You are on page 1of 66

สมาคมนิวเคลียร์ แห่ งประเทศไทย NUCLEAR SOCIETY OF THAILAND

ถนนวิภาวดีรังสิ ต จตุจักร กรุ งเทพฯ 10900 Thanon Vibhavadi Rangsit, Chatuchak


โทรศัพท์ : 02-5620123, 02-5795230 Bangkok 10900, THAILAND
โทรสาร : 02-5620118 Tel. : 662-5620123, Fax : 66 2- 5620118
ประกาศสมาคมนิวเคลียร์ แห่ งประเทศไทย
ที่ 01/2551
เรื่อง แต่ งตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
เพือ่ ให้ การดําเนินงานของสมาคมเป็ นไปด้ วยความเรียบร้ อย จึงขอประกาศแต่ งตั้ง
ผู้มีรายนามต่ อไปนี้ ดํารงตําแหน่ งคณะกรรมการบริหารสมาคม ประจําวาระ ปี 2551-2552
คณะกรรมการที่ปรึกษา
1. นายสุ ชาติ มงคลพันธุ์
2. รศ. ดร. ธัชชัย สุ มิตร
3. ศ. ดร. ถิรพัฒน์ วิลยั ทอง
4. นายวิเชียร อธิสุข
5. ผศ. ดร. บุญส่ ง ศิวโมกษธรรม
6. ดร. อาชอําพล ขัมพานนท์
7. นายสุ พิณ ปัญญามาก
8. ผศ. ดร. สมพร จองคํา
9. ศ. ดร. สิ รนุช ลามศรี จนั ทร์
คณะกรรมการบริหาร
1. ผศ. ปรี ชา การสุ ทธิ์ นายกสมาคม
2. รศ. นเรศร์ จันทน์ขาว อุปนายกสมาคม (1)
3. นายมานิตย์ ซ้อนสุ ข อุปนายกสมาคม (2)
4. รศ. พล.ต. ดร. ชัยณรงค์ เชิดชู นายกเพิ่งผ่านพ้น
5. นายอารี รัตน์ คอนดวงแก้ว เลขาธิการ
6. ดร. สิ รินาฏ เลาหะโรจนพันธ์ เหรัญญิก
7. นายมนต์ชยั ราบรื่ นทวีสุข นายทะเบียน
8. ผศ. รัจนา ชินพิทกั ษ์ ปฏิคม
9. นางยศพิณ สิ ริเวชชะพันธ์ ประชาสัมพันธ์
10. นายยุทธพงศ์ ประชาสิ ทธิศกั ดิ์ ประธานฝ่ ายวิชาการ
11. รศ.ดร. สุ พิชชา จันทรโยธา บรรณาธิการ
12. ดร. กนกพร บุญศิริชยั บรรณารักษ์
13. รศ. มลุลี ตัณฑวิรุฬห์ กรรมการ
14. รศ. พญ. ภาวนา ภูสุวรรณ กรรมการ
15. ผศ. สุ วทิ ย์ ปุณณชัยยะ กรรมการ
16. พ.อ.หญิง อัจฉรา วีระประสิ ทธิ์ กรรมการ
17. ดร. วรรณา วิมลวัฒนาภัณฑ์ กรรมการ
18. นายลภชัย ศิริภิรมย์ กรรมการ
19. นางชมเดือน ศตวุฒิ กรรมการ
20. ดร. อภิสิทธิ์ ปัจฉิ มพัทธพงษ์ กรรมการ
21. ดร. พงศาล มีคุณสมบัติ กรรมการ
22. ดร. ชัยวัฒน์ มัน่ เจริ ญ กรรมการ
23. ดร.รพพน พิชา กรรมการ
24. นายวิเชียร รตนธงชัย ผูช้ ่วยเลขาธิการ
25. นางสาวนวพร แทนบุญ ผูช้ ่วยเลขาธิการ
ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2551

(ผศ. ปรี ชา การสุ ทธิ์)


นายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย
สารบัญ

เรื่อง หน้ า

1 ความนํา 1

2 ฟิ ชชัน (Fission) 8

3 เครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) 29

4 เครื่ องปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 36

5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 38

6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 46

บรรณานุกรม 60
ปั จจุบนั (พ.ศ. 2551) ผูท้ ี่ติดตามข่าวจะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับกิ จกรรมด้านพลังงานนิ วเคลียร์ อยู่เป็ น
ระยะๆ เช่น ข่าวการสร้างโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ (Nuclear Power Plant) และโรงงานเสริ มสมรรถนะยูเรเนี ยม
(Uranium Enrichment Plant) ของประเทศอิหร่ าน การทดลองระเบิดนิ วเคลียร์ ใต้ดินของประเทศเกาหลี
เหนือ การก่อสร้างโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์เพิ่มขึ้นของประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศ
เทศอินเดีย ฯลฯ ตลอดจนประเทศเวียดนาม ตกลงจะสร้างโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ และสําหรับประเทศไทยได้มี
การบรรจุโครงการที่จะมีโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ในแผนการผลิตไฟฟ้ าของประเทศในอีก 15 ปี ข้างหน้า เป็ นต้น
ด้วยเหตุน้ ี ก่อนจะถึงเวลาที่ประเทศไทยจะเริ่ มมีโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ จริ งๆ ผูเ้ ขียนเห็นว่าพวกเราควร
รู ้เรื่ องโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ไว้บา้ ง เพื่อว่าเมื่อคนพูดถึงโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ ให้เราฟัง เราจะได้พดู กับผูน้ ้ นั อย่าง
คนที่รู้เรื่ อง และอีกประการหนึ่งเราอาจเป็ นผูท้ ี่สามารถอธิบายเรื่ องโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ให้ผทู ้ ี่ยงั ไม่เข้าใจและ
ไม่รู้เรื่ องได้รับทราบด้วยก็ได้
เพื่อให้ไม่น่าเบื่อ ผูเ้ ขียนขอชวนผูอ้ ่านมาร่ วมวงคุยกันสนุกๆ ในเรื่ องที่ว่าถ้าสนใจจะสร้างโรงไฟฟ้ า
นิ วเคลียร์ เราต้องรู ้อะไรบ้าง โดยเริ่ มจากที่เราไม่รู้อะไรมาก่อนเลย ซึ่ งการนี้ จะต้องมีการคิดและทําความ
เข้าใจเป็ นขั้นตอนไปเรื่ อยๆ ขอให้ผอู ้ ่าน เมื่ออ่านไปก็ให้สร้างมโนภาพตามไปด้วย จะได้เข้าใจและสนุกกับ
การคิดร่ วมไปกับผูเ้ ขียน ตรงไหนไม่เข้าใจก็ขอให้อ่านทวนซํ้า อาจจะหลายเที่ยว จนกว่าจะเข้าใจ แล้วจึง
อ่านต่อไป ซึ่งเมื่ออ่านจนจบก็จะมีความรู ้สึกว่า “อ้อ โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ เป็ นอย่างนี้ เองเหรอ ไม่เหมือนกับที่
เราคิดแต่แรกเลย”
คําว่า “โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์” หรื อบางคนเรี ยก “โรงไฟฟ้ าพลังงานนิวเคลียร์” นี้ เป็ นคําสมัยใหม่ที่ใช้
กัน สําหรับคําเดิมที่มีใช้คือ “โรงไฟฟ้ าปรมาณู (Atomic Power Plant)” ซึ่งใครจะเลือกใช้คาํ ไหนก็ได้แล้วแต่
ใจชอบ สําหรับผูเ้ ขียนชอบใช้คาํ ว่าโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ เพราะดูจะตรงความเป็ นจริ งมากกว่า และก็อยากเป็ น
คนที่ทนั สมัยด้วย
คําถามที่ 1 : เริ่ มแรกชักงงๆ แล้วกับคําว่า “นิ วเคลียร์ ” และ “ปรมาณู” ทั้งสองคํานี้ เหมือนกันและ
ต่างกันอย่างไร
คําตอบที่ 1 : เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เรามาคิดกันเล่นๆ ซิ ว่า ถ้าเรามีทองบริ สุทธิ์ ร้อยเปอร์ เซ็นต์อยูก่ อ้ น
หนึ่ ง แล้วลองนึ กภาพว่าถ้าเราแบ่งทองก้อนนี้ให้เล็กลงไปเรื่ อยๆ มันจะไปสิ้ นสุ ดที่ตรงไหน ซึ่ งแน่นอนมัน
ต้องไปสิ้ นสุ ดที่ส่วนที่เล็กที่สุด ที่ยงั แสดงคุณสมบัติว่าเป็ นทองอยู่ ถ้าแบ่งต่อไปก็จะไม่มีคุณสมบัติของทอง
ให้เห็น หรื อไม่สามารถแบ่งต่อไปได้อีกโดยวิธีการทางเคมี สิ่ งที่เล็กที่สุดนี้ มีชื่อเรี ยกว่าอะตอม (atom) ซึ่ ง
สมัยก่อนแปลเป็ นไทยว่า “ปรมาณู” แต่ปัจจุบนั นิยมเรี ยกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “อะตอม” ดังนั้นธาตุต่างๆ
ก็จะมีอะตอมของตัวเอง เช่น อะตอมของทอง อะตอมของเงิน อะตอมของไฮโดรเจน อะตอมของยูเรเนี ยม
อะตอมของเหล็ก ฯลฯ
บทที่ 1 ความนํา 2

คําว่า “ปรมาณู ” สมัยนี้ มีใช้นอ้ ย จะเหลืออยู่แต่ที่เกี่ยวกับชื่อทางราชการที่ใช้มาตั้งแต่เริ่ มแรกเท่าที่


นึ กออกก็มี สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ (Office of Atoms for Peace) ซึ่ งสมัยก่อนมีชื่อว่าสํานักงานพลังงาน
ปรมาณู เพื่อสันติ (Office of Atomic Energy for Peace) คณะกรรมการพลังงานปรมาณู เพื่อสันติ
พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic
Energy Agency) หรื อที่เรี ยกย่อๆว่า ไอเออีเอ (IAEA) และมีคาํ อื่นๆที่ยงั ใช้กนั คือ เครื่ องปฏิกรณ์ปรมาณู
(atomic reactor) ระเบิดปรมาณู (atomic bomb) โรงไฟฟ้ าปรมาณู
จากความคิดเรื่ องอะตอม นักวิทยาศาสตร์ ได้มีการศึ กษาค้นคว้าวิจยั ก็พบว่าอะตอมมีอยู่จริ ง จึ ง
ทําการศึ กษาค้นคว้าต่ อไป เพื่อให้ได้ทราบถึ งโครงสร้ างของอะตอม ซึ่ งก็พบว่าโครงสร้ างของอะตอม
ประกอบด้วยส่ วนที่สาํ คัญอยูส่ องส่ วนคือ ส่ วนที่หนึ่งเป็ นกลุ่มอยูต่ รงกลางที่มีชื่อเรี ยกว่านิ วเคลียส (nucleus)
และส่ วนที่สองเป็ นอนุ ภาคเล็กๆที่เรี ยกว่าอนุ ภาคอิเล็กตรอน (electron particle) หรื อนิ ยมเรี ยกสั้นๆ ว่า
อิ เ ล็ ก ตรอน ซึ่ งมี ป ระจุ ไ ฟฟ้ าลบ เคลื่ อ นที่ ใ นวงโคจรเป็ นวงๆ รอบนิ ว เคลี ย ส ระหว่ า งนิ ว เคลี ย สกับ
อิเล็กตรอนจะเป็ นที่วา่ งซึ่งดูคล้ายๆกับระบบสุ ริยะที่มีดวงอาทิตย์อยูต่ รงกลางมีดาวเคราะห์โคจรอยูร่ อบ
นอกจากนี้นกั วิทยาศาสตร์ยงั ค้นพบต่อไปว่า นิวเคลียสที่อยูต่ รงกลางนั้น ประกอบด้วยอนุภาคหลาย
ชนิ ด แต่ที่สาํ คัญที่มีการพูดถึงเสมอ คือ อนุภาคโปรตอน (proton particle) หรื อเรี ยกสั้นๆว่าโปรตอน ซึ่งมี
ประจุไฟฟ้ าบวกและอนุภาคนิวตรอน (neutron particle) หรื อเรี ยกสั้นๆว่านิวตรอนซึ่ งมีประจุไฟฟ้ าเป็ นศูนย์
หรื อไม่มีประจุไฟฟ้ า ในสภาพปกติอะตอมของธาตุต่างๆ จะมีจาํ นวนโปรตอนที่อยูใ่ นนิ วเคลียสซึ่ งมีประจุ
ไฟฟ้ าบวกเท่ากับจํานวนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุไฟฟ้ าลบที่โคจรรอบนิวเคลียส นัน่ คืออะตอมจะเป็ นกลาง
เพื่อให้ผอู ้ ่านได้ทราบถึงขนาดของอะตอมของนิ วเคลียสและของอนุ ภาคต่างๆ ที่กล่าวถึงนี้ ผูเ้ ขียน
ขอรวบรวมไว้ให้เห็นดังนี้

รัศมีของนิวเคลียสอยูใ่ นหลัก 10-15 เมตร


รัศมีของอะตอมอยูใ่ นหลัก 10-11 เมตร
มวลของอิเล็กตรอน 9.1086 × 10−31 กิโลกรัม
รัศมีของอิเล็กตรอน 2.8179 × 10−15 เมตร
มวลของโปรตอน 1.6726 × 10−27 กิโลกรัม
มวลของนิวตรอน 1.6749 × 10−27 กิโลกรัม

ค่าตัวเลขที่แสดงข้างบนนี้ จะเห็นว่า กําลังของเลขสิ บ มีค่าเป็ นลบ ซึ่ งแสดงว่าเป็ นค่าที่น้อยมากๆ


นัน่ คือ มีจาํ นวนเลขศูนย์หลังจุดทศนิยมหลายตัวมาก ขอให้ดูตวั อย่างนี้
1
10 −1 = = 0 .1
10
2
2 × 10 −3 = = 0.002
1000
บทที่ 1 ความนํา 3

4
4 × 10 −8 = = 0.00000004
100000000

จากความเข้าใจเรื่ องกําลังของเลขสิ บที่มีค่าเป็ นลบ ดังได้อธิบายนี้ ผูอ้ ่านคงจะเขียนตัวเลขแบบจุด


ทศนิยมของมวลของอิเล็กตรอนที่มีกาํ ลังสิ บเท่ากับ 10-31 ได้

ในทางวิทยาศาสตร์เขาชอบเขียนอะไรสั้นๆ ไม่เยินเย้อให้เสี ยเวลา ตัวอย่างเช่น


1
= 0.001 ก็เขียนว่า 10-3 หรื อ 1.0 × 10−3
1000

25
= 0.00025 ก็เขียนว่า 25 × 10−5 หรื อ 2.5 × 10−4
100000

1,000,000 ก็เขียนว่า 106 หรื อ 1.0 × 106


45,000,000 ก็เขียนว่า 45× 106 หรื อ 4.5 × 107

ธาตุต่างๆ จะมีจาํ นวนโปรตอนในนิ วเคลียสต่างกัน หรื อพูดอีกอย่างว่า ธาตุแต่ละธาตุจะมีจาํ นวน


โปรตอนเฉพาะของตัวเองไม่เหมือนกับธาตุอื่น เช่น ธาตุทองจะมีโปรตอนในนิวเคลียส 79 อนุภาค ธาตุเงิน
มีโปรตอนในนิวเคลียส 47 อนุภาค เป็ นต้น ด้วยเหตุน้ ีถา้ เรารู ้วา่ ในนิวเคลียสมีจาํ นวนโปรตอนเท่าไร เราก็จะ
บอกได้ว่านิ วเคลี ยสนั้นเป็ นนิ วเคลียสของธาตุอะไรได้ เช่ น ถ้านับได้ 82 อนุ ภาค ก็บอกได้ว่าเป็ นตะกั่ว
ถ้านับได้ 13 อนุภาคก็บอกได้ว่าเป็ นอลูมิเนี ยม ผูเ้ ขียนไม่ทราบว่าผูท้ ี่บอกว่านัง่ ทางในสามารถมองเห็นอะไร
ได้ จะสามารถหลับตาแล้วนับจํานวนโปรตอนในนิ วเคลียสได้หรื อไม่ ถ้าทําได้จะโด่งดังทัว่ โลกเลย ผูอ้ ่าน
ท่านใดรู ้จกั ผูท้ ี่มีความสามารถด้านนี้ช่วยถามให้ดว้ ย แล้วบอกให้ผเู ้ ขียนได้ทราบบ้าง
สําหรับนิ วตรอนในนิ วเคลียสนั้นเป็ นตัวประกอบ ไม่ได้เป็ นตัวบ่งชี้ ว่าจะเป็ นธาตุอะไรเพราะธาตุ
ต่างชนิดอาจมีจาํ นวนนิวตรอนในนิวเคลียสเท่ากันก็ได้หรื อต่างกันก็ได้
มาถึงตรงนี้ผรู ้ ู ้เรื่ องแม่เหล็กไฟฟ้ า ก็จะสงสัยว่าทําไมโปรตอนจึงรวมตัวกันอยูใ่ นนิวเคลียสได้ท้ งั ที่มี
ประจุไฟฟ้ าบวกเหมือนกัน มันน่าจะผลักกันกระเด็นไปคนละทิศละทาง ข้อสงสัยนี้ นกั วิทยาศาสตร์อธิ บาย
ว่า ที่โปรตอนและนิวตรอนจํานวนมากรวมอยูใ่ นนิวเคลียสได้เพราะมีแรงนิวเคลียร์ (nuclear force) ยึดกันไว้
อยู่ เราก็ตอ้ งเชื่อนักวิทยาศาสตร์นะครับ
ตอนนี้ เจอคําว่านิ วเคลียร์ อีกแล้ว คําว่านิ วเคลียร์ (nuclear) นี้ เป็ นคําคุณศัพท์ ส่ วนคําว่านิ วเคลียส
(nucleus) เป็ นคํานาม ดังนั้นเมื่อใดที่พดู ถึงสิ่ งที่เกี่ยวกับนิวเคลียส ก็จะใช้คาํ ว่านิ วเคลียร์ผสมเข้าไปด้วย เช่น
วิชาฟิ สิ กส์ที่ศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียส ก็เรี ยกว่า นิวเคลียร์ฟิสิ กส์ (nuclear physics) ปฏิกิริยาที่เกิดกับนิวเคลียส
ก็เรี ยกว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ (nuclear reaction)
ขอให้เข้าใจอีกอย่างหนึ่ งว่าเวลาเราพูดกัน ถ้าพูดถึงอะตอมก็ขอให้นึกภาพว่ามีท้ งั นิ วเคลียสและ
อิ เ ล็ก ตรอนโคจรอยู่ร อบๆ แต่ ถ ้า พูด ถึ ง นิ ว เคลี ย สก็ห มายถึ ง ให้ เ พ่ ง ไปที่ นิ ว เคลี ย สอย่า งเดี ย ว ไม่ นึ ก ถึ ง
บทที่ 1 ความนํา 4

อิ เล็กตรอนที่ โคจรอยู่รอบๆ ทั้งๆที่อิเล็กตรอนก็ยงั โคจรอยู่อย่างนั้น ดังที่ จะกล่ าวต่ อไปข้างหน้าที่ ว่ายิง


นิวตรอนเข้าไปชนนิวเคลียสของยูเรเนียม เราก็ตอ้ งเห็นภาพอะตอมของยูเรเนียมที่มีนิวเคลียสอยูต่ รงกลาง มี
อิเล็กตรอนโคจรอยูร่ อบๆ แล้วมีนิวตรอนวิ่งเข้าชนนิ วเคลียส โดยเราจะไม่พดู ถึงนิ วตรอนที่วิ่งเข้าไปนั้นจะ
ชนกับอิ เล็กตรอนหรื อไม่ หรื อจะวิ่งผ่านไปโดยไม่ชนอะไรเลย แต่จะพูดถึงเฉพาะแต่ที่วิ่งชนนิ วเคลี ยส
เท่านั้น
จากคําอธิ บายข้างบน ผูอ้ ่านคงจะเข้าใจคําว่านิ วเคลียร์ และปรมาณู แล้วว่าเหมือนกันหรื อต่างกัน
อย่างไร
ต่อไปเรามาดูซิวา่ โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์น้ นั เป็ นอย่างไร
ก่อนจะไปถึงเรื่ องโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ เราควรรู ้เรื่ องของโรงไฟฟ้ าธรรมดาขนาดใหญ่ทวั่ ไปที่เรารู ้จกั
กันก่อน

โรงไฟฟ้ าธรรมดา ทีเ่ ป็ นโรงใหญ่ ๆ จะมีองค์ ประกอบทีส่ ํ าคัญอยู่ 4 ส่ วน ดังนี้


1. ส่ วนที่ทาํ ให้น้ าํ มีแรงดันไปหมุนเทอร์ไบน์ (turbine) หรื อกังหัน
1.1 กรณี ที่เป็ นเขื่อน ก็อาศัยนํ้าที่ไหลผ่านท่อขนาดใหญ่จากที่สูงด้านบนของตัวเขื่อนลงมา
ด้านล่างส่ งไปหมุนเทอร์ไบน์

รู ปที่ 1.1 แสดงให้เห็นท่อส่ งนํ้าจากด้านบนของตัวเขื่อนลงสู่ดา้ นล่าง

1.2 กรณี ที่ไม่เป็ นเขื่อน จะใช้วิธีการทําให้น้ าํ กลายเป็ นไอนํ้าร้อนความดันสู ง แล้วส่ งไอนํ้า


ร้อนนี้ ไปหมุนเทอร์ ไบน์ สําหรับสิ่ งที่ทาํ ให้น้ าํ กลายป็ นไอนํ้าร้อนความดันสู งนี้ คือ ความร้อนที่เกิดจากการ
เผาไหม้ของเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น ถ่านหิ น นํ้ามัน แก๊สธรรมชาติ และแกลบ
บทที่ 1 ความนํา 5

เชื้อเพลิงฟอสซิล
- ถ่ านหิน
- นํา้ มัน
- แก๊ ส

เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
ยูเรเนียม

รู ปที่ 1.2 ผังเปรี ยบเทียบโรงไฟฟ้ าถ่านหิน, นํ้ามัน หรื อแก๊สธรรมชาติ กับโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์

2. ส่ วนที่เรี ยกว่าเทอร์ไบน์หรื อกังหัน


เทอร์ไบน์หรื อกังหัน เป็ นเครื่ องขนาดใหญ่ที่ภายในมีแกนหมุน รอบแกนมีครี บหรื อใบพัด
ติดแน่ น เป็ นพืดตลอดส่ วนกลางของแกนหมุน เมื่อไอนํ้าร้อนความดันสู งวิ่งไปกระทบก็จะไปดันให้ครี บ
หรื อใบพัดเคลื่อนที่ ซึ่ งก็ทาํ ให้แกนกลางหมุนตามไปด้วย แกนของเทอร์ ไบน์น้ ี จะต่อยาวออกไปเป็ นแกน
หมุนของเครื่ องเจเนอเรเตอร์ (generator) หรื อเครื่ องกําเนิดไฟฟ้ าด้วย

รู ปที่ 1.3 แกนเทอร์ไบน์

3. ส่ วนที่เรี ยกว่าเจเนอเรเตอร์หรื อเครื่ องกําเนิดไฟฟ้ า


เจเนอเรเตอร์ หรื อเครื่ องกําเนิ ดไฟฟ้ านี้ จะมีแกนกลางหมุนร่ วมกันกับของเทอร์ ไบน์ โดย
แกนหมุนส่ วนที่เป็ นของเครื่ องกําเนิ ดไฟฟ้ าจะเป็ นทุ่นแม่เหล็กหรื อบางคนเรี ยกมัดข้าวต้มแม่เหล็กสอดเข้า
ไปในโพรงของขดลวดทองแดง เมื่อแกนของเทอร์ ไบน์หมุนแกนของเครื่ องกําเนิ ดไฟฟ้ าที่มีทุ่นแม่เหล็กติด
บทที่ 1 ความนํา 6

อยูก่ ็จะหมุนตามไปด้วย ซึ่ งการหมุนของทุ่นแม่เหล็กนี้ ก็จะไปเหนี่ ยวนําทําให้เกิดกระแสไฟฟ้ าในขดลวด


ทองแดงส่ งออกสู่ภายนอก

รู ปที่ 1.4 เครื่ องกําเนิดไฟฟ้ า

4. ส่ วนที่เป็ นสายส่ งไฟฟ้ า


ส่ วนที่เป็ นสายส่ งไฟฟ้ านี้กค็ ือ ส่ วนของสายไฟฟ้ าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อจากเครื่ องกําเนิด
ไฟฟ้ าออกสู่ภายนอกเพื่อแจกจ่ายกระแสไฟฟ้ าไปใช้ประโยชน์ ณ ที่ต่างๆ

รู ปที่ 1.5 สายส่ งกระแสไฟฟ้ า


บทที่ 1 ความนํา 7

สรุ ปองค์ประกอบทั้ง 4 ส่ วนนี้ ถ้าเขียนเป็ นแผนภาพให้ดู และจําได้ง่ายจะเป็ น ดังนี้

การทําให้น้ าํ เทอร์ไบน์ เครื่ องกําเนิด สายส่ ง


มีแรงดัน ไฟฟ้ า ไฟฟ้ า

ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็ นองค์ประกอบของโรงไฟฟ้ าขนาดใหญ่ แต่ถา้ เป็ นโรงไฟฟ้ าขนาดเล็กหรื อ


เครื่ องปั่ นไฟฟ้ าแบบเล็ก ก็ใช้เครื่ องยนต์ดีเซลหรื อเครื่ องยนต์เบนซิ นไปหมุนเครื่ องกําเนิ ดไฟฟ้ าเล็กๆ ผลิต
กระแสไฟฟ้ าออกมา
ตอนนี้ เรารู ้ องค์ประกอบที่ สําคัญของโรงไฟฟ้ าธรรมดาแล้ว ต่อไปดู ซิว่าโรงไฟฟ้ านิ วเคลี ย ร์ มี
องค์ประกอบอะไรบ้าง
โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ มีองค์ประกอบเหมือนกับโรงไฟฟ้ าธรรมดา ดังที่กล่าวแล้วทุกประการ นัน่ คือมี
ส่ วนที่ทาํ ให้น้ าํ มีแรงดัน มีส่วนที่เรี ยกว่าเทอร์ ไบน์ มีส่วนที่เรี ยกว่าเจเนอเรเตอร์ และมีส่วนที่เป็ นสายส่ ง
ไฟฟ้ า
คําถามที่ 2 : เมื่อองค์ประกอบของโรงไฟฟ้ าเหมือนกัน ทําไมต้องเรี ยกว่าโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์
คําตอบที่ 2 : เพราะต้องการเน้นให้เด่นชัด เพื่อความโปร่ งใสว่า ส่ วนที่ทาํ ให้น้ าํ มีแรงดันสู งไปหมุน
เทอร์ ไบน์ โดยวิธีทาํ นํ้าให้กลายเป็ นไอนํ้าร้อนความดันสู ง เพื่อไปหมุนเทอร์ ไบน์ และหมุนเครื่ องกําเนิ ด
ไฟฟ้ าในโรงไฟฟ้ าชนิ ดนี้ ไม่ได้ใช้ความร้อนจากการการเผาไหม้ของนํ้ามัน แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิ น ฯลฯ ที่
เห็ นลุกไหม้เป็ นเปลวไฟ ซึ่ งเป็ นปฏิกิริยาทางเคมีธรรมดาทัว่ ๆ ไป แต่จะใช้ความร้ อนที่เกิ ดจากปฏิกิริยา
นิ วเคลียร์ (nuclear reaction) ที่เรี ยกว่าฟิ ชชัน (fission) ที่เกิดกับนิ วเคลียสของยูเรเนี ยม-235 ซึ่ งใช้เป็ น
เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้ าแบบนี้
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ จะไม่มีการลุกไหม้ให้เห็นเปลวไฟ เหมือนการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงธรรมดาที่เรา
เคยเห็น ดังนั้นจึงไม่เกิดฝุ่ น ควัน เขม่า ขี้เถ้าในโรงไฟฟ้ าแบบนี้
จากการใช้ปฏิกิริยานิ วเคลียร์ เป็ นตัวก่อให้เกิดความร้อนนี้ เอง จึงเรี ยกโรงไฟฟ้ าแบบนี้ ว่าโรงไฟฟ้ า
นิวเคลียร์
มีขอ้ สังเกตที่ผอู ้ ่านน่ าจะทราบไว้ดว้ ยว่าปฏิกิริยาทางเคมีและปฏิกิริยาทางฟิ สิ กส์น้ นั เราสามารถใช้
สัมผัสทั้งห้าของร่ างกายเราตรวจววัดได้ เช่น การเผาไหม้ เราก็จะเห็นเปลวไฟ รู ้สึกร้อนหรื อเวลาของวิ่งชน
กัน ก็จะเห็นการแตก การบุบสลาย เป็ นต้น ส่ วนปฏิกิริยานิวเคลียร์ น้ นั เราไม่สามารถใช้สัมผัสทั้งห้าของเรา
ไปตรวจวัดได้ว่ามีการเกิ ดขึ้นหรื อยัง เราจะรู ้ ได้ก็ตอ้ งใช้เครื่ องมื ออิ เล็กทรอนิ กส์ ที่ออกแบบโดยเฉพาะ
เท่านั้นเข้าไปตรวจวัด
จากบทที่ 1 ผูอ้ ่านได้ทราบแล้วว่าในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ เราใช้ความร้อนจากปฏิกิริยานิ วเคลียร์ ที่
เรี ยกว่าฟิ ชชันที่เกิดกับนิวเคลียสของยูเรเนียม-235
ในบทที่ 2 นี้ ผูเ้ ขียนขอคุยกับผูอ้ ่านถึงเรื่ องฟิ ชชันโดยเฉพาะ เพราะเป็ นเรื่ องที่สําคัญที่จะต้องทํา
ความเข้าใจให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะไปร่ วมกันคิดในเรื่ องอื่นๆ ต่อไป
ในวิชานิ วเคลียร์ เมื่อพูดถึงฟิ ชชันจะหมายถึงปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของไอโซโทปหนึ่ งของธาตุหนัก
เมื่อถูกชนด้วยนิ วตรอนจะแตกแยกเป็ นนิวเคลียสที่เล็กกว่าสองนิวเคลียสกับนิ วตรอนจํานวนหนึ่ ง (ค่าเฉลี่ย
อยูท่ ี่ 2.5 อนุภาค) พร้อมให้พลังงานจํานวนหนึ่งออกมาด้วย
สําหรับไอโซโทปที่สามารถทําให้เกิดฟิ ชชันได้มีหลายชนิ ด แต่ที่รู้จกั กันดี และได้รับการกล่าวถึง
เสมอคือ ยูเรเนียม-233 ยูเรเนียม-235 และพลูโทเนียม-239
อย่า งไรก็ต ามส่ ว นมากในตํา ราหรื อ บทความต่ างๆ เมื่ อ กล่ า วถึ งฟิ ชชัน จะใช้ยูเ รเนี ย ม-235เป็ น
ตัวอย่างทั้งนี้ เพราะปั จจุ บนั มีการนํายูเรเนี ยม-235 ไปใช้ประโยชน์มากกว่าตัวอื่ น ซึ่ งรวมถึ งการใช้เป็ น
เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ทุกโรงทัว่ โลกด้วย

