You are on page 1of 6

บทที่ 3

การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมอุตสาหกรรม
เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่
ส่งผลต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลไทย ภายใต้ทฤษฎีเรื่องการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน หรือ SWOT Analysis และ
เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก หรือ PEST Analysis เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม
ภายนอกที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรม การประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรม และ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการดำเนินงานของธุรกิจ โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1) การวิเคราะปัจจัยแวดล้อมภายใน ได้แก่ จุดแข็งและจุดอ่อนของอุตสาหกรรมน้ำตาลฟิลิปปินส์
2) การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายนอก ได้แก่ โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมน้ำตาลฟิลิปปินส์
3.1 วิเคราะห์ PEST Analysis ของอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์
PEST Analysis คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อ
อุตสาหกรรม ประกอบด้วยปัจจัยด้านการเมือง (Political) ด้านเศรษฐกิจ (Economics) ด้านสังคม (Social) และ
ด้านเทคโนโลยี (Technology)
PESTEL Analysis
ด้านการเมือง (Political) - ฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในสมาคม
ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
- สินค้าอาหารแปรรูปทุกประเภทที่จะนำมาวาง
จำหน่ายในประเทศฟิลิปปินส์ต้องมีการจดทะเบียน
การนำเข้าสินค้ากับหน่วยงาน FDA ของฟิลิปปินส์ซึ่งผู้
จดทะเบียนนำเข้าจะต้องเป็นบุคคลในประเทศเท่านั้น
- มีการออกกฎหมายภาษีเครื่องดื่มรสหวาน ผลทำให้
ผู้ผลิตหันไปใช้น้ำตาลแทน เพราะเสียภาษีน้อยกว่าทำ
ให้ความต้องการน้ำตาลสูงตามจนน้ำตาลขาดตลาด
- มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบราชการอยู่เสมอ และ
มีกฎระเบียบทีเ่ ข้มงวด
- ฟิลิปปินส์ยังคงรายการสินค้าน้ำตาลไว้ใน Sensitive
list ภายใน ATIGA ทั้งนี้ตั้งแต่มกรา 2558 อัตราภาษี
นำเข้าน้ำตาลจากประเทศอาเซียนลดลงเหลือร้อยละ 5
- โครงสร้างพื้นฐานในประเทศยังไม่พัฒนา มีข้อจำกัด
ด้านการขนส่ง เนื่องจากภูมิประเทศประกอบด้วยเกาะ
จำนวนมาก ผลดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์
(Logistics Performance Index: LPI) ในปี 2559
ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 71 จาก 161 ประเทศจากทั่ว
โลก และในอาเซียนอยู่ในลำดับที่ 7
- สิทธิที่ดิน จากกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน เพื่อ
เกษตรกรรม (The Agricultural Land Reform
Code RA 3844) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2506
ส่งผลให้การซื้อที่ดินขนาดใหญ่เป็นไปได้ยากใน
ประเทศฟิลิปปินส์
ด้านเศรษฐกิจ (Economics) - อุตสาหกรรมน้ำตาลประเทศฟิลิปปินส์มีการส่งออก
ไปยังตลาดต่างประเทศ
- ตลาดฟิลิปปินส์ เป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่เป็น
อันดับ 2 ของอาเซียน และเป็นประเทศในกลุ่ม
ASEAN-5 หนึ่งเดียวที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 6 ต่อปี ส่งผลให้
ประชากรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ภาวะการลงทุน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566
ฟิลิปปินส์มีการลงทุนจากต่างประเทศ มูลค่ารวม
1.727 แสนล้านเปโซ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
2564 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 8.98 พันล้านเปโซ
- อัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือน
กรกฎาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงจากเดือน
มิถุนายน 2566 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 5.4 และอยู่ใน
ระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคม 2565
- สถานการณ์การค้า ในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566
การส่งออกมีมูลค่ารวม 34,940.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากในช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่าส่งออก
38,536.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 9.3
การนำเข้ามีมูลค่า 62,896.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า
68,377.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 8.0
ด้านสังคม (Social) - ประเทศฟิลิปปินส์ มีพื้นที่และภูมิประเทศที่เหมาะ
สำหรับการปลูกอ้อยสำหรับการผลิตน้ำตาล ทำให้มี
ความเชี่ยวชาญในการดูแลและเก็บเกี่ยวอ้อย
- จากผลกระทบของสถานการณ์เอลนีโญ ทำให้สภาพ
ภูมิอากาศในประเทศเปลี่ยนแปลง ประสบปัญหาขาด
แคลนน้ำและเกิดภัยแล้งเนื่องจากฝนตกน้อย
- ฟิลิปปินส์มปี ระชากรจำนวนมากถึง 100 ล้านคน แต่
ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร
- ผลจากภาษีบาปที่ทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีราคา
สูง ทำให้ผู้บริโภคในฟิลิปปินส์ หันมานิยมดื่มชา นม
