You are on page 1of 7

สรุปคาบรรยาย LA330 สัปดาห์ที่ 1 (รศ.ดร.

นิลุบล)

บทนา

ในวิชานี้ท่านต้องมี ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.บริษัทจากัดมหาชน โดยคลาสนี้จะเป็นการแนะแนวและบอกว่าวิชา


นี้จะมีการโยงกับเรื่องอะไร หลังจากนี้ 4 ครั้งจะเป็น อ.ธีระรัตน์ เรื่องห้างหุ้นส่วน จากนั้น 6 ครั้งจึงเป็น อ.สุดา
เรื่องบริษัทจากัด และ 4 ครั้งสุดท้ายจะเป็นอาจารย์เอง เรื่องบริษัทจากัดมหาชน โดยรูปแบบการวัดผลจะเป็น
การสอบปลายภาค 100%

สมมุติว่าเราเอาเงินไปลงทุน โดยอาจารย์แนะนาว่าให้ทา และลงทุนดี ๆ จะได้มีเงินเหลือเยอะ การใช้ชีวิต


ต้องมีเงิน คาถามคือแล้วจะหาเงินจากไหน? อยากรวยก็ต้องมีกิจการเป็นของตัวเอง วิชานี้เป็นวิชาที่จะสอนคุณ
เรื่องดังกล่าว เราจะพูดถึงองค์กรธุรกิจที่ทาเงิน ประเทศไทยตอนนี้เข้าสู่ยุคคนสูงอายุแล้ว อายุ 60 ปีขึ้นไป คิด
เป็น 20 กว่า % เลยเข้าสังคมผู้สูงอายุ 2040 จะมีประมาณ 40% คนทางานมีแค่ 40% น่ากลัวเพราะจะคุณ
ทางานเพื่อคนสูงวัย แล้วจะไปยังไงต่อ? วิชานี้จะบอกว่ากฎหมายห้างหุ้นส่วนและบริษัทคืออะไร ทาไมต้องมี

อนาคตไปทางาน อาจต้องไปทางานในบริษัทชื่อดัง 10 บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในปัจจุบันของไทย แต่ให้


เราลองเทียบกับของโลก อยากจะบอกว่าประเทศของเรากาลังมีปัญหา เพราะเทรนโลกปัจจุบันมันเกี่ยวกับ
ด้าน tech บริษัทของโลก ถ้าดูบริษัทของโลก Tesla Samsung อื่น ๆ เป็นบริษัทเกี่ยวกับ tech 7 ใน 10 แต่
ของเราไม่มีอะไรเกี่ยวกับ tech เลย ยกตัวอย่าง ptt ก็น้ามัน มันถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หลักฐานคือการที่ ptt
พยายามสร้างคอมมูนิตี้เก็บค่าเช่าการใช้พื้นที่ แต่สิ่งที่เป็น tech จริง ๆ นั้นไม่มี เราจึงขาดการพัฒนาด้าน
เทคโนโลยีมาก ประเทศที่ผลิตซิปมากที่สุดปัจจุบันคือไต้วัน งงไหม? เล็กมาก เพราะเขาทาเศรษฐกิจน้อยกว่า
เรา ปลูกข้าวได้น้อยกว่า เขาจึงทา tech มา เราจะอยู่ต่อแบบนี้ไม่ได้ เพราะเดี๋ยวเวียดนามก็จะแซงหน้าเรา

เรื่องของบริษัทนั้นสาคัญ บริษัท 10 อันดับของโลก ถ้ารวมกัน ใหญ่กว่าญี่ปุ่น หรือหลายประเทศอีก สู้จีนกับ


อเมริกาไม่ได้แค่นั้น แต่ก็เห็นว่ามันใหญ่เกินประเทศเรื่อย ๆ ความยิ่งใหญ่มันคาดไม่ถึง เหตุที่จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
เพราะบริษัทจากัดเป็นองค์กรธุรกิจที่ตั้งด้วยความประสงค์ที่จะหากาไร เราจะเห็นแล้วว่ามันเกี่ยวกับเรา

