เดินทางไม่ได้
- สายการบินจะปฏิเสธไม่รับขนผู้โดยสารหรือให้ผู้โดยสารลงจากเครื่องบิน ณ
แห่งใดแห่งหนึ่งในเส้นทางบินภายใต้เงื่อนไขดังนี้
189

(ก) ผู้โดยสารที่ปฏิเสธการแสดงตัวหรือปฏิเสธที่จะให้กระเป๋าเดินทางผ่านการ
ตรวจสอบของหน่วยงานควบคุมความปลอดภัย
(ข) ผู้โดยสารที่ไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิเสธที่จะเชื่อฟังกฎ ระเบียบเกี่ยวกับความ
ปลอดภัย หรือข้อจำกัดของสายการบิน
(ค) ผู้โดยสารที่มีอาการมึนเมา ปรากฏให้เห็น เนื่องจากดื่มสุราและยาเสพติด
(ง) ผู้โดยสารที่มีอากัปกิริยาที่จะต้องได้รับการควบคุมดูแลจากแพทย์และ

"
่านั้น
พยาบาล ซึ่งอาจเป็นอันตรายหรือแสดงอาการไม่ต่อผู้โดยสารอื่นๆได้
(จ) ผู้โดยสารที่มีร่างกายอ่อนแอถึงขั้นที่เมื่อเดินทางแล้จะก่อความยุ่งยากหรือ

าเท
ทำให้เสียชีวิตได้
(ฉ) ผู้โดยสารที่จะต้องมีพยาบาลดูแลเป็นการส่วนตัวในระหว่างการเดินทาง แต่

ศึกษ
ต้องเดินทางคนเดียว
(ช) ผู้โดยสารที่ถูกใส่กุญแจมือ
กา ร
(ซ) ผู้โดยสารที่ใช้บัตรโดยสารที่ออกให้คนอื่น
(5) น้ำหนักสัมภาระติดตัว ผู้โดยสารแต่ละคนจะได้รับสิทธิน์ ำสัมภาระติดตัดวังต่อไปนี้
เพื่อ

- ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง สามารถนำสัมภาระติดตัวได้ไม่เกิน 40 กิโลกรัม หรือ 88


ปอนด์
ิต
นดุส

- ผู้โดยสารและชัน้ ธุรกิจ สามารถนำสัมภาระติดตัวได้ 3 กิโลกรัมหรือ 66 ปอนด์


- ในกรณีที่ผู้โดยสารนำสัมภาระไปเกินน้ำหนักที่กำหนด จะต้องชำระค่า
ัยสว

น้ำหนักส่วนที่เกินในอัตรา 1.5% ของอัตราค่าโดยสารชั้นประหยัดเที่ยวเดียวต่อ 1 กิโลกรัมหรือ 2.2


ปอนด์ และสายการบินจะรับผิดชอบต่อการสูญเสีย ล่าช้า หรือความเสียหายที่เกิดแก่สัมภาระเดินทาง
ยาล

ของผู้โดยสารในอัตราจำนวนตามระเบียบของบริษัทเท่านั้น เช่น กระเป๋าหาย หรือพลัดหลง หรือ


ชำรุด บริษัทจะชดใช้ตามอัตราที่กำหนดเป็นระเบียบ
าวิท

(6) ข้อห้ามเพื่อความปลอดภัยในการโดยสารเครื่องบิน ห้ามผู้โดยสารพกพาวัตถุอัน


ก่อให้เกิดอันตรายต่อไปนี้ขึ้นเครื่องบิน
"มห

- ก๊าซอัดชนิดมีเปลว ไม่มีเปลวและพิษ เช่น บูเทน ออกซิเจน โพรเพน


- สารกัดกร่อน เช่น สารที่เป็นกรด สารที่เป็นด่าง แบตเตอรี่บรรจุสารเหลว
- สารแพร่เชื้อ เช่น บักเตรี ไวรัส เป็นต้น
- วัตถุระเบิด อาวุธ รวมทั้งยุทโธปกรณ์ทั้งหมด พลุคบเพลิง (ของมีคม เช่น
มีด มีดตัดกระดาษ มีดพับขนาดใหญ่ ไม่ควรพกติดตัว เพราะอาจถูกยุดไว้ ควรบรรจุลงในกระเป๋า
เดินทางที่จัดส่งโดยสั่งน้ำหนัก)
- วัตถุไวไฟ รวมวัตถุไวไฟทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง เช่น ก๊าซไฟแช็ก
190

หรือก๊าชใช้ความร้อน ไม้ขีดไฟ และวัตถุปอื่น ๆ ที่ติดไฟง่าย เป็นต้น


- สารกัมมันตรังสี วัตถุออกชิไดซ์ เช่นที่ใช้ฟอกสิ่งของให้ขาว สารเพอร์
ออกไซด์ เป็นต้น
- วัตถุอันตรายอื่นๆ เช่น สารปรอท วัตถุที่มีอำนาจแม่เหล็ก วัตถุที่น่ารังเกียจ
และรบกวนผู้โดยสารอื่นๆ เช่น บริษัทการบินไทยจำกัดห้ามนำทุเรียนขึ้นเครื่องบิน ส่วนยาและ
เครื่องสำอางค์ที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น สเปรย์ฉีดผม น้ำหอม จะต้องพกพาในปริมาณที่จำเป็นระหว่าง

"
่านั้น
ระยะเวลาการเดินทางเท่านี้น เป็นต้น
นอกจากนั้นขณะที่อยู่บนเครื่องบินที่กำลังเดินทาง ผู้โดยสารจะได้ยินประกาศห้ามใช้

าเท
เครื่องมือสื่อสารหรืออุปกรณ์ที่จะรบกวนระบบสื่อสารของเครื่องบิน เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ วิทยุ
เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจที่พักแรม
ศึกษ
กา ร
ธุรกิจที่พักแรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ ยว เมื่อมี
เพื่อ

การเดินทางท่องเที่ยว จำเป็นต้องใช้บริการที่พักแรมในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว ในการจัด


รายการนำที่ยวนั้นธุรกิจนำเที่ยวจำต้องรู้จักที่พักแรมแต่ละประเภทว่ามีลักษณะการให้บริการอย่างไร
ิต
นดุส

เพื ่ อ จะได้ เ ลื อ กประเภทและระดั บ ที ่ พ ั ก แรมบรรจุ ล งในรายการนำเที ่ ย วได้ อ ย่ า งเหมาะสมกั บ


นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ธุรกิจนำเที่ยวต้องมีความสัมพันธ์กับธุรกิจที่พักแรกที่ติดต่อซื้อบริการ
ัยสว

ที่พักแรมตามประเภทที่เหมาะสมและราคาที่เหมาะสม จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่พักแรม ซึ่งที่


พักแรมตามความหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หมายถึง สถานที่ที่นักท่องเที่ ยวใช้
ยาล

พักระหว่างการเดินทางท่องเทียว อาจแบ่งเป็นประเภทที่พักตามลักษณะการใช้ได้ 2 ปรเภทใหญ่ๆ คือ


1. ที่พักประเภทโรงแรม (Hotel) หมายถึง ที่พักแรมที่สร้างขึ้นเฉพาะและแบ่งเป็นห้อง มีสิ่ง
าวิท

อำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วขายห้องพร้อมบริการแก่นักท่องเที่ ยว โดยเก็บค่าเช่าเป็นรายห้อง อาจ


เป็นโรงแรมทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งโรงแรมขนาดใหญ่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 100 ห้องขึ้นไป มี
"มห

สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องปรับอากาศ ห้องชุด ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องประชุม สระ


ว่ายน้ำ สถานบันเทิง สถานบริการต่างๆ ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกต่างๆ ตลอดจนบริการแลกเปลี่ยน
เงินตรา บริการไปรษณีย์โทรเลข บริการรับ/ส่ง เป็นต้น โดยคิดอัตราค่าเช่าห้องพักวั นละตั้งแต่ 400
บาทขึ้นไป ส่วนโรงแรมขนาดเล็กมีจำนวนห้องพักน้อยกว่า 100 ห้อง มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
น้อยกว่าโรงแรมขนาดใหญ่ และมีอัตราค่าเช่าห้องพักต่ำกว่าวันละ 400 บาท
2. ที่พักแรมประเภทอื่นๆ ได้แก่ โมเต็ล เรือนแรมหรือเกสท์เฮ้าท์ บังกะโลก หอพัก บ้านพัก
ในหมู่บ้านหรือบ้านพักในฟาร์ม ที่ตั้งแคมป์ บ้านญาติมิตร บ้านรับรอง ที่พักในวัด เป็นต้น
191

เราจะศึกษาเฉพาะธุรกิจโรงแรมเท่านั้น เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
พร้อมมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายให้แก่ผู้ใช้บริการและธุรกิจนำเที่ยว อีกทั้งยังเป็นที่นิยมข อง
นักท่องเที่ยวโดยทั่วไป
(1) ประเภทของธุรกิจโรงแรม เราอาจแบ่งประเภทของธุรกิจโรงแรมตามที่ธุรกิจนำเที่ยว
นิยมใช้อยู่ 4 ประเภท คือ
(1.1) ธุรกิจโรงแรมย่านการค้า (Commercial Hotel) เป็นธุรกิจโรงแรมที่สร้างขึ้นในย่าน

"
่านั้น
ธุรกิจการค้า ผู้ที่มาพักมักเป็นนักธุรกิจ ทางโรงแรมทีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มาก อาจจะมี
เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ในห้องพัก มักนิยมใช้โรงแรมประเภทนี้จัดประชุมสัมมนา แต่สำหรับธุรกิจนำ

าเท
เที่ยวมักจะเลือกใช้โรงแรมประเภทนี้เป็นที่พักแรมของ Group Tour เพราะอยู่ในย่านชุมชนสะดวก
สำหรับนักท่องเทียวที่จะไปไหนมาไหน และมักพักระยะสั้น

ศึกษ
(1.2) ธุรกิจโรงแรมตามสถานที่ตากอากาศ (Resort Hotel) เป็นธุรกิจโรงแรมที่สร้างขึ้น
ตามบริเวณแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามตามธรรมชาติและโบราณสถานต่างๆ เช่น โรงแรมตากอากาศ
กา ร
ชายทะเล โรงแรมตากอากาศบนภูเขา โรงแรมตากอากาศใกล้ปราสาทหรือวังเก่า เป็นต้น ธุรกิจ
โรงแรมประเภทนี้มักมีการจัดกิจกรรมเสริมให้ เช่น การเดินป่า ปีนเขา ตกปลา เป็นต้น ธุรกิจนำเที่ยว
เพื่อ

จะใช้บริการของโรงแรมประเภทนี้กับนักท่องเทียวที่ชอบธรรมชาติและโบราณสถาน มักพักแรมหลาย
วัน
ิต
นดุส

(1.3) ธุรกิจโรงแรมใกล้ท่าอากาศยาน (Airport Hotel) เป็นธุรกิจโรงแรมที่จัดสร้างขึ้นใกล้


สนามบิน จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมมูล ห้องพักจะบุด้วยวัสดุกันเสียงรบกวนจากการขึ้นลงของ
ัยสว

เครื่องบิน ธุรกิจนำเที่ยวมักใช้บริการของโรงแรมประเภทนี้เมื่อต้องพานักท่องเทียวออกเดินทางใน
ตอนเช้ามืด หรือในกรณีที่เครื่องบินเสียเวลามากหรือยกเลิกเที่ยวบิน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและ
ยาล

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหวางโรงแรมกับสนามบิน
(1.4) ธุรกิจโรงแรมเศรษฐกิจหรือประหยัด (Budget/Economy Hotel) เป็นธุรกิจโรงแรม
าวิท

ที่เสียค่าห้องพักถูก อาจตั้งอยู่ในย่านธุรกิจหรือที่อื่นๆก็ได้ เหมาะสำหรับธุรกิจนำเที่ยวที่จัดรายการนำ


เที่ยวในราคาประหยัด สิ่งอำนวยความสะดวกอาจจะมีไม่มากนัก แต่ค่าห้องพักถูก
"มห

2. การติดต่อกับธุรกิจโรงแรม ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องติดต่อเรื่องที่พักแรมกับธุรกิจโรงแรม โดย


ติดต่อกับแผนกต้อนรับ (Front Office) ของโรงแรม ซึ่งเป็นแผนกที่มีหน้าที่ให้การสำรองห้องพักและ
การนำนักท่องเทียวเข้าพัก
(1) สำรองห้องพัก เป็นการสำรองห้องพักล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าพัก โดยติดต่อกับฝ่าย
สำรองห้องพัก (Reservation) ของโรงแรม พร้อมแจ้งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสำรองห้องพัก
ทราบดังต่อไปนี้
(1.1) วัน เวลา เข้าพักและออก
192

