You are on page 1of 5

คติชนท้องถิ่น : บุญแซนโฎนตา

พื้นถิ่นที่ดิฉันอาศัยตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านสมบัติเจริญ ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอ


เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา พื้นถิ่นนี้มีคติชนที่น่าสนใจประเภทหนึ่งเรียกว่า
“บุญแซนโฎนตา” เป็ นคติชนแบบประเพณีหรือความเชื่อ จัดเป็ นข้อมูลผสม
รูปแบบหนึ่ง แม้ว่าพื้นถิ่นนี้จะตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่อาณาเขตหรือ
ดินแดนของบ้านสมบัติเจริญติดกับเขตจังหวัดบุรีรีมย์ กอปรกับบรรพบุรุษ
ที่มาตั้งรกราก ณ ที่แห่งนี้ต่างอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากหลากหลายแห่ง ซึ่ง
ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์

ลักษณะของบุญแซนโฎนตาเป็ นประเพณีของชนพื้นเมืองที่มีเชื้อสาย
ไท-เขมรหรือชาวกัมพูชา เป็ นความเชื่อพื้นถิ่นที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานนับ
ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปั จจุบัน บรรพบุรุษที่มาอาศัยอยู่ต่างนำเอาประเพณี
เขมรเข้ามายังพื้นถิ่นนี้ด้วย ทำให้ประเพณีแซนโฎนตาเป็ นประเพณีที่ชาว
บ้านนิยมทำทุกปี เพราะมีความเชื่อว่าเป็ นบุญใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า
เป็ นสารทเขมรนั่นเอง

ครอบครัวของดิฉันรวมถึงชาวบ้านในหมู่บ้านจะมีการทำบุญแซนโฎน
ตาในเดือน ๑๐ ของทุก ๆ ปี โดยคำว่า แซนโฎนตา เป็ นภาษาเขมร คำว่า
“แซน” ภาษาไทยตรงกับคำ “เซ่น” หมายถึง การเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า “โฎน
ตา” หมายถึง ตายาย หรือบรรพบุรุษ ดั้งนั้นความหมายของแซนโฎนตา ก็
คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรุษ
หรือญาติที่ใกล้ชิด รวมถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยไม่เจาะจงว่าเป็ นใคร ดังนั้น
ด้วยเหตุผลนี้ที่ดิฉันได้คุ้นเคยกับประเพณีแซนโฎนตามาตั้งแต่เด็ก ได้ซึมซับ
ความเชื่อต่าง ๆ ที่ถูกส่งทอดมารุ่นสู่รุ่น ทำให้ดิฉันมีความสนใจและอยากนำ
เสนอออกมาในรูปแบบที่เป็ นคติชนของหมู่บ้านสมบัติเจริญแห่งนี้

ความเป็ นมาของสถานที่หรือพื้นถิ่นอาศัยของดิฉันจากที่กล่าวมาข้าง
ต้นว่า มาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากจังหวัดสุริทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อ
มาตั้งรกรากและแสวงหาที่ดินสำหรับทำการเกษตร เนื่องจากสมัยก่อน
จังหวัดสุรินทร์รวมถึงบุรีรัมย์บางพื้นที่มีสภาพแห้งแล้ง ดินที่มีก็ปลูกพืชได้
เพียงไม่กี่ชนิด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็ นข้าวนาปี และนาปรัง บรรพบุรุษในสมัย
นั้นจึงเลือกมาอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้เพื่อทำการเกษตร และเนื่องจาก
จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์นั้นเป็ นพื้นที่ที่ติดชายแดนประเทศกัมพูชา ทำให้
คนส่วนใหญ่ก็มีเชื้อสายเขมรทั้งสิ้นรวมถึงบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ของดิฉัน
ด้วย

จากการสอบถามข้อมูลของประเพณีนี้จากคุณย่าของดิฉัน (มีความ
สัมพันธ์เป็ นญาติ) คุณย่ามีชื่อว่า ยึด วิเวกรัมย์ เป็ นคนเฒ่าคนแก่ที่ได้ทำ
ประเพณีนี้มานานและส่งต่อมายังลูกหลาน ท่านได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ในสมัย
ก่อนระยะเวลาในการทำบุญพิธี แซนโฎนตา ได้แบ่งออกเป็ นวันเบ็นตู๊จ และ
วันเบ็นทม คือ สารทเล็ก และสารทใหญ่ โดย เบ็นตู๊จ จัดกันในวันขึ้น
๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ และ เบ็นทม จัดกันในวันแรม ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน
๑๐ แต่ถึงอย่างไรก็ตามช่วงระยะเวลาระหว่างวันเบ็นตู๊จถึงวันเบ็นทมนั้น ก็
จะมีการนำจังหันมาถวายพระทุกวันไม่มีขาด

ในแต่ละบ้านจะทำพิธีแซนโฎนตาแล้วแต่เวลาตามสะดวก ครอบครัว
ของดิฉันจะนิยมทำพิธีในตอนเช้าหรือช่วงสาย โดยการเตรียมอุปกรณ์เครื่อง
เซ่นไหว้นั้น ประกอบด้วย อาหารคาว เช่น ไก่นึ่ง แต่ต้องเป็ นไก่ทั้งตัวที่เอา
เครื่องในออกแล้ว และอาหารหวานพื้นบ้าน เช่น ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว ขนม
เทียน ขนมนางเล็ด ขนมโช๊ค (ขนมดอกบัว) และข้าวกระยาสารท ส่วนผลไม้
เช่น มะพร้าวอ่อน กล้วย บางบ้านอย่างเช่นบ้านของคุณยายโฉม ผลวัฒน์
ซึ่งเป็ นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของดิฉัน ก็มีการทำแซนโฎนตาทุกปี เช่นกัน
ท่านได้บอกว่าผลไม้ต้องมี ๕ ชนิด จากที่กล่าวมา และอาจมีส้มโอ สับปะรด
หรือแก้วมังกรเพิ่มมาด้วยตามสะดวก และส่วนเครื่องดื่ม ยกตัวอย่างเช่น น้ำ
เปล่า เหล้าขาว น้ำอัดลม เหล้าสีต่าง ๆ เป็ นต้น

