You are on page 1of 265

(2) | การปลูกสร้างสวนป่า

คำนำ
ในปัจจุบันการปลูกป่าเศรษฐกิจได้ทวีความสาคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อผลิตไม้ให้ได้
ตามความต้องการใช้ไม้ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก จากนโยบายป่าไม้ของประเทศไทย
ที่กาหนดให้มีป่าในพื้นที่ประเทศร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ จาแนกเป็นป่าอนุรักษ์ร้อยละ 25
และป่าเศรษฐกิจร้อยละ 15 โดยปัจจุบันพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีอยู่ประมาณ 22 ของพื้นที่ประเทศ
แต่ป่าเศรษฐกิจที่กาหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่าเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจโดยตรง
มีพื้นที่เพียงประมาณ 5 ล้านไร่ เท่านั้น ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ โดยความ
ต้องการใช้ ไม้ในอุต สาหกรรมประเภทต่างๆ เพิ่ มขึ้ น จาก 44 ล้ านตั น ในปี พ.ศ.2548 เป็ น
58 ล้านตัน ในปี พ.ศ.2559 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 85 ล้านตัน ในปี พ.ศ.2580 จะเห็นได้ว่า
การเพิ่มพื้น ที่ ป่ าเศรษฐกิจ จึ งมีความจาเป็ นและสอดคล้ องกับแนวทางในการขับเคลื่ อนการ
ปฏิรูปประเทศทางด้านป่าไม้ ดังนั้น องค์ความรู้ทางด้านปลูกป่าจึงมีส่วนความสาคัญอย่างยิ่งต่อ
การเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ
ตารา การปลูกสร้างสวนป่า เล่มนี้เป็นตาราที่รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ
ปลูกป่าโดยเน้นการปลูกสร้างสวนป่าเชิงเศรษฐกิจอย่างครบวงจร ทั้งสวนป่าเศรษฐกิจขนาด
ใหญ่ และสวนป่าเศรษฐกิจชุมชน ตั้งแต่ หลักการปลูกสร้างสวนป่า การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า การ
จัดการเมล็ดและการผลิตกล้าไม้ วิธีการและเทคนิคการปลูกสร้างสวนป่า ระบบวนวัฒน์ในสวน
ป่า การอารักขาป่าไม้ การจัดการสวนป่า การตัดฟันและระบบการขนส่ง และการใช้ประโยชน์
ไม้จากสวนป่า นอกจากนี้ยังนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการปลูก
สร้างสวนป่าเพื่อเพิ่มความสาเร็จและความคุ้มทุน และสอดคล้องกับความจาเป็นและทิศทางใน
การพัฒนาประเทศ วัตถุประสงค์หลักของตารา การปลูกสร้างสวนป่า เพื่อใช้เป็นแหล่งค้นคว้า
ของนิสิต และนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างสวน
ป่าเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นแหล่งความรู้พื้นฐานสาหรับผู้ที่สนใจนาไปปฏิบัติ
(2) | การปลูกสร้างสวนป่า

อย่ า งไรก็ ต าม ในปั จ จุ บั น รู ป แบบการเรี ย นการสอนที่ เน้ น ผลลั พ ธ์ ข องการเรี ย นรู้


(outcome-based learning) จาเป็นต้องออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการ
ประยุ ก ต์ ใช้ เทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรม เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ผู้ เรี ย นยุ ค ใหม่ แ ละรองรั บ การ
เปลี่ ย นแปลงการศึกษาแบบองค์ร วมในศตวรรษที่ 21 ดั งนั้น ต ารา การปลูก สร้า งสวนป่ า
จึงสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสาหรับผู้สอนในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และเป็นแหล่งค้นคว้า
ส าหรั บ ผู้ เรี ย น คณะผู้ จั ด ท าต ารา การปลู ก สร้ า งสวนป่ า หวั งเป็ น อย่ า งยิ่ งว่ า องค์ ค วามรู้
เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างสวนป่าเชิงเศรษฐกิจในตาราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตามเจตนารมณ์ในการจัดทาตาราเล่มนี้
คณะผู้จัดทา
25 กันยายน พ.ศ.2560
สำรบัญ
หน้า
สารบัญ (3)
สารบัญตาราง (4)
สารบัญภาพ (5)
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า 1
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า 23
บทที่ 3 เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า 51
บทที่ 4 สถานที่เพาะชาและการผลิตกล้าไม้ป่า 69
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า 93
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ป่า 111
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า 127
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า 145
บทที่ 9 การจัดการสวนป่า 171
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า 185
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ 209
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า 229
(4) | การปลูกสร้างสวนป่า

สำรบัญตำรำง
ตำรำงที่ หน้ำ
4.1 สารละลาย (ก/ล) ที่ใช้เตรียมอาหารสาหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อa 81
4.2 ข้อมูลเมล็ดพันธุ์ไม้ และการปฏิบัติก่อนเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ 84
5.1 ข้อดีและข้อเสียของวิธีการกาจัดวัชพืชวิธีต่างๆ 103
7.1 ตารางรวบรวมรายละเอียดของการตัดไม้เมื่อโตปานกลาง 130
7.2 รวมรายละเอียดของประเภทของการตัดขยายระยะ 135
7.3 ข้อมูลรายละเอียดของแต่ละประเภทการตัดขยายระยะเพื่อประกอบการ 137
พิจารณาเลือกใช้
7.4 แสดงรายละเอียดระบบการตัดไม้เพื่อการสืบพันธุ์ 140
8.1 ผลของการแก่งแย่งของวัชพืชกับอัตราการรอดตายของไม้สน 155
ในช่วงแล้ง
8.2 การขายไม้สักสวนป่าของงานสวนป่าแม่ลี้ จังหวัดลาพูน ช่วงปี พ.ศ. 162
2556 - 2559
10.1 ตัวอย่างราคาไม้สักจากสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 192
(อ.อ.ป.) ระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2559
10.2 สรุปข้อดี – ข้อเสียของการขนส่งแต่ละประเภท 195
10.3 ตัวอย่างระบบการทาไม้ยูคาลิปตัสในประเทศไทยในปัจจุบัน 200
12.1 หลักเกณฑ์การแบ่งไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานกรมป่าไม้ 233
การปลูกสร้างสวนป่า | (5)

12.2 มาตรฐานอาบน้ายา 234

สำรบัญภำพ

ภำพที่ หน้ำ
1.1 แนวโน้มพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าของโลก (World) และภูมิภาคเอเชีย 10
(Asia) และภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ (S and SE Asia)
1.2 ประเทศที่มีอัตราการปลูกสร้างสวนป่ามากที่สุดในโลกในช่วง 11
พ.ศ. 2533 - 2553
1.3 พรรณไม้ที่นิยมปลูกสร้างสวนป่ามากที่สุดในโลก 11
1.4 พื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2548 - 2556 13
จาแนกเป็นรายชนิด/กลุ่ม ก. รวมพื้นที่ปลูกยางพารา ข. ไม่รวมพื้นที่ปลูก
ยางพารา
1.5 ภาพรวมของกิจกรรมการปลูกป่าสร้างสวนป่า 19
2.1 ขั้นตอนการพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าให้เป็นไม้เศรษฐกิจ (treed omestication) 27
2.2 องค์ประกอบและกิจกรรมในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า 35
ขั้นตอนการจะทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ 45
2.3
ของสานักคุ้มครองพันธุ์พืช
4.1 การติดตาแบบตัวที (T-budding) 74
4.2 การติดตาแบบปะ (patch budding) 74
4.3 การติดตาแบบฟลูท (flute budding) 75
4.4 การติดตาแบบริง (ring budding) 75
4.5 การต่อกิ่งแบบวิพหรือทังก์ (Whip or Tongue) 76
4.6 การต่อกิ่งแบบสไปลซ์ (Splice) หรือแบบฝาน 76
(6) | การปลูกสร้างสวนป่า

4.7 การต่อกิ่งแบบเคลฟท์ (Cleft) 76


การปลูกสร้างสวนป่า | (7)

สำรบัญภำพ (ต่อ)

ภำพที่ หน้ำ
4.8 การต่อกิ่งแบบนอทซ์ (Notch) 77
4.9 การเสียบเปลือก (bark grafting) 77
4.10 การเสียบข้าง (side grafting) 78
4.11 การทาบกิ่ง (approach grafting) 78
4.12 การเสริมราก (inarching) 79
4.13 การเสียบเปลือก (bark grafting) 79
7.1 การจัดการสวนป่าที่มีอายุรอบตัดฟัน 60 ปี โดยมีการตัดเมื่อไม้โตปาน 19
กลาง (Intermediate Cuttings) และการการตัดฟันเพื่อสืบพันธุ์
(Reproduction Cuttings หรือ Regeneration Cuttings)
8.1. กลุ่มปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการจัดการสวนป่า 146
8.2. ไดอะแกรมแสดงการเข้าทาลายของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้ต้นไม้ 147
อ่อนแอและเป็นช่องทางให้สิ่งมีชีวิตลาดับที่ 2 (secondary organism)
เข้าทาลายซ้าเติม
8.3 ช่องทางการสูญเสียธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้จากการเกิดไฟไหม้ 151
8.4 การระบุทิศทางและตาแหน่งของจุดเกิดไฟไหม้โดยการเล็งจากหอดูไฟ 2 153
หอ
8.5 ลักษณะวงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อเจาะต้นสักในรอบ 1 ปี 160
8.6 ลักษณะภายนอกลาต้นสักที่เป็นปุ่มปม (ซ้ายบน) และภายในลาต้นสัก 161
เกิดจากการทาลายของหนอน
8.7 ราคาต่อหน่วย (ลบ.ม) ของไม้สักที่ขายได้มาก/น้อยกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ 162
(ซ้าย) และมูลค่าความเสียหายของไม้สักที่ขายได้มาก/น้อยกว่าราคา
กลางที่ตั้งไว้ (ขวา) กรณีสวนป่าแม่ลี้
(8) | การปลูกสร้างสวนป่า

สำรบัญภำพ (ต่อ)

ภำพที่ หน้ำ
8.8 วงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อกินใบสัก 163
8.9 แตนฝอยปมและลักษณะการทาลายของแตนฝอยปมที่ใบยูคาลิปตัส 165
9.1 องค์ประกอบของการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน 173
9.2 การตัดฟันไม้ตัวอย่างเพื่อประเมินผลผลิตทางตรงของสวนป่าด้วยวิธีการ 177
สร้างสมการความสัมพันธ์ ดัดแปลงจาก (Meunpong, 2012)
9.3 การเติบโตของต้นไม้ในรูปแบบ Sigmoid growth curve 179
10.1 ขั้นตอนการล้มไม้ 188
10.2 เทคนิคการล้มไม้ที่มีขนาดเล็กกว่าความยาวใบเลื่อย 189
10.3 เทคนิคการล้มไม้ที่มีขนาดเป็น 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย 189
10.4 เทคนิคการล้มไม้ที่มีขนาดมากกว่า 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย 190
10.5 การทอนไม้ที่ถูกวิธี 191
10.6 เทคนิคการลิดกิ่ง 193
10.7 การชักลากไม้ด้วยช้าง 194
10.8 วิธีการทาไม้ 197
10.9 เครื่องจักรกลที่ใช้ในการทาไม้ยาว (A) Feller buncher (B) Skidder 198
10.10 เครื่องจักรกลที่ใช้ในการทาไม้สั้นในประเทศไทย 198
10.9 เครื่องจักรกลที่ใช้ในการทาไม้ยาว (A) Feller buncher (B) Skidder 199
10.12 ตัวอย่างการทาชิ้นไม้สับ (A) การทาชิ้นไม้สับที่บริเวณจุดรวมไม้ข้างทาง 199
ตรวจการณ์ (B) การทาชิ้นไม้ สับในบริเวณป่า
10.13 ตัวอย่างการบูรณาการการทอนไม้เพื่อให้ได้ผลกาไรสูงสุด 200
การปลูกสร้างสวนป่า | (9)

สำรบัญภำพ (ต่อ)

ภำพที่ หน้ำ
10.14 ระบบการทาไม้ในประเทศฟินแลนด์ในรูปแบบของ Integrated logging 201
(A) เครื่อง Harvester ทาหน้าที่ในการตัดไม้ ลิดกิ่ง และรวมกอง (B)
เครื่อง Forwarder ทาหน้าที่ในการลาเลียงไม้ เศษไม้ และตอราก
ออกมาจากแปลงทาไม้ (C) เครื่อง Stump harvester ทาหน้าที่ในการ
ขุดตอรากเพื่อนามาใช้ใน อุตสาหกรรมพลังงาน และ (D) เครื่อง
Bundler ใช้ในการบีบอัดเศษไม้ปลายไม้ที่เหลือจาการทาไม้ให้เป็นท่อน
ทรงกระบอก เพื่อใช้ ในการผลิตพลังงาน
10.15 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสาหรับงานทาไม้ 202
10.16 ตัวอย่างเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย (A) รถ 203
แทรกเตอร์ประยุกต์ เรียกว่า รถงา (B) รถแทรกเตอร์ประยุกต์สาหรับใช้
โค่น/ดันไม้ยางพารา (C) รถแทรกเตอร์ประยุกต์ติดเขี้ยวหมา (D) รถจอ
หนัง ใช้สาหรับการขนส่งไม้ระยะใกล้จากแปลงทาไม้มายังหมอนไม้
11.1 ตราสัญลักษณ์การรับรองของ FSC 219
11.2 ตราสัญลักษณ์การรับรองของ PEFC 222
12.1 ภาพรวมอุตสาหกรรมไม้ของไทย 231
12.2 ลักษณะต่างๆของชิ้นไม้ในรูปของการใช้ประโยชน์ไม้ 236
12.3 รูปแบบการใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา 240
12.4 อัตราการแปรรูปไม้ยางพารา 242
บทที่ 1
ภำพรวมกำรปลูกสร้ำงสวนป่ำ
Overviews of Forest Plantations

สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ และ จงรัก วัชรินทร์รัตน์

1. บทนำ (Introduction)
ในปัจจุบันการปลูกสร้างสวนป่าได้ทวีความสาคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อผลิตไม้ออกให้
ได้ปริมาณมากที่สุดภายในเวลา เนื้อที่ และการลงทุนอันจากัด นอกจากความสาคัญทางด้าน
เศรษฐกิจแล้ว สวนป่ายังอานวยผลทางด้านนิเวศวิทยา คือเป็นการรักษาพื้นที่ให้มีพืชปกคลุมอยู่
ตลอดเวลา อันจะส่งผลทาให้คุณภาพของพื้นที่และสภาพแวดล้ อมต่างๆ ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์หลักทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติทางวนวัฒ นวิทยาต่างๆ เช่น
การตัดขยายระยะ การลิดกิ่ง การกาจัดวัชพืช ฯลฯ จึงเป็นงานที่มีความสาคัญและควรปฏิบัติ
ภายหลังการปลูกต้นไม้ในสวนป่าแล้ว
การปลูกสร้างสวนป่ามีหลากหลายความหมาย เช่น เทอด สุปรีชากร ได้ให้ความหมาย
การปลูกสร้างสวนป่ า หมายถึง การสร้างป่าขึ้นในพื้นที่ที่ในปัจจุบันมีไม้ขึ้นอยู่น้อย หรือไม่มี
ต้นไม้เลย (มณฑี, 2538) ในขณะที่ มณฑี (2538) ได้ให้ความหมายของ การปลูกสร้างสวนป่า
หมายถึ ง การน าไม้ ป่ า มาปลู ก ในพื้ น ที่ ที่ ก าหนด อย่ า งมี ร ะบบระเบี ย บแบบแผน โดยมี
วัตถุประสงค์แน่นอน
ในระดับสากลความหมายของการปลูกสร้างสวนป่าก็มิได้มีการกาหนดนิยามที่แน่นอน
มีการใช้คาว่า forest plantations สาหรับการปลูกสร้างสวนป่า ซึ่งทั่วไปหมายถึงป่าที่เ กิดขึ้น
จากการนาพรรณไม้ป่าไปปลูกในพื้นที่ใดๆ อาจจะเป็นการปลู กด้วยกล้าหรือเมล็ด และนิยมใช้
คาว่า planted forest ในความหมายของป่าปลูกมากขึ้น (Evans, 2004) อย่างไรก็ตาม ที่มา
ของความหมายของการปลู ก สร้ า งสวนป่ า ที่ นั ก วิ ช าการให้ ค วามส าคั ญ ก็ คื อ การประชุ ม
“A World Symposium on Man-Made Forests and their Industrial Importance”
ที่จัดขึ้น ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2510 และได้
นามารวบรวมไว้ในรายงานการประชุม (FAO, 1967) โดยสรุปคาว่า “man-made forest”
2 | การปลูกสร้างสวนป่า
หรือ “ป่าปลูก” หมายถึง ไม้ป่าที่มนุษย์ปลูกขึ้นด้วยการหว่านเมล็ดหรือ การปลูก และได้สรุป
ความหมายของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าปลูก ดังนี้
afforestation หมายถึง การปลูกป่าในพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นป่ามาก่อนในช่วงความทรงจา
ของมนุษย์ โดยกาหนดในช่วงเวลา 50 ปี
reforestation หมายถึง การปลูกป่าในพื้นที่ที่เคยเป็นป่ามาก่อนในช่วงความทรงจา
ของมนุษย์ โดยกาหนดในช่วงเวลา 50 ปี
artificial regeneration หมายถึง การสืบต่อพันธุ์โดยมนุษย์ ในพื้นที่ที่เคยเป็นป่ามา
ก่อนในช่วงความทรงจาของมนุษย์ โดยกาหนดในช่วงเวลา 50 ปี โดยใช้พรรณไม้ดั้งเดิม ซึ่งเป็น
การฟื้นฟูป่านั่นเอง
natural regeneration (with assistance) หมายถึ ง การสื บ ต่ อ พั น ธุ์ ต ามธรรมชาติ
โดยวิธีปฏิบัติทางวนวัฒน์ โดยใช้พรรณไม้ดั้งเดิม
โดยความหมายของ “ป่าปลูก” ในที่นี้มีความหมายเหมือนกับ “forest plantation”
หรือ “สวนป่า” ที่นิยามโดย British Commonwealth และยังได้ให้ข้อคิดเห็นถึ งประเด็นใน
การกาหนดนิยามของพืชเกษตร (agricultural crop) และไม้ป่า (forestry crop) ว่าเป็นบริบท
ของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเกษตรที่มีเนื้อไม้ เช่น ยางพารา และมะม่วงหิมพานต์
เป็นต้น บางประเทศกาหนดให้เป็นพืชเกษตร บางประเทศกาหนดให้เป็นไม้ป่า (FAO, 1967)
เช่นในประเทศไทยก็กาหนดให้ยางพาราเป็นพืชเกษตร เนื่องจากในตอนแรกที่นามาปลูกเพื่อใช้
ประโยชน์จากน้ายางเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้เพิ่มขึ้น
ต่อมามีการปรับปรุงความหมายของป่ าปลูก และสวนป่าอยู่เรื่อยๆ และได้มีการจัด
ประชุ ม ร่ ว มกั บ องค์ ก รต่ างๆ ได้ แ ก่ CIFOR, FAO, ITTO, IPCC, UNEP และ IUFRO และได้
ข้อสรุ ป เพิ่ม เติม ว่า “planted forest” หรือ “ป่ าปลู ก” หมายถึ ง ป่ าที่ เกิ ดขึ้น จากการปลู ก
หว่านเมล็ ด หรื อ การแตกหน่ อ ของป่ าที่ เกิ ด ขึ้น จากการปลู ก และหว่านเมล็ ด และ “forest
plantation” หรือ “สวนป่า” หมายถึง ป่าที่เกิดขึ้นจากการปลูกหรือหว่านเมล็ดของพรรณไม้
ต่างถิ่ น หรื อ พรรณไม้ พื้ น เมื อ ง ทั้ ง ในพื้ น ที่ ที่ ไม่ เคยเป็ น ป่ ามาก่ อน และเคยเป็ น ป่ ามาก่ อ น
โดยประกอบด้วยพรรณไม้ 2 - 3 ชนิด มีอายุสม่าเสมอ (even-aged) และระยะปลูกสม่าเสมอ
(regular spacing) และได้กาหนดชัดเจนว่า “ป่าปลูก” ในที่นี้จาแนกเป็น “สวนป่า” และป่า
ปลูกรูปแบบอื่นๆ (CIFOR, 2002)
ล่าสุด FAO (2010) ได้นานิยามที่เกี่ยวข้องกับการปลูกป่ามาทบทวนและปรับปรุง และ
สามารถสรุปนิยามที่เกี่ยวข้องการปลูกสร้างสวนป่าได้ ดังนี้
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 3

planted forest หรือ “ป่าปลูก” หมายถึง ป่าที่เกิดจากการปลูก และ/หรือ เจตนาให้


เกิดการสืบต่อพันธุ์ด้วยเมล็ดของพรรณไม้ป่าพื้นเมือง หรือพรรณไม้ป่าต่างถิ่นในพื้นที่ที่ไม่เคย
เป็นป่ามาก่อน หรือเคยเป็นป่ามาก่อน
forest plantation หรื อ “สวนป่ า ” หมายถึ ง ป่ า ที่ เกิ ด จากการปลู ก พรรณไม้ ป่ า
พื้น เมืองหรือพรรณไม้ป่ าต่างถิ่น ในด้ว ยกล้ าไม้ ห รือเมล็ ด ทั้งในพื้ นที่ ที่ ไม่เคยเป็นป่ ามาก่อน
และเคยเป็ น ป่ ามาก่ อน โดยมีก ารก าหนดวัตถุ ป ระสงค์ที่ ชั ดเจน ได้ แก่ สวนป่ าเพื่ อ ผลผลิ ต
(productive plantation) ทั้ ง ที่ เป็ น เนื้ อ ไม้ แ ละไม่ ใ ช่ เนื้ อ ไม้ และสวนป่ า เพื่ อ การป้ อ งกั น
(protective plantation) ซึ่งมุ่งหวังประโยชน์ในการให้บริการของระบบนิเวศ
ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นป่ามาก่อน หรือ เคยเป็นป่ามาก่อน ระบุในช่วงความทรงจา
ของมนุษย์ โดยกาหนดเป็นช่วงระยะเวลา 50 ปี
FAO (2010) ยังให้ความหมายเพิ่มเติมอีกว่า “ป่าปลูก” สามารถเป็นได้ทั้ง “สวนป่า”
ตามนิยามข้างต้น และ ป่ากึ่งธรรมชาติ (semi-natural forest) ที่เกิดจากการปลูกพรรณไม้ป่า
พื้นเมืองด้วยกล้าไม้ เมล็ด หรือการตัดให้แตกหน่อ
นอกจากนี้ยังมีคาที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกันการปลูกสร้างสวนป่า เช่น การฟื้นฟูป่า
ไม้ (forest rehabilitation) ซึ่งเป็นการทาให้มีป่าเกิดขึ้น โดยการปลูกป่านั้นอาจจะมีโครงสร้าง
และหน้าที่ของป่าเหมือนป่าดั้งเดิมหรือไม่ก็ได้ การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ (forest restoration)
เป็นการทาให้ป่าเกิดขึ้น โดยป่านั้นจะต้องมีโครงสร้างและหน้าที่เหมือนป่าดั้งเดิม และการฟื้นฟู
ป่าขึ้น มาใหม่ (forest reclamation) เป็น การฟื้นฟูป่าในพื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
เช่น พื้นที่ที่มีการทาเหมืองแร่ ระเบิดหิน หรือพื้นที่ดินถล่ม เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าคานิยามที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างสวนป่า เช่น ป่าปลูก สวนป่า เป็นต้น
มีวิวัฒนาการมาเป็นระยะ และมีความหมายที่แตกต่างกันในรายละเอียดบ้างขึ้ นอยู่กับบริบทที่
เชื่อมโยง แต่สาหรับความหมายของ “สวนป่า” มักมีความหมายที่คานึงถึงวัตถุประสงค์ของการปลูก
เพื่อจะทาให้สามารถวางแผนการปลูก เช่น การกาหนดชนิด รูปแบบการปลูก และวิธีการปลูก เป็นต้น
ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการปลูก ดังนั้น ในหนังสือเล่มนี้ขอกาหนดนิยาม ดังนี้
สวนป่ า (forest plantation) หมายถึง ที่ ดิน ที่ เกิ ดจากการน าพรรณไม้ ป่ าพื้ นเมือ ง
หรือ พรรณไม้ป่าต่างถิ่นมาปลูกด้วยกล้าไม้หรือเมล็ด ทั้งในพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นป่ามาก่อน หรือ
เคยเป็นป่ามาก่อนในช่วงระยะเวลา 50 ปี โดยมีการกาหนดวัตถุประสงค์ และรูปแบบการปลูก
และการจัดการสวนป่าตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด
สาหรับสาระสาคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างสวนป่าในหนังสือเล่มนี้ทั้ง 12 บท
เน้นการปลูกสร้างสวนป่าที่มีวัตถุประสงค์ของการปลูกเพื่อเศรษฐกิจ เป็นสาคัญ และจาแนก
4 | การปลูกสร้างสวนป่า
ประเภทของไม้เศรษฐกิจตามอัตราการเติบโตและรอบตัดฟั น ได้แก่ 1) ไม้โตเร็วที่มีอายุการตัด
ฟันสั้น มีเส้นรอบวงที่ระดับอกวัดได้ 100 เซนติเมตร เมื่ออายุไม่เกิน15 ปี และมีอายุการตัดฟัน
ไม่เกิน 10 ปี เช่น ยูคาลิปตัส 2) ไม้ที่มีอายุการตัดฟันปานกลาง มีอายุการตัดฟัน 10-30 ปี เช่น
ยางพารา สนเขา กระถินรรงค์ แลกระถินเทพา เป็นต้น และ 3) ไม้ที่มีอายุการตัดฟันยาว มีอายุ
การตัดฟันตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป เช่น สัก ประดู่ และพะยูง เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์และบทบำทของสวนป่ำ (Objectives and Roles of Forest
Plantations)
2.1 วัตถุประสงค์ของสวนป่ำ (Objectives of Forest Plantations)
การปลูกสร้างสวนป่าโดยทั่วไปอาจมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ซึ่งทาให้รูปแบบการปลูก
พรรณไม้ที่ปลูก และการจัดการแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ วัตถุประสงค์ของ
การปลูกสร้างสวนป่า อาจจาแนกเป็น
1) การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจ หรือเพื่อผลผลิต (production) หมายถึง การ
ปลูกป่าเพื่อหวังผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกในลักษณะของการนาผลผลิตจากสวนป่า
ออกมาจาหน่ายเป็นรายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ไม้ซุง ไม้แปรรูป เสาเข็ม อุตสาหกรรมชิ้นไม้สับ
อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เป็นต้น
2) การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อการป้องกัน (protection) หมายถึง การปลูกป่าที่ไม่หวัง
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ แต่มุ่ งเน้ น ในด้ านการอนุ รัก ษ์ ต้น น้ าล าธาร ป้อ งกัน ดิ นพั งทลาย
และความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
3) การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อนันทนาการ (recreation) เป็นการปลูกที่มุ่งเน้นเพื่อการ
พักผ่อนหย่อนใจ และกิจกรรมนันทนาการต่างๆ รวมถึงการปลูกป่าในเมือง และสวนสาธารณะ
ต่างๆ
4) การปลู ก สร้ า งสวนป่ า เพื่ อ เศรษฐกิ จ สั ง คม (socio-economic) เป็ น การปลู ก
ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ของชุมชน และเป็นการสร้างงานให้แก่ราษฎรในชนบท ซึ่งถือ
เป็นการกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่น
5) การปลูกสร้างสวนป่ า อเนกประสงค์ (multi-purpose) เป็นการปลูกสร้างสวนป่า
อาจจะไม่ได้ตอบสนองวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งแต่จะมีรวมหลายวัตถุประสงค์เข้าด้วยกัน
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 5

2.2 บทบำทของสวนป่ำ (Roles of Forest Plantations)


การปลู กสร้างสวนป่ า มีวัต ถุป ระสงค์แตกต่างกัน ไปทาประโยชน์จากการปลู กสร้าง
สวนป่ามีมากมาย ในที่นี้สามารถจาแนกได้เป็น 3 กลุ่ม บทบาทในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

2.2.1 บทบาทด้านเศรษฐกิจ (Economic Roles)

บทบาทการปลู กสร้างสวนป่ าเพื่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่สาคัญเพื่อเป็นแหล่ ง


วัตถุดิบสาหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้ โดยจาแนกเป็น 8 ประเภทที่สาคัญ ได้แก่ 1) อุตสาหกรรม
เยื่อกระดาษ 2) อุตสาหกรรมชิ้นไม้สับ 3) อุตสาหกรรมแผ่นไม้ประกอบ 4) อุตสาหกรรมไม้แปร
รูป 5) อุตสาหกรรมครัวเรือน (เช่น เพาะเห็ด และผลิตปุ๋ย เป็นต้น) 6) ไม้เสาเข็ม 7) ไม้พลังงาน
ส าหรั บ ใช้ ใ นครั ว เรื อ น และ 8) อุ ต สาหกรรมไม้ พ ลั ง งาน (คณะวนศาสตร์ , 2554) ทั้ ง นี้
อุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบของประเทศไทยมีห่วงโซ่มูลค่ามหาศาล และมีผู้ที่เกี่ยวข้องเป็น
จานวนมาก ทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยที่ปริมาณการใช้ไม้ของ
โลกและของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ อง โดยการเพิ่มการผลิตไม้เพื่อตอบสนอง
ใช้ประโยชน์ในภาคครัวเรือนและใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมในประเทศ ก่อให้เกิดการเกษตร
อุตสาหกรรมในประเทศแบบครบวงจร
การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจยังมีส่วนสาคัญในการสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของ โดย
การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิ จเพื่อให้เจ้าของได้รับผลตอบแทนสูงสุดคุ้มค่ากับการลงทุน
จ าเป็ น ต้ อ งมี ก ารวางแผนการปลู ก โดยการก าหนดชนิ ด ให้ เหมาะสมกั บ พื้ น ที่ และการใช้
ประโยชน์ นอกจากนี้ การปลูกสร้างสวนป่าในระบบวนเกษตร (agroforestry) ซึ่งเป็นการปลูก
ไม้ป่าควบคู่กับการทาการเกษตร ในรูปแบบต่างๆ เช่ น การปลูกพืชไร่ พืชสวน และการเลี้ยง
สัตว์ในสวนป่า เป็นต้น ทาให้เกษตรกรมีรายได้หลักจากการเกษตรและเพิ่มรายได้จากไม้ในสวนป่า
จึงนับเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2.2.2 บทบาทด้านสังคม (Social Roles)

การปลูกสร้างสวนป่ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกสร้ างสวนป่าเศรษฐกิจเพื่อผลิตไม้


สาหรับเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมก่อให้เกิด การจ้างงาน การสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้
ประชาชนในหลายระดับนับล้านครัวเรือน วิธีการปลูกสร้างสวนป่าในประเทศไทยยังมีความ
จาเป็นในการใช้แรงงานอยู่ค่อนข้างมากกว่าการใช้เครื่องจักรกล จึงมีความจาเป็นในการจ้าง
แรงงาน จะช่วยให้ราษฎรในชนบทมีงานทา สร้างรายได้ ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร
6 | การปลูกสร้างสวนป่า
ในชนบท และที่สาคัญยังช่วยลดการอพยพของราษฎรในชนบทสู่เมืองใหญ่ซึ่งทาให้เกิดความ
แออัดและเป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน และในระยะยาวสามารถแก้ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง
และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมให้แก่ประเทศ
ที่ผ่านมาการปลูกสร้างสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ
เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในชนบท โดยองค์การอุตสาหกรรม
ป่าไม้มีระบบหมู่บ้านป่าไม้ ซึ่งนอกจากช่วยให้ราษฎรในชนบทมีงานทาและมีรายได้ที่แน่นอน
แล้ ว ยั ง มี โ รงเรี ย นส าหรั บ บุ ต รธิ ด าได้ เล่ า เรี ย น มี วั ด เพื่ อ ประกอบกิ จ พิ ธี ท างศาสนา และ
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จาเป็น เช่น ไฟฟ้า และน้าประปา เป็นต้น ในปัจจุบัน การรับรอง
ทางด้ า นป่ า ไม้ ส าหรั บ การจั ด การสวนป่ า อย่ า งยั่ ง ยื น ให้ ค วามส าคั ญ กั บ บทบาทของการ
ปลู กสร้างสวนป่าที่มีต่อสังคม จึงมีเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องทางด้านสังคมในบริบทต่างๆ
ดังรายละเอียดที่นาเสนอในบทที่ 11

2.2.3 บทบาทด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (Ecological and Environmental


Roles)

ป่าไม้มีบทบาทสาคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมและการบริการของระบบนิเวศ (ecosystem
services) ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศ ดังนั้น การปลูกสร้างสวนป่า ไม่ว่า
มีวัตถุประสงค์ใดย่อมมีบทบาทในการอานวยประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและการบริการของ
ระบบนิเวศ โดยทั่วไปการบริการของระบบนิเวศสามารถจาแนกออกได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้
• เป็ นแหล่งทรัพยากรที่ให้ ประโยชน์ โดยตรง (provisioning service) เช่น อาหาร
เนื้อไม้ เส้นใย (fiber) ชีวเคมี ทรัพยากรพันธุกรรม และเชื้อเพลิง เป็นต้น
• ประโยชน์ ที่ ได้ จ ากการท าหน้ าที่ ของระบบนิ เวศในการควบคุม และรักษาสมดุ ล
ธรรมชาติ (regulating service) เช่น คุณภาพอากาศ ภูมิอากาศ ป้องกันการเกิด
อุทกภัย/ภัยแล้ง การควบคุมมลภาวะ การระบาดของโรค และการไหลเวียนของน้า
เป็นต้น ซึ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กับองค์ประกอบของระบบนิเวศ
• คุณค่าทางวัฒนธรรม (cultural service) เช่น คุณค่าทางสุนทรียภาพ การพักผ่อน
หย่ อ นใจ การศึ ก ษา นั น ทนาการ การท่ อ งเที่ ย ว และคุ ณ ค่ า ทางจิ ต ใจและจิ ต
วิญญาณเป็นต้น
• ทาหน้ าที่สนั บสนุน ให้เกิดการบริการของระบบนิเวศ (supporting service) เช่น
การหมุนเวียนสารอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า
เป็นต้น
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 7

นอกจากนี้ ในปั จ จุ บั น บทบาทของการปลู กป่ าเพื่ อ เป็ น แหล่ งการกัก เก็บ คาร์บ อน
(carbon sink) กาลังเป็นประเด็นที่กาลังได้รับความสนใจ ป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็นป่าธรรมชาติ หรือ
สวนป่ามีการกักเก็บ คาร์บอนโดยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศผ่านทาง
กระบวนการสังเคราะห์แสงของใบ เพื่อสร้างอินทรียสารซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบนามากัก
เก็ บ ไว้ในส่ ว นต่ างๆ ของต้ น ไม้ หรื อที่ เรี ย กว่าการกั ก เก็ บ คาร์บ อนในมวลชี ว ภาพ (carbon
storage in biomass) ทั้งในส่วนที่อยู่เหนือดิน ได้แก่ ลาต้น กิ่ง และใบ และส่วนที่อยู่ใต้ดิน คือ
ราก โดยทั่วไป ป่าไม้หรือสวนป่าที่มีต้นไม้ที่กาลังเติบโตเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีศักยภาพ
มากกว่า หรือสามารถดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าป่าไม้หรือสวนป่าที่มีต้นไม้อายุมากหรือมีอัตรา
การเติบโตน้อย ทั้งนี้ ศักยภาพของสวนป่าในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น
อีกหลายปั จ จั ย เช่น ชนิ ดพรรณไม้ที่เป็ น องค์ประกอบ ความหนาแน่ นของต้นไม้ สภาพภู มิ
ประเทศ สภาพภูมิอากาศ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นต้น (สาพิศ, 2550)
3. ควำมเป็นมำของกำรปลูกสร้ำงสวนป่ำ (History of Forest Plantations)
3.1 ทั่วโลกและภูมิภำคเอเชีย (World and Asian Region)
การปลูกต้นไม้ทั่วโลกได้เริ่มมีมานานตั้งแต่สมัยคริสตกาล แต่การปลูกป่าเพื่อทดแทน
ป่าธรรมชาติเช่นการปลูกป่ าเพื่อต้องการผลผลิต หรือการปลูกป่าในพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นป่ามา
ก่อนที่มีการอ้างอิงพบว่าเพิ่งเริ่มในประเทศอังกฤษเมื่อศตวรรษที่ 16 และแพร่หลายไปทั่วทวีป
ยุโรปในศตวรรษที่ 18 แต่การปลูกสร้างสวนป่าที่มีลักษณะทันสมัยและใช้วิชาการป่าไม้โดยปลูก
พรรณไม้ให้เติบโตสม่าเสมอเริ่มในประเทศเยอรมัน เมื่อศตวรรษที่ 19 ซึ่งนับเป็นต้นแบบของ
สวนป่าเชิงเดี่ยว (monoculture) และในศตวรรษที่ 20 ได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น
เมดิ เตอร์ เรเนี ย น และภู มิ ภ าคเขตร้ อ น และกึ่ ง ร้ อ น (Evans, 2004) ในขณะที่ ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาเริ่มมีการปลูกสร้างสวนป่ ามาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ยังมีข้อจากัด
ค่อนข้างมากเนื่องจากรัฐบาลไม่สนับสนุน แต่หลังจากนั้นการปลูกสร้างสวนป่ามีอัตราเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วจนถึงปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากความต้องการไม้เพื่อพลังงานและราคาของเส้นใยที่
เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงใช้มาตรการภาษีในสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชน แต่ภายหลังจากนั้นอัตรา
การเพิ่ มขึ้ นก็ เริ่ มคงที่ ส าหรั บ พรรณไม้ ที่ ป ลู กมี ห ลากหลาย ได้ แก่ กลุ่ มไม้ สน (conifers) เช่ น
loblolly pine (Pinus taeda) slash pine (P. elliottii) longleaf pine (P. palustris) douglas-fir
(Pseudotsuga menziesii) และ larch (Larix spp.) เป็ น ต้ น และกลุ่ ม ไม้ ใบกว้ าง เช่ น poplar
(Populus spp.) sweetgum (Liquidambar styraciflua) sycamore (Platanus occidentalis)
green ash (Fraxinus pennsylvanica) oaks (Quercus spp.) willow (Salix spp.) เป็นต้น
(Stanturf and Zhang, 2003)
8 | การปลูกสร้างสวนป่า
ทั้งนี้ การปลูกพรรณไม้ต่างถิ่นนับเป็นส่วนหนึ่งของความสาเร็จในพัฒนาการของการ
ปลูกสร้างสวนป่าทั่วโลกในช่วง 150 กว่าปีที่ผ่านมานี้ โดยมีงานทดลองและวิจัยเกี่ยวกับพรรณ
ไม้ต่างถิ่น จนทาให้การปลูกสร้างสวนป่าไม้ต่างถิ่นเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป พรรณไม้ต่างถิ่นสาคัญ
ที่นิยมปลูกกันทั่วโลก เช่น สนชนิดต่างๆ (conifers) จากทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา
นาไปปลูกในยุโรป สน radiata (Pinus radiata) จากแคลิฟอร์เนียของอเมริกานาไปปลูกใน
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอัฟริกาใต้ สัก (Tectona grandis) จากอินเดีย เมียนมาร์ และไทย
น าไปปลู ก ในประเทศต่ า งๆ ในเขตร้ อ น และ ยู ค าลิ ป ตั ส และอะเคซี ย ชนิ ด ต่ า งๆ จาก
ออสเตรเลียนาไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเขตร้อน และกึ่งร้อน (Evans, 2004) สาหรับภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มมีการนายางพารา (Hevea brasiliensis) จากอัฟริกาใต้มาปลูก
ในประเทศที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 และแพร่หลายไปในประเทศ
อื่น ๆ รวมทั้ งประเทศไทยในช่ว งต้น ศตวรรษที่ 20 (Bissonnette and de Koninck, 2015)
นอกจากนี้ มี ก ารปลู ก สร้ า งสวนป่ า พรรณไม้ อื่ น ๆ แพร่ ห ลายในภู มิ ภ าค เช่ น Falcataria
mollucana ซ้อ (Gmelina arborea) มะฮอกกานีใบใหญ่ (Swietenia macrophylla) และ
สัก เป็นต้น แต่การปลูกพรรณไม้โตเร็วที่มีรอบตัดฟันสั้น เช่น ยูคาลิปตัส และอะเคซียชนิดต่างๆ
จากออสเตรเลีย เริ่มแพร่หลายในช่วง 2 - 3 ทศวรรษที่ผ่านมา (Harwood and Nambiar, 2014)
3.2 ประเทศไทย (Thailand)
การปลู ก สร้ า งสวนป่ า ครั้ ง แรกของกรมป่ า ไม้ แ ละของประเทศไทยเริ่ ม ต้ น ในปี
พ.ศ. 2449 โดยพระยาวัน พฤกษ์พิจ ารณ์ (ทองคา เศวตศิล า) ทดลองปลู กสวนสั ก โดยอาศัย
ชาวไร่ช่วยกันหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกในพื้นที่ปลูกพืชเกษตร เรียกวิธีแบบนี้ว่า การปลูกสร้าง
สวนป่าระบบตองยา (Taungya plantation) หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2453 ได้มีการปลูกสร้าง
สวนสักขึ้นอย่างจริงจังที่จังหวัดแพร่ ด้วยวิธีหยอดเมล็ดปลูกเช่นเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2478
กรมป่าไม้ได้ทดลองปลูกไม้สักด้วยเหง้า ที่ป่าห้วยกองเตะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปรากฏว่าได้ผล
ดีกว่าการปลูกด้วยเมล็ด หรือการย้ายปลู กด้วยกล้ามาก ทาให้การปลูกสร้างสวนสักโดยใช้เหง้า
จึงเป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติเรื่อยมา (มณฑี, 2538)
สาหรับการปลูกสร้างสวนป่า ไม้กระยาเลยกรมป่าไม้ได้เริ่มทดลองปลูกป่าชายเลนครั้ง
แรกในปี พ.ศ. 2462 ที่ ป่ าชายเลนบ้ านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยปลู กไม้โกงกางและโปรง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ทดลองปลูกไม้โกงกางในท้องที่ จังหวัดจันทบุรี ในบริเวณพื้นที่ป่าที่เสื่อม
โทรม นอกจากนี้ การปลูกสร้างสวนป่าชายเลนหรือสวนป่าไม้โกงกางโดยเอกชน ได้เริ่มมาตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2480 ส่วนใหญ่เป็นการปลูกป่าไม้โกงกางใบเล็กเพื่อเผาถ่านและทาไม้ฟืนของราษฎร
ในที่ ดิ น กรรมสิ ท ธิ์ ท้ อ งที่ บ้ า นตะบู น อ าเภอบ้ า นแหลม จั ง หวั ด เพชรบุ รี แ ละบ้ า นยี่ ส าร
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 9

อาเภออัม พวา จั งหวัดสมุ ท รสงคราม และมีราษฎรรายอื่ น ๆ ด าเนิน การติด ต่อกั นมาจนถึ ง


ปัจจุบัน (กรมป่าไม้, 2560) และใน พ.ศ. 2475 ได้มีปลูกสร้างสวนป่าไม้กระยาเลยบกชนิดแรก
คือ ไม้หลุมพอ ในจังหวัด นครศรีธรรมราช จนกระทั่งใน พ.ศ. 2484 กรมป่าไม้จึงได้วางแผน
และปลูกสร้างสวนป่าไม้สักอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตไม้สักทดแทนไม้สักจากป่าธรรมชาติ ได้รับการ
กาหนดเป็นนโยบายหนึ่งของประเทศ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นับตั้งแต่ฉบับ
ที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ในขณะที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้เริ่มปลูกสร้างสวนป่า
ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2511 ที่ฝ่ายทาไม้ภาคเหนือ โดยปลูกเฉพาะไม้สักเพียงอย่างเดียว ต่อมา
พ.ศ. 2506 เริ่มปลูกไม้สนที่ อาเภอฮอด จังหวั ดหวัดเชียงใหม่ และ ในปี พ.ศ. 2510 ได้เริ่มมี
การปลูกป่าโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และบริษัทไม้อัดไทย ใน พ.ศ.2524 (มณฑี, 2538)
และที่ส าคัญ กรมป่ าไม้ ได้ มีการปรับ ปรุงพัน ธุ์ไม้สัก และสร้างสวนผลิ ตเมล็ดพันธุ์ไม้สั กแม่กา
จังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2509 นับเป็นสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักแห่งแรกของประเทศไทย และ
ของโลก (กรมป่าไม้, 2556) นับว่ามีส่วนสาคัญในการพัฒนาการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักมาจนถึง
ปัจจุบัน
4. สถำนกำรณ์กำรปลูกสร้ำงสวนป่ำเศรษฐกิจ (Current status of economic
forest plantations)
4.1 ทั่วโลกและภูมิภำคเอเชีย (World and Asian Region)
ในช่วง 2 - 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกสร้างสวนป่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 17.8 ล้าน
เฮกตาร์ ในปี พ.ศ. 2523 (FAO, 2001) เป็ น 264.08 ล้ านเฮกตาร์ ในปี พ.ศ. 2553 โดยที่ ทุ กๆ
ภูมิภาคทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2533 - 2553 เท่ากับ 4.3 ล้านเฮกตาร์ต่อปี แต่อาจมี
อัตราที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค (FAO, 2010) จากภาพที่ 1.1 จะเห็นว่า อัตราการเพิ่มขึ้น
พื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ
ภาพรวมการเพิ่ ม ขึ้ น ของทวี ป เอเชี ย และของโลก ทั้ งนี้ ประเทศสาธารณรั ฐ ประชาชนจี น
สหรัฐอเมริกา และแคนานาดา เป็นประเทศที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าสูงที่สุด
ในโลก ตามลาดับ ในขณะที่ ประเทศเวีย ดนามมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภาพรวมการเพิ่มขึ้นของทวีปเอเชียและของโลก (ภาพที่ 1.2)
การปลู กสร้ างสวนป่ าส่ ว นใหญ่ นิ ย มพรรณไม้ต่างถิ่น ในทวีป อัฟ ริกาและอเมริกาใช้
พรรณไม้ต่างถิ่นมากกว่าร้อยละ 50 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ใช้พรรณไม้ต่างถิ่นมากกว่าร้อยละ 90 จากการรวบรวมข้อมูลใน FRA 2000 พบว่าการ
ปลูกสร้างสวนป่าของพรรณไม้ใบกว้าง (broad leaf tree species) รวมกันมีมากกว่าถึงร้อยละ
10 | การปลูกสร้างสวนป่า
40 โดยสกุล Eucalyptus มีม ากที่ที่ สุ ด (ร้อยละ 10) รองลงมาได้แก่ ยางพารา (ร้อยละ 5)
อะเคเซีย (ร้อยละ 4) และสัก (ร้อยละ 3) ตามลาดับ ในขณะที่การปลูกสร้างสวนป่าของพรรณ
ไม้ พ วกสน (conifers) มีป ระมาณร้ อ ยละ 30 โดยพรรณไม้ ส กุล Pinus มีม ากถึงร้อยละ 20
(FAO, 2001) ดังแสดงในภาพที่ 1.3

ภาพที่ 1.1 แนวโน้มพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าของโลก (World) และภูมิภาคเอเชีย (Asia) และ


ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ (S and SE Asia)
ที่มา: ข้อมูลจาก FAO (2010)

ภาพที่ 1.2 ประเทศที่มีอัตราการปลูกสร้างสวนป่ามากที่สุดในโลกในช่วง พ.ศ. 2533 - 2553


บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 11

ที่มา: FAO (2010)

ภาพที่ 1.3 พรรณไม้ที่นิยมปลูกสร้างสวนป่ามากที่สุดในโลก


ที่มา: FAO (2000)
4.2 ประเทศไทย (Thailand)
สาหรับประเทศไทย พื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าในช่วง 2 - 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมามีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2548 มีพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่า (ไม่รวมยางพารา) 486,310 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น
เป็น 695,701 เฮกตาร์ แต่เมื่อพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่ารวมยางพาราเพิ่มขึ้ นจาก 2.7 ล้านเฮกตาร์
เป็น 4.3 ล้านเฮกตาร์ ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยพื้นที่ปลูกยางพารามีมากกว่าร้อยละ 80 ของ
พื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าทั้งหมด (ภาพที่ 1.4 ก.) อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ปลูก สร้าง
สวนป่าไม่รวมยางพารา พบว่า ยูคาลิปตัส และสักมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ตามลาดับ (ภาพที่ 1.4 ข.)
12 | การปลูกสร้างสวนป่า
5. อุปสรรคและแนวโน้มของกำรปลูกสร้ำงสวนป่ำ (Constraints and trends in
forest plantations)
5.1 ปัญหำและอุปสรรค (Constraints)
5.1.1 นโยบายของรัฐ

นโยบายการปลูกสร้างสวนป่าของประเทศไทยได้ถูกกาหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พฺ .ศ. 2504 เป็นต้นมา และได้มีกาหนดไว้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ทุกฉบับจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ. 2528 กาหนดให้มี
พื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยใน อัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศเพื่อประโยชน์ 2 ประการ
ได้แก่ ป่าเพื่อการอนุรักษ์ กาหนดไว้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้า พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่หายาก
และป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิด จากน้าท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ใน
การศึกษาวิจัย และนันทนาการของประชาชนในอัตราร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ และป่าเพื่อ
เศรษฐกิจ กาหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่าเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 15
ของพื้นที่ประเทศ แต่ที่ผ่านมาการปฏิบัติตามแผนป่าเพื่อให้ได้เศรษฐกิจในปริมาณที่กาหนดยัง
ไม่เป็ นรู ปธรรม มีข้ อพิ จารณา คื อ รัฐไม่ได้กาหนดหน่ วยงานให้ รับผิ ดชอบหน้ าที่ ดาเนิ นการตาม
นโยบายที่กาหนดไว้ และระเบียบปฏิบัติทางราชการเป็นอุปสรรคต่อการดาเนินงานปลูกสร้างสวนป่า
ทั้งที่ดาเนินการโดยรัฐ และภาคเอกชน โดยเฉพาะกฎระเบียบต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะไม่ส่งเสริมการ
ปลูกสร้างสวนป่าแล้ว ยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้จัดสรรประโยชน์จากไม้ที่ปลูกขึ้นมาอีกด้วย
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 13

หมายเหตุ: Es - Eucalyptus spp. Tg – Tectona grandis Ps – Pinus spp.


Ms – Mangrove species MFG – mixed fast growing species
MSG - mixed slow growing species
ภาพที่ 1.4 พื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2548 - 2556 จาแนกเป็น
รายชนิด/กลุ่ม ก. รวมพื้นที่ปลูกยางพารา ข. ไม่รวมพื้นที่ปลูกยางพารา

5.1.2 งบประมาณ

การปลูกสร้างสวนป่า มีความจาเป็นต้องใช้งบประมาณในการปลูก และการดูแลรักษา


เป็นเงินจานวนมากและใช้เวลานานกว่าจะได้รับผลตอบแทนจากสวนป่ากลับคืนมา โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหากเป็นการปลูกสร้างสวนป่าไม้ที่มีรอบตัดฟันยาว ดังนั้นจึงต้องมีงบประมาณตั้งรองรับ
ไว้อย่างสม่าเสมอตลอดโครงการ ค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนป่า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
• ค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในพื้นที่ทั้งหมด
เช่น การเตรียมพื้นที่ การปลูก การถางวัชพืช และการบารุงรักษา เป็นต้น
• ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและเครื่องมือกล เป็นค่าใช้จ่ายสาหรับรถยนต์ตรวจ
การของผู้ ค วบคุ ม ในการปฏิ บั ติ ง าน รถยนต์ บ รรทุ ก ส าหรั บ ใช้ รั บ -ส่ ง คนงาน
ปฏิบัติงานในสวนป่าประจาวัน รถแทร็กเตอร์ล้อยาง ตลอดจนเครื่องมือกลต่างๆ
ที่จาเป็นในการดาเนินงาน
14 | การปลูกสร้างสวนป่า

• ค่าใช้จ่ายอานวยการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกั บ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าสวัสดิ การ


ของพนักงานประจาสวนป่า รวมทั้งค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ และอื่นๆ
จากงบประมาณที่ ต้อ งมีอ ย่ างต่อเนื่ อ งและสม่าเสมอ บางครั้งการขาดงบประมาณ
สาหรับภาครัฐ หรืองบลงทุนสาหรับภาคเอกชนจึงเป็นปัญหาและอุปสรรคสาหรับการปลูกสร้าง
สวนป่า ทาให้เกิดความล้มเหลวในงานการปลูกสร้างสวนป่า

5.1.3 กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ

ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติมีผลต่อการดาเนินการปลูกสร้างสวนป่า ในหลายๆ ด้าน


โดยเฉพาะกฎระเบียบหลายข้อภายใต้กรอบของพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2559 พรบ. ป่าสงวน
แห่ งชาติ พรบ. ป่าไม้ 2484 รวมทั้ง พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ เป็นต้น เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาส่งเสริม
การปลูกสร้างสวนป่าของประเทศไทยโดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการปลูกสวนไม้เศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ปัญหาหลายส่วนเกิดจากกลไกการควบคุมการปฏิบัติตามกฎหมาย

5.1.4 ปัญหาทางวิชาการ

ปัญหาทางวิชาการ เป็นปัญหาที่ผู้ปฏิบัติงานปลูกสร้างสวนป่าต้องประสบโดยทั่วไป
ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นของการดาเนินงานในครั้งแรกๆ ปัญหา
ทางด้านวิชาการที่มักจะเกิดกับผู้ปฏิบัติงานได้แก่ เทคนิคการปลูกต้นไม้แต่ละชนิด การปลูก
ชนิดไม้ที่ไม่เหมาะกับพื้นที่ การขาดแคลนเมล็ดไม้ การเตรียมกล้าไม้ไม่ได้ขนาด และปัญหาจาก
ภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น ความแห้งแล้ง ไฟป่า โรค และแมลง เป็นต้น

5.1.5 พื้นทีป่ ลูก

ปัญหาด้านพื้นที่ป ลูกมีห ลายประเด็น ด้วยกัน ทั้งปัญหาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ


และลักษณะดิน และปัญหาในเชิงสังคม ดังนี้
 ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่า สามารถแก้ปัญหาได้โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการ
เช่น การหาชนิดของพรรณไม้ที่เหมาะสมมาปลูก เป็นต้น หรือโดยการจัดการเพื่อ
เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี เป็นต้น
 ปัญหาพื้นที่มีวัชพืชมาก โดยเฉพาะหญ้าคา เพราะคุณสมบัติของหญ้าคาโดยธรรมชาติ
นอกจากกาจัดให้หมดไปได้ยากแล้วยังเป็นตัวการทาให้ต้นไม้ที่ปลูกไม่สามารถเติบโต
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 15

เท่ าที่ ควร และปั ญ หาที่ ติ ดตามมาในหน้ าแล้ งก็ คื อ ไฟ เพราะหญ้ าคาในหน้ าแล้ ง
สามารถติดไฟได้ง่าย
 ปั ญหาทางกฎหมาย เช่น ปั ญหาการบุ กรุกพื้ นที่ ปั ญหาความขัดแย้งของพื้ นที่ปลู ก
ระหว่างองค์กรภารัฐ องค์การนอกภาครัฐ (non-government organization) หรือ
ประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น
5.2 แนวโน้มและทิศทำง (Trends and directions)
51.1. นโยบายการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้

สรุป สาระสาคัญของแผนพัฒ นาเศรษฐกิจและสังคมแห่ งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกั บ


ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

• จากนโยบายป่าไม้ของประเทศไทยที่กาหนดให้มีป่าไม้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ
จาแนกเป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์ร้อยละ 25 และป่าเศรษฐกิจร้อยละ 15 โดยปัจจุบัน
พื้นที่อนุรักษ์เหล่านี้มีพื้นที่ประมาณ 72 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่
ประเทศ ดังนั้น การเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ นอกจากจะเป็ นการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของ
ประเทศให้ได้ตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ในนโยบาย
• การส่งเสริมการสร้างสวนไม้เศรษฐกิจนอกพื้นที่ป่า (Tree Outside Forest : TOF)
เนื่องจากพื้นที่ป่าตามกฎหมายที่มีอยู่มีการครอบครองหมดแล้ว ดังนั้น ภาคเอกชน
และภาคประชาชนมีบทบาทสาคัญในการเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจของประเทศ
• การปลูกสร้างสวนป่าเสริมรายได้ทั้งการปลูกในระบบวนเกษตร การปลูกหัวไร่ปลายนา
ขอบรั้ว เป็นกลยุทธ์ในการปลูกไม้ (agroforestry strategy)
• การนาพื้นที่ดินซึ่งมีปัญหา (problem soil) อันได้แก่ พื้นที่ดินเปรี้ยว พื้นที่ดินเค็มที่
มีปัญหาไม่สามารถทาการเกษตรได้มาใช้สาหรับการปลูกป่า
• การฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้าเสื่อมโทรมโดยการปลูกป่าป้องกันและป่าเศรษฐกิจ ในลักษณะ
ของการฟื้นฟูป่าเชิงภูมิทัศน์ (landscape restoration) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทาง
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
16 | การปลูกสร้างสวนป่า
51.1. กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ

• กฎหมายด้านป่าเศรษฐกิจจะได้รับการแก้ไขและส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจมากขึ้น
เพื่อรองรับนโยบายการเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ โดยสร้างกลไกสาคัญในการส่งเสริม
ผลักดันให้กิจการสวนป่าของประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง โดย
มุ่งเน้นพื้นที่เป้าหมายนอกเขตพื้นที่ป่าเช่น กฎหมายบริหารจัดการป่าไม้เอกชนเพื่อ
เศรษฐกิจ หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจนอกพื้นที่ป่า เป็นต้น

51.1. บทบาทของเอกชน

• เอกชนจะมีบทบาทในการปลูกไม้เศรษฐกิจมาก เช่น ไม้โตเร็ว โดยดาเนินการใน


ลักษณะ การปลูกไม้แบบมีสัญญา (contract farming for fast growing species)
• การดาเนินการปลูกป่าแบบครบวงจรจะได้รับการพัฒนามากขึ้น

51.1. การสร้างแรงจูงใจทางการเงิน

• การใช้ เครื่ อ งมื อ ทางการเงิน ที่ ส นั บ สนุ น รองรับ การพั ฒ นาสวนไม้ เศรษฐกิ จ ให้
เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย เช่น การตั้งกองทุนปลูกไม้เศรษฐกิจ ระบบ
ธนาคารต้นไม้ การใช้มาตรการลดหย่อนภาษี การกู้เงินปลอดดอกเบี้ย รวมทั้งกลไก
PES (payment for Environmental Service) เป็นต้น
• นาระบบความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) มาใช้
ในกระบวนการส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยต้องเน้น
ให้เห็นว่าจะได้ประโยชน์มากขึ้นจากการที่ชุมชนได้ประโยชน์ทางตรงจากสวนป่าที่
ปลูกสร้างขึ้น

51.15 การดาเนินงานกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก

การปลูกไม้ป่าและการฟื้นฟูเป็นกิจกรรมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในการซื้อขายคาร์บอน
เครดิตในตลาดภาคทางการ หรือการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดภาคสมัครใจรูปแบบต่างๆ
จะเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญในพัฒนาการปลูกป่า และสวนป่าในรูปแบบต่างๆ
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 17

51.1. ความก้าวหน้าทางวิชาการ

 วิชาการด้ านปลู กป่ าจะพั ฒนามากขึ้นเพื่ อเพิ่ มผลผลิต ทั้ งการปรับปรุงพั นธ์ เทคนิ ค
การปลู ก การจั ด การ การตั ด ขยายระยะ และการตั ด ฟั น ที่ เหมาะสม ตลอดจน
เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าของไม้
 การนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการบริหารจัดการ ตรวจสอบ เช่น ระบบ RFID ใน
การตรวจสอบในระบบ Logistic ทั้งในเรื่องของที่มาของไม้ การขนส่ง การแปรรูป
การป้องกันการสูญหายของไม้ที่ได้ตัดออกมา และความโปร่งใสในการทางานของ
เจ้าพนักงานฯ

5.2.7 การบริหารจัดการ

• ระบบการจัดการป่ าไม้ยั่ งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล เช่น Forest Stewardship


Council (FSC) และ Programme for the Endorsement of Forest Certification
(PEFC) เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้ไม้ที่ปลูกจากสวนป่าในประเทศสามารถแข่งขันกับ
ต่ า งประเทศได้ ม ากขึ้ น เพิ่ ม มู ล ค่ า ของไม้ สู ง ขึ้ น และลดการลั ก ลอบใช้ ไ ม้ จ าก
ธรรมชาติ
• สนับสนุนให้เกิดการนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการบริหารจัดการ ตรวจสอบ
เช่น ระบบ RFID ในการตรวจสอบในระบบ Logistic ทั้งในเรื่องของที่มาของไม้
การขนส่ง การแปรรูป การป้ องกันการสูญ หายของไม้ที่ได้ตัดออกมา และความ
โปร่งใสในการทางานของเจ้าพนักงานฯ ซึ่งจะช่วยให้การตรวจสอบมีความถูกต้อง
แม่น ย า ลดระยะเวลาในการดาเนิ นการ ลดภาระค่าใช้ จ่ายต่ างๆ โดยที่ ผ่ านมา
ประเทศไทยยังไม่มีการนาเทคโนโลยี RFID มาใช้อย่างจริงจัง
6. ภำพรวมของกิจกรรมกำรปลูกป่ำสร้ำงสวนป่ำ (Overviews of forest
plantation activities)
การปลูกป่าสร้างสวนป่า ซึ่งในที่นี้จะเน้นการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจ โดยทั่วไป
การปลูกให้ประสบผลสาเร็จควรมีกิจกรรมที่สาคัญ 3 ส่วน ได้แก่ พันธุกรรมไม้ป่า (forest tree
genetics) พื้ น ที่ (sites) และการจั ด การ (management) ดั ง แสดงใน ภาพที่ 1.5 โดยมี
รายละเอียด ดังนี้
18 | การปลูกสร้างสวนป่า
6.1 พันธุกรรมไม้ป่ำ (Forest tree genetics)
ประเด็ น พั น ธุ ก รรมไม้ ป่ า ในที่ นี้ อ าจหมายความถึ ง แหล่ งพั น ธุ ก รรมไม้ ป่ า (forest
genetic resources) ที่นามาใช้ในการปลูกสร้างสวนป่า การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าเพื่อเพิ่มผลผลิต
และปรับปรุงคุณภาพให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์สาหรับการใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์หรือ
การผลิตกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการปรับปรุงพันธ์โดยการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ ตลอดจนการ
จัดการแหล่งเมล็ดไม้คุณภาพ
6.2 พื้นที่ (Site)
พื้นที่นับเป็นปัจจัยที่มีความสาคัญมากต่อการปลูกสร้างสวนป่า หัวใจสาคัญของการ
ปลูกสร้างสวนป่าคือ การคัดเลือกชนิด ถิ่นกาเนิด สายพันธุ์ หรือสายต้นให้เหมาะสมกับพื้นที่
ปลูก หรือที่นิยมเรียกว่า site matching หากเลือกปลูกพรรณไม้ไม่เหมาะสมกับพื้นที่จะทาให้
ได้ได้ผลผลิตต่า ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน สามารถดาเนินการได้โดยการประเมินศักยภาพพื้นที่
(site potential assessment) หรือการจัดทาดัชนีคุณภาพพื้นที่ (site quality) ในปัจจุบันมี
การใช้ ป ระยุ ก ต์ ใช้ ร ะบบสารสนเทศภู มิ ศ าสตร์ (GIS) ในการประเมิ น ศั ก ยภาพของพื้ น ที่
นอกจากนี้ การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจอาจมีความจาเป็นต้องการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่ม
การเติบโตของต้นไม้ และผลผลิตของสวนป่า
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 19

กลไกการรับรองทางด้านป่าไม้ และรูปแบบการใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า

ภาพที่ 1.5 ภาพรวมของกิจกรรมการปลูกป่าสร้างสวนป่า

6.3 กำรจัดกำร (Managements)

ในการปลูกสร้างสวนป่ามีการจัดการต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ โดยอาจต้อง


มีการวางแผนการจัดการสวนป่าให้ครบรอบตัดฟัน เช่น การเตรียมพื้นที่ปลูกป่า รูปแบบการ
ปลูก และการเลือกใช้เทคนิคในการปลูก ระบบวนวัฒน์ในสวนป่า ทั้งการตัดเพื่อการสืบต่อพันธุ์
และการตัดเพื่อส่ งเสริ มการเติบ โต การอารักขาป่ าไม้ ทั้งการจัดการและควบคุม ปัจจัยทาง
กายภาพ (ความแห้งแล้ง น้าท่วม มลพิษทางอากาศ ลมพายุ และไฟ) และปัจจัยทางชีวภาพ
(แมลงศัตรูป่าไม้ วัชพืช และโรคพืช ) การติดตามและประเมินผลผลิต การจัดการสวนป่าอย่าง
ยั่งยืน และการตัดฟันและการขนส่ง ทั้งนี้ การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจ ควรมีการจัด การ
อย่างประณีต เพื่อให้ได้ผลผลิตคุ้มต่อการลงทุน
นอกจากนี้ การในการบริหารจัดการสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจยังจาเป็นต้องศึกษากลไกการ
รับรองทางด้านป่าไม้เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายผลผลิต และรูปแบบการใช้ประโยชน์ไม้จากสวน
ป่าเพื่อเข้าใจความต้องการใช้ไม้ภายในประเทศ และต่างประเทศ
20 | การปลูกสร้างสวนป่า
7 .สรุป
ในบทแรกของตาราการปลูกสร้างสวนป่าเสนอข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้ทราบ ความหมาย
ความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการปลูกสร้างสวนป่า ประเภทของสวนป่า บทบาทของการปลูก
สร้างสวนป่า สถานการณ์การปลูกสร้างสวนป่าของโลก ภูมิภาค และประเทศไทย วิเคราะห์
ปัญหา และอุปสรรคของการปลูกสร้างสวนป่า ตลอดจนทิศทางและแนวโน้มที่จะเป็นการสร้าง
โอกาสของการปลูกสร้างสวนป่า สุดท้ายในบทนี้ยังได้สรุปภาพรวมของกิจกรรมการปลูกสร้าง
สวนป่า ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การจัดหาแหล่งพันธุกรรมจนถึงการตัดฟันไม้ไปใช้
ประโยชน์ และตัดฟันให้เกิดการสืบต่อพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างยั่งยืน
8. เอกสำรอ้ำงอิง
กรมป่าไม้. 2556. องค์ความรู้ไม้สัก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
กรุงเทพฯ.
กรมป่าไม้. 2560. ประวัติการปลูกป่าชายเลนในประเทศไทย. ที่มา:
http://www.forest.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id
=318, 7 กรกฎาคม 2560.
คณะวนศาสตร์. 2554. การส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว. รายงานฉบับสมบูรณ์.
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มณฑี โพธิ์ทัย. 2538. การปลูกสร้างสวนป่า. เม็ดทราย พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ.
สาพิศ ดิลกสัมพันธ์. 2550. การกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้กับสภาวะโลกร้อน. วารสารอนุรักษ์
ดินและน้า 22 (3): 40-49.
Bissonnette, J. and R. de Koninck. 2015. Large plantations versus smallholdings
in Southeast Asia: historical and contemporary trends. In Conference
Paper No. 12: Land Grabbing, Conflict and Agrarian‐Environmental
Transformations Perspectives from East and Southeast Asia, 5‐6 June
2015, Chiang Mai University. Chiang Mai.
CIFOR. 2002. Typology of Planted Forests. CIFOR Info Brief. CIFOR, Bogor,
Indonesia.
Evans, J. 2004. Forest plantations, pp 822–828. In J. Burley, J. Evans and J.
Youngquist, eds. Encyclopedia of Forest Sciences, Vol. 2. Elsevier.
Oxford.
บทที่ 1 ภาพรวมการปลูกสร้างสวนป่า | 21

FAO. 1967. World symposium on man-made forests and their industrial


importance. Unasylva 21 (86–87): 116.
FAO. 2001. Global Forest Resources Assessment 2000 – Main Report. FAO
Forestry Paper No. 140. Rome, Italy.
FAO. 2010. Global Forest Resources Assessment 2010: Main report. FAO
Forestry Paper 163. Rome, Italy.
Harwood, C. E. and E. K. S. Nambiar. 2014. Sustainable Plantation Forestry in
South-East Asia. ACIAR Technical Reports No. 84. Australian Centre for
International Agricultural Research. Canberra, Australia.
Stanturf, J. A. and D. Zhang. 2003. Plantations forests in the United States of
America: past, present and future. Paper submitted to the XII World
Forestry Congress. Available Source:
http://www.fao.org/docrep/article/wfc/xii/0325-b1.htm, 7 July 2017.
บทที่ 2
แหล่งพันธุกรรมและกำรปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่ำ
Forest Tree Genetic Resources and Improvement

สาพิศ ดิลกสัมพันธ์

1. บทนำ Introduction
ในป่าธรรมชาติมีการแปรผันในหลายลั กษณะที่เกิดจากความหลากหลายทางชีวภาพ
(biodiversity หรื อ biological diversity) ตั้ ง แต่ ร ะดั บ ความหลากหลายทางพั น ธุ ก รรม
(genetic diversity) ความหลากชนิ ด (species diversity) ไปจนถึ งความหลากหลายทาง
นิเวศวิทยา (ecological diversity) ป่าเขตร้อน (tropical forest) นับเป็นระบบนิเวศที่มีความ
หลากหลายทางชีวภาพสูงจึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาลต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม แต่การพัฒนาของมนุษย์เป็นสาเหตุสาคัญของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ในประเทศไทยมีก ารท าลายป่ าเพื่ อ เปลี่ ย นเป็ น ไร่เลื่ อนลอย พื้ น ที่ เกษตรกรรม และการใช้
ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ ทาให้พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยลดลงจากร้อยละ 43.21 ของพื้นที่ประเทศ
ใน ปี พ.ศ. 2516 เหลือเพียงร้อยละ 31.58 ของพื้นที่ประเทศ ใน ปี พ.ศ. 2559 (กรมป่าไม้,
2560) กอปรกับการนาเอาทรัพยากรป่าไม้มาใช้ประโยชน์มากเกินไป อันเป็นสาเหตุให้เกิดการ
สูญเสียแหล่งพันธุกรรมป่าไม้ของประเทศ สิ่งสาคัญในการพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าให้เป็นไม้เศรษฐกิจ
(tree domestication) คื อ การเลื อ กชนิ ด และลั ก ษณะทางพั น ธุ ก รรมของไม้ ป่ าไปปลู ก ให้
เหมาะสมกับพื้นที่ ควบคู่กับการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าซึ่งเป็นการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพ
ของพันธุ์ไม้ป่า นอกจากช่วยอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้ป่าแล้วยังช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์
พันธุกรรมไม้ป่าอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และยั่งยืน
24 | การปลูกสร้างสวนป่า
2. กำรแปรผันทำงพันธุกรรมของไม้ป่ำ (Genetic Variations of Forest Trees)
2.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกำรแปรผันทำงพันธุกรรมของไม้ป่ำ
การแปรผั น ของการแสดงออกของลั ก ษณะภายนอกของต้ น ไม้ เกิ ด จากสาเหตุ
3 ประการ คื อ การแปรผั น จากปั จ จั ย ทางพั น ธุก รรม (genetic variation) การแปรผั น จาก
สิ่ ง แวดล้ อ ม (environmental variation) และการแปรผั น จากอิ ท ธิ พ ลร่ ว ม (interaction)
ระหว่ า งปั จ จั ย ทางพั น ธุ ก รรมและสิ่ ง แวดล้ อ ม (Zobel and Talbert, 2003) ปั จ จั ย ทาง
พันธุกรรมเป็นปัจจัยภายในของพืช ในขณะที่ปัจจัยสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการเติบโตของต้นไม้ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางอย่างไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปริมาณน้าฝน
อุณ หภูมิ ทิศทางด้านลาด ความลึ กของดิน ความเร็ว ลม เป็น ต้น แต่ยังมี ปัจจัยสิ่ งแวดล้ อ ม
บางอย่างที่สามารถควบคุมได้ ด้วยวนวัฒนวิธี เช่น ความหนาแน่นของต้นไม้ หรือการแก่งแย่ง
สารอาหารและแสงแดดของต้นไม้สามารถจัดการได้โดยการตัดขยายระยะ (thinning) หากดิน
ขาดความสมบูรณ์สามารถจัดการโดยการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มสารอาหารที่ ขาด หากดินอัดตัวแน่น
สามารถใช้การไถพรวนหรือการเตรียมพื้น ที่ที่ดีเพื่อปรับสมบัติทางกายภาพของดิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของปัจจัยสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการแปรผันของต้นไม้
ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของต้นไม้ซึ่งส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยปัจจัยสิ่งแวดล้อม
มากกว่าปัจจัยทางพันธุกรรม
อิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นการแปรผันของลาดับ
(rank) ของต้น ไม้ที่มีลั กษณะทางพัน ธุกรรมต่างกันเมื่อนาไปปลู กในพื้นที่ที่มีส ภาพแวดล้ อม
ต่ า งกั น เนื่ อ งจากความแตกต่ า งของการตอบสนองของลั ก ษณะทางพั น ธุ ก รรมต่ อ ปั จ จั ย
สิ่งแวดล้อม โดยมีความแตกต่างจากการแปรผันของสภาพพื้นที่ หรือคุณภาพของพื้นที่ (site
quality) ซึ่งต้น ไม้ที่มีลักษณะทางพัน ธุกรรมต่างกันมีการตอบสนองในทิศทางเดียวกันโดยที่
ล าดั บ ของต้ น ไม้ ไม่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง โดยปกติ แ ล้ ว การแปรผั น จากอิ ท ธิ พ ลร่ ว มระหว่ า ง
พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม จะปรากฏอย่างชัดเจนเมื่อปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างของ
สิ่งแวดล้อมมากๆ
2.2 กำรแปรผันทำงพันธุกรรมในป่ำธรรมชำติ (genetic variations in
natural forests)
พรรณไม้ที่ขึ้นในป่าธรรมชาติมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ดึกดาบรรพ์จนทาให้เกิดการแปรผั น
ของลักษณะต่างๆ อย่างมากมายและสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างชนิดไม้ อย่างไรก็ตาม
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 25

การแปรผันของพรรณไม้ชนิดหนึ่งๆ ในป่าธรรมชาติเป็นสิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอ ซึ่งมีการแปรผัน


เกิดขึ้นในระดับต่างๆ ดังนี้
1) การแปรผันระหว่างถิ่นกาเนิด (provenance) หมายถึง แหล่งเมล็ด ตามธรรมชาติ
(original geographic source of seed) โดยแต่ ล ะแหล่ งอาจมี ก ารแสดงออกของลั ก ษณะ
ภายนอกและการปรับตัวทางพันธุกรรม (genetic adaptation) ของต้นไม้ที่แตกต่างกัน เช่น
การเติ บ โต (growth) รู ป ทรงของล าต้ น (stem form) สมบั ติ ข องเนื้ อ ไม้ (wood quality)
องค์ประกอบทางเคมี (chemical content) และการปรับตัว (adaptability) เป็นต้น (Zobel
and Tallbert, 2003)
2) การแปรผันระหว่างพื้นที่ภายในถิ่นกาเนิดเดียวกันเป็นการแปรผันที่เกิดจากความ
แตกต่างระหว่างพื้นที่ภายในถิ่นกาเนิดเดียวกัน โดยถิ่นกาเนิดหนึ่งๆ อาจมีการแปรผันของต้นไม้
ที่เกิดจากความแตกต่างของพื้นที่ได้มาก เช่น ความแตกต่างของการเติบโตของต้นไม้ถิ่นกาเนิด
เดียวกันระหว่างพื้นที่ลุ่ม (lowland) และพื้นที่ดอน (upland) เป็นต้น
3) การแปรผั น ระหว่ า งหมู่ ไม้ (stand) ภายในพื้ น ที่ เดี ย วกั น พบค่ อ นข้ า งน้ อ ยจน
บางครั้งจึงมิได้ให้ความสาคัญ แต่อาจพบลักษณะความแตกต่างระหว่างหมู่ไม้ที่พอสังเกตเห็นได้
เช่น รูปทรงของลาต้น เป็นต้น
4) การแปรผันระหว่างต้นไม้ภายในหมู่ไม้เดียวกัน เป็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ของต้น ไม้แต่ล ะต้น (individual) เช่น รู ป ทรงของล าต้น สมบัติของเนื้อไม้ (wood quality)
ความต้านโรคและแมลง (pest and disease resistance) รวมทั้ ง การเติบ โต เป็ น ต้น โดย
สามารถนาความแตกต่างเหล่านี้ใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าโดยกระบวนการคัดเลือก
(selection) และการผสมพันธุ์ (mating)
5) การแปรผันของภายในต้นเดียวกัน เกิดเฉพาะบางลักษณะเท่านั้น เช่น ความถ่วงจาเพาะ
(specific gravity) และสมบัติอื่นของเนื้อไม้สนมีความแตกต่างกันไปตามระดับความสูงของลาต้น
หรือมีความแตกต่างระหว่างสมบัติของเนื้อไม้ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางของลาต้น (core wood) และ
ส่วนที่อยู่ห่างศูนย์กลางของลาต้น (outer wood) (Zobel and Tallbert, 2003)
โดยทั่วไป ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมีการแปรผันอันเนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศ
หรือถิ่นกาเนิด และการแปรผันระหว่างต้นไม้มากกว่าการแปรผันจากสาเหตุอื่นๆ ทั้งนี้ Zobel
and Tallbert (2003) ได้สรุปการแปรผันของความถ่วงจาเพาะของเนื้อไม้และความทนทานต่อ
อากาศเย็นของไม้สน loblolly pine (Pinus taeda) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เกิด
เนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างถิ่นกาเนิดและระหว่างต้นไม้ เกือบถึงร้อยละ 90 ของการแปร
ผันทั้งหมดที่สังเกตได้ ส่วนที่เหลือเป็นการแปรผันที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นเดียวกับแนวคิดใน
26 | การปลูกสร้างสวนป่า
การปรับปรุงพันธุ์ไม้สักในประเทศไทยได้นาการแปรผันระหว่างถิ่นกาเนิดและระหว่างต้นไม้มา
ใช้ โดยการคั ด เลื อ กแม่ ไม้ (plus tree) จากถิ่ น ก าเนิ ด ต่ างๆ โดยลั ก ษณะที่ น ามาใช้ ในการ
คัดเลื อกแม่ไม้ เช่น การเติบ โต รู ป ทรงของล าต้น ความต้านทานต่อโรคและแมลง การเกิด
พูพอน และลักษณะของเนื้อไม้ เป็นต้น เพื่อสร้างเป็นสวนผลิตเมล็ดเมล็ดพันธุ์ (Kaosa-ard et al.,
1998) กล่าวโดยสรุป ลักษณะหลายๆ ลักษณะของต้นไม้ถูกควบคุมโดยปัจจัยทางพันธุกรรม
และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่รุ่นลูก หลาน (progeny) การคัดเลือกโดยเน้นความสาคัญ
ของการแปรผันระหว่างต้นไม้และระหว่างถิ่นกานิดจึงเป็นพื้นฐานของการงานปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า
3. แหล่งพันธุกรรมและกำรปลูกสร้ำงสวนป่ำ (Genetic Resources and Forest
Plantations)
3.1 กำรพัฒนำพันธุ์ไม้ป่ำให้เป็นไม้เศรษฐกิจ (Tree Domestication)
การพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าให้เป็นไม้เศรษฐกิจ (tree domestication) หมายถึง การนาไม้
ป่ามาปลูกนอกถิ่นกาเนิดจนทาให้ลักษณะทางพันธุกรรมมีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่น
หนึ่ ง และพัฒ นาพัน ธุ์ไม้ป่ าเพื่อการปลู กสร้างสวนป่าและการประโยชน์เป็นไม้เชิงเศรษฐกิจ
มีขั้นตอนต่างๆ โดยการพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าเพื่อการปลูกสร้างสวนป่าเป็นการผสมผสานทั้งความรู้
ทางด้านต่างๆ ของวิชาการป่าไม้ และการดาเนินงานที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงเป็นกระบวนการ
โดย Pinyopusarerk and Kalinganire (2003) ได้เสนอกระบวนการพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าเพื่อการ
ปลูกสร้างสวนป่าไว้ดงั ภาพที่ 2.1 โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้
1) การศึกษาทางด้านชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) เป็นการศึกษาข้อมูลแหล่งการกระจาย
พันธุ์ตามธรรมชาติ และชีววิทยาของการสืบพันธุ์ (reproductive biology) เช่น การออกดอก และ
ออกผล เป็นต้น ที่สาคัญควรมีการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น (local knowledge) ที่เกี่ยวข้องกับ
ไม้ชนิดนั้นๆ ร่วมด้วย
2) การเก็บเมล็ดหรือกิ่งพันธุ์ที่เป็นตัวแทนของแหล่งการกระจายพันธุ์ต่างๆ ทั้งแหล่ง
ธรรมชาติและแหล่งที่นาพันธุ์ไปปลูกจนเป็นแหล่งพันธุกรรมพื้นบ้าน (land race) ซึ่งมีความ
จ าเป็ น อย่ างยิ่ งส าหรั บ ชนิ ด ไม้ ที่ ยั ง ไม่ เป็ น ที่ รู้ จั ก แพร่ห ลาย (lesser-known tree species)
เพื่อให้สามารถนาตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่เหมาะสมและมีฐานพันธุกรรมกว้างสาหรับการพัฒนา
พันธุ์ในขั้นตอนต่อๆ ไป
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 27

ภาพที่ 2.1 ขั้นตอนการพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าให้เป็นไม้เศรษฐกิจ (tree domestication)


ที่มา: ดัดแปลงจาก Pinyopusarerk and Kalinganire (2003)
3) การประเมิ นความแตกต่ างทางพั นธุ กรรมและการขยายพั นธุ์ (genetic assessment
and propagation) เพื่อศึกษาความแตกต่างจากแหล่งพันธุกรรมต่างๆ ทั้งลั กษณะสัณฐานวิทยา
(morphology) การเติบ โต ลักษณะทางสรีรวิทยา (physiology) และลักษณะอื่นๆ ที่อาจมี
คุณค่าทางเศรษฐกิจในอนาคต
4) การสร้างประชากรฐาน (assemble base population) เป็นขั้นตอนการสร้างฐาน
พันธุกรรมซึ่งเป็นส่วนสาคัญของการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า โดยประชากรกรฐานอาจจะเป็นแหล่ง
พันธุกรรมจากป่าธรรมชาติ หรือสวนป่า ประชากรฐานที่ดีควรมีฐานพันธุกรรมกว้างและมีความ
หลากหลายทางพันธุกรรม
5) การปรั บปรุ งพั นธุ์ ไม้ ป่ า (forest tree improvement) เป็นขั้นตอนการคัดเลื อกพั นธุ์
และผสมพั น ธุ์ (selection and breeding) สลั บ กั นเป็ นวงจร (cycle) ในแต่ ละรุ่ น (generation)
เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดีและมีคุณภาพสูงขึ้นในแต่ละรุ่นตามความต้องการ ซึ่งจะได้
กล่าวถึงในรายละเอียดในหัวข้อที่ 4
5) การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (sustainable use) เป็นการนาพันธุ์ไม้ป่ามาใช้ประโยชน์
ให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับชุมชนและในเชิงเศรษฐกิจ โดยเน้นการจัดการสวนป่าและการใช้
28 | การปลูกสร้างสวนป่า
วนวัฒนวิธีเพื่อให้มีการปลูกสร้างสวนป่าไม้ชนิดนั้นๆ ให้มีความยั่งยืนทั้งทางด้านผลผลิต การมี
ส่วนร่วมของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์ไม้ป่าให้เป็นไม้เศรษฐกิจที่ประสบความสาเร็จหลายชนิด
ที่สาคัญ เช่น สัก (กรมป่าไม้, 2556) ยู คาลิปตัส กระถินเทพา กระถินณรงค์ และไม้โตเร็วอีก
หลายชนิด (วิฑูรย์, 2556)
3.2 แหล่งเมล็ด (Seed Source)
แหล่งเมล็ด (seed source) มีความหมายกว้างๆ หมายถึง แหล่งที่มาของเมล็ด หรือ
แหล่งที่เก็บเมล็ดมา (seed origin) อาจเป็นได้ทั้ง 2 ลักษณะ ได้แก่ ถิ่นกาเนิด (provenance)
ซึ่งหมายถึง แหล่งเมล็ดตามธรรมชาติ (original geographic source of seed) โดยแต่ละถิ่น
กาเนิดอาจมีการแสดงออกในการปรับตัวทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน หรือ แหล่งเมล็ดพื้นบ้าน
(land race) ซึ่งหมายถึงหมู่ไม้ที่เกิดจากการคัดเลือกของมนุษย์นามาปลูกจนสามารถปรับตัวได้
ดีในสภาพแวดล้อมใหม่หรือท้องถิ่นที่นามาปลูกจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อาจทาให้ยากต่อ
การสืบหาที่มาของพันธุกรรม (Zobel and Tallbert, 2003) โดยหมู่ไม้อาจมีลักษณะดีหรือไม่ดี
ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวและแหล่งที่มาของพันธุกรรมที่ใช้ปลูกตอนเริ่มแรก
(Eldrige et al., 1993)
ในการจาแนกแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โดยทั่วไปจาแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) แหล่ ง เมล็ ด ทั่ ว ไป (unclassified seed source) เป็ น แหล่ ง เมล็ ด ที่ เก็ บ จากป่ า
ธรรมชาติ หรือสวนป่าที่ยังไม่มีการจัดการใดๆ
2) แหล่ งเมล็ ด คั ดเลื อ ก/แหล่ งเมล็ ด คุณ ภาพ (classified seed source) เป็ น แหล่ ง
เมล็ ดที่มีต้นไม้ลักษณะดีที่ได้การคัดเลือก หรือการปรับปรุงพันธุ์ ไม้ป่า เช่น แหล่ งเมล็ดพันธุ์
หรื อ แหล่ ง ผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ (seed production area) ซึ่ ง เป็ น แหล่ งเมล็ ด ทั้ ง ที่ เป็ น ป่ า ปลู ก
หรือป่าธรรมชาติที่เกิดจากการคัดเลือกต้นไม้ลักษณะดี หรือมีลักษณะเด่นเป็นที่ต้องการ และมี
การจัดการเพื่อผลิตเมล็ดให้ได้ตามวัตถุประสงค์ และสวนเมล็ดพันธุ์ หรือสวนผลิตเมล็ดพันธุ์
(seed orchard) ซึ่งเป็ น แหล่งเมล็ ดที่ป ลูกขึ้น ด้วยต้นไม้ที่มีลั กษณะทางพันธุกรรมดีที่ได้การ
คัดเลือก หรือการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า และมีการจัดการเพื่อผลิตเมล็ดให้ได้ตามวัตถุประสงค์
สุวรรณ (2550) ได้รวบรวมการจาแนกแหล่งเมล็ดตามองค์การเพื่อความร่วมมือทาง
เศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co - operation and Development - OECD)
และ Danish Forest Seed Center (DFSC) เป็น 6 ประเภท ดังนี้
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 29

1) เขตเก็บเมล็ด (seed collection zone) เป็นแหล่งเมล็ดที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน


แต่ไม่สามารถระบุขอบเขตของแหล่งเมล็ดที่ชัดเจนได้เพราะยังไม่มีการสารวจ
2) แหล่งเมล็ดตรวจพิสูจน์ (identified stand) เป็นแหล่งเมล็ดที่มีหมู่ไม้อยู่ในเกณฑ์
เฉลี่ย ซึ่งได้จากการสารวจ ประเมิน และขึ้นทะเบียนแหล่งเมล็ด
3) แหล่ งเมล็ดคัดเลื อก (selected stand) เป็นแหล่งเมล็ ด ทั้งที่เป็นป่าปลูก หรือป่า
ธรรมชาติที่หมู่ไม้มีลักษณะดี หรือมีลักษณะเด่นเป็นที่ต้องการ
4) แหล่งเมล็ดพิสูจน์ถิ่นกาเนิด (provenance seed stand) เป็นแหล่งเมล็ดที่เป็นป่า
ปลูกที่ทราบถิ่นกาเนิด และการปลูกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการเก็บเมล็ด
5) แหล่งเมล็ดพันธุ์ หรือ แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed production area) เป็นแหล่ง
เมล็ดทั้งที่เป็นป่าปลูก หรือป่าธรรมชาติที่มีต้นไม้ลักษณะดี หรือมีลักษณะเด่นเป็นที่ต้องการ
และมีการจัดการเพื่อผลิตเมล็ดให้ได้ตามวัตถุประสงค์
6) สวนเมล็ดพันธุ์ หรือสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed orchard) เป็นแหล่งเมล็ดที่ปลูกขึ้นด้วย
ต้นไม้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมดีที่ได้การคัดเลือก ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในหัวข้อ 4.5
3.3 กำรคัดเลือกชนิด (Species Selection)
แหล่งพันธุกรรมไม้ป่านับว่าเป็นสิ่งสาคัญในการเริ่มต้นการปลูกสร้างสวนป่า ไม่ว่าจะ
เป็นการเลือกแหล่งพั นธุกรรมในระดับชนิด แหล่งเมล็ด หรือสายต้น (clone) อันเป็นสาเหตุ
สาคัญที่ก่อให้เกิดการแปรผันของลักษณะต่างๆ เช่น การเติบโต ผลผลิต คุณภาพเนื้อไม้ เป็นต้น
และที่สาคัญจาเป็น ต้องมีการเลือกลักษณะพันธุกรรมข้างต้นให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก (site
matching) นอกจากนี้ ในการพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าให้เป็นไม้เศรษฐกิจ ควรพิจารณาเลือกพรรณไม้
ที่มีศักยภาพทั้งในด้านการปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ปลูก และสามารถนาไปใช้ประโยชน์ที่เป็นที่
ต้อ งการของตลาด ซึ่ งอาจเป็ น ได้ทั้ ง พรรณไม้ พื้ น เมื อง (native tree) และพรรณไม้ ต่ างถิ่ น
(exotic tree) ในหัวข้อนี้จะเน้นในเรื่องการคัดเลือกชนิด

3.3.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการคัดเลือกชนิด (Factors Affecting Species


Selection)

ในการเลือกชนิดของพรรณไม้เพื่อปลูกสร้างสวนป่าควรมีการคานึงถึงปัจจัยต่างๆ ใน
หลายมิติ ที่สาคัญมีดังนี้
30 | การปลูกสร้างสวนป่า
1) วัตถุประสงค์ของการปลูก เนื่องจากพรรณไม้แต่ละชนิดสามารถนาไปใช้ประโยชน์
ได้แตกต่างกัน ดังนี้
การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเศรษฐกิจ หรือเพื่อผลผลิต ควรเลือกชนิดโดยพิจารณาจาก
สมบัติเนื้อไม้ที่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ควรเลือกพรรณไม้ที่มีเนื้อไม้สวยงาม สัก พะยูง
ประดู่ ชิงชัน และอะเคเซีย (Acacia spp.) เป็นต้น สาหรับใช้ประโยชน์เป็นไม้แปรรูป ควรเลือก
พรรณไม้โตเร็วที่มีสมบัติเยื่อเหมาะสม เช่น ยูคาลิปตัส และอะเคเซีย (Acacia spp.) เป็นต้น
สาหรับทาชิ้นไม้สับในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ หรือควรเลือกพรรณไม้โตเร็วที่มีค่าความ
ร้อนสูงและแตกหน่อได้ดี เช่น ยูคาลิปตัส และกระถิ นยักษ์ เป็นต้น สาหรับใช้ประโยชน์เป็นไม้
พลังงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเลือกชนิดสาหรับปลูกไม้เศรษฐกิจจาเป็นต้องพิจารณาอัตรา
การเติบโต ผลผลิต และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับสมบัติเนื้อไม้ด้วย
การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อการป้องกัน เช่น การปลูกเพื่อป้องกันดินพังทลายควรเลือก
ปลูกพรรณไม้ที่มีระบบรากลึก การปลูกพืชป้องกันลมควรเลือกพรรณไม้ที่มีรูปทรงเรือนยอดเล็ก
เป็นต้น
การปลูกสร้างสวนป่าเพื่อนันทนาการ เช่น การปลูกไม้ในเมือง เป็นต้น เป็นการปลูก
เพื่อความสวยงามและคุณค่าทางจิตใจควรเลือกพรรณไม้ที่มีลาต้นสวยงาม รูปทรงเรือนยอด
สวยงาม และดอกสวยงาม เช่น หูกระจง หูกวาง ประดู่บ้าน เหลืองปรีดียาธร ชมพูพันธุ์ทิพย์
และราชพฤกษ์ เป็นต้น
การปลู กสร้างสวนป่ า อเนกประสงค์ ควรเลือกปลูกพรรณไม้ที่ให้ประโยชน์ได้ห ลาย
อย่าง เช่น กระถินยักษ์ เนื้อไม้ใช้ประโยชน์เป็นไม้พลังงาน ใบใช้สาหรับเป็นอาหารสัตว์ และ
ช่วยปรับปรุงดิน ทานองเดียวกับสะเดา เนื้อไม้ใช้ประโยชน์หลายอย่าง ยอดอ่อนสามารถเป็น
อาหาร เป็นต้น
2) ความเหมาะสมกั บ พื้ น ที่ (site matching) การเลื อ กชนิ ด ให้ เหมาะสมกั บ พื้ น ที่
นับเป็นปัจจัยสาคัญในการปลูกสร้างสวนป่า เพราะสามารถทาให้ต้นไม้ปรับตัวได้ดี และเติบโต
ได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น พรรณไม้ในสกุล Eucalyptus ยังต้องการพื้นที่ปลู กที่เหมาะสม
แตกต่างกัน Eucalyptus camaldulensis สามารถปลูกได้ภูมิอากาศที่หลากหลายและแม้แต่
พื้นที่แล้งในเขตร้อน E. citiodola และ E. tereticornis สามารถปลูกได้ได้ในพื้นที่มีฝนตกใน
ฤดูร้อนซึ่งมีฤดูแล้งที่ยาวนาน E. grandis และ E. robusta สามารถปลูกได้ในเขตร้อนและกึ่ง
ร้อนซึง่ มีฤดูร้อนอย่างชัดเจนและมีฤดูฝนกระจายเกือบทั้งปี และ E. urophylla สามารถปลูกได้
ร้ อ นชื้ น หรื อ ค่ อ นข้ า งชื้ น เป็ น ต้ น (Eldrige et al., 1993) โดยคณะวนศาสตร์ (2554) ได้
รวบรวมข้อมูลการเติบและผลผลิตของพรรณไม้ป่าหลายชนิดที่นิยมนามาปลูกสร้างสวนป่า เช่น
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 31

สัก ยูคาลิป ตัส กระถิน ณรงค์ กระถินเทพา และกระถินยักษ์ พบว่า หากนาไปปลูกในพื้นที่ที่