(1.2) จำนวนห้องพักและประเภทของห้องพักที่ต้องการ
(1.3) จำนวนผู้เข้าพัก
(1.4) ชื่อของมัคคุเทศก์ที่นำคณะทัวร์เข้าพัก
(1.5) ระบุความต้องการพิเศษ เช่น ขอให้จัดดอกไม้หรือผลไม้ในห้องพัก ขอรถรับ -ส่ง
สนามบิน เป็นต้น
(2) การนำนักท่องเที่ยวเข้าพัก เป็นการต้อนรับของโรงแรมต่อ ผู้เข้าพัก โดยมีเจ้าหน้าที่

"
่านั้น
ตำแหน่งผู้ประสานงานทัวร์ (Tour Coordinator) ของโรงแรมจะเป็นผู้ประสานงานกับธุรกิจนำเที่ยว
ตั้งแต่การต้อนรับ การลงทะเบียนเมื่อเข้าพัก และแจกกุญแจห้องพักตามที่ได้จัดไว้

าเท
(3) ความรู้เกี่ยวกับห้องพัก ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องมีความรู้เกี่ยวกั บห้องพักของโรงแรม ซึ่ง
โรงแรมจะมีประเภทเตียง ดังนี้ (สุชาติ ทวีพรปฐมกุล, 2556 : 111)

ศึกษ
(3.1) ห้องพักเดี่ยว (Single Room, SGL) เป็นห้องที่มีเตียง 1 หรือ 2 เตียง แต่มี
จำนวนผู้เข้าพักเพียง 1 คน การตกแต่งแบบธรรมดาและห้องมีสุขภัณฑ์ นอกจากนั้นยังมีของขบเคี้ยว
กา ร
และเครื่องดื่มไว้บริการในห้องพัก
(3.2) ห้องพักคู่ (Twin or double Room, TWB or DBL) เป็นห้องพักที่มี 2 เตียงวาง
เพื่อ

แยกกัน และมีจำนวนผู้เข้าพัก 2 คน ลักษณะการตกแต่งและสุขภัณฑ์เหมือนกับห้องพักเดี่ยว ข้อ


แตกต่างระหว่าง Twin Room และ Double Room คือ
ิต
นดุส

(3.2.1) Twin Room ใช้เตียงขนาดเตียงเดียว 2 เตียงวางแยกกัน


(3.2.2) Double Room ใช้เตียงขนาดเตียงเดียว 2 เตียงวางชิดกัน หรือเตียง
ัยสว

ขนาด King size 1 เตียง


(3.3) ห้องพัก 3 คน (Triple Bed) เป็นห้องพักแบบห้องพักคู่และมีเตียงเสริมสำหรับผู้
ยาล

เข้าพัก 3 คน
(3.4) ห้องเดอลุกซ์ (Deluxe) หรือ จูเนียร์สูท (Junior Suite) เป็นห้องพักที่กว้างและมี
าวิท

การตกแต่งดีกว่าห้องธรรมดา แบ่งเป็น 2 ตอนคือ ตอนแรกเป็นห้องนั่งเล่นหรือรับแขก และตอนที่ 2


เป็นห้องนอนและห้องสุขภัณฑ์ การแบ่งส่วนของห้องพักมักจะใช้ฉากกั้น (Partition)
"มห

(3.5) ห้ อ งชุ ด (Suite) เป็ น ห้ อ งพั ก ที่ มี ลั ก ษณะคล้ า ยกั บ ห้ อ งเดอลุ ก ซ์ แต่ จ ะมี ก าร
ตกแต่งที่หรูหรากว้างขวางกว่า ประกอบด้วยห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น มีโทรทัศน์ ตู้เย็นพร้อมของ
ขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ซึ่งแยกจากห้องนอนโดยมีผนังกั้น พักพักที่เป็นห้องชุดจะอยู่ในด้านที่ดีที่สุดของ
โรงแรม สามารถเห็นทิวทัศน์สวยงาม เช่นห้องพักหันหน้าเข้าหาทะเล (Sea View) หันหน้าเข้าหา
ภูเขา (Mountain View) หันหน้าเข้าหาแม่น้ำ (River View) หรือหันหน้า เข้าหาตัวเมืองในกรณีที่
โรงแรมอยู่นอกเมือง เป็นต้น
193

(3.6) ห้องชุดแบบพิเศษ (Royal Suite, Penthouse) เป็นห้องพักที่โรงแรมตั้งแต่


ระดับ 3 ดาวขึ้นไปมีให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนมากจะมีห้องชุดพิเศษ 1 ห้องเพื่อต้อนรับแขกระดับ
VIP อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงแรม เช่น Presidential Suite, Imperial Suite เป็น
ต้น นอกจากห้องชุดพิเศษแล้วก็จะมีห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัวสำหรับเตรียมอาหาร
ห้องสุขภัณฑ์และมีห้องนอน 2 ห้อง
(3.7) ห้องพักติดกัน (Adjoining Room) คือ ห้องพักติดกันส่วนใหญ่ ใช้กับแขกที่มา

"
่านั้น
ด้วยกัน
(3.8) ห้องพัก 2 ห้องที่มีประตูเชื่อม (Connecting Room) คือ ห้องพัก 2 ห้องติดกัน

าเท
จะมีประตูเข้าออกของแต่ละห้องแล้วยังมีประตูเชื่อมระหว่าง 2 ห้องได้อีกด้วย
(3.9) ห้องพักที่มีตำแหน่งตรงข้ามหรือเยื้องกัน (Adjacent Room) คือ ห้องพักที่ทาง

ศึกษ
โรงแรมจัดให้กับแขกที่มาเป็นกลุ่มเดียวกัน
กา ร
ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจอาหาร
เพื่อ

นักท่องเที่ยวจะต้องรับประทานอาหารในขณะเดินทางท่องเที่ ยวอย่างน้อยวันละ 3 มื้อ ทำให้


ธุรกิจท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับธุรกิจอาหารเพื่อติดต่อซื้ อบริการอาหารประเภทที่
ิต
นดุส

เหมาะสมในราคาที่เหมาะสม จึงควรที่ ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวต้อง