1. รูปแบบของกิจการ

จะหากาไรมีกี่แบบ เราต้องแยกก่อน 1.1. ไม่เป็นนิติบุคคล และ 1.2 เป็นนิติบุคคล

1.1. ไม่เป็นนิติบุคคล : มี 1.1.1. ทาด้วยตัวคนเดียว 1.1.2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ


1.2. เป็นนิติบุคคล : เป็นกรณีที่เราต้องการความชัดเจน อยากมีสภาพบุคคล ก็จะมี 1.2.1. ห้างหุ้นส่วน
สามัญนิติบุคคล คล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เพิ่มระบบทะเบียน 1.2.2. ห้างหุ้นส่วนจากัด เป็นการผสานห้าง
หุ้นส่วนกับบริษัทจากัดเข้าด้วยกัน 1.2.3. บริษัทจากัด เราจะเรียน 6 ครั้งเลย สาคัญมากที่ สุด 1.2.4. บริษัท
จากัดมหาชน คล้ายบริษัทจากัดแต่เกี่ยวกับภาครัฐ 1.2.5. ตามกฎหมายเฉพาะ อย่างสถาบันการเงิน จัดตั้งตาม
พ.ร.บ. ของธุรกิจสถาบันการเงิน ใช้กฎหมายเฉพาะ มธ. ก็ตั้งด้วยกฎหมายเฉพาะ แต่มิได้เป็นธุรกิจ

เราจะเรียนแค่ 1.1.2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ 1.2.1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 1.2.2. ห้างหุ้นส่วนจากัด


1.2.3. บริษัทจากัด 1.2.4. บริษัทจากัดมหาชน

มาตรา 65 วางหลักว่า นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอานาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายใน


ขอบแห่งอานาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกาหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง

1.3. การเป็นนิติบุคคล : เรื่องของ 1.2. จะโยงไปมาที่เรื่อง ‘การเป็นนิติบุคคล’ มันไม่ใช่คนที่เกิดมา ต้องมี


กฎหมายกากับไว้ถึงจะเกิดขึ้นตามมาตรา 65 และในเรื่องความสามารถ มาตรา 66 ก็กาหนดให้นิติบุคคลมี
ความสามารถ A. ขอบอานาจหน้าที่ B. วัตถุประสงค์ ตามกฎหมาย I. กฎหมาย II. ข้อบังคับ (AOA) III. ตรา
สารจัดตั้ง (MOA) กาหนด โดยจะเกี่ยวกับเรื่องผู้แทนนิติบุคคล

สาหรับ I นั้นชัดเจน แต่ II นั้นอีกชื่อคือ AOA โดยบริษัทกาหนดเองว่าจะเป็นยังไง และ III คือหนังสือ


บริคณห์สนธิ อีกชื่อคือ MOA โดยทั้ง AOA และ MOA จะต้องเช็ดเวลาทางาน

การเป็นนิติบุคคลนั้นจะต้องจดทะเบียน ซึ่งหลักเกณฑ์ มีดังนี้ A. ที่ไหน ก็กรมธุรกิจการค้าพาณิชย์ หลังมีโค


วิดก็มีการจดออนไลน์ B. รายละเอียด เขาจะมีฟอร์มอยู่แล้ว ให้กรอกไป C. เอกสารที่ใช้ เขาบอกให้ทาอะไร
ใช้อะไร ก็แนบไป D. ค่าใช้จ ่าย ก็ตามที่กฎหมายก าหนด โดยเมื่อจดทะเบียนแล้วก็จะมีการประเทศให้
บุคคลภายนอกทราบโดยลงในราชกิจจานุเบกษา คอนเซปต์คล้ายการประกาศกฎหมาย

หากครบก็จะเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน ซึ่งจะมีความเป็นนิติบุคคล มีสิทธิ มีหน้าที่ตาม ป.พ.พ. คนทาสัญญาจะ


เป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 66 ทาสัญญา ละเมิด ก็ทาในนามของเขาเอง

สมมุติบริษัทจากัดกาหนดกาหนดในข้อบังคับ เป็นเรื่องขอบอานาจหน้าที่ ให้ผู้แทนนิติบุคคลกู้เงินในการ


