You are on page 1of 59

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 355

6
บทที่ สถิติ (3)
ในบทสถิติ (3) ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

6.1 แผนภาพกล่อง 4 ชั่วโมง


6.2 การอ่านและแปลความหมายจากแผนภาพกล่อง 4 ชั่วโมง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา

ตัวชี้วัด
เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำ�เสนอและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพกล่อง และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้ง
นำ�สถิติไปใช้ในชีวิตจริง โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

จุดประสงค์ของบทเรียน
นักเรียนสามารถ
1. นำ�เสนอข้อมูลในรูปแผนภาพกล่องโดยใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. อ่าน วิเคราะห์ และแปลความหมายผลลัพธ์ที่นำ�เสนอในรูปแผนภาพกล่อง
3. ใช้ข้อมูลในการคาดคะเน สรุปผล และตัดสินใจ ได้อย่างเหมาะสม

ความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัดกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เนื่องจากตัวชี้วัดกล่าวถึงความเข้าใจและการใช้ความรู้ทางสถิติในการนำ�เสนอและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพกล่อง
และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำ�สถิติไปใช้ในชีวิตจริงโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียน
สอดคล้องกับตัวชี้วัด ครูควรจัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้สามารถ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
356 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

1. เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพกล่อง ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียนสามารถ
ใช้ความรูเ้ กีย่ วกับมัธยฐานในการหาควอร์ไทล์ แล้วใช้ควอร์ไทล์ในการเขียนแผนภาพกล่องด้วยวิธกี ารหรือเทคโนโลยี
ที่เหมาะสม
2. วิเคราะห์และแปลความหมายผลลัพธ์ของข้อมูลที่นำ�เสนอในรูปแผนภาพกล่อง ซึ่งสะท้อนได้จากการที่นักเรียน
สามารถอ่าน วิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูลที่เกิดขึ้นจากแผนภาพกล่องรวมทั้งอภิปรายผลลัพธ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับบริบทของข้อมูล เพื่อคาดคะเน สร้างข้อสรุป และนำ�ข้อสรุปมาใช้ในการตัดสินใจ
ในสถานการณ์ต่าง ๆ และในชีวิตจริง

ความคิดรวบยอดของบทเรียน
แผนภาพกล่องเป็นเครื่องมือหนึ่งทางสถิติที่ใช้นำ�เสนอข้อมูล โดยใช้ควอร์ไทล์แบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วน
มีจำ�นวนข้อมูลเท่า ๆ กัน แผนภาพกล่องช่วยให้เห็นภาพการกระจายของข้อมูลทั้งชุดในแต่ละช่วงได้ชัดเจนกว่าการพิจารณา
จากควอร์ไทล์โดยตรง ทัง้ นีแ้ ผนภาพกล่องยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลทีม
่ ลี กั ษณะและหน่วยวัดเดียวกัน
ตั้งแต่สองชุดขึ้นไป

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หัวข้อ
ทักษะและกระบวนการ 6.1 6.2 กิจกรรมท้ายบท
ทางคณิตศาสตร์ แผนภาพกล่อง การอ่านและ /แบบฝึกหัด
แปลความหมาย ท้ายบท
จากแผนภาพกล่อง
การแก้ปัญหา
การสือ
่ สารและการสือ
่ ความหมาย
✤ ✤ ✤
ทางคณิตศาสตร์
การเชื่อมโยง ✤ ✤ ✤

การให้เหตุผล ✤ ✤

การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 357

ความเชื่อมโยงของความรู้

✤ แผนภาพจุดและแผนภาพต้น–ใบ เพื่อเป็นพื้นฐานในการนึกภาพ
การกระจายของข้ อ มู ล และเชื่ อ มโยงกั บ การกระจายของข้ อ มู ล
ความรูพื้นฐาน
ที่แสดงด้วยแผนภาพกล่อง
✤ พิสัยของข้อมูล เพื่อเป็นพื้นฐานในการพิจารณาการกระจายของ
ข้อมูลอย่างคร่าว ๆ
✤ มัธยฐาน เพื่อเป็นพื้นฐานในการหาควอร์ไทล์ต่าง ๆ

✤ แผนภาพกล่องช่วยให้เห็นภาพการกระจายของข้อมูลได้เช่นเดียวกับ
แผนภาพจุดและแผนภาพต้น–ใบ แผนภาพกล่องแตกต่างจาก
แผนภาพจุดและแผนภาพต้น–ใบ คือ ไม่ได้แสดงให้เห็นข้อมูลแต่ละตัว
เหมือนเช่นแผนภาพจุดและแผนภาพต้น–ใบ แต่แสดงภาพของแต่ละ
ช่วงที่มีจำ�นวนข้อมูลเท่า ๆ กัน ซึง่ แต่ละช่วงนัน
้ อาจยาวไม่เท่ากัน
ความรู ✤ การสร้างแผนภาพกล่องต้องใช้ค่าที่สำ�คัญ 5 ค่า คือ ค่าต่ำ�สุดของ
ข้อมูล ค่าสูงสุดของข้อมูล ควอร์ไทล์ที่ 1 (Q1) ควอร์ไทล์ที่ 2 (Q2)
ในบทเรียน และควอร์ไทล์ที่ 3 (Q3) ควอร์ไทล์ทั้งสาม เป็นค่า ณ ตำ�แหน่งที่แบ่ง
ข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก
ค่า ณ ตำ�แหน่งที่แบ่งข้อมูลดังกล่าว เรียกว่า ควอร์ไทล์ที่ 1 (Q1)
ควอร์ไทล์ที่ 2 (Q2) และควอร์ไทล์ที่ 3 (Q3) ตามลำ�ดับ
✤ การอ่าน แปลความหมาย และวิเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูล
ที่นำ�เสนอในรู ป แผนภาพกล่ อ ง รวมทั้ งคาดคะเน สรุ ป ผล และ
ตัดสินใจเกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาในชีวิตจริง

ความรู้ เ กี่ ย วกั บ แผนภาพกล่ อ ง เป็ น พื้ น ฐานในการช่ ว ยให้ เ ห็ น


ความรูในอนาคต ลักษณะการกระจายของข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแจกแจงปกติ
และเชื่อมโยงกับความรู้ในเรื่องการวัดตำ�แหน่งของข้อมูล เช่น เดไซล์
และเปอร์เซ็นไทล์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
358 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ลำ�ดับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียน

ทบทวนการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุดและแผนภาพต้น–ใบ

แนะนำ�แผนภาพกล่อง

แนะนำ�ควอร์ไทล์ และทำ�กิจกรรมเพื่อให้เข้าใจความหมายของควอร์ไทล์
และอธิบายขั้นตอนการหาควอร์ไทล์

แนะนำ�องค์ประกอบของแผนภาพกล่อง
และอภิปรายเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการสร้างแผนภาพกล่อง
รวมทั้งฝึกสร้างแผนภาพกล่องด้วยวิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ยกตัวอย่างประกอบการอธิบายการอ่านและแปลความหมายข้อมูลที่นำ�เสนอ
ในรูปแผนภาพกล่อง และทำ�กิจกรรมเพื่อฝึกการอ่านและแปลความหมาย

อธิบายการใช้แผนภาพกล่องเพื่อเปรียบเทียบการกระจายของข้อมูลอย่างคร่าว ๆ
และทำ�กิจกรรมเพื่อฝึกการเปรียบเทียบและอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะของแผนภาพกล่อง
รวมทั้งใช้แผนภาพกล่องในการคาดคะเน สรุปผล และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม

สรุปบทเรียนเรื่องสถิติ (3) และฝึกแก้ปัญหาโดยทำ�กิจกรรมท้ายบทและแบบฝึกหัดท้ายบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 359

6.1 แผนภาพกล่อง (4 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. หาควอร์ไทล์ของข้อมูลที่กำ�หนดให้ โดยใช้มัธยฐาน
2. นำ�เสนอข้อมูลในรูปแผนภาพกล่องโดยใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
เนื่องจาก Q1 , Q2 และ Q3 จะแบ่งจำ�นวนข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้น นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า
ในการเขียนแผนภาพกล่อง เส้นทีล่ ากจากค่าต่�ำ สุดถึง Q1 จาก Q1 ถึง Q2 จาก Q2 ถึง Q3 และจาก Q3 ถึงค่าสูงสุด แต่ละช่วง
จะต้องยาวเท่ากัน ซึง่ ในความเป็นจริง เส้นทีล่ ากเชือ
่ มในแต่ละช่วงอาจยาวไม่เท่ากัน ขึน
้ อยูก
่ บ
ั การกระจายของข้อมูลในแต่ละช่วง

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม : พลังงานจากผลไม้
2. ซอฟต์แวร์ GeoGebra

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนีน
้ ก
ั เรียนจะได้รจู้ ก
ั แผนภาพกล่องและควอร์ไทล์ รวมทัง้ เรียนรูข
้ น
ั้ ตอนการสร้างแผนภาพกล่องโดยใช้ควอร์ไทล์
ครู ค วรฝึ ก ให้ นั ก เรี ย นได้ สื่ อ ความหมายและนำ � เสนอข้ อ มู ล โดยใช้ แ ผนภาพกล่ อ ง ด้ ว ยวิ ธี ก ารหรื อ เทคโนโลยี ที่ เ หมาะสม
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูทบทวนเกี่ยวกับแผนภาพจุดและแผนภาพต้น–ใบ เพื่อนำ�ไปสู่การแนะนำ�แผนภาพกล่อง โดยยกตัวอย่าง
เพือ
่ ให้นก
ั เรียนนึกภาพเกีย่ วกับการกระจายของข้อมูลในแผนภาพจุดและแผนภาพ ต้น–ใบ แล้วอภิปรายเกีย่ วกับ
จุดเด่นของแผนภาพแต่ละชนิด ทีแ่ สดงให้เห็นข้อมูลแต่ละตัวทีเ่ ก็บรวบรวมได้ พร้อมทัง้ ยกตัวอย่างกรณีทม
ี่ ข
ี อ
้ มูล
จำ�นวนมาก ๆ ให้นักเรียนเห็นข้อจำ�กัดของการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพจุดและแผนภาพต้น–ใบ ที่ไม่สะดวก
ในการนำ�เสนอข้อมูลทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่แผนภาพกล่อง ซึ่งเป็นอีกเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นการกระจาย
ของข้อมูล โดยไม่ต้องแสดงข้อมูลแต่ละตัว
2. ครู แ นะนำ � ให้ นั ก เรี ย นรู้ จั ก ควอร์ ไ ทล์ แล้ ว ให้ นั ก เรี ย นทำ � “กิ จ กรรม : พลั ง งานจากผลไม้ ” ในหนั ง สื อ เรี ย น
หน้า 218–219 เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและเห็นภาพตำ�แหน่งของควอร์ไทล์ทั้งสาม จากนั้นครูยกตัวอย่างชุดข้อมูล
เชิงปริมาณ เพื่อทบทวนมัธยฐาน แล้วอธิบายขั้นตอนการหาควอร์ไทล์ต่าง ๆ โดยใช้มัธยฐาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
360 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. ครูอธิบายองค์ประกอบของแผนภาพกล่อง และอภิปรายเกีย่ วกับขัน


้ ตอนและวิธก
ี ารสร้างแผนภาพกล่อง โดยเน้น
ให้นักเรียนสังเกตว่า ระยะจากค่าต่ำ�สุดถึง Q1 จาก Q1 ถึง Q2 จาก Q2 ถึง Q3 และจาก Q3 ถึงค่าสูงสุด
แต่ละช่วงไม่จำ�เป็นต้องเท่ากัน ทั้งนี้ เพราะการกระจายของข้อมูลในแต่ละช่วงอาจแตกต่างกัน แม้ว่า Q1 , Q2
และ Q3 จะแบ่งจำ�นวนข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ดังแผนภาพต่อไปนี้