เหมาะสมทาให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากเกิน 2 เท่า ดังนั้น ในการปลูกสร้างสวนป่าหากสามารถ
ประเมินสภาพพื้นที่ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะดิน ลักษณะภูมิอากาศ และลักษณะพืช
พรรณที่ขึ้นอยู่ จะช่วยให้สามารถเลือกปลูกพรรณไม้ที่เหมาะสมและให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการ
ลงทุน ในบทที่ 5 จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินสภาพพื้นที่เพื่อการปลูกสร้างสวนป่า
3) ความเหมาะสมกับระบบวนวัฒน์ (silvicultural system) ในการปลูกสร้างสวนป่า
บางกรณีจาเป็น ต้องพิจารณาเลือกชนิดของพรรณไม้ที่มี ความเหมาะสมของระบบวนวัฒ น์ ที่
เลือกใช้ ได้แก่ ระบบตัดหมด ระบบเลือกตัด และระบบตัดให้แตกหน่อ เช่น การปลูกไม้พลังงาน
นิยมปลูกด้วยระยะปลูกแคบๆ มีรอบตัดฟันสั้น และใช้ระบบตัดให้ แตกหน่อ ควรเลือกปลู ก
กระถินยักษ์ หรือยูคาลิป ตัส เพราะมีศักยภาพในการแตกหน่อได้ดี ลดค่าใช้จ่ายในการปลู ก
ภายหลังการตัดฟัน เป็นต้น
4) อิทธิพลเฉพาะที่มีต่อพื้นที่ ในการปลูกสร้างสวนป่าบางกรณีที่มีพื้นที่เฉพาะ เช่น
ในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมอาจจาเป็นต้องเลือกพรรณไม้ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศสู่ดินเพื่อ
ช่วยปรับปรุงดินพรรณไม้วงศ์ถั่ว (Fabaceae) เป็นต้น
5) ข้อพิจารณาด้านอื่นๆ เช่น ความเหมาะสมในการปลูกเชิงเดี่ยว หรือ การปลูก แบบ
ผสม ปริมาณเมล็ดหรือกล้าที่มีอยู่ ความทนทานต่อโรคและแมลง และทัศนคติของชุมชน เป็นต้น
ทั้ งนี้ ในการเลื อ กชนิ ด ของไม้ ป่ าสามารถน าผลจากการทดลองชนิ ด และถิ่น กาเนิ ด
(species and provenance trial) (จะกล่ าวถึงในรายละเอี ย ดในหั ว ข้ อ 4.4) มาเป็ น ข้ อมู ล
ประกอบในการตัดสินใจเลือกชนิดไม้ป่าให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆ การปลูกสร้างสวนป่า

.1.1. การปลูกไม้ต่างถิ่น (Exotic Tree Planting)

ในการคัดเลือกชนิดของไม้ป่าเพื่อนามาปลูกสร้างสวนป่า สามารถเลือกปลูกได้ทั้งไม้
พื้นเมือง (native trees หรือ indigenous trees) ซึ่งเป็นไม้ที่ปลูกหรือเติบโตภายในถิ่นกาเนิด
ตามธรรมชาติ หรือ ไม้ต่างถิ่น (exotic trees หรือ introduced trees) ไม้ที่ปลูกหรือเติบโต
นอกถิ่น กาเนิ ดตามธรรมชาติ จากรายงานการสารวจทรัพยากรป่าไม้ของโลก ปี พ.ศ.2553
พบว่า การปลูกป่าในพื้นที่ไม่เคยเป็นป่ามาก่อน (afforestation) และการปลูกป่าในพื้นที่เคย
เป็ น ป่ า มาก่ อ น (reforestation) ทั่ ว โลกมี ก ารใช้ ไม้ ต่ างถิ่ น ร้ อ ยละ 29 และ 36 ตามล าดั บ
มีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย เป็นต้น
มีการใช้ไม้ต่างถิ่นในการปลูกป่าเกือบทั้งหมด (FAO, 2010) ไม้ป่าที่นิยมปลูกทั่วไป เช่น ไม้สกุล
สน (Pinus) ร้ อยละ 20 สกุล ยู ค าลิ ป ตัส (Eucalyptus) ร้อยละ 10 สกุ ล ยางพารา (Hevea)
32 | การปลูกสร้างสวนป่า
ร้อยละ 5 สกุลอะเคเซีย (Acacia) ร้อยละ 4 และสัก (Tectona grandis) ร้อยละ 3 ของไม้ป่า
ที่ปลูกทั่วโลก (FAO, 2001) โดยสกุลยูคาลิปตัส (Eucalyptus) นิยมปลูกเป็นไม้ต่างถิ่นในเขต
ร้อนมากกว่าร้อยละ 50 ของไม้ป่าที่ปลูก อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา
และรัสเซีย ที่มีไม้พื้นเมืองตอบสนองความต้องการและสามารถเติบโตได้ดี จนทาให้พื้นที่สวนป่า
เกือบทั้งหมดเป็นไม้พื้นเมือง ในทางตรงข้าม ประเทศนิวซีแลนด์ ชิลี และบราซิล พื้นที่สวนป่า
เกือบทั้งหมดปลูกไม้ต่างถิ่น ไม้สกุลสนที่นิยมปลูกเป็นไม้ต่างถิ่นส่วนใหญ่มีถิ่นกาเนิดในอเมริ กา
เหนื อ และอเมริ ก ากลาง เช่ น Pinus radiata, Pinus taeda, Pinus caribaea และ Pinus
elliottii เป็ น ต้น สาหรับ สกุลยู คาลิ ป ตัส (Eucalyptus) เกือบทั้งหมดมีถิ่นกาเนิดในประเทศ
ออสเตรเลี ย ชนิ ดที่นิ ยมปลู กในเขตอบอุ่น เช่น Eucalytptus globulus และ Eucalytptus
nitens และชนิดที่นิยมปลูกในเขตร้อนและกึ่งร้อน เช่น Eucalytptus grandis, Eucalytptus
urophylla, Eucalytptus saligna, Eucalytptus tereticornis, Eucalytptus deglupta
แ ล ะ Eucalytptus camaldulensis (Nambiar and Sands, 2013) ส า ห รั บ ไม้ ต่ างถิ่ น
ที่ น ามาปลู ก สร้ างสวนป่ า อย่ างแพร่ ห ลายในประเทศไทย เช่ น สนประดิ พั ท ธ์ (Casuarina
junghuhniana) กระถินณรงค์ (Acacia auriculiformis) กระถินเทพา (Acacia mangium)
สนคาริเบี ย (Pinus caribaea) ไม้ส นโอคาร์ ป า (Pinus oocarpa) ยูคาลิ ป ตัส (Eucalyptus
spp.) และยางพารา (Hevea brasiliensis)
อย่างไรก็ตาม ในการปลูกไม้ต่างถิ่นมีทั้งข้อได้และข้อเสียเปรียบ สามารถสรุปได้ ดังนี้
ข้อได้เปรียบของการปลูกไม้ต่างถิ่น
 มีการเติบโตอย่างรวดเร็วทาให้ได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากกว่าในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่า
 มีความเหมาะสมในการปลูกเป็นสวนป่าเพราะมีการศึกษาวิจัยมาแล้ว
 ส่วนใหญ่ มีการปรับ ปรุงพัน ธุ์มาแล้ว ทาให้ มีวัสดุพันธุกรรม (genetic materials)
ที่มีคุณภาพ และสามารถนามาปลูกเป็นสวนป่าที่มีลักษณะสม่าเสมอ (uniform)
จึงให้ผลผลิตสม่าเสมอกว่าและง่ายต่อการจัดการ
 มีพันธุ์ไม้สาหรับประโยชน์เฉพาะ เช่น ทาเยื่อกระดาษ เป็นไม้พลังงาน เป็นต้น
 สามารถคัดเลือกได้อย่างกว้างขวางเพราะมีความหลากหลายทางพันธุกรรม
 สามารถคั ดเลื อกได้อ ย่ างกว้างขวาง เนื่ อ งจากส่ ว นใหญ่ มี การกระจายพั น ธุ์ตาม
ธรรมชาติที่ มีความแตกต่างของถิ่นที่ขึ้น ลักษณะดิน และระดับ ความสูงของพื้นที่
ค่อนข้างมาก ทาให้สามารถปรับตัวและเติบโตได้ดีเมื่อนาไปปลูกนอกถิ่นกาเนิด
ข้อเสียเปรียบของการปลูกไม้ต่างถิ่น
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 33

 บางชนิดปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ปลูกได้ช้าทาให้อัตราการเติบโตต่าในช่วงแรก
 บางชนิดมีการปรับปรุงพันธุ์จนมีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนผลผลิตเนื้อไม้ที่ได้ มี
สมบัติต่ากว่ามาตรฐาน
 บางชนิดขาดไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) ที่เหมาะสมซึ่งมีความจาเป็นสาหรับการ
เติบโต
 เมล็ดและวัสดุพันธุกรรมอาจมีราคาแพงทาให้ต้นทุนการปลูกสร้างสวนป่าสูง
สาหรับประเทศไทยมีการนาไม้ต่างถิ่นมาปลูกอย่างแพร่หลายอยู่หลายชนิด ดังที่กล่าว
แล้วข้างต้น แต่ไม้ป่าที่มีศักยภาพสูงสุดสาหรับการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจ 5 ชนิ ดแรก มีทั้ง
ไม้พื้นเมือง และไม้ต่างถิ่น ได้แก่ สัก (ไม้พื้นเมือง) ยูคาลิปตัส (ไม้ต่างถิ่น) อะเคเซีย (ไม้ต่างถิ่น)
พะยูง (ไม้พื้นเมือง) และตะเคียนทอง (ไม้พื้นเมือง) ตามลาดับ (Changtragoon et al., 2012)
4. กำรปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่ำ (Forest Tree Improvement)
4.1 หลักและแนวคิด (Principle and Concept)
การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า (tree improvement) โดยทั่วไปหมายถึง การเพิ่มผลผลิตและ
ปรั บ ปรุ งคุ ณ ภาพไม้ จ ากป่ าธรรมชาติ โดยกระบวนการควบคุ ม การถ่ ายทอดลั ก ษณะทาง
พันธุกรรมร่วมกับการจัดการป่าไม้ หรือวนวัฒนวิธี (silvicultural practices) เช่น การเตรียม
พื้นที่ที่ดี การใส่ปุ๋ย เป็นต้น (Zobel and Talbert, 2003) การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่ามีความหมาย
ต่างจากการคัดพันธุ์ไม้ป่า (forest tree breeding) ซึ่งเป็นกิจกรรมการคัดเลือกพันธุ์และการ
ผสมพันธุ์ไม้ป่าที่ดาเนินเพื่อแก้ไขปัญหาหนึ่งปัญหาใดโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์
ที่ ต้ อ งการ เช่ น การทดลองผสมข้ า มระหว่ า งไม้ ต่ างชนิ ด กั น (hybridization) ที่ อ ยู่ ในสกุ ล
(genus) เดี ย วกั น เพื่ อ ให้ ได้ ลู ก ไม้ ที่ มี ค วามต้ า นทานโรคและแมลง (Zobel and Talbert,
2003) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการปรับปรุงพันธ์ หรืออาจกล่าวได้ว่าความสาเร็จของการ
ปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ ทักษะ และความชานาญในการคัดพันธุ์ไม้ป่า ควบคู่กับการ
ใช้หลักวนวัฒนวิธีที่เหมาะสม ทั้งนี้ Eldridge et al. (1993) เสนอแนะว่าในการดาเนินงานด้าน
การปรั บ ปรุ งพั น ธุ์ไม้ป่ าให้ เป็ น ไปอย่ างมีป ระสิ ทธิภ าพ มีทิ ศทางชัดเจน และต่อเนื่ อง ควรมี
องค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่
1) การก าหนดวัตถุป ระสงค์ ที่ชั ดเจนของการปรับปรุงพั น ธุ์ไม้ ป่าทั้ งวัตถุป ระสงค์ ที่
กาหนดเป็นผลลัพธ์จากการคัดพันธุ์ซึ่งเป็นหมายสูงสุด (ultimate goal) เช่น วัตถุประสงค์เพื่อ
การเพิ่มผลผลิตเยื่อ (pulp yield) เป็นต้น และวัตถุประสงค์ที่กาหนดเป็นลักษณะหรือสมบัติที่
34 | การปลูกสร้างสวนป่า
ต้องการคัดเลือก (selection traits) ตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ เช่น การเติบโต
หรือความหนาแน่นของเนื้อไม้ เป็นต้น
2) องค์ความรู้และแหล่งพันธุกรรมตามลาดับชั้นของประชากร (hierarchy of population)
ที่จาเป็นในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า เพื่อเป็นฐานพันธุกรรม เพื่อการผสมพันธุ์ และเพื่อการขยายพันธุ์
สาหรับการปรับปรุงพันธุ์ ตลอดจนเพื่อผลผลิตของการปลูกสร้างสวนป่า
3) การเลือกใช้ยุทธศาสตร์และแผนการดาเนินงานที่เหมาะสม เช่น การกาหนดกรอบ
แนวคิด (framework) และยุ ท ธศาสตร์ของการคัด พัน ธุ์ (breeding strategy) และคั ดเลื อ ก
รูป แบบของกิจ กรรมและวิธีการที่ เหมาะสมและสอดคล้ องกับ ยุ ท ธศาสตร์ข องการคั ดพั น ธุ์
ตลอดจนการกาหนดแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ของการ
พัฒนาสายพันธุ์ และมีการดาเนินงานอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์
4) กระบวนการคัดเลือกและการผสมพันธุ์ (selection and breeding) ที่สอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์และยุทธศาสตร์ของการคัดพันธุ์ที่กาหนดข้างต้น
5) ผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณสนับสนุน ควรมีอย่างเพียงพอและมีความสอดคล้องกับ
กลยุทธ์และแผนงานที่กาหนด
สาหรับการปรับปรุงพันธุ์ไม้ชนิดใดๆ นอกจากต้องคานึงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
ทั้ง 5 ด้าน แล้ ว กระบวนการปรั บ ปรุงพั น ธุ์ไม้ป่ า หรือ กิจกรรมที่ ดาเนิน ตามยุทธศาสตร์ของ
คัดพันธุ์ก็เป็นสิ่งสาคัญ โดยหลักการประกอบด้วยขั้นตอนการคัดเลือก (selection) และการ
ผสมพันธุ์ (mating) สลับกันเป็นวงจร (cycle) ในแต่ละรุ่น (generation) เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มี
ลักษณะที่ดีและมีคุณภาพสูงขึ้นในแต่ละรุ่นตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น เติบโตเร็ว มีความ
หนาแน่นเนื้อไม้สูง มีความต้านโรคและแมลง และมีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับ
สภาพพื้นที่แบบต่างๆ เป็นต้น โดยการคัดเลือกจากแหล่งพันธุกรรมที่เป็นป่าธรรมชาติหรือสวน
ป่าที่ยังไม่ได้มีกาปรับปรุงพันธุ์สาหรับเป็นประชากรฐาน (base population) หรือฐานพันธุกรรม
(genetic base) และสร้างเป็นประชากรสาหรับการคัดพันธุ์ (breeding population) ตลอดจนการ
สร้างประชากรเพื่อการขยายพันธุ์ (propagation population) ทั้งในรูปของแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์
(seed production area) สวนเมล็ ดพั นธุ์ (seed orchard) และสวนผลิ ตกิ่ งพั นธุ์ (multiplication
garden หรือ hedge orchard) (Eldridge et al., 1993) ดังแสดงในภาพที่ 2.2 แต่ห ลั กการ
สาคัญของการกาหนดกิจกรรมต่างๆ ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์จาเป็นต้องมีแนวคิด ในการ
จัดการเพื่อคงไว้ซึ่งฐานพันธุกรรมที่กว้าง (wide genetic base) เช่น การนาแหล่งพันธุกรรม
เพิ่มเติม (infusion population) และแหล่งพันธุกรรมจากภายนอก (external population)
มาเพิ่มเติมในแต่ละรุ่น (White, 1987; Eldridge et al., 1993) นอกจากนี้ยังต้องคานึงถึงการ
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 35

จัดการเพื่อลดหรือป้องกันการผสมพันธุ์ในพวกเดียวกัน (inbreeding) อันเป็นสาเหตุของความ


เสื่อมถอยทางพันธุกรรม (genetic depression) ตั้งแต่ในกระบวนการคัดเลือก รูปแบบการ
ผสมพันธุ์ และการออกแบบในการสร้างสวนเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น (White, 1987; Eldridge et al., 1993)

ภาพที่ 2.2 องค์ประกอบและกิจกรรมในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า


ที่มา: ดัดแปลงจาก White (1987) และ Eldridge et al. (1993)
4.2 กำรคัดเลือก (Selection)
.1.1. แนวคิดในการคัดเลือก (Selection Concept)

การคัด เลื อก (selection) มี วัตถุป ระสงค์เพื่ อ ให้ ได้ผ ลผลิ ตทางพั นธุกรรม (genetic
gain) สู งสุ ด เร็ ว ที่ สุ ด และถู ก ที่ สุ ด เท่ าที่ จ ะท าได้ ในขณะเดี ย วกั น ก็ ส ามารถรัก ษาฐานทาง
พันธุกรรมให้กว้างพอเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าผลผลิตทางพันธุกรรมจะเพิ่มขึ้นในรุ่นต่อๆ ไป (Zobel
and Talbert, 2003) โดยทั่วไปแล้วการคัดเลือกเพื่อการปรับปรุงพันธุ์จะใช้หลักเดียวกัน คือ
36 | การปลูกสร้างสวนป่า
คัดเลือกต้นไม้ที่มีลักษณะต่างๆ ที่ต้องการดีที่สุด เพื่อใช้เป็นพ่อและแม่ไม้ในการผสมพันธุ์และ
การผลิ ต เมล็ ด ไม้ คุ ณ ภาพดี ทั้ ง นี้ อ ยู่ บ นสมมุ ติ ฐ านที่ ว่ า พ่ อ แม่ ที่ มี ลั ก ษณะทางสายพั น ธุ์ ดี
ย่อมจะถ่ายทอดลักษณะดีไปสู่ ลูกหลาน โดยปกติแล้วการคัดเลื อกต้องกาหนดเกณฑ์ในการ
คัดเลือก (selection criteria) ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ และเลือกใช้
วิธีการให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดของการแปรผันทางพันธุกรรม หรือขึ้นอยู่กับข้อมูลพื้นฐานทาง
พันธุกรรมของประชากรที่จะคัดเลือก

.1.1. เกณฑ์ในการคัดเลือก (Selection Criteria)

การปรับปรุงพันธุ์ไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าเชิงเศรษฐกิจนั้น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา
มูลค่าของไม้ในสวนป่าให้มากขึ้น โดยการพัฒ นาลักษณะทางพันธุกรรมด้านต่างๆ ที่ต้องการ
ตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วลักษณะที่นามาใช้ในการคัดเลือกควร
เป็ น ลั กษณะที่ ให้ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (economic traits) ควรเป็ นลั กษณะที่ เกิดจาก
พั น ธุ ก รรมและสามารถถ่ า ยทอดทางพั น ธุ ก รรม หรื อ มี ค่ า การถ่ า ยทอดทางพั น ธุ ก รรม
(heritability) สูง ควรเป็นลักษณะที่สามารถตรวจวัดได้ง่ายและมีความแม่นยาสูง และควรมี
สหสัมพันธ์ทางบวก (positively correlated) กับลักษณะอื่นๆ (Zobel and Talbert, 2003)
เกณฑ์ในการคัดเลือกควรเป็นลักษณะที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์
(desirable trait) เกณฑ์ทั่วไปที่นิยมนามาพิจารณาในการคัดเลือกพันธุ์ อาจมีลักษณะที่สาคัญ
เช่น มีการเติบโตดี ลาต้นกลม เปลา และตรง มีการลิดกิ่งตามธรรมชาติดี รูปทรงเรือนยอด
ขนาดเหมาะสมและสมมาตร มีความต้านทานต่อโรคและแมลง มีความทนทานต่อสภาพภูมิ
ประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แปรผัน ได้ดี คุณภาพเนื้อไม้ดี มีความหนาแน่นของเนื้ อไม้สู ง
และมีเปลือกบางทาให้มีเนื้อไม้มากขึ้น เป็น ต้น (วิฑูรย์, 2553; Zobel and Talbert, 2003)
เช่น ในการปรับปรุงพันธุ์ไม้โดยเฉพาะไม้โตเร็วของกรมป่าไม้ใช้รูปแบบการคัดเลือกพันธุ์แบบ
Index selection เป็ นส่วนใหญ่ โดยคัดเลือกจากอัตราการเติบโต ลักษณะรูปทรงของลาต้น
และสมบัติของเนื้อไม้ ไปพร้อมๆ กัน (วิฑูรย์, 2553)

.1.1. วิธีการคัดเลือก (Selection Method)

วิธีการคัดเลือกในทางปฏิบัติทาได้หลายวิธีอาจจะใช้เพียงลักษณะเดียว (single trait


selection) หรือการใช้มากกว่าหนึ่งลักษณะ (multiple traits selection) โดยการคัดเลือกที่มี
มากกว่าหนึ่งลักษณะนั้น โดยทั่วไปมี 3 รูปแบบ คือ การคัดเลือกเพียงลักษณะเดียวในแต่ละรุ่น
(tandem selection) การคัดเลือกโดยกาหนดเกณฑ์ขั้นต่าของแต่ละลักษณะที่คัดเลือกในรุ่น
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 37

เดีย วกั น (independent culling) และการคัดเลื อกโดยกาหนดดัช นี ของลั กษณะที่ คัดเลื อ ก


พร้ อ มกั น ในแต่ ล ะรุ่ น (index selection) (Zobel and Talbert, 2003) ทั้ งนี้ index selection
เป็นวิธีการที่นิยมค่อนข้างมากในการคัดเลือกหลายลักษณะโดยการกาหนดค่าถ่วงน้าหนักให้แก่
ลั กษณะที่ต้ องการคัด เลื อก (Cotterill and Dean, 1990) เช่น เดียวกับ การปรับ ปรุงพั นธุ์ไม้
โดยเฉพาะไม้โตเร็วของกรมป่ าไม้ซึ่งใช้รูป แบบการคัดเลือกแบบ Index selection เป็นส่ วน
ใหญ่ (วิฑูรย์, 2553)
โดยทั่ ว ไป การคัด เลื อ กแม่ ไม้ (plus tree selection) เป็ น ขั้น ตอนเริ่ม แรกของงาน
ปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า หรือการปรับปรุงพันธุ์ระยะสั้น โดยการคัดเลือกไม้จากป่าธรรมชาติหรื อ
สวนป่าซึ่งไม่ทราบข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมเลย ดังนั้น การคัดเลือกแม่ไม้จึงเป็นการคัดเลือก
รายต้น (individual selection) พิจารณาจากการแปรผันของลักษณะภายนอก (phenotype)
ของต้น ไม้ เรียกวิธีการนี้ ว่า mass selection (Zobel and Talbert, 2003) ทั้งนี้ ลักษณะที่
สาคัญที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของพรรณไม้ป่าส่วนใหญ่ เช่น ความตรงของลาต้น ลักษณะเนื้อ
ไม้ เป็ นต้น ซึ่งเป็ นลั กษณะที่มีค่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมค่อนข้างสู งจึงสามารถนามาใช้
ประโยชน์ ในการคัดเลือกพันธุ์แบบง่ายๆ โดยอาศัยลักษณะภายนอกก็ทาให้ สามารถประสบ
ความส าเร็จได้ นอกจากนี้ วิธีการคัดเลือกในแปลงทดสอบทางพันธุกรรมต่างๆ ที่มีการวาง
แผนการทดลองในรุ่ น ต่ างๆ อาจใช้ วิธีก ารคั ด เลื อ กที่ แ ตกต่ างกั น ไป เช่น การคั ด เลื อ กจาก
ค่าเฉลี่ยภาพรวมของสายพันธุ์ (family selection) การคัดเลือกต้นไม้ที่มีลักษณะดีจากแต่ละ
สายพันธุ์ (within family selection) การคัดเลือกจากการแสดงออกของลูกหลาน (progeny
testing selection) หรือใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกัน (Zobel and Talbert, 2003)
Zobel and Talbert (2003) ได้ ส รุ ป เกณฑ์ ก ารให้ ค ะแนนในการคั ด เลื อ กแม่ ไ ม้
ออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
• ระบบการใช้ต้นไม้เปรียบเทียบ (comparison tree system) โดยการเลือกต้นไม้
ตัวแทน (candidate tree) ซึ่งมีคุณลักษณะภายนอกดีและได้รับการคัดเลือกไว้ และ
ให้คะแนนเปรียบเทียบกับต้นไม้เปรียบเทียบ (comparison trees หรือ check trees)
หากต้นไม้ตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกหลังจากให้คะแนนแล้วว่ามีสมบัติดีกว่าไม้ต้น
อื่นๆ จึงเลือกให้เป็นแม่ไม้ (select tree, superior tree หรือ plus tree) วิธีการ
นี้เหมาะสาหรับการคัดเลือกแม่ไม้แบบ mass selection
• ระบบการกาหนดเกณฑ์การให้คะแนน (scoring system) โดยการกาหนดเกณฑ์
การให้คะแนนแต่ละลักษณะขึ้น และประเมินให้คะแนนโดยไม่จาเป็นต้องมีต้นไม้
38 | การปลูกสร้างสวนป่า
เปรี ย บเที ย บวิธีก ารนี้ เหมาะส าหรั บ การคั ดเลื อ กในแปลงทดลองต่ างๆ ในการ
ปรับปรุงพันธุ์
อย่ างไรก็ ต าม การคั ด เลื อ กในการปรั บ ปรุงพั น ธุ์ จ าเป็ น ต้ อ งมี ก ารพั ฒ นาวิธี ก ารให้
เหมาะสมกับพรรณไม้แต่ละชนิด และวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ ตลอดจนขั้นตอนของ
การปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ แต่ละชนิดด้วย
4.3 กำรคัดพันธุ์ (Breeding)
การคัดพันธุ์ เป็นกิจกรรมที่ประกอบด้วยการคัดเลือก (selection) และการผสมพันธุ์
(mating) เพื่ อ พั ฒ นาสายพั น ธุ์ ให้ มี คุ ณ ภาพดี ขึ้ น โดยการพั ฒ นายุ ท ธศาสตร์ ก ารคั ด พั น ธุ์
(breeding strategy) และก าหนดวิ ธี ก ารและรู ป แบบของการผสมพั น ธุ์ (mating design)
เพื่อประกอบการวางแผนการปรับปรุงพันธุ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
หลักการสาคัญของการปรับปรุงพันธุ์ไม้จะหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์จากสายพันธุ์ไม้ที่มี
พัน ธุกรรมใกล้ ชิด กัน ซึ่งอาจท าให้ เกิดการถดถอยทางพั น ธุกรรม (inbreeding depression)
เช่นในไม้กระถินณรงค์ที่มีการนาเข้ามาปลูกในประเทศไทยมากกว่า 60 ปี มาแล้ว แต่นามาจาก
แหล่งพันธุกรรมที่มีฐานพันธุกรรมแคบแสดงการถดถอยทางพันธุกรรม เมื่อเปรียบเทียบกับ
กระถินณรงค์ที่มีการผสมข้ามพันธุ์ (outcrossing) จากแหล่งพันธุกรรมที่มีความหลากหลาย
(วิฑูรย์, 2553) ดังนั้น ในการผสมพันธุ์จึงหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์จากสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิด
กั น ให้ ม ากที่ สุ ด รู ป แบบการผสมพั น ธุ์ ข องการปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ ไม้ ป่ า ที่ ด าเนิ น การอยู่ ทั่ ว ไปมี
2 ลักษณะ คือ
• การถ่ายละอองเรณูแบบเปิด หรือตามธรรมชาติ (open pollination) ซึ่งมีแมลง
นก สัตว์ต่างๆ หรือ ลม ช่วยในการถ่ายละอองเรณู ดังนั้น ควรมีการวางแผนการ
ปลูกที่หลีกเลี่ยงสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกันปลูกอยู่ใกล้กันเพื่อให้มี โอกาสการผสมข้าม
สายพันธุ์ให้มากที่สุด
• การถ่ายละอองเรณู แบบควบคุม (control pollination) เป็น การผสมพันธุ์ โดย
ถ่ายละอองเรณูระหว่างต้นที่ต้องการที่คดั เลือกไว้ ซึ่งในการผสมพันธุ์ก็จะมีรูปแบบ
การผสมพันธุ์ต่างๆ ขึ้น อยู่กับต้นพ่อพันธุ์และต้นแม่พันธุ์ที่มีอยู่มากน้อยเพียงใด
และต้องการศึกษาอิทธิพลของพ่อพันธุ์และแม่
การปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ ไ ม้ ป่ า ในปั จ จุ บั น ใช้ ก ารผสมข้ า มพั น ธุ์ หรื อ การผลิ ต ลู ก ผสม
(hybridization) มากขึ้น เพราะลู กผสม (hybrids) ที่ เกิด จากการปรับ ปรุงพั น ธุ์ส่ ว นใหญ่ ให้
ผลผลิตสูงขึ้นและสามารถปรับตัวกับสภาพพื้นที่ได้หลากหลายมากขึ้น และที่สาคัญสามารถ
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 39

รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ไว้ได้ โดยการผลิตลูกผสมสามารถ


ใช้ ก ารถ่ ายละอองเรณู แ บบเปิ ด หรื อ ตามธรรมชาติ หรื อ การถ่ ายละอองเรณู แ บบควบคุ ม
แต่นิยมใช้รูปแบบหลังมากกว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการพัฒ นายุทธศาสตร์ของของการคัดพันธุ์
เพื่อให้การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพทาง
พันธุกรรมของพันธุ์ไม้ได้มากและใช้เวลาน้อยลง มีตั้ง แต่ยุทธศาสตร์ในรูปแบบง่ายๆ เช่น การ
ถ่ายละอองเรณู แบบเปิ ดในสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ (open-pollinated seed orchard) เป็นต้น
(Eldridge et al., 1993) ไปจนถึงยุ ทธศาสตร์ที่ ซับซ้ อนมากขึ้ น เช่น ยุทธศาสตร์ที่ มีการจั ดล าดั บ
ของประชากรพันธุกรรม (hierarchy of population) (Eldridge et al., 1993) ยุทธศาสตร์ที่
มีประชากรพันธุกรรมหลายแหล่ง (Multiple population breeding) ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่
แบบต่างๆ หรือวัตถุป ระสงค์ที่แตกต่าง (Namkoong et al., 1990) และยุทธศาสตร์ การคัด
พั น ธุ์ แ บบนิ ว เคลี ย ส (nucleus breeding) การแบ่ งประชากร ในส่ ว นผสมพั น ธุ์ (Breeding
population) ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของประชากรหลัก (main population) ซึ่งใช้การถ่าย
ละอองเรณูแบบเปิด และส่วนของประชากรนิวเคลียส (nucleus population) ซึ่งใช้การถ่าย
ละอองเรณูแบบควบคุม (Cotterill et al., 1988)
4.4 กำรทดลองที่เกี่ยวข้องกับกำรปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่ำ
กิจกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ ไม้ป่าที่ประกอบไปด้วยการคัดเลือกและการคัดพันธุ์นั้น
จาเป็นต้องมีการทดลองที่ควบคู่ไปกับกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้มีข้อมูลสาหรับ การคัดเลือกใน
ขั้นตอนหรือรุ่นต่อๆ ไป การทดลองที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า กลุ่มแรกเป็นการ
ทดลองเพื่อคัดเลือกชนิดและถิ่นกาเนิดของพันธุ์ไม้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการปลูก
และพื้นที่ปลูก ได้แก่ การทดลองชนิด (species trial) และการทดลองถิ่นกาเนิด (provenance
trial) ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ และกลุ่มที่สองเป็นการทดสอบทางพัน ธุกรรม
ได้ แ ก่ การทดสอบลู ก หลาน (progeny test) และการทดสอบสายต้ น (clonal test) โดยมี
รายละเอียด ดังนี้

.1.1. การทดลองชนิดและถิ่นกาเนิด (Species and Provenance Trials)

การทดลองชนิดของพันธุ์ไม้ป่ามีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกหาชนิดไม้ที่มีอัตราการรอด
ตาย (survival rate) และอัตราการเติบโตดีอยู่ในเกณฑ์สูงมาใช้ในการปลูกสร้างสวนป่า โดยทา
การทดลองปลูกไม้หลายๆ ชนิดที่คาดว่าน่าจะขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่กาหนด เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ
อัตราการรอดตายและการเติบโต ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ เช่น การทดสอบพันธุ์
ไม้ท้องถิ่น เช่น สัก สน ยาง เต็ง รัง สาหรับเป็น ไม้ท่อนและไม้แปรรูป การทดสอบพันธุ์ไม้ใน
40 | การปลูกสร้างสวนป่า
สกุ ล Eucalyptus และ ไม้ ใ นสกุ ล Acacia เพื่ อ เป็ น วั ต ถุ ดิ บ ส าหรั บ เยื่ อ กระดาษและ
อุตสาหกรรมต่างๆ การทดสอบพัน ธุ์ไม้ ในสกุล Eucalyptus ไม้ในสกุล Acacia และ กระถิน
ยักษ์ เชื้อเพลิง (fuelwood) และเชื้อเพลิงชีวมวล (biomass fuel) เป็นต้น ในการทดสอบชนิด
จาเป็นต้องมีขั้นตอนต่างๆ เช่น การวางแผนการทดลอง (experimental design) ให้สอดคล้อง
กับสภาพพื้นที่ และวัตถุประสงค์ของการใช้ป ระโยชน์ไม้ การกาหนดแผนงานในการจัดการ
แปลงทดลอง และการด าเนิ น งานตามแผนงาน เป็ น ต้น ทั้ งนี้ การเลื อ กชนิ ดไม้ที่ เหมาะสม
นอกจากจะพิจารณาจากการปรับตัวและการเติบโตของไม้แต่ละชนิดให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และจากวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์แล้ว อาจต้องคานึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจร่วมด้วยเช่นกัน
การทดสอบถิ่นกาเนิดโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแหล่งเมล็ดซึ่ งเมื่อนามาปลูก
แล้ ว ได้ ผ ลดี ที่ สุ ด ทั้ งในด้านปริ ม าณและคุ ณ ภาพ เพื่ อ ใช้ถิ่ น กาเนิ ด ที่ คั ดเลื อ กไว้ส าหรับ การ
ปรับปรุงพันธุ์ต่อไป เพื่อจัดสร้างแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์จากถิ่นกาเนิดที่คัดเลือกไว้แล้วสาหรับใช้ใน
การปลู กสวนป่ าหรื อปลู กฟื้ น ฟู ป่ า และเพื่ อเป็ น การอนุ รัก ษ์พั น ธุกรรมไม้จากแหล่ งที่ ดีและ
เหมาะสมไว้ เพื่ อ ประโยชน์ ในอนาคตต่ อ ไป ในการทดสอบถิ่ น ก าเนิ ด จ าเป็ น ต้ อ งก าหนด
วัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เช่น เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเติบโต ผลผลิตในรูปของสวนป่า รูปทรง
ลาต้น หรือคุณลักษณะในการอนุรักษ์ เป็นต้น และในบางครั้งการทดสอบถิ่นกาเนิดของไม้บ าง
ชนิดอาจมีหลายการทดลองเพื่อคัดเลือกถิ่นกาเนิด (Sumantakul, 2003) ในการศึกษาทดลอง
ชนิ ด และถิ่ น ก าเนิ ด ของพั น ธุ์ ไ ม้ ป่ า โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การน าไม้ ต่ า งถิ่ น เข้ า มาปลู ก เพื่ อ
วัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง สามารถรวมขั้นตอนการทดสอบชนิดและถิ่นกาเนิดไม้ไว้ใน
การทดลองเดียวกันก็ได้ เพื่อให้ได้ชนิดไม้และแหล่งเมล็ดที่เหมาะสมที่จะนามาปลูกสร้างสวนป่า
หรือทาการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
ในประเทศไทยงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบชนิดไม้ได้เริ่มต้นในสมัยที่มีการก่อตั้งสถานี
วนกรรมในพื้ น ที่ ต่ า งๆ ของกรมป่ า ไม้ ในปี พ.ศ. 2458 ซึ่ ง มี ก ารทดลองปลู ก พรรณไม้
ต่างประเทศหลายชนิด ในขณะที่การทดลองถิ่นกาเนิดได้เริ่มทาการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2508
โดยกรมป่าไม้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเดนมาร์ก ในด้านผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือ และ
ในช่วงแรกได้เน้นการทดลองเกี่ยวกับไม้สักและไม้สนเป็นหลัก (Sumantakul, 2003) ต่อมาใน
ปี พ.ศ. 2528 กรมป่ าไม้ ได้ ร่ วมมื อกั บ Australian Centre for International Agricultural Research
(ACIAR) และ Commonwealth Scientific and Industrial Research Organization (CSIRO) ท า
การทดลองชนิ ด และถิ่น กาเนิ ดไม้ จากประเทศออสเตรเลี ย มีวัตถุป ระสงค์เพื่อหาชนิดไม้ ที่
เหมาะสมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ไม้แปรรูป และวัตถุดิบ สาหรับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยทดลอง
ปลูกพันธุ์ไม้ในสกุล Eucalyptus, Acacia, Casuarina และสกุลอื่นๆ รวม 23 ชนิด จาก 38
ถิ่นกาเนิดในท้องที่ต่างๆ ของประเทศไทย ทาให้ทราบชนิดและถิ่นกาเนิดไม้ที่เหมาะสมสาหรับ
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 41

การปลู กสวนป่ าในประเทศไทย (บุ ญ ชุบ และคณะ, 2540) และไม้บางชนิ ดได้นามาทาการ


ศึ ก ษาในด้ านการปรั บ ปรุ งพั น ธุ์ไม้ ป่ าอย่ างต่ อ เนื่ อ งจนถึ งปั จ จุ บั น เช่ น Acacia mangium,
A. auriculiformis, A. crassicarpa, Eucalyptus camaldulensis และ E. deglupta, เป็ น ต้ น
(วิฑูรย์, 2553)

.1.1. การทดสอบทางพันธุกรรม (Genetic Test)

การทดสอบทางพั น ธุ ก รรม (genetic test) เป็ น การทดลองเพื่ อ วิ เคราะห์ ค่ า ทาง


พันธุกรรมต่างๆ เพื่อการคัดเลือกขั้นต่อๆ ไป ในการะบวนการปรับปรุงพันธุ์ เช่น การถ่ายทอด
ทางพันธุกรรม (heritability) ผลผลิตทางพันธุกรรม (genetic gain) เป็นต้น การทดสอบทาง
พันธุกรรมจาเป็นต้องมีการวางแผนการทดลองเพื่อใช้สาหรับวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลทาง
สถิ ติ นอกจากนี้ ยั งมี การใช้ เทคโนโลยี ชีว ภาพ (biotechnology) และพั น ธุศ าสตร์โมเลกุ ล
(molecular genetic) เพื่อช่วยประเมินเพื่อให้เกิดความแม่นยามากยิ่งขึ้นและลดเวลาในการ
ทดลอง (FAO, 2004)
การทดสอบลู ก หลาน (progeny test) หรือ นิ ย มเรีย ก การทดสอบลู ก ไม้ เป็ น การ
ทดสอบโดยการรวบรวมเมล็ ด พั น ธุ์ จ ากแหล่ งพั น ธุ ก รรมต่ างๆ ที่ มี ลั ก ษณะดี และมี ค วาม
หลากหลายทางพันธุกรรมสูง โดยเป็นการทดสอบลูกไม้จากเมล็ดพันธุ์ที่เก็บมาจากแต่ละต้น
หรือเรี ยกว่าเป็ น สายพัน ธุ์ (family) หากมาจากการถ่ายละอองเรณู แบบเปิด เรียก half-sib
family หากมาจากการถ่ายละอองเรณูแบบควบคุม เรียก full-sib family มีการคัดเลือกสาย
พัน ธุ์ที่มีลั กษณะตามที่ต้องการและตัดไม้จากสายพันธุ์ที่ไม่ต้องการออกไป เรียกว่า genetic
thinning เพื่ อ พั ฒ นาเป็ น สวนผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ ซึ่ ง มี แ ต่ ส ายพั น ธุ์ ดี ต ามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการ
ปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ ต่ อ ไป (Zobel and Talbert, 2003) นอกจากนี้ การทดสอบลู ก หลานควรมี
จานวนสายพัน ธุ์ที่ มากพอเพื่ อจะได้เป็ น ฐานพัน ธุกรรมในการปรับ ปรุงพัน ธุ์ต่ อไป ที่ผ่ านมา
ประเทศไทยได้มีการทดสอบลูกหลานของพันธุ์ไม้ต่างๆ เช่น ยูคาลิปตัส (รัตนะ และ วิฑูรย์, 2540;
ทิพวรรณ และสาพิศ, 2554) และอะเคเซีย (วิฑูรย์ และคณะ 2543; สาพิศ; 2545) เป็นต้น
การทดสอบสายต้น (clonal test) หรือเรียกว่า การทดสอบแม่ไม้ เป็นกิจกรรมที่ต้อง
ดาเนินการก่อนที่จะนาสายต้นพันธุ์ดีซึ่งได้จากการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศไปปลูกสร้างสวน
ป่า เนื่องจากสายต้นได้คัดเลือกจากการทดสอบสายพันธุ์ควรจะได้ไปปลูกทดสอบในพื้นที่ที่มี
สภาพแบบต่างๆ เพื่อศึกษาความแปรปรวนในการเติบโตและลักษณะที่ต้องการในพื้นที่ต่างๆ
และจาเป็ น ต้องมีการวางแผนการทดลองทางสถิติเพื่ อวิเคราะห์ ผ ลเช่นเดียวกับ การทดสอบ
ลูกหลาน เพื่อคัดเลือกสายต้นที่มีลักษณะดีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สาหรับใช้ผลิตเป็นกิ่งพันธุ์
เพื่อ การปลู กสร้ างสวนป่ าแบบสายต้น (clonal plantation) ที่ผ่ านมาประเทศไทยได้มีการ
42 | การปลูกสร้างสวนป่า
ทดสอบสายต้นของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เช่น สัก (สาโรจน์ และคณะ, 2553) ยูคาลิปตัส (รัตนะ
และวิฑูรย์, 2540) และอะเคเซีย (Diloksumpun et al., 2016) เป็นต้น
4.5 กำรขยำยพันธุ์ (Propagation)
ในการปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์ ท าให้ ไ ด้ วั ส ดุ พั น ธุ ก รรมที่ ป รั บ ปรุ ง พั น ธุ์ แ ล้ ว (genetically
improved material) ที่ทาหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่ นหนึ่ง
อาจทาได้ทั้งการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

.151. การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ (Sexual Propagation)

การขยายพัน ธุ์โดยอาศัยเพศ (sexual propagation) จากแหล่ งเมล็ดปรับปรุงพันธุ์


แล้ว (classified seed source) สามารถจาแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่
1) แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ หรือ แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed production area) อาจเป็น
แหล่ งเมล็ ดทั้งที่ เป็ น ป่ าปลู ก หรือป่ าธรรมชาติที่ มีต้น ไม้ลั กษณะดี หรือมีลั กษณะเด่นเป็ น ที่
ต้องการ หรือมีลักษณะเด่นเป็นที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ มีการตัดต้นไม้
ที่มีลั กษณะที่ไม่ต้องการออก (genetic thinning) และมีการจัดการเพื่อผลิ ตเมล็ ดให้ ได้ตาม
วัตถุประสงค์
2) สวนเมล็ดพันธุ์ หรือสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed orchard) ซึ่งเป็นแหล่งเมล็ดที่ปลูก
ขึ้นด้วยต้นไม้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมดีที่ได้การคัดเลือก หรือการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า และมี
การจัดการเพื่อผลิตเมล็ดให้ได้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถจาแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
 สวนเมล็ดพันธุ์จากเมล็ด (seedling seed orchard) ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้เมล็ด
จากแม่ไม้พันธุ์ดี มีการทดสอบลูกหลาน (progeny test) เพื่อให้ได้สายพันธุ์
(family) ทีด่ ีและมีการตัดต้นไม้ลักษณะไม่ดีออกเหลือไว้แต่ต้นไม้ที่มีลักษณะดี
(genetic thinning)
 สวนเมล็ดพันธุ์จากการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (clonal seed orchard)
ซึง่ สร้างขึ้นด้วยการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ เช่น การต่อกิ่ง การปักชา การ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศอื่นๆ จากแม่ไม้พันธุ์ดี
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเมล็ดประเภทต่างๆ จะนาเสนอในบทที่ 3
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 43

4.5.2 การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (Vegetative Propagation)

การขยายพั น ธุ์โดยไม่ อ าศั ย เพศ สามารถท าได้ ห ลายวิ ธีโดยอาศั ย กิ่ งพั น ธุ์จ ากสวน
ขยายพันธุ์ (multiplication garden) หรือสวนผลิตกิ่งพันธุ์ (hedge orchard) โดยทั่วไปการ
ปลู กสร้ างสวนป่ า เศรษฐกิ จ นิ ย มใช้ การขยายพัน ธุ์โดยไม่อ าศัย เพศจากสายต้น ที่ ได้ จากการ
ทดสอบสายต้น ซึ่งสามารถรักษาลักษณะทางพันธุกรรม (genetic makeup) ที่ดีเด่นของต้น
เดิมไว้ได้ทุกประการไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ในปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้าน
การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ เช่น การปักชา การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทาได้
ง่าย และต้นทุนไม่สูงนัก (บทที่ 4 นาเสนอรายละเอียดการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ) สิ่งสาคัญ
ในการผลิตกล้ าพันธุ์ดีโดยไม่อาศัย เพศ คือการจัดการและดูแลสวนผลิตกิ่งพันธุ์ เช่น การให้
ปริมาณน้าอย่างเพียงพอ การให้ปุ๋ยและฮอร์โมนเป็นระยะ ตลอดจนมีระยะพักตอที่เหมาะสม
(dormancy period) เพื่อให้ต้นตอมีสุขภาพสมบูรณ์ ในปัจจุบัน การสร้างสวนผลิตกิ่งพันธุ์ทา
ได้หลายรูปแบบ เช่น สวนผลิตกิ่งพันธุ์แบบทั่ วไป (common hedge orchard) เป็นการปลูก
เป็นแถวระยะระหว่างต้นแคบ แต่ระยะระหว่างแถวกว้างเพื่อสะดวกในการทางาน นิยมใช้กับ
สวนผลิ ต กิ่ ง พั น ธุ์ ยู ค าลิ ป ตั ส ส าหรั บ ผลิ ต กล้ า เพื่ อ การค้ า สวนผลิ ต กิ่ งพั น ธุ์ ป ลู ก ในกระถาง
(potted seed orchard) นิยมใช้กับสวนผลิตกิ่งพันธุ์สักจากการติดตา และสวนผลิตกิ่งพันธุ์ที่
ปลูกปลูกในสารละลาย (hydroponics) นิยมใช้สาหรับการผลิตกล้าที่มีปริมาณไม่มาก
การปลูกสร้างสวนป่าไม้เศรษฐกิจในปัจจุบันนิยมปลูกด้วยกล้าจากการขยายพันธุ์โดยไม่
อาศัยเพศจากสายต้น (clone) ที่ผ่านการทดสอบ สาพิศ (2560) ได้เสนอแนะสายต้นยูคาลิปตัส
พันธุ์ดีที่นิยมเพื่อการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจไม้โตเร็ว ดังนี้
• ต้นกระดาษสวนกิตติ เป็นกล้ายูคาลิปตัสพันธุ์ดีจากกลุ่มบริษัทสวนกิตติ เช่น สาย
ต้น K58 สาหรับปลูกในสภาพพื้นที่ปกติทั่วไป สายต้น K7 สาหรับปลูกในพื้นที่ราบ
ลุ่ม และสายต้น K62 สาหรับปลูกในพื้นที่แล้งเลือก
• ยูคาเอสซีจี เป็นกล้ายูคาลิปตัสพันธุ์ดี จากบริษัทในเครือเอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCG
Packaging Group) มีส ายต้น H22, H26 และ H28 ที่เหมาะสมส าหรับปลู กใน
พื้นทีช่ ื้น และสายต้น P6, H4 และ H32 ที่เหมาะสมสาหรับปลูกในพื้นที่แล้ง
• ต้น กระดาษสยามทรี เป็ น กล้ายู คาลิปตัสพันธุ์ดี จากบริษัท สยามทรีดีเวลลอป
เม้น ต์ มี ส ายต้น D11 ที่เหมาะสมกับพื้นที่ลุ่ มน้าไม่ท่วมขัง และสายต้น D12 ที่
เหมาะสมกับพื้นที่ราบและที่ลาดเชิงเขา
44 | การปลูกสร้างสวนป่า
นอกจากนี้ กรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีพัฒนาไม้เศรษฐกิจพันธุ์ดีทั้งในเชิงวิชาการ
ปรับปรุงพันธุ์ ไม้ป่าและในเชิงผลผลิต ของพันธุ์ไม้ที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ สัก ยูคา
ลิ ป ตั ส และอะเคเซี ย มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง (วิ ฑู ร ย์ , 2553) ในปั จ จุ บั น กรมป่ า ไม้ มี แ หล่ ง วั ส ดุ
พันธุกรรมดีทั้งในรูปของสายต้นพันธุ์ดีของสัก ยูคาลิปตัส และอะเคเซีย สาหรับผลิตกล้าไม้โดย
ไม่ อ าศั ย เพศ และแหล่ งผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ดี ของไม้ ท้ อ งถิ่ น และไม้ ต่ างถิ่ น ครอบคลุ ม เนื้ อ ที่ กว่ า
10,430 ไร่ ส าหรั บ ผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ ดี เป็ น จ านวนมากรองรั บ การปลู ก ป่ า ในเชิ ง พาณิ ช ย์ ได้
(สานักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้, 2557)
อย่างไรก็ตาม การปลูกสร้างสวนป่าเชิงเดี่ยว (monoculture) ในพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วย
สายต้น อาจมีความเสี่ยงต่อ ความเสียหายอย่างร้ายแรง (catastrophic loss) ที่เกิดจากการ
ระบาดของโรคและแมลงเป็นวงกว้าง หากสายต้นที่ปลูก มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกัน
ดังนั้น จึงควรเลือกปลูกหลายๆ สายต้น และให้แต่ละสายต้นมีความแตกต่างทางพันธุกรรมเพื่อ
ช่วยลดความเสี่ย ง หากรอบตัดฟัน ยาว ควรเพิ่มจานวนสายต้นที่ใช้มากขึ้น นอกจากนี้ ควร
เลือกใช้รูปแบบการปลูกเพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคและแมลง เช่น การปลูกแบบ
สุ่ม (random clone planting) ป้องกันการระบาดของโรคและแมลง แต่จัดการค่อนข้างยาก
เพราะไม่สม่าเสมอ การปลูกแบบบล็อก (block planting) ซึ่งปลูกเป็นบล็อกของแต่ละสายต้น
ทาให้ มีความสม่าเสมอในแต่ละบล็อก การดูแลและจัดการทาได้ง่ายกว่า และการปลู กแบบ
Mosaic (mosaic planting) มีพื้นที่ที่เป็น buffer zone สาหรับการอนุรักษ์ส่วนใหญ่เป็นป่า
ธรรมชาติ หรือป่าปลูกไม้พื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
4.6 กำรคุ้มครองพันธุ์พืช (Protection of plant varieties)
พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อส่งเสริมและสร้าง
แรงจูงใจ ให้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆ ด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย โดย
ในการปรับ ปรุงพันธุ์พืช หากเกิดพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งมีลักษณะ 1) มีความสม่าเสมอของลักษณะ
ประจ าพั น ธุ์ (uniformity) 2) มี ค วามคงตั ว ของลั ก ษณะประจาพั น ธุ์ (stability) 3) มี ค วาม
แตกต่างจากพัน ธุ์อื่น อย่างเด่นชัด (distinctness) 4) ชื่อที่เหมาะสม ถูกต้องตามกฎระเบียบ
(denomination) และ 5) ไม่มีการจาหน่าย จ่ายแจก เกินกว่า 1 ปี (novelty) สามารถนามา
จดทะเบียนเพื่อคุ้มครองพันธุ์ตามกฎหมายได้ โดยชนิดพืชที่ได้รับการประกาศกาหนดให้เป็น
พันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับการคุ้มครอง มีจานวน 62 รายการ รวมทั้ง กลุ่มพืชที่ให้เนื้อไม้ 5 รายการ
ได้แก่ ยางพารา ยูคาลิปตัส อะเคเซีย กระถินณรงค์ และสัก (กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการ
เกษตร, 2549) สาหรับขั้นตอนการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ดังแสดงในภาพที่ 2.4 ที่
ผ่านมามีบริษัทเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ในกลุ่ม
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 45

พืชที่ให้เนื้อไม้แล้วจานวนไม่น้อยตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เช่น ยูคาลิปตัส สายต้น เค 58 เค7 เค62


G2 โดยบริษัท ยูคาลิปตัส เทคโนโลยี จากัด และกระถินณรงค์ สายต้น ปม 2-1 ถึง ปม 2-6
โดยกรมป่าไม้ เป็นต้น (สานักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร, 2560) ทั้งนี้ ผู้ได้รับการจด
ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือเรียกว่า ผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวใน
การผลิต ขาย หรือจ าหน่ ายด้วยประการใด น าเข้ามาในราชอาณาจักร ส่ งออกนอกราชอาณาจักร
หรือมีไว้เพื่อกระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่

ภาพที่ 2.3 ขั้นตอนการจะทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ของสานักคุ้มครองพันธุ์พืช


กรมวิชาการเกษตร
5. สรุป (Conclusion)
การพั ฒ นาพั น ธุ์ ไม้ ป่ า ให้ เป็ น ไม้ เศรษฐกิ จ จ าเป็ น ต้ อ งเข้ าใจความหลากหลายทาง
พันธุกรรมและศึกษาการกระจายพันธุ์ของไม้ป่าเพื่อใช้แหล่งพันธุกรรมที่มีความหลากหลาย
และนาไปปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของพันธุ์ไม้ป่า ให้ตอบ
วัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยความสาเร็จของการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ ทักษะ และ
ความชานาญในการคัดพันธุ์ไม้ป่า ควบคู่กับการใช้หลักวนวัฒนวิธีที่เหมาะสม หลักการสาคัญ
ของการกาหนดกลยุทธและกิจกรรมต่างๆ ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์จาเป็นต้องมีแนวคิดใน
การจัดการเพื่อรักษาฐานพันธุกรรมให้กว้าง และหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์ในพวกเดียวกันหรือ
กลุ่มที่มีพื้นฐานทางพันธุกรรมใกล้ชิดกัน นอกจากนี้ ในการนากล้าพันธุ์ดีจากการปรับปรุงพันธุ์
ไปปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกสร้างสวนป่าเชิงเดี่ยวในพื้นที่ขนาด
ใหญ่ด้วยสายต้น จาเป็นต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรค
และแมลง
46 | การปลูกสร้างสวนป่า
6. เอกสำรอ้ำงอิง
กรมป่าไม้. 2556. องค์ความรู้ไม้สัก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
กรมป่าไม้. 2560. ข้อมูลสถิติกรมป่าไม้ 2559. ที่มา: http://forestinfo.forest.go.th/
Content.aspx?id=10325, 31 กรกฎาคม 2560.
กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร. 2549. คาแนะนาและคู่มือ: การจดทะเบียน
คุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ การขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช การรับรองพันธุ์พืช. กรมวิชาการเกษตร,
กรุงเทพฯ.
คณะวนศาสตร์. 2554. คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สาหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการ
พัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
ทิพวรรณ สังข์ทอง และ สาพิศ ดิลกสัมพันธ์. 2554. การแปรผันของลักษณะทางสรีรวิทยา
ของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส สายพันธุ์ต่างๆ. วารสารวนศาสตร์ 30 (3): 1-12.
บุญชุบ บุญทวี, ประวิตต์ จิตต์จานง และวิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง. 2540. การคัดเลือกชนิด
พันธุ์และการทดสอบถิ่นกาเนิดไม้ออสเตรเลียเพื่อปลูกในประเทศไทย. เอกสารเผยแพร่
ส่วนวนวัฒนิจัย สานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ.
รัตนะ ไทยงาม และวิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง. 2540. ผลการทดสอบสายพันธุ์ไม้ Eucalyptus
urophylla, น. 172-179. ใน รวมผลงานวิจัยทางวนวัฒนวิทยา 2540. ส่วนวนวัฒนวิจัย
สานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
วิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง, สุรชัย ปราณศิลป์, พรศักดิ์ มีแก้ว และ คงศักดิ์ ภิญโญภูษาฤกษ์.
2543. ลักษณะสายพันธุ์รุ่นที่สองของการปรับปรุงพันธุ์ไม้กระถินณรงค์.
วารสารวิชาการป่าไม้ 2 (1): 1-15.
วิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง. 2553. การปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า. การจัดการองค์ความรู้ด้านวนวัฒน
วิจัย ปี พ.ศ.2553. สานักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
วิฑูรย์ เหลืองวิริยะแสง. 2556. การปรับปรุงพันธุ์ไม้เศรษฐกิจโตเร็ว. สานักวิจัยและพัฒนาการ
ป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล, ประสิทธิ์ เพียรอนุรักษ์ และจานรรจ์ เพียรอนุรักษ์. 2553. การวิจัย
และพัฒนาพันธุ์ไม้สักเพื่อการปลูกสร้างสวนป่าเชิงพาณิชย์. ใน การสัมมนาทางวนวัฒน
วิทยา ครั้งที่ 9 “วนวัฒนวิทยา: การฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดาริฝ่าวิกฤต
สิ่งแวดล้อม”, วันที่ 21-22 มิถุนายน 2555. สานักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้
และ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สาพิศ ดิลกสัมพันธ์. 2560. กล้ายูคาลิปตัสพันธุ์ดีสาหรับปลูกสวนไม้เศรษฐกิจสร้างรายได้.
นิตยสารไม่ลองไม่รู้ 192: 69-71.
บทที่ 2 แหล่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ปา่ | 47

สาพิศ ร้อยอาแพง. 2545. การเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของลูกผสมไม้กระถิน


ณรงค์และไม้กระถินเทพา, น. 370-382. ใน รายงานการประชุมทางวนวัฒนวิทยา ครั้ง
ที่ 7. 12-14 ธันวาคม 2545. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ. 2550. แนวทางการพัฒนาแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า. สานักวิจัยและ
พัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สานักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร. 2560. รายการพันธุ์พืชได้หนังสือสาคัญแสดงการ
จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่. แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th/pvp/index.php?
option=com_content&view=article&id=190&Itemid=125, 7 กรกฎาคม
2560.
สานักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้. 2557. การพัฒนาไม้สายพันธุ์ดีเพื่อส่งเสริมการ
ปลูกป่า. เอกสารเผยแพร่. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
Changtraggon, S., P. Ongprasert, S. Tangmitcharoen, S. Diloksumpun, V.
Lungviriyasaeng, P. Sornsathapornkul and S. Pattanakiat. 2012. Country
Report on Forest Genetic Resources of Thailand. Department of National
Park, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok.
Cotterill, P.P. and C.A. Dean. 1990. Successful Tree Breeding with Index
Selection. CSIRO, Melbourne, Australia.
Cotterill, P., Dean, C., Cameron, J. and M. Brindbergs. 1998. A new strategy for
rapid improvement under clonal forestry in breeding tropical trees, pp
39-51. In G.L. Gibson, A.R. Griffin, A.C. Matheson, eds. Proceedings of the
IUFRO Conference, Pattaya, Thailand, November 1998, Oxford Forestry
Institute.
Diloksumpun, S., J. Wongprom and S. A-Kakhun. 2016. Growth and phyllode
functional traits of Acacia hybrid clones planted on a post mining
rehabilitation site in southern Thailand, pp. 103-118. In J.C. Fernandez, D.
Wulandari and E. K. Damayanti, eds. Proceedings of the SEAMEO
BIOTROP Second International Conference on Tropical Biology
“Ecological Restoration in Southeast Asia: Challenges, Gains and Future
Directions”. 12-13 October 2015. SEAMEO BIOTROP. Bogor, Indonesia.
Eldridge, K., Davidson, J., Harwood, C. and G. van Wyk. 1993. Eucalypt
Domestication and Breeding. Oxford: Clarendon Press.
48 | การปลูกสร้างสวนป่า
Eldridge, K. 1995. Breeding plan for Eucalyptus camaldulensis in Thailand;
1995 Revision. Report prepared for CSIRO Division of Forestry, Canberra.
FAO. 2001. Global Forest Resources Assessment 2000 – Main Report. FAO
Forestry Paper No. 140. Rome, Italy.
FAO. 2004. Preliminary Review of Biotechnology in Forestry, Including Genetic
Modification. Forest Genetic Resources Working Paper FGR/59E. Forest
Resources Development Service, Forest Resources Division, Rome, Italy.
FAO. 2010. Global Forest Resources Assessment 2010: Main report. FAO
Forestry Paper 163. Rome, Italy.
Kaosa-ard, A., V. Suangtho and E. D. Kjær. 1998. Experience from tree
improvement of teak (Tectona grandis) in Thailand. Technical Note No.
50. Danida Forest Seed Centre. Hoers Holm, Denmark.
Nambiar E.K.S. and R. Sands. 2013. Plantations for wood production with
environmental care, pp. 158–184. In Forestry in a Global Context (2nd
ed.), R. Sands, ed. CABI, Wallingford, United Kingdom
Namkoong, G., Barnes, R.D. and J. Burley. 1990. A Philosophy of Breeding
Strategy for Tropical Forest Trees. Tropical Forestry Paper 16.
Commonwealth Forestry. Institute, Oxford.
Pinyopusarerk, K. and A. Kalinganire. 2003. Domestication of Chukrasia. ACIAR
Monograph No. 98.
Sumantakul, V. 2003. Status of forest genetic resources conservation and
management in Thailand, pp. 265-301. In T. Luoma-aho, L. T. Hong, V.
Rao Ramanatha and H. C. Sim, eds. Proceedings of the Asia Pacific Forest
Genetic Resources Program (APFORGEN) Inception Workshop. 15-18 July
2003, Kepong, Malaysia. IPGRIAPO, Serdang, Malaysia.
White, T.L. 1987. A conceptual framework for tree improvement programs.
New Forest 4: 325-342.
Zobel, B.J. and J. Talbert. 2003. Applied Forest Tree Improvement. The
Blackburn Press. Caldwell.
บทที่ 3
เมล็ดพันธุ์ไม้ป่ำ
Forest Tree Seeds

สมพร แม่ลิ่ม

1. บทนำ (Introduction)
ปัจจุบันแหล่งเมล็ดไม้ตามธรรมชาติ (Unclassified seed source)เริ่มลดน้อยลงทุกที
ที่ ใช้ กั น อยู่ ในประเทศ ผู้ ท าการปลู ก ป่ าจึ งต้ อ งประสบปั ญ หาในเรื่อ งการจั ด หาเมล็ ด ไม้ ที่ มี
คุณภาพทั้งปริมาณ และคุณภาพ (ทางด้านสายพันธุ์ และทางด้านสรีรวิทยา) อีกทั้งปริมาณ
เมล็ดที่เพียงพอที่จะใช้ในการผลิตกล้าไม้ในแต่ละปี การใช้เมล็ดที่มีคุณภาพดีโดยเฉพาะจาก
แหล่งที่ได้ทาการทดสอบแล้ว (certified seed source) ย่อมส่งผลไปถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ
อีกด้วย
ในทางปฏิบัติมีปัญหาการขาดแคลนแหล่งเมล็ดไม้ในประเทศไทยที่มีคุณภาพ ผู้ทาการ
ปลูกป่าจึงต้องพยายามเก็บรวบรวมเมล็ดจากแหล่งต่างๆ ให้ได้ปริมาณเพียงพอโดยมิได้คานึงถึง
คุณภาพ ซึ่งไม่มีหลักประกันว่า สวนป่าที่ปลูกขึ้นมานั้นจะดีหรือเลวอย่างไร การปลูกป่าแต่ละ
ครั้งนั้นต้องมีการลงทุนลงแรงและยั งต้องใช้เวลาในการเติบโตอันยาวนานอีกด้วย การพิจารณา
ใช้เมล็ดที่มีคุณภาพย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ดี และผลที่สุดก็คุ้มกับการลงทุนและเวลาที่เสียไป การ
ปลูกป่าไปตามยถากรรมโดยไม่รู้แหล่งที่มาของเมล็ดนั้นไม่สามารถคาดได้ว่าผลจะออกมาในรูป
ใดซึ่งเราไม่อาจเลี่ยงได้ ดังนั้ นก่อนที่จะทาการปลูกป่าแต่ละครั้งควรได้ทาการศึกษาและมีการ
วางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น การเพิ่มอัตราการเติบโตหรือคุณภาพของต้นไม้ โดยการปรับปรุงพันธุ์
ย่อมส่งผลให้มผี ลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นกล้าไม้ที่จะนาไปปลูกซึ่งได้มาจากแหล่งที่
ดีควรจะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรก นอกจากคุณภาพของเมล็ดทางด้านสายพันธุ์แล้ว
คุณภาพของเมล็ดทางด้านสรีรวิทยาก็มีความสาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เมื่อมีเมล็ดที่มีการ
ปรับ ปรุงทางสายพัน ธุ์แล้ ว ผู้มีห น้ าที่ในการเก็บเมล็ ดและเตรียมกล้ าไม้ก็ต้องมีความรู้ความ
เข้าใจในการปฏิบัติต่อเมล็ด (seed processing) อย่างถูกวิธี เมล็ดไม้เป็นสิ่งที่มีชีวิตและมีความ
เสื่อม การปฏิบัติต่อเมล็ดอย่างถูกวิธีมีผลทาให้เมล็ดมีความเสื่อมช้าลง กล้าไม้ที่ผลิตได้ก็มีความ
50 | การปลูกสร้างสวนป่า
แข็งแรงและมีปริมาณมากพอตามที่ได้คาดหมายเอาไว้ รวมทั้งมีการตั้งตัวหลังการปลูกในพื้นที่
ได้เร็วขึ้น
2. กำรจัดหำเมล็ดไม้ (Seed Procurement)
การจัดหาเมล็ดเป็นปัจจัยสาคัญอันดับแรกของการปลูกป่า การกาหนดชนิดไม้สาหรับผู้
ปลูกนั้นมักจะถูกกาหนดจากหน่วยงานราชการเช่น กรมป่าไม้ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ต้องมีการศึกษาทดลองควบคู่ไปกับการพิจารณาด้านการตลาด ผู้ที่ต้ องการปลูกจึงต้องมีการ
วางแผนว่าจะปลูกไม้ชนิดใด ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูกและธรรมชาติของชนิดไม้ว่า
เหมาะสมที่จะปลูกในท้องถิ่น ใดเป็น สาคัญ ลักษณะของพันธุ์ไม้ป่านั้นมีความผันแปรไปตาม
ลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (ecological differences) และการคัดเลือกตามธรรมชาติ
(natural selection) นั้ น มี ผ ลต่อ การสื บ ต่ อสายพั น ธุ์ในแต่ ล ะรุ่น (generation) ด้ วย เมื่อ ได้
ก าหนดชนิ ด ไม้ ที่ จ ะปลู ก แล้ ว การคั ด เลื อ กถิ่ น ก าเนิ ด (provenance) ที่ มี ส ายพั น ธุ์ที่ มี ค วาม
เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกจึงมีความสาคัญมาก สายพันธุ์ที่ดีจะต้องมีการปรับตัวเข้ากับลักษณะทาง
ระบบนิเวศของแต่ละท้องที่ได้ดี
ในการวางแผนการเก็บ จะต้องทราบถึงความต้องการว่าเก็บเมล็ดชนิดใดบ้าง แต่ละ
ชนิดมีความต้องการมากเท่าไร เราจะเก็บเมล็ดเหล่านั้นได้จากที่ไหน คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่
คุณภาพของเมล็ดที่เก็บเป็นอย่างไร มีโรคราหรือแมลงทาลายมากน้อยแค่ไหน ในการวางแผน
นั้น สิ่งที่ควรทาอีกเรื่องหนึ่งคือการฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างสวนป่า ให้มี
ความชานาญในการเก็บเมล็ดไม้ ให้ถูกต้องตามหลักการและประหยัดค่าใช้จ่าย มีความรอบรู้ใน
แหล่งเก็บเมล็ด หรือมีความสามารถในการทาแผนที่แสดงแหล่ง เก็บเมล็ดต่างๆ และสิ่งสาคัญ
ที่สุดคือมีความสามารถในการควบคุมงานเพื่อให้การเก็บเมล็ดสาเร็จได้ตามเป้าหมาย โดยมีการ
เตรียมอุปกรณ์ในการเก็บ อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายเมล็ด เป็นต้น ในการเก็บเมล็ดจากแหล่ง
ผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ (seed production area) หรื อ จากสวนผลิ ต เมล็ ด พั น ธุ์ (seed orchard)
จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่ได้รับการอบรม และมีประสบการณ์ในการทางานเกี่ยวกับ คุณภาพ
ของเมล็ดเป็นอย่างดี เนื่องจากจาเป็น ต้องมีความระมัดระวังในการเตรียมเมล็ดหลังจากเก็บ
เมล็ ด รวมถึ ง การปฏิ บั ติ ต่ อ เมล็ ด (seed processing) และการเก็ บ รั ก ษาเมล็ ด (seed
storability) เหล่านั้นด้วย สิ่งที่ต้องคานึงถึงในการจัดหาเมล็ดไม้ประกอบด้วย
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 51

2.1 แหล่งที่จะเก็บเมล็ด (Seed Sources)


หลังจากประเมินปริมาณเมล็ดที่จะใช้ในการปลูกสร้างสวนป่า จะมีปัญหาว่าจะเก็บ
เมล็ดจากที่ไหนดี การที่จะทราบแหล่งเมล็ดจาเป็นต้องทาการสารวจไม้เป็ นชนิดๆ ไป โดยการ
คัดเลือกหมู่ไม้ และลงทะเบียนไว้ ค่าใช้จ่ายในการสารวจอาจจะสูง แต่ก็จะได้ประโยชน์จาก
คุ้มค่ากับที่ลงทุนไป
2.2 ฤดูเก็บเมล็ด (Season of Seed Collection)
หลังจากที่ทราบแหล่งเมล็ดแล้ว จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาว่าถ้าจะเก็บเมล็ดไม้ป่า
ชนิดนั้นๆ จะเก็บได้เมื่อไร การเก็บเมล็ดไม้ส่วนมาก การเก็บเมล็ดไม้ช้าจะดีกว่าการเก็บเมล็ด
เร็วกว่ากาหนดเนื่องจากการเก็บเมล็ดก่อนถึงเวลาสุกแก่ทางสรีระเต็มที่ คุณภาพของเมล็ดจะยัง
ไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งควรเก็บเมล็ดก่อนที่เมล็ดจะร่วงหล่น หรือมีการแตกกระจายของฝัก เพราะ
จะทาให้เก็บรวบรวมเมล็ดได้ยาก ดังนั้นผู้ที่ทาการเก็บเมล็ดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฤดูกาลออก
ดอก ออกผลและการพัฒนาของดอก ผล เมล็ดของไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างดี
กำรสุกแก่ของเมล็ด 2.3 )Seed Maturity(
การคัดเลือกแม่ไม้หรือหมู่ไม้ที่ดีเพื่อการเก็บเมล็ดนั้นอาจไม่มีความหมายอะไรถ้าหากว่า
ผู้เก็บ เมล็ ดไม่ส ามารถคาดการณ์ ได้อย่ างถูกต้องว่าผลหรือเมล็ ดนั้น แก่ห รือยัง จึงต้องมีการ
คาดคะเนและตรวจสอบตั้งแต่เมล็ดยังไม่แก่ ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการของดอก ผล เมล็ด
(seed ontogeny) แต่ละชนิดมีความจาเป็น เมล็ดไม้บางชนิดไม่สามารถเก็บได้ขณะที่แ ก่เต็มที่
โดยเฉพาะเมล็ ดที่มีขนาดเล็กมากๆ เช่น สมพง (Tetrameles nudiflora) เมล็ดจะร่วงหล่ น
หมดเมื่ อ แก่ เต็ ม ที่ และที่ ส าคั ญ การเก็ บ เมล็ ดที่ อ่อ นเกิ น ไปที่ ยังไม่ส ามารถงอกได้ นั้ น ก็ ไม่ มี
ประโยชน์แต่อย่างใด ดังนั้นการรู้ถึงลักษณะที่บ่งชี้ถึงการแก่ของผลหรือเมล็ด (indices) จึงเป็น
กุญแจสาคัญเพื่อการเก็บเมล็ดได้อย่างถูกต้องและประสบความสาเร็จ
3. กำรจัดกำรแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้ป่ำ (Management of Seed Sources)
การปลูกสร้างสวนป่าเป็นกิจกรรมที่ใช้ต้นทุนสูง และใช้เวลานานหลายปีก่อนที่จะได้
ผลตอบแทน จึงจาเป็ น ต้องเตรีย มการและบารุงรักษาเป็นอย่างดี ทั้งก่อนและหลั งการปลู ก
เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เร็วและคุ้มค่ากับการลงทุน เมล็ดพันธุ์เป็นองค์ประกอบที่สาคัญประการหนึ่ง
ที่อาจบ่งชี้ถึงความสาเร็จของการปลูก เมล็ดพันธุ์ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสาหรับ
การปลูกป่าในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถจัดหาเมล็ดได้ทั่วไป จัดการง่าย สามารถรองรับการ
52 | การปลูกสร้างสวนป่า
ผลิตกล้าได้ปริมาณมากได้ ที่สาคัญราคาถูกเมื่อเทียบกับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นๆ อย่างไรก็
ตาม การใช้เมล็ดปลูกป่าเพื่อหวังให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ จาเป็นต้องพิจารณาที่มาของแหล่ง
เมล็ดพันธุ์นั้นด้วย เมื่อพิจารณาคาว่า “เมล็ดพันธุ์” ซึ่งประกอบด้วยคาสองคาคือ “เมล็ด” และ
“พัน ธุ์” แสดงให้เห็ น ถึงความสาคัญของพื้น ฐานพันธุกรรมของพันธุ์เมล็ ด เนื่องจากเมล็ดทา
หน้าที่ถ่ายทอดพันธุกรรมของลักษณะจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ลักษณะต่างๆของเมล็ด ทั้ง
ทางกายภาพเช่น ขนาด น้าหนัก ความถ่วงจาเพาะ สี และทางสรีรวิทยาเช่น การสุกแก่ของ
เมล็ด ความมีชีวิต การงอก รวมทั้งลักษณะต่างๆ ของต้นไม้ เช่นการออกดอกออกผล ความ
แข็ งแรง การเติ บ โต ล้ ว นถู ก ควบคุ ม ด้ ว ยพื้ น ฐานพั น ธุก รรม หรื อ เรีย กว่ าเป็ น ลั ก ษณะทาง
พันธุกรรม (genotype) แม้ว่าบางส่วนได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมด้วยก็ตาม ดังนั้นเมล็ดที่ได้
จากแหล่งเมล็ดทั่วไปและต้นแม่ที่มีพันธุกรรมดี จึงมีโอกาสจะให้ผลผลิตมีลักษณะดีกว่าเมล็ดไม้
ที่ได้จากแหล่งเมล็ดและต้นแม่ที่มีลักษณะเลว นอกจากการเลือกเก็บเมล็ดจากแหล่งเมล็ดและ
แม่ไม้ที่มีคุณภาพแล้วการจัดการแหล่งเมล็ดและแม่ไม้เหล่านั้นให้ส ามารถออกดอกและผลิต
เมล็ดไม้ได้ตามวัตถุประสงค์ และระยะเวลาที่ต้องการจึงเป็นสิ่งสาคัญ
3.1 ปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่ำ
ปริมาณผลผลิตเมล็ดไม้ในแต่ละปีของต้นไม้ที่เติบโตเต็มที่ จะมีความผันแปรแตกต่าง
กันไปในแต่ละต้น แต่ละชนิด และหมู่ไม้ สภาพภูมิประเทศ และความยาวนานของช่วงเวลาที่ไม้
ให้ผลผลิตมาก หรือปีเมล็ดดก (seed year) ปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตเมล็ดเหล่านี้ แบ่งได้เป็น 2
ปัจจัย

.1.1. ปัจจัยภายใน (Intrinsic factors)

ปัจจัยภายใน ได้แก่
1) อายุ ที่ พ ร้ อ มออกดอกผล (reproductive age) อายุ ต้ น ไม้ ที่ เริ่ ม ผลิ ต เมล็ ด และ
จานวนปี ที่ให้ เมล็ดได้แปรผั น ตามชนิ ดไม้ เช่น ไม้กระถินยักษ์ (Leucaena leucocerhala)
และไม้สั กให้ ผ ลผลิ ตครั้ งแรกเมื่ออายุ 1.5 ปี และ 8 ปี ตามล าดั บ ส าหรับ ไม้ สั ก (Tectona
grandis) วีระพงษ์ (2543) รายงานว่า อายุของต้นไม้มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดและเปอร์เซ็นต์
การงอก โดยพบว่าเมล็ดจากต้นไม้อายุ 35 ปีขึ้นไป มีคุณภาพเมล็ดและเปอร์เซ็นต์การงอกสูง
กว่าเมล็ดที่เก็บจากต้นไม้ที่มีอายุ 10 ปี
2) ขนาดของล าต้ น และเรื อ นยอด (size of stem and canopy) ขนาดล าต้ น และ
เรือนยอดมีผลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตเมล็ด กล่าวคือ ต้นไม้ที่มีลาต้นสูงใหญ่จะผลิตเมล็ดได้
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 53

มากกว่าต้นเล็ก Eucalyptus delegatensis หรือต้นที่เรือนยอดอยู่ใต้ร่มเงา ตัวอย่างเช่น ไม้


Eucalyptus regnans และ ประมาณ 80% ของเมล็ ด ทั้ งหมดเก็บ จากไม้ที่ มี เรือนยอดเด่ น
นอกจากนี้พบว่าปัจจัยด้านความสูงมีอิทธิพลต่อผลผลิตเมล็ดน้อยกว่าขนาดของลาต้น (ประ
โชติ, 2528)
3) ช่วงเวลาการออกดอก (periodicity in flowering) การออกดอกผันแปรตามชนิดไม้
โดยทั่วไปออกดอกปีละครั้ง แต่ไม้โตเร็วบางชนิด เช่น ไม้กระถินณรงค์ (Acacia auliculiformis)
และกระถิน เทพา (Acacia mangium) ออกดอกปีละ 2 ครั้ง ทาให้ ผ ลผลิ ตเมล็ ดได้มากกว่า
สาหรับไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) บางชนิด เช่นยางนา (Dipterocarpus alatus) ออก
ดอกไม่สม่าเสมอทุกปี โดยมีช่วงที่เป็นปีที่มีผลดก (seed year) หรือปีที่มีผลน้อย (bad seed
year)

.1.1. ปัจจัยภายนอก (Extrinsic factors)

ปัจจัยภายนอก ได้แก่
1) สภาพแวดล้อม (environmental factors) พืชในป่าเขตร้อน (tropical forests)
โดยทั่วไปสามารถออกดอกติดผลได้ทุกช่วงเวลาตลอดทั้งปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่ร้อน
หรือหนาวจัดเกินไป แต่ป่าในเขตอบอุ่น (temperate forests) พืชส่วนใหญ่ออกดอกในฤดูที่มี
อากาศอบอุ่น ไม่ออกดอกหรือผลิตเมล็ ดในฤดูห นาว เนื่องจากความเย็น ทาให้ดอกผลได้รับ
อันตรายได้ (สัมพันธ์ , 2525) สภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงหรือฉับพลันก็
เป็นอันตรายต่อตาดอกและผล เช่น สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งมากสามารถทาให้ตาดอก
และดอกของไม้ยูคาลิปตัสบางชนิดร่วงหล่นจากต้นเมื่อยังมีขนาดเล็ก นอกจากนี้การที่มีพายุลม
แรงและไฟไหม้ตามพื้นป่าก็สามารถทาให้เกิดความเสียหายต่อดอกได้
2) ปัจจัยสิ่งมีชีวิต (biotic factors) สิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะสัตว์ต่างๆ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่
ทาให้ดอก ผล และเมล็ด ได้รับความเสียหาย ตัวอย่างเช่น
 นกและค้างคาว จิกแทะดอกและผลจนทาให้ดอกและผลถูกทาลาย
 หนอนผีเสื้อกินดอก (Pagida salvaris) ตัวหนอนจะกินดอกตูมของต้นสัก
 ด้ ว งน้ ามั น (Mylabris phalerata Pall) และเพลี้ ย ดู ด น้ าเลี้ ย งช่ อ ดอกสั ก
(Machaerota sp.) กัดกินและทาลายดอกและช่อดอกสัก
 หนอนผี เสื้อกิน เมล็ ดสั ก (Dichocrosis punctiferalia และ Eublemma sp.)
เจาะกินผลและเมล็ดสัก
54 | การปลูกสร้างสวนป่า

 ด้วงเจาะเมล็ด (Bruchus sp.) กินเมล็ดสีเสียดแก่น (Acacia catechu)


 หนอนผี เสื้ อเจาะยอดสน (D. sylvestrella) ท าลายผลสนสามใบ (ฉวีว รรณ,
2526)
 เพลี้ยกัดกินใบและยอดอ่อนกระถินยักษ์ (Leucaena leucocephala)
3.2 ปัจจัยและกำรปฏิบัติที่มีผลต่อกระบวนกำรทำงชีววิทยำของพืช
ลักษณะความสัมพันธ์ของปัจจัยและการปฏิบัติที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางชีววิทยา
ของพืช (biological events) มีผลต่อการพัฒ นาของพืชในระยะต่างๆ เริ่มตั้งแต่ ตาดอกเริ่ม
ปรากฏ (flower initiation) ดอกเจริ ญ พั ฒ นา (flower development) ช่ ว งการถ่ า ยเรณู
(pollination) ช่วงการผสมพันธุ์ (fertilization) และช่วงพัฒนาภายหลังการผสมพันธุ์ (post-
fertilization) การพัฒนาของพืชในแต่ละช่วงอาจเกิดกรณีปัญหาต่างๆ ขึ้นได้คือ ช่วงตาดอก
เริ่มปรากฏและขณะที่ดอกกาลั งเติบ โตเกิดปั ญ หาดอกร่วง (flower drop) ช่วงถ่ายเรณู เกิด
ปัญหาการติดผล (fruit setting) ช่วงการผสมพันธุ์และการพัฒนาภายหลังผสมพันธุ์ เกิดปัญหา
การพัฒนาเป็นเมล็ด (seed setting)
การปฏิบัติต่อพืชหรือแหล่งเมล็ดที่สามารถดาเนินการได้ในช่วงต่างๆ ของกระบวนการ
ทางชีววิทยาของพืช ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1) การใช้สารเคมี (chemical applications)
2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (physical treatment)
3) การจั ด การ (management) โดยวิ ธี ต่ า งๆ เพื่ อ ส่ ง เสริ ม การออกดอกผลและ
บารุงรักษาแหล่งเมล็ด เช่น การตัดขยายระยะ การจัดการด้านการเคลื่อนย้ายเรณู การควบคุม
ป้องกันโรคและแมลง และการป้องกันให้แหล่งมีความปลอดภัย
3.3 กำรจัดกำรเพื่อส่งเสริมกำรออกดอกผลและบำรุงรักษำแหล่งเมล็ด
นอกเหนือจากการปฏิบัติโดยใช้สารเคมีและปฏิบัติทางกายภาพแล้ว การจัดการด้วย
วิธีการต่างๆ ได้แก่ การตัดขยายระยะ การจั ดการด้านการเคลื่อนย้ายเรณู และการควบคุม
ป้องกันให้มีความปลอดภัยจากแมลงและมนุษย์ ก็สามรถช่วยป้องกั นและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่
เกิดขึ้นกับแหล่งเมล็ดและยังเป็นการบารุงรักษาแหล่งเมล็ดไปด้วยเช่น ปัญหาผลผลิตเมล็ดต่า
เนื่องจากหมู่ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นเกินไป จนเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและการออกดอกผล ปัญหา
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 55

การผสมเกสรที่ไม่เพียงพอ ( inadequate pollination) และปัญหาหมู่ไม้ได้รับอันตรายจาก


แมลงหรือมนุษย์เอง การจัดการดังกล่าวทาได้ดังต่อไปนี้

3.3.1 การตัดขยายระยะ (thinning)

การตัดขยายระยะ ถือว่าเป็นการจัดการที่สาคัญอย่างหนึ่งของการปฏิบัติต่อแหล่งเมล็ด
การตัดขยายระยะทาได้ไม่ง่ายนัก มีระเบียบขั้นตอนหลายประการ ดังนั้นควรทาความเข้ าใจให้
ชัดเจนว่าเมื่อไรควรเริ่มทาการตัด ควรตัดต้นไม้ออกเท่าไร และจะพิจารณาเลือกต้นไม้ต้นใด
ออก การตัดต้นไม้ออกจากสวนในขณะต้นไม้กาลังโตมีความจาเป็น เนื่องจากได้ประโยชน์สอง
ประการพร้อมกันคือ ลดความหนาแน่น เปิดโอกาสให้ไม้ที่เหลืออยู่พัฒนาและเติบโตได้เต็มที่
และเป็นการกาจัดต้นที่มีลักษณะไม่ดี (undesirable phenotype) ออก งานวิจัยจานวนมาก
แสดงให้เห็นถึงความสาคัญของการตัดขยายระยะที่มีต่อการเติบโต (ทศพร และชิงชัย , 2545)
และต่อผลผลิตเมล็ด (สุวรรณ และคณะ, 2542) สาหรับสวนผลิตเมล็ด การตัดขยายระยะยิ่งมี
ความสาคัญมาก เนื่องจากตามหลักวิชาการจัดสร้างสวนผลิตเมล็ด ต้องตัดต้นไม้ที่มีลักษณะไม่ดี
เหลือแต่ต้นไม้ที่มีลักษณะดีได้มีโอกาสผสมพันธุ์กัน (Rouguing)
1) การเคลื่อนย้ายเรณู (pollen transfer)
การจั ด การด้ าน ก ารเค ลื่ อน ย้ า ยเรณู (management of pollen transfer) มี
ความส าคั ญ กั บ ผลผลิ ต เมล็ ด เนื่ อ งจากไม้ ป่ า ส่ ว นมากเป็ น ไม้ ที่ ต้ อ งการการผสมข้ า ม การ
ดาเนินการเพื่อให้เกิดการผสมเกสรที่เหมาะสม หรือให้เป็นไปตามลักษณะที่ต้องการทาได้หลาย
รูปแบบ ทั้งการปฏิบัติโดยตรงกับดอก และการปฏิบัติทางอ้อมกับหมู่ไม้ เช่นการควบคุมการ
ผสมเกสร (Controlled pollination) การเพิ่มปริมาณละอองเรณู และการทาแนวกันชนเพื่อ
ป้องกันการผสมเกสรกับต้นไม้ที่ไม่ต้องการ
2) การป้องกันควบคุมแมลงศัตรูป่าไม้ (pest control)
สาหรับ แหล่งเมล็ดที่เป็ นสวนป่ า โดยเฉพาะสวนป่าที่เป็นพืชชนิดเดียว การควบคุม
ป้องกันโรคและแมลง เป็นสิ่งสาคัญ เนื่องจากโรคและแมลงอาจเกิด การระบาดที่รุนแรงและ
รวดเร็ว ได้ ทั้ งนี้ ควรกาจั ดแมลงเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะช่ว งใดของการพั ฒ นา เช่น
แมลงที่กัดกิน ใบพืช แม้จ ะไม่มีผ ลโดยตรงต่อดอกและผล แต่ทาให้ผิ วใบลดลง ส่งผลต่อการ
สังเคราะห์แสง จนในที่สุดทาให้ความสมบูรณ์ของดอกและผลลดลง
การควบคุมและป้ องกั นแมลงที่ทาอันตรายต่อ ดอก ผล และเมล็ ด มีวิธีการควบคุมได้
หลายวิธี การใช้สารเคมี การควบคุมโดยชี ววิธี และการคัดเลื อกพั นธุ์ที่ มีความต้ านทานแมลง
เป็นต้น
56 | การปลูกสร้างสวนป่า
3) การป้องกันให้แหล่งเมล็ดมีความปลอดภัย
แหล่งเมล็ดมีโอกาสถูกรบกวนหรือถูกทาลายได้จากไฟป่า การลักลอบตัดไม้ และการ
บุกรุกพื้นที่ การป้องกันอาจทาได้โดย การทาแนวกันไฟรอบพื้นที่ กว้างประมาณ 8-15 เมตร
การไปตรวจตราอย่างสม่าเสมอ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้านที่อยู่รอบพื้นที่ให้รับรู้
ถึงความสาคัญของแหล่งเมล็ด สาหรับพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชุมชนที่มีปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์ ป่า หรือคน
ในพื้นที่เข้ามาทาอันตรายหรือรบกวนต่อต้นไม้ โดยอาจจาเป็นต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพื่อทา
แนวรั้วป้องกัน (fencing) ในกรณีที่มีความจาเป็น
4. กำรเก็บ กำรปฏิบัติต่อเมล็ดหลังกำรเก็บ และกำรเก็บรักษำเมล็ด
4.1กำรเก็บเมล็ด )Seed Collection)
การเก็บเมล็ดไม้นั้นสามารถเก็บได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดไม้ ซึ่งมีลักษณะของผลที่
มี ค วามแตกต่ า งกั น ทั้ ง ลั ก ษณ ะทางกายภาพ (morphology) ลั ก ษณ ะทางสรี ร วิ ท ยา
(physiology) ปั จ จั ย เหล่ า นี้ จ ะเป็ น ตั ว ก าหนดและวิ ธี ก ารเก็ บ และปฏิ บั ติ ต่ อ เมล็ ด ส าหรั บ
แนวทางการเก็บเมล็ดไม้ในเขตร้อนมีวิธีต่างๆ ที่ใช้ดังนี้คือ

.1.1. การเก็บเมล็ดจากพื้นป่า (collection from the forest floor)

การเก็บเมล็ดที่ร่วงหล่นเองตามธรรมชาติ ใช้กับพันธุ์ไม้ที่มีผลขนาดใหญ่ และสามารถ


เก็บเมล็ดได้จากพื้นป่า เช่น ผลสัก ซ้อ และพันธุ์ไม้ตระกูลยาง เป็นต้น การเก็บเมล็ดไม้เมื่อร่วง
หล่นตามธรรมชาตินี้เสียค่าใช้จ่ายน้อย และไม่ต้องการผู้มีความชานาญแต่อย่างใด สาหรับเมล็ด
ไม้ที่มีขนาดเล็กลงมาก็อาจทาการเก็บเมล็ดได้ โดยการใช้ตะแกรงร่อนเพื่อคัดแยกเมล็ดออกจาก
วัสดุอื่นๆ เช่น ดิน เศษไม้ หรือใบไม้ออกไปได้
1) การเขย่าโดยใช้แรงคน (Tree shaking) ถ้าการร่วงหล่นตามธรรมชาติของเมล็ดไม้ที่
จะเก็บนั้นมีช่วงเวลายาวนาน การเขย่าต้นหรือกิ่งด้วยมือ หรือใช้ตะขอช่วย วิธีนี้ใช้ได้ดีกับพันธุ์
ไม้ที่มีผลหรือเมล็ดร่วงหล่นง่าย และมีเรือนยอดไม่สูงนัก
2) การเขย่าโดยใช้เครื่องมือกล เครื่องมือที่ถูกใช้ออกแบบมาโดยเฉพาะ โดยปกติแล้ ว
จะถูกใช้สาหรับการเก็บเมล็ดในสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed orchard) หรือแหล่งเก็บเมล็ดพันธุ์
(seed production area) ดังนั้นเครื่องมือจึงใช้งานได้ค่อนข้างจากัด ผู้คุมเครื่องมือต้องมีความ
ชานาญซึ่งต้องไม่ทาให้เกิดอันตรายกับต้นไม้ เครื่องมือชนิดนี้ไม่เหมาะกับเมล็ดไม้ที่มีน้าหนักเบา
และมีการแพร่กระจายได้ง่าย
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 57

3) การใช้เชือกในการเขย่า อาจทาได้โดยการขว้างเชือกหรือทาด้วยวิธีการใดๆ ให้เชือก


ขึ้นไปคล้องบนกิ่งแล้วเขย่ากิ่งด้วยเชือก เพื่อให้เมล็ดร่วงหล่นลงมาแล้วทาการเก็บจากพื้นป่า
4) การเก็บเมล็ดจากเรือนยอดของต้นไม้ที่โค่นลงมา (collection from the crown
เป็นวิธีการที่ใช้เก็บเมล็ดหลังจากการโค่นล้มต้นไม้เพื่อการทาไม้ออก เป็นวิธีการเก็บเมล็ดไม้ที่
สะดวก เก็บเมล็ดได้ปริมาณมาก และเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่วิธีการนี้ไม่ค่อยพบมากในประเทศ
ไทยโดยเฉพาะในป่าธรรมชาตินั้นปัจจุบันไม่มีการทาไม้ แต่สามารถใช้ได้กับสวนป่าที่ถึงเวลาตัด
ฟัน เช่น ไม้ยูคาลิปตัส
5) การเก็บ เมล็ ด จากเรื อนยอดของต้ น โดยไม่ ต้ องปี น (collection from standing
trees with access from the ground) การเก็บเมล็ดไม้โดยวิธีนี้สามารถใช้ได้ดีกับต้นไม้ที่ไม่
สูงมากนักและต้องมีเครื่องมือช่วย เช่น การตัดกิ่ งที่อยู่ต่าด้วยมีด เลื่อย หรือตะขอ สาหรับกิ่งที่
อยู่สูง อาจใช้บันได หรือ Platform ที่ติดอยู่กับรถยนต์หรือรถแทรคเตอร์ เพื่อทาให้ขึ้นถึงยอดที่
สูงๆได้ แต่สาหรับต้นไม้ที่สูงมากๆ และเมล็ดมีขนาดเล็ก เช่น ยูคาลิปตัส นั้นอาจใช้ปืนยิงช่อของ
ผลแล้วเก็บจากพื้น แต่วิ ธีการนี้ผู้ทาการเก็บต้องมีความชานาญ และเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงต้อง
พิจารณาวัตถุประสงค์ของการเก็บเมล็ดด้วย
6) การเก็บเมล็ดโดยการปีนขึ้นเก็บบนเรือนยอด (collection from standing trees
with access by climbing) การปีนขึ้นเก็บบนเรือนยอดนั้นควรจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการปี น
เพื่อความสะดวกและปลอดภัยสาหรับผู้ปีน ผู้ปีนต้นไม้จะต้องได้รับการฝึกการปีนต้นไม้มาแล้ว
อย่างชานาญ การปีนโดยใช้ spurs จะเป็นอันตรายกับต้นไม้ โดยเป็นอันตรายที่เปลือกและเนื้อ
ไม้ ซึ่งเป็นปัญหาสาหรับแม่ไม้ในสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ การใช้บันไดจะเหมาะสมกว่า สาหรับบัน ได
ที่จ ะใช้ปี น นั้ น มีทั้ งแบบขาเดีย วและสองขา บั นไดแบบขาเดียวที่ แยกออกเป็ นส่ วนๆ ได้นั้ น
สามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้ง่ายนามาต่อขึ้นไปได้สูง แต่ขึ้นอยู่กับจานวนของบันไดที่มีการ
ปีนโดยใช้บันไดนั้นต้องเสียเวลาติดตั้ง แต่การปีนโดยใช้เครื่องช่วยปีนนั้นจะรวดเร็วกว่ าทั้งการ
ขึ้นและลง ในการดาเนินการต้องมีการฝึกหัดและฝึกอบรมก่อนการเก็บ
4.2 กำรปฏิบัติต่อเมล็ดหลังกำรเก็บเกี่ยว (Seed Handling)
เมล็ดที่เก็บมาจากต้นแล้วต้องได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมโดยทันทีจึงจะ
ท าให้ เมล็ ด พั น ธุ์มี คุ ณ ภาพดี เพื่ อ การป้ อ งกั น การสู ญ เสี ย ความมี ชี วิต ของเมล็ ด และควบคุ ม
คุณภาพของเมล็ดในระยะหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งได้แก่ การเก็บรักษาเมล็ดชั่วคราวในพื้นที่ และ
การขนส่ ง จะต้องควบคุมปั จ จัย แวดล้ อมที่ มีผ ลต่อคุณ ภาพเมล็ ด โดยสภาพแวดล้ อมที่ต้อ ง
ควบคุมคือ
 ความชื้นที่เหมาะสม
58 | การปลูกสร้างสวนป่า

 อุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไป
 อากาศถ่ายเทได้สะดวก
 ความชื้นภายในเมล็ดหรือผล ซึ่งมาจากเนื้อเมล็ด หรือความชื้นภายในอากาศ
ล้วนมีผลต่อการเสื่อมของเมล็ด อัตราการติดเชื้อจากราและแบคทีเรีย รวมทั้ง
อัตราการหายใจและการหมักของผลและเมล็ด ในสภาพที่มีความชื้นสูงอัตรา
การหายใจจะเพิ่มสูงขึ้น ทาให้เกิดความร้อนชื้น เนื่องจากขบวนการสันดาป
ในขณะเดียวกันถ้าอากาศถ่ายเทไม่ดีพอกลับเกิดขบวนการหมักขึ้นแทนการ
หายใจ
 ความร้ อ น เมื่ อ สะสมมากขึ้ น ท าให้ ผ ลหรื อ เมล็ ด ทั้ งหมดเสื่ อ มคุ ณ ภาพไป
นอกจากนี้ยังเร่งการติดของเชื้อราและแบคทีเรียให้ เร็วขึ้นอีกด้วย ในผลสด
เช่น ซ้อ สะเดา เมล็ดสูญเสียความมีชีวิตและผลเน่าได้ง่าย จากความร้อนที่
เกิดขึ้นภายในกองของผลที่รวมกันไว้ ดังนั้นในบางครั้งจาเป็นต้องเอาเนื้อออก
เพื่อไม่ให้ผลเน่า
 อุณหภูมิ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเสื่อมของเมล็ด การสูญเสียความมี
ชี วิ ต ของเมล็ ด ขึ้ น อยู่ กั บ ชนิ ด ไม้ แ ละอุ ณ หภู มิ แ วดล้ อ ม ไม้ แ ต่ ล ะชนิ ด มี
ความสามารถทนทานต่อความร้อนในระดับที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปเมล็ดแห้ง
สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 55 ๐C แต่ถ้ามีความชื้นเป็นปัจจัยร่วมจะทาให้
ความทนต่ออุณ หภู มิล ดลง เช่น ในเมล็ ดไม้ Eucalyptus oblique ที่ ชื้น จะ
สู ญ เสี ย ความมี ชี วิต อย่ างรวดเร็ว ที่ อุ ณ หภู มิ 55 องศาเซลเซี ย ส ในขณะที่
อุ ณ หภู มิ เดี ย วกั น เมล็ ด แห้ งมี ผ ลเพี ย งเล็ ก น้ อ ยเท่ านั้ น เมล็ ด recalcitrant
สูญเสียความมีชีวิตได้ง่ายถ้าความชื้นต่า จึงไม่สามารถทนต่ออุณ หภูมิสูงได้
และเมล็ดบางชนิดสามารถทนอุณหภูมิได้ระหว่าง 20-35องศาเซลเซียส
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่มีประสิ ทธิภาพควรมีการวางแผนที่ดี ก่อนการเก็บเมล็ด
ต้องมีการเตรีย มการล่ ว งหน้ าในเรื่องของการขนส่ งเมล็ ด และการปฏิบั ติห ลั งการเก็บ เกี่ย ว
(handling) เช่น การผึ่ ง การแยกเยื่ อหรือปี ก และการเก็บรักษาเมล็ ดชั่วคราว (temporary
storage) เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างรวดเร็วและตามวิธีการที่ถูกต้อง อันจะทาให้สามารถ
รักษาคุณภาพของเมล็ดไว้ได้ สิ่งสาคัญที่สุดในการเก็บเมล็ดที่ต้องคานึงถึง คือ ความสามารถใน
การขนส่งเมล็ดและการปฏิบัติหลังการเก็บเมล็ดต้องให้สอดคล้องกับปริมาณเมล็ดที่เก็บ เพราะ
หากว่าเก็บเมล็ดเกินความสามารถแล้วจะทาให้คุณภาพของเมล็ดเสื่อมต่าลง นอกจากนี้วิธีการ
ปฏิบัติในการเก็บรักษาเมล็ดชั่วคราว และการขนส่งต้องถูกต้องและเหมาะสม
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 59

.1..1 กระบวนการเตรียมเมล็ด (Seed Processing)

กระบวนการเตรียมเมล็ดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เมล็ดสะอาด บริสุทธิ์ คุณภาพสูง ง่าย


ต่อการเก็บรักษา การขนส่ง ตลอดจนการผลิตกล้า กระบวนการเตรียมเมล็ดมีอยู่หลายขั้นตอน
ในการปฏิบัติควรเลือกดาเนินการให้สอดคล้องกับชนิด สภาพของเมล็ด และศักยภาพในการ
เก็บรักษา ดังนี้

.1.12 การแยกเมล็ด (Seed Extraction)

การคัดแยกเมล็ดมีวัตถุป ระสงค์เพื่อแยกเมล็ดออกจากผลหรือส่วนอื่นที่ติดกับเมล็ ด
โดยให้ได้ปริมาณเมล็ดมากที่สุด และมีคุณภาพทางสรีระสูงสุด การแยกเมล็ดจึงรวมถึงการเอา
เนื้อหรือเยื่อในผลสดออก การแยกเมล็ดออกจากผลของเมล็ดแห้ง และการตัดหรือตีปีกของ
เมล็ดหรือผลออก ดังนั้นในการปฏิบัติควรพิจารณาวิธีการที่ถูกต้อง เหมาะสมกับเมล็ดแต่ละ
ชนิด และเป็นวิธีการประหยัดที่สุด วิธีการแยกเมล็ดที่ไม่ถูกต้องทาให้คุณภาพของเมล็ดด้อยลง
เพื่อให้ง่ายสาหรับการปฏิบัติจะแบ่งประเภทของเมล็ดตามลักษณะต่างๆคือ
1) สภาพของเมล็ดในขณะที่เก็บ คือ การเก็บเมล็ดในระยะสุกแก่ หรือก่อนการสุกแก่
2) ชนิดของผลหรือเมล็ด คือ ชนิดของผล ผลแห้ง ผลสด
3) ผลแห้ งชนิ ด แก่ แ ตก ผลจะแตกเองเมื่ อ เมล็ ด สุ ก แก่ การแยกเมล็ ด จึ งท าได้ ง่า ย
ในขณะที่ผลแห้งชนิดแก่ไม่แตกต้องแยกเมล็ดออกโดยวิธีกล โดยในขั้นแรกอาจใช้การตากหรือ
อบเพื่อให้เมล็ดแตก จากนั้นจึงการแยกเมล็ดออกจากผลอีกครั้งโดยการตี ทุบ หรือ นวด ผล
ชนิดที่เรียกว่า Serotinous ซึ่งเป็นผลแห้งชนิดแก่ไม่แตก การแยกเมล็ดต้องอบด้วยความร้อน
สูงผลจึงแตกออก เช่น cone ของไม้สน ไม้ยูคาลิปตัส สาหรับผลสดการแยกต้องใช้แบบเปียก
คือ การแช่ในน้ าเพื่อให้ เนื้ อผลยุ่ย เปื่ อย จากนั้นอาจหมักหรือขูดเอาเนื้อออก (maceration)
จากนั้น ล้างให้ สะอาด ผลบางชนิดจะไม่ ทาการแยกเมล็ดจนกว่าจะนาไปปลูก เนื่องจากเหตุ
ผลต่างๆ เช่น ความสามารถในการเก็บรักษาด้อยลงเนื่องจากเมล็ดบางชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม หรือ
เมล็ดเกิดความเสียหายจากการแยกเมล็ด การขาดแรงงานในการแยกเมล็ด เมล็ดบางชนิดที่
ต้องการความพิถีพิถันในการแยกเมล็ด เมล็ดบางชนิดไม่จาเป็นต้องแยกเมล็ด การเพาะเมล็ดทั้ง
ผลสามารถช่วยส่งเสริมการงอกให้ดีขึ้น เช่น สัก
การผึ่ง หรือการลดความชื้นเมล็ด (seed drying) ความชื้นภายในเมล็ดเป็นปัจจัยที่มี
ความสาคัญยิ่งต่อคุณภาพและการเก็บรักษาเมล็ด ระดับความชื้นภายในเมล็ดที่เหมาะสมในการ
เก็บรักษาจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเมล็ด
60 | การปลูกสร้างสวนป่า

 เมล็ ด Orthodox เก็บ รักษาได้ ในสภาพความชื้น ในเมล็ ดต่ า ที่ค วามชื้ น 8-10%
สามารถเก็บรักษาเมล็ดได้นานไม่น้อยกว่า 1-2 ปี หากต้องการเก็บรักษาเป็นระยะ
ยาวนานกว่านั้นเมล็ดควรมีความชื้น ราว 4% ในการลดความชื้นต้องระลึกอยู่เสมอ
ว่าความชื้นและอุณหภูมิมีความสัมพันธ์กัน เมล็ดที่มีความชื้นสูงจะมีความทนทาน
ต่อความร้ อนได้น้ อ ยกว่าเมล็ ด ที่ มีค วามชื้น ต่ า การอบหรือผึ่ งเมล็ ด จึงต้องเริ่ม ที่
อุณหภูมิต่าก่อนแล้วเพิ่มสูงขึ้นในภายหลัง
 เมล็ ด Recalcitrant เก็ บ รั กษาได้ในสภาพความชื้น ในเมล็ ดสู ง ความชื้นต่ าสุ ด ที่
เมล็ดจะคงความมีชีวิตอยู่ได้แตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์พืช
4.4 กำรเก็บรักษำเมล็ด (Seed Storage)
ความมีชีวิตของเมล็ดไม้ในระหว่างเก็บรักษาจะรักษาไว้ได้ยาวนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยต่างๆ หลายอย่างและมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ซึ่งพอจะกล่าวถึงได้คือ
1) คุณภาพของเมล็ดก่อนเก็บรักษา (Initial seed quality) การเก็บรักษาเมล็ดไม้นั้น
ไม่สามารถทาให้คุณภาพของเมล็ดนั้นดีขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เมล็ด
เสื่อม (Deterioration) เพียงแต่ทาให้อัตราการเสื่อมช้าลงและทาให้ความมีชีวิตของเมล็ดยืด
ยาวออกไป เมล็ ดที่ มี คุณ ภาพดี มี ค วามเสื่ อมน้ อยย่อ มรักษาความมีชีวิต ไว้ได้ดี กว่าเมล็ ด ที่ มี
คุณภาพต่า ซึ่งคุณภาพเมล็ดมีผลมาจากปัจจัยต่างๆ
2) ลักษณะของเมล็ด (Seed characteristics) ความมีชีวิตยืนนานของเมล็ดนั้นปกติ
แล้วขึ้นอยู่กับลักษณะทางสัณฐานวิทยาชีวเคมีและสรีรวิทยาของเมล็ด เมล็ดที่มีเปลือกแข็ งและ
หนาจะเป็นตัวช่วยป้องกันอวัยวะภายในและควบคุมความชื้นได้นาน ส่วนเมล็ดที่มีเปลือกบาง
จะยอมให้ความชื้นและก๊าซซึมผ่านได้ง่าย หรือเมล็ดที่มีไขมันสูงจะมีอัตราความเสื่อมสูงด้วย
3) การสุกแก่ของเมล็ด (Seed maturity) เมล็ดที่ยังไม่แก่นอกจากจะมีการงอกไม่ดี
แล้ว ยังได้รับอันตรายได้ง่ายในขณะปฏิบัติเพื่อเตรียมเมล็ด และยังเก็บรักษาให้มีความมีชีวิตยืน
นานได้ยาก ดังนั้นในการเก็บรวบรวมเมล็ดจากต้น จึงต้องมีการคัดเลือกเก็บเมื่อเวลาที่เมล็ดสุก
แก่เต็มที่เท่านั้น ซึ่งผู้เก็บเมล็ดต้องมีความรู้ความชานาญในการเลือกเก็บ โดยมีวิธีสังเกตได้ ตาม
ชนิดของเมล็ด เช่น สังเกตจากความชื้นในเมล็ด สีของเปลือกเมล็ด สีของผลหรือปีก เมล็ดที่แก่
เต็มที่นั้นจะมีคุณภาพดีที่สุด เพราะมีความมีชีวิตสูงสุดและความเสื่อมน้อยที่สุด จึงทาให้การ
เก็บรักษาเมล็ดเป็นไปได้ง่ายขึ้น
4) การปฏิบัติต่อเมล็ดหลังการเก็บ (Seed processing) การปฏิบัติต่อเมล็ดอย่างถูก
วิ ธี นั บ ตั้ ง แต่ ก ารคั ด แยกเมล็ ด (extraction) การเอาเยื่ อ ออก (depulping) การตากเมล็ ด
(drying) และการท าความสะอาดเมล็ ด (cleaning) นั บ ว่ ามี ค วามจ าเป็ น มาก เมล็ ด ที่ ได้รั บ
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 61

อั น ตรายจากกระบวนการปฏิ บั ติ ต่ อ เมล็ ด นี้ จ ะรั ก ษาความมี ชี วิ ต ระหว่ า งเก็ บ รั ก ษาได้ ไม่ ดี


เนื่องจากเมล็ดอาจแตกร้าวหรือได้รับอันตรายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่มองไม่เห็น มีผลให้เมล็ดมี
อัตราการงอกต่า การอบหรือตากเมล็ดเพื่อลดความชื้นควรปฏิบัติอย่างถูกต้องโดยเริ่มตั้งแต่
อุณ หภู มิต่าๆ ก่อน แล้ ว ค่อ ยๆเพิ่ มอุณ หภู มิ โดยทั่ ว ไปแล้ ว ไม่ ควรใช้ อุณ หภู มิ สู งเกิน 43 ๐ C
เพราะอุณ หภูมิที่สู งเกิน ไปอาจทาให้ เมล็ ดได้รับอันตราย ระยะเวลาและความเร็วในการลด
ความชื้นก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง กระบวนการปฏิบัติต่อเมล็ดที่แตกต่างกันนั้นจะเป็นตัวชี้ถึงความ
ยืนนานของเมล็ดที่จะทาการเก็บรักษาได้
5) ความปราศจากราและแมลง (Freedom from fungi and insects) สาหรับเมล็ด
ที่ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่าและความชื้นต่า สามารถป้องกันการเจริญและการพัฒนาของเชื้อ
ราและแมลงได้ จาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเก็บเมล็ดที่ปราศจากเชื้อราหรือแมลงทาลาย แล้วมาผ่าน
ขบวนการเพื่อการจัดเตรียมเมล็ด (Seed processing) เมล็ดที่มีเชื้อราหรือแมลงทายนั้นต้องรีบ
กาจัดเสียก่อนไม่ควรนาไปเก็บรักษา เมล็ดจะถูกทาลายได้อย่างรวดเร็วจากเชื้อราและแมลงเมื่อ
ตกถึงพื้นป่า ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเก็บเมล็ดที่ร่วงหล่นอยู่บนพื้นป่า แต่จะเก็บได้ก็ต่อเมื่อ
เมล็ดหรือผลร่วงลงมาใหม่ๆ การใช้ยาฆ่าเชื้อราในระหว่างการเก็บรักษาจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อยานั้น
ไม่เป็นอันตรายต่อเมล็ด มียาฆ่าเชื้อราหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพเมื่อละลายในน้า แต่ไม่เหมาะ
สาหรับเมล็ดที่เก็บรักษาในสภาพแห้ง ส่วนแมลงเกือบทุกชนิดจะตายเมื่อตากเมล็ดที่อุณหภูมิสูง
ถึง 40-42 ๐C แต่เมล็ดที่ไม่สามารถลดความชื้นลงต่าได้ เช่น Quercus spp. มักใช้ในการอบ
หรื อ รมด้ ว ย Serafume หรื อ สารเคมี อื่ น นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารใช้ Methyl bromine และ
Carbon bisulphide สาหรับการฆ่าแมลง
6) ค ว า ม ชื้ น ใน เม ล็ ด (Seed moisture content) เม ล็ ด มี คุ ณ ส ม บั ติ เป็ น
Hygroscopic คื อ ความชื้ น ภายในเมล็ ด จะเป็ น สั ด ส่ ว นกั บ ความชื้ น ในอากาศโดยรอบ ซึ่ ง
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ความชื้นในเมล็ดเป็นปัจจัยที่สาคัญ
ต่ อ การเก็ บ รั ก ษา โดยเฉพาะเพื่ อ การเก็ บ รัก ษาเมล็ ด ไว้เป็ น ระยะเวลายาวนาน ถ้ าเมล็ ด มี
ความชื้นสู งในระหว่างการเก็บ รักษาจะทาให้ มีอัตราการหายใจสูงขึ้ นด้วย สาหรับเมล็ดไม้ที่
สามารถทนต่อการลดความชื้นลงต่าได้ เช่น เมล็ดพวก Orthodox ควรเก็บรักษาที่ความชื้นต่า
กว่า 8% ความชื้ น ภายในเมล็ ด ที่ สู งกว่ าหรือ ต่ ากว่า ค่ าความชื้ น วิ ก ฤต (Critical moisture
content) มีผลทาให้เมล็ดเสื่อมเร็วขึ้นและเป็นประโยชน์ที่เป็นตัวชี้ถึ งช่วงอุณหภูมิที่ใช้ในการ
เก็บรักษาเมล็ดที่ปลอดภัย
7) อุณหภูมิระหว่างเก็บรักษา (Storage temperature) อุณหภูมิเป็นปัจจัยสาคัญที่มี
ผลต่อความมีชีวิตของเมล็ดในระหว่างเก็บรักษาอย่างมาก เมล็ดที่เก็บรักษาในอุณหภูมิสูงย่อม
สูญเสียความชื้นเร็วกว่าเมล็ดที่เก็บรักษาที่อุณ หภูมิต่า และทาให้เมล็ดมีการหายใจเพิ่มขึ้น โดย
ปกติแล้วอุณหภูมิระหว่างการเก็บรักษามีความสัมพันธ์กับความชื้นภายในเมล็ดที่ความชื้นระดับ
62 | การปลูกสร้างสวนป่า
หนึ่ งเมื่ออุณ หภูมิระหว่างการเก็บรักษาสู งขึ้น จะทาให้เมล็ ดมีความเสื่อมเร็วขึ้น และเมื่อเก็บ
รักษาในขณะที่ความชื้นสูงจะสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิใกล้จุดเยือกแข็งได้ดีกว่าอุณหภูมิสูง
แต่ที่อุณ หภูมิสูงถึง 30 ๐C จะเป็นอันตรายกับเมล็ดน้อยกว่าเมื่อความชื้นในเมล็ดต่าเมล็ดไม้
หลายชนิดสามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิห้อง เช่น เมล็ดไม้พวกตระกูล Leguminosae เมล็ด
ไม้พวก Eucalyptus, Tilia ตลอดจนเมล็ดไม้ที่มีเปลือกแข็งอีกหลายชนิด แต่เมล็ดไม้ทุกชนิด
สามารถเก็บรักษาความมีชีวิตไว้เป็นระยะเวลานานได้เฉพาะที่อุณหภูมิต่า การเก็บรักษาเมล็ดที่
อุณหภูมิต่ามากๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากซึ่งบางครั้งอาจไม่มีความจาเป็นถ้าต้องการเก็บรักษา
เมล็ดไว้เพียงช่วงเวลาไม่นานนัก
5. กำรทดสอบเมล็ด (Seed testing)
การทดสอบเมล็ดเป็นสิ่งที่จาเป็นเพราะจะช่วยในการประเมินคุณภาพของเมล็ดต่างๆ
ก่อนที่จะนาไปปลูกสร้างสวนป่าได้ เมล็ดที่เก็บมาแล้วเพาะเลยทีเดียวไม่มีความจาเป็นในการ
ทดสอบเมล็ ด ไม้ เพราะเมล็ ด ไม้ ที่ เก็ บ มาใหม่ ๆ มั ก จะงอกได้ ดี ในกลุ่ ม เมล็ ดที่ ไม่ มี ก ารงั น
(dormancy) อีกประการหนึ่งคือเมล็ดไม้มีการขายอยู่ในวงแคบ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการซื้อขาย
กันโดยตรงจากคนเก็บเมล็ด จึงไม่มีการพิถีพิถันหรือมีความจาเป็นในการทดสอบคุณภาพของ
เมล็ดไม หรือหากมีการจัดทาก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์อะไรที่จะเป็นมาตรฐาน
จุ ด มุ่ ง หมายที่ แ ท้ จ ริ งของการทดสอบเมล็ ด ไม้ คื อ การหาข้ อ มู ล ที่ จ าเป็ น ของเมล็ ด
ตัวอย่างให้ แก่ผู้ที่ส นใจหรือผู้ ที่จ าเป็ นต้องใช้ข้อมูล เช่น ผู้ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายเมล็ด ใน
ฐานะที่เป็นพ่อค้าคนกลาง เป็นต้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานสาหรับการทดสอบเมล็ดทั่วๆ ไป จึงได้มี
การจั ด ตั้ ง องค์ ก ารระหว่ า งประเทศขึ้ น เรี ย กว่ า International Seed Testing Association
หรือเรียกย่อๆว่า ISTA
ในการออกกฏหมายสากลในการทดสอบเมล็ ดไม้ป่า ได้ระบุว่าในการใช้กฏเพื่อการ
ทดสอบเมล็ดไม้ก็เพื่อที่จะแนะนาวิธีการต่างๆ ที่จะให้การศึกษาคุณภาพของเมล็ดไม้ได้ผลดีที่สุด
ใช้เวลาน้อยที่สุด และประหยัดที่สุด ซึ่งกฏเหล่านี้เมื่อสถานีทดสอบเมล็ดไม้ในทุกส่วนของโลกใช้
ในการทดสอบจะได้ผลเหมือนกัน ค่าที่ได้จากการทดลองจะมีความสัมพันธ์กับมูลค่ามี่จะได้จาก
การปลูก กฏสากลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น การสุ่มตัวอย่าง (sampling) การหาความบริสุทธิ์
(purity analysis) การทดสอบหาอัตราการงอก (germination test) การทดสอบทางชีวเคมี
ของความมี ชี วิ ต ของเมล็ ด (biochemical test for viability) การหาความชื้ น ของเมล็ ด
(moisture determination) การหาน้ าหนั ก ของเมล็ ด (weight determination) และการ
ออกใบรับรองคุณภาพของเมล็ด (seed certifications)
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 63

การสุ่มตัวอย่าง (sampling) ปกติแล้วจะไม่สามารถทดสอบหาคุณภาพของเมล็ดไม้ได้


ทั้งหมด จึ งจ าเป็ น ต้องมีการสุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ ได้เป็นตัวแทนที่ดีที่สุ ดที่จะใช้ในการทดลอง
เมล็ดไม้ในแต่ละ seed lot จะมีคุณภาพเหมือนๆกันแต่มักจะมีความสม่าเสมอน้อย
การทดสอบความบริ สุ ท ธิ์ของเมล็ ด ตั ว อย่าง จุด มุ่ งหมายของการทดสอบหาความ
บริสุทธิ์ของเมล็ดตัวอย่าง ก็เพื่อที่จะศึกษาว่าเมล็ดตัวอย่างที่จะทดลองนั้นมีเปอร์เซ็นต์ของเมล็ด
ไม้บริสุทธิ์ (pure seed) อยู่เท่าไร มีเมล็ดไม้อื่นๆ หรือพวกสิ่งเจือปน (inert matter) ปะปนอยู่
มากน้อยแค่ไหน
การทดสอบความมีชีวิตของเมล็ด แม้ว่าการทดสอบเมล็ดโดยการหาอัตราการงอกใน
ห้องทดลองจะเป็นวิธีที่จะให้ค่าที่แท้จริงว่าเมล็ดมีความสามรถในการงอกเท่าไร แต่เมื่อสภาพ
สิ่งแวดล้อมไม่อานวยไม่เหมาะสมหรือต้องการที่จะลดเวลาในการศึกษาเมล็ดให้สั้นลง จึงได้มี
การหาวิธีการอื่นๆมาทดสอบความมีชีวิตของเมล็ดซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้ การผ่าเมล็ด (cutting
test) แช่ ใ นน้ า (flotation method) X-ray, Excised embryo technique, Plasmolysis,
Enzyme activity, Vital staining method, Dyes
การหาความชื้นของเมล็ด เป็น สิ่งจาเป็นอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเมล็ดที่ต้องทาการเก็บ
รักษาควรที่จะมีความชื้นที่พอเหมาะ ในการหาค่าความชื้นนั้น จะใช้ตู้อบ อบที่อุณหภูมิ 105 ๐C
เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
6. กำรรับรองเมล็ดไม้และกำรค้ำเมล็ด (Seed certification and trading)
ข้อมูลเมล็ดไม้เป็ นเอกสารสาคัญอย่างยิ่งสาหรับการจัดการเมล็ดไม้ รายละเอียดทุก
อย่างของเมล็ดตั้งแต่ถิ่นกาเนิด ประวัติที่มาของเมล็ด ตลอดจนศักยภาพในการแสดงออก มีค่า
อย่างยิ่งในการที่จะบอกได้ว่าเมล็ดที่ได้มามีคุณภาพ ทั้งด้านสรีระ และลักษณะพันธุกรรมดีหรือ
เลวเพียงใด ในการจัดทาระบบฐานข้อมูลเมล็ดไม้แตกต่างกันไปตามกลุ่มของผู้ใช้งานดังนี้
การจัดการเมล็ด ข้อมูลเมล็ดไม้ที่จะใช้เป็นเครื่องมือสาหรับการวางแผนงานการจัดหา
เมล็ดไม้ ข้อมูลเมล็ดไม้เกี่ยวกับแหล่งเมล็ด ผลผลิตเมล็ดไม้ ฤดูกาลในการออกดอก และรูปแบบ
ของกล้าไม้ ที่เคยบันทึกไว้จะเป็นแนวทางในการวางแผนการเก็บเมล็ดไม้ได้เป็นอย่างดี ทาให้ไม่
ต้อ งเสี ย เวลาในการส ารวจหาแหล่ งเมล็ ด นอกจากนี้ วิธีก ารจัด การเมล็ ดไม้ ที่ เคยปฏิ บั ติ ม า
สามารถนามาปรับปรุงใช้เพื่อให้ได้เมล็ดที่มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
การจัดทาระบบข้อมูลภายใน เพื่อเก็บข้อมูลเมล็ดไม้ไว้ใช้ภายในหน่วยงานในท้องถิ่นซึ่ง
มีหน่วยงานย่อยๆ รวมกันอยู่ เช่น หน่วยเก็บเมล็ดไม้ งานเพาะชา และงานปลูกป่า
64 | การปลูกสร้างสวนป่า
ผู้ใช้เมล็ด ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเมล็ดไม้และการทดสอบคุณภาพของเมล็ดจะเอื้อประโยชน์อย่าง
มากสาหรับผู้ต้องการเมล็ดไปใช้ในการปลูกป่า โดยช่วยให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจเลือกใช้เมล็ดที่
เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และตรงตามวัตถุป ระสงค์ในการปลูกป่า นอกจากนี้จะมีประโยชน์ต่อ
การแลกเปลี่ยนเมล็ด หรือซื้อขายเมล็ดในระดับชาติอีกด้วย
ความต้องการของหน่วยงาน รูปแบบและรายละเอียดข้อมูลเมล็ดไม้แตกต่างกันไปใน
แต่ละประเทศ และตามหน่วยงานของผู้ใช้ ขึ้นอยู่กับจานวน การจ่ายเมล็ด และชนิดพันธุ์ เมล็ด
ไม้ที่ต้องการใช้เพื่องานวิจัยต้องการรายละเอียดเมล็ดไม้อย่างหนึ่ง ในขณะที่เมล็ดไม้เพื่อการค้า
ต้องการรายละเอียดอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น
 กฎของศุลกากร ต้องการข้อมูลเมล็ดไม้เพื่อใช้สาหรับพิธีศุลกากรในการนาเข้าเมล็ด
ไม้ เช่น การจ่ายภาษีอากร และใบแจ้งสินค้า (invoice)
 ป้องกันโรค-แมลง ในการนาเมล็ดเข้าประเทศบางแห่งต้องการใบรับรองการปลอด
โรค-แมลง (phytosanitary certificate)
 สิทธิในการนาออก ในปัจจุบันมีเพียงบางประเทศที่มีกฎเกณฑ์ในการนาเมล็ดออก
แต่มีแนวโน้มว่าประเทศต่างๆ ให้ความสนใจในการสร้างกฎเกณฑ์เพิ่มขึ้น เนื่องจาก
ความสนใจในเรื่องสิทธิของแหล่งพันธุกรรมที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีกฎเกณฑ์ในการส่ง
เมล็ดออกให้มากยิ่งขึ้น
รู ป แบบของข้ อ มู ล เมล็ ด ไม้ จ ะแตกต่ า งกั น ไปตามผู้ ใช้ งาน หน่ ว ยงานแต่ ล ะแห่ งจะ
ออกแบบการบันทึกข้อมูลเมล็ดไม้ตามการใช้งานและระบบการจัดฐานข้อมูล
7. สรุป (Conclusion)
เมล็ดไม้ถือเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งชี้ถึงผลสาเร็จของการปลูกสร้างสวนป่า เมล็ดที่เลือกใช้ควร
เป็นเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ได้มาจากแหล่งเมล็ดที่ดี การเก็บและการปฏิบัติต่อเมล็ดอย่างถูกวิธีมีผล
ให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมช้าลง กล้าไม้ที่ผลิตได้จะมีความแข็งแรงและมีปริมาณมากพอ และการเก็บ
รักษาเมล็ดอย่างถูกต้องตามหลักวิธีย่อมสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในปีต่อๆได้
บทที่ 3 เมล็ดพันธุไ์ ม้ป่า | 65

8. เอกสำรอ้ำงอิง (References)
ฉวีวรรณ หุตะเจริญ. 2526. แมลงป่าไม้ของไทย. ฝ่ายปราบศัตรูพืชป่าไม้ กองบารุง กรมป่าไม้.
ทศพร วัชรางกูร และชิงชัย วิริยะบัญชา. 2545. การตัดสางขยายระยะและการแตกหน่อของ
สวนป่าไม้สัก I. การเติบโตของสวนป่าไม้สักในช่วงระยะเวลา 3 ปี ภายหลังการตัด
ขยายระยะ, น.83-102. ใน รายงานการประชุมวิชาการป่าไม้ ประจาปี 2545.
กรมป่าไม้.
บัณฑิต โพธิ์น้อย. 2545. คุณภาพเมล็ดไม้และการพัฒนาแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า. เอกสารเผยแพร่
ทางวนวัฒนวิทยา. ส่วนวนวัฒนวิจัย สานักวิชาการ กรมป่าไม้.
บุญชุบ บุญทวี และสุขสันต์ สายวา. 2540. การจัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้เพื่อการปลูกป่าในประเทศ
ไทย. ส่วนวนวัฒนวิจัย สานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
ประโชติ ซุ่นอื้อ. 2528. การประเมินผลผลิตของเมล็ดและระยะเวลาในการเก็บเมล็ด. การ
ฝึกอบรมหลักสูตรการจัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า ระหว่างวันที่ 10-21 มิถุนายน. ฝ่าย
ฝึกอบรม กองการเจ้าหน้าที่ กรมป่าไม้.
พิศาล วสุวาณิช. 2540. การจัดการเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า (แนวความคิดและการวางแผนเก็บเมล็ด
ไม้). ส่วนวนวัฒนวิจัย สานักวิชาการ กรมป่าไม้.
วีระพงษ์ สวงโท. 2543. อิทธิพลของอายุแม่ไม้ต่อความมีชีวิตและการงอกของเมล็ดสัก, น.
228-237. ใน รายงานวนวัฒนวิจัยประจาปี 2543. ส่วนวนวัฒนวิจัย สานักวิชาการ
กรมป่าไม้.
สัมพันธ์ คัมภิรานนท์. 2525. หลักสรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรีย์ ภูมิภมร. 2522. เมล็ดพรรณไม้ป่าในเขตร้อน. เอกสารประกอบการสอน วิชาวนวัฒน 471.
ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ ประเสริฐ สอนสถาพรกุล และสุดารัตน์ วิสุทธิเทพกุล. 2542. ผลของ
ระยะปลูก การตัดขยายระยะ การให้ปุ๋ย และการถางวัชพืชที่มีผลต่อผลผลิตเมล็ดและ
การเติบโตของไม้กระถินณรงค์อายุ 2-5 ปี. วารสารวิชาการป่าไม้ 1 (2): 113-123.
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ. 2557. แนวทางการพัฒนาแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า. สานักวิจัยและ
พัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ..
บทที่ 4
สถำนที่เพำะชำและกำรผลิตกล้ำไม้ป่ำ
Forest Tree Nursery and Seedling Production

วาทินี สวนผกา

1 บทนำ (Introduction)
การผลิ ต กล้ า ไม้ ป่ า นั บ เป็ น ปั จ จั ย ส าคั ญ ของการปลู ก สร้ า งสวนป่ า เนื่ อ งจากเป็ น
องค์ประกอบที่สาคัญที่จะทาให้การปลูกสร้างสวนป่าประสบความสาเร็จ หากการผลิตกล้าไม้ป่า
ไม่ได้รับการวางแผนการดาเนินการที่ดีแล้ว จะทาให้กล้าไม้ป่าเติบโตไม่ทันตามเวลาที่ต้องการ
ทาให้ การปลู กสร้างสวนป่ าไม่ส ามารถดาเนินไปตามเป้าหมาย หรือหากนากล้ าไม้ป่าที่ไม่ มี
คุณ ภาพไปใช้ในการปลูกสร้างสวนป่ าก็จะทาให้ การรอดตายต่าลง หรือทาให้ ต้องสิ้นเปลือง
ค่าใช้จ่ายในการปลูกซ่อม
การผลิตกล้าไม้ป่าให้มีคุณภาพต้องอาศัยความชานาญและการบารุงรักษาเป็นอย่างดี
ซึ่งจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนที่ดีตั้งแต่ การจัดหาและดูแ ลแหล่งพันธุ์ (บทที่ 2 และ
3) การขยายพันธุ์ไม้ป่า การเพาะและดูแลกล้าไม้ป่า รวมถึงการเตรียมความพร้อมของกล้าไม้ป่า
ต่อการปลูกสวนป่า โดยมีองค์ประกอบสาคัญของการผลิตกล้าไม้ป่า ต่อไปนี้
2. สถำนที่เพำะชำไม้ป่ำ (Forest Tree Nursery)
การผลิตกล้าไม้ป่านั้น จาเป็นต้องมีสถานที่เฉพาะสาหรับกิจกรรมนี้ เนื่องจากขั้นตอน
การผลิตกล้าไม้ป่าต้องการทรัพยากรที่เหมาะสมและแรงงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นต้องเลือกพื้นที่
ออกแบบ และสร้างสถานที่เพาะชาอย่างเหมาะสม ดังนี้
68 | การปลูกสร้างสวนป่า
2.1 กำรเลือกพื้นที่สร้ำงสถำนที่เพำะชำไม้ป่ำ (Forest tree nursery site
selection)
พื้ น ที่ ส าหรั บ รองรั บ การผลิ ต กล้ า ไม้ ป่ า นั้ น มี ปั จ จั ย ที่ ค วรพิ จ ารณา ได้ แ ก่ สภาพ
ภูมิ อากาศของสถานที่ เพาะช าควรใกล้ เคีย งกั บ พื้ นที่ ที่ จะน ากล้ าไม้ ป่ า ไปปลู ก น้ามี ป ริมาณ
เพียงพอและคุณภาพดี แสงอาทิตย์ส่องตลอดทั้งวัน เป็นพื้นที่ราบ เข้าถึงได้ง่าย และมีเนื้อที่
เพียงพอ มีไฟฟ้า ห่างไกลจากปัจจัยแวดล้อมที่เป็นมลพิษและอันตราย รวมถึงไม่อยู่ในพื้นที่มีข้อ
ขัดแย้งทางกฎหมาย ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มนี ้าขัง
2.2 กำรออกแบบและสร้ำงสถำนที่เพำะชำ (Forest tree nursery design
and construction)
การออกแบบสถานที่เพาะชาจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการผลิต กล้าไม้ป่า
ได้แก่ ชนิดไม้ จานวน และระยะเวลาที่ต้องการกล้าไม้ป่า และต้องพิจารณาต้นทุนและรายได้
จากการผลิตกล้าไม้ ตลอดจนเทคนิคหรือวิธีการผลิตกล้าไม้ด้วย ก่อนการก่อสร้างสถานที่เพาะ
ชา ควรมีการออกแบบสถานที่เพาะชา ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่
1) พื้นที่รองรับกล้าไม้ป่า (nursery bed) การจัดพื้นที่สาหรับวางกล้าไม้ป่าควรมีความ
กว้างน้อยกว่า 1.2 เมตร เพื่อให้สามารถเข้าถึ งกล้าไม้ป่าได้ทั่วถึง ความยาวตาม
ความเหมาะสมในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก ควรมีที่กั้นขอบสาหรับกล้าไม้ป่า
เช่น เชือก อิฐ หรือไม้ไผ่กันเป็นแนวขอบและปูพื้นด้วยอิฐบล็อก
2) ทางเดิน โดยเฉพาะทางเดินระหว่างพื้นที่รองรับกล้าไม้ป่า ควรมีความกว้างอย่าง
น้อย 0.5 เมตร
3) ระบบน้า ควรมีแท็งก์ ท่อ และก๊อกน้าให้เพียงพอ
4) ระบบการระบายน้า เพื่อป้องกันน้าขัง และการกร่อน
5) พื้นที่สาหรับกองดินและวัสดุเพาะชา หรือพื้นที่สาหรับการทาปุ๋ย
6) รั้วเพื่อป้องกันสัตว์เข้ามาในสถานที่เพาะชา
3. กำรขยำยพันธุ์ไม้ป่ำ (Forest tree propagation)
การขยายพันธุ์ไม้ป่า คือ การเพิ่มจานวนต้นทั้งโดยใช้เมล็ดที่เกิดจากการผสมเกสรเพศผู้
และเพศเมีย และการเพิ่มจานวนต้นโดยใช้ส่วนต่างๆ ของไม้ป่า ดังนั้นการขยายพันธุ์ไม้ป่าจึงทา
ได้ 2 วิธี
บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 69

3.1 กำรขยำยพันธุ์ไม้ป่ำแบบอำศัยเพศ (Sexual propagation of forest


tree)
การขยายพันธุ์ไม้ป่าแบบอาศัยเพศ เกิดจากการรวมตัวกันเซลล์เพศผู้และตัวเมีย ผ่าน
กระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เกิดเป็นเมล็ดและให้กล้าไม้ป่าที่มีจีโนไทป์ใหม่ ดังนั้นกล้าไม้
ป่ าจึ ง อาจเหมือ นพ่ อหรื อแม่ห รื อทั้ งคู่ หรื อ เกิ ดการกลายพั น ธุ์ได้ ขึ้น อยู่กั บ การแปรผั น ทาง
พันธุกรรม (นันทิยา, 2553) (อ่านเพิ่มเติมในบทที่ 2 และ 3)
3.2 กำรขยำยพันธุ์ไม้ป่ำแบบไม่อำศัยเพศ (Vegetative propagation of
forest tree)
การขยายพั น ธุ์ ไม้ป่ า แบบไม่ อาศัย เพศ เกิดจากการแบ่ งเซลล์ แบบไมโทซิ ส เพื่ อ การ
เติบโต พัฒนา และสร้างส่วนที่สึกหรอของไม้ป่า ทาให้สามารถเพิ่มจานวนต้นจากไม้ ป่าต้นเดียว
เป็นปริมาณมาก และกล้าไม้ป่าที่ได้จะมีพันธุกรรมที่เหมือนต้นแม่ไม้ (นันทิยา, 2553) สาหรับ
วิธีการขยายพันธุ์ไม้ป่าแบบไม่อาศัยเพศ กระทาได้ 4 วิธี

.1.1. การตัดชา (Cutting)

การตัดชา คือ การตัดกิ่ง ราก หรือใบมาจากต้นแม่ แล้วชักนาให้เกิดรากหรือต้นโดยให้


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หรือใช้สารเคมีช่วย สาหรับไม้ป่าที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตัดชากิ่ง
เช่น สัก ยูคาลิปตัส กระถินเทพา กระถินณรงค์ เป็นต้น การตัดชาราก เช่น ไทร (Figus) เพาโล
เนีย (Paulownia) เป็นต้น
ปัจจัยที่ควบคุมการแตกรากของกิ่งตัดชา ได้แก่
 แม่ไม้ (mother tree) อายุ และลักษณะภายในของแม่ไม้จะส่งผลต่อความสามารถ
ในการแตกรากและยอดของกิ่งชา
 ลั กษณะของกิ่งตั ดช า (shoot condition) กิ่งที่ ดีควรมี ลั กษณะอ่อนและอวบน้ า
อายุ ของกิ่ง อ่อนหรือแก่เกิน ไป จะมี ความสามารถในการออกรากไม่ดี อายุกิ่ง ที่
เหมาะสมกับ การตั ด ช าขึ้น อยู่กั บ ชนิ ด ไม้ ป่ า เช่ น กิ่ ง ของยูค าลิ ป ตั ส กระถิ น
ณรงค์ กระถินเทพาจะตัดชาเมื่อกิ่งมีอายุประมาณ 40 – 45 วัน
 สารส่งเสริมการแตกราก (root promoting substances: hormones) ได้แก่ IBA
และ NAA
70 | การปลูกสร้างสวนป่า

 วัสดุปักชา (planting media) ควรมีลักษณะทนทานไม่ผุสลายง่าย หาได้ง่าย ราคา


ถูก ดูดความชื้นได้มากพอ แต่มีความโปร่ง เพื่อให้สามารถระบายน้า ถ่ายเทอากาศ
ดี pH เป็นกลาง และสะอาด เช่น ทราย ขี้เถ้าแกลบ ขุยมะพร้าว
 ความชื้น (moisture) วัสดุปลูกควรมีความชื้น 70 – 80 %
 อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิบริเวณโคนกิ่งตัดชาประมาณ 25 – 32º C ซึ่ง
จะสูงกว่าอุณหภูมิที่อยู่เหนือกิ่งตัดชา
 แสง (Light) ควรได้รับแสงประมาณ 50%
 สภาพแวดล้ อ ม (surrounding) สู ญ เสี ย น้ าน้ อ ยและใบพื ช มี ค วามสดเต่ ง ควรมี
ความชื้นสัมพันธ์ประมาณ 90% อุปกรณ์ที่จะทาให้มีสภาพแวดล้อมดังกล่าวมีหลาย
แบบ ตั้งแต่โหลแก้ว ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ กระโจมพลาสติก โรงกระจกหรือโรง
พลาสติก เป็นต้น
วิธีการตัดชา
 ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่งยาว 3–5 นิ้ว มีอย่างน้อย 2 ข้อ รอยตัดด้านล่างอยู่ใต้หรือ
ชิดข้อ
 ใช้กรรไกรลิดใบล่างๆ ออกให้เหลือใบบน 3–5 ใบ ถ้าใบใหญ่ให้ลดพื้นที่ใบลงเพื่อลด
การคายน้าและประหยัดเนื้อที่ในกระบะชา
 จุ่มโคนกิ่งชาในสารเร่งการเกิดราก
 ปักกิ่งชาในวัสดุตัดชา ลึก 2 ใน 3 ของกิ่ง

.1.1. การตอน (layering)

การตอน คือ การทาให้ กิ่งหรือต้ น พืช ออกรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ โดยวิธีโน้มกิ่งไป


สัมผัสกับดิน หรือเอาดินไปหุ้มกิ่ง หรือควั่นกิ่งหรือทาแผลบริเวณของกิ่ง การตอนกิ่ง มักใช้กับ
พืช ที่ขยายพั น ธุ์โดยวิธีอื่น ยาก ต้องการต้น ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ กว่ากิ่งช า และเป็น วิธีที่ไม่ต้อง
เตรียมการเรื่องแปลงเพาะหรือต้นตอ
ขั้นตอนการตอนกิ่ง
 การเลือกกิ่งตอน ควรเป็นกิ่งสมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ขนาดตั้งแต่นิ้วก้อยถึง
นิ้วหัวแม่มือ ควรเป็นกิ่งกระโดง
 การควั่นกิ่ง ควั่นรอบกิ่งเพื่อตัดท่ออาหารแล้วกรีดตามยาวเท่ากับความยาวรอบกิ่ง
ควั่นใต้แผลอีกครั้งแล้วลอกเปลือกออก ขูดเมือกเบาๆ เพื่อทาลายแคมเบียมที่จะสร้างเซลล์ใหม่
บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 71

มารักษาแผล ถ้าต้องการทาสารเร่งการออกรากให้ทาที่รอยควั่นตอนบนและบริเวณเหนือขึ้นไป
เล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง แล้วพอกด้วยดินชื้นๆ
 การหุ้มกิ่ง หุ้มกิ่งด้วยวัสดุที่อุ้มน้า เช่น ดิน กาบมะพร้าว ขุยมะพร้าว แล้วใช้
พลาสติกหุ้มอีกที มัดตัวและท้ายให้แน่น อย่าให้กระเปาหมุนหรือคอน เพื่อป้องกันการสูญเสีย
น้าจากวัสดุที่หุ้ม
 การดูแลกิ่งตอน ดูแลใบของกิ่งที่ตอนให้สมบูรณ์และได้รับแสงเต็มที่ และวัสดุห่อ
แผลต้องชื้นอยู่เสมอ
 การตัดกิ่งตอน ควรรอให้รากเริ่มมีสีน้าตาลและมีรากฝอยบ้างจึงจะตัด แล้วนาไป
ปลูกหรือดูแลในถุงเพาะชาต่อไป
.1.1. การติดตาและการต่อกิ่ง (grafting)

การติดตาและการต่อกิ่ง เป็นศิลปะของการเชื่อมส่วนที่มีชีวิตของพืช 2 ส่วนเข้าด้วยกัน


เพื่อให้เชื่อมต่อกันและเติบโตต่อไปเหมือนต้นพืชต้นเดียวกัน ส่วนที่อยู่ข้างบนทาหน้าที่ลาต้น
เรี ย กว่ า กิ่ ง พั น ธุ์ ดี ห รื อ ไซออน (scion) และส่ ว นด้ า นล่ า งท าหน้ า ที่ ร าก เรี ย กว่ า ต้ น ตอ
(rootstock) การติดตาและการต่อกิ่งมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้
 เพื่อขยายพันธุ์
 เพื่อเปลี่ยนยอดพันธุ์เดิม
 เพื่อซ่อมแซมส่วนของลาต้นที่เสียหาย
 เพื่อช่วยค้ายันและช่วยหาอาหาร
 เพื่อช่วยให้ออกดอกผลเร็วขึ้น
 เพื่อช่วยให้ลูกผสมบางพันธุ์เติบโตได้ดี
 เพื่อเปลี่ยนรูปทรงลาต้น
1) การติดตา
ปัจจัยที่สาคัญต่อวิธีการติดตา ได้แก่
 กิ่งตาพันธุ์ดี ควรเป็นกิ่งอายุ 1 ปี มีตาติดอยู่ ตัดกิ่งยาวประมาณ 1-2 ฟุต ลิดใบออก
ถ้ายังไม่นาตาไปติด ให้พรมน้าและนากิ่งห่อด้วยกระสอบหรือกระดาษแล้วใส่ถุงพลาสติกเก็บใน
ที่ร่มและเย็น
 ต้นตอ ส่วนใหญ่ใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ด มีอายุประมาณ 1 ปี
72 | การปลูกสร้างสวนป่า

 ฤดูกาล ควรทาการติดตาในช่วงที่ต้นตอกาลังเติบโตและเซลล์แคมเบียมกาลัง
แบ่งตัวเพื่อให้เปลือกล่อนจากเนื้อไม้ได้ง่าย
วิธีการติดตา เป็นการนาเอาชิ้นส่วนบริเวณตาของต้นแม่ไม้ ไปติดบนต้นตอ และเลี้ยง
ให้ตาพัฒนาขึ้นเป็นต้นใหม่โดยอาศัยรากจากต้นตอ นิยมทาการติดตาเพื่อการปรับปรุงพันธุ์หรือ
พัฒนาแหล่งพันธุ์ เช่น สัก ซึ่งมีวิธีการติดตาและรูปแบบ เช่น การติดตาแบบตัวที (T-budding)
(รูปที่ 1) การติดตาแบบตัวทีหัวกลับ (inverted T-budding) การติดตาแบบปะ (patch
budding) (รูปที่ 2) การติดตาแบบตัวไอ (I-budding) การติดตาแบบฟลูท (flute budding)
(รูปที่ 3) การติดตาแบบริง (ring budding) (รูปที่ 4) เป็นต้น

ภาพที่ 4.1 การติดตาแบบตัวที (T-budding)


บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 73

ภาพที่ 4.2 การติดตาแบบปะ (patch budding)

ภาพที่ 4.3 การติดตาแบบฟลูท (flute budding)

ภาพที่ 4.4 การติดตาแบบริง (ring budding)


2) การต่อกิ่ง
การต่อกิ่งมี 3 ประเภท ได้แก่ (นันทิยา, 2553)
1. นากิ่งพันธุ์ดีเป็นท่อนมาต่อกับต้นตอ
 การต่อยอด (apical grafting) เป็นการตัดยอดของต้นตอออกแล้วนากิ่งพันธุ์ดีมา
ต่อ ถ้าต้นตอมีขนาดเท่ากับกิ่งพันธุ์ดีใช้การต่อกิ่งแบบวิพหรือทังก์ (whip or tongue) (รูปที่ 5)
แบบสไปลซ์ (splice) (รูปที่ 6) หรือแบบฝานบวบ (รูปที่ 7) แต่ถ้าต้นตอมีขนาดใหญ่กว่ากิ่งพันธุ์
ดีมาก ใช้กิ่งพันธุ์ดีต่อกับต้นตอมากกว่า 1 แห่ง ได้แก่ การต่อกิ่งแบบเคลฟท์ (Cleft) แบบนอทซ์
(notch) (รูปที่ 8) และการเสียบเปลือก (bark grafting) (รูปที่ 9)
74 | การปลูกสร้างสวนป่า

ภาพที่ 4.5 การต่อกิ่งแบบวิพหรือทังก์ (Whip or Tongue)

ภาพที่ 4.6 การต่อกิ่งแบบสไปลซ์ (Splice) หรือแบบฝาน

ภาพที่ 4.7 การต่อกิ่งแบบเคลฟท์ (Cleft)


บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 75

ภาพที่ 4.8 การต่อกิ่งแบบนอทซ์ (Notch)

ภาพที่ 4.9 การเสียบเปลือก (bark grafting)

 การเสียบข้าง (side grafting) นากิ่งพันธุ์ดีมาต่อหรือเสียบทางด้านข้าง เมื่อติดดี


แล้วจึงตัดยอดของต้นตอออก ได้แก่ การต่อกิ่งแบบสตับ (stub) แบบไซด์ทังก์ (side Tongue)
และแบบไซด์วีเนียร์ (side-Veneer) (รูปที่ 10)
76 | การปลูกสร้างสวนป่า
ภาพที่ 4.10 การเสียบข้าง (side grafting)
1) นากิ่งพันธุ์ดีและต้นตอที่มีรากของตนเองมาทาบกัน เมื่อ ยอดของกิ่งพันธุ์เติบโตดี
แล้วให้ตัดยอดของต้นตอทิ้งหรือออกและตัดโคนของกิ่งพันธุ์ดี ได้แก่ การทาบกิ่ง (approach
grafting) ด้ ว ยวิ ธี ก ารทาบกิ่ ง แบบฝานบวบหรื อ สไปลซ์ (splice) แบบท าลิ้ น หรื อ เข้ า ลิ้ น
(tongue) และแบบอินเลย์ (inlay) (รูปที่ 11)

ภาพที่ 4.11 การทาบกิ่ง (approach grafting)


2) นาวิธีต่อกิ่งมาซ่อมแซมต้นไม้ที่ได้ รับความเสียหาย เมื่อระบบรากเสียหายใช้การ
เสริ ม ราก (inarching) (รู ป ที่ 12) ถ้ า เปลื อ กถู ก ท าลายใช้ ก ารต่ อ กิ่ ง แบบสะพาน (bridge
grafting) (รูปที่ 13) ซึ่งไม่ใช่การขยายพันธุ์ไม้ป่าแต่เป็นการซ่อมแซมไม้ป่าให้มีชีวิตรอดและยืน
ยาวต่อไป นิยมใช้กับไม้ป่าที่ถูกกาน

ภาพที่ 4.12 การเสริมราก (inarching)


บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 77

ภาพที่ 4.13 การต่อกิ่งแบบสะพาน (bridge grafting)


4.2.4 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ อ คือ การเพาะเลี้ ยงชิ้นส่วนเล็ กๆ ของพืช ในอาหารสังเคราะห์
และอยู่ในสภาพที่ปลอดเชื้อ โดยมีการควบคุมสภาพปัจจัยแวดล้อม
 ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ เพิ่มปริมาณได้จานวนมากในระยะเวลาสั้น
ต้นที่ได้มีลักษณะทางพันธุ์เหมือนพ่อแม่ ต้นพืชที่ได้จะโตเร็วและมีขนาดสม่าเสมอ ต้นที่ผลิตได้
จะปลอดโรค ใช้พื้นที่น้อยกว่าการขยายพันธุ์อื่น
 ข้อเสียและปัญหาของการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ ได้แก่ ในไม้เนื้อแข็งบางชนิด ชักนา
การเกิดรากค่อนข้างยาก การย้ายปลูกค่อนข้างยุ่งยาก เกิดความเสียหายถ้ามีโรคหรือแมลงเข้า
ทาลาย การลงทุนสูง
วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้ (นันทิยา, 2553)
 การเตรียมการเพาะเลี้ยง การเลือกชิ้นส่วนของไม้ป่า (explant) ชนิดของชิ้นส่วน
และแหล่งที่ได้มามีผลต่อความสาเร็จของการเพาะเลี้ยง ถ้าไม่มีข้อมูลที่แน่นอนของไม้ป่าชนิด
นั้ น ๆ ให้ ใช้ ข้อ มู ล ของไม้ ป่ าที่ มี ความใกล้ ชิ ด ทางพฤกษศาสตร์ ส าหรับ การท าความสะอาด
ภายนอก (disinfestation) คือ การกาจั ดเชื้อโรคจากบริเวณผิ ว รอบนอก สารที่ ใช้ ทาความ
สะอาด ได้แก่ แอลกอฮอล์ แคลเซียมหรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์ ประสิทธิภาพของการทาความ
สะอาดขี้นอยู่กับเวลาและปริมาณสารที่ใช้ ถ้าใช้เวลานานและความเข้มข้นสูง จะมีประสิทธิภาพ
เพิ่มขึ้น แต่อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่มีชีวิตด้วย
 การเกิดยอด (shoot initiation) การนาชิ้นส่วนของไม้ป่ามาเลี้ยงในอาหารให้ตั้ง
ตัวและแตกยอด รวมถึงการกระตุ้นยอดแขนง (axillary shoot) การเกิดยอดพิเศษ
78 | การปลูกสร้างสวนป่า
(adventitious shoot) จากลาต้น ใบ ดอก ใบเลี้ยง และส่วนอื่นของต้นไม้ หรือการเกิดแคลลัส
จากบริเวณผิวที่ตัด สูตรอาหารที่เลือกใช้ผันแปรตามชนิดไม้ พันธุ์ และชนิดของชิ้นส่วน สูตร
อาหารพื้นฐานมีสารประกอบต่างๆ (ตารางที่ 1)
 การเพิ่มจานวนยอด (shoot multiplication) จะเกิดยอดจานวนมากและขยาย
ใหญ่ขึ้น จากบริเวณฐานของชิ้นส่วนพืชลักษณะคล้ายแคลลัส แบ่งโครงสร้างนี้เป็น ต้นเดี่ยวๆ
แล้วย้ายไปเลี้ยงในอาหารใหม่
 การชัก น าราก การชั กน าให้ ย อดเกิด รากในสภาพหลอดแก้ วหรือโดยการปั กช า
ธรรมดา ส าหรับ พืช ที่ ออกรากง่าย การย้ ายออกสู่ ภ ายนอกเพื่ อให้ ออกรากจะประหยัดกว่า
เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมอาหารเพิ่มและไม่ต้องทางานภายใต้สภาพปลอดเชื้อ ถ้า
เป็นพืชที่ออกรากยาก ควรให้ออกรากในอาหารที่มีการเติมสารควบคุมการเติบโตก่อนย้ายออก
ปลูก
 วิธีการนาต้นออกปลูก การให้พืชออกรากภายในหรือภายนอกหลอดแก้วก็ตาม เมื่อ
นาพืชออกมาสู่สภาพภายนอกนั้น ต้นพืชต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ และจะเครียดถ้าไม่มีการ
เตรียมป้องกันระยะนี้เป็นระยะวิกฤตที่สุดในการขยายพันธุ์พืชในสภาพปลอดเชื้ อ อัตราการตาย
ของต้นพืชสูงมากถ้าการจัดการไม่ดีพอ เนื่องจากในสภาพหลอดแก้ว พืชได้รับความชื้นสูง ไม่มี
เชื้อปนเปื้อน ได้รับอาหาร และความเข้มของแสงที่เหมาะสม ดังนั้นจึงต้องได้พืชปรับตัว ทีละ
น้อยก่อนย้าย ปลูก หากพืชพบสภาพที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะตายได้
บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 79

ตารางที่ 4.1 สารละลาย (ก/ล) ที่ใช้เตรียมอาหารสาหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อa

Murashige and Woody Plant Anderson


สารประกอบ Gamborg B5
Stoog (MS) Medium(WPM) (AND)
NH4No3 165.00 40.00 40.00 -
KNO3 190.00 - 48.00 250.00
Ca(NO34H2O) - 55.6 - -
K2SO4 - 99.0 - -
MgSO4.7H2O 37.00 37.00 37.00 25.00
MnSo4.H2O 1.69 2.23 1.69 1.00
ZnSO4.7H2O 0.86 0.86 0.86 0.2
CuSO4.5H2O 0.0025 0.0025 - 0.0025
NH4.SO4 - - - 13.4
CaCl2.2H2O 44.00 9.6 44.00 15.00
KI 0.083 - 0.083 0.075
CoCl2.6H2O 0.0025 - 0.083 0.0025
KH2PO4 17.00 17.00 - -
H3BO3 0.62 0.62 0.62 0.30
Na2MoO4.2H2O 0.025 0.025 0.025 0.025
b
NaH2PO4.H2O - 38.00 15.00
FeSO4.7H2O 2.784 2.78 5.57 2.78
Na2.EDTA 3.724 3.73 7.45 3.725
Thiamin.HCl 0.10 0.10 0.04 1.00
Nicotinic acid 0.05 0.05 - 0.10
Pyridoxine.HCl 0.05 0.05 - 0.10
Glycine 0.02 0.20 - -
Myo-inositol 10.00 10.00 10.00c 10.00
a
ความเข้มข้นนี้เป็น 100 เท่าจึงใช้ Stock solution แต่ละอย่าง 10 มล. สาหรับเตรียมอาหาร 1 ลิตร
b
เติมสารลงไปในอาหารในอัตรา 85-255 มก/ล c เติมอดีนีนซัลเฟต 80 มก/ล
ที่มา: นันทิยา (2553)
80 | การปลูกสร้างสวนป่า

4. กำรผลิตและกำรดูแลกล้ำไม้ป่ำ (Production and tending of forest tree


seedling)
4.1 กำรเพำะเมล็ดไม้ป่ำ )Forest tree seed sowing)
การเพาะเมล็ดไม้ป่า มีหลักการที่ต้องพิจารณาและปฏิบัติดังนี้ คือ
การกาหนดเวลาในการเพาะเมล็ด เนื่องจากเมล็ดไม้แต่ละชนิดมีระยะเวลาในการเก็บ
รักษาแตกต่างกัน เช่น บางชนิดต้องรีบเพาะเมล็ดทันที บางชนิดสามารถเก็บรักษาได้ใน
ระยะเวลาหนึ่ง และควรจะต้องศึกษาลักษณะการเติบโตของกล้าไม้แต่ละชนิดเสียก่อนที่จะ
กาหนดเวลาในการเพาะ เพื่อให้ได้กล้าไม้ตามขนาดที่ต้องการ
การเตรียมแปลงเพาะเมล็ด ขนาดของแปลงเพาะเมล็ดโดยทั่วไปมีความกว้างไม่เกิน
1.2 เมตร ส่วนความยาวของแปลงแล้วแต่ความเหมาะสม ความสูงประมาณ 30 ซม. ก่อด้วยอิฐ
บล็อก มีช่องระบายน้าอยู่ด้านล่าง โดยปูด้วยหินกรวดหนาประมาณ 8-10 ซม. และไม่ควรให้
ได้รับแสงแดดโดยตรง โดยให้มรี ่มเงาประมาณ 50 เปอร์เซนต์
วัสดุเพาะเมล็ด ต้องจัดหาให้เหมาะสม ซึ่งแตกต่างตามชนิดไม้ โดยปกติควรวัสดุที่
สะอาดและระบายน้าดี เช่น ทราย ขี้เถาแกลบ
การปฏิบัติต่อเมล็ดก่อนการเพาะเมล็ด ก่อนที่จะนาเมล็ดไปเพาะ จาเป็นต้องทาการ
ปฏิบัติต่อเมล็ดหรือการกระตุ้นเมล็ดเสียก่อน เพื่อที่จะให้ได้อัตราการงอกสูงสุดและงอกได้
รวดเร็ว (ตารางที่ 2)
การหว่านเมล็ด ก่อนการหว่านเมล็ด ต้องทราบขนาดของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์การงอก
ของเมล็ด เพื่อจะได้ประมาณจานวนเมล็ดให้พอเหมาะกับขนาดของพื้นที่ที่จะทาการหว่าน
หลังจากหว่านเมล็ดแล้ว สิ่งที่ต้องคานึงได้แก่ การใช้วัสดุกลบเมล็ดเพื่อรักษาความชื้นในแปลง
เพาะเมล็ด เช่น ทรายหยาบ ฟางข้าว ขุยมะพร้าวที่ผ่านการแช่น้าแล้ว หรือขี้เลื่อยเก่า
การบารุงรักษาแปลงเพาะเมล็ด การดูแลในระยะแรกคือการรดน้า น้าวันละ 2 ครั้ง
เช้าและเย็น โดยต้องระวังไม่ให้น้าแฉะ หรือมีน้าขัง พร้อมกับดูแลกาจัดวัชพืช รวมถึงมด แมลง
และสัตว์ที่จะทาลายเมล็ดที่เพาะในแปลงเพาะเมล็ด
บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 81

4.2กำรย้ำยชำกล้ำไม้ป่ำ (Forest Seedling Transplanting)


การย้ายชาไม้ป่าสิ่งที่ต้องพิจารณาในการย้ายชาได้แก่
ภาชนะย้ายชา โดยทั่วไปใช้ถุงพลาสติกสีดา ขนาด 2×6 นิ้ว แบบมีรูด้านข้าง เนื่องจาก
เก็ บ ความชื้ น ได้ ดี ก ว่ า ถุ งพลาสติ ก ใส ต่ อ มาเมื่ อ กล้ า ไม้ ป่ า มี ข นาดใหญ่ ขึ้ น ควรเปลี่ ย นลง
ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น เช่น 9×10 นิ้ว หรือ 10×12 นิ้ว
วัสดุเพาะชา วัสดุที่ใช้บรรจุถุงพลาสติกเพื่อชากล้าไม้เป็นดินป่าธรรมชาติ หรือดินร่วน
ปนทรายที่มีการระบายน้าดี โดยดินที่นามาจากป่าธรรมชาตินั้นควรนามาทุบให้ละเอียดเสียก่อน
และผสมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี ทราย แกลบ หรือขุยมะพร้าวอย่างใดอย่างหนึ่งหรื อหลาย
อย่างแล้วแต่ความเหมาะสม
การบรรจุดินใส่ถุงเพาะชา ต้องกรอกดินให้แน่นเสมอตลอดทั้งถุง เพาะชา และไม่พับ
ปากถุงเพาะชา
การจัดเรียงถุง เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานในสถานที่เพาะชา ควรจัดเรียงถุงชา
เป็ น แปลงความกว้างไม่เกิน 1.2 เมตร ความยาวแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ มีการเว้น
ช่องว่างไว้เป็นทางเดิน โดยปกติมักจะเรียงเป็นบล็อกๆ ละ 15 x 40 ถุง
การย้ายชากล้าไม้ ป่า ก่อนการย้ายชากล้าไม้ ป่า ควรจะรดน้าถุงชาให้ดินภายในถุงชา
เปียกชุ่มตลอดทั้งถุง การย้ายชาควรทาเฉพาะช่วงเช้าและเย็น ซึ่งอากาศไม่ร้อนจัดนัก และปกติ
มักจะย้ายชากล้าไม้เมื่อมีใบเลี้ยงขึ้นมา 1 คู่ ไม่ปล่อยให้กล้าไม้มีขนาดโตจนเกินไป เพราะจะทา
ให้ระบบรากของกล้าไม้กระทบกระเทือน
82 | การปลูกสร้างสวนป่า

ตารางที่ 4.2 ข้อมูลเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า และการปฏิบัติก่อนเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า


จานวน ช่วงเวลาที่ ช่วงเวลาที่
การปฏิบัติต่อ การงอก ฤดูกาลเก็บ
ชนิดพันธุ์ไม้ เมล็ดต่อ ใช้ในการ ใช้เพาะชา
เมล็ดก่อนเพาะ (%) เมล็ด
ก.ก. งอก (วัน) (เดือน)
กระถินณรงค์ 66,600 แช่ในน้าร้อน 75 15 5 ต.ค.-พ.ย.
(Acacia auriculiformis) อุณหภูมิ 80-
90◦C แล้วทิ้ง
ไว้ให้เย็นเป็น
เวลา 16 ชม.
(1 คืน)
กระถินเทพา 98,200 แช่ในน้าร้อน 75 15 5 ต.ค.-พ.ย.
(Acacia mangium) อุณหภูมิ 80-
90◦C แล้วทิ้ง
ไว้ให้เย็นเป็น
เวลา 16 ชม.
ประดู่ 24,900 แช่ในน้าเย็นทิ้ง 70 15 5 ก.ย.-ต.ค.
(Pterocarpus ไว้เป็นเวลา 16
macrocarpus) ช.ม.
พะยูง 46,000 แช่ในน้าร้อน 70 15 8 ต.ค.-พ.ย.
(Dalbergia อุณหภูมิ 60-
cochinchinensis) 70◦C
ยูคาลิปตัส คามาลดูเลน 2,300,000 - 70 21 3 ม.ค.-มี.ค.
ซีส (Eucalyptus
camaldulensis)
สะเดา 4,700 - 75 10 6 มี.ค.-เม.ย.
(Azadirachta indica)
ขี้เหล็กบ้าน (Cassia 43,100 แช่ในน้าร้อน 65 12 4 มี.ค.-เม.ย.
siamea) อุณหภูมิ 80-
90◦C แล้วทิ้ง
ไว้ให้เย็นเป็น
เวลา 16 ชม.
มะค่าโมง (Afzelia 150 ตัด-ทาแผลที่ 90 12 4 ต.ค.-พ.ย.
xylocarpa) ปลายเมล็ด
บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 83

ตารางที่ 4.2 (ต่อ)


จานวน ช่วงเวลาที่ ช่วงเวลาที่
การปฏิบัตติ ่อ การงอก ฤดูกาลเก็บ
ชนิดพันธุ์ไม้ เมล็ดต่อ ใช้ในการ ใช้เพาะชา
เมล็ดก่อนเพาะ (%) เมล็ด
ก.ก. งอก (วัน) (เดือน)
นนทรีป่า 28,500 แช่ในน้าร้อน 80 13 5 ก.ย.-ต.ค.
(Peltophorum อุณหภูมิ 70-
dasyrachis) 80◦C แล้วทิ้ง
ไว้ให้เย็นเป็น
เวลา 16 ชม.
แดง (Xylia xylocarpa) 5,000 แช่ในน้าร้อน 70 7 5 มี.ค.-พ.ค.
อุณหภูมิ 60-
70◦C แล้วทิ้ง
ไว้ให้เย็นเป็น
เวลา 16 ชม.
ชิงชัน (Dalbergia 8,700 แช่ในน้าร้อน 70 11 6 ส.ค.
oliveri) อุณหภูมิ 60-
70◦C แล้วทิ้ง
ไว้ให้เย็นเป็น
เวลา 16 ชม.
ยางกราด 262 เด็ดปีก - 15 7 เม.ย.-พ.ค.
(Dipterocarpus
intricatus)
ยางนา (Dipterocarpus 130 เด็ดปีก 70 12 7 เม.ย.-พ.ค.
alatus)
ยางแดง (Dipterocarpus 170 เด็ดปีก 70 12 8 มี.ค.-พ.ย.
turbinatus)
พะยอม 1,200 เด็ดปีก 70 11 8 เม.ย.-พ.ค.
(Shorea floribunda)
เคี่ยม 1,200 เด็ดปีก 70 8 8 เม.ย.-พ.ค.
(Cotylelobium
lanceolatum)
ตะเคียนทอง 2,200 เด็ดปีก 70 7 8 เม.ย.-มิ.ย.
(Hopea odorata)
84 | การปลูกสร้างสวนป่า

ตารางที่ 4.2 (ต่อ)


จานวน ช่วงเวลาที่ ช่วงเวลาที่
การปฏิบัติต่อ การงอก ฤดูกาลเก็บ
ชนิดพันธุ์ไม้ เมล็ดต่อ ใช้ในการ ใช้เพาะชา
เมล็ดก่อนเพาะ (%) เมล็ด
ก.ก. งอก (วัน) (เดือน)
ถ่อน 28,000 แช่ในน้าร้อน 75 11 6 ม.ค.-ก.พ.
(Albizia procera) อุณหภูมิ 80 –
90 ๐C แล้วทิ้ง
ไว้ให้เย็นเป็น
เวลา 16 ชม.
พฤกษ์ 10,000 แช่ในน้าร้อน 75 12 7 ธ.ค.-ม.ค.
(Albizia lebbek) อุณหภูมิ 80 –
90๐C แล้วทิ้งไว้
ให้เย็นเป็นเวลา
16 ชม.
ราชพฤกษ์ 7,900 ตัด-ทาแผล 90 10 6 มี.ค.-เม.ย.
(Cassia fistula) ปลายเมล็ดหรือ
แช่กรดเข้มข้น
45 นาที
กัลปพฤกษ์ 4,340 ตัด-ทาแผล 90 10 6 ม.ค.-ก.พ.
(Cassia bakeriana) ปลายเมล็ดหรือ
แช่กรดเข้มข้น
45 นาที
กาลพฤกษ์ 3,500 ตัด-ทาแผล 90 10 6 ม.ค.-ก.พ.
(Cassia grandis) ปลายเมล็ดหรือ
แช่กรดเข้มข้น
45 นาที
นนทรีบ้าน 17,300 แช่ในน้าร้อน 80 15 4 ก.ย.-พ.ค.
(Peltophorum อุณหภูมิ 70 –
pterocarpum) 80๐Cแล้วทิ้งไว้
ให้เย็นเป็นเวลา
16 ชม.
สีเสียดแก่น 21,900 แช่น้า 16 ชม. 75 10 4 ธ.ค.-มี.ค.
(Acacia catechu)
บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 85

ตารางที่ 4.2 (ต่อ)


จานวน ช่วงเวลาที่ ช่วงเวลาที่
การปฏิบัติต่อ การงอก ฤดูกาลเก็บ
ชนิดพันธุ์ไม้ เมล็ดต่อ ใช้ในการ ใช้เพาะชา
เมล็ดก่อนเพาะ (%) เมล็ด
ก.ก. งอก (วัน) (เดือน)
ยมป่า 26,500 - 75 10 4 ม.ค.-มี.ค.
(Ailanthus triphysa) ส.ค.ต-.ค.
กาหลง (Bauhinia 9,400 แช่ในน้าร้อน 75 10 5 เม.ย.-พ.ย.

acuminata) อุณหภูมิ 70 C
ทิ้งให้เย็น16
ชม.
ที่มา : ส่วนเพาะชากล้าไม้ (2542)
4.3 กำรดูแลกล้ำไม้ป่ำ (Forest seedling tending)
การดูแลกล้าไม้ป่าในสถานที่เพาะชาประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ (นักสิทธ์, 2556) ดังนี้
1) การให้แสง หลังจากที่ย้ายกล้าไม้ลงถุงพลาสติกหรือในภาชนะเพาะชาอื่นๆ ให้นา
กล้าไม้ป่าวางไว้ในที่ร่มหรือมีตาข่ายพรางแสงประมาณร้อยละ 50 เหนือต้นกล้า เพื่อป้องกันใบ
ไหม้และเฉา จนกว่าจะถึงเวลาทากล้าให้แกร่ง
2) การรดน้า ในระยะเริ่มแรกหลังจากย้ายกล้า ควรให้น้าแบบฝอยเพื่อป้องกันกล้าไม้
ป่ากระทบกระเทือน เวลาที่เหมาะสมที่สุดควรรดน้าตอนเช้าเพื่อให้พืชมีปริมาณน้าเพียงพอต่อ
การสังเคราะห์แสงในช่วงกลางวัน การรดน้าจะต้องประเมินด้วยว่าควรให้ น้าแก่กล้าไม้มากน้อย
เพียงใด ถ้าหากว่าวัสดุปลูกยังชื้นอยู่อาจไม่ จาเป็นต้องรดน้าซ้า แต่ถ้าผิวหน้าวัสดุปลูกเริ่มแห้ง
ต้องให้น้าแก่กล้าไม้ นอกจากนี้การให้น้ายังแตกต่างไปตามฤดูกาล เช่น ในช่วงฤดูฝนอาจไม่ต้อง
รดน้า ในขณะที่ ช่วงฤดูแล้งอาจต้องรดน้ากล้าไม้วันละ 2 ครั้ง (ตอนเช้าและตอนเย็น)
3) การกาจัดวัชพืช วัชพืชอาจเกิดขึ้นจากการนาพาจากภายนอกหรือเกิดขึ้นในถุงเพาะ
เอง เนื่องจากอาจมีเมล็ดของวัชพืชปนมากับดินผสม ควรหมั่นดูแล และกาจัดเมื่อวัชพืชเริ่มงอก
ขึ้น ในถุ งช า เพราะหากปล่ อ ยทิ้ งไว้น าน รากของวั ช พื ช จะแก่ งแย่ งอาหารกั บ กล้ าไม้ แ ละมี
ผลกระทบต่อกล้าไม้ขณะทาการถอนหรือกาจัดได้ ส่วนวัชพืชในช่องทางเดินในสถานที่เพาะชา
ต้องหมั่นกาจัดอยู่เสมอเช่นเดียวกัน
4) การให้ ปุ๋ ย กล้ า ไม้ ป่ า สารอาหารเป็ น สิ่ ง จ าเป็ น ต่ อ การเติ บ โตของกล้ า ไม้ ป่ า
สารอาหารเหล่านี้มีอยู่แล้วในจากปุ๋ยที่ผสมในวัสดุเพาะชา แต่ถ้าหากไม่เพียงพอจะต้องเสริมให้
ด้วยการใส่ปุ๋ ย การตัดสิน ใจว่ าเป็ น ต้องให้ ปุ๋ ยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตและความ
86 | การปลูกสร้างสวนป่า
สมบูรณ์ของกล้าไม้ป่า โดย กล้าไม้ป่าบางชนิดจาเป็นต้องการเร่งการเจริญเติบโตเพื่อให้มีขนาด
ที่ เหมาะสมต่อ การน าไปปลู ก หรื อ กล้ าไม้ ป่ าที่ แสดงอาการขาดสารอาหาร เช่ น ใบเหลื อ ง
จาเป็นต้องให้ปุ๋ย เช่น ปุ๋ยอัดเม็ดละลายช้าสูตร 14-14-14 ประมาณหยิบมือหรือประมาณ 20
เมล็ด
5) การป้องกันและกาจัดโรคและแมลง
 โรคของกล้าไม้ป่า เกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ เชื้อรา: ทาให้ เกิดโรคโคนเน่า
รากเน่า และใบเป็นจุด (ใบไหม้หรือสีสนิม) พบในกล้าไม้ มะค่าโมง มะค่าแต้ ประดู่ป่า มะม่วง
ป่า แบคทีเรีย : ส่วนมากไม่เป็ น อัน ตรายต่อ กล้ าไม้ป่า แต่บางชนิดอาจทาให้ เกิดโรคโคนเน่า
เนื้อเยื่อ เน่า เฉา ไวรัส: พบได้ในกล้าไม้ป่าทั่วไป แต่ไม่ก่อให้เกิดปัญหารุนแรงในสถานที่เพาะชา
 ควรหมั่ น ตรวจสอบกล้ า ไม้ อ ย่ า งสม่ าเสมอเพื่ อ ป้ อ งกั น การระบาดของโรค
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของกล้าไม้ทุกสัปดาห์ ไม่ควรให้น้ามากเกินไป และการระบายน้าของ
กล้าไม้ โดยเรียงกล้าไม้ไม่ให้ แน่นเกินไปเพื่อให้อากาศระบายได้ดี หากเกิดการระบาดของโรค
ให้ตัดใบที่แสดงอาการหรือแยกกล้าไม้ออกเพื่อนาไปทาลาย ไม่ควรนาวัสดุปลูกและถุงพลาสติก
ของกล้าที่เป็นโรคกลับมาใช้ใหม่ ไม่ควรใช้สารเคมีในการควบคุมโรคเนื่องจากมีราคาแพงและ
เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ใช้ หากจาเป็นต้องใช้ สารเคมีต้องใช้อย่างระมัดระวังและเลือกใช้ให้
ถูกต้อง ส่วนการควบคุมศัตรูกล้าไม้ชนิดอื่นที่เป็นแมลง ไส้เดือนฝอย หอยทาก ที่ทาลายใบพืช
ยอดอ่อน ลาต้น ราก ควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่าเสมอและกาจัดทิ้งไปโดยการหยิบออก หรือ
การพ่นด้วยน้าหมักจุลินทรีย์ (EM) หรือน้าส้มควันไม้ ตลอดจนการใช้สารเคมี หากมีการระบาด
รุนแรง
6) การคัดและจัดเรียงลาดับ ความสูงของกล้า ไม้ป่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการ
ควบคุมคุณภาพ โดยการคัดแยกขนาดกล้าไม้ตามขนาด และนากล้าไม้ป่าที่อ่อนแอหรือเป็นโรค
ออกไป เพื่อให้ได้กล้าไม้ที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์และมีความสูงประมาณ 30-40 ซม. ควร
คั ด เลื อ ก กล้ า ไม้ อ ย่ า งน้ อ ยเดื อ นละ 1-2 ครั้ ง โดยอาจมี ก ารตั ด แต่ งราก ตรวจโรค รวมถึ ง
จัดเรียงกล้าไม้ไปพร้อมกัน ในช่วงหนึ่งเดือนก่อนการปลูกไม่ควรตัดแต่งกิ่งเพราะจะเป็นการ
กระตุ้น ให้ กล้ าไม้มีการเติบ โตของล าต้น การน ากล้ าไม้ไปปลู กในช่ว งนี้ ระบบรากอาจยังไม่
สามารถหาน้าและอาหารมาเลี้ยงใบที่กาลังแตกใหม่ได้ เมื่อทาการคัดและตัดแต่งกล้าไม้ป่าแล้ว
ควรทาความสะอาดอุปกรณ์ทั้งหมดเพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโรค กล้าไม้ที่เป็นโรคควร
นาไปทาลายทิ้ง
7) การทาให้กล้าไม้ป่าแกร่ง เป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมให้แก่กล้าไม้ป่าก่อน
ย้ายออกจากสถานที่เพาะชา เพื่อให้กล้าไม้ มีการปรับ กับสภาพที่จะดารงชีวิตในพื้นที่ปลูก ถ้า
หากกล้าไม้ป่าไม่แข็งแรงพอที่จะทนต่อสภาพที่ร้อน แห้งแล้ง และแสงแดดจัดในพื้นที่ปลูกได้
กล้ าไม้ จะตายหลั งจากการปลู ก ส าหรับ การบ ารุงดูแลกล้ าไม้ ป่ามาจนถึงก่อนจะน าไปปลู ก
บทที่ 4 การผลิตกล้าไม้ป่า | 87

ประมาณ 1 เดือน ให้ทาการลดร่มเงาโดยย้ายกล้าไม้ป่าไปวางบริเวณที่ได้รับแสงเต็มที่ หรือปลด


ตาข่ายพรางแสงออก ลดการให้น้า จากปกติรดน้า วันละ 2 ครั้ง คือเช้า-เย็น ให้รดน้าช่วงเช้า
เพียงวันละครั้งเดียว เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้น้า เป็นวันเว้นวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์
ก่อนนาไปปลูก
5. กล้ำไม้ป่ำคุณภำพ (Quality Tree Seedling)
กล้าไม้ป่าคุณภาพ หรือกล้าไม้ป่าที่ได้ขนาดมาตรฐาน หมายถึงกล้าไม้ ป่าที่มีคุณสมบัติ
เหมาะสมต่อการปลูก สาหรับคุณลักษณะของกล้าไม้ขั้นพื้นฐานที่จะใช้เป็นตัวกาหนดคุณสมบัติ
ของกล้าไม้ป่าที่ได้มาตรฐานหรือกล้าไม้ป่าที่มีคุณภาพดีนั้น ควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
 ความสูง กล้าไม้ที่มีความสูงมากย่อมหมายถึงว่าเป็นกล้าไม้ที่มีเนื้อที่ใบจานวนมาก
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสังเคราะห์แสงและการคายน้าที่มากขึ้นด้วย ขนาดความสูงของกล้าไม้
ที่เหมาะสมต่อการปลูกมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดพันธุ์ แต่โดยทั่วไปควรมีความสูง
ประมาณ 30-40 ซม.
 ความโตของลาต้น ความโตของลาต้นกล้าไม้มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของ
กล้าไม้เนื่องจากลาต้นขนาดใหญ่ของกล้าไม้จะบ่งชี้ว่าขนาดของตาอ่อนจะมีขนาดใหญ่ด้วย ตา
อ่อนขนาดใหญ่ของกล้าไม้จะประกอบไปด้วยจุดกาเนิดของใบอ่อนจานวนมาก ซึ่งจะเติบโตเป็น
ใบหลั งปลู ก นอกจากนี้ กล้ า ไม้ ที่มี ล าต้ น ขนาดใหญ่ จะมีข นาดท่อ ล าเลี ยงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็ น
ประโยชน์ต่อการเคลื่อนย้ายน้าและสารอาหารจากดินสู่ลาต้น
 ความสมบูรณ์ของกล้าไม้พิจารณาจากความแข็งแรงของเรือนยอด ขนาดใบ ความ
หนาแน่นของใบ การแตกยอดอ่อน ลาต้นแกร่ง มีความเต่งตึง ไม่มีความเสียหายจากโรคและ
แมลง
 ระบบรากของกล้าไม้ป่า ระบบเรือนรากที่มีขนาดใหญ่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ลาเลียงน้า และสารอาหาร ตลอดจนมีผลต่ออัตราการคายน้าและการแลกเปลี่ยนก๊าซของกล้า
ไม้ กล้าไม้ที่มี ระบบรากแข็งแรงจะมีการเติบโตดีหลังจากการย้ายปลูกเนื่องจากการสังเคราะห์
แสงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. บทสรุป (Conclusion)
กล้าไม้ป่าที่มีคุณภาพ เป็นส่วนสาคัญในการก่อให้เกิดสวนป่าที่มีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้น
การผลิตกล้าไม้ป่าจึงเป็นกิจกรรมหลักที่จะต้องอาศัยการวางแผน และการบริหารจัดการที่ดีจึง
จะได้กล้าไม้ป่าที่มีปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกสร้างสวนป่า
88 | การปลูกสร้างสวนป่า
7. เอกสำรอ้ำงอิง (References)
นันทิยา วรรธนะภูติ. 2553. การขยายพันธุ์พืช. พิมพ์ครั้งที่ 4. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
นักสิทธิ์ สังข์จันทร์. 2556. เทคนิคการเพาะชากล้าไม้ท้องถิ่น. ใน เอกสารประกอบการ
ฝึกอบรมเทคนิคการเพาะชากล้าไม้ท้องถิ่น โครงการจัดการพื้นทีช่ ุ่มน้าาแก่งละว้า.
WWF ประเทศไทย.
ส่วนเพาะชากล้าไม้. 2542. การจัดการเพาะชากล้าไม้คุณภาพ. สานักส่งเสริมการปลูกป่า
กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
บทที่ 5
กำรเลือกและกำรเตรียมพื้นทีป่ ลูกป่ำ
Site Selection and Preparation for Tree Planting

รุ่งเรือง พูลศิริ

1. บทนำ (Introduction)
ในการปลูกสร้างสวนป่า ให้ประสบความสาเร็จนั้น การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูก
ป่าเป็ นการปฏิบัติหนึ่งทางด้านวนวัฒ นวิทยาที่มีความสาคัญ โดยปกตินั้นการเลือกพื้นที่ต้อง
เหมาะสมกั บ ชนิ ด ไม้ ที่ ต้ อ งการปลู ก นอกจากนี้ ส ภาพภู มิ อ ากาศก็ เป็ น อี ก ปั จจั ย หนึ่ งที่ ต้ อ ง
พิจารณาในการเลือกชนิดไม้ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกป่าเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วน
ส่งผลต่อการรอดตายและการเติบ โตของชนิดไม้ที่ปลูก เพื่อให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการ
เตรียมพื้นที่ เนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการปลูกสร้างสวนป่าเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับการเตรียม
พื้นที่ ประกอบกับความสาเร็จของการปลูกสร้างสวนป่าขึ้นอยู่กับผลผลิตอันเป็นผลมาจากการ
เติบโตของต้นไม้ที่ทาการปลูก ซึ่งการเตรียมพื้นที่มีผลอย่างมากต่อการเติบโตของต้นไม้ที่ปลูก
โดยเฉพาะในระยะแรกของการปลู กหรือช่วงตั้งตัวของกล้าไม้ ดังนั้นการเตรียมพื้นที่จึงเป็น
ขั้นตอนสาคัญขั้นตอนหนึ่งในการปลูกสร้างสวนป่า
2. กำรเลือกพื้นที่ปลูกป่ำ (Site Selection หรือ Selection of Planting site)
ก่อนที่จะกล่าวถึงการเลือกพื้นที่ปลูกนั้น ควรมาทาความเข้าใจกับคาว่า “พื้นที่ หรือ
site” ก่ อ น โดยค าว่ า พื้ น ที่ (site) นั้ น หมายถึ ง ต าแหน่ ง ที่ ตั้ ง ทางภู มิ ศ าสตร์ ที่ ลั ก ษณะ
เหมือนกันในแง่ของสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางชีววิทยา ในทางป่าไม้นั้นคาว่า พื้นที่
มักกาหนดจากศักยภาพหรือความสามารถที่จะอานวยผลให้ ต้น ไม้และพื ชพรรณชนิดต่างๆ
เติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่มีการจาแนกตามความคล้ายคลึงของสภาพภูมิอากาศ ภูมิ
ประเทศ ดิ น และพื ช พั น ธุ์ (spurr, 1952; Davis, 1987; Powers, 2001; Skovsgaard and
Vanclay, 2008) นั่นคือ การเลือกชนิดไม้ที่เหมาะสมสาหรับพื้นที่ (species-site matching)
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะวัดผลของปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งหมด เพื่อที่จะลงความเห็นว่า พื้นที่นั้น
90 | การปลูกสร้างสวนป่า
ดีหรือเลวเพียงใด ในการจัดการป่าไม้จาเป็นต้องรู้เกี่ยวกับถิ่นที่ ขึ้น เพื่อประกอบการประมาณ
ผลผลิตให้ถูกต้อง (Assman, 1970)
ซึ่ ง ในการปลู ก ต้ น ไม้ เพื่ อ ให้ มี ก ารเติ บ โตที่ ดี แ ละได้ ผ ลผลิ ต ตามความต้ อ งการนั้ น
นอกจากการเลื อ กพื้ น ที่ ป ลู ก ให้ เหมาะสมกั บ ชนิ ด ไม้ แ ล้ ว ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การเติ บ โตและ
พัฒนาการของต้นไม้ต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 1) ปัจจัยภายใน หรือ ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Internal or
Genetic factor) และ 2) ปั จ จั ย ภายนอก หรื อ ปั จ จั ย ด้ า นสภาพแวดล้ อ ม (External or
Environmental factors) ซึ่งปัจจัยด้านพันธุกรรมนั้นสามารถกาหนดได้ และได้กล่าวไว้ในบท
ที่ 2 แล้ ว ในขณะที่ ปั จ จั ย ด้ านสภาพแวดล้ อ ม ซึ่ งได้ แก่ แสง สมบั ติ ดิน ปริมาณน้าฝนหรือ
ความชื้น อุณหภูมิ สารอาหาร อากาศ (ก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์) และโรค แมลง
(Salisbury and Ross, 1992) ซึ่ ง ปริ ม าณน้ าฝนหรือ ความชื้ น จั ด ว่ าเป็ น ปั จ จั ย ด้ านสภาพ
ภู มิ อ ากาศ (climatic factor) ที่ ส าคั ญ ที่ สุ ด ในการเลื อ กชนิ ด ไม้ ให้ เหมาะสมกั บ พื้ น ที่ ป ลู ก
(species-site matching) ซึ่งจะส่งผลให้การปลูกป่าประสบความสาเร็จได้
นอกจากนี้ในการเลือกพื้นที่ปลูกป่าให้เหมาะสมกับชนิดไม้ที่ต้องการปลูกนั้น ปัจจัยที่ใช้
ในการพิจารณาเลือกพื้นที่ปลูกป่า สามารถจาแนกได้ดังนี้ (FAO, 1989)
 สภาพภูมิอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้าฝน (ปริมาณและการกระจาย) ความชื้น
สัมพัทธ์และลม
 ดิ น ได้ แ ก่ ความลึ ก ของดิ น และความสามารถในการรั ก ษาความชื้ น เนื้ อ ดิ น
โครงสร้าง วัตถุต้นกาเนิดดิน พีเอช (pH) ระดับการอัดแน่นของดิน และการระบาย
น้า
 ภู มิ ป ระเทศ ได้ แ ก่ ความลาดชั น และทิ ศ ด้ า นลาด ซึ่ ง มี ค วามส าคั ญ ต่ อ การ
เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและดิน
 พืช ได้แก่ องค์ประกอบและลักษณะทางนิเวศวิทยาตามธรรมชาติรวมถึงพืชต่างถิ่น
ที่ถูกนามาปลูกด้วย
 ปัจจัยทางชีววิทยาอื่นๆ เช่น ประวัติที่ผ่านมาและการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ที่
มีอิทธิพลต่อพื้นที่ ประกอบด้วย ไฟ การทาปศุสัตว์ แมลงและโรคที่เกิดในพื้นที่
 แหล่งน้าเสริม ได้แก่ บึง ทะเลสาบ แม่น้าลาธาร หรือแหล่งน้าอื่นๆ
 ระยะห่างจากเรือนเพาะชา
นอกจากข้อมูลด้านชีวฟิสิกส์ข้างต้น แล้ วปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมยังมีบทบาท
สาคัญ ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
 ความพร้อมของแรงงาน
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 91

 แรงจูงใจของประชาชนในท้องถิ่น
 ระยะห่างของสวนป่าไปสู่ตลาดและศูนย์กลางผู้บริโภค
 กรรมสิทธิ์และสิทธิในการใช้ที่ดิน
3. ขั้นตอนในกำรเตรียมพืน้ ที่ (Step for Site Preparation)
ก่อนด าเนิ น การเตรี ย มพื้ น ที่ เจ้ าของสวนป่ าหรือผู้ ดาเนิ น งานจาเป็ น ต้อ งตรวจสอบ
กรรมสิทธิ์ในพื้นที่นั้นๆ และสารวจพื้นที่เสียก่อน เพื่อให้ทราบขอบเขตพื้นที่ที่แน่นอน ตลอดจน
ออกแบบหรือจัดวางตาแหน่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายในสวนได้อย่างมี ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 กำรกำหนดขอบเขตพืน้ ที่ (Site boundary defined)
ในขั้นแรกจะต้องทาการสารวจพื้นที่เบื้องต้นซึ่งเป็นการสารวจสภาพพื้นที่และทาแผนที่
สังเขปของพื้น ที่ที่จ ะทาการปลู กสร้างสวนป่า จากนั้นจึงทาแผนที่ขอบเขตที่แน่นอนซึ่งอาจ
ดาเนินการสร้างรั้วเพื่อแสดงขอบเขตของพื้นที่และป้องกันสัตว์ พร้อมทั้งระบุตาแหน่งจุดสังเกต
ต่างๆ ในพื้นที่ลงในแผนที่
3.2 กำรสำรวจพื้นที่ภำยใน (In-site surveying)
เมื่อได้ขอบเขตพื้นที่ที่แน่นอนแล้ว ต้องทาการสารวจภายในพื้นที่ที่ต้องการปลูกสร้าง
สวนป่า เพื่อใช้ประกอบการออกแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ การเลือกชนิดไม้ที่ปลูก การเลือกวิธี
สาหรับเตรียมพื้นที่ การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนใช้ประกอบการกาหนดแนวถนน แหล่งน้า
และโรงเพาะชากล้าไม้ เป็นต้น ซึ่งวิธีในการสารวจมีทั้งวิธีสารวจโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้

3.2.1 วิธีทางตรง (Direct method)

ได้แก่ การสารวจภาคสนาม (Field survey)

.1.1. วิธีทางอ้อม (Indirect method)