ดาเนินกิจการได้คราวละ 2M ปรากฏว่ากู้มา 5M เช่นนี้นิติบุคคลก็ไม่ผูกพันตามมาตรา 66
อีกกรณีสมมุติคือเรื่องวัตถุประสงค์ รับขนส่งคงใน กทม. ดันไปส่งในต่างจังหวัดด้วย ตามมาตรา 66 ก็ไม่
ผูกพันด้วยเช่นกัน

คาถาม? สองข้อเท็จจริงสมมุตินี้นั้นสัญญาทั้งสองไม่ผูกพัน แต่สมมุติเป็นข้อเท็จจริงแรก และประมาณว่า A


กู้เงิน 5M แล้ว โดยหลักก็ไม่ผูกพัน แล้วจะคืนได้ไหม ก็ตามมาตรา 66 ก็บอกไม่ผูกพัน คนทาก็ผูกพันไปเองสิ
ไม่มีปัญหา คาถามคือแล้วนิติบุคคลจะให้สัตยาบันได้หรือไม่? (อ.สหธน บอกว่าทาไม่ได้)

มาตรา 1012 วางหลักว่า อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคน


ขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทากิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกาไรอันจะพึง ได้แต่กิจการที่ทานั้น

พ.ร.บ. บริษัทจากัดมหาชน พ.ศ. 2535 มาตรา 16 วางหลักว่า บุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปจะเริ่ม


จัดตั้งบริษัทได้โดยจัดทา หนังสือบริคณห์สนธิ และปฏิบัติการอย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้

1.4. หลักพื้นฐานของหุ้นส่วนและบริษัท : มาตรา 1012 เป็นบททั่วไป ใช้ทั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท โดย 1.


ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คน จะนิติบุคคลก็ได้ แต่บริษัทจากัดมหาชนต้อง 15 คน โดยปรับใช้กฎหมายเฉพาะก่อน
2. ตกลงเพื่อกระทากิจการร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องมีความเชื่อใจกัน และตกลงจะรับความเสี่ยงร่วมกัน ขาดทุนก็
โดนด้วยกัน เพราะทากิจการร่วมกัน แต่อัตราอาจตกลงไม่ให้เท่ากันได้ และไม่ต้องทาหน้าที่แบบเดียวกันก็ได้
3. ตกลงแบ่งกาไรจากการดาเนินกิจการ

2. ลักษณะและประเภทของห้างหุ้นส่วน

บ้านเรามีห้างหุ้นส่วนอยู่ 3 ประเภท โดยมีมานานแล้ว ดังนี้

2.1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ : จาไว้ เป็นประเภทเดียวที่ไม่ต้องจดทะเบียน พอไม่ต้องจดทะเบียนแล้วก็เกิดขึ้น


ง่ายมาก เพียงแค่คาเสนอและคาสนองก็เพียงพอ คาถาม? สัญญาจะทาเสื้อขายด้วยกัน แค่นี้เป็นหรือยัง ? หาก
เราต้องดูมาตรา 1012 เมื่อเรียนเราจะเข้าใจ และเรื่องห้างหุ้นส่วนสามัญ ทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดอย่าง
ลูกหนี้ร่วม กล่าวคือต้องรับผิดอย่างไม่จัดเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างต่อเจ้าหนี้ จะกาหนดให้รับผิดแค่ 1M แล้วยัน
กับบุคคลภายนอกไม่ได้ ถ้าจะทาห้างหุ้นส่วนสามัญจึ งต้องคิดดี ๆ คุณสมบัติของผู้เป็นห้างหุ้นส่วนนั้นสาคัญ
เพราะเราเองก็ต้องรับผิดร่วมกับเขาอย่างไม่จากัดความรับผิด

2.2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล : ต้องจดทะเบียนแน่นอน จึงวางหลักได้ว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ + การ


จดทะเบียน ส่วนความรับผิดที่บอกไม่จากัดความรับผิดที่ใช้กับห้างหุ้นส่วนสามัญ ก็ยังนามาใช้ได้ คาถามคือ
แล้วจะจดทาไม? ก็เพราะอย่างน้อยคนนอกก็ไว้ใจมากขึ้น มีผลในการทาธุรกิจ
2.3. ห้างหุ้นส่วนจากัด : ต้องจดทะเบียน ซึ่งข้อดีคือมี 2 ประเภทคือ A. จากัดความรับผิด B. ไม่จากัด
ความรับผิด ทาให้ช่องทางเรามีมากขึ้น

เรื่องห้างหุ้นส่ว นตั้งแต่ 2.1. ถึง 2.3. นั้นเกี่ยวกับตัวแทน 2.3. จะเป็นเรื่องที่ยากที่สุดในข้อสอบ 2.1.