ค�าต่ำสุด Q1 Q2 Q3 ค�าสูงสุด

4. ครูนำ�เสนอเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างแผนภาพกล่องได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น ซอฟต์แวร์ GeoGebra


หรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ หรือเว็บไซต์ แล้วใช้ข้อมูลในมุมเทคโนโลยีข้าวเจ้าข้าวเหนียว ในหนังสือเรียน หน้า 225
ให้นักเรียนฝึกใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการนำ�เสนอข้อมูลด้วยแผนภาพกล่อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 361

กิจกรรม : พลังงานจากผลไม้
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนเข้าใจความหมายของควอร์ไทล์ และเห็นภาพเกี่ยวกับตำ�แหน่งควอร์ไทล์ต่าง ๆ
และภาพของจำ�นวนข้อมูลในแต่ละช่วงที่แบ่งด้วยควอร์ไทล์ทั้งสาม โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. แถบกระดาษยาว 15 เซนติเมตร แบ่งเป็น 15 ช่องเท่า ๆ กัน
2. แถบกระดาษยาว 19 เซนติเมตร แบ่งเป็น 19 ช่องเท่า ๆ กัน
3. ตารางรายการผลไม้

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแจกแถบกระดาษยาว 15 เซนติเมตร และ 19 เซนติเมตร ให้นักเรียนแต่ละคน แล้วให้นักเรียนทำ�กิจกรรม
ตามขั้นตอนในหนังสือเรียนหน้า 219
2. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม และใช้คำ�ตอบที่ได้ในการอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงของ
ค่าที่เป็นตำ�แหน่งของควอร์ไทล์ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เพิ่มเข้าไป

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม
1. เพราะบนแถบกระดาษทีย่ าว 15 เซนติเมตร ได้มก
ี ารบันทึกแคลอรีทไี่ ด้รบ
ั จากการบริโภคผลไม้โดยเรียงลำ�ดับจากน้อย
ไปหามาก และจากการพับครึ่งแถบกระดาษสองทบ เมื่อคลี่ออกมาจะปรากฏรอยพับ 3 รอย ที่แบ่งแถบกระดาษ
ออกเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน แต่ละส่วนจะมีจ�ำ นวนข้อมูลประมาณ 25% ของข้อมูลทัง้ หมด จึงทำ�ให้คา่ แคลอรีของผลไม้
ณ ตำ�แหน่งรอยพับที่แบ่งแต่ละส่วนนั้นเป็นค่าของควอร์ไทล์แต่ละตำ�แหน่ง
2. อาจแตกต่างกันหรือไม่แตกต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกผลไม้ที่ชอบเพิ่มอีก 4 ชนิด และปริมาณที่บริโภค

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
362 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยมุมเทคโนโลยี : ข้าวเจ้าข้าวเหนียว
แผนภาพกล่องแสดงปริมาณผลผลิต (กิโลกรัมต่อไร่) ของข้าวเหนียวสายพันธุ์ต่าง ๆ

340 360 380 400 420 440 460 480 500 520 540 560 580 600 620 640 660 680 700

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 363

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 6.1
1. ค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด และควอร์ไทล์ทั้งสามของแต่ละข้อเป็นดังนี้

ข้อ ค่าต�่ำสุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 Q3


1) 22 30 22 27 29
2) 90 119 91.5 103 112.5
3) 15 30 18.5 24.5 26.5
4) 150 200 160 179 190

2. 1)

3 4 5 6 7 8 9 10 11

2)

50 52 54 56 58 60 62 64 66 68 70

3)

2.8 3 3.2 3.4 3.6 3.8 4 4.2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
364 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4)

4 5 6 7 8 9 10 11

3. 1) พิสัย เท่ากับ 34 – 0 = 34 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค


2) มัธยฐาน เท่ากับ 18 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
3) ควอร์ไทล์ที่ 1 เท่ากับ 14 และควอร์ไทล์ที่ 3 เท่ากับ 24 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

4. 1) ค่าต่ำ�สุด เท่ากับ 169 เซนติเมตร


ค่าสูงสุด เท่ากับ 197 เซนติเมตร
ควอร์ไทล์ที่ 1 เท่ากับ 178 เซนติเมตร
ควอร์ไทล์ที่ 2 เท่ากับ 183 เซนติเมตร
ควอร์ไทล์ที่ 3 เท่ากับ 190 เซนติเมตร

2) จงสร้างแผนภาพกล่องแสดงความสูงของนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส

166 168 170 172 174 176 178 180 182 184 186 188 190 192 194 196 198

5. ความสูงของนักกีฬาว่ายน้ำ�ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งแสดงด้วยแผนภาพกล่อง ได้ดังนี้

168 170 172 174 176 178 180 182 184 186 188 190 192 194 196 198 200

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 365

6. ข้อมูลนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูกระดึงในปีหนึ่งแสดงด้วยแผนภาพกล่อง ได้ดังนี้

0 5,000 10,000 15,000 20,000 25,000 30,000 35,000

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
366 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

6.2 การอ่านและแปลความหมายจากแผนภาพกล่อง (4 ชั่วโมง)


จุดประสงค์
นักเรียนสามารถ
1. อ่านข้อมูลที่ได้จากแผนภาพกล่อง
2. แปลความหมายเกี่ยวกับการกระจายของข้อมูลหนึ่งชุด
3. อ่านข้อมูลที่ได้จากแผนภาพกล่องที่แสดงข้อมูลมากกว่า 1 ชุด
4. เปรียบเทียบข้อมูลที่อ่านได้จากแผนภาพกล่องที่แสดงข้อมูลมากกว่า 1 ชุด และใช้ข้อมูลในการคาดคะเน สรุปผล
และตัดสินใจ ได้อย่างเหมาะสม
5. แปลความหมายเพื่อเปรียบเทียบเกี่ยวกับการกระจายของข้อมูลมากกว่า 1 ชุด และใช้ข้อมูลในการคาดคะเน
สรุปผล และตัดสินใจ ได้อย่างเหมาะสม

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
-

สื่อที่แนะนำ�ให้ใช้ในข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม : นับเดือน
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม : วัดวา
3. ซอฟต์แวร์ GeoGebra

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในหัวข้อนี้นักเรียนจะได้อ่านและแปลความหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายของข้อมูลซึ่งนำ�เสนอด้วยแผนภาพกล่อง
ทัง้ ข้อมูลทีม
่ ช
ี ด
ุ เดียวและมากกว่า 1 ชุด ครูควรฝึกให้นก
ั เรียนได้สอ
ื่ ความหมายจากแผนภาพกล่อง รวมทัง้ เปรียบเทียบ วิเคราะห์
คาดคะเน สรุปผล และตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ และในชีวิตจริง แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจทำ�ได้ดังนี้
1. ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกีย่ วกับการกระจายของข้อมูลชุดเดียวกัน ทีน
่ �ำ เสนอด้วยแผนภาพจุดและแผนภาพกล่อง
จากนัน
้ ตัง้ คำ�ถามเพือ
่ ให้นก
ั เรียนฝึกอ่านและแปลความหมายข้อมูลจากแผนภาพกล่อง รวมทัง้ ชีใ้ ห้เห็นเปอร์เซ็นต์
ของจำ�นวนข้อมูลในแต่ละช่วงที่แบ่งด้วยควอร์ไทล์แต่ละค่า ซึ่งเป็นการสื่อความหมายจากแผนภาพกล่อง ทั้งนี้
ครูอาจใช้บทสนทนาระหว่างข้าวปั้นกับข้าวหอม ในหนังสือเรียนหน้า 231 เพื่อชี้ให้นักเรียนเห็นว่าลักษณะ
ของแผนภาพกล่องสัมพันธ์กับการกระจายของข้อมูล กล่าวคือ ข้อมูลในช่วงที่ยาวกว่ามีการกระจายตัวมากกว่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 367

2. ครูใช้ “กิจกรรม : นับเดือน” ในหนังสือเรียน หน้า 232 เพื่อให้นักเรียนฝึกสร้าง อ่านและแปลความหมาย


แผนภาพกล่องของข้อมูลชุดเดียว ทั้งนี้ครูอาจตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนภาพกล่อง
ที่ได้
3. ครูอาจใช้ความหมายของพิสยั ในการบอกการกระจายของข้อมูล และชีใ้ ห้เห็นว่าสามารถใช้พส
ิ ยั แสดงการกระจาย
ของข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ได้ แต่สำ�หรับการเปรียบเทียบข้อมูลสองชุดขึ้นไปที่มีลักษณะและหน่วยวัดเดียวกัน
การพิจารณาจากพิสยั เพียงอย่างเดียวอาจไม่เห็นรายละเอียดเกีย่ วกับการกระจายของข้อมูลในแต่ละชุด โดยเฉพาะ
กรณีที่พิสัยเท่ากัน การใช้แผนภาพกล่องจะช่วยให้เห็นการกระจายของข้อมูลในแต่ละชุดได้ชัดเจนกว่าพิสัย
โดยครูใช้ตัวอย่างที่ 1–2 ในหนังสือเรียน หน้า 234–236 ให้นักเรียนสังเกตการกระจายของข้อมูลจาก
แผนภาพกล่อง แล้วตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนฝึกอ่าน แปลความ ตีความ เปรียบเทียบ และหาข้อสรุปจาก
แผนภาพกล่องของข้อมูลสองชุด
ทั้งนี้การแปลความหรือตีความขึ้นอยู่กับบริบท เงื่อนไขและลักษณะของข้อมูลในแต่ละสถานการณ์ เช่น
ในการเปรียบเทียบข้อมูลคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในหนังสือเรียน หน้า 232–233
การสรุปได้ว่าคะแนนสอบของวิชาวิทยาศาสตร์ดีกว่าวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจาก Q1 , Q2 และ Q3 ของคะแนน
สอบวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่า Q1 , Q2 และ Q3 ของคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ และอยู่บนเงื่อนไขที่ค่าสูงสุด
และต่ำ�สุดของคะแนนทั้งสองวิชาเท่ากัน
4. ครูใช้ “กิจกรรม : วัดวา” ในหนังสือเรียน หน้า 236 เพื่อให้นักเรียนฝึกสร้าง อ่าน และแปลความหมายแผนภาพ
กล่องของข้อมูลสองชุด
5. ครูใช้มุมเทคโนโลยี ในหนังสือเรียน หน้า 237–238 เพื่อให้นักเรียนฝึกใช้ซอฟต์แวร์ หรืออาจใช้เว็บไซต์ในการ
สร้างแผนภาพกล่องของข้อมูลมากกว่า 1 ชุด พร้อมทั้งตั้งคำ�ถามให้นักเรียนฝึกอ่าน แปลความหมาย วิเคราะห์
และเปรียบเทียบข้อมูลจากแผนภาพกล่อง เช่น
✤ นักเรียนเห็นความแตกต่างของแผนภาพกล่องแสดงปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำ�ดื่มและน้ำ�แร่ อย่างไรบ้าง
✤ การกระจายของข้อมูลปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำ�ดื่มและน้ำ�แร่เป็นอย่างไร
✤ ช่วงใดของข้อมูลปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำ�ดื่มที่มีการกระจายของข้อมูลมากที่สุด
✤ การกระจายของข้อมูลในแต่ละช่วงที่แสดงให้เห็นในแผนภาพกล่องที่แสดงปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำ�แร่เป็น
อย่างไร
6. ครูอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับค่านอกเกณฑ์ (outlier) จากมุมคณิตในหนังสือเรียน หน้า 239–240 เพื่อให้เห็น
ว่ า แผนภาพกล่ อ งที่ ล ากเส้ น วิ ส เกอร์ จ นถึ ง ค่ า ต่ำ � สุ ด หรื อ /และค่ า สู ง สุ ด ที่ เ ป็ น ค่ า นอกเกณฑ์ กั บ แผนภาพกล่ อ ง
ที่ลากเส้นวิสเกอร์ถึงค่าต่ำ�สุดและ/หรือค่าสูงสุดที่ไม่เป็นค่านอกเกณฑ์ ส่งผลให้ได้แผนภาพกล่องที่แตกต่างกัน
ซึ่งจะทำ�ให้การแปลความหมายของข้อมูลแตกต่างกันได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
368 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : นับเดือน
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมทีใ่ ห้นก
ั เรียนได้ใช้ขอ
้ มูลจากสถานการณ์ใกล้ตวั มาสร้างแผนภาพกล่อง แล้วฝึกอ่าน แปลความหมาย
ตีความ และวิเคราะห์ข้อมูลที่สื่อความหมายจากแผนภาพกล่อง โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ดินสอสี
2. ไม้บรรทัด
3. กระดาษบันทึกที่มีแถบกาว (sticky note) ขนาด 2 × 2 ตารางนิ้ว

