You are on page 1of 4

พิธีแซนโฎนตา ประเพณีไหว้ผีปู่ย่าแบบขอม

รุ่งรัตน์ วิเวกรัมย์

การแซนโฎนตาเป็ นพิธีกรรมหนึ่งของชาวขอมหรือชาวไทยเชื้อสาย
ขอม ซึ่งพบในพื้นที่แถบจังหวัดที่ติดกับชายแดนกัมพูชาหลายแห่ง เช่น
สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็ นต้น คำว่าแซนโฎนตาจึงเป็ นคำภาษาเขมรที่มีความ
หมายว่าการเซ่นไหว้ บูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

หมู่บ้านสมบัติเจริญ ต.กุดโบสถ์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา เป็ นอีกท้อง


ถิ่นหนึ่งที่มีการทำพิธีแซนโฎนตามาอย่างยาวนาน แม้จะเป็ นท้องถิ่นที่ตั้งขึ้น
มาราว 50 ปี แต่การสืบเชื้อสายขอมจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากจังหวัด
สุรินทร์และบุรีรัมย์นั้นเป็ นสิ่งที่ทำให้การแซนโฎนตายังสืบทอดมาตราบจน
ปั จจุบัน

การทำพิธีแซนโฎนตาเป็ นประเพณียิ่งใหญ่อีกประเพณีหนึ่งที่ผู้คนจะให้
ความสำคัญเป็ นอย่างมากเนื่องจากเป็ นวันรวมญาติที่ลูกหลานทุกคนจะเดิน
ทางกลับไปหาพ่อแม่ปู่ย่าบรรพบุรุษที่ภูมิลำเนา เพื่อเตรียมจัดพิธีแซนโฎนตา
และจูลโฎนตากลับสู่ยมโลก

พิธีแซนโฎนตาจะจัดทำขึ้นในช่วงเวลาก่อนเข้าพรรษา 15 วัน ก่อนวัน


แซนโฎนตา 1 วัน เรียกว่าวันเบ็นตู๊จ หรือสารทเล็ก จะมีการรวมตัวกัน
เตรียมของไหว้ต่าง ๆ ทั้งการห่อข้าวต้มซึ่งได้เรี่ยวแรงจากทั้งครอบครัวและ
เพื่อนบ้านมาร่วมกันทำจนเสร็จลุล่วง รวมถึงการเตรียมอาหารคาว หวาน
เครื่องดื่ม เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็ นสำหรับบรรพบุรุษตามความเหมาะสม
โดยจัดแบ่งเป็ นดังนี้

1. อาหารคาว เช่น หัวหมู ไก่ต้ม ข้าวสวย ลาบหมู หมูทอด เป็ นต้น

2. อาหารหวาน เช่น ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมดอกบัว


เป็ นต้น

3. เครื่องดื่ม เช่น เหล้า เบียร์ น้ำอัดลม น้ำเปล่า เป็ นต้น

4. ผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด เผือก มัน แก้วมังกร ส้มโอ เป็ นต้น

5. เครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า สไบ หมอน ผ้าห่ม เสื่อ

6. ขันธ์ 5 เช่น ดอกไม้ เงิน หมาก พลู ธูป เทียน เป็ นต้น

บ้านเรือนแต่ละหลังอาจมีการจัดของไหว้แตกต่างกันตามกำลังของลูก
หลาน (ปั จจุบันบางครอบครัวไม่ได้มีการจัดงานยิ่งใหญ่ก็จะปรับเปลี่ยนรูป
แบบมาเป็ นการนำข้าวของอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัดและอุทิศส่วนบุญ
ส่วนกุศลเท่านั้น) โดยการไหว้บรรพบุรุษนี้จะถูกจัดขึ้นในช่วงเย็นของวันเบ็น
ตู๊จ และมีการเรียกตายายมารับเอาของไหว้ โดยการเรียกก็จะมีความแตก
ต่างกันไปแล้วแต่บ้าน บางบ้านเรียกเป็ นภาษาไทยและบางบ้านเรียกเป็ น
ภาษาเขมร

ในวันถัดมาจะเข้าสู่วันแซนโฎนตาหรือวันสารทใหญ่ โดยจะมีการลา
ของที่เซ่นไหว้ไปในวันสารทเล็ก ซึ่งการลานี้จะเรียกว่าการจูลโฎนตา คือส่งผี
ปู่ย่าตายายกลับสู่ยมโลก เหตุที่ต้องเลือกทำในวันนี้เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่า
วันสารทใหญ่นี้เป็ นวันสุดท้ายที่ประตูยมโลกจะเปิ ดให้ผีปู่ย่ามาเยี่ยมมารับ
ของจากลูกหลาน เมื่อรับเสร็จแล้วก็ต้องกลับคืนสู่ยมโลก ซึ่งปู่ย่าบรรพบุรุษ
จะกลับได้ก็ต่อเมื่อลูกหลานทำพิธีส่งเท่านั้น

การทำพิธีส่งหรือการจูลโฎนตา ต้องนำของเซ่นมาเทกระจาด และให้


พระสวดทำพิธี เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะแบ่งของแจกจ่ายกันก็เป็ นไปตามความ
ประสงค์ของแต่ละบ้าน เมื่ออรุณรุ่งสางมาเยือนก็จะมีการตักบาตรพระที่วัด
และกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ และนับว่าเป็ นอันเสร็จพิธี

เมื่อกลับจากวัดลูกหลานมักมาพบปะพูดคุยร่วมรับประทานอาหารกัน
และถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันในครอบครัวและบ้านใกล้เรือนเคียง ข้อดีของ
พิธีแซนโฎนตานอกจากสร้างความเป็ นสิริมงคล สร้างความสบายใจให้ลูก
หลาน และได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรรุษแล้ว ยังเป็ นการสร้างความ
สนุกสนานเพลิดเพลินและคลายความคิดถึงระหว่างคนในครอบครัวได้เป็ น
อย่างดี
การเตรียมของสำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษในวันสารท
เล็ก

ลูกหลานกลับสู่ภูมิลำเนาเพื่อประกอบพิธี

ที่มา :

You might also like