รองลงมา โดย 2.3. มันยากสุดตรงมีห้างหุ้นส่วน 2 ประเภทในองค์กรเดียว และที่สาคัญในเรื่องห้างหุ้นส่วนจะ
ใช้เรื่องตัวแทนเชิดบ่อยจัด ๆ

ในเรื่องห้างหุ้นส่วนนั้นอาจมี ก. ข. ค. ง. เป็นหุ้นส่วน และมีคนจัดการในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งจะทา


หน้าที่โยงห้างหุ้นส่วนไปหาบุคคลภายนอก เรื่องห้างหุ้นส่วนจึงยากในส่วนที่ต้องแยกความสัมพันธ์ให้ดี ๆ ว่า
โจทย์ถามอะไร ถามใคร เรื่องตัวแทนก็เอามา เรื่องจัดการงานนอกสั่งก็ได้ เราต้องแยกความสัมพันธ์เป็น A.
ระหว่า งหุ ้น ส่ ว นกัน เอง B. ระหว่ า งหุ้ นส่ ว นและหุ ้น ส่ ว นผู้ จั ด การ C. ระหว่า งหุ ้น ส่ ว นผู้ จั ด การและ
บุคคลภายนอก D. ระหว่างหุ้นส่วนและบุคคลภายนอก เราต้องแยกให้ดี และตอบให้ได้

3. ลักษณะและประเภทของบริษัท

เวลาเราขับรถ ดูที่ต่าง ๆ เราอาจเป็นธนาคารซึ่งมีตราครุฑ มันมาไง? ก็เกี่ยวกับบริษัท ธนาคารทุกธนาคารก็


เป็นบริษัท คาถาม? ความเป็นนิติบุคคล หรือบริษัท อะไรเกิดขึ้นก่อนกัน? นิติบุคคลเกิดขึ้นก่อน บริษัทไปขอที
หลังหากเป็นสมัยก่อน จากนั้นจึงจะได้ตราครุฑมา

มาตรา 1096 วางหลักว่า อันว่าบริษัทจากัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ


กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจากัดเพียงไม่เกินจานวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

3.1. ลักษณะของบริษัทจากัด : มาตรา 1096 แบ่งองค์ประกอบได้เป็น

1. เป็นบริษัท

2. แบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่ากัน ซึ่งหุ้นเป็นทรัพย์สินแน่นอน ครอบครองปรปักษ์ได้ไหม? ฎีกาเคยบอกว่า


ทาได้ แต่จาไว้ มูลค่าของหุ้นต้องเท่ากัน แบ่ง 10 หุ้น 1M หุ้นก็ได้ แต่มูลค่าต้องเท่า ๆ กัน โดยเรื่องนี้เราต้อง
แยกคาดี ๆ เพราะ บริษัท จะใช้คาว่า ผู้ถือหุ้น ส่วนห้างหุ้นส่วน จะใช้คาว่า หุ้นส่วน

3. มีความรับผิดจากัด ความรับผิดจะจากัดไม่เกินจานวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ ดังนั้น


ถ้าจ่ายครบก็จบ เราจะขอหุ้นมาก่อนก็ยังได้ โดยไม่จ่ายมูลค่าหุ้น แต่แค่ถ้ายังไม่ครบต้องรับผิด
พ.ร.บ. บริษัทจากัดมหาชน พ.ศ. 2535 มาตรา 15 วางหลักว่า บริษัทมหาชนจากัด คือ บริษัทประเภทซึ่ง
ตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจากัดไม่เกินจานวนเงินค่าหุ้น
ที่ต้องชาระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

3.2. ลักษณะของบริษัทจ ากัดมหาชน : พ.ร.บ. บริษัทจ ากัดมหาชน พ.ศ. 2535 มาตรา 15 แยก
องค์ประกอบได้ว่า

1. ต้องมีการขายหุ้นให้กับประชาชน จึงเป็นให้เรียกว่ามหาชน และทาให้กาหนดคนจดทะเบียน 15 คน