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นก
ั เรียนแต่ละคนเขียนอายุเป็นเดือนของตนเองบนกระดาษบันทึก แล้วนำ�ไปแปะไว้บนกระดานทีม
่ เี ส้นกำ�หนด
สเกลไว้
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสร้างแผนภาพกล่องโดยใช้ข้อมูลอายุเป็นเดือนของนักเรียนทั้งห้อง
3. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายลักษณะแผนภาพกล่อง พร้อมทั้งอ่านและแปลความหมายแผนภาพกล่องที่ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 369

เฉลยกิจกรรม : นับเดือน
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่รวบรวมได้จากนักเรียนในห้อง

ข้อมูลอายุเป็นเดือนของนักเรียนห้องหนึ่งจำ�นวน 32 คน เป็นดังนี้

155 158 159 160 162 164 168 170


170 171 171 173 174 174 175 176
176 177 178 179 179 180 180 182
182 182 182 183 183 184 184 185

นำ�มาสร้างเป็นแผนภาพกล่องแสดงอายุ (เดือน) ของนักเรียนห้องนี้ ได้ดังนี้

150 152 154 156 158 160 162 164 166 168 170 172 174 176 178 180 182 184 186 188 190

สามารถอ่านและแปลความหมายแผนภาพกล่องแสดงอายุ (เดือน) ของนักเรียนห้องนี้ได้ดังนี้


✤ อายุของนักเรียนในช่วง 155–170 เดือน มีการกระจายตัวมากที่สุด
✤ อายุของนักเรียนในช่วง 182–185 เดือน มีการกระจุกตัวมากที่สุด
✤ อายุของนักเรียนในช่วง 170–176 เดือน และในช่วง 176–182 เดือน มีการกระจายตัวไม่แตกต่างกัน
✤ มีนักเรียนที่อายุไม่เกิน 170 เดือน อยู่ร้อยละ 25 ของนักเรียนทั้งหมด
✤ นักเรียนมากกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด มีอายุมากกว่า 14 ปี
✤ นักเรียนที่มีอายุในช่วง 155–170 เดือน มีจำ�นวนเท่ากับนักเรียนที่มีอายุในช่วง 182–185 เดือน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
370 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรม : วัดวา
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ใช้ข้อมูลจากสถานการณ์ใกล้ตัวสองชุด มาสร้างแผนภาพกล่อง แล้วฝึกอ่าน
แปลความหมาย ตีความ และวิเคราะห์ข้อมูลที่สื่อความหมายจากแผนภาพกล่องของข้อมูลสองชุด โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และ
ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
1. ดินสอสี
2. สายวัด
3. กระดาษบันทึกที่มีแถบกาว (sticky note) ขนาด 2 × 2 ตารางนิ้ว

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนจับคู่กัน วัดความยาวของวาของคู่ของตนเป็นเซนติเมตร โดยยืนกางแขนออกไปในแนวราบ แล้ววัด
ความยาวจากปลายนิ้วกลางของแขนข้างหนึ่งถึงปลายนิ้วกลางของแขนอีกข้างหนึ่ง และเขียนความยาวที่วัดได้บน
กระดาษบันทึก
2. ครูให้นักเรียนร่วมกันจำ�แนกข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดความยาวของวาของกลุ่มนักเรียนหญิง และชุดความยาว
ของวาของกลุ่มนักเรียนชาย
3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้ข้อมูลจากกระดาษบั น ทึ ก มาสร้ างแผนภาพกล่ อ งเพื่ อ เปรี ยบเที ยบความยาวของวา
ของนักเรียนหญิง และความยาวของวาของนักเรียนชาย
4. ครูให้นักเรียนสังเกตความแตกต่างของแผนภาพกล่องที่ได้ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะการกระจายของข้อมูล จากนั้น
ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะของแผนภาพกล่องทั้งสอง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 371

เฉลยกิจกรรม : วัดวา
คำ�ตอบมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่รวบรวมได้จากนักเรียนในห้อง

ข้อมูลความยาวของวาของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง เป็นดังนี้

ความยาวของวาของนักเรียนชาย 154 155 156 158 162 164 166 168 172 175
(เซนติเมตร) 177 179 181 181 182 182
153 154 155 157 159 160 160 161 162 162
ความยาวของวาของนักเรียนหญิง
163 164 166 167 167 168 170 170 170 172
(เซนติเมตร)
172 176 177 178

นำ�ข้อมูลมาสร้างแผนภาพกล่องแสดงความยาววา (เซนติเมตร) ของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ได้ดังนี้

ความยาวของวาของนักเรียนชาย

ความยาวของวาของนักเรียนหญิง

155 160 165 170 175 180 185 190

สามารถอ่านและแปลความหมายแผนภาพกล่องแสดงความยาวของวา (เซนติเมตร) ของนักเรียนห้องนี้ ได้ดังนี้


✤ ความยาวของวาของนักเรียนชาย ยาวกว่า ความยาวของวาของนักเรียนหญิง
✤ ความยาวของวาน้อยที่สุดของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม มีความยาวใกล้เคียงกัน
✤ ความยาวของวาของนักเรียนหญิงในช่วง 160–165 เซนติเมตร และในช่วง 165–170 เซนติเมตร มีการกระจาย
ใกล้เคียงกัน
✤ พิสัยของความยาวของวาของนักเรียนชายมากกว่าของนักเรียนหญิง
50
✤ มีนักเรียนชายที่มีความยาวของวา ตั้งแต่ 170 เซนติเมตรขึ้นไป เท่ากับ — × 16 = 8 คน
100
25
และมีนักเรียนหญิงที่มีความยาวของวา ตั้งแต่ 170 เซนติเมตรขึ้นไป เท่ากับ — × 24 = 6 คน
100
ดังนั้น นักเรียนชายทีม
่ ค
ี วามยาวของวา ตัง้ แต่ 170 เซนติเมตรขึน
้ ไป มีจ�ำ นวนมากกว่านักเรียนหญิงทีม
่ ค
ี วามยาวของวา
ตั้งแต่ 170 เซนติเมตรขึ้นไป อยู่ 2 คน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
372 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด 6.2
1. 1) ในช่วง 50,000–90,000 บาท ข้อมูลมีการกระจายตัวของข้อมูลมากกว่าช่วงอื่น ๆ รองลงมาเป็นช่วง 20,000–
50,000 บาท ช่วง 100,000–120,000 บาท และช่วง 90,000–100,000 บาท ตามลำ�ดับ
2) ในช่วง 172–325 คน ข้อมูลมีการกระจายตัวเท่า ๆ กันกับช่วง 325–500 คน แต่ข้อมูลในช่วงนี้มีการกระจุกตัว
มากกว่าในช่วง 500–838 คน ซึ่งข้อมูลมีการกระจายตัวเท่า ๆ กันกับช่วง 838–1,180 คน

2. ตัวอย่างคำ�ตอบ
✤ นักเรียนที่ได้คะแนนสอบก่อนเรียนในช่วง 6–8 คะแนน ช่วง 8–10 คะแนน และช่วง 10–12 คะแนน
มีการกระจายตัวเท่า ๆ กัน แต่กระจายน้อยกว่าข้อมูลในช่วง 12–15 คะแนน
✤ นักเรียนที่ได้คะแนนสอบหลังเรียนในช่วง 13–15 คะแนน ช่วง 15–17 คะแนน และช่วง 18–20 คะแนน
มีการกระจายตัวเท่า ๆ กัน ซึ่งข้อมูลในช่วงเหล่านี้มีการกระจายมากกว่าข้อมูลในช่วง 17–18 คะแนน
✤ ประมาณ 75% ของนักเรียนทัง้ หมดได้คะแนนสอบหลังเรียนเรือ
่ งสถิตม
ิ ากกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนทีส
่ งู สุด
และนักเรียนเหล่านี้ได้คะแนนตั้งแต่ 15 ไปจนถึง 20 คะแนน

3. 1) 7.6–9.5 นิ้ว
2) 8.8–10.8 นิ้ว
3) นักเปียโนคนนี้เป็นเพศหญิงเชื้อชาติคอเคเชียน
4) นักเปียโนคนนี้เป็นเพศชายเชื้อชาติคอเคเชียน
5) ✤ ประมาณ 50% ของของนักเปียโนเพศชายเชื้อชาติคอเคเชียนมีความยาวคืบมากกว่านักเปียโนเพศหญิง
เชื้อชาติเอเชียนที่มีความยาวคืบมากที่สุด (9 นิ้ว)
✤ ประมาณ 50% ของนักเปียโนเพศหญิงเชื้อชาติเอเชียนมีความยาวคืบน้อยกว่านักเปียโนเพศชายเชื้อชาติ
คอเคเชียนที่มีความยาวคืบน้อยที่สุด (7.8 นิ้ว)
6) เมื่อพิจารณาการกระจายของข้อมูลที่อยู่ในช่วง Q1 ถึง Q2 และ Q2 ถึง Q3 ของนักเปียโนเชื้อชาติเอเชียนในแต่ละ
เพศ มีการกระจายตัวเท่า ๆ กัน กล่าวคือ ความยาวคืบของนักเปียโนเพศชายเชื้อชาติเอเชียนในช่วง Q1 ถึง Q2
และ Q2 ถึง Q3 มีการกระจายตัวเท่า ๆ กัน และความยาวคืบของนักเปียโนเพศหญิงเชื้อชาติเอเชียนในช่วง
Q1 ถึง Q2 และ Q2 ถึง Q3 มีการกระจายตัวเท่า ๆ กัน ซึ่งแตกต่างจากการกระจายตัวของนักเปียโนเชื้อชาติ
คอเคเชี ย น ที่ มี ก ารกระจายตั ว ของข้ อ มู ล ในสองช่ ว งนี้ แ ตกต่ า งกั น อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด โดยความยาวคื บ ในช่ ว ง
Q2 ถึง Q3 ของนักเปียโนชายเชื้อชาติคอเคเชียน มีการกระจายตัวมากกว่าความยาวคืบในช่วง Q1 ถึง Q2
ซึ่งตรงกันข้ามกับนักเปียโนหญิงเชื้อชาติคอเคเชียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 373