คำนึงถึงเรื่องอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจให้รับประทานในยานพาหนะที่ใช้เดินทางนั้นเลย เช่น
ัยสว

บนรถทัวร์ เครื่องบิน รถไฟ เรือท่องเที่ยว หรือแวะกินตามร้านอาหารข้างทาง เป็นต้น เมื่อถึงจุดหมาย


ปลายทางอาจจะรับประทานอาหารตามภัตตาคารหรือร้านอาหาร โดยภัตตาคารจะเป็นสถานที่ขาย
ยาล

อาหารชนิดหรูหรา บางแห่งอาจมีดนตรีหรือรายการบันเทิงไว้จูงใจนักท่องเที่ยวด้วย ส่วนร้านอาหาร


เป็นสถานที่ขายอาหารประเภทพื้นๆ โดยคำนึงถึงความวิจิตรหรูหรา ในโรงแรมใหญ่ๆ ที่ได้มาตรฐาน
าวิท

ระดับสากลจะมีบริการอาหารนานาชนิดสำหรับนักท่องเที่ ยวต่างประเทศที่เข้ามาพั ก เพื่อช่วยให้


นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเขา นักท่องเที่ยวบางคนอาจไม่กล้าที่จะชิมอาหารพื้นเมืองนัก
"มห

เพราะเกรงว่าจะทำให้ท้องเสียเนื่องจากความไม่เคยชิน และหากไม่มีอาหารที่เขาคุ้นเคยอาจทำให้หมด
สนุก ดังนั้นตามโรงแรมใหญ่ จึงจัดอาหารนานาชาติหรือห้องอาหารเฉพาะชาติไว้บริการนักท่องเที่ ยว
ชาวต่ า งชาติ รวมทั ้ ง คนไทยที ่ ต ้ อ งการรั บ ประทานอาหารต่ า งชาติ ด ้ ว ย เช่ น ห้ อ งอาหารญี ่ ปุ่ น
ห้องอาหารจีน ห้องอาหารเกาหลี ห้องอาหารฝรั่งเศส ห้องอาหารเยอรมัน เป็นต้น นับได้ว่าประเทศ
ไทยมีอาหารนานาชาติ หรื อ เฉพาะชาติ ไ ว้ค อยบริก ารและสนองความต้อ งการด้ านอาหารให้ แ ก่
นักท่องเทีย่ วต่างชาติได้เป็นอย่างดี
194

อาหารนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยวคาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ดี รับประทานอาหาร
อร่อย สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ คุณภาพ ความสะอาด รสชาติ และปริมาณ เลือกร้านที่มีโต๊ะหรือบริเวณ
กว้างมีพนักงานที่เพียงพอในการให้บริการ ประเภทของภัตตาคาร ที่นิยมนำนักท่องเที่ยวไปใช้บริการ
ได้แก่ (สุชาติ ทวีพรปฐมกุล, 2556: 92-93)
1. ภัตตาคารหรือร้านอาหารท้องถิ่น อาหารประจำชาติ อาหารพื้นเมือง ซึ่งการตกแต่งใน
บรรยากาศเข้ากับเมืองนั้น ๆ

"
่านั้น
2. ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดการแสดงให้แขกชม โดยมากเป็นอาหารพื้นเมือง ซึ่งจะมีการ
แสดงพื้นเมืองให้ได้ชม

าเท
3. ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดแบบบุฟเฟ่ต์ ร้านประเภทนี้นิยมตกแต่งสวยงาม มีอาหาร
หลากหลายให้เลือก ปริมาณมากพอกับความต้องการของผู้บริโภค

ศึกษ
4. ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดรายการแบบเซ็ตโต๊ะ โดยมีกับข้าวอยู่ตรงกลาง เลือกอาหาร
ล่วงหน้า อาจเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายหัวหรือเหมาเป็นโต๊ะ การรับประทานแบบนี้เป็นที่นิยม
กา ร
5. ภัตตาคารอาหารจานด่วน เน้นความรวดเร็ว สามารถเลือกใช้บริการได้ แต่บริษัทนำเที่ยว
ไม่นิยมอาจจะใช้กรณีเพื่อให้ลูกทัวร์หาอาหารว่างรับประทานระหว่างมื้อหลัก
เพื่อ

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่ม


สากล เนื่องจากชาวตะวันตกส่วนใหญ่นิยมดื่มเครื่องดื่มควบคู่ไปกับอาหาร เพื่อการย่อยอาหารและ
ิต
นดุส

การกลบกลิ่นอาหารที่เกิดขึ้น จึงต้องศึกษาเกี่ยวกับเครื่องดื่มสากลที่นิยมดื่มกันมี 10 ประการ คือ


(1) Armagnac เป็นเหล้าที่กลั่นมาจากองุ่นในเขต Armagnac ในประเทศฝรั่งเศส รสชาตินุ่ม
ัยสว

ละมุน แต่นักดื่มสวนใหญ่ชื่นชมคือ Chabot Armagnac


(2) Beer เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการหมักและการกลั่น โดยใช้ข้าว Malt, Hop, Yeast และ
ยาล

น้ำ โดยเบียร์แบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ


(ฌ) Lager เป็นเบียร์ใส สีเหลืองอ่อน รสชาติดีไม่ขมมาก
าวิท

(ญ) Ale เป็นเบียร์ที่มีความเข้มกว่า Lager รสชาติค่อนข้างขม


(ฎ) Stout เป็นเบียร์ดำสีเข้ม รสชาติเข้มข้น เพราะใส่ Hop มาก
"มห

(ฏ) Porter เป็นเบียร์จำพวกเดียวกับ Ale แต่มีความใสกว่า มีรสขมน้อยกว่า


(ฐ) Bock เป็นเบียร์ประเภทเดียวกับ Lager นิยมในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ
(3) Brandy เป็นเหล้าองุ่นที่ได้จากการกลั่นธรรมดา หลังจากที่หมักเป็นไวน์เรียบร้อยแล้ว
ส่วนใหญ่จะผลิตจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่ผลิตในคอนญักของฝรั่งเศส จะไม่เรียก Cognac
(4) Champagne เป็นเหล้าองุ่นที่ได้จาการปลูกในเขต Champagne ในประเทศฝรั่งเศส
เท่านั้น ถ้าเหล้าองุ่นจากเขตอื่นๆ จะเรียกว่า Sparkling Wine
195