วิ ธี ท างอ้ อ ม ได้ แ ก่ การสอบถามข้ อ มู ล จากผู้ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ในบริ เวณนั้ น หรื อ บริ เวณ
ใกล้เคียง เจ้าของพื้นที่เดิม องค์กรในท้องถิ่น หน่วยงานราชการ เป็นต้น และการใช้การสารวจ
ระยะไกล เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ หรือการสารวจระยะไกล (Remote sensing)
92 | การปลูกสร้างสวนป่า
สาหรับการเลือกใช้วิธีการสารวจพื้นที่ขึ้นกับวัตถุประสงค์ งบประมาณ แรงงาน และ
เวลา โดยวิธีการสารวจภาคสนามและการสารวจระยะไกลจะได้ข้อมูลที่เน้นไปทางทรัพยากร
และสภาพจริงของพื้นที่ ซึ่งทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกัน ดังนี้

การสารวจภาคสนาม การสารวจระยะไกล
สารวจโดยตรงจากพื้นที่ สารวจพื้นที่ทางอ้อมโดยใช้ภาพถ่าย
ใช้แรงงานและเวลามาก สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และประหยัด
ให้รายละเอียดเฉพาะพื้นที่ที่สารวจ ให้รายละเอียดน้อยแต่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
บางพื้นที่ไม่สามารถเข้าไปสารวจรังวัดได้ สามารถสารวจได้ในพื้นที่ที่การสารวจ
ภาคสนามไม่สามารถดาเนินการได้
ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและความชานาญใน
การแปลภาพ
อาจต้องใช้ร่วมกับแผนที่อื่นๆ เช่น แผนที่ภูมิ
ประเทศ เป็นต้น

ส่ ว นข้อมู ล ที่ท าการส ารวจ ได้ แก่ ลั ก ษณะพื้ น ที่ ห รือภู มิ ป ระเทศ แหล่ งน้ าและการ
ระบายน้า สมบัติดินทั้งทางฟิสิกส์และเคมีรวมทั้งข้อมูลทางธรณีวิทยา พืช พรรณที่ปกคลุมพื้นที่
สภาพสังคมโดยรอบและสาธารณูปโภคต่างๆ ตลอดจนข้อมูล (เช่น ถนน ระบบไฟฟ้า เป็นต้น)
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การปลูกสร้างสวนป่า เช่น ความเชื่อของชุมชนท้องถิ่น พื้นที่ที่สาคัญต่อ
การล่าสั การทาปศุสัตว์ (เช่น ธรณีวิทยา และประวัติศาสตร์ ฯลฯ) การศึกษาด้านอื่นตว์ เป็นต้น
3.3 กำรออกแบบ/กำรวำงผังกำรปลูก (Design of planning layout)
การออกแบบในการวางผั งการปลู ก ส าหรั บ สวนป่ าขนาดใหญ่ นั้ น ค่ อ นข้ างมี ค วาม
ซับซ้อนในการกาหนดตาแหน่งที่แน่นอนและขอบเขตของสวนป่า รวมถึงการวางเครือข่ายถนน
สถานที่ตั้งของแหล่งน้าเพื่อในการดับไฟ การแบ่งพื้นที่ออกเป็นหน่วยย่อย (compartmemt) ที่
มีแนวกันไฟที่เข้าถึงได้ และระยห่างระหว่างแนวกันไฟ และการทาแผนที่ (Camirand, 2002)
ในขณะที่สวนป่าขนาดเล็กของหมู่บ้านชุมชน/หรือเอกชน การออกแบบในการวางผัง
การปลูกประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ (Camirand, 2002)
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 93

1) การกาหนดระยะปลูก
2) การสารวจพื้นที่และจุดที่จะปลูก
3) การทาแนวกันไฟรอบสวนป่า และ
4) การทาแผนที่สวนป่า
หลังจากได้ข้อมูลการสารวจพื้นที่แล้วจึงทาการออกแบบและวางผังการใช้ประโยชน์
พื้นที่อันได้แก่ โรงเพาะชากล้าไม้ การทาถนน และการแบ่งส่วนแบ่งตอนภายในสวนป่า ตาม
หลักการดังต่อไปนี้
 การทาโรงเพาะชากล้าไม้ (Nursery) ต้องอยู่ใกล้ถนนและแหล่งน้า ตลอดจนควรอยู่
ใกล้กับสาธารณูปโภคต่างๆ และมักอยู่ใกล้ที่พักคนงาน การทาถนน (Road) ควร
กว้าง 2 – 10 เมตร เพื่ อความสะดวกในการขนส่ งคนงาน กล้ าไม้ และผลผลิ ต
ตลอดจนเป็นเส้นทางตรวจงาน และแบ่งพื้นที่สวนป่ าออกเป็นส่วนๆ รวมทั้งแนว
ป้องกันไฟในฤดูแล้ง ถนนควรมีความยาวและตัดผ่านพื้นที่เท่าที่จาเป็น ควรทาการ
สร้างถนนก่อนที่พื้นที่จะมีการปลูกต้นไม้ ไม่ควรทาการสร้างถนนในช่วงที่ดินเปียก
รวมทั้งเลือกใช้วิธีการสร้างซึ่งรบกวนพื้นที่น้อยที่สุดและเครื่องมือเครื่องจักรกลที่
เหมาะสม ตลอดจนควรมีทางหรือคูระบายน้า
 การแบ่งส่วนแบ่งตอนภายในสวนป่า (Planting layout of plantation) สามารถใช้
แนวถนนในการแบ่งส่วนพื้นที่ หรือใช้แนวพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอุปสรรคต่อ
การเติบโตของต้นไม้ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ เช่น พื้นที่หินโผล่ ลาน้า เป็นต้ น ตลอดจน
สามารถปลูกต้นไม้ที่สามารถใช้เป็นแนวกันไฟสาหรับแบ่งพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการ
แบ่งส่วนแบ่งตอนพื้นที่นี้จะช่วยให้ง่ายต่อการจัดการพื้นที่โดยเฉพาะการป้องกันไฟ

4. กำรเตรียมพื้นที่ (Site Preparation)


การเตรียมพื้นที่ เป็นปฏิบัติการเพื่อปรับสภาพพื้นที่ ที่ต้องการปลูกสร้างสวนป่าให้ มี
สภาพที่เหมาะสมต่อการเติบโตของต้นไม้ในสวนป่านั้นๆ ซึ่งนอกจากเป็นการช่วยให้ต้นไม้รอด
ตายมากขึ้นและเติบโตได้ดีแล้วยังง่ายต่อการดาเนินงานปลูกสร้างสวนป่า ทั้งนี้ควรดาเนินการใน
เวลาที่เหมาะสม ได้แก่ ช่วงปลายฤดูแล้ง เพื่อเตรียมพื้นที่ให้พร้อมก่อนฤดูฝนหรือฤดูกาลเติบโต
ที่จ ะมาถึง ประกอบกั บ แรงงานในช่ วงฤดูแล้ งสามารถหาได้ง่ายกว่าในช่ วงฤดูฝ นซึ่งเป็ นฤดู
เพาะปลูก
94 | การปลูกสร้างสวนป่า
4.1 กำรเลือกใช้วิธีกำรเตรียมพื้นที่ (Selection of site preparation)
เนื่องจากวิธีการเตรียมพื้นที่แต่ละวิธีมีข้อดี -ข้อเสียต่างกัน ดังนั้นในการเลือกใช้วิธีใดๆ
จึงต้องคานึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์ของการปลูกสร้างสวนป่า
2) ชนิดไม้ที่ต้องการปลูก
3) พืชพรรณที่ปกคลุมอยู่เดิม
4) สภาพดิน
5) งบประมาณ แรงงาน และเวลา
4.2 ข้อควรคำนึงในกำรเตรียมพื้นที่ (Site preparation concerns)
1) กาจัดหรือทาลายเฉพาะวัชพืชที่ไม่ต้องการ
2) กาจัดเศษไม้ปลายไม้ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช เป็นอุปสรรคในการดาเนินงานใน
พื้นที่ และเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดไฟป่า
3) มาตรการอนุรักษ์ดินและน้าเพื่อป้องกันการกร่อนดินและน้าไหลบ่าหน้าดินอันเป็น
ผลมาจากการเตรียมพื้นที่
4) เลือกวิธีเตรียมพื้นที่ใ ห้เหมาะสม ประหยัด และหลีกเลี่ยงการทาลายบ่อน้า พื้นที่
ราบ พื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ รวมทั้งสิ่งต่างๆ อันเอื้อต่อการเติบโตของต้นไม้
5) มีผลกระทบต่อสัตว์ป่าน้อยที่สุด
4.3 ขั้นตอนในกำรเตรียมพื้นที่ (Step of site preparation)
ขั้นตอนในการเตรียมพื้นที่สามารถแบ่งได้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเก็บริบ การเตรียมดิน
และการปักหลักหมายแนวปลูก การขุดหลุมปลูก และระยะปลูก ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

.1.1. การเก็บริบ (clearing)

การเก็ บ ริ บ หรื อ การถางป่ า เป็ น ขั้ น ตอนแรกในการเตรี ย มพื้ น ที่ ป ลู ก สร้ า งสวนป่ า
โดยเฉพาะการกาจัดไม้พุ่มและหญ้ามีความจาเป็ นมาก เนื่องจากวัชพืชจะแย่งสารอาหาร น้า
และแสง อย่างไรก็ตามอาจต้องเหลือไม้ต้นไว้ในพื้นที่บ้างหากชนิดไม้ที่ต้องการปลูกเป็นไม้ทนร่ม
(shade-tolerant species) หรือเมื่อไม้ต้นนั้นๆ ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการปลูกสร้างสวนป่ามาก
นัก โดยรูปแบบและวิธีที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดวัชพืช สภาพพื้นที่ และความพร้อมของผู้ดาเนินงาน
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 95

 รูปแบบการเก็บริบ
การเก็บริบสามารถทาได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเก็บริบบางส่วน และกาจัดหมด โดยทั้ง
สองรูปแบบนี้เหมาะกับสภาพพื้นที่และชนิดไม้ที่ต้องการปลูกต่างกันไป
1) การเก็บริบ บางส่วนสามารถทาได้ทั้งแบบเป็นจุด (path clearing) และเป็นแถบ
(strip clearing) สาหรับการเก็บริบแบบจุดใช้ในพื้นที่ที่วัชพืชสูงไม่เกิน 1 เมตร พื้นที่โล่ง หรือ
พื้นที่ไร่ปศุสัตว์ร้าง เป็นการกาจัดวัชพืชรอบบริเวณหลุมหรือต้นไม้ที่ต้องการปลูกในระยะรัศมี
ประมาณ 1 เมตร โดยถางวัชพืชควบคู่ไปกับการขุดหลุมปลูก ส่ วนการเก็บริบแบบเป็นแถบจะ
กาจัดวัชพืชในระยะประมาณ 1 เมตร ตลอดข้างข้างของแนวการปลูก

การการเก็บริบบางส่วนแบบเป็นจุด การเก็บริบบางส่วนแบบเป็นแถบ

2) การเก็บริบแบบกาจัดหมด (total clearing) ใช้ในพื้นที่ที่มีหญ้าปกคลุมหนาแน่น


ตลอดจนใช้เมื่อต้องการปลูกชนิดไม้ที่เปราะบางต่อวัชพืช เช่น ยูคาลิปตัส

 วิธีการเก็บริบ
วิธีการเก็บริบสามารถแบ่งออกเป็น 4 วิธี ได้แก่ การใช้แรงงานมนุษย์ การเผาตามกาหนด
การใช้สารเคมี และการใช้เครื่องจักรกล โดยในการเตรียมพื้นที่นั้นจะเลือกใช้เฉพาะวิธีใดวิธีหนึ่ง
96 | การปลูกสร้างสวนป่า
หรือจะใช้วิธีการต่างๆ ร่วมกันก็ได้ ในการปลูกสร้างสวนป่าส่วนมากแล้วหลั งการกาจัดวัชพืชด้วย
วิธีการต่างๆ แล้ว มักจะกาจัดเศษซากต่างๆ ด้วยการเผาตามกาหนดหรือเก็บริมสุมเผา
1) การใช้แรงงานมนุษย์ (Manual clearance)
การใช้แรงงานมนุษย์เป็นการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป เช่น ขวาน จอบ เลื่อย ฯลฯ
ในการกาจัดวัชพืช ไม่จาเป็นต้องใช้ความรู้หรื อทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงาน จึงทาให้สามารถ
หาแรงงานได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย

2) การเผาตามกาหนด (prescribed burning)


การเผาตามกาหนดเป็นวิธีการเตรียมพื้นที่ที่เก่าแก่ที่สุดและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เป็น
วิธีที่ช่วยกาจัดวัชพืชและช่วยปลดปล่อยสารอาหารในสู่ดินให้เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดและ
การเติบโตของกล้าไม้ แต่สารอาหารเหล่านี้อยู่ในรูปขี้เถ้าซึ่งสูญเสียไปจากพื้นที่ได้ง่าย
อย่างไรก็ตามการเผาเพื่อกาจัดวัชพืชนี้อาจต้องเผาบ่อย และในพื้นที่ที่ใช้ระบบตัดหมด
(clear-cut system) การเผาไม่สามารถกาจัดเศษไม้ปลายไม้ทั้งหมด ประกอบกับการเผาไม่
สามารถกาจั ด วัช พื ช หรื อต้ น ไม้ ที่ มี ขนาดเส้ น ผ่ านศูน ย์ก ลางมากกว่า 3 นิ้ ว ได้ อี กทั้ งยั งช่ ว ย
ส่งเสริมให้วัชพืชแตกหน่อใหม่ที่มีความแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นควรใช้วิธีการเตรียมพื้นที่
โดยการเผาตามกาหนดร่วมกับวิธีการอื่น และเนื่องจากไฟอาจลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและจาเป็นต้องควบคุมการ
เผาอย่างใกล้ชิด
ส าหรั บ วิธีก ารเผาเพื่ อ กาจั ดซากต่ างๆ เรีย กว่า “การเก็ บ ริม สุ ม เผา (burning and
caring)” มักทาหลังการกาจัดวัชพืชประมาณ 15 วัน หลังจากนั้นอีก 3 วัน ทาการเก็บริ บซึ่ง
เป็นการเก็บกิ่งไม้มารวมกันเพื่อเผาอีกครั้งหนึ่ง
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 97

.1.1. การใช้สารเคมี (Chemical method)

เป็ น วิธีการเตรี ย มพื้ น ที่ โดยใช้ ส ารเคมีก าจัด วัช พื ช ซึ่งเป็น วิธีที่ รบกวนดิน น้ อยที่ สุ ด
เหมาะส าหรับ ใช้ในพื้ น ที่ ล าดชั น สู งและพื้ น ที่ขนาดเล็ กซึ่งไม่ส ามารถใช้เครื่องจัก รกลเข้ าไป
ดาเนิ น การในพื้น ที่ได้และมักใช้กับ พื้น ที่ซึ่งมีส ภาพเป็นป่าหญ้ าคาล้ วน อย่างไรก็ตามการใช้
วิธีการทางเคมีต้องคานึงถึงปริมาณและเวลาและมักใช้ร่วมกับการเผา เนื่องจากการใช้สารเคมี
กาจัดวัชพืชเป็นเพียงการทาให้วัชพืชตาย แต่ไม่ได้กาจัดเศษซากวัชพืชออกไปจากพื้นที่ โดยการ
เผาหลั ง การใช้ ส ารเคมี ช่ ว ยเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของการก าจั ด เศษซากพื ช และช่ ว ยให้ ก าร
ดาเนินงานปลูกต้นไม้ง่ายขึ้น ทั้งนี้สามารแบ่งวิธีการเตรียมพื้นที่ทางเคมีได้ 3 วิธี ดังนี้ การฉีด
เข้าต้นโดยตรง การพ่นทางใบ และการให้สารกาจัดวัชพืชทางดิน
 การฉีดเข้าต้นโดยตรง (Tree injection)
การฉีดสารเคมีกาจัดวัชพืชเข้าต้นไม้สามารถใช้กาจัดวัชพืชขนาดกลางและใหญ่ แต่ไม่
สามารถกาจัดวัชพืชขนาดเล็กได้ ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการนี้ร่วมกับการเผาเพื่อกาจัดวัชพืชขนาด
เล็ก หรือใช้ร่วมกับการใช้สารเคมีด้วยวิธีอื่นและวิธีการทางกล โดยสารเคมีที่ฉีดนี้จะฉีดผ่านทาง
เปลื อกของต้น ไม้ ซึ่งสามารถทาได้ 2 วิธี คือ ฉีดที่โคนต้น และฉีดที่ความสู งระดั บเอว โดย
วิธีการฉีดสารเคมีนี้นิยมใช้ในพื้นที่ขนาดเล็กและพื้นที่ที่ความหนาแน่นของต้นไม้ต่า

การฉีดสารเคมีที่ระดับโคนต้น การฉีดสารเคมีที่ความสูงระดับเอว
 การฉีดพ่นทางใบ (Foliar spraying)
การฉีดพ่นทางใบเป็นวิธีที่สามารถกาจัดวัชพืชซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งได้เร็วและประหยัดที่สุด
โดยสามารถทาได้ทั้งฉีดพ่นทางพื้นดินและทางอากาศ อย่างไรก็ตามการฉีดพ่นสารเคมีนี้ต้อง
ระวังเรื่องทิศทางลม และควรฉีดพ่นในช่วงกลางฤดูร้อน หลังจากนั้น 6 – 8 สัปดาห์ จึงดาเนินการ
เผาเพื่อกาจัดใบที่ร่วงหล่นหรือซากต้นไม้อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีกาจัดวัชพืช
98 | การปลูกสร้างสวนป่า

 การให้สารกาจัดวัชพืชทางดิน (Soil application of herbicides)


การให้สารกาจัดวัชพืชทางดินสามารถดาเนินการได้โดยหว่านให้ทั่วทั้งพื้นที่ โรยรอบ
โคนต้น และโรยเป็นแถว ซึ่งสารกาจัดวัชพืชมีทั้งแบบของเหลวและเม็ดโดยสามารถให้ได้ทั้งทาง
พื้นดินและทางอากาศเช่นเดียวกับการฉีดพ่นทางใบ เมื่อโรยหรือหว่านลงบนผิวดินแล้วน้าฝนจะ
ช่วยละลายสารเคมีให้ซึมลึกลงไปในดิน จากนั้น สารเคมีจะถูกดูดซึมผ่านทางราก อย่างไรก็ตาม
การให้ด้วยมือ เช่น การใช้ปืนยิงเฉพาะจุด เหมาะสาหรับใช้ในพื้นทีขนาดเล็ก
ทั้ งนี้ ป ระสิ ท ธิภ าพในการให้ ส ารก าจั ด วัช พื ช ทางดิ น ขึ้ น กั บ เนื้ อ ดิ น (soil texture)
คุ ณ ภาพพื้ น ที่ (site quality) ฤดู ก าล ความชื้ น ในดิ น (soil moisture) สารเคมี แ ละวิ ธี ที่ ใช้
นอกจากนี้วัชพืชแต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อการใช้สารเคมีต่างกัน

.1.1. การใช้เครื่องจักรกล (Mechanical method)

การใช้เครื่องจักรกลในการกาจัดวัชพืชมักใช้รถไถตีนตะขาบ (crawler tractor) ซึ่งการ


กาจัดวัชพืชสามารถทาได้หลายรูปแบบ เช่น การสับ (chopping) การเฉือน (shearing) การ
ถอนราก (root raking) และ การไถ (disking) เป็นต้น วิธีการใช้เครื่องจักรกลต้องเสียค่าใช้จ่าย
สูงและเหมาะกับพื้นที่ราบขนาดใหญ่ แต่สามารถกาหนดเวลาของงานได้แน่นอนและรวดเร็ว
ทั้ ง นี้ วิ ธี ก ารทางกลส่ ว นใหญ่ เป็ น ทั้ ง การก าจั ด วั ช พื ช และเตรี ย มพื้ นที่ ให้ เหมาะกั บ การใช้
เครื่องจักรกลอื่นๆ ในการปลูกสร้างสวนป่า และมักใช้ร่วมกับวิธีใช้สารเคมีและการเผา
 การสับ (chopping)
การสับ เป็ น วิธีการกาจัดไม้พุ่มเนื้ อแข็งและไม้ต้นขนาดเล็ กโดยใช้ รถตีนตะขาบตัด
ต้นไม้แล้วสับออกเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นจึงดาเนินการเผา ข้อดีของวิธีการนี้คือ มีผลกระทบต่อ
ดินเพียงเล็กน้อย ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีการทาง
กลอื่นๆ หรือใช้เครื่องมือ เช่น มีด พร้า จอบ เสียม ฯลฯ ในการกาจัดวัชพืชด้วยแรงงานคนใน
พื้นที่ขนาดเล็ก
 การเฉือน (shearing)
การเฉือน เป็ นวิธีการใช้ ใบมีดรูป ตัววี (V-blade) หรือ ใบมีด KG (KG-blade) กวาด
บริเวณด้านหน้าเพื่อกาจัดเฉพาะส่ วนของวัชพืชที่อยู่เหนือผิวดินออกทั้งหมด วิธีการนี้ส่งผล
กระทบต่ อ ดิ น มากเนื่ องจากในทางปฏิ บั ติ ใบมี ด บางส่ ว นมั ก จะจมลงไปในดิน หรือหากใช้
แรงงานคนในการถางจะช่วยลดผลกระทบต่อดินลงได้มาก
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 99

 การถอนราก (root raking)


การถอนราก มักทาหลั งการเฉือน โดยใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นซี่ในการถอนราก
แล้วนามากองรวมกัน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้เหลืออยู่เฉพาะดินเปล่าๆ ยกเว้นในบริเวณ
ที่มีกองซากพืชปกคลุม และช่วยให้เครื่องจักรสามารถทางานได้ง่ายขึ้น หรือถ้าในพื้นที่ขนาดเล็ก
อาจใช้แรงงานคนโดยใช้จอบ เสียม พลั่ว เป็นต้น ในการกาจัดวัชพืชแบบขุดราก
 การไถผาน (disking)
การไถผาน เป็นขั้นตอนที่ทาหลังจากการขุดรากในพื้นที่ที่ดินแข็งมากหรือดินเป็นทราย
ซึ่งหลังจากการถอนรากแล้วยังเหลือรากเล็กๆ อยู่ในดิน โดยใช้จาน (ผาน) ไถผิวหน้าดินเพื่อทา
ให้ป ลูกได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ หลังการสั บ เฉือน ขุดราก และไถแล้ว สภาพพื้นที่จะคล้ายกับพื้นที่ที่
เตรียมเพาะปลูกทางการเกษตร อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่เหมาะสาหรับพื้นที่ระบายน้าเลว

.1.1. การเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีการในการกาจัดวัชพืช (Comparison


of advantage and disadvantage of each weeding methods

ตารางที่ 5.1 ข้อดีและข้อเสียของวิธีการกาจัดวัชพืชวิธีต่างๆ

วิธีการกาจัดวัชพืช ข้อดี ข้อเสีย


การใช้แรงงานมนุษย์ - ปฏิบัติงานได้ทุกเวลา - ใช้เวลานาน
- ไม่จาเป็นต้องใช้ทักษะความ - ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเมื่อ
เชี่ยวชาญที่เฉพาะ ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีวัชพืช
- ประหยัด ประเภทไม้ต้นหนาแน่น
- ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
- ส่งผลกระทบต่อดินเพียง
เล็กน้อย
- เหมาะสาหรับพื้นที่ขนาดเล็ก
การเผาตามกาหนด - เป็นการกาจัดทั้งวัชพืชและเศษ - เสี่ยงต่อการลุกลามของไฟ
ซากต่างๆ - เกิดควันและมลพิษ
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- ช่วยปลดปล่อยสารอาหาร
100 | การปลูกสร้างสวนป่า
ตารางที่ 5.1 (ต่อ)

วิธีการกาจัดวัชพืช ข้อดี ข้อเสีย


- การสูญเสียอินทรียวัตถุ
สารอาหารในรูปขี้เถ้า การ
ระเหย และระเหิด
- ดาเนินการได้เฉพาะเวลาและ
เมื่อสภาพอากาศเหมาะสม
- เสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อรา
Rhizina spp.
การใช้สารเคมี - ประหยัดค่าใช้จ่าย - ทาให้วัชพืชตายแต่ไม่ได้กาจัด
- มีประสิทธิภาพสูงเมื่อใช้ใน ซากออกจากพื้นที่
ปริมาณและเวลาที่เหมาะสม - อาจมีสารพิษตกค้าง
- ควบคุมวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าได้ - ต้องเก็บและใช้อย่างระมัดระวัง
ยาวนานกว่าวิธีอื่น ไม่ให้กระทบต่อต้นไม้อื่นและ
- สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ ระบบนิเวศ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงาน
- สารเคมีและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
บางชนิดมีราคาแพง
การใช้เครื่องจักรกล - ประหยัดเวลา - เสียค่าใช้จ่ายสูงทั้งราคา
- ใช้แรงงานคนน้อย เครื่องจักร เชื้อเพลิง และค่า
- เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ ดูแลรักษา
- ต้องใช้ความรู้ความชานาญใน
การใช้และดูแลรักษา
เครื่องจักรกล
- ส่งผลอย่างมากต่อการอัดแน่น
ของดิน
- ไม่สามารถใช้กับพื้นที่ลาดชันได้
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 101

4.4 กำรเลือกใช้วิธีกำจัดวัชพืช
การเลือกใช้วิธีกาจัดวัชพืชวิธีต่างๆ ควรคานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
1) ชนิดของวัชพืช
2) วิธีการที่ใช้ในการปลูกสร้างสวนป่า เช่น การสืบพันธุ์โดยให้แม่ไม้โปรยเมล็ดตาม
ธรรมชาติของไม้สนควรใช้เฉพาะการเผาตามกาหนด พื้นที่ที่มีไม้พุ่มขึ้นหนาแน่นควรใช้วิธี การ
ทางกลโดยดาเนินการอย่างประณีต
3) คุณภาพดินและความชื้นในดิน
4) เทคนิคการปลูก เช่น การปลูกโดยใช้ เครื่องจักรสามารถดาเนินการได้เฉพาะใน
พื้นที่ที่ปราศจากซากต่างๆ ขณะที่การปลูกด้วยแรงงานคนสามารถดาเนินการได้ทั้งในพื้นที่ที่
ไม่ราบและพื้นที่ที่มีซากสะสมในระดับปานกลาง
5) ขนาดพื้นที่ เช่น พื้นที่ขนาดเล็กเหมาะกับวิธีการเผาตามกาหนดและวิธีการทางเคมี
โดยใช้แรงงานคน
6) แรงงานและเครื่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้วิธีการเผาตามกาหนด
7) สภาพอากาศ และการแพร่กระจายของสารเคมีทางอากาศและน้า
8) กองสุมซากพืชตามชั้นความสูง ไม่ดาเนินการเตรียมพื้นที่ด้วยวิธีกลในฤดูฝน และ
ควรปล่อยให้มีต้นไม้ (พื้นที่ที่ไม่ถูกรบกวน) ในระยะอย่างน้อย 15 – 25 เมตร ตลอดลาน้าหรือ
รอบแหล่งน้า

4.5. กำรเตรียมพื้นที่เพื่อกำรปลูกของต้นไม้ (Site Preparation for Tree


Planting)
การเตรี ย มพื้ น ที่ เป็ น การท าให้ ดิ น มี ส ภาพที่ เหมาะแก่ ก ารเติ บ โตของกล้ าไม้ ทั้ งทาง
กายภาพและทางเคมี สาหรับ ทางกายภาพประกอบด้วยการกาจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อ การ
เติบโตของต้นไม้ การปรับปรุงโครงสร้างดินซึ่งทาได้โดยใช้การไถพรวน ซึ่งช่วยให้ดินร่วนซุย
เหมาะแก่ ก ารชอนไชของรากและความเป็ น ประโยชน์ ข องสารอาหาร ทั้ งนี้ บ างพื้ น ที่ อ าจ
102 | การปลูกสร้างสวนป่า
จาเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษ เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการดาเนินงานและการเติบโต
ของต้น ไม้อีก ด้ วย ส่ ว นการปรั บ ปรุ งสมบั ติ ดิน ทางเคมีส ามารถท าได้โดยการใส่ ปุ๋ ยหรือ วัส ดุ
ปรับปรุงดินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในพื้นที่ราบและระบายน้าเลวหรือพื้นที่ที่มีน้าขังนิยมยกแปลง (bedding) โดยจะใช้
เครื่องมือยกระดับดินให้ เป็ นแปลงเพื่อใช้ปลูกกล้าไม้ทาให้รากของกล้าไม้อยู่สูงกว่า ระดับน้า
และอาจใช้ระบบระบายน้าในพื้นที่ร่วมด้วย ทั้งนี้ก่อนการยกแปลงต้องกาจัดซากต่างๆ ออกจาก
พื้นที่ให้หมดเสียก่อน
ส่วนในพื้นที่ลาดชันควรทาขั้นบันไดหรือทาขั้นบันไดซึ่งทาได้หลายรูปแบบร่วมกับการ
ปลูกไม้หลายชั้นเรือนยอดหรือพืชเกษตรเพื่อลดการกร่อนของดิน หรือถ้าลาดชันไม่มากสามารถ
ใช้การปลูกแบบเป็นแถบตามชั้นความสูง กล่าวคือ เตรียมพื้นที่เป็นแถบเฉพาะที่ใช้ปลูกต้นไม้
กล้าไม้สลับกับพื้นที่ที่ปล่อยให้มีพืชพรรณปกคลุมตามเดิม

ที่มา: http://practicalaction.org/farming_techniques

การทาขั้นบันไดรูปแบบต่างๆ
ที่มา: http://www.agnet.org/library/eb/448/

ขณะที่ในพื้นที่ที่เป็นเนินทรายควรใช้ไม้หรือวัสดุอื่นๆ ป้องกันทรายเข้ าปกคลุมผิวหน้า


ดิน และปลูกไม้พุ่มที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้หรือชนิดไม้ที่เรือนยอดหนาแน่นบริเวณผิวดิน
สาหรับพื้นที่แห้งแล้งหรือพื้นที่ที่ผ่านการทาเหมืองมาก่อน ก่อนการปลูกสร้างสวนป่าไม้อื่นควร
ปลูกพืชวงศ์ถั่ว (Leguminosae) เพื่อฟื้นฟูดิน และใส่ดินร่วนผสมอินทรียวัตถุลงในหลุมปลูก
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 103

อย่างไรก็ตามการเตรียมดินควรทาตามระดับความลาดชันเพื่อป้องกันการกร่อนดิน ซึ่ง
สามารถทาได้โดยใช้แรงงานคนและใช้เครื่องจักรกลโดยขึ้นกับสภาพพื้นที่และชนิดไม้ที่ต้องการ
ปลูก

5. กำรปักหลักปลูก (Staking)
การปั กหลั กหมายแนวปลูกและการกาหนดระยะปลู กมีวั ตถุป ระสงค์เพื่ อความเป็ น
ระเบี ย บเป็ น แถวเป็ น แนวของต้น ไม้ที่ต้องการปลู ก ซึ่งส่ งผลให้ ต้นไม้ต่อการได้ รับแสงสว่าง
สารอาหาร และการปฏิบัติต่างๆ ได้เท่าๆ กัน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของเนื้อไม้และค่าใช้จ่ายใน
การลงทุน โดยระยะปลูกขึ้นกับชนิดไม้ที่ต้องการปลูก วัตถุประสงค์ของการปลูกหรือผลผลิตที่
ต้องการ รวมทั้งสภาพพื้นที่ ดังนี้
 ระยะปลู ก 1–2 เมตร เหมาะส าหรั บ การปลู ก สร้ า งสวนป่ า ไม้ พ ลั ง งานหรื อ
ไม้เชื้อเพลิงที่รอบตัดฟันสั้น และต้องการไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนักเป็นจานวนมาก
 ระยะปลูก 2–3 เมตร เหมาะสาหรับการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อใช้ทาเยื่อกระดาษซึ่ง
มีรอบตัดฟัน 5–15 ปี และต้องการไม้ในปริมาณมากโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 10–40 เซนติเมตร
 ระยะปลูก 2.4–4.5 เมตร เหมาะสาหรับการปลูกสร้างสวนป่าไม้ซุงหรือไม้ท่อน
ขนาดใหญ่ ที่มีขนาดเส้น ผ่ านศูนย์กลางมากกว่า 30 เซนติเมตร รอบตัดฟันยาว
และมีการตัดขยายระยะในแต่ละรอบตัดฟัน

อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่แห้ งแล้งอาจะต้องใช้ระยะปลูกกว้าง 5–7 เมตร และบางพื้นที่


เช่น พื้นที่ที่มีหินปนอยู่มาก พื้นที่ที่มีหินโผล่ เป็นต้น ไม่สามารถกาหนดระยะปลูกที่แน่นอนได้
แต่ต้องปลูกโดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีหินหรืออุปสรรคในการเติบโตของต้นไม้แทน

ทั้งนี้รูป แบบการปลูกที่นิย มใช้กันมี 3 รูปแบบ ได้แก่ สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ ยมผื นผ้ า


และสามเหลี่ยม ซึ่งแต่ละรูปแบบเหมาะกับ พื้นที่ที่ต่างกันไปกล่าวคือ แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสและ
สี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมาะกับพื้นที่ราบ ขณะที่แบบสามเหลี่ยมเหมาะสาหรับพื้นที่ลาดชัน
104 | การปลูกสร้างสวนป่า

ระยะปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ระยะปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
(square spacing) (rectangular spacing)

ระยะปลูกแบบสามเหลี่ยม
(triangular spacing)

เมื่อกาหนดระยะปลูกและรูปแบบการปลูกแล้วจึงสามารถประมาณจานวนกล้าไม้ที่ต้อง
ใช้ จากนั้ น ทาการปั กหลักหมายแนวปลู กตามระยะปลูกและรูป แบบระยะปลู กเพื่อขุดหลุ ม
เตรียมปลูกต่อไป โดยการปักหลักหมายแนวปลูกสามารถทาได้โดยการใช้เส้นอ้างอิง (baseline)
แล้ววัดระยะในการปลูกจากเส้นอ้างอิงหรือใช้วิธีนับก้าวตามรูปแบบและระยะปลูกที่ได้กาหนด
ไว้ จากนั้นจึงขุดหลุมปลูกหรือปักหลักก่อนแล้วจึงขุดหลุมทีหลัง อย่างไรก็ตามการปักหลักหมาย
แนวปลูกนี้ไม่จาเป็นต้องทาเสมอไป จากนั้นจึงขุดหลุมปลูกหรือปักหลักก่อนแล้วจึงขุ ดหลุมที
หลัง อย่างไรก็ตามการปักหลักหมาแนวปลูกนี้ไม่จาเป็นต้องทาเสมอไป
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 105

6. กำรขุดหลุมปลูก (Planting Pit)


ในการปลู ก กล้ าไม้ ต้องทาการขุดหลุ มให้ มีขนาดกว้างและลึ กพอประมาณ ขนาด
30x50 หรือ 30xเซนติเมตร ขึ้นกับขนาดต 50้นกล้าหรือให้มีความลึกถึงระดับคอรากของกล้า
ไม้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ย อินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ทาการกรีดถุงพลาสติกหรือภาชนะ
เพาะชาออก ระวังอย่าให้ ดินแตกกระจาย กระทบกระเทือนระบบราก นากล้าวางลงปลูกให้
ระดับโคนต้นต่ากว่าผิวดินเล็กน้อย กลบด้วยดินร่วนที่เป็นหน้าดินให้เต็มหลุม กดดินรอบโคนต้น
ให้แน่น สาหรับพื้นที่ที่มีฝนตกชุกควรกลบดินให้สูงเล็กน้อย ป้องกันไม่ให้น้าขังโคนต้นได้ ตรงกัน
ข้ามกับพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ควรกลบดินบริเวณโคนต้นให้เป็นแอ่งเล็กเพื่อเก็บกักน้าฝนที่ตก
ลงมาสาหรับเอื้ออานวยให้แก่กล้าไม้ได้อย่างเต็มที่ สมยศ), 2538) นอกจากนี้แล้วควรมีการ
ตรวจสอบสมบั ติ ข องดิ น ในด้ านความอุ ด มสมบู รณ์ ข องดิ น เพื่ อ ที่ จ ะสามารถเลื อ กใช้ปุ๋ ยให้
เหมาะสมกับการขาดแคลนสารอาหารนั้นๆ ได้
7. สรุป (Conclusion)
การเตรียมพื้นที่เป็นขั้นตอนสาคัญในการปลูกสร้างสวนป่าไม่ว่าจะทั้งเพื่อการอนุรักษ์
หรือเพื่อเศรษฐกิจ เพราะส่งผลต่อคุณภาพของพื้นที่อันส่งผลต่อการเติบโตของไม้ที่ต้องการปลูก
ซึ่งก่อนการดาเนินการเตรียมพื้นที่จะต้องมีการสารวจพื้นที่ กาหนดขอบเขตพื้นที่ และแผนผัง
ภายในสวนป่าที่แน่นอน เพื่อใช้ประกอบในการเตรียมพื้นที่และจัดการพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ในการ
จัดการพื้นที่จาเป็นต้องคานึงถึงปัจจัยจากัดและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเตรียมพื้นที่ รวมทั้ง
หาทางป้องกันและแก้ไขผลกระทบเหล่านั้น
สาหรับขั้นตอนการเตรียมพื้นที่แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเก็บริบ การเตรียมดิน
และการปักหลักหมายแนวปลูก การขุดหลุมปลูก และระยะปลูก ซึ่งการกาจัดวัชพืชเป็นการ
ช่วยเพิ่มความสามารถในการรอดตายและการเติบโตของต้นไม้กล้าไม้ สามารถทาได้ 3 วิธี คือ
การเผา การใช้สารเคมี และวิธีการทางกล ส่วนการเตรียมดินนั้นเป็นวิธีการปรับปรุงสมบัติดิน
ทั้งทางกายภาพและเคมีให้เหมาะสมต่อการเติบโตของกล้าไม้หรือต้นไม้ ขณะที่การปักหลั ก
หมายแนวปลูก การขุดหลุมปลูก และระยะปลูก ช่วยให้การปลูกต้นไม้เป็นระเบียบเป็นแถวเป็น
แนว ซึ่งช่วยส่งเสริมการเติบโตและการจัดการสวนป่าในอนาคต
106 | การปลูกสร้างสวนป่า

8. เอกสำรอ้ำงอิง (References)
โครงการส่งเสริมการเพาะชากล้าไม้และปลูกป่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเพาะชากล้าไม้
สานักส่งเสริมการปลูกป่า. 2539. คู่มือส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สมยศ กิจค้า. 2538. กลยุทธ์ใหม่ในการปลูกสร้างป่าไม้เขตร้อน. ส่วนวนวัฒนวิจัย สานัก
วิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
Assman, E. 1970. The principle of Yield Study. Pergamon Press Ltd,
New York.
Camirand, R. 2002. Guidelines for Forest Plantation Establishment and
Management in Jamaica. CIDA, Canada.
Davis, L.S. 1987. Forest Management. McGraw Hill Book Company, Inc.,
New York.
Dubois, M.R. 1995. Site Preparation Methods for Regenerating Southern
Pines. Available source: http://www.forestproductivity.net/preparation/
Methods_Southern_Pines.html, November 28, 2010.
Evans, J. 1982. Plantation forestry in the tropics. Oxford University Press,
New York.
FAO. 1955. Tree Planting Practices for Arid Areas. Rome, Italy.
. 1974. Tree Planting Practices in African Savannas. Rome, Italy.
. 1989. Arid Zone Forestry: A Guide for Field Technicians. Rome,
Italy.
ILO, UNDP. 1993. Special Public Works Programmes - SPWP - Planting Trees
- An Illustrated Technical Guide and Training Manual. UNDP.
Powers, R.F. 2001. Assessing potential sustainable wood yield, pp. 105-128. In
J. Evans, ed. The Forests Handbook. Vol. 2. Blackwell Science, Ltd.,
Oxford.
Salisbury, F.B. and C.W. Ross. 1992. Plant Physiology. 4th ed. Wadsworth
Pub. Co., Belmont.
บทที่ 5 การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกป่า| 107

Skovsgaard, J.P. and J.K. Vanclay. 2008. Forest site productivity: a review of the
evolution of dendrometric concepts for even-aged stands. For. 81(1): 13-31.
Spurr, S.H. 1952. Forest Inventory. The Ronald Press Co., New York.
บทที่ 6
รูปแบบและเทคนิคกำรปลูกไม้ป่ำ
Pattern and Forest Tree Planting Technique

รุ่งเรือง พูลศิริ และ จงรัก วัชรินทร์รัตน์

1. บทนำ (Introduction)
การปลูก (planting) ต้องคานึงถึงวัตถุประสงค์เป็นหลักว่าต้องการใช้ทรัพยากรไปใน
ทิศทางใด เพื่อที่จะเป็น แนวทางไปสู่ในการวางแผนที่ปลูก โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกชนิดพันธุ์ให้
เหมาะสมกับพื้นที่ โดยต้องมีการเตรียมพื้นที่ และเลือกวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับชนิดพันธุ์ที่
นามาปลูกด้วย เนื่องจากความเหมาะสมของวิธีการปลูก จะแตกต่างกันออกไปในไม้แต่ละชนิด
เช่น วิธีการปลูกด้วยเมล็ด เหมาะกับ ต้นเหรียง ต้นยางนา วิธีการปลูกโดยใช้เหง้าเหมาะกับ สัก
และซ้อ เป็นต้น และยังมีรูปแบบในการปลูกที่ต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในข้างต้น ไม่ ว่า
จะเป็นรูปแบบการปลูกเชิงเดี่ยว การปลูกแบบผสม ที่จะให้ประโยชน์แตกต่างกัน และการปลูก
แบบวนเกษตรที่เน้นทั้งความสมดุลของธรรมชาติและประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ เมื่อ
มีการปลูกต้นไม้ไปแล้วจาเป็นต้องมีการบารุงรักษาต้นไม้ เพื่อที่จะให้ต้นไม้นั้นได้มีการเติบโตที่ดี
และให้ผลผลิตที่สูง
2. รูปแบบกำรปลูก
2.1 กำรปลูกเชิงเดี่ยว
สวนป่ าเชิ งเดี่ ย ว (monoculture) เป็ น การปลู ก ป่ าที่ ใช้ ช นิ ด ไม้ เพี ย งชนิ ด เดี ย วที่ ให้
ผลผลิตสูง และปลูกในพื้นที่กว้าง โดยมุ่งหวังผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ทั้งค้า
ภายใน และภายนอกประเทศ เป็นรูปแบบที่นิยมปลูกกันมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การ
ปลูกสวนป่าเชิงเดี่ยวที่ประสบความสาเร็จแล้วได้แก่สวนป่าไม้สักและสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส เพื่อ
อุ ต ส า ห ก ร ร ม โ ด ย มี ข้ อ ดี แ ล ะ ข้ อ เ สี ย ดั ง นี้
110 | การปลูกสร้างสวนป่า

ข้อดี
1) ได้ผลผลิตปริมาณมาก
2) การใช้เนื้อไม้ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปลูกแบบผสม
ข้อเสีย
1) ในแง่ของสิ่งแวดล้อมจะทาให้ขาดความหลากหลายทางชีวภาพ
2) ทาให้เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาดได้ง่ายและรุนแรงเกิดผลกระทบทั้งพื้นที่
3) การปลูกพืชชนิดเดิมเป็นเวลานานทาให้ดินสูญเสียสารอาหาร ดังนั้นควรทาการปลูก
พืชหมุนเวียนซึ่งเป็นการรักษาความสมบูรณ์ของดิน ยกตัวอย่างเช่น ในการปลูกยูคาลิปตัส 5 ปี
แล้วตัดรอบต่อไปควรปลูกกระถินเทพาซึ่งเป็นไม้ตระกูลถั่วและเป็นไม้ปรับปรุงดิ นสลับกันไป
เป็นต้น
4) การบารุงรักษาสวนป่าเพื่อให้ได้ผลผลิตในระยะยาว โดยผลผลิตในรอบตัดฟันต่อไป
อาจจะมี ผ ลผลิ ตลดลง เนื่ องจากการอัดแน่ น ของดิน และความอุดมสมบู รณ์ ของสารอาหาร
สูญเสียไปจากดิน ซึ่งต้องบารุงรักษาสวนป่าและเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงดินและการใส่ปุ๋ย
ซึ่งจะสูญเสียเงินมากกว่าการปลูกแบบผสมผสาน และยังขาดความคงทนของพันธุ์ซึ่งต้องมีการ
ปรับปรุงพันธุ์ (กรมป่าไม้, 2536)
2.2 กำรปลูกแบบผสม
สวนป่าแบบผสม (mixed culture) เป็นการปลูกเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้งด้าน
เศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะแบ่งย่อยเป็นการปลูกไม้ตั้งแต่ 2 ชนิดร่วมกันขึ้นไป
อาจจะเป็นไม้ยืนต้นที่ต่างชนิดกัน หรือการปลูกไม้ยืนต้นร่วมกับพืชเกษตร หรือสมุนไพร
การปลูกแบบผสมออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) การปลู กผสมแบบชั่ ว คราว (temporary mixtures) วัต ถุป ระสงค์ เพื่ อช่ ว ยให้ ไม้
เศรษฐกิจ ชนิดอื่นให้ผลเป็นที่แน่นอนและในเวลาอันรวดเร็ว อย่างน้อยก็จะช่วยให้การเติบโตดี
ขึ้น พรรณไม้ที่ใช้ปลูกช่วยในการกาจัดวัชพืช
2) การปลูกผสมแบบถาวร (permanent mixtures) ไม้ที่ปลูกจะมีอายุรอบตัดฟันไล่เลี่ย
กัน หรือเท่ากัน การปลูกอาจจะทาเป็นแถวต่อแถว หรือเป็นแถบๆ หรือปลูกผสมเป็นหมู่ๆ
3) การปลูกแบบผสมโดยวิธีแบ่งเป็นตอนๆ (mixtures by blocks) มักจะพิจารณาว่า
จะปลูกไม้ชนิดใดเป็นพื้นที่เท่าใดจึงจะให้เกิดผลดีต่อการปลูกแบบผสม
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 111

4) การปลู ก แบบผสมโดยการใช้ พ รรณไม้ พื้ น เมื อ ง (mixtures by intrusion of


natural species) วิธีการปลูกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการจะให้ไม้พื้นเมืองได้มีโอกาสขึ้นอยู่ใน
พื้นที่
โดยมีข้อดี คือ
1) มีความหลากหลายทางชีวภาพเพราะมีไม้หลายชนิดในหมู่ไม้เดียวกัน
2) ได้รับผลตอบแทนหลายช่วงโดยระยะสั้นจากพืชเกษตรหรือสมุนไพรระยะยาวจาก
ต้นไม้
3) หากเกิดการระบาดของโรคและแมลงเกิดในพื้นที่ขนาดเล็กไม่ส่ง ผลเสียมากทั้งพื้นที่
ซึง่ ต่างจากการปลูกป่าเชิงเดีย่ วทีต่ อ้ งดูแลมาก
ข้อเสีย คือ
1) ผลผลิตปริมาณน้อยเพราะสัดส่วนของไม้แต่ละชนิดน้อย
2) การแก่ งแย่ งแสงน้ าและสารอาหารโดยเรือ นยอดต้น ไม้ จะบดบั งพื ช เกษตรและ
สมุนไพร
3) ชนิ ด พื ช ที่ น ามาปลู ก ผสมต้ อ งสามารถเติ บ โตได้ ดี ในสภาพแวดล้ อ มเหมื อ นกั น
(กรมป่าไม้, 2536)
2.3 กำรปลูกแบบวนเกษตร
การปลูกโดยจัดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานระหว่างกิจกรรมด้านป่าไม้
การเกษตร และการเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ ใดๆ ในพื้นที่เดียวกัน หรือสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างสม่าเสมอตลอดไป โดยจะประยุกต์วิชาการแทบทุกด้านที่สามารถปฏิบัติ
เองได้ เพื่อนาเอาพลังงานและทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมี
ประสิ ท ธิภ าพ โดยค านึ งถึ งหลั ก ความสมดุ ล ตามธรรมชาติ ข องระบบนิ เวศเป็ น ส าคั ญ เพื่ อ
ตอบสนองความต้องการของสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะราษฎรชนบทที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บริเวณนั้น
(กรมป่าไม้, 2536) โดยมีการจาแนกระบบวนเกษตร ดังนี้

2.3.1 ระบบเกษตรป่าไม้ (Agrisilviculture systems)

ระบบเกษตรป่าไม้ เป็นระบบการใช้ที่ดินร่วมกันระหว่างพืชเกษตรและไม้ยืนต้น เน้นที่


การผลิ ต ด้ านการเกษตรเป็ น หลั ก ได้ แ ก่ ระบบพั กดิ น สวนไม้ผ ล ไม้ อ เนกประสงค์ ในพื้ น ที่
เกษตรกรรม สวนไม้ควบพืชสวน และแถวไม้พุ่มในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น
112 | การปลูกสร้างสวนป่า
2.3.2 ระบบป่าไม้เกษตร (Silviagriculture systems)

ระบบป่าไม้เกษตร เป็นระบบการใช้ที่ดินร่วมกันระหว่างพืชเกษตรและไม้ยืนต้น เน้นที่


การผลิตด้านการปลูกป่าเป็นหลัก ได้แก่ ระบบตองยาหรือการปลูกพืชควบในสวนป่า สวนไม้ป่า
ชุมชน และแถบไม้กันลม เป็นต้น

2.3.3 ระบบป่าไม้ปศุสัตว์ (Silvopastural systems)

ระบบป่าไม้ปศุสัตว์ เป็นการใช้ที่ดินร่วมกันระหว่างไม้ยืนต้นและการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่


การเลี้ยงสัตว์ในสวนป่า การปลูกไม้อาหารสัตว์แล้วตัดใบไปเลี้ยงรั้วไม้อาหารสัตว์ และการปลูก
ต้นไม้และไม้พุ่มในทุ่งหญ้า เป็นต้น

2.3.4 ระบบเกษตรป่าไม้ปศุสัตว์ (Agrisilvopastoral systems)

ระบบเกษตรป่าไม้ปศุสัตว์ เป็นการใช้ที่ดินร่วมกันเกษตร ปศุสัตว์ และไม้ยืนต้น ได้แก่


ระบบสวนบ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น (ณัฐวัฒน์, 2555)
2. วิธีกำรปลูก
2.1 กำรปลูกจำกเมล็ด (Seeding)
โดยปกติแล้วการปลู กด้วยเมล็ดจะประสบความสาเร็จได้ ก็เมื่อดินได้รับการเตรียมไว้
อย่างดีเพื่อให้รากสามารถชอนไชลงไปในดินได้เท่านั้น ถ้าจะให้ได้ผลดีแล้วเมล็ดควรจะได้รับ
การห่ อหุ้ มไว้ด้วยดิน หนา 2-3 เท่าของความหนาของเมล็ ด และห่ อหุ้ มด้วยหญ้าอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้แน่ใจว่ากล้าสามารถตั้งตัวได้ในระหว่างฤดูฝน สาหรับเมล็ดปริมาณเมล็ดที่ต้องใช้ ขึ้นอยู่
กับร้อยละการงอกของเมล็ด และการสูญเสียที่เกิดจากนก แมลง กระรอก หนู และสัตว์ต่างๆ
โดยชนิดของไม้ที่นามาปลูกสร้างสวนป่าด้วยเมล็ด เช่น ยางนา เหรียง มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
(มณฑี, 2528)
ดังนั้นปัจจัยที่ทาให้การปลูกด้วยเมล็ดประสบผลสาเร็จ ได้แก่
1) ปริมาณและความมีชีวิตของเมล็ด (seed supply and viability) ดังนั้นการปฏิบัติ
ต่อเมล็ดช่วยเพิ่มอัตราการงอก (รัชนู และคณะ, 2558)
2) พื้น ที่ป ลูก (seedbed) เช่น ลักษณะดิน ลั กษณะภูมิประเทศ เป็นต้น ดังนั้น การ
เตรียมพื้นทีท่ ี่เหมาะสมย่อมส่งผลต่อการงอกของเมล็ด
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 113

3 ) สิ่ งแ ว ด ล้ อ ม (environment) เช่ น ค ว าม ชื้ น (moisture) แ ล ะ อุ ณ ห ภู มิ


(temperature) จึงควรเลือกฤดูกาลในการปลูก
2.2 วิธีกำรปลูกด้วยเมล็ด (Methods of seeding)
วิธีการปลูกด้วยเมล็ด ประกอบด้วย

2.2.1. การหว่าน Broadcast seeding

การหว่านมีการหว่านด้วยมือหรือใช้เครื่องหว่าน ก่อนหว่านจะต้องเตรียมพื้ นที่ให้ดีด้วย


การไถพรวนดินก่อน ดินควรเป็นดินร่วน และมีความชุ่มชื้นพอประมาณ ซึ่งวิธีนี้ต้องใช้เมล็ดใน
ปริมาณมาก กล้าไม้ที่เติบโตขึ้นมาจะมีความไม่สม่าเสมอกัน โดยส่วนมากจะปลูกเพื่อกาจัดหญ้า
และวัชพืชต่างๆ เพื่อทาให้ดินดีขึ้น (กรมป่าไม้, 2529)

2.2.2 การปลูกเป็นแถบ Strip seeding

วิธีนี้มีการไถพรวนพื้นที่เป็น แถวเป็นแนว และปลูกตามแนวที่ได้ไถพรวนไว้ โดยควรมี


ระยะห่างระหว่างแนวเท่า ๆ กัน ความกว้างของแนวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ระยะห่าง
ระหว่างแนวห่างกัน 1-2 เมตร และวิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการหว่าน (กรมป่าไม้, 2529)

.1.13 การปลูกเป็นกลุ่ม Patch seeding

วิธีนี้มีวิธีการคล้ายคลึงกับการปลูกแบบแถบ แต่เปลี่ยนเป็นการปลูกแบบหย่อมๆ หรือ


เป็นกลุ่ม โดยที่กลุ่มของเมล็ดแต่ละกลุ่มนั้น จะกระจายตัวอยู่ทั่วพื้นที่ ไม่นิยมใช้ในการปลูกไม้
ยืนต้น ส่วนใหญ่มักใช้ในการปลูกหญ้า หรือไม้พุ่มขนาดเล็ก

.1.14 1การปลูกเป็นจุด Spot seeding

วิธีนี้จะมีการกาหนดระยะห่างระหว่างจุดที่มีการปลูก โดยแต่ล ะจุดของการปลูกนั้นจะ


ทาให้พืชโตอย่างสม่าเสมอกัน นิยมในการใช้ปลูกหญ้า
114 | การปลูกสร้างสวนป่า
.1.15 การหยอด Dibbling

วิธีนี้ไม่ต้องมีการเตรียมดินหรื อไถพรวน ใช้ไม้แหลม หรือเครื่องมืออื่นทาเป็นหลุมเล็ก


ๆ แล้วหยอดเมล็ดลงในหลุม 2-3 เมล็ดแล้วกลบ โดยวีนี้เหมาะกับพื้นที่ที่มีหญ้าหรือวัชพื ชมาก
(กรมป่าไม้, 2529)

อย่างไรก็ตามการปลูกด้วยเมล็ดโอกาสประสบผลสาเร็จมีน้อย จึงนิยมใช้เมื่อกล้าไม้
ไม่เพียงพอ การเข้าถึงภาคพื้นดินไม่สะดวก และผิวหน้าดินเป็นอุปสรรคต่อการปลูก ซึ่งปัจจุบัน
นี้ มีการโปรยเมล็ดด้วยอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) โดยในต่างประเทศมีการใช้วิธี
จริงการนี้ ในการเพาะปลู ก โดยจะต้องคานึ งถึงอัตราการงอกโดยการเตรียมเมล็ดให้ มีความ
พร้อม ซึ่งโดรน 1 ตัวสามารถโปรยเมล็ดในจุดที่เหมาะสมได้ถึง 10 เมล็ดต่อนาที เมล็ดที่โปรย
จะถูกบรรจุอยู่ในฝัก (Seed pod) ในนั้นจะประกอบไปด้วยเมล็ดไม้ ปุ๋ย และจุลินทรีย์ที่ ช่วยให้
เมล็ดงอกได้ดี (พรเทพ, 2559)
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 115

2.2 กำรปลูกด้วยกล้ำไม้ (Transplanting)


2.2.1 การปลูกโดยใช้กล้ารากเปลือย (Bare Root Planting)

การปลูกวิธีนี้จะเหมาะกับกลุ่มไม้สนทะเล สนประดิพัทธ์ ทาโดยการถอนกล้าและนาไป


ปลูกโดยทันทีทันใด ต้องระมัดระวังขณะถอน ซึ่งจะมีผลเสียร้อยละ 10-20 การใช้แทรกเตอร์จะ
ช่วยให้การขุดต้นกล้าเกิดความเสียหายน้อยลง

2.2.2 การปลูกโดยใช้เหง้า (Stump Planting)

นิยมใช้กับไม้สักและไม้ซ้อ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีมาก คอรากของกล้าที่จะมาเป็นเหง้า


ควรจะมีขนาดอย่างน้อย 1 เซนติเมตร และถอนเมื่อกล้าไม้เก็บอาหารได้มากที่สุด ทาการเก็บ
รักษาเหง้าไว้ในสภาวะที่เหมาะสม และนามาใช้เมื่อสิ่งแวดล้อมมีสภาพที่เหมาะสมที่สุด

2.2.3 การปลูกด้วยกล้าไม้มีดินหุ้มราก (Containerized-Seedling Planting)

ในการปลู ก ควรขุ ด หลุ ม ให้ มี ค วามกว้ า ง ความยาว และความลึ ก ประมาณ 25


เซนติเมตร และต้องขุดในตาแหน่งเดียวกันตลอด หลังจากขุดหลุมแล้วค่อยๆ ฉีกถุงพลาสติก
ออกแล้วครอบถุงไว้ที่ปลายหลักหมายแนวปลูก เพื่อแสดงว่าได้ทาการปลูกที่หลุมนี้แล้ว ใส่กล้า
ไม้ให้ ตรงในแนวดิ่งมากที่สุ ด ให้ ระดับ ของดินในถุงอยู่ระดับเดียวกั บดินในแปลงหรือต่ากว่า
เล็กน้อย กลบดินโดยกดดินให้แน่น

2.2.4 การปลูกกล้าไม้ล้อม (Balled-Tree Planting)

การขุดล้อมเอาดินบริเวณรอบๆ รากของไม้ที่ต้องการมาด้วย แล้วห่ อตุ้มดินนั้นด้วย


กระสอบป่าน เชือก ทั้งนี้ในการทาต้องระวังไม่ให้ตุ้มดินแตก เพราะการที่ตุ้มดินแตก ได้รับความ
เสียหาย หรือดินแห้งจนเป็นการทาลายระบบรากอย่างรุนแรง เนื่องจากการปลูกด้วยกล้าไม้
ล้อมนั้นยิ่งกล้าไม้มีอายุมากหรือมีขนาดใหญ่ ตุ้มดินก็ย่อมมีน้าหนักมาก ทาให้การเคลื่อนย้าย
และปลูกได้ยากถ้าไม่มีเครื่องมือช่วย ดังนั้น ต้นไม้ที่ขุดล้อมด้วยวิธีการนี้จะมีราคาแพง
116 | การปลูกสร้างสวนป่า
2.3 เทคนิคพิเศษในกำรปลูก
2.3.1 การคลุมดิน (Mulching)

ส่วนใหญ่นิยมกระทาเพื่อรักษาความชื้นในดิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง การคลุมดินยัง


มีประโยชน์ ในแง่ของการลดปริมาณวัชพืชด้วย นอกจากนี้วัสดุคลุมดิน ยังช่วยให้อุณหภูมิของ
ดินไม่แตกต่างกันมาก ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการคลุมดิน (purpose of mulching) มีดังต่อไปนี้
1) เพื่อป้องกันการกร่อนของดิน ที่เกิดจากเม็ดฝนที่ตกลงมา หรือที่เกิดจากน้าไหลบ่า
บนผิวดิน หรือที่เกิดจากลม
2) เพื่อเป็นการอนุรักษ์น้าในดิน
3) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิหรือรักษาอุณหภูมิไม่ให้ลดต่าลงมากจนเป็นอันตราย ต่อรากพืช
4) เป็นการลดการเติบโตของวัชพืช
5) เป็นการรักษาโครงสร้างของดิน
ชนิดของวัตถุคลุมดิน (type of mulch) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1) อินทรียวัตถุต่างๆ มีดังต่อไปนี้เศษเหลือของพืช (crop residuals) เช่น ตอซัง หญ้า
แห้ ง และปุ๋ ย หมัก peat ได้แก่ ซากอิน ทรีย วั ตถุที่สะสมอยู่ในที่ลุ่มน้าต่างๆ เศษเหลือของไม้
ต่างๆ ได้แก่ ขี้กบ ขี้เลื่อย เศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กากอ้อย เป็นต้น
2) วัตถุคลุ มดิน ที่ได้จากการสังเคราะห์ ได้แก่ กระดาษ พลาสติก กระดาษฉาบด้ว ย
พลาสติก หรือกระดาษฉาบด้วยขี้ผึ้ง แผ่นอลูมิเนียม แผ่นเหล็ก (สมเจตน์, 2526)

2.3.2 การให้ร่ม (Shading)

การปลูกต้นไม้บางชนิดในที่โล่งแจ้ง แดดกล้า ลมแรง จะต้อง ทาหลังคาเพื่อพรางแสง


ด้านบนและด้านข้าง ให้ เหลื อแสงร้อยละ 50-70 เป็ นเวลา 2-3 เดือน หรือจนกว่าต้น ไม้ จะ
ฟื้นตัวแตกใบและมีใบแก่เต็มต้น

2.3.3 การปลูกลึก (Deep planting)

เป็ น การปลู ก ไม้ ให้ ลึ ก กว่ าปกติ เพื่ อ ให้ ต้ น กล้ า แข็ งแรง และเพิ่ ม อั ต ราการรอดตาย
เนื่องมาจากสภาพพื้นที่ไม่อานวยต่อการปลูกพืช เช่น มีความชื้นต่า อุณหภูมิสูง ความเค็มสูง
การไหลบ่าหน้าดินที่เกิดจากน้าท่วม (Bakewell et al, 2009)
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 117

2.3.4 การยกโคก (Mound planting)

เป็ น การยกดิน บริเวณที่จ ะปลู กต้น ไม้ให้ สูงขึ้นจากพื้ นที่ปกติโดยยกเป็นกองสู ง เพื่ อ


ป้ อ งกั น รากของต้ น ไม้ ไม่ ให้ จ มน้ า เนื่ อ งมากจากมี ส ภาพพื้ น ที่ มี ฝ นตกชุ ก น้ าท่ ว มขั ง เป็ น
ระยะเวลายาวนาน และน้าใต้ดินที่สูง โดยเทคนิคนี้จะทาให้น้าไม่ท่วมขังที่บริเวณโคนต้น ทาให้
ดินมีการระบายน้าและระบายอากาศดีขึ้น มีสภาพเหมาะสมต่อการหายใจของรากพืชและการ
ย่อยสลายของอินทรียวัตถุ ที่สามารถปลดปล่อยสารอาหารให้แก่พืชได้เพิ่มขึ้น (ธนิตย์, 2556)

2.3.5 การระบายน้า (Drainage)

การระบายน้าในบริเวณที่ปลูกต้นไม้ที่ดินระบายน้าได้ไม่ดี สามารถแก้ไขโดยการขุดร่อง
ก้างปลา โดยขุดจากหลุมปลูกต้นไม้ ความ ลึกของร่องเท่ากับความลึกของหลุมปลูก ภายในร่อง
อาจใส่ท่อเจาะรูพรุนต่อยาว ไปจนถึงจุดทิ้งน้าแล้วกลบด้วยทราบหยาบจนเต็มร่อง ร่องก้างปลา
จะช่วยกัน ไม่ให้น้าท่วมขังโคนต้นไม้

2.3.6 การให้น้า (Irrigation)

ท าได้ ห ลายวิ ธีการที่ จ ะเลื อ กวิ ธีใดวิธี ห นึ่ งจะต้ อ งพิ จารณาลั กษณะของภู มิป ระเทศ
สมบั ติดิน ลั กษณะของพื้น ที่ ที่ได้เตรี ยมไว้ พื ช ที่จะปลู ก วิธีการเพาะปลู ก เงินทุ น ตลอดจน
น้าต้นทุนที่จะนามาให้แก่พืช โดยทั่วไปวิธีการให้น้า แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
การให้น้าแบบฉีดฝอย (sprinkler irrigation) การให้น้าทางผิวดิน (surface irrigation) การให้
น้ าท างใต้ ผิ ว ดิ น (subsurface irrigation) แ ล ะก ารให้ น้ าแ บ บ ห ย ด (drip irrigation)
(กองบริรักษ์ที่ดิน, 2525)

2.3.7 การใส่ปุ๋ย (Fertilization)

เป็นวิธีการให้สารอาหารแก่พืชในส่วนที่พืชได้รับจากดินไม่เพียงพอ เพื่อเพิ่มผลผลิต
และคุณภาพ โดยปุ๋ยมี 2 ชนิด คือ
1) ปุ๋ ยอิน ทรีย์ (organic fertilizer) เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งได้ผ่านการ
แปรรู ป หรือ ถูกหมัก หมมจนเน่ าเปื่ อ ย เช่น ปุ๋ ยคอก ปุ๋ ยหมัก ปุ๋ ยพื ช สด กระดู กป่ น เป็น ต้ น
วิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องควรเลือกใช้วิธีการที่ถูกหลักทางเศรษฐกิจเพื่อให้มีประสิทธิสูงสุด
2) ปุ๋ ย อนิ น ทรี ย์ (inorganic fertilizer) หรื อ ปุ๋ ย เคมี เป็ น สารที่ สั งเคราะห์ ขึ้ น จาก
กระบวนการเคมี ปุ๋ย อนินทรีย์นี้มีปริมาณสารอาหารมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ และอยู่ในรูปที่สามารถ
118 | การปลูกสร้างสวนป่า
ละลายน้าได้เร็วพืชจึงสามารถนาไปใช้ได้ทันที แต่ถ้าหากใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมี
ผลทาให้สภาพโครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงควรใช้ปุ๋ยทั้ง 2 ประเภทควบคู่กันไป
เพื่อเพิ่มสารอาหารและเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินไปพร้อมกัน (กรมป่าไม้ , 2553) โดยมี
วิธีการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพดังนี้
 การเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก จะต้องพิจารณาถึงความต้องการของพืช
แต่ละชนิด รูปของสารอาหารในปุ๋ย และปริมาณของสารอาหารพืช เพื่อที่จะให้
ทราบสูตรปุ๋ยที่เหมาะกับความต้องการพืชนั้นๆ เช่น พืชที่มีการเติบโตทางใบและ
ลาต้น จะต้องมีความต้องการธาตุไนโตรเจนสูง จึงเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วนของ
สารอาหารที่พืชต้องการนั้นสูงเพื่อเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของ
สารอาหารพืช และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ย
 การใช้ปุ๋ ย ปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ ได้ผ ลผลิ ตสู งสุ ดโดยที่ไม่มีผลตกค้าง และ
คุม้ ค่าในการลงทุนในการใช้ปุ๋ยนั้น
 การใส่ปุ๋ยในระยะที่เหมาะสม โดยทั่วไปพืชจะมีร ะยะการเติบโตอยู่ 3 ระยะ ดังนี้
ระยะแรกของการเติบโตของพืช 30-45 วันแรก ต้นอ่อนและใบอ่อนจะมีความ
ต้องการสารอาหารไม่มากนัก ระยะต่อมาคือ ระยะที่พืชเติบโตทางลาต้น กิ่งก้าน
ใบ และสร้ างตาดอก ระยะนี้ เป็ น ระยะที่ พื ช เติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว และมี ค วาม
ต้องการสารอาหารสูง ดังนั้นในระยะนี้ควรมีการใส่ปุ๋ย และระยะสุดท้ายคือ ระยะ
ที่พืชมีการเติบโตในด้านผลผลิต สร้างผลและเมล็ด เป็นระยะที่พืชมี ความต้องการ
สารอาหารลดลง แต่ อ าจจะมี ก ารใส่ ปุ๋ ย เพื่ อ เพิ่ ม คุ ณ ภาพเมล็ ด ในพื ช บางชนิ ด
(มุกดา, 2544)
3. กำรกำหนดระยะปลูก (Spacing)
3.1 รูปแบบของระยะปลูก
1) ไม่สม่าเสมอ (Irregular spacing) รูปแบบนี้เป็นการกะประมาณด้วยสายตา ซึ่งต้อง
ใช้ผู้ช านาญงานในกรณี ที่ต้องการปลูกพัน ธุ์ไม้ให้ เต็มทั่ว ทั้งพื้นที่ เหมาะส าหรั บพื้ นที่บริเวณ
แคบๆ ที่ ต้ อ งการปลู ก พื ช คลุ ม ดิ น (Cover crop) เพื่ อ ปกคลุ ม พื้ น ดิ น ในบริเวณนั้ น เป็ น การ
ชั่วคราวหรือต้องการปลูกป่าในบริเวณดังกล่าวอย่างเร่งด่วน (กรมป่าไม้, 2529)
2) กึ่งสม่าเสมอ (Semi-regular spacing) รูปแบบนี้เป็นรูปแบบวางระยะปลูกโดยไม่
ต้องท าการปั กหลั กเป็ น เครื่อ งหมายก่อนปลู ก แต่เป็น รูปแบบที่ ที่ วางระยะปลู กโดยท าการ
ปักหลักพร้อมกับการปลูก ระยะที่ได้เป็ นระเบียบสม่าเสมอกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้ผลดี และ
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 119

รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายในทุกพื้นที่ที่จะทาการปลูกสร้างสวนป่า โดยการดาเนินงานต้องแบ่ง


ออกเป็นหมู่ปลูกต้นไม้ (Planting crew) โดยหมู่ปลูกหมู่หนึ่งๆ จะประกอบไปด้วย คนขุดหลุม
ปลูก และคนปลูกพร้อมหัวหน้างาน ซึ่งจะมีการวางระยะปลูก ขุดหลุมปลูก และทาการปลูก
ต้นไม้ให้เสร็จไปพร้อมกันในทีเดียว (กรมป่าไม้ 2529)
3) สม่าเสมอ (Regular spacing) รูปแบบนี้มีการกาหนดระยะระหว่างต้น และระหว่าง
แถว อย่างมีระบบ ทาให้ต้นไม้มีความเป็นระเบียบ สม่าเสมอกัน โดยรูปแบบนี้จะมีประโยชน์
ดีกว่า รูปแบบไม่สม่าเสมอ หลายข้อ ได้แก่
 ต้นไม้แต่ละต้นมีเนื้อที่สาหรับการเติบโตได้เท่าๆ กัน
 ค้นหาต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ต้นไหนตายก็สามารถตรวจหา และปลูกซ่อมได้
 พื้นที่ปลูกป่าได้มีการใช้ประโยชน์ทั่ วถึงกัน การปราบวัชพืชในระยะแรกๆ และการ
ปลูกพืชเกษตรควบระหว่างแถวก็ทาได้สะดวก
 ถ้าต้องการที่ปลูกพันธุ์ไม้หลายชนิดรวมกันก็สามารถแบ่งเนื้อที่ได้สะดวก
 สะดวกต่อการตัดขยายระยะครั้งแรก และประหยัดค่าใช้จ่าย
 สามารถนาเครื่องจักรกลเข้าไปทางานได้สะดวก (กรมป่าไม้ 2529)
โดยการปลูกแบบสม่าเสมอมีการวางระยะปลูก 4 รูปแบบดังนี้
1) สามเหลี่ยมด้านเท่า (Equilateral triangular)

2) สี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular)
120 | การปลูกสร้างสวนป่า

3) สี่เหลี่ยมจัตุรัส (Square)

4) สี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อน (Superposed square)

3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อระยะปลูก
3.2.1 ชนิด (Tree species)

โดยที่พันธุ์ไม้โตเร็ว ควรจะมีการปลูกให้มีระยะห่างมากกว่าพันธุ์ไม้โตช้า เนื่องจากไม้โต


เร็วมีอัตราการเติบโต (growth rate) เร็วมากใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีก็จะมีความสูงของลาต้น
ความกว้างของเรือนยอด แพร่ขยายออกไปเบียดบังต้นไม้ที่ปลูกข้างเคียง หากมีระยะที่ชิดกันก็
จะทาให้เกิดการแก่งแย่งอาหาร และบังแสงสว่าง ทาให้ต้นไม้ชะงักการเติบโตก่ อนถึงเวลาอัน
สมควร ทาให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการลิดกิ่ง หรือตัดขยายระยะเพิ่มขึ้น ส่วนไม้โตช้านั้น มี
อัตราการเติบ โตที่ช้า จะควรปลูกในระยะที่ แคบกว่าไม้โตเร็ว ทั้งนี้เพื่อ ใช้พื้นที่สวนป่าให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด และทาให้ควบคุมการแพร่ขยายของวัชพืชในสวนป่าได้เร็วขึ้น (มณฑี, 2528)

3.2.2 ภูมิประเทศ (Topography)

การเลือกพื้นที่ในปลูกควรเลือกชนิดพันธุ์เหมาะสมกับพื้นที่ โดยการเลือกที่ดินนั้นควร
หลีกเลี่ยง พื้นที่ที่มีความสูง (Elevation) และความลาดเอียงมาก ๆ (Slope) มีลาห้วยผ่านกลาง
พื้นที่หลายแห่ง ที่ลุ่มน้าขัง หรือที่มีระดับน้าใต้ดินตื้นมาก โดยพื้นที่ราบเป็นสิ่งที่ต้องการสาหรับ
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 121

การปลูกสร้างสวนป่า เพราะจะทาให้เราปฏิบัติงานได้สะดวก โดยในสภาพการณ์ของประเทศ


ไทยในปัจจุบัน ไม่สามารถหาพื้นที่ราบดังกล่าวเป็นจานวนมากๆ จึงมีความจาเป็นที่จะต้องปลูก
ในพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่เสื่อมโทรม พื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือพื้นที่มีน้าขัง

3.2.3 วัชพืช (Weed density)

ปริมาณวัชพืชนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมพื้นที่ สภาพของท้องที่ และชนิดพันธุ์ที่นามาปลูก


สร้างสวนป่าเป็น สาคัญ หากเป็ นพื้น ที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นดี วัชพืชมักจะขึ้นได้อย่าง
รวดเร็ว ดังนั้นในการดาเนินการปลูกสร้างสวนป่าบางแห่ง ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เครื่องจักรกล
เข้ากาจัดวัชพืช ในการนี้จาเป็นต้องปลูกต้นไม้ให้มีระยะห่างระหว่างแถวเพียงพอ เพื่อที่จานา
เครื่องจักรกลเข้ามาปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กรมป่าไม้, 2529)

3.2.4 วัตถุประสงค์ (Objectives)

ในส่ วนนี้ จะเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ในการปลู กสร้างสวนป่า ที่จะนาวัตถุดิบไปใช้ใน


อนาคต หากต้องการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นไม้ซุง (timber) โดยมีรอบตัดฟันนานก็ควรกาหนดระยะ
ปลู กห่ าง เพื่ อจะได้ไม่ต้องเสี ยเวลาและค่าใช้จ่ายในการตัดขยายระยะก่อนถึงเวลาอันควร แต่
ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีวัตถุประสงค์จะนาไม้ไปใช้ทาเยื่อกระดาษ ไม้ฟืนเสาเข็ม โดยมีรอบตัดฟัน
สั้น ก็ควรกาหนดระยะปลูกให้ชิดกัน เพื่อจะได้ผลผลิตต่อเนื้อที่สูงคุ้มต่อการลงทุน (มณฑี, 2528)
4. เทคนิคกำรปลูกในระบบวนเกษตร
4. 1กำรทำระบบวนเกษตรในประเทศไทย ยกตัวอย่ำงเช่น
1) การปลูกแถวต้น ไม้ล้ อมรอบ เป็น การปลูกต้นไม้รอบพื้ นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่
อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นขอบเขต เป็นแนวกันลม รวมทั้งนามาไม้มาใช้ประโยชน์ เช่น
ขายเนื้อไม้ หรือใช้เป็นเชื้อเพลิง ใบเก็บเกี่ยวเป็นพืชอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยพืชสด โดยรูปแบบนี้จะ
ปลู ก ไม้ ยื น ต้ น เป็ น แถวประมาณ 1-3 แถว และมี ระยะห่ างระหว่างต้ น ประมาณ 1-2 เมตร
ตัวอย่างของวนเกษตรรูปแบบนี้ เช่น การปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา การปลูกไม้กระถินเทพา
หรือไผ่รอบสวนไม้ผล การปลูกหมากเป็นแนวรั้วบ้าน เป็นต้น
2) การปลูกหลายชั้นเรือนยอด การปลูกแบบนี้จะมีโครงสร้างของระบบประกอบด้วย
ชั้นเรือนยอดหลายชั้น ซึ่งเกิดจากการปลูกพืชหลายชนิดร่วมกัน โดยอาจจะมีตั้งแต่พืชที่มีหัว
พืชให้เมล็ด ไม้ผล จนกระทั่งถึงไม้สูงเด่น ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันแล้วคล้ายป่าธรรมชาติ ซึ่งมี
หลายชั้นเรือนยอดทาให้มีการใช้หน้าดิน ช่องว่างในแนวตั้ง สารอาหาร ความชื้น และแสงสว่าง
122 | การปลูกสร้างสวนป่า
ให้เป็นประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพตัวอย่างของระบบนี้ เช่น การปลูกไม้ยืนต้นและพืชหลาย
ชนิดร่วมกันใกล้กับที่อยู่อาศัยหรือที่เรียกว่า สวนบ้าน (home garden) ซึ่งจะเป็นการนาไม้ป่า
ประเภทกินได้ รวมทั้งไม้สมุนไพรไปปลูกรวมกันภายในบริเวณหรือสวนหลังบ้าน ขณะเดียวกันก็
จะมีไม้ใช้สอยด้วย ชนิดไม้ที่พบ เช่น สะเดา กระถิน ขี้เหล็ก แคบ้าน มะขาม ไผ่ มะยม มะม่วง
มะพร้าว ขนุน กล้วย มะละกอ มะนาว ชมพู่ ฝรั่ง ขิงข่า ตะไคร้ ตลอดจนพืชผักสวนครัวอื่นๆ
3) การปลูกสลับแถวและสลับแถบ การปลูกรูปแบบนี้จะพบใช้ส่วนใหญ่ในที่ลาดชัน
เป็นที่ดินเสื่อมโทรม ซึ่งต้องการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างมาก โดยแถวหรือแถบของต้นไม้ที่ปลูก
ชิดกันตามแนวเส้นขอบเขานั้นจะกลายเป็นรั้วตามแนวขอบเขา ซึ่งเป็นการจัดเรียงของพืชที่
ประสิทธิภาพในการยึดดินและอนุรักษ์ดินบนที่ลาดชันได้เป็นอย่างดี การปลูกไม้แบบสลับแถว
กับพืชเกษตรจะใช้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2-4 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 5-
10 เมตร สาหรับการปลูกไม้ยืนต้นเป็นแถบส่วนใหญ่จะใช้ความกว้างของแถบและระหว่างแถบ
ประมาณ 4-10 เมตร (อาจแคบหรือกว้างกว่านี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่)
4) ระบบปลู กป่ าหญ้ าเลี้ ย งสั ตว์ /ปศุสั ตว์ เป็ น ระบบที่ มีการปลู กต้น ไม้ร่วมกับ หญ้ า
อาหารสั ตว์ หรือปลูกป่ าในบริเวณทุ่งหญ้ าองค์ประกอบของไม้ยืนต้นจะให้ ผลผลผลิ ตที่เป็น
อาหารสัตว์ได้โดยตรงหรือให้ผลผลิตอย่างอื่น เช่น ไม้เชื้อเพลิง ผลไม้หรือไม้ซุง เป็นต้น ซึ่งอาจ
จัดกลุ่มระบบนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มให้อาหารสัตว์จากยอดอ่อนของต้นไม้ และกลุ่มที่เป็นการ
เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่มีการปลูกป่า ซึ่งเทคนิคการจัดการให้ได้ผลผลิตที่ยั่งยืนอาจทาได้โดยการ
ปลูกพันธุ์ไม้อเนกประสงค์ที่เป็นอาหารสัตว์ในพื้นที่ใช้เลี้ยงสัตว์และปลูกเป็นแนวรั้วในพื้นที่หรือ
ล้อมรอบพื้นที่ไร่นา และใช้ระบบตัดใบแล้วขนไปเลี้ยงสัตว์ในคอก (ณัฐวัฒน์, 2555)
4.2 กำรปลูกไผ่

สมชัย เบญจชย (2551); กิสณะ ตันเจริญ นายสุพล ธนูรักษกล่าวว่า ปัจจัยในการปลูก


และการจัดการไผ่เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการนั้น ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ปลูก ฤดูกาลที่ปลูก
ระยะที่ปลูก การเตรียมหลุมปลูก และการปลูก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) การเตรียมพื้นที่ ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทางานได้สะดวกสามารถลง
มือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้าขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถ
บุกเบิก กาจัดตอออกให้หมด ปรั บสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวน
กาจัดวัชพืชเท่านั้น
2) ฤดูปลูก ควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้
น้าช่วย แต่ในแหล่งที่สามารถให้น้าได้ตลอดทั้งปี สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปี
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 123

3) ระยะปลูก ที่เหมาะสมระหว่ างต้น x ระหว่างแถว ขึ้นอยู่กับขนาดของไผ่และสภาพ


ของดิน เช่น ไผ่ตง ระยะปลูก คือ 6-8 x 6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกไผ่ตงได้ 25-45 ต้น ถ้า
สภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อยเเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี
4) การเตรียมหลุมปลูก หลุมที่ปลูกไผ่ควรมีขนาด กว้าง x ยาว x ลึก ขึ้นอยู่กับชนิด
ของไผ่ เช่น ไผ่ตง ขนาดหลุมไม่น้อยกว่า 50 x 50 x 50 เซนติเมตร พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต
1 กระป๋องนม (300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (1 กิโลกรัม)
และยาฆ่าแมลงฟูร าดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุ กเคล้ ากับดิ นบนให้ ทั่ว แล้ ว กลบ
กลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยสาหรับดินยุบตัวภายหลัง
5) การปลูก ให้นาต้นกล้าไผ่ปลูกตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ ปลูกให้ลึกเท่ากับระดับดิน
เดิมแล้ ว พู น ดิน บริ เวณโคนต้น ให้ เป็ น เนิ น สู งขึ้น เล็ กน้อย ใช้ไม้ปั กเป็ นหลั กผู กยึดกล้ าไผ่ เพื่ อ
ป้องกันลมโยก แล้วรดน้าตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก นอกจากนี้ต้นไผ่ที่เพิ่งปลูกจะ
ไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูง ต้องใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ช่วยพรางแสงแดด จนกว่า
ต้นกล้าจะมีใบใหม่และตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยปลดออก สาหรับกล้าไผ่ที่ได้จากการชากิ่งแขนง ให้
พิจารณาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงตามชนิดไผ่ ซึ่งมีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจาก
การทาลายของโรคและแมลง ส่วนกล้าไผ่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มี
ความสมบูรณ์ มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง
5. บทสรุป (Conclusion)
การปลูกป่าให้ประสบความสาคัญนั้น ขั้นตอน รูปแบบ และเทคนิคการปลูก เป็นส่วน
หนึ่งของการปฏิบัติทางวนวัฒน์ที่มีความสาคัญที่ส่งผลให้กล้าไม้ที่ปลูกสามารถรอดตายและมี
อัตราการเติบโตได้ผลผลิตตามที่ต้องการได้ โดยรูปแบบการปลูก วิธีการปลูก การกาหนดระยะ
ปลูก หรือแม้แต่ เทคนิคการปลูกในระบบวนเกษตร เป็นส่วนที่มีความสาคัญต่อการเลือกผู้ ที่
ต้องการปลูกสวนป่าเชิงพาณิชย์ เนื่องจากหากเลือกรูปแบบ วิธีการ และการกาหนดระยะปลูก
ที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ก็ย่อมส่งผลให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งพื้นที่ปลูกสวน
ป่าที่แตกต่าง ย่อมมีแนวทางในการเลือกใช้รูปแบบ วิธีการ ที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นผู้ที่สนใจ
ปลูกควรศึกษาให้รอบคอบก่อนที่จะดาเนินการปลูกต่อไป
124 | การปลูกสร้างสวนป่า

6. เอกสำรอ้ำงอิง (Reference)
กรมป่าไม้. 2529. การอบรมหลักสูตร การปลูกสร้างสวนป่า. กองบารุง กรมป่าไม้,
กรุงเทพฯ.
. 2536. การปลูกไม้ป่า. ส่วนป่าชุมชน สานักส่งเสริมการปลูกป่า กรุงเทพฯ.
. 2553. การดูแลรักษาต้นไม้ภายหลังการปลูก. ส่วนปลูกป่าภาครัฐ สานักส่งเสริม
การปลูกป่า กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
กองบริรักษ์ที่ดิน. 2525. คู่มือการวางแผนระบบการให้น้าในไร่นาและความสัมพันธ์
ระหว่างดิน พืช และน้า. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กิสณะ ตันเจริญ และ สุพล ธนูรักษ. ม.ป.ป. การปลูกไผ่ตง. เอกสารวิชาการ กองส่งเสริมพืช
สวน กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์. 2555. วนเกษตรกับการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. สถานี
วิจัยและฝึกอบรมเกษตรตราด สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
กรุงเทพฯ.
ธนิตย์ หนูยิ้ม. 2556. ผลของการยกโคกและไม่ยกโคกต่อสภาพแวดล้อมดินและการ
เจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ป่าพรุบางชนิดในพื้นที่พรุเสื่อมสภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
โท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พรเทพ เหมือนพงษ์. 2559. ไม้เศรษฐกิจ. ไม่ลองไม่รู้ 16 (182) : 70-72.
มณฑี โพธิ์ทัย. 2528. การปลูกสร้างสวนป่า. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil Fertility). โอเดียนสโตร์,
กรุงเทพฯ.
รัชนู เกิดเชิดชู, สคาร ทีจันทึก และ ลดาวัลย์ พวงจิตร. 2558. การทดลองการพอกเมล็ดไม้ 4
ชนิด เพื่อใช้ในการฟื้นฟูป่า. วารสารวนศาสตร์ 34 (1) : 39-47.
สมเจตน์ จันทวัฒน์. 2526. การอนุรักษ์ดินและน้า เล่ม 2. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมชัย เบญจชย. 2551. การปลูกไผ่ใช้สอย. แหล่งที่มา : www.dnp.go.th/fca16/file/
aro0qb1piz1pun9.doc, 12 เมษายน 2561.
Bakewell, G., A. Raman, D. Hodgkins and H. Nicol. 2009. Suitability of Acacia
longifolia var. sophorae (Mimosaceae) in sand-dune restoration in the
บทที่ 6 รูปแบบและเทคนิคการปลูกไม้ปา่ | 125

Central Coast of New South Wales, Australia. New Zealand J. For. Sci.
39(1): 5-13.
บทที่ 7
หลักกำรปฏิบัติทำงวนวัฒนวิทยำในสวนป่ำ
Principle of Silvicultural Practices in Forest
Plantation

ดารง พิพัฒนวัฒนากุล

1. บทนำ (Introduction)
ในบทนี้จะกล่าวถึงหลักการของการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานที่
จะนาไปสู่การศึกษาหาความรู้อย่างละเอียดเพิ่มเติมต่อไปสาหรับผู้สนใจ โดยเบื้องต้นจะเริ่มที่
ความหมายของการปฏิบัติทางวนวัฒ นวิทยา (Silvicultural Practices) ที่หมายถึงกิจกรรมที่
ปฏิบัติต่อหมู่ไม้ในสวนป่านับตั้งแต่หลังการปลูกถึงระยะที่ต้นไม้มีการเติบโตก่อนถึงอายุตัดฟัน
และกิจกรรมที่ปฏิบัติเมื่อถึงอายุตัดฟัน โดยประเด็นแล้วเมื่อกล่าวถึงการปลูกสร้างสวนป่าควร
ต้องกล่าวถึงระบบวนวัฒ นวิทยาทั้งระบบ (Silviculture System) ซึ่งจะรวมถึงเรื่องของการ
เพาะชากล้าไม้เข้าไปด้วย แต่เรื่องของการเพาะชากล้าไม้เป็นเรื่องละเอียด สาคัญ จาแนกไว้เป็น
เรื่องโดยเฉพาะและไม่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ การใช้หลักปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยากับสายป่าไม้
นั้นก็เพื่อควบคุมให้ได้ผลผลิตของไม้ในสวนป่าตามที่ต้องการอย่างเหมาะสมต่อเนื่องทุกๆรอบตัด
ฟั น และเป็ น การควบคุ ม การสื บ พั น ธุ์เพื่ อ ให้ มี ห มู่ ไม้ ใหม่ ตามที่ ต้ องการ ทั้ งนี้ การปฏิ บั ติ ท าง
วนวัฒนวิทยาจะเกี่ยวข้องกับผลของการเติบโตของต้นไม้เป็นพื้นฐาน
การเติ บ โตของต้ น ไม้ เป็ น ผลมาจากกระบวนการทางสรี ร วิ ท ยาของต้ น ไม้ เองและ
กระบวนการสรีรวิทยานั้นมีบทบาทสาคัญ ในการพิจารณาแนวทางการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยา
ต่อต้นไม้ในสวนป่า โดยหลักการแล้วการเติบโตในต้นไม้แต่ละต้นเป็นปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง
พันธุกรรมของต้นไม้และปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ต้นไม้นั้นๆขึ้นอยู่ ดังนั้นการเติบโตและการพัฒนา
ของต้นไม้ในสวนป่าที่ได้รับการปฏิบัติทางวนวัฒ นวิทยาและการจัดการสวนป่ าที่ดีย่อมจะให้
ผลผลิตที่ดีและสม่าเสมอต่อเนื่องไป
การพิจารณาการปฏิบัติทางวนวัฒ นวิทยาต่อต้นไม้ในสนสวนป่าจะต้องพิจารณาถึง
สาเหตุ ข องการปฏิ บั ติ แ ละผลที่ จ ะเกิ ด ต่ อ ต้ น ไม้ ห รื อ หมู่ ไ ม้ ค วบคู่ ไ ปกั บ เหตุ ผ ลทางด้ า น
128 | การปลูกสร้างสวนป่า
เศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเป้าประสงค์ ของการปลูกสร้างสวนป่านั้ นจะเกี่ยวข้องกับการที่ตัว
บุค คลผู้ ป ฏิบั ติ และวิธีการจั ด การสวนป่ าเพื่อ ให้ ได้ผ ลด้านการเติ บ โตของต้น ไม้ ดั งนั้ นจึ งไม่
สามารถแยกเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ออกไปจากการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยา การปฏิบัติ
ทางวนวัฒนวิทยาจึงเป็นหลักประกันที่จะให้สวนป่ามีผลผลิต ตามความต้องการอย่ างสม่าเสมอ
ต่อไป โดยการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยามีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) ควบคุมองค์ประกอบของหมู่ไม้ในสวนป่า
2) ควบคุมความหนาแน่นของหมู่ไม้ในสวนป่า
3) ฟื้นฟูสภาพสวนป่าที่ไม่ให้ผลผลิต
4) ป้องกันอันตรายต่างๆที่จะมีต่อสวนป่า
5) กาหนดรอบตัดฟันเป็นของสวนป่า
6) ช่วยให้การตัดฟันไม้ การจัดการสวนป่า และการเข้าใช้ประโยชน์เป็นไปได้สะดวก
7) ป้องกันพื้นที่และผลประโยชน์ทางอ้อมของสวนป่า
1.1 ประเภทของกำรปฏิบัติทำงวนวัฒนวิทยำ
การปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาประกอบด้วย 3 วิธีการปฏิบัติ ดังนี้
1) การตัดเพื่อให้การสืบพันธุ์ (Silvicutural Systems หรือ Reproduction Cuttings) เป็น
การตัดฟันที่ปฏิบัติต่อหมู่ไม้เมื่อต้นไม้เติบโตเต็มที่ถึงขนาดที่จะใช้ประโยชน์ได้หรือต้ นไม้ถึงอายุ
ที่จะตัดฟันออกไปขาย (ภาพที่ 7.1) การตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์จะตัดต้นไม้ออกเป็นบางส่วน
หรือตัดออกทั้งหมดแล้วจึงทาให้มีหมู่ไม้ใหม่ขึ้นมาทดแทนที่ต้นไม้ ที่ถูกตัดออกไป ต้นไม้ที่เกิด
ขึ้นมาใหม่นั้นจะได้จากการกล้าไม้ที่เกิดจากการงอกของเมล็ดที่แม่ไม้ในพื้นที่โปรยเมล็ดในพื้นที่
นั้น ซึ่งเมล็ดไม้ได้มาจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Regeneration) หรือ ต้นไม้ใหม่ที่
ได้จากการแตกหน่อจากตอของต้นไม้ที่ถูกตัดฟันออกไป ซึ่งกล้าไม้ใหม่นี้เกิดจากการสืบพันธุ์
แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Regeneration) หมู่ไม้ใหม่ที่เกิดทดแทนนี้จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
(Natural regeneration) นอกจากนี้ จะมีการทดแทนที่เกิดจากการปลูกโดยมนุษย์( Artificial
regeneration) ก็ได้ การทดแทนทั้งสองรูปแบบนี้เรียกว่าการสืบพันธุ์ (Regeneration) ดังนั้น
การตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์ (Reproduction Cuttings) จึงเป็นการตัดฟันต้นไม้ออกเพื่อให้มีการ
สืบพันธุ์ขึ้นทดแทนในพื้นที่นั้น เป็นการตัดเอาไม้แก่ออกไปและเป็นการทาให้สภาพแวดล้อม
เหมาะสาหรับการสืบพันธุ์ การตัดฟันเพื่อการสืบพัน ธุ์อาจจะกระทาเพียงครั้งเดียวหรือหลาย
ครั้งก็ได้ ระยะของการสับพันธุ์จึงอาจเป็นเพียงปีเดียว หรือ 5 ปี หรือมากกว่าก็ได้ ซึ่งก็แล้วแต่
ชนิดไม้และวิธีการตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์ วิธีการสืบพันธุ์จะเป็นสาเหตุหลักในการปรับเปลี่ยน
โครงสร้างป่าและชั้นอายุของหมู่ไม้ที่เกิดขึ้นใหม่
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 129

2) การปฏิบัติเพื่อให้ไม้มีการเติบโตที่ดีขึ้น การตัดเมื่อไม้โตปานกลาง เป็นการตัดฟัน


หรือการปฏิบัติต่อหมู่ไม้ในช่วงของการตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์ (ภาพที่ 7.1) เป็นการตัดฟันหลาย
อย่างที่กระทาในช่วงตั้งแต่หลังการสืบพันธุ์จนถึงเมื่อต้นไม้แก่หรือพร้อมที่จะถูกตัดในรอบตัดฟัน
ต่อไป การตัดฟันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงหมู่ไม้ในสวนป่า เพื่อเร่งการเติบโตของต้นไม้ และ
เป็นการถอนทุนคืนก่อนถึงกาหนดโดยการนาไม้ที่ตัดออกไปขาย