ตอนนี้ มีคาํ ว่า “ไอโซโทป (isotope)” ขึ้นมาใหม่อีกคําหนึ่ งที่ตอ้ งทําความเข้าใจ ผูเ้ ขียนขอให้อ่าน
ตอนต่อไปอย่างช้าๆ และทําความเข้าใจ โดยนึกภาพให้เห็นตามที่อธิบายไปด้วย ไม่ยากหรอกที่จะเข้าใจ
ไอโซโทปเป็ นคําที่ใช้เรี ยกอะตอมที่แตกต่างกันของธาตุน้ นั ๆ นัน่ หมายความว่าธาตุแต่ละธาตุจะมี
อะตอมที่แตกต่างกันอยู่จาํ นวนหนึ่ ง โดยที่ภายในนิ วเคลียสของแต่ละไอโซโทปของธาตุน้ นั จะมีจาํ นวน
โปรตอนเท่ากัน แต่จาํ นวนนิ วตรอนต่างกันและผูอ้ ่านต้องอย่าลืมว่าในสภาพปกติรอบนิ วเคลียสจะต้องมี
อิเล็กตรอนจํานวนเท่ากับโปรตอนโคจรอยู่ดว้ ย ตัวอย่างเช่ น ธาตุไฮโดรเจน มีอะตอมที่แตกต่างกันอยู่ 3
ชนิด หรื อ 3 ไอโซโทป นั้นคือ
ไอโซโทปแรกในนิ ว เคลี ย สมี แ ต่ โ ปรตอน 1 อนุ ภ าค ไม่ มี นิ ว ตรอนไอโซโทปนี้ มี ชื่ อ เรี ย กว่ า
ไฮโดรเจน ซึ่งก็คือไฮโดรเจนที่เรารู ้จกั กัน
ไอโซโทปที่สองในนิ วเคลียสมีโปรตอน 1 อนุ ภาคกับนิ วตรอน 1 อนุ ภาค ไอโซโทปนี้ มีชื่อเฉพาะ
เรี ยกว่าดิ วเทอเรี ยม (deuterium) ไอโซโทปตัวที่ สองนี้ ถา้ จับออกซิ เจนกลายเป็ นโมเลกุลของนํ้า เราเรี ยก
โมเลกุลนํ้านี้วา่ “นํ้ามวลหนัก (heavy water)”
ไอโซโทปที่สามในนิ วเคลียสมีโปรตอน 1 อนุภาค กับนิ วตรอน 2 อนุภาค ไอโซโทปนี้ มีชื่อเฉพาะ
เรี ยกว่า ทริ เทียม (tritium)
จะเห็ นว่าทุกไอโซโทปของธาตุไฮโดรเจนในนิ วเคลียสต่างมีโปรตอน 1 อนุ ภาคเท่ากัน แต่จะมี
จํานวนนิวตรอนในนิวเคลียสต่างกัน
ไอโซโทปของธาตุเดียวกันจะมีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกันแต่สมบัติทางฟิ สิ กส์และทางนิ วเคลียร์
ต่างกัน ซึ่งก็เกิดจากการมีจาํ นวนนิวตรอนในนิวเคลียสต่างกันนัน่ เอง
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 9

เนื่ องจากธาตุแต่ละธาตุต่างก็มีไอโซโทปกันอยู่จาํ นวนหนึ่ งมากบ้างน้อยบ้าง ดังนั้นถ้าจะพูดถึง


ไอโซโทปของธาตุใด เขาจะเขียนสัญญลักษณ์ ของธาตุน้ ัน แล้วจะมีเลขผลรวมของจํานวนโปรตอนกับ
นิวตรอนที่เรี ยกว่าเลขมวล (mass number) เขียนอยูด่ า้ นบนและมีเลขจํานวนโปรตอนอย่างเดียวที่เรี ยกว่าเลข
เชิงอะตอม (atomic number) เขียนอยู่ขา้ งล่าง เช่น ไอโซโทปของยูเรเนี ยมที่ในนิ วเคลียส แน่ นอนต้องมี
โปรตอน 92 อนุ ภาค และมีจาํ นวนโปรตอนบวกกับจํานวนนิ วตรอนเท่ากับ 235 อนุ ภาค เขาก็จะเขียนเป็ น
ดังนี้

92 U235 การเขียนแบบนี้จะพบในตําราเก่าๆ
หรื อ 92 U การเขียนแบบนี้ จะพบในตําราสมัยใหม่
235

หรื อ U-235 การเขียนแบบนี้ เป็ นของคนชอบความสบายเพราะอ่านง่ายเพียงบอกแต่ค่าเลขมวล (จํานวน


โปรตอนบวกนิ วตรอน) โดยละค่าเลขเชิงอะตอม (จํานวนโปรตอนเท่านั้น) ไว้ในฐานเข้าใจ เพราะยังไงเลข
เชิ งอะตอมของไอโซโทปของธาตุน้ ันมี ค่าเท่ากันอยู่แล้วและอีกอย่างการเขี ยนแบบนี้ ก็ง่ายไม่ตอ้ งเขียน
ข้างบนข้างล่างให้ดูเกะกะ
ในทางนิ วเคลียร์ ถา้ จะพูดถึงปฏิกิริยาทางนิ วเคลียร์ เมื่อใด ตามทฤษฎี จริ งๆ จะต้องเน้นว่าเกิ ดกับ
ไอโซโทปใดของธาตุน้ นั ๆ ทั้งนี้ เพราะธาตุหนึ่ งๆ จะมีหลายไอโซโทป การเกิดปฏิกิริยาทางนิ วเคลียร์ เกิ ด
มากน้อยต่างกันในแต่ละไอโซโทปและคุณสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทปก็ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
ธาตุยเู รเนียมเท่าที่คน้ พบในปั จจุบนั มี 18 ไอโซโทป แต่ละไอโซโทปจะมีนิวเคลียสที่มีจาํ นวนโปรตอนหรื อ
เลขเชิ งอะตอมเท่ ากัน คื อ 92 เสมอ ส่ วนเลขมวลหรื อจํานวนโปรตอนบวกจํานวนนิ วตรอนของแต่ ละ
ไอโซโทปไม่เหมือนกัน โดยจะเริ่ มจากยูเรเนียม-222 แล้วเว้นไปจนถึงยูเรเนียม-225 แล้วไล่ไปเรื่ อยๆ จนถึง
ยูเรเนี ยม-240 แล้วเว้นยูเรเนี ยม-241 แล้วเป็ นยูเรเนี ยม-242 เป็ นไอโซโทปสุ ดท้าย สําหรับไอโซโทปของ
ยูเรเนี ยมที่ถูกเว้นคือ ยูเรเนี ยม-223 ยูเรเนี ยม-224 และยูเรเนี ยม-241 นั้นนักวิทยาศาสตร์ ยงั ผลิตขึ้นมาไม่ได้
หรื อยังตรวจไม่เจอนัน่ เอง
ยูเรเนี ยมมีถึง 18 ไอโซโทป แต่มีที่พบอยู่ในธรรมชาติเพียง 3 ไอโซโทปคือ ยูเรเนี ยม-234 มีอยู่
ประมาณ 0.0057 เปอร์เซ็นต์ ยูเรเนี ยม-235 มีอยูป่ ระมาณ 0.7204 เปอร์เซ็นต์และยูเรเนียม-238 มีอยูป่ ระมาณ
99.2739 เปอร์ เซ็นต์ ส่ วนอีก 15 ไอโซโทป เป็ นไอโซโทปที่มนุ ษย์ประดิ ษฐ์ข้ ึนมาไม่มีในธรรมชาติ จาก
ไอโซโทปที่มีในธรรมชาติจะมีเพียงยูเรเนี ยม-235 เท่านั้นที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาฟิ ชชันได้ดี ส่ วนยูเรเนียม-238
สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาฟิ ชชันได้เหมือนกันแต่เกิดได้นอ้ ยจนไม่มีใครคิดถึง
ไอโซโทปทั้ง 18 ชนิ ดของยูเรเนี ยมนี้ ขอให้ผอู ้ ่านจําไว้เพียง 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนี ยม-235 และ
ยูเรเนียม-238 เท่านั้นเพราะจะมีการกล่าวในโอกาสต่อไป
เมื่อมีความเข้าใจเรื่ องไอโซโทปแล้ว คราวนี้มาพูดเรื่ องปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เรี ยกว่าฟิ ชชันต่อไป
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 10

ปฏิกิริยาฟิ ชชันที่เกิดกับยูเรเนียม-235 นั้น ถ้าเขียนเป็ นสมการโดยเลือกแบบที่เกิดนิวตรอนใหม่สอง


อนุภาคจะเป็ นดังนี้
1.เขียนแบบยาว
U-235 + n → U-236 → X + Y + 2n + E
เมื่อ U-235 = ยูเรเนียม-235
N = นิวตรอน
U-236 = ยูเรเนียม-236
X และ Y = ไอโซโทปของธาตุ ใ หม่ ที่ มี ช่ื อ เรี ย กรวมๆ ว่ า ผลผลิ ต การแบ่ ง แยก
นิวเคลียส (fission products) ซึ่งมีเยอะมาก
E = พลังงาน

2. เขียนแบบสั้น
U-235 + n → X + Y + 2n + E

สมการแบบสั้นนี้ นิยมใช้กนั ซึ่ งรวมถึงผูเ้ ขียนด้วย การที่ไม่เขียนยูเรเนียม-236 ไว้ดว้ ยเป็ นเพราะการ


เกิดฟิ ชชันนั้นเร็ วมาก นัน่ คือในสภาวะที่พอเหมาะจริ งๆ เมื่อนิ วตรอนวิ่งเข้าไปในนิ วเคลียสของยูเรเนี ยม-
235 แล้วก็จะเกิดการแตกตัวแทบทันที ดังนั้นจึงละไม่เขียนยูเรเนี ยม-236 ไว้ในสมการ อนึ่ งพึงเข้าใจด้วยว่า
นิวเคลียสของยูเรเนี ยม-235 เมื่อถูกชนด้วยนิ วตรอนแล้วไม่ใช่จะเกิดฟิ ชชันได้ทุกตัว บางตัวเมื่อถูกชนแล้วก็
จะจับนิ วตรอนนั้นไว้ในนิ วเคลียสกลายเป็ นยูเรเนี ยม-236 เฉยๆ โดยไม่เกิดฟิ ชชันต่อไป ปฏิกิริยานิ วเคลียร์
แบบที่นิวเคลียสจับยึดนิวตรอนนี้มีชื่อเรี ยกว่าการจับยึดนิวตรอน (neutron capture)
ปฏิ กิ ริ ย านิ ว เคลี ย ร์ แ บบการจับ ยึด นิ ว ตรอนนี้ นับ ว่า สํา คัญ มากเพราะเกิ ด ได้กับ ทุ ก ไอโซโทปที่
นิวเคลียสถูกวิง่ ชนด้วยนิวตรอน ซึ่งจะกล่าวต่อไปในตอนหลัง

ผูเ้ ขียนขอยกตัวอย่างสมการการเกิดฟิ ชชันจริ งๆ เช่น

ผลของฟิ ชชันได้นิวตรอนใหม่ 2 อนุภาค


U-235 + n → Kr-90 + Ba-144 + 2n + E
ซึ่งถ้าเขียนเต็มรู ปแบบจะเป็ น
235
92U + 01n→ 3690 Kr +144
56 Ba + 2 0 n + E
1

เมื่อ
Kr-90 = คริ ปทอน-90
Ba-144 = แบเรี ยม-144
ผลของฟิ ชชันได้นิวตรอนใหม่ 3 อนุภาค
U-235 + n → I-137 + Y-96 + 3n + E
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 11

ซึ่งถ้าเขียนเต็มรู ปแบบจะเป็ น
235
92U + 0 n1 →137
53 I + 39Y + 30 n + E
96 1

เมื่อ I-137 = ไอโอดีน-137


Y-96 = อิตเทรี ยม-96

จากสมการดังกล่าวคงจะมีผสู ้ งสัยว่าพลังงานที่ได้ออกมาจากฟิ ชชันนั้นมาจากไหนเพราะปฏิกิริยา


นิวเคลียร์ไม่มีการเผาไหม้ให้เห็นเปลวไฟเหมือนการเผาไหม้ของถ่านหิ นหรื อนํ้ามัน
ข้อสงสัยนี้อธิบายได้ คือ ให้ดูสมการฟิ ชชันที่กล่าวมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่ามวลรวมของกลุ่มที่
อยู่ดา้ นซ้ายมือของสมการจะมากกว่ามวลรวมของกลุ่มที่อยู่ดา้ นขวามือของสมการ ซึ่ งผลต่างของมวลที่
หายไปนี้ เองที่กลายไปเป็ นพลังงานตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ที่ว่ามวลและพลังงานสามารถเปลี่ยนกลับไป
กลับมาได้ตามสู ตร

E = mc2
เมื่อ E = พลังงาน
M = มวล
C = ความเร็ วแสง

จากสู ตรดังกล่าวพบว่าพลังงานที่ได้จากฟิ ชชันที่เกิดกับยูเรเนี ยม-235 จะมีค่าประมาณ 200 เอ็มอีวี


(MeV)
ในวิชานิ วเคลียร์ หน่วยของพลังงานที่ใช้กนั คือ อิเล็กตรอนโวลต์ (electron volt) ซึ่ งเรี ยกย่อๆ ว่า
อีวี (eV) โดยมีคาํ จํากัดความว่าพลังงานหนึ่ งอิเล็กตรอนโวลต์คือพลังงานที่ใช้ในการทําให้อิเล็กตรอนหนึ่ ง
อนุภาควิ่งผ่านความต่างศักย์ไฟฟ้ าหนึ่งโวลต์
หน่วยอีวีเป็ นหน่วยที่เล็ก หน่วยที่สูงขึ้นมาคือเคอีวี (keV) มีค่าเป็ นพันเท่าของอีวีและที่สูงขึ้นไปอีก
คือเอ็มอีวี (MeV) มีค่าเป็ นล้านเท่าของอีวี
ต่ อ ไปขอให้ผูอ้ ่ า นย้อ นกลับไปดู สมการฟิ ชชัน อี กครั้ ง โดยดู แ บบตรงไปตรงมาอย่าพึ่ง คิ ด มาก
จะเห็ นว่าเริ่ มแรกใช้นิวตรอนตัวเดี ยว แต่เมื่อเกิ ดฟิ ชชันแล้วจะได้นิวตรอนสองตัว (ขอใช้คาํ “ตัว” แทน
“อนุภาค”) ซึ่ งนิวตรอนที่เกิดใหม่ท้ งั สองตัวนี้ ก็จะไปทําให้เกิดฟิ ชชันกับนิ วเคลียสของยูเรเนียม-235 ตัวอื่น
ทําให้เกิดนิ วตรอนใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็ นสี่ ตวั และทั้งสี่ ตวั นี้ก็จะไปทําให้เกิดฟิ ชชันต่อไปได้นิวตรอนใหม่เป็ น
แปดตัว แล้วจากแปดตัวเมื่อเกิ ดฟิ ชชันต่อไปก็จะได้นิวตรอนเป็ นสิ บหกตัว ซึ่ งถ้าฟิ ชชันเกิดต่อไปเรื่ อยๆ
เช่นนี้ จํานวนนิ วตรอนก็จะเกิดขึ้นเป็ นทวีคูณพร้อมกันนั้นก็จะได้พลังงานสู งขึ้นเป็ นทวีคูณเช่นกัน การเกิด
ฟิ ชชันแบบต่อเนื่องไปเรื่ อยๆ นี้เราเรี ยกว่าเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction)
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 12

ผลผลิตการแบ่ งแยก
นิวเคลียส

ผลผลิตการแบ่ งแยก

รู ปที่ 2.1 การเกิดฟิ ชชัน

จากที่อธิ บายข้างบนนั้น เป็ นการพูดถึงการเกิดฟิ ชชันเริ่ มแรกด้วยนิ วตรอนตัวเดียว แต่ในความเป็ น


จริ งในภาคปฏิบตั ินิวตรอนเริ่ มแรกไม่ใช่ มีตวั เดี ยวแต่จะมีหลายล้านตัว ด้วยเหตุน้ ี เมื่อเกิ ดปฏิกิริยาลูกโซ่
เกิดขึ้นแล้วจะมีพลังงานซึ่งรวมถึงพลังงานความร้อนออกมามากมายมหาศาล
ที่กล่าวมายืดยาวนี้กเ็ พื่อให้ผอู ้ ่านเข้าใจเรื่ องของฟิ ชชันเบื้องต้นพอเป็ นสังเขป
เอาล่ะ เรามาร่ วมคิดกันต่อไป สิ่ งที่จะคิดต่อไปนี้ทา้ ทายความสามารถของเรามาก นัน่ คือเมื่อเรารู ้จกั
สมการฟิ ชชันแล้วว่าเป็ นดังนี้

n + U-235 → X + Y + 2n + E

เราต้องคิด ต่ อไปว่าจากสมการง่ ายๆ ดู ธรรมดาๆ นี้ เราจะหาวิธีอะไรและอย่างไรที่ จะสามารถ


นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างจริ งจัง โดยเฉพาะจะเอาความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ ไปทําให้น้ าํ กลายเป็ นไอนํ้า
ร้อนความดันสู งไปหมุนเทอร์ไบน์ ไปหมุนเครื่ องกําเนิดไฟฟ้ าผลิตกระแสไฟฟ้ าออกมาใช้ได้
สิ่ งที่เราต้องคิดถึงคือต้องรู ้ลึกลงไปอีกว่าแต่ละองค์ประกอบของสมการฟิ ชชันนั้นมีอะไรพิเศษที่
ต้องคํานึงถึงบ้าง
เริ่ มต้นมาดูนิวตรอนด้านซ้ายมือของสมการกันก่อนซึ่งนิวตรอนตัวนี้เป็ นตัวจุดชนวน มีคนสงสัยกัน
มากว่าเราจะหามาได้อย่างไร ทั้งนี้เพราะที่เรารู ้ในตอนแรกแล้วว่านิ วตรอนอยูใ่ นนิ วเคลียสของอะตอมแล้ว
เราจะเอาออกมาได้อย่างไร
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 13

ผูเ้ ขียนเคยเจอบางคนอธิบายการเกิดฟิ ชชันอย่างคล่องแคล่ว แต่พอมีคนถามว่า นิวตรอนเริ่ มแรกเอา


มาจากไหน ปรากฏคนนั้นนิ่งไปสักครู่ แล้วพูดว่า “เออ! เอามาจากไหนล่ะ ไม่ได้คิดถึงเรื่ องนี้เลย”
นิ วตรอนปกติ แล้วจะอยู่ในนิ วเคลี ยสของอะตอมดังที่กล่าวมาแล้วก่ อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามใน
ธรรมชาติจะมีนิวตรอนที่ไม่ได้อยูใ่ นนิวเคลียสหรื อที่เรี ยกว่านิวตรอนอิสระ (free neutron) วิ่งไปวิ่งมาอยู่
ทัว่ ไปพูดง่ายๆ ร่ างกายเราทุกคนจะถูกนิ วตรอนอิสระนี้ ชนอยู่ตลอดเวลา นิ วตรอนที่กล่าวถึงนี้ เกิดจากผล
ของรังสี คอสมิคจากนอกโลกทําปฏิกิริยากับบรรยากาศของโลกและเกิดจากผลการเกิดฟิ ชชันด้วยตัวเองของ
ไอโซโทปบางตัว ที่ มี ใ นธรรมชาติ อย่า งไรก็ต ามนิ ว ตรอนพวกนี้ มี จ าํ นวนน้อ ยมากและมี อายุส้ ัน จึ ง ไม่
สามารถนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้และอีกประการหนึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้
คราวนี้ก็มาถึงปั ญหาว่าเราจะหานิ วตรอนเริ่ มแรกมาจากไหนละ คําตอบคือต้องหาวิธีเอานิ วตรอนที่
มีในนิวเคลียสออกมาให้ได้เพราะเป็ นวิธีเดียวเท่านั้น
เขาทํากันอย่างไรล่ะ
นับเป็ นความโชคดี ที่นักวิทยาศาสตร์ คิดหาวิธีเอานิ วตรอนออกจากนิ วเคลียสได้โดยใช้ปฏิกิริยา
นิวเคลียร์เข้าช่วยนัน่ คือมีการพบว่านิวเคลียสของไอโซโทปของธาตุเบาบางธาตุ เช่น เบริ ลเลียม-9 เมื่อถูกชน
ด้วยอนุภาคแอลฟา (alpha particle) จะให้นิวตรอนออกมา
อนุภาคแอลฟาเป็ นอนุภาคที่ประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัว กับนิวตรอน 2 ตัว ซึ่งเหมือนกับนิ วเคลียส
ของฮีเลียม-4 ดังนั้นสมการการเกิดนิวตรอนด้วยวิธีน้ ีจึงเขียนได้ดงั นี้
9
4 Be + 24He→126 C + 01n

หรื อ Be-9 + He-4 → C-12 + n

เมื่อ B-9 = เบริ ลเลียม-9


He-4 = อนุภาคแอลฟา
C-12 = คาร์บอน-12

โปรดสังเกตสมการให้ดี เบริ ลเลียม-9 เมื่อทําปฏิกิริยานิวเคลียร์กบั อนุภาคแอลฟาแล้วตัวเองจะกลาย


ไปเป็ นคาร์ บอน-12 ซึ่ งเป็ นไอโซโทปของอีกธาตุหนึ่ งเลย ปฏิกิริยานิ วเคลียร์ น้ ี ดูๆ แล้วแปลกดีเหมือนการ
เล่นแร่ แปรธาตุ
ว่าตามจริ งมีปฏิกิริยานิ วเคลียร์ อีกหลายแบบที่สามารถทําให้เกิดนิ วตรอนออกมาได้แต่จะไม่ขอพูด
ถึงในที่น้ ีเพราะเราไม่ได้นาํ มาใช้ในงานของเรา
ปัญหาต่อไปแล้วอนุภาคแอลฟาเอามาจากไหน
เห็นมั้ยว่างานทางวิทยาศาสตร์จะมีคาํ ถามต่อไปเรื่ อยๆ ซึ่งเป็ นของสนุกที่จะต้องค้นหา
อนุภาคแอลฟาเป็ นอนุภาคที่แผ่ออกมาจากไอโซโทปรังสี (radioisotope) บางชนิ ด ไอโซโทปรังสี
เป็ นไอโซโทปที่มีนิวเคลียสอยู่ในสภาพไม่เสถียร (unstable) ดังนั้นมันจึงต้องแผ่อนุ ภาคหรื อรังสี ออกมา
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 14

เพื่อให้ตวั เองเสถียร (stable) อนุภาคแอลฟานี้ บางครั้งเราก็เรี ยกว่ารังสี แอลฟา สําหรับรังสี ที่แผ่ออกมาจาก


ไอโซโทปรังสี นอกจากรังสี แอลฟาแล้วมีอะไรอีกบ้างนั้น ผูเ้ ขียนจะกล่าวถึงในตอนหลัง
เมื่อนักวิทยาศาสตร์รู้วา่ อนุภาคแอลฟาแผ่ออกมาจากไอโซโทปรังสี และก็รู้ว่าไอโซโทปรังสี มีหลาย
ชนิ ด เขาก็เลยทดลองเพื่อเลือกตัวที่ เหมาะสมซึ่ งพบว่าไอโซโทปของธาตุบางธาตุเหมาะที่นาํ มาใช้ เช่ น
อะเมริ เซียม-241 พลูโทเนียม-238 พอโลเนียม-210 เรเดียม-226 เป็ นต้น
วิธีการทํากันคือเอาผงของเบริ ลเลียม-9 และผงของไอโซโทปรังสี ที่แผ่รังสี แอลฟาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่กล่าวข้างบนมาคลุกผสมกัน แล้วอัดใส่ ภาชนะโลหะพิเศษทรงกระบอกกลมเล็กๆ แล้วเชื่อมปิ ดฝาให้สนิท
แค่น้ ี เราก็จะได้ตน้ กําเนิดนิวตรอน (neutron source) สําหรับใช้เป็ นตัวให้นิวตรอนเริ่ มแรกในการเกิดฟิ ชชัน
ได้
กรณี ที่ ใ ช้อ ะเมริ เ ซี ย ม-241 กับ เบริ ล เลี ย ม-9 เราก็ จ ะได้ต ้น กํา เนิ ด นิ ว ตรอนแบบอะเมริ เ ซี ย ม-
เบริ ลเลียม (Am-Be neutron source) ถ้าใช้พอโลเนียม-210กับเบริ ลเลียม-9 ก็จะได้ตน้ กําเนิดนิวตรอนแบบ
พอโลเนียม-เบริ ลเลียม (Po-Be neutron source) ถ้าใช้เรเดียม-226 กับเบริ ลเลียม-9 ก็จะได้ตน้ กําเนิดนิวตรอน
แบบเรเดียม-เบริ ลเลียม (Ra-Be neutron source)
เมื่อเรามีตน้ กําเนิ ดนิ วตรอนแล้ว ต่อไปเราต้องมาดูว่านิ วตรอนที่พุ่งออกจากต้นกําเนิ ดนิ วตรอนนี้
เป็ นอย่างไร มีความเร็ วหรื อพลังงานเท่าไร
ในวิชานิวเคลียร์เมื่อมีการพูดถึงการเคลื่อนที่ของอนุภาคหรื อรังสี เขาไม่ได้ใช้หน่วยความเร็ วที่พวก
เราใช้กนั อยู่ เช่น กิโลเมตรต่อชัว่ โมงหรื อเมตรต่อวินาที เป็ นตัวกําหนด แต่จะใช้หน่วยของพลังงานคือ อีวี
(eV) เคอีวี (keV) และเอ็มอีวี (MeV) เป็ นตัวกําหนดดังได้เคยกล่าวมาแล้ว
สํา หรั บ นิ ว ตรอนที่ พุ่ ง ออกจากต้น กํา เนิ ด นิ ว ตรอนที่ ก ล่ า วถึ ง นี้ จะเป็ นพวกที่ มี พ ลัง งานสู ง ใน
ระดับเอ็มอีวีปนกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถทําให้นิวตรอนที่มีพลังงานสู งกลายเป็ นที่มีพลังงานตํ่าได้
ซึ่ งมีผลทําให้มีนิวตรอนที่มีพลังงานแตกต่างกันอยูม่ ากมาย ดั้งนั้นเพื่อความสะดวกในการกล่าวถึงนิวตรอน
โดยไม่บ่งชี้ถึงค่าพลังงานของแต่ละตัว เขาจึงจัดแบ่งนิวตรอนเป็ นพวกๆไว้ดงั นี้
นิวตรอนพวกที่มีพลังงานเกิน 0.5 เอ็มอีวี (บางตํารากําหนด 0.1 เอ็มอีวี) จะเรี ยกว่านิวตรอนเร็ ว (fast
neutrons)
นิวตรอนพวกที่มีพลังงานเฉลี่ยเท่ากับ 0.025 อีวี จะเรี ยกว่าเทอร์มลั นิวตรอน (thermal neutrons )
ส่ วนนิ วตรอนที่มีพลังงานอยู่ระหว่างนิ วตรอนเร็ วกับเทอร์ มลั นิ วตรอน ก็จะแบ่งเป็ นพวกๆ เช่ น
นิวตรอนช้า (slow neutrons)ได้แก่นิวตรอนที่มีพลังงานสู งกว่าเทอร์ มลั นิ วตรอนเล็กน้อยคือน้อยกว่า 1 อีวี
จนถึงประมาณ 10 อีวี แต่ในบางครั้งก็หมายถึงนิวตรอนพวกที่มีพลังงานตํ่ากว่า 1 เคอีวี
อินเทอร์มีเดียดนิ วตรอน (intermediate neutrons) ได้แก่นิวตรอนที่มีพลังงานจากประมาณสองสาม
ร้อยอีวีถึงประมาณ 0.5 เอ็มอีวี
เรโซแนนซ์นิวตรอน (epithermal neutrons) ได้แก่นิวตรอนที่มีพลังงานประมาณ 0.2 อีวี
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 15