เพราเป็นเรื่องที่มีลักษณะเป็นวงกว้าง ต้องมีคนรับผิดเยอะ

2. ความรับผิดนั้นมีจากัด หากเทียบกับมาตรา 1096 นั้นกาหนดให้จ่ายในส่วนที่ยังค้างชาระ แต่กรณีนี้ไม่


เกินจานวนเงินค่าที่ต้องชาระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นในหนังสือบริคณห์สนธิ (เป็นการ
ระบุในหนังสือ MOA ที่เขียนว่าจะขายหุ้นให้ประชาชนอยู่ละ) เหตุที่เขียนไม่เหมือนมาตรา 1096 เราจะได้รู้กัน
ในตอนเรียนว่าเป็นคนละกรณีกัน

มาตรา 1015 วางหลักว่า ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ถือเป็นนิติบุคคล ต่างหากจากผู้


เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น

3.3. ผลของการเป็นนิติบุคคล : อยู่มาตรา 1015 ไม่มีอะไรมาก ก็เป็นเรื่องแบบเดียวกับมาตรา 65 ของ ป.


พ.พ. คือเวลาคนนอกมีเรื่อง ต้องฟ้องบริษัทในฐานะนิติบุคคล มันแยกจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจะรับผิดแค่ไหน
เราก็ดูแล้ว อย่าง 1096 ก็บอกว่าไม่เกินหุ้นที่ยังไม่จ่าย ท าให้คนกล้าลงทุนกว่าห้างหุ้นส่วนเพราะสามารถ
จัดการความเสี่ยงได้

พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 44 วางหลักว่า ในคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งถูกฟ้องเป็น


นิติบุคคล หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านิติบุคคลดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นหรือดาเนินการโดยไม่สุจริต หรือมีพฤติการณ์
ฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภค หรือมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของนิติบุคคลไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคล
หนึ่ง และทรัพย์สินของนิติบุคคลมีไม่เพียงพอต่อการชาระหนี้ตามฟ้อง เมื่อคู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควร
ให้ศาลมีอานาจเรียกหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลที่มีอานาจควบคุมการดาเนินงานของนิติบุคคลหรือผู้รับมอบ
ทรัพย์สิน จากนิติบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นจ าเลยร่ว ม และให้มีอ านาจพิพากษาให้บุคค ลเช่นว่านั้นร่ว ม
รับผิดชอบในหนี้ที่นิติบุคคลมีต่อผู้บริโภคได้ด้วย เว้นแต่ผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทา
ดังกล่าว หรือในกรณีของผู้รับมอบทรัพย์สินนั้นจากนิติบุคคลจะต้องพิสูจน์ได้ว่าตนได้รับทรัพย์สินมาโดยสุจริต
และเสียค่าตอบแทน
ผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งให้ร่วมรับผิดไม่เกินทรัพย์สินที่ผู้นั้นได้รับจากนิติบุคคลนั้น

ในประเทศ Common Law จะมีหลักที่ศาลสามารถเจาะม่านความรับผิด ของนิติบุคคลได้ แต่ในไทยมีแค่


มาตรการเดียว คือคดีผู้บริโภคเท่านั้น ใน พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 44 และต้องไม่ใช่
กรณีทั่วไป แต่ต้องเป็นกรณีไม่สุจริตด้วย เหมือนตั้งบริษัทมาหลอกคน และบริษัทไม่มีทรัพย์สินพอชาระหนี้ แต่
ก็เขียนในมาตราด้วยเหมือนกันว่าสุดท้ายก็คือหนี้ของนิติบุคคล (ไม่ออกข้อสอบ แต่อนาคตเราอาจได้ใช้)

3.4. ใจความของเรื่องบริษัท : ประเด็นที่เราจะเจอบ่อยคือ A. จดทะเบียนยังไง B. รับผิดยังไง? มีข้อยกเว้น


หรือไม่ C. การขายหุ้น D. สิทธิของผู้ถือหุ้น E. การบริหารจัดการ โดยที่จะเน้นคือ C. D. E.