ภาพที่ 7.1 การจั ด การสวนป่ าที่ มีอ ายุ ร อบตั ด ฟั น 60 ปี โดยมี ก ารตั ด เมื่ อ ไม้ โตปานกลาง
(Intermediate Cuttings) และการการตั ด ฟั น เพื่ อ สื บ พั น ธุ์ (Reproduction
Cuttings หรือ Regeneration Cuttings)
3) การป้องกันอันตรายแก่สวนป่า (Protection) การป้องกันอันตรายจากตัวการต่าง ๆ
ในระหว่างการเติบโตของต้นไม้ภายหลังการปลูกจนถึงอายุตัดฟันต้นไม้ได้เผชิญกับอันตรายต่าง
ๆ เช่น โรค แมลง สัตว์ พายุ ไฟป่า และมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งการ ป้องกันนี้จะต้องอาศัยความรู้
เฉพาะสาขา เพื่อนาวิชาเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ หากวิธีการป้องกันไร้ผลหรือสุดวิสัยที่จะป้องกัน
ได้ ก็จะต้องทาการตัดไม้เพื่อกู้ภัย (Salvage Cutting) ดีกว่าจะปล่อยให้ความเสียหายลุ กลาม
มากขึ้น
1.2 ผลของกำรปฏิบัติทำงวนวัฒนวิทยำ
เมื่อหมู่ไม้เติบโตเต็มพื้นที่ แสงสว่าง น้า และสารอาหารในพื้นที่ เพื่อต้นไม้แต่ละต้นจะ
ได้รับก็จะถูกจากัดลง ทาให้อัตราการเติบโตของต้นไม้เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ลด
น้อยถอยลง การตัดฟันหรือทาลายต้นไม้บางต้นหรื อพืชบางชนิดออกไปจากหมู่ไม้นี้ จะทาให้
การเติบโตของต้นไม้ที่เหลือดีขึ้น การตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์จะช่วยทาให้มีพื้นที่ที่เหมาะสมแก่
130 | การปลูกสร้างสวนป่า
กล้าไม้ใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา ส่วนการตัดฟันไม้เมื่อโตปานกลางจะช่วยส่งเสริมการเติบโตของต้นไม้
ที่ยังเหลืออยู่ให้ดีขึ้น โดยการทาลายไม้อื่นบางต้นออกไปบ้าง เปิดช่องว่างให้กับต้นไม้ที่เหลืออยู่
ซึ่งต้องเลือกเปิดให้เหมาะสมกับหมู่ไม้ การตัดฟันจึงเป็นได้ทั้งการสร้างสรรค์และการทาลาย
ขึ้นอยู่กับว่าจะตัดต้นใดออก ตัดเมื่อไร ตัดกี่ครั้งและแต่ละครั้งตัดออกมากน้อยเพียงไร การตัด
ฟันแต่ละครั้งจะส่งผลต่ อโครงสร้างหรือฟอร์มของหมู่ไม้ (Stand structure หรือ Form) ของ
หมู่ไม้ในสวนป่า และจะดูได้จากรูปเรือนยอดของหมู่ไม้
1.3 วิธีกำรปฏิบัติทำงวนวัฒนวิทยำ
จากหลักการที่กล่าวในบทนาจะเป็นพื้นฐานความเข้าใจการเติบโตของต้นไม้ในสวนป่า
และความจาเป็นที่จะต้องดาเนินการทางวนวัฒนวิทยา ซึ่งในเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปในบทนี้จะเป็น
เนื้อหาสาคัญที่กล่าวเน้นไปที่การปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่าด้วย 2 วิธี คือ การตัดไม้เมื่อ
โตปานกลาง (Intermediate Cuttings) และ การตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์ (Reproduction Cuttings)
การตัดเมื่อไม้โตปานกลาง (Intermediate Cuttings) การตัดไม้เมื่อโตปานกลาง
เป็นการตัดฟันที่กระทาเมื่อหมู่ไม้ยังไม่โตเต็มที่ ซึ่งเป็นการตัดฟันต่างๆ ที่จาเป็นทีต้องกระทา
เริ่มตั้งแต่มีการสืบพันธุ์ขึ้นทดแทนในพื้นที่นั้นแล้ว จนถึงการก่อนการตัดฟันครั้งสุดท้าย (การตัด
ฟันเพื่อการสับพันธุ์) การตัดฟันนี้เป็นการกระทาเพื่อการบารุงดูแลรักษาหมู่ไม้ เพื่อให้ต้นไม้ที่
เหลืออยู่ได้เติบโตต่อไป ทั้งนี้โดยไม่หวังผลในการสืบพันธุ์แต่อ่างใด การตัดไม้เมื่อโตปานกลาง
ประกอบด้วยวิธีต่างๆ กันโดยที่รายละเอียดของการดาเนินการของแต่ล ะวิธีได้รวบรวมไว้ใน
ตารางที่ 7.1 และเนื่องจากการตัดขยายระยะจะรายละเอียดเฉพาะแต่ละวิธีย่อยจึงจะได้นามา
กล่าวถึงการตัดขยายระยะเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาอีกด้วย
ตารางที่ 7.1 ตารางรวบรวมรายละเอียดของการตัดไม้เมื่อโตปานกลาง (Intermediate
Cuttings)
ประเภท วัตถุประสงค์ วิธีการ หมายเหตุ
การทาความ ลดการแก่งแย่งแข่งขัน กาจัด วั ชพื ชได้ โดยวิ ธีใช้ ดาเนินการกับหมู่ไม้ ที่ยังไม่พ้น
สะอาดสวน การใช้ ปั จ จั ย เพื่ อ การ เครื่ อ งจั ก รกล หรื อ ใช้ สภาพลูกไม้ ทาได้ตลอดจนกว่า
(Cleaning หรือ เติ บ โตระหว่า งไม้ ห ลั ก แรงงานคน ร่วมกั บ การ ไม้หลักจะเติบโตแข็งแรงและสูง
Weeding) กับพืชอื่น ใช้ ส ารเคมี ก าจั ด วั ช พื ช กว่าวัชพืช
หรือใช้ไฟ
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 131

ตารางที่ 7.1 (ต่อ)

ประเภท วัตถุประสงค์ วิธีการ หมายเหตุ


การตัดไม้ ใหญ่ เพื่ อ เพื่อส่งเสริมการเติบ โต ตั ด ไม้ ใ หญ่ ที่ บ ดบั ง แสง ดาเนิน การในหมู่ไม้ที่ ยังไม่ พ้ น
เปิดร่มเงา จากการเปิดช่องว่างให้ สว่างออกจากสวนป่า จะ สภาพลูกไม้
(Liberation หรือ ต้ น ไม้ ไ ด้ รั บ แสงสว่ า ง ตั ด อ อ ก เป็ น ช่ อ งเล็ ก
ดาเนินการพร้อมกับการกาจัด
Cutting) อย่างเหมาะสม เฉพาะต้นไม้หรือเปิ ดทั้ ง วัช พื ช ควรเร่ งด าเนิ น การเมื่ อ
พื้นที่ ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่าย
พบว่ า มี ปั ญ หาด้ า นการบดบั ง
นอกจากนี้ยังดาเนินการ แสง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน
ได้ จ า ก ก า ร ก า น ไ ม้ การเติ บ โตของลู ก ไม้ จ ะลดลง
(Girding) แ ล ะ ก า ร ใช้ และโตผิดรูปทรง
สารเคมี

การตัดขายระยะ เร่งการเติบโตของต้นไม้ ตัดไม้ออกจากสวนป่า กระทากับหมูไ่ ม้ที่ยังไม่แก่เต็มที่


(Thinning) ที่เหลืออยู่ในรูปความ ส่งผลด้านเศรษฐศาสตร์ (ไม้หนุ่ม)
เนื่องจากการตัด เพิ่มพูนของผลผลิตเนื้อ ในระยะสั้นคือได้ผลผลิต การตัดขยายระยะไม่มุ่งเน้น
ขยายระยะมี ไม้ มุ่งเน้นการกระจาย จากการขายไม้ที่ตดั เรื่องการสืบพันธุ์ของต้นไม้ที่
เนื้อหาที่มากกว่า สม่าเสมอในอัตราสูงสุด ออกไป แต่ในระยะยาว เหลืออยู่ในสวนป่า แต่เน้นที่
และได้ใช้ประโยชน์จาก ได้ผลผลิตเพิ่มพูนกับไม้ที่ การเปิดช่องว่างให้กับต้นไม้ที่
ประเภทการตัด ไม้ที่ตัดออก เหลืออยู่
อื่นๆ จึงจะกล่าว เหลืออยู่
เพิ่มเติมในส่วน โดยหลักการแล้วการตัดขยาย
ต่อไป ระยะ เหมาะกับการนาใช้ในหมู่
ไม้ที่มีอายุเท่ากัน เช่นในสวนป่า

การลิดกิ่ง ตกแต่งลาต้นไม่ให้มี กาจัดกิ่งด้วยอุปกรณ์ลดิ การลิดกิ่งไม่ควรทาหนักเกินไป


(Pruning) ตาหนิอันเกิดจากกิ่ง กิ่งที่เหมาะสม เพราะจะมีผลต่อการเติบโตทั้ง
หรือตา ทาให้ลาต้น ความสูงและความโต และความ
เกลี้ยงเกลา แข็งแรงของลาต้นต่อการต้าน
ลดน้าหนักให้แก่ลาต้น ทางแรงลม
ที่แบกรับกิ่งใบมากๆ
เมื่อฝนและพายุมาจะ
ได้ไม่โค่นล้ม

ตารางที่ 7.1 (ต่อ)


132 | การปลูกสร้างสวนป่า

ประเภท วัตถุประสงค์ วิธีการ หมายเหตุ


การตัดไม้บารุงป่า เพื่อปรับองค์ประกอบ ตัดต้นไม้ใหญ่ออก ดาเนินการในช่วงต้นไม้โตพ้น
(Improvement ของหมู่ไม้ในสวนป่า ดาเนินการได้ตลอดระยะ วัยลูกไม้แล้ว สามารถ
Cutting) และคัดเลือกต้นทีไ่ ม่ การปลูก ดาเนินการได้กับหมู่ไม้ที่มีหลาย
ประสงค์ออกไป ชนิด และมีชั้นอายุต่างกัน ไม่
เหมาะกับสวนป่าที่เป็นไม้ชนิด
เดียวและชั้นอายุเดียวกัน

การตัดไม้เพื่อกูภ้ ัย กาจัดต้นไม้ที่ได้รับ ตัดไม้ออกจากแปลง ดาเนินการได้ตลอดอายุการ


(Savage Cutting) อันตราย ยืนต้นตาย เติบโต
จากภัยพิบัตติ ่างๆ เช่น
ไฟป่า ลมพายุ ฟ้าผ่า
เป็นต้น

การตัดไม้เพื่อหยุด ลดหรือหยุดการระบาด ตัดไม้ที่ถูกทาลายจาก ดาเนินการโดยด่วนเพื่อหยุด


โรคและแมลง ของโรคและแมลง โรคและแมลง และเผา โรคระบาดของโรคและแมลงใน
ระบาด ทิ้งและมีการฉีดยาควบคู่ สวนป่า
(Sanitation ไปด้วย
Cutting)

2. กำรตัดขยำยระยะ
การจะดาเนิน การตัดขยายระยะ ต้องพิจารณาจากการเติบโตและชั้นเรือนยอดของ
ต้นไม้ในสวนป่า กล่าวคือ การที่ต้นไม้แต่ละต้นในหมู่ไม้มีการเติบโตจะพบว่าการเติบโตทางด้าน
ความสูงจะเป็นปัจจัยสาคัญในเรื่องของการแก่งแย่ ง ต้นที่มีการเติบโตทางความสูงมากกว่าจะมี
การเติบโตทางด้านเส้นป่านศูนย์กลางได้แตกต่างกัน และมีเรือนยอดแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้
แตกต่างกัน เมื่อต้นไม่อ่อนแอกว่าถูกปกคลุมด้วยต้นข้างเคียงที่สูงใหญ่กว่า เรือนยอดของต้นที่
ถูกเบียดบังจะมีขนาดเล็ดลงและผิดรูปทรงไป แล้ วค่อยๆมีการเติบโตที่ลดลงและตายไปในที่สุด
ขบวนการแก่งแย่งในหมู่ไม้จึงทาให้เกิดมีชั้นเรือนยอดที่แตกต่างกัน และสามารถแยกต้นไม้จาก
ชั้นเรือนยอดออกได้ดังนี้
 ต้น เด่น (Dominant Tree) คือต้น ไม้ที่มีเรือนยอดแผ่ขยายเหนือระดับเรือนยอด
ของต้นไม้ต้นอื่นๆในหมู่ไม้เดียวกัน เป็นต้นที่ได้รับแสงจากด้านบนและด้านข้าง
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 133

 ต้นรองเด่น (Codominant Tree) คือต้นที่มีเรือนยอดในระดับเดียวกันกับต้นอื่นๆ


ในหมู่ไม้นั้น แต่เรือนยอดได้รับแสงเต็มที่จากด้านบน แต่เรือนยอดด้านข้างได้รับ
แสงเพียงบางส่วน
 ต้นปานกลาง (Intermediate Tree) คือต้นที่มีเรือนยอดต่ากว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมู่
ไม้ ทาให้เรือนยอดได้รับแสงเฉพาะจากด้านบนเท่านั้น
 ต้นถูกเบียดบัง (Suppressed Tree) คือต้นที่ถูกเบียดบังจากต้นอื่น มีเรือนยอดอยู่
ภายใต้ต้นอื่นๆในหมู่ไม้ เรือนยอดไม่ได้รับแสงโดยตรง
ก่อนที่จะมีการตัดขยายระยะควรพิจารณาถึง ความหนาแน่นของเรือนยอดของหมู่ไม้
ในสวนป่าก่อนว่ามีความแออัด ใกล้ชิดกันเท่าไร แล้วนาไปพิจารณาในการตัดขยายระยะเบียด
ชิด ต้นไม้สามารถจัดชั้นเรือนยอดของต้นไม้ในสวนป่าได้ โดยปกติแล้วชั้นเรือนยอดของต้นไม้ใน
สวนป่า จะมีความสัมพันธ์เป็นไปในทางเดียวกันกับความสมบูรณ์ต้นไม้
2.1 ผลของกำรตัดขยำยระยะ
..1.1 ผลทางด้านเศรษฐศาสตร์

 การตัดขยายระยะจะช่วยลดการสูญเสียเนื้อไม้โดยการนาออกมาใช้ประโยชน์ก่อนที่
มันจะตายและผุพังอยู่ในสวนป่า
 การตัดขยายระยะจะช่วยเพิ่ มคุณ ค่าทางการเงินของเนื้ อไม้ เพราะการตัดขยาย
ระยะเป็นการเร่งการเติบโตทางดานเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ที่เหลืออยู่ ทาให้ได้ต้นไม้ขนาด
ใหญ่ มีราคาดี
 การตัดขยายระยะทาให้มีการขายไม้บางส่วนที่ตัดออก ทาให้มีรายรับเป็นเงินก่อน
จะถึงการตัดฟันครั้งสุดท้าย ซึ่งจะเป็นการลดดอกเบี้ยของเงินลงทุนได้ด้วย
 การตัดขยายระยะช่วยปรับปรุงคุณภาพไม้ที่เหลืออยู่ให้ดีขึ้น เมื่อไม้ถึงอายุตัดฟันจะ
ได้มีมีคุณภาพและราคาดี
 การตัดขยายระยะช่วยทาให้องค์ประกอบของสวนป่าดีขึ้น ซึ่งเป็นการเตรียมการ
หรือเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมกับการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติได้ดีขึ้น และยังช่วยลดหรือป้องกัน
อันตรายจากโรคและแมลง โดยการกาจัดต้นไม้ที่เป็นแหล่งโรคและแมลงออกไปด้วย
134 | การปลูกสร้างสวนป่า
..1.2 ผลของการตัดขยายระยะต่อการพัฒนาของต้นไม้ในหมู่ไม้

หลังจากการตัดขยายระยะ การเติบโตของต้นไม้ที่เหลืออยู่ในพื้นที่นั้นจะเพิ่มขึ้นทันที
จากการลดการแก่งแย่งเช่น อาหาร น้า และแสงแดด แต่การพัฒนาของเรือนยอดยังไม่มีการ
เติ บ โตที่ เพิ่ ม ขึ้น จะต้ อ งรอสั กระยะหนึ่ งจึ งจะขยายเรือ นยอดปกคลุ ม พื้ น ที่ และระบบราก
สามารถขยายตัวทางด้านข้างได้ดีขึ้นอีกด้วย (วิสุทธิ์, 2544)

..1.3 ผลของการตัดขยายระยะต่อการพัฒนาของต้นไม้

ผลของการตัดขยายระยะต่อการเติบโตทางด้านเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ที่เหลืออยู่นั้น
อาจจะมีความผันแปรขึ้นอยู่กับความหนักเบาของการตัดขยายระยะ มีการคาดการณ์ไว้ว่าการ
ตัดขยายระยะที่เหมาะสมจะทาให้การเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ที่เหลือยู่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 20

..1.4 ผลการตัดขยายระยะต่อคุณภาพเนื้อไม้

การตัดขยายระยะจะช่วยเพิ่มการเติบโตและเป็นผลให้มีเนื้อไม้มากขึ้นและคุณภาพดีขึ้นด้วย

..1.5 ผลการตัดขยายระยะต่อสิ่งแวดล้อม

การตัดขยายระยะจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ
และความหนักเบาของการตัดขยายระยะในครั้งนั้นๆ โดยทั่วไปจะก่อให้เกิดปัญหาการชะล้าง
พังทลายของดินในพื้นที่ที่ส่งผลต่อปริมาณตะกอนแขวนลอยในลาธารและคุณภาพน้าท่าเสื่อม
ลง แต่ทั้งนี้จากการศึกษาของธีรวัชร เพชระบูรณิน และวีนัส ต่วนเครือ (2559) ที่สถานีเกษตร
หลวงอ่างขาง อ.อ่างขาง จ.เชียงใหม่ พบว่า กิจกรรมการตัดขยายระยะที่ดาเนินการในพื้นที่สูง
แต่มีระดับความเข้มข้น 20% และ 40% มีอิทธิพลต่อปริมาณตะกอนแขวนลอยและคุณภาพน้า
บางประการค่อนข้างน้อย
2.2 ประเภทของกำรตัดขยำยระยะ
ในการตัดขยายระยะจะมีรายละเอียดของการพิจารณาหมู่ไม้เพื่อการดาเนินการตัด
ขยายระยะได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการตัดขยายระยะในครั้งนั้น ๆ โดย
รายละเอียดของการตัดขยายระยะแต่ละประเภทได้รวบรวมแสดงในตารางที่ 7.2
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 135

ตารางที่ 7.2 รวมรายละเอียดของประเภทของการตัดขยายระยะ

ประเภท หลักปฏิบัติ ผลการดาเนินงาน ผลทางเศรษฐศาสตร์


Low Thinning ตัดไม้ในชั้นเรือนยอดต่า การดาเนินการครั้ง ไม่ได้ผลตอบแทนทางการเงิน
ออกตามลาดับขึ้นไปถึง แรกจะไม่ช่วยเร่งการ หรือได้น้อยทีส่ ุดเพราะไม้ที่ตดั
ชั้นเรือนยอดปานกลาง เติบโตแต่จะช่วยเพิ่ม ออกมีคุณภาพไม่ดไี ม่เป็นที่
พื้นที่ช่องว่างจากการ ต้องการของตลาด
นาไม้ที่โตไม่ดีออกไป
ซึ่งเป็นผลต่อในการตัด
ขยายระยะในครั้ง
ต่อไป
Crown Thinning ตัดไม้ชั้นเรือนยอดปาน ส่งเสริมการเติบโตของ ได้ผลตอบแทนทางการเงิน
กลางขึ้นไปจนถึงไม้ใน ไม้ที่เหลืออยู่ มากกว่า Low Thinning
ชั้นเรือนยอดรองเด่น โดยเฉพาะไม้ในชั้น
ออก เป็นไปตามความ เรือนยอดเด่นและชั้น
หนักเบาของการตัดใน รองเด่น
ครั้งนั้น

Selection เลือกต้นไม้ชั้นเรือนยอด ส่งเสริมการเติบโตของ ไม่ผลตอบแทนทางการเงินที่ดี


Thinning เด่นออก หากไม่พอให้ ไม้ชั้นเรือนยอดรอง มากกว่าทุกวิธี แต่ต้องยอมรับ
เลือกชั้นเรือนยอดรอง เด่นและชั้นเรือนยอด ว่าไม้ที่เหลืออยู่จะมีการเติบโต
เด่นเพิ่ม อื่นๆ ที่เห็นว่ารูปทรงดี จนถึงอายุตัดฟันที่ยืดยาว
และเป็นไม้หมู่มาก ออกไป

Mechanical ตัดเป็นแถวเป็นแนว ต้นไม้ทุกชั้นเรือนยอด ได้ผลตอบแทนทางการเงิน


Thinning เดียวกันทั้งสวน โดย มีโอกาสได้รับการตัด ดีกว่า Low Thinning
พิจารณาระยะห่าง ออกเท่าๆ กัน เหมาะ
ระหว่างต้นไม้ไม่ กับสวนป่าที่เป็นไม้
พิจารณาชั้นเรือนยอด ชนิดเดียวกัน มีระยะ
ของต้นไม้ในหมู่ไม้ เช่น ปลูกแน่นอน
ตัดแถวเว้นแถว หรือเว้น
สองแถว ส่วนมากทา
136 | การปลูกสร้างสวนป่า

ประเภท หลักปฏิบัติ ผลการดาเนินงาน ผลทางเศรษฐศาสตร์


เมื่อไม้มีอายุน้อย
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 137

ตารางที่ 7.2 (ต่อ)


ประเภท หลักปฏิบัติ ผลการดาเนินงาน ผลทางเศรษฐศาสตร์
Free Thinning นาวิธีการตัดขยายระยะ เหมาะกับสวนป่าที่ ได้ผลตอบแทนทางการเงิน
หลายวิธีมารวมกันทั้งนี้ ต้นไม้มีอายุไม่เท่ากัน พอสมควร หรือพอกันกับ
และในวิธีนี้อาจจะมีการ หรือโตไม่สม่าเสมอ Crown Thinning ทั้งนี้ขึ้นอยู่
ล้อมต้นไม้(Balled tree) กับความหนักเบาของการตัด
ต้นที่มีลักษณะดีออก แต่หากมีการล้อมไม้ก็จะทาให้
ขายเป็นไม้ล้อมแทนการ มีผลทางด้านการเงินมากกว่า
ตัดไม้ขายเป็นไม้ท่อน การขายไม้ท่อน

2.3 กำรวำงแผนกำรตัดขยำยระยะ
การวางแผนการตัดขยายระยะมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา 3 ปัจจัย โดยปัจจัยทั้งสามนี้มี
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีผลเกี่ยวเนื่องต่อกัน ดังนี้
1) วิธีการตัดขยายระยะ วิธีการตัดขยายระยะจะเป็นวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน
2) ช่วงเวลาการกาหนดการตัดขยายระยะ และความถี่ห่างของการตัดขยายระยะใน
ครั้งต่อไป
3) ความหนักเบาของการขยายระยะในแต่ละครั้ง
2.4 กำรเลือกวิธีกำรตัดขยำยระยะ
แต่ละวิธีการตัดขยายระยะจะมีความเหมาะสมกับสภาพของการเติบโตและสภาพรวม
ของสวนป่ าแตกต่างกันไป เช่น Selection Thinning เหมาะกับสวนป่าที่ไม่ต้องการไม้ขนาด
ใหญ่ เหมาะกับไม้สาหรับทาเยื่อกระดาษ หรือ เสาเข็ม ขณะที่ Mechanical Thinning เหมาะ
กับการตัดขยายระยะครั้งแรกกับสวนป่าที่มีความหนาแน่นสูงและต้นไม้แต่ละต้นมีขนาดเล็ด
ใกล้เคียงกัน ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกวิธีใดควรศึกษาวิธีการในรายละเอียดควบคู่ไปกับการ
คานึงถึงวัตถุประสงค์ของสวนป่าเป็นหลัก ในสวนป่าหนึ่งๆ ตลอดระยะการเติบโตจนก่อนถึงการ
ตัดฟันครั้งสุดท้าย ไม่จาเป็นต้องใช้วิธีการตัดขยายระยะเพียงวิธีเดียว
138 | การปลูกสร้างสวนป่า

ตารางที่ 7.3 ข้อมูลรายละเอียดของแต่ละประเภทการตัดขยายระยะเพื่อประกอบการพิจารณา


เลือกใช้
ประเภท ค่าใช้จ่าย/ ข้อจากัดทางวิชาการ ผลที่ได้รับจากการดาเนินงาน
รายรับ
Low สูง/ไม่มีหรือ ไม่มี ดาเนินการได้ง่าย ไม้ที่ตัดออกขนาดเล็กไม่เป็นที่
Thinning มีน้อยมาก ต้องการ

Crown สูง/ ต้องดาเนินการด้วยผูม้ ีความชานาญ มี ไม้ที่ตัดออกมีขนาดสูงใหญ่ราคาดี


Thinning ปานกลาง- ประสบการณ์สูง แต่ต้นไม้ที่เหลือในสวนป่าเสี่ยงต่อ
สูง การได้รับความเสียหายจากการตัด
ไม้ใหญ่ออก

Selection สูง/ ดาเนินการได้ง่ายเพราะเลือกต้นสูงใหญ่ ต้นไม้ที่เหลือในสวนป่าเสี่ยงต่อการ


Thinning ปานกลาง ได้รับความเสียหายปานกลางถึง
มาก
ไม้ที่ตัดออกมีขนาดเล็ก-ปานกลาง
Mechanical น้อยที่สุด/ ดาเนินการง่ายทีส่ ุดเพื่อเลือกตัดออกเป็น ไม่ไม้คละขนาดตั้งแต่เล็ก-ใหญ่ การ
Thinning ปานกลาง แถวหรือเป็นแนวที่แน่นอน ไม่ต้องการ ตัดไม้มีความเสียหายปานกลาง
ความชานาญ และคาแนะนาทาง
วิชาการ

2.5 กำรกำหนดกำรตัดขยำยระยะครั้งแรก
ตามหลักการแล้วเมื่อต้นไม้ในสวนป่ามีการเติบโต มีเรือนยอดแผ่ขยายใหญ่ออกมาชิด
กั น ต้ อ งด าเนิ น การตั ด ขยายระยะทั น ที นอกจากนี้ ส ภาวะการเงิน จะเป็ น ปั จ จัย ร่ ว มในการ
พิจารณาดาเนินการตัดขยายระยะครั้งแรก แม้การตัดขยายระยะเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูง
แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรยืดระยะเวลาการตัดขยายระยะออกไปเพราะจะเป็นผลเสียต่อการเติบโต
ของต้นไม้ลดลงและมีรูปทรงเสียไปจากที่ควรจะเป็น ในสวนป่าที่มีระยะปลูกสม่าเสมอจะต้อง
ตัดขยายระยะเร็วกว่าระยะปลูกห่าง สวนป่าที่ได้รับอันตรายจากภัยธรรมชาติเช่นลมพายุ ควร
วางแผนการตัดขยายระยะให้รอบคอบ โดยที่ ควรจะตัดขยายระยะในครั้งแรกให้เร็วหรือในช่วย
มีอายุ น้ อย และทาบ่ อยๆ ครั้ง การเลื่ อนการตัดขยายระยะออกไปจะเป็ นผลเสี ยต่อรูป ทรง
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 139

เนื่องจากแรงลม นอกจากนี้แล้ว การตัดขยายระยะที่เริ่มดาเนินการในอายุน้อย ทาให้ต้นไม้ที่


เหลืออยู่มีการเติบโตดี แข็งแรง ต้านทางโรคและแมลงอีกด้วย
ชนิดไม้ที่มีการลิดกิ่งได้ตามธรรมชาติ การเลือนการตัดขยายระยะออกไปจะเป็นผลที่
ทาให้ต้นไม้มีเรือนยอกแผ่ชิดติดกันมากขึ้น มีผลให้มีการลิดกิ่งตามธรรมชาติได้มากขึ้น ต้นไม้จะ
มีความเรียวน้อยลง อันจะเป็นผลให้ต้นไม้มีลาต้นเปลาตรง ชนิดไม้ที่มีเรือนยอดแผ่กว้างใหญ่
การตัดขยายระยะครั้งแรกต้องทาเร็วกว่าไม้เรื อนยอดแคบ ในทานองเดียวกัน ชนิดไม้ที่ต้องการ
แสงมาก เช่นไม้โตเร็วที่ปลูกด้วยระยะปลูกชิดกันมาก ต้องทากรตัดขยายระยะในครั้งแรกเร็ว
กว่าชนิดไม้ทนร่ม หรือชนิดไม้โตช้า
2.6 กำรกำหนดกำรตัดขยำยระยะในครั้งต่อไป
การตัดขยายระยะครั้งแรกไม่สามารถมีผลครอบคลุมได้ตลอดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ
สวนป่าที่มีอายุรอบตัดฟันยาว เรือนยอดของต้นไม้ที่อยู่ห่างกันจากการตัดขยายระยะ ก็จะเริ่ม
ชิดกัน เบียดเสียดกันได้อีก การตัดขยายระยะครั้งต่อไปจะต้องทาอีกเมื่อไรนั้น จะต้องมีการ
ติดตามการเติบโตและนาข้อมูลการเติบโตมาพิจารณา โดยการพิจารณาจากอัตราการเติบโต
ทางเส้ น ป่ านศู น ย์ ก ลาง เมื่ อ มี อั ต ราการเติ บ โตทางเส้ น ผ่ านศู น ย์ ก ลางลดลง จะเป็ น เวลาที่
เหมาะสมต่อการทาการตัดขยายระยะ เพราะอัตราการโตของเส้นป่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้น น้อยลง
แสดงว่าต้นไม่เริ่มเบียดเสียด แก่งแย่งแข่งขันกันและกัน และสมควรที่จะเปิดช่องว่างโดยการตัด
ขยายระยะ
ในบางกรณีการตัดขยายระยะไม่มีความจาเป็นต้องดาเนินการ เช่นการปลูกสวนป่าด้วย
ชนิดไม้โตเร็วเพื่อการทาเยื่อกระดาษและชิ้นไม้สับ หรือเพื่อการทาไม้ฟืน สวนป่านี้จะมีรอบตัด
ฟันสั้น มีระยะปลูกเหมาะสมต่อการเติบ โตและมีเรือ นยอดแผ่ขยายเหมาะสมไม่เบียดชิดกัน
และสวนป่านี้ต้องการให้ได้ผลผลิตรวมที่มากกว่าการได้ต้นไม้ขนาดใหญ่โต สวนป่าเหล่านี้ไม่
จาเป็นต้องดาเนินการตัดขยายระยะ
3. กำรตัดฟันเพื่อกำรสืบพันธุ์ (Reproduction Cuttings หรือ Silvicultural
Systems)
ก่อนที่จะกล่าวรายละเอียดของการตัดเพื่อการสืบพันธุ์ ในขั้นแรกจะขอกล่าวเรื่องการ
สืบพันธุ์ (Regeneration หรือ Reproduction) การสืบพันธุ์ของต้นไม้เป็นขบวนการที่ทาให้เกิด
มีต้น ไม้ขึ้น มาใหม่และกลายเป็ น หมู่ไม้ในป่ าในที่สุ ด ซึ่งการเกิดป่ าใหม่นี้เกิดขึ้นได้ 2 วิธีการ
กล่าวคือ การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration) เช่น การโปรยเมล็ดของต้นแม่
140 | การปลูกสร้างสวนป่า
ไม้ในพื้นที่ หรือต้นไม้ในพื้นที่ข้างเคียงโปรยเมล็ดลงมาในแปลงที่ดาเนินการตัดออกไปแล้ว และ
การแตกหน่อ เป็นต้น อีกวิธีหนึ่งคือการสืบพันธุ์ที่มนุษย์ทาขึ้น (Artificial Regeneration) เช่น
การน าเมล็ ด ไปโปรยในพื้ น ที่ แ ปลงที่ ตั ด ฟั น แล้ ว การน ากล้ าไม้ เข้ าไปปลู ก ในพื้ น ที่ เป็ น ต้ น
ความสาเร็จของการสืบ พัน ธุ์ของต้น ไม้จะขึ้น อยู่กับชนิดไม้และสภาพแวดล้ อมที่กล้ าไม้นั้นๆ
ขึ้นอยู่ โดยที่การสืบพันธุ์จะประสบผลสาเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่จะมีต่อการงอก
และการตั้งตัวของกล้าไม้คือ ขนาดของช่องว่างและสภาพแวดล้อมจุลภาคที่อยู่ในพื้นที่ของต้น
กล้านั้นๆ โดยที่ช่องว่างจะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการงอก การแก่งแย่งของกล้าไม้
กับ พืชข้างเคียง และการตั้งตัวของกล้าไม้ในพื้นที่ได้ เนื่องจากกล้าไม้แต่ละชนิดต้องการแสง
สว่างแตกต่างกันไป การเปิดช่องว่างที่เหมาะสมจะส่งผลต่อการตั้งตัวของต้นไม้อีกด้วย
3.1 กำรจัดแบ่งระบบกำรตัดไม้เพื่อกำรสืบพันธุ์
การจัดแบ่งระบบการตัดไม้เพื่อการสืบพันธุ์และหมู่ไ ม้ใหม่ที่ได้นั้น สามารถจัดแบ่ง ได้
เป็นระบบต่างๆ ได้ดังนี้
1) ระบบที่ มีการสื บ พั น ธุ์โดยเมล็ ด (High Forest System) และหมู่ไม้ใหม่ จะมีอายุ
เท่ากัน (Even Aged Stand) หมู่ไม้ที่จะได้จากระบบตัดหมด (Clearcutting System) ระบบ
แม่ไม้ (Seed Tree System) และระบบไว้ร่ม (Shelterwood System)
2) ระบบที่มีการสืบพันธุ์โดยเมล็ด (High Forest System) และหมู่ไม้ใหม่จะมีอายุไม่
เท่ากัน (Un-even Aged Stand) ได้แก่ระบบเลือกตัด (Selection System)
3) ระบบที่มีการสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ (Low Forest System) ได้แก่ระบบแตก
หน่อ (Coppice System) จากตัวของต้นไม้ที่ตัดออกไป
หากพิจารณาทุกระบบของการตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์ จะเห็นได้ว่าทุกระบบมีพื้นฐาน
การคิดจาก วิธีสืบพันธุ์ เวลาที่ดาเนินงาน และช่องว่าวที่เกิดขึ้น ปัจจัยพื้นฐานนี้จะเป็นตัวบ่องชี้
ถึงความแตกต่างของแต่ละระบบ ซึ่งจะนาไปสู่ลาดับก่อนหลังของการตัดฟันเพื่อการสืบต่อพันธุ์
ช่องว่างที่ เกิด ขึ้น จะส่ งผลต่อ การสื บ พั น ธุ์ในรุ่น ต่ อๆไป รายละเอี ยดของการตัด ฟั น เพื่ อการ
สืบพันธุ์มีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 7.4
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 141

ตารางที่ 7.4 แสดงรายละเอียดระบบการตัดไม้เพื่อการสืบพันธุ์

ระบบ หลักการ ข้อดี ข้อเสีย


ระบบตัดหมด ตัดไม้ออกทุกต้นในพื้นที่ พื้นที่ดาเนินการอยู่ในพื้นที่ การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติมักจะ
(Clearcutting แปลงตัดฟันรายปี เดียวกันทาให้สะดวกต่อการ ประสบความล้มเหลวอันเกิดจาก
System) หมู่ไม้ที่เกิดใหม่เกิดจากการ ดาเนินการและควบคุม การแก่งแย่งกับวัชพืช ทาให้กล้า
นากล้าไม้ปลูกโดยมนุษย์ ตัดฟันไม้ออกหมดทั้งแปลง ไม้ตั้งตัวยาก
หรือกล้าไม้ได้จากต้นไม้ใน ทาให้สะดวกต่อการเตรียม การเปิดพื้นที่โล่งมีความเสียงต่อ
แปลงข้างเคียงหรือจากต้นที่ พื้นที่ปลูก การสูญเสียสารอาหารในเดินโดย
ตัดออก สามารถปรับเปลี่ยน กระบวนการชะล้างพังทลายของ
หมู่ไม้ใหม่มีอายุเท่ากัน องค์ประกอบชนิดไม้ได้ตาม หน้าดิน
วางแผนให้มีจานวนแปลงตัด ต้องการ อินทรียวัตถุเสื่อมและมีปริมาณ
ฟันเท่ากับจานวนปีของอายุ น้อย โดยเฉพาะในพื้นที่ลาดชัน
ตัดฟัน ระบบนี้ใช้ได้ดีกับชนิด หมู่ไม้ที่มีอายุเท่ากันหากเกิด
ไม้ที่ต้องการแสงสว่างในการ อันตรายจะมีความรุนแรงสูง
เติบโต มีความเสี่ยงต่อการโปรยเมล็ด
ของต้นไม้ได้ไม่ทั่วถึงทั้งแปลง
ระบบแม่ไม้ ต้นไม้ในแปลงตัดฟันจะถูก คล้ายกันกับระบบตัดหมด คล้ายกันกับระบบตัดหมด
(Seed Tree ตัดออกเกือบทั้งหมด เหลือ
System) ไว้เฉพาะต้นแม่ไม้เพื่อเป็นตัว
โปรยเมล็ดไม้ เหลือแม่ไม้
กระจายทั้งพื้นที่เพื่อผลดีต่อ
การโปรยเมล็ดไม้ได้ทั่วทั้ง
แปลงปลูก
เมื่อหมู่ไม้ใหม่ขึ้นมาเต็มพื้นที่
จะต้องดาเนินการตัดแม่ไม้
เหล่านั้นออก
การสืบพันธุ์ไม่ได้อาศัยเมล็ด
ไม้จากแปลงข้างเคียงแต่ต้อง
ได้จากต้นแม่ไม้เท่านั้น
แม่ไม้ที่เหลือกระจายทั่วพื้นที่
จะไม่บังแสง
ป่าที่เกิดขึ้นใหม่เป็นป่าที่มีชั้น
142 | การปลูกสร้างสวนป่า

ระบบ หลักการ ข้อดี ข้อเสีย


อายุเดียว

ตารางที่ 7.4 (ต่อ)


ระบบ หลักการ ข้อดี ข้อเสีย
ระบบไว้ร่ม เป็นการต่อยๆตัดไม้บ่างส่วน การทยอยตัดจะเปิดโอกาส ต้องอาศัยความชานาญเฉพาะ
(Shelterwood ออกไปเป็นครั้งคราว ให้ไม้ที่ถึงอายุตัดฟันแต่มี ด้านมากกว่าระบบตัดหมดและ
System) ต่อเนื่องกันไป ทั้งนี้ ขนาดเล็กได้มีการสะสม ระบบแม่ไม้
ระยะเวลาไม่ควรยาวนาน ความเพิ่มพูนของเนื้อไม้ได้ ทาไม้ออกได้ยากกว่าระบบอื่นๆ
กว่า 1/5 ของอายุตัดฟัน ระยะที่เหมาะสม และก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติจะ ระบบนี้เหมาะสมกับชนิดไม้ ต้นไม้ข้างเคียงในบริเวณที่ตัดไม้
ค่อยๆทยอยเกิดขึ้นต่อเนื่อง ที่ช่วงเป็นกล้าไม้มีความทน เศษไม้ปลายไม้นาแกจากแปลงได้
ภายใต้ร่วมเงาของไม้ใหญ่ ร่มแต่จะเป็นต้นไม้ที่มีความ น้อยดาเนินการได้ไม่สะดวก
ทาการตัดไม้ครั้งสุดท้ายเมื่อ ต้องการแสงในระยะไม้หนุ่ม เสียค่าใช้จ่ายสูงและดาเนินการ
มีการสืบต่อพันธุ์เต็มพื้นที่ รอบตัดฟันต่อไปทาให้สั้นลง หลายครั้ง
และกล้าไม้ตั้งตัวได้แล้ว ได้เพราะมีการงอกของเมล็ด
ป่าที่เกิดขึ้นใหม่มีอายุเท่ากัน ไม้เกิดขึ้นมาก่อนที่จะ
ดาเนินการตัดฟันไม้ออกจน
มีการดาเนินการตัด 3 ระยะ หมดแปลง
คือ
ดาเนินการได้ง่ายเพราะมี
ระยะการตัดเตรียมการ แผนงานที่ชัดเจนว่าจะต้อง
(Prepatory Cutting) ตัด ตัดต้นไหนเมื่อไร บริการการ
เพื่อเตรียมพื้นที่ให้มีการงอก ตัดได้ง่ายกว่าระบบเลือกตัด
ของกล้าไม้
ส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและ
ระยะการตัดเพื่อเมล็ดไม้ น้าในแปลงตัดฟัน เพราะมี
(Seed Cutting) ตัดเพื่อให้มี พืชชพรรณขึ้นปกหลุมอยู่
การตั้งตัวของกล้าไม้ได้ ตลอดเวลา
ระยะการตัดเปิดพุ่มออก
(Removal Cutting) ตัดเพื่อ
ช่วยให้กล้าไม้ตั้งตัวได้ดีและมี
ช่องว่างเหมาะสมเพื่อการ
เติบโตได้
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 143
144 | การปลูกสร้างสวนป่า

ตารางที่ 7.4 (ต่อ)

ระบบ หลักการ ข้อดี ข้อเสีย


ระบบเลือกตัด ระบบนี้ใช้ได้ดีกับป่า สามารถเปลี่ยนองค์ประกอบ ดาเนินการได้ยากเพราะต้องให้มี
(Selection ธรรมชาติที่ต้องการจัดการให้ และโครงสร้างของป่าได้ ชั้นอายุต่างๆกระจายอยู่ในพื้นที่
System) มีองค์ประกอบชนิดไม้และ การสืบพันธุ์เป็นไปได้วยดี มี เท่าๆ
โครงการชั้นอายุไม่เท่ากัน การเติบโตดีเพราะมีไม่ใหญ่ ระบบนี้ต้องการความชานาญสูง
อย่างน้อยต้องมี 3 ชั้นอายุ ปกคลุมแสง ดาเนินการติดตามการ
ดาเนินการได้กระจายทั่ว สามารถให้มีการกระจายชั้น เปลี่ยนแปลงภายหลังการเกิดป่า
พื้นที่ป่า ไม่จาเป็นต้องแบ่ง อายุในขนาดพื้นที่เท่าๆกัน ใหม่ยากเพราะมีกลุ่มไม้กระจาย
แปลงตัดฟัน ทาให้กาหนดผลผลิตได้อย่าง อยู่ทั่วพื้นที่
สม่าเสมอและต่อเนื่อง ทาไม้ออกได้ยากเสียค่าใช้จ่ายสูง
ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ก่อนให้เกิดผลกระทบต่อไม้ที่
สิ่งแวดล้อม เหมาะกับป่าต้น เหลือในแปลงเพราะไม้ที่ไม่ได้ล้ม
น้า จะได้รับอันตรายจากการล้มไม้
ขนาดใหญ่

ระบบแตกหน่อ ในแปลงตัดฟันนั้นๆ จะมีการ ไม้ในรอบตัดฟันต่อไปจะมี ความแข็งแรงของหน่อลดลงตาม


(Coppice ตัดไม้ออกแล้วปล่อยให้แตก รอบตัดฟันสั้นกว่าป่าที่มีการ อายุและขนาดของตอ
System) หน่อ เตอบโตต่อไป สืบพันธุท์ างธรรมชาติ ผลผลิตรอบตัดฟันต่อไปจะได้ไม้
ดาเนินการได้ง่าย ได้ผลผลิต ขนาดเล็กทาให้มีการใช้ประโยชน์
เฉลี่ยสูงกว่าระบบอื่นๆ ไม่กว้างขวาง

4. สรุป (Conclusion)
การปฏิบัติทางวนวัฒ นวิทยาเป็น กิจกรรมที่เป็น การปฏิบัติต่อต้นไม้ในสวนป่าตลอด
ระยะเวลาการตั้งแต่การสืบพันธุ์ การตั้งตัวของต้นไม้ไปจนถึงอายุการตัดฟันเพื่อให้ได้โครงสร้าง
ของหมู่ไม้ที่เหมาะสม ส่งผลสู่การเติบโตและได้ผลผลิตที่ดีต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยที่
แผนเชิ งระบบจะมุ่ ง เน้ น ที่ ก ารน าการปฏิ บั ติ ท างวนวั ฒ นวิ ท ยาไปใช้ ตั้ ง แต่ ก ารสื บ ต่ อ พั น ธุ์
(Reproduction Systems) เพื่อส่งเสริมการสืบพันธุ์ที่เหมาะสมกับชนิดไม้ องค์ประกอบและ
โครงสร้างชั้นอายุของหมู่ไม้ใหม่ และเมื่อหมู่ไม้ใหม่ตั้งตัวได้แล้วยังต้องมีการปฏิบัติทางวนวัฒน
บทที่ 7 หลักการปฏิบัติทางวนวัฒนวิทยาในสวนป่า| 145

วิทยาที่เรียกโดยรวมว่า การตัดเมื่อไม้โตปานกลาง (Intermediate Cuttings) ซึ่งเป็นการปฏิบัติ


ทางวนวัฒนวิทยาเพื่อดูแลบารุงรักษาต้นไม้ ส่งเสริมการเติบโตของต้นไม้ที่เหลืออยู่ในแปลงปลูก
ในช่ ว งที่ ยั งไม่ถึ งอายุ ตั ดฟั น ให้ มี การเติ บ โตที่ เหมาะสม รวมทั้ งการป้ องกัน อั น ตรายจากภั ย
ธรรมชาติและการทาลายจากโรคและแมลง การพิจ ารณาดาเนินการใช้ระบบวนวัฒน์จะต้อง
พิ จ ารณาควบคู่ กั น ไประหว่างมิติ ด้ านการเติบ โตทางสรีรวิท ยาแลสิ่ งแวดล้ อ ม ควบคู่ ไปกั บ
ข้อพิจารณาทางด้านการเงิน
5. เอกสำรอ้ำงอิง
วัชระ เพชระบูรณิน และ วีนัส ต่วนเครือ. 2559. ผลกระทบของการตัดสางขยายระยะในพื้นที่
ป่าฟื้นฟูบนที่สูงต่อปริมาณตะกอนแขวนลอยและคุณภาพน้าบางประการ บริเวณสถานี
เกษตรหลวงอ่างขาง อาเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใน การประชุมวิชาการป่าไม้ 2559
“เศรษฐกิจบนฐานป่าไม้”, กรุงเทพฯ
วิสุทธิ์ สุวรรณาภินันท์. 2544. ระบบวนวัฒน์ Sicvicultural systems. ภาควิชาวนวัฒนวิทยา
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ 3 พิมพ์เพิ่มเติม.
161 หน้า ISBN 974-553-265-7
Kerr, Gary and Jens Haufe. 2011. Thinning practice. A Silvicultural guide. Version
1.0. Forestry Commission. 28 January 2011. 53 pp.
Smith, David M. 1986. The Practice of Silviculture. 8th ed. John Wiley & Sons,
Inc. 527 pp.
Sven Gunter, Michael weber, Nernd stimm, and Reinhard Mosandl. 2011.
Silviculture in the Tropics. Springer-Verlag Berlin Heidelberg. 560 pp.
บทที่ 8
กำรอำรักขำสวนป่ำ
Forest plantation protection

กอบศักดิ์ วันธงไชย

1. บทนำ (Introduction)
1.1 บทบำทของกำรอำรักขำสวนป่ำ (the role of forest plantation
protection)
การอารั ก ขาสวนป่ า (Forest plantation protection) เป็ น ด าเนิ น การจั ด การกั บ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบในทางลบ (negative effects) กับหมู่ไม้ในสวนป่าภายหลัง
จากทราบสาเหตุ และลักษณะของผลกระทบ เมื่อทาการปลูกสร้างสวนป่าในพื้นที่เสร็จแล้ว สิ่ง
สาคัญอย่างยิ่งต่อความสาเร็จของการปลูกสร้างสวนป่าคือการบารุงรักษา การจั ดการสภาพ
ปั จ จั ย สิ่ งแวดล้ อมภายในสวนป่ า ให้ เอื้ อต่อ การเติ บ โตและพั ฒ นาของหมู่ไม้ อาจกล่ าวได้ ว่า
ความสาเร็จของการปลูกสร้างสวนป่าประมาณร้อยละ 50 เกิดจากการวางแผนดาเนินการ อีก
ร้อยละ 50 เกิดจากการจัดการภายหลังปลูกไปแล้วการดูแลป้องกันกาจัดปัจจัย สิ่งแวดล้อมที่
ส่งผลกระทบต่อการเติบโตและผลผลิตของสวนป่า
การอารักขาสวนป่าเริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนทาการปลูก เช่น การสร้างแนวกันไฟ การคัดเลือก
ชนิดไม้ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมฯ การควบคุมกาจัดวัชพืช ส่วนการจัดการเพื่อ
เพิ่มคุณภาพของไม้ เช่น การลิดกิ่ง การตัดขยายระยะหมู่ไม้เมื่อต้นไม้เริ่มมีการเบียดเสียดกัน ซึ่ง
รูปแบบการตัดขยายระยะมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์และสภาพของ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อต้นไม้ เช่น บริเวณพื้นที่ซึ่งมีลมพัดรุนแรง ลักษณะการระบาด
ของแมลงศัตรูฯ การป้องกันไฟป่าเป็นการดูแลรักษาหมู่ไม้ที่มีความสาคั ญอย่างมากโดยเฉพาะ
ในพื้นที่ที่ปลูกสร้างสวนป่าอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีความเสี่ยงจากการเกิดไฟลุกลามเข้ามาใน
สวนป่ า ในสวนป่ าที่ต้น ไม้ยังมี ขนาดเล็ก วิธีการจัดการต่างๆ เช่น การสร้างแนวกันไฟ การ
จั ดการเพื่ อ ลดปริ มาณเชื้อเพลิ งโดยวิธีการต่างๆ รวมทั้ งการบริห ารจัดการควบคุมไฟป่ า มี
ความสาคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงหลักในการดาเนินการและวิธีการนาไปปฏิบัติ การจัดการ
148 | การปลูกสร้างสวนป่า
เหล่านี้หากดาเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสมจะส่งผลให้สวนป่ามีการเติบโตและพัฒนาที่ดีตาม
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
1.2 ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อต้นไม้ในสวนป่ำ (Environmental
factors influencing forest plantation)
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) ที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบ
ทางลบต่อสวนป่า อาจแบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ (ภาพที่ 8.1) ได้แก่
1) ปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ (Physical or Abiotic factors) ) จากสภาพอากาศที่
รุนแรงแปรปรวน (เช่น ความแห้งแล้ง น้าท่วม ลมพายุ) ไฟป่า มลพิษทางอากาศฯ
2) ปั จ จั ย แวดล้ อ มทางชี ว ภาพ (Biological factors) ได้ แ ก่ แมลงศั ต รู พื ช โรคพื ช
วัชพืช รวมทั้งการทาลายจากสัตว์
3) ปั จ จั ย ทางด้ านมนุ ษ ย์ (Anthropogenic factors) ที่ ส าคั ญ ได้แก่ การบุก รุกพื้ น ที่
การลักลอบตัดไม้ในสวนป่า การลักลอบเผาสวนป่า เป็นต้น

ภาพที่ 8.1 กลุ่มปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการจัดการสวนป่า

ลั กษณะอาการของต้น ไม้ที่ แสดงออกเมื่อ ได้ รับ อัน ตรายจากปัจ จัยสิ่ งแวดล้ อมอาจ
สังเกตได้จากลักษณะอาการต่างๆ เช่น เปลือกหลุดร่อนเสียหาย, มีของเหลวไหลเยิ้มตามลาต้น,
รูปทรงของลาต้นและกิ่งผิดปกติ , ปลายยอดหัก, มีการผุ เปื่อย ภายในลาต้น, เนื้อเยื่อตาย, กิ่ง
แห้งตาย, ใบมีขนาด รูปร่าง สีสันผิดปกติ, อัตราการเติบโตและการพัฒนาต่า, มีช่องเปิดหรือรู
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 149

บริเวณลาต้น กิ่ง, มีดอกเห็ดหรือเส้นใยของเห็ดราเกิดขึ้นที่ต้นไม้, มีอาการบวม โป่งพอง ตามลา


ต้น เป็นต้น
ทั้งนี้ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งปัจจัยที่มีชีวิตและปัจจัย ที่ไม่มีชีวิตอาจกระทาต่อต้นไม้ส่งผล
ให้ ต้น ไม้อ่อนแอ หลั งจากนั้ น กลุ่ มสิ่ งมีชีวิต ล าดับที่ 2 (secondary organism) ซึ่งปกติจะไม่
สามารถเข้าทาลายต้นไม้ที่แข็งแรง จะเข้าทาลายซ้าเติมทาให้ต้นไม้อ่อนแอมากยิ่งขึ้นและอาจ
ทาให้ต้นไม้ตายได้ ซึ่งการตายของต้นไม้อาจเกิดจากผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้น จากการกระทา
ของปัจจัยที่มารบกวนหรืออาจเกิดจากจากสภาพสิ่งแวดล้อมทีเ่ ปลี่ยนแปลงภายหลังต้นไม้ได้รับ
อั น ตราย (เช่ น การสู ญ เสี ย ธาตุ อ าหาร สภาพของแสงสว่ า งที่ เ ปลี่ ย นแปลง โครงสร้ า งที่
เปลี่ยนแปลงไปของหมู่ไม้) จากนั้นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงนี้จึงไปส่งผลต่อลักษณะทาง
สรีรวิทยาและลักษณะการเติบโตของต้นไม้และในที่สุดไปทาให้ต้นไม้อ่อนแอเสียหายและตายใน
ที่ที่สุด (ภาพที่ 8.2)

ภาพที่ 8.2 ดอะแกรมแสดงการเข้าทาลายของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้ต้นไม้อ่อนแอและ


เป็นช่องทางให้สิ่งมีชีวิตลาดับที่ 2 (secondary organism) เข้าทาลายซ้าเติม
150 | การปลูกสร้างสวนป่า
2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมสำคัญที่มีบทบำทสำคัญต่อกำรปลูกสร้ำงสวนป่ำ (Essential
Environmental factors influencing forest plantation)
2.1 ควำมแห้งแล้ง (drought)
.1.1. ความสาคัญของความแห้งแล้ง (significant of drought)

ปัจจัยที่มีความจาเป็นต่อการเติบโตของต้นไม้ที่สาคัญอย่างยิ่งได้แก่ น้า หากต้นไม้ได้รับ


น้าในปริมาณที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะการขาดแคลนน้า (water shortage) ที่ส่งผลให้เกิดความ
แห้งแล้ง เป็นสาเหตุที่ทาให้เกิดความเสียหายต่อต้นไม้ในสวนป่าได้ ลักษณะของความแห้งแล้ง
เกิดขึ้น ได้ในจากหลายลักษณะ เช่น ปริ มาณน้ าฝนไม่เพียงพอ การกระจายของฝนไม่ทั่ วถึง
แหล่งเก็บกักน้ามีไม่เพียงพอ ความสามารถในการอุ้มน้าของดินต่า ซึ่งสาเหตุสาคัญมาจากความ
ผันผวนของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ของโลก ความผั น แปรของสภาพภู มิ อ ากาศในแต่ ล ะปี โ ดยเฉพาะความผั น แปรที่ เกิ ด จาก
ปรากฏการณ์ เอญนิ ญ โญ (El Niño-Southern Oscillation (ENSO)) ที่ เกิ ด ขึ้ น ในบริเวณฝั่ ง
มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก (ทางด้านอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ไทย) มีอิทธิพลอย่างสูงต่อ
สภาพภูมิอากาศที่ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ซึ่งการที่ต้นไม้ขาดน้าจะส่งผลต่อกระบวนการทาง
สรีรวิทยาต่างๆ ที่สาคัญต่อการเติบโตและพัฒนาของต้นไม้หากน้าในดินต่าลงถึงจุดเหี่ยวถาวร
(permanent wilting point; PWP) ซึ่งเป็ น ค่าความชื้ นในดิ นต่าสุ ดที่ จะไม่ ทาให้ พื ช เกิ ดการ
เหี่ ย วอย่ างถาวร หากความชื้ น ในดิ น ต่ ากว่ านี้ จ ะท าให้ พื ช เหี่ ย วอย่ า งถาวร ไม่ ส ามารถฟื้ น
คืนกลับมาได้ซึ่งต้นไม้จะอ่อนแอและอาจจะตายได้ หรือเป็นช่องทางให้โรคและแมลงเข้าทาลาย
ซ้าเติมได้ นอกจากนี้ภาวะความแห้งแล้งยังมีผลต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ทาให้มีความเสี่ยงต่อการ
เกิดไฟไหม้สวนป่ามากขึ้น

.1.1. ผลกระทบของความแห้งแล้งต่อต้นไม้ (effects of drought on tree)

ความแห้งแล้งสร้างความเสียหายให้กับต้นไม้โดยทาให้ต้นไม้ชะงักการเติบโตหรือตายได้
ความเครียดจากความแห้งแล้งของต้นไม้ส่งผลให้ต้นไม้อ่อนแอและเป็นโอกาสที่โรคและแมลงจะ
เข้าทาลายต้นไม้ได้ บาดแผลที่เกิดขึ้นที่ต้นไม้ จากความเครียดทางด้านความแห้งแล้งจะสมาน
แผลได้ยากจึงทาให้เชื้อโรคเข้าสู่ต้นไม้ได้ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของฤดูกาลเติบโตของ
ต้นไม้จะทาให้อัตราการเติบโตทางด้านความสูงของต้นไม้ลดลง ในขณะที่ความแห้งแล้ งที่เกิด
ในช่วงปลายของฤดูกาลเติบโต จะทาให้อัตราการเติบโตทางด้านความโตของต้นไม้ลดลง ดังนั้น
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 151

ผลผลิตของสวนป่าจะได้รับผลกระทบในด้านอัตราการเพิ่มพูนของมวลชีวภาพซึ่งส่งผลต่อไปถึง
การวางแผนการตัดฟันไม้ในสวนป่าในระยะยาวได้
ผลกระทบจากความแห้งแล้ง ที่มีต่อต้นไม้อาจพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือผลกระทบ
จากการขาดน้าเป็นระยะเวลาสั้นๆ และผลกระทบจากการขาดน้าเป็นระยะเวลายาว ผลกระทบ
จากการขาดน้าในระยะเวลาสั้นๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อาการใบเหี่ยว (wilt) ใบไหม้ (scorch) ใบร่วง
(defoliation) ผลกระทบจากการขาดน้ าเป็น ระยะเวลายาวนาน ได้แก่ การชะงักการเติบโต
(stunted growth) การตายของเรือนยอดและกิ่ง (dieback) ซึ่งการขาดน้าเป็นเวลานานส่งผล
ให้ต้นไม้ต้องปรับตัวโดยการสร้างรากฝอยเพื่อหาน้าให้ได้มากขึ้น แต่หากความแห้งแล้งยังคงอยู่
รากฝอยก็ไม่สามารถหาน้าในดินได้ต้นไม้จึงต้องรักษาสมดุลระหว่างรากใต้ดินกับส่วนที่อยู่เหนือ
พื้นดิน (ใบและกิ่ง) จึงส่งผลให้รากตายและให้ต้นไม้เกิดการตายของเรือนยอดและกิ่ง และหากมี
ฝนตกลงมาแล้วก็ตามต้นไม้ก็อาจไม่สามารถนาน้าไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะปริมาณ
รากมีน้อย หากความแห้งแล้งเกิดซ้าในปีต่อๆ ไปอีกก็อาจทาให้ต้นไม้ตายได้ในที่สุด

.1.1. ผลกระทบของความแล้งที่มีผลต่อความเสี่ยงการเกิดไฟไหม้สวนป่า (effects of


drought on fire risk)

ปรากฏการณ์เอลนิญโญ่นามาซึ่งความแห้งแล้งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อสภาพอากาศในฤดู
ไฟป่าและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของเชื้อเพลิงในสวนป่า เช่น โครงสร้างและ
องค์ประกอบของเชื้อเพลิง ความชื้นของเชื้อเพลิงพื้นที่ ระยะเวลาการร่วงหล่นของใบไม้ ความ
ยาวนานของช่วงฤดูไฟป่า ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการติดไฟ ทาให้ปัญหาไฟไหม้สวนป่าทวี
ความรุนแรงมากขึ้น โดยปกตินั้น ปรากฏการณ์เอลนิญโญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในทุก 2-7 ปี
และมีผลต่อเนื่องอยู่ยาวนานประมาณ 12-18 เดือน แต่ปรากฏการณ์เอลนิญโญ่ปัจจุบันมีความ
รุนแรงมากขึ้นและมีความถี่ของการเกิดที่สูงขึ้น

.1.1. แนวทาง/วิธีการทางวนวัฒนวิทยาในการบรรเทาผลกระทบจากความแห้งแล้ง
(silvicultural techniques for drought mitigation)

1) เลือกปลูกพันธุ์ไม้ที่ทนแล้งได้ดี เช่น ยูคาลิปตัส ยางเหียง ประดู่ สะเดา พฤกษ์ ไผ่รวก


2) การปลูกกล้าไม้ในพื้นที่ มีปัญหาความแห้งแล้งควรหาวัสดุบังร่มเพื่อลดการคายน้า
ของกล้าไม้และควรเพิ่มสิ่งคลุมดินเพื่อลดการระเหยน้าของดิน
3) ส่งเสริมให้มีพืชคลุมดินไว้ตามธรรมชาติบ้างพอสมควร เพื่อให้ดิ นอุ้มน้าไว้ได้มากขึ้น
และช่วยป้องกันการระเหยของน้าจากดิน
152 | การปลูกสร้างสวนป่า
4) การตัดขยายระยะต้นไม้ในพื้นที่ควรทาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรใช้วิธีการตัด
หมด และควรเพิ่มการปกคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินต่างฯ
5) สาหรับรอบหมุนเวียนในการตัดฟันที่เหมาะสมในพื้นที่มีปัญหาความแห้งแล้งและ
บริเวณที่ดินตื้นนั้นควรจัดการสวนป่าโดยให้มีรอบหมุนเวียนตัดฟันสั้น
2.2 ไฟป่ำ (forest fire)
.1.1. ความสาคัญของไฟในสวนป่า (significant of fire on forest plantation)

ไฟมีบทบาทสาคัญต่อการตาย การเติบโตของต้นไม้ การหมุนเวียนของธาตุอาหาร และ


ไฟยังเป็นเครื่องมือในการจัดการสวนป่าที่ทรงประสิทธิภาพหากใช้อย่างถูกต้องตามเวลาและ
วิธีการ สาหรับการปลูกสวนป่าการป้องกันไฟโดยเฉพาะในช่วงระยะแรกๆ ของการปลูกป่ามี
ความสาคัญอย่างมากต่อความสาเร็จของการปลูกป่า เนื่องจากต้นไม้ที่ปลูกยังมีขนาดเล็กมาก
หากเกิดไฟไหม้ขึ้นต้นไม้เหล่านี้อาจจะตาย หรือสูญเสียรูปทรงที่ดีตั้งแต่ยังเป็นกล้าไม้ นอกจากนี้
วัชพืชเกิดขึ้นในระยะแรกของการปลูก สวนป่ามักจะเป็นวัชพืชที่ชอบแสง วัชพืชเหล่านี้ในฤดู
แล้งถือว่ามีอันตรายอย่างยิ่งต่อสวนป่า เนื่องจากจะกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิง ก่อให้เกิดปัญหาไฟ
ไหม้สวนป่า ทาให้ต้นไม้ที่ยังมีขนาดเล็กได้รับความเสียหายหรือตายได้ อย่างไรก็ตามสิ่งสาคัญใน
การจั ด การไฟที่ ปั จ จุ บั น สวนป่ า ต่ า งๆ ควรด าเนิ น การได้ แ ก่ การจั ด การเชื้ อ เพลิ ง (fuel
management) ในลักษณะต่างๆ รวมทั้ง การเผาตามกาหนด (prescribed burning) เพื่อลด
ปริมาณเชื้อเพลิงในสวนป่า ลดความเสี่ยงการเกิดไฟที่ รุนแรง รวมทั้งเพื่อกระตุ้นการเติบโตของ
ต้นไม้ในสวนป่า

.1.1. ผลกระทบของไฟต่อต้นไม้และสิ่งแวดล้อมในสวนป่าที่สาคัญ (effects of fire


on tree and environments in forest plantation)

ผลกระทบของไฟต่อสวนป่าสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ (1) ผลกระทบที่เกิด


จากไฟไหม้ในแต่ละครั้ง เช่น การตาย บาดแผลจากไฟไหม้ (fire scar) อินทรียวัตถุบริเวณหน้า
ดินถูกเผาทาลาย การสูญเสียธาตุอาหารในระหว่างไฟไหม้และภายหลังไฟไหม้ และการชะล้าง
พั งทลายของดิน เป็ น ต้ น และ (2) ผลกระทบจากการเกิด ไฟไหม้ส ะสมซ้ าซากในพื้ น ที่ เดิ ม
ต่อเนื่ อง เช่น การสูญ เสียความอุดมสมบู รณ์ ของพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและ
องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ที่สาคัญ ในพื้นที่ สาหรับผลกระทบของไฟต่อระบบนิเวศป่าไม้และ
สวนป่ ามี ห ลายด้ า นโดยผลกระทบต่ อ ต้ น ไม้ ที่ ป ลู ก และผลกระทบต่ อ ดิ น และธาตุ อ าหารมี
ความสาคัญอย่างมากต่อความสาเร็จของการปลูกสร้างสวนป่า โดยมีรายละเอียดดังนี้
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 153

1) ผลกระทบต่อต้นไม้
ผลกระทบของไฟต่อต้นไม้จะแตกต่างกันไปตามชนิดไม้ อายุ ช่วงระยะของการพัฒนา
ของต้นไม้ (เช่น ระยะการออกดอก ระยะการสะสมอาหาร) รวมทั้งขึ้นอยู่กับส่วนของต้นไม้ที่
ได้รับความร้อน (โคนต้น ปลายกิ่ง ปลายยอดฯ) พันธุ์ไม้โดยทั่วไปอาจจาแนกตามความทนทาน
ต่อไฟได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) ชนิดพันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อไฟ (fire intolerant species) ซึ่ง
หากถูกไฟไหม้อาจตายได้ เช่น กระถินเทพา และ 2) ชนิดพันธุ์ที่ทนทานต่อไฟ (fire tolerant
species) เช่น สัก ประดู่ แดง พะยูง ซึ่งมีการปรับตัวที่สามารถทนทานในสภาพแวดล้อมที่มีไฟ
ได้ เช่น มีเปลือกลาต้นที่หนา แตกหน่อได้ดี เมล็ดมีเปลือกหุ้มแข็ง ตายอดได้รับการปกป้องจาก
ความร้อน มีเหง้าหรือหัวใต้ดิน สาหรับไม้สักที่อายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป พบว่าอัตราการเติบโตของ
ต้นสักที่ถูกไฟไหม้เป็นประจาต่อเนื่อง 5 ปี ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญจากต้นสักที่ไม่ถูก
ไฟไหม้ สาหรับไม้ยูคาลิปตัสหากถูกไฟไหม้จะชะงักการเติบโตจากนั้นจะแตกหน่อใหม่ จึงกล่าว
ได้ว่าไฟส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของไม้ยูคาลิปตัสเป็นอย่างมาก
2) ผลกระทบต่อดินและการหมุนเวียนของธาตุอาหาร
ผลกระทบนี้เกิดจากอิทธิพลของความร้อนเผาทาลายเชื้อเพลิงและเศษซากพืชซึ่งมีธาตุ
อาหารสะสมอยู่เหนือพื้นดินและผลของความร้อนที่มีต่อคุณสมบัติของดิน เมื่อเกิดไฟไหม้ทาให้
อินทรียสารในเศษซากพืช (organic matter) และส่วนต่างๆ ของพืชเปลี่ยนรูปเป็นอนินทรีย
สาร(inorganic form) อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ วินาทีส่งผลให้มีธาตุอาหารจานวนมากใน
รูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (available form) ถูกปลดปล่อยออกมาภายหลังการเผา เช่น ไนเต
รท (nitrate ion) แอมโมเนียม (Ammonium ion) ฟอสเฟต (Phosphate ion) แต่อย่างไรก็
ตาม ต้น ไม้ ในสวนป่ าสามารถน าธาตุอาหารที่เกิดขึ้น อย่างมากมายไปใช้ ได้ ในปริมาณจากัด
ดังนั้นธาตุอาหารจานวนมากที่เหลือจึงถูกชะล้าง (leaching) ลงสู่ชั้นดินและสูญหายออกไปจาก
ระบบนิเวศได้ในที่สุด นอกจากนี้ธาตุอาหารบางอย่างอาจถูกทาให้เปลี่ยนรูป ไปจากอิทธิพลของ
ความร้อนทั้งในรูปของก๊าซ (volatilization loss) และอนุภาคเขม่าต่างๆ (convective loss)
รวมทั้งธาตุอาหารที่เกิดขึ้นจานวนมากภายหลังไฟไหม้ พื้นป่าที่อยู่ในรูปของขี้เถ้า (ash) อาจถูก
พัดพาออกไปจากพื้นที่โดยลมและน้า (wind and soil erosion) ซึ่งหากเกิดไฟไหม้บ่อยซ้าซาก
จะส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของพื้นที่ (ภาพที่ 8.3)
154 | การปลูกสร้างสวนป่า

ภาพที่ 8.3 ช่องทางการสูญเสียธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้จากการเกิดไฟไหม้


ที่มา: ดัดแปลงจาก Giardina et al1 (2000)

ในด้านของสมบั ติดินนั้ น ไฟไหม้ ป่าและสวนป่าในประเทศไทยมักจะมีผลกระทบต่อ


สมบัติทางชีวภาพของดิน (soil biological properties) มากกว่าสมบัติทางเคมีของดิน (soil
chemical properties) และสมบัติทางกายภาพของดิน (soil physical properties) และมักมี
ผลกระทบเฉพาะบริเวณผิวดินจนถึงความลึกประมาณไม่เกิน 10 ซม. เนื่องจากไฟที่เกิดขึ้นเป็น
ไฟผิวดิน (surface fire) มีความรุนแรงน้อย ไฟมีรูปแบบการลามในลักษณะที่มีการเคลื่อนที่
(moving fire) และดิ น มี ส มบั ติ เป็ น ฉนวนกั น ความร้ อ นโดยธรรมชาติ แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม
ผลกระทบสะสมของการเผาที่เกิด ซ้าซากมีต่อสมบัติของดินค่อนข้างมากเนื่องจากในการเกิดไฟ
ไหม้แต่ละครั้งส่งผลต่อการสูญเสียธาตุอาหาร และจะมีผลต่อความสมบูรณ์ของพื้นที่ในที่สุด

.1.1. การจัดการไฟในสวนป่า (fire management in forest plantation)


2.2.3.1 การป้องกันไฟ (fire prevention)
โดยการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจะต้องดาเนินการอย่าง
ต่อเนื่อง สม่าเสมอ นอกจากนี้การจัดการเชื้อเพลิง (fuel management) เป็นมาตรการในการ
ป้องกัน ไฟป่ าที่ ทั่ว โลกให้ การยอมรั บ สามารถท าได้ห ลายวิธีการ ได้ แก่ (1) การลดปริมาณ
เชื้อเพลิงในสวนป่า (fuel reduction) เช่น การเผาตามกาหนด (prescribed burning) การนา
เชื้อเพลิงไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น นาไปทาเชื้อเพลิงอัดแท่ง การนาเชื้อเพลิงไปทา
ปุ๋ยหมักฯ เป็นต้น (2) การเปลี่ยนแปลงประเภทเชื้อเพลิง (fuel conversion) เป็นการแทนที่
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 155

เชื้อเพลิงเดิมด้วยเชื้อเพลิงชนิดใหม่ที่ติดไฟยากขึ้น โดยการเปลี่ยนโครงสร้างและองค์ประกอบ
ของเชื้อเพลิ งให้ ติดไฟยากขึ้น (3) การแยกเชื้อเพลิ ง (fuel isolation) เป็ นแยกเชื้อเพลิ งที่ มี
อันตรายสูงที่มีการเรียงตัวต่อเนื่องกัน ออกจากกันโดยการทาแนวกันไฟ รายละเอียดของการ
จัดการเชื้อเพลิงที่สาคัญซึง่ สวนป่าควรต้องดาเนินการ มีดังนี้
1) การเผาตามกาหนด (prescribed burning) เป็นการใช้ประโยชน์จากไฟอย่าง
ชาญฉลาดเพื่อการจัดการเชื้อเพลิงในสวนป่าภายใต้สภาวะแวดล้อมทั้งสภาพภูมิอากาศและ
สภาพภูมิประเทศที่สามารถควบคุมได้” (USDA Forest Service,1989) มีประโยชน์ต่อการลด
ปริมาณเชื้อเพลิงซึ่งจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ที่รุนแรง อีกทั้งยังใช้เป็นเครื่องมือสาคัญ
ทางวนวัฒ น์ เช่น การเตรีย มพื้น ที่ กาจัดวัชพื ช และส่งเสริมการเติบโตและการสืบ พันธุ์ตาม
ธรรมชาติของต้นไม้ในป่าหรือสวนป่าและใช้สาหรับการควบคุมโรคและแมลงศัตรูป่าไม้ ทั้งนี้การ
เผาตามกาหนดจะต้องคานึ งถึงช่ว งระยะเวลาการดาเนิน การและวิธีการเผาด้วยเพื่อให้ เกิด
ผลกระทบน้อยที่สุด
2) การท าแนวกัน ไฟ (firebreak) คือ การใช้ แนวกีด ขวางตามธรรมชาติห รือ ที่
สร้างขึ้นเพื่อยับ ยั้งไฟป่ า หรือเพื่อเป็น แนวตรวจการณ์ แนวตั้งรับในการดับไฟป่า แนวกันไฟ
มักจะทาการกาจัดเชื้อเพลิงต่างๆ ออกไปทั้งหมด สร้างแนวกันไฟสามารถทาได้หลายวิธี เช่น
การถาง การเผา การใช้สารหน่วงไฟ (fire retardant chemical) ฉีดพ่นบนเชื้อเพลิง หรือใช้
แนวกันไฟตามธรรมชาติ เช่น ลาห้วย แนวผาหิน แนวถนน แนวทางรถไฟ รวมทั้งการใช้น้าหล่อ
เลี้ยงตามแนวกันไฟทาให้เป็นแนวกันไฟเปียก (wet firebreak) ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างแนว
กันไฟตามแนวพระราชดาริ “ป่าเปียกป้องกันไฟป่า” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ 9 ทั้งนี้แนวกันไฟเปียกนั้นสามารถสร้างขึ้นได้จ ากทั้งการให้น้าในพื้นที่ รวมทั้งการปลูกและ
จัดการหมู่ไม้ในแนวกันไฟให้มีสภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้น เช่น การปลูกไม้ที่ไม่ผลัดใบ ปลูกพืชที่
อวบน้า เช่น กล้วย ขิง ข่าฯ ปลูกต้นไม้ให้มีความแน่นมากๆ เพื่อลดโอกาสที่แสงสว่างจะส่องลง
มายังพื้นป่าซึ่งจะทาให้วัชพืชที่ชอบแสงและติดไฟง่าย เช่น หญ้าจะค่อยๆ หมดไปจากพื้นที่ เมื่อ
สภาพแสงสว่างที่ส่องลงมายังพื้นป่าลดลงและความชื้นบริเวณพื้นป่าเพิ่มขึ้นโอกาสในการเกิดไฟ
ไหม้ในบริเวณดังกล่าวก็จะลดลง สาหรับชนิดไม้ที่ปลูกในแนวกันไฟเปียกควรเป็นชนิดที่ไม่ผลัด
ใบ ติดไฟยากและหากเป็นชนิดไม้ที่ราษฎรสามารถใช้ประโยชน์ทางอ้อมได้ เช่น กินผล สมุนไพร
ฯ ด้วยแล้ว จะยิ่งทาให้การสร้างแนวกันไฟเปียกมีประสิทธิภาพและมีโอกาสประสบความสาเร็จ
มากยิ่งขึ้นเพราะแนวกันไฟเปียกนี้จะได้รับการดูแลจากชาวบ้านไปด้วย อย่างไรก็ตามแนวกันไฟ
เปียกหรือป่าเปียกในลักษณะดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลาในการดาเนินการและจัดการกว่าจะเห็น
ผล
2.2.3.2 การตรวจหาไฟป่า (fire detection)
156 | การปลูกสร้างสวนป่า
1) การตรวจหาไฟทางภาคพื้ น ดิ น และอากาศ เช่ น เดิ น เท้ า ใช้ ร ถยนต์
รถจักรยานยนต์ และเครื่องบินตรวจการณ์
2) การใช้หอดูไฟ (fire lookout) การตรวจหาไฟโดยวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ
สูงจะต้องมีหอดูไฟอย่างน้ อย 2 หอ ประกอบด้วย หอดูไฟหลัก (primary lookout) และหอดู
ไฟรอง (secondary lookout) เพื่อกาหนดทิศและตาแหน่งไฟถูกต้องแม่นยามากขึ้น (ภาพที่ 4)
3) การตรวจหาไฟด้วยดาวเทียม ปัจจุบันมีดาวเทียม TERRA และ AQUA ที่
ติ ด ตั้ ง thermal sensor MODIS (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer)
สามารถตรวจสอบจุดความร้อน (hotspot) บนโลกได้อย่างรวดเร็วโดยที่มีรอบการโคจรผ่านจุด
เดิมบนโลกวันละ 2 ครั้ง

ภาพที่ 4 การระบุทิศทางและตาแหน่งของจุดเกิดไฟไหม้โดยการเล็งจากหอดูไฟ 2 หอ
2.2.3.3 การเตรียมการดับไฟป่า (fire presuppression)
ได้แก่ การเตรีย มความพร้อมทั้งในด้านตัวบุคคล เครื่องมือ อุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งาน การจัดหาแหล่งน้า ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ปรับปรุงแนวกันไฟให้อยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งาน การเตรียมงบประมาณ การบริหารจัดการ ลาดับการสั่งการ รวมทั้งข้อมูลที่จาเป็น
ประกอบการตัดสินใจต่างๆ
2.2.3.4 การดับไฟป่า (fire suppression)
เป็นขั้นตอนที่ต้องคานึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชน การ
เข้าควบคุมดับไฟป่ามีทั้งการเข้าดับไฟทางตรง (direct attack) โดยการควบคุมที่หัวไฟโดยตรง
หรือโดยการควบคุมที่บริเวณด้านข้างไฟ และการดับไฟทางอ้ อม (indirect attack) โดยใช้แนว
กัน ไฟ แนวควบคุมไฟ (control line) ช่วยในการควบคุมดับไฟ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 157

อัตราการลามของไฟ ขนาดของไฟ รวมทั้งสภาพพื้นที่ในบริเวณที่ทาการควบคุมไฟและสภาพ


ของลมโดยเฉพาะทิศทางลมในขณะนั้น

2.3วัชพืช )Weed(
.1.1. ความสาคัญของวัชพืช (importance of weed)

วัชพืช (weed) หมายถึงพืชที่ไม่พึงประสงค์ที่จะให้ขึ้นในพื้นที่ที่ต้องการ มีความสาคัญ


ต่อความสาเร็จของการปลูกสร้างสวนป่าอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงที่ต้นไม้ยังมีขนาดเล็ก โดย
วัช พืช จะแก่งแย่งแสงสว่าง พื้น ที่เพื่อการเจริญ เติบโตของเรือ นยอด แก่งแย่งน้า ธาตุอาหาร
อากาศในดิน และพื้นที่เพื่อการเติบโตของระบบราก สาหรับวัชพืชประเภทเถาวัลย์ที่ขึ้นปกคลุม
ต้นไม้ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้สร้างความเสียหายโดยตรงต่อต้นไม้ที่ปลูก แต่การขึ้นพันตามลาต้นทาให้
ต้นไม้ที่ปลูกต้องรับน้าหนักมากอาจทาให้ลาต้น หรือกิ่งหักโค่นได้ อีกทั้งยังบดบังแสงสว่างส่งผล
ต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของต้นไม้ที่ปลูกได้ นอกจากนี้เถาวัลย์ยังอาจเป็นแหล่งที่
อยู่ห ลบภัยของศัตรูพืชต่างๆ ทั้งโรค แมลงและสัตว์กัดแทะต่างๆ อีกด้วย วัชพืชพวกกาฝาก
เบียดเบียนต้นไม้โดยการดูดน้า ธาตุอาหารจากต้นไม้ทาให้ต้ นไม้อ่อนแอลง เมื่อต้นไม้อ่อนแอลง
ศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคและแมลงก็อาจเข้าทาลายซ้าเติมก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น สาหรับ
วัชพืช ที่แห้ ง เช่น หญ้าคา สาบเสือฯ เป็ น แหล่ งเชื้อเพลิ งที่ส าคัญ ในสวนป่าเมื่อเข้าสู่ ฤดูแล้ ง
ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้สวนป่า ดังนั้นสวนป่าจึงจาเป็นต้องมีการควบคุมวัชพืช
โดยเฉพาะในระยะแรกของการปลูกเมื่อต้นไม้ที่ปลูกยังมีขนาดเล็กไม่สามารถแก่งแย่งกับวัชพืช
ได้จนกระทั่งเรือนยอดของต้นไม้ที่ปลูกเริ่มชิดติดกันความสาคัญของวัชพืชในสวนป่าก็จะลด
ความสาคัญ ลงไป จากตารางที่ 1 จะพบว่าความสาเร็จของการปลูกสร้ างสวนป่าโดยเฉพาะ
อัตราการรอดตายของกล้าไม้นั้นมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการควบคุมกาจัดวัชพืช
158 | การปลูกสร้างสวนป่า

ตารางที่ 8.1 ผลของการแก่งแย่งของวัชพืชกับอัตราการรอดตายของไม้สนในช่วงแล้งที่ปาปัว


นิวกินี
ชนิดไม้ สายพันธุ,์ แหล่งกาเนิด, อายุ อัตราการรอดตาย (%)
แหล่งเมล็ดไม้ (เดือน)
ไม่กาจัดวัชพืช กาจัดวัชพืช
Pinus kesiya Manila, Philippines 8 10-20 80-90
Philippines 8 20 90-95
Unknown 8 10 100
Vietnam 8 10 100
Pinus caribaea var. hondurensis 8 20-70 90-100
var. bahamensis 8 10 100
var. caribaea 8 30-100 100
ที่มา: Evans (1982)

2.3.2 ผลกระทบของวัชพืชต่อต้นไม้ (effects of weed on tree)

วัชพืชมีมากมายหลายชนิดแต่มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่มีศักยภาพในการเป็นพืชรุกราน
(invasive weeds) ที่ร้ายแรงโดยมีลักษณะสาคัญ ได้แก่ 1.) มีความสามารถในการเจริ ญเติบโต
ที่ร วดเร็ ว 2.) ขยายพั น ธุ์ได้ รวดเร็ วและแพร่ พั น ธุ์ได้เป็ นจานวนมาก 3.) มีค วามทนทานต่ อ
สภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น แห้งแล้งจัด 4.) มีความสามารถในการแก่งแย่งสูง มีลักษณะทาง
สรีรวิทยาที่ยากต่อการควบคุมกาจัด เช่น มีลาต้นใต้ดิน (rhizome) แตกหน่อได้ดี (coppicing
ability) 5.) มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น เป็นแหล่งเชื้อเพลิงซึ่งก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้
ป่า
ผลกระทบสาคัญที่เกิดขึ้นจากวัชพืช ได้แก่ ด้านการแก่งแย่งและการสร้างผลกระทบต่อ
สภาพแวดล้อม วัชพืชมีความสามารถในการแก่งแย่งทรัพยากรเพื่อการเจริญเติบโต (ธาตุอาหาร
น้าในดิน แสงสว่าง) แก่งแย่งพื้นที่เพื่อการเจริญเติบโตของเรือนรากและทรงพุ่ม วัชพืช บาง
ประเภทสามารถแก่งแย่งกับพืชที่ปลูกโดยการเกิดการเป็นปรปักษ์ (allelopathy) โดยการหลั่ง
สารบางอย่างทั้งในรูปของเหลวและก๊าซจากส่วนที่มีชีวิต เช่น ราก ลาต้น ใบ หรือจากส่วนที่
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 159

ตายแล้ว เช่นใบ กิ่งที่ร่วงหล่น โดยสารที่หลั่งออกมาจะขัดขวางกระบวนการเติบโตและพัฒนา


ของพืชอื่นๆ ทาให้ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ไม่สามารถเติบโตแก่งแย่งทรัพยากรกับวัชพืชชนิดนั้นๆ ได้
นอกจากนี้ วั ช พื ช บางชนิ ด มี ร ากชอนไชเพื่ อ ดู ด อาหารโดยตรงจากพื ช ที่ ป ลู ก อี ก ด้ ว ย ด้ า น
ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม วัชพืชจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดไฟไหม้ในฤดูแล้ง เนื่องจากวัชพืช
ส่วนใหญ่มีความสามารถในการติดไฟได้ดี มีขนาดเล็กทาให้แห้งเร็วและติดไฟได้ง่าย มีความ
ต่อเนื่องทั่วทั้งพื้นที่และมีปริมาณมาก ทาให้ไฟที่เกิดขึ้นลุกลามขยายวงกว้าง

.1.1. วิธีการควบคุมวัชพืช (weed control methods)

1) การใช้แรงงานคนเป็นหลัก (manual weeding) เช่น การถาง, ใช้ไฟจุดเผา


2) การใช้เครื่องจักรกล (mechanical weeding) เช่น การใช้รถไถติดผาน
3) การใช้สารเคมี (chemical weeding) โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก
ตามช่วงเวลาการงอกของวัชพืช ได้แก่ สารเคมีที่ ใช้เพื่อควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชและ
วัชพืชที่เพิ่งเกิดใหม่ (pre-emergence herbicide) และสารเคมีที่ใช้กาจัดวัชพืชหลังงอกแล้ว
(post-emergence herbicide) นอกจากนี้ ยั งสามารถจาแนกสารเคมี ออกได้ เป็ น สารก าจั ด
วัชพืชประเภทใบกว้างและสารกาจัดวัชพืชประเภทใบแคบ
4) การควบคุ ม ทางชี ว ภาพ (biological control) เช่ น การใช้ ด้ ว งกิ น ใบ
(Octotoma scarbripennis, Uroplata girardi) ควบคุมวัชพืชผกากรองในสวนป่า
5) การใช้วัสดุคลุมดิน (mulching) เช่น การใช้ฟาง พลาสติกคลุมดิน
6) การใช้ปศุสัตว์ช่วยกาจัดวัชพืช (grazing) ซึ่งต้องคานึงถึงชนิดและจานวนของ
ปศุสัตว์ที่จะปล่อยเข้าพื้นที่ ชนิดไม้ ระยะปลูก ขนาดและอายุของไม้ที่ปลูก ระยะเวลาการเลี้ยง
7) ใช้วิธีการเขตกรรม (cultural control) เช่น การปลูกไม้โตเร็วหรือพืชอายุสั้น
ควบในระบบวนเกษตร (agroforestry) การปลูกพืชคลุมดิน (cover crop) การจัดการปุ๋ย โดย
การกาหนดช่วงเวลาของการให้ปุ๋ย ตาแหน่งของการให้ปุ๋ย
8) การบู ร ณาการ (integrated weed control) โดยใช้ ก ารควบคุ ม หลายวิ ธี
ร่วมกัน
9) การควบคุมทางกฎหมาย โดยการออกระเบียบการควบคุมการนาเข้าพืชที่อาจ
ติดวัชพืชเข้ามา
160 | การปลูกสร้างสวนป่า
2.4 แมลงศัตรูป่ำไม้ (forest insect pests)
.1.1. ความสาคัญของแมลงศัตรูป่าไม้ (significant of forest insect pest)

สวนป่าและพื้นที่เกี่ยวข้องกับการปลูกป่าต่างๆ เช่น ศูนย์เพาะชากล้าไม้ แปลงผลิต


เมล็ดพันธุ์ แมลงเป็นสัตว์ที่มักจะถูกมองข้ามความสาคัญไปอย่างไม่น่าเชื่อ แต่เมื่อมีการระบาด
แล้วแมลงกลับกลายเป็นศัตรูที่สาคัญอย่างยิ่งยวด ปราบกัน ไม่รู้จักจบสิ้น เพราะขยายพันธุ์ได้
เร็ว มีปริมาณมาก หลบซ่อนเก่ง ปรับตัวได้เร็ว สร้างความต้านทานต่อสารเคมีได้ด้วยวิธีการ
ต่างๆ การจะกาจัดแมลงให้หมดสิ้นนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ในทุกระยะของต้นไม้ตั้งแต่เมล็ด
กล้าไม้ จนเจริญเติบโตถึงขั้นการตัดฟันนาเนื้อไม้ไปใช้ ต้นไม้ต้องต่อสู้กับการรบกวนของแมลง
ตลอดเวลา ความเสียหายที่เห็นชัดเจน เช่น ต้นไม้ตาย ชะงักการเจริญเติบโต แคระแกรน
เนื้อไม้เสียคุณภาพเพราะถูกเจาะเป็นรู บางครั้งประเมินความเสียหายได้ยาก เพราะยังมีความ
สูญเสียในด้านอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่ น การสูญเสียทางเศรษฐกิจที่ต้องเปลี่ยนไปปลูกไม้
ชนิดอื่นเนื่องจากไม้ชนิดที่ต้องการไม้สามารถทนต่อการทาลายของแมลงได้ ดังเช่นในอดีต กรม
ป่าไม้ใช้งบประมาณปีละประมาณ 3 - 5 ล้านบาท เพื่อควบคุมการระบาดของหนอนกินใบสัก
(Hyblaea puera) ซึ่งทาได้ในพื้นที่จากัดเพียงปีล ะประมาณ 60,000 ไร่ นอกจากนี้ อิทธิพล
ของแมลงที่ บี บ บั ง คั บ ให้ ม นุ ษ ย์ ต้ อ งเปลี่ ย นแผนและการปฏิ บั ติ ก็ นั บ ว่ า เป็ น ผลกระทบอั น
เนื่องมาจากแมลง ซึ่งบางครั้งไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้

ประเภทของแมลงศัตรูป่าไม้ (forest insect pest classification)

1) แมลงทาลายลาต้นและกิ่ง (trunk and branch borers) ซึ่งทาให้เกิดตาหนิใน


เนื้ อไม้อย่ างถาวร ส่งผลให้ ไม้มีคุณ ภาพและราคาที่ล ดลง ในขณะที่บางชนิ ดทาให้ ต้นไม้เสี ย
รูปทรง แตกพุ่ม หักโค่น หรืออาจถึงตายได้หากเป็นต้นที่มีขนาดเล็กและมีความอ่อนแอ
2) แมลงกัดกินใบ (leaf feeders) ก่อให้เกิดความเสี ยหายกับใบทั้งในรูปของการกัด
กินใบจนโกร๋น กินผิวใบ ม้วนใบ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ลดลง ทาให้ระยะเวลาใน
การตั ด ฟั น เมื่ อ ถึ งรอบตั ด ฟั น (rotation) ต้ อ งยื ด เวลาออกไป ส่ งผลถึ งค่ าใช้ จ่ ายที่ ต้ อ งดู แ ล
เพิ่มขึ้น
3) แมลงทาลายราก (root feeders) มีความสาคัญอย่างมากกับกล้ าไม้ในเรือนเพาะ
ชาและต้นไม้ที่ยังมีขนาดเล็ก
4) แ ม ล ง ท า ล า ย ด อ ก แ ล ะ ผ ล (inflorescence and fruit destroyers) มี
ความสาคัญอย่างมากต่อสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า (seed orchard) หรือสวนเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์
(seed production area)
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 161

5) แมลงประเภทดูดน้าเลี้ยง (sap suckers) ใบ ยอด และช่อดอกอ่อน จึงความสาคัญ


ในกล้าไม้ที่ยังมีขนาดเล็ก โดยอาจส่งผลให้ต้นไม้แคระ แกรน หรือเสียรูปทรงได้

2.4.3 การควบคุมแมลงศัตรูป่าไม้ (forest insect pest control)

2.4.3.1 การควบคุมแมลงศัตรูป่าไม้โดยการใช้สารเคมี ซึ่งหมายความรวมถึงสารเคมี


เพื่อฆ่าแมลง (insecticide) สารเคมีเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต (growth inhibitor) สารเคมีเพื่อ
ควบคุ ม พฤติ ก รรมของแมลง (semiochemical) สารฆ่ า แมลงยั ง มี ค วามจ าเป็ น อยู่ ม าก
โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการกาจัดแบบเฉียบพลันให้ได้ผลทันที เช่นการระบาดในเรือนเพาะชา
สารยับ ยั้งการเติบโตของแมลงมีอิ ทธิพลในการทาให้แมลงมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาให้
ร่างกายไม่สมประกอบ เช่น ไม่สร้างสารไคติน ในขณะที่สารควบคุมพฤติกรรมของแมลงซึ่ง
ได้แก่ เฟอโรโมน ไคโรโมน สารไล่ และสารดึงดูด สารไล่แมลง สารเฟอโรโมนมักใช้ร่วมกับดัก
โดยการล่อแมลงมารวมกันเพื่อดักจับและทาลาย
2.4.3.2 การควบคุมแมลงศัตรูป่าไม้โดยไม่ใช้สารเคมี
1) ใช้ วิ ธี ก ลและวิ ธี ก ายภาพ (mechanical and physical control) เช่ น การจั บ
ทาลาย การเผา การใช้กับดักร่วมกับสารเคมีหรือเฟอโรโมน กับดักกาวเหนียว การใช้ความร้อน
ความเย็น ความชื้น แสง เสียง รังสี คลื่นวิทยุ คลื่นแม่เหล็ก
2) ใช้ระบบชีววิธี (biological control) โดยใช้ศัตรูธรรมชาติ (natural enemies) คือ
ตั ว เบี ย น (parasite) ตั ว ห้ า (predator) เช่ น การเพาะเลี้ ย งมวนพิ ฆ าต (Eocanthecona
furcellata) และ มวนเพชฌฆาต (Sycanus collaris) เพื่อควบคุมหนอนกินใบสัก การใช้เชื้อ
โรค (pathogen) เช่น การใช้แบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจง
กับหนอนกินใบเพื่อฉีดพ่นกาจัดหนอนกินใบสัก หรือหนอนกินใบทั่วไป
3) ใช้ ร ะบบวนวั ฒ นวิ ธี (silvicultural control) ท าได้ ห ลายวิธี เช่ น การปลู ก ผสม
ตั ว อย่ า งการปลู ก พื ช ผสมนี้ ใช้ ได้ ดี กั บ การป้ อ งกั น หนอนเจาะยอดยมหอมและมะฮอกกานี
(Hypsipyla robusta) การปลูกไม้สักผสมกับไม้ชนิดอื่นเป็นการลดการระบาดของมอดป่าเจาะ
ต้นสัก (Xyleutes ceramicus) เพราะการระบาดของแมลงชนิดนี้มาจากการปลิวของตัวหนอน
ที่เกิดใหม่ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้น การปลูกผสมจะช่วยลดโอกาสที่หนอนจะปลิวไปติดต้ นสัก
อื่นๆ ได้ การตัดไม้กู้ภัย (salvage cutting) การตัดอนามัย (sanitation cutting) และการทา
ความสะอาดแปลง (cleaning) เพื่อทาลายแหล่งอาศัยหลบภัยตามพื้นป่าที่มีวัชพืชเศษกองไม้
ท่อนไม้ล้ ม หรือต้ น ไม้ที่ อ่อนแอสุ ข ภาพไม่ ดี การจัด การระยะปลู กและการตัดขยายระยะที่
เหมาะสมจะช่วยลดการแพร่ระบาดของแมลงได้ดีโดยเฉพาะแมลงที่อาศัยลมพัดพาไปยังต้นไม้
อื่นๆ หากระยะปลูกมีความกว้างมากพอ การพัฒนาพันธุ์ต้านทาน (resistant) การขนย้ายและ
162 | การปลูกสร้างสวนป่า
การย้ายกล้าไม้ปลูกด้วยความประณีตสามารถช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตแข็งแรงซึ่งจะป้องกันการ
ทาลายของแมลงได้ เช่นกัน
4) ใช้วิธีพันธุกรรม (genetic control) ได้แก่ การดัดแปลงพันธุกรรมของพืชให้มีความ
ต้านทาน และการดัดแปลงพันธุกรรมตัวแมลง เช่น การทาตัวผู้ให้เป็นหมัน โดยฉายรังสีจากนั้น
นาแมลงที่ถูกฉายรังสีไปปล่อยในธรรมชาติ ทาให้ลูกที่เกิดใหม่เป็นหมัน
5) ใช้กฎหมายควบคุม (legal control) เพื่อการป้องกันมิให้ศัตรูพืชทางการเกษตรถูก
นาเข้ามาภายในประเทศ ตลอดไปจนถึงการกาจัด การระบาดแพร่กระจายของศัตรูพืชที่ได้เข้า
มาแล้วมิให้แพร่กระจายออกไปในบริเวณที่กว้างมากขึ้นไปอีก
6) ใช้ผลผลิตจากธรรมชาติ (biological extract) เช่น น้าสกัดจากต้นและใบยาสูบ น้า
สกัดจากเมล็ดและใบสะเดา หางไหล เป็นต้น
7) ใช้วิธีผสมผสาน (integrated pest management: IPM) เป็นวิธีการควบคุมแมลง
ศัตรูพืชโดยการผสมผสานวิธีการควบคุมต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ วเบื้องต้นมาใช้เพื่อให้ เกิดผล
สูงสุด การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานนี้จาเป็นที่จะต้ องทราบลักษณะทางนิเวศวิทยา
และชีพลักษณ์ของแมลงโดยละเอียด เพื่อที่จะได้สามารถประยุกต์วิธีการควบคุมที่เหมาะสมใน
แต่ละช่วงเวลา