(5) Cognac เป็ น เหล้ า องุ ่ น ที ่ ท ำในรั ฐ Charante จากองุ ่ น ที ่ ป ลู ก ในไร่ อ งุ ่ น รอบๆ เขต
Cognac ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส โดยใช้องุ่นที่คัดเลือกดีแล้ว จึงนำมากลั่นและบรรจุในถึง
ไม้โอ๊ค จะทำให้บรั่นดีที่หมักได้สีและอากาศจากไม้ที่อยู่รอบๆถัง
(6) Gin เป็นเหล้าที่ผลิตจากการกลั่นข้าวบาร์เลย์และข้าวโพดกับสารยาประเภทต่างๆ
(7) Ram เป็นเหล้าที่จากการกลั่นน้ำตาลจากอ้อย บาทีนิยมแช่เหล้ารัมในถึงไม้โอ๊คเพื่ อให้
รสชาติดี มีสีเหลืองทอง

"
่านั้น
(8) Vodka เป็นเหล้าที่ผลิตจากการกลั่นมันฝรั่ง ข้าวสาลี มีแอลกอฮอล์สูง ไม่มีสี ซึ่งส่วน
ใหญ่ผลิตในประเทศรัสเซีย มีปริมาณแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูงถึง 80 ดีกรี และมีผลิตบ้างในประเทศ

าเท
ยุโรปตะวันออก คุณสมบัติพิเศษต้องแช่เย็นก่อนดื่ม
(9) Whisky เป็นเหล้าที่ได้จากการกลั่นข้าวชนิดต่างๆ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวไรน์ ข้าวบาร์เลย์

ศึกษ
หรือข้าวสาลี และบ่มในถึงไม้โอ๊ค ปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ของเหล้าชนิดนี้ไม่น้อยกว่า 40 ดีกรี
ประเทศที่ผลิตวิสกี่ส่วนใหญ่แก่สหรัฐอเมริการ แคนาดา สก็อตแลนด์ ไอร์แลนด์ เป็นต้น
กา ร
(10) Wine เป็ น เหล้ า องุ ่ น ที ่ ไ ด้ จ ากการหมั ก Fermentation ประเทศที ่ ผ ลิ ต องุ ่ น ได้ ดี คื อ
ฝรั่งเศส เหล้าองุ่นส่วนใหญจะมีอยู่ 3 สีคือ เหล้าองุ่นขาว (White Wine) เหล้าองุ่นสีชมพู (Rose
เพื่อ

Wine) เหล้าองุ่นสีแดง (Red Wine)


ิต
นดุส

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ัยสว

นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศต่างๆ มักนิยมซื้อสินค้าที่ระลึกของประเทศ
นั้นๆเพื่อเป็นของที่ระลึกเก็บไว้เองหรือนำไปฝากญาติมิตร สินค้าที่ระลึกที่นักท่องเทียวซื้อไปฝากญาติ
ยาล

มิตรนี้ย่อมแสดงถึงความมีน้ำใจและความระลึกถึงของผู้เดินทางต่อผู้รับฝาก ทำให้ ผู้รับดีใจและผู้ให้มี


ความสุข จึงไม่แปลกที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนมักจะซื้อสินค้าที่ระลึกไปฝากญาติมิตรหลายชิ้น แต่ถ้าไม่
าวิท

ซื้อสินค้าที่ระลึกกลับไปเลยก็น่าจะเป็นเรื่องแปลก เพราะมีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ ยวถึงต่างประเทศ


แต่ไม่มีของที่ระลึกหรือของฝากสำหรับญาติมิตรเลย ดูจะเป็นคนไร้น้ำใจเกินไป จึงทำให้ประเทศต่างๆ
"มห

มีรายได้จากจำหน่ายสินค้าที่ระลึกเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจนำเที่ยวต้องมีความสัมพันธ์กับธุรกิจ
จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เพื่อพานักท่องเทียวไปซื้อสินค้าที่ระลึกตามที่เขาต้องการ และยังทำให้ธุรกิจ
นำเที่ยหรือมัคคุเทศก์มีรายได้เป็นค่านายหน้าจากการซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเทียวที่ตนพาไปอีก
ด้วย จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่ระลึก ซึ่งสินค้าที่ระลึกนั้นหมายถึงสินค้าใดๆ ที่นักท่องเที่ยวซื้อ
และนำกลับไปยังภูมิลำเนาของตน ไม่ว่าจะด้วยความมุ่งหมายเพื่อใช้สอยเองในชีวิตประจำวัน หรือ
เพื่อเป็นของที่ระลึกเก็บไว้เตือนใจถึงถิ่นที่เคยไปเยือน หรือเพื่ อเป็นของฝากญาติมิตรก็ตาม ในการ
196

จำหน่ายสินค้าที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยวมีรูปแบบของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกอยู่หลายรูปแบบ แต่
รูปแบบที่นิยมกันในประเทศต่างๆ มี 3 รูปแบบ คือ
(1) ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึกที่ใช้ระบบการเก็บภาษีกับผู้บริโภคทุกคนโดยไม่คืนภาษี เป็น
ร้านค้าที่จัดจำหน่ายสินค้าที่ระลึกในราคาเดียวกันหมด โดยรวมค่าภาษีไว้ในสินค้า แล้วขายให้
นักท่องเที่ยวหรือประชาชนท้องถิ่น แต่ไม่มีการคืนภาษี
(2) ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึกที่เรียกภาษีคืน (Claimed Tax Shop) เป็นร้านที่จำหน่าย

"
่านั้น
สินค้าที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยว โดยลดส่วนที่เป็นภาษีอากรอาจทำไว้ 2 กรณีคือ กรณีแรกลดราคา
สินค้าให้แก่นักท่องเทียวที่แสดงพาสปอร์ต ในขณะชำระเงินตามจำนวนร้อยละที่กำหนดไว้ กรณีที่สอง

าเท
ให้นักท่องเที่ยวกรอกแบบฟอร์มขอคืนภาษี เมื่อซื้อสินค้ตามยอดเงินขั้นต่ำที่ทางร้านกำหนดไว้ แล้ว
ร้านค้าจะจัดทำเอกสารระบุยอดเงินที่นักท่องเที่ยวจ่ายซื้อสินค้าและส่วนลดภาษีที่นักท่องเที่ยวจะ