ช่วงพลังงานของนิ วตรอนในแต่ละกลุ่มอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างในแต่ละตํารา จากกลุ่มต่างๆ ของ


นิวตรอนดังกล่าวข้างบนนี้ ผูเ้ ขียนขอให้จาํ ชื่อกลุ่มเทอร์มลั นิวตรอนไว้ให้ดีเพราะเป็ นกลุ่มที่มีผลต่อการเกิด
ฟิ ชชันได้มาก
ตอนนี้ เรารู ้ถึงการได้มาซึ่ งนิ วตรอนที่จะเป็ นตัวเริ่ มแรกในการให้เกิดฟิ ชชันแล้ว ต่อไปเรามาดูเรื่ อง
ของยูเรเนียม-235 ที่อยูท่ างด้านซ้ายมือของสมการบ้าง
เวลาเราดูสมการการเกิดฟิ ชชันจะรู ้สึกง่ายๆ ซึ่ งนัน่ เป็ นไปตามทฤษฏีที่อธิ บายการเกิดฟิ ชชัน แต่ใน
ความเป็ นจริ งหรื อในภาคปฏิบตั ิที่จะได้มาซึ่งยูเรเนียม-235 นั้น มีความยุง่ ยากสลับซับซ้อนพอสมควร
ปั ญหาคื อ เราจะเอายูเ รเนี ย ม-235 มาจากไหนและมี ก ารดํา เนิ น การอย่า งไร จนถึ ง นํา มาใช้เ ป็ น
เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ ให้เกิดความปลอดภัยได้
ผูอ้ ่านคงพอจําได้ว่า ผูเ้ ขียนเคยพูดถึงว่าธาตุยเู รเนียมมีไอโซโทปอยู่ 18 ชนิด แต่ที่มีอยูใ่ นธรรมชาติ
มีเพียง 3 ชนิ ด คือ ยูเรเนี ยม-234 ประมาณ 0.0057 เปอร์ เซ็นต์ ยูเรเนี ยม-235 มีประมาณ 0.7204 เปอร์ เซ็นต์
และยูเรเนี ยม-238 มีประมาณ 99.2739 เปอร์ เซ็นต์ แต่เนื่องจากยูเรเนี ยม-234 มีปริ มาณน้อยมาก ดังนั้นจึงมัก
ไม่มีใครพูดถึงจะพูดถึงแต่ยเู รเนียม-235 และยูเรเนียม-238 เท่านั้น
ค่าเปอร์เซ็นต์ของยูเรเนี ยมไอโซโทป ทั้ง 3 ชนิ ดนี้ แต่ละตําราจะไม่ตรงกันทีเดียว การที่เป็ นเช่นนี้ ก็
เนื่ องจากค่าที่ได้เป็ นผลจากการตรวจวิเคราะห์จากแหล่งที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามค่าตัวเลขหลังจุดทศนิ ยม
ตัวแรกที่ปัดเศษกันแล้วจะเหมือนกัน
ไอโซโทปทั้ง 3 ชนิ ด ของยูเรเนี ยมนี้ จะอยู่รวมในแร่ ยูเรเนี ยมที่ปะปนอยู่กบั แร่ อื่นๆ กระจายอยู่
ทัว่ ไป แต่ที่ พบปริ มาณมากอยู่ที่ ประเทศคาซัคสถาน คานาดา ออสเตรเลี ย อาฟริ ก าใต้ นามิ เ มี ย รั สเซี ย
อเมริ กา ยูเครน ไนเจอร์ อุสเบคิสสถาน บราซิ ล เป็ นต้น สําหรับประเทศไทยเท่าที่มีการสํารวจมีเหมือนกัน
แต่มีปริ มาณน้อย
ที่เหมืองยูเรเนียมก้อนแร่ ยเู รเนียมจะถูกนําออกมาจากพื้นผิวโลกจะโดยวิธีใดก็ตาม จากนั้นก็นาํ ก้อน
แร่ มาบดให้เป็ นผง แล้วนําไปผ่านกระบวนการชะล้างทําให้ได้สินแร่ ยเู รเนี ยม จากนั้นส่ งเข้าโรงงานเปลี่ยน
สภาพโรงที่หนึ่ ง (conversion Plant I) เพื่อใช้กระบวนการทางเคมีแยกเอาเฉพาะยูเรเนี ยมออกมา ยูเรเนียมที่
ได้ออกมานี้ จะเป็ นผงที่เรี ยกว่ายูเรเนี ยมออกไซด์ (U3O8) ซึ่ งภาษาชาวบ้านเรี ยกเค้กเหลือง (yellow cake)
เพราะมันมีสีออกเหลืองๆ จากนั้นเค้กเหลืองนี้จะถูกทําให้กลายเป็ นยูเรเนี ยมไตรออกไซด์ (UO3) แล้วทําให้
กลายเป็ นยูเรเนี ยมไดออกไซด์ (UO2) จากนั้นทําให้เป็ นยูเรเนี ยมเตตราฟลูออไรด์ (UF4) แล้วสุ ดท้ายทําให้
กลายเป็ นยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ (UF6) ซึ่งอยูใ่ นสภาพแก๊สนํามาเก็บในถังเก็บที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 16

รู ปที่ 2.2 ถังเก็บยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ (UF6)

การที่ตอ้ งทําให้ยเู รเนียมเฮกซะฟลูออไรด์อยูใ่ นสภาพแก๊สนั้นก็เพื่อที่จะได้นาํ ไปเข้าสู่ กระบวนการ


เสริ มสมรรถนะยูเรเนียม (uranium enrichment) ได้สะดวก
ยูเรเนียมเฮกซะฟลูออไรด์ นี้ในภาษาพูดจะเรี ยกสั้นๆ ตามสู ตรเคมีวา่ ยูเอฟซิก (UF6)
คําถามต่อไปที่มีคือ ทําไมต้องมีการเสริ มสมรรถนะยูเรเนียมด้วยและมีความจําเป็ นด้วยหรื อ
คําตอบคือ การเสริ มสมรรถนะยูเรเนี ยมทําให้ได้ยูเรเนี ยมที่มีประสิ ทธิ ภาพในการนําไปใช้งานได้
ดี กว่ายูเรเนี ยมที่ยงั ไม่ได้เสริ มสมรรถนะ ซึ่ งนี่ เองที่จาํ เป็ นต้องมีการเสริ มสมรรถนะว่าตามจริ งก็มีคนนํา
ยูเรเนียมที่ไม่ได้เสริ มสมรรถนะไปใช้งานเหมือนกันแต่ไม่ค่อยนิยมใช้กนั มีใช้งานเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น
เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริ มสมรรถนะยูเรเนี ยม ผูเ้ ขียนขอเวลาเล่าสู่ กนั ฟั งพอเป็ นสังเขป
ดั้งนี้
จากที่ เ คยเล่ า มาแล้ว ในตอนแรกว่าธาตุ ยูเ รเนี ย มมี ไ อโซโทปอยู่ 3 ชนิ ด ที่ มี อ ยู่ในธรรมชาติ คื อ
ยูเรเนี ยม-234 มีประมาณ 0.0057 เปอร์ เซ็น ยูเรเนี ยม-235 มีประมาณ 0.7204 เปอร์ เซ็น และยูเรเนี ยม-238 มี
ประมาณ 99.2739 เปอร์เซ็น ซึ่งจะเห็นว่าสัดส่ วนของยูเรเนียม-234 นั้นมีนอ้ ยมาก เราจะตัดทิ้งไปไม่กล่าวถึง
จะกล่าวถึงแต่ยเู รเนี ยม-235 และยูเรเนี ยม-238 เท่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อดูสัดส่ วนของยูเรเนี ยม-235แล้วก็ดู
น้อยเช่นกันเพราะไม่ถึงหนึ่งเปอร์ เซ็น แต่เราจะตัดทิ้งไม่ได้เพราะต้องอาศัยยูเรเนียม-235ในการเกิดปฏิกิริยา
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 17

ฟิ ชชัน ด้วยเหตุน้ ี นี่เองนักวิทยาศาสตร์ จึงต้องคิดหาวิธีที่จะเพิ่มสัดส่ วนของยูเรเนี ยม-235 ต่อยูเรเนี ยม-238


ให้สูงขึ้น การเพิ่มสัดส่ วนของยูเรเนี ยม-235 ให้สูงกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ เราเรี ยกว่าการเสริ มสมรรถนะ
ยูเรเนี ยมนัน่ เอง สมัยก่อนมีการใช้คาํ ว่าการทําให้เข้มข้น แต่ปัจจุบนั เลิกใช้คาํ ว่าเข้มข้นแล้วเพราะมันไม่ตรง
ความหมายที่แท้จริ งนัก
จากการวิเคราะห์ในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการผลิตการลงทุน ความโปร่ งใส ความเข้มงวดของการ
ตรวจจากทบวงการพลัง งานปรมาณู ระหว่ า งประเทศ ความปลอดภัย และอื่ น ๆ นัก วิ ท ยาศาสตร์ พ บว่า
เชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ น้ นั ใช้ยเู รเนียมที่เสริ มสมรรถนะยูเรเนียม-235 ในระดับ 1-4 เปอร์เซ็นต์
เพียงพอและเหมาะสม
วิธีการเสริ มสมรรถนะยูเรเนี ยม-235 คือต้องแยกหรื อสกัดเอายูเรเนี ยม-238 ออกไปเพื่อว่าสัดส่ วน
ของยูเรเนียม-235 เมื่อเทียบกับยูเรเนียม-238 จะได้สูงขึ้นจากที่เป็ นอยูต่ ามธรรมชาติ
เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ ขอให้ดูตวั เลขง่ายๆ ดังนี้
สมมติมียูเรเนี ยมจากธรรมชาติอยู่หนึ่ งแสนอะตอม ซึ่ งในหนึ่ งแสนอะตอมนี้ จะเป็ นอะตอมของ
ยูเรเนียม-235 อยู่ 0.7 เปอร์ เซ็นต์ ซึ่ งก็คือ 700 อะตอม ส่ วนที่เหลือ 99300 อะตอม หรื อ 99.3 เปอร์เซ็นต์ เป็ น
ยูเรเนียม-238 ผูเ้ ขียนจะวางตัวเลขให้เห็นได้ชดั เจน ตามข้างล่างนี้
ยูเรเนียม-238 = 999300 อะตอม = 99.3%
ยูเรเนียม-235 = 700 อะตอม = 0.7%
เราเรี ยกยูเรเนียมที่มีสดั ส่ วนของยูเรเนียม 0.7% นี้วา่ ยูเรเนียมธรรมชาติ (natural uranium)
จากสัดส่ วนข้างบน ถ้าเราสามารถแยกเอาอะตอมของยูเรเนี ยม-238 ออกไปจํานวน 50000 อะตอม
เราก็จะเหลือสัดส่ วน ดังนี้
ยูเรเนียม-238 = 49300 อะตอม = 98.6%
ยูเรเนียม-235 = 700 อะตอม = 1.4%
จะเห็ นว่าสัดส่ วนของยูเรเนี ยม-235 เพิ่มขึ้นจาก 0.7 เปอร์ เซ็นต์ เป็ น 1.4 เปอร์ เซ็นต์ ซึ่ งเราเรี ยก
ยูเรเนียมกลุ่มนี้วา่ ยูเรเนียมเสริ มสมรรถนะ 1.4 เปอร์เซ็นต์ (1.4% enriched uranium)
และถ้าเราสามารถแยกเอาอะตอมของยูเรเนี ยม-238 ออกไปอีก 27000 อะตอม และสมมติจากการ
แยกมีอะตอมยูเรเนียม-235 หลุดไปด้วย 50 อะตอม เราก็จะเหลือ
ยูเรเนียม-238 = 22300 อะตอม ประมาณ 97.2%
ยูเรเนียม-235 = 650 อะตอม ประมาณ 2.8%

ตอนนี้เราก็จะได้ยเู รเนียม-235 เพิ่มเป็ น 2.8 เปอร์เซ็นต์ และเราเรี ยกยูเรเนี ยมกลุ่มนี้ ว่า ยูเรเนี ยมเสริ ม
สมรรถนะ 2.8 เปอร์เซ็นต์
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 18

โดยหลักการนี้ถา้ เราแยกเอายูเรเนียม-238 ออกไปเรื่ อยๆ เราก็จะได้ยเู รเนียม-235 เพิม่ เปอร์เซ็นต์มาก


ขึ้นๆ ดังตัวอย่างข้างบน ถ้าเราสกัดเอายูเรเนี ยม-238 ออกไปให้เหลือเพียง 10 อะตอม เราก็จะได้ยเู รเนี ยมที่
เสริ มสมรรถนะถึง 98.5 เปอร์เซ็นต์ เอาไปใช้เป็ นวัตถุระเบิดในระเบิดนิวเคลียร์ได้
ตามที่ผูเ้ ขียนทราบยูเรเนี ยมที่จะนําไปใช้สร้างระเบิดนิ วเคลียร์ ได้น้ ันจะต้องเป็ นยูเรเนี ยมที่เสริ ม
สมรรถนะมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่โดยทัว่ ไปจะใช้พวกที่มีค่ามากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
ด้วยเหตุน้ ี ผูอ้ ่านคงพอเข้าใจแล้วว่าเชื้ อเพลิงยูเรเนี ยมที่ใช้ในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ซึ่ งเป็ นยูเรเนี ยม
เสริ มสมรรถนะเพียง 1-5 เปอร์ เซ็นต์ นั้นไม่มีใครนําไปใช้ทาํ ระเบิดนิ วเคลียร์ หรื อพูดอีกอย่างโรงไฟฟ้ า
นิ วเคลี ยร์ ไม่มีทางที่ จะระเบิดแบบลูกระเบิ ดนิ วเคลี ยร์ หรื อระเบิ ดปรมาณู ได้ ดังนั้นถ้าใครมาพูดว่าถ้ามี
โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ แล้ว เดี๋ยวมันจะเกิดระเบิดเหมือนระเบิดปรมาณูก็ขอให้ผอู ้ ่านช่วยอธิ บายสิ่ งที่ถูกต้องให้
ผูน้ ้ นั ทราบด้วยว่า ไม่มีทางเป็ นไปได้เลยเพราะมันคนละเรื่ องกัน
คราวนี้มาดูวา่ การเสริ มสมรรถนะยูเรเนียมนั้นเขาทํากันอย่างไร
จากการที่ทราบแล้วว่ายูเรเนียม-235 กับยูเรเนียม-238 นั้นเป็ นไอโซโทปของธาตุยเู รเนียม ดังนั้นจึงมี
คุณสมบัติทางเคมีเหมือนกันทุกประการ ด้วยเหตุน้ ี เราจะใช้กระบวนการทางเคมีมาแยกทั้งสองออกจากกัน
คงจะยากมาก ดังนั้นวิธีที่เราจะแยกทั้งสองออกจากกันได้โดยง่ายก็ตอ้ งอาศัยคุณสมบัติทางฟิ สิ กส์ นัน่ คือใช้
ขนาดและนํ้าหนักเป็ นตัวแยกให้ออกจากกัน
อะตอมของยูเรเนี ยม-238 จะมีขนาดใหญ่และหนักกว่าอะตอมของยูเรเนียม-235 เนื่ องจากมีจาํ นวน
นิวตรอนในนิวเคลียสมากกว่า 3 อนุภาคนัน่ เอง
โดยอาศัยความแตกต่างดังกล่าวนี้ เอง นักวิทยาศาสตร์ จึงสามารถแยกเอายูเรเนี ยม-238 ออกไปได้
ซึ่งก็มีหลายวิธีแต่อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 2 วิธี ที่นิยมใช้กนั ในเชิงพาณิ ชย์
1. กระบวนการแพร่ แก๊ส หรื อการกระจายแก๊ส (The Gaseous Diffusion Process) กระบวนการแบบ
นี้เขาจะให้แก๊สยูเรเนี ยมเฮกซะฟลูออไรด์หรื อยูเอฟซิ ก (UF6) ซึ่ งเรารู ้จกั แล้วผ่านเข้าไปในดิฟฟิ วชันแชม
เบอร์ (diffusion chamber) ที่ต่อกันเป็ นอนุ กรมรวม แล้วเป็ นร้อยๆ ชุด ดิฟฟิ วชันแชมเบอร์ น้ ี จะทําตัวเป็ น
แผ่นเยือ่ (membrane) โดยการนี้โมเลกุลของยูเอฟซิ กที่เป็ นของยูเรเนี ยม-235 ซึ่ งมีขนาดเล็กและวิ่งเร็ วกว่าก็
จะผ่า นแผ่น เยื่อ ไปได้ม ากกว่า โมเลกุ ล ของยูเ อฟซิ ก ที่ เ ป็ นของยูเ รเนี ย ม-238 จากนั้น ก็ ใ ห้ก ลุ่ ม แก๊ ส ที่ มี
ยูเรเนี ยม-235 เพิ่มมากขึ้น แต่ยเู รเนี ยม-238 ลดน้อยลงผ่านสู่ ดิฟฟิ วชันแชมเบอร์ ตวั ถัดไป ซึ่ งเมื่อส่ งต่อไป
เรื่ อยๆ ในที่สุดเราก็จะได้แก๊สยูเอฟซิ กที่มีเปอร์ เซ็นต์ยเู รเนี ยม-235 ตามที่ตอ้ งการนําไปบรรจุถงั เก็บไว้เพื่อ
ดําเนินการในขั้นต่อไป
กระบวนการแพร่ แก๊สนี้ ปัจจุบนั ไม่ค่อยเป็ นที่นิยมเพราะต้องใช้กระแสไฟฟ้ ามากในการอัดแก๊สยู
เอฟซิกให้ผา่ นดิฟฟิ วชันแชมเบอร์แต่ละตัว ประเทศที่มีโรงงานประเภทนี้ใช้อยูห่ รื อเคยใช้คือ อเมริ กา รัสเซีย
อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 19

รู ปที่ 2.3 โรงงานเสริ มสมรรถนะยูเรเนียมแบบการแพร่ แก๊ส

2. กระบวนการหมุนเหวี่ยง (The Centrifuge Process) กระบวนการนี้ เขาจะใช้แก๊สยูเรเนี ยมเฮกซะ


ฟลูออไรด์หรื อยูเอฟซิ ก (UF6) ผ่านเข้าไปหมุนที่ ความเร็ วสู งมากในท่อหรื อกระบอกหมุนเหวี่ยงรู ป
ทรงกระบอกกลมซึ่ งเรี ยงต่อกันเป็ นหลายร้อยตัว โดยการนี้ โมเลกุลของยูเอฟซิ กที่เป็ นยูเรเนี ยม-238 และ
โมเลกุลของยูเอฟซิ กที่เป็ นของยูเรเนี ยม-235 ก็จะถูกเหวี่ยงไปรวมในตําแหน่ งที่ต่างกัน จากนั้นก็ส่งส่ วนที่
เป็ นจุดตกของโมเลกุลยูเอฟซิกที่เป็ นของยูเรเนียม-235 ส่ งต่อไปในเครื่ องถัดไปและก็ทาํ แบบนี้ไปเรื่ อยๆ จน
สุ ด ท้า ยก็ จ ะได้แ ก๊ ส ยูเ อฟซิ ก ที่ มี เ ปอร์ เ ซ็ น ต์ข องยูเ รเนี ย ม-235 ตามที่ ต ้อ งการนํา ไปบรรจุ ใ นถัง เก็ บ เพื่ อ
ดําเนินการในขั้นต่อไป
กระบวนการหมุนเหวี่ยงนี้ เป็ นที่นิยมในปั จจุบนั คาดว่าคงเนื่ องมาจากก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการ
ดําเนิ นการคงถูกกว่าวิธีแรก ปั จจุบนั ประเทศที่มีโรงงานเสริ มสมรรถนะยูเรเนี ยมนี้ คือ รัสเซี ย เยอรมันนี
เนเธอแลนด์ อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน และที่กาํ ลังก่อสร้างคือ อิหร่ าน
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 20

รู ปที่ 2.4 โรงงานเสริ มสมรรถนะแบบการหมุนเหวีย่ ง

เพื่อเป็ นความรู ้รอบตัวขอเพิ่มชื่อกระบวนการที่สามารถเสริ มสมรรถนะยูเรเนียมได้ นอกเหนื อจาก


สองวิธีที่กล่าวแล้ว คือ
1. กระบวนการแอโรไดนามิค (The Aerodynamic Process) ใช้วิธีอดั แก๊สยูเอฟซิ กร่ วมกับแก๊ส
ไฮโดรเจนหรื อฮี เลียมให้ผ่านรู ที่เล็กมาก แล้วให้เกิดการแพร่ กระจายออกทันทีดว้ ยความเร็ วสู งประมาณ
1000 เมตรต่อวินาที จะปรากฏว่าโมเลกุลของยูเอฟซิกที่เป็ นยูเรเนียม-235 วางกระจุกอยูต่ รงกลาง ส่ วนที่เป็ น
ของยูเรเนียม-238 จะอยูร่ อบนอก
2. กระบวนการแยกโดยแม่เหล็กไฟฟ้ า (The Electromagnetic Separation Process) ใช้วิธีทาํ ให้
ยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 กลายเป็ นไอออนแล้วนําไปผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้ า โดยวิธีน้ ียเู รเนี ยม-235
ไอออนก็จะวิ่งโค้งไปตกที่ตาํ แหน่งหนึ่งและยูเรเนียม-238 ไอออนก็จะวิ่งโค้งไปตกที่อีกตําแหน่งหนึ่ง
3. กระบวนการเลเซอร์ โมเลกุล (The Molecular Laser Process) วิธีน้ ี ใช้แสงเลเซอร์ ไปกระตุน้
(Excite) เฉพาะโมเลกุลของยูเอฟซิกที่เป็ นยูเรเนียม-235 เท่านั้น แล้วแยกเอาออกมา
4. กระบวนการเลเซอร์ ไอของอะตอม (Atomic Vapor Laser Process) วิธีน้ ี ใช้เลเซอร์ทาํ ให้เฉพาะ
อิเล็กตรอนของยูเรเนียม-235 อะตอม หลุดออกจากวงโคจรซึ่งก็ทาํ ให้อะตอมนั้นกลายเป็ นมีประจุไฟฟ้ าบวก
จากนั้นก็ใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้ าจับอะตอมของยูเรเนียม-235 นั้นออกมา
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 21

5. กระบวนการพลาสมา (The Plasma Process) กระบวนการนี้ เขาทําให้เกิดพลาสมาของไอออน


ของยูเรเนี ย ม-235 อะตอม และยูเรเนี ย ม-238 อะตอม แล้วนําไปหมุ นด้วยความถี่ ที่ ทาํ ให้ยูเรเนี ย ม-235
ไอออนแยกตัวออกมาได้
กระบวนการที่กล่าวเพิ่มเติมทั้ง 5 กระบวนการนี้ ยงั ไม่มีการดําเนิ นในเชิ งพาณิ ชย์ จะมีก็เป็ นเพียง
โรงงานต้นแบบหรื ออยูใ่ นห้องทดลองเท่านั้น
มีอีกอย่างที่อยากเล่าคือในตอนเริ่ มพูดเรื่ องกระบวนการเสริ มสมรรถนะยูเรเนี ยม ผูเ้ ขียนบอกว่าจาก
คุณสมบัติทางเคมีที่เหมือนกันของยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 ทําให้ยากต่อการใช้วิธีการทางเคมีมาแยก
ให้ท้ งั สองกลุ่มออกจากกัน แต่อย่างไรก็ตามได้มีการพยายามที่จะทดลองค้นคว้าโดยวิธีทางเคมีมาเสริ ม
สมรรถนะยูเรเนียมเช่นกัน กระบวนการนี้เรี ยกว่ากระบวนการแลกเปลี่ยนทางเคมี (The Chemical Exchange
Process) กระบวนการนี้ ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนสถานะวาเลนซี (valency) ของสารประกอบของ
ยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 แล้วให้ทาํ ปฏิกิริยาเพื่อแลกเปลี่ยนให้กลายเป็ นสารประกอบสลับตัวกัน จาก
การนี้สารประกอบที่มียเู รเนี ยม-235 ก็จะมียเู รเนี ยม-235 เพิ่มขึ้น ปฏิกิริยานี้ ทาํ ให้เกิดในไอออนเอ็กเชน เรซิ
นคอลัมน์ (exchange resin column) ซึ่ งสารประกอบที่มียเู รเนียม-235 เพิ่มสู งขึ้นจะกะจุกอยูต่ รงส่ วนหนึ่ ง
ของคอลัมน์
กระบวนการแลกเปลี่ยนทางเคมีน้ ี มีการทดลองค้นคว้าที่ประเทศญี่ปุ่นและฝรั่งเศส แต่กระบวนการ
นี้พบว่าสามารถเสริ มสมรรถนะยูเรเนียมได้ในระดับหนึ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ขณะนี้ เราทราบวิธีก ารเสริ มสมรรถนะยูเรเนี ยมแล้ว และเราก็มีแ ก๊สยูเอฟซิ กที่ มียูเรเนี ยมเสริ ม
สมรรถนะตามต้องการเก็บไว้ในถังเก็บเรี ยบร้อยแล้ว
ขั้นต่อไปเป็ นการทําแท่งเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ผูเ้ ขียนจะพูดถึงการทําแท่งเชื้อเพลิง
ที่นิยมใช้กนั ในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ส่วนใหญ่ทวั่ โลกที่ใช้น้ าํ ธรรมดาเป็ นตัวระบายความร้อนเท่านั้นนะครับ
เพราะถ้าจะเล่าให้หมดต้องใช้เนื้อที่มาก
วิธีการเริ่ มแรกที่เขาทํากันคือ จะต้องส่ งถังยูเอฟซิ กดังกล่าวไปเข้าโรงงานเปลี่ยนสภาพโรงที่สอง
(Conversion Plant II) เพื่อเปลี่ยนยูเอฟซิ ก ให้เป็ นผงยูเรเนียมไดออกไซด์ (UO2) แล้วบรรจุในภาชนะเก็บ
จากนั้นก็ส่งไปที่โรงงานประกอบแท่งเชื้อเพลิงนิ วเคลียร์ (Fuel Fabrication Plant) เพื่อผลิตแท่งเชื้อเพลิง
ต่อไป
ที่โรงงานประกอบแท่งเชื้อเพลิงนี้ เขาก็เอาผงยูเรเนี ยมไดออกไซด์มาผ่านกรรมวิธีอดั เป็ นเม็ดมีผิว
เรี ยบ แข็งแกร่ ง ทนต่อการแตก บิ่น ปริ กระเทาะ ในรู ปทรงกระบอกกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1
เซนติเมตร และสูงประมาณ 2 เซนติเมตร ขนาดของเม็ดเชื้อเพลิง (fuel pellet) นี้อาจแตกต่างจากที่กล่าวถึงนี้
ทั้งนี้ ข้ ึนอยูก่ บั ความต้องการของการออกแบบ จากนั้นเขาก็เอาเม็ดเชื้อเพลิงที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่มีตาํ หนิ ไป
เรี ยงบรรจุลงในท่อก้นตันรู ปทรงกระบอกกลมที่ทาํ ด้วยโลหะพิเศษที่ทนต่อความร้อนและความดันสู งและ
ทนต่อการผุกร่ อนด้วย เช่น โลหะผสมเซอร์โคเนียม เป็ นต้น โดยที่ตรงก้นและปลายของท่อจะมีอุปกรณ์ดนั
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 22