.1.1. แมลงศัตรูป่าไม้ที่สาคัญของประเทศไทย (selected forest insect pest of


Thailand)

2.4.4.1 หนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก (Xyleutes ceramicus Walker)


1) ความสาคัญของหนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก
หนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก หรือมอดป่าเจาะต้นสัก มีชื่อสามัญว่า teak beehole borer
เป็ น ผี เสื้ อ ลางคื น อั น ดั บ Lepidoptera ที่ ส ร้ างปั ญ หาให้ กั บ ผู้ ป ลู ก สวนป่ าสั ก เป็ น อย่ างมาก
เนื่องจากตัวหนอนเจาะเข้าไปในเนื้อไม้สักทาให้เนื้อไม้ข องต้นสักเป็นรูร่องตาหนิที่ถาวรภายใน
ลาต้นสักตั้งแต่ต้นสักมีขนาดเล็กจนถึงต้นสักโตเต็มที่และมีการทาลายต้นสักสะสมทุกปีเมื่อนา
ต้นสักที่ถูกหนอนเจาะทาลายมาแปรรูป ใช้สอยจะได้ไม้ที่มีตาหนิเป็นรูทาให้เป็นไม้ที่ไม่ต้องการ
ของตลาด ไม่สวยงามและราคาถูก พบการระบาดของแมลงชนิดนี้มากในสวนสักทางภาคเหนือ
แมลงชนิดนี้มีวงจรชีวิตตั้งแต่เป็นผีเสื้อจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่เป็นหนอนเข้าดักแด้และเป็นผีเสื้อใช้
เวลานาน 1 ปี (ภาพที่ 5)
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 163

ภาพที่ 8.5 ลักษณะวงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อเจาะต้นสักในรอบ 1 ปี


ตัวหนอนในช่วงแรกหลังจากฟักออกจากไข่จะไต่ขึ้นสู่ด้านบนของต้นสักหนอนบางส่วน
จะทิ้งตัวลงพื้นโดยมีใยห้อยตัวไว้ปลิวไปตามลมซึ่งเป็นวิธีการแพร่กระจายของหนอนจากต้นหนึ่ง
ไปอีกต้นหนึ่งได้ ช่วงนี้ (มีนาคม-เมษายน) เมื่อหนอนมีขนาดโตขึ้นจะเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ของ
ต้น สั กประมาณเดือน มิถุน ายน-กรกฎาคม หนอนเมื่อโตเต็มที่ มีขนาดยาว 4.0-8.1 ซม. ตัว
หนอนออกมากินเนื้อเยื่อเจริญ (callus) รอบๆ ปากรู และขับขุยไม้ออกทางปากรู หนอนเข้า
ดั ก แด้ ป ระมาณเดื อ นธั น วาคม-กุ ม ภาพั น ธ์ พบการออกเป็ น ผี เสื้ อ ตั้ งแต่ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ –
มีนาคม โดยทิ้งคราบดักแด้โผล่ออกมาที่ปากรูจากนั้นผีเสื้อจะไต่ขึ้นด้านบนห่างจากคราบดักแด้
ประมาณ 1 ฟุต ผีเสื้อสามารถวางไข่ได้ประมาณ 12,000-15,000 ฟอง
2) ความเสียหายของต้นสักที่เกิดจากหนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก
ต้น สั กที่ถูกหนอนผี เสื้ อเจาะทาลายจะพบเห็ นบริเวณเปลื อกจะมีปุ่มปมอยู่กระจาย
เหมือนเปลือกสักเป็นแผล ไม้ที่แปรรูปออกมาจะเป็นรูตาหนิที่เรียกว่า “รูมอดป่า” (ภาพที่ 6)
164 | การปลูกสร้างสวนป่า

ภาพที่ 8.6 ลักษณะภายนอกลาต้นสักที่เป็นปุ่มปม (ซ้ายบน) และภายในลาต้นสักเกิดจากการ


ทาลายของหนอน
สถานการณ์การระบาดและการประเมินความเสียหายจากการทาลายของมอดป่าเจาะ
ต้นสัก พบว่าการระบาดส่วนใหญ่มักพบอยู่บริเวณขอบแปลงเนื่องจากตัวหนอนในระยะแรก
สามารถปลิวมาตามลมและไปติดตามลาต้นบริเวณขอบแปลงได้ง่าย ต้นที่เปลือกแตกเป็นร่องมี
แนวโน้มถูกเจาะทาลายมากกว่าต้นที่มีเปลือกเรียบ สวนป่าที่โล่งก็มีแนวโน้มถูกเจาะทาลาย
มากกว่าเพราะลมที่พัดผ่านสวนป่าได้ง่ายส่งผลให้ตัวหนอนที่ยังมีขนาดเล็กปลิวไปติดต้นอื่นๆ ได้
ง่าย ในขณะที่สวนป่าที่มีวัชพืชมากนอกจากจะขัดขวางการแพร่กระจายของตัวหนอนแล้วยัง
เป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูธรรมชาติของมอดป่าเจาะต้นสัก เช่น มด ตั๊กแตนตาข้าวฯ ซึ่ง กอบศักดิ์
และ โรเบิ ร์ต (2546) พบว่า การระบาดของแมลงชนิดนี้กับมด มีความสั มพันธ์กัน จากการ
ระบาดทาลายที่เป็นลักษณะแบบสะสมทาให้ตาหนิที่เกิดขึ้นในเนื้อไม้เกิดขึ้นสะสมและอยู่ถาวร
ส่งผลให้มูลค่าของไม้สักที่มีรอยมอดป่าเจาะต้นสักมีราคาลดลง ดังตัวอย่างในตารางที่ 2 ที่พบว่า
ในปี พ.ศ. 2559 ไม้สักจากสวนป่าแม่ลี้ จ. ลาพูน ขายได้ราคาต่อลูกบาศก์เมตรต่ากว่าราคา
กลางเฉลี่ยถึง 4356 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมที่เสียหายในปี 2559 สูงถึง 3.2 ล้านบาท (ภาพที่ 7
และ ตารางที่ 2)
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 165

ตารางที่ 8.2 การขายไม้สักสวนป่าของงานสวนป่าแม่ลี้ จังหวัดลาพูน ช่วงปี พ.ศ.2556-2559

ตารางขายไม้สักสวนป่า ของงานสวนป่าแม่ลี้ จังหวัดลาพูน


ปริมาตรที่ขาย
ปริมาตรที่ผลิต ราคากลางที่กาหนด ราคาที่ขายได้จริง
ปี 3 ได้จริง หมายเหตุ
( .ม) (บาท) 3 (บาท)
( .ม)
2556 2,003.75 19,035,625. 00 2067.55 21,095,721. 40
2557 1664.95 15,817,025. 00 1860.16 17,182,804. 71
2558 1966.91 18,685,645. 00 1931.78 13,541,697. 71
2559 845.52 8,751,561. 96 738.98 4,429,981. 32 ตัวเลขถึง 59 .เม.ย 30

ภาพที่ 8.7 ราคาต่อหน่วย (ลบ.ม) ของไม้สักที่ขายได้มาก/น้อยกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ (ซ้าย)


และ มูลค่าความเสียหายของไม้สักที่ ขายได้มาก/น้อยกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ (ขวา)
กรณีสวนป่าแม่ลี้

3) แนวทางการควบคุมกาจัด
การป้ องกันกาจัดหนอนผีเสื้อเจาะต้นสักไม่มีวิธีที่เบ็ดเสร็จภายในขั้นตอนเดียว ต้อง
อาศัยวิธีการหลายๆ วิธี โดยน าหลักการควบคุมทางวนวัฒ น์วิธีมาใช้เป็นหลั กและเสริมด้วย
วิธีการอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกันโดยต้องคานึงถึงระยะเวลาในการดาเนินการเป็นสาคัญ ดังนี้
 ระยะตัวหนอนมีขนาดใหญ่ เจาะเข้าไปในลาต้น (มิถุนายน -พฤศจิกายน) การใช้
สารเคมีฉีดพ่นเข้าไปในรูที่ตัวหนอนอาศัยอยู่ เช่น เชลล์ไดรท์ ชนิดที่มีก้านฉีดที่
166 | การปลูกสร้างสวนป่า
สามารถแทงผ่ า นรู เจาะของหนอนไปได้ หรื อ การฉี ด พ่ น ด้ ว ยไส้ เ ดื อ นฝอย
(Steinonema carpocapsae) แต่วิธีนี้มีข้อจากัดคือการที่จะใช้ไส้เดือนฝอยให้มี
ประสิ ท ธิ ภ าพต้ อ งพ่ น ในช่ ว งเวลาที่ เปลื อ กต้ น ไม้ มี ค วามชุ่ ม ชื้ น มากจึ ง จะท าให้
ไส้เดือนฝอยทางานได้ดีและมีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน
 ระยะตัวหนอนเข้าดักแด้ จนถึงก่อนออกเป็นตัวผีเสื้อ (ธันวาคม - กุมภาพันธ์) การ
ใช้ไม้ไผ่ตอกอัดที่รูเจาะเพื่อไม่ให้ผีเสื้อออกมาจากรูและตายอยู่ในรูเป็นการป้องกัน
การระบาดในปีถัดไป
 ระยะตัวเต็มวัยที่ออกจากรูเจาะแล้ว (กุมภาพันธ์ - มีนาคม) โดยการเดินจับตัวผีเสื้อ
ในตอนบ่ายซึ่งสามารถสังเกตเห็นผีเสื้อได้ง่ายจากรอยคราบดักแด้ที่ติดอยู่บนต้นสัก
2.4.4.2 หนอนกินใบสัก (Hyblaea puera Cramer)
1) ความสาคัญของหนอนผีเสื้อกินใบสัก
หนอนกิน ใบสั ก มีชื่อสามัญ ว่า Teak defoliator วงศ์ Hyblaeidae ตัวเต็มวัยเป็ น
ผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก วงจรชีวิตประมาณ 2-4 สัปดาห์ (ภาพที่ 8) ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถไข่ได้
ประมาณเฉลี่ย 500-600 ฟอง ระยะการฟักไข่ประมาณ 2-4 วัน เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะ
กินผิวใบมากขึ้นจนใบทะลุเป็นรู และมักจะกัดบริเวณขอบใบเป็นรูปครึ่งวงกลม หรือสามเหลี่ยม
แล้วพับปิดบังตัวโดยยึดด้วยใยเหนียวที่ตัวหนอนสร้างขึ้นมาเข้าดักแด้บริเวณผิวดิน
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 167

ภาพที่ 8.8 วงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อกินใบสัก


168 | การปลูกสร้างสวนป่า

2) สถานการณ์การระบาด
พบการระบาดของหนอนชนิดนี้ทาลายใบสักในสวนป่าสักทุกภาคของประเทศช่วงต้น
ฤดูฝนหรือเมื่อสักเริ่มแตกใบใหม่ ตัวหนอนจะกินใบสักทาให้ใบแหว่งเว้า หากระบาดรุนแรงใบ
สักจะถูกกินจนหมดทั้งใบเหลือแต่เส้นกลางใบและเส้นใบขนาดใหญ่ และใบจะถูกกินหมดทั้งต้น
อาจมีการระบาดได้ 1-3 ครั้งต่อปี ต้นสักที่ถูกหนอนผีเสื้อกินใบระบาดอย่างรุนแรงทุกปีและ
อย่างต่อเนื่องจะทาให้มีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นสัก หากไม่มีการควบคุมและ
ป้องกันหนอนผีเสื้อกินใบสัก ปล่อยให้มีการระบาดตลอดเวลา ต้นสักจะสูญเสียการเจริญเติบโต
ถึง 44 % (Nair et1 al1 1985)
3) แนวทางการควบคุมกาจัด
โดยการใช้ แ บคที เรี ย (Bacillus thuringiensis) ฉี ด พ่ น เป็ น วิ ธี ก ารทางชี ว วิ ธี ที่ มี
ประสิ ท ธิ ภ าพดี ไม่ เป็ น อั น ตรายต่ อ สิ่ งมี ชี วิ ต อื่ น ๆ นอกจากหนอนผี เสื้ อ วิ ธี นี้ เหมาะกั บ งาน
ทางด้านป่าไม้ อุปกรณ์ที่ใช้พ่นแบคทีเรียได้แก่เครื่องพ่นหมอกควัน โดยอนุภาคแบคทีเรียจะ
ลอยขึ้นไปติดอยู่ที่ใบไม้โดยผ่านจากเครื่องพ่นหมอก เมื่อหนอนกินใบไม้จะกินแบคทีเรียที่ติดอยู่
ที่ใบจะตายภายใน 1-3 วัน
2.4.4.3 แตนฝอยปม (Leptocybe invasa)
1) ความสาคัญของแตนฝอยปม
แตนฝอยปม เป็ น แตนเบี ย นขนาดเล็ ก ในวงศ์ Eulophidae ที่ มี ถิ่ น ก าเนิ ด ในทวี ป
ออสเตรเลีย จากนั้นได้มีการระบาดไปยังประเทศอิสราเอล ประเทศในแถบทวีปแอฟริกาใต้และ
ประเทศอื่น ๆ สร้างความเสี ยหายแก่ต้น ยู คาลิ ป ตัส ชนิดต่างๆ โดยเจาะวางไข่ทาให้ เกิดปมที่
บริเวณยอดอ่อน ใบอ่อ น ส่งผลให้ยอดเกิดการบิดเบี้ยว หงิกงอ การเติบโตทางความสูงชะงัก
ส่งผลกระทบให้ผลผลิตลดลง ปมที่เกิดขึ้นตามใบและยอดอ่อนเกิดมาจากแตนฝอยปมตัวเมียที่
วางไข่บริเวณผิวของ epidermis หรือ parenchyma ทาให้บริเวณนั้นเจริญเติบโตผิดปกติ ไข่
จะฟักภายหลังจากวางไข่ 1-2 สัปดาห์ รวมระยะเวลาที่ตัวอ่อนอยู่ในปมประมาณ 3 เดือนจึง
ออกเป็นตัวเต็มวัย ในแต่ละปีแตนฝอยปมสามารถระบาดทาลายได้ 2-3 รุ่น ต่อเนื่องโดยจะพบ
มากในช่วงฤดูแล้งมากกว่าช่วงฤดูฝน (ภาพที่ 9) สาหรับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการ
ทาลายของแตนฝอยปม พบว่าแปลงปลูกใหม่จะมีผลผลิตลดลง 1 ตันต่อไร่ ส่วนแปลงไม้ไว้หน่อ
ผลผลิตของหน่อรุ่น 2 จะลดลงประมาณ 80%
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 169

2) สถานการณ์การระบาด
ประเทศไทยพบรายงานการระบาดครั้ งแรกเมื่ อ ปี พ.ศ. 2547 ที่ จั งหวั ด สระแก้ ว
จากนั้นแพร่กระจายไปในพื้นที่ต่างๆ ทุกภูมิภาคที่มีการปลูก เช่น ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ระยอง กาญจนบุ รี ราชบุ รี นครราชสี ม า บุ รี รัม ย์ ขอนแก่ น เป็ น ต้ น ส าหรั บ พื้ น ที่ ป ลู ก ใน
ภาคเหนือยังพบการแพร่ระบาดไม่มากนัก

ภาพที่ 8.9 แตนฝอยปมและลักษณะการทาลายของแตนฝอยปมที่ใบยูคาลิปตัส


3) แนวทางการดาเนินการควบคุมแตนฝอยปมในปัจจุบัน
 การใช้วนวัฒน์วิธี เช่น การกาจัดวัชพืชในแปลงปลูก การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นไม้มีความ
สมบูรณ์แข็งแรง เร่งการเติบโต ตัดแต่งส่วนที่เป็นปมในระยะที่ต้นไม้ยังเล็ก/ไม้หน่อ
และนาไปเผาทิ้ง การปลูกไม้ที่มีหลายสายต้นภายในแปลงเดียวกัน
 การใช้สารเคมีแบบการฉีดพ่นและการใส่ทางรากให้ดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อพื ช ทั้งใน
ระดับแปลงเพาะและแปลงปลูก
 การควบคุมโดยวิธีกล เช่นใช้กับดักกาวสีเหลืองในแปลงปลูกและแปลงเพาะเพื่อล่อ
ให้แมลงตัวเต็มวัยมาติดกับดัก ซึ่งสามารถลดปริมาณแมลงลงได้ในระดับหนึ่ง
 การพัฒนาสายต้นที่ต้านทาน โดยเน้นสายต้นลูกผสม Ecalyptus urophylla มาก
ขึ้น เนื่องจากมีข้อสังเกตเบื้องต้นว่าสายต้นจากลูกผสมนี้ไม่ค่อยได้รับความเสียหาย
170 | การปลูกสร้างสวนป่า
2.5 โรคต้นไม้ (tree disease)
.151. ความสาคัญของโรคต้นไม้ (significant of tree disease)

โรคของต้นไม้เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทาของสิ่งมีชีวิตร่วมกับสิ่งไม่มีชีวิต
ที่มักเกิดอย่างช้ าๆ มองเห็น ไม่ชัดเจน เช่น โรคแก่นไม้ผุ (heart rot disease) เกิดอยู่ภายใน
ต้นไม้ ทาลายแก่นไม้จนเป็นโพรง แต่ต้นไม้ไม่ตาย เมื่อตัดต้นไม้เพื่อจะนาไปใช้งานถึงทราบว่า
เนื้อไม้หมดไปแล้ว และต้นไม้เหล่านี้จะหักโค่นง่ายด้วยแรงลม ส่วนแมลง ไฟ อากาศ สัตว์และ
อื่นๆ ทาให้ต้นไม้เป็นแผลและกลายเป็นตัวพาหะนาเชื้อโรคเข้าสู่พืช นอกจากนี้ต้นไม้ที่อ่อนแอ
ลงจากการกระทาของปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ จะส่งผลให้เชื้อโรคลาดับที่ 2 เข้าทาลายต้นไม้
โรคของต้นไม้มีความสาคัญอย่างมากในระยะการเพาะชากล้าไม้ในเรือนเพาะชาซึ่งโรค
พืชมีโอกาสเกิดง่ายมาก เพราะในบริเวณเรือนเพาะช ามีกล้ าไม้ช นิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็ น
จานวนมาก มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีเชื้อโรคอยู่ในเรือนเพาะชาจึงทาให้หากเกิดการ
ระบาดของโรคขึ้นจะสร้างความเสียหายแก่กล้าไม้อย่างรวดเร็วและเป็นจานวนมาก ดังนั้นจึง
ต้องทาการควบคุมกาจัดอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมกาจัดโรค
อย่างเฉียบพลัน มิฉะนั้นจะทาให้กล้าไม้ได้รับความเสียหายเป็นจานวนมาก

.151. การสังเกตลักษณะอาการของโรคพืช (symptoms of plant diseases)

ลักษณะอาการของโรค (symptom) คือ ความผิดปกติบนส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นพืชที่


ต้น พื ชแสดงออกมาให้ เห็ น หลังจากที่ กระบวนการทางสรีรวิทยาของพืช ถูกทาลายจากการ
กระทาของตัวการที่ก่อให้เกิดโรค ความผิดปกตินี้เริ่มจากระดับเซลล์ก่อนและค่อยๆขยายขึ้น
เป็นระดับเนื้อเยื่อ จนกระทั่งเห็นได้อย่างชัดเจนบนส่วนของต้นพืช โดยปกติเมื่อพืชเป็นโรคย่อม
มีลักษณะอาการของโรคเกิดขึ้นด้วยเสมอ
สิ่งที่มักพบควบคู่กับลักษณะอาการของโรคคือสัญลักษณ์ของโรค (sign) ซึ่งหมายถึง
ชิ้นส่วนของเชื้อโรค (pathogen) ที่อาจจะเป็นโครงสร้างทางร่างกายหรือโครงสร้างที่ทาหน้าที่
สืบพันธุ์ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ข้างบนหรือใกล้ ๆ กับเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรค สัญลักษณ์ของโรคนี้
รวมถึงของเหลวต่าง ๆ ที่ไหลออกมาจากส่วนของพืชที่เป็นโรคด้วย ตัวอย่างสัญลักษณ์ของโรค
เช่น สปอร์ของรา ดอกเห็ด เส้นใย น้ายางที่ไหล กาฝาก ลักษณะอาการโรคพืชจาแนกได้ดังนี้
1) necrotic symptom เป็นลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสื่อม
สลายของ protoplast ซึ่งมีผลทาให้ เซลล์ เนื้ อเยื่อ อวัยวะ หรือพืชทั้งต้นตายในระยะต่อมา
เช่น โรคใบจุด โรคใบเหี่ยว โรคใบไหม้ โรคใบจุดนูนสีดา โรค dieback โรค needle blight
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 171

2) atrophic หรือ hypoplastic symptom คือลักษณะอาการที่พืชหรืออวัยวะ


ของพืชไม่สามารถ เจริญเติบโตอย่ างเต็มที่ได้ ทาให้พืชมีขนาดเล็กกว่าปกติและอาจทาให้สีของ
ส่วนต่างๆจางลงด้วย เช่น โรคใบด่าง โรค albication
3) hypertrophic หรือ hyperplastic symptom เป็นลักษณะอาการที่เกิด ขึ้น
เนื่องจากการเจริญที่มากกว่าปกติของพืช ทั้งในด้านขนาดและสี หรือเป็นอาการที่อวัยวะของ
พืชถูกสร้างขึ้นมาเร็วกว่าปกติ เช่น โรค anthocyanescence โรค fox’s tail โรค smut

.151. ลักษณะความเสียหายจากโรคพืช (characteristic of tree damages from


disease)

ดังที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่าโรคพืชมีความสาคัญมากกับกล้าไม้ในเรือเพาะชา ดังนั้นจึงขอ
นาลักษณะความเสียหายของกล้าไม้ที่เกิดขึ้นในเรือนเพาะชามานาเสนอ ดังนี้
1) โรคราสนิ ม (rust disease) พบการระบาดในกล้ า ไม้ พ ะยู ง ชิ ง ชั น สั ก
มะขามป้อม มะกล่าต้น ถ่อน โมกมัน งิ้วป่า มะค่าโมง ทรงกลด มะกอก
2) โรคใบจุดนูนสีดา (tar spot) พบการระบาดในกล้าไม้ประดู่ป่า พะยูง ชิงชัน
กระพี้เขาควาย สาธร กางขี้มอด มะกอกเกลื้อน
3) โรคราแป้งขาว (powdery mildew) พบการระบาดในกล้าไม้ กระถินณรงค์
กระถินเทพา ขี้เหล็กบ้าน นนทรีบ้าน กระถินยักษ์
4) โรคราด า (sooty mold) พบการระบาดในกล้ า ไม้ ยางนา มะขาม ทุ้ งฟ้ า
กระถินณรงค์ กระถินเทพามะกล่าต้น กระท้อน ขี้เหล็กอเมริกัน ขี้เหล็กบ้าน
5) โรคโรคใบจุด (leaf spot disease) พบการระบาดในกล้าไม้ ประดู่ป่า กระถิน
ณรงค์ กระถินเทพา มะค่าแต้ พฤกษ์ ถ่อน

2.5.4 วิธีการควบคุมโรคพืช (disease control methods)

การควบคุมโรคต้นไม้ที่ดีควรจะต้องทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคว่าเกิดจากสาเหตุใดเป็น
สาเหตุจากปัจจัยทางชีวภาพหรือกายภาพ อีกทั้งต้องทราบชีพจักร (life cycle) ของเชื้อโรค
ชนิดของพืชอาศัยรวมทั้งวิธีการกระจายของเชื้อโรคและปัจจัยทางกายภาพที่เหมาะสมต่อการ
เกิดโรค นอกจากนี้จะต้องทราบผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือความเสียหายเมื่อพืชชนิดนั้นเป็น
โรคว่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด สาหรับวิธีการในการควบคุมโรค
ต้นไม้สามารถจาแนกเป็น 4 วิธีการหลัก ซึ่งอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน
ดังนี้
172 | การปลูกสร้างสวนป่า
1) การหลีกเลี่ยงโรคพืช (avoidance) โดยเลือกใช้พันธุ์ต้านทาน เลือกบริเวณที่
จะใช้ปลูก ปรับระยะเวลาในการเพาะเมล็ดและกาหนดเวลาที่จะย้ายปลูก ไม่ให้เหมาะกับการ
แพร่ระบาดของ โรค และวิธีการดูแลรักษา
2) การป้ อ งกั น เชื้ อ โรคไม่ ใ ห้ เ ข้ า มาในพื้ น ที่ (exclusion) โดยเลื อ กใช้ ส่ ว น
ขยายพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อโรค การออกกฎหมายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจาก
นอกประเทศ รวมทั้งพยายามป้องกันแมลงที่เป็นพาหะของโรค
3) การกาจัดเชื้อโรคให้หมดไปจากพื้นที่ (eradication) โดยการเคลื่อนย้ายหรือ
ทาลายชิ้นส่วนพืชที่เป็นโรค กาจัดดินที่มีเชื้อโรคปนอยู่ โดยใช้สารเคมีหรือใช้ความร้อน (ไฟเผา
หรือแสงแดด) การปลูกพืชหมุนเวียน การกาจัดเชื้อโรค อาจใช้วิธีการทางชีวภาพ ใช้สารเคมี
หรือใช้ระบวนการทางกายภาพ เช่น การตากแดด การทาให้แห้ง การใช้ความร้อนฯ
4) การป้ อ งกั น ต้ น พื ช ไม่ ให้ เป็ น โรค (protection) โดยการปรั บ ปรุ งพั น ธุ์ ให้
ต้านทานโรค การใช้สารเคมีฉีดพ่นต้นพืชก่อนเกิดโรค เช่น fungicide (เหมาะกับเรือนเพาะชา)
การปรับสภาพแวดล้อมในสวนป่า (โดยการตัดขยายระยะ การลิดกิ่ง การกาจัดวัชพืช) และการ
ให้ปุ๋ย ให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี แข็งแรง
2.6 ปัจจัยทำงด้ำนมนุษย์ (Anthropogenic factors)
.1.1. บทบาทของมนุษย์ต่อการอารักขาสวนป่า

มนุ ษ ย์ เป็ น ปั จ จั ย ส าคัญ ต่อความส าเร็จ ของการดาเนิ น การปลู กสวนป่ าโดยเข้ามามี


บทบาททั้งในแง่ของการดูแลบรรเทาปั ญหาและเป็นตัวการให้เกิด ปัญ หาขึ้นในสวนป่าต่างๆ
หลายประการ เนื่องจากสภาพแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจ สังคมและแม้แต่วัฒนธรรมประเพณีและ
ความเชื่อต่างๆ อย่ างไรก็ตาม การจัดการมนุ ษย์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง แต่ปัญหาที่
เกิ ด ขึ้ น กระทบต่ อ กระบวนการในการบริ ห ารจั ด การสวนป่ าอยู่ไม่ น้ อ ย จ าเป็ น ที่ จ ะต้ อ งหา
มาตรการป้องปรามทั้งในเชิงนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์มาใช้ในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ โดย
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ในสวนป่าต่างๆ มี ดังนี้

2.6.2 ปัญหาที่เกิดจากมนุษย์และแนวทางการจัดการปัญหา

2.6.2.1 ไฟไหม้ ส วนป่ า (intentional or accidental burning) โดยชาวบ้ า น


มักจะมีการจุดไฟในพื้นที่สวนป่าเพื่อการเก็บหาของป่า เช่น เก็บเห็ด ผักหวาน การล่าสัตว์ การ
เผาเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดสาหรับปศุสัตว์ รวมทั้งอาจเกิดจากการลอบวางเพลิงเนื่องจากความ
ขัดแย้งกับสวนป่า โดยการเผามักจะทาในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งหากเกิดกับสวนป่าที่อายุมาก เช่น สวน
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 173

ป่ าไม้สั ก หรือ สวนป่ าไม้ส น ปั ญ หานี้ อาจไม่มี ความรุน แรงและไม่กระทบต่อการเติบ โตและ


ผลผลิตของสวนป่ามากนัก แต่หากเกิดขึ้นกับสวนป่าที่ยังมีอายุน้ อยและเป็นชนิดไม้ที่มีความ
อ่อนไหวต่อไฟ เช่น ยูคาลิปตัส กระถินเทพา จะส่งผลผกระทบอย่างมาก ดังนั้น จึงต้องมีการ
เฝ้าระวังรับมือทั้งด้านการจัดการไฟป่าที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น เช่น ทาแนวกันไฟ การชิงเผา การ
เฝ้าระวัง และเตรียมการรับมือในช่วงฤดูแล้งของทุกๆ ปี รวมทั้งการสร้างความเข้าใจกับชุมชน
โดยรอบพื้นที่
2.6.2.2 ลักลอบตัดไม้ในสวนป่า (illegal logging) ปัญหาการลักลอบตัดไม้ในสวน
ป่าไม้มีค่าสูงเช่น สัก พะยูง รวมทั้งไม้โตเร็ว เช่นยูคาลิปตัส เกิดขึ้นอยู่เป็นครั้งคราว บางครั้งเป็น
การลักลอบตัดเพื่อนาไปใช้ในครัวเรือน แต่บางครั้งเป็นการลักลอบตัดเพื่อนาไปจาหน่าย ทั้งนี้
เจ้าหน้าที่ควรต้องมีการลาดตระเวนหาข่าวและกระบวนการมวลชนสัมพันธ์ของสวนป่าจาเป็ น
จะต้องเข้ามีส่วนในการป้องกันและแก้ปัญหาเหล่านี้
2.6.2.3 การบุกรุกพื้ นที่ (illegal land encroachment) โดยมากมักจะ
เกิดบริเวณชายขอบรอยต่อระหว่างพื้นที่สวนป่ากับพื้นที่การเกษตร ทั้งจากการที่ราษฎรขาด
แคลนที่ทากินและการบุกรุกจากกลุ่มนายทุน การลาดตระเวนหาข่าวและกระบวนการมวลชน
สัมพันธ์ของสวนป่าจาเป็นจะต้องเข้ามีส่วนในการป้องกันและแก้ปัญหาเหล่านี้ สาหรับกรณีของ
การขาดแคลนพื้นที่ทากินของชาวบ้าน การนาระบบวนเกษตรมาใช้อาจเป็นกลไกที่สามารถลด
และทุเลาปัญหาลงได้ ดังเช่นที่ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้รับระบบหมู่บ้านป่าไม้มาใช้เพื่อ
แก้ปัญหานี้อย่างได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจในหลายพื้นที่
3. บทสรุป (conclusion)
การจั ดการสวนป่ าให้ ได้ผ ลผลิ ต ตามวัต ถุป ระสงค์ ที่ตั้งไว้นั้ น ปั จจัยสิ่ งแวดล้ อมทาง
กายภาพ ชีวภาพ และมนุษย์มีความสาคัญไม่น้อยไปกว่าในด้านอื่นๆ คุณภาพและปริมาณของ
ผลผลิตจากสวนป่ามาจากการรู้เท่าทันและจัดการรับมือกับปัญหาต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น หัวหน้าสวนป่าหรือเจ้าของสวนป่าจะต้องให้ความสาคัญกับปัญหาเหล่านี้ให้มากเพื่อให้
ต้นไม้ในสวนป่าเจริญเติบโตให้ผลผลิตบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งและคาดหวังไว้
4. เอกสำรอ้ำงอิง
กลุ่มแมลงศัตรูป่าไม้. 2539. รายงานประจาปี 2539. ส่วนวิจัยและพัฒ นาสิ่งแวดล้อมปาไม้ ,
สานักวิชาการป่าไม้, กรมป่าไม้. 70 น .
174 | การปลูกสร้างสวนป่า
กอบศักดิ์ วันธงไชย และ โรเบิร์ต คันนิงแฮม. 2546. ผลของไฟต่อหนอนผีเสื้อเจาะต้น
สักและความหลากชนิดของมดในสวนป่าไม้สักอายุน้อย. วารสารวนศาสตร์ 22: ……..
กอบศักดิ์ วัน ธงไชย. 2560. ไฟป่ าและการควบคุม ใน: ชุดวิชา 91325 นิเวศวิทยาและการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ฉวีวรรณ หุตะเจริญ. 2533 . แมลงป่าไม้ของไทย. แสงเทียนการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 128 น .
ศิริ อัคคอัคร. 2543. การควบคุมไฟป่ าส าหรั บ ประเทศไทย. ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่ ง
ประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
สันต์ เกตุประณีต. 2526. ไฟป่าและการควบคุม. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ,
กรุงเทพฯ.
สุภโชติ อึ๊งวิจารณ์ปัญญา. 2534. พฤติกรรมของมอดป่าเจาะไม้สัก ที่สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้
ป่าแม่กา จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ .
สุภโชติ อึ๊งวิจารณ์ปัญญา. 2541. แมลงศัตรูต้นสัก. ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สานักส่งเสริม
การปลูกป่า กรมป่าไม้. 16 น .
DeBano, L. F., D. G. Neary and P. F. Ffolliott. 1998. Fire's Effects on Ecosystems.
John Wiley & Sons, New York.
Edmonds, R. L., J. K. Agee and R. I. Gara. 2000. Forest health and protection.
McGraw Hill Companies, Inc, Boston.
Evans, J., 1982. Plantation forestry in the tropics:b tree planting for industrial,
social, environmental, and agroforestry puposes. Clarendon Press, Oxford;
New York.
Giardina, C. P., R. L. Sanford, Jr., I. C. Dockersmith and V. J. Jaramillo. 2000. The
effects of slash burning on ecosystem nutrients during the land preparation
phase of shifting cultivation. Plant and Soil 220(1-2): 247-260.
Myers, R. l. 2 0 0 6 . forests and fires: towards an integrated approach to fire
management in the Caribean. Wildland fire management and restoration.
USDA Forest Service International Institute of Tropical Forestry. Rio Piedras,
Puerto Rico.
Nair, K.S.S., V.V. Sudheendrakumar, R.V. Varma and K.C. Chacko. 1985. Studies on
the seasonal incidence of defoliators and the effect of defoliation on
volume increment of teak. Kerala Forest Research Institute, Kerala, India. 78
pp.
บทที่ 8 การอารักขาสวนป่า| 175

USDA Forest Service. 1989. A guide for prescribed fire in southern forest, USDA.
Forest Service Southern Region.
Wanthongchai, K., J. Bauhus and J. G. Goldammer. 2009. Effects of prescribed
burning on soil properties in dry dipterocarp forest with different past
burning regimes. FORTROP II International Conference, Kasetsart University.
Bangkok, Thailand.
บทที่ 9
กำรจัดกำรสวนป่ำ
Plantation Management

พรเทพ เหมือนพงษ์

1. บทนำ (Introduction)
ทรั พ ยากรที่ ดิ น (land resources) นั บ ว่ า เป็ น ทรั พ ยากรที่ มี คุ ณ ค่ า ซึ่ งนั บ วั น จะทวี
ความสาคัญต่อมนุษย์ขึ้นเรื่อย ๆ การใช้ทรัพยากรที่ดินเพื่อการปลูกป่านั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์
อย่างมากมายทั้งด้านผลผลิตเนื้อไม้ ความรื่นรมย์ทางจิตใจ หรือการป้องกันอันตรายจากภัย
ธรรมชาติต่าง ๆ อีกทั้งมนุษย์ยังใช้ ป่าที่ปลูกขึ้นในด้านการเป็นอสังหาริมทรัพย์ และทรัพยากร
(capital and resources) ในพื้นที่ป่าปลูกซึ่งมักจะใช้ที่ดินที่เคยมีสภาพเป็นป่าตามธรรมชาติซึ่ง
ไม่ได้มีการลงทุน หรือลงทุนแต่น้อย และมีการทาไม้ในอดีตส่งผลให้ป่าตามธรรมชาติเหล่านั้น
เสื่อมโทรมลง ในขณะที่สังคมก็ยังคงตั้งคาถามของการปลูกป่าโดยใช้ไม้เพียงชนิดเดียวแทนที่จะ
ปลูกโดยใช้พันธุ์ไม้ดั้งเดิมโดยเฉพาะในแง่ของการอนุรักษ์ ดังนั้นในการสร้างป่าปลูกโดยใช้พันธุ์
ไม้ชนิดเดียวจึงต้องพิจารณาถึงผลดีผลเสียให้รอบคอบทั้งเชิงเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ การปลูก
ป่าในอนาคตอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการปลูกป่าเป็นผืนใหญ่ให้กลายเป็นพื้นที่
แปลงเล็ ก ๆ ที่กระจายทั่วพื้น ที่ซึ่งจะก่อประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ส ภาพแวดล้ อมดั้งเดิม
ความรื่นรมย์ หรือการจัดสรรทรัพยากรให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เช่นการปลูกป่าบนที่สูงบริเวณดอย
อ่างขางของโครงการหลวงบริเวณบ้านนอแล และของด้งที่มีการปลูกพันธุ์ไม้ผสมผสานหลาย
ชนิดทั้งพันธุ์ไม้เดิม และไม้โตเร็วต่างถิ่น โดยการแบ่งที่ดินให้ ชาวเขาเผ่ามูเซอได้ใช้ประโยชน์
และดูแลรักษาด้วยตนเอง (ลดาวัลย์, 2556)
ป่ าปลู ก และการพั ฒ นา (plantations and development) จากแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กาหนดให้เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40.0
ของพื้นที่ประเทศ (สานักนายกรัฐมนตรี , 2554) หรือคิดเป็นพื้นที่ 129.4 ล้านไร่ แต่จากการ
ข้อมูลของกรมป่าไม้ ในปี พ.ศ.2555 ประเทศไทยยังคงเหลือสภาพป่าอยู่เพียงร้อยละ 31.62
หรือ 102.3 ล้านไร่ (กรมป่าไม้ , 2557) ดังนั้นหากยึดตามเป้าหมายแผนพัฒ นาฯ ฉบับที่ 11
178 | การปลูกสร้างสวนป่า
แล้วประเทศไทยยังคงต้องเพิ่ มพื้นที่ป่าอีกถึง 27.1 ล้านไร่ แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ไทยยังอยู่ใน
สถานการณ์วิกฤติเนื่องจากการมีพื้นที่ป่าไม้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นถึงแม้ว่าหัวหน้ าคณะรักษา
ความสงบเรี ย บร้ อ ยแห่ งชาติได้ อนุ มั ติ เมื่ อวัน ที่ 1 สิ งหาคม 2557 ให้ ห น่ ว ยงานที่ เกี่ ยวข้ อ ง
มุ่ ง ฟื้ น ฟู พื้ น ที่ ป่ า ให้ ไ ด้ ร้ อ ยละ 40 ของพื้ น ที่ ป ระเทศภายใน 10 ปี (คณ ะกรรมการ
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, 2558) แต่ดูเหมือนการเพิ่มพื้นที่ป่าปีละ 2.71 ล้านไร่
จะเป็นเป้าหมายที่ห่างไกลจากความเป็นจริงจากแรงกดดันจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมรอบ
ด้าน ข้อมูลจากกรมป่ าไม้ (2557) แสดงให้ เห็น ว่าในระยะเวลา 8 ปีกรมป่าไม้ได้ปลูกป่าเพื่อ
ฟื้น ฟู ได้เพีย ง 0.46 ล้ านไร่ โดยในปี พ.ศ.2557 มีการปลู กฟื้ นฟู ป่าเพียง 38,800 ไร่เท่ านั้ น
การปลูกป่าส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นเพื่อการฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับคงเดิมอีกครั้ง
ในขณะที่การปลูกป่าภาคเอกชนเพื่อการใช้ประโยชน์จากไม้ในช่วงเวลาเดียวกันคิดเป็นพื้นที่
0.67 ล้านไร่โดยส่วนใหญ่เป็นการปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์ จากข้อมูลทั้งสองส่วนจะเห็นได้ว่าการ
เพิ่มพื้นที่ป่าจากการปลูกป่าภาคเอกชนด้วยความสมัครใจยังคงมีสัดส่วนที่สูงกว่าการปลูกป่า
โดยการใช้เงินงบประมาณของภาครัฐ ดังนั้นนโยบายการเพิ่มพื้นที่ป่าจึงต้องให้ความสาคัญกับ
ภาคเอกชนโดยการมุ่งเน้นในการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาเห็นความสาคัญและประโยชน์
จากการปลูกป่าให้มากยิ่งขึ้นซึ่งสามารถทาได้หลายแนวทางเช่นการใช้มาตรการณ์ทางภาษี หรือ
การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่าเป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ของกำรจัดกำรสวนป่ำ (Purposes of plantation management)
แม้ในสภาพการณ์ที่แนวโน้มของพื้นที่ป่าทั่วโลกลดลงทุกวัน จากข้อมูลของ Keenan
et al. (2015) พบว่ าช่ ว งระยะเวลาตั้ งแต่ ปี ค.ศ.1990 ถึ ง 2015 พื้ น ที่ ป่ า ทั่ ว โลกลดลงจาก
4,128 ล้านเฮกแตร์ เป็น 3,999 ล้านเฮกแตร์ หรือลดลงกว่า 129 ล้านเฮกแตร์ ในระยะเวลา
25 ปี แต่ทว่าความต้องการใช้ประโยชน์จากป่าทั้งการใช้ประโยชน์จากผลผลิตโดยตรงเช่นเนื้อ
ไม้ และของป่า หรือการใช้ประโยชน์ทางอ้อมเช่นการใช้ป่าเพื่อเป็นพื้นที่นันทนาการ พักผ่อน
หย่ อนใจกลั บ เพิ่มขึ้น ตลอดเวลา ปั จ จุ บั น ป่ าปลู กได้ทวีความส าคัญ ไปทั่ วโลกทั้งในเรื่องการ
อนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม และเป็ น แหล่ ง ของเนื้ อ ไม้ เพื่ อ การใช้ ป ระโยชน์ ใ นรู ป แบบต่ า งๆ
ผู้ ป ระกอบการสวนป่ าต่า งมุ่งเน้ น ให้ มี การจั ด การสวนป่ าอย่ างยั่งยืน (Sustainable Forest
Management : SFM) ตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการ
สวนป่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้บริหารสวนป่าต้องมีมุมมองที่กว้างขวางครอบคลุมด้าน
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสวนป่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งในตลาด
การค้าไม้ของโลกที่ผู้บริโภคกลุ่มประเทศต่างๆ จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ และกระดาษที่มาจาก
วัตถุดิบไม้ที่มีการจัดการแบบยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตจึงให้ความสาคัญกับแหล่งผลิตไม้ที่ต้องมี
บทที่ 9 การจัดการสวนป่า | 179

การป้องกันรักษาทรัพ ยากรป่าไม้ที่คานึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งผลตอบแทนที่ดีต่อ


ภาคเศรษฐกิจ และสั งคมไปพร้อมกัน ด้วย The United Nation (2007) ได้ให้ คาจากัดความ
ของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนไว้ว่าคือกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เพื่อคงไว้ หรือเพิ่ม
มูลค่าทั้งทางด้านเศรษฐกิ จ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งมูลค่าในปัจจุบัน และมูลค่าในอนาคต
ของป่าทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นป่าธรรมชาติหรือป่าปลูก แม้มาตรฐานรับรองการจัดการป่าไม้
อย่างยั่งยืนจะมีหลายมาตรฐานด้วยกันแต่โดยหลักการแล้วจะแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการ
จัดการป่าออกเป็น 3 ด้าน ดังแสดงในภาพที่ 9.1

ภาพที่ 9.1 องค์ประกอบของการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน


2.1 ด้ำนเศรษฐกิจ (Economic aspect)
ในการปลูกสร้างสวนป่านั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสาคัญ และมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง
คือคือ ต้น ทุน (Cost) และผลกาไร (Benefit) โดยเฉพาะการปลู กชนิ ดไม้ที่มีรอบตัดฟั นยาว
(Long rotation) ซึ่งจะให้ ผ ลตอบแทนเมื่อถึงรอบตัดฟันเท่านั้นและอาจกินเวลายาวนานถึง
60 ปี ดังนั้นจึงจาเป็นอย่างยิ่งที่นักปลูกป่าต้องคานึงถึงต้นทุนการผลิต (Cost of production)
อันหมายรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ผู้ดาเนินการสวนป่าต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตของไม้ที่
ต้องการ โดยต้นทุนในการปลูกสวนป่าสามารถจาแนกออกได้ดังนี้
1) ต้ น ทุ น ค่ า เสี ย โอกาส (Opportunity cost) หรื อ สามารถเรี ย กอี ก อย่ า งหนึ่ งว่ า
ต้นทุนในการเลือก (Alternative cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนาทรัพยากรที่มีอยู่
อย่ างจากัดไปใช้ในทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งในบรรดาทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่แล้วท าให้ เสี ย
โอกาสในการน าปั จ จั ย นั้ น ไปหาประโยชน์ จากทางเลื อกอื่นๆ ที่เหลื อ ซึ่งประโยชน์ที่ ได้จาก
180 | การปลูกสร้างสวนป่า
ทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ได้เลือกนั้นคือค่าเสียโอกาสนั่นเอง ตัวอย่างเช่นการใช้พื้นที่เพื่อการปลูกไม้ยู
คาลิปตัสเป็นเวลา 5 ปี จะคิดเป็นค่าเสียโอกาสหากใช้พื้นที่นั้นในการปลูกอ้อยซึ่งให้ผลผลิตปีละ
20 ตัน/ไร่/ปี มีมูลค่าสุทธิตันละ 700 บาท เป็นค่าเสียโอกาส 14,000 บาท/ไร่/ปี
2) ต้นทุนแจ้งชัด (Explicit cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้ทาสวนป่าได้จ่ายเงิน
ออกไปจริงๆ สาหรับใช้ในการทาสวนป่าเช่นค่ากล้าไม้ ค่าเตรียมพื้นที่ ค่าแรง ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี
ปราบวัช พื ช ฯ ต้ น ทุ น แฝง (Implicit cost) หมายถึง ต้นทุ น การทาสวนป่ าที่ เกิดจากการใช้
ปัจจัยการผลิตที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการ โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน หรือ
น้อยกว่าราคาตลาด ตัวอย่างเช่น หากเจ้าของสวนป่ามีที่ดินเป็นของตัวเองซึ่งไม่ได้คิดค่าเช่า
หรือค่าแรงของตัวเองที่ทางานในสวนป่า เป็นต้น
การด าเนิ น การของสวนป่ านอกจากต้ องคานึ งถึงต้น ทุน ที่เกิ ดขึ้นแล้ ว ยังต้องมุ่ งเน้ น
ไปถึ งการท าการตลาดของสวนป่ าเศรษฐกิ จ (plantation marketing) เช่ น การสร้างตราสิ นค้ า
(Banding), การวางแผนการตลาดด้ ว ย 4P ซึ่ งประกอบไปด้ว ย ผลิ ต ภั ณ ฑ์ (Product) ราคา
(Price) สถานที่ขาย (Place) และการสนับสนุนการขาย (Promotion), การพิจารณาใช้แนวคิด
ทางการตลาด (Marketing concept) ที่เหมาะสมเช่น แนวความคิดมุ่งการผลิต (Production
concept) คือการผลิตในจานวนที่มากพอที่จะทาให้ต้นทุนต่าที่สุดจนกระทั่งสามารถตั้งราคาได้
ถู ก กว่ า คู่ แ ข่ ง หรื อ แนวความคิ ด มุ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ (Product concept) คื อ การสร้ า งสิ น ค้ า ที่
แตกต่าง และดีกว่าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีของ
เจ้ าของสวนป่ าที่ มี วัต ถุ ดิ บ คุ ณ ภาพสู ง มี มู ล ค่ าและความต้อ งการในท้ อ งตลอดจานวนมาก
นอกจากนี้ การใช้อาจใช้แนวความคิดมุ่งการตลาดเพื่อสั งคม (Social marketing concept)
คือเป็นสินค้าที่ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งเป็นจุดเด่นของผู้ปลูกสวนป่าที่ไม่เป็นการตัดฟันไม้
ออกจากป่าธรรมชาติอีกด้วย
2.2 ด้ำนสังคม (Social aspect)
ป่ามักถูกหยิบยกเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นความขัดแย้งทางสังคมอยู่เนืองๆ Koning
(2007) ได้อธิบายไว้ว่าป่าเข้าไปเกี่ยวข้องของกับความขัดแย้งใน 2 มิติ คือ ป่าเป็นสาเหตุของ
การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างจากัด หรือป่าเป็นที่หนีภั ยของผู้อพยพจากสงครามหรือ
ความขัดแย้งซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้ นต้องไปอาศัยพึ่งพิงทรัพยากรต่างๆ จากพื้นที่ป่า ตามหลักการ
จัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนนั้น ประเสริฐ (2550) ได้กล่าวถึงการจัดการสวนป่าเพื่อวัตถุประสงค์
ด้านสังคม (Social management) ว่าต้องมีการบริห ารจัดการเพื่ อจรรโลงและส่ งเสริมด้าน
สังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ดีของคนงาน และชุมชนท้องถิ่นรอบ ๆ สวนป่า โดยจะปฏิบัติ
ตามกฎหมายแรงงานไทย และอนุ สั ญ ญาองค์ก ารแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สิ ท ธิของ
บทที่ 9 การจัดการสวนป่า | 181

คนงาน (Worker’s rights) เช่น การส่งเสริมการจ้างคนงานแบบถาวรในอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรม


การจัดให้มีสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย และสภาพแวดล้อมที่ดีในการปฏิบัติงาน การจัดหา
อุป กรณ์ ด้ านความปลอดภั ย ในการปฏิ บั ติ งาน หรือ การท าประกั น อุ บั ติ เหตุ ก ลุ่ ม ให้ ค นงาน
ในสวนป่า เป็นต้น ด้านสิทธิชุมชนท้องถิ่น (Local communities’ rights) เช่นการพิจารณา
จ้างแรงงานในท้องถิ่นเป็นอันดับแรก การอนุญาตให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถเข้ามาเก็บหาของป่า
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าของชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยว
เชิงอนุ รักษ์ในท้องถิ่น สิท ธิของชนพื้น เมือง (Indigenous people’s rights) ซึ่งสวนป่าควร
ยอมรับ สิทธิตามกฎหมาย และสิ ทธิตามขนบธรรมเนียมประเพณี ในการเป็นเจ้าของ การใช้
ประโยชน์ การจัดการพื้นที่ และทรัพยากรต่างๆของชนพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสวนป่า
2.3 ด้ำนสิ่งแวดล้อม (Environmental aspect)
ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยการคุ้มครองและฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศั ยของพืช และสัตว์
(Preservation and restoration of habitats) จะต้องมีการจัดการสวนป่าเพื่อส่งเสริมโอกาส
ความอยู่รอด และการเป็นแหล่งแพร่ขยายของพันธ์พืช และสัตว์ป่า โดยการรักษาให้พื้นที่มี
หลายชั้น อายุ ไม้ มีค วามหลากชนิ ดสู ง พื้ น ที่ ที่มี คุณ ค่าพิ เศษ (Key habitats) โดยต้อ งมีการ
อนุรักษ์พื้นที่ไม่น้อยกว่า 5% ของพื้นที่รวมของสวนป่าเพื่อเป็นการป้องกันและส่งเสริมความ
หลากหลายทางชีวภาพโดยการคัดเลือกและกาหนดขอบเขตให้ชัดเจน การจัดการทรัพยากรน้า
(Water management) หลีกเลี่ยงการขุดร่องน้าใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้า
ห้ามทิ้งสารเคมีลงในแหล่งน้า รวมถึงมีแนวทางในการอนุรักษ์พื้นที่แนวป้องกันบริเวณแหล่งน้า
หรือ สองฝั่ งล าห้ ว ย (Stream bank) โดยให้ มี ความสอดคล้ องและเหมาะสมกับ ลั ก ษณะภู มิ
ประเทศ และระบบนิ เวศในบริ เวณนั้ น ๆ การจั ด การทรั พ ยากรดิ น (Soil management)
หลีกเลี่ยงการเผาป่าอย่างรุนแรงในพื้นที่ มีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยไม่ทาลาย
สภาพภูมิประเทศ การฟื้นฟูหลังการโค่นล้มไม้ (Regeneration, Stand management after
felling) เช่น การสนั บสนุนให้ มีการสืบ พัน ธุ์ตามธรรมชาติโดยการเว้นแม่ไม้ไว้เพื่อโปรยเมล็ ด
การกาหนดให้พื้นที่ที่มีความสาคัญเช่น พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง สองฝั่งลาห้วย
ป่าธรรมชาติ พื้นที่มีความลาดชัน สูง พื้น ที่ต้นน้า หรือพื้นที่เพื่อการศึกษาวิจัย เป็นเขตพื้นที่
อนุรักษ์ในสวนป่า
3. กำรประเมินผลผลิตของสวนป่ำ (Assessment of Plantation Production)
การประเมินผลผลิ ตของสวนป่ าอาจหมายถึง ผลผลิตทางตรง (Direct value) ในรูป
ของมวลชีวภาพ (Biomass) อันหมายถึงมวลของต้นไม้ทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ซึ่งสร้างขึ้น
182 | การปลูกสร้างสวนป่า
จากกระบวนการสังเคราะห์แสง (พงษ์ศักดิ์ , 2538) หรือ ผลผลิตทางอ้อมของสวนป่า (Indirect
use value) ซึ่งหมายถึงมูลค่าที่ส ะท้อนถึงความพอใจของประชาชนในสังคมที่ได้รับที่เกิดจาก
การทา
3.1 กำรประเมินผลผลิตทำงตรงของสวนป่ำ (Direct value)
การประเมิน ผลผลิ ตทางตรงของสวนป่า ได้แก่ ผลผลิ ตในรูปของเนื้ อไม้ วิธีวัดการ
เติ บ โตและกาลั งผลิ ตได้ ด้ ว ยหลายวิธีก ารด้ว ยกั น เช่ น การประมาณมวลชีว ภาพ (Biomass
estimation) ได้แก่ การวัดการเติบโต และความหนาแน่นผลผลิตของหมู่ไม้ (Stand growth
and stocking density) ในสวนป่าที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา หรือตัดขยายระยะแล้วผลผลิตของ
หมู่ไม้จะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุของหมู่ไม้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเบียดบัง และเกิดการตายเป็น
จานวนมาก การขยายระยะด้วยตัวเอง (Self-thinning) จะเป็นกระบวนการที่ต้นไม้ที่เหลืออยู่
จะเติ บ โตขึ้ น โดยอาศั ย ช่ อ งว่ า งจากต้ น ที่ ต ายไป การวั ด ผลผลิ ต มวลชี ว ภาพ (Biomass
production) หรือการวัดผลผลิตปฐมภูมิ (Primary production) ของป่า คือการเปลี่ยนแปลง
พลังงานมาอยู่ในรูปอินทรีย์สารจากกระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งต้องมีน้า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์
และพลั ง งานจากแสงอาทิ ต ย์ เป็ น ปั จ จั ย ส าคั ญ นอกจากนี้ ก ารสร้ า งองค์ ป ระกอบของ
อินทรียสารยังต้องอาศัยแร่ธาตุที่มีความจาเป็นของพืชจากดิน ถ้าพิจารณาปัจจัยในการสร้าง
ผลผลิตปฐมภูมิรวมแล้ วจะเห็ น ได้ว่าทั้ง หมดล้ วนแต่เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญ ในการบ่งชี้ถึง
คุ ณ ภาพของพื้ น ที่ นั่ น เอง การจั ด การสวนป่ า มั ก จะค านึ งถึ งล าต้ น ของต้ น ไม้ เป็ น หลั ก โดย
ให้ ความส าคั ญ กั บ ผลผลิ ตปฐมภู มิร วมของสวนป่ าน้ อยมาก แต่ ในปั จ จุบั น ที่ รูป แบบการใช้
ประโยชน์ไม้เปลี่ยนไปจากการใช้ไม้ซุงมาเป็นไม้พลังงานขนาดเล็ก ชิ้นไม้สับ หรือเยื่อมากยิ่งขึ้น
การจัดการสวนป่าเพื่อผลผลิตมวลชีวภาพของสวนป่าจึงเป็นรูปแบบของการจัดการที่มุ่งเน้น
น้าหนักของไม้ในสวนป่าที่สร้างขึ้นเป็นสาคัญ ซึ่งมีวิธีการหรือรูปแบบที่แตกต่างจากการปลูก
สร้างสวนป่าเพื่อผลิตไม้ซุงโดยสิ้นเชิง การประเมิลผลผลิต มวลชีวภาพมีด้วยกันหลากหลายวิธี
ด้วยกัน Parde (1980) กล่าวว่าการประเมินมวลชีวภาพของสวนป่ามี 4 วิธีหลัก ได้แก่
1) วิธีการใช้ไม้ตัวแทน (Mean tree method) เป็นวิธีที่จะเลือกไม้ที่จะเป็นตัวแทน
ของหมู่ไม้ทั้งหมด โดยเลือกต้นที่มีพื้นที่หน้าตัดอยู่กึ่งกลางของพื้นที่หน้ าตัดทั้งหมดของไม้ใน
สวนป่ า และคูณ ด้ว ยจ านวนไม้ ทั้งหมดในสวนป่าเพื่อประเมิน ถึงมวลชีว ภาพของสวนป่ าใน
ภาพรวม
2) วิธีก ารตัด ฟั น ไม้ (Harvest method) เป็ นวิธีที่ จะท าการตั ดไม้ทั้ งหมดในแปลง
ตัวอย่างซึ่งทราบขนาดพื้นที่แน่ชัด ก่อนที่จะชั่งน้าหนักของไม้ทั้งหมดในแปลงตัวอย่าง และนา
บทที่ 9 การจัดการสวนป่า | 183

ค่าที่ได้ไปคูณกับอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ทั้งหมดต่อพื้นที่แปลงตัวอย่างจะสามารถทราบถึงมวล
ชีวภาพทั้งหมดของสวนป่าได้
3) วิธีการสร้างสมการความสัมพันธ์ (Dimension analysis, Allometry method)
เป็นการสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างมวลชีวภาพกับลักษณะบางอย่างของต้นไม้ที่ตรวจวัด
ได้ง่าย โดยมากจะใช้เส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก (DBH) หรือความสูงของต้นไม้ เมื่อได้สมการที่
เหมาะสมแล้วจะใช้สมการนั้นในการคานวณมวลชีวภาพของต้นไม้รายต้นก่อนที่จะใช้ผลรวม
ทั้งหมดเป็นผลผลิตมวลชีวภาพรวมของสวนป่า การสร้างสมการความสัมพันธ์จะมีการตัดฟันไม้
ตั ว อย่ างจ านวนหนึ่ งเพื่ อ คารวนหาน้ าหนั ก แห้ งกั บ มิ ติข องไม้ ที่ ท ราบค่ าแน่ ชั ด ในรูป สมการ
Allometry ดังแสดงในภาพที่ 9.2
4) การวัดการแลกเปลี่ยนก๊าซ (Gas exchange) เช่นการแลกเปลี่ยนคาร์บอนสุทธิ
(Net ecosystem exchange, NEE) โดยใช้เครื่องมือวัดอัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์
(CO2)

ภาพที่ 9.2 การตัดฟัน ไม้ตัวอย่างเพื่อประเมินผลผลิตทางตรงของสวนป่าด้วยวิธีการสร้าง


สมการความสัมพันธ์ ดัดแปลงจาก (Meunpong, 2012)

การประเมินมวลชีวภาพในช่วงแรกของป่าปลูกจะมีเพียงกล้าไม้ซึ่งมีขนาดเล็กเท่านั้น
ในขณะที่วัชพืชอาจจะมีมวลชีวภาพสูงกว่ากล้าไม้ที่ปลูก มวลชีวภาพจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตาม
การเติบโตของหมู่ไม้จนกระทั่งเรือนยอดของไม้ในหมู่ไม้เริ่มเบียดชิดกันซึ่งในช่วงนี้หมู่ไม้จะมีมวล
ชีวภาพของใบสูงที่สุด และไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเนื่องจากไม่มีพื้นที่ว่างในการแผ่ขยายเรือนยอด
184 | การปลูกสร้างสวนป่า
หลังจากที่เรือนยอดเบียดชิดกันจะเริ่มมีการตายของใบ และกิ่งในส่วนล่างของเรือนยอด ทาให้
ช่วงเวลาหลังจากนั้นหมู่ ไม้จะมีมวลชีวภาพของกิ่งที่คงที่ซึ่งเพี ยงพอส าหรับจ านวนใบที่เหมาะสม
เท่านั้น การเพิ่มพูนมวลชีวภาพของหมู่ไม้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหากมวลชีวภาพของใบยังคง
เพิ่มขึ้น แต่อัตราการเพิ่มพูนอาจจะช้าลงเนื่องจากมีการหายใจของส่วนมีชีวิตทั้ง ลาต้น กิ่ง ใบ
และราก ซึ่งต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นตามขนาดที่เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อมวลชีวภาพของใบคงที่อัตรา
การตรึงพลังงานจะอยู่ในระดับสูงที่สุด แต่ความต้องการใช้พลังงานยังคงมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้ นอยู่
บ้างเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของขนาดลาต้น อัตราการเพิ่ มพูนของหมู่ไม้จะเริ่มลดลงเรื่อยๆ ตาม
อายุของหมู่ไม้ที่เพิ่มมากขึ้นและเริ่มคงที่ในที่สุด การเติบโตของต้นไม้จะแสดงผลในรูปของเส้น
โค้งการเติบโต (Growth curve) ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของไม้แต่ละชนิด
หากน าการเติ บโตของต้ นไม้ ไม่ ว่ าจะเป็ นการเพิ่ มขนาดปริ มาตร หรื อน้ าหนั กมาสั มพั นธ์ กั บการ
เปลี่ยนแปลงของเวลาจะพบว่าการเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันคือมีลักษณะเป็น
รูปตัว S เรียกว่า Sigmoid growth curve (ภาพที่ 9.3) ทั้งนี้เนื่องจากต้นไม้จะมีอัตราการเติบโตใน
ระยะต่างๆ ตลอดวงจรชีวิตที่ไม่เท่ากันซึ่ง ลดาวัลย์ (2550) ได้แบ่งการเติบโตออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่
 Exponential phase เป็นระยะที่การเติบโตเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากต้นไม้ยังมีขนาด
เล็กมาก แต่การเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องในรูปแบบทวีคูณ โดยปกติการเติบโต
ในระยะนี้จะค่อนข้างสั้น
 Linear phase การเติบโตในช่วงนี้จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างคงที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง
ความแตกต่างของอัตราการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ความลาดชันของเส้นตรงช่วงนี้มัก
ใช้เวลานาน
 Declining phase เป็นระยะที่ต้นไม้มีการเติบ โตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงภายหลัง
จากที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
 Steady state เป็นระยะที่อัตราการเติบโตของต้นไม้คงที่ ถือว่าเป็นระยะที่ต้นไม้มี
ความแก่ทางสรีรวิทยา การสร้างหรือสะสมอาหารจะสมดุลกับส่วนที่ต้องสูญเสียไป
บทที่ 9 การจัดการสวนป่า | 185

ภาพที่ 9.3 การเติบโตของต้นไม้ในรูปแบบ Sigmoid growth curve


ที่มา: http://www.tutorvista.com
การเพิ่ มขึ้น ของมวลชีว ภาพของหมู่ไม้ จะเกิ ดขึ้น อย่ างต่อ เนื่ องในอัต ราความเร็ว ที่
ต่างกันตามช่วงอายุจนกระทั่งถึงจุดที่หมู่ไม้เริ่มมีการแข่งขันจนทาให้เกิดการอ่อนแอและล้มตาย
ของไม้ที่ถูกเบียดบังขึ้น ไม้ที่ล้มตายนั้นจะเกิดการย่อยสลายซึ่งเป็นสาเหตุสาคัญในการสู ญเสีย
มวลชี วภาพในภาพรวมทั้ งหมด นอกจากนี้ การปฏิ บั ติ ทางวนวัฒ นวิธีต่ างๆ เช่น การลิ ดกิ่ ง
ตัดสางฯ ล้วนส่งผลต่อผลผลิตของหมู่ไม้ที่แตกต่างกัน อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของหมู่ไม้
เป็ น ผลมาจากปั จ จั ย หลายอย่ างประกอบกั น เช่น สภาวะแวดล้ อม โรค หรือ แมลง การใช้
วนวั ฒ นวิ ธี ที่ เหมาะสม หรื อ การปรั บ ปรุ งพั น ธุ ก รรมของไม้ ที่ ป ลู ก โดยนั ก ปลู ก ป่ า ต้ อ งให้
ความสาคัญทั้งหมดโดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุกรรม หรือการเลือกกล้าไม้ที่มาจากพันธุกรรมที่
ดี การจัดการสวนป่าเพื่อลดการแก่งแย่ง และการตายของหมู่ไม้ สามารถทาได้โดยการตัดขยาย
ระยะโดยการตัดอาจกระทาตั้งแต่ในช่วงแรกที่หมู่ไม้เริ่มมีการเบียดบัง หรืออาจทาในช่วงกลาง
ของรอบตัดฟันซึ่งไม้ ที่สางออกเหล่านั้นมีขนาดที่พอจะใช้ประโยชน์ได้แล้ว การปลูกต้นไม้ใน
รูป แบบของสวนป่านั้ น โดยทั่วไปจะให้ ผลผลิตมวลชีวภาพสูงที่สุดอยู่แ ล้วเนื่องจากมีห มู่ไม้ที่
สม่าเสมอ และมักอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเติบโตของไม้ชนิดนั้น ๆ การจัดการผลผลิตมวล
ชีวภาพของไม้ในสวนป่าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของสวนป่านั้นๆ เช่น การปลูกป่ารอบตัดฟันยาว
ที่มุ่งเน้นให้ได้ไม้ซุงขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงต้องให้ความสาคัญกั บอัตราส่วนมวลชีวภาพที่มีการ
กระจายในส่วนของลาต้นให้มากกว่าส่วนอื่น ๆ หรือการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้าลาธารที่
ต้องการให้มีรากจานวนมากเพื่อช่วยยึดเกาะหน้าดินป้องกันการการพังทลายของหน้าดินจะต้อง
เลื อกชนิ ดไม้ที่ มี มวลชีว ภาพของรากในอัตราส่ วนที่ สู งด้ว ย แต่อย่า งไรก็ต ามการศึกษามวล
186 | การปลูกสร้างสวนป่า
ชีวภาพของรากยังมีน้ อย และไม่ชัดเจนนักเมื่อเปรียบเทียบกับมวลชีวภาพส่วนเหนือดิน แต่
อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยจานวนหนึ่งพอสรุปได้ว่ามวลชีวภาพของรากโดยมากจะกระจายอยู่ใน
ระดับผิวดินในความลึกตั้งแต่ 0 - 50 เซนติเมตรเท่านั้น (Meunpong et al., 2010; Schenk
and Jackson, 2002; Srivastava et al., 1986; Toky and Bisht, 1992)
3.2 กำรประเมินผลผลิตทำงอ้อมของสวนป่ำ (Indirect use value)
การประเมิ น ผลผลิ ต ทางอ้ อ มของสวนป่ า เป็ น มู ล ค่ า ที่ ส ะท้ อ นถึ ง ความพอใจของ
ประชาชนในสังคมที่ได้รับที่เกิดจากการทาหน้าที่ตามธรรมชาติของสวนป่าที่ให้แก่ประชาชนใน
พื้นที่ เช่น การป้องกันการพังทลายของดิน ลดความรุนแรงของลมพายุ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
ของสั ตว์ป่ า ฯลฯ การประเมิน ผลผลิ ตทางอ้อมมีห ลายวิธีเช่น การประเมิน ค่าความเสี ยหาย
การประเมิน ค่าชดเชย การประเมิน มูล ค่าการคงอยู่ (Existence value) และมูล ค่าเก็บไว้ให้
ลู กหลาน (Bequest value) การประเมิน มูล ค่าทางอ้อมโดยเทคนิ ควิธีก ารสมมติเหตุก ารณ์
(Contingent valuation method : CVM) เป็นการถามเพื่อให้บุคคลบอกถึงระดับประโยชน์
หรื อโทษในรู ป ของมู ล ค่าที่ เกิด ขึ้น จากการเปลี่ ยนแปลงสภาพแวดล้ อมที่ เกิด ขึ้น จริงๆ หรือ
เหตุการณ์ที่สมมุติขึ้นก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่มีความคลองตัวสูง เพราะสามารถนามาใชประเมินการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใดก็ตามที่มีผลกระทบตอมนุษย และมนุษย์จะสามารถตอบคาถาม
กลั บ มาได้ ว่ารู้สึ กอยางไรตอผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านั้นทั้ งในแง่บวก และแง่ล บ
การสรางสถานการณสมมติ (Hypothetical market) เป็นสิ่งสาคัญที่สดสาหรับการประเมิน
ผลผลิ ตทางอ้อ มของสวนป่ าด้ว ยวิธีนี้ เนื่ องจากอาจเกิด ความสั บ สนในสถานการณ์ ข องผู้ ให้
คาตอบ ความลาเอียงของผู้ตอบคาถาม หรือกลุ่มตัวอย่างที่อาจไม่ตรงตามเป้าหมายของผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสียที่แท้จริง จึงต้องมีการดาเนินการสารวจด้วยความละเอียดรอบคอบ และระมัดระวัง
4. กำรประเมินควำมสำเร็จของกำรปลูกสร้ำงสวนป่ำ (Success Criteria of
Plantation Management)
4.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมำณ
ในการปลูกป่านั้นนอกจาการวัดความสาเร็จในรูปของปริมาตรไม้ที่ผลิตได้ หรือปริมาณ
มวลชี ว ภาพของป่ าแล้ ว ยั งสามารถวั ด ความส าเร็ จของการปลู ก ป่ าในแง่ข องกระบวนการ
ทดแทนตามธรรมชาติโดยใช้ค่าดัชนีชี้วัดต่างๆ เช่นการประเมินค่าความสาคัญของชนิดไม้หรือ
ค่าดัชนีความสาคัญ (Importance Value Index หรือ IVI) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความสาเร็จทาง
นิเวศของพรรณไม้ในการครอบครองพื้นที่นั้น ไม้ที่มีค่าดัชนีความสาคัญสูงแสดงว่าชนิดพรรณไม้
บทที่ 9 การจัดการสวนป่า | 187

ชนิดนั้นเป็นพรรณไม้เด่นและมีความสาคัญในพื้นที่นั้น (อุทิศ , 2524) หรือการประเมินค่าความ


หลากหลายของชนิ ดพัน ธุ์ (Species Diversity) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงความหลากหลายของชนิด
พันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับความเด่นของพืช และเพิ่มขึ้นตามช่วงของการทดแทนของพรรณพืช
กล่ าวคือ ในช่วงแรกของสั งคมพืช จะพบพื ช เพียงไม่กี่ช นิ ด และจะเพิ่ มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงช่ว ง
สุดท้ายที่สังคมพืชค่อนข้างเสถียรภาพ จะมีพืชเด่นเพียงไม่กี่ชนิด ความหลากหลายของชนิด
พันธุ์สามารถคานวณได้โดยใช้ดัชนีของ Shannon and Weaver (1949)
นอกจากนี้ ความส าเร็ จ ของการปลู กป่ายังสามารถวัดได้จากรายได้เป็ นตัว เงิน หรือ
ผลก าไร (Profit) ที่ ได้ น อกเหนื อ จากการค านวณเป็ น เงิ น โดยการวั ด ความคุ้ ม ค่ า ของการ
ดาเนินงานสวนป่าด้วยการวัดผลตอบแทนด้วยการใช้ค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่างๆ ที่สาคัญ 3 วิธี
(วุฒิ พล, 2557) ได้แก่ อัตราส่ วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit-Cost; B:C ratio) เป็นการ
เปรียบเทียบระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลได้และต้นทุนที่เกิดขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจใน
การลงทุน คือเมื่อ B/C > 1 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value; NPV) เป็นการหามูลค่า
ปัจจุบันของโครงการว่าผลกาไรจากการลงทุนมีมูลค่าในปัจจุบันเป็นเท่าใดโดยใช้อัตราดอกเบี้ย
อัต ราใดอั ต ราหนึ่ งเป็ น ตั ว หั ก ลด โดยมี เกณฑ์ ใช้ ในการตั ด สิ น ใจในการลงทุ น คื อ NPV > 0
หรือ มีค่าเป็นบวก และ อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return; IRR) เป็นค่าที่
คานวณเพื่อหาผลตอบแทนซึ่งอยู่ในรูปของร้อยละที่เกิดจากการลงทุนในโครงการ เกณฑ์ที่ใช้
พิจารณาในการยอมรับโครงการคือเมื่อ IRR > อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ตัวอย่างการวิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทนของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสที่รายงานโดย
นันทาศิริ และคณะ (2557) ซึ่งได้จาแนกชั้นคุณภาพถิ่ นที่ขึ้นออก 3 ชั้นได้แก่ คุณภาพถิ่นที่ขึ้น
เหมาะสมมาก (SI 13) เหมาะสม (SI 12) เหมาะสมน้อย (SI 11) ผลตอบแทนทางด้านการเงิน
พบว่าไม้อายุ 3 ปี ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนทุกคุณภาพถิ่นที่ รอบหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่
เหมาะสมของการปลู ก ไม้ ยู ค าลิ ป ตัส คื อ ไม้ อายุ 4 ปี ในชั้ น คุ ณ ภาพถิ่น ที่ ขึ้น เหมาะสมมาก
นอกจากนี้ การปลู กไม้ ในชั้ น คุ ณ ภาพถิ่ น ที่ ขึ้น เหมาะสมน้ อ ยไม่ มี ความคุ้ม ค่ าทางเศรษฐกิ จ
หรือ สาหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินว่าการลงทุนปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจนั้นคุ้มค่าหรือไม่
วุฒิพล (2557) ได้ให้พิจารณาจากค่า NPV ที่คานวณได้หากมีค่ามากกว่า 0 แสดงว่าการลงทุน
ปลูกสร้างสวนป่ามีความเหมาะสม นอกจากนี้ค่า NPV ยังสามารถบอกถึงรอบตัดฟันที่เหมาะสม
ซึ่งค่า NPV จะแปรผันไปตามอายุของสวนป่าที่เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือหากคานวณแล้วพบว่าค่า
NPV ในปีใดมีค่าสูงที่สุดนั่นคืออายุตัดฟันที่เหมาะสมนั่นเอง นอกจากนี้หากพิจารณารายได้เพิ่ม
(Marginal revenue : MR) ที่ได้จากการปล่อยให้สวนป่ามีอายุยาวนานขึ้น และต้นทุนในการ
ดูแลสวนป่าในเพิ่มขึ้น (Marginal cost : MC) หาก MR > MC ก็สมควรจะยืดระยะเวลาของ
188 | การปลูกสร้างสวนป่า
รอบตั ด ฟั น ให้ ย าวออกไป แต่ ในทางตรงกั น ข้ ามหาก MR < MC ก็ ส มควรจะตั ด ฟั น ไม้ อ อก
เนื่องจากต้นทุนในการดูแลสวนป่ามีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเพิ่มที่ได้รับจากการเติบโตเพิ่มขึ้นของต้นไม้
4.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภำพ
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ คือตัวชี้วัดที่ใชวัดสิ่งที่ไมเปนค่าเชิงปริมาณ หรือเปนหนวยวัดใดๆ
แตจะเปนการวัดที่อิงกับ คาเปาหมายที่มีลักษณะพรรณนา หรือเปนคาอธิบายถึงเกณฑการ
ประเมินระดับคาเปาหมายตางๆ ตัวชี้วัด และคาเปาหมายนี้จึงทาหนาที่เสมือนหนึ่งเปนเกณฑ
หรือกรอบกากับการใชวิจารณญาณของผูประเมิน โดยทั่วไปการกาหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ควร
พิจารณาถึงคาเปาหมายควบคูไปพรอมกัน เนื่องจากชื่อของตัวชี้วัดเชิงคุณภาพนั้นมีแนวโนมที่
จะเปนคากวางๆ ไมเฉพาะเจาะจง เชน ระดับ ความส าเร็จของการพั ฒ นาระบบงาน ระดั บ
ประสิทธิภาพในการจัดทาแผนยุทธศาสตร์ของสวนป่า เปนตน ดังนั้น คาเปาหมายจึงเปนตัวที่
จะชวยบอกถึงนิยาม หรือความหมาย หรือความคาดหวังของผลสั มฤทธิ์ของงานที่ตัวชี้วัดนั้นๆ
ในการกาหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและคาเปาหมายผูประเมินควรนากรอบการกาหนดระดับคา
เปาหมายมาประกอบการพิจารณาดวยเสมอ และควรกาหนดคาเปาหมายใหมีความชัดเจน
มากที่สุดเทาที่จะเปนไปได เช่นคุณภาพชีวิต ความพึงพอใจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยังมีผล
กาไรทางอื่นที่จะสามารถเป็นตัวเงินได้ยาก เช่น มูลค่าในการเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ หรือ
ความรื่นรมย์ทางจิตใจในการเข้ามาในพื้นที่ป่าปลูก การอนุรักษ์ดิน และน้า หรือเป็นแหล่งที่อยู่
อาศัยของสัตว์ป่า หรืออีกนัยหนึ่งคือผลกาไรทางอ้อม ดังนั้นการวิเคราะห์ ถึงผลกาไรขาดทุนจึง
จาเป็ น ที่ จ ะต้ องวิเคราะห์ อ ย่ างรอบด้านเพื่ อให้ การประเมิ น มูล ค่ าของป่ าปลู กนั้ น ๆ ถูก ต้อ ง
หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดด้วย
5. สรุป (Conclusion)
การจัดการสวนป่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นไม้ และมนุษย์ดารงอยู่ร่วมกันในฐานะผู้ให้
และเป็นผู้รับที่เกื้อกูลกันภายใต้ดุลยภาพระดับต่างๆ เช่น การที่ต้นไม้ให้ผลผลิตแก่มนุษย์ได้ใช้
ประโยชน์ทางตรงในรูปของ เนื้อไม้ อาหาร ยา ที่อยู่อาศัย และให้คุณประโยชน์ทางอ้อมเช่น
การสร้างอากาศที่ดี ในด้านการเป็นผู้รับของต้นไม้เช่น การที่แมลง และนกที่อาศัยต้นไม้ช่วยใน
การขยายพันธุ์ สัตว์ที่ใช้ต้นไม้เป็นที่อยู่อาศัยให้มูลที่เป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ฯ การประเมินค่าทรัพยากร
ป่ า ไม้ จ ากการวัด คุ ณ ค่ า (Value) โดยอ้ างอิ งจากคุ ณ ค่ าที่ ม นุ ษ ย์ ได้ รับ ทั้ งส่ ว นที่ เป็ น คุ ณ ค่ า
ทางตรง (Direct use value) และคุณ ค่าทางอ้อม (Indirect use value) อีกทั้ งยังรวมไปถึง
คุณค่าส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ (Non - use Value หรือ Passive - use Value) ของมนุษย์ที่ได้จากป่า
ในรูปแบบการประเมินผลผลิตด้านต่าง ๆ ด้วยการใช้รูปแบบ และวิธีการวิจัยที่เหมาะสมจะ
บทที่ 9 การจัดการสวนป่า | 189

สามารถประเมินความคุ้มค่าในการใช้จัดการสวนป่านั้น รวมถึงการสูญเสีย และแนวทางแก้ไ ข


ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทาไม้ออกจากสวนป่าด้วย
6. เอกสำรอ้ำงอิง (References)
กรมป่าไม้. 2557. ข้อมูลสถิติกรมป่าไม้. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. 2558. รายงานการศึกษาเรื่องการแก้ไข
ปัญหาที่ดินป่าไม้ของชาติ. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
นันทาศิริ พิชาสมุทร, จงรัก วัชรินทร์รัตน์ และ พสุธา สุนทรห้าว. 2557. ผลผลิตและการ
วิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านการเงินของการปลูกสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส อาเภอสูงเนิน
จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวนศาสตร์ 33; 18-27.
ประเสริฐ เนตรประจิตร. 2550. คู่มือการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน.
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้, กรุงเทพ.
ลดาวัลย์ พวงจิตร. 2556. รายงานฉบับสมบูรณ์ องค์ความรู้และแนวทางวิจัยด้านทรัพยากร
ป่าไม้บนพื้นที่สูง. สถาบันวิจยั และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน), กรุงเทพฯ.
พงษ์ศักดิ์ สนุนาฬุ. 2538. ผลผลิตและการหมุนเวียนของธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าไม้.
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สานักนายกรัฐมนตรี. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. แหล่งที่มา :
http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf, 21 มกราคม
2016.
วุฒิพล หัวเมืองแก้ว. 2557. เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้. ภาควิชาการจัดการป่าไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อุทิศ กุฎอินทร์. 2542. นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Keenan, R.D., G.A. Reams, F. Achard, J.V. Freitas, A. Grainger and E. Lindquist.
2015. Dynamics of global forest area: Result from the FAO Global Forest
Resources Assessment 2015. For. Ecol . Man. 352; 9-20.
Koning, R. D. 2007. Forest and Conflict. In Enabling Sustainable Forest
Management: Strategies for Equitable Development, for Forest, for
People. United Nation Forum of Forest Secretariat, New York.
190 | การปลูกสร้างสวนป่า
Meunpong, P., C. Wachrinrat, B. Thaiutsa, M. Kanzaki, and K. Meekaew. 2010.
Carbon pools of indigenous and exotic trees species in a forest
plantation. prachuap khiri khan, Thailand. Kasetsart J. 6 (44).
Meunpong, P . 2012. Nutrient and Carbon Storage in Forest Plantation,
Prachuap Khiri Khan Province. Thailand. Ph.D. Thesis, Kasetsart University.
Schenk, H. J. and R. B. Jackson. 2002. The global biogeography of roots.
Ecol. Mono. 72(3): 311-28.
Shannon, C.E. and W. Weaver. 1949. The Mathematical Theory of
Communication. Univ. Illinois Press, Urbana.
Srivastava, S. K., K. P. Singh and R. S. Upadhyay. 1986. Fine root growth
dynamics in teak (Tectona grandis Linn. F.). Can. J. For. Res. 16: 1360-
1364.
The United Nation. 2007. Enabling Sustainable Forest Management: Strategies
for Equitable Development for Forest for People. United Nation Forum
of Forest Secretariat, New York.
Toky, O.P. and R.P. Bisht. 1992. Observations on the rooting patterns of some
agroforestry trees in an arid region of north - western India. Agro. For.
Syst. 18 263-245 :(3)
บทที่ 10
กำรทำไม้ในสวนป่ำ
Logging in Forest Plantation

นพรัตน์ คัคคุริวาระ

1. บทนำ (Introduction)
การทาไม้ หมายถึง กระบวนการ ขั้นตอน และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการนาไม้เคลื่อนที่
ออกจากป่ าบริ เวณที่ ไม้นั้ น ยื น ต้น อยู่ แล้ วล าเลี ยงขนส่งไปยังจุดที่ มีการใช้ประโยชน์ไม้ เช่น
โรงงานอุ ต สาหกรรม หรื อ กล่ าวอย่ างสั้ น ว่าเป็ น กระบวนการในการน าไม้ ยื น ต้ น ออกมาใช้
ประโยชน์นั่นเอง
การทาไม้ของไทยในอดีตเคยเป็นอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูมากธุรกิจหนึ่ง บริษัทต่างชาติ
เข้ามาครอบครองกิจการสัมปทานป่าไม้ในไทยเนื่องจากมีประสบการณ์ในการทาไม้มากกว่า
คนไทย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทบอร์เนียว บอมเบย์เบอร์ม่า แองโกลไทย หลุยส์-ที-เลียว โนเวนส์
และ อี ส ท์ เอเชีย ติ๊ ก ในสมั ย ก่ อนเน้ น การท าไม้ สั ก เป็ น ส่ ว นใหญ่ ด้ ว ยเหตุ ที่ ว่ าไม้สั ก มี มู ล ค่ า
มหาศาล ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้จานวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชดาริจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น เพื่อทาหน้าที่ดูแลรักษาป่าไม้และทาไม้ออกแทน
บริษัทต่างชาติ โดยใช้วิธีละมุนละม่อม คือ ไม่ต่ออายุสัมปทานการทาไม้ และจัดตั้งบริษัทไม้ไทย
ขึ้นเพื่อศึกษาวิธีการทาไม้ออกด้วยคนไทยเอง เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงและไม่มีการต่อสัญญา ส่งผล
ให้บริษัททาไม้ต่างชาติจาต้องปิดกิจการลง ไม้ที่ทาออกในอดีตมีลาต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าไม้ใน
ปัจจุบันเป็นอย่างมาก การทาไม้ในขณะนั้นถือว่าทาได้ยากลาบากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
เนื่องจากต้องทาไม้ออกจากป่าธรรมชาติมิใช่สวนป่าที่มีการปลูกแบบเป็นแถวเป็นแนวอย่างใน
ปั จ จุ บั น กอปรกับ ไม้ที่ ทาออกมี ขนาดใหญ่ เครื่องไม้เครื่องมื อที่ใช้ในยุคแรกส่ ว นใหญ่ ได้รับ
อิทธิพลมาจากบริษัททาไม้ต่างชาติ อาทิ เลื่อยยนต์ รถแทรกเตอร์ รถตีนตะขาบ รถสกิดเดอร์
การใช้แรงงานสัตว์ก็เป็ นที่นิยมไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการใช้ช้างในการชักลากไม้ รูปแบบการ
ขนส่งไม้มีทั้งการขนส่งทางบก ระบบราง และทางน้า ซึ่งระบบที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือการ
ขนส่งทางน้า เนื่องจากสามารถขนส่งได้คราวละมากๆ และเสียค่าใช้จ่ายต่าที่สุด เป็นเหตุให้
192 | การปลูกสร้างสวนป่า
โรงงานอุ ต สาหกรรมและโรงงานแปรรู ป นิ ย มตั้ งอยู่ ริม น้ าเพื่ อ ที่ จ ะสามารถล าเลี ยงไม้ เข้า สู่
อุตสาหกรรมได้โดยง่าย อีกทั้งเป็นการเก็บรักษาไม้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
จากการที่ ค ณะรั ฐ มนตรี มี ม ติ ย กเลิ ก สั ม ปทานป่ าไม้ ทั่ ว ประเทศลง เมื่อ พ.ศ. 2532
การท าไม้ ในปั จ จุ บั น จึ งสามารถกระท าได้ เฉพาะไม้ จากสวนป่ าเท่ านั้ น เครื่องมื อที่ ใช้อ ยู่ ใน
ปัจ จุ บั น ยั งคงรูป แบบเดิ มไว้เป็ น ส่ ว นใหญ่ ไม่ค่ อยมีก ารพั ฒ นาด้ านเทคโนโลยีม ากนั ก ทั้ ง นี้
อาจเป็นเพราะติดขัดในเรื่องของตัวบทกฎหมาย และภาพลักษณ์ที่การทาไม้มักจะถูกมองเป็น
จาเลยของสังคม บ่อยครั้งที่การทาไม้ถูกมองเป็นการตัดไม้ทาลายป่า นี่อาจเป็นอีกหนึ่งอุปสรรค
ของการพัฒนาศาสตร์ทางด้านการทาไม้
บทบาทของการทาไม้คือเป็นการปรับปรุงหรือเพิ่มพูนมูลค่าไม้ เพิ่มความหลากหลาย
และความสวยงามของหมู่ ไม้ เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์ให้ กับชุมชนและสังคม การทาไม้เป็นการ
เปิ ดพื้นที่ให้กับ หมู่ไม้ ช่วยส่งเสริมการเติบโตของต้นไม้ที่เหลือ อยู่ในพื้นที่ กระตุ้นให้ เกิดการ
สืบพันธุ์หรือเจริญพันธุ์ตามธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของการทาไม้สามารถจาแนกออกได้เป็น
1) การทาไม้เพื่อไม้ท่อน/ไม้แปรรูป โดยทั่วไปเป็นการตัดไม้ออกมาใช้ประโยชน์ใน
อุตสาหกรรม ต่างๆ อาทิ ไม้แปรรูป เฟอร์นิเจอร์ แผ่นไม้บาง ไม้พื้น เยื่อกระดาษ ไม้อัด พาร์ติ
เคิลบอร์ด เป็นต้น ซึ่งไม้ส่วนใหญ่ที่จะนามาใช้ประโยชน์นั้นจะเป็นไม้ที่นิยมปลู กในเชิงพาณิชย์
เช่น ไม้ สัก ไม้ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา
2) การทาไม้เพื่อไม้พลังงาน ด้วยไม้จั ดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่ถูกสร้างขึ้นใหม่
ได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง การท าไม้ เพื่ อ พลั ง งานจึ งได้ รับ ความนิ ย มในช่ ว งเวลาที่ ผ่ า นมา ซึ่ ง แหล่ ง
ของไม้พลั งงาน สามารถได้มาจาก 1) ไม้โตเร็วที่ป ลูกเพื่ อการท าไม้พลั งงานโดยเฉพาะ เช่น
ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ตระกูลกระถิน เป็นต้น 2) ไม้ขนาดเล็กที่ได้จาการตัดขยายระยะที่ไม่ได้หวังผล
ทางการค้ า (Pre-commercial thinning) 3) เศษเหลื อ จากการท าไม้ (Logging residues)
4) เศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ปีกไม้ ขี้เลื่อย เป็นต้น และ 5) ไม้ที่เกิดจากการลิดกิ่ง
ตัดกิ่ง ของพืชผลทางการเกษตร เช่น ไม้มะขาม ลาไยฉ่าฉา (ได้จากการเก็บเกี่ยว)
การทาไม้จาเป็น ที่จะต้องมีการวางแผนก่อนปฏิ บัติงานที่รัดกุม เพื่อเป็นการป้ องกัน
ผลกระทบทางด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการทาไม้ เช่น ทาไม้ไม่เสร็จตามระยะเวลา
ที่กาหนด ส่งสินค้าไม่ทันเวลา การทาไม้ที่ก่อให้เกิดผลเสียกับสิ่งแวดล้อม (ดินบดอัด การชะล้าง
พังทะลายของหน้าดิน) การทาไม้ที่ดีจะต้องมีปริมาณการทาไม้ออกทีไ่ ม่เกินความเพิ่มพูนรายปีที่
สวนป่ามีอยู่ เป็นต้น
การวางแผนการท าไม้ มีปั จ จั ย ที่ ส าคั ญ ต่ างๆมากมายที่ต้ องคานึงถึง (Wackerman,
1949; Greulich et al., 1999) อาทิ
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 193

ขนาดของต้นไม้ : โดยเฉพาะความโตและความสูง ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับชนิดและขนาด


ของเครื่องจักรกลที่จะเลือกใช้ ส่วนน้าหนักของไม้ก็มีผลเช่นเดียวกัน เพราะน้าหนักจะสัมพันธ์
กับความสามารถในการทางานหรือข้อจากัดของเครื่องจักรกล ยิ่งไม้มีขนาดที่ใหญ่มากเท่าไหร่
การทาไม้ก็จะทาได้ยากขึ้นเท่านั้น
ปริมาณไม้ขั้นต่าที่ต้องการทาออกในแต่ละวัน : ในกรณีที่ต้องการทาไม้ออกเป็นปริมาณ
มากต่อวัน นั้ น จ าเป็ น ต้องเลื อกใช้เครื่ องจั กรกลที่ มีประสิ ท ธิภ าพในการท างานสู ง หรือเพิ่ ม
จานวนทรัพยากรบุคคลและเครื่องจักรเข้าไปเพื่อให้สอดคล้องกับโจทย์ของปริมาณไม้ที่ต้องการ
ทาออก
ระบบวนวัฒน์วิธี : เทคนิคที่จะเลือกใช้ในการทาไม้ออกย่อมแตกต่างกันไปตามระบบ
วนวัฒน์วิธี เช่น การตัดสางขยายระยะไม่เหมาะแก่การเลือกใช้การทาไม้ด้วยสายลวด หรือการ
ทาไม้ออกจากแปลงที่ตัดไม้ออกหมด (Clear cut) ย่อมทาได้ง่าย สะดวก และถูกกว่าการทาไม้
ออกจากแปลงที่มีการเลือกตัด สามารถเลือกใช้ระบบการทาไม้แบบใดก็ได้ เป็นต้น
ลักษณะภูมิประเทศ : ความลาดชันนับเป็นปัจจัยที่สาคัญมากปัจจัยหนึ่งในการเลือกใช้
ระบบการทาไม้ หากพื้นที่สูงชันเกินกว่าข้ อจากัดของเครื่องจักรกลที่จะสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้
จะต้องประยุกต์ใช้การทาไม้ด้วยสายลวดเข้ามาแทนการทาไม้ด้วยเครื่องจักรกลหนักอื่นๆ เพื่อ
ป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น อี กทั้งยังช่วยลดผลกระทบจากการทาไม้ที่อาจจะ
เกิดขึ้นกับทรัพยากรดินได้อีกทางหนึ่งด้วย
โครงข่ายถนนป่าไม้ : ระยะห่างระหว่างถนน และระยะห่างระหว่างถนนกับจุดรวมไม้
(หมอนไม้) ถือ เป็นปัจจัยสาคัญทีม่ ีผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายในการทาไม้โดยรวม สภาพถนนป่าไม้
ที่ ไม่ ดี จ ะก่ อให้ เกิ ดค่ าใช้ จ่ ายในส่ ว นของการซ่อ มแซมบ ารุงค่ อนข้างมาก นั่ น หมายความว่า
ค่าใช้จ่ายในการทาไม้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งหากมีโครงข่ายถนนป่าไม้ที่
ดีและมีความความหนาแน่นของถนนที่เหมาะสม ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทาไม้ดีขึ้น
และขณะเดียวกันก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในการทาไม้ด้วยเช่นกัน
ค่าใช้จ่ายในการทาไม้ : การทาไม้บางระบบอาจมีช่วงของค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน หาก
ต้องทางานเสริม เช่น การทาความสะอาดพื้นที่ เก็บเศษไม้ปลายไม้ออกจากพื้นที่หลังจากที่ทา
ไม้ออกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะยิ่งทาให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นควรที่จะต้องเลือกใช้
เครื่องจักรกลหรือระบบการทาไม้ที่จะทาให้คา่ ใช้จ่ายอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ความพร้อมของเครื่องจักรกลและกาลังของผู้รับเหมา : ชนิดและความหลากหลายของ
เครื่องมือย่อมขึ้นอยู่กับกาลังและความสามารถในการลงทุนของผู้รับเหมา ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้รับเหมา
แต่ละรายย่อยมีเครื่องจักรกลในครอบครองที่แตกต่างกันออกไป ขึ้น อยู่กับสภาพภูมิประเทศ
194 | การปลูกสร้างสวนป่า
และชนิดไม้ที่ต้องทาออกเป็นประจาในพื้นที่ที่ผู้รับเหมานั้นตั้งอยู่ ยิ่งมีเครื่องจักรกลในมือมาก
เท่าไหร่ก็จะทาให้มีตัวเลือกในการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น
2. กระบวนกำรทำไม้ (Logging Process)
กระบวนการท าไม้ โดยทั่ ว ไป ประกอบไปด้ ว ย การล้ ม ไม้ การลิ ด กิ่ ง การตั ด ปลาย
การตัด ทอน การชัก ลากถอนตอ การขึ้ น ไม้ และการขนส่ ง ซึ่ งล าดับ ขั้ น ตอนการท าไม้ อ าจ
สลับกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เหมาะสมและดีที่สุด
2.1 กำรล้มไม้ (Felling)
การโค่ น ไม้ ยื น ต้ น เพื่ อ น าไม้นั้ น ออกมาใช้ ป ระโยชน์ ขั้ น ตอนการล้ ม ไม้ โดยทั่ ว ไปจะ
ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ การบากหน้า และการลัดหลัง
การบากหน้า (Undercut) เป็นการกาหนดทิศทางที่ไม้จะล้มลงไป บากหน้าทิศทางใด
ไม้ ก็ มั ก จะล้ ม ไปในทิ ศ ทางนั้ น การบากหน้ า นิ ย มท าเป็ น รู ป สามเหลี่ ย มหรื อ ที่ เรี ย กกั น ว่ า
ปากฉลาม โดยทั่วไปนิยมบากหน้า ประมาณ 1/4 หรือ 1/3 ของความโตทางเส้นผ่านศูนย์กลาง
ของต้นไม้ (ภาพที่ 10.1)

ภาพที่ 10.1 ขั้นตอนการล้ม ไม้


ที่มา: ดัดแปลงจาก Uusitalo (2010)
การลัดหลัง (Backcut หรือ Felling cut) การลัดหลังจะเป็นการตัดไม้ในลักษณะของ
เส้ น ตรงในทิ ศ ทางตรงกัน ข้ามกับ การบากหน้ า โดยทั่ ว ไปแล้ ว การลั ด หลั งจะนิ ยมให้ สู งกว่า
ตาแหน่งของการบากหน้าเพียงเล็กน้อย (ภาพที่ 10.1) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อไม้ฉีกขาด
เสียหาย
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 195

.1.1. ทฤษฎีการล้มไม้

1) การล้มไม้ที่มีขนาดเล็กกว่าความยาวใบเลื่อย เริ่มจากบากหน้า แล้วจากนั้นลัดหลัง


ในแนวตรงทิ ศทางตรงกั น ข้ามกั บ บากหน้ า (ภาพที่ 10.2) ในบางกรณี ที่ ไม้มี ข นาดเล็ กมาก
การบากหน้าก็อาจไม่จาเป็น เพราะเลื่อยสามารถตัดไม้ให้ขาดออกจากกันภายในครั้งเดียว

ภาพที่ 10.2 เทคนิคการล้มไม้ที่มีขนาดเล็กกว่าความยาวใบเลื่อย


ที่มา: Husqvarna (2011)
2) การล้มไม้ที่มีขนาดเป็น 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย ให้เริ่มจากการบากหน้าก่อน
จากนั้นให้ลัดหลังในลักษณะของครึ่งวงกลม (ภาพที่ 10.3)

ภาพที่ 10.3 เทคนิคการล้มไม้ที่มีขนาดเป็น 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย


ที่มา: Husqvarna (2011)

3) การล้มไม้ที่มีขนาดมากกว่า 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย ให้เริ่มจากการบากหน้าก่อน


จากนั้นให้ลัดหลังโดยเจาะตรงกลางลาต้น แล้วกวาดใบเลื่อยให้เป็นรูปตัววี จากนั้นจึงทาการลัด
หลังในลักษณะของครึ่งวงกลม (ภาพที่ 10.4)
196 | การปลูกสร้างสวนป่า

ภาพที่ 10.4 เทคนิคการล้มไม้ที่มีขนาดมากกว่า 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย


ที่มา: Husqvarna (2011)

2.1.2 การล้มไม้ที่ดี

ก่อนที่จะล้มไม้ควรกาหนดทิศทางที่ไม้จะล้ม การพิจารณาทิศทางต้องคานึงถึงหลาย
ปัจจัย เช่น สภาพพื้นที่ ทิศทางและความเร็วลม ขนาดความโตและความสูงของต้นไม้ ความเอน
เอียง ความคดงอของลาต้น และลักษณะเรือนยอด เป็นต้น นอกจากนี้ควรสารวจทิศทางหลบ
ภัยก่อนที่จะล้มไม้ โดยทิศปลอดภัยคือทิศทั้งสองด้านที่ทามุม 45 องศากับการลัดหลัง จากนั้น
กาจัดสิ่งกีดขวางบริเวณรอบโคนต้น
ขณะล้ มไม้ ควรล้ มไม้ให้ เหลื อตอต่า (5 - 10 เซนติเมตร) หากไม้นั้น เป็นชนิดพั นธุ์ที่
สามารถแตกหน่ อได้ หน่ อที่ ได้ก็จ ะมีคุณ ภาพที่ดี นอกจากนี้ ควรล้ มไม้ไปในทิ ศทางเดียวกัน
เพื่อให้สะดวกในการทางาน หลีกเลี่ยงการล้มไม้ทับไม้อื่น หากล้มไม้ไปค้างกับไม้ต้นอื่น ควรรีบ
นาไม้ที่ค้างลงโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้ ในขณะล้มไม้
ควรหลีกเลี่ยงการทางานที่ใกล้กันเกินไป ควรเว้นระยะปลอดภัยระหว่างปฏิบัติงานอย่างน้อย
2 เท่าความสูงของต้นไม้ และเหลือพื้นที่แนวกันชน (buffer zone) ไว้บริเวณข้างลาน้า ถนน
หรือพื้นที่อนุรักษ์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรดังกล่าว
ที่ส าคัญควรล้มไม้ในฤดูกาลที่เหมาะสม หลี กเลี่ยงการทาไม้ในฤดูฝน เนื่องจากการ
เข้าถึงพื้ น ที่ ท าได้ ย าก และผลกระทบที่ จ ะเกิด จากการท าไม้ นั้ น ย่อ มมี ม ากกว่าการท าไม้ ใน
ฤดูกาลอื่น เช่น การชะล้างพังทลายของดิน และไม้ที่ได้อาจมีการปนเปื้อนของดินโคลน
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 197

2.2 กำรทอนไม้ (Cross cutting)


การทอนไม้ (Cross cutting) คือ การตัดไม้ที่ล้มแล้วให้เป็นท่อนซุงขนาดที่สั้นลง ทั้ งนี้
ขนาดความยาวของไม้ซุงขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดหรือผลิตภัณฑ์ปลายทางที่ต้องการใช้
ไม้เป็นวัตถุดิบ ความยาวของท่อนไม้ที่เป็นที่นิยมในท้องตลาด ได้แก่ 2 3 4 และ 6 เมตร
ในการทอนไม้ โดยปกติ จ ะมี แ รงกระท าอยู่ 2 อย่ า ง คื อ แรงตึ ง ผิ ว (Tension) และ
แรงบีบอัด (Compression) สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนที่จะทอนไม้คือให้พิจารณาว่าด้านใดเป็น
แรงตึงผิว ด้านใดเป็นแรงบีบอัด จากนั้นให้ทอนไม้จากฝั่งที่มีแรงบีบอัดก่อ นเพื่อเป็นการคลาย
ความตึงผิวลง แล้วจึงทอนไม้อีกครั้งในฝั่งตรงกันข้าม (ภาพที่ 10.5) การทอนไม้เช่นนี้จะช่วยใน
เรื่องของความปลอดภัย กล่าวคือ ไม้จะไม่ดีดใส่ผู้ปฏิบัติงาน และเป็นการป้องกันไม่ให้ไม้หนีบ
ใบเลื่อยในขณะที่ทาการทอนไม้

ภาพที่ 10.5 การทอนไม้ที่ถูกวิธี


ที่มา: ดัดแปลงจาก Uusitalo (2010)

การทอนไม้เป็นขั้นตอนที่ต้องให้ความสาคัญเป็นอย่างมากเพราะจะมีเรื่องของราคาไม้
ที่สัมพันธ์กับขนาดและความยาวของไม้ท่อนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ยกตัวอย่างเช่น ราคาไม้สัก
จากสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ตารางที่ 10.1) เมื่อพิจารณาจากตารางจะเห็นได้
ชัดเจนว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นตามขนาดและความยาวของท่อนไม้ กล่าวคือไม้ยาวจะแพงกว่าไม้
สั้น และไม้ที่มีขนาดใหญ่จะมีราคาแพงกว่าไม้ขนาดเล็ก
198 | การปลูกสร้างสวนป่า

ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างราคาไม้สักจากสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ระหว่าง


เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2559

ขนาดความโตที่เส้นรอบวง ความยาว จานวนท่อน ราคาไม้


(ซม.) (ม.) (ท่อน/ลบ.ม.) (บาท/ลบ.ม.)
2 61.4 2,800
4 30.7 3,100
30-34
6 20.5 3,600
6 ม. ขึ้นไป 12.3 3,900
2 23.3 4,800
4 11.6 6,200
50-54
6 7.8 7,100
6 ม. ขึ้นไป 4.7 7,800
2 10.6 9,300
4 5.3 11,600
80-84
6 3.5 12,900
6 ม. ขึ้นไป 2.1 14,000

2.3 กำรลิดกิ่ง (Delimbing)


การลิดกิ่งในทางวนวัฒน์วิทยาใช้คาว่า “Prunning” ซึ่งเป็นการลิดกิ่งกับไม้ที่ยังยืนต้น
อยู่ แต่ในการทาไม้ก็มีการใช้คาว่า “ลิดกิ่ง” เช่นเดียวกัน แต่เป็นการลิดกิ่งไม้ที่ล้มลงมาแล้ว
ซึ่งมีศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Delimbing” หรือ “Debranching” การลิดกิ่งในที่นี้เป็นการกาจัด
กิ่งก้านสาขาของต้นไม้ให้หลุดออกจากลาต้น ไม่ว่าจะด้วยการใช้เครื่องมือพื้ นเมือง เลื่อยยนต์
หรือเครื่องจักรกลสมัยใหม่ การลิดกิ่งจะส่งผลทาให้ได้ไม้ซุงที่ปราศจากกิ่งก้านและทาให้สะดวก
ในการขนส่ง เทคนิคการลิดกิ่งมีอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ
1) การเดินจากโคนไปหาปลายและเดินย้อนกลับจากปลายมาหาโคน โดยจะทาการ
ลิดกิ่งทีละด้านของต้นไม้ วิธีนี้ไม่ค่ อยได้รับความนิยมเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะต้องเดินกลับไป
กลับมาหลายครั้งจึงจะทาการลิดกิ่งเสร็จ (ภาพที่ 10.6)
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 199

2) การเดินลิดกิ่งจากโคนไปหาปลายโดยจะทาการลิดกิ่งแบบสลับข้างไปมาจากซ้าย
ไปขวาและจากขวามาซ้ายไปพร้อมๆกัน วิธีนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างมากเนื่องจากสะดวกและ
รวดเร็ว ไม่จาเป็นต้องเดินหลายครั้ง (ภาพที่ 10.6)

ภาพที่ 10.6 เทคนิคการลิดกิ่ง


ที่มา: Uusitalo (2010)
2.4 กำรชักลำก (Extraction)
การชักลาก (Extraction) หมายถึงการลาเลียงหรือนาไม้ซุงออกจากบริเวณที่มีการโค่น
ล้มไม้ออกไปยังบริเวณจุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์ การชั กลากสามารถจาแนกออกได้เป็น
2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ การชักลากแบบไม้สัมผัสกับพื้นดิน และ การชักลากแบบไม้ไม่สัมผัสกับ
พื้นดิน
 การชักลากแบบที่ ไม้สัมผั สกับ พื้นดิน (Skidding) คือ การชักลากไม้ซุงออกจาก
บริเวณที่ มีการทาไม้ออกไปยั งข้างทางตรวจการณ์ โดยไม้นั้นจะมีส่ วนใดส่ วนหนึ่งสัมผั ส กับ
พื้นดิน การชักลากรูปแบบนี้อาจเลือกใช้ ช้าง แทรกเตอร์ หรือ สกิดเดอร์ก็ได้ วิธีการชักลาก
แบบนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างมาก และเนื้อไม้อาจเกิดความเสียหาย
จากกระบวนการชักลากได้
การชักลากไม้ด้วยช้างได้รับความนิยมมาตั้งแต่ในอดี ตและยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน
(ภาพที่ 10.7) การชักลากไม้ด้วยช้างจาเป็นที่จะต้องมีการสวมใส่เครื่องหลังให้กับช้าง เพื่อให้
การชักลากไม้ทาได้อย่างสะดวกและลดแรงดึงหรือแรงฉุดที่อาจจะเสียดสีทาให้ผิวหนังของช้าง
ได้รับบาดเจ็บได้ การชักลากด้วยช้างมี 4 รูปแบบด้วยกัน คือ การลากเดี่ยว ลากคู่ ลากเทียม
และลากสร้อย นอกจากนี้ช้างยังสามารถช่วยจัดระเบียบกองไม้ได้อีกด้วย โดยการใช้ช้างโทไม้
คัดไม้ และแหนบไม้
200 | การปลูกสร้างสวนป่า

ภาพที่ 10.7 การชักลากไม้ด้วยช้าง


 การชักลากแบบที่ไม้ไม่สัมผัสกับพื้นดิน (Forwarding) คือ การชักลากไม้ซุงออก
จากบริเวณที่ มีการทาไม้ออกไปยังบริเวณจุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์ โดยไม้นั้นจะไม่มีส่วน
ใดที่สัมผัสกับพื้นดินเลย การชักลากแบบนี้นิยมใช้รถขนส่งไม้ชนิดที่มีกระบะพ่วงท้ายและมีแขน
คีบในตัว (Forwarder, ภาพที่ 10.11B) ในการลาเลียงไม้ออกจากป่า วิธีการชักลากรูปแบบนี้
จะทาให้ได้เนื้อไม้ที่ค่อนข้างสะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อน และ เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
น้อยกว่าวิธีการชักลากแบบไม้สัมผัสกับพื้นดิน
2.5 กำรขึ้นไม้ (Loading)
การขึ้ น ไม้ (Loading) เป็ น การน าไม้ ขึ้ น และลงยานพาหนะ ทั้ งนี้ ส ามารถท าได้ ด้ ว ย
แรงงานคนโดยตรง หรือมีการประยุกต์ใช้เครื่องจั กรกลเข้าร่วมด้วย เช่น รถคีบ รถเครน หรือ
โหลดเดอร์โดยเฉพาะ
3. กำรขนส่ง (Transportation)
การขนส่ ง เป็ น การน าไม้ เคลื่ อ นที่ จ ากจุ ด หนึ่ งไปยั งอี ก จุ ด หนึ่ ง ซึ่ งสามารถจ าแนก
ประเภทของการขนส่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
3.1 กำรขนส่งระยะใกล้ (Short distance transportation)
การลาเลียงหรือขนส่งไม้เบื้องต้น นิยมลาเลียงจากจุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์ไปยัง
หมอนไม้ถาวร ระยะทางในการขนส่งจะไม่ไกลมากนัก โดยประมาณจะไม่เกิน 20 กิโลเมตร
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 201

ทั้งนี้ ขึ้น อยู่กับ ระยะทางระหว่างจุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์ กับหมอนไม้ถาวรของสวนป่ า


แต่ละแห่ง โดยทั่วไปนิยมใช้รถจอหนัง รถสิบล้อ หรือรถเครนในการขนส่งระยะใกล้
3.2 กำรขนส่งระยะไกล (Long distance transportation)
การขนส่งไม้ระยะไกลจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการซื้อขายไม้แล้ว โดยจะขนส่งจากหมอน
ไม้ถาวรไปยังโรงงานอุตสาหกรรม ระยะทางในการขนส่งมักจะค่อนข้างไกล บางครั้งอาจมีการ
ขนส่งหลายช่วงหลายตอนกว่าสิ น ค้าจะขนส่ งไปถึงโรงงานอุ ตสาหกรรม การขนส่ งทางไกล
สามารถจ าแนก ออกได้เป็ น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 1) การขนส่งทางบก (Road transportation)
เช่ น รถบรรทุ ก 2) การขนส่ ง ด้ ว ยระบบราง (Railway transportation) เช่ น รถไฟ และ
3) การขนส่งทางน้า (Waterway transportation) เช่น การล่องแพ แพขนานยนต์ เรือบรรทุก
สินค้า เป็นต้น
การเลือกว่าจะใช้การขนส่งรูป แบบใดนั้นจะต้องคานึงถึงปริมาณที่ต้องการจะขนส่ ง
ระยะทาง ค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ในการขนส่ง เป็นต้น ทั้งนี้การขนส่งแต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียที่
แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 10.2

ตารางที่ 10.2 สรุปข้อดี – ข้อเสียของการขนส่งแต่ละประเภท

การขนส่ง ข้อดี ข้อเสีย


การขนส่งทางบก - สามารถควบคุมความเร็วได้ - ก่อให้เกิดมลภาวะ
- สามารถกาหนดนัดหมายเวลา - บรรทุกได้จานวนจากัด และจากัด
การส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ ความยาว
- มีความยืดหยุ่น รถบรรทุก - เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
สามารถบรรทุกสินค้าอย่างอื่นได้ - ค่าใข้จ่ายสูงหากต้องขนส่งในระยะ
ในช่วงทีไ่ ม่มีสนิ ค้าไม้ ทางไกล
- มีความรวดเร็วในการนาสินค้า
ขึ้นและลงรถบรรทุก
การขนส่งด้วย - สามารถบรรทุกได้คราวละมากๆ - สวนป่าหรือโรงงานควรตั้งอยู่ใกล้
ระบบราง - ประหยัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานีรถไฟ ไม่เช่นนั้นจะต้องอาศัย
เหมาะกับการขนส่งระยะไกล การขนส่งทางบกอีกต่อหนึ่ง
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่
ก่อให้เกิดมลภาวะ
202 | การปลูกสร้างสวนป่า
ตารางที่ 10.2 (ต่อ)

การขนส่ง ข้อดี ข้อเสีย


การขนส่งทางน้า - สามารถขนส่งได้คราวละมากๆ - ต้องอาศัยฤดูน้าหลากจึงจะทาการ
- ค่าใช้จ่ายถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนส่งได้
เหมาะกับการขนส่งระยะไกล - ใช้เวลานานในการขนส่ง
- ต้องอาศัยการขนส่งทางบกอีกต่อ
หนึ่งในการนาไม้มาลงสู่แม่น้าหรือจาก
แม่น้าเข้าสู่โรงงาน
- อาจเกิดการสูญหายของไม้ระหว่าง
การขนส่ง เช่น ไม้จม ไม้ติดตลิง่
- ใช้ได้กับไม้บางชนิดเท่านั้นทีส่ ามารถ
ลอยน้าได้ (ในกรณีล่องซุงหรือล่องแพ)

4. วิธีกำรทำไม้ (Logging Methods)


วิธีการทาไม้ หมายถึง ลักษณะรูปทรงของไม้ที่ถูกลาเลียงมาไว้ที่จุดรวมไม้ข้างทางตรวจ
การณ์ว่ามีรูปลักษณะใด เช่น ไม้ทั้งต้นรวมเรือนยอด ไม้ท่อนยาวปราศจากกิ่งก้าน หรือไม้ท่อน
สั้น เป็ นต้น วิธีการทาไม้จะถูกกาหนดจากสิน ค้าปลายทางและเครื่องมือที่มีใช้อยู่ในท้องถิ่น
วิธีการทาไม้ที่นิยมใช้ทั้งในและต่างประเทศสามารถจาแนกได้ดังต่อไปนี้
4.1 วิธีการตัดไม้ทั้งต้น (Full tree : FT) การตัดไม้แบบทั้งต้นนั้นขั้นตอนที่เกิดขึ้นในป่า
ประกอบด้วยการ ล้มไม้เพียงอย่างเดียว ไม่มีการลิดกิ่งและตัดปลายออกแต่อย่างใด ไม้จะถูกชัก
ลากมาที่ จุ ด รวมไม้ ข้ า งทางตรวจการณ์ โ ดยที่ ยั ง มี กิ่ ง ก้ า นและทรงพุ่ ม อยู่ (ภาพที่ 10.8)
กระบวนการลิดกิ่งตัดปลายและตัดทอนอาจจะเกิดขึ้นที่บริเวณจุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์
หรือที่หมอนไม้ก็ได้
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 203

ภาพที่ 10.8 วิธีการทาไม้


4.2 วิธีการตัดไม้ยาว (Tree Length: TL) ขั้นตอนที่เกิดขึ้นในป่าประกอบด้วยการล้มไม้
ลิดกิ่ง และตัดปลายไม้ทิ้ง จากนั้นไม้จะถูกชักลากมาที่จุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์โดยเป็นไม้
ท่อนยาวที่ไม่มีกิ่งก้านปะปนมาด้วย (ภาพที่ 10.8) การตัดทอนอาจจะเกิดขึ้นที่ บริเวณข้างทาง
ตรวจการณ์ห รือที่หมอนไม้ก็ได้ การที่ต้องลิดกิ่งออกในป่านั้นเพื่อให้ สะดวกในการขนส่งจาก
บริเวณทางตรวจการณ์ไปยังหมอนไม้ ในประเทศไทยวิธีการนี้นิยมใช้กับการทาไม้สัก เนื่องจาก
กระบวนการตัดทอนจะเป็นการกาหนดราคาที่จะสามารถจาหน่ายไม้ได้ จึงจาเป็นที่จะต้องนาไม้
ขนาดยาวออกมาก่อนแล้วจึงค่อยตัดทอนภายหลังเพื่อให้ได้ผลกาไรสูงสุด เครื่องจักรกลที่นิยม
ใช้ ในการท าไม้ ย าว ประกอบด้ ว ยเลื่ อ ยยนต์ Feller buncher, Skidder และ Processor
(ภาพที่ 10.9) การทาไม้ในลักษณะนี้เรียกว่า “Hot logging” กล่าวคือ หากเครื่องจักรเครื่องใด
เครื่องหนึ่งเสีย จะทาให้กระบวนการทาไม้ทั้งหมดหยุดชะงักลงทันที โดยปกติ Feller buncher
จะท าหน้ าที่ เพี ย งแค่ ตั ด และรวมกองไม้ ไว้ โดยที่ ไม่ มี ก ารลิ ด กิ่ งหรือ ตั ด ทอนทั้ งสิ้ น จากนั้ น
Skidder จะทาหน้าที่ในการลากไม้ทั้งท่อนยาวนั้นไปไว้ยังจุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์เพื่อให้
Processor ทาหน้าในการลิดกิ่งและตัดทอนให้เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ และจึงนาไม้ขึ้น
รถบรรทุกต่อไป จากกระบวนการทางานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการทางานของเครื่องจักรกลแต่ละ
ตัวมีความสัมพันธ์กันโดยตลอด หากเครื่องจักรกลตัวใดตัวหนึ่งเสีย เครื่องจักรกลอื่นก็จะไม่
สามารถทางานต่อได้
204 | การปลูกสร้างสวนป่า

ภาพที่ 10.9 เครื่องจักรกลที่ใช้ในการทาไม้ยาว (A) Feller buncher (B) Skidder

4.3 วิธีการตัดไม้สั้น (Cut to length : CTL) ขั้นตอนการตัดไม้แบบสั้นนี้มีขั้นตอนที่


เกิดขึ้นในป่าดังต่อไปนี้ ล้มไม้ ลิดกิ่ง ตัดปลาย และตัดทอนเป็นท่อนสั้น ในประเทศไทยการทา
ไม้ยูคาลิปตัสและไม้ยางพารานิยมใช้การทาไม้แบบสั้น (ภาพที่ 10.10) เนื่องจากบางพื้นที่ที่ไม่มี
เครื่องจักรกลจะต้องใช้แรงงานคนในการลาเลียงท่อนไม้ขึ้นรถ หากตัดไม้ยาวเกินไปจะทาให้เกิด
ขี ด ความสามารถของแรงงานคนในการแบกหาม ขนาดความยาวของไม้ ท่ อ นสั้ น อยู่ ที่
1.50 - 2.50 เมตร เครื่องจักรกลที่นิยม ใช้ได้แก่ เลื่อยจาน แรงงานคน รถคีบ เป็นต้น

ภาพที่ 10.10 เครื่องจักรกลที่ใช้ในการทาไม้สั้นในประเทศไทย

ในต่างประเทศ เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน จะมีการตัดทอนไม้ที่ความยาว 3 4 และ


6 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตลาดที่รับซื้อไม้ด้วยเช่นกัน โดยเครื่องจักรกลที่นิยมใช้จะเป็นลักษณะการ
ท างานควบคู่ กั น ระหว่ า งเครื่ อ ง Harvester กั บ Forwarder (ภาพที่ 10.11) โดย Harvester
จะมีห น้ าที่ในการตัดไม้ ลิ ดกิ่ง ตัดทอน และรวมกองไม้ไว้ จากนั้น Forwarder จะเข้ามาท า
หน้าที่ในการลาเลียงไม้ออกจากป่าไม้ยังข้างทางหรือขนไม้ขึ้นรถบรรทุก
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 205

ภาพที่ 10.11 เครื่องจักรกลที่ใช้ในการทาไม้สั้นในยุโรป (A) Harvester (B) Forwarder

4.4 วิธีการทาชิ้นไม้สับ (Chipping) เป็นรูปแบบการทาไม้เพื่อพลังงาน เมื่อล้มไม้เสร็จ


แล้วจะทาการย่อยไม้ให้กลายเป็นชิ้นไม้สับขนาดเล็กเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง รูป แบบ
การทาไม้แบบนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในทวีปยุโรป โดยสามารถแบ่งออกเป็น 1) การทา
ชิ้น ไม้ สั บ ในบริ เวณสวนป่ า 2) การทาชิ้น ไม้สั บ ที่บ ริเวณจุดรวมไม้ข้างทางตรวจการณ์ และ
3) การทาชิ้นไม้สับที่โรงงาน (ภาพที่ 10.12) ทั้งนี้การที่จะเลือกว่าจะทาชิ้นไม้สับที่ใดจะต้ อง
คานึงถึงปริมาณไม้และระยะทางจากป่าไปยังโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาคัญ

ภาพที่ 10.12 ตัวอย่างการทาชิ้นไม้สับ (A) การทาชิ้นไม้สับที่บริเวณจุดรวมไม้ข้างทาง


ตรวจการณ์ (B) การทาชิ้นไม้ สับในบริเวณป่า
5. ระบบกำรทำไม้ (Logging System)
คาจากัดความของระบบการทาไม้ หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลที่ใช้ตลอด
วงจรการทาไม้ เริ่มตั้งแต่ล้มไม้ ชักลาก หมายวัด ตัดทอน ตลอดจนขนส่ง ว่ามีการผสมผสาน
การใช้ เครื่องไม้เครื่องมืออะไรบ้าง ยิ่งมีจานวนอุปกรณ์มากขึ้นเท่าไหร่ก็จะทาให้มีตัวเลือกใน
การเลือกระบบการทาไม้มากขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่างระบบการทาไม้ยูคาลิปตัสในประเทศไทยได้
ดังตารางที่ 10.3
206 | การปลูกสร้างสวนป่า
ตารางที่ 10.3 ตัวอย่างระบบการทาไม้ยูคาลิปตัสในประเทศไทยในปัจจุบัน
ระบบที่ การล้มไม้ การลิดกิ่ง การทอนไม้ การชักลาก/รวมกอง การขึ้นไม้ การขนส่ง
1 เลื่อยยนต์ มีด/พร้า เลื่อยยนต์ แรงงานคน แรงงานคน รถ 10 ล้อ
2 เลื่อยจาน มีด/พร้า เลื่อยจาน แรงงานคน รถคีบ/รถเบล รถเทรเลอร์
3 Harvesting head based excavator แรงงานคน รถ 6 ล้อ
4 Harvesting head based excavator รถคีบ/รถเบล รถ 10 ล้อ
5 Harvesting head based excavator รถคีบ/รถเบล รถเทรเลอร์

ระบบการท าไม้ ต่ างประเทศ ยกตั ว อย่ างประเทศฟิ น แลนด์ซึ่ งเป็ น ประเทศที่ มี ก าร


ผสมผสานระหว่ า งการท าไม้ เพื่ อ ไม้ ท่ อ นและการท าไม้ เพื่ อ พลั ง งานเข้ า ด้ ว ยกั น เรี ย กว่ า
“Integrated logging” (ภาพที่ 10.13) หมายถึงไม้หนึ่งต้น ส่วนโคนไม้จะถูกจาหน่ายให้เป็น
สิน ค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น ไม้แผ่นบาง หรือไม้แปรรูปคุณภาพดี เนื่องจากท่อนโคนเป็นท่อนที่มี
ความโตมากที่สุ ด จากนั้ น ท่อนรองลงมาอาจส่งขายเป็นไม้เยื่อและกระดาษหรือไม้เพื่อผลิ ต
เฟอร์นิเจอร์ ไม้ท่อนปลายและเศษไม้ปลายไม้จะถูกขายในกลุ่มของไม้พลังงาน หรือแม้แต่ตอ
รากเองก็สามารถนามาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานได้เช่นกัน ซึ่งระบบการทาไม้แบบนี้จะ
ก่อให้เกิดผลกาไรสูงสุดต่อเจ้าของสวนป่า แต่ทั้งนี้จะมเครื่องจักรกลหลายชนิดที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น เครื่องจักรตัดไม้เพื่อไม้ท่อน (Harvester) เครื่องลาเลียงไม้ท่อน (Forwarder) เครื่องบีบอัด
เศษไม้ปลายไม้ให้เป็นท่อนทรงกระบอกเพื่อสะดวกในการขนส่ง (Bundler) เครื่องขุดตอราก
(Stump harvester) เป็นต้น (ภาพที่ 10.14)

ภาพที่ 10.13 ตัวอย่างการบูรณาการการทอนไม้เพื่อให้ได้ผลกาไรสูงสุด


ที่มา: Uusitalo (2010)
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 207

ภาพที่ 10.14 ระบบการทาไม้ในประเทศฟินแลนด์ในรูปแบบของ Integrated logging (A) เครื่อง


Harvester ทาหน้าที่ในการตัดไม้ ลิดกิ่ง และรวมกอง (B) เครื่อง Forwarder
ท าหน้ าที่ ในการล าเลี ย งไม้ เศษไม้ และตอราก ออกมาจากแปลงท าไม้ (C)
เครื่ อ ง Stump harvester ท าห น้ า ที่ ใ นการขุ ด ตอรากเพื่ อน ามาใช้ ใ น
อุตสาหกรรมพลังงาน และ (D) เครื่อง Bundler ใช้ในการบี บอัดเศษไม้ปลาย
ไม้ที่เหลือจาการทาไม้ให้เป็นท่อนทรงกระบอก เพื่อใช้ ในการผลิตพลังงาน
6. ควำมปลอดภัยระหว่ำงปฏิบัติงำน (Forest Work Safety)
งานท าไม้ เป็ น งานที่ ห นั ก และเสี่ ย งอั น ตราย ฉะนั้ น การท าไม้ จึ ง ควรต้ อ งมี ค วาม
ระมัดระวังระหว่าง ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก อุปกรณ์ป้อ งกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal
Protection Equipment : PPE) จึงเป็นสิ่ งจาเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานควรที่จะต้องสวมใส่อยู่เสมอ
ตลอดระยะเวลาที่ป ฏิบัติงาน อุป กรณ์ป้ องกันอันตราย ส่วนบุคคล หมายถึงอุปกรณ์ส าหรับ
ผู้ ป ฏิ บั ติ งานใช้ ในการสวมใส่ ข ณะท างานเพื่ อ ป้ อ งกั น อั น ตราย ป้ อ งกั น การเกิ ด อุ บั ติ เหตุ ได้
หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา (ภาพที่ 10.15) นอกจากนี้ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่
ผู้ที่คอยทาหน้าที่ในการควบคุมกากับดูแลให้คนงานสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยอยู่เสมอและใส่อย่าง
ถูกวิธี นอกจากนี้การฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการล้มไม้ที่ถูกวิธี
การทางานอย่างปลอดภัยก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่าง
การปฏิบัติงาน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ประกอบด้วย
 อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สาหรับป้องกันศีรษะ
จากการถูกกระแทก หรือวัตถุจากที่สูงตกลงมากระแทก ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันศีรษะที่
สาคัญ คือ หมวกนิรภัย (Safety Hat)
208 | การปลูกสร้างสวนป่า

 อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น ดวงตา (Safety Glasses) ใช้ ส าหรั บ ป้ อ งกั น ดวงตาจากการ


กระแทกกั บ ของแข็ ง ป้ อ งกั น วั ต ถุ ก ระเด็ น เข้ า ตาจนได้ รั บ อั น ตรายในขณะ
ปฏิบัติงาน
 อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สาหรับป้องกันเสียงที่ดังเกิน
กว่าที่หูคนเราจะ สามารถรับได้ คือมีระดับเสียงสูงเกินกว่า 85 เดซิเบล โดยหาก
ระดับเสียงในขณะทางานสูงเกินกว่า 130 เดซิเบล ถือว่าเป็นอันตรายต่อการได้ยินของหู
 อุป กรณ์ป้ องกันมือ (Hand Protection) ในขณะปฏิบัติ งานที่ต้องใช้ส่วนของมือ
นิ้วมือ และแขนนั้น มีความเสี่ยงอันตรายจากการสัมผัสกับสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์
หรื อสารเคมีที่ อ าจทาให้ เกิด อัน ตาย ร้ายแรงได้ ดังนั้ น จึงจาเป็ นต้ องมีอุ ปกรณ์
ป้องกันมือชนิดต่างๆ ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน
 อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear) ใช้สาหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจาก
การกระแทก หรือวัตถุตกใส่เท้า
 อุป กรณ์ป้องกันขา หรือกางเกงหนังหรือกางเกงใยสังเคราะห์พิเศษ (Chaps) ใช้
สวมทับกางเกงปกติ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นที่ส่วนขา เช่น อันตราย
จากเลื่อยยนต์ เมื่อเลื่อยยนต์สัมผั สกับ กางเกงดังกล่าว เส้นใยที่ซ่อนอยู่ในกางเกง
จะพันโซ่เลื่อยทาให้โซ่เลื่อยหยุดเคลื่อนไหว

ภาพที่ 10.15 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสาหรับงานทาไม้


ที่มา: Husqvarna (2011)
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 209

7. เทคโนโลยีที่เหมำะสม (Appropriate Technology)


เทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึง เทคโนโลยีที่ไม่จาเป็นจะต้องมีความทันสมัยมากนัก
แต่เป็ น เทคโนโลยี หรือวัสดุที่ห าได้ง่ายในท้องถิ่น ซ่อมได้ง่าย เหมาะกับบริบทของเศรษฐกิจ
สังคมในท้องถิ่นนั้นๆ ประเทศไทยไม่ค่อยมีการนาเข้าเครื่องจักรกลเฉพาะทางด้านป่าไม้มากนัก
ทั้ งนี้ เนื่ อ งจากแรงงานคนยั งถู ก อยู่ เครื่ อ งจั ก รกลมี ร าคาแพง แรงงานยั ง ขาดทั ก ษะ หาก
เครื่องจักรกลเสียหายจะทาให้ยากต่อการสั่งอะไหล่และหาช่างซ่อม ด้วยเหตุผลเหล่านี้ อุปกรณ์
หรือเครื่องมือที่ใช้อยู่นั้ น จึงจัดว่าเข้าข่ายเทคโนโลยีที่เหมาะสม ยกตัวอย่าง เช่น รถจอหนัง
รถแทรกเตอร์ประยุกต์ (รถคีบ รถแทรกเตอร์ดันไม้ยางพารา แทรกเตอร์เขี้ยวหมา เป็นต้น )
ดังแสดงในภาพที่ 10.16
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีหรือวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นควรจะคานึงถึงชิ้นส่วนที่สาคัญ
ต่อความปลอดภัยของผู้ใช้ก่อน แม้จะมีไม่ครบชุด ควรระลึกเสมอว่า ความปลอดภัยต่อร่างกาย
ของผู้ปฏิบัติเป็นเรื่องสาคัญและควรต้องมีเครื่องป้องกันภัยเสมอ

ภาพที่ 10.16 ตัวอย่างเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย (A) รถแทรกเตอร์


ประยุ ก ต์ เรี ย กว่ า รถงา (B) รถแทรกเตอร์ ป ระยุ ก ต์ ส าหรั บ ใช้ โ ค่ น /ดั น ไม้
ยางพารา (C) รถแทรกเตอร์ประยุกต์ติดเขี้ยวหมา (D) รถจอหนัง ใช้สาหรับการ
ขนส่งไม้ระยะใกล้จากแปลงทาไม้มายังหมอนไม้
เมื่อมีการทาไม้ก็ย่อมหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากการทาไม้ไม่ได้ การทาไม้ก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อทรัพยากรดิน (การบดอัดดิน การชะล้างพังทลายของดิน) น้า (การตกตะกอน
คุณภาพน้า) การหมุนเวียนธาตุอาหาร การเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศั ยของสัตว์ป่า และการ
210 | การปลูกสร้างสวนป่า
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างป่า ซึ่งผลกระทบจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของ
การท าไม้ ชนิ ด และขนาดของเครื่ องจั กรกลที่ ประยุก ต์ใช้ในพื้ น ที่ ผลกระทบจากการท าไม้
สามารถจาแนกออกได้เป็นผลกระทบจากการทาไม้ในระยะสั้นและผลการทาไม้ในระยะยาว
ผลกระทบในระยะสั้นคือผลกระทบที่สังเกตเห็นได้อย่างฉับพลันและชัดเจน เช่น การบดอัดของ
ดิน คุณภาพของแหล่งน้าในบริเวณใกล้เคียง ส่วนผลกระทบในระยะยาวคือผลกระทบที่ต้อง
อาศัยระยะเวลาถึงจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การหมุนเวียนธาตุอาหาร เป็นต้น
ทั้ งนี้ ก ารท าไม้ ที่ ดี จ ะต้ อ งก่ อ ให้ เกิ ด ผลกระทบต่ อสิ่ งแวดล้ อ มให้ น้ อ ยที่ สุ ด หลี ก เลี่ ย งการใช้
เครื่องจักรกลหนัก และใช้วิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
8. งำนวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกำรทำไม้ (Relevant research and
innovation)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทาไม้นั้นสามารถจาแนกออกได้เป็น การศึกษาผลิตภาพและ
ค่าใช้จ่ายในการทาไม้ ผลกระทบจากการทาไม้ รูปแบบการขนส่ง การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การพั ฒ นาเครื่ อ งจั ก รกลป่ า ไม้ รู ป แบบการท าไม้ ที่ เหมาะสมภายใต้ บ ริ บ ทที่ แ ตกต่ า งกั น
การพัฒนารูปแบบการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ การยศาสตร์และความปลอดภัยในการ
ทางาน เป็นต้น
ในประเทศไทยเน้นการวิจัยในเรื่องของผลิตภาพและค่าใช้จ่าย เนื่องจากยังไม่มีข้อมูล
พื้นฐานมากนัก โดยมีการศึกษาทั้งในสวนป่าไม้สัก ยูคาลิปตัส และไม้ยางพารา (Manavakun
2014, Rainthakool 2014) ผลจากการศึกษาผลิตภาพและค่าใช้จ่ายนี้เป็นข้อมูลส่วนสาคัญใน
การพิจารณาเลือกใช้เครื่องจักรกลที่เหมาะสม และทาให้ทราบว่าขั้นตอนใดในการทาไม้ควร
ได้ รั บ การพั ฒ นาหรื อ ปรั บ ปรุ ง นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารศึ ก ษาเรื่ อ งผลกระทบจากการท าไม้
(Khanchai et al. 2017) ที่ศึกษาผลกระทบจากการทาไม้ที่มีผลต่อทรัพยากรดิน น้า และสัตว์
ป่าในบริเวณโดยรอบพื้นที่ทาไม้ ผลลัพธ์จากการศึกษาถูกนาไปใช้ใช้วางแผนก่อนการทาไม้และ
เพื่อเพิ่มความตระหนักและความระมัดระวังในระหว่างการทาไม้
การศึกษารูปแบบการทาไม้ที่เหมาะสมกับบริบทต่างๆ เช่นการศึกษารูปแบบการทาไม้
ที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงชัน พื้นที่ศึกษาสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง (Kaakkurivaara 2017) พบว่า
รูป แบบการล าเลีย งไม้ที่เหมาะสมสาหรั บ การล าเลี ยงไม้ท่อนสั้ นในกรณี นี้คือ รางส่ งไม้ท่อน
เมื่อเปรียบเทียบกับการลาเลียงไม้ด้วยแรงงานคนและแรงงานสัตว์แล้วพบว่ามีผลิตภาพสูงกว่า
และมีความคุ้มทุนกว่าระบบอื่น
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 211

การติ ด ตามและตรวจสอบย้ อ นกลั บ สิ น ค้ าไม้ เป็ น สิ่ งส าคั ญ ในกระบวนการรับ รอง


มาตรฐานการจัดการป่าไม้ ในปัจจุบันไม้สักใช้วิธีการประทับตราสวนป่าและตีเลขเรียงประจา
ท่อนโดยใช้ค้อนเพื่อเป็นการระบุว่าไม้แต่ละท่อนมาจากสวนป่าแห่งใด Kaakkurivaara (2017)
ได้ทาการวิจัยในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบ่งชี้ด้วยคลื่นวิทยุ (RFID) เพื่อการระบุท่อนไม้แทน
การตีตราเลขเรี ย งประจ าท่อน จากการศึกษาพบว่าการใช้เทคโนโลยี RFID นั้น มีความเป็ น
มาตรฐานสากล โปร่งใส การตรวจสอบสามารถทาได้รวดเร็วขึ้น และมีช่วยช่วยลดความคลาด
เคลื่อนที่เกิดขึ้น จากมนุ ษย์ แต่ทั้งนี้ ราคาของ RFID ที่สู งยังคงเป็นอุปสรรคในการใช้ง านจริง
จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเริ่มจากไม้ที่มีมูลค่าสูงอย่างไม้สักก่อน
9. แนวโน้มกำรทำไม้ในอนำคต (Future trend)
เนื่องด้วยแรงงานด้านป่าไม้เริ่มหาได้ยากขึ้น คนหนุ่มสาวหันไปทางานในเมืองกันมาก
ขึ้น ส่งผลให้แรงงานในภาคป่าไม้เป็นแรงงานสูงวัย ในอนาคตอันใกล้แรงงานจะหาได้ยากยิ่งขึ้น
ฉะนั้ น เครื่ อ งจั ก รกลจึ ง เป็ น ทางเลื อ กที่ จ ะเข้ า มาช่ ว ยแก้ ปั ญ หาดั ง กล่ า ว แต่ ก ารที่ จ ะน า
เครื่องจักรกลเข้ามาประยุกต์ใช้ในทางป่าไม้ควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป นาเข้ามาประยุกต์ใช้
ในบางส่วนก่อนแล้วค่อยขยายให้ครอบคลุมในทุกขั้นตอนการทางาน นอกจากนี้ประเทศไทย
ควรพัฒนาเครื่องจักรกลขึ้นมาเอง การนาเอาเครื่องจักรกลจากต่างประเทศเข้ามาใช้โดยตรง
อาจไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองต่อบริบทของบ้านเราได้
ในอนาคตการท าไม้ จ ะต้ อ งน าเอาเทคโนโลยี เข้ า มาช่ ว ยในการพั ฒ นาและเพิ่ ม
ประสิทธิภาพการทางาน ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of things : IoTs)
ระบบเซนเซอร์ต่างๆ ที่ช่วยในการเก็บข้อมูล (Big data) แล้วนาข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผล
เพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจว่าควรจะดาเนินการอย่างไรให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
ใช้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที ก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ในอนาคตรูปแบบการ
จัดเก็บ เอกสารบนกระดาษจะค่อยๆ ลดลง การจัดเก็บเอกสารและการเรียกใช้งานจะอยู่ใน
รูปแบบไร้เอกสาร (Paperless) เพิ่มมากขึ้น มีการอัพโหลดข้อมูลเข้าสู่ระบบคลาวด์ (Cloud)
มี ก ารอั พ เดตข้ อ มู ล ให้ เ ป็ น ปั จ จุ บั น แบบ Real - time หรื อ near real - time มากขึ้ น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะช่วยให้การตัดสินใจทาได้อย่างถูกต้องแม่นยา สอดคล้องกับหลักการป่าไม้
แม่นยา (Precision Forestry) โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ไม่เพียงแต่ในเรื่องของการทาไม้
เพียงเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการจัดการป่าไม้ในอนาคตอีกด้วย
212 | การปลูกสร้างสวนป่า
10. บทสรุป (Conclusion)
การทาไม้เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างป่ากับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการนาไม้
ออกมาใช้ประโยชน์ซึ่งมีอุปกรณ์และเทคนิคที่เข้ามาเกี่ยวข้องต่างๆ มากมาย การที่จะเลือกใช้
วิธีการทาไม้หรือระบบการทาไม้ใดนั้นต้องคานึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและบริบทโดยรอบ
เพื่อที่จะทาให้การทาไม้ดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตรูปแบบการทาไม้ควรจะต้องมี
การปรับเปลี่ยน การป่าไม้แบบดั้งเดิมจะถูกผลักดันให้ไปสู่การป่าไม้สมัยใหม่ที่เน้นการบริหาร
จัด การและเทคโนโลยี ม ากขึ้น จากเดิม ที่ เกษตรกรผู้ ป ลู กสร้างสวนป่ ามั ก จะจาหน่ ายไม้ ให้
อุตสาหกรรมปลายทางเพียงอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้น จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นการ
กระจายการจ าหน่ ายสิ น ค้าไปยั งอุตสาหกรรมอื่นที่ห ลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะสอดคล้ องกับ
หลักการของ “Integrated logging” ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กั บสินค้า เกษตรกรมีรายได้
มากขึ้นและโรงงานอุตสาหกรรมได้รับวัตถุดิบที่ตรงความต้องการ
11. เอกสำรอ้ำงอิง
นพรัตน์ คัคคุริวาระ. 2560. รางส่งไม้ท่อน: ทางเลือกสาหรับการลาเลียงไม้บนพื้นที่สูงชัน. ใน
เอกสารประชุมการประชุมการป่าไม้ ประจาปี พ.ศ.2560, กรุงเทพมหานคร
วินัย ทรัพย์รุ่งเรือง. 2541. การจัดหาไม้เพื่ออุตสาหกรรมป่าไม้ในฟินแลนด์. แปลจาก Pentti
Hakkila. 1995. Procurement of timber for the Finnish forest industries.
หจก.อรุณการพิมพ์, กรุงเทพฯ
อานวย คอวนิช. 2517. การทาไม้ (Logging). อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 491 หน้า
Greulich, F., Hanley Donald., McNeel J., Baumgartner D. 1999. A primer for
timber harvesting. Washington State University Extension.
Husqvarna. 2011. Working with chainsaws: Basic manual for safe and efficient
chainsaw
use – Part I. 67p.
Kaakkurivaara N. 2017. From theory to practice: RFID in Thai forestry business.
Journal of Tropical Forest Research 1(1): 51-57.
บทที่ 10 การทาไม้ในสวนป่า | 213

Khanchai P., Thueksathit S., Kaakkurivaara N., Saunphaka W. 2017. Logging


impact on steep terrain to plant diversity and soil physical at Angkhang
Royal Agricultural Station in Chiangmai Province. In proceedings of 55th
Kasetsart University Annual Conference.
Manavakun N. 2014. Harvesting operations in eucalyptus plantations in
Thailand. Dissertationes Forestales 177. Doctoral Dissertation. University
of Helsinki.
Rianthakool L. 2014. Establishment of biomass supply chain of residue from
rubber plantation regeneration. Doctoral thesis. University of Tokyo.
Sessions J. 2007. Harvesting operations in the Tropics. Springer. Heidelberg,
Germany. 170 p.
Wackerman A.E. 1949. Harvesting Timber Crops. McGraw-Hill. 537 p.
Uusitalo J. 2010. Introduction to forest operations and technology. JVP Forest
System Oy, Tampere, Finland. 287 p.
บทที่ 11
กำรรับรองทำงด้ำนป่ำไม้
Forest Certification

ปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์

1. บทนำ (Introduction)
การเพิ่มขึ้นของประชากรของโลกเชื่อมโยงไปสู่ความต้องการทรัพยากรป่าไม้มากขึ้น
ส่ งผลให้ ท รัพ ยากรป่ าไม้ล ดลงอย่ างต่อเนื่ อ ง การลดลงของพื้ นที่ ป่ าไม่เพี ยงแต่ ผ ลกระทบที่
เกิ ด ขึ้ น ในทางตรงจากปริ ม าณไม้ ใช้ ส อยที่ ล ดลง แต่ ก ลั บ ส่ ง ผลต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มของโลกที่
เปลี่ยนแปลงไป และกลับมากระทบต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์
จากการประชุ ม UNCED (United Nation Conference on Environment and
Development) ที่เมื อง Rio de Janeiro ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 3 – 14 มิ ถุนายน พ.ศ.
2535 ที่ป ระชุมได้พิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดขึ้นมาจากการพัฒ นาของโลกที่
เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีข้อสรุปร่วมกันใน 3 ประเด็นหลัก อันได้แก่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity) ผลกระทบที่เกิดกับการเปลี่ยนแปลงของ
ชั้น บรรยากาศ (Climate Change) ที่ ส่ งผลต่อการเปลี่ ยนแปลงทางด้านภู มิอากาศของโลก
รวมถึงการต่อสู้กับการขยายตัวของทะเลทราย (Combat Desertification) ที่มีแนวโน้มที่จะ
ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ การลดลงของพื้นที่ป่าถือเป็นองค์ประกอบสาคัญที่ทั่วโลกได้มุ่งความ
สนใจ ด้วยเหตุที่เป็นปัจจัยที่มีผลอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมของโลก
ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกที่ถือว่ารุนแรงที่สุด คือ Climate Change ซึ่งเกิดจากการที่โลกร้อนขึ้น
(Global Warming) อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ซึ่ง
ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด แต่ก๊าซที่มีมากที่สุด คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ส่วนใหญ่
แล้วมาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง Fossil ทางแก้ปัญหาหลักในเรื่องนี้จึงประกอบด้วยการลด
การปลดปล่อย เพิ่มการดูดซับ และเพิ่มการเก็บกักโดยที่ต้นไม้ดูดซับ CO2 มาสร้างเนื้อไม้ เมื่อ
นาไม้มาใช้ในรูปของวัสดุ ก็เท่ากับว่าได้ช่วยเก็บกัก CO2 เอาไว้ การใช้ไม้มากขึ้นจึงเท่ากับว่าช่วย
ลด CO2 จากบรรยากาศมากขึ้น กระแสโลกจึงหั นกลับมาใช้ไม้มากขึ้น ภาพของป่าไม้ที่ถูก
216 | การปลูกสร้างสวนป่า
ทาลายในอดีตเป็ นผลมาจากการจัดการที่ไม่ถูกต้อง มิใช่การใช้ประโยชน์ การใช้ไม้จึงอยู่บน
เงื่ อ น ไข ของก ารมี ที่ ม าจากแห ล่ งที่ มี การจั ด ก ารอ ย่ า งยั่ ง ยื น (Sustainable Forest
Management-SFM) ที่ ไม่ ได้ มุ่ งเน้ น ผลทางด้ านเศรษฐกิ จเท่ านั้ น แต่ ได้ มี ความใส่ ใจและให้
ความสาคัญในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงป้องกันผลกระทบที่มีต่อสังคม
ไปพร้ อ มด้ ว ยกั น แนวคิ ด ดั งกล่ าวถื อ ได้ว่ าเป็ น ต้ น ก าเนิ ด ของการรับ รองทางป่ าไม้ (Forest
Certification) ที่จะเป็ น เครื่องมือในการยื น ยัน ว่าไม้ที่นามาใช้ประโยชน์นั้นได้รับการจัดการ
อย่างถูกต้อง
2. แนวคิดของกำรรับรองทำงป่ำไม้ (The Concept of Forest Certification)
การรับ รองในทางป่ าไม้ (Forest Certification) หมายถึงกระบวนการที่นาไปสู่ การ
ออกใบรับรองที่ออกโดยหน่วยงานอิสระ ที่ตรวจสอบพิสูจน์แล้วว่าพื้นที่หรือผืนป่าแห่งนั้นได้รับ
การจัดการตามมาตรฐานที่กาหนด
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการรับรองทางป่าไม้ได้มีการกล่าวถึงมาเป็นเวลานับ 10 ปี การ
ที่จะได้รับการรับรองนั้น ผู้จัดการป่าไม้จะต้องบริหารจัดการป่าด้วยหลักความยั่งยืน 3 ประการ
อันได้แก่
ความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ หมายถึงผู้ประกอบการด้านป่าไม้ ได้รักษาไว้ซึ่งการ
ดาเนินงานที่มีผลประกอบการด้านฌศรษฐกิจที่มั่นคง สามารถดาเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น
ความยั่งยืน ทางด้ า นสังคม หมายถึงผู้ป ระกอบการได้ให้ ความส าคัญ ต่อสังคมหรือ
ชุมชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการดาเนินกิจการ ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ
จากการดาเนินกิจการของตน และรักษาการให้ความสาคัญนั้นไว้ เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้
ด้านต่างๆ การเปิ ดโอกาสให้ ได้รับการจ้างงาน การใส่ใจด้านคุณภาพชีวิตทั้งของคนงานหรือ
ชุ ม ชนที่ อ ยู่ โดยรอบ รวมถึ งรั บ ฟั งความคิ ด เห็ น ข้ อ ร้อ งเรี ย นและข้ อ เสนอแนะต่ างๆ มาใช้
ประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการป่าไม้ขององค์กร และ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึงการที่ผู้ประกอบการที่ ให้ความใส่ใจในการ
ทาหน้าที่ของป่าไม้ในระบบนิเวศ และได้ดาเนิ นการลดผลกระทบใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น จากการ
ดาเนินงาน รวมถึงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของป่าให้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามการที่ผู้ประกอบการจะน าหลักการดังกล่าวเข้าสู่การปฏิบัติ ยังคงเป็น
ประเด็นที่มขี ้อถกเถียงกันพอสมควร ข้อโต้แย้งจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทาให้มาตรฐานในการ
ประเมินเพื่อรับการรับรองมีการปรับเปลี่ ยนแปลงโดยตลอด ประเด็นข้อโต้แย้งแต่ละประเด็นที่
ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือ ก่อให้เกิดการแปลตีความที่แตกต่างกันออกไปขึ้นกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 217

เสียที่ร่วมกันกาหนดหลักการและเกณฑ์ในการรับรองขึ้นมา ดังนั้นจึงมีความจาเป็นที่จะต้อง
เข้าใจถึงความเป็นมาของเกณฑ์มาตรฐานที่ เกิดขึ้นจากแต่ละองค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึง
เจตนารมณ์ของมาตรฐานนั้นๆ
ก่อนที่จ ะกล่ าวถึงรายละเอี ย ดเกี่ย วกับ การรับรองทางป่ าไม้ จาเป็ นที่ จะต้อ งเข้าใจ
ตรงกัน ก่อนว่า แม้การรับ รองทางป่ าไม้จะได้มีการดาเนินการมาในระยะเวลากว่า 10 ปี แต่
แนวคิดในการรับรองก็ยังถือเป็นเรื่องใหม่สาหรับวงการป่าไม้ แม้ในทางตรงกันข้ามการรับรอง
มาตรฐานนั้นได้ถือกาเนิดมาอย่างยาวนานในภาคธุรกิจ เช่น การรับรองด้านกระบวนการผลิต
การรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น การรับรองทางป่าไม้เพิ่งจะถูกหยิบยกขึ้นมา โดยกลุ่ม
ของ NGO ทางด้านสั งคมและด้านสิ่งแวดล้ อม ที่จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทาให้ มีการรักษา
ความยั่งยืนของป่าธรรมชาติ ปกป้องสิทธิของของคนในสังคมทุกระดับ และเรียกร้องถึงความ
เหมาะสมในการจัดการป่าไม้ของทุกภาคส่วน จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวัง
กาไร ร่วมกันกาหนดมาตรฐานการจัดการป่าไม้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การรับรองทางป่าไม้เป็นเพียงแค่
กระแสสั งคม จึงมีการกาหนดขั้น ตอนการดาเนินงานทางป่าไม้ในเชิงเทคนิค ที่มี ห ลั กเกณฑ์
หลายๆ ข้อ เชื่อมโยงและบูรณาการกับหลายภาคส่วน ทั้งทางด้านกฎหมาย ด้านอาชีวอนามัย
ความปลอดภัย สิทธิของคนในสังคม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การรับรองการจัดการป่าไม้เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของผู้บริโภค (Market driven) ที่
ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ด้วยการซื้อสินค้าไม้ที่มาจากแหล่งที่มีการ
จัดการอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมั่นในเครื่องหมายของมาตรฐานต่างๆ ที่ปรากฏบนสินค้า การรับรอง
จึงเป็นมาตรฐานประเภทสมัครใจ (Voluntary) เช่น FSC หรือ PEFC ไม่ใช่มาตรฐานภาคบังคับ
(Compulsory) เช่น EU-FLEGT ซึ่งกาหนดขึ้นโดยภาครัฐ
3. โครงสร้ำงพื้นฐำนของโปรแกรมกำรรับรองทำงด้ำนป่ำไม้ (Institutional
Elements of Forest Certification Program)
เนื่องจากแนวคิดในการจัดระบบการรับรองทางด้านป่าไม้นั้นได้อาศัยแนวคิดจากการ
รับรองมาตรฐานที่มีอยู่แล้วในภาคส่วนอื่นๆ แนวคิดพื้นฐานและโครงสร้างขององค์กรเพื่อการ
รั บ รองทางด้ า นป่ า ไม้ จึ ง เติ บ โตขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว ดั งจะเห็ น ว่ า มี ห ลายองค์ ก ร และหลาย
มาตรฐานเกิ ด ขึ้ น ทั้ งในระดั บ นานาชาติ ระดั บ ภู มิ ภ าค หรือ แม้ แ ต่ ก ารน าไปปรั บ ใช้ ในการ
ดาเนินการภายในประเทศ อย่างไรก็ตามพอที่จะแบ่งโครงสร้างพื้นฐานของการรับรองทางด้าน
ป่าไม้ได้ 2 ส่วน อันได้แก่ การกาหนดมาตรฐาน และการนาไปปฏิบัติ ในส่ วนของการนาไป
ปฏิบั ตินั้ น ก็ยังพอจะแบ่ งออกได้เป็ น 3 ขั้น ตอนคือ การออกใบรับ รอง (Certification) การ
กากับมาตรฐานการรับรอง (Accreditation) และการใช้ตราสัญลักษณ์การรับรอง (Labeling)
218 | การปลูกสร้างสวนป่า
3.1 กำรกำหนดมำตรฐำนกำรรับรองทำงป่ำไม้ (Standard Setting)
ก่ อ นให้ ก ารรั บ รองการจั ด การที่ เหมาะสมใดๆ โปรแกรมการรั บ รองทางป่ า ไม้
(Certification program) ต้ อ งก าหนดรู ป แบบการจั ด การป่ า ไม้ ที่ เหมาะสม โปรแกรมการ
รับ รองทางป่ าไม้ ที่ มีอ ยู่ ทั้ งหมดในปั จ จุ บั น ต่างมุ่ งเน้ นที่ จ ะค้น หารูป แบบที่ จะสนั บสนุ น และ
ส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการจัดการป่าไม้ที่เรียกว่า “การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Sustainable
Forest Management-SFM)” ซึ่งเป็นประเด็นที่ทาให้เกิดการสนทนากันเป็นวงกว้างในกลุ่ม
ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกาหนดนโยบายด้านการบริหารงานด้านป่าไม้ ภายใต้คาถามที่ว่า
ทาอย่างไรที่จะทาให้ผู้จัดการป่าไม้ หันมาใส่ใจต่อการดาเนินงานต่อป่าไม้ของตน ทาอย่างไรถึง
จะทาให้มีปริมาณไม้ให้สามารถตัดฟันและนาออกจากป่าได้อย่างต่อเนื่อง ทาอย่างไรถึงจะรักษา
ไว้ซึ่งบทบาทและหน้าที่ของป่าไม้ในเชิงนิเวศ การรักษาไว้ซึ่งองค์ประกอบของป่า รวมถึงยังคง
รักษาบทบาทของป่าในการให้บริการด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากการให้ผลประโยชน์ในเรื่อง
ของเนื้อไม้ เช่น การรักษาไว้ซึ่งทัศนียภาพ การทาหน้าที่เป็นต้นกาเนิดของน้า เป็นต้น และ
นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาผืนป่านั้นไว้ต่อชุมชนและสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผืนป่าดังกล่าว
ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นที่ได้กล่าวถึงในเบื้องต้นจะเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางและแตกต่างกัน
ออกไปตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผื นป่าที่จะรับการรับรอง ทั้งนี้มีสิ่งที่จาเป็นต้องคานึงใน
ระหว่างการกาหนดมาตรฐาน
ประการแรก มาตรฐานสามารถถูกกาหนดขึ้นเพื่อนาไปปฏิบัติได้ในหลายระดับของ
องค์ ก ร ตั้ งแต่ ม าตรฐานที่ น าไปใช้ ก ารกั บ การด าเนิ น งานของทั้ งองค์ ก รในภาพรวม จนถึ ง
มาตรฐานที่นาไปกากับใช้ต่อผืนป่าแต่ละผืน มาตรฐานที่กาหนดอาจทาขึ้นเพื่อนาไปใช้ปฏิบัติต่อ
ผืนป่า เช่น แนวทางการใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่ลาดชัน แนวทางการใช้สารเคมีการจัดศัตรูพืช
เป็นต้น หรือเป็นมาตรฐานที่นาไปใช้เป็นแนวทางการบริหารในระดับองค์กร เช่น การกาหนด
นโยบายด้ านการบริ ห าร การก าหนดแผนการปฏิ บั ติ การประจ าปี เป็ น ต้ น ความแตกต่ า ง
ทางด้านสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ของโลก รวมถึงองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึง
จาเป็นที่มาตรฐานจะได้ถูกปรับอยู่เสมอ ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่ไป
ประการที่สอง มาตรฐานส่วนใหญ่จะระบุถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการจัดการป่า
ไม้ และวัดผลโดยพิ จ ารณาจากสภาพของป่ าที่ ปรากฏ (Performance based Approach)
หลั ง จากผ่ า นกระบวนการจั ด การ เช่ น มาตรฐานที่ ต้ อ งการให้ อ งค์ ก รรั ก ษาไว้ ซึ่ ง ความ
หลากหลายของชนิดพันธุ์และมีความแตกต่างในเรื่องชั้นอายุของไม้ในผืนป่าภายใต้รอบของการ
จัดการ หรือมาตรฐานที่ระบุถึงคนงานจะต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อลดจานวนคนงานที่
อาจประสบอุ บั ติเหตุร ะหว่างการปฏิ บั ติ งานในรอบระยะเวลาของการจัด การเป็ น ต้ น ส่ ว น
มาตรฐานด้านระบบการจัดการ เป็นอีกด้านหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ความสาคัญต่อการบริหารจัดการ
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 219

(System- based Approach) ในการก าหนดความรับ ผิ ดชอบและการก าหนดขั้ น ตอนการ


ดาเนินงานภายในองค์กร มาตรฐานที่ถือได้ว่ามีบทบาทมากที่สุดในด้านนี้คือ มาตรฐานด้านการ
จั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม ห รื อ ISO 14001 ที่ พั ฒ น าโดย International Organization for
Standardization (ISO) โดยเป็ น แนวคิ ด ขั้ น พื้ น ฐาน ที่ ต้ อ งการให้ อ งค์ ก รก าหนดความ
รับผิดชอบ ขั้นตอนและนาไปสู่การปฏิบัติต่อการดาเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมและประเด็นที่
เกี่ยวข้อง มาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วยการกาหนดรูปแบบการจัดการ
ต่อผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดาเนินงานขององค์กร อันได้แก่ การวางแผน
ที่จะเพิ่มผลกระทบในทางบวก หรือลดผลกระทบในทางลบ รวมถึงความสาเร็จต่อพัฒนาการ
อย่างต่อเนื่ อง อย่ างไรก็ตามมาตรฐานของแต่ละโปรแกรมการรับรองจะมีความแตกต่างกัน
ออกไป ขึ้ น อยู่ กั บ กลุ่ ม ผู้ ที่ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ที่ เข้ ามามี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งในระหว่างการก าหนด
มาตรฐาน ระดั บ ของการเปิ ด โอกาสต่ อ ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในการมี ส่ ว นร่ว มในการก าหนด
มาตรฐาน ปริมาณของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงธรรมชาติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่อาจมีความ
แตกต่างกัน ท้ายที่สุดย่ อมส่งผลให้ มาตรฐานที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมรับรองทางป่าไม้มีความ
แตกต่างกันออกไป
3.2 กำรนำไปปฏิบัติ (Implementation)
มาตรฐานด้านการจัดการป่าไม้จะไม่ส่งผลใดๆ ต่อกิจการป่าไม้ หากไม่มีองค์กรใดนาไป
ปฏิบัติ การที่จะทาให้ ได้รับการรับ รองมักจะมีค่าใช้จ่ายในการดาเนินการที่ค่อนข้างสูงอย่าง
หลี ก เลี่ ย งไม่ ได้ ซึ่ งสวนทางกั บ แนวคิ ด ในทางด้ านการบริ ห ารจั ด การองค์ ก รที่ ต้ อ งการลด
ค่าใช้จ่ายลงให้น้ อยที่สุ ด โปรแกรมการรับ รองทุกโปรแกรมมักต้องการให้องค์กรดาเนินการ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าองค์กรที่ได้รับการรับรองนั้นจะ
ดาเนินการไปตามมาตรฐานที่กาหนด
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานนี้สามารถบรรยายได้ โดยอาศัยองค์ประกอบที่มี
ความสัมพันธ์กันใน 3 ประการอันได้แก่ การรับรอง (Certification) การกากับมาตรฐานการ
รับรอง (Accreditation) และ การใช้ตราสัญลักษณ์การรับรอง (Labeling)
1) การรับรอง (Certification) การออกใบรับรองด้านการจัดการป่าไม้ให้กับองค์กร
ถือเป็ น หน้ าที่ ห ลักของโปรแกรมการรับ รองทางป่าไม้ การรักษาสถานะของใบรับรองเอาไว้
โปรแกรมการรับรองจะระบุถึงขั้นตอนต่างๆ ที่องค์กรจะต้องปฏิบัติตาม ที่จะทาให้มั่นใจได้ว่า
องค์กรได้มีการดาเนิน การสอดคล้องกับมาตรฐาน อีกประการหนึ่ง เพื่อให้ เกิดผลที่ดีต่อการ
ได้รับการรับรอง การมีบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร เข้ามาร่วมสังเกตการณ์
การดาเนินงานตามมาตรฐานจึงถือเป็นผลดีกับองค์กร ซึ่งอาจเรียกกระบวนการนี้ว่า การทวน
220 | การปลูกสร้างสวนป่า
สอบโดยบุคคลที่ 3 (Third Party Verification) อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกโปรแกรมการรับรองที่
ต้องการให้มีการทวนสอบโดยบุคคลที่ 3
2) การกากับ มาตรฐานการรั บ รอง (Accreditation) โปรแกรมการรับ รองได้ น า
ระบบการรับรองโดยบุคคลที่ 3 มาใช้ คาถามที่สาคัญที่เกิดขึ้นคือ หลักเกณฑ์สาหรับผู้ที่จะได้รับ
การรับรองให้ทาหน้าที่เป็นผู้ตรวจควรเป็นอย่างไร บางโปรแกรมการรับรองดาเนินการกาหนด
รูปแบบการรับรองผู้ตรวจขึ้นมาเอง ในขณะที่บางโปรแกรมใช้องค์กรอื่นในการพัฒนาขั้นตอนใน
การคัดเลือกผู้ ตรวจ และบางโปรแกรมอนุ ญาตให้ องค์กรที่ขอรับการรับรองเป็นผู้ เสนอชื่อผู้
สมควรได้รับการรับรองให้เป็นผู้ตรวจอีกด้วย
3) การใช้ ต ราสั ญ ลั ก ษณ์ ก ารรั บ รอง (Labeling) องค์ ป ระกอบสุ ด ท้ า ยส าหรั บ
โปรแกรมรับ รองทางป่ าไม้คือการสร้างระบบเพื่อเชื่อมโยงผลิ ตภัณ ฑ์ที่วางจาหน่ายในตลาด
กลับไปยังผืนป่าที่ได้รับการรับรอง โปรแกรมการรับรองชั้นนาได้พัฒนารูปแบบสัญลักษณ์ที่จะ
ประทับลงบนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง โดยได้ระบุเป็นข้อกาหนดขึ้นในการรับรองผลิตภัณฑ์
โดยเฉพาะอย่ างยิ่งกระบวนการที่จ ะทาให้ทราบถึงเส้ นทางการเคลื่อนที่ของผลิ ตภัณ ฑ์ไม้ใน
สายการผลิ ต ด้ ว ยห่ ว งโซ่ ก ารคุ้ ม ครองพยานหลั ก ฐาน (Chain of Custody) ซึ่ ง ในเรื่ อ งนี้
ค่อนข้างจะมีความแตกต่างไปตามโปรแกรมการรับรองและยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาคาจากัด
ความ
4. โปรแกรมกำรรับรองทำงป่ำไม้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Existing forest certification
programs)
แนวคิ ด ของการรั บ รองทางป่ า ไม้ ได้ ถื อ ก าเนิ ด ขึ้ น ในกลุ่ ม ของนั ก เคลื่ อ นไหวด้ า น
สิ่งแวดล้อมและกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ไม้จากประเทศในแถบอเมริกาเหนือและยุโรปในยุค 80 ถึง
ช่ว งต้น ของยุค 90 อัน เป็ น ผลมาจากการทาลายผื นป่าในเขตร้อน ที่ถือเป็นสิ่ งที่ ดึงดูดให้ นั ก
เคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมหันมาสนใจ ยังผลให้เกิดการกีดกันผลิตภัณฑ์จากไม้ในเขตร้อน สิ่งนี้
จึงถือเป็นคุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของการรับรองทางป่าไม้ ที่จะเป็นเครื่องมือยืนยันได้ว่าไม้ที่มา
จากเขตร้อนเหล่านั้น ได้มาจากการจัดการที่ถูกต้อง และถือเป็นเครื่องมือที่ทาให้ประชาชนของ
ประเทศในแถบอเมริกาเหนือและยุโรป ได้ซื้อไม้จากเขตร้อนโดยปราศจากความรู้สึกว่าเขาเป็น
ส่วนหนึ่งของการตัดไม้ทาลายป่า แต่เป็นที่ชัดเจนว่าการรับรองทางป่าไม้ไม่ได้เกิดขึ้นกับไม้ใน
เขตร้อนเท่านั้น แต่ส่งผลถึงไม้ที่มาจากเขตอื่นๆ อีกด้วย อันเป็นผลมาจากโปรแกรมการรับรอง
เป็นที่ยอมรับและกระจายออกไปทั่วทุกภูมิภาค อีกทั้งได้มีการปรับปรุงให้เหมาะสม ก่อให้เกิด
ความยั่งยืนสาหรับป่าในเขตอบอุ่นและเขตหนาวอีกด้วย
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 221

โปรแกรมการรับรองในปัจจุบันมีอยู่หลายโปรแกรม บางส่วนถูกใช้เป็นวงกว้างและเป็น
ที่ยอมรับในระดับนานาชาติ บางโปรแกรมถูกใช้ในระดับภูมิภาค และถูกใช้เหมือนเป็นเครื่องมือ
ในการกีดกัน ทางการค้า Forest Stewardship Council (FSC) ถือเป็นโปรแกรมการรับรอง
แรกที่กาเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 จากนั้นโปรแกรมการรับรองทางป่าไม้อื่นๆ ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้น
อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามโปรแกรมการรับรองหลักที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ได้ถือ
กาเนิดจากการรวบรวมของพันธมิตรใน 2 กลุ่ม ที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ด้าน FSC ถือได้ว่าเป็น
การรวมตั ว ของกลุ่ ม บุ ค คลที่ ม าจาก NGO และนั ก วิ ช าการเป็ น แกนน า ส่ ว น PEFC หรื อ
Programme for the Endorsement of Forest Certification เป็ น การรวมตั ว ของกลุ่ ม
พ่อค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ดังนั้น แม้หลักการใหญ่ๆ จะคล้ายคลึงกัน แต่รายละเอียดในมาตรฐานยังมี
ความแตกต่างกัน อยู่พ อสมควร โปรแกรมการรับรองในปัจจุบั นมีกาหนดขึ้น มากมายในทุ ก
ภูมิภาคทั่วโลก ที่ได้มีการดาเนินการพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละภูมิภาค หรือแต่
ละประเทศ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโปรแกรมการรับรองหลัก ทั้ง 2 โปรแกรมที่มีการดาเนินงาน
อย่างแพร่หลายในประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้าใจในการดาเนินงานของโปรแกรมการรับรอง
4.1 Forest Stewardship Council (FSC)
Forest Stewardship Council (FSC) ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็ นทางการในปี พ.ศ.2536
ภายใต้การรวมตัวกันของกลุ่ม NGO กลุ่มผู้ไม่หวังผลประโยชน์ และกลุ่มองค์กรผู้มีส่วนได้ส่วน
เสีย กับ กิจ การป่ าไม้ แม้ว่าจะเป็ น โปรแกรมการรับรองที่ถือกาหนดจาก NGO ที่มุ่งเน้น ด้าน
สิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วย World Wide Fund for Nature (WWF) และ Greenpeace แต่
โครงสร้างของ FSC นั้นเป็นองค์กรอิสระที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ครบถ้วนในทุกกลุ่มผู้ที่สนใจ
ด้านการป่ าไม้ ตั้งแต่กลุ่ มที่ ให้ ความส าคั ญ ต่อการอนุ รักษ์ กลุ่ มผู้ มุ่ งหวังการพั ฒ นาทางด้าน
เศรษฐกิจ ไปจนถึ งกลุ่มผู้ที่ให้ความสาคัญต่อความเท่าเทียมทางสังคม มาตรฐาน FSC ได้ถูก
ออกแบบเพื่อให้ครอบคลุมการจัดการป่าไม้ทั้งในระดับโลก ไปจนถึงการนาไปปรับให้เข้ากับ
ระดับองค์กรที่นามาตรฐานนั้นไปใช้
การกาหนดมาตรฐาน (Standard Setting) ขั้นตอนการกาหนดมาตรฐานของ FSC
ก่อให้เกิดการหารือกันเป็นวงกว้างในระดับโลกถึงรูปแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิด
ชุดของหลักการ (Principles) ที่ถูกกาหนดขึ้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นแนวปฏิบัติเพื่อการ
รับรองการดาเนินการทางด้านป่าไม้ ในปัจจุบัน (FSC, 2017) ชุดของหลักการประกอบไปด้วย
1) ความสอดคล้องกับกฎหมายและสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง
2) ความชัดเจนในการถือครองและสิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าในระยะยาว
222 | การปลูกสร้างสวนป่า
3) การให้ความสาคัญและให้ความเคารพต่อชนพื้นเมือง ทั้งในเชิงกฎหมายและจารีต
ประเพณี
4) การรักษาไว้หรือทาให้คนงานป่าไม้และชุมชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตทางด้าน
สังคมและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
5) การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทาให้การดาเนิน
กิจการได้อย่างต่อเนื่อง
6) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการปกป้องหน้าที่ของป่าในเชิงนิเวศ
7) การปฏิบัติตามแผนการจัดการในระยะยาว
8) การติ ด ตามผลการด าเนิ น งานด้ า นการจั ด การป่ า ไม้ รวมถึ ง ผลกระทบต่ อ
สิ่งแวดล้อมและสังคม
9) การป้ อ งกั น ผื น ป่ าที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ การอนุ รั ก ษ์ สู ง (High Conservation Value
Forest-FSC) และ
10) กิจกรรมด้านการจัดการขององค์กรจะต้องได้รับการคัดเลือกและนาไปปฏิบัติให้
สอดคล้องนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และ
ต้องสอดคล้องกับหลักการและเกณฑ์มาตรฐานของการรับรอง
ในเวลาเดียวกัน FSC ได้พัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัด (Criteria and Indicators) เพื่อช่วย
ให้การดาเนินการทางด้านป่าไม้เป็นไปตามหลักการที่กาหนดได้มากขึ้น และได้รับการรับรอง
ภายใต้บ ทบัญ ญัตินี้ นอกจากนี้ FSC ได้ดาเนิ นการพัฒ นามาตรฐานทั้งในระดับประเทศและ
ระดับภูมิภาคไปพร้อมกัน โดยปรับมาจากหลักการและเกณฑ์ทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับบริบท
ในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งของประเทศไทย กระบวนการในกาหนดมาตรฐานนี้ได้มุ่งเน้นถึงความ
ท้าทายภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความพยายามในการพัฒนา
มาตรฐานที่เหมาะสมต่อการดาเนินงานในท้องถิ่น แต่ยังคงไว้ซึ่งความสอดคล้องกับหลักการและ
เกณฑ์ในระดับโลกของ FSC
การนาไปปฏิบัติ (Implementation) การนามาตรฐาน FSC ไปปฏิบัตินั้นค่อนข้างมี
ความซั บ ซ้ อ น เพราะนอกจากจะต้ อ งประกอบด้ ว ยองค์ ค วามรู้ ห ลั ก ด้ า นการจั ด การป่ า ไม้
(Silviculture) แล้ว ยังต้องใช้องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมาประกอบด้วย
การรับรอง (Certification) งานส่วนใหญ่ของการดาเนินการรับรองถูกดาเนินการ
โดยกลุ่มองค์กรจานวนหนึ่งที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การรับรองเป็นไปอย่างอิสระ อาศัยผู้ตรวจที่มี
ความหลากหลายทางความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน เพื่อที่จะทาการตรวจสอบขั้นตอนและผล
การดาเนินงานทางด้านป่าไม้ในพื้นที่ที่ขอรับการรับรอง ขั้นตอนการรับรองของ FSC พอที่จะ
กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 223

1) การเจรจาเป็นการเบื้องต้นระหว่างผู้ที่ต้องการขอการรับรองกับผู้ให้การรับรองที่
อาจจะมีมากกว่า 1 ราย รวมถึงการหารือถึงสิ่งที่ผู้ขอการรับรองจะต้องดาเนินการ
เพื่อที่จะทาให้ได้รับการรับรอง
2) ยื่นแบบขอรับการรับรอง รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินการของผู้ขอรับ
การรับรอง
3) เจรจาค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ รวมถึงกาหนดข้อตกลงต่างๆ ในการตรวจประเมิน และ
หากเป็นไปได้ควรหารือในเรื่องขอบเขตของการประเมินด้วย
4) การตรวจประเมินในพื้นที่ รวมถึงการเข้าสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5) จัดเตรียมร่างรายงานผลการตรวจประเมินโดยผู้ตรวจ
6) การทบทวนรายงานโดยผู้เชียวชาญอิสระ (Peer Review) จานวน 2-3 ราย
7) หารือถึงเงื่อนไขและข้อกาหนดที่เป็นไปได้ต่อผู้ขอรับการรับรอง
8) การจัดทาสรุปผลการรับรอง
9) การออกใบรับรอง การดาเนิ นการจ่ายค่าใช้จ่ายงวดสุดท้าย การจัดทาสัญ ญาใน
ขั้นตอนการรับรองในอนาคต ประกาศผลต่อสาธารณะ ฯลฯ และ
10) เข้าสุ่มตรวจประจาปีในระหว่างอายุของใบรับรอง
ผู้ให้ การรับ รองมีทางเลื อกหลายทางในข้อสรุปขั้นสุ ดท้ ายของการรับ รอง อันได้แก่
1) ให้ การรับ รองอย่างไม่มีเงื่อนไข 2) ให้ การรับรองภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องดาเนินการแก้ไข
ภายในระยะเวลาที่กาหนด 3) ระบุว่าจะให้การรับรองต่อเมื่อได้ดาเนินการบางอย่างตามเงื่อนไข
ที่กาหนด หรือ 4) ไม่ให้การรับรอง ซึ่ง ตามปกติใบรับรองจะมีอายุ 5 ปี และจะต้องดาเนินการ
ประเมินซ้า (Reassessment) ก่อนที่จะอายุของใบรับรองจะหมดลง
ปั จจุ บั น มีพื้น ที่ป่ าที่ได้รับ การรับ รองภายใต้ FSC กว่า 199 ล้ านเฮกแตร์ (ประมาณ
1,244 ล้านไร่) ใน 84 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ประกอบการรายใหญ่ และ
แม้บางส่วนจะอยู่ในการดูแลของผู้ประกอบการรายย่อยหรือดูแลโดยชุมชน แต่ผู้ประกอบการ
รายย่อยสามารถที่จะรวมตัวกันเพื่อขอการรับรองแบบกลุ่ม (Group Certification) ได้ และ
ปั จ จุ บั น ได้ มี ก ารด าเนิ น การจนประสบผลส าเร็ จ แล้ ว มากมาย นอกจากนี้ FSC ก็ ได้ มี ก าร
ดาเนินการที่จะหาวิธีที่จะทาให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้มีโอกาสเข้าถึงการรับรองทางป่าไม้ได้
มากขึ้น อย่างไรก็ตามการคืบหน้าในการดาเนินการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการนาผืนป่าของตน
เข้ารับการรับรองยังคงเป็นไปค่อนข้างช้า โดยเฉพาะในในผืนป่าในอัฟริกาและเอเชีย ซึ่งมีเนื้อที่
ได้รับ การรั บ รองไม่ถึงร้อยละ 10 ของพื้น ที่ได้รับการรับรองทั้งหมด ส่งผลให้เกิดประเด็นให้
พิจารณาถึงเกณฑ์มาตรฐานที่อาจจะสูงเกินไปสาหรับผู้ประกอบการป่าไม้ในเขตร้อน ที่จะได้รับ
การรับรองในครั้งเดียว แนวคิดในการกาหนดเป็นขั้นของการรับรองจึงได้ถูกหยิบยกมาพิจารณา
224 | การปลูกสร้างสวนป่า
ซึ่งการดาเนินการในเรื่องนี้ส่งผลให้เป็นลาดับขั้นในการให้การรับรองซึ่งอาจจะสร้างความพอใจ
ให้กับผู้ซื้อ ถือเป็นระดับของความพอใจของการยอมรับในรูปแบบการจัดการป่าไม้
การกากับ มาตรฐานการรั บ รอง (accreditation) ผู้ ต รวจประเมิ น (Auditor) ใน
ระบบ FSC จะได้รับการรับรองจาก FSC โดยตรง แม้ว่าในช่วงแรกของการกากับมาตรฐานของ
องค์กรที่ให้การรับรองทางป่าไม้ (Certification Body) ค่อนข้างจะเป็นการพิจารณาเป็นรายไป
แต่ FSC ได้ทาการพัฒนาข้อกาหนดและขั้นตอนในการกากับมาตรฐานการให้การรับรอง และ
อยู่ในระหว่างการดาเนินการในการสร้างความชัดเจนและกาหนดเป็นมาตรฐานในอนาคตต่อไป
การใช้ต ราสัญ ลักษณ์ การรับรอง (Labeling) ผลิตภัณฑ์จากไม้ หรือมิใช่ไม้ (Non-
timber) ที่ ได้ จากผื น ป่ าที่ ได้ รั บ การรั บรองจะถู กระบุ ให้ ประทั บหรื อใช้ ตราของ FSC ได้ ตาม
เงื่ อนไขที่ ก าหนด เป็ น ภาพของ “เครื่ อ งหมายถู กและ
ต้นไม้ ” เพื่ อยื นยั นถึงที่ มาของสิ นค้ าว่ามาจากแหล่ งที่ มี
การจัดการอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานของ FSC โดยได้รับ
การรับรองระบบการจัดการป่าไม้ (Forest Management
– FM) และระบบห่วงโซ่แห่งการคุ้มครองพยานหลักฐาน
(Chain of Custody – CoC) ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ ภาพที่ 1 ตราสัญลักษณ์การ
ได้รับการรับรองมากกว่า 2,500 รายการ และ FSC ยังได้ รับรองของ FSC
ดาเนิ นการพั ฒนานโยบายการอ้ างสิ ทธิในการรับรองใน
รูปแบบของร้อยละของส่วนประกอบ (Percentage-based claim) เพื่อให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่
มี ส่ วนประกอบบางส่ ว น (เป็ น ร้ อยละ)มาจากแหล่ งที่ ได้ รั บ การรั บ รอง เช่ น กระดาษ (หรื อ
ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ) แผ่นชิ้นไม้อัด เป็นต้น
4.2 Programme for the Endorsement of Forest Certification
(PEFC)
Programme for the Endorsement of Forest Certification หรือ PEFC มีจุดเริ่ม
ในราวช่ ว งกลางของยุ ค 80 ผู้ ป ระกอบการด้ านป่ า ไม้ เริ่ ม ตระหนั ก ถึ ง การแข่ งขั น ระหว่ า ง
ผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มประเทศยุโรปกับผลิตภัณฑ์ไม้จากเขตร้อนที่ได้รับการรับรองที่เพิ่มมากขึ้น
ในตลาด ผสานกับแรงกดดันจากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่หันมาให้ความสนใจและกดดัน
ให้ผู้ประกอบการด้านป่าไม้ในภูมิภาคยุโรปเข้าสู่การรับรองทางด้านป่าไม้ด้วย แรงกดดันเพิ่ม
มากยิ่งขึ้นหลังจากที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในประเทศสวีเดนและโปแลนด์ ได้รับการรับรอง
ผ่ า นโปรแกรม FSC และอี ก หลายประเทศได้ เ ริ่ ม พั ฒ นามาตรฐาน FSC ขึ้ น มาใช้ ใ น
ระดับประเทศ
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 225

การพัฒนามาตรฐานได้สร้างแรงต้านให้กับกลุ่มผู้ประกอบการด้านป่าไม้ที่มีอยู่ดั้งเดิม
และกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่พบว่าระบบ FSC ไม่มีประโยชน์ต่อตน ไม่เห็นถึงความจาเป็น
ที่จะต้องเข้าระบบดังกล่าว และระบบเหล่านั้นไม่เหมาะสมที่จะนามาใช้กับผืนป่าของตน ด้วย
แรงกดดันจากสังคมเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มที่จะเข้าสู่ระบบการรับรอง และใน
เวลาเดียวกันแนวคิดการพัฒนาระบบการรับรองของตนเองมาใช้ ก็ถือกาเนิดขึ้น PEFC ได้ถือ
ก าเนิ ด อ ย่ างเป็ น ท า งก า รใน ร าว ปี พ .ศ . 2542 ใน ชื่ อ ว่ า “Pan European Forest
Certification” การออกแบบโปรแกรมการรั บ รองค่ อ นข้ า งมี ค วามยื ด หยุ่ น เมื่ อ เที ย บกั บ
โปรแกรมการรับรองอื่นๆ ทั้งนี้พอจะกล่าวได้ว่าเป็นระบบการรับรองที่มีแกนนาเป็นผู้ที่ถือครอง
พื้นที่ป่าไม้ในยุโรป ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ประกอบธุรกิจด้านป่าไม้ ใน
ปัจจุบันแม้ PEFC จะเป็นโปรแกรมการรับรองที่กาหนดขึ้นหลังระบบอื่นๆ แต่ด้วยความยืดหยุ่น
ของระบบ ท าให้ มี พื้ น ที่ ป่ า ที่ ได้ รั บ การรั บ รองตามมาตรฐาน PEFCกว่ า 300 ล้ า นเฮกแตร์
และมีระบบการรับรองระดับประเทศที่ถือกาเนิดภายใต้โปรแกรมการ (ล้านไร่ 1,785 าณประม)
รับรอง PEFC เกือบ 40 ระบบ ใน 49 ประเทศสมาชิก
การกาหนดมาตรฐาน (Standard Setting) ด้วยเหตุที่ PEFC ถือกาเนิดขึ้นหลังจาก
ที่ได้มีโปรแกรมการรับรองหลายโปรแกรมเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว การกาหนดมาตรฐานจึง
เป็ น การน ามาตรฐานต่ างๆ มาประยุ ก ต์ใช้ และในการประชุ มอย่างเป็ น ทางการที่ จัด ขึ้น ใน
ปลายปี พ.ศ. 2541 ก็ได้กาหนด เกณฑ์การรับรอง (Criteria) และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในปัจจุบัน (PEFC, 2018) ได้ให้ข้อกาหนดและเกณฑ์การรับรองไว้จานวน 7 ชุดที่ค่อนข้างจะ
ยืดหยุ่นอันประกอบไปด้วย
1) ดูแลรักษาและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศป่าไม้ให้ดีขึ้น
2) รักษาไว้ซึ่งขอบเขตการให้บริการของระบบนิเวศ อันประกอบด้วย ป่าเป็นแหล่ง
อาหาร เส้นใย มวลชีวภาพ เนื้อไม้ ป่าเป็นส่วนสาคัญในวัฐจักรของน้า เป็นแหล่ง
กักเก็บคาร์บอน ป้องกันการพังทลายของดิน และป่าให้ผลประโยชน์ทางด้านจิตใจ
และนันทนาการ
3) ใช้ธรรมชาติเป็นทางเลือกแทนการใช้สารเคมี หรือลดการใช้สารเคมี
4) ปกป้องสิทธิและสวัสดิภาพของแรงงาน
5) กระตุ้นให้เกิดการจ้างแรงงานในท้องถิ่น
6) ปกป้องสิทธิของกลุ่มคนพื้นเมือง
7) ดาเนินงานภายใต้กรอบของกฎหมายและยึดถือแนวปฏิบัติที่ดี
226 | การปลูกสร้างสวนป่า
หลังจากนั้นได้มีการจัดการประชุมเพื่อกาหนดตัวชี้วัดสาหรับการประเมินภายใต้เกณฑ์
การประเมิ น ต่ า งๆ ที่ ก าหนดขึ้ น อย่ า งไรก็ ต าม PEFC ค่ อ นข้ า งจะยื ด หยุ่ น ต่ อ การก าหนด
มาตรฐาน ที่อนุญาตให้แต่ละท้องถิ่นสามารถปรับใช้ให้เป็นไปตามนิยามของคาว่า “การจัดการ
ป่าไม้อย่างยั่งยืน” ที่อาจมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
ในภาพรวมแล้ ว PEFC เปิ ดกว้างในการปรับแนวทางในการรับรองในสอดคล้องกับ
บริบทของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา PEFC เปิดรับแนว
ปฏิบั ติด้านการป่ าไม้ที่ดีที่มีอยู่แล้ว มากกว่าที่จะกาจัดระบบที่ไม่ดีให้ ห มดไปและมุ่งเน้นการ
ปรับปรุงระดับของการปฏิบัติงานด้านป่าไม้ให้ดีขึ้นในภาพรวม ดั้งนั้น PEFC จึงไม่ได้ดาเนินการ
ในการกาหนดมาตรฐานกลางให้ น าไปปฏิบั ติ แต่เปิด กว้างและกาหนดเพี ยงกรอบให้ แต่ล ะ
ประเทศนาไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามแนวปฏิบัติที่ เป็นอยู่ เป็นอยู่ โดยกาหนดเป็นมาตรฐาน
ระดับประเทศ แล้วขอรับการรับรองจาก PEFC
มาตรฐานระดับ ประเทศ (National Standard Setting) โปรแกรมมาตรฐานใน
ระดับประเทศได้เกิดขึ้นมากมายภายใต้การสนับสนุนของ PEFC ซึ่งมีความแตกต่างไปตามการ
ดาเนินการของแต่ละประเทศ จึงยากที่จะระบุรูปแบบมาตรฐานที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น สหราช
อาณาจักรและสวีเดนมุ่งแน้นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในขณะที่
ฝรั่งเศสและเยอรมันมุ่งไปในมาตรฐานของระบบการจัดการโดยอาศัยกฏหมายระดับท้องถิ่น
และระดับชาติเป็นตัวตั้ง บางครั้งเกณฑ์การประเมินก็ถูกนาไปใช้เป็ นเพียงกรอบคาแนะนาแต่
บางทีก็ใช้เป็นระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนการกาหนดมาตรฐานระดับประเทศส่วนใหญ่มักเกิดขึ้น
จากการรวมตัวกัน ของผู้ป ระกอบการ และบางประเทศมักจะผลั กดันมาตรฐานให้ เข้าสู่ การ
ดาเนินงานในเชิงนโยบายป่าไม้ในระดับประเทศ
การก ากั บ มาตรฐานการรั บ รอง (Accreditation) PEFC ไม่ ได้ ด าเนิ น การก ากั บ
มาตรฐานของผู้ตรวจประเมินรวมถึงไม่ได้กาหนดเงื่อนไขสาหรับการกากับมาตรฐานการรับรอง
แต่มอบหน้าที่ให้กับโปรแกรมการรับรองของแต่ละประเทศ (National Accreditation Body –
NAB) ที่พัฒนาขึ้น เช่น มาตรฐาน มอก. 14061 โดยมุ่งหวังให้มีการดาเนินการกากับมาตรฐาน
ของผู้ตรวจประเมินมีความเป็นอิสระ
การใช้ตราสัญลักษณ์การรับรอง (Labeling) PEFC อนุญาตให้องค์กรจัดการป่าไม้ที่
ได้รับการรับรอง ใช้ตราสัญลักษณ์การรับรอง ผ่านการ
อนุญาตอย่างเป็นทางการจาก PEFC หรือจากองค์กร
การปกครองระดั บ ประเทศ (National Governing
Body) ของแต่ ล ะประเทศที่ จัดตั้งขึ้ น ผู้ ประกอบการ