ศึกษ
ได้รับคืน โดยนักท่องเที่ยวจะมอบเอกสารดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรหรือเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้า
เมือง ณ จุดที่นักท่องเที่ยวออกนอกประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเอกสารกลับไปให้แก่ร้านอีกครั้ง เมื่อ
กา ร
ร้านค้าได้รับเอกสารแล้ว จะจัดส่งเงินที่ระบุไว้เป็นส่วนลดจากภาษีกลับไปให้นักท่องเที่ยวยังภูมิลำเนา
ที่ระบุไว้
เพื่อ

(3) ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกที่ปลอดภาษี (Duty Free Shop) เป็นร้านค้าที่จำหน่าย


สินค้าที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางออกนอกประเทศ โดยสินค้าเหล่านั้นจะขายให้ในราคา
ิต
นดุส

ที่ไม่คิดภาษีหรือยกเว้นภาษี ซึ่งร้านค้า ปลอดภาษีอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นร้านค้าปลอดภาษี


ตามจุดใดจุดหนึ่งในห้างสรรพสินค้าหรือในย่านสำคัญ หรือในบริเวณท่าอากาศยาน หรือบนเครื่องบิน
ัยสว

หรื อ บนเรื อ โดยสาร เป็ น ต้ น สิ น ค้ า เหล่ า นี ้ อ าจเป็ น สิ น ค้ า ภายในประเทศหรื อ สิ น ค้ า สิ น ค้ า จาก


ต่างประเทศที่ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งขาเข้าและภาษีขาออก แต่ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ในจำนวนที่กำหนด
ยาล

ไว้ โดยต้องยื่นพาสปอร์ตแสดงเมื่อซื้อสินค้า
าวิท
"มห
197

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจำต้องอาศัยเงินตราต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า
และบริการทางการท่องเที่ยว เช่น ค่าขนส่ง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าซื้อสินค้าที่ระลึก ค่าบริการต่างๆ
เป็นต้น ทำให้ธุรกิจนำเที่ยวต้องมีความสัมพันธ์กับธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้แก่นักท่องเที่ยวของตน จึงต้องมี มีความรู้

"
่านั้น
เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริกา ร มี 2
ประเภท คือ

าเท
(1) ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ (Notes and Coins) การเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศใด
ก็ตาม จำเป็นต้องใช้เงินสกุลของประเทศนั้นในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ ยวจะ

ศึกษ
เดินทางไปในประเทศใด สามารถติดต่อขอซื้อเงินสกุลของประเทศได้ที่ธนาคารหรือร้า นค้าในประเทศ
ตน ซึ่งอัตราการแลกเปลี่ยนนี้จะกำหนดไว้เป็น 2 อัตรา คือ อัตราซื้อเป็นอัตราที่ทางธนาคารหรือ
กา ร
ร้านค้าเงินรับซื้อเงินสกุลต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยวที่ได้รับการชำระเงินเป็นสกุลเงิน
ต่างประเทศนำมาขาย โดยธนาคารหรือร้านค้าจะซื้อในราคาที่ต่ำกว่าอัตราขาย ซึ่งเป็นอัตราที่ทาง
เพื่อ

ธนาคารจะรับซื้อขายที่เป็นธนบัตรเท่านั้น (เหรียญกษาปณ์ไม่รับ) นอกจากนั้นยังรับซื้อดร๊าฟท์ ตั๋วแลก


เงิน เช็คเพื่อการเดินทาง ส่วนร้านค้าเงินมักจะซื้อเฉพาะธนบัตรเท่านั้น ส่วนอัตราแลกเปลี่ ยน
ิต
นดุส

ประจำวั น จะถู ก กำหนดโดยธนาคารกลางของประเทศนั้ น ซึ ่ ง มี ก ารขึ ้ น ลงตามสภาพตลาด ใน


ขณะเดียวกันอัตราแลกเปลี่ยนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละธนาคารหรือแต่ละร้านค้า
ัยสว

(2) เครื่องมือสินเชื่อ (Credit Instruments) เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงสภาพหรือเงื่อนไขของ


หนี้สิน ส่วนมากจะเป็นการออกให้โดยธนาคารซึ่งมีเงื่อนไขต้องชำระหนี้สินค้าคืนภายหลังตามที่
ยาล

กำหนดไว้ ประกอบด้วยเครื่องมือสินเชื่ออยู่ 3 ประการ คือ


(2.1) เช็ค (Cheque) ตามกฎหมายแพ่งและพานิชน์มาตรา 987 บัญญัติไว้ว่า เช็ค คือ
าวิท

หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งให้ธนาคารใช้เงินจำนวนหนึ่งเมือทวงถามให้แก่บุคคล
อีกคนหนึ่ง หรือใช้ตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับเงิน ซึ่งเช็คที่นิยมใช้ในการเดินทาง
"มห

ท่องเที่ยวมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 เช็คสำหรับผู้เดินทาง (Traveler’s Cheque) เป็นเอกสารที่สถาบัน


การเงินที่มีชื่ อเสียงออกให้แทนเงิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวพกพาไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตามสถาบัน
การเงินต่างๆทั่วโลก หรือเป็นเช็คให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ยอมรับการชำระค่าสินค้าและบริการ ในการ
ซื้อเช็คเดินทางนั้นๆ ผู้ซื้อจะต้องแสดงหนังสือเดินทางที่ประทับตราอนุญาตเข้าประเทศ หรือที่เ รียกว่า
Visa ต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร พร้อมแจ้งความประสงค์จะซื้อเงินสกุลใด ราคาฉบับละเท่าไร จำนวนเท่าไร
จะเดินทางไปที่ไหนและระยะเวลาเท่าไร ผู้ทรงเช็คเดินทางจะต้องเซ็นชื่อลงบนเช็คทุกใบต่อหน้า
พนักงานของธนาคารหรือเจ้าหน้าที่ของร้านค้า ส่วนที่ 2 คือเช็คส่วนบุคคล (Personal Cheque) เป็น
198