ไม่ให้เม็ดเชื้อเพลิงกลิ้งไปมา จากนั้นก็เชื่อมท่อให้ปิดสนิทแล้วนําไปตรวจสอบความสมบูรณ์ของท่อว่าไม่มี
จุดบกพร่ องและรอยรั่ว
ท่อโลหะที่มีเม็ดเชื้ออยูภ่ ายในนี้ เราเรี ยกว่าแท่งเชื้อเพลิง (fuel rod; fuel pin) ความยาวของแท่ง
เชื้ อเพลิ งประมาณ 3-4 เมตร จํานวนเม็ดเชื้ อเพลิ งที่ บรรจุ ในแต่ละแท่งเชื้ อเพลิ งประมาณ 200-300 เม็ด
จากนั้นเขาก็จะเอาแท่งเชื้อเพลิงเหล่านี้มาประกอบเป็ นชุดเชื้อเพลิง (fuel assembly) โดยแต่ละแท่งจะวางห่าง
กันพอสมควร โดยมีแผ่นโลหะเจาะรู ให้สอดแท่งเชื้อเพลิงลงไปเป็ นตัวบังคับซึ่ งจะมีหลายแผ่นวางเป็ นระยะ
ตลอดชุดเชื้อเพลิง โดยด้านท้ายและบนของชุดเชื้อเพลิงจะมีแผ่นประกบให้แน่นหนา โดยเฉพาะด้านบนจะ
มีที่จบั ที่มีการสลักหมายเลขของชุดเชื้อเพลิงและเป็ นที่ยกชุดเชื้อเพลิงเพื่อการเคลื่อนย้ายด้วย
การจัดเรี ยงแท่งเชื้อเพลิงให้เป็ นชุดเชื้ อเพลิงนั้นเขาจะจัดเรี ยงเป็ นรู ปลูกบาศก์สี่เหลี่ยมจตุรัส โดย
จัด เรี ย งแบบ 18×18 หรื อ 17 ×17 หรื อ 16 ×16 หรื อ 15×15 หรื อ 14×14 หรื อ 10 ×10 หรื อ 8× 8 หรื อ
6× 6 แล้วแต่ความต้องการ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ช่องว่างตามการเรี ยงแบบต่างๆ จะสอดแท่งเชื้ อเพลิงจนครบ
ทุกช่อง แต่เขาจะเว้นช่องว่างไว้สาํ หรับสอดใส่ แท่งควบคุมและแท่งอุปกรณ์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น ชุดเชื้อเพลิง
แบบ 15×15 จะมีแผ่นที่เจาะรู อยู่ 225 รู แต่เขาจะใช้ใส่ แท่งเชื้อเพลิงเพียง 204 ช่อง โดยจะใส่ รอบนอกครบ
แต่รูดา้ นในจะเหลือไว้ 21 ช่อง สําหรับใส่ แท่งควบคุมและอุปกรณ์อื่นๆ เป็ นต้น
มาถึงตรงนี้ เราก็รู้เรื่ องการได้มาซึ่งชุดเชื้อเพลิงและก็รู้ดว้ ยว่าในแต่ละแท่งเชื้อเพลิงที่รวมกันเป็ นชุด
เชื้อเพลิงนั้น ภายในมีท้ งั ยูเรเนี ยม-235 และยูเรเนี ยม-238 ผสมปนกันอยูแ่ ละแน่นอนก็รู้ดว้ ยว่ายูเรเนียม-235
ที่เป็ นตัวเกิดฟิ ชชันและยูเรเนี ยม-238 ที่ติดมาด้วยนั้นถูกกักเก็บอย่างสนิทมิดชิดในแท่งเชื้อเพลิงไม่สามารถ
เล็ดลอดหรื อแพร่ กระจายออกสู่ ภายนอกได้ นับเป็ นการทําให้เกิดความปลอดภัยแก่โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ทาง
หนึ่ง
เมื่อเราทราบว่าแท่งเชื้อเพลิงหรื อชุดเชื้อเพลิงมีท้ งั ยูเรเนี ยม-235 และยูเรเนี ยม-238 รวมด้วยกันก็มี
ปั ญหาที่ ให้คิดต่อไปว่ายูเรเนี ยม-238 สามารถเกิ ดฟิ ชชันได้หรื อเปล่า ซึ่ งการที่ จะรู ้ คาํ ตอบเราต้องศึ กษา
คุณสมบัติของยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 ที่มีต่อนิวตรอนที่วิ่งมาชน
นิวตรอนเมื่อวิง่ ชนนิวเคลียสของยูเรเนียม-235 และยูเรเนียม-238 จะเกิดปฏิกิริยานิ วเคลียร์ สองแบบ
คือ เกิดปฏิกิริยาฟิ ชชันและเกิดการจับยึดนิวตรอน (neutron capture)โดยนิวเคลียสที่ถูกชน
ในวิชานิ วเคลียร์ มีหน่วยที่สาํ คัญอีกหน่วยหนึ่ งคือบาร์น (barn) เป็ นหน่วยพื้นที่ภาคตัดขวาง (cross
section) ของอะตอม นิวเคลียส อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ ที่แสดงโอกาสในการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์
ค่าหนึ่งบาร์นมีค่าเท่ากับ 10-24 ตารางเซนติเมตร ซึ่งเป็ นหน่วยที่เล็กมากๆ
ย้อนกลับมาดูนิวเคลียสของยูเรเนี ยม-235 และยูเรเนี ยม-238 ปรากฏว่านิ วเคลียสทั้งสองต่างมีพ้ืนที่
ภาคตัดขวางที่สามารถรับให้เกิดฟิ ชชัน และการจับยึดนิ วตรอนได้และโอกาสการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ของ
ทั้งสองแบบนี้กข็ ้ ึนอยูก่ บั พลังงานของนิวตรอนที่วิ่งไปชนด้วย
ตารางที่ 2.1 ข้างล่างนี้ได้แสดงค่าพื้นที่ภาคตัดขวางมีหน่วยเป็ นบาร์นสําหรับการเกิดฟิ ชชันและการ
จับยึดนิวตรอนของยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 และพลูโทเนียม-239 ตามพลังงานของนิวตรอนที่วิ่งเข้าชน
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 23

ตารางที่ 2.1 ค่าพื้นที่ภาคตัดขวางการเกิดฟิ ชชันและการจับยึดนิวตรอน

เทอร์มลั นิวตรอน เรโซแนนซ์นิวตรอน นิวตรอนเร็ ว


(บาร์น) (บาร์น) (บาร์น)
ไอโซโทป การจับยึด การจับยึด ฟิ ช การจับยึด
ฟิ ชชัน ฟิ ชชัน
นิวตรอน นิวตรอน ชัน นิวตรอน
ยูเรเนียม-235 504 86 272 132 1.2 0.095
ยูเรเนียม-238 1.05 ×10 −5 2.42 2.16 ×10 −3 278 0.3 0.07
พลูโทเนียม-239 698 275 290 184 1.8 0.06

จากตาราง 2.1 จะเห็นว่ายูเรเนี ยม-235 มีโอกาสเกิดฟิ ชชันได้มาก ถ้านิ วตรอนที่วิ่งชนเป็ นเทอร์ มลั
นิวตรอน รองลงมาก็เป็ นเรโซแนนซ์นิวตรอน ส่ วนนิวตรอนเร็ ว นั้นจะมีโอกาสเกิดฟิ ชชันน้อยมาก สําหรับ
ยูเรเนี ยม-238 มีโอกาสเกิดฟิ ชชันน้อยมากไม่ว่าจะถูกชนด้วยเทอร์ มลั นิ วตรอน เรโซแนนซ์นิวตรอนหรื อ
นิ วตรอนเร็ ว แต่มีโอกาสจับยึดนิ วตรอนได้ดี ถ้านิ วตรอนที่วิ่งชนเป็ นเรโซแนนซ์นิวตรอนและเกิดเล็กน้อย
ถ้าเป็ นเทอร์ มลั นิ วตรอนสําหรับพลูโทเนี ยม-239 มีโอกาสเกิดทั้งฟิ ชชันและการจับยึดนิ วตรอนกับเทอร์ มลั
นิวตรอนและเรโซแนนซ์นิวตรอน
ด้วยเหตุน้ ี จึงสรุ ปได้ว่า ยูเรเนี ยม-238 มีโอกาสเกิ ดฟิ ชชันได้เหมือนกันแต่โอกาสเกิ ดมีน้อย ส่ วน
ยูเรเนี ยม-235 จะเกิดฟิ ชชันได้มากถ้านิ วตรอนที่วิ่งชนนั้นเป็ นนิ วตรอนที่มีพลังงานตํ่าโดยเฉพาะเทอร์ มลั
นิวตรอนซึ่งมีพลังงานเพียง 0.025 อีวี
มาถึงตรงนี้ เราก็จะมีสิ่งให้คิดต่อไปอีก นัน่ คือตอนที่ผเู ้ ขียนบอกเรื่ องต้นกําเนิ ดนิ วตรอนที่เป็ นตัว
ให้นิวตรอนเริ่ มแรกนั้น ได้บอกว่านิวตรอนที่ออกจากต้นกําเนิดนิวตรอนนั้นเป็ นนิวตรอนเร็ วที่มีพลังงานสู ง
เป็ นเอ็มอีวี แต่จากที่สรุ ปเมื่อสักครู่ น้ ี ได้บอกว่ายูเรเนี ยม-235 จะเกิดฟิ ชชันได้มากเมื่อนิ วตรอนที่วิ่งชนเป็ น
เทอร์มลั นิวตรอน ซึ่งเป็ นพลังงานที่นอ้ ยมากเพียง 0.025 อีวี แล้วอย่างนี้มนั จะเกิดฟิ ชชันได้เพียงพอหรื อ
ผูอ้ ่ า นลองช่ ว ยคิ ด ซิ ว่า เราจะทํา อย่า งไรดี ถึง จะทําให้เ กิ ด ฟิ ชชัน มากๆ ได้ ผูเ้ ขี ย นจะยัง ไม่ บ อก
ในตอนนี้
ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็ นการพูดถึงกลุ่มที่อยูท่ างซ้ายมือของสมการฟิ ชชัน ซึ่ งพอสรุ ปสิ่ งที่ทราบและที่
ต้องคํานึงถึงคือ
1. นิ วตรอนเริ่ มแรกหรื อนิ วตรอนที่จะเป็ นตัวจุดชนวนให้เกิดฟิ ชชันได้มาจากต้นกําเนิ ดนิ วตรอน
แต่นิวตรอนที่วา่ นี้เป็ นนิวตรอนเร็ วมีพลังงานสู งในระดับเอ็มอีวีหรื อล้านอีวี
2. เชื้ อเพลิงของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ อยู่ในรู ปของยูเรเนี ยมไดออกไซด์ที่มียเู รเนี ยมเสริ มสมรรถนะ
1-5 เปอร์เซ็นต์ และถูกประจุอยูใ่ นแท่งเชื้อเพลิงรู ปทรงกระบอกที่ปิดสนิท การเกิดฟิ ชชันก็จะเกิดอยูใ่ นแท่ง
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 24

เชื้ อเพลิงรู ปทรงกระบอกกลมที่ปิดสนิ ท ดังนั้นจึงไม่มีการฟุ้ งกระจายหรื อทําให้สิ่งแวดล้อมเปรอะเปื้ อน


เหมือนเชื้อเพลิงธรรมดาพวกถ่านหิ น แก๊สธรรมชาติ
3. นิ ว ตรอนที่ วิ่ ง ชนนิ ว เคลี ย สของยูเ รเนี ย ม-235 แล้ว ทํา ให้เ กิ ด ฟิ ชชัน ได้ม ากที่ สุ ด คื อ เทอร์ ม ัล
นิวตรอนซึ่งมีพลังงาน 0.025 อีวี
4. จะเห็นว่าข้อ 1 กับ ข้อ 3 เข้ากันไม่ได้เลย แล้วจะทําอย่างไรดี
ต่อไปเราจะไปดูส่วนที่อยูท่ างด้านขวามือของสมการฟิ ชชันบ้าง
เริ่ มต้นด้วยผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสซึ่งใช้พยัญชนะ X และ Y ในสมการ
ผลผลิตการแบ่งแยกนิ วเคลียสนี้ เกิดจากการที่นิวเคลียสของยูเรเนี ยม-235 ถูกแบ่งแยกออกจากกัน
เมื่ อเกิ ดฟิ ชชัน ขอให้คิดถึงด้วยว่ายูเรเนี ยม-238 ที่มีอยู่ในแท่งเชื้ อเพลิ ง เมื่ อเกิ ดฟิ ชชันก็จะมีผลผลิตการ
แบ่งแยกนิวคลียสด้วยเช่นกัน เพียงแต่มีปริ มาณน้อยเท่านั้น
ผลผลิตการแบ่งแยกนิ วเคลียสนี้ จะเป็ นพวกที่มีค่าเลขเชิงอะตอม (atomic number) จาก 30 (Zn =
สังกะสี ) จนถึง 64 (Gd = แกโดลิเนี ยม) โดยเริ่ มจากไอโซโทป Zn-72 ถึง Gd-158 และเป็ นพวกไอโซโทปนี้
แผ่รังสี ชนิ ดก่อไอออน (ionizing radiation) หรื อที่เรี ยกว่า ไอโซโทปรังสี (radioisotope) ด้วยเหตุน้ ีในแท่ง
เชื้ อเพลิ งซึ่ งตอนแรกมี เพี ย งยูเรเนี ยม-235 กับยูเ รเนี ยม-238 เท่ านั้น แต่ พ อเกิ ด ฟิ ชชัน ก็จะมี ผลผลิ ต การ
แบ่งแยกนิวเคลียสซึ่งเป็ นไอโซโทปรังสี เพิ่มเข้ามาอีก
ขอเพิ่มเติมอะไรอีกสักเล็กน้อย ผลผลิตการแบ่งแยกนิ วเคลียสนี้ เนื่ องจากเป็ นไอโซโทปรังสี ซ่ ึ ง
นิ วเคลียสอยูใ่ นสถานะไม่เสถียร ก็ตอ้ งมีการปรับสภาพภายในนิ วเคลียสที่เรี ยกการสลายตัวโดยการแผ่รังสี
เมื่อแผ่รังสี แล้วตัวเองก็จะกลายเป็ นไอโซโทปของธาตุอื่น และถ้าไอโซโทปใหม่น้ ียงั เป็ นไอโซโทปรังสี อีกก็
จะแผ่รังสี ต่อไปอีก ซึ่ งจะเป็ นแบบนี้ ไปเรื่ อยๆ จนสุ ดท้ายจะสิ้ นสุ ดที่ไอโซโทปที่เสถียรไม่มีการแผ่รังสี อีก
ด้วย ไอโซโทปที่เกิดขึ้นใหม่จากการสลายตัวดังกล่าวนี้ก็นบั เป็ นผลผลิตการแบ่งแยกนิ วเคลียสด้วย ในตํารา
บางเล่มจะเรี ยกนิ วเคลียสคู่แรกที่เกิดจากฟิ ชชันว่า ชิ้นส่ วนการแบ่งแยกนิวเคลียส (fission fragments) แล้ว
เรี ยกพวกที่เกิดใหม่ซ่ ึงเป็ นผลจากการสลายตัวของคู่แรกว่าผลผลิตการแบ่งแยกนิ วเคลียส (fission products)
สําหรับผูเ้ ขียนจะเรี ยกทั้งหมดว่าผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส ตัวอย่างการสลายตัวที่กล่าวถึงนี้
Kr-90 Rb-90 Sr-90 Y-90 Zr-90 (เสถียร)
I-137 Xe-137 Cs-137 Ba-137 (เสถียร)
การอ่านตําราหลายๆ เล่มในเรื่ องเดียวกัน จะพบว่าตัวเลขอ้างอิงหรื อการเรี ยกชื่อจะแตกต่างกันบ้าง
เราไม่ตอ้ งตกใจว่าเราจะเชื่ อหรื อใช้ตาํ ราไหนดี สิ่ งที่เราทําได้คือต้องทําความเข้าใจในสิ่ งนั้นๆให้ถูกต้อง
เท่านั้น แล้วก็ใช้อย่างที่เราชอบ อาจจะเอาจากเล่มนั้นบ้าง เล่มนี้บา้ ง
การที่นิวเคลียสหนึ่งแผ่รังสี แล้วตัวเองกลายเป็ นนิวเคลียสใหม่ เราเรี ยกว่าเกิดการสลายกัมมันตรังสี
หรื อบางคนนิ ยมเรี ยกสั้นๆ ว่าการสลายตัว ในตําราภาษาอังกฤษใช้คาํ ต่างกัน เช่น decay, disintegration และ
transformation
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 25

การสลายกัมมันตรังสี หรื อการสลายตัวของนิวเคลียสชนิดเดียวกันที่รวมกันอยูม่ ากมายนั้น จะเป็ นแบบที่การ


สลายตัวของนิวเคลียสแต่ละตัวจะเป็ นแบบสะเปะสะปะไม่มีใครหรื อวิธีใดจะบอกได้วา่ นิวเคลียสไหนจะแผ่
รังสี และนิ วเคลียสไหนจะแผ่รังสี ต่อไป จะบอกได้แต่เพียงว่ากัมมันตภาพ (activity) ของสิ่ งนั้นจะลดลง
เรื่ อยๆ ด้วยอัตราที่คงที่ ซึ่ งนักวิทยาศาสตร์ ได้กาํ หนดค่าหนึ่ งขึ้นมาเรี ยกว่าครึ่ งชี วิต (half life) ซึ่ งมี
ความหมายว่าเป็ นระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสี หรื อไอโซโทปรังสี ใช้ในกระบวนการสลายกัมมันตรังสี เพื่อ
ลดกัมมันตภาพเหลือครึ่ งหนึ่งของกัมมันตภาพตั้งต้น
คําว่ากัมมันตภาพ (activity) มีคาํ อธิบายว่าหมายถึงการสลายของนิวไคลด์กมั มันตรังสี ต่อหน่วยเวลา
มีหน่วยเป็ นเบคเคอเรล (becquerel = Bq)
1 เบคเคอเรล หมายถึงการสลายของนิวไคลด์กมั มันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที
คําว่า activity ที่แปลว่ากัมมันตภาพนี้ มีบางคนเคยใช้คาํ ว่า “ความแรงรังสี ” แทนซึ่ งก็ดูเข้าใจง่ายดี
และผูเ้ ขียนก็เคยใช้มาก่อนด้วย
สําหรับหน่วย “เบคเคอเรล” นั้นเป็ นหน่วยที่ใช้กนั ในปั จจุบนั สมัยก่อนใช้หน่วยเป็ นคูรี (Curie = Ci)
1 คูรี หมายถึงการสลายของนิวไคลด์กมั มันตรังสี 3.7 ×1010 ครั้งต่อวินาที
ถ้าใครอ่านตําราสมัยก่อนจะพบแต่คาํ ว่า คูรี ซึ่งถ้าจะเทียบเป็ นหน่วยเบคเคอเรลก็จะได้ดงั นี้
1 คูรี = 3.7 ×1010 เบคเคอเรล
จากข้างบนมีศพั ท์ใหม่คือนิ วไคลด์กมั มันตรังสี (radionuclide) คํานี้ เรี ยกแบบเต็มยศ ถ้าเรี ยกแบบ
ธรรมดาก็คือนิวไคลด์รังสี ซึ่งว่าตามจริ งก็คือไอโซโทปรังสี นนั่ เอง โดยที่คาํ “นิวไคลด์” นั้นเป็ นคําที่ใช้แบบ
กว้า งๆ เช่ น โซเดี ย ม-23 โซเดี ย ม-24 โพแทสเซี ย ม-40 เป็ นนิ ว ไคลด์ ที่ แ ตกต่ า งกัน ส่ ว นโซเดี ย ม-23
โซเดียม-24 เป็ นไอโซโทปของโซเดียม
คําว่า “ไอโซโทป” กับ “นิ วไคลด์” จะพบว่ามีการใช้สลับแทนกันไปแทนกันมาเสมอ ซึ่ งก็ยอมรับ
กันว่าจะใช้อะไรก็ได้
ขอย้อนกลับมาเรื่ องครึ่ งชีวิต (half life) อีกสักหน่อยนัน่ คือไอโซโทปรังสี หรื อนิ วไคลด์รังสี จะมีค่า
ครึ่ งชี วิตของตัวเอง เช่ น โคบอลต์-60 ที่หมอใช้รังสี จากโคบอลต์-60 นี้ ไปรักษามะเร็ งในร่ างกายมนุ ษย์ที่
เรี ยกว่าการฉายแสงนั้น มี ครึ่ งชี วิต 5.27 ปี นั่นหมายความถึงว่าสมมติเริ่ มต้นโคบอลต์-60 มีกมั มันตภาพ
เท่ากับ 100 เบ็กเคอเรล แต่เมื่อเวลาผ่านไป 5.27 ปี กัมมันตภาพของโคบอลต์-60 นี้ จะเหลือ 50 เบ็กเคอเรล
และถ้าเวลาผ่านไปอีก 5.27 ปี กัมมันตภาพก็จะเหลือ 25 เบ็กเคอเรล ซึ่ งก็จะมีการลดกัมมันตภาพลงครึ่ งหนึ่ ง
ของเดิมไปเรื่ อยๆ ทุก 5.27 ปี ดังนั้นจะเห็นว่าถ้าเวลาผ่านไปนานๆ ค่ากัมมันตภาพก็จะเหลือน้อยลงมากจน
ไม่ก่อให้เกิดอันตรายได้
คุณสมบัติของไอโซโทปรังสี เกี่ยวกับค่าครึ่ งชีวิตนี้ นับว่ามีประโยชน์ต่อพวกเรามาก เพราะถ้าเรารู ้
ว่าไอโซโทปนั้นมีค่าครึ่ งชีวิตเท่าไร ถ้าไม่นานนักเราก็ปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ สักพักปริ มาณรังสี ที่แผ่ออกมาจาก
สิ่ งนั้นก็จะลดเหลือน้อยลงมากจนอาจถือว่าอยูร่ ะดับรังสี ในธรรมชาติได้
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 26

สําหรับค่าครึ่ งชีวิตของนิวไคลด์หรื อไอโซโทปรังสี ที่คน้ พบแล้วทั้งหมดจะมีต้ งั แต่นอ้ ยกว่าวินาทีจนถึงหมื่น


ปี หรื อมากกว่านั้น อย่างไรก็ตามการที่จะดูแต่เพียงค่าครึ่ งชีวิตเพียงอย่างเดียว แล้วบอกว่ามีอนั ตรายมากนั้น
ยังไม่ถูกต้องนัก สิ่ งที่ตอ้ งนํามาพิจารณาด้วยก็คือรั งสี ที่แผ่ออกมาจากไอโซโทปรั งสี น้ ันมีอาํ นาจในการ
ก่อให้เกิดอันตรายได้มากน้อยแค่ไหนสําหรับกลุ่มที่เป็ นผลผลิตการแบ่งแยกนิ วเคลียสนั้น ว่าตามจริ งส่ วน
ใหญ่จะมีค่าครึ่ งชีวิตไม่ยาวนัก มีเป็ นส่ วนน้อยที่มีค่าครึ่ งชีวิตยาวเป็ นสิ บปี ขอยกตัวอย่างให้เห็นบางตัว ดังนี้

สทรอนเชียม-90 (Sr-90) ค่าครึ่ งชีวิต 28.6 ปี


เซอร์โคเนียม-95 (Zr-95) ค่าครึ่ งชีวิต 64.02 วัน
ไอโอดีน-131 (I-131) ค่าครึ่ งชีวิต 8.04 วัน
ซีเซียม-137 (Cs-137) ค่าครึ่ งชีวิต 30.17 ปี
แบเรี ยม-140 (Ba-140) ค่าครึ่ งชีวิต 12.79 ปี
ซาแมเรี ยม-151 (Sm-151) ค่าครึ่ งชีวิต 90.0 ปี
ยูโรเพียม-155 (Eu-155) ค่าครึ่ งชีวิต 4.96 ปี

มาถึงขณะนี้ เราก็รู้แล้วว่าเมื่อเกิดฟิ ชชันแล้ว แท่งเชื้ อเพลิงที่ปิดสนิ ทมิดชิ ดนั้น จะมียูเรเนี ยม-235


ยูเรเนียม-238 และผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสที่แผ่รังสี ผสมปนอยูด่ ว้ ย
แล้วมีอะไรอีกมั้ย
ปรากฏว่ามีอีกเพราะผูเ้ ขียนยังไม่ได้พูดถึงปฏิกิริยาการจับยึดนิ วตรอน (neutron capture) ที่ผเู ้ ขียน
เคยเกริ่ นไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
นิ วเคลียสทุกนิ วเคลียสจะมีโอกาสจับยึดนิ วตรอนได้ท้ งั นั้น แต่โอกาสจะถูกจับได้มากหรื อน้อยก็
ขึ้นอยูก่ บั พื้นที่ภาคตัดขวางการจับยึดนิวตรอนของแต่ละนิวเคลียสนั้น
ด้วยเหตุน้ ี สิ่งที่อยูใ่ นแท่งเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็ นยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 หรื อผลผลิตการแบ่งแยก
นิ วเคลี ยสที่เกิ ดขึ้นทั้งหมดก็สามารถจับยึดนิ วตรอนได้ทุกตัว ซึ่ งนิ วเคลียสที่จบั ยึดนิ วตรอนได้แล้วก็จะ
กลายเป็ นนิ วเคลียสใหม่หรื อไอโซโทปใหม่ของธาตุเดิม ทั้งนี้ เพราะการเพิ่มนิ วตรอนในนิ วเคลียสไม่ได้ไป
ทําให้มีการเปลี่ยนเป็ นธาตุใหม่ แต่ถา้ ไอโซโทปที่เกิดใหม่จากการจับยึดนิ วตรอนนี้ เป็ นไอโซโทปรังสี ซ่ ึ ง
เมื่อแผ่รังสี ออกไป ตอนนี้แหละที่จะกลายไปเป็ นไอโซโทปของธาตุใหม่
ในเรื่ องการจับยึดนิวตรอนนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจมากคือการจับยึดนิวตรอนของยูเรเนียม-238 ซึ่งเมื่อจับ
ยึดนิ วตรอนแล้วก็จะทําให้นิวเคลี ยสมี นิวตรอนเพิ่มขึ้นหนึ่ งตัว จึ งกลายเป็ นยูเรเนี ยม-239 แต่เนื่ องจาก
ยูเรเนี ยม-239 เป็ นไอโซโทปรังสี เมื่อแผ่รังสี ออกไปแล้วตัวเองก็จะกลายเป็ นไอโซโทปของธาตุใหม่คือ
เนปทูเนี ยม-239 (Np-239) ซึ่ งก็ยงั เป็ นไอโซโทปรั งสี อยู่อีก และเมื่อแผ่รังสี ต่อไปตัวเองก็จะกลายเป็ น
ไอโซโทปใหม่คือพลูโทเนี ยม-239 (Pu-239) ซึ่ งก็เป็ นไอโซโทปรังสี และก็จะแผ่รังสี ต่อไปอีกเช่นกัน ซึ่ ง
ผูเ้ ขียนจะไม่กล่าวขั้นตอนต่อไปแต่จะหยุดอยูท่ ี่พลูโทเนียม-239 ตัวนี้
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 27

พลูโทเนี ยม-239 นี้ มีคุณสมบัติในการเกิ ดฟิ ชชันได้เช่ นเดี ยวกับยูเรเนี ยม-235 ขอให้ดูตวั เลขของ
พลูโทเนี ยม-239 ในตาราง 2.1 ด้วยเหตุน้ ี พลูโทเนี ยม-239 ที่เกิดขึ้นใหม่น้ ี ก็จะไปช่วยให้เกิดฟิ ชชันเพิ่มขึ้น
นอกเหนือจากที่เกิดกับยูเรเนียม-235
ยูเรเนี ยม-235 และพลูโทเนี ยม-239 แม้จะสามารถก่อให้เกิดฟิ ชชันได้เหมือนกัน แต่การได้มานั้น
ต่างกัน นัน่ คือ ยูเรเนียม-235 มีอยูใ่ นธรรมชาติ ส่ วนพลูโทเนียม-239 เราต้องผลิตขึ้นมา
ตอนนี้ พอสรุ ปขั้นสุ ดท้ายแล้วว่าภายในแท่งเชื้ อเพลิงที่เรานําไปใช้ก่อนการเกิ ดฟิ ชชันจะมีเพียง
ยูเรเนี ยม-235 กับยูเรเนี ยม-238 เท่านั้น แต่พอเกิดฟิ ชชันแล้วก็จะมียเู รเนี ยม-235 ยูเรเนี ยม-238 พวกผลผลิต
การแบ่งแยกนิวเคลียส พวกผลผลิตการจับยึดนิวตรอนและพลูโทเนียม-239 อยูภ่ ายในท่อที่ปิดสนิทไม่มีทาง
แพร่ กระจายออกมาได้ จะส่ งออกมาภายนอกท่อก็เพียงรังสี ที่แผ่ออกมาและความร้อนเท่านั้น ด้วยเหตุน้ ี เอง
จึงมีการกล่าวว่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ เป็ นเชื้อเพลิงที่สะอาดที่สุด ไม่มีฝุ่นละอองฟุ้ งกระจาย
ไม่มีการปล่อยแก๊สคาร์ บอนไดออกไซด์ ไม่มีการปล่อยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไม่มีควัน ฯลฯ ที่ไปก่อให้
สิ่ งแวดล้อมสกปรก
ที่กล่าวมานี้ เป็ นพวกแรกที่อยู่ในสมการฟิ ชชันทางด้านขวามือ สําหรับตัวต่อไปที่จะกล่าวถึงคือ
นิวตรอนที่เกิดจากฟิ ชชันหรื อที่มีชื่อเรี ยกเฉพาะว่าฟิ ชชันนิวตรอน (fission neutrons)
ฟิ ชชันนิวตรอนนี้ประกอบด้วยนิวตรอนที่มีพลังงานหลายพลังงานปนอยู่ โดยพบว่าจะมีมากที่สุดที่
พลังงานประมาณ 0.7 เอ็มอีวี และมีค่าเฉลี่ยที่พลังงาน 2 เอ็มอีวี ซึ่ งถือว่าเป็ นพวกที่มีพลังงานสู ง ซึ่งยากที่จะ
ไปทําให้เกิดฟิ ชชันต่อไปเพราะเท่าที่เราทราบมาแล้ว นิ วตรอนที่จะไปทําให้เกิดฟิ ชชันได้มากที่สุดคือเทอร์
มัลนิ วตรอนและนิ วตรอนที่มีพลังงานตํ่าๆ ซึ่ งก็เป็ นปั ญหาเดียวกับที่กล่าวแล้วในเรื่ องนิ วตรอนที่ได้จากต้น
กําเนิดนิวตรอนที่จะใช้เป็ นตัวนิวตรอนเริ่ มแรกในการเกิดฟิ ชชัน
เราจะทําอย่างไรถึงจะแก้ปัญหานี้ ได้ ผูอ้ ่านคิดออกหรื อยัง เพราะเคยให้คิดเรื่ องนี้ แล้วตอนพูดถึง
นิวตรอนจากต้นกําเนิดนิวตรอน
พักเรื่ องปั ญหานี้ ไว้ก่อน เรามาดูกนั ต่อไปถึงตัวสุ ดท้ายของสมการฟิ ชชันด้านขวามือ คือพลังงานที่
ได้ออกมา ซึ่งคือตัว E ในสมการ
จากที่เคยกล่าวมาแล้วตอนพูดถึงสมการของไอน์สไตน์วา่ พลังงานที่ได้จากการเกิดฟิ ชชันต่อครั้งนั้น
ประมาณ 200 เอ็มอีวี พลังงานจํานวนนี้ คาํ นวณได้จากการที่มวลหายไปเมื่อมีปฏิกิริยาฟิ ชชันเกิดขึ้นผูเ้ ขียน
พบหนังสื อเล่มหนึ่งเขาได้แยกพลังงาน 200 เอ็มอีวีน้ ีวา่ เป็ นพวกไหนบ้าง ดังนี้
บทที่ 2 ฟิ ชชัน(Fission) 28