ภาพที่ 2 ตราสัญลักษณ์การ
รับรองของ PEFC
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 227

รายย่อยที่ได้รับการรับรองทางป่าไม้จะได้รับใบอนุญาตที่จะให้ใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้เห็น
ว่าได้ดาเนิ นงานเป็น ไปตามความต้องการของมาตรฐาน รูปแบบที่ต่างกันของตราสัญลักษณ์
รวมถึงข้อความที่ปรากฏจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของห่วงโซ่แห่งการคุ้มครองพยานหลักฐาน (Chain
of Custody) ส่วนข้อความที่ปรากฏจะเชื่อมโยงและแบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพของผืน
ป่าที่ได้รับการรับรอง ผลิตภัณฑ์อาจปรากฏคาว่า “PEFC Certified”หรือ “PEFC Recycled”
เมื่อผลผลิตภัณฑ์เป็นไม้ที่มาจากผืนป่าที่ได้รับการรับรองอย่ างน้อยร้อยละ 70 หรืออาจปรากฏ
ข้ อ ความที่ ว่ า “Promoting Sustainable Forest Management” เพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ด้ า น
การศึกษาและการส่งเสริมระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
การนาไปปฏิบัติ (Implementation)
การพัฒนาโปรแกรมในระดับประเทศ (National Standard Setting) เนื่องด้วย
ระบบ PEFC ให้ ค วามส าคั ญ ต่ อ ความเข้ า ใจที่ ต รงกั น ในการก าหนดโปรแกรมการรั บ รอง
ภายในประเทศ ขั้นตอนการนาไปปฏิบัติจึงถูกพัฒนาขึ้นไปพร้อมๆ กับการพัฒนาโปรแกรมของ
ประเทศนั้ น ๆ PEFC ได้ ก าหนดขั้ น ตอนทางด้ า นเทคนิ ค ของขั้ น ตอนในการจั ด ตั้ งองค์ ก ร
บริหารงาน PEFC ในระดับประเทศ โดยมีประเด็นสาคัญดังนี้
1) องค์กรผู้ประกอบกิจการด้านป่าไม้ที่มีอยู่แล้วในประเทศดาเนินการเชิญตัวแทนจาก
องค์กรระดับ ประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ย วข้องหรือมีความสนใจที่จะร่วมจัดตั้ง องค์กรการปกครอง
ระดับประเทศ (National Governing Body – NGB)
2) องค์กรการปกครอง ดาเนินการคัดเลือกผู้แทนเพื่อเข้าสู่สภา PEFC (ผู้แทนมีเสียง 1
ถึ ง 3 เสี ย งทั้ งนี้ ขึ้ น กั บ ปริ ม าณไม้ ที่ มี ก ารตั ด ฟั น ในประเทศ) และสภาจะด าเนิ น การแต่ งตั้ ง
คณะกรรมการ
3) ในขณะเดียวกันในกลุ่มขององค์กรการปกครอง จะดาเนินการจัดการประชุมกลุ่ม
ตั ว แทน (ผู้ ป ระกอบกิ จ การป่ าไม้ สหภาพ และ NGO) เพื่ อ ก าหนดโปรแกรมการรับ รองที่
เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ
4) ผลจากการพัฒนาโปรแกรมการรับรองจะถูกเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอ
เข้าสู่คณะกรรมการ ทั้งนี้โปรแกรมการรับรองที่ถูกพัฒนาขึ้นจะผ่านการตรวจประเมินภายใต้
หลักเกณฑ์ของ PEFC โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ ผลการพิจารณาเป็นไปได้ในหลายลักษณะรวมไป
ถึงการส่งกลับไปยังผู้เสนอเพื่อทาการปรับปรุง และหลังจากเป็นที่พอใจแล้วก็จะถูกส่งไปยังสภา
เพื่อให้การอนุมัติ
228 | การปลูกสร้างสวนป่า
การด าเนิ น การให้ ก ารรั บ รอง (Certification) แม้ ว่ า PEFC ได้ ก าหนดให้ มี
กระบวนการให้การตรวจประเมินเพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าการดาเนินงานเป็นไปตามมาตรฐาน
ระดับชาติที่กาหนดขึ้น แต่การกาหนดรูปแบบการประเมินและระบบการให้การรับรองก็ยังอยู่
ในขั้นตอนการพัฒนา สมมุติฐานที่ว่าสิ่งใดที่ควรจะถูกตรวจและปริมาณในการตรวจสอบควรจะ
มีเท่าใดนั้นค่อนข้างมีความแปรผันไปมาก แม้จะอยู่บนพื้นฐานของการสุ่มก็ตาม
4. กำรรับรองทำงป่ำไม้ในประเทศไทย (Forest Certification in Thailand)
การดาเนินงานด้านการรับรองทางป่าไม้ในประเทศไทยนั้น มีสถานการณ์ไม่ได้แตกต่าง
กับในหลายๆ ประเทศ ด้วยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่โลก
ให้ความสนใจ และประเทศไทยยังคงมีการส่งออกไม้ไปขายในต่างประเทศ แม้นโยบายของรัฐ
จะไม่อนุญาตให้มีการทาไม้ในป่าธรรมชาติอีกแล้ว ไม้ที่ส่งออกต่างประเทศทั้งหมดจึงมาจากไม้
ที่มาจากป่าปลูก อย่างไรก็ตามจากปัญหาของการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติที่ยังคงมีอยู่ใน
ปัจจุบัน คงไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่า ไม้ที่ส่งออกไปต่างประเทศนั้นจะเป็นไม้ที่มาจากป่า
ปลูกที่ได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และเนื่องจาก
ประเทศไทยไม่ได้มีมาตรฐานการรับรองในระดับประเทศ จึงเป็นเหตุให้ ผู้ประกอบการที่มีความ
ประสงค์ที่จะส่งไม้ออกไปยังต่างประเทศจะต้องดาเนินการหาโปรแกรมการรับรอง ที่เป็นไปตาม
ความต้องการของประเทศปลายทาง และต้องรับผิดชอบในการดาเนินการทั้งหมดเพื่อให้ได้รับ
การรับรอง
ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะพัฒนามาตรฐานในการรับรองทางป่าไม้ ในปี พ.ศ.
2541 มาตรฐานแรกที่ถือว่าได้มีการประกาศใช้อย่างเป็ นทางการ คือ มาตรฐาน มอก 14061.
)TISI 14061- Sustainable Forest Management System: Specification Document(
เป็ น มาตรฐานที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ม าตรฐาน ISO 14000 ซึ่ ง เป็ น มาตรฐานเพื่ อ การจั ด การด้ า น
สิ่งแวดล้อม ภายใต้การดูแลของสานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) Thailand
Industrial Standard Institute – TISI มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่า
ไม้แบบยั่งยืน หรือ มอก. 14061 ได้มีการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องและประกาศฉบับล่าสุดในปี
พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา มาตรฐานดังกล่าวมุ่งเน้นในการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการ โดยมี
ข้อกาหนดด้านการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สาหรับผู้ประกอบการในการจัดการ
สวนป่าไม้เศรษฐกิจทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ของประเทศไทย อย่างไรก็ตามมาตรฐาน มอก.
14061 ไม่เป็นที่แพร่หลายสาหรับกลุ่มประกอบการด้านป่าไม้มากนัก จึงเป็นผลให้ไม่มีผู้สนใจที่
จะเข้าร่วมโครงการเท่าที่ควร เนื่องจากจัดทาออกมาเพียงข้อกาหนด แต่ยังขาดอีก ส่วน คือ 3
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 229

การอธิ บ ายความของข้ อ ก าหนด แนวทางการตรวจประเมิ น และแนวทางการก าหนด


ความสามารถของผู้ตรวจประเมิน
โปรแกรมการรับรอง FSC ถือเป็นโปรแกรมที่ผู้ประกอบการด้านป่าไม้ในประเทศไทย
ให้การสนใจและเข้าร่วมมากกว่าโปรแกรมการรับรองอื่นๆ อันเป็นผลมาจากประเทศคู่ค้าของ
ไทย ส่วนใหญ่ให้การตอบรับกับระบบการรับรองของ FSC จากสถิติการรับรองจาก FSC ของ
ประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 พบว่ามีพื้นที่ป่าที่ได้รับการรับรอง เป็นเนื้อที่ 22,494
เฮกแตร์ และในเดือนกรกฎาคม 2560 พื้นที่ป่าที่ได้รับการรับรอง ได้เพิ่มขึ้นเป็น 63,374 เฮก
แตร์ แต่ยั งถือได้ว่าอั ตราการเพิ่ ม ขึ้น ค่ อนข้างช้า และปริม าณพื้ น ที่ที่ ได้รับการรับ รองก็ยังมี
สั ด ส่ ว นที่ น้ อ ยเมื่ อ เที ย บกั บ ประเทศอื่ น ในกลุ่ ม ประเทศในภู มิ ภ าคอาเซี ย น เช่ น ประเทศ
อิน โดนีเซีย ที่มีพื้นที่ที่ได้รับ การรับ รอง 3,773,747 เฮกแตร์ ประเทศมาเลเซีย 743,544 เฮก
แตร์ หรือแม้แต่ประเทศเวียดนาม 230,530 เฮกแตร์ นอกจากนี้การรับรองในรูปแบบของห่วง
โซ่คุ้มครองพยานหลักฐาน (Chain of Custody) ก็เป็นอีกรูปแบบที่ให้การรับรองว่าไม่มีการ
ปลอมปนจากไม้ที่ไม่ได้รับการรับรอง ตั้งแต่พื้ นที่สวนป่า เข้าสู่โรงงานแปรรูป จนกระทั่งเป็น
ผลิตภัณฑ์ก่อนส่งถึงมือของลูกค้า ในปัจจุบันมีใบรับรองห่วงโซ่คุ้มครองพยานหลักฐาน ภายใต้
โปรแกรมการรับรอง FSC จานวน 118 ฉบับ ในเดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งมีจานวนที่มากขึ้น
เมื่อเทียบกับใบรับรองห่วงโซ่คุ้มครองพยานหลักฐาน จานวน 38 ฉบับในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นการเพิ่มขึ้นในจานวนที่ไม่มากนัก แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ประกอบการได้
เห็นถึงความสาคัญและมีความพยายามที่จะนาพื้นที่ป่าและกระบวนการทางานเข้าสู่ระบบการ
รับรอง (FSC, 2560)
การดาเนินการรับรองทางด้านป่าไม้ได้รั บการตอบรับจากผู้ประกอบกิจการด้านป่าไม้
ทั้ งที่ เป็ น รั ฐ วิส าหกิ จ และเอกชน องค์ ก ารอุ ต สาหกรรมป่ าไม้ หรือ อ.อ.ป. เป็ น รัฐ วิ ส าหกิ จ
หน่วยงานหนึ่งที่ได้ให้ความสาคัญกับการนาระบบการรับรองทางป่าไม้มาใช้กับสวนป่าไม้สัก
โดยที่ อ.อ.ป. ได้เล็งเห็นว่า อ.อ.ป. ได้ดาเนินงานตามแนวทางอย่างยั่งยืนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2511 แต่ยังไม่มีการดาเนินการในการขอการรับรอง ผลจากการวิเคราะห์ด้านการตลาด
พบว่า แนวโน้มความต้องไม้ที่ผ่านการรับรองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสวนป่าเขากระยาง จ.พิษณุโลก
และสวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็น 2 สวนป่าแรกของ อ.อ.ป. ที่ได้รับการรับรอง
ตามโปรแกรมการรับรองของ FSC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ผลการดาเนินงานการรับรองทางป่าไม้
ของ อ.อ.ป. ได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผลการดาเนินงานในปี พ.ศ. 2554 มีพื้นที่สวนป่าไม้
สักที่ได้รับการรับรอง 4 สวน รวมเนื้อที่ 72,610.76 ไร่ ในปี พ.ศ. 2557 มีพื้นที่สวนป่าไม้สักที่
ได้รับการรับรองเพิ่มขึ้นอีก 10 สวน เป็นเนื้อที่ 123,779.23 ไร่ และในปี 2558 มีสวนป่าไม้สัก
230 | การปลูกสร้างสวนป่า
ที่ได้รับการรับรองเพิ่มขึ้นอีก 9 สวน เป็นเนื้อที่ 101,691.43 ไร่ และในจานวนนี้ เป็นพื้นที่สวน
ยางพารา ที่ได้รับการรับรอง จานวน 2,459.31 ไร่ (ประสิทธิ์, 2560)
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้มีการกาหนดนโยบายที่จะผลักดันให้สวนป่าภายใต้การ
ดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ทั้งหมดได้รับการรับรอง ทั้งนี้เพื่อให้การดาเนินการเป็นไป
อย่างมีระบบและเตรียมความพร้อมสาหรับการขอรับการรับรอง อ.อ.ป. ได้กาหนดมาตรฐาน
การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการดาเนินการภายในของ อ.อ.ป. ให้เข้าสู่
มาตรฐานสากล รวมถึงกาหนดนโยบายที่จะทาให้ อ.อ.ป. เป็นแบบอย่างของการจัดการสวนป่า
อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่สวนป่าของเอกชนอีกด้วย
อย่างไรก็ตามการขอรับการรับรองทางป่าไม้ในประเทศของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ยัง
ใช้โปรแกรมการรับรองจากต่างประเทศ ที่แต่ละหน่วยงานที่ให้การรับรองได้นามาตรฐานกลาง
มาปรั บ เพื่ อ ใช้ กั บ การด าเนิ น งานในประเทศไทย จึ ง ท าให้ เกิ ด ปั ญ หาอยู่ พ อสมควร อั น
เนื่องมาจากเกณฑ์หรือตัวชี้วัดบางข้อ ค่อนข้างไม่สะดวกต่อการปฏิบัติในประเทศไทย รวมถึง
หน่วยงานที่ให้ การรับรองที่ผู้ประกอบการใช้บริการส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานของชาวต่างชาติ
ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ด้วยเหตุดังกล่าว ทาให้ผู้ประกอบการด้านป่าไม้นักวิชาการป่าไม้
เกษตรกรผู้ลงทุนปลูกสร้างสวนป่า ได้ร่วมกันเสนอให้แต่งตั้ง สานักงานการรับรองไม้เศรษฐกิจ
ไทย (Thailand Forest Certification Council) หรือ TFCC เพื่อทาหน้าที่เป็นหน่วยงานทาง
ปกครอง (National Governing Body: NGB) โดยอาศั ย แนวทางการด าเนิ น งานภายใต้
โปรแกรมการรับรองของ PEFC และเพื่อความเป็นอิสระ TFCC จึงถูกเสนอให้แต่งตั้งอยู่ภายใต้
การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการดาเนินงานเพื่ อ
กาหนดมาตรฐาน และขั้นตอนการดาเนินงานต่างๆ
5. ควำมท้ำทำยสำหรับโปรแกรมกำรรับรอง (Common Program Challenges)
แม้ว่าโปรแกรมการรับรองของ FSC และ PEFC ดูจะรับการยอมรับจากคู่แข่งอื่นๆ แต่
ทุกๆ โปรแกรมยังประสบกับความท้าทายที่คล้ายๆ กัน ดังนี้
5.1 ควำมมั่นคงและกำรกระจำยอำนำจ (Consistency and
Decentralization)
ประเด็นที่สร้างความท้าทายของทุกๆ โปรแกรมการรับรองที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาก็
คือ ทาอย่ างไรถึงจะรักษาระบบที่ มั่น คงของมาตรฐานการรับ รองไว้ให้ ได้ตามเจตนารมณ์ ที่
กาหนดไว้ ในระหว่างที่ต้องปรับระบบเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละท้องถิ่นที่อาจมี
บทที่ 11 การรับรองทางด้านป่าไม้ | 231

ความแตกต่างกันออกไป FSC เริ่มต้นมาจากการกาหนดเงื่อนไขของการรับรองโดยมองความ


ต้องการในภาพรวมของการดาเนิ น งานด้านป่าไม้ของทั้งโลกมากกว่าที่จะปรับไปตามความ
แตกต่างของแต่ละพื้นที่ ในขณะที่ PEFC เริ่มต้นด้วยโปรแกรมที่ยืดหยุ่น กาหนดเกณฑ์อย่าง
กว้างๆ เพื่อทาให้เกิดการพัฒนาโปรแกรมการรับรองในระดับประเทศ สิ่งนี้ส่งผลให้ FSC เผชิญ
ปัญหากับข้อโต้แย้งมากมายในการนาไปปรับใช้ในระดับท้องถิ่น และในทางตรงกันข้าม PEFC
ประสบปัญหากับความน่าเชื่อถือในการควบคุมมาตรฐานที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นในระดับท้องถิ่น
5.2 กำรสร้ำงควำมเชื่อมัน่ และกำรลดค่ำใช้จ่ำยในกำรดำเนินกำร
(Improving Reliability and Reducing Costs)
ความพยายามในการรั ก ษาความเชื่ อ มั่ น ของการรั บ รองต่ อ สั งคม แน่ น อนว่ า ทุ ก
โปรแกรมต้องมีความพยายามในการกาหนดขั้นตอนในรายละเอียด ตั้งแต่กระบวนการในการ
ตรวจรับรองในภาคสนาม การกากับดูแลมาตรฐานการรับรอง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อ
การจัดการการรับรอง ขั้นตอนต่างๆ นี้ล้วนนามาซึ่งค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานที่สูง ส่งผลให้
การกาหนดค่าใช้จ่ายในการรับรองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามก็ต้องรับกระแสการ
กดดันจากผู้รับการตรวจประเมินที่มีความประสงค์ที่จะจ่ายในอัตราที่ลดลง และแน่นอนว่าจุดนี้
ถือเป็นช่องทางการแข่งขันระหว่างโปรแกรมการรับรองต่างๆ
5.3 กำรขยำยขอบเขตกำรรับรองกับกำรรักษำไว้ซึ่งควำมแข็งแกร่งของ
ระบบ (Expanding Scope and Preserving Strength)
ด้วยแรงกดดันด้านการแข่งขัน ระหว่างโปรแกรมการรับรอง ทาให้แต่ล ะโปรแกรมมี
ความพยายามที่ ข ยายขอบเขตการรั บ รองออกไปโดยการลดเงื่อ นไขและสร้ า งโอกาสให้
ผู้ประกอบการได้เข้าสู่ระบบการรับรองมากขึ้น ทางด้าน FSC ก็มีแนวทางจะที่จะสร้างระบบ
การรั บ รองในระบบที่ เรี ย กว่า “Step-wise” เพื่ อลดแรงกดดัน ที่ต้ องทาให้ ได้ ตามมาตรฐาน
ทั้งหมดก่อนถึงจะได้รับการรับรอง โดยปรับมาเป็นขั้นของการรับรอง เพื่อทาให้ผู้ประกอบการ
รายย่อยได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบการรับรองได้มากขึ้น ในขณะที่ PEFC กาลังมีความพยายามใน
การขยายขอบเขตลงมายังผืนป่าเขตร้อน และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มนักอนุรักษ์มากขึ้น
กว่าช่วงที่เริ่มก่อตั้ง สิ่งเหล่านี้ย่อมทาให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงตามเจตนารมณ์ที่ระบบนั้น
ได้ถือกาเนิดขึ้น
232 | การปลูกสร้างสวนป่า
6. บทสรุป (Conclusion)
จากที่กล่าวมาจะเห็ น ได้ว่าการรับ รองทางด้านป่าไม้มีกระบวนการการพัฒ นาเป็นที่
ยาวนาน แต่ละโปรแกรมมีต้นกาเนิดที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงมีระบบกลไกในการดาเนินงาน
ที่ แ ตกต่ างกั น อี ก ทั้ งยั งมี แ นวโน้ ม ในการการพั ฒ นาต่ อ ไปอย่ างต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ ให้ ส อดรั บ การ
สถานการณ์ของแต่ละภูมิภาค ดังนั้นการทาความเข้าใจกับที่มาหรือแนวคิดในการพัฒนาของแต่
ละระบบถือเป็นสิ่งสาคัญต่อการนามาปฏิบัติ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการรับรอง
ระบบใด มีการดาเนินการแตกต่างกันอย่างไร ทุกโปรแกรมก็ล้วนมุ่งเน้นที่จะให้เกิดมาตรฐาน
เพื่อให้ผู้ประกอบการนาไปใช้ในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามแนวทางที่ทุกโปรแกรมมั่งหวัง
ไว้ตรงกัน ก็คือ การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
7. เอกสำรอ้ำงอิง (References)
ประสิทธิ์ ถิ่น ธารา. 2560. หั วหน้ าส่ วนจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้.
สัมภาษณ์, 15 สิงหาคม 2560.
Errol E. Meidinger, E. Chris and O. Gerhard. 2003. Social and Political Dimensions
of Forest Certification.
FSC. 2017. Facts and Figures. https://ic.fsc.org/en/facts-and-figures, September
4, 2017.
FSC. 2017. The 10 FSC Principles. https://ic.fsc.org/en/what-is-fsc-
certification/principles-criteria/fscs-10-principles, September 4, 2017.
PEFC. 2018. Requirement and Criteria. https://www.pefc.org/standards/
sustainable-forest-management/requirements-criteria. March 29. 2018.
บทที่ 12
กำรใช้ประโยชน์ไม้จำกสวนป่ำ
Timber Utilization

ไตรรัตน์ เนียมสุวรรณ และ นิคม แหลมสัก

1. บทนำ (Introduction)
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีบทบาทสาคัญทั้ง
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลได้
ประกาศยกเลิก การสัมปทานป่าบกทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2532 ทาให้เกิดการขาดแคลนไม้ใช้
สอยภายในประเทศ จึงได้มีการนาเข้าไม้จากต่างประเทศ และต่อมาภาครัฐจึงส่งเสริมการปลูก
ป่าเศรษฐกิจทั่วประเทศ เพื่อนาไม้จากสวนป่ามาทดแทนไม้จากป่าธรรมชาติ ไม้จากสวนป่า มี
ข้อจากัดหลายประการ เช่น มีอายุน้อย ลาต้นมีขนาดเล็ก มีกระพี้มากกว่าแก่น โดยไม้สวนป่าที่
สาคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิส ไม้กระถินเทพา และไม้ยางพารา เป็นต้น
2. กำรตลำดของอุตสำหกรรมไม้
ปัจจุ บัน ประเทศไทยมีความต้องการใช้ไม้ประมาณ 5 ล้ านลูกบาศก์เมตรปริมาณไม้
ที่ผลิตได้ภายในประเทศเพียง 59,700 ลูกบาศก์เมตร ไม่เพียงพอ โดยความต้องการใช้ไม้อีกมาก
เช่น ไม้ท่อน และไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เยื่อ และกระดาษ เป็นต้น ภาพรวมด้านเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมไม้ ในการสารวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2548
ทั้ งโลกมี ก ารใช้ ไม้ ทุ ก ชนิ ด ประมาณ 3,503 ลู กบาศก์ เมตร แยกเป็ น ไม้เพื่ อ พลั งงาน 1,792
ลูกบาศก์เมตร และไม้เพื่ออุตสาหกรรม 1,711 ลูกบาศก์เมตร (FAO, 2005) สาหรับประเทศ
ไทยมีการใช้ไม้ทุกชนิด 66 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 1.88 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการใช้ไม้ทั่วโลก
คิ ด เป็ น น้ าหนั ก ประมาณ 40 ล้ า นตั น แยกเป็ น ไม้ พ ลั ง งาน 20 ล้ า นต้ น และไม้ เพื่ อ การ
อุตสาหกรรม 20 ล้านตัน (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551)
การใช้ไม้ของโลกและของไทยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มของประชากรและระดับ
การพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันโลกยังประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น ทาให้ทั่ว
234 | การปลูกสร้างสวนป่า
โลกเริ่มให้ ความสนใจหันมาใช้ไม้ทดแทนทรัพยากรอื่ นที่ใช้แล้วหมดไป เช่น โลหะ พลาสติก
และปิโตเลียม การใช้ไม้ในโลกมากกว่า 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตรและประเทศไทยใช้มากกว่า
66 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อการผลิตไม้ภายในประเทศมีจากัด ทาให้ต้องมีการนาเข้าไม้จาก
ต่างประเทศ การใช้ไม้แปรรูป ของไทย 2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นไม้ท่อนที่ต้องผลิ ต
6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยมุ่งเน้นนามาใช้ประโยชน์เพื่อการก่อสร้าง และเพื่อการผลิตเครื่อง
เรือนและผลิตภัณฑ์ไม้เพื่อประดับตกแต่ง เป็นต้น
3. กำรใช้ประโยชน์ไม้จำกสวนป่ำ
การปลูกสร้างสวนป่าในประเทศไทยเริ่มต้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2449 โดยพระยาวัน
พฤกษ์พิจ ารณ์ โดยทาการทดลองปลูกสวนสั กแบบอาศัยชาวไร่ (Taunya Plantation) ในปี
พ.ศ. 2453 ที่สวนสักแม่พวก อาเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เนื้อที่ประมาณ 66 ไร่ และที่สวนสักแม่
จั๊วะ อาเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เนื้อที่ประมาณ 197 ไร่ และต่อมาได้มีการทดลองปลูกไม้กระยา
เลยที่จังหวัดเพชรบุ รี ในปี พ.ศ. 2462 โดยทดลองปลูกไม้โกงกางและโปรงซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่น
(กรมป่าไม้, 2527) หลังจากนั้นจึงได้มีการปลูกสร้างสวนป่าไม้กระยาเลยชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้นใน
ท้องที่จังหวัดต่างๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติยกเลิกสัมปทานการทาไม้
หยุดการทาไม้ออกทุกประเภท ในช่วงปี พ.ศ. 2531 - 2532 ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
มีความสนใจในการพัฒ นาป่าไม้มากขึ้น (บุ ญชุบ , 2540) การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่าจึงมี
ความสาคัญเพิ่มมากขึ้นโดยใช้หลักการการกลั่นชีวมวลเป็นหลัก
การใช้ป ระโยชน์ ไม้โดยภาพรวมอ้างอิงจากการกลั่นชีวมวล (bio refineries) ที่แบ่ง
ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ออกเป็นพลังงาน (bioenergy) ว้สดุชีวภาพ (biomaterial) ชีวเคมี
ภัณฑ์ (biochemical) อย่างไรก็ตามไม้จากสวนป่าสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดัง
ภาพที่ 12.1 เป็นการจาแนกภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้ของไทย ซึ่ง การใช้ประโยชน์ไม้ในอดีต
นิยมใช้ไม้ที่มีคุณภาพดี มีค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น ไม้สัก แดง ประดู่ มะค่า ยางนา เต็งและรัง
เป็ นต้น โดยนามาใช้ในงานก่อสร้าง เฟอร์นิ เจอร์และผลิตภัณ ฑ์ไม้ต่างๆ แต่เมื่อมีการยกเลิ ก
สัมปทานป่าไม้ในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยมีการนาเข้าไม้ท่อนจานวนมาก ดังนั้น รัฐบาลจึงมี
นโยบายส่งเสริมให้ มีการปลู กสร้างสวนป่ าเศรษฐกิจเพื่อทดแทนการนาเข้า การใช้ไม้ในเชิง
อุต สาหกรรม ซึ่ งมี ก ารใช้ อ ย่ างมี ป ระสิ ท ธิภ าพครบวงจรนั้ น ต้ อ งพยายามน าทุ กส่ ว นมาใช้
ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม้ต้นหนึ่งๆ สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนของเนื้อไม้และ
ส่ ว นที่ ไม่ ใช้ เนื้ อ ไม้ โดยส่ ว นที่ เป็ น เนื้ อ ไม้ มี ร าว 20 - 30 เปอร์เซ็ น ต์ เป็ น ไม้ แ ปรรูป ส าหรั บ
อุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องเรือน อีก 30 - 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นปีกไม้และเศษไม้ซึ่งมีโอกาส
และกาลังพัฒนาสู่อุตสาหกรรมเพื่อใช้ทาแผ่นชิ้นไม้อัดเรียงเสี้ยน การนาปีกไม้ เศษไม้ไปเข้าโรง
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 235

สับไม้ได้ชิ้น ไม้สับ เพื่อเป็น วัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมไม้ต่างๆ เช่น เยื่อและกระดาษ แผ่นปิดผิ ว


ประตู แผ่นชิ้นไม้อัด และแผ่นใยไม้อัด เป็นต้น ชี้เลื่อยซึ่งมีราว 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ ใช้เพื่อผลิต
เป็นพลังงานในรูปแบบต่างๆ แม้แต่เปลือกของลาต้นและกิ่งซึ่งมีราว 15 - 20 เปอร์เซ็นต์ ก็ยัง
สามารถน าไปใช้เป็ น ปุ๋ ยชีวภาพได้เป็ น อย่างดี ส่ วนที่ไม่ใช่เนื้อไม้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลื อก
ชัน ยาง น้ามันหอมระเหย ตลอดจนสารสกัดต่างๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ผลิตภัณฑ์ ด้าน
เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสาอาง เป็นต้น

ภาพที่ 12.1 ภาพรวมอุตสาหกรรมไม้ของไทย (นิคม, 2554)


ที่มา: คณะวนศาสตร์ (2554)

ส าหรั บ เนื้ อ ไม้ ซึ่ งเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห ลั ก ในการปลู ก สร้า งสวนป่ า สามารถน าไปเป็ น
ผลิตภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดมูลค่า ในทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งมีการลงทุนใน
วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท เช่น อุตสาหกรรมไม้แปรรูปเพื่อการก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น
ไม้พื้น ไม้พลาสติก ไม้แกะสลัก ชิ้นไม้สับและพลังงานจากไม้ ได้แก่ ไฟฟ้าและความร้อน เป็นต้น
จนไปถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีวงเงินเกินกว่า 100 ล้านบาท เช่น อุตสาหกรรมเยื่อ
236 | การปลูกสร้างสวนป่า
และกระดาษ แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด เชื้อเพลิงเหลว ก่อให้เกิดการจ้างงานในห่วงโซ่มูลค่า
จานวนมาก
การจาแนกไม้ที่จะทาการปลูกในสวนป่า Meijer (อานวย 2525 : 228) ได้แบ่งชั้นการ
เจริญเติบโตของไม้ป่าไว้ 5 ประเภท โดยยึดเอาการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงที่ความสูง เพียง
อก (girth at breast height, GBH) ในแต่ละปีเป็นเกณฑ์ คือ ถ้าต้นไม้เจริญเติบโตได้ต่ากว่า 1.0
เซนติเมตรต่อปี จัดเป็นไม้โตช้า (slow growing tree) เจริญเติบโต 1.0 - 2.5 เซนติเมตรต่อปี
จัดเป็นไม้โตค่อนข้างช้า (rather slow growing tree) เจริญเติบโต 2.5 - 4.0 เซนติเมตรต่อปี
จัดเป็นไม้ธรรมดา (normal growing tree) เจริญเติบโต 4.0 - 5.0 เซนติเมตรต่อปีจัดเป็นไม้โต
เร็ว (fast growing tree) และเจริญ เติบ โตมากกว่า 5.0 เซนติเมตรต่อปีจัดเป็นไม้โตเร็วมาก
(very fast growing tree) แต่อานวย (2525) เห็นว่าการกาหนดชั้นการเจริญเติบโตของไม้ป่า
ไม่แน่นอน เพราะไม้แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตไม่สม่าเสมอ ไม้บางชนิดอาจโตช้าในปีแรกแต่
โตเร็วมากในปีต่อๆมา ไม้บางชนิดโตช้าในปีแรกแต่ปีต่อๆมาโตช้าลง ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย
เช่น การตั้งตัวของรากเมื่อแรกปลูก ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละชนิดไม้ หรือสภาวะสิ่งแวดล้อม
ในการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงมีการกาหนดเกณฑ์ใหม่โดยใช้ทั้งความโตและอายุเป็นเกณฑ์คือ
ถ้ามีความโตเส้นรอบวงวัดที่ความสูงเพียงอกได้ 100 เซนติเมตร เมื่ออายุได้ 10 ปี จัดเป็นไม้เร็ว
มาก เมื่ออายุ 15 ปีจัดเป็นไม้โตเร็ว เมื่ออายุ 20 ปี จัดเป็นไม้โตเร็วปกติ เมื่ออายุ 25 ปี จัดเป็น
ไม้โตค่อนข้างช้า และเมื่ออายุ 30 ปี จัดเป็นไม้โตช้า เป็นต้น ปัจจุบันการปลูกไม้ป่าเริ่มเน้นเรื่อง
ของเศรษฐกิจ การค้า จึงได้มีการกาหนดมาตรฐานการเจริญ เติบโนของต้นไม้กันใหม่เพื่อให้
สอดคล้ องกับ การใช้ป ระโยชน์ และสนองตอบทางด้านเศรษฐกิจให้ มากยิ่งขึ้น จึงมีผู้ กาหนด
มาตรฐานการเจริ ญ เติบ โตของต้น ไม้ไว้เพี ย ง 3 ประเภทด้วยกันคือ ไม้โตเร็ว (fast growing
tree) ไม้ โ ตปานกลาง (medium growing tree) และไม้ โ ตช้ า (slow growing tree) ซึ่ ง ได้
กาหนดเอาความเพิ่มพูนรายปี (mean annual increment, MAI) เป็นปริมาตรต่อหน่วยพื้นที่
เป็นมาตรฐานการวัด (ศูนย์วิจัยป่าไม้, 2552) ดังนี้
1) ไม้โตเร็ว เป็นไม้ที่มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีตั้งแต่ 15 ลูกบาศก์เมตร/เฮกแตร์ หรือ
2.4 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ (1 เฮกเตอร์ = 6.25 ไร่) เช่น ไม้ตระกูลยูลาลิปตัสทุกชนิด กระถินเทพา
(acacia mangium) และตะกู (Anthoceplus chinensis) เป็นต้น
2) ไม้โตปานกลาง เป็นไม้ที่มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีตั้งแต่ 10-15 ลูกบาศก์เมตร/เฮกแตร์
หรือ 1.6-2.4 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ เช่น สัก (Tectona grandis) ซ้อ (Gmelina arborea) สะเดาเทียม
(Azadirachta excelsa) และตีนเป็ด (Alstonia scholaris) เป็นต้น
3) ไม้โตช้า เป็ น ไม้ที่มีความเพิ่มพูน เฉลี่ยรายปีน้อยกว่า 10 ลูกบาศก์เมตร/เฮกแตร์
หรื อ 1.6 ลู กบาศก์ เมตร/ไร่ เช่ น ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus) แดง (Xylia xylocarpa)
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 237

พะยู ง (Dalbergia cochinchninensis) ชิ งชัน (Dalbergia oliveri) ตะเคี ยนทอง (Hopea odorata)
และไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) อื่นๆ เป็นต้น
Softwood และ Hardwood ตามวิชาการป่าไม้แล้วมิได้หมายความว่าไม้เนื้ออ่อนหรือ
ไม้เนื้อแข็ง คาว่า softwood หมายถึงไม้ใบแคบ (needle leave tree) หรือไม้ตระกูลสน (conifers)
หรื อ ไม้ ที่ โครงสร้างไม่ มีรู พ อร์ (non-porous wood) ส่ ว น Hardwood หมายถึ ง ไม้ ใบกว้าง
(broad leaves tree) หรือไม้ที่มีโครงสร้างที่มีรูพอร์ (porous wood) แต่ปัญหาคือไม้เนื้ออ่อน
และไม้ เนื้ อ แข็ งตามความเข้ าใจโดยทั่ ว ไป เกี่ ย วกั บ ไม้ ที่ ใช้ในการก่ อ สร้างนั้ น หมายถึง ไม้ ที่
สามารถรับแรงหรือรับน้าหนักโดยไม่แตกหักเสียหาย
ไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้นั้น โดยมีการกาหนดตามความแข็งแรงและ
ความทนทานตามธรรมชาติ โดยกองวิจัยผลผลิตป่าไม้ได้เสนอหลักเกณฑ์การกาหนดไม้เนื้อแข็ง
หรือไม้เนื้ออ่อนต่อกรมป่าไม้โดยกรมป่าไม้เห็นชอบ โดยมีหนังสือกรมป่าไม้ที่ กส 0701/6679
ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2517 เรื่อง ข้อกาหนดเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง ในส่วนราชการกรม
ป่าไม้ เวียนให้หน่วยงานราชการในสังกัดกรมป่าไม้ได้ยึดถือปฏิบัติโดยกาหนดหลักเกณฑ์การ
แบ่ ง ไม้ เนื้ อ อ่ อ นไม้ เ นื้ อ แข็ ง ตามมาตรฐานกรมป่ า ไม้ โดยใช้ คุ ณ สมบั ติ ด้ า นกลศาสตร์
(mechanical properties) ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ แรง (stress) เกี่ ย วกั บ แรงดึ ง (tensile stress)
แรงกด (compressive stress) และ แรงเฉื อ น (shear stress) เป็ น ต้ น โดยใช้ แ รงทั้ ง 3
มารวมกันเพื่อทดสอบ แรงดัดสถิต (bending stress) ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แรงประลัย
หรือสั มประสิท ธ์ในการหั ก (modulus of rupture) เรียกความต้านทานต่อแรงประลั ยนี้ ว่า
ความแข็งแรงของไม้ในการดัด โดยตามหลักเกณฑ์นี้ ให้แบ่งไม้ออกเป็น 3 ประเภท โดยถือเอา
ความแข็งแรงในการดัดของไม้แห้ง (ความชื้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ) และความทนทานตาม
ธรรมชาติของไม้เป็นเกณฑ์ (กรมป่าไม้, 2548) ดังนี้

ตารางที่ 12.1 หลักเกณฑ์การแบ่งไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานกรมป่าไม้

ความแข็งแรงในการดัด ความทนทานตามธรรมชาติ
(กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) (ปี)
ไม้เนื้อแข็ง สูงกว่า 1,000 สูงกว่า 6
ไม้เนื้อแข็งปานกลาง 600-1,000 2-6
ไม้เนื้ออ่อน ต่ากว่า 600 ต่ากว่า 2
238 | การปลูกสร้างสวนป่า
สาหรับ ไม้ที่ มีความทนทานตามธรรมชาติต่า หากได้อาบน้ ายาป้องกัน รักษาเนื้อไม้
เสียก่อนให้มีปริมาณน้ายาก็สามารถเลื่อนขึ้นไปตามค่าความแข็งแรงได้

ตารางที่ 12.2 มาตรฐานอาบน้ายา

ยาประเภทเกลือ ยาประเภทเกลือ
ลักษณะการใช้งาน ยาประเภทน้ามัน
ละลายน้ามัน ละลายน้า
ใช้ในร่ม - - 5.6
ใช้กลางแจ้ง 96.0 4.8 8.0
ใช้ที่แฉะชื้น 128.0 6.4 12.0
ใช้ในน้าจืด 192.0 10.0 16.0
ใช้ในน้าทะเล 320 - 24.0

4. ไม้พลังงำน
ไม้พลังงานเป็น ชีวมวลชนิดหนึ่งซึ่งในประเทศไทยแบ่งชีวมวลออกเป็น 20 ชนิด คือ
แกลบ ฟางข้าว ปลายไม้ยางพารา ปีกไม้ยางพารา ตอ รากไม้ยางพารา ขี้เลื่อย เปลือกไม้ยูคา
ลิปตัส เหง้ามันสาปะหลัง เปลือกมันสาประหลัง กากมันสาปะหลัง ใยปาล์ม ทะลายปาล์มเปล่า
ทางปาล์ม ลาต้นปาล์ม ชานอ้อย ใบอ้อย ยอดอ้อย ซังข้าวโพด และลาต้นข้าวโพด ซึ่งชีวมวล
หมายถึ ง สารอิ น ทรี ย์ ที่ เป็ น แหล่ งกั ก เก็ บ พลั งงานจากธรรมชาติ แ ละสามารถน ามาใช้ ผ ลิ ต
พลังงานได้ เศษเหลือไม้จากสวนป่า กิ่งไม้จากการตัดสางขยายระยะหรือเศษไม้ เป็นชีวมวลที่ได้
จากโรงเลื่อยไม้ เมื่อนาไม้ 1 ลูกบาศก์เมตร ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ แล้ว จะใช้พลังงาน
ทั้งสิ้น 35 - 45 kWh เพื่อให้ได้ไม้แปรรูปประมาณ 0.5 ลูกบาศก์เมตร และจะมี วัสดุที่เหลือจาก
กระบวนการผลิตหรือ เศษไม้ ประมาณ 0.5 ลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าได้ 80 kWh
ไม้เชื้อเพลิ งมีห ลายรูป แบบอาจเป็ นไม้ฟืน ถ่าน ขี้เลื่ อย ขี้กบ ไม้ไผ่ ตลอดจนขี้เลื่อย
ถ่านอัดแท่งและแก็สมวลชีวภาพ ลักษณะไม้ฟืนที่ดีจะมีน้าหนักหรือความหนาแน่ นสูง (ไม่รวม
ความชื้น) ค่าความร้อนสูง กลิ่นและควันน้อย ปราศจากยางและสารแทรกที่เป็นพิษ ขี้เถ้าน้อย
จะติดไฟง่ายและมอดช้า ผึ่งแห้งได้ค่อนข้างเร็ว เสื่อมสภาพช้า (จากการผุ และแมลงกัดกิน)
ระหว่างผึ่งและระหว่างการเก็บรักษา สาหรับถ่านที่ดีจะมีน้าหนักสูง ค่าความร้อนสู ง ก้อนถ่าน
แข็ งแรง ไม่ ป ริ ยุ่ ย หรื อ เป็ น ผงง่าย หลั งจากติ ด แล้ ว คุ อ ยู่ ได้ น าน ไม่ แ ตกปะทุ ระหว่ างติ ด ไฟ
ปริมาณความชื้นต่าและมีสิ่งเจือปนอื่นน้อย ไม้ที่นิยมผลิตถ่าน ได้แก่ ไม้โกงกาง ถั่ว ซาก ก่อ
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 239

มะขามป้ อ ม นนทรี ตี น นก แต้ ว ตะคร้ อ เป็ น ต้ น ส าหรั บ ถ่ า นอาจมี ปั จ จั ย ในการผลิ ต เข้ า


เกี่ยวข้องที่สาคัญคือ เทคนิคในการเผา ชนิดของเตา ตลอดจนการเตรียมไม้
5. แผ่นไม้ประกอบและวัสดุแผ่น
แผ่นไม้ประกอบ หมายถึง วัสดุที่มีไม้เป็นองค์ประกอบ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนให้
ความแข็งแรง (reinforcement) ส่วนยึดติด (matrice) ในทางอุตสาหกรรมมีแผ่นไม้ประกอบที่
สาคัญ คือ แผ่ น ชิ้น ไม้อัด (particleboard) แผ่ นใยไม้อัด (fiberboard) แผ่น เกล็ ดไม้อัดเรียง
เสี้ยน (oriented strandboard) แผ่นไม้อัด (plywood) และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม วัสดุแผ่นหรือ
แผ่น ไม้ป ระกอบอาจมีศัพท์เทคนิ คที่ควรทาความเข้าใจ คาว่า บอร์ด (Board) มีความหมาย
เช่ น เดี ย วกั น กั บ พาเนล (Panel) คื อ แผ่ น ที่ มี ค วามกว้ า งมากกว่ า ความหนาค่ อ นข้ า งมาก
ในสถานการณ์ ป่ าไม้ ปั จจุ บั นของประเทศไทย บอร์ ดสามารถใช้ ทดแทนไม้ จริ ง (Solid wood)
ได้มาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ บอร์ดยังสามารถใช้พืชหรือ
เศษพืช เกษตรบางชนิ ดได้ อีกด้วย โดยใช้ล้ วนๆหรือนามาใช้ผสมกับไม้เป็นบางส่วน ไม้ซุงใน
สมัยก่อนเมื่อแปรรูปจะให้ผลผลิตสูง ประมาณ 50 - 60% เพราะไม้ซุงมีขนาดใหญ่ กลม เปลา ตรง
แต่ในปั จ จุบั น ไม้ซุงในลักษณะดังกล่ าวมีน้ อย เมื่อแปรรูปจะให้ ผ ลผลิ ตประมาณ 30 - 35%
ที่เหลือจะเป็นเศษไม้และขี้เลื่อย
ลักษณะของชิ้นไม้ที่ใช้ทาเป็นบอร์ด เหล่านี้ได้แก่ Flakes มีความหนา 0.2 - 0.4 มิลลิเมตร.
ยาว 10 - 60 มิลลิเมตร. กว้าง 3 - 30 มิลลิเมตร. ลักษณะของ Flake ในการผลิตบอร์ดจริงๆ
จะมีรูป ร่างเปลี่ ยนไปบ้ าง เนื่ องจากเกิดการแตกหั กในขณะล าเลี ยงไปตามท่ อลม จะเห็ นว่า
ลักษณะของ Flake จะมีความบางมากกว่าความยาวมาก และ Wafers หมายถึง Flake ที่อ้วน
ใหญ่หรือ Flake ที่มีความกว้างมากกว่า และ Strands หมายถึง Flake ที่ผอมและยาว ถ้านาไป
ผลิตบอร์ดชนิดที่เรียกว่า Oriented Strandboard (OSB) ซึ่งมีการผลิตโดยใช้เทคนิคพิเศษคือ
มีการเรียงชิ้นไม้ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเพิ่มความแข็งแรง (Bending strength)
ชิ้นไม้ที่ใช้ในการผลิตมีหลายรูปแบบดังภาพที่ 12.2
240 | การปลูกสร้างสวนป่า

ภาพที่ 12.2 ลักษณะต่างๆของชิ้นไม้ในรูปของการใช้ประโยชน์ไม้ (Maloney, 1993)

 ชิ้นไม้สับ (Chip) หมายถึง ชิ้นไม้ขนาดสม่าเสมอกัน ซึ่งได้จากการตัดด้วยใบมีดที่มี


ลักษณะคล้ายการสับด้วยขวานในเครื่องตัดชิ้นไม้ที่เรียกว่า Chipper
 เฟลค (Flake) หมายถึง ชิ้ น ไม้ ผ ลิ ต ขึ้ น เป็ น พิ เศษซึ่ งมี ลั ก ษณะบาง เรีย บ และมี
เส้นลายไม้ขนานกับผิวของชิ้นไม้ ชิ้นไม้ชนิดนี้ได้จากการตัดของใบมีดไปในทิศทาง
ขนานกับเส้นลายไม้แต่ทามุมกับแกนของเส้นใยไม้
 ขี้ ก บ หรื อ เชฟวิ่ ง (Shaving) หมายถึ ง ชิ้ น ไม้ ที่ บ างซึ่ งได้ จ ากการตั ด ด้ ว ยใบมี ด
เครื่องใสไม้ หรือเครื่องตัดไม้ชนิดอื่นๆ โดยใบมีดตัดไปตามแกนความยาวของแกน
ของเส้นใยไม้ ดังเช่นขี้กบที่ได้จากการใสผิวของไม้ เป็นต้น
 สแตรนด์ (Strand) หมายถึง ขี้กบที่มีความยาวมากเมี่อเปรียบเทียบกับความหนา
และความกว้าง
 สไลเวอร์ หรือ สพริน เตอร์ (Sliver or Splinter) หมายถึง ชิ้นไม้ที่มีด้านหน้าตัด
เป็นหรือเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีความยาวขนานกับ
เส้นลายไม้อย่างน้อย 4 เท่าของความหนาชิ้นไม้
 เม็ด หรือ แกรนู ล (Granule) หมายถึง ชิ้นไม้ที่มีความยาว ความกว้างและความ
หนาเท่ากันหรือเกือบเท่ากัน เช่น ขี้เลื่อย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ลักษณะรูปร่างของชิ้นไม้แต่ละชนิดสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ตามลักษณะชิ้นไม้ เช่น แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด แผ่นเกร็ดไม้อัดเรียงเสี้ยนหรือแผ่นแถบไม้
อัดเรียงเสี้ยน และแผ่นไม้อัด เป็นต้น
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 241

6. เยื่อและกระดำษ
วัตถุดิบที่ใช้ทาเยื่อกระดาษและกระดาษ ได้แก่ ไม้และวัสดุอื่นๆ ไม้ที่ใช้ได้แก่ ไม้ใบแคบ
จ าพวกสน (conifers หรื อ softwoods) และไม้ ใบกว้ า งจ าพวกพลั ด ใบ (deciduous หรื อ
hardwood) ไม้ใบแคบนั้นจะมีความยาวเส้นใยระหว่าง 2 - 4 มิลลิเมตร. (0.08-0.16 นิ้ว) ส่วน
ไม้ใบกว้างนั้นจะมีเส้นใยยาวระหว่าง 0.5 - 1.5 มิลลิเมตร. (0.02 - 0.06 นิ้ว) เส้นใยยาวของไม้
ใบแคบทาให้กระดาษมีความเหนียวและแข็งแรง ส่วนเส้นใยจากไม้ ใบกว้างนั้นนาไปผสมในการ
ทากระดาษจะทาให้กระดาษมีความทึบและจะช่วยให้กระดาษเรียบขึ้น
การผลิตเยื่อกระดาษจากไม้มีหลายวิธี ซึ่งจะแยกได้ 3 วิธีกว้างๆ คือ (1) กรรมวิธีทาง
เคมี (chemical process) โดยการใช้สารประกอบเคมีจาพวกซัลเฟตและซัลไฟต์เป็นตัวละลาย
ทาให้เส้นใยไม้เหลืออยู่ทากระดาษ กระดาษที่ทาได้จะมีสีขาว แต่จะได้ ผลผลิตต่า คือ ประมาณ
45 - 60% (2) กรรมวิธีกึ่งเคมี (semi-chemical process) เป็นกรรมวิธีผสมผสานระหว่างการ
ใช้สารประกอบทางเคมีกับกรรมวิธีใช้เครื่องบดชิ้นไม้เพื่อให้เกิด เส้นใย เป็นกรรมวิธีที่มีผลผลิต
มากถึง 80% คือ นาไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบมาต้มกับสารเคมีเสียก่อน เพื่อให้เนื้อไม้อ่อนตัวลงแล้วจึง
นาเข้าเครื่องบดเพื่อแยกเนื้อไม้ออกมาเป็นเส้นใย คุณภาพของเส้นใยจะดีกว่ากรรมวิธีเคมีล้วนๆ
เล็ กน้ อย แต่สิ้ น เปลื องพลั งงานมากกว่า (3) กรรมวิธีที่ใช้เครื่องบด (mechanical process)
ส่วนใหญ่ใช้กับไม้เนื้อแข็ง ซึ่งไม่สามารถใช้กรรมวิธีทางเคมีได้สะดวก กระดาษที่ได้เรียกกระดาษ
ที่ได้จากเยื่อบด (ground wood paper) เพราะใช้เครื่องจักรและหินบด ค่อยๆบดจากไม้เป็น
ท่อนๆ ให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบางทีก็บดจากชิ้นไม้สับ (chip) ให้เป็นชิ้นเส้นใยเล็กๆ ข้อดีของการ
ทาเยื่อกระดาษโดยใช้กรรมวิธีการใช้เครื่องจักรบดคือ สามารถผลิตเยื่อกระดาษราคาถูกเพื่อทา
กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษปิดฝาผนัง และอื่นๆ ข้อเสียคือ ไม่มีการฟอกสี สีไม่ค่อยขาวและ
มีความทนทานต่า สีของกระดาษตกซีดเมื่อใช้ไปนานๆ กรรมวิธีนี้สามารถใช้กับไม้ ใบกว้างทุก
ชนิด แต่เยื่อที่ได้จะมีลิกนิ น (lignin) และมีส ารแทรก (extractives) ปะปนอยู่มาก แต่ก็เป็น
วิธีการผลิ ตเยื่ อได้มากที่ สุ ดถึง 90 - 95% เยื่อที่ได้เป็น เยื่อคุณ ภาพต่าและเป็น กรรมวิธีที่ใช้
พลังงานมากที่สุด ส่วนเยื่อกระดาษจากกรรมวิธีเคมีและกึ่งเคมี จะใช้ไม้ใบแคบจาพวกที่มีเส้นใย
ยาวเป็นวัตถุดิบ เยื่อกระดาษจึงมีคุณภาพดี และมีการฟอกสีโดยกรรมวิธีเคมี กระดาษจึงมีสีขาว
และมีความทนทาน
7. เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน
เครื่องเรือนไม้เป็ นเครื่องใช้ที่สาคัญส าหรับอาคารบ้านเรือน สานักงาน โรงแรมและ
ภัตตาคาร เป็นต้น อุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนไม้ เริ่มต้นจากเครื่องเรื อนไม้ที่
242 | การปลูกสร้างสวนป่า
มีความจาเป็นต่อการใช้ในบ้านเรือน การออกแบบเป็นลักษณะง่ายๆ และราคาถูก เช่น โต๊ะ
เก้าอี้ และเตียง เป็ นต้น เริ่มแรกเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและได้ขยายเป็นอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ที่ผลิตเพื่อส่งออก โดยสั่งเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ
7.1 ประเภทของเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนไม้
เครื่องเรือนไม้สามารถแบ่งออกตามชนิดของไม้ที่นามาใช้เป็นวัตถุดิบ อาจแบ่งเป็น (1)
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนจากไม้จริง และ (2) เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนจากไม้ประกอบ
โดยเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนไม้ยังสามารถแยกย่อยออกมาเป็น เครื่องเรือนไม้เนื้อแข็งและ
เครื่องเรือนไม้เนื้ออ่อน และเครื่องเรือนอีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือ เครื่องเรือนหวาย ซึ่งยัง
ไม่ขอกล่าวในที่นี้ (กรมป่าไม้, 2542)
เครื่องเรือนไม้เนื้อแข็ง หมายถึง เครื่องเรือนไม้ที่ทาจาก ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ไม้
มะค่า และไม้แดง เป็นต้น เครื่องเรือนไม้เนื้อแข็งที่ทาจากไม้คุณภาพดีโดยมีการคัดเลือกไม้และ
อบอย่างดีและได้ผลิตภัณฑ์ราคาแพง และอาจมีเครื่องเรือนไม้อีกจาพวกที่ใช้ไม้คุณภาพไม่ดีและ
ไม่ผ่านการอบ เมื่อใช้งานจะเกิดการหดและแตกได้ง่าย
เครื่องเรือนไม้เนื้ออ่อน หมายถึง เครื่องเรือนที่ทาจากไม้ยางพารา ปัจจุบันเครื่องจากไม้
ชนิดนี้ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากราคาถูกและมีการอบ ไม้ยางพาราจัดเป็นไม้ที่มีคุณภาพด้อย
กว่าไม้อื่นๆ เนื่องจากมีความทนทานตามธรรมชาติต่ามากและเป็นไม้ที่ง่ายต่อการทาลายของ
แมลงและรา เป็นไม้ที่มีน้าหนักเบา และมีสีขาวนวล เนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม
ลักษณะเครื่องเรือนไม้ ส่วนใหญ่ผลิตเป็นเครื่องเรือนประเภทรับแขก ชุดรับประทาน
อาหาร ชุ ด นั่ งเล่ น และชุ ด วางของ เป็ น ต้ น ซึ่ งผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ะมี ทั้ งที่ มี สี ธ รรมชาติ แ ละย้อ มสี
อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (1) เครื่องเรือนไม้ที่ถอดไม่ได้ (Stable furniture or Furnished
Furniture) เป็นเครื่องเรือนสาเร็จรูปที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อใช้
ภายในประเทศและ (2) เครื่องเรือนไม้ชนิ ดที่ถอดได้ (Knock Down Furniture) เป็นเครื่อง
เรือนที่สามารถถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออกมาและประกอบเข้าด้วยกันใหม่ โดยใช้น๊อต ตะปู หรื อ
สกรู เป็นตัวยึด ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อส่งออก
8. ไม้แปรรูป
ไม้ยางพารานับเป็นไม้เศรษฐกิจที่สาคัญของประเทศไทย สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้
หลากหลาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ดังนั้นอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้
ยางพาราจึ งเป็ น อุ ต สาหกรรมที่ มี ก ารเจริ ญ เติบ โตอย่ างรวดเร็ว แต่ กระบวนการแปรรูป ไม้
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 243

ยางพาราก็ยังมีปัญหาอยู่ ซึ่งปัญหาหลักที่สาคัญยิ่งของการแปรรูปไม้ยางพาราในปัจจุบัน คือ


การใช้แรงงานที่มีทักษะเฉพาะในการเลื่อยท่อนไม้เพื่อให้ได้ขนาดตามต้องการและหลีกเลี่ยงไส้
ไม้เพื่อรักษาคุณภาพไม้ รวมถึงต้องให้ได้จานวนไม้แปรรูปในปริมาณมากที่สุดที่สามารถทาได้
ซึ่งแรงงานฝีมือในด้านนี้มีจานวนจากัด
การแปรรูปไม้ยางพาราไม่ยากมากนัก แต่ได้ไม้ยางพาราแปรรูปมีผิวด้านข้างเป็นขุย
และเป็นขน เนื่องจากภายในเนื้อไม้ยางพารามีความเค้นอยู่ค่อนข้างมากทาให้เกิดเป็นไม้ฝืนแรง
ประเภท Tension wood เมื่อแปรรูปจะทาให้ได้ไม้แปรรูปที่บิดงอง่าย ไสกบและขัดเงาได้ยาก
และอาจทาให้ใบเลื่อยติดขัดขณะเลื่อย ดังนั้นการแปรรูปไม้ยางพาราให้ได้ประสิทธิภาพและ
คุณภาพของไม้ที่ดีจะต้องมีการคัดเลือกไม้ท่อนที่มีลักษณะดี
ไม้จากสวนป่าสามารถขายในรูปลักษณะไม้ท่อน (log) ไม้จากสวนป่าส่วนใหญ่เป็นไม้โต
เร็ว ซึ่งเนื้อไม้ยังเจริญเติบโตหรือพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้นเนื้อไม้ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของลาต้นจึง
ประกอบไปด้วยส่วนของกระพี้ หากจะมีส่วนแก่นบ้างก็มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ไม้โตเร็วเมื่อถูก
ตัดโค่น หรือตัดทอนจะเกิดการแตกร้าวเริ่มจากส่ วนไส้ ไม้ไปหาบริเวณเปลื อก เนื่องจากการ
ปลดปล่อยความเค้นจากการเจริญเติบโตของไม้และเมื่อนาไม้ท่อนที่ยังสดอยู่ไปเลื่อยเป็นไม้แปร
รูปจะเกิดความโค้งงอขึ้นทันทีขณะเลื่อย
ยางพารา เป็นไม้จากสวนป่าที่สาคัญ โดยการกรีดยางจะสามารถกรีดได้เมื่ออายุ 7 - 30 ปี
เมื่อปริมาณน้ายางลดลงจะทาการตัดโค่ นเมื่ออายุ 25 - 30 ปีเพื่อปลูกรอบใหม่ อย่างไรก็ตาม
ยางพาราจะให้ปริมาณน้ายางดีที่สุดเมื่ออายุ 18 ปี เมื่อทาการตัดโค่นยางพาราทั่วประเทศมี
ปริมาณ 18 ล้านไร่ ซึ่งยางพาราเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อหยาบปานกลาง เสี้ยนตรง ความแข็งแรง
ปานกลาง ความหนาแน่น 0.64 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร พันธุ์ FRIM 600 เป็นพันธุ์ที่ปลูก
มากที่สุดในประเทศไทยคิดเป็นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูก ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณ
ไม้คือ ถ้าผลผลิตน้ายางสูงปริมาณไม้ที่ออกสู่ตลาดจะต่า โดยทั่วไปผลผลิตน้ายางจะมีปริมาณ
250 - 400 กิโลกรัม/ไร่/ปี ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านอุตสาหกรรมยาง เนื่องจากเป็น
ประเทศผู้ผลิตยางอันดับหนึ่งของโลกจึงมีโอกาสและความเป็นไปได้ในการพัฒ นาประเทศให้
เป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปเบื้องต้นให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการ
ของผู้ ใ ช้ ไ ด้ รวมทั้ ง พั ฒ นาการผลิ ต เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย างในชั้ น ปลาย การเพิ่ ม การใช้ ย าง
ภายในประเทศเป็น ร้อยละ 20 จากเดิมที่มีการใช้เพียงร้อยละ 11 ของผลผลิตทั้งหมด หรือ
ประมาณ 3.2 – 3.4 แสนตันต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขยายตัวในอุตสาหกรรมยางทาให้
อุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปขยายตัวด้วย
244 | การปลูกสร้างสวนป่า
ในปี พ.ศ. 2558 มีพื้นที่ปลูก 19 ล้านไร่ โดยพื้นที่ 1 ไร่จะได้ไม้ท่อนยางพารา 30 ตัน
และกิ่งก้าน ตอ รากอีก 15 ตัน ต่อไร่ ไม้ท่ อนจะเข้าสู่ โรงเลื่ อย ส่ ว นกิ่ง ก้าน ตอ ราก จะใช้
แกะสลักให้ความร้อนในเตาขนาดเล็ก ไม้ยางพารา 1 ไร่จะเข้าสู่โรงเลื่อย (sawmill) ประมาณ
50% โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางปลายท่อน 6 นิ้วขึ้นไป ส่วนไม้ท่อน กิ่งก้านที่เหลือเข้าโรงงานผลิต
แผ่นไม้ประกอบ (wood composites) ในการแปรรูปไม้ท่อนยางพารา 1 ตันจะได้ไม้แปรรูป
ประมาณ 9 ลูกบาศก์ฟุต ซึ่งทาให้ได้ขี้เลื่อย 15 - 17% ขี้เลื่อยส่วนใหญ่ขายเพื่อเพาะเห็ด ส่วนที่
เหลือจากการแปรรูปคือปีกไม้มีประมาณ 45 - 55%
โดยทั่ วไปไม้ ท่ อนยางพาราสด 1 ตั น สามารถแปรรู ป ได้ ไม้ แปรรู ป ได้ ประมาณ
9-12 ลู กบาศก์ ฟุ ต และจะเข้ า สู่ อุ ต สาหกรรมเฟอร์ นิ เจอร์ ไม้ เป็ น เฟอร์ นิ เจอร์ ที่ ผ ลิ ต จาก
ไม้ ย างพารา (solid wood) คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 60 และผลิ ต จากไม้ ช นิ ด อื่ น คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 10
ส่วนไม้ยางพาราที่ เหลืออีกประมาณร้อยละ 30 จะนาเข้าสู่โรงงานผลิตแผ่นไม้ประกอบ เช่น
แผ่ น ชิ้ น ไม้ อั ด (particleboard) และไม้ อั ด (plywood) เป็ น ต้ น ซึ่ ง ในโรงงานผลิ ต แผ่ น ไม้
ประกอบนี้จะใช้ไม้ยางพาราคิดเป็นร้อยละ 90 แสดงดังภาพที่ 12.3

ภาพที่ 12.3 รูปแบบการใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา


อุตสาหกรรมไม้ยางพาราครอบคลุมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้ยางพาราอย่างครบ
วงจร ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมย่อย 3 ส่วน
1) อุตสาหกรรมต้น น้ า (primary industry) เริ่มต้นจากการปลู กสร้างสวนโดยเลือก
ปลูกพันธุ์ยางพาราที่ให้เนื้อไม้ได้ดี การโค่นต้นยางพาราในสวนยางพารา การเลื่อ ยไม้เป็นท่อน
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 245

(log) การชั ก ลากไม้ อ อกจากสวน และการขนส่ งไม้ จ ากสวนไปยั ง โรงเลื่ อ ยไม้ มู ล ค่ า ของ
อุ ต สาหกรรมต้ น น้ าจะเริ่ ม นั บ ตั้ งแต่ ช าวสวนยางพาราขายไม้ ในสวนยางพารา การโค่ น ไม้
ยางพารา การชักลากไม้ การเลื่อยไม้เป็นท่อน และการขนไม้จากสวนยางพาราจนถึงโรงเลื่อยไม้
2) อุตสาหกรรมกลางน้า (secondary industry) ประกอบด้วยโรงเลื่อยไม้ โรงอบไม้
โรงอัดน้ายาไม้ โรงงานผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด เริ่มต้นจากการแปรรูปไม้ท่อนให้เป็น
ไม้แผ่นตามขนาดที่ต้องการ และการแปรรูปไม้ขนาดเล็ก เช่น ปีกไม้ ขี้เลื่อย ขี้กบ ให้เป็นแผ่น
ชิ้นไม้อัด (Particleboard) และแผ่นใยไม้อัด (Fiberboard)
3) อุตสาหกรรมปลายน้า (tertiary industry) ประกอบด้วยกลุ่มผลิตเฟอร์นิเจอร์และ
ชิ้นส่วนกับกลุ่มผลิตเครื่องเรือน อุตสาหกรรมปลายน้าจะนาไม้ยางพาราแปรรูป แผ่นชิ้นไม้อัด
และแผ่ น ใยไม้ อั ด มาผลิ ต เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส าเร็จ รูป เช่ น เฟอร์นิ เจอร์ เครื่ อ งใช้ ภ ายในบ้ า น
อุปกรณ์ก่อสร้าง กรอบรูป รูปแกะสลัก ของเล่น ฯลฯ เพื่อส่งขายทั้งภายในและต่างประเทศ
ในส่วนของอุตสาหรรมกลางน้า การผลิตไม้ยางพาราแปรรูป โดยโรงงานไม้ยางพาราใน
ภาคใต้ โดยจังหวัดที่มีโรงงานไม้ยางพาราแปรรูปมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รองลงมา
คือจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลาและจังหวัดตรัง โรงงานแปรรูปยางพาราส่วนใหญ่เป็น
โรงงานขนาดเล็ก ไม่มีกระบวนการอัดน้ายาและอบแห้งไม้ ขณะที่โรงงานแปรรูปไม้ขนาดใหญ่
มีกระบวนการตั้งแต่การเลื่อย การแปรรูป จนถึงการอัดน้ายาและอบแห้งนั้น มีจานวนไม่มาก
นัก และส่วนใหญ่จะเป็ นโรงงานที่ผลิตเพื่อการส่งออก ในอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารามี
รายละเอียดดังนี้
วัตถุดิบ : วัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป คือ ไม้ยางพาราที่มีอายุ
มากซึ่งให้ปริมาณน้ายางต่า ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการกรีดน้ายาง ทาให้เกษตรกรต้องโค่น ต้น
ยางพาราแล้วปลูกทดแทน
ขั้ น ตอนและกระบวนการผลิ ต : การผลิ ต ไม้ ย างพาราแปรรู ป เริ่ ม จากการน าไม้
ยางพารามาจากสวนยางพารา โดยนายหน้ าหรือ เจ้าของโรงงานแปรรูปจะเข้าไปรับ ซื้อต้ น
ยางพาราในลักษณะการขายยกสวน หลังจากตัดโค่นต้นยางพาราแล้วจะนาไม้ท่อนบรรทุกด้วย
รถยนต์และนาไปขายให้โรงงานแปรรูป ระยะเวลาที่ดาเนินการตั้งแต่การตัดโค่นต้นยางพาราใช้
เวลา 1 วันถึง 3 วัน เพื่อลดการถูกทาลายจากเชื้อราและแมลงเจาะทาลายไม้ยางพารา ไม้ท่อน
ที่ได้จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1) การเลื่อย เป็นการนาไม้ยางพาราที่ตัดไว้แล้วมาทาการเลื่อย เพื่อเปิดปีกไม้และจัด
ไม้ให้ได้ขนาดตามต้องการ การเลื่อยเปิดปีกไม้จะต้องตัดเผื่อความหนาและความกว้างในแต่ละ
ด้านๆ ละ 1 หุน หรือเท่ากับ 2.8 มิลลิเมตร เนื่องจากไม้จะเกิดการหดตัวเองขณะที่อบ
246 | การปลูกสร้างสวนป่า
2) การอัดน้ายา ไม้ยางพาราที่ตัดจากสวนยางพาราจะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน
หรือ 72 ชั่วโมง จะต้องรีบนาไปจุ่มหรืออัดน้ายารักษาเนื้อไม้ เพื่อป้องกันแสงแดด มอด แมลง
และเชื้อราทาลายเนื้อไม้ เนื่องจากไม้ยางพารามีเปอร์เซ็นต์ของน้าตาล แป้ง และความชื้นสูง
โดยจะนาไม้ที่เลื่ อยเปิดปี กและแปรรูป แล้วไปผ่านกระบวนการอัดน้ายาเข้าไปในเนื้อไม้ด้วย
วิธีการใช้แรงอัดและสุญญากาศ ซึง่ ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2 ชั่วโมง
3) การอบไม้ เนื่องจากไม้ยางพารามีความชื้นสูง ดังนั้น หลังจากอัดน้ายาแล้วจะต้อง
รีบนาไม้ยางพาราเข้ากระบวนการอบ มิฉะนั้นไม้จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้าตาลหรือสี คล้าลง ไม้ที่ผ่าน
การอัดน้ายาแล้วจะเข้าโรงอบไม้ เพื่อ กาจัดความชื้นออกจากเนื้อไม้ทาให้เนื้อไม้แห้งสนิท การ
อบอาจใช้เวลา 8 วันถึง 10 วัน ขึ้นกับขนาดของไม้ ไม้ที่ออกจากเตาอบควรมีความชื้นร้อยละ 8
ถึง 10 การนาไม้ยางพารามาอบจะทาให้ไม้ยางพาราหดตัว หลังจากอบแล้วควรจะเก็บไม้ไว้ในที่
แห้ง มีหลังคาปกคลุม อากาศถ่ายเทได้สะดวก
อั ต ราการแปรรู ป (lumber recovery) เป็ น สั ด ส่ ว นของปริม าตรไม้ ที่ แ ปรรูป ได้ ต่ อ
ปริมาตรของไม้ท่อนที่เข้าแปรรูป โดยคิดเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ พบว่าไม้ยางพารามีอัตรา
การแปรรูปเฉลี่ย 33 - 35 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นปีกไม้ เศษไม้และขี้เลื่อย (สมาคมธุรกิจไม้
ยางพาราไทย, 2546) ซึ่งไม้ ยางพาราแปรรูปที่ได้จะมี การบิ ดงอโค้งประมาณ 3.0 - 4.6 มิ ลลิ เมตร
ต่อความยาวไม้ 1 เมตร มีการโก่ง 3.0 - 4.8 มิลลิเมตร ต่อความยาวไม้ 1 เมตร อัตราการแปร
รูปไม้ยางพาราจะไม่สูงมากนักซึ่งจะขึ้นอยู่กับเทคนิคการเลื่อยและชนิดของเลื่อยที่ใช้เป็นสาคัญ
ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เลื่อยเปิดปีกและเลื่อยซอยเป็นประเภทเลื่อยสายพานแนวตั้งทั้งหมด มีบ้างที่ใช้
เลื่อยวงเดือนที่มีคลองเลื่อยลึก พันเลื่อยจะกว้างประมาณ 1/4 - 3⁄10 นิ้ว ซึ่งในการซอยไม้หนา
1/ - 1 นิ้ว จะทาให้ เสียเนื้อไม้ไปประมาณ 20-50 เปอร์เซ็นต์ของไม้แปรรูป แต่ละแผ่น อัตรา
2
การแปรรูปโดยใช้เลื่อยนอนเป็นเลื่อยเปิดปีกและใช้เลื่อยสายพานแนวตั้งเป็นเลื่อยซอย แปรรูป
ไม้ท่อนทั้งหมด 41 ท่อน แปรรูปไม้หนา 2 นิ้วขึ้นไป กว้างตั้งแต่ 2-8 นิ้ว โดยเผื่อหน้าไม้ 3⁄32-
1⁄ นิ้ว เผื่อความกว้าง 3⁄ – 1/ นิ้ว ทาให้ได้อัตราการแปรรูปเฉลี่ย 47 เปอร์เซ็นต์ ดังภาพที่
18 16 4
12.4 (กฤษดาและคณะ, 2550, สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย, 2546)

ภาพที่ 12.4 อัตราการแปรรูปไม้ยางพารา


บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 247

คุณภาพของไม้ยางพาราแปรรูป ส่วนใหญ่เกิดจากการโก่งงอโดยเฉพาะการแปรรูปไม้
ท่อนขนาดเล็ก ซึ่งจากการแปรรูปไม้ยางพาราเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 - 10 นิ้วและสารวจไม้แปรรูป
จานวน 25 แผ่น หนา 1 นิ้ว กว้าง 4 - 6 นิ้ว ยาว 1 เมตร พบว่าได้ไม้โค้ง (bow) 8 แผ่น ไม้โก่ง
(spring) 8 แผ่น ไม้บิด (twisted) 13 แผ่น จะเห็นว่าการแปรรูปไม้ยางพาราสด 25 แผ่นได้ไม้
แปรรูปที่มีลักษณะดีเพียง 6 แผ่นเท่านั้น นับเป็นปัญหาอีกอันหนึ่ งที่จากัดการเจริญเติบโตของ
อุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ยางพารา (กฤษดาและคณะ, 2550; สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย,
2546)
อัตราการแปรรูปไม้ (lumber recovery) หมายถึง สัดส่วนของปริมาตร ไม้แผ่นที่ได้
จากแปรรูปต่อปริมาตรของไม้ท่อนที่เข้าแปรรูป คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือ เขียนเป็นสูตรได้ ดังนี้
คือ
อัตราการแปรรูปไม้ = ปริมาตรไม้แปรรูป X 100 % /ปริมาตรไม้ท่อนที่เลื่อย
โรงงานแปรรูปไม้โดยทั่วไป นิยมซื้อไม้ท่อนหน้าโรงงาน เป็นหน่วยน้าหนักกิโลกรัมหรือ
เป็นตัน (1,000 กก.) บางแห่งไม่มีเครื่องชั่งรับซื้อเป็นหน่วยปริมาตร โดยใช้การกองไม้ท่อนให้ได้
ความกว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร ยาว 1 เมตร มักเรียกเป็นหลา (1 ลูกบาศก์เมตร) โดยคิดเทียบ
น้าหนักไม้ท่อน 1 ตันมีปริมาตร 1.30 ลบ.ม.
8.2 กำรอำบน้ำยำไม้
การตัดฟันหมายทอนไม้ แล้วบรรทุกสู่ โรงงานแปรรูป กระทา ในเวลาอันสั้นไม่เกิน
3 วัน ทั้งภาคใต้และภาคตะวันออกไม่มีการใช้สารเคมีป้องกันเชื้อรา และแมลงเจาะกินไม้ แต่
อย่างใด เมื่อไม้ท่อนเข้าสู่ โรงงานแปรรูป ไม้ถูกนาเข้าแปรรูปทันที เพื่อป้องกันการทาลายของ
เชื้อรา และแมลงหลังจากแปรรูป แล้วทาการอัดน้ายา จาพวกบอเรตหรือโบรอน โดยการอัด
เข้าเนื้อไม้แบบเต็มเซลล์ (full-cell process) ก่อนอบไม้ ไม้ยางพาราเป็นไม้ที่มีความทนทาน
ตามธรรมชาติต่า เกิดเชื้อราและการทาลายของแมลงได้ง่าย พบว่าการอาบน้ายาแบบใช้แรงอัด
ขนาดความจุของถังอัด ตั้งแต่ 3.5 - 8.0 ลบ.ม ตัวยาที่ใช้ในการอัด คือ Timbor ราคากิโลกรัม
ละ 50 - 60 บาท หรื อ Boric + Borax (ในอั ต ราส่ ว น Boric acid: Borax = 1:1.5) ราคา
กิโลกรัมละ 32 - 40 บาท และ Cellbor ราคากิโลกรัมละ 36 - 42 บาท ใช้เวลาในการอัดต่อ
ครั้งประมาณ 1.5 - 2 ชั่วโมงโดยใช้ความดัน 150 - 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว
248 | การปลูกสร้างสวนป่า
8.3 กำรอบไม้
จะอบด้วยเตาอบ ซึ่งไม้ยางพาราที่จะอบจะผ่านการอัดน้ายาไม้แ ล้ว ลักษณะเตาอบไม้
เป็ น การอบไม้ แบบใช้ ไอน้ ามี เครื่ องควบคุม ซึ่งจะไม่มี ตารางอบไม้ แต่อบไม้โดยอาศัย ความ
ชานาญหรือจากประสบการณ์ อบไม้ให้ มีความชื้น 8 – 12 % เวลาในการอบ แต่ละเตาประมาณ
7 - 15 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดเตา ความหนา และความชื้นของไม้ ก่อนเข้าอบ จานวนเตาอบไม้
ของแต่ละโรง มีตั้งแต่ 5 - 50 เตา ความจุ 13.0 - 45.0 ลบ.ม./เตา โดยเฉลี่ยเตาอบไม้แต่ละโรง
มีประมาณ 8 - 10 เตา มีความจุระหว่าง 20.0 - 30.0 ลบ.ม./เตา
8.4 กำรตรวจสอบคุณภำพไม้ยำงพำรำ
ไม้ยางพาราแปรรูปที่ผ่านกรรมวิธีรักษาเนื้อไม้ เมื่อนาไม้มาไสหน้าเรียบร้อยแล้ว ก่อน
นาไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพไม้ เพื่อตรวจสอบว่า น้ายาเคมีที่อัดซึม
เข้าไปในเนื้อไม้ มากน้อยเพียงใด จาเป็นต้องตรวจสอบ ไม้ทุกเตาอบ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างด้วย
การเลือกหยิบมาตรวจ 2 - 3 ชิ้น (ในแต่ละมุมของเตาอบ) เพื่อตรวจดูว่าน้ายาเคมี ที่อัดเข้าไป
ในเนื้ อ ไม้ ย างพารา ที่ อบแห้ งแล้ ว น้ ายาซึม เข้าไปอยู่ในเนื้ อไม้ มาก หรือ น้ อย เพี ย งพอที่ จ ะ
ป้องกันเชื้อรา และแมลงทาลายเนื้อไม้ได้ดี พอตามความต้องการ หรือไม่ มีวิธีผสมสารเคมีที่ใช้
ตรวจสอบ คือ
การทดสอบอัตราการซึมของสารโบรอนในเนื้อไม้ (ธีระ, 2549) สารละลายที่ 1 สกัด
Turmeric 10 กรัม ด้วย Ethyl alcohol 100 มิลลิลิตร เป็นเวลา 6 - 8 ชั่วโมง จากนั้นนามา
กรองจะได้สารละลายสีเหลืองใส
สายละลายที่ 2 ใช้กรด Hydrochloric เข้มข้น 20 มิลลิลิตร เจือจางด้วย Ethyl alcohol
ให้เป็น 100 มิลลิลิตร แล้วให้อิ่มตัวด้วยกรด Salicylic จะได้สารละลายใสไม่มีสี
วิธีทดสอบ ตัดไม้ที่จะทดสอบให้ห่างจากปลายไม้เข้าไปประมาณ 300 มิลลิเมตร ไม้ที่
นามาทดสอบต้องตัดมาใหม่ เป็นไม้แห้งปราศจากแมลงและรอยแตก จากนั้นทาสารละลายที่ 1
ลงบนหน้ าตั ดของไม้ ทดสอบ แล้ ว ทิ้ งไว้ 2 - 3 นาที จึงทาสารละลายที่ 2 ลงบนหน้ าตัด ไม้
เดียวกัน (การทาให้ทาไปในทิศทางเดียว) บริเวณที่มีตัวยาโบรอนซึมเข้าไปจะมีสีแดงแสด
ข้อควรระวัง น้ายาที่ใช้ในการทดสอบไม้ยางพารา ควรผสมใช้วันต่อวัน หรือ ผสมใช้
เป็นครั้งคราว ให้ผลใน การทดสอบดีกว่า
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 249

8.5 กำรทดสอบควำมชื้นของไม้
การทดสอบความชื้น ของไม้จาเป็ นมาก เพราะไม้ยางพาราเป็น ไม้ ที่ สามารถดูดซึม
ความชื้นในอากาศได้ดี ต้อง ดูแลไม้ยางพาราที่อบแห้งแล้วเป็นอย่างดี โดยวางไว้ในที่ที่ฝนสาด
ไม่ถึง ไม้ย างพาราที่น าออกจากเตาอบทุ กโรงงาน ถือปฏิ บัติเช่นเดียวกัน คือ ความชื้นอยู่ที่
8-10 % เมื่อไม้ออกจากเตาอบมาอยู่ ในระดับอากาศท้องถิ่น การดูดซึมความชื้น จะค่อยๆ
เพิ่มขึ้น ในไม้ตามภาวะของอากาศ ภาคตะวันออก อากาศมีความชื้นเฉลี่ย 11 - 14 % ในฤดูฝน
อาจถึง 15 %
เครื่องมือที่ใช้วัดความชื้นในไม้ โดยทั่วไปใช้เครื่องมือ 3 ชนิด คือ
1) เครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปูตัวเดียว วิธีการวัด ตอกตะปู 1 ตัว ลงไปใน เนื้อไม้
ความชื้นที่มีอยู่ในไม้ จะผ่านตะปูเข้าไปที่มาตรวัดความชื้น เข็มจะเคลื่อน ไปตามตัวเลขบอก
ระดับความชื้นในไม้
2) เครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปู 2 ตัว วิธีการวัด ตอกตะปู 2 ตัว ลงไปในเนื้อไม้
ความชื้ น ในไม้ จ ะผ่ า นตะปู ทั้ ง 2 ตั ว เข้ า ไปในเครื่ อ งวั ด เพื่ อ บอกตั ว เลขระดั บ ความชื้ น
เช่นเดียวกับ เครื่องวัดแบบตะปูตัวเดียว
3) เครื่องวัดความชื้นแบบดิจิตอล วิธีการวัด วัดได้เฉพาะไม้ที่ไสเรียบแล้ว ใช้เครื่อง
ทาบลง ไปบนผิ ว หน้ า ไม้ ที่ จ ะวัด กดให้ แ นบสนิ ท กั บ ไม้ ตั ว เลขบนเครื่ อ งวัด จะขึ้ น -ลง อยู่
ประมาณ 1 นาทีจึงหยุดนิ่ง แสดงถึงระดับความชื้นในไม้
ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา ที่ตลาดต่างประเทศให้การยอมรับ ได้แก่ (1) เฟอร์นิเจอร์ไม้
ยางพารา และ (2) ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไม้ เช่ น เครื่ อ งใช้ ท าด้ ว ยไม้ กรอบรู ป ไม้ รู ป แกะสลั ก และ
เครื่องประดับทาด้วยไม้ วัสดุก่อสร้างทาด้วยไม้ ไม้ปาร์เกต์ ไม้พื้น (Flooring) ไม้เสา เช่น ไม้
นั่งร้าน และไม้ค้ายันสาหรับการก่อสร้าง (3) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น เช่น ไม้แปรรูปเป็นแผ่น
หนาเกิ น 6 มม. แผ่ น ไม้ วี เนี ย ร์ แ ละไม้ แ ละผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไม้ แ ผ่ น อื่ น ๆ (4) ของเล่ น ไม้ ป ระเภท
ประเทืองปัญญา (Education Toys) (5) เชื้อเพลิง ได้แก่ ฟืนและถ่าน และ (6) เยื่อกระดาษ
9. ไม้เสำเข็มและไม้ค้ำยัน
ไม้เสาเข็ม คือ ไม้ที่ไว้ใช้เป็นรากฐานรองรับสิ่งก่อสร้างในพื้นที่บริเวณดินอ่อน เช่น ฐาน
รากอาคารบ้านเรือน ฐานรากจากเสารั้ว เป็นต้น ในพื้นที่บริเวณดินอ่อนไม้เสาเข็มที่นิยมทั่วไป
จะมีขนาด 6 นิ้ว x 6 เมตร, 5 นิ้ว x 5 เมตร, 4 นิ้ว x 4 เมตร, และ 3 นิ้ว x 3 เมตร การใช้ไม้
เป็นเสาเข็ม โดยทั่วไปควรคานึงถึงระดับน้าใต้ดินประกอบด้วย โดยที่ควรให้หัวเสาเข็มอยู่ลึกกว่า
ระดับน้าใต้ดินขึ้นลง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้ผุเร็ว และต้องลึกพอที่จะไม่ให้แมลง มอด ปลวก
250 | การปลูกสร้างสวนป่า
ต่างๆ เข้าทาลายได้ โดยทั่ วไปไม้ที่นิยมใช้ทาไม้เสาเข็ม ได้แก่ ไม้สนประดิพัทธ์ ไม้ยูคาลิปตัส
และไม้สะเดาเทียม เป็นต้น
ไม้ค้ายัน คือ ไม้ที่ไว้ค้ารองรับแรงหรือถ่ายน้าหนักโครงสร้างต่างๆ สาหรับก่อสร้างใน
ช่วงเวลาอันสั้น ไม้ค้ายันเป็นไม้ที่ใช้งานชั่วคราวอัตราการใช้ซ้าโดยทั่วๆ ไป เฉลี่ยประมาณ 2 - 3
ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและจัดการ ไม้ค้ายันในการก่อสร้างที่ใช้กันมาก โดยทั่วไปจะ
เป็ น พ ว ก ไม้ เส าเข็ ม เนื่ อ งจ าก ไม้ ที่ มี ราค าถู ก เช่ น ไม้ ส น ป ระ ดิ พั ท ธ์ ไม้ โก งก าง
ไม้เบญจพรรณ เป็นต้น ขนาด 1.5 x 3 นิ้ว หรือ 2 x 4 นิ้ว
10. ชิ้นไม้สับ
ชิ้นไม้สับ (chip) คือ ชิ้นไม้เล็กๆ ซึ่งถูกสับออกมาจากไม้ท่อน โดยเครื่องจักรซึ่งเรียกว่า
เครื่องสับชิ้นไม้ (chipper) ชิ้นไม้สับอาจผลิตมาจากไม้ท่อนขนาดต่างๆ หรืออาจมาจากกิ่งไม้
ปลายไม้ ซึ่ ง ใช้ ท าประโยชน์ อ ย่ า งอื่ น ไม่ ไ ด้ แ ล้ ว รวมทั้ ง จากเศษไม้ ป ลายไม้ ที่ เหลื อ จาก
อุตสาหกรรมไม้ประเภทต่างๆ เช่น เศษเหลือจากโรงงานเครื่องเรือน โรงงานแปรรูปไม้ โรงงาน
ไม้อัด ไม้ประกอบต่างๆ รวมทั้งต้นไม้ที่ได้จากการตัดสางขยายระยะของส่วนป่าต่างๆ หรือไม้ได้
จากการตัดแต่งกิ่งไม้ตามริมถนนหลวง เป็นต้น
การผลิตชิ้นไม้สับมีขั้นตอนการผลิตง่ายๆ คือ การนาไม้ท่อนเส้ นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่
2 นิ้วขึ้นไปจนถึงไม้ขนาดโตเข้าเครื่องปอกเปลือกไม้ เปลือกไม้ที่ได้ทาการแยกออกไปหมักเพื่อ
น าไปท าปุ๋ ย อิ น ทรี ย์ ไ ด้ ส่ ว นไม้ ท่ อ นที่ ป อกเปลื อ กแล้ ว จะถู ก ส่ ง ผ่ า นรางคั ด แยกขนาด
โดยแรงงานคน ไม้ที่ มีข นาดเล็ ก จะถู กแยกออกไปเข้ าเครื่อ งสั บ ชิ้น ไม้ ข นาดเล็ ก ส่ ว นไม้ที่ มี
ขนาดใหญ่จะเข้าเครื่องสับไม้ขนาดใหญ่ หลังจากนั้นชิ้นไม้สับเหล่านี้จะถูกส่งผ่านไปบนตะแกรง
ร่อนเพื่อคัดขนาดชิ้น ไม้สั บ ชิ้น ไม้สั บที่มีขนาดใหญ่ กว่ามาตรฐานจะถูกนามาสั บอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งชิ้นไม้สับสุดท้ายจะได้ชิ้นไม้สับที่มีขนาดความยาวประมาณ 20 - 30 มิลลิเมตร หนาประมาณ
3 - 5 มิลลิเมตร หลังจากนั้นจึงลาเลียงชิ้นไม้ด้วยสายพานไปกองไว้ที่ลานตากชิ้นไม้สับให้แห้ง
เพื่ อ น าไปใช้ ป ระโยชน์ ต่ อ ไป โดยการใช้ ป ระโยชน์ จ ะน าไปใช้ ในอุ ต สาหกรรมเยื่ อ และ
กระดาษ (pulp and paper industries) อุตสาหกรรมแผ่ นใยไม้อัด (fiberboard industry)
อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัด (particleboard industry) อุตสาหกรรมแผ่นไม้อัดซีเมนต์ (wood
cement board industry)
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 251

11. สถำนกำรณปัจจุบันและแนวโน้มของอุตสำหกรรมไม้
ทิ ศ ทางอุ ต สาหกรรมไม้ ในแผนแม่ บ ทเพื่ อ พั ฒ นาการป่ า ไม้ นี้ ได้ ร วบรวมเรีย บเรีย ง
สาระสาคัญจากแผนแม่บท ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 ปัญหาป่าไม้ มองประเด็นปัญหาป่าไม้ไว้ 3 ประเด็นคือ การตัดไม้ทาลายป่า ความ
ต้องการไม้เพื่อใช้สอยและเพื่ออุตสาหกรรมไม้ และความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์
ทรัพยากรและที่ดิน
 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ป่าไม้ ซึ่งไม้เป็นวัตถุดิบสาหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อ
มนุษย์มากมาย โดยไม้เป็นวัตถุดิบเอนกประสงค์ เพิ่มรายได้ของประชาชนให้มาก
ขึ้น ก่อตั้งได้ง่าย โรงงานอยู่ใกล้วัตถุดิบ มีวัตถุดิบใช้ตลอดไป
 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ป่าไม้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ (1) อุตสาหกรรมขนาดใหญ่
(large-scale industries) ซึ่ งใช้เครื่องจั กรที่ ซับ ซ้ อนและควบคุม ด้ ว ยด้ ว ยระบบ
อัตโนมัติ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ควบคุมกระบวนการผลิตโดยใช้คนไม่กี่
คน เช่นโรงงานผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด ขนาดกาลังการผลิต 100 ตันต่อวัน ต้องการเงิน
ลงทุนราว 200 ล้านบาท (2) อุตสาหกรรมขนาดย่อม (small-scale industries)
ใช้เครื่องจักรง่ายๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ควบคุมการผลิตด้วยแรงคนเป็นส่วน
ใหญ่ (labor intensive) และลงทุ น ไม่ ม ากนั ก (ไม่ เ กิ น 10 ล้ า นบาท) (3)
อุต สาหกรรมภายในครอบครั ว หรือ อุ ตสาหกรรมระดั บ ท้ อ งถิ่น (domestic or
village operation industries) ซึ่ ง ใช้ เครื่ อ งมื อ ที่ ง่ า ยมาก ราคาถู ก มั ก จะผลิ ต
เครื่องใช้เอง และเป็นการผลิตที่พึ่งต้นเองได้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
และใช้แรงจากสมาชิกภายในครอบครัว
12. สรุป
ในการใช้ ป ระโยชน์ ไม้ ไห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพอาจจะใช้ ห ลั ก การของการกลั่ น ชี ว มวล
(biorefineries) โดยทั่ ว ไปจะท าการแตกย่ อ ยตาม 4 ลั ก ษณะคื อ รู ป แบบ (platforms)
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ (products) วั ต ถุ ดิ บ ตั้ ง ต้ น (feedstock) และกรรมวิ ธี (process) แบ่ งย่ อ ยตาม
รูปแบบอาจมองในมุมของพลังงานที่ใช้หรือการตลาดเป็นหลัก การแบ่งย่อยตามผลิตภัณฑ์ใน
มุมมองของผลิตภัณฑ์ที่มีน้าหนักโมเลกุลน้อยไปหามาก การแบ่งย่อยตามวัตถุดิบ ตั้งต้นอาจมี
มุมมองของชนิดของวัสดุ และการแบ่งย่อยตามกรรมวิธีอาจแบ่งเป็นกรรมวิธีเคมี เชิงกล ความ
ร้ อ นหรื อ อื่ น ๆ การเลื อ กกรรมวิ ธี ในการใช้ ป ระโยชน์ ไม้ ส วนป่ าต้ อ งค านึ งถึ งงบลงทุ น และ
การตลาดเป็นหลักซึ่งอาจแบ่งผลิตภัณฑ์ได้เป็น วัสดุชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลังงานจากชีวมวล
252 | การปลูกสร้างสวนป่า
13. เอกสำรอ้ำงอิง
กรมป่าไม้. 2527. การปลูกสร้างสวนป่าในประเทศไทย. กองบารุง. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
กรมป่าไม้. 2542. การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สานักส่งเสริมการ
ปลูกป่า กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 168 หน้า.
กรมป่าไม้. 2548. ไม้เนื้อแข็งของประเทศไทย. กลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้ สานักวิจัยการ
จัดการป่าไม้และผลผลิตป่าไม้ กรมป่าไม้. 111 หน้า.
กฤษดา สังข์สิงห์, พนัส แพชนะ, พิเชษฐ ไชยพานิชย์, และนุชนาฏ ณ ระนอง. 2550. อัตรา
การแปรรูป คุณภาพ และสมบัติของไม้ยางพารา. รวมพลังวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยาง
ไทยยัง่ ยืน. น. 239-248.
นิคม แหลมสัก. 2554. ผลผลิตจากป่าไม้: ผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้เพื่ออนาคตป่าไม้ไทย ใช้ไม้
แทนวัสดุอื่น จากการจัดการอย่างยั่งยีน คีนความสมดุลสู่สังคมไทย สังคมโลก. การ
ประชุมวิชาการเนื่องในปีสากลแห่งป่าไม้และวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้. 23 – 24 พฤษภาคม 2554. ณ ห้องบอลรูม
โรงแรม มารวย การ์เด้นส์, กรุงเทพฯ.
บุญชุบ บุญทวี. 2540. ความรู้เรื่องป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่า. ส่วนวนวัฒนวิจัย. สานัก
วิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2551. ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการธุรกิจการเกษตร
หน่วยที่ 11-15 น. ใน นิคม แหลมสัก อัจฉรา โพธิ์ดี และลัดดา พิศาลบุตร.
บรรณาธิการ. กรณีตัวอย่างการจัดการธุรกิจป่าไม้บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จากัด
(มหาชน). บัณฑิตศึกษาสาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ธีระ วีนิน. 2549. การรักษาคุณภาพไม้. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ. สานักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปทุมธานี.
38 หน้า
ศูนย์วิจัยป่าไม้. 2552. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว.
ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 192 หน้า.
บทที่ 12 การใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่า | 253

สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย. 2546. อุตสาหกรรมไม้ยางพารา. ใน: เอกสารประกอบการ


สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราครบวงจร.
วันที่ 25 มกราคม 2546. ณ โรงแรมโนโวเทล เซ็นทรัล สุคนธา หาดใหญ่,
จังหวัดสงขลา. น. 1-26.
อานวย คอวนิช. 2525. ไม้โตเร็วและแนวคิดเกี่ยวกับการปลูกสร้างสวนป่าในประเทศไทย.
พ. จิระการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 228 หน้า.
FAO. 2005. Global forest resources assessment 2005. Food and Agriculture
Organization of the United Nations. 320 p.
Maloney, T.M. 1993. Modern particleboard and dry-process fiberboard
manufacturing. Miler Freeman Inc, San Francisco. 681 p.

You might also like