You are on page 1of 16

~๑~

นิราศนรินทร์คำโคลง

ผู้แต่ง : นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)


กวีในรัชกาลที่ ๒ เดิมชื่อ อิน เป็นมหาดเล็กหุ้มแพร รับราชการวังหน้า
(รองบาทบวรวัง) เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์ ด้ยมีความไพเราะ
เป็นเยี่ยม แต่งขึ้นเมื่อตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ซึ่งทรงยก
ทัพไปปราบพม่าที่ยกมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพรเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ ความรู้
เกี่ยวกับประวัติผู้แต่งนั้นไม่ชัดเจน นอกจากปรากฏอยู่ในโคลงท้ายเรื่องว่า
โคลงนิราศเรื่องนี้ นรินทร์อิน
รองบาทบวรวังถวิน ว่าไว้

ลักษณะของนิราศ : นิราศ หมายถึง เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่


อยู่ไปในที่ต่าง ๆ
เนื้อหาของนิราศ : นิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รัก เนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
วรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรัก เป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่น ๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบ
เท่านั้น
นางในนิราศที่กวีพรรณนา อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้ แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่ง
นิราศได้ไพเราะ ในบางกรณีกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยัง
ต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ
คำประพันธ์ในนิราศ : โคลง กาพย์ กลอน กาพย์ห่อโคลง แต่ที่นิยมมากสุดในสมัยโบราณได้แก่ โคลง ส่วนมากมักขึ้นต้น
ด้วยร่ายหนึ่งบท และร่ายหนึ่งบทนี้จะมีใจความสดุดีบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระมาหากษัตริย์
นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือ มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วน
รายละเอียดอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
ลักษณะคำประพันธ์ : นิราศนรินทน์คำโคลง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ จำนวน ๑ บท เป็นบทขึ้นต้น และ
โคลงสีส่ ุภาพ จำนวน ๑๔๓ บท

ร่ายสุภาพ :

โคลงสี่สุภาพ :
~๒~

นิราศนรินทร์คำโคลง (เนื้อเรื่องย่อ)
นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้น
จึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุด
ผ่านวัดแจ้ง คลองบางกอก (ใหญ่) วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ
โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม
คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บาง
สะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้ว
สงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง

นิราศนรินทร์คำโคลง
ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้า ลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์ แย้มฟ้า
แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญท้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้า
เกริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้
แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิดฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ
ถอดความ : เนื้อหากล่าวถึง การชมบ้านเมืองที่สงบสุขเพราะบุญบารมีของพระมหากษัตริย์ เมืองกรุงเทพฯ ซึ่งในร่ายบท
นี้เรียกว่า “ศรีอยุธเยนทร์” (หมายถึง อยุธยาซึ่งเป็นสร้อยนามของกรุงเทพฯ) เป็นเมืองที่กว้างใหญ่สวยงามกว่าเมืองใดในโลกจน
ชนะเมืองสวรรค์ได้ พระมหากษัตริย์ทรงผดุงแผ่นดินนี้ให้กว้างขวางราวกับแผ่นดินสวรรค์ กรุงเทพฯ งามรุ่งเรืองในท้องฟ้า ส่องแสง
สว่างจ้ากว่าแสงจันทร์ และสว่างราวแสงอาทิตย์ที่ส่องโลก พระมหากษัตริย์ทรงมีแม่ทัพผู้กล้าหาญ ทรงขจัดความทุกข์ของชาวเมือง
และทรงปราบศัตรูได้ราบคาบ พระเดชเป็นที่ร่ำลือจนเจ้าแผ่นดินอื่นเกรงกลัวพากันมานอบน้อมขอเป็นเมืองขึ้น พระองค์ทรงขยาย
พระราชอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ทรงบำรุงทหารให้กล้าแข็ง และทรงชี้ทางประเสริฐให้แก่ประชาชนของพระองค์ ด้วยพระเดชนุ
ภาพและพระบารมีดังกล่าวจึงเป็นที่เลื่องลือว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรง “พระยศไท้เทิดฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม”
ใช้โวหารภาพพจน์ใดเด่นชัด ................................................................ ตรงกับรสวรรณคดีไทย .......................................................
คำอธิบายศัพท์
กว่ากว้าง หมายถึง .............................................................................. เจิดจันทร์ หมายถึง ...............................................................
เข็ญข่าวยิน หมายถึง ........................................................................... ค้อมหัว หมายถึง ..................................................................
จรรโลง หมายถึง .................................................................................. ขุนหาญ หมายถึง .................................................................
แจกแสง หมายถึง ................................................................................. ด้าว หมายถึง ........................................................................
ทแกล้ว หมายถึง .................................................................................. ทศธรรม หมายถึง .................................................................
เทิด หมายถึง ....................................................................................... ไท หมายถึง ...........................................................................
ผ่อนแผ่นดินให้ผาย หมายถึง .............................................................. ผ้าง หมายถึง .........................................................................
เมืองเมรุ หมายถึง ............................................................................... แย้มฟ้า หมายถึง ...................................................................
รพิพรรณ หมายถึง .............................................................................. รอนเสี้ยน หมายถึง ...............................................................
ลบล่มสวรรค์ หมายถึง ........................................................................ ศรีสิทธิ์ หมายถึง ....................................................................
ส่ายเศิก หมายถึง ............................................................................... เหลี้ยนล่ง หมายถึง ................................................................
~๓~

อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา


สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง
รสวรรณคดีไทยรสใด ....................... คำว่า “บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ” กล่าวถึงสิ่งใด .........................................
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
สิงหาสน์ หมายถึง ........................................................................ ปรางค์ หมายถึง ............................................................................
บุญเพรง หมายถึง ........................................................................ บังอบาย หมายถึง .........................................................................
เบิกฟ้า หมายถึง ........................................................................... ฝึกฟื้นใจเมือง หมายถึง .................................................................

เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์
อำนาจของคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะในพระพุทธศาสนา โดยกล่าวว่ารุ่งเรืองยิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์ มีการแสดง
ธรรมทุกค่ำเช้า ภาพเจดีย์ที่เรียงรายยอดสูงเสียดกัน มองดูงามยิ่งกว่าแสงจากแก้วเก้าประการ เป็นหลักของแผ่นดินเป็นที่พิศวงแก่
สวรรค์
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
ไตรรัตน์ หมายถึง .......................................................................... พันแสง หมายถึง ...........................................................................
รินรสพระธรรม หมายถึง .............................................................. เสียดยอด หมายถึง ........................................................................
แก้วเก้า หมายถึง .......................................................................... แก่นหล้า หมายถึง .........................................................................
หลากสวรรค์ หมายถึง ..................................................................

โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร
ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว
หอไตรระฆังขาน ภายค่ำ
ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์
โบสถ์ วิหาร ระเบียง ธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้น กว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์ หอพระไตรปิฎก เสียงระฆังในหอระฆัง
ยามพลบค่ำ และแสงตะเกียงจากโคมอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำศัพท์
ระฆังขาน หมายถึง ......................................................................... ไพหาร หมายถึง .........................................................................
ก่ำฟ้า หมายถึง ............................................................................... เฟือน หมายถึง ...........................................................................
~๔~

จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย


เยียวว่าแดเดียวยก แยกได้
สองซีกแล่งทรวงตก แตกภาค ออกแม่
ภาคพี่ไปหนึ่งไว้ แนบเนื้อนวลถนอม
เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปกับนาง ถ้าหากว่าดวงใจสามารถ
แบ่งออกได้ก็จะผ่าออกป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเอาไปกับตัวขณะเดินทาง แต่อีกซีกหนึ่งจะมอบให้นางรักษาไว้
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
เยียว หมายถึง ......................................................................... แด หมายถึง ......................................................................................
ปลิดอก หมายถึง ..................................................................... แล่ง หมายถึง ....................................................................................
เปลื้อง หมายถึง .......................................................................

โฉมควรจักฝากฟ้า ฤาดิน ดีฤา


เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน บนเล่า นะแม่
ลมจะชายชักช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดี เพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชมนาง จะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัด
พานางบินหนีไปบนฟ้า แต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนางมีรอยช้ำ
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
ฝากไว้กับ ............................................................................ เกรงว่า ………………................................................................................
ฝากไว้กับ ……………....................................................……… เกรงว่า ………………................................................................................
คำอธิบายศัพท์
ไท้ธรณินทร์ หมายถึง .................................................................... กล้ำ หมายถึง ...............................................................................
เลื่อน หมายถึง .............................................................................. ชาย หมายถึง ..............................................................................
ชัก หมายถึง ..................................................................................