พลังงานจลน์ของชิ้นส่ วนการแบ่งแยกนิวเคลียส 167 เอ็มอีวี


พลังงานจลน์ของนิวตรอน 6 เอ็มอีวี
รังสี แกมมาจากฟิ ชชัน 6 เอ็มอีวี
การสลายตัวกัมมันตรังสี อนุภาคบีตา 5 เอ็มอีวี
รังสี แกมมา 5 เอ็มอีวี
นิวตริ โน 11 เอ็มอีวี
รวม 200 เอ็มอีวี
ซึ่งพลังงานเหล่านี้ส่วนใหญ่จะกลายเป็ นพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นในแท่งเชื้อเพลิงซึ่งก็จะระบาย
ออกทางผิวโลหะที่เป็ นท่อแท่งเชื้อเพลิงนั้นๆ
มีการคํานวณแบบคร่ าวๆ ว่าถ้าการเกิดฟิ ชชันแต่ละครั้งได้พลังงานเฉลี่ยเท่ากับ 190 เอ็มอีวี จะต้องมี
การเกิด 3.3 ×1010 ฟิ ชชันต่อวินาที จึงจะได้กาํ ลังหนึ่ งวัตต์ และการที่จะให้ได้กาํ ลังความร้อน 1 เมกะวัตต์-
วัน (MWd) จะใช้ยเู รเนียม-235 เพียง 1.125 กรัม ซึ่งจะเห็นว่าใช้เชื้อเพลิงน้อยมาก
เมื่อเกิ ดฟิ ชชันในแท่งเชื้ อเพลิง ความร้อนก็เกิดในแท่งเชื้ อเพลิงทําให้แท่งเชื้ อเพลิงร้อน เราก็ตอ้ ง
หาทางระบายความร้อนจากแท่งเชื้อเพลิงออกไป ในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์จะใช้ความร้อนที่ถูกระบายออกไปนี้
ไปทําให้น้ าํ กลายเป็ นไอนํ้าความดันสู งไปหมุนเทอร์ไบน์และเครื่ องกําเนิดไฟฟ้ า ผลิตกระแสไฟฟ้ ามาใช้กนั
ทั้งหมดที่กล่าวในบทที่ 2 นี้ หวังว่าผูอ้ ่านคงจะเข้าใจเรื่ องการที่จะให้ได้มาซึ่ งการเกิ ดฟิ ชชันนั้น
เป็ นมาอย่างไรและมีปัญหาอะไรบ้างที่ตอ้ งคิดถึง
ตอนต่อไปในบทที่ 3 เราจะพูดคุยกันถึงเรื่ องที่ว่า เราจะนําความรู ้ จากบทที่ 2 มาสู่ ภาคปฏิบตั ิได้
อย่างไร โดยที่เรารู ้จากบทที่ 2 ว่าเรามีตน้ กําเนิดนิวตรอนที่ให้นิวตรอนเริ่ มแรก เรามีแท่งเชื้อเพลิงที่ประกอบ
เป็ นชุดเชื้อเพลิงแล้ว สมมติมีมากพอตามที่ตอ้ งการแล้ว และเรารู ้ว่านิ วตรอนที่ออกจากต้นกําเนิ ดนิ วตรอน
และนิ วตรอนที่เกิ ดจากฟิ ชชันนั้นเป็ นนิ วตรอนพลังงานสู ง แต่นิวตรอนที่จะทําให้เกิ ดฟิ ชชันได้มากที่เรา
ต้องการคือนิ วตรอนที่มีพลังงานตํ่ามากโดยเฉพาะเทอร์มลั นิวตรอน และรู ้อีกว่าแท่งเชื้อเพลิงเมื่อเกิดฟิ ชชัน
จะร้อนขึ้นและมีการแผ่รังสี ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลที่ถูกรังสี ได้
จากความรู ้ที่ได้จากบทที่ 2 ทําให้มีการคิดค้นหาวิธีที่จะทําให้เกิดฟิ ชชันเริ่ มแรกและสามารถทําให้
เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ พร้อมกันนั้นก็สามารถที่จะควบคุมให้อยู่ในระดับที่เราต้องการได้ รวมทั้งให้เกิดความ
ปลอดภัยจากรังสี ที่แผ่ออกมาด้วย
เรามาดูกนั ว่า เขาคิดกันอย่างไร เพื่อเราจะได้ทาํ ตาม โดยผูเ้ ขียนจะขอเล่าเป็ นข้อไป

3.1 จากบทที่ 2 ถือว่าเรามีตน้ กําเนิ ดนิ วตรอนที่แผ่นิวตรอนพลังงานสู งหรื อนิ วตรอนเร็ วออกมาอยู่
ในครอบครองแล้ว

3.2 เรามีแท่งเชื้อเพลิงที่ประกอบเป็ นชุดเชื้อเพลิงที่ภายในมียเู รเนี ยม-235 เสริ มสมรรถนะ ซึ่งจะเกิด


ฟิ ชชันได้ก็ต่อเมื่อนิ วตรอนที่วิ่งชนเป็ นนิ วตรอนพลังงานตํ่า โดยเฉพาะเทอร์ มลั นิ วตรอนอยู่ในครอบครอง
เช่นกัน

3.3 เพื่อให้ขอ้ 3.1 และ 3.2 ข้างบนไปด้วยกันได้ จะต้องทําให้นิวตรอนที่มีพลังงานสู งที่แผ่ออกจาก


ต้นกําเนิ ดนิ วตรอนให้กลายเป็ นเทอร์ มลั นิ วตรอนให้ได้ ซึ่ งมีวิธีเดียวที่ทาํ ได้ คือ เราต้องใส่ ของบางอย่างเข้า
ไปให้อยูร่ ะหว่างและล้อมต้นกําเนิดนิวตรอนและชุดเชื้อเพลิง เพื่อให้นิวตรอนพลังงานสู งวิ่งชนอะตอมหรื อ
นิ วเคลียสของสิ่ งที่ใส่ เข้าไปนั้นหลายครั้ง ซึ่ งการชนแต่ละครั้งพลังงานของนิ วตรอนที่สูงก็จะลดลงเรื่ อยๆ
จนกลายเป็ นเทอร์มลั นิวตรอนในที่สุด ผูอ้ ่านลองนึกถึงการเล่นบิลเลียดก็ได้ ตอนแทงลูกมันจะวิ่งเร็ วมาก แต่
พอมันไปกระทบลูกอื่นๆ สองสามทีมนั ก็จะวิง่ ช้าลง เมื่อได้เทอร์มลั นิวตรอนแล้ว การก่อให้เกิดฟิ ชชันก็เป็ น
ของง่ายและเมื่อเกิดฟิ ชชันเริ่ มแรกได้แล้ว นิ วตรอนที่เกิดจากฟิ ชชันที่เป็ นนิ วตรอนพลังงานสู งเช่นกัน ก็จะ
ชนกับอะตอมของสิ่ งที่เราใส่ เข้าไปนั้น จนกลายเป็ นเทอร์ มลั นิ วตรอนที่สามารถไปทําให้เกิดฟิ ชชันในรุ่ น
ต่อไปได้ เป็ นการนําไปสู่การเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ดว้ ย
สิ่ งที่เราใส่ เข้าไปเพื่อทําให้นิวตรอนพลังงานสู งกลายเป็ นนิ วตรอนพลังงานตํ่านี้ มีชื่อเรี ยกว่าตัว
หน่วงความเร็ ว (moderator) หรื อบางคนก็เรี ยกให้ชดั ลงไปเลยว่า “ตัวหน่วงความเร็ วนิวตรอน” สําหรับสาร
ที่ใช้เป็ นตัวหน่วงความเร็ วนิวตรอนนี้จะต้องเป็ นพวกที่มีคุณสมบัติจบั ยึดนิวตรอนได้นอ้ ย มีค่าระยะทางการ
เกิดชนกันแต่ละครั้ง (mean free path) สั้นและจํานวนครั้งของการชนที่จะลดพลังงานของนิ วตรอนต้องน้อย
ด้วย ซึ่ งโดยคุณสมบัติท้ งั สามข้อนี้ ปรากฏว่าสิ่ งที่นิยมใช้เป็ นตัวหน่วงความเร็ วนิ วตรอน ได้แก่ นํ้าธรรมดา
นํ้ามวลหนัก (heavy water) เป็ นต้น แต่อย่างไรก็ตามนิยมใช้น้ าํ ธรรมดากันมากที่สุด
คําอธิ บายเป็ นคําตอบที่ผเู ้ ขียนเคยให้ผอู ้ ่านคิดแก้ปัญหา ตอนที่พูดถึงนิ วตรอนเร็ วที่แผ่ออกมาจาก
ต้นกําเนิดนิวตรอนนัน่ เอง

3.4 เมื่อเกิดฟิ ชชันแล้ว จะมีนิวตรอนจํานวนมากเกิดขึ้น บางตัวก็ยงั มีพลังงานสู งเพราะยังไม่ได้ชน


กับตัวหน่ วงความเร็ วนิ วตรอน บางตัวชนแล้วแต่ยงั ไม่กลายเป็ นเทอร์ มลั นิ วตรอน บางตัวก็เป็ นเทอร์ มลั
บทที่ 3 เครื่ องปฎิกรณ์นิวเคลียร์(Nuclear Reactor) 30

นิ วตรอนพร้อมที่จะทําให้เกิดฟิ ชชัน สรุ ปแล้วมีปนคละกันอยู่ และมีการวิ่งไปได้ทุกทิศทุกทาง นิ วตรอน


เหล่านี้แน่นอนบางตัวจะไปทําให้เกิดฟิ ชชัน บางตัวจะถูกจับยึดโดยนิ วเคลียสและจะต้องมีบางตัวที่วิ่งหลุด
ออกนอกบริ เวณที่มียูเรเนี ยม-235 จึ งไม่มีโอกาสเกิ ดฟิ ชชันได้ ปรากฏการณ์แบบนี้ ถือว่าเป็ นการสู ญเสี ย
นิ วตรอนไปเปล่าๆ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุน้ ี เราจึงต้องหาวัตถุบางอย่างมาวางรอบๆ ชุดเชื้ อเพลิง
เพื่อให้นิวตรอนพวกที่หลุดออกไปนี้ เมื่อวิ่งไปชนวัตถุดงั กล่าวก็จะสะท้อนกลับเข้าข้างในเพื่อให้มีโอกาส
ไปก่อให้เกิดฟิ ชชันเพิ่มขึ้นนัน่ เอง จริ งอยู่อาจจะช่วยไม่ได้ร้อยเปอร์ เซ็นต์แต่ก็ยงั ดีกว่าที่จะเสี ยนิ วตรอนไป
โดยเปล่าประโยชน์ เราเรี ยกวัตถุหรื อสารที่ ใช้ในการนี้ ว่า “ตัวสะท้อน (reflector)” หรื อให้เต็มยศก็ “ตัว
สะท้อนนิวตรอน” วัสดุที่ใช้เป็ นตัวสะท้อนนิ วตรอน ได้แก่ แกรไฟต์ เบริ ลเลียม นํ้า ยูเรเนี ยมธรรมชาติ เป็ น
ต้น

3.5 จากที่เคยกล่าวมาแล้วว่า เมื่อมีฟิชชันก็ตอ้ งมีความร้อนเกิดขึ้นในแท่งเชื้อเพลิง โดยการนี้ แท่ง


เชื้อเพลิงก็จะร้อนขึ้นๆ ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้ทาํ อะไร อุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้ ก็จะถึงระดับที่สามารถทําให้แท่ง
เชื้ อเพลิงหลอมละลายได้ ถ้าเกิ ดเหตุการณ์เช่นนี้ สิ่ งที่อยู่ภายในแท่งเชื้อเพลิงก็จะออกมาสู่ ภายนอกได้ ซึ่ ง
เป็ นสิ่ งที่เราไม่ตอ้ งการให้เกิดขึ้น นอกจากนี้นกั วิทยาศาสตร์ยงั พบว่า เมื่อมีความร้อนสู งขึ้นการเกิดฟิ ชชันจะ
เกิดน้อยลงทั้งนี้ เพราะโอกาสที่นิวตรอนจะทําให้ยเู รเนี ยม-235 เกิดฟิ ชชันได้น้ นั นอกจากขึ้นอยูก่ บั พลังงาน
ของนิวตรอนแล้วยังขึ้นอยูก่ บั อุณหภูมิดว้ ย เมื่อเป็ นเช่นนี้เราจึงต้องหาวิธีทาํ ให้ความร้อนที่เกิดขึ้นลดลง โดย
การใช้สารบางอย่างให้ไหลผ่านแท่งเชื้อเพลิงเพื่อระบายความร้อนออกไปจากแท่งเชื้อเพลิงทั้งหมด เราเรี ยก
สารพวกนี้ ว่า “ตัวทําให้เย็น (coolant)” คุณสมบัติของตัวทําให้เย็นนี้ จะต้องมีคุณสมบัติจบั ยึดนิ วตรอนได้
น้อย ที่ใช้กนั อยู่ เช่น นํ้าธรรมดา นํ้ามวลหนัก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โซเดียมเหลว เป็ นต้น

3.6 ผูเ้ ขียนได้เคยพูดถึงว่า เมื่อมีฟิชชันเริ่ มแรกเกิดขึ้นก็มีโอกาสที่จะเกิดฟิ ชชันต่อเนื่ องไปเรื่ อยๆ ที่


เรี ยกว่าเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่ งถ้าเราปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไปนานๆ ความร้อนก็จะเกิดมากขึ้น จนตัวทําให้เย็น
ทําการระบายความร้ อนออกไปไม่ทนั ก็จะมีผลทําให้แท่งเชื้ อเพลิงและอุปกรณ์ ประกอบอื่นๆ เกิ ดความ
เสี ยหายได้ ด้วยเหตุน้ ีเราต้องหาวิธีควบคุมการเกิดฟิ ชชันและปฏิกิริยาลูกโซ่ให้อยูใ่ นระดับที่ตอ้ งการ นัน่ คือ
การควบคุ มจํานวนนิ วตรอนที่เกิ ดขึ้นนั่นเอง วิธีที่ทาํ กันคือ เราต้องหาแท่งที่ภายในบรรจุ สารที่ สามารถ
ดูดกลืนหรื อจับยึดนิวตรอนได้ดีสอดเข้าไประหว่างแท่งเชื้อเพลิง โดยแท่งดังกล่าวนี้เราสามารถจะกดลงหรื อ
ดึ งขึ้นได้ตามความต้องการ นั่นคือถ้าจํานวนนิ วตรอนมากไปแท่งเหล่านี้ ก็จะถูกกดลงไป แต่ถา้ จํานวน
นิ วตรอนน้อยไปแท่งเหล่านี้ ก็จะถูกดึงขึ้น ดังนั้นแท่งเหล่านี้ จะถูกกดลงและดึงขึ้นอยูต่ ลอดเวลาที่มีการเกิด
ฟิ ชชัน เพื่อควบคุมจํานวนนิ วตรอนที่เกิดขึ้นให้อยูใ่ นจํานวนที่ตอ้ งการ ซึ่ งก็เป็ นการควบคุมการเกิดฟิ ชชัน
นัน่ เอง แท่งดังที่กล่าวถึงนี้ มีชื่อเรี ยกว่า “แท่งควบคุม (control rod)” วัสดุที่ใช้เป็ นแท่งควบคุมคือ โบรอน
แฮฟเนียม แคดเมียม เป็ นต้น การเลื่อนขึ้นลงของแท่งควบคุมนี้จะเป็ นระบบอัตโนมัติโดยทํางานสัมพันธ์กบั
เครื่ องวัดนิวตรอนที่วดั จํานวนนิวตรอนบริ เวณนั้นๆ
บทที่ 3 เครื่ องปฎิกรณ์นิวเคลียร์(Nuclear Reactor) 31

แท่งควบคุมนี้ จะถูกดึงขึ้นเมื่อต้องการให้เกิดฟิ ชชันเริ่ มแรก และเมื่อเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แล้วก็จะถูก


ดึงขึ้น กดลง ตลอดเวลา เพื่อควบคุมจํานวนนิวตรอนให้อยูใ่ นระดับที่เราต้องการ ซึ่งก็คือการควบคุมการเกิด
ฟิ ชชันและปฏิกิริยาลูกโซ่นนั่ เอง และเมื่อเราต้องการให้การเกิดฟัชชันหยุด เราก็จะกดแท่งควบคุมทั้งหมดลง
ไปจนสุ ด เพื่อให้ดูดนิ วตรอนจนหมดหรื อเหลือน้อยจนไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ได้ นอกจากนั้นแท่ง
ควบคุมนี้จะใช้เป็ นตัวป้ องกันอุบตั ิเหตุที่จะเกิดขึ้นกับแท่งเชื้อเพลิงด้วย นัน่ คือถ้ามีเหตุการณ์ผดิ ปกติเกิดขึ้น
เช่น การมีอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติ การมีระดับรังสี ที่จุดตรวจวัดเป็ นประจําสู งขึ้นผิดปกติ การพบอัตราไหล
เข้าออกของตัวทําให้เย็นช้าลงผิดปกติ และสิ่ งอื่นๆ ที่ผดิ ปกติจากที่เคยเป็ น แท่งควบคุมเหล่านี้ ก็จะตกลงจน
สุ ดทันทีโดยอัตโนมัติ เพื่อดูดนิวตรอนที่มีอยูใ่ ห้หมดไปเช่นกัน เป็ นการป้ องกันไม่ให้เกิดอุบตั ิเหตุข้ ึนมาได้

3.7 แท่งเชื้ อเพลิงเมื่อเกิ ดฟิ ชชันแล้วจะเป็ นต้นกําเนิ ดรั งสี ที่แรงมาก รังสี มาจากไหนล่ะ ก็มาจาก
ยูเรเนี ยม-235 ยูเรเนี ยม-238 ผลผลิตการแบ่งแยกนิ วเคลียส ผลผลิตจากการจับยึดนิ วตรอน นอกจากนี้ ก็จะมี
รังสี แผ่ออกจากโลหะที่จบั ยึดนิ วตรอนแล้วกลายเป็ นโลหะที่แผ่รังสี ดว้ ยโลหะพวกนี้ ได้แก่ กระบอกแท่ง
เชื้ อเพลิง โครงสร้ างจับยึดแท่งเชื้ อเพลิง แท่นยึดชุ ดเชื้ อเพลิง ตลอดจนอุปกรณ์ อื่นๆ ที่อยู่ในอาณาเขตที่
นิวตรอนสามารถวิ่งชนได้
สําหรับรังสี ที่แผ่ออกจากสิ่ งต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างบนนี้ ถือว่าเป็ นรังสี ที่แผ่ออกจากนิวไคลด์รังสี หรื อ
ให้เจาะจงจริ งๆ คือ จากนิวเคลียสที่ไม่เสถียร ซึ่งมีรังสี ที่สาํ คัญที่มีการกล่าวถึงเสมออยู่ 3 ชนิด คือ
3.7.1 รังสี แอลฟา (alpha ray) เป็ นกระแสของอนุภาคแอลฟา (alpha particles) อนุภาค
แอลฟาประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัว กับนิวตรอน 2 ตัว ซึ่งมีลกั ษณะเดียวกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 ดังนั้นจะ
เห็นว่านิวเคลียสที่ปล่อยอนุภาคแอลฟาออกไปแล้ว ตัวเองจะกลายเป็ นนิวเคลียสของธาตุใหม่ทนั ที เนื่องจาก
โปรตอนหายไป 2 ตัว และนิวตรอนก็หายไป 2 ตัวด้วย ตัวอย่าง

238
92U → 234
90Th + 4
2 He
(ยุเรี ยม-238) (ทอเรี ยม-234) (แอลฟา)

รังสี แอลฟา เป็ นรังสี ที่มีอาํ นาจทะลุทะลวงไม่สูงและเดินทางในอากาศไม่ได้ไกล เพียงกระดาษแผ่น


บางๆ ก็สามารถกั้นรังสี แอลฟาได้ ดั้งนั้นจึงถือว่ารังสี แอลฟาไม่ก่อให้เกิ ดอันตรายต่อร่ างกายมนุ ษย์ถา้ อยู่
นอกร่ างกาย
3.7.2 รังสี บีตา (beta ray) เป็ นกระแสของอนุ ภาคบีตา ( beta particles) อนุ ภาคบีตาคือ
อนุ ภาคอิเล็กตรอนที่แผ่ออกจากนิ วเคลียส เมื่อกล่าวอย่างนี้ คงมีคนสงสัยว่าในนิ วเคลียสมีแต่โปรตอนกับ
นิ วตรอน ทําไมจึงมีอิเล็กตรอนแผ่ออกมาได้ คําอธิ บายข้อสงสัยนี้ คือ ในนิ วเคลียสนั้นเกิดความไม่เสถียร
ระดับหนึ่ง ทําให้นิวตรอนสลายตัวเป็ นโปรตอนกับอิเล็กตรอนและนิวทริ โน (neutrino) อิเล็กตรอนที่เกิดขึ้น
นี้กค็ ือ อนุภาคบีตาที่แผ่ออกมานั้นเอง ส่ วนโปรตอนที่เกิดขึ้นใหม่น้ ีจะยังคงอยูใ่ นนิวเคลียสนั้น
นิวตรอน → โปรตอน + อิเล็กตรอน + นิวทริ โน
บทที่ 3 เครื่ องปฎิกรณ์นิวเคลียร์(Nuclear Reactor) 32

ปกตินิวทริ โนจะไม่ค่อยกล่าวถึงเพราะเป็ นสิ่ งที่นักวิทยาศาสตร์ ต้ งั ขึ้นมาใช้อธิ บายการคงอยู่ของ


พลังงานในการสลายตัวแบบแผ่รังสี บีตาเท่านั้น
สําหรับนิวเคลียสที่แผ่อนุภาคบีตาออกไปแล้ว ตัวเองจะกลายเป็ นนิ วเคลียสของธาตุใหม่ทนั ที ทั้งนี้
เพราะมีโปรตอนเพิ่มขึ้นหนึ่งตัวและนิวตรอนหายไปหนึ่งตัว ตัวอย่าง
32
15→ 1632 S + −10 e
P
(ฟอสฟอรัส-32) (กํามะถัน-32) (บีตา)

รังสี บีตาเป็ นรังสี ที่มีอาํ นาจทะลุทะลวงและระยะเดินทางมากกว่ารังสี แอลฟา แต่กถ็ ือว่าไม่ก่อให้เกิด


อันตรายร้ายแรงต่อร่ างกายมนุษย์มากนัก ถ้าอยูน่ อกร่ างกายโลหะแผ่นบางๆ ก็สามารถกั้นรังสี บีตาได้
3.7.3 รังสี แกมมา (gamma ray) เป็ นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าที่มีความถี่สูง เป็ นรังสี แบบเดียวกับ
รังสี เอกซ์ (X-ray) ที่แพทย์ใช้ถ่ายภาพดูปอด ดูกระดูกหัก ดูฟันของพวกเรา แต่รังสี เอกซ์มีความถี่ต่าํ กว่ารังสี
แกมมาเล็กน้อย รังสี แกมมาปกติจะแผ่ออกมาเมื่อมีการแผ่รังสี แอลฟาหรื อบีตา รังสี แกมมามีอาํ นาจการทะลุ
ทะลวงสูง เดินทางได้ไกล เพราะการที่เป็ นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ านัน่ เอง ดังนั้นจึงสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อ
ร่ างกายมนุษย์ได้เมื่อยูน่ อกร่ างกาย
ผลจากการเกิดฟิ ชชัน นอกจากจะมีผลให้มีการแผ่รังสี ท้ งั สามชนิ ดดังกล่าวแล้ว ยังมีรังสี นิวตรอน
หรื ออนุภาคนิวตรอนเพิ่มขึ้นมาอีก รังสี นิวตรอนที่แผ่ออกมานี้ก็เป็ นพวกที่เล็ดลอดผ่านตัวสะท้อนนิวตรอน
ออกสู่ ภายนอก รังสี นิวตรอนมีอาํ นาจการทะลุทะลวงสู งแต่มีจุดอ่อนที่ว่าใช้วสั ดุเบาๆ เช่น นํ้า พาราฟิ น ก็
สามารถกั้นได้
นอกจากรังสี นิวตรอนแล้วก็จะมีรังสี เอกซ์ซ่ ึ งเกิดจากผลการชนของรังสี กบั อิเล็กตรอนในวงโคจร
ของอะตอมที่มนั วิ่งผ่าน ทําให้อิเล็กตรอนหลุดวงโคจรหรื อทําให้อิเล็กตรอนเขยิบสู งขึ้น และตอนที่มนั ตก
ลงสู่ วงโคจรก็จะให้รังสี เอกซ์ออกมาเช่นกัน หรื อแม้แต่วิ่งเฉี ยดนิ วเคลียสแล้วแนวทางการวิ่งเบี่ยงเบนไปก็
จะเกิดรังสี เอกซ์เช่นกัน
รั ง สี ที่ ก ล่ า วถึ ง ทั้ง หมดนี้ มี คุ ณ สมบัติ พิ เ ศษที่ แ ตกต่ า งจากรั ง สี ค วามร้ อ น รั ง สี อุ ล ตราไวโอเลท
คลื่นวิทยุ และอื่นๆ นัน่ คือมีความสามารถทําให้อะตอมของตัวกลางที่มนั วิ่งผ่านเกิดการแตกตัวเป็ นไอออน
ได้ จะโดยตรงหรื อโดยอ้อมก็ตาม
การที่เรี ยกว่าเกิ ดการแตกตัวเป็ นไอออนนั้น หมายถึงปกติอะตอมจะเป็ นกลาง คือ มีโปรตอนที่มี
ประจุบวกกับอิเล็กตรอนที่มีประจุลบจํานวนเท่ากัน แต่เมื่อรังสี ที่กล่าวถึงนี้ วิ่งผ่านจะไปทําให้อิเล็กตรอน
บางตัวที่โคจรอยู่รอบนิ วเคลียสหลุดออกจากวงโคจรทําให้เกิ ดคู่ไอออนขึ้นมา นั่นคืออิ เล็กตรอนที่หลุด
ออกไปก็จะเป็ นไอออนลบ ส่ วนอะตอมที่มีอิเล็กตรอนหลุดออกไปก็จะเป็ นไอออนบวก เมื่อมีเหตุการณ์
เช่นนี้ เกิดขึ้นอะตอมนั้นจะไม่ปกติเหมือนเดิมต่อไป และถ้าอะตอมนั้นเป็ นองค์ประกอบของโมเลกุลที่เป็ น
โครงสร้างของเซลล์ของสิ่ งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงของอะตอมของสิ่ งมีชีวิตถ้าเกิดขึ้นจํานวนมากก็จะมีผล
ให้เซลล์น้ นั เกิดความเสี ยหายได้ จึงนับว่าเป็ นอันตรายต่อร่ างกายของเรา
บทที่ 3 เครื่ องปฎิกรณ์นิวเคลียร์(Nuclear Reactor) 33

เมื่อเกิดฟิ ชชันรังสี เหล่านี้จะแผ่ออกทุกทิศทุกทาง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากรังสี จึงจําต้อง


หาวัตถุหนาๆ มาวางล้อมรอบสิ่ งที่เป็ นรังสี ท้ งั หมด เพื่อกั้นรังสี ให้ลดลงสู่ ระดับตํ่าที่ถือว่าปลอดภัย เราเรี ยก
วัตถุน้ ีวา่ “ตัวป้ องกัน (shielding)” สําหรับวัตถุ ที่ใช้ เช่น คอนกรี ต ตะกัว่ นํ้า เป็ นต้น

3.8 การที่เราจะให้ทุกสิ่ งทุกอย่างเป็ นไปตามที่เราต้องการและเกิดความปลอดภัย เราก็ตอ้ งมีระบบ


ควบคุม (control system) ระบบความปลอดภัย (safety system) ระบบตรวจสอบและระบบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ที่ดีและเชื่อใจได้

3.9 อีกอย่างที่มองข้ามไม่ได้ คือระบบโครงสร้างต่างๆ เช่น โครงสร้างจับยึดชุดเชื้อเพลิงและแท่ง