น้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำหวาน และน้ำผลไม้แทน
- อัตราการเติบโตของประชากรฟิลิปปินส์ลดลงอย่าง
ต่อเนื่อง ขนาดของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จากการศึกษาพบว่า การบริโภคน้ำตาลมีแนวโน้มสูง
ที่สุดในวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว
เทคโนโลยี (Technology) - ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ขาดแคลนเทคโนโลยีสำหรับ
การแปรรูปที่ทันสมัย
3.2 วิเคราะห์ SWOT Analysis ของอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์
การวิเคราะห์ SWOT หรือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ เป็นเครื่องมือในการประเมิน
สถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน
จุดแข็ง (Strengths) : จุดเด่นหรือข้อได้เปรียบ เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจาก
สภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการผลิต และด้านทรัพยากรบุคคล
จุดอ่อน (Weaknesses) : จุดด้อยหรือข้อเสียเปรียบ เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือ
ข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทางที่ไม่แน่นอน
โอกาส (Opportunities) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท
เอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสเป็นผลมาจาก
สภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด
อุปสรรค (Threats) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลเสีย
ต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
ตาราง 3.1: การวิเคราะห์ SWOT อุตสาหกรรมน้ำตาลฟิลิปปินส์
จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses)
ด้านสังคม (Social) ด้านสังคม (Social)
- ประเทศฟิลิปปินส์ มีพื้นที่และภูมิประเทศที่เหมาะ - ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาค
สำหรับการปลูกอ้อยสำหรับการผลิตน้ำตาล ทำให้มี การเกษตร
ความเชี่ยวชาญในการดูแลและเก็บเกี่ยวอ้อย ด้านเทคโนโลยี (Technology)
ด้านเศรษฐกิจ (Economics) - ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ขาดแคลนเทคโนโลยีสำหรับ
- อุตสาหกรรมน้ำตาลประเทศฟิลิปปินส์มีการส่งออก การแปรรูปที่ทันสมัย
ไปยังตลาดต่างประเทศ
โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats)
ด้านการเมือง (Political) ด้านการเมือง (Political)
- ฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในสมาคม - สินค้าอาหารแปรรูปทุกประเภทที่จะนำมาวาง
ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) จำหน่ายในประเทศฟิลิปปินส์ต้องมีการจดทะเบียน
การนำเข้า
- มีกฎระเบียบทีเ่ ข้มงวด ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน
- อุตสาหกรรมน้ำตาลมีความต้องการสูงในตลาด หลัง - โครงสร้างพื้นฐานในประเทศยังไม่พัฒนา มีข้อจำกัด
มีการออกกฎหมายภาษีเครื่องดื่มรสหวาน ผู้ผลิตจึง ด้านการขนส่ง เนื่องจากภูมิประเทศประกอบด้วยเกาะ
หันไปใช้น้ำตาล เพราะเสียภาษีน้อยกว่า จำนวนมาก
- ฟิลิปปินส์ยังคงรายการสินค้าน้ำตาลไว้ใน Sensitive - จากกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม (The
list ภายใน ATIGA ทำให้อัตราภาษีนำเข้าน้ำตาลจาก Agricultural Land Reform Code RA 3844) ส่งผล
ประเทศอาเซียนลดลงเหลือร้อยละ 5 ให้การซื้อที่ดินขนาดใหญ่เป็นไปได้ยาก
ด้านเศรษฐกิจ (Economics) ด้านสังคม (Social)
- ตลาดฟิลิปปินส์ เป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่เป็น - ผลกระทบของสถานการณ์เอลนีโญ ทำให้ประสบ
อันดับ 2 ของอาเซียน และเป็นประเทศในกลุ่ม ปัญหาขาดแคลนน้ำ
ASEAN-5 หนึ่งเดียวที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ - อัตราการเติบโตของประชากรฟิลิปปินส์ลดลงอย่าง
ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ขนาดของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ภาวะการลงทุน เพิ่มขึ้นในปี 2566 แต่การบริโภคน้ำตาลมีแนวโน้มสูงที่สุดในวัยรุ่นและ
- อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในปี 2566 ลดลง และอยู่ คนหนุ่มสาว
ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2565
ด้านสังคม (Social)
- ผลจากภาษีบาปทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีราคาสูง
ผู้บริโภคในฟิลิปปินส์จึงหันมานิยมดื่มชา นม น้ำอัดลม
น้ำดื่ม น้ำหวาน และน้ำผลไม้แทน ทำให้น้ำตาลที่เป็น
ส่วนประกอบในเครื่องดื่มมีความต้องการเพิ่มขึ้น
สิทธิพิเศษและมาตรการทางการค้า
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free
Trade Area: AFTA) เป็นข้อตกลงที่ให้ผลประโยชน์
สำหรับประเทศที่อยู่ในเขตการค้าอาเซียน ในการ
ยกเว้นภาษีทางด้านศุลกากรและยกเลิกมาตรการกีด
กันทางการค้า ซึ่งอุตสาหกรรมน้ำตาลถูกจัดอยู่ในกลุ่ม
สินค้าเกษตรที่ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ได้ทำ
ข้อตกลงร่วมกันในการเปิดเสรีทางการค้าด้วย
- เขตเศรษฐกิจพิเศษฟิลิปปินส์ (PEZA) มีมาตราการ
สนับสนุนให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
ในประเทศฟิลิปปินส์

You might also like