4. ตัวอย่างคำ�ตอบ
✤ มี นั ก กี ฬ าว่ า ยน้ำ � หญิ ง มากกว่ า 75% ทำ � เวลาในการว่ า ยฟรี ส ไตล์ ร ะยะ 100 เมตร รอบชิ ง ชนะเลิ ศ
ดีกว่า 53.32 วินาที ซึ่งเป็นเวลาที่มีนักกีฬาเพียง 25% ในรอบก่อนรองชนะเลิศกลุ่มที่หนึ่งทำ�เวลาได้
✤ มีนักกีฬาว่ายน้ำ�หญิงในรอบก่อนรองชนะเลิศที่ทำ�เวลาได้ดีที่สุดในการแข่งขันครั้งนี้
✤ ข้อมูลเวลาที่ใช้ในการว่ายน้ำ�ฟรีสไตล์ระยะ 100 เมตร ของนักกีฬาหญิงในรอบชิงชนะเลิศมีการกระจายตัว
น้ อ ยกว่ า รอบก่ อ นรองชนะเลิ ศ ทั้ ง สองกลุ่ ม อย่ า งเห็ น ได้ ชั ด และการกระจายตั ว ของข้ อ มู ล เวลาที่ ใ ช้ ใ น
การว่ายน้ำ�ฟรีสไตล์ระยะ 100 เมตร ในรอบก่อนรองชนะเลิศ (กลุ่มที่ 2) มีมากกว่าการกระจายตัวในรอบ
ก่อนรองชนะเลิศ (กลุ่มที่ 1)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
374 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมท้ายบท : เสียงดังในเมืองใหญ่
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับแผนภาพกล่องที่ได้เรียนรู้ เพื่ออ่าน วิเคราะห์ และ
แปลความหมายของข้อมูลในสถานการณ์จริงเกีย
่ วกับระดับเสียงเฉลีย
่ ในพืน
้ ทีร่ ม
ิ ถนนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล บริเวณ
พื้นที่ทั่วไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบริเวณสถานีตรวจวัดชั่วคราวริมถนนในกรุงเทพมหานคร โดยมี สื่อ/อุปกรณ์
และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
ซอฟต์แวร์ GeoGebra หรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่สามารถนำ�เสนอข้อมูลในรูปแผนภาพกล่องได้

ขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม
1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2–3 คน แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มกรอกข้อมูลเกี่ยวกับระดับเสียงเฉลี่ย
ในแต่ละบริเวณต่าง ๆ ทั้งสามบริเวณลงใน spreadsheet ของซอฟต์แวร์ GeoGebra
2. ครูให้นกั เรียนแต่ละกลุม
่ นำ�เสนอข้อมูลทีก่ รอกไว้ในข้อ 1 ในรูปแผนภาพกล่อง พร้อมทัง้ อ่านวิเคราะห์ และแปลความหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้จากแผนภาพกล่อง
3. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันในประเด็นทีเ่ หมือนและแตกต่างกัน ซึง่ เกิดจากการอ่านวิเคราะห์ และแปลความหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้จากแต่ละกลุ่ม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 375

เฉลยกิจกรรมท้ายบท : เสียงดังในเมืองใหญ่
แผนภาพกล่องแสดงระดับเสียงเฉลี่ย (Leq) ของแต่ละบริเวณ

บริเวณริมถนนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

บริเวณพื้นที่ทั่วไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

บริเวณสถานีตรวจวัดชั่วคราวริมถนนในกรุงเทพมหานคร

52 54 56 58 60 62 64 66 68 70 72 74 76 78 80

ตัวอย่างคำ�ตอบ
จากแผนภาพกล่องข้างต้น จะเห็นว่า
✤ ระดับเสียงเฉลี่ยที่เก็บรวบรวมได้จากสถานีตรวจวัดระดับเสียงบริเวณริมถนนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สถานีตรวจวัดระดับเสียงบริเวณพืน
้ ทีท
่ วั่ ไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และสถานีตรวจวัดระดับเสียงชัว่ คราว
ริมถนนในกรุงเทพมหานครมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
✤ การกระจายของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแต่ละแห่งมีการกระจายของข้อมูลแตกต่างกัน โดยบริเวณพื้นที่ทั่วไป
ในกรุงเทพมหานครมีการกระจายค่อนข้างสม่ำ�เสมอเมื่อเทียบกับอีกสองแห่ง
✤ พิจารณาการกระจายจากผลต่างของควอร์ไทล์ที่ 3 และควอร์ไทล์ที่ 1 จะเห็นว่า ข้อมูลระดับเสียงเฉลีย่ ทีเ่ ก็บรวบรวม
ได้ จ ากบริ เ วณริ ม ถนนในกรุ ง เทพมหานครมี ก ารกระจายมากที่ สุ ด รองลงมาเป็ น บริ เ วณพื้ น ที่ ทั่ ว ไป
ในกรุงเทพมหานคร และบริเวณสถานีตรวจวัดชั่วคราวริมถนนในกรุงเทพมหานคร ตามลำ�ดับ
✤ พิจารณาการกระจายจากผลต่างของควอร์ไทล์ที่ 3 และควอร์ไทล์ที่ 1 จะเห็นว่าบริเวณสถานีตรวจวัดชั่วคราว
ริมถนนในกรุงเทพมหานครมีการกระจายน้อยที่สุด รองลงมาเป็นบริเวณพื้นที่ทั่วไปในกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล และบริเวณริมถนนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามลำ�ดับ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
376 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท
1. 1) แผนภาพกล่องแสดงปริมาณฝุ่นละอองจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งสองแห่งข้างต้น เป็นดังนี้

กรมอุตุนิยมวิทยาบางนา

ศาลากลางจังหวัดสตูล

5 10 15 20 25 30 35 40 45 50 55 60 65 70 75 80 85 90 95 100 105 110 115

2) จากแผนภาพกล่อง จะเห็นว่า ปริมาณฝุน


่ ละอองซึง่ ตรวจวัดได้ทสี่ ถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ กรมอุตน
ุ ยิ มวิทยา
บางนา แตกต่างจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ ศาลากลางจังหวัดสตูลอย่างเห็นได้ชด
ั โดยปริมาณฝุน
่ ละออง
ที่ ต รวจวั ด ได้ ที่ ศ าลากลางจั ง หวั ด สตู ล กระจุ ก ตั ว อยู่ ใ นช่ ว งแคบ ๆ (9–16 ไมโครกรั ม ต่ อ ลู ก บาศก์ เ มตร)
มีการกระจายตัวค่อนข้างสม่ำ�เสมอในช่วง 10–16 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณฝุ่นละอองที่ตรวจวัด
ได้ทกี่ รมอุตน
ุ ยิ มวิทยาบางนามีการกระจายตัวมากกว่า และกระจายตัวอยูใ่ นช่วงทีม
่ ค
ี า่ มากกว่า (57–110 ไมโครกรัม
ต่อลูกบาศก์เมตร) ซึง่ การกระจายตัวของข้อมูลค่อนข้างสม่�ำ เสมอในช่วง 64– 93 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

2. จากข้อมูลสถิติการทำ�คะแนนของทีมบาสเกตบอล สร้างแผนภาพกล่องได้ดังนี้

ทีม A

ทีม B

70 75 80 85 90 95 100 105 110 115 120 125 130 135 140 145 150 155

จากแผนภาพกล่อง จะเห็นว่า 75% ของสถิติการทำ�คะแนนของทีม A สูงกว่า 75% ของสถิติการทำ�คะแนนของทีม B


ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า ทีม A มีแนวโน้มที่จะชนะทีม B

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 377

3. ข้อมูลปริมาณยาปฏิชีวนะ (mg/PCU) ที่ใช้ในสัตว์ปีกของประเทศต่าง ๆ 27 ประเทศ ในปี ค.ศ. 2010 และ


ปี ค.ศ. 2015 เป็นดังนี้

ค.ศ. 2010

ค.ศ. 2015

0 20 40 60 80 100 120 140 160 180 200 220

จากแผนภาพกล่อง จะเห็นว่า มากกว่า 50% ของสถิติปริมาณยาปฏิชีวนะในปี ค.ศ. 2010 มีมากกว่า 50%


ของสถิติปริมาณยาปฏิชีวนะในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งอาจสรุปได้ว่า ปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ปีกของประเทศต่าง ๆ
ลดลง

4. แผนภาพกล่องแสดงจำ�นวนพายุหมุนเขตร้อนทีเ่ คลือ่ นเข้าสูป


่ ระเทศไทยในช่วง 68 ปี เป็นดังนี้

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

จากแผนภาพกล่อง จะเห็นว่า จำ�นวนพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2494–2561


จะเท่ากับ 1 หรือ 2 ลูก เป็นส่วนใหญ่ และข้อมูลกระจายตัวมากในช่วง 4 ถึง 7 ลูก นอกจากนี้ยังพบว่า พายุหมุน
เขตร้อนจำ�นวน 9 ลูกที่เคยเกิดขึ้นมีความผิดปกติไปจากข้อมูลอื่น ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
378 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จากข้อมูลคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำ�นวน 40 คน ดังนี้ (4 คะแนน)

67 87 71 52 78 97 44 87 75 73 66
73 66 70 41 72 68 65 72 78 94 87
77 80 72 53 56 68 65 86 49 60 61
78 57 53 84 55 87 82

1) จงหาค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด ควอร์ไทล์ที่ 1 ควอร์ไทล์ที่ 2 และควอร์ไทล์ที่ 3

2) จงสร้างแผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 379

2. จากแผนภาพต้น–ใบ แสดงคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มหนึ่งดังนี้

4 1 3 4 6 8
5 0 0 2 4 6
6 4 5 6 8
7 2 5 4 4
8 1 7
สัญลักษณ์ 4 ⎢ 1 หมายถึง 41 คะแนน

จงสร้างแผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มนี้ (2 คะแนน)

3. แผนภาพกล่องแสดงน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัมของนักเรียน จำ�นวน 60 คน

35 40 45 50 55 60 65

จากแผนภาพกล่อง จงเติมคำ�ตอบลงในช่องว่าง (10 คะแนน)


1) พิสัย =
2) มัธยฐาน =
3) Q1 =
4) Q3 =
5) น้ำ�หนักในช่วงที่มีการกระจายตัวมากที่สุด คือ
6) น้ำ�หนักในช่วงที่มีการกระจุกตัวมากที่สุด คือ
7) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักอยู่ในช่วง 36 ถึง 53 กิโลกรัม มีจำ�นวน คน
8) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักน้อยกว่า 60 กิโลกรัม มีจำ�นวน คน
9) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักน้อยกว่า 43 กิโลกรัม มีร้อยละ ของนักเรียนทั้งหมด
10) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักตั้งแต่ 53 ถึง 64 กิโลกรัม มีจำ�นวนมากกว่านักเรียนที่มีน้ำ�หนักตั้งแต่ 36 ถึง 43 กิโลกรัม
อยู่ คน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
380 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. ข้อมูลความสูงของนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึง่ ประกอบด้วยนักเรียนชาย 200 คน และนักเรียนหญิง 200 คน สามารถ
นำ�ข้อมูลมาเขียนแสดงโดยใช้แผนภาพกล่องได้ดังนี้

นักเรียนชาย

นักเรียนหญิง

155 160 165 170 175 180 185 190


จากแผนภาพกล่ อ ง จงพิ จ ารณาข้ อ สรุ ป ต่ อ ไปนี้ ว่ า เป็ น จริ ง หรื อ เป็ น เท็ จ แล้ ว ทำ � เครื่ อ งหมาย  ลงในช่ อ งว่ า ง
หน้าข้อที่เป็นจริง และทำ�เครื่องหมาย  ลงในช่องว่างหน้าข้อที่เป็นเท็จ (5 คะแนน)
1) ความสูงของนักเรียนหญิงมีการกระจายตัวน้อยกว่าความสูงของนักเรียนชาย
2) นักเรียนประมาณ 75% ของนักเรียนทั้งหมด มีความสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป
3) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่มีความสูงไม่เกิน 160 เซนติเมตร มีจำ�นวนเท่ากัน
4) นักเรียนชายที่มีความสูงตั้งแต่ 182 ถึง 185 เซนติเมตร มีจำ�นวนน้อยกว่านักเรียนชายที่มีความสูงตั้งแต่
160 ถึง 172 เซนติเมตร
5) นักเรียนชายทีม
่ ค
ี วามสูงระหว่าง 172 ถึง 182 เซนติเมตร มีจ�ำ นวนเท่ากับนักเรียนหญิงทีม
่ ค
ี วามสูงระหว่าง
160 ถึง 170 เซนติเมตร

5. แผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง แสดงได้ดังนี้

40 50 60 70 80 90 100

ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. พิสัยของคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มนี้ เท่ากับ 40 คะแนน
ข. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มนี้ เท่ากับ 70 คะแนน
ค. มีนักเรียนมากกว่าร้อยละ 50 ของนักเรียนทั้งหมด ที่ได้คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 55 ถึง 85 คะแนน
ง. มีนักเรียนประมาณร้อยละ 50 ของนักเรียนทั้งหมด ที่ได้คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 381