เช็คส่วนบุคคลที่สั่งจ่ายโดยธนาคารจากต่างประเทศ โดยธนาคารจะรับซื้อไว้แล้วส่งไปเรียกเก็บจาก
ธนาคารผู้ออกเช็คก่อน เมื่อเรียกเก็บเงินได้แล้วจึงจะจ่ายให้นักท่องเที่ยว ซึ่งมีความยุ่งยากและใช้
เวลานานพอสมควร
(2.2) จดหมายสั่งจ่ายเงินให้นักท่องเที่ยว (Traveler Letter of Credit) เป็นจดหมาย
ที่ออกโดยทางธนาคารสั่งให้เป็นตัวแทนในต่างประเทศจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือจดหมายสั่งจ่ายเงินเพื่อการ
เดิ น ทางท่ อ งเที ่ ย วตามจำนวนเงิ น ที ่ ร ะบุ ไ ว้ ใ นจดหมายนั ้ น ในการออกจดหมายสั ่ ง จ่ า ยเงิ น ให้

"
่านั้น
นักท่องเที่ยวนี้ผู้เดินทางที่ประสงค์ จะใช้เอกสารนี้ต้องขอให้ธนาคารที่ตนมีเงินฝากอยู่ออกให้ และส่ง
ล่วงหน้าไปยังธนาคารในต่างประเทศก่อนเดินทาง เมือผู้เดินทางไปถึงประเทศนั้นแล้วก็ขอขึ้นเงินสด

าเท
ต่อธนาคารตัวแทนได้เลย แต่ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะไม่สะดวก
(2.3) ดร๊าฟท์ (Draft) เป็นเอกสารที่ธนาคารหนึ่งสั่งให้ ธนาคารตัวแทนหรือสาขาใน

ศึกษ
ต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนที่ระบุไว้แก่บุคคลหรือสถาบันที่ระบุไว้ในดร๊าฟท์นั้น ในการออกดร๊าฟท์ให้ผู้
เดินทางนี้ธนาคารผู้ออกดร๊าฟท์จะมอบดร๊าฟท์ตัวจริงและสำเนาหนึ่งฉบับให้นักท่องเทียว และส่ง
กา ร
สำเนาอีกชุดหนึ่งไปแจ้งให้ตัวแทนหรือสาขาในต่างประเทศทราบเพื่อจ่ายเงินต่อไป
(3) การโอนเงิน (Transferred) เป็นการโอนเงินจากธนาคารในประเทศของผู้เดินทางไปยัง
เพื่อ

ธนาคารในต่างประเทศ ซึ่งการโอนเงินสามารถทำได้ 2 วิธี


(3.1) การโอนเงินทางไปรษณีย์อากาศ เป็นการโอนเงินที่ธนาคารผู้โอนมีหนังสือหรือ
ิต
นดุส

คำสั่งโดยตรงไปแจ้งให้ธนาคารตัวแทนหรือสาขาจ่ายเงินให้นักท่องเทียวทางไปรษณีย์อากาศ วิธีนี้ไม่
เป็นที่นิยมเนื่องจากความล่าช้า บางครั้งทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ไม่ทันใช้เงิน
ัยสว

(3.2) การโอนเงินทางการสื่อสารอื่นๆ เช่น ทางโทรเลข โทรศัพท์ โทรพิมพ์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


(4) บัตรสินเชื่อ (Credit Card) เป็นบัตรสินเชื่อที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง
ยาล

ออกให้ผู้ถือนำติดตัวไปใช้ชำระสินค้าและบริการต่างๆได้แทนเงินสด โดยธนาคารและสถาบันการเงินที่
มีชื่อเสียงจะติดต่อกับสถาบริการต่างๆ ให้ยอมรับบัตรสินเชื่อของตน ทั้งนี้สถานบริการใดที่ยอมรับ
าวิท

บัตรสินเชื่อของใคร ก็จะขึ้นป้ายสัญลักษณ์บัตรสินเชื่อนั้นให้นักท่องเที่ยวทราบ นอกจากนั้นบัตร


สินเชื่อนี้ยังสามารถเบิกเงินสดได้จากจากธนาคารตัวแทนหรือสาขาหรือสำนักบริการที่ออกบัตรนั้นได้
"มห

ด้วย ในการออกบัตรสินเชื่อนั้นผู้ต้องการใช้บัตรสินเชื่อจะต้องยื่นความจำนงต่อธนาคารหรือสถาบัน
การเงินเพื่อออกบัตร โดยกรอกแบบฟอร์มในการขอบัตรสินเชื่อที่กำหนดไว้ พร้อมหลักฐานประกอบ
หากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงได้พิจารณาแล้วเห็นควรออกบัตรและค่าธรรมเนียมสมาชิก
รายปี พร้อมกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อด้วย
สำหรับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่ างประเทศของประเทศไทยมีพระราชบัญญัติควบคุม
การแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งให้ผู้เดินทางสามารถนำเงินตราของไทยและเงินตราต่างประเทศเข้าออก
ราชอาณาจักรดังต่อไปนี้
199

(4.1) การนำเงินตราของไทยและเงินตราต่างประเทศออกนอกราชอาณาจักรไทย โดยไม่


ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
(4.1.1) ผู้เดินทางไปประเทศมาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม คนละไม่
เกิน 500,000 บาท ส่วนผู้ที่เดินทางไปประเทศอื่นคนละไม่เกิน 50,000 บาท ถ้าหากนำเงินตราไทย
ติดตัวออกไปเกินกว่าที่กำหนดไว้ จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยขออนุญาตที่
ธนาคารพาณิชย์ได้ทั่วทุกแห่งและต้องนำหลักฐานที่ได้รับอนุญาตไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่า

"
่านั้น
อากาศยานหรือด่านที่เดินทางออกไป
(4.1.2) ผู้เดินทางสามารถนำเงินตราต่างประเทศออกนอกราชอาณาจักรไทยได้ไม่

าเท
จำกัดมูลค่า
(4.2) การนำเงินตราไทยและเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไทย สามารถ

ศึกษ
นำเข้าได้โดยไม่จำกัดมูลค่า
กา ร
สรุป
เพื่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


1. ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจการขนส่ง เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวต้องซื้อ
ิต
นดุส

บริการของธุรกิจขนส่งในการขนส่งนักท่องเที่ยวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง จึงทำให้ธุรกิจนำเที่ยวมี
ความสัมพันธ์กับธุรกิจขนส่งอย่างใกล้ชิด
ัยสว

2. ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจที่พักแรม เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวจะต้องซื้อ
บริการของธุรกิจที่พักแรมให้แก่นักท่องเทียวได้หลับนอนพักผ่อนระหว่างการท่องเทียว จึงทำให้ธุรกิจ
ยาล

นำเที่ยวมีความสัมพันธ์กับธุรกิจที่พักแรมอย่างใกล้ชิด
3. ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจ อาหาร เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวต้องซื้อบริการ
าวิท