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ที่นอนแบบพับ หมอน ผ้า


ขาว ผ้าไหม ผ้าโสร่ง พาน ธูป เทียน และกรวยขันธ์ ๕ ที่ทำจากใบตองสด
จำนวน ๕ ช่อ เมื่อถึงเวลาใกล้รุ่ง ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ หรือวันเบ็
นทมจะมีการทำพิธีที่วัดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระสงฆ์ลงโบสถ์ ชาวบ้านจะพากัน
จุดธูปเทียน แบกกระเชอโฎนตาเดินวนรอบโบสถ์ ๓ รอบ และต่างคนก็จะมี
การเรียกบรรพบุรุษมารับบุญแตกต่างกัน แต่ก็จะเป็ นไปในทำนองเดียวกัน
เช่น ย่าของดิฉันก็จะเรียกว่า

“โมเวย โฎนตา ดอลรดูวปี เบ็ณฑ์ทมเฮย อัญเจิญ แม ออว เยย ตา


โมโฮป นุม เนก เจ๊ก อันซอม เน้อ”

หมายความว่า “มาเด้อ ตายาย ถึงฤดูกาลสารทเดือนสิบแล้ว อัญเชิญ


พ่อ แม่ ตา ยายมากินอาหาร ขนม ข้าวต้มกล้วยเด้อ” หลังจากนั้นก็จะมีการ
ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเช้า พรมน้ำมนต์ แผ่บุญกุศลให้แก่วิญญาณผู้
ล่วงลับและในช่วงบ่ายจะนำกาบกล้วยหรือกาบมะพร้าว กลัดเป็ นรูปเรือ
สำเภาใส่อาหารและขนมต่าง ๆ ไปลอยในแม่น้ำหรือบ่อน้ำในบริเวณบ้าน
เพื่อเป็ นการส่งดวงวิญญาณบรรพบุรุษสู่สรวงสวรรค์หรือไปเกิดใหม่ หากไม่
ทำเรือส่งท่าน เชื่อว่าบรรพบุรุษจะกลับยมโลกไม่ได้ จะติดค้างอยู่ในโลก
มนุษย์กระทั่งถึงเวลาแซนโฎนตาอีกรอบถือเป็ นการสร้างบาปและความทุกข์
ทรมานแก่ท่านเป็ นอย่างมาก

ในการทำพิธีแซนโฎนตานี้ จากการสอบถามและสังเกตทั้งคุณย่า คุณ


ยายโฉม รวมถึงผู้ใหญ่บ้านที่เคยรวบรวมข้อมูลและได้ปฏิบัติประเพณีนี้ ต่าง
ให้ข้อมูลตรงกันว่า “ประเพณีนี้จะจัดขึ้นทุกปี บ้านไหนที่มีลูกหลานเยอะ ก็
จะพากันมาแซนโฎนตากันเต็มบ้านไปหมด เป็ นบุญใหญ่และเป็ นวันรวมญาติ
ใหญ่ด้วย คนที่ไปอยู่อาศัยต่างถิ่นได้กลับบ้านมากราบพ่อแม่ปู่ย่าตายาย และ
มีเวียนกันไปแซนโฎนตาตามบ้านใกล้เรือนเคียง เป็ นที่สนุกสนานรื่นเริง คน
ที่ไม่ได้พบปะกันมานานก็จะมีโอกาสได้พูดคุยกัน บางบ้านก็มีการกินเลี้ยงกัน
สนุกสนาน”

แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือ ในปั จจุบันประเพณีนี้ค่อย ๆ หายไปจากพื้นถิ่น


เนื่องจากคนแก่คนเฒ่าที่เคยทำนั้นถึงแก่กรรมไปจำนวนมาก ลูกหลานจึง
ไม่มีใครสานต่อ จะมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่ครัวเรือนเท่านั้นที่ยังแซนโฎนตา แต่
การแซนจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย คืออาจไม่มีการเซ่นของไหว้
จำนวนมาก อย่างเสื่อ หมอน ผ้าต่าง ๆ คงเหลือแต่การทำอาหารเพื่อไป
ถวายพระในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เท่านั้น ส่วนการอุทิศส่วนบุญส่วน
กุศลยังมีอยู่ แต่ลดเหลือเพียงการฟั งธรรมรับพร และแผ่เมตตา กรวดน้ำ
อุทิศส่วนบุญเท่านั้น ซึ่งเจ้าอาวาสที่วัดป่ าบ้านสมบัติเจริญก็กล่าวไว้ว่า
“เพียงจิตตั้งมั่น ตั้งใจอุทิศ ตั้งอยู่ในศีล ภาวนา อุทิศความดีที่เราทำ
บรรพบุรุษเขาก็ได้รับเหมือนกัน” ดังนั้นในปั จจุบันคติชนนี้จึงได้เลือนหายไป
มากแล้ว เหลือเพียงเจตนารมณ์ของประเพณีนี้เท่านั้น

You might also like