6. คะแนนสอบรายจุดประสงค์ของนักเรียนห้องหนึ่ง นำ�เสนอด้วยแผนภาพกล่องได้ดังนี้

6 8 10 12 14 16 18 20

ข้อใดสรุปไม่ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 11 ถึง 13 คะแนน มีจำ�นวนมากกว่านักเรียนที่สอบได้คะแนน 13 ถึง 14 คะแนน
ข. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 8 ถึง 14 คะแนน มีจำ�นวนมากกว่านักเรียนที่สอบได้คะแนน 14 ถึง 20 คะแนน
ค. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 8 ถึง 11 คะแนน มีจำ�นวนเท่ากับนักเรียนที่สอบได้คะแนน 14 ถึง 20 คะแนน
ง. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 8 ถึง 13 คะแนน มีจำ�นวนเท่ากับนักเรียนที่สอบได้คะแนน 13 ถึง 20 คะแนน

7. คะแนนสอบกลางภาคของวิชาคณิตศาสตร์ 2 รายวิชา ที่มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน ของนักเรียนห้องหนึ่งจำ�นวน 40 คน


นำ�เสนอโดยใช้แผนภาพกล่องได้ดังนี้

วิชาที่ 1

วิชาที่ 2

4 6 8 10 12 14 16 18 20

พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ข้อ 1) นักเรียนที่สอบได้วิชาที่ 2 ตั้งแต่ 13 ถึง 15 คะแนน มีจำ�นวนน้อยที่สุด
ข้อ 2) นักเรียนที่สอบวิชาที่ 1 ได้คะแนนไม่เกิน 13 คะแนน มีจำ�นวนเท่ากับนักเรียนที่สอบวิชาที่ 2 ได้คะแนนไม่เกิน
13 คะแนน
ข้อใดถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ข. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) ไม่จริง
ค. ข้อ 1) เป็นจริง ข้อ 2) ไม่จริง
ง. ข้อ 1) ไม่จริง ข้อ 2) เป็นจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
382 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

แผนภาพกล่องแสดงส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ และทีมชาติไทย ดังนี้

195 เกาหลีใต� ไทย

190

185

180

175

170

165

160

จากแผนภาพกล่องข้างต้น จงตอบคำ�ถามข้อ 8–10

8. ข้อใดถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยส่วนใหญ่มีส่วนสูงในช่วง 178 ถึง 180 เซนติเมตร
ข. นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ส่วนใหญ่มีส่วนสูงในช่วง 163 ถึง 176 เซนติเมตร
ค. มีนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ไม่ต่ำ�กว่าร้อยละ 25 ที่สูงกว่านักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยคนที่สูง
มากที่สุด
ง. นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่มีส่วนสูงในช่วง 174 ถึง 178 เซนติเมตร มีจำ�นวนมากกว่านักวอลเลย์บอล
หญิงทีมชาติไทยที่มีส่วนสูงในช่วง 178 ถึง 180 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 383

9. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ (1 คะแนน)
ข้อ 1) ส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยมีการกระจายตัวมากที่สุดในช่วง 169 ถึง 174 เซนติเมตร
ข้อ 2) ส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้มีการกระจุกตัวมากในช่วง 176 ถึง 179 เซนติเมตร
ข้อใดถูกต้อง
ก. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ข. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) ไม่จริง
ค. ข้อ 1) เป็นจริง ข้อ 2) ไม่จริง
ง. ข้อ 1) ไม่จริง ข้อ 2) เป็นจริง

10. ข้อใดไม่ถูกต้อง (1 คะแนน)


ก. พิสัยของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เท่ากับ 13 เซนติเมตร
ข. พิสัยของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ เท่ากับ 29 เซนติเมตร
ค. มัธยฐานของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เท่ากับ 178 เซนติเมตร
ง. มัธยฐานของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ เท่ากับ 177.5 เซนติเมตร

11. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 ห้อง 2 และห้อง 3 ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน


เป็นดังแผนภาพกล่องข้างล่างนี้

ห�อง 1

ห�อง 2

ห�อง 3

40 50 60 70 80 90 100

จากแผนภาพกล่อง จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) นักเรียนห้องใดสอบได้คะแนนต่ำ�สุด และสอบได้กี่คะแนน (1 คะแนน)
ตอบ
2) ร้อยละของนักเรียนห้องใดสอบได้ 80 คะแนนขึ้นไป มากที่สุด (1 คะแนน)
ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
384 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3) ร้อยละของนักเรียนห้องใดสอบได้น้อยกว่า 50 คะแนน มากที่สุด (1 คะแนน)


ตอบ
4) มัธยฐานของคะแนนสอบของนักเรียนห้องใดมากที่สุด (1 คะแนน)
ตอบ
5) คะแนนสอบของนักเรียนห้อง 1 มีการกระจายตัวมากที่สุดอยู่ในช่วงใด (1 คะแนน)
ตอบ
6) คะแนนสอบของนักเรียนห้อง 2 มีการกระจุกตัวมากที่สุดอยู่ในช่วงใด (1 คะแนน)
ตอบ
7) นักเรียนห้องใดที่สอบได้ 70 คะแนนขึ้นไป มากกว่า 50% ของนักเรียนในห้องทั้งหมด จงอธิบาย (2 คะแนน)
ตอบ

8) เมื่อเปรียบเทียบการกระจายตัวของคะแนนของนักเรียนทั้งสามห้อง คะแนนของนักเรียนในช่วงใดของห้องใด
มีการกระจายตัวใกล้เคียงกันบ้าง จงอธิบาย (2 คะแนน)
ตอบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 385

12. จากแผนภาพต้น–ใบ แสดงคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง จำ�นวน 35 คน ดังนี้

คะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์
9 7 7 4 2 2 4 0 5 6 8
8 6 5 1 5 2 3 3 4 5
8 8 7 6 5 5 3 3 6 2 3 3 6 8 9
9 7 6 6 4 4 2 7 1 1 3 3 4 6 8 8
8 8 5 5 2 1 8 1 3 5 6 8 9 9
6 3 2 2 9 0 0 1 3 8

สัญลักษณ์ 4 ⎢ 0 หมายถึง 40 คะแนน

จงสร้างแผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มนี้ (6 คะแนน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
386 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

13. ข้อมูลปริมาณขยะในปี พ.ศ. 2559 ที่ถูกนำ�ไปใช้ประโยชน์ (ตัน/ปี) ของจังหวัดในภาคกลาง จำ�นวน 21 จังหวัด และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำ�นวน 20 จังหวัด (แบ่งภาคโดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์) ดังนี้ (5 คะแนน)

ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณขยะที่ถูกนำ�ไปใช้ ปริมาณขยะที่ถูกนำ�ไปใช้
จังหวัด จังหวัด
ประโยชน์ (ตัน/ปี) ประโยชน์ (ตัน/ปี)
กำ�แพงเพชร 47,921.89 กาฬสินธุ์ 138,388.52
ชัยนาท 49,340.46 ขอนแก่น 204,893.24
นครนายก 13,366.30 ชัยภูมิ 136,438.79
นครปฐม 42,565.80 นครพนม 95,385.00
นครสวรรค์ 83,085.62 นครราชสีมา 228,190.80
ปทุมธานี 79,696.78 บึงกาฬ 63,832.00
พระนครศรีอยุธยา 92,331.12 บุรีรัมย์ 96,239.50
พิจิตร 57,089.08 มหาสารคาม 104,888.80
พิษณุโลก 68,479.26 มุกดาหาร 22,210.25
เพชรบูรณ์ 76,522.25 ยโสธร 7,997.15
ลพบุรี 51,713.20 ร้อยเอ็ด 58,852.60
สมุทรปราการ 109,113.10 เลย 72,093.00
สมุทรสงคราม 16,168.22 สกลนคร 144,469.00
สมุทรสาคร 41,412.90 สุรินทร์ 73,832.58
สระบุรี 60,787.10 ศรีสะเกษ 48,179.99
สิงห์บุรี 17,005.00 หนองคาย 41,945.00
สุโขทัย 127,739.95 หนองบัวลำ�ภู 81,873.53
สุพรรณบุรี 58,769.72 อุดรธานี 265,267.00
อ่างทอง 43,279.07 อุบลราชธานี 139,070.11
อุทัยธานี 20,807.69 อำ�นาจเจริญ 25,090.10

ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559, 2560 : 170–173

จงนำ�เสนอข้อมูลข้างต้น โดยใช้ซอฟต์แวร์ GeoGebra *

*หมายเหตุ ข้อสอบนี้ให้นักเรียนทำ�นอกเวลาโดยใช้ซอฟต์แวร์ GeoGebra

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 387

เฉลยตัวอย่างแบบทดสอบท้ายบท
1. จากข้อมูลคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำ�นวน 40 คน ดังนี้ (4 คะแนน)

67 87 71 52 78 97 44 87 75 73 66
73 66 70 41 72 68 65 72 78 94 87
77 80 72 53 56 68 65 86 49 60 61
78 57 53 84 55 87 82

1) จงหาค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด ควอร์ไทล์ที่ 1 ควอร์ไทล์ที่ 2 และควอร์ไทล์ที่ 3


แนวคิด เรียงข้อมูลจากน้อยไปหามากได้ดังนี้
41 44 49 52 53 53 55 56 57 60
61 65 65 66 66 67 68 68 70 71
72 72 72 73 73 75 77 78 78 78
80 82 84 86 87 87 87 87 94 97
จะได้ ค่าต่ำ�สุด = 41
ค่าสูงสุด = 97
60 + 61
Q1 = = 60.5
2
71 + 72
Q2 = = 71.5
2
78 + 80
Q3 = = 79
2
2) จงสร้างแผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มนี้

แผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นดังนี้

40 42 44 46 48 50 52 54 56 58 60 62 64 66 68 70 72 74 76 78 80 82 84 86 88 90 92 94 96 98 100

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
388 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถนำ�เสนอข้อมูลในรูปแผนภาพกล่องโดยใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 4 คะแนน ข้อละ 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
ข้อ 1) หาค่าต่ำ�สุดและค่าสูงสุด, Q1 , Q2 , Q3 ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
ข้อ 2) มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแผนภาพกล่องที่มีค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
ตรงกับตำ�แหน่งที่ถูกต้องทุกตำ�แหน่งบนเส้นจำ�นวน ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแผนภาพกล่องที่มีค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
ตรงกับตำ�แหน่งที่ถูกต้องเป็นบางส่วนบนเส้นจำ�นวน ได้ 1 คะแนน
✤ เขียนแผนภาพกล่องไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน

2. จากแผนภาพต้น–ใบ แสดงคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มหนึ่งดังนี้

4 1 3 4 6 8
5 0 0 2 4 6
6 4 5 6 8
7 2 5 4 4
8 1 7
สัญลักษณ์ 4 ⎢ 1 หมายถึง 41 คะแนน

จงสร้างแผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มนี้ (2 คะแนน)

แนวคิด จากแผนภาพต้น–ใบ
จะได้ ค่าต่ำ�สุด = 41
ค่าสูงสุด = 87
48 + 50
Q1 = = 49
2
56 + 64
Q2 = = 60
2
72 + 75
Q3 = = 73.5
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 389

แผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มนี้ เป็นดังนี้

36 38 40 42 44 46 48 50 52 54 56 58 60 62 64 66 68 70 72 74 76 78 80 82 84 86 88 90 92

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถนำ�เสนอข้อมูลในรูปแผนภาพกล่องโดยใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ เขียนแผนภาพกล่องที่มีค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
ตรงกับตำ�แหน่งที่ถูกต้องบนเส้นจำ�นวน ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแผนภาพกล่องที่มีค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
ตรงกับตำ�แหน่งที่ถูกต้องบางค่าบนเส้นจำ�นวน ได้ 1 คะแนน
✤ เขียนแผนภาพกล่องไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน

3. แผนภาพกล่องแสดงน้ำ�หนักเป็นกิโลกรัมของนักเรียน จำ�นวน 60 คน

35 40 45 50 55 60 65
จากแผนภาพกล่อง จงเติมคำ�ตอบลงในช่องว่าง (10 คะแนน)
1) พิสัย = 28 กิโลกรัม
2) มัธยฐาน = 53 กิโลกรัม
3) Q1 = 43 กิโลกรัม
4) Q3 = 60 กิโลกรัม
5) น้ำ�หนักในช่วงใดมีการกระจายตัวมากที่สุด คือ ช่วง 43 ถึง 53 กิโลกรัม
6) น้ำ�หนักในช่วงใดมีการกระจุกตัวมากที่สุด คือ ช่วง 60 ถึง 64 กิโลกรัม
7) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักอยู่ในช่วง 36 ถึง 53 กิโลกรัม มีจำ�นวน 30 คน
8) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักน้อยกว่า 60 กิโลกรัม มีจำ�นวน 45 คน
9) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักน้อยกว่า 43 กิโลกรัม มีร้อยละ 25 ของนักเรียนทั้งหมด
10) นักเรียนที่มีน้ำ�หนักตั้งแต่ 53 ถึง 64 กิโลกรัม มีจำ�นวนมากกว่านักเรียนที่มีน้ำ�หนักตั้งแต่ 36 ถึง 43 กิโลกรัม
อยู่ 15 คน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
390 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถอ่าน วิเคราะห์ และแปลความหมายผลลัพธ์ที่นำ�เสนอในรูปแผนภาพกล่อง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

4. ข้อมูลความสูงของนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึง่ ประกอบด้วยนักเรียนชาย 200 คน และนักเรียนหญิง 200 คน สามารถ
นำ�ข้อมูลมาเขียนแสดงโดยใช้แผนภาพกล่องได้ดังนี้

นักเรียนชาย

นักเรียนหญิง

155 160 165 170 175 180 185 190

จากแผนภาพกล่ อ ง จงพิ จ ารณาข้ อ สรุ ป ต่ อ ไปนี้ ว่ า เป็ น จริ ง หรื อ เป็ น เท็ จ แล้ ว ทำ � เครื่ อ งหมาย  ลงในช่ อ งว่ า ง
หน้าข้อที่เป็นจริง และทำ�เครื่องหมาย  ลงในช่องว่างหน้าข้อที่เป็นเท็จ (5 คะแนน)

 1) ความสูงของนักเรียนหญิงมีการกระจายตัวน้อยกว่าความสูงของนักเรียนชาย

 2) นักเรียนประมาณ 75% ของนักเรียนทั้งหมด มีความสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป

 3) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่มีความสูงไม่เกิน 160 เซนติเมตร มีจำ�นวนเท่ากัน
 4) นักเรียนชายที่มีความสูงตั้งแต่ 182 ถึง 185 เซนติเมตร มีจำ�นวนน้อยกว่านักเรียนชายที่มีความสูงตั้งแต่
160 ถึง 172 เซนติเมตร
 5) นักเรียนชายที่มีความสูงระหว่าง 172 ถึง 182 เซนติเมตร มีจำ�นวนเท่ากับนักเรียนหญิงที่มีความสูงระหว่าง
160 ถึง 170 เซนติเมตร

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถอ่าน วิเคราะห์ และแปลความหมายผลลัพธ์ที่นำ�เสนอในรูปแผนภาพกล่อง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 391

5. แผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง แสดงได้ดังนี้

40 50 60 70 80 90 100

ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. พิสัยของคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มนี้ เท่ากับ 40 คะแนน
ข. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มนี้ เท่ากับ 70 คะแนน
ค. มีนักเรียนมากกว่าร้อยละ 50 ของนักเรียนทั้งหมด ที่ได้คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 55 ถึง 85 คะแนน
ง. มีนักเรียนประมาณร้อยละ 50 ของนักเรียนทั้งหมด ที่ได้คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป

6. คะแนนสอบรายจุดประสงค์ของนักเรียนห้องหนึ่ง นำ�เสนอด้วยแผนภาพกล่องได้ดังนี้

6 8 10 12 14 16 18 20

ข้อใดสรุปไม่ถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 11 ถึง 13 คะแนน มีจำ�นวนมากกว่านักเรียนที่สอบได้คะแนน 13 ถึง 14 คะแนน
ข. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 8 ถึง 14 คะแนน มีจำ�นวนมากกว่านักเรียนที่สอบได้คะแนน 14 ถึง 20 คะแนน
ค. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 8 ถึง 11 คะแนน มีจำ�นวนเท่ากับนักเรียนที่สอบได้คะแนน 14 ถึง 20 คะแนน
ง. นักเรียนที่สอบได้คะแนน 8 ถึง 13 คะแนน มีจำ�นวนเท่ากับนักเรียนที่สอบได้คะแนน 13 ถึง 20 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
392 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

7. คะแนนสอบกลางภาคของวิชาคณิตศาสตร์ 2 รายวิชาที่มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน ของนักเรียนห้องหนึ่งจำ�นวน 40 คน


นำ�เสนอโดยใช้แผนภาพกล่องได้ดังนี้

วิชาที่ 1

วิชาที่ 2

4 6 8 10 12 14 16 18 20

พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ข้อ 1) นักเรียนที่สอบได้วิชาที่ 2 ตั้งแต่ 13 ถึง 15 คะแนน มีจำ�นวนน้อยที่สุด
ข้อ 2) นักเรียนทีส่ อบวิชาที่ 1 ได้คะแนนไม่เกิน 13 คะแนน มีจ�ำ นวนเท่ากับนักเรียนทีส่ อบวิชาที่ 2 ได้คะแนนไม่เกิน
13 คะแนน
ข้อใดถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ข. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) ไม่จริง
ค. ข้อ 1) เป็นจริง ข้อ 2) ไม่จริง
ง. ข้อ 1) ไม่จริง ข้อ 2) เป็นจริง

แผนภาพกล่องแสดงส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ และทีมชาติไทย ดังนี้

195 เกาหลีใต� ไทย

190

185

180

175

170

165

160

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 393

จากแผนภาพกล่องข้างต้น จงตอบคำ�ถามข้อ 8–10

8. ข้อใดถูกต้อง (1 คะแนน)
ก. นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยส่วนใหญ่มีส่วนสูงในช่วง 178 ถึง 180 เซนติเมตร
ข. นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ส่วนใหญ่มีส่วนสูงในช่วง 163 ถึง 176 เซนติเมตร
ค. มีนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ไม่ต่ำ�กว่าร้อยละ 25 ที่สูงกว่านักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยคนที่สูง
มากที่สุด
ง. นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่มีส่วนสูงในช่วง 174 ถึง 178 เซนติเมตร มีจำ�นวนมากกว่านักวอลเลย์บอล
หญิงทีมชาติไทยที่มีส่วนสูงในช่วง 178 ถึง 180 เซนติเมตร

9. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ (1 คะแนน)
ข้อ 1) ส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยมีการกระจายตัวมากที่สุดในช่วง 169 ถึง 174 เซนติเมตร
ข้อ 2) ส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้มีการกระจุกตัวมากในช่วง 176 ถึง 179 เซนติเมตร
ข้อใดถูกต้อง
ก. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) เป็นจริง
ข. ทั้งข้อ 1) และข้อ 2) ไม่จริง
ค. ข้อ 1) เป็นจริง ข้อ 2) ไม่จริง
ง. ข้อ 1) ไม่จริง ข้อ 2) เป็นจริง

10. ข้อใดไม่ถูกต้อง (1 คะแนน)


ก. พิสัยของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เท่ากับ 13 เซนติเมตร
ข. พิสัยของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ เท่ากับ 29 เซนติเมตร
ค. มัธยฐานของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เท่ากับ 178 เซนติเมตร
ง. มัธยฐานของส่วนสูงของนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้ เท่ากับ 177.5 เซนติเมตร

สำ�หรับข้อ 5–10
ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถอ่าน วิเคราะห์ และแปลความหมายผลลัพธ์ที่นำ�เสนอในรูปแผนภาพกล่อง
เกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 1 คะแนน
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
394 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

11. คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 ห้อง 2 และห้อง 3 ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน


เป็นดังแผนภาพกล่องข้างล่างนี้ (10 คะแนน)

ห�อง 1

ห�อง 2

ห�อง 3

40 50 60 70 80 90 100

จากแผนภาพกล่อง จงตอบคำ�ถามต่อไปนี้
1) นักเรียนห้องใดสอบได้คะแนนต่ำ�สุด และสอบได้กี่คะแนน (1 คะแนน)
ตอบ ห้อง 3 สอบได้ 41 คะแนน
2) ร้อยละของนักเรียนห้องใดสอบได้ 80 คะแนนขึ้นไป มากที่สุด (1 คะแนน)
ตอบ ห้อง 2
3) ร้อยละของนักเรียนห้องใดสอบได้น้อยกว่า 50 คะแนน มากที่สุด (1 คะแนน)
ตอบ ห้อง 1
4) มัธยฐานของคะแนนสอบของนักเรียนห้องใดมากที่สุด (1 คะแนน)
ตอบ ห้อง 2
5) คะแนนสอบของนักเรียนห้อง 1 มีการกระจายตัวมากที่สุดอยู่ในช่วงใด (1 คะแนน)
ตอบ ช่วง 60–80 คะแนน
6) คะแนนสอบของนักเรียนห้อง 2 มีการกระจุกตัวมากที่สุดอยู่ในช่วงใด (1 คะแนน)
ตอบ ช่วง 84–88 คะแนน
7) นักเรียนห้องใดที่สอบได้ 70 คะแนนขึ้นไป มากกว่า 50% ของนักเรียนในห้องทั้งหมด จงอธิบาย (2 คะแนน)
ตอบ ห้อง 2 เนื่องจาก Q2 ของคะแนนสอบของนักเรียนห้อง 2 เท่ากับ 72 คะแนน แสดงว่ามีนักเรียนห้อง 2
มากกว่า 50% ของนักเรียนในห้องทั้งหมดที่สอบได้ระดับคะแนน 3 ขึ้นไป
8) เมื่อเปรียบเทียบการกระจายตัวของคะแนนของนักเรียนทั้งสามห้อง คะแนนของนักเรียนในช่วงใดของห้องใดมี
การกระจายตัวใกล้เคียงกันบ้าง จงยกตัวอย่างมา 1 คำ�ตอบ (2 คะแนน)
ตัวอย่างคำ�ตอบ
ตอบ ✤ คะแนนของนักเรียนห้อง 1 ในช่วง 80–91 คะแนน และคะแนนของนักเรียนห้อง 3 ในช่วง 41–52
คะแนน มีการกระจายตัวใกล้เคียงกัน เนื่องจากวิสเกอร์มีความยาวเท่ากัน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 395

✤ คะแนนของนักเรียนห้อง 2 ในช่วง 48–56 คะแนน และคะแนนของนักเรียนห้อง 3 ในช่วง 66–74


คะแนน มีการกระจายตัวใกล้เคียงกัน เนื่องจากวิสเกอร์มีความยาวเท่ากัน

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 2 นักเรียนสามารถอ่าน วิเคราะห์ และแปลความหมายผลลัพธ์ที่นำ�เสนอในรูปแผนภาพกล่อง
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 10 คะแนน
ข้อ 1) – ข้อ 6) ข้อละ 1 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน
ข้อ 7) – ข้อ 8) ข้อละ 2 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
✤ ตอบถูกต้องและอธิบายถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ ตอบถูกต้องแต่อธิบายไม่ถูกต้อง
หรือตอบไม่ถูกต้องแต่อธิบายถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ ตอบไม่ถูกต้องและอธิบายไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน

12. จากแผนภาพต้น–ใบ แสดงคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง จำ�นวน 35 คน ดังนี้

คะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์
9 7 7 4 2 2 4 0 5 6 8
8 6 5 1 5 2 3 3 4 5
8 8 7 6 5 5 3 3 6 2 3 3 6 8 9
9 7 6 6 4 4 2 7 1 1 3 3 4 6 8 8
8 8 5 5 2 1 8 1 3 5 6 8 9 9
6 3 2 2 9 0 0 1 3 8

สัญลักษณ์ 4 ⎢ 0 หมายถึง 40 คะแนน

จงสร้างแผนภาพกล่องแสดงแสดงคะแนนสอบของนักเรียนกลุ่มนี้ (6 คะแนน)
แนวคิด จากข้อมูลคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์
จะได้ ค่าต่ำ�สุด = 42
ค่าสูงสุด = 96
Q1 = 56
Q2 = 68
Q3 = 82

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
396 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

จากข้อมูลคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์
จะได้ ค่าต่ำ�สุด = 40
ค่าสูงสุด = 98
Q1 = 55
Q2 = 73
Q3 = 86

เขียนแผนภาพกล่องแสดงคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน จำ�นวน 35 คน
ได้ดังนี้

วิทยาศาสตร�

คณิตศาสตร�

24 28 32 36 40 44 48 52 56 60 64 68 72 76 80 84 88 92 96 100 104 108 112 116

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถนำ�เสนอข้อมูลในรูปแผนภาพกล่องโดยใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 6 คะแนน โดยแบ่งให้คะแนน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การหาค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
✤ หาค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3 ของวิชาวิทยาศาสตร์ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ หาค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3 ของวิชาคณิตศาสตร์ถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
ส่วนที่ 2 การเขียนแผนภาพกล่อง
✤ เขียนแผนภาพกล่องที่มีค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
ตรงกับตำ�แหน่งที่ถูกต้องทุกตำ�แหน่งบนเส้นจำ�นวน ได้ 2 คะแนน
✤ เขียนแผนภาพกล่องที่มีค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
ตรงกับตำ�แหน่งที่ถูกต้องเป็นบางส่วนบนเส้นจำ�นวน ได้ 1 คะแนน
✤ เขียนแผนภาพกล่องไม่ถูกต้อง หรือไม่เขียน ได้ 0 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 397

13. ข้อมูลปริมาณขยะในปี พ.ศ. 2559 ที่ถูกนำ�ไปใช้ประโยชน์ (ตัน/ปี) ของจังหวัดในภาคกลาง จำ�นวน 21 จังหวัด และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำ�นวน 20 จังหวัด (แบ่งภาคโดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์) ดังนี้ (5 คะแนน)

ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณขยะที่ถูกนำ�ไปใช้ ปริมาณขยะที่ถูกนำ�ไปใช้
จังหวัด จังหวัด
ประโยชน์ (ตัน/ปี) ประโยชน์ (ตัน/ปี)
กำ�แพงเพชร 47,921.89 กาฬสินธุ์ 138,388.52
ชัยนาท 49,340.46 ขอนแก่น 204,893.24
นครนายก 13,366.30 ชัยภูมิ 136,438.79
นครปฐม 42,565.80 นครพนม 95,385.00
นครสวรรค์ 83,085.62 นครราชสีมา 228,190.80
ปทุมธานี 79,696.78 บึงกาฬ 63,832.00
พระนครศรีอยุธยา 92,331.12 บุรีรัมย์ 96,239.50
พิจิตร 57,089.08 มหาสารคาม 104,888.80
พิษณุโลก 68,479.26 มุกดาหาร 22,210.25
เพชรบูรณ์ 76,522.25 ยโสธร 7,997.15
ลพบุรี 51,713.20 ร้อยเอ็ด 58,852.60
สมุทรปราการ 109,113.10 เลย 72,093.00
สมุทรสงคราม 16,168.22 สกลนคร 144,469.00
สมุทรสาคร 41,412.90 สุรินทร์ 73,832.58
สระบุรี 60,787.10 ศรีสะเกษ 48,179.99
สิงห์บุรี 17,005.00 หนองคาย 41,945.00
สุโขทัย 127,739.95 หนองบัวลำ�ภู 81,873.53
สุพรรณบุรี 58,769.72 อุดรธานี 265,267.00
อ่างทอง 43,279.07 อุบลราชธานี 139,070.11
อุทัยธานี 20,807.69 อำ�นาจเจริญ 25,090.10

ที่มา : รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559, 2560 : 170–173

จงนำ�เสนอข้อมูลข้างต้น โดยใช้ซอฟต์แวร์ GeoGebra *

*หมายเหตุ ข้อสอบนี้ให้นักเรียนทำ�นอกเวลาโดยใช้ซอฟต์แวร์ GeoGebra

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
398 บทที่ 6 | สถิติ (3) คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

แผนภาพกล่องแสดงปริมาณขยะในปี พ.ศ. 2559 ที่ถูกนำ�ไปใช้ประโยชน์ (ตัน/ปี) ของจังหวัดในภาคกลาง


จำ�นวน 20 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำ�นวน 20 จังหวัด เป็นดังนี้

ภาคกลาง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

0 20,000 40,000 60,000 80,000 100,000 120,000 140,000 160,000 180,000 200,000 220,000 240,000 260,000 280,000

ความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
ข้อ 1 นักเรียนสามารถนำ�เสนอข้อมูลในรูปแผนภาพกล่องโดยใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 5 คะแนน โดยแบ่งให้คะแนน ดังนี้
✤ กรอกข้อมูลปริมาณขยะในตารางถูกต้อง ได้ 2 คะแนน
✤ หาค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3 ถูกต้อง ได้ 1 คะแนน
✤ เขียนค่าต่ำ�สุด ค่าสูงสุด Q1 Q2 และ Q3
ในตำ�แหน่งที่ถูกต้องตรงกับเส้นจำ�นวน ได้ 1 คะแนน
✤ ลากวิสเกอร์และสร้างกล่องถูกต้อง ได้ 1 คะแนน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 6 | สถิติ (3) 399

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
400 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : กล้องสามเหลี่ยม
สูงเทียมฟ้า ก็วัดค่าได้
กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม เป็นกิจกรรมหรือปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตจริง ซึ่งใช้กระบวนการ
ออกแบบเชิงวิศวกรรม หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง คือ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาช่วยในการแก้ปัญหา สำ�หรับกิจกรรม
นี้มีจุดประสงค์ให้นักเรียนใช้ความรู้เรื่องสามเหลี่ยมคล้ายมาประยุกต์เพื่อออกแบบกล้องสามเหลี่ยมมุมฉากช่วยประมาณ
ความสูง โดยมีสื่อ/อุปกรณ์ และขั้นตอนการดำ�เนินกิจกรรม ดังนี้

สื่อ/อุปกรณ์
✤ ใบกิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : กล้องสามเหลี่ยม สูงเทียมฟ้า ก็วัดค่าได้ 1 ใบ
✤ หลอดกาแฟสีทึบ ความยาวอย่างน้อย 25 เซนติเมตร 1 หลอด
✤ เชือกขาวเกลียว ความยาว 60 เซนติเมตร 1 เส้น
✤ เชือกฟาง ความยาวอย่างน้อย 50 เมตร 1 ม้วน
✤ วัตถุหนัก เช่น สกรูโลหะ สำ�หรับใช้เป็นลูกดิ่ง 1 ชิ้น
✤ เทปสนามวัดความยาว 1 อัน
✤ กาว 1 แท่ง
✤ กระดาษแข็งรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก 1 แผ่น

กระดาษแข็งรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก มีขนาดต่าง ๆ ดังนี้

12 ซม.
9 ซม. 10 ซม.

15 ซม. 15 ซม. 16 ซม.

15 ซม.

8 ซม.

12 ซม. 20 ซม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 401

ขั้นตอนการทำ�กิจกรรม
1. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับกระดาษแข็งรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก 1 แผ่น ซึ่งมีขนาด
ที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ
2. ครูให้นักเรียนช่วยกันออกแบบกล้องสามเหลี่ยมจากอุปกรณ์ที่ได้รับ เพื่อใช้ในการประมาณความสูงของเสาธง แล้ว
เขียนแบบร่างของกล้องสามเหลี่ยมที่จะประดิษฐ์ โดยระบุอุปกรณ์ที่ใช้ พร้อมทั้งบอกประโยชน์ของอุปกรณ์ดังกล่าว
ลงในใบกิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม ข้อ 1
3. ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นแต่ ล ะกลุ่ ม ลงมื อ ประดิ ษ ฐ์ ก ล้ อ งสามเหลี่ ย มจากอุ ป กรณ์ ที่ ไ ด้ รั บ ตามแบบร่ า งในข้ อ 2 แล้ ว นำ �
กล้องสามเหลี่ยมที่ประดิษฐ์ขึ้น ไปทดลองวัดความสูงของเสาธง แล้วเขียนภาพจำ�ลองแสดงการใช้กล้องสามเหลี่ยม
ในการวัดความสูง ลงในใบกิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม ข้อ 2
4. ครูให้ตัวแทนนักเรียนนำ�เสนอกล้องสามเหลี่ยมที่ประดิษฐ์ขึ้น พร้อมทั้งอธิบายแนวคิดในการคำ�นวณหาความสูง
ของเสาธง และอภิปรายแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับรูปสามเหลี่ยมมุมฉากซึ่งมีขนาดที่แตกต่าง
จากกลุ่มของตน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
402 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

เฉลยใบกิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : กล้องสามเหลี่ยม
สูงเทียมฟ้า ก็วัดค่าได้
1. ให้นักเรียนเขียนแบบร่างของกล้องสามเหลี่ยมที่จะประดิษฐ์ โดยระบุอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบ พร้อมทั้งบอก
ประโยชน์ของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่นำ�มาใช้
แนวคิด

หลอดกาแฟ

เชือกขาวเกลียว

วัตถุหนัก

อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบและประโยชน์ของอุปกรณ์มีดังนี้
1. หลอดกาแฟ ใช้แทนลำ�กล้องนำ�สายตาเพื่อส่องไปยังปลายยอดของเสาธง
2. เชือกขาวเกลียว ใช้ผูกกับจุดยอดบนสุดของรูปสามเหลี่ยม และวัตถุหนัก
3. วัตถุหนัก ใช้ร่วมกับเชือกขาวเกลียวเป็นลูกดิ่ง เพื่อหาตำ�แหน่งการยืนส่องกล้อง โดยต้องให้แนวของเชือก
ขาวเกลียวอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับด้านประกอบมุมฉากในแนวตั้งพอดี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 403

2. ให้นักเรียนเขียนภาพจำ�ลองแสดงการใช้กล้องสามเหลี่ยมในการวัด
ข้อสังเกต
ความสูงของเสาธง พร้อมทั้งแสดงวิธีการคำ�นวณ
แนวคิด
เพื่อความสะดวกในการวัดความสูงของ
สำ�หรับนักเรียนที่ได้กระดาษรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีความยาวของ
เสาธง ควรใช้ด้านประกอบมุมฉากที่สั้นกว่า
ด้านประกอบมุมฉากเป็น 9 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร อาจเขียน เป็ น ฐาน เพื่ อ ให้ ร ะยะในแนวนอนที่ ต้ อ งวั ด
ภาพจำ�ลองโดยไม่ใช้อัตราส่วนจริงได้ดังนี้ จากเสาธง สั้นกว่าความสูงของเสาธง ทำ�ให้
สามารถวัดระยะในแนวนอนสำ�หรับกรณีที่มี
D พื้นที่แคบ ๆ ได้
และในการใช้งานควรให้เชือกขาวเกลียวที่
ผู ก ลู ก ดิ่ ง อยู่ ใ นแนวเส้ น ตรงเดี ย วกั น กั บ ด้ า น
ประกอบมุมฉากในแนวตัง้ พอดี เพือ ่ ให้มน ั่ ใจว่า
ด้านประกอบมุมฉากในแนวนอนวางตัวขนาน
กับพื้น

15 ซม.
A E
9 ซม. C
1.5 ม. 12 ม.