ฝากอุมาสมรแม่แล้ ลักษมี เล่านา


ทราบสวยมภูวจักรี เกลือกใกล้
เรียมคิดจบจนตรี โลกล่วง แล้วแม่
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง
จะฝากนางไว้กับใครดี จะฝากนางไว้กับนางอุมาหรือชายาพระนารายณ์ ก็เกรงว่าจะเข้าใกล้ชิดนาง พี่คิดจนสามโลกจะ
ล่วงลับไปก็คดิ ว่าจะฝากนางไว้ในใจตนเองดีกว่าฝากไว้กับคนอื่น
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
ฝากไว้กับ ............................................................................ เกรงว่า ………………................................................................................
~๕~

คำอธิบายศัพท์
อุมา หมายถึง ............................................................................... ลักษมี หมายถึง ............................................................................
สวยมภูว หมายถึง ........................................................................ จักรี หมายถึง ................................................................................
ตรี หมายถึง .................................................................................. โลก หมายถึง ................................................................................

จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พีพ่ ร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
ล่องเรือมาตามลำคลองไกลออกไปทุกที มาจนถึงตำบลบางยี่เรือ ขอให้เรือแผงช่วยพานางมาด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอ
น้ำตาพี่จึงไหลนอง
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
ขอร้องให้ ............................................................................ รับน้อง แต่ ………………..........................................................................
คำอธิบายศัพท์
เรือแผง หมายถึง ......................................................................... คล่าว หมายถึง ..............................................................................
พร้อง หมายถึง ............................................................................ เมียงม่าน หมายถึง ........................................................................

บ้านบ่อน้ำบกแห้ง ไป่เห็น
บ่อเนตรคงขังเป็น เลือดไล้
อ้าโฉมแม่แบบเบญ- จลักษณ์ เรียมเอย
มาซับอัสสุชลให้ พีแ่ ล้วจักลา
เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางบ่อ ซึ่งบนบกน้ำแห้งเหือดจนไม่มีน้ำ มีแต่บ่อน้ำในตาที่คงเต็มไปด้วยสายเลือด ถ้าพีไ่ ด้นางผู้
มีความงาม ๕ ประการ มาซับน้ำตาพี่แล้วค่อยจะลาจากไป
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
บ้านบ่อ หมายถึง ......................................................................... บ่อเนตร หมายถึง ..........................................................................
บก หมายถึง ................................................................................ เบญจลักษณ์ หมายถึง ...................................................................
อัสสุชล หมายถึง .........................................................................
~๖~

เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
เห็นต้นแตกจากกิ่งก้านสลับกับต้นระกำ ทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกัน
ไกล ขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ร่วมกัน
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
แจกก้าน หมายถึง ............................................................................ โท หมายถึง ..............................................................................
หน้า หมายถึง ...................................................................................

ชมแขคิดใช่หน้า นวลนาง
เดือนดำหนิวงกลาง ต่ายแต้ม
พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง จักเปรียบ ใดเลย
ขำกว่าแขไขแย้ม ยิ่งยิ้มอัปสร
ดูพระจันทร์กร็ ู้ว่าไม่ใช่หน้าของน้องเสียแล้ว แต่ดวงจันทร์มรี อยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่
มีตำหนิไม่มสี ิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะใบหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
ต่ายแต้ม หมายถึง ............................................................................... ขำ หมายถึง ...........................................................................

ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ สงสาร อรเอย


จรศึกโศกมานาน เนิ่นช้า
เดินดงท่งทางละหาน หิมเวศ
สารสั่งทุกหย่อมหญ้า ย่านน้ำลานาง
เดินทางมาถึงตะนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามา ความโศกเศร้าที่จากนางไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ
หรือสถานที่ใด ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสั่งความไปถึงน้ำได้ตลอด
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
ตระนาว หมายถึง ............................................................................... ตระหน่ำ หมายถึง ..................................................................
ท่ง หมายถึง ........................................................................................ ละหาน หมายถึง ....................................................................
หิมเวศ หมายถึง .................................................................................
~๗~

พันเนตรภูวนาถตั้ง ตาระวัง ใดฮา


พักตร์สี่แปดโสตฟัง อื่นอื้อ
กฤษณนิทรเลอหลัง นาคหลับ ฤาพ่อ
สองพิโยคร่ำรื้อ เทพท้าวทำเมิน
ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ ผู้มีพันตา ผู้เฝ้าดูระวังโลก พระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหูที่คอยฟังสรรพเสียงใด ๆ หรือจะเป็น
พระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพลากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
พันเนตร หมายถึง ....................................................................... พักตร์สี่แปดโสต หมายถึง ..............................................................
กฤษณนิทรเลอหลัง หมายถึง ...................................................... นาคหลับ หมายถึง .........................................................................
พิโยค หมายถึง ............................................................................