ควบคุม ระบบท่อต่างๆ ฯลฯ จะต้องใช้โลหะพิเศษที่ทนต่อความร้อน แรงดัน และรังสี

3.10 จากที่ ก ล่ า วมาแล้ว ตั้ง แต่ ข อ้ 3.1 ถึ ง 3.9 นั้น ถื อ ว่า เป็ นสิ่ ง ที่ ต ้อ งมี ใ นการที่ จ ะนํา พลัง งาน
นิวเคลียร์จากการเกิดฟิ ชชันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติดว้ ยความปลอดภัย ซึ่ งนักวิทยาศาสตร์ และ
วิศวกรก็ได้ใช้ความรู ้จากสิ่ งเหล่านี้ นาํ มาประกอบรวมเข้าด้วยกันเป็ นเครื่ องมือหรื ออุปกรณ์สําหรับทําให้
ฟิ ชชันเกิดขึ้นแล้วนําไปสู่ การเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยสามารถควบคุมได้และมีความปลอดภัยต่อผูป้ ฏิบตั ิงาน
และประชาชนทัว่ ไป เราเรี ยกเครื่ องหรื ออุปกรณ์น้ ี ว่า “เครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor)” หรื อบาง
คนเรี ยก “เครื่ องปฏิกรณ์ปรมาณู (Atomic Reactor)” และมีการเรี ยกสั้นๆว่า “เครื่ องปฏิกรณ์ (Reactor)”
สรุ ปเครื่ องปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ หรื อเครื่ องปฏิกรณ์ปรมาณู หรื อเครื่ องปฏิกรณ์ จะมีส่วนประกอบที่
สําคัญคื อต้นกําเนิ ดนิ ว ตรอน แท่งเชื้ อเพลิ งหรื อชุ ดเชื้ อเพลิ ง ตัวหน่ วงความเร็ ว (นิ วตรอน) ตัวสะท้อน
(นิวตรอน) ตัวทําให้เย็น แท่งควบคุม ตัวป้ องกัน (ตัวกําบัง) ระบบควบคุม ระบบความปลอดภัย และอุปกรณ์
โครงสร้างต่างๆ
ในการออกแบบเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์น้ นั จะต้องมีการคํานวณ ออกแบบ การจัดรู ปทรง การวาง
ตําแหน่งขององค์ประกอบต่างๆ และจะต้องมีการคํานวณหาปริ มาณของยูเรเนียมที่จะใช้ดว้ ยว่าจะใช้จาํ นวน
เท่าไรจึงจะสามารถเดินเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้
ทําไมต้องคิดถึงเรื่ องนี้ดว้ ย
การที่ตอ้ งคิดถึงเรื่ องนี้กเ็ พราะว่าถ้าใช้จาํ นวนยูเรเนียมไม่มากพอ แม้จะเกิดฟิ ชชันได้แต่กไ็ ม่สามารถ
เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แบบทวีคูณตลอดไปได้ ทั้งนี้เพราะนิวตรอนที่เกิดจากฟิ ชชันนั้นบางตัวจะถูกดูดกลืนโดย
วัตถุที่อยูร่ อบๆ และบางตัวจะวิ่งกระจัดกระจายออกนอกบริ เวณจนเหลือนิวตรอนน้อยกว่าพวกที่ก่อให้เกิด
ฟิ ชชันก่อนหน้านั้น
ในทางวิชาการมีค่าอยู่ค่าหนึ่ งเรี ยกว่าตัวประกอบพหุ คูณ (multiplication factor) ซึ่ งหมายถึง
อัตราส่ วนของจํานวนนิ วตรอนที่ เหลืออยู่ที่จะไปก่ อให้เกิ ดฟิ ชชันต่อไปได้ หลังจากที่นิวตรอนอื่ นๆถูก
ดูดกลืน วิ่งกระจัดกระจายหนี ออกจากระบบไปแล้วต่อจํานวนนิ วตรอนที่ก่อให้เกิ ดฟิ ชชันในรุ่ นก่อนหน้า
นั้น
บทที่ 3 เครื่ องปฎิกรณ์นิวเคลียร์(Nuclear Reactor) 34

กรณี ค่าตัวประกอบพหุ คูณมีค่าเท่ากับหนึ่ง เราถือว่าการเกิดฟิ ชชันอยูใ่ นสถานะคงตัว นัน่ คือการเกิด


ฟิ ชชันแต่ละรุ่ นจะเหลือนิ วตรอนโดยเฉลี่ยพอที่จะไปก่อให้เกิดฟิ ชชันในรุ่ นถัดไปในอัตราที่คงที่ในสภาพ
เช่นนี้ เราเรี ยกว่าเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ น้ นั อยู่ในภาวะวิกฤตหรื อพูดแบบภาษาชาวบ้านว่าเครื่ องปฏิกรณ์
นิ วเคลียร์ ติดเครื่ องได้แล้ว สําหรับมวลของยูเรเนี ยมที่ใช้ให้เกิดสภาพเช่นนี้ ก็เรี ยกว่า มวลวิกฤต (critical
mass) สรุ ปแล้วการที่จะเดินเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้จะต้องมีมวลของยูเรเนี ยมอย่างน้อยต้องเท่ากับมวล
วิกฤต แต่อย่างไรก็ตามในตามความเป็ นจริ ง การเดินเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ให้ได้นานๆ จะต้องมียเู รเนี ยม
มากกว่ามวลวิกฤต ทั้งนี้ เพื่อทําให้ค่าแฟกเตอร์ ทวีคูณมีค่ามากกว่าหนึ่ งนั่นเอง แล้วใช้แท่งควบคุมเป็ นตัว
ควบคุมจํานวนนิวตรอนที่เกิดเกินความต้องการ
การที่จะสร้างเครื่ องปฏิกรณ์ข้ ึนมาสักเครื่ องหนึ่ งนั้น เราต้องรู ้ถึงวัตถุประสงค์ว่าเราจะสร้างขึ้นมา
เพื่อใช้ประโยชน์อะไร ซึ่ งผูเ้ ขียนขอสรุ ปกลุ่มใหญ่ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานเพื่อให้ผอู ้ ่านได้มีความรู ้
รอบตัวดังนี้
3.10.1 เครื่ องปฏิกรณ์เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจยั (Research Reactor) เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้
สร้างขึ้นมาสําหรับใช้นิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิ ชชัน เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจยั และการฝึ กอบรม ปกติ
จะมีอยู่ที่มหาวิทยาลัย ศูนย์หรื อสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ ต่างๆ ที่ประเทศไทย มีเครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ อยู่ 1
เครื่ อง ตั้งอยูใ่ นบริ เวณ สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ ถนนวิภาวดีรังสิ ต หลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครื่ อง
ปฏิกรณ์เป็ นแบบสระนํ้า (Swimming pool reactor) นัน่ คือองค์ประกอบต่างๆ อยูใ่ นสระนํ้าเปิ ด มีความลึก
ประมาณ 8 ถึง 10 เมตร เราสามารถมองเห็นทุกสิ่ งทุกอย่างได้อย่างชัดเจน ผูเ้ ขียนอยากให้ผอู ้ ่านทุกคนได้มี
โอกาสเข้าไปเยี่ยมชมเพราะเขาเปิ ดให้เข้าชมได้ เพื่อว่าจะได้เข้าใจและเห็นด้วยตาว่าเครื่ องปฏิกรณ์น้ นั เป็ น
อย่างไร
เครื่ องปฏิกรณ์เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจยั นี้ บางแห่ งเขามีชื่อเรี ยกว่า Critical Assembly เขาสร้าง
ขึ้นมาเพื่อศึกษาหาค่ามวลวิกฤต ศึกษาหาค่าทางนิ วเคลียร์ ฟิสิ กส์ต่างๆ เมื่อมีการจัดเรี ยงรู ปแบบของแท่ง
เชื้อเพลิงในสภาพแตกต่างกันไปและอื่นๆ ในบางสถาบันเขาสนใจศึกษาหาค่าทางนิวเคลียร์ฟิสิ กส์ในกรณี ที่
อยูใ่ นสภาพตํ่ากว่าภาวะวิกฤต เขาก็เรี ยกว่า Sub Critical Assembly
3.10.2 เครื่ องปฏิกรณ์เพื่อกําลัง (Power Reactor) เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ สร้างขึ้นมาเพื่อนํา
ความร้อนไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เช่น เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ า เพื่อการเดินเครื่ องเรื อดํานํ้า เรื อบรรทุก
เครื่ องบิน เรื อรบ เรื อตัดนํ้าแข็ง เป็ นต้น
3.10.3 เครื่ องปฏิกรณ์เพื่อการผลิต (Production Reactor) เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ออกแบบเพื่อ
การผลิตสารไอโซโทปรั งสี เพื่อใช้ในการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม และการศึกษา ตลอดจนผลิ ต
พลูโทเนียม-239 เพื่อใช้ทาํ ระเบิด เป็ นต้น
ในการจัดแบ่งเครื่ องปฏิกรณ์ นอกจากแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานแล้ว ยังมีการแบ่งโดยใช้
พลังงานนิ วตรอนเป็ นหลัก เช่ น ถ้าใช้เทอร์ มลั นิ วตรอนเป็ นตัวทําให้เกิ ดฟิ ชชันก็เรี ยกว่า “เครื่ องปฏิกรณ์
บทที่ 3 เครื่ องปฎิกรณ์นิวเคลียร์(Nuclear Reactor) 35

เทอร์มลั (Thermal Reactor)” แต่ถา้ ใช้นิวตรอนเร็ วเป็ นตัวทําให้เกิดฟิ ชชัน ก็เรี ยกว่า “เครื่ องปฏิกรณ์เร็ ว (Fast
Reactor)”
มีการแบ่งอีกอย่างโดยยึดถือตัวทําให้เย็นเป็ นหลัก เช่น ถ้าใช้น้ าํ ธรรมดาก็เรี ยกว่า “เครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ
ธรรมดา” หรื อ “เครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ มวลเบา (Light Water Reactor)” แต่ถา้ ใช้น้ าํ มวลหนักก็เรี ยกว่า “เครื่ อง
ปฏิกรณ์น้ าํ มวลหนัก (Heavy Water Reactor)” และถ้าใช้แก๊สก็เรี ยกว่า “เครื่ องปฏิกรณ์ใช้แก๊สทําให้เย็น
(Gas Cooled Reactor)”
เครื่ องปฏิกรณ์ในแต่ละกลุ่มก็มีการแบ่งเรี ยกชื่อย่อยๆ ไปอีกตามลักษณะเฉพาะตามแบบของเครื่ อง
นั้นๆ เช่น เครื่ องปฏิกรณ์อุณหภูมิสูงใช้แก๊สทําให้เย็น (High Temperature Gas Cooled Reactor = HTGR)
เครื่ องปฏิกรณ์ใช้แก๊สทําให้เย็นแบบก้าวหน้า (Advanced Gas Cooled Reactor = AGR) เครื่ องปฏิกรณ์ใช้
โซเดียมเหลวทําให้เย็น (Sodium Cooled Reactor) เครื่ องปฏิกรณ์แบบนํ้าเดือด (Boiling Water Reactor =
BWR) เครื่ องปฏิกรณ์แบบนํ้าอัดความดัน (Pressurized Water Reactor = PWR) เครื่ องปฏิกรณ์ผลิตเชื้อเพลิง
(Breeder Reactor) เป็ นต้น
เครื่ องปฏิกรณ์เมื่อเดินเครื่ องไปนานๆ ยูเรเนี ยม-235 ในชุดเชื้อเพลิงก็จะถูกใช้ไปจนเหลือน้อยลง
เรื่ อยๆ จําเป็ นต้องมีการนําออกจากเครื่ องปฏิกรณ์แล้วใส่ ชุดใหม่เข้าไปแทนที่ อาจมีการสลับตําแหน่งของ
ชุดเชื้ อเพลิงที่ยงั ไม่ได้เอาออกด้วย การเปลี่ยนชุ ดเชื้ อเพลิงนี้ ทาํ ได้สองวิธีแล้วแต่การออกแบบของเครื่ อง
ปฏิกรณ์
ถ้าการเปลี่ยนชุดเชื้อเพลิงกระทําได้โดยไม่ตอ้ งดับเครื่ องปฏิกรณ์ เราเรี ยกเครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ ว่า
“เครื่ องปฏิกรณ์ออนโลด (On-load Reactor) แต่ถา้ การเปลี่ยนชุดเชื้อเพลิงต้องมีการดับเครื่ องแล้วปิ ดฝา
ตัวเครื่ องปฏิกรณ์ เราก็เรี ยกว่า “เครื่ องปฏิกรณ์ออฟโลด (Off-load Reactor)
ที่กล่าวมาในบทที่ 3 นี้หวังว่าผูอ้ ่านคงพอเข้าใจเรื่ องเครื่ องปฏิกรณ์โดยทัว่ ๆ ไปพอเป็ นสังเขป
จากบทที่ 1-3 เราได้รู้เ รื่ อ งโครงสร้ า งอะตอม รู ้ อ งค์ป ระกอบของโรงไฟฟ้ า รู ้ ร ายละเอี ย ดของ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เรี ยกว่าฟิ ชชัน รู ้ถึงองค์ประกอบของเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่งเป็ นอุปกรณ์ที่เราใช้เพื่อ
ควบคุมการเกิดฟิ ชชันและปฏิกิริยาลูกโซ่ให้เป็ นไปตามที่เราต้องการ และเกิดความปลอดภัยต่อผูป้ ฏิบตั ิงาน
และประชาชนทัว่ ไป รู ้เรื่ องการได้มาซึ่ งแท่งเชื้อเพลิงและชุดเชื้อเพลิงยูเรเนี ยมเสริ มสมรรถนะ ตลอดจนรู ้
ความหมายและรู ้จกั ศัพท์ทางนิวเคลียร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
สําหรับบทที่ 4 นี้ ผูเ้ ขียนจะคุยกับผูอ้ ่านถึงเครื่ องปฏิกรณ์ที่ใช้ในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ ว่าเขาออกแบบ
กันอย่างไร โดยจะพูดเฉพาะเครื่ องปฏิกรณ์ที่ใช้น้ าํ ธรรมดาเป็ นตัวทําให้เย็นเป็ นหลัก
ก่อนจะคุยเรื่ องดังกล่าว ผูเ้ ขียนขอแนะนําศัพท์อีกหนึ่งคํา คือ แกนเครื่ องปฏิกรณ์ (reactor core) ซึ่ง
เป็ นคําใช้เรี ยกส่ วนที่มีชุดเชื้อเพลิงติดตั้งอยู่ ซึ่ งก็รวมถึงแท่งควบคุม ตัวสะท้อนนิ วตรอน อุปกรณ์วดั ต่างๆ
รวมกันอยูห่ รื อพูดง่ายๆ คือ ส่ วนที่มีการเกิดฟิ ชชันนัน่ เอง
สําหรั บโรงไฟฟ้ านิ วเคลี ยร์ ที่จะกล่าวถึงนี้ เครื่ องปฏิกรณ์ที่ใช้จะเป็ นแบบปิ ด นั่นคือ แกนเครื่ อง
ปฏิกรณ์จะถูกบรรจุ อยู่ในภาชนะรู ปทรงกระบอกกลม ทําด้วยเหล็กกล้าชนิ ดพิเศษ หนาประมาณ 20-30
เซนติเมตร เพื่อให้ทนความดัน การกัดกร่ อน และอุณหภูมิสูง มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในประมาณ 3-6 เมตร
ความสู งประมาณสิ บกว่าเมตร ภาชนะดังกล่าวนี้ มีชื่อเรี ยกว่า Reactor Pressure Vessel หรื อเรี ยกสั้นๆ ว่า
Reactor Vessel คํานี้ ยงั ไม่มีการแปลเป็ นภาษาไทยแบบทางการ ด้วยเหตุน้ ี ผเู ้ ขียนจึงขอใช้คาํ ว่า “ภาชนะ
บรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์” ไปก่อน
ภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์น้ ี จะมีฝาปิ ดด้านบน เพื่อว่าเมื่อต้องการเปลี่ยนชุดเชื้อเพลิงและการ
ซ่อมบํารุ ง เขาจะยกฝาที่ปิดนี้ ออก เมื่อดําเนิ นการเสร็ จก็จะยกกลับไปปิ ดสนิทดังเดิม นอกจากนี้ดา้ นข้างของ
ภาชนะดังกล่าวนี้จะมีท่อให้ตวั ทําให้เย็นไหลเข้าและท่อให้ตวั ทําให้เย็นไหลออก นอกจากนั้นจะมีช่องหรื อรู
อาจจะด้านบนฝาหรื อด้านก้นภาชนะ เพื่อสอดใส่ แกนยึด แท่งควบคุม และอุปกรณ์การวัดต่างๆ ด้วย ซึ่ ง
แน่นอน ช่องต่างๆ เหล่านี้รวมทั้งที่ฝาปิ ดจะต้องมีระบบปิ ดผนึ กที่ดีเลิศ ไม่ให้มีอะไรจากภายในรั่วซึมออกสู่
ภายนอกจากภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ได้ จะมีท่อออกมาได้ก็ตรงท่อให้ตวั ทําให้เย็นไหลเข้าออกเพื่อ
ระบายความร้อนและท่อให้น้ าํ ไหลเข้ากรณี ฉุกเฉินเมื่อระบบปกติขดั ข้องแค่น้ นั
ภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ น้ ี เองทําตัวเหมือนหม้อผลิตไอนํ้าของโรงไฟฟ้ าธรรมดาทัว่ ๆไป
นัน่ เอง นัน่ คือ เมื่อเกิดฟิ ชชันในแท่งเชื้อเพลิง ความร้อนที่เกิดขึ้นจะแผ่ออกทางผิวของท่อแท่งเชื้อเพลิง ซึ่ ง
จะถูกระบายออกโดยตัวทําให้เย็นที่ไหลเข้ามา ซึ่งตัวทําให้เย็นตอนไหลเข้าอุณหกภูมิจะไม่สูง แต่ตอนไหล
ออกจะเป็ นไอนํ้าร้อนที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก ซึ่งสิ่ งนี้เองที่นาํ ไปทําให้เทอร์ไบน์หรื อกังหันหมุนแล้ว
แกนเครื่ องกําเนิดไฟฟ้ าก็หมุนตามผลิตกระแสไฟฟ้ าออกมา
สําหรับวิธีการนําไอนํ้าร้อนจากภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ไปหมุนเทอร์ ไบน์และเครื่ องกําเนิด
ไฟฟ้ านั้นมีการออกแบบแตกต่างกันไปแล้วแต่บริ ษทั ผูผ้ ลิต ซึ่ งจะกล่าวถึงในบทที่ 5 มาถึงตรงนี้ ผูอ้ ่านจะ
บทที่ 4 เครื่ องปฎิกรณ์ในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 37

เห็ นหัวใจของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ที่คนกลัวกันนั้นอยู่ที่เครื่ องปฏิกรณ์ที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะบรรจุแกน


เครื่ องปฏิกรณ์ ซึ่ งมีรูปทรงกระบอกปิ ดมิดชิด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-6 เมตร สู งประมาณ 10 เมตร ซึ่ ง
ถือว่าไม่ใหญ่โตเท่าไรเลย แค่อุปกรณ์ดงั กล่าวนี้ จะมีการควบคุมความปลอดภัยในทุกระบบสู งมาก ราคาค่า
ก่อสร้างโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ที่สูงนั้น เนื่องจากภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์และระบบความปลอดภัยนี้เอง
จากบทที่ 1 ถึงบทที่ 4 เราได้ทราบถึงการได้มาซึ่ งเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และแนวทางการทํานํ้าให้
กลายเป็ นไอนํ้าร้อน ส่ งออกมาจากเครื่ องปฏิกรณ์ออกสู่ภายนอกแล้ว
สําหรับบทที่ 5 นี้ จะกล่าวถึงแบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ ที่นิยมใช้กนั จริ งๆในปั จจุบนั โดยจะเน้นแบบ
ที่ใช้น้ าํ ธรรมดาเป็ นตัวทําให้เย็น ซึ่ งแต่ละแบบก็ได้มีการปรับปรุ งประสิ ทธิ ภาพและระบบความปลอดภัย
เป็ นรุ่ นๆ ไปดังนี้

5.1 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ เดือด (Boiling Water Reactor – BWR)

รู ปที่ 5.1 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ เดือด

โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ประเภทนี้ ใช้น้ าํ ธรรมดาเป็ นตัวหน่ วงความเร็ วนิ วตรอนและตัวทําให้เย็น โดย
การออกแบบให้น้ าํ เดื อดและกลายเป็ นไอนํ้าร้อนในภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์แล้วส่ งออกไปหมุน
เทอร์ ไบน์หรื อกังหันโดยตรงเลย แล้วจากนั้นก็ให้ไหลผ่านเครื่ องควบแน่ นและถ่ายเทความร้อนให้ไอนํ้า
ร้อนกลับเป็ นนํ้าที่เย็นลง แล้วให้ไหลกลับเข้าสู่ ภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์เพื่อให้กลายเป็ นไอนํ้าร้อน
ส่ งไปหมุนเทอร์ ไบน์อีก ซึ่ งนํ้าพวกนี้ จะหมุนเวียนอย่างนี้ ไปเรื่ อยๆตลอดการเดินเครื่ อง ขอให้ผอู ้ ่านเข้าใจ
ด้วยว่าการไหลของนํ้าที่ผ่านแกนเครื่ องปฏิกรณ์และเทอร์ ไบน์จะอยู่ในระบบที่ปิดสนิ ทของตนเอง ไม่ได้
สัมผัสกับนํ้าที่ใช้ถ่ายเทความร้อนเลย หรื อพูดง่ายๆ นํ้าที่ไหลผ่านแกนเครื่ องปฏิกรณ์และเทอร์ ไบน์กบั นํ้าที่
ใช้สาํ หรับที่เครื่ องถ่ายเทความร้อนอยูค่ นละวงจรไม่ได้สัมผัสกันเพราะพวกหนึ่ งไหลอยูใ่ นท่ออีกพวกหนึ่ ง
ไหลอยูน่ อกท่อ
จากที่อธิบายข้างบนนั้น จะเห็นว่าการทําให้เทอร์ไบน์หมุนนั้นโรงไฟฟ้ าแบบนี้ใช้น้ าํ ไหลเวียนเพียง
วงจรเดียวหรื อพูดว่าเป็ นแบบหนึ่งระบบ
บทที่ 5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 39

เครื่ องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการนี้ จะใช้ภาชนะบรรจุเครื่ องปฏิกรณ์เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เมตร และ


สู งประมาณ 22 เมตร ซึ่งดูค่อนข้างใหญ่และสู ง การที่เป็ นเช่นนี้ เพราะแกนบรรจุเครื่ องปฏิกรณ์น้ นั มีอุปกรณ์
การทําไอนํ้าร้อนอยูส่ ่ วนบนเหนือแกนเครื่ องปฏิกรณ์อยูด่ ว้ ย สําหรับชุดเชื้อเพลิงแบบ 7 x 7 ถึง 10 x 10 โดย
แท่งเชื้อเพลิงจะสู งประมาณ 4 เมตร สําหรับชุดเชื้อเพลิงที่ใช้จะอยูป่ ระมาณ 400-800 ชุด ยูเรเนี ยมที่ใช้เป็ น
เชื้ อเพลิ งเป็ นยูเรเนี ยมเสริ มสมรรถนะประมาณ 2-5 เปอร์ เซ็นต์ อุณหภูมิน้ าํ เข้าภาชนะบรรจุ แกนเครื่ อง
ปฏิกรณ์ประมาณ 270 องศาเซลเซี ยส ภายใต้ความดัน 72 บาร์ เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ มีแปลกอยูอ่ ย่างคือแท่ง
ควบคุมจะสอดขึ้นจากด้านล่างของภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์
มีขอ้ สังเกตอีกอย่างคือโรงไฟฟ้ าแบบนี้ เทอร์ ไบน์จะเปรอะเปื้ อนสารกัมมันตรังสี ดว้ ย เพราะถูก
สัมผัสกับไอนํ้าร้อนจากเครื่ องปฏิกรณ์โดยตรง นํ้าที่ผ่านแกนเครื่ องปฏิกรณ์จะเป็ นนํ้าที่มีสารกัมมันตรังสี
หรื อเรี ยกสั้นๆ ว่าสารรังสี ปนอยู่ สารรังสี เหล่านี้ เกิดจากสิ่ งเจือปนในนํ้า เมื่อวิ่งผ่านแกนเครื่ องปฏิกรณ์ก็จะ
จับ นิ ว ตรอนแล้ว กลายเป็ นสารรั ง สี ด้ว ยเหตุ น้ ี ในการซ่ อ มบํา รุ ง เครื่ อ งเทอร์ ไ บน์ จึ ง ต้อ งทํา ด้ว ยความ
ระมัดระวังในเรื่ องการเปรอะเปื้ อนด้วย อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้ าแบบนี้ราคาจะถูกเพราะเป็ นแบบหนึ่งระบบ
ไม่ยงุ่ ยากนัก
โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบนํ้าเดือดนี้มีจาํ นวนที่ใช้ปัจจุบนั ทัว่ โลกมีอยูป่ ระมาณ 21 เปอร์เซ็น

5.2 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ อัดความดัน (Pressurized Water Reactor – PWR)

รู ปที่ 5.2 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ อัดความดัน

โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ประเภทนี้ ใช้น้ าํ ธรรมดาเป็ นตัวหน่ วงความเร็ วนิ วตรอนและตัวทําให้เย็น โดย
การออกแบบไม่ให้ไอนํ้าร้อนจากภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ไปหมุนเทอร์ ไบน์โดยตรงเหมือนแบบ
เครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ เดือด แต่จะออกแบบให้มี 2 ระบบหรื อ 2 วงจร นัน่ คือวงจรแรกเป็ นวงจรของนํ้าที่ผา่ นแกน
เครื่ องปฏิกรณ์ ซึ่งจะร้อนมากภายใต้ความดันที่สูงแต่น้ าํ ไม่เดือด แล้วไหลผ่านท่อในเครื่ องกําเนิดไอนํ้าร้อน
แล้วไหลกลับเข้าสู่ ภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์หมุนเวียนกันแบบนี้ในวงจรปิ ดของตัวเอง ส่ วนอีกวงจร
บทที่ 5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 40

หนึ่ งคือวงจรที่สองซึ่ งเป็ นวงจรปิ ดเหมือนกัน เป็ นวงจรของนํ้าที่รับความร้อนจากการสัมผัสท่อของวงจร


แรกในเครื่ องกําเนิ ดไอนํ้าร้ อน แล้วกลายเป็ นไอนํ้าร้ อนส่ งไปหมุนเทอร์ ไบน์ จากนั้นไหลไปผ่านระบบ
ควบแน่นและถ่ายเทความร้อนให้ไอนํ้าร้อนกลายเป็ นนํ้าที่อุณหภูมิเย็นลงแล้วให้ไหลกลับเข้าสู่ เครื่ องกําเนิด
ไอนํ้าร้อนอีก ซึ่ งก็จะหมุนเวียนแบบนี้ ไปเรื่ อยๆ เช่นกัน ตรงที่ระบบควบแน่นและถ่ายเทความร้อนจะมีน้ าํ
จากภายนอกไหลผ่านนําความร้อนจากวงจรที่สองออกไป
การไหลวนเวียนของนํ้าในแต่ละวงจรจะเป็ นเอกเทศ โดยไหลอยู่แต่ในวงจรปิ ดของตนเองไม่ปน
กัน และเช่ นกันนํ้าที่นาํ มาระบายความร้อนจากวงจรที่สองออกสู่ ภายนอก ก็จะไม่ผสมหรื อปนกับนํ้าใน
ระบบที่สองด้วย
เครื่ องปฏิ กรณ์ ที่ ใช้ในโรงไฟฟ้ าแบบนี้ จะใช้ภ าชนะบรรจุ แกนเครื่ องปฏิ กรณ์ เ ส้นผ่าศู นย์กลาง
ประมาณ 4.4 เมตร และสู งประมาณ 12.6 เมตร สําหรับชุดเชื้อเพลิงจะเรี ยงแท่งเชื้อเพลิงแบบ 14 x 14 ถึง 18
x 18 โดยแท่งเชื้อเพลิงจะยาวประมาณ 3.5 เมตร สําหรับจํานวนชุดเชื้อเพลิงที่ใช้ในแกนเครื่ องปฏิกรณ์ 190-
200 ชุด ยูเรเนียมที่ใช้เป็ นเชื้อเพลิงเป็ นยูเรเนียมเสริ มสมรรถนะประมาณ 3-5 เปอร์เซ็น เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้
แท่งควบคุมจะสอดจากด้านบนลงมา
จะเห็นว่าเครื่ องปฏิกรณ์แบบนํ้าอัดความดันนี้ นํ้าร้อนที่ออกจากภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์จะ
ไม่สมั ผัสกับเทอร์ไบน์เลย นี่เป็ นข้อดีของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบนี้ ที่ไม่ตอ้ งพะวงเรื่ องการเปรอะเปื้ อนสาร
รังสี ที่เครื่ องเทอร์ ไบน์เมื่อมีการซ่ อมบํารุ ง อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้ าแบบนี้ ราคาค่าก่อสร้างจะสู งเพราะมีการ
เพิ่มวงจรที่สองเข้ามา
โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ อัดความดันนี้จาํ นวนที่ใช้ในปั จจุบนั ทัว่ โลกมีอยูป่ ระมาณ
60 เปอร์เซ็นต์

5.3 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ มวลหนัก (Heavy Water Reactor – CANDU)