C. การขายหุ้น : กรณีที่จะขายหุ้นให้ประชาชนจะมีแค่บริษัทจากัดมหาชนเท่านั้นที่ทาได้ บริษัทจากัดทา


ไม่ได้ ป.พ.พ. ห้าม แต่ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทจากัดทาได้ แต่ต้องทาตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
เฉพาะนี้

D. สิทธิของผู้ถือหุ้น : เขาเป็นเจ้าของบริษัท หรือเป็นเจ้าของหุ้น เราต้องแยกดี ๆ

E. การบริหารจัดการ : เป็นความซับซ้อนอย่างหนึ่ง คือองค์กรมี 2 องค์กรซ้อนอีกทีคือ E.1. ที่ประชุมผู้ถือ


หุ้น เราไม่ได้ใช้คาว่าคน ให้สังเกตไว้ E.2. คณะกรรมการ โดยให้จาไว้ว่า E.1. และ E.2. นี้ออกสอบแน่ ออกทุก
ปี เพราะ 2 องค์กรนี้บริหารจัดการบริษัท ต้องต้องเรียน บริษัทเป็นนิติบุคคล ต้องมี E.1. E.2. ตัดสินว่าทาไรได้
บ้าง ไม่ได้ และชอบไหม

ไอ E.1. ที่ประชุมผู้ถือหุ้น กับ E.2. คณะกรรมการ เป็นเรื่องว่าใครทาอะไรได้บ้าง แค่ไหน ใครใหญ่กว่ากัน


เราต้องตอบให้ได้

E.1. ที่ประชุมผู้ถือหุ้น : เป็นเรื่อง ‘ผู้ถือหุ้น’ ซึ่งเราจะดูว่า

E.1.1. ใครเป็นได้บ้าง? : บริษัทปกติก็ 2 คน ส่วน มหาชนนั้นมี 15 คน

E.1.2. ถือหุ้นจานวนน้อยเท่าใด?

E.1.3. ผลตอบแทน : จาเน้น ๆ เป็นเรื่องเงินปันผล

E.1.5. มีสิทธิอะไรในบริษัท และทรัพย์ของบริษัท


หัวข้อ E.1.1. ถึง E.1.5. สามารถมองเป็นเส้นแบ่งกับ E.2. คณะกรรมการ ได้เลย โดยเรื่องที่จะออกข้อบ่อย
คือ มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นชอบไหม? ออกแน่นอน ทั้งยังต้องดูว่าประชุมแบบไหน? ส่งจดหมายยังไง? นับ
คะแนนยังไง? นี่แค่ตัวอย่าง แต่เราต้องจับผิดให้ได้ ต้องหาจุดผิดจากข้อเท็จจริง ซึ่งจะแบ่งจาก 1. ประเภทของ
การประชุมผู้ถอื 2. ผู้มีสิทธิเรียกประชุมผู้ถือหุ้น 3. การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น 4. ผู้มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น 5.
องค์ประชุม 6. ประธานในที่ประชุม 7. วาระการประชุม 8. การออกเสียง 9. มติของที่ประชุม 10. ผลของมติ
และการเพิ่มถอนมติ

3.5 เงิน : เมื่อเราพูดถึงการบริหารก็จะต้องพูดถึงเงิน เงินมีแหล่งที่มา 2 แหล่งคือ I. หนี้ II. ทุน โดยเวลาเรา


อ่านในอนาคต เราต้องจาไว้ว่าทุนที่มาจากการขายหุ้นก็มี

I. หนี้ : ได้มาจากการกู้ยืมเงิน

II. ทุน : กว้าง จะพูดถึงสุดท้าย มีที่มาจากการจาหน่ายหุ้น เราอาจเคยได้ยินคาว่า IPO เดี๋ยว อ. จะมาสอน


เหมาะกับคนจะทา Firm มาก

4. ข้อพิจารณาในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ

จริง ๆ อาจารย์อยากออก แต่ยากไป ดังนั้นไม่ออก เป็นเรื่องว่าอยากทากิจการแบบนี้ เราควรจัดตั้งองค์กร


ธุรกิจแบบไหน เรื่องนี้ทางานจริงจะสาคัญมาก ต้องพิจารณาว่าทายังไงจะเป็นประโยชน์สูงสุด เหมาะที่สุด

You might also like