นทีสี่สมุทรม้วย หมดสาย
ติมิงคล์มังกรนาคผาย ผาดส้อน
หยาดเหมพิรณ ุ หาย เหือดโลก แล้งแม่
แรมราคแสนร้อยร้อน ฤเถ้า เรียมทน
แม้แม่น้ำทั้ง ๔ สายเหือดแห้ง เหล่าปลาใหญ่ มังกร พญานาคต่างพากันหาที่ซ้อนตัว แม้แต่หยาดฝนเหือดแห้งไม่มีสักหยด
แม้แดดร้อนจะทำให้กายร้อน แต่ก็ไม่ร้อนเท่าใจของพี่
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
นทีสี่สมุทร หมายถึง ........................................................................ ติมิงคล์ หมายถึง ........................................................................
เถ้า เป็นคำโทโทษ ของ ....................................................................

ลมพัดคือพิษต้อง ตากทรวง
หนาวอกรุมในดวง จิตช้ำ
โฉมแม่พิมลพวง มาเลศ กูเอย
มือแม่วีเดียวล้ำ ยิ่งล้ำลมพาน
ลมที่พัดมาต้องอก(กาย)นั้นดังหนึ่งพิษ ความหนาวกลุ้มอยู่ในนอกรูส้ กึ ช้ำใจ โอ้น้องผู้ประหนึ่งพวงดอกไม้อันงามของข้า
น้องพัดให้ครั้งเดียวก็รสู้ ึกเย็นยิ่งกว่าลมพัด
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
รุม หมายถึง ............................................................................... พวง หมายถึง ..................................................................................
มาเลศ หมายถึง ......................................................................... วี หมายถึง .......................................................................................
พาน หมายถึง ............................................................................
~๘~

เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย


เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจานผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายออกมาบรรยายให้น้องได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย
ดังนั้นพี่จึงเอาเขาสุเมรุมาเป็นปากกา เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือในอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยัง
ไม่พอ เพราะความรู้สีกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโลมลงมาจากฟ้า จะรับรู้สึกในใจของพี่หรือไม่
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
เมรุ หมายถึง .............................................................................. เลข หมายถึง ...................................................................................
หยาดฟ้า หมายถึง ......................................................................

ตราบขุนคิริข้น ขาดสลาย แลแม่


รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า
สุริยจันทรขจาย จากโลก ไปฤา
ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย
แม้ภูเขาพังทลาย สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์จะหายไปในโลก แต่ความรักของพี่นั้นก็ไม่หายไป ถึงไฟมา
ผลาญ ล้างทวีปทั้ง ๔ ก็สามารถล้างความอาลัยของพี่ได้
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
ข้น หมายถึง .............................................................................. หกฟ้า หมายถึง ................................................................................
สี่หล้า หมายถึง .........................................................................

ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง แรมนวล นาฎฤา


เสนาะสนั่นดินครวญ ครุ่นฟ้า
สารสั่งพี่กำสรวล แสนเสน่ห์ นุชเอย
ควรแม่ไว้ต่างหน้า พีพ่ ู้นภายหลัง
พี่ได้คร้ำครวญถึงความรักของพี่จนสั่นกึกก้องทั้งแผ่นดินและท้องฟ้า เป็นข้อความที่บรรยายถึงความโศกเศร้าของพี่
ข้อความเหล่านั้นขอให้น้องรับไว้เป็นต่างหน้าให้นึกถึงอดีตระหว่างเรา
ปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ..................................................................................................................................................................
คำอธิบายศัพท์
กำสรวล หมายถึง ...................................................................... พู้น หมายถึง ....................................................................................
~๙~

บทวิเคราะห์
ด้านกลวิธีการแต่ง
๑) การใช้คำ กวีใช้คำที่งดงามทั้งรูป ความหมายและเสียงที่ไพเราะ โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจ
๑.๑) เลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง
๑.๒) การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ
๒) ภาพพจน์
๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือการกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คณ ุ ค่าทางด้านอารมณ์เป็นสำคัญ
๒.๒) การใช้บุคคลวัต กวีใช้คำสมมติต่าง ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกริ ิยาอาการความรูส้ ึกเหมือนมนุษย์
ด้านสังคม
๑) นิราศนรินทร์คำโคลงมีเนื้อหาสาระที่จรรโลงวัฒนธรรม
๒) นิราศนรินทร์คำโคลงมีคณ ุ ค่าทีส่ ะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยรัชการที่ ๒

นิราศนรินทร์คำโคลง เป็นตัวอย่างของโคลงนิราศชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ เหมาะสม


สำหรับเยาวชนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธุ์โคลงที่มีเนื้อหาพรรณอารมณ์ ความรัก และธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบทาง
ฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี

แบบทดสอบ
คำชี้แจง : เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
๑. นิราศนรินทร์คำโคลงเป็นวรรณคดีในสมัยใด
ก. อยุธยาตอนต้น ข. อยุธยาตอนกลาง
ค. อยุธยาตอนปลาย ง. รัตนโกสินทร์ตอนต้น
๒. จากข้อสันนิษฐานของผูร้ ู้ “นิราศ” น่าจะมีความหมายถึงข้อใด
ก. เร่ร่อน ข. ความหวัง
ค. การร้างรา ง. การพลัดพราก
๓. ข้อใดไม่ใช่บทพรรณนาในความเป็นนิราศ
ก. ผู้แต่งจากที่รักไปจริง ๆ ข. แต่งโดยผู้แต่งไม่ได้จากไปไหน
ค. นำเค้าเรื่องในวรรณคดีมาแต่ง ง. ถูกทุกข้อ
๔. ธรรมเนียมนิยมในการแต่งคำประพันธ์ประเภทนิราศมักจะพิถีพิถนั ที่จะแสดงรสใดเป็นสำคัญ
ก. รสบรรยายสถานที่ ข. รสชมความงาม
ค. รสคำ รสความ ง. รสรัก รสอาลัย
๕. ข้อใดเป็นลักษณะคำประพันธ์ของโคลงนิราศนรินทร์
ก. ร่ายดั้น - โคลงดั้น ข. ร่ายสุภาพ – โคลงดั้น
ค. ร่ายสุภาพ - โคลงสีส่ ุภาพ ง. ร่ายดั้น – โคลงสี่สภุ าพ
~ ๑๐ ~

๖. ข้อใดเป็นบทเริม่ ต้นในนิราศนรินทร์กล่าวถึงสิ่งใด
ก. ชมบ้านเมือง ข. พรรณนาการจากนาง
ค. สดุดีพระมหากษัตริย์ ง. พรรณนาการเดินทาง
๗. ข้อใดคือจุดหมายปลายทางของนิราศนรินทร์
ก. เพชรบุรี ข. เมืองตะนาวศรี
ค. ชุมพร ง. ถลาง
“เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจานผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น”
๘. ข้อใดถอดคำประพันธ์ไม่ตรงกับความหมายของคำประพันธ์นี้
ก. เอียงอกเทความรู้สึกเพื่อบอกความในใจแก่น้อง
ข. แม้จะใช้เขาพระสุเมรุเป็นปากกาจุ่มน้ำในมหาสมุทร ละลายดินเป็นหมึก
ค. ใช้อากาศเป็นแผ่นกระดาษเพื่อพรรณนาความรักความอาลัยก็ยังไม่พอ
ง. น้องจะรู้หรือไม่ว่าพี่ทุกข์ร้อนคิดถึงน้องเพียงใด โปรดบอกพี่ด้วย
๙. “จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. จำใจต้องจากน้องไปด้วยความอาลัยราวกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปจากน้อง
ข. ถ้าควักหัวใจออกมาได้จะฝากหัวใจไว้กับน้อง
ค. จำใจต้องจากน้องไปไกลด้วยความอาลัยอาวรณ์
ง. ถ้าปลิดหัวใจให้น้องได้ พี่จะทำทันทีด้วยความรักและอาลัย
“เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม”
๑๐. จากโคลงบทข้างต้นนี้ บาทใดที่แสดงความหวัง
ก. เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ข. ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
ค. บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
ง. จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
๑๑. จากโคลงในข้อ ๑๐ บาทใดที่สะท้อนคติพระพุทธศาสนา
ก. เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ข. ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
ค. บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
ง. จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
~ ๑๑ ~

๑๒. “อ้าโฉมแม่แบบเบญ- จลักษณ์ เรียมเอย” ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหญิงงามในเบญจลักษณ์


ก. ผมงาม ข. ตางาม
ค. ผิวงาม ง. วัยงาม
๑๓. เหตุที่นิราศนรินทร์เป็นนิราศที่ได้รับการยกย่องมีผู้กล่าวถึงและลบรัศมีนิราศอื่น ๆ คือข้อใด
ก. เป็นต้นแบบของนิราศเรื่องอื่น ข. แต่งเลียนแบบของเก่า
ค. มีบรรยายได้ดี ง. มีความวิจิตรบรรจงแสดงความรู้สึก
๑๔. ผู้แต่งนิราศนรินทร์คำโคลงแต่งขึ้นในรัชกาลใด
ก. รัชกาลที่ ๑ ข. รัชกาลที่ ๒
ค. รัชกาลที่ ๓ ง. รัชกาลที่ ๔
๑๕. สาเหตุของการแต่งนิราศนรินทร์ เพราะผู้แต่งเดินทางไปยังสถานที่ใด
ก. เชียงใหม่ ข. ปัตตานี
ค. สระบุรี ง. ตะนาวศรี
๑๖. จากข้อ ๑๕ ผู้แต่งเดินทางไปยังสถานที่นั้นด้วยเหตุใด
ก. ไปทำศึกกับพม่า ข. ไปเยี่ยมบิดาและมารดา
ค. ไปตามหาหญิงคนรัก ง. ไปท่องเที่ยว
๑๗. นิราศเรื่องแรกของไทยคือข้อใด
ก. นิราศเมืองแกลง ข. นิราศหริภุญชัย
ค. นิราศธารทองแดง ง. นิราศนรินทร์
๑๘. การเดินทางในเนื้อเรื่อง นิราศนรินทร์คำโคลง เริม่ ต้นออกเดินทางด้วยวิธีใด
ก. เกวียน ข. เรือ ค. รถยนต์ ง. เดินเท้า
๑๙. สถานที่ใดไม่มีกล่าวไว้ในโคลงนิราศนรินทร์
ก. บางยี่เรือ ข. คลองด่าน ค. บางขุนเทียน ง. วัด
๒๐. คำว่า “นิรันตราย” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. อันตรายเป็นนิรันทร์ ข. อาจจะมีอันตราย
ค. ไม่มีอันตราย ง. มีอันตรายมาก
๒๑. การเขียนนิราศมีมาช้านานแล้วแต่ไม่เรียกว่านิราศ พึ่งมานิยมใช้คำว่า นิราศ เมื่อสมัยใด
ก. อยุธยา ข. สุโขทัย
ค. ธนบุรี ง. รัตนโกสินทร์
๒๒. นิราศแต่งด้วยคำประพันธ์หลายชนิด แต่ที่นิยมมักแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด
ก. โคลง ข. ฉันท์ ค. กลอน ง. กาพย์
๒๓. “อ้าโฉมแม่แบบเบญ- จลักษณ์ เรียมเอย” ข้อใดคือลักษณะของหญิงงานในเบญจลักษณ์
ก. ผมงาม ข. ตางาม ค. คิ้วงาม ง. เล็บงาม
๒๔. ข้อใดใช้คำโทโทษโดยมีจุดประสงค์ต่างจากข้ออื่น
ก. แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ข. เรืองวิ่งอกว้าใจ หวาดขว้ำ
ค. แลสั่งสบหน้าหน้า แม่หน้าเอ็นดู ง. สังข์สระสมรจงแผ้ว ผ่อนถ้าเรียมถึง
~ ๑๒ ~

๒๕. เทพพระองค์ใดที่ผู้แต่งไม่ได้กล่าวถึง
ก. พระอินทร์ ข. พระพรหม
ค. พระพิฆเนศ ง. พระนารายณ์
๒๖. “นทีสสี่ มุทรม้วย หมดสาย” ข้อใดไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับคำที่ขีดเส้นใต้
ก. ขีรสาคา ข. เสนนาคร
ค. นีลสาคร ง. ปีตสาคร
๒๗. คำว่า “ไตรรัตน์” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. แก้วสามดวง ข. ความดีสามสิ่งที่ควรทำ
ค. ทองคำสามอย่าง ง. ของสามสิ่งที่ควรมี
๒๘. “โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ โลกบาดาล” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ตรีโลก ข. ด้าว ค. แผ่นฟ้า ง. เมืองเมรุ
๒๙. โคลงบทนี้ใช้โวหารภาพพจน์ใด
โฉมควรจักฟากฟ้า ฤาดิน ดีฤา
เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน บนเล่านะแม่
ลมจะชายชักช้า ชอกเนื้อเรียมสงวน
ก. อุปมา ข. บุคคลวัต ค. อธิพจน์ ง. อุปลักษณ์
๓๐. บทประพันธ์ต่อไปนี้แสดงแนวคิดเรื่องใด
รอยบุญเราร่วมพ้อง พบกัน
บาปแบ่งสองทำทัน เท่าสร้าง
เพรงพรากสัตว์จำผัน พลัดคู่ เขาฤา
บุญร่วมบาปจำร้าง นุชร้างแรมไกล
ก. สวรรค์ – นรก ข. บุพเพสันนิวาส ค. การเวียนว่ายตายเกิด ง. บาป – บุญ
๓๑. บทพรรณนาบทนี้ เป็นกวีโวหารประเภทใด
อ้าโฉมแม่แบบบาง บัวมาศ กูเอย
ควรแผ่แผ่นทองหุ้ม ห่อไว้หวังสงวน
ก. อุปมา ข. อุปลักษณ์ ค. สัทพจน์ ง. อติพจน์
๓๒. “อ้าโฉมแม่แบบเบญ- จลักษณ์ เรียมเอย” ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหญิงงามในเบญจลักษณ์
ก. ตางาม ข. วัยงาม ค. ผมงาม ง. ผิวงาม
~ ๑๓ ~