รู ปที่ 5.3 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ มวลหนัก CANDU


บทที่ 5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 41

เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ ที่นิยมใช้กนั คือเครื่ องที่ประเทศแคนาดาออกแบบซึ่ งเป็ นแบบ Pressurized


Heavy Water Reactor (PHWR) โดยมีชื่อที่เรี ยกเฉพาะว่า CANDU (Canadian Deuterium Uranium)
เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ใช้น้ าํ มวลหนัก (heavy water) เป็ นตัวหน่วงความเร็ วนิวตรอนและตัวทําให้เย็น
โดยทั้งสองอยูแ่ ยกกันคนละระบบไม่ปนกันและใช้ยเู รเนียมธรรมชาติเป็ นเชื้อเพลิง
ตัวเครื่ องปฏิกรณ์แบบ CANDU นี้ จะเป็ นถังรู ปทรงกระบอกที่มีท่อกลวงหลายร้อยท่อติดตั้งจาก
ด้านหน้าถึงด้านหลังโดยวางห่ างกันพอสมควร ถังนี้ จะถูกวางตามแนวนอนและจะบรรจุน้ าํ มวลหนักลงไป
เพื่ อ ทํา หน้า ที่ เ ป็ นตัว หน่ ว งความเร็ ว นิ ว ตรอน ภายในท่ อ แต่ ล ะท่ อ จะมี ท่ อ อี ก ท่ อ ติ ด ตั้ง อยู่ ด้ว ย ถ้า ดู
ภาคตัดขวางจะเห็นเป็ นวงกลมสองวง ท่อตรงกลางจะเป็ นที่สาํ หรับสอดเชื้อเพลิงเข้าไปและเป็ นทางไหล
ผ่ า นของนํ้ ามวลหนั ก ที่ เ ป็ นตัว ทํา ให้ เ ย็ น ที่ ว่ า งระหว่ า งท่ อ ทั้ง สองจะบรรจุ แ ก๊ ส ไนโตรเจนหรื อ
คาร์บอนไดออกไซด์ไว้เพื่อเป็ นตัวกันความร้อนและใช้ตรวจการรั่วไหลของท่อที่บรรจุเชื้อเพลิง
ชุดเชื้อเพลิงที่ใช้ประกอบด้วยแท่งเชื้อเพลิงที่ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร รวมกันอยูจ่ าํ นวน 37 แท่ง
เป็ นชุดเชื้อเพลิง ในแต่ละท่อที่กล่าวข้างบนจะบรรจุชุดเชื้อเพลิงจํานวน 12 ชุด
การทํางานจะเป็ นแบบ 2 วงจร เหมือนเครื่ องปฏิกรณ์แบบนํ้าอัดความดัน นัน่ คือวงจรแรกนํ้ามวล
หนักไหลผ่านชุดเชื้อเพลิงในท่อ ซึ่ งก็จะร้อนแล้วไหลออกไปถ่ายเทความร้อนให้น้ าํ ธรรมดาของวงจรที่สอง
แล้วไหลกลับเข้าท่อผ่านชุดเชื้อเพลิงอีก ซึ่ งจะไหลวนเวียนแนวนี้ ส่ วนวงจรที่สองเป็ นวงจรของนํ้าธรรมดา
เมื่อรับความร้อนจากวงจรที่หนึ่งที่เครื่ องผลิตไอนํ้าร้อนก็กลายเป็ นไอนํ้าร้อนส่ งไปหมุนเทอร์ไบน์ แล้วไหล
ผ่านเครื่ องควบแน่ นเครื่ องระบายความร้อน แล้วจึงไหลกลับเข้าสู่ เครื่ องผลิตไอนํ้าร้อน ซึ่ งจะไหลวนเวียน
ในวงจรปิ ดของตนเองเช่นนี้ต่อไปเรื่ อยๆ เช่นกัน
โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ แบบ CANDU มีขอ้ ดีคือใช้ยเู รเนี ยมธรรมชาติเป็ นเชื้อเพลิงและสามารถเปลี่ยน
ชุดเชื้อเพลิงขณะเดินเครื่ องได้ แต่มีขอ้ ยุง่ ยากตรงที่ใช้น้ าํ มวลหนักเป็ นตัวหน่วงความเร็ วนิ วตรอนและตัวทํา
ให้เย็น นัน่ คือต้องมีโรงงานผลิตนํ้ามวลหนักที่โรงไฟฟ้ าด้วยซึ่งเป็ นภาระอย่างหนึ่ง
ในปัจจุบนั มีโรงไฟฟ้ าแบบ CANDU ใช้อยูท่ วั่ โลกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
โรงไฟฟ้ านิ วเคลี ยร์ ที่กล่าวมาทั้ง 3 แบบนี้ ปั จจุบนั ได้มีการปรั บปรุ งออกแบบระบบการทํางาน
ระบบการควบคุ ม ระบบความปลอดภัยดี ข้ ึนกว่ารุ่ นแรกๆมาก เช่ น โรงไฟฟ้ านิ วเคลี ยร์ ระบบก้าวหน้า
(Advanced Passive) แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ อัดความดัน โรงไฟฟ้ าแบบนี้ใช้ระบบปล่อยนํ้าออกให้ไหลตาม
แนวโน้มถ่วงโลกโดยไม่ตอ้ งใช้ป้ ั มดูดนํ้า นอกจากนี้ ก็ออกแบบให้ลดจํานวนอุปกรณ์ ระบบท่อ ปั้ มนํ้า การ
เดินสายไฟฟ้ า เพื่อลดการผิดพลาดของสิ่ งดังกล่าวให้นอ้ ยลง
บทที่ 5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 42

5.4 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์ระบบก้าวหน้า (Advanced Passive 1000 MWe)

อาคารปฏิกรณ์

อาคารกังหันไอนํา้

รู ปที่ 5.4 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์ระบบก้าวหน้า

โรงไฟฟ้ าแบบนี้จดั อาคารใหญ่เป็ น 2 อาคาร คือ


- อาคารปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ซึ่ งระบบการเดิ นท่อนํ้าระบายความร้อนและระบบท่อนํ้าฉุ กเฉิ นจะอยู่
ภายในอาคารทั้งหมด มีบ่อนํ้าอยูภ่ ายในอาคารด้วยและใช้ระบบปล่อยนํ้าออกให้ไหลตามลงมาตามแรงโน้ม
ถ่วงโลก (gravity) โดยไม่ตอ้ งใช้ระบบดูดนํ้า
- อาคารกังหันไอนํ้า
ระบบการไหลของนํ้าแสดงในรู ป
บทที่ 5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 43

รู ปที่ 5.5 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบระบบ Passive

เครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แบบใหม่ชนิ ดนี้ ออกแบบให้มี 2 วง (loop) ของ PWR ที่ใช้กนั มากใน
ปั จจุบนั ขนาดกําลัง 1117 MWe ออกแบบใช้ระบบควบคุมความปลอดภัยแบบ Passive คือใช้ระบบระบาย
ความร้อนแบบธรรมชาติ (Natural Circulation) และ gravity โอกาสจะเกิดการผิดพลาดจากการปฏิบตั ิงาน
ของบุคคลหรื อเครื่ องมือลดลง เนื่ องจากการออกแบบใช้ระบบต่างๆ หลายชนิ ดแต่ละชนิ ดประกอบด้วย
อุปกรณ์หลายชุด (Redundancy) ลดจํานวนอุปกรณ์ ระบบท่อ ปั้ ม ประตูน้ าํ การเดินสายไฟฟ้ า มีระบบ
ควบคุมความปลอดภัยที่เรี ยกว่า PCCS (Passive Core Cooling System) คล้ายๆ กับระบบ ECCS
(Emergency Core Cooling System) ของเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบ PWR
บทที่ 5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 44

5.5 โรงไฟฟ้ าระบบระบายความร้อนแบบเรี ยบง่าย (Economic Simplified Passive Cooling System)

ESBWR Passive Cooling System

http://www.nrc.gov/reactors/new-licensing/design-cert/esbwr.html

รู ปที่ 5.6 โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์น้ าํ เดือดระบบระบายความร้อนแบบเรี ยบง่าย

เครื่ องปฏิ กรณ์ นิวเคลี ยร์ แบบนี้ ออกแบบใช้ระบบระบายความร้ อนแบบธรรมชาติ (Natural


Circulation) และระบบควบคุมความปลอดภัยแบบ Passive Cooling System โดยที่น้ าํ ระบายความร้อนจะ
ไหลลงมาเองด้วย gravity เนื่ องจากถังนํ้าสําหรับระบายความร้อนทั้งหมดจะอยูร่ ะดับสู งกว่าแกนปฏิกรณ์
นิ วเคลียร์ โดยไม่ตอ้ งใช้ป้ ั มนํ้า การออกแบบเครื่ องปฏิกรณ์แบบใหม่น้ ี เป็ นการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
ลดเวลาในการก่อสร้างประมาณ 45 เดือน ใช้เวลาในการเปลี่ยนเชื้อเพลิงสั้นลงประมาณ 14 วัน เดินเครื่ องได้
นานถึง 24 เดือน และออกแบบใช้มดั เชื้อเพลิงชนิด 10 × 10 fuel assembly ขนาด 1560 MWe เดินเครื่ องใช้
งานได้นานประมาณ 60 ปี
โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบอื่นๆที่นอกเหนือที่กล่าวมาแล้วก็มี เช่น
• โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ แบบเครื่ องปฏิกรณ์ระบายความร้อนด้วยแก๊ส (Gas Cooled Reactor - GCR)
เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ ใช้แก๊สคาร์ บอนไดออกไซด์เป็ นตัวทําให้เย็นและใช้แกรไฟต์บริ สุทธิ์ เป็ นตัว
หน่วงความเร็ วนิ วตรอน ระบบนี้ ตน้ คิดคือประเทศอังกฤษ โรงไฟฟ้ านี้ ได้มีการปรับปรุ งแก้ไขให้มี
ประสิ ทธิภาพดีข้ ึนซึ่ ง ได้แก่ Advanced Gas Cooled Reactor - AGR และ High Temperature Gas
Cooled Reactor - HGTR
• โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์แบบเครื่ องปฏิกรณ์แบบผลิตเชื้อเพลิง (Fast Breeder Reactor - FBR)
เครื่ องปฏิ กรณ์ แบบนี้ ใช้โซเดี ยมเหลวเป็ นตัวทําให้เย็น ใช้นิวตรอนเร็ วเป็ นตัวทําให้เกิ ดฟิ ชชัน
ดังนั้นจึงไม่ตอ้ งมีตวั หน่วงความเร็ วนิ วตรอน เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้ มีวตั ถุประสงค์อีกอย่างคือจงใจ
บทที่ 5 แบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 45

ให้ผลิตพลูโทเนียม-239 ในระหว่างเดินเครื่ องเพื่อให้กลายเป็ นเชื้อเพลิงแทนยูเรเนี ยม-235 ที่หายไป


ด้วย เครื่ องปฏิกรณ์แบบนี้มีชื่อ เช่น Liquid Metal Fast Breeder Reactor - LMFB
• โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ แบบเครื่ องปฏิกรณ์แบบอื่นๆ โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ กลุ่มนี้ จะใช้เครื่ องปฏิกรณ์ที่
ออกแบบโดยประเทศนั้นๆ เช่ น ประเทศรัสเซี ยที่นิยมใช้ในประเทศรัสเซี ยและประเทศในยุโรป
ตะวันออก
ที่กล่าวในบทที่ 5 นี้ ผูอ้ ่านคงจะมองภาพของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ได้พอสังเขปนะครับ
เรื่ องของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ พอใครได้ยินชื่ อก็จะบอกว่ากลัว มีความกังวลต่างๆ หรื อบอกว่าไม่
ปลอดภัยไว้ก่อนทั้งๆ ที่บางคนไม่รู้ว่ามันคืออะไรและเป็ นอย่างไร ผูเ้ ขียนได้รับคําตอบจากบางคนที่ถูกถาม
ว่ามีความคิดเห็นเรื่ องโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์หรื อโรงไฟฟ้ าปรมาณูอย่างไร ซึ่งน่าสนใจดังนี้
บางคนบอกว่า “โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ไม่ปลอดภัยเพราะจะส่ งพลังงานนิวเคลียร์ไปตามสายไฟฟ้ าเข้า
สู่ บา้ นที่พกั อาศัยทําให้เกิดอันตรายได้” ซึ่งไม่เป็ นความจริ ง
บางคนบอกว่า “โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ไม่ปลอดภัยเพราะอาจจะระเบิดเหมือนระเบิดปรมาณูที่ทิ้งลงที่
เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิประเทศญี่ปุ่น ทําให้คนตายเป็ นหมื่นๆ คน” นี่ก็ไม่เป็ นความจริ งเช่นกัน ประเทศ
ญี่ปุ่นปัจจุบนั มีโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 55 โรง
บางคนบอกว่า “กองแร่ ยเู รเนียมที่ใช้เป็ นเชื้อเพลิงจะถูกลมพัดปลิวฟุ้ งกระจายไปทําอันตรายคนได้”
นี่กไ็ ม่เป็ นความจริ ง
บางคนบอกว่า “ไม่เชื่อฝี มือคนไทยที่จะบริ หารโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ได้” คําพูดนี้ ผเู ้ ขียนเห็นว่าผูพ้ ดู ดู
ถูกฝี มือคนไทยมาก ความคิดแบบนี้เองที่ทาํ ให้เมืองไทยไม่เจริ ญก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็ น
จากคําตอบของหลายคนดังกล่าวข้างต้น ผูเ้ ขียนได้อธิบายให้ทุกคนเข้าใจในสิ่ งที่ถูกต้องและหวังว่า
ผูท้ ี่อ่านเอกสารนี้แล้วจะอธิบายได้เช่นกัน ทําให้ได้รับคําสรุ ปจากทุกคนว่าเข้าใจผิดเสี ยนาน ตอนนี้พอเข้าใจ
แล้วว่าโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์เป็ นอย่างไร

ในบทที่ 6 นี้เราจะพูดถึงการให้ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์กนั พอสังเขป

6.1 การให้ความปลอดภัยในตัวเครื่ องปฏิกรณ์


ตามที่ทราบแล้วว่า ตัวที่ก่อให้เกิดอันตรายมากที่สุดของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ คือตัวเครื่ องปฏิกรณ์
ดังนั้นโลหะที่ใช้จะต้องเป็ นโลหะผสมที่มีคุณภาพพิเศษจริ งๆที่ผ่านการศึกษา ค้นคว้าวิจยั และทดลองมา
ยาวนาน เพื่อให้ทนต่อความร้ อน ทนต่อแรงดันสู ง ทนต่อการผุกร่ อน ทนต่อรั งสี (รั งสี ปริ มาณสู งทําให้
คุณสมบัติบางประการเปลี่ยนไปได้) มีคุณสมบัติจบั ยึดนิ วตรอนตํ่าและอื่นๆ โลหะพวกนี้ จะต้องเป็ นโลหะ
ระดับนิวเคลียร์ (Nuclear Grade) การที่ตอ้ งใช้โลหะพิเศษนี้กเ็ พื่อป้ องกันไม่ให้เกิดสิ่ งผิดปกติ เช่น การรั่ว ปริ
แตกร้าว ฯลฯ ของอุปกรณ์ต่างๆนัน่ เอง

6.2 การให้ความปลอดภัยในเรื่ องระบบควบคุม


เครื่ องปฏิ กรณ์ นิ ว เคลี ย ร์ ต อ้ งควบคุ มพลัง งานที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ โดยการควบคุ มความร้ อ นที่ เ กิ ด จาก
เชื้อเพลิงด้วยการระบายความร้อนออกไปทั้งในขณะเดินเครื่ องปกติหรื อในกรณี ดบั เครื่ อง นอกจากนี้ ตอ้ งมี
ระบบควบคุมการปลดปล่อยสารกัมมันตรังสี ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยในการเดินเครื่ องตามปกติหรื อใน
กรณี เกิดอุบตั ิเหตุ ซึ่งการดําเนินการทางด้านความปลอดภัยมีวตั ถุประสงค์เพื่อ
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 47

• ความปลอดภัยของประชาชนโดยรอบโรงไฟฟ้ าและผูป้ ฏิบตั ิงานในโรงไฟฟ้ า


• ความปลอดภัยต่อระบบนิเวศวิทยาและสิ่ งแวดล้อม
• ความปลอดภัยต่อระบบของการทํางานของเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

6.3 ปรัชญาความปลอดภัย
ในการออกแบบการก่อสร้างและการเดินเครื่ องปฏิกรณ์มีหลักการความปลอดภัย 3 ประการที่ตอ้ ง
ปฏิบตั ิเพื่อให้สาธารณชนและสิ่ งแวดล้อมมีความเสี่ ยงน้อยที่สุด
• เครื่ องปฏิกรณ์ตอ้ งควบคุมพลังงานที่เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมความร้อนที่เกิดขึ้นได้
• เชื้อเพลิงนิ วเคลียร์ ตอ้ งหล่อเย็นเสมอ โดยมีการระบายความร้อนทั้งในการเดินเครื่ องปกติ
หรื อในกรณี ดบั เครื่ อง
• สารกัมมันตรังสี ที่เกิดขึ้นถูกเก็บไว้มิดชิดเพื่อป้ องกันสารรังสี มิให้รั่วสู่สิ่งแวดล้อม
การดําเนินการความปลอดภัย มีหลักเกณฑ์ตามแนวทางสากลที่ตอ้ งปฏิบตั ิ ดังนี้คือ
• การเลือกสถานที่ก่อสร้าง
• การออกแบบ
• การผลิตและการก่อสร้าง
• การเดินเครื่ องและการซ่อมบํารุ ง
• การกํากับดูแลความปลอดภัย

6.4 การเลือกสถานที่ต้ งั ของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ จะต้องมีความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ของทบวง


การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยมีคุณสมบัติที่สาํ คัญดังต่อไปนี้
6.4.1 ต้องไม่อยูใ่ นพื้นที่อาจได้รับความเสี ยหายจากภัยธรรมชาติ การเกิดแผ่นดินไหวหรื อ
การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก การเกิดนํ้าท่วมหรื อการเกิดคลื่นยักษ์ พายุไต้ฝนุ่
6.4.2 ต้องไม่อยูใ่ นพื้นที่อาจได้รับความเสี ยหายจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น สนามบินหรื อ
แนวทางขึ้นลงของเครื่ องบิน สถานที่เก็บวัตถุมีพิษ คลังวัตถุระเบิด แนวท่อส่ งแก๊สหรื อนํ้ามัน
6.4.3 ไม่อยูใ่ นบริ เวณที่มีประชาชนอาศัยอยูอ่ ย่างหนาแน่น
6.4.4 ต้องอยูใ่ กล้บริ เวณที่มีแหล่งนํ้าขนาดใหญ่
6.4.5 ต้องอยูใ่ นพื้นที่ที่มีโครงสร้างของฐานรากมัน่ คงและแข็งแรงพอ

6.5 การออกแบบจะต้องคํานึ งถึ งความปลอดภัยเป็ นอันดับแรก โดยใช้หลักเกณฑ์การออกแบบ


ป้ องกันอุบตั ิเหตุข้ นั พื้นฐาน (Design Basic Accident - DBA) และป้ องกันมิให้มีการรั่วไหลของสาร
กัมมันตรังสี ออกมานอกโรงไฟฟ้ าไม่วา่ จะเกิดอุบตั ิเหตุเพียงใดก็ตาม
องค์ประกอบหลักของการออกแบบโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์
• มาตรการป้ องกัน (Defence in dept)
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 48

• ระบบความปลอดภัยทางวิศวกรรม
• ระบบเสริ มความปลอดภัย

6.6 มาตรการป้ องกัน


มาตรการป้ องกันเป็ นพื้นฐานสําคัญในการออกแบบด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ แบ่ง
ออกเป็ น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 ออกแบบให้ได้มาตรฐานสากล
ระดับที่ 2 มีระบบป้ องกันเหตุการณ์และอุบตั ิเหตุ
ระดับที่ 3 มีระบบป้ องกันสํารองของระดับที่ 2
มาตรการป้ องกันมีหน้าที่
1. ป้ องกัน ยับยั้งการเกิดเหตุต่างๆโดยการควบคุมคุณภาพในการออกแบบ ก่อสร้าง เดินเครื่ องและ
การบํารุ งรักษา
2. บรรเทา (Mitigation) จํากัดความถี่ของการเกิ ดเหตุการณ์ ที่มีศกั ยภาพ ด้วยการใช้ระบบที่
หลากหลายๆ ระบบและเป็ นระบบขั้นพื้นฐาน
3. เก็บกัก (Containment) จํากัดการปล่อยสารกัมมันตรังสี ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ที่มีศกั ยภาพ
โดยใช้การปิ ดกั้นรังสี
4. เตรี ยมการในกรณี ฉุกเฉินและอุบตั ิเหตุ

6.7 สิ่ งปิ ดกั้น


สิ่ งปิ ดกั้นมี 5 ชั้น ทําหน้าที่ป้องกันการปล่อยสารกัมมันตรังสี จากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ออกสู่ สิ่งแวดล้อม
1. เม็ดเชื้อเพลิง (Fuel Pellet)
2. ปลอกหุม้ เชื้อเพลิง (Fuel Cladding)
3. ภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ (Reactor Pressure Vessel)
4. ระบบอาคารคลุมเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Containment System)
5. อาคารเครื่ องปฏิกรณ์ (Reactor building)
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 49

รู ปที่ 6.1 สิ่ งปิ ดกั้น 5 ชั้น ของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ชนิด PWR และ BWR

ชั้นที่ 1 เม็ดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ (Pellet)


ทําจากธาตุยูเรเนี ยมหรื อพลูโทเนี ยม ซึ่ งเป็ นวัสดุนิวเคลียร์ ในสภาพเป็ นออกไซด์ของแข็งอัดแน่ น
(Ceramic) ทนความร้อนได้สูงถึง 28000C ต้านทานการกัดกร่ อน สามารถกักกันสารกัมมันตรังสี ที่มีพลังงาน
ตํ่าได้บางส่ วน

รู ปที่ 6.2 เม็ดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์


บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 50

ชั้นที่ 2 ปลอกหุม้ เชื้อเพลิง (Cladding)


ทําหน้าที่เป็ นตัวกลางส่ งผ่านความร้อนจากเม็ดเชื้อเพลิงให้กบั ตัวทําให้เย็นของระบบถ่ายเทความ
ร้อนป้ องกันไม่ให้ตวั ทําให้เย็นสัมผัสกับเม็ดเชื้อเพลิงและเก็บกักสารกัมมันตรังสี มิให้รั่วไหลออกจากเม็ด
เชื้อเพลิงมาปะปนกับตัวทําให้เย็น ปลอกหุ ้มเชื้อเพลิงนี้ ทาํ จากโลหะผสมเซอร์ โคเนี ยม (Zirconium) ซึ่ งมี
คุณสมบัติทนความร้อนสู ง ต้านการกัดกร่ อนได้ดี

แท่ งเชื้อเพลิงบรรจุเม็ดเชื้อเพลิงมัดรวมกัน
เป็ นชุ ดเชื้อเพลิง( Fuel Assemblies)

ราคาเชื้อเพลิง 1 kg (UO3) USD 1,770 (Nov 2006 USD )


ผลิตไฟฟ้าได้ 360,000 kWh = 0.49 c/kWh (0.20 B/kWh)

รู ปที่ 6.3 ชุดเชื้อเพลิงแบบ PWR

ชั้นที่ 3 ภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์


เป็ นอุปกรณ์หรื อภาชนะที่บรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ โดยมีตวั ทําให้เย็นซึ่ งเป็ นตัวทําหน้าที่รับและพา
ความร้อนจากเม็ดเชื้อเพลิงที่ส่งผ่านทางปลอกหุ ้มเชื้อเพลิงไปถ่ายเทให้ระบบผลิตไอนํ้าร้อน ภาชนะบรรจุ
แกนเครื่ องปฏิกรณ์น้ ี สามารถกักเก็บสารกัมมันตรังสี มิให้ออกสู่ภายนอก ทําจากโลหะไร้สนิ มหนาประมาณ
150-220 มม. นอกจากนี้กม็ ีกาํ แพงคอนกรี ตกําบังรังสี ชนิดพิเศษ (Heavy concrete) ที่ผสมด้วยโลหะและวัตถุ
หลายชนิ ดอยู่ล ้อมรอบเครื่ อ งปฏิ กรณ์ นิ ว เคลี ย ร์ ทํา หน้าที่ ก าํ บังรั งสี แ กมมาและนิ ว ตรอนพลัง งานสู ง ที่
สามารถวิ่งทะลุออกจากเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้

ชั้นที่ 4 ระบบอาคารคลุมเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์


ทําหน้าที่ป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ต่อจากภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ มิให้ออกสู่
ภายนอกบริ เ วณโรงไฟฟ้ านิ ว เคลี ย ร์ แ ละสามารถรองรั บ แรงดัน สู ง ๆได้ ในกรณี ที่ เ กิ ด อุ บ ัติ เ หตุ รุ น แรง
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 51

นอกจากนี้ยงั สามารถต้านทานแรงกระทําจากภายนอก เช่น แผ่นดินไหว ลมพายุ นํ้าท่วม เครื่ องบินชนหรื อ


ตกใส่ การโจมตีทางอากาศด้วยระเบิดหรื อขีปนาวุธได้เป็ นอย่างดี
ประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น มีความหนาทั้งสิ้ น 1.30 เมตร โดยชั้นในเป็ นแผ่นเหล็กกล้า (Steel liner)
หนาประมาณ 6 มิลลิเมตร ชั้นกลางเป็ นคอนกรี ตอัดแรง ชั้นนอกเป็ นคอนกรี ตเสริ มเหล็ก โดยพื้นอาคารจะ
หนาไม่ต่าํ กว่า 3 เมตร

แผ่ นเหล็กกรุผนังด้ านในอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์ นิวเคลียร์

รู ปที่ 6.4 ผนังอาคารคลุมเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

ชั้นที่ 5 อาคารเครื่ องปฏิกรณ์


เป็ นอาคารคลุมภายนอกที่เห็นเป็ นหลังคาอาคารและผนังรอบๆ ทําหน้าที่ป้องกันการแพร่ กระจาย
สารกัมมันตรังสี ออกสู่ ภายนอกอีกชั้นหนึ่ ง นอกจากนี้ยงั ทําหน้าที่ป้องกัน ลม พายุ ฯลฯ จากภายนอกอาคาร
ด้วย

6.8 ระบบความปลอดภัยทางวิศวกรรม
• การควบคุมพลังงานทางด้านวิศวกรรม
• ระบบควบคุมพลังงาน (Reactor Regulating System - RRS)
• เป็ นการควบคุมพลังงานของเครื่ องปฏิกรณ์ในภาวะปกติ
• การดับเครื่ อง (Shutdown System - SDS)
เป็ นการลดพลัง งานปริ ม าณมากลงอย่า งรวดเร็ ว (ในภาวะไม่ ป กติ ) เพื่ อ ทํา ให้เ ครื่ อ งปฏิ ก รณ์
กลายเป็ นสภาวะตํ่ากว่าจุดวิกฤตในทันที หรื อการดับเครื่ องในกรณี เกิดการไม่สมดุลอย่างรุ นแรงของการ
ผลิตความร้อน
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 52

6.9 ระบบความปลอดภัย
ระบบระบายความร้อนฉุกเฉิน (Emergency Core Cooling System : ECCS)
เป็ นระบบที่รักษาหรื อสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดการหล่อเย็นของเม็ดเชื้อเพลิงและชุดเชื้อเพลิง ในกรณี
ที่เกิ ดอุบตั ิเหตุการสู ญเสี ยตัวทําให้เย็น (LOCA) เพื่อจํากัดการปลดปล่ อยผลผลิ ตการแบ่งแยกนิ วเคลี ยส
(Fission Products) ออกจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรื อป้ องกันชุดเชื้อเพลิงให้คงสภาพเดิม ระบบ ECCS จะถูก
กระตุน้ ให้ทาํ งานก็ต่อเมื่อ
1. ความดันของระบบการถ่ายเทความร้อนลดลงตํ่ากว่าค่าที่กาํ หนด
2. ความดันภายในอาคารมีคา่ สูงขึ้น
3. เกิดภาวะความดันตํ่าที่ช่องนํ้าออกจากเครื่ องปฏิกรณ์

6.10 ระบบเสริ มความปลอดภัย


ระบบตรวจวัดรั งสี มี การติ ดตั้งเครื่ องวัดรั งสี ไว้ตามจุดต่างๆ ทัว่ บริ เวณทั้งภายในและภายนอก
โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ คอยตรวจดูว่ามีปริ มาณรังสี ผดิ ปกติที่จุดใด ก็จะมีสัญญาณเตือนให้ทราบทันที เพื่อที่จะ
ได้ตรวจสอบและแก้ไขต่อไป
• ระบบพลัง งานฉุ ก เฉิ น เป็ นระบบที่ มี ไ ว้ใ ช้ใ นกรณี เ กิ ด ไฟฟ้ าดับ ไม่ ส ามารถจ่ า ย
กระแสไฟฟ้ าจากภายนอกเข้ามาได้ ก็จะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้ าจากเครื่ องกําเนิดไฟฟ้ า
ที่สาํ รองไว้ เครื่ องกําเนิดไฟฟ้ าที่สาํ รองไว้คือเครื่ องกําเนิดไฟฟ้ าใช้ดีเซล
• อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งมื อ จะมี อ ยู่ห ลายชนิ ด (Diversity) แต่ ล ะชนิ ด จะมี อ ยู่ห ลายชุ ด
(Redundancy)
• อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งมื อ ทํา งานแยกอิ ส ระจากกัน โดยมี แ หล่ ง จ่ า ยไฟฟ้ าจากหลายแหล่ ง
(Independency)
• อุปกรณ์เครื่ องมือของระบบฉุกเฉิ น เตรี ยมพร้อมทํางานตลอดเวลา (Emergency)
• เจ้า หน้า ที่ ค วบคุ ม เครื่ อ งปฏิ ก รณ์ นิ ว เคลี ย ร์ ท าํ งานร่ ว มกับ ชุ ด คอมพิ ว เตอร์ อ ย่า งมี
ประสิ ทธิภาพ (Efficiency)

