You are on page 1of 3

การเช็ดตัวลดไข้

(Tepid Sponge)
การเช็ดตัวลดไข้เป็นหัตถการที่ใช้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี ที่มีโอกาสเกิดอาการชัก
จากไข้สูงการเช็ดตัวลดไข้ เป็นการใช้น้ำเป็นตัวนำความร้อนออกจากร่างกาย โดยการใช้ผ้าชุบน้ำให้เปียกเช็ดถูตาม
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ร่วมกับการประคบผิวหนังบริเวณที่เป็นจุดรวมของ
หลอดเลือดขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่าง ๆ ช่วยให้ถ่ายเทความร้อน
จากหลอดเลือดสู่ผิวหนัง และผ้าเปียกตามลำดับ

ข้อบ่งชี้
เด็กที่มีไข้จากสาเหตุต่าง ๆ และรู้สึกไม่สบายตัวจากไข้ (ในกรณีที่เด็กมีไข้สูง ควรเช็ดตัวลดไข้ร่วมกับการ
ให้รับประทานยาลดไข้)

ข้อควรระวัง
1. ผ้าที่เปียกเกินไปทำให้ผิวหนังเปียกโชก ทำให้หลอดเลือดที่ผิวหนังหดตัว ความร้อนไม่ระเหยจาก
ร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหนาว ไม่สบายตัว
2. ไม่ควรเช็ดตัวด้วยความรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดรอยแดงที่ผิวหนัง หรืออาจทำให้มีเลือดออกใร
กรณีที่เด็กมีการติดเชื้อที่ทำให้เกร็ดเลือดต่ำ หรือมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

อุปกรณ์
1. กาละมัง หรืออ่างน้ำ 1 ใบ ใส่น้ำอุณหภูมิห้องปกติ(27-34°C)
2. ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก 2-3 ผืน
3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืน
4. ผ้าหรือพลาสติกสำหรับรองเตียงกันเปียก
5. เทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทสำหรับวัดไข้

ขั้นตอนการเช็ดตัว
1. เตรียมของใช้และอุปกรณ์ให้พร้อม
2. ปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศภายในห้อง เพื่อไม่ให้เด็กหนาวสั่นขณะเช็ดตัว พิจารณาปิดหน้าต่าง
กรณีที่มีลมโกรก
3. ถอดเสื้อผ้าของเด็กออกให้หมด
4. ปูผ้ารองเตียงกันเปียก และจัดผู้ป่วยให้นั่งหรือนอนหงายบนผ้ารองเตียงกันเปียก
5. ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดถูที่ผิวหนัง เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนัง ⑪ n odo

ส่งผลให้ความร้อนระบายออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น และพักผ้าไว้บริเวณที่เป็นจุดรวมของหลอดเลือด ⑰
wisse
S werere
,we
ขนาดใหญ่ ได้แก่ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และบริเวณข้อพับต่าง ๆ O w


- ผ้าชุบน้ำผืนที่ 1 เช็ดบริเวณใบหน้า และพักผ้าไว้บริเวณซอกคอและหลังหู

·usingt
·

- ผ้าชุบน้ำผืนที่ 2 เช็ดบริเวณแขน โดยเริ่มเช็ดจากปลายแขนเข้าหาลำตัว และพักผ้าไว้บริเวณ


รักแร้ x
- ผ้าชุบน้ำผืนที่ 3 เช็ดบริเวณแขนอีกข้าง และพักผ้าไว้บริเวณรักแร้อีกข้างหนึ่ง
- นำผ้าชุบน้ำผืนที่ 1 ที่พักไว้บริเวณซอกคอมาชุบน้ำและบิดหมาด ๆ เช็ดบริเวณใบหน้าและศีรษะ
⑥ wist
อีกครั้ง และพักผ้าไว้บริเวณหน้าผาก low
- นำผ้าชุบน้ำผืนที่ 2 และ 3 ที่พักไว้บริเวณรักแร้ มาชุบน้ำและบิดหมาด ๆ เช็ดบริเวณลำตัว พักผ้า
ไว้ที่บริเวณหัวใจ และขาหนีบทั้ง 2 ข้างตามลำดับ
- นำผ้าที่พักไว้บริเวณหน้าผาก และขาหนีบ มาชุบน้ำและบิดหมาด ๆ เช็ดขา โดยเริ่มจากปลายเท้า
พักผ้าไว้บริเวณข้อพับเข่าและขาหนีบทั้ง 2 ข้าง
- นำผ้าที่พักไว้บริเวณหัวใจ มาชุบน้ำและบิดหมาด ๆ พลิกตะแคงตัวเด็ก และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทาง
ด้านหลังตั้งแต่บริเวณคอถึงก้นกบ
6. เช็ดตัวตามขั้นตอนดังกล่าวซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนครบ 10-20 นาที ระหว่างเช็ดตัวควรประเมินเด็กเป็น
ระยะ เมื่อรู้สึกว่าร่างกายเด็กเย็นลงกับมือ เช็ดตัวเด็กให้แห้งด้วยผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ และสวมใส่เสื้อผ้า
ที่ระบายความร้อนได้ดี ไข้ลดเร็ว
7. ในช่วงแรกของการเช็ดตัว เด็กอาจมีอาการหนาวสั่นได้บ้าง แต่ร่างกายของเด็กจะค่อย ๆ ปรับได้
อย่างไรก็ตามหากเด็กมีอาการหนาวสั่นมาก ควรหยุดการเช็ดตัวไว้ชั่วครู่ และใช้ผ้าห่มห่อตัวเด็กจน
หายหนาวสั่น จึงค่อยทำการเช็ดตัวใหม่อีกครั้ง
8. หลังเช็ดตัวเสร็จ 15-30 นาที วัดอุณหภูมิซ้ำด้วยปรอทวัดไข้ เมื่อไข้กลับขึ้นสูงก็เช็ดซ้ำอีกครั้ง