๓๓. เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ


ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
จากโคลงข้างต้นบาทใดที่แสดงความหวัง
ก. เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ข. ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
ค. บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
ง. จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
๓๔. บทประพันธ์ต่อไปนีบ้ าทใดสะท้อนคติทางพระพุทธศาสนา
เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
ก. เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ข. ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
ค. บาปใดที่โททำ แทนเท่า ราแม่
ง. จากแต่คาบนี้หน้า พี่น้องคงถนอม
๓๕. “เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา” คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงอะไร
ก. เรือแพ ข. เรือตามขบวน ค. เรือส่งสินค้า ง. เรือสำหรับฝ่ายใน
๓๖. “ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท” คำทีข่ ีดเส้นใต้มีความหมาย
ตรงกับข้อใด
ก. แสงจันทร์ ข. แสงอาทิตย์ ค. แสงของดวงดาว ง. แสงของพระธรรม
ลมพัดคือพิษต้อง ตากทรวง
หนาวอกรุมในดวง จิตช้ำ
โฉมแม่พิมลพวง มาเลศ กูเอย
มือแม่วีเดียวล้ำ ยิ่งล้ำลมพาน
บทประพันธ์ข้างต้น คำที่ขีดเส้นใต้มีความหมายว่าอย่างไร
ก. ปราศจากมลทิน ข. หญิงสาว ค. แก้ม ง. นอนหลับ
๓๗. ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ สงสาร อรเอย
จรศึกโศกมานาน เนิ่นช้า
เดินดงท่งทางละหาน หิมเวศ
สารสั่งทุกหย่อมหญ้า ย่านน้ำลานาง
บทประพันธ์ข้างต้น คำที่ขีดเส้นใต้มีความหมายว่าอย่างไร
ก. ลำธารใหญ่ ข. ป่าหิมานต์ ค. ทางเดิน ง. ที่พักผ่อน
~ ๑๔ ~

๓๘. “พักตร์สี่แปดโสตฟัง อื่นอื้อ” เป็นลักษณะของเทพเจ้าองค์ใด


ก. พระอินทรเทพ ข. พระศิวะเทพ
ค. พระวิษณุเทพ ง. พระพรหมเทพ
๓๙. “ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์” คำที่ขีดเส้นใต้กล่าวถึงสิ่งใด
ก. เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง ข. รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
ค. เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด ง. โบสถ์ระเบียงมณฑปพื้น ไพหาร
๔๐. คำประพันธ์ในข้อใดที่มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา
ก. โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร
ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว
ข. อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางค์รตั น์บรร เจิดหล้า
ค. เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
ง. หอไตรระฆังขาน ภายค่ำ
ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์
๔๑. เขาพระสุเมรุตั้งอยู่บนสวรรค์ชั้นใด
ก. จาตุมหาราชิก ข. ดุสิต
ค. นิมมานรดี ง. ดาวดึงส์
๔๒. จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย
เยียวว่าแดเดียวยก แยกได้
สองซีกแล่งทรวงตก แตกภาค ออกแม่
ภาคพี่ไปหนึ่งไว้ แนบเนื้อนวลถนอม
จากคำประพันธ์ข้างต้น ผู้แต่งมีความรู้สึกอย่างไร
ก. อาลัยอาวรณ์ ข. เป็นห่วงเป็นใย
ค. กังวล ง. สงสัย
๔๓. ฝากอุมาสมรแม่แล้ ลักษมี เล่านา
ทราบสวยมภูวจักรี เกลือกใกล้
เรียมคิดจบจนตรี- โลกล่วง แล้วแม่
โฉมฝากใจแม่ได้ ยิ่งด้วยใครครอง
จากคำประพันธ์ข้างต้น ผู้แต่งไม่ได้กล่าวฝากนางอันเป็นที่รักไว้กับใครบ้าง
ก. พระนางอุมา ข. พระนางลักษมี
ค. พระนารายณ์ ง. พระมหากษัตริย์
~ ๑๕ ~