6.11 การเดินเครื่ องและการบํารุ งรักษา


เจ้าหน้าที่เดินเครื่ องจะต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด เพื่อรับใบอนุญาตก่อนที่จะเริ่ มทํางานและ
จะต้องทดสอบใหม่เป็ นประจําตามเวลาที่กาํ หนดไว้
ก่อนเข้าทํางานเจ้าหน้าที่เดิ นเครื่ องทุกคนต้องผ่านการฝึ กอบรมมาแล้วอย่างดี ทั้งภาคทฤษฎี และ
ภาคปฏิบตั ิการจนมีความเชี่ยวชาญ
เจ้าหน้าที่เดินเครื่ องจะต้องปฏิบตั ิตามกฏระเบียบของการเดินเครื่ องของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ อย่าง
เคร่ งครัด
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 53

มีการซ่อมบํารุ งและตรวจสอบคุณภาพของเครื่ องมือ อุปกรณ์ต่างๆ อย่างสมํ่าเสมอ ทั้งก่อน ระหว่าง


และหลังเดินเครื่ อง ตามเวลาที่กาํ หนดไว้ในคู่มือ

6.12 การประเมินความปลอดภัยของเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์


ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิ วเคลี ยร์ ใช้หลักการของการประเมิ นความปลอดภัย ที่ เป็ นไปได้
(Probability Safety Assessment - PSA) โดยการทําการประเมินได้ตลอดช่วงอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้ า
ตั้งแต่การออกแบบเบื้องต้น การเดินเครื่ อง และการเลิกดําเนิ นการ (Decommissioning) การประเมินความ
ปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์เพื่อประเมินระดับของโรงไฟฟ้ าและจําแนกแยกพื้นที่ที่ควรจะปรับปรุ งมาก
ที่สุด

6.13 การจัดการกากกัมมันตรังสี และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว


กากกัมมันตรังสี (Radioactive Waste) หมายความว่า วัสดุในรู ปของแข็ง ของเหลว หรื อแก๊สที่เป็ น
วัสดุกมั มันตรังสี หรื อปนเปื้ อนด้วยวัสดุกมั มันตรังสี ที่มีค่ากัมมันตภาพต่อปริ มาณหรื อกัมมันตภาพสู งกว่า
เกณฑ์ปลอดภัยที่กาํ หนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติและผูค้ รอบครองวัสดุน้ นั ไม่ประสงค์
จะใช้งานอีกต่อไป
พิจารณาจากโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ขนาด 1000 เมกะวัตต์ (ไฟฟ้ า)
กากกัมมันตรังสี ที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงานในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ คือ
• การทําความสะอาดระบบอุปกรณ์ต่างๆ
• กระดาษ หรื อวัสดุที่ใช้กรองสารกัมมันตรังสี
ในแต่ละปี จะมีกากกัมมันตรังสี เกิดขึ้นประมาณ 200-600 ล.บ. เมตร ซึ่งเป็ นกากกัมมันตรังสี ที่มีระดับตํ่าและ
ปานกลางสามารถสลายตัวหมดสภาพลงเองได้อย่างรวดเร็ วและใช้ขบวนการบดอัดกําลังสู งอัดให้มีปริ มาตร
ลดลงและจัดเก็บไว้ในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์
แท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว (Spent nuclear fuel) หมายความถึง วัสดุนิวเคลียร์ในลักษณะของแท่งเชื้อเพลิง
ที่ผา่ นการใช้งานในเครื่ องปฏิกรณ์ปรมาณูหรื อเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรื อแท่งเชื้อเพลิงที่ผา่ นปฏิกิริยาทาง
นิวเคลียร์จากการแยกหรื อแปลงนิวเคลียสของปรมาณู

การจัดการเชื้อเพลิงใช้แล้วจากโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ ขนาดกําลัง 1000 เมกะวัตต์ (ไฟฟ้ า) ในหนึ่ งปี จะมีเชื้อเพลิงใช้แล้วเกิดขึ้น 27-30
ตัน ซึ่งมีระดับรังสี สูงมากและมีอายุยาวนาน ในแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว จะมีส่วนประกอบของธาตุต่างๆ ดังนี้
U-238 95%
U-235 1%
Pu-239 1%
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 54

และเรดิโอนิวไคลด์ ซึ่ งเป็ นผลผลิตจากปฏิกิริยาทางนิ วเคลียร์ จากการแบ่งแยกนิ วเคลียส (Fission Products)


3%

รู ปที่ 6.5 แสดงการสลายตัวของผลิตผลการแบ่งแยกนิวเคลียส

6.14 หลักการจัดเก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วเป็ นเวลานานๆ 40-50 ปี ในบริ เวณโรงไฟฟ้ า


นิวเคลียร์
• รักษาให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วอยูใ่ นสภาพ Sub criticality
• มีระบบป้ องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี
• ระดับรังสี รอบบริ เวณสถานที่เก็บรักษาต้องไม่เกินขีดจํากัดที่ยอมรับได้
ตลอดระยะเวลาที่เก็บรั กษายังคงสภาพที่จะนําไปแปรสภาพนําเอาเชื้ อเพลิงที่เหลืออยู่กลับมาใช้
ประโยชน์ได้ในอนาคต
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 55

6.15 การเก็บแบบเปี ยกในบ่อนํ้า (Wet Storage)


เป็ นการเก็บเชื้อเพลิงนิ วเคลียร์ ใช้แล้วในบ่อนํ้าที่อยูใ่ นอาคารเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็ นเวลานาน
ประมาณ 5 ปี

บ่ อนํา้ เก็บแท่ งเชื้อเพลิงใช้ แล้ ว

แท่ งเชื้อเพลิงใหม่
รู ปที่ 6.6 บ่อนํ้าที่เก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว รู ปที่ 6.7 ที่เก็บเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใหม่

6.16 การเก็บแบบแห้ง (Dry Storage)


เป็ นการเก็บเชื้ อเพลิ งใช้แ ล้วนอกอาคารเครื่ องปฏิ ก รณ์ นิ วเคลี ย ร์ ซึ่ งได้ก่ อสร้ างสถานที่ เ ก็บ ไว้
โดยเฉพาะในอาณาเขตของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ และจะเก็บไว้ตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์
นานถึงประมาณ 50 ปี เชื้อเพลิงใช้แล้วบรรจุอยูใ่ นภาชนะที่ทาํ ด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมและบรรจุลงในภาชนะ
คอนกรี ตอี กชั้นหนึ่ ง การดําเนิ นการบรรจุ เชื้ อเพลิ งใช้แล้วลงในภาชนะนี้ จะต้องทําการบรรจุในบ่ อนํ้า
เนื่องจากยังมีระดับรังสี สูงอยูแ่ ละจะย้ายออกมาเก็บไว้กลางแจ้งในบริ เวณอาณาเขตของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์
ในปั จ จุ บ ัน จะมี ห ลายประเทศไม่ ส่ ง ออกไปนอกโรงไฟฟ้ านิ ว เคลี ย ร์ เ พื่อ ที่ จ ะนํา ไปแปรสภาพ
เชื้ อเพลิ งนิ วเคลียร์ ใช้แล้ว อันเป็ นการทําให้เกิ ดกากกัมมันตรั งสี ระดับสู งแยกตัวออกมาและยากต่อการ
ควบคุมเพื่อความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่ งแวดล้อม อนึ่ งเชื้ อเพลิงใช้แล้วนี้ ยงั อยู่ในการควบคุมของ
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ซึ่ งไม่สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกตามสนธิสัญญาการ
ไม่แพร่ ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty - NPT) ตามข้อตกลงการพิทกั ษ์ความปลอดภัยทาง
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 56

นิวเคลียร์ นาํ เชื้อเพลิงใช้แล้วไปแปรสภาพ เนื่องจากการแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้วจะได้พลูโทเนี ยม ซึ่ งเป็ น


วัสดุนิวเคลียร์ที่ใช้ทาํ ระเบิดนิวเคลียร์

รู ปที่ 6.8 การเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วแบบแห้งในบริ เวณโรงไฟฟ้ าพลังนิวเคลียร์

6.17 การบริ หารจัดการ เชื้อเพลิงใช้แล้วของประเทศต่างๆ


กลุ่มที่ 1 ดําเนินการแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว (Reprocessing)
People republic of China
France
India
Japan
Slovak Republic
Switzerland
United Kingdom
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 57

กลุ่มที่ 2 เก็บรักษาเชื้อเพลิงใช้แล้วเป็ นระยะเวลานานโดยไม่นาํ ไปแปรสภาพ

Country Type of Storage (Years) Design life Disposal


Belgium Wet/Dry
Canada Wet/Dry 40/50 2035
Germany Casks 70 2030
Korea, Republic Concrete Silo 50
Netherlands Dry 100
Sweden Wet 60 2010
6.18
United State Dry/wet 40 2007 การ
ปลดโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ (Decommissioning of Nuclear Power Plant)
Decommissioning เป็ นกระบวนการบริ หารจัดการและด้านเทคนิค เพื่อยกเลิกการควบคุมโรงไฟฟ้ า
นิวเคลียร์บางส่ วนหรื อทั้งหมด เนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป โดยต้องมีความปลอดภัยต่อประชาชนและ
สิ่ งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการลดนิวไคลด์กมั มันตรังสี ที่ตกค้างอยูใ่ นวัสดุและสถานที่ต่างๆ
โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ หลังเลิกดําเนิ นการแล้ว วัสดุบางส่ วนสามารถนํากลับมาแปรรู ปใช้ใหม่ ใช้ซ้ าํ
หรื อจัดเก็บเป็ นกากกัมมันตรังสี ส่ วนสถานที่ใช้ประโยชน์ดา้ นอื่นได้
จากการสํารวจในปี 2549 มีโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ที่หยุดดําเนินงานอยู่ 90 โรง อุปกรณ์ส่วนใหญ่จะไม่
เป็ นสารกัมมันตรังสี หรื อเปื้ อนรังสี ที่ระดับรังสี ต่าํ โลหะส่ วนใหญ่นาํ กลับมาใช้ใหม่ได้
จากการดํา เนิ น งานในอดี ต การเลิ ก ดํา เนิ น งานของโรงไฟฟ้ านิ ว เคลี ย ร์ ร วมทั้ง การขจัด กาก
กัมมันตรังสี ที่เกี่ยวข้องสิ้ นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเปรี ยบเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินเครื่ องผลิต
กระแสไฟฟ้ า
การเลิกดําเนิ นงานของโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ จากคําแนะนําของทบวงการพลังงานปรมาณู ระหว่าง
ประเทศและดัดแปลงใช้เป็ นหลักสากลมี 3 วิธีการคือ
Immediate Dismantling
วิธีการนี้ เป็ นวิธีการที่ โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ไม่ตอ้ งอยู่ในการควบคุ มกํากับดูแลของหน่ วยควบคุ ม
โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ทนั ที หลังจากดับเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และย้ายแท่งเชื้อเพลิงนิ วเคลียร์ ออกจากแกน
เครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไปเก็บไว้ในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว การรื้ อถอนและการทําความสะอาดและการขจัด
การเปื้ อนสารกัมมันตรังสี (Decontamination) จะดําเนิ นการหลังจากดับเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 ถึง 3
เดือน หรื อเป็ นปี ขึ้นอยูก่ บั สภาพของโรงไฟฟ้ า วิธีการนี้ใช้มากในสหรัฐอเมริ กา
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 58

Safe Enclosure (Safestor)


วิธีการนี้ เ ป็ นการชะลอการเลิ กดําเนิ นงานออกไปเป็ นเวลานาน 40-60 ปี โดยการเก็บเชื้ อเพลิ ง
นิ วเคลียร์ ใช้แล้วไว้ในที่ที่ปลอดภัยในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ จนกระทัง่ ถึงกําหนดรื้ อถอนหรื อการปฏิบตั ิการ
การเลิกดําเนินงาน
Entombment
วิธีการนี้ เป็ นการปล่อยให้อุปกรณ์ต่างๆที่เปื้ อนรังสี ยงั คงสภาพอยู่ในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ปราศจาก
การรื้ อถอน แต่จะดําเนินการจัดการลดขนาดหรื อบริ เวณที่เปื้ อนรังสี ให้นอ้ ยลง

ในโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ 99 % สารกัมมันตรั งสี เกิ ดจากเชื้ อเพลิ งใช้แล้วที่เคลื่อนย้ายออกจากแกน


เครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาเก็บไว้ในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว การเปรอะเปื้ อนตามพื้นผิวของอุปกรณ์ต่างๆใน
โรงงาน เกิดจากปฏิกิริยานิ วเคลียร์ ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์และโครงสร้างที่เป็ นโลหะเป็ นสารกัมมันตรังสี ของ
ไอโซโทป พวก Iron-55, Cobalt-60, Nikel-63 และ Carbon-14 ทิ้งไว้เป็ นระยะเวลา 50 ปี หลังจากดับเครื่ อง
ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อันตรายต่อผูป้ ฏิบตั ิงานลดน้อยลงอย่างมาก
การเลิ ก ดํา เนิ น งานของโรงไฟฟ้ านิ ว เคลี ย ร์ ใ นแต่ ล ะประเทศก็ เ ลื อกวิ ธี ก ารต่ า งๆกัน ขึ้ น อยู่กับ
ข้อบังคับและกฎหมายการควบคุมของแต่ละประเทศ ในสหรัฐอเมริ กาเลือกวิธีเลิกดําเนิ นงานในระยะเวลา
อันสั้นและจัดการโดยมีกองทุนการเลิกดําเนินงาน โดยโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์จะต้องจ่ายเงินเก็บเข้ากองทุน 0.1-
0.2 Cent/kwh ของการผลิตกระแสไฟฟ้ า
ในยุโรปจากการสํารวจในปี พ.ศ.2544 ค่าใช้จ่ายในการเลิกดําเนินงานของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ชนิด
PWR 200-500 เหรี ยญสหรัฐต่อกิโลวัตต์
BWR 300-550 เหรี ยญสหรัฐต่อกิโลวัตต์
CANDU 270–430 เหรี ยญสหรัฐต่อกิโลวัตต์
แต่สาํ หรับโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ชนิ ด Gas cooled reactor ของกลุ่ม UK Magnox ค่าใช้จ่ายในการเลิก
ดําเนินงานสูงมาก 2600 เหรี ยญสหรัฐต่อกิโลวัตต์
6.19 การดําเนิ นงานเกี่ยวกับโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ จะต้องอยูภ่ ายใต้กฎหมายด้านพลังงานปรมาณู ของ
ประเทศนั้น ๆ พร้ อ มกัน นี้ ก็ จ ะต้อ งอยู่ภ ายในการควบคุ ม ด้า นพิ ท ัก ษ์ค วามปลอดภัย เชื้ อ เพลิ ง นิ ว เคลี ย ร์
(Nuclear Safeguards) ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศด้วย
ผูป้ ฏิบตั ิงานในโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ตอ้ งปฏิบตั ิตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ของโรงไฟฟ้ าอย่างเคร่ งครัด
เพื่อป้ องกันไม่ให้ตนเองได้รับรังสี เกินกว่าขีดที่กาํ หนดว่าปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ผดิ ปกติภายใน
โรงไฟฟ้ าที่ตนปฏิบตั ิงานโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์จะต้องมีระบบป้ องกันการบุกรุ กที่ดีและแน่นหนาด้วย
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 59

บทสรุป
โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ มีอนั ตรายหรื อไม่ คําตอบคื อ มี แต่สิ่งที่ จะก่ อให้เกิ ดอันตรายนั้นเราสามารถ
ควบคุมได้ให้อยูใ่ นสภาพที่มีความปลอดภัยต่อผูป้ ฏิบตั ิงานและประชาชนทัว่ ไปได้ รวมทั้งให้มีผลกระทบ
ต่อสิ่ งแวดล้อมน้อยที่สุด
รั บรองได้ไหมว่าจะปลอดภัยร้ อยเปอร์ เซ็ นต์ คําตอบคงจะรั บรองไม่ได้ว่ามี ความปลอดภัยร้ อย
เปอร์ เซ็นต์ โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ก็เหมือนกิจการอื่นๆ ที่มีในโลกที่ไม่มีใครรับประกันว่าสิ่ งนั้นปลอดภัยร้อย
เปอร์ เซ็นต์ เพียงแต่กล่าวได้ว่าโอกาสที่โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ จะก่อให้เกิ ดอันตรายถึงชี วิตนั้นน้อยมากกว่า
มากๆ เมื่อเทียบกับการเสี ยชีวิตจากอุบตั ิเหตุทางรถยนต์
เมื่ อ มี ก ารพูด ถึ ง ความปลอดภัย ของโรงไฟฟ้ านิ ว เคลี ย ร์ จ ะมี ก ารอ้า งถึ ง อุ บ ัติ เ หตุ ข องโรงไฟฟ้ า
นิวเคลียร์เชอร์โนบิล ดังนั้นเพื่อให้ผอู ้ ่านได้ทราบถึงอุบตั ิเหตุที่เกิดขึ้นจึงขอเล่าพอสังเขป
อุบตั ิเหตุที่โรงไฟฟ้ าเชอร์ โนบิลนั้นไม่ได้เกิดจากการเดิ นเครื่ องตามปกติ แต่เกิดจากการที่มีกลุ่ม
นักวิทยาศาสตร์ ตอ้ งการทําการทดลอง ในกรณี ที่เกิ ดไฟฟ้ าดับในโรงไฟฟ้ ากังหันไฟฟ้ าจะสามารถผลิ ต
กระแสไฟฟ้ าด้วยแรงเฉื่ อยของตัวเองเพื่อจ่ายไฟฟ้ าให้ปั๊มระบายความร้อนฉุกเฉิ นในระยะสั้นๆ ได้เพียงพอ
หรื อไม่ การทดลองได้ตดั ระบบความปลอดภัยออกทั้งหมด ซึ่ งเป็ นการจงใจฝ่ าฝื นกฎระเบียบด้านความ
ปลอดภัยของการเดินเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ประกอบกับโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์เชอร์โนบิลนี้มีขอ้ บกพร่ องใน
การออกแบบที่ไม่เป็ นมาตรฐานสากลและไม่เหมาะสมสําหรับการทดลองดังกล่าว ขณะการทดลองได้ดึง
แท่งควบคุมขึ้นเกือบทั้งหมด เครื่ องปฏิกรณ์อยู่ในสภาวะไม่คงตัวมีกาํ ลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ ว ไม่สามารถ
ควบคุมได้ความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างสู งมากทําให้เชื้อเพลิงแตกออกทําปฏิกิริยากับนํ้าเกิดแรงดันไอนํ้าสู งมาก
จนภาชนะบรรจุแกนเครื่ องปฏิกรณ์ทนแรงดันไม่ได้จึงเกิดการระเบิดและเกิดไฟไหม้ในเวลาต่อมา การเกิด
การระเบิดแบบนี้ เหมือนการเกิ ดระเบิดของหม้อนํ้าของโรงงานอุตสาหกรรมทัว่ ไปไม่ใช่ การระเบิดแบบ
ระเบิดนิ วเคลียร์ ผลจากอุบตั ิเหตุทาํ ให้สารกัมมันตรังสี ที่อยู่ในแท่งเชื้อเพลิงแพร่ กระจายสู่ บรรยากาศและ
ขยายขอบเขตไปยังนานาประเทศได้ เนื่ องจากเครื่ องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบเชอร์ โนบิลไม่มีหลังคาคอนกรี ต
ขั้นสองที่เก็บกักสารกัมมันตรังสี ไม่ให้รั่วออกไปได้ในกรณี เกิดอุบตั ิเหตุเหมือนมาตรฐานในโลกตะวันตก
และที่สหรัฐอเมริ กาที่เกิดอุบตั ิเหตุหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงที่ทรี ไมล์ไอส์แลนด์ แต่เหตุการณ์ถูกจํากัด
อยู่ภ ายในโรงไฟฟ้ า มี การแพร่ กระจายของสารกัมมัน ตรั งสี ออกสู่ ภายนอกเล็ก น้อยไม่ มีผลกระทบต่ อ
สิ่ งแวดล้อมและไม่มีบุคคลใดได้รับอันตรายถึงชีวิต
ประเทศไทยควรมีโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ หรื อไม่คาํ ตอบนี้ ผเู ้ ขียนขอออกความเห็นส่ วนตัวนัน่ คือถ้าคิด
ว่าจําเป็ นก็มีได้ ประเทศต่างๆ 31 ประเทศ ทัว่ โลกมีโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ที่กาํ ลังเดินเครื่ องใช้งานอยู่ 439 โรง
และกําลังก่อสร้างอยู่ 35 โรง ประเทศฝรั่งเศส มีโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 59 โรง ใช้ไฟฟ้ าจากโรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์
มากที่ สุด คือ ร้ อยละ 78 ของไฟฟ้ าทั้งหมดรองลงมาคือประเทศลิธัวเนี ย สโลวัค เบลเยียม สวีเดน ซึ่ งมี
สัดส่ วนการผลิตไฟฟ้ าจากโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ร้อยละ 72, 57, 54, 40 ตามลําดับ
บทที่ 6 ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้ านิวเคลียร์ 60

สํา หรั บ ในทวี ป เอเชี ย ซึ่ งมี ก ารใช้ง านโรงไฟฟ้ านิ ว เคลี ย ร์ ได้แ ก่ ประเทศญี่ ปุ่ น 55 โรง (กําลัง
ก่อสร้าง 1 โรง) เกาหลีใต้ 20 โรง (กําลังก่อสร้าง 3 โรง) อินเดีย 17 (กําลังก่อสร้าง 6 โรง) จีน 11 โรง (กําลัง
ก่อสร้าง 5 โรง) และมีประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม ที่อยูใ่ นแผนการก่อสร้างที่จะผลิตกระแสไฟฟ้ าได้ในอีก
10 ปี ข้างหน้า ส่ วนประเทศไทยมีโครงการที่อยู่ในแผนที่จะใช้โรงไฟฟ้ านิ วเคลียร์ ผลิตกระแสไฟฟ้ าในปี
2563 ขณะนี้ อยูใ่ นระหว่างการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานและการสํารวจสถานที่ก่อสร้างที่เหมาะสม เพื่อการ
อนุมตั ิให้ดาํ เนินการต่อไป

บรรณานุกรม
1. ศัพทานุกรมนิวเคลียร์ 2547 . สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ
2. Herman Cember, Introduction to Health Physics, Pergamon Press ,1988
3. P.D. Wilson, The Nuclear Fuel Cycle from Ore to Waste, Oxford University Press, 1996
4. Colin Zimmerman, Kelvin Hesketh and Yousry Abushzdy, The Nuclear Fuel Cycle and Proliferation
Pathways Reactor, 1995
5. สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน เล่มที่ 28
6. เอกสารเผยแพร่ Mitsubishi Nuclear Plant
วิทติ เกษคุปต์

ประวัติย่อ
นายวิทิต เกษคุปต์ เรี ยนจบปริ ญญาตรี (เกี ยรตินิยม)ด้าน
ฟิ สิ กส์ จากจุ ฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และปริ ญญาโทด้านHealth
Physics จากUniversity of Rochester ประเทศสหรัฐอเมริ กา อดีต
เคยรั บราชการที่ สํานัก งานพลังงานปรมาณู เ พื่อสัน ติ (ปั จ จุ บ นั
เปลี่ยนชื่ อสํานักงานปรมาณู เพื่อสันติ ) โดยตําแหน่ งสุ ดท้ายคือ
ผูอ้ าํ นวยการกองสุ ข ภาพจากนั้น ได้เ ดิ น ทางไปทํา งานที่ ท บวง
การพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศ (IAEA) ที่กรุ งเวียนนา
ประเทศออสเตรี ยในตําแหน่ งผูต้ รวจด้านพิทกั ษ์ความปลอดภัย
เชื้อเพลิงนิงเคลียร์ (Nuclear Safeguards Inspector) จนเกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ. 2542
ปั จจุบนั ได้ช่วยงานด้านนิ วเคลียร์ ของประเทศไทยโดยเป็ นกรรมการในคณะอนุ กรรมการกําหนด
มาตรฐานการรับรองเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี เป็ นสมาชิ กสมาคมนิ วเคลียร์ แห่ งประเทศไทย เป็ น
ผูบ้ รรยายด้านพลังงานนิวเคลียร์บางโอกาส

ปรีชา การสุ ทธิ์


ประวัติย่อ
นายปรี ชา การสุ ทธิ์ เรี ยนจบปริ ญญาตรี (เกียรตินิยม) ด้าน
ฟิ สิ กส์และปริ ญญาโท ด้านนิ วเคลียร์ เทคโนโลยีจากจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยอดีตเคยรับราชการที่สาํ นักงานพลังงานปรมาณู เพื่อ
สันติ (ปั จจุบนั เปลี ยนชื่ อเป็ นชื่ อเป็ นสํานักงานปรมาณู เพื่อสันติ )
จากนั้ นได้ด ํา รงตํา แหน่ ง ผู ้ช่ ว ยศาสตราจารย์ป ระจํา ภาควิ ช า
นิ ว เคลี ย ร์ เทคโนโลยี คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ได้เดิ นทางไปทํางานที่ ทบวงการพลังงานปรมาณู
ระหว่างประเทศ (IAEA) ที่กรุ งเวียนนา ประเทศออสเตรี ย ใน
ตํา แหน่ ง ผูต้ รวจด้า นพิ ท ัก ษ์ค วามปลอดภัย เชื้ อ เพลิ ง นิ ว เคลี ย ร์
(Nuclear Safeguards Inspector) จนเกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ. 2543
ปั จจุ บนั ได้ช่วยงานด้านนิ วเคลี ย ร์ ของประเทศไทยโดยเป็ นผูเ้ ชี่ ยวชาญด้านความปลอดภัยและ
ควบคุมสิ่ งแวดล้อม สํานักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้ าพลังงานนิ วเคลียร์ เป็ นนายกสมาคมนิ วเคลียร์ แห่ ง
ประเทศไทย
ผศ. ดร. สมพร จองคํา
ประวัติย่อ
นายสมพร จองคํา เรี ยนจบปริ ญญาตรี ดา้ นฟิ สิ กส์จาก
มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ปริ ญญาโทด้านนิ วเคลียร์ เทคโนโลยีจาก
จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย และปริ ญญาเอกด้ า นฟิ สิ กส์ จ าก
Karlsruhe University, Germany อดีตเคยรับราชการสํานักงาน
พลัง งานปรมาณู เ พื่ อ สั น ติ (ปั จ จุ บ ัน เปลี่ ย นชื่ อ เป็ นสํ า นั ก งาน
ปรมาณู เพื่อสันติ ) ตําแหน่ งสุ ดท้ายคือ รองเลขาธิ การสํานักงาน
ปรมาณูเพื่อสันติ และนายกสมาคมนิ วเคลียร์ แห่ งประเทศไทยใน
ปี 2547-2548
ปั จ จุ บ นั ดํา รงตํา แหน่ งผูอ้ าํ นวยการสถาบัน เทคโนโลยีนิ ว เคลี ย ร์ แ ห่ ง ชาติ (องค์ก ารมหาชน)
กรรมการการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไฟฟ้ าจากพลังงานนิวเคลียร์ ประธานอนุกรรมการจัดทํานโยบาย
และแผนยุทธศาสตร์ดา้ นพลังงานปรมาณูของประเทศ และเป็ นที่ปรึ กษาสมาคมนิวเคลียร์แห่ งประเทศไทย

อารีรัตน์ คอนดวงแก้ ว
ประวัติย่อ
นายอารี รั ต น์ คอนดวงแก้ว เรี ยนจบปริ ญญาตรี ด้า น
ฟิ สิ กส์ จากมหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่และปริ ญญาโทด้านนิ วเคลียร์
เทคโนโลยีจ ากจุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิท ยาลัย อดี ต เคยรั บ ราชการที่
สํานักงานพลังงานปรมาณู เพื่อสันติ (ปั จจุบนั เปลี่ยนชื่ อเป็ น
สํา นัก งานปรมาณู เ พื่ อ สั น ติ ) ตํา แหน่ ง สุ ด ท้า ยคื อ นัก นิ ว เคลี ย ร์
ฟิ สิ กส์ 8วช.
ปั จ จุ บ ั น ดํา รงตํา แหน่ ง ผู ้จ ั ด การศู น ย์ ฉ ายรั ง สี อัญ มณี
สถาบัน เทคโนโลยีนิวเคลี ยร์ แห่ งชาติ ( องค์การมหาชน) และได้
ช่ วยงานสมาคมนิ วเคลียร์ ในตําแหน่ งเลขาธิ การสมาคมนิ วเคลียร์
แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 ถึงปั จจุบนั

You might also like