จากภาพ จะเห็นว่ารูปสามเหลีย่ มมุมฉาก ABC คล้ายกับรูปสามเหลีย่ ม ADE ถ้าวัดความสูงของระดับสายตา


ได้ 1.5 เมตร และวัดระยะในแนวนอนจากฐานเสาธงมาถึงตำ�แหน่งที่ตรงกับตาของผู้วัดได้ 12 เมตร จะสามารถ
หาระยะ DE ได้จาก
DE
— = AE —
BC AC
  DE     12  
=
0.15 0.09
ดังนั้น DE = 20 เมตร

นั่นคือ จะประมาณความสูงเสาธงได้ 20 + 1.5 = 21.5 เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
404 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
การใช้เครือ
่ งคิดเลขวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบคำ�ตอบของสมการกำ�ลังสองตัวแปรเดียว

การใช้งานเครือ
่ งคิดเลขในการจัดการเรียนรูอ
้ าจทำ�ได้หลายลักษณะ เราสามารถใช้เครือ
่ งคิดเลขในการสือ
่ ความหมายทาง
คณิตศาสตร์ ในการคิดคำ�นวณ และในการสำ�รวจ นอกจากนี้ เรายังใช้เครื่องคิดเลขในการตรวจสอบคำ�ตอบได้ ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

2
ตัวอย่าง จงแก้สมการ 2x – x – 10 = 0
2
วิธีทำ� 2x – x – 10 = 0
(x + 2)(2x – 5) = 0
ดังนั้น x+2 = 0 หรือ 2x – 5 = 0
5
จะได้ x = -2 หรือ x = –
2
5
ดังนั้น คำ�ตอบของสมการคือ -2 และ –
2

✤ การตรวจสอบคำ�ตอบโดยใช้การคำ�นวณของเครื่องคิดเลข

2
แทน x ด้วย -2 ลงในนิพจน์พีชคณิต 2x – x – 10
สามารถใช้เครื่องคิดเลขตรวจสอบคำ�ตอบได้ดังนี้
2 ( – 2 ) χ2 –
( – 2 ) – 1 0 =
5 2
แทน x ด้วย – ลงในนิพจน์พีชคณิต 2x – x – 10
2
สามารถใช้เครื่องคิดเลขตรวจสอบคำ�ตอบได้ดังนี้
2 ( 5 ▼ 2 ▶ ) χ2 –
5 ▼ 2 ▶
▲▶▼◀ – 1 0 =
▲▶▼◀

5
จะได้ว่า เมื่อแทน x ด้วย -2 และ – ลงในนิพจน์พีชคณิต 2x2 – x – 10 จะได้ค่าของนิพจน์พีชคณิตเท่ากับ 0
2
5
ดังนั้น เมื่อแทน x ด้วย -2 และ – ลงในสมการ 2x2 – x – 10 = 0 แล้วทำ�ให้ได้สมการที่เป็นจริง
2
5
นั่นคือ คำ�ตอบของสมการคือ -2 และ –
2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 405

✤ การตรวจสอบคำ�ตอบโดยใช้เมนูและคำ�สั่งของเครื่องคิดเลข

เราสามารถใช้เมนูและคำ�สั่งในเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบคำ�ตอบ ดังนี้

1. เลือกเมนู Equation/Function

สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ดังนี้
MENU ▼ ▼ ▶ =

หรือ MENU (–)


▲▶▼◀

▲▶▼◀

2. กด 2 บนเครื่องคิดเลขเพื่อเลือกเมนูย่อย Polynomial

จากนั้น กด 2 เพื่อระบุว่าเป็นพหุนามดีกรีสอง

2
3. จัดรูปสมการกำ�ลังสองตัวแปรเดียวให้อยู่ในรูปทั่วไป ax + bx + c = 0 เมื่อ x เป็นตัวแปร a, b และ c เป็นค่าคงตัว
2
โดยที่ a ≠ 0 จากนั้นใส่ค่าสัมประสิทธิ์ a, b และ c ของสมการ 2x – x – 10 = 0 ลงในเครื่องคิดเลข

สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ดังนี้
2 =

– 1 =
▲▶▼◀

– 1 0 =
▲▶▼◀

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
406 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

4. กด = บนเครื่องคิดเลขอีกครั้ง หน้าจอจะแสดงคำ�ตอบแรก (x1)


2
ของสมการ 2x
▲▶▼◀ – x – 10 = 0

จากนั้น กด = บนเครื่องคิดเลขอีกครั้ง หน้าจอจะแสดงคำ�ตอบที่สอง (x2)


2
ของสมการ 2x
▲▶▼◀ – x – 10 = 0

สำ�หรับสมการกำ�ลังสองตัวแปรเดียวที่มี 1 คำ�ตอบ
หน้าจอจะแสดงเพียง x เท่านั้น

สำ�หรับสมการกำ�ลังสองตัวแปรเดียวที่ไม่มีจำ�นวนจริงใด
เป็นคำ�ตอบ หน้าจอจะแสดงคำ�ตอบเป็นจำ�นวนเชิงซ้อน

การใช้แอปพลิเคชัน Desmos Graphing Calculator ในการสำ�รวจกราฟของฟังก์ชน


ั กำ�ลังสอง

Desmos Graphing Calculator เป็นแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ที่


เปิดให้ใช้งานฟรีในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันและแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ตและสมาร์ตโฟน
ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส

ตัวอย่างการใช้ Desmos Graphing Calculator ในการสำ�รวจกราฟของสมการ y = a(x – h)2 + k เมื่อ a ≠ 0


ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 407

2
1. พิมพ์สมการ y = a(x – h) + k ลงในช่องใส่ฟังก์ชันทางด้านซ้ายโดยใช้แป้นพิมพ์ของแอปพลิเคชัน

2. กด add slider โดยเลือก all จะปรากฏ slider ของค่า a, h และ k จากนั้นปรับปุ่มของ slider ของค่า a, h
และ k เพื่อสังเกตกราฟที่เปลี่ยนแปลงไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
408 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

3. ปรับเปลีย่ นขอบเขตของแต่ละ slider โดยกดทีค


่ า่ ต่�ำ สุดหรือค่าสูงสุดของขอบเขตนัน
้ จากนัน
้ ใส่คา่ ต่�ำ สุดและค่าสูงสุด
ที่ต้องการ และสามารถปรับเปลี่ยนค่าในแต่ละครั้งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ โดยใส่ค่าลงในช่อง Step เช่น ถ้าต้องการ
ให้ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงครั้งละ 0.5 ให้ใส่ค่าลงในช่อง Step เป็น 0.5

4. กดปุ่ม เพื่อให้ปุ่มของ slider เลื่อนเองอัตโนมัติ

กดปุ่ม เพื่อเลือก Animation Mode โดย

กำ�หนดให้ปุ่มของ slider เลื่อนไปในทั้งสองทิศทางเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด

กำ�หนดให้ปม
ุ่ ของ slider เลือ
่ นไปในทิศทางทีเ่ พิม
่ ขึน
้ และกลับมาเริม
่ ทีค
่ า่ ต่�ำ สุดเรือ
่ ย ๆ ไม่สน
้ิ สุด

กำ�หนดให้ปุ่มของ slider เลื่อนไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นจนถึงค่าสูงสุดเพียงครั้งเดียว

กำ�หนดให้ปุ่มของ slider จะเลื่อนอัตโนมัติไปตาม Step ที่ตั้งไว้

กดปุ่ม หรือ เพื่อปรับความเร็วในการเลื่อนปุ่มของ slider อัตโนมัติ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 409

2
5. กดที่เส้นกราฟของสมการ y = a(x – h) + k จะปรากฏจุดต่าง ๆ บนกราฟ ได้แก่ จุดต่ำ�สุดหรือจุดสูงสุดของกราฟ
จุดตัดแกน X และจุดตัดแกน Y หรือกดเส้นกราฟ แล้วลากไปตามเส้นกราฟ จะปรากฏพิกัดของจุดที่อยู่บนกราฟ

2
ครูควรนักเรียนได้ศึกษา สำ�รวจ และสังเกตลักษณะของกราฟของสมการ y = ax เมื่อ a ≠ 0 เพื่อสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับ
ลักษณะของกราฟ เมื่อมีค่าคงตัว a เพียงตัวเดียวก่อน จากนั้นจึงให้นักเรียนได้ศึกษา สำ�รวจ และสังเกตลักษณะของกราฟของ
2 2 2
สมการ y = ax + k, y = a(x – h) และ y = a(x – h) + k เมื่อ a, h และ k เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 ตามลำ�ดับ
เพื่อสร้างข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของกราฟของสมการแต่ละรูปแบบได้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
410 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

บรรณานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). ศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). ศัพท์วิทยาศาสตร์ อังกฤษ–ไทย ไทย–อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:


อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์คณิตศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์


พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). ศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำ�ไทยแทนได้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมคำ�ใหม่ เล่ม 1–2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คูม


่ อ
ื ครูรายวิชาเพิม
่ เติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี 3
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คูม


่ อ
ื ครูรายวิชาเพิม
่ เติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชัน
้ มัธยมศึกษาปีท่ี 2
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). พจนานุกรมศัพท์คณิตศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:


สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน 411

คณะผู้จัดทำ�
คณะที่ปรึกษา
ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำ�นงค์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.วนิดา ธนประโยชน์ศักดิ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้จัดทำ�คู่มือครู
นางนงนุช ผลทวี โรงเรียนทับปุดวิทยา จังหวัดพังงา
นางเสาวรัตน์ รามแก้ว โรงเรียนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ดร.วัลลภา บุญวิเศษ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี
ดร.เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดนครปฐม
นางสาวอัจฉรา วันฤกษ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร
นายถนอมเกียรติ งานสกุล ข้าราชการบำ�นาญ
นางสาวดนิตา ชื่นอารมณ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาววรนารถ อยู่สุข สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวจันทร์นภา อุตตะมะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.รณชัย ปานะโปย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวสิริวรรณ จันทร์กูล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผู้พิจารณาคู่มือครู
รศ. ดร.อัมพร ม้าคนอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.ไพโรจน์ น่วมนุ่ม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ. ดร.วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ. ดร.อรรถศาสน์ นิมิตรพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
นางนงนุช ผลทวี โรงเรียนทับปุดวิทยา จังหวัดพังงา
นางเสาวรัตน์ รามแก้ว โรงเรียนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ดร.วัลลภา บุญวิเศษ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
412 บทที่ 4 | ทศนิยมและเศษส่วน คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ เล่ม 1

ดร.เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์


จังหวัดนครปฐม
นางสาวอัจฉรา วันฤกษ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร
นางมยุรี สาลีวงศ์ โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ
นายรัฐพล กัลพล โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำ�เพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
จังหวัดชลบุรี
นายถนอมเกียรติ งานสกุล ข้าราชการบำ�นาญ
ผศ.ลัดดาวัลย์ เพ็ญสุภา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสุวรรณา คล้ายกระแส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายสมนึก บุญพาไสว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.มาลินท์ อิทธิรส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวดนิตา ชื่นอารมณ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาววรนารถ อยู่สุข สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวจันทร์นภา อุตตะมะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.รณชัย ปานะโปย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวสิริวรรณ จันทร์กูล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อลงกต ใหม่ด้วง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะบรรณาธิการ
รศ. ดร.อัมพร ม้าคนอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. ดร.วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ.มาลินท์ อิทธิรส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะทำ�งานฝ่ายเสริมวิชาการ
ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางวนิดา สิงห์น้อย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ออกแบบรูปเล่ม
บริษัท เธิร์ด อาย 1999 จำ�กัด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาบันส�งเสริมการสอนวิทยาศาสตร�และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ

You might also like