๔๔. ข้อใดมีการใช้สมั ผัสอักษรมากที่สุด


ก. พระลบสุริยเลี้ยว ไศลลา โลกเอย
ทุกทิศชระมัวมา มืดแล้ว
ข. คุลาตีอกไห้ หาใคร
นามจึ่งปรากฏใน แก่งนี้
ค. ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ สงสาร อรเอย
จรศึกโศกมานาน เนิ่นช้า
ง. ลับยักษ์ลับเยาวให้ เรียมหา แม่แฮ
ฤาอสุรพาลพา แวะเว้น
๔๕. ข้อใดมีการเล่นคำมากทีส่ ุด
ก. ลับยักษ์ลับเยาวให้ เรียมหา แม่แฮ
ฤาอสุรพาลพา แวะเว้น
ข. เห็นจากจากแจกก้าน แกมระกำ
ถนัดระกำกรรมจำ จากช้า
ค. แม่กลองกลองบ่ได้ ยินดัง
รัวแต่กรประนัง หนึ่งค้อน
ง. ถึงชรอ่ำชรอุ่มห้อง เวหา หนเอย
คิดอรแมกเมฆมา กลัดไว้
๔๖. ข้อใดมีการกล่าวเปรียบเทียบเกินจริง
ก. เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง เลขแต้ม
อากาศจักจานผจง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม อยู่ร้อนฤาเห็น
ข. ร่ำรักร่ำเรื่องร้าง แรมนวล นาฏฤา
เสนาะสนั่นดินครวญ ครุ่นฟ้า
สารสั่งพี่กำสรวล แสนเสน่ห์ นุชเอย
ควรแม่ไว้ต่างหน้า พี่พู้นภายหลัง
ค. ถับถึงปากร่วมน้ำ คะนึงนาง
ถามข่าวไปปากพราง พี่พร้อง
อรมาท่าหลงทาง ฉงนอยู่
ปากร่วมวานปากร้อง เรียกเจ้ามาจร
ง. จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
~ ๑๖ ~

๔๗. ข้อใดมีการใช้โวหารบุคคลวัต
ก. บ้านบ่อน้ำบกแห้ง ไป่เห็น
บ่อเนตรคงขังเป็น เลือดไล้
อ้าโฉมแม่แบบเบญ- จลักษณ์ เรียมเอย
มาซับอัสสุชลให้ พี่แล้วจักลา
ข. ชมแขคิดใช่หน้า นวลนาง
เดือนตำหนิวงกลาง ต่ายแต้ม
พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง จักเปรียบ ใดเลย
ขำกว่าแขไขแย้ม ยิ่งยิ้มอัปสร
ค. จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
ง. ลมพัดคือพิษต้อง ตากทรวง
หนาวอกรุมในดวง จิตช้ำ
โฉมแม่พิมลพวง มาเลศ กูเอย
มือแม่วีเดียวล้ำ ยิ่งล้ำลมพาน
๔๘. นิราศนรินทร์คำโคลงปรากฏรสวรรณคดีไทยรสใดที่เด่นชัดมากที่สุด
ก. เสาวรจนี นารีปราโมทย์ ข. พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิสัย
ค. สัลลาปังคพิสัย เสาวรจนี ง. เสาวรจนี พิโรธวาทัง
๔๙. นทีสี่สมุทรม้วย หมดสาย
ติมิงคล์มังกรนาคผาย ผาดส้อน
หยาดเหมพิรุณหาย เหือดโลก แล้งแม่
แรมราคแสนร้อยร้อน ฤเถ้าเรียมทน
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับบทประพันธ์ข้างต้น
ก. มีการใช้คำเอกโทษ ข. มีการใช้คำโทโทษ
ค. มีการกล่าวถึงปลายักษ์ ง. มีการใช้ภาพพจน์แบบอติพจน์
๕๐. “กฤษณนิทรเลอหลัง นาคหลับ” มีความหมายถึงผู้ใดและกำลังกระทำสิ่งใด
ก. พระอิศวร กำลังร่ายคาถาให้พญานาคหลับ ข. พระนารายณ์ กำลังบรรทมบนนาคราช
ค. พระพรหม กำลังร่ายคาถาให้พญานาคหลับ ง. พระอินทร์ กำลังบรรทมโดยมีพญานาคคอยรับใช้

*********************************************************************************************************************

You might also like