ของธุรกิจอาหารให้แ ก่นักท่องเที่ยวรับประทานระหว่า งการท่ องเที่ยวจึงทำให้ ธุรกิจนำเที ่ ย วมี


ความสัมพันธ์กับธุรกิจอาหารอย่างใกล้ชิด
"มห

4. ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจ สินค้าที่ระลึก เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวจะต้อง


พานักท่องเที่ยวไปซื้อสินค้าที่ระลึกตามที่นักท่องเที่ยวต้องการ เพื่อนำกลับไปใช้เองหรือฝากญาติมิตร
หรือเก็บไว้เป็นความทรงจำ จึงทำให้ธุรกิจนำเที่ยวมีความสัมพันธ์กับธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกอย่าง
ใกล้ชิด
5. ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจ แลกเปลี่ยนเงินตราต่ างประเทศ เนื่องจาก
ธุรกิจนำเทียวจะต้องพานักท่องเทียวไปแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จึงทำให้ธุรกิจนำเที่ยวมี
ความสัมพันธ์กับธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างใกล้ชิด
200

คำถามทบทวน

1. จงอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจการขนส่ง
2. จงอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจที่พักแรม
3. จงอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจอาหาร
4. จงอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจสินค้าที่ระลึก

"
่านั้น
5. จงอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจนำเที่ยวกับธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
6. จงอธิบาย Scheduled Airline

าเท
7. อธิบายลักษณะของ Vodka

ศึกษ
8. อธิบายลักษณะของ Wine
9. จงอธิบาย Duty Free Shop กา ร
10. จงอธิบาย Traveler Cheque
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
201

เอกสารอ้างอิง

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเที่ยว.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย


ธรรมศาสตร์
สุชาติ ทวีพรปฐมกุล. (2556). กว่าจะเป็นหัวหน้าทัวร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
"มห
าวิท
ยาล
ัยสว
นดุส
ิต เพื่อ
กา ร
ศึกษ
าเท
่านั้น
"
203

บรรณานุกรม

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับ 2555-


2559). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2559 จาก https://www.mots.go.th
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.
2560-2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2560 จาก https://www.mots.go.th

"
่านั้น
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2558).คู่มือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.
2558-2560 และการติ ด ตามประเมิ น ผล. สื บ ค้ น เมื ่ อ วั น ที ่ 5 มกราคม 2560 จาก

าเท
https://www.mots.go.th
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2565). สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์.

ศึกษ
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.mots.go.th
คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการวิเคราะห์โครงการ. (2549) การวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ
กา ร
: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ความรู้เบื้องต้นในการอ่านเขียนแผนที่. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม2560 จาก
เพื่อ

http://kmcenter.rid.go.th/kmc14/gis_km14/gis_km14(32).pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 10
ธันวาคม 2559 จาก
ิต
นดุส

ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม2560 จาก


http://www.rmutphysics.com/sciencefac/artic/map/map.htm
ัยสว

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


จำกัด
ยาล

นิภา วธาวนิชกุล. (2550). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวน


ดุสิต.
าวิท

นภาพร จันทร์ฉาย. (2560). การจัดการธุรกิจนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟ


ฟิคไซต์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
"มห

นิศศา ศิลปะเสรฐ. (2560). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์


มหาวิทยาลัย
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง. (2549). การจัดนำเที่ยวและรายการนำเที่ยวภาคเหนือ
ตอนบน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือท่องเที่ยวไทย
บุญ เลิศ จิตตั้งวัฒนา และ พรภัท รวี วงศ์ปันทะนัน. (2557). การจัดทำแผนธุรกิจท่องเที่ยว.
กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
204

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2559). การจัดการด้านการตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ :


ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และ ปทุมเทพ แก้วคำ. (2560). ธุรกิจนำเที่ยว.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2561). ธุรกิจไมค์.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บังอร ฉัตรรุ่งเรือง. (2554 ). การวางแผนและการจัดนำเที่ยว.กรุงเทพฯ : บริษัท สยาม บุ๊คส์ จำกัด

"
แผนที่ประเทศไทย. (2559). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2559 จาก http://www.thailand-map-

่านั้น
guide.com/_help.php
แผนทีท่ างหลวง-กรมทางหลวง. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม2560 จาก http://www.doh.go.th/

าเท
doh/th/services/travel-guide/366-highways-map.html

ศึกษ
พวงบุหงา ภูมิพานิช. (2539). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด
กา ร
พิมพรรณ สุจารินพงค์. (2553). การจัดนำเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อ
เพื่อ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเทียวเฉพาะทาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ิต

สุโขทัยธรรมาธิราช
นดุส

วิกิพีเดีย. (2559). นันทนาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560 จาก https://th.wikipedia.org/wiki


วิกิพีเดีย, 2559. แผนที่. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/แผนที่
ัยสว

ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2558). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์


มหาวิทยาลัย
ยาล

สุภาพร พิศาลบุตร. (2550). การวางแผนและบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น


าวิท

สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลี. (2555). การแปลความหมายแผนที่. จังหวัดมหาสารคราม : โรงพิมพ์


อภิชาตการพิม์
"มห

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2558). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). นันทนาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 จาก
http://www.royin.go.th
สมบัติ กาญจนกิจ. (2560). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
205

สุ ช าติ ทวี พ รปฐมกุ ล . (2556). กว่ า จะเป็ น หั ว หน้ า ทั ว ร์ . กรุ ง เทพฯ : สำนั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Chris Cooper, John Fleteher,David Gilbert and Stephen Wanhill.(1998).Tourism
principles and practice.New York : Addison Wesley Longman .,Ltd.

"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ิต เพื่อ
นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห
"
่านั้น
าเท
ศึกษ
กา ร
ถึงนักศึกษาและผูอานทุกทาน
เพื่อ
ขอบคุณที่สนับสนุนหนังสือของ ศูนยบริการสื่อและสิ่งพิมพ กราฟฟคไซท
หากคุณพบหนังสือที่ชำรุดจากการพิมพหรือเขาเลม
โปรดติดตอเรา เพื่อรับหนังสือเลมใหม
ิต

ทางกราฟฟคไซท ขออภัยในความผิดพลาดมา ณ ที่นี้


นดุส
ัยสว
ยาล
าวิท
"มห

You might also like