ภาวะแทรกซ้อนและการป้องกัน
1. ผิวหนังถูกลวกเป็นแผลพุพองจากน้ำที่ร้อนเกินไป หรือ หลอดเลือดบริเวณผิวหนังหดตัวจากน้ำที่เย็น
เกินไป สามารถป้องกันได้ โดยตรวจสอบว่าน้ำที่นำมาเช็ดตัวมีอุณหภูมิที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้เช็ดตัว
เด็ก
2. เด็กมีอาการหนาวสั่นมาก จากอุณหภูมิกายที่ลดลงเร็ว หรือจากสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น สามารถ
ป้องกันได้โดยการดูแลสภาพแวดล้อมก่อนเช็ดตัวให้เหมาะสม ไม่ใช้น้ำเย็นจัดมาเช็ดตัวเด็ก ในกรณีที่
การหนาวสั่นเกิดจากอุณหภูมิกายลดลงอย่างรวดเร็ว ควรหยุดการเช็ดตัวไว้ชั่วครู่ และใช้ผ้าห่มห่อตัว
เด็กจนหายหนาวสั่น จึงค่อยทำการเช็ดตัวใหม่อีกครั้ง
3. เด็กมีอุณหภูมิกายต่ำหลังจากเช็ดตัว ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเย็นจัด น้ำผสมน้ำแข็งหรือแอลกอฮอล์
สำหรับเช็ดตัวเด็ก
4. การมีจุดเลือดออกบนผิวหนัง ควรระมัดระวังไม่เช็ดตัวเด็กแรงเกินไป โดยเฉพาะในเด็กที่มีเกร็ดเลือด
ต่ำหรือมีการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ

การดูแลที่สำคัญเมื่อผู้ป่วยมีไข้
1. เมื่อเด็กเริ่มมีไข้ ควรป้องกันการชักด้วยการเช็ดตัวร่วมกับให้ทานยาลดไข้
2. ให้เด็กนอนพักในขณะเช็ดตัวและหลังเช็ดตัวเพื่อลดการเผาผลาญในร่างกายให้น้อยลง
3. ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย ถ้าสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือสัมผัสร่างกายแล้วยังร้อนจัด ควรเช็ด
ตัวซ้ำอีก ยาลดไข้ สามารถให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง
4. พยายามให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการเสียน้ำจากไข้สูง และดื่มน้ำระหว่างเช็ดตัวลดไข้
5. ถ้าเด็กมีอาการชัก ให้จับนอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้เสมหะ น้ำมูก น้ำลายไหลได้สะดวก
ป้องกัน การสำลัก ห้ามป้อนยาเด็กในขณะที่ยังมีอาการชัก และแม้เด็กจะหยุดชักแล้ว ก็ควรนำไป
ตรวจที่โรงพยาบาลเพราะอาจมีความผิดปกติของสมองตามมาได้

Reference
1. วีระศักดิ์ ชลไชยะ. การเช็ดตัวลดไข้. ใน: กัญญา ศุภปิติพร, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์. บรณาธิการ. คู่มือหัตถการ
ในเด็ก. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2552:1-5.
2. รสวันต์ อารีมิตร. การเช็ดตัวเพื่อลดไข้. ใน: สุวรรณี วิษณุโยธิน, รสวันต์ อารีมิตร, กุณฑล วิชาจารย์.
บรรณาธิการ. หัตถการในเด็กPediatric Procedure. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2555:19-21.
3. S Thomas, C Vijaykumar, R Naik, B Antonisamy. Comparative effectiveness of tepid sponging
and antipyretic drug versus only antipyretic drug in the management of fever among
children. Indian Pediatrics 2009; 46: 133-136.
4. Sharber J. The efficacy of tepid sponge bathing to reduce fever in young children. Am J
Emerg Med 1997; 15: 88